SlideShare a Scribd company logo
1 of 18
Download to read offline
บทที่ 12
แหล่งนันทนาการ
ปาร์ค ( PARK) : สถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
แหล่งนันทนาการคือ ศูนย์บริการนันทนาการ (PARK AGENCY ปัจจุบันเรียกว่า RECRENTION
AND PARK DEPARTMENT) มีจุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ที่สาคัญเพื่อสร้างเสริมประสบการณ์และ
จัดการบริการทางด้านนันทนาการ เพื่อบุคคลและชุมชน หน่วยงานที่รับผิดชอบ ได้แก่ หน่วยงานของรัฐ
หรือสาธารณะ (PUBLIC) หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ หรือกึ่งสาธารณะ (SEMI-PUBLIC) และหน่วยงานเอกชน
(PRIVATE) ซึ่งรวมทั้งประเภทองค์การอาสาสมัครและธุรกิจการค้า
ปาร์ค (PARK) เป็นคาที่มีความหมายและรูปแบบต่างกัน เริ่มต้นกับความหมายในปัจจุบัน จึง
สมควรที่จะอภิปรายทั้งประวัติและความหมายเพื่อความเข้าใจที่ดีขึ้น
ประวัติของปาร์ค
ปาร์ค หรือสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ เกิดขึ้นมานานแล้ว ตั้งแต่สมัยโบราณ กล่าวคือ มนุษย์ได้สร้าง
สถานที่พักผ่อนหย่อนใจ เช่น สวนสาธารณะ อุทยาน และสถานที่พบประสังสรรค์ ควบคู่กับ การสร้างเมือง
ดังปรากฏในอารยะธรรมของประเทศต่างๆ ในสมัยโบราณ เช่น การสร้างสวนแขวน (HANDING
GRADEN) ในประเทศอียิปต์ สวนล่าสัตว์ของชาวบาบิโลนในประเทศเปอร์เซีย สวนศักดิ์สิทธิ์ของศาสนา
พราหมณ์และฮินดูในประเทศอินเดีย การจัดสวนของชาวกรีกและโรมันที่มีรูปแบบสวยงาม สวนป่าใน
อุทยานพระราชวังแวร์ซายของประเทศฝรั่งเศส และสวนพักผ่อนหย่อนใจของพระมหากษัตริย์ และ
จักรพรรดิ์ในประเทศจีน และญี่ปุ่น เป็นต้น
สวนป่าและสวนสาธารณะแห่งแรกเกิดขึ้น เป็นอุทยานล่าสัตว์ของกษัทตริย์ หรือหัวหน้าเผ่า เพื่อใช้
ในการล่าสัตว์และสะสมสัตว์ที่จับได้ ในสมัยต่อมากลุ่มขุนนาง และคณบดี ซึ่งได้สร้างคฤหาสน์ในบริเวณ
อาณาเขตได้สร้างสวนสาธารณะสาหรับครอบครัวและบริวารของตน เพื่อใช้ในการเฉลิมฉลองเนื่องใน
เทศกาลพิเศษต่างๆ และใช้ต้อนรับแขก ปาร์คอีกชนิดนึงที่เกิดขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของ
ประชาชน เรียกว่า ตลาดนัด (COMMON MARKET) ซึ่งนอกจากจะเป็นที่นัดพบแลกเปลี่ยนสินค้าต่างๆ
แล้วยังเป็นศูนย์กลางกิจกรรมนันทนาการต่างๆ เช่นการละเล่น เกมส์กีฬา การเต้นรา การละคร ดนตรี ร้อง
เพลง เป็นต้น ปาร์คแห่งแรกของสหรัฐอเมริกาซึ่งจัดให้ประชาชนไปพักผ่อนหย่อนใจ และเป็นตลาดนัดพบ
เกิดขึ้น เมื่อปี ค.ศ. 1640 โดยจัดขึ้นที่เมืองบอสตัน รัฐแมนซูเซตในสมัยที่ชาวยุโรปอพยพไปตั้งรกรากใน
อเมริกา
ครั้นต่อมาเมื่อสหรัฐอเมริกาพัฒนาเปลี่ยนไปจากยุคเกษตรกรรมเป็นอุตสาหกรรม การสร้างเมือง
การเกิดมหานครก็เจริญขึ้นตามลาดับ นักวางผังเมืองชื่อ นาคเฟรดเดอริค โอล์ม สเตค (FREDERICK LOW
OLMSTD) ได้ออกแบบสวนสาธารณะในเมือง (MUNIVIPAL PARK) โดยการจัดสร้างสวนสาธารณะที่
คานึงถึงอาคารสถานที่ สนามกีฬา สถานที่พักผ่อนหย่อนใจ จัดสวนพรรณไม้ชนิดต่างๆ เพื่อตอบสนอง
ความต้องการของสังคมในเมือง และเป็นการสร้างความงดงามของเมือง โดยจัดปาร์คที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่
ในเมือง มีการจัดเป็นระบบมีมาตรการต่างๆ จนเป็นแม่บทของสวนสาธารณะในเมืองต่างๆ ในสหรัฐใน
ปัจจุบันชื่อสวน เซ็นทรัล ปาร์ค (CENTRAL PARK) ตั้งอยู่ใจกลางเมืองนิวยอร์ค นายโอล์ม สเตด
(OLMSTED) และนายเว็ค (VEUK) ได้วางผังเมืองและสวนสาธารณะในเมืองต่างๆ ในสหรัฐ เช่น เมืองชิคา
โก้ ดีทรอยต์ บัฟฟาโล่ บริดปาร์ค มัลตริอัล เป็นต้น สวนสาธารณะเหล่านี้ยังได้จัดระบบการสัญจรในสวน
สิ่งอานวยความสะดวกในสวน ใช้ต้นไม้และวัสดุธรรมชาติมากที่สุด อย่างไรก็ตามสวนสาธารณะในเมืองได้
มีการจัดสถานที่อานวยความสะดวกต่างๆ เช่น สระว่ายน้า สนามกีฬา ทาให้ความหมายของปาร์ค
เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม และความหมายของปาร์คและนันทนาการก็เริ่มแยกออกจากกันเป็นหน่วยงาน
นันทนาการ และสวนสาธารณะ (PARK AND RECREATION DEPARTMENT)
ความหมาย
ปาร์ค หรือสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ หมายถึง บริเวณพื้นดินหรือพื้นน้าที่จัดขึ้นเพื่อเป็นศูนย์บริการ
ทางนันทนาการ ในช่วงเวลาว่างสาหรับประชาชน ปาร์คแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
ปาร์คที่ปรับปรุงแล้ว (IMPROVED LAND) หมายถึง สถานที่จัดการเป็นระบบมีการจัดเตรียม
อาคารสถานที่ พันธุ์ไม้ และสิ่งอานวยความสะดวกต่างๆ ดาเนินการโดยรัฐหรือเอกชน เช่น สวนสาธารณะ
เทศบาลเมือง (MUNICIPAL PARK) สวนสาธารณะเพื่อนบ้าน (MEIGHBORHOOD PARK) สวนหย่อม
(MINII-PARK OR GREEN PARK) สนามเด็กเล่น (PLAY LOTS TCI-LOTS) สวนพฤกษ์ศาสตร์ สวนรุกข
ชาติ วนอุทยาน และอุทยานแห่งชาติ เป็นต้น
ปาร์คที่ยังไม่ได้ปรับปรุง (PRIMITIVE OR UNITIPRCVED LAND) หมายถึง พิ้นที่ดินหรือพื้นน้าที่
ยังเป็นธรรมชาติ ไม่ได้จัดให้เป็นระบบสวน แต่มีความงามธรรมชาติ ซึ่งสมควรแก่การอนุรักษ์เพื่อการศึกษา
และการพักผ่อนหย่อนใจ ธรรมชาติเหล่านี้ได้แก่ เกาะ แก่ง ภูเขา ป่าไม้ ทะเลสาบ น้าตกโป่งร้อน หนอง บึง
หาดทราย ซากดึกดาบรรพ์ สัณฐานธรรมชาติอื่นๆ ได้แก่ วนอุทยาน (FCREST STATE PARK) อุทยาน
แห่งชาติ (NATIONAL PARK) ซึ่งในบริเวณปาร์คดังกล่าวมีทั้งปรับปรุงและยังไม่ได้ปรับปรุง
กระบวนการบริหารปาร์ค: สถานที่พักผ่อนย่อนใจ
การบริหารงานบริการด้านสันทนาการนั้นเป็นการจัดการแนะแนวบุคคล และแหล่งวิทยะกายภาพ
โดยใช้พัฒนาการการจัดการเพื่อสร้างเสริมประสบการณ์ทางนันทนาการ และก่อให้เกิดความพึงพอใจและ
ขวัญกาลังใจแก่ผู้รับบริการ หรืออาจกล่าวว่าเป็นกระบวนการที่สืบเนื่องของการจัดการและประยุกต์แหล่ง
วิทยาการเพื่อสร้างเสริมโอกาสนันทนาการแด่ประชาชน
เทคนิคของการบริหารและจัดการทั่วไปที่นักวิชาการบริหารต่าง ๆ รวบรวมจัดตั้งเป็นทฤษฎีการ
จัดการและบริหารดังนี้
1.นายกูลิกและนายเออร์วิด(ค.ศ. 1937) ได้เสนอกระบวนการการบริหารประกอบ7ขั้นตอน ได้แก่
การวางแผนงาน(Planting)
การจัดการ (Crganization)
การจัดบุคลากร (Staffing)
การชี้นาทาง (Pirecting)
การประสานงาน (Cccrdimating)
การเสนอรายงาน (Reporting)
การจัดงบประมาณ (Budgating)
2.นายเฮนส์และแมสซี่ (Haynes &masste : ค.ศ. 1961) แบ่งกระบวนการบริหารออกเป็น 10 ขั้นตอน ดังนี้
2.1 การตัดสินใจ (DeclsionMaring)
2.2 การจัดการ (Crganieaiion)
2.3 การวางแผนงาน (Planning)
2.4 การชี้นาทาง (Direciicn)
2.5 การควบคุม (CCntrol)
2.6 การจัดบุคลากร (Staffing)
2.7 การประสานงาน (Cccrdtnating)
2.8 การสื่อสาร (Com unicaiion)
2.9 แรงจูงใจ (Motlvtion)
2.10 การประเมินผล(Evaluation)
นักนันทนาการได้ทาการศึกษา เรื่องการจัดและบริหารงานบริการนันทการ ได้สรุปผลของกระการ
การจัดบริหารงานดังนี้
1. นายไมเออร์,นายไบร์บิล และนายเซสซัมว์( Myer ,Baighbilll and Sesscns : ค.ศ. 1969 )ได้จัด
กระบวนการบริหารงานนันทนาการ แบ่งออกเป็น 7 ข้อดังนี้
1. การวางแผนงาน 2. การจัดการ
3. การจัดองค์การ 4. การชี้นาทาง
5. การนิเทศ 6. การดาเนินการ
7.การประเมินผล
2. นายเคราส์และนายเกอร์ติส (Kraus Curtis : ค.ศ. 1973 ) ได้แบ่งออกเป็น 3 หมวดใหญ่เท่านั้น
เช่น
1. การวางแผนงาน (Planning)
2. การจัดองค์การ (Organization)
3. การควบคุม (Control)
3. นายปีเตอร์สันและนายโปเลน (Peterson And Pohlen :ค.ศ. 1973) ได้แบ่งกระบวนการจัด
บริหารนันทนาการเหมือนนายเคราส์และเกอร์ติส แต่เพิ่มหมวดที่ 4 คือแรงจูงใจ (Motivaion)
จากการศึกษาเปรียบเทียบของเรื่องการจัดและบริหารงานทั่วไปและงานบริการทางนันทนาการ
เผยว่า การวางแผนงานเป็นหัวใจสาคัญและขั้นเริ่มต้นของการจัดและบริหารงาน ทั้งนี้เพราะการวางแผน
งานเป็นการค้นหา
(1) ความต้องการและความสนใจของผู้รับบริการ
(2) เป็นการรวบรวมข้อมูล
(3) เป็นการเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
(4) เป็นการสร้างจุดมุ่งหมาย ขอบค่าย และเป่าประสงค์ของงาน
(5) เป็นการพยากรณ์ภาวะในอนาคต
(6) เป็นเครื่องช่วยในการตัดสินใจ
(7) เป็นการสร้างนโยบายและแนวทางในการปฎิบัติ
(8) เป็นการสร้างความเป็นมาตรฐานและการประเมินผลให้ตรงตามวัตถุประสงค์ของแผนงาน
ขอบข่ายของการวางแผนงานปาร์ค
การเตรียมตัวเพื่อวางแผนงานควรจะคานึงถึงขอบข่ายการวางแผนดังนี้
1. การวางแผนด้านเงินลงทุน (Pinancial Planning) ได้แก่ การเตรียมการวางแผน จัดสรร
งบประมาณของปาร์ค รวมทั้งการจัดหาทุน ค่าบริการและค่าบารุง เงินทุนสนับสนุน เงินบริจาคและงาน
อื่นๆ เช่น การจัดเก็บ ค่าบัตรผ่านประตู เงินเดือน ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง
2. การวางแผนด้านกายภาพ (Physical Planning) ซึ่งมีความเกี่ยวโยงในเรื่องการจัดการ พื้นที่ว่าง
อาคารสถานที่ สนามกีฬา สถานอานวยความสะดวกต่างๆ และอุปกรณ์ของนันทนาการ
3. การวางแผนโปรแกรมกิจกรรม (Program Panning) ซึ่งเป็นการเตรียมการเรื่องของกิจกรรม
นันทนาการต่างๆ การจัดเวลาและสถานที่สาหรับบริการ โครงการจัดการแข่งขันกีฬา รวมทั้งโปรแกรมการ
เรียนการสอน การแข่งขัน การแปรบัญญัติ และโปรแกรมอื่นที่เกี่ยวข้อง
4. การวางแผนงานทั่วไป (General Planning) เป็นการผสมผสานการวางแผนเรื่องเงินทุน ด้าน
กายภาพและโปรแกรมเข้าด้วยกันเพื่อจัดการวางแผนแม่บท (Master Planning)
5. การวางแผนด้านบทบาทและหน้าที่ (Function Planning) เป็นเป็นการชี้แนวทางงานเฉพาะกิจ
ประจาวัน รวมทั้งการเผยแพร่และงานบริการ คู่มือการดาเนินงาน คู่มือการฝึกอบรม บุคลากร คู่มือการฝึก
ความปลอดภัยและความมั่นคง ความสัมพันธ์แรงงาน การให้สวัสดิการแก่เจ้าหน้าที่พนักงาน มาตรการ
การควบคุมคุณภาพ และการทางานแต่ละวันเป็นต้น
ขั้นตอนของการจัดปาร์ค: สถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
การจัดปาร์คแบ่งออกเป็น 4 ขั้นดังนี้
1. ขั้นเตรียมก่อนออกแบบ (Predesign) ขั้นนี้เป็นการเตรียมวัตถุประสงค์ เป้ าประสงค์เตรียม
ข้อมูลในเรื่องการให้บริการ สภาวะแวดล้อมโดยทั่วไป กฎระเบียบ ข้อบังคับ โปรแกรมที่จัดบริการการ
จัดเตรียมบุคลากร ทั้งบุคลากรเต็มเวลาและอาสาสมัคร การเตรียมก่อนการออกแบบเรื่องอาคารสถานที่ที่
จะสร้างต่างๆ
2. ขั้นออกแบบ (Design) เป็นขั้นพื้นฐานที่สาคัญของการพัฒนาสวนสาธารณะ ขั้นนี้เป็นการ
กาหนดงบประมาณเงินทุนในการก่อสร้างทั้งหมด รายละเอียดและข้อมูลสาคัญเกี่ยวกับการจัดกิจกรรม
ให้บริการดังนั้นในขั้นนี้คณะอนุกรรมการที่ร่วมวางแผนสร้างปาร์คต้องตระหนักถึงความสาคัญและร่วมมือ
กัน เพื่อให้การออกแบบสมบูรณ์แบบมากที่สุด
3. ขั้นพัฒนาการ (DEVELOPMENT) ในขั้นนี้แบ่งออกเป็น 3 ชั้นย่อย คือ การเตรียมเอกสารก่อนการ
ก่อสร้าง , การทาสัญญาระหว่างการก่อสร้าง และโครงการก่อสร้างหน่วยงานสาธารณะจะต้องจัด นโยบาย
เฉพาะ กฎระเบียบ การดาเนินงานระหว่างการพัฒนาการ
4. ขั้นสุดท้ายหรือขั้นกระทาจริง (ACTUALIZATION) หมายถึงการเตรียมการ ควบคุมอย่างมี
ประสิทธิภาพ รวมทั้งการจัดแผนงานที่จาเป็นอื่นๆ เช่นโปรแกรม การเงิน หน้าที่ การจัดการ ซึ่งเป็นสิ่ง
สาคัญที่ทาให้การบริหารปาร์คให้สัมฤทธิ์ผลตามเป้ าหมายที่มุ่งสร้างเสริมประสบการณ์นันทนาการ
คณะกรรมการวางแผนสร้างปาร์ค
คณะกรรมการวางแผนสร้างปาร์คประกอบด้วยบุคคลหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับงานสร้างเสริม
ประสบการณ์นันทนาการ แบ่งออกเป็น 4 ประเภทคือ
อนุกรรมการฝ่ายผู้รับบริการ (PARTICIPATION) ได้แก่ผู้วางแผน ผู้ทรงคุณวุฒิ ในเรื่องการ
ต้องการของผู้รับบริการ การศึกษาข้อมูลที่ผ่านมา นักสังคมสงเคราะห์
อนุกรรมการฝ่ายกิจกรรม (ACTIVITY) ได้แก่กลุ่มนักกีฬาอาชีพ, กลุ่มกีฬา กลุ่มโค้ช ครูพลศึกษา
นักนันทนาการ นักกีฬาสมัครเล่น นักธรรมชาติวิทยา ฯลฯ
อนุกรรมการฝ่ายอาคารสถานที่ (FACILITY) ได้แก่ นักออกแบบ สถาปนิก ด้านการจัดสวนหย่อม
สถาปนิกและวิศวะกร รวมทั้งนักธรรมชาติวิทยา ผู้เชี่ยวชาญป่าไม้ ผู้เชี่ยวชาญพันธุ์ไม้ นักธรณีวิทยา
ผู้เชี่ยวชาญสัตว์ป่า นักประวัติศาสตร์ และนักโบราณคดี เป็นต้น
อนุกรรมการฝ่ายสนับสนุน (SUPRORT GROVT) ได้แก่ ผู้ดูแลรักษาสถานที่และอุปกรณ์ การ
ดาเนินการ, การจัดโปรแกรม, ฝ่ายรักษาความปลอดภัย, ฝ่าบริการเครื่องดื่ม
คณะอนุกรรมการดังกล่าวจะดาเนินการไปได้ด้วยดีจะต้องได้รับการประสานงานในกลุ่ม และระหว่างกง
กลุ่มจากผู้นาเป็นอย่างดี และรวบรวมข้อมูลทั้งหมดเพื่อควบคุมกระบวนการทั้งหมดให้บรรลุตาม
เป้ าประสงค์ที่ตั้งไว้
นโยบายการจัดการปาร์ค (อุทยานแห่งชาติ)
หลักการจัดปาร์คของโอล์มสเตด
ประเภทของปาร์ค
นโยบายในการจัดปาร์ค (อุทยานแห่งชาติ)
เพื่อให้การจัดปาร์คขนาดใหญ่เป็นไปได้ด้วยดี มีประสิทธิภาพ เป็นแหล่งนันทนาการของประชาชน
ทางอุทยานแห่งชาติของสหรัฐอเมริกาได้ออกนโยบายการจัดการบริหารปาร์คอุทยานแห่งชาติดังนี้
อุทยานแห่งชาติจะต้องได้รับการดูแลรักษาเพื่ออนุชน และประชาชนได้มีโอกาสใช้เพื่อการศึกษา
สังเกต เพื่อพักผ่อนหย่อนใจ เพื่อส่งเสริมสุขภาพกายและจิตใจ เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตในช่วงเวลาว่างให้
เกิดประโยชน์ตามความสนใจของประชาชน
ห้ามนาสัตว์เลี้ยงเข้ามาในบริเวณอุทยานแห่งชาติ
การสร้างถนนหนทาง ควรกระทาให้มีการกลมกลืนกับธรรมชาติ
เขตอุทยานแห่งชาติจะไม่มีการจับจองหรือทาธุรกิจเพื่อส่วนตัว
กิจกรรมนันทนาการนอกเมือง กีฬาประเภทนันทนาการนอกเมืองเช่น การเดินป่า ตกปลา ฆ่าสัตว์
ควรได้รับการส่งเสริมอย่างมีกฎเกณฑ์
การเก็บค่าตั้งค่ายพักแรม ควรจัดให้มีราคาที่ต่าที่สุด ควรจัดให้มีสถานที่บริเวณที่ตั้งค่าย (CAMP
SITE) หลายประเภทเช่น สถานที่ตั้งค่ายพักแรม เต๊น สถานที่จอดรถเทส์ลเลอร์ เคบิ้น และโรงแรชั้นดีใน
อุทยานแห่งชาติ
ห้ามไม่ให้บุกรุกทาลายป่า
การจัดโซนที่พักอาศัย จัดบริการอาหาร ควรอยู่ในที่จากัด เพื่อเป็นรายได้เข้ารัฐ
ให้มีการเก็บค่านารถยนต์เข้าอุทยาน
ควรมีเอกสาร และข้อมูลแนะนาอุทยานแห่งชาติ พร้อมแนบที่แสดงบริเวณสาคัญในอุทยาน
ควรมีการประชาสัมพันธ์ต่อหน่วยงานของรัฐและเอกชน ในเรื่องการบริการต่างๆ
หลักการจัดปาร์คของโอล์มสเตด
นายเฟรดเดอริก โอล์มสเตค นักวางผังเมืองที่มีชื่อเสียงของโลก ได้สร้างสวนสาธารณะ ในเมืองที่มี
ชื่อเสียงได้แก่ เซ็นทรัล ปาร์ค (CENTRAL PARK) ในมหานครนิวยอร์ค และสวนสาธารณะไว้ดังนี้
การสร้างปาร์คควรสงวนรักษา ทิวทัศน์และทรัพยากรธรรมชาติให้มากที่สุด และควรจะเน้น
ธรรมชาติที่มีลักษณะเด่นพิเศษอีกด้วย
พยายามหลีกเลี่ยง การออกแบบการสร้างอาคาร และตึกในปาร์คให้มากที่สุด หรือถ้าจาเป็นควร
