SlideShare a Scribd company logo
1 of 38
Download to read offline
1
การบาเพ็ญบารมี ๑๐ พระชาติ ตอนที่ ๒
มหาชนกชาดก (วิริยะบารมี)
พลตรี มารวย ส่งทานินทร์
๒๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๖
เกริ่นนา
มหาชนกชาดก เป็นเรื่องที่พระพุทธเจ้าเมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระเชตวัน ทรงปรารภการเสด็จ
ออกบรรพชาครั้งใหญ่ (ในอดีต) จึงได้ตรัสเรื่องพระมหาชนกนี้ โดยทรงยกคาถาแรกของเรื่องที่นางเทพธิดา
กล่าวกับพระมหาชนกที่กาลังว่ายน้าข้ามทะเลอยู่ว่า “ใครกันนี่ ทั้งๆ ที่มองไม่เห็นฝั่งก็ยังพยายาม(ว่าย)อยู่
ในท่ามกลางสมุทร ” เป็นต้น
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]
ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๒
๒. มหาชนกชาดก
ว่าด้วยพระมหาชนกทรงบาเพ็ญวิริยะบารมี
(เทพธิดากล่าวว่า)
[๑๒๓] ใครกันนี่ ทั้งๆ ที่มองไม่เห็นฝั่ง ก็ยังเพียรพยายาม(ว่าย)อยู่ในท่ามกลางสมุทร ท่านรู้
อานาจประโยชน์อะไร จึงพยายามเต็มที่อยู่อย่างนี้
(พระโพธิสัตว์ตอบว่า)
[๑๒๔] เทพธิดา เราพิเคราะห์เห็นธรรมเนียมของโลก และอานิสงส์ของความพยายาม
เพราะฉะนั้น ทั้งๆ ที่มองไม่เห็นฝั่ง เราจึงเพียรพยายาม(ว่าย)อยู่ในท่ามกลางสมุทร
(เทพธิดากล่าวว่า)
[๑๒๕] ฝั่งสมุทรอันลึกประมาณไม่ได้ยังไม่ปรากฏ ความพยายามอย่างลูกผู้ชายของท่านย่อม
เปล่าประโยชน์ ยังไม่ทันจะถึงฝั่งเลย ท่านก็จักตายแน่
(พระโพธิสัตว์ตอบว่า)
[๑๒๖] บุคคลผู้ทาหน้าที่ของลูกผู้ชายอยู่ จะไม่ถูกหมู่ญาติ เทวดา และพรหมทั้งหลายนินทา ทั้ง
จะไม่เดือดร้อนในภายหลัง
(เทพธิดากล่าวว่า)
[๑๒๗] การงานที่ให้ถึงฝั่งไม่ได้ ปราศจากผล ก่อให้เกิดความลาบาก และความตาย ย่อมมีได้
เพราะทาการงานใด ประโยชน์อะไรด้วยความพยายาม ในการงานนั้น
(พระโพธิสัตว์ตอบว่า)
2
[๑๒๘] เทพธิดา บุคคลใดรู้ว่า งานสุดวิสัยเกินตัวแล้ว ไม่รักษาชีวิตของตน ถ้าผู้นั้นคลายความ
เพียรเสีย ก็จะพึงรู้ผลของงานนั้น
[๑๒๙] เทพธิดา คนบางพวกในโลกนี้ พิจารณาเห็นผลแห่งความมุ่งประสงค์ของตน จึง
ประกอบการงานทั้งหลาย การงานเหล่านั้นจะสาเร็จหรือไม่ก็ตามที
[๑๓๐] เทพธิดา ท่านกาลังเห็นผลงานที่ประจักษ์แก่ตนเองแล้วมิใช่หรือ คนอื่นๆ พากันจมน้าแล้ว
เราคนเดียวเท่านั้นพยายามข้ามอยู่ และยังเห็นท่านอยู่ใกล้เรา
[๑๓๑] เรานั้นจักพยายามตามกาลังความสามารถ จักไปให้ถึงฝั่งสมุทร จักทาความเพียรอย่าง
ลูกผู้ชาย
(ต่อมา พระโพธิสัตว์ได้ครองราชสมบัติในเมืองมิถิลาแล้ว ทรงระลึกถึงผลแห่งความเพียรชอบของ
พระองค์ ทรงเปล่งอุทานด้วยกาลังปีติว่า)
[๑๓๒] ท่านใดถึงพร้อมด้วยความพยายามโดยธรรม ไม่จมลงในห้วงมหรรณพที่หาประมาณมิได้
เห็นปานนี้ ด้วยการกระทา ท่านนั้นจงไปในสถานที่ที่ท่านชอบใจเถิด ขุมทรัพย์ใหญ่ ๑๖ ขุมนี้ (ขุมทรัพย์ใหญ่
๑๖ ขุมที่พระเจ้าโปลชนกทรงฝังไว้ อธิบายโดยย่อ ดังนี้ ๑. ขุมทรัพย์ที่อยู่ทางดวงอาทิตย์ขึ้น หมายถึงที่
ต้อนรับพระปัจเจกพุทธเจ้า ๒. ขุมทรัพย์ที่อยู่ทางดวงอาทิตย์ตก หมายถึงที่ส่งพระปัจเจกพุทธเจ้ากลับ ๓.
ขุมทรัพย์ที่อยู่ภายใน หมายถึงขุมทรัพย์ที่อยู่ภายในประตูใหญ่พระราชวัง ๔. ขุมทรัพย์ที่อยู่ภายนอก
หมายถึงขุมทรัพย์ที่อยู่ภายนอกประตูใหญ่พระราชวัง ๕. ขุมทรัพย์ที่ไม่ใช่อยู่ภายในภายนอก หมายถึง
ขุมทรัพย์ที่ฝังไว้ภายใต้ธรณีประตู ๖. ขุมทรัพย์ที่ทางขึ้น หมายถึงขุมทรัพย์ตรงที่ลาดบันได เวลาเสด็จขึ้นช้าง
มงคล ๗. ขุมทรัพย์ที่ทางลง หมายถึงขุมทรัพย์ที่ฝังไว้ตรงที่เสด็จลงจากคอช้าง ๘.-๑๑. ขุมทรัพย์ที่ไม้สาละ
ทั้ง ๔ หมายถึงขุมทรัพย์ที่ฝังไว้ที่เท้าพระแท่นบรรทมทั้ง ๔ ๑๒. ขุมทรัพย์ที่โยชน์หนึ่งโดยรอบ หมายถึง
ขุมทรัพย์ที่ฝังไว้ชั่วแอก (หนึ่งวา) รอบที่บรรทม ๑๓. ขุมทรัพย์ที่ปลายงาทั้ง ๒ หมายถึงขุมทรัพย์ที่ฝังไว้ตรง
ปลายงาทั้ง ๒ ของช้างมงคลในโรงช้างมงคล ๑๔. ขุมทรัพย์ที่ปลายหาง หมายถึงขุมทรัพย์ที่ฝังไว้ตรงปลาย
หางของช้างมงคลในโรงช้างมงคล ๑๕. ขุมทรัพย์ที่สระน้า หมายถึงขุมทรัพย์ที่ฝังไว้ในสระโบกขรณีมงคล
๑๖. ขุมทรัพย์ที่ยอดไม้ หมายถึงขุมทรัพย์ที่ฝังไว้ใต้ต้นรังใหญ่ในพระราชอุทยาน เวลาเที่ยงวันเงาจะอยู่ที่
โคนต้น จึงให้ขุดทรัพย์ที่นั้น ธนูหนักหนึ่งพันแรงคน หมายถึงธนูที่ใช้แรงคนโก่งหนึ่งพันคน แต่พระมหา
ชนกโก่งได้โดยง่ายเหมือนธนูดีดฝ้ายของสตรี บัลลังก์สี่เหลี่ยม ก็ทรงทราบด้านศีรษะของบัลลังก์ให้พระนาง
สีวลีเอาปิ่นปักพระเกศาวาง ผู้ทาเจ้าหญิงสีวลีให้ยินดี หมายถึงพระนางสีวลียินดีกับชายใด ชายนั้นจะได้
ครองราชย์ พระมหาชนกเป็นที่โปรดปรานของพระนางสีวลีตั้งแต่แรกพบถึงกับยื่นพระหัตถ์ให้เกาะ ท้าวเธอ
ก็ทรงเกาะพระหัตถ์พระนางขึ้นสู่ปราสาท) คือ
๑. ขุมทรัพย์ที่อยู่ทางดวงอาทิตย์ขึ้น
๒. ขุมทรัพย์ที่อยู่ทางดวงอาทิตย์ตก
๓. ขุมทรัพย์ที่อยู่ภายใน
๔. ขุมทรัพย์ที่อยู่ภายนอก
๕. ขุมทรัพย์ที่ไม่ใช่อยู่ภายในภายนอก
3
๖. ขุมทรัพย์ที่ทางขึ้น
๗. ขุมทรัพย์ที่ทางลง
๘.-๑๑. ขุมทรัพย์ที่ไม้สาละทั้ง ๔
๑๒. ขุมทรัพย์ที่โยชน์หนึ่งโดยรอบ
๑๓. ขุมทรัพย์ที่ปลายงาทั้ง ๒
๑๔. ขุมทรัพย์ที่ปลายหาง
๑๕. ขุมทรัพย์ที่สระน้า
๑๖. ขุมทรัพย์ที่ยอดไม้ ธนูหนักหนึ่งพันแรงคน
บัลลังก์สี่เหลี่ยม ผู้ทาเจ้าหญิงสีวลีให้ยินดี
[๑๓๓] บุรุษผู้เป็นบัณฑิตพึงหวังร่าไป ไม่พึงเบื่อหน่าย เราเห็นตนเองได้เป็นพระราชาตามที่ตน
ปรารถนา
[๑๓๔] บุรุษผู้เป็นบัณฑิตพึงหวังร่าไป ไม่พึงเบื่อหน่าย เราเห็นตนเองถูกอุ้มจากน้าขึ้นบกแล้ว
[๑๓๕] บุรุษผู้เป็นบัณฑิตพึงพยายามร่าไป ไม่พึงเบื่อหน่าย เราเห็นตนเองได้เป็นพระราชาตามที่
ตนปรารถนา
[๑๓๖] บุรุษผู้เป็นบัณฑิตพึงพยายามร่าไป ไม่พึงเบื่อหน่าย เราเห็นตนเองถูกอุ้มจากน้าขึ้นบกแล้ว
[๑๓๗] คนมีปัญญาแม้ถูกทุกข์กระทบแล้ว ก็ไม่พึงทาลายความหวัง เพื่อการมาถึงแห่งความสุข
เพราะสัมผัสมีมากอย่างทั้งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์ ผู้ไม่นึกถึงประโยชน์ย่อมเข้าถึงความตาย
[๑๓๘] สิ่งที่ไม่ได้คิดกลับเป็นไปได้ สิ่งที่คิดแล้วกลับพินาศไป ทรัพย์สมบัติทั้งหลายของหญิงหรือ
ชาย หาได้สาเร็จด้วยความคิดไม่
(ชาวเมืองกล่าวกันว่า)
[๑๓๙] ท่านผู้เจริญ พระราชาผู้ครอบครองพื้นที่ทั้งปวง เป็นใหญ่ในทิศ ไม่เป็นเหมือนแต่ก่อน
หนอ วันนี้ ไม่ทอดพระเนตรการฟ้อนรา ไม่ทรงใส่พระทัยในการขับร้อง
[๑๔๐] ไม่ทอดพระเนตรฝูงเนื้ อ ไม่เสด็จประพาสพระราชอุทยาน ไม่ทอดพระเนตรฝูงหงส์
พระองค์ทรงประทับนิ่งเฉยเหมือนคนใบ้ ไม่ทรงว่าราชการเลย
(พระโพธิสัตว์ทรงระลึกถึงพระปัจเจกพุทธเจ้า ทรงเปล่งอุทานว่า)
[๑๔๑] นักปราชญ์ทั้งหลายผู้ใคร่ความสุข มีปกติหลีกเร้น ปราศจากเครื่องผูกคือกิเลส ทั้งหนุ่มทั้ง
แก่ ก้าวล่วงตัณหาเสียได้ ย่อมอยู่ ณ อารามของใครหนอในวันนี้
[๑๔๒] ข้าพเจ้าขอนอบน้อมนักปราชญ์เหล่านั้นผู้แสวงหาคุณใหญ่ นักปราชญ์เหล่าใดเป็นผู้ไม่
ขวนขวายอยู่ในโลกที่ถึงความขวนขวาย
[๑๔๓] นักปราชญ์เหล่านั้นตัดข่ายคือตัณหาอันมั่นคงแห่งมฤตยู ที่มีมายาอย่างยิ่งทาลายด้วย
ญาณไปอยู่ ใครเล่าจะพึงนาเราไปให้ถึงสถานที่อยู่ของนักปราชญ์เหล่านี้ ได้
[๑๔๔] เมื่อไร เราจักละกรุงมิถิลาอันรุ่งเรือง ที่นายช่างผู้ฉลาดได้จัดจาแนกไว้ สร้างไว้เป็นสัดส่วน
ออกบวชได้ การละนครเห็นปานนี้ ออกบวชนั้นจักสาเร็จได้เมื่อไรหนอ
4
[๑๔๕] เมื่อไร เราจักละกรุงมิถิลาอันรุ่งเรือง กว้างขวาง สว่างไสวทั่วทุกทิศ ออกบวชได้ การละ
นครเห็นปานนี้ ออกบวชนั้นจักสาเร็จได้เมื่อไรหนอ
[๑๔๖] เมื่อไร เราจักละกรุงมิถิลาอันรุ่งเรือง ซึ่งมีปราการและเสาค่ายเป็นอันมาก ออกบวชได้
การละนครเห็นปานนี้ ออกบวชนั้นจักสาเร็จได้เมื่อไรหนอ
[๑๔๗] เมื่อไร เราจักละกรุงมิถิลาอันรุ่งเรือง มีป้อมคูและซุ้มประตูมั่นคง ออกบวชได้ การละนคร
เห็นปานนี้ ออกบวชนั้นจักสาเร็จได้เมื่อไรหนอ
[๑๔๘] เมื่อไร เราจักละกรุงมิถิลาอันรุ่งเรือง มีถนนหลวงตัดไว้อย่างดี ออกบวชได้ การละนคร
เห็นปานนี้ ออกบวชนั้นจักสาเร็จได้เมื่อไรหนอ
[๑๔๙] เมื่อไร เราจักละกรุงมิถิลาอันรุ่งเรือง มีร้านตลาดที่จัดแยกไว้สวยงาม ออกบวชได้ การละ
นครเห็นปานนี้ ออกบวชนั้นจักสาเร็จได้เมื่อไรหนอ
[๑๕๐] เมื่อไร เราจักละกรุงมิถิลาอันรุ่งเรือง ซึ่งมีโค ม้า และรถเบียดเสียดกัน ออกบวชได้ การละ
นครเห็นปานนี้ ออกบวชนั้นจักสาเร็จได้เมื่อไรหนอ
[๑๕๑] เมื่อไร เราจักละกรุงมิถิลาอันรุ่งเรือง มีสวนสาธารณะมีระเบียบเรียบร้อย ออกบวชได้ การ
ละนครเห็นปานนี้ ออกบวชนั้นจักสาเร็จได้เมื่อไรหนอ
[๑๕๒] เมื่อไร เราจักละกรุงมิถิลาอันรุ่งเรือง ที่มีวนอุทยาน มีระเบียบเรียบร้อย ออกบวชได้ การ
ละนครเห็นปานนี้ ออกบวชนั้นจักสาเร็จได้เมื่อไรหนอ
[๑๕๓] เมื่อไร เราจักละกรุงมิถิลาอันรุ่งเรือง มีปราสาทราชมณเฑียร สถานที่และอุทยาน เป็น
ระเบียบเรียบร้อย ออกบวชได้ การละนครเห็นปานนี้ ออกบวชนั้นจักสาเร็จได้เมื่อไรหนอ
[๑๕๔] เมื่อไร เราจักละกรุงมิถิลาอันรุ่งเรือง มีปราการ ๓ ชั้น คับคั่งด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ ที่
พระเจ้าวิเทหะ ผู้เรืองยศพระนามว่าโสมนัสได้ทรงสร้างไว้ ออกบวชได้ การละนครเห็นปานนี้ ออกบวชนั้นจัก
สาเร็จได้เมื่อไรหนอ
[๑๕๕] เมื่อไร เราจักละแคว้นวิเทหะอันรุ่งเรือง พรั่งพร้อมด้วยการสะสมเสบียง เช่น สะสมทรัพย์
และธัญญาหารเป็นต้น ที่พระเจ้าวิเทหะทรงปกครองโดยชอบธรรม ออกบวชได้ การละแคว้นเห็นปานนี้ ออก
บวชนั้นจักสาเร็จได้เมื่อไรหนอ
[๑๕๖] เมื่อไร เราจักละแคว้นวิเทหะอันรุ่งเรือง ที่พวกปรปักษ์ผจญไม่ได้ ซึ่งพระเจ้าวิเทหะทรง
ปกครองโดยธรรม ออกบวชได้ การละแคว้นเห็นปานนี้ ออกบวชนั้นจักสาเร็จได้เมื่อไรหนอ
[๑๕๗] เมื่อไร เราจักละพระตาหนักอันเป็นสถานที่น่ารื่นรมย์ ที่นายช่างผู้ฉลาดได้จัดจาแนกไว้
สร้างไว้เป็นส่วนสัด ออกบวชได้ การละพระตาหนักเห็นปานนี้ ออกบวชนั้นจักสาเร็จได้เมื่อไรหนอ
[๑๕๘] เมื่อไร เราจักละพระตาหนักอันเป็นสถานที่น่ารื่นรมย์ ที่โบกฉาบด้วยปูนขาวและดิน
เหนียว ออกบวชได้ การละพระตาหนักเห็นปานนี้ ออกบวชนั้นจักสาเร็จได้เมื่อไรหนอ
[๑๕๙] เมื่อไร เราจักละพระตาหนักอันเป็นสถานที่น่ารื่นรมย์ มีกลิ่นหอมสดชื่นรื่นรมย์ใจ ออก
บวชได้ การละพระตาหนักเห็นปานนี้ ออกบวชนั้นจักสาเร็จได้เมื่อไรหนอ
5
[๑๖๐] เมื่อไร เราจักละพระตาหนักเรือนยอด ที่นายช่างผู้ชาญฉลาดจัดจาแนก สร้างไว้เป็น
สัดส่วน ออกบวชได้ การละพระตาหนักเห็นปานนี้ ออกบวชนั้นจักสาเร็จได้เมื่อไรหนอ
[๑๖๑] เมื่อไร เราจักละพระตาหนักเรือนยอด ที่โบกฉาบด้วยปูนขาวและดินเหนียว ออกบวชได้
การละพระตาหนักเห็นปานนี้ ออกบวชนั้นจักสาเร็จได้เมื่อไรหนอ
[๑๖๒] เมื่อไร เราจักละพระตาหนักเรือนยอด ที่มีกลิ่นหอมสดชื่นรื่นรมย์ใจ ออกบวชได้ การละ
พระตาหนักเห็นปานนี้ ออกบวชนั้นจักสาเร็จได้เมื่อไรหนอ
[๑๖๓] เมื่อไร เราจักละพระตาหนักเรือนยอด ที่นายช่างผู้ชาญฉลาดฉาบทา และประพรมด้วย
จุรณแก่นจันทน์ ออกบวชได้ การละพระตาหนักเห็นปานนี้ ออกบวชนั้นจักสาเร็จได้เมื่อไรหนอ
[๑๖๔] เมื่อไร เราจึงจักละบัลลังก์ทอง ที่ลาดด้วยพรมขนสัตว์อันวิจิตร ออกบวชได้ การละบัลลังก์
ทองเห็นปานนี้ ออกบวชนั้นจักสาเร็จได้เมื่อไรหนอ
[๑๖๕] เมื่อไร เราจักละบัลลังก์แก้วมณี ที่ลาดด้วยพรมขนสัตว์อันวิจิตร ออกบวชได้ การละ
บัลลังก์แก้วมณีเห็นปานนี้ ออกบวชนั้นจักสาเร็จได้เมื่อไรหนอ
[๑๖๖] เมื่อไร เราจักละผ้าฝ้าย ผ้าไหม ผ้าป่าน และผ้าขนสัตว์อย่างละเอียด ออกบวชได้ การละ
ผ้าเห็นปานนี้ ออกบวชนั้นจักสาเร็จได้เมื่อไรหนอ
[๑๖๗] เมื่อไร เราจักละสระโบกขรณีอันรื่นรมย์ มีนกจักรพากส่งเสียงร่าร้องอยู่ ดารดาษไปด้วย
ดอกมณฑาลก ดอกปทุม และดอกอุบล ออกบวชได้ การละสระโบกขรณีเห็นปานนี้ ออกบวชนั้นจักสาเร็จได้
เมื่อไรหนอ
[๑๖๘] เมื่อไร เราจักละกองช้างพลายที่ประดับด้วยเครื่องอลังการพร้อมสรรพ มีสายรัดทองคา มี
เครื่องปกกระพองและข่ายทองคา
[๑๖๙] มีนายควาญช้างถือโตมรและขอขึ้นขี่ประจา ออกบวชได้ การละกองช้างเห็นปานนี้ ออก
บวชนั้นจักสาเร็จได้เมื่อไรหนอ
[๑๗๐] เมื่อไร กองม้าสินธพชาติอาชาไนย (ม้าสินธพชาติอาชาไนย หมายถึงฝูงม้าที่มีชื่อว่า
อาชาไนย เพราะเป็นม้าที่รู้จักเหตุและมิใช่เหตุ (ฝึกง่าย) โดยกาเนิด) ที่ประดับด้วยเครื่องอลังการ
พร้อมสรรพ เป็นพาหนะเร็ว
[๑๗๑] มีนายสารถีถือแส้และธนูขึ้นขี่ประจา ออกบวชได้ การละกองม้าเห็นปานนี้ ออกบวชนั้นจัก
สาเร็จได้เมื่อไรหนอ
[๑๗๒] เมื่อไร เราจักละกองรถที่ติดเครื่องรบ ชักธงชัยเฉลิมพลประจา หุ้มด้วยหนังเสือเหลืองและ
เสือโคร่ง ประดับด้วยเครื่องอลังการพร้อมสรรพ
[๑๗๓] มีนายสารถีสวมเกราะถือธนูขึ้นขี่ประจา ออกบวชได้ การละกองรถเห็นปานนี้ ออกบวชนั้น
จักสาเร็จได้เมื่อไรหนอ
[๑๗๔] เมื่อไร เราจักละรถทองคาที่ติดเครื่องรบ ชักธงชัยเฉลิมพลประจา หุ้มด้วยหนังเสือเหลือง
และเสือโคร่ง ประดับด้วยเครื่องอลังการพร้อมสรรพ
6
[๑๗๕] มีนายสารถีสวมเกราะถือธนูขึ้นขี่ประจา ออกบวชได้ การละรถทองคาเห็นปานนี้ ออกบวช
นั้นจักสาเร็จได้เมื่อไรหนอ
[๑๗๖] เมื่อไร เราจักละรถเงินที่ติดเครื่องรบ ชักธงชัยเฉลิมพลประจา หุ้มด้วยหนังเสือเหลืองและ
เสือโคร่ง ประดับด้วยเครื่องอลังการพร้อมสรรพ
[๑๗๗] มีนายสารถีสวมเกราะถือธนูขึ้นขี่ประจา ออกบวชได้ การละรถเงินเห็นปานนี้ ออกบวชนั้น
จักสาเร็จได้เมื่อไรหนอ
[๑๗๘] เมื่อไร เราจักละรถม้าที่ติดเครื่องรบ ชักธงชัยเฉลิมพลประจา หุ้มด้วยหนังเสือเหลืองและ
เสือโคร่ง ประดับด้วยเครื่องอลังการพร้อมสรรพ
[๑๗๙] มีนายสารถีสวมเกราะถือธนูขึ้นขี่ประจา ออกบวชได้ การละรถม้าเห็นปานนี้ ออกบวชนั้น
จักสาเร็จได้เมื่อไรหนอ
[๑๘๐] เมื่อไร เราจักละรถเทียมด้วยอูฐที่ติดเครื่องรบ ชักธงชัยเฉลิมพลประจา หุ้มด้วยหนังเสือ
เหลืองและเสือโคร่ง ประดับด้วยเครื่องอลังการพร้อมสรรพ
[๑๘๑] มีนายสารถีสวมเกราะถือธนูขึ้นขี่ประจา ออกบวชได้ การละรถเทียมด้วยอูฐเห็นปานนี้
ออกบวชนั้นจักสาเร็จได้เมื่อไรหนอ
[๑๘๒] เมื่อไร เราจักละรถเทียมด้วยโคที่ติดเครื่องรบ ชักธงชัยเฉลิมพลประจา หุ้มด้วยหนังเสือ
เหลืองและเสือโคร่ง ประดับด้วยเครื่องอลังการพร้อมสรรพ
[๑๘๓] มีนายสารถีสวมเกราะถือธนูขึ้นขี่ประจา ออกบวชได้ การละรถเทียมด้วยโคเห็นปานนี้ ออก
บวชนั้นจักสาเร็จได้เมื่อไรหนอ
[๑๘๔] เมื่อไร เราจักละรถเทียมด้วยแพะที่ติดเครื่องรบ ชักธงชัยเฉลิมพลประจา หุ้มด้วยหนังเสือ
เหลืองและเสือโคร่ง ประดับด้วยเครื่องอลังการพร้อมสรรพ
