SlideShare a Scribd company logo
1
สัมภวชาดก
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]
ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑
๕. สัมภวชาดก (จากพระไตรปิฎก ลาดับเรื่องที่ ๕๑๕)
ว่าด้วยสัมภวกุมาร
(พระราชาตรัสถามปัญหากับพราหมณ์สุจีรตะว่า)
[๑๓๘] ท่านอาจารย์สุจีรตะ ข้าพเจ้าบรรลุถึงราชสมบัติ
และความเป็นอธิบดีแล้ว แต่ยังปรารถนา
เพื่อบรรลุถึงความเป็ นใหญ่และเพื่อชนะทั่วทั้งปฐพีนี้
[๑๓๙] โดยธรรม มิใช่โดยอธรรม ข้าพเจ้าหาพอใจอธรรมไม่
ท่านอาจารย์สุจีรตะ พระราชาต้องประพฤติธรรมให้เป็นกิจอันสาคัญ
[๑๔๐] ท่านพราหมณ์ เพราะเหตุใด เราทั้งหลาย
จะไม่ถูกนินทาในโลกนี้ ละไปแล้วก็จะไม่ถูกนินทา
และพึงถึงความมียศในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
[๑๔๑] ท่านพราหมณ์ ข้าพเจ้าปรารถนาจะกระทาตามอรรถและธรรม
ข้าพเจ้าถามแล้ว ขอท่านจงบอกอรรถและธรรมนั้นด้วยเถิด
(สุจีรตพราหมณ์ไม่สามารถจะทูลตอบปัญหาได้ จึงกราบทูลว่า)
[๑๔๒] ขอเดชะพระขัตติยราช
พระองค์ทรงปรารถนาจะกระทาตามอรรถและธรรมใด
อรรถและธรรมนั้นใครอื่นนอกจากวิธุรพราหมณ์ หาควรที่จะกล่าวชี้แจงไม่
(พระราชาทรงประสงค์จะส่งสุจีรตพราหมณ์ไป จึงตรัสว่า)
[๑๔๓] มาเถิด ท่านอาจารย์สุจีรตะ ข้าพเจ้าจะส่งท่านไป
ท่านจงไปยังสานักวิธุรพราหมณ์ จงนาทองคาแท่งนี้ไปด้วย
พึงมอบทองคาแท่งนี้กระทาให้เป็นเครื่องบูชา สาหรับคาสอนอรรถและธรรม
(พระศาสดาเมื่อจะทรงเผยความนั้น จึงตรัสว่า)
[๑๔๔] มหาพราหมณ์ภารทวาชะนั้นไปถึงสานักวิธุรพราหมณ์แล้ว
ได้เห็นวิธุรพราหมณ์นั้นกาลังบริโภคอาหารอยู่ในเรือนของตน
(สุจีรตพราหมณ์ถูกถามถึงเหตุที่มา จึงกล่าวว่า)
[๑๔๕] เราถูกพระเจ้าโกรัพยะผู้ทรงยศส่งมาเป็นทูต
พระเจ้าโกรัพยยุธิฏฐิละได้ตรัสอย่างนี้ว่า ท่านพึงถามอรรถและธรรม วิธุระเพื่อน
เราถามแล้ว ขอท่านจงบอกอรรถและธรรมนั้นด้วยเถิด
(วิธุรพราหมณ์กล่าวว่า)
[๑๔๖] สหายพราหมณ์ เราเกิดความขวนขวายขึ้นว่า
จักปิดกั้นแม่น้าคงคา ก็ไม่อาจจะปิดกั้นแม่น้าใหญ่นั้นได้ เพราะเหตุนั้น
จักมีโอกาสได้อย่างไร
2
[๑๔๗] เราถูกท่านถามถึงอรรถและธรรม ก็ไม่สามารถจะบอกท่านได้
แต่ภัทรการบุตรของเรา เป็ นลูกในไส้เกิดแต่ตัวเราแท้ๆ
ท่านจงไปถามอรรถและธรรมกับเขาเถิด พราหมณ์
(พระศาสดาเมื่อทรงประกาศความนั้น จึงตรัสว่า)
[๑๔๘] มหาพราหมณ์ภารทวาชะนั้นได้ไปถึงสานักภัทรการแล้ว
ได้เห็นเขานั่งอยู่ในเรือนของตน
(สุจีรตพราหมณ์จึงกล่าวว่า)
[๑๔๙] เราถูกพระเจ้าโกรัพยะผู้ทรงยศส่งมาเป็นทูต
พระเจ้าโกรัพยยุธิฏฐิละได้ตรัสอย่างนี้ว่า ท่านพึงถามอรรถและธรรม
ภัทรการหลานรัก เจ้าจงบอกอรรถและธรรมนั้นแก่ลุงเถิด
(ภัทรการพราหมณ์ไม่สามารถจะแก้ปัญหาได้
จึงส่งเขาไปยังสานักน้องชาย ชื่อสัญชัยกุมารว่า)
[๑๕๐] ข้าพเจ้าเหมือนคนละทิ้งหาบเนื้อติดตามเหี้ยอยู่
ถึงถูกท่านถามถึงอรรถและธรรม ก็ไม่อาจจะบอกแก่ท่านได้
[๑๕๑] ท่านพราหมณ์สุจีรตะ ผมมีน้องชายชื่อว่าสัญชัย
เขาเป็นน้องชายของผม ท่านจงไปถามอรรถและธรรมกับเขาเถิด
(พระศาสดาทรงประกาศความนั้นว่า)
[๑๕๒] มหาพราหมณ์ภารทวาชะนั้นไปถึงสานักสัญชัยแล้ว
ได้เห็นเขานั่งอยู่ในเรือนของตนจึงกล่าวว่า
[๑๕๓] เราถูกพระเจ้าโกรัพยะผู้ทรงยศส่งมาเป็นทูต
พระเจ้าโกรัพยยุธิฏฐิละได้ตรัสอย่างนี้ว่า ท่านพึงถามอรรถและธรรม
สัญชัยหลานรัก ลุงถามแล้ว ขอเจ้าจงบอกอรรถและธรรมนั้นด้วยเถิด
(สัญชัยกุมารกล่าวว่า)
[๑๕๔] ท่านพราหมณ์สุจีรตะ พญามัจจุราชย่อมกลืนกินข้าพเจ้าทุกเมื่อ
ทั้งเวลาเย็นและเวลาเช้า ข้าพเจ้าถูกท่านถามอรรถและธรรม
ก็ไม่อาจจะบอกแก่ท่านได้
[๑๕๕] ท่านพราหมณ์สุจีรตะ ข้าพเจ้ามีน้องชายชื่อว่าสัมภวะ
เขาเป็นน้องชายของข้าพเจ้า ขอท่านจงไปถามอรรถและธรรมกับเขาเถิด
(สุจีรตพราหมณ์กล่าวว่า)
[๑๕๖] ท่านผู้เจริญทั้งหลาย น่าอัศจรรย์หนอ
ปัญหาธรรมนี้พวกเรายังไม่พอใจ บิดาและบุตรทั้ง ๓ คนนั้น
ก็ยังไม่มีปัญญาจะหยั่งรู้ถึงปัญหาธรรมนี้เลย
[๑๕๗] ท่านทั้ง ๓ คนถูกถามถึงอรรถและธรรมนั้นก็ไม่อาจจะบอกได้
ไฉนเล่า เด็กถูกถามถึงอรรถและธรรมจะพึงรู้ได้
(สัญชัยกุมารได้ฟังดังนั้น จึงสรรเสริญสัมภวกุมารว่า)
3
[๑๕๘] ท่านยังไม่ได้ถามสัมภวกุมารก่อนแล้ว
อย่าเพิ่งเข้าใจเธอว่าเป็นเด็ก พราหมณ์
ท่านถามสัมภวกุมารแล้วพึงรู้อรรถและธรรมได้
[๑๕๙] ดวงจันทร์ปราศจากมลทิน โคจรไปในอากาสธาตุ
ย่อมสว่างไสวกว่าหมู่ดาวทั้งสิ้นในโลกด้วยรัศมีแม้ฉันใด
[๑๖๐] สัมภวกุมารถึงยังเป็ นเด็กก็ฉันนั้น เพราะประกอบด้วยปัญญา
ท่านยังไม่ได้ถามสัมภวกุมารก่อนแล้วอย่าเพิ่งเข้าใจเธอว่าเป็ นเด็ก พราหมณ์
ท่านถามสัมภวกุมารแล้วพึงรู้อรรถและธรรมได้
[๑๖๑] ท่านพราหมณ์ เดือนจิตตมาสแห่งคิมหันตฤดู
ย่อมงามยิ่งนักกว่าเดือนอื่นๆ ด้วยต้นไม้และดอกไม้แม้ฉันใด
[๑๖๒] สัมภวกุมารถึงยังเป็ นเด็กก็ฉันนั้น เพราะประกอบด้วยปัญญา
ท่านยังไม่ได้ถามสัมภวกุมารก่อนแล้วอย่าเพิ่งเข้าใจเธอว่าเป็ นเด็ก พราหมณ์
ท่านถามสัมภวกุมารแล้วพึงรู้อรรถและธรรมได้
[๑๖๓] ท่านพราหมณ์ หิมวันตบรรพตชื่อคันธมาทน์
ดารดาษไปด้วยต้นไม้นานาพันธุ์ เป็ นที่อยู่แห่งหมู่มหาภูต (มหาภูต
หมายถึงหมู่เทพ) ย่อมสว่างไสวและตลบอบอวลไปทั่วทิศด้วยทิพยโอสถแม้ฉันใด
[๑๖๔] สัมภวกุมารถึงยังเป็ นเด็กก็ฉันนั้น เพราะประกอบด้วยปัญญา
ท่านยังไม่ได้ถามสัมภวกุมารก่อนแล้วอย่าเพิ่งเข้าใจเธอว่าเป็ นเด็ก พราหมณ์
ท่านถามสัมภวกุมารแล้วพึงรู้อรรถและธรรมได้
[๑๖๕] ท่านพราหมณ์ ไฟป่ามีเปลวไฟเป็ นช่อ เรืองโรจน์
ลุกโพลงอยู่ที่กอไม้ในป่า ไม่อิ่มต่อเชื้อเพลิง มีทางดา
[๑๖๖] กินเปรียงเป็นอาหาร มีควันเป็ นธง ไหม้ลามจนถึงยอดไพรสณฑ์
มีเชื้อไฟเพียงพอ โชติช่วงอยู่บนยอดภูเขาในเวลากลางคืนฉันใด
[๑๖๗] สัมภวกุมารถึงยังเป็ นเด็กก็ฉันนั้น เพราะประกอบด้วยปัญญา
ท่านยังไม่ได้ถามสัมภวกุมารก่อนแล้วอย่าเพิ่งเข้าใจเธอว่าเป็ นเด็ก พราหมณ์
ท่านถามสัมภวกุมารแล้วพึงรู้อรรถและธรรมได้
[๑๖๘] ม้าดีจะรู้ได้เพราะความว่องไว
โคพลิพัทท์จะรู้ได้ในเมื่อมีภาระที่จะต้องลากไป แม่โคนมจะรู้ได้เพราะน้านม
และบัณฑิตจะรู้ได้เมื่อเจรจาฉันใด
[๑๖๙] สัมภวกุมารถึงยังเป็ นเด็กก็ฉันนั้น เพราะประกอบด้วยปัญญา
ท่านยังไม่ได้ถามสัมภวกุมารก่อนแล้วอย่าเพิ่งเข้าใจเธอว่าเป็ นเด็ก พราหมณ์
ท่านถามสัมภวกุมารแล้วพึงรู้อรรถและธรรมได้
(พระศาสดาเมื่อทรงเปิดเผยความนั้น จึงตรัสว่า)
[๑๗๐] มหาพราหมณ์ภารทวาชะนั้นไปถึงสานักสัมภวกุมารแล้ว
ได้เห็นเขากาลังเล่นอยู่นอกบ้าน
4
(สุจีรตพราหมณ์ได้ถามปัญหาว่า)
[๑๗๑] เราถูกพระเจ้าโกรัพยะผู้ทรงยศส่งมาเป็นทูต
พระเจ้าโกรัพยยุธิฏฐิละได้ตรัสอย่างนี้ว่า ท่านพึงถามอรรถและธรรม
พ่อหนูสัมภวะ ลุงถามเจ้าแล้ว ขอเจ้าจงบอกอรรถและธรรมนั้นด้วยเถิด
(สัมภวกุมารกล่าวว่า)
[๑๗๒] เอาเถิด ข้าพเจ้าจักบอกลุงตามอย่างคนที่ฉลาด
ก็พระราชาย่อมจะทรงทราบปัญหานั้นได้ แต่จะทรงกระทาหรือไม่เท่านั้น
(และเมื่อจะบอกปัญหาจึงกล่าวว่า)
[๑๗๓] ท่านพราหมณ์สุจีรตะ ใครๆ ถูกพระราชาตรัสถามแล้ว
พึงกราบทูลราชกิจที่จะทาในวันนี้ว่า พึงทาในวันพรุ่งนี้
ขอพระเจ้ายุธิฏฐิละอย่าทรงเชื่อฟังยับยั้งอยู่เลยในเมื่อประโยชน์เกิดขึ้น
[๑๗๔] ท่านพราหมณ์สุจีรตะ ใครๆ ถูกพระราชาตรัสถามแล้ว
พึงกราบทูลปัญหาที่เป็นไปภายในเท่านั้น
ไม่พึงให้ทรงดาเนินไปสู่หนทางที่ชั่วดุจคนหลงหาความคิดมิได้
[๑๗๕] พระราชาไม่ควรลืมตน ไม่ควรประพฤติอธรรม
ไม่ควรหยั่งลงไปในลัทธิที่ผิด ไม่พึงประกอบในสิ่งอันไม่เป็นประโยชน์
[๑๗๖] ขัตติยราชาพระองค์ใดทรงรู้จักทาเหตุเหล่านี้
ขัตติยราชาพระองค์นั้นย่อมทรงเจริญทุกเมื่อเหมือนดวงจันทร์ข้างขึ้น
[๑๗๗] พระองค์ย่อมทรงเป็นที่รักแห่งหมู่พระญาติ
และทรงรุ่งโรจน์ในหมู่มิตร ทรงมีพระปรีชา เมื่อพระวรกายแตกทาลายไป
จะทรงเข้าถึงโลกสวรรค์
สัมภวชาดกที่ ๕ จบ
---------------------------
คาอธิบายเพิ่มเติมนามาจากบางส่วนของอรรถกถา
สัมภวชาดก
ว่าด้วย คนผู้รุ่งโรจน์ได้เพราะปัญญา
พระบรมศาสดา เมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร
ทรงพระปรารภพระปัญญาบารมี ตรัสพระธรรมเทศนานี้ ดังนี้.
เรื่องปัจจุบันจักมีแจ้งใน มหาอุมมังคชาดก.
ส่วนเรื่องในอดีตมีว่า
พระราชาทรงพระนามว่าธนัญชยโกรัพยะ เสวยราชสมบัติในอินทปัตตนคร
แคว้นกุรุ
พราหมณปุโรหิตนามว่าสุจีรตะ ได้เป็นผู้กล่าวสอนอรรถธรรมของพระองค์.
พระราชาทรงบาเพ็ญบุญกุศลมีทานเป็นต้น
ทรงครองราชสมบัติโดยทศพิธราชธรรม
5
ครั้นวันหนึ่งจะทรงถกปัญหาชื่อธัมมยาคะ จึงเชิญสุจีรตพราหมณ์ให้นั่
งบนอาสนะ ทรงทาสักการะแล้ว
เมื่อจะตรัสถาม ได้ตรัสคาถา ๔ คาถาความว่า
ดูก่อนท่านอาจารย์สุจีรตะ
เราทั้งหลายได้ราชสมบัติและความเป็นใหญ่แล้ว