สร้างให้กลมกลืนกับธรรมชาติให้มากที่สุด
พยายามรักษาทุ่งหญ้าในบริเวณส่วนกลางของปาร์ค
พยายามสงวนรักษาต้นไม้ธรรมชาติ ในส่วนบริเวณโซนที่เชื่อมต่อกับโซนต่างๆ
ควรจะสร้างถนน ทางเดิน ที่เป็นส่วนโค้ง เพื่อให้เห็นทัศนียภาพของปาร์ค
ควรจัดให้ถนนหลัก (MAIN STREET) ตัดผ่านจุดสาคัญ หรือโซนต่างๆของปาร์ค
ประเภทของปาร์ค
ปาร์คที่ได้จัดขึ้นเพื่อเป็นแหล่งนันทนาการสาหรับประชาชน ส่วนใหญ่เป็นปาร์คที่ได้มีการพัฒนา
หรือจัดเป็นระบบ บางครั้งเรียกว่า ปาร์คที่ปรับปรุงแล้ว (PROVED LAND) ซึ่งพอจะแบ่งออกได้ ดังนี้
อุทยานแห่งชาติ (NATICNAL PARK) เป็นปาร์คที่มีการจัดการอย่างเต็มระบบ มีบริเวณพื้นที่
ใหญ่ที่สุดมากกว่าปาร์คอื่นๆ กล่าวคือ จะต้องมีพื้นที่ใหญ่กว่า 10 ตารางกิโลเมตร หรือ 62,500 ไร่ โดยมี
วัตถุประสงค์เพื่อให้ชีวิตสัตว์ป่า และต้นไม้ ได้ดาเนินชีวิต ครบวงจร (วัฏจักร์) ได้ด้วยตนเอง ไม่อาศัยมนุษย์
ให้ความช่วยเหลือ ในปี 2531 กองอุทยานแห่งชาติได้ประกาศอุทยานแห่งชาติ ทั้งหมด 56 แห่ง และได้
ตั้งเป้ าหมายจัดตั้งอุทยานแห่งชาติจานวน 110 แห่งในปี 2534
วนอุทยาแห่งชาติ (NATIONNAL PARK หรือ FOREST) เป็นปาร์คที่ใหญ่รองลงมาจากอุทยาน
แห่งชาติ มีป่าเขา วิวทิวทัศน์ สวยงาม และมีธรรมชาติเด่น เช่น ต้นน้า ลาธาร น้าตก หาดทราย ถ้า หินงอก
หินย้อย เป็นต้น ซึ่งเหมาะแก่การนันทนาการของประชาชน วนอุทยานแห่งชาติได้มีการจัดบริการที่พัก สิ่ง
อานวยความสะดวก และสาธารณูปโภคด้วย ปัจจุบัน ประเทศไทยมีวนอุทยานแห่งชาติประมาณ 50 แห่ง
อยู่ในความดูแลของกองอุทยานแห่งชาติ ป่าไม้เขต และป่าไม้จังหวัด
สวนพฤกษาศาสตร์ (BOTANIC GARDEN) เป็นการจัดปาร์ค หรือสวนรวมพันธุ์ไม้ นานาชนิดทั้ง
ในและนอกประเทศที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ และเพื่อนันทนาการ นามาจัดเป็นหมวดหมู่ และสกุล เพื่อ
ประโยชน์ทางการศึกษา ขยายพันธุ์ และเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ในปัจจุบัน ประเทศไทยมีจานวน 5
แห่ง ได้แก่
สวนพฤษาศาสตร์ พุแค จ.สระบุรี
สวนพฤกษาศาสตร์เขาช่อง จ.ตรัง
สวนพฤกษาศาสตร์พุทธมณฑล จ.นครปฐม
สวนพฤกษาศาสตร์เขาหินซ้อน จ.ฉะเชิงเทรา
สวนพฤกษาศาสตร์แม่สา จ.เชียงใหม่
4.สวนรุกขชาติ (ARBORETUM GARDEN) เป็นปาร์คหรือสวนที่จัดขึ้นเช่นเดียวกับสวนพฤกษาศาสตร์ คือ
รวบรวมพันธุ์ไม้นานาชาติ เพื่อประโยชน์ศึกษาวิจัย และพักผ่อนหย่อนใจ การจัดสวนรุกขชาติเน้นพันธุ์ไม้
ยืนต้น ไม่ได้มีการจัดหมวดหมู่ ปัจจุบันประเทศไทย มีสวนรุกขชาติ จานวน 30 แห่ง ที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 50 ไร่
จนถึง 1875 ไร่
5. สวนสมเด็จศรีนครินทร์ (EDUCATIONAL ZONE DISTRICT PARK)
เป็นการจัดปาร์ค เพื่อส่งเสริมการสงวนรักษาทรัพยากรธรรมชาติที่สวยงาม และสิ่งประทับใจธรรมชาติที่
สวยงาม และสิ่งประทับใจตามธรรมชาติเพื่อให้ประชาชนได้มีโอกาสพักผ่อนหย่อนใจในส่วนภูมิภาค
สวนสาธารณะ “สวนสมเด็จย่า” จัดขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระศรีนครินทร์ บรมราชินี เนื่องใน
โอกาสครบ 80 พระชันษา ปี 2523 ซึ่งอยู่ในความดูแลของกองการศึกษานอกโรงเรียน กระทรวงศึกษาธิการ
ปัจจุบันสวนสมเด็จฯ ตั้งอยู่ในบริเวณ 12 เขตการศึกษา ของประเทศไทย ได้แก่
สวนสมเด็จฯ จ.นนทบุรี (เขตการศึกษา 1)
สวนสมเด็จฯ จ.ปัตตานี (เขตการศึกษา 2)
สวนสมเด็จฯ จ. ชุมพร (เขตการศึกษา 3)
สวนสมเด็จฯ จ.พังงา (เขตการศึกษา 4)
สวนสมเด็จฯ จ.ประจวบคีรีขันธ์ (เขตการศึกษา 5)
สวนสมเด็จฯ จ.พระนครศรีอยุธยา (เขตการศึกษา 6)
สวนสมเด็จฯ จ.พิจิตร (เขตการศึกษา 7)
สวนสมเด็จฯ จ.น่าน (เขตการศึกษา 8)
สวนสมเด็จฯ จ.สกลนคร (เขตการศึกษา 9)
สวนสมเด็จฯ จ.ศรีสะเกษ (เขตการศึกษา 10)
สวนสมเด็จฯ จ.ฉะเชิงเทรา (เขตการศึกษา 11)
สวนสาธารณะในเมือง (MUNICIFAL PARK) เป็นปาร์คที่จัดขึ้นในชุมชนเมือง ในเขต
กรุงเทพมหานคร เพื่อตอบสนองความต้องการผ่อนคลายความตึงเครียดของเมืองหลวง และเพื่อเป็นปอด
ของเมืองด้วย สวนสาธารณะในเมืองมีความสาคัญอย่างยิ่งแก่ประชาชนใน กทม. ในด้านสุขภาพกาย
สุขภาพจิต การพักผ่อนหย่อนใจ ความงดงามของพันธุ์ไม้ และพืชต่างๆ ถือว่าเป็นแหล่งนันทนาการของ
เมืองหลวงที่สาคัญแหล่งหนึ่ง ปัจจุบันสวนสาธารณะของกรุงเทพมหานคร มีอยู่ด้วยกัน 7 แห่ง มีขนาด
พื้นที่ตั้งแต่ 23 ไร่ (สวนสราญรมย์) จนถึงพื้นที่ 500 ไร่ (สวนหลวง ร.9) ซึ่งกระจายไปทั่วบริเวณ กทม. ได้แก่
สวนลุมพินี 2. สวนสราญรมย์
3. สวนจตุจักร 4. สวนธนบุรีรมย์
5. สวนน้าบึงกุ่ม 6. สวนหลวง ร.9
7. สนามหลวง8. สวนพระนคร
7. สวนเพื่อนบ้าน (NEIGHBORHCOD PARK) เป็นการจัดปาร์คเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนได้มีโอกาสได้
พักผ่อนหย่อนใจ สร้างบรรยากาศความคคุ้นเคยของชุมชนในเขตที่อยู่อาศัย เช่นหมู่บ้าน และศูนย์ชุมชน
ต่างๆ สวนเพื่อนบ้าน ส่วนใหญ่ดาเนินการโดย เอกชน รัฐวิสาหกิจ
8. สนามเด็กเล่น (PLAYGROUND หรือ PLAYLOTS AREA) เป็นปาร์คที่จัดทาขึ้นเพื่อเน้นในเรื่องการ
สร้างอุปกรณ์การเล่น เพื่อส่งเสริมการเล่นพัฒนายุวชน และเยาวชน ในด้านร่างกาย พัฒนากล้ามเนื้อ และ
ส่งเสริมด้านนันทนาการ การใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ สถานที่พักผ่อนหย่อนใจ เรามักจะพบว่าสนาม
เด็กเล่นจัดโดย โรงเรียน สวนสาธารณะ และพื้นที่ศูนย์กลางชุมชนต่างๆ ซึ่งมีพื้นที่ ขนาดเล็ก
9. สวนหย่อม (MINI = PARK หรือ GREEN AREA) เป็นการจัดปาร์คขนาดย่อม หรือเล็กที่สุด เพื่อสร้าง
บรรยากาศ ทัศนียภาพของต้นไม้ ไม้ประดับ เพื่อการพักผ่อนสายตาของประชาชน และเพื่อความสวยงาม
สถานที่ ๆ จัดสวนหย่อม มีตั้งแต่ บริเวณเกาะกลางถนน มุมถนน วงเวียน สี่แยก ตลอดจนในบริเวณย่าน
ศูนย์กลางค้าพาณิชย์ต่างๆ หรือแม้กระทั่งรอบบริเวณบ้าน
10. สวนปาร์คลักษณะพิเศษ สวนปาร์คลักษณะพิเศษ เป็นการจัดปาร์คขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะอย่าง
เพื่อเป็นแหล่งนันทนาการเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ ส่งเสริมประสบการณ์แห่งชีวิต เพื่อคุณภาพชีวิต ซึ่งสวน
ปาร์คลักษณะพิเศษนี้มีหลายประเภท ได้แก่
10.1 อุทยานสัตว์ป่า มุ่งเน้นเรื่องการศึกษา วิจัยพันธุ์สัตว์ป่า เพื่อนันทนาการ อยู่ในความดูแลของกรมป่า
ไม้ ปัจจุบันมี 2 แห่ง คือ อุทยานสัตว์ป่า จ. ลาปาง จ. กาฬสินธุ์ และอุทยานสัตว์ป่า เขาพระแทว จ.ภูเก็ต
10.2 ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ เป็นปาร์คที่สงวนศึกษาพันธุ์สัตว์ป่า และป่าไม้ ซึ่งมีอยู่ 7 แห่งใน
ประเทศไทย
10.3 สวนสนุก (AMUSEMENT PARK) เป็นการจัดปาร์คที่มุ่งเน้นในเรื่องของอุปการณ์การเล่นเพื่อความ
สนุกสนาน เพลิดเพลินทั้งเยาวชนและประชาชน ซึ่งธุรกิจการค้าจัดขึ้นในเมือง และในส่วนหนึ่งของ
ศูนย์การค้า เพื่อการบริการนันทนาการสาหรับครอบครัว
10.4 สวนสัตว์ (AMUSEMENT PARK) เป็นการจัดปาร์คที่นาสัตว์ป่า และสัตว์ที่หาได้ยาก เพื่อให้ชุมชนได้
ศึกษาและพักผ่อนหย่อนใจ
บทสรุป
ปาร์คเป็นแหล่งนันทนาการหรือศูนย์บริการนันทนาการที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อการสร้างเสริม
ประสบการณ์นันทนาการสาหรับบุคคลและชุมชน หน่วยงานรับผิดชอบได้แก่ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ
และเอกชน
ปาร์คเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ เกิดมาตั้งแต่สมัยโบราณตามหลักฐานการบันทึก
อารยะธรรมของประเทศต่างๆ
สวนสาธารณะแห่งแรกเป็นอุทยานล่าสัตว์ของกษัทตริย์เพื่อใช้ในการล่าสัตว์และเลี้ยงสัตว์
ที่จับมาได้สวนสาธารณะที่สร้างขึ้นในคฤหาสน์ของขุนนางและคหบดี มีวัฒถุประสงค์เพื่อใช้จัดงานฉลอง
เทศกาลพิเศษต่างๆ และใช้ต้อนรับแขก ปาร์คสาหรับประชาชนเรียกว่า ตลาดนัด ปาร์คแห่งแรกของ
สหรัฐอเมริกาเกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1640 ณ เมืองบอสตัน
ปาร์คที่เป็นแม่บทการจัดปาร์คที่สมบูรณ์แบบในเมืองชื่อ เซ็นทรัล ปาร์ค ซึ่งสร้างโดย นาย
โอล์มสเตด และนายเว็ค
การวางแผนสร้างปาร์คมี 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนการออกแบบ ขั้นออกแบบ ขั้น
พัฒนาการ และขั้นการกระทา ซึ่งในแต่ละขั้นต้องการความร่วมมือ สร้างสรรค์จากกลุ่มผู้ประกอบอาชีพ
ต่างๆ บุคลากรที่สนับสนุนและกลุ่มประชาชนที่ใช้บริการ เพื่อก่อให้เกิดความสัมฤทธิ์ผลในการเสริมสร้าง
ประสบการณ์นันทนาการ
หนังสืออ้างอิง
สมบัติ กาญจนกิจ (2518). สันทนาการชั้นนา เอกสารประกอบการสอน คณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย
(หน้า 225 – 236)
สานักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อม (2529). แนวทางการอนุรักษ์ธรรมชาติ. กทม. :
รุ่งศิลป์ การพิมพ์.
Krus, R.G - Curtis, J.E (1973) Creatives administration in Recreation and Parks.
ST Louic : C.V. Mosby (pp. 17-18).
Myer,Brightbill and aooaone (1962). Community Eacration. (4 th ed.)
Englewood cliffe , N.J. : Prantice-Hall
Petgrsor, J.A. - Polam, M.B (1973) Manament minivipal loieure Service
Washington D.C (p.45)
Doell, Charles E. (1966). Element of Park and Recreation Zdministretion,
Boston : Burgoes Publishing.
Feir Albert. (1972). Fredarick Law Delmted (1822 - 1903) and The Amarican
Environlontal Treedition. Philaarlybia : Penn. Statn Univercity Prase.
บทความสร้างเสริมความเข้าใจในเรื่องของปาร์ค
ทาไมต้องมีสวนสาธารณะ (CITY PARKS) และที่พักผ่อนในเมือง (VRBAN RECRATION AREAS)
โดย พิชา พิทยขจรวุฒิ
นักวิชาการกรมป่าไม้
........................ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
บทนา (INTRODUCTION)
เนื่องจากความต้องการที่จะพักผ่อนภายหลังเวลาทางานได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากในประเทศ
ไทยทั้งๆ ที่การขยายตัวทางอุตสาหกรรมได้เปลี่ยนแปลงไปมากมาย หรือมิได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างเห็นได้
ชัดภายในเวลาอันรวดเร็วเหมือนประเทศทางแถบตะวันตกที่เจริญแล้วทั้งหลาย การเปลี่ยนแปลงที่สาคัญ
ของคนไทยก็คือ การเข้าไปอยู่รวมกันอย่างแออัด ในเขตที่เจริญแล้ว โดยมีการคมนาคมที่สะดวกเป็นสิ่ง
ช่วยเสริมให้ความแออัดที่เจริญนั้นมีมากขึ้น และทาให้คนขาดความสนใจที่จะอยู่ในที่ห่างไกลความเจริญ
เพราะเหตุที่คนไทยมุ่งความสนใจไปที่การทามาหากินเพื่อการยังชีพ ประกอบกับความอัตคัดขาดแคลนใน
ที่ชุมชนแออัด คนไทยส่วนใหญ่จึงไม่ค่อยสนใจมาก คนไทยโดยส่วนใหญ่จึงไม่ค่อยสนใจต่อการพักผ่อนใน
ที่ซึ่งจัดไว้เป็นสวนสารธารณะ คนที่อยู่ในเขตที่ที่เจริญแล้วอาจจะมีความสนใจมาก เแต่ขาดเวลาที่จะเอาใจ
ใส่หรือช่วยส่งเสริม ส่วนใหญ่คนที่อยู่ในเขตที่ห่างไกลความเจริญก็พุ่งความสนใจส่วนใหญ่ไปที่การยก
มาตรฐานการครองชีพซึ่งกระทาได้ยากในเขตชนบท ความสนใจต่อการพักผ่อนจึงมีน้อย ทั้งๆที่มีทรัพยากร
เกี่ยวกับการพักผ่อนมากมายในเขตชนบท เมื่อเวลาล่วงไป คนในเขตที่เจริญแล้ว เช่นในเมืองที่แออัดอย่าง
กรุงเทพฯ ก็จะมองเห็นความสาคัญของการพักผ่อนในที่ซึ่งจัดไว้ให้เป็นสวนสาธารณะ เพราะเริ่มเข้าใจว่า
การหาเลี้ยงชีพอย่างเดียวไม่ใช่การยกมาตรฐานการครองชีพหากต้องมีสิ่งอื่นๆ อีกที่ช่วยทาให้ชีวิตมีคุณค่า
และมีความหมายมากยิ่งขึ้น คนกลุ่มนี้จะเริ่มเข้าใจถึงการพักผ่อนได้ก่อนชนกลุ่มอื่นๆได้แก่ คนที่มีฐานะดี
ร่ารวย หรือสามารถหาเวลาว่างจากการทางานได้มาก ทาให้มีเวลาเป็นของตนเองได้มากด้วยเหตุนี้จึงทา
ให้ทัศนคติของคนไทยส่วนใหญ่ที่มีต่อการพักผ่อนเป็นไปในทางที่ไม่ดี กล่าวคือ มองเห็นว่าการพักผ่อนเป็น
เรื่องฟุ่มเฟือย หรูหรา เป็นเรื่องของคนร่ารวยเค้าทากัน และไม่มีความจาเป็นต่อชีวิต เป็นเรื่องตลกสาหรับ
คนไม่มีเหตุผล บางครั้งถึงกับมีอคติ (PREJUDICES) ที่มองถึงการพักผ่อนไปในแง่ร้าย ทาให้ไม่มีการ
ส่งเสริมการพักผ่อนอย่างจริงจัง ผลที่ตามมาก็คือ ความเสื่อมโทรมของสถานที่ท่องเที่ยวและสวนสาธารณะ
ที่มีอยู่เป็นจานวนน้อยอยู่แล้ว เช่น สวนลุมพินี สวนสัตว์ดุสิต เป็นต้น ทาให้เกิดความไม่ปลอดภัยแก่คนที่
ต้องการพักผ่อนจริงๆ อย่างไรก็ดี ทัศนคติหรืออคติในแง่ร้ายที่ยังมีอยู่ในเวลานี้จะค่อยๆ ถูกลบให้หายไปได้
และการพักผ่อนจะเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ดีขึ้นว่า เป็นการดารงชีวิตอย่างหนึ่งที่จะช่วยให้ความเป็นอยู่ของคนดี
ขึ้นทั้งทางร่างกายและจิตใจ โดยปกติสวนสาธารณะหรือสถานที่พักผ่อนในเมืองมักจะสร้างขึ้นในที่ ที่ไม่มี
ใครต้องการหรือ ในที่ที่ไม่มีความสาคัญทางเศรษฐกิจแล้ว โดยเหตุที่เห็นว่าความจาเป็นทางด้านอื่นมี
มากกว่าการใช้เป็นที่พักผ่อน บุคคลที่อานาจพิจารณาจัดสรรที่ดินเพื่อประโยชน์สุขของชุมชนมักจะจัดสรร
ที่ดินเพื่อการอย่างอื่นๆ และคิดว่าการพักผ่อนเป็นเพียงผลพลอยได้ (BY PRODUCT) ของกิจการที่ได้ใช้
ที่ดิน มิได้มีการจัดสรรที่ดินไว้เพื่อใช้เป็นสวนสาธารณะหรือที่พักผ่อนโดยตรง เพราะบุคคลดังกล่าวมิได้
มองเห็นว่า สวนสาธารณะหรือที่พักผ่อนเป็นเรื่องที่มีความจาเป็น การขยายตัวของเมืองใหญ่ทาให้มีการ
แข่งขันแย่งกันใช้ที่กินโดยเหลือที่ดินไว้เพียงเล็กน้อยหรือไม่เหลือเลยไว้ให้สร้างสวนสาธารณะ หรือที่
พักผ่อน และโดยเหตุที่สวนสาธารณะหรือสถานที่พักผ่อนจาเป็นต้องประกอบด้วยทรัพยากรธรรมชาติ เช่น
ต้นไม้ ป่า เขา แม่น้า อยู่ในเขตที่จะจัดให้เป็นสถานที่ดังกล่าว เพื่อให้มีองค์ประกอบหลายๆ ชนิดที่
เหมาะสมต่อการพักผ่อนและทาให้การพักผ่อนมีคุณค่า การจัดสร้างสวนสาธารณะหรือที่พักผ่อน มิใช่
จัดสร้างขึ้นเพียงแต่พิจารณาว่าชุมชนอยู่ที่ไหน แต่ต้องพิจารณาด้วยว่ามีทรัพยากรธรรมชาติอยู่เพียงพอ
หรือไม่ด้วย การสร้างสวนสาธารณะ หรือที่พักผ่อนจึงกระทาได้ยากมากหรือเกือบไม่ได้เลย เมื่อสถานที่ที่มี
ทรัพยากรธรรมชาติที่เหมาะสมไม่เพียงพอ และลดจานวนลงเรื่อยๆ
อย่างไรก็ดี ความต้องการที่จะพักผ่อนจะมีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ และจะเป็นตัวการที่บังคับให้มีการ
สร้างสวนสาธารณะและสถานที่พักผ่อนในที่สุด ปัจจัยที่ทาให้ความต้องการที่จะพักผ่อนมีมากขึ้น ได้แก่
1. การเพิ่มขึ้นของพลเมือง2. การเพิ่มขึ้นของรายได้
3. เวลาว่างมีมากขึ้น4. ความสะดวกรวดเร็วในการคมนาคม และที่สาคัญคือ
5. การเปลี่ยนแปลงทัศนคติและความสนใจต่อการพักผ่อน โดยเน้นหนักถึงการบริหารร่างกายให้
สมบูรณ์อยู่เสมอ ทาให้สภาพจิตใจและสุขภาพดี
ปัจจัยเหล่านี้จานวนประชากรถือว่ามีความสาคัญที่สุดที่จะทาให้ความต้องการสวนสาธารณะเพื่อ
พักผ่อนมีมากขึ้น อย่างไรก็ดีปัจจัยเหล่านี้ไม่สามารถแยกออกจากกันได้ และมีผลกระทบถึงกันอยู่เสมอ
