SlideShare a Scribd company logo
1 of 32
Download to read offline
1
การบาเพ็ญบารมี ๑๐ พระชาติ ตอนที่ ๑
เตมิยชาดก (เนกขัมมบารมี)
พลตรี มารวย ส่งทานินทร์
๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๖
เกริ่นนา
เป็นชาดกที่พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภการเสด็จออกบรรพชาอัน
ยิ่งใหญ่ (ในอดีต) ได้ตรัสไว้โดยทรงเริ่มต้นด้วยคาถาแรกที่เทพธิดาผู้สถิตอยู่ที่เศวตฉัตรกล่าวสอนเตมิย
กุมารว่า “ท่านจงอย่าเปิดเผยตนว่าเป็นบัณฑิต”
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]
ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๒
๒๒. มหานิบาต
๑. เตมิยชาดก
ว่าด้วยพระเตมีย์โพธิสัตว์ทรงบาเพ็ญเนกขัมมบารมี
(เทพธิดาผู้เคยเป็นมารดาพระโพธิสัตว์ในอัตภาพหนึ่ง ปลอบพระโพธิสัตว์ให้สบายพระทัยแล้ว
จึงกล่าวว่า)
[๑] ท่านจงอย่าเปิดเผยตนว่าเป็นบัณฑิต จงให้คนทั้งปวงรู้ว่าเป็นคนโง่ ขอให้คนทั้งหมดจงดูหมิ่น
ท่านเถิด ความประสงค์ของท่าน จักสาเร็จได้ด้วยอาการอย่างนี้
(พระเตมีย์โพธิสัตว์กลับได้ความสบายพระทัยตามคาของเทพธิดานั้น จึงตรัสว่า)
[๒] แม่เทพธิดา ข้าพเจ้าจะทาตามคาของท่าน ที่ได้กล่าวกับข้าพเจ้า แม่เทพธิดา ท่านเป็นผู้
ปรารถนาประโยชน์ มุ่งประโยชน์เกื้อกูลแก่ข้าพเจ้า
(พระโพธิสัตว์ตรัสถามนายสารถีว่า)
[๓] นายสารถี ท่านจะรีบขุดหลุมไปทาไมหนอ สหายเอ๋ย เราถามท่านแล้ว ท่านจงบอกเรา
(สุนันทสารถีได้ฟังคานั้น ขุดหลุมมิได้เงยหน้าดู จึงกราบทูลว่า)
[๔] พระโอรสของพระราชาเป็นใบ้ และเป็นง่อยเปลี้ยขาดความสานึก พระราชาตรัสสั่งข้าพเจ้าว่า
ควรฝังลูกเราไว้ในป่าช้า
(พระเตมีย์โพธิสัตว์ ตรัสกับสุนันทสารถีว่า)
[๕] นายสารถี เรามิได้เป็นคนหนวก คนใบ้ คนเปลี้ย และมิได้เป็นคนบกพร่อง (คาว่า มิได้เป็น
คนบกพร่อง หมายถึงเป็นผู้มีอินทรีย์สมบูรณ์) ถ้าท่านพึงฝังเราไว้ในป่า ชื่อว่าพึงทาสิ่งที่ไม่เป็นธรรม
[๖] ท่านจงดูขา แขน และฟังภาษิตของเรา ถ้าท่านพึงฝังเราไว้ในป่า ชื่อว่าพึงทาสิ่งที่ไม่เป็นธรรม
(สุนันทสารถีไม่รู้ จึงกราบทูลว่า)
2
[๗] ท่านเป็นเทวดา คนธรรพ์ หรือเป็นท้าวสักกปุรินททะ ท่านเป็นใครหรือเป็นบุตรของใคร พวก
เราจักรู้จักท่านได้อย่างไร
(พระเตมีย์โพธิสัตว์เมื่อแสดงตนให้ปรากฏ แสดงธรรมแก่สุนันทสารถีนั้นจึงตรัสว่า)
[๘] เรามิใช่เทวดา มิใช่คนธรรพ์ ทั้งมิใช่ท้าวสักกปุรินททะ เราเป็นผู้ที่ท่านจะฝังในหลุม เป็นโอรส
ของพระเจ้ากาสี
[๙] เราเป็นโอรสของพระราชา องค์ที่ท่านเข้าไปพึ่งบารมีเลี้ยงชีพอยู่เสมอ นายสารถี ถ้าท่านพึง
ฝังเราไว้ในป่า ชื่อว่าพึงทาสิ่งที่ไม่เป็นธรรม
[๑๐] บุคคลพึงนั่งหรือนอนที่ร่มแห่งต้นไม้ใด ไม่พึงหักรานกิ่งของต้นไม้นั้น เพราะคนผู้
ประทุษร้ายมิตร ชื่อว่าเป็นคนเลวทราม
[๑๑] พระราชาก็เหมือนต้นไม้ เราก็เป็นเหมือนกิ่งไม้ ข้าแต่มหาราช นายสารถีเป็นเหมือนคนผู้
อาศัยร่มไม้ นายสารถี ถ้าท่านฝังเราไว้ในป่า ชื่อว่าพึงทาสิ่งที่ไม่เป็นธรรม
(พระเตมีย์โพธิสัตว์ปรารภคาถาบูชามิตร ๑๐ คาถาว่า)
[๑๒] ผู้ใดไม่ประทุษร้ายมิตร ผู้นั้นพรากจากเรือนของตนแล้ว ย่อมมีอาหารสมบูรณ์ คนเป็นอัน
มากย่อมเข้าไปพึ่งพาผู้นั้นเลี้ยงชีพ
[๑๓] คนผู้ไม่ประทุษร้ายมิตร จะไปสู่ชนบท นิคม และราชธานีใดๆ ก็เป็นผู้อันชนทั้งหลายใน
ชนบท นิคม และราชธานีนั้นๆ บูชาไปทุกแห่งหน
[๑๔] คนผู้ไม่ประทุษร้ายมิตร ไม่มีพวกโจรข่มเหง พระมหากษัตริย์ก็ไม่ทรงดูหมิ่น ย่อมข้าม
(ชนะ)ศัตรูทั้งปวงได้
[๑๕] คนผู้ไม่ประทุษร้ายมิตร ไม่โกรธเคืองใครๆ มาสู่เรือนของตน ย่อมเป็นผู้ที่มหาชนยินดี
ต้อนรับในที่ประชุม และเป็นคนชั้นสูงของหมู่ญาติ
[๑๖] คนผู้ไม่ประทุษร้ายมิตร สักการะคนอื่นแล้ว ย่อมเป็นผู้ที่คนอื่นสักการะตอบ เคารพคนอื่น
แล้วก็มีคนอื่นเคารพตอบ เป็นผู้อันเขาสรรเสริญเกียรติคุณ
[๑๗] คนผู้ไม่ประทุษร้ายมิตร บูชาผู้อื่น ย่อมได้รับการบูชาตอบ ไหว้ผู้อื่น ย่อมได้รับการไหว้ตอบ
ทั้งได้รับอิสริยยศและเกียรติ
[๑๘] คนผู้ไม่ประทุษร้ายมิตร ย่อมรุ่งเรือง (รุ่งเรือง ในที่นี้ หมายถึงรุ่งเรืองด้วยอิสริยยศและ
บริวารยศ) เหมือนไฟ ย่อมรุ่งโรจน์เหมือนเทวดา เป็นผู้อันสิริไม่ทอดทิ้ง
[๑๙] คนผู้ไม่ประทุษร้ายมิตร ย่อมมีโคทั้งหลายตกลูกมาก พืชที่หว่านลงในนาย่อมงอกงาม ย่อม
ได้บริโภคผลของพืชทั้งหลายที่หว่านไว้แล้ว
[๒๐] คนผู้ไม่ประทุษร้ายมิตร พลัดตกจากเหว ภูเขา พลาดตกต้นไม้หรือเคลื่อนจากภพ ย่อมได้ที่
พึ่ง
[๒๑] คนผู้ไม่ประทุษร้ายมิตร ศัตรูทั้งหลายจะระรานไม่ได้ เหมือนลมระรานต้นไทรที่มีรากและ
ลาต้นงอกงามแล้วไม่ได้
(สุนันทสารถีประคองอัญชลี ทูลวิงวอนว่า)
3
[๒๒] ข้าแต่พระราชโอรส เชิญเสด็จเถิด กระหม่อมจักนาพระองค์เสด็จกลับ ไปยังพระราช
มณเฑียรของพระองค์ เชิญพระองค์เถลิงถวัลยราชสมบัติเถิด พระเจ้าข้า พระองค์จักทรงทาอะไรในป่าได้เล่า
(ลาดับนั้น พระเตมีย์โพธิสัตว์จึงตรัสกับนายสุนันทสารถีนั้นว่า)
[๒๓] นายสารถี พอทีสาหรับเราด้วยราชสมบัตินั้น พระญาติทั้งหลายหรือทรัพย์ทั้งหลาย ที่เราจะ
พึงได้ด้วยการประพฤติอันไม่ชอบธรรม
(สุนันทสารถีกราบทูลว่า)
[๒๔] ข้าแต่พระราชโอรส พระองค์เสด็จไปจากที่นี้ แล้ว ทาให้ข้าพระองค์ได้รับรางวัล เมื่อพระองค์
เสด็จกลับไป พระบิดาและพระมารดาพึงพระราชทานรางวัลให้แก่ข้าพระองค์
[๒๕] ข้าแต่พระราชโอรส เมื่อพระองค์เสด็จกลับไปแล้ว พระสนมกานัลใน พระกุมาร แพศย์ และ
พราหมณ์เหล่านั้น จะพึงดีใจ ให้รางวัลแก่ข้าพระองค์
[๒๖] ข้าแต่พระราชโอรส เมื่อพระองค์เสด็จกลับไปแล้ว กองพลช้าง กองพลม้า กองพลรถ และ
กองพลราบ แม้เหล่านั้นจะพากันดีใจ ให้รางวัลแก่ข้าพระองค์
[๒๗] ข้าแต่พระราชโอรส เมื่อพระองค์เสด็จกลับไปแล้ว ชาวชนบทและชาวนิคมผู้มีธัญญาหาร
มาก จะมาประชุมกัน ให้เครื่องบรรณาการแก่ข้าพระองค์
(พระเตมีย์โพธิสัตว์ตรัสว่า)
[๒๘] เราเป็นผู้อันพระบิดาและพระมารดา ชาวแคว้น ชาวนิคม และกุมารทั้งปวงสละแล้ว เราไม่
มีเรือนของตน
[๒๙] เราเป็นผู้อันพระมารดาทรงอนุญาตแล้ว และพระบิดาก็ทรงสละขาดแล้ว ออกไปบวชอยู่ใน
ป่าแต่ลาพัง เราไม่พึงปรารถนากามทั้งหลาย
(พระเตมีย์โพธิสัตว์เมื่อจะเปล่งอุทานด้วยกาลังปีติ จึงตรัสว่า)
[๓๐] ความหวังผลของเหล่าชนผู้ไม่รีบร้อนย่อมสาเร็จแน่ เรามีพรหมจรรย์เผล็ดผลแล้ว นายสารถี
ท่านจงรู้ไว้อย่างนี้ เถิด
[๓๑] อนึ่ง ประโยชน์โดยชอบของเหล่าชน ผู้ไม่รีบร้อน ย่อมเผล็ดผลโดยแท้ เรามีพรหมจรรย์
เผล็ดผลแล้ว ออกบวชแล้วย่อมไม่มีภัยแต่ที่ไหนๆ
(นายสุนันทสารถีกราบทูลว่า)
[๓๒] พระองค์เป็นผู้มีพระวาจาไพเราะ มีพระดารัสสละสลวยอย่างนี้ เพราะเหตุไร พระองค์จึงไม่
ตรัสในสานัก ของพระบิดาและพระมารดาในเวลานั้น
(ลาดับนั้น พระเตมีย์โพธิสัตว์ จึงตรัสว่า)
[๓๓] เราเป็นคนง่อยเปลี้ย เพราะไม่มีข้อต่อก็หามิได้ เป็นคนหนวก เพราะไม่มีโสตประสาทก็หา
มิได้ เป็นคนใบ้ เพราะไม่มีชิวหาประสาทก็หามิได้ ท่านอย่าเข้าใจว่า เราเป็นใบ้
[๓๔] เราระลึกชาติก่อนที่เราเสวยราชสมบัติได้ เราได้เสวยราชสมบัติในครั้งนั้นแล้ว ต้องไปตก
นรกอันแสนสาหัส
[๓๕] เราได้เสวยราชสมบัติในกาลนั้น ๒๐ ปี แล้วต้องไปหมกไหม้อยู่ในนรกถึง ๘๐,๐๐๐ ปี
4
[๓๖] เรากลัวจะต้องได้เสวยราชสมบัตินั้น จึงตั้งจิตอธิษฐานว่า ขอชนทั้งหลายอย่าได้อภิเษกเรา
ไว้ในราชสมบัติเลย เพราะฉะนั้น เราจึงไม่พูดในสานัก ในสานักของพระบิดาและพระมารดาในกาลนั้น
[๓๗] พระบิดาทรงอุ้มเราให้นั่งบนพระเพลาแล้ว ตรัสพิพากษาว่า ท่านทั้งหลายจงฆ่าโจรคนหนึ่ง
จงจองจาโจรอีกคนหนึ่งไว้ในเรือนจา จงเอาหอกแทงโจรคนหนึ่งแล้ว ราดด้วยน้ากรด จงเสียบโจรคนหนึ่ง
บนหลาว พระบิดาตรัสพิพากษาอรรถคดีแก่มหาชนนั้นด้วยประการฉะนี้
[๓๘] เราได้ฟังพระวาจาอันหยาบคายที่พระบิดาตรัสนั้น จึงกลัวต่อการเสวยราชสมบัติ เรามิได้
เป็นคนใบ้ ก็ทาเหมือนเป็นคนใบ้ มิได้เป็นคนง่อยเปลี้ย ก็ทาเป็นเหมือนคนง่อยเปลี้ย เรากลิ้งเกลือกนอนจม
อยู่ในอุจจาระและปัสสาวะของตน
[๓๙] ชีวิตเป็นของยาก เป็นของเล็กน้อย (ชีวิตเป็นของเล็กน้อย หมายความว่า หากชีวิตของสัตว์
ทั้งหลายได้รับความลาบาก ก็จะดารงอยู่ได้นานมาก แต่หากได้รับความสบาย ก็จะดารงอยู่ได้ชั่วเวลานิด
หน่อย และชีวิตนี้ ยากเข็ญ เป็นของเล็กน้อย คือมีประมาณน้อยนิด อีกทั้งเป็นชีวิตที่ประกอบด้วยความสั่งสม
ทุกข์ในวัฏฏะทั้งสิ้น) ซ้าประกอบไปด้วยทุกข์ ใครเล่าอาศัยชีวิตนี้ แล้วพึงก่อเวรกับใครๆ
[๔๐] ใครเล่าอาศัยชีวิตนี้ แล้วพึงก่อเวรกับใครๆ เพราะไม่ได้ปัญญาและเพราะไม่ได้เห็นธรรม
[๔๑] ความหวังผลของเหล่าคนผู้ไม่รีบร้อนย่อมสาเร็จแน่ เรามีพรหมจรรย์เผล็ดผลแล้ว นาย
สารถี ท่านจงรู้ไว้อย่างนี้ เถิด
[๔๒] อนึ่ง ประโยชน์โดยชอบของเหล่าชน ผู้ไม่รีบร้อน ย่อมเผล็ดผลโดยแท้ เรามีพรหมจรรย์
เผล็ดผลแล้ว ออกบวชแล้วย่อมไม่มีภัยแต่ที่ไหนๆ
(นายสุนันทสารถีได้ฟังดังนั้น จึงกราบทูลว่า)
[๔๓] ข้าแต่พระราชโอรส แม้ข้าพระองค์ก็จักบวชในสานักของพระองค์ ขอพระองค์โปรดตรัส
อนุญาตให้ข้าพระองค์บวชด้วยเถิด ข้าพระองค์พอใจจะบวช พระเจ้าข้า
(พระเตมีย์โพธิสัตว์ตรัสว่า)
[๔๔] นายสารถี เรามอบรถให้ท่านแล้ว ท่านจงเป็นผู้ไม่มีหนี้ มาเถิด เพราะคนที่ไม่มีหนี้ จึงจะ
บวชได้ พวกฤๅษีทั้งหลายกล่าวสรรเสริญการบวชนั้น
(สุนันทสารถีได้ฟังดังนั้น จึงกราบทูลว่า)
[๔๕] ขอพระองค์จงทรงพระเจริญ ข้าพระองค์ได้ทาตามพระดารัสที่พระองค์ได้ตรัสไว้แล้ว ข้า
พระองค์ทูลวิงวอนแล้ว ขอพระองค์ควรทรงโปรดกระทาตามคาของข้าพระองค์เถิด
[๔๖] ขอพระองค์จงประทับอยู่ ณ ที่นี้ จนกว่าข้าพระองค์จะทูลเชิญเสด็จพระราชามา พระบิดา
ของพระองค์ทอดพระเนตรแล้ว จะพึงมีพระทัยเอิบอิ่มเป็นแน่
(พระเตมีย์โพธิสัตว์ตรัสว่า)
[๔๗] นายสารถี เราจะทาตามคาของท่านที่กล่าวกับเรา แม้เราก็ปรารถนาจะเฝ้าพระบิดาของเรา
ซึ่งเสด็จมา ณ ที่นี้
[๔๘] ท่านจงกลับไปเถิด สหาย การที่ท่านได้ทูลพระญาติทั้งหลายด้วยเป็นการดี ท่านรับคาสั่ง
เราแล้ว พึงกราบทูลการถวายบังคมพระมารดาและพระบิดาของเรา
5
(พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า)
[๔๙] นายสารถีจับพระบาททั้ง ๒ ของพระโพธิสัตว์นั้น และทาประทักษิณพระองค์แล้ว ก็ขึ้นรถ
บ่ายหน้าเข้าไปยังทวารพระราชวัง
[๕๐] พระมารดาทอดพระเนตรเห็นรถว่างเปล่า กลับมาแต่นายสารถีคนเดียว จึงทรงกันแสง มี
พระเนตรนองด้วยพระอัสสุชล ทอดพระเนตรดูนายสารถีนั้นอยู่
[๕๑] พระนางทรงเข้าพระทัยว่า นายสารถีฝังลูกของเราแล้วจึงกลับมา ลูกของเราถูกนายสารถีฝัง
ไว้ในแผ่นดิน กลบดินแล้วเป็นแน่
[๕๒] พวกศัตรูย่อมพากันยินดี พวกคนจองเวรต่างก็เอิบอิ่มเป็นแน่ เพราะเห็นนายสารถีฝังลูกของ
เรากลับมาแล้ว
[๕๓] พระมารดาทอดพระเนตรเห็นรถอันว่างเปล่า กลับมาแต่นายสารถีคนเดียว มีพระเนตรนอง
ด้วยพระอัสสุชล ทรงกันแสงอยู่ ตรัสถามนายสารถีนั้นว่า
[๕๔] ลูกของเราเป็นคนใบ้จริงหรือ เป็นคนง่อยเปลี้ยจริงหรือ ลูกของเราขณะที่ท่านจะฝังดิน พูด
อะไรบ้างหรือเปล่า นายสารถี ขอท่านจงบอกเนื้ อความนั้นแก่เราด้วยเถิด
[๕๕] ลูกของเราเป็นคนใบ้ เป็นคนง่อยเปลี้ย เมื่อท่านจะฝังลงดิน กระดิกมือและเท้าอย่างไร เรา
ถามแล้ว ขอท่านจงบอกเนื้ อความนั้นแก่เราเถิด
(ลาดับนั้น นายสุนันทสารถีกราบทูลว่า)
[๕๖] ข้าแต่พระแม่เจ้า ขอได้โปรดพระราชทานอภัยโทษแก่ข้าพระพุทธเจ้าด้วยเถิด
ข้าพระพุทธเจ้าขอกราบทูล ตามที่ได้ยินและได้เห็นมาในสานักของพระราชโอรส
(พระนางจันทาเทวีตรัสกับนายสุนันทสารถีนั้นว่า)
[๕๗] นายสารถีผู้สหาย เราให้อภัยโทษแก่ท่าน อย่าได้กลัวเลย จงพูดไปเถิด ตามที่ท่านได้ยิน
หรือได้เห็นมาในสานักของพระราชโอรส
(นายสุนันทสารถีกราบทูลว่า)
[๕๘] พระราชโอรสนั้นมิได้เป็นคนใบ้ มิได้เป็นคนง่อยเปลี้ย ยังมีพระดารัสสละสลวยไพเราะ ได้
ทราบว่า พระองค์ทรงกลัวต่อการครองราชย์สมบัติ จึงได้ทาการลวงอย่างมากมาย
[๕๙] พระองค์ทรงระลึกถึงชาติก่อน ที่พระองค์เคยได้เสวยราชสมบัติ ครั้นได้เสวยราชสมบัติใน
กาลนั้นแล้ว ต้องไปตกนรกอย่างแสนสาหัส
[๖๐] พระองค์ได้เสวยราชสมบัติในกาลนั้น ๒๐ ปี แล้วต้องไปหมกไหม้อยู่ในนรกถึง ๘๐,๐๐๐ ปี
[๖๑] พระองค์ทรงกลัวต่อการเสวยราชสมบัติ จึงทรงตั้งจิตอธิษฐานว่า ขอชนทั้งหลายอย่าได้
อภิเษกเราในราชสมบัติเลย เพราะฉะนั้น พระองค์จึงไม่ตรัส ในสานักของพระบิดาและพระมารดาในกาล
นั้น
[๖๒] พระราชโอรสทรงถึงพร้อมด้วยองคาพยพ มีพระรูปสมบัติงดงามสมส่วน มีพระวาจา
สละสลวย มีพระปัญญา ทรงดารงอยู่ในทางสวรรค์
6
[๖๓] ถ้าพระแม่เจ้าทรงพระประสงค์จะทอดพระเนตร พระราชโอรสของพระองค์ ข้าพระพุทธเจ้า
ขอทูลเชิญเสด็จพระแม่เจ้าไปให้ถึงสถานที่ ซึ่งเป็นที่ประทับของพระเตมีย์
(ฝ่ายพระเจ้ากาสีทรงสดับคาของนายสุนันทสารถี จึงดารัสสั่งให้เรียกมหาเสนคุตมา รีบให้
ตระเตรียมเสด็จ ตรัสว่า)
[๖๔] เจ้าหน้าที่ทั้งหลายจงเทียมรถ เทียมม้า ผูกเครื่องประคับช้าง จงประโคมสังข์และบัณเฑาะว์
ตีกลองหน้าเดียวเถิด
[๖๕] จงตีกลองสองหน้าและรามะนาอันไพเราะ ขอชาวนิคมจงตามเรามา เราจะไปให้โอวาทแก่
พระโอรส
[๖๖] ขอพระสนมกานัลใน พระกุมาร แพศย์ และพราหมณ์ทั้งหลายจงรีบเทียมยาน เราจะไปให้
โอวาทแก่พระโอรส
[๖๗] ขอพวกกองพลช้าง กองพลม้า กองพลรถ และกองพลราบจงรีบเทียมยาน เราจะไปให้
โอวาทแก่พระโอรส
[๖๘] ชาวชนบทและชาวนิคมมาประชุมพร้อมกันแล้ว จงรีบเทียมยานเถิด เราจะไปให้โอวาทแก่
พระโอรส
(พระบรมศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า)
[๖๙] พวกนายสารถีจูงม้าสินธพที่มีฝีเท้าเร็ว เทียมเข้ากับราชรถขับมายังทวารพระราชวัง และ
กราบทูลว่า ม้าเหล่านี้ เทียมแล้ว พระเจ้าข้า
(พระราชาตรัสว่า)
[๗๐] ม้าอ้วนก็ไม่มีฝีเท้าเร็ว ม้าผอมก็ไม่มีเรี่ยวแรง จงเว้นทั้งม้าผอมและม้าอ้วนเสีย เลือกเทียม
แต่ม้าที่สมบูรณ์
(พระบรมศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า)
[๗๑] ลาดับนั้น พระราชารีบเสด็จขึ้นประทับม้าสินธพที่เทียมแล้ว ได้ตรัสกับนางชาววังว่า พวก
เจ้าทั้งหมดจงตามเรามาเถิด
[๗๒] พระราชาตรัสสั่งว่า จงตระเตรียมเครื่องราชกกุธภัณฑ์ ๕ อย่าง คือ พัดวาลวีชนี อุณหิส
พระขรรค์ เศวตฉัตร และฉลองพระบาทที่ประดับตกแต่งด้วยทองคาขึ้นรถไปด้วย
[๗๓] และต่อจากนั้น พระราชาตรัสสั่งให้นายสารถีนาทาง เสด็จเคลื่อนขบวนเข้าไปถึงสถานที่ ซึ่ง
เป็นที่ประทับของพระเตมีย์
[๗๔] ส่วนพระเตมีย์ทอดพระเนตรเห็นพระบิดา กาลังเสด็จมา ทรงรุ่งเรืองด้วยพระเดชานุภาพ
ทรงแวดล้อมด้วยหมู่อามาตย์ จึงถวายพระพรว่า
[๗๕] ขอถวายพระพรเสด็จพ่อ พระองค์ทรงสุขสบายดีหรือ ทรงพระสาราญดีหรือ ราชกัญญาทั้ง
