SlideShare a Scribd company logo
1 of 105
Download to read offline
ระเบียบการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ โรงเรียนทุ่งยาวผดุงศิษย์ หน้า ๑
ระเบียบโรงเรียนทุ่งยาวผดุงศิษย์
ว่าด้วยการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช ๒๕๕๑
พ.ศ. ๒๕๕๓
โดยที่โรงเรียนทุ่งยาวผดุงศิษย์ ได้ประกาศใช้หลักสูตรโรงเรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้น
พื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ตามคําสั่งกระทรวงศึกษาธิการ ที่ สพฐ ๒๙๓ / ๒๕๕๑ ลงวันที่ ๑๑ กรกฎาคม
๒๕๕๑ เรื่อง ให้ใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ จึงเป็นการสมควรที่จะ
กําหนดระเบียบโรงเรียนทุ่งยาวผดุงศิษย์ว่าด้วยการวัดและประเมินผลตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้น
พื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ เพื่อให้สามารถดําเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับคําสั่งดังกล่าว
ฉะนั้น อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ
กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ และกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการ คณะกรรมการบริหารหลักสูตรและ
วิชาการของสถานศึกษา โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงวางระเบียบไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบโรงเรียนทุ่งยาวผดุงศิษย์ว่าด้วยการวัดและประเมินผลการเรียนรู้
ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ พ.ศ. ๒๕๕๓”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๕๓ เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ระดับชั้นที่ใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ให้วัดและ
ประเมินผลการเรียนรู้ตามระเบียบนี้ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ หรือคําสั่งอื่นใด ในส่วนที่กําหนดไว้แล้วใน
ระเบียบนี้ หรือซึ่งขัดแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน
ข้อ ๔ ระเบียบนี้ให้ใช้ควบคู่กับหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนทุ่งยาวผดุงศิษย์ ตามหลักสูตรแกนกลาง
การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ พ.ศ. ๒๕๕๓
ข้อ ๕ ให้ผู้บริหารสถานศึกษารักษาการให้เป็นไปตามระเบียบนี้
ระเบียบการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ โรงเรียนทุ่งยาวผดุงศิษย์ หน้า ๒
หมวด ๑
ข้อกําหนดการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช ๒๕๕๑
ข้อ ๖ โรงเรียนจะต้องดําเนินการเกี่ยวกับการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ตามหลักสูตรแกนกลาง
การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ กําหนดให้มีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ใน ๔ ระดับ ได้แก่
ระดับชั้นเรียน ระดับสถานศึกษา ระดับเขตพื้นที่การศึกษา และระดับชาติ ทุกระดับมีเจตนารมณ์
เช่นเดียวกันคือ ตรวจสอบความก้าวหน้าในการเรียนรู้ของผู้เรียน เพื่อนําผลการประเมินมาใช้เป็นข้อมูลในการ
พัฒนาอย่างต่อเนื่องต่อไป
๖.๑ การประเมินระดับชั้นเรียน
เป็นการวัดและประเมินผลที่อยู่ในกระบวนการจัดการเรียนรู้ ผู้สอนดําเนินการเป็นปกติและ
สม่ําเสมอในการจัดการเรียนการสอน
๖.๒ การประเมินระดับสถานศึกษา
เป็นการตรวจสอบผลการเรียนของผู้เรียนเป็นรายปี/รายภาค ผลการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์
และเขียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และเป็นการประเมินเกี่ยวกับการจัด
การศึกษาของสถานศึกษา
๖.๓ การประเมินระดับเขตพื้นที่การศึกษา
เป็นการประเมินคุณภาพผู้เรียนในระดับเขตพื้นที่การศึกษาตามมาตรฐานการเรียนรู้ตาม
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
๖.๔ การประเมินระดับชาติ
เป็นการประเมินคุณภาพผู้เรียนในระดับชาติตามมาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลาง
การศึกษาขั้นพื้นฐาน
ระเบียบการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ โรงเรียนทุ่งยาวผดุงศิษย์ หน้า ๓
หมวด ๒
หลักการในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑
ข้อ ๗ หลักการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ให้เป็นไปตามหลักการต่อไปนี้
๗.๑ สถานศึกษาเป็นผู้รับผิดชอบการวัดและการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยเปิดโอกาสให้
ผู้ที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วม
๗.๒ การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อปรับปรุงพัฒนาผู้เรียน พัฒนาการ
จัดการเรียนรู้และตัดสินผลการเรียน
๗.๓ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ต้องสอดคล้องและครอบคลุมมาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด
ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่กําหนดในหลักสูตรสถานศึกษา และจัดให้มีการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน
คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตลอดจนกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
๗.๔ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการจัดการเรียนการสอนต้อง
ดําเนินการด้วยเทคนิควิธีการที่หลากหลาย โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานความเที่ยงตรง ยุติธรรม และเชื่อถือได้
๗.๕ การประเมินผู้เรียนพิจารณาจากพัฒนาการของผู้เรียน ความประพฤติ การสังเกตพฤติกรรม
การเรียนรู้ การร่วมกิจกรรมและการทดสอบควบคู่ไปในกระบวนการเรียนการสอนตามความเหมาะสมของแต่ละ
ระดับและรูปแบบการศึกษา
๗.๖ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องตรวจสอบผลการประเมินผลการเรียนรู้
๗.๗ ให้มีการเทียบโอนผลการเรียนระหว่างสถานศึกษาและรูปแบบการศึกษาต่างๆ
ระเบียบการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ โรงเรียนทุ่งยาวผดุงศิษย์ หน้า ๔
หมวด ๓
ภารกิจ และแนวปฏิบัติในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของโรงเรียน
ข้อ ๘ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ กําหนดจุดหมาย สมรรถนะ
สําคัญของผู้เรียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และมาตรฐานการเรียนรู้เป็นเป้าหมายและกรอบทิศทางในการ
พัฒนาผู้เรียน กําหนดให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามมาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัดที่กําหนดในสาระการเรียนรู้ ๘ กลุ่มสาระ มี
ความสามารถด้านการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนา
ผู้เรียน
๘.๑ การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้
ผู้สอนทําการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ผู้เรียนเป็นรายวิชาตามตัวชี้วัดในรายวิชา
พื้นฐานและตามผลการเรียนรู้ในรายวิชาเพิ่มเติมตามที่กําหนดในหน่วยการเรียนรู้ ผู้สอนใช้วิธีการที่
หลากหลายจากแหล่งข้อมูลหลายๆ แหล่งเพื่อให้ได้ผลการประเมินที่สะท้อนความรู้ความสามารถที่แท้จริงของ
ผู้เรียน โดยทําการวัดและประเมินการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องไปพร้อมกับการจัดการเรียนการสอน สังเกต
พัฒนาการและความประพฤติของผู้เรียน สังเกตพฤติกรรมการเรียน การร่วมกิจกรรม ผู้สอนควรเน้นการ
ประเมินตามสภาพจริง
๘.๒ การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน
การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน เป็นการประเมินศักยภาพของผู้เรียน
ในการอ่านหนังสือ เอกสาร และสื่อต่างๆ เพื่อหาความรู้ เพิ่มพูนประสบการณ์ เพื่อความสุนทรีและประยุกต์ใช้
แล้วนํามาคิดวิเคราะห์เนื้อหาสาระที่อ่าน นําไปสู่การแสดงความคิดเห็น การสังเคราะห์ สร้างสรรค์ การ
แก้ปัญหาในเรื่องต่างๆ และถ่ายทอดความคิดนั้นด้วยการเขียนที่มีสํานวนภาษาถูกต้อง มีเหตุผลและลําดับ
ขั้นตอนในการนําเสนอ สามารถสร้างความเข้าใจแก่ผู้อ่านได้อย่างชัดเจนตามระดับความสามารถในแต่ละระดับชั้น
๘.๓ การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์
การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เป็นการประเมินคุณลักษณะที่ต้องการให้
เกิดขึ้นกับผู้เรียนอันเป็นคุณลักษณะที่สังคมต้องการในด้านคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม จิตสํานึก สามารถอยู่
ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข ทั้งในฐานะพลเมืองไทยและพลโลก
๘.๔ การประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
การประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เป็นการประเมินการปฏิบัติกิจกรรมและผลงาน
ของผู้เรียน และเวลาในการเข้าร่วมกิจกรรมตามเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในแต่ละกิจกรรมและใช้เป็นข้อมูลประเมิน
การเลื่อนชั้นเรียนและการจบการศึกษาระดับต่างๆ
ระเบียบการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ โรงเรียนทุ่งยาวผดุงศิษย์ หน้า ๕
หมวด ๔
เกณฑ์การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
ข้อ ๙ การตัดสินผลการเรียน
หลักสูตรโรงเรียนทุ่งยาวผดุงศิษย์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช
๒๕๕๑ กําหนดหลักเกณฑ์การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ เพื่อตัดสินผลการเรียนของผู้เรียน ดังนี้
๑) ตัดสินผลการเรียนเป็นรายวิชา ผู้เรียนต้องมีเวลาเรียนตลอดภาคเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ
๘๐ ของเวลาเรียนทั้งหมดในรายวิชานั้นๆ
๒) ผู้เรียนต้องได้รับการประเมินทุกตัวชี้วัดและผ่านตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากําหนด
๓) ผู้เรียนต้องได้รับการตัดสินผลการเรียนทุกรายวิชา
๔) ผู้เรียนต้องได้รับการประเมินและมีผลการประเมินผ่านตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากําหนด
ในการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
ข้อ ๑๐ การให้ระดับผลการเรียน
๑๐.๑ การตัดสินเพื่อให้ระดับผลการเรียนรายวิชาของกลุ่มสาระการเรียนรู้ให้ใช้ตัวเลขแสดง
ระดับผลการเรียนเป็น ๘ ระดับ
ในกรณีที่ไม่สามารถให้ระดับผลการเรียนเป็น ๘ ระดับได้ให้ใช้ตัวอักษรระบุเงื่อนไขของผล
การเรียน ดังนี้ “มส” “ร”
๑๐.๒ การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน เพื่อการเลื่อนชั้นและจบระดับ
การศึกษา กําหนดเกณฑ์การตัดสินเป็น ๔ ระดับ คือ ดีเยี่ยม ดี ผ่าน และไม่ผ่าน
๑๐.๓ การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เพื่อการเลื่อนชั้นและจบระดับการศึกษา
กําหนดเกณฑ์การตัดสินเป็น ๔ ระดับ คือ ดีเยี่ยม ดี ผ่าน และไม่ผ่าน
๑๐.๔ การประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน จะต้องพิจารณาทั้งเวลาการเข้าร่วมกิจกรรม
การปฏิบัติกิจกรรม และผลงานของผู้เรียนตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากําหนด และให้ผลการประเมินเป็นผ่าน
และไม่ผ่าน
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน มี ๓ ลักษณะ คือ
๑) กิจกรรมแนะแนว
๒) กิจกรรมนักเรียน ซึ่งประกอบด้วย
(๑) กิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี (ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น) กิจกรรมโรงเรียน
ด้วยมือเรา (ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น)
(๒) กิจกรรมชุมนุม
๓) กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์
ระเบียบการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ โรงเรียนทุ่งยาวผดุงศิษย์ หน้า ๖
ข้อ ๑๑ การเปลี่ยนผลการเรียน
๑๑.๑ การเปลี่ยนผลการเรียน “๐”
๑๑.๒ การเปลี่ยนผลการเรียน “ร”
๑๑.๓ การเปลี่ยนผลการเรียน “มส”
๑๑.๔ การพิจารณาเปลี่ยนผลการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน
๑๑.๕ การพิจารณาเปลี่ยนผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์
๑๑.๖ การเปลี่ยนผลการเรียน “มผ” สําหรับกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
ข้อ ๑๒ การเลื่อนชั้น
การพิจารณาเลื่อนชั้น ถ้าผู้เรียนมีข้อบกพร่องเพียงเล็กน้อยและสถานศึกษาพิจารณาเห็น
ว่าสามารถพัฒนาและสอนซ่อมเสริมได้ให้อยู่ในดุลพินิจของสถานศึกษาที่จะผ่อนผันให้เลื่อนชั้นได้ เมื่อสิ้นปี
การศึกษา ผู้เรียนจะได้รับการเลื่อนชั้น เมื่อมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากําหนด
ข้อ ๑๓ การเรียนซ้ําชั้น
ผู้เรียนที่ไม่ผ่านรายวิชาจํานวนมากและมีแนวโน้มว่าจะเป็นปัญหาต่อการเรียนในระดับ ชั้น
ที่สูงขึ้น มีผลการเรียนเฉลี่ยแต่ละปีการศึกษาต่ํากว่า ๑.๐๐ โรงเรียนตั้งคณะกรรมการพิจารณาให้เรียนซ้ําชั้นได้
ทั้งนี้ให้คํานึงถึงวุฒิภาวะและความรู้ ความ สามารถของผู้เรียนเป็นสําคัญ
ข้อ ๑๔ การสอนซ่อมเสริม
การสอนซ่อมเสริม เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการจัดการเรียนรู้และเป็นการให้โอกาสแก่
ผู้เรียนได้มีเวลาเรียนรู้สิ่งต่างๆ เพิ่มขึ้น จนสามารถบรรลุตามมาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัดที่กําหนดไว้
การสอนซ่อมเสริมสามารถดําเนินการได้ในกรณีดังต่อไปนี้
๑) ผู้เรียนมีความรู้และทักษะพื้นฐานไม่เพียงพอที่จะศึกษาในแต่ละรายวิชานั้น ควรจัดการสอน
ซ่อมเสริมปรับความรู้และทักษะพื้นฐาน
๒) ผู้เรียนไม่สามารถแสดงความรู้ ทักษะกระบวนการ หรือเจตคติ และคุณลักษณะที่กําหนดไว้
ตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด หรือผลการเรียนรู้ในการประเมินผลระหว่างเรียน
๓) ผู้เรียนที่ได้ระดับผลการเรียน “๐” ให้จัดการสอนซ่อมเสริมก่อนสอบแก้ตัว
ระเบียบการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ โรงเรียนทุ่งยาวผดุงศิษย์ หน้า ๗
หมวด ๕
เกณฑ์การจบ
ข้อ ๑๕ เกณฑ์การจบระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
๑) ผู้เรียนเรียนรายวิชาพื้นฐานและเพิ่มเติมไม่เกิน ๘๑ หน่วยกิต โดยเป็นรายวิชาพื้นฐาน
๖๖ หน่วยกิต และรายวิชาเพิ่มเติมตามที่สถานศึกษากําหนด
๒) ผู้เรียนต้องได้หน่วยกิตตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า ๗๗ หน่วยกิต โดยเป็นรายวิชา
พื้นฐาน ๖๖ หน่วยกิต และรายวิชาเพิ่มเติมไม่น้อยกว่า ๑๑ หน่วยกิต
๓) ผู้เรียนมีผลการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน ในระดับผ่านเกณฑ์การประเมิน
ตามที่สถานศึกษากําหนด
๔) ผู้เรียนมีผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ในระดับผ่านเกณฑ์การประเมิน
ตามที่สถานศึกษากําหนด
๕) ผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนและมีผลการประเมินผ่านเกณฑ์การประเมิน
ตามที่สถานศึกษากําหนด
๖) ผู้เรียนมีผลงานจากการอ่านอย่างน้อย ๓๐ เรื่อง
ข้อ ๑๖ เกณฑ์การจบระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
๑) ผู้เรียนเรียนรายวิชาพื้นฐานและเพิ่มเติมไม่น้อยกว่า ๘๑ หน่วยกิต โดยเป็นรายวิชา
พื้นฐาน ๔๑ หน่วยกิต และรายวิชาเพิ่มเติมตามที่สถานศึกษากําหนด
๒) ผู้เรียนต้องได้หน่วยกิตตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า ๗๗ หน่วยกิต โดยเป็นรายวิชา
พื้นฐาน ๔๑ หน่วยกิต และรายวิชาเพิ่มเติมไม่น้อยกว่า ๓๖ หน่วยกิต
๓) ผู้เรียนมีผลการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน ในระดับผ่านเกณฑ์การประเมิน
ตามที่สถานศึกษากําหนด
๔) ผู้เรียนมีผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ในระดับผ่านเกณฑ์การประเมิน
ตามที่สถานศึกษากําหนด
๕) ผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนและมีผลการประเมินผ่านเกณฑ์การประเมิน
ตามที่สถานศึกษากําหนด
๖) ผู้เรียนมีผลงานจากการอ่านอย่างน้อย ๓๐ เรื่อง
ระเบียบการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ โรงเรียนทุ่งยาวผดุงศิษย์ หน้า ๘
หมวด ๖
การรายงานผลการเรียน
ข้อ ๑๗ การรายงานผลการเรียนเป็นการสื่อสารให้ผู้ปกครองและผู้เรียนทราบความก้าวหน้าในการ
เรียนรู้ของผู้เรียน ซึ่งโรงเรียนต้องสรุปผลการประเมิน และจัดทํารายงานเอกสารให้ผู้ปกครองทราบเป็นระยะๆ
หรืออย่างน้อยภาคเรียนละ ๑ ครั้ง ในการรายงานผลการเรียนนั้นประกอบด้วยหลักการสําคัญ ดังนี้
๑๗.๑ จุดมุ่งหมายการรายงานผลการเรียน
๑๗.๒ ข้อมูลในการรายงานผลการเรียน
๑๗.๓ ลักษณะข้อมูลสําหรับการรายงาน
๑๗.๔ เป้าหมายการรายงาน
๑๗.๕ วิธีการรายงาน
๑๗.๖ การกําหนดระยะเวลาในการรายงาน
หมวด ๗
การเทียบโอนผลการเรียน
ข้อ ๑๘ โรงเรียนสามารถเทียบโอนผลการเรียนของผู้เรียนจากสถานศึกษาได้ในกรณีต่างๆ ได้แก่
