SlideShare a Scribd company logo
1 of 6
Download to read offline
1
การบาเพ็ญบารมีของพระผู้มีพระภาคเจ้า ตอนที่ ๒๕ ภิงสจริยา
พลตรี มารวย ส่งทานินทร์
๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๖
เกริ่นนา
ท่านเทวราชผู้เป็นท้าวสหัสนัยน์ พวกอาตมาไม่ใช่นักฟ้อนราของท่าน ไม่ใช่ผู้ควรจะพึงเล่นของ
ท่าน ไม่ใช่ญาติของท่าน ไม่ใช่สหายของท่าน ที่พึงทาการรื่นเริง ท่านอาศัยใครจึงเล่นกับพวกฤๅษี.
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ]
ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก
๔. ภิงสจริยา
ว่าด้วยจริยาของภิงสพราหมณ์
[๓๔] อีกเรื่องหนึ่ง ในกาลที่เราอยู่ในกรุงกาสีซึ่งประเสริฐสุด มีน้องหญิงชาย ๗ คน เกิดใน
ตระกูลโสตถิยพราหมณ์
[๓๕] เราเป็นพี่ของน้องหญิงชายเหล่านั้น ประกอบด้วยหิริและธรรมฝ่ายขาว เราเห็นภพโดย
ความเป็นภัย จึงยินดีอย่างยิ่งในการออกบวช
[๓๖] พวกสหายร่วมใจของเรา ที่มารดาและบิดาส่งมาแล้ว เชื้อเชิญเราด้วยกามทั้งหลายว่า เชิญ
ท่านดารงสกุลเถิด
[๓๗] คาใดที่สหายเหล่านั้นกล่าวแล้ว เป็นเครื่องนาสุขมาให้ในธรรมของคฤหัสถ์ คานั้นเป็น
เหมือนคาหยาบ เสมอด้วยผาลไถที่ร้อนสาหรับเรา
[๓๘] ครั้งนั้น เราปฏิเสธอยู่ สหายเหล่านั้นได้ถามถึงความปรารถนาของเราว่า ท่านปรารถนา
อะไรเล่าเพื่อน ถ้าท่านไม่บริโภคกาม
[๓๙] เราผู้ใคร่ประโยชน์แก่ตน ได้กล่าวแก่สหายผู้แสวงหาประโยชน์เหล่านั้นว่า เราไม่
ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ เรายินดีอย่างยิ่งในการออกบวช
[๔๐] สหายเหล่านั้นฟังคาเราแล้ว ได้บอกแก่มารดาและบิดา มารดาและบิดาได้กล่าวอย่างนี้ ว่า
พ่อผู้เจริญ แม้เราทั้ง ๒ ก็จะบวช
[๔๑] มารดาและบิดาของเราทั้ง ๒ และน้องหญิงชายทั้ง ๗ ของเรา ละทิ้งทรัพย์นับไม่ถ้วน แล้ว
เข้าไปยังป่าใหญ่ ฉะนี้ แล
ภิงสจริยาที่ ๔ จบ
คาอธิบายเพิ่มเติมนามาจากบางส่วนของอรรถกถา
2
ขุททกนิกาย จริยาปิฎก การบาเพ็ญเนกขัมมบารมีเป็นต้น
๔. ภิงสจริยา
อรรถกถาภิงสจริยาที่ ๔
เราเจริญเติบโตอยู่ในกรุงพาราณสี อันเป็นนครประเสริฐของแคว้นที่ได้ชื่อว่า กาสี. พวกเรา
ทั้งหมด ๘ คน คือ พี่ชาย น้องชาย ๗ คน คือ ๖ คนมีอุปกัญจนะเป็นต้นและเรา กับน้องสาวคนเล็กชื่อกัญ
จนเทวี ในกาลนั้นเกิดในตระกูลพราหมณ์มหาศาล ชื่อว่าโสตติยะ เพราะไม่ยินดีในการเชื้อเชิญด้วยมนต์.
ได้ยินว่า ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์บังเกิดเป็นบุตรพราหมณ์มหาศาลมีสมบัติ ๘๐ โกฏิ ในกรุง
พาราณสี มีชื่อว่ากัญจนกุมาร. ครั้นเมื่อกัญจนกุมารเดินได้ ได้มีบุตรอื่นเกิดขึ้นอีกชื่อว่าอุปกัญจนกุมาร.
ตั้งแต่นั้นมา ชนทั้งหลายพากันเรียกพระมหาสัตว์ว่ามหากัญจนกุมาร. โดยลาดับอย่างนี้ ได้มีบุตรชาย ๗ คน.
ส่วนน้องคนเล็กเป็นธิดาคนเดียวชื่อว่ากัญจนเทวี.
พระมหาสัตว์ครั้นเจริญวัยได้ไปเมืองตักกศิลา เล่าเรียนศิลปะทุกอย่างสาเร็จแล้วก็กลับ.
ลาดับนั้น มารดาบิดาประสงค์จะผูกพระมหาสัตว์ให้อยู่ครองเรือน จึงกล่าวว่า พ่อและแม่จะนา
ทาริกาจากตระกูลที่มีชาติเสมอกับตนมาให้ลูก.
พระมหาสัตว์กล่าวว่า แม่และพ่อจ๋า ลูกไม่ต้องการอยู่ครองเรือน เพราะโลกสันนิวาสทั้งหมดมี
ภัยเฉพาะหน้าสาหรับลูกดุจถูกไฟไหม้ ผูกมัดดุจเรือนจา ปรากฏเป็นของน่าเกลียดดุจที่เทขยะ จิตของลูก
มิได้กาหนัดในกามทั้งหลาย. พ่อแม่ยังมีลูกอื่นอยู่อีก ขอให้ลูกเหล่านั้นอยู่ครองเรือนเถิด.
แม้มารดาบิดาสหายทั้งหลายขอร้องก็ไม่ปรารถนา.
ครั้งนั้น พวกสหายถามพระโพธิสัตว์ว่า ดูก่อนสหาย ก็ท่านปรารถนาอะไรเล่า จึงไม่อยาก
บริโภคกาม.
พระโพธิสัตว์จึงบอกถึงอัธยาศัยในการออกบวชของตนแก่สหายเหล่านั้น.
เราเห็นภพทั้งหมดมีกามภพเป็นต้น มีภัยเฉพาะหน้าโดยความเป็นของน่ากลัว ดุจเห็นช้างดุ
แล่นมา ดุจเห็นเพชฌฆาตเงื้อมดาบมาเพื่อประหาร ดุจเห็นสีหะ ยักษ์ รากษส สัตว์มีพิษร้าย อสรพิษและ
ถ่านเพลิงที่ร้อน แล้วยินดีในบรรพชา เพื่อพ้นจากนั้น ออกบวชคิดว่า เราพึงบาเพ็ญสัมมาปฏิบัติอันเป็น
ธรรมจริยา และพึงยังฌานและสมาบัติให้เกิดขึ้นได้อย่างไรหนอ ดังนี้ จึงยินดีในบรรพชา กุศลธรรมและ
ปฐมฌานเป็นต้น ในกาลนั้น.
สหายของเราเหล่านั้นรู้ความพอใจในบรรพชาของเราไม่เปลี่ยนแปลง จึงบอกคาของเราอัน
แสดงถึงความใคร่จะบรรพชาแก่บิดาและมารดา ได้กล่าวว่า พ่อแม่ทั้งหลายท่านจงรู้เถิด มหากาญจนกุมาร
จักบวช โดยส่วนเดียวเท่านั้น. มหากาญจนกุมารนั้น ใครๆ ไม่สามารถจะนาเข้าไปในกามทั้งหลายด้วย
อุบายไรๆ ได้.