ปวงและพระมารดาของอาตมภาพ ไม่มีพระโรคาพาธหรือ
(พระราชาตรัสตอบว่า)
7
[๗๖] ลูกรัก โยมสุขสบายดี ไม่มีโรคเบียดเบียน พระราชกัญญาทั้งปวงและพระมารดา ของลูกรัก
ก็ไม่มีโรคาพาธ
(ลาดับนั้น พระเตมีย์โพธิสัตว์ทูลถามพระราชาว่า)
[๗๗] ขอถวายพระพรเสด็จพ่อ มหาบพิตรไม่ทรงเสวยน้าจัณฑ์หรือ ไม่ทรงโปรดปรานการเสวย
น้าจัณฑ์หรือ พระทัยของพระองค์ทรงยินดีในสัจจะ ในธรรม และในทานหรือ
(พระราชาตรัสตอบว่า)
[๗๘] ลูกรัก โยมไม่ดื่มน้าจัณฑ์ และไม่โปรดปรานการดื่มน้าจัณฑ์ ใจของโยมยังยินดีในสัจจะ ใน
ธรรม และในทาน
(พระเตมีย์โพธิสัตว์ทูลถามว่า)
[๗๙] ขอถวายพระพรเสด็จพ่อ ราชพาหนะของพระองค์ที่เขาเทียมแล้วมั่นคงหรือ ราชพาหนะยัง
นาภาระไปได้ดีอยู่หรือ มหาบพิตร พยาธิที่จะเข้าไปแผดเผาพระสรีระของพระองค์ไม่มีหรือ
(พระราชาตรัสตอบว่า)
[๘๐] พาหนะมีม้าและโคเป็นต้นของโยมที่เทียมแล้วมั่นคง ราชพาหนะก็ยังนาภาระไปได้ พยาธิที่
เข้าไปแผดเผาสรีระของโยมก็ไม่มี
(พระเตมีย์โพธิสัตว์ทูลถามว่า)
[๘๑] ชุมชนแถบชายแดนของพระองค์ยังมั่งคั่งหรือ คามนิคมในท่ามกลางรัฐของพระองค์ ยังเป็น
ที่อยู่แน่นหนามั่งคั่งอยู่หรือ ฉางหลวงและท้องพระคลังของพระองค์ยังบริบูรณ์ดีอยู่หรือ
(พระราชาตรัสตอบว่า)
[๘๒] ชุมชนแถบชายแดนของโยมยังมั่งคั่ง คามนิคมในท่ามกลางแคว้นก็ยังอยู่แน่นหนาดี ฉาง
หลวงและท้องพระคลังของโยม ก็ยังคงบริบูรณ์ดีทุกอย่าง
(พระเตมีย์โพธิสัตว์ตรัสว่า)
[๘๓] ข้าแต่มหาราช พระองค์เสด็จมาดีแล้ว มิได้เสด็จมาร้าย ขอมหาดเล็กทั้งหลายจงจัดตั้ง
บัลลังก์ ซึ่งเป็นที่ประทับนั่งถวายพระราชาเถิด
[๘๔] เชิญประทับนั่ง ณ เครื่องลาดใบไม้ที่เขาปูไว้เรียบร้อย ถวายมหาบพิตร ณ ที่นี้ เถิด จงทรง
ตักน้าจากภาชนะนี้ ล้างพระบาทของพระองค์เถิด
[๘๕] ขอถวายพระพรมหาบพิตร ใบหมากเม่าของอาตมภาพนี้ เป็นของสุกไม่เค็ม พระองค์มาเป็น
แขกของอาตมภาพแล้ว เชิญเสวยเถิด
(พระราชาตรัสว่า)
[๘๖] โยมไม่บริโภคใบหมากเม่า เพราะใบหมากเม่านี้ มิใช่อาหารของโยม โยมบริโภคข้าวสุกแห่ง
ข้าวสาลีที่ปรุงด้วยเนื้ ออันสะอาด
(พระราชาตรัสกับพระเตมีย์โพธิสัตว์แล้ว จึงตรัสคาถาว่า)
[๘๗] ความน่าอัศจรรย์ปรากฏชัดเจนกับโยม เพราะได้เห็นลูกรักอยู่ในที่ลับแต่ผู้เดียว เพราะเหตุ
ไร ผิวพรรณของผู้บริโภคอาหารเช่นนี้ จึงผ่องใสเล่า
8
(พระเตมีย์โพธิสัตว์เมื่อจะทูลพระราชานั้น จึงตรัสว่า)
[๘๘] ขอถวายพระพรมหาบพิตร อาตมภาพจาวัดตามลาพังบนเครื่องลาดใบไม้ เพราะการจาวัด
ตามลาพังนั้น ผิวพรรณของอาตมภาพจึงผ่องใส
[๘๙] อนึ่ง อาตมภาพไม่มีราชองครักษ์คาดกระบี่คอยป้องกัน เพราะการจาวัดตามลาพังของอา
ตมภาพนั้น ผิวพรรณจึงผ่องใส ขอถวายพระพร
[๙๐] อาตมภาพมิได้เศร้าโศกถึงอารมณ์ที่ล่วงไปแล้ว มิได้ปรารถนาอารมณ์ที่ยังไม่มาถึง ยัง
อัตภาพให้เป็นไปด้วยสิ่งที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า เพราะฉะนั้น ผิวพรรณของอาตมภาพจึงผ่องใส
[๙๑] เพราะการปรารถนาอารมณ์ที่ยังไม่มาถึง เพราะเศร้าโศกถึงอารมณ์ที่ล่วงไปแล้ว ทั้ง ๒
อย่างนี้ พวกคนพาลซูบซีดเหี่ยวแห้ง เหมือนไม้อ้อที่เขียวสดถูกถอนทิ้งไว้
(ลาดับนั้น พระราชาทรงเชิญพระเตมีย์โพธิสัตว์ให้ครองราชสมบัติ จึงตรัสว่า)
[๙๒] ลูกรัก โยมขอมอบกองพลช้าง (กองพลช้าง หมายถึงกองทัพที่จัดขึ้นเป็นหมู่ใหญ่ นับช้าง
ตั้งแต่สิบเชือกขึ้นไป ที่ชื่อว่ากองพลรถก็เช่นเดียวกัน) กองพลม้า กองพลรถ กองพลราบ เหล่าทหารผูกโล่
และพระนิเวศน์ที่น่ารื่นรมย์แก่ลูก
[๙๓] โยมขอมอบพระสนมกานัลในผู้ประดับด้วยเครื่องอลังการทุกอย่าง ลูกรักจงปกครองพระ
สนมกานัลในเหล่านั้น จงเป็นพระราชาของโยมทั้งหลาย
[๙๔] หญิงทั้ง ๔ คนผู้ฉลาดในการฟ้อนราและการขับร้อง ศึกษาดีแล้วในหน้าที่ของหญิงแม้อื่นๆ
จักทาลูกรักให้รื่นรมย์ในกามได้ ลูกจักทาอะไรในป่าเล่า
[๙๕] โยมจักนาราชกัญญาจากพระราชาอื่นๆ ผู้ประดับดีแล้วมา ขอลูกรักให้กาเนิดพระโอรสใน
หญิงเหล่านั้นแล้ว จึงบวชในภายหลังเถิด
[๙๖] ลูกรักยังหนุ่มแน่นอยู่ในปฐมวัย ผมดาสนิท จงครอบครองราชย์สมบัติก่อนเถิด ขอลูกจงมี
ความเจริญ ลูกจักทาอะไรในป่าเล่า
(พระเตมีย์โพธิสัตว์แสดงธรรมโปรดพระราชาว่า)
[๙๗] คนหนุ่มควรประพฤติพรหมจรรย์ ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ควรจะเป็นคนหนุ่ม เพราะการบวช
ของคนหนุ่ม ฤๅษีทั้งหลายสรรเสริญแล้ว
[๙๘] คนหนุ่มควรประพฤติพรหมจรรย์ ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ควรเป็นคนหนุ่ม อาตมภาพจัก
ประพฤติพรหมจรรย์ อาตมภาพไม่ต้องการราชสมบัติ
[๙๙] อาตมภาพเห็นเด็กหนุ่มของท่านทั้งหลาย ผู้เรียกมารดาและบิดา ซึ่งเป็นบุตรที่รักได้มาโดย
ยาก ยังไม่ทันถึงความแก่เลยก็ตายเสียแล้ว
[๑๐๐] อาตมภาพเห็นเด็กสาวของท่านทั้งหลาย ที่สวยสดงดงาม สิ้นชีวิต เหมือนหน่อไม้ไผ่ที่ถูก
ถอน
[๑๐๑] จริงอยู่ จะเป็นชายหรือหญิงก็ตาม แม้ยังหนุ่มสาวก็ตาย เพราะฉะนั้น ใครเล่าจะพึงวางใจ
ในชีวิตนั้นได้ว่า เรายังเป็นหนุ่มสาว
9
[๑๐๒] อายุของคนเป็นของน้อย เพราะวันคืนล่วงไปๆ เปรียบเหมือนอายุของฝูงปลาในน้าน้อย
ความเป็นหนุ่มสาวในวัยนั้นจักทาอะไรได้
[๑๐๓] สัตวโลกถูกครอบงาและถูกรุมล้อมอยู่เป็นนิตย์ เมื่อราตรีทั้งหลายทาอายุ วรรณะ และ
กาลัง ของเหล่าสัตว์ให้สิ้นไปเป็นไปอยู่ มหาบพิตรจะอภิเษกอาตมภาพในราชสมบัติทาไม
(พระราชาตรัสว่า)
[๑๐๔] สัตวโลกถูกอะไรครอบงา และถูกอะไรรุมล้อมไว้ อะไรชื่อว่าราตรีที่ทาอายุ วรรณะ และ
กาลังของเหล่าสัตว์ให้สิ้นไปเป็นไปอยู่ โยมถามแล้ว ขอลูกรักจงบอกข้อนั้นแก่โยมเถิด
(พระเตมีย์โพธิสัตว์ทูลว่า)
[๑๐๕] สัตวโลกถูกความตายครอบงา และถูกความแก่รุมล้อมไว้ วันคืนที่ชื่อว่าทาอายุ วรรณะ
และกาลังของเหล่าสัตว์ให้สิ้นไปก็เป็นไปอยู่ มหาบพิตร ขอจงทรงทราบอย่างนี้ ขอถวายพระพร
[๑๐๖] เมื่อเส้นด้ายที่เขากาลังทอ ช่างหูกทอไปได้เท่าใด ส่วนที่ต้องทอต่อไป โยมก็พึงทราบว่า
เหลืออยู่น้อยเท่านั้นฉันใด ชีวิตของสัตว์ทั้งหลายก็ฉันนั้น
[๑๐๗] ห้วงน้าที่เต็มฝั่งเมื่อไหลไปย่อมไม่ไหลกลับฉันใด อายุของมนุษย์ทั้งหลายเมื่อผ่านไป ก็
ย่อมไม่หวนกลับคืนฉันนั้น
[๑๐๘] ห้วงน้าที่เต็มฝั่งย่อมพัดพาเอาต้นไม้ ที่เกิดอยู่ริมฝั่งให้หักโค่นไปฉันใด สัตว์ทั้งปวงย่อมถูก
ชราและมรณะพัดพาไปฉันนั้น
(พระราชาสดับธรรมกถาของพระเตมีย์โพธิสัตว์แล้ว จะเชิญให้ครองราชสมบัติอีก จึงตรัสว่า)
[๑๐๙] ลูกเอ๋ย โยมขอมอบกองพลช้าง กองพลม้า กองพลรถ กองพลราบ เหล่าทหารผูกโล่ และ
พระราชนิเวศน์ที่น่ารื่นรมย์แก่ลูก
[๑๑๐] อนึ่ง โยมขอมอบพระสนมกานัลใน ผู้ประดับด้วยเครื่องอลังการทุกอย่าง ลูกเอ๋ย จง
ปกครองพระสนมกานัลในเหล่านั้น ลูกจักเป็นพระราชาของโยมทั้งหลาย
[๑๑๑] หญิงทั้ง ๔ คนผู้ฉลาดในการฟ้อนราและการขับร้อง ศึกษาดีแล้วในหน้าที่ของหญิงอื่นๆ
จักทาลูกรักให้รื่นรมย์ในกามได้ ลูกจะทาอะไรในป่าเล่า
[๑๑๒] โยมจักนาราชกัญญาจากพระราชาอื่นๆ ผู้ประดับแล้วมาให้แก่ลูก ลูกให้หญิงเหล่านั้น
กาเนิดพระโอรสแล้ว จึงบวชในภายหลังเถิด
[๑๑๓] ลูกยังหนุ่มแน่นอยู่ในปฐมวัย มีผมดาสนิท จงครอบครองราชย์สมบัติก่อนเถิด ขอลูกจงมี
ความเจริญ ลูกจักทาอะไรในป่าเล่า
[๑๑๔] ลูกเอ๋ย โยมขอมอบฉางหลวง พระคลัง พาหนะ พลนิกาย และพระราชนิเวศน์อันน่า
รื่นรมย์แก่ลูก
[๑๑๕] ลูกจงแวดล้อมด้วยแวดวงราชกัญญาที่งามพร้อม จงแวดล้อมด้วยหมู่พระสนมกานัลใน จง
ครอบครองราชสมบัติก่อนเถิด ขอลูกจงมีความเจริญ ลูกจักทาอะไรในป่าเล่า
(พระเตมีย์โพธิสัตว์เมื่อจะประกาศความที่ตนไม่ปรารถนาราชสมบัติ จึงทูลว่า)
10
[๑๑๖] มหาบพิตรจะให้อาตมภาพเสื่อมไปเพราะทรัพย์ทาไม บุคคลจักตายเพราะภรรยาทาไม
ประโยชน์อะไรด้วยความเป็นหนุ่มสาวที่แก่เฒ่า เพราะถูกชราครอบงา
[๑๑๗] ในโลกสันนิวาสที่มีชราและมรณะเป็นธรรมดานั้น จะเพลิดเพลินไปทาไม จะเล่นหัวไป
ทาไม จะยินดีไปทาไม จะแสวงหาทรัพย์ไปทาไม จะมีประโยชน์อะไรด้วยลูกและเมียแก่อาตมภาพ อาตม
ภาพเป็นผู้หลุดพ้นแล้วจากเครื่องผูก ขอถวายพระพร
[๑๑๘] มัจจุราชย่อมไม่ย่ายีอาตมภาพผู้รู้ชัดอย่างนี้ ว่า เมื่อบุคคลถูกมัจจุราชครอบงาแล้ว จะยินดี
ไปทาไม จะแสวงหาทรัพย์ไปทาไม
[๑๑๙] ภัยของผลไม้ที่สุกแล้วทั้งหลาย ย่อมมีเพราะหล่นลงเป็นนิตย์ฉันใด ภัยของเหล่าสัตว์ผู้เกิด
มาแล้ว ย่อมมีเพราะความตายอยู่เป็นนิตย์ฉันนั้น
[๑๒๐] คนเป็นจานวนมากที่ได้พบกันในตอนเช้า ตกตอนเย็นบางพวกก็ไม่เห็นกัน คนเป็นจานวน
มากที่ได้พบกันในตอนเย็น ตกตอนเช้าบางพวกก็ไม่เห็นกัน
[๑๒๑] ควรรีบทาความเพียรเสียแต่ในวันนี้ ใครเล่าจะพึงรู้ได้ว่า ความตายจะมีในวันพรุ่งนี้ เพราะ
ความผ่อนผันกับมัจจุราชที่มีเสนาหมู่ใหญ่นั้น ไม่มีแก่เราทั้งหลายเลย
[๑๒๒] พวกโจรย่อมปรารถนาทรัพย์ มหาบพิตร อาตมภาพเป็นผู้หลุดพ้นแล้วจากเครื่องผูก เชิญ
มหาบพิตรเสด็จกลับไปเถิด อาตมภาพไม่มีความต้องการด้วยราชสมบัติ ขอถวายพระพร
เตมิยชาดกที่ ๑ จบ
------------------
คาอธิบายเพิ่มเติมนามาจากบางส่วนของอรรถกถา เตมิยชาดก
ว่าด้วย พระเจ้าเตมีย์ทรงบาเพ็ญเนกขัมมบารมี
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงพระปรารภมหาภิเนกขัมมบารมี ตรัส
พระธรรมเทศนานี้ ว่า มา ปณฺฑิจฺจย วิภาวย ดังนี้ เป็นต้น.
ความพิสดารว่า วันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายนั่งประชุมกันอยู่ในโรงธรรมสภา พรรณนามหาภิ
เนกขัมมบารมีของพระผู้มีพระภาคเจ้า. พระศาสดาทรงสดับเรื่องนั้นด้วยทิพโสต เสด็จออกจากพระคันธกุฎี
มายังโรงธรรมสภา ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ เธอทั้งหลายประชุมเจรจากันถึงเรื่องอะไร? เมื่อ
ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรามีบารมีเต็มแล้ว ทิ้งราชสมบัติ
ออกเพื่อคุณอันยิ่งใหญ่ในบัดนี้ ไม่น่าอัศจรรย์เลย เมื่อก่อนญาณยังไม่แก่กล้า เรากาลังบาเพ็ญบารมีอยู่ ได้
ทิ้งราชสมบัติออกเพื่อคุณอันยิ่งใหญ่นั้น จึงน่าอัศจรรย์. ตรัสดังนี้ แล้ว ทรงดุษณีภาพอยู่. ภิกษุเหล่านั้นกราบ
ทูลวิงวอนให้ทรงเล่าเรื่อง จึงทรงนาอดีตนิทานมาแสดงดังต่อไปนี้ .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในอดีตกาล พระราชาพระนามว่ากาสิกราช ครองราชสมบัติโดยธรรมโดย
เสมอในกรุงพาราณสี พระองค์มีสนมนารีประมาณหนึ่งหมื่นหกพันคน. บรรดาสนมนารีเหล่านั้น แม้สักคน
หนึ่งก็ไม่มีโอรสหรือธิดาเลย. กาลนั้นชาวพระนครกล่าวกันว่า พระราชาของพวกเราไม่มีพระโอรส แม้องค์
หนึ่งที่จะสืบพระวงศ์ จึงประชุมกันที่พระลานหลวงโดยนัยอันมาแล้วในกุสราชชาดกนั่นแล กราบทูล
11
พระราชาว่า ข้าแต่สมมติเทพ ขอพระองค์จงทรงปรารถนาพระโอรสเถิด พระราชาทรงสดับคาแห่งชาวเมือง
นั้นแล้ว ตรัสเรียกสนมนารีหนึ่งหมื่นหกพันมาในขณะนั้น แล้วมีพระราชดารัสสั่งว่า เจ้าทั้งหลายจง
ปรารถนาบุตร. สนมนารีเหล่านั้นทากิจเป็นต้นว่า วิงวอนและบารุงเทวดาทั้งหลายมีพระจันทร์เป็นต้น แม้
ปรารถนาก็หาได้โอรสหรือธิดาไม่.
ฝ่ายอัครมเหสีของพระเจ้ากาสิกราช ผู้เป็นพระธิดาแห่งพระเจ้ามัททราช พระนามว่าจันทา
เทวี เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยสีลาจารวัตร. พระราชามีพระราชดารัสสั่งว่า แน่ะนางผู้เจริญ แม้เธอก็จงปรารถนา
พระโอรส. พระเทวีได้สดับพระราชดารัสของพระราชสวามีแล้ว ทรงทูลรับว่า สาธุ แล้วจึงสมาทานอุโบสถใน
วันเพ็ญ เปลื้องสรรพาภรณ์ บรรทมเหนือพระยี่ภู่น้อย ทรงอาวัชนาการถึงศีลของพระองค์ ได้ทรงกระทา
กิริยาว่า ถ้าข้าพเจ้ารักษาศีลไม่ขาด ขอบุตรของข้าพเจ้าจงเกิดขึ้นด้วยสัจจาวาจานี้ .
ด้วยเดชานุภาพแห่งศีลของพระนางจันทาเทวีนั้น. บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ของท้าวสักกเทวราช
แสดงอาการร้อน. ท้าวสักกะเมื่อทรงอาวัชนาการก็ทรงทราบเหตุนั้นว่า พระนางจันทาเทวีปรารถนาโอรส
ตกลงเราจักให้โอรสแก่พระนางนั้น. ทรงพิจารณาถึงโอรสที่สมควรแก่พระนางก็ทรงเห็นพระโพธิสัตว์.
กาลนั้น พระโพธิสัตว์ครองราชสมบัติอยู่ในกรุงพาราณสีได้ยี่สิบปี เคลื่อนจากมนุษยโลกนั้น
บังเกิดในอุสสุทนรก เสวยทุกข์อยู่ในนรกนั้นแปดหมื่นปี เคลื่อนจากนรกนั้น บังเกิดในพิภพดาวดึงส์ ตั้งอยู่
ในดาวดึงส์นั้นตลอดอายุ เคลื่อนจากดาวดึงส์นั้น ประสงค์จักไปเทวโลกชั้นสูง. ครั้งนั้น ท้าวสักกะเสด็จไปสู่
สานักของพระโพธิสัตว์ ตรัสว่า ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ เมื่อท่านเกิดในมนุษยโลก บารมีทั้งหลายของท่านจัก
เต็มเปี่ยม ความเจริญจักมีแก่ท่านและแก่พระชนกชนนีของท่าน ด้วยว่า พระอัครมเหสีของพระเจ้ากาสิกราช
พระนามว่าจันทาเทวี ปรารถนาโอรส. ท่านจงอุบัติในพระครรภ์ของพระนางนั้น แล้วท้าวสักกะทรงถือเอาซึ่ง
ปฏิญญาแก่พระโพธิสัตว์นั้น และแก่เทวบุตรทั้งหลายประมาณ ๕๐๐ องค์ผู้จักจุติ แล้วเสด็จกลับไปยังที่
ประทับของพระองค์ทีเดียว. พระโพธิสัตว์นั้นรับคาว่า สาธุ แล้วจุติพร้อมกับเทวบุตร ๕๐๐ องค์. พระองค์เอง
ถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระนางจันทาเทวี ส่วนเทวบุตรประมาณ ๕๐๐ องค์นอกนี้ ได้ถือปฏิสนธิใน
ครรภ์ของภริยาอมาตย์ทั้งหลาย.
กาลนั้น พระครรภ์ของพระนางจันทาเทวี เป็นประหนึ่งเต็มไปด้วยแก้ววิเชียร. พระนางทรง
ทราบว่าตั้งครรภ์ จึงกราบทูลแด่พระราชา พระราชาทรงทราบดังนั้น จึงได้พระราชทานครรภ์บริหารแก่พระ
นาง. พระนางมีพระครรภ์ครบกาหนดแล้ว ก็ประสูติพระโอรส ซึ่งสมบูรณ์ด้วยบุญลักษณะอันอุดม ภรรยา
อมาตย์ทั้งหลายก็คลอดกุมาร ๕๐๐ ในเรือนอมาตย์ ในวันนั้นเหมือนกัน. ขณะนั้น พระราชาประทับอยู่ในที่
เสด็จออก แวดล้อมไปด้วยหมู่อมาตย์ราชบริพาร. ลาดับนั้น เจ้าหน้าที่ทั้งหลายกราบทูลให้ทรงทราบว่า
พระราชโอรสของพระองค์ประสูติแล้ว พระเจ้าข้า. พระเจ้ากาสิกราชได้ทรงสดับคาของเจ้าหน้าที่เหล่านั้น
ทรงมีความรักในพระโอรสเป็นครั้งแรกเกิดขึ้น ตัดพระฉวีจดพระอัฐิมิญชะ ดารงอยู่เกิดพระปีติซาบซ่าน
ภายในพระกมล แม้หทัยของอมาตย์ราชบริพารทั้งหลายก็เกิดเยือกเย็นทั่วกัน พระราชาตรัสถามเหล่า
อมาตย์ว่า ท่านทั้งหลายดีใจหรือ? เมื่อลูกชายของเราเกิด. อมาตย์เหล่านั้นกราบทูลว่า พระองค์ตรัสถาม
ไย? พระเจ้าข้า เมื่อก่อนพวกข้าพระองค์ไร้ที่พึ่ง บัดนี้ พวกข้าพระองค์มีที่พึ่ง ได้เจ้านายแล้ว.
พระเจ้ากาสิกราชได้ทรงสดับคาของเหล่าอมาตย์ ก็เกิดพระปีติปลื้มพระทัย จึงตรัสเรียกมหา
12
เสนาบดีมาตรัสสั่งว่า ท่านมหาเสนาบดีผู้เจริญ ลูกชายของฉันควรจะได้บริวาร ท่านจงไปตรวจดูว่า ในเรือน
อมาตย์มีทารกเกิดในวันนี้ เท่านี้ . มหาเสนาบดีรับพระราชบัญชาแล้ว ไปตรวจดูเห็นทารกในเรือนอมาตย์