ยังปรารถนาอยากได้ความเป็ นใหญ่ยิ่งขึ้น
เพื่อปราบดาภิเษกครอบครองพื้นปฐพีนี้.
โดยธรรมไม่ใช่โดยอธรรม เราหาชอบใจอธรรมไม่
ดูก่อนท่านอาจารย์สุจีรตะ การประพฤติธรรมเป็ นกิจของพระราชาโดยแท้.
ดูก่อนพราหมณ์ เราทั้งหลายจะไม่ถูกนินทาทั้งในโลกนี้และโลกหน้า
ด้วยเหตุใด และจะได้รับเกียรติยศ ในเทวดาและมนุษย์ด้วยเหตุใด
ขอท่านจงบอกเหตุนั้นๆ แก่เรา.
ดูก่อนพราหมณ์ เราปรารถนาจะกระทาตามอรรถและธรรม
เราถามท่านแล้ว ขอจงบอกอรรถและธรรมนั้นด้วยเถิด.
ก็ปัญหานี้ลึกซึ้งเป็ นพุทธวิสัย
ควรที่จะถามเฉพาะพระสัพพัญญูพุทธเจ้าเท่านั้น เมื่อพระสัพพัญญูพุทธเจ้าไม่มี
ควรถามพระโพธิสัตว์
ก็เพราะสุจีรตปุโรหิต มิใช่พระโพธิสัตว์
จึงไม่สามารถแก้ปัญหาถวายได้ และเมื่อไม่สามารถ
ก็ไม่ทาการถือตนว่าเป็นบัณฑิต
เมื่อจะกราบทูลความที่ตนไม่สามารถ จึงกล่าวคาถาความว่า
ขอเดชะพระขัตติยราช
พระองค์ทรงปรารถนาจะปฏิบัติตามอรรถและธรรมใด
นอกจากวิธุรพราหมณ์แล้ว ไม่มีใครอื่นที่จะสมควรชี้แจงอรรถและธรรมนั้นได้.
คาถานั้นมีอธิบายดังนี้ ขอเดชะพระมหาราชเจ้า
ปัญหานี้ใช่วิสัยของคนเช่นข้าพระพุทธเจ้าไม่
ข้าพระพุทธเจ้าไม่เห็นเบื้องต้นเบื้องปลายของปัญหานั้นเลยทีเดียว
เป็นเหมือนเข้าสู่ที่มืด แต่ราชปุโรหิตของพระเจ้าพาราณสี ชื่อวิธุรพราหมณ์ มีอยู่
เขาพึงเฉลยปัญหานั้นได้
เว้นเขาเสียแล้วใครอื่นไม่สามารถที่จะแสดงอรรถและธรรมที่พระองค์ทรงปรารถ
นาจะกระทาได้.
พระราชาทรงสดับถ้อยคาของสุจีรตพราหมณ์แล้วตรัสสั่งว่า
ท่านพราหมณ์ ถ้าเช่นนั้น ท่านจงรีบไปยังสานักของวิธุรพราหมณ์เถิด
มีพระประสงค์จะส่งเครื่องบรรณาการไปพระราชทาน
จึงตรัสพระคาถาความว่า
6
ดูก่อนท่านอาจารย์สุจีรตะ มาเถิดท่าน
เราจะส่งท่านไปยังสานักของวิธุรพราหมณ์ ท่านจงนาเอาทองคาแท่งนี้ไปมอบให้
เพื่อรับคาอธิบายซึ่งอรรถและธรรม.
พระเจ้าธนัญชยโกรัพยะ ครั้นตรัสสั่งอย่างนี้แล้ว
จึงตรัสสั่งให้เอาทองคาควรค่าแสนหนึ่งมาแผ่เป็ นแผ่น
เพื่อจะได้จารึกคาวิสัชนาปัญหา ให้จัดยานพาหนะสาหรับเดินทาง
จัดพลนิกายสาหรับเป็นบริวาร แลจัดเครื่องราชบรรณาการเสร็จแล้ว
ก็ทรงส่งไปในขณะนั้นทีเดียว.
ส่วนสุจีรตพราหมณ์ออกจากพระนครอินทปัตต์แล้ว
หาได้ตรงไปยังพระนครพาราณสีทีเดียวไม่ เหล่าบัณฑิตอยู่ในที่ใดๆ
ก็เข้าไปยังที่นั้นๆ จนถ้วนทั่ว
ไม่ได้รับผลกล่าวคือการกล่าวแก้ปัญหาในชมพูทวีปทั้งสิ้น
จนลุถึงพระนครพาราณสีโดยลาดับ ยึดเอาที่พัก ณ ที่แห่งหนึ่ง
ไปยังนิเวศน์ของวิธุรพราหมณ์พร้อมด้วยคนใช้สองสามคน ในเวลาอาหารเช้า
บอกเล่าธุระที่ตนมาให้ทราบ อันวิธุรพราหมณ์เชิญเข้าไป
เห็นวิธุรพราหมณ์กาลังรับประทานอาหารอยู่ในเรือนของตน.
เมื่อพระบรมศาสดาจะทรงประกาศ ทาเนื้อความนั้นให้ชัดขึ้น
จึงตรัสพระคาถาที่ ๗ ความว่า
มหาพราหมณ์ผู้ภารทวาชโคตรนั้น
ได้ไปถึงสานักของวิธุรพราหมณ์แล้ว
เห็นท่านพราหมณ์กาลังบริโภคอาหารอยู่ในเรือนของตน.
ก็สุจีรตพราหมณ์นั้น สมัยเป็นเด็กเป็นเพื่อนกันกับวิธุรพราหมณ์
เรียนศิลปวิทยาในสานักอาจารย์เดียวกัน เพราะฉะนั้น
จึงร่วมรับประทานอาหารกับท่านวิธุรพราหมณ์ทันที ในเวลารับประทานเสร็จ
นั่งพักสบายแล้วถูกถามว่า สหายรัก ท่านมาธุระอะไร?
เมื่อจะบอกเหตุที่มา จึงกล่าวคาถาที่ ๘ ความว่า
พระเจ้าโกรัพยราชผู้เรืองพระยศทรงส่งเราให้เป็ นทูตมา
พระเจ้าโกรัพยผู้ยุธิฏฐิลโคตรดารัสถามถึงอรรถและธรรม ได้ตรัสแล้วดังนี้
วิธุรสหายรัก ท่านถูกถามถึงอรรถและธรรมนั้นแล้ว กรุณาบอกเราด้วย.
ก็ในครั้งนั้น ท่านวิธุรพราหมณ์คิดว่า
เราจักกาหนดจิตของมหาชนดังนี้ จึงวุ่นอยู่กับการวินิจฉัยความ
คล้ายกับปิดกั้นแม่น้าคงคา ไม่มีโอกาสที่จะแก้ปัญหานั้นได้
เมื่อจะบอกความข้อนั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๙ ความว่า
ดูก่อนพราหมณ์ เราคิดว่าจักกั้นแม่น้าคงคา
แต่ไม่อาจจะกั้นแม่น้าใหญ่นั้นได้ เพราะเหตุนั้นโอกาสนั้นจักมีได้อย่างไร
7
เมื่อท่านถามถึงอรรถและธรรม เราจึงไม่อาจจักบอกได้.
คาถานั้นมีอรรถาธิบายดังนี้
ดูก่อนสหายพราหมณ์ เราเกิดความกังวลขวนขวายว่า
จักปิดกั้นแม่น้าคงคา คือคติจิตต่างๆ กันของมหาชน
ก็ไม่สามารถจะกั้นเสียงอันดังนั้นได้ เพราะฉะนั้น จักมีโอกาสได้อย่างไรกัน
เมื่อโอกาสไม่มี เราก็วิสัชนาชี้แจงแก่ท่านไม่ได้
เมื่อไม่ได้ความที่จิตแน่วแน่และไม่มีโอกาส
ถึงจะถูกท่านถามก็ไม่สามารถจะบอกอรรถและธรรมแก่ท่านได้.
ครั้นวิธุรพราหมณ์กล่าวอย่างนี้แล้ว จึงบอกว่า
บุตรชายของเราเป็นคนฉลาด มีปัญญาปราดเปรื่องกว่าเรา เขาจักพยากรณ์ได้
ท่านจงไปสานักของเขาเถิด ดังนี้แล้ว กล่าวคาถาที่ ๑๐ ความว่า
แต่ภัทรการะ ผู้เป็นบุตรเกิดแต่อกของเรามีอยู่
เชิญท่านไปถามอรรถและธรรมกะเธอดูเถิด ท่านพราหมณ์.
สุจีรตพราหมณ์ฟังดังนั้น จึงออกจากเรือนของวิธุรพราหมณ์
ไปยังนิเวศน์ของภัทรการมาณพ ในเวลาที่เธอรับประทานอาหารเสร็จแล้ว
นั่งอยู่ท่ามกลางบริษัทของตน.
พระบรมศาสดา เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสพระคาถาที่
๑๑ ความว่า
มหาพราหมณ์ผู้ภารทวาชโคตรนั้นได้ไปถึงสานักของภัทรการะ
ได้เห็นเธอกาลังนั่งอยู่ในเรือนของตน.
สุจีรตพราหมณ์ไปที่นั้นแล้ว
อันภัทรการมาณพจัดการต้อนรับและทาสักการะเคารพ
นั่งแล้วถูกถามถึงเหตุที่มา จึงกล่าวคาถาที่ ๑๒ ความว่า
เราเป็นราชทูตของพระเจ้าโกรัพยราชผู้ยงยศทรงส่งมา
พระองค์ผู้ยุธิฏฐิลโคตรตรัสถามถึงอรรถและธรรม ได้ตรัสแล้วอย่างนี้
ดูก่อนภัทรการมาณพ เธอจงบอกอรรถและธรรมนั้นแก่เราด้วย.
ลาดับนั้น ภัทรการมาณพจึงกล่าวกะสุจีรตพราหมณ์ว่า ข้าแต่คุณพ่อ
ข้าพเจ้าเคลิบเคลิ้มอยู่ในปรทาริกกรรมทุกๆ วัน จิตของข้าพเจ้ามัวหมอง
ด้วยเหตุนั้น จึงไม่สามารถจะวิสัชนาแก่ท่านได้
แต่น้องชายของข้าพเจ้าชื่อว่าสัญชยกุมาร มีญาณประเสริฐกว่าข้าพเจ้ายิ่งนัก
เชิญท่านถามเขาเถิด เขาจักแก้ปัญหาของท่านได้ ดังนี้แล้ว
เมื่อจะส่งไปยังสานักของน้องชาย ได้กล่าวคาถา ๒ คาถา ความว่า
ข้าพเจ้าเป็นเหมือนคนทิ้งหาบเนื้อ แล้ววิ่งตามเหี้ยไป
ถึงจะถูกถามอรรถและธรรม ก็ไม่อาจจะบอกแก่ท่านได้
ข้าแต่ท่านพราหมณ์สุจีรตะ น้องชายของข้าพเจ้าชื่อว่าสัญชัย มีอยู่
8
เชิญท่านไปถามอรรถและธรรมกะเธอดูเถิด.
ในขณะนั้นเอง สุจีรตพราหมณ์จึงไปยังนิเวศน์ของสัญชยกุมาร
อันสัญชยกุมารทาสักการะเคารพแล้ว ถูกถามถึงเหตุที่มา จึงแจ้งให้ทราบ.
พระบรมศาสดาเมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น ได้ตรัสพระคาถา ๒
คาถาความว่า
มหาพราหมณ์ผู้ภารทวาชโคตรนั้น ได้ไปถึงยังสานักสัญชยกุมารแล้ว
ได้เห็นสัญชยกุมารนั่งอยู่ในนิเวศน์ของตน จึงพูดว่า
เราเป็นราชทูตของพระเจ้าโกรัพยราชผู้ยงยศทรงส่งมา
พระองค์ผู้ยุธิฏฐิลโคตรดารัสถามอรรถและธรรม ได้ตรัสว่าดังนี้
ดูก่อนสัญชยกุมาร เจ้าถูกถามแล้วจงบอกอรรถและธรรมนั้นเถิด.
ก็ในครั้งนั้น สัญชยกุมารกาลังคบหาภรรยาของผู้อื่นอยู่ทีเดียว.
ลาดับนั้น เธอจึงบอกสุจีรตพราหมณ์ว่า พ่อคุณ ข้าพเจ้ากาลังคบหาภรรยาผู้อื่นอยู่
และเมื่อคบหาก็ต้องข้ามแม่น้าไปฝั่งโน้น มฤตยูคือความตายย่อมกลืนกินข้าพเจ้า
ซึ่งกาลังข้ามแม่น้าอยู่ทั้งเช้าทั้งเย็น ด้วยเหตุนั้น จิตของข้าพเจ้าจึงขุ่นมัว
ไม่สามารถบอกอรรถธรรมแก่ท่านได้ แต่ข้าพเจ้ามีน้องชายอยู่คนหนึ่ง
ชื่อว่าสัมภวกุมาร แต่เกิดมาอายุได้เพียงเจ็ดปี
มีญาณความรู้เหนือข้าพเจ้าตั้งร้อยเท่าพันเท่าแสนเท่า เธอจักบอกแก่ท่านได้
เชิญท่านไปถามดูเถิด
เมื่อจะประกาศความนั้น ได้กล่าวคาถา ๒ คาถาความว่า
ข้าแต่ท่านสุจีรตพราหมณ์ มัจจุราชย่อมกลืนกินข้าพเจ้าทั้งเช้าและเย็น
ถึงถูกท่านถามก็ไม่สามารถจะบอกอรรถและธรรมแก่ท่านได้.
ท่านพราหมณ์สุจีรตะ น้องชายของข้าพเจ้ามีอยู่ ชื่อว่าสัมภวกุมาร
เชิญท่านไปถามอรรถและธรรมกะเธอดูเถิด.
สุจีรตพราหมณ์ได้ฟังดังนั้นจึงคิดว่าปัญหานี้จักเป็ นของอัศจรรย์ในโล
กนี้ ชะรอยจะไม่มีใครที่ชื่อว่าสามารถเพื่อจะวิสัชนาปัญหานี้
แล้วได้กล่าวคาถา ๒ คาถาความว่า
ชาวเราเอ๋ย ปัญหานี้เป็นธรรมน่าอัศจรรย์จริง เราไม่พอใจเลย ชนทั้ง
๓ คน คือบิดาและบุตรสองคน ยังไม่มีปัญญารู้แจ้งธรรมนี้.
ท่านทั้งหลายถูกถามแล้ว ยังไม่สามารถบอกอรรถและธรรมนั้นได้
เด็กเจ็ดขวบถูกถามถึงอรรถและธรรม จะรู้เรื่องได้อย่างไร?
สัญชยกุมารได้ฟังดังนั้นจึงชี้แจงว่า
ท่านอย่าเข้าใจว่าสัมภวกุมารเป็นเด็ก
ถ้าท่านมีความต้องการด้วยการวิสัชนาปัญหา ท่านจงไปถามเขาดูเถิด
เมื่อจะประกาศเกียรติคุณของกุมารน้องชาย
โดยแสดงใจความให้เข้าใจได้ กล่าวคาถา ๑๒ คาถาความว่า
9
ดูก่อนท่านพราหมณ์ ท่านยังไม่ได้ถามสัมภวกุมาร
อย่าเพิ่งเข้าใจว่าเธอเป็นเด็ก ท่านถามสัมภวกุมารแล้ว จะพึงรู้อรรถและธรรมได้.
พระจันทร์ปราศจากมลทิน
