SlideShare a Scribd company logo
1 of 7
Download to read offline
1
การบาเพ็ญบารมีของพระผู้มีพระภาคเจ้า ตอนที่ ๒ อกิตติจริยา
พลตรี มารวย ส่งทานินทร์
๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๖
เกริ่นนา
เมื่อเราให้ทานแก่อินทพราหมณ์นั้น เราจะได้ปรารถนายศและลาภก็หามิได้ แต่เราปรารถนาพระ
สัพพัญญุตญาณเท่านั้น จึงได้ประพฤติกรรมเหล่านั้น ฉะนี้ แล
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ]
ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก
________________
๑. การบาเพ็ญทานบารมี
๑. อกิตติจริยา
ว่าด้วยจริยาของอกิตติดาบส
[๑] ใน ๔ อสงไขยแสนกัป ความประพฤติใดในระหว่างนี้ ความประพฤตินั้นทั้งหมด เป็นเครื่อง
บ่มพระโพธิญาณ
[๒] เราจักเว้นความประพฤติในภพน้อยภพใหญ่ในกัปที่ล่วงแล้วเสีย จักบอกความประพฤติใน
กัปนี้ เธอจงฟังเรา
[๓] เราเป็นดาบสมีนามว่าอกิตติ เข้าไปอาศัยอยู่ในป่าใหญ่ที่ว่างเปล่า สงัดเงียบปราศจากเสียง
อื้ออึงในกาลใด
[๔] ในกาลนั้น ด้วยเดชแห่งความประพฤติตบะของเรา ท้าวสักกะผู้เป็นใหญ่ในดาวดึงสเทวโลก
ทรงร้อนพระทัย แปลงร่างเป็นพราหมณ์ เข้ามาหาเราเพื่อภิกษา
[๕] เราได้เห็นอินทพราหมณ์มายืนอยู่ใกล้ประตูบรรณศาลาของเรา จึงหยิบใบหมากเม่าที่เรา
นามาจากป่า ซึ่งไม่มีน้ามันทั้งไม่มีรสเค็ม มอบให้จนหมดพร้อมทั้งภาชนะ
[๖] เราครั้นให้ใบหมากเม่าแก่อินทพราหมณ์นั้นแล้ว จึงคว่าภาชนะ ละการแสวงหาใหม่ เข้าไป
ยังบรรณศาลา
[๗] แม้ในวันที่ ๒ ที่ ๓ อินทพราหมณ์ก็เข้ามายังสานักของเรา เราไม่หวั่นไหว ไม่ยึดมั่น ได้ให้
ไปเหมือนอย่างนั้น
[๘] ในสรีระของเรามีผิวพรรณไม่เปลี่ยนแปลง เพราะการอดอาหารนั้นเป็นปัจจัยเลย เรายับยั้ง
อยู่ตลอดวันนั้นๆ ด้วยปีติ สุข และความยินดี
[๙] ถ้าเราพึงได้ทักขิไณยบุคคลที่ประเสริฐ แม้เดือนหนึ่ง สองเดือน เราก็ไม่หวั่นไหว ไม่ท้อใจ
พึงให้ทานอันอุดม
2
[๑๐] เมื่อเราให้ทานแก่อินทพราหมณ์นั้น เราจะได้ปรารถนายศและลาภก็หามิได้ แต่เรา
ปรารถนาพระสัพพัญญุตญาณเท่านั้น จึงได้ประพฤติกรรมเหล่านั้น ฉะนี้ แล
อกิตติจริยาที่ ๑ จบ
คาอธิบายเพิ่มเติมนามาจากบางส่วนของอรรถกถา
ขุททกนิกาย จริยาปิฎก การบาเพ็ญทานบารมี
๑. อกิตติจริยา
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงยังอุตสาหะในการฟังบุรพจริยาของพระองค์ให้เกิดแก่ท่านพระ
สารีบุตรเถระ และแก่บริษัทกับทั้งเทวดาและมนุษย์แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงกระทาบุรพจริยานั้นซึ่งปกปิดไว้ใน
ระหว่างภพให้ประจักษ์ ดุจมะขามป้อมในฝ่ามือฉะนั้น จึงตรัสพระดารัสมีอาทิว่า : ในกาลใด เราเป็นดาบส
ชื่ออกิตติ เข้าไปอาศัยอยู่ในป่าใหญ่อันว่างเปล่า สงัดเงียบปราศจากเสียงอื้ออึง.
ในกาลนั้น พระศาสดาตรัสถึงความที่พระองค์เป็นดาบสชื่ออกิตติ แก่พระธรรมเสนาบดี.
มีกถาเป็นลาดับดังต่อไปนี้
ได้ยินว่า ในอดีตกาล ภัทรกัปนี้ แล ครั้นเมื่อพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในกรุงพาราณสี
พระโพธิสัตว์อุบัติในตระกูลพราหมณ์มหาสาล มีสมบัติ ๘๐ โกฏิ มีชื่อว่าอกิตติ. เมื่ออกิตติเดินได้ น้องสาวก็
เกิดมีชื่อว่ายสวดี. เมื่ออกิตติมีอายุได้ ๑๕ ปีก็ไปเรียนศิลปะทุกอย่างในเมืองตักกสิลา เรียนสาเร็จแล้วก็กลับ.
ครั้งนั้น มารดาบิดาของอกิตติได้ถึงแก่กรรม. อกิตติทาฌาปนกิจมารดาบิดาแล้วล่วงไปสองสามวัน
ให้ผู้จัดการมรดกตรวจตราทรัพย์สิน ครั้นสดับว่าทรัพย์สินส่วนของมารดาประมาณเท่านี้ ส่วนของบิดา
ประมาณเท่านี้ ส่วนของปู่ตาประมาณนี้ จึงเกิดสังเวชว่า ทรัพย์นี้ เท่านั้นยังปรากฏอยู่ แต่ผู้จัดหาทรัพย์มาไม่
ปรากฏ ทั้งหมดละทรัพย์นี้ ไป แต่เราจักเอาทรัพย์นี้ ไป จึงกราบทูลพระราชาให้ตีกลองป่าวประกาศว่า ผู้มี
ความต้องการทรัพย์จงมายังเรือนของอกิตติบัณฑิต.
อกิตติบัณฑิตบริจาคมหาทานตลอด ๗ วัน เมื่อทรัพย์ยังไม่หมดจึงคิดว่า ประโยชน์อะไรด้วยธน
กรีฑานี้ แก่เรา ผู้มีความต้องการจักรับตามชอบใจ จึงเปิดประตูเรือนแล้วให้เปิดห้องเก็บสมบัติอันเต็มไปด้วย
เงินและทองเป็นต้น ประกาศว่า ชนทั้งหลายจงนาเอาทรัพย์ที่เราให้แล้วไปเถิด แล้วละเรือนไปเมื่อวงศ์ญาติ
ร่าไห้อยู่ ได้พาน้องสาวออกจากกรุงพาราณสีข้ามแม่น้าไป ๒-๓ โยชน์ ออกบวชสร้างบรรณศาลาอยู่ ณ
ภูมิภาคน่ารื่นรมย์ ท่าที่อกิตติดาบสข้ามแม่น้าไปชื่อท่าอกิตติ.
พวกมนุษย์ชาวบ้านชาวนิคมและชาวเมืองหลวงได้ฟังว่า อกิตติบัณฑิตบวชแล้ว ต่างมีใจจดจ่อด้วย
คุณธรรมของอกิตติดาบสจึงพากันบวชตาม. อกิตติดาบสได้มีบริวารมาก. ลาภและสักการะเป็นอันมาก
เกิดขึ้นดุจพุทธุปาทกาล.
ลาดับนั้น พระมหาสัตว์ดาริว่า ลาภและสักการะอันมากนี้ แม้บริวารก็มาก แม้เพียงกายวิเวกก็
ไม่ได้ ในที่นี้ เราควรอยู่แต่ผู้เดียว เพราะเป็นผู้มีความมักน้อยอย่างยิ่ง และเพราะเป็นผู้น้อมไปในวิเวกจึง
ไม่ให้ใครๆ รู้ออกไปผู้เดียว ถึงแคว้นทมิฬตามลาดับ อยู่ในสวนใกล้ท่ากาวีระยังฌานและอภิญญาให้เกิด.
3
แม้ ณ ที่นั้น ลาภและสักการะใหญ่ก็เกิดขึ้นแก่อกิตติดาบสนั้น.
อกิตติดาบสรังเกียจลาภและสักการะใหญ่นั้นจึงทิ้งเหาะไปทางอากาศหยั่งลง ณ การทวีป, ในครั้ง
นั้น การทวีปมีชื่อว่าอหิทวีป. อกิตติดาบสอาศัยต้นหมากเม่าใหญ่ ณ ที่นั้น สร้างบรรณศาลาพักอาศัยอยู่.
แต่เพราะความเป็นผู้มักน้อยจึงไม่ไปในที่ไหนๆ บริโภคผลไม้ในกาลที่ต้นไม้นั้นมีผล เมื่อยังไม่มีผลก็บริโภค
ใบไม้ชงน้า ยังกาลเวลาให้น้อมไปด้วยฌานและสมาบัติ.
ด้วยเดชแห่งศีลของอกิตติดาบสนั้น บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ของท้าวสักกะนั้นแสดงอาการเร่าร้อน.