ในกาลนั้น มารดาบิดาของเราฟังคาของเราที่พวกสหายของเราบอก จึงกล่าวอย่างนี้ ว่า ท่านผู้
เจริญ พวกเราทั้งหมดจะบวชบ้าง. ผิว่า มหากาญจนกุมารชอบใจการบวช แม้พวกเราก็ชอบใจสิ่งที่ลูกเรา
ชอบ เพราะฉะนั้น เราทั้งหมดก็จะบวช.
3
น้องชาย ๖ มีอุปกัญจนะเป็นต้นและน้องสาวกัญจนเทวี รู้ความพอใจในบรรพชาของพระมหา
สัตว์ ได้ประสงค์จะบวชเหมือนกัน. ด้วยเหตุนั้น แม้ชนเหล่านั้นอันมารดาเชื้อเชิญให้อยู่ครองเรือนก็ไม่
ปรารถนา. เพราะฉะนั้น จึงกล่าวอย่างนี้ ว่า เราทั้งหมดก็จะบวชเหมือนกันนะท่านพราหมณ์ทั้งหลาย.
ก็และครั้นสหายทั้งหลายกล่าวอย่างนี้ แล้ว มารดาบิดาจึงเรียกพระมหาสัตว์แจ้งความประสงค์
แม้ของตนๆ แก่พระมหาสัตว์แล้วกล่าวว่า ลูกรัก ถ้าลูกประสงค์จะบวชให้ได้ ลูกจงสละทรัพย์ ๘๐ โกฏิอัน
เป็นของลูกตามสบายเถิด.
ลาดับนั้น พระมหาบุรุษบริจาคทรัพย์นั้นแก่คนยากจนและคนเดินทางเป็นต้น แล้วออกบวชเข้า
ไปยังหิมวันตประเทศ.
มารดาบิดา น้องชาย ๖ น้องหญิง ๑ ทาส ๑ ทาสี ๑ และสหาย ๑ ละฆราวาสได้ไปกับพระมหา
สัตว์นั้น.
ก็ครั้นชนเหล่านั้นมีพระโพธิสัตว์เป็นประมุข เข้าไปยังหิมวันตประเทศอย่างนั้นแล้ว จึงอาศัยสระ
ปทุมสระหนึ่ง สร้างอาศรมในภูมิภาคอันน่ารื่นรมย์ บวชแล้ว ยังชีวิตให้เป็นไปด้วยอาหารอันเป็นรากไม้และ
ผลไม้ในป่า.
บรรดานักบวชเหล่านั้น ชน ๘ คนมีอุปกัญจนะเป็นต้น ผลัดเวรกันหาผลไม้ แบ่งส่วนของตน
และคนนอกนั้นไว้บนแผ่นหินแผ่นหนึ่ง ให้สัญญาระฆัง ถือเอาส่วนของตนๆ เข้าไปยังที่อยู่. แม้พวกที่เหลือก็
ออกจากบรรณศาลาด้วยสัญญาณระฆัง ถือเอาส่วนที่ถึงของตนๆ ไปยังที่อยู่บริโภคแล้วบาเพ็ญสมณธรรม.
ครั้นต่อมาได้นาเอาเหง้าบัวมาบริโภคเหมือนอย่างนั้น. ฤๅษีเหล่านั้นมีความเพียรกล้า มีอินทรีย์
มั่นคงอย่างยิ่ง กระทากสิณบริกรรมอยู่ ณ ที่นั้น.
ลาดับนั้น ด้วยเดชแห่งศีลของฤๅษีเหล่านั้น ภพของท้าวสักกะหวั่นไหว ท้าวสักกะทราบเหตุนั้น
ทรงดาริว่าจักทดลองฤๅษีเหล่านี้ ด้วยอานุภาพของตนจึงทาให้ส่วนของพระมหาสัตว์หายไปตลอด ๓ วัน.
ในวันแรกพระมหาสัตว์ไม่เห็นส่วนของตน คิดว่า คงจะลืมส่วนของเรา.
ในวันที่ ๒ คิดว่า เราจะมีความผิดกระมัง. ไม่ตั้งส่วนของเราคงจะไล่เรากระมัง.
ในวันที่ ๓ คิดว่า เราจักฟังเหตุการณ์นั้นแล้วจักให้ขอขมา จึงให้สัญญาณระฆังในเวลาเย็น เมื่อ
ฤๅษีทั้งหมดประชุมกันด้วยสัญญาณนั้น จึงบอกเรื่องนั้นให้ทราบ
ครั้นฟังว่า ฤๅษีเหล่านั้นได้แบ่งส่วนไว้ให้ทั้ง ๓ วัน จึงกล่าวว่า พวกท่านแบ่งส่วนไว้ให้เรา แต่เรา
ไม่ได้ มันเรื่องอะไรกัน?
ฤๅษีทั้งหมดฟังดังนั้นก็ได้ถึงความสังเวช.
ณ อาศรมนั้น แม้รุกขเทวดาก็ลงมาจากภพของตน นั่งในสานักของฤๅษีเหล่านั้น. ช้างเชือกหนึ่ง
หนีจากเงื้อมมือของพวกมนุษย์เข้าป่า. วานรตัวหนึ่งหนีจากเงื้อมมือของหมองูพ้นแล้ว เพราะจะให้เล่นกับงู
ได้ทาความสนิทสนมกับฤๅษีเหล่านั้น ในกาลนั้นก็ได้ไปหาฤๅษีเหล่านั้น ได้ยืนอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่ง.
ในขณะนั้น อุปกัญจนดาบสน้องของพระโพธิสัตว์ ลุกขึ้นไหว้พระโพธิสัตว์ แล้วแสดงความเคารพ
พวกที่เหลือ ถามขึ้นว่า ข้าพเจ้าเริ่มตั้งสัญญาณแล้วจะได้เพื่อยังตนให้บริสุทธิ์หรือ เมื่อฤๅษีเหล่านั้นกล่าวว่า
ได้ซิ จึงยืนขึ้นในท่ามกลางหมู่ฤๅษี.
4
เมื่อจะทาการแช่ง จึงได้กล่าวคาถานี้ ว่า
ท่านพราหมณ์ผู้ใดได้ลักเหง้าบัวของท่านไป ผู้นั้นจงได้ม้า โค ทอง เงิน ภริยาและสิ่งพอใจ ณ
ที่นี้ จงพรั่งพร้อมด้วยบุตรและภริยาเถิด.
เพราะอุปกัญจนดาบสนั้นตาหนิวัตถุกามว่า ความทุกข์ทั้งหลายย่อมเกิดขึ้น ในเพราะการพลัด
พรากจากวัตถุอันเป็นที่รัก จึงกล่าวคาถานี้ .
หมู่ฤๅษีได้ฟังดังนั้นจึงปิดหูด้วยกล่าวว่า ท่านผู้นิรทุกข์ ท่านอย่ากล่าวอย่างนั้น คาแช่งของท่าน
หนักเกินไป.
แม้พระโพธิสัตว์ก็กล่าวว่า คาแช่งของท่านหนักเกินไป อย่าถือเอาเลยพ่อคุณ นั่งลงเถิด.
แม้ฤๅษีที่เหลือก็ทาการแช่ง ได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ตามลาดับว่า
ท่านพราหมณ์ ผู้ใดได้ลักเหง้าบัวของท่านไป ผู้นั้นจงทรงไว้ซึ่งมาลัยและจันทน์แดง จากแคว้น
กาสี. สมบัติเป็นอันมากจงมีแก่บุตร.จงทาความเพ่งอย่างแรงกล้าในกามทั้งหลาย.
ท่านพราหมณ์ ผู้ใดได้ลักเหง้าบัวของท่าน ผู้นั้นจงมีข้าวเปลือกมาก สมบูรณ์ด้วยกสิกรรม มียศ
จงได้บุตร จงเป็นคฤหัสถ์ จงมีทรัพย์ จงได้สิ่งที่ปรารถนาทุกอย่าง ไม่เห็นความเสื่อม จงครองเรือน.
ท่านพราหมณ์ ผู้ใดได้ลักเหง้าบัวของท่าน ผู้นั้นเป็นกษัตริย์ จงเป็นผู้ทาการข่มขี่ จงเป็น
