SlideShare a Scribd company logo
Dhammaratana Journal 
Vol.1 No.2 April-June 2012 ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๒ เดือนเม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๕ 
วารสารธรรมรัตน์ 
๘ 
เม.ย. 
๒๕๕๕ 
ขอเชิญร่วมงาน... 
ประเพณีสงกรานต์ 
ณ วัดป่าธรรมรัตน์ พิทส์เบิร์ก 
- ตักบาตร 
- ฟังเทศน์ 
- บังสุกุล 
- สรงน้ำ�พระสงฆ์ ผู้ใหญ่ 
ข อ เ ชิญ ร่ว ม . . . 
Songkran Festival 
(Asian New Year) 
Sunday, April 8, 2012 
All Members 
are Welcome
ธรรมรัตน์ Dhammaratana ธรรมรัตน์ Dhammaratana 
C O N T E N T S 
ส า ร บัญ 
OBJECTIVES 
- To serve as a Buddhism 
promotion center in the U.S. 
- To serve as a meditation 
center in Pittsburgh 
- To promote virtues, Bud-dhist 
culture and traditions 
- To be a center of all Bud-dhists, 
regardless of nationalities 
วัตถุประสงค์ 
- เพื่อเป็นศูนย์กลางการเผยแผ่ 
พระพุทธศาสนาในสหรัฐอเมริกา 
- เพื่อเป็นศูนย์ปฏิบัติวิปัสสนา 
กรรมฐานประจำ�เมืองพิทส์เบอร์ก 
- เพื่อศูนย์ส่งเสริม ศีลธรรม 
วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี 
ที่ดีงามของชาวพุทธ 
- เพื่อเป็นศูนย์ฝึกอบรมเสริม 
ความรู้พระธรรมทูตสายต่างประเทศ 
- เพื่อเป็นศูนย์รวมใจของชาว 
พุทธโดยไม่จำ�กัดเชื้อชาติ 
บทบรรณาธิการ 
พระพุทธพจน์ - The Buddha's Words 1 
The Lady Mind Reader 2 
The Significance of Visakha Puja Day 5 
พระพุทธจ้าทรงอุบัติขึ้น เพื่อขจัดปัญหา คือ ความทุกข์ 7 
โลกวิปริต จิตวิปลาส ถ้าปราศจากธรรมะ 14 
การให้และสงคราม 18 
Thai Buddhism 22 
กินสยบเบาหวาน 24 
รายรับเดือนม.ค.-มี.ค.2555 28 
รายจ่ายเดือนม.ค.-มี.ค.2555 35 
ผู้บริจาคทำ�บุญประกันสุขภาพพระสงฆ์ 37 
ผู้บริจาคทำ�บุญซ่อมท่อน้ำ�ภายในวัด 38 
ญาติโยมผู้ถวายภัตตาหารเพลประจำ�วันต่างๆ 39 
ภาพกิจกรรมต่างๆ - Activities 40-43 
กิจวัตร 44 
The Daily Schedule of BMCP 45 
กิจกรรมทำ�บุญประจำ�ปี 2555 - Religious Ceremony 2012 46 
Activities of BMCP 47 
วัดป่าธรรมรัตน์ 
ก้าวย่างแห่งการฝึกตน 
คติธรรมประจำ�วัด 
สติมโต สทา ภทฺทํ 
คนมีสติ เท่ากับมีสิ่งนำ�โชคตลอดเวลา 
The mind is very hard to check 
and swift, it falls on what it wants. 
The training of the mind is good, 
a mind so tamed brings happiness. 
เจ้าของ : วัดป่าธรรมรัตน์ พิทส์เบิร์ก 
ที่ปรึกษา : 
พระวิเทศธรรมรังษี(หลวงตาชี) 
พระสุนทรพุทธิวิเทศ 
พระมหาถนัด อตฺถจารี 
พระครูสังฆรักษ์อำ�พล สุธีโร 
กองบรรณาธิการ : 
พระอาจารย์สุริยา เตชวโร 
พระมหาปิยะ อุตฺตมปญฺโญ 
และอุบาสก-อุบาสิกา 
Dhammaratana Journal 
is published by 
Wat Padhammaratana 
The Buddhist Meditation Center of Pittsburgh 
5411 Glenwood Ave., Pittsburgh, PA 15207 
Tel(412)521-5095 
E-mail : bmcpitts@hotmail.com 
bmcpitts@yahoo.com 
Homepage : www.bmcpitts.org 
www.facebook.com/bmcpitts 
ธรรมรัตน์-Dhammaratana 
วารสารธรรมะของวัดป่าธรรมรัตน์ พิทส์เบิร์ก 
ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๒ ประจำµเดือนเม.ย. - มิ.ย. ๒๕๕๕ Vol.1 No.2 April-June 2012
ธรรมรัตน์ Dhammaratana ธรรมรัตน์ 1 Dhammaratana 
พระพุทธพจน์ 
The Buddha's Words 
ยาวชีวมฺปิ เจ พาโล 
ปณฺฑิตํ ปยิรุปาสติ 
น โส ธมฺมํ วิชานาติ 
ทพฺพิ สูปรสํ ยถา...(๔๓) 
ถึงจะอยู่ใกล้บัณฑิต 
เป็นเวลานานชั่วชีวิต 
คนโง่ก็หารู้พระธรรมไม่ 
เหมือนจวักไม่รู้รสแกง 
Though through all his life 
A fool associates with a wise man, 
He yet understands not the Dhamma, 
As the spoon the flavour of soup. 
บทบรรณาธิการ 
พี่น้องพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย วารสารธรรมรัตน์รายไตรมาส( ๓ เดือน)กลับ 
มาพบกับท่านอีกครั้งหนึ่ง ฉบับนี้เป็นฉบับที่ ๒ การจัดทำ�วารสารขึ้น นอกจากมีความ 
ประสงค์จะเผยแผ่พระธรรมคำ�สอนของพระพุทธเจ้าแล้ว ยังมีความประสงค์จะชี้แจง 
กิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นในรอบ ๓ เดือนที่ผ่านมา และที่ทางวัดวางแผนจะทำ�ภายใน 
รอบปีนี้ รวมถึงแถลงรายรับ-รายจ่ายแต่ละเดือนที่มีผู้จิตศรัทธาบริจาคทำ�บุญ เพื่อซื้อ 
ที่ดินถวายวัดบ้าง เพื่อถวายเป็นค่าน้ำ�-ไฟบ้าง 
ตั้งแต่พระสงฆ์ย้ายมาประจำ�อยู่ที่วัดป่าธรรมรัตน์แห่งนี้ เมื่อวันที่ ๒๐ พ.ย. 
๒๕๕๔ ที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันเป็นเวลา ๔ เดือนกว่า ญาติโยมชาวพิทส์เบิร์กและใกล้ 
เคียงได้ถวายความอุปถัมภ์บำ�รุงเรื่องปัจจัย ๔ มิได้ขาดตกบกพร่อง วัตถุประสงค์ของ 
การสร้างวัดขึ้นที่เมืองนี้ก็เพื่อเป็นสถานที่ศึกษาและปฏิบัติธรรมแก่คนทุกชาติ ศาสนา 
ไม่จำ�กัดแค่คนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เพราะวัดเป็นศาสนสมบัติ และสาธารณสมบัติ 
ขอแจ้งข่าวที่จะเกิดขึ้นใน ๓ เดือนข้างหน้า ดังต่อไปนี้ ในเดือนเมษายนนี้ ทาง 
วัดป่าธรรมรัตน์จะจัดให้มีการทำ�บุญวันสงกรานต์ในวันที่ ๘ เม.ย.๒๕๕๕ มีพิธีทำ�บุญ 
ตักบาตร บังสุกุลให้ญาติผู้ล่วงลับไปแล้ว และฟังพระธรรมเทศนา หลังจากนั้นในวันที่ 
๑๕ เม.ย.๒๕๕๕ ชาววัดป่าธรรมรัตน์จะเดินทางไปร่วมทำ�บุญที่วัดไทยกรุงวอชิงตัน,ดี.ซี. 
พร้อมทั้งจะได้กราบถวายสักการะพระเดชพระคุณหลวงตาชีผู้ให้กำ�เนิดวัดป่าธรรมรัตน์ 
ด้วย ในเดือนพฤษภาคมปีนี้ เป็นปีครบรอบ ๒,๖๐๐ ปีแห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า 
ทางสมาคมชาวพุทธเมืองพิทส์เบิร์กได้เชิญวัดป่าธรรมรัตน์เข้าร่วมจัดงานด้วยโดยได้ 
รับมอบหมายให้สวดมนต์เปิดงานในวันที่ ๒๐ พ.ค.๒๕๕๕ ตั้งแต่เวลา ๑๕.๐๐-๑๗.๐๐ 
น. ใครมีความประสงค์จะไปร่วมงานเชิญได้ตามวันเวลาที่กำ�หนดไว้ หลังจากนั้นอีกหนึ่ง 
อาทิตย์ต่อมาวัดเรามีจัดงานทำ�บุญวันวิสาขบูชา ส่วนในเดือนมิถุนายนนั้น มีงานประชุม 
สมัชชาสงฆ์ไทยในประเทศสหรัฐอเมริกา ณ วัดไทยแอลเอ นอกจากนั้นยังมีงานทำ�บุญ 
อายุวัฒนมงคลของพระเดชพระคุณหลวงตาชีในวันที่ ๑๐ มิ.ย. ๒๕๕๕ อีกด้วย พวกเรา 
ในฐานะศิษยานุศิษย์ขอเชิญเดินทางไปร่วมงานครั้งนี้ด้วย 
ในท้ายที่สุดนี้ ขอเชิญชวนพี่น้องพุทธศาสนิกชนทุกท่าน เมื่อมีเวลาว่างก็แวะ 
มาเยี่ยมเยือน ไหว้พระ สวดมนต์ สนทนาธรรม และทำ�สมาธิร่วมกันกับคณะสงฆ์วัดป่า 
ธรรมรัตน์ได้ตามตารางเวลาที่แจ้งไว้ภายในวารสารเล่มนี้ ขอเชิญท่านทั้งหลายพลิกอ่าน 
ธรรมะ สาระ และชมภาพกิจกรรมต่างๆ ในรอบ ๓ เดือนที่ผ่านมาได้เลย ขอเจริญพร 
คณะผู้จัดทำ�
ธรรมรัตน์ 2 Dhammaratana ธรรมรัตน์ 3 Dhammaratana 
The mind is difficult to control; swiftly and lightly, it 
moves and lands wherever it pleases. It is good to tame the 
mind, for a well-tamed mind brings happiness. 
The lady mind reader ( Matika Mata ) 
Once, sixty bhikkhus, after each obtain a subject of 
meditation from the Buddha, went to a village at the foot of 
a mountain. There, Matika Mata, mother of the village head-man, 
offered them alms food; she also built a shelter for them, 
so that they could stay in the village during the rainy season. 
One day, she requested the bhikkhus to teach her meditation. 
They taught her how to meditate on the thirty-two constitu-ents 
of the body leading to the awareness of the decay and dis-solution 
of the body. Matika Mata practiced with diligence and 
attained the third stage of Sainthood together with extraordi-nary 
knowledge and mental powers, even before the bhikkhus 
did. 
With the Divine Power of Sight ( Dibbacakkhu ) she saw 
that the bhikkhus had not attained Insight. She also learned 
that these bhikkhus had enough potential for the attainement 
of Arahanthood but that they needed proper food because a 
weak body will not allow the mind to function at its best. So, 
she prepared nutritious food for them . With nutritious food 
and right effort, the bhikkhus developed right concentration 
and eventually attained Arahanthood. 
At the end of the rainy season, the bhikkhus returned 
to the Jetavana monastery, where the Buddha was in resi-dence. 
They reported to the Buddha that all of them were in 
good health and in comfortable circumstances and that they 
did not have to worry about food. They also mentioned Matika 
Mata who had been aware of their thoughts and had offered 
them the very good food that was necessary to keep them in 
good health which is important for proper concentration. 
A certain bhikkhu hearing about Matika Mata, decided 
that he too will go to the village. So, taking a subject of medi-tation 
from the Buddha he arrived at the village monastery. 
There, he found 
that everything he 
wished for was sent 
to him by Matika 
Mata. When he 
wishes for some 
food she personally 
came to the monas-tery, 
bringing along 
THE LADY MIND READER 
K.SRI DHAMMANANDA
ธรรมรัตน์ 4 Dhammaratana ธรรมรัตน์ 5 Dhammaratana 
choice food with her. After taking the food, he asked her if she 
really could read the thoughts of others, but she evaded his 
question and replied, ‘People who can read thoughts of others 
behave in such and such a way.’ Then the bhikkhu thought, 
‘If I, like an ordinary worldling, should entertain any impure 
thoughts, and if she can really read thoughts, she is sure to 
think ill of me.’ He, therefore became afraid of the lay devotee 
and decided to return to the Jetavana monastery. He told the 
Buddha that he could not stay in Matika’s village because he 
was afraid that the lay devotee might detect impure thoughts 
in him. 
The Buddha then advised him to observe just one thing, 
that is, to control his mind. He also advised him to return to 
the village and not to think of anything else but the object of 
his meditation. The bhikkhu returned and Matika Mata of-fered 
him nutritious food as she had done to the others before, 
so that he might be able to practise meditation without worry. 
Within a short time, he too purified his mind and attained 
Arahanthood. 
Visakha Puja Day honors the birth, Enlightenment, and 
passing away of the Buddha. The United Nations General As-sembly, 
fulfilling the hopes of the International Buddhist Con-ference 
in Sri Lanka in November of 1998, urged the interna-tional 
recognition of this day, especially at the United Nations 
Headquarters and offices. The Council of Thai Bhikkhus in 
the U.S.A., following the hopes of the International Buddhish 
Conference and the urgings of the United Nations, also com-memorates 
this special holy day. 
Visakha Puja Day commemorates the three main events 
in the Buddha’s life. First, the birth of the Buddha is for the 
benefit of all people in the world because of the message the 
Blessed One brings regarding the alleviation of suffering. 
Secondly, the Enlightenment of the Buddha is a light to expel 
the darkness of the world, the darkness of the defilements of 
greed, anger, and delusion, insofar as the Buddha shows how 
we, too, can approach this blissful, luminous state. Thirdly, 
The Significance of Visakha Puja Day 
Ven. Dr. Thanat Inthisan, 
Secretary –General of The Council of Thai Bhikkhus in the USA.
ธรรมรัตน์ 6 Dhammaratana ธรรมรัตน์ 7 Dhammaratana 
ในช่วงสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนาฉลองวันวิสาขบูชา ซึ่งเป็นวัน 
สำ�คัญสากลของโลก ชาวพุทธทุกชุมชน ทุกประเทศ ต่างก็จัดกิจกรรมทำ�พิธี 
บูชาสักการะ และจัดประพฤติปฎิบัติธรรมตามสมควรแก่ฐานะวัดและชุมชน 
ของตน ๆ สำ�หรับวัดไทยในสหรัฐอเมริกานั้นก็จะถือเอาตามปฏิทินไทย คือปีนี้ 
เป็นปีอธิกมาส (๘ สองหน) ก็จะเลื่อนการทำ�บุญวันวิสาขบูชาจากวันเพ็ญเดือน 
๖ เป็นวันเพ็ญเดือน ๗ ซึ่งตรงกับวันจันทร์ที่ ๔ มิถุนายน ที่วัดต่าง ๆ สะดวกใน 
การจัดพิธีทำ�บุญ ฟังธรรม และเวียนเทียน ตามประเพณีที่ทำ�สืบ ๆ กันมา 
ในโอกาสสำ�คัญนี้เพื่อเป็นการรำ�ลึกถึงพระคุณอันยิ่งใหญ่ขององค์สม 
เด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าที่พระองค์ได้เสด็จอุบัติขึ้นมาในโลกนี้เพื่อขจัดปัญหา คือ 
ความทุกข์ ของมวลมนุษย์ชาติ และการตรัสรู้ธรรมของพระองค์ เป็นพระสัมมา 
สัมพุทธเจ้า ได้ทำ�ให้พระองค์มีพระปัญญาอันลึกซื้งกว่ามนุษย์ธรรมดา จะเห็น 
ว่าความกว้างขวางแห่งพระปัญญาของพระพุทธเจ้านั้นครอบโลกไปหมด ดัง 
นั้น จึงเรียกพระนามของพระองค์ว่า “สัพพัญญู” บ้าง “โลกวิทู” บ้าง ตาม 
สมควรแก่เหตุ หากจะเรียกพระปัญญาของพระพุทธเจ้าว่า “มหาปัญญา” 
the death of the Buddha reveals the ultimate truths of exis-tence: 
the impermanence of all things, the unsatisfactoriness 
of everything in the world (the world’s “suffering” character), 
and the lack of self that characterizes all phenomena. 
As we celebrate Visakha Puja, each of us should bear in 
mind the words spoken by the Buddha at the beginning of 
his life’s work and those spoken at the end. Shortly after his 
Enlightenment, when Brahmā Sahampati had convinced the 
Buddha to teach the Dhamma for the benefit of mankind, the 
Buddha said, “Open for [all human beings] are the doors to 
the Deathless, / Let those with ears now show their faith”. We 
should respond to the words of the Buddha by developing our 
faith into true wisdom so we, too, can approach the deathless 
state of Enlightenment. Shortly before his death, the Bud-dha 
uttered these last words: “All conditioned things are of 
a nature to decay—strive on untiringly”. We should engage 
untiringly in our work, this Vesakha Day and everyday, of de-veloping 
the truth of the Buddha’s teaching in our own lives 
and of bringing it into the lives of others. 
Mar. 19, 2012 
พระพุทธเจ้าทรงอุบัติขึ้น 
เพื่อขจัดปัญหา คือ ความทุกข์
ธรรมรัตน์ 8 Dhammaratana ธรรมรัตน์ 9 Dhammaratana 
ปัญญาของนักวิทยาศาสตร์ และเรียกปัญญาทั่ว ๆ ไปมีปัญญาในการบริหาร 
การจัดการ เป็นต้นว่า “กุสโลบาย” ก็น่าจะได้อย่างสนิททีเดียว 
ยกตัวอย่างให้เห็นง่าย ๆ เช่นชาวบ้านทั่วไป ถึงจะฉลาดแค่ไหน เขาก็ 
จะมีเพียงปัญญาเพื่อประกอบอาชีพเท่านั้น ยังตกเป็นทาสของระบบและความ 
คิดของคนบางกลุ่มอยู่นั่นเอง ส่วนมากแล้วจะมองปัญหาในระยะสั้น แคบ 
และเป็นปัญญาที่ค่อนข้างจะมีผลกระทบต่อธรรมชาติสูงมาก นอกจากนี้ยัง 
ขาดความคมเฉพาะด้านอีกด้วย พวกนักวิทยาศาสตร์ นั้น มีปัญญาที่มีความ 
คมเฉพาะด้านสูงมาก แต่ก็มีขอบเขตจำ�กัดอยู่แค่นั้น ไม่รู้จักสิ่งทั้งหมดทั้งด้าน 
วัตถุและด้านจิตใจได้ทั้งโครงสร้างเช่นกับพระพุทธเจ้า เช่น เซอร์ ไอแซ็ก นิว 
ตัน นั่งอยู่ใต้ต้นแอปเปิ้ล เห็นลูกแอปเปิ้ลหล่นลงมาก็รู้แต่เพียงว่า นั่นคือลูก 
แอปเปิ้ลมีความรู้แถมมานิดหน่อยเท่านั้นว่า โลกมีแรงโน้มถ่วง ซึ่งจริง ๆ แล้ว 
พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า นั้นมันเป็นเรื่องของไตรลักษณ์ แอปเปิ้ลลูกนี้ ต้องเป็น 
ไปตามเหตุตามปัจจัย เมื่อถึงคราวที่ผลแก่เต็มที่แล้ว ขั้วของมันก็จะหลุดร่วง 
ลงมา และแม้แต่คำ�ว่า แอปเปิ้ล ก็ยังเป็นสิ่งสมมุติอยู่นั่นเอง ถึงคนชื่อนิวตัน 
จะเกิดหรือไม่เกิดขึ้นมาในโลกใบนี้เลย แอปเปิ้ลลูกนั้นมันก็ต้องหล่นลงตาม 
เหตุตามปัจจัย เพื่อเป็นการแสดงอาการของไตรลักษณ์ให้ชาวโลกเห็นอยู่แล้ว 
เพราะทั้งลูกแอปเปิ้ลทั้งโลกและแรงโน้มถ่วง รวมไปถึงตัวของนิวตันด้วย ก็ 
ล้วนแต่เป็น ธัมมฐิติ เป็นกฎที่ดำ�รงอยู่อย่างนั้น พระพุทธเจ้า จะเกิดหรือไม่เกิด 
ไอน์สไตน์ จะมีหรือไม่มี นิวตัน จะเห็นหรือไม่เห็น เมื่อถึงเวลา แอปเปิ้ลลูกนั้น 
ก็ต้องหล่นอย่างแน่นอน 
สรุปง่าย ๆ ก็คือว่า กฎที่นักวิทยาศาสตร์ค้นพบแต่ละกฎแต่ละ 
ทฤษฎีนั้น ล้วนแต่เป็นกฎย่อยกฎหนึ่งหรือเป็นส่วนหนึ่งของกฎไตรลักษณ์ที่ 
พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้เท่านั้น 
และเพราะความเข้าใจอันลึกซึ้งแห่งพระปัญญาของพระพุทธเจ้าที่ 
สามารถเข้าใจถึงสภาพวัตถุและจิตใจได้มากกว่านักวิทยาศาสตร์นี้เอง นัก 
ปราชญ์แห่งยุคท่านหนึ่งจึงพูดได้อย่างเต็มภาคภูมิว่า “พุทธศาสนาใน 
ฐานะที่เป็นพื้นฐานแห่งวิทยาศาสตร์” หรือถ้าจะพูดให้ถูกที่สุดจะพูดว่า 
“วิทยาศาสตร์เป็นเพียงแขนงหนึ่งในพระพุทธศาสนาเท่านั้น” ก็สมควร 
อันนี้ เป็นความแตกต่างกันแห่งปัญญาของบุคคลทุก ๆ ระดับ ตั้งแต่ 
ปุถุชนจนพระอริยะเจ้าระดับพระพุทธเจ้า ปัญญาของปุถุชนที่พอมีความฉลาด 
อยู่บ้างก็คิดอยู่แต่ว่า จะมีอะไรกิน? จะกินวิธีไหน? และวิธีได้ของกินมาจะทำ� 
อย่างไร? ทำ�อย่างไรจึงจะร่ำ�รวย จะได้กำ�ไรมาก ๆ เมื่อมีความคิดเช่นนี้วิชาว่า 
ด้วยการจัดการการบริหารจึงเกิดขึ้น 
ปัญญาแบบนักวิทยาศาสตร์ 
พวกที่สอง (พวกหัว 
วิทยาศาสตร์) ก็มัวครุ่นคิดอยู่ 
ว่า โลกนี้คืออะไร? หินก้อน 
นี้ถูกผสมไว้ด้วยสสารอะไร 
บ้าง? จะนำ�มาแปรรูปใช้เป็น 
อะไรได้บ้าง และจะเอามา 
ได้ด้วยวิธีไหน? เมื่อคิดดังนี้ 
แล้วคนพวกนี้ก็จะเกิดการ 
ขวนขวายทดลองด้วยวิธีการ 
ต่าง ๆ วิชาวิทยาศาสตร์จึง 
เกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ ทั้ง 
สองพวกแรกนี้บ้างก็แสวงหา 
เพียงราคาของธรรมชาติ เพื่อที่จะเอาเปรียบธรรมชาติ บ้างก็แสวงหาความรู้ 
เพียงอย่างเดียว บ้างก็แสวงหาเพียงความจริงของวัตถุธาตุเท่านั้น สิ่งทุกสิ่งที่ 
นับมานี้เป็นสิ่งที่มีอยู่ในพระพุทธเจ้าหมดแล้ว แต่สิ่งที่พระพุทธองค์มีมากไป 
กว่านั้นก็คือ พุทธวิธี ในการดับทุกข์ และการนำ�เอาหลักธรรมไปสั่งสอนแก่ 
เวไนยสัตว์ ซึ่งไม่มีผู้ใดชาญฉลาดเทียบเท่าพระพุทธองค์ได้เลย จึงมีการย่อเอา 
คุณของพระพุทธองค์ไว้อย่างรัดกุมและครบถ้วนไว้เพียง ๓ ประการ คือ :- 
๑. พระบริสุทธิคุณ ทรงหมดจดจากกิเลสเครื่องเศร้าหมอง
ธรรมรัตน์ 1 0 Dhammaratana ธรรมรัตน์ 1 1 Dhammaratana 
๒. พระมหากรุณาธิคุณ คือทรงมีเมตตาต่อสัตว์โลกทุกหมู่เหล่า 
๓. พระปัญญาคุณ ทรงเป็นผู้ฉลาดที่สุดหาผู้เสมอเหมือนมิได้ 
นอกจากพระผู้มีพระภาคเจ้าจะสมบูรณ์ไปด้วยคุณต่าง ๆ แล้ว 
พระองค์ยังเป็นนักปกครองที่ครบถ้วนไปด้วยวิธีที่น่าอัศจรรย์มาก พระองค์ 
ทรงมีวิธีการปกครองให้เลือกเอาไปใช้ได้ทั้งสองวิธี คือ : ระบอบประชาธิปไตย 
๑ ระบอบเผด็จการ ๑ ระบอบประชาธิปไตยนั้นทรงให้ใช้อปริหานิยธรรมใน 
การปกครอง ส่วนระบอบเผด็จการนั้นทรงให้ใช้ทศพิธ ราชธรรม ๑๐ ประการ 
ในการปกครอง พระองค์เป็นผู้เดียวเท่านั้นที่ปกครองสาวกด้วยความรู้ทั้งสอง 
แบบคือความรู้สามัญที่เกิดจากการเรียนรู้ จากประสบการณ์ตรง ที่ได้เห็น 
ได้ยินได้สัมผัสมาโดยตรงและความรู้วิสามัญคือความรู้ในด้านนามธรรมซึ่ง 
ได้แก่เรื่องของจิตใจ การบริหารจิตการควบคุมจิตใจจนอยู่ในควบคุมอยู่ใน 
อำ�นาจได้ความรู้วิสามัญเช่นนี้เองที่เรียกว่า “สัพพัญญู และโลกวิทู” ซึ่งเป็น 
ความรู้จากการตรัสรู้ มิใช่ความรู้เกิดจากการเล่าเรียนศึกษา ในห้องสี่เหลี่ยม 
และปริญญาของพระพุทธองค์นั้นก็คือความดับไปแห่งกิเลสอาสวะทั้งปวง 
โดยมีธรรมชาติเป็นผู้มอบให้สมกับที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า “กตมา 
จ ภิกฺขเว ปริญฺญา ราคกฺขโย โทสกฺขโย โมหกฺขโย. อยํ วุจฺจติ ภิกฺขเว 
ปริญฺญา” ความว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ปริญญาเป็นไฉน คือ ความสิ้นไป 
แห่งราคะ ความสิ้นไปแห่งโทสะ ความสิ้นไปแห่งโมหะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! 
นี้เราเรียกว่าปริญญา” แต่ปริญญาที่เกิดจากการศึกษาเล่าเรียนทุกวันนี้ ที่ 
ธรรมชาติมอบให้ คืออากาศเป็นพิษ ความแห้งแล้ง ป่าไม้หมดไป ปลาในห้วย 
หนองคลองบึงตายเป็นแพเป็นบาดเป็นแผล นี้คือปริญญาที่ธรรมชาติมอบให้ 
แก่ผู้จบการศึกษาในปัจจุบันนี้ 
การฟื้นฟูปัญญา 
ในทางพระพุทธศาสนานั้น ได้บ่งถึงคุณูปกรณ์ให้ปัญญาเกิดมีอยู่ ๓ 
ทางด้วยกันคือ สุตมยปัญญา ปัญญาที่เกิดจากการฟัง ๑ จินตามยปัญญา 
ปัญญาที่เกิดจากการคิด ๑ ภาวนามยปัญญา ปัญญาที่เกิดจากการฝึกฝน 
อบรมทั้งจากการอบรมด้วยตนเอง และจากผู้อื่น ๑ 
การฟื้นฟูสุตมยปัญญา 
ปัญญาที่เกิดขึ้นจาก 
การฟังนั้นหมายความ 
ว่า ขณะที่ฟังไป ๆ นั้น 
เกิดมีแนวคิดที่แตกฉาน 
ออกไปจากเรื่องที่ฟัง 
อยู่นั้นอย่างมากมาย 
บางส่วนทำ�ให้เกิดการ 
วิจารณ์ บางส่วนน้อม 
เข้ามาใส่ตัวทำ�ให้เกิดปัญญาขึ้นได้อย่างน่าอัศจรรย์ ในสมัยครั้งพุทธกาลนั้น 
จะมีบุคคลที่ได้บรรลุธรรมเพราะการฟังธรรมมากเป็นอันดับหนึ่ง แต่การฟัง 
ธรรมนั้นต้องตั้งใจฟัง ไม่ใช่ตั้งหูฟัง จึงจะเรียกว่าการฟัง การได้ยินก็ยังไม่เรียก 
ว่าการฟังเพราะการได้ยินกับการได้ฟังนั้นเป็นคนละอย่างกัน บางครั้งอาจ 
เป็นการฟังโดยที่ไม่ได้ยิน บางครั้งอาจเป็นการได้ยินโดยที่ไม่ได้ฟังก็เป็นได้ 
ดังนั้นการฟังจึงเป็นวิธีการฟื้นฟูปัญญาได้ดีมาก 
การฟังที่สร้างสรรค์นั้น คือการฟังที่เข้าถึงเนื้อหาของสิ่งที่กำ�ลังฟังอยู่ 
นั้น แม้ว่าสิ่งนั้นจะเป็นเพียงเสียงเพลงก็ตามหากผู้ฟังสามารถแยกแยะได้ด้วย 
วิจารณญาณว่าสิ่งนั้นมีสาระอย่างไร มีโทษอย่างไร แสดงว่าปัญญาของผู้นั้น 
ได้รับการฟื้นฟูสำ�เร็จแล้ว และบุคคลผู้นั้นเคยสั่งสมสุตะมาแล้วในอดีตชาติ มี 
หญิงสาวนางหนึ่งร้องเพลงขณะตำ�ข้าวว่า :- 
“ชรายะ ปริมัททิตัง เอตัง มิลาตัจฉวิจัมมนิสสิตัง 
มรเณน ภิชชติ เอตัง มัจจุสสะ ฆสมาทิสัง คะตัง 
กิมินัง อาลยัง เอตัง นานากุณปปูริตัง 
อสุจิภาชนัง เอตัง กัฏฐักขันธสมัง อิมัง.” 
ความว่า “สรีระนี้ อาศัยหนังมีผิวเหี่ยวแห้งถูกชราย่ำ�ยีแล้ว สรีระนี้ถึง
ธรรมรัตน์ 1 2 Dhammaratana ธรรมรัตน์ 1 3 Dhammaratana 
ความเป็นอามิสคือเหยื่อของมฤตยู ย่อมตกไปเพราะมรณะ สรีระนี้เป็นที่อยู่ 
ของหมู่หนอน เต็มไปด้วยซากศพต่าง ๆ สรีระนี้เป็นภาชนะที่สกปรก สรีระนี้ 
เสมอด้วยท่อนไม้” 
ขณะที่ร้องเพลงไปด้วยตำ�ข้าวไปด้วยนั้น เจ้าตัวมิได้พิจารณาไปกับเนื้อ 
ความนั้นเลย แต่มีครอบครัวหนึ่ง ซึ่งมีพ่อกับลูก ๗ คนที่เพิ่งกลับออกมาจาก 
ป่าได้ฟังเพลงนั้นเข้าพอดี ทั้งหมดนั้นได้บรรลุปัจเจกโพธิญาณเพราะการฟังนั้น 
มีหญิงสาวอีกนางหนึ่งซึ่งเป็นนางทาสีขนหม้อน้ำ� ขณะที่นางไปตักน้ำ�นั้น นาง 
ได้เห็นดอกบัวที่เกิดอยู่ในสระนั้นจึงได้ร้องเพลงเกี้ยวดอกบัวนั้นขึ้นด้วยความ 
สำ�ราญใจว่า :- 
“ปาตผุลลัง โกกนทัง สุริยาโลเกน ตัชชิยเต 
เอวัง มนุสสัตคตา สัตตา ชราภิเวเคน มิลายันติ.” 
ความว่า “ดอกปทุมชื่อโกกนุทบานแล้วในยามเช้า ถูกแสงพระอาทิตย์ 
แผดเผา ฉันใด สัตว์ทั้งหลายผู้ถึงความเป็นมนุษย์แล้ว ย่อมเหี่ยวแห้งอับเฉา 
ไปด้วยกำ�ลังแห่งชรา ฉันนั้น” 
พระธุดงค์องค์หนึ่งกำ�ลัง 
เดินผ่านมาได้ยินเสียงเพลงนั้น 
เข้าพอดี ท่านจึงมนสิการน้อม 
เอาดอกบัวนั้นเข้าไปเปรียบกับ 
สังขารของตัวท่านเองจนสามารถ 
หลุดพ้นจากอาสวะกิเลสได้ นี้เป็น 
ตัวอย่างของสุตมยปัญญา คือ 
ปัญญาที่เกิดขึ้นจากการฟัง แม้จะ 
ถูกด่าถ้าฟังเป็นก็สามารถก่อให้ 
เกิดปัญญาได้ การฟังเสียงเพลง 
ขับที่สัมปยุตด้วยธรรมนั้น ยิ่ง 
เป็นการง่ายต่อการให้เกิดปัญญา 
แต่ผู้ฟังจะต้องมีมนสิการและตั้งใจฟังจริง ๆ ไม่ใช่เพียงแค่ได้ยิน ในภาษาบาลี 
ท่านเรียกว่า “โอหิตโสโต” แปลว่า การเงี่ยโสตลงสดับ คือตั้งใจฟังหรือฟัง 
อย่างตั้งอกตั้งใจนั่นเอง พระพุทธเจ้าท่านได้ตรัสอานิสงส์ที่เกิดจากการฟังไว้ 
ถึง ๕ ประการด้วยกันคือ :- 
๑. อัสสุตัง สุณาติ ได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยได้ฟัง 
๒. สุตัง ปริโยทาเปติ เข้าใจสิ่งที่ได้ฟังแล้วชัดยิ่งขึ้น 
๓. กังขัง วิหนติ บรรเทาความสงสัยเสียได้ 
๔. ทิฏฐิง อุชุง กโรติ ทำ�ความเห็นให้ตรงได้ 
๕. จิตตัสสะ ปสีทติ จิตของผู้ฟังย่อมเลื่อมใส 
ทั้ง ๕ ประการนี้ เป็นอานิสงส์ที่เกิดขึ้นจากการฟัง และเป็นวิธีการที่ทำ�ให้ 
สาวกของพระพุทธเจ้าได้บรรลุธรรมได้มากที่สุดในครั้งพุทธกาล 
คุณเดนนิส พาคณะสงฆ์วัดป่าธรรมรัตน์ กราบเยี่ยมพระสงฆ์ชาวเวียดนามที่มีวัด 
อยู่ไม่ไกลกันนัก เพื่อให้เกิดความคุ้นเคย - Visiting Dhamma Brother at Vietnamese 
Monastery
ธรรมรัตน์ 1 4 Dhammaratana ธรรมรัตน์ 1 5 Dhammaratana 
ในโลกปัจจุบันมีเหตุการณ์ต่างๆเกิดขึ้นมากมายในทางที่ทำ�ให้เกิด 
ความวิตกกังวลในความปลอดภัยของชีวิต ทรัพย์สิน เงินทอง ลูกหลาน ญาติ 
พี่น้อง บริวาร ตลอดถึงธรรมชาติสิ่งแวดล้อมต่างๆ เกิดภัยพิบัติถล่มโลก 
นานัปการไม่ว่าจะเป็นเรื่องแผ่นดินไหว น้ำ�ท่วม พายุกระหน่ำ� อากาศร้อน 
อบอ้าว ข้าวยากหมากแพง สินค้าอุปโภคบริโภคร่อยหรอ คนเป็นโรคภัยไข้ 
เจ็บอดอยากปากแห้ง เกิดการขาดแคลนอาหารในหลายประเทศทำ�ให้ผู้คน 
ล้มตายกันเป็นจำ�นวนมาก หรือว่า "โลกจะแตก"ดั่งคำ�เล่าลือที่พวกหมอดูหมอ 
เดาทั้งชาวไทยชาวต่างชาติประกาศไปทั่วว่าปีพุทธศักราช ๒๕๕๕ (2012) โลก 
จะถึงกาลอวสานแตกดับไป จนหลายคนเเกิดความตกอกตกใจบางคนถึง 
กับเสียเงินทองไปมากมายเกี่ยวกับการป้องกันบรรเทาในการที่จะไม่ให้โลก 
แตกสลายไปเร็วขึ้น แต่ความจริงแล้ว โลกคือ สิ่งที่ต้องแตกดับได้ในที่สุด 
อยู่แล้ว แต่ว่าจะช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับฝีมือมนุษย์ของเราแน่นอน พระพุทธเจ้า 
ท่านตรัสไว้ว่า ในอนาคตโลกจะเกิดการแตกสลายไปเมื่อมีดวงอาทิตย์เกิดขึ้น 
ถึงเจ็ดดวง ผู้เขียนจำ�ไม่ได้ชัดเจนว่าท่านตรัสไว้ในพระสูตรใหน แต่เนื้อหาสา 
ระจริงๆคืออยากให้มองให้เห็นตามความจริงของสถานการณ์โลกปัจจุบันนี้ 
ความร้อนเกิดขึ้นมากจนองค์กรณ์ต่างๆที่บอกว่ารักโลกของเรามีการวิจัยว่า 
ความร้อนเกิดขึ้นมากในประวัติศาสตร์โลกนี้เมื่อปี ๒๕๕๓ อยากจะนำ�เอาคำ� 
ตรัสของพระพุทธเจ้ามาบอกกล่าวว่าในอนาคตอันใกล้นี้เรื่องราวเหตุการณ์ 
ภัยพิบัติจะเกิดขึ้นด้วยน้ำ�มือของมนุษย์เรานี้แหละเมื่อคนขาดศีลขาดธรรม 
จะมีแต่ความชอกช้ำ�ไปทั้งแผ่นดิน อธรรมจะเกิดขึ้นมีขึ้นมากมาย "โลกจะ 
วิปริตแตกสลายได้ง่ายเมื่อคนเรามีอธรรม ๓ ประการนี้ คือ 
๑. ความเห็นผิดวิปริตจากความจริง (มิจฉาธัมมาปเรตา ความเห็นผิด 
เป็นชอบ เห็นกงจักรเป็นดอกบัว เห็นหางเป็นหัว เห็นชั่วเป็นดี ) 
๒. ความโลภเกินพิกัด ( วิสมโลภาพิภูตา ความโลภโมโทสันต์ ความ 
อยากได้อยากดีอยากมีอยากดัง อยากเกินขอบเขต เป็นเปรตในคราบของ 
มนุษย์ไม่มีที่สิ้นสุด คอรัปชั่นปั่นป่วนล้วนหลากหลาย ) 
๓. ความกำ�หนัดกล้าบ้ากามวิปริตผิดมนุษย์ ( อธัมมราครัตตา ความ 
มักมากในกาม เมามายในรูปรส กลิ่น เสียง สัมผัส เกินความจำ�เป็นจนเป็น 
เหตุให้ไม่รู้จักแม้กระทั่งญาติพี่น้อง ข่มขืนกระทำ�ชำ�เราได้แม้กระทั่งลูกผัว 
พ่อแม่ตัวเอง ) 
ที่พูดมานี้เกิดขึ้นแล้วในปัจจุบันดูแล้ว เห็นแล้วน่ากลัวจริงๆ สิ่งเหล่า 
นี้จะทำ�ให้โลกแตกสลายไปในไม่ช้าแน่นอน ชัวร์ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ ดั่งคำ�ที่นัก 
ปราชญ์ผู้รู้ได้แต่งไว้เป็นคำ�คมเตือนใจไว้ว่า 
" พ่อแม่ไร้ธรรม ลูกก็ช้ำ�ดวงจิต 
ลูกศิษย์ไร้ธรรม ครูอาจารย์ก็ช้ำ�หัวใจ 
คนทั่วไปขาดธรรม โลกก็ช้ำ�ไปทั้งแผ่นดิน " 
พระเดชพระคุณหลวงตาชี(พระวิเทศธรรมรังษี) พระเถระผู้ใหญ่ที่ 
ทำ�งานพระศาสนาในสหรัฐอเมริกามาหลายทศวรรษ ได้เขียนบทความไว้ใน 
วารสารแสงธรรม หนังสือธรรมะประจำ�วัดไทยกรุงวอชิงตัน,ดี.ซ.ี มีความตอน 
หนึ่งว่า 
"คนมีธรรมะเหมือนกับสระที่มีน้ำ� คนที่ขาดธรรมะเหมือนสระขาดน้ำ�" 
"โลกวิปริต จิตวิปลาส ถ้าปราศจากธรรมะ" 
เตชวโร ภิกขุ
ธรรมรัตน์ 1 6 Dhammaratana ธรรมรัตน์ 1 7 Dhammaratana 
คนมีธรรมะจะทำ�ให้การดำ�เนินชีวิตไปในทางที่งดงามสง่าสดใส มีคุณภาพ 
ชีวิตที่ดีงาม คนที่ขาดธรรมะ จะทำ�ให้ดำ�เนินชีวิตไปในทางที่ตกต่ำ� ไม่มี 
คุณภาพ ชีวิตเต็มไปด้วยความเร่าร้อน ยืน เดิน นั่ง นอน ไม่ผ่องใสไร้ความ 
สุข 
ดังนั้น จึงอยากจะนำ�หลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาบอกกล่าวให้นำ�ไป 
ปฏิบัติ เพื่อเป็นการถ่วงดุลย์ให้โลกหมุนไปสู่ความแตกดับช้าๆ หรือพูดง่ายๆ 
ว่าให้มีความสุขเพิ่มขึ้นในโลกมากขึ้นเร็วขึ้น คือ "โลกวิปริต พัฒนาจิต เพิ่มสุข 
ชีวิต ปิดอบาย คลายเร่าร้อน" ด้วยคุณธรรมเหล่านี้ คือ 
๑. มีสติทุกการกระทำ� (Mindfulness every moment) คือการมีสติ 
อย่าเผลอ 
๒. มีปัญญาแก้ปัญหาด้วยเหตุผล (Wisdom every time) มีปัญญา 
เข้าใจชีวิตสม่ำ�เสมอ 
๓. มีความสุขทุกความเคลื่อนไหวใส่ใจตัวเองไม่เครียดไม่กังวล (En-joy 
every action) สร้างความสุขที่สร้างสรร ขยันแสวงหาความปล่อยวางไม่ 
สร้างความอึดอัดขัดเคืองในจิตใจ 
การที่จะทำ�ให้ได้อย่างนี้จะต้องมีความตั้งใจมันมากพอสมควร การ 
ที่คนเราจะมีความตั้งใจมั่นได้ก็คือต้องหมั่นทำ�สมาธิบ่อยๆ หลักฐานทาง 
พระพุทธศาสนานั้นบ่งบอกถึงการมีคุณภาพจิตที่ดี มีความตั้งมั่นไม่หวั่น 
ไหว มีพลานุภาพในการสะกัดกั้นความทุกข์กาย ทุกข์ใจได้ดีแท้แน่นอนจน 
สามารถจะเรียกได้ว่า ชีวิตมีความสุข 
"สุขกาย สุขใจ ไร้โรค โชคดี มีคุณธรรม" การที่จะทำ�ให้มีชีวิตที่ไม่วิตก 
กังวลจนเครียดไปกับสถานณการณ์โลกปัจจุบันนี้ด้วยสติที่ยอดเยี่ยม เข้าใจ 
ทุกสิ่งตามความเป็นจริงว่า ทุกสิ่งย่อมเดินทางไปสู่ความเปลี่ยนแปลง แตก 
สลายดับไปในที่สุด ต้องมีสมาธิจิตที่แน่วแน่มั่นคงตามหลักธรรมคำ�สอนของ 
พระพุทธเจ้า สมาธิที่สมบูรณ์ตามหลักนี้ประกอบด้วย 
๑. มีความตั้งมั่นไม่หวั่นไหวจิตใจมั่นคง (สมาหิโต) 
๒. มีความบริสุทธิ์สะอาดผ่องใสจิตใจเยือกเย็น (ปริสุทโธ) 
๓. มีความผุดผ่องสละสลวยสวยงาม (ปริโยทาโต) 
๔. เกลี้ยงเกลากลมกล่อมโปร่งเบาสบาย (อนังคโณ) 
๕. เหมาะสมพอดีควรแก่การงานนุ่มนวล (กัมมนีโย) 
๖. ปราศจากเครื่องเศร้าหมองโดยประการทั้งปวง (วิคตูปกิเลโส) 
๗. อ่อนโยนอ่อนน้อม นุ่มนวลแต่หนักแน่น (มุทุภูโต) 
๘. ไม่วอกแวกวุ่นวาย จิตใจลงตัวที่สุด (ฐิตอาเณญชัปปัตโต) 
ถ้าหากว่ามีความสามารถทำ�จิต พัฒนาใจให้ได้อย่างนี้แล้ว ความเศร้า 
หมองทั้งหลายก็จะมลายหายสูญสิ้นไป ขอให้ทุกท่านจงอยู่กับสถานการณ์ที่ 
เป็นจริงยอมรับได้ในโลกนี้อย่าง 
"สุขกายสบายใจ ไร้โรคาพยาธิ มีสติสมบูรณ์ เพิ่มพูนความดี มีชีวี 
สดใส จิตใจเยือกเย็น บำ�เพ็ญประโยชน์ ให้โลกนี้ดำ�รงอยูอย่างสันติสุข ทุก 
ประการด้วยเทอญ .... 
๒๓ / ๐๓ / ๒๕๕๕ 
คุณจำ�ลอง แม็คคาซี่ทำ�บุญวันเกิด โดยนิมนต์คณะสงฆ์วัดป่าธรรมรัตน์ไปเจริญ 
พระพุทธมนต์-ฉันภัตตาหารเพล-แสดงธรรม มีคณะญาติธรรมมากมายไปร่วมให้กำ�ลังใจใน 
ครั้งนี้
ธรรมรัตน์ 1 8 Dhammaratana ธรรมรัตน์ 1 9 Dhammaratana 
ก่อนจะให้พรเป็นภาษาบาลี ขอให้พรเป็นภาษาไทยก่อน อนุโมทนา 
บุญกับญาติโยมที่เสียสละนำ�ข้าวปลาอาหารมาถวาย พระสงฆ์ไม่อะไรจะเป็น 
ปฏิการะน้ำ�ใจ นอกจากธรรมะคำ�สั่งสอนของพระพุทธเจ้าที่เป็นหลักของชีวิต 
ในการดำ�เนินชีวิตให้ดีงามมีความสุข เมื่อวานนี้พูดเรื่องบุญในทางพระพุทธ 
ศาสนา บุญถือว่าเป็นคำ�สำ�คัญ 
บุญคืออะไร บุญ คือ ความดี ความสุข และการชำ�ระ เมื่อเราทำ�บุญ 
ก็การทำ�ความดี ทำ�ให้เรามีความสุข และช่วยชำ�ระจิตใจของเราให้ปลอดกิเลส 
โดยเฉพาะความหมายที่ ๓ ที่บอกว่าบุญคือการชำ�ระ ท่านเปรียบว่า บุญนี้ 
เหมือนกับน้ำ�ชำ�ระ ชำ�ระอะไร ชำ�ระสิ่งสกปรกที่อยู่ในใจของเรานี้ สิ่งสกปรก 
คืออะไร คือกิเลส ได้แก่ โลภ โกรธ หลง อย่างการทำ�บุญด้วยการให้ทานนี้ 
ถือว่าเป็นการชำ�ระความตระหนี่ ภาษาพระท่านเรียกว่า มัจฉริยะ คือ ความ 
ตระหนี่ ความเห็นแก่ตัว เรามาเสียสละให้ได้ถือว่าเป็นการชำ�ระความตระหนี่ 
ออกไปจากใจของเรา 
วันนี้จะพูดเรื่องบุญกิริยาวัตถุซึ่งว่าด้วยวิธีการทำ�บุญ การทำ�บุญ 
นั้นทำ�ได้กี่วิธี โดยย่อท่านกล่าวไว้ ๓ คือ ทาน ศีล ภาวนา โดยพิสดารท่าน 
พรรณนาขยายออกเป็นบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ แต่วันนี้จะขอกล่าวเฉพาะเรื่องทาน 
การทำ�บุญด้วยการให้ทาน ก่อนอื่นขอทำ�ความเข้าใจคำ�ว่า ทานก่อน เพราะ 
ทุกวันนี้มีคนเข้าใจผิดและมักพูดว่า วันนี้ฉันไปทำ�บุญถวายเพลที่วัด มีอาหาร 
เหลือจากถวายพระ ระหว่างทางกลับบ้านเจอคนยากจนก็เลยให้ทานเขาไป 
คนทุกวันนี้ใช้ศัพท์และความหมายผิดคิดว่า การทำ�บุญหมายถึงทำ�กับพระ 
สงฆ์องค์สามเณร แต่การให้ทานนี้หมายถึงให้กับคนยากจน คนขอทาน หรือ 
คนต่ำ�ต้อยกว่าตน ที่จริงแล้วการให้หรือทานก็เป็นบุญอย่างหนึ่ง เราจะให้ 
แก่ใครก็แล้วแต่ ให้แก่พระสงฆ์ คนทั่วไป หรือให้กับสัตว์เดรัจฉาน ก็ได้บุญ 
เหมือนกัน แต่ผลบุญมากน้อยต่างกัน ถ้าให้กับคนดีมีคุณธรรมจะได้บุญ 
มากกว่า เพราะอะไร เพราะคนดีเวลาเขากินอาหารที่เราให้ไป เขาก็ได้กำ�ลัง 
และไปทำ�ความดีต่อไป เราจึงได้บุญเยอะ แต่ถ้าเราให้สัตว์เดรัจฉานนี้ บางที 
สัตว์เดรัจฉานเข้าอยู่ด้วยสัญชาตญาณ เช่น เราให้สุนัขจรจัด สุนัขอาจจะไป 
กัดคนอย่างนี้ จึงอาจจะได้บุญน้อยกว่าให้กับคน ฉะนั้น คำ�ว่า ทาน ก็คำ�หนึ่ง 
คำ�ว่าบุญก็คำ�หนึ่ง และการให้ทานก็เป็นบุญอย่างหนึ่ง 
การให้ทานมีอยู่ ๓ แบบ คือ การให้เพื่อสงเคราะห์อนุเคราะห์ การให้ 
คำ�แนะนำ�พร่ำ�สอน และการให้อภัยไม่ถือโทษโกรธกัน 
- การให้แบบสงเคราะห์อนุเคราะห์ คือ การให้ปัจจัย ๔ มี เสื้อผ้า 
อาหาร ที่พัก และยารักษาโรคเป็นต้น นอกจากนั้นการให้สิ่งที่จำ�เป็นต่อชีวิต 
อย่างอื่นอีก อย่างเวลาเขาเดือดร้อนเป็นต้นว่า น้ำ�ท่วม เราก็ส่งเงิน เสื้อผ้า 
อาหารไปช่วย เรียกรวมๆ ว่า ให้วัตถุสิ่งของ 
- การให้คำ�แนะนำ� คือ การอยู่ด้วยกันนี้ เป็นครอบครัว สังคม และ 
ประทศชาติ ถ้าไม่มีการให้คำ�แนะนำ�สั่งสอนนี้ บางทีเราทำ�ไปโดยไม่รู้ตัวว่า 
ถูกหรือผิด คนอื่นเป็นเหมือนกระจกให้เราได้เห็นข้อผิดพลาดบกพร่องของ 
ตนเอง การให้คำ�แนะนำ�สั่งสอนนี้เป็นบุญอย่างหนึ่ง อย่างเราเห็นเพื่อนไปทำ� 
ไม่ดีก็เตือนเพื่อนว่า เอ้อไม่น่าจะทำ�แบบนี้นะ เช่น นั่งรถไปด้วยกัน ถ้าเพื่อน 
ขับรถเร็วเกินที่กฎหมายกำ�หนดไว้ก็บอกเพื่อน เหมือนเราให้สติเพื่อน ถ้าสูง 
ขึ้นไปอีก คือ การแนะนำ�พร่ำ�สอนให้เข้าใจในเรื่องสัจธรรมความจริงของชีวิต 
การให้และสงคราม 
ปิยเมธี
ธรรมรัตน์ 2 0 Dhammaratana ธรรมรัตน์ 2 1 Dhammaratana 
ที่เรียกว่า “ธรรมทาน” ยิ่งประเสริฐสุด เพราะทำ�ให้หมดทุกข์ได้ 
- การให้อภัย คือ การไม่ถือโทษโกรธกัน ธรรมดาการอยู่ร่วมกัน 
ย่อมมีการกระทบกระทั่งกันบ้าง ไม่มากก็น้อยเหมือนลิ้นกับฟัน ถ้าไม่รู้จักให้ 
อภัยซึ่งกันและกัน ก็อยู่ด้วยกันลำ�บาก ดังนักประพันธ์เขียนไว้ว่า 
เมื่อไม่มีการให้อภัยผิด และไม่คิดจะลืมซึ่งความหลัง 
จะหาความสามัคคียากลำ�บากจัง ความพลาดพลั้งย่อมมีทั่วทุกตัวคนฯ 
คนอยู่ร่วมกัน ถ้าไม่รู้จักให้อภัยกัน ก็อึดอัดลำ�บาก อยู่อย่างไม่มี 
ความสุข อยู่บ้านเดียวกัน ที่ทำ�งานเดียวกัน เดินผ่านกันยังไม่คุยกัน บางที 
เจอหน้ากันก็ทำ�เป็นไม่เห็น อันนี้มันก็เหมือนตกนรกทั้งเป็น บ้านก็เป็นนรก ที่ 
ทำ�งานก็เป็นนรก มันอึดอัด เดือดร้อน วุ่นวาย สับสน พระพุทธเจ้าตรัสว่า ฆ่า 
ความโกรธเสียได้ อยู่เป็นสุข(ยืน เดิน นั่ง นอน = สุข) 
การให้ทาน ควรพยายามทำ�ให้ครบทั้ง ๓ แบบ เพราะแต่ละแบบนั้น 
เป็นการฝึกฝนพัฒนาที่แตกต่างกันออกไป ทั้งการให้แบบอนุเคราะห์ ทั้งการ 
ให้คำ�แนะนำ� ทั้งการให้อภัย อันนี้เราก็พยายามตลอดให้กลายเป็นนิสัยความ 
เคยชินที่ดี 
มีสุภาษิตฝรั่งกล่าว 
ไว้คล้ายๆ กับพระพุทธ 
ภาษิตว่า The more you 
give, the more you get. 
แปลว่า ยิ่งให้ยิ่งได้ ที่ว่า 
ได้ อาจจะมองได้หลาย 
แง่ คือ ได้ความรักความ 
เอ็นดูจากคนรอบข้าง อีก 
อย่างเป็นการฝึกการเสีย 
สละด้วย เพราะว่าการ 
ให้สามารถทำ�ให้สังคมอยู่ได้ และการให้เป็นเรื่องลำ�บากทำ�ยาก พระพุทธเจ้า 
ตรัสว่า การให้และการทำ�สงครามเสมอกัน ลองคิดดูนะก่อนที่เราจะให้อะไร 
ใครได้ จิตใจเรามันขัดแย้งกัน ถ้าใครเคยดูหนังสไปเดอร์แมนมีอยู่ภาคหนึ่ง 
มีสไปเดอร์แมน ๒ ตัว คือ ตัวดำ� กับตัวแดง ตัวดำ�นี้ไม่ดีเปรียบเหมือนจิตใจ 
ฝ่ายต่ำ� ส่วนตัวแดงนี้ดีเหมือนจิตใจฝ่ายสูง มันสู้กัน บางทีเวลาที่เราจะให้ 
วัตถุสิ่งของ ให้คำ�แนะนำ� หรือให้อภัย จิตใจเรามันจะสู้กัน ให้ดีหรือไม่ให้ดี 
ความตระหนี่ ความเห็นแก่ตัวมันจะสู้กัน ถ้าฝ่ายดีชนะก็สามารถให้ได้ 
ในสมัยพุทธกาลมีพราหมณ์ชื่อจูเฬกสาฎก อยู่กับภรรยาหนึ่งคน เป็น 
คนยากจน แต่ว่ามีความศรัทธาอยากไปฟังเทศน์ที่วัด การจะออกไปข้างนอก 
เป็นเรื่องใหญ่ ต้องเปลี่ยนกันออกไป เพราะมีผ้าห่มอยู่ผืนเดียว ต้องนัดแนะ 
กันว่า ตาออกไปตอนเย็นนะ เดี๋ยวฉันจะออกไปตอนบ่าย คือพอพราหมณ์ 
ออกไปก็ห่มผ้าผืนนั้นออกไปฟังเทศน์ ถ้าภรรยาออกไปก็เอาผ้าผืนนั้นห่ม 
ออกไป มีอยู่วันหนึ่งพราหมณ์ออกไปฟังเทศน์พระพุทธเจ้า เกิดความเลื่อมใส 
ศรัทธา ด้วยความยากจนไม่รู้จะเอาอะไรถวายพระพุทธเจ้า มองเห็นผ้าอยู่ผืน 
เดียวที่ตัวเองห่มก็คิดว่าจะถวายผ้าพระพุทธเจ้า ในขณะที่คิดอยู่ จิตใจฝ่าย 
หนึ่งก็โต้แย้งขึ้นมาว่า ถ้าถวายผ้าผืนนี้กลับบ้านถูกภรรยาดุแน่ มีผ้าอยู่ผืน 
เดียวดันไปถวายพระพุทธเจ้าแล้วจะเอาอะไรใช้ จิตใจของแกก็สู้กันอยู่อย่าง 
นั้นระหว่างกุศลจิตกับอกุศลจิตผ่านไปตั้งหลายชั่วโมง เลยตัดสินใจ เอาวะ 
เป็นไงเป็นกัน รีบลุกเอาไปถวายเลย พอถวายเสร็จแกอุทานเลยว่า ชิตัง เม ชิ 
ตัง เม เราชนะแล้ว เราชนะแล้ว 
พระราชาได้ยินก็เลยถามพวกอำ�มาตย์ว่า ใครบอกว่าเราชนะแล้ว พอ 
รู้ทีหลังว่า เราชนะแล้ว หมายถึงชนะความตระหนี่ ที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า 
การให้ทานเปรียบด้วยการทำ�สงคราม คือ การทำ�สงครามในใจของเราเอง 
นี้เป็นวิธีทำ�บุญด้วยการให้ เป็นการฝึกฝนการเสียสละ และความไม่ 
เห็นแก่ตัวให้เกิดมีขึ้นในจิตใจของเรา กล่าวอนุโมทนามาพอสมควรแก่เวลา 
ต่อไปก็ตั้งใจกวาดน้ำ�รับพร เป็นภาษาบาลีสืบต่อไป
ธรรมรัตน์ 2 2 Dhammaratana ธรรมรัตน์ 2 3 Dhammaratana 
Regarding to our history, we see clearly the close relationship be-tween 
Buddhism and the Thai nation. The history of the Thai nation is also 
the history of Buddhism. The Thai nation originated over 2,000 years ago. 
Also in that same period Buddhism came and has played an important part 
in Thai history ever since. The Thai nation settled firmly in present-day Thai-land 
700 years ago. Also seven centuries ago it adopted the present form of 
Buddhism. The charm that has earned Thailand the reputation as the “Land 
of Smiles” undoubtedly comes from the influence of Buddhism over her peo-ple. 
Theravada Buddhism has been the predominant religion in Thailand. 
Under the constitution, The King, as a symbol of the nation, although protec-tor 
of all religions, must be a Buddhist, Buddhism in Thailand has flourished 
under patronage of the monarch, with many numbers of the royalty entering 
the order for time. 
According to the latest census, the total population of Thailand is over 
60 million. Out of this number, approximately 94% are Buddhists there are 
about 35,000 temples and 365442 monks and 75,093 novices (Source: Na-tional 
Buddhist Center: December 2005) Early Thai Sangha, there 
appear to have been two main groups involved in different activites inher-ited 
from earlier Buddhist and Singhalese traditions, the gamavasi, or “city-dwelling” 
monks, and the araññavâsi, or “forest-dwelling” monks. The two 
groups have become known for being involved in two different tendencies in 
Buddhist practice, namely gantha dhura, the study of books, and vipassanâ 
dhura, the practice of meditation. 
There are now two main Orders of Buddhism in Thailand. ie. Mahani-kaya 
and Thammayut Nikaya Orders. Thamayutta is a new order established 
by Prince Mongkut in the 1830 s. (then the King Rama IV), of Thailand. After 
established of the new order, the old order has been called “Mahanikâya” 
The peoples of Thailand have encouraged and supported Buddhism by 
building and maintaining monasteries, by providing the monks with material 
necessities and facilities for performing religious duties, by patronizing their 
educational activities such as the Buddhist Councils for revising the Tripi-taka 
and having the scriptures translated into Thai. 
We may note that although the Thai Sangha may be presented as or ap-pear 
to be a monolithic institution, there is a history of Buddhist movements 
and reformers who continue to test the boundaries of practices and beliefs in 
order to keep Buddhism relevant for the current times. 
------------ 
Bibliography 
1. Buddhist Promotion Center. The Buddha’s Teaching. Bangkok: Buddhist 
Promotion Center, 1992. 
2. Mahamakutta Buddhist University. Plan of Life. Bangkok: Mahamakutta 
Educational Council, 1992. 
3. Phra Rajavaramuni. Thai Buddhism in the Buddhist World. Bangkok: 
Mahachulalongkorn University Press, 1990. 
4. Ven.Dr. W.Rahula. What the Buddha Taught. Bangkok:Haw Trai Foun-dation, 
1999 
5. Vinai Ussivakul. An Introduction to Buddhist Meditation for Results. 
Bangkok: Tippayawisut, 2003. 
'Thai Buddhism'' 
Phra Srisitthimuni
ธรรมรัตน์ 2 4 Dhammaratana ธรรมรัตน์ 2 5 Dhammaratana 
เพราะทุกวันนี้ใครๆ ก็ป่วยเป็นโรคเบาหวานได้ ไม่ว่าจะเป็นตัวคุณเอง 
คนในครอบครัว หรือเพื่อนร่วมงาน รวมถึงเด็กรุ่นใหม่ก็มีแนวโน้มป่วยเป็น 
โรคเบาหวานกันมากขึ้นเห็นอินเทรนด์อย่างนี้ แท้จริงแล้วเบาหวานเป็นโรค 
ดึกดำ�บรรพ์ เพราะมีการตรวจพบมาตั้งแต่สมัยอียิปต์โบราณ โดยคุณหมอใน 
สมัยนั้นได้ตรวจพบว่า ผู้ป่วยรายหนึ่งปัสสาวะรสหวาน และให้คำ�จำ�กัดความ 
ภาวะนั้นว่า Mellitus ซึ่งแปลว่า น้ำ�ผึ้ง เป็นการยืนยันว่าเบาหวานเป็นโรคที่ 
เกิดจากภาวะน้ำ�ตาลในเลือดสูง โดยปัจจัยหลักที่ทำ�ให้เป็นโรคเบาหวานคือ 
พฤติกรรมการกินอาหารผิดๆ ของเรานี่เอง 
ฉบับนี้ไม่ว่าคุณผู้อ่านจะอยู่ในฐานะผู้ป่วย ญาติหรือเพื่อนฝูงของผู้ป่วย 
โรคเบาหวานทั้งประเภทที่ 1และประเภทที่ 2 (ซึ่งจะอธิบายกันต่อไป) เรามีวิธี 
กินอาหารที่จะทำ�ให้ระดับน้ำ�ตาลในเลือดสมดุลมานำ�เสนอเพื่อนำ�ไปดูแลกัน 
ค่ะ 
กินสู้เบาหวานประเภทที่ 1 
จัดการกับอาหารตัวปัญหา 
หลีกเลี่ยงอาหารที่มีค่าดัชนีน้ำ�ตาลสูงอาจารย์สุระภี เสริมพณิชกิจ 
กรรมการสมาคมนักกำ�หนดอาหารแห่งประเทศไทย และที่ปรึกษาด้านโภชน 
บำ�บัด ฝ่ายโภชนาการ โรงพยาบาลรามาธิบดี แนะนำ�การบริโภคอาหารที่ 
เหมาะสมสำ�หรับผู้ป่วยโรคเบาหวานประเภทที่ 1 ดังต่อไปนี้ 
“ผู้ป่วยโรคเบาหวานประเภทที่ 1 ตับอ่อนไม่มีประสิทธิภาพย่อย 
น้ำ�ตาลแล้ว จึงจำ�เป็นต้องควบคุมปริมาณอาหารที่มีน้ำ�ตาล การกินอาหารจึง 
ต้องดูค่าดัชนีน้ำ�ตาล Glycemic Index (GI) ประกอบด้วย”นายแพทย์แอนดรูว์ 
ไวล์ อธิบายว่า ค่าดัชนีน้ำ�ตาลเป็นค่าที่ใช้วัดว่าคาร์โบไฮเดรตจะเปลี่ยนเป็น 
น้ำ�ตาลกลูโคสช้าหรือเร็วแค่ไหน และมีผลต่อระดับน้ำ�ตาลในเลือดอย่างไร 
ยิ่งค่าดัชนีน้ำ�ตาลสูงเท่าไร ระดับน้ำ�ตาลในเลือดก็จะเพิ่มเร็วขึ้นเท่านั้นเกณฑ์ 
การวัดค่าดัชนีน้ำ�ตาลจัดให้น้ำ�ตาลกลูโคสมีค่าดัชนีอยู่ที่ 100ขณะที่อาหาร 
คาร์โบไฮเดรตอื่นๆ จะมีค่าดัชนีน้ำ�ตาลแตกต่างกันออกไป 
อย่ากินผลไม้จนเพลิน 
เนื่องจากในผลไม้มีน้ำ�ตาลฟรักโทสปริมาณมากดังนั้นผู้ป่วยโรคเบา 
หวานประเภทที่ 1 จึงต้องคอยเตือนตัวเองในการกินผลไม้ด้วยค่ะเนื่องจาก 
น้ำ�ตาลฟรักโทสนั้นจะถูกเปลี่ยนเป็นน้ำ�ตาลกลูโคสที่ตับและลำ�ไส้ การกินผล 
ไม้ซึ่งมีน้ำ�ตาลฟรักโทสในปริมาณมากๆ ไม่สมดุลกับปริมาณอินซูลินที่ได้รับจะ 
ทำ�ให้ระดับน้ำ�ตาลในเลือดสูงขึ้นได้เช่นกันอาจารย์สุระภีอธิบายพฤติกรรมการ 
กินผลไม้ของผู้ป่วยว่า เป็นตัวการหนึ่งที่ทำ�ให้น้ำ�ตาลในเลือดขึ้นสูงเพราะมัก 
กินกันในปริมาณมาก 
“ปัญหาเกิดจากผู้ป่วยมักเข้าใจว่าตัวเองควรงดขนมจึงหันมากินผลไม้ 
แทน ซึ่งในผลไม้ทุกชนิดมีน้ำ�ตาลดังนั้นผู้ป่วยควรเลี่ยงผลไม้หวานจัด เพราะมี 
กิน สยบเบาหวาน*
ธรรมรัตน์ 2 6 Dhammaratana ธรรมรัตน์ 2 7 Dhammaratana 
น้ำ�ตาลอยู่มาก 
“หลักการกินผลไม้ที่จำ�ง่ายๆ คือ ในหนึ่งมื้อ ควรกินผลไม้หวานมากได้ 
แค่ 6 คำ� ผลไม้หวานปานกลาง 8 - 10 คำ� ผลไม้หวานน้อย ฉ่ำ�น้ำ� กินได้ 10 - 
15 คำ� 
”ต่อไปนี้คือปริมาณ 
การกินผลไม้ที่แนะนำ� 
เพื่อไม่ให้ระดับน้ำ�ตาล 
ในเลือดขึ้นสูงจนก่อ 
ปัญหาค่ะ 
อาจารย์สุระภีสรุป 
ให้ฟังว่า “จะเห็นได้ว่าผู้ 
ป่วยโรคเบาหวาน โดย 
เฉพาะกลุ่มที่ 1 นี้ ควรเปลี่ยนทัศนคติการมองอาหารใหม่ โดยรวมกลุ่มแป้ง 
น้ำ�ตาล และผลไม้ที่มีรสหวานอยู่ด้วยกัน เพราะสามกลุ่มนี้เมื่อเข้าสู่ร่างกาย 
จะมีผลต่อระดับน้ำ�ตาลในเลือดเหมือนกัน 
“สำ�หรับอาหารในกลุ่มอื่นๆ อาจไม่ต้องควบคุมอย่างเคร่งครัดมาก 
นัก เพราะผู้ป่วยกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นเด็กและวัยรุ่นที่อยู่ในวัยเจริญเติบโตและ 
มักไม่มีปัญหาเรื่องน้ำ�หนักเกิน จึงควรได้รับปริมาณสารอาหารที่เพียงพอต่อ 
ความต้องการของร่างกาย เพื่อให้เกิดความสมดุลของพลังงานที่ใช้ในแต่ละวัน 
ดูแลร่างกายให้เจริญเติบโตตามช่วงวัย มีสัดส่วนของความสูงและน้ำ�หนักได้ 
สมดุลกัน มีสุขภาพโดยรวมที่แข็งแรง” 
อาจารย์สุระภีเสริมเรื่องเวลาการกินอาหารที่ดีต่อผู้ป่วยโรคเบาหวาน 
ประเภทที่ 1 ว่า 
“ผู้ป่วยโรคเบาหวานกลุ่มนี้ต้องกินอาหารให้ตรงเวลาที่แพทย์กำ�หนด 
เช่น หลังจากได้รับอินซูลินแล้วครึ่งชั่วโมงก็ควรกินอาหารทันที จึงจะช่วยให้ 
อินซูลินออกฤทธิ์ในการเผาผลาญน้ำ�ตาลได้ดี คือเผาผลาญได้หมด หากกิน 
อาหารไม่ตรงเวลา อินซูลินทำ�หน้าที่ได้ไม่เต็มที่ น้ำ�ตาลที่กินเข้าไปจะหลง 
เหลืออยู่ ผลเลือดที่ออกมาคือค่าน้ำ�ตาลในเลือดไม่ลงนั่นเอง”ต่อไปเราจะพูด 
ถึงผู้ป่วยโรคเบาหวานกลุ่มใหญ่ที่ต้องเอาใจใส่เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่ามีเคล็ดลับ 
ดีๆ มาบอกต่อค่ะ 
สรุปแล้วโรคเบาหวานเกิดจากพฤติกรรมทำ�ป่วย ไม่ว่าจะเป็นการกิน 
นอน พักผ่อน ออกกำ�ลังกาย หรือทำ�งาน ที่ไม่สมดุล แม้จะป่วยเป็นโรคเบา 
หวาน แต่เบาใจได้ หากตั้งใจเริ่มต้นยกเครื่องเรื่องกินเสียใหม่ให้สำ�เร็จ แล้ว 
ตามด้วยการปรับพฤติกรรมอื่นๆ ให้สมดุลอย่างรอบด้าน คุณก็อาจจะเอาชนะ 
โรคเบาหวานได้ แค่พลิกฝ่ามือค่ะ 
* จากนิตยสารชีวจิตฉบับที่ 323 
คณะสงฆ์และญาติธรรมวัดป่าธรรมรัตน์ประชุมปรึกษาหารือประจำ�เดือนกุมภาพันธ์ 
๒๕๕๕ ซึ่งถือว่าเป็นการประชุมอย่างเป็นทางการครั้งแรกของวัด สุขา สังฆัสสะ สามัคคี ความ 
พร้อมเพรียงของหมู่คณะนำ�ความสุขมาให้ - First Monthly Meeting in February
ธรรมรัตน์ 2 8 Dhammaratana ธรรมรัตน์ 2 9 Dhammaratana 
รายรับ 
ประจำ�เดือนมกราคม ๒๕๕๕ 
1/1/2012 
คุณอุไร ตะสิทธิ์ $ 64.00 
คุณสมทรง Fox $ 50.00 
คุณแม่บุญนำ� รักกิจ $ 40.00 
คุณอาทิตยา สุวรรณนันท์ – โจเซฟ เอทส์ และครอบครัว $ 40.00 
คุณมนัส Sands $ 40.00 
คุณปิยะพร สุวรรณนันท์ – Metodi Haralanbier $ 40.00 
1/4/2012 
Lan & Ed Ashley $ 100.00 
Nakorn Apakupakul MD $ 100.00 
1/8/2012 
Somsong Fox $ 50.00 
ใจ วงคำ� $ 30.00 
จำ�ลอง น้อย แมค์คาซี่ $ 50.00 
1/9/2012 
จันทิมา จิรเชิดชูวงศ์ $ 40.00 
อุษา จิรเชิดชูวงศ์ $ 100.00 
1/12/2012 
Samuel S & Ratsamy U Wu $ 50.00 
Pratin & Gilbert Trujillo $ 100.00 
1/13/2012 
คุณธราธร พูลสมบัติ $ 20.00 
Richard & Narttaya Tinker $ 50.00 
คุณจินดา อมรกิจวานิช $ 50.00 
อ.สุทัศน์ –สุภาพ อุดานนท์ $ 100.00 
คุณสุนิภา เกาฏีระ และครอบครัว $ 100.00 
Pinthong Ghaffarian $ 500.00 
คุณประสิทธิ์-สมหมาย-อัญชลี-ต่อพงศ์ มีประเสริฐ, ทองสุข เตียเจริญ $ 100.00 
1/15/1012 
คุณแก้ว $ 100.00 
คุณมาลินี วังศเมธีกูร $ 100.00 
คุณอุ๋ย แม่น้องโอม $ 25.00 
คุณสุกานดา บุพพานนท์ $ 100.00 
คุณติ๊ ดลวรรณ เหวียน $ 10.00 
คุณสุภา บรรณวณิชกุล $ 20.00 
คุณสุภัคณิช สวนรัตน์ $ 30.00 
คุณประพจน์ –คุณศิริพร คุณวงศ์ $ 100.00 
Veterans of Foreign wars $ 30.00 
Sawtree Garner $ 59.00 
คุณพรชัย $ 20.00 
คุณวิรุณ-นารีรัตน์-โชติมา-ชานนท์ เอี่ยมนิม $ 100.00 
Ponmakha Iri – Benja $ 15.00 
คุณกฤษณา สุโชติมันท์ $ 10.00 
คุณวินิดา สุนทรพิทักษ์ $ 20.00 
คุณบุญดี มานะดี $ 10.00 
Chavalit Isaranuwatanakul $ 25.00 
คุณดา $ 40.00 
คุณเฉลิม งามสะอาด $ 100.00 
คุณตรัย เบญจา $ 20.00 
คุณธนิดา ศรีกิจการ $ 40.00 
คุณธนัทเดช มหาวีโร $ 20.00 
คุณทวีนันท์ เชี่ยวชาญชำ�นาญกิจ $ 20.00 
คุณทิพยวิมล ทิมวรุณ $ 40.00
ธรรมรัตน์ 3 0 Dhammaratana ธรรมรัตน์ 3 1 Dhammaratana 
คุณวรลักษณ์-กมล ภาณุมาตรัศมี $ 20.00 
คุณบุปผา มอย $ 20.00 
คุณโสรส จิตตะวิกุล $ 20.00 
คุณเมย์ บาร์ตัน $ 20.00 
คุณชัยยุทธ-คุณยุพา ค้อม นาตาลี สมเขาใหญ่ $ 20.00 
คุณจูนศรี จันทร์รักษา $ 10.00 
คุณศศิธร เหรียญมณี $ 35.00 
คุณภัทริน บุญสวัสดิ์ $ 20.00 
คุณนลัท อินทรังษี $ 20.00 
Boonsom & Donal Glass $ 25.00 
Wilai Gould $ 50.00 
Richard Swank $ 60.00 
Jirapa Y Williams $ 100.00 
คุณใจ วงคำ�(ขายกระเป๋า) $ 1,210.00 
คุณณัฏฐพงศ์ จันทร์อยู่ $ 20.00 
คุณรติพร มั่นพรหม, คุณชลาลัย ไชยหิรัญการ, 
คุณจิดาภา ไกรสังข์, คุณศศิมามะ บุรุษน้อม, คุณภัทราภา บุญอิ่ม, 
คุณมนัท ตั้งวงศ์ศานต์, คุณวันทนีย์ วิริยสิทธาวัฒน์ $ 20.00 
Wanpen Bruner $ 60.00 
Siripa Junlakorn $ 5.00 
Rodeta Aosavarungnirun $ 10.00 
Israporn Kulkumjon $ 20.00 
คุณบำ�เพ็ญ ดวงปากดี $ 40.00 
คุณชนะ อินทร์ใจเอื้อ $ 10.00 
คุณแดง-นก $ 30.00 
Kanokon Smathers $ 30.00 
Jane Chounaem(Smiling Bananaleaf) $ 168.00 
Piyawat Chalermkanjana $ 10.00 
Thai Gourmet $ 100.00 
Preet Singh $ 20.00 
คุณอรพรรณ วิทยปรีชาอนันท์ $ 20.00 
คุณบุษดี ทองดี และครอบครัว $ 30.00 
คุณวิเชียร น้ำ�ใส $ 30.00 
คุณสมศักดิ์ น้ำ�ใส $ 30.00 
คุณสมนึก น้ำ�ใส $ 50.00 
Phoc & Vilavan Vong $ 100.00 
Rungnapa Khanchalee $ 20.00 
Rattanaporn Namsai $ 20.00 
1/21/2012 
T.Onsanit & B.Onsanit $ 100.00 
1/22/2012 
ครอบครัวจิรเชิดชูวงศ์ $ 100.00 
1/24/2012 
คุณอนุสรา วงศ์ษา $ 41.00 
1/25/2012 
Smiling Bananaleaf Restaurant $ 200.00 
Shawitree Garner(ออกใบอนุโมทนาย้อนหลัง 15 ม.ค.12) $ 60.00 
1/28/2012 
คุณสุวรรณี สงวนศักดิ์ภักดี $ 10.00 
Preet Singh (ซื้อที่ดินถวายวัด) $ 50.00 
Vilavan Anan Vong (ซื้อที่ดินถวายวัด) $ 100.00 
คุณพจน์-ละเอียด ธงเดชสกุล $ 10.00 
คุณอุษา จิรเชิดชูวงศ์ $ 100.00 
1/29/2012 
Somsong Fox $ 30.00 
คุณน้อย แมค์คาซี่(ชำ�ระหนี้สงฆ์) $ 40.00
ธรรมรัตน์ 3 2 Dhammaratana ธรรมรัตน์ 3 3 Dhammaratana 
Jumlong & Lisa Megyesy $ 100.00 
คุณน้อย แมค์คาซี่(กองทุนบวชเณร) $ 40.00 
รายรับ 
ประจำ�เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ 
Sandy Garvin and family $ 20.00 
จำ�ลอง น้อย แม็ค์คาซี่ $ 40.00 
Manus Sand $ 50.00 
Kim Eng Hong $ 20.00 
Sawitree Kugler $ 40.00 
Jintana Kessler $ 20.00 
Saard Sanpaarsa $ 50.00 
Pimjai J. Birmingham $ 50.00 
Jim-Pink-Rikki Carroll $ 100.00 
ร้านอาหารไทยสวนทิพย์ $ 20.00 
นิภารัตน์ แสนมอม, กัญญาวีร์ เปี่ยมสัมฤทธิ์ $ 40.00 
Thaigourmet $ 100.00 
สมศักดิ์ น้ำ�ใส $ 20.00 
สมนึก น้ำ�ใส $ 50.00 
อรพรรณ วิทยปรีชาอนันต์ $ 20.00 
รัตนาภรณ์ น้ำ�ใส $ 20.00 
Preet $ 20.00 
รุ่งนภา ขันทะชาลี $ 20.00 
บุษดี ทองดี และครอบครัว $ 30.00 
Vilavan & Phoc Vong $ 100.00 
รายรับ 
ประจำ�เดือนมีนาคม ๒๕๕๕ 
Gilbert P. Trujillo $ 50.00 
จุฑามาส เฟียร์, Charles Lenzner $ 25.00 
Samuel S Wu & Ratsamy U Wu $ 30.00 
กนกนุช อมรวงศ์(ค่าน้ำ�-ไฟ) $ 25.00 
กนกนุช อมรวงศ์(ซื้อที่ดิน) $ 50.00 
Thai Spoon $ 100.00 
อุษา จิรเชิดชูวงศ์ $ 40.00 
Kanat & Sasimaka & Pavin & Ratiporn & Pattarapa $ 28.00 
ณรงค์ ใจดี $ 20.00 
สิริภา จุลกาญจน์ $ 7.00 
Somsong Fox $ 50.00 
พนิดา (ใจ) วงศ์คำ� $ 50.00 
นีน่า โกลด์ $ 30.00 
Jane Chounaem $ 100.00 
เกษม $ 25.00 
แคตตี้ $ 20.00 
คุณทรายแดง $ 10.00 
คุณสม $ 15.00 
คุณอ้อม $ 5.00 
คุณแหวน $ 10.00 
Josh $ 10.00 
Jane Chounaem $ 150.00 
Jim & Mam Birmingham $ 20.00 
ศิริชัย-เควิน-อลิสา จิรเชิดชูวงศ์, เพ็ญศิริ มณเฑียร $ 40.00 
Boonrak & Ratana Tantisira $ 200.00
ธรรมรัตน์ 3 4 Dhammaratana ธรรมรัตน์ 3 5 Dhammaratana 
Tu & Gary Wade $ 40.00 
Bunlu Mennell $ 40.00 
Tae & Suwattana Miller $ 200.00 
Samornrat Kiefaber $ 25.00 
Richard & Pissamai Dohmen $ 120.00 
Pusadee’s Garden Inc. $ 200.00 
Som Glass, Gathy G, Bee Swank $ 35.00 
Oraphan Witayapreechai-Anan (Health Insurance) $ 20.00 
Preet Singh(Health Insurance) $ 20.00 
Rattanaporn Namsai(Health Insurance) $ 20.00 
Dennis Ondek $ 10.00 
Somsong Fox(Health Insurance) $ 50.00 
นักศึกษาไทยในเมืองพิทส์เบิร์ก $ 20.00 
Sompong Bray $ 50.00 
Tim & Vilavan Vong(Health Insurance) $ 100.00 
Somnuk Namsai(Health Insurance) $ 50.00 
อ.สุทัศน์-สุภาพ เสาร์มั่น, ต๋อย (เจมส์) $ 90.00 
คุณประนอม จาบกุล $ 100.00 
Jane Chounaem $ 500.00 
ญาติโยมเมืองบัตเล่อร์ทำ�บุญค่าน้ำ�-ไฟ $ 90.00 
คุณจำ�ลอง แม็คคาซี่(ชำ�ระหนี้สงฆ์) $ 60.00 
คุณจินดา เอ็บเนเตอร์(ชำ�ระหนี้สงฆ์) $ 50.00 
คุณสก็อตต์-คุณจินดา เอ็บเนเตอร์(ซื้อที่ดินถวายวัด) $ 100.00 
คุณสก็อตต์-คุณจินดา เอ็บเนเตอร์(เป็นเจ้าภาพบรรพชาสามเณร) $ 50.00 
คุณสก็อตต์-คุณจินดา เอ็บเนเตอร์(เป็นเจ้าภาพหมึกพิมพ์หนังสือธรรมะ)$ 50.00 
Narintra Gold(Health Insurance) $ 30.00 
รายจ่าย 
ประจำ�เดือนมกราคม 2555 
1/1/12 Lowe’s $ 515.40 
1/2/12 Lowe’s $ 14.77 
1/2/12 The Home Depot $ 22.41 
1/2/12 The Home Depot $ 123.23 
1/6/12 Water & Sewers $ 87.19 
1/12/12 People’s Natural Gas $ 99.29 
1/24/12 Verizon $ 120.00 
1/15/12 ถวายค่าเครื่องบินแด่พระสงฆ์ที่มาร่วมงานทำ�บุญ $ 700.00 
1/25/12 Alarm Guardian $ 24.10 
รายจ่าย 
ประจำ�เดือนกุมภาพันธ์ 2555 
2/14/2012 Erie Insurance $ 69.00 
Guardian $ 31.95 
2/22/2012 Wat Pasantidhamma(Monk Insurance) $ 430.08 
2/23/2012 Wat Thai Washington, D.C. (Monk Insurance) $ 606.22 
2/3/2012 Peoples Natural Gas $ 383.11 
2/3/2012 RTR Repaired Copier $ 133.75 
2/18/2012 Verizon $ 120.00 
2/3/2012 Euquesne Light $ 185.83 
2/10/2012 The Pitts Water Sewer $ 116.92 
2/28/2012 Duquesne Light $ 107.96 
หมายเหตุ...รายจ่ายของวัดมีญาติโยมบริจาคทำ�บุญ
Dhammaratana journal 2 - วารสารธรรมรัตน์ ฉบับที่ 2
Dhammaratana journal 2 - วารสารธรรมรัตน์ ฉบับที่ 2
Dhammaratana journal 2 - วารสารธรรมรัตน์ ฉบับที่ 2
Dhammaratana journal 2 - วารสารธรรมรัตน์ ฉบับที่ 2
Dhammaratana journal 2 - วารสารธรรมรัตน์ ฉบับที่ 2
Dhammaratana journal 2 - วารสารธรรมรัตน์ ฉบับที่ 2

More Related Content

What's hot

Saeng Dhamma Vol. 30 No. 425 September 2010
Saeng Dhamma Vol. 30 No. 425 September 2010Saeng Dhamma Vol. 30 No. 425 September 2010
Saeng Dhamma Vol. 30 No. 425 September 2010
Wat Thai Washington, D.C.
 
หน้าที่ของชาวพุทธ
หน้าที่ของชาวพุทธหน้าที่ของชาวพุทธ
หน้าที่ของชาวพุทธprimpatcha
 
351หน้าที่ชาวพุทธ3
351หน้าที่ชาวพุทธ3351หน้าที่ชาวพุทธ3
351หน้าที่ชาวพุทธ3
niralai
 
Saengdhamma Vol.36 No. 427 November 2010
Saengdhamma Vol.36 No. 427 November 2010Saengdhamma Vol.36 No. 427 November 2010
Saengdhamma Vol.36 No. 427 November 2010
Wat Thai Washington, D.C.
 
Saeng Dhamma Vol. 35 No. 423 July, 2010
Saeng Dhamma Vol. 35 No. 423 July, 2010Saeng Dhamma Vol. 35 No. 423 July, 2010
Saeng Dhamma Vol. 35 No. 423 July, 2010
Wat Thai Washington, D.C.
 
Dhammaratana journal 13 - วารสารธรรมรัตน์ฉบับที่ ๑๓ ปีที่ ๔
Dhammaratana journal 13 - วารสารธรรมรัตน์ฉบับที่ ๑๓ ปีที่ ๔ Dhammaratana journal 13 - วารสารธรรมรัตน์ฉบับที่ ๑๓ ปีที่ ๔
Dhammaratana journal 13 - วารสารธรรมรัตน์ฉบับที่ ๑๓ ปีที่ ๔
Watpadhammaratana Pittsburgh
 
Saengdhamam Vol. 36 No. 431 March 2011
Saengdhamam Vol. 36 No. 431 March 2011 Saengdhamam Vol. 36 No. 431 March 2011
Saengdhamam Vol. 36 No. 431 March 2011
Wat Thai Washington, D.C.
 
Dhammaratana journal No.11 - วารสารธรรมรัตน์ ฉบับที่ 11
Dhammaratana journal No.11 - วารสารธรรมรัตน์ ฉบับที่ 11Dhammaratana journal No.11 - วารสารธรรมรัตน์ ฉบับที่ 11
Dhammaratana journal No.11 - วารสารธรรมรัตน์ ฉบับที่ 11
Watpadhammaratana Pittsburgh
 
Dhammaratana journal 8 - วารสารธรรมรัตน์
Dhammaratana journal 8 - วารสารธรรมรัตน์Dhammaratana journal 8 - วารสารธรรมรัตน์
Dhammaratana journal 8 - วารสารธรรมรัตน์Watpadhammaratana Pittsburgh
 
แสงธรรม ปีที่ 38 ฉบับที่ 453 ประจำเดือนมกราคม
แสงธรรม ปีที่ 38 ฉบับที่ 453 ประจำเดือนมกราคมแสงธรรม ปีที่ 38 ฉบับที่ 453 ประจำเดือนมกราคม
แสงธรรม ปีที่ 38 ฉบับที่ 453 ประจำเดือนมกราคม
khumtan
 
Saengdhamma jan 2013 Vol.38 No.453
Saengdhamma jan  2013 Vol.38 No.453Saengdhamma jan  2013 Vol.38 No.453
Saengdhamma jan 2013 Vol.38 No.453
khumtan
 
Dhammaratana journal 10
Dhammaratana journal 10Dhammaratana journal 10
Dhammaratana journal 10
Watpadhammaratana Pittsburgh
 
Mindfulness in-organization
Mindfulness in-organizationMindfulness in-organization
Mindfulness in-organization
weraratapiwatanasawe
 
Saengdhamma April, 2010
Saengdhamma April, 2010 Saengdhamma April, 2010
Saengdhamma April, 2010
Wat Thai Washington, D.C.
 
Dhammaratana journal - วารสารธรรมรัตน์
Dhammaratana journal - วารสารธรรมรัตน์Dhammaratana journal - วารสารธรรมรัตน์
Dhammaratana journal - วารสารธรรมรัตน์
Watpadhammaratana Pittsburgh
 
โครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม ค่านิยมที่พึงประสงค์.54
โครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม ค่านิยมที่พึงประสงค์.54โครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม ค่านิยมที่พึงประสงค์.54
โครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม ค่านิยมที่พึงประสงค์.54somchaitumdee50
 
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3
Ch Khankluay
 
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2
Ch Khankluay
 

What's hot (20)

Saeng Dhamma Vol. 30 No. 425 September 2010
Saeng Dhamma Vol. 30 No. 425 September 2010Saeng Dhamma Vol. 30 No. 425 September 2010
Saeng Dhamma Vol. 30 No. 425 September 2010
 
หน้าที่ของชาวพุทธ
หน้าที่ของชาวพุทธหน้าที่ของชาวพุทธ
หน้าที่ของชาวพุทธ
 
351หน้าที่ชาวพุทธ3
351หน้าที่ชาวพุทธ3351หน้าที่ชาวพุทธ3
351หน้าที่ชาวพุทธ3
 
Saengdhamma Vol.36 No. 427 November 2010
Saengdhamma Vol.36 No. 427 November 2010Saengdhamma Vol.36 No. 427 November 2010
Saengdhamma Vol.36 No. 427 November 2010
 
Saeng Dhamma Vol. 35 No. 423 July, 2010
Saeng Dhamma Vol. 35 No. 423 July, 2010Saeng Dhamma Vol. 35 No. 423 July, 2010
Saeng Dhamma Vol. 35 No. 423 July, 2010
 
Dhammaratana journal 13 - วารสารธรรมรัตน์ฉบับที่ ๑๓ ปีที่ ๔
Dhammaratana journal 13 - วารสารธรรมรัตน์ฉบับที่ ๑๓ ปีที่ ๔ Dhammaratana journal 13 - วารสารธรรมรัตน์ฉบับที่ ๑๓ ปีที่ ๔
Dhammaratana journal 13 - วารสารธรรมรัตน์ฉบับที่ ๑๓ ปีที่ ๔
 
Saengdhamam Vol. 36 No. 431 March 2011
Saengdhamam Vol. 36 No. 431 March 2011 Saengdhamam Vol. 36 No. 431 March 2011
Saengdhamam Vol. 36 No. 431 March 2011
 
Dhammaratana journal No.11 - วารสารธรรมรัตน์ ฉบับที่ 11
Dhammaratana journal No.11 - วารสารธรรมรัตน์ ฉบับที่ 11Dhammaratana journal No.11 - วารสารธรรมรัตน์ ฉบับที่ 11
Dhammaratana journal No.11 - วารสารธรรมรัตน์ ฉบับที่ 11
 
Dhammaratana journal 8 - วารสารธรรมรัตน์
Dhammaratana journal 8 - วารสารธรรมรัตน์Dhammaratana journal 8 - วารสารธรรมรัตน์
Dhammaratana journal 8 - วารสารธรรมรัตน์
 
วาทะพระอรหันต์
วาทะพระอรหันต์วาทะพระอรหันต์
วาทะพระอรหันต์
 
งาน
งานงาน
งาน
 
แสงธรรม ปีที่ 38 ฉบับที่ 453 ประจำเดือนมกราคม
แสงธรรม ปีที่ 38 ฉบับที่ 453 ประจำเดือนมกราคมแสงธรรม ปีที่ 38 ฉบับที่ 453 ประจำเดือนมกราคม
แสงธรรม ปีที่ 38 ฉบับที่ 453 ประจำเดือนมกราคม
 
Saengdhamma jan 2013 Vol.38 No.453
Saengdhamma jan  2013 Vol.38 No.453Saengdhamma jan  2013 Vol.38 No.453
Saengdhamma jan 2013 Vol.38 No.453
 
Dhammaratana journal 10
Dhammaratana journal 10Dhammaratana journal 10
Dhammaratana journal 10
 
Mindfulness in-organization
Mindfulness in-organizationMindfulness in-organization
Mindfulness in-organization
 
Saengdhamma April, 2010
Saengdhamma April, 2010 Saengdhamma April, 2010
Saengdhamma April, 2010
 
Dhammaratana journal - วารสารธรรมรัตน์
Dhammaratana journal - วารสารธรรมรัตน์Dhammaratana journal - วารสารธรรมรัตน์
Dhammaratana journal - วารสารธรรมรัตน์
 
โครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม ค่านิยมที่พึงประสงค์.54
โครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม ค่านิยมที่พึงประสงค์.54โครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม ค่านิยมที่พึงประสงค์.54
โครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม ค่านิยมที่พึงประสงค์.54
 
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3
 
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2
 

Similar to Dhammaratana journal 2 - วารสารธรรมรัตน์ ฉบับที่ 2

Seang Dhamma Vol. 37 No. 443 March 2012
Seang Dhamma Vol. 37 No. 443 March 2012Seang Dhamma Vol. 37 No. 443 March 2012
Seang Dhamma Vol. 37 No. 443 March 2012
Wat Thai Washington, D.C.
 
Dhammaratana journal 1 - วารสารธรรมรัตน์ ฉบับแรก
Dhammaratana journal 1 - วารสารธรรมรัตน์ ฉบับแรกDhammaratana journal 1 - วารสารธรรมรัตน์ ฉบับแรก
Dhammaratana journal 1 - วารสารธรรมรัตน์ ฉบับแรก
Watpadhammaratana Pittsburgh
 
Saeng Dhamma Vol 35 No. 419 March, 2010
Saeng Dhamma Vol 35 No. 419 March, 2010Saeng Dhamma Vol 35 No. 419 March, 2010
Saeng Dhamma Vol 35 No. 419 March, 2010
Wat Thai Washington, D.C.
 
Saeng Dhamma Vol. 37 No. 436 August 2011
Saeng Dhamma Vol. 37 No. 436 August 2011 Saeng Dhamma Vol. 37 No. 436 August 2011
Saeng Dhamma Vol. 37 No. 436 August 2011
Wat Thai Washington, D.C.
 
Seangdhamma Vol. 37 No. 439 November 2011
Seangdhamma Vol. 37 No. 439 November 2011Seangdhamma Vol. 37 No. 439 November 2011
Seangdhamma Vol. 37 No. 439 November 2011
Wat Thai Washington, D.C.
 
Saeng Dhamma Vol. 37 No. 437 September 2011
Saeng Dhamma Vol. 37 No. 437 September 2011 Saeng Dhamma Vol. 37 No. 437 September 2011
Saeng Dhamma Vol. 37 No. 437 September 2011
Wat Thai Washington, D.C.
 
Paper of triple gem full (final)
Paper of triple gem full (final)Paper of triple gem full (final)
Paper of triple gem full (final)
Sarawut Sangnarin
 
Saeng Dhamma Vol.37 No. 435 July 2011
Saeng Dhamma Vol.37 No. 435 July  2011Saeng Dhamma Vol.37 No. 435 July  2011
Saeng Dhamma Vol.37 No. 435 July 2011
Wat Thai Washington, D.C.
 
Saeng Dhamma Vol. 37 No. 442 February 2012
Saeng Dhamma Vol. 37 No. 442 February 2012Saeng Dhamma Vol. 37 No. 442 February 2012
Saeng Dhamma Vol. 37 No. 442 February 2012
Wat Thai Washington, D.C.
 
Dhammaratana journal 8 - วารสารธรรมรัตน์
Dhammaratana journal 8 - วารสารธรรมรัตน์Dhammaratana journal 8 - วารสารธรรมรัตน์
Dhammaratana journal 8 - วารสารธรรมรัตน์
Watpadhammaratana Pittsburgh
 
1 บทนำ - 9 มนต์ เพื่อความก้าวหน้า โดย ท่าน ว. วชิรเมธี
1 บทนำ - 9 มนต์ เพื่อความก้าวหน้า โดย ท่าน ว. วชิรเมธี1 บทนำ - 9 มนต์ เพื่อความก้าวหน้า โดย ท่าน ว. วชิรเมธี
1 บทนำ - 9 มนต์ เพื่อความก้าวหน้า โดย ท่าน ว. วชิรเมธี
Panuwat Beforetwo
 
วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาThongsawan Seeha
 
Saengdhamma Vol.36 No. 428 December 2010
Saengdhamma Vol.36 No. 428 December 2010Saengdhamma Vol.36 No. 428 December 2010
Saengdhamma Vol.36 No. 428 December 2010
Wat Thai Washington, D.C.
 
หน้าที่ชาวพุทธ.docx
หน้าที่ชาวพุทธ.docxหน้าที่ชาวพุทธ.docx
หน้าที่ชาวพุทธ.docx
pinglada1
 
หน้าที่ชาวพุทธ
หน้าที่ชาวพุทธหน้าที่ชาวพุทธ
หน้าที่ชาวพุทธ
leemeanshun minzstar
 
วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาThongsawan Seeha
 
วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาThongsawan Seeha
 
สไลด์ ความรู้เบื้องต้นและความสำคัญของศาสนพิธี ป.4+466+dltvsocp4+55t2soc p04 ...
สไลด์  ความรู้เบื้องต้นและความสำคัญของศาสนพิธี ป.4+466+dltvsocp4+55t2soc p04 ...สไลด์  ความรู้เบื้องต้นและความสำคัญของศาสนพิธี ป.4+466+dltvsocp4+55t2soc p04 ...
สไลด์ ความรู้เบื้องต้นและความสำคัญของศาสนพิธี ป.4+466+dltvsocp4+55t2soc p04 ...
Prachoom Rangkasikorn
 
สไลด์ ความรู้เบื้องต้นและความสำคัญของศาสนพิธี ป.4+466+dltvsocp4+55t2soc p04 ...
สไลด์  ความรู้เบื้องต้นและความสำคัญของศาสนพิธี ป.4+466+dltvsocp4+55t2soc p04 ...สไลด์  ความรู้เบื้องต้นและความสำคัญของศาสนพิธี ป.4+466+dltvsocp4+55t2soc p04 ...
สไลด์ ความรู้เบื้องต้นและความสำคัญของศาสนพิธี ป.4+466+dltvsocp4+55t2soc p04 ...
Prachoom Rangkasikorn
 

Similar to Dhammaratana journal 2 - วารสารธรรมรัตน์ ฉบับที่ 2 (20)

Seang Dhamma Vol. 37 No. 443 March 2012
Seang Dhamma Vol. 37 No. 443 March 2012Seang Dhamma Vol. 37 No. 443 March 2012
Seang Dhamma Vol. 37 No. 443 March 2012
 
Dhammaratana journal 1 - วารสารธรรมรัตน์ ฉบับแรก
Dhammaratana journal 1 - วารสารธรรมรัตน์ ฉบับแรกDhammaratana journal 1 - วารสารธรรมรัตน์ ฉบับแรก
Dhammaratana journal 1 - วารสารธรรมรัตน์ ฉบับแรก
 
Saeng Dhamma Vol 35 No. 419 March, 2010
Saeng Dhamma Vol 35 No. 419 March, 2010Saeng Dhamma Vol 35 No. 419 March, 2010
Saeng Dhamma Vol 35 No. 419 March, 2010
 
Saeng Dhamma Vol. 37 No. 436 August 2011
Saeng Dhamma Vol. 37 No. 436 August 2011 Saeng Dhamma Vol. 37 No. 436 August 2011
Saeng Dhamma Vol. 37 No. 436 August 2011
 
Seangdhamma Vol. 37 No. 439 November 2011
Seangdhamma Vol. 37 No. 439 November 2011Seangdhamma Vol. 37 No. 439 November 2011
Seangdhamma Vol. 37 No. 439 November 2011
 
Saeng Dhamma Vol. 37 No. 437 September 2011
Saeng Dhamma Vol. 37 No. 437 September 2011 Saeng Dhamma Vol. 37 No. 437 September 2011
Saeng Dhamma Vol. 37 No. 437 September 2011
 
Paper of triple gem full (final)
Paper of triple gem full (final)Paper of triple gem full (final)
Paper of triple gem full (final)
 
Saeng Dhamma Vol.37 No. 435 July 2011
Saeng Dhamma Vol.37 No. 435 July  2011Saeng Dhamma Vol.37 No. 435 July  2011
Saeng Dhamma Vol.37 No. 435 July 2011
 
Saeng Dhamma Vol. 37 No. 442 February 2012
Saeng Dhamma Vol. 37 No. 442 February 2012Saeng Dhamma Vol. 37 No. 442 February 2012
Saeng Dhamma Vol. 37 No. 442 February 2012
 
Dhammaratana journal 8 - วารสารธรรมรัตน์
Dhammaratana journal 8 - วารสารธรรมรัตน์Dhammaratana journal 8 - วารสารธรรมรัตน์
Dhammaratana journal 8 - วารสารธรรมรัตน์
 
San
SanSan
San
 
1 บทนำ - 9 มนต์ เพื่อความก้าวหน้า โดย ท่าน ว. วชิรเมธี
1 บทนำ - 9 มนต์ เพื่อความก้าวหน้า โดย ท่าน ว. วชิรเมธี1 บทนำ - 9 มนต์ เพื่อความก้าวหน้า โดย ท่าน ว. วชิรเมธี
1 บทนำ - 9 มนต์ เพื่อความก้าวหน้า โดย ท่าน ว. วชิรเมธี
 
วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
 
Saengdhamma Vol.36 No. 428 December 2010
Saengdhamma Vol.36 No. 428 December 2010Saengdhamma Vol.36 No. 428 December 2010
Saengdhamma Vol.36 No. 428 December 2010
 
หน้าที่ชาวพุทธ.docx
หน้าที่ชาวพุทธ.docxหน้าที่ชาวพุทธ.docx
หน้าที่ชาวพุทธ.docx
 
หน้าที่ชาวพุทธ
หน้าที่ชาวพุทธหน้าที่ชาวพุทธ
หน้าที่ชาวพุทธ
 
วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
 
วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
 
สไลด์ ความรู้เบื้องต้นและความสำคัญของศาสนพิธี ป.4+466+dltvsocp4+55t2soc p04 ...
สไลด์  ความรู้เบื้องต้นและความสำคัญของศาสนพิธี ป.4+466+dltvsocp4+55t2soc p04 ...สไลด์  ความรู้เบื้องต้นและความสำคัญของศาสนพิธี ป.4+466+dltvsocp4+55t2soc p04 ...
สไลด์ ความรู้เบื้องต้นและความสำคัญของศาสนพิธี ป.4+466+dltvsocp4+55t2soc p04 ...
 
สไลด์ ความรู้เบื้องต้นและความสำคัญของศาสนพิธี ป.4+466+dltvsocp4+55t2soc p04 ...
สไลด์  ความรู้เบื้องต้นและความสำคัญของศาสนพิธี ป.4+466+dltvsocp4+55t2soc p04 ...สไลด์  ความรู้เบื้องต้นและความสำคัญของศาสนพิธี ป.4+466+dltvsocp4+55t2soc p04 ...
สไลด์ ความรู้เบื้องต้นและความสำคัญของศาสนพิธี ป.4+466+dltvsocp4+55t2soc p04 ...
 

More from Watpadhammaratana Pittsburgh

ระเบียบรายชื่อพระจำพรรษา 2016
ระเบียบรายชื่อพระจำพรรษา 2016ระเบียบรายชื่อพระจำพรรษา 2016
ระเบียบรายชื่อพระจำพรรษา 2016
Watpadhammaratana Pittsburgh
 
5 ปี วัดป่าธรรมรัตน์ - 5 years anniversary of BMCP
5 ปี วัดป่าธรรมรัตน์ - 5 years anniversary of BMCP5 ปี วัดป่าธรรมรัตน์ - 5 years anniversary of BMCP
5 ปี วัดป่าธรรมรัตน์ - 5 years anniversary of BMCP
Watpadhammaratana Pittsburgh
 
Dhammaratana journal 15, 2016 - วารสารธรรมรัตน์ปีที่ 5 ฉบับที่ 15
Dhammaratana journal 15, 2016 - วารสารธรรมรัตน์ปีที่ 5 ฉบับที่ 15Dhammaratana journal 15, 2016 - วารสารธรรมรัตน์ปีที่ 5 ฉบับที่ 15
Dhammaratana journal 15, 2016 - วารสารธรรมรัตน์ปีที่ 5 ฉบับที่ 15
Watpadhammaratana Pittsburgh
 
Kathina booklet - กฐินสามัคคี
Kathina booklet - กฐินสามัคคีKathina booklet - กฐินสามัคคี
Kathina booklet - กฐินสามัคคี
Watpadhammaratana Pittsburgh
 
ประวัติวัดป่าธรรมรัตน์ พิทส์เบิร์ก
ประวัติวัดป่าธรรมรัตน์ พิทส์เบิร์กประวัติวัดป่าธรรมรัตน์ พิทส์เบิร์ก
ประวัติวัดป่าธรรมรัตน์ พิทส์เบิร์ก
Watpadhammaratana Pittsburgh
 
โบว์ชัวร์สร้างพระ
โบว์ชัวร์สร้างพระโบว์ชัวร์สร้างพระ
โบว์ชัวร์สร้างพระWatpadhammaratana Pittsburgh
 
The good buddhist
The good buddhistThe good buddhist
The good buddhist
Watpadhammaratana Pittsburgh
 
The ways to keep anger at bay - ทำอย่างไรจะหายโกรธ
The ways to keep anger at bay - ทำอย่างไรจะหายโกรธThe ways to keep anger at bay - ทำอย่างไรจะหายโกรธ
The ways to keep anger at bay - ทำอย่างไรจะหายโกรธWatpadhammaratana Pittsburgh
 
ประวัติย่อวัดป่าธรรมรัตน์
ประวัติย่อวัดป่าธรรมรัตน์ประวัติย่อวัดป่าธรรมรัตน์
ประวัติย่อวัดป่าธรรมรัตน์
Watpadhammaratana Pittsburgh
 
สมุดภาพวัดป่าธรรมรัตน์
สมุดภาพวัดป่าธรรมรัตน์สมุดภาพวัดป่าธรรมรัตน์
สมุดภาพวัดป่าธรรมรัตน์
Watpadhammaratana Pittsburgh
 
Buddhism in pittsburgh
Buddhism in pittsburghBuddhism in pittsburgh
Buddhism in pittsburgh
Watpadhammaratana Pittsburgh
 
Lunch talk - ธรรมะข้างสำรับ
Lunch talk - ธรรมะข้างสำรับLunch talk - ธรรมะข้างสำรับ
Lunch talk - ธรรมะข้างสำรับWatpadhammaratana Pittsburgh
 
ฟังดีมีปัญญา
ฟังดีมีปัญญาฟังดีมีปัญญา
ฟังดีมีปัญญา
Watpadhammaratana Pittsburgh
 
Dhammaratana journal 5
Dhammaratana journal 5Dhammaratana journal 5
Dhammaratana journal 5
Watpadhammaratana Pittsburgh
 
Dhammaratana journal 9 - วารสารธรรมรัตน์
Dhammaratana journal 9 - วารสารธรรมรัตน์Dhammaratana journal 9 - วารสารธรรมรัตน์
Dhammaratana journal 9 - วารสารธรรมรัตน์
Watpadhammaratana Pittsburgh
 

More from Watpadhammaratana Pittsburgh (17)

ระเบียบรายชื่อพระจำพรรษา 2016
ระเบียบรายชื่อพระจำพรรษา 2016ระเบียบรายชื่อพระจำพรรษา 2016
ระเบียบรายชื่อพระจำพรรษา 2016
 
5 ปี วัดป่าธรรมรัตน์ - 5 years anniversary of BMCP
5 ปี วัดป่าธรรมรัตน์ - 5 years anniversary of BMCP5 ปี วัดป่าธรรมรัตน์ - 5 years anniversary of BMCP
5 ปี วัดป่าธรรมรัตน์ - 5 years anniversary of BMCP
 
Dhammaratana journal 15, 2016 - วารสารธรรมรัตน์ปีที่ 5 ฉบับที่ 15
Dhammaratana journal 15, 2016 - วารสารธรรมรัตน์ปีที่ 5 ฉบับที่ 15Dhammaratana journal 15, 2016 - วารสารธรรมรัตน์ปีที่ 5 ฉบับที่ 15
Dhammaratana journal 15, 2016 - วารสารธรรมรัตน์ปีที่ 5 ฉบับที่ 15
 
Kathina booklet - กฐินสามัคคี
Kathina booklet - กฐินสามัคคีKathina booklet - กฐินสามัคคี
Kathina booklet - กฐินสามัคคี
 
ประวัติวัดป่าธรรมรัตน์ พิทส์เบิร์ก
ประวัติวัดป่าธรรมรัตน์ พิทส์เบิร์กประวัติวัดป่าธรรมรัตน์ พิทส์เบิร์ก
ประวัติวัดป่าธรรมรัตน์ พิทส์เบิร์ก
 
โบว์ชัวร์สร้างพระ
โบว์ชัวร์สร้างพระโบว์ชัวร์สร้างพระ
โบว์ชัวร์สร้างพระ
 
The good buddhist
The good buddhistThe good buddhist
The good buddhist
 
The ways to keep anger at bay - ทำอย่างไรจะหายโกรธ
The ways to keep anger at bay - ทำอย่างไรจะหายโกรธThe ways to keep anger at bay - ทำอย่างไรจะหายโกรธ
The ways to keep anger at bay - ทำอย่างไรจะหายโกรธ
 
ประวัติย่อวัดป่าธรรมรัตน์
ประวัติย่อวัดป่าธรรมรัตน์ประวัติย่อวัดป่าธรรมรัตน์
ประวัติย่อวัดป่าธรรมรัตน์
 
สมุดภาพวัดป่าธรรมรัตน์
สมุดภาพวัดป่าธรรมรัตน์สมุดภาพวัดป่าธรรมรัตน์
สมุดภาพวัดป่าธรรมรัตน์
 
Buddhism in pittsburgh
Buddhism in pittsburghBuddhism in pittsburgh
Buddhism in pittsburgh
 
ฟังดีมีปัญญา
ฟังดีมีปัญญาฟังดีมีปัญญา
ฟังดีมีปัญญา
 
Lunch talk - ธรรมะข้างสำรับ
Lunch talk - ธรรมะข้างสำรับLunch talk - ธรรมะข้างสำรับ
Lunch talk - ธรรมะข้างสำรับ
 
ฟังดีมีปัญญา
ฟังดีมีปัญญาฟังดีมีปัญญา
ฟังดีมีปัญญา
 
1 years
1 years1 years
1 years
 
Dhammaratana journal 5
Dhammaratana journal 5Dhammaratana journal 5
Dhammaratana journal 5
 
Dhammaratana journal 9 - วารสารธรรมรัตน์
Dhammaratana journal 9 - วารสารธรรมรัตน์Dhammaratana journal 9 - วารสารธรรมรัตน์
Dhammaratana journal 9 - วารสารธรรมรัตน์
 

Dhammaratana journal 2 - วารสารธรรมรัตน์ ฉบับที่ 2

  • 1. Dhammaratana Journal Vol.1 No.2 April-June 2012 ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๒ เดือนเม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๕ วารสารธรรมรัตน์ ๘ เม.ย. ๒๕๕๕ ขอเชิญร่วมงาน... ประเพณีสงกรานต์ ณ วัดป่าธรรมรัตน์ พิทส์เบิร์ก - ตักบาตร - ฟังเทศน์ - บังสุกุล - สรงน้ำ�พระสงฆ์ ผู้ใหญ่ ข อ เ ชิญ ร่ว ม . . . Songkran Festival (Asian New Year) Sunday, April 8, 2012 All Members are Welcome
  • 2. ธรรมรัตน์ Dhammaratana ธรรมรัตน์ Dhammaratana C O N T E N T S ส า ร บัญ OBJECTIVES - To serve as a Buddhism promotion center in the U.S. - To serve as a meditation center in Pittsburgh - To promote virtues, Bud-dhist culture and traditions - To be a center of all Bud-dhists, regardless of nationalities วัตถุประสงค์ - เพื่อเป็นศูนย์กลางการเผยแผ่ พระพุทธศาสนาในสหรัฐอเมริกา - เพื่อเป็นศูนย์ปฏิบัติวิปัสสนา กรรมฐานประจำ�เมืองพิทส์เบอร์ก - เพื่อศูนย์ส่งเสริม ศีลธรรม วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี ที่ดีงามของชาวพุทธ - เพื่อเป็นศูนย์ฝึกอบรมเสริม ความรู้พระธรรมทูตสายต่างประเทศ - เพื่อเป็นศูนย์รวมใจของชาว พุทธโดยไม่จำ�กัดเชื้อชาติ บทบรรณาธิการ พระพุทธพจน์ - The Buddha's Words 1 The Lady Mind Reader 2 The Significance of Visakha Puja Day 5 พระพุทธจ้าทรงอุบัติขึ้น เพื่อขจัดปัญหา คือ ความทุกข์ 7 โลกวิปริต จิตวิปลาส ถ้าปราศจากธรรมะ 14 การให้และสงคราม 18 Thai Buddhism 22 กินสยบเบาหวาน 24 รายรับเดือนม.ค.-มี.ค.2555 28 รายจ่ายเดือนม.ค.-มี.ค.2555 35 ผู้บริจาคทำ�บุญประกันสุขภาพพระสงฆ์ 37 ผู้บริจาคทำ�บุญซ่อมท่อน้ำ�ภายในวัด 38 ญาติโยมผู้ถวายภัตตาหารเพลประจำ�วันต่างๆ 39 ภาพกิจกรรมต่างๆ - Activities 40-43 กิจวัตร 44 The Daily Schedule of BMCP 45 กิจกรรมทำ�บุญประจำ�ปี 2555 - Religious Ceremony 2012 46 Activities of BMCP 47 วัดป่าธรรมรัตน์ ก้าวย่างแห่งการฝึกตน คติธรรมประจำ�วัด สติมโต สทา ภทฺทํ คนมีสติ เท่ากับมีสิ่งนำ�โชคตลอดเวลา The mind is very hard to check and swift, it falls on what it wants. The training of the mind is good, a mind so tamed brings happiness. เจ้าของ : วัดป่าธรรมรัตน์ พิทส์เบิร์ก ที่ปรึกษา : พระวิเทศธรรมรังษี(หลวงตาชี) พระสุนทรพุทธิวิเทศ พระมหาถนัด อตฺถจารี พระครูสังฆรักษ์อำ�พล สุธีโร กองบรรณาธิการ : พระอาจารย์สุริยา เตชวโร พระมหาปิยะ อุตฺตมปญฺโญ และอุบาสก-อุบาสิกา Dhammaratana Journal is published by Wat Padhammaratana The Buddhist Meditation Center of Pittsburgh 5411 Glenwood Ave., Pittsburgh, PA 15207 Tel(412)521-5095 E-mail : bmcpitts@hotmail.com bmcpitts@yahoo.com Homepage : www.bmcpitts.org www.facebook.com/bmcpitts ธรรมรัตน์-Dhammaratana วารสารธรรมะของวัดป่าธรรมรัตน์ พิทส์เบิร์ก ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๒ ประจำµเดือนเม.ย. - มิ.ย. ๒๕๕๕ Vol.1 No.2 April-June 2012
  • 3. ธรรมรัตน์ Dhammaratana ธรรมรัตน์ 1 Dhammaratana พระพุทธพจน์ The Buddha's Words ยาวชีวมฺปิ เจ พาโล ปณฺฑิตํ ปยิรุปาสติ น โส ธมฺมํ วิชานาติ ทพฺพิ สูปรสํ ยถา...(๔๓) ถึงจะอยู่ใกล้บัณฑิต เป็นเวลานานชั่วชีวิต คนโง่ก็หารู้พระธรรมไม่ เหมือนจวักไม่รู้รสแกง Though through all his life A fool associates with a wise man, He yet understands not the Dhamma, As the spoon the flavour of soup. บทบรรณาธิการ พี่น้องพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย วารสารธรรมรัตน์รายไตรมาส( ๓ เดือน)กลับ มาพบกับท่านอีกครั้งหนึ่ง ฉบับนี้เป็นฉบับที่ ๒ การจัดทำ�วารสารขึ้น นอกจากมีความ ประสงค์จะเผยแผ่พระธรรมคำ�สอนของพระพุทธเจ้าแล้ว ยังมีความประสงค์จะชี้แจง กิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นในรอบ ๓ เดือนที่ผ่านมา และที่ทางวัดวางแผนจะทำ�ภายใน รอบปีนี้ รวมถึงแถลงรายรับ-รายจ่ายแต่ละเดือนที่มีผู้จิตศรัทธาบริจาคทำ�บุญ เพื่อซื้อ ที่ดินถวายวัดบ้าง เพื่อถวายเป็นค่าน้ำ�-ไฟบ้าง ตั้งแต่พระสงฆ์ย้ายมาประจำ�อยู่ที่วัดป่าธรรมรัตน์แห่งนี้ เมื่อวันที่ ๒๐ พ.ย. ๒๕๕๔ ที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันเป็นเวลา ๔ เดือนกว่า ญาติโยมชาวพิทส์เบิร์กและใกล้ เคียงได้ถวายความอุปถัมภ์บำ�รุงเรื่องปัจจัย ๔ มิได้ขาดตกบกพร่อง วัตถุประสงค์ของ การสร้างวัดขึ้นที่เมืองนี้ก็เพื่อเป็นสถานที่ศึกษาและปฏิบัติธรรมแก่คนทุกชาติ ศาสนา ไม่จำ�กัดแค่คนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เพราะวัดเป็นศาสนสมบัติ และสาธารณสมบัติ ขอแจ้งข่าวที่จะเกิดขึ้นใน ๓ เดือนข้างหน้า ดังต่อไปนี้ ในเดือนเมษายนนี้ ทาง วัดป่าธรรมรัตน์จะจัดให้มีการทำ�บุญวันสงกรานต์ในวันที่ ๘ เม.ย.๒๕๕๕ มีพิธีทำ�บุญ ตักบาตร บังสุกุลให้ญาติผู้ล่วงลับไปแล้ว และฟังพระธรรมเทศนา หลังจากนั้นในวันที่ ๑๕ เม.ย.๒๕๕๕ ชาววัดป่าธรรมรัตน์จะเดินทางไปร่วมทำ�บุญที่วัดไทยกรุงวอชิงตัน,ดี.ซี. พร้อมทั้งจะได้กราบถวายสักการะพระเดชพระคุณหลวงตาชีผู้ให้กำ�เนิดวัดป่าธรรมรัตน์ ด้วย ในเดือนพฤษภาคมปีนี้ เป็นปีครบรอบ ๒,๖๐๐ ปีแห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ทางสมาคมชาวพุทธเมืองพิทส์เบิร์กได้เชิญวัดป่าธรรมรัตน์เข้าร่วมจัดงานด้วยโดยได้ รับมอบหมายให้สวดมนต์เปิดงานในวันที่ ๒๐ พ.ค.๒๕๕๕ ตั้งแต่เวลา ๑๕.๐๐-๑๗.๐๐ น. ใครมีความประสงค์จะไปร่วมงานเชิญได้ตามวันเวลาที่กำ�หนดไว้ หลังจากนั้นอีกหนึ่ง อาทิตย์ต่อมาวัดเรามีจัดงานทำ�บุญวันวิสาขบูชา ส่วนในเดือนมิถุนายนนั้น มีงานประชุม สมัชชาสงฆ์ไทยในประเทศสหรัฐอเมริกา ณ วัดไทยแอลเอ นอกจากนั้นยังมีงานทำ�บุญ อายุวัฒนมงคลของพระเดชพระคุณหลวงตาชีในวันที่ ๑๐ มิ.ย. ๒๕๕๕ อีกด้วย พวกเรา ในฐานะศิษยานุศิษย์ขอเชิญเดินทางไปร่วมงานครั้งนี้ด้วย ในท้ายที่สุดนี้ ขอเชิญชวนพี่น้องพุทธศาสนิกชนทุกท่าน เมื่อมีเวลาว่างก็แวะ มาเยี่ยมเยือน ไหว้พระ สวดมนต์ สนทนาธรรม และทำ�สมาธิร่วมกันกับคณะสงฆ์วัดป่า ธรรมรัตน์ได้ตามตารางเวลาที่แจ้งไว้ภายในวารสารเล่มนี้ ขอเชิญท่านทั้งหลายพลิกอ่าน ธรรมะ สาระ และชมภาพกิจกรรมต่างๆ ในรอบ ๓ เดือนที่ผ่านมาได้เลย ขอเจริญพร คณะผู้จัดทำ�
  • 4. ธรรมรัตน์ 2 Dhammaratana ธรรมรัตน์ 3 Dhammaratana The mind is difficult to control; swiftly and lightly, it moves and lands wherever it pleases. It is good to tame the mind, for a well-tamed mind brings happiness. The lady mind reader ( Matika Mata ) Once, sixty bhikkhus, after each obtain a subject of meditation from the Buddha, went to a village at the foot of a mountain. There, Matika Mata, mother of the village head-man, offered them alms food; she also built a shelter for them, so that they could stay in the village during the rainy season. One day, she requested the bhikkhus to teach her meditation. They taught her how to meditate on the thirty-two constitu-ents of the body leading to the awareness of the decay and dis-solution of the body. Matika Mata practiced with diligence and attained the third stage of Sainthood together with extraordi-nary knowledge and mental powers, even before the bhikkhus did. With the Divine Power of Sight ( Dibbacakkhu ) she saw that the bhikkhus had not attained Insight. She also learned that these bhikkhus had enough potential for the attainement of Arahanthood but that they needed proper food because a weak body will not allow the mind to function at its best. So, she prepared nutritious food for them . With nutritious food and right effort, the bhikkhus developed right concentration and eventually attained Arahanthood. At the end of the rainy season, the bhikkhus returned to the Jetavana monastery, where the Buddha was in resi-dence. They reported to the Buddha that all of them were in good health and in comfortable circumstances and that they did not have to worry about food. They also mentioned Matika Mata who had been aware of their thoughts and had offered them the very good food that was necessary to keep them in good health which is important for proper concentration. A certain bhikkhu hearing about Matika Mata, decided that he too will go to the village. So, taking a subject of medi-tation from the Buddha he arrived at the village monastery. There, he found that everything he wished for was sent to him by Matika Mata. When he wishes for some food she personally came to the monas-tery, bringing along THE LADY MIND READER K.SRI DHAMMANANDA
  • 5. ธรรมรัตน์ 4 Dhammaratana ธรรมรัตน์ 5 Dhammaratana choice food with her. After taking the food, he asked her if she really could read the thoughts of others, but she evaded his question and replied, ‘People who can read thoughts of others behave in such and such a way.’ Then the bhikkhu thought, ‘If I, like an ordinary worldling, should entertain any impure thoughts, and if she can really read thoughts, she is sure to think ill of me.’ He, therefore became afraid of the lay devotee and decided to return to the Jetavana monastery. He told the Buddha that he could not stay in Matika’s village because he was afraid that the lay devotee might detect impure thoughts in him. The Buddha then advised him to observe just one thing, that is, to control his mind. He also advised him to return to the village and not to think of anything else but the object of his meditation. The bhikkhu returned and Matika Mata of-fered him nutritious food as she had done to the others before, so that he might be able to practise meditation without worry. Within a short time, he too purified his mind and attained Arahanthood. Visakha Puja Day honors the birth, Enlightenment, and passing away of the Buddha. The United Nations General As-sembly, fulfilling the hopes of the International Buddhist Con-ference in Sri Lanka in November of 1998, urged the interna-tional recognition of this day, especially at the United Nations Headquarters and offices. The Council of Thai Bhikkhus in the U.S.A., following the hopes of the International Buddhish Conference and the urgings of the United Nations, also com-memorates this special holy day. Visakha Puja Day commemorates the three main events in the Buddha’s life. First, the birth of the Buddha is for the benefit of all people in the world because of the message the Blessed One brings regarding the alleviation of suffering. Secondly, the Enlightenment of the Buddha is a light to expel the darkness of the world, the darkness of the defilements of greed, anger, and delusion, insofar as the Buddha shows how we, too, can approach this blissful, luminous state. Thirdly, The Significance of Visakha Puja Day Ven. Dr. Thanat Inthisan, Secretary –General of The Council of Thai Bhikkhus in the USA.
  • 6. ธรรมรัตน์ 6 Dhammaratana ธรรมรัตน์ 7 Dhammaratana ในช่วงสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนาฉลองวันวิสาขบูชา ซึ่งเป็นวัน สำ�คัญสากลของโลก ชาวพุทธทุกชุมชน ทุกประเทศ ต่างก็จัดกิจกรรมทำ�พิธี บูชาสักการะ และจัดประพฤติปฎิบัติธรรมตามสมควรแก่ฐานะวัดและชุมชน ของตน ๆ สำ�หรับวัดไทยในสหรัฐอเมริกานั้นก็จะถือเอาตามปฏิทินไทย คือปีนี้ เป็นปีอธิกมาส (๘ สองหน) ก็จะเลื่อนการทำ�บุญวันวิสาขบูชาจากวันเพ็ญเดือน ๖ เป็นวันเพ็ญเดือน ๗ ซึ่งตรงกับวันจันทร์ที่ ๔ มิถุนายน ที่วัดต่าง ๆ สะดวกใน การจัดพิธีทำ�บุญ ฟังธรรม และเวียนเทียน ตามประเพณีที่ทำ�สืบ ๆ กันมา ในโอกาสสำ�คัญนี้เพื่อเป็นการรำ�ลึกถึงพระคุณอันยิ่งใหญ่ขององค์สม เด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าที่พระองค์ได้เสด็จอุบัติขึ้นมาในโลกนี้เพื่อขจัดปัญหา คือ ความทุกข์ ของมวลมนุษย์ชาติ และการตรัสรู้ธรรมของพระองค์ เป็นพระสัมมา สัมพุทธเจ้า ได้ทำ�ให้พระองค์มีพระปัญญาอันลึกซื้งกว่ามนุษย์ธรรมดา จะเห็น ว่าความกว้างขวางแห่งพระปัญญาของพระพุทธเจ้านั้นครอบโลกไปหมด ดัง นั้น จึงเรียกพระนามของพระองค์ว่า “สัพพัญญู” บ้าง “โลกวิทู” บ้าง ตาม สมควรแก่เหตุ หากจะเรียกพระปัญญาของพระพุทธเจ้าว่า “มหาปัญญา” the death of the Buddha reveals the ultimate truths of exis-tence: the impermanence of all things, the unsatisfactoriness of everything in the world (the world’s “suffering” character), and the lack of self that characterizes all phenomena. As we celebrate Visakha Puja, each of us should bear in mind the words spoken by the Buddha at the beginning of his life’s work and those spoken at the end. Shortly after his Enlightenment, when Brahmā Sahampati had convinced the Buddha to teach the Dhamma for the benefit of mankind, the Buddha said, “Open for [all human beings] are the doors to the Deathless, / Let those with ears now show their faith”. We should respond to the words of the Buddha by developing our faith into true wisdom so we, too, can approach the deathless state of Enlightenment. Shortly before his death, the Bud-dha uttered these last words: “All conditioned things are of a nature to decay—strive on untiringly”. We should engage untiringly in our work, this Vesakha Day and everyday, of de-veloping the truth of the Buddha’s teaching in our own lives and of bringing it into the lives of others. Mar. 19, 2012 พระพุทธเจ้าทรงอุบัติขึ้น เพื่อขจัดปัญหา คือ ความทุกข์
  • 7. ธรรมรัตน์ 8 Dhammaratana ธรรมรัตน์ 9 Dhammaratana ปัญญาของนักวิทยาศาสตร์ และเรียกปัญญาทั่ว ๆ ไปมีปัญญาในการบริหาร การจัดการ เป็นต้นว่า “กุสโลบาย” ก็น่าจะได้อย่างสนิททีเดียว ยกตัวอย่างให้เห็นง่าย ๆ เช่นชาวบ้านทั่วไป ถึงจะฉลาดแค่ไหน เขาก็ จะมีเพียงปัญญาเพื่อประกอบอาชีพเท่านั้น ยังตกเป็นทาสของระบบและความ คิดของคนบางกลุ่มอยู่นั่นเอง ส่วนมากแล้วจะมองปัญหาในระยะสั้น แคบ และเป็นปัญญาที่ค่อนข้างจะมีผลกระทบต่อธรรมชาติสูงมาก นอกจากนี้ยัง ขาดความคมเฉพาะด้านอีกด้วย พวกนักวิทยาศาสตร์ นั้น มีปัญญาที่มีความ คมเฉพาะด้านสูงมาก แต่ก็มีขอบเขตจำ�กัดอยู่แค่นั้น ไม่รู้จักสิ่งทั้งหมดทั้งด้าน วัตถุและด้านจิตใจได้ทั้งโครงสร้างเช่นกับพระพุทธเจ้า เช่น เซอร์ ไอแซ็ก นิว ตัน นั่งอยู่ใต้ต้นแอปเปิ้ล เห็นลูกแอปเปิ้ลหล่นลงมาก็รู้แต่เพียงว่า นั่นคือลูก แอปเปิ้ลมีความรู้แถมมานิดหน่อยเท่านั้นว่า โลกมีแรงโน้มถ่วง ซึ่งจริง ๆ แล้ว พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า นั้นมันเป็นเรื่องของไตรลักษณ์ แอปเปิ้ลลูกนี้ ต้องเป็น ไปตามเหตุตามปัจจัย เมื่อถึงคราวที่ผลแก่เต็มที่แล้ว ขั้วของมันก็จะหลุดร่วง ลงมา และแม้แต่คำ�ว่า แอปเปิ้ล ก็ยังเป็นสิ่งสมมุติอยู่นั่นเอง ถึงคนชื่อนิวตัน จะเกิดหรือไม่เกิดขึ้นมาในโลกใบนี้เลย แอปเปิ้ลลูกนั้นมันก็ต้องหล่นลงตาม เหตุตามปัจจัย เพื่อเป็นการแสดงอาการของไตรลักษณ์ให้ชาวโลกเห็นอยู่แล้ว เพราะทั้งลูกแอปเปิ้ลทั้งโลกและแรงโน้มถ่วง รวมไปถึงตัวของนิวตันด้วย ก็ ล้วนแต่เป็น ธัมมฐิติ เป็นกฎที่ดำ�รงอยู่อย่างนั้น พระพุทธเจ้า จะเกิดหรือไม่เกิด ไอน์สไตน์ จะมีหรือไม่มี นิวตัน จะเห็นหรือไม่เห็น เมื่อถึงเวลา แอปเปิ้ลลูกนั้น ก็ต้องหล่นอย่างแน่นอน สรุปง่าย ๆ ก็คือว่า กฎที่นักวิทยาศาสตร์ค้นพบแต่ละกฎแต่ละ ทฤษฎีนั้น ล้วนแต่เป็นกฎย่อยกฎหนึ่งหรือเป็นส่วนหนึ่งของกฎไตรลักษณ์ที่ พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้เท่านั้น และเพราะความเข้าใจอันลึกซึ้งแห่งพระปัญญาของพระพุทธเจ้าที่ สามารถเข้าใจถึงสภาพวัตถุและจิตใจได้มากกว่านักวิทยาศาสตร์นี้เอง นัก ปราชญ์แห่งยุคท่านหนึ่งจึงพูดได้อย่างเต็มภาคภูมิว่า “พุทธศาสนาใน ฐานะที่เป็นพื้นฐานแห่งวิทยาศาสตร์” หรือถ้าจะพูดให้ถูกที่สุดจะพูดว่า “วิทยาศาสตร์เป็นเพียงแขนงหนึ่งในพระพุทธศาสนาเท่านั้น” ก็สมควร อันนี้ เป็นความแตกต่างกันแห่งปัญญาของบุคคลทุก ๆ ระดับ ตั้งแต่ ปุถุชนจนพระอริยะเจ้าระดับพระพุทธเจ้า ปัญญาของปุถุชนที่พอมีความฉลาด อยู่บ้างก็คิดอยู่แต่ว่า จะมีอะไรกิน? จะกินวิธีไหน? และวิธีได้ของกินมาจะทำ� อย่างไร? ทำ�อย่างไรจึงจะร่ำ�รวย จะได้กำ�ไรมาก ๆ เมื่อมีความคิดเช่นนี้วิชาว่า ด้วยการจัดการการบริหารจึงเกิดขึ้น ปัญญาแบบนักวิทยาศาสตร์ พวกที่สอง (พวกหัว วิทยาศาสตร์) ก็มัวครุ่นคิดอยู่ ว่า โลกนี้คืออะไร? หินก้อน นี้ถูกผสมไว้ด้วยสสารอะไร บ้าง? จะนำ�มาแปรรูปใช้เป็น อะไรได้บ้าง และจะเอามา ได้ด้วยวิธีไหน? เมื่อคิดดังนี้ แล้วคนพวกนี้ก็จะเกิดการ ขวนขวายทดลองด้วยวิธีการ ต่าง ๆ วิชาวิทยาศาสตร์จึง เกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ ทั้ง สองพวกแรกนี้บ้างก็แสวงหา เพียงราคาของธรรมชาติ เพื่อที่จะเอาเปรียบธรรมชาติ บ้างก็แสวงหาความรู้ เพียงอย่างเดียว บ้างก็แสวงหาเพียงความจริงของวัตถุธาตุเท่านั้น สิ่งทุกสิ่งที่ นับมานี้เป็นสิ่งที่มีอยู่ในพระพุทธเจ้าหมดแล้ว แต่สิ่งที่พระพุทธองค์มีมากไป กว่านั้นก็คือ พุทธวิธี ในการดับทุกข์ และการนำ�เอาหลักธรรมไปสั่งสอนแก่ เวไนยสัตว์ ซึ่งไม่มีผู้ใดชาญฉลาดเทียบเท่าพระพุทธองค์ได้เลย จึงมีการย่อเอา คุณของพระพุทธองค์ไว้อย่างรัดกุมและครบถ้วนไว้เพียง ๓ ประการ คือ :- ๑. พระบริสุทธิคุณ ทรงหมดจดจากกิเลสเครื่องเศร้าหมอง
  • 8. ธรรมรัตน์ 1 0 Dhammaratana ธรรมรัตน์ 1 1 Dhammaratana ๒. พระมหากรุณาธิคุณ คือทรงมีเมตตาต่อสัตว์โลกทุกหมู่เหล่า ๓. พระปัญญาคุณ ทรงเป็นผู้ฉลาดที่สุดหาผู้เสมอเหมือนมิได้ นอกจากพระผู้มีพระภาคเจ้าจะสมบูรณ์ไปด้วยคุณต่าง ๆ แล้ว พระองค์ยังเป็นนักปกครองที่ครบถ้วนไปด้วยวิธีที่น่าอัศจรรย์มาก พระองค์ ทรงมีวิธีการปกครองให้เลือกเอาไปใช้ได้ทั้งสองวิธี คือ : ระบอบประชาธิปไตย ๑ ระบอบเผด็จการ ๑ ระบอบประชาธิปไตยนั้นทรงให้ใช้อปริหานิยธรรมใน การปกครอง ส่วนระบอบเผด็จการนั้นทรงให้ใช้ทศพิธ ราชธรรม ๑๐ ประการ ในการปกครอง พระองค์เป็นผู้เดียวเท่านั้นที่ปกครองสาวกด้วยความรู้ทั้งสอง แบบคือความรู้สามัญที่เกิดจากการเรียนรู้ จากประสบการณ์ตรง ที่ได้เห็น ได้ยินได้สัมผัสมาโดยตรงและความรู้วิสามัญคือความรู้ในด้านนามธรรมซึ่ง ได้แก่เรื่องของจิตใจ การบริหารจิตการควบคุมจิตใจจนอยู่ในควบคุมอยู่ใน อำ�นาจได้ความรู้วิสามัญเช่นนี้เองที่เรียกว่า “สัพพัญญู และโลกวิทู” ซึ่งเป็น ความรู้จากการตรัสรู้ มิใช่ความรู้เกิดจากการเล่าเรียนศึกษา ในห้องสี่เหลี่ยม และปริญญาของพระพุทธองค์นั้นก็คือความดับไปแห่งกิเลสอาสวะทั้งปวง โดยมีธรรมชาติเป็นผู้มอบให้สมกับที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า “กตมา จ ภิกฺขเว ปริญฺญา ราคกฺขโย โทสกฺขโย โมหกฺขโย. อยํ วุจฺจติ ภิกฺขเว ปริญฺญา” ความว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ปริญญาเป็นไฉน คือ ความสิ้นไป แห่งราคะ ความสิ้นไปแห่งโทสะ ความสิ้นไปแห่งโมหะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นี้เราเรียกว่าปริญญา” แต่ปริญญาที่เกิดจากการศึกษาเล่าเรียนทุกวันนี้ ที่ ธรรมชาติมอบให้ คืออากาศเป็นพิษ ความแห้งแล้ง ป่าไม้หมดไป ปลาในห้วย หนองคลองบึงตายเป็นแพเป็นบาดเป็นแผล นี้คือปริญญาที่ธรรมชาติมอบให้ แก่ผู้จบการศึกษาในปัจจุบันนี้ การฟื้นฟูปัญญา ในทางพระพุทธศาสนานั้น ได้บ่งถึงคุณูปกรณ์ให้ปัญญาเกิดมีอยู่ ๓ ทางด้วยกันคือ สุตมยปัญญา ปัญญาที่เกิดจากการฟัง ๑ จินตามยปัญญา ปัญญาที่เกิดจากการคิด ๑ ภาวนามยปัญญา ปัญญาที่เกิดจากการฝึกฝน อบรมทั้งจากการอบรมด้วยตนเอง และจากผู้อื่น ๑ การฟื้นฟูสุตมยปัญญา ปัญญาที่เกิดขึ้นจาก การฟังนั้นหมายความ ว่า ขณะที่ฟังไป ๆ นั้น เกิดมีแนวคิดที่แตกฉาน ออกไปจากเรื่องที่ฟัง อยู่นั้นอย่างมากมาย บางส่วนทำ�ให้เกิดการ วิจารณ์ บางส่วนน้อม เข้ามาใส่ตัวทำ�ให้เกิดปัญญาขึ้นได้อย่างน่าอัศจรรย์ ในสมัยครั้งพุทธกาลนั้น จะมีบุคคลที่ได้บรรลุธรรมเพราะการฟังธรรมมากเป็นอันดับหนึ่ง แต่การฟัง ธรรมนั้นต้องตั้งใจฟัง ไม่ใช่ตั้งหูฟัง จึงจะเรียกว่าการฟัง การได้ยินก็ยังไม่เรียก ว่าการฟังเพราะการได้ยินกับการได้ฟังนั้นเป็นคนละอย่างกัน บางครั้งอาจ เป็นการฟังโดยที่ไม่ได้ยิน บางครั้งอาจเป็นการได้ยินโดยที่ไม่ได้ฟังก็เป็นได้ ดังนั้นการฟังจึงเป็นวิธีการฟื้นฟูปัญญาได้ดีมาก การฟังที่สร้างสรรค์นั้น คือการฟังที่เข้าถึงเนื้อหาของสิ่งที่กำ�ลังฟังอยู่ นั้น แม้ว่าสิ่งนั้นจะเป็นเพียงเสียงเพลงก็ตามหากผู้ฟังสามารถแยกแยะได้ด้วย วิจารณญาณว่าสิ่งนั้นมีสาระอย่างไร มีโทษอย่างไร แสดงว่าปัญญาของผู้นั้น ได้รับการฟื้นฟูสำ�เร็จแล้ว และบุคคลผู้นั้นเคยสั่งสมสุตะมาแล้วในอดีตชาติ มี หญิงสาวนางหนึ่งร้องเพลงขณะตำ�ข้าวว่า :- “ชรายะ ปริมัททิตัง เอตัง มิลาตัจฉวิจัมมนิสสิตัง มรเณน ภิชชติ เอตัง มัจจุสสะ ฆสมาทิสัง คะตัง กิมินัง อาลยัง เอตัง นานากุณปปูริตัง อสุจิภาชนัง เอตัง กัฏฐักขันธสมัง อิมัง.” ความว่า “สรีระนี้ อาศัยหนังมีผิวเหี่ยวแห้งถูกชราย่ำ�ยีแล้ว สรีระนี้ถึง
  • 9. ธรรมรัตน์ 1 2 Dhammaratana ธรรมรัตน์ 1 3 Dhammaratana ความเป็นอามิสคือเหยื่อของมฤตยู ย่อมตกไปเพราะมรณะ สรีระนี้เป็นที่อยู่ ของหมู่หนอน เต็มไปด้วยซากศพต่าง ๆ สรีระนี้เป็นภาชนะที่สกปรก สรีระนี้ เสมอด้วยท่อนไม้” ขณะที่ร้องเพลงไปด้วยตำ�ข้าวไปด้วยนั้น เจ้าตัวมิได้พิจารณาไปกับเนื้อ ความนั้นเลย แต่มีครอบครัวหนึ่ง ซึ่งมีพ่อกับลูก ๗ คนที่เพิ่งกลับออกมาจาก ป่าได้ฟังเพลงนั้นเข้าพอดี ทั้งหมดนั้นได้บรรลุปัจเจกโพธิญาณเพราะการฟังนั้น มีหญิงสาวอีกนางหนึ่งซึ่งเป็นนางทาสีขนหม้อน้ำ� ขณะที่นางไปตักน้ำ�นั้น นาง ได้เห็นดอกบัวที่เกิดอยู่ในสระนั้นจึงได้ร้องเพลงเกี้ยวดอกบัวนั้นขึ้นด้วยความ สำ�ราญใจว่า :- “ปาตผุลลัง โกกนทัง สุริยาโลเกน ตัชชิยเต เอวัง มนุสสัตคตา สัตตา ชราภิเวเคน มิลายันติ.” ความว่า “ดอกปทุมชื่อโกกนุทบานแล้วในยามเช้า ถูกแสงพระอาทิตย์ แผดเผา ฉันใด สัตว์ทั้งหลายผู้ถึงความเป็นมนุษย์แล้ว ย่อมเหี่ยวแห้งอับเฉา ไปด้วยกำ�ลังแห่งชรา ฉันนั้น” พระธุดงค์องค์หนึ่งกำ�ลัง เดินผ่านมาได้ยินเสียงเพลงนั้น เข้าพอดี ท่านจึงมนสิการน้อม เอาดอกบัวนั้นเข้าไปเปรียบกับ สังขารของตัวท่านเองจนสามารถ หลุดพ้นจากอาสวะกิเลสได้ นี้เป็น ตัวอย่างของสุตมยปัญญา คือ ปัญญาที่เกิดขึ้นจากการฟัง แม้จะ ถูกด่าถ้าฟังเป็นก็สามารถก่อให้ เกิดปัญญาได้ การฟังเสียงเพลง ขับที่สัมปยุตด้วยธรรมนั้น ยิ่ง เป็นการง่ายต่อการให้เกิดปัญญา แต่ผู้ฟังจะต้องมีมนสิการและตั้งใจฟังจริง ๆ ไม่ใช่เพียงแค่ได้ยิน ในภาษาบาลี ท่านเรียกว่า “โอหิตโสโต” แปลว่า การเงี่ยโสตลงสดับ คือตั้งใจฟังหรือฟัง อย่างตั้งอกตั้งใจนั่นเอง พระพุทธเจ้าท่านได้ตรัสอานิสงส์ที่เกิดจากการฟังไว้ ถึง ๕ ประการด้วยกันคือ :- ๑. อัสสุตัง สุณาติ ได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยได้ฟัง ๒. สุตัง ปริโยทาเปติ เข้าใจสิ่งที่ได้ฟังแล้วชัดยิ่งขึ้น ๓. กังขัง วิหนติ บรรเทาความสงสัยเสียได้ ๔. ทิฏฐิง อุชุง กโรติ ทำ�ความเห็นให้ตรงได้ ๕. จิตตัสสะ ปสีทติ จิตของผู้ฟังย่อมเลื่อมใส ทั้ง ๕ ประการนี้ เป็นอานิสงส์ที่เกิดขึ้นจากการฟัง และเป็นวิธีการที่ทำ�ให้ สาวกของพระพุทธเจ้าได้บรรลุธรรมได้มากที่สุดในครั้งพุทธกาล คุณเดนนิส พาคณะสงฆ์วัดป่าธรรมรัตน์ กราบเยี่ยมพระสงฆ์ชาวเวียดนามที่มีวัด อยู่ไม่ไกลกันนัก เพื่อให้เกิดความคุ้นเคย - Visiting Dhamma Brother at Vietnamese Monastery
  • 10. ธรรมรัตน์ 1 4 Dhammaratana ธรรมรัตน์ 1 5 Dhammaratana ในโลกปัจจุบันมีเหตุการณ์ต่างๆเกิดขึ้นมากมายในทางที่ทำ�ให้เกิด ความวิตกกังวลในความปลอดภัยของชีวิต ทรัพย์สิน เงินทอง ลูกหลาน ญาติ พี่น้อง บริวาร ตลอดถึงธรรมชาติสิ่งแวดล้อมต่างๆ เกิดภัยพิบัติถล่มโลก นานัปการไม่ว่าจะเป็นเรื่องแผ่นดินไหว น้ำ�ท่วม พายุกระหน่ำ� อากาศร้อน อบอ้าว ข้าวยากหมากแพง สินค้าอุปโภคบริโภคร่อยหรอ คนเป็นโรคภัยไข้ เจ็บอดอยากปากแห้ง เกิดการขาดแคลนอาหารในหลายประเทศทำ�ให้ผู้คน ล้มตายกันเป็นจำ�นวนมาก หรือว่า "โลกจะแตก"ดั่งคำ�เล่าลือที่พวกหมอดูหมอ เดาทั้งชาวไทยชาวต่างชาติประกาศไปทั่วว่าปีพุทธศักราช ๒๕๕๕ (2012) โลก จะถึงกาลอวสานแตกดับไป จนหลายคนเเกิดความตกอกตกใจบางคนถึง กับเสียเงินทองไปมากมายเกี่ยวกับการป้องกันบรรเทาในการที่จะไม่ให้โลก แตกสลายไปเร็วขึ้น แต่ความจริงแล้ว โลกคือ สิ่งที่ต้องแตกดับได้ในที่สุด อยู่แล้ว แต่ว่าจะช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับฝีมือมนุษย์ของเราแน่นอน พระพุทธเจ้า ท่านตรัสไว้ว่า ในอนาคตโลกจะเกิดการแตกสลายไปเมื่อมีดวงอาทิตย์เกิดขึ้น ถึงเจ็ดดวง ผู้เขียนจำ�ไม่ได้ชัดเจนว่าท่านตรัสไว้ในพระสูตรใหน แต่เนื้อหาสา ระจริงๆคืออยากให้มองให้เห็นตามความจริงของสถานการณ์โลกปัจจุบันนี้ ความร้อนเกิดขึ้นมากจนองค์กรณ์ต่างๆที่บอกว่ารักโลกของเรามีการวิจัยว่า ความร้อนเกิดขึ้นมากในประวัติศาสตร์โลกนี้เมื่อปี ๒๕๕๓ อยากจะนำ�เอาคำ� ตรัสของพระพุทธเจ้ามาบอกกล่าวว่าในอนาคตอันใกล้นี้เรื่องราวเหตุการณ์ ภัยพิบัติจะเกิดขึ้นด้วยน้ำ�มือของมนุษย์เรานี้แหละเมื่อคนขาดศีลขาดธรรม จะมีแต่ความชอกช้ำ�ไปทั้งแผ่นดิน อธรรมจะเกิดขึ้นมีขึ้นมากมาย "โลกจะ วิปริตแตกสลายได้ง่ายเมื่อคนเรามีอธรรม ๓ ประการนี้ คือ ๑. ความเห็นผิดวิปริตจากความจริง (มิจฉาธัมมาปเรตา ความเห็นผิด เป็นชอบ เห็นกงจักรเป็นดอกบัว เห็นหางเป็นหัว เห็นชั่วเป็นดี ) ๒. ความโลภเกินพิกัด ( วิสมโลภาพิภูตา ความโลภโมโทสันต์ ความ อยากได้อยากดีอยากมีอยากดัง อยากเกินขอบเขต เป็นเปรตในคราบของ มนุษย์ไม่มีที่สิ้นสุด คอรัปชั่นปั่นป่วนล้วนหลากหลาย ) ๓. ความกำ�หนัดกล้าบ้ากามวิปริตผิดมนุษย์ ( อธัมมราครัตตา ความ มักมากในกาม เมามายในรูปรส กลิ่น เสียง สัมผัส เกินความจำ�เป็นจนเป็น เหตุให้ไม่รู้จักแม้กระทั่งญาติพี่น้อง ข่มขืนกระทำ�ชำ�เราได้แม้กระทั่งลูกผัว พ่อแม่ตัวเอง ) ที่พูดมานี้เกิดขึ้นแล้วในปัจจุบันดูแล้ว เห็นแล้วน่ากลัวจริงๆ สิ่งเหล่า นี้จะทำ�ให้โลกแตกสลายไปในไม่ช้าแน่นอน ชัวร์ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ ดั่งคำ�ที่นัก ปราชญ์ผู้รู้ได้แต่งไว้เป็นคำ�คมเตือนใจไว้ว่า " พ่อแม่ไร้ธรรม ลูกก็ช้ำ�ดวงจิต ลูกศิษย์ไร้ธรรม ครูอาจารย์ก็ช้ำ�หัวใจ คนทั่วไปขาดธรรม โลกก็ช้ำ�ไปทั้งแผ่นดิน " พระเดชพระคุณหลวงตาชี(พระวิเทศธรรมรังษี) พระเถระผู้ใหญ่ที่ ทำ�งานพระศาสนาในสหรัฐอเมริกามาหลายทศวรรษ ได้เขียนบทความไว้ใน วารสารแสงธรรม หนังสือธรรมะประจำ�วัดไทยกรุงวอชิงตัน,ดี.ซ.ี มีความตอน หนึ่งว่า "คนมีธรรมะเหมือนกับสระที่มีน้ำ� คนที่ขาดธรรมะเหมือนสระขาดน้ำ�" "โลกวิปริต จิตวิปลาส ถ้าปราศจากธรรมะ" เตชวโร ภิกขุ
  • 11. ธรรมรัตน์ 1 6 Dhammaratana ธรรมรัตน์ 1 7 Dhammaratana คนมีธรรมะจะทำ�ให้การดำ�เนินชีวิตไปในทางที่งดงามสง่าสดใส มีคุณภาพ ชีวิตที่ดีงาม คนที่ขาดธรรมะ จะทำ�ให้ดำ�เนินชีวิตไปในทางที่ตกต่ำ� ไม่มี คุณภาพ ชีวิตเต็มไปด้วยความเร่าร้อน ยืน เดิน นั่ง นอน ไม่ผ่องใสไร้ความ สุข ดังนั้น จึงอยากจะนำ�หลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาบอกกล่าวให้นำ�ไป ปฏิบัติ เพื่อเป็นการถ่วงดุลย์ให้โลกหมุนไปสู่ความแตกดับช้าๆ หรือพูดง่ายๆ ว่าให้มีความสุขเพิ่มขึ้นในโลกมากขึ้นเร็วขึ้น คือ "โลกวิปริต พัฒนาจิต เพิ่มสุข ชีวิต ปิดอบาย คลายเร่าร้อน" ด้วยคุณธรรมเหล่านี้ คือ ๑. มีสติทุกการกระทำ� (Mindfulness every moment) คือการมีสติ อย่าเผลอ ๒. มีปัญญาแก้ปัญหาด้วยเหตุผล (Wisdom every time) มีปัญญา เข้าใจชีวิตสม่ำ�เสมอ ๓. มีความสุขทุกความเคลื่อนไหวใส่ใจตัวเองไม่เครียดไม่กังวล (En-joy every action) สร้างความสุขที่สร้างสรร ขยันแสวงหาความปล่อยวางไม่ สร้างความอึดอัดขัดเคืองในจิตใจ การที่จะทำ�ให้ได้อย่างนี้จะต้องมีความตั้งใจมันมากพอสมควร การ ที่คนเราจะมีความตั้งใจมั่นได้ก็คือต้องหมั่นทำ�สมาธิบ่อยๆ หลักฐานทาง พระพุทธศาสนานั้นบ่งบอกถึงการมีคุณภาพจิตที่ดี มีความตั้งมั่นไม่หวั่น ไหว มีพลานุภาพในการสะกัดกั้นความทุกข์กาย ทุกข์ใจได้ดีแท้แน่นอนจน สามารถจะเรียกได้ว่า ชีวิตมีความสุข "สุขกาย สุขใจ ไร้โรค โชคดี มีคุณธรรม" การที่จะทำ�ให้มีชีวิตที่ไม่วิตก กังวลจนเครียดไปกับสถานณการณ์โลกปัจจุบันนี้ด้วยสติที่ยอดเยี่ยม เข้าใจ ทุกสิ่งตามความเป็นจริงว่า ทุกสิ่งย่อมเดินทางไปสู่ความเปลี่ยนแปลง แตก สลายดับไปในที่สุด ต้องมีสมาธิจิตที่แน่วแน่มั่นคงตามหลักธรรมคำ�สอนของ พระพุทธเจ้า สมาธิที่สมบูรณ์ตามหลักนี้ประกอบด้วย ๑. มีความตั้งมั่นไม่หวั่นไหวจิตใจมั่นคง (สมาหิโต) ๒. มีความบริสุทธิ์สะอาดผ่องใสจิตใจเยือกเย็น (ปริสุทโธ) ๓. มีความผุดผ่องสละสลวยสวยงาม (ปริโยทาโต) ๔. เกลี้ยงเกลากลมกล่อมโปร่งเบาสบาย (อนังคโณ) ๕. เหมาะสมพอดีควรแก่การงานนุ่มนวล (กัมมนีโย) ๖. ปราศจากเครื่องเศร้าหมองโดยประการทั้งปวง (วิคตูปกิเลโส) ๗. อ่อนโยนอ่อนน้อม นุ่มนวลแต่หนักแน่น (มุทุภูโต) ๘. ไม่วอกแวกวุ่นวาย จิตใจลงตัวที่สุด (ฐิตอาเณญชัปปัตโต) ถ้าหากว่ามีความสามารถทำ�จิต พัฒนาใจให้ได้อย่างนี้แล้ว ความเศร้า หมองทั้งหลายก็จะมลายหายสูญสิ้นไป ขอให้ทุกท่านจงอยู่กับสถานการณ์ที่ เป็นจริงยอมรับได้ในโลกนี้อย่าง "สุขกายสบายใจ ไร้โรคาพยาธิ มีสติสมบูรณ์ เพิ่มพูนความดี มีชีวี สดใส จิตใจเยือกเย็น บำ�เพ็ญประโยชน์ ให้โลกนี้ดำ�รงอยูอย่างสันติสุข ทุก ประการด้วยเทอญ .... ๒๓ / ๐๓ / ๒๕๕๕ คุณจำ�ลอง แม็คคาซี่ทำ�บุญวันเกิด โดยนิมนต์คณะสงฆ์วัดป่าธรรมรัตน์ไปเจริญ พระพุทธมนต์-ฉันภัตตาหารเพล-แสดงธรรม มีคณะญาติธรรมมากมายไปร่วมให้กำ�ลังใจใน ครั้งนี้
  • 12. ธรรมรัตน์ 1 8 Dhammaratana ธรรมรัตน์ 1 9 Dhammaratana ก่อนจะให้พรเป็นภาษาบาลี ขอให้พรเป็นภาษาไทยก่อน อนุโมทนา บุญกับญาติโยมที่เสียสละนำ�ข้าวปลาอาหารมาถวาย พระสงฆ์ไม่อะไรจะเป็น ปฏิการะน้ำ�ใจ นอกจากธรรมะคำ�สั่งสอนของพระพุทธเจ้าที่เป็นหลักของชีวิต ในการดำ�เนินชีวิตให้ดีงามมีความสุข เมื่อวานนี้พูดเรื่องบุญในทางพระพุทธ ศาสนา บุญถือว่าเป็นคำ�สำ�คัญ บุญคืออะไร บุญ คือ ความดี ความสุข และการชำ�ระ เมื่อเราทำ�บุญ ก็การทำ�ความดี ทำ�ให้เรามีความสุข และช่วยชำ�ระจิตใจของเราให้ปลอดกิเลส โดยเฉพาะความหมายที่ ๓ ที่บอกว่าบุญคือการชำ�ระ ท่านเปรียบว่า บุญนี้ เหมือนกับน้ำ�ชำ�ระ ชำ�ระอะไร ชำ�ระสิ่งสกปรกที่อยู่ในใจของเรานี้ สิ่งสกปรก คืออะไร คือกิเลส ได้แก่ โลภ โกรธ หลง อย่างการทำ�บุญด้วยการให้ทานนี้ ถือว่าเป็นการชำ�ระความตระหนี่ ภาษาพระท่านเรียกว่า มัจฉริยะ คือ ความ ตระหนี่ ความเห็นแก่ตัว เรามาเสียสละให้ได้ถือว่าเป็นการชำ�ระความตระหนี่ ออกไปจากใจของเรา วันนี้จะพูดเรื่องบุญกิริยาวัตถุซึ่งว่าด้วยวิธีการทำ�บุญ การทำ�บุญ นั้นทำ�ได้กี่วิธี โดยย่อท่านกล่าวไว้ ๓ คือ ทาน ศีล ภาวนา โดยพิสดารท่าน พรรณนาขยายออกเป็นบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ แต่วันนี้จะขอกล่าวเฉพาะเรื่องทาน การทำ�บุญด้วยการให้ทาน ก่อนอื่นขอทำ�ความเข้าใจคำ�ว่า ทานก่อน เพราะ ทุกวันนี้มีคนเข้าใจผิดและมักพูดว่า วันนี้ฉันไปทำ�บุญถวายเพลที่วัด มีอาหาร เหลือจากถวายพระ ระหว่างทางกลับบ้านเจอคนยากจนก็เลยให้ทานเขาไป คนทุกวันนี้ใช้ศัพท์และความหมายผิดคิดว่า การทำ�บุญหมายถึงทำ�กับพระ สงฆ์องค์สามเณร แต่การให้ทานนี้หมายถึงให้กับคนยากจน คนขอทาน หรือ คนต่ำ�ต้อยกว่าตน ที่จริงแล้วการให้หรือทานก็เป็นบุญอย่างหนึ่ง เราจะให้ แก่ใครก็แล้วแต่ ให้แก่พระสงฆ์ คนทั่วไป หรือให้กับสัตว์เดรัจฉาน ก็ได้บุญ เหมือนกัน แต่ผลบุญมากน้อยต่างกัน ถ้าให้กับคนดีมีคุณธรรมจะได้บุญ มากกว่า เพราะอะไร เพราะคนดีเวลาเขากินอาหารที่เราให้ไป เขาก็ได้กำ�ลัง และไปทำ�ความดีต่อไป เราจึงได้บุญเยอะ แต่ถ้าเราให้สัตว์เดรัจฉานนี้ บางที สัตว์เดรัจฉานเข้าอยู่ด้วยสัญชาตญาณ เช่น เราให้สุนัขจรจัด สุนัขอาจจะไป กัดคนอย่างนี้ จึงอาจจะได้บุญน้อยกว่าให้กับคน ฉะนั้น คำ�ว่า ทาน ก็คำ�หนึ่ง คำ�ว่าบุญก็คำ�หนึ่ง และการให้ทานก็เป็นบุญอย่างหนึ่ง การให้ทานมีอยู่ ๓ แบบ คือ การให้เพื่อสงเคราะห์อนุเคราะห์ การให้ คำ�แนะนำ�พร่ำ�สอน และการให้อภัยไม่ถือโทษโกรธกัน - การให้แบบสงเคราะห์อนุเคราะห์ คือ การให้ปัจจัย ๔ มี เสื้อผ้า อาหาร ที่พัก และยารักษาโรคเป็นต้น นอกจากนั้นการให้สิ่งที่จำ�เป็นต่อชีวิต อย่างอื่นอีก อย่างเวลาเขาเดือดร้อนเป็นต้นว่า น้ำ�ท่วม เราก็ส่งเงิน เสื้อผ้า อาหารไปช่วย เรียกรวมๆ ว่า ให้วัตถุสิ่งของ - การให้คำ�แนะนำ� คือ การอยู่ด้วยกันนี้ เป็นครอบครัว สังคม และ ประทศชาติ ถ้าไม่มีการให้คำ�แนะนำ�สั่งสอนนี้ บางทีเราทำ�ไปโดยไม่รู้ตัวว่า ถูกหรือผิด คนอื่นเป็นเหมือนกระจกให้เราได้เห็นข้อผิดพลาดบกพร่องของ ตนเอง การให้คำ�แนะนำ�สั่งสอนนี้เป็นบุญอย่างหนึ่ง อย่างเราเห็นเพื่อนไปทำ� ไม่ดีก็เตือนเพื่อนว่า เอ้อไม่น่าจะทำ�แบบนี้นะ เช่น นั่งรถไปด้วยกัน ถ้าเพื่อน ขับรถเร็วเกินที่กฎหมายกำ�หนดไว้ก็บอกเพื่อน เหมือนเราให้สติเพื่อน ถ้าสูง ขึ้นไปอีก คือ การแนะนำ�พร่ำ�สอนให้เข้าใจในเรื่องสัจธรรมความจริงของชีวิต การให้และสงคราม ปิยเมธี
  • 13. ธรรมรัตน์ 2 0 Dhammaratana ธรรมรัตน์ 2 1 Dhammaratana ที่เรียกว่า “ธรรมทาน” ยิ่งประเสริฐสุด เพราะทำ�ให้หมดทุกข์ได้ - การให้อภัย คือ การไม่ถือโทษโกรธกัน ธรรมดาการอยู่ร่วมกัน ย่อมมีการกระทบกระทั่งกันบ้าง ไม่มากก็น้อยเหมือนลิ้นกับฟัน ถ้าไม่รู้จักให้ อภัยซึ่งกันและกัน ก็อยู่ด้วยกันลำ�บาก ดังนักประพันธ์เขียนไว้ว่า เมื่อไม่มีการให้อภัยผิด และไม่คิดจะลืมซึ่งความหลัง จะหาความสามัคคียากลำ�บากจัง ความพลาดพลั้งย่อมมีทั่วทุกตัวคนฯ คนอยู่ร่วมกัน ถ้าไม่รู้จักให้อภัยกัน ก็อึดอัดลำ�บาก อยู่อย่างไม่มี ความสุข อยู่บ้านเดียวกัน ที่ทำ�งานเดียวกัน เดินผ่านกันยังไม่คุยกัน บางที เจอหน้ากันก็ทำ�เป็นไม่เห็น อันนี้มันก็เหมือนตกนรกทั้งเป็น บ้านก็เป็นนรก ที่ ทำ�งานก็เป็นนรก มันอึดอัด เดือดร้อน วุ่นวาย สับสน พระพุทธเจ้าตรัสว่า ฆ่า ความโกรธเสียได้ อยู่เป็นสุข(ยืน เดิน นั่ง นอน = สุข) การให้ทาน ควรพยายามทำ�ให้ครบทั้ง ๓ แบบ เพราะแต่ละแบบนั้น เป็นการฝึกฝนพัฒนาที่แตกต่างกันออกไป ทั้งการให้แบบอนุเคราะห์ ทั้งการ ให้คำ�แนะนำ� ทั้งการให้อภัย อันนี้เราก็พยายามตลอดให้กลายเป็นนิสัยความ เคยชินที่ดี มีสุภาษิตฝรั่งกล่าว ไว้คล้ายๆ กับพระพุทธ ภาษิตว่า The more you give, the more you get. แปลว่า ยิ่งให้ยิ่งได้ ที่ว่า ได้ อาจจะมองได้หลาย แง่ คือ ได้ความรักความ เอ็นดูจากคนรอบข้าง อีก อย่างเป็นการฝึกการเสีย สละด้วย เพราะว่าการ ให้สามารถทำ�ให้สังคมอยู่ได้ และการให้เป็นเรื่องลำ�บากทำ�ยาก พระพุทธเจ้า ตรัสว่า การให้และการทำ�สงครามเสมอกัน ลองคิดดูนะก่อนที่เราจะให้อะไร ใครได้ จิตใจเรามันขัดแย้งกัน ถ้าใครเคยดูหนังสไปเดอร์แมนมีอยู่ภาคหนึ่ง มีสไปเดอร์แมน ๒ ตัว คือ ตัวดำ� กับตัวแดง ตัวดำ�นี้ไม่ดีเปรียบเหมือนจิตใจ ฝ่ายต่ำ� ส่วนตัวแดงนี้ดีเหมือนจิตใจฝ่ายสูง มันสู้กัน บางทีเวลาที่เราจะให้ วัตถุสิ่งของ ให้คำ�แนะนำ� หรือให้อภัย จิตใจเรามันจะสู้กัน ให้ดีหรือไม่ให้ดี ความตระหนี่ ความเห็นแก่ตัวมันจะสู้กัน ถ้าฝ่ายดีชนะก็สามารถให้ได้ ในสมัยพุทธกาลมีพราหมณ์ชื่อจูเฬกสาฎก อยู่กับภรรยาหนึ่งคน เป็น คนยากจน แต่ว่ามีความศรัทธาอยากไปฟังเทศน์ที่วัด การจะออกไปข้างนอก เป็นเรื่องใหญ่ ต้องเปลี่ยนกันออกไป เพราะมีผ้าห่มอยู่ผืนเดียว ต้องนัดแนะ กันว่า ตาออกไปตอนเย็นนะ เดี๋ยวฉันจะออกไปตอนบ่าย คือพอพราหมณ์ ออกไปก็ห่มผ้าผืนนั้นออกไปฟังเทศน์ ถ้าภรรยาออกไปก็เอาผ้าผืนนั้นห่ม ออกไป มีอยู่วันหนึ่งพราหมณ์ออกไปฟังเทศน์พระพุทธเจ้า เกิดความเลื่อมใส ศรัทธา ด้วยความยากจนไม่รู้จะเอาอะไรถวายพระพุทธเจ้า มองเห็นผ้าอยู่ผืน เดียวที่ตัวเองห่มก็คิดว่าจะถวายผ้าพระพุทธเจ้า ในขณะที่คิดอยู่ จิตใจฝ่าย หนึ่งก็โต้แย้งขึ้นมาว่า ถ้าถวายผ้าผืนนี้กลับบ้านถูกภรรยาดุแน่ มีผ้าอยู่ผืน เดียวดันไปถวายพระพุทธเจ้าแล้วจะเอาอะไรใช้ จิตใจของแกก็สู้กันอยู่อย่าง นั้นระหว่างกุศลจิตกับอกุศลจิตผ่านไปตั้งหลายชั่วโมง เลยตัดสินใจ เอาวะ เป็นไงเป็นกัน รีบลุกเอาไปถวายเลย พอถวายเสร็จแกอุทานเลยว่า ชิตัง เม ชิ ตัง เม เราชนะแล้ว เราชนะแล้ว พระราชาได้ยินก็เลยถามพวกอำ�มาตย์ว่า ใครบอกว่าเราชนะแล้ว พอ รู้ทีหลังว่า เราชนะแล้ว หมายถึงชนะความตระหนี่ ที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า การให้ทานเปรียบด้วยการทำ�สงคราม คือ การทำ�สงครามในใจของเราเอง นี้เป็นวิธีทำ�บุญด้วยการให้ เป็นการฝึกฝนการเสียสละ และความไม่ เห็นแก่ตัวให้เกิดมีขึ้นในจิตใจของเรา กล่าวอนุโมทนามาพอสมควรแก่เวลา ต่อไปก็ตั้งใจกวาดน้ำ�รับพร เป็นภาษาบาลีสืบต่อไป
  • 14. ธรรมรัตน์ 2 2 Dhammaratana ธรรมรัตน์ 2 3 Dhammaratana Regarding to our history, we see clearly the close relationship be-tween Buddhism and the Thai nation. The history of the Thai nation is also the history of Buddhism. The Thai nation originated over 2,000 years ago. Also in that same period Buddhism came and has played an important part in Thai history ever since. The Thai nation settled firmly in present-day Thai-land 700 years ago. Also seven centuries ago it adopted the present form of Buddhism. The charm that has earned Thailand the reputation as the “Land of Smiles” undoubtedly comes from the influence of Buddhism over her peo-ple. Theravada Buddhism has been the predominant religion in Thailand. Under the constitution, The King, as a symbol of the nation, although protec-tor of all religions, must be a Buddhist, Buddhism in Thailand has flourished under patronage of the monarch, with many numbers of the royalty entering the order for time. According to the latest census, the total population of Thailand is over 60 million. Out of this number, approximately 94% are Buddhists there are about 35,000 temples and 365442 monks and 75,093 novices (Source: Na-tional Buddhist Center: December 2005) Early Thai Sangha, there appear to have been two main groups involved in different activites inher-ited from earlier Buddhist and Singhalese traditions, the gamavasi, or “city-dwelling” monks, and the araññavâsi, or “forest-dwelling” monks. The two groups have become known for being involved in two different tendencies in Buddhist practice, namely gantha dhura, the study of books, and vipassanâ dhura, the practice of meditation. There are now two main Orders of Buddhism in Thailand. ie. Mahani-kaya and Thammayut Nikaya Orders. Thamayutta is a new order established by Prince Mongkut in the 1830 s. (then the King Rama IV), of Thailand. After established of the new order, the old order has been called “Mahanikâya” The peoples of Thailand have encouraged and supported Buddhism by building and maintaining monasteries, by providing the monks with material necessities and facilities for performing religious duties, by patronizing their educational activities such as the Buddhist Councils for revising the Tripi-taka and having the scriptures translated into Thai. We may note that although the Thai Sangha may be presented as or ap-pear to be a monolithic institution, there is a history of Buddhist movements and reformers who continue to test the boundaries of practices and beliefs in order to keep Buddhism relevant for the current times. ------------ Bibliography 1. Buddhist Promotion Center. The Buddha’s Teaching. Bangkok: Buddhist Promotion Center, 1992. 2. Mahamakutta Buddhist University. Plan of Life. Bangkok: Mahamakutta Educational Council, 1992. 3. Phra Rajavaramuni. Thai Buddhism in the Buddhist World. Bangkok: Mahachulalongkorn University Press, 1990. 4. Ven.Dr. W.Rahula. What the Buddha Taught. Bangkok:Haw Trai Foun-dation, 1999 5. Vinai Ussivakul. An Introduction to Buddhist Meditation for Results. Bangkok: Tippayawisut, 2003. 'Thai Buddhism'' Phra Srisitthimuni
  • 15. ธรรมรัตน์ 2 4 Dhammaratana ธรรมรัตน์ 2 5 Dhammaratana เพราะทุกวันนี้ใครๆ ก็ป่วยเป็นโรคเบาหวานได้ ไม่ว่าจะเป็นตัวคุณเอง คนในครอบครัว หรือเพื่อนร่วมงาน รวมถึงเด็กรุ่นใหม่ก็มีแนวโน้มป่วยเป็น โรคเบาหวานกันมากขึ้นเห็นอินเทรนด์อย่างนี้ แท้จริงแล้วเบาหวานเป็นโรค ดึกดำ�บรรพ์ เพราะมีการตรวจพบมาตั้งแต่สมัยอียิปต์โบราณ โดยคุณหมอใน สมัยนั้นได้ตรวจพบว่า ผู้ป่วยรายหนึ่งปัสสาวะรสหวาน และให้คำ�จำ�กัดความ ภาวะนั้นว่า Mellitus ซึ่งแปลว่า น้ำ�ผึ้ง เป็นการยืนยันว่าเบาหวานเป็นโรคที่ เกิดจากภาวะน้ำ�ตาลในเลือดสูง โดยปัจจัยหลักที่ทำ�ให้เป็นโรคเบาหวานคือ พฤติกรรมการกินอาหารผิดๆ ของเรานี่เอง ฉบับนี้ไม่ว่าคุณผู้อ่านจะอยู่ในฐานะผู้ป่วย ญาติหรือเพื่อนฝูงของผู้ป่วย โรคเบาหวานทั้งประเภทที่ 1และประเภทที่ 2 (ซึ่งจะอธิบายกันต่อไป) เรามีวิธี กินอาหารที่จะทำ�ให้ระดับน้ำ�ตาลในเลือดสมดุลมานำ�เสนอเพื่อนำ�ไปดูแลกัน ค่ะ กินสู้เบาหวานประเภทที่ 1 จัดการกับอาหารตัวปัญหา หลีกเลี่ยงอาหารที่มีค่าดัชนีน้ำ�ตาลสูงอาจารย์สุระภี เสริมพณิชกิจ กรรมการสมาคมนักกำ�หนดอาหารแห่งประเทศไทย และที่ปรึกษาด้านโภชน บำ�บัด ฝ่ายโภชนาการ โรงพยาบาลรามาธิบดี แนะนำ�การบริโภคอาหารที่ เหมาะสมสำ�หรับผู้ป่วยโรคเบาหวานประเภทที่ 1 ดังต่อไปนี้ “ผู้ป่วยโรคเบาหวานประเภทที่ 1 ตับอ่อนไม่มีประสิทธิภาพย่อย น้ำ�ตาลแล้ว จึงจำ�เป็นต้องควบคุมปริมาณอาหารที่มีน้ำ�ตาล การกินอาหารจึง ต้องดูค่าดัชนีน้ำ�ตาล Glycemic Index (GI) ประกอบด้วย”นายแพทย์แอนดรูว์ ไวล์ อธิบายว่า ค่าดัชนีน้ำ�ตาลเป็นค่าที่ใช้วัดว่าคาร์โบไฮเดรตจะเปลี่ยนเป็น น้ำ�ตาลกลูโคสช้าหรือเร็วแค่ไหน และมีผลต่อระดับน้ำ�ตาลในเลือดอย่างไร ยิ่งค่าดัชนีน้ำ�ตาลสูงเท่าไร ระดับน้ำ�ตาลในเลือดก็จะเพิ่มเร็วขึ้นเท่านั้นเกณฑ์ การวัดค่าดัชนีน้ำ�ตาลจัดให้น้ำ�ตาลกลูโคสมีค่าดัชนีอยู่ที่ 100ขณะที่อาหาร คาร์โบไฮเดรตอื่นๆ จะมีค่าดัชนีน้ำ�ตาลแตกต่างกันออกไป อย่ากินผลไม้จนเพลิน เนื่องจากในผลไม้มีน้ำ�ตาลฟรักโทสปริมาณมากดังนั้นผู้ป่วยโรคเบา หวานประเภทที่ 1 จึงต้องคอยเตือนตัวเองในการกินผลไม้ด้วยค่ะเนื่องจาก น้ำ�ตาลฟรักโทสนั้นจะถูกเปลี่ยนเป็นน้ำ�ตาลกลูโคสที่ตับและลำ�ไส้ การกินผล ไม้ซึ่งมีน้ำ�ตาลฟรักโทสในปริมาณมากๆ ไม่สมดุลกับปริมาณอินซูลินที่ได้รับจะ ทำ�ให้ระดับน้ำ�ตาลในเลือดสูงขึ้นได้เช่นกันอาจารย์สุระภีอธิบายพฤติกรรมการ กินผลไม้ของผู้ป่วยว่า เป็นตัวการหนึ่งที่ทำ�ให้น้ำ�ตาลในเลือดขึ้นสูงเพราะมัก กินกันในปริมาณมาก “ปัญหาเกิดจากผู้ป่วยมักเข้าใจว่าตัวเองควรงดขนมจึงหันมากินผลไม้ แทน ซึ่งในผลไม้ทุกชนิดมีน้ำ�ตาลดังนั้นผู้ป่วยควรเลี่ยงผลไม้หวานจัด เพราะมี กิน สยบเบาหวาน*
  • 16. ธรรมรัตน์ 2 6 Dhammaratana ธรรมรัตน์ 2 7 Dhammaratana น้ำ�ตาลอยู่มาก “หลักการกินผลไม้ที่จำ�ง่ายๆ คือ ในหนึ่งมื้อ ควรกินผลไม้หวานมากได้ แค่ 6 คำ� ผลไม้หวานปานกลาง 8 - 10 คำ� ผลไม้หวานน้อย ฉ่ำ�น้ำ� กินได้ 10 - 15 คำ� ”ต่อไปนี้คือปริมาณ การกินผลไม้ที่แนะนำ� เพื่อไม่ให้ระดับน้ำ�ตาล ในเลือดขึ้นสูงจนก่อ ปัญหาค่ะ อาจารย์สุระภีสรุป ให้ฟังว่า “จะเห็นได้ว่าผู้ ป่วยโรคเบาหวาน โดย เฉพาะกลุ่มที่ 1 นี้ ควรเปลี่ยนทัศนคติการมองอาหารใหม่ โดยรวมกลุ่มแป้ง น้ำ�ตาล และผลไม้ที่มีรสหวานอยู่ด้วยกัน เพราะสามกลุ่มนี้เมื่อเข้าสู่ร่างกาย จะมีผลต่อระดับน้ำ�ตาลในเลือดเหมือนกัน “สำ�หรับอาหารในกลุ่มอื่นๆ อาจไม่ต้องควบคุมอย่างเคร่งครัดมาก นัก เพราะผู้ป่วยกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นเด็กและวัยรุ่นที่อยู่ในวัยเจริญเติบโตและ มักไม่มีปัญหาเรื่องน้ำ�หนักเกิน จึงควรได้รับปริมาณสารอาหารที่เพียงพอต่อ ความต้องการของร่างกาย เพื่อให้เกิดความสมดุลของพลังงานที่ใช้ในแต่ละวัน ดูแลร่างกายให้เจริญเติบโตตามช่วงวัย มีสัดส่วนของความสูงและน้ำ�หนักได้ สมดุลกัน มีสุขภาพโดยรวมที่แข็งแรง” อาจารย์สุระภีเสริมเรื่องเวลาการกินอาหารที่ดีต่อผู้ป่วยโรคเบาหวาน ประเภทที่ 1 ว่า “ผู้ป่วยโรคเบาหวานกลุ่มนี้ต้องกินอาหารให้ตรงเวลาที่แพทย์กำ�หนด เช่น หลังจากได้รับอินซูลินแล้วครึ่งชั่วโมงก็ควรกินอาหารทันที จึงจะช่วยให้ อินซูลินออกฤทธิ์ในการเผาผลาญน้ำ�ตาลได้ดี คือเผาผลาญได้หมด หากกิน อาหารไม่ตรงเวลา อินซูลินทำ�หน้าที่ได้ไม่เต็มที่ น้ำ�ตาลที่กินเข้าไปจะหลง เหลืออยู่ ผลเลือดที่ออกมาคือค่าน้ำ�ตาลในเลือดไม่ลงนั่นเอง”ต่อไปเราจะพูด ถึงผู้ป่วยโรคเบาหวานกลุ่มใหญ่ที่ต้องเอาใจใส่เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่ามีเคล็ดลับ ดีๆ มาบอกต่อค่ะ สรุปแล้วโรคเบาหวานเกิดจากพฤติกรรมทำ�ป่วย ไม่ว่าจะเป็นการกิน นอน พักผ่อน ออกกำ�ลังกาย หรือทำ�งาน ที่ไม่สมดุล แม้จะป่วยเป็นโรคเบา หวาน แต่เบาใจได้ หากตั้งใจเริ่มต้นยกเครื่องเรื่องกินเสียใหม่ให้สำ�เร็จ แล้ว ตามด้วยการปรับพฤติกรรมอื่นๆ ให้สมดุลอย่างรอบด้าน คุณก็อาจจะเอาชนะ โรคเบาหวานได้ แค่พลิกฝ่ามือค่ะ * จากนิตยสารชีวจิตฉบับที่ 323 คณะสงฆ์และญาติธรรมวัดป่าธรรมรัตน์ประชุมปรึกษาหารือประจำ�เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ ซึ่งถือว่าเป็นการประชุมอย่างเป็นทางการครั้งแรกของวัด สุขา สังฆัสสะ สามัคคี ความ พร้อมเพรียงของหมู่คณะนำ�ความสุขมาให้ - First Monthly Meeting in February
  • 17. ธรรมรัตน์ 2 8 Dhammaratana ธรรมรัตน์ 2 9 Dhammaratana รายรับ ประจำ�เดือนมกราคม ๒๕๕๕ 1/1/2012 คุณอุไร ตะสิทธิ์ $ 64.00 คุณสมทรง Fox $ 50.00 คุณแม่บุญนำ� รักกิจ $ 40.00 คุณอาทิตยา สุวรรณนันท์ – โจเซฟ เอทส์ และครอบครัว $ 40.00 คุณมนัส Sands $ 40.00 คุณปิยะพร สุวรรณนันท์ – Metodi Haralanbier $ 40.00 1/4/2012 Lan & Ed Ashley $ 100.00 Nakorn Apakupakul MD $ 100.00 1/8/2012 Somsong Fox $ 50.00 ใจ วงคำ� $ 30.00 จำ�ลอง น้อย แมค์คาซี่ $ 50.00 1/9/2012 จันทิมา จิรเชิดชูวงศ์ $ 40.00 อุษา จิรเชิดชูวงศ์ $ 100.00 1/12/2012 Samuel S & Ratsamy U Wu $ 50.00 Pratin & Gilbert Trujillo $ 100.00 1/13/2012 คุณธราธร พูลสมบัติ $ 20.00 Richard & Narttaya Tinker $ 50.00 คุณจินดา อมรกิจวานิช $ 50.00 อ.สุทัศน์ –สุภาพ อุดานนท์ $ 100.00 คุณสุนิภา เกาฏีระ และครอบครัว $ 100.00 Pinthong Ghaffarian $ 500.00 คุณประสิทธิ์-สมหมาย-อัญชลี-ต่อพงศ์ มีประเสริฐ, ทองสุข เตียเจริญ $ 100.00 1/15/1012 คุณแก้ว $ 100.00 คุณมาลินี วังศเมธีกูร $ 100.00 คุณอุ๋ย แม่น้องโอม $ 25.00 คุณสุกานดา บุพพานนท์ $ 100.00 คุณติ๊ ดลวรรณ เหวียน $ 10.00 คุณสุภา บรรณวณิชกุล $ 20.00 คุณสุภัคณิช สวนรัตน์ $ 30.00 คุณประพจน์ –คุณศิริพร คุณวงศ์ $ 100.00 Veterans of Foreign wars $ 30.00 Sawtree Garner $ 59.00 คุณพรชัย $ 20.00 คุณวิรุณ-นารีรัตน์-โชติมา-ชานนท์ เอี่ยมนิม $ 100.00 Ponmakha Iri – Benja $ 15.00 คุณกฤษณา สุโชติมันท์ $ 10.00 คุณวินิดา สุนทรพิทักษ์ $ 20.00 คุณบุญดี มานะดี $ 10.00 Chavalit Isaranuwatanakul $ 25.00 คุณดา $ 40.00 คุณเฉลิม งามสะอาด $ 100.00 คุณตรัย เบญจา $ 20.00 คุณธนิดา ศรีกิจการ $ 40.00 คุณธนัทเดช มหาวีโร $ 20.00 คุณทวีนันท์ เชี่ยวชาญชำ�นาญกิจ $ 20.00 คุณทิพยวิมล ทิมวรุณ $ 40.00
  • 18. ธรรมรัตน์ 3 0 Dhammaratana ธรรมรัตน์ 3 1 Dhammaratana คุณวรลักษณ์-กมล ภาณุมาตรัศมี $ 20.00 คุณบุปผา มอย $ 20.00 คุณโสรส จิตตะวิกุล $ 20.00 คุณเมย์ บาร์ตัน $ 20.00 คุณชัยยุทธ-คุณยุพา ค้อม นาตาลี สมเขาใหญ่ $ 20.00 คุณจูนศรี จันทร์รักษา $ 10.00 คุณศศิธร เหรียญมณี $ 35.00 คุณภัทริน บุญสวัสดิ์ $ 20.00 คุณนลัท อินทรังษี $ 20.00 Boonsom & Donal Glass $ 25.00 Wilai Gould $ 50.00 Richard Swank $ 60.00 Jirapa Y Williams $ 100.00 คุณใจ วงคำ�(ขายกระเป๋า) $ 1,210.00 คุณณัฏฐพงศ์ จันทร์อยู่ $ 20.00 คุณรติพร มั่นพรหม, คุณชลาลัย ไชยหิรัญการ, คุณจิดาภา ไกรสังข์, คุณศศิมามะ บุรุษน้อม, คุณภัทราภา บุญอิ่ม, คุณมนัท ตั้งวงศ์ศานต์, คุณวันทนีย์ วิริยสิทธาวัฒน์ $ 20.00 Wanpen Bruner $ 60.00 Siripa Junlakorn $ 5.00 Rodeta Aosavarungnirun $ 10.00 Israporn Kulkumjon $ 20.00 คุณบำ�เพ็ญ ดวงปากดี $ 40.00 คุณชนะ อินทร์ใจเอื้อ $ 10.00 คุณแดง-นก $ 30.00 Kanokon Smathers $ 30.00 Jane Chounaem(Smiling Bananaleaf) $ 168.00 Piyawat Chalermkanjana $ 10.00 Thai Gourmet $ 100.00 Preet Singh $ 20.00 คุณอรพรรณ วิทยปรีชาอนันท์ $ 20.00 คุณบุษดี ทองดี และครอบครัว $ 30.00 คุณวิเชียร น้ำ�ใส $ 30.00 คุณสมศักดิ์ น้ำ�ใส $ 30.00 คุณสมนึก น้ำ�ใส $ 50.00 Phoc & Vilavan Vong $ 100.00 Rungnapa Khanchalee $ 20.00 Rattanaporn Namsai $ 20.00 1/21/2012 T.Onsanit & B.Onsanit $ 100.00 1/22/2012 ครอบครัวจิรเชิดชูวงศ์ $ 100.00 1/24/2012 คุณอนุสรา วงศ์ษา $ 41.00 1/25/2012 Smiling Bananaleaf Restaurant $ 200.00 Shawitree Garner(ออกใบอนุโมทนาย้อนหลัง 15 ม.ค.12) $ 60.00 1/28/2012 คุณสุวรรณี สงวนศักดิ์ภักดี $ 10.00 Preet Singh (ซื้อที่ดินถวายวัด) $ 50.00 Vilavan Anan Vong (ซื้อที่ดินถวายวัด) $ 100.00 คุณพจน์-ละเอียด ธงเดชสกุล $ 10.00 คุณอุษา จิรเชิดชูวงศ์ $ 100.00 1/29/2012 Somsong Fox $ 30.00 คุณน้อย แมค์คาซี่(ชำ�ระหนี้สงฆ์) $ 40.00
  • 19. ธรรมรัตน์ 3 2 Dhammaratana ธรรมรัตน์ 3 3 Dhammaratana Jumlong & Lisa Megyesy $ 100.00 คุณน้อย แมค์คาซี่(กองทุนบวชเณร) $ 40.00 รายรับ ประจำ�เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ Sandy Garvin and family $ 20.00 จำ�ลอง น้อย แม็ค์คาซี่ $ 40.00 Manus Sand $ 50.00 Kim Eng Hong $ 20.00 Sawitree Kugler $ 40.00 Jintana Kessler $ 20.00 Saard Sanpaarsa $ 50.00 Pimjai J. Birmingham $ 50.00 Jim-Pink-Rikki Carroll $ 100.00 ร้านอาหารไทยสวนทิพย์ $ 20.00 นิภารัตน์ แสนมอม, กัญญาวีร์ เปี่ยมสัมฤทธิ์ $ 40.00 Thaigourmet $ 100.00 สมศักดิ์ น้ำ�ใส $ 20.00 สมนึก น้ำ�ใส $ 50.00 อรพรรณ วิทยปรีชาอนันต์ $ 20.00 รัตนาภรณ์ น้ำ�ใส $ 20.00 Preet $ 20.00 รุ่งนภา ขันทะชาลี $ 20.00 บุษดี ทองดี และครอบครัว $ 30.00 Vilavan & Phoc Vong $ 100.00 รายรับ ประจำ�เดือนมีนาคม ๒๕๕๕ Gilbert P. Trujillo $ 50.00 จุฑามาส เฟียร์, Charles Lenzner $ 25.00 Samuel S Wu & Ratsamy U Wu $ 30.00 กนกนุช อมรวงศ์(ค่าน้ำ�-ไฟ) $ 25.00 กนกนุช อมรวงศ์(ซื้อที่ดิน) $ 50.00 Thai Spoon $ 100.00 อุษา จิรเชิดชูวงศ์ $ 40.00 Kanat & Sasimaka & Pavin & Ratiporn & Pattarapa $ 28.00 ณรงค์ ใจดี $ 20.00 สิริภา จุลกาญจน์ $ 7.00 Somsong Fox $ 50.00 พนิดา (ใจ) วงศ์คำ� $ 50.00 นีน่า โกลด์ $ 30.00 Jane Chounaem $ 100.00 เกษม $ 25.00 แคตตี้ $ 20.00 คุณทรายแดง $ 10.00 คุณสม $ 15.00 คุณอ้อม $ 5.00 คุณแหวน $ 10.00 Josh $ 10.00 Jane Chounaem $ 150.00 Jim & Mam Birmingham $ 20.00 ศิริชัย-เควิน-อลิสา จิรเชิดชูวงศ์, เพ็ญศิริ มณเฑียร $ 40.00 Boonrak & Ratana Tantisira $ 200.00
  • 20. ธรรมรัตน์ 3 4 Dhammaratana ธรรมรัตน์ 3 5 Dhammaratana Tu & Gary Wade $ 40.00 Bunlu Mennell $ 40.00 Tae & Suwattana Miller $ 200.00 Samornrat Kiefaber $ 25.00 Richard & Pissamai Dohmen $ 120.00 Pusadee’s Garden Inc. $ 200.00 Som Glass, Gathy G, Bee Swank $ 35.00 Oraphan Witayapreechai-Anan (Health Insurance) $ 20.00 Preet Singh(Health Insurance) $ 20.00 Rattanaporn Namsai(Health Insurance) $ 20.00 Dennis Ondek $ 10.00 Somsong Fox(Health Insurance) $ 50.00 นักศึกษาไทยในเมืองพิทส์เบิร์ก $ 20.00 Sompong Bray $ 50.00 Tim & Vilavan Vong(Health Insurance) $ 100.00 Somnuk Namsai(Health Insurance) $ 50.00 อ.สุทัศน์-สุภาพ เสาร์มั่น, ต๋อย (เจมส์) $ 90.00 คุณประนอม จาบกุล $ 100.00 Jane Chounaem $ 500.00 ญาติโยมเมืองบัตเล่อร์ทำ�บุญค่าน้ำ�-ไฟ $ 90.00 คุณจำ�ลอง แม็คคาซี่(ชำ�ระหนี้สงฆ์) $ 60.00 คุณจินดา เอ็บเนเตอร์(ชำ�ระหนี้สงฆ์) $ 50.00 คุณสก็อตต์-คุณจินดา เอ็บเนเตอร์(ซื้อที่ดินถวายวัด) $ 100.00 คุณสก็อตต์-คุณจินดา เอ็บเนเตอร์(เป็นเจ้าภาพบรรพชาสามเณร) $ 50.00 คุณสก็อตต์-คุณจินดา เอ็บเนเตอร์(เป็นเจ้าภาพหมึกพิมพ์หนังสือธรรมะ)$ 50.00 Narintra Gold(Health Insurance) $ 30.00 รายจ่าย ประจำ�เดือนมกราคม 2555 1/1/12 Lowe’s $ 515.40 1/2/12 Lowe’s $ 14.77 1/2/12 The Home Depot $ 22.41 1/2/12 The Home Depot $ 123.23 1/6/12 Water & Sewers $ 87.19 1/12/12 People’s Natural Gas $ 99.29 1/24/12 Verizon $ 120.00 1/15/12 ถวายค่าเครื่องบินแด่พระสงฆ์ที่มาร่วมงานทำ�บุญ $ 700.00 1/25/12 Alarm Guardian $ 24.10 รายจ่าย ประจำ�เดือนกุมภาพันธ์ 2555 2/14/2012 Erie Insurance $ 69.00 Guardian $ 31.95 2/22/2012 Wat Pasantidhamma(Monk Insurance) $ 430.08 2/23/2012 Wat Thai Washington, D.C. (Monk Insurance) $ 606.22 2/3/2012 Peoples Natural Gas $ 383.11 2/3/2012 RTR Repaired Copier $ 133.75 2/18/2012 Verizon $ 120.00 2/3/2012 Euquesne Light $ 185.83 2/10/2012 The Pitts Water Sewer $ 116.92 2/28/2012 Duquesne Light $ 107.96 หมายเหตุ...รายจ่ายของวัดมีญาติโยมบริจาคทำ�บุญ