๕๐๐ คน จึงกราบทูลให้ทรงทราบ พระราชาได้ทรงสดับคาของอมาตย์เหล่านั้นก็เกิดพระปิติ จึงมีรับสั่งให้
พระราชทานเครื่องประดับสาหรับกุมารแก่ทารกทั้ง ๕๐๐ คน และให้พระราชทานนางนม ๕๐๐ คน. แต่
สาหรับพระมหาสัตว์ พระราชาพระราชทานนางนม ๖๔ นาง ล้วนแต่เป็นนางนมผู้เว้นโทษมีสูงนักเป็นต้น
นมไม่ยาน น้านมมีรสหวาน เว้นนางนมที่มีโทษเช่นนั้น เพราะเหตุไร เพราะเมื่อทารกนั่งดื่มนมข้างสตรีที่สูง
นัก คอทารกจักยืดยาวเกินไป เมื่อทารกนั่งดื่มนมข้างสตรีเตี้ยนัก กระดูกคอทารกจักหดสั้น. เมื่อทารกนั่ง
ดื่มนมข้างสตรีผอมนัก ขาทั้งสองของทารกจักเสียดสีกัน. เมื่อทารกนั่งดื่มนมข้างสตรีอ้วนนัก เท้าทั้งสองของ
ทารก จักเพลีย. สตรีมีผิวดานัก น้านมเย็นเกินไป สตรีมีผิวขาวนัก น้านมร้อนเกินไป. เมื่อทารกดื่มนมของ
สตรีนมยาน จมูกจักแฟบ. สตรีเป็นโรคหืด มีน้านมเปรี้ยวนัก. เมื่อทารกดื่มโรคมองคร่อ น้านมจักมีรสวิการ
ต่างๆ มีเผ็ดจัด เป็นต้น. เพราะเหตุนั้น พระเจ้ากาสิกราชทรงเว้นโทษทั้งปวงเหล่านั้น พระราชทานนางนม
๖๔ คนที่เว้นจากโทษมีสูงนักเป็นต้น นมไม่ยาน น้านมมีรสหวาน. ทรงทาสักการะใหญ่ ได้พระราชทานพร
แม้แก่พระนางจันทาเทวี พระนางรับพระพรแล้วถวายคืนไว้ก่อน
ในวันขนานพระนามพระโพธิสัตว์ พระเจ้ากาสิกราชทรงทาสักการะ เป็นอันมากแก่เหล่า
พราหมณ์ ผู้รู้ลักษณะพยากรณ์ แล้วตรัสถามถึง อันตรายของพระมหาสัตว์. พราหมณ์ผู้รู้ลักษณะพยากรณ์
เหล่านั้น เห็นพระลักษณสมบัติแห่งพระโพธิสัตว์ จึงกราบทูลว่า พระโอรสของพระองค์สมบูรณ์ด้วยบุญ
ลักษณะอันอุดม อย่าว่าแต่ทวีปหนึ่งเลย พระโอรสของพระองค์ทรงสามารถครองราชสมบัติ ในมหาทวีปทั้ง
๔ มีทวีปน้อย ๒,๐๐๐ เป็นบริวาร (จักรพรรดิ) อันตรายอะไรๆ จะไม่ปรากฎแก่พระโอรสเลย. พระเจ้ากา
สิกราชได้ทรงสดับคาของพราหมณ์เหล่านั้น ก็ดีพระหฤทัย. เมื่อทรงขนานพระนามพระกุมารได้ทรงขนาน
พระนามว่าเตมิยกุมาร เพราะเหตุในวันที่พระกุมารประสูติ ฝนตกทั่วกาสิกรัฐ และเพราะพระกุมารประสูติ
เป็นเหมือนยังพระหฤทัยแห่งพระราชา และหัวใจแห่งหมู่อมาตย์ และมหาชนให้ชุ่มชื่น. ลาดับนั้น นางนม
ทั้งหลายยังพระโพธิสัตว์ ผู้มีพระชนม์ได้หนึ่งเดือนให้สนานประดับองค์ แล้วนาขึ้นเฝ้าพระราชบิดา
พระราชาทอดพระเนตรเห็นพระปิโยรส ทรงสวมกอดจุมพิตที่พระเศียรแล้ว ให้พระทับบนพระเพลา ประทับ
นั่งรื่นรมย์อยู่ด้วยพระกุมาร ขณะนั้น พวกราชบุรุษนาโจร ๔ คนมาหน้าที่นั่ง. พระราชาทอดพระเนตรเห็น
โจรเหล่านั้นแล้ว มีพระราชดารัสสั่งให้ลงพระอาญาโจรเหล่านั้น ให้เอาหวายทั้งหนามเฆี่ยนโจรคนหนึ่ง
๑,๐๐๐ ที ให้จาโจรคนหนึ่งด้วยโซ่ตรวนแล้วส่งเข้าเรือนจา ให้เอาหอกแทงที่สรีระของโจรคนหนึ่ง ให้เอา
หลาวเสียบโจรคนหนึ่ง.
ครั้งนั้น พระมหาสัตว์ได้ทรงฟังพระดารัสของพระบิดา ทั้งกลัวทั้งสะดุ้ง ทรงจินตนาการว่า
โอ พระชนกของเราอาศัยราชสมบัติ ทากรรมอันหนักเกินซึ่งจะไปสู่นรก. วันรุ่งขึ้น พระพี่เลี้ยงนางนม
ทั้งหลายให้ พระมหาสัตว์บรรทมเหนือพระแทนที่สิริไสยาสน์ ซึ่งตกแต่งแล้วภายใต้เศวตฉัตร. พระโพธิสัตว์
บรรทมหน่อยหนึ่ง ตื่นบรรทมลืมพระเนตรทั้งสอง ทอดพระเนตรเศวตฉัตรเห็นสิริราชสมบัติอันยิ่งใหญ่.
ลาดับนั้น ความกลัวอย่างเหลือเกินได้เกิดขึ้นแก่พระโพธิสัตว์ ผู้ทั้งกลัวทั้งสะดุ้งอยู่เป็นปกติแล้ว พระองค์ทรง
ดาริว่า เราจากที่ไหนมาสู่พระราชมณเฑียรนี้ เมื่อทรงใคร่ครวญดูก็ทรงทราบโดยทรงระลึกชาติได้ว่ามาจาก
13
เทวโลก เมื่อทรงทอดพระเนตร ต่อจากนั้นไปอีก ก็ทอดพระเนตรเห็นว่า ไปไหม้อยู่ในอุสสุทนรก เมื่อทรง
ทอดพระเนตรต่อจากนั้นไปอีก ก็ทรงทราบว่า พระองค์เป็นพระราชาในพระนครนั้นเทียว เมื่อพระโพธิสัตว์
ทรงพิจารณาอยู่ว่า เราได้ครองราชสมบัติในกรุงพาราณสี ๒๐ ปี แล้วไหม้อยู่ในอุสสุทนรก ๘๐,๐๐๐ ปี.
บัดนี้ เราเกิดในเรือนหลวงดุจเรือนโจรนี้ อีก เมื่อวานนี้ เมื่อเขานาโจร ๔ คนมา พระบิดาของเราได้กล่าวผรุ
สวาจาเช่นนั้น ซึ่งเป็นเหตุให้ตกนรก หากว่าเราครองราชสมบัติ ก็จักบังเกิดในนรกเสวยทุกข์ใหญ่อีก ดังนี้
ได้เกิดความกลัวเป็นอันมาก พระสรีระซึ่งมีวรรณะดุจทองของพระโพธิสัตว์ ได้เหี่ยวมีวรรณะเศร้าหมอง ราว
กะว่าดอกปทุมที่ถูกขยาด้วยมือ ฉะนั้น พระองค์บรรทมจินตนาการอยู่ว่า ทาอย่างไร เราจึงจะพ้นจากพระ
ราชมณเฑียรซึ่งดุจเรือนโจรนี้ เสียได้.
คราวนั้น เทพธิดาผู้สิงอยู่ที่เศวตฉัตร เคยเป็นมารดาพระโพธิสัตว์ในอัตภาพ ในระหว่างอัตภาพ
หนึ่ง ปลอบพระโพธิสัตว์ให้สบายพระทัยแล้วกล่าวว่า พ่อเตมิยกุมาร พ่ออย่าเศร้าโศก อย่าคิด อย่ากลัวเลย
ถ้าพ่อประสงค์จะพ้นจากพระราชมณเฑียรนี้ พ่อไม่เป็นคนง่อยเปลี้ยเลย ก็จงเป็นเหมือนคนง่อยเปลี้ย พ่อไม่
เป็นคนหนวก ก็จงเป็นเหมือนคนหนวก พ่อไม่เป็นคนใบ้ ก็จงเป็นเหมือนคนใบ้เถิด พ่อจงอธิษฐานองค์สาม
เหล่านี้ อย่างนี้ แล้ว อย่าประกาศความที่พ่อเป็นคนฉลาด.
เทพธิดากล่าวแล้ว จึงกล่าวคาถาที่หนึ่งว่า
พ่ออย่าแสดงว่า เป็นคนฉลาด. จงให้ชนทั้งปวงรู้กันว่า พ่อเป็นคนโง่. ชนในที่นั้นทั้งหมดจะได้ดู
หมิ่นพ่อว่า เป็นคนกาลกรรณี. ความปรารถนาของพ่อจักสาเร็จได้ ด้วยอุบายอย่างนี้ .
พระโพธิสัตว์กลับได้ความอุ่นพระหฤทัย เพราะคาของเทพธิดานั้น จึงกล่าวคาถาที่สองว่า
ดูก่อนเทพธิดา ข้าพเจ้าจะทาตามคาของท่าน ที่ท่านกล่าวกะข้าพเจ้า ข้าแต่แม่เทพธิดา ท่าน
เป็นผู้ใคร่ประโยชน์ เป็นผู้ใคร่เกื้อกูลแก่ข้าพเจ้า.
ครั้นกล่าวคาถานี้ แล้ว พระโพธิสัตว์ได้อธิษฐานองค์สามเหล่านั้น เทพธิดานั้นก็อันตรธาน
หายไป.
ลาดับนั้น พระเจ้ากาสิกราชมีพระดาริว่า ลูกควรจะได้กุมาร ๕๐๐ เหล่านั้นเป็นบริวาร เพื่อเป็น
ที่พอใจ จึงรับสั่งให้กุมารทั้ง ๕๐๐ เหล่านั้น นั่งอยู่ในสานักของพระโพธิสัตว์ ทารกเหล่านั้นร้องไห้อยากดื่ม
น้านม. ส่วนพระมหาสัตว์ถูกความกลัวนรกคุกคาม ทรงดาริว่า จาเดิมแต่วันนี้ กายของเราแม้เหือดแห้งตาย
เสียเลยยังประเสริฐกว่า ดาริดังนี้ จึงไม่ทรงกันแสง นางนมทั้งหลายกราบทูลประพฤติเหตุนั้นแด่พระนางจัน
ทาเทวี พระนางก็กราบทูลแด่พระราชา พระราชารับสั่งให้เรียกเหล่าพราหมณ์ผู้รู้ทานายนิมิตมาตรัสถาม
พราหมณ์ทั้งหลายได้กราบทูลพระราชาว่า ขอเดชะ นางนมควรจะถวายน้านมแด่พระกุมาร ให้ล่วงเวลา
ตามปกติ เมื่อทาอย่างนี้ พระกุมารจะทรงกันแสง จับนมมั่นเสวยเองทีเดียว. ตั้งแต่นั้น นางนมทั้งหลายเมื่อ
ถวาย ก็ถวายน้านมแด่พระโพธิสัตว์ ล่วงเวลาตามปกติ บางคราวถวายล่วงเวลาวาระหนึ่ง บางคราวไม่ถวาย
น้านมตลอดทั้งวัน. พระโพธิสัตว์ถูกความกลัวนรกคุกคาม แม้พระกายเหี่ยวแห้ง ก็ไม่ทรงกันแสงอยากเสวย
นม. ลาดับนั้น พระนางจันทาเทวีเห็นพระโพธิสัตว์ไม่ทรงกันแสง ก็ทรงพระดาริว่า ลูกเราหิวจึงให้ดื่มน้าพระ
ถันของพระนางเอง บางคราวนางนมทั้งหลายให้ดื่มน้านม เหล่าทารกที่เหลือต่างร้องไห้ ไม่นอนในเวลา
ไม่ได้ดื่มน้านม. พระโพธิสัตว์ไม่ทรงกันแสง ไม่ทรงคร่าครวญ ไม่บรรทม ไม่คู้พระหัตถ์และพระบาท ไม่เปล่ง
14
พระวาจา.
ครั้งนั้น นางนมทั้งหลายคิดกันว่า ธรรมดามือและเท้าของคนง่อยเปลี้ยไม่เป็นอย่างนี้ ปลายคาง
ของคนใบ้ไม่เป็นอย่างนี้ ช่องหูของคนหนวกก็ไม่เป็นอย่างนี้ จะต้องมีเหตุในพระกุมารนี้ พวกเราจักทดลอง
พระกุมาร จึงไม่ถวายน้านมแด่พระโพธิสัตว์นั้นตลอดทั้งวัน ด้วยประสงค์ว่า จักทดลองพระกุมารด้วยเรื่อง
นมก่อน. พระโพธิสัตว์แม้เหี่ยวแห้ง ก็ไม่ทรงกันแสง อยากเสวยนม. ครั้งนั้นพระชนนีของพระโพธิสัตว์ตรัสสั่ง
ให้นางนมถวายนม ด้วยพระราชเสาวนีย์ว่า ลูกฉันหิว จงให้น้านมแก่เขา. นางนมเหล่านั้น แม้ทดลองไม่
ถวายน้านมในระหว่างๆ อย่างนี้ เป็นเวลาปีหนึ่ง ก็ไม่เห็นความพิรุธของพระโพธิสัตว์. ลาดับนั้น หมู่อมาตย์
กราบทูลพระราชาว่า ขอเดชะ ธรรมดาทารกอายุขวบหนึ่ง ชอบกินขนมและของเคี้ยว พวกข้าพระองค์จัก
ทดลองพระกุมารด้วยขนม และของเคี้ยว กราบทูลดังนี้ แล้วให้กุมารทั้ง ๕๐๐ คนเหล่านั้นนั่งใกล้ๆ พระราช
กุมาร นาขนมและของเคี้ยวต่างๆ เข้าไปวางไว้ใกล้ๆ พระมหาสัตว์ กล่าวว่า ท่านทั้งหลายจงถือเอาขนมและ
ของเคี้ยวเหล่านั้นตามชอบใจ แล้วพากันยืนแอบดูอยู่ พวกทารกที่เหลือทะเลาะยื้อแย่งกันและกัน ถือเอา
ขนมและของเคี้ยวมาเคี้ยวกิน. ฝ่ายพระมหาสัตว์ทรงโอวาทพระองค์ว่า แน่ะ พ่อเตมิยกุมาร ถ้าเจ้าประสงค์
นรก ก็จงประสงค์ขนมและของเคี้ยว เป็นผู้กลัวภัยในนรก จึงไม่ทอดพระเนตรดูขนมและของเคี้ยวเลย แม้
ทดลองด้วยขนมและของเคี้ยวในระหว่างๆ อย่างนี้ เป็นเวลาปีหนึ่ง ก็ไม่เห็นความพิรุธของพระโพธิสัตว์.
แต่นั้น คณะอมาตย์กราบทูลพระราชาว่า ข้าแต่พระมหาราช ธรรมดาทารกสองขวบชอบผลไม้
น้อยใหญ่ พวกข้าพระองค์จักทดลองพระกุมารด้วยผลไม้ กราบทูลดังนี้ แล้ว นาผลไม้น้อยใหญ่ต่างๆเข้าไป
วางไว้ใกล้ๆ พระโพธิสัตว์ แล้วกล่าวว่า ท่านทั้งหลายจงถือเอา ผลไม้น้อยใหญ่เหล่านั้น ตามชอบใจเถิด แล้ว
พากันยืนแอบดูอยู่ เหล่าทารกที่เหลือต่างต่อสู้ทุบตีกันและกัน ถือเอาผลไม้เหล่านั้นเคี้ยวกินอยู่. ฝ่ายพระ
โพธิสัตว์ก็โอวาทพระองค์ว่า แน่ะพ่อเตมิยกุมาร ถ้าเจ้าประสงค์นรก ก็จงประสงค์ผลไม้น้อยใหญ่ทั้งหลาย
เป็นผู้ถูกภัยในนรกคุกคาม ไม่ทอดพระเนตรดูผลไม้น้อยใหญ่เลย แม้ทดลองด้วยผลไม้น้อยใหญ่ในระหว่างๆ
อย่างนี้ เป็นเวลาปีหนึ่ง ก็ไม่เห็นความพิรุธของพระโพธิสัตว์.
แต่นั้น คณะอมาตย์กราบทูลพระราชาว่า ข้าแต่มหาราช ธรรมดาทารกสามขวบชอบของเล่น
พวกข้าพระองค์จักทดลองพระกุมารด้วยของเล่น กราบทูลดังนี้ แล้ว จึงให้ทารูปช้าง เป็นต้นสาเร็จด้วยทอง
เป็นต้น วางไว้ใกล้ๆ พระโพธิสัตว์ เหล่าทารกที่เหลือต่างแย่งกันและกันถือเอา ฝ่ายพระมหาสัตว์ ไม่ทรง
ทอดพระเนตรดูอะไรๆ เลย แม้ทดลองด้วยของเล่นในระหว่างๆ อย่างนี้ เป็นเวลาหนึ่งปี ก็ไม่เห็นความพิรุธ
ของพระโพธิสัตว์.
แต่นั้น คณะอมาตย์กราบทูลพระราชาว่า ข้าแต่พระมหาราช ธรรมดาทารกสี่ขวบชอบ
โภชนาหาร พวกข้าพระองค์จักทดลองพระกุมารด้วยโภชนาหาร กราบทูลดังนี้ แล้ว จึงน้อมโภชนาหารต่างๆ
เข้าถวายพระมหาสัตว์ แม้เหล่าทารกที่เหลือต่างก็ทาเป็นคาๆ บริโภค. ฝ่ายพระมหาสัตว์ทรงโอวาทพระองค์
ว่า แน่ะ พ่อเตมิยกุมาร อัตภาพของเจ้าที่ไม่ได้โภชนะบริโภคนับไม่ถ้วน ทรงกลัวภัยนรก มิได้ทอดพระเนตร
ดูโภชนาหารนั้น. ลาดับนั้น พระชนนีของพระโพธิสัตว์ เป็นผู้เหมือนมีพระหฤทัยแตกทาลาย ให้พระโอรส
เสวยโภชนาหารด้วยพระหัตถ์ของพระองค์เอง แม้ทดลองด้วยโภชนาหารในระหว่างๆ อย่างนี้ เป็นเวลาปีหนึ่ง
ก็ไม่เห็นความพิรุธของพระโพธิสัตว์.
15
แต่นั้น คณะอมาตย์กราบทูลพระราชาว่า ธรรมดาทารกห้าขวบย่อมกลัวไฟ พวกข้าพระองค์ จัก
ทดลองพระกุมารด้วยไฟ กราบทูลด้วยนี้ แล้ว ให้ทาเรือนใหญ่มีหลายประตู ที่พระลานหลวง มุงด้วยใบตาล
ให้พระมหาสัตว์ซึ่งแวดล้อมด้วยเหล่าทารกที่เหลือ นั่งท่ามกลางทารกเหล่านั้นแล้วจุดไฟ เหล่าทารกที่เหลือ
เห็นเรือนไฟลุกโพลง ทั้งกลัวทั้งสะดุ้ง ต่างร้อนลั่นวิ่งหนีไป. ฝ่ายพระมหาสัตว์ทรงดาริว่า ความร้อนแห่ง
เพลิงนี้ ยังดีกว่าไหม้ด้วยไฟนรก. พระมหาสัตว์มิได้มีความหวั่นไหวเลย เหมือนพระมหาเถระผู้เข้านิโรธ
สมาบัติ. ครั้นเมื่อเพลิงลุกลามมา อมาตย์ทั้งหลายก็อุ้มพระโพธิสัตว์ออกไป แม้ทดลองด้วยไฟในระหว่างๆ
อย่างนี้ เป็นเวลาปีหนึ่ง ก็ไม่เห็นความพิรุธของพระโพธิสัตว์.
แต่นั้น คณะอมาตย์กราบทูลพระราชาว่า ข้าแต่พระมหาราช ธรรมดาทารกหกขวบย่อมกลัวช้าง
ตกมัน พวกข้าพระองค์จักทดลองพระกุมารด้วยช้างตกมัน กราบทูลดังนี้ แล้ว ให้ฝึกช้างเชือกหนึ่งซึ่งฝึกอย่าง
ดี ให้พระโพธิสัตว์ซึ่งแวดล้อมด้วยเหล่าทารกที่เหลือ ประทับนั่ง ณ พระลานหลวง แล้วปล่อยช้าง. ช้างนั้น
บันลือเสียงโกญจนาท เอางวงตีพื้นดินสาแดงภัยมา เหล่าทารกที่เหลือเห็นช้างตกมัน ก็กลัวมรณภัย จึงวิ่ง
หนีไปคนละทิศละทาง. ฝ่ายพระมหาสัตว์เห็นช้างตกมันนั้นมา ทรงคิดว่า เราตายเสียที่งาช้างตกมัน ตัวดุ
ร้าย ยังประเสริฐกว่า ไหม้ในนรกอันร้ายกาจ. พระมหาสัตว์ถูกภัยนรกคุกคาม ประทับนั่งตรงนั้นเอง ไม่
หวั่นไหวเลย. ลาดับนั้น ช้างที่ฝึกดีแล้วนั้นเล่นเข้ามาจับพระมหาสัตว์ เหมือนจับกาดอกไม้ วิ่งไปวิ่งมาทาให้
พระมหาสัตว์ลาบากยิ่ง. มหาชนรับพระมหาสัตว์จากงวงช้างแล้วนาออกไป แม้ทดลองด้วยช้างตกมันใน
ระหว่างๆ อย่างนี้ เป็นเวลาปีหนึ่ง ก็ไม่เห็นความพิรุธของพระโพธิสัตว์. พระราชตรัสถามพวกราชบุรุษว่า
พวกท่านรับพระกุมารนาออกไปในเวลามา พระกุมารไหวมือหรือเท้าบ้างหรือไม่? ราชบุรุษทั้งหลายกราบ
ทูลว่า หามิได้เลย พระเจ้าข้า. ทรงหารือว่า พวกเราจะทาอย่างไร.
แต่นั้น คณะอมาตย์กราบทูลพระราชาว่า ขอเดชะ ธรรมดาทารกเจ็ดขวบย่อมกลัวงู พวกข้า
พระองค์จักทดลองพระกุมารด้วยงู กราบทูลดังนี้ แล้ว จึงให้พระมหาสัตว์กับเหล่าทารกที่เหลือ นั่งที่พระลาน
หลวง ปล่อยงูทั้งหลายซึ่งถอดเขี้ยวแล้ว เย็บปากแล้ว ในกาลที่พระโพธิสัตว์ประทับนั่งแวดล้อมไปด้วยเหล่า
ทารกที่เหลือ ทารกที่เหลือทั้งหลายเห็นงูดุร้ายเหล่านั้น ก็ร้องลั่นวิ่งหนีไป. ฝ่ายพระมหาสัตว์ทรงพิจารณา
ภัยในนรก ทรงดาริว่า ความพินาศไปในปากของงูดุร้ายยังดีกว่าตายในนรกอันร้ายกาจ ดังนี้ แล้ว จึงทรงนิ่ง
เฉยเหมือนเข้านิโรธสมาบัติ. คราวนั้น งูทั้งหลายก็เลื้อยมารัดพระสกลกายของพระมหาสัตว์ แผ่พังพานอยู่
บนพระเศียรของพระมหาสัตว์. แม้ในกาลนั้น พระมหาสัตว์ก็มิได้หวั่นไหวเลย แม้ทดลองด้วยงูในระหว่างๆ
อย่างนี้ เป็นเวลาปีหนึ่ง ก็มิได้เห็นความพิรุธของพระโพธิสัตว์. พระราชาตรัสถามพวกราชบุรุษว่า พวกท่าน
รับพระกุมารนาออกไปในเวลามา พระกุมารไหวมือหรือเท้าบ้างหรือไม่? ราชบุรุษทั้งหลายกราบทูลว่า หา
มิได้เลย พระเจ้าข้า. ทรงหารือว่า พวกเราจะทาอย่างไร.
แต่นั้น คณะอมาตย์กราบทูลพระราชาว่า ขอเดชะ ธรรมดาทารกแปดขวบย่อมชอบมหรสพ
ฟ้อนรา. พวกข้าพระองค์จักทดลองพระกุมารด้วยมหรสพ ฟ้อนรา กราบทูลดังนี้ แล้ว ให้พระกุมารประทับนั่ง
ณ พระลานหลวงกับทารก ๕๐๐ คน แล้วให้แสดงมหรสพฟ้อนรา เหล่าทารกที่เหลือเห็นมหรสพ ฟ้อนรา
แล้ว ต่างกล่าวว่า ดี ดี พากันหัวเราะเฮฮา. ส่วนพระมหาสัตว์ทรงพิจารณาภัยในนรกว่า ในเวลาที่เราบังเกิด
ในนรก ความรื่นเริงหรือโสมนัส ไม่มีแม้ชั่วขณะหนึ่ง จึงนิ่งเฉยมิได้ทอดพระเนตรดูอะไรๆนั้นเลย แม้ทดลอง
๐๑. เตมิยชาดก.pdf
๐๑. เตมิยชาดก.pdf
๐๑. เตมิยชาดก.pdf
๐๑. เตมิยชาดก.pdf
๐๑. เตมิยชาดก.pdf
๐๑. เตมิยชาดก.pdf
๐๑. เตมิยชาดก.pdf
๐๑. เตมิยชาดก.pdf
๐๑. เตมิยชาดก.pdf
๐๑. เตมิยชาดก.pdf
๐๑. เตมิยชาดก.pdf
๐๑. เตมิยชาดก.pdf
๐๑. เตมิยชาดก.pdf
๐๑. เตมิยชาดก.pdf
๐๑. เตมิยชาดก.pdf
๐๑. เตมิยชาดก.pdf
๐๑. เตมิยชาดก.pdf