[๑๘๕] มีนายสารถีสวมเกราะถือธนูขึ้นขี่ประจา ออกบวชได้ การละรถเทียมด้วยแพะเห็นปานนี้
ออกบวชนั้นจักสาเร็จได้เมื่อไรหนอ
[๑๘๖] เมื่อไร เราจักละรถเทียมด้วยแกะที่ติดเครื่องรบ ชักธงชัยเฉลิมพลประจา หุ้มด้วยหนังเสือ
เหลืองและเสือโคร่ง ประดับด้วยเครื่องอลังการพร้อมสรรพ
[๑๘๗] มีนายสารถีสวมเกราะถือธนูขึ้นขี่ประจา ออกบวชได้ การละรถเทียมด้วยแกะเห็นปานนี้
ออกบวชนั้นจักสาเร็จได้เมื่อไรหนอ
[๑๘๘] เมื่อไร เราจักละรถเทียมด้วยเนื้ อที่ติดเครื่องรบ ชักธงชัยเฉลิมพลประจา หุ้มด้วยหนังเสือ
เหลืองและเสือโคร่ง ประดับด้วยเครื่องอลังการพร้อมสรรพ
[๑๘๙] มีนายสารถีสวมเกราะถือธนูขึ้นขี่ประจา ออกบวชได้ การละรถเทียมด้วยเนื้ อเห็นปานนี้
ออกบวชนั้นจักสาเร็จได้เมื่อไรหนอ
[๑๙๐] เมื่อไร เราจักละกองช้างที่ประดับด้วยเครื่องอลังการพร้อมสรรพ สวมเกราะสีเขียว แกล้ว
กล้า ถือโตมรและขอ ออกบวชได้ การละกองช้างเห็นปานนี้ ออกบวชนั้นจักสาเร็จได้เมื่อไรหนอ
7
[๑๙๑] เมื่อไร เราจักละกองม้าที่ประดับด้วยเครื่องอลังการพร้อมสรรพ สวมเกราะสีเขียว แกล้ว
กล้า สะพายธนูและแล่ง ออกบวชได้ การละกองม้าเห็นปานนี้ ออกบวชนั้นจักสาเร็จได้เมื่อไรหนอ
[๑๙๒] เมื่อไร เราจึงจักละกองรถที่ประดับด้วยเครื่องอลังการพร้อมสรรพ สวมเกราะสีเขียว แกล้ว
กล้า สะพายธนูและแล่ง ออกบวชได้ การละกองรถเห็นปานนี้ ออกบวชนั้นจักสาเร็จได้เมื่อไรหนอ
[๑๙๓] เมื่อไร เราจักละกองธนูที่ประดับด้วยเครื่องอลังการพร้อมสรรพ สวมเกราะสีเขียว แกล้ว
กล้า ถือธนูและแล่ง ออกบวชได้ การละกองธนูเห็นปานนี้ ออกบวชนั้นจักสาเร็จได้เมื่อไรหนอ
[๑๙๔] เมื่อไร เราจักละพวกราชบุรุษผู้ประดับด้วยเครื่องอลังการพร้อมสรรพ สวมเกราะอันวิจิตร
แกล้วกล้า เหน็บกฤชทองคา ออกบวชได้ การละพวกราชบุรุษเห็นปานนี้ ออกบวชนั้นจักสาเร็จได้เมื่อไรหนอ
[๑๙๕] เมื่อไร เราจักละหมู่พราหมณ์ผู้บาเพ็ญพรตประดับตกแต่งแล้ว ทาตัวด้วยกระแจะจันทน์
เหลือง ครองผ้ากาสิกพัสตร์เนื้ อดี ออกบวชได้ การละหมู่พราหมณ์เห็นปานนี้ ออกบวชนั้นจักสาเร็จได้เมื่อไร
หนอ
[๑๙๖] เมื่อไร เราจักละหมู่อามาตย์ผู้ประดับด้วยเครื่องอลังการพร้อมสรรพ สวมเกราะสีเหลือง
แกล้วกล้า เดินไปข้างหน้ามีระเบียบเรียบร้อยดี ออกบวชได้ การละหมู่อามาตย์เห็นปานนี้ ออกบวชนั้นจัก
สาเร็จได้เมื่อไรหนอ
[๑๙๗] เมื่อไร เราจักละพระสนมกานัลใน ๗๐๐ นางผู้ประดับด้วยเครื่องอลังการพร้อมสรรพ ออก
บวชได้ การละพระสนมกานัลในเห็นปานนี้ ออกบวชนั้นจักสาเร็จได้เมื่อไรหนอ
[๑๙๘] เมื่อไร เราจักละพระสนมกานัลใน ๗๐๐ นาง ผู้ละมุนละไมสะโอดสะอง ออกบวชได้ การ
ละพระสนมกานัลในเห็นปานนี้ ออกบวชนั้นจักสาเร็จได้เมื่อไรหนอ
[๑๙๙] เมื่อไร เราจักละพระสนมกานัลใน ๗๐๐ นาง ผู้เชื่อฟัง พูดไพเราะ ออกบวชได้ การละพระ
สนมกานัลในผู้น่ารักเห็นปานนี้ ออกบวชนั้นจักสาเร็จได้เมื่อไรหนอ
[๒๐๐] เมื่อไร เราจักละถาดทองคาหนักประมาณ ๑๐๐ ปละ จาหลักลวดลายเป็นร้อย ออกบวชได้
การละถาดทองคาเห็นปานนี้ ออกบวชนั้นจักสาเร็จได้เมื่อไรหนอ
[๒๐๑] เมื่อไร กองช้างพลายที่ประดับด้วยเครื่องอลังการพร้อมสรรพ มีสายรัดทองคา มีเครื่องปก
กระพองและข่ายทองคา
[๒๐๒] มีนายคราญช้างถือโตมรและขอขึ้นขี่ประจา ที่เคยขี่ติดตามเรา จักไม่ติดตามเรา ความดาริ
นั้นจักสาเร็จได้เมื่อไรหนอ
[๒๐๓] เมื่อไร กองม้าสินธพชาติอาชาไนยที่ประดับด้วยเครื่องอลังการพร้อมสรรพ เป็นพาหนะ
เร็ว
[๒๐๔] มีนายสารถีถือแส้และธนูขึ้นขี่ประจา ที่เคยติดตามเรา จักไม่ติดตามเรา ความดารินั้นจัก
สาเร็จได้เมื่อไรหนอ
[๒๐๕] เมื่อไร กองรถที่ติดเครื่องรบ ชักธงชัยเฉลิมพลประจา หุ้มด้วยหนังเสือเหลืองและเสือโคร่ง
ประดับด้วยเครื่องอลังการพร้อมสรรพ
8
[๒๐๖] มีนายสารถีสวมเกราะถือธนูขึ้นขับขี่ประจา ที่เคยติดตามเรา จักไม่ติดตามเรา ความดาริ
นั้นจักสาเร็จได้เมื่อไรหนอ
[๒๐๗] เมื่อไร รถทองคาที่ติดเครื่องรบ ชักธงชัยเฉลิมพลประจา หุ้มด้วยหนังเสือเหลืองและเสือ
โคร่ง ประดับด้วยเครื่องอลังการพร้อมสรรพ
[๒๐๘] มีนายสารถีสวมเกราะถือธนูขึ้นขับขี่ประจา ที่เคยติดตามเรา จักไม่ติดตามเรา ความดาริ
นั้นจักสาเร็จได้เมื่อไรหนอ
[๒๐๙] เมื่อไร รถเงินที่ติดเครื่องรบ ชักธงชัยเฉลิมพลประจา หุ้มด้วยหนังเสือเหลืองและเสือโคร่ง
ประดับด้วยเครื่องอลังการพร้อมสรรพ
[๒๑๐] มีนายสารถีสวมเกราะถือธนูขึ้นขับขี่ประจา ที่เคยติดตามเรา จักไม่ติดตามเรา ความดาริ
นั้นจักสาเร็จได้เมื่อไรหนอ
[๒๑๑] เมื่อไร รถม้าที่ติดเครื่องรบ ชักธงชัยเฉลิมพลประจา หุ้มด้วยหนังเสือเหลืองและเสือโคร่ง
ประดับด้วยเครื่องอลังการพร้อมสรรพ
[๒๑๒] มีนายสารถีสวมเกราะถือธนูขึ้นขับขี่ประจา ที่เคยติดตามเรา จักไม่ติดตามเรา ความดาริ
นั้นจักสาเร็จได้เมื่อไรหนอ
[๒๑๓] เมื่อไร รถเทียมด้วยอูฐที่ติดเครื่องรบ ชักธงชัยเฉลิมพลประจา หุ้มด้วยหนังเสือเหลืองและ
เสือโคร่ง ประดับด้วยเครื่องอลังการพร้อมสรรพ
[๒๑๔] มีนายสารถีสวมเกราะถือธนูขึ้นขับขี่ประจา ที่เคยติดตามเรา จักไม่ติดตามเรา ความดาริ
นั้นจักสาเร็จได้เมื่อไรหนอ
[๒๑๕] เมื่อไร รถเทียมด้วยโคที่ติดเครื่องรบ ชักธงชัยเฉลิมพลประจา หุ้มด้วยหนังเสือเหลืองและ
เสือโคร่ง ประดับด้วยเครื่องอลังการพร้อมสรรพ
[๒๑๖] มีนายสารถีสวมเกราะถือธนูขึ้นขับขี่ประจา ที่เคยติดตามเรา จักไม่ติดตามเรา ความดาริ
นั้นจักสาเร็จได้เมื่อไรหนอ
[๒๑๗] เมื่อไร รถเทียมด้วยแพะที่ติดเครื่องรบ ชักธงชัยเฉลิมพลประจา หุ้มด้วยหนังเสือเหลือง
และเสือโคร่ง ประดับด้วยเครื่องอลังการพร้อมสรรพ
[๒๑๘] มีนายสารถีสวมเกราะถือธนูขึ้นขับขี่ประจา ที่เคยติดตามเรา จักไม่ติดตามเรา ความดาริ
นั้นจักสาเร็จได้เมื่อไรหนอ
[๒๑๙] เมื่อไร รถเทียมด้วยแกะที่ติดเครื่องรบ ชักธงชัยเฉลิมพลประจา หุ้มด้วยหนังเสือเหลือง
และเสือโคร่ง ประดับด้วยเครื่องอลังการพร้อมสรรพ
[๒๒๐] มีนายสารถีสวมเกราะถือธนูขึ้นขับขี่ประจา ที่เคยติดตามเรา จักไม่ติดตามเรา ความดาริ
นั้นจักสาเร็จได้เมื่อไรหนอ
[๒๒๑] เมื่อไร รถเทียมด้วยเนื้ อที่ติดเครื่องรบ ชักธงชัยเฉลิมพลประจา หุ้มด้วยหนังเสือเหลือง
และเสือโคร่ง ประดับด้วยเครื่องอลังการพร้อมสรรพ
9
[๒๒๒] มีนายสารถีสวมเกราะถือธนูขึ้นขับขี่ประจา ที่เคยติดตามเรา จักไม่ติดตามเรา ความดาริ
นั้นจักสาเร็จได้เมื่อไรหนอ
[๒๒๓] เมื่อไร กองช้างที่ประดับด้วยเครื่องอลังการพร้อมสรรพ สวมเกราะสีเขียว แกล้วกล้า ถือ
โตมรและของ้าว ที่เคยติดตามเรา จักไม่ติดตามเรา ความดารินั้นจักสาเร็จได้เมื่อไรหนอ
[๒๒๔] เมื่อไร กองม้าที่ประดับด้วยเครื่องอลังการพร้อมสรรพ สวมเกราะสีเขียว แกล้วกล้า ถือแส้
และธนู ที่เคยติดตามเรา จักไม่ติดตามเรา ความดารินั้นจักสาเร็จได้เมื่อไรหนอ
[๒๒๕] เมื่อไร กองรถที่ประดับด้วยเครื่องอลังการพร้อมสรรพ สวมเกราะสีเขียว แกล้วกล้า ถือธนู
และแล่ง ที่เคยติดตามเรา จักไม่ติดตามเรา ความดารินั้นจักสาเร็จได้เมื่อไรหนอ
[๒๒๖] เมื่อไร กองธนูที่ประดับด้วยเครื่องอลังการพร้อมสรรพ สวมเกราะสีเขียว แกล้วกล้า ถือธนู
และแล่ง ที่เคยติดตามเรา จักไม่ติดตามเรา ความดารินั้นจักสาเร็จได้เมื่อไรหนอ
[๒๒๗] เมื่อไร พวกราชบุตรผู้ประดับด้วยเครื่องอลังการพร้อมสรรพ สวมเกราะอันวิจิตร แกล้ว
กล้า เหน็บกฤชทองคา ที่เคยติดตามเรา จักไม่ติดตามเรา ความดารินั้นจักสาเร็จได้เมื่อไรหนอ
[๒๒๘] เมื่อไร หมู่พราหมณ์ผู้มีพรตประดับแล้ว ทาตัวด้วยจุรณจันทน์เหลือง ใช้ผ้าเนื้ อดีจาก
แคว้นกาสี ที่เคยติดตามเรา จักไม่ติดตามเรา ความดารินั้นจักสาเร็จได้เมื่อไรหนอ
[๒๒๙] เมื่อไร หมู่อามาตย์ผู้ประดับด้วยเครื่องอลังการพร้อมสรรพ สวมเกราะสีเหลือง แกล้วกล้า
เดินนาไปข้างหน้าอย่างเป็นระเบียบ ที่เคยติดตามเรา จักไม่ติดตามเรา ความดารินั้นจักสาเร็จได้เมื่อไรหนอ
[๒๓๐] เมื่อไร พระสนมกานัลใน ๗๐๐ นาง ผู้ประดับด้วยเครื่องอลังการพร้อมสรรพ ที่เคย
ติดตามเรา จักไม่ติดตามเรา ความดารินั้นจักสาเร็จได้เมื่อไรหนอ
[๒๓๑] เมื่อไร พระสนมกานัลใน ๗๐๐ นาง ผู้ละมุนละไม สะโอดสะอง ที่เคยติดตามเรา จักไม่
ติดตามเรา ความดารินั้นจักสาเร็จได้เมื่อไรหนอ
[๒๓๒] เมื่อไร พระสนมกานัลใน ๗๐๐ นาง ผู้เชื่อฟัง เจรจาไพเราะ น่ารัก ที่เคยติดตามเรา จักไม่
ติดตามเรา ความดารินั้นจักสาเร็จได้เมื่อไรหนอ
[๒๓๓] เมื่อไร เราจักได้ปลงผม ห่มผ้าสังฆาฏิ อุ้มบาตรเที่ยวบิณฑบาต ความดารินั้นจักสาเร็จได้
เมื่อไรหนอ
[๒๓๔] เมื่อไร เราจักทรงผ้าสังฆาฏิที่ทาด้วยผ้าบังสุกุล ที่เขาทิ้งไว้ที่หนทางใหญ่ ความดารินั้นจัก
สาเร็จได้เมื่อไรหนอ
[๒๓๕] เมื่อไร เมื่อมีฝนตกพราตลอด ๗ วัน เราจึงมีจีวรเปียกชุ่มเที่ยวไปบิณฑบาต ความดารินั้น
จักสาเร็จได้เมื่อไรหนอ
[๒๓๖] เมื่อไร เราจักได้เที่ยวจาริกไปตามต้นไม้น้อยใหญ่ ตามป่าน้อยใหญ่ตลอดทั้งคืนและวัน
โดยไม่ต้องห่วงหน้าพะวงหลัง ความดารินั้นจักสาเร็จได้เมื่อไรหนอ
[๒๓๗] เมื่อไร เราจักละความกลัวและความขลาดเสียได้ ไปที่ซอกเขาและลาธารได้ตามลาพัง
ความดารินั้นจักสาเร็จได้เมื่อไรหนอ
10
[๒๓๘] เมื่อไร เราจักทาจิตให้ตรงได้เหมือนคนดีดพิณ ดีดพิณทั้ง ๗ สายให้มีเสียงน่ารื่นรมย์จับใจ
ความดารินั้นจักสาเร็จได้เมื่อไรหนอ
[๒๓๙] เมื่อไร เราจักตัดกามสังโยชน์ทั้งที่เป็นของทิพย์ และของมนุษย์ได้เหมือนช่างหนังตัด
รองเท้าโดยรอบ
(เมื่อพระมหาชนกทรงราพึงอย่างนี้ แล้ว ทรงถือเพศบรรพชา เสด็จลงจากปราสาทไป พระผู้มีพระ
ภาคตรัสถึงเสียงคร่าครวญของสตรีเหล่านั้นว่า)
[๒๔๐] พระสนมกานัลใน ๗๐๐ นางนั้น ประดับด้วยเครื่องอลังการพร้อมสรรพ ต่างประคองแขน
ทั้ง ๒ คร่าครวญว่า เพราะเหตุไร พระองค์จึงทรงละทิ้งพวกหม่อมฉัน
[๒๔๑] พระสนมกานัลใน ๗๐๐ นางนั้น ผู้ละมุนละไม สะโอดสะอง ต่างพากันประคองแขนทั้ง ๒
ร้องคร่าครวญว่า เพราะเหตุไร พระองค์จึงทรงละทิ้งพวกหม่อมฉัน
[๒๔๒] พระสนมกานัลใน ๗๐๐ นางนั้น ล้วนเป็นผู้เชื่อฟัง เจรจาไพเราะ น่ารัก ต่างพากัน
ประคองแขนทั้ง ๒ คร่าครวญว่า เพราะเหตุไร พระองค์จึงทรงละทิ้งพวกหม่อมฉันเสีย
[๒๔๓] พระสนมกานัลใน ๗๐๐ นางนั้น ประดับด้วยเครื่องอลังการพร้อมสรรพ ถูกพระราชาทรง
ละทิ้งไว้แล้ว เสด็จดาเนินไปมุ่งผนวช
[๒๔๔] พระราชาทรงละพระสนมกานัลใน ๗๐๐ นาง ผู้ละมุนละไม สะโอดสะอง เสด็จดาเนินไป
มุ่งผนวช
[๒๔๕] พระราชาทรงละพระสนมกานัลใน ๗๐๐ นางนั้น ล้วนแต่เป็นผู้เชื่อฟัง เจรจาไพเราะ
น่ารัก เสด็จดาเนินไปมุ่งผนวช
[๒๔๖] ทรงละถาดทองคาหนักประมาณ ๑๐๐ ปละ จาหลักลวดลายตั้งร้อย ทรงอุ้มบาตรดิน นั้น
เป็นการอภิเษกครั้งที่ ๒
(พระนางสีวลีกราบทูลพระโพธิสัตว์ว่า)
[๒๔๗] เปลวไฟน่ากลัว ไหม้ท้องพระคลังตามลาดับ คือ เงิน ทอง แก้วมุกดา แก้วไพฑูรย์มากมาย
[๒๔๘] แก้วมณี สังข์ แก้วมุกดา ผ้า จันทน์เหลือง หนังสัตว์ เครื่องงาช้าง ทองแดง และเหล็กเป็น
อันมากที่ไฟไหม้ ข้าแต่พระราชา มาเถิดพระเจ้าข้า เชิญพระองค์เสด็จกลับก่อนเถิด พระราชทรัพย์ของ
พระองค์อย่าได้พินาศเสียหายเลย
(พระโพธิสัตว์ตรัสว่า)
[๒๔๙] เราผู้ไม่มีความกังวลอยู่เป็นสุขสบายดีหนอ เมื่อกรุงมิถิลาถูกเพลิงเผาผลาญ เรามิได้มี
อะไรจะไหม้
(พระนางสีวลีกราบทูลว่า)
[๒๕๐] พวกโจรป่าเกิดขึ้น ปล้นแคว้นของพระองค์ มาเถิดพระเจ้าค่ะ ขอเชิญพระองค์เสด็จกลับ
เถิด แคว้นนี้ อย่าได้พินาศเสียหายเลย
(พระโพธิสัตว์ตรัสว่า)
11
[๒๕๑] เราผู้ไม่มีความกังวลอยู่เป็นสุขสบายดีหนอ เมื่อแคว้นถูกพวกโจรปล้น เรามิได้มีอะไรจะให้
ปล้นเลย
[๒๕๒] เราผู้ไม่มีความกังวลอยู่เป็นสุขสบายดีหนอ เราจักมีปีติเป็นอาหารเหมือนเหล่าเทพชั้นอา
ภัสสรพรหม (เหล่าเทพชั้นอาภัสสรพรหมมีปีติเป็นอาหารให้เวลาผ่านไปด้วยความสุขในฌาน)
(นารทดาบสกล่าวว่า)
[๒๕๓] เสียงอึกทึกกึกก้องอะไรกันนั่น ใครกันหนอเล่นกันเหมือนอยู่ในบ้าน ท่านสมณะ อาตม
ภาพขอถาม มหาชนนั้นติดตามท่านมาเพื่อประโยชน์อะไร
(พระโพธิสัตว์ตรัสว่า)
[๒๕๔] มหาชนนี้ ติดตามข้าพเจ้าผู้ละทิ้งพวกเขามาในที่นี้ ผู้ล่วงเขตแดนคือกิเลสไป เพื่อบรรลุถึง
โมเนยยธรรม คือญาณของพระมุนี แต่ยังเจือปนด้วยความเพลิดเพลินทั้งหลายอยู่ พระคุณเจ้าก็รู้อยู่จะถาม
ไปทาไม
(นารทดาบสกล่าวว่า)
[๒๕๕] พระองค์เพียงแต่ทรงสรีระ (เพศนักบวช) นี้ อย่าได้เข้าพระทัยว่า “เราข้ามเขตแดนคือ
กิเลสแล้ว” กรรมคือกิเลสนี้ จะพึงข้ามได้ด้วยเพศแห่งบรรพชิตก็หาไม่ เพราะอันตรายทั้งหลายยังมีอยู่มาก
(พระโพธิสัตว์ตรัสว่า)
[๒๕๖] อันตรายอะไรหนอ จะพึงมีแก่ข้าพเจ้าผู้มีปกติอยู่ผู้เดียวอย่างนี้ ข้าพเจ้าไม่ปรารถนากาม
ทั้งหลายทั้งในปัจจุบันและในอนาคต
(นารทดาบสกล่าวว่า)
[๒๕๗] อันตรายเป็นอันมากทีเดียว คือ ความหลับ ความเกียจคร้าน ความบิดกาย ความเหนื่อย
หน่าย ความเมาอาหารที่มีอยู่ในสรีระของพระองค์
(พระโพธิสัตว์ตรัสว่า)
[๒๕๘] ท่านพราหมณ์ ท่านพร่าสอนข้าพเจ้าดีหนอ ท่านพราหมณ์ผู้นิรทุกข์ ข้าพเจ้าขอถามท่าน
ท่านเป็นใครหนอ
(นารทดาบสกล่าวว่า)
[๒๕๙] ชนทั้งหลายรู้จักอาตมภาพโดยชื่อว่า นารทะ โดยโคตรว่า กัสสปะ อาตมภาพมาในสานัก
ของพระองค์ด้วยเข้าใจว่า การสมาคมกับสัตบุรุษเป็นการดี
[๒๖๐] ขอความเพลิดเพลินและวิหารธรรมทั้งปวงจงมีแก่พระองค์เท่านั้น พระองค์จงบาเพ็ญสิ่งที่
บกพร่องให้บริบูรณ์เถิด จงประกอบด้วยความอดทนและความสงบเถิด
[๒๖๑] จงทรงคลี่คลายความยุบลงและฟูขึ้น จงสักการะกรรม วิชชา ธรรม (คาว่า กรรม ได้แก่
กุศลกรรมบถ ๑๐, คาว่า วิชชา ได้แก่ญาณในอภิญญา ๕ และสมาบัติ ๘ คาว่า ธรรม ได้แก่สมณธรรม
กล่าวคือการบาเพ็ญกสิณ) และสมณธรรมแล้วบาเพ็ญพรหมจรรย์เถิด
[๒๖๒] ข้าแต่พระชนก พระองค์ทรงละทิ้งช้าง ม้า ชาวพระนคร และชนบทเป็นอันมาก เสด็จออก
ผนวช ทรงยินดีในบาตรดิน
12
[๒๖๓] ชาวชนบท มิตร อามาตย์ และพระญาติเหล่านั้น ได้ทาความผิดอะไรให้แก่พระองค์หรือ
หนอ เพราะเหตุไร พระองค์จึงทรงชอบพระทัยบาตรดินนั้น
(พระโพธิสัตว์ตรัสว่า)
[๒๖๔] ท่านฤๅษี ข้าพเจ้ามิได้เคยเอาชนะพระญาติอะไรๆ โดยส่วนเดียวในกาลไหนๆ โดยอธรรม
เลย แม้พระญาติทั้งหลายก็มิเคยได้เอาชนะข้าพเจ้าโดยอธรรม
[๒๖๕] ข้าพเจ้าได้เห็นประเพณีของโลก เห็นโลกถูกกิเลสกัดกร่อน ถูกกิเลสทาให้เป็นดุจเปือกตม
จึงได้ทาเหตุนี้ ให้เป็นเครื่องเปรียบเทียบว่า ปุถุชนจมอยู่ในกิเลสวัตถุใด สัตว์เป็นจานวนมากย่อมเดือดร้อน
และย่อมถูกฆ่า ในกิเลสวัตถุนั้นดังนี้ แล้ว จึงได้บวชเป็นภิกษุ นะท่านผู้ครองหนังสัตว์ผู้เจริญ
(นารทดาบสกล่าวว่า)
[๒๖๖] ใครหนอเป็นผู้จาแนกแจกธรรมคาสั่งสอนพระองค์ คาอันสะอาดนี้ เป็นคาของใคร ท่านผู้