โคจรไปในอากาศย่อมสว่างไสวล่วงหมู่ดาวทั้งปวงในโลกนี้ด้วยรัศมีฉันใด
สัมภวกุมารแม้ยังเป็นเด็กก็ฉันนั้น ย่อมไพโรจน์ล่วงบัณฑิตทั้งหลาย
เพราะประกอบด้วยปัญญา ดูก่อนท่านพราหมณ์ ท่านยังไม่ได้ถามสัมภวกุมาร
อย่าเพิ่งเข้าใจว่า เธอเป็นเด็ก ท่านถามสัมภวกุมารแล้วจะพึงรู้อรรถและธรรมได้.
ดูก่อนท่านพราหมณ์ เดือน ๕
ในคิมหันตฤดูย่อมสวยงามยิ่งกว่าเดือนอื่นๆ ด้วยต้นไม้และดอกไม้ฉันใด
สัมภวกุมารแม้ยังเป็นเด็กก็ฉันนั้น ย่อมไพโรจน์ล่วงบัณฑิตทั้งหลาย
เพราะประกอบด้วยปัญญา ดูก่อนพราหมณ์ ท่านยังไม่ได้ถามสัมภวกุมาร
อย่าเพิ่งเข้าใจว่าเธอเป็นเด็ก ท่านถามสัมภวกุมารแล้วจะพึงรู้อรรถและธรรมได้
ดูก่อนท่านพราหมณ์ หิมวันตบรรพต ชื่อว่าคันธมาทน์
ดารดาษไปด้วยไม้ต่างๆ พันธุ์ เป็ นที่อยู่อาศัยแห่งทวยเทพ
ย่อมสง่างามและหอมตลบไปทั่วทิศด้วยทิพยโอสถฉันใด
สัมภวกุมารแม้ยังเป็นเด็กก็ฉันนั้น ย่อมไพโรจน์ล่วงบัณฑิตทั้งหลาย
เพราะประกอบด้วยปัญญา ดูก่อนท่านพราหมณ์ ท่านยังไม่ได้ถามสัมภวกุมาร
อย่าเพิ่งเข้าใจว่าเธอเป็นเด็ก ท่านถามสัมภวกุมารแล้วจะพึงรู้อรรถและธรรมได้.
ไฟป่ามีเปลวรุ่งเรือง ไหม้ลามไปในป่าไม่อิ่มมีแนวทางดา คุเรื่อยไป
มีเปรียงเป็นอาหาร มีควันเป็ นธง ไหม้แนวไพรสูงๆ
เวลากลางคืนสว่างลุกโชนอยู่บนยอดภูเขาฉันใด
สัมภวกุมารแม้ยังเป็นเด็กก็ฉันนั้น ย่อมไพโรจน์ล่วงบัณฑิตทั้งหลาย
เพราะประกอบด้วยปัญญา ดูก่อนพราหมณ์ ท่านยังไม่ได้ถามสัมภวกุมาร
อย่าเพิ่งเข้าใจว่าเธอเป็นเด็ก ท่านถามสัมภวกุมารแล้ว จะพึงรู้อรรถและธรรมได้.
ม้าดีจะรู้ได้เพราะฝีเท้า โคพลิพัทธ์จะรู้ได้เพราะเข็นภาระไป
แม่โคนมจะรู้ได้เพราะน้านมดี และบัณฑิตจะรู้ได้เมื่อเจรจาฉันใด
สัมภวกุมารแม้ยังเป็นเด็กก็ฉันนั้น ย่อมไพโรจน์ล่วงบัณฑิตทั้งหลาย
เพราะประกอบด้วยปัญญา ดูก่อนท่านพราหมณ์ ท่านยังไม่ได้ถามสัมภวกุมาร
อย่าเพิ่งเข้าใจว่าเธอเป็นเด็ก ท่านถามสัมภวกุมารแล้ว จะพึงรู้อรรถและธรรมได้.
เมื่อสัญชยกุมารสรรเสริญสัมภวกุมารอยู่อย่างนี้ สุจีรตพราหมณ์คิดว่า
เราถามปัญหาดูแล้วจักรู้กัน ดังนี้แล้วจึงถามว่า ดูก่อนกุมาร
น้องชายของเจ้าอยู่ไหนเล่า? ลาดับนั้น สัญชยกุมารจึงเปิดสีหบัญชร
ชี้มือบอกสุจีรตพราหมณ์ว่า นั่นสัมภวกุมาร คนที่มีผิวพรรณผ่องใสคล้ายทองคา
กาลังเล่นอยู่กับเพื่อนเด็กๆ ระหว่างถนนริมประตูปราสาท
นี้คือน้องชายของข้าพเจ้า เชิญท่านไปหาแล้วไต่ถามเขาดู
10
เขาจักบอกปัญหาแก่ท่านได้โดยลีลาแห่งพระพุทธเจ้า
สุจีรตพราหมณ์ฟังคาของสัญชยกุมารแล้ว
ลงจากปราสาทไปยังสานักของสัมภวกุมาร.
มีคาถามสอดเข้ามาว่า ไปเวลาไหน?
แก้ว่า ไปในเวลาที่สัมภวกุมารยืนเปลื้องผ้านุ่งออกพาดไว้ที่ตอ เอามือ
ทั้งสองกอบฝุ่นเล่น.
เมื่อพระบรมศาสดาจะทรงกระทาเนื้อความนั้นให้แจ่มแจ้ง
จึงตรัสพระคาถาความว่า
มหาพราหมณ์ภารทวาชโคตรนั้นได้ไปยังสานักของสัมภวกุมาร เห็นเ
ธอกาลังเล่นอยู่นอกบ้าน.
ฝ่ายพระมหาสัตว์เจ้าเห็นพราหมณ์มายืนอยู่ข้างหน้าจึงถามว่า
ข้าแต่ท่านพ่อ ท่านมาด้วยประสงค์สิ่งไร เมื่อสุจีรตพราหมณ์บอกว่า พ่อกุมาร
เราเที่ยวไปในพื้นชมพูทวีป ก็ไม่พบผู้ที่สามารถจะแก้ปัญหาที่เราถามได้
จึงได้มายังสานักของเจ้าดังนี้แล้ว จึงคิดว่า ทราบว่าปัญหาที่ใครๆ
วินิจฉัยไม่ได้ในสกลชมพูทวีป ตกมาถึงสานักของเรา
เราเป็นคนแก่ด้วยความรู้ดังนี้ รู้สึกละอายใจจึงทิ้งฝุ่นที่อยู่ในกามือเสีย
ดึงผ้าที่ตอมามานุ่ง แล้วปวารณาโดยสัพพัญญุตญาณว่า
เชิญถามเถิดท่านพราหมณ์ ข้าพเจ้าจักบอกท่านโดยลีลาแห่งพระพุทธเจ้า.
ลาดับนั้น สุจีรตพราหมณ์ถามปัญหาด้วยคาถาความว่า
เราเป็นราชทูตของพระเจ้าโกรัพยราชผู้ยงยศทรงส่งมา
พระองค์ผู้ยุธิฏฐิลโคตรดารัสถามถึงอรรถและธรรม ได้ตรัสแล้วดังกล่าวมา
ดูก่อนสัมภวกุมารท่านถูกถามแล้ว ขอจงบอกอรรถและธรรมนั้นเถิด.
ใจความแห่งปัญหานั้นว่า เกียรติคุณแห่งสัมภวบัณฑิต
ได้ปรากฏเหมือนพระจันทร์ในวันเพ็ญ ท่ามกลางแห่งดวงดาวฉะนั้น. ลาดับนั้น
สัมภวกุมารจึงกล่าวว่า ถ้าเช่นนั้นท่านจงคอยฟัง.
เมื่อจะวิสัชนาธัมมยาคปัญหา กล่าวคาถาความว่า
เชิญฟัง ข้าพเจ้าจักแก้ปัญหาแก่ท่านอย่างนักปราชญ์ อนึ่ง
พระราชาย่อมทรงทราบอรรถและธรรมนั้นได้ แต่จักทรงทาตามหรือไม่
ไม่ทราบ.
เมื่อสัมภวกุมารยืนแสดงธรรมอยู่ระหว่างถนนด้วยเสียงอันไพเราะ
เสียงกึกก้องไปทั่วพระนครพาราณสีประมาณ ๑๒ โยชน์ ลาดับนั้น
พระราชาและอุปราชเป็นต้นทั้งหมด มาประชุมกันแล้ว
พระมหาสัตว์เจ้าจึงเริ่มแสดงธรรมเทศนา ในท่ามกลางมหาชน.
ครั้นสัมภวกุมารปฏิญาณการกล่าวแก้ปัญหาด้วยคาถาอย่างนี้แล้ว
11
บัดนี้ เมื่อจะกล่าวธัมมยาคปัญหาต่อไป จึงกล่าวคาถาความว่า
ข้าแต่สุจีรตพราหมณ์ บุคคลผู้ถูกพระราชาตรัสถามแล้ว
พึงทูลกิจที่ควรทาในวันนี้ ให้ทาในวันพรุ่งนี้ พระเจ้ายุธิฏฐิละอย่าได้ทรงทาตาม
ในเมื่อประโยชน์เกิดขึ้น.
ข้าแต่ท่านสุจีรตะ เมื่อบุคคลถูกพระราชาดารัสถาม
พึงกราบทูลธรรมภายในเท่านั้น ไม่พึงให้เสด็จไปยังหนทางผิด
ดุจคนโง่หาความคิดมิได้ฉะนั้น.
กษัตริย์ไม่ควรลืมพระองค์ ไม่ควรประพฤติอธรรม
ไม่ควรข้ามไปในที่มิใช่ท่า ไม่พึงทรงขวนขวายในสิ่งอันไม่เป็ นประโยชน์.
อนึ่ง กษัตริย์พระองค์ใดทรงทราบว่าควรจะทาฐานะเหล่านี้
กษัตริย์พระองค์นั้นย่อมทรงพระเจริญทุกเมื่อ ดุจพระจันทร์ในสุกปักษ์ฉะนั้น.
กษัตริย์พระองค์นั้นย่อมเป็นที่รักใคร่ของพระประยูรญาติทั้งหลายด้วย
ย่อมทรงรุ่งโรจน์ในหมู่มิตรด้วย ท้าวเธอมีพระปรีชา
เมื่อสวรรคตแล้วย่อมเข้าถึงโลกสวรรค์.
ท่านกล่าวคาอธิบายไว้ดังนี้ ข้าแต่ท่านสุจีรตะ
ถ้าหากใครถูกพระราชาของท่านดารัสถามว่า วันนี้เราจะให้ทาน รักษาศีล
กระทาอุโบสถดังนี้ไซร้ พึงกราบทูลว่า ขอเดชะ ข้าแต่มหาราชเจ้า
วันนี้พวกข้าพระพุทธเจ้าจะฆ่าสัตว์ จะบริโภคกาม จะดื่มสุราก่อน
ต่อพรุ่งนี้จึงจักทาบุญทากุศล
พระราชาผู้ยุธิฏฐิลโคตรของท่านถึงจะทรงกระทาตามคาของอามาตย์แม้ผู้ยิ่งใหญ่
นั้นแล้ว ก็อย่าได้อยู่อย่างยังวันนั้นให้ล่วงไปด้วยความประมาท
ในเมื่อประโยชน์เช่นนั้นเกิดขึ้น อย่าทรงกระทาตามคาของเขา
รักษากุศลจิตที่เกิดขึ้นแล้วอย่าให้เสื่อม
จงทรงบาเพ็ญกรรมอันปฏิสังยุตด้วยกุศลอย่างเดียว
ท่านควรกราบทูลคานี้แด่พระราชาของท่าน.
ด้วยคาถานี้ พระมหาสัตว์เจ้าแสดงภัทเทกรัตตสูตรว่า
อชฺเชว กิจฺจมาตปฺป โกชญฺญา มรณ สุเว เป็นอาทิความว่า
ควรทาความเพียรเสียในวันนี้ ใครเล่าจะรู้ความตายว่าจะมีในวันพรุ่งนี้
และแสดงโอวาทเกี่ยวด้วยความไม่ประมาทว่า อปฺปมาโท อมต ปท ปมาโท
มจฺจุโน ปท เป็นอาทิความว่า ความไม่ประมาทเป็นทางไม่ตาย
ความประมาทเป็นทางแห่งความตาย ด้วยประการฉะนี้.
ท่านสุจีรตะ ท่านถูกพระราชาดารัสถามว่า
สัมภวบัณฑิตถูกท่านถามในธัมมยาคปัญหา กล่าวแก้อย่างไร?
พึงกราบทูลอัชฌัตธรรมอย่างเดียวแด่พระราชา
คือพึงกราบทูลถึงเบญจขันธ์อันเป็นนิยกัชฌัตธรรมว่า
12
เป็นของไม่เที่ยงโดยความเป็นของไม่มี.
ด้วยคาเพียงเท่านี้
พระมหาสัตว์เจ้าทรงแสดงอนิจจตาธรรมแจ่มแจ้งด้วยคาถาอย่างนี้ ความว่า
เมื่อใดบัณฑิตพิจารณาเห็นด้วยปัญญาว่า สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง
เมื่อนั้น ย่อมหน่ายในทุกข์ สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ
มีความเกิดขึ้นและเสื่อมไปเป็ นธรรมดา ครั้นเกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป
ความเข้าไประงับสังขารเหล่านั้นเสียได้เป็นสุข.
พระมหาสัตว์เจ้ากล่าวแก้ปัญหาแก่พราหมณ์โดยลีลาแห่งพระพุทธเจ้า
ดุจยังพระจันทร์ให้ปรากฏขึ้น ณ พื้นอากาศด้วยอาการอย่างนี้.
มหาชนต่างบันลือโห่ร้องตบมือ กระทาสาธุการพันครั้ง
ยังการยกธงและการดีดนิ้วมือให้เป็นไป
ทั้งซัดไปซึ่งวัตถุมีเครื่องประดับมือเป็นต้น
ทรัพย์สินที่มหาชนซัดไปแล้วอย่างนี้นับได้ถึงโกฏิ.
แม้พระราชาก็ทรงโปรดปรานพระราชทานยศใหญ่แก่สัมภวกุมารนั้น
ฝ่ายสุจีรตพราหมณ์ทาการบูชาด้วยทองคาพันลิ่ม
แล้วจารึกคาวิสัชนาปัญหาลงในแผ่นทองคาด้วยชาดกับหรดาล
แล้วเดินทางไปยังอินทปัตตนคร กราบทูลธัมมยาคปัญหาแด่พระราชา.
พระราชาทรงประพฤติในธรรมนั้น
แล้วยังเมืองสวรรค์ให้แน่นบริบูรณ์.
พระบรมศาสดาทรงนาพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว ตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น ก็หามิได้ แม้ในปางก่อน
ตถาคตก็มีปัญญามากเหมือนกัน ดังนี้แล้ว
ทรงประชุมชาดกว่า
พระเจ้าธนัญชยโกรัพยราชในครั้งนั้น ได้มาเป็น พระอานนท์
สุจีรตพราหมณ์ได้มาเป็น พระอนุรุทธะ
วิธุรพราหมณ์ ได้มาเป็ น พระอริยกัสสป
ภัทรการกุมารได้มาเป็ น พระโมคคัลลานะ
สัญชยมาณพ ได้มาเป็ น พระสารีบุตร
สัมภวบัณฑิตได้มาเป็น เราผู้ตถาคต ฉะนี้แล.
จบอรรถกถาสัมภวชาดกที่ ๕
-----------------------------------------------------

