SlideShare a Scribd company logo
1 of 25
Download to read offline
บทที่ 1 
บทนา 
ที่มาและความสาคัญของโครงงาน กระติบข้าว เป็นภาชนะสานทรงกลมมีฝาปิด ฐานของกระติบจะทำจากก้านตาลขดเป็นวงกลม มีมากมายหลายขนาด เป็นภาชนะที่ใช้บรรจุข้าวเหนียว ซึ่งเป็นอาหารประจำถิ่นของชนชาวอีสานและ ชาวอำเภอหล่มเก่า 
จากการศึกษาและสังเกตชีวิตความเป็นอยู่ของชาวอำเภอหล่มเก่าโดยเฉพาะชาวชนบทจะ รับประทานข้าวเหนียวเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งในการรับประทานข้าวเหนียวจะต้องทำการนึ่งและหากระติบข้าว มาเก็บข้าวเหนียวที่นึ่งแล้วไว้รับประทานทั้งตอนเช้า ตอนกลางวัน และตอนเย็น แต่ข้าวเหนียวที่นึ่งไว้ ตั้งแต่ตอนเช้าพอถึงตอนกลางวันข้าวเหนียวที่อยู่ในกระติบจะเย็นทำให้รับประทานไม่อร่อยโดยเฉพาะ ในช่วงฤดูหนาวข้าวจะเย็นและแข็งมาก จากปัญหาดังกล่าวผู้จัดทำโครงงานสังเกตเห็นว่ามีชาวบ้านบาง กลุ่มได้แก้ปัญหาข้าวเหนียวเย็นเร็วโดยการหาผ้ามาคลุมกระติบข้าวเหนียวไว้เพื่อเก็บความร้อนซึ่งก็ สามารถเก็บความร้อนไว้ได้ระดับหนึ่งแต่ผ้าที่คลุมไว้ทำให้ยุ่งยากในการนำข้าวออกมารับประทานและไม่ สะดวกต่อการเคลื่อนย้าย 
คณะผู้จัดทำโครงงานจึงมีแนวคิดว่า น่าจะหาวิธีการแก้ปัญหาดังกล่าว โดยการพัฒนาและ ดัดแปลงกระติบข้าวเหนียวเพื่อให้สามารถเก็บความร้อนได้นาน สะดวกต่อการนำข้าวเหนียวออกมา รับประทาน และสะดวกต่อการเคลื่อนย้าย ดังนั้นจึงได้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์ศึกษาประสิทธิภาพ ของกระติบข้าวเหนียวเก็บความร้อนขึ้น 
วัตถุประสงค์ของโครงงาน 
1. เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพของกระติบข้าวให้สามารถเก็บความร้อนไว้ได้นาน 
2. เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพการเก็บความร้อนของกระติบข้าวเหนียว 
ขอบเขตของโครงงาน 
1. ใช้ผ้าฝูาย อลูมิเนียมฟรอยด์ และโฟม เป็นส่วนประกอบของกระติบข้าวเหนียว 
2. ใช้ไม้ไผ่สานกระติบข้าวเหนียวให้มีขนาดเท่ากัน 
3. ทำการทดลองเป็นเวลา 1 ชั่วโมง 30 นาที ในห้องปฏิบัติการโรงเรียนเมืองราดวิทยาคม เท่านั้น 
สมมติฐานของการทดลอง 
ถ้าผ้าฝูาย อลูมิเนียมฟรอยด์ และโฟม เป็นวัสดุที่สามารถเก็บความร้อนได้ดี 
ดังนั้นเมื่อนำผ้าฝูาย อลูมิเนียมฟรอยด์ และโฟม มาเป็นส่วนประกอบของกระติบข้าวเหนียว น่าจะช่วย เก็บความร้อนในกระติบข้าวเหนียวได้นาน
2 
แบบแผนการทดลอง 
แบ่งการทดลองเป็น 2 กลุ่ม คือ 
กลุ่มทดลอง กระติบข้าวเหนียวที่มีผ้าฝูายเป็นส่วนประกอบ 
กระติบข้าวเหนียวที่มีอลูมิเนียมฟรอยด์เป็นส่วนประกอบ 
กระติบข้าวเหนียวที่มีโฟมเป็นส่วนประกอบ 
กลุ่มควบคุม กระติบข้าวเหนียวปกติ 
การกาหนดตัวแปร 
ตัวแปรต้น ได้แก่ กระติบข้าวเหนียวที่มีผ้าฝูายเป็นส่วนประกอบ 
กระติบข้าวเหนียวที่มีอลูมิเนียมฟรอยด์เป็นส่วนประกอบ 
กระติบข้าวเหนียวที่มีโฟมเป็นส่วนประกอบ 
ตัวแปรตาม คือ ความร้อนหรืออุณหภูมิของข้าวในกระติบข้าวเหนียว 
ตัวแปรควบคุม ได้แก่ ขนาดของกระติบข้าวเหนียว ชนิดของข้าวเหนียว ปริมาณข้าวเหนียว ที่ใส่ในกระติบข้าว ระยะเวลาที่ใช้ในการนึ่งข้าวเหนียว ประมาณน้ำที่ใช้นึ่งข้าวเหนียว สถานที่วาง กระติบข้าวเหนียว ระยะเวลาในการวัดอุณหภูมิ 
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 
1. ได้กระติบข้าวเหนียวที่สามารถเก็บความร้อนไว้ได้นาน 
2. มีข้าวเหนียวที่ร้อน ๆ ไว้รับประทานทั้งตอนเช้า กลางวัน และเย็น 
3. ลดค่าใช้จ่ายในการซื้อแก๊สหุงต้ม 
4. ช่วยสืบทอดและอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น
3 
บทที่ 2 
เอกสารที่เกี่ยวข้อง 
กระติบข้าวเหนียว 
ภูมิปัญญา หมายถึง แบบแผนการดำเนินชีวิตที่มีคุณค่าแสดงถึงความเฉลียวฉลาดของบุคคลและ สังคม ซึ่งได้สั่งสมและปฏิบัติสืบต่อกันมาภูมิปัญญาจะเป็นทรัพยากรบุคคล หรือทรัพยากรความรู้ก็ได้ วันนี้จะเสนอภูมิปัญญาของฅนอีสานที่ล้ำยุคไปไกลทีเดียว เรื่องของกระติบข้าวและก่องข้าว 
ก่องข้าว เป็นภาชนะบรรจุข้าวเหนียวของชาวอีสาน ความแตกต่างของภาชนะทั้งสอง อยู่ที่รูปทรง โดยก่องข้าวจะมีลักษณะคล้ายกระบุง มีฝาปิด และมีขาทำด้วยไม้เนื้อแข็งเป็นฐานแยกสี่แฉก มีความแข็งแรงทนทานมากกว่า การสานด้วยไม้ไผ่มีความแน่นหนา เก็บขอบด้วยหวายโดยรอบ กระติบข้าว เป็นภาชนะสานทรงกลมมีฝาปิด ฐานของกระติบจะทำจากก้านตาลขดเป็นวงกลม มีมากมายหลายขนาด การสานทำได้ง่ายกว่าก่องข้าว เพราะใช้ตอกไม่ไผ่ที่มีความบางอ่อนตัว 
ก่องข้าวและกระติบข้าว เป็นภาชนะในการเก็บอาหารที่ทรงคุณค่า มากด้วยภูมิปัญญา เก็บความร้อนได้ดี ในขณะที่ยอมให้ไอน้ำระเหยออกไปได้ ทำให้ข้าวเหนียวที่บรรจุอยู่ภายในกระติบ หรือ ก่องข้าวไม่แฉะด้วยไอน้ำ ต่างจากกระติกน้ำแข็ง (ที่ดูเหมือนจะถูกนำมาใช้แทน ก่องข้าว หรือ กระติบข้าว ของพ่อค้าแม่ค้าขายข้าวเหนียวส้มตำในเมืองใหญ่) ที่จำเป็นต้องใช้ผ้าขาวบางรองอีกที ก่อนบรรจุข้าวเหนียว ถึงกระนั้น เม็ดข้าวที่อยู่ชิดรอบขอบกระติกก็ยังคงแฉะอยู่ดี ภูมิปัญญานี้มีเคล็ดลับอยู่ที่ การสานภาชนะเป็นสองชั้น ชั้นในสุดจะสานด้วยตอกให้มีความห่าง (ช่องว่างระหว่างตอกสาน) เล็กน้อย เพื่อให้ไอน้ำระเหยออกจากข้าวไปสู่ช่องว่างภายในก่อง หรือกระติบ ข้าวได้ ในขณะที่ชั้นนอกสุดจะสานด้วยตอกที่มีความชิดแน่นหนากว่า เพื่อเก็บกักความร้อนไว้ ไอน้ำที่มี ความร้อนอยู่ภายในช่องว่างนี้ จะช่วยทำให้ข้าวเหนียวที่อยู่ภายในกระติบ หรือก่องข้าว ยังคงความร้อนได้ อีกนาน โดยเมล็ดข้าวจะไม่มีไอน้ำเกาะ จึงไม่แฉะเหมือนกับการบรรจุในภาชนะพลาสติกยุคใหม่
4 
ในกรณีของกระติบข้าวจะเห็นว่าฝาปิดและตัวกระติบจะมีลักษณะที่เหมือนกัน เพียงแต่มีขนาดที่ ต่างกันเล็กน้อย ให้สามารถสวมใส่กันได้พอดี ในส่วนตัวกระติบจะมีฐานรองทำจากก้านตาล ขดเป็น วงกลม มีขนาดเล็กกว่าตัวกระติบเล็กน้อย ยึดด้วยหวายให้ติดกับตัวกระติบ (ปัจจุบันนี้ใช้เชือกไนล่อน เพราะหาง่ายราคาถูกกว่า) ด้วยเทคนิคการสานจากภูมิปัญญาไทยนี้ ทำให้ผลิตภัณฑ์นี้เป็นที่ยอมรับ และยังคงอยู่ตลอดมา สร้างรายได้ให้กับชุมชนในการสร้างงาน และยังสืบสานความรู้ของการจักสานไว้ เช่น ที่หมู่บ้านทุ่งนางโอก อำเภอทรายมูล จังหวัดยโสธร
5 
ไม้ไผ่กับวัฒนธรรม 
คนไทย มีชีวิตความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย รักธรรมชาติ ยิ้มแย้มแจ่มใสใจดี รักศิลปะ เสียงเพลงและดนตรี มีนิสัยอ่อนโยนอ่อนน้อมถ่อมตนและสามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และ สภาพแวดล้อมได้เป็นอย่างดีมีภูมิปัญญาสามารถนำสิ่งที่ใกล้มือในท้องถิ่นมาประดิษฐ์เป็นเครื่องมือใช้สอย ในชีวิตประจำวันได้อย่างสวยงามโดยเฉพาะไม้ไผ่ เป็นวัตถุดิบจากธรรมชาติที่มนุษย์นำมาใช้ประโยชน์ โดยตรงหรือแปรรูปให้เป็นเครื่องมือเครื่องใช้ในการดำรงชีวิต คนไทยรู้จักคุ้นเคยและมีความผูกพันอย่าง ชนิดแยกไม่ออกมาตั้งแต่เกิดจนตาย กลายเป็นวัฒนธรรมสืบทอดกันต่อมา "ไผ่" เป็นชื่อพันธุ์ไม้พวก หนึ่ง พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ กล่าวว่า ไผ่เป็นชื่อพรรณไม้พวกหนึ่ง ( Bambusa spp.) อยู่ในวงศ์ Graminese เป็นกอ ลำต้นสูง และเป็นปล้องๆ มีหลายชนิดมากกว่า ๑,๒๕๐ ขนิด ๕๐ ตระกูล เช่น ไผ่จีน ไผ่ปุา ไผ่สีสุก ไผ่เลี้ยง ไผ่ดำ เป็นต้น ไม้ไผ่เป็นพันธุ์ไม้ที่มีลักษณะเฉพาะที่แปลกไปจาก พืชและพันธุ์ไม้อื่นๆ เพราะแม้ว่าไผ่มีลักษณะที่ควรจะเป็นต้นไม้ แต่ไผ่กลับถูกจัดเป็นหญ้าประเภทหนึ่ง และเป็น "หญ้ายักษ์" เพราะลำต้นสูง กลวงเป็นปล้องๆ หากสังเกตให้ดีจะเห็นว่าใบไผ่คล้ายกับใบหญ้า ไผ่ ขยายพันธุ์ด้วยการแตกหน่อ เพราะหนึ่งในร้อยปีไผ่จึงอาจจะออกดอกสักครั้ง และหลังจากออกดอกแล้วก็ ตาย ไผ่จะเติบโตอย่างรวดเร็วและจะโตเต็มที่ภายในสองเดือน และจะคงขนาดเช่นนั้นไปตลอดชีวิตของ มัน ลำต้นของไผ่จะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ ๐.๗ - ๗ นิ้ว สูง ๑ - ๖๐ ฟุต ไผ่ขึ้นได้ทั้งในบริเวณที่มี อากาศอบอุ่นและอากาศเย็นต่ำกว่าศูนย์องศา ไผ่จึงเป็นไม้ที่มีมากในบริเวณเอเซียและแปซิฟิค อเมริกาใต้ บางท้องถิ่น 
คุณลักษณะพิเศษของ "ไผ่" 
1.ไผ่โตเร็วสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ภายในเวลา ๑ - ๔ ปี และใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน ตั้งแต่ รากไผ่เป็นสมุนไพรอย่างหนึ่งที่ใช้เป็นยารักษาโรคได้ หนิอไผ่หรือหน่อไม้ใช้ทำอาหาร กาบหรือใบไผ่ใช้ห่อ อาหารหรือหมักปุ๋ย กิ่งและแขนงใช้ทำรั้ว ลำต้นใช้ประโยชน์ได้สารพัดอย่าง ตั้งแต่นำมาใช้ปลูกสร้างที่พัก อาศัยและแปรรูปเป็นเครื่องจักสานและเครื่องมือเครื่องใช้นานาชนิดจนถึงนำมาใช้เกี่ยวกับความเชื่อและ พิธีกรรมต่างๆ ตั้งแต่เกิดจนตาย ดังนั้นชาวนาจึงมักปลูกไผ่ตามหัวไร่ปลายนา และปลูกไว้รอบๆบ้าน เพื่อใช้เป็นรั้วบ้านและ ปูองกันพายุ เพราะไม้ไผ่จะลู่ตามลมไม่หักโค่นเหมือนไม้อื่น หากปลูกไผ่ไว้ตามริมแม่น้ำลำคลอง 
จะช่วยชะลอความเร็วของกระแสน้ำไม่ให้ดินพัวทะลายง่าย นอกจากนี้ไผ่ยังใช้เป็นอาหารในครัวเรือนได้
6 
2. ไผ่มีลำต้นตรงและกลวงคล้ายหลอดและมีปล้องข้อคั่นเป็นปล้องๆ จึงใช้เป็นภาชนะประเภท กระบอก ถ้วย สำหรับใส่ของเหลว เช่นใช้เป็นกระบอกน้ำ กระบอกน้ำตาล ซึ่งใช้กันทั่วไปในหลายประเทศ ลักษณะพิเศษของไม้ไผ่นี้สามารถนำมาใช้สร้างอาคารที่พักอาศัยได้ โดยนำมาทำเป็นโครงสร้างของ บ้านเรือน ใช้เป็นพื้นเรือน ฝาเรือน ใช้ทำรางน้ำ ท่อน้ำ และทำเครื่องดนตรีประเภทขลุ่ยได้ดีอีกด้วย 
3. เนื้อไผ่เป็นเส้นตรงมีความยืดหยุ่นในตัวเองและสามารถคินตัวสู่สภาพเดิมได้ เมื่อนำไม้ไผ่มาแปร รูปก็จะสามารถใช้ประโยชน์ได้ดี เพราะเนื้อไม้ไผ่เป็นเส้นตรง นำมาจักเป็นปื้นบางๆ หรือเหลาเป็นเส้นได้ดี จึงใช้ทำเครื่องจักสานนานาชนิดได้ ทั้งเครื่องจักสานที่มีขนาดใหญ่ แข็งแรงมั่นคง สำหรับใช้งานหนักจนถึง เครื่องจักสานขนาดเล็กที่มีความปราณีตบอบบาง และเพราะคุณสมบัติในที่มีความยืดหยุ่น จึงเหมาะที่จะ ใช้เป็นเครื่องหาบหรือหาม เช่น คาน คันกระสุน คันธนูและเมื่อแปรรูปเป็นตอกก็ยังมีความยืดหยุ่นคืน รูปทรงเดิมได้ง่ายจึงทำให้ภาชนะจักสานที่ทำจากไผ่มีคุณลักษณะพิเศษต่างไปจากภาชนะที่ทำจากวัตถุดิบ ชนิดอื่น 
4. ไม้ไผ่มีความสวยงามในตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นผิวที่มีสีต่างๆ กันเมื่อแห้งแล้วมักจะมีสีเหลืองอยู่ เช่นนั้นตลอดไป ด้วยคุณสมบัติพิเศษนี้ ชาวเอเซียจึงใช้เหล็กหรือโลหะเผาไฟจนร้อนแล้วเขียนตัวอักษร หรือลวดลายลงบนผิวไม้ไผ่ ( Bamboo Pyrographic ) เช่นจีนจารึกบทกวีบนผิวไม้ไผ่ ชาวญี่ปุุนใช้เขียน ชื่อเจ้าของบ้านแขวนไว้หน้าบ้านและจารึกบทกวีแขวนไว้สองข้างประตูเรือนน้ำชา ( Tea House ) ชาว เกาหลีใช้เขียนเป็นลวดลายบนเครื่องใช้ เช่นเดียวกับที่ชาวบาตัก ( Batak) ในประเทศอินโดนีเซีย ใช้เหล็ก เผาไฟ ขูด ขีด เขียน ลงบนกระบอกไม้ไผ่ สำหรับเก็บยาหรือทำเป็นปฏิทิน ในขณะที่ชาวบาหลีใช้จารลง บนผิวไผ่เป็นแผ่นๆ เพื่อใช้เป็นคัมภีร์ในศาสนาตน นอกจากไม้ไผ่จะมีผิวสวยแล้ว เนื้อไผ่ยังมีลักษณะพิเศษ ต่างจากเนื้อไม้อื่นคือ มีเสี้ยนยาวขนานกันเป็นเส้น จึงแปรรูปเป็นเส้น เป็นปื้น หรือเหลาให้กลมได้ง่าย และเมื่อแก่เต็มที่แล้วจะเป็นเส้นละเอียดแข็ง มอดแมลงไม่กินจนมีผู้กล่าวว่า เครื่องจักสานไม้ไผ่นั้น ผู้สาน สามารถสานให้เป็นรูปทรงแปลกๆ แตกต่างกันได้มากมาย จนเครื่องจักสานบางชิ้นมีรูปทรงและผิว สวยงามดุจงานประติมากรรมสมัยใหม่ทีเดียว 
เครื่องมือเครื่องใช้จากไม่ไผ่ 