การย้ายสถานศึกษา การเปลี่ยนรูปแบบการศึกษา การย้ายหลักสูตร การละทิ้งการศึกษา การขอกลับเข้ารับ
การศึกษาต่อ การศึกษาจากต่างประเทศและขอเข้าศึกษาต่อในประเทศ นอกจากนี้ยังสามารถเทียบโอน
ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์จากแหล่งการเรียนรู้
การเทียบโอนผลการเรียนควรดําเนินการในช่วงก่อนเปิดภาคเรียนแรก หรือต้นภาคเรียนแรกที่
สถานศึกษารับผู้ขอเทียบโอนเป็นผู้เรียน ทั้งนี้ผู้เรียนที่ได้รับการเทียบโอนผลการเรียนต้องศึกษาต่อเนื่องใน
สถานศึกษาที่รับเทียบโอนอย่างน้อย ๑ ภาคเรียน โดยสถานศึกษาที่รับการเทียบโอนควรกําหนดรายวิชา
จํานวนหน่วยกิตที่จะรับเทียบโอนตามความเหมาะสม
ทั้งนี้ วิธีการและแนวทางการเทียบโอนผลการเรียนให้เป็นไปตามหลักการและแนวทางการเทียบโอนผล
การเรียนตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่องการเทียบโอนผลการเรียนการศึกษาขั้นพื้นฐาน และการศึกษา
ระดับอุดมศึกษา ระดับต่ํากว่าปริญญา ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ และแนวปฏิบัติที่เกี่ยวกับ
การเทียบโอนผลการเรียนเข้าสู่การศึกษาในระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งจัดทําโดยสํานักงาน
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สิงหาคม ๒๕๔๙)
ระเบียบการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ โรงเรียนทุ่งยาวผดุงศิษย์ หน้า ๙
หมวด ๘
บทเฉพาะกาล
ข้อ ๑๙ ให้ยกเลิกระเบียบว่าด้วยการวัดและประเมินผลอื่นๆ และให้ใช้ระเบียบโรงเรียน
ทุ่งยาวผดุงศิษย์ ว่าด้วยการวัดและประเมินผลการเรียนตามหลักสูตรโรงเรียนทุ่งยาวผดุงศิษย์ ตามหลักสูตร
แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ พ.ศ. ๒๕๕๓ นี้ สําหรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ ๑ และ
มัธยมศึกษาปีที่ ๔ ทั้งนี้ตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๕๓ เป็นต้นไป
ข้อ ๒๐ ในกรณีที่กระทรวงศึกษาธิการ มีประกาศหรือระเบียบเพิ่มเติมเกี่ยวกับการวัดและประเมินผล
หรือเกี่ยวกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ให้โรงเรียนดําเนินการตามประกาศหรือ
ระเบียบของกระทรวงศึกษาธิการ
ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ เดือนมีนาคม พ.ศ ๒๕๕๓
(นายภิญโญ จินตนปัญญา)
ผู้อํานวยการโรงเรียนทุ่งยาวผดุงศิษย์
ระเบียบการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ โรงเรียนทุ่งยาวผดุงศิษย์ หน้า ๑๐
คําอธิบายระเบียบโรงเรียนทุ่งยาวผดุงศิษย์
ว่าด้วยการวัดและประเมินผลการเรียนตามหลักสูตรโรงเรียนทุ่งยาวผดุงศิษย์
ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑
พ.ศ. ๒๕๕๖
โดยที่โรงเรียนทุ่งยาวผดุงศิษย์ ได้จัดทําหลักสูตรโรงเรียนทุ่งยาวผดุงศิษย์ ตามหลักสูตรแกนกลาง
การศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา ๒๕๕๑ ขึ้นโดยนําสาระและมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด จากหลักสูตร
แกนกลางไปพัฒนาให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาในชุมชน สังคม ภูมิปัญญาท้องถิ่นและคุณลักษณะอันพึง
ประสงค์ สําหรับการจัดการศึกษาในสถานศึกษา อีกทั้งได้ออกระเบียบว่าด้วยการวัดและประเมินผลการเรียน
ตามหลักสูตรโรงเรียนทุ่งยาวผดุงศิษย์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑
เพื่อให้การปฏิบัติตามระเบียบการวัดและประเมินผลเป็นไปอย่างถูกต้อง และเป็นแนวเดียวกันโดย
ตลอดจึงได้จัดทําคําอธิบายไว้ดังนี้
ระเบียบการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ โรงเรียนทุ่งยาวผดุงศิษย์ หน้า ๑๑
หมวด ๑
ข้อกําหนดการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช ๒๕๕๑
ข้อ ๖ ข้อกําหนดการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช ๒๕๕๑ได้กําหนดจุดมุ่งหมายของการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ไว้ดังนี้
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนต้องอยู่บนจุดมุ่งหมายพื้นฐานสองประการ คือ เป็นการ
วัดและประเมินเพื่อพัฒนาผู้เรียนและเพื่อตัดสินผลการเรียน การที่จะบรรลุจุดมุ่งหมายแรกได้จะต้องมีการเก็บ
รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้เรียนในระหว่างการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง บันทึก วิเคราะห์ แปล
ความหมายข้อมูล แล้วนํามาใช้ในการส่งเสริมหรือปรับปรุงแก้ไขการเรียนรู้ของผู้เรียนและการสอนของครู
การวัดและประเมินผลกับการสอนจึงเป็นเรื่องที่สัมพันธ์กัน หากขาดสิ่งหนึ่งสิ่งใดการเรียนการสอนก็ขาด
ประสิทธิภาพ การประเมินระหว่างการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาการเรียนรู้เช่นนี้เป็นการวัดและประเมินผลย่อย
(Formative assessment) ที่เกิดขึ้นในห้องเรียนทุกวัน เป็นการประเมินเพื่อให้รู้จุดเด่น จุดที่ต้องปรับปรุง จึง
เป็นข้อมูลเพื่อใช้ในการพัฒนา การประเมินผลย่อยจะเป็นเครื่องมือในการกําหนดเป้าหมายการเรียนการสอน
แต่ทั้งนี้ผู้สอนต้องมีทักษะในการใช้วิธีการและเครื่องมือการประเมินที่หลากหลาย เช่น การสังเกต การซักถาม
การระดมความคิดเห็นเพื่อให้ได้มติข้อสรุปของประเด็นที่กําหนด การใช้แฟ้มสะสมงาน การใช้ภาระงานที่เน้น
การปฏิบัติ การประเมินความรู้เดิม การให้ผู้เรียนประเมินตนเอง การให้เพื่อนประเมินเพื่อน การใช้เกณฑ์การ
ให้คะแนน (Rubrics) และที่สําคัญการให้ข้อมูลย้อนกลับ โดยผู้สอนต้องสามารถให้คําแนะนําเพื่อเชื่อมโยง
ความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ทําให้การเรียนรู้พอกพูน นอกจากนี้ยังต้องรู้จักใช้ผลที่ได้จากการประเมินมาวางแผน
และทบทวนการสอนของตนอีกด้วย
สําหรับจุดมุ่งหมายที่สองคือ การวัดและประเมินผลเพื่อตัดสินผลการเรียนรู้ เป็นการประเมิน
สรุปผลการเรียนรู้ (Summative assessment) เมื่อเรียนจบหน่วยการเรียน หรือจบรายวิชาเพื่อตัดสินให้
คะแนนหรือให้ระดับผลการเรียน หรือให้การรับรองความรู้ความสามารถของผู้เรียนว่าผ่านรายวิชาหรือไม่
ควรได้รับการเลื่อนชั้นหรือไม่ หรือสามารถจบหลักสูตรหรือไม่ โดยสถานศึกษามีหน้าที่ในการอนุมัติและ
รายงานผลการเรียน
การจัดการศึกษาในปัจจุบันนอกจากให้ทั่วถึงแล้วยังมุ่งเน้นคุณภาพด้วย ผู้ปกครอง สังคมและรัฐ
ต้องการเห็นหลักฐานอันเป็นผลมาจากการจัดการศึกษา นั่นคือ คุณภาพของผู้เรียนที่เป็นไปตามมาตรฐานของ
หลักสูตร หน่วยงานที่รับผิดชอบนับตั้งแต่สถานศึกษา ต้นสังกัด หน่วยงานระดับชาติ ที่ได้รับมอบหมาย จึงมี
บทบาทหน้าที่ในการตรวจสอบคุณภาพผู้เรียนตามความคาดหวังของหลักสูตร ดังนั้นหลักสูตรแกนกลาง
การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ จึงกําหนดให้มีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ใน ๔ ระดับ
ได้แก่ ระดับชั้นเรียน ระดับสถานศึกษา ระดับเขตพื้นที่การศึกษาและระดับชาติ ทุกระดับมีเจตนารมณ์
ระเบียบการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ โรงเรียนทุ่งยาวผดุงศิษย์ หน้า ๑๒
เช่นเดียวกันคือ ตรวจสอบความก้าวหน้าในการเรียนรู้ของผู้เรียน เพื่อนําผลการประเมินมาใช้เป็นข้อมูลในการ
พัฒนาอย่างต่อเนื่องต่อไป
๖.๑ การประเมินระดับชั้นเรียน
เป็นการวัดและประเมินผลที่อยู่ในกระบวนการจัดการเรียนรู้ ผู้สอนดําเนินการเป็นปกติและ
สม่ําเสมอในการจัดการเรียนการสอน ใช้เทคนิคการประเมินอย่างหลากหลาย เช่น การซักถาม การสังเกต
การตรวจการบ้าน การประเมินโครงงาน การประเมินชิ้นงาน/ภาระงาน แฟ้มสะสมงาน การใช้แบบทดสอบฯลฯ โดย
ผู้สอนเป็นผู้ประเมินเอง หรือเปิดโอกาสให้ผู้เรียนประเมินตนเอง เพื่อนประเมินเพื่อน ผู้ปกครองร่วมประเมิน ใน
กรณีที่ไม่ผ่านตัวชี้วัดให้มีการสอนซ่อมเสริม
การประเมินระดับชั้นเรียนเป็นการตรวจสอบว่า ผู้เรียนมีพัฒนาการความก้าวหน้าในการเรียนรู้ อัน
เป็นผลมาจากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนหรือไม่และมากน้อยเพียงใด มีสิ่งที่จะต้องได้รับการพัฒนาปรับปรุง
และส่งเสริมในด้านใด นอกจากนี้ยังเป็นข้อมูลให้ผู้สอนใช้ปรับปรุงการเรียนการสอนของตนด้วย ทั้งนี้โดยให้
สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด
๖. ๒ การประเมินระดับสถานศึกษา
เป็นการตรวจสอบผลการเรียนของผู้เรียนเป็นรายภาค/ระดับการศึกษา ผลการประเมินการอ่าน
คิดวิเคราะห์และเขียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และเป็นการประเมินเพื่อให้ได้
ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการศึกษาของสถานศึกษาว่าส่งผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนตามเป้าหมายหรือไม่ ผู้เรียนมี
สิ่งที่ต้องได้รับการพัฒนาในด้านใด รวมทั้งสามารถนําผลการเรียนของผู้เรียนในสถานศึกษาเปรียบเทียบกับ
เกณฑ์ระดับชาติและระดับเขตพื้นที่การศึกษา ผลการประเมินระดับสถานศึกษาจะเป็นข้อมูลและสารสนเทศ
เพื่อการปรับปรุงนโยบาย หลักสูตร โครงการ หรือวิธีการจัดการเรียนการสอน ตลอดจนเพื่อการจัดทํา
แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาตามแนวทางการประกันคุณภาพการศึกษา และการรายงานผลการ
จัดการศึกษาต่อสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองและ
ชุมชน
๖.๓ การประเมินระดับเขตพื้นที่การศึกษา
เป็นการประเมินคุณภาพผู้เรียนในระดับเขตพื้นที่การศึกษาตามมาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตร
แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของเขตพื้นที่
การศึกษาตามภาระความรับผิดชอบ สามารถดําเนินการโดยประเมินคุณภาพของผู้เรียนด้วยวิธีการและ
เครื่องมือที่เป็นมาตรฐานที่จัดทําและดําเนินการโดยเขตพื้นที่การศึกษา หรือด้วยความร่วมมือกับหน่วยงาน
ต้นสังกัดและ / หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ยังสามารถดําเนินการได้ด้วยการตรวจสอบข้อมูลจาก
การประเมินระดับสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา
ระเบียบการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ โรงเรียนทุ่งยาวผดุงศิษย์ หน้า ๑๓
๖.๔ การประเมินระดับชาติ
เป็นการประเมินคุณภาพผู้เรียนในระดับชาติตามมาตรฐานการเรียนรู้ของหลักสูตรแกนกลาง
การศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนต้องจัดให้ผู้เรียนทุกคนที่เรียนในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ และชั้นมัธยมศึกษา ปีที่
๖ เข้ารับการประเมิน ผลจากการประเมินใช้เป็นข้อมูลในการเทียบเคียงคุณภาพการศึกษาในระดับต่างๆ เพื่อ
นําไปใช้ในการวางแผนยกระดับคุณภาพ การจัดการศึกษาของโรงเรียน ตลอดจนเป็นข้อมูลสนับสนุนการ
ตัดสินใจในนโยบายของโรงเรียนต่อไป
ข้อมูลการประเมินในระดับต่างๆ ข้างต้นเป็นประโยชน์ต่อโรงเรียนในการตรวจสอบ ทบทวน พัฒนา
คุณภาพผู้เรียน ถือเป็นภาระความรับผิดชอบของโรงเรียนที่จะต้องจัดระบบดูแลช่วยเหลือ ปรับปรุงแก้ไข
ส่งเสริมสนับสนุน เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาเต็มตามศักยภาพบนพื้นฐานความแตกต่างระหว่างบุคคลที่จําแนก
ตามสภาพปัญหาและความต้องการ ได้แก่ กลุ่มผู้เรียนทั่วไป กลุ่มผู้เรียนที่มีความสามารถพิเศษ กลุ่มผู้เรียนที่มี
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ํา กลุ่มผู้เรียนที่มีปัญหาด้านวินัยและพฤติกรรม กลุ่มผู้เรียนที่ปฏิเสธโรงเรียน กลุ่ม
ผู้เรียนที่มีปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคม กลุ่มพิการทางร่างกายและสติปัญญาเป็นต้น ข้อมูลจากการประเมิน
จึงเป็นหัวใจของโรงเรียนในการดําเนินการช่วยเหลือผู้เรียนได้ทันท่วงทีอันเป็นโอกาสให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนา
และประสบความสําเร็จในการเรียน
ระเบียบการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ โรงเรียนทุ่งยาวผดุงศิษย์ หน้า ๑๔
หมวด ๒
หลักการในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑
ข้อ ๗ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช
๒๕๕๑ เป็นกระบวนการเก็บรวบรวม ตรวจสอบ ตีความผลการเรียนรู้ และพัฒนาการด้านต่างๆ ของผู้เรียน
ตามมาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัดของหลักสูตร นําผลไปปรับปรุงพัฒนาการจัดการเรียนรู้และใช้เป็นข้อมูล
สําหรับการตัดสินผลการเรียน สถานศึกษาต้องมีกระบวนการจัดการที่เป็นระบบ เพื่อเป็นแนวทางในการ
ตัดสินใจเกี่ยวกับการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษา ดังนี้
๗.๑ สถานศึกษาเป็นผู้รับผิดชอบการวัดและการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยเปิดโอกาสให้ผู้ที่
เกี่ยวข้องมีส่วนร่วม
๗.๒ การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้มีจุดมุ่งหมายเพื่อปรับปรุงพัฒนาผู้เรียน พัฒนาการจัดการ
เรียนรู้และตัดสินผลการเรียน
๗.๓ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ต้องสอดคล้องและครอบคลุมมาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัดตาม
กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่กําหนดในหลักสูตรสถานศึกษา และจัดให้มีการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน
คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตลอดจนกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
๗.๔ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการจัดการเรียนการสอน
ต้องดําเนินการด้วยเทคนิควิธีการที่หลากหลาย เพื่อให้สามารถวัดและประเมินผลผู้เรียนได้อย่างรอบด้านทั้งด้าน
ความรู้ ความคิด กระบวนการ พฤติกรรมและเจตคติ เหมาะสมกับสิ่งที่ต้องการวัด ธรรมชาติวิชา และระดับชั้น
ของผู้เรียน โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานความเที่ยงตรง ยุติธรรม และเชื่อถือได้
๗.๕ การประเมินผู้เรียนพิจารณาจากพัฒนาการของผู้เรียน ความประพฤติ การสังเกตพฤติกรรมการ
เรียนรู้ การร่วมกิจกรรมและการทดสอบควบคู่ไปในกระบวนการเรียนการสอน ตามความเหมาะสมของแต่ละ
ระดับและรูปแบบการศึกษา
๗.๖ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องตรวจสอบผลการประเมินผลการเรียนรู้
๗.๗ ให้มีการเทียบโอนผลการเรียนระหว่างสถานศึกษาและรูปแบบการศึกษาต่างๆ
๗.๘ ให้สถานศึกษาจัดทําเอกสารหลักฐานการศึกษา เพื่อเป็นหลักฐานการประเมินผลการเรียนรู้
รายงานผลการเรียน แสดงวุฒิการศึกษาและรับรองผลการเรียนของผู้เรียน
ระเบียบการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ โรงเรียนทุ่งยาวผดุงศิษย์ หน้า ๑๕
หมวด ๓
ภารกิจ และแนวปฏิบัติในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของโรงเรียน
ข้อ ๘ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ กําหนดจุดหมาย สมรรถนะ
สําคัญของผู้เรียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และมาตรฐานการเรียนรู้เป็นเป้าหมายและกรอบทิศทางในการ
พัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี มีปัญญา มีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีขีดความสามารถในการแข่งขันในเวทีระดับโลก
กําหนดให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามมาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัดที่กําหนดในสาระการเรียนรู้ ๘ กลุ่มสาระ มีความสามารถ
ด้านการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
ความสัมพันธ์ขององค์ประกอบของการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ดังแผนภาพที่ ๑
แผนภาพที่ ๑ แสดงความสัมพันธ์ขององค์ประกอบการวัดและประเมินผลการเรียนรู้
๘.๑ การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้
ผู้สอนทําการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ผู้เรียนเป็นรายวิชาตามตัวชี้วัดในรายวิชา
พื้นฐานและตามผลการเรียนรู้ในรายวิชาเพิ่มเติมตามที่กําหนดในหน่วยการเรียนรู้ กําหนดหน่วยการเรียนรู้โดย
เลือกมาตรฐาน/ตัวชี้วัดที่สอดคล้องสัมพันธ์กันหรือประเด็นปัญหาที่อยู่ในความสนใจของผู้เรียน ซึ่งอาจจัดเป็น
หน่วยเฉพาะวิชา (Subject unit) หรือหน่วยบูรณาการ (Integrated unit) แต่ละหน่วยการเรียนรู้อาจนํา การ
อ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ มาพัฒนาในหน่วยการเรียนรู้ด้วย ในขณะเดียวกันผู้สอน
ควรวางแผนการประเมินที่สอดคล้องกับหน่วยการเรียนรู้ด้วย โดยใช้วิธีการที่หลากหลายจากแหล่งข้อมูลหลายๆ
แหล่งเพื่อให้ได้ผลการประเมินที่สะท้อนความรู้ความสามารถที่แท้จริงของผู้เรียน โดยทําการวัดและประเมิน
การเรียนรู้
๘ กลุ่มสาระ
การอ่าน
คิดวิเคราะห์และเขียน
คุณลักษณะ
อันพึงประสงค์
