SlideShare a Scribd company logo
1 of 21
Download to read offline
โครงงานวิทยาศาสตร์
เรื่อง รางจืดล้างพิษ
โดย
นางสาวปรียานุช พุทธรักสกุล
นางสาวปิยนุช วิศลย์
เด็กหญิงธีรวรรณ แจวมูแฮ
รายงานฉบับนี้เป็นส่วนประกอบของโครงงานวิทยาศาสตร์
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ประเภทการทดลอง
โรงเรียนบ้านห้วยตอง
โครงงานวิทยาศาสตร์
เรื่องรางจืดล้างพิษ
โดย
นางสาวปรียานุช พุทธรักสกุล
นางสาวปิยนุช วิศลย์
เด็กหญิงธีรวรรณ แจวมูแฮ
อาจารย์ผู้ฝึกสอน นางสาวภัทราวรรณ เขียววัน
อาจารย์ที่ปรึกษา นางสาวอัจฉรา ธนัญชัย
นางสาวหทัยกาญจน์ เจริญสุข
ก
โครงงานวิทยาศาสตร์ ระดับ มัธยมศึกษาตอนต้น ประเภทการทดลอง
ชื่อเรื่อง รางจืดล้างพิษ
ชื่อผู้จัดทา 1. นางสาวปรียานุช พุทธรักสกุล
2. นางสาวปิยนุช วิศลย์
3. เด็กหญิงธีรวรรณ แจวมูแฮ
ชื่ออาจารย์ผู้ฝึกสอน นางสาวภัทราวรรณ เขียววัน
ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา นางสาวอัจฉรา ธนัญชัย และนางสาวหทัยกาญจน์ เจริญสุข
โรงเรียนบ้านห้วยตอง หมู่ที่ 10 ตาบลแม่วิน อาเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่
รหัสไปรษณีย์ 50360 โทรศัพท์ 053-460048
ระยะเวลาในการทาโครงงานตั้งแต่ 19 สิงหาคม – 30 กันยายน พ.ศ.2554
บทคัดย่อ
โครงงานรางจืดล้างพิษ ได้ทาการทดลองนี้ขึ้นเนื่องจากปัจจุบันผักและผลไม้ที่เรานามา
บริโภคเพื่อเสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรงกลับมีสารเคมีกาจัดศัตรูพืชตกค้าง ซึ่งจากผลการตรวจ
เลือดนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านห้วยตองของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผลปรากฏว่าอยู่ในภาวะเสี่ยงร้อยละ 10.52 ซึ่งเกิดจากการที่เราบริโภคผัก
ผลไม้ที่มีสารพิษจากสารเคมีกาจัดศัตรูพืชตกค้างอยู่ในระดับที่ไม่ปลอดภัยเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
ของผู้บริโภค วิธีดาเนินการทดลองคือนาผักกาดขาวแช่ในน้าเปล่ากับน้ารางจืดเพื่อเปรียบเทียบผล
ปรากฏว่าผักที่แช่ในน้ารางจืดมีปริมาณสารพิษตกค้างลดลง จากนั้นนาผักกาดขาวแช่ในน้ารางจืด
แบบต้มและแบบคั้นน้าในเวลาที่ต่างกันคือ 15 นาที 20 นาที 25 นาทีและ 30 นาที จากการ
ทดลองสรุปได้ว่าผักกาดขาวที่แช่ในน้ารางจืดชนิดคั้นเป็นเวลา 25 นาที ตรวจไม่พบสารพิษตกค้าง
ข
กิตติกรรมประกาศ
โครงงานนี้สาเร็จได้ด้วยความกรุณาของครูภัทราวรรณ เขียววัน ครูอัจฉรา ธนัญชัย และ
ครูหทัยกาญจน์ เจริญสุข ซึ่งได้ให้คาปรึกษา ข้อชี้แนะและความช่วยเหลือ จนกระทั่งโครงงานนี้
สาเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ผู้จัดทาโครงงานขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงมา ณ ที่นี้
และที่ลืมไม่ได้คือกาลังใจจากเพื่อนๆที่คอยส่งเสบียงให้เราอย่างสม่าเสมอ ช่วยเก็บรางจืด
จากในป่ามาให้กับพวกเรา คณะผู้จัดทาซาบซึ้งใจเป็นอย่างมาก ขอบคุณทุกท่านที่ให้การสนับสนุน
พวกเรา ขอบคุณมากค่ะ
ผู้จัดทาโครงงาน
ค
สารบัญ
บทคัดย่อ ก
กิตติกรรมประกาศ ข
สารบัญ ค
บทที่ 1บทนา 1
ที่มาและความสาคัญ 1
วัตถุประสงค์ของโครงงาน 1
สมมติฐาน 2
ขอบเขตของการทดลอง 2
อุปกรณ์การทดลอง 2
ตัวแปร 2
บทที่ 2 เอกสารอ้างอิง 3
รางจืด 3
สารเคมีกาจัดศัตรูพืช 5
บทที่ 3 วิธีดาเนินการทดลอง 10
บทที่ 4 ผลการทดลอง 13
บทที่ 5 อภิปรายและสรุปผลการทดลอง 14
บรรณานุกรม
1
บทที่ 1
บทนา
ที่มาและความสาคัญของปัญหา
เนื่องจากการเพิ่มประชากรเป็นไปอย่างรวดเร็ว จึงมีการนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีใหม่ๆ
เข้าช่วยในการผลิตอาหารให้เพียงพอแก่การบริโภค เช่น มีการนาสารเคมีกาจัดศัตรูพืชเข้าช่วยในการ
เพาะปลูกเพื่อเพิ่มผลผลิต เป็นเหตุให้เกิดปัญหาตามมามากมายที่สาคัญคือ ปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพ
ของประชาชน เพราะสารเคมีกาจัดศัตรูพืชทุกชนิดเป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิต หากใช้เกินความจาเป็นหรือ
ขาดความระมัดระวังในการใช้แล้ว จะทาให้สารตกค้างหลงเหลืออยู่ในอาหารและสิ่งแวดล้อมได้
ในปัจจุบันผักและผลไม้ที่เรานามาบริโภคเพื่อเสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรงกลับมีสารเคมี
กาจัดศัตรูพืชตกค้าง ซึ่งจากผลการตรวจเลือดนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านห้วยตอง
ของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผลปรากฏว่าอยู่ในภาวะเสี่ยงร้อยละ
10.52 ซึ่งเกิดจากการที่เราบริโภคผักผลไม้ที่มีสารพิษจากสารเคมีกาจัดศัตรูพืชตกค้างอยู่ในระดับที่
ไม่ปลอดภัยเป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้บริโภค อาการของผู้ได้รับสารพิษจากสารเคมีกาจัดศัตรูพืช
ตกค้างเป็นประจาทาให้ร่างกายอ่อนแอ ขาดความต้านทานโรค มีอาการปรากฏเช่น วิงเวียนศีรษะ
คลื่นไส้ อาเจียน หายใจขัด หัวใจอาจหยุดเต้นได้ จากการศึกษาพบว่ามีพืชสมุนไพรที่สามารถล้าง
สารพิษจากร่างกายได้ คือ รางจืด ดังนั้นผู้ทดลองจึงต้องการศึกษาความสามารถในการล้างพิษ
ของน้ารางจืดในการล้างสารเคมีตกค้างในผักเพื่อนาไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตประจาวัน
วัตถุประสงค์ของโครงงาน
1. เพื่อทดลองว่าน้ารางจืดสามารถล้างสารเคมีกาจัดศัตรูพืชในผักได้
2. เพื่อเปรียบเทียบระยะเวลาที่เหมาะสมในการล้างสารเคมีกาจัดศัตรูพืช
3. เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการล้างสารเคมีกาจัดศัตรูพืชจากน้ารางจืดแบบต้มกับน้า
รางจืดแบบคั้นน้า
2
สมมติฐาน
น้ารางจืดสามารถล้างสารเคมีกาจัดศัตรูพืชที่ตกค้างในผักได้และถ้าแช่ผักในน้ารางจืดเป็น
เวลานานก็จะมีประสิทธิภาพในการล้างสารเคมีกาจัดศัตรูพืชได้ดี
ขอบเขตของการทดลอง
การทดลองนี้เป็นการทดลองเกี่ยวกับน้าสมุนไพรที่สามารถล้างสารเคมีกาจัดศัตรูพืชโดยใช้
สมุนไพรคือรางจืด
อุปกรณ์การทดลอง
1 รางจืด 1 กิโลกรัม
2 ผักกาดขาว 500 กรัม
3 บีกเกอร์
4 ตะเกียงอัลกอฮอล์
5 มีด
6 เครื่องชั่ง
7 ชุดทดสอบยาฆ่าแมลง / สารพิษตกค้าง “จีที”
8 ถาดน้าอุ่นชนิดดัดแปลง
9 อุปกรณ์ระเหย
10 เทอร์โมมิเตอร์
11 หลอดทดลอง
12 หลอดหยด
13 ยาฆ่าแมลง
3
ตัวแปรที่ใช้ในการทดลอง
ตัวแปรต้น น้ารางจืด
ตัวแปรตาม ประสิทธิภาพในการล้างสารเคมีกาจัดศัตรูพืช
ตัวแปรควบคุม ปริมาณสมุนไพร ปริมาตรน้าที่ใช้ในการละลายสมุนไพร ภาชนะที่ใช้ในการทดลอง
ปริมาณสารที่ใช้ในการทดลอง ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง
4
บทที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
2.1 รางจืด
ชื่อสมุนไพร รางจืด
ชื่อวิทยาศาสตร์ Thunbergia laurifolia Linn.
ชื่ออื่น หนาแหน้
สรรพคุณ สรรพคุณรางจืดตามตารายาไทย กล่าวไว้ว่า รางจืดรสเย็น ใช้ปรุงเป็น
ยาเขียวถอนพิษไข้ ถอนพิษผิดสาแดงและพิษอื่นๆ ใช้แก้ร้อนในกระหายน้า รักษาโรคหอบหืดเรื้อรัง
และแก้ผื่นคันจากอาการแพ้ต่างๆ ด้วย ใช้แก้พิษเบื่อเมา เนื่องจากเห็ดพิษ สารหนู หรือแม้ยาเบื่อ
ประเภทยาสั่ง รางจืดช่วยถอนพิษสุรา หากดื่มสุราจัดเกินขนาด แล้วเกิดอาการเมาค้าง รางจืดถอน
ได้หรือหากเคี้ยวหรืออมเถารางจืดไว้ใต้ลิ้น เมื่อดื่มเหล้ามากแต่เมาน้อย ยังมีรายงานการศึกษา
รางจืดพบว่า แก้โรคพิษสุราเรื้อรัง นอกจากนี้ผู้นิยมสมุนไพรยังใช้แก้พิษได้อีกหลายอย่าง เช่น สุนัข
โดนวางยาเบื่อก็รอดชีวิตมาเพราะเจ้าของคั้นน้ารางจืดให้กิน หรือในอดีตใครที่ถูกวางยา ก็มักแก้ด้วย
รางจืดรวมทั้งพิษเบื่อเมาจากอาหาร เช่น เห็ด ผักหวาน ว่านพิษ หรือพิษจากสัตว์ สรรพคุณที่เป็น
5
รูปธรรมของรางจืดยังมีอีกมาก เช่น สามารถแก้อาการท้องร่วง อาการแพ้ ผื่นคันเนื่องจากอาหารเป็น
พิษ รางจืดที่ใช้ในการขจัดสารพิษและแก้เมาค้างนั้น คือ รางจืดเถา ชนิดดอกสีม่วงเพราะมีโอสถสาร
ที่รากและใบแรงกว่ารางจืดชนิดอื่น วิธีใช้ก็คือ จะใช้อย่างสดหรืออย่างแห้งก็ได้ อย่างสดก็เด็ดใบ
รางจืดมา 4-5 ใบ โขลกตาผสมน้าหรือน้าซาวข้าวยิ่งดี แล้วคั้นเอาน้าดื่ม หรือจะใช้ รางจืดแห้ง
300 กรัม (3 ขีด) ต่อน้า 1ลิตร และให้ดื่มน้ารางจืด 200 cc. ทุก 2 ช.ม. แต่หากท่านใดสนใจ
จะชงดื่มเป็นชา มีวิธีชงดังนี้ นาใบรางจืดแห้ง 1 หยิบมือ ชงกับน้าเดือด 1 กาเล็ก (ใส่น้าประมาณ
8 แก้ว) ดื่มต่างน้าทั้งวันชงดื่มได้ทุกวันโดยไม่มีอันตรายใดๆ นอกจากจะทาให้น้าตาลในเลือดลดลง
บ้างเล็กน้อย ส่วนการศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์นั้น มีการศึกษาครั้งแรกที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ทดลองในหนูขาวให้หนูได้รับพิษโฟลิดอล ซึ่งเป็นยาฆ่าแมลงชนิดหนึ่ง อยู่ในกลุ่มออร์กาโนฟอตเฟตก็
พบว่าใบรางจืดสามารถลดอัตราการตายของหนูจากพิษโฟลิดอลได้ดีพอควรแม้ยังไม่รู้ถึงกลไกการ
แก้พิษร้ายนี้ก็ตาม และเมื่อราว ๖-๗ ปีก่อนมีความพยายามแก้ปัญหาให้กับเกษตรกรที่ได้รับสารพิษ