พระราชายิ่งกว่าพระราชา ทรงพลัง จงมียศ จงครองแผ่นดินพร้อมด้วยทวีปทั้ง ๔ เป็นที่สุด.
ท่านพราหมณ์ ผู้ใดได้ลักเหง้าบัวของท่าน ผู้นั้นเป็นพราหมณ์ จงไม่ปราศจากราคะ จงขวนขวาย
ในฤกษ์ยาม และในวิถีโคจรของนักษัตรผู้เป็นเจ้าแว่นแคว้น มียศ จงบูชาผู้นั้น.
ท่านพราหมณ์ ผู้ใดได้ลักเหง้าบัวของท่าน โลกทั้งปวง จงสาคัญผู้นั้นว่า ผู้คงแก่เรียน ผู้มีเวท
พร้อมด้วยมนต์ทุกอย่าง ผู้มีตบะ. ชาวชนบทพิจารณาเห็นแล้ว จงบูชาผู้นั้น.
ท่านพราหมณ์ ผู้ใดได้ลักเหง้าบัวของท่าน ผู้นั้นจงบริโภค บ้านส่วยอันหนาแน่นด้วยสิ่งทั้ง ๔ อัน
บริบูรณ์พร้อมที่ท้าววาสวะประทาน จงไม่ปราศจากราคะ เข้าถึงมรณะ.
ท่านพราหมณ์ ผู้ใดได้ลักเหง้าบัวของท่าน ผู้นั้นเป็นผู้ใหญ่บ้าน จงบันเทิงอยู่ด้วยการฟ้อนรา
การขับร้องในท่ามกลางสหาย ผู้นั้นอย่าได้ความเสื่อมเสียไรๆ จากพระราชา.
ท่านพราหมณ์ หญิงใดได้ลักเหง้าบัวของท่าน หญิงนั้นเป็นอัครชายา ทรงชนะหญิงทั่วปฐพี จง
ดารงอยู่ในความเป็นผู้เลิศกว่าหญิง ๑,๐๐๐ จงเป็นผู้ประเสริฐกว่าหญิงทั่วแดน.
ท่านพราหมณ์ หญิงใดได้ลักเหง้าบัวของท่าน หญิงนั้น ไม่หวั่นไหว บริโภคของอร่อยใน
ท่ามกลางฤๅษีทั้งหลาย ที่ประชุมกันทั้งหมด. จงเที่ยวอวดด้วยลาภ.
ท่านพราหมณ์ ผู้ใดได้ลักเหง้าบัวของท่าน ผู้นั้นจงเป็นผู้ดูแลวัดในมหาวิหาร จงเป็นผู้ดูแลการ
ก่อสร้าง ในคชังคลนคร จงทาหน้าต่างเสร็จเพียงวันเดียว.
ท่านพราหมณ์ ช้างใดได้ลักเหง้าบัวของท่าน ช้างนั้นถูกคล้องด้วยบ่วง ๑๐๐ บ่วงในที่ ๖ แห่ง จง
นาออกจากป่าน่ารื่นรมย์ไปสู่ราชธานี ช้างนั้นถูกเบียดเบียนด้วยขอมีด้ามยาว.
ท่านพราหมณ์วานรใดได้ลักเหง้าบัวของท่าน วานรนั้น ประดับดอกรักที่คอ หลังหูประดับด้วย
ดีบุก ถูกเฆี่ยนด้วยไม้เรียว จงนาเข้าไปต่อหน้างู ผูกติดกับผ้าเคียนพุง จงเที่ยวไปตลอด.
5
ฤๅษีเหล่านั้นเกลียดการบริโภคกาม การอยู่ครองเรือนและทุกข์ที่ตนได้รับทั้งหมด จึงกล่าวแช่ง
อย่างนั้นๆ.
ลาดับนั้น พระโพธิสัตว์ดาริว่า เมื่อดาบสเหล่านี้ ทาการแช่ง แม้เราก็ควรทาบ้าง.
เมื่อจะทาการแช่ง จึงกล่าวคาถานี้ ว่า
ผู้ใดแลกล่าวสิ่งที่ไม่สูญหายว่าสูญหาย ผู้นั้นจงได้และจงบริโภคกามทั้งหลาย หรือว่าข้าแต่เทวะ
ผู้เจริญทั้งหลาย ผู้ใดไม่เคลือบแคลงอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้นั้นจงเข้าถึงมรณะในท่ามกลางเรือนเถิด.
ลาดับนั้น ท้าวสักกะทรงทราบว่า ฤๅษีทั้งหมดเหล่านี้ ไม่มีความเพ่งในกามทั้งหลาย จึงทรงสลด
พระทัย เมื่อจะทรงแสดงว่า บรรดาฤๅษีเหล่านี้ แม้ผู้ใดผู้หนึ่งก็มิได้นาเหง้าบัวไป. แม้ท่านก็มิได้กล่าวถึงสิ่งที่
ไม่สูญหายว่าหาย.
ที่แท้ ข้าพเจ้าประสงค์จะทดลองพวกท่านจึงทาให้หายไปดังนี้ จึงกล่าวคาถาสุดท้ายว่า
ข้าพเจ้า เมื่อจะทดลองจึงถือเอาเหง้าบัว ของฤๅษีที่ฝั่งแม่น้า แล้วเก็บไว้บนบก. ฤๅษีทั้งหลาย
เป็นผู้บริสุทธิ์ ไม่ลามก ย่อมอาศัยอยู่. ท่านผู้ประพฤติพรหมจรรย์ นี่เหง้าบัวของท่าน.
พระโพธิสัตว์ได้สดับดังนั้น จึงต่อว่าท้าวสักกะว่า
ท่านเทวราชผู้เป็นท้าวสหัสนัยน์ พวกอาตมาไม่ใช่นักฟ้อนราของท่าน ไม่ใช่ผู้ควรจะพึงเล่นของ
ท่าน ไม่ใช่ญาติของท่าน ไม่ใช่สหายของท่าน ที่พึงทาการรื่นเริง ท่านอาศัยใครจึงเล่นกับพวกฤๅษี.
ลาดับนั้น ท้าวสักกะทรงขอให้ฤๅษีนั้นยกโทษให้ด้วยพระดารัสว่า
ข้าแต่ท่านผู้เป็นดังพรหม ท่านเป็นอาจารย์ของข้าพเจ้า และเป็นบิดาของข้าพเจ้า เงาเท้าของ
ท่านนี้ จงเป็นที่พึ่งแห่งความผิดพลาดของข้าพเจ้า ท่านผู้มีปัญญาดุจแผ่นดิน ขอท่านจงอดโทษสักครั้งเถิด
บัณฑิตทั้งหลายย่อมไม่มีความโกรธเป็นกาลัง.
พระมหาสัตว์ได้ยกโทษให้แก่ท้าวสักกเทวราชแล้ว ตนเองเมื่อจะยังหมู่ฤๅษีให้ยกโทษให้ จึงกล่าว
ว่า
การอยู่ในป่าของพวกฤๅษี แม้คืนเดียวก็เป็นการอยู่ที่ดี พวกเราได้เห็นท้าววาสวะภูตบดี. ท่านผู้
เจริญทั้งหลายจงดีใจเถิด เพราะพราหมณ์ใดได้เหง้าบัวคืนแล้ว.
ท้าวสักกะทรงไหว้หมู่ฤๅษีแล้วกลับสู่เทวโลก.
แม้หมู่ฤๅษียังฌานและอภิญญาให้เกิด แล้วได้ไปสู่พรหมโลก.
น้องชายทั้ง ๖ คนมีอุปกัญจนะเป็นต้น ในครั้งนั้นได้เป็นพระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ พระ
มหากัสสปะ พระอนุรุทธะและพระอานนทเถระ ในครั้งนี้ .
น้องสาว คือนางอุบลวรรณา.
ทาสี คือนางขุชชุตตรา.
ทาส คือจิตตคฤหบดี.
รุกขเทวดา คือสาตาถิระ.
ช้าง คือช้างปาลิไลยยะ.
วานร คือมธุวาสิฏฐะ.
6
ท้าวสักกะ คือกาฬุทายี.
มหากัญจนดาบส คือพระโลกนาถ.
จบอรรถกถาภิงสจริยาที่ ๔
-----------------------------------------------------