เป็นจอมทัพ เพราะบอกเจาะจงถึงดาบสผู้เป็นกรรมวาที หรือสมณะคือพระปัจเจกพุทธเจ้าผู้ประกอบด้วย
วิชชา นักปราชญ์ไม่เรียกผู้ประพฤติวัตรว่า เป็นสมณะ เหมือนการก้าวล่วงทุกข์ได้เลย
[๒๖๗] ท่านผู้ครองหนังสัตว์ แม้ข้าพเจ้าจะสักการะสมณะหรือพราหมณ์โดยส่วนเดียว แต่ไม่เคย
เข้าไปใกล้ไต่ถามอะไรๆ ในกาลไหนๆ เลย
(พระโพธิสัตว์ตรัสว่า)
[๒๖๘] ข้าพเจ้ารุ่งเรืองด้วยสิริไปยังพระราชอุทยาน ด้วยอานุภาพใหญ่ ขณะที่เพลงขับที่เขาขับร้อง
ดนตรีที่ไพเราะกาลังบรรเลงอยู่
[๒๖๙] ข้าพเจ้านั้นได้เห็นต้นมะม่วงที่กาลังมีผลอยู่ภายนอกกาแพง ถูกพวกมนุษย์ผู้ที่ต้องการผล
ฟาดอยู่ ในพระราชอุทยานอันกึกก้องด้วยการประโคมดนตรี ประกอบด้วยคนขับและคนประโคม
[๒๗๐] ข้าแต่ท่านผู้ครองหนังสัตว์ ข้าพเจ้านั้นละทิ้งสิรินั้นเสียแล้วลงจากยาน เข้าไปใกล้ต้น
มะม่วงทั้งที่มีผลและไม่มีผล
[๒๗๑] ข้าพเจ้าได้เห็นต้นมะม่วง อันมีผลถูกฟาดกระจัดกระจายย่อยยับ ส่วนมะม่วงอีกต้นหนึ่งสี
เขียวชะอุ่มน่าพอใจ
[๒๗๒] ศัตรูทั้งหลายจักกาจัดแม้พวกเราผู้เป็นอิสระ ผู้มีเสี้ยนหนามมาก เหมือนต้นมะม่วงที่มีผล
ถูกมนุษย์ทั้งหลายเบียดเบียนแล้ว
[๒๗๓] เสือเหลืองถูกฆ่าเพราะหนัง ช้างถูกฆ่าเพราะงา คนมีทรัพย์ถูกฆ่าเพราะทรัพย์ ใครเล่าจัก
ฆ่าคนที่ไม่มีที่อยู่ ที่ไม่มีความคุ้นเคย ต้นมะม่วงที่มีผลและไม่มีผลทั้ง ๒ ต้นนั้นเป็นครูของข้าพเจ้า
(พระนางสีวลีกราบทูลว่า)
[๒๗๔] ชนทั้งปวง คือ กองพลช้าง กองพลม้า กองพลรถ กองพลราบ ต่างก็ตกใจว่า พระราชาทรง
ผนวชเสียแล้ว
[๒๗๕] ขอพระองค์ได้ทรงปลอบชุมชนให้เบาใจ ทรงวางหลักปกครอง ทรงอภิเษกพระราชโอรสไว้
ในราชสมบัติแล้ว จึงจักทรงผนวชในภายหลัง
(พระโพธิสัตว์ตรัสว่า)
13
[๒๗๖] เราได้สละชาวชนบท มิตร อามาตย์ และพระญาติทั้งหลายแล้ว พระราชโอรสของชาว
แคว้นวิเทหะ และคนผู้มีอายุยืน ผู้จักผดุงรัฐให้เจริญก็มีอยู่ เธอเหล่านั้นจักครองราชสมบัติในกรุงมิถิลา
นะปชาบดี
[๒๗๗] จงมาเถิด เราจะตามสอนเธอด้วยวาจาที่ชอบ เธอจะไปสู่ทุคติด้วยกาย วาจา และใจ
เพราะบาปใด เมื่อเธอครองราชสมบัติก็จักทาบาปทุจริตนั้นเป็นอันมาก
[๒๗๘] ผู้ที่ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยก้อนข้าวที่ผู้อื่นให้ ซึ่งสาเร็จมาแต่ผู้อื่นนี้ นั่นเป็นธรรมของ
นักปราชญ์
(พระนางสีวลีกราบทูลว่า)
[๒๗๙] กุลบุตรผู้ฉลาดแม้คนใดไม่พึงบริโภคอาหารในภัตกาลที่ ๔ (คาว่า ไม่พึงบริโภคอาหารใน
ภัตกาลที่ ๔ พระนางสีวลีตรัสหมายถึงว่า ถ้าบุคคลเราไม่บริโภคอาหารมื้อสุดท้าย จะพึงตายไปเพราะความ
หิว ผู้นั้นพึงเป็นสัตบุรุษเชื้อสายกุลบุตร จึงไม่พึงเสวยอาหารนั้นเพราะทรงรังเกียจเนื้ อที่เป็นเดนสุนัขที่พระ
มหาชนกนามาย่างเสวย) จะพึงตายอย่างน่าอนาถเพราะความหิว กุลบุตรผู้ฉลาดนั้นก็ไม่พึงบริโภคก้อนข้าว
ที่เปื้ อนฝุ่น ซึ่งไม่ดีมิใช่หรือ กิริยาของพระองค์นี้ ไม่ดี ไม่งามเลย ข้าแต่พระชนก พระองค์พึงเสวยก้อนเนื้ อที่
เป็นเดนสุนัข
(พระโพธิสัตว์ตรัสว่า)
[๒๘๐] พระนางสีวลี บิณฑบาตใด เป็นของอันบุคคลผู้ครองเรือน หรือสุนัขสละแล้ว บิณฑบาตนั้น
ชื่อว่าไม่เป็นอาหารของอาตมภาพก็หามิได้ ของบริโภคเหล่าใดเหล่าหนึ่งที่ได้มาโดยธรรม ของบริโภค
ทั้งหมดนั้นกล่าวกันว่า ไม่มีโทษ
(พระโพธิสัตว์ตรัสกับเด็กหญิงว่า)
[๒๘๑] กุมาริกาผู้นอนแนบมารดา ผู้ประดับอยู่เป็นนิตย์ เพราะเหตุไร กาไลมือข้างหนึ่งของเธอจึง
มีเสียงดัง อีกข้างหนึ่งไม่มีเสียงดัง
(เด็กหญิงกราบทูลว่า)
[๒๘๒] ท่านสมณะ กาไลมือ ๒ วงที่สวมอยู่ที่ข้อมือของดิฉันนี้ เพราะทั้ง ๒ วงกระทบกัน จึงเกิด
เสียงดัง คติของคน ๒ คนก็เป็นเช่นนี้
[๒๘๓] ท่านสมณะ กาไลมือวงหนึ่งที่สวมอยู่ที่ข้อมือของดิฉันนี้ ไม่มีอันที่ ๒ จึงไม่มีเสียงดังเหมือน
มุนีสงบนิ่งอยู่
[๒๘๔] คนมีคู่จึงถึงความวิวาทกัน บุคคลคนเดียวจักวิวาทกับใคร ท่านนั้นเป็นผู้ปรารถนาสวรรค์
ก็ขอจงชอบความเป็นผู้เดียวเถิด
(พระโพธิสัตว์ตรัสกับพระนางสีวลีว่า)
[๒๘๕] พระนางสีวลี เธอได้ยินคาถาที่นางกุมาริกากล่าวแล้วหรือ นางกุมาริกาเป็นสาวใช้มาติ
เตียนเรา มันเป็นคติของคนคู่เท่านั้น
[๒๘๖] พระนางผู้เจริญ ทาง ๒ แพร่งนี้ เราทั้ง ๒ ผู้เดินทางได้สัญจรมาแล้ว บรรดาทางทั้ง ๒
แพร่งนั้น เธอจงเลือกเอาทางหนึ่ง อาตมภาพก็จักเลือกเอาอีกทางหนึ่ง
14
[๒๘๗] เธออย่าเรียกอาตมภาพว่าเป็นพระสวามีของเธอ และอาตมภาพก็จะไม่เรียกเธอว่าเป็น
พระมเหสีของอาตมภาพต่อไป เมื่อกษัตริย์ทั้ง ๒ ตรัสข้อความนี้ แล้วต่างก็เสด็จเข้าไปยังถูณนคร
[๒๘๘] เมื่อจวนเวลาอาหาร พระโพธิสัตว์ประทับอยู่ ณ ซุ้มประตูของช่างศร และ ณ ที่นั้น ช่างศร
นั้นหลับตาลงข้างหนึ่งเล็งดูลูกศรที่คด ซึ่งตนดัดให้ตรงด้วยตาอีกข้างหนึ่ง
(พระโพธิสัตว์ตรัสว่า)
[๒๘๙] ช่างศร ท่านจงฟังอาตมภาพ ท่านเห็นความสาเร็จประโยชน์หรือหนอ ที่ท่านหลับตาข้าง
หนึ่งลง เล็งดูลูกศรที่คดด้วยตาอีกข้างหนึ่ง
(ช่างศรกราบทูลว่า)
[๒๙๐] ท่านสมณะ การเล็งดูด้วยตาทั้ง ๒ ย่อมปรากฏกว้างไป เพราะเห็นไม่ถึงส่วนที่คดข้างหนึ่ง
การดัดให้ตรงจึงไม่สาเร็จ
[๒๙๑] แต่เมื่อหลับตาข้างหนึ่ง เล็งดูส่วนที่คดด้วยตาข้างหนึ่ง เพราะเห็นส่วนที่คดข้างหน้า การ
ดัดให้ตรงจึงสาเร็จได้
[๒๙๒] คนที่มีคู่จึงวิวาทกัน คนเดียวจักวิวาทกับใคร ท่านนั้นปรารถนาสวรรค์ ก็ขอจงชอบความ
เป็นผู้เดียวเถิด
(พระโพธิสัตว์ตรัสกับพระนางสีวลีว่า)
[๒๙๓] พระนางสีวลี เธอได้ยินคาที่ช่างศรกล่าวแล้วหรือยัง คนใช้มาติเตียนเรา นั้นเป็นคติของ
คนคู่เท่านั้น
[๒๙๔] พระนางผู้เจริญ ทาง ๒ แพร่งนี้ เราทั้ง ๒ ผู้เดินทางได้สัญจรมาแล้ว บรรดาทาง ๒ แพร่ง
นั้น เธอจงเลือกเอาทางหนึ่ง อาตมภาพก็จักเลือกเอาอีกทางหนึ่ง
[๒๙๕] เธออย่าเรียกอาตมภาพว่าเป็นพระสวามีของเธอ และอาตมภาพก็จะไม่เรียกเธอว่า เป็น
พระมเหสีของอาตมภาพต่อไป หญ้ามุงกระต่ายเล็กน้อยขาดไปแล้ว (หญ้ามุงกระต่ายเล็กน้อยขาดไปแล้ว
พระโพธิสัตว์ตรัสหมายถึงหญ้ามุงกระต่ายเส้นเล็กๆ ที่พระองค์ถอนขึ้นมาแล้วดึงให้ขาดจากกัน ใครๆ ไม่
สามารถต่อกันได้ เป็นการเตือนว่า พระองค์ไม่ปรารถนาจะอยู่ร่วมกับพระเทวีอีก เป็นการห้ามไม่ให้ตามไป)
เธอจงอยู่คนเดียวเถิด พระนางสีวลี
มหาชนกชาดกที่ ๒ จบ
----------------------
คาอธิบายเพิ่มเติมนามาจากบางส่วนของอรรถกถา มหาชนกชาดก
ว่าด้วย พระมหาชนกทรงบาเพ็ญวิริยบารมี
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงพระปรารภมหาภิเนกขัมมบารมี ตรัส
พระธรรมเทศนานี้ ว่า โก ย มชฺเฌ สมุทฺทสฺมึ ดังนี้ เป็นต้น.
ความพิสดารว่า วันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายนั่งพรรณนามหาภิเนกขัมมบารมีของพระตถาคต ในโรง
15
ธรรมสภา. พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ เธอทั้งหลายประชุมเจรจากันถึงเรื่อง
อะไร. เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้ เท่านั้น ที่
ตถาคตออกเพื่อคุณอันยิ่งใหญ่ แม้ในกาลก่อน เมื่อยังเป็นโพธิสัตว์อยู่ ตถาคตก็ได้ออกเพื่อคุณอันยิ่งใหญ่
เหมือนกัน ตรัสดังนี้ แล้วทรงดุษณีภาพอยู่. ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลวิงวอนให้ทรงเล่าเรื่อง จึงทรงนาอดีต
นิทานมาแสดงดังต่อไปนี้ .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในอดีตกาล พระราชาพระนามว่า มหาชนก ครองราชสมบัติในกรุงมิถิลา
แคว้นวิเทหะ. พระเจ้ามหาชนกราชนั้นมีพระราชโอรสสองพระองค์ คืออริฏฐชนกพระองค์หนึ่ง โปลชนก
พระองค์หนึ่ง. ในสองพระองค์นั้น พระราชาพระราชทานตาแหน่งอุปราชแก่พระราชโอรสองค์พี่
พระราชทานตาแหน่งเสนาบดีแก่พระราชโอรสองค์น้อง. กาลต่อมา พระมหาชนกราชสวรรคต พระอริฏฐ
ชนกได้ครองราชสมบัติ ทรงตั้งพระโปลชนกผู้กนิษฐภาดาเป็นอุปราช. อมาตย์คนหนึ่งผู้ใกล้ชิดพระราชา ไป
เฝ้าพระราชากราบทูลว่า ขอเดชะ พระอุปราชใคร่จะปลงพระชนม์พระองค์. พระอริฏฐชนกราชทรงสดับคา
บ่อยๆ ก็ทาลายความสิเนหาพระอนุชา ให้จาพระโปลชนกมหาอุปราชด้วยเครื่องจองจา ให้อยู่ในคฤหาสน์
หลังหนึ่งใกล้พระราชนิเวศ มีผู้คุมรักษา พระกุมารโปลชนกทรงตั้งสัตยาธิษฐานว่า ถ้าข้าพเจ้าก่อเวรต่อพระ
เชษฐา เครื่องจองจาจงอย่าหลุดจากมือและเท้าของข้าพเจ้า แม้ประตูก็จงอย่าเปิด ถ้าข้าพเจ้ามิได้ก่อเวรต่อ
พระเชษฐา เครื่องจองจาจงหลุดจากมือและเท้าของข้าพเจ้า แม้ประตูก็จงเปิด เครื่องจองจาได้หักเป็นท่อนๆ
แม้ประตูก็เปิดในทันใดนั้น ต่อนั้นพระโปลชนกก็เสด็จออกไปยังปัจจันตคามแห่งหนึ่ง ประทับอยู่ที่ปัจจันต
คามนั้น ชาวปัจจันตคามจาพระองค์ได้ก็บารุงพระองค์.
ครั้งนั้น พระอริฏฐชนกราชไม่สามารถจะจับพระองค์ได้ พระโปลชนกนั้นได้ทาปัจจันตชนบทให้
อยู่ในอานาจโดยลาดับ เป็นผู้มีบริวารมาก ทรงคิดว่า เมื่อก่อนเรามิได้ก่อเวรต่อพระเชษฐาของเรา แต่บัดนี้
เราจะก่อเวรละ ทรงให้ประชุมพลนิกาย แวดล้อมไปด้วยมหาชน ออกจากปัจจันตคามถึงกรุงมิถิลาโดยลาดับ
ให้ตั้งค่ายพักแรมกองทัพอยู่นอกพระนคร. ครั้งนั้นเหล่าทหารชาวมิถิลานครทราบว่า พระโปลชนกเสด็จมา
ก็ขนยุทโธปกรณ์มีพาหนะช้างเป็นต้น มายังสานักของพระโปลชนกนั้นโดยมาก แม้ชาวนครคนอื่นๆ ก็พากัน
มาเข้าด้วย. พระโปลชนกส่งสาส์นไปถวายพระเชษฐาว่า เมื่อก่อนข้าพระองค์มิได้ก่อเวรต่อพระองค์ แต่บัดนี้
ข้าพระองค์จะก่อเวรละ พระองค์จะประทานเศวตฉัตรแก่ข้าพระองค์ หรือจะรบ. พระราชาอริฏฐชนกทรง
สดับดังนั้น ปรารถนาจะรบ จึงตรัสเรียกพระอัครมเหสีมาตรัสว่า ที่รัก ในการรบชนะหรือแพ้ ไม่อาจจะรู้ได้
ถ้าฉันมีอันตราย เธอพึงรักษาครรภ์ให้ดี ตรัสฉะนี้ แล้ว เสด็จกรีธาทัพออกจากพระนคร. ครั้งนั้นทหารของ
พระโปลชนกยังพระอริฏฐชนกราชให้ถึงชีพตักษัยในที่รบ. ชาวพระนครทั้งสิ้นรู้ว่า พระราชาสวรรคตแล้ว ก็
เกิดโกลาหลกันทั่วไป.
ฝ่ายพระเทวีทรงทราบว่า พระราชสวามีสวรรคตแล้ว ก็รีบเก็บสิ่งของสาคัญมีทองเป็นต้นใส่ใน
กระเช้า เอาผ้าเก่าๆ ปูปิดไว้แล้วใส่ข้าวสารข้างบน ทรงนุ่งภูษาเก่าเศร้าหมอง ปลอมพระกายของพระองค์
วางกระเช้าบนพระเศียร เสด็จออกจากพระนคร แต่กลางวันทีเดียว ไม่มีใครจาพระนางได้ พระนางเสด็จ
ออกทางประตูทิศอุดร ไม่รู้จักมรรคา เพราะไม่เคยเสด็จไปในที่ไหนๆ ไม่อาจกาหนดทิศ จึงประทับที่ศาลา
แห่งหนึ่งคอยตรัสถามว่า มีคนเดินทางไปนครกาลจัมปากะไหม เพราะเคยทรงสดับว่า มีนครกาลจัมปากะ
16
เท่านั้น. ก็สัตว์ในครรภ์ของพระเทวีนั้น มิใช่สัตว์สามัญ แต่เป็นพระมหาสัตว์ผู้มีพระบารมีเต็มแล้วมาบังเกิด
ด้วยเดชานุภาพแห่งพระมหาสัตว์นั้น บันดาลให้ภพของท้าวสักกเทวราชสาแดงอาการร้อน. ท้าวสักก
เทวราชทรงอาวัชนาการก็ทรงทราบเหตุนั้น ทรงดาริว่า สัตว์ที่บังเกิดในพระครรภ์ของพระเทวีมีบุญมาก เรา
ควรจะไปในที่นั้น จึงเนรมิตเกวียนมีเครื่องปกปิด จัดตั้งเตียงไว้ในเกวียนนั้น เนรมิตตนเหมือนคนแก่ ขับ
เกวียนไปหยุดอยู่ที่ประตูศาลาที่พระเทวีประทับอยู่ ทูลถามพระเทวีว่า มีผู้ที่จะไปนครกาลจัมปากะบ้างไหม.
พระเทวีได้สดับดังนั้น จึงตรัสว่า ข้าแต่พ่อ ข้าพเจ้าจักไป. ท้าวสักกะตรัสว่า ถ้าเช่นนั้น แม่จงขึ้นนั่งบนเกวียน
เถิด. พระเทวีเสด็จออกมาตรัสว่า ข้าแต่พ่อ ข้าพเจ้ามีครรภ์แก่ ไม่อาจจะขึ้นเกวียนไปได้ จักขอเดินตามพ่อ
ไปเท่านั้น แต่พ่อช่วยรับกระเช้าของข้าพเจ้านี้ ขึ้นเกวียนไปด้วย. ท้าวสักกะตรัสว่า แม่พูดอะไร คนที่รู้จักขับ
เกวียนเช่นข้าพเจ้าไม่มี แม่อย่ากลัวเลย ขึ้นนั่งบนเกวียนเถิดแม่. ด้วยอานุภาพแห่งพระโอรสของพระองค์ ใน
กาลที่พระเทวีจะเสด็จขึ้นเกวียน แผ่นดินได้นูนขึ้นดุจผิวละออง เต็มด้วยลมฟุ้งขึ้นฉะนั้น ตั้งจดท้ายเกวียน
พระเทวีเสด็จขึ้นบรรทมบนพระที่สิริไสยาสน์ ทรงทราบว่า นี้ จักเป็นเทวดา. พระนางได้หยั่งลงสู่นิทรา
เพราะได้บรรทมบนพระที่อันเป็นทิพย์.
ครั้งนั้น ท้าวสักกเทวราชทรงขับเกวียนถึงแม่น้าแห่งหนึ่ง ไกลราวสามสิบโยชน์ จึงปลุกพระเทวี
แล้วตรัสว่า แม่จงลงจากเกวียนนี้ อาบน้าในแม่น้า จงนุ่งห่มผ้าคู่หนึ่ง ที่วางอยู่เหนือศีรษะนั้น จงหยิบของกิน
ที่มีอยู่ภายในเกวียนนั้นมากินเถิด. พระเทวีทรงทาตามอย่างนั้น แล้วบรรทมต่อไปอีก ก็ลุถึงนครกาลจัมปา
กะในเวลาเย็น ทอดพระเนตรเห็นประตูหอรบและกาแพงพระนคร จึงตรัสถามท้าวสักกะว่า ข้าแต่พ่อ เมืองนี้
ชื่ออะไร. ท้าวสักกะตรัสตอบว่า นครกาลจัมปากะ แม่. พระเทวีตรัสค้านว่า พูดอะไร พ่อ นครกาลจัมปากะ
อยู่ห่างจากนครของพวกเราถึงหกสิบโยชน์มิใช่หรือ. ท้าวสักกะตรัสว่า ถูกแล้วแม่ แต่ตารู้จักหนทางตรง.
ครั้งนั้นท้าวสักกเทวราชให้พระเทวีลงจากเกวียน ณ ที่ใกล้ประตู ด้านทิศทักษิณ ตรัสบอกว่า บ้านของตา อยู่
ข้างหน้า แต่แม่จงเข้าไปสู่นครนี้ ตรัสดังนี้ แล้วเสด็จไปเหมือนไปข้างหน้า ได้หายตัวไปยังที่ประทับของ
พระองค์. ส่วนพระเทวีก็ประทับนั่งอยู่ที่ศาลาแห่งหนึ่ง.
ขณะนั้นมีพราหมณ์ผู้เพ่งมนต์คนหนึ่งชาวนครกาลจัมปากะ เป็นทิศาปาโมกข์ มาณพประมาณ
ห้าร้อยคน แวดล้อมเดินไปเพื่ออาบน้า แลดูมา แต่ไกลเห็นพระเทวีนั้น มีพระรูปงามยิ่งสมบูรณ์ด้วยความ
งามเป็นเลิศ ประทับนั่งอยู่ ณ ศาลานั้น ด้วยอานุภาพแห่งพระมหาสัตว์ ผู้บังเกิดในพระครรภ์ของพระเทวี
พอเห็นเท่านั้น ก็เกิดสิเนหาราวกะว่าเป็นน้องสาวของตน จึงให้เหล่ามาณพพักอยู่ภายนอก เข้าไปในศาลา
แต่ผู้เดียวถามว่า น้องหญิง แม่เป็นชาวบ้านไหน. พระเทวีตรัสตอบว่า ข้าแต่พ่อ ข้าพเจ้าเป็นอัครมเหสีของ
พระอริฏฐชนกราช กรุงมิถิลา. พราหมณ์ถามว่า แม่มาที่นี้ ทาไม พระเทวีตรัสตอบว่า พระอริฏฐชนกราชถูก
พระโปลชนกปลงพระชนม์ เมื่อเป็นเช่นนี้ ข้าพเจ้ากลัวภัยจึงหนีมา ด้วยคิดว่า จักรักษาครรภ์ไว้. พราหมณ์
ถามว่า ก็ในพระนครนี้ มีใครที่เป็นพระญาติของเธอหรือ. พระเทวีตรัสตอบว่า ไม่มี พ่อ. พราหมณ์กล่าวว่า
ถ้าเช่นนั้น เธออย่าวุ่นใจไปเลย ข้าพเจ้าอุทิจจพราหมณ์มหาศาล เป็นอาจารย์ทิศาปาโมกข์ ข้าพเจ้าจักตั้ง
เธอไว้ ในที่เป็นน้องสาว ปฏิบัติดูแลเธอ เธอจงกล่าวกะข้าพเจ้าว่า ท่านเป็นพี่ชาย แล้วจับที่เท้าทั้งสองของ
ข้าพเจ้าคร่าครวญเถิด. พระเทวีรับคาแล้ว เปล่งเสียงดัง ทอดพระองค์ลงจับเท้าทั้งสองของพราหมณ์ ทั้งสอง
ต่างก็คร่าครวญกันอยู่.
๐๒. มหาชนกชาดก.pdf
๐๒. มหาชนกชาดก.pdf
๐๒. มหาชนกชาดก.pdf
๐๒. มหาชนกชาดก.pdf
๐๒. มหาชนกชาดก.pdf
๐๒. มหาชนกชาดก.pdf
๐๒. มหาชนกชาดก.pdf
๐๒. มหาชนกชาดก.pdf
๐๒. มหาชนกชาดก.pdf
๐๒. มหาชนกชาดก.pdf
๐๒. มหาชนกชาดก.pdf
๐๒. มหาชนกชาดก.pdf
๐๒. มหาชนกชาดก.pdf
๐๒. มหาชนกชาดก.pdf
๐๒. มหาชนกชาดก.pdf
๐๒. มหาชนกชาดก.pdf
๐๒. มหาชนกชาดก.pdf
๐๒. มหาชนกชาดก.pdf
๐๒. มหาชนกชาดก.pdf
๐๒. มหาชนกชาดก.pdf
๐๒. มหาชนกชาดก.pdf
๐๒. มหาชนกชาดก.pdf