ทางการเกษตร จาพวกยาฆ่าปราบศัตรูพืชต่างๆโดยโรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช จ.สุพรรณบุรี ได้
ทากาศึกษา โดยเก็บ ข้อมูลเบื้องต้นในการใช้รางจืดรักษาผู้ป่วยที่ได้รับพิษจากยาฆ่าหญ้า คือ "พา
ราควอท"(ชื่อการค้ากรัมม็อกโซน) ที่โฆษณาว่าปราบหญ้าเก่งนัก ซึ่งก็เท่ากับอันตรายสุดๆ ด้วย ก่อน
การทดลองเมื่อดูข้อมูลย้อนหลังไป ๓ ปี พบว่าผู้ป่วยที่ได้รับพาราควอทแล้วมาโรงพยาบาลมีแต่หลับ
ไม่ตื่น ฟื้นไม่มีแม้ว่าจะทาการักษาตามขั้นตอนของการแก้พิษ ให้ทั้งยาขับปัสสาวะ ยาถ่าย ทาให้
อาเจียนและล้างท้องก็ยังไม่รอด แต่หลังจากใช้รางจืดรักษาควบคู่กับวิธีของทางโรงพยาบาล พบ
ความอัศจรรย์ว่า ผู้ป่วยรอดชีวิตร้อยละ ๕๑ ดีกว่าแต่ก่อนครึ่งต่อครึ่ง สรรพคุณที่ฮิตที่สุดของรางจืด
ในปัจจุบันเห็นทีจะไม่พ้นการเมาค้าง หรือดื่มหนัก (ไม่ขับ) วิธีใช้ว่ากันตามแบบฉบับคลาสสิก ใช้ได้
ทั้งการกินสดๆ และแห้ง คือ เอาใบสด ๔-๕ ใบ ใส่ครกตาผสมน้าถ้าได้น้าซาวข้าวยิ่งดี แล้วคั้นเอาน้า
ดื่ม หรือจะใช้ส่วนที่เป็นราก และเถารางจืดสดตาคั้นก็ได้ส่วนวิธีแห้ง ซึ่งเป็นที่นิยมในเวลานี้ คือ การ
นาใบแห้งมาชงกับน้าดื่ม เหมือนชงชาจีนนั่นแหละ ส่วนความเข้มของยาแล้วแต่จะชงอ่อนชงแก่
(http://www.samunpri.com/modules.php?name=News&file=article&sid=188 25 กันยายน 2552)
6
2.2 สารเคมีกาจัดศัตรูพืช
ชนิดของสารเคมีกาจัดศัตรูพืช
สารเคมีกาจัดศัตรูพืชในทางการเกษตร ที่มีการจาหน่ายทางการค้า มีกว่า 1,000 ชนิด ซึ่ง
แบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ตามชนิดของสิ่งมีชีวิตที่ใช้ในการควบคุมและกาจัด คือ สารเคมีกาจัดแมลง
สารป้องกันกาจัดวัชพืช สารป้องกันกาจัดเชื้อรา สารกาจัดหนูและสัตว์แทะ สารเคมีกาจัดหอยและปู
เป็นต้น
1. สารเคมีกาจัดแมลง
สารเคมีกาจัดแมลงเป็นสารเคมีการเกษตรที่มีจานวนชนิดมากที่สุด สารเคมีกาจัดแมลงแบ่งออกเป็น
กลุ่มใหญ่ๆ ตามชนิดของสารเคมีได้ 4 ประเภท คือ
1.1 กลุ่มออร์กาโนคลอไรน์ ซึ่งเป็นกลุ่มของสารเคมีที่มีคลอรีนเป็นองค์ประกอบ สารเคมี
กาจัดแมลงในกลุ่มนี้ที่นิยมใช้กันมาก คือ ดีดีที (DDT), ดีลดริน (dieldrin), ออลดริน (aldrin), ท็อก
ซาฟีน (toxaphene), คลอเดน (chlordane), ลินเดน (lindane), เอนดริน (endrin), เฮปตาครอ
(heptachlor) เป็นต้น สารเคมีในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นสารเคมีที่มีพิษไม่เลือก (คือเป็นพิษต่อแมลงทุก
ชนิด) และค่อนข้างจะสลายตัวช้า ทาให้พบตกค้างในห่วงโซ่อาหารและสิ่งแวดล้อมได้นาน บางชนิด
อาจตกค้างได้นานหลายสิบปี ปัจจุบัน ประเทศส่วนใหญ่ทั่วโลกจะไม่อนุญาตให้ใช้สารเคมีในกลุ่มนี้
หรือไม่ก็มีการควบคุมการใช้ ไม่อนุญาตให้ใช้อย่างเสรี เพราะผลกระทบด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม
1.2 กลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีฟอสฟอรัสเป็นองค์ประกอบ โดยสารเคมีในกลุ่ม
นี้ที่รู้จักกันคือ มาลาไธออน (malathion), พาร June, 2009#3604;อาซินอน (diazinon), เฟนนิโตรไธ
ออน (fenitrothion), พิริมิฟอสเมธิล (pirimiphos methyl), และไดคลอวอส (dichlorvos หรือ DDVP)
เป็นต้น สารเคมีในกลุ่มนี้จะมีพิษรุนแรงมากกว่ากลุ่มอื่น โดยเป็นพิษทั้งกับแมลงและสัตว์อื่นๆ ทุก
ชนิด แต่สารในกลุ่มนี้จะย่อยสลายได้เร็วกว่ากลุ่มแรก
1.3 กลุ่มคาร์บาเมต ซึ่งมีคาร์บาริลเป็นองค์ประกอบสาคัญ โดยสารเคมีกาจัดแมลงที่รู้จัก
และใช้กันมาก คือ คาร์บาริว (carbaryl ที่มีชื่อการค้า Savin), คาร์โบฟุแรน (carbofura), โพรพ็อก
เซอร์ (propoxur), เบนไดโอคาร์บ (bendiocarb) สารเคมีในกลุ่มคาร์บาเมตจะมีความเป็นพิษต่อ
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมน้อยกว่าพวกออร์กาโนฟอสเฟต
7
1.4 กลุ่มสารสังเคราะห์ไพรีทอย เป็นสารเคมีกลุ่มที่สังเคราะห์ขึ้นโดยมีความสัมพันธ์ตาม
โครงสร้างของไพรีทริน ซึ่งเป็นสารธรรมชาติที่สกัดได้จากพืชไพรีทรัม สารเคมีในกลุ่มนี้มีความเป็น
พิษต่อแมลงสูง แต่มีความเป็นพิษต่อสัตว์เลือดอุ่นต่า อย่างไรก็ตาม สารเคมีกลุ่มนี้มีราคาแพงจึงไม่
ค่อยเป็นที่นิยมใช้ สารเคมีกาจัดแมลงในกลุ่มนี้ ได้แก่ เดลตาเมธริน (deltamethrin), เพอร์เมธริน
(permethrin), เรสเมธริน (resmethrin), และไบโอเรสเมธริน (bioresmethrin) เป็นต้น
2. สารป้องกันกาจัดวัชพืช
สารเคมีกาจัดวัชพืชแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ พวกที่มีพิษทาลายไม่เลือก กับพวกที่มีพิษ
เฉพาะกลุ่มวัชพืช คือ ทาลายเฉพาะวัชพืชใบกว้าง หรือวัชพืชใบแคบ สารกาจัดวัชพืชที่มีพิษทาลาย
ไม่เลือก คือ พาราควอท (paraquat) ส่วนที่มีพิษทาลายเฉพาะ คือ พวก แอทราซิน (atrazine), 2,4-
D, 2,4,5-T เป็นต้น
3. สารกาจัดเชื้อรา
มีอยู่หลายกลุ่มมาก บางชนิดมีพิษน้อย แต่บางชนิดมีพิษมาก กลุ่มสาคัญของสารกาจัดเชื้อราใน
การเกษตร (สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรค 2546)ได้แก่
 กลุ่ม Dimethey dithiocarbamates (Ziram, Ferbam, Thiram) มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์
Acetaldehyde dehydrogenase เกิด antabuse effect ในคนที่ดื่มสุราร่วมด้วย
 กลุ่ม Ethylenebisdithiocarbamates (Maneb, Mancozeb, Zineb) กลุ่มนี้จะถูก
metabolize เป็น Ethylene thiourea ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งในสัตว์
 กลุ่ม Methyl mercury ดูดซึมได้ดีทางผิวหนังและมีพิษต่อระบบประสาท
 กลุ่ม Hexachlorobenzene ยับยั้งเอนไซม์ Uroporphyrinogen decarboxylase มีพิษต่อ
ตับ ผิวหนัง ข้อกระดูกอักเสบ
 กลุ่ม Pentachlorophenol สัมผัสมากๆ ทาให้ไข้สูง เหงื่อออกมาก หัวใจเต้นเร็ว
4. สารกาจัดหนูและสัตว์แทะ (Rodenticides)
สารกาจัดหนูและสัตว์แทะที่นิยมใช้กัน ส่วนใหญ่เป็นสารกลุ่มที่มีฤทธิ์ต้านการแข็งตัวของเลือด
ตัวอย่าง เช่น Warfarin หยุดยั้งการสร้างวิตามิน เค ทาให้เลือดออกตามผิวหนัง และส่วนต่างๆ ของ
ร่างกาย เม็ดเลือดขาวต่า ลมพิษ ผมร่วง
(http://nsw-rice.com/index.php?option=com_content&view=article&id=206:chemtype&catid=
66:insecticide&Itemid=41 25 กันยายน 2552)
8
อันตรายจากสารเคมีกาจัดศัตรูพืช
สารเคมีกาจัดศัตรูพืช หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า "ยาฆ่าแมลง" นั้น ส่วนใหญ่จะแสดงอาการเป็น
พิษต่อระบบประสาทของสิ่งมีชีวิต อาการที่เกิดอาจเป็นชนิดรุนแรงหรือชนิดเรื้อรังก็ได้ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ
ก. ชนิดและปริมาณของสารเคมีกาจัดศัตรูพืช
ข. ได้รับสารเคมีกาจัดศัตรูพืชทางปาก (อาหาร) ผิวหนังหรือทางการหายใจ
ค. ปริมาณสารตกค้างที่สะสมอยู่ในร่างกาย
ง. ออกฤทธิ์ที่ระบบประสาทส่วนใด
สารเคมีกาจัดศัตรูพืชบางชนิดทาให้เกิดมะเร็งในสัตว์ทดลอง จึงเชื่อกันว่าอาจเป็นสาเหตุให้เกิด
มะเร็งในมนุษย์ได้เช่นกัน อันตรายเหล่านี้จะเกิดช้าๆ และไม่ปรากฏให้เห็นได้ชัดเจนนัก
การใช้สารเคมีกาจัดศัตรูพืชเพื่อประโยชน์ในงานประเภทใดก็ตาม ควรคานึงถึงอันตรายที่จะเกิดกับ
มนุษย์และสิ่งแวดล้อมในระยะยาว โดยเปรียบเทียบประโยชน์และอันตรายที่จะได้รับภายหลัง การใช้
ให้ดีเสียก่อน เพราะสารเคมีกาจัดศัตรูพืชบางชนิดสลายตัวได้หมดภายหลังการใช้ แต่บางชนิดจะ
สลายตัวได้ยากหรือเกือบจะไม่สลายเลย คงเหลือสารตกค้างอยู่ในอาหารและสิ่งแวดล้อม เท่าที่ใช้
กันแพร่หลายในปัจจุบันนี้ ส่วนใหญ่เป็นพวกที่ผลิตขึ้นจากสารเคมีและสลายตัวได้ยาก จึงจาเป็นต้อง
ศึกษาพิษอันตรายที่จะเกิดข้นให้ดีและรู้จักหลีกเลี่ยงอันตรายเหล่านั้น โดยปฏิบัติตามคาแนะนาวิธีใช้
ที่มีฉลากโดยเคร่งครัด การควบคุมใช้สารเคมีกาจัดศัตรูพืชอย่างรัดกุม จะช่วยให้ได้รับประโยชน์
เต็มที่และเกือบจะไม่มีอันตรายเหลืออยู่เลย เท่าที่ใช้กันแพร่หลาย ได้แก่ สารเคมีกาจัดแมลง
(Insecticides) กาจัดเชื้อรา (Fungicides) กาจัดวัชพืช (Herbicides) และกาจัดหนู (Rodenticides)
สานักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
ตระหนักดีถึงอันตรายที่ประชาชนอาจได้รับจากการใช้สารเคมีกาจัดศัตรูพืช จึงทาการศึกษาวิจัยหา
สารตกค้างดังกล่าวในอาหารเป็นประจา เพื่อการเฝ้าระวังและติดตามชนิดและปริมาณของสารเคมีที่
ตกค้างในอาหาร ตัวอย่างอาหารที่นามาวิเคราะห์ มีทั้งชนิดดิบและสุกทุกประเภท เช่น ผัก ผลไม้ กุ้ง
แห้ง ข้าว ไข่ เนื้อสัตว์ ไขมัน น้ามันปรุงอาหาร ฯลฯ โดยเก็บตัวอย่างจากตลาดขายส่งขายปลีกและ
แหล่งเพาะปลูกหรือจากหน่วยราชการและเอกชนส่งให้วิเคราะห์เพราะสงสัยว่าสาเหตุให้เกิดอาการ
เป็นพิษ และผู้ส่งออกที่ต้องการหนังสือรับรองคุณภาพสินค้าอาหารที่จะส่งไปจาหน่ายต่างประเทศ
ข้อมูลที่ได้รับจากการศึกษาวิจัยเท่าที่ผ่านมาแล้ว ปรากฏว่าปริมาณสารเคมีกาจัดศัตรูพืชที่ตกค้างใน
อาหารโดยเฉลี่ยแล้ว ส่วนใหญ่ยังอยู่ในเกณฑ์ปลอดภัยต่อการบริโภค
9
คาแนะนาเพื่อความปลอดภัยในการบริโภค
1. ล้างผักและผลไม้ด้วยน้าสะอาดหลายๆ ครั้ง เพื่อชะล้างสารเคมีกาจัดศัตรูพืช