เช่น รายได้ลดลงในขณะที่พลเมืองเพิ่มมากขึ้น อาจจะทาให้ความต้องการการพักผ่อนไม่เปลี่ยนแปลงก็ได้
เป็นต้น ปัจจัยที่สาคัญยิ่งอันหนึ่งซึ่งเป็นเรื่องของทัศนคติที่มีต่อการพักผ่อน ก็เป็นตัวการที่ทาให้ความ
ต้องการพักผ่อนเพิ่มขึ้นได้ เมื่อคนส่วนใหญ่เริ่มเข้าใจถึงความสาคัญของการพักผ่อน และคิดว่าการพักผ่อน
ในสวนสาธารณะหรือที่พักผ่อนที่จัดไว้อย่างดีนั้นเป็นรางวัลที่ธรรมชาติมอบให้หลังจากที่ได้ทางานหนักมา
ตลอดปี ตลอดเดือน หรือ ตลอดสัปดาห์ แล้ว การพักผ่อนโดยมีทัศนคติที่ดีดังกล่าวนี้จะช่วยทาให้มองเห็น
ความสาคัญของธรรมชาติ เกิดความสนใจและระมัดระวังที่จะรักษาทรัพยากรธรรมชาติให้คงอยู่ได้เป็น
เวลานาน
ความต้องการพักผ่อนซึ่งมีเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยปัจจัยต่าง ๆ เป็นตัวการที่ทางานร่วมกันนี้มี
แนวโน้มที่ทาให้เชื่อได้ว่า จะไม่มีวันลดลงในอนาคต และเมื่อปัจจัยดังกล่าวทางานร่วมกันจนกระทั่งความ
ต้องการพักผ่อนเพิ่มขึ้น แล้วปัจจัยเหล่านี้ก็เป็นตัวการที่ทาให้การจัดสร้างสาธารณะ และที่พักผ่อนเป็นไป
ได้ยากขึ้นในขณะเดียวกัน ยกตัวอย่างเช่น เมื่อประชาชนเพิ่มมากขึ้น ก็มีความต้องการพื้นที่สาหรับ
สวนสาธารณะมากขึ้น ในขณะเดียวกัน พื้นที่ที่สามารถสร้างเป็นสวนสาธารณะมีจากัดและลดลงไปมาก
เพราะการขยายตัวของเมือง การจัดสร้างสวนสาธารณะจึงลาบากมากขึ้น เป็นต้น หรือแม้ว่ามีรายได้มาก
ขึ้นก็ต้องการการพักผ่อนที่แตกต่างกันออกไป ทาให้การจัดสร้างสวนสาธารณะสนองความต้องการของ
กลุ่มคนต่างๆ ทาได้ไม่ครบสมบูรณ์ เป็นต้น
ความจาเป็นที่จะต้องมีที่ดินเพื่อสร้างเป็นสวนสาธารณะหรือที่พักผ่อนจึงเป็นที่รับรองกัน แต่
อย่างไรก็ดีเมื่อที่ดินถูกนาไปใช้สาหรับสร้างสิ่งอื่นเพื่อการขยายตัวเมือง(Urbanization)เสียแล้ว การสร้าง
สวนสาธารณะก็จะยิ่งยากขึ้นหรือเป็นไปไม่ได้เลย เพราะที่ดินที่สร้างอื่นแล้ว ยากที่จะจัดให้เป็นที่ว่าง
(Open Space) ได้อีกโดยเฉพาะในเมืองใหญ่ ๆ โอกาสที่จะสร้างเมืองโดยให้มีสวนสาธารณะและที่พักผ่อน
ให้มีสัดส่วนเหมาะสมกันจึงนับวันแต่จะน้อยลง และจะไม่สามารถทาได้เมื่อปล่อยให้ล้วงเลยไปเป็น
เวลานาน ๆ โดยไม่มีการวางแผนการไว้เสียก่อน
ความสาคัญของสวนสาธารณะและที่พักผ่อนในเมือง
สวนสาธารณะและที่พักผ่อนในเมืองอานวยประโยชน์แก่คนหลายประเภท คือ
1. เป็นสถานที่ให้คนใช้สร้างความสมบูรณ์ให้แก่ตนทั้งทางร่างกาย(สุขภาพ)และจิตใจ(สุขภาพจิต)
2. เป็นสถานที่ป้ องกันการบุกรุกทาลายธรรมชาติและในขณะเดียวกันเป็นสถานที่ส่งเสริมให้มี
ธรรมชาติที่สมดุลกันเอง
3. เป็นสถานที่กระตุ้นให้มีการศึกษาที่ดีขึ้น รวมทั้งช่วยส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจในทางที่
ถูกต้องเพื่อที่จะให้มีสุขภาพดีรายกายของคนเราจะต้องได้รับอากาศบริสุทธิ์(FreshAir)แสงแดด
(Sunlight)การออกกาลังกาย(Physical Exercise)และการผ่อนคลายความเครียดทางด้านจิตใจ
(Psychological Release) ความต้องการนี้มีทั้งในเด็กและผู้ใหญ่อย่างไรก็ดีเป็นที่หน้า สังเกตว่าเมื่อ
มาตรฐานการครองชีพสูงขึ้นสิ่งจาเป็นสาหรับคนทั้ง 4 ประการนี้กลับหาได้ยากขึ้น คนที่ทางานอยู่ในตึก
ใหญ่ ๆ ไม่ค่อยได้สัมผัสแสงแดดและอากาศบริสุทธิ์ พนักงานห้างร้านบริษัทไม่ค่อยได้ออกกาลังกายเมื่อลา
หยุดงานกลับต้องไปนั่งดูโทรทัศน์ที่บ้าน ใช้รถยนต์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการดารงชีวิตที่ไม่จาเป็นต้อง
ใช้กาลังกายเสียเป็นส่วนใหญ่ สังคมที่มีการแบ่งแยกงานสลับซับซ้อนทาให้ต้องระมัดระวังกิริยาและวาจา
ทาให้เกิดความยุ่งยากสับสนและเกิดอารมณ์เครียด(Emotions)ได้ง่าย ปัญหาสังคมที่พบอยู่ในปัจจุบันเป็น
เพราะคนทั่วไปรู้สึกว่าคล้าย ๆ อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นเครื่องจักรกลหุ่นยนต์ปราศจากชีวิตจิตใจ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเมืองใหญ่ ๆ ในสังคมที่เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว เป็นการยากลาบากมากที่จะได้
พบปะสังสรรค์อย่างเป็นกันเอง(Close Social Contacte)ขาดความรู้สึกมั่นคงปลอดภัย และรู้สึกว่าไม่เป็น
ตัวของตัวเอง(Lack of Sense of Belonoing)ไม่เป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่ตนอาศัยอยู่ การจัดให้มีโอกาส
พักผ่อนในสวนสาธารณะจึงเป็นหนทางเดียวที่จะทาให้คนพบปะกัน ทาความคุ้นเคยกันกับเพื่อนบ้านของ
เรา และทาให้คนได้พบปะกัน ทาความคุ้นเคยกันกับเพื่อนบ้านของเรา และทาให้เกิดความรู้สึกเป็นเพื่อน
กันมากกว่าเป็ นชิ้นส่วนของเครื่องจักรอันหนึ่งในสังคมเท่านั้น นอกจากนี้หน้าที่อันสาคัญของ
สวนสาธารณะยังใช้เป็นที่สนองความต้องการของคนที่จะใช้ใกล้ชิดธรรมชาติ(Near Nature)ทั้งคนที่มีเวลา
ว่างมาก เด็ก และโดยเฉพาะอย่างยิ่งคนชราอีกด้วย สาหรับเด็กนั้นเพื่อให้เกิดความคิดที่ดีต่อธรรมชาติและ
รู้จักสร้างสมดุลธรรมชาติเมื่อเติบโตขึ้นสวนสาธารณะและที่พักผ่อนเป็นที่สร้างความแตกต่างไปจากใน
เมือง ไม่แออัดยัดเยียด ไม่จอแจ มีสิ่งต่างๆ มาก(Reduce Monotone)แปลกๆ แตกต่างกัน ทาให้ลดความ
เคร่งเครียดในการได้เห็น(Visual Relisf)และพักผ่อนจิตใจ(MentelRelazation)ในระยะยาว สวนสาธารณะ
เป็นที่ซึ่งมีอิทธิพลต่อการสร้างและรูปแบบของสิ่งก่อสร้างในเมืองได้ด้วย
นอกจากจะสนองความต้องการของคนทั้งทางรางกายและจิตใจแล้ว สวนสาธารณะยังช่วยป้ องกัน
ทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นประโยชน์ต่อคนมิให้สูญไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติเหล่านี้ได้แก่ อากาศ น้า ดิน
และสัตว์ป่า ความต้องการที่ว่างสาหรับสร้างสวนสาธารณะในเมืองใหญ่ทาให้เกิดผลดีแก่คน ยกตัวอย่าง
เช่นเมื่อมีที่ว่างสาหรับปลูกต้นไม้มากๆ เมื่อมีการปลูกต้นไม้แล้วจะทาหน้าที่ที่สาคัญยิ่งขึ้นไปกว่านั้นอีก คือ
กลายเป็นแหล่งที่รักษาน้าให้มีอยู่ตลอดฤดูแล้ง(Watershed Area)นอกจากนี้ความพยายามสร้างแหล่งลุ่ม
น้า(Watershed Area)ยังให้ประโยชน์มากมายแก่มนุษย์ เมื่อประโยชน์จากต้นไม้มีมากขึ้น เพราะต้นไม้ใน
แหล่งน้าถูกปลูกให้มากขึ้น ดินไม่ถูกกัดเซาะพังทลาย ลดปัญหาน้าท่วม และปัญหาดินถูกพัดพาไปกับน้า
(Siltation)แหล่งลุ่มน้า(Watershed Area)ทาหน้าที่ป้ องกันไม่ให้เกิดน้าเสีย(Water Poiuti)เช่นเดียวกับ
สังคม ต้นไม้ใหญ่ที่ทาหน้าที่ป้ องกันไม่ให้อากาศเสีย(Air Pollution)น้าประปาที่ใช้อยู่ในเมืองใหญ่ก็ได้มา
จากสวนสาธารณะที่กลายเป็นแหล่งลุ่มน้านี้การอนุรักษ์และป้ องกันชีวิตสัตว์ป่าเป็นเรื่องสาคัญอีกอย่าง
หนึ่งที่สวนสาธารณะอานวยให้ สวนสาธารณะไม่เพียงแต่ช่วยป้ องกันสัตว์ป่าเท่านั้นหากยังช่วยให้คนได้
สังเกตและใกล้ชิดกับธรรมชาติ รู้ซึ่งถึงความสวยงามความลึกลับ และความจาเป็นที่จะต้องรักษาธรรมชาติ
ไว้ไม่ว่าจะเป็นในสิ่งที่ห่างไกล หรือที่ใกล้เมืองใหญ่ๆ
สิ่งต่างๆ ที่สร้างไว้ในสวนสาธารณะมีผลดีต่อเศรษฐกิจในเมืองใหญ่ เช่น บริเวณธรรมชาติ
ประวัติศาสตร์ สถานที่เล่นกีฬากลางแจ้ง(ล่าสัตว์ ตกปลา) เป็นต้น เป็นสิ่งที่ดึงดูดผู้คนจากบริเวณใกล้เคียง
และที่ห่างไกลออกไปให้เข้ามายังสวนสาธารณะ นอกจากค่าแรงงานที่จาเป็นต่อการบารุงรักษา
สวนสาธารณะแล้วรายได้ต่างๆ จะเกิดขึ้นจากการขายอาหาร น้ามันรถยนต์ อุปกรณ์ต่างๆ และเครื่องกีฬา
เพื่อการพักผ่อนอื่นๆ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้สามารถทาให้เมืองบางเมืองพึ่งพาตัวเองอยู่ได้ด้วยท่องเทียวโดยแท้
ธุรกิจอุตสาหกรรมก็รู้ดีว่า เพราะความสวยงามและดึงดูดของสถานที่ เช่น สวนสาธารณธเหล่านี้
เป็นตัวการที่ดึงดูดพวกลูกจ้างและประชาชนมาอยู่ใกล้ๆ ซึ่งจะทาให้กิจการประเภทที่ดิน ทรัพย์สินต่างๆ มี
ราคาสูงขึ้น เหล่านี้เป็นเพียงส่วนน้อยที่แสดงให้เห็นผลดีของการมีสวนสาธารณะที่สวยงาม
ประโยชน์ที่สวนสาธารณะและที่พักผ่อนในเมืองมีต่อการศึกษานอกสถานที่ (Outdoor Education)
การศึกษานอกสถานที่เป็นส่วนหนึ่งที่สนับสนุนการศึกษาโดยตรง การศึกษาที่เกี่ยวข้องกับ
(Outdoor Education)เริ่มต้นที่ระดับประถมและมัธยม โดยเน้นหนักทางการฝึกฝนบริหารร่างกาย และการ
กีฬา(Outdoor Education)จริงๆ นั้นเน้นหนักถึงการชี้ประโยชน์ของความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมกับ
คนสิ่งที่ชั้นเรียนควรจะมีคือ การศึกษาชีววิทยา(Biology)อนุรักษ์วิทยา(Comseryation)ธรณีวิทยา
(Geology)ซึ่งมีให้เรียนในสวนสาธารณะ หรือที่พักผ่อนที่ใหญ่ๆ นักวางแผนทางด้านการพักผ่อนและ
นักการศึกษาเริ่มสนใจถึงสิ่งที่สวนสาธารณะจะอานวยให้ได้มากยิ่งขึ้น และจะมากยิ่งขึ้นในอนาคต
“สวนสาธารณะหรือสวนสนุกกันแน่”
โดย มรว. คึกฤทธิ์ ปราโมช
หนังสือพิมพ์สยามรัฐรายวัน“ข้างสังเวียน”
ฉบับวันที่ 6 มกราคม 2521
ผมชักจะสงสัยเสียแล้วซีครับว่า เรารู้จักกันหรือป่าว สวนสาธารณะกับสวนสนุกนั้นแตกต่างกัน
อย่างไร
และมีใครสนใจกันจริงจังหรือเปล่าว่าคนที่เบียดเสียดยัดเยียดกันอยู่ในกรุงเทพ๚ ทุกวันนี้ต้องการที่
ร่มรื่นกว้างขว้างเอาไว้ผ่อนคลายความตึงเครียด หรือว่าต้องการไปยืนเบียดเข้าคิวกันเพื่อรอขึ้นหอคอยสูงๆ
ผมเข้าใจว่าสวนจตุจักรนั้นการรถไฟได้น้อมเกล้า๚ ถวายสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเพื่อให้
กรุงเทพมหานครจัดเป็นสวนสาธารณะที่ฝรั่ง ปลูกต้นไม้นานาพันธุ์ให้ร่มรื่น มีทางเดินเท้ามีที่นั่งพักมีสนาม
หญ้า มีสระน้า และปลูกดอกไม้ตามฤดูกาล เพื่อให้อาณาประชาราษฎรของพระองค์ได้มีที่นั่งพักผ่อนหย่อน
ใจคลายความตึงเครียดจากสิ่งแวดล้อมอันแออัดไปด้วยตึกราม ผู้คนมีที่หายใจ อากาศซึ่งถึงแม้จะไม่
บริสุทธิ์นักก็ยังดีกว่าอากาศในตรอก ซอย หรือ ในบ้านช่องที่คับแคบ
แต่เมื่อได้เห็นข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์ในระยะนี้ผมจึงเกิดความสงสัยดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น
นอกจากสงสัยแล้วก็ผิดหวังอย่างมากอีกด้วยเพราะตามข่าวหนังสือพิมพ์นั้นในสวนจตุจักรจะมีลาน
อเนกประสงค์ มีสนามหญ้า มีสนามฟุตบอล มีสระน้าขนาดใหญ่ มีสังคีตศาลา มีหมู่บ้านไทยของแต่ละ
ภาคให้ดูแตกต่างกัน มีพิพิธภัณฑ์รถไฟและจะให้เอกชนเข้าสร้างหอคอยสูงแบบหอไอเฟิล เพื่อให้คนขึ้นไป
ดูทิวทัศน์บนนั้น และหอคอยนี้จะเป็นหอคอยที่สูงที่สุดในโลกหรือในเอเชียอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งผมก็ไม่
แน่ใจนัก ฟังดูแล้วก็อดนึกไปไม่ได้ว่าชนชั้นผู้ว่าราชการกับสมภารวัดบ้านนอกนั้นเหมือนกันเริ่มต้นก็สร้าง
โบสถ์ สร้างเสนานะ ต่อไปก็สร้างศาลาการเปรียญ ต่อไปก็สร้างหอระฆัง สร้างวิหาร พอเข้าชั้นนี้ก็หยุดไม่ได้
เป็น โรคก่อสร้างขึ้นสมองต้อง สร้างเขื่อน สร้างกาแพงวัด สร้างโรงเรียนพระ สร้างโรงเรียนเด็ก ไปจนถึง
พระพุทธรูปที่ใหญ่ที่สุดในโลก จนวัดกลายเป็นดิสนีย์แลนด์ ไม่ใช้วัดอีกต่อไป สวนจตุจักรนั้นพอเริ่มต้นก็จะ
เป็นดีสนีย์แลนด์เสียแล้วไม่ใช้สวนสาธารณะตัณหาของผู้ว่าราชการแบบนี้ไม่ได้มีอยู่เฉพาะแต่ผู้ว่าราชการ
กทม. คนปัจจุบันเท่านั้นแต่ได้เคยมีและยังมีอยู่ให้หลายผู้ว่าราชการ
ผมอยากจะพูดว่าเป็นผลของการไปดูงานในต่างประเทศ เพราะการไปดูงานนั้นแยกไม่ออกจาก
การไปเที่ยว เมื่อไปถึงเขาถามว่าอยากอะไรก็อยากไปดูแต่ที่ที่เห็นว่าสนุกนาเที่ยว เช่น ดีสนี่แลนด์ หอไอ
เฟิล หอคอยสูงกว่าไอเฟิลที่ญี่ปุ่น ไปเที่ยวมาแล้วก็นึกว่าดูงานแล้ว เกิดติดตาติดใจในของที่ได้พบได้เห็น
เอามาคิดมาฝันถ้าไม่ได้ทาบ้างก็นอนไม่หลับ ครับ เหมือนกับสมภารบ้านนอกมาธุระที่กรุงเทพ๚ กลับไปก็
ไปฝันถึงวัดเชตุพน วัดสุทัศน์ อยากจะสร้างวัดของตนให้ใหญ่โตขนาดนั้นบ้าง
ส่วนสวนสาธารณะซึ่งในต่างประเทศเขาเห็นว่าจาเป็นจริงๆ เพราะเป็นปอดหายใจของมหานคร
และเมืองใหญ่ๆ นั้น ท่านที่ไปดูงานก็คงแต่เพียงขับรถผ่านๆ ไปไม่สนใจและไม่ได้สังเกต เพราะมันดัง ไม่
สนุกเกรียวกราวเหมือนกับที่ที่นักท้องเที่ยวเขาไปกัน แต่สวนสาธารณะก็ยังจาเป็นอยู่นั้นเองแหละครับ
จาเป็นเพราะกรุงเทพ๚ เสียเปรียบมหานครอื่นๆ เขามาตั้งแต่แรกเพราะท่านมาสร้างกรุงกันในที่ซึ่งเป็นทุ่ง
หาป่าเกือบจะไม่ได้
อย่างที่เมืองสิงค์โปร หรือปีนัง มีป่ามีเขา เมื่อรั่งมาสร้างเมืองก็กันป่ากันเขาเอาไว้ส่วนหนึ่งให้เป็น
สวนพฤกษชาติ แล้วดัดแปลงเพียงบางส่วน ส่วนใหญ่นั้นทิ้งไว้ให้เป็นป่าตามเดิมเขาจึงมีสวนสาธารณะที่
เป็นที่หายใจได้จริงๆ
ที่นิวยอร์คก็เช่นเดียวกัน เขาทิ้ง เซ็นทรัลพาร์ก ไว้ตามธรรมชาติ ไม่แตะต้อง
ที่ลอนดิน ที่ปารีส ก็เช่นเดียวกันอีก สวนสาธารณะที่เขามี เช่น ไฮปาร์ค และรีเย็นต์ปาร์คที่กรุง
ลอนดอน หรือ บัวส์เดอบูลอยน์ที่ปารีสนั้น เคยเป็นป่าที่เจ้านายขุนนางแต่ก่อนเก็บเอา ไว้ล่าสัตว์ทั้งนั้น
เดี่ยวนี้จึงเป็นสวนสาธารณะเต็มภาคภูมิ ไม่ใช้สวนสนุก
แต่กรุงเทพ๚ นั้นยากที่จะต้องปลูกต้นไม้ขึ้นกลางทุ่ง ซึ่งจะต้องกินเวลานานพอสมควรเป็นการเสียเปรียบอยู่
แล้วแต่สวนลุมพินีก็ยังหาต้นไม้ใหญ่จริงๆ ได้น้อย
ผมเคยหวังว่าสวนจตุจักรจะได้เป็นสวนสาธารณะจริงๆ ในอนาคตแต่เมื่อมาได้ข่าวว่าจะสร่างอะไรต่ออะไร
กันยกใหญ่ ก็ต้องโวยเพราะผิดหวัง
อย่าถือสาอะไรเลยครับ นึกว่าจิ่งจกทักก็แล้วกัน เพราะถึงจะปลูกต้นไม้อย่างผมว่า ผมก็คงไม่อยู่ทันดู
แต่ก็อยากจะขอให้ช่วยกันคิดว่า คนเรานั้น จะต้องทาอะไรให้เกิดผลทันตาเห็นไปหมดทุกอย่างที่เดียวหรือ
จะทาอะไรไว้ให้ลูกหลานมันได้รับผลในทางที่ดีบ้างไม่ได้หรือยังไง
จากบทความเสริมสร้างความเข้าใจในเรื่องของปาร์ค ซึ่งคุณพิชาพิทยขจรวุฒิ และ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์
ปราโมช ได้แสดงความคิดเห็นมานี้จะเห็นได้ว่าสวนสาธารณะมีประโยชน์และเป็นแหล่งนันทนาการที่
สาคัญยิ่งสาหรับประชาชน ที่จะช่วยเสริมสร้างประสบการณ์และคุณภาพชีวิตของคนในเมืองหลวงช่วย
ผ่อนคลายความตึงเครียด และลดความวิตกกังวลขอบสังคมและประการสาคัญส่งเสริมให้มนุษย์ได้สัมผัส
อย่างใกล้ชิดกับธรรมชาติซึ่งเป็นที่ต้องการมากในสภาพแวดล้อมของวัตถุอาคาร สถานที่มนุษย์ได้ก่อสร้าง
ขึ้นและจากการเปลี่ยนแปลงพัฒนาสังคมไทย จากระบบเศรษฐกิจและสังคมทางเกษตรกรรมมาเป็นสังคม
เศรษฐกิจแบบอุตสาหกรรมใหม่หรือนิกส์นั้นทาให้ประชาชนต้องประสบปัญหาใหม่ๆ ที่กาลังเกิดขึ้นอย่าง
รวดเร็วในเรื่องของมลภาวะเป็นพิษในสภาพแวดล้อมทั้งที่พักอาศัยและย่านธุรกิจการค้าปัญหาประชากร
แออัด การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจทาให้เกิดปัญหาเงินเฟ้ อ เงินฝืด ปัญหาค่านิยมของครอบครัว
เปลี่ยนแปลงเหล่านี้เป็นต้น ดังนั้นแหล่งนันทนาการสวนสาธารณะ จึงมีบทบาทสาคัญในการลด
ความเครียด และเสริมสร้างคุณภาพชีวิตแก่ชุมชนเมืองเป็นอย่างยิ่ง
บทที่ 12