กิจกรรม
พัฒนาผู้เรียน
คุณภาพผู้เรียน
ระเบียบการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ โรงเรียนทุ่งยาวผดุงศิษย์ หน้า ๑๖
การเรียนรู้อย่างต่อเนื่องไปพร้อมกับการจัดการเรียนการสอน โดยสังเกตพัฒนาการและความประพฤติของ
ผู้เรียน สังเกตพฤติกรรมการเรียน การร่วมกิจกรรม ผู้สอนควรเน้นการประเมินตามสภาพจริง เช่น การ
ประเมินการปฏิบัติงาน การประเมินจากโครงงาน หรือการประเมินจากแฟ้มสะสมงาน ฯลฯ ควบคู่ไปกับการ
ใช้การทดสอบแบบต่างๆอย่างสมดุล ต้องให้ความสําคัญกับการประเมินระหว่างเรียน มากกว่าการประเมิน
ปลายปี/ปลายภาค และใช้เป็นข้อมูลเพื่อประเมินการเลื่อนชั้นเรียนและการจบการศึกษาระดับต่างๆ ตาม
ขั้นตอนดังนี้
๘.๑.๑ กําหนดตัวชี้วัดหรือผลการเรียนรู้ โดยวิเคราะห์จากมาตรฐานการเรียนรู้และ
ตัวชี้วัดของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้
๘.๑.๒ กําหนดหน่วยกิตการเรียนสําหรับแต่ละรายวิชา
๘.๑.๓ กําหนดสัดส่วนเวลาเรียนในแต่ละหน่วยการเรียนรู้ ตามโครงสร้างรายวิชา
โดยคํานึงถึงความสําคัญของมาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด หรือผลการเรียนรู้ และสาระการเรียนรู้ ในหน่วย
การเรียนรู้
๘.๑.๔ กําหนดภาระงานหรือชิ้นงานหรือกิจกรรมที่เป็นหลักฐานแสดงออกซึ่งความรู้
ความสามารถที่สะท้อนตัวชี้วัด หรือผลการเรียนรู้ การกําหนดภาระงาน หรือชิ้นงาน อาจมีลักษณะดังนี้
๘.๑.๔.๑ บูรณาการหลายสาระการเรียนรู้และครอบคลุมหลายมาตรฐาน
การเรียนรู้ หรือหลายตัวชี้วัด
๘.๑.๔๒ สาระการเรียนรู้เดียวแต่ครอบคลุมหลายมาตรฐานการเรียนรู้ หรือ
หลายตัวชี้วัด
๘.๑.๕ กําหนดเกณฑ์สําหรับประเมินภาระงาน/ชิ้นงาน/กิจกรรม โดยใช้เกณฑ์การ
ประเมิน (Rubrics) หรือกําหนดเป็นร้อยละ โดยครูผู้สอนต้องกําหนดเกณฑ์การผ่านไว้อย่างชัดเจน
๘.๑.๖ การจัดการเรียนรู้ของแต่ละหน่วยการเรียนรู้ ควรวัดและประเมินผลการเรียนรู้
เป็น ๓ ระยะ ได้แก่ ประเมินวิเคราะห์ผู้เรียนก่อนการเรียนการสอน ประเมินความก้าวหน้าระหว่างเรียน
และการประเมินความสําเร็จหลังเรียน โดยมีรายละเอียดดังนี้
๘.๑.๖.๑ ประเมินวิเคราะห์ผู้เรียน
การประเมินวิเคราะห์ผู้เรียน เป็นหน้าที่ของครูผู้สอนในแต่ละรายวิชา
ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ เพื่อตรวจสอบความรู้ ทักษะและความพร้อมด้านต่างๆ ของผู้เรียนโดยใช้วิธีการที่
เหมาะสม แล้วนําผลการประเมินมาปรับปรุง ซ่อมเสริม หรือเตรียมผู้เรียนทุกคน ให้มีความพร้อมและมี
ความรู้พื้นฐาน ซึ่งจะช่วยให้การจัดกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนประสบความสําเร็จในการเรียนได้เป็นอย่าง
ดี แต่จะไม่นําผลการประเมินนี้ไปใช้ในการพิจารณาตัดสินผลการเรียน มีแนวปฏิบัติดังนี้
ระเบียบการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ โรงเรียนทุ่งยาวผดุงศิษย์ หน้า ๑๗
๑)วิเคราะห์ความรู้และทักษะที่เป็นพื้นฐานของเรื่องที่จะเรียนรู้
๒)เลือกวิธีการและเครื่องมือสําหรับประเมินความรู้และทักษะพื้นฐาน
อย่างเหมาะสม เช่น การใช้แบบทดสอบ การซักถามผู้เรียน การสอบถามผู้สอน การพิจารณาผลการเรียน
เดิมหรือพิจารณาแฟ้มสะสมงาน (Portfolio) ที่ผ่านมา เป็นต้น
๓) ดําเนินการประเมินความรู้และทักษะพื้นฐานของผู้เรียน
๔) นําผลการประเมินไปพัฒนาผู้เรียนให้มีความพร้อมที่จะเรียน เช่น
จัดการเรียนรู้พื้นฐานสําหรับผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือ และเตรียมแผนจัดการเรียนรู้เพื่อสนับสนุนผู้เรียนที่มี
ความสามารถพิเศษ เป็นต้น
๘.๑.๖.๒ การประเมินความก้าวหน้าระหว่างเรียน
การประเมินความก้าวหน้าระหว่างเรียน เป็นการประเมินที่มุ่งตรวจสอบ
พัฒนาการของผู้เรียนในการบรรลุมาตรฐาน/ตัวชี้วัด ผลการเรียนรู้ ตามหน่วยการเรียนรู้ที่ผู้สอนได้วางแผนไว้
(ทุกตัวชี้วัด/ผลการเรียนรู้ ต้องผ่านเกณฑ์การประเมินที่ครูผู้สอนกําหนด และครูผู้สอนต้องเปิดโอกาสให้
ผู้เรียนได้พัฒนาปรับปรุงผลการเรียนได้ตลอดเวลา โดยให้อยู่ในดุลยพินิจของครูผู้สอน) เพื่อให้ได้ข้อมูล
สารสนเทศไปพัฒนา ปรับปรุง แก้ไขข้อบกพร่อง และส่งเสริมผู้เรียนให้มีความรู้ความสามารถและเกิด
พัฒนาการสูงสุดตามศักยภาพ นอกจากนี้ยังใช้เป็นข้อมูลในการปรับปรุงกระบวนการจัดการเรียนรู้ของผู้สอน
โดยผู้สอนเลือกวิธีการวัดและประเมินผลที่สอดคล้องกับภาระงานหรือกิจกรรมที่กําหนดให้ผู้เรียนปฏิบัติ
สําหรับการประเมินความก้าวหน้าระหว่างเรียน ได้แก่ การประเมินจากสิ่งที่ผู้เรียนได้แสดงให้เห็นว่ามีการ
พัฒนาด้านความรู้ความสามารถ ทักษะ ตลอดจนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่เป็นผลจากการเรียนรู้ ซึ่ง
ผู้สอนสามารถเลือกใช้วิธีการวัดและประเมินผลได้หลากหลาย ดังนี้
๑) เลือกวิธีและเครื่องมือการประเมินให้สอดคล้องกับตัวชี้วัด หรือผลการ
เรียนรู้ เช่น การประเมินด้วยการสังเกต การซักถาม การตรวจแบบฝึกหัด การประเมินตามสภาพจริง
การประเมินการปฏิบัติ เป็นต้น
๒) สร้างเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนให้สอดคล้องกับวิธีการ
ประเมินที่กําหนด
๓) ดําเนินการวัดและประเมินผลการเรียนควบคู่ไปกับการจัดกิจกรรมการ
เรียนรู้
๔) นําผลไปพัฒนาผู้เรียน
๘.๑.๖.๓ การประเมินความสําเร็จหลังเรียน
การประเมินความสําเร็จหลังเรียน เป็นการประเมินเพื่อมุ่งตรวจสอบ
ความสําเร็จของผู้เรียน ใน ๒ ลักษณะ คือ
๑) การประเมินเมื่อจบหน่วยการเรียนรู้ เป็นการประเมินผู้เรียนในหน่วยการ
เรียนรู้ที่ได้เรียนจบแล้ว เพื่อตรวจสอบผลการเรียนรู้ของผู้เรียนตามตัวชี้วัดหรือผลการเรียนรู้ พัฒนาการของ
ระเบียบการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ โรงเรียนทุ่งยาวผดุงศิษย์ หน้า ๑๘
ผู้เรียนเมื่อนําไปเปรียบเทียบกับผลการประเมินวิเคราะห์ผู้เรียน ทําให้สามารถประเมินศักยภาพในการเรียนรู้
ของผู้เรียน และประสิทธิภาพในการจัดการเรียนรู้ของผู้สอน ข้อมูลที่ได้จากการประเมินความสําเร็จภายหลัง
การเรียนสามารถนําไปใช้ประโยชน์ในการปรับปรุง แก้ไข วิธีการเรียนของผู้เรียน การพัฒนากระบวน การจัดการ
เรียนรู้ของผู้สอน หรือซ่อมเสริมผู้เรียนให้บรรลุตัวชี้วัดหรือผลการเรียนรู้
๒) การประเมินปลายภาค เป็นการประเมินผลเพื่อตรวจสอบผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน
ในการเรียนรู้ตามตัวชี้วัดหรือผลการเรียนรู้ และใช้เป็นข้อมูลสําหรับปรับปรุงแก้ไข ซ่อมเสริมผู้เรียนที่ไม่ผ่านการ
ประเมินตัวชี้วัด การประเมินปลายภาคสามารถใช้วิธีการและเครื่องมือประเมินได้อย่างหลากหลายและ
เลือกใช้ให้สอดคล้องกับตัวชี้วัด อาจใช้แบบทดสอบชนิดต่างๆ หรือประเมินโดยใช้ภาระงานหรือกิจกรรม
โดยมีขั้นตอนหรือวิธีการดังนี้
๑) เลือกวิธีการและเครื่องมือที่จะใช้ในการวัดและประเมินผล
๒) สร้างเครื่องมือประเมิน
๓) ดําเนินการประเมิน
๔) นําผลการประเมินไปใช้ตัดสินผลการเรียน ส่งผลการเรียนซ่อมเสริม แก้ไข
ผลการเรียน
๘.๑.๗ กําหนดสัดส่วนการประเมินระหว่างเรียนกับการประเมินผลปลายภาคเรียน ทั้งนี้
ให้คํานึงถึงธรรมชาติของรายวิชาและผลการเรียนรู้เป็นสําคัญ ในการประเมินผลการเรียนรายวิชาปลายภาค
ต้องนําผลการประเมินระหว่างเรียนไปใช้ในการตัดสินผลการเรียนด้วย และให้อยู่ในสัดส่วนที่โรงเรียนกําหนด
ไว้ดังนี้
กลุ่มสาระการเรียนรู้ คะแนนระหว่างภาค คะแนนปลาย
ภาค
ภาษาไทย ๖๐ ๔๐
สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ๖๐ ๔๐
วิทยาศาสตร์ ๖๐ ๔๐
คณิตศาสตร์ ๖๐ ๔๐
ศิลปะ ๖๐ ๔๐
พลานามัย ๘๐ ๒๐
สุขศึกษา ๖๐ ๔๐
การงานอาชีพและเทคโนโลยี ๗๐ ๓๐
ภาษาต่างประเทศ ๖๐ ๔๐
๘.๑.๘ จัดทําเอกสารบันทึกข้อมูลสารสนเทศของผู้เรียน ผู้สอนต้องจัดทําเอกสารบันทึก
ระเบียบการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ โรงเรียนทุ่งยาวผดุงศิษย์ หน้า ๑๙
ข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับการประเมินผลระหว่างเรียนอย่างเป็นระบบชัดเจน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความโปร่งใส
และความยุติธรรมในการประเมินเน้นการประเมินสภาพจริงที่สอดคล้องกับแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อการ
ตรวจสอบพัฒนาการและปรับปรุงแก้ไขปัญหาต่างๆ ของผู้เรียนให้บรรลุตามมาตรฐานและตัวชี้วัด หรือผลการ
เรียนรู้ที่กําหนดในหลักสูตรของสาระการเรียนรู้นั้นๆ โดยเลือกวิธีการประเมินที่หลากหลายและเหมาะสม
๘.๑.๙ การให้ระดับผลการเรียนรายวิชารายภาค มี ๘ ระดับดังนี้
ระดับผลการเรียน ๔ หมายถึง ดีเยี่ยม
ระดับผลการเรียน ๓.๕ หมายถึง ดีมาก
ระดับผลการเรียน ๓ หมายถึง ดี
ระดับผลการเรียน ๒.๕ หมายถึง ค่อนข้างดี
ระดับผลการเรียน ๒ หมายถึง ปานกลาง
ระดับผลการเรียน ๑.๕ หมายถึง พอใช้
ระดับผลการเรียน ๑ หมายถึง ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ํา
ระดับผลการเรียน ๐ หมายถึง ต่ํากว่าเกณฑ์
๘.๑.๑๐ ให้ใช้อักษรแสดงผลการเรียนที่มีเงื่อนไขในแต่ละรายวิชา ดังนี้
ร หมายถึง รอการตัดสินผลหรือยังตัดสินผลไม่ได้ เนื่องจากผู้เรียนไม่มีข้อมูลผล
การเรียนรายวิชานั้นครบถ้วน ได้แก่ ไม่ได้วัดผลกลางภาคเรียน/ปลายภาคเรียน ไม่ได้ส่งงานที่มอบหมายให้
ทํา ซึ่งงานนั้นเป็นส่วนหนึ่งของการตัดสินผลการเรียน หรือมีเหตุสุดวิสัยที่ทําให้ประเมินผลการเรียนไม่ได้
มส หมายถึง ผู้เรียนไม่มีสิทธิเข้ารับการวัดผลปลายภาคเรียน เนื่องจากผู้เรียนมี
เวลาเรียนไม่ถึงร้อยละ ๘๐ ของเวลาเรียนในแต่ละรายวิชา และไม่ได้รับการผ่อนผันให้เข้ารับการวัดผลปลาย
ภาคเรียน
๘.๑.๑๑ ประเมินสรุปผลการเรียนสาระการเรียนรู้เพื่อจบหลักสูตร เป็นหน้าที่ของงาน
ทะเบียนวัดผลในการตรวจสอบข้อมูลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนทุกภาคเรียน เพื่อประเมินสรุปการจบ
การการศึกษาแต่ละระดับ
ระเบียบการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ โรงเรียนทุ่งยาวผดุงศิษย์ หน้า ๒๐
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้รายกลุ่มสาระการเรียนรู้ ดังแผนภาพที่ ๒
แผนภาพที่ ๒ แสดงการวัดและประเมินผลการเรียนรู้รายกลุ่มสาระการเรียนรู้
๘.๒ การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน
การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน เป็นการประเมินศักยภาพของผู้เรียนในการอ่าน
หนังสือ เอกสาร และสื่อต่างๆ เพื่อหาความรู้ เพิ่มพูนประสบการณ์ เพื่อความสุนทรีและประยุกต์ใช้ แล้วนํามา
คิดวิเคราะห์เนื้อหาสาระที่อ่าน นําไปสู่การแสดงความคิดเห็น การสังเคราะห์ สร้างสรรค์ การแก้ปัญหาในเรื่องต่างๆ
และถ่ายทอดความคิดนั้นด้วยการเขียนที่มีสํานวนภาษาถูกต้อง มีเหตุผลและลําดับขั้นตอนในการนําเสนอ
สามารถสร้างความเข้าใจแก่ผู้อ่านได้อย่างชัดเจนตามระดับความสามารถในแต่ละระดับชั้น
การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน สถานศึกษาต้องดําเนินการอย่างต่อเนื่องและ
สรุปผลเป็นรายปี/รายภาค เพื่อวินิจฉัยและใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนาผู้เรียนและประเมินการเลื่อนชั้นเรียน
ตลอดจนการจบการศึกษาระดับต่างๆ ตามขั้นตอน ดังนี้
๘.๒.๑. แต่งตั้งคณะกรรมการการพัฒนาและประเมินความสามารถในการอ่าน
คิดวิเคราะห์และเขียนของสถานศึกษา เพื่อกําหนดแนวทางในการพัฒนา ประเมิน ปรับปรุงแก้ไข และตัดสินผล
การประเมินความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน รายภาค และจบการศึกษาแต่ละระดับ
๘.๒.๒ กําหนดขอบข่ายของการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน สําหรับหลักสูตรของ
สถานศึกษาแต่ละระดับ
๘.๒.๓ กําหนดตัวชี้วัด และเกณฑ์สําหรับการประเมินการอ่านคิดวิเคราะห์ และเขียน
กลุ่มสาระการเรียนรู้
ภาษาไทย
กลุ่มสาระการเรียนรู้
คณิตศาสตร์
กลุ่มสาระการเรียนรู้
สุขศึกษาและพลศึกษา
กลุ่มสาระการเรียนรู้
สังคมศึกษาฯ
กลุ่มสาระการเรียนรู้
การงานอาชีพฯ
กลุ่มสาระการเรียนรู้
วิทยาศาสตร์
กลุ่มสาระการเรียนรู้
ศิลปะ
กลุ่มสาระการเรียนรู้
ภาษาต่างประเทศ การวัดและประเมินผลการ
เรียนรู้ด้วยวิธีการที่หลากหลาย
บูรณาการในการเรียนการสอน
ระเบียบการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ โรงเรียนทุ่งยาวผดุงศิษย์ หน้า ๒๑
๘.๒.๔ กําหนดแนวทางและวิธีการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน ดังนี้
๘.๒.๔.๑ ครูผู้สอนทุกรายวิชาเป็นผู้ประเมินโดยบูรณาการการอ่าน คิดวิเคราะห์
และเขียนในหน่วยการเรียนรู้หรือแผนการจัดการเรียนรู้ในรายวิชา และเมื่อนําหน่วยการเรียนรู้นั้นไปจัด
กิจกรรมการเรียนรู้ ผลการประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียนที่เป็นผลงานในรายวิชานั้น นับเป็นผลการประเมิน
ความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียนด้วย
๘.๒.๔.๒ ประเมินความสามารถการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนรายตัวชี้วัด และ
ใช้ฐานนิยมเป็นเกณฑ์ในการตัดสินและให้มีผลการประเมิน ดังนี้
๓ หมายถึง ผ่านเกณฑ์ระดับดีเยี่ยม
๒ หมายถึง ผ่านเกณฑ์ระดับดี
๑ หมายถึง ผ่านเกณฑ์การประเมิน
๐ หมายถึง ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน
๘.๒.๔.๓ ในกรณีที่นักเรียนไม่ผ่านการประเมินในบางตัวชี้วัดให้ดําเนินการจัด
กิจกรรมส่งเสริมและพัฒนา ให้ผู้เรียนมีความก้าวหน้าในตัวชี้วัดที่มีจุดบกพร่อง แล้วนําผลงานนักเรียนไปเทียบ
กับแนวการให้คะแนนและเกณฑ์การตัดสินที่กําหนด ตั้งแต่ระดับ ดีเยี่ยม ดี และผ่าน
๘.๒.๕ งานวัดและประเมินผลของโรงเรียนนําผลการประเมินทุกรายวิชาไปประมวลผล
และสรุปในภาพรวมเป็นผลการประเมินความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียนรายภาค โดยใช้ค่าสถิติ
ฐานนิยม
๘.๒.๖ นําเสนอผลการประเมินให้ผู้บริหารสถานศึกษาอนุมัติและรายงานผู้ที่เกี่ยวข้อง
๘.๒.๗ การประเมินตัดสินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน เพื่อเลื่อนชั้น ใช้ผลการประเมิน
ของภาคเรียนที่สองของระดับชั้นนั้นในการตัดสิน ส่วนการตัดสินการจบระดับการศึกษาใช้ผลการประเมิน
ปลายปีของระดับการศึกษา ซึ่งต้องมีผลการประเมินผ่านเกณฑ์การประเมินทุกภาคเรียน
๘.๓ การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์
การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ให้ดําเนินงานดังนี้
๘.๓.๑ กําหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน อันเป็นคุณลักษณะ
ที่สังคมต้องการในด้านคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม จิตสํานึก สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข
ทั้งในฐานะพลเมืองไทยและพลโลก โรงเรียนทุ่งยาวผดุงศิษย์ กําหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ๘ คุณลักษณะ
ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ดังนี้
20ระเบียบโรงเรียน
20ระเบียบโรงเรียน
20ระเบียบโรงเรียน
20ระเบียบโรงเรียน
20ระเบียบโรงเรียน
20ระเบียบโรงเรียน
20ระเบียบโรงเรียน
20ระเบียบโรงเรียน
20ระเบียบโรงเรียน
20ระเบียบโรงเรียน
20ระเบียบโรงเรียน
20ระเบียบโรงเรียน
20ระเบียบโรงเรียน
20ระเบียบโรงเรียน
20ระเบียบโรงเรียน
20ระเบียบโรงเรียน
20ระเบียบโรงเรียน
20ระเบียบโรงเรียน
20ระเบียบโรงเรียน
20ระเบียบโรงเรียน
20ระเบียบโรงเรียน
20ระเบียบโรงเรียน
20ระเบียบโรงเรียน
20ระเบียบโรงเรียน
20ระเบียบโรงเรียน
20ระเบียบโรงเรียน
20ระเบียบโรงเรียน
20ระเบียบโรงเรียน
20ระเบียบโรงเรียน
20ระเบียบโรงเรียน
20ระเบียบโรงเรียน
20ระเบียบโรงเรียน
20ระเบียบโรงเรียน
20ระเบียบโรงเรียน
20ระเบียบโรงเรียน
20ระเบียบโรงเรียน
20ระเบียบโรงเรียน
20ระเบียบโรงเรียน
20ระเบียบโรงเรียน
20ระเบียบโรงเรียน
20ระเบียบโรงเรียน
20ระเบียบโรงเรียน
20ระเบียบโรงเรียน
20ระเบียบโรงเรียน
20ระเบียบโรงเรียน
20ระเบียบโรงเรียน
20ระเบียบโรงเรียน
20ระเบียบโรงเรียน
20ระเบียบโรงเรียน
20ระเบียบโรงเรียน
20ระเบียบโรงเรียน
20ระเบียบโรงเรียน
20ระเบียบโรงเรียน
20ระเบียบโรงเรียน
20ระเบียบโรงเรียน
20ระเบียบโรงเรียน
20ระเบียบโรงเรียน
20ระเบียบโรงเรียน
20ระเบียบโรงเรียน
20ระเบียบโรงเรียน
20ระเบียบโรงเรียน
20ระเบียบโรงเรียน
20ระเบียบโรงเรียน
20ระเบียบโรงเรียน
20ระเบียบโรงเรียน
20ระเบียบโรงเรียน
20ระเบียบโรงเรียน
20ระเบียบโรงเรียน
20ระเบียบโรงเรียน
20ระเบียบโรงเรียน
20ระเบียบโรงเรียน
20ระเบียบโรงเรียน
20ระเบียบโรงเรียน
20ระเบียบโรงเรียน
20ระเบียบโรงเรียน
20ระเบียบโรงเรียน
20ระเบียบโรงเรียน
20ระเบียบโรงเรียน
20ระเบียบโรงเรียน
20ระเบียบโรงเรียน
20ระเบียบโรงเรียน
20ระเบียบโรงเรียน
20ระเบียบโรงเรียน
20ระเบียบโรงเรียน