ตะกร้าหิ้วจังหวัดราชบุรี 
งานไม้ไผ่ที่ใช้เป็นเครื่องมือเครื่องใช้ในครัวเรือนและชีวิตประจำวัน งานไม้ไผ่ประเภทนี้มีความ เกี่ยวเนื่องกับชีวิตมนุษย์มาช้านานและอาจจะเป็นเครื่องใช้ในครัวเรือนที่เก่าแก่ที่สุดอย่างหนึ่ง เฉพาะ อย่างยิ่งชาวตะวันออกนั้น มีเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำด้วยไม้ไผ่มาแต่โบราณ เช่น ตะเกียบไม้ไผ่ของจีน เป็น เครื่องมือการกินอาหารที่ทำอย่างง่ายๆ แต่ใช้ประโยชน์ได้อย่างดี ก่องข้าวและกระติบสำหรับใส่ข้าว เหนียวของชาวอีสานและชาวเหนือ เป็นตัวอย่างที่ดีซึ่งแสดงให้เห็นความชาญฉลาดในการนำไม้ไผ่มาแปร รูปเป็นภาชนะสำหรับใส่ข้าวเหนียวนึ่งได้ดีเท่าก่องข้าวและกระติบที่สานด้วยตอก
7 
นอกจากนี้ยังใช้ทำเครื่องใช้สอยในครัวเรือน เช่นตะกร้า กระจาด สาแหรก กระบอกเปุาไฟ กระชอน ตะเกียบ ชะลอม ที่เสียบมีด กระบอกเก็บสาก ทัพพี ช้อน ตะหลิว ทำพัด ตับปิ้งปลา ทำฟืน ด้ามเครื่องมืออื่นๆ เครื่องจักสาน ของที่ระลึกเครื่องเขิน ทำโครงร่ม ไม้กวาด ใช้เป็นไม้ค้ำยันในการทำ การเกษตร เช่นไม้ค้ำต้นส้ม ค้ำผัก ค้างถั่ว ฯลน ไม้ไผ่ยังใช้เป็นหลักปักกองฟาง ใช้ทำเข่งบรรจุผลไม้ บรรจุ ใบชา ของปุาต่างๆ ทำหุ่นหรือลูกบวบหนุนเรือนแพล่องไม้ไม่ให้จม บุ้งกี๋ กระพ้อม เสียม เสื่อลำแพน ทำ ท่อ ทำโต๊ะ เก้าอี้ และเฟอร์นิเจอร์ตกแต่งภายในบ้าน 
ก่องข้าวภาคเหนือ 
วิธีการสานกระติบข้าว 
1. นำปล้องไม้ไผ่มาตัดหัวท้าย ตัดเอาข้อออก ผ่าเป็นซีกทำเส้นตอกกว้างประมาณ 2-3 ม.ม. 
ขูดให้เรียบ และบาง 
2. นำเส้นตอกที่ได้มาสานเป็นรูปร่างกระติบข้าว หนึ่งลูกมี 2 ฝา มาประกอบกัน 
3. นำกระติบข้าวที่ได้จากข้อ (2.) มาพับครึ่งให้เท่า ๆ กันพอดี เรียกว่า 1 ฝา 
4. ขั้นตอนการทำฝาปิด โดยจักเส้นตอกที่มีความกว้าง 1 นิ้ว สานเป็นลายตามะกอก 
และลายขัด 
5. นำฝาปิดหัวท้ายมาตัดเป็นวงกลม มาใส่เข้าที่ปลายทั้งสองข้าง 
6. ใช้ด้ายไนล่อน และเข็มเย็บเข้าด้วยกันรอบฝาปิดหัวท้าย 
7. นำก้านตาลที่ม้วนไว้มาเย็บติดกับฝาล่าง ที่เป็นตัวกระติบข้าว 
8. นำกระติบข้าวที่ได้ไปรมควันจากฟางข้าว เพื่อกันแมลงเจาะ และเพื่อความสวยงาม ทนทาน 
ไม่เกิดราดำ
8 
9. นำไม้มาเหลาเป็นเส้นตอก กลมยาวเส้นผ่าศูนย์กลาง 2-3 ม.ม. ความยาวรอบ บางเท่ากับ 
ฝากระติบพันด้วยด้ายไนล่อน แล้วเย็บติดฝาขอบบน เพื่อความสวยงาม 
10. เจาะรูที่เชิงกระติบข้าว ด้วยเหล็กแหลม 2 รู ให้ตรงข้ามกัน แล้วทำหูที่ฝาด้านบน ตรงกับรู 
ที่เจาะเชิงไว้ 
11. ใช้ด้ายไนล่อนสอดเข้าเป็นสายไว้สะพายไปมาได้สะดวก จะได้กระติบข้าวที่สำเร็จเรียบร้อย 
สามารถนำมาใช้และจำหน่ายได้ 
วัสดุที่ใช้ในการสานกระติบข้าว 
โฟม 
โฟมพลาสติกที่เราใช้กันแพร่หลายทุกวันนี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า โพลิสไตรีนโฟม 
หรือสไตโรโฟม มีลักษณะเป็นเนื้อพอง เป็นเม็ดกลมเบียดอัดกันแน่นอยู่ในแผ่นโฟม แข็งแรง ยืดหยุ่นได้ 
ใช้มีดตัดแต่งได้ เบา และราคาไม่แพง จึงนิยมใช้เป็นหีบห่อกันกระเทือน กันความร้อน ใช้เป็นภาชนะ 
ใส่อาหาร ส่วนชนิดเบามีความหนาแน่นน้อย นิยมใช้เป็นวัสดุตกแต่งเวที และพวงหรีด 
คุณสมบัติของโฟม 
1. ปูองกันความร้อนและเย็น (Most efficient) เนื่องจากมีค่าการนำความร้อน เพียง 0.0198 W/mk ซึ่งมีค่าต่ำมากใกล้เคียงกับสูญญากาศทำให้ P.U.Foam “ไม่สามารถนำความร้อนจากที่หนึ่งไป อีกที่หนึ่ง ดังนั้นจึงปูองกันความร้อน / เย็น ได้อย่างดี 
2. ปูองกันการรั่วซึม เนื่องจากมีคุณสมบัติเป็นเซลปิด มีค่าการซึมผ่านของน้ำไม่เกิน 2% จึงทำ ให้น้ำ,ความชื้นไอน้ำไม่สามารถซึมไปยังส่วนอื่นได้ จึงปูองกันการรั่วซึม 
3. การทนต่อกรด- ด่าง (Acid&BaseResistant) โฟม PU ไม่ละลายในกรด-ด่าง แอลกอฮอล์ น้ำมันเครื่องจึงทำให้สามารถปูองกันการเสียหายจากสารที่กล่าวข้างต้น 
4. การทนไฟ,ไม่ลามไฟ (FireResistant) โฟม PU เป็นฉนวนที่ติดไฟ แต่ไม่ลามไฟ เพราะใส่สาร กันไฟไว้ถึง 15% จึงไม่เป็นเชื้อเพลิงเมื่อโดนไฟเผา 
5. ไม่มีสารเจือปน ( Non-toxic Irritant) เนื่องจากเป็นฉนวนที่แข็งตัวเป็นก้อน ไม่มีกรด-ด่าง หรือตัวทำละลายอย่างอื่นๆ จะมาเปลี่ยนสภาวะจากของแข็งเป็นของเหลวได้ จึงไม่มีสาระคายเคือง หรือ สารที่ทำให้เกิดอาการแพ้เหมือนใยแก้วและใยหินที่มีโอกาสหลุดร่วงเป็นละอองได้ 
6. ปูองกัน มด นก หนู แมลง ให้เข้ามาอยู่อาศัย (Vermin Resistant) ได้มีการปรับปรุง ส่วนผสมที่ทำให้มด นก หนู แมลงไม่ชอบ สัตว์เหล่านั้นจึงไม่เข้าไปทำรัง หรือทำลายฉนวนได้
9 
7. น้ำหนักเบาและแข็งแรง (Light Weight&Strrength) มีน้ำหนักเบา โดยโฟมขนาด 1 เมตร x 1เมตร x 1 นิ้ว จะมีน้ำหนักไม่ถึง 1 กิโลกรัม จึงทำให้ไม่เพิ่มน้ำหนักบนตัวโครงสร้าง หรือฐานรากและ ยังรับน้ำหนักแรงกดได้ดี 
8. ติดตั้งง่าย (Easy To Install) ในการติดตั้งผนังสำเร็จบุโฟม PU ตัวโฟม สามารถนำมาติดตั้ง ได้ง่ายดาย เหมือนการติดตั้งไม้อัดหรือแผ่นยิปซั่ม ทั่วไป ขั้นตอนไม่ซับซ้อน 
9. ไม่มีการยุบตัวและสวยงามตามแบบสถาปัตยกรรม เพราะมีความหนาแน่นถึง 35-50 ก.ก/ ลูกบาศก์เมตร มีลักษณะแข็ง ไม่เสื่อมสภาพ จึงทำให้ฉนวนชนิดนี้ทนทานไม่ยุบตัวและสวยงาม 
10. ลดเสียงดัง กั้นเสียง ( Noise Inhibiting ) เพราะมีโครงหลังคาภายในเซลล์เป็นช่องอากาศ เป็นโพรงเรียกว่าAir Gap เป็นจำนวนมาก สามารถลดการพาของเสียง 
11. ควบคุมการกลั่นตัวเป็นหยดน้ำ ( CondensationControl) โฟม PU จะเป็นตัวกั้นกลาง แยกความร้อนและความเย็นอยู่คนละข้าง จึงทำให้ไม่เกิดการเกาะตัวของไอน้ำ 
12. ประหยัดพลังงาน เนื่องจากสามารถปูองกันการนำ การพา และการแผ่รังสีความร้อนจาก ภายนอกถึงผนังและหลังคาได้มากกว่า 90 % ทำให้อุณหภูมิในห้องลดลงจากข้างนอกมากกว่า 20 องศา เซลเซียส อาจไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องปรับอากาศ แต่ถ้าใช้ก็จะทำให้ห้องเย็นลงอย่างรวดเร็ว ลดการ สูญเสียพลังงาน สามารถประหยัดไฟฟูาได้มากกว่า 50 % 
13. มีประสิทธิภาพการใช้งานในอุณหภูมิที่ – 70 ถึง 100 องศาเซลเซียส 
14. โฟม PU มีอายุการใช้งานมากกว่า 10 ปีโดยไม่ต้องบำรุงรักษาแต่อย่างใด (ภายใต้การติดตั้ง ที่ถูกต้อง) http://www.uppergroup2007.com (สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2557) 
ผ้าฝ้าย 
ผ้าฝูายเป็นผ้าที่ใช้กันมากที่สุด เหมาะกับประเทศที่มีอากาศร้อน เพราะผ้าฝูายสวมใส่สบาย ผ้าฝูายได้จากใยฝูาย ต้นฝูายขึ้นได้ดีในแถบที่มีอากาศอุ่นและชื้น ในประเทศเราปลูกกันมากทางภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ เมื่อผลฝูายแก่จัด ผลจะแตกมีใยเป็นปุยขาว เก็บมาแยกเอาเปลือกและเมล็ด ออก แล้วนำไปปั่นเป็นเส้นใยและเส้นด้าย ทอเป็นผืนผ้า ผ้าฝูายมีเนื้อค่อนข้างเหนียว ไม่ค่อยยืดหยุ่น ยับง่าย หดง่าย ดูดซึมน้ำได้ดี ระบายอากาศและความร้อนได้ดี 
คุณสมบัติของผ้าฝ้าย 
1.สวมใส่สบาย เพราะดูดความชื้นและความร้อนได้ดี 
2.มีความทนทาน 
3.ทนความร้อน สามารถต้มในน้ำเดือดได้
10 
4.ทนด่าง 
5.ดูแลทำความสะอาดง่าย 
อลูมิเนียมฟรอยด์ 
อลูมิเนียมฟรอยด์คือ แผ่นอลูมิเนียมที่นำมารีดจนบาง อลูมิเนียมฟอล์ยสามารถนำไปใช้ ในการยืดอายุการเก็บของผลิตภัณฑ์ ใช้เป็นภาชนะบรรจุอาหาร ยา และเครื่องสำอาง 
คุณสมบัติของอลูมิเนียมฟรอยด์ 
1. ใช้เป็นฉนวนปูองกันความร้อนสำหรับผลิตภัณฑ์ที่ต้องรักษาอุณหภูมิให้ต่ำหรือสูงได้ 
2. ทนความร้อน 
3. ทำความสะอาดได้ง่าย 
โครงงานที่เกี่ยวข้อง 
วาสนา โกสุมภ์ และคณะ (2552) ได้ทำโครงงานวิทยาศาสตร์เรื่อง กระติบข้าว ร้อนร้อนจ๋า 
มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาเปรียบเทียบกระติบข้าวที่มีส่วนประกอบของกระติบข้าวต่างกัน จะมีผลต่อ ระยะเวลาในการเก็บความร้อนของข้าวเหนียวนึ่งสุก ซึ่งศึกษาโดยการบรรจุข้าวเหนียวนึ่งสุกด้วยกระติบ ข้าวขนาดเท่ากันแต่ส่วนประกอบของกระติบข้าวต่างกัน แล้วจับเวลาในการเก็บความร้อนของข้าวเหนียว นึ่งสุก ผลการทดลองปรากฏว่า กระติบข้าวที่มีอลูมิเนียมฟอยล์ เป็นส่วนประกอบเก็บความร้อนของ ข้าวเหนียวนึ่งสุกได้นานกว่ากระติบข้าวที่ไม่มีอลูมิเนียมฟอยล์เป็นส่วนประกอบ ทำให้ประหยัดพลังงาน และประหยัดเวลาในการนำมานึ่งให้ร้อนอีกครั้ง 
อนงค์ ขวัญสิน และ ศศิธร แหวนชุม (2553) ได้ทำโครงงานภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่อง กระติบ ข้าวบ้านดง มีจุดประสงค์เพื่อ สร้างรายได้ให้กับครอบครัว ลดค่าใช้จ่ายภายในบ้าน ได้ฝึกสมาธิ และ มีความอดทนมากขึ้น พบว่าได้ดระติบข้าวเป็นที่ยอมรับของคนในหมู่บ้านว่าสานกระติบข้าวสวยงามมาก และยังสานได้น่ารักอีกด้วย 
อภิศักดิ์ สีน้อย (2553) ได้ทำโครงงาน การสานกระติบข้าว เพื่อขยายการทำกระติบข้าว เพื่อได้รู้ถึงการทำกระติบข้าว และเพื่อได้อนุรักษ์การทำกระติบข้าว พบว่าไม้ไผ่สามารถนำมาสานกระติบ ข้าวได้อย่างสวยงาม
11 
บทที่ 3 
วัสดุอุปกรณ์และวิธีดาเนินการ 
วัสดุอุปกรณ์ 
1. ไม้ไผ่ 
2. ผ้าฝูาย 
3. โฟม 
4. อลูมิเนียมฟรอยด์ 
5. ข้าวเหนียว 
6. หวดและหม้อนึ่ง 
7. เทอร์โมมิเตอร์ 
8. เครื่องชั่ง 
9. เตาแก๊ส 
วิธีทดลอง 
ตอนที่ 1 การสานกระติบข้าว 
1. นำไม้ไผ่มาจักเป็นตอกเพื่อใช้สานกระติบข้าวที่มีขนาดเท่ากันจำนวน 4 ใบ 
2. นำตอกที่ได้มาสานกระติบข้าว จำนวน 4 ใบ ดังนี้ 
2.1 สานกระติบข้าวโดยบุด้วยผ้าฝูายในกระติบข้าว จำนวน 1 ใบ 
2.2 สานกระติบข้าวโดยบุด้วยอลูมิเนียมฟรอยด์ จำนวน 1 ใบ 
2.3 สานกระติบข้าวบุด้วยโฟม จำนวน 1 ใบ 
2.4 สานกระติบข้าวด้วยไม้ไผ่ปกติ จำนวน 1 ใบ 
ตอนที่ 2 เปรียบเทียบความร้อนของข้าวในกระติบข้าวเหนียวทั้ง 4 ใบ 
1. แช่ข้าวเหนียวไว้สำหรับนึ่ง ประมาณ 3 ชั่วโมง 
2. นำข้าวเหนียวที่แช่ไว้มานึ่งให้สุกใช้เวลาประมาณ 30 นาที 
3. เตรียมกระติบข้าวเหนียวที่สานจากไม้ไผ่ทั้ง 4 ใบ ไว้เพื่อใส่ข้าวเหนียวที่นึ่งสุกใหม่ ๆ 
4. ชั่งข้าวเหนียวปริมาณเท่ากันใส่ลงในกระติบข้าวทั้ง 4 ใบ 
5. วัดอุณหภูมิของข้าวเหนียวในกระติบข้าวทั้ง 4 ใบ ทุก ๆ 15 นาที และสังเกตลักษณะ ของข้าวเหนียว ที่อยู่ในกระติบ ทั้ง 4 ใบ 6. ทำการทดลองซ้ำข้อ 1-5 จำนวน 3 ครั้ง บันทึกผลการทดลอง 
7. นำอุณหภูมิที่บันทึกไว้ทั้ง 3 ครั้งมาหาค่าเฉลี่ย
12 
บทที่ 4 
ผลการทดลอง 
ผลการทดลอง 
เมื่อนำข้าวที่นึ่งสุกใหม่ ๆ ชั่งน้ำหนักให้เท่า ๆ กัน แล้วใส่ในกระติบข้าวเหนียวทั้ง 4 ใบ แล้ววัดอุณหภูมิทุก ๆ 15 นาที ได้ผลดังแสดงในตาราง 
ตารางที่ 4.1 แสดงอุณหภูมิของข้าวเหนียวในกระติบข้าวเหนียวทั้ง 4 ใบ 
ในระยะเวลา 1 ชั่วโมง30 นาที 
ชนิดของ กระติบ ข้าวเหนียว 
เวลาที่วัด อุณหภูมิ (นาที) 
อุณหภูมิของข้าวในกระติบ ข้าวเหนียว (องศา เซลเซียส) 
อุณหภูมิเฉลี่ย 
(องศาเซลเซียส) 
ลักษณะข้าวเหนียว 
ครั้งที่ 
1 
ครั้งที่ 2 
ครั้งที่ 3 
กระติบ 
ข้าวเหนียวปกติ 
0 
72 
72 
72 
72.00 
ข้าวเหนียวนุ่มและ ร้อน 
15 
61 
60 
61 
60.67 
ข้าวเหนียวนุ่มและ ร้อน 
30 
51 
53 
52 
52.00 
ข้าวเหนียวนุ่ม และร้อน 
45 
47 
47 
45 
46.33 
ข้าวเหนียวนุ่ม และร้อน 
60 
43 
44 
43 
43.33 
ข้าวเหนียวนุ่ม และอุ่นเล็กน้อย 
75 
40 
41 
41 
40.67 
ข้าวเหนียวเริ่มเย็นและแข็ง 
90 
37 
38 
37 
37.33 
ข้าวเหนียวเย็นและแข็ง 
รวมเฉลี่ย 
50.47 
กระติบข้าว 
บุด้วยผ้าฝูาย 
0 
72 
72 
72 
72.00 
ข้าวเหนียวนุ่มและ ร้อน 
15 
70 
68 
72 
70.00 
ข้าวเหนียวนุ่มและ ร้อน 
30 
67 
65 
68 
66.67 
ข้าวเหนียวนุ่มและ ร้อน 
45 
59 
60 
59 
59.33 
ข้าวเหนียวนุ่มและ ร้อน 