More Related Content

Viewers also liked

ใบความรู้ การจัดนันทนาการ
ใบความรู้ การจัดนันทนาการใบความรู้ การจัดนันทนาการ
ใบความรู้ การจัดนันทนาการteaw-sirinapa
 
ประวัติศาสตร์นันทนาการ
ประวัติศาสตร์นันทนาการประวัติศาสตร์นันทนาการ
ประวัติศาสตร์นันทนาการteaw-sirinapa
 
นันทนาการ
นันทนาการนันทนาการ
นันทนาการchonchai55
 
ประเภทของนันทนาการ
ประเภทของนันทนาการประเภทของนันทนาการ
ประเภทของนันทนาการnok_bb
 
การนันทนาการ
การนันทนาการการนันทนาการ
การนันทนาการChamchang
 

Viewers also liked (13)

บทที่ 14
บทที่ 14บทที่ 14
บทที่ 14
 
บทที่ 8
บทที่ 8บทที่ 8
บทที่ 8
 
บทที่ 2
บทที่ 2บทที่ 2
บทที่ 2
 
บทที่ 6
บทที่ 6บทที่ 6
บทที่ 6
 
ใบความรู้ การจัดนันทนาการ
ใบความรู้ การจัดนันทนาการใบความรู้ การจัดนันทนาการ
ใบความรู้ การจัดนันทนาการ
 
บทที่ 9
บทที่ 9บทที่ 9
บทที่ 9
 
บทที่ 5
บทที่ 5บทที่ 5
บทที่ 5
 
บทที่ 3
บทที่ 3บทที่ 3
บทที่ 3
 
ประวัติศาสตร์นันทนาการ
ประวัติศาสตร์นันทนาการประวัติศาสตร์นันทนาการ
ประวัติศาสตร์นันทนาการ
 
บทที่ 4
บทที่ 4บทที่ 4
บทที่ 4
 
นันทนาการ
นันทนาการนันทนาการ
นันทนาการ
 
ประเภทของนันทนาการ
ประเภทของนันทนาการประเภทของนันทนาการ
ประเภทของนันทนาการ
 
การนันทนาการ
การนันทนาการการนันทนาการ
การนันทนาการ
 

Similar to บทที่ 12

คู่มือการจัดทำแผนการจัดการความรู้
คู่มือการจัดทำแผนการจัดการความรู้  คู่มือการจัดทำแผนการจัดการความรู้
คู่มือการจัดทำแผนการจัดการความรู้ Walaiporn Mahamai
 
Chapter 3 พฤติกรรมศาสตร์กับการพัฒนาองค์การ
Chapter 3 พฤติกรรมศาสตร์กับการพัฒนาองค์การChapter 3 พฤติกรรมศาสตร์กับการพัฒนาองค์การ
Chapter 3 พฤติกรรมศาสตร์กับการพัฒนาองค์การwanna2728
 
การประเมินผลการดำเนินงานของศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน กระทรวง ICT
การประเมินผลการดำเนินงานของศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน  กระทรวง ICTการประเมินผลการดำเนินงานของศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน  กระทรวง ICT
การประเมินผลการดำเนินงานของศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน กระทรวง ICTPanita Wannapiroon Kmutnb
 
Project planning - Workshop
Project planning - WorkshopProject planning - Workshop
Project planning - Workshopinanza
 
มิติใหม่ของการจัดการองค์กรเรียนรู้
 มิติใหม่ของการจัดการองค์กรเรียนรู้  มิติใหม่ของการจัดการองค์กรเรียนรู้
มิติใหม่ของการจัดการองค์กรเรียนรู้ Pattie Pattie
 
บทที่ 10 ทรัพยากรมนุษย์และการออกแบบงาน
บทที่ 10 ทรัพยากรมนุษย์และการออกแบบงานบทที่ 10 ทรัพยากรมนุษย์และการออกแบบงาน
บทที่ 10 ทรัพยากรมนุษย์และการออกแบบงานDr.Krisada [Hua] RMUTT
 
ตัวอย่างงานบริหาร
ตัวอย่างงานบริหารตัวอย่างงานบริหาร
ตัวอย่างงานบริหารNithimar Or
 

Similar to บทที่ 12 (16)

Chap2
Chap2Chap2
Chap2
 
Chap2
Chap2Chap2
Chap2
 
คู่มือการจัดทำแผนการจัดการความรู้
คู่มือการจัดทำแผนการจัดการความรู้  คู่มือการจัดทำแผนการจัดการความรู้
คู่มือการจัดทำแผนการจัดการความรู้
 
Chapter 3 พฤติกรรมศาสตร์กับการพัฒนาองค์การ
Chapter 3 พฤติกรรมศาสตร์กับการพัฒนาองค์การChapter 3 พฤติกรรมศาสตร์กับการพัฒนาองค์การ
Chapter 3 พฤติกรรมศาสตร์กับการพัฒนาองค์การ
 
การประเมินผลการดำเนินงานของศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน กระทรวง ICT
การประเมินผลการดำเนินงานของศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน  กระทรวง ICTการประเมินผลการดำเนินงานของศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน  กระทรวง ICT
การประเมินผลการดำเนินงานของศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน กระทรวง ICT
 
Organization and Management (OM) overview (ch.1)
Organization and Management (OM) overview (ch.1)Organization and Management (OM) overview (ch.1)
Organization and Management (OM) overview (ch.1)
 
Lib2.0
Lib2.0Lib2.0
Lib2.0
 
Km3
Km3Km3
Km3
 
Project planning - Workshop
Project planning - WorkshopProject planning - Workshop
Project planning - Workshop
 
8 แผนกลยุทธ์การบริหารบุคคล(พยาบาล)
8 แผนกลยุทธ์การบริหารบุคคล(พยาบาล)8 แผนกลยุทธ์การบริหารบุคคล(พยาบาล)
8 แผนกลยุทธ์การบริหารบุคคล(พยาบาล)
 
R2R
R2RR2R
R2R
 
มิติใหม่ของการจัดการองค์กรเรียนรู้
 มิติใหม่ของการจัดการองค์กรเรียนรู้  มิติใหม่ของการจัดการองค์กรเรียนรู้
มิติใหม่ของการจัดการองค์กรเรียนรู้
 
