SlideShare a Scribd company logo
1 of 10
Download to read offline
การท่องเที่ยววัฒนธรรมยุคหลังสมัยใหม่ (Postmodern Tourism)
รศ.ชนัญ วงษ์วิภาค
การท่องเที่ยวที่ผู้คนส่วนใหญ่ในโลกคุ้นเคยมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 เรื่อยมากระทั่ง
ปัจจุบันเป็นแบบแผนพฤติกรรมที่เลียนแบบทําซ้ําๆ กันมาหลายศตวรรษ กระทั่งหาต้นแบบดั้งเดิมที่
แท้จริงไม่ได้นั้น เป็นจุดเปลี่ยนให้ผู้คนส่วนหนึ่งที่มีฐานะค่อนข้างดีพยายามหาและสร้างแนวทาง
ท่องเที่ยวที่คิดว่าจะช่วยเติมเต็มความต้องการเสริมอัตตา (Self) ของตนให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้นด้วยการ
ปลีกวิเวกเข้าในรับทราบและมีส่วนร่วมในแหล่งท่องเที่ยวที่มีการจัดการเฉพาะทาง อาทิไปเยือนถิ่น
ชนเผ่าพื้นเมืองในนิวกินี เที่ยวไปในหมู่ชนเผ่าเบดูอินผู้มีวิถีชีวิตเลี้ยงสัตว์ร่อนเร่ในเขตทะเลทรายอารา
เบีย เที่ยวหาประสบการณ์การใช้ชีวิตค้างแรมในสลัมของแอฟริกาใต้ เที่ยวเพื่อให้เกิดประสบการณ์ใน
เขตโรงงานนิวเคลียร์ที่ระเบิด และร้างมาหลายปี หรือเข้าพักแรมในโรงแรมที่เคยเป็นคุกขังและ
ประหารนักโทษการเมืองมาก่อน เหล่านี้เป็นแบบแผนการท่องเที่ยวหลังยุคสมัยใหม่ที่ผู้มีส่วนได้ส่วน
เสียกับการท่องเที่ยวได้จัดกิจกรรมต่างๆ ไว้ให้อย่างที่ผู้มาเยือนคาดหวังว่าจะได้เติมเต็มความต้องการ
โหยหาอดีตและความจริงที่เหนือจริงและความจริงแท้ แม้ว่าการจัดการจะเป็นเพียงการจัดฉาก
คําสําคัญ
ย้อนแย้ง วาทกรรมการท่องเที่ยวหลังยุคสมัยใหม่ ความต้องการโหยหาอดีต ความจริงแท้
การท่องเที่ยวจัดฉาก การท่องเที่ยวด้านมืด ความจริงที่เหนือจริง
2
การท่องเที่ยววัฒนธรรมยุคหลังสมัยใหม่ (Postmodern Tourism)
รศ.ชนัญ วงษ์วิภาค
แบบแผนการท่องเที่ยวพักผ่อนและพฤติกรรมการท่องเที่ยวพักผ่อนที่ผู้คนส่วนใหญ่ใน
ปัจจุบันคุ้นเคยอยู่นั้นเป็นปรากฏการณ์ที่เริ่มมีมาตั้งแต่ช่วงปี ค.ศ. 1950 ซึ่งนักประวัติศาสตร์ตะวันตก
จัดว่าเป็นยุคสมัยใหม่ที่เศรษฐกิจและสังคมของชาติต่างๆ ในยุโรปและอเมริกาพัฒนาเข้าสู่สภาวะทุน
นิยมเต็มรูปแบบ ความซ้ําซากจําเจจากการทํางานภายใต้ระบบอุตสาหกรรมผลักดันให้ผู้คนใคร่
แสวงหาการท่องเที่ยวพักผ่อนเพื่อเติมเต็มความสดใสร่าเริงให้กับชีวิตเมื่อมีวันหยุด โดยเฉพาะวันหยุด
ที่ติดต่อกันเป็นระยะยาว ความต้องการเช่นนี้กระตุ้นให้เกิดอุตสาหกรรมการเป็นเจ้าบ้านและการ
ท่องเที่ยวที่รวมการบริการต่างๆ เข้าไว้ด้วยกันหลากหลายสาขาทั้งการโรงแรม การท่องเที่ยว การ
คมนาคมขนส่ง การบริการด้านภัตตาคาร และการให้ความสะดวกด้านอื่นๆ ฯลฯ ทั้งนี้ดังจะพอเห็นได้
จากตัวอย่างของการเดินทางท่องเที่ยวกรณี The Grand Tour, Thomas Cook Tour และ The
Orient Express ที่จัดโดย Compagine International des Wagons List ซึ่งมีเส้นทางจากยุโรปสู่
เอเซียและอัฟริกาที่เป็นการจัดบริการการเดินทางโดยรถไฟระยะทางไกล เช่น เส้นทางจากกรุงปารีส-
สู่-นครอิสตันบลูในปี ค.ศ. 1883 เป็นการเดินทางท่องเที่ยวแบบเลิศหรูที่มีบริการความสะดวกสบาย
ครบครันตามยุคสมัย การท่องเที่ยวเดินทางเช่นนี้เพิ่งยุติไปเมื่อปี ค.ศ. 2009 ด้วยเหตุที่การเดินทาง
ท่องเที่ยวของผู้คนในสังคมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวธรรมชาติจึงเป็นทรัพยากรหลัก เช่น การ
ท่องเที่ยวทางทะเล อาบแดด เล่นน้ําทะเล เล่นกระดานบนผิวน้ํา ฯลฯ ท่องเที่ยวธรรมชาติแนวนี้ไป
นานๆ ก็อยากเพิ่มมิติการท่องเที่ยวไปสู่การท่องเที่ยววัฒนธรรมที่มีทรัพยากรการท่องเที่ยว
หลากหลาย เช่น การชมโบราณวัตถุที่จัดแสดงไว้ตามพิพิธภัณฑ์ และหอศิลป์ และการท่องเที่ยวชม
แหล่งโบราณคดี และเมืองโบราณในที่ต่างๆ รวมทั้งการท่องเที่ยวไปเทศกาลงานบุญประเพณีที่มีขึ้นใน
ท้องถิ่น ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 การติดต่อเดินทางระหว่างประเทศต่างๆ สะดวกยิ่งขึ้นเพราะ
ปัจจัยหลากหลาย โดยเฉพาะความก้าวหน้าด้านคมนาคม การบริการด้านการโรงแรม ภัตตาคาร การ
คมนาคมขนส่งทางบก การคมนาคมขนส่งทางอากาศและด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ฯลฯ
ล้วนเป็นปัจจัยที่ส่งเสริมให้อุตสาหกรรมท่องเที่ยวเจริญเติบโตอย่างไม่อาจหยุดยั้งได้ ทั้งนี้ดังจะเห็นได้
จากกรณีตัวอย่างของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ การท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ การท่องเที่ยวเพื่อการศึกษา
การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ การท่องเที่ยวเพื่อการทดลอง การท่องเที่ยวเพื่อการกีฬา การท่องเที่ยว
แบบผจญภัย ฯลฯ
การท่องเที่ยวเพื่อจุดประสงค์ต่างๆ อย่างที่กล่าวมาเป็นการกระทําตามๆ กันของคนหมู่มากที่
นิยมไปเยือนแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงเป็นสําคัญ อาทิ การไปเยือนอียิปต์ ผู้เดินทางต่างก็หวังได้ไป
เห็นพีระมิด สฟิงค์และสุสานฝังศพฟาโรห์องค์ต่างๆ ครั้นพอจะได้ไปเที่ยวประเทศจีนก็ตั้งเป้าว่าจะได้
ไปเยือนกําแพงเมืองจีน พระราชวังต้องห้ามและสุสานฝังศพของจักรพรรดิ์จิ๋นซีเป็นสําคัญ ใครๆ ที่ไป
ท่องเที่ยวประเทศอินเดียล้วนมุ่งได้ไปเห็นทัสมาฮาลซึ่งเป็นตัวอย่างของการก่อสร้างตามแบบมุสลิม
3
แต่ครั้นอยากได้ประสบการณ์งานก่อสร้างตามวิถีชาวพุทธก็ต้องไปเยือนศาสนสถานอย่างเช่น สถูป
สารจีหรือถ้ําอชันตาที่มีเรื่องราวแสดงเกี่ยวกับพุทธศาสนา ส่วนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มาเยือน
เมืองไทยนั้นเป้าหมายแหล่งท่องเที่ยวคงไม่พ้นวัดพระแก้วและพระบรมมหาราชวัง พอเข้าสู่ช่วง
อากาศหนาวเย็น แหล่งท่องเที่ยวในภาคเหนือของประเทศ คือ เป้าหมายที่ผู้คนในภาคอื่นๆ
โดยเฉพาะผู้อาศัยอยู่ในเมืองใหญ่อย่างกรุงเทพฯต่างก็หวังจะได้เปลี่ยนไปสัมผัสบรรยากาศที่แตกต่าง
ไปจากในเมือง เกือบจะทุกคนล้วนมุ่งหวังได้ไปเยือนดอยอินทนนท์ พระตําหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ และ
วัดพระธาตุดอยสุเทพด้วยกันทั้งนั้น ช่วงเทศกาลวันหยุดในฤดูกาลท่องเที่ยวที่อากาศและโอกาส
อํานวย แหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมจึงเนืองแน่นไปด้วยผู้มาเยือนจากทั่วทุกสารทิศ พฤติกรรมการ
ท่องเที่ยวทั้งหลายทั้งการเดินทาง การพักแรม การกินอยู่ ความสุขสันต์หรรษาและการซื้อหาของฝาก
ฯลฯ จึงเป็นแบบแผนที่กระทําซ้ําๆ กันเป็นส่วนใหญ่ จํานวนผู้มาเยือนแหล่งท่องเที่ยวแต่ละแห่งมีการ
เปลี่ยนแปลงขึ้นๆ ลงๆ อยู่เสมอตามภาวะเศรษฐกิจและสถานการณ์ทางการเมือง ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
กับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจึงต้องคอยปรับเปลี่ยนกลยุทธการตลาดเพื่อให้ตอบรับกับภาวะการ
เปลี่ยนแปลงดังกล่าวอยู่ตลอดเวลา
อย่างไรก็ตามมาในระยะหลังนักท่องเที่ยววัฒนธรรมบางส่วนที่มีวิถีชีวิตอยู่ในเมืองและมี
ฐานะทางเศรษฐกิจการเงินค่อยข้างดีมีความต้องการท่องเที่ยวเฉพาะทาง ผู้คนเหล่านี้มิได้เสพ
วัฒนธรรม (ในฐานะทรัพยากรท่องเที่ยว) ที่ตนได้ไปเยือนในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของวันหยุด
นักท่องเที่ยวแนวนี้มีความใฝ่ฝันและมีแง่มุมการสร้างสรรค์ประสบการณ์ที่คนเหล่านี้กําลังแสวงหาใน
ฐานะที่จะช่วยเสริมอัตตลักษณ์ของตนนับเป็นการท่องเที่ยวสร้างสรรค์ (Creative Tourism) ที่
แตกต่างไปจากการการท่องเที่ยววัฒนธรรมแบบดั้งเดิมหลายประการและที่สําคัญที่สุด คือ ความ
แตกต่างที่การท่องเที่ยวสร้างสรรค์ต้องการ คือ การมีส่วนร่วมอย่างมากในส่วนของผู้บริโภคหรือเป็น
การเปลี่ยนแปลงจากการบริโภค (พฤติกรรมของนักท่องเที่ยวดั้งเดิม) ไปสู่การบริโภคของมืออาชีพ
(อย่างที่ปรากฏกับนักท่องเที่ยวสร้างสรรค์) การท่องเที่ยวสร้างสรรค์ปรากฏตัวขึ้นก็เพราะโครงสร้าง
ของสังคมและวัฒนธรรมไม่อาจที่จะหยิบยื่นความปลอดภัยให้กับปัจเจกและไม่อาจหยิบยื่นการ
ตระหนักสํานึกให้กับปัจเจก ผู้คน (อย่างนักท่องเที่ยวสร้างสรรค์) จึงเริ่มพัฒนาตนเอง โดยผ่านการ
บริโภคอย่างผู้ชํานาญการ การท่องเที่ยวสมัยใหม่ที่ผู้คนส่วนใหญ่ทั่วโลกคุ้นเคยกันนั้นเป็นพฤติกรรม
การท่องเที่ยวที่เน้นรูปแบบและหน้าที่ แต่การท่องเที่ยวสร้างสรรค์หรือการท่องเที่ยวแบบโพสโมเดิร์น
ห่วงใยสัมพันธ์เพื่อสุนทรีย์และพัฒนาการของตัวตนหรืออัตตา (self) เป็นอย่างยิ่ง อาจกล่าวได้ว่าใน
การท่องเที่ยวแบบโพสโมเดิร์นนั้นระบบการบริโภคสินค้าและการบริการถูกแทนที่โดยเศรษฐกิจ
ของสัญญะไปแล้ว มนุษย์สะสมสัญญะของวัฒนธรรมผ่านการท่องเที่ยววัฒนธรรม แต่สํานึกของ
โพสโมเดิร์นก็บ่งชัดเช่นกันว่า นักท่องเที่ยวแนวนี้ย้อนแย้งเพิ่มขึ้นเกี่ยวกับขบวนการดังกล่าว
นักท่องเที่ยวโพสโมเดิร์นตระหนักอย่างยิ่งถึงความปราศจากเหตุผลในการแสวงหาความจริงแท้ และก็
สนุกสุขสันต์ที่จะเล่นกับคําดังกล่าว การชอบสนุก คือ เครื่องหมายตราสัญลักษณ์หนึ่งของการบริโภค
การท่องเที่ยวแบบโพสโมเดิร์น แต่การจัดการธุรกิจเพื่อการท่องเที่ยวแนวนี้ก็อย่างยิ่งเช่นกัน ที่ผ่านมา
4
มีตัวอย่างโอกาสการเดินทางอยู่มากที่อยู่ในข่ายของการท่องเที่ยวแบบโพสโมเดิร์น ทุกวันนี้
นักท่องเที่ยวสามารถเพิ่มพูนประสบการณ์การท่องเที่ยวมาดกวัฒนธรรม การท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์
การท่องเที่ยวแบบผจญภัย การท่องเที่ยวถวิลหาอดีต เช่น เที่ยวพิพิธภัณฑ์บ้านควาย หรือเที่ยวตลาด
เก่า 200 ปีและมีโอกาสพิเศษอีกมากมายที่มุ่งเน้นการเดินทางท่องเที่ยวแบบเหมาจ่าย (Travel
Packages) ตามความเห็นของ Natan Uriely (ค.ศ. 1997) วาทกรรมเกี่ยวกับการท่องเที่ยวแนว
โพสโมเดิร์นอาจแบ่งได้เป็น 2 กรอบแนวคิด คือ แนวคิดแรกเน้นที่การท่องเที่ยวแบบจัดฉากและ
แนวคิดที่ 2 คือ การท่องเที่ยวอื่นๆ การศึกษาการท่องเที่ยวแบบจัดฉากส่วนใหญ่มุ่งไปที่การแสวงหา
ความจริงที่เหนือจริงและความต้องการของนักท่องเที่ยวเพื่อแบบฉบับ ของความจริงที่จัดสร้างขึ้นมา
ส่วนการท่องเที่ยวอื่นส่วนใหญ่เกี่ยวกับความคิดที่ว่านักท่องเที่ยวโดยมากแสวงหาโอกาสที่จะเดินทาง
ไปสู่สภาพแวดล้อมธรรมชาติที่ที่ซึ่งนักท่องเที่ยวอาจได้เผชิญกับจริงแท้อันแน่จริง แม้ว่ากรอบแนวคิด
ทั้ง 2 จะต่างกันคนละขั้ว แนวคิดทฤษฎีการท่องเที่ยวโพสโมเดิร์นก็รวมกันอย่างไม่ค่อยจะเต็มใจที่
สรุป (เบื้องต้น) ว่านักท่องเที่ยวก็เหมือนๆ กัน ณ ปัจจุบันแรงกระตุ้นผู้มาเยือนจึงมีหลากหลายมิติ
การท่องเที่ยวสู่ชนเผ่าเบดูอินในประเทศอิสราเอลเป็นตัวอย่างดีเยี่ยมที่สะท้อนประสบการณ์
การเดินทางแนวโพสโมเดิร์น มีบริษัทท่องเที่ยวหลายแห่งนําเสนอการท่องเที่ยวเบดูอินในรูปแบบของ
การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ การอนุรักษ์วัฒนธรรมและการแสวงหาความจริงแท้ อย่างเช่นการท่องเที่ยวที่
จัดโดยบริษัท Kfar Hanokdim นั้นนักท่องเที่ยวมีโอกาสเข้าพักแรมหลากหลายรูปแบบ เช่น เข้าพัก
ในเต็นท์แบบชนเผ่า เข้าพักในห้องหรือที่เจาะภูผาเป็นห้องไว้ให้ ทัวร์นี้มีสองแพคเกจส์ คือ ให้ขี่หลังลา
หรือขี่หลังอูฐ เพื่อเที่ยวชมสภาพแวดล้อมทะเลทรายพร้อมมีอาหารพื้นถิ่นบริการ นักท่องเที่ยวทุก
ท่านจะได้รับการต้อนรับแบบเบดูอินซึ่งเป็นรายการที่รวมถึงการต้อนรับแบบพื้นถิ่นโดยชนพื้นเมืองผู้
เป็นเจ้าบ้าน การได้ดูพิธีบดโม่และเตรียมกาแฟ ได้ฟังบรรยายและได้รับรู้เรื่องราวเกี่ยวกับชีวิต
ชุมชนเบดูอิน นอกจากนี้ Kfar Hanokdim ยังมีบริการบาร์ Mitzvahs และจัดเตรียมหมู่บ้านลานการ
แสดงไว้ให้เช่าเพื่อผู้มาเยือนได้จัดงานโอกาสพิเศษเป็นการส่วนตัว
บริษัทที่สอง คือ Bedouin Experience เป็นการจัดการท่องเที่ยวที่เน้นความสัมพันธ์อัน
เปราะบางระหว่างวัฒนธรรมเบดูอินและโลกตะวันตก นับเป็นตัวแทนการท่องเที่ยวที่มุ่งหมายให้การ
จัดการท่องเที่ยวได้สร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจท้องถิ่นเบดูอินและเน้นการนําผู้คนจากต่าง
วัฒนธรรมได้มารู้จักและให้เกียรติซึ่งกันและกัน นอกจากนี้ตัวแทนจัดการท่องเที่ยวยังหวังที่จะให้
ความรู้แก่ผู้มาเยือนได้ทราบบทบาทความสําคัญของทะเลทรายที่มีต่อวัฒนธรรมเบดูอินอันจะนําไปสู่
การส่งเสริมให้เกิดการอนุรักษ์วิถีวัฒนธรรมไว้
ประสบการณ์การท่องเที่ยวเบดูอินเป็นแบบแผนการท่องเที่ยวในแนวทฤษฎีการท่องเที่ยว
โพสโมเดิร์นโดยแท้ นักท่องเที่ยวได้รับโอกาสที่จะมีประสบการณ์เอกลักษณ์วัฒนธรรมที่ตนต้องการ
แสวงหาโดยไม่เหมือนใคร อีกทั้งยังเป็นตัวอย่างการท่องเที่ยวของการจัดโอกาสพิเศษที่จัดสร้างขึ้นมา
เพื่อให้ผู้มาเยือนได้เติมเต็มความต้องการหาความจริงที่เหนือจริงตามที่นิยามไว้โดยทฤษฎีการ
5
ท่องเที่ยวแบบจัดฉาก ขณะเดียวกันนักท่องเที่ยวผู้มาเยือนยังมีโอกาสที่จะได้ประสบการณ์การ
ท่องเที่ยวอื่นๆ ที่นี่ขณะที่สามารถเที่ยวเตร่ไปในสภาพแวดล้อมทะเลทรายที่ยากลําบากของเขต
Negev ในอิสราเอล ในสภาพแวดล้อมที่โหดเป็นการกระทําที่น่าขําด้วยขาดประสบการณ์ที่จําเป็นต่อ
การอยู่รอดในสภาพแวดล้อมของที่นั่นโดยปราศจากความช่วยเหลือของชุมชนเบดูอินที่เป็นเจ้าบ้าน
และเป็นตัวแทนการเดินทางผู้จัดแจงทัวร์ของตน
อันคําว่า “ความจริงแท้” เมื่อนํามาประยุกต์ใช้อธิบายในการท่องเที่ยวก็เป็นที่โต้แย้งกันอยู่
มาก Dean MacCannell (ค.ศ. 1976) เป็นคนแรกที่นําแนวคิดความจริงแท้มาใช้ในงานเขียนตํารา
“The Tourist: A New Theory of the Leisure Class” ในงานเขียนนี้ MacCannell ใช้คําว่า
“ประสบการณ์ความจริงแท้” และ “ความจริงแท้แบบจัดฉาก” ตามความเห็นของ MacCannell
แล้วเป็นไปได้เสมอที่ว่าอะไรที่ถือว่าเป็นทางเข้าไปสู่ด้านหลังจริงๆ แล้วก็เป็นทางเข้าไปสู่ด้านหน้าที่
ทั้งหมดทั้งมวลถูกจัดไว้ล่วงหน้าเพื่อการมาเยือนของการท่องเที่ยว ประสบการณ์ของนักท่องเที่ยว
อาจจะไม่เคยจริงแท้เลยหรือแม้ว่านักท่องเที่ยวจะเข้าใจรับรู้ว่าประสบการณ์เป็นเช่นไร นักวิจัย Ning
Wang (ค.ศ. 1999) ได้โต้แย้งแนวคิดของ MacCannell โดยการสังเกตว่าความจริงแท้เป็นคําที่ใช้โดย
ชนชั้นผู้นําผู้ที่มีการศึกษา คนภายนอก ในหลายหนทางก็คล้ายๆ กับนักท่องเที่ยวกําลังหาความจริง
แท้ ดูเหมือนว่าทั้ง MacCannell และ Wang เปรียบเทียบเสมือนอยู่คนละด้านบนเหรียญอันเดียวกัน
ที่จริงแล้วความจริงแท้เป็นอัตตวิสัย สําหรับนักท่องเที่ยวโอกาสที่จัดแสดงไว้ให้ดูอาจจะดูจริงสมบูรณ์
แบบ แม้ว่าผู้จัดและนักแสดงก็ทราบดีเป็นเพียงว่าการจัดฉากที่แท้จริง
ในปี ค.ศ. 1988 Dennis O’Rourke ได้ถ่ายทําภาพยนตร์สารคดีเรื่อง “Cannibal Tours”
โดยได้ติดตามกลุ่มชาวยุโรปตะวันตกผู้มั่งคั่งและนักท่องเที่ยวชาวอเมริกันเดินทางโดยทางเรือสําราญ
ขึ้นไปต้นน้ําเซปิกในปาปัวนิวกินี โดยแวะเยี่ยมชมหมู่บ้านต่างๆ โดยการถ่ายรูปและเดินซื้อหาของที่
ชาวบ้านนํามาวางเร่ขายเพื่อเป็นของที่ระลึก ส่วนใหญ่เป็นงานฝีมือ เช่น ถุงที่ถักจากเชือกเปลือกไม้
และงานแกะสลักรูปทรงอย่างพื้นเมือง ภาพยนตร์ได้แสดงปฏิสัมพันธ์ของผู้มาเยือนกับคนพื้นเมือง ใน
ความเข้าใจ (ก่อนมาเยือน) ของนักท่องเที่ยวคิดว่าชนพื้นเมืองอยู่ในสภาพป่าเถื่อน อดอยากและไม่
เป็นมิตรกับคนแปลกหน้า ฯลฯ เหล่านี้ คือ “ความจริงแท้” ที่คนนอกอย่างนักท่องเที่ยวคาดหวัง ครั้น
เมื่อได้มาเยือนก็ประจักษ์แก่สายตาว่าชนพื้นเมืองไม่ได้ดําเนินชีวิตตามวิถีประเพณีที่เป็นความจริงแท้
มาแต่กาลก่อน กลับมีความเป็นอยู่ที่อุดมสมบูรณ์ตามอัตตภาพของท้องถิ่น ประเพณีพิธีกรรมหลาย
อย่างก็เลิกถือปฏิบัติไปแล้วตามกฎของการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม ประเด็นเหล่านี้ได้สร้างความ
ผิดหวังให้แก่นักท่องเที่ยวที่มุ่งหวังได้เผชิญสภาพดั้งเดิมของคนอื่น (Primitive Other) ส่วนคนท้องถิ่น
ก็คาดหวังว่านักท่องเที่ยวฝรั่งเป็นคนร่ํารวยคงจะแย่งกันซื้อของที่ตนนํามาวางขายแต่ก็ผิดคาด
นักท่องเที่ยวไม่ได้ซื้อของพื้นเมืองมากนัก อีกทั้งระหว่างซื้อขายยังต่อรองราคาอย่างเป็นล่ําเป็นสัน ทํา
ให้ชนพื้นเมืองเข้าใจว่านักท่องเที่ยวขี้เหนียวและเพื่อให้ความสัมพันธ์ระหว่างการเผชิญหน้ากันดําเนิน
ไปได้ ชนพื้นเมืองได้พยายามทําให้นักท่องเที่ยวพึงพอใจโดยจัดแสดงเซ่นไหว้บรรพบุรุษ แต่งกายแบบ
พื้นเมืองเพื่อให้นักท่องเที่ยวได้ถ่ายรูปเป็นที่ระลึกและนักท่องเที่ยวก็ให้เงินเป็นรางวัล ความเข้าใจ
6
เช่นนี้กระตุ้นให้คนพื้นเมืองพยายามทําและขายทุกอย่างเพื่อเติมเต็มความปรารถนาความจริงแท้ของ
นักท่องเที่ยวโดยปรับเปลี่ยนแบบแผนชีวิตชนิดจัดแสดงเฉพาะกิจเพื่อเอาใจผู้มาเยือน สภาวะเช่นนี้
ส่งผลให้เกิดความไร้ค่าแก่วัฒนธรรมพื้นถิ่นที่นับวันจะถูกนํามาเป็นสินค้ายิ่งขึ้นเพราะชนพื้นเมืองต้อง
นําวัฒนธรรมของตนมาผลิตซ้ําเพื่อตอบสนองกระแสการท่องเที่ยวที่มีจํานวนผู้มาเยือนเพิ่มขึ้นตลอด
มา ผลที่ตามมาก็คือทั้งนักท่องเที่ยวและเจ้าบ้านอย่างชนพื้นเมืองจะยังคงความสัมพันธ์ในฐานะผู้มา
เยือนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างชนท้องถิ่นและก็จะไม่มีปฏิสัมพันธ์ที่แท้จริงระหว่างคนทั้งสองฝ่าย
หากสภาวการณ์เช่นนี้ยังดําเนินต่อไปก็จะมีผลให้วิถีวัฒนธรรมเดิมของท้องถิ่นเข้าไปสู่ความล่มสลาย
ในที่สุด หนทางหนึ่งที่น่าจะให้ความสัมพันธ์ระหว่างนักท่องเที่ยวและคนพื้นเมืองดํารงอยู่ต่อไปได้ใน
สภาพธรรมชาติก็คือให้ทั้งสองฝ่ายเรียนรู้ซึ่งกันและกันเพื่อให้เกิดบรรยากาศการท่องเที่ยววัฒนธรรม
อย่างสมานฉันท์อย่างเช่นที่นักมานุษยวิทยาทําตนกลมกลืนอยู่ในสนามวิจัย จากตัวอย่างความคิดที่
รับทราบเข้าใจเกี่ยวกับความจริงแท้นั้นอยู่ในสภาพขัดแย้งอย่างมากกับความเป็นจริงในปัจจุบันที่ผู้คน
โดยเฉพาะผู้เดินทางท่องเที่ยวจะต้องเข้าใจธรรมชาติของวัฒนธรรมที่จะปรับเปลี่ยนเพื่อให้สมสมัยอยู่
เสมอ ไม่มีมนุษย์เผ่าพันธุ์ใดจะสืบสานวิถีประเพณีชีวิตได้ครบครันตามแบบอย่างที่สืบสานมาจาก
บรรพบุรุษเพราะบรรพบุรุษและลูกหลานยุคปัจจุบันอยู่ในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน การ
ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตเพื่อให้ตอบรับกับเงื่อนไขที่แวดล้อมอยู่ ณ ขณะนั้นเป็นปรากฏการณ์ปกติที่พบเห็น
ได้ในสังคมมนุษย์ทั่วโลก
นอกจากการแสวงหาความจริงแท้จากกรณีการท่องเที่ยวอย่างที่กล่าวมาข้างต้นยังมีกรณี
ตัวอย่างการแสวงหาความจริงแท้ในการท่องเที่ยวด้านมืด (Dark Tourism) สถาบันการวิจัยการ
ท่องเที่ยวด้านมืดได้นิยามการท่องเที่ยวแนวนี้ไว้ว่า “เป็นสาขาวิชาการของการศึกษาที่ให้ข้อมูลความรู้
เกี่ยวกับความตายและการศึกษาการท่องเที่ยว” การท่องเที่ยวแนวนี้จะให้ความกระจ่างเชิงวิกฤตด้าน
ความเป็นจริงทางสังคมที่เกี่ยวกับความตาย การท่องเที่ยวด้านมืดอาจเผยให้เห็นความตึงเครียดใน
ความทรงจําทางวัฒนธรรมซึ่งคาบเกี่ยวกับการตีความและความจริงแท้และสภาวะทางการเมืองและ
สภาวะทางศีลธรรมในความทรงจําของผู้คน เป็นมรดกวัฒนธรรมที่แสดงความเจ็บปวด ในการศึกษา
ความจริงแท้นั้นการท่องเที่ยวแนวนี้มีนัยสําคัญในความสัมพันธ์ที่การท่องเที่ยวด้านมืดมีต่อทฤษฎีการ
ท่องเที่ยวยุคหลังสมัยใหม่ ความจริงที่เหนือจริงและการจัดฉาก Stephanie Yuill (ค.ศ. 2003)
โต้แย้งไว้ว่าในการหาสถานที่ที่ถือว่าเป็นด้านมืดจริงๆ นั้นจําเป็นจะต้องเสาะหาปฏิกิริยาที่มีต่อวิถี
สมัยใหม่และฉะนั้นจะต้องโยงใยถึงเหตุการณ์หรือหายนะที่เพิ่งเกิดขึ้นและยังอยู่ในความทรงจําของ
ผู้คนในปัจจุบัน ตามกรอบความคิดเช่นนี้พัฒนาการเมื่อเร็วๆ นี้ของการท่องเที่ยวไปเยือนตําบลเชอร์
โนบีที่มีกัมมันตภาพรังสีกระจายทั่วและเมืองปริบยัทที่อยู่ใกล้ๆ กันในรัฐยูเครนเป็นตัวอย่างที่ดีที่จะ
อธิบายการท่องเที่ยวด้านมืดและสามารถตรวจตราด้วยกรอบแนวคิดยุคหลังสมัยใหม่ได้
วันที่ 26 เมษายน ค.ศ. 1986 เตาปฏิกรณ์ปรมาณูที่โรงงานพลังงานเชอร์โนบีเกิดขัดข้องเป็น
เหตุให้เกิดการระเบิดรุนแรงกว่าการระเบิดที่ฮิโรชิมา ประเทศญี่ปุ่นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ถึง 400
เท่า เชอร์โนบีเสียหายย่อยยับ ผู้คนในละแวกนั้นโดยเฉพาะประชากรเกือบ 50,000 คนของเมือง
7
ปริบยัทต้องอพยพออกไป ในปี ค.ศ. 2010 พื้นที่บางส่วนเริ่มมีความปลอดภัยจึงมีการจัดการ
ท่องเที่ยวเข้ามา นักท่องเที่ยวจะได้รับอุปกรณ์ติดตัวเพื่อคอยเตือนระดับของกัมมันตภาพรังสีขณะที่
เดินเข้าสู่พื้นที่ นอกจากนี้ยังได้รับการเตือนว่าจะต้องไม่:
“... สัมผัสสิ่งก่อสร้างใดๆ หรือพืชพันธุ์ใดๆ ห้ามนั่งบนพื้นหรือแม้แต่กระทั่งจะวางกล้อง
ถ่ายรูปตรงนั้นตรงนี้ไม่ได้ จะนําสิ่งของอย่างใดอย่างหนึ่งติดมือออกไปจากเขตโรงงานไม่ได้ ห้ามกิน
อาหารด้านนอก มัคคุเทศก์ต้องให้แน่ใจว่านักท่องเที่ยวเข้าใจว่าหลายๆ จุดในพื้นที่ยังมีสารปนเปื้อน
มากกว่าจุดอื่นๆ และยืนกรานว่าจะไม่มีใครเดินออกไปนอกเส้นทางที่กําหนด”
จากจุดโรงงานนักท่องเที่ยวจะได้ไปเยือนเมืองปริบยัทซึ่งเป็นเมืองที่สร้างขึ้นเพื่อให