More Related Content

Similar to 25 ภิงสจริยา มจร.pdf

26 โสณนันทปัณฑิตจริยา มจร.pdf
26 โสณนันทปัณฑิตจริยา มจร.pdf26 โสณนันทปัณฑิตจริยา มจร.pdf
26 โสณนันทปัณฑิตจริยา มจร.pdfmaruay songtanin
 
๐๓ อัคคัญญสูตร มจร.pdf
๐๓ อัคคัญญสูตร มจร.pdf๐๓ อัคคัญญสูตร มจร.pdf
๐๓ อัคคัญญสูตร มจร.pdfmaruay songtanin
 
37 วิสัยหชาดก มจร.pdf
37 วิสัยหชาดก มจร.pdf37 วิสัยหชาดก มจร.pdf
37 วิสัยหชาดก มจร.pdfmaruay songtanin
 
13 ภูริทัตตจริยา มจร.pdf
13 ภูริทัตตจริยา มจร.pdf13 ภูริทัตตจริยา มจร.pdf
13 ภูริทัตตจริยา มจร.pdfmaruay songtanin
 
18 มาตังคจริยา มจร.pdf
18 มาตังคจริยา มจร.pdf18 มาตังคจริยา มจร.pdf
18 มาตังคจริยา มจร.pdfmaruay songtanin
 
28 กปิลราชจริยา มจร.pdf
28 กปิลราชจริยา มจร.pdf28 กปิลราชจริยา มจร.pdf
28 กปิลราชจริยา มจร.pdfmaruay songtanin
 
17 รุรุราชจริยา มจร.pdf
17 รุรุราชจริยา มจร.pdf17 รุรุราชจริยา มจร.pdf
17 รุรุราชจริยา มจร.pdfmaruay songtanin
 
23 โสมนัสสจริยา มจร.pdf
23 โสมนัสสจริยา มจร.pdf23 โสมนัสสจริยา มจร.pdf
23 โสมนัสสจริยา มจร.pdfmaruay songtanin
 
08 จันทกุมารจริยา มจร.pdf
08 จันทกุมารจริยา มจร.pdf08 จันทกุมารจริยา มจร.pdf
08 จันทกุมารจริยา มจร.pdfmaruay songtanin
 
33 สุตโสมจริยา มจร.pdf
33 สุตโสมจริยา มจร.pdf33 สุตโสมจริยา มจร.pdf
33 สุตโสมจริยา มจร.pdfmaruay songtanin
 
15 จูฬโพธิจริยา มจร.pdf
15 จูฬโพธิจริยา มจร.pdf15 จูฬโพธิจริยา มจร.pdf
15 จูฬโพธิจริยา มจร.pdfmaruay songtanin
 
20 ชยทิสจริยา มจร.pdf
20 ชยทิสจริยา มจร.pdf20 ชยทิสจริยา มจร.pdf
20 ชยทิสจริยา มจร.pdfmaruay songtanin
 
๒๐ มหาปรินิพพานสูตร มจร ตอนที่ ๒.pdf
๒๐ มหาปรินิพพานสูตร มจร ตอนที่ ๒.pdf๒๐ มหาปรินิพพานสูตร มจร ตอนที่ ๒.pdf
๒๐ มหาปรินิพพานสูตร มจร ตอนที่ ๒.pdfmaruay songtanin
 
Tri91 15+ทีฆนิกาย+ปาฏิกวรรค+เล่ม+๓+ภาค+๑ (1)
Tri91 15+ทีฆนิกาย+ปาฏิกวรรค+เล่ม+๓+ภาค+๑ (1)Tri91 15+ทีฆนิกาย+ปาฏิกวรรค+เล่ม+๓+ภาค+๑ (1)
Tri91 15+ทีฆนิกาย+ปาฏิกวรรค+เล่ม+๓+ภาค+๑ (1)Tongsamut vorasan
 

Similar to 25 ภิงสจริยา มจร.pdf (20)

ไตรภูมิพระร่วงสมบูรณ์
ไตรภูมิพระร่วงสมบูรณ์ไตรภูมิพระร่วงสมบูรณ์
ไตรภูมิพระร่วงสมบูรณ์
 
ไตรภูมิพระร่วงสมบูรณ์
ไตรภูมิพระร่วงสมบูรณ์ไตรภูมิพระร่วงสมบูรณ์
ไตรภูมิพระร่วงสมบูรณ์
 
26 โสณนันทปัณฑิตจริยา มจร.pdf
26 โสณนันทปัณฑิตจริยา มจร.pdf26 โสณนันทปัณฑิตจริยา มจร.pdf
26 โสณนันทปัณฑิตจริยา มจร.pdf
 
๐๓ อัคคัญญสูตร มจร.pdf
๐๓ อัคคัญญสูตร มจร.pdf๐๓ อัคคัญญสูตร มจร.pdf
๐๓ อัคคัญญสูตร มจร.pdf
 
37 วิสัยหชาดก มจร.pdf
37 วิสัยหชาดก มจร.pdf37 วิสัยหชาดก มจร.pdf
37 วิสัยหชาดก มจร.pdf
 