523
523523
523
 
บทที่ 10 ทรัพยากรมนุษย์และการออกแบบงาน
บทที่ 10 ทรัพยากรมนุษย์และการออกแบบงานบทที่ 10 ทรัพยากรมนุษย์และการออกแบบงาน
บทที่ 10 ทรัพยากรมนุษย์และการออกแบบงาน
 
ตัวอย่างงานบริหาร
ตัวอย่างงานบริหารตัวอย่างงานบริหาร
ตัวอย่างงานบริหาร
 
Managing change
Managing changeManaging change
Managing change
 

More from teaw-sirinapa

รายงานการประชุมครั้งที่ 1
รายงานการประชุมครั้งที่ 1รายงานการประชุมครั้งที่ 1
รายงานการประชุมครั้งที่ 1teaw-sirinapa
 
ขั้นตอนการจัดกิจกรรมนันทนาการ
ขั้นตอนการจัดกิจกรรมนันทนาการขั้นตอนการจัดกิจกรรมนันทนาการ
ขั้นตอนการจัดกิจกรรมนันทนาการteaw-sirinapa
 
การจัดและบริหารนันทนาการ
การจัดและบริหารนันทนาการการจัดและบริหารนันทนาการ
การจัดและบริหารนันทนาการteaw-sirinapa
 
สังคมคุณภาพชีวิตและนันทนาการ
สังคมคุณภาพชีวิตและนันทนาการสังคมคุณภาพชีวิตและนันทนาการ
สังคมคุณภาพชีวิตและนันทนาการteaw-sirinapa
 
1 สังคมคุณภาพชีวิตและนันทนาการ
1 สังคมคุณภาพชีวิตและนันทนาการ1 สังคมคุณภาพชีวิตและนันทนาการ
1 สังคมคุณภาพชีวิตและนันทนาการteaw-sirinapa
 
นันทนาการ
นันทนาการนันทนาการ
นันทนาการteaw-sirinapa
 
ประมวลรายวิชา นันทนาการ
ประมวลรายวิชา นันทนาการประมวลรายวิชา นันทนาการ
ประมวลรายวิชา นันทนาการteaw-sirinapa
 
ปฏิบัติการที่ 10 __ตกแต่งภาพด้วยโปรแกรม_photoshop_ครั้งที่_1
ปฏิบัติการที่ 10 __ตกแต่งภาพด้วยโปรแกรม_photoshop_ครั้งที่_1ปฏิบัติการที่ 10 __ตกแต่งภาพด้วยโปรแกรม_photoshop_ครั้งที่_1
ปฏิบัติการที่ 10 __ตกแต่งภาพด้วยโปรแกรม_photoshop_ครั้งที่_1teaw-sirinapa
 
ปฏิบัติการที่ 13 dreamweaver ครั้ง 2
ปฏิบัติการที่ 13 dreamweaver ครั้ง 2ปฏิบัติการที่ 13 dreamweaver ครั้ง 2
ปฏิบัติการที่ 13 dreamweaver ครั้ง 2teaw-sirinapa
 
ปฏิบัติการที่ 12 dreamweaver ครั้ง 1
ปฏิบัติการที่ 12 dreamweaver ครั้ง 1ปฏิบัติการที่ 12 dreamweaver ครั้ง 1
ปฏิบัติการที่ 12 dreamweaver ครั้ง 1teaw-sirinapa
 
ปฏิบัติการที่ 9 power pointครั้งที่ 2
ปฏิบัติการที่ 9 power pointครั้งที่ 2ปฏิบัติการที่ 9 power pointครั้งที่ 2
ปฏิบัติการที่ 9 power pointครั้งที่ 2teaw-sirinapa
 
ปฏิบัติการที่ 8 power pointครั้งที่ 1
ปฏิบัติการที่ 8 power pointครั้งที่ 1ปฏิบัติการที่ 8 power pointครั้งที่ 1
ปฏิบัติการที่ 8 power pointครั้งที่ 1teaw-sirinapa
 

More from teaw-sirinapa (13)

รายงานการประชุมครั้งที่ 1
รายงานการประชุมครั้งที่ 1รายงานการประชุมครั้งที่ 1
รายงานการประชุมครั้งที่ 1
 
ขั้นตอนการจัดกิจกรรมนันทนาการ
ขั้นตอนการจัดกิจกรรมนันทนาการขั้นตอนการจัดกิจกรรมนันทนาการ
ขั้นตอนการจัดกิจกรรมนันทนาการ
 
การจัดและบริหารนันทนาการ
การจัดและบริหารนันทนาการการจัดและบริหารนันทนาการ
การจัดและบริหารนันทนาการ
 
บทที่ 1
บทที่ 1บทที่ 1
บทที่ 1
 
สังคมคุณภาพชีวิตและนันทนาการ
สังคมคุณภาพชีวิตและนันทนาการสังคมคุณภาพชีวิตและนันทนาการ
สังคมคุณภาพชีวิตและนันทนาการ
 
1 สังคมคุณภาพชีวิตและนันทนาการ
1 สังคมคุณภาพชีวิตและนันทนาการ1 สังคมคุณภาพชีวิตและนันทนาการ
1 สังคมคุณภาพชีวิตและนันทนาการ
 
นันทนาการ
นันทนาการนันทนาการ
นันทนาการ
 
ประมวลรายวิชา นันทนาการ
ประมวลรายวิชา นันทนาการประมวลรายวิชา นันทนาการ
ประมวลรายวิชา นันทนาการ
 
ปฏิบัติการที่ 10 __ตกแต่งภาพด้วยโปรแกรม_photoshop_ครั้งที่_1
ปฏิบัติการที่ 10 __ตกแต่งภาพด้วยโปรแกรม_photoshop_ครั้งที่_1ปฏิบัติการที่ 10 __ตกแต่งภาพด้วยโปรแกรม_photoshop_ครั้งที่_1
ปฏิบัติการที่ 10 __ตกแต่งภาพด้วยโปรแกรม_photoshop_ครั้งที่_1
 
ปฏิบัติการที่ 13 dreamweaver ครั้ง 2
ปฏิบัติการที่ 13 dreamweaver ครั้ง 2ปฏิบัติการที่ 13 dreamweaver ครั้ง 2
ปฏิบัติการที่ 13 dreamweaver ครั้ง 2
 
ปฏิบัติการที่ 12 dreamweaver ครั้ง 1
ปฏิบัติการที่ 12 dreamweaver ครั้ง 1ปฏิบัติการที่ 12 dreamweaver ครั้ง 1
ปฏิบัติการที่ 12 dreamweaver ครั้ง 1
 
ปฏิบัติการที่ 9 power pointครั้งที่ 2
ปฏิบัติการที่ 9 power pointครั้งที่ 2ปฏิบัติการที่ 9 power pointครั้งที่ 2
ปฏิบัติการที่ 9 power pointครั้งที่ 2
 
ปฏิบัติการที่ 8 power pointครั้งที่ 1
ปฏิบัติการที่ 8 power pointครั้งที่ 1ปฏิบัติการที่ 8 power pointครั้งที่ 1
ปฏิบัติการที่ 8 power pointครั้งที่ 1
 