ตกค้างอยู่บนผิวของผักและผลไม้ให้หมดไป หรือ
2. แช่ผักและผลไม้ในน้ายาล้างผัก แล้วล้างน้ายาให้หมดด้วยน้าสะอาดหลายๆ ครั้ง
3. ผักและผลไม้ที่ปอกเปลือกได้ ควรล้างด้วยน้าให้สะอาดก่อนปอกเปลือก
4. การต้มผักแล้ว เทน้าทิ้งไปจะช่วยลดปริมาณยาฆ่าแมลงในผักลงได้บ้าง
5. ถั่วแห้งทุกชนิด ก่อนนามาใช้ปรุงอาหารควรล้างด้วยน้าให้สะอาด ถ้าเป็นอาหารที่
ต้องต้ม ควรทิ้งน้าต้มครั้งแรก เพื่อให้ยาฆ่าแมลงที่ตกค้างอยู่บนผิวนอกของ เมล็ด
ถั่วหลุดไปได้มากที่สุด
6. ก่อนฉีกหรือพ่นสารเคมีกาจัดศัตรูพืชทุกครั้ง ควรถือปฏิบัติโดยเคร่งครัด ดังนี้
 ใช้เมื่อมีความจาเป็นเท่านั้น
 การฉีกพ่นเพื่อกาจัดแมลงหรือมดในห้องอาหาร ควรกระทาในขณะที่ไม่มี
อาหารอยู่ในห้องนั้น
 ถ้าต้องการกาจัดแมลงในครัว ควรดูแลปิดอาหารให้มิดชิด อย่าให้ละออง
ของสารเคมีเข้าไปปะปนในอาหารได้
 ภาชนะบรรจุน้้าบริโภค ต้องปิดฝาให้มิดชิดเช่นกัน
7. ห้ามน้าภาชนะที่เคยบรรจุสารเคมีก้าจัดศัตรูพืช มาใช้บรรจุอาหาร เครื่องดื่มหรือน้้า
เป็นอันขาด
ควรระลึกอยู่เสมอว่า สารเคมีก้าจัดศัตรูพืชทุกชนิดเป็นวัตถุมีพิษ ต้องเก็บแยกไว้ในที่ปลอดภัย อย่า
เก็บใกล้กับอาหารและเก็บในที่เฉพาะซึ่งเด็กหยิบไม่ถึง
(http://www.dmsc.moph.go.th/webroot/BQSF/File/VARITY/CHEMICAL.HTM 25 กันยายน 2552)
10
บทที่ 3
วิธีดาเนินการทดลอง
อุปกรณ์และวิธีการทดลอง
1. ศึกษาสมุนไพรที่มีสรรพคุณในการล้างพิษ คือ รางจืด
2. เตรียมอุปกรณ์การทดลองได้แก่
14 รางจืด 1 กิโลกรัม
15 ผักกาดขาว 500 กรัม
16 บีกเกอร์
17 ตะเกียงอัลกอฮอล์
18 มีด
19 เครื่องชั่ง
20 ชุดทดสอบยาฆ่าแมลง / สารพิษตกค้าง “จีที”
21 ถาดน้าอุ่นชนิดดัดแปลง
22 อุปกรณ์ระเหย
23 เทอร์โมมิเตอร์
24 หลอดทดลอง
25 หลอดหยด
26 ยาฆ่าแมลง
3. ต้มน้าปริมาตร 1 ลิตร พอเดือดใส่ใบรางจืดที่ล้างสะอาดแล้ว 0.5 กิโลกรัม ต้มต่ออีก 5 นาที
ยกลงทิ้งไว้ให้เย็น กรองเอาแต่น้า จากนั้นนารางจืดส่วนที่เหลือ 0.5 กิโลกรัมมาโขลกคั้นเอาแต่น้า
ผสมกับน้าปริมาตร 1 ลิตร
4. นาผักกาดขาว 500 กรัม มาชุบยาฆ่าแมลงแล้วหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ
11
5. นาผักกาดขาวที่หั่นแล้วจานวน 10 กรัม มาแช่ในน้าปริมาตร 20 มิลลิลิตร ในบีกเกอร์ที่ 1
และผักกาดขาว 10 กรัมแช่ในน้ารางจืดปริมาตร 20 มิลลลิลิตร ในบีกเกอร์ที่ 2 เป็นเวลา 15
นาที จากนั้นนาผักไปบดทดสอบด้วยชุดทดสอบ GT เพื่อเปรียบเทียบปริมาณสารเคมีกาจัดศัตรูพืช
6. นาผักกาดขาวที่หั่นแล้วมาแช่ในน้ารางจืดที่ได้จากการต้ม ซึ่งแต่ละบีกเกอร์ใช้ผักกาดขาวจานวน
10 กรัม แช่ในน้ารางจืด ทั้ง 4 บีกเกอร์ ซึ่งแต่ละบีกเกอร์มีน้ารางจืด 20 มิลลิลิตร โดย
ระยะเวลาในการแช่ผักต่างกันดังนี้ บีกเกอร์ที่ 1 ใช้เวลา 15 นาที บีกเกอร์ที่ 2 ใช้เวลา 20 นาที
บีกเกอร์ที่ 3 ใช้เวลา 25 นาที และบีกเกอร์ที่ 4 ใช้เวลา 30 นาที จากนั้นนาผักไปบดทดสอบ
ด้วยชุดทดสอบGT เพื่อเปรียบเทียบปริมาณสารเคมีกาจัดศัตรูพืช
7. ทาซ้าในข้อที่ 6 โดยเปลี่ยนจากน้ารางจืดชนิดต้ม มาเป็นน้ารางจืดที่ได้จากการคั้น
8. ขั้นตอนการทดสอบหาสารพิษตกค้างในผัก
8.1 การสกัด Sample Extract
8.1.1 หั่น-บดตัวอย่างให้ละเอีบด
8.1.2 ชั่งตัวอย่างใส่ขวด ขวดละ 5 กรัม
8.1.3 ใส่ Solvent-1 ลงไป 5 มิลลิลิตร ปิดฝาเขย่านาน 1 นาที และตั้ง
วางทิ้งไว้ 10 นาที
8.1.4 ดูดสารสกัดจากขวดตัวอย่าง 1 มิลลิลิตร ใส่ลงในหลอดแก้วทดลอง
จากนั้นเติมสาร Sovent-2 ลงไปอีก 1 มิลลิลิตร
8.1.5 นาไประเหยด้วยอุปกรณ์ระเหยโดยต่อปั๊มลมเข้ากับสายยางและหลอดหยด
แก้ว จุ่มลงไปในหลอดแก้วทดลอง เปิดเครื่องปั๊มลมให้เป่าลมลงไปในหลอดแก้ว ระเหยจนกว่าสาร
สกัดจากตัวอย่าง (ชั้นล่าง) จะระเหยไปหมด ผ่านขั้นตอนการระเหยแล้วจะเหลือแต่ส่วนของสารที่
เรียกว่า “Sample Extract” ที่จะนาไปใช้ตรวจสอบต่อไป
8.2 ขั้นตอนการตรวจสอบ
12
8.2.1 ต้องทาหลอดควบคุมและหลอดตัดสิน เพื่อใช้เป็น Negative
control และ Positive control ของการตรวจทุกครั้ง โดยนาหลอดทดลอง 2 หลอด
มาติดฉลาก “ควบคุม” และ “ตัดสิน” เติมสาร Solvent-2 ลงไป หลอดละ 0.25 มิลลิลิตร
8.2.2 จากนั้นย้ายปฏิบัติการตรวจสอบลงไปในถาดน้าอุ่น ควบคุมอุณหภูมิที่ 32-
36 องศาเซลเซียส
8.2.3 เติมสาร GT-1 ลงไปทุกหลอด จานวนหลอดละ 0.5 มิลลิลิตร วางไว้ 5-
10 นาที
8.2.4 เตรียมผสมสารละลาย โดยผสม GT-2 กับ GT-2.1 และผสม GT-3
กับ GT-3.1
8.2.5 ใส่ GT-2 ที่ผสมแล้วลงทุกหลอด หลอดละ 0.25 มิลลิลิตร ยกเว้นหลอด
ตัดสินให้เติม GT-2 จานวน 0.375 มิลลิลิตร
8.2.6 รอเวลา 30 นาที ควบคุมอุณหภูมิในถาดน้าอุ่นให้อยู่ที่ 32 – 36 องศา
เซลเซียส
8.2.7 ใส่ GT-3 ที่ผสมแล้วลงทุกหลอด จานวน 1 มิลลิลิตร. เขย่าให้เข้ากัน
8.2.8 ใส่ GT-4 ลงทุกหลอด จานวน 0.5 มิลลิลิตร เขย่าให้เข้ากัน
8.2.9 ใส่ GT-5 ลงทุกหลอด จานวน 0.5 มิลลิลิตร เขย่าให้เข้ากัน
8.3 ขั้นตอนการประเมินผล โดยเปรียบเทียบสีที่ปรากฏ
เปรียบเทียบสี ผลการประเมิน
ตัวอย่างสีอ่อนกว่าหรือเท่ากับควบคุม ไม่พบสารพิษตกค้าง
ตัวอย่างสีเข้มกว่าควบคุมแต่ยังอ่อนกว่าตัดสิน พบสารพิษตกค้างในระดับที่ปลอดภัย
ตัวอย่างสีเท่ากับหรือสีเข้มกว่าตัดสิน พบสารพิษตกค้างในระดับที่ไม่ปลอดภัย
13
บทที่ 4
ผลการทดลอง
ตารางที่ 1 ตารางบันทึกผลการทดลองเปรียบเทียบผักที่แช่ในน้าเปล่ากับผักที่แช่ในน้ารางจืด
ตัวอย่าง ผลการทดสอบ
ผักกาดขาวที่แช่ในน้าเปล่า พบสารพิษตกค้างในระดับที่ไม่ปลอดภัย
ผักกาดขาวที่แช่ในน้ารางจืด พบสารพิษตกค้างในระดับที่ปลอดภัย
ตารางที่ 2 ตารางบันทึกผลการเปรียบเทียบผักที่แช่ในน้ารางจืดชนิดต้มและชนิดคั้นในเวลาที่
ต่างกัน
ตัวอย่าง
ผลการทดสอบ
น้ารางจืดชนิดต้ม น้ารางจืดชนิดคั้น
ผักกาดขาวที่แช่ในน้ารางจืดเป็นเวลา 15
นาที
พบสารพิษตกค้างใน
ระดับที่ปลอดภัย
พบสารพิษตกค้างใน
ระดับที่ปลอดภัย
ผักกาดขาวที่แช่ในน้ารางจืดเป็นเวลา 20
นาที
พบสารพิษตกค้างใน
ระดับที่ปลอดภัย
พบสารพิษตกค้างใน
ระดับที่ปลอดภัย
ผักกาดขาวที่แช่ในน้ารางจืดเป็นเวลา 25
นาที
พบสารพิษตกค้างใน
ระดับที่ปลอดภัย
ไม่พบสารพิษตกค้าง
ผักกาดขาวที่แช่ในน้ารางจืดเป็นเวลา 30
นาที
ไม่พบสารพิษตกค้าง ไม่พบสารพิษตกค้าง
14
บทที่ 5
อภิปรายผลการทดลอง
จากการทดลองพบว่า
1. ผักที่แช่ในน้าเปล่าเป็นเวลา 15 นาที ตรวจพบสารตกค้างในระดับไม่ปลอดภัยส่วนผักที่แช่ใน
น้ารางจืดเป็นเวลา 15 นาที ตรวจพบสารตกค้างในระดับปลอดภัย
2. ผักที่แช่ในน้ารางจืดชนิดต้มเป็นเวลา 15 นาที 20 นาที และ25 นาที ตรวจพบสารตกค้างใน
ระดับปลอดภัย เมื่อแช่เป็นเวลา 30 นาทีจึงตรวจไม่พบสารพิษตกค้าง
3. ผักที่แช่ในน้ารางจืดชนิดคั้นเป็นเวลา 15 นาที 20 นาทีตรวจพบสารตกค้างในระดับปลอดภัย
ส่วนที่แช่เวลา 25 นาที และ30 นาทีตรวจไม่พบสารตกค้าง
สรุปผลการทดลอง
สรุปได้ว่าน้ารางจืดช่วยลดสารเคมีกาจัดศัตรูพืชตกค้างในผักได้ โดยระยะเวลาที่เหมาะสมมากที่สุด
คือ 25 นาที และน้ารางจืดที่ได้จากการคั้นมีประสิทธิภาพมากกว่าน้ารางจืดต้ม
ประโยชน์ของโครงงาน
1. ทาให้ทราบชนิดของพืชสมุนไพรที่มีความสามารถในการล้างสารพิษจากยาฆ่าแมลง
2. ได้ทราบระยะเวลาที่เหมาะสมของการล้างสารพิษในผัก โดยใช้พืชสมุนไพร
3. ทาให้ได้พืชล้างสารพิษชนิดใหม่ที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้ใช้ไม่มีผลกระทบต่อ
สิ่งแวดล้อม
4. ลดอันตรายที่ได้รับจากสารเคมีกาจัดศัตรูพืช เป็นการส่งเสริม สุขภาพผู้บริโภค ทาให้มี
คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
5. ส่งเสริมการใช้สมุนไพรล้างสารเคมีกาจัดศัตรูพืชแทนการใช้สารเคมีล้าง
6. เป็นการประหยัดค่าใช้จ่าย เนื่องจากเป็นสมุนไพรที่มี ราคาถูก หาได้ง่ายในท้องถิ่น
7. เป็นการฝึกทักษะกระบวนการทาง วิทยาศาสตร์
15
8. เป็นการส่งเสริมภูมิปัญญาไทย ในการนาเอาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาแก้ไขปัญหาที่
เกิดขึ้นใน ชีวิตประจาวัน รวมทั้งการนาไปพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไทย
ข้อเสนอแนะ
1. ควรศึกษากับสมุนไพรอื่นๆที่มีในท้องถิ่นมากกว่านี้
2. ควรหาอัตราส่วนที่เหมาะสมของพืชสมุนไพรที่ใช้ล้างสารพิษได้ดีที่สุด
3. ควรศึกษาเปรียบเทียบกับการล้างด้วยน้าส้มสายชูผสมน้าอุ่น หรือการล้างด้วยน้าด่างทับทิม
หรือสารละลายผงฟู
4. ควรศึกษาเปรียบเทียบกับการล้าง ด้วย น้ายาล้างสารพิษสาเร็จรูป ที่มีขายในท้องตลาด
5. ควรทาเป็นผลิตภัณฑ์ที่สะดวกแก่การใช้และ สามารถเก็บรักษาได้เป็นเวลานาน โดยไม่เสื่อม
คุณภาพ
บรรณานุกรม
http://www.dmsc.moph.go.th/webroot/BQSF/File/VARITY/CHEMICAL.HTM
25 กันยายน 2552
http://nsw-rice.com/index.php?option=com_content&view=article&id=206:chemtype&catid=
66:insecticide&Itemid=41 25 กันยายน 2552
http://www.samunpri.com/modules.php?name=News&file=article&sid=188 25 กันยายน 2552