More Related Content

Similar to ๐๑. เตมิยชาดก.pdf

28 กปิลราชจริยา มจร.pdf
28 กปิลราชจริยา มจร.pdf28 กปิลราชจริยา มจร.pdf
28 กปิลราชจริยา มจร.pdfmaruay songtanin
 
๐๙ โตเทยยปัญหา.pdf
๐๙ โตเทยยปัญหา.pdf๐๙ โตเทยยปัญหา.pdf
๐๙ โตเทยยปัญหา.pdfmaruay songtanin
 
๗๔. ปายาสิวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๗๔. ปายาสิวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...๗๔. ปายาสิวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๗๔. ปายาสิวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...maruay songtanin
 
๖๘. ปฐมอุปัสสยทายกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับม...
๖๘. ปฐมอุปัสสยทายกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับม...๖๘. ปฐมอุปัสสยทายกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับม...
๖๘. ปฐมอุปัสสยทายกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับม...maruay songtanin
 
๐๕. มโหสธชาดก.pdf
๐๕. มโหสธชาดก.pdf๐๕. มโหสธชาดก.pdf
๐๕. มโหสธชาดก.pdfmaruay songtanin
 
(๒๑) พระอุบลวรรณาเถรี มจร.pdf
(๒๑) พระอุบลวรรณาเถรี มจร.pdf(๒๑) พระอุบลวรรณาเถรี มจร.pdf
(๒๑) พระอุบลวรรณาเถรี มจร.pdfmaruay songtanin
 
๖๒. ตติยนาควิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๖๒. ตติยนาควิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...๖๒. ตติยนาควิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๖๒. ตติยนาควิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...maruay songtanin
 
๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...maruay songtanin
 
๑๘. ทาสีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๑๘. ทาสีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๑๘. ทาสีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๑๘. ทาสีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....maruay songtanin
 
๐๒. มหาชนกชาดก.pdf
๐๒. มหาชนกชาดก.pdf๐๒. มหาชนกชาดก.pdf
๐๒. มหาชนกชาดก.pdfmaruay songtanin
 
๓๐. อุจฉุทายิกาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๓๐. อุจฉุทายิกาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...๓๐. อุจฉุทายิกาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๓๐. อุจฉุทายิกาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...maruay songtanin
 
(๑๑) พระเรวตเถราปทาน มจร.pdf
(๑๑) พระเรวตเถราปทาน มจร.pdf(๑๑) พระเรวตเถราปทาน มจร.pdf
(๑๑) พระเรวตเถราปทาน มจร.pdfmaruay songtanin
 
๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....maruay songtanin
 
๕๓. ฉัตตมาณวกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๕๓. ฉัตตมาณวกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...๕๓. ฉัตตมาณวกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๕๓. ฉัตตมาณวกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...maruay songtanin
 
(๒๓) พระปฏาจาราเถรี มจร.pdf
(๒๓) พระปฏาจาราเถรี มจร.pdf(๒๓) พระปฏาจาราเถรี มจร.pdf
(๒๓) พระปฏาจาราเถรี มจร.pdfmaruay songtanin
 
๐๗. จันทกุมารชาดก.pdf
๐๗. จันทกุมารชาดก.pdf๐๗. จันทกุมารชาดก.pdf
๐๗. จันทกุมารชาดก.pdfmaruay songtanin
 
๑๕ โมฆราชปัญหา.pdf
๑๕ โมฆราชปัญหา.pdf๑๕ โมฆราชปัญหา.pdf
๑๕ โมฆราชปัญหา.pdfmaruay songtanin
 
๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...maruay songtanin
 
๑๓. ปฐมสุณิสาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๑๓. ปฐมสุณิสาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...๑๓. ปฐมสุณิสาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๑๓. ปฐมสุณิสาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...maruay songtanin
 
31 มัจฉราชจริยา มจร.pdf
31 มัจฉราชจริยา มจร.pdf31 มัจฉราชจริยา มจร.pdf
31 มัจฉราชจริยา มจร.pdfmaruay songtanin
 

Similar to ๐๑. เตมิยชาดก.pdf (20)

28 กปิลราชจริยา มจร.pdf
28 กปิลราชจริยา มจร.pdf28 กปิลราชจริยา มจร.pdf
28 กปิลราชจริยา มจร.pdf
 
๐๙ โตเทยยปัญหา.pdf
๐๙ โตเทยยปัญหา.pdf๐๙ โตเทยยปัญหา.pdf
๐๙ โตเทยยปัญหา.pdf
 
๗๔. ปายาสิวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๗๔. ปายาสิวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...๗๔. ปายาสิวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๗๔. ปายาสิวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
๖๘. ปฐมอุปัสสยทายกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับม...
๖๘. ปฐมอุปัสสยทายกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับม...๖๘. ปฐมอุปัสสยทายกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับม...
๖๘. ปฐมอุปัสสยทายกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับม...
 