60 
50 
52 
51 
51.00 
ข้าวเหนียวนุ่มและ ร้อน 
75 
46 
45 
47 
46.00 
ข้าวเหนียวนุ่มและ ร้อน 
90 
40 
42 
43 
41.67 
ข้าวเหนียวนุ่ม และอุ่น 
รวมเฉลี่ย 
58.10
13 
ชนิดของ กระติบ ข้าวเหนียว 
เวลาที่วัด อุณหภูมิ (นาที) 
อุณหภูมิของข้าวใน กระติบ ข้าวเหนียว (องศาเซลเซียส) 
อุณหภูมิ เฉลี่ย 
(องศา เซลเซียส) 
ลักษณะข้าวเหนียว 
ครั้งที่1 
ครั้งที่ 2 
ครั้ง ที่ 3 
กระติบข้าวบุ ด้วยโฟม 
0 
72 
72 
72 
72.00 
ข้าวเหนียวนุ่มและ ร้อน ด้านข้างกระติบข้าว มีไอน้ำ ทำให้ข้าวด้านข้างกระติบแฉะเล็กน้อย 
15 
70 
71 
69 
70.00 
ข้าวเหนียวนุ่มและ ร้อน ด้านข้างกระติบข้าว มีไอน้ำ ทำให้ข้าวด้านข้างกระติบแฉะเล็กน้อย 
30 
68 
68 
67 
67.67 
ข้าวเหนียวนุ่มและ ร้อน ด้านข้างกระติบข้าว มีไอน้ำ ทำให้ข้าวด้านข้างกระติบแฉะเล็กน้อย 
45 
65 
64 
64 
64.33 
ข้าวเหนียวนุ่มและ ร้อน ด้านข้างกระติบข้าว มีไอน้ำ ทำให้ข้าวด้านข้างกระติบแฉะเล็กน้อย 
60 
57 
58 
58 
57.67 
ข้าวเหนียวนุ่มและ ร้อน ด้านข้างกระติบข้าว มีไอน้ำ ทำให้ข้าวด้านข้างกระติบแฉะเล็กน้อย 
75 
53 
54 
54 
53.67 
ข้าวเหนียวนุ่มและ ร้อน ด้านข้างกระติบข้าว มีไอน้ำ ทำให้ข้าวด้านข้างกระติบแฉะเล็กน้อย 
90 
50 
51 
51 
50.66 
ข้าวเหนียวนุ่มและ ร้อน 
รวมเฉลี่ย 
62.29 
กระติบ 
ข้าวบุด้วย อลูมิเนียม 
ฟรอยด์ 
0 
72 
72 
72 
72.00 
ข้าวเหนียวนุ่มและ ร้อน ด้านข้างกระติบข้าว มีไอน้ำ ทำให้ข้าวด้านข้างกระติบแฉะเล็กน้อย 
15 
70 
71 
72 
71.00 
ข้าวเหนียวนุ่มและ ร้อน ด้านข้างกระติบข้าว มีไอน้ำ ทำให้ข้าวด้านข้างกระติบแฉะเล็กน้อย 
30 
68 
68 
70 
68.67 
ข้าวเหนียวนุ่มและ ร้อน ด้านข้างกระติบข้าว มีไอน้ำ ทำให้ข้าวด้านข้างกระติบแฉะเล็กน้อย 
45 
65 
64 
63 
64.00 
ข้าวเหนียวนุ่มและ ร้อน ด้านข้างกระติบข้าว มีไอน้ำ ทำให้ข้าวด้านข้างกระติบแฉะเล็กน้อย 
60 
58 
60 
59 
59.00 
ข้าวเหนียวนุ่มและ ร้อน ด้านข้างกระติบข้าว มีไอน้ำ ทำให้ข้าวด้านข้างกระติบแฉะเล็กน้อย 
75 
55 
53 
52 
53.33 
ข้าวเหนียวนุ่มและ ร้อน ด้านข้างกระติบข้าว มีไอน้ำ ทำให้ข้าวด้านข้างกระติบแฉะเล็กน้อย 
90 
52 
49 
50 
50.33 
ข้าวเหนียวนุ่มและ อุ่น ด้านข้างกระติบข้าว มีไอน้ำ ทำให้ข้าวด้านข้างกระติบแฉะเล็กน้อย 
รวมเฉลี่ย 
62.62
14 
บทที่ 5 
สรุปและอภิปรายผลการทดลอง 
สรุปผลการทดลอง 
จากผลการทดลองกระติบข้าวเหนียวที่บุด้วยอลูมิเนียมฟรอยด์ สามารถเก็บความร้อนของข้าว เหนียวไว้ได้นานที่สุด รองลงมา คือ กระติบข้าวเหนียวบุด้วยโฟม และกระติบข้าวที่บุด้วยผ้าฝูาย ตามลำดับ ส่วนลักษณะของข้าว เมื่อสังเกตพบว่ากระติบที่บุด้วยผ้าฝูายข้าวจะมีลักษณะเหนียวนุ่มและ แห้ง ส่วนข้าวในกระติบข้าวที่บุด้วยโฟมและอลูมิเนียมฟรอยด์ ข้าวจะมีลักษณะเปียกและแฉะบริเวณ ขอบกระติบเพราะมีน้ำเกาะอยู่ ส่วนกระติบที่สานด้วยไม้ไผ่อย่างเดียว ข้าวเหนียวในกระติบข้าวเหนียว จะเย็นเร็วกว่ากระติบทั้ง 3 ใบ แสดงว่ากระติบข้าวเหนียวบุด้วยอลูมิเนียมฟรอยด์ โฟม และผ้าฝูาย สามารถเก็บความร้อนในกระติบข้าวได้จริง สามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้ เป็นไปตามสมมติฐาน ที่ตั้งไว้ 
อภิปรายผลการทดลอง 
จากผลการทดลองกระติบข้าวเหนียวที่สานด้วยไม้ไผ่บุด้วยอลูมิเนียมฟรอยด์ โฟม และผ้าฝูาย สามารถเก็บความร้อน ของข้าวเหนียวไว้ได้นานกว่ากระติบข้าวเหนียวปกติ ดังนี้ กระติบข้าวปกติ สามารถเก็บความร้อนไว้ได้ที่อุณหภูมิเฉลี่ย 50.47 องศาเซลเซียส กระติบข้าวบุด้วยผ้าฝูายสามารถ 
เก็บความร้อนไว้ได้ที่อุณหภูมิ 58.10 องศาเซลเซียส กระติบข้าวที่บุด้วยอลูมิเนียมฟรอยด์สามารถ 
เก็บความร้อนไว้ได้ที่อุณหภูมิ 62.29 องศาเซลเซียส และกระติบข้าวเหนียวที่บุด้วยโฟมสามารถ 
เก็บความร้อนไว้ได้ที่อุณหภูมิ 62.62 องศาเซลเซียสและข้าวเหนียวที่อยู่ในกระติบมีลักษณะเหนียว 
นุ่ม และร้อนอยู่ตลอดเวลา แสดงว่ากระติบข้าวเหนียวที่บุด้วยอลูมิเนียมฟรอยด์ สามารถเก็บความร้อน ไว้ได้นานที่สุด รองลงมาคือ กระติบข้าวเหนียวบุด้วยโฟม และกระติบข้าวที่บุด้วยผ้าฝูาย ตามลำดับ 
ข้อเสนอแนะ 
1. ในการออกแบบกระติบข้าวอาจใช้วัสดุอื่น ๆ เช่น เชือกไนล่อน ต้นกก 
หรือต้นผักตบชวา ในการสานกระติบข้าวเหนียวก็ได้ 
2. ในการใช้วัสดุบุภายในกระติบข้าวอาจใช้ผ้าด้ายดิบ ผ้าสำลี แทนผ้าฝูายได้ 
3. อาจทำการศึกษาชนิดของผ้าที่ใช้บุภายในกระติบข้าวเหนียวเพิ่มเติมได้ 
4. ควรนำผ้ามาบุภายในกระติบข้าวที่บุด้วยอลูมิเนียมฟรอยด์ และโฟมเพื่อ 
เป็นการดูดซับไอน้ำ
15 
บรรณานุกรม 
ชาตรี เกิดธรรม. เทคนิคการสอนโครงงานวิทยาศาสตร์. ศูนย์พัฒนาการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์. 
เอกสารอัดสำเนา, 2548. 
จุฬาภรณ์ราชวิทยาลัย.โรงเรียน.ตัวอย่างบทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์ประเภทสิ่งประดิษฐ์.ชลบุรี. 
เอกสารอัดสำเนา, 2552. 
วาสนา โกสุมภ์ และคณะ (2552). กระติบข้าว ร้อนร้อนจ๋า. เขาถึงไดจาก : 
http:// sites.google.com/site/bannongsan/khorng-ngankar-tha-kratib 
-khaw-rxn/ (วันที่คนหาขอมูล : 30 กันยายน 57) 
สุวิทย์ วรรณศรี.เทคนิคการทาโครงงานนักเรียน.คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.มหาวิทยาลัย 
ราชภัฏเพชรบูรณ์. เอกสารอัดสำเนา.2554. 
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. คู่มือการเขียนรายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ 
คณิตศาสตร์และคอมพิวเตอร์. มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์. เอกสารอัดสำเนา 
ประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ตามแนวพระราชดำริ 
เศรษฐกิจพอเพียง,2555. 
อนงค์ ขวัญสิน และ ศศิธร แหวนชุม (2553). กระติบข้าวบ้านดง. เขาถึงไดจาก : 
http:// www.l3nr.org/posts/458003/ (วันที่ คนหาขอมูล : 30 กันยายน 57) 
อภิศักดิ์ สีน้อย (2553). การสานกระติบข้าว. เขาถึงไดจาก : 
http:// http://aphisak999.wordpress.com/2012/09/21/ 
(วันที่ คนหาขอมูล : 23 กันยายน 57)
16 
ภาคผนวก
17 
วิธีการสานกระติบข้าว 1. 2. 
3. 4. 
5. 6. 
7. 8. 
9. 10.
18 
ภาพการทดลองเพื่อศึกษาอุณหภูมิในกระติบข้าวเหนียวทั้ง 4 ใบ 
1. 2. 
3. 4.
19 
รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ ประเภททดลอง 
เรื่อง กระติบข้าวเหนียวเก็บความร้อน 
โดย 
1. เด็กหญิงกัลยรัตน์ ทรายคา 
2. เด็กหญิงพาวิตา คาสุข 
3. เด็กหญิงไพลิน แสนแก้ว 
ครูที่ปรึกษา 
1. นางชโลธร กีรติศักดิ์กุล 
2. นางกมลวรรณ บุญสวน 
โรงเรียนเมืองราดวิทยาคม สานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 40 
รายงานฉบับนี้เป็นส่วนประกอบของโครงงานวิทยาศาสตร์ 
ประเภททดลอง ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 
เนื่องในงานศิลปหัตถกรรมนักเรียนครั้งที่ 64 
วันที่ 9 – 10 ตุลาคม 2557
20 
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง กระติบข้าวเหนียวเก็บความร้อน 
โดย 
1. เด็กหญิงกัลยรัตน์ ทรายคา 
2. เด็กหญิงพาวิตา คาสุข 
3. เด็กหญิงไพลิน แสนแก้ว 
ครูที่ปรึกษา 
1. นางชโลธร กีรติศักดิ์กุล 
2. นางกมลวรรณ บุญสวน 
โรงเรียนเมืองราดวิทยาคม สานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 40
21 
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง กระติบข้าวเหนียวเก็บความร้อน 
โดย 
1. เด็กหญิงกัลยรัตน์ ทรายคา 
2. เด็กหญิงพาวิตา คาสุข 
3. เด็กหญิงไพลิน แสนแก้ว 
ครูที่ปรึกษา 
นางชโลธร กีรติศักดิ์กุล 
นางกมลวรรณ บุญสวน 
โรงเรียนเมืองราดวิทยาคม อาเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ 
บทคัดย่อ 
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง กระติบข้าวเหนียวเก็บความร้อน เป็นโครงงานวิทยาศาสตร์ 
ประเภททดลอง มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาวิธีการสานกระติบข้าว เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพของ 
กระติบข้าวให้สามารถเก็บความร้อนไว้ได้นาน และเพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพการเก็บความร้อนของ กระติบข้าวเหนียว การทดลองแบ่งออกเป็น 2 ตอน คือ ตอนที่ 1 การออกแบบและการสานกระติบ 
ข้าวเหนียว ตอนที่ 2 เปรียบเทียบประสิทธิภาพการเก็บความร้อนของข้าวในกระติบข้าวเหนียว 
ผลการศึกษาพบว่า กระติบข้าวเหนียวที่บุด้วยโฟม สามารถเก็บความร้อนของข้าวเหนียวไว้ได้นานที่สุด รองลงมา คือ กระติบข้าวเหนียวบุด้วยอลูมิเนียมฟรอยด์ และกระติบข้าวที่บุด้วยผ้าฝูาย ตามลำดับ 
ส่วนลักษณะของข้าว เมื่อสังเกตพบว่ากระติบที่บุด้วยผ้าฝูายข้าวจะมีลักษณะเหนียวนุ่มและแห้ง 
ส่วนข้าวในกระติบข้าวที่บุด้วยโฟมและอลูมิเนียมฟรอยด์ ข้าวจะมีลักษณะเปียกและแฉะบริเวณขอบ กระติบเพราะมีน้ำเกาะอยู่ ส่วนกระติบที่สานด้วยไม้ไผ่อย่างเดียว ข้าวเหนียวในกระติบข้าวเหนียว 
จะเย็นเร็วมากกว่ากระติบทั้ง 3 ใบ แสดงว่ากระติบข้าวเหนียวบุด้วยโฟม อลูมิเนียมฟรอยด์ 
และผ้าฝูายสามารถเก็บความร้อนในกระติบข้าวได้จริง สามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้ 
เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
22 
กิตติกรรมประกาศ 
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง กระติบข้าวเหนียวเก็บความร้อน จัดทำขึ้นเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ ของกระติบข้าวให้สามารถเก็บความร้อนไว้ได้นาน และเพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพการเก็บความร้อน ของกระติบข้าวเหนียว คณะผู้จัดทำโครงงานหวังเป็นอย่างยิ่งว่าโครงงานนี้คงจะมีประโยชน์กับผู้ที่สนใจ และเป็นแนวคิดในการพัฒนากระติบข้าวเหนียวเก็บความร้อน หากการทำโครงงานนี้มีข้อบกพร่อง 
โปรดชี้แนะเพื่อจะได้นำไปปรับปรุงแก้ไขให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น 
ขอขอบพระคุณนายเสรี เปรมปรีดิ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนเมืองราดวิทยาคม 
นางบุศภรณ์ คำแก้ว รองผู้อำนวยการโรงเรียนเมืองราดวิทยาคม ที่ให้การสนับสนุนและเป็นกำลังใจ 
ในการจัดทำโครงงานในครั้งนี้ 
ขอขอบคุณ นางชโลธร กีรติศักดิ์กุล และนางกมลวรรณ บุญสวน ที่ให้คำปรึกษา แนะนำ 
ในการจัดทำโครงงานให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดีไว้ ณ โอกาสนี้ 
คณะผู้จัดทำโครงงาน
23 
สารบัญ 
เรื่อง หน้า 
บทคัดย่อ ก 
กิตติกรรมประกาศ ข 
สารบัญ ค 
สารบัญตาราง ง 
สารบัญภาพ จ 
บทที่ 1 บทนำ 
แนวคิดและที่มาของความสำคัญ 1 
วัตถุประสงค์ 1 
ขอบเขตของโครงงาน 2 
สมมติฐานการทดลอง 2 
การกำหนดตัวแปร 2 
นิยามศัพท์เฉพาะ 2 
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 2 
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง 
กระติบข้าวเหนียว 3 
ไม้ไผ่ 6 
โฟม 6 
อลูมิเนียมฟรอยด์ 
ผ้าฝูาย 
โครงงานที่เกี่ยวข้อง 
บทที่ 3 วัสดุอุปกรณ์และวิธีดำเนินการ 
วัสดุอุปกรณ์ 7 
วิธีทดลอง 7 
บทที่ 4 ผลการทดลอง 9 
บทที่ 5 อภิปรายและสรุปผลการทดลอง 12 
บรรณานุกรม 
ภาคผนวก
24 
สารบัญตาราง 
เรื่อง หน้า 
ตาราที่ 4.1 แสดงอุณหภูมิของข้าวเหนียวในกระติบข้าวเหนียวทั้ง 4 ใบ 
ในระยะเวลา 1 ชั่วโมง 30 นาที 12
25 
สารบัญภาพ 
เรื่อง หน้า 
ภาพแสดงขั้นตอนการสานกระติบข้าว 15 
ภาพแสดงขั้นตอนการทดลองหาประสิทธิภาพการเก็บความร้อนของกระติบข้าวเหนียว 16