More Related Content

What's hot

โครงงาน เรื่อง ขนมวง
โครงงาน เรื่อง ขนมวงโครงงาน เรื่อง ขนมวง
โครงงาน เรื่อง ขนมวงThanakorn Chanamai
 
ตัวอย่าง ปกรายงาน
ตัวอย่าง ปกรายงานตัวอย่าง ปกรายงาน
ตัวอย่าง ปกรายงานSamorn Tara
 
ตัวอย่างโครงงาน
ตัวอย่างโครงงานตัวอย่างโครงงาน
ตัวอย่างโครงงานThitaree Permthongchuchai
 
ผลิตภัณฑ์ขัดรองเท้าจากเปลือกผลไม้
ผลิตภัณฑ์ขัดรองเท้าจากเปลือกผลไม้ผลิตภัณฑ์ขัดรองเท้าจากเปลือกผลไม้
ผลิตภัณฑ์ขัดรองเท้าจากเปลือกผลไม้BoomCNC
 
เรื่องปัญหายาเสพติด
เรื่องปัญหายาเสพติดเรื่องปัญหายาเสพติด
เรื่องปัญหายาเสพติดพัน พัน
 
หน้าปกโครงงาน
หน้าปกโครงงานหน้าปกโครงงาน
หน้าปกโครงงานKanistha Chudchum
 
แผนบูรณาการสะเต็ม ร่มพยุงไข่
แผนบูรณาการสะเต็ม ร่มพยุงไข่แผนบูรณาการสะเต็ม ร่มพยุงไข่
แผนบูรณาการสะเต็ม ร่มพยุงไข่Wijitta DevilTeacher
 
ปกรายงาน
ปกรายงานปกรายงาน
ปกรายงานJane Janjira
 
โครงงานน้ำยาปรับผ้านุ่ม
โครงงานน้ำยาปรับผ้านุ่มโครงงานน้ำยาปรับผ้านุ่ม
โครงงานน้ำยาปรับผ้านุ่มeeii
 
โครงงานชาผักสมุนไพรพื้นบ้าน
โครงงานชาผักสมุนไพรพื้นบ้านโครงงานชาผักสมุนไพรพื้นบ้าน
โครงงานชาผักสมุนไพรพื้นบ้านChok Ke
 
โครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานวิทยาศาสตร์โครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานวิทยาศาสตร์Aphinya Tantikhom
 
บท3การเจริญดอก
บท3การเจริญดอกบท3การเจริญดอก
บท3การเจริญดอกWichai Likitponrak
 
พืชใบเลี้ยงเดี่ยวและพืชใบเลี้ยงคู่
พืชใบเลี้ยงเดี่ยวและพืชใบเลี้ยงคู่พืชใบเลี้ยงเดี่ยวและพืชใบเลี้ยงคู่
พืชใบเลี้ยงเดี่ยวและพืชใบเลี้ยงคู่Benjapron Seesukong
 
บันทึกการเยี่ยมชมนวัตกรรม
บันทึกการเยี่ยมชมนวัตกรรมบันทึกการเยี่ยมชมนวัตกรรม
บันทึกการเยี่ยมชมนวัตกรรมJirathorn Buenglee
 
โครงงานคอมพิวเตอร์เรื่องเทียนหอมไล่ยุงตะไคร้
โครงงานคอมพิวเตอร์เรื่องเทียนหอมไล่ยุงตะไคร้โครงงานคอมพิวเตอร์เรื่องเทียนหอมไล่ยุงตะไคร้
โครงงานคอมพิวเตอร์เรื่องเทียนหอมไล่ยุงตะไคร้Paramin Suwannawut
 
บทที่ 3 สารละลาย
บทที่ 3 สารละลายบทที่ 3 สารละลาย
บทที่ 3 สารละลายNang Ka Nangnarak
 
โครงสร้างรายวิชาวิทยาศาสตร์ ป.3
โครงสร้างรายวิชาวิทยาศาสตร์ ป.3โครงสร้างรายวิชาวิทยาศาสตร์ ป.3
โครงสร้างรายวิชาวิทยาศาสตร์ ป.3Mam Chongruk
 

What's hot (20)

โครงงาน เรื่อง ขนมวง
โครงงาน เรื่อง ขนมวงโครงงาน เรื่อง ขนมวง
โครงงาน เรื่อง ขนมวง
 
โครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานวิทยาศาสตร์โครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานวิทยาศาสตร์
 
โครงงานวุ้นกะทิ
โครงงานวุ้นกะทิโครงงานวุ้นกะทิ
โครงงานวุ้นกะทิ
 
ตัวอย่าง ปกรายงาน
ตัวอย่าง ปกรายงานตัวอย่าง ปกรายงาน
ตัวอย่าง ปกรายงาน
 
ตัวอย่างโครงงาน
ตัวอย่างโครงงานตัวอย่างโครงงาน
ตัวอย่างโครงงาน
 
ผลิตภัณฑ์ขัดรองเท้าจากเปลือกผลไม้
ผลิตภัณฑ์ขัดรองเท้าจากเปลือกผลไม้ผลิตภัณฑ์ขัดรองเท้าจากเปลือกผลไม้
ผลิตภัณฑ์ขัดรองเท้าจากเปลือกผลไม้
 
เรื่องปัญหายาเสพติด
เรื่องปัญหายาเสพติดเรื่องปัญหายาเสพติด
เรื่องปัญหายาเสพติด
 
หน้าปกโครงงาน
หน้าปกโครงงานหน้าปกโครงงาน
หน้าปกโครงงาน
 
แผนบูรณาการสะเต็ม ร่มพยุงไข่
แผนบูรณาการสะเต็ม ร่มพยุงไข่แผนบูรณาการสะเต็ม ร่มพยุงไข่
แผนบูรณาการสะเต็ม ร่มพยุงไข่
 
ปกรายงาน
ปกรายงานปกรายงาน
ปกรายงาน
 
โครงงานน้ำยาปรับผ้านุ่ม
โครงงานน้ำยาปรับผ้านุ่มโครงงานน้ำยาปรับผ้านุ่ม
โครงงานน้ำยาปรับผ้านุ่ม
 
การใช้ a/an/some/any
การใช้ a/an/some/any การใช้ a/an/some/any
การใช้ a/an/some/any
 
โครงงานชาผักสมุนไพรพื้นบ้าน
โครงงานชาผักสมุนไพรพื้นบ้านโครงงานชาผักสมุนไพรพื้นบ้าน
โครงงานชาผักสมุนไพรพื้นบ้าน
 
โครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานวิทยาศาสตร์โครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานวิทยาศาสตร์
 
บท3การเจริญดอก
บท3การเจริญดอกบท3การเจริญดอก
บท3การเจริญดอก
 
พืชใบเลี้ยงเดี่ยวและพืชใบเลี้ยงคู่
พืชใบเลี้ยงเดี่ยวและพืชใบเลี้ยงคู่พืชใบเลี้ยงเดี่ยวและพืชใบเลี้ยงคู่
พืชใบเลี้ยงเดี่ยวและพืชใบเลี้ยงคู่
 