More Related Content

Similar to ๐๒. มหาชนกชาดก.pdf

๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 
พุทธประวัติ
พุทธประวัติพุทธประวัติ
พุทธประวัติ
gueste13f2b
 
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
maruay songtanin
 

Similar to ๐๒. มหาชนกชาดก.pdf (10)

28 กปิลราชจริยา มจร.pdf
28 กปิลราชจริยา มจร.pdf28 กปิลราชจริยา มจร.pdf
28 กปิลราชจริยา มจร.pdf
 
(๒๒) พระเขมาเถรี มจร.pdf
(๒๒) พระเขมาเถรี มจร.pdf(๒๒) พระเขมาเถรี มจร.pdf
(๒๒) พระเขมาเถรี มจร.pdf
 
35 เอกราชจริยา มจร.pdf
35 เอกราชจริยา มจร.pdf35 เอกราชจริยา มจร.pdf
35 เอกราชจริยา มจร.pdf
 
๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
 
๐๑. เตมิยชาดก.pdf
๐๑. เตมิยชาดก.pdf๐๑. เตมิยชาดก.pdf
๐๑. เตมิยชาดก.pdf
 
พุทธประวัติ
พุทธประวัติพุทธประวัติ
พุทธประวัติ
 
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
 
20 ชยทิสจริยา มจร.pdf
20 ชยทิสจริยา มจร.pdf20 ชยทิสจริยา มจร.pdf
20 ชยทิสจริยา มจร.pdf
 
สอบประวัติ
สอบประวัติสอบประวัติ
สอบประวัติ
 
๐๕. มโหสธชาดก.pdf
๐๕. มโหสธชาดก.pdf๐๕. มโหสธชาดก.pdf
๐๕. มโหสธชาดก.pdf
 

More from maruay songtanin

200 สาธุสีลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
200 สาธุสีลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....200 สาธุสีลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
200 สาธุสีลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
198 ราธชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
198 ราธชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx198 ราธชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
198 ราธชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
197 มิตตามิตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
197 มิตตามิตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...197 มิตตามิตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
197 มิตตามิตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
maruay songtanin
 
195 ปัพพตูปัตถรชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬ...
195 ปัพพตูปัตถรชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬ...195 ปัพพตูปัตถรชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬ...
195 ปัพพตูปัตถรชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬ...
maruay songtanin
 
193 จูฬปทุมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
193 จูฬปทุมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....193 จูฬปทุมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
193 จูฬปทุมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
192 สิริกาฬกัณณิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...
192 สิริกาฬกัณณิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...192 สิริกาฬกัณณิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...
192 สิริกาฬกัณณิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...
maruay songtanin
 
191 รุหกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
191 รุหกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx191 รุหกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
191 รุหกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
190 สีลานิสังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
190 สีลานิสังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...190 สีลานิสังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
190 สีลานิสังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 
188 สีหโกตถุชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
188 สีหโกตถุชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...188 สีหโกตถุชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
188 สีหโกตถุชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
maruay songtanin
 
187 จตุมัฏฐชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
187 จตุมัฏฐชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....187 จตุมัฏฐชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
187 จตุมัฏฐชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
186 ทธิวาหนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
186 ทธิวาหนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....186 ทธิวาหนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
186 ทธิวาหนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
185 อนภิรติชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
185 อนภิรติชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....185 อนภิรติชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
185 อนภิรติชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
183 วาโลทกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
183 วาโลทกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx183 วาโลทกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
183 วาโลทกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
182 สังคามาวจรชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
182 สังคามาวจรชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...182 สังคามาวจรชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
182 สังคามาวจรชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 
181 อสทิสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
181 อสทิสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx181 อสทิสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
181 อสทิสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
180 ทุทททชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
180 ทุทททชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx180 ทุทททชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
180 ทุทททชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
179 สตธัมมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
179 สตธัมมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx179 สตธัมมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
179 สตธัมมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 

More from maruay songtanin (20)

200 สาธุสีลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
200 สาธุสีลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....200 สาธุสีลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
200 สาธุสีลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
198 ราธชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
198 ราธชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx198 ราธชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
198 ราธชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
197 มิตตามิตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
197 มิตตามิตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...197 มิตตามิตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
197 มิตตามิตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
 
195 ปัพพตูปัตถรชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬ...
195 ปัพพตูปัตถรชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬ...195 ปัพพตูปัตถรชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬ...
195 ปัพพตูปัตถรชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬ...
 