บทที่ 12

  • 1. บทที่ 12 แหล่งนันทนาการ ปาร์ค ( PARK) : สถานที่พักผ่อนหย่อนใจ แหล่งนันทนาการคือ ศูนย์บริการนันทนาการ (PARK AGENCY ปัจจุบันเรียกว่า RECRENTION AND PARK DEPARTMENT) มีจุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ที่สาคัญเพื่อสร้างเสริมประสบการณ์และ จัดการบริการทางด้านนันทนาการ เพื่อบุคคลและชุมชน หน่วยงานที่รับผิดชอบ ได้แก่ หน่วยงานของรัฐ หรือสาธารณะ (PUBLIC) หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ หรือกึ่งสาธารณะ (SEMI-PUBLIC) และหน่วยงานเอกชน (PRIVATE) ซึ่งรวมทั้งประเภทองค์การอาสาสมัครและธุรกิจการค้า ปาร์ค (PARK) เป็นคาที่มีความหมายและรูปแบบต่างกัน เริ่มต้นกับความหมายในปัจจุบัน จึง สมควรที่จะอภิปรายทั้งประวัติและความหมายเพื่อความเข้าใจที่ดีขึ้น ประวัติของปาร์ค ปาร์ค หรือสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ เกิดขึ้นมานานแล้ว ตั้งแต่สมัยโบราณ กล่าวคือ มนุษย์ได้สร้าง สถานที่พักผ่อนหย่อนใจ เช่น สวนสาธารณะ อุทยาน และสถานที่พบประสังสรรค์ ควบคู่กับ การสร้างเมือง ดังปรากฏในอารยะธรรมของประเทศต่างๆ ในสมัยโบราณ เช่น การสร้างสวนแขวน (HANDING GRADEN) ในประเทศอียิปต์ สวนล่าสัตว์ของชาวบาบิโลนในประเทศเปอร์เซีย สวนศักดิ์สิทธิ์ของศาสนา พราหมณ์และฮินดูในประเทศอินเดีย การจัดสวนของชาวกรีกและโรมันที่มีรูปแบบสวยงาม สวนป่าใน อุทยานพระราชวังแวร์ซายของประเทศฝรั่งเศส และสวนพักผ่อนหย่อนใจของพระมหากษัตริย์ และ จักรพรรดิ์ในประเทศจีน และญี่ปุ่น เป็นต้น สวนป่าและสวนสาธารณะแห่งแรกเกิดขึ้น เป็นอุทยานล่าสัตว์ของกษัทตริย์ หรือหัวหน้าเผ่า เพื่อใช้ ในการล่าสัตว์และสะสมสัตว์ที่จับได้ ในสมัยต่อมากลุ่มขุนนาง และคณบดี ซึ่งได้สร้างคฤหาสน์ในบริเวณ อาณาเขตได้สร้างสวนสาธารณะสาหรับครอบครัวและบริวารของตน เพื่อใช้ในการเฉลิมฉลองเนื่องใน เทศกาลพิเศษต่างๆ และใช้ต้อนรับแขก ปาร์คอีกชนิดนึงที่เกิดขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของ ประชาชน เรียกว่า ตลาดนัด (COMMON MARKET) ซึ่งนอกจากจะเป็นที่นัดพบแลกเปลี่ยนสินค้าต่างๆ แล้วยังเป็นศูนย์กลางกิจกรรมนันทนาการต่างๆ เช่นการละเล่น เกมส์กีฬา การเต้นรา การละคร ดนตรี ร้อง เพลง เป็นต้น ปาร์คแห่งแรกของสหรัฐอเมริกาซึ่งจัดให้ประชาชนไปพักผ่อนหย่อนใจ และเป็นตลาดนัดพบ เกิดขึ้น เมื่อปี ค.ศ. 1640 โดยจัดขึ้นที่เมืองบอสตัน รัฐแมนซูเซตในสมัยที่ชาวยุโรปอพยพไปตั้งรกรากใน อเมริกา ครั้นต่อมาเมื่อสหรัฐอเมริกาพัฒนาเปลี่ยนไปจากยุคเกษตรกรรมเป็นอุตสาหกรรม การสร้างเมือง การเกิดมหานครก็เจริญขึ้นตามลาดับ นักวางผังเมืองชื่อ นาคเฟรดเดอริค โอล์ม สเตค (FREDERICK LOW OLMSTD) ได้ออกแบบสวนสาธารณะในเมือง (MUNIVIPAL PARK) โดยการจัดสร้างสวนสาธารณะที่
  • 2. คานึงถึงอาคารสถานที่ สนามกีฬา สถานที่พักผ่อนหย่อนใจ จัดสวนพรรณไม้ชนิดต่างๆ เพื่อตอบสนอง ความต้องการของสังคมในเมือง และเป็นการสร้างความงดงามของเมือง โดยจัดปาร์คที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่ ในเมือง มีการจัดเป็นระบบมีมาตรการต่างๆ จนเป็นแม่บทของสวนสาธารณะในเมืองต่างๆ ในสหรัฐใน ปัจจุบันชื่อสวน เซ็นทรัล ปาร์ค (CENTRAL PARK) ตั้งอยู่ใจกลางเมืองนิวยอร์ค นายโอล์ม สเตด (OLMSTED) และนายเว็ค (VEUK) ได้วางผังเมืองและสวนสาธารณะในเมืองต่างๆ ในสหรัฐ เช่น เมืองชิคา โก้ ดีทรอยต์ บัฟฟาโล่ บริดปาร์ค มัลตริอัล เป็นต้น สวนสาธารณะเหล่านี้ยังได้จัดระบบการสัญจรในสวน สิ่งอานวยความสะดวกในสวน ใช้ต้นไม้และวัสดุธรรมชาติมากที่สุด อย่างไรก็ตามสวนสาธารณะในเมืองได้ มีการจัดสถานที่อานวยความสะดวกต่างๆ เช่น สระว่ายน้า สนามกีฬา ทาให้ความหมายของปาร์ค เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม และความหมายของปาร์คและนันทนาการก็เริ่มแยกออกจากกันเป็นหน่วยงาน นันทนาการ และสวนสาธารณะ (PARK AND RECREATION DEPARTMENT) ความหมาย ปาร์ค หรือสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ หมายถึง บริเวณพื้นดินหรือพื้นน้าที่จัดขึ้นเพื่อเป็นศูนย์บริการ ทางนันทนาการ ในช่วงเวลาว่างสาหรับประชาชน ปาร์คแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ปาร์คที่ปรับปรุงแล้ว (IMPROVED LAND) หมายถึง สถานที่จัดการเป็นระบบมีการจัดเตรียม อาคารสถานที่ พันธุ์ไม้ และสิ่งอานวยความสะดวกต่างๆ ดาเนินการโดยรัฐหรือเอกชน เช่น สวนสาธารณะ เทศบาลเมือง (MUNICIPAL PARK) สวนสาธารณะเพื่อนบ้าน (MEIGHBORHOOD PARK) สวนหย่อม (MINII-PARK OR GREEN PARK) สนามเด็กเล่น (PLAY LOTS TCI-LOTS) สวนพฤกษ์ศาสตร์ สวนรุกข ชาติ วนอุทยาน และอุทยานแห่งชาติ เป็นต้น ปาร์คที่ยังไม่ได้ปรับปรุง (PRIMITIVE OR UNITIPRCVED LAND) หมายถึง พิ้นที่ดินหรือพื้นน้าที่ ยังเป็นธรรมชาติ ไม่ได้จัดให้เป็นระบบสวน แต่มีความงามธรรมชาติ ซึ่งสมควรแก่การอนุรักษ์เพื่อการศึกษา และการพักผ่อนหย่อนใจ ธรรมชาติเหล่านี้ได้แก่ เกาะ แก่ง ภูเขา ป่าไม้ ทะเลสาบ น้าตกโป่งร้อน หนอง บึง หาดทราย ซากดึกดาบรรพ์ สัณฐานธรรมชาติอื่นๆ ได้แก่ วนอุทยาน (FCREST STATE PARK) อุทยาน แห่งชาติ (NATIONAL PARK) ซึ่งในบริเวณปาร์คดังกล่าวมีทั้งปรับปรุงและยังไม่ได้ปรับปรุง กระบวนการบริหารปาร์ค: สถานที่พักผ่อนย่อนใจ การบริหารงานบริการด้านสันทนาการนั้นเป็นการจัดการแนะแนวบุคคล และแหล่งวิทยะกายภาพ โดยใช้พัฒนาการการจัดการเพื่อสร้างเสริมประสบการณ์ทางนันทนาการ และก่อให้เกิดความพึงพอใจและ ขวัญกาลังใจแก่ผู้รับบริการ หรืออาจกล่าวว่าเป็นกระบวนการที่สืบเนื่องของการจัดการและประยุกต์แหล่ง วิทยาการเพื่อสร้างเสริมโอกาสนันทนาการแด่ประชาชน เทคนิคของการบริหารและจัดการทั่วไปที่นักวิชาการบริหารต่าง ๆ รวบรวมจัดตั้งเป็นทฤษฎีการ จัดการและบริหารดังนี้ 1.นายกูลิกและนายเออร์วิด(ค.ศ. 1937) ได้เสนอกระบวนการการบริหารประกอบ7ขั้นตอน ได้แก่
  • 3. การวางแผนงาน(Planting) การจัดการ (Crganization) การจัดบุคลากร (Staffing) การชี้นาทาง (Pirecting) การประสานงาน (Cccrdimating) การเสนอรายงาน (Reporting) การจัดงบประมาณ (Budgating) 2.นายเฮนส์และแมสซี่ (Haynes &masste : ค.ศ. 1961) แบ่งกระบวนการบริหารออกเป็น 10 ขั้นตอน ดังนี้ 2.1 การตัดสินใจ (DeclsionMaring) 2.2 การจัดการ (Crganieaiion) 2.3 การวางแผนงาน (Planning) 2.4 การชี้นาทาง (Direciicn) 2.5 การควบคุม (CCntrol) 2.6 การจัดบุคลากร (Staffing) 2.7 การประสานงาน (Cccrdtnating) 2.8 การสื่อสาร (Com unicaiion) 2.9 แรงจูงใจ (Motlvtion) 2.10 การประเมินผล(Evaluation) นักนันทนาการได้ทาการศึกษา เรื่องการจัดและบริหารงานบริการนันทการ ได้สรุปผลของกระการ การจัดบริหารงานดังนี้ 1. นายไมเออร์,นายไบร์บิล และนายเซสซัมว์( Myer ,Baighbilll and Sesscns : ค.ศ. 1969 )ได้จัด กระบวนการบริหารงานนันทนาการ แบ่งออกเป็น 7 ข้อดังนี้ 1. การวางแผนงาน 2. การจัดการ 3. การจัดองค์การ 4. การชี้นาทาง 5. การนิเทศ 6. การดาเนินการ 7.การประเมินผล 2. นายเคราส์และนายเกอร์ติส (Kraus Curtis : ค.ศ. 1973 ) ได้แบ่งออกเป็น 3 หมวดใหญ่เท่านั้น เช่น 1. การวางแผนงาน (Planning) 2. การจัดองค์การ (Organization) 3. การควบคุม (Control)
  • 4. 3. นายปีเตอร์สันและนายโปเลน (Peterson And Pohlen :ค.ศ. 1973) ได้แบ่งกระบวนการจัด บริหารนันทนาการเหมือนนายเคราส์และเกอร์ติส แต่เพิ่มหมวดที่ 4 คือแรงจูงใจ (Motivaion) จากการศึกษาเปรียบเทียบของเรื่องการจัดและบริหารงานทั่วไปและงานบริการทางนันทนาการ เผยว่า การวางแผนงานเป็นหัวใจสาคัญและขั้นเริ่มต้นของการจัดและบริหารงาน ทั้งนี้เพราะการวางแผน งานเป็นการค้นหา (1) ความต้องการและความสนใจของผู้รับบริการ (2) เป็นการรวบรวมข้อมูล (3) เป็นการเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้อง (4) เป็นการสร้างจุดมุ่งหมาย ขอบค่าย และเป่าประสงค์ของงาน (5) เป็นการพยากรณ์ภาวะในอนาคต (6) เป็นเครื่องช่วยในการตัดสินใจ (7) เป็นการสร้างนโยบายและแนวทางในการปฎิบัติ (8) เป็นการสร้างความเป็นมาตรฐานและการประเมินผลให้ตรงตามวัตถุประสงค์ของแผนงาน ขอบข่ายของการวางแผนงานปาร์ค การเตรียมตัวเพื่อวางแผนงานควรจะคานึงถึงขอบข่ายการวางแผนดังนี้ 1. การวางแผนด้านเงินลงทุน (Pinancial Planning) ได้แก่ การเตรียมการวางแผน จัดสรร งบประมาณของปาร์ค รวมทั้งการจัดหาทุน ค่าบริการและค่าบารุง เงินทุนสนับสนุน เงินบริจาคและงาน อื่นๆ เช่น การจัดเก็บ ค่าบัตรผ่านประตู เงินเดือน ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง 2. การวางแผนด้านกายภาพ (Physical Planning) ซึ่งมีความเกี่ยวโยงในเรื่องการจัดการ พื้นที่ว่าง อาคารสถานที่ สนามกีฬา สถานอานวยความสะดวกต่างๆ และอุปกรณ์ของนันทนาการ 3. การวางแผนโปรแกรมกิจกรรม (Program Panning) ซึ่งเป็นการเตรียมการเรื่องของกิจกรรม นันทนาการต่างๆ การจัดเวลาและสถานที่สาหรับบริการ โครงการจัดการแข่งขันกีฬา รวมทั้งโปรแกรมการ เรียนการสอน การแข่งขัน การแปรบัญญัติ และโปรแกรมอื่นที่เกี่ยวข้อง 4. การวางแผนงานทั่วไป (General Planning) เป็นการผสมผสานการวางแผนเรื่องเงินทุน ด้าน กายภาพและโปรแกรมเข้าด้วยกันเพื่อจัดการวางแผนแม่บท (Master Planning) 5. การวางแผนด้านบทบาทและหน้าที่ (Function Planning) เป็นเป็นการชี้แนวทางงานเฉพาะกิจ ประจาวัน รวมทั้งการเผยแพร่และงานบริการ คู่มือการดาเนินงาน คู่มือการฝึกอบรม บุคลากร คู่มือการฝึก ความปลอดภัยและความมั่นคง ความสัมพันธ์แรงงาน การให้สวัสดิการแก่เจ้าหน้าที่พนักงาน มาตรการ การควบคุมคุณภาพ และการทางานแต่ละวันเป็นต้น ขั้นตอนของการจัดปาร์ค: สถานที่พักผ่อนหย่อนใจ การจัดปาร์คแบ่งออกเป็น 4 ขั้นดังนี้
  • 5. 1. ขั้นเตรียมก่อนออกแบบ (Predesign) ขั้นนี้เป็นการเตรียมวัตถุประสงค์ เป้ าประสงค์เตรียม ข้อมูลในเรื่องการให้บริการ สภาวะแวดล้อมโดยทั่วไป กฎระเบียบ ข้อบังคับ โปรแกรมที่จัดบริการการ จัดเตรียมบุคลากร ทั้งบุคลากรเต็มเวลาและอาสาสมัคร การเตรียมก่อนการออกแบบเรื่องอาคารสถานที่ที่ จะสร้างต่างๆ 2. ขั้นออกแบบ (Design) เป็นขั้นพื้นฐานที่สาคัญของการพัฒนาสวนสาธารณะ ขั้นนี้เป็นการ กาหนดงบประมาณเงินทุนในการก่อสร้างทั้งหมด รายละเอียดและข้อมูลสาคัญเกี่ยวกับการจัดกิจกรรม ให้บริการดังนั้นในขั้นนี้คณะอนุกรรมการที่ร่วมวางแผนสร้างปาร์คต้องตระหนักถึงความสาคัญและร่วมมือ กัน เพื่อให้การออกแบบสมบูรณ์แบบมากที่สุด 3. ขั้นพัฒนาการ (DEVELOPMENT) ในขั้นนี้แบ่งออกเป็น 3 ชั้นย่อย คือ การเตรียมเอกสารก่อนการ ก่อสร้าง , การทาสัญญาระหว่างการก่อสร้าง และโครงการก่อสร้างหน่วยงานสาธารณะจะต้องจัด นโยบาย เฉพาะ กฎระเบียบ การดาเนินงานระหว่างการพัฒนาการ 4. ขั้นสุดท้ายหรือขั้นกระทาจริง (ACTUALIZATION) หมายถึงการเตรียมการ ควบคุมอย่างมี ประสิทธิภาพ รวมทั้งการจัดแผนงานที่จาเป็นอื่นๆ เช่นโปรแกรม การเงิน หน้าที่ การจัดการ ซึ่งเป็นสิ่ง สาคัญที่ทาให้การบริหารปาร์คให้สัมฤทธิ์ผลตามเป้ าหมายที่มุ่งสร้างเสริมประสบการณ์นันทนาการ คณะกรรมการวางแผนสร้างปาร์ค คณะกรรมการวางแผนสร้างปาร์คประกอบด้วยบุคคลหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับงานสร้างเสริม ประสบการณ์นันทนาการ แบ่งออกเป็น 4 ประเภทคือ อนุกรรมการฝ่ายผู้รับบริการ (PARTICIPATION) ได้แก่ผู้วางแผน ผู้ทรงคุณวุฒิ ในเรื่องการ ต้องการของผู้รับบริการ การศึกษาข้อมูลที่ผ่านมา นักสังคมสงเคราะห์ อนุกรรมการฝ่ายกิจกรรม (ACTIVITY) ได้แก่กลุ่มนักกีฬาอาชีพ, กลุ่มกีฬา กลุ่มโค้ช ครูพลศึกษา นักนันทนาการ นักกีฬาสมัครเล่น นักธรรมชาติวิทยา ฯลฯ อนุกรรมการฝ่ายอาคารสถานที่ (FACILITY) ได้แก่ นักออกแบบ สถาปนิก ด้านการจัดสวนหย่อม สถาปนิกและวิศวะกร รวมทั้งนักธรรมชาติวิทยา ผู้เชี่ยวชาญป่าไม้ ผู้เชี่ยวชาญพันธุ์ไม้ นักธรณีวิทยา ผู้เชี่ยวชาญสัตว์ป่า นักประวัติศาสตร์ และนักโบราณคดี เป็นต้น อนุกรรมการฝ่ายสนับสนุน (SUPRORT GROVT) ได้แก่ ผู้ดูแลรักษาสถานที่และอุปกรณ์ การ ดาเนินการ, การจัดโปรแกรม, ฝ่ายรักษาความปลอดภัย, ฝ่าบริการเครื่องดื่ม คณะอนุกรรมการดังกล่าวจะดาเนินการไปได้ด้วยดีจะต้องได้รับการประสานงานในกลุ่ม และระหว่างกง กลุ่มจากผู้นาเป็นอย่างดี และรวบรวมข้อมูลทั้งหมดเพื่อควบคุมกระบวนการทั้งหมดให้บรรลุตาม เป้ าประสงค์ที่ตั้งไว้ นโยบายการจัดการปาร์ค (อุทยานแห่งชาติ)
  • 6. หลักการจัดปาร์คของโอล์มสเตด ประเภทของปาร์ค นโยบายในการจัดปาร์ค (อุทยานแห่งชาติ) เพื่อให้การจัดปาร์คขนาดใหญ่เป็นไปได้ด้วยดี มีประสิทธิภาพ เป็นแหล่งนันทนาการของประชาชน ทางอุทยานแห่งชาติของสหรัฐอเมริกาได้ออกนโยบายการจัดการบริหารปาร์คอุทยานแห่งชาติดังนี้ อุทยานแห่งชาติจะต้องได้รับการดูแลรักษาเพื่ออนุชน และประชาชนได้มีโอกาสใช้เพื่อการศึกษา สังเกต เพื่อพักผ่อนหย่อนใจ เพื่อส่งเสริมสุขภาพกายและจิตใจ เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตในช่วงเวลาว่างให้ เกิดประโยชน์ตามความสนใจของประชาชน ห้ามนาสัตว์เลี้ยงเข้ามาในบริเวณอุทยานแห่งชาติ การสร้างถนนหนทาง ควรกระทาให้มีการกลมกลืนกับธรรมชาติ เขตอุทยานแห่งชาติจะไม่มีการจับจองหรือทาธุรกิจเพื่อส่วนตัว กิจกรรมนันทนาการนอกเมือง กีฬาประเภทนันทนาการนอกเมืองเช่น การเดินป่า ตกปลา ฆ่าสัตว์ ควรได้รับการส่งเสริมอย่างมีกฎเกณฑ์ การเก็บค่าตั้งค่ายพักแรม ควรจัดให้มีราคาที่ต่าที่สุด ควรจัดให้มีสถานที่บริเวณที่ตั้งค่าย (CAMP SITE) หลายประเภทเช่น สถานที่ตั้งค่ายพักแรม เต๊น สถานที่จอดรถเทส์ลเลอร์ เคบิ้น และโรงแรชั้นดีใน อุทยานแห่งชาติ ห้ามไม่ให้บุกรุกทาลายป่า การจัดโซนที่พักอาศัย จัดบริการอาหาร ควรอยู่ในที่จากัด เพื่อเป็นรายได้เข้ารัฐ ให้มีการเก็บค่านารถยนต์เข้าอุทยาน ควรมีเอกสาร และข้อมูลแนะนาอุทยานแห่งชาติ พร้อมแนบที่แสดงบริเวณสาคัญในอุทยาน ควรมีการประชาสัมพันธ์ต่อหน่วยงานของรัฐและเอกชน ในเรื่องการบริการต่างๆ หลักการจัดปาร์คของโอล์มสเตด นายเฟรดเดอริก โอล์มสเตค นักวางผังเมืองที่มีชื่อเสียงของโลก ได้สร้างสวนสาธารณะ ในเมืองที่มี ชื่อเสียงได้แก่ เซ็นทรัล ปาร์ค (CENTRAL PARK) ในมหานครนิวยอร์ค และสวนสาธารณะไว้ดังนี้ การสร้างปาร์คควรสงวนรักษา ทิวทัศน์และทรัพยากรธรรมชาติให้มากที่สุด และควรจะเน้น ธรรมชาติที่มีลักษณะเด่นพิเศษอีกด้วย