13 ภูริทัตตจริยา มจร.pdf
13 ภูริทัตตจริยา มจร.pdf13 ภูริทัตตจริยา มจร.pdf
13 ภูริทัตตจริยา มจร.pdf
 
18 มาตังคจริยา มจร.pdf
18 มาตังคจริยา มจร.pdf18 มาตังคจริยา มจร.pdf
18 มาตังคจริยา มจร.pdf
 
28 กปิลราชจริยา มจร.pdf
28 กปิลราชจริยา มจร.pdf28 กปิลราชจริยา มจร.pdf
28 กปิลราชจริยา มจร.pdf
 
17 รุรุราชจริยา มจร.pdf
17 รุรุราชจริยา มจร.pdf17 รุรุราชจริยา มจร.pdf
17 รุรุราชจริยา มจร.pdf
 
นัด
นัดนัด
นัด
 
23 โสมนัสสจริยา มจร.pdf
23 โสมนัสสจริยา มจร.pdf23 โสมนัสสจริยา มจร.pdf
23 โสมนัสสจริยา มจร.pdf
 
08 จันทกุมารจริยา มจร.pdf
08 จันทกุมารจริยา มจร.pdf08 จันทกุมารจริยา มจร.pdf
08 จันทกุมารจริยา มจร.pdf
 
33 สุตโสมจริยา มจร.pdf
33 สุตโสมจริยา มจร.pdf33 สุตโสมจริยา มจร.pdf
33 สุตโสมจริยา มจร.pdf
 
15 จูฬโพธิจริยา มจร.pdf
15 จูฬโพธิจริยา มจร.pdf15 จูฬโพธิจริยา มจร.pdf
15 จูฬโพธิจริยา มจร.pdf
 
fff
ffffff
fff
 
20 ชยทิสจริยา มจร.pdf
20 ชยทิสจริยา มจร.pdf20 ชยทิสจริยา มจร.pdf
20 ชยทิสจริยา มจร.pdf
 
๒๐ มหาปรินิพพานสูตร มจร ตอนที่ ๒.pdf
๒๐ มหาปรินิพพานสูตร มจร ตอนที่ ๒.pdf๒๐ มหาปรินิพพานสูตร มจร ตอนที่ ๒.pdf
๒๐ มหาปรินิพพานสูตร มจร ตอนที่ ๒.pdf
 
เกด
เกดเกด
เกด
 
Tri91 15+ทีฆนิกาย+ปาฏิกวรรค+เล่ม+๓+ภาค+๑ (1)
Tri91 15+ทีฆนิกาย+ปาฏิกวรรค+เล่ม+๓+ภาค+๑ (1)Tri91 15+ทีฆนิกาย+ปาฏิกวรรค+เล่ม+๓+ภาค+๑ (1)
Tri91 15+ทีฆนิกาย+ปาฏิกวรรค+เล่ม+๓+ภาค+๑ (1)
 
ทสชาติชาดก(ย่อ)
ทสชาติชาดก(ย่อ)ทสชาติชาดก(ย่อ)
ทสชาติชาดก(ย่อ)
 

More from maruay songtanin

๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...
๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...
๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...maruay songtanin
 
๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....maruay songtanin
 
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...maruay songtanin
 
๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...maruay songtanin
 
๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...maruay songtanin
 
๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....maruay songtanin
 
๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...maruay songtanin
 
๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...maruay songtanin
 
๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...maruay songtanin
 
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....maruay songtanin
 
๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docx
๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docx๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docx
๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docxmaruay songtanin
 
Operational Resilience ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน.pdf
Operational Resilience  ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน.pdfOperational Resilience  ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน.pdf
Operational Resilience ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน.pdfmaruay songtanin
 
๘๕. สุนิกขิตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๘๕. สุนิกขิตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...๘๕. สุนิกขิตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๘๕. สุนิกขิตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...maruay songtanin
 
๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...maruay songtanin
 
๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...maruay songtanin
 
๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...maruay songtanin
 
๘๑. กัณฐกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๘๑. กัณฐกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...๘๑. กัณฐกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๘๑. กัณฐกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...maruay songtanin
 
๘๐. โคปาลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๘๐. โคปาลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...๘๐. โคปาลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๘๐. โคปาลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...maruay songtanin
 
๗๙. อัมพวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๗๙. อัมพวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๗๙. อัมพวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๗๙. อัมพวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....maruay songtanin
 
๗๘. สุวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๗๘. สุวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...๗๘. สุวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๗๘. สุวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...maruay songtanin
 

More from maruay songtanin (20)

๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...
๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...
๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...
 
๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
 
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...
 
๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
 
๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
 
๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
 
๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
 
๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
 
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
 
๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docx
๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docx๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docx
๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docx
 
Operational Resilience ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน.pdf
Operational Resilience  ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน.pdfOperational Resilience  ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน.pdf
Operational Resilience ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน.pdf
 
๘๕. สุนิกขิตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๘๕. สุนิกขิตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...๘๕. สุนิกขิตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๘๕. สุนิกขิตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
 
๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
 
๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
 
๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
 
๘๑. กัณฐกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๘๑. กัณฐกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...๘๑. กัณฐกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๘๑. กัณฐกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
 
๘๐. โคปาลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๘๐. โคปาลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...๘๐. โคปาลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๘๐. โคปาลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
 
๗๙. อัมพวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๗๙. อัมพวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๗๙. อัมพวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๗๙. อัมพวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
 
๗๘. สุวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๗๘. สุวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...๗๘. สุวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๗๘. สุวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 