194 มณิโจรชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
194 มณิโจรชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx194 มณิโจรชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
194 มณิโจรชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
193 จูฬปทุมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
193 จูฬปทุมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....193 จูฬปทุมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
193 จูฬปทุมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
192 สิริกาฬกัณณิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...
192 สิริกาฬกัณณิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...192 สิริกาฬกัณณิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...
192 สิริกาฬกัณณิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...
 
191 รุหกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
191 รุหกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx191 รุหกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
191 รุหกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
190 สีลานิสังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
190 สีลานิสังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...190 สีลานิสังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
190 สีลานิสังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
 
189 สีหจัมมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
189 สีหจัมมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....189 สีหจัมมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
189 สีหจัมมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
188 สีหโกตถุชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
188 สีหโกตถุชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...188 สีหโกตถุชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
188 สีหโกตถุชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
187 จตุมัฏฐชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
187 จตุมัฏฐชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....187 จตุมัฏฐชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
187 จตุมัฏฐชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
186 ทธิวาหนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
186 ทธิวาหนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....186 ทธิวาหนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
186 ทธิวาหนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
185 อนภิรติชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
185 อนภิรติชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....185 อนภิรติชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
185 อนภิรติชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
184 คิริทัตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
184 คิริทัตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...184 คิริทัตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
184 คิริทัตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
183 วาโลทกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
183 วาโลทกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx183 วาโลทกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
183 วาโลทกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
182 สังคามาวจรชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
182 สังคามาวจรชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...182 สังคามาวจรชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
182 สังคามาวจรชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
 
181 อสทิสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
181 อสทิสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx181 อสทิสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
181 อสทิสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
180 ทุทททชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
180 ทุทททชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx180 ทุทททชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
180 ทุทททชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
179 สตธัมมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
179 สตธัมมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx179 สตธัมมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
179 สตธัมมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 