บันทึกการเยี่ยมชมนวัตกรรม
บันทึกการเยี่ยมชมนวัตกรรมบันทึกการเยี่ยมชมนวัตกรรม
บันทึกการเยี่ยมชมนวัตกรรม
 
โครงงานคอมพิวเตอร์เรื่องเทียนหอมไล่ยุงตะไคร้
โครงงานคอมพิวเตอร์เรื่องเทียนหอมไล่ยุงตะไคร้โครงงานคอมพิวเตอร์เรื่องเทียนหอมไล่ยุงตะไคร้
โครงงานคอมพิวเตอร์เรื่องเทียนหอมไล่ยุงตะไคร้
 
บทที่ 3 สารละลาย
บทที่ 3 สารละลายบทที่ 3 สารละลาย
บทที่ 3 สารละลาย
 
โครงสร้างรายวิชาวิทยาศาสตร์ ป.3
โครงสร้างรายวิชาวิทยาศาสตร์ ป.3โครงสร้างรายวิชาวิทยาศาสตร์ ป.3
โครงสร้างรายวิชาวิทยาศาสตร์ ป.3
 

Similar to ตย.โครงงาน

หญ้าปักกิ่ง สมุนไพรรักษาสารพัดโรค
หญ้าปักกิ่ง สมุนไพรรักษาสารพัดโรคหญ้าปักกิ่ง สมุนไพรรักษาสารพัดโรค
หญ้าปักกิ่ง สมุนไพรรักษาสารพัดโรคหญ้าปักกิ่ง จตุกา
 
งาน
งานงาน
งานDARAGA
 
รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ความหลากหลายและความสัมพันธ์ของเห็ดในดอนปู่ตา2...
รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ความหลากหลายและความสัมพันธ์ของเห็ดในดอนปู่ตา2...รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ความหลากหลายและความสัมพันธ์ของเห็ดในดอนปู่ตา2...
รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ความหลากหลายและความสัมพันธ์ของเห็ดในดอนปู่ตา2...Sircom Smarnbua
 
1 aug-2008-siriporn(1)
1 aug-2008-siriporn(1)1 aug-2008-siriporn(1)
1 aug-2008-siriporn(1)giftsairudee
 
โครงงาน(ติดบอด)
โครงงาน(ติดบอด)โครงงาน(ติดบอด)
โครงงาน(ติดบอด)009kkk
 
โครงงานเคมีกัญ (1)
โครงงานเคมีกัญ (1)โครงงานเคมีกัญ (1)
โครงงานเคมีกัญ (1)Guntima NaLove
 
โครงงานวิทยาศาสตร์แชมพูสระผมมะกรูด
โครงงานวิทยาศาสตร์แชมพูสระผมมะกรูดโครงงานวิทยาศาสตร์แชมพูสระผมมะกรูด
โครงงานวิทยาศาสตร์แชมพูสระผมมะกรูดBio Beau
 
โครงงานวิทยาศาสตร์แชมพูสระผมมะกรูด
โครงงานวิทยาศาสตร์แชมพูสระผมมะกรูดโครงงานวิทยาศาสตร์แชมพูสระผมมะกรูด
โครงงานวิทยาศาสตร์แชมพูสระผมมะกรูดBio Beau
 

Similar to ตย.โครงงาน (20)

หญ้าปักกิ่ง สมุนไพรรักษาสารพัดโรค
หญ้าปักกิ่ง สมุนไพรรักษาสารพัดโรคหญ้าปักกิ่ง สมุนไพรรักษาสารพัดโรค
หญ้าปักกิ่ง สมุนไพรรักษาสารพัดโรค
 
งาน
งานงาน
งาน
 
รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ความหลากหลายและความสัมพันธ์ของเห็ดในดอนปู่ตา2...
รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ความหลากหลายและความสัมพันธ์ของเห็ดในดอนปู่ตา2...รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ความหลากหลายและความสัมพันธ์ของเห็ดในดอนปู่ตา2...
รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ความหลากหลายและความสัมพันธ์ของเห็ดในดอนปู่ตา2...
 
932 pre7
932 pre7932 pre7
932 pre7
 
Plant ser 125_60_3
Plant ser 125_60_3Plant ser 125_60_3
Plant ser 125_60_3
 
โครงงาน
โครงงานโครงงาน
โครงงาน
 
โครงงาน
โครงงานโครงงาน
โครงงาน
 
1 aug-2008-siriporn(1)
1 aug-2008-siriporn(1)1 aug-2008-siriporn(1)
1 aug-2008-siriporn(1)
 
โครงงาน(ติดบอด)
โครงงาน(ติดบอด)โครงงาน(ติดบอด)
โครงงาน(ติดบอด)
 
M6 78 60_4
M6 78 60_4M6 78 60_4
M6 78 60_4
 
โครงงานเคมีกัญ (1)
โครงงานเคมีกัญ (1)โครงงานเคมีกัญ (1)
โครงงานเคมีกัญ (1)
 
Plant ser 144_60_10
Plant ser 144_60_10Plant ser 144_60_10
Plant ser 144_60_10
 
Herbarium
HerbariumHerbarium
Herbarium
 
931 pre12
931 pre12931 pre12
931 pre12
 
Plant ser 126_60_4
Plant ser 126_60_4Plant ser 126_60_4
Plant ser 126_60_4
 
โครงงานวิทยาศาสตร์แชมพูสระผมมะกรูด
โครงงานวิทยาศาสตร์แชมพูสระผมมะกรูดโครงงานวิทยาศาสตร์แชมพูสระผมมะกรูด
โครงงานวิทยาศาสตร์แชมพูสระผมมะกรูด
 
M6 126 60_1
M6 126 60_1M6 126 60_1
M6 126 60_1
 
โครงงานวิทยาศาสตร์แชมพูสระผมมะกรูด
โครงงานวิทยาศาสตร์แชมพูสระผมมะกรูดโครงงานวิทยาศาสตร์แชมพูสระผมมะกรูด
โครงงานวิทยาศาสตร์แชมพูสระผมมะกรูด
 
Plant ser 77_60_3
Plant ser 77_60_3Plant ser 77_60_3
Plant ser 77_60_3
 
เทคนิคการใช้ยาปลุกเซ็กส์แบบโบราณ
เทคนิคการใช้ยาปลุกเซ็กส์แบบโบราณเทคนิคการใช้ยาปลุกเซ็กส์แบบโบราณ
เทคนิคการใช้ยาปลุกเซ็กส์แบบโบราณ
 

More from Michiyo Testarossa (19)