๐๕. มโหสธชาดก.pdf
๐๕. มโหสธชาดก.pdf๐๕. มโหสธชาดก.pdf
๐๕. มโหสธชาดก.pdf
 
(๒๑) พระอุบลวรรณาเถรี มจร.pdf
(๒๑) พระอุบลวรรณาเถรี มจร.pdf(๒๑) พระอุบลวรรณาเถรี มจร.pdf
(๒๑) พระอุบลวรรณาเถรี มจร.pdf
 
๖๒. ตติยนาควิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๖๒. ตติยนาควิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...๖๒. ตติยนาควิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๖๒. ตติยนาควิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
 
๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
 
๑๘. ทาสีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๑๘. ทาสีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๑๘. ทาสีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๑๘. ทาสีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
 
๐๒. มหาชนกชาดก.pdf
๐๒. มหาชนกชาดก.pdf๐๒. มหาชนกชาดก.pdf
๐๒. มหาชนกชาดก.pdf
 
๓๐. อุจฉุทายิกาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๓๐. อุจฉุทายิกาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...๓๐. อุจฉุทายิกาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๓๐. อุจฉุทายิกาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
 
(๑๑) พระเรวตเถราปทาน มจร.pdf
(๑๑) พระเรวตเถราปทาน มจร.pdf(๑๑) พระเรวตเถราปทาน มจร.pdf
(๑๑) พระเรวตเถราปทาน มจร.pdf
 
๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
 
๕๓. ฉัตตมาณวกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๕๓. ฉัตตมาณวกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...๕๓. ฉัตตมาณวกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๕๓. ฉัตตมาณวกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
 
(๒๓) พระปฏาจาราเถรี มจร.pdf
(๒๓) พระปฏาจาราเถรี มจร.pdf(๒๓) พระปฏาจาราเถรี มจร.pdf
(๒๓) พระปฏาจาราเถรี มจร.pdf
 
๐๗. จันทกุมารชาดก.pdf
๐๗. จันทกุมารชาดก.pdf๐๗. จันทกุมารชาดก.pdf
๐๗. จันทกุมารชาดก.pdf
 
๑๕ โมฆราชปัญหา.pdf
๑๕ โมฆราชปัญหา.pdf๑๕ โมฆราชปัญหา.pdf
๑๕ โมฆราชปัญหา.pdf
 
๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
 
๑๓. ปฐมสุณิสาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๑๓. ปฐมสุณิสาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...๑๓. ปฐมสุณิสาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๑๓. ปฐมสุณิสาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
 
31 มัจฉราชจริยา มจร.pdf
31 มัจฉราชจริยา มจร.pdf31 มัจฉราชจริยา มจร.pdf
31 มัจฉราชจริยา มจร.pdf
 

More from maruay songtanin

7 proven leadership principles หลักการผู้นำ 7 ประการ.pdf
7 proven leadership principles หลักการผู้นำ 7 ประการ.pdf7 proven leadership principles หลักการผู้นำ 7 ประการ.pdf
7 proven leadership principles หลักการผู้นำ 7 ประการ.pdfmaruay songtanin
 
๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...
๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...
๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...maruay songtanin
 
๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....maruay songtanin
 
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...maruay songtanin
 
๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...maruay songtanin
 
๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...maruay songtanin
 
๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...maruay songtanin
 
๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...maruay songtanin
 
๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docx
๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docx๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docx
๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docxmaruay songtanin
 
Operational Resilience ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน.pdf
Operational Resilience  ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน.pdfOperational Resilience  ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน.pdf
Operational Resilience ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน.pdfmaruay songtanin
 
๘๕. สุนิกขิตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๘๕. สุนิกขิตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...๘๕. สุนิกขิตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๘๕. สุนิกขิตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...maruay songtanin
 
๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...maruay songtanin
 
๘๑. กัณฐกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๘๑. กัณฐกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...๘๑. กัณฐกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๘๑. กัณฐกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...maruay songtanin
 
๘๐. โคปาลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๘๐. โคปาลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...๘๐. โคปาลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๘๐. โคปาลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...maruay songtanin
 
๗๙. อัมพวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๗๙. อัมพวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๗๙. อัมพวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๗๙. อัมพวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....maruay songtanin
 
๗๘. สุวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๗๘. สุวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...๗๘. สุวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๗๘. สุวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...maruay songtanin
 
๗๗. มณิถูณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๗๗. มณิถูณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...๗๗. มณิถูณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๗๗. มณิถูณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...maruay songtanin
 
๗๖. นันทนวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๗๖. นันทนวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...๗๖. นันทนวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๗๖. นันทนวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...maruay songtanin
 
๗๕. จิตตลตาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๗๕. จิตตลตาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...๗๕. จิตตลตาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๗๕. จิตตลตาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...maruay songtanin
 
๗๓. ทุติยกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๗๓. ทุติยกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...๗๓. ทุติยกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๗๓. ทุติยกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...maruay songtanin
 

More from maruay songtanin (20)

7 proven leadership principles หลักการผู้นำ 7 ประการ.pdf
7 proven leadership principles หลักการผู้นำ 7 ประการ.pdf7 proven leadership principles หลักการผู้นำ 7 ประการ.pdf
7 proven leadership principles หลักการผู้นำ 7 ประการ.pdf
 
๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...
๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...
๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...
 
๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
 
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...
 
๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
 
๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
 
๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
 
๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docx
๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docx๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docx
๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docx
 
Operational Resilience ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน.pdf
Operational Resilience  ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน.pdfOperational Resilience  ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน.pdf
Operational Resilience ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน.pdf
 
๘๕. สุนิกขิตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๘๕. สุนิกขิตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...๘๕. สุนิกขิตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๘๕. สุนิกขิตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
 
๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
 
๘๑. กัณฐกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๘๑. กัณฐกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...๘๑. กัณฐกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๘๑. กัณฐกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
 
๘๐. โคปาลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๘๐. โคปาลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...๘๐. โคปาลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๘๐. โคปาลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
 
๗๙. อัมพวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๗๙. อัมพวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๗๙. อัมพวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๗๙. อัมพวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
 
๗๘. สุวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๗๘. สุวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...๗๘. สุวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๗๘. สุวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
๗๗. มณิถูณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๗๗. มณิถูณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...๗๗. มณิถูณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๗๗. มณิถูณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
๗๖. นันทนวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๗๖. นันทนวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...๗๖. นันทนวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๗๖. นันทนวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
 
๗๕. จิตตลตาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๗๕. จิตตลตาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...๗๕. จิตตลตาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๗๕. จิตตลตาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
 
๗๓. ทุติยกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๗๓. ทุติยกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...๗๓. ทุติยกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๗๓. ทุติยกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
 