More Related Content

What's hot

แบบทดสอบ หน้าที่พลเมืองฯ ม.3
แบบทดสอบ หน้าที่พลเมืองฯ ม.3แบบทดสอบ หน้าที่พลเมืองฯ ม.3
แบบทดสอบ หน้าที่พลเมืองฯ ม.3teerachon
 
ส่งประกวดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
ส่งประกวดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนส่งประกวดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
ส่งประกวดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอนุพงษ์ ทิพโรจน์
 
โครงงานการทำขนมเค้ก
โครงงานการทำขนมเค้กโครงงานการทำขนมเค้ก
โครงงานการทำขนมเค้กPloy Siriwanna
 
โครงสร้างสาระวิทย์ป.4
โครงสร้างสาระวิทย์ป.4โครงสร้างสาระวิทย์ป.4
โครงสร้างสาระวิทย์ป.4supphawan
 
รวมบทความสารคดี
รวมบทความสารคดีรวมบทความสารคดี
รวมบทความสารคดีHahah Cake
 
ข้อสอบอัจฉริยะ
ข้อสอบอัจฉริยะข้อสอบอัจฉริยะ
ข้อสอบอัจฉริยะKodchaporn Siriket
 
บทที่ 8 การสังเกตพฤติกรรมเด็ก 55
บทที่ 8 การสังเกตพฤติกรรมเด็ก 55บทที่ 8 การสังเกตพฤติกรรมเด็ก 55
บทที่ 8 การสังเกตพฤติกรรมเด็ก 55Decode Ac
 
แบบประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมต่อต้านยาไอซ์ในโรงเรียน
แบบประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมต่อต้านยาไอซ์ในโรงเรียนแบบประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมต่อต้านยาไอซ์ในโรงเรียน
แบบประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมต่อต้านยาไอซ์ในโรงเรียนKruthai Kidsdee
 
การศึกษารายกรณี ครูธัญญา ซื่อตรง
การศึกษารายกรณี ครูธัญญา ซื่อตรงการศึกษารายกรณี ครูธัญญา ซื่อตรง
การศึกษารายกรณี ครูธัญญา ซื่อตรงKru Tew Suetrong
 
แบบทดสอบ ภาษาไทย(วรรณคดี) ม.3
แบบทดสอบ ภาษาไทย(วรรณคดี) ม.3แบบทดสอบ ภาษาไทย(วรรณคดี) ม.3
แบบทดสอบ ภาษาไทย(วรรณคดี) ม.3teerachon
 
แบบฝึกทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ ๑
แบบฝึกทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ ๑แบบฝึกทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ ๑
แบบฝึกทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ ๑bangonchin
 
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีDna
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีDnaการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีDna
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีDnaWan Ngamwongwan
 
ตัวอย่างโครงงานกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีโดยสรุป เรื่องหัวบุกผง
ตัวอย่างโครงงานกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีโดยสรุป เรื่องหัวบุกผงตัวอย่างโครงงานกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีโดยสรุป เรื่องหัวบุกผง
ตัวอย่างโครงงานกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีโดยสรุป เรื่องหัวบุกผงkasetpcc
 
คำกล่าวอวยพรวันคล้ายวันเกิด
คำกล่าวอวยพรวันคล้ายวันเกิดคำกล่าวอวยพรวันคล้ายวันเกิด
คำกล่าวอวยพรวันคล้ายวันเกิดA-NKR Ning
 
เรียงความ ชนะเลิศ วันแม่แห่งชาติ ประจำปี 2552
เรียงความ ชนะเลิศ วันแม่แห่งชาติ ประจำปี 2552เรียงความ ชนะเลิศ วันแม่แห่งชาติ ประจำปี 2552
เรียงความ ชนะเลิศ วันแม่แห่งชาติ ประจำปี 2552Duangjai Boonmeeprasert
 
สคริปต์ Story board-หนังสั้นเพียงเพราะ..
สคริปต์ Story board-หนังสั้นเพียงเพราะ..สคริปต์ Story board-หนังสั้นเพียงเพราะ..
สคริปต์ Story board-หนังสั้นเพียงเพราะ..Samorn Tara
 
คู่มือ Thunkable
คู่มือ Thunkableคู่มือ Thunkable
คู่มือ ThunkableKhunakon Thanatee
 

What's hot (20)

แบบทดสอบ หน้าที่พลเมืองฯ ม.3
แบบทดสอบ หน้าที่พลเมืองฯ ม.3แบบทดสอบ หน้าที่พลเมืองฯ ม.3
แบบทดสอบ หน้าที่พลเมืองฯ ม.3
 
ส่งประกวดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
ส่งประกวดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนส่งประกวดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
ส่งประกวดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
 
โครงงานการทำขนมเค้ก
โครงงานการทำขนมเค้กโครงงานการทำขนมเค้ก
โครงงานการทำขนมเค้ก
 
โครงสร้างสาระวิทย์ป.4
โครงสร้างสาระวิทย์ป.4โครงสร้างสาระวิทย์ป.4
โครงสร้างสาระวิทย์ป.4
 
รวมบทความสารคดี
รวมบทความสารคดีรวมบทความสารคดี
รวมบทความสารคดี
 
ข้อสอบอัจฉริยะ
ข้อสอบอัจฉริยะข้อสอบอัจฉริยะ
ข้อสอบอัจฉริยะ
 
โครงงาน
โครงงานโครงงาน
โครงงาน
 
บทที่ 8 การสังเกตพฤติกรรมเด็ก 55
บทที่ 8 การสังเกตพฤติกรรมเด็ก 55บทที่ 8 การสังเกตพฤติกรรมเด็ก 55
บทที่ 8 การสังเกตพฤติกรรมเด็ก 55
 
แบบประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมต่อต้านยาไอซ์ในโรงเรียน
แบบประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมต่อต้านยาไอซ์ในโรงเรียนแบบประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมต่อต้านยาไอซ์ในโรงเรียน
แบบประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมต่อต้านยาไอซ์ในโรงเรียน
 
การศึกษารายกรณี ครูธัญญา ซื่อตรง
การศึกษารายกรณี ครูธัญญา ซื่อตรงการศึกษารายกรณี ครูธัญญา ซื่อตรง
การศึกษารายกรณี ครูธัญญา ซื่อตรง
 
แบบทดสอบ ภาษาไทย(วรรณคดี) ม.3
แบบทดสอบ ภาษาไทย(วรรณคดี) ม.3แบบทดสอบ ภาษาไทย(วรรณคดี) ม.3
แบบทดสอบ ภาษาไทย(วรรณคดี) ม.3
 
7.ชุดที่ 4 การสังเคราะห์แสง
7.ชุดที่ 4 การสังเคราะห์แสง7.ชุดที่ 4 การสังเคราะห์แสง
7.ชุดที่ 4 การสังเคราะห์แสง
 
แบบฝึกทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ ๑
แบบฝึกทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ ๑แบบฝึกทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ ๑
แบบฝึกทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ ๑
 
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีDna
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีDnaการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีDna
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีDna
 
ตัวอย่างโครงงานกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีโดยสรุป เรื่องหัวบุกผง
ตัวอย่างโครงงานกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีโดยสรุป เรื่องหัวบุกผงตัวอย่างโครงงานกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีโดยสรุป เรื่องหัวบุกผง
ตัวอย่างโครงงานกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีโดยสรุป เรื่องหัวบุกผง
 
คำกล่าวอวยพรวันคล้ายวันเกิด
คำกล่าวอวยพรวันคล้ายวันเกิดคำกล่าวอวยพรวันคล้ายวันเกิด
คำกล่าวอวยพรวันคล้ายวันเกิด
 
เรียงความ ชนะเลิศ วันแม่แห่งชาติ ประจำปี 2552
เรียงความ ชนะเลิศ วันแม่แห่งชาติ ประจำปี 2552เรียงความ ชนะเลิศ วันแม่แห่งชาติ ประจำปี 2552
เรียงความ ชนะเลิศ วันแม่แห่งชาติ ประจำปี 2552
 
สคริปต์ Story board-หนังสั้นเพียงเพราะ..
สคริปต์ Story board-หนังสั้นเพียงเพราะ..สคริปต์ Story board-หนังสั้นเพียงเพราะ..
สคริปต์ Story board-หนังสั้นเพียงเพราะ..
 
เพลงนันทนาการ
เพลงนันทนาการเพลงนันทนาการ
เพลงนันทนาการ
 
คู่มือ Thunkable
คู่มือ Thunkableคู่มือ Thunkable
คู่มือ Thunkable
 

Viewers also liked

โครงงานการประดิษฐ์กระถางจากขวดพลาสติก
โครงงานการประดิษฐ์กระถางจากขวดพลาสติกโครงงานการประดิษฐ์กระถางจากขวดพลาสติก
โครงงานการประดิษฐ์กระถางจากขวดพลาสติกพัน พัน
 
โครงงานวิทยาศาสตร์ ประดิษฐ์ของใช้จากเมล็ดมะค่า
โครงงานวิทยาศาสตร์  ประดิษฐ์ของใช้จากเมล็ดมะค่าโครงงานวิทยาศาสตร์  ประดิษฐ์ของใช้จากเมล็ดมะค่า
โครงงานวิทยาศาสตร์ ประดิษฐ์ของใช้จากเมล็ดมะค่าChok Ke
 
โครงงานวิทยาศาสตร์ ชุดโซฟาจากกระป๋องนม
โครงงานวิทยาศาสตร์  ชุดโซฟาจากกระป๋องนมโครงงานวิทยาศาสตร์  ชุดโซฟาจากกระป๋องนม
โครงงานวิทยาศาสตร์ ชุดโซฟาจากกระป๋องนมChok Ke
 
โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่อง เปลือกไข่ไล่มด
โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่อง เปลือกไข่ไล่มดโครงงานวิทยาศาสตร์เรื่อง เปลือกไข่ไล่มด
โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่อง เปลือกไข่ไล่มดพัน พัน
 
รายงานโครงการเครื่องจักสานงานไม้ไผ่ภูมิปัญญาไทอีสาน2558ศพว2
รายงานโครงการเครื่องจักสานงานไม้ไผ่ภูมิปัญญาไทอีสาน2558ศพว2รายงานโครงการเครื่องจักสานงานไม้ไผ่ภูมิปัญญาไทอีสาน2558ศพว2
รายงานโครงการเครื่องจักสานงานไม้ไผ่ภูมิปัญญาไทอีสาน2558ศพว2Sircom Smarnbua
 
โครงงานใบย่านางผง
โครงงานใบย่านางผงโครงงานใบย่านางผง
โครงงานใบย่านางผงChok Ke
 
รูปแบบการเขียนรายงานโครงงาน 5 บท
รูปแบบการเขียนรายงานโครงงาน 5 บทรูปแบบการเขียนรายงานโครงงาน 5 บท
รูปแบบการเขียนรายงานโครงงาน 5 บทAekapoj Poosathan
 
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง สมุนไพรกำจัดปลวก
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง สมุนไพรกำจัดปลวกโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง สมุนไพรกำจัดปลวก
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง สมุนไพรกำจัดปลวกพัน พัน
 
โครงการประชุมวิชาการนักเรียนโครงการวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี ครั้ง...
โครงการประชุมวิชาการนักเรียนโครงการวิทยาศาสตร์  คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี  ครั้ง...โครงการประชุมวิชาการนักเรียนโครงการวิทยาศาสตร์  คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี  ครั้ง...
โครงการประชุมวิชาการนักเรียนโครงการวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี ครั้ง...ชิตชัย โพธิ์ประภา
 
โครงร่างถุงกระดาษ
โครงร่างถุงกระดาษโครงร่างถุงกระดาษ
โครงร่างถุงกระดาษnetjumble
 
Getting Started With SlideShare
Getting Started With SlideShareGetting Started With SlideShare
Getting Started With SlideShareSlideShare
 
ไม้อัดจากไม้ในท้องถิ่น
ไม้อัดจากไม้ในท้องถิ่นไม้อัดจากไม้ในท้องถิ่น
ไม้อัดจากไม้ในท้องถิ่นTanadol Intachan
 
กล่องนม
กล่องนมกล่องนม
กล่องนมNIng Bussara
 
โครงงานถุงกระดาษ Mini Memo
โครงงานถุงกระดาษ Mini Memoโครงงานถุงกระดาษ Mini Memo
โครงงานถุงกระดาษ Mini MemoAon NP
 
โครงงานโฟมแปลงร่าง
โครงงานโฟมแปลงร่างโครงงานโฟมแปลงร่าง
โครงงานโฟมแปลงร่างSunattha Phinit
 

Viewers also liked (20)

โครงงานการประดิษฐ์กระถางจากขวดพลาสติก
โครงงานการประดิษฐ์กระถางจากขวดพลาสติกโครงงานการประดิษฐ์กระถางจากขวดพลาสติก
โครงงานการประดิษฐ์กระถางจากขวดพลาสติก
 
โครงงานวิทยาศาสตร์ ประดิษฐ์ของใช้จากเมล็ดมะค่า
โครงงานวิทยาศาสตร์  ประดิษฐ์ของใช้จากเมล็ดมะค่าโครงงานวิทยาศาสตร์  ประดิษฐ์ของใช้จากเมล็ดมะค่า
โครงงานวิทยาศาสตร์ ประดิษฐ์ของใช้จากเมล็ดมะค่า
 
โครงงานวิทยาศาสตร์ ชุดโซฟาจากกระป๋องนม
โครงงานวิทยาศาสตร์  ชุดโซฟาจากกระป๋องนมโครงงานวิทยาศาสตร์  ชุดโซฟาจากกระป๋องนม
โครงงานวิทยาศาสตร์ ชุดโซฟาจากกระป๋องนม
 
โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่อง เปลือกไข่ไล่มด
โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่อง เปลือกไข่ไล่มดโครงงานวิทยาศาสตร์เรื่อง เปลือกไข่ไล่มด
โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่อง เปลือกไข่ไล่มด
 
รายงานโครงการเครื่องจักสานงานไม้ไผ่ภูมิปัญญาไทอีสาน2558ศพว2
รายงานโครงการเครื่องจักสานงานไม้ไผ่ภูมิปัญญาไทอีสาน2558ศพว2รายงานโครงการเครื่องจักสานงานไม้ไผ่ภูมิปัญญาไทอีสาน2558ศพว2
รายงานโครงการเครื่องจักสานงานไม้ไผ่ภูมิปัญญาไทอีสาน2558ศพว2
 
โครงงานใบย่านางผง
โครงงานใบย่านางผงโครงงานใบย่านางผง
โครงงานใบย่านางผง
 
รูปแบบการเขียนรายงานโครงงาน 5 บท
รูปแบบการเขียนรายงานโครงงาน 5 บทรูปแบบการเขียนรายงานโครงงาน 5 บท
รูปแบบการเขียนรายงานโครงงาน 5 บท
 
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง สมุนไพรกำจัดปลวก
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง สมุนไพรกำจัดปลวกโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง สมุนไพรกำจัดปลวก
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง สมุนไพรกำจัดปลวก
 
โครงการประชุมวิชาการนักเรียนโครงการวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี ครั้ง...
โครงการประชุมวิชาการนักเรียนโครงการวิทยาศาสตร์  คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี  ครั้ง...โครงการประชุมวิชาการนักเรียนโครงการวิทยาศาสตร์  คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี  ครั้ง...
โครงการประชุมวิชาการนักเรียนโครงการวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี ครั้ง...
 
โครงร่างถุงกระดาษ
โครงร่างถุงกระดาษโครงร่างถุงกระดาษ
โครงร่างถุงกระดาษ
 
Getting Started With SlideShare
Getting Started With SlideShareGetting Started With SlideShare
Getting Started With SlideShare
 
ไม้อัดจากไม้ในท้องถิ่น
ไม้อัดจากไม้ในท้องถิ่นไม้อัดจากไม้ในท้องถิ่น
ไม้อัดจากไม้ในท้องถิ่น
 
กล่องนม
กล่องนมกล่องนม
กล่องนม
 
โครงงานถุงกระดาษ Mini Memo
โครงงานถุงกระดาษ Mini Memoโครงงานถุงกระดาษ Mini Memo
โครงงานถุงกระดาษ Mini Memo
 
โครงงานโฟมแปลงร่าง
โครงงานโฟมแปลงร่างโครงงานโฟมแปลงร่าง
โครงงานโฟมแปลงร่าง
 
ต้นกก
ต้นกกต้นกก
ต้นกก
 
วิธีกำจัดหนู
วิธีกำจัดหนูวิธีกำจัดหนู
วิธีกำจัดหนู
 
ชนิดของหนู
ชนิดของหนูชนิดของหนู
ชนิดของหนู
 
โรคร้ายจากหนู
โรคร้ายจากหนูโรคร้ายจากหนู
โรคร้ายจากหนู
 
ประโยชน์ของไม้ไผ่
ประโยชน์ของไม้ไผ่ประโยชน์ของไม้ไผ่
ประโยชน์ของไม้ไผ่
 

Similar to โครงงานวิทยาศาสตร์ กระติบข้าวเก็บความร้อน 17 ก.ย 57

เรื่องกว่าจะเป็นต้นข้าว
เรื่องกว่าจะเป็นต้นข้าวเรื่องกว่าจะเป็นต้นข้าว
เรื่องกว่าจะเป็นต้นข้าวbskkru
 
ใบความรู้เรื่องงานประดิษฐ์
ใบความรู้เรื่องงานประดิษฐ์ใบความรู้เรื่องงานประดิษฐ์
ใบความรู้เรื่องงานประดิษฐ์Duangsuwun Lasadang
 
Powerpoint โครงงานสำรวจป่าไม้ในตำบลคำนาดี
Powerpoint โครงงานสำรวจป่าไม้ในตำบลคำนาดีPowerpoint โครงงานสำรวจป่าไม้ในตำบลคำนาดี
Powerpoint โครงงานสำรวจป่าไม้ในตำบลคำนาดีอาภัสรา ยิ่งคำแหง
 
การศึกษาพันธุ์ข้าวต่างๆที่เหมาะสมกับภูมิศษสตร์ของอำเภอท่าตูม
การศึกษาพันธุ์ข้าวต่างๆที่เหมาะสมกับภูมิศษสตร์ของอำเภอท่าตูมการศึกษาพันธุ์ข้าวต่างๆที่เหมาะสมกับภูมิศษสตร์ของอำเภอท่าตูม
การศึกษาพันธุ์ข้าวต่างๆที่เหมาะสมกับภูมิศษสตร์ของอำเภอท่าตูมbunthita-chanachai
 

Similar to โครงงานวิทยาศาสตร์ กระติบข้าวเก็บความร้อน 17 ก.ย 57 (8)

เรื่องกว่าจะเป็นต้นข้าว
เรื่องกว่าจะเป็นต้นข้าวเรื่องกว่าจะเป็นต้นข้าว
เรื่องกว่าจะเป็นต้นข้าว
 
ใบความรู้เรื่องงานประดิษฐ์
ใบความรู้เรื่องงานประดิษฐ์ใบความรู้เรื่องงานประดิษฐ์
ใบความรู้เรื่องงานประดิษฐ์
 
Powerpoint โครงงานสำรวจป่าไม้ในตำบลคำนาดี
Powerpoint โครงงานสำรวจป่าไม้ในตำบลคำนาดีPowerpoint โครงงานสำรวจป่าไม้ในตำบลคำนาดี
Powerpoint โครงงานสำรวจป่าไม้ในตำบลคำนาดี
 
farmland
farmlandfarmland
farmland
 
การศึกษาพันธุ์ข้าวต่างๆที่เหมาะสมกับภูมิศษสตร์ของอำเภอท่าตูม
การศึกษาพันธุ์ข้าวต่างๆที่เหมาะสมกับภูมิศษสตร์ของอำเภอท่าตูมการศึกษาพันธุ์ข้าวต่างๆที่เหมาะสมกับภูมิศษสตร์ของอำเภอท่าตูม
การศึกษาพันธุ์ข้าวต่างๆที่เหมาะสมกับภูมิศษสตร์ของอำเภอท่าตูม
 
natchuda
natchudanatchuda
natchuda
 
นาข้าว
นาข้าวนาข้าว
นาข้าว
 
Wisdom1
Wisdom1Wisdom1
Wisdom1
 

More from Chok Ke

Obec awords arb1 57 ล่าสุด3
Obec awords arb1 57  ล่าสุด3Obec awords arb1 57  ล่าสุด3
Obec awords arb1 57 ล่าสุด3Chok Ke
 
นำเสนอวิทยานิพนธ์ค้อ4
นำเสนอวิทยานิพนธ์ค้อ4นำเสนอวิทยานิพนธ์ค้อ4
นำเสนอวิทยานิพนธ์ค้อ4Chok Ke
 
นำเสนอครูผู้สอนดีเด่น ครูอาบ
นำเสนอครูผู้สอนดีเด่น  ครูอาบนำเสนอครูผู้สอนดีเด่น  ครูอาบ
นำเสนอครูผู้สอนดีเด่น ครูอาบChok Ke
 
โครงงานปลาร้าสมุนไพร
โครงงานปลาร้าสมุนไพรโครงงานปลาร้าสมุนไพร
โครงงานปลาร้าสมุนไพรChok Ke
 
นำเสนอ คุรุสดุดี ครูอาบ58 ok1
นำเสนอ  คุรุสดุดี  ครูอาบ58 ok1นำเสนอ  คุรุสดุดี  ครูอาบ58 ok1
นำเสนอ คุรุสดุดี ครูอาบ58 ok1Chok Ke
 
โครงงานปลาร้าสมุนไพร
โครงงานปลาร้าสมุนไพรโครงงานปลาร้าสมุนไพร
โครงงานปลาร้าสมุนไพรChok Ke
 
โครงงานวิทยาศาสตร์ ถ่านอัดแท่งสมุนไพร1
โครงงานวิทยาศาสตร์ ถ่านอัดแท่งสมุนไพร1โครงงานวิทยาศาสตร์ ถ่านอัดแท่งสมุนไพร1
โครงงานวิทยาศาสตร์ ถ่านอัดแท่งสมุนไพร1Chok Ke
 
โครงงานวิทยาศาสตร์ เชื้อเพลิงลูกผสม
โครงงานวิทยาศาสตร์ เชื้อเพลิงลูกผสมโครงงานวิทยาศาสตร์ เชื้อเพลิงลูกผสม
โครงงานวิทยาศาสตร์ เชื้อเพลิงลูกผสมChok Ke
 
วพ.04
วพ.04วพ.04
วพ.04Chok Ke
 
คู่มืองานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา1
คู่มืองานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา1คู่มืองานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา1
คู่มืองานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา1Chok Ke
 
คู่มืองานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา1
คู่มืองานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา1คู่มืองานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา1
คู่มืองานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา1Chok Ke
 
ปก Obec
ปก Obecปก Obec
ปก ObecChok Ke
 
ศูนย์สำรอง เกมอักษรสลับ ชุดการสอนที่ 10
ศูนย์สำรอง เกมอักษรสลับ ชุดการสอนที่ 10ศูนย์สำรอง เกมอักษรสลับ ชุดการสอนที่ 10
ศูนย์สำรอง เกมอักษรสลับ ชุดการสอนที่ 10Chok Ke
 
ศูนย์ที่ 4 ชุดที่10
ศูนย์ที่ 4 ชุดที่10ศูนย์ที่ 4 ชุดที่10
ศูนย์ที่ 4 ชุดที่10Chok Ke
 
ศูนย์ที่ 3 ชุดที่ 10
ศูนย์ที่ 3 ชุดที่ 10ศูนย์ที่ 3 ชุดที่ 10
ศูนย์ที่ 3 ชุดที่ 10Chok Ke
 
ศูนย์ที่ 1 ชุดที่ 10
ศูนย์ที่ 1 ชุดที่ 10ศูนย์ที่ 1 ชุดที่ 10
ศูนย์ที่ 1 ชุดที่ 10Chok Ke
 
ศูนย์ที่ 2 ชุดที่ 9
ศูนย์ที่ 2 ชุดที่ 9ศูนย์ที่ 2 ชุดที่ 9
ศูนย์ที่ 2 ชุดที่ 9Chok Ke
 
ศูนย์ที่ 1 ชุดที่ 9
ศูนย์ที่ 1 ชุดที่ 9ศูนย์ที่ 1 ชุดที่ 9
ศูนย์ที่ 1 ชุดที่ 9Chok Ke
 
ศูนย์ที่ 2 ชุดที่ 9
ศูนย์ที่ 2 ชุดที่ 9ศูนย์ที่ 2 ชุดที่ 9
ศูนย์ที่ 2 ชุดที่ 9Chok Ke
 

More from Chok Ke (20)

Obec awords arb1 57 ล่าสุด3
Obec awords arb1 57  ล่าสุด3Obec awords arb1 57  ล่าสุด3
Obec awords arb1 57 ล่าสุด3
 
นำเสนอวิทยานิพนธ์ค้อ4
นำเสนอวิทยานิพนธ์ค้อ4นำเสนอวิทยานิพนธ์ค้อ4
นำเสนอวิทยานิพนธ์ค้อ4
 
นำเสนอครูผู้สอนดีเด่น ครูอาบ
นำเสนอครูผู้สอนดีเด่น  ครูอาบนำเสนอครูผู้สอนดีเด่น  ครูอาบ
นำเสนอครูผู้สอนดีเด่น ครูอาบ
 
โครงงานปลาร้าสมุนไพร
โครงงานปลาร้าสมุนไพรโครงงานปลาร้าสมุนไพร
โครงงานปลาร้าสมุนไพร
 
นำเสนอ คุรุสดุดี ครูอาบ58 ok1
นำเสนอ  คุรุสดุดี  ครูอาบ58 ok1นำเสนอ  คุรุสดุดี  ครูอาบ58 ok1
นำเสนอ คุรุสดุดี ครูอาบ58 ok1
 
โครงงานปลาร้าสมุนไพร
โครงงานปลาร้าสมุนไพรโครงงานปลาร้าสมุนไพร
โครงงานปลาร้าสมุนไพร
 
โครงงานวิทยาศาสตร์ ถ่านอัดแท่งสมุนไพร1
โครงงานวิทยาศาสตร์ ถ่านอัดแท่งสมุนไพร1โครงงานวิทยาศาสตร์ ถ่านอัดแท่งสมุนไพร1
โครงงานวิทยาศาสตร์ ถ่านอัดแท่งสมุนไพร1
 
โครงงานวิทยาศาสตร์ เชื้อเพลิงลูกผสม
โครงงานวิทยาศาสตร์ เชื้อเพลิงลูกผสมโครงงานวิทยาศาสตร์ เชื้อเพลิงลูกผสม
โครงงานวิทยาศาสตร์ เชื้อเพลิงลูกผสม
 
597 02
597 02597 02
597 02
 
วพ.04
วพ.04วพ.04
วพ.04
 
คู่มืองานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา1
คู่มืองานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา1คู่มืองานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา1
คู่มืองานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา1
 
คู่มืองานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา1
คู่มืองานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา1คู่มืองานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา1
คู่มืองานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา1
 
ปก Obec
ปก Obecปก Obec
ปก Obec
 
ศูนย์สำรอง เกมอักษรสลับ ชุดการสอนที่ 10
ศูนย์สำรอง เกมอักษรสลับ ชุดการสอนที่ 10ศูนย์สำรอง เกมอักษรสลับ ชุดการสอนที่ 10
ศูนย์สำรอง เกมอักษรสลับ ชุดการสอนที่ 10
 
ศูนย์ที่ 4 ชุดที่10
ศูนย์ที่ 4 ชุดที่10ศูนย์ที่ 4 ชุดที่10
ศูนย์ที่ 4 ชุดที่10
 
ศูนย์ที่ 3 ชุดที่ 10
ศูนย์ที่ 3 ชุดที่ 10ศูนย์ที่ 3 ชุดที่ 10
ศูนย์ที่ 3 ชุดที่ 10
 
ศูนย์ที่ 1 ชุดที่ 10
ศูนย์ที่ 1 ชุดที่ 10ศูนย์ที่ 1 ชุดที่ 10
ศูนย์ที่ 1 ชุดที่ 10
 
ศูนย์ที่ 2 ชุดที่ 9
ศูนย์ที่ 2 ชุดที่ 9ศูนย์ที่ 2 ชุดที่ 9
ศูนย์ที่ 2 ชุดที่ 9
 
ศูนย์ที่ 1 ชุดที่ 9
ศูนย์ที่ 1 ชุดที่ 9ศูนย์ที่ 1 ชุดที่ 9
ศูนย์ที่ 1 ชุดที่ 9
 
ศูนย์ที่ 2 ชุดที่ 9
ศูนย์ที่ 2 ชุดที่ 9ศูนย์ที่ 2 ชุดที่ 9
ศูนย์ที่ 2 ชุดที่ 9
 

โครงงานวิทยาศาสตร์ กระติบข้าวเก็บความร้อน 17 ก.ย 57

  • 1. บทที่ 1 บทนา ที่มาและความสาคัญของโครงงาน กระติบข้าว เป็นภาชนะสานทรงกลมมีฝาปิด ฐานของกระติบจะทำจากก้านตาลขดเป็นวงกลม มีมากมายหลายขนาด เป็นภาชนะที่ใช้บรรจุข้าวเหนียว ซึ่งเป็นอาหารประจำถิ่นของชนชาวอีสานและ ชาวอำเภอหล่มเก่า จากการศึกษาและสังเกตชีวิตความเป็นอยู่ของชาวอำเภอหล่มเก่าโดยเฉพาะชาวชนบทจะ รับประทานข้าวเหนียวเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งในการรับประทานข้าวเหนียวจะต้องทำการนึ่งและหากระติบข้าว มาเก็บข้าวเหนียวที่นึ่งแล้วไว้รับประทานทั้งตอนเช้า ตอนกลางวัน และตอนเย็น แต่ข้าวเหนียวที่นึ่งไว้ ตั้งแต่ตอนเช้าพอถึงตอนกลางวันข้าวเหนียวที่อยู่ในกระติบจะเย็นทำให้รับประทานไม่อร่อยโดยเฉพาะ ในช่วงฤดูหนาวข้าวจะเย็นและแข็งมาก จากปัญหาดังกล่าวผู้จัดทำโครงงานสังเกตเห็นว่ามีชาวบ้านบาง กลุ่มได้แก้ปัญหาข้าวเหนียวเย็นเร็วโดยการหาผ้ามาคลุมกระติบข้าวเหนียวไว้เพื่อเก็บความร้อนซึ่งก็ สามารถเก็บความร้อนไว้ได้ระดับหนึ่งแต่ผ้าที่คลุมไว้ทำให้ยุ่งยากในการนำข้าวออกมารับประทานและไม่ สะดวกต่อการเคลื่อนย้าย คณะผู้จัดทำโครงงานจึงมีแนวคิดว่า น่าจะหาวิธีการแก้ปัญหาดังกล่าว โดยการพัฒนาและ ดัดแปลงกระติบข้าวเหนียวเพื่อให้สามารถเก็บความร้อนได้นาน สะดวกต่อการนำข้าวเหนียวออกมา รับประทาน และสะดวกต่อการเคลื่อนย้าย ดังนั้นจึงได้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์ศึกษาประสิทธิภาพ ของกระติบข้าวเหนียวเก็บความร้อนขึ้น วัตถุประสงค์ของโครงงาน 1. เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพของกระติบข้าวให้สามารถเก็บความร้อนไว้ได้นาน 2. เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพการเก็บความร้อนของกระติบข้าวเหนียว ขอบเขตของโครงงาน 1. ใช้ผ้าฝูาย อลูมิเนียมฟรอยด์ และโฟม เป็นส่วนประกอบของกระติบข้าวเหนียว 2. ใช้ไม้ไผ่สานกระติบข้าวเหนียวให้มีขนาดเท่ากัน 3. ทำการทดลองเป็นเวลา 1 ชั่วโมง 30 นาที ในห้องปฏิบัติการโรงเรียนเมืองราดวิทยาคม เท่านั้น สมมติฐานของการทดลอง ถ้าผ้าฝูาย อลูมิเนียมฟรอยด์ และโฟม เป็นวัสดุที่สามารถเก็บความร้อนได้ดี ดังนั้นเมื่อนำผ้าฝูาย อลูมิเนียมฟรอยด์ และโฟม มาเป็นส่วนประกอบของกระติบข้าวเหนียว น่าจะช่วย เก็บความร้อนในกระติบข้าวเหนียวได้นาน
  • 2. 2 แบบแผนการทดลอง แบ่งการทดลองเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลอง กระติบข้าวเหนียวที่มีผ้าฝูายเป็นส่วนประกอบ กระติบข้าวเหนียวที่มีอลูมิเนียมฟรอยด์เป็นส่วนประกอบ กระติบข้าวเหนียวที่มีโฟมเป็นส่วนประกอบ กลุ่มควบคุม กระติบข้าวเหนียวปกติ การกาหนดตัวแปร ตัวแปรต้น ได้แก่ กระติบข้าวเหนียวที่มีผ้าฝูายเป็นส่วนประกอบ กระติบข้าวเหนียวที่มีอลูมิเนียมฟรอยด์เป็นส่วนประกอบ กระติบข้าวเหนียวที่มีโฟมเป็นส่วนประกอบ ตัวแปรตาม คือ ความร้อนหรืออุณหภูมิของข้าวในกระติบข้าวเหนียว ตัวแปรควบคุม ได้แก่ ขนาดของกระติบข้าวเหนียว ชนิดของข้าวเหนียว ปริมาณข้าวเหนียว ที่ใส่ในกระติบข้าว ระยะเวลาที่ใช้ในการนึ่งข้าวเหนียว ประมาณน้ำที่ใช้นึ่งข้าวเหนียว สถานที่วาง กระติบข้าวเหนียว ระยะเวลาในการวัดอุณหภูมิ ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1. ได้กระติบข้าวเหนียวที่สามารถเก็บความร้อนไว้ได้นาน 2. มีข้าวเหนียวที่ร้อน ๆ ไว้รับประทานทั้งตอนเช้า กลางวัน และเย็น 3. ลดค่าใช้จ่ายในการซื้อแก๊สหุงต้ม 4. ช่วยสืบทอดและอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น
  • 3. 3 บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง กระติบข้าวเหนียว ภูมิปัญญา หมายถึง แบบแผนการดำเนินชีวิตที่มีคุณค่าแสดงถึงความเฉลียวฉลาดของบุคคลและ สังคม ซึ่งได้สั่งสมและปฏิบัติสืบต่อกันมาภูมิปัญญาจะเป็นทรัพยากรบุคคล หรือทรัพยากรความรู้ก็ได้ วันนี้จะเสนอภูมิปัญญาของฅนอีสานที่ล้ำยุคไปไกลทีเดียว เรื่องของกระติบข้าวและก่องข้าว ก่องข้าว เป็นภาชนะบรรจุข้าวเหนียวของชาวอีสาน ความแตกต่างของภาชนะทั้งสอง อยู่ที่รูปทรง โดยก่องข้าวจะมีลักษณะคล้ายกระบุง มีฝาปิด และมีขาทำด้วยไม้เนื้อแข็งเป็นฐานแยกสี่แฉก มีความแข็งแรงทนทานมากกว่า การสานด้วยไม้ไผ่มีความแน่นหนา เก็บขอบด้วยหวายโดยรอบ กระติบข้าว เป็นภาชนะสานทรงกลมมีฝาปิด ฐานของกระติบจะทำจากก้านตาลขดเป็นวงกลม มีมากมายหลายขนาด การสานทำได้ง่ายกว่าก่องข้าว เพราะใช้ตอกไม่ไผ่ที่มีความบางอ่อนตัว ก่องข้าวและกระติบข้าว เป็นภาชนะในการเก็บอาหารที่ทรงคุณค่า มากด้วยภูมิปัญญา เก็บความร้อนได้ดี ในขณะที่ยอมให้ไอน้ำระเหยออกไปได้ ทำให้ข้าวเหนียวที่บรรจุอยู่ภายในกระติบ หรือ ก่องข้าวไม่แฉะด้วยไอน้ำ ต่างจากกระติกน้ำแข็ง (ที่ดูเหมือนจะถูกนำมาใช้แทน ก่องข้าว หรือ กระติบข้าว ของพ่อค้าแม่ค้าขายข้าวเหนียวส้มตำในเมืองใหญ่) ที่จำเป็นต้องใช้ผ้าขาวบางรองอีกที ก่อนบรรจุข้าวเหนียว ถึงกระนั้น เม็ดข้าวที่อยู่ชิดรอบขอบกระติกก็ยังคงแฉะอยู่ดี ภูมิปัญญานี้มีเคล็ดลับอยู่ที่ การสานภาชนะเป็นสองชั้น ชั้นในสุดจะสานด้วยตอกให้มีความห่าง (ช่องว่างระหว่างตอกสาน) เล็กน้อย เพื่อให้ไอน้ำระเหยออกจากข้าวไปสู่ช่องว่างภายในก่อง หรือกระติบ ข้าวได้ ในขณะที่ชั้นนอกสุดจะสานด้วยตอกที่มีความชิดแน่นหนากว่า เพื่อเก็บกักความร้อนไว้ ไอน้ำที่มี ความร้อนอยู่ภายในช่องว่างนี้ จะช่วยทำให้ข้าวเหนียวที่อยู่ภายในกระติบ หรือก่องข้าว ยังคงความร้อนได้ อีกนาน โดยเมล็ดข้าวจะไม่มีไอน้ำเกาะ จึงไม่แฉะเหมือนกับการบรรจุในภาชนะพลาสติกยุคใหม่
  • 4. 4 ในกรณีของกระติบข้าวจะเห็นว่าฝาปิดและตัวกระติบจะมีลักษณะที่เหมือนกัน เพียงแต่มีขนาดที่ ต่างกันเล็กน้อย ให้สามารถสวมใส่กันได้พอดี ในส่วนตัวกระติบจะมีฐานรองทำจากก้านตาล ขดเป็น วงกลม มีขนาดเล็กกว่าตัวกระติบเล็กน้อย ยึดด้วยหวายให้ติดกับตัวกระติบ (ปัจจุบันนี้ใช้เชือกไนล่อน เพราะหาง่ายราคาถูกกว่า) ด้วยเทคนิคการสานจากภูมิปัญญาไทยนี้ ทำให้ผลิตภัณฑ์นี้เป็นที่ยอมรับ และยังคงอยู่ตลอดมา สร้างรายได้ให้กับชุมชนในการสร้างงาน และยังสืบสานความรู้ของการจักสานไว้ เช่น ที่หมู่บ้านทุ่งนางโอก อำเภอทรายมูล จังหวัดยโสธร
  • 5. 5 ไม้ไผ่กับวัฒนธรรม คนไทย มีชีวิตความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย รักธรรมชาติ ยิ้มแย้มแจ่มใสใจดี รักศิลปะ เสียงเพลงและดนตรี มีนิสัยอ่อนโยนอ่อนน้อมถ่อมตนและสามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และ สภาพแวดล้อมได้เป็นอย่างดีมีภูมิปัญญาสามารถนำสิ่งที่ใกล้มือในท้องถิ่นมาประดิษฐ์เป็นเครื่องมือใช้สอย ในชีวิตประจำวันได้อย่างสวยงามโดยเฉพาะไม้ไผ่ เป็นวัตถุดิบจากธรรมชาติที่มนุษย์นำมาใช้ประโยชน์ โดยตรงหรือแปรรูปให้เป็นเครื่องมือเครื่องใช้ในการดำรงชีวิต คนไทยรู้จักคุ้นเคยและมีความผูกพันอย่าง ชนิดแยกไม่ออกมาตั้งแต่เกิดจนตาย กลายเป็นวัฒนธรรมสืบทอดกันต่อมา "ไผ่" เป็นชื่อพันธุ์ไม้พวก หนึ่ง พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ กล่าวว่า ไผ่เป็นชื่อพรรณไม้พวกหนึ่ง ( Bambusa spp.) อยู่ในวงศ์ Graminese เป็นกอ ลำต้นสูง และเป็นปล้องๆ มีหลายชนิดมากกว่า ๑,๒๕๐ ขนิด ๕๐ ตระกูล เช่น ไผ่จีน ไผ่ปุา ไผ่สีสุก ไผ่เลี้ยง ไผ่ดำ เป็นต้น ไม้ไผ่เป็นพันธุ์ไม้ที่มีลักษณะเฉพาะที่แปลกไปจาก พืชและพันธุ์ไม้อื่นๆ เพราะแม้ว่าไผ่มีลักษณะที่ควรจะเป็นต้นไม้ แต่ไผ่กลับถูกจัดเป็นหญ้าประเภทหนึ่ง และเป็น "หญ้ายักษ์" เพราะลำต้นสูง กลวงเป็นปล้องๆ หากสังเกตให้ดีจะเห็นว่าใบไผ่คล้ายกับใบหญ้า ไผ่ ขยายพันธุ์ด้วยการแตกหน่อ เพราะหนึ่งในร้อยปีไผ่จึงอาจจะออกดอกสักครั้ง และหลังจากออกดอกแล้วก็ ตาย ไผ่จะเติบโตอย่างรวดเร็วและจะโตเต็มที่ภายในสองเดือน และจะคงขนาดเช่นนั้นไปตลอดชีวิตของ มัน ลำต้นของไผ่จะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ ๐.๗ - ๗ นิ้ว สูง ๑ - ๖๐ ฟุต ไผ่ขึ้นได้ทั้งในบริเวณที่มี อากาศอบอุ่นและอากาศเย็นต่ำกว่าศูนย์องศา ไผ่จึงเป็นไม้ที่มีมากในบริเวณเอเซียและแปซิฟิค อเมริกาใต้ บางท้องถิ่น คุณลักษณะพิเศษของ "ไผ่" 1.ไผ่โตเร็วสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ภายในเวลา ๑ - ๔ ปี และใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน ตั้งแต่ รากไผ่เป็นสมุนไพรอย่างหนึ่งที่ใช้เป็นยารักษาโรคได้ หนิอไผ่หรือหน่อไม้ใช้ทำอาหาร กาบหรือใบไผ่ใช้ห่อ อาหารหรือหมักปุ๋ย กิ่งและแขนงใช้ทำรั้ว ลำต้นใช้ประโยชน์ได้สารพัดอย่าง ตั้งแต่นำมาใช้ปลูกสร้างที่พัก อาศัยและแปรรูปเป็นเครื่องจักสานและเครื่องมือเครื่องใช้นานาชนิดจนถึงนำมาใช้เกี่ยวกับความเชื่อและ พิธีกรรมต่างๆ ตั้งแต่เกิดจนตาย ดังนั้นชาวนาจึงมักปลูกไผ่ตามหัวไร่ปลายนา และปลูกไว้รอบๆบ้าน เพื่อใช้เป็นรั้วบ้านและ ปูองกันพายุ เพราะไม้ไผ่จะลู่ตามลมไม่หักโค่นเหมือนไม้อื่น หากปลูกไผ่ไว้ตามริมแม่น้ำลำคลอง จะช่วยชะลอความเร็วของกระแสน้ำไม่ให้ดินพัวทะลายง่าย นอกจากนี้ไผ่ยังใช้เป็นอาหารในครัวเรือนได้
  • 6. 6 2. ไผ่มีลำต้นตรงและกลวงคล้ายหลอดและมีปล้องข้อคั่นเป็นปล้องๆ จึงใช้เป็นภาชนะประเภท กระบอก ถ้วย สำหรับใส่ของเหลว เช่นใช้เป็นกระบอกน้ำ กระบอกน้ำตาล ซึ่งใช้กันทั่วไปในหลายประเทศ ลักษณะพิเศษของไม้ไผ่นี้สามารถนำมาใช้สร้างอาคารที่พักอาศัยได้ โดยนำมาทำเป็นโครงสร้างของ บ้านเรือน ใช้เป็นพื้นเรือน ฝาเรือน ใช้ทำรางน้ำ ท่อน้ำ และทำเครื่องดนตรีประเภทขลุ่ยได้ดีอีกด้วย 3. เนื้อไผ่เป็นเส้นตรงมีความยืดหยุ่นในตัวเองและสามารถคินตัวสู่สภาพเดิมได้ เมื่อนำไม้ไผ่มาแปร รูปก็จะสามารถใช้ประโยชน์ได้ดี เพราะเนื้อไม้ไผ่เป็นเส้นตรง นำมาจักเป็นปื้นบางๆ หรือเหลาเป็นเส้นได้ดี จึงใช้ทำเครื่องจักสานนานาชนิดได้ ทั้งเครื่องจักสานที่มีขนาดใหญ่ แข็งแรงมั่นคง สำหรับใช้งานหนักจนถึง เครื่องจักสานขนาดเล็กที่มีความปราณีตบอบบาง และเพราะคุณสมบัติในที่มีความยืดหยุ่น จึงเหมาะที่จะ ใช้เป็นเครื่องหาบหรือหาม เช่น คาน คันกระสุน คันธนูและเมื่อแปรรูปเป็นตอกก็ยังมีความยืดหยุ่นคืน รูปทรงเดิมได้ง่ายจึงทำให้ภาชนะจักสานที่ทำจากไผ่มีคุณลักษณะพิเศษต่างไปจากภาชนะที่ทำจากวัตถุดิบ ชนิดอื่น 4. ไม้ไผ่มีความสวยงามในตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นผิวที่มีสีต่างๆ กันเมื่อแห้งแล้วมักจะมีสีเหลืองอยู่ เช่นนั้นตลอดไป ด้วยคุณสมบัติพิเศษนี้ ชาวเอเซียจึงใช้เหล็กหรือโลหะเผาไฟจนร้อนแล้วเขียนตัวอักษร หรือลวดลายลงบนผิวไม้ไผ่ ( Bamboo Pyrographic ) เช่นจีนจารึกบทกวีบนผิวไม้ไผ่ ชาวญี่ปุุนใช้เขียน ชื่อเจ้าของบ้านแขวนไว้หน้าบ้านและจารึกบทกวีแขวนไว้สองข้างประตูเรือนน้ำชา ( Tea House ) ชาว เกาหลีใช้เขียนเป็นลวดลายบนเครื่องใช้ เช่นเดียวกับที่ชาวบาตัก ( Batak) ในประเทศอินโดนีเซีย ใช้เหล็ก เผาไฟ ขูด ขีด เขียน ลงบนกระบอกไม้ไผ่ สำหรับเก็บยาหรือทำเป็นปฏิทิน ในขณะที่ชาวบาหลีใช้จารลง บนผิวไผ่เป็นแผ่นๆ เพื่อใช้เป็นคัมภีร์ในศาสนาตน นอกจากไม้ไผ่จะมีผิวสวยแล้ว เนื้อไผ่ยังมีลักษณะพิเศษ ต่างจากเนื้อไม้อื่นคือ มีเสี้ยนยาวขนานกันเป็นเส้น จึงแปรรูปเป็นเส้น เป็นปื้น หรือเหลาให้กลมได้ง่าย และเมื่อแก่เต็มที่แล้วจะเป็นเส้นละเอียดแข็ง มอดแมลงไม่กินจนมีผู้กล่าวว่า เครื่องจักสานไม้ไผ่นั้น ผู้สาน สามารถสานให้เป็นรูปทรงแปลกๆ แตกต่างกันได้มากมาย จนเครื่องจักสานบางชิ้นมีรูปทรงและผิว สวยงามดุจงานประติมากรรมสมัยใหม่ทีเดียว เครื่องมือเครื่องใช้จากไม่ไผ่ ตะกร้าหิ้วจังหวัดราชบุรี งานไม้ไผ่ที่ใช้เป็นเครื่องมือเครื่องใช้ในครัวเรือนและชีวิตประจำวัน งานไม้ไผ่ประเภทนี้มีความ เกี่ยวเนื่องกับชีวิตมนุษย์มาช้านานและอาจจะเป็นเครื่องใช้ในครัวเรือนที่เก่าแก่ที่สุดอย่างหนึ่ง เฉพาะ อย่างยิ่งชาวตะวันออกนั้น มีเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำด้วยไม้ไผ่มาแต่โบราณ เช่น ตะเกียบไม้ไผ่ของจีน เป็น เครื่องมือการกินอาหารที่ทำอย่างง่ายๆ แต่ใช้ประโยชน์ได้อย่างดี ก่องข้าวและกระติบสำหรับใส่ข้าว เหนียวของชาวอีสานและชาวเหนือ เป็นตัวอย่างที่ดีซึ่งแสดงให้เห็นความชาญฉลาดในการนำไม้ไผ่มาแปร รูปเป็นภาชนะสำหรับใส่ข้าวเหนียวนึ่งได้ดีเท่าก่องข้าวและกระติบที่สานด้วยตอก
  • 7. 7 นอกจากนี้ยังใช้ทำเครื่องใช้สอยในครัวเรือน เช่นตะกร้า กระจาด สาแหรก กระบอกเปุาไฟ กระชอน ตะเกียบ ชะลอม ที่เสียบมีด กระบอกเก็บสาก ทัพพี ช้อน ตะหลิว ทำพัด ตับปิ้งปลา ทำฟืน ด้ามเครื่องมืออื่นๆ เครื่องจักสาน ของที่ระลึกเครื่องเขิน ทำโครงร่ม ไม้กวาด ใช้เป็นไม้ค้ำยันในการทำ การเกษตร เช่นไม้ค้ำต้นส้ม ค้ำผัก ค้างถั่ว ฯลน ไม้ไผ่ยังใช้เป็นหลักปักกองฟาง ใช้ทำเข่งบรรจุผลไม้ บรรจุ ใบชา ของปุาต่างๆ ทำหุ่นหรือลูกบวบหนุนเรือนแพล่องไม้ไม่ให้จม บุ้งกี๋ กระพ้อม เสียม เสื่อลำแพน ทำ ท่อ ทำโต๊ะ เก้าอี้ และเฟอร์นิเจอร์ตกแต่งภายในบ้าน ก่องข้าวภาคเหนือ วิธีการสานกระติบข้าว 1. นำปล้องไม้ไผ่มาตัดหัวท้าย ตัดเอาข้อออก ผ่าเป็นซีกทำเส้นตอกกว้างประมาณ 2-3 ม.ม. ขูดให้เรียบ และบาง 2. นำเส้นตอกที่ได้มาสานเป็นรูปร่างกระติบข้าว หนึ่งลูกมี 2 ฝา มาประกอบกัน 3. นำกระติบข้าวที่ได้จากข้อ (2.) มาพับครึ่งให้เท่า ๆ กันพอดี เรียกว่า 1 ฝา 4. ขั้นตอนการทำฝาปิด โดยจักเส้นตอกที่มีความกว้าง 1 นิ้ว สานเป็นลายตามะกอก และลายขัด 5. นำฝาปิดหัวท้ายมาตัดเป็นวงกลม มาใส่เข้าที่ปลายทั้งสองข้าง 6. ใช้ด้ายไนล่อน และเข็มเย็บเข้าด้วยกันรอบฝาปิดหัวท้าย 7. นำก้านตาลที่ม้วนไว้มาเย็บติดกับฝาล่าง ที่เป็นตัวกระติบข้าว 8. นำกระติบข้าวที่ได้ไปรมควันจากฟางข้าว เพื่อกันแมลงเจาะ และเพื่อความสวยงาม ทนทาน ไม่เกิดราดำ
  • 8. 8 9. นำไม้มาเหลาเป็นเส้นตอก กลมยาวเส้นผ่าศูนย์กลาง 2-3 ม.ม. ความยาวรอบ บางเท่ากับ ฝากระติบพันด้วยด้ายไนล่อน แล้วเย็บติดฝาขอบบน เพื่อความสวยงาม 10. เจาะรูที่เชิงกระติบข้าว ด้วยเหล็กแหลม 2 รู ให้ตรงข้ามกัน แล้วทำหูที่ฝาด้านบน ตรงกับรู ที่เจาะเชิงไว้ 11. ใช้ด้ายไนล่อนสอดเข้าเป็นสายไว้สะพายไปมาได้สะดวก จะได้กระติบข้าวที่สำเร็จเรียบร้อย สามารถนำมาใช้และจำหน่ายได้ วัสดุที่ใช้ในการสานกระติบข้าว โฟม โฟมพลาสติกที่เราใช้กันแพร่หลายทุกวันนี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า โพลิสไตรีนโฟม หรือสไตโรโฟม มีลักษณะเป็นเนื้อพอง เป็นเม็ดกลมเบียดอัดกันแน่นอยู่ในแผ่นโฟม แข็งแรง ยืดหยุ่นได้ ใช้มีดตัดแต่งได้ เบา และราคาไม่แพง จึงนิยมใช้เป็นหีบห่อกันกระเทือน กันความร้อน ใช้เป็นภาชนะ ใส่อาหาร ส่วนชนิดเบามีความหนาแน่นน้อย นิยมใช้เป็นวัสดุตกแต่งเวที และพวงหรีด คุณสมบัติของโฟม 1. ปูองกันความร้อนและเย็น (Most efficient) เนื่องจากมีค่าการนำความร้อน เพียง 0.0198 W/mk ซึ่งมีค่าต่ำมากใกล้เคียงกับสูญญากาศทำให้ P.U.Foam “ไม่สามารถนำความร้อนจากที่หนึ่งไป อีกที่หนึ่ง ดังนั้นจึงปูองกันความร้อน / เย็น ได้อย่างดี 2. ปูองกันการรั่วซึม เนื่องจากมีคุณสมบัติเป็นเซลปิด มีค่าการซึมผ่านของน้ำไม่เกิน 2% จึงทำ ให้น้ำ,ความชื้นไอน้ำไม่สามารถซึมไปยังส่วนอื่นได้ จึงปูองกันการรั่วซึม 3. การทนต่อกรด- ด่าง (Acid&BaseResistant) โฟม PU ไม่ละลายในกรด-ด่าง แอลกอฮอล์ น้ำมันเครื่องจึงทำให้สามารถปูองกันการเสียหายจากสารที่กล่าวข้างต้น 4. การทนไฟ,ไม่ลามไฟ (FireResistant) โฟม PU เป็นฉนวนที่ติดไฟ แต่ไม่ลามไฟ เพราะใส่สาร กันไฟไว้ถึง 15% จึงไม่เป็นเชื้อเพลิงเมื่อโดนไฟเผา 5. ไม่มีสารเจือปน ( Non-toxic Irritant) เนื่องจากเป็นฉนวนที่แข็งตัวเป็นก้อน ไม่มีกรด-ด่าง หรือตัวทำละลายอย่างอื่นๆ จะมาเปลี่ยนสภาวะจากของแข็งเป็นของเหลวได้ จึงไม่มีสาระคายเคือง หรือ สารที่ทำให้เกิดอาการแพ้เหมือนใยแก้วและใยหินที่มีโอกาสหลุดร่วงเป็นละอองได้ 6. ปูองกัน มด นก หนู แมลง ให้เข้ามาอยู่อาศัย (Vermin Resistant) ได้มีการปรับปรุง ส่วนผสมที่ทำให้มด นก หนู แมลงไม่ชอบ สัตว์เหล่านั้นจึงไม่เข้าไปทำรัง หรือทำลายฉนวนได้
  • 9. 9 7. น้ำหนักเบาและแข็งแรง (Light Weight&Strrength) มีน้ำหนักเบา โดยโฟมขนาด 1 เมตร x 1เมตร x 1 นิ้ว จะมีน้ำหนักไม่ถึง 1 กิโลกรัม จึงทำให้ไม่เพิ่มน้ำหนักบนตัวโครงสร้าง หรือฐานรากและ ยังรับน้ำหนักแรงกดได้ดี 8. ติดตั้งง่าย (Easy To Install) ในการติดตั้งผนังสำเร็จบุโฟม PU ตัวโฟม สามารถนำมาติดตั้ง ได้ง่ายดาย เหมือนการติดตั้งไม้อัดหรือแผ่นยิปซั่ม ทั่วไป ขั้นตอนไม่ซับซ้อน 9. ไม่มีการยุบตัวและสวยงามตามแบบสถาปัตยกรรม เพราะมีความหนาแน่นถึง 35-50 ก.ก/ ลูกบาศก์เมตร มีลักษณะแข็ง ไม่เสื่อมสภาพ จึงทำให้ฉนวนชนิดนี้ทนทานไม่ยุบตัวและสวยงาม 10. ลดเสียงดัง กั้นเสียง ( Noise Inhibiting ) เพราะมีโครงหลังคาภายในเซลล์เป็นช่องอากาศ เป็นโพรงเรียกว่าAir Gap เป็นจำนวนมาก สามารถลดการพาของเสียง 11. ควบคุมการกลั่นตัวเป็นหยดน้ำ ( CondensationControl) โฟม PU จะเป็นตัวกั้นกลาง แยกความร้อนและความเย็นอยู่คนละข้าง จึงทำให้ไม่เกิดการเกาะตัวของไอน้ำ 12. ประหยัดพลังงาน เนื่องจากสามารถปูองกันการนำ การพา และการแผ่รังสีความร้อนจาก ภายนอกถึงผนังและหลังคาได้มากกว่า 90 % ทำให้อุณหภูมิในห้องลดลงจากข้างนอกมากกว่า 20 องศา เซลเซียส อาจไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องปรับอากาศ แต่ถ้าใช้ก็จะทำให้ห้องเย็นลงอย่างรวดเร็ว ลดการ สูญเสียพลังงาน สามารถประหยัดไฟฟูาได้มากกว่า 50 % 13. มีประสิทธิภาพการใช้งานในอุณหภูมิที่ – 70 ถึง 100 องศาเซลเซียส 14. โฟม PU มีอายุการใช้งานมากกว่า 10 ปีโดยไม่ต้องบำรุงรักษาแต่อย่างใด (ภายใต้การติดตั้ง ที่ถูกต้อง) http://www.uppergroup2007.com (สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2557) ผ้าฝ้าย ผ้าฝูายเป็นผ้าที่ใช้กันมากที่สุด เหมาะกับประเทศที่มีอากาศร้อน เพราะผ้าฝูายสวมใส่สบาย ผ้าฝูายได้จากใยฝูาย ต้นฝูายขึ้นได้ดีในแถบที่มีอากาศอุ่นและชื้น ในประเทศเราปลูกกันมากทางภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ เมื่อผลฝูายแก่จัด ผลจะแตกมีใยเป็นปุยขาว เก็บมาแยกเอาเปลือกและเมล็ด ออก แล้วนำไปปั่นเป็นเส้นใยและเส้นด้าย ทอเป็นผืนผ้า ผ้าฝูายมีเนื้อค่อนข้างเหนียว ไม่ค่อยยืดหยุ่น ยับง่าย หดง่าย ดูดซึมน้ำได้ดี ระบายอากาศและความร้อนได้ดี คุณสมบัติของผ้าฝ้าย 1.สวมใส่สบาย เพราะดูดความชื้นและความร้อนได้ดี 2.มีความทนทาน 3.ทนความร้อน สามารถต้มในน้ำเดือดได้
  • 10. 10 4.ทนด่าง 5.ดูแลทำความสะอาดง่าย อลูมิเนียมฟรอยด์ อลูมิเนียมฟรอยด์คือ แผ่นอลูมิเนียมที่นำมารีดจนบาง อลูมิเนียมฟอล์ยสามารถนำไปใช้ ในการยืดอายุการเก็บของผลิตภัณฑ์ ใช้เป็นภาชนะบรรจุอาหาร ยา และเครื่องสำอาง คุณสมบัติของอลูมิเนียมฟรอยด์ 1. ใช้เป็นฉนวนปูองกันความร้อนสำหรับผลิตภัณฑ์ที่ต้องรักษาอุณหภูมิให้ต่ำหรือสูงได้ 2. ทนความร้อน 3. ทำความสะอาดได้ง่าย โครงงานที่เกี่ยวข้อง วาสนา โกสุมภ์ และคณะ (2552) ได้ทำโครงงานวิทยาศาสตร์เรื่อง กระติบข้าว ร้อนร้อนจ๋า มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาเปรียบเทียบกระติบข้าวที่มีส่วนประกอบของกระติบข้าวต่างกัน จะมีผลต่อ ระยะเวลาในการเก็บความร้อนของข้าวเหนียวนึ่งสุก ซึ่งศึกษาโดยการบรรจุข้าวเหนียวนึ่งสุกด้วยกระติบ ข้าวขนาดเท่ากันแต่ส่วนประกอบของกระติบข้าวต่างกัน แล้วจับเวลาในการเก็บความร้อนของข้าวเหนียว นึ่งสุก ผลการทดลองปรากฏว่า กระติบข้าวที่มีอลูมิเนียมฟอยล์ เป็นส่วนประกอบเก็บความร้อนของ ข้าวเหนียวนึ่งสุกได้นานกว่ากระติบข้าวที่ไม่มีอลูมิเนียมฟอยล์เป็นส่วนประกอบ ทำให้ประหยัดพลังงาน และประหยัดเวลาในการนำมานึ่งให้ร้อนอีกครั้ง อนงค์ ขวัญสิน และ ศศิธร แหวนชุม (2553) ได้ทำโครงงานภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่อง กระติบ ข้าวบ้านดง มีจุดประสงค์เพื่อ สร้างรายได้ให้กับครอบครัว ลดค่าใช้จ่ายภายในบ้าน ได้ฝึกสมาธิ และ มีความอดทนมากขึ้น พบว่าได้ดระติบข้าวเป็นที่ยอมรับของคนในหมู่บ้านว่าสานกระติบข้าวสวยงามมาก และยังสานได้น่ารักอีกด้วย อภิศักดิ์ สีน้อย (2553) ได้ทำโครงงาน การสานกระติบข้าว เพื่อขยายการทำกระติบข้าว เพื่อได้รู้ถึงการทำกระติบข้าว และเพื่อได้อนุรักษ์การทำกระติบข้าว พบว่าไม้ไผ่สามารถนำมาสานกระติบ ข้าวได้อย่างสวยงาม
  • 11. 11 บทที่ 3 วัสดุอุปกรณ์และวิธีดาเนินการ วัสดุอุปกรณ์ 1. ไม้ไผ่ 2. ผ้าฝูาย 3. โฟม 4. อลูมิเนียมฟรอยด์ 5. ข้าวเหนียว 6. หวดและหม้อนึ่ง 7. เทอร์โมมิเตอร์ 8. เครื่องชั่ง 9. เตาแก๊ส วิธีทดลอง ตอนที่ 1 การสานกระติบข้าว 1. นำไม้ไผ่มาจักเป็นตอกเพื่อใช้สานกระติบข้าวที่มีขนาดเท่ากันจำนวน 4 ใบ 2. นำตอกที่ได้มาสานกระติบข้าว จำนวน 4 ใบ ดังนี้ 2.1 สานกระติบข้าวโดยบุด้วยผ้าฝูายในกระติบข้าว จำนวน 1 ใบ 2.2 สานกระติบข้าวโดยบุด้วยอลูมิเนียมฟรอยด์ จำนวน 1 ใบ 2.3 สานกระติบข้าวบุด้วยโฟม จำนวน 1 ใบ 2.4 สานกระติบข้าวด้วยไม้ไผ่ปกติ จำนวน 1 ใบ ตอนที่ 2 เปรียบเทียบความร้อนของข้าวในกระติบข้าวเหนียวทั้ง 4 ใบ 1. แช่ข้าวเหนียวไว้สำหรับนึ่ง ประมาณ 3 ชั่วโมง 2. นำข้าวเหนียวที่แช่ไว้มานึ่งให้สุกใช้เวลาประมาณ 30 นาที 3. เตรียมกระติบข้าวเหนียวที่สานจากไม้ไผ่ทั้ง 4 ใบ ไว้เพื่อใส่ข้าวเหนียวที่นึ่งสุกใหม่ ๆ 4. ชั่งข้าวเหนียวปริมาณเท่ากันใส่ลงในกระติบข้าวทั้ง 4 ใบ 5. วัดอุณหภูมิของข้าวเหนียวในกระติบข้าวทั้ง 4 ใบ ทุก ๆ 15 นาที และสังเกตลักษณะ ของข้าวเหนียว ที่อยู่ในกระติบ ทั้ง 4 ใบ 6. ทำการทดลองซ้ำข้อ 1-5 จำนวน 3 ครั้ง บันทึกผลการทดลอง 7. นำอุณหภูมิที่บันทึกไว้ทั้ง 3 ครั้งมาหาค่าเฉลี่ย
  • 12. 12 บทที่ 4 ผลการทดลอง ผลการทดลอง เมื่อนำข้าวที่นึ่งสุกใหม่ ๆ ชั่งน้ำหนักให้เท่า ๆ กัน แล้วใส่ในกระติบข้าวเหนียวทั้ง 4 ใบ แล้ววัดอุณหภูมิทุก ๆ 15 นาที ได้ผลดังแสดงในตาราง ตารางที่ 4.1 แสดงอุณหภูมิของข้าวเหนียวในกระติบข้าวเหนียวทั้ง 4 ใบ ในระยะเวลา 1 ชั่วโมง30 นาที ชนิดของ กระติบ ข้าวเหนียว เวลาที่วัด อุณหภูมิ (นาที) อุณหภูมิของข้าวในกระติบ ข้าวเหนียว (องศา เซลเซียส) อุณหภูมิเฉลี่ย (องศาเซลเซียส) ลักษณะข้าวเหนียว ครั้งที่ 1 ครั้งที่ 2 ครั้งที่ 3 กระติบ ข้าวเหนียวปกติ 0 72 72 72 72.00 ข้าวเหนียวนุ่มและ ร้อน 15 61 60 61 60.67 ข้าวเหนียวนุ่มและ ร้อน 30 51 53 52 52.00 ข้าวเหนียวนุ่ม และร้อน 45 47 47 45 46.33 ข้าวเหนียวนุ่ม และร้อน 60 43 44 43 43.33 ข้าวเหนียวนุ่ม และอุ่นเล็กน้อย 75 40 41 41 40.67 ข้าวเหนียวเริ่มเย็นและแข็ง 90 37 38 37 37.33 ข้าวเหนียวเย็นและแข็ง รวมเฉลี่ย 50.47 กระติบข้าว บุด้วยผ้าฝูาย 0 72 72 72 72.00 ข้าวเหนียวนุ่มและ ร้อน 15 70 68 72 70.00 ข้าวเหนียวนุ่มและ ร้อน 30 67 65 68 66.67 ข้าวเหนียวนุ่มและ ร้อน 45 59 60 59 59.33 ข้าวเหนียวนุ่มและ ร้อน 60 50 52 51 51.00 ข้าวเหนียวนุ่มและ ร้อน 75 46 45 47 46.00 ข้าวเหนียวนุ่มและ ร้อน 90 40 42 43 41.67 ข้าวเหนียวนุ่ม และอุ่น รวมเฉลี่ย 58.10
  • 13. 13 ชนิดของ กระติบ ข้าวเหนียว เวลาที่วัด อุณหภูมิ (นาที) อุณหภูมิของข้าวใน กระติบ ข้าวเหนียว (องศาเซลเซียส) อุณหภูมิ เฉลี่ย (องศา เซลเซียส) ลักษณะข้าวเหนียว ครั้งที่1 ครั้งที่ 2 ครั้ง ที่ 3 กระติบข้าวบุ ด้วยโฟม 0 72 72 72 72.00 ข้าวเหนียวนุ่มและ ร้อน ด้านข้างกระติบข้าว มีไอน้ำ ทำให้ข้าวด้านข้างกระติบแฉะเล็กน้อย 15 70 71 69 70.00 ข้าวเหนียวนุ่มและ ร้อน ด้านข้างกระติบข้าว มีไอน้ำ ทำให้ข้าวด้านข้างกระติบแฉะเล็กน้อย 30 68 68 67 67.67 ข้าวเหนียวนุ่มและ ร้อน ด้านข้างกระติบข้าว มีไอน้ำ ทำให้ข้าวด้านข้างกระติบแฉะเล็กน้อย 45 65 64 64 64.33 ข้าวเหนียวนุ่มและ ร้อน ด้านข้างกระติบข้าว มีไอน้ำ ทำให้ข้าวด้านข้างกระติบแฉะเล็กน้อย 60 57 58 58 57.67 ข้าวเหนียวนุ่มและ ร้อน ด้านข้างกระติบข้าว มีไอน้ำ ทำให้ข้าวด้านข้างกระติบแฉะเล็กน้อย 75 53 54 54 53.67 ข้าวเหนียวนุ่มและ ร้อน ด้านข้างกระติบข้าว มีไอน้ำ ทำให้ข้าวด้านข้างกระติบแฉะเล็กน้อย 90 50 51 51 50.66 ข้าวเหนียวนุ่มและ ร้อน รวมเฉลี่ย 62.29 กระติบ ข้าวบุด้วย อลูมิเนียม ฟรอยด์ 0 72 72 72 72.00 ข้าวเหนียวนุ่มและ ร้อน ด้านข้างกระติบข้าว มีไอน้ำ ทำให้ข้าวด้านข้างกระติบแฉะเล็กน้อย 15 70 71 72 71.00 ข้าวเหนียวนุ่มและ ร้อน ด้านข้างกระติบข้าว มีไอน้ำ ทำให้ข้าวด้านข้างกระติบแฉะเล็กน้อย 30 68 68 70 68.67 ข้าวเหนียวนุ่มและ ร้อน ด้านข้างกระติบข้าว มีไอน้ำ ทำให้ข้าวด้านข้างกระติบแฉะเล็กน้อย 45 65 64 63 64.00 ข้าวเหนียวนุ่มและ ร้อน ด้านข้างกระติบข้าว มีไอน้ำ ทำให้ข้าวด้านข้างกระติบแฉะเล็กน้อย 60 58 60 59 59.00 ข้าวเหนียวนุ่มและ ร้อน ด้านข้างกระติบข้าว มีไอน้ำ ทำให้ข้าวด้านข้างกระติบแฉะเล็กน้อย 75 55 53 52 53.33 ข้าวเหนียวนุ่มและ ร้อน ด้านข้างกระติบข้าว มีไอน้ำ ทำให้ข้าวด้านข้างกระติบแฉะเล็กน้อย 90 52 49 50 50.33 ข้าวเหนียวนุ่มและ อุ่น ด้านข้างกระติบข้าว มีไอน้ำ ทำให้ข้าวด้านข้างกระติบแฉะเล็กน้อย รวมเฉลี่ย 62.62
  • 14. 14 บทที่ 5 สรุปและอภิปรายผลการทดลอง สรุปผลการทดลอง จากผลการทดลองกระติบข้าวเหนียวที่บุด้วยอลูมิเนียมฟรอยด์ สามารถเก็บความร้อนของข้าว เหนียวไว้ได้นานที่สุด รองลงมา คือ กระติบข้าวเหนียวบุด้วยโฟม และกระติบข้าวที่บุด้วยผ้าฝูาย ตามลำดับ ส่วนลักษณะของข้าว เมื่อสังเกตพบว่ากระติบที่บุด้วยผ้าฝูายข้าวจะมีลักษณะเหนียวนุ่มและ แห้ง ส่วนข้าวในกระติบข้าวที่บุด้วยโฟมและอลูมิเนียมฟรอยด์ ข้าวจะมีลักษณะเปียกและแฉะบริเวณ ขอบกระติบเพราะมีน้ำเกาะอยู่ ส่วนกระติบที่สานด้วยไม้ไผ่อย่างเดียว ข้าวเหนียวในกระติบข้าวเหนียว จะเย็นเร็วกว่ากระติบทั้ง 3 ใบ แสดงว่ากระติบข้าวเหนียวบุด้วยอลูมิเนียมฟรอยด์ โฟม และผ้าฝูาย สามารถเก็บความร้อนในกระติบข้าวได้จริง สามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้ เป็นไปตามสมมติฐาน ที่ตั้งไว้ อภิปรายผลการทดลอง จากผลการทดลองกระติบข้าวเหนียวที่สานด้วยไม้ไผ่บุด้วยอลูมิเนียมฟรอยด์ โฟม และผ้าฝูาย สามารถเก็บความร้อน ของข้าวเหนียวไว้ได้นานกว่ากระติบข้าวเหนียวปกติ ดังนี้ กระติบข้าวปกติ สามารถเก็บความร้อนไว้ได้ที่อุณหภูมิเฉลี่ย 50.47 องศาเซลเซียส กระติบข้าวบุด้วยผ้าฝูายสามารถ เก็บความร้อนไว้ได้ที่อุณหภูมิ 58.10 องศาเซลเซียส กระติบข้าวที่บุด้วยอลูมิเนียมฟรอยด์สามารถ เก็บความร้อนไว้ได้ที่อุณหภูมิ 62.29 องศาเซลเซียส และกระติบข้าวเหนียวที่บุด้วยโฟมสามารถ เก็บความร้อนไว้ได้ที่อุณหภูมิ 62.62 องศาเซลเซียสและข้าวเหนียวที่อยู่ในกระติบมีลักษณะเหนียว นุ่ม และร้อนอยู่ตลอดเวลา แสดงว่ากระติบข้าวเหนียวที่บุด้วยอลูมิเนียมฟรอยด์ สามารถเก็บความร้อน ไว้ได้นานที่สุด รองลงมาคือ กระติบข้าวเหนียวบุด้วยโฟม และกระติบข้าวที่บุด้วยผ้าฝูาย ตามลำดับ ข้อเสนอแนะ 1. ในการออกแบบกระติบข้าวอาจใช้วัสดุอื่น ๆ เช่น เชือกไนล่อน ต้นกก หรือต้นผักตบชวา ในการสานกระติบข้าวเหนียวก็ได้ 2. ในการใช้วัสดุบุภายในกระติบข้าวอาจใช้ผ้าด้ายดิบ ผ้าสำลี แทนผ้าฝูายได้ 3. อาจทำการศึกษาชนิดของผ้าที่ใช้บุภายในกระติบข้าวเหนียวเพิ่มเติมได้ 4. ควรนำผ้ามาบุภายในกระติบข้าวที่บุด้วยอลูมิเนียมฟรอยด์ และโฟมเพื่อ เป็นการดูดซับไอน้ำ
  • 15. 15 บรรณานุกรม ชาตรี เกิดธรรม. เทคนิคการสอนโครงงานวิทยาศาสตร์. ศูนย์พัฒนาการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์. เอกสารอัดสำเนา, 2548. จุฬาภรณ์ราชวิทยาลัย.โรงเรียน.ตัวอย่างบทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์ประเภทสิ่งประดิษฐ์.ชลบุรี. เอกสารอัดสำเนา, 2552. วาสนา โกสุมภ์ และคณะ (2552). กระติบข้าว ร้อนร้อนจ๋า. เขาถึงไดจาก : http:// sites.google.com/site/bannongsan/khorng-ngankar-tha-kratib -khaw-rxn/ (วันที่คนหาขอมูล : 30 กันยายน 57) สุวิทย์ วรรณศรี.เทคนิคการทาโครงงานนักเรียน.คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.มหาวิทยาลัย ราชภัฏเพชรบูรณ์. เอกสารอัดสำเนา.2554. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. คู่มือการเขียนรายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และคอมพิวเตอร์. มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์. เอกสารอัดสำเนา ประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ตามแนวพระราชดำริ เศรษฐกิจพอเพียง,2555. อนงค์ ขวัญสิน และ ศศิธร แหวนชุม (2553). กระติบข้าวบ้านดง. เขาถึงไดจาก : http:// www.l3nr.org/posts/458003/ (วันที่ คนหาขอมูล : 30 กันยายน 57) อภิศักดิ์ สีน้อย (2553). การสานกระติบข้าว. เขาถึงไดจาก : http:// http://aphisak999.wordpress.com/2012/09/21/ (วันที่ คนหาขอมูล : 23 กันยายน 57)
  • 19. 19 รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ ประเภททดลอง เรื่อง กระติบข้าวเหนียวเก็บความร้อน โดย 1. เด็กหญิงกัลยรัตน์ ทรายคา 2. เด็กหญิงพาวิตา คาสุข 3. เด็กหญิงไพลิน แสนแก้ว ครูที่ปรึกษา 1. นางชโลธร กีรติศักดิ์กุล 2. นางกมลวรรณ บุญสวน โรงเรียนเมืองราดวิทยาคม สานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 40 รายงานฉบับนี้เป็นส่วนประกอบของโครงงานวิทยาศาสตร์ ประเภททดลอง ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เนื่องในงานศิลปหัตถกรรมนักเรียนครั้งที่ 64 วันที่ 9 – 10 ตุลาคม 2557
  • 20. 20 โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง กระติบข้าวเหนียวเก็บความร้อน โดย 1. เด็กหญิงกัลยรัตน์ ทรายคา 2. เด็กหญิงพาวิตา คาสุข 3. เด็กหญิงไพลิน แสนแก้ว ครูที่ปรึกษา 1. นางชโลธร กีรติศักดิ์กุล 2. นางกมลวรรณ บุญสวน โรงเรียนเมืองราดวิทยาคม สานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 40
  • 21. 21 โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง กระติบข้าวเหนียวเก็บความร้อน โดย 1. เด็กหญิงกัลยรัตน์ ทรายคา 2. เด็กหญิงพาวิตา คาสุข 3. เด็กหญิงไพลิน แสนแก้ว ครูที่ปรึกษา นางชโลธร กีรติศักดิ์กุล นางกมลวรรณ บุญสวน โรงเรียนเมืองราดวิทยาคม อาเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ บทคัดย่อ โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง กระติบข้าวเหนียวเก็บความร้อน เป็นโครงงานวิทยาศาสตร์ ประเภททดลอง มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาวิธีการสานกระติบข้าว เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพของ กระติบข้าวให้สามารถเก็บความร้อนไว้ได้นาน และเพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพการเก็บความร้อนของ กระติบข้าวเหนียว การทดลองแบ่งออกเป็น 2 ตอน คือ ตอนที่ 1 การออกแบบและการสานกระติบ ข้าวเหนียว ตอนที่ 2 เปรียบเทียบประสิทธิภาพการเก็บความร้อนของข้าวในกระติบข้าวเหนียว ผลการศึกษาพบว่า กระติบข้าวเหนียวที่บุด้วยโฟม สามารถเก็บความร้อนของข้าวเหนียวไว้ได้นานที่สุด รองลงมา คือ กระติบข้าวเหนียวบุด้วยอลูมิเนียมฟรอยด์ และกระติบข้าวที่บุด้วยผ้าฝูาย ตามลำดับ ส่วนลักษณะของข้าว เมื่อสังเกตพบว่ากระติบที่บุด้วยผ้าฝูายข้าวจะมีลักษณะเหนียวนุ่มและแห้ง ส่วนข้าวในกระติบข้าวที่บุด้วยโฟมและอลูมิเนียมฟรอยด์ ข้าวจะมีลักษณะเปียกและแฉะบริเวณขอบ กระติบเพราะมีน้ำเกาะอยู่ ส่วนกระติบที่สานด้วยไม้ไผ่อย่างเดียว ข้าวเหนียวในกระติบข้าวเหนียว จะเย็นเร็วมากกว่ากระติบทั้ง 3 ใบ แสดงว่ากระติบข้าวเหนียวบุด้วยโฟม อลูมิเนียมฟรอยด์ และผ้าฝูายสามารถเก็บความร้อนในกระติบข้าวได้จริง สามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้ เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
  • 22. 22 กิตติกรรมประกาศ โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง กระติบข้าวเหนียวเก็บความร้อน จัดทำขึ้นเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ ของกระติบข้าวให้สามารถเก็บความร้อนไว้ได้นาน และเพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพการเก็บความร้อน ของกระติบข้าวเหนียว คณะผู้จัดทำโครงงานหวังเป็นอย่างยิ่งว่าโครงงานนี้คงจะมีประโยชน์กับผู้ที่สนใจ และเป็นแนวคิดในการพัฒนากระติบข้าวเหนียวเก็บความร้อน หากการทำโครงงานนี้มีข้อบกพร่อง โปรดชี้แนะเพื่อจะได้นำไปปรับปรุงแก้ไขให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ขอขอบพระคุณนายเสรี เปรมปรีดิ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนเมืองราดวิทยาคม นางบุศภรณ์ คำแก้ว รองผู้อำนวยการโรงเรียนเมืองราดวิทยาคม ที่ให้การสนับสนุนและเป็นกำลังใจ ในการจัดทำโครงงานในครั้งนี้ ขอขอบคุณ นางชโลธร กีรติศักดิ์กุล และนางกมลวรรณ บุญสวน ที่ให้คำปรึกษา แนะนำ ในการจัดทำโครงงานให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดีไว้ ณ โอกาสนี้ คณะผู้จัดทำโครงงาน
  • 23. 23 สารบัญ เรื่อง หน้า บทคัดย่อ ก กิตติกรรมประกาศ ข สารบัญ ค สารบัญตาราง ง สารบัญภาพ จ บทที่ 1 บทนำ แนวคิดและที่มาของความสำคัญ 1 วัตถุประสงค์ 1 ขอบเขตของโครงงาน 2 สมมติฐานการทดลอง 2 การกำหนดตัวแปร 2 นิยามศัพท์เฉพาะ 2 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 2 บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง กระติบข้าวเหนียว 3 ไม้ไผ่ 6 โฟม 6 อลูมิเนียมฟรอยด์ ผ้าฝูาย โครงงานที่เกี่ยวข้อง บทที่ 3 วัสดุอุปกรณ์และวิธีดำเนินการ วัสดุอุปกรณ์ 7 วิธีทดลอง 7 บทที่ 4 ผลการทดลอง 9 บทที่ 5 อภิปรายและสรุปผลการทดลอง 12 บรรณานุกรม ภาคผนวก
  • 24. 24 สารบัญตาราง เรื่อง หน้า ตาราที่ 4.1 แสดงอุณหภูมิของข้าวเหนียวในกระติบข้าวเหนียวทั้ง 4 ใบ ในระยะเวลา 1 ชั่วโมง 30 นาที 12
  • 25. 25 สารบัญภาพ เรื่อง หน้า ภาพแสดงขั้นตอนการสานกระติบข้าว 15 ภาพแสดงขั้นตอนการทดลองหาประสิทธิภาพการเก็บความร้อนของกระติบข้าวเหนียว 16