151
151151
151
 
150
150150
150
 
150
150150
150
 
50
5050
50
 
51
5151
51
 
51
5151
51
 
งานคอม
งานคอมงานคอม
งานคอม
 
ใบงาน 2 8
ใบงาน 2 8ใบงาน 2 8
ใบงาน 2 8
 
ใบงานที่ 9 16
ใบงานที่  9 16ใบงานที่  9 16
ใบงานที่ 9 16
 
ใบงาน 2 8
ใบงาน 2 8ใบงาน 2 8
ใบงาน 2 8
 
Key o net53math
Key o net53mathKey o net53math
Key o net53math
 
Onet m6 52 math
Onet m6 52  mathOnet m6 52  math
Onet m6 52 math
 
Onet m6 52 soc
Onet m6 52  socOnet m6 52  soc
Onet m6 52 soc
 
Onet m6 52 sci
Onet m6 52  sciOnet m6 52  sci
Onet m6 52 sci
 
Onet m6 52 math
Onet m6 52  mathOnet m6 52  math
Onet m6 52 math
 
Onet m6 52 eng
Onet m6 52  engOnet m6 52  eng
Onet m6 52 eng
 
Onet m6 52 art
Onet m6 52  artOnet m6 52  art
Onet m6 52 art
 
Onet m6 52 thai
Onet m6 52  thaiOnet m6 52  thai
Onet m6 52 thai
 
1234
12341234
1234
 

ตย.โครงงาน

  • 1. โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง รางจืดล้างพิษ โดย นางสาวปรียานุช พุทธรักสกุล นางสาวปิยนุช วิศลย์ เด็กหญิงธีรวรรณ แจวมูแฮ รายงานฉบับนี้เป็นส่วนประกอบของโครงงานวิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ประเภทการทดลอง โรงเรียนบ้านห้วยตอง
  • 2. โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่องรางจืดล้างพิษ โดย นางสาวปรียานุช พุทธรักสกุล นางสาวปิยนุช วิศลย์ เด็กหญิงธีรวรรณ แจวมูแฮ อาจารย์ผู้ฝึกสอน นางสาวภัทราวรรณ เขียววัน อาจารย์ที่ปรึกษา นางสาวอัจฉรา ธนัญชัย นางสาวหทัยกาญจน์ เจริญสุข
  • 3. ก โครงงานวิทยาศาสตร์ ระดับ มัธยมศึกษาตอนต้น ประเภทการทดลอง ชื่อเรื่อง รางจืดล้างพิษ ชื่อผู้จัดทา 1. นางสาวปรียานุช พุทธรักสกุล 2. นางสาวปิยนุช วิศลย์ 3. เด็กหญิงธีรวรรณ แจวมูแฮ ชื่ออาจารย์ผู้ฝึกสอน นางสาวภัทราวรรณ เขียววัน ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา นางสาวอัจฉรา ธนัญชัย และนางสาวหทัยกาญจน์ เจริญสุข โรงเรียนบ้านห้วยตอง หมู่ที่ 10 ตาบลแม่วิน อาเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ รหัสไปรษณีย์ 50360 โทรศัพท์ 053-460048 ระยะเวลาในการทาโครงงานตั้งแต่ 19 สิงหาคม – 30 กันยายน พ.ศ.2554 บทคัดย่อ โครงงานรางจืดล้างพิษ ได้ทาการทดลองนี้ขึ้นเนื่องจากปัจจุบันผักและผลไม้ที่เรานามา บริโภคเพื่อเสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรงกลับมีสารเคมีกาจัดศัตรูพืชตกค้าง ซึ่งจากผลการตรวจ เลือดนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านห้วยตองของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผลปรากฏว่าอยู่ในภาวะเสี่ยงร้อยละ 10.52 ซึ่งเกิดจากการที่เราบริโภคผัก ผลไม้ที่มีสารพิษจากสารเคมีกาจัดศัตรูพืชตกค้างอยู่ในระดับที่ไม่ปลอดภัยเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ของผู้บริโภค วิธีดาเนินการทดลองคือนาผักกาดขาวแช่ในน้าเปล่ากับน้ารางจืดเพื่อเปรียบเทียบผล ปรากฏว่าผักที่แช่ในน้ารางจืดมีปริมาณสารพิษตกค้างลดลง จากนั้นนาผักกาดขาวแช่ในน้ารางจืด แบบต้มและแบบคั้นน้าในเวลาที่ต่างกันคือ 15 นาที 20 นาที 25 นาทีและ 30 นาที จากการ ทดลองสรุปได้ว่าผักกาดขาวที่แช่ในน้ารางจืดชนิดคั้นเป็นเวลา 25 นาที ตรวจไม่พบสารพิษตกค้าง
  • 4. ข กิตติกรรมประกาศ โครงงานนี้สาเร็จได้ด้วยความกรุณาของครูภัทราวรรณ เขียววัน ครูอัจฉรา ธนัญชัย และ ครูหทัยกาญจน์ เจริญสุข ซึ่งได้ให้คาปรึกษา ข้อชี้แนะและความช่วยเหลือ จนกระทั่งโครงงานนี้ สาเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ผู้จัดทาโครงงานขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงมา ณ ที่นี้ และที่ลืมไม่ได้คือกาลังใจจากเพื่อนๆที่คอยส่งเสบียงให้เราอย่างสม่าเสมอ ช่วยเก็บรางจืด จากในป่ามาให้กับพวกเรา คณะผู้จัดทาซาบซึ้งใจเป็นอย่างมาก ขอบคุณทุกท่านที่ให้การสนับสนุน พวกเรา ขอบคุณมากค่ะ ผู้จัดทาโครงงาน
  • 5. ค สารบัญ บทคัดย่อ ก กิตติกรรมประกาศ ข สารบัญ ค บทที่ 1บทนา 1 ที่มาและความสาคัญ 1 วัตถุประสงค์ของโครงงาน 1 สมมติฐาน 2 ขอบเขตของการทดลอง 2 อุปกรณ์การทดลอง 2 ตัวแปร 2 บทที่ 2 เอกสารอ้างอิง 3 รางจืด 3 สารเคมีกาจัดศัตรูพืช 5 บทที่ 3 วิธีดาเนินการทดลอง 10 บทที่ 4 ผลการทดลอง 13 บทที่ 5 อภิปรายและสรุปผลการทดลอง 14 บรรณานุกรม
  • 6. 1 บทที่ 1 บทนา ที่มาและความสาคัญของปัญหา เนื่องจากการเพิ่มประชากรเป็นไปอย่างรวดเร็ว จึงมีการนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้าช่วยในการผลิตอาหารให้เพียงพอแก่การบริโภค เช่น มีการนาสารเคมีกาจัดศัตรูพืชเข้าช่วยในการ เพาะปลูกเพื่อเพิ่มผลผลิต เป็นเหตุให้เกิดปัญหาตามมามากมายที่สาคัญคือ ปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพ ของประชาชน เพราะสารเคมีกาจัดศัตรูพืชทุกชนิดเป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิต หากใช้เกินความจาเป็นหรือ ขาดความระมัดระวังในการใช้แล้ว จะทาให้สารตกค้างหลงเหลืออยู่ในอาหารและสิ่งแวดล้อมได้ ในปัจจุบันผักและผลไม้ที่เรานามาบริโภคเพื่อเสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรงกลับมีสารเคมี กาจัดศัตรูพืชตกค้าง ซึ่งจากผลการตรวจเลือดนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านห้วยตอง ของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผลปรากฏว่าอยู่ในภาวะเสี่ยงร้อยละ 10.52 ซึ่งเกิดจากการที่เราบริโภคผักผลไม้ที่มีสารพิษจากสารเคมีกาจัดศัตรูพืชตกค้างอยู่ในระดับที่ ไม่ปลอดภัยเป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้บริโภค อาการของผู้ได้รับสารพิษจากสารเคมีกาจัดศัตรูพืช ตกค้างเป็นประจาทาให้ร่างกายอ่อนแอ ขาดความต้านทานโรค มีอาการปรากฏเช่น วิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน หายใจขัด หัวใจอาจหยุดเต้นได้ จากการศึกษาพบว่ามีพืชสมุนไพรที่สามารถล้าง สารพิษจากร่างกายได้ คือ รางจืด ดังนั้นผู้ทดลองจึงต้องการศึกษาความสามารถในการล้างพิษ ของน้ารางจืดในการล้างสารเคมีตกค้างในผักเพื่อนาไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตประจาวัน วัตถุประสงค์ของโครงงาน 1. เพื่อทดลองว่าน้ารางจืดสามารถล้างสารเคมีกาจัดศัตรูพืชในผักได้ 2. เพื่อเปรียบเทียบระยะเวลาที่เหมาะสมในการล้างสารเคมีกาจัดศัตรูพืช 3. เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการล้างสารเคมีกาจัดศัตรูพืชจากน้ารางจืดแบบต้มกับน้า รางจืดแบบคั้นน้า
  • 7. 2 สมมติฐาน น้ารางจืดสามารถล้างสารเคมีกาจัดศัตรูพืชที่ตกค้างในผักได้และถ้าแช่ผักในน้ารางจืดเป็น เวลานานก็จะมีประสิทธิภาพในการล้างสารเคมีกาจัดศัตรูพืชได้ดี ขอบเขตของการทดลอง การทดลองนี้เป็นการทดลองเกี่ยวกับน้าสมุนไพรที่สามารถล้างสารเคมีกาจัดศัตรูพืชโดยใช้ สมุนไพรคือรางจืด อุปกรณ์การทดลอง 1 รางจืด 1 กิโลกรัม 2 ผักกาดขาว 500 กรัม 3 บีกเกอร์ 4 ตะเกียงอัลกอฮอล์ 5 มีด 6 เครื่องชั่ง 7 ชุดทดสอบยาฆ่าแมลง / สารพิษตกค้าง “จีที” 8 ถาดน้าอุ่นชนิดดัดแปลง 9 อุปกรณ์ระเหย 10 เทอร์โมมิเตอร์ 11 หลอดทดลอง 12 หลอดหยด 13 ยาฆ่าแมลง
  • 8. 3 ตัวแปรที่ใช้ในการทดลอง ตัวแปรต้น น้ารางจืด ตัวแปรตาม ประสิทธิภาพในการล้างสารเคมีกาจัดศัตรูพืช ตัวแปรควบคุม ปริมาณสมุนไพร ปริมาตรน้าที่ใช้ในการละลายสมุนไพร ภาชนะที่ใช้ในการทดลอง ปริมาณสารที่ใช้ในการทดลอง ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง
  • 9. 4 บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง 2.1 รางจืด ชื่อสมุนไพร รางจืด ชื่อวิทยาศาสตร์ Thunbergia laurifolia Linn. ชื่ออื่น หนาแหน้ สรรพคุณ สรรพคุณรางจืดตามตารายาไทย กล่าวไว้ว่า รางจืดรสเย็น ใช้ปรุงเป็น ยาเขียวถอนพิษไข้ ถอนพิษผิดสาแดงและพิษอื่นๆ ใช้แก้ร้อนในกระหายน้า รักษาโรคหอบหืดเรื้อรัง และแก้ผื่นคันจากอาการแพ้ต่างๆ ด้วย ใช้แก้พิษเบื่อเมา เนื่องจากเห็ดพิษ สารหนู หรือแม้ยาเบื่อ ประเภทยาสั่ง รางจืดช่วยถอนพิษสุรา หากดื่มสุราจัดเกินขนาด แล้วเกิดอาการเมาค้าง รางจืดถอน ได้หรือหากเคี้ยวหรืออมเถารางจืดไว้ใต้ลิ้น เมื่อดื่มเหล้ามากแต่เมาน้อย ยังมีรายงานการศึกษา รางจืดพบว่า แก้โรคพิษสุราเรื้อรัง นอกจากนี้ผู้นิยมสมุนไพรยังใช้แก้พิษได้อีกหลายอย่าง เช่น สุนัข โดนวางยาเบื่อก็รอดชีวิตมาเพราะเจ้าของคั้นน้ารางจืดให้กิน หรือในอดีตใครที่ถูกวางยา ก็มักแก้ด้วย รางจืดรวมทั้งพิษเบื่อเมาจากอาหาร เช่น เห็ด ผักหวาน ว่านพิษ หรือพิษจากสัตว์ สรรพคุณที่เป็น