๐๑. เตมิยชาดก.pdf

  • 1. 1 การบาเพ็ญบารมี ๑๐ พระชาติ ตอนที่ ๑ เตมิยชาดก (เนกขัมมบารมี) พลตรี มารวย ส่งทานินทร์ ๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๖ เกริ่นนา เป็นชาดกที่พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภการเสด็จออกบรรพชาอัน ยิ่งใหญ่ (ในอดีต) ได้ตรัสไว้โดยทรงเริ่มต้นด้วยคาถาแรกที่เทพธิดาผู้สถิตอยู่ที่เศวตฉัตรกล่าวสอนเตมิย กุมารว่า “ท่านจงอย่าเปิดเผยตนว่าเป็นบัณฑิต” พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๒ ๒๒. มหานิบาต ๑. เตมิยชาดก ว่าด้วยพระเตมีย์โพธิสัตว์ทรงบาเพ็ญเนกขัมมบารมี (เทพธิดาผู้เคยเป็นมารดาพระโพธิสัตว์ในอัตภาพหนึ่ง ปลอบพระโพธิสัตว์ให้สบายพระทัยแล้ว จึงกล่าวว่า) [๑] ท่านจงอย่าเปิดเผยตนว่าเป็นบัณฑิต จงให้คนทั้งปวงรู้ว่าเป็นคนโง่ ขอให้คนทั้งหมดจงดูหมิ่น ท่านเถิด ความประสงค์ของท่าน จักสาเร็จได้ด้วยอาการอย่างนี้ (พระเตมีย์โพธิสัตว์กลับได้ความสบายพระทัยตามคาของเทพธิดานั้น จึงตรัสว่า) [๒] แม่เทพธิดา ข้าพเจ้าจะทาตามคาของท่าน ที่ได้กล่าวกับข้าพเจ้า แม่เทพธิดา ท่านเป็นผู้ ปรารถนาประโยชน์ มุ่งประโยชน์เกื้อกูลแก่ข้าพเจ้า (พระโพธิสัตว์ตรัสถามนายสารถีว่า) [๓] นายสารถี ท่านจะรีบขุดหลุมไปทาไมหนอ สหายเอ๋ย เราถามท่านแล้ว ท่านจงบอกเรา (สุนันทสารถีได้ฟังคานั้น ขุดหลุมมิได้เงยหน้าดู จึงกราบทูลว่า) [๔] พระโอรสของพระราชาเป็นใบ้ และเป็นง่อยเปลี้ยขาดความสานึก พระราชาตรัสสั่งข้าพเจ้าว่า ควรฝังลูกเราไว้ในป่าช้า (พระเตมีย์โพธิสัตว์ ตรัสกับสุนันทสารถีว่า) [๕] นายสารถี เรามิได้เป็นคนหนวก คนใบ้ คนเปลี้ย และมิได้เป็นคนบกพร่อง (คาว่า มิได้เป็น คนบกพร่อง หมายถึงเป็นผู้มีอินทรีย์สมบูรณ์) ถ้าท่านพึงฝังเราไว้ในป่า ชื่อว่าพึงทาสิ่งที่ไม่เป็นธรรม [๖] ท่านจงดูขา แขน และฟังภาษิตของเรา ถ้าท่านพึงฝังเราไว้ในป่า ชื่อว่าพึงทาสิ่งที่ไม่เป็นธรรม (สุนันทสารถีไม่รู้ จึงกราบทูลว่า)
  • 2. 2 [๗] ท่านเป็นเทวดา คนธรรพ์ หรือเป็นท้าวสักกปุรินททะ ท่านเป็นใครหรือเป็นบุตรของใคร พวก เราจักรู้จักท่านได้อย่างไร (พระเตมีย์โพธิสัตว์เมื่อแสดงตนให้ปรากฏ แสดงธรรมแก่สุนันทสารถีนั้นจึงตรัสว่า) [๘] เรามิใช่เทวดา มิใช่คนธรรพ์ ทั้งมิใช่ท้าวสักกปุรินททะ เราเป็นผู้ที่ท่านจะฝังในหลุม เป็นโอรส ของพระเจ้ากาสี [๙] เราเป็นโอรสของพระราชา องค์ที่ท่านเข้าไปพึ่งบารมีเลี้ยงชีพอยู่เสมอ นายสารถี ถ้าท่านพึง ฝังเราไว้ในป่า ชื่อว่าพึงทาสิ่งที่ไม่เป็นธรรม [๑๐] บุคคลพึงนั่งหรือนอนที่ร่มแห่งต้นไม้ใด ไม่พึงหักรานกิ่งของต้นไม้นั้น เพราะคนผู้ ประทุษร้ายมิตร ชื่อว่าเป็นคนเลวทราม [๑๑] พระราชาก็เหมือนต้นไม้ เราก็เป็นเหมือนกิ่งไม้ ข้าแต่มหาราช นายสารถีเป็นเหมือนคนผู้ อาศัยร่มไม้ นายสารถี ถ้าท่านฝังเราไว้ในป่า ชื่อว่าพึงทาสิ่งที่ไม่เป็นธรรม (พระเตมีย์โพธิสัตว์ปรารภคาถาบูชามิตร ๑๐ คาถาว่า) [๑๒] ผู้ใดไม่ประทุษร้ายมิตร ผู้นั้นพรากจากเรือนของตนแล้ว ย่อมมีอาหารสมบูรณ์ คนเป็นอัน มากย่อมเข้าไปพึ่งพาผู้นั้นเลี้ยงชีพ [๑๓] คนผู้ไม่ประทุษร้ายมิตร จะไปสู่ชนบท นิคม และราชธานีใดๆ ก็เป็นผู้อันชนทั้งหลายใน ชนบท นิคม และราชธานีนั้นๆ บูชาไปทุกแห่งหน [๑๔] คนผู้ไม่ประทุษร้ายมิตร ไม่มีพวกโจรข่มเหง พระมหากษัตริย์ก็ไม่ทรงดูหมิ่น ย่อมข้าม (ชนะ)ศัตรูทั้งปวงได้ [๑๕] คนผู้ไม่ประทุษร้ายมิตร ไม่โกรธเคืองใครๆ มาสู่เรือนของตน ย่อมเป็นผู้ที่มหาชนยินดี ต้อนรับในที่ประชุม และเป็นคนชั้นสูงของหมู่ญาติ [๑๖] คนผู้ไม่ประทุษร้ายมิตร สักการะคนอื่นแล้ว ย่อมเป็นผู้ที่คนอื่นสักการะตอบ เคารพคนอื่น แล้วก็มีคนอื่นเคารพตอบ เป็นผู้อันเขาสรรเสริญเกียรติคุณ [๑๗] คนผู้ไม่ประทุษร้ายมิตร บูชาผู้อื่น ย่อมได้รับการบูชาตอบ ไหว้ผู้อื่น ย่อมได้รับการไหว้ตอบ ทั้งได้รับอิสริยยศและเกียรติ [๑๘] คนผู้ไม่ประทุษร้ายมิตร ย่อมรุ่งเรือง (รุ่งเรือง ในที่นี้ หมายถึงรุ่งเรืองด้วยอิสริยยศและ บริวารยศ) เหมือนไฟ ย่อมรุ่งโรจน์เหมือนเทวดา เป็นผู้อันสิริไม่ทอดทิ้ง [๑๙] คนผู้ไม่ประทุษร้ายมิตร ย่อมมีโคทั้งหลายตกลูกมาก พืชที่หว่านลงในนาย่อมงอกงาม ย่อม ได้บริโภคผลของพืชทั้งหลายที่หว่านไว้แล้ว [๒๐] คนผู้ไม่ประทุษร้ายมิตร พลัดตกจากเหว ภูเขา พลาดตกต้นไม้หรือเคลื่อนจากภพ ย่อมได้ที่ พึ่ง [๒๑] คนผู้ไม่ประทุษร้ายมิตร ศัตรูทั้งหลายจะระรานไม่ได้ เหมือนลมระรานต้นไทรที่มีรากและ ลาต้นงอกงามแล้วไม่ได้ (สุนันทสารถีประคองอัญชลี ทูลวิงวอนว่า)
  • 3. 3 [๒๒] ข้าแต่พระราชโอรส เชิญเสด็จเถิด กระหม่อมจักนาพระองค์เสด็จกลับ ไปยังพระราช มณเฑียรของพระองค์ เชิญพระองค์เถลิงถวัลยราชสมบัติเถิด พระเจ้าข้า พระองค์จักทรงทาอะไรในป่าได้เล่า (ลาดับนั้น พระเตมีย์โพธิสัตว์จึงตรัสกับนายสุนันทสารถีนั้นว่า) [๒๓] นายสารถี พอทีสาหรับเราด้วยราชสมบัตินั้น พระญาติทั้งหลายหรือทรัพย์ทั้งหลาย ที่เราจะ พึงได้ด้วยการประพฤติอันไม่ชอบธรรม (สุนันทสารถีกราบทูลว่า) [๒๔] ข้าแต่พระราชโอรส พระองค์เสด็จไปจากที่นี้ แล้ว ทาให้ข้าพระองค์ได้รับรางวัล เมื่อพระองค์ เสด็จกลับไป พระบิดาและพระมารดาพึงพระราชทานรางวัลให้แก่ข้าพระองค์ [๒๕] ข้าแต่พระราชโอรส เมื่อพระองค์เสด็จกลับไปแล้ว พระสนมกานัลใน พระกุมาร แพศย์ และ พราหมณ์เหล่านั้น จะพึงดีใจ ให้รางวัลแก่ข้าพระองค์ [๒๖] ข้าแต่พระราชโอรส เมื่อพระองค์เสด็จกลับไปแล้ว กองพลช้าง กองพลม้า กองพลรถ และ กองพลราบ แม้เหล่านั้นจะพากันดีใจ ให้รางวัลแก่ข้าพระองค์ [๒๗] ข้าแต่พระราชโอรส เมื่อพระองค์เสด็จกลับไปแล้ว ชาวชนบทและชาวนิคมผู้มีธัญญาหาร มาก จะมาประชุมกัน ให้เครื่องบรรณาการแก่ข้าพระองค์ (พระเตมีย์โพธิสัตว์ตรัสว่า) [๒๘] เราเป็นผู้อันพระบิดาและพระมารดา ชาวแคว้น ชาวนิคม และกุมารทั้งปวงสละแล้ว เราไม่ มีเรือนของตน [๒๙] เราเป็นผู้อันพระมารดาทรงอนุญาตแล้ว และพระบิดาก็ทรงสละขาดแล้ว ออกไปบวชอยู่ใน ป่าแต่ลาพัง เราไม่พึงปรารถนากามทั้งหลาย (พระเตมีย์โพธิสัตว์เมื่อจะเปล่งอุทานด้วยกาลังปีติ จึงตรัสว่า) [๓๐] ความหวังผลของเหล่าชนผู้ไม่รีบร้อนย่อมสาเร็จแน่ เรามีพรหมจรรย์เผล็ดผลแล้ว นายสารถี ท่านจงรู้ไว้อย่างนี้ เถิด [๓๑] อนึ่ง ประโยชน์โดยชอบของเหล่าชน ผู้ไม่รีบร้อน ย่อมเผล็ดผลโดยแท้ เรามีพรหมจรรย์ เผล็ดผลแล้ว ออกบวชแล้วย่อมไม่มีภัยแต่ที่ไหนๆ (นายสุนันทสารถีกราบทูลว่า) [๓๒] พระองค์เป็นผู้มีพระวาจาไพเราะ มีพระดารัสสละสลวยอย่างนี้ เพราะเหตุไร พระองค์จึงไม่ ตรัสในสานัก ของพระบิดาและพระมารดาในเวลานั้น (ลาดับนั้น พระเตมีย์โพธิสัตว์ จึงตรัสว่า) [๓๓] เราเป็นคนง่อยเปลี้ย เพราะไม่มีข้อต่อก็หามิได้ เป็นคนหนวก เพราะไม่มีโสตประสาทก็หา มิได้ เป็นคนใบ้ เพราะไม่มีชิวหาประสาทก็หามิได้ ท่านอย่าเข้าใจว่า เราเป็นใบ้ [๓๔] เราระลึกชาติก่อนที่เราเสวยราชสมบัติได้ เราได้เสวยราชสมบัติในครั้งนั้นแล้ว ต้องไปตก นรกอันแสนสาหัส [๓๕] เราได้เสวยราชสมบัติในกาลนั้น ๒๐ ปี แล้วต้องไปหมกไหม้อยู่ในนรกถึง ๘๐,๐๐๐ ปี
  • 4. 4 [๓๖] เรากลัวจะต้องได้เสวยราชสมบัตินั้น จึงตั้งจิตอธิษฐานว่า ขอชนทั้งหลายอย่าได้อภิเษกเรา ไว้ในราชสมบัติเลย เพราะฉะนั้น เราจึงไม่พูดในสานัก ในสานักของพระบิดาและพระมารดาในกาลนั้น [๓๗] พระบิดาทรงอุ้มเราให้นั่งบนพระเพลาแล้ว ตรัสพิพากษาว่า ท่านทั้งหลายจงฆ่าโจรคนหนึ่ง จงจองจาโจรอีกคนหนึ่งไว้ในเรือนจา จงเอาหอกแทงโจรคนหนึ่งแล้ว ราดด้วยน้ากรด จงเสียบโจรคนหนึ่ง บนหลาว พระบิดาตรัสพิพากษาอรรถคดีแก่มหาชนนั้นด้วยประการฉะนี้ [๓๘] เราได้ฟังพระวาจาอันหยาบคายที่พระบิดาตรัสนั้น จึงกลัวต่อการเสวยราชสมบัติ เรามิได้ เป็นคนใบ้ ก็ทาเหมือนเป็นคนใบ้ มิได้เป็นคนง่อยเปลี้ย ก็ทาเป็นเหมือนคนง่อยเปลี้ย เรากลิ้งเกลือกนอนจม อยู่ในอุจจาระและปัสสาวะของตน [๓๙] ชีวิตเป็นของยาก เป็นของเล็กน้อย (ชีวิตเป็นของเล็กน้อย หมายความว่า หากชีวิตของสัตว์ ทั้งหลายได้รับความลาบาก ก็จะดารงอยู่ได้นานมาก แต่หากได้รับความสบาย ก็จะดารงอยู่ได้ชั่วเวลานิด หน่อย และชีวิตนี้ ยากเข็ญ เป็นของเล็กน้อย คือมีประมาณน้อยนิด อีกทั้งเป็นชีวิตที่ประกอบด้วยความสั่งสม ทุกข์ในวัฏฏะทั้งสิ้น) ซ้าประกอบไปด้วยทุกข์ ใครเล่าอาศัยชีวิตนี้ แล้วพึงก่อเวรกับใครๆ [๔๐] ใครเล่าอาศัยชีวิตนี้ แล้วพึงก่อเวรกับใครๆ เพราะไม่ได้ปัญญาและเพราะไม่ได้เห็นธรรม [๔๑] ความหวังผลของเหล่าคนผู้ไม่รีบร้อนย่อมสาเร็จแน่ เรามีพรหมจรรย์เผล็ดผลแล้ว นาย สารถี ท่านจงรู้ไว้อย่างนี้ เถิด [๔๒] อนึ่ง ประโยชน์โดยชอบของเหล่าชน ผู้ไม่รีบร้อน ย่อมเผล็ดผลโดยแท้ เรามีพรหมจรรย์ เผล็ดผลแล้ว ออกบวชแล้วย่อมไม่มีภัยแต่ที่ไหนๆ (นายสุนันทสารถีได้ฟังดังนั้น จึงกราบทูลว่า) [๔๓] ข้าแต่พระราชโอรส แม้ข้าพระองค์ก็จักบวชในสานักของพระองค์ ขอพระองค์โปรดตรัส อนุญาตให้ข้าพระองค์บวชด้วยเถิด ข้าพระองค์พอใจจะบวช พระเจ้าข้า (พระเตมีย์โพธิสัตว์ตรัสว่า) [๔๔] นายสารถี เรามอบรถให้ท่านแล้ว ท่านจงเป็นผู้ไม่มีหนี้ มาเถิด เพราะคนที่ไม่มีหนี้ จึงจะ บวชได้ พวกฤๅษีทั้งหลายกล่าวสรรเสริญการบวชนั้น (สุนันทสารถีได้ฟังดังนั้น จึงกราบทูลว่า) [๔๕] ขอพระองค์จงทรงพระเจริญ ข้าพระองค์ได้ทาตามพระดารัสที่พระองค์ได้ตรัสไว้แล้ว ข้า พระองค์ทูลวิงวอนแล้ว ขอพระองค์ควรทรงโปรดกระทาตามคาของข้าพระองค์เถิด [๔๖] ขอพระองค์จงประทับอยู่ ณ ที่นี้ จนกว่าข้าพระองค์จะทูลเชิญเสด็จพระราชามา พระบิดา ของพระองค์ทอดพระเนตรแล้ว จะพึงมีพระทัยเอิบอิ่มเป็นแน่ (พระเตมีย์โพธิสัตว์ตรัสว่า) [๔๗] นายสารถี เราจะทาตามคาของท่านที่กล่าวกับเรา แม้เราก็ปรารถนาจะเฝ้าพระบิดาของเรา ซึ่งเสด็จมา ณ ที่นี้ [๔๘] ท่านจงกลับไปเถิด สหาย การที่ท่านได้ทูลพระญาติทั้งหลายด้วยเป็นการดี ท่านรับคาสั่ง เราแล้ว พึงกราบทูลการถวายบังคมพระมารดาและพระบิดาของเรา
  • 5. 5 (พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า) [๔๙] นายสารถีจับพระบาททั้ง ๒ ของพระโพธิสัตว์นั้น และทาประทักษิณพระองค์แล้ว ก็ขึ้นรถ บ่ายหน้าเข้าไปยังทวารพระราชวัง [๕๐] พระมารดาทอดพระเนตรเห็นรถว่างเปล่า กลับมาแต่นายสารถีคนเดียว จึงทรงกันแสง มี พระเนตรนองด้วยพระอัสสุชล ทอดพระเนตรดูนายสารถีนั้นอยู่ [๕๑] พระนางทรงเข้าพระทัยว่า นายสารถีฝังลูกของเราแล้วจึงกลับมา ลูกของเราถูกนายสารถีฝัง ไว้ในแผ่นดิน กลบดินแล้วเป็นแน่ [๕๒] พวกศัตรูย่อมพากันยินดี พวกคนจองเวรต่างก็เอิบอิ่มเป็นแน่ เพราะเห็นนายสารถีฝังลูกของ เรากลับมาแล้ว [๕๓] พระมารดาทอดพระเนตรเห็นรถอันว่างเปล่า กลับมาแต่นายสารถีคนเดียว มีพระเนตรนอง ด้วยพระอัสสุชล ทรงกันแสงอยู่ ตรัสถามนายสารถีนั้นว่า [๕๔] ลูกของเราเป็นคนใบ้จริงหรือ เป็นคนง่อยเปลี้ยจริงหรือ ลูกของเราขณะที่ท่านจะฝังดิน พูด อะไรบ้างหรือเปล่า นายสารถี ขอท่านจงบอกเนื้ อความนั้นแก่เราด้วยเถิด [๕๕] ลูกของเราเป็นคนใบ้ เป็นคนง่อยเปลี้ย เมื่อท่านจะฝังลงดิน กระดิกมือและเท้าอย่างไร เรา ถามแล้ว ขอท่านจงบอกเนื้ อความนั้นแก่เราเถิด (ลาดับนั้น นายสุนันทสารถีกราบทูลว่า) [๕๖] ข้าแต่พระแม่เจ้า ขอได้โปรดพระราชทานอภัยโทษแก่ข้าพระพุทธเจ้าด้วยเถิด ข้าพระพุทธเจ้าขอกราบทูล ตามที่ได้ยินและได้เห็นมาในสานักของพระราชโอรส (พระนางจันทาเทวีตรัสกับนายสุนันทสารถีนั้นว่า) [๕๗] นายสารถีผู้สหาย เราให้อภัยโทษแก่ท่าน อย่าได้กลัวเลย จงพูดไปเถิด ตามที่ท่านได้ยิน หรือได้เห็นมาในสานักของพระราชโอรส (นายสุนันทสารถีกราบทูลว่า) [๕๘] พระราชโอรสนั้นมิได้เป็นคนใบ้ มิได้เป็นคนง่อยเปลี้ย ยังมีพระดารัสสละสลวยไพเราะ ได้ ทราบว่า พระองค์ทรงกลัวต่อการครองราชย์สมบัติ จึงได้ทาการลวงอย่างมากมาย [๕๙] พระองค์ทรงระลึกถึงชาติก่อน ที่พระองค์เคยได้เสวยราชสมบัติ ครั้นได้เสวยราชสมบัติใน กาลนั้นแล้ว ต้องไปตกนรกอย่างแสนสาหัส [๖๐] พระองค์ได้เสวยราชสมบัติในกาลนั้น ๒๐ ปี แล้วต้องไปหมกไหม้อยู่ในนรกถึง ๘๐,๐๐๐ ปี [๖๑] พระองค์ทรงกลัวต่อการเสวยราชสมบัติ จึงทรงตั้งจิตอธิษฐานว่า ขอชนทั้งหลายอย่าได้ อภิเษกเราในราชสมบัติเลย เพราะฉะนั้น พระองค์จึงไม่ตรัส ในสานักของพระบิดาและพระมารดาในกาล นั้น [๖๒] พระราชโอรสทรงถึงพร้อมด้วยองคาพยพ มีพระรูปสมบัติงดงามสมส่วน มีพระวาจา สละสลวย มีพระปัญญา ทรงดารงอยู่ในทางสวรรค์
  • 6. 6 [๖๓] ถ้าพระแม่เจ้าทรงพระประสงค์จะทอดพระเนตร พระราชโอรสของพระองค์ ข้าพระพุทธเจ้า ขอทูลเชิญเสด็จพระแม่เจ้าไปให้ถึงสถานที่ ซึ่งเป็นที่ประทับของพระเตมีย์ (ฝ่ายพระเจ้ากาสีทรงสดับคาของนายสุนันทสารถี จึงดารัสสั่งให้เรียกมหาเสนคุตมา รีบให้ ตระเตรียมเสด็จ ตรัสว่า) [๖๔] เจ้าหน้าที่ทั้งหลายจงเทียมรถ เทียมม้า ผูกเครื่องประคับช้าง จงประโคมสังข์และบัณเฑาะว์ ตีกลองหน้าเดียวเถิด [๖๕] จงตีกลองสองหน้าและรามะนาอันไพเราะ ขอชาวนิคมจงตามเรามา เราจะไปให้โอวาทแก่ พระโอรส [๖๖] ขอพระสนมกานัลใน พระกุมาร แพศย์ และพราหมณ์ทั้งหลายจงรีบเทียมยาน เราจะไปให้ โอวาทแก่พระโอรส [๖๗] ขอพวกกองพลช้าง กองพลม้า กองพลรถ และกองพลราบจงรีบเทียมยาน เราจะไปให้ โอวาทแก่พระโอรส [๖๘] ชาวชนบทและชาวนิคมมาประชุมพร้อมกันแล้ว จงรีบเทียมยานเถิด เราจะไปให้โอวาทแก่ พระโอรส (พระบรมศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า) [๖๙] พวกนายสารถีจูงม้าสินธพที่มีฝีเท้าเร็ว เทียมเข้ากับราชรถขับมายังทวารพระราชวัง และ กราบทูลว่า ม้าเหล่านี้ เทียมแล้ว พระเจ้าข้า (พระราชาตรัสว่า) [๗๐] ม้าอ้วนก็ไม่มีฝีเท้าเร็ว ม้าผอมก็ไม่มีเรี่ยวแรง จงเว้นทั้งม้าผอมและม้าอ้วนเสีย เลือกเทียม แต่ม้าที่สมบูรณ์ (พระบรมศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า) [๗๑] ลาดับนั้น พระราชารีบเสด็จขึ้นประทับม้าสินธพที่เทียมแล้ว ได้ตรัสกับนางชาววังว่า พวก เจ้าทั้งหมดจงตามเรามาเถิด [๗๒] พระราชาตรัสสั่งว่า จงตระเตรียมเครื่องราชกกุธภัณฑ์ ๕ อย่าง คือ พัดวาลวีชนี อุณหิส พระขรรค์ เศวตฉัตร และฉลองพระบาทที่ประดับตกแต่งด้วยทองคาขึ้นรถไปด้วย [๗๓] และต่อจากนั้น พระราชาตรัสสั่งให้นายสารถีนาทาง เสด็จเคลื่อนขบวนเข้าไปถึงสถานที่ ซึ่ง เป็นที่ประทับของพระเตมีย์ [๗๔] ส่วนพระเตมีย์ทอดพระเนตรเห็นพระบิดา กาลังเสด็จมา ทรงรุ่งเรืองด้วยพระเดชานุภาพ ทรงแวดล้อมด้วยหมู่อามาตย์ จึงถวายพระพรว่า [๗๕] ขอถวายพระพรเสด็จพ่อ พระองค์ทรงสุขสบายดีหรือ ทรงพระสาราญดีหรือ ราชกัญญาทั้ง ปวงและพระมารดาของอาตมภาพ ไม่มีพระโรคาพาธหรือ (พระราชาตรัสตอบว่า)