25 ภิงสจริยา มจร.pdf

  • 1. 1 การบาเพ็ญบารมีของพระผู้มีพระภาคเจ้า ตอนที่ ๒๕ ภิงสจริยา พลตรี มารวย ส่งทานินทร์ ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๖ เกริ่นนา ท่านเทวราชผู้เป็นท้าวสหัสนัยน์ พวกอาตมาไม่ใช่นักฟ้อนราของท่าน ไม่ใช่ผู้ควรจะพึงเล่นของ ท่าน ไม่ใช่ญาติของท่าน ไม่ใช่สหายของท่าน ที่พึงทาการรื่นเริง ท่านอาศัยใครจึงเล่นกับพวกฤๅษี. พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก ๔. ภิงสจริยา ว่าด้วยจริยาของภิงสพราหมณ์ [๓๔] อีกเรื่องหนึ่ง ในกาลที่เราอยู่ในกรุงกาสีซึ่งประเสริฐสุด มีน้องหญิงชาย ๗ คน เกิดใน ตระกูลโสตถิยพราหมณ์ [๓๕] เราเป็นพี่ของน้องหญิงชายเหล่านั้น ประกอบด้วยหิริและธรรมฝ่ายขาว เราเห็นภพโดย ความเป็นภัย จึงยินดีอย่างยิ่งในการออกบวช [๓๖] พวกสหายร่วมใจของเรา ที่มารดาและบิดาส่งมาแล้ว เชื้อเชิญเราด้วยกามทั้งหลายว่า เชิญ ท่านดารงสกุลเถิด [๓๗] คาใดที่สหายเหล่านั้นกล่าวแล้ว เป็นเครื่องนาสุขมาให้ในธรรมของคฤหัสถ์ คานั้นเป็น เหมือนคาหยาบ เสมอด้วยผาลไถที่ร้อนสาหรับเรา [๓๘] ครั้งนั้น เราปฏิเสธอยู่ สหายเหล่านั้นได้ถามถึงความปรารถนาของเราว่า ท่านปรารถนา อะไรเล่าเพื่อน ถ้าท่านไม่บริโภคกาม [๓๙] เราผู้ใคร่ประโยชน์แก่ตน ได้กล่าวแก่สหายผู้แสวงหาประโยชน์เหล่านั้นว่า เราไม่ ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ เรายินดีอย่างยิ่งในการออกบวช [๔๐] สหายเหล่านั้นฟังคาเราแล้ว ได้บอกแก่มารดาและบิดา มารดาและบิดาได้กล่าวอย่างนี้ ว่า พ่อผู้เจริญ แม้เราทั้ง ๒ ก็จะบวช [๔๑] มารดาและบิดาของเราทั้ง ๒ และน้องหญิงชายทั้ง ๗ ของเรา ละทิ้งทรัพย์นับไม่ถ้วน แล้ว เข้าไปยังป่าใหญ่ ฉะนี้ แล ภิงสจริยาที่ ๔ จบ คาอธิบายเพิ่มเติมนามาจากบางส่วนของอรรถกถา
  • 2. 2 ขุททกนิกาย จริยาปิฎก การบาเพ็ญเนกขัมมบารมีเป็นต้น ๔. ภิงสจริยา อรรถกถาภิงสจริยาที่ ๔ เราเจริญเติบโตอยู่ในกรุงพาราณสี อันเป็นนครประเสริฐของแคว้นที่ได้ชื่อว่า กาสี. พวกเรา ทั้งหมด ๘ คน คือ พี่ชาย น้องชาย ๗ คน คือ ๖ คนมีอุปกัญจนะเป็นต้นและเรา กับน้องสาวคนเล็กชื่อกัญ จนเทวี ในกาลนั้นเกิดในตระกูลพราหมณ์มหาศาล ชื่อว่าโสตติยะ เพราะไม่ยินดีในการเชื้อเชิญด้วยมนต์. ได้ยินว่า ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์บังเกิดเป็นบุตรพราหมณ์มหาศาลมีสมบัติ ๘๐ โกฏิ ในกรุง พาราณสี มีชื่อว่ากัญจนกุมาร. ครั้นเมื่อกัญจนกุมารเดินได้ ได้มีบุตรอื่นเกิดขึ้นอีกชื่อว่าอุปกัญจนกุมาร. ตั้งแต่นั้นมา ชนทั้งหลายพากันเรียกพระมหาสัตว์ว่ามหากัญจนกุมาร. โดยลาดับอย่างนี้ ได้มีบุตรชาย ๗ คน. ส่วนน้องคนเล็กเป็นธิดาคนเดียวชื่อว่ากัญจนเทวี. พระมหาสัตว์ครั้นเจริญวัยได้ไปเมืองตักกศิลา เล่าเรียนศิลปะทุกอย่างสาเร็จแล้วก็กลับ. ลาดับนั้น มารดาบิดาประสงค์จะผูกพระมหาสัตว์ให้อยู่ครองเรือน จึงกล่าวว่า พ่อและแม่จะนา ทาริกาจากตระกูลที่มีชาติเสมอกับตนมาให้ลูก. พระมหาสัตว์กล่าวว่า แม่และพ่อจ๋า ลูกไม่ต้องการอยู่ครองเรือน เพราะโลกสันนิวาสทั้งหมดมี ภัยเฉพาะหน้าสาหรับลูกดุจถูกไฟไหม้ ผูกมัดดุจเรือนจา ปรากฏเป็นของน่าเกลียดดุจที่เทขยะ จิตของลูก มิได้กาหนัดในกามทั้งหลาย. พ่อแม่ยังมีลูกอื่นอยู่อีก ขอให้ลูกเหล่านั้นอยู่ครองเรือนเถิด. แม้มารดาบิดาสหายทั้งหลายขอร้องก็ไม่ปรารถนา. ครั้งนั้น พวกสหายถามพระโพธิสัตว์ว่า ดูก่อนสหาย ก็ท่านปรารถนาอะไรเล่า จึงไม่อยาก บริโภคกาม. พระโพธิสัตว์จึงบอกถึงอัธยาศัยในการออกบวชของตนแก่สหายเหล่านั้น. เราเห็นภพทั้งหมดมีกามภพเป็นต้น มีภัยเฉพาะหน้าโดยความเป็นของน่ากลัว ดุจเห็นช้างดุ แล่นมา ดุจเห็นเพชฌฆาตเงื้อมดาบมาเพื่อประหาร ดุจเห็นสีหะ ยักษ์ รากษส สัตว์มีพิษร้าย อสรพิษและ ถ่านเพลิงที่ร้อน แล้วยินดีในบรรพชา เพื่อพ้นจากนั้น ออกบวชคิดว่า เราพึงบาเพ็ญสัมมาปฏิบัติอันเป็น ธรรมจริยา และพึงยังฌานและสมาบัติให้เกิดขึ้นได้อย่างไรหนอ ดังนี้ จึงยินดีในบรรพชา กุศลธรรมและ ปฐมฌานเป็นต้น ในกาลนั้น. สหายของเราเหล่านั้นรู้ความพอใจในบรรพชาของเราไม่เปลี่ยนแปลง จึงบอกคาของเราอัน แสดงถึงความใคร่จะบรรพชาแก่บิดาและมารดา ได้กล่าวว่า พ่อแม่ทั้งหลายท่านจงรู้เถิด มหากาญจนกุมาร จักบวช โดยส่วนเดียวเท่านั้น. มหากาญจนกุมารนั้น ใครๆ ไม่สามารถจะนาเข้าไปในกามทั้งหลายด้วย อุบายไรๆ ได้. ในกาลนั้น มารดาบิดาของเราฟังคาของเราที่พวกสหายของเราบอก จึงกล่าวอย่างนี้ ว่า ท่านผู้ เจริญ พวกเราทั้งหมดจะบวชบ้าง. ผิว่า มหากาญจนกุมารชอบใจการบวช แม้พวกเราก็ชอบใจสิ่งที่ลูกเรา ชอบ เพราะฉะนั้น เราทั้งหมดก็จะบวช.