  • 7. พยายามหลีกเลี่ยง การออกแบบการสร้างอาคาร และตึกในปาร์คให้มากที่สุด หรือถ้าจาเป็นควร สร้างให้กลมกลืนกับธรรมชาติให้มากที่สุด พยายามรักษาทุ่งหญ้าในบริเวณส่วนกลางของปาร์ค พยายามสงวนรักษาต้นไม้ธรรมชาติ ในส่วนบริเวณโซนที่เชื่อมต่อกับโซนต่างๆ ควรจะสร้างถนน ทางเดิน ที่เป็นส่วนโค้ง เพื่อให้เห็นทัศนียภาพของปาร์ค ควรจัดให้ถนนหลัก (MAIN STREET) ตัดผ่านจุดสาคัญ หรือโซนต่างๆของปาร์ค ประเภทของปาร์ค ปาร์คที่ได้จัดขึ้นเพื่อเป็นแหล่งนันทนาการสาหรับประชาชน ส่วนใหญ่เป็นปาร์คที่ได้มีการพัฒนา หรือจัดเป็นระบบ บางครั้งเรียกว่า ปาร์คที่ปรับปรุงแล้ว (PROVED LAND) ซึ่งพอจะแบ่งออกได้ ดังนี้ อุทยานแห่งชาติ (NATICNAL PARK) เป็นปาร์คที่มีการจัดการอย่างเต็มระบบ มีบริเวณพื้นที่ ใหญ่ที่สุดมากกว่าปาร์คอื่นๆ กล่าวคือ จะต้องมีพื้นที่ใหญ่กว่า 10 ตารางกิโลเมตร หรือ 62,500 ไร่ โดยมี วัตถุประสงค์เพื่อให้ชีวิตสัตว์ป่า และต้นไม้ ได้ดาเนินชีวิต ครบวงจร (วัฏจักร์) ได้ด้วยตนเอง ไม่อาศัยมนุษย์ ให้ความช่วยเหลือ ในปี 2531 กองอุทยานแห่งชาติได้ประกาศอุทยานแห่งชาติ ทั้งหมด 56 แห่ง และได้ ตั้งเป้ าหมายจัดตั้งอุทยานแห่งชาติจานวน 110 แห่งในปี 2534 วนอุทยาแห่งชาติ (NATIONNAL PARK หรือ FOREST) เป็นปาร์คที่ใหญ่รองลงมาจากอุทยาน แห่งชาติ มีป่าเขา วิวทิวทัศน์ สวยงาม และมีธรรมชาติเด่น เช่น ต้นน้า ลาธาร น้าตก หาดทราย ถ้า หินงอก หินย้อย เป็นต้น ซึ่งเหมาะแก่การนันทนาการของประชาชน วนอุทยานแห่งชาติได้มีการจัดบริการที่พัก สิ่ง อานวยความสะดวก และสาธารณูปโภคด้วย ปัจจุบัน ประเทศไทยมีวนอุทยานแห่งชาติประมาณ 50 แห่ง อยู่ในความดูแลของกองอุทยานแห่งชาติ ป่าไม้เขต และป่าไม้จังหวัด สวนพฤกษาศาสตร์ (BOTANIC GARDEN) เป็นการจัดปาร์ค หรือสวนรวมพันธุ์ไม้ นานาชนิดทั้ง ในและนอกประเทศที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ และเพื่อนันทนาการ นามาจัดเป็นหมวดหมู่ และสกุล เพื่อ ประโยชน์ทางการศึกษา ขยายพันธุ์ และเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ในปัจจุบัน ประเทศไทยมีจานวน 5 แห่ง ได้แก่ สวนพฤษาศาสตร์ พุแค จ.สระบุรี สวนพฤกษาศาสตร์เขาช่อง จ.ตรัง สวนพฤกษาศาสตร์พุทธมณฑล จ.นครปฐม สวนพฤกษาศาสตร์เขาหินซ้อน จ.ฉะเชิงเทรา สวนพฤกษาศาสตร์แม่สา จ.เชียงใหม่ 4.สวนรุกขชาติ (ARBORETUM GARDEN) เป็นปาร์คหรือสวนที่จัดขึ้นเช่นเดียวกับสวนพฤกษาศาสตร์ คือ รวบรวมพันธุ์ไม้นานาชาติ เพื่อประโยชน์ศึกษาวิจัย และพักผ่อนหย่อนใจ การจัดสวนรุกขชาติเน้นพันธุ์ไม้
  • 8. ยืนต้น ไม่ได้มีการจัดหมวดหมู่ ปัจจุบันประเทศไทย มีสวนรุกขชาติ จานวน 30 แห่ง ที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 50 ไร่ จนถึง 1875 ไร่ 5. สวนสมเด็จศรีนครินทร์ (EDUCATIONAL ZONE DISTRICT PARK) เป็นการจัดปาร์ค เพื่อส่งเสริมการสงวนรักษาทรัพยากรธรรมชาติที่สวยงาม และสิ่งประทับใจธรรมชาติที่ สวยงาม และสิ่งประทับใจตามธรรมชาติเพื่อให้ประชาชนได้มีโอกาสพักผ่อนหย่อนใจในส่วนภูมิภาค สวนสาธารณะ “สวนสมเด็จย่า” จัดขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระศรีนครินทร์ บรมราชินี เนื่องใน โอกาสครบ 80 พระชันษา ปี 2523 ซึ่งอยู่ในความดูแลของกองการศึกษานอกโรงเรียน กระทรวงศึกษาธิการ ปัจจุบันสวนสมเด็จฯ ตั้งอยู่ในบริเวณ 12 เขตการศึกษา ของประเทศไทย ได้แก่ สวนสมเด็จฯ จ.นนทบุรี (เขตการศึกษา 1) สวนสมเด็จฯ จ.ปัตตานี (เขตการศึกษา 2) สวนสมเด็จฯ จ. ชุมพร (เขตการศึกษา 3) สวนสมเด็จฯ จ.พังงา (เขตการศึกษา 4) สวนสมเด็จฯ จ.ประจวบคีรีขันธ์ (เขตการศึกษา 5) สวนสมเด็จฯ จ.พระนครศรีอยุธยา (เขตการศึกษา 6) สวนสมเด็จฯ จ.พิจิตร (เขตการศึกษา 7) สวนสมเด็จฯ จ.น่าน (เขตการศึกษา 8) สวนสมเด็จฯ จ.สกลนคร (เขตการศึกษา 9) สวนสมเด็จฯ จ.ศรีสะเกษ (เขตการศึกษา 10) สวนสมเด็จฯ จ.ฉะเชิงเทรา (เขตการศึกษา 11) สวนสาธารณะในเมือง (MUNICIFAL PARK) เป็นปาร์คที่จัดขึ้นในชุมชนเมือง ในเขต กรุงเทพมหานคร เพื่อตอบสนองความต้องการผ่อนคลายความตึงเครียดของเมืองหลวง และเพื่อเป็นปอด ของเมืองด้วย สวนสาธารณะในเมืองมีความสาคัญอย่างยิ่งแก่ประชาชนใน กทม. ในด้านสุขภาพกาย สุขภาพจิต การพักผ่อนหย่อนใจ ความงดงามของพันธุ์ไม้ และพืชต่างๆ ถือว่าเป็นแหล่งนันทนาการของ เมืองหลวงที่สาคัญแหล่งหนึ่ง ปัจจุบันสวนสาธารณะของกรุงเทพมหานคร มีอยู่ด้วยกัน 7 แห่ง มีขนาด พื้นที่ตั้งแต่ 23 ไร่ (สวนสราญรมย์) จนถึงพื้นที่ 500 ไร่ (สวนหลวง ร.9) ซึ่งกระจายไปทั่วบริเวณ กทม. ได้แก่ สวนลุมพินี 2. สวนสราญรมย์ 3. สวนจตุจักร 4. สวนธนบุรีรมย์ 5. สวนน้าบึงกุ่ม 6. สวนหลวง ร.9 7. สนามหลวง8. สวนพระนคร
  • 9. 7. สวนเพื่อนบ้าน (NEIGHBORHCOD PARK) เป็นการจัดปาร์คเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนได้มีโอกาสได้ พักผ่อนหย่อนใจ สร้างบรรยากาศความคคุ้นเคยของชุมชนในเขตที่อยู่อาศัย เช่นหมู่บ้าน และศูนย์ชุมชน ต่างๆ สวนเพื่อนบ้าน ส่วนใหญ่ดาเนินการโดย เอกชน รัฐวิสาหกิจ 8. สนามเด็กเล่น (PLAYGROUND หรือ PLAYLOTS AREA) เป็นปาร์คที่จัดทาขึ้นเพื่อเน้นในเรื่องการ สร้างอุปกรณ์การเล่น เพื่อส่งเสริมการเล่นพัฒนายุวชน และเยาวชน ในด้านร่างกาย พัฒนากล้ามเนื้อ และ ส่งเสริมด้านนันทนาการ การใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ สถานที่พักผ่อนหย่อนใจ เรามักจะพบว่าสนาม เด็กเล่นจัดโดย โรงเรียน สวนสาธารณะ และพื้นที่ศูนย์กลางชุมชนต่างๆ ซึ่งมีพื้นที่ ขนาดเล็ก 9. สวนหย่อม (MINI = PARK หรือ GREEN AREA) เป็นการจัดปาร์คขนาดย่อม หรือเล็กที่สุด เพื่อสร้าง บรรยากาศ ทัศนียภาพของต้นไม้ ไม้ประดับ เพื่อการพักผ่อนสายตาของประชาชน และเพื่อความสวยงาม สถานที่ ๆ จัดสวนหย่อม มีตั้งแต่ บริเวณเกาะกลางถนน มุมถนน วงเวียน สี่แยก ตลอดจนในบริเวณย่าน ศูนย์กลางค้าพาณิชย์ต่างๆ หรือแม้กระทั่งรอบบริเวณบ้าน 10. สวนปาร์คลักษณะพิเศษ สวนปาร์คลักษณะพิเศษ เป็นการจัดปาร์คขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะอย่าง เพื่อเป็นแหล่งนันทนาการเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ ส่งเสริมประสบการณ์แห่งชีวิต เพื่อคุณภาพชีวิต ซึ่งสวน ปาร์คลักษณะพิเศษนี้มีหลายประเภท ได้แก่ 10.1 อุทยานสัตว์ป่า มุ่งเน้นเรื่องการศึกษา วิจัยพันธุ์สัตว์ป่า เพื่อนันทนาการ อยู่ในความดูแลของกรมป่า ไม้ ปัจจุบันมี 2 แห่ง คือ อุทยานสัตว์ป่า จ. ลาปาง จ. กาฬสินธุ์ และอุทยานสัตว์ป่า เขาพระแทว จ.ภูเก็ต 10.2 ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ เป็นปาร์คที่สงวนศึกษาพันธุ์สัตว์ป่า และป่าไม้ ซึ่งมีอยู่ 7 แห่งใน ประเทศไทย 10.3 สวนสนุก (AMUSEMENT PARK) เป็นการจัดปาร์คที่มุ่งเน้นในเรื่องของอุปการณ์การเล่นเพื่อความ สนุกสนาน เพลิดเพลินทั้งเยาวชนและประชาชน ซึ่งธุรกิจการค้าจัดขึ้นในเมือง และในส่วนหนึ่งของ ศูนย์การค้า เพื่อการบริการนันทนาการสาหรับครอบครัว 10.4 สวนสัตว์ (AMUSEMENT PARK) เป็นการจัดปาร์คที่นาสัตว์ป่า และสัตว์ที่หาได้ยาก เพื่อให้ชุมชนได้ ศึกษาและพักผ่อนหย่อนใจ
  • 10. บทสรุป ปาร์คเป็นแหล่งนันทนาการหรือศูนย์บริการนันทนาการที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อการสร้างเสริม ประสบการณ์นันทนาการสาหรับบุคคลและชุมชน หน่วยงานรับผิดชอบได้แก่ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ และเอกชน ปาร์คเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ เกิดมาตั้งแต่สมัยโบราณตามหลักฐานการบันทึก อารยะธรรมของประเทศต่างๆ สวนสาธารณะแห่งแรกเป็นอุทยานล่าสัตว์ของกษัทตริย์เพื่อใช้ในการล่าสัตว์และเลี้ยงสัตว์ ที่จับมาได้สวนสาธารณะที่สร้างขึ้นในคฤหาสน์ของขุนนางและคหบดี มีวัฒถุประสงค์เพื่อใช้จัดงานฉลอง เทศกาลพิเศษต่างๆ และใช้ต้อนรับแขก ปาร์คสาหรับประชาชนเรียกว่า ตลาดนัด ปาร์คแห่งแรกของ สหรัฐอเมริกาเกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1640 ณ เมืองบอสตัน ปาร์คที่เป็นแม่บทการจัดปาร์คที่สมบูรณ์แบบในเมืองชื่อ เซ็นทรัล ปาร์ค ซึ่งสร้างโดย นาย โอล์มสเตด และนายเว็ค การวางแผนสร้างปาร์คมี 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนการออกแบบ ขั้นออกแบบ ขั้น พัฒนาการ และขั้นการกระทา ซึ่งในแต่ละขั้นต้องการความร่วมมือ สร้างสรรค์จากกลุ่มผู้ประกอบอาชีพ ต่างๆ บุคลากรที่สนับสนุนและกลุ่มประชาชนที่ใช้บริการ เพื่อก่อให้เกิดความสัมฤทธิ์ผลในการเสริมสร้าง ประสบการณ์นันทนาการ
  • 11. หนังสืออ้างอิง สมบัติ กาญจนกิจ (2518). สันทนาการชั้นนา เอกสารประกอบการสอน คณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย (หน้า 225 – 236) สานักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อม (2529). แนวทางการอนุรักษ์ธรรมชาติ. กทม. : รุ่งศิลป์ การพิมพ์. Krus, R.G - Curtis, J.E (1973) Creatives administration in Recreation and Parks. ST Louic : C.V. Mosby (pp. 17-18). Myer,Brightbill and aooaone (1962). Community Eacration. (4 th ed.) Englewood cliffe , N.J. : Prantice-Hall Petgrsor, J.A. - Polam, M.B (1973) Manament minivipal loieure Service Washington D.C (p.45) Doell, Charles E. (1966). Element of Park and Recreation Zdministretion, Boston : Burgoes Publishing. Feir Albert. (1972). Fredarick Law Delmted (1822 - 1903) and The Amarican Environlontal Treedition. Philaarlybia : Penn. Statn Univercity Prase.
  • 12. บทความสร้างเสริมความเข้าใจในเรื่องของปาร์ค ทาไมต้องมีสวนสาธารณะ (CITY PARKS) และที่พักผ่อนในเมือง (VRBAN RECRATION AREAS) โดย พิชา พิทยขจรวุฒิ นักวิชาการกรมป่าไม้ ........................ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ บทนา (INTRODUCTION) เนื่องจากความต้องการที่จะพักผ่อนภายหลังเวลาทางานได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากในประเทศ ไทยทั้งๆ ที่การขยายตัวทางอุตสาหกรรมได้เปลี่ยนแปลงไปมากมาย หรือมิได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างเห็นได้ ชัดภายในเวลาอันรวดเร็วเหมือนประเทศทางแถบตะวันตกที่เจริญแล้วทั้งหลาย การเปลี่ยนแปลงที่สาคัญ ของคนไทยก็คือ การเข้าไปอยู่รวมกันอย่างแออัด ในเขตที่เจริญแล้ว โดยมีการคมนาคมที่สะดวกเป็นสิ่ง ช่วยเสริมให้ความแออัดที่เจริญนั้นมีมากขึ้น และทาให้คนขาดความสนใจที่จะอยู่ในที่ห่างไกลความเจริญ เพราะเหตุที่คนไทยมุ่งความสนใจไปที่การทามาหากินเพื่อการยังชีพ ประกอบกับความอัตคัดขาดแคลนใน ที่ชุมชนแออัด คนไทยส่วนใหญ่จึงไม่ค่อยสนใจมาก คนไทยโดยส่วนใหญ่จึงไม่ค่อยสนใจต่อการพักผ่อนใน ที่ซึ่งจัดไว้เป็นสวนสารธารณะ คนที่อยู่ในเขตที่ที่เจริญแล้วอาจจะมีความสนใจมาก เแต่ขาดเวลาที่จะเอาใจ ใส่หรือช่วยส่งเสริม ส่วนใหญ่คนที่อยู่ในเขตที่ห่างไกลความเจริญก็พุ่งความสนใจส่วนใหญ่ไปที่การยก มาตรฐานการครองชีพซึ่งกระทาได้ยากในเขตชนบท ความสนใจต่อการพักผ่อนจึงมีน้อย ทั้งๆที่มีทรัพยากร เกี่ยวกับการพักผ่อนมากมายในเขตชนบท เมื่อเวลาล่วงไป คนในเขตที่เจริญแล้ว เช่นในเมืองที่แออัดอย่าง กรุงเทพฯ ก็จะมองเห็นความสาคัญของการพักผ่อนในที่ซึ่งจัดไว้ให้เป็นสวนสาธารณะ เพราะเริ่มเข้าใจว่า การหาเลี้ยงชีพอย่างเดียวไม่ใช่การยกมาตรฐานการครองชีพหากต้องมีสิ่งอื่นๆ อีกที่ช่วยทาให้ชีวิตมีคุณค่า และมีความหมายมากยิ่งขึ้น คนกลุ่มนี้จะเริ่มเข้าใจถึงการพักผ่อนได้ก่อนชนกลุ่มอื่นๆได้แก่ คนที่มีฐานะดี ร่ารวย หรือสามารถหาเวลาว่างจากการทางานได้มาก ทาให้มีเวลาเป็นของตนเองได้มากด้วยเหตุนี้จึงทา ให้ทัศนคติของคนไทยส่วนใหญ่ที่มีต่อการพักผ่อนเป็นไปในทางที่ไม่ดี กล่าวคือ มองเห็นว่าการพักผ่อนเป็น เรื่องฟุ่มเฟือย หรูหรา เป็นเรื่องของคนร่ารวยเค้าทากัน และไม่มีความจาเป็นต่อชีวิต เป็นเรื่องตลกสาหรับ คนไม่มีเหตุผล บางครั้งถึงกับมีอคติ (PREJUDICES) ที่มองถึงการพักผ่อนไปในแง่ร้าย ทาให้ไม่มีการ ส่งเสริมการพักผ่อนอย่างจริงจัง ผลที่ตามมาก็คือ ความเสื่อมโทรมของสถานที่ท่องเที่ยวและสวนสาธารณะ ที่มีอยู่เป็นจานวนน้อยอยู่แล้ว เช่น สวนลุมพินี สวนสัตว์ดุสิต เป็นต้น ทาให้เกิดความไม่ปลอดภัยแก่คนที่ ต้องการพักผ่อนจริงๆ อย่างไรก็ดี ทัศนคติหรืออคติในแง่ร้ายที่ยังมีอยู่ในเวลานี้จะค่อยๆ ถูกลบให้หายไปได้ และการพักผ่อนจะเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ดีขึ้นว่า เป็นการดารงชีวิตอย่างหนึ่งที่จะช่วยให้ความเป็นอยู่ของคนดี ขึ้นทั้งทางร่างกายและจิตใจ โดยปกติสวนสาธารณะหรือสถานที่พักผ่อนในเมืองมักจะสร้างขึ้นในที่ ที่ไม่มี ใครต้องการหรือ ในที่ที่ไม่มีความสาคัญทางเศรษฐกิจแล้ว โดยเหตุที่เห็นว่าความจาเป็นทางด้านอื่นมี มากกว่าการใช้เป็นที่พักผ่อน บุคคลที่อานาจพิจารณาจัดสรรที่ดินเพื่อประโยชน์สุขของชุมชนมักจะจัดสรร
  • 13. ที่ดินเพื่อการอย่างอื่นๆ และคิดว่าการพักผ่อนเป็นเพียงผลพลอยได้ (BY PRODUCT) ของกิจการที่ได้ใช้ ที่ดิน มิได้มีการจัดสรรที่ดินไว้เพื่อใช้เป็นสวนสาธารณะหรือที่พักผ่อนโดยตรง เพราะบุคคลดังกล่าวมิได้ มองเห็นว่า สวนสาธารณะหรือที่พักผ่อนเป็นเรื่องที่มีความจาเป็น การขยายตัวของเมืองใหญ่ทาให้มีการ แข่งขันแย่งกันใช้ที่กินโดยเหลือที่ดินไว้เพียงเล็กน้อยหรือไม่เหลือเลยไว้ให้สร้างสวนสาธารณะ หรือที่ พักผ่อน และโดยเหตุที่สวนสาธารณะหรือสถานที่พักผ่อนจาเป็นต้องประกอบด้วยทรัพยากรธรรมชาติ เช่น ต้นไม้ ป่า เขา แม่น้า อยู่ในเขตที่จะจัดให้เป็นสถานที่ดังกล่าว เพื่อให้มีองค์ประกอบหลายๆ ชนิดที่ เหมาะสมต่อการพักผ่อนและทาให้การพักผ่อนมีคุณค่า การจัดสร้างสวนสาธารณะหรือที่พักผ่อน มิใช่ จัดสร้างขึ้นเพียงแต่พิจารณาว่าชุมชนอยู่ที่ไหน แต่ต้องพิจารณาด้วยว่ามีทรัพยากรธรรมชาติอยู่เพียงพอ หรือไม่ด้วย การสร้างสวนสาธารณะ หรือที่พักผ่อนจึงกระทาได้ยากมากหรือเกือบไม่ได้เลย เมื่อสถานที่ที่มี ทรัพยากรธรรมชาติที่เหมาะสมไม่เพียงพอ และลดจานวนลงเรื่อยๆ อย่างไรก็ดี ความต้องการที่จะพักผ่อนจะมีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ และจะเป็นตัวการที่บังคับให้มีการ สร้างสวนสาธารณะและสถานที่พักผ่อนในที่สุด ปัจจัยที่ทาให้ความต้องการที่จะพักผ่อนมีมากขึ้น ได้แก่ 1. การเพิ่มขึ้นของพลเมือง2. การเพิ่มขึ้นของรายได้ 3. เวลาว่างมีมากขึ้น4. ความสะดวกรวดเร็วในการคมนาคม และที่สาคัญคือ 5. การเปลี่ยนแปลงทัศนคติและความสนใจต่อการพักผ่อน โดยเน้นหนักถึงการบริหารร่างกายให้ สมบูรณ์อยู่เสมอ ทาให้สภาพจิตใจและสุขภาพดี ปัจจัยเหล่านี้จานวนประชากรถือว่ามีความสาคัญที่สุดที่จะทาให้ความต้องการสวนสาธารณะเพื่อ พักผ่อนมีมากขึ้น อย่างไรก็ดีปัจจัยเหล่านี้ไม่สามารถแยกออกจากกันได้ และมีผลกระทบถึงกันอยู่เสมอ เช่น รายได้ลดลงในขณะที่พลเมืองเพิ่มมากขึ้น อาจจะทาให้ความต้องการการพักผ่อนไม่เปลี่ยนแปลงก็ได้ เป็นต้น ปัจจัยที่สาคัญยิ่งอันหนึ่งซึ่งเป็นเรื่องของทัศนคติที่มีต่อการพักผ่อน ก็เป็นตัวการที่ทาให้ความ ต้องการพักผ่อนเพิ่มขึ้นได้ เมื่อคนส่วนใหญ่เริ่มเข้าใจถึงความสาคัญของการพักผ่อน และคิดว่าการพักผ่อน ในสวนสาธารณะหรือที่พักผ่อนที่จัดไว้อย่างดีนั้นเป็นรางวัลที่ธรรมชาติมอบให้หลังจากที่ได้ทางานหนักมา ตลอดปี ตลอดเดือน หรือ ตลอดสัปดาห์ แล้ว การพักผ่อนโดยมีทัศนคติที่ดีดังกล่าวนี้จะช่วยทาให้มองเห็น ความสาคัญของธรรมชาติ เกิดความสนใจและระมัดระวังที่จะรักษาทรัพยากรธรรมชาติให้คงอยู่ได้เป็น เวลานาน ความต้องการพักผ่อนซึ่งมีเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยปัจจัยต่าง ๆ เป็นตัวการที่ทางานร่วมกันนี้มี แนวโน้มที่ทาให้เชื่อได้ว่า จะไม่มีวันลดลงในอนาคต และเมื่อปัจจัยดังกล่าวทางานร่วมกันจนกระทั่งความ ต้องการพักผ่อนเพิ่มขึ้น แล้วปัจจัยเหล่านี้ก็เป็นตัวการที่ทาให้การจัดสร้างสาธารณะ และที่พักผ่อนเป็นไป ได้ยากขึ้นในขณะเดียวกัน ยกตัวอย่างเช่น เมื่อประชาชนเพิ่มมากขึ้น ก็มีความต้องการพื้นที่สาหรับ สวนสาธารณะมากขึ้น ในขณะเดียวกัน พื้นที่ที่สามารถสร้างเป็นสวนสาธารณะมีจากัดและลดลงไปมาก เพราะการขยายตัวของเมือง การจัดสร้างสวนสาธารณะจึงลาบากมากขึ้น เป็นต้น หรือแม้ว่ามีรายได้มาก