  • 7. 7 [๗๖] ลูกรัก โยมสุขสบายดี ไม่มีโรคเบียดเบียน พระราชกัญญาทั้งปวงและพระมารดา ของลูกรัก ก็ไม่มีโรคาพาธ (ลาดับนั้น พระเตมีย์โพธิสัตว์ทูลถามพระราชาว่า) [๗๗] ขอถวายพระพรเสด็จพ่อ มหาบพิตรไม่ทรงเสวยน้าจัณฑ์หรือ ไม่ทรงโปรดปรานการเสวย น้าจัณฑ์หรือ พระทัยของพระองค์ทรงยินดีในสัจจะ ในธรรม และในทานหรือ (พระราชาตรัสตอบว่า) [๗๘] ลูกรัก โยมไม่ดื่มน้าจัณฑ์ และไม่โปรดปรานการดื่มน้าจัณฑ์ ใจของโยมยังยินดีในสัจจะ ใน ธรรม และในทาน (พระเตมีย์โพธิสัตว์ทูลถามว่า) [๗๙] ขอถวายพระพรเสด็จพ่อ ราชพาหนะของพระองค์ที่เขาเทียมแล้วมั่นคงหรือ ราชพาหนะยัง นาภาระไปได้ดีอยู่หรือ มหาบพิตร พยาธิที่จะเข้าไปแผดเผาพระสรีระของพระองค์ไม่มีหรือ (พระราชาตรัสตอบว่า) [๘๐] พาหนะมีม้าและโคเป็นต้นของโยมที่เทียมแล้วมั่นคง ราชพาหนะก็ยังนาภาระไปได้ พยาธิที่ เข้าไปแผดเผาสรีระของโยมก็ไม่มี (พระเตมีย์โพธิสัตว์ทูลถามว่า) [๘๑] ชุมชนแถบชายแดนของพระองค์ยังมั่งคั่งหรือ คามนิคมในท่ามกลางรัฐของพระองค์ ยังเป็น ที่อยู่แน่นหนามั่งคั่งอยู่หรือ ฉางหลวงและท้องพระคลังของพระองค์ยังบริบูรณ์ดีอยู่หรือ (พระราชาตรัสตอบว่า) [๘๒] ชุมชนแถบชายแดนของโยมยังมั่งคั่ง คามนิคมในท่ามกลางแคว้นก็ยังอยู่แน่นหนาดี ฉาง หลวงและท้องพระคลังของโยม ก็ยังคงบริบูรณ์ดีทุกอย่าง (พระเตมีย์โพธิสัตว์ตรัสว่า) [๘๓] ข้าแต่มหาราช พระองค์เสด็จมาดีแล้ว มิได้เสด็จมาร้าย ขอมหาดเล็กทั้งหลายจงจัดตั้ง บัลลังก์ ซึ่งเป็นที่ประทับนั่งถวายพระราชาเถิด [๘๔] เชิญประทับนั่ง ณ เครื่องลาดใบไม้ที่เขาปูไว้เรียบร้อย ถวายมหาบพิตร ณ ที่นี้ เถิด จงทรง ตักน้าจากภาชนะนี้ ล้างพระบาทของพระองค์เถิด [๘๕] ขอถวายพระพรมหาบพิตร ใบหมากเม่าของอาตมภาพนี้ เป็นของสุกไม่เค็ม พระองค์มาเป็น แขกของอาตมภาพแล้ว เชิญเสวยเถิด (พระราชาตรัสว่า) [๘๖] โยมไม่บริโภคใบหมากเม่า เพราะใบหมากเม่านี้ มิใช่อาหารของโยม โยมบริโภคข้าวสุกแห่ง ข้าวสาลีที่ปรุงด้วยเนื้ ออันสะอาด (พระราชาตรัสกับพระเตมีย์โพธิสัตว์แล้ว จึงตรัสคาถาว่า) [๘๗] ความน่าอัศจรรย์ปรากฏชัดเจนกับโยม เพราะได้เห็นลูกรักอยู่ในที่ลับแต่ผู้เดียว เพราะเหตุ ไร ผิวพรรณของผู้บริโภคอาหารเช่นนี้ จึงผ่องใสเล่า
  • 8. 8 (พระเตมีย์โพธิสัตว์เมื่อจะทูลพระราชานั้น จึงตรัสว่า) [๘๘] ขอถวายพระพรมหาบพิตร อาตมภาพจาวัดตามลาพังบนเครื่องลาดใบไม้ เพราะการจาวัด ตามลาพังนั้น ผิวพรรณของอาตมภาพจึงผ่องใส [๘๙] อนึ่ง อาตมภาพไม่มีราชองครักษ์คาดกระบี่คอยป้องกัน เพราะการจาวัดตามลาพังของอา ตมภาพนั้น ผิวพรรณจึงผ่องใส ขอถวายพระพร [๙๐] อาตมภาพมิได้เศร้าโศกถึงอารมณ์ที่ล่วงไปแล้ว มิได้ปรารถนาอารมณ์ที่ยังไม่มาถึง ยัง อัตภาพให้เป็นไปด้วยสิ่งที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า เพราะฉะนั้น ผิวพรรณของอาตมภาพจึงผ่องใส [๙๑] เพราะการปรารถนาอารมณ์ที่ยังไม่มาถึง เพราะเศร้าโศกถึงอารมณ์ที่ล่วงไปแล้ว ทั้ง ๒ อย่างนี้ พวกคนพาลซูบซีดเหี่ยวแห้ง เหมือนไม้อ้อที่เขียวสดถูกถอนทิ้งไว้ (ลาดับนั้น พระราชาทรงเชิญพระเตมีย์โพธิสัตว์ให้ครองราชสมบัติ จึงตรัสว่า) [๙๒] ลูกรัก โยมขอมอบกองพลช้าง (กองพลช้าง หมายถึงกองทัพที่จัดขึ้นเป็นหมู่ใหญ่ นับช้าง ตั้งแต่สิบเชือกขึ้นไป ที่ชื่อว่ากองพลรถก็เช่นเดียวกัน) กองพลม้า กองพลรถ กองพลราบ เหล่าทหารผูกโล่ และพระนิเวศน์ที่น่ารื่นรมย์แก่ลูก [๙๓] โยมขอมอบพระสนมกานัลในผู้ประดับด้วยเครื่องอลังการทุกอย่าง ลูกรักจงปกครองพระ สนมกานัลในเหล่านั้น จงเป็นพระราชาของโยมทั้งหลาย [๙๔] หญิงทั้ง ๔ คนผู้ฉลาดในการฟ้อนราและการขับร้อง ศึกษาดีแล้วในหน้าที่ของหญิงแม้อื่นๆ จักทาลูกรักให้รื่นรมย์ในกามได้ ลูกจักทาอะไรในป่าเล่า [๙๕] โยมจักนาราชกัญญาจากพระราชาอื่นๆ ผู้ประดับดีแล้วมา ขอลูกรักให้กาเนิดพระโอรสใน หญิงเหล่านั้นแล้ว จึงบวชในภายหลังเถิด [๙๖] ลูกรักยังหนุ่มแน่นอยู่ในปฐมวัย ผมดาสนิท จงครอบครองราชย์สมบัติก่อนเถิด ขอลูกจงมี ความเจริญ ลูกจักทาอะไรในป่าเล่า (พระเตมีย์โพธิสัตว์แสดงธรรมโปรดพระราชาว่า) [๙๗] คนหนุ่มควรประพฤติพรหมจรรย์ ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ควรจะเป็นคนหนุ่ม เพราะการบวช ของคนหนุ่ม ฤๅษีทั้งหลายสรรเสริญแล้ว [๙๘] คนหนุ่มควรประพฤติพรหมจรรย์ ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ควรเป็นคนหนุ่ม อาตมภาพจัก ประพฤติพรหมจรรย์ อาตมภาพไม่ต้องการราชสมบัติ [๙๙] อาตมภาพเห็นเด็กหนุ่มของท่านทั้งหลาย ผู้เรียกมารดาและบิดา ซึ่งเป็นบุตรที่รักได้มาโดย ยาก ยังไม่ทันถึงความแก่เลยก็ตายเสียแล้ว [๑๐๐] อาตมภาพเห็นเด็กสาวของท่านทั้งหลาย ที่สวยสดงดงาม สิ้นชีวิต เหมือนหน่อไม้ไผ่ที่ถูก ถอน [๑๐๑] จริงอยู่ จะเป็นชายหรือหญิงก็ตาม แม้ยังหนุ่มสาวก็ตาย เพราะฉะนั้น ใครเล่าจะพึงวางใจ ในชีวิตนั้นได้ว่า เรายังเป็นหนุ่มสาว
  • 9. 9 [๑๐๒] อายุของคนเป็นของน้อย เพราะวันคืนล่วงไปๆ เปรียบเหมือนอายุของฝูงปลาในน้าน้อย ความเป็นหนุ่มสาวในวัยนั้นจักทาอะไรได้ [๑๐๓] สัตวโลกถูกครอบงาและถูกรุมล้อมอยู่เป็นนิตย์ เมื่อราตรีทั้งหลายทาอายุ วรรณะ และ กาลัง ของเหล่าสัตว์ให้สิ้นไปเป็นไปอยู่ มหาบพิตรจะอภิเษกอาตมภาพในราชสมบัติทาไม (พระราชาตรัสว่า) [๑๐๔] สัตวโลกถูกอะไรครอบงา และถูกอะไรรุมล้อมไว้ อะไรชื่อว่าราตรีที่ทาอายุ วรรณะ และ กาลังของเหล่าสัตว์ให้สิ้นไปเป็นไปอยู่ โยมถามแล้ว ขอลูกรักจงบอกข้อนั้นแก่โยมเถิด (พระเตมีย์โพธิสัตว์ทูลว่า) [๑๐๕] สัตวโลกถูกความตายครอบงา และถูกความแก่รุมล้อมไว้ วันคืนที่ชื่อว่าทาอายุ วรรณะ และกาลังของเหล่าสัตว์ให้สิ้นไปก็เป็นไปอยู่ มหาบพิตร ขอจงทรงทราบอย่างนี้ ขอถวายพระพร [๑๐๖] เมื่อเส้นด้ายที่เขากาลังทอ ช่างหูกทอไปได้เท่าใด ส่วนที่ต้องทอต่อไป โยมก็พึงทราบว่า เหลืออยู่น้อยเท่านั้นฉันใด ชีวิตของสัตว์ทั้งหลายก็ฉันนั้น [๑๐๗] ห้วงน้าที่เต็มฝั่งเมื่อไหลไปย่อมไม่ไหลกลับฉันใด อายุของมนุษย์ทั้งหลายเมื่อผ่านไป ก็ ย่อมไม่หวนกลับคืนฉันนั้น [๑๐๘] ห้วงน้าที่เต็มฝั่งย่อมพัดพาเอาต้นไม้ ที่เกิดอยู่ริมฝั่งให้หักโค่นไปฉันใด สัตว์ทั้งปวงย่อมถูก ชราและมรณะพัดพาไปฉันนั้น (พระราชาสดับธรรมกถาของพระเตมีย์โพธิสัตว์แล้ว จะเชิญให้ครองราชสมบัติอีก จึงตรัสว่า) [๑๐๙] ลูกเอ๋ย โยมขอมอบกองพลช้าง กองพลม้า กองพลรถ กองพลราบ เหล่าทหารผูกโล่ และ พระราชนิเวศน์ที่น่ารื่นรมย์แก่ลูก [๑๑๐] อนึ่ง โยมขอมอบพระสนมกานัลใน ผู้ประดับด้วยเครื่องอลังการทุกอย่าง ลูกเอ๋ย จง ปกครองพระสนมกานัลในเหล่านั้น ลูกจักเป็นพระราชาของโยมทั้งหลาย [๑๑๑] หญิงทั้ง ๔ คนผู้ฉลาดในการฟ้อนราและการขับร้อง ศึกษาดีแล้วในหน้าที่ของหญิงอื่นๆ จักทาลูกรักให้รื่นรมย์ในกามได้ ลูกจะทาอะไรในป่าเล่า [๑๑๒] โยมจักนาราชกัญญาจากพระราชาอื่นๆ ผู้ประดับแล้วมาให้แก่ลูก ลูกให้หญิงเหล่านั้น กาเนิดพระโอรสแล้ว จึงบวชในภายหลังเถิด [๑๑๓] ลูกยังหนุ่มแน่นอยู่ในปฐมวัย มีผมดาสนิท จงครอบครองราชย์สมบัติก่อนเถิด ขอลูกจงมี ความเจริญ ลูกจักทาอะไรในป่าเล่า [๑๑๔] ลูกเอ๋ย โยมขอมอบฉางหลวง พระคลัง พาหนะ พลนิกาย และพระราชนิเวศน์อันน่า รื่นรมย์แก่ลูก [๑๑๕] ลูกจงแวดล้อมด้วยแวดวงราชกัญญาที่งามพร้อม จงแวดล้อมด้วยหมู่พระสนมกานัลใน จง ครอบครองราชสมบัติก่อนเถิด ขอลูกจงมีความเจริญ ลูกจักทาอะไรในป่าเล่า (พระเตมีย์โพธิสัตว์เมื่อจะประกาศความที่ตนไม่ปรารถนาราชสมบัติ จึงทูลว่า)
  • 10. 10 [๑๑๖] มหาบพิตรจะให้อาตมภาพเสื่อมไปเพราะทรัพย์ทาไม บุคคลจักตายเพราะภรรยาทาไม ประโยชน์อะไรด้วยความเป็นหนุ่มสาวที่แก่เฒ่า เพราะถูกชราครอบงา [๑๑๗] ในโลกสันนิวาสที่มีชราและมรณะเป็นธรรมดานั้น จะเพลิดเพลินไปทาไม จะเล่นหัวไป ทาไม จะยินดีไปทาไม จะแสวงหาทรัพย์ไปทาไม จะมีประโยชน์อะไรด้วยลูกและเมียแก่อาตมภาพ อาตม ภาพเป็นผู้หลุดพ้นแล้วจากเครื่องผูก ขอถวายพระพร [๑๑๘] มัจจุราชย่อมไม่ย่ายีอาตมภาพผู้รู้ชัดอย่างนี้ ว่า เมื่อบุคคลถูกมัจจุราชครอบงาแล้ว จะยินดี ไปทาไม จะแสวงหาทรัพย์ไปทาไม [๑๑๙] ภัยของผลไม้ที่สุกแล้วทั้งหลาย ย่อมมีเพราะหล่นลงเป็นนิตย์ฉันใด ภัยของเหล่าสัตว์ผู้เกิด มาแล้ว ย่อมมีเพราะความตายอยู่เป็นนิตย์ฉันนั้น [๑๒๐] คนเป็นจานวนมากที่ได้พบกันในตอนเช้า ตกตอนเย็นบางพวกก็ไม่เห็นกัน คนเป็นจานวน มากที่ได้พบกันในตอนเย็น ตกตอนเช้าบางพวกก็ไม่เห็นกัน [๑๒๑] ควรรีบทาความเพียรเสียแต่ในวันนี้ ใครเล่าจะพึงรู้ได้ว่า ความตายจะมีในวันพรุ่งนี้ เพราะ ความผ่อนผันกับมัจจุราชที่มีเสนาหมู่ใหญ่นั้น ไม่มีแก่เราทั้งหลายเลย [๑๒๒] พวกโจรย่อมปรารถนาทรัพย์ มหาบพิตร อาตมภาพเป็นผู้หลุดพ้นแล้วจากเครื่องผูก เชิญ มหาบพิตรเสด็จกลับไปเถิด อาตมภาพไม่มีความต้องการด้วยราชสมบัติ ขอถวายพระพร เตมิยชาดกที่ ๑ จบ ------------------ คาอธิบายเพิ่มเติมนามาจากบางส่วนของอรรถกถา เตมิยชาดก ว่าด้วย พระเจ้าเตมีย์ทรงบาเพ็ญเนกขัมมบารมี พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงพระปรารภมหาภิเนกขัมมบารมี ตรัส พระธรรมเทศนานี้ ว่า มา ปณฺฑิจฺจย วิภาวย ดังนี้ เป็นต้น. ความพิสดารว่า วันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายนั่งประชุมกันอยู่ในโรงธรรมสภา พรรณนามหาภิ เนกขัมมบารมีของพระผู้มีพระภาคเจ้า. พระศาสดาทรงสดับเรื่องนั้นด้วยทิพโสต เสด็จออกจากพระคันธกุฎี มายังโรงธรรมสภา ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ เธอทั้งหลายประชุมเจรจากันถึงเรื่องอะไร? เมื่อ ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรามีบารมีเต็มแล้ว ทิ้งราชสมบัติ ออกเพื่อคุณอันยิ่งใหญ่ในบัดนี้ ไม่น่าอัศจรรย์เลย เมื่อก่อนญาณยังไม่แก่กล้า เรากาลังบาเพ็ญบารมีอยู่ ได้ ทิ้งราชสมบัติออกเพื่อคุณอันยิ่งใหญ่นั้น จึงน่าอัศจรรย์. ตรัสดังนี้ แล้ว ทรงดุษณีภาพอยู่. ภิกษุเหล่านั้นกราบ ทูลวิงวอนให้ทรงเล่าเรื่อง จึงทรงนาอดีตนิทานมาแสดงดังต่อไปนี้ . ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในอดีตกาล พระราชาพระนามว่ากาสิกราช ครองราชสมบัติโดยธรรมโดย เสมอในกรุงพาราณสี พระองค์มีสนมนารีประมาณหนึ่งหมื่นหกพันคน. บรรดาสนมนารีเหล่านั้น แม้สักคน หนึ่งก็ไม่มีโอรสหรือธิดาเลย. กาลนั้นชาวพระนครกล่าวกันว่า พระราชาของพวกเราไม่มีพระโอรส แม้องค์ หนึ่งที่จะสืบพระวงศ์ จึงประชุมกันที่พระลานหลวงโดยนัยอันมาแล้วในกุสราชชาดกนั่นแล กราบทูล
  • 11. 11 พระราชาว่า ข้าแต่สมมติเทพ ขอพระองค์จงทรงปรารถนาพระโอรสเถิด พระราชาทรงสดับคาแห่งชาวเมือง นั้นแล้ว ตรัสเรียกสนมนารีหนึ่งหมื่นหกพันมาในขณะนั้น แล้วมีพระราชดารัสสั่งว่า เจ้าทั้งหลายจง ปรารถนาบุตร. สนมนารีเหล่านั้นทากิจเป็นต้นว่า วิงวอนและบารุงเทวดาทั้งหลายมีพระจันทร์เป็นต้น แม้ ปรารถนาก็หาได้โอรสหรือธิดาไม่. ฝ่ายอัครมเหสีของพระเจ้ากาสิกราช ผู้เป็นพระธิดาแห่งพระเจ้ามัททราช พระนามว่าจันทา เทวี เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยสีลาจารวัตร. พระราชามีพระราชดารัสสั่งว่า แน่ะนางผู้เจริญ แม้เธอก็จงปรารถนา พระโอรส. พระเทวีได้สดับพระราชดารัสของพระราชสวามีแล้ว ทรงทูลรับว่า สาธุ แล้วจึงสมาทานอุโบสถใน วันเพ็ญ เปลื้องสรรพาภรณ์ บรรทมเหนือพระยี่ภู่น้อย ทรงอาวัชนาการถึงศีลของพระองค์ ได้ทรงกระทา กิริยาว่า ถ้าข้าพเจ้ารักษาศีลไม่ขาด ขอบุตรของข้าพเจ้าจงเกิดขึ้นด้วยสัจจาวาจานี้ . ด้วยเดชานุภาพแห่งศีลของพระนางจันทาเทวีนั้น. บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ของท้าวสักกเทวราช แสดงอาการร้อน. ท้าวสักกะเมื่อทรงอาวัชนาการก็ทรงทราบเหตุนั้นว่า พระนางจันทาเทวีปรารถนาโอรส ตกลงเราจักให้โอรสแก่พระนางนั้น. ทรงพิจารณาถึงโอรสที่สมควรแก่พระนางก็ทรงเห็นพระโพธิสัตว์. กาลนั้น พระโพธิสัตว์ครองราชสมบัติอยู่ในกรุงพาราณสีได้ยี่สิบปี เคลื่อนจากมนุษยโลกนั้น บังเกิดในอุสสุทนรก เสวยทุกข์อยู่ในนรกนั้นแปดหมื่นปี เคลื่อนจากนรกนั้น บังเกิดในพิภพดาวดึงส์ ตั้งอยู่ ในดาวดึงส์นั้นตลอดอายุ เคลื่อนจากดาวดึงส์นั้น ประสงค์จักไปเทวโลกชั้นสูง. ครั้งนั้น ท้าวสักกะเสด็จไปสู่ สานักของพระโพธิสัตว์ ตรัสว่า ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ เมื่อท่านเกิดในมนุษยโลก บารมีทั้งหลายของท่านจัก เต็มเปี่ยม ความเจริญจักมีแก่ท่านและแก่พระชนกชนนีของท่าน ด้วยว่า พระอัครมเหสีของพระเจ้ากาสิกราช พระนามว่าจันทาเทวี ปรารถนาโอรส. ท่านจงอุบัติในพระครรภ์ของพระนางนั้น แล้วท้าวสักกะทรงถือเอาซึ่ง ปฏิญญาแก่พระโพธิสัตว์นั้น และแก่เทวบุตรทั้งหลายประมาณ ๕๐๐ องค์ผู้จักจุติ แล้วเสด็จกลับไปยังที่ ประทับของพระองค์ทีเดียว. พระโพธิสัตว์นั้นรับคาว่า สาธุ แล้วจุติพร้อมกับเทวบุตร ๕๐๐ องค์. พระองค์เอง ถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระนางจันทาเทวี ส่วนเทวบุตรประมาณ ๕๐๐ องค์นอกนี้ ได้ถือปฏิสนธิใน ครรภ์ของภริยาอมาตย์ทั้งหลาย. กาลนั้น พระครรภ์ของพระนางจันทาเทวี เป็นประหนึ่งเต็มไปด้วยแก้ววิเชียร. พระนางทรง ทราบว่าตั้งครรภ์ จึงกราบทูลแด่พระราชา พระราชาทรงทราบดังนั้น จึงได้พระราชทานครรภ์บริหารแก่พระ นาง. พระนางมีพระครรภ์ครบกาหนดแล้ว ก็ประสูติพระโอรส ซึ่งสมบูรณ์ด้วยบุญลักษณะอันอุดม ภรรยา อมาตย์ทั้งหลายก็คลอดกุมาร ๕๐๐ ในเรือนอมาตย์ ในวันนั้นเหมือนกัน. ขณะนั้น พระราชาประทับอยู่ในที่ เสด็จออก แวดล้อมไปด้วยหมู่อมาตย์ราชบริพาร. ลาดับนั้น เจ้าหน้าที่ทั้งหลายกราบทูลให้ทรงทราบว่า พระราชโอรสของพระองค์ประสูติแล้ว พระเจ้าข้า. พระเจ้ากาสิกราชได้ทรงสดับคาของเจ้าหน้าที่เหล่านั้น ทรงมีความรักในพระโอรสเป็นครั้งแรกเกิดขึ้น ตัดพระฉวีจดพระอัฐิมิญชะ ดารงอยู่เกิดพระปีติซาบซ่าน ภายในพระกมล แม้หทัยของอมาตย์ราชบริพารทั้งหลายก็เกิดเยือกเย็นทั่วกัน พระราชาตรัสถามเหล่า อมาตย์ว่า ท่านทั้งหลายดีใจหรือ? เมื่อลูกชายของเราเกิด. อมาตย์เหล่านั้นกราบทูลว่า พระองค์ตรัสถาม ไย? พระเจ้าข้า เมื่อก่อนพวกข้าพระองค์ไร้ที่พึ่ง บัดนี้ พวกข้าพระองค์มีที่พึ่ง ได้เจ้านายแล้ว. พระเจ้ากาสิกราชได้ทรงสดับคาของเหล่าอมาตย์ ก็เกิดพระปีติปลื้มพระทัย จึงตรัสเรียกมหา