ท้าวสักกะราพึงอยู่ว่า ใครหนอประสงค์ให้เราเคลื่อนจากที่นี้ ทอดพระเนตรเห็นอกิตติบัณฑิตทรงดาริว่า
ดาบสนี้ ประพฤติตบะที่ทาได้ยากอย่างนี้ เพื่ออะไรหนอ หรือจะปรารถนาความเป็นท้าวสักกะ หรือว่าอย่างอื่น
เราจักทดลองดาบสนั้นดู.
จริงอยู่ ดาบสนี้ มีความประพฤติทางกายวาจาและใจบริสุทธิ์สะอาด ไม่อาลัยในชีวิต บริโภคใบ
หมากเม่าชงน้า หากปรารถนาความเป็นท้าวสักกะ จักให้ใบหมากเม่าชงน้าของตนแก่เรา หากไม่ปรารถนา
ก็จักไม่ให้ จึงแปลงเพศเป็นพราหมณ์ไปหาอกิตติดาบสนั้น.
แม้พระโพธิสัตว์ก็รินใบหมากเม่าออกคิดว่าจักบริโภคน้าใบหมากเม่าเย็น นั่งอยู่ที่ประตู
บรรณศาลา.
ลาดับนั้น ท้าวสักกะมีรูปเป็นพราหมณ์มีความต้องการภิกษา ได้ยืนข้างหน้าพระดาบส.
พระมหาสัตว์เห็นพราหมณ์นั้นก็ดีใจด้วยคิดว่า เป็นลาภของเราแล้วหนอ เราได้ดีแล้วหนอ เรา
ไม่ได้เห็นยาจกมานานแล้วหนอ คิดต่อไปว่า วันนี้ เราจักยังความปรารถนาของเราให้ถึงที่สุดแล้วจักให้ทาน
จึงถือเอาด้วยภาชนะที่มีอาหารสุกไป แล้วนึกถึงทานบารมี ใส่ลงในภิกษาภาชนะของพราหมณ์นั้นจนหมด.
ท้าวสักกะรับภิกษานั้นไปได้หน่อยหนึ่งก็อันตรธานไป.
แม้พระมหาสัตว์ ครั้นให้ภิกษาแก่พราหมณ์นั้นแล้วก็ไม่นึกที่จะแสวงหาอีก ยังกาลเวลาให้น้อมล่วง
ไปด้วยปีติสุขนั้นนั่นเอง.
ในวันที่สอง ท่านอกิตติดาบสนั่งอยู่ที่ประตูบรรณศาลา ก็ต้มใบหมากเม่าอีกคิดว่า เมื่อวานนี้ เรา
ไม่ได้ทักขิไณยบุคคล วันนี้ เราจะได้อย่างไรหนอ. ท้าวสักกะก็เสด็จมาเหมือนเดิม. พระมหาสัตว์ได้ให้ภิกษา
ยังกาลเวลาให้น้อมล่วงไปเหมือนอย่างนั้นอีก.
ในวันที่สามก็ให้อย่างนั้นอีกแล้วคิดว่าน่าปลื้มใจหนอ เป็นลาภของเรา เราประสบบุญมากหนอ
หากเราได้ทักขิไณยบุคคล เราจะให้ทานอย่างนี้ ตลอดเดือนหนึ่งบ้าง สองเดือนบ้าง.
แม้ในสามวัน พระดาบสก็ตั้งจิตอธิษฐานว่า ด้วยทานนั้นเรามิได้ปรารถนา ลาภสักการะและความ
สรรเสริญ ไม่ปรารถนาสมบัติจักรพรรดิ ไม่ปรารถนาสักกสมบัติ ไม่ปรารถนาพรหมสมบัติ ไม่ปรารถนา
สาวกโพธิญาณ ไม่ปรารถนาปัจเจกโพธิญาณ ที่แท้ขอทานของเรานี้ จงเป็นปัจจัยแห่งพระสัพพัญญุตญาณ
เถิด.
ด้วยเหตุนั้น ท่านอกิตติดาบสจึงกล่าวว่า [พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า]
ในกาลนั้นด้วยเดชแห่งการประพฤติตบะของเรา ท้าวสักกะผู้เป็นใหญ่ในไตรทิพย์ทรงร้อน
พระทัย ทรงแปลงเพศเป็นพราหมณ์ เข้ามาหาเราเพื่อภิกษา.
4
เราได้เห็นพราหมณ์มายืนอยู่ใกล้ประตูบรรณศาลาของเรา จึงเอาใบหมากเม่าที่เรานามาแต่ป่า
อันไม่มีน้ามันทั้งไม่เค็มให้หมด พร้อมกับภาชนะ.
ครั้นได้ให้ใบหมากเม่าแก่พราหมณ์นั้นแล้ว เราจึงคว่าภาชนะ ละการแสวงหาใบหมากเม่าใหม่ เข้า
ไปยังบรรณศาลา.
แม้ในวันที่สอง แม้ในวันที่สาม พราหมณ์ก็เข้ามายังสานักเรา เราไม่หวั่นไหว ไม่อาลัยในชีวิต ได้
ให้หมดสิ้นเช่นก่อนเหมือนกัน.
ในสรีระของเราไม่มีความหม่นหมอง เพราะการอดอาหารนั้นเป็นปัจจัย เรายังวันนั้นๆ ให้น้อมไป
ด้วยความยินดีด้วยปีติสุข.
ผิว่าเราพึงได้ทักขิไณยบุคคลผู้ประเสริฐ แม้เดือนหนึ่งสองเดือน เราก็ไม่หวั่นไหว ไม่ท้อแท้ พึงให้
ทานอันอุดม เมื่อให้ทานแก่พราหมณ์นั้น เราจะได้ปรารถนายศและลาภก็หามิได้ เราปรารถนาพระ
สัพพัญญุตญาณ จึงได้ประพฤติกรรมเหล่านั้นฉะนี้ .
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศเพียงบุญจริยาที่ทาได้ยากของพระองค์ในอัตภาพนี้ แก่พระมหา
เถระในวรรคนี้ ด้วยประการฉะนี้ .
แต่ในเทศนาชาดก ท่านประกาศถึงท้าวสักกะเข้าไปหาในวันที่สี่ แล้วทรงทราบอัธยาศัยของพระ
โพธิสัตว์ การประทานพร การแสดงธรรมของพระโพธิสัตว์ด้วยหัวข้อการรับพร และความหวังไทยธรรมและ
ทักขิไณยบุคคล และการไม่มาของท้าวสักกะ.
สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า
ท้าวสักกะผู้เป็นภูตบดี ทอดพระเนตรเห็นท่านอกิตติดาบสพักสาราญอยู่ จึงถามว่า ข้าแต่
มหาพรหม พระคุณเจ้าปรารถนาอะไรจึงอยู่ผู้เดียวในฤดูร้อน.
ท่านท้าวสักกรินทรเทพ ความเกิดใหม่เป็นทุกข์ การแตกทาลายแห่งสรีระเป็นทุกข์ การตายด้วย
ความหลงเป็นทุกข์ เพราะฉะนั้น อาตมาจึงอยู่ผู้เดียว.
ข้าแต่ท่านกัสสปะ เมื่อพระคุณเจ้ากล่าวคาสุภาษิตอันสมควรนี้ แล้ว พระคุณเจ้าปรารถนาอะไร
ข้าพเจ้าจะให้พรนั้นแก่ท่าน.
ท่านท้าวสักกะผู้เป็นจอมเทพทั้งหลาย หากท่านจะให้พรแก่อาตมา ขอจงให้พรดังนี้ คนทั้งหลายได้
บุตร ภรรยา ทรัพย์สมบัติและของเป็นที่รักด้วยความโลภใดแล้วไม่เดือดร้อน ขอความโลภนั้นไม่พึงอยู่ใน
อาตมาเลย.
ข้าแต่ท่านกัสสปะ เมื่อพระคุณเจ้ากล่าวดีแล้ว ฯลฯ พระคุณเจ้าปรารถนาอะไรอีก.
ท่านท้าวสักกะผู้เป็นจอมเทพทั้งหลาย หากท่านจะให้พรแก่อาตมา ขอจงให้พรดังนี้ นา ไร่ ทอง โค
ม้า ทาสและบุรุษ ย่อมเสื่อมไปด้วยโทษใด โทษนั้นไม่พึงอยู่ในอาตมาเลย.
ข้าแต่ท่านกัสสปะ ฯลฯ พระคุณเจ้าปรารถนาอะไรอีก.
ท่านท้าวสักกะหากท่านจะให้พรแก่อาตมา ขอจงให้พรดังนี้ บุคคลไม่พึงเห็น ไม่พึงได้ยินคนพาล
ไม่พึงอยู่ร่วมด้วยคนพาล ไม่พึงกระทาและไม่พึงชอบใจการสนทนาปราศรัยด้วยคนพาล.
ข้าแต่ท่านกัสสปะ เพราะอะไรท่านจึงไม่ชอบคนพาล ขอจงบอกเหตุ เพราะเหตุไร พระคุณเจ้าจึงไม่
5
ปรารถนาที่จะเห็นคนพาล.
คนพาลย่อมแนะนาสิ่งไม่ควรแนะนา ย่อมขวนขวายในกิจอันไม่ใช่ธุระ คนพาลแนะนาให้ดีได้ยาก
พูดดีหวังจะให้เขาเป็นคนประเสริฐกลับโกรธ คนพาลนั้นไม่รู้วินัย การไม่เห็นคนพาลได้เป็นความดี.
ข้าแต่ท่านกัสสปะ พระคุณเจ้าปรารถนาอะไรอีก.
ท่านท้าวสักกะจอมเทพ หากท่านจะให้พรแก่อาตมา ขอจงให้พรดังนี้ บุคคลพึงเห็นนักปราชญ์ พึง
ฟังนักปราชญ์ พึงอยู่ร่วมกับนักปราชญ์ พึงกระทาและพึงชอบใจการสนทนาปราศรัยกับนักปราชญ์.
ข้าแต่ท่านกัสสปะ เพราะเหตุไร พระคุณเจ้าจึงชอบใจนักปราชญ์ ขอจงบอกเหตุนั้น เพราะเหตุไร