  • 10. 5 รูปธรรมของรางจืดยังมีอีกมาก เช่น สามารถแก้อาการท้องร่วง อาการแพ้ ผื่นคันเนื่องจากอาหารเป็น พิษ รางจืดที่ใช้ในการขจัดสารพิษและแก้เมาค้างนั้น คือ รางจืดเถา ชนิดดอกสีม่วงเพราะมีโอสถสาร ที่รากและใบแรงกว่ารางจืดชนิดอื่น วิธีใช้ก็คือ จะใช้อย่างสดหรืออย่างแห้งก็ได้ อย่างสดก็เด็ดใบ รางจืดมา 4-5 ใบ โขลกตาผสมน้าหรือน้าซาวข้าวยิ่งดี แล้วคั้นเอาน้าดื่ม หรือจะใช้ รางจืดแห้ง 300 กรัม (3 ขีด) ต่อน้า 1ลิตร และให้ดื่มน้ารางจืด 200 cc. ทุก 2 ช.ม. แต่หากท่านใดสนใจ จะชงดื่มเป็นชา มีวิธีชงดังนี้ นาใบรางจืดแห้ง 1 หยิบมือ ชงกับน้าเดือด 1 กาเล็ก (ใส่น้าประมาณ 8 แก้ว) ดื่มต่างน้าทั้งวันชงดื่มได้ทุกวันโดยไม่มีอันตรายใดๆ นอกจากจะทาให้น้าตาลในเลือดลดลง บ้างเล็กน้อย ส่วนการศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์นั้น มีการศึกษาครั้งแรกที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทดลองในหนูขาวให้หนูได้รับพิษโฟลิดอล ซึ่งเป็นยาฆ่าแมลงชนิดหนึ่ง อยู่ในกลุ่มออร์กาโนฟอตเฟตก็ พบว่าใบรางจืดสามารถลดอัตราการตายของหนูจากพิษโฟลิดอลได้ดีพอควรแม้ยังไม่รู้ถึงกลไกการ แก้พิษร้ายนี้ก็ตาม และเมื่อราว ๖-๗ ปีก่อนมีความพยายามแก้ปัญหาให้กับเกษตรกรที่ได้รับสารพิษ ทางการเกษตร จาพวกยาฆ่าปราบศัตรูพืชต่างๆโดยโรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช จ.สุพรรณบุรี ได้ ทากาศึกษา โดยเก็บ ข้อมูลเบื้องต้นในการใช้รางจืดรักษาผู้ป่วยที่ได้รับพิษจากยาฆ่าหญ้า คือ "พา ราควอท"(ชื่อการค้ากรัมม็อกโซน) ที่โฆษณาว่าปราบหญ้าเก่งนัก ซึ่งก็เท่ากับอันตรายสุดๆ ด้วย ก่อน การทดลองเมื่อดูข้อมูลย้อนหลังไป ๓ ปี พบว่าผู้ป่วยที่ได้รับพาราควอทแล้วมาโรงพยาบาลมีแต่หลับ ไม่ตื่น ฟื้นไม่มีแม้ว่าจะทาการักษาตามขั้นตอนของการแก้พิษ ให้ทั้งยาขับปัสสาวะ ยาถ่าย ทาให้ อาเจียนและล้างท้องก็ยังไม่รอด แต่หลังจากใช้รางจืดรักษาควบคู่กับวิธีของทางโรงพยาบาล พบ ความอัศจรรย์ว่า ผู้ป่วยรอดชีวิตร้อยละ ๕๑ ดีกว่าแต่ก่อนครึ่งต่อครึ่ง สรรพคุณที่ฮิตที่สุดของรางจืด ในปัจจุบันเห็นทีจะไม่พ้นการเมาค้าง หรือดื่มหนัก (ไม่ขับ) วิธีใช้ว่ากันตามแบบฉบับคลาสสิก ใช้ได้ ทั้งการกินสดๆ และแห้ง คือ เอาใบสด ๔-๕ ใบ ใส่ครกตาผสมน้าถ้าได้น้าซาวข้าวยิ่งดี แล้วคั้นเอาน้า ดื่ม หรือจะใช้ส่วนที่เป็นราก และเถารางจืดสดตาคั้นก็ได้ส่วนวิธีแห้ง ซึ่งเป็นที่นิยมในเวลานี้ คือ การ นาใบแห้งมาชงกับน้าดื่ม เหมือนชงชาจีนนั่นแหละ ส่วนความเข้มของยาแล้วแต่จะชงอ่อนชงแก่ (http://www.samunpri.com/modules.php?name=News&file=article&sid=188 25 กันยายน 2552)
  • 11. 6 2.2 สารเคมีกาจัดศัตรูพืช ชนิดของสารเคมีกาจัดศัตรูพืช สารเคมีกาจัดศัตรูพืชในทางการเกษตร ที่มีการจาหน่ายทางการค้า มีกว่า 1,000 ชนิด ซึ่ง แบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ตามชนิดของสิ่งมีชีวิตที่ใช้ในการควบคุมและกาจัด คือ สารเคมีกาจัดแมลง สารป้องกันกาจัดวัชพืช สารป้องกันกาจัดเชื้อรา สารกาจัดหนูและสัตว์แทะ สารเคมีกาจัดหอยและปู เป็นต้น 1. สารเคมีกาจัดแมลง สารเคมีกาจัดแมลงเป็นสารเคมีการเกษตรที่มีจานวนชนิดมากที่สุด สารเคมีกาจัดแมลงแบ่งออกเป็น กลุ่มใหญ่ๆ ตามชนิดของสารเคมีได้ 4 ประเภท คือ 1.1 กลุ่มออร์กาโนคลอไรน์ ซึ่งเป็นกลุ่มของสารเคมีที่มีคลอรีนเป็นองค์ประกอบ สารเคมี กาจัดแมลงในกลุ่มนี้ที่นิยมใช้กันมาก คือ ดีดีที (DDT), ดีลดริน (dieldrin), ออลดริน (aldrin), ท็อก ซาฟีน (toxaphene), คลอเดน (chlordane), ลินเดน (lindane), เอนดริน (endrin), เฮปตาครอ (heptachlor) เป็นต้น สารเคมีในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นสารเคมีที่มีพิษไม่เลือก (คือเป็นพิษต่อแมลงทุก ชนิด) และค่อนข้างจะสลายตัวช้า ทาให้พบตกค้างในห่วงโซ่อาหารและสิ่งแวดล้อมได้นาน บางชนิด อาจตกค้างได้นานหลายสิบปี ปัจจุบัน ประเทศส่วนใหญ่ทั่วโลกจะไม่อนุญาตให้ใช้สารเคมีในกลุ่มนี้ หรือไม่ก็มีการควบคุมการใช้ ไม่อนุญาตให้ใช้อย่างเสรี เพราะผลกระทบด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม 1.2 กลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีฟอสฟอรัสเป็นองค์ประกอบ โดยสารเคมีในกลุ่ม นี้ที่รู้จักกันคือ มาลาไธออน (malathion), พาร June, 2009#3604;อาซินอน (diazinon), เฟนนิโตรไธ ออน (fenitrothion), พิริมิฟอสเมธิล (pirimiphos methyl), และไดคลอวอส (dichlorvos หรือ DDVP) เป็นต้น สารเคมีในกลุ่มนี้จะมีพิษรุนแรงมากกว่ากลุ่มอื่น โดยเป็นพิษทั้งกับแมลงและสัตว์อื่นๆ ทุก ชนิด แต่สารในกลุ่มนี้จะย่อยสลายได้เร็วกว่ากลุ่มแรก 1.3 กลุ่มคาร์บาเมต ซึ่งมีคาร์บาริลเป็นองค์ประกอบสาคัญ โดยสารเคมีกาจัดแมลงที่รู้จัก และใช้กันมาก คือ คาร์บาริว (carbaryl ที่มีชื่อการค้า Savin), คาร์โบฟุแรน (carbofura), โพรพ็อก เซอร์ (propoxur), เบนไดโอคาร์บ (bendiocarb) สารเคมีในกลุ่มคาร์บาเมตจะมีความเป็นพิษต่อ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมน้อยกว่าพวกออร์กาโนฟอสเฟต
  • 12. 7 1.4 กลุ่มสารสังเคราะห์ไพรีทอย เป็นสารเคมีกลุ่มที่สังเคราะห์ขึ้นโดยมีความสัมพันธ์ตาม โครงสร้างของไพรีทริน ซึ่งเป็นสารธรรมชาติที่สกัดได้จากพืชไพรีทรัม สารเคมีในกลุ่มนี้มีความเป็น พิษต่อแมลงสูง แต่มีความเป็นพิษต่อสัตว์เลือดอุ่นต่า อย่างไรก็ตาม สารเคมีกลุ่มนี้มีราคาแพงจึงไม่ ค่อยเป็นที่นิยมใช้ สารเคมีกาจัดแมลงในกลุ่มนี้ ได้แก่ เดลตาเมธริน (deltamethrin), เพอร์เมธริน (permethrin), เรสเมธริน (resmethrin), และไบโอเรสเมธริน (bioresmethrin) เป็นต้น 2. สารป้องกันกาจัดวัชพืช สารเคมีกาจัดวัชพืชแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ พวกที่มีพิษทาลายไม่เลือก กับพวกที่มีพิษ เฉพาะกลุ่มวัชพืช คือ ทาลายเฉพาะวัชพืชใบกว้าง หรือวัชพืชใบแคบ สารกาจัดวัชพืชที่มีพิษทาลาย ไม่เลือก คือ พาราควอท (paraquat) ส่วนที่มีพิษทาลายเฉพาะ คือ พวก แอทราซิน (atrazine), 2,4- D, 2,4,5-T เป็นต้น 3. สารกาจัดเชื้อรา มีอยู่หลายกลุ่มมาก บางชนิดมีพิษน้อย แต่บางชนิดมีพิษมาก กลุ่มสาคัญของสารกาจัดเชื้อราใน การเกษตร (สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรค 2546)ได้แก่  กลุ่ม Dimethey dithiocarbamates (Ziram, Ferbam, Thiram) มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ Acetaldehyde dehydrogenase เกิด antabuse effect ในคนที่ดื่มสุราร่วมด้วย  กลุ่ม Ethylenebisdithiocarbamates (Maneb, Mancozeb, Zineb) กลุ่มนี้จะถูก metabolize เป็น Ethylene thiourea ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งในสัตว์  กลุ่ม Methyl mercury ดูดซึมได้ดีทางผิวหนังและมีพิษต่อระบบประสาท  กลุ่ม Hexachlorobenzene ยับยั้งเอนไซม์ Uroporphyrinogen decarboxylase มีพิษต่อ ตับ ผิวหนัง ข้อกระดูกอักเสบ  กลุ่ม Pentachlorophenol สัมผัสมากๆ ทาให้ไข้สูง เหงื่อออกมาก หัวใจเต้นเร็ว 4. สารกาจัดหนูและสัตว์แทะ (Rodenticides) สารกาจัดหนูและสัตว์แทะที่นิยมใช้กัน ส่วนใหญ่เป็นสารกลุ่มที่มีฤทธิ์ต้านการแข็งตัวของเลือด ตัวอย่าง เช่น Warfarin หยุดยั้งการสร้างวิตามิน เค ทาให้เลือดออกตามผิวหนัง และส่วนต่างๆ ของ ร่างกาย เม็ดเลือดขาวต่า ลมพิษ ผมร่วง (http://nsw-rice.com/index.php?option=com_content&view=article&id=206:chemtype&catid= 66:insecticide&Itemid=41 25 กันยายน 2552)
  • 13. 8 อันตรายจากสารเคมีกาจัดศัตรูพืช สารเคมีกาจัดศัตรูพืช หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า "ยาฆ่าแมลง" นั้น ส่วนใหญ่จะแสดงอาการเป็น พิษต่อระบบประสาทของสิ่งมีชีวิต อาการที่เกิดอาจเป็นชนิดรุนแรงหรือชนิดเรื้อรังก็ได้ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ ก. ชนิดและปริมาณของสารเคมีกาจัดศัตรูพืช ข. ได้รับสารเคมีกาจัดศัตรูพืชทางปาก (อาหาร) ผิวหนังหรือทางการหายใจ ค. ปริมาณสารตกค้างที่สะสมอยู่ในร่างกาย ง. ออกฤทธิ์ที่ระบบประสาทส่วนใด สารเคมีกาจัดศัตรูพืชบางชนิดทาให้เกิดมะเร็งในสัตว์ทดลอง จึงเชื่อกันว่าอาจเป็นสาเหตุให้เกิด มะเร็งในมนุษย์ได้เช่นกัน อันตรายเหล่านี้จะเกิดช้าๆ และไม่ปรากฏให้เห็นได้ชัดเจนนัก การใช้สารเคมีกาจัดศัตรูพืชเพื่อประโยชน์ในงานประเภทใดก็ตาม ควรคานึงถึงอันตรายที่จะเกิดกับ มนุษย์และสิ่งแวดล้อมในระยะยาว โดยเปรียบเทียบประโยชน์และอันตรายที่จะได้รับภายหลัง การใช้ ให้ดีเสียก่อน เพราะสารเคมีกาจัดศัตรูพืชบางชนิดสลายตัวได้หมดภายหลังการใช้ แต่บางชนิดจะ สลายตัวได้ยากหรือเกือบจะไม่สลายเลย คงเหลือสารตกค้างอยู่ในอาหารและสิ่งแวดล้อม เท่าที่ใช้ กันแพร่หลายในปัจจุบันนี้ ส่วนใหญ่เป็นพวกที่ผลิตขึ้นจากสารเคมีและสลายตัวได้ยาก จึงจาเป็นต้อง ศึกษาพิษอันตรายที่จะเกิดข้นให้ดีและรู้จักหลีกเลี่ยงอันตรายเหล่านั้น โดยปฏิบัติตามคาแนะนาวิธีใช้ ที่มีฉลากโดยเคร่งครัด การควบคุมใช้สารเคมีกาจัดศัตรูพืชอย่างรัดกุม จะช่วยให้ได้รับประโยชน์ เต็มที่และเกือบจะไม่มีอันตรายเหลืออยู่เลย เท่าที่ใช้กันแพร่หลาย ได้แก่ สารเคมีกาจัดแมลง (Insecticides) กาจัดเชื้อรา (Fungicides) กาจัดวัชพืช (Herbicides) และกาจัดหนู (Rodenticides) สานักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ตระหนักดีถึงอันตรายที่ประชาชนอาจได้รับจากการใช้สารเคมีกาจัดศัตรูพืช จึงทาการศึกษาวิจัยหา สารตกค้างดังกล่าวในอาหารเป็นประจา เพื่อการเฝ้าระวังและติดตามชนิดและปริมาณของสารเคมีที่ ตกค้างในอาหาร ตัวอย่างอาหารที่นามาวิเคราะห์ มีทั้งชนิดดิบและสุกทุกประเภท เช่น ผัก ผลไม้ กุ้ง แห้ง ข้าว ไข่ เนื้อสัตว์ ไขมัน น้ามันปรุงอาหาร ฯลฯ โดยเก็บตัวอย่างจากตลาดขายส่งขายปลีกและ แหล่งเพาะปลูกหรือจากหน่วยราชการและเอกชนส่งให้วิเคราะห์เพราะสงสัยว่าสาเหตุให้เกิดอาการ เป็นพิษ และผู้ส่งออกที่ต้องการหนังสือรับรองคุณภาพสินค้าอาหารที่จะส่งไปจาหน่ายต่างประเทศ ข้อมูลที่ได้รับจากการศึกษาวิจัยเท่าที่ผ่านมาแล้ว ปรากฏว่าปริมาณสารเคมีกาจัดศัตรูพืชที่ตกค้างใน อาหารโดยเฉลี่ยแล้ว ส่วนใหญ่ยังอยู่ในเกณฑ์ปลอดภัยต่อการบริโภค