  • 12. 12 เสนาบดีมาตรัสสั่งว่า ท่านมหาเสนาบดีผู้เจริญ ลูกชายของฉันควรจะได้บริวาร ท่านจงไปตรวจดูว่า ในเรือน อมาตย์มีทารกเกิดในวันนี้ เท่านี้ . มหาเสนาบดีรับพระราชบัญชาแล้ว ไปตรวจดูเห็นทารกในเรือนอมาตย์ ๕๐๐ คน จึงกราบทูลให้ทรงทราบ พระราชาได้ทรงสดับคาของอมาตย์เหล่านั้นก็เกิดพระปิติ จึงมีรับสั่งให้ พระราชทานเครื่องประดับสาหรับกุมารแก่ทารกทั้ง ๕๐๐ คน และให้พระราชทานนางนม ๕๐๐ คน. แต่ สาหรับพระมหาสัตว์ พระราชาพระราชทานนางนม ๖๔ นาง ล้วนแต่เป็นนางนมผู้เว้นโทษมีสูงนักเป็นต้น นมไม่ยาน น้านมมีรสหวาน เว้นนางนมที่มีโทษเช่นนั้น เพราะเหตุไร เพราะเมื่อทารกนั่งดื่มนมข้างสตรีที่สูง นัก คอทารกจักยืดยาวเกินไป เมื่อทารกนั่งดื่มนมข้างสตรีเตี้ยนัก กระดูกคอทารกจักหดสั้น. เมื่อทารกนั่ง ดื่มนมข้างสตรีผอมนัก ขาทั้งสองของทารกจักเสียดสีกัน. เมื่อทารกนั่งดื่มนมข้างสตรีอ้วนนัก เท้าทั้งสองของ ทารก จักเพลีย. สตรีมีผิวดานัก น้านมเย็นเกินไป สตรีมีผิวขาวนัก น้านมร้อนเกินไป. เมื่อทารกดื่มนมของ สตรีนมยาน จมูกจักแฟบ. สตรีเป็นโรคหืด มีน้านมเปรี้ยวนัก. เมื่อทารกดื่มโรคมองคร่อ น้านมจักมีรสวิการ ต่างๆ มีเผ็ดจัด เป็นต้น. เพราะเหตุนั้น พระเจ้ากาสิกราชทรงเว้นโทษทั้งปวงเหล่านั้น พระราชทานนางนม ๖๔ คนที่เว้นจากโทษมีสูงนักเป็นต้น นมไม่ยาน น้านมมีรสหวาน. ทรงทาสักการะใหญ่ ได้พระราชทานพร แม้แก่พระนางจันทาเทวี พระนางรับพระพรแล้วถวายคืนไว้ก่อน ในวันขนานพระนามพระโพธิสัตว์ พระเจ้ากาสิกราชทรงทาสักการะ เป็นอันมากแก่เหล่า พราหมณ์ ผู้รู้ลักษณะพยากรณ์ แล้วตรัสถามถึง อันตรายของพระมหาสัตว์. พราหมณ์ผู้รู้ลักษณะพยากรณ์ เหล่านั้น เห็นพระลักษณสมบัติแห่งพระโพธิสัตว์ จึงกราบทูลว่า พระโอรสของพระองค์สมบูรณ์ด้วยบุญ ลักษณะอันอุดม อย่าว่าแต่ทวีปหนึ่งเลย พระโอรสของพระองค์ทรงสามารถครองราชสมบัติ ในมหาทวีปทั้ง ๔ มีทวีปน้อย ๒,๐๐๐ เป็นบริวาร (จักรพรรดิ) อันตรายอะไรๆ จะไม่ปรากฎแก่พระโอรสเลย. พระเจ้ากา สิกราชได้ทรงสดับคาของพราหมณ์เหล่านั้น ก็ดีพระหฤทัย. เมื่อทรงขนานพระนามพระกุมารได้ทรงขนาน พระนามว่าเตมิยกุมาร เพราะเหตุในวันที่พระกุมารประสูติ ฝนตกทั่วกาสิกรัฐ และเพราะพระกุมารประสูติ เป็นเหมือนยังพระหฤทัยแห่งพระราชา และหัวใจแห่งหมู่อมาตย์ และมหาชนให้ชุ่มชื่น. ลาดับนั้น นางนม ทั้งหลายยังพระโพธิสัตว์ ผู้มีพระชนม์ได้หนึ่งเดือนให้สนานประดับองค์ แล้วนาขึ้นเฝ้าพระราชบิดา พระราชาทอดพระเนตรเห็นพระปิโยรส ทรงสวมกอดจุมพิตที่พระเศียรแล้ว ให้พระทับบนพระเพลา ประทับ นั่งรื่นรมย์อยู่ด้วยพระกุมาร ขณะนั้น พวกราชบุรุษนาโจร ๔ คนมาหน้าที่นั่ง. พระราชาทอดพระเนตรเห็น โจรเหล่านั้นแล้ว มีพระราชดารัสสั่งให้ลงพระอาญาโจรเหล่านั้น ให้เอาหวายทั้งหนามเฆี่ยนโจรคนหนึ่ง ๑,๐๐๐ ที ให้จาโจรคนหนึ่งด้วยโซ่ตรวนแล้วส่งเข้าเรือนจา ให้เอาหอกแทงที่สรีระของโจรคนหนึ่ง ให้เอา หลาวเสียบโจรคนหนึ่ง. ครั้งนั้น พระมหาสัตว์ได้ทรงฟังพระดารัสของพระบิดา ทั้งกลัวทั้งสะดุ้ง ทรงจินตนาการว่า โอ พระชนกของเราอาศัยราชสมบัติ ทากรรมอันหนักเกินซึ่งจะไปสู่นรก. วันรุ่งขึ้น พระพี่เลี้ยงนางนม ทั้งหลายให้ พระมหาสัตว์บรรทมเหนือพระแทนที่สิริไสยาสน์ ซึ่งตกแต่งแล้วภายใต้เศวตฉัตร. พระโพธิสัตว์ บรรทมหน่อยหนึ่ง ตื่นบรรทมลืมพระเนตรทั้งสอง ทอดพระเนตรเศวตฉัตรเห็นสิริราชสมบัติอันยิ่งใหญ่. ลาดับนั้น ความกลัวอย่างเหลือเกินได้เกิดขึ้นแก่พระโพธิสัตว์ ผู้ทั้งกลัวทั้งสะดุ้งอยู่เป็นปกติแล้ว พระองค์ทรง ดาริว่า เราจากที่ไหนมาสู่พระราชมณเฑียรนี้ เมื่อทรงใคร่ครวญดูก็ทรงทราบโดยทรงระลึกชาติได้ว่ามาจาก
  • 13. 13 เทวโลก เมื่อทรงทอดพระเนตร ต่อจากนั้นไปอีก ก็ทอดพระเนตรเห็นว่า ไปไหม้อยู่ในอุสสุทนรก เมื่อทรง ทอดพระเนตรต่อจากนั้นไปอีก ก็ทรงทราบว่า พระองค์เป็นพระราชาในพระนครนั้นเทียว เมื่อพระโพธิสัตว์ ทรงพิจารณาอยู่ว่า เราได้ครองราชสมบัติในกรุงพาราณสี ๒๐ ปี แล้วไหม้อยู่ในอุสสุทนรก ๘๐,๐๐๐ ปี. บัดนี้ เราเกิดในเรือนหลวงดุจเรือนโจรนี้ อีก เมื่อวานนี้ เมื่อเขานาโจร ๔ คนมา พระบิดาของเราได้กล่าวผรุ สวาจาเช่นนั้น ซึ่งเป็นเหตุให้ตกนรก หากว่าเราครองราชสมบัติ ก็จักบังเกิดในนรกเสวยทุกข์ใหญ่อีก ดังนี้ ได้เกิดความกลัวเป็นอันมาก พระสรีระซึ่งมีวรรณะดุจทองของพระโพธิสัตว์ ได้เหี่ยวมีวรรณะเศร้าหมอง ราว กะว่าดอกปทุมที่ถูกขยาด้วยมือ ฉะนั้น พระองค์บรรทมจินตนาการอยู่ว่า ทาอย่างไร เราจึงจะพ้นจากพระ ราชมณเฑียรซึ่งดุจเรือนโจรนี้ เสียได้. คราวนั้น เทพธิดาผู้สิงอยู่ที่เศวตฉัตร เคยเป็นมารดาพระโพธิสัตว์ในอัตภาพ ในระหว่างอัตภาพ หนึ่ง ปลอบพระโพธิสัตว์ให้สบายพระทัยแล้วกล่าวว่า พ่อเตมิยกุมาร พ่ออย่าเศร้าโศก อย่าคิด อย่ากลัวเลย ถ้าพ่อประสงค์จะพ้นจากพระราชมณเฑียรนี้ พ่อไม่เป็นคนง่อยเปลี้ยเลย ก็จงเป็นเหมือนคนง่อยเปลี้ย พ่อไม่ เป็นคนหนวก ก็จงเป็นเหมือนคนหนวก พ่อไม่เป็นคนใบ้ ก็จงเป็นเหมือนคนใบ้เถิด พ่อจงอธิษฐานองค์สาม เหล่านี้ อย่างนี้ แล้ว อย่าประกาศความที่พ่อเป็นคนฉลาด. เทพธิดากล่าวแล้ว จึงกล่าวคาถาที่หนึ่งว่า พ่ออย่าแสดงว่า เป็นคนฉลาด. จงให้ชนทั้งปวงรู้กันว่า พ่อเป็นคนโง่. ชนในที่นั้นทั้งหมดจะได้ดู หมิ่นพ่อว่า เป็นคนกาลกรรณี. ความปรารถนาของพ่อจักสาเร็จได้ ด้วยอุบายอย่างนี้ . พระโพธิสัตว์กลับได้ความอุ่นพระหฤทัย เพราะคาของเทพธิดานั้น จึงกล่าวคาถาที่สองว่า ดูก่อนเทพธิดา ข้าพเจ้าจะทาตามคาของท่าน ที่ท่านกล่าวกะข้าพเจ้า ข้าแต่แม่เทพธิดา ท่าน เป็นผู้ใคร่ประโยชน์ เป็นผู้ใคร่เกื้อกูลแก่ข้าพเจ้า. ครั้นกล่าวคาถานี้ แล้ว พระโพธิสัตว์ได้อธิษฐานองค์สามเหล่านั้น เทพธิดานั้นก็อันตรธาน หายไป. ลาดับนั้น พระเจ้ากาสิกราชมีพระดาริว่า ลูกควรจะได้กุมาร ๕๐๐ เหล่านั้นเป็นบริวาร เพื่อเป็น ที่พอใจ จึงรับสั่งให้กุมารทั้ง ๕๐๐ เหล่านั้น นั่งอยู่ในสานักของพระโพธิสัตว์ ทารกเหล่านั้นร้องไห้อยากดื่ม น้านม. ส่วนพระมหาสัตว์ถูกความกลัวนรกคุกคาม ทรงดาริว่า จาเดิมแต่วันนี้ กายของเราแม้เหือดแห้งตาย เสียเลยยังประเสริฐกว่า ดาริดังนี้ จึงไม่ทรงกันแสง นางนมทั้งหลายกราบทูลประพฤติเหตุนั้นแด่พระนางจัน ทาเทวี พระนางก็กราบทูลแด่พระราชา พระราชารับสั่งให้เรียกเหล่าพราหมณ์ผู้รู้ทานายนิมิตมาตรัสถาม พราหมณ์ทั้งหลายได้กราบทูลพระราชาว่า ขอเดชะ นางนมควรจะถวายน้านมแด่พระกุมาร ให้ล่วงเวลา ตามปกติ เมื่อทาอย่างนี้ พระกุมารจะทรงกันแสง จับนมมั่นเสวยเองทีเดียว. ตั้งแต่นั้น นางนมทั้งหลายเมื่อ ถวาย ก็ถวายน้านมแด่พระโพธิสัตว์ ล่วงเวลาตามปกติ บางคราวถวายล่วงเวลาวาระหนึ่ง บางคราวไม่ถวาย น้านมตลอดทั้งวัน. พระโพธิสัตว์ถูกความกลัวนรกคุกคาม แม้พระกายเหี่ยวแห้ง ก็ไม่ทรงกันแสงอยากเสวย นม. ลาดับนั้น พระนางจันทาเทวีเห็นพระโพธิสัตว์ไม่ทรงกันแสง ก็ทรงพระดาริว่า ลูกเราหิวจึงให้ดื่มน้าพระ ถันของพระนางเอง บางคราวนางนมทั้งหลายให้ดื่มน้านม เหล่าทารกที่เหลือต่างร้องไห้ ไม่นอนในเวลา ไม่ได้ดื่มน้านม. พระโพธิสัตว์ไม่ทรงกันแสง ไม่ทรงคร่าครวญ ไม่บรรทม ไม่คู้พระหัตถ์และพระบาท ไม่เปล่ง
  • 14. 14 พระวาจา. ครั้งนั้น นางนมทั้งหลายคิดกันว่า ธรรมดามือและเท้าของคนง่อยเปลี้ยไม่เป็นอย่างนี้ ปลายคาง ของคนใบ้ไม่เป็นอย่างนี้ ช่องหูของคนหนวกก็ไม่เป็นอย่างนี้ จะต้องมีเหตุในพระกุมารนี้ พวกเราจักทดลอง พระกุมาร จึงไม่ถวายน้านมแด่พระโพธิสัตว์นั้นตลอดทั้งวัน ด้วยประสงค์ว่า จักทดลองพระกุมารด้วยเรื่อง นมก่อน. พระโพธิสัตว์แม้เหี่ยวแห้ง ก็ไม่ทรงกันแสง อยากเสวยนม. ครั้งนั้นพระชนนีของพระโพธิสัตว์ตรัสสั่ง ให้นางนมถวายนม ด้วยพระราชเสาวนีย์ว่า ลูกฉันหิว จงให้น้านมแก่เขา. นางนมเหล่านั้น แม้ทดลองไม่ ถวายน้านมในระหว่างๆ อย่างนี้ เป็นเวลาปีหนึ่ง ก็ไม่เห็นความพิรุธของพระโพธิสัตว์. ลาดับนั้น หมู่อมาตย์ กราบทูลพระราชาว่า ขอเดชะ ธรรมดาทารกอายุขวบหนึ่ง ชอบกินขนมและของเคี้ยว พวกข้าพระองค์จัก ทดลองพระกุมารด้วยขนม และของเคี้ยว กราบทูลดังนี้ แล้วให้กุมารทั้ง ๕๐๐ คนเหล่านั้นนั่งใกล้ๆ พระราช กุมาร นาขนมและของเคี้ยวต่างๆ เข้าไปวางไว้ใกล้ๆ พระมหาสัตว์ กล่าวว่า ท่านทั้งหลายจงถือเอาขนมและ ของเคี้ยวเหล่านั้นตามชอบใจ แล้วพากันยืนแอบดูอยู่ พวกทารกที่เหลือทะเลาะยื้อแย่งกันและกัน ถือเอา ขนมและของเคี้ยวมาเคี้ยวกิน. ฝ่ายพระมหาสัตว์ทรงโอวาทพระองค์ว่า แน่ะ พ่อเตมิยกุมาร ถ้าเจ้าประสงค์ นรก ก็จงประสงค์ขนมและของเคี้ยว เป็นผู้กลัวภัยในนรก จึงไม่ทอดพระเนตรดูขนมและของเคี้ยวเลย แม้ ทดลองด้วยขนมและของเคี้ยวในระหว่างๆ อย่างนี้ เป็นเวลาปีหนึ่ง ก็ไม่เห็นความพิรุธของพระโพธิสัตว์. แต่นั้น คณะอมาตย์กราบทูลพระราชาว่า ข้าแต่พระมหาราช ธรรมดาทารกสองขวบชอบผลไม้ น้อยใหญ่ พวกข้าพระองค์จักทดลองพระกุมารด้วยผลไม้ กราบทูลดังนี้ แล้ว นาผลไม้น้อยใหญ่ต่างๆเข้าไป วางไว้ใกล้ๆ พระโพธิสัตว์ แล้วกล่าวว่า ท่านทั้งหลายจงถือเอา ผลไม้น้อยใหญ่เหล่านั้น ตามชอบใจเถิด แล้ว พากันยืนแอบดูอยู่ เหล่าทารกที่เหลือต่างต่อสู้ทุบตีกันและกัน ถือเอาผลไม้เหล่านั้นเคี้ยวกินอยู่. ฝ่ายพระ โพธิสัตว์ก็โอวาทพระองค์ว่า แน่ะพ่อเตมิยกุมาร ถ้าเจ้าประสงค์นรก ก็จงประสงค์ผลไม้น้อยใหญ่ทั้งหลาย เป็นผู้ถูกภัยในนรกคุกคาม ไม่ทอดพระเนตรดูผลไม้น้อยใหญ่เลย แม้ทดลองด้วยผลไม้น้อยใหญ่ในระหว่างๆ อย่างนี้ เป็นเวลาปีหนึ่ง ก็ไม่เห็นความพิรุธของพระโพธิสัตว์. แต่นั้น คณะอมาตย์กราบทูลพระราชาว่า ข้าแต่มหาราช ธรรมดาทารกสามขวบชอบของเล่น พวกข้าพระองค์จักทดลองพระกุมารด้วยของเล่น กราบทูลดังนี้ แล้ว จึงให้ทารูปช้าง เป็นต้นสาเร็จด้วยทอง เป็นต้น วางไว้ใกล้ๆ พระโพธิสัตว์ เหล่าทารกที่เหลือต่างแย่งกันและกันถือเอา ฝ่ายพระมหาสัตว์ ไม่ทรง ทอดพระเนตรดูอะไรๆ เลย แม้ทดลองด้วยของเล่นในระหว่างๆ อย่างนี้ เป็นเวลาหนึ่งปี ก็ไม่เห็นความพิรุธ ของพระโพธิสัตว์. แต่นั้น คณะอมาตย์กราบทูลพระราชาว่า ข้าแต่พระมหาราช ธรรมดาทารกสี่ขวบชอบ โภชนาหาร พวกข้าพระองค์จักทดลองพระกุมารด้วยโภชนาหาร กราบทูลดังนี้ แล้ว จึงน้อมโภชนาหารต่างๆ เข้าถวายพระมหาสัตว์ แม้เหล่าทารกที่เหลือต่างก็ทาเป็นคาๆ บริโภค. ฝ่ายพระมหาสัตว์ทรงโอวาทพระองค์ ว่า แน่ะ พ่อเตมิยกุมาร อัตภาพของเจ้าที่ไม่ได้โภชนะบริโภคนับไม่ถ้วน ทรงกลัวภัยนรก มิได้ทอดพระเนตร ดูโภชนาหารนั้น. ลาดับนั้น พระชนนีของพระโพธิสัตว์ เป็นผู้เหมือนมีพระหฤทัยแตกทาลาย ให้พระโอรส เสวยโภชนาหารด้วยพระหัตถ์ของพระองค์เอง แม้ทดลองด้วยโภชนาหารในระหว่างๆ อย่างนี้ เป็นเวลาปีหนึ่ง ก็ไม่เห็นความพิรุธของพระโพธิสัตว์.
  • 15. 15 แต่นั้น คณะอมาตย์กราบทูลพระราชาว่า ธรรมดาทารกห้าขวบย่อมกลัวไฟ พวกข้าพระองค์ จัก ทดลองพระกุมารด้วยไฟ กราบทูลด้วยนี้ แล้ว ให้ทาเรือนใหญ่มีหลายประตู ที่พระลานหลวง มุงด้วยใบตาล ให้พระมหาสัตว์ซึ่งแวดล้อมด้วยเหล่าทารกที่เหลือ นั่งท่ามกลางทารกเหล่านั้นแล้วจุดไฟ เหล่าทารกที่เหลือ เห็นเรือนไฟลุกโพลง ทั้งกลัวทั้งสะดุ้ง ต่างร้อนลั่นวิ่งหนีไป. ฝ่ายพระมหาสัตว์ทรงดาริว่า ความร้อนแห่ง เพลิงนี้ ยังดีกว่าไหม้ด้วยไฟนรก. พระมหาสัตว์มิได้มีความหวั่นไหวเลย เหมือนพระมหาเถระผู้เข้านิโรธ สมาบัติ. ครั้นเมื่อเพลิงลุกลามมา อมาตย์ทั้งหลายก็อุ้มพระโพธิสัตว์ออกไป แม้ทดลองด้วยไฟในระหว่างๆ อย่างนี้ เป็นเวลาปีหนึ่ง ก็ไม่เห็นความพิรุธของพระโพธิสัตว์. แต่นั้น คณะอมาตย์กราบทูลพระราชาว่า ข้าแต่พระมหาราช ธรรมดาทารกหกขวบย่อมกลัวช้าง ตกมัน พวกข้าพระองค์จักทดลองพระกุมารด้วยช้างตกมัน กราบทูลดังนี้ แล้ว ให้ฝึกช้างเชือกหนึ่งซึ่งฝึกอย่าง ดี ให้พระโพธิสัตว์ซึ่งแวดล้อมด้วยเหล่าทารกที่เหลือ ประทับนั่ง ณ พระลานหลวง แล้วปล่อยช้าง. ช้างนั้น บันลือเสียงโกญจนาท เอางวงตีพื้นดินสาแดงภัยมา เหล่าทารกที่เหลือเห็นช้างตกมัน ก็กลัวมรณภัย จึงวิ่ง หนีไปคนละทิศละทาง. ฝ่ายพระมหาสัตว์เห็นช้างตกมันนั้นมา ทรงคิดว่า เราตายเสียที่งาช้างตกมัน ตัวดุ ร้าย ยังประเสริฐกว่า ไหม้ในนรกอันร้ายกาจ. พระมหาสัตว์ถูกภัยนรกคุกคาม ประทับนั่งตรงนั้นเอง ไม่ หวั่นไหวเลย. ลาดับนั้น ช้างที่ฝึกดีแล้วนั้นเล่นเข้ามาจับพระมหาสัตว์ เหมือนจับกาดอกไม้ วิ่งไปวิ่งมาทาให้ พระมหาสัตว์ลาบากยิ่ง. มหาชนรับพระมหาสัตว์จากงวงช้างแล้วนาออกไป แม้ทดลองด้วยช้างตกมันใน ระหว่างๆ อย่างนี้ เป็นเวลาปีหนึ่ง ก็ไม่เห็นความพิรุธของพระโพธิสัตว์. พระราชตรัสถามพวกราชบุรุษว่า พวกท่านรับพระกุมารนาออกไปในเวลามา พระกุมารไหวมือหรือเท้าบ้างหรือไม่? ราชบุรุษทั้งหลายกราบ ทูลว่า หามิได้เลย พระเจ้าข้า. ทรงหารือว่า พวกเราจะทาอย่างไร. แต่นั้น คณะอมาตย์กราบทูลพระราชาว่า ขอเดชะ ธรรมดาทารกเจ็ดขวบย่อมกลัวงู พวกข้า พระองค์จักทดลองพระกุมารด้วยงู กราบทูลดังนี้ แล้ว จึงให้พระมหาสัตว์กับเหล่าทารกที่เหลือ นั่งที่พระลาน หลวง ปล่อยงูทั้งหลายซึ่งถอดเขี้ยวแล้ว เย็บปากแล้ว ในกาลที่พระโพธิสัตว์ประทับนั่งแวดล้อมไปด้วยเหล่า ทารกที่เหลือ ทารกที่เหลือทั้งหลายเห็นงูดุร้ายเหล่านั้น ก็ร้องลั่นวิ่งหนีไป. ฝ่ายพระมหาสัตว์ทรงพิจารณา ภัยในนรก ทรงดาริว่า ความพินาศไปในปากของงูดุร้ายยังดีกว่าตายในนรกอันร้ายกาจ ดังนี้ แล้ว จึงทรงนิ่ง เฉยเหมือนเข้านิโรธสมาบัติ. คราวนั้น งูทั้งหลายก็เลื้อยมารัดพระสกลกายของพระมหาสัตว์ แผ่พังพานอยู่ บนพระเศียรของพระมหาสัตว์. แม้ในกาลนั้น พระมหาสัตว์ก็มิได้หวั่นไหวเลย แม้ทดลองด้วยงูในระหว่างๆ อย่างนี้ เป็นเวลาปีหนึ่ง ก็มิได้เห็นความพิรุธของพระโพธิสัตว์. พระราชาตรัสถามพวกราชบุรุษว่า พวกท่าน รับพระกุมารนาออกไปในเวลามา พระกุมารไหวมือหรือเท้าบ้างหรือไม่? ราชบุรุษทั้งหลายกราบทูลว่า หา มิได้เลย พระเจ้าข้า. ทรงหารือว่า พวกเราจะทาอย่างไร. แต่นั้น คณะอมาตย์กราบทูลพระราชาว่า ขอเดชะ ธรรมดาทารกแปดขวบย่อมชอบมหรสพ ฟ้อนรา. พวกข้าพระองค์จักทดลองพระกุมารด้วยมหรสพ ฟ้อนรา กราบทูลดังนี้ แล้ว ให้พระกุมารประทับนั่ง ณ พระลานหลวงกับทารก ๕๐๐ คน แล้วให้แสดงมหรสพฟ้อนรา เหล่าทารกที่เหลือเห็นมหรสพ ฟ้อนรา แล้ว ต่างกล่าวว่า ดี ดี พากันหัวเราะเฮฮา. ส่วนพระมหาสัตว์ทรงพิจารณาภัยในนรกว่า ในเวลาที่เราบังเกิด ในนรก ความรื่นเริงหรือโสมนัส ไม่มีแม้ชั่วขณะหนึ่ง จึงนิ่งเฉยมิได้ทอดพระเนตรดูอะไรๆนั้นเลย แม้ทดลอง