  • 3. 3 น้องชาย ๖ มีอุปกัญจนะเป็นต้นและน้องสาวกัญจนเทวี รู้ความพอใจในบรรพชาของพระมหา สัตว์ ได้ประสงค์จะบวชเหมือนกัน. ด้วยเหตุนั้น แม้ชนเหล่านั้นอันมารดาเชื้อเชิญให้อยู่ครองเรือนก็ไม่ ปรารถนา. เพราะฉะนั้น จึงกล่าวอย่างนี้ ว่า เราทั้งหมดก็จะบวชเหมือนกันนะท่านพราหมณ์ทั้งหลาย. ก็และครั้นสหายทั้งหลายกล่าวอย่างนี้ แล้ว มารดาบิดาจึงเรียกพระมหาสัตว์แจ้งความประสงค์ แม้ของตนๆ แก่พระมหาสัตว์แล้วกล่าวว่า ลูกรัก ถ้าลูกประสงค์จะบวชให้ได้ ลูกจงสละทรัพย์ ๘๐ โกฏิอัน เป็นของลูกตามสบายเถิด. ลาดับนั้น พระมหาบุรุษบริจาคทรัพย์นั้นแก่คนยากจนและคนเดินทางเป็นต้น แล้วออกบวชเข้า ไปยังหิมวันตประเทศ. มารดาบิดา น้องชาย ๖ น้องหญิง ๑ ทาส ๑ ทาสี ๑ และสหาย ๑ ละฆราวาสได้ไปกับพระมหา สัตว์นั้น. ก็ครั้นชนเหล่านั้นมีพระโพธิสัตว์เป็นประมุข เข้าไปยังหิมวันตประเทศอย่างนั้นแล้ว จึงอาศัยสระ ปทุมสระหนึ่ง สร้างอาศรมในภูมิภาคอันน่ารื่นรมย์ บวชแล้ว ยังชีวิตให้เป็นไปด้วยอาหารอันเป็นรากไม้และ ผลไม้ในป่า. บรรดานักบวชเหล่านั้น ชน ๘ คนมีอุปกัญจนะเป็นต้น ผลัดเวรกันหาผลไม้ แบ่งส่วนของตน และคนนอกนั้นไว้บนแผ่นหินแผ่นหนึ่ง ให้สัญญาระฆัง ถือเอาส่วนของตนๆ เข้าไปยังที่อยู่. แม้พวกที่เหลือก็ ออกจากบรรณศาลาด้วยสัญญาณระฆัง ถือเอาส่วนที่ถึงของตนๆ ไปยังที่อยู่บริโภคแล้วบาเพ็ญสมณธรรม. ครั้นต่อมาได้นาเอาเหง้าบัวมาบริโภคเหมือนอย่างนั้น. ฤๅษีเหล่านั้นมีความเพียรกล้า มีอินทรีย์ มั่นคงอย่างยิ่ง กระทากสิณบริกรรมอยู่ ณ ที่นั้น. ลาดับนั้น ด้วยเดชแห่งศีลของฤๅษีเหล่านั้น ภพของท้าวสักกะหวั่นไหว ท้าวสักกะทราบเหตุนั้น ทรงดาริว่าจักทดลองฤๅษีเหล่านี้ ด้วยอานุภาพของตนจึงทาให้ส่วนของพระมหาสัตว์หายไปตลอด ๓ วัน. ในวันแรกพระมหาสัตว์ไม่เห็นส่วนของตน คิดว่า คงจะลืมส่วนของเรา. ในวันที่ ๒ คิดว่า เราจะมีความผิดกระมัง. ไม่ตั้งส่วนของเราคงจะไล่เรากระมัง. ในวันที่ ๓ คิดว่า เราจักฟังเหตุการณ์นั้นแล้วจักให้ขอขมา จึงให้สัญญาณระฆังในเวลาเย็น เมื่อ ฤๅษีทั้งหมดประชุมกันด้วยสัญญาณนั้น จึงบอกเรื่องนั้นให้ทราบ ครั้นฟังว่า ฤๅษีเหล่านั้นได้แบ่งส่วนไว้ให้ทั้ง ๓ วัน จึงกล่าวว่า พวกท่านแบ่งส่วนไว้ให้เรา แต่เรา ไม่ได้ มันเรื่องอะไรกัน? ฤๅษีทั้งหมดฟังดังนั้นก็ได้ถึงความสังเวช. ณ อาศรมนั้น แม้รุกขเทวดาก็ลงมาจากภพของตน นั่งในสานักของฤๅษีเหล่านั้น. ช้างเชือกหนึ่ง หนีจากเงื้อมมือของพวกมนุษย์เข้าป่า. วานรตัวหนึ่งหนีจากเงื้อมมือของหมองูพ้นแล้ว เพราะจะให้เล่นกับงู ได้ทาความสนิทสนมกับฤๅษีเหล่านั้น ในกาลนั้นก็ได้ไปหาฤๅษีเหล่านั้น ได้ยืนอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่ง. ในขณะนั้น อุปกัญจนดาบสน้องของพระโพธิสัตว์ ลุกขึ้นไหว้พระโพธิสัตว์ แล้วแสดงความเคารพ พวกที่เหลือ ถามขึ้นว่า ข้าพเจ้าเริ่มตั้งสัญญาณแล้วจะได้เพื่อยังตนให้บริสุทธิ์หรือ เมื่อฤๅษีเหล่านั้นกล่าวว่า ได้ซิ จึงยืนขึ้นในท่ามกลางหมู่ฤๅษี.
  • 4. 4 เมื่อจะทาการแช่ง จึงได้กล่าวคาถานี้ ว่า ท่านพราหมณ์ผู้ใดได้ลักเหง้าบัวของท่านไป ผู้นั้นจงได้ม้า โค ทอง เงิน ภริยาและสิ่งพอใจ ณ ที่นี้ จงพรั่งพร้อมด้วยบุตรและภริยาเถิด. เพราะอุปกัญจนดาบสนั้นตาหนิวัตถุกามว่า ความทุกข์ทั้งหลายย่อมเกิดขึ้น ในเพราะการพลัด พรากจากวัตถุอันเป็นที่รัก จึงกล่าวคาถานี้ . หมู่ฤๅษีได้ฟังดังนั้นจึงปิดหูด้วยกล่าวว่า ท่านผู้นิรทุกข์ ท่านอย่ากล่าวอย่างนั้น คาแช่งของท่าน หนักเกินไป. แม้พระโพธิสัตว์ก็กล่าวว่า คาแช่งของท่านหนักเกินไป อย่าถือเอาเลยพ่อคุณ นั่งลงเถิด. แม้ฤๅษีที่เหลือก็ทาการแช่ง ได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ตามลาดับว่า ท่านพราหมณ์ ผู้ใดได้ลักเหง้าบัวของท่านไป ผู้นั้นจงทรงไว้ซึ่งมาลัยและจันทน์แดง จากแคว้น กาสี. สมบัติเป็นอันมากจงมีแก่บุตร.