More Related Content

What's hot

การจัดกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ตามแนวคอนสตรัคติวิสท์ เพื่อพัฒนาทักษะแ...
การจัดกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ตามแนวคอนสตรัคติวิสท์  เพื่อพัฒนาทักษะแ...การจัดกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ตามแนวคอนสตรัคติวิสท์  เพื่อพัฒนาทักษะแ...
การจัดกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ตามแนวคอนสตรัคติวิสท์ เพื่อพัฒนาทักษะแ...Sarit Promthep
 
8 กระบวนพัฒน์
8 กระบวนพัฒน์8 กระบวนพัฒน์
8 กระบวนพัฒน์krutukSlide
 
หลักสูตรแกนกลาง
หลักสูตรแกนกลางหลักสูตรแกนกลาง
หลักสูตรแกนกลางsawitreesantawee
 
การออกแบบการจัดการเรียนรู้อิงมาตรฐาน
การออกแบบการจัดการเรียนรู้อิงมาตรฐานการออกแบบการจัดการเรียนรู้อิงมาตรฐาน
การออกแบบการจัดการเรียนรู้อิงมาตรฐานkruthai40
 
ระเบียบการวัดผลประเมินผล ท.ศ. 51
ระเบียบการวัดผลประเมินผล ท.ศ. 51ระเบียบการวัดผลประเมินผล ท.ศ. 51
ระเบียบการวัดผลประเมินผล ท.ศ. 51krupornpana55
 
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ๒๕๕๑
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ๒๕๕๑หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ๒๕๕๑
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ๒๕๕๑Rissa Byk
 
หลักสูตรแกนกลาง2551(ล่าสุด)
หลักสูตรแกนกลาง2551(ล่าสุด)หลักสูตรแกนกลาง2551(ล่าสุด)
หลักสูตรแกนกลาง2551(ล่าสุด)wasan
 
แนวทางการดำเนิน เรียนฟรี เรียนดี 15 ปี อย่างมีคุณภาพ ปีที่ 3
แนวทางการดำเนิน เรียนฟรี เรียนดี 15 ปี อย่างมีคุณภาพ ปีที่ 3แนวทางการดำเนิน เรียนฟรี เรียนดี 15 ปี อย่างมีคุณภาพ ปีที่ 3
แนวทางการดำเนิน เรียนฟรี เรียนดี 15 ปี อย่างมีคุณภาพ ปีที่ 3thanaetch
 
นโยบายลดเวลเรียนปรับเมื่อ ๗ ต.ค. ๕๘
นโยบายลดเวลเรียนปรับเมื่อ ๗ ต.ค. ๕๘นโยบายลดเวลเรียนปรับเมื่อ ๗ ต.ค. ๕๘
นโยบายลดเวลเรียนปรับเมื่อ ๗ ต.ค. ๕๘สรวิชญ์ สินสวาท
 
ภารกิจครูผู้ช่วย
ภารกิจครูผู้ช่วยภารกิจครูผู้ช่วย
ภารกิจครูผู้ช่วยBlade HurthurtHurt
 
แฟ้มสะสมผลงานดีเด่นระดับปริญญาเอก นายกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์
แฟ้มสะสมผลงานดีเด่นระดับปริญญาเอก นายกอบวิทย์  พิริยะวัฒน์แฟ้มสะสมผลงานดีเด่นระดับปริญญาเอก นายกอบวิทย์  พิริยะวัฒน์
แฟ้มสะสมผลงานดีเด่นระดับปริญญาเอก นายกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์Kobwit Piriyawat
 
4กลุ่มอำนวยการ57
4กลุ่มอำนวยการ574กลุ่มอำนวยการ57
4กลุ่มอำนวยการ57somdetpittayakom school
 
การนำเสนอการปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา 2551
การนำเสนอการปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา 2551การนำเสนอการปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา 2551
การนำเสนอการปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา 2551ดอกหญ้า ธรรมดา
 

What's hot (19)

การจัดกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ตามแนวคอนสตรัคติวิสท์ เพื่อพัฒนาทักษะแ...
การจัดกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ตามแนวคอนสตรัคติวิสท์  เพื่อพัฒนาทักษะแ...การจัดกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ตามแนวคอนสตรัคติวิสท์  เพื่อพัฒนาทักษะแ...
การจัดกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ตามแนวคอนสตรัคติวิสท์ เพื่อพัฒนาทักษะแ...
 
8 กระบวนพัฒน์
8 กระบวนพัฒน์8 กระบวนพัฒน์
8 กระบวนพัฒน์
 
หลักสูตรแกนกลาง
หลักสูตรแกนกลางหลักสูตรแกนกลาง
หลักสูตรแกนกลาง
 
นโยบาย กระทรวงศึกษา 58
นโยบาย กระทรวงศึกษา 58นโยบาย กระทรวงศึกษา 58
นโยบาย กระทรวงศึกษา 58
 
การออกแบบการจัดการเรียนรู้อิงมาตรฐาน
การออกแบบการจัดการเรียนรู้อิงมาตรฐานการออกแบบการจัดการเรียนรู้อิงมาตรฐาน
การออกแบบการจัดการเรียนรู้อิงมาตรฐาน
 
17
1717
17
 
ระเบียบการวัดผลประเมินผล ท.ศ. 51
ระเบียบการวัดผลประเมินผล ท.ศ. 51ระเบียบการวัดผลประเมินผล ท.ศ. 51
ระเบียบการวัดผลประเมินผล ท.ศ. 51
 
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ๒๕๕๑
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ๒๕๕๑หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ๒๕๕๑
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ๒๕๕๑
 
หลักสูตรแกนกลาง2551(ล่าสุด)
หลักสูตรแกนกลาง2551(ล่าสุด)หลักสูตรแกนกลาง2551(ล่าสุด)
หลักสูตรแกนกลาง2551(ล่าสุด)
 
กลวิธีการสอน
กลวิธีการสอนกลวิธีการสอน
กลวิธีการสอน
 
แนวทางการดำเนิน เรียนฟรี เรียนดี 15 ปี อย่างมีคุณภาพ ปีที่ 3
แนวทางการดำเนิน เรียนฟรี เรียนดี 15 ปี อย่างมีคุณภาพ ปีที่ 3แนวทางการดำเนิน เรียนฟรี เรียนดี 15 ปี อย่างมีคุณภาพ ปีที่ 3
แนวทางการดำเนิน เรียนฟรี เรียนดี 15 ปี อย่างมีคุณภาพ ปีที่ 3
 
นโยบายลดเวลเรียนปรับเมื่อ ๗ ต.ค. ๕๘
นโยบายลดเวลเรียนปรับเมื่อ ๗ ต.ค. ๕๘นโยบายลดเวลเรียนปรับเมื่อ ๗ ต.ค. ๕๘
นโยบายลดเวลเรียนปรับเมื่อ ๗ ต.ค. ๕๘
 
จุดเน้น
จุดเน้นจุดเน้น
จุดเน้น
 
ภารกิจครูผู้ช่วย
ภารกิจครูผู้ช่วยภารกิจครูผู้ช่วย
ภารกิจครูผู้ช่วย
 
แฟ้มสะสมผลงานดีเด่นระดับปริญญาเอก นายกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์
แฟ้มสะสมผลงานดีเด่นระดับปริญญาเอก นายกอบวิทย์  พิริยะวัฒน์แฟ้มสะสมผลงานดีเด่นระดับปริญญาเอก นายกอบวิทย์  พิริยะวัฒน์
แฟ้มสะสมผลงานดีเด่นระดับปริญญาเอก นายกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์
 
4กลุ่มอำนวยการ57
4กลุ่มอำนวยการ574กลุ่มอำนวยการ57
4กลุ่มอำนวยการ57
 
Inspiring science train the trainers 2013 (thai)
Inspiring science train the trainers 2013 (thai)Inspiring science train the trainers 2013 (thai)
Inspiring science train the trainers 2013 (thai)
 
5กลุ่มวิชาการ57
5กลุ่มวิชาการ575กลุ่มวิชาการ57
5กลุ่มวิชาการ57
 
การนำเสนอการปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา 2551
การนำเสนอการปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา 2551การนำเสนอการปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา 2551
การนำเสนอการปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา 2551
 

Similar to 20ระเบียบโรงเรียน

หลักสูตรส่วนที่ ๑
หลักสูตรส่วนที่ ๑หลักสูตรส่วนที่ ๑
หลักสูตรส่วนที่ ๑rampasri
 
ประกาศค่าเป้าหมายมาตรฐานโรงเรียนวัดพวงนิมิต
ประกาศค่าเป้าหมายมาตรฐานโรงเรียนวัดพวงนิมิตประกาศค่าเป้าหมายมาตรฐานโรงเรียนวัดพวงนิมิต
ประกาศค่าเป้าหมายมาตรฐานโรงเรียนวัดพวงนิมิตtassanee chaicharoen
 
แนวทางการพัฒนา การวัดและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึ...
แนวทางการพัฒนา การวัดและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึ...แนวทางการพัฒนา การวัดและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึ...
แนวทางการพัฒนา การวัดและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึ...Totsaporn Inthanin
 
หลักสูตรสถานศึกษา-66 แก้ไข.pdf
หลักสูตรสถานศึกษา-66  แก้ไข.pdfหลักสูตรสถานศึกษา-66  แก้ไข.pdf
หลักสูตรสถานศึกษา-66 แก้ไข.pdfJiruttiPommeChuaikho
 
หลักสูตร51สู่ห้องเรียน
หลักสูตร51สู่ห้องเรียนหลักสูตร51สู่ห้องเรียน
หลักสูตร51สู่ห้องเรียนPitima Boonprasit
 
การวัดผลประเมินผล
การวัดผลประเมินผลการวัดผลประเมินผล
การวัดผลประเมินผลwasan
 
มาตรฐานโรงเรียนวัดพวงนิมิต 15 มาตรฐาน
มาตรฐานโรงเรียนวัดพวงนิมิต  15 มาตรฐานมาตรฐานโรงเรียนวัดพวงนิมิต  15 มาตรฐาน
มาตรฐานโรงเรียนวัดพวงนิมิต 15 มาตรฐานtassanee chaicharoen
 