๐๒. มหาชนกชาดก.pdf

  • 1. 1 การบาเพ็ญบารมี ๑๐ พระชาติ ตอนที่ ๒ มหาชนกชาดก (วิริยะบารมี) พลตรี มารวย ส่งทานินทร์ ๒๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๖ เกริ่นนา มหาชนกชาดก เป็นเรื่องที่พระพุทธเจ้าเมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระเชตวัน ทรงปรารภการเสด็จ ออกบรรพชาครั้งใหญ่ (ในอดีต) จึงได้ตรัสเรื่องพระมหาชนกนี้ โดยทรงยกคาถาแรกของเรื่องที่นางเทพธิดา กล่าวกับพระมหาชนกที่กาลังว่ายน้าข้ามทะเลอยู่ว่า “ใครกันนี่ ทั้งๆ ที่มองไม่เห็นฝั่งก็ยังพยายาม(ว่าย)อยู่ ในท่ามกลางสมุทร ” เป็นต้น พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๒ ๒. มหาชนกชาดก ว่าด้วยพระมหาชนกทรงบาเพ็ญวิริยะบารมี (เทพธิดากล่าวว่า) [๑๒๓] ใครกันนี่ ทั้งๆ ที่มองไม่เห็นฝั่ง ก็ยังเพียรพยายาม(ว่าย)อยู่ในท่ามกลางสมุทร ท่านรู้ อานาจประโยชน์อะไร จึงพยายามเต็มที่อยู่อย่างนี้ (พระโพธิสัตว์ตอบว่า) [๑๒๔] เทพธิดา เราพิเคราะห์เห็นธรรมเนียมของโลก และอานิสงส์ของความพยายาม เพราะฉะนั้น ทั้งๆ ที่มองไม่เห็นฝั่ง เราจึงเพียรพยายาม(ว่าย)อยู่ในท่ามกลางสมุทร (เทพธิดากล่าวว่า) [๑๒๕] ฝั่งสมุทรอันลึกประมาณไม่ได้ยังไม่ปรากฏ ความพยายามอย่างลูกผู้ชายของท่านย่อม เปล่าประโยชน์ ยังไม่ทันจะถึงฝั่งเลย ท่านก็จักตายแน่ (พระโพธิสัตว์ตอบว่า) [๑๒๖] บุคคลผู้ทาหน้าที่ของลูกผู้ชายอยู่ จะไม่ถูกหมู่ญาติ เทวดา และพรหมทั้งหลายนินทา ทั้ง จะไม่เดือดร้อนในภายหลัง (เทพธิดากล่าวว่า) [๑๒๗] การงานที่ให้ถึงฝั่งไม่ได้ ปราศจากผล ก่อให้เกิดความลาบาก และความตาย ย่อมมีได้ เพราะทาการงานใด ประโยชน์อะไรด้วยความพยายาม ในการงานนั้น (พระโพธิสัตว์ตอบว่า)
  • 2. 2 [๑๒๘] เทพธิดา บุคคลใดรู้ว่า งานสุดวิสัยเกินตัวแล้ว ไม่รักษาชีวิตของตน ถ้าผู้นั้นคลายความ เพียรเสีย ก็จะพึงรู้ผลของงานนั้น [๑๒๙] เทพธิดา คนบางพวกในโลกนี้ พิจารณาเห็นผลแห่งความมุ่งประสงค์ของตน จึง ประกอบการงานทั้งหลาย การงานเหล่านั้นจะสาเร็จหรือไม่ก็ตามที [๑๓๐] เทพธิดา ท่านกาลังเห็นผลงานที่ประจักษ์แก่ตนเองแล้วมิใช่หรือ คนอื่นๆ พากันจมน้าแล้ว เราคนเดียวเท่านั้นพยายามข้ามอยู่ และยังเห็นท่านอยู่ใกล้เรา [๑๓๑] เรานั้นจักพยายามตามกาลังความสามารถ จักไปให้ถึงฝั่งสมุทร จักทาความเพียรอย่าง ลูกผู้ชาย (ต่อมา พระโพธิสัตว์ได้ครองราชสมบัติในเมืองมิถิลาแล้ว ทรงระลึกถึงผลแห่งความเพียรชอบของ พระองค์ ทรงเปล่งอุทานด้วยกาลังปีติว่า) [๑๓๒] ท่านใดถึงพร้อมด้วยความพยายามโดยธรรม ไม่จมลงในห้วงมหรรณพที่หาประมาณมิได้ เห็นปานนี้ ด้วยการกระทา ท่านนั้นจงไปในสถานที่ที่ท่านชอบใจเถิด ขุมทรัพย์ใหญ่ ๑๖ ขุมนี้ (ขุมทรัพย์ใหญ่ ๑๖ ขุมที่พระเจ้าโปลชนกทรงฝังไว้ อธิบายโดยย่อ ดังนี้ ๑. ขุมทรัพย์ที่อยู่ทางดวงอาทิตย์ขึ้น หมายถึงที่ ต้อนรับพระปัจเจกพุทธเจ้า ๒. ขุมทรัพย์ที่อยู่ทางดวงอาทิตย์ตก หมายถึงที่ส่งพระปัจเจกพุทธเจ้ากลับ ๓. ขุมทรัพย์ที่อยู่ภายใน หมายถึงขุมทรัพย์ที่อยู่ภายในประตูใหญ่พระราชวัง ๔. ขุมทรัพย์ที่อยู่ภายนอก หมายถึงขุมทรัพย์ที่อยู่ภายนอกประตูใหญ่พระราชวัง ๕. ขุมทรัพย์ที่ไม่ใช่อยู่ภายในภายนอก หมายถึง ขุมทรัพย์ที่ฝังไว้ภายใต้ธรณีประตู ๖. ขุมทรัพย์ที่ทางขึ้น หมายถึงขุมทรัพย์ตรงที่ลาดบันได เวลาเสด็จขึ้นช้าง มงคล ๗. ขุมทรัพย์ที่ทางลง หมายถึงขุมทรัพย์ที่ฝังไว้ตรงที่เสด็จลงจากคอช้าง ๘.-๑๑. ขุมทรัพย์ที่ไม้สาละ ทั้ง ๔ หมายถึงขุมทรัพย์ที่ฝังไว้ที่เท้าพระแท่นบรรทมทั้ง ๔ ๑๒. ขุมทรัพย์ที่โยชน์หนึ่งโดยรอบ หมายถึง ขุมทรัพย์ที่ฝังไว้ชั่วแอก (หนึ่งวา) รอบที่บรรทม ๑๓. ขุมทรัพย์ที่ปลายงาทั้ง ๒ หมายถึงขุมทรัพย์ที่ฝังไว้ตรง ปลายงาทั้ง ๒ ของช้างมงคลในโรงช้างมงคล ๑๔. ขุมทรัพย์ที่ปลายหาง หมายถึงขุมทรัพย์ที่ฝังไว้ตรงปลาย หางของช้างมงคลในโรงช้างมงคล ๑๕. ขุมทรัพย์ที่สระน้า หมายถึงขุมทรัพย์ที่ฝังไว้ในสระโบกขรณีมงคล ๑๖. ขุมทรัพย์ที่ยอดไม้ หมายถึงขุมทรัพย์ที่ฝังไว้ใต้ต้นรังใหญ่ในพระราชอุทยาน เวลาเที่ยงวันเงาจะอยู่ที่ โคนต้น จึงให้ขุดทรัพย์ที่นั้น ธนูหนักหนึ่งพันแรงคน หมายถึงธนูที่ใช้แรงคนโก่งหนึ่งพันคน แต่พระมหา ชนกโก่งได้โดยง่ายเหมือนธนูดีดฝ้ายของสตรี บัลลังก์สี่เหลี่ยม ก็ทรงทราบด้านศีรษะของบัลลังก์ให้พระนาง สีวลีเอาปิ่นปักพระเกศาวาง ผู้ทาเจ้าหญิงสีวลีให้ยินดี หมายถึงพระนางสีวลียินดีกับชายใด ชายนั้นจะได้ ครองราชย์ พระมหาชนกเป็นที่โปรดปรานของพระนางสีวลีตั้งแต่แรกพบถึงกับยื่นพระหัตถ์ให้เกาะ ท้าวเธอ ก็ทรงเกาะพระหัตถ์พระนางขึ้นสู่ปราสาท) คือ ๑. ขุมทรัพย์ที่อยู่ทางดวงอาทิตย์ขึ้น ๒. ขุมทรัพย์ที่อยู่ทางดวงอาทิตย์ตก ๓. ขุมทรัพย์ที่อยู่ภายใน ๔. ขุมทรัพย์ที่อยู่ภายนอก ๕. ขุมทรัพย์ที่ไม่ใช่อยู่ภายในภายนอก
  • 3. 3 ๖. ขุมทรัพย์ที่ทางขึ้น ๗. ขุมทรัพย์ที่ทางลง ๘.-๑๑. ขุมทรัพย์ที่ไม้สาละทั้ง ๔ ๑๒. ขุมทรัพย์ที่โยชน์หนึ่งโดยรอบ ๑๓. ขุมทรัพย์ที่ปลายงาทั้ง ๒ ๑๔. ขุมทรัพย์ที่ปลายหาง ๑๕. ขุมทรัพย์ที่สระน้า ๑๖. ขุมทรัพย์ที่ยอดไม้ ธนูหนักหนึ่งพันแรงคน บัลลังก์สี่เหลี่ยม ผู้ทาเจ้าหญิงสีวลีให้ยินดี [๑๓๓] บุรุษผู้เป็นบัณฑิตพึงหวังร่าไป ไม่พึงเบื่อหน่าย เราเห็นตนเองได้เป็นพระราชาตามที่ตน ปรารถนา [๑๓๔] บุรุษผู้เป็นบัณฑิตพึงหวังร่าไป ไม่พึงเบื่อหน่าย เราเห็นตนเองถูกอุ้มจากน้าขึ้นบกแล้ว [๑๓๕] บุรุษผู้เป็นบัณฑิตพึงพยายามร่าไป ไม่พึงเบื่อหน่าย เราเห็นตนเองได้เป็นพระราชาตามที่ ตนปรารถนา [๑๓๖] บุรุษผู้เป็นบัณฑิตพึงพยายามร่าไป ไม่พึงเบื่อหน่าย เราเห็นตนเองถูกอุ้มจากน้าขึ้นบกแล้ว [๑๓๗] คนมีปัญญาแม้ถูกทุกข์กระทบแล้ว ก็ไม่พึงทาลายความหวัง เพื่อการมาถึงแห่งความสุข เพราะสัมผัสมีมากอย่างทั้งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์ ผู้ไม่นึกถึงประโยชน์ย่อมเข้าถึงความตาย [๑๓๘] สิ่งที่ไม่ได้คิดกลับเป็นไปได้ สิ่งที่คิดแล้วกลับพินาศไป ทรัพย์สมบัติทั้งหลายของหญิงหรือ ชาย หาได้สาเร็จด้วยความคิดไม่ (ชาวเมืองกล่าวกันว่า) [๑๓๙] ท่านผู้เจริญ พระราชาผู้ครอบครองพื้นที่ทั้งปวง เป็นใหญ่ในทิศ ไม่เป็นเหมือนแต่ก่อน หนอ วันนี้ ไม่ทอดพระเนตรการฟ้อนรา ไม่ทรงใส่พระทัยในการขับร้อง [๑๔๐] ไม่ทอดพระเนตรฝูงเนื้ อ ไม่เสด็จประพาสพระราชอุทยาน ไม่ทอดพระเนตรฝูงหงส์ พระองค์ทรงประทับนิ่งเฉยเหมือนคนใบ้ ไม่ทรงว่าราชการเลย (พระโพธิสัตว์ทรงระลึกถึงพระปัจเจกพุทธเจ้า ทรงเปล่งอุทานว่า) [๑๔๑] นักปราชญ์ทั้งหลายผู้ใคร่ความสุข มีปกติหลีกเร้น ปราศจากเครื่องผูกคือกิเลส ทั้งหนุ่มทั้ง แก่ ก้าวล่วงตัณหาเสียได้ ย่อมอยู่ ณ อารามของใครหนอในวันนี้ [๑๔๒] ข้าพเจ้าขอนอบน้อมนักปราชญ์เหล่านั้นผู้แสวงหาคุณใหญ่ นักปราชญ์เหล่าใดเป็นผู้ไม่ ขวนขวายอยู่ในโลกที่ถึงความขวนขวาย [๑๔๓] นักปราชญ์เหล่านั้นตัดข่ายคือตัณหาอันมั่นคงแห่งมฤตยู ที่มีมายาอย่างยิ่งทาลายด้วย ญาณไปอยู่ ใครเล่าจะพึงนาเราไปให้ถึงสถานที่อยู่ของนักปราชญ์เหล่านี้ ได้ [๑๔๔] เมื่อไร เราจักละกรุงมิถิลาอันรุ่งเรือง ที่นายช่างผู้ฉลาดได้จัดจาแนกไว้ สร้างไว้เป็นสัดส่วน ออกบวชได้ การละนครเห็นปานนี้ ออกบวชนั้นจักสาเร็จได้เมื่อไรหนอ
  • 4. 4 [๑๔๕] เมื่อไร เราจักละกรุงมิถิลาอันรุ่งเรือง กว้างขวาง สว่างไสวทั่วทุกทิศ ออกบวชได้ การละ นครเห็นปานนี้ ออกบวชนั้นจักสาเร็จได้เมื่อไรหนอ [๑๔๖] เมื่อไร เราจักละกรุงมิถิลาอันรุ่งเรือง ซึ่งมีปราการและเสาค่ายเป็นอันมาก ออกบวชได้ การละนครเห็นปานนี้ ออกบวชนั้นจักสาเร็จได้เมื่อไรหนอ [๑๔๗] เมื่อไร เราจักละกรุงมิถิลาอันรุ่งเรือง มีป้อมคูและซุ้มประตูมั่นคง ออกบวชได้ การละนคร เห็นปานนี้ ออกบวชนั้นจักสาเร็จได้เมื่อไรหนอ [๑๔๘] เมื่อไร เราจักละกรุงมิถิลาอันรุ่งเรือง มีถนนหลวงตัดไว้อย่างดี ออกบวชได้ การละนคร เห็นปานนี้ ออกบวชนั้นจักสาเร็จได้เมื่อไรหนอ [๑๔๙] เมื่อไร เราจักละกรุงมิถิลาอันรุ่งเรือง มีร้านตลาดที่จัดแยกไว้สวยงาม ออกบวชได้ การละ นครเห็นปานนี้ ออกบวชนั้นจักสาเร็จได้เมื่อไรหนอ [๑๕๐] เมื่อไร เราจักละกรุงมิถิลาอันรุ่งเรือง ซึ่งมีโค ม้า และรถเบียดเสียดกัน ออกบวชได้ การละ นครเห็นปานนี้ ออกบวชนั้นจักสาเร็จได้เมื่อไรหนอ [๑๕๑] เมื่อไร เราจักละกรุงมิถิลาอันรุ่งเรือง มีสวนสาธารณะมีระเบียบเรียบร้อย ออกบวชได้ การ ละนครเห็นปานนี้ ออกบวชนั้นจักสาเร็จได้เมื่อไรหนอ [๑๕๒] เมื่อไร เราจักละกรุงมิถิลาอันรุ่งเรือง ที่มีวนอุทยาน มีระเบียบเรียบร้อย ออกบวชได้ การ ละนครเห็นปานนี้ ออกบวชนั้นจักสาเร็จได้เมื่อไรหนอ [๑๕๓] เมื่อไร เราจักละกรุงมิถิลาอันรุ่งเรือง มีปราสาทราชมณเฑียร สถานที่และอุทยาน เป็น ระเบียบเรียบร้อย ออกบวชได้ การละนครเห็นปานนี้ ออกบวชนั้นจักสาเร็จได้เมื่อไรหนอ [๑๕๔] เมื่อไร เราจักละกรุงมิถิลาอันรุ่งเรือง มีปราการ ๓ ชั้น คับคั่งด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ ที่ พระเจ้าวิเทหะ ผู้เรืองยศพระนามว่าโสมนัสได้ทรงสร้างไว้ ออกบวชได้ การละนครเห็นปานนี้ ออกบวชนั้นจัก สาเร็จได้เมื่อไรหนอ [๑๕๕] เมื่อไร เราจักละแคว้นวิเทหะอันรุ่งเรือง พรั่งพร้อมด้วยการสะสมเสบียง เช่น สะสมทรัพย์ และธัญญาหารเป็นต้น ที่พระเจ้าวิเทหะทรงปกครองโดยชอบธรรม ออกบวชได้ การละแคว้นเห็นปานนี้ ออก บวชนั้นจักสาเร็จได้เมื่อไรหนอ [๑๕๖] เมื่อไร เราจักละแคว้นวิเทหะอันรุ่งเรือง ที่พวกปรปักษ์ผจญไม่ได้ ซึ่งพระเจ้าวิเทหะทรง ปกครองโดยธรรม ออกบวชได้ การละแคว้นเห็นปานนี้ ออกบวชนั้นจักสาเร็จได้เมื่อไรหนอ [๑๕๗] เมื่อไร เราจักละพระตาหนักอันเป็นสถานที่น่ารื่นรมย์ ที่นายช่างผู้ฉลาดได้จัดจาแนกไว้ สร้างไว้เป็นส่วนสัด ออกบวชได้ การละพระตาหนักเห็นปานนี้ ออกบวชนั้นจักสาเร็จได้เมื่อไรหนอ [๑๕๘] เมื่อไร เราจักละพระตาหนักอันเป็นสถานที่น่ารื่นรมย์ ที่โบกฉาบด้วยปูนขาวและดิน เหนียว ออกบวชได้ การละพระตาหนักเห็นปานนี้ ออกบวชนั้นจักสาเร็จได้เมื่อไรหนอ [๑๕๙] เมื่อไร เราจักละพระตาหนักอันเป็นสถานที่น่ารื่นรมย์ มีกลิ่นหอมสดชื่นรื่นรมย์ใจ ออก บวชได้ การละพระตาหนักเห็นปานนี้ ออกบวชนั้นจักสาเร็จได้เมื่อไรหนอ
  • 5. 5 [๑๖๐] เมื่อไร เราจักละพระตาหนักเรือนยอด ที่นายช่างผู้ชาญฉลาดจัดจาแนก สร้างไว้เป็น สัดส่วน ออกบวชได้ การละพระตาหนักเห็นปานนี้ ออกบวชนั้นจักสาเร็จได้เมื่อไรหนอ [๑๖๑] เมื่อไร เราจักละพระตาหนักเรือนยอด ที่โบกฉาบด้วยปูนขาวและดินเหนียว ออกบวชได้ การละพระตาหนักเห็นปานนี้ ออกบวชนั้นจักสาเร็จได้เมื่อไรหนอ [๑๖๒] เมื่อไร เราจักละพระตาหนักเรือนยอด ที่มีกลิ่นหอมสดชื่นรื่นรมย์ใจ ออกบวชได้ การละ พระตาหนักเห็นปานนี้ ออกบวชนั้นจักสาเร็จได้เมื่อไรหนอ [๑๖๓] เมื่อไร เราจักละพระตาหนักเรือนยอด ที่นายช่างผู้ชาญฉลาดฉาบทา และประพรมด้วย จุรณแก่นจันทน์ ออกบวชได้ การละพระตาหนักเห็นปานนี้ ออกบวชนั้นจักสาเร็จได้เมื่อไรหนอ [๑๖๔] เมื่อไร เราจึงจักละบัลลังก์ทอง ที่ลาดด้วยพรมขนสัตว์อันวิจิตร ออกบวชได้ การละบัลลังก์ ทองเห็นปานนี้ ออกบวชนั้นจักสาเร็จได้เมื่อไรหนอ [๑๖๕] เมื่อไร เราจักละบัลลังก์แก้วมณี ที่ลาดด้วยพรมขนสัตว์อันวิจิตร ออกบวชได้ การละ บัลลังก์แก้วมณีเห็นปานนี้ ออกบวชนั้นจักสาเร็จได้เมื่อไรหนอ [๑๖๖] เมื่อไร เราจักละผ้าฝ้าย ผ้าไหม ผ้าป่าน และผ้าขนสัตว์อย่างละเอียด ออกบวชได้ การละ ผ้าเห็นปานนี้ ออกบวชนั้นจักสาเร็จได้เมื่อไรหนอ [๑๖๗] เมื่อไร เราจักละสระโบกขรณีอันรื่นรมย์ มีนกจักรพากส่งเสียงร่าร้องอยู่ ดารดาษไปด้วย ดอกมณฑาลก ดอกปทุม และดอกอุบล ออกบวชได้ การละสระโบกขรณีเห็นปานนี้ ออกบวชนั้นจักสาเร็จได้ เมื่อไรหนอ [๑๖๘] เมื่อไร เราจักละกองช้างพลายที่ประดับด้วยเครื่องอลังการพร้อมสรรพ มีสายรัดทองคา มี เครื่องปกกระพองและข่ายทองคา [๑๖๙] มีนายควาญช้างถือโตมรและขอขึ้นขี่ประจา ออกบวชได้ การละกองช้างเห็นปานนี้ ออก บวชนั้นจักสาเร็จได้เมื่อไรหนอ [๑๗๐] เมื่อไร กองม้าสินธพชาติอาชาไนย (ม้าสินธพชาติอาชาไนย หมายถึงฝูงม้าที่มีชื่อว่า อาชาไนย เพราะเป็นม้าที่รู้จักเหตุและมิใช่เหตุ (ฝึกง่าย) โดยกาเนิด) ที่ประดับด้วยเครื่องอลังการ พร้อมสรรพ เป็นพาหนะเร็ว [๑๗๑] มีนายสารถีถือแส้และธนูขึ้นขี่ประจา ออกบวชได้ การละกองม้าเห็นปานนี้ ออกบวชนั้นจัก สาเร็จได้เมื่อไรหนอ [๑๗๒] เมื่อไร เราจักละกองรถที่ติดเครื่องรบ ชักธงชัยเฉลิมพลประจา หุ้มด้วยหนังเสือเหลืองและ เสือโคร่ง ประดับด้วยเครื่องอลังการพร้อมสรรพ [๑๗๓] มีนายสารถีสวมเกราะถือธนูขึ้นขี่ประจา ออกบวชได้ การละกองรถเห็นปานนี้ ออกบวชนั้น จักสาเร็จได้เมื่อไรหนอ [๑๗๔] เมื่อไร เราจักละรถทองคาที่ติดเครื่องรบ ชักธงชัยเฉลิมพลประจา หุ้มด้วยหนังเสือเหลือง และเสือโคร่ง ประดับด้วยเครื่องอลังการพร้อมสรรพ
  • 6. 6 [๑๗๕] มีนายสารถีสวมเกราะถือธนูขึ้นขี่ประจา ออกบวชได้ การละรถทองคาเห็นปานนี้ ออกบวช นั้นจักสาเร็จได้เมื่อไรหนอ [๑๗๖] เมื่อไร เราจักละรถเงินที่ติดเครื่องรบ ชักธงชัยเฉลิมพลประจา หุ้มด้วยหนังเสือเหลืองและ เสือโคร่ง ประดับด้วยเครื่องอลังการพร้อมสรรพ [๑๗๗] มีนายสารถีสวมเกราะถือธนูขึ้นขี่ประจา ออกบวชได้ การละรถเงินเห็นปานนี้ ออกบวชนั้น จักสาเร็จได้เมื่อไรหนอ [๑๗๘] เมื่อไร เราจักละรถม้าที่ติดเครื่องรบ ชักธงชัยเฉลิมพลประจา หุ้มด้วยหนังเสือเหลืองและ เสือโคร่ง ประดับด้วยเครื่องอลังการพร้อมสรรพ [๑๗๙] มีนายสารถีสวมเกราะถือธนูขึ้นขี่ประจา ออกบวชได้ การละรถม้าเห็นปานนี้ ออกบวชนั้น จักสาเร็จได้เมื่อไรหนอ [๑๘๐] เมื่อไร เราจักละรถเทียมด้วยอูฐที่ติดเครื่องรบ ชักธงชัยเฉลิมพลประจา หุ้มด้วยหนังเสือ เหลืองและเสือโคร่ง ประดับด้วยเครื่องอลังการพร้อมสรรพ [๑๘๑] มีนายสารถีสวมเกราะถือธนูขึ้นขี่ประจา ออกบวชได้ การละรถเทียมด้วยอูฐเห็นปานนี้ ออกบวชนั้นจักสาเร็จได้เมื่อไรหนอ [๑๘๒] เมื่อไร เราจักละรถเทียมด้วยโคที่ติดเครื่องรบ ชักธงชัยเฉลิมพลประจา หุ้มด้วยหนังเสือ เหลืองและเสือโคร่ง ประดับด้วยเครื่องอลังการพร้อมสรรพ [๑๘๓] มีนายสารถีสวมเกราะถือธนูขึ้นขี่ประจา ออกบวชได้ การละรถเทียมด้วยโคเห็นปานนี้ ออก บวชนั้นจักสาเร็จได้เมื่อไรหนอ [๑๘๔] เมื่อไร เราจักละรถเทียมด้วยแพะที่ติดเครื่องรบ ชักธงชัยเฉลิมพลประจา หุ้มด้วยหนังเสือ เหลืองและเสือโคร่ง ประดับด้วยเครื่องอลังการพร้อมสรรพ [๑๘๕] มีนายสารถีสวมเกราะถือธนูขึ้นขี่ประจา ออกบวชได้ การละรถเทียมด้วยแพะเห็นปานนี้ ออกบวชนั้นจักสาเร็จได้เมื่อไรหนอ [๑๘๖] เมื่อไร เราจักละรถเทียมด้วยแกะที่ติดเครื่องรบ ชักธงชัยเฉลิมพลประจา หุ้มด้วยหนังเสือ เหลืองและเสือโคร่ง ประดับด้วยเครื่องอลังการพร้อมสรรพ [๑๘๗] มีนายสารถีสวมเกราะถือธนูขึ้นขี่ประจา ออกบวชได้ การละรถเทียมด้วยแกะเห็นปานนี้ ออกบวชนั้นจักสาเร็จได้เมื่อไรหนอ [๑๘๘] เมื่อไร เราจักละรถเทียมด้วยเนื้ อที่ติดเครื่องรบ ชักธงชัยเฉลิมพลประจา หุ้มด้วยหนังเสือ เหลืองและเสือโคร่ง ประดับด้วยเครื่องอลังการพร้อมสรรพ [๑๘๙] มีนายสารถีสวมเกราะถือธนูขึ้นขี่ประจา ออกบวชได้ การละรถเทียมด้วยเนื้ อเห็นปานนี้ ออกบวชนั้นจักสาเร็จได้เมื่อไรหนอ [๑๙๐] เมื่อไร เราจักละกองช้างที่ประดับด้วยเครื่องอลังการพร้อมสรรพ สวมเกราะสีเขียว แกล้ว กล้า ถือโตมรและขอ ออกบวชได้ การละกองช้างเห็นปานนี้ ออกบวชนั้นจักสาเร็จได้เมื่อไรหนอ