จงทาความเพ่งอย่างแรงกล้าในกามทั้งหลาย. ท่านพราหมณ์ ผู้ใดได้ลักเหง้าบัวของท่าน ผู้นั้นจงมีข้าวเปลือกมาก สมบูรณ์ด้วยกสิกรรม มียศ จงได้บุตร จงเป็นคฤหัสถ์ จงมีทรัพย์ จงได้สิ่งที่ปรารถนาทุกอย่าง ไม่เห็นความเสื่อม จงครองเรือน. ท่านพราหมณ์ ผู้ใดได้ลักเหง้าบัวของท่าน ผู้นั้นเป็นกษัตริย์ จงเป็นผู้ทาการข่มขี่ จงเป็น พระราชายิ่งกว่าพระราชา ทรงพลัง จงมียศ จงครองแผ่นดินพร้อมด้วยทวีปทั้ง ๔ เป็นที่สุด. ท่านพราหมณ์ ผู้ใดได้ลักเหง้าบัวของท่าน ผู้นั้นเป็นพราหมณ์ จงไม่ปราศจากราคะ จงขวนขวาย ในฤกษ์ยาม และในวิถีโคจรของนักษัตรผู้เป็นเจ้าแว่นแคว้น มียศ จงบูชาผู้นั้น. ท่านพราหมณ์ ผู้ใดได้ลักเหง้าบัวของท่าน โลกทั้งปวง จงสาคัญผู้นั้นว่า ผู้คงแก่เรียน ผู้มีเวท พร้อมด้วยมนต์ทุกอย่าง ผู้มีตบะ. ชาวชนบทพิจารณาเห็นแล้ว จงบูชาผู้นั้น. ท่านพราหมณ์ ผู้ใดได้ลักเหง้าบัวของท่าน ผู้นั้นจงบริโภค บ้านส่วยอันหนาแน่นด้วยสิ่งทั้ง ๔ อัน บริบูรณ์พร้อมที่ท้าววาสวะประทาน จงไม่ปราศจากราคะ เข้าถึงมรณะ. ท่านพราหมณ์ ผู้ใดได้ลักเหง้าบัวของท่าน ผู้นั้นเป็นผู้ใหญ่บ้าน จงบันเทิงอยู่ด้วยการฟ้อนรา การขับร้องในท่ามกลางสหาย ผู้นั้นอย่าได้ความเสื่อมเสียไรๆ จากพระราชา. ท่านพราหมณ์ หญิงใดได้ลักเหง้าบัวของท่าน หญิงนั้นเป็นอัครชายา ทรงชนะหญิงทั่วปฐพี จง ดารงอยู่ในความเป็นผู้เลิศกว่าหญิง ๑,๐๐๐ จงเป็นผู้ประเสริฐกว่าหญิงทั่วแดน. ท่านพราหมณ์ หญิงใดได้ลักเหง้าบัวของท่าน หญิงนั้น ไม่หวั่นไหว บริโภคของอร่อยใน ท่ามกลางฤๅษีทั้งหลาย ที่ประชุมกันทั้งหมด. จงเที่ยวอวดด้วยลาภ. ท่านพราหมณ์ ผู้ใดได้ลักเหง้าบัวของท่าน ผู้นั้นจงเป็นผู้ดูแลวัดในมหาวิหาร จงเป็นผู้ดูแลการ ก่อสร้าง ในคชังคลนคร จงทาหน้าต่างเสร็จเพียงวันเดียว. ท่านพราหมณ์ ช้างใดได้ลักเหง้าบัวของท่าน ช้างนั้นถูกคล้องด้วยบ่วง ๑๐๐ บ่วงในที่ ๖ แห่ง จง นาออกจากป่าน่ารื่นรมย์ไปสู่ราชธานี ช้างนั้นถูกเบียดเบียนด้วยขอมีด้ามยาว. ท่านพราหมณ์วานรใดได้ลักเหง้าบัวของท่าน วานรนั้น ประดับดอกรักที่คอ หลังหูประดับด้วย ดีบุก ถูกเฆี่ยนด้วยไม้เรียว จงนาเข้าไปต่อหน้างู ผูกติดกับผ้าเคียนพุง จงเที่ยวไปตลอด.
  • 5. 5 ฤๅษีเหล่านั้นเกลียดการบริโภคกาม การอยู่ครองเรือนและทุกข์ที่ตนได้รับทั้งหมด จึงกล่าวแช่ง อย่างนั้นๆ. ลาดับนั้น พระโพธิสัตว์ดาริว่า เมื่อดาบสเหล่านี้ ทาการแช่ง แม้เราก็ควรทาบ้าง. เมื่อจะทาการแช่ง จึงกล่าวคาถานี้ ว่า ผู้ใดแลกล่าวสิ่งที่ไม่สูญหายว่าสูญหาย ผู้นั้นจงได้และจงบริโภคกามทั้งหลาย หรือว่าข้าแต่เทวะ ผู้เจริญทั้งหลาย ผู้ใดไม่เคลือบแคลงอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้นั้นจงเข้าถึงมรณะในท่ามกลางเรือนเถิด. ลาดับนั้น ท้าวสักกะทรงทราบว่า ฤๅษีทั้งหมดเหล่านี้ ไม่มีความเพ่งในกามทั้งหลาย จึงทรงสลด พระทัย เมื่อจะทรงแสดงว่า บรรดาฤๅษีเหล่านี้ แม้ผู้ใดผู้หนึ่งก็มิได้นาเหง้าบัวไป. แม้ท่านก็มิได้กล่าวถึงสิ่งที่ ไม่สูญหายว่าหาย. ที่แท้ ข้าพเจ้าประสงค์จะทดลองพวกท่านจึงทาให้หายไปดังนี้ จึงกล่าวคาถาสุดท้ายว่า ข้าพเจ้า เมื่อจะทดลองจึงถือเอาเหง้าบัว ของฤๅษีที่ฝั่งแม่น้า แล้วเก็บไว้บนบก. ฤๅษีทั้งหลาย เป็นผู้บริสุทธิ์ ไม่ลามก ย่อมอาศัยอยู่. ท่านผู้ประพฤติพรหมจรรย์ นี่เหง้าบัวของท่าน. พระโพธิสัตว์ได้สดับดังนั้น จึงต่อว่าท้าวสักกะว่า ท่านเทวราชผู้เป็นท้าวสหัสนัยน์ พวกอาตมาไม่ใช่นักฟ้อนราของท่าน ไม่ใช่ผู้ควรจะพึงเล่นของ ท่าน ไม่ใช่ญาติของท่าน ไม่ใช่สหายของท่าน ที่พึงทาการรื่นเริง ท่านอาศัยใครจึงเล่นกับพวกฤๅษี. ลาดับนั้น ท้าวสักกะทรงขอให้ฤๅษีนั้นยกโทษให้ด้วยพระดารัสว่า ข้าแต่ท่านผู้เป็นดังพรหม ท่านเป็นอาจารย์ของข้าพเจ้า และเป็นบิดาของข้าพเจ้า เงาเท้าของ ท่านนี้ จงเป็นที่พึ่งแห่งความผิดพลาดของข้าพเจ้า ท่านผู้มีปัญญาดุจแผ่นดิน ขอท่านจงอดโทษสักครั้งเถิด บัณฑิตทั้งหลายย่อมไม่มีความโกรธเป็นกาลัง. พระมหาสัตว์ได้ยกโทษให้แก่ท้าวสักกเทวราชแล้ว ตนเองเมื่อจะยังหมู่ฤๅษีให้ยกโทษให้ จึงกล่าว ว่า การอยู่ในป่าของพวกฤๅษี แม้คืนเดียวก็เป็นการอยู่ที่ดี พวกเราได้เห็นท้าววาสวะภูตบดี. ท่านผู้ เจริญทั้งหลายจงดีใจเถิด เพราะพราหมณ์ใดได้เหง้าบัวคืนแล้ว. ท้าวสักกะทรงไหว้หมู่ฤๅษีแล้วกลับสู่เทวโลก. แม้หมู่ฤๅษียังฌานและอภิญญาให้เกิด แล้วได้ไปสู่พรหมโลก. น้องชายทั้ง ๖ คนมีอุปกัญจนะเป็นต้น ในครั้งนั้นได้เป็นพระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ พระ มหากัสสปะ พระอนุรุทธะและพระอานนทเถระ ในครั้งนี้ . น้องสาว คือนางอุบลวรรณา. ทาสี คือนางขุชชุตตรา. ทาส คือจิตตคฤหบดี. รุกขเทวดา คือสาตาถิระ. ช้าง คือช้างปาลิไลยยะ. วานร คือมธุวาสิฏฐะ.