แนวทางการวัดผล
แนวทางการวัดผลแนวทางการวัดผล
แนวทางการวัดผลnarongsak promwang
 
โครงการปี 56
โครงการปี 56โครงการปี 56
โครงการปี 56krupornpana55
 
แผนการงานอาชีพ ม. 4.docx
แผนการงานอาชีพ ม. 4.docxแผนการงานอาชีพ ม. 4.docx
แผนการงานอาชีพ ม. 4.docxTangkwaLalida
 
10.ระเบียบวัดผล ดพ.
10.ระเบียบวัดผล ดพ.10.ระเบียบวัดผล ดพ.
10.ระเบียบวัดผล ดพ.nang_phy29
 
การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาอิงมาตรฐาน
การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาอิงมาตรฐานการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาอิงมาตรฐาน
การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาอิงมาตรฐานkruthai40
 
เครื่องมือวัดคุณภาพผู้เรียนตามจุดเน้น
เครื่องมือวัดคุณภาพผู้เรียนตามจุดเน้นเครื่องมือวัดคุณภาพผู้เรียนตามจุดเน้น
เครื่องมือวัดคุณภาพผู้เรียนตามจุดเน้นLathika Phapchai
 
หลักสูตรแกนกลาง 51
หลักสูตรแกนกลาง 51หลักสูตรแกนกลาง 51
หลักสูตรแกนกลาง 51Suwanan Nonsrikham
 
STUDENT HANDBOOK 2566 v2.pdf
STUDENT HANDBOOK 2566  v2.pdfSTUDENT HANDBOOK 2566  v2.pdf
STUDENT HANDBOOK 2566 v2.pdfjintana ver
 

Similar to 20ระเบียบโรงเรียน (20)

หลักสูตรส่วนที่ ๑
หลักสูตรส่วนที่ ๑หลักสูตรส่วนที่ ๑
หลักสูตรส่วนที่ ๑
 
ประกาศค่าเป้าหมายมาตรฐานโรงเรียนวัดพวงนิมิต
ประกาศค่าเป้าหมายมาตรฐานโรงเรียนวัดพวงนิมิตประกาศค่าเป้าหมายมาตรฐานโรงเรียนวัดพวงนิมิต
ประกาศค่าเป้าหมายมาตรฐานโรงเรียนวัดพวงนิมิต
 
แนวทางการพัฒนา การวัดและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึ...
แนวทางการพัฒนา การวัดและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึ...แนวทางการพัฒนา การวัดและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึ...
แนวทางการพัฒนา การวัดและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึ...
 
หลักสูตรสถานศึกษา-66 แก้ไข.pdf
หลักสูตรสถานศึกษา-66  แก้ไข.pdfหลักสูตรสถานศึกษา-66  แก้ไข.pdf
หลักสูตรสถานศึกษา-66 แก้ไข.pdf
 
หลักสูตร51สู่ห้องเรียน
หลักสูตร51สู่ห้องเรียนหลักสูตร51สู่ห้องเรียน
หลักสูตร51สู่ห้องเรียน
 
Ea5103
Ea5103Ea5103
Ea5103
 
การวัดผลประเมินผล
การวัดผลประเมินผลการวัดผลประเมินผล
การวัดผลประเมินผล
 
School Library Standard, Thailand
School Library Standard, ThailandSchool Library Standard, Thailand
School Library Standard, Thailand
 
มาตรฐานโรงเรียนวัดพวงนิมิต 15 มาตรฐาน
มาตรฐานโรงเรียนวัดพวงนิมิต  15 มาตรฐานมาตรฐานโรงเรียนวัดพวงนิมิต  15 มาตรฐาน
มาตรฐานโรงเรียนวัดพวงนิมิต 15 มาตรฐาน
 
แนวทางการวัดผล
แนวทางการวัดผลแนวทางการวัดผล
แนวทางการวัดผล
 
โครงการปี 56
โครงการปี 56โครงการปี 56
โครงการปี 56
 
วิชาการ
วิชาการวิชาการ
วิชาการ
 
Sar ครูพิมพ์
Sar ครูพิมพ์Sar ครูพิมพ์
Sar ครูพิมพ์
 
Sar ครูพิมพ์
Sar ครูพิมพ์Sar ครูพิมพ์
Sar ครูพิมพ์
 
แผนการงานอาชีพ ม. 4.docx
แผนการงานอาชีพ ม. 4.docxแผนการงานอาชีพ ม. 4.docx
แผนการงานอาชีพ ม. 4.docx
 
10.ระเบียบวัดผล ดพ.
10.ระเบียบวัดผล ดพ.10.ระเบียบวัดผล ดพ.
10.ระเบียบวัดผล ดพ.
 
การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาอิงมาตรฐาน
การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาอิงมาตรฐานการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาอิงมาตรฐาน
การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาอิงมาตรฐาน
 
เครื่องมือวัดคุณภาพผู้เรียนตามจุดเน้น
เครื่องมือวัดคุณภาพผู้เรียนตามจุดเน้นเครื่องมือวัดคุณภาพผู้เรียนตามจุดเน้น
เครื่องมือวัดคุณภาพผู้เรียนตามจุดเน้น
 
หลักสูตรแกนกลาง 51
หลักสูตรแกนกลาง 51หลักสูตรแกนกลาง 51
หลักสูตรแกนกลาง 51
 
STUDENT HANDBOOK 2566 v2.pdf
STUDENT HANDBOOK 2566  v2.pdfSTUDENT HANDBOOK 2566  v2.pdf
STUDENT HANDBOOK 2566 v2.pdf
 

More from krupornpana55

รายงานผล กิจกรรมต่างๆ
รายงานผล  กิจกรรมต่างๆ รายงานผล  กิจกรรมต่างๆ
รายงานผล กิจกรรมต่างๆ krupornpana55
 
การคงสภาพโรงเรียนต้นแบบสภานักเรียน
การคงสภาพโรงเรียนต้นแบบสภานักเรียนการคงสภาพโรงเรียนต้นแบบสภานักเรียน
การคงสภาพโรงเรียนต้นแบบสภานักเรียนkrupornpana55
 
ผังการดำเนินการกิจกรรมสภานักเรียนโรงเรียน A4
ผังการดำเนินการกิจกรรมสภานักเรียนโรงเรียน A4ผังการดำเนินการกิจกรรมสภานักเรียนโรงเรียน A4
ผังการดำเนินการกิจกรรมสภานักเรียนโรงเรียน A4krupornpana55
 
ถอดบทเรียนองค์ประกอบที่ 1 การดำเนินการส่งเสริมสภานักเรียน และประชาธิปไตยในโรง...
ถอดบทเรียนองค์ประกอบที่ 1 การดำเนินการส่งเสริมสภานักเรียน และประชาธิปไตยในโรง...ถอดบทเรียนองค์ประกอบที่ 1 การดำเนินการส่งเสริมสภานักเรียน และประชาธิปไตยในโรง...
ถอดบทเรียนองค์ประกอบที่ 1 การดำเนินการส่งเสริมสภานักเรียน และประชาธิปไตยในโรง...krupornpana55
 
โฟมบอร์ดห้องเรียนสีขาว
โฟมบอร์ดห้องเรียนสีขาวโฟมบอร์ดห้องเรียนสีขาว
โฟมบอร์ดห้องเรียนสีขาวkrupornpana55
 
บอร์ดสิ่งแวดล้อม
บอร์ดสิ่งแวดล้อมบอร์ดสิ่งแวดล้อม
บอร์ดสิ่งแวดล้อมkrupornpana55
 
บอร์ดโรงเรียนสีขาว
บอร์ดโรงเรียนสีขาวบอร์ดโรงเรียนสีขาว
บอร์ดโรงเรียนสีขาวkrupornpana55
 
บอร์ดพลโลก
บอร์ดพลโลกบอร์ดพลโลก
บอร์ดพลโลกkrupornpana55
 
คุณลักษณะ
คุณลักษณะคุณลักษณะ
คุณลักษณะkrupornpana55
 
การสร้างเครือข่าย
การสร้างเครือข่ายการสร้างเครือข่าย
การสร้างเครือข่ายkrupornpana55
 
5สิทธิเด็ก
5สิทธิเด็ก5สิทธิเด็ก
5สิทธิเด็กkrupornpana55
 
3คุณธรรมตามวิถีประชาธิปไตย
3คุณธรรมตามวิถีประชาธิปไตย3คุณธรรมตามวิถีประชาธิปไตย
3คุณธรรมตามวิถีประชาธิปไตยkrupornpana55
 
ผังการดำเนินการกิจกรรมสภานักเรียนโรงเรียน A4
ผังการดำเนินการกิจกรรมสภานักเรียนโรงเรียน A4ผังการดำเนินการกิจกรรมสภานักเรียนโรงเรียน A4
ผังการดำเนินการกิจกรรมสภานักเรียนโรงเรียน A4krupornpana55
 
คู่มือสภานักเรียน
คู่มือสภานักเรียนคู่มือสภานักเรียน
คู่มือสภานักเรียนkrupornpana55
 
2บันทึกรายงานผลการเข้าร่วม
2บันทึกรายงานผลการเข้าร่วม2บันทึกรายงานผลการเข้าร่วม
2บันทึกรายงานผลการเข้าร่วมkrupornpana55
 
1ปกรายงานการประชุม
1ปกรายงานการประชุม1ปกรายงานการประชุม
1ปกรายงานการประชุมkrupornpana55
 
3ภาพประกอบการอบรม เปล่า
3ภาพประกอบการอบรม เปล่า3ภาพประกอบการอบรม เปล่า
3ภาพประกอบการอบรม เปล่าkrupornpana55
 
2บันทึกรายงานผลการเข้าร่วม
2บันทึกรายงานผลการเข้าร่วม2บันทึกรายงานผลการเข้าร่วม
2บันทึกรายงานผลการเข้าร่วมkrupornpana55
 
1ปกรายงานการประชุม
1ปกรายงานการประชุม1ปกรายงานการประชุม
1ปกรายงานการประชุมkrupornpana55
 
3ภาพประกอบการอบรม เปล่า
3ภาพประกอบการอบรม เปล่า3ภาพประกอบการอบรม เปล่า
3ภาพประกอบการอบรม เปล่าkrupornpana55
 

More from krupornpana55 (20)

รายงานผล กิจกรรมต่างๆ
รายงานผล  กิจกรรมต่างๆ รายงานผล  กิจกรรมต่างๆ
รายงานผล กิจกรรมต่างๆ
 
การคงสภาพโรงเรียนต้นแบบสภานักเรียน
การคงสภาพโรงเรียนต้นแบบสภานักเรียนการคงสภาพโรงเรียนต้นแบบสภานักเรียน
การคงสภาพโรงเรียนต้นแบบสภานักเรียน
 
ผังการดำเนินการกิจกรรมสภานักเรียนโรงเรียน A4
ผังการดำเนินการกิจกรรมสภานักเรียนโรงเรียน A4ผังการดำเนินการกิจกรรมสภานักเรียนโรงเรียน A4
ผังการดำเนินการกิจกรรมสภานักเรียนโรงเรียน A4
 
ถอดบทเรียนองค์ประกอบที่ 1 การดำเนินการส่งเสริมสภานักเรียน และประชาธิปไตยในโรง...
ถอดบทเรียนองค์ประกอบที่ 1 การดำเนินการส่งเสริมสภานักเรียน และประชาธิปไตยในโรง...ถอดบทเรียนองค์ประกอบที่ 1 การดำเนินการส่งเสริมสภานักเรียน และประชาธิปไตยในโรง...
ถอดบทเรียนองค์ประกอบที่ 1 การดำเนินการส่งเสริมสภานักเรียน และประชาธิปไตยในโรง...
 
โฟมบอร์ดห้องเรียนสีขาว
โฟมบอร์ดห้องเรียนสีขาวโฟมบอร์ดห้องเรียนสีขาว
โฟมบอร์ดห้องเรียนสีขาว
 
บอร์ดสิ่งแวดล้อม
บอร์ดสิ่งแวดล้อมบอร์ดสิ่งแวดล้อม
บอร์ดสิ่งแวดล้อม
 
บอร์ดโรงเรียนสีขาว
บอร์ดโรงเรียนสีขาวบอร์ดโรงเรียนสีขาว
บอร์ดโรงเรียนสีขาว
 
บอร์ดพลโลก
บอร์ดพลโลกบอร์ดพลโลก
บอร์ดพลโลก
 
คุณลักษณะ
คุณลักษณะคุณลักษณะ
คุณลักษณะ
 
การสร้างเครือข่าย
การสร้างเครือข่ายการสร้างเครือข่าย
การสร้างเครือข่าย
 
5สิทธิเด็ก
5สิทธิเด็ก5สิทธิเด็ก
5สิทธิเด็ก
 
3คุณธรรมตามวิถีประชาธิปไตย
3คุณธรรมตามวิถีประชาธิปไตย3คุณธรรมตามวิถีประชาธิปไตย
3คุณธรรมตามวิถีประชาธิปไตย
 
ผังการดำเนินการกิจกรรมสภานักเรียนโรงเรียน A4
ผังการดำเนินการกิจกรรมสภานักเรียนโรงเรียน A4ผังการดำเนินการกิจกรรมสภานักเรียนโรงเรียน A4
ผังการดำเนินการกิจกรรมสภานักเรียนโรงเรียน A4
 
คู่มือสภานักเรียน
คู่มือสภานักเรียนคู่มือสภานักเรียน
คู่มือสภานักเรียน
 
2บันทึกรายงานผลการเข้าร่วม
2บันทึกรายงานผลการเข้าร่วม2บันทึกรายงานผลการเข้าร่วม
2บันทึกรายงานผลการเข้าร่วม
 
1ปกรายงานการประชุม
1ปกรายงานการประชุม1ปกรายงานการประชุม
1ปกรายงานการประชุม
 
3ภาพประกอบการอบรม เปล่า
3ภาพประกอบการอบรม เปล่า3ภาพประกอบการอบรม เปล่า
3ภาพประกอบการอบรม เปล่า
 
2บันทึกรายงานผลการเข้าร่วม
2บันทึกรายงานผลการเข้าร่วม2บันทึกรายงานผลการเข้าร่วม
2บันทึกรายงานผลการเข้าร่วม
 
1ปกรายงานการประชุม
1ปกรายงานการประชุม1ปกรายงานการประชุม
1ปกรายงานการประชุม
 
3ภาพประกอบการอบรม เปล่า
3ภาพประกอบการอบรม เปล่า3ภาพประกอบการอบรม เปล่า
3ภาพประกอบการอบรม เปล่า
 