พระคุณเจ้าจึงปรารถนาจะเห็นนักปราชญ์.
นักปราชญ์แนะนาสิ่งที่ควรแนะนา ไม่ขวนขวายในกิจที่มิใช่ธุระ นักปราชญ์แนะนาได้ง่าย พูดหวัง
จะให้ดีก็ไม่โกรธ นักปราชญ์ย่อมรู้จักวินัย การสมาคมกับนักปราชญ์เป็นความดี.
พระคุณเจ้าปรารถนาอะไรอีก.
ท่านท้าวสักกะผู้เป็นจอมเทพ หากท่านจะให้พรแก่อาตมา ขอจงให้พรดังนี้ เมื่อราตรีหมดไป ดวง
อาทิตย์ขึ้นเป็นเจ้าโลก ของบริโภคอันเป็นทิพย์พึงปรากฏ ผู้ขอพึงเป็นผู้มีศีล.
เมื่ออาตมาให้ของบริโภคไม่หมดสิ้นไป ครั้นให้แล้วอาตมาไม่พึงเดือดร้อน เมื่อให้จิตพึงผ่องใส ท่าน
ท้าวสักกะขอจงให้พรนี้ เถิด.
พระคุณเจ้าปรารถนาอะไรอีก.
ท่านท้าวสักกะผู้เป็นจอมเทพ หากท่านจะให้พรแก่อาตมา ขอจงให้พรดังนี้ ท่านไม่พึงกลับมาหา
อาตมาอีก ท่านท้าวสักกะ ขอจงให้พรนี้ เถิด.
เทพบุตร หรือ เทพธิดา ปรารถนาจะเห็นด้วยการประพฤติพรตเป็นอันมาก อะไรจะเป็นภัยในการ
เห็นของอาตมา.
ตบะพึงแตกไป เพราะเห็นสีสรรของพวกเทพเช่นนั้น ผู้ล้วนแล้วไปด้วยความสุขสมบูรณ์ในกามนี้
เป็นภัยในการเห็นของพระคุณเจ้า.
ลาดับนั้น ท้าวสักกะตรัสว่า ดีแล้วพระคุณเจ้า ตั้งแต่บัดนี้ ไป ข้าพเจ้าจักไม่มาหาพระคุณเจ้าอีกแล้ว
ทรงกราบพระดาบสนั้นเสด็จกลับไป.
พระมหาสัตว์อยู่ ณ การทวีปนั้นตลอดชีวิต เมื่อสิ้นอายุก็ไปบังเกิดในพรหมโลก.
ในครั้งนั้น พระอนุรุทธเถระเป็นท้าวสักกะ. พระโลกนาถเจ้าเป็นอกิตติบัณฑิต.
อกิตติบัณฑิตย่อมได้รับบารมี ๑๐ เหล่านี้ คือ ชื่อว่าเนกขัมมบารมี เพราะการออกไปของท่านอ
กิตติบัณฑิตนั้นเช่นกับมหาภิเนษกรมณ์. ชื่อว่าศีลบารมี เพราะมีศีลาจารอันบริสุทธิ์ด้วยดี. ชื่อว่าวีริยบารมี
เพราะข่มกามวิตกเป็นต้นด้วยดี. ชื่อว่าขันติบารมี เพราะขันติสังวรถึงความยอดเยี่ยมอย่างยิ่ง. ชื่อว่าสัจจบาร
มี เพราะปฏิบัติตามสมควรแก่ปฏิญญา. ชื่อว่าอธิฏฐานบารมี เพราะตั้งใจสมาทานไม่หวั่นไหวในที่ทั้งปวง.
ชื่อว่าเมตตาบารมี ด้วยอัธยาศัยเกื้อกูลในสรรพสัตว์ทั้งหลาย. ชื่อว่าอุเบกขาบารมี เพราะถึงความเป็นกลาง
ในความผิดปกติที่สัตว์และสังขารกระทาแล้ว. ชื่อว่าปัญญาบารมี ได้แก่ปัญญาอันเป็นอุบายโกศลซึ่งเป็น
สหชาตปัญญา และปัญญาให้สาเร็จความประพฤติในการขัดเกลากิเลสอย่างยิ่ง เพราะรู้ธรรมเป็นอุปการะ
6
และธรรมไม่เป็นอุปการะแก่บารมีเหล่านั้น ละธรรมอันไม่เป็นอุปการะเสีย มุ่งประพฤติอยู่ในธรรมอันเป็น
อุปการะ.
เทศนาอันเป็นไปแล้วด้วยทานเป็นประธานอันเป็นความกว้างขวางยิ่งนักแห่งผู้มีอัธยาศัยในการให้.
เพราะฉะนั้น ธรรมเหล่าใดมีประเภทไม่น้อย เป็นร้อยเป็นพัน เป็นโพธิสมภาร เป็นคุณของพระโพธิสัตว์มี
อาทิอย่างนี้ คือ ธรรมเป็นปฏิญญา ๗ มีอาทิ คือ มหากรุณาอันให้สาเร็จในที่ทั้งปวง บุญสมภารและญาณ
สมภาร แม้ทั้งสอง สุจริตของพระโพธิสัตว์ ๓ มีกายสุจริตเป็นต้น. อธิฏฐาน ๔ มีสัจจาธิษฐานเป็นต้น. พุทธ
ภูมิ ๔ มีอุตสาหะเป็นต้น ธรรมเป็นเครื่องบ่มมหาโพธิญาณ ๕ มีศรัทธาเป็นต้น อัธยาศัยของพระโพธิสัตว์
ทั้งหลาย ๖ มีอัธยาศัยไม่โลภเป็นต้น เราข้ามได้แล้วจักข้ามต่อไป มหาปุริสวิตก ๘ มีอาทิว่า ธรรมนี้ ของผู้มี
ความมักน้อย ธรรมนี้ มิใช่ของผู้มีความมักใหญ่. ธรรมมีโยนิโสมนสิการเป็นมูล ๙ อัธยาศัยของมหาบุรุษ ๑๐
มีอัธยาศัยในการให้เป็นต้น บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ มีทานและศีลเป็นต้น. ธรรมเหล่านั้นแม้ทั้งหมดควรกล่าว
เจาะจงไปในที่นี้ ตามสมควร.
อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบคุณานุภาพของพระมหาสัตว์มีอาทิอย่างนี้ คือการละกองสมบัติใหญ่ และ
วงศ์ญาติใหญ่ แล้วออกจากเรือนเช่นกับมหาภิเนษกรมณ์ ครั้นออกไปแล้ว เมื่อบวชซึ่งชนเป็นอันมากรับรู้
แล้วก็ไม่เกี่ยวข้องในตระกูล ในคณะเพราะเป็นผู้มักน้อยอย่างยิ่ง รังเกียจลาภ สักการะและความสรรเสริญ
สิ้นเชิง ยินดีในความสงัด วางเฉยในร่างกายและชีวิตเสียสละ อดอาหาร ยินดีด้วยความอิ่มในทาน แม้ ๓ วัน
ร่างกายยังเป็นไปได้ไม่ผิดปกติ เมื่อมีผู้ขอก็ให้อาหารอยู่อย่างนั้น เดือนหนึ่งสองเดือน ประพฤติไม่ท้อถอยใน
การบริจาคมีอัธยาศัยในการให้อย่างกว้างขวาง ด้วยคิดว่า เราจักยังร่างกายให้เป็นไปอยู่ได้ด้วยปีติสุขอันเกิด
จากการให้เท่านั้น ครั้นให้ทานแล้วก็ประพฤติขัดเกลากิเลสยิ่งขึ้นไม่เป็นเหตุให้ทาการแสวงหาอาหารใหม่.
ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมาแล้วพระมหาสัตว์ทั้งหลายเป็นผู้แสวงหาคุณธรรมใหญ่หลวง มีมหากรุณา
เป็นนักปราชญ์ เป็นเผ่าพันธุ์เอกของสรรพโลก.
พระมหาสัตว์ผู้เป็นพระโพธิสัตว์ มีอานุภาพเป็นอจินไตย มีพระสัทธรรมเป็นโคจรในกาลทุกเมื่อ มี
ความประพฤติขัดเกลากิเลสอย่างหมดจด.
พายุใหญ่ มหาสมุทรมีคลื่นซัดเป็นวงกลม พระโพธิสัตว์กระโดดข้ามแดนนั้นไปได้ ไม่ใช่เรื่อง
ธรรมดา.
พระมหาสัตว์เหล่านั้น แม้เป็นผู้เจริญโดยสัญชาตในโลก เป็นผู้อบรมดีแล้วก็ไม่ติดด้วยโลกธรรม
ทั้งหลาย เหมือนประทุมไม่ติดด้วยน้าฉันนั้น.
ความเสน่หาเพราะกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย ย่อมเจริญโดยประการที่ละความเสน่หาในตนออกไปของ
พระมหาสัตว์ทั้งหลาย.
กรรมย่อมอยู่ในอานาจ ทั้งไม่เป็นตามอานาจของกรรม เหมือนจิตย่อมอยู่ในอานาจ ทั้งไม่เป็นไป
ตามอานาจของจิต ฉะนั้น.
พระมหาสัตว์เหล่านั้น เที่ยวแสวงหาโพธิญาณอันโทสะไม่ครอบงา หรือไม่เกิดขึ้นดังบุรุษทั้งหลายรู้
ถึงความเสื่อม.
7
แม้จิตเลื่อมใสในท่านเหล่านั้น ก็พึงพ้นจากทุกข์ได้ จะพูดไปทาไมถึงการทาตามท่านเหล่านั้นโดย
ธรรมสมควรแก่ธรรมเล่า.
จบอรรถกถาอกิตติจริยาที่ ๑
-----------------------------------------------------