More Related Content

Similar to 515 สัมภวชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx

384 ธัมมัทธชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
384 ธัมมัทธชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...384 ธัมมัทธชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
384 ธัมมัทธชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
maruay songtanin
 
444 มัณฑัพยชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
444 มัณฑัพยชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....444 มัณฑัพยชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
444 มัณฑัพยชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
๑๐. ติลทักขิณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๑๐. ติลทักขิณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...๑๐. ติลทักขิณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๑๐. ติลทักขิณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
maruay songtanin
 
346 เกสวชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
346 เกสวชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx346 เกสวชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
346 เกสวชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
095 มหาสุทัศนะชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
095 มหาสุทัศนะชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...095 มหาสุทัศนะชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
095 มหาสุทัศนะชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 
309 ฉวชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
309 ฉวชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx309 ฉวชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
309 ฉวชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
056 กัญจนักขันธชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬ...
056 กัญจนักขันธชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬ...056 กัญจนักขันธชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬ...
056 กัญจนักขันธชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬ...
maruay songtanin
 
358 จูฬธัมมปาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
358 จูฬธัมมปาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...358 จูฬธัมมปาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
358 จูฬธัมมปาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 
355 ฆฏชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
355 ฆฏชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx355 ฆฏชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
355 ฆฏชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
๑๙. ลขุมาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๑๙. ลขุมาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...๑๙. ลขุมาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๑๙. ลขุมาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
maruay songtanin
 
๐๑. เตมิยชาดก.pdf
๐๑. เตมิยชาดก.pdf๐๑. เตมิยชาดก.pdf
๐๑. เตมิยชาดก.pdf
maruay songtanin
 
521 เตสกุณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
521 เตสกุณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx521 เตสกุณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
521 เตสกุณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
443 จูฬโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
443 จูฬโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....443 จูฬโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
443 จูฬโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
431 หริตจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
431 หริตจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx431 หริตจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
431 หริตจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
279 สตปัตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
279 สตปัตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx279 สตปัตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
279 สตปัตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
๑๓. ปฐมสุณิสาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๑๓. ปฐมสุณิสาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...๑๓. ปฐมสุณิสาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๑๓. ปฐมสุณิสาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
maruay songtanin
 
457 ธัมมเทวปุตตชา พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
457 ธัมมเทวปุตตชา พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...457 ธัมมเทวปุตตชา พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
457 ธัมมเทวปุตตชา พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
maruay songtanin
 
273 กัจฉปชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
273 กัจฉปชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx273 กัจฉปชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
273 กัจฉปชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
051 มหาสีลวชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
051 มหาสีลวชาดก  พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...051 มหาสีลวชาดก  พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
051 มหาสีลวชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
maruay songtanin
 
๑๘. ทาสีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๑๘. ทาสีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๑๘. ทาสีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๑๘. ทาสีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
maruay songtanin
 

Similar to 515 สัมภวชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx (20)

384 ธัมมัทธชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
384 ธัมมัทธชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...384 ธัมมัทธชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
384 ธัมมัทธชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
444 มัณฑัพยชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
444 มัณฑัพยชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....444 มัณฑัพยชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
444 มัณฑัพยชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
๑๐. ติลทักขิณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๑๐. ติลทักขิณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...๑๐. ติลทักขิณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๑๐. ติลทักขิณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
 
346 เกสวชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
346 เกสวชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx346 เกสวชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
346 เกสวชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
095 มหาสุทัศนะชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
095 มหาสุทัศนะชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...095 มหาสุทัศนะชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
095 มหาสุทัศนะชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
 
309 ฉวชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
309 ฉวชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx309 ฉวชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
309 ฉวชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
056 กัญจนักขันธชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬ...
056 กัญจนักขันธชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬ...056 กัญจนักขันธชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬ...
056 กัญจนักขันธชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬ...
 