20ระเบียบโรงเรียน

  • 1. ระเบียบการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ โรงเรียนทุ่งยาวผดุงศิษย์ หน้า ๑ ระเบียบโรงเรียนทุ่งยาวผดุงศิษย์ ว่าด้วยการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยที่โรงเรียนทุ่งยาวผดุงศิษย์ ได้ประกาศใช้หลักสูตรโรงเรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้น พื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ตามคําสั่งกระทรวงศึกษาธิการ ที่ สพฐ ๒๙๓ / ๒๕๕๑ ลงวันที่ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๕๑ เรื่อง ให้ใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ จึงเป็นการสมควรที่จะ กําหนดระเบียบโรงเรียนทุ่งยาวผดุงศิษย์ว่าด้วยการวัดและประเมินผลตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้น พื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ เพื่อให้สามารถดําเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับคําสั่งดังกล่าว ฉะนั้น อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ และกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการ คณะกรรมการบริหารหลักสูตรและ วิชาการของสถานศึกษา โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบโรงเรียนทุ่งยาวผดุงศิษย์ว่าด้วยการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ พ.ศ. ๒๕๕๓” ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๕๓ เป็นต้นไป ข้อ ๓ ระดับชั้นที่ใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ให้วัดและ ประเมินผลการเรียนรู้ตามระเบียบนี้ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ หรือคําสั่งอื่นใด ในส่วนที่กําหนดไว้แล้วใน ระเบียบนี้ หรือซึ่งขัดแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ ๔ ระเบียบนี้ให้ใช้ควบคู่กับหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนทุ่งยาวผดุงศิษย์ ตามหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ พ.ศ. ๒๕๕๓ ข้อ ๕ ให้ผู้บริหารสถานศึกษารักษาการให้เป็นไปตามระเบียบนี้
  • 2. ระเบียบการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ โรงเรียนทุ่งยาวผดุงศิษย์ หน้า ๒ หมวด ๑ ข้อกําหนดการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ข้อ ๖ โรงเรียนจะต้องดําเนินการเกี่ยวกับการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ตามหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ กําหนดให้มีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ใน ๔ ระดับ ได้แก่ ระดับชั้นเรียน ระดับสถานศึกษา ระดับเขตพื้นที่การศึกษา และระดับชาติ ทุกระดับมีเจตนารมณ์ เช่นเดียวกันคือ ตรวจสอบความก้าวหน้าในการเรียนรู้ของผู้เรียน เพื่อนําผลการประเมินมาใช้เป็นข้อมูลในการ พัฒนาอย่างต่อเนื่องต่อไป ๖.๑ การประเมินระดับชั้นเรียน เป็นการวัดและประเมินผลที่อยู่ในกระบวนการจัดการเรียนรู้ ผู้สอนดําเนินการเป็นปกติและ สม่ําเสมอในการจัดการเรียนการสอน ๖.๒ การประเมินระดับสถานศึกษา เป็นการตรวจสอบผลการเรียนของผู้เรียนเป็นรายปี/รายภาค ผลการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และเป็นการประเมินเกี่ยวกับการจัด การศึกษาของสถานศึกษา ๖.๓ การประเมินระดับเขตพื้นที่การศึกษา เป็นการประเมินคุณภาพผู้เรียนในระดับเขตพื้นที่การศึกษาตามมาตรฐานการเรียนรู้ตาม หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ๖.๔ การประเมินระดับชาติ เป็นการประเมินคุณภาพผู้เรียนในระดับชาติตามมาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน
  • 3. ระเบียบการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ โรงเรียนทุ่งยาวผดุงศิษย์ หน้า ๓ หมวด ๒ หลักการในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ข้อ ๗ หลักการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ให้เป็นไปตามหลักการต่อไปนี้ ๗.๑ สถานศึกษาเป็นผู้รับผิดชอบการวัดและการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยเปิดโอกาสให้ ผู้ที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วม ๗.๒ การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อปรับปรุงพัฒนาผู้เรียน พัฒนาการ จัดการเรียนรู้และตัดสินผลการเรียน ๗.๓ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ต้องสอดคล้องและครอบคลุมมาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่กําหนดในหลักสูตรสถานศึกษา และจัดให้มีการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตลอดจนกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ๗.๔ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการจัดการเรียนการสอนต้อง ดําเนินการด้วยเทคนิควิธีการที่หลากหลาย โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานความเที่ยงตรง ยุติธรรม และเชื่อถือได้ ๗.๕ การประเมินผู้เรียนพิจารณาจากพัฒนาการของผู้เรียน ความประพฤติ การสังเกตพฤติกรรม การเรียนรู้ การร่วมกิจกรรมและการทดสอบควบคู่ไปในกระบวนการเรียนการสอนตามความเหมาะสมของแต่ละ ระดับและรูปแบบการศึกษา ๗.๖ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องตรวจสอบผลการประเมินผลการเรียนรู้ ๗.๗ ให้มีการเทียบโอนผลการเรียนระหว่างสถานศึกษาและรูปแบบการศึกษาต่างๆ
  • 4. ระเบียบการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ โรงเรียนทุ่งยาวผดุงศิษย์ หน้า ๔ หมวด ๓ ภารกิจ และแนวปฏิบัติในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของโรงเรียน ข้อ ๘ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ กําหนดจุดหมาย สมรรถนะ สําคัญของผู้เรียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และมาตรฐานการเรียนรู้เป็นเป้าหมายและกรอบทิศทางในการ พัฒนาผู้เรียน กําหนดให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามมาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัดที่กําหนดในสาระการเรียนรู้ ๘ กลุ่มสาระ มี ความสามารถด้านการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนา ผู้เรียน ๘.๑ การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ ผู้สอนทําการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ผู้เรียนเป็นรายวิชาตามตัวชี้วัดในรายวิชา พื้นฐานและตามผลการเรียนรู้ในรายวิชาเพิ่มเติมตามที่กําหนดในหน่วยการเรียนรู้ ผู้สอนใช้วิธีการที่ หลากหลายจากแหล่งข้อมูลหลายๆ แหล่งเพื่อให้ได้ผลการประเมินที่สะท้อนความรู้ความสามารถที่แท้จริงของ ผู้เรียน โดยทําการวัดและประเมินการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องไปพร้อมกับการจัดการเรียนการสอน สังเกต พัฒนาการและความประพฤติของผู้เรียน สังเกตพฤติกรรมการเรียน การร่วมกิจกรรม ผู้สอนควรเน้นการ ประเมินตามสภาพจริง ๘.๒ การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน เป็นการประเมินศักยภาพของผู้เรียน ในการอ่านหนังสือ เอกสาร และสื่อต่างๆ เพื่อหาความรู้ เพิ่มพูนประสบการณ์ เพื่อความสุนทรีและประยุกต์ใช้ แล้วนํามาคิดวิเคราะห์เนื้อหาสาระที่อ่าน นําไปสู่การแสดงความคิดเห็น การสังเคราะห์ สร้างสรรค์ การ แก้ปัญหาในเรื่องต่างๆ และถ่ายทอดความคิดนั้นด้วยการเขียนที่มีสํานวนภาษาถูกต้อง มีเหตุผลและลําดับ ขั้นตอนในการนําเสนอ สามารถสร้างความเข้าใจแก่ผู้อ่านได้อย่างชัดเจนตามระดับความสามารถในแต่ละระดับชั้น ๘.๓ การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เป็นการประเมินคุณลักษณะที่ต้องการให้ เกิดขึ้นกับผู้เรียนอันเป็นคุณลักษณะที่สังคมต้องการในด้านคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม จิตสํานึก สามารถอยู่ ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข ทั้งในฐานะพลเมืองไทยและพลโลก ๘.๔ การประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน การประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เป็นการประเมินการปฏิบัติกิจกรรมและผลงาน ของผู้เรียน และเวลาในการเข้าร่วมกิจกรรมตามเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในแต่ละกิจกรรมและใช้เป็นข้อมูลประเมิน การเลื่อนชั้นเรียนและการจบการศึกษาระดับต่างๆ
  • 5. ระเบียบการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ โรงเรียนทุ่งยาวผดุงศิษย์ หน้า ๕ หมวด ๔ เกณฑ์การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ข้อ ๙ การตัดสินผลการเรียน หลักสูตรโรงเรียนทุ่งยาวผดุงศิษย์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ กําหนดหลักเกณฑ์การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ เพื่อตัดสินผลการเรียนของผู้เรียน ดังนี้ ๑) ตัดสินผลการเรียนเป็นรายวิชา ผู้เรียนต้องมีเวลาเรียนตลอดภาคเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐ ของเวลาเรียนทั้งหมดในรายวิชานั้นๆ ๒) ผู้เรียนต้องได้รับการประเมินทุกตัวชี้วัดและผ่านตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากําหนด ๓) ผู้เรียนต้องได้รับการตัดสินผลการเรียนทุกรายวิชา ๔) ผู้เรียนต้องได้รับการประเมินและมีผลการประเมินผ่านตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากําหนด ในการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ข้อ ๑๐ การให้ระดับผลการเรียน ๑๐.๑ การตัดสินเพื่อให้ระดับผลการเรียนรายวิชาของกลุ่มสาระการเรียนรู้ให้ใช้ตัวเลขแสดง ระดับผลการเรียนเป็น ๘ ระดับ ในกรณีที่ไม่สามารถให้ระดับผลการเรียนเป็น ๘ ระดับได้ให้ใช้ตัวอักษรระบุเงื่อนไขของผล การเรียน ดังนี้ “มส” “ร” ๑๐.๒ การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน เพื่อการเลื่อนชั้นและจบระดับ การศึกษา กําหนดเกณฑ์การตัดสินเป็น ๔ ระดับ คือ ดีเยี่ยม ดี ผ่าน และไม่ผ่าน ๑๐.๓ การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เพื่อการเลื่อนชั้นและจบระดับการศึกษา กําหนดเกณฑ์การตัดสินเป็น ๔ ระดับ คือ ดีเยี่ยม ดี ผ่าน และไม่ผ่าน ๑๐.๔ การประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน จะต้องพิจารณาทั้งเวลาการเข้าร่วมกิจกรรม การปฏิบัติกิจกรรม และผลงานของผู้เรียนตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากําหนด และให้ผลการประเมินเป็นผ่าน และไม่ผ่าน กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน มี ๓ ลักษณะ คือ ๑) กิจกรรมแนะแนว ๒) กิจกรรมนักเรียน ซึ่งประกอบด้วย (๑) กิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี (ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น) กิจกรรมโรงเรียน ด้วยมือเรา (ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น) (๒) กิจกรรมชุมนุม ๓) กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์
  • 6. ระเบียบการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ โรงเรียนทุ่งยาวผดุงศิษย์ หน้า ๖ ข้อ ๑๑ การเปลี่ยนผลการเรียน ๑๑.๑ การเปลี่ยนผลการเรียน “๐” ๑๑.๒ การเปลี่ยนผลการเรียน “ร” ๑๑.๓ การเปลี่ยนผลการเรียน “มส” ๑๑.๔ การพิจารณาเปลี่ยนผลการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน ๑๑.๕ การพิจารณาเปลี่ยนผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ๑๑.๖ การเปลี่ยนผลการเรียน “มผ” สําหรับกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ข้อ ๑๒ การเลื่อนชั้น การพิจารณาเลื่อนชั้น ถ้าผู้เรียนมีข้อบกพร่องเพียงเล็กน้อยและสถานศึกษาพิจารณาเห็น ว่าสามารถพัฒนาและสอนซ่อมเสริมได้ให้อยู่ในดุลพินิจของสถานศึกษาที่จะผ่อนผันให้เลื่อนชั้นได้ เมื่อสิ้นปี การศึกษา ผู้เรียนจะได้รับการเลื่อนชั้น เมื่อมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากําหนด ข้อ ๑๓ การเรียนซ้ําชั้น ผู้เรียนที่ไม่ผ่านรายวิชาจํานวนมากและมีแนวโน้มว่าจะเป็นปัญหาต่อการเรียนในระดับ ชั้น ที่สูงขึ้น มีผลการเรียนเฉลี่ยแต่ละปีการศึกษาต่ํากว่า ๑.๐๐ โรงเรียนตั้งคณะกรรมการพิจารณาให้เรียนซ้ําชั้นได้ ทั้งนี้ให้คํานึงถึงวุฒิภาวะและความรู้ ความ สามารถของผู้เรียนเป็นสําคัญ ข้อ ๑๔ การสอนซ่อมเสริม การสอนซ่อมเสริม เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการจัดการเรียนรู้และเป็นการให้โอกาสแก่ ผู้เรียนได้มีเวลาเรียนรู้สิ่งต่างๆ เพิ่มขึ้น จนสามารถบรรลุตามมาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัดที่กําหนดไว้ การสอนซ่อมเสริมสามารถดําเนินการได้ในกรณีดังต่อไปนี้ ๑) ผู้เรียนมีความรู้และทักษะพื้นฐานไม่เพียงพอที่จะศึกษาในแต่ละรายวิชานั้น ควรจัดการสอน ซ่อมเสริมปรับความรู้และทักษะพื้นฐาน ๒) ผู้เรียนไม่สามารถแสดงความรู้ ทักษะกระบวนการ หรือเจตคติ และคุณลักษณะที่กําหนดไว้ ตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด หรือผลการเรียนรู้ในการประเมินผลระหว่างเรียน ๓) ผู้เรียนที่ได้ระดับผลการเรียน “๐” ให้จัดการสอนซ่อมเสริมก่อนสอบแก้ตัว
  • 7. ระเบียบการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ โรงเรียนทุ่งยาวผดุงศิษย์ หน้า ๗ หมวด ๕ เกณฑ์การจบ ข้อ ๑๕ เกณฑ์การจบระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ๑) ผู้เรียนเรียนรายวิชาพื้นฐานและเพิ่มเติมไม่เกิน ๘๑ หน่วยกิต โดยเป็นรายวิชาพื้นฐาน ๖๖ หน่วยกิต และรายวิชาเพิ่มเติมตามที่สถานศึกษากําหนด ๒) ผู้เรียนต้องได้หน่วยกิตตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า ๗๗ หน่วยกิต โดยเป็นรายวิชา พื้นฐาน ๖๖ หน่วยกิต และรายวิชาเพิ่มเติมไม่น้อยกว่า ๑๑ หน่วยกิต ๓) ผู้เรียนมีผลการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน ในระดับผ่านเกณฑ์การประเมิน ตามที่สถานศึกษากําหนด ๔) ผู้เรียนมีผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ในระดับผ่านเกณฑ์การประเมิน ตามที่สถานศึกษากําหนด ๕) ผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนและมีผลการประเมินผ่านเกณฑ์การประเมิน ตามที่สถานศึกษากําหนด ๖) ผู้เรียนมีผลงานจากการอ่านอย่างน้อย ๓๐ เรื่อง ข้อ ๑๖ เกณฑ์การจบระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ๑) ผู้เรียนเรียนรายวิชาพื้นฐานและเพิ่มเติมไม่น้อยกว่า ๘๑ หน่วยกิต โดยเป็นรายวิชา พื้นฐาน ๔๑ หน่วยกิต และรายวิชาเพิ่มเติมตามที่สถานศึกษากําหนด ๒) ผู้เรียนต้องได้หน่วยกิตตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า ๗๗ หน่วยกิต โดยเป็นรายวิชา พื้นฐาน ๔๑ หน่วยกิต และรายวิชาเพิ่มเติมไม่น้อยกว่า ๓๖ หน่วยกิต ๓) ผู้เรียนมีผลการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน ในระดับผ่านเกณฑ์การประเมิน ตามที่สถานศึกษากําหนด ๔) ผู้เรียนมีผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ในระดับผ่านเกณฑ์การประเมิน ตามที่สถานศึกษากําหนด ๕) ผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนและมีผลการประเมินผ่านเกณฑ์การประเมิน ตามที่สถานศึกษากําหนด ๖) ผู้เรียนมีผลงานจากการอ่านอย่างน้อย ๓๐ เรื่อง