More Related Content

Similar to 02 อกิตติจริยา มจร.pdf

๐๓ อัคคัญญสูตร มจร.pdf
๐๓ อัคคัญญสูตร มจร.pdf๐๓ อัคคัญญสูตร มจร.pdf
๐๓ อัคคัญญสูตร มจร.pdfmaruay songtanin
 
บาลี 31 80
บาลี 31 80บาลี 31 80
บาลี 31 80Rose Banioki
 
3 31+พระธัมมปทัฏฐกถาแปล+ภาค+๕
3 31+พระธัมมปทัฏฐกถาแปล+ภาค+๕3 31+พระธัมมปทัฏฐกถาแปล+ภาค+๕
3 31+พระธัมมปทัฏฐกถาแปล+ภาค+๕Wataustin Austin
 
26 โสณนันทปัณฑิตจริยา มจร.pdf
26 โสณนันทปัณฑิตจริยา มจร.pdf26 โสณนันทปัณฑิตจริยา มจร.pdf
26 โสณนันทปัณฑิตจริยา มจร.pdfmaruay songtanin
 
Tri91 03++มหาวิภังค์+เล่ม+๑+ภาค+๓
Tri91 03++มหาวิภังค์+เล่ม+๑+ภาค+๓Tri91 03++มหาวิภังค์+เล่ม+๑+ภาค+๓
Tri91 03++มหาวิภังค์+เล่ม+๑+ภาค+๓Tongsamut vorasan
 
06 มหาโควินทจริยา มจร.pdf
06 มหาโควินทจริยา มจร.pdf06 มหาโควินทจริยา มจร.pdf
06 มหาโควินทจริยา มจร.pdfmaruay songtanin
 
15 จูฬโพธิจริยา มจร.pdf
15 จูฬโพธิจริยา มจร.pdf15 จูฬโพธิจริยา มจร.pdf
15 จูฬโพธิจริยา มจร.pdfmaruay songtanin
 
เกณฑ์การรับกุลบุตรเพื่ออุปสมบทในพระพุทธศาสนา
เกณฑ์การรับกุลบุตรเพื่ออุปสมบทในพระพุทธศาสนาเกณฑ์การรับกุลบุตรเพื่ออุปสมบทในพระพุทธศาสนา
เกณฑ์การรับกุลบุตรเพื่ออุปสมบทในพระพุทธศาสนาTongsamut vorasan
 
03 สังขพราหมณจริยา มจร.pdf
03 สังขพราหมณจริยา มจร.pdf03 สังขพราหมณจริยา มจร.pdf
03 สังขพราหมณจริยา มจร.pdfmaruay songtanin
 
ชีวิตและผลงานของพระสุมังคลาจารย์
ชีวิตและผลงานของพระสุมังคลาจารย์ชีวิตและผลงานของพระสุมังคลาจารย์
ชีวิตและผลงานของพระสุมังคลาจารย์Padvee Academy
 
03ศาสนาเชน...ใหม่ 007
03ศาสนาเชน...ใหม่ 00703ศาสนาเชน...ใหม่ 007
03ศาสนาเชน...ใหม่ 007Dream'Es W.c.
 
Tri91 21+มัชฌิมนิกาย+มัชฌิมปัณณาสก์+เล่ม+๒+ภาค+๒
Tri91 21+มัชฌิมนิกาย+มัชฌิมปัณณาสก์+เล่ม+๒+ภาค+๒Tri91 21+มัชฌิมนิกาย+มัชฌิมปัณณาสก์+เล่ม+๒+ภาค+๒
Tri91 21+มัชฌิมนิกาย+มัชฌิมปัณณาสก์+เล่ม+๒+ภาค+๒Tongsamut vorasan
 
09 สิวิราชจริยา มจร.pdf
09 สิวิราชจริยา มจร.pdf09 สิวิราชจริยา มจร.pdf
09 สิวิราชจริยา มจร.pdfmaruay songtanin
 
Tri91 10+ปริวาร+เล่ม+๘
Tri91 10+ปริวาร+เล่ม+๘Tri91 10+ปริวาร+เล่ม+๘
Tri91 10+ปริวาร+เล่ม+๘Tongsamut vorasan
 
18 มาตังคจริยา มจร.pdf
18 มาตังคจริยา มจร.pdf18 มาตังคจริยา มจร.pdf
18 มาตังคจริยา มจร.pdfmaruay songtanin
 
บทที่ 4 วิสุทธิ
บทที่ 4 วิสุทธิบทที่ 4 วิสุทธิ
บทที่ 4 วิสุทธิOnpa Akaradech
 
16 มหิสราชจริยา มจร.pdf
16 มหิสราชจริยา มจร.pdf16 มหิสราชจริยา มจร.pdf
16 มหิสราชจริยา มจร.pdfmaruay songtanin
 
37 วิสัยหชาดก มจร.pdf
37 วิสัยหชาดก มจร.pdf37 วิสัยหชาดก มจร.pdf
37 วิสัยหชาดก มจร.pdfmaruay songtanin
 

Similar to 02 อกิตติจริยา มจร.pdf (20)

๐๓ อัคคัญญสูตร มจร.pdf
๐๓ อัคคัญญสูตร มจร.pdf๐๓ อัคคัญญสูตร มจร.pdf
๐๓ อัคคัญญสูตร มจร.pdf
 
บาลี 31 80
บาลี 31 80บาลี 31 80
บาลี 31 80
 
3 31+พระธัมมปทัฏฐกถาแปล+ภาค+๕
3 31+พระธัมมปทัฏฐกถาแปล+ภาค+๕3 31+พระธัมมปทัฏฐกถาแปล+ภาค+๕
3 31+พระธัมมปทัฏฐกถาแปล+ภาค+๕
 
26 โสณนันทปัณฑิตจริยา มจร.pdf
26 โสณนันทปัณฑิตจริยา มจร.pdf26 โสณนันทปัณฑิตจริยา มจร.pdf
26 โสณนันทปัณฑิตจริยา มจร.pdf
 