358 จูฬธัมมปาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
358 จูฬธัมมปาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...358 จูฬธัมมปาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
358 จูฬธัมมปาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
 
355 ฆฏชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
355 ฆฏชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx355 ฆฏชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
355 ฆฏชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
๑๙. ลขุมาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๑๙. ลขุมาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...๑๙. ลขุมาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๑๙. ลขุมาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
 
๐๑. เตมิยชาดก.pdf
๐๑. เตมิยชาดก.pdf๐๑. เตมิยชาดก.pdf
๐๑. เตมิยชาดก.pdf
 
521 เตสกุณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
521 เตสกุณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx521 เตสกุณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
521 เตสกุณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
443 จูฬโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
443 จูฬโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....443 จูฬโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
443 จูฬโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
431 หริตจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
431 หริตจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx431 หริตจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
431 หริตจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
279 สตปัตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
279 สตปัตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx279 สตปัตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
279 สตปัตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
๑๓. ปฐมสุณิสาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๑๓. ปฐมสุณิสาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...๑๓. ปฐมสุณิสาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๑๓. ปฐมสุณิสาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
 
457 ธัมมเทวปุตตชา พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
457 ธัมมเทวปุตตชา พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...457 ธัมมเทวปุตตชา พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
457 ธัมมเทวปุตตชา พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
 
273 กัจฉปชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
273 กัจฉปชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx273 กัจฉปชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
273 กัจฉปชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
051 มหาสีลวชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
051 มหาสีลวชาดก  พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...051 มหาสีลวชาดก  พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
051 มหาสีลวชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
๑๘. ทาสีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๑๘. ทาสีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๑๘. ทาสีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๑๘. ทาสีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
 

More from maruay songtanin

๕๐. สัฏฐิกูฏเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๕๐. สัฏฐิกูฏเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...๕๐. สัฏฐิกูฏเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๕๐. สัฏฐิกูฏเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
maruay songtanin
 
๔๙. เสฏฐิปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๔๙. เสฏฐิปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...๔๙. เสฏฐิปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๔๙. เสฏฐิปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
maruay songtanin
 
๔๘. โภคสังหรเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๔๘. โภคสังหรเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...๔๘. โภคสังหรเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๔๘. โภคสังหรเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
maruay songtanin
 
๔๗. อักขรุกขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๔๗. อักขรุกขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...๔๗. อักขรุกขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๔๗. อักขรุกขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
maruay songtanin
 
๔๖. อัมพวนเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๔๖. อัมพวนเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๔๖. อัมพวนเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๔๖. อัมพวนเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 
๔๕. ปาฏลิปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๔๕. ปาฏลิปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...๔๕. ปาฏลิปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๔๕. ปาฏลิปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
maruay songtanin
 
๔๔. คณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
๔๔. คณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx๔๔. คณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
๔๔. คณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
๔๓. คูถขาทกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๔๓. คูถขาทกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...๔๓. คูถขาทกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๔๓. คูถขาทกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
maruay songtanin
 
๔๒. คูถขาทกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๔๒. คูถขาทกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...๔๒. คูถขาทกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๔๒. คูถขาทกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
maruay songtanin
 
๔๑. ราชปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๔๑. ราชปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...๔๑. ราชปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๔๑. ราชปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
maruay songtanin
 
๔๐. กุมารเปตวัต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]ถ...
๔๐. กุมารเปตวัต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]ถ...๔๐. กุมารเปตวัต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]ถ...
๔๐. กุมารเปตวัต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]ถ...
maruay songtanin
 
๓๙. เรวตีเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๓๙. เรวตีเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...๓๙. เรวตีเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๓๙. เรวตีเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
maruay songtanin
 
๓๘. นันทกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๓๘. นันทกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...๓๘. นันทกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๓๘. นันทกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
maruay songtanin
 
๓๗. เสรีสกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๓๗. เสรีสกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๓๗. เสรีสกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๓๗. เสรีสกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 
๓๖. อัมพสักขรเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๓๖. อัมพสักขรเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...๓๖. อัมพสักขรเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๓๖. อัมพสักขรเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
maruay songtanin
 
๓๕. ธาตุวิวัณณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหา...
๓๕. ธาตุวิวัณณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหา...๓๕. ธาตุวิวัณณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหา...
๓๕. ธาตุวิวัณณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหา...
maruay songtanin
 
๓๔. กูฏวินิจฉยิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับม...
๓๔. กูฏวินิจฉยิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับม...๓๔. กูฏวินิจฉยิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับม...
๓๔. กูฏวินิจฉยิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับม...
maruay songtanin
 
๓๓. ทุติยมิคลุททกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๓๓. ทุติยมิคลุททกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...๓๓. ทุติยมิคลุททกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๓๓. ทุติยมิคลุททกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
maruay songtanin
 
๓๒. มิคลุททกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๓๒. มิคลุททกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...๓๒. มิคลุททกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๓๒. มิคลุททกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
maruay songtanin
 
๓๑. เสริณีเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๓๑. เสริณีเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...๓๑. เสริณีเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๓๑. เสริณีเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
maruay songtanin
 

More from maruay songtanin (20)

๕๐. สัฏฐิกูฏเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๕๐. สัฏฐิกูฏเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...๕๐. สัฏฐิกูฏเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๕๐. สัฏฐิกูฏเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
 
๔๙. เสฏฐิปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๔๙. เสฏฐิปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...๔๙. เสฏฐิปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๔๙. เสฏฐิปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
 
๔๘. โภคสังหรเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๔๘. โภคสังหรเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...๔๘. โภคสังหรเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๔๘. โภคสังหรเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
 
๔๗. อักขรุกขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๔๗. อักขรุกขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...๔๗. อักขรุกขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๔๗. อักขรุกขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
 
๔๖. อัมพวนเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๔๖. อัมพวนเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๔๖. อัมพวนเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๔๖. อัมพวนเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
 
๔๕. ปาฏลิปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๔๕. ปาฏลิปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...๔๕. ปาฏลิปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๔๕. ปาฏลิปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
 
๔๔. คณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
๔๔. คณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx๔๔. คณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
๔๔. คณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
๔๓. คูถขาทกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๔๓. คูถขาทกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...๔๓. คูถขาทกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๔๓. คูถขาทกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
 
๔๒. คูถขาทกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๔๒. คูถขาทกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...๔๒. คูถขาทกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๔๒. คูถขาทกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
 
๔๑. ราชปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๔๑. ราชปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...๔๑. ราชปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๔๑. ราชปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
 
๔๐. กุมารเปตวัต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]ถ...
๔๐. กุมารเปตวัต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]ถ...๔๐. กุมารเปตวัต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]ถ...
๔๐. กุมารเปตวัต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]ถ...
 
๓๙. เรวตีเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๓๙. เรวตีเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...๓๙. เรวตีเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๓๙. เรวตีเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
 
๓๘. นันทกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๓๘. นันทกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...๓๘. นันทกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๓๘. นันทกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
 
๓๗. เสรีสกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๓๗. เสรีสกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๓๗. เสรีสกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๓๗. เสรีสกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
 
๓๖. อัมพสักขรเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๓๖. อัมพสักขรเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...๓๖. อัมพสักขรเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๓๖. อัมพสักขรเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
 
๓๕. ธาตุวิวัณณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหา...
๓๕. ธาตุวิวัณณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหา...๓๕. ธาตุวิวัณณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหา...
๓๕. ธาตุวิวัณณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหา...
 
๓๔. กูฏวินิจฉยิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับม...
๓๔. กูฏวินิจฉยิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับม...๓๔. กูฏวินิจฉยิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับม...
๓๔. กูฏวินิจฉยิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับม...
 
๓๓. ทุติยมิคลุททกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๓๓. ทุติยมิคลุททกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...๓๓. ทุติยมิคลุททกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๓๓. ทุติยมิคลุททกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
 
๓๒. มิคลุททกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๓๒. มิคลุททกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...๓๒. มิคลุททกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๓๒. มิคลุททกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
 
๓๑. เสริณีเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๓๑. เสริณีเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...๓๑. เสริณีเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๓๑. เสริณีเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
 