  • 8. ระเบียบการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ โรงเรียนทุ่งยาวผดุงศิษย์ หน้า ๘ หมวด ๖ การรายงานผลการเรียน ข้อ ๑๗ การรายงานผลการเรียนเป็นการสื่อสารให้ผู้ปกครองและผู้เรียนทราบความก้าวหน้าในการ เรียนรู้ของผู้เรียน ซึ่งโรงเรียนต้องสรุปผลการประเมิน และจัดทํารายงานเอกสารให้ผู้ปกครองทราบเป็นระยะๆ หรืออย่างน้อยภาคเรียนละ ๑ ครั้ง ในการรายงานผลการเรียนนั้นประกอบด้วยหลักการสําคัญ ดังนี้ ๑๗.๑ จุดมุ่งหมายการรายงานผลการเรียน ๑๗.๒ ข้อมูลในการรายงานผลการเรียน ๑๗.๓ ลักษณะข้อมูลสําหรับการรายงาน ๑๗.๔ เป้าหมายการรายงาน ๑๗.๕ วิธีการรายงาน ๑๗.๖ การกําหนดระยะเวลาในการรายงาน หมวด ๗ การเทียบโอนผลการเรียน ข้อ ๑๘ โรงเรียนสามารถเทียบโอนผลการเรียนของผู้เรียนจากสถานศึกษาได้ในกรณีต่างๆ ได้แก่ การย้ายสถานศึกษา การเปลี่ยนรูปแบบการศึกษา การย้ายหลักสูตร การละทิ้งการศึกษา การขอกลับเข้ารับ การศึกษาต่อ การศึกษาจากต่างประเทศและขอเข้าศึกษาต่อในประเทศ นอกจากนี้ยังสามารถเทียบโอน ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์จากแหล่งการเรียนรู้ การเทียบโอนผลการเรียนควรดําเนินการในช่วงก่อนเปิดภาคเรียนแรก หรือต้นภาคเรียนแรกที่ สถานศึกษารับผู้ขอเทียบโอนเป็นผู้เรียน ทั้งนี้ผู้เรียนที่ได้รับการเทียบโอนผลการเรียนต้องศึกษาต่อเนื่องใน สถานศึกษาที่รับเทียบโอนอย่างน้อย ๑ ภาคเรียน โดยสถานศึกษาที่รับการเทียบโอนควรกําหนดรายวิชา จํานวนหน่วยกิตที่จะรับเทียบโอนตามความเหมาะสม ทั้งนี้ วิธีการและแนวทางการเทียบโอนผลการเรียนให้เป็นไปตามหลักการและแนวทางการเทียบโอนผล การเรียนตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่องการเทียบโอนผลการเรียนการศึกษาขั้นพื้นฐาน และการศึกษา ระดับอุดมศึกษา ระดับต่ํากว่าปริญญา ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ และแนวปฏิบัติที่เกี่ยวกับ การเทียบโอนผลการเรียนเข้าสู่การศึกษาในระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งจัดทําโดยสํานักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สิงหาคม ๒๕๔๙)
  • 9. ระเบียบการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ โรงเรียนทุ่งยาวผดุงศิษย์ หน้า ๙ หมวด ๘ บทเฉพาะกาล ข้อ ๑๙ ให้ยกเลิกระเบียบว่าด้วยการวัดและประเมินผลอื่นๆ และให้ใช้ระเบียบโรงเรียน ทุ่งยาวผดุงศิษย์ ว่าด้วยการวัดและประเมินผลการเรียนตามหลักสูตรโรงเรียนทุ่งยาวผดุงศิษย์ ตามหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ พ.ศ. ๒๕๕๓ นี้ สําหรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ ๑ และ มัธยมศึกษาปีที่ ๔ ทั้งนี้ตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๕๓ เป็นต้นไป ข้อ ๒๐ ในกรณีที่กระทรวงศึกษาธิการ มีประกาศหรือระเบียบเพิ่มเติมเกี่ยวกับการวัดและประเมินผล หรือเกี่ยวกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ให้โรงเรียนดําเนินการตามประกาศหรือ ระเบียบของกระทรวงศึกษาธิการ ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ เดือนมีนาคม พ.ศ ๒๕๕๓ (นายภิญโญ จินตนปัญญา) ผู้อํานวยการโรงเรียนทุ่งยาวผดุงศิษย์
  • 10. ระเบียบการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ โรงเรียนทุ่งยาวผดุงศิษย์ หน้า ๑๐ คําอธิบายระเบียบโรงเรียนทุ่งยาวผดุงศิษย์ ว่าด้วยการวัดและประเมินผลการเรียนตามหลักสูตรโรงเรียนทุ่งยาวผดุงศิษย์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ พ.ศ. ๒๕๕๖ โดยที่โรงเรียนทุ่งยาวผดุงศิษย์ ได้จัดทําหลักสูตรโรงเรียนทุ่งยาวผดุงศิษย์ ตามหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา ๒๕๕๑ ขึ้นโดยนําสาระและมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด จากหลักสูตร แกนกลางไปพัฒนาให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาในชุมชน สังคม ภูมิปัญญาท้องถิ่นและคุณลักษณะอันพึง ประสงค์ สําหรับการจัดการศึกษาในสถานศึกษา อีกทั้งได้ออกระเบียบว่าด้วยการวัดและประเมินผลการเรียน ตามหลักสูตรโรงเรียนทุ่งยาวผดุงศิษย์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ เพื่อให้การปฏิบัติตามระเบียบการวัดและประเมินผลเป็นไปอย่างถูกต้อง และเป็นแนวเดียวกันโดย ตลอดจึงได้จัดทําคําอธิบายไว้ดังนี้
  • 11. ระเบียบการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ โรงเรียนทุ่งยาวผดุงศิษย์ หน้า ๑๑ หมวด ๑ ข้อกําหนดการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ข้อ ๖ ข้อกําหนดการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ได้กําหนดจุดมุ่งหมายของการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ไว้ดังนี้ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนต้องอยู่บนจุดมุ่งหมายพื้นฐานสองประการ คือ เป็นการ วัดและประเมินเพื่อพัฒนาผู้เรียนและเพื่อตัดสินผลการเรียน การที่จะบรรลุจุดมุ่งหมายแรกได้จะต้องมีการเก็บ รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้เรียนในระหว่างการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง บันทึก วิเคราะห์ แปล ความหมายข้อมูล แล้วนํามาใช้ในการส่งเสริมหรือปรับปรุงแก้ไขการเรียนรู้ของผู้เรียนและการสอนของครู การวัดและประเมินผลกับการสอนจึงเป็นเรื่องที่สัมพันธ์กัน หากขาดสิ่งหนึ่งสิ่งใดการเรียนการสอนก็ขาด ประสิทธิภาพ การประเมินระหว่างการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาการเรียนรู้เช่นนี้เป็นการวัดและประเมินผลย่อย (Formative assessment) ที่เกิดขึ้นในห้องเรียนทุกวัน เป็นการประเมินเพื่อให้รู้จุดเด่น จุดที่ต้องปรับปรุง จึง เป็นข้อมูลเพื่อใช้ในการพัฒนา การประเมินผลย่อยจะเป็นเครื่องมือในการกําหนดเป้าหมายการเรียนการสอน แต่ทั้งนี้ผู้สอนต้องมีทักษะในการใช้วิธีการและเครื่องมือการประเมินที่หลากหลาย เช่น การสังเกต การซักถาม การระดมความคิดเห็นเพื่อให้ได้มติข้อสรุปของประเด็นที่กําหนด การใช้แฟ้มสะสมงาน การใช้ภาระงานที่เน้น การปฏิบัติ การประเมินความรู้เดิม การให้ผู้เรียนประเมินตนเอง การให้เพื่อนประเมินเพื่อน การใช้เกณฑ์การ ให้คะแนน (Rubrics) และที่สําคัญการให้ข้อมูลย้อนกลับ โดยผู้สอนต้องสามารถให้คําแนะนําเพื่อเชื่อมโยง ความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ทําให้การเรียนรู้พอกพูน นอกจากนี้ยังต้องรู้จักใช้ผลที่ได้จากการประเมินมาวางแผน และทบทวนการสอนของตนอีกด้วย สําหรับจุดมุ่งหมายที่สองคือ การวัดและประเมินผลเพื่อตัดสินผลการเรียนรู้ เป็นการประเมิน สรุปผลการเรียนรู้ (Summative assessment) เมื่อเรียนจบหน่วยการเรียน หรือจบรายวิชาเพื่อตัดสินให้ คะแนนหรือให้ระดับผลการเรียน หรือให้การรับรองความรู้ความสามารถของผู้เรียนว่าผ่านรายวิชาหรือไม่ ควรได้รับการเลื่อนชั้นหรือไม่ หรือสามารถจบหลักสูตรหรือไม่ โดยสถานศึกษามีหน้าที่ในการอนุมัติและ รายงานผลการเรียน การจัดการศึกษาในปัจจุบันนอกจากให้ทั่วถึงแล้วยังมุ่งเน้นคุณภาพด้วย ผู้ปกครอง สังคมและรัฐ ต้องการเห็นหลักฐานอันเป็นผลมาจากการจัดการศึกษา นั่นคือ คุณภาพของผู้เรียนที่เป็นไปตามมาตรฐานของ หลักสูตร หน่วยงานที่รับผิดชอบนับตั้งแต่สถานศึกษา ต้นสังกัด หน่วยงานระดับชาติ ที่ได้รับมอบหมาย จึงมี บทบาทหน้าที่ในการตรวจสอบคุณภาพผู้เรียนตามความคาดหวังของหลักสูตร ดังนั้นหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ จึงกําหนดให้มีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ใน ๔ ระดับ ได้แก่ ระดับชั้นเรียน ระดับสถานศึกษา ระดับเขตพื้นที่การศึกษาและระดับชาติ ทุกระดับมีเจตนารมณ์
  • 12. ระเบียบการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ โรงเรียนทุ่งยาวผดุงศิษย์ หน้า ๑๒ เช่นเดียวกันคือ ตรวจสอบความก้าวหน้าในการเรียนรู้ของผู้เรียน เพื่อนําผลการประเมินมาใช้เป็นข้อมูลในการ พัฒนาอย่างต่อเนื่องต่อไป ๖.๑ การประเมินระดับชั้นเรียน เป็นการวัดและประเมินผลที่อยู่ในกระบวนการจัดการเรียนรู้ ผู้สอนดําเนินการเป็นปกติและ สม่ําเสมอในการจัดการเรียนการสอน ใช้เทคนิคการประเมินอย่างหลากหลาย เช่น การซักถาม การสังเกต การตรวจการบ้าน การประเมินโครงงาน การประเมินชิ้นงาน/ภาระงาน แฟ้มสะสมงาน การใช้แบบทดสอบฯลฯ โดย ผู้สอนเป็นผู้ประเมินเอง หรือเปิดโอกาสให้ผู้เรียนประเมินตนเอง เพื่อนประเมินเพื่อน ผู้ปกครองร่วมประเมิน ใน กรณีที่ไม่ผ่านตัวชี้วัดให้มีการสอนซ่อมเสริม การประเมินระดับชั้นเรียนเป็นการตรวจสอบว่า ผู้เรียนมีพัฒนาการความก้าวหน้าในการเรียนรู้ อัน เป็นผลมาจากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนหรือไม่และมากน้อยเพียงใด มีสิ่งที่จะต้องได้รับการพัฒนาปรับปรุง และส่งเสริมในด้านใด นอกจากนี้ยังเป็นข้อมูลให้ผู้สอนใช้ปรับปรุงการเรียนการสอนของตนด้วย ทั้งนี้โดยให้ สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด ๖. ๒ การประเมินระดับสถานศึกษา เป็นการตรวจสอบผลการเรียนของผู้เรียนเป็นรายภาค/ระดับการศึกษา ผลการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และเป็นการประเมินเพื่อให้ได้ ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการศึกษาของสถานศึกษาว่าส่งผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนตามเป้าหมายหรือไม่ ผู้เรียนมี สิ่งที่ต้องได้รับการพัฒนาในด้านใด รวมทั้งสามารถนําผลการเรียนของผู้เรียนในสถานศึกษาเปรียบเทียบกับ เกณฑ์ระดับชาติและระดับเขตพื้นที่การศึกษา ผลการประเมินระดับสถานศึกษาจะเป็นข้อมูลและสารสนเทศ เพื่อการปรับปรุงนโยบาย หลักสูตร โครงการ หรือวิธีการจัดการเรียนการสอน ตลอดจนเพื่อการจัดทํา แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาตามแนวทางการประกันคุณภาพการศึกษา และการรายงานผลการ จัดการศึกษาต่อสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองและ ชุมชน ๖.๓ การประเมินระดับเขตพื้นที่การศึกษา เป็นการประเมินคุณภาพผู้เรียนในระดับเขตพื้นที่การศึกษาตามมาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของเขตพื้นที่ การศึกษาตามภาระความรับผิดชอบ สามารถดําเนินการโดยประเมินคุณภาพของผู้เรียนด้วยวิธีการและ เครื่องมือที่เป็นมาตรฐานที่จัดทําและดําเนินการโดยเขตพื้นที่การศึกษา หรือด้วยความร่วมมือกับหน่วยงาน ต้นสังกัดและ / หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ยังสามารถดําเนินการได้ด้วยการตรวจสอบข้อมูลจาก การประเมินระดับสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา
  • 13. ระเบียบการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ โรงเรียนทุ่งยาวผดุงศิษย์ หน้า ๑๓ ๖.๔ การประเมินระดับชาติ เป็นการประเมินคุณภาพผู้เรียนในระดับชาติตามมาตรฐานการเรียนรู้ของหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนต้องจัดให้ผู้เรียนทุกคนที่เรียนในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ และชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ ๖ เข้ารับการประเมิน ผลจากการประเมินใช้เป็นข้อมูลในการเทียบเคียงคุณภาพการศึกษาในระดับต่างๆ เพื่อ นําไปใช้ในการวางแผนยกระดับคุณภาพ การจัดการศึกษาของโรงเรียน ตลอดจนเป็นข้อมูลสนับสนุนการ ตัดสินใจในนโยบายของโรงเรียนต่อไป ข้อมูลการประเมินในระดับต่างๆ ข้างต้นเป็นประโยชน์ต่อโรงเรียนในการตรวจสอบ ทบทวน พัฒนา คุณภาพผู้เรียน ถือเป็นภาระความรับผิดชอบของโรงเรียนที่จะต้องจัดระบบดูแลช่วยเหลือ ปรับปรุงแก้ไข ส่งเสริมสนับสนุน เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาเต็มตามศักยภาพบนพื้นฐานความแตกต่างระหว่างบุคคลที่จําแนก ตามสภาพปัญหาและความต้องการ ได้แก่ กลุ่มผู้เรียนทั่วไป กลุ่มผู้เรียนที่มีความสามารถพิเศษ กลุ่มผู้เรียนที่มี ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ํา กลุ่มผู้เรียนที่มีปัญหาด้านวินัยและพฤติกรรม กลุ่มผู้เรียนที่ปฏิเสธโรงเรียน กลุ่ม ผู้เรียนที่มีปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคม กลุ่มพิการทางร่างกายและสติปัญญาเป็นต้น ข้อมูลจากการประเมิน จึงเป็นหัวใจของโรงเรียนในการดําเนินการช่วยเหลือผู้เรียนได้ทันท่วงทีอันเป็นโอกาสให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนา และประสบความสําเร็จในการเรียน
  • 14. ระเบียบการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ โรงเรียนทุ่งยาวผดุงศิษย์ หน้า ๑๔ หมวด ๒ หลักการในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ข้อ ๗ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ เป็นกระบวนการเก็บรวบรวม ตรวจสอบ ตีความผลการเรียนรู้ และพัฒนาการด้านต่างๆ ของผู้เรียน ตามมาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัดของหลักสูตร นําผลไปปรับปรุงพัฒนาการจัดการเรียนรู้และใช้เป็นข้อมูล สําหรับการตัดสินผลการเรียน สถานศึกษาต้องมีกระบวนการจัดการที่เป็นระบบ เพื่อเป็นแนวทางในการ ตัดสินใจเกี่ยวกับการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษา ดังนี้ ๗.๑ สถานศึกษาเป็นผู้รับผิดชอบการวัดและการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยเปิดโอกาสให้ผู้ที่ เกี่ยวข้องมีส่วนร่วม ๗.๒ การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้มีจุดมุ่งหมายเพื่อปรับปรุงพัฒนาผู้เรียน พัฒนาการจัดการ เรียนรู้และตัดสินผลการเรียน ๗.๓ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ต้องสอดคล้องและครอบคลุมมาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัดตาม กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่กําหนดในหลักสูตรสถานศึกษา และจัดให้มีการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตลอดจนกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ๗.๔ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการจัดการเรียนการสอน ต้องดําเนินการด้วยเทคนิควิธีการที่หลากหลาย เพื่อให้สามารถวัดและประเมินผลผู้เรียนได้อย่างรอบด้านทั้งด้าน ความรู้ ความคิด กระบวนการ พฤติกรรมและเจตคติ เหมาะสมกับสิ่งที่ต้องการวัด ธรรมชาติวิชา และระดับชั้น ของผู้เรียน โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานความเที่ยงตรง ยุติธรรม และเชื่อถือได้ ๗.๕ การประเมินผู้เรียนพิจารณาจากพัฒนาการของผู้เรียน ความประพฤติ การสังเกตพฤติกรรมการ เรียนรู้ การร่วมกิจกรรมและการทดสอบควบคู่ไปในกระบวนการเรียนการสอน ตามความเหมาะสมของแต่ละ ระดับและรูปแบบการศึกษา ๗.๖ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องตรวจสอบผลการประเมินผลการเรียนรู้ ๗.๗ ให้มีการเทียบโอนผลการเรียนระหว่างสถานศึกษาและรูปแบบการศึกษาต่างๆ ๗.๘ ให้สถานศึกษาจัดทําเอกสารหลักฐานการศึกษา เพื่อเป็นหลักฐานการประเมินผลการเรียนรู้ รายงานผลการเรียน แสดงวุฒิการศึกษาและรับรองผลการเรียนของผู้เรียน
  • 15. ระเบียบการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ โรงเรียนทุ่งยาวผดุงศิษย์ หน้า ๑๕ หมวด ๓ ภารกิจ และแนวปฏิบัติในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของโรงเรียน ข้อ ๘ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ กําหนดจุดหมาย สมรรถนะ สําคัญของผู้เรียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และมาตรฐานการเรียนรู้เป็นเป้าหมายและกรอบทิศทางในการ พัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี มีปัญญา มีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีขีดความสามารถในการแข่งขันในเวทีระดับโลก กําหนดให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามมาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัดที่กําหนดในสาระการเรียนรู้ ๘ กลุ่มสาระ มีความสามารถ ด้านการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ความสัมพันธ์ขององค์ประกอบของการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ดังแผนภาพที่ ๑ แผนภาพที่ ๑ แสดงความสัมพันธ์ขององค์ประกอบการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ๘.๑ การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ ผู้สอนทําการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ผู้เรียนเป็นรายวิชาตามตัวชี้วัดในรายวิชา พื้นฐานและตามผลการเรียนรู้ในรายวิชาเพิ่มเติมตามที่กําหนดในหน่วยการเรียนรู้ กําหนดหน่วยการเรียนรู้โดย เลือกมาตรฐาน/ตัวชี้วัดที่สอดคล้องสัมพันธ์กันหรือประเด็นปัญหาที่อยู่ในความสนใจของผู้เรียน ซึ่งอาจจัดเป็น หน่วยเฉพาะวิชา (Subject unit) หรือหน่วยบูรณาการ (Integrated unit) แต่ละหน่วยการเรียนรู้อาจนํา การ อ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ มาพัฒนาในหน่วยการเรียนรู้ด้วย ในขณะเดียวกันผู้สอน ควรวางแผนการประเมินที่สอดคล้องกับหน่วยการเรียนรู้ด้วย โดยใช้วิธีการที่หลากหลายจากแหล่งข้อมูลหลายๆ แหล่งเพื่อให้ได้ผลการประเมินที่สะท้อนความรู้ความสามารถที่แท้จริงของผู้เรียน โดยทําการวัดและประเมิน การเรียนรู้ ๘ กลุ่มสาระ การอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน คุณลักษณะ อันพึงประสงค์ กิจกรรม พัฒนาผู้เรียน คุณภาพผู้เรียน