Tri91 03++มหาวิภังค์+เล่ม+๑+ภาค+๓
Tri91 03++มหาวิภังค์+เล่ม+๑+ภาค+๓Tri91 03++มหาวิภังค์+เล่ม+๑+ภาค+๓
Tri91 03++มหาวิภังค์+เล่ม+๑+ภาค+๓
 
06 มหาโควินทจริยา มจร.pdf
06 มหาโควินทจริยา มจร.pdf06 มหาโควินทจริยา มจร.pdf
06 มหาโควินทจริยา มจร.pdf
 
15 จูฬโพธิจริยา มจร.pdf
15 จูฬโพธิจริยา มจร.pdf15 จูฬโพธิจริยา มจร.pdf
15 จูฬโพธิจริยา มจร.pdf
 
เกณฑ์การรับกุลบุตรเพื่ออุปสมบทในพระพุทธศาสนา
เกณฑ์การรับกุลบุตรเพื่ออุปสมบทในพระพุทธศาสนาเกณฑ์การรับกุลบุตรเพื่ออุปสมบทในพระพุทธศาสนา
เกณฑ์การรับกุลบุตรเพื่ออุปสมบทในพระพุทธศาสนา
 
03 สังขพราหมณจริยา มจร.pdf
03 สังขพราหมณจริยา มจร.pdf03 สังขพราหมณจริยา มจร.pdf
03 สังขพราหมณจริยา มจร.pdf
 
ชีวิตและผลงานของพระสุมังคลาจารย์
ชีวิตและผลงานของพระสุมังคลาจารย์ชีวิตและผลงานของพระสุมังคลาจารย์
ชีวิตและผลงานของพระสุมังคลาจารย์
 
03ศาสนาเชน...ใหม่ 007
03ศาสนาเชน...ใหม่ 00703ศาสนาเชน...ใหม่ 007
03ศาสนาเชน...ใหม่ 007
 
Tri91 21+มัชฌิมนิกาย+มัชฌิมปัณณาสก์+เล่ม+๒+ภาค+๒
Tri91 21+มัชฌิมนิกาย+มัชฌิมปัณณาสก์+เล่ม+๒+ภาค+๒Tri91 21+มัชฌิมนิกาย+มัชฌิมปัณณาสก์+เล่ม+๒+ภาค+๒
Tri91 21+มัชฌิมนิกาย+มัชฌิมปัณณาสก์+เล่ม+๒+ภาค+๒
 
09 สิวิราชจริยา มจร.pdf
09 สิวิราชจริยา มจร.pdf09 สิวิราชจริยา มจร.pdf
09 สิวิราชจริยา มจร.pdf
 
Tri91 10+ปริวาร+เล่ม+๘
Tri91 10+ปริวาร+เล่ม+๘Tri91 10+ปริวาร+เล่ม+๘
Tri91 10+ปริวาร+เล่ม+๘
 
18 มาตังคจริยา มจร.pdf
18 มาตังคจริยา มจร.pdf18 มาตังคจริยา มจร.pdf
18 มาตังคจริยา มจร.pdf
 
Buddha
BuddhaBuddha
Buddha
 
บทที่ 4 วิสุทธิ
บทที่ 4 วิสุทธิบทที่ 4 วิสุทธิ
บทที่ 4 วิสุทธิ
 
16 มหิสราชจริยา มจร.pdf
16 มหิสราชจริยา มจร.pdf16 มหิสราชจริยา มจร.pdf
16 มหิสราชจริยา มจร.pdf
 
37 วิสัยหชาดก มจร.pdf
37 วิสัยหชาดก มจร.pdf37 วิสัยหชาดก มจร.pdf
37 วิสัยหชาดก มจร.pdf
 
Quize 01
Quize 01Quize 01
Quize 01
 

More from maruay songtanin

หงส์ดำ Black Swan - The Impact of the Highly Improbable.pdf
หงส์ดำ Black Swan - The Impact of the Highly Improbable.pdfหงส์ดำ Black Swan - The Impact of the Highly Improbable.pdf
หงส์ดำ Black Swan - The Impact of the Highly Improbable.pdfmaruay songtanin
 
หลักการผู้นำ 7 ประการ 7 proven leadership principles .pdf
หลักการผู้นำ 7 ประการ 7 proven leadership principles .pdfหลักการผู้นำ 7 ประการ 7 proven leadership principles .pdf
หลักการผู้นำ 7 ประการ 7 proven leadership principles .pdfmaruay songtanin
 
๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...
๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...
๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...maruay songtanin
 
๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....maruay songtanin
 
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...maruay songtanin
 
๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...maruay songtanin
 
๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...maruay songtanin
 
๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....maruay songtanin
 
๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...maruay songtanin
 
๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...maruay songtanin
 
๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...maruay songtanin
 
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....maruay songtanin
 
๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docx
๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docx๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docx
๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docxmaruay songtanin
 
ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน Operational Resilience .pdf
ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน Operational Resilience .pdfความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน Operational Resilience .pdf
ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน Operational Resilience .pdfmaruay songtanin
 
๘๕. สุนิกขิตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๘๕. สุนิกขิตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...๘๕. สุนิกขิตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๘๕. สุนิกขิตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...maruay songtanin
 
๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...maruay songtanin
 
๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...maruay songtanin
 
๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...maruay songtanin
 
๘๑. กัณฐกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๘๑. กัณฐกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...๘๑. กัณฐกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๘๑. กัณฐกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...maruay songtanin
 
๘๐. โคปาลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๘๐. โคปาลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...๘๐. โคปาลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๘๐. โคปาลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...maruay songtanin
 

More from maruay songtanin (20)

หงส์ดำ Black Swan - The Impact of the Highly Improbable.pdf
หงส์ดำ Black Swan - The Impact of the Highly Improbable.pdfหงส์ดำ Black Swan - The Impact of the Highly Improbable.pdf
หงส์ดำ Black Swan - The Impact of the Highly Improbable.pdf
 
หลักการผู้นำ 7 ประการ 7 proven leadership principles .pdf
หลักการผู้นำ 7 ประการ 7 proven leadership principles .pdfหลักการผู้นำ 7 ประการ 7 proven leadership principles .pdf
หลักการผู้นำ 7 ประการ 7 proven leadership principles .pdf
 
๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...
๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...
๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...
 
๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
 
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...
 
๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
 
๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
 
๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
 
๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
 
๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
 
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
 
๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docx
๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docx๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docx
๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docx
 
ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน Operational Resilience .pdf
ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน Operational Resilience .pdfความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน Operational Resilience .pdf
ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน Operational Resilience .pdf
 
๘๕. สุนิกขิตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๘๕. สุนิกขิตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...๘๕. สุนิกขิตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๘๕. สุนิกขิตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
 
๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
 
๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
 
๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
 
๘๑. กัณฐกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๘๑. กัณฐกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...๘๑. กัณฐกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๘๑. กัณฐกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
 
๘๐. โคปาลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๘๐. โคปาลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...๘๐. โคปาลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๘๐. โคปาลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
 