  • 14. ขึ้นก็ต้องการการพักผ่อนที่แตกต่างกันออกไป ทาให้การจัดสร้างสวนสาธารณะสนองความต้องการของ กลุ่มคนต่างๆ ทาได้ไม่ครบสมบูรณ์ เป็นต้น ความจาเป็นที่จะต้องมีที่ดินเพื่อสร้างเป็นสวนสาธารณะหรือที่พักผ่อนจึงเป็นที่รับรองกัน แต่ อย่างไรก็ดีเมื่อที่ดินถูกนาไปใช้สาหรับสร้างสิ่งอื่นเพื่อการขยายตัวเมือง(Urbanization)เสียแล้ว การสร้าง สวนสาธารณะก็จะยิ่งยากขึ้นหรือเป็นไปไม่ได้เลย เพราะที่ดินที่สร้างอื่นแล้ว ยากที่จะจัดให้เป็นที่ว่าง (Open Space) ได้อีกโดยเฉพาะในเมืองใหญ่ ๆ โอกาสที่จะสร้างเมืองโดยให้มีสวนสาธารณะและที่พักผ่อน ให้มีสัดส่วนเหมาะสมกันจึงนับวันแต่จะน้อยลง และจะไม่สามารถทาได้เมื่อปล่อยให้ล้วงเลยไปเป็น เวลานาน ๆ โดยไม่มีการวางแผนการไว้เสียก่อน ความสาคัญของสวนสาธารณะและที่พักผ่อนในเมือง สวนสาธารณะและที่พักผ่อนในเมืองอานวยประโยชน์แก่คนหลายประเภท คือ 1. เป็นสถานที่ให้คนใช้สร้างความสมบูรณ์ให้แก่ตนทั้งทางร่างกาย(สุขภาพ)และจิตใจ(สุขภาพจิต) 2. เป็นสถานที่ป้ องกันการบุกรุกทาลายธรรมชาติและในขณะเดียวกันเป็นสถานที่ส่งเสริมให้มี ธรรมชาติที่สมดุลกันเอง 3. เป็นสถานที่กระตุ้นให้มีการศึกษาที่ดีขึ้น รวมทั้งช่วยส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจในทางที่ ถูกต้องเพื่อที่จะให้มีสุขภาพดีรายกายของคนเราจะต้องได้รับอากาศบริสุทธิ์(FreshAir)แสงแดด (Sunlight)การออกกาลังกาย(Physical Exercise)และการผ่อนคลายความเครียดทางด้านจิตใจ (Psychological Release) ความต้องการนี้มีทั้งในเด็กและผู้ใหญ่อย่างไรก็ดีเป็นที่หน้า สังเกตว่าเมื่อ มาตรฐานการครองชีพสูงขึ้นสิ่งจาเป็นสาหรับคนทั้ง 4 ประการนี้กลับหาได้ยากขึ้น คนที่ทางานอยู่ในตึก ใหญ่ ๆ ไม่ค่อยได้สัมผัสแสงแดดและอากาศบริสุทธิ์ พนักงานห้างร้านบริษัทไม่ค่อยได้ออกกาลังกายเมื่อลา หยุดงานกลับต้องไปนั่งดูโทรทัศน์ที่บ้าน ใช้รถยนต์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการดารงชีวิตที่ไม่จาเป็นต้อง ใช้กาลังกายเสียเป็นส่วนใหญ่ สังคมที่มีการแบ่งแยกงานสลับซับซ้อนทาให้ต้องระมัดระวังกิริยาและวาจา ทาให้เกิดความยุ่งยากสับสนและเกิดอารมณ์เครียด(Emotions)ได้ง่าย ปัญหาสังคมที่พบอยู่ในปัจจุบันเป็น เพราะคนทั่วไปรู้สึกว่าคล้าย ๆ อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นเครื่องจักรกลหุ่นยนต์ปราศจากชีวิตจิตใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเมืองใหญ่ ๆ ในสังคมที่เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว เป็นการยากลาบากมากที่จะได้ พบปะสังสรรค์อย่างเป็นกันเอง(Close Social Contacte)ขาดความรู้สึกมั่นคงปลอดภัย และรู้สึกว่าไม่เป็น ตัวของตัวเอง(Lack of Sense of Belonoing)ไม่เป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่ตนอาศัยอยู่ การจัดให้มีโอกาส พักผ่อนในสวนสาธารณะจึงเป็นหนทางเดียวที่จะทาให้คนพบปะกัน ทาความคุ้นเคยกันกับเพื่อนบ้านของ เรา และทาให้คนได้พบปะกัน ทาความคุ้นเคยกันกับเพื่อนบ้านของเรา และทาให้เกิดความรู้สึกเป็นเพื่อน กันมากกว่าเป็ นชิ้นส่วนของเครื่องจักรอันหนึ่งในสังคมเท่านั้น นอกจากนี้หน้าที่อันสาคัญของ สวนสาธารณะยังใช้เป็นที่สนองความต้องการของคนที่จะใช้ใกล้ชิดธรรมชาติ(Near Nature)ทั้งคนที่มีเวลา ว่างมาก เด็ก และโดยเฉพาะอย่างยิ่งคนชราอีกด้วย สาหรับเด็กนั้นเพื่อให้เกิดความคิดที่ดีต่อธรรมชาติและ
  • 15. รู้จักสร้างสมดุลธรรมชาติเมื่อเติบโตขึ้นสวนสาธารณะและที่พักผ่อนเป็นที่สร้างความแตกต่างไปจากใน เมือง ไม่แออัดยัดเยียด ไม่จอแจ มีสิ่งต่างๆ มาก(Reduce Monotone)แปลกๆ แตกต่างกัน ทาให้ลดความ เคร่งเครียดในการได้เห็น(Visual Relisf)และพักผ่อนจิตใจ(MentelRelazation)ในระยะยาว สวนสาธารณะ เป็นที่ซึ่งมีอิทธิพลต่อการสร้างและรูปแบบของสิ่งก่อสร้างในเมืองได้ด้วย นอกจากจะสนองความต้องการของคนทั้งทางรางกายและจิตใจแล้ว สวนสาธารณะยังช่วยป้ องกัน ทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นประโยชน์ต่อคนมิให้สูญไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติเหล่านี้ได้แก่ อากาศ น้า ดิน และสัตว์ป่า ความต้องการที่ว่างสาหรับสร้างสวนสาธารณะในเมืองใหญ่ทาให้เกิดผลดีแก่คน ยกตัวอย่าง เช่นเมื่อมีที่ว่างสาหรับปลูกต้นไม้มากๆ เมื่อมีการปลูกต้นไม้แล้วจะทาหน้าที่ที่สาคัญยิ่งขึ้นไปกว่านั้นอีก คือ กลายเป็นแหล่งที่รักษาน้าให้มีอยู่ตลอดฤดูแล้ง(Watershed Area)นอกจากนี้ความพยายามสร้างแหล่งลุ่ม น้า(Watershed Area)ยังให้ประโยชน์มากมายแก่มนุษย์ เมื่อประโยชน์จากต้นไม้มีมากขึ้น เพราะต้นไม้ใน แหล่งน้าถูกปลูกให้มากขึ้น ดินไม่ถูกกัดเซาะพังทลาย ลดปัญหาน้าท่วม และปัญหาดินถูกพัดพาไปกับน้า (Siltation)แหล่งลุ่มน้า(Watershed Area)ทาหน้าที่ป้ องกันไม่ให้เกิดน้าเสีย(Water Poiuti)เช่นเดียวกับ สังคม ต้นไม้ใหญ่ที่ทาหน้าที่ป้ องกันไม่ให้อากาศเสีย(Air Pollution)น้าประปาที่ใช้อยู่ในเมืองใหญ่ก็ได้มา จากสวนสาธารณะที่กลายเป็นแหล่งลุ่มน้านี้การอนุรักษ์และป้ องกันชีวิตสัตว์ป่าเป็นเรื่องสาคัญอีกอย่าง หนึ่งที่สวนสาธารณะอานวยให้ สวนสาธารณะไม่เพียงแต่ช่วยป้ องกันสัตว์ป่าเท่านั้นหากยังช่วยให้คนได้ สังเกตและใกล้ชิดกับธรรมชาติ รู้ซึ่งถึงความสวยงามความลึกลับ และความจาเป็นที่จะต้องรักษาธรรมชาติ ไว้ไม่ว่าจะเป็นในสิ่งที่ห่างไกล หรือที่ใกล้เมืองใหญ่ๆ สิ่งต่างๆ ที่สร้างไว้ในสวนสาธารณะมีผลดีต่อเศรษฐกิจในเมืองใหญ่ เช่น บริเวณธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ สถานที่เล่นกีฬากลางแจ้ง(ล่าสัตว์ ตกปลา) เป็นต้น เป็นสิ่งที่ดึงดูดผู้คนจากบริเวณใกล้เคียง และที่ห่างไกลออกไปให้เข้ามายังสวนสาธารณะ นอกจากค่าแรงงานที่จาเป็นต่อการบารุงรักษา สวนสาธารณะแล้วรายได้ต่างๆ จะเกิดขึ้นจากการขายอาหาร น้ามันรถยนต์ อุปกรณ์ต่างๆ และเครื่องกีฬา เพื่อการพักผ่อนอื่นๆ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้สามารถทาให้เมืองบางเมืองพึ่งพาตัวเองอยู่ได้ด้วยท่องเทียวโดยแท้ ธุรกิจอุตสาหกรรมก็รู้ดีว่า เพราะความสวยงามและดึงดูดของสถานที่ เช่น สวนสาธารณธเหล่านี้ เป็นตัวการที่ดึงดูดพวกลูกจ้างและประชาชนมาอยู่ใกล้ๆ ซึ่งจะทาให้กิจการประเภทที่ดิน ทรัพย์สินต่างๆ มี ราคาสูงขึ้น เหล่านี้เป็นเพียงส่วนน้อยที่แสดงให้เห็นผลดีของการมีสวนสาธารณะที่สวยงาม ประโยชน์ที่สวนสาธารณะและที่พักผ่อนในเมืองมีต่อการศึกษานอกสถานที่ (Outdoor Education) การศึกษานอกสถานที่เป็นส่วนหนึ่งที่สนับสนุนการศึกษาโดยตรง การศึกษาที่เกี่ยวข้องกับ (Outdoor Education)เริ่มต้นที่ระดับประถมและมัธยม โดยเน้นหนักทางการฝึกฝนบริหารร่างกาย และการ กีฬา(Outdoor Education)จริงๆ นั้นเน้นหนักถึงการชี้ประโยชน์ของความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมกับ คนสิ่งที่ชั้นเรียนควรจะมีคือ การศึกษาชีววิทยา(Biology)อนุรักษ์วิทยา(Comseryation)ธรณีวิทยา
  • 16. (Geology)ซึ่งมีให้เรียนในสวนสาธารณะ หรือที่พักผ่อนที่ใหญ่ๆ นักวางแผนทางด้านการพักผ่อนและ นักการศึกษาเริ่มสนใจถึงสิ่งที่สวนสาธารณะจะอานวยให้ได้มากยิ่งขึ้น และจะมากยิ่งขึ้นในอนาคต “สวนสาธารณะหรือสวนสนุกกันแน่” โดย มรว. คึกฤทธิ์ ปราโมช หนังสือพิมพ์สยามรัฐรายวัน“ข้างสังเวียน” ฉบับวันที่ 6 มกราคม 2521 ผมชักจะสงสัยเสียแล้วซีครับว่า เรารู้จักกันหรือป่าว สวนสาธารณะกับสวนสนุกนั้นแตกต่างกัน อย่างไร และมีใครสนใจกันจริงจังหรือเปล่าว่าคนที่เบียดเสียดยัดเยียดกันอยู่ในกรุงเทพ๚ ทุกวันนี้ต้องการที่ ร่มรื่นกว้างขว้างเอาไว้ผ่อนคลายความตึงเครียด หรือว่าต้องการไปยืนเบียดเข้าคิวกันเพื่อรอขึ้นหอคอยสูงๆ ผมเข้าใจว่าสวนจตุจักรนั้นการรถไฟได้น้อมเกล้า๚ ถวายสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเพื่อให้ กรุงเทพมหานครจัดเป็นสวนสาธารณะที่ฝรั่ง ปลูกต้นไม้นานาพันธุ์ให้ร่มรื่น มีทางเดินเท้ามีที่นั่งพักมีสนาม หญ้า มีสระน้า และปลูกดอกไม้ตามฤดูกาล เพื่อให้อาณาประชาราษฎรของพระองค์ได้มีที่นั่งพักผ่อนหย่อน ใจคลายความตึงเครียดจากสิ่งแวดล้อมอันแออัดไปด้วยตึกราม ผู้คนมีที่หายใจ อากาศซึ่งถึงแม้จะไม่ บริสุทธิ์นักก็ยังดีกว่าอากาศในตรอก ซอย หรือ ในบ้านช่องที่คับแคบ แต่เมื่อได้เห็นข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์ในระยะนี้ผมจึงเกิดความสงสัยดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น นอกจากสงสัยแล้วก็ผิดหวังอย่างมากอีกด้วยเพราะตามข่าวหนังสือพิมพ์นั้นในสวนจตุจักรจะมีลาน อเนกประสงค์ มีสนามหญ้า มีสนามฟุตบอล มีสระน้าขนาดใหญ่ มีสังคีตศาลา มีหมู่บ้านไทยของแต่ละ ภาคให้ดูแตกต่างกัน มีพิพิธภัณฑ์รถไฟและจะให้เอกชนเข้าสร้างหอคอยสูงแบบหอไอเฟิล เพื่อให้คนขึ้นไป ดูทิวทัศน์บนนั้น และหอคอยนี้จะเป็นหอคอยที่สูงที่สุดในโลกหรือในเอเชียอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งผมก็ไม่ แน่ใจนัก ฟังดูแล้วก็อดนึกไปไม่ได้ว่าชนชั้นผู้ว่าราชการกับสมภารวัดบ้านนอกนั้นเหมือนกันเริ่มต้นก็สร้าง โบสถ์ สร้างเสนานะ ต่อไปก็สร้างศาลาการเปรียญ ต่อไปก็สร้างหอระฆัง สร้างวิหาร พอเข้าชั้นนี้ก็หยุดไม่ได้ เป็น โรคก่อสร้างขึ้นสมองต้อง สร้างเขื่อน สร้างกาแพงวัด สร้างโรงเรียนพระ สร้างโรงเรียนเด็ก ไปจนถึง พระพุทธรูปที่ใหญ่ที่สุดในโลก จนวัดกลายเป็นดิสนีย์แลนด์ ไม่ใช้วัดอีกต่อไป สวนจตุจักรนั้นพอเริ่มต้นก็จะ เป็นดีสนีย์แลนด์เสียแล้วไม่ใช้สวนสาธารณะตัณหาของผู้ว่าราชการแบบนี้ไม่ได้มีอยู่เฉพาะแต่ผู้ว่าราชการ กทม. คนปัจจุบันเท่านั้นแต่ได้เคยมีและยังมีอยู่ให้หลายผู้ว่าราชการ ผมอยากจะพูดว่าเป็นผลของการไปดูงานในต่างประเทศ เพราะการไปดูงานนั้นแยกไม่ออกจาก การไปเที่ยว เมื่อไปถึงเขาถามว่าอยากอะไรก็อยากไปดูแต่ที่ที่เห็นว่าสนุกนาเที่ยว เช่น ดีสนี่แลนด์ หอไอ เฟิล หอคอยสูงกว่าไอเฟิลที่ญี่ปุ่น ไปเที่ยวมาแล้วก็นึกว่าดูงานแล้ว เกิดติดตาติดใจในของที่ได้พบได้เห็น เอามาคิดมาฝันถ้าไม่ได้ทาบ้างก็นอนไม่หลับ ครับ เหมือนกับสมภารบ้านนอกมาธุระที่กรุงเทพ๚ กลับไปก็ ไปฝันถึงวัดเชตุพน วัดสุทัศน์ อยากจะสร้างวัดของตนให้ใหญ่โตขนาดนั้นบ้าง
  • 17. ส่วนสวนสาธารณะซึ่งในต่างประเทศเขาเห็นว่าจาเป็นจริงๆ เพราะเป็นปอดหายใจของมหานคร และเมืองใหญ่ๆ นั้น ท่านที่ไปดูงานก็คงแต่เพียงขับรถผ่านๆ ไปไม่สนใจและไม่ได้สังเกต เพราะมันดัง ไม่ สนุกเกรียวกราวเหมือนกับที่ที่นักท้องเที่ยวเขาไปกัน แต่สวนสาธารณะก็ยังจาเป็นอยู่นั้นเองแหละครับ จาเป็นเพราะกรุงเทพ๚ เสียเปรียบมหานครอื่นๆ เขามาตั้งแต่แรกเพราะท่านมาสร้างกรุงกันในที่ซึ่งเป็นทุ่ง หาป่าเกือบจะไม่ได้ อย่างที่เมืองสิงค์โปร หรือปีนัง มีป่ามีเขา เมื่อรั่งมาสร้างเมืองก็กันป่ากันเขาเอาไว้ส่วนหนึ่งให้เป็น สวนพฤกษชาติ แล้วดัดแปลงเพียงบางส่วน ส่วนใหญ่นั้นทิ้งไว้ให้เป็นป่าตามเดิมเขาจึงมีสวนสาธารณะที่ เป็นที่หายใจได้จริงๆ ที่นิวยอร์คก็เช่นเดียวกัน เขาทิ้ง เซ็นทรัลพาร์ก ไว้ตามธรรมชาติ ไม่แตะต้อง ที่ลอนดิน ที่ปารีส ก็เช่นเดียวกันอีก สวนสาธารณะที่เขามี เช่น ไฮปาร์ค และรีเย็นต์ปาร์คที่กรุง ลอนดอน หรือ บัวส์เดอบูลอยน์ที่ปารีสนั้น เคยเป็นป่าที่เจ้านายขุนนางแต่ก่อนเก็บเอา ไว้ล่าสัตว์ทั้งนั้น เดี่ยวนี้จึงเป็นสวนสาธารณะเต็มภาคภูมิ ไม่ใช้สวนสนุก แต่กรุงเทพ๚ นั้นยากที่จะต้องปลูกต้นไม้ขึ้นกลางทุ่ง ซึ่งจะต้องกินเวลานานพอสมควรเป็นการเสียเปรียบอยู่ แล้วแต่สวนลุมพินีก็ยังหาต้นไม้ใหญ่จริงๆ ได้น้อย ผมเคยหวังว่าสวนจตุจักรจะได้เป็นสวนสาธารณะจริงๆ ในอนาคตแต่เมื่อมาได้ข่าวว่าจะสร่างอะไรต่ออะไร กันยกใหญ่ ก็ต้องโวยเพราะผิดหวัง อย่าถือสาอะไรเลยครับ นึกว่าจิ่งจกทักก็แล้วกัน เพราะถึงจะปลูกต้นไม้อย่างผมว่า ผมก็คงไม่อยู่ทันดู แต่ก็อยากจะขอให้ช่วยกันคิดว่า คนเรานั้น จะต้องทาอะไรให้เกิดผลทันตาเห็นไปหมดทุกอย่างที่เดียวหรือ จะทาอะไรไว้ให้ลูกหลานมันได้รับผลในทางที่ดีบ้างไม่ได้หรือยังไง จากบทความเสริมสร้างความเข้าใจในเรื่องของปาร์ค ซึ่งคุณพิชาพิทยขจรวุฒิ และ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้แสดงความคิดเห็นมานี้จะเห็นได้ว่าสวนสาธารณะมีประโยชน์และเป็นแหล่งนันทนาการที่ สาคัญยิ่งสาหรับประชาชน ที่จะช่วยเสริมสร้างประสบการณ์และคุณภาพชีวิตของคนในเมืองหลวงช่วย ผ่อนคลายความตึงเครียด และลดความวิตกกังวลขอบสังคมและประการสาคัญส่งเสริมให้มนุษย์ได้สัมผัส อย่างใกล้ชิดกับธรรมชาติซึ่งเป็นที่ต้องการมากในสภาพแวดล้อมของวัตถุอาคาร สถานที่มนุษย์ได้ก่อสร้าง ขึ้นและจากการเปลี่ยนแปลงพัฒนาสังคมไทย จากระบบเศรษฐกิจและสังคมทางเกษตรกรรมมาเป็นสังคม เศรษฐกิจแบบอุตสาหกรรมใหม่หรือนิกส์นั้นทาให้ประชาชนต้องประสบปัญหาใหม่ๆ ที่กาลังเกิดขึ้นอย่าง รวดเร็วในเรื่องของมลภาวะเป็นพิษในสภาพแวดล้อมทั้งที่พักอาศัยและย่านธุรกิจการค้าปัญหาประชากร แออัด การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจทาให้เกิดปัญหาเงินเฟ้ อ เงินฝืด ปัญหาค่านิยมของครอบครัว เปลี่ยนแปลงเหล่านี้เป็นต้น ดังนั้นแหล่งนันทนาการสวนสาธารณะ จึงมีบทบาทสาคัญในการลด ความเครียด และเสริมสร้างคุณภาพชีวิตแก่ชุมชนเมืองเป็นอย่างยิ่ง