  • 16. ระเบียบการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ โรงเรียนทุ่งยาวผดุงศิษย์ หน้า ๑๖ การเรียนรู้อย่างต่อเนื่องไปพร้อมกับการจัดการเรียนการสอน โดยสังเกตพัฒนาการและความประพฤติของ ผู้เรียน สังเกตพฤติกรรมการเรียน การร่วมกิจกรรม ผู้สอนควรเน้นการประเมินตามสภาพจริง เช่น การ ประเมินการปฏิบัติงาน การประเมินจากโครงงาน หรือการประเมินจากแฟ้มสะสมงาน ฯลฯ ควบคู่ไปกับการ ใช้การทดสอบแบบต่างๆอย่างสมดุล ต้องให้ความสําคัญกับการประเมินระหว่างเรียน มากกว่าการประเมิน ปลายปี/ปลายภาค และใช้เป็นข้อมูลเพื่อประเมินการเลื่อนชั้นเรียนและการจบการศึกษาระดับต่างๆ ตาม ขั้นตอนดังนี้ ๘.๑.๑ กําหนดตัวชี้วัดหรือผลการเรียนรู้ โดยวิเคราะห์จากมาตรฐานการเรียนรู้และ ตัวชี้วัดของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ ๘.๑.๒ กําหนดหน่วยกิตการเรียนสําหรับแต่ละรายวิชา ๘.๑.๓ กําหนดสัดส่วนเวลาเรียนในแต่ละหน่วยการเรียนรู้ ตามโครงสร้างรายวิชา โดยคํานึงถึงความสําคัญของมาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด หรือผลการเรียนรู้ และสาระการเรียนรู้ ในหน่วย การเรียนรู้ ๘.๑.๔ กําหนดภาระงานหรือชิ้นงานหรือกิจกรรมที่เป็นหลักฐานแสดงออกซึ่งความรู้ ความสามารถที่สะท้อนตัวชี้วัด หรือผลการเรียนรู้ การกําหนดภาระงาน หรือชิ้นงาน อาจมีลักษณะดังนี้ ๘.๑.๔.๑ บูรณาการหลายสาระการเรียนรู้และครอบคลุมหลายมาตรฐาน การเรียนรู้ หรือหลายตัวชี้วัด ๘.๑.๔๒ สาระการเรียนรู้เดียวแต่ครอบคลุมหลายมาตรฐานการเรียนรู้ หรือ หลายตัวชี้วัด ๘.๑.๕ กําหนดเกณฑ์สําหรับประเมินภาระงาน/ชิ้นงาน/กิจกรรม โดยใช้เกณฑ์การ ประเมิน (Rubrics) หรือกําหนดเป็นร้อยละ โดยครูผู้สอนต้องกําหนดเกณฑ์การผ่านไว้อย่างชัดเจน ๘.๑.๖ การจัดการเรียนรู้ของแต่ละหน่วยการเรียนรู้ ควรวัดและประเมินผลการเรียนรู้ เป็น ๓ ระยะ ได้แก่ ประเมินวิเคราะห์ผู้เรียนก่อนการเรียนการสอน ประเมินความก้าวหน้าระหว่างเรียน และการประเมินความสําเร็จหลังเรียน โดยมีรายละเอียดดังนี้ ๘.๑.๖.๑ ประเมินวิเคราะห์ผู้เรียน การประเมินวิเคราะห์ผู้เรียน เป็นหน้าที่ของครูผู้สอนในแต่ละรายวิชา ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ เพื่อตรวจสอบความรู้ ทักษะและความพร้อมด้านต่างๆ ของผู้เรียนโดยใช้วิธีการที่ เหมาะสม แล้วนําผลการประเมินมาปรับปรุง ซ่อมเสริม หรือเตรียมผู้เรียนทุกคน ให้มีความพร้อมและมี ความรู้พื้นฐาน ซึ่งจะช่วยให้การจัดกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนประสบความสําเร็จในการเรียนได้เป็นอย่าง ดี แต่จะไม่นําผลการประเมินนี้ไปใช้ในการพิจารณาตัดสินผลการเรียน มีแนวปฏิบัติดังนี้
  • 17. ระเบียบการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ โรงเรียนทุ่งยาวผดุงศิษย์ หน้า ๑๗ ๑)วิเคราะห์ความรู้และทักษะที่เป็นพื้นฐานของเรื่องที่จะเรียนรู้ ๒)เลือกวิธีการและเครื่องมือสําหรับประเมินความรู้และทักษะพื้นฐาน อย่างเหมาะสม เช่น การใช้แบบทดสอบ การซักถามผู้เรียน การสอบถามผู้สอน การพิจารณาผลการเรียน เดิมหรือพิจารณาแฟ้มสะสมงาน (Portfolio) ที่ผ่านมา เป็นต้น ๓) ดําเนินการประเมินความรู้และทักษะพื้นฐานของผู้เรียน ๔) นําผลการประเมินไปพัฒนาผู้เรียนให้มีความพร้อมที่จะเรียน เช่น จัดการเรียนรู้พื้นฐานสําหรับผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือ และเตรียมแผนจัดการเรียนรู้เพื่อสนับสนุนผู้เรียนที่มี ความสามารถพิเศษ เป็นต้น ๘.๑.๖.๒ การประเมินความก้าวหน้าระหว่างเรียน การประเมินความก้าวหน้าระหว่างเรียน เป็นการประเมินที่มุ่งตรวจสอบ พัฒนาการของผู้เรียนในการบรรลุมาตรฐาน/ตัวชี้วัด ผลการเรียนรู้ ตามหน่วยการเรียนรู้ที่ผู้สอนได้วางแผนไว้ (ทุกตัวชี้วัด/ผลการเรียนรู้ ต้องผ่านเกณฑ์การประเมินที่ครูผู้สอนกําหนด และครูผู้สอนต้องเปิดโอกาสให้ ผู้เรียนได้พัฒนาปรับปรุงผลการเรียนได้ตลอดเวลา โดยให้อยู่ในดุลยพินิจของครูผู้สอน) เพื่อให้ได้ข้อมูล สารสนเทศไปพัฒนา ปรับปรุง แก้ไขข้อบกพร่อง และส่งเสริมผู้เรียนให้มีความรู้ความสามารถและเกิด พัฒนาการสูงสุดตามศักยภาพ นอกจากนี้ยังใช้เป็นข้อมูลในการปรับปรุงกระบวนการจัดการเรียนรู้ของผู้สอน โดยผู้สอนเลือกวิธีการวัดและประเมินผลที่สอดคล้องกับภาระงานหรือกิจกรรมที่กําหนดให้ผู้เรียนปฏิบัติ สําหรับการประเมินความก้าวหน้าระหว่างเรียน ได้แก่ การประเมินจากสิ่งที่ผู้เรียนได้แสดงให้เห็นว่ามีการ พัฒนาด้านความรู้ความสามารถ ทักษะ ตลอดจนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่เป็นผลจากการเรียนรู้ ซึ่ง ผู้สอนสามารถเลือกใช้วิธีการวัดและประเมินผลได้หลากหลาย ดังนี้ ๑) เลือกวิธีและเครื่องมือการประเมินให้สอดคล้องกับตัวชี้วัด หรือผลการ เรียนรู้ เช่น การประเมินด้วยการสังเกต การซักถาม การตรวจแบบฝึกหัด การประเมินตามสภาพจริง การประเมินการปฏิบัติ เป็นต้น ๒) สร้างเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนให้สอดคล้องกับวิธีการ ประเมินที่กําหนด ๓) ดําเนินการวัดและประเมินผลการเรียนควบคู่ไปกับการจัดกิจกรรมการ เรียนรู้ ๔) นําผลไปพัฒนาผู้เรียน ๘.๑.๖.๓ การประเมินความสําเร็จหลังเรียน การประเมินความสําเร็จหลังเรียน เป็นการประเมินเพื่อมุ่งตรวจสอบ ความสําเร็จของผู้เรียน ใน ๒ ลักษณะ คือ ๑) การประเมินเมื่อจบหน่วยการเรียนรู้ เป็นการประเมินผู้เรียนในหน่วยการ เรียนรู้ที่ได้เรียนจบแล้ว เพื่อตรวจสอบผลการเรียนรู้ของผู้เรียนตามตัวชี้วัดหรือผลการเรียนรู้ พัฒนาการของ
  • 18. ระเบียบการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ โรงเรียนทุ่งยาวผดุงศิษย์ หน้า ๑๘ ผู้เรียนเมื่อนําไปเปรียบเทียบกับผลการประเมินวิเคราะห์ผู้เรียน ทําให้สามารถประเมินศักยภาพในการเรียนรู้ ของผู้เรียน และประสิทธิภาพในการจัดการเรียนรู้ของผู้สอน ข้อมูลที่ได้จากการประเมินความสําเร็จภายหลัง การเรียนสามารถนําไปใช้ประโยชน์ในการปรับปรุง แก้ไข วิธีการเรียนของผู้เรียน การพัฒนากระบวน การจัดการ เรียนรู้ของผู้สอน หรือซ่อมเสริมผู้เรียนให้บรรลุตัวชี้วัดหรือผลการเรียนรู้ ๒) การประเมินปลายภาค เป็นการประเมินผลเพื่อตรวจสอบผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน ในการเรียนรู้ตามตัวชี้วัดหรือผลการเรียนรู้ และใช้เป็นข้อมูลสําหรับปรับปรุงแก้ไข ซ่อมเสริมผู้เรียนที่ไม่ผ่านการ ประเมินตัวชี้วัด การประเมินปลายภาคสามารถใช้วิธีการและเครื่องมือประเมินได้อย่างหลากหลายและ เลือกใช้ให้สอดคล้องกับตัวชี้วัด อาจใช้แบบทดสอบชนิดต่างๆ หรือประเมินโดยใช้ภาระงานหรือกิจกรรม โดยมีขั้นตอนหรือวิธีการดังนี้ ๑) เลือกวิธีการและเครื่องมือที่จะใช้ในการวัดและประเมินผล ๒) สร้างเครื่องมือประเมิน ๓) ดําเนินการประเมิน ๔) นําผลการประเมินไปใช้ตัดสินผลการเรียน ส่งผลการเรียนซ่อมเสริม แก้ไข ผลการเรียน ๘.๑.๗ กําหนดสัดส่วนการประเมินระหว่างเรียนกับการประเมินผลปลายภาคเรียน ทั้งนี้ ให้คํานึงถึงธรรมชาติของรายวิชาและผลการเรียนรู้เป็นสําคัญ ในการประเมินผลการเรียนรายวิชาปลายภาค ต้องนําผลการประเมินระหว่างเรียนไปใช้ในการตัดสินผลการเรียนด้วย และให้อยู่ในสัดส่วนที่โรงเรียนกําหนด ไว้ดังนี้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ คะแนนระหว่างภาค คะแนนปลาย ภาค ภาษาไทย ๖๐ ๔๐ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ๖๐ ๔๐ วิทยาศาสตร์ ๖๐ ๔๐ คณิตศาสตร์ ๖๐ ๔๐ ศิลปะ ๖๐ ๔๐ พลานามัย ๘๐ ๒๐ สุขศึกษา ๖๐ ๔๐ การงานอาชีพและเทคโนโลยี ๗๐ ๓๐ ภาษาต่างประเทศ ๖๐ ๔๐ ๘.๑.๘ จัดทําเอกสารบันทึกข้อมูลสารสนเทศของผู้เรียน ผู้สอนต้องจัดทําเอกสารบันทึก
  • 19. ระเบียบการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ โรงเรียนทุ่งยาวผดุงศิษย์ หน้า ๑๙ ข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับการประเมินผลระหว่างเรียนอย่างเป็นระบบชัดเจน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความโปร่งใส และความยุติธรรมในการประเมินเน้นการประเมินสภาพจริงที่สอดคล้องกับแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อการ ตรวจสอบพัฒนาการและปรับปรุงแก้ไขปัญหาต่างๆ ของผู้เรียนให้บรรลุตามมาตรฐานและตัวชี้วัด หรือผลการ เรียนรู้ที่กําหนดในหลักสูตรของสาระการเรียนรู้นั้นๆ โดยเลือกวิธีการประเมินที่หลากหลายและเหมาะสม ๘.๑.๙ การให้ระดับผลการเรียนรายวิชารายภาค มี ๘ ระดับดังนี้ ระดับผลการเรียน ๔ หมายถึง ดีเยี่ยม ระดับผลการเรียน ๓.๕ หมายถึง ดีมาก ระดับผลการเรียน ๓ หมายถึง ดี ระดับผลการเรียน ๒.๕ หมายถึง ค่อนข้างดี ระดับผลการเรียน ๒ หมายถึง ปานกลาง ระดับผลการเรียน ๑.๕ หมายถึง พอใช้ ระดับผลการเรียน ๑ หมายถึง ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ํา ระดับผลการเรียน ๐ หมายถึง ต่ํากว่าเกณฑ์ ๘.๑.๑๐ ให้ใช้อักษรแสดงผลการเรียนที่มีเงื่อนไขในแต่ละรายวิชา ดังนี้ ร หมายถึง รอการตัดสินผลหรือยังตัดสินผลไม่ได้ เนื่องจากผู้เรียนไม่มีข้อมูลผล การเรียนรายวิชานั้นครบถ้วน ได้แก่ ไม่ได้วัดผลกลางภาคเรียน/ปลายภาคเรียน ไม่ได้ส่งงานที่มอบหมายให้ ทํา ซึ่งงานนั้นเป็นส่วนหนึ่งของการตัดสินผลการเรียน หรือมีเหตุสุดวิสัยที่ทําให้ประเมินผลการเรียนไม่ได้ มส หมายถึง ผู้เรียนไม่มีสิทธิเข้ารับการวัดผลปลายภาคเรียน เนื่องจากผู้เรียนมี เวลาเรียนไม่ถึงร้อยละ ๘๐ ของเวลาเรียนในแต่ละรายวิชา และไม่ได้รับการผ่อนผันให้เข้ารับการวัดผลปลาย ภาคเรียน ๘.๑.๑๑ ประเมินสรุปผลการเรียนสาระการเรียนรู้เพื่อจบหลักสูตร เป็นหน้าที่ของงาน ทะเบียนวัดผลในการตรวจสอบข้อมูลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนทุกภาคเรียน เพื่อประเมินสรุปการจบ การการศึกษาแต่ละระดับ
  • 20. ระเบียบการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ โรงเรียนทุ่งยาวผดุงศิษย์ หน้า ๒๐ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้รายกลุ่มสาระการเรียนรู้ ดังแผนภาพที่ ๒ แผนภาพที่ ๒ แสดงการวัดและประเมินผลการเรียนรู้รายกลุ่มสาระการเรียนรู้ ๘.๒ การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน เป็นการประเมินศักยภาพของผู้เรียนในการอ่าน หนังสือ เอกสาร และสื่อต่างๆ เพื่อหาความรู้ เพิ่มพูนประสบการณ์ เพื่อความสุนทรีและประยุกต์ใช้ แล้วนํามา คิดวิเคราะห์เนื้อหาสาระที่อ่าน นําไปสู่การแสดงความคิดเห็น การสังเคราะห์ สร้างสรรค์ การแก้ปัญหาในเรื่องต่างๆ และถ่ายทอดความคิดนั้นด้วยการเขียนที่มีสํานวนภาษาถูกต้อง มีเหตุผลและลําดับขั้นตอนในการนําเสนอ สามารถสร้างความเข้าใจแก่ผู้อ่านได้อย่างชัดเจนตามระดับความสามารถในแต่ละระดับชั้น การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน สถานศึกษาต้องดําเนินการอย่างต่อเนื่องและ สรุปผลเป็นรายปี/รายภาค เพื่อวินิจฉัยและใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนาผู้เรียนและประเมินการเลื่อนชั้นเรียน ตลอดจนการจบการศึกษาระดับต่างๆ ตามขั้นตอน ดังนี้ ๘.๒.๑. แต่งตั้งคณะกรรมการการพัฒนาและประเมินความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียนของสถานศึกษา เพื่อกําหนดแนวทางในการพัฒนา ประเมิน ปรับปรุงแก้ไข และตัดสินผล การประเมินความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน รายภาค และจบการศึกษาแต่ละระดับ ๘.๒.๒ กําหนดขอบข่ายของการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน สําหรับหลักสูตรของ สถานศึกษาแต่ละระดับ ๘.๒.๓ กําหนดตัวชี้วัด และเกณฑ์สําหรับการประเมินการอ่านคิดวิเคราะห์ และเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ สุขศึกษาและพลศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษาฯ กลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพฯ กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ ศิลปะ กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาต่างประเทศ การวัดและประเมินผลการ เรียนรู้ด้วยวิธีการที่หลากหลาย บูรณาการในการเรียนการสอน
  • 21. ระเบียบการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ โรงเรียนทุ่งยาวผดุงศิษย์ หน้า ๒๑ ๘.๒.๔ กําหนดแนวทางและวิธีการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน ดังนี้ ๘.๒.๔.๑ ครูผู้สอนทุกรายวิชาเป็นผู้ประเมินโดยบูรณาการการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนในหน่วยการเรียนรู้หรือแผนการจัดการเรียนรู้ในรายวิชา และเมื่อนําหน่วยการเรียนรู้นั้นไปจัด กิจกรรมการเรียนรู้ ผลการประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียนที่เป็นผลงานในรายวิชานั้น นับเป็นผลการประเมิน ความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียนด้วย ๘.๒.๔.๒ ประเมินความสามารถการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนรายตัวชี้วัด และ ใช้ฐานนิยมเป็นเกณฑ์ในการตัดสินและให้มีผลการประเมิน ดังนี้ ๓ หมายถึง ผ่านเกณฑ์ระดับดีเยี่ยม ๒ หมายถึง ผ่านเกณฑ์ระดับดี ๑ หมายถึง ผ่านเกณฑ์การประเมิน ๐ หมายถึง ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน ๘.๒.๔.๓ ในกรณีที่นักเรียนไม่ผ่านการประเมินในบางตัวชี้วัดให้ดําเนินการจัด กิจกรรมส่งเสริมและพัฒนา ให้ผู้เรียนมีความก้าวหน้าในตัวชี้วัดที่มีจุดบกพร่อง แล้วนําผลงานนักเรียนไปเทียบ กับแนวการให้คะแนนและเกณฑ์การตัดสินที่กําหนด ตั้งแต่ระดับ ดีเยี่ยม ดี และผ่าน ๘.๒.๕ งานวัดและประเมินผลของโรงเรียนนําผลการประเมินทุกรายวิชาไปประมวลผล และสรุปในภาพรวมเป็นผลการประเมินความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียนรายภาค โดยใช้ค่าสถิติ ฐานนิยม ๘.๒.๖ นําเสนอผลการประเมินให้ผู้บริหารสถานศึกษาอนุมัติและรายงานผู้ที่เกี่ยวข้อง ๘.๒.๗ การประเมินตัดสินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน เพื่อเลื่อนชั้น ใช้ผลการประเมิน ของภาคเรียนที่สองของระดับชั้นนั้นในการตัดสิน ส่วนการตัดสินการจบระดับการศึกษาใช้ผลการประเมิน ปลายปีของระดับการศึกษา ซึ่งต้องมีผลการประเมินผ่านเกณฑ์การประเมินทุกภาคเรียน ๘.๓ การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ให้ดําเนินงานดังนี้ ๘.๓.๑ กําหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน อันเป็นคุณลักษณะ ที่สังคมต้องการในด้านคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม จิตสํานึก สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข ทั้งในฐานะพลเมืองไทยและพลโลก โรงเรียนทุ่งยาวผดุงศิษย์ กําหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ๘ คุณลักษณะ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ดังนี้