  • 14. 9 คาแนะนาเพื่อความปลอดภัยในการบริโภค 1. ล้างผักและผลไม้ด้วยน้าสะอาดหลายๆ ครั้ง เพื่อชะล้างสารเคมีกาจัดศัตรูพืช ตกค้างอยู่บนผิวของผักและผลไม้ให้หมดไป หรือ 2. แช่ผักและผลไม้ในน้ายาล้างผัก แล้วล้างน้ายาให้หมดด้วยน้าสะอาดหลายๆ ครั้ง 3. ผักและผลไม้ที่ปอกเปลือกได้ ควรล้างด้วยน้าให้สะอาดก่อนปอกเปลือก 4. การต้มผักแล้ว เทน้าทิ้งไปจะช่วยลดปริมาณยาฆ่าแมลงในผักลงได้บ้าง 5. ถั่วแห้งทุกชนิด ก่อนนามาใช้ปรุงอาหารควรล้างด้วยน้าให้สะอาด ถ้าเป็นอาหารที่ ต้องต้ม ควรทิ้งน้าต้มครั้งแรก เพื่อให้ยาฆ่าแมลงที่ตกค้างอยู่บนผิวนอกของ เมล็ด ถั่วหลุดไปได้มากที่สุด 6. ก่อนฉีกหรือพ่นสารเคมีกาจัดศัตรูพืชทุกครั้ง ควรถือปฏิบัติโดยเคร่งครัด ดังนี้  ใช้เมื่อมีความจาเป็นเท่านั้น  การฉีกพ่นเพื่อกาจัดแมลงหรือมดในห้องอาหาร ควรกระทาในขณะที่ไม่มี อาหารอยู่ในห้องนั้น  ถ้าต้องการกาจัดแมลงในครัว ควรดูแลปิดอาหารให้มิดชิด อย่าให้ละออง ของสารเคมีเข้าไปปะปนในอาหารได้  ภาชนะบรรจุน้้าบริโภค ต้องปิดฝาให้มิดชิดเช่นกัน 7. ห้ามน้าภาชนะที่เคยบรรจุสารเคมีก้าจัดศัตรูพืช มาใช้บรรจุอาหาร เครื่องดื่มหรือน้้า เป็นอันขาด ควรระลึกอยู่เสมอว่า สารเคมีก้าจัดศัตรูพืชทุกชนิดเป็นวัตถุมีพิษ ต้องเก็บแยกไว้ในที่ปลอดภัย อย่า เก็บใกล้กับอาหารและเก็บในที่เฉพาะซึ่งเด็กหยิบไม่ถึง (http://www.dmsc.moph.go.th/webroot/BQSF/File/VARITY/CHEMICAL.HTM 25 กันยายน 2552)
  • 15. 10 บทที่ 3 วิธีดาเนินการทดลอง อุปกรณ์และวิธีการทดลอง 1. ศึกษาสมุนไพรที่มีสรรพคุณในการล้างพิษ คือ รางจืด 2. เตรียมอุปกรณ์การทดลองได้แก่ 14 รางจืด 1 กิโลกรัม 15 ผักกาดขาว 500 กรัม 16 บีกเกอร์ 17 ตะเกียงอัลกอฮอล์ 18 มีด 19 เครื่องชั่ง 20 ชุดทดสอบยาฆ่าแมลง / สารพิษตกค้าง “จีที” 21 ถาดน้าอุ่นชนิดดัดแปลง 22 อุปกรณ์ระเหย 23 เทอร์โมมิเตอร์ 24 หลอดทดลอง 25 หลอดหยด 26 ยาฆ่าแมลง 3. ต้มน้าปริมาตร 1 ลิตร พอเดือดใส่ใบรางจืดที่ล้างสะอาดแล้ว 0.5 กิโลกรัม ต้มต่ออีก 5 นาที ยกลงทิ้งไว้ให้เย็น กรองเอาแต่น้า จากนั้นนารางจืดส่วนที่เหลือ 0.5 กิโลกรัมมาโขลกคั้นเอาแต่น้า ผสมกับน้าปริมาตร 1 ลิตร 4. นาผักกาดขาว 500 กรัม มาชุบยาฆ่าแมลงแล้วหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ
  • 16. 11 5. นาผักกาดขาวที่หั่นแล้วจานวน 10 กรัม มาแช่ในน้าปริมาตร 20 มิลลิลิตร ในบีกเกอร์ที่ 1 และผักกาดขาว 10 กรัมแช่ในน้ารางจืดปริมาตร 20 มิลลลิลิตร ในบีกเกอร์ที่ 2 เป็นเวลา 15 นาที จากนั้นนาผักไปบดทดสอบด้วยชุดทดสอบ GT เพื่อเปรียบเทียบปริมาณสารเคมีกาจัดศัตรูพืช 6. นาผักกาดขาวที่หั่นแล้วมาแช่ในน้ารางจืดที่ได้จากการต้ม ซึ่งแต่ละบีกเกอร์ใช้ผักกาดขาวจานวน 10 กรัม แช่ในน้ารางจืด ทั้ง 4 บีกเกอร์ ซึ่งแต่ละบีกเกอร์มีน้ารางจืด 20 มิลลิลิตร โดย ระยะเวลาในการแช่ผักต่างกันดังนี้ บีกเกอร์ที่ 1 ใช้เวลา 15 นาที บีกเกอร์ที่ 2 ใช้เวลา 20 นาที บีกเกอร์ที่ 3 ใช้เวลา 25 นาที และบีกเกอร์ที่ 4 ใช้เวลา 30 นาที จากนั้นนาผักไปบดทดสอบ ด้วยชุดทดสอบGT เพื่อเปรียบเทียบปริมาณสารเคมีกาจัดศัตรูพืช 7. ทาซ้าในข้อที่ 6 โดยเปลี่ยนจากน้ารางจืดชนิดต้ม มาเป็นน้ารางจืดที่ได้จากการคั้น 8. ขั้นตอนการทดสอบหาสารพิษตกค้างในผัก 8.1 การสกัด Sample Extract 8.1.1 หั่น-บดตัวอย่างให้ละเอีบด 8.1.2 ชั่งตัวอย่างใส่ขวด ขวดละ 5 กรัม 8.1.3 ใส่ Solvent-1 ลงไป 5 มิลลิลิตร ปิดฝาเขย่านาน 1 นาที และตั้ง วางทิ้งไว้ 10 นาที 8.1.4 ดูดสารสกัดจากขวดตัวอย่าง 1 มิลลิลิตร ใส่ลงในหลอดแก้วทดลอง จากนั้นเติมสาร Sovent-2 ลงไปอีก 1 มิลลิลิตร 8.1.5 นาไประเหยด้วยอุปกรณ์ระเหยโดยต่อปั๊มลมเข้ากับสายยางและหลอดหยด แก้ว จุ่มลงไปในหลอดแก้วทดลอง เปิดเครื่องปั๊มลมให้เป่าลมลงไปในหลอดแก้ว ระเหยจนกว่าสาร สกัดจากตัวอย่าง (ชั้นล่าง) จะระเหยไปหมด ผ่านขั้นตอนการระเหยแล้วจะเหลือแต่ส่วนของสารที่ เรียกว่า “Sample Extract” ที่จะนาไปใช้ตรวจสอบต่อไป 8.2 ขั้นตอนการตรวจสอบ
  • 17. 12 8.2.1 ต้องทาหลอดควบคุมและหลอดตัดสิน เพื่อใช้เป็น Negative control และ Positive control ของการตรวจทุกครั้ง โดยนาหลอดทดลอง 2 หลอด มาติดฉลาก “ควบคุม” และ “ตัดสิน” เติมสาร Solvent-2 ลงไป หลอดละ 0.25 มิลลิลิตร 8.2.2 จากนั้นย้ายปฏิบัติการตรวจสอบลงไปในถาดน้าอุ่น ควบคุมอุณหภูมิที่ 32- 36 องศาเซลเซียส 8.2.3 เติมสาร GT-1 ลงไปทุกหลอด จานวนหลอดละ 0.5 มิลลิลิตร วางไว้ 5- 10 นาที 8.2.4 เตรียมผสมสารละลาย โดยผสม GT-2 กับ GT-2.1 และผสม GT-3 กับ GT-3.1 8.2.5 ใส่ GT-2 ที่ผสมแล้วลงทุกหลอด หลอดละ 0.25 มิลลิลิตร ยกเว้นหลอด ตัดสินให้เติม GT-2 จานวน 0.375 มิลลิลิตร 8.2.6 รอเวลา 30 นาที ควบคุมอุณหภูมิในถาดน้าอุ่นให้อยู่ที่ 32 – 36 องศา เซลเซียส 8.2.7 ใส่ GT-3 ที่ผสมแล้วลงทุกหลอด จานวน 1 มิลลิลิตร. เขย่าให้เข้ากัน 8.2.8 ใส่ GT-4 ลงทุกหลอด จานวน 0.5 มิลลิลิตร เขย่าให้เข้ากัน 8.2.9 ใส่ GT-5 ลงทุกหลอด จานวน 0.5 มิลลิลิตร เขย่าให้เข้ากัน 8.3 ขั้นตอนการประเมินผล โดยเปรียบเทียบสีที่ปรากฏ เปรียบเทียบสี ผลการประเมิน ตัวอย่างสีอ่อนกว่าหรือเท่ากับควบคุม ไม่พบสารพิษตกค้าง ตัวอย่างสีเข้มกว่าควบคุมแต่ยังอ่อนกว่าตัดสิน พบสารพิษตกค้างในระดับที่ปลอดภัย ตัวอย่างสีเท่ากับหรือสีเข้มกว่าตัดสิน พบสารพิษตกค้างในระดับที่ไม่ปลอดภัย
  • 18. 13 บทที่ 4 ผลการทดลอง ตารางที่ 1 ตารางบันทึกผลการทดลองเปรียบเทียบผักที่แช่ในน้าเปล่ากับผักที่แช่ในน้ารางจืด ตัวอย่าง ผลการทดสอบ ผักกาดขาวที่แช่ในน้าเปล่า พบสารพิษตกค้างในระดับที่ไม่ปลอดภัย ผักกาดขาวที่แช่ในน้ารางจืด พบสารพิษตกค้างในระดับที่ปลอดภัย ตารางที่ 2 ตารางบันทึกผลการเปรียบเทียบผักที่แช่ในน้ารางจืดชนิดต้มและชนิดคั้นในเวลาที่ ต่างกัน ตัวอย่าง ผลการทดสอบ น้ารางจืดชนิดต้ม น้ารางจืดชนิดคั้น ผักกาดขาวที่แช่ในน้ารางจืดเป็นเวลา 15 นาที พบสารพิษตกค้างใน ระดับที่ปลอดภัย พบสารพิษตกค้างใน ระดับที่ปลอดภัย ผักกาดขาวที่แช่ในน้ารางจืดเป็นเวลา 20 นาที พบสารพิษตกค้างใน ระดับที่ปลอดภัย พบสารพิษตกค้างใน ระดับที่ปลอดภัย ผักกาดขาวที่แช่ในน้ารางจืดเป็นเวลา 25 นาที พบสารพิษตกค้างใน ระดับที่ปลอดภัย ไม่พบสารพิษตกค้าง ผักกาดขาวที่แช่ในน้ารางจืดเป็นเวลา 30 นาที ไม่พบสารพิษตกค้าง ไม่พบสารพิษตกค้าง
  • 19. 14 บทที่ 5 อภิปรายผลการทดลอง จากการทดลองพบว่า 1. ผักที่แช่ในน้าเปล่าเป็นเวลา 15 นาที ตรวจพบสารตกค้างในระดับไม่ปลอดภัยส่วนผักที่แช่ใน น้ารางจืดเป็นเวลา 15 นาที ตรวจพบสารตกค้างในระดับปลอดภัย 2. ผักที่แช่ในน้ารางจืดชนิดต้มเป็นเวลา 15 นาที 20 นาที และ25 นาที ตรวจพบสารตกค้างใน ระดับปลอดภัย เมื่อแช่เป็นเวลา 30 นาทีจึงตรวจไม่พบสารพิษตกค้าง 3. ผักที่แช่ในน้ารางจืดชนิดคั้นเป็นเวลา 15 นาที 20 นาทีตรวจพบสารตกค้างในระดับปลอดภัย ส่วนที่แช่เวลา 25 นาที และ30 นาทีตรวจไม่พบสารตกค้าง สรุปผลการทดลอง สรุปได้ว่าน้ารางจืดช่วยลดสารเคมีกาจัดศัตรูพืชตกค้างในผักได้ โดยระยะเวลาที่เหมาะสมมากที่สุด คือ 25 นาที และน้ารางจืดที่ได้จากการคั้นมีประสิทธิภาพมากกว่าน้ารางจืดต้ม ประโยชน์ของโครงงาน 1. ทาให้ทราบชนิดของพืชสมุนไพรที่มีความสามารถในการล้างสารพิษจากยาฆ่าแมลง 2. ได้ทราบระยะเวลาที่เหมาะสมของการล้างสารพิษในผัก โดยใช้พืชสมุนไพร 3. ทาให้ได้พืชล้างสารพิษชนิดใหม่ที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้ใช้ไม่มีผลกระทบต่อ สิ่งแวดล้อม 4. ลดอันตรายที่ได้รับจากสารเคมีกาจัดศัตรูพืช เป็นการส่งเสริม สุขภาพผู้บริโภค ทาให้มี คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น 5. ส่งเสริมการใช้สมุนไพรล้างสารเคมีกาจัดศัตรูพืชแทนการใช้สารเคมีล้าง 6. เป็นการประหยัดค่าใช้จ่าย เนื่องจากเป็นสมุนไพรที่มี ราคาถูก หาได้ง่ายในท้องถิ่น 7. เป็นการฝึกทักษะกระบวนการทาง วิทยาศาสตร์
  • 20. 15 8. เป็นการส่งเสริมภูมิปัญญาไทย ในการนาเอาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาแก้ไขปัญหาที่ เกิดขึ้นใน ชีวิตประจาวัน รวมทั้งการนาไปพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไทย ข้อเสนอแนะ 1. ควรศึกษากับสมุนไพรอื่นๆที่มีในท้องถิ่นมากกว่านี้ 2. ควรหาอัตราส่วนที่เหมาะสมของพืชสมุนไพรที่ใช้ล้างสารพิษได้ดีที่สุด 3. ควรศึกษาเปรียบเทียบกับการล้างด้วยน้าส้มสายชูผสมน้าอุ่น หรือการล้างด้วยน้าด่างทับทิม หรือสารละลายผงฟู 4. ควรศึกษาเปรียบเทียบกับการล้าง ด้วย น้ายาล้างสารพิษสาเร็จรูป ที่มีขายในท้องตลาด 5. ควรทาเป็นผลิตภัณฑ์ที่สะดวกแก่การใช้และ สามารถเก็บรักษาได้เป็นเวลานาน โดยไม่เสื่อม คุณภาพ