  • 7. 7 [๑๙๑] เมื่อไร เราจักละกองม้าที่ประดับด้วยเครื่องอลังการพร้อมสรรพ สวมเกราะสีเขียว แกล้ว กล้า สะพายธนูและแล่ง ออกบวชได้ การละกองม้าเห็นปานนี้ ออกบวชนั้นจักสาเร็จได้เมื่อไรหนอ [๑๙๒] เมื่อไร เราจึงจักละกองรถที่ประดับด้วยเครื่องอลังการพร้อมสรรพ สวมเกราะสีเขียว แกล้ว กล้า สะพายธนูและแล่ง ออกบวชได้ การละกองรถเห็นปานนี้ ออกบวชนั้นจักสาเร็จได้เมื่อไรหนอ [๑๙๓] เมื่อไร เราจักละกองธนูที่ประดับด้วยเครื่องอลังการพร้อมสรรพ สวมเกราะสีเขียว แกล้ว กล้า ถือธนูและแล่ง ออกบวชได้ การละกองธนูเห็นปานนี้ ออกบวชนั้นจักสาเร็จได้เมื่อไรหนอ [๑๙๔] เมื่อไร เราจักละพวกราชบุรุษผู้ประดับด้วยเครื่องอลังการพร้อมสรรพ สวมเกราะอันวิจิตร แกล้วกล้า เหน็บกฤชทองคา ออกบวชได้ การละพวกราชบุรุษเห็นปานนี้ ออกบวชนั้นจักสาเร็จได้เมื่อไรหนอ [๑๙๕] เมื่อไร เราจักละหมู่พราหมณ์ผู้บาเพ็ญพรตประดับตกแต่งแล้ว ทาตัวด้วยกระแจะจันทน์ เหลือง ครองผ้ากาสิกพัสตร์เนื้ อดี ออกบวชได้ การละหมู่พราหมณ์เห็นปานนี้ ออกบวชนั้นจักสาเร็จได้เมื่อไร หนอ [๑๙๖] เมื่อไร เราจักละหมู่อามาตย์ผู้ประดับด้วยเครื่องอลังการพร้อมสรรพ สวมเกราะสีเหลือง แกล้วกล้า เดินไปข้างหน้ามีระเบียบเรียบร้อยดี ออกบวชได้ การละหมู่อามาตย์เห็นปานนี้ ออกบวชนั้นจัก สาเร็จได้เมื่อไรหนอ [๑๙๗] เมื่อไร เราจักละพระสนมกานัลใน ๗๐๐ นางผู้ประดับด้วยเครื่องอลังการพร้อมสรรพ ออก บวชได้ การละพระสนมกานัลในเห็นปานนี้ ออกบวชนั้นจักสาเร็จได้เมื่อไรหนอ [๑๙๘] เมื่อไร เราจักละพระสนมกานัลใน ๗๐๐ นาง ผู้ละมุนละไมสะโอดสะอง ออกบวชได้ การ ละพระสนมกานัลในเห็นปานนี้ ออกบวชนั้นจักสาเร็จได้เมื่อไรหนอ [๑๙๙] เมื่อไร เราจักละพระสนมกานัลใน ๗๐๐ นาง ผู้เชื่อฟัง พูดไพเราะ ออกบวชได้ การละพระ สนมกานัลในผู้น่ารักเห็นปานนี้ ออกบวชนั้นจักสาเร็จได้เมื่อไรหนอ [๒๐๐] เมื่อไร เราจักละถาดทองคาหนักประมาณ ๑๐๐ ปละ จาหลักลวดลายเป็นร้อย ออกบวชได้ การละถาดทองคาเห็นปานนี้ ออกบวชนั้นจักสาเร็จได้เมื่อไรหนอ [๒๐๑] เมื่อไร กองช้างพลายที่ประดับด้วยเครื่องอลังการพร้อมสรรพ มีสายรัดทองคา มีเครื่องปก กระพองและข่ายทองคา [๒๐๒] มีนายคราญช้างถือโตมรและขอขึ้นขี่ประจา ที่เคยขี่ติดตามเรา จักไม่ติดตามเรา ความดาริ นั้นจักสาเร็จได้เมื่อไรหนอ [๒๐๓] เมื่อไร กองม้าสินธพชาติอาชาไนยที่ประดับด้วยเครื่องอลังการพร้อมสรรพ เป็นพาหนะ เร็ว [๒๐๔] มีนายสารถีถือแส้และธนูขึ้นขี่ประจา ที่เคยติดตามเรา จักไม่ติดตามเรา ความดารินั้นจัก สาเร็จได้เมื่อไรหนอ [๒๐๕] เมื่อไร กองรถที่ติดเครื่องรบ ชักธงชัยเฉลิมพลประจา หุ้มด้วยหนังเสือเหลืองและเสือโคร่ง ประดับด้วยเครื่องอลังการพร้อมสรรพ
  • 8. 8 [๒๐๖] มีนายสารถีสวมเกราะถือธนูขึ้นขับขี่ประจา ที่เคยติดตามเรา จักไม่ติดตามเรา ความดาริ นั้นจักสาเร็จได้เมื่อไรหนอ [๒๐๗] เมื่อไร รถทองคาที่ติดเครื่องรบ ชักธงชัยเฉลิมพลประจา หุ้มด้วยหนังเสือเหลืองและเสือ โคร่ง ประดับด้วยเครื่องอลังการพร้อมสรรพ [๒๐๘] มีนายสารถีสวมเกราะถือธนูขึ้นขับขี่ประจา ที่เคยติดตามเรา จักไม่ติดตามเรา ความดาริ นั้นจักสาเร็จได้เมื่อไรหนอ [๒๐๙] เมื่อไร รถเงินที่ติดเครื่องรบ ชักธงชัยเฉลิมพลประจา หุ้มด้วยหนังเสือเหลืองและเสือโคร่ง ประดับด้วยเครื่องอลังการพร้อมสรรพ [๒๑๐] มีนายสารถีสวมเกราะถือธนูขึ้นขับขี่ประจา ที่เคยติดตามเรา จักไม่ติดตามเรา ความดาริ นั้นจักสาเร็จได้เมื่อไรหนอ [๒๑๑] เมื่อไร รถม้าที่ติดเครื่องรบ ชักธงชัยเฉลิมพลประจา หุ้มด้วยหนังเสือเหลืองและเสือโคร่ง ประดับด้วยเครื่องอลังการพร้อมสรรพ [๒๑๒] มีนายสารถีสวมเกราะถือธนูขึ้นขับขี่ประจา ที่เคยติดตามเรา จักไม่ติดตามเรา ความดาริ นั้นจักสาเร็จได้เมื่อไรหนอ [๒๑๓] เมื่อไร รถเทียมด้วยอูฐที่ติดเครื่องรบ ชักธงชัยเฉลิมพลประจา หุ้มด้วยหนังเสือเหลืองและ เสือโคร่ง ประดับด้วยเครื่องอลังการพร้อมสรรพ [๒๑๔] มีนายสารถีสวมเกราะถือธนูขึ้นขับขี่ประจา ที่เคยติดตามเรา จักไม่ติดตามเรา ความดาริ นั้นจักสาเร็จได้เมื่อไรหนอ [๒๑๕] เมื่อไร รถเทียมด้วยโคที่ติดเครื่องรบ ชักธงชัยเฉลิมพลประจา หุ้มด้วยหนังเสือเหลืองและ เสือโคร่ง ประดับด้วยเครื่องอลังการพร้อมสรรพ [๒๑๖] มีนายสารถีสวมเกราะถือธนูขึ้นขับขี่ประจา ที่เคยติดตามเรา จักไม่ติดตามเรา ความดาริ นั้นจักสาเร็จได้เมื่อไรหนอ [๒๑๗] เมื่อไร รถเทียมด้วยแพะที่ติดเครื่องรบ ชักธงชัยเฉลิมพลประจา หุ้มด้วยหนังเสือเหลือง และเสือโคร่ง ประดับด้วยเครื่องอลังการพร้อมสรรพ [๒๑๘] มีนายสารถีสวมเกราะถือธนูขึ้นขับขี่ประจา ที่เคยติดตามเรา จักไม่ติดตามเรา ความดาริ นั้นจักสาเร็จได้เมื่อไรหนอ [๒๑๙] เมื่อไร รถเทียมด้วยแกะที่ติดเครื่องรบ ชักธงชัยเฉลิมพลประจา หุ้มด้วยหนังเสือเหลือง และเสือโคร่ง ประดับด้วยเครื่องอลังการพร้อมสรรพ [๒๒๐] มีนายสารถีสวมเกราะถือธนูขึ้นขับขี่ประจา ที่เคยติดตามเรา จักไม่ติดตามเรา ความดาริ นั้นจักสาเร็จได้เมื่อไรหนอ [๒๒๑] เมื่อไร รถเทียมด้วยเนื้ อที่ติดเครื่องรบ ชักธงชัยเฉลิมพลประจา หุ้มด้วยหนังเสือเหลือง และเสือโคร่ง ประดับด้วยเครื่องอลังการพร้อมสรรพ
  • 9. 9 [๒๒๒] มีนายสารถีสวมเกราะถือธนูขึ้นขับขี่ประจา ที่เคยติดตามเรา จักไม่ติดตามเรา ความดาริ นั้นจักสาเร็จได้เมื่อไรหนอ [๒๒๓] เมื่อไร กองช้างที่ประดับด้วยเครื่องอลังการพร้อมสรรพ สวมเกราะสีเขียว แกล้วกล้า ถือ โตมรและของ้าว ที่เคยติดตามเรา จักไม่ติดตามเรา ความดารินั้นจักสาเร็จได้เมื่อไรหนอ [๒๒๔] เมื่อไร กองม้าที่ประดับด้วยเครื่องอลังการพร้อมสรรพ สวมเกราะสีเขียว แกล้วกล้า ถือแส้ และธนู ที่เคยติดตามเรา จักไม่ติดตามเรา ความดารินั้นจักสาเร็จได้เมื่อไรหนอ [๒๒๕] เมื่อไร กองรถที่ประดับด้วยเครื่องอลังการพร้อมสรรพ สวมเกราะสีเขียว แกล้วกล้า ถือธนู และแล่ง ที่เคยติดตามเรา จักไม่ติดตามเรา ความดารินั้นจักสาเร็จได้เมื่อไรหนอ [๒๒๖] เมื่อไร กองธนูที่ประดับด้วยเครื่องอลังการพร้อมสรรพ สวมเกราะสีเขียว แกล้วกล้า ถือธนู และแล่ง ที่เคยติดตามเรา จักไม่ติดตามเรา ความดารินั้นจักสาเร็จได้เมื่อไรหนอ [๒๒๗] เมื่อไร พวกราชบุตรผู้ประดับด้วยเครื่องอลังการพร้อมสรรพ สวมเกราะอันวิจิตร แกล้ว กล้า เหน็บกฤชทองคา ที่เคยติดตามเรา จักไม่ติดตามเรา ความดารินั้นจักสาเร็จได้เมื่อไรหนอ [๒๒๘] เมื่อไร หมู่พราหมณ์ผู้มีพรตประดับแล้ว ทาตัวด้วยจุรณจันทน์เหลือง ใช้ผ้าเนื้ อดีจาก แคว้นกาสี ที่เคยติดตามเรา จักไม่ติดตามเรา ความดารินั้นจักสาเร็จได้เมื่อไรหนอ [๒๒๙] เมื่อไร หมู่อามาตย์ผู้ประดับด้วยเครื่องอลังการพร้อมสรรพ สวมเกราะสีเหลือง แกล้วกล้า เดินนาไปข้างหน้าอย่างเป็นระเบียบ ที่เคยติดตามเรา จักไม่ติดตามเรา ความดารินั้นจักสาเร็จได้เมื่อไรหนอ [๒๓๐] เมื่อไร พระสนมกานัลใน ๗๐๐ นาง ผู้ประดับด้วยเครื่องอลังการพร้อมสรรพ ที่เคย ติดตามเรา จักไม่ติดตามเรา ความดารินั้นจักสาเร็จได้เมื่อไรหนอ [๒๓๑] เมื่อไร พระสนมกานัลใน ๗๐๐ นาง ผู้ละมุนละไม สะโอดสะอง ที่เคยติดตามเรา จักไม่ ติดตามเรา ความดารินั้นจักสาเร็จได้เมื่อไรหนอ [๒๓๒] เมื่อไร พระสนมกานัลใน ๗๐๐ นาง ผู้เชื่อฟัง เจรจาไพเราะ น่ารัก ที่เคยติดตามเรา จักไม่ ติดตามเรา ความดารินั้นจักสาเร็จได้เมื่อไรหนอ [๒๓๓] เมื่อไร เราจักได้ปลงผม ห่มผ้าสังฆาฏิ อุ้มบาตรเที่ยวบิณฑบาต ความดารินั้นจักสาเร็จได้ เมื่อไรหนอ [๒๓๔] เมื่อไร เราจักทรงผ้าสังฆาฏิที่ทาด้วยผ้าบังสุกุล ที่เขาทิ้งไว้ที่หนทางใหญ่ ความดารินั้นจัก สาเร็จได้เมื่อไรหนอ [๒๓๕] เมื่อไร เมื่อมีฝนตกพราตลอด ๗ วัน เราจึงมีจีวรเปียกชุ่มเที่ยวไปบิณฑบาต ความดารินั้น จักสาเร็จได้เมื่อไรหนอ [๒๓๖] เมื่อไร เราจักได้เที่ยวจาริกไปตามต้นไม้น้อยใหญ่ ตามป่าน้อยใหญ่ตลอดทั้งคืนและวัน โดยไม่ต้องห่วงหน้าพะวงหลัง ความดารินั้นจักสาเร็จได้เมื่อไรหนอ [๒๓๗] เมื่อไร เราจักละความกลัวและความขลาดเสียได้ ไปที่ซอกเขาและลาธารได้ตามลาพัง ความดารินั้นจักสาเร็จได้เมื่อไรหนอ
  • 10. 10 [๒๓๘] เมื่อไร เราจักทาจิตให้ตรงได้เหมือนคนดีดพิณ ดีดพิณทั้ง ๗ สายให้มีเสียงน่ารื่นรมย์จับใจ ความดารินั้นจักสาเร็จได้เมื่อไรหนอ [๒๓๙] เมื่อไร เราจักตัดกามสังโยชน์ทั้งที่เป็นของทิพย์ และของมนุษย์ได้เหมือนช่างหนังตัด รองเท้าโดยรอบ (เมื่อพระมหาชนกทรงราพึงอย่างนี้ แล้ว ทรงถือเพศบรรพชา เสด็จลงจากปราสาทไป พระผู้มีพระ ภาคตรัสถึงเสียงคร่าครวญของสตรีเหล่านั้นว่า) [๒๔๐] พระสนมกานัลใน ๗๐๐ นางนั้น ประดับด้วยเครื่องอลังการพร้อมสรรพ ต่างประคองแขน ทั้ง ๒ คร่าครวญว่า เพราะเหตุไร พระองค์จึงทรงละทิ้งพวกหม่อมฉัน [๒๔๑] พระสนมกานัลใน ๗๐๐ นางนั้น ผู้ละมุนละไม สะโอดสะอง ต่างพากันประคองแขนทั้ง ๒ ร้องคร่าครวญว่า เพราะเหตุไร พระองค์จึงทรงละทิ้งพวกหม่อมฉัน [๒๔๒] พระสนมกานัลใน ๗๐๐ นางนั้น ล้วนเป็นผู้เชื่อฟัง เจรจาไพเราะ น่ารัก ต่างพากัน ประคองแขนทั้ง ๒ คร่าครวญว่า เพราะเหตุไร พระองค์จึงทรงละทิ้งพวกหม่อมฉันเสีย [๒๔๓] พระสนมกานัลใน ๗๐๐ นางนั้น ประดับด้วยเครื่องอลังการพร้อมสรรพ ถูกพระราชาทรง ละทิ้งไว้แล้ว เสด็จดาเนินไปมุ่งผนวช [๒๔๔] พระราชาทรงละพระสนมกานัลใน ๗๐๐ นาง ผู้ละมุนละไม สะโอดสะอง เสด็จดาเนินไป มุ่งผนวช [๒๔๕] พระราชาทรงละพระสนมกานัลใน ๗๐๐ นางนั้น ล้วนแต่เป็นผู้เชื่อฟัง เจรจาไพเราะ น่ารัก เสด็จดาเนินไปมุ่งผนวช [๒๔๖] ทรงละถาดทองคาหนักประมาณ ๑๐๐ ปละ จาหลักลวดลายตั้งร้อย ทรงอุ้มบาตรดิน นั้น เป็นการอภิเษกครั้งที่ ๒ (พระนางสีวลีกราบทูลพระโพธิสัตว์ว่า) [๒๔๗] เปลวไฟน่ากลัว ไหม้ท้องพระคลังตามลาดับ คือ เงิน ทอง แก้วมุกดา แก้วไพฑูรย์มากมาย [๒๔๘] แก้วมณี สังข์ แก้วมุกดา ผ้า จันทน์เหลือง หนังสัตว์ เครื่องงาช้าง ทองแดง และเหล็กเป็น อันมากที่ไฟไหม้ ข้าแต่พระราชา มาเถิดพระเจ้าข้า เชิญพระองค์เสด็จกลับก่อนเถิด พระราชทรัพย์ของ พระองค์อย่าได้พินาศเสียหายเลย (พระโพธิสัตว์ตรัสว่า) [๒๔๙] เราผู้ไม่มีความกังวลอยู่เป็นสุขสบายดีหนอ เมื่อกรุงมิถิลาถูกเพลิงเผาผลาญ เรามิได้มี อะไรจะไหม้ (พระนางสีวลีกราบทูลว่า) [๒๕๐] พวกโจรป่าเกิดขึ้น ปล้นแคว้นของพระองค์ มาเถิดพระเจ้าค่ะ ขอเชิญพระองค์เสด็จกลับ เถิด แคว้นนี้ อย่าได้พินาศเสียหายเลย (พระโพธิสัตว์ตรัสว่า)
  • 11. 11 [๒๕๑] เราผู้ไม่มีความกังวลอยู่เป็นสุขสบายดีหนอ เมื่อแคว้นถูกพวกโจรปล้น เรามิได้มีอะไรจะให้ ปล้นเลย [๒๕๒] เราผู้ไม่มีความกังวลอยู่เป็นสุขสบายดีหนอ เราจักมีปีติเป็นอาหารเหมือนเหล่าเทพชั้นอา ภัสสรพรหม (เหล่าเทพชั้นอาภัสสรพรหมมีปีติเป็นอาหารให้เวลาผ่านไปด้วยความสุขในฌาน) (นารทดาบสกล่าวว่า) [๒๕๓] เสียงอึกทึกกึกก้องอะไรกันนั่น ใครกันหนอเล่นกันเหมือนอยู่ในบ้าน ท่านสมณะ อาตม ภาพขอถาม มหาชนนั้นติดตามท่านมาเพื่อประโยชน์อะไร (พระโพธิสัตว์ตรัสว่า) [๒๕๔] มหาชนนี้ ติดตามข้าพเจ้าผู้ละทิ้งพวกเขามาในที่นี้ ผู้ล่วงเขตแดนคือกิเลสไป เพื่อบรรลุถึง โมเนยยธรรม คือญาณของพระมุนี แต่ยังเจือปนด้วยความเพลิดเพลินทั้งหลายอยู่ พระคุณเจ้าก็รู้อยู่จะถาม ไปทาไม (นารทดาบสกล่าวว่า) [๒๕๕] พระองค์เพียงแต่ทรงสรีระ (เพศนักบวช) นี้ อย่าได้เข้าพระทัยว่า “เราข้ามเขตแดนคือ กิเลสแล้ว” กรรมคือกิเลสนี้ จะพึงข้ามได้ด้วยเพศแห่งบรรพชิตก็หาไม่ เพราะอันตรายทั้งหลายยังมีอยู่มาก (พระโพธิสัตว์ตรัสว่า) [๒๕๖] อันตรายอะไรหนอ จะพึงมีแก่ข้าพเจ้าผู้มีปกติอยู่ผู้เดียวอย่างนี้ ข้าพเจ้าไม่ปรารถนากาม ทั้งหลายทั้งในปัจจุบันและในอนาคต (นารทดาบสกล่าวว่า) [๒๕๗] อันตรายเป็นอันมากทีเดียว คือ ความหลับ ความเกียจคร้าน ความบิดกาย ความเหนื่อย หน่าย ความเมาอาหารที่มีอยู่ในสรีระของพระองค์ (พระโพธิสัตว์ตรัสว่า) [๒๕๘] ท่านพราหมณ์ ท่านพร่าสอนข้าพเจ้าดีหนอ ท่านพราหมณ์ผู้นิรทุกข์ ข้าพเจ้าขอถามท่าน ท่านเป็นใครหนอ (นารทดาบสกล่าวว่า) [๒๕๙] ชนทั้งหลายรู้จักอาตมภาพโดยชื่อว่า นารทะ โดยโคตรว่า กัสสปะ อาตมภาพมาในสานัก ของพระองค์ด้วยเข้าใจว่า การสมาคมกับสัตบุรุษเป็นการดี [๒๖๐] ขอความเพลิดเพลินและวิหารธรรมทั้งปวงจงมีแก่พระองค์เท่านั้น พระองค์จงบาเพ็ญสิ่งที่ บกพร่องให้บริบูรณ์เถิด จงประกอบด้วยความอดทนและความสงบเถิด [๒๖๑] จงทรงคลี่คลายความยุบลงและฟูขึ้น จงสักการะกรรม วิชชา ธรรม (คาว่า กรรม ได้แก่ กุศลกรรมบถ ๑๐, คาว่า วิชชา ได้แก่ญาณในอภิญญา ๕ และสมาบัติ ๘ คาว่า ธรรม ได้แก่สมณธรรม กล่าวคือการบาเพ็ญกสิณ) และสมณธรรมแล้วบาเพ็ญพรหมจรรย์เถิด [๒๖๒] ข้าแต่พระชนก พระองค์ทรงละทิ้งช้าง ม้า ชาวพระนคร และชนบทเป็นอันมาก เสด็จออก ผนวช ทรงยินดีในบาตรดิน