02 อกิตติจริยา มจร.pdf

  • 1. 1 การบาเพ็ญบารมีของพระผู้มีพระภาคเจ้า ตอนที่ ๒ อกิตติจริยา พลตรี มารวย ส่งทานินทร์ ๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๖ เกริ่นนา เมื่อเราให้ทานแก่อินทพราหมณ์นั้น เราจะได้ปรารถนายศและลาภก็หามิได้ แต่เราปรารถนาพระ สัพพัญญุตญาณเท่านั้น จึงได้ประพฤติกรรมเหล่านั้น ฉะนี้ แล พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก ________________ ๑. การบาเพ็ญทานบารมี ๑. อกิตติจริยา ว่าด้วยจริยาของอกิตติดาบส [๑] ใน ๔ อสงไขยแสนกัป ความประพฤติใดในระหว่างนี้ ความประพฤตินั้นทั้งหมด เป็นเครื่อง บ่มพระโพธิญาณ [๒] เราจักเว้นความประพฤติในภพน้อยภพใหญ่ในกัปที่ล่วงแล้วเสีย จักบอกความประพฤติใน กัปนี้ เธอจงฟังเรา [๓] เราเป็นดาบสมีนามว่าอกิตติ เข้าไปอาศัยอยู่ในป่าใหญ่ที่ว่างเปล่า สงัดเงียบปราศจากเสียง อื้ออึงในกาลใด [๔] ในกาลนั้น ด้วยเดชแห่งความประพฤติตบะของเรา ท้าวสักกะผู้เป็นใหญ่ในดาวดึงสเทวโลก ทรงร้อนพระทัย แปลงร่างเป็นพราหมณ์ เข้ามาหาเราเพื่อภิกษา [๕] เราได้เห็นอินทพราหมณ์มายืนอยู่ใกล้ประตูบรรณศาลาของเรา จึงหยิบใบหมากเม่าที่เรา นามาจากป่า ซึ่งไม่มีน้ามันทั้งไม่มีรสเค็ม มอบให้จนหมดพร้อมทั้งภาชนะ [๖] เราครั้นให้ใบหมากเม่าแก่อินทพราหมณ์นั้นแล้ว จึงคว่าภาชนะ ละการแสวงหาใหม่ เข้าไป ยังบรรณศาลา [๗] แม้ในวันที่ ๒ ที่ ๓ อินทพราหมณ์ก็เข้ามายังสานักของเรา เราไม่หวั่นไหว ไม่ยึดมั่น ได้ให้ ไปเหมือนอย่างนั้น [๘] ในสรีระของเรามีผิวพรรณไม่เปลี่ยนแปลง เพราะการอดอาหารนั้นเป็นปัจจัยเลย เรายับยั้ง อยู่ตลอดวันนั้นๆ ด้วยปีติ สุข และความยินดี [๙] ถ้าเราพึงได้ทักขิไณยบุคคลที่ประเสริฐ แม้เดือนหนึ่ง สองเดือน เราก็ไม่หวั่นไหว ไม่ท้อใจ พึงให้ทานอันอุดม
  • 2. 2 [๑๐] เมื่อเราให้ทานแก่อินทพราหมณ์นั้น เราจะได้ปรารถนายศและลาภก็หามิได้ แต่เรา ปรารถนาพระสัพพัญญุตญาณเท่านั้น จึงได้ประพฤติกรรมเหล่านั้น ฉะนี้ แล อกิตติจริยาที่ ๑ จบ คาอธิบายเพิ่มเติมนามาจากบางส่วนของอรรถกถา ขุททกนิกาย จริยาปิฎก การบาเพ็ญทานบารมี ๑. อกิตติจริยา ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงยังอุตสาหะในการฟังบุรพจริยาของพระองค์ให้เกิดแก่ท่านพระ สารีบุตรเถระ และแก่บริษัทกับทั้งเทวดาและมนุษย์แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงกระทาบุรพจริยานั้นซึ่งปกปิดไว้ใน ระหว่างภพให้ประจักษ์ ดุจมะขามป้อมในฝ่ามือฉะนั้น จึงตรัสพระดารัสมีอาทิว่า : ในกาลใด เราเป็นดาบส ชื่ออกิตติ เข้าไปอาศัยอยู่ในป่าใหญ่อันว่างเปล่า สงัดเงียบปราศจากเสียงอื้ออึง. ในกาลนั้น พระศาสดาตรัสถึงความที่พระองค์เป็นดาบสชื่ออกิตติ แก่พระธรรมเสนาบดี. มีกถาเป็นลาดับดังต่อไปนี้ ได้ยินว่า ในอดีตกาล ภัทรกัปนี้ แล ครั้นเมื่อพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในกรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์อุบัติในตระกูลพราหมณ์มหาสาล มีสมบัติ ๘๐ โกฏิ มีชื่อว่าอกิตติ. เมื่ออกิตติเดินได้ น้องสาวก็ เกิดมีชื่อว่ายสวดี. เมื่ออกิตติมีอายุได้ ๑๕ ปีก็ไปเรียนศิลปะทุกอย่างในเมืองตักกสิลา เรียนสาเร็จแล้วก็กลับ. ครั้งนั้น มารดาบิดาของอกิตติได้ถึงแก่กรรม. อกิตติทาฌาปนกิจมารดาบิดาแล้วล่วงไปสองสามวัน ให้ผู้จัดการมรดกตรวจตราทรัพย์สิน ครั้นสดับว่าทรัพย์สินส่วนของมารดาประมาณเท่านี้ ส่วนของบิดา ประมาณเท่านี้ ส่วนของปู่ตาประมาณนี้ จึงเกิดสังเวชว่า ทรัพย์นี้ เท่านั้นยังปรากฏอยู่ แต่ผู้จัดหาทรัพย์มาไม่ ปรากฏ ทั้งหมดละทรัพย์นี้ ไป แต่เราจักเอาทรัพย์นี้ ไป จึงกราบทูลพระราชาให้ตีกลองป่าวประกาศว่า ผู้มี ความต้องการทรัพย์จงมายังเรือนของอกิตติบัณฑิต. อกิตติบัณฑิตบริจาคมหาทานตลอด ๗ วัน เมื่อทรัพย์ยังไม่หมดจึงคิดว่า ประโยชน์อะไรด้วยธน กรีฑานี้ แก่เรา ผู้มีความต้องการจักรับตามชอบใจ จึงเปิดประตูเรือนแล้วให้เปิดห้องเก็บสมบัติอันเต็มไปด้วย เงินและทองเป็นต้น ประกาศว่า ชนทั้งหลายจงนาเอาทรัพย์ที่เราให้แล้วไปเถิด แล้วละเรือนไปเมื่อวงศ์ญาติ ร่าไห้อยู่ ได้พาน้องสาวออกจากกรุงพาราณสีข้ามแม่น้าไป ๒-๓ โยชน์ ออกบวชสร้างบรรณศาลาอยู่ ณ ภูมิภาคน่ารื่นรมย์ ท่าที่อกิตติดาบสข้ามแม่น้าไปชื่อท่าอกิตติ. พวกมนุษย์ชาวบ้านชาวนิคมและชาวเมืองหลวงได้ฟังว่า อกิตติบัณฑิตบวชแล้ว ต่างมีใจจดจ่อด้วย คุณธรรมของอกิตติดาบสจึงพากันบวชตาม. อกิตติดาบสได้มีบริวารมาก. ลาภและสักการะเป็นอันมาก เกิดขึ้นดุจพุทธุปาทกาล. ลาดับนั้น พระมหาสัตว์ดาริว่า ลาภและสักการะอันมากนี้ แม้บริวารก็มาก แม้เพียงกายวิเวกก็ ไม่ได้ ในที่นี้ เราควรอยู่แต่ผู้เดียว เพราะเป็นผู้มีความมักน้อยอย่างยิ่ง และเพราะเป็นผู้น้อมไปในวิเวกจึง ไม่ให้ใครๆ รู้ออกไปผู้เดียว ถึงแคว้นทมิฬตามลาดับ อยู่ในสวนใกล้ท่ากาวีระยังฌานและอภิญญาให้เกิด.
  • 3. 3 แม้ ณ ที่นั้น ลาภและสักการะใหญ่ก็เกิดขึ้นแก่อกิตติดาบสนั้น. อกิตติดาบสรังเกียจลาภและสักการะใหญ่นั้นจึงทิ้งเหาะไปทางอากาศหยั่งลง ณ การทวีป, ในครั้ง นั้น การทวีปมีชื่อว่าอหิทวีป. อกิตติดาบสอาศัยต้นหมากเม่าใหญ่ ณ ที่นั้น สร้างบรรณศาลาพักอาศัยอยู่. แต่เพราะความเป็นผู้มักน้อยจึงไม่ไปในที่ไหนๆ บริโภคผลไม้ในกาลที่ต้นไม้นั้นมีผล เมื่อยังไม่มีผลก็บริโภค ใบไม้ชงน้า ยังกาลเวลาให้น้อมไปด้วยฌานและสมาบัติ. ด้วยเดชแห่งศีลของอกิตติดาบสนั้น บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ของท้าวสักกะนั้นแสดงอาการเร่าร้อน. ท้าวสักกะราพึงอยู่ว่า ใครหนอประสงค์ให้เราเคลื่อนจากที่นี้ ทอดพระเนตรเห็นอกิตติบัณฑิตทรงดาริว่า ดาบสนี้ ประพฤติตบะที่ทาได้ยากอย่างนี้ เพื่ออะไรหนอ หรือจะปรารถนาความเป็นท้าวสักกะ หรือว่าอย่างอื่น เราจักทดลองดาบสนั้นดู. จริงอยู่ ดาบสนี้ มีความประพฤติทางกายวาจาและใจบริสุทธิ์สะอาด ไม่อาลัยในชีวิต บริโภคใบ หมากเม่าชงน้า หากปรารถนาความเป็นท้าวสักกะ จักให้ใบหมากเม่าชงน้าของตนแก่เรา หากไม่ปรารถนา ก็จักไม่ให้ จึงแปลงเพศเป็นพราหมณ์ไปหาอกิตติดาบสนั้น. แม้พระโพธิสัตว์ก็รินใบหมากเม่าออกคิดว่าจักบริโภคน้าใบหมากเม่าเย็น นั่งอยู่ที่ประตู บรรณศาลา. ลาดับนั้น ท้าวสักกะมีรูปเป็นพราหมณ์มีความต้องการภิกษา ได้ยืนข้างหน้าพระดาบส. พระมหาสัตว์เห็นพราหมณ์นั้นก็ดีใจด้วยคิดว่า เป็นลาภของเราแล้วหนอ เราได้ดีแล้วหนอ เรา ไม่ได้เห็นยาจกมานานแล้วหนอ คิดต่อไปว่า วันนี้ เราจักยังความปรารถนาของเราให้ถึงที่สุดแล้วจักให้ทาน จึงถือเอาด้วยภาชนะที่มีอาหารสุกไป แล้วนึกถึงทานบารมี ใส่ลงในภิกษาภาชนะของพราหมณ์นั้นจนหมด. ท้าวสักกะรับภิกษานั้นไปได้หน่อยหนึ่งก็อันตรธานไป. แม้พระมหาสัตว์ ครั้นให้ภิกษาแก่พราหมณ์นั้นแล้วก็ไม่นึกที่จะแสวงหาอีก ยังกาลเวลาให้น้อมล่วง ไปด้วยปีติสุขนั้นนั่นเอง. ในวันที่สอง ท่านอกิตติดาบสนั่งอยู่ที่ประตูบรรณศาลา ก็ต้มใบหมากเม่าอีกคิดว่า เมื่อวานนี้ เรา ไม่ได้ทักขิไณยบุคคล วันนี้ เราจะได้อย่างไรหนอ. ท้าวสักกะก็เสด็จมาเหมือนเดิม. พระมหาสัตว์ได้ให้ภิกษา ยังกาลเวลาให้น้อมล่วงไปเหมือนอย่างนั้นอีก. ในวันที่สามก็ให้อย่างนั้นอีกแล้วคิดว่าน่าปลื้มใจหนอ เป็นลาภของเรา เราประสบบุญมากหนอ หากเราได้ทักขิไณยบุคคล เราจะให้ทานอย่างนี้ ตลอดเดือนหนึ่งบ้าง สองเดือนบ้าง. แม้ในสามวัน พระดาบสก็ตั้งจิตอธิษฐานว่า ด้วยทานนั้นเรามิได้ปรารถนา ลาภสักการะและความ สรรเสริญ ไม่ปรารถนาสมบัติจักรพรรดิ ไม่ปรารถนาสักกสมบัติ ไม่ปรารถนาพรหมสมบัติ ไม่ปรารถนา สาวกโพธิญาณ ไม่ปรารถนาปัจเจกโพธิญาณ ที่แท้ขอทานของเรานี้ จงเป็นปัจจัยแห่งพระสัพพัญญุตญาณ เถิด. ด้วยเหตุนั้น ท่านอกิตติดาบสจึงกล่าวว่า [พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า] ในกาลนั้นด้วยเดชแห่งการประพฤติตบะของเรา ท้าวสักกะผู้เป็นใหญ่ในไตรทิพย์ทรงร้อน พระทัย ทรงแปลงเพศเป็นพราหมณ์ เข้ามาหาเราเพื่อภิกษา.
  • 4. 4 เราได้เห็นพราหมณ์มายืนอยู่ใกล้ประตูบรรณศาลาของเรา จึงเอาใบหมากเม่าที่เรานามาแต่ป่า อันไม่มีน้ามันทั้งไม่เค็มให้หมด พร้อมกับภาชนะ. ครั้นได้ให้ใบหมากเม่าแก่พราหมณ์นั้นแล้ว เราจึงคว่าภาชนะ ละการแสวงหาใบหมากเม่าใหม่ เข้า ไปยังบรรณศาลา. แม้ในวันที่สอง แม้ในวันที่สาม พราหมณ์ก็เข้ามายังสานักเรา เราไม่หวั่นไหว ไม่อาลัยในชีวิต ได้ ให้หมดสิ้นเช่นก่อนเหมือนกัน. ในสรีระของเราไม่มีความหม่นหมอง เพราะการอดอาหารนั้นเป็นปัจจัย เรายังวันนั้นๆ ให้น้อมไป ด้วยความยินดีด้วยปีติสุข. ผิว่าเราพึงได้ทักขิไณยบุคคลผู้ประเสริฐ แม้เดือนหนึ่งสองเดือน เราก็ไม่หวั่นไหว ไม่ท้อแท้ พึงให้ ทานอันอุดม เมื่อให้ทานแก่พราหมณ์นั้น เราจะได้ปรารถนายศและลาภก็หามิได้ เราปรารถนาพระ สัพพัญญุตญาณ จึงได้ประพฤติกรรมเหล่านั้นฉะนี้ . พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศเพียงบุญจริยาที่ทาได้ยากของพระองค์ในอัตภาพนี้ แก่พระมหา เถระในวรรคนี้ ด้วยประการฉะนี้ . แต่ในเทศนาชาดก ท่านประกาศถึงท้าวสักกะเข้าไปหาในวันที่สี่ แล้วทรงทราบอัธยาศัยของพระ โพธิสัตว์ การประทานพร การแสดงธรรมของพระโพธิสัตว์ด้วยหัวข้อการรับพร และความหวังไทยธรรมและ ทักขิไณยบุคคล และการไม่มาของท้าวสักกะ. สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า ท้าวสักกะผู้เป็นภูตบดี ทอดพระเนตรเห็นท่านอกิตติดาบสพักสาราญอยู่ จึงถามว่า ข้าแต่ มหาพรหม พระคุณเจ้าปรารถนาอะไรจึงอยู่ผู้เดียวในฤดูร้อน. ท่านท้าวสักกรินทรเทพ ความเกิดใหม่เป็นทุกข์ การแตกทาลายแห่งสรีระเป็นทุกข์ การตายด้วย ความหลงเป็นทุกข์ เพราะฉะนั้น อาตมาจึงอยู่ผู้เดียว. ข้าแต่ท่านกัสสปะ เมื่อพระคุณเจ้ากล่าวคาสุภาษิตอันสมควรนี้ แล้ว พระคุณเจ้าปรารถนาอะไร ข้าพเจ้าจะให้พรนั้นแก่ท่าน. ท่านท้าวสักกะผู้เป็นจอมเทพทั้งหลาย หากท่านจะให้พรแก่อาตมา ขอจงให้พรดังนี้ คนทั้งหลายได้ บุตร ภรรยา ทรัพย์สมบัติและของเป็นที่รักด้วยความโลภใดแล้วไม่เดือดร้อน ขอความโลภนั้นไม่พึงอยู่ใน อาตมาเลย. ข้าแต่ท่านกัสสปะ เมื่อพระคุณเจ้ากล่าวดีแล้ว ฯลฯ พระคุณเจ้าปรารถนาอะไรอีก. ท่านท้าวสักกะผู้เป็นจอมเทพทั้งหลาย หากท่านจะให้พรแก่อาตมา ขอจงให้พรดังนี้ นา ไร่ ทอง โค ม้า ทาสและบุรุษ ย่อมเสื่อมไปด้วยโทษใด โทษนั้นไม่พึงอยู่ในอาตมาเลย. ข้าแต่ท่านกัสสปะ ฯลฯ พระคุณเจ้าปรารถนาอะไรอีก. ท่านท้าวสักกะหากท่านจะให้พรแก่อาตมา ขอจงให้พรดังนี้ บุคคลไม่พึงเห็น ไม่พึงได้ยินคนพาล ไม่พึงอยู่ร่วมด้วยคนพาล ไม่พึงกระทาและไม่พึงชอบใจการสนทนาปราศรัยด้วยคนพาล. ข้าแต่ท่านกัสสปะ เพราะอะไรท่านจึงไม่ชอบคนพาล ขอจงบอกเหตุ เพราะเหตุไร พระคุณเจ้าจึงไม่
  • 5. 5 ปรารถนาที่จะเห็นคนพาล. คนพาลย่อมแนะนาสิ่งไม่ควรแนะนา ย่อมขวนขวายในกิจอันไม่ใช่ธุระ คนพาลแนะนาให้ดีได้ยาก พูดดีหวังจะให้เขาเป็นคนประเสริฐกลับโกรธ คนพาลนั้นไม่รู้วินัย การไม่เห็นคนพาลได้เป็นความดี. ข้าแต่ท่านกัสสปะ พระคุณเจ้าปรารถนาอะไรอีก. ท่านท้าวสักกะจอมเทพ หากท่านจะให้พรแก่อาตมา ขอจงให้พรดังนี้ บุคคลพึงเห็นนักปราชญ์ พึง ฟังนักปราชญ์ พึงอยู่ร่วมกับนักปราชญ์ พึงกระทาและพึงชอบใจการสนทนาปราศรัยกับนักปราชญ์. ข้าแต่ท่านกัสสปะ เพราะเหตุไร พระคุณเจ้าจึงชอบใจนักปราชญ์ ขอจงบอกเหตุนั้น เพราะเหตุไร พระคุณเจ้าจึงปรารถนาจะเห็นนักปราชญ์. นักปราชญ์แนะนาสิ่งที่ควรแนะนา ไม่ขวนขวายในกิจที่มิใช่ธุระ นักปราชญ์แนะนาได้ง่าย พูดหวัง จะให้ดีก็ไม่โกรธ นักปราชญ์ย่อมรู้จักวินัย การสมาคมกับนักปราชญ์เป็นความดี. พระคุณเจ้าปรารถนาอะไรอีก. ท่านท้าวสักกะผู้เป็นจอมเทพ หากท่านจะให้พรแก่อาตมา ขอจงให้พรดังนี้ เมื่อราตรีหมดไป ดวง อาทิตย์ขึ้นเป็นเจ้าโลก ของบริโภคอันเป็นทิพย์พึงปรากฏ ผู้ขอพึงเป็นผู้มีศีล. เมื่ออาตมาให้ของบริโภคไม่หมดสิ้นไป ครั้นให้แล้วอาตมาไม่พึงเดือดร้อน เมื่อให้จิตพึงผ่องใส ท่าน ท้าวสักกะขอจงให้พรนี้ เถิด. พระคุณเจ้าปรารถนาอะไรอีก. ท่านท้าวสักกะผู้เป็นจอมเทพ หากท่านจะให้พรแก่อาตมา ขอจงให้พรดังนี้ ท่านไม่พึงกลับมาหา อาตมาอีก ท่านท้าวสักกะ ขอจงให้พรนี้ เถิด. เทพบุตร หรือ เทพธิดา ปรารถนาจะเห็นด้วยการประพฤติพรตเป็นอันมาก อะไรจะเป็นภัยในการ เห็นของอาตมา. ตบะพึงแตกไป เพราะเห็นสีสรรของพวกเทพเช่นนั้น ผู้ล้วนแล้วไปด้วยความสุขสมบูรณ์ในกามนี้ เป็นภัยในการเห็นของพระคุณเจ้า. ลาดับนั้น ท้าวสักกะตรัสว่า ดีแล้วพระคุณเจ้า ตั้งแต่บัดนี้ ไป ข้าพเจ้าจักไม่มาหาพระคุณเจ้าอีกแล้ว ทรงกราบพระดาบสนั้นเสด็จกลับไป. พระมหาสัตว์อยู่ ณ การทวีปนั้นตลอดชีวิต เมื่อสิ้นอายุก็ไปบังเกิดในพรหมโลก. ในครั้งนั้น พระอนุรุทธเถระเป็นท้าวสักกะ. พระโลกนาถเจ้าเป็นอกิตติบัณฑิต. อกิตติบัณฑิตย่อมได้รับบารมี ๑๐ เหล่านี้ คือ ชื่อว่าเนกขัมมบารมี เพราะการออกไปของท่านอ กิตติบัณฑิตนั้นเช่นกับมหาภิเนษกรมณ์. ชื่อว่าศีลบารมี เพราะมีศีลาจารอันบริสุทธิ์ด้วยดี. ชื่อว่าวีริยบารมี เพราะข่มกามวิตกเป็นต้นด้วยดี. ชื่อว่าขันติบารมี เพราะขันติสังวรถึงความยอดเยี่ยมอย่างยิ่ง. ชื่อว่าสัจจบาร มี เพราะปฏิบัติตามสมควรแก่ปฏิญญา. ชื่อว่าอธิฏฐานบารมี เพราะตั้งใจสมาทานไม่หวั่นไหวในที่ทั้งปวง. ชื่อว่าเมตตาบารมี ด้วยอัธยาศัยเกื้อกูลในสรรพสัตว์ทั้งหลาย. ชื่อว่าอุเบกขาบารมี เพราะถึงความเป็นกลาง ในความผิดปกติที่สัตว์และสังขารกระทาแล้ว. ชื่อว่าปัญญาบารมี ได้แก่ปัญญาอันเป็นอุบายโกศลซึ่งเป็น สหชาตปัญญา และปัญญาให้สาเร็จความประพฤติในการขัดเกลากิเลสอย่างยิ่ง เพราะรู้ธรรมเป็นอุปการะ
  • 6. 6 และธรรมไม่เป็นอุปการะแก่บารมีเหล่านั้น ละธรรมอันไม่เป็นอุปการะเสีย มุ่งประพฤติอยู่ในธรรมอันเป็น อุปการะ. เทศนาอันเป็นไปแล้วด้วยทานเป็นประธานอันเป็นความกว้างขวางยิ่งนักแห่งผู้มีอัธยาศัยในการให้. เพราะฉะนั้น ธรรมเหล่าใดมีประเภทไม่น้อย เป็นร้อยเป็นพัน เป็นโพธิสมภาร เป็นคุณของพระโพธิสัตว์มี อาทิอย่างนี้ คือ ธรรมเป็นปฏิญญา ๗ มีอาทิ คือ มหากรุณาอันให้สาเร็จในที่ทั้งปวง บุญสมภารและญาณ สมภาร แม้ทั้งสอง สุจริตของพระโพธิสัตว์ ๓ มีกายสุจริตเป็นต้น. อธิฏฐาน ๔ มีสัจจาธิษฐานเป็นต้น. พุทธ ภูมิ ๔ มีอุตสาหะเป็นต้น ธรรมเป็นเครื่องบ่มมหาโพธิญาณ ๕ มีศรัทธาเป็นต้น อัธยาศัยของพระโพธิสัตว์ ทั้งหลาย ๖ มีอัธยาศัยไม่โลภเป็นต้น เราข้ามได้แล้วจักข้ามต่อไป มหาปุริสวิตก ๘ มีอาทิว่า ธรรมนี้ ของผู้มี ความมักน้อย ธรรมนี้ มิใช่ของผู้มีความมักใหญ่. ธรรมมีโยนิโสมนสิการเป็นมูล ๙ อัธยาศัยของมหาบุรุษ ๑๐ มีอัธยาศัยในการให้เป็นต้น บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ มีทานและศีลเป็นต้น. ธรรมเหล่านั้นแม้ทั้งหมดควรกล่าว เจาะจงไปในที่นี้ ตามสมควร. อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบคุณานุภาพของพระมหาสัตว์มีอาทิอย่างนี้ คือการละกองสมบัติใหญ่ และ วงศ์ญาติใหญ่ แล้วออกจากเรือนเช่นกับมหาภิเนษกรมณ์ ครั้นออกไปแล้ว เมื่อบวชซึ่งชนเป็นอันมากรับรู้ แล้วก็ไม่เกี่ยวข้องในตระกูล ในคณะเพราะเป็นผู้มักน้อยอย่างยิ่ง รังเกียจลาภ สักการะและความสรรเสริญ สิ้นเชิง ยินดีในความสงัด วางเฉยในร่างกายและชีวิตเสียสละ อดอาหาร ยินดีด้วยความอิ่มในทาน แม้ ๓ วัน ร่างกายยังเป็นไปได้ไม่ผิดปกติ เมื่อมีผู้ขอก็ให้อาหารอยู่อย่างนั้น เดือนหนึ่งสองเดือน ประพฤติไม่ท้อถอยใน การบริจาคมีอัธยาศัยในการให้อย่างกว้างขวาง ด้วยคิดว่า เราจักยังร่างกายให้เป็นไปอยู่ได้ด้วยปีติสุขอันเกิด จากการให้เท่านั้น ครั้นให้ทานแล้วก็ประพฤติขัดเกลากิเลสยิ่งขึ้นไม่เป็นเหตุให้ทาการแสวงหาอาหารใหม่. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมาแล้วพระมหาสัตว์ทั้งหลายเป็นผู้แสวงหาคุณธรรมใหญ่หลวง มีมหากรุณา เป็นนักปราชญ์ เป็นเผ่าพันธุ์เอกของสรรพโลก. พระมหาสัตว์ผู้เป็นพระโพธิสัตว์ มีอานุภาพเป็นอจินไตย มีพระสัทธรรมเป็นโคจรในกาลทุกเมื่อ มี ความประพฤติขัดเกลากิเลสอย่างหมดจด. พายุใหญ่ มหาสมุทรมีคลื่นซัดเป็นวงกลม พระโพธิสัตว์กระโดดข้ามแดนนั้นไปได้ ไม่ใช่เรื่อง ธรรมดา. พระมหาสัตว์เหล่านั้น แม้เป็นผู้เจริญโดยสัญชาตในโลก เป็นผู้อบรมดีแล้วก็ไม่ติดด้วยโลกธรรม ทั้งหลาย เหมือนประทุมไม่ติดด้วยน้าฉันนั้น. ความเสน่หาเพราะกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย ย่อมเจริญโดยประการที่ละความเสน่หาในตนออกไปของ พระมหาสัตว์ทั้งหลาย. กรรมย่อมอยู่ในอานาจ ทั้งไม่เป็นตามอานาจของกรรม เหมือนจิตย่อมอยู่ในอานาจ ทั้งไม่เป็นไป ตามอานาจของจิต ฉะนั้น. พระมหาสัตว์เหล่านั้น เที่ยวแสวงหาโพธิญาณอันโทสะไม่ครอบงา หรือไม่เกิดขึ้นดังบุรุษทั้งหลายรู้ ถึงความเสื่อม.