515 สัมภวชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx

  • 1. 1 สัมภวชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑ ๕. สัมภวชาดก (จากพระไตรปิฎก ลาดับเรื่องที่ ๕๑๕) ว่าด้วยสัมภวกุมาร (พระราชาตรัสถามปัญหากับพราหมณ์สุจีรตะว่า) [๑๓๘] ท่านอาจารย์สุจีรตะ ข้าพเจ้าบรรลุถึงราชสมบัติ และความเป็นอธิบดีแล้ว แต่ยังปรารถนา เพื่อบรรลุถึงความเป็ นใหญ่และเพื่อชนะทั่วทั้งปฐพีนี้ [๑๓๙] โดยธรรม มิใช่โดยอธรรม ข้าพเจ้าหาพอใจอธรรมไม่ ท่านอาจารย์สุจีรตะ พระราชาต้องประพฤติธรรมให้เป็นกิจอันสาคัญ [๑๔๐] ท่านพราหมณ์ เพราะเหตุใด เราทั้งหลาย จะไม่ถูกนินทาในโลกนี้ ละไปแล้วก็จะไม่ถูกนินทา และพึงถึงความมียศในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย [๑๔๑] ท่านพราหมณ์ ข้าพเจ้าปรารถนาจะกระทาตามอรรถและธรรม ข้าพเจ้าถามแล้ว ขอท่านจงบอกอรรถและธรรมนั้นด้วยเถิด (สุจีรตพราหมณ์ไม่สามารถจะทูลตอบปัญหาได้ จึงกราบทูลว่า) [๑๔๒] ขอเดชะพระขัตติยราช พระองค์ทรงปรารถนาจะกระทาตามอรรถและธรรมใด อรรถและธรรมนั้นใครอื่นนอกจากวิธุรพราหมณ์ หาควรที่จะกล่าวชี้แจงไม่ (พระราชาทรงประสงค์จะส่งสุจีรตพราหมณ์ไป จึงตรัสว่า) [๑๔๓] มาเถิด ท่านอาจารย์สุจีรตะ ข้าพเจ้าจะส่งท่านไป ท่านจงไปยังสานักวิธุรพราหมณ์ จงนาทองคาแท่งนี้ไปด้วย พึงมอบทองคาแท่งนี้กระทาให้เป็นเครื่องบูชา สาหรับคาสอนอรรถและธรรม (พระศาสดาเมื่อจะทรงเผยความนั้น จึงตรัสว่า) [๑๔๔] มหาพราหมณ์ภารทวาชะนั้นไปถึงสานักวิธุรพราหมณ์แล้ว ได้เห็นวิธุรพราหมณ์นั้นกาลังบริโภคอาหารอยู่ในเรือนของตน (สุจีรตพราหมณ์ถูกถามถึงเหตุที่มา จึงกล่าวว่า) [๑๔๕] เราถูกพระเจ้าโกรัพยะผู้ทรงยศส่งมาเป็นทูต พระเจ้าโกรัพยยุธิฏฐิละได้ตรัสอย่างนี้ว่า ท่านพึงถามอรรถและธรรม วิธุระเพื่อน เราถามแล้ว ขอท่านจงบอกอรรถและธรรมนั้นด้วยเถิด (วิธุรพราหมณ์กล่าวว่า) [๑๔๖] สหายพราหมณ์ เราเกิดความขวนขวายขึ้นว่า จักปิดกั้นแม่น้าคงคา ก็ไม่อาจจะปิดกั้นแม่น้าใหญ่นั้นได้ เพราะเหตุนั้น จักมีโอกาสได้อย่างไร
  • 2. 2 [๑๔๗] เราถูกท่านถามถึงอรรถและธรรม ก็ไม่สามารถจะบอกท่านได้ แต่ภัทรการบุตรของเรา เป็ นลูกในไส้เกิดแต่ตัวเราแท้ๆ ท่านจงไปถามอรรถและธรรมกับเขาเถิด พราหมณ์ (พระศาสดาเมื่อทรงประกาศความนั้น จึงตรัสว่า) [๑๔๘] มหาพราหมณ์ภารทวาชะนั้นได้ไปถึงสานักภัทรการแล้ว ได้เห็นเขานั่งอยู่ในเรือนของตน (สุจีรตพราหมณ์จึงกล่าวว่า) [๑๔๙] เราถูกพระเจ้าโกรัพยะผู้ทรงยศส่งมาเป็นทูต พระเจ้าโกรัพยยุธิฏฐิละได้ตรัสอย่างนี้ว่า ท่านพึงถามอรรถและธรรม ภัทรการหลานรัก เจ้าจงบอกอรรถและธรรมนั้นแก่ลุงเถิด (ภัทรการพราหมณ์ไม่สามารถจะแก้ปัญหาได้ จึงส่งเขาไปยังสานักน้องชาย ชื่อสัญชัยกุมารว่า) [๑๕๐] ข้าพเจ้าเหมือนคนละทิ้งหาบเนื้อติดตามเหี้ยอยู่ ถึงถูกท่านถามถึงอรรถและธรรม ก็ไม่อาจจะบอกแก่ท่านได้ [๑๕๑] ท่านพราหมณ์สุจีรตะ ผมมีน้องชายชื่อว่าสัญชัย เขาเป็นน้องชายของผม ท่านจงไปถามอรรถและธรรมกับเขาเถิด (พระศาสดาทรงประกาศความนั้นว่า) [๑๕๒] มหาพราหมณ์ภารทวาชะนั้นไปถึงสานักสัญชัยแล้ว ได้เห็นเขานั่งอยู่ในเรือนของตนจึงกล่าวว่า [๑๕๓] เราถูกพระเจ้าโกรัพยะผู้ทรงยศส่งมาเป็นทูต พระเจ้าโกรัพยยุธิฏฐิละได้ตรัสอย่างนี้ว่า ท่านพึงถามอรรถและธรรม สัญชัยหลานรัก ลุงถามแล้ว ขอเจ้าจงบอกอรรถและธรรมนั้นด้วยเถิด (สัญชัยกุมารกล่าวว่า) [๑๕๔] ท่านพราหมณ์สุจีรตะ พญามัจจุราชย่อมกลืนกินข้าพเจ้าทุกเมื่อ ทั้งเวลาเย็นและเวลาเช้า ข้าพเจ้าถูกท่านถามอรรถและธรรม ก็ไม่อาจจะบอกแก่ท่านได้ [๑๕๕] ท่านพราหมณ์สุจีรตะ ข้าพเจ้ามีน้องชายชื่อว่าสัมภวะ เขาเป็นน้องชายของข้าพเจ้า ขอท่านจงไปถามอรรถและธรรมกับเขาเถิด (สุจีรตพราหมณ์กล่าวว่า) [๑๕๖] ท่านผู้เจริญทั้งหลาย น่าอัศจรรย์หนอ ปัญหาธรรมนี้พวกเรายังไม่พอใจ บิดาและบุตรทั้ง ๓ คนนั้น ก็ยังไม่มีปัญญาจะหยั่งรู้ถึงปัญหาธรรมนี้เลย [๑๕๗] ท่านทั้ง ๓ คนถูกถามถึงอรรถและธรรมนั้นก็ไม่อาจจะบอกได้ ไฉนเล่า เด็กถูกถามถึงอรรถและธรรมจะพึงรู้ได้ (สัญชัยกุมารได้ฟังดังนั้น จึงสรรเสริญสัมภวกุมารว่า)
  • 3. 3 [๑๕๘] ท่านยังไม่ได้ถามสัมภวกุมารก่อนแล้ว อย่าเพิ่งเข้าใจเธอว่าเป็นเด็ก พราหมณ์ ท่านถามสัมภวกุมารแล้วพึงรู้อรรถและธรรมได้ [๑๕๙] ดวงจันทร์ปราศจากมลทิน โคจรไปในอากาสธาตุ ย่อมสว่างไสวกว่าหมู่ดาวทั้งสิ้นในโลกด้วยรัศมีแม้ฉันใด [๑๖๐] สัมภวกุมารถึงยังเป็ นเด็กก็ฉันนั้น เพราะประกอบด้วยปัญญา ท่านยังไม่ได้ถามสัมภวกุมารก่อนแล้วอย่าเพิ่งเข้าใจเธอว่าเป็ นเด็ก พราหมณ์ ท่านถามสัมภวกุมารแล้วพึงรู้อรรถและธรรมได้ [๑๖๑] ท่านพราหมณ์ เดือนจิตตมาสแห่งคิมหันตฤดู ย่อมงามยิ่งนักกว่าเดือนอื่นๆ ด้วยต้นไม้และดอกไม้แม้ฉันใด [๑๖๒] สัมภวกุมารถึงยังเป็ นเด็กก็ฉันนั้น เพราะประกอบด้วยปัญญา ท่านยังไม่ได้ถามสัมภวกุมารก่อนแล้วอย่าเพิ่งเข้าใจเธอว่าเป็ นเด็ก พราหมณ์ ท่านถามสัมภวกุมารแล้วพึงรู้อรรถและธรรมได้ [๑๖๓] ท่านพราหมณ์ หิมวันตบรรพตชื่อคันธมาทน์ ดารดาษไปด้วยต้นไม้นานาพันธุ์ เป็ นที่อยู่แห่งหมู่มหาภูต (มหาภูต หมายถึงหมู่เทพ) ย่อมสว่างไสวและตลบอบอวลไปทั่วทิศด้วยทิพยโอสถแม้ฉันใด [๑๖๔] สัมภวกุมารถึงยังเป็ นเด็กก็ฉันนั้น เพราะประกอบด้วยปัญญา ท่านยังไม่ได้ถามสัมภวกุมารก่อนแล้วอย่าเพิ่งเข้าใจเธอว่าเป็ นเด็ก พราหมณ์ ท่านถามสัมภวกุมารแล้วพึงรู้อรรถและธรรมได้ [๑๖๕] ท่านพราหมณ์ ไฟป่ามีเปลวไฟเป็ นช่อ เรืองโรจน์ ลุกโพลงอยู่ที่กอไม้ในป่า ไม่อิ่มต่อเชื้อเพลิง มีทางดา [๑๖๖] กินเปรียงเป็นอาหาร มีควันเป็ นธง ไหม้ลามจนถึงยอดไพรสณฑ์ มีเชื้อไฟเพียงพอ โชติช่วงอยู่บนยอดภูเขาในเวลากลางคืนฉันใด [๑๖๗] สัมภวกุมารถึงยังเป็ นเด็กก็ฉันนั้น เพราะประกอบด้วยปัญญา ท่านยังไม่ได้ถามสัมภวกุมารก่อนแล้วอย่าเพิ่งเข้าใจเธอว่าเป็ นเด็ก พราหมณ์ ท่านถามสัมภวกุมารแล้วพึงรู้อรรถและธรรมได้ [๑๖๘] ม้าดีจะรู้ได้เพราะความว่องไว โคพลิพัทท์จะรู้ได้ในเมื่อมีภาระที่จะต้องลากไป แม่โคนมจะรู้ได้เพราะน้านม และบัณฑิตจะรู้ได้เมื่อเจรจาฉันใด [๑๖๙] สัมภวกุมารถึงยังเป็ นเด็กก็ฉันนั้น เพราะประกอบด้วยปัญญา ท่านยังไม่ได้ถามสัมภวกุมารก่อนแล้วอย่าเพิ่งเข้าใจเธอว่าเป็ นเด็ก พราหมณ์ ท่านถามสัมภวกุมารแล้วพึงรู้อรรถและธรรมได้ (พระศาสดาเมื่อทรงเปิดเผยความนั้น จึงตรัสว่า) [๑๗๐] มหาพราหมณ์ภารทวาชะนั้นไปถึงสานักสัมภวกุมารแล้ว ได้เห็นเขากาลังเล่นอยู่นอกบ้าน
  • 4. 4 (สุจีรตพราหมณ์ได้ถามปัญหาว่า) [๑๗๑] เราถูกพระเจ้าโกรัพยะผู้ทรงยศส่งมาเป็นทูต พระเจ้าโกรัพยยุธิฏฐิละได้ตรัสอย่างนี้ว่า ท่านพึงถามอรรถและธรรม พ่อหนูสัมภวะ ลุงถามเจ้าแล้ว ขอเจ้าจงบอกอรรถและธรรมนั้นด้วยเถิด (สัมภวกุมารกล่าวว่า) [๑๗๒] เอาเถิด ข้าพเจ้าจักบอกลุงตามอย่างคนที่ฉลาด ก็พระราชาย่อมจะทรงทราบปัญหานั้นได้ แต่จะทรงกระทาหรือไม่เท่านั้น (และเมื่อจะบอกปัญหาจึงกล่าวว่า) [๑๗๓] ท่านพราหมณ์สุจีรตะ ใครๆ ถูกพระราชาตรัสถามแล้ว พึงกราบทูลราชกิจที่จะทาในวันนี้ว่า พึงทาในวันพรุ่งนี้ ขอพระเจ้ายุธิฏฐิละอย่าทรงเชื่อฟังยับยั้งอยู่เลยในเมื่อประโยชน์เกิดขึ้น [๑๗๔] ท่านพราหมณ์สุจีรตะ ใครๆ ถูกพระราชาตรัสถามแล้ว พึงกราบทูลปัญหาที่เป็นไปภายในเท่านั้น ไม่พึงให้ทรงดาเนินไปสู่หนทางที่ชั่วดุจคนหลงหาความคิดมิได้ [๑๗๕] พระราชาไม่ควรลืมตน ไม่ควรประพฤติอธรรม ไม่ควรหยั่งลงไปในลัทธิที่ผิด ไม่พึงประกอบในสิ่งอันไม่เป็นประโยชน์ [๑๗๖] ขัตติยราชาพระองค์ใดทรงรู้จักทาเหตุเหล่านี้ ขัตติยราชาพระองค์นั้นย่อมทรงเจริญทุกเมื่อเหมือนดวงจันทร์ข้างขึ้น [๑๗๗] พระองค์ย่อมทรงเป็นที่รักแห่งหมู่พระญาติ และทรงรุ่งโรจน์ในหมู่มิตร ทรงมีพระปรีชา เมื่อพระวรกายแตกทาลายไป จะทรงเข้าถึงโลกสวรรค์ สัมภวชาดกที่ ๕ จบ --------------------------- คาอธิบายเพิ่มเติมนามาจากบางส่วนของอรรถกถา สัมภวชาดก ว่าด้วย คนผู้รุ่งโรจน์ได้เพราะปัญญา พระบรมศาสดา เมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงพระปรารภพระปัญญาบารมี ตรัสพระธรรมเทศนานี้ ดังนี้. เรื่องปัจจุบันจักมีแจ้งใน มหาอุมมังคชาดก. ส่วนเรื่องในอดีตมีว่า พระราชาทรงพระนามว่าธนัญชยโกรัพยะ เสวยราชสมบัติในอินทปัตตนคร แคว้นกุรุ พราหมณปุโรหิตนามว่าสุจีรตะ ได้เป็นผู้กล่าวสอนอรรถธรรมของพระองค์. พระราชาทรงบาเพ็ญบุญกุศลมีทานเป็นต้น ทรงครองราชสมบัติโดยทศพิธราชธรรม
  • 5. 5 ครั้นวันหนึ่งจะทรงถกปัญหาชื่อธัมมยาคะ จึงเชิญสุจีรตพราหมณ์ให้นั่ งบนอาสนะ ทรงทาสักการะแล้ว เมื่อจะตรัสถาม ได้ตรัสคาถา ๔ คาถาความว่า ดูก่อนท่านอาจารย์สุจีรตะ เราทั้งหลายได้ราชสมบัติและความเป็นใหญ่แล้ว ยังปรารถนาอยากได้ความเป็ นใหญ่ยิ่งขึ้น เพื่อปราบดาภิเษกครอบครองพื้นปฐพีนี้. โดยธรรมไม่ใช่โดยอธรรม เราหาชอบใจอธรรมไม่ ดูก่อนท่านอาจารย์สุจีรตะ การประพฤติธรรมเป็ นกิจของพระราชาโดยแท้. ดูก่อนพราหมณ์ เราทั้งหลายจะไม่ถูกนินทาทั้งในโลกนี้และโลกหน้า ด้วยเหตุใด และจะได้รับเกียรติยศ ในเทวดาและมนุษย์ด้วยเหตุใด ขอท่านจงบอกเหตุนั้นๆ แก่เรา. ดูก่อนพราหมณ์ เราปรารถนาจะกระทาตามอรรถและธรรม เราถามท่านแล้ว ขอจงบอกอรรถและธรรมนั้นด้วยเถิด. ก็ปัญหานี้ลึกซึ้งเป็ นพุทธวิสัย ควรที่จะถามเฉพาะพระสัพพัญญูพุทธเจ้าเท่านั้น เมื่อพระสัพพัญญูพุทธเจ้าไม่มี ควรถามพระโพธิสัตว์ ก็เพราะสุจีรตปุโรหิต มิใช่พระโพธิสัตว์ จึงไม่สามารถแก้ปัญหาถวายได้ และเมื่อไม่สามารถ ก็ไม่ทาการถือตนว่าเป็นบัณฑิต เมื่อจะกราบทูลความที่ตนไม่สามารถ จึงกล่าวคาถาความว่า ขอเดชะพระขัตติยราช พระองค์ทรงปรารถนาจะปฏิบัติตามอรรถและธรรมใด นอกจากวิธุรพราหมณ์แล้ว ไม่มีใครอื่นที่จะสมควรชี้แจงอรรถและธรรมนั้นได้. คาถานั้นมีอธิบายดังนี้ ขอเดชะพระมหาราชเจ้า ปัญหานี้ใช่วิสัยของคนเช่นข้าพระพุทธเจ้าไม่ ข้าพระพุทธเจ้าไม่เห็นเบื้องต้นเบื้องปลายของปัญหานั้นเลยทีเดียว เป็นเหมือนเข้าสู่ที่มืด แต่ราชปุโรหิตของพระเจ้าพาราณสี ชื่อวิธุรพราหมณ์ มีอยู่ เขาพึงเฉลยปัญหานั้นได้ เว้นเขาเสียแล้วใครอื่นไม่สามารถที่จะแสดงอรรถและธรรมที่พระองค์ทรงปรารถ นาจะกระทาได้. พระราชาทรงสดับถ้อยคาของสุจีรตพราหมณ์แล้วตรัสสั่งว่า ท่านพราหมณ์ ถ้าเช่นนั้น ท่านจงรีบไปยังสานักของวิธุรพราหมณ์เถิด มีพระประสงค์จะส่งเครื่องบรรณาการไปพระราชทาน จึงตรัสพระคาถาความว่า
  • 6. 6 ดูก่อนท่านอาจารย์สุจีรตะ มาเถิดท่าน เราจะส่งท่านไปยังสานักของวิธุรพราหมณ์ ท่านจงนาเอาทองคาแท่งนี้ไปมอบให้ เพื่อรับคาอธิบายซึ่งอรรถและธรรม. พระเจ้าธนัญชยโกรัพยะ ครั้นตรัสสั่งอย่างนี้แล้ว จึงตรัสสั่งให้เอาทองคาควรค่าแสนหนึ่งมาแผ่เป็ นแผ่น เพื่อจะได้จารึกคาวิสัชนาปัญหา ให้จัดยานพาหนะสาหรับเดินทาง จัดพลนิกายสาหรับเป็นบริวาร แลจัดเครื่องราชบรรณาการเสร็จแล้ว ก็ทรงส่งไปในขณะนั้นทีเดียว. ส่วนสุจีรตพราหมณ์ออกจากพระนครอินทปัตต์แล้ว หาได้ตรงไปยังพระนครพาราณสีทีเดียวไม่ เหล่าบัณฑิตอยู่ในที่ใดๆ ก็เข้าไปยังที่นั้นๆ จนถ้วนทั่ว ไม่ได้รับผลกล่าวคือการกล่าวแก้ปัญหาในชมพูทวีปทั้งสิ้น จนลุถึงพระนครพาราณสีโดยลาดับ ยึดเอาที่พัก ณ ที่แห่งหนึ่ง ไปยังนิเวศน์ของวิธุรพราหมณ์พร้อมด้วยคนใช้สองสามคน ในเวลาอาหารเช้า บอกเล่าธุระที่ตนมาให้ทราบ อันวิธุรพราหมณ์เชิญเข้าไป เห็นวิธุรพราหมณ์กาลังรับประทานอาหารอยู่ในเรือนของตน. เมื่อพระบรมศาสดาจะทรงประกาศ ทาเนื้อความนั้นให้ชัดขึ้น จึงตรัสพระคาถาที่ ๗ ความว่า มหาพราหมณ์ผู้ภารทวาชโคตรนั้น ได้ไปถึงสานักของวิธุรพราหมณ์แล้ว เห็นท่านพราหมณ์กาลังบริโภคอาหารอยู่ในเรือนของตน. ก็สุจีรตพราหมณ์นั้น สมัยเป็นเด็กเป็นเพื่อนกันกับวิธุรพราหมณ์ เรียนศิลปวิทยาในสานักอาจารย์เดียวกัน เพราะฉะนั้น จึงร่วมรับประทานอาหารกับท่านวิธุรพราหมณ์ทันที ในเวลารับประทานเสร็จ นั่งพักสบายแล้วถูกถามว่า สหายรัก ท่านมาธุระอะไร? เมื่อจะบอกเหตุที่มา จึงกล่าวคาถาที่ ๘ ความว่า พระเจ้าโกรัพยราชผู้เรืองพระยศทรงส่งเราให้เป็ นทูตมา พระเจ้าโกรัพยผู้ยุธิฏฐิลโคตรดารัสถามถึงอรรถและธรรม ได้ตรัสแล้วดังนี้ วิธุรสหายรัก ท่านถูกถามถึงอรรถและธรรมนั้นแล้ว กรุณาบอกเราด้วย. ก็ในครั้งนั้น ท่านวิธุรพราหมณ์คิดว่า เราจักกาหนดจิตของมหาชนดังนี้ จึงวุ่นอยู่กับการวินิจฉัยความ คล้ายกับปิดกั้นแม่น้าคงคา ไม่มีโอกาสที่จะแก้ปัญหานั้นได้ เมื่อจะบอกความข้อนั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๙ ความว่า ดูก่อนพราหมณ์ เราคิดว่าจักกั้นแม่น้าคงคา แต่ไม่อาจจะกั้นแม่น้าใหญ่นั้นได้ เพราะเหตุนั้นโอกาสนั้นจักมีได้อย่างไร
  • 7. 7 เมื่อท่านถามถึงอรรถและธรรม เราจึงไม่อาจจักบอกได้. คาถานั้นมีอรรถาธิบายดังนี้ ดูก่อนสหายพราหมณ์ เราเกิดความกังวลขวนขวายว่า จักปิดกั้นแม่น้าคงคา คือคติจิตต่างๆ กันของมหาชน ก็ไม่สามารถจะกั้นเสียงอันดังนั้นได้ เพราะฉะนั้น จักมีโอกาสได้อย่างไรกัน เมื่อโอกาสไม่มี เราก็วิสัชนาชี้แจงแก่ท่านไม่ได้ เมื่อไม่ได้ความที่จิตแน่วแน่และไม่มีโอกาส ถึงจะถูกท่านถามก็ไม่สามารถจะบอกอรรถและธรรมแก่ท่านได้. ครั้นวิธุรพราหมณ์กล่าวอย่างนี้แล้ว จึงบอกว่า บุตรชายของเราเป็นคนฉลาด มีปัญญาปราดเปรื่องกว่าเรา เขาจักพยากรณ์ได้ ท่านจงไปสานักของเขาเถิด ดังนี้แล้ว กล่าวคาถาที่ ๑๐ ความว่า แต่ภัทรการะ ผู้เป็นบุตรเกิดแต่อกของเรามีอยู่ เชิญท่านไปถามอรรถและธรรมกะเธอดูเถิด ท่านพราหมณ์. สุจีรตพราหมณ์ฟังดังนั้น จึงออกจากเรือนของวิธุรพราหมณ์ ไปยังนิเวศน์ของภัทรการมาณพ ในเวลาที่เธอรับประทานอาหารเสร็จแล้ว นั่งอยู่ท่ามกลางบริษัทของตน. พระบรมศาสดา เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสพระคาถาที่ ๑๑ ความว่า มหาพราหมณ์ผู้ภารทวาชโคตรนั้นได้ไปถึงสานักของภัทรการะ ได้เห็นเธอกาลังนั่งอยู่ในเรือนของตน. สุจีรตพราหมณ์ไปที่นั้นแล้ว อันภัทรการมาณพจัดการต้อนรับและทาสักการะเคารพ นั่งแล้วถูกถามถึงเหตุที่มา จึงกล่าวคาถาที่ ๑๒ ความว่า เราเป็นราชทูตของพระเจ้าโกรัพยราชผู้ยงยศทรงส่งมา พระองค์ผู้ยุธิฏฐิลโคตรตรัสถามถึงอรรถและธรรม ได้ตรัสแล้วอย่างนี้ ดูก่อนภัทรการมาณพ เธอจงบอกอรรถและธรรมนั้นแก่เราด้วย. ลาดับนั้น ภัทรการมาณพจึงกล่าวกะสุจีรตพราหมณ์ว่า ข้าแต่คุณพ่อ ข้าพเจ้าเคลิบเคลิ้มอยู่ในปรทาริกกรรมทุกๆ วัน จิตของข้าพเจ้ามัวหมอง ด้วยเหตุนั้น จึงไม่สามารถจะวิสัชนาแก่ท่านได้ แต่น้องชายของข้าพเจ้าชื่อว่าสัญชยกุมาร มีญาณประเสริฐกว่าข้าพเจ้ายิ่งนัก เชิญท่านถามเขาเถิด เขาจักแก้ปัญหาของท่านได้ ดังนี้แล้ว เมื่อจะส่งไปยังสานักของน้องชาย ได้กล่าวคาถา ๒ คาถา ความว่า ข้าพเจ้าเป็นเหมือนคนทิ้งหาบเนื้อ แล้ววิ่งตามเหี้ยไป ถึงจะถูกถามอรรถและธรรม ก็ไม่อาจจะบอกแก่ท่านได้ ข้าแต่ท่านพราหมณ์สุจีรตะ น้องชายของข้าพเจ้าชื่อว่าสัญชัย มีอยู่
  • 8. 8 เชิญท่านไปถามอรรถและธรรมกะเธอดูเถิด. ในขณะนั้นเอง สุจีรตพราหมณ์จึงไปยังนิเวศน์ของสัญชยกุมาร อันสัญชยกุมารทาสักการะเคารพแล้ว ถูกถามถึงเหตุที่มา จึงแจ้งให้ทราบ. พระบรมศาสดาเมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น ได้ตรัสพระคาถา ๒ คาถาความว่า มหาพราหมณ์ผู้ภารทวาชโคตรนั้น ได้ไปถึงยังสานักสัญชยกุมารแล้ว ได้เห็นสัญชยกุมารนั่งอยู่ในนิเวศน์ของตน จึงพูดว่า เราเป็นราชทูตของพระเจ้าโกรัพยราชผู้ยงยศทรงส่งมา พระองค์ผู้ยุธิฏฐิลโคตรดารัสถามอรรถและธรรม ได้ตรัสว่าดังนี้ ดูก่อนสัญชยกุมาร เจ้าถูกถามแล้วจงบอกอรรถและธรรมนั้นเถิด. ก็ในครั้งนั้น สัญชยกุมารกาลังคบหาภรรยาของผู้อื่นอยู่ทีเดียว. ลาดับนั้น เธอจึงบอกสุจีรตพราหมณ์ว่า พ่อคุณ ข้าพเจ้ากาลังคบหาภรรยาผู้อื่นอยู่ และเมื่อคบหาก็ต้องข้ามแม่น้าไปฝั่งโน้น มฤตยูคือความตายย่อมกลืนกินข้าพเจ้า ซึ่งกาลังข้ามแม่น้าอยู่ทั้งเช้าทั้งเย็น ด้วยเหตุนั้น จิตของข้าพเจ้าจึงขุ่นมัว ไม่สามารถบอกอรรถธรรมแก่ท่านได้ แต่ข้าพเจ้ามีน้องชายอยู่คนหนึ่ง ชื่อว่าสัมภวกุมาร แต่เกิดมาอายุได้เพียงเจ็ดปี มีญาณความรู้เหนือข้าพเจ้าตั้งร้อยเท่าพันเท่าแสนเท่า เธอจักบอกแก่ท่านได้ เชิญท่านไปถามดูเถิด เมื่อจะประกาศความนั้น ได้กล่าวคาถา ๒ คาถาความว่า ข้าแต่ท่านสุจีรตพราหมณ์ มัจจุราชย่อมกลืนกินข้าพเจ้าทั้งเช้าและเย็น ถึงถูกท่านถามก็ไม่สามารถจะบอกอรรถและธรรมแก่ท่านได้. ท่านพราหมณ์สุจีรตะ น้องชายของข้าพเจ้ามีอยู่ ชื่อว่าสัมภวกุมาร เชิญท่านไปถามอรรถและธรรมกะเธอดูเถิด. สุจีรตพราหมณ์ได้ฟังดังนั้นจึงคิดว่าปัญหานี้จักเป็ นของอัศจรรย์ในโล กนี้ ชะรอยจะไม่มีใครที่ชื่อว่าสามารถเพื่อจะวิสัชนาปัญหานี้ แล้วได้กล่าวคาถา ๒ คาถาความว่า ชาวเราเอ๋ย ปัญหานี้เป็นธรรมน่าอัศจรรย์จริง เราไม่พอใจเลย ชนทั้ง ๓ คน คือบิดาและบุตรสองคน ยังไม่มีปัญญารู้แจ้งธรรมนี้. ท่านทั้งหลายถูกถามแล้ว ยังไม่สามารถบอกอรรถและธรรมนั้นได้ เด็กเจ็ดขวบถูกถามถึงอรรถและธรรม จะรู้เรื่องได้อย่างไร? สัญชยกุมารได้ฟังดังนั้นจึงชี้แจงว่า ท่านอย่าเข้าใจว่าสัมภวกุมารเป็นเด็ก ถ้าท่านมีความต้องการด้วยการวิสัชนาปัญหา ท่านจงไปถามเขาดูเถิด เมื่อจะประกาศเกียรติคุณของกุมารน้องชาย โดยแสดงใจความให้เข้าใจได้ กล่าวคาถา ๑๒ คาถาความว่า
  • 9. 9 ดูก่อนท่านพราหมณ์ ท่านยังไม่ได้ถามสัมภวกุมาร อย่าเพิ่งเข้าใจว่าเธอเป็นเด็ก ท่านถามสัมภวกุมารแล้ว จะพึงรู้อรรถและธรรมได้. พระจันทร์ปราศจากมลทิน โคจรไปในอากาศย่อมสว่างไสวล่วงหมู่ดาวทั้งปวงในโลกนี้ด้วยรัศมีฉันใด สัมภวกุมารแม้ยังเป็นเด็กก็ฉันนั้น ย่อมไพโรจน์ล่วงบัณฑิตทั้งหลาย เพราะประกอบด้วยปัญญา ดูก่อนท่านพราหมณ์ ท่านยังไม่ได้ถามสัมภวกุมาร อย่าเพิ่งเข้าใจว่า เธอเป็นเด็ก ท่านถามสัมภวกุมารแล้วจะพึงรู้อรรถและธรรมได้. ดูก่อนท่านพราหมณ์ เดือน ๕ ในคิมหันตฤดูย่อมสวยงามยิ่งกว่าเดือนอื่นๆ ด้วยต้นไม้และดอกไม้ฉันใด สัมภวกุมารแม้ยังเป็นเด็กก็ฉันนั้น ย่อมไพโรจน์ล่วงบัณฑิตทั้งหลาย เพราะประกอบด้วยปัญญา ดูก่อนพราหมณ์ ท่านยังไม่ได้ถามสัมภวกุมาร อย่าเพิ่งเข้าใจว่าเธอเป็นเด็ก ท่านถามสัมภวกุมารแล้วจะพึงรู้อรรถและธรรมได้ ดูก่อนท่านพราหมณ์ หิมวันตบรรพต ชื่อว่าคันธมาทน์ ดารดาษไปด้วยไม้ต่างๆ พันธุ์ เป็ นที่อยู่อาศัยแห่งทวยเทพ ย่อมสง่างามและหอมตลบไปทั่วทิศด้วยทิพยโอสถฉันใด สัมภวกุมารแม้ยังเป็นเด็กก็ฉันนั้น ย่อมไพโรจน์ล่วงบัณฑิตทั้งหลาย เพราะประกอบด้วยปัญญา ดูก่อนท่านพราหมณ์ ท่านยังไม่ได้ถามสัมภวกุมาร อย่าเพิ่งเข้าใจว่าเธอเป็นเด็ก ท่านถามสัมภวกุมารแล้วจะพึงรู้อรรถและธรรมได้. ไฟป่ามีเปลวรุ่งเรือง ไหม้ลามไปในป่าไม่อิ่มมีแนวทางดา คุเรื่อยไป มีเปรียงเป็นอาหาร มีควันเป็ นธง ไหม้แนวไพรสูงๆ เวลากลางคืนสว่างลุกโชนอยู่บนยอดภูเขาฉันใด สัมภวกุมารแม้ยังเป็นเด็กก็ฉันนั้น ย่อมไพโรจน์ล่วงบัณฑิตทั้งหลาย เพราะประกอบด้วยปัญญา ดูก่อนพราหมณ์ ท่านยังไม่ได้ถามสัมภวกุมาร อย่าเพิ่งเข้าใจว่าเธอเป็นเด็ก ท่านถามสัมภวกุมารแล้ว จะพึงรู้อรรถและธรรมได้. ม้าดีจะรู้ได้เพราะฝีเท้า โคพลิพัทธ์จะรู้ได้เพราะเข็นภาระไป แม่โคนมจะรู้ได้เพราะน้านมดี และบัณฑิตจะรู้ได้เมื่อเจรจาฉันใด สัมภวกุมารแม้ยังเป็นเด็กก็ฉันนั้น ย่อมไพโรจน์ล่วงบัณฑิตทั้งหลาย เพราะประกอบด้วยปัญญา ดูก่อนท่านพราหมณ์ ท่านยังไม่ได้ถามสัมภวกุมาร อย่าเพิ่งเข้าใจว่าเธอเป็นเด็ก ท่านถามสัมภวกุมารแล้ว จะพึงรู้อรรถและธรรมได้. เมื่อสัญชยกุมารสรรเสริญสัมภวกุมารอยู่อย่างนี้ สุจีรตพราหมณ์คิดว่า เราถามปัญหาดูแล้วจักรู้กัน ดังนี้แล้วจึงถามว่า ดูก่อนกุมาร น้องชายของเจ้าอยู่ไหนเล่า? ลาดับนั้น สัญชยกุมารจึงเปิดสีหบัญชร ชี้มือบอกสุจีรตพราหมณ์ว่า นั่นสัมภวกุมาร คนที่มีผิวพรรณผ่องใสคล้ายทองคา กาลังเล่นอยู่กับเพื่อนเด็กๆ ระหว่างถนนริมประตูปราสาท นี้คือน้องชายของข้าพเจ้า เชิญท่านไปหาแล้วไต่ถามเขาดู
  • 10. 10 เขาจักบอกปัญหาแก่ท่านได้โดยลีลาแห่งพระพุทธเจ้า สุจีรตพราหมณ์ฟังคาของสัญชยกุมารแล้ว ลงจากปราสาทไปยังสานักของสัมภวกุมาร. มีคาถามสอดเข้ามาว่า ไปเวลาไหน? แก้ว่า ไปในเวลาที่สัมภวกุมารยืนเปลื้องผ้านุ่งออกพาดไว้ที่ตอ เอามือ ทั้งสองกอบฝุ่นเล่น. เมื่อพระบรมศาสดาจะทรงกระทาเนื้อความนั้นให้แจ่มแจ้ง จึงตรัสพระคาถาความว่า มหาพราหมณ์ภารทวาชโคตรนั้นได้ไปยังสานักของสัมภวกุมาร เห็นเ ธอกาลังเล่นอยู่นอกบ้าน. ฝ่ายพระมหาสัตว์เจ้าเห็นพราหมณ์มายืนอยู่ข้างหน้าจึงถามว่า ข้าแต่ท่านพ่อ ท่านมาด้วยประสงค์สิ่งไร เมื่อสุจีรตพราหมณ์บอกว่า พ่อกุมาร เราเที่ยวไปในพื้นชมพูทวีป ก็ไม่พบผู้ที่สามารถจะแก้ปัญหาที่เราถามได้ จึงได้มายังสานักของเจ้าดังนี้แล้ว จึงคิดว่า ทราบว่าปัญหาที่ใครๆ วินิจฉัยไม่ได้ในสกลชมพูทวีป ตกมาถึงสานักของเรา เราเป็นคนแก่ด้วยความรู้ดังนี้ รู้สึกละอายใจจึงทิ้งฝุ่นที่อยู่ในกามือเสีย ดึงผ้าที่ตอมามานุ่ง แล้วปวารณาโดยสัพพัญญุตญาณว่า เชิญถามเถิดท่านพราหมณ์ ข้าพเจ้าจักบอกท่านโดยลีลาแห่งพระพุทธเจ้า. ลาดับนั้น สุจีรตพราหมณ์ถามปัญหาด้วยคาถาความว่า เราเป็นราชทูตของพระเจ้าโกรัพยราชผู้ยงยศทรงส่งมา พระองค์ผู้ยุธิฏฐิลโคตรดารัสถามถึงอรรถและธรรม ได้ตรัสแล้วดังกล่าวมา ดูก่อนสัมภวกุมารท่านถูกถามแล้ว ขอจงบอกอรรถและธรรมนั้นเถิด. ใจความแห่งปัญหานั้นว่า เกียรติคุณแห่งสัมภวบัณฑิต ได้ปรากฏเหมือนพระจันทร์ในวันเพ็ญ ท่ามกลางแห่งดวงดาวฉะนั้น. ลาดับนั้น สัมภวกุมารจึงกล่าวว่า ถ้าเช่นนั้นท่านจงคอยฟัง. เมื่อจะวิสัชนาธัมมยาคปัญหา กล่าวคาถาความว่า เชิญฟัง ข้าพเจ้าจักแก้ปัญหาแก่ท่านอย่างนักปราชญ์ อนึ่ง พระราชาย่อมทรงทราบอรรถและธรรมนั้นได้ แต่จักทรงทาตามหรือไม่ ไม่ทราบ. เมื่อสัมภวกุมารยืนแสดงธรรมอยู่ระหว่างถนนด้วยเสียงอันไพเราะ เสียงกึกก้องไปทั่วพระนครพาราณสีประมาณ ๑๒ โยชน์ ลาดับนั้น พระราชาและอุปราชเป็นต้นทั้งหมด มาประชุมกันแล้ว พระมหาสัตว์เจ้าจึงเริ่มแสดงธรรมเทศนา ในท่ามกลางมหาชน. ครั้นสัมภวกุมารปฏิญาณการกล่าวแก้ปัญหาด้วยคาถาอย่างนี้แล้ว
  • 11. 11 บัดนี้ เมื่อจะกล่าวธัมมยาคปัญหาต่อไป จึงกล่าวคาถาความว่า ข้าแต่สุจีรตพราหมณ์ บุคคลผู้ถูกพระราชาตรัสถามแล้ว พึงทูลกิจที่ควรทาในวันนี้ ให้ทาในวันพรุ่งนี้ พระเจ้ายุธิฏฐิละอย่าได้ทรงทาตาม ในเมื่อประโยชน์เกิดขึ้น. ข้าแต่ท่านสุจีรตะ เมื่อบุคคลถูกพระราชาดารัสถาม พึงกราบทูลธรรมภายในเท่านั้น ไม่พึงให้เสด็จไปยังหนทางผิด ดุจคนโง่หาความคิดมิได้ฉะนั้น. กษัตริย์ไม่ควรลืมพระองค์ ไม่ควรประพฤติอธรรม ไม่ควรข้ามไปในที่มิใช่ท่า ไม่พึงทรงขวนขวายในสิ่งอันไม่เป็ นประโยชน์. อนึ่ง กษัตริย์พระองค์ใดทรงทราบว่าควรจะทาฐานะเหล่านี้ กษัตริย์พระองค์นั้นย่อมทรงพระเจริญทุกเมื่อ ดุจพระจันทร์ในสุกปักษ์ฉะนั้น. กษัตริย์พระองค์นั้นย่อมเป็นที่รักใคร่ของพระประยูรญาติทั้งหลายด้วย ย่อมทรงรุ่งโรจน์ในหมู่มิตรด้วย ท้าวเธอมีพระปรีชา เมื่อสวรรคตแล้วย่อมเข้าถึงโลกสวรรค์. ท่านกล่าวคาอธิบายไว้ดังนี้ ข้าแต่ท่านสุจีรตะ ถ้าหากใครถูกพระราชาของท่านดารัสถามว่า วันนี้เราจะให้ทาน รักษาศีล กระทาอุโบสถดังนี้ไซร้ พึงกราบทูลว่า ขอเดชะ ข้าแต่มหาราชเจ้า วันนี้พวกข้าพระพุทธเจ้าจะฆ่าสัตว์ จะบริโภคกาม จะดื่มสุราก่อน ต่อพรุ่งนี้จึงจักทาบุญทากุศล พระราชาผู้ยุธิฏฐิลโคตรของท่านถึงจะทรงกระทาตามคาของอามาตย์แม้ผู้ยิ่งใหญ่ นั้นแล้ว ก็อย่าได้อยู่อย่างยังวันนั้นให้ล่วงไปด้วยความประมาท ในเมื่อประโยชน์เช่นนั้นเกิดขึ้น อย่าทรงกระทาตามคาของเขา รักษากุศลจิตที่เกิดขึ้นแล้วอย่าให้เสื่อม จงทรงบาเพ็ญกรรมอันปฏิสังยุตด้วยกุศลอย่างเดียว ท่านควรกราบทูลคานี้แด่พระราชาของท่าน. ด้วยคาถานี้ พระมหาสัตว์เจ้าแสดงภัทเทกรัตตสูตรว่า อชฺเชว กิจฺจมาตปฺป โกชญฺญา มรณ สุเว เป็นอาทิความว่า ควรทาความเพียรเสียในวันนี้ ใครเล่าจะรู้ความตายว่าจะมีในวันพรุ่งนี้ และแสดงโอวาทเกี่ยวด้วยความไม่ประมาทว่า อปฺปมาโท อมต ปท ปมาโท มจฺจุโน ปท เป็นอาทิความว่า ความไม่ประมาทเป็นทางไม่ตาย ความประมาทเป็นทางแห่งความตาย ด้วยประการฉะนี้. ท่านสุจีรตะ ท่านถูกพระราชาดารัสถามว่า สัมภวบัณฑิตถูกท่านถามในธัมมยาคปัญหา กล่าวแก้อย่างไร? พึงกราบทูลอัชฌัตธรรมอย่างเดียวแด่พระราชา คือพึงกราบทูลถึงเบญจขันธ์อันเป็นนิยกัชฌัตธรรมว่า
  • 12. 12 เป็นของไม่เที่ยงโดยความเป็นของไม่มี. ด้วยคาเพียงเท่านี้ พระมหาสัตว์เจ้าทรงแสดงอนิจจตาธรรมแจ่มแจ้งด้วยคาถาอย่างนี้ ความว่า เมื่อใดบัณฑิตพิจารณาเห็นด้วยปัญญาว่า สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง เมื่อนั้น ย่อมหน่ายในทุกข์ สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ มีความเกิดขึ้นและเสื่อมไปเป็ นธรรมดา ครั้นเกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป ความเข้าไประงับสังขารเหล่านั้นเสียได้เป็นสุข. พระมหาสัตว์เจ้ากล่าวแก้ปัญหาแก่พราหมณ์โดยลีลาแห่งพระพุทธเจ้า ดุจยังพระจันทร์ให้ปรากฏขึ้น ณ พื้นอากาศด้วยอาการอย่างนี้. มหาชนต่างบันลือโห่ร้องตบมือ กระทาสาธุการพันครั้ง ยังการยกธงและการดีดนิ้วมือให้เป็นไป ทั้งซัดไปซึ่งวัตถุมีเครื่องประดับมือเป็นต้น ทรัพย์สินที่มหาชนซัดไปแล้วอย่างนี้นับได้ถึงโกฏิ. แม้พระราชาก็ทรงโปรดปรานพระราชทานยศใหญ่แก่สัมภวกุมารนั้น ฝ่ายสุจีรตพราหมณ์ทาการบูชาด้วยทองคาพันลิ่ม แล้วจารึกคาวิสัชนาปัญหาลงในแผ่นทองคาด้วยชาดกับหรดาล แล้วเดินทางไปยังอินทปัตตนคร กราบทูลธัมมยาคปัญหาแด่พระราชา. พระราชาทรงประพฤติในธรรมนั้น แล้วยังเมืองสวรรค์ให้แน่นบริบูรณ์. พระบรมศาสดาทรงนาพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น ก็หามิได้ แม้ในปางก่อน ตถาคตก็มีปัญญามากเหมือนกัน ดังนี้แล้ว ทรงประชุมชาดกว่า พระเจ้าธนัญชยโกรัพยราชในครั้งนั้น ได้มาเป็น พระอานนท์ สุจีรตพราหมณ์ได้มาเป็น พระอนุรุทธะ วิธุรพราหมณ์ ได้มาเป็ น พระอริยกัสสป ภัทรการกุมารได้มาเป็ น พระโมคคัลลานะ สัญชยมาณพ ได้มาเป็ น พระสารีบุตร สัมภวบัณฑิตได้มาเป็น เราผู้ตถาคต ฉะนี้แล. จบอรรถกถาสัมภวชาดกที่ ๕ -----------------------------------------------------