  • 12. 12 [๒๖๓] ชาวชนบท มิตร อามาตย์ และพระญาติเหล่านั้น ได้ทาความผิดอะไรให้แก่พระองค์หรือ หนอ เพราะเหตุไร พระองค์จึงทรงชอบพระทัยบาตรดินนั้น (พระโพธิสัตว์ตรัสว่า) [๒๖๔] ท่านฤๅษี ข้าพเจ้ามิได้เคยเอาชนะพระญาติอะไรๆ โดยส่วนเดียวในกาลไหนๆ โดยอธรรม เลย แม้พระญาติทั้งหลายก็มิเคยได้เอาชนะข้าพเจ้าโดยอธรรม [๒๖๕] ข้าพเจ้าได้เห็นประเพณีของโลก เห็นโลกถูกกิเลสกัดกร่อน ถูกกิเลสทาให้เป็นดุจเปือกตม จึงได้ทาเหตุนี้ ให้เป็นเครื่องเปรียบเทียบว่า ปุถุชนจมอยู่ในกิเลสวัตถุใด สัตว์เป็นจานวนมากย่อมเดือดร้อน และย่อมถูกฆ่า ในกิเลสวัตถุนั้นดังนี้ แล้ว จึงได้บวชเป็นภิกษุ นะท่านผู้ครองหนังสัตว์ผู้เจริญ (นารทดาบสกล่าวว่า) [๒๖๖] ใครหนอเป็นผู้จาแนกแจกธรรมคาสั่งสอนพระองค์ คาอันสะอาดนี้ เป็นคาของใคร ท่านผู้ เป็นจอมทัพ เพราะบอกเจาะจงถึงดาบสผู้เป็นกรรมวาที หรือสมณะคือพระปัจเจกพุทธเจ้าผู้ประกอบด้วย วิชชา นักปราชญ์ไม่เรียกผู้ประพฤติวัตรว่า เป็นสมณะ เหมือนการก้าวล่วงทุกข์ได้เลย [๒๖๗] ท่านผู้ครองหนังสัตว์ แม้ข้าพเจ้าจะสักการะสมณะหรือพราหมณ์โดยส่วนเดียว แต่ไม่เคย เข้าไปใกล้ไต่ถามอะไรๆ ในกาลไหนๆ เลย (พระโพธิสัตว์ตรัสว่า) [๒๖๘] ข้าพเจ้ารุ่งเรืองด้วยสิริไปยังพระราชอุทยาน ด้วยอานุภาพใหญ่ ขณะที่เพลงขับที่เขาขับร้อง ดนตรีที่ไพเราะกาลังบรรเลงอยู่ [๒๖๙] ข้าพเจ้านั้นได้เห็นต้นมะม่วงที่กาลังมีผลอยู่ภายนอกกาแพง ถูกพวกมนุษย์ผู้ที่ต้องการผล ฟาดอยู่ ในพระราชอุทยานอันกึกก้องด้วยการประโคมดนตรี ประกอบด้วยคนขับและคนประโคม [๒๗๐] ข้าแต่ท่านผู้ครองหนังสัตว์ ข้าพเจ้านั้นละทิ้งสิรินั้นเสียแล้วลงจากยาน เข้าไปใกล้ต้น มะม่วงทั้งที่มีผลและไม่มีผล [๒๗๑] ข้าพเจ้าได้เห็นต้นมะม่วง อันมีผลถูกฟาดกระจัดกระจายย่อยยับ ส่วนมะม่วงอีกต้นหนึ่งสี เขียวชะอุ่มน่าพอใจ [๒๗๒] ศัตรูทั้งหลายจักกาจัดแม้พวกเราผู้เป็นอิสระ ผู้มีเสี้ยนหนามมาก เหมือนต้นมะม่วงที่มีผล ถูกมนุษย์ทั้งหลายเบียดเบียนแล้ว [๒๗๓] เสือเหลืองถูกฆ่าเพราะหนัง ช้างถูกฆ่าเพราะงา คนมีทรัพย์ถูกฆ่าเพราะทรัพย์ ใครเล่าจัก ฆ่าคนที่ไม่มีที่อยู่ ที่ไม่มีความคุ้นเคย ต้นมะม่วงที่มีผลและไม่มีผลทั้ง ๒ ต้นนั้นเป็นครูของข้าพเจ้า (พระนางสีวลีกราบทูลว่า) [๒๗๔] ชนทั้งปวง คือ กองพลช้าง กองพลม้า กองพลรถ กองพลราบ ต่างก็ตกใจว่า พระราชาทรง ผนวชเสียแล้ว [๒๗๕] ขอพระองค์ได้ทรงปลอบชุมชนให้เบาใจ ทรงวางหลักปกครอง ทรงอภิเษกพระราชโอรสไว้ ในราชสมบัติแล้ว จึงจักทรงผนวชในภายหลัง (พระโพธิสัตว์ตรัสว่า)
  • 13. 13 [๒๗๖] เราได้สละชาวชนบท มิตร อามาตย์ และพระญาติทั้งหลายแล้ว พระราชโอรสของชาว แคว้นวิเทหะ และคนผู้มีอายุยืน ผู้จักผดุงรัฐให้เจริญก็มีอยู่ เธอเหล่านั้นจักครองราชสมบัติในกรุงมิถิลา นะปชาบดี [๒๗๗] จงมาเถิด เราจะตามสอนเธอด้วยวาจาที่ชอบ เธอจะไปสู่ทุคติด้วยกาย วาจา และใจ เพราะบาปใด เมื่อเธอครองราชสมบัติก็จักทาบาปทุจริตนั้นเป็นอันมาก [๒๗๘] ผู้ที่ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยก้อนข้าวที่ผู้อื่นให้ ซึ่งสาเร็จมาแต่ผู้อื่นนี้ นั่นเป็นธรรมของ นักปราชญ์ (พระนางสีวลีกราบทูลว่า) [๒๗๙] กุลบุตรผู้ฉลาดแม้คนใดไม่พึงบริโภคอาหารในภัตกาลที่ ๔ (คาว่า ไม่พึงบริโภคอาหารใน ภัตกาลที่ ๔ พระนางสีวลีตรัสหมายถึงว่า ถ้าบุคคลเราไม่บริโภคอาหารมื้อสุดท้าย จะพึงตายไปเพราะความ หิว ผู้นั้นพึงเป็นสัตบุรุษเชื้อสายกุลบุตร จึงไม่พึงเสวยอาหารนั้นเพราะทรงรังเกียจเนื้ อที่เป็นเดนสุนัขที่พระ มหาชนกนามาย่างเสวย) จะพึงตายอย่างน่าอนาถเพราะความหิว กุลบุตรผู้ฉลาดนั้นก็ไม่พึงบริโภคก้อนข้าว ที่เปื้ อนฝุ่น ซึ่งไม่ดีมิใช่หรือ กิริยาของพระองค์นี้ ไม่ดี ไม่งามเลย ข้าแต่พระชนก พระองค์พึงเสวยก้อนเนื้ อที่ เป็นเดนสุนัข (พระโพธิสัตว์ตรัสว่า) [๒๘๐] พระนางสีวลี บิณฑบาตใด เป็นของอันบุคคลผู้ครองเรือน หรือสุนัขสละแล้ว บิณฑบาตนั้น ชื่อว่าไม่เป็นอาหารของอาตมภาพก็หามิได้ ของบริโภคเหล่าใดเหล่าหนึ่งที่ได้มาโดยธรรม ของบริโภค ทั้งหมดนั้นกล่าวกันว่า ไม่มีโทษ (พระโพธิสัตว์ตรัสกับเด็กหญิงว่า) [๒๘๑] กุมาริกาผู้นอนแนบมารดา ผู้ประดับอยู่เป็นนิตย์ เพราะเหตุไร กาไลมือข้างหนึ่งของเธอจึง มีเสียงดัง อีกข้างหนึ่งไม่มีเสียงดัง (เด็กหญิงกราบทูลว่า) [๒๘๒] ท่านสมณะ กาไลมือ ๒ วงที่สวมอยู่ที่ข้อมือของดิฉันนี้ เพราะทั้ง ๒ วงกระทบกัน จึงเกิด เสียงดัง คติของคน ๒ คนก็เป็นเช่นนี้ [๒๘๓] ท่านสมณะ กาไลมือวงหนึ่งที่สวมอยู่ที่ข้อมือของดิฉันนี้ ไม่มีอันที่ ๒ จึงไม่มีเสียงดังเหมือน มุนีสงบนิ่งอยู่ [๒๘๔] คนมีคู่จึงถึงความวิวาทกัน บุคคลคนเดียวจักวิวาทกับใคร ท่านนั้นเป็นผู้ปรารถนาสวรรค์ ก็ขอจงชอบความเป็นผู้เดียวเถิด (พระโพธิสัตว์ตรัสกับพระนางสีวลีว่า) [๒๘๕] พระนางสีวลี เธอได้ยินคาถาที่นางกุมาริกากล่าวแล้วหรือ นางกุมาริกาเป็นสาวใช้มาติ เตียนเรา มันเป็นคติของคนคู่เท่านั้น [๒๘๖] พระนางผู้เจริญ ทาง ๒ แพร่งนี้ เราทั้ง ๒ ผู้เดินทางได้สัญจรมาแล้ว บรรดาทางทั้ง ๒ แพร่งนั้น เธอจงเลือกเอาทางหนึ่ง อาตมภาพก็จักเลือกเอาอีกทางหนึ่ง
  • 14. 14 [๒๘๗] เธออย่าเรียกอาตมภาพว่าเป็นพระสวามีของเธอ และอาตมภาพก็จะไม่เรียกเธอว่าเป็น พระมเหสีของอาตมภาพต่อไป เมื่อกษัตริย์ทั้ง ๒ ตรัสข้อความนี้ แล้วต่างก็เสด็จเข้าไปยังถูณนคร [๒๘๘] เมื่อจวนเวลาอาหาร พระโพธิสัตว์ประทับอยู่ ณ ซุ้มประตูของช่างศร และ ณ ที่นั้น ช่างศร นั้นหลับตาลงข้างหนึ่งเล็งดูลูกศรที่คด ซึ่งตนดัดให้ตรงด้วยตาอีกข้างหนึ่ง (พระโพธิสัตว์ตรัสว่า) [๒๘๙] ช่างศร ท่านจงฟังอาตมภาพ ท่านเห็นความสาเร็จประโยชน์หรือหนอ ที่ท่านหลับตาข้าง หนึ่งลง เล็งดูลูกศรที่คดด้วยตาอีกข้างหนึ่ง (ช่างศรกราบทูลว่า) [๒๙๐] ท่านสมณะ การเล็งดูด้วยตาทั้ง ๒ ย่อมปรากฏกว้างไป เพราะเห็นไม่ถึงส่วนที่คดข้างหนึ่ง การดัดให้ตรงจึงไม่สาเร็จ [๒๙๑] แต่เมื่อหลับตาข้างหนึ่ง เล็งดูส่วนที่คดด้วยตาข้างหนึ่ง เพราะเห็นส่วนที่คดข้างหน้า การ ดัดให้ตรงจึงสาเร็จได้ [๒๙๒] คนที่มีคู่จึงวิวาทกัน คนเดียวจักวิวาทกับใคร ท่านนั้นปรารถนาสวรรค์ ก็ขอจงชอบความ เป็นผู้เดียวเถิด (พระโพธิสัตว์ตรัสกับพระนางสีวลีว่า) [๒๙๓] พระนางสีวลี เธอได้ยินคาที่ช่างศรกล่าวแล้วหรือยัง คนใช้มาติเตียนเรา นั้นเป็นคติของ คนคู่เท่านั้น [๒๙๔] พระนางผู้เจริญ ทาง ๒ แพร่งนี้ เราทั้ง ๒ ผู้เดินทางได้สัญจรมาแล้ว บรรดาทาง ๒ แพร่ง นั้น เธอจงเลือกเอาทางหนึ่ง อาตมภาพก็จักเลือกเอาอีกทางหนึ่ง [๒๙๕] เธออย่าเรียกอาตมภาพว่าเป็นพระสวามีของเธอ และอาตมภาพก็จะไม่เรียกเธอว่า เป็น พระมเหสีของอาตมภาพต่อไป หญ้ามุงกระต่ายเล็กน้อยขาดไปแล้ว (หญ้ามุงกระต่ายเล็กน้อยขาดไปแล้ว พระโพธิสัตว์ตรัสหมายถึงหญ้ามุงกระต่ายเส้นเล็กๆ ที่พระองค์ถอนขึ้นมาแล้วดึงให้ขาดจากกัน ใครๆ ไม่ สามารถต่อกันได้ เป็นการเตือนว่า พระองค์ไม่ปรารถนาจะอยู่ร่วมกับพระเทวีอีก เป็นการห้ามไม่ให้ตามไป) เธอจงอยู่คนเดียวเถิด พระนางสีวลี มหาชนกชาดกที่ ๒ จบ ---------------------- คาอธิบายเพิ่มเติมนามาจากบางส่วนของอรรถกถา มหาชนกชาดก ว่าด้วย พระมหาชนกทรงบาเพ็ญวิริยบารมี พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงพระปรารภมหาภิเนกขัมมบารมี ตรัส พระธรรมเทศนานี้ ว่า โก ย มชฺเฌ สมุทฺทสฺมึ ดังนี้ เป็นต้น. ความพิสดารว่า วันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายนั่งพรรณนามหาภิเนกขัมมบารมีของพระตถาคต ในโรง
  • 15. 15 ธรรมสภา. พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ เธอทั้งหลายประชุมเจรจากันถึงเรื่อง อะไร. เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้ เท่านั้น ที่ ตถาคตออกเพื่อคุณอันยิ่งใหญ่ แม้ในกาลก่อน เมื่อยังเป็นโพธิสัตว์อยู่ ตถาคตก็ได้ออกเพื่อคุณอันยิ่งใหญ่ เหมือนกัน ตรัสดังนี้ แล้วทรงดุษณีภาพอยู่. ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลวิงวอนให้ทรงเล่าเรื่อง จึงทรงนาอดีต นิทานมาแสดงดังต่อไปนี้ . ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในอดีตกาล พระราชาพระนามว่า มหาชนก ครองราชสมบัติในกรุงมิถิลา แคว้นวิเทหะ. พระเจ้ามหาชนกราชนั้นมีพระราชโอรสสองพระองค์ คืออริฏฐชนกพระองค์หนึ่ง โปลชนก พระองค์หนึ่ง. ในสองพระองค์นั้น พระราชาพระราชทานตาแหน่งอุปราชแก่พระราชโอรสองค์พี่ พระราชทานตาแหน่งเสนาบดีแก่พระราชโอรสองค์น้อง. กาลต่อมา พระมหาชนกราชสวรรคต พระอริฏฐ ชนกได้ครองราชสมบัติ ทรงตั้งพระโปลชนกผู้กนิษฐภาดาเป็นอุปราช. อมาตย์คนหนึ่งผู้ใกล้ชิดพระราชา ไป เฝ้าพระราชากราบทูลว่า ขอเดชะ พระอุปราชใคร่จะปลงพระชนม์พระองค์. พระอริฏฐชนกราชทรงสดับคา บ่อยๆ ก็ทาลายความสิเนหาพระอนุชา ให้จาพระโปลชนกมหาอุปราชด้วยเครื่องจองจา ให้อยู่ในคฤหาสน์ หลังหนึ่งใกล้พระราชนิเวศ มีผู้คุมรักษา พระกุมารโปลชนกทรงตั้งสัตยาธิษฐานว่า ถ้าข้าพเจ้าก่อเวรต่อพระ เชษฐา เครื่องจองจาจงอย่าหลุดจากมือและเท้าของข้าพเจ้า แม้ประตูก็จงอย่าเปิด ถ้าข้าพเจ้ามิได้ก่อเวรต่อ พระเชษฐา เครื่องจองจาจงหลุดจากมือและเท้าของข้าพเจ้า แม้ประตูก็จงเปิด เครื่องจองจาได้หักเป็นท่อนๆ แม้ประตูก็เปิดในทันใดนั้น ต่อนั้นพระโปลชนกก็เสด็จออกไปยังปัจจันตคามแห่งหนึ่ง ประทับอยู่ที่ปัจจันต คามนั้น ชาวปัจจันตคามจาพระองค์ได้ก็บารุงพระองค์. ครั้งนั้น พระอริฏฐชนกราชไม่สามารถจะจับพระองค์ได้ พระโปลชนกนั้นได้ทาปัจจันตชนบทให้ อยู่ในอานาจโดยลาดับ เป็นผู้มีบริวารมาก ทรงคิดว่า เมื่อก่อนเรามิได้ก่อเวรต่อพระเชษฐาของเรา แต่บัดนี้ เราจะก่อเวรละ ทรงให้ประชุมพลนิกาย แวดล้อมไปด้วยมหาชน ออกจากปัจจันตคามถึงกรุงมิถิลาโดยลาดับ ให้ตั้งค่ายพักแรมกองทัพอยู่นอกพระนคร. ครั้งนั้นเหล่าทหารชาวมิถิลานครทราบว่า พระโปลชนกเสด็จมา ก็ขนยุทโธปกรณ์มีพาหนะช้างเป็นต้น มายังสานักของพระโปลชนกนั้นโดยมาก แม้ชาวนครคนอื่นๆ ก็พากัน มาเข้าด้วย. พระโปลชนกส่งสาส์นไปถวายพระเชษฐาว่า เมื่อก่อนข้าพระองค์มิได้ก่อเวรต่อพระองค์ แต่บัดนี้ ข้าพระองค์จะก่อเวรละ พระองค์จะประทานเศวตฉัตรแก่ข้าพระองค์ หรือจะรบ. พระราชาอริฏฐชนกทรง สดับดังนั้น ปรารถนาจะรบ จึงตรัสเรียกพระอัครมเหสีมาตรัสว่า ที่รัก ในการรบชนะหรือแพ้ ไม่อาจจะรู้ได้ ถ้าฉันมีอันตราย เธอพึงรักษาครรภ์ให้ดี ตรัสฉะนี้ แล้ว เสด็จกรีธาทัพออกจากพระนคร. ครั้งนั้นทหารของ พระโปลชนกยังพระอริฏฐชนกราชให้ถึงชีพตักษัยในที่รบ. ชาวพระนครทั้งสิ้นรู้ว่า พระราชาสวรรคตแล้ว ก็ เกิดโกลาหลกันทั่วไป. ฝ่ายพระเทวีทรงทราบว่า พระราชสวามีสวรรคตแล้ว ก็รีบเก็บสิ่งของสาคัญมีทองเป็นต้นใส่ใน กระเช้า เอาผ้าเก่าๆ ปูปิดไว้แล้วใส่ข้าวสารข้างบน ทรงนุ่งภูษาเก่าเศร้าหมอง ปลอมพระกายของพระองค์ วางกระเช้าบนพระเศียร เสด็จออกจากพระนคร แต่กลางวันทีเดียว ไม่มีใครจาพระนางได้ พระนางเสด็จ ออกทางประตูทิศอุดร ไม่รู้จักมรรคา เพราะไม่เคยเสด็จไปในที่ไหนๆ ไม่อาจกาหนดทิศ จึงประทับที่ศาลา แห่งหนึ่งคอยตรัสถามว่า มีคนเดินทางไปนครกาลจัมปากะไหม เพราะเคยทรงสดับว่า มีนครกาลจัมปากะ
  • 16. 16 เท่านั้น. ก็สัตว์ในครรภ์ของพระเทวีนั้น มิใช่สัตว์สามัญ แต่เป็นพระมหาสัตว์ผู้มีพระบารมีเต็มแล้วมาบังเกิด ด้วยเดชานุภาพแห่งพระมหาสัตว์นั้น บันดาลให้ภพของท้าวสักกเทวราชสาแดงอาการร้อน. ท้าวสักก เทวราชทรงอาวัชนาการก็ทรงทราบเหตุนั้น ทรงดาริว่า สัตว์ที่บังเกิดในพระครรภ์ของพระเทวีมีบุญมาก เรา ควรจะไปในที่นั้น จึงเนรมิตเกวียนมีเครื่องปกปิด จัดตั้งเตียงไว้ในเกวียนนั้น เนรมิตตนเหมือนคนแก่ ขับ เกวียนไปหยุดอยู่ที่ประตูศาลาที่พระเทวีประทับอยู่ ทูลถามพระเทวีว่า มีผู้ที่จะไปนครกาลจัมปากะบ้างไหม. พระเทวีได้สดับดังนั้น จึงตรัสว่า ข้าแต่พ่อ ข้าพเจ้าจักไป. ท้าวสักกะตรัสว่า ถ้าเช่นนั้น แม่จงขึ้นนั่งบนเกวียน เถิด. พระเทวีเสด็จออกมาตรัสว่า ข้าแต่พ่อ ข้าพเจ้ามีครรภ์แก่ ไม่อาจจะขึ้นเกวียนไปได้ จักขอเดินตามพ่อ ไปเท่านั้น แต่พ่อช่วยรับกระเช้าของข้าพเจ้านี้ ขึ้นเกวียนไปด้วย. ท้าวสักกะตรัสว่า แม่พูดอะไร คนที่รู้จักขับ เกวียนเช่นข้าพเจ้าไม่มี แม่อย่ากลัวเลย ขึ้นนั่งบนเกวียนเถิดแม่. ด้วยอานุภาพแห่งพระโอรสของพระองค์ ใน กาลที่พระเทวีจะเสด็จขึ้นเกวียน แผ่นดินได้นูนขึ้นดุจผิวละออง เต็มด้วยลมฟุ้งขึ้นฉะนั้น ตั้งจดท้ายเกวียน พระเทวีเสด็จขึ้นบรรทมบนพระที่สิริไสยาสน์ ทรงทราบว่า นี้ จักเป็นเทวดา. พระนางได้หยั่งลงสู่นิทรา เพราะได้บรรทมบนพระที่อันเป็นทิพย์. ครั้งนั้น ท้าวสักกเทวราชทรงขับเกวียนถึงแม่น้าแห่งหนึ่ง ไกลราวสามสิบโยชน์ จึงปลุกพระเทวี แล้วตรัสว่า แม่จงลงจากเกวียนนี้ อาบน้าในแม่น้า จงนุ่งห่มผ้าคู่หนึ่ง ที่วางอยู่เหนือศีรษะนั้น จงหยิบของกิน ที่มีอยู่ภายในเกวียนนั้นมากินเถิด. พระเทวีทรงทาตามอย่างนั้น แล้วบรรทมต่อไปอีก ก็ลุถึงนครกาลจัมปา กะในเวลาเย็น ทอดพระเนตรเห็นประตูหอรบและกาแพงพระนคร จึงตรัสถามท้าวสักกะว่า ข้าแต่พ่อ เมืองนี้ ชื่ออะไร. ท้าวสักกะตรัสตอบว่า นครกาลจัมปากะ แม่. พระเทวีตรัสค้านว่า พูดอะไร พ่อ นครกาลจัมปากะ อยู่ห่างจากนครของพวกเราถึงหกสิบโยชน์มิใช่หรือ. ท้าวสักกะตรัสว่า ถูกแล้วแม่ แต่ตารู้จักหนทางตรง. ครั้งนั้นท้าวสักกเทวราชให้พระเทวีลงจากเกวียน ณ ที่ใกล้ประตู ด้านทิศทักษิณ ตรัสบอกว่า บ้านของตา อยู่ ข้างหน้า แต่แม่จงเข้าไปสู่นครนี้ ตรัสดังนี้ แล้วเสด็จไปเหมือนไปข้างหน้า ได้หายตัวไปยังที่ประทับของ พระองค์. ส่วนพระเทวีก็ประทับนั่งอยู่ที่ศาลาแห่งหนึ่ง. ขณะนั้นมีพราหมณ์ผู้เพ่งมนต์คนหนึ่งชาวนครกาลจัมปากะ เป็นทิศาปาโมกข์ มาณพประมาณ ห้าร้อยคน แวดล้อมเดินไปเพื่ออาบน้า แลดูมา แต่ไกลเห็นพระเทวีนั้น มีพระรูปงามยิ่งสมบูรณ์ด้วยความ งามเป็นเลิศ ประทับนั่งอยู่ ณ ศาลานั้น ด้วยอานุภาพแห่งพระมหาสัตว์ ผู้บังเกิดในพระครรภ์ของพระเทวี พอเห็นเท่านั้น ก็เกิดสิเนหาราวกะว่าเป็นน้องสาวของตน จึงให้เหล่ามาณพพักอยู่ภายนอก เข้าไปในศาลา แต่ผู้เดียวถามว่า น้องหญิง แม่เป็นชาวบ้านไหน. พระเทวีตรัสตอบว่า ข้าแต่พ่อ ข้าพเจ้าเป็นอัครมเหสีของ พระอริฏฐชนกราช กรุงมิถิลา. พราหมณ์ถามว่า แม่มาที่นี้ ทาไม พระเทวีตรัสตอบว่า พระอริฏฐชนกราชถูก พระโปลชนกปลงพระชนม์ เมื่อเป็นเช่นนี้ ข้าพเจ้ากลัวภัยจึงหนีมา ด้วยคิดว่า จักรักษาครรภ์ไว้. พราหมณ์ ถามว่า ก็ในพระนครนี้ มีใครที่เป็นพระญาติของเธอหรือ. พระเทวีตรัสตอบว่า ไม่มี พ่อ. พราหมณ์กล่าวว่า ถ้าเช่นนั้น เธออย่าวุ่นใจไปเลย ข้าพเจ้าอุทิจจพราหมณ์มหาศาล เป็นอาจารย์ทิศาปาโมกข์ ข้าพเจ้าจักตั้ง เธอไว้ ในที่เป็นน้องสาว ปฏิบัติดูแลเธอ เธอจงกล่าวกะข้าพเจ้าว่า ท่านเป็นพี่ชาย แล้วจับที่เท้าทั้งสองของ ข้าพเจ้าคร่าครวญเถิด. พระเทวีรับคาแล้ว เปล่งเสียงดัง ทอดพระองค์ลงจับเท้าทั้งสองของพราหมณ์ ทั้งสอง ต่างก็คร่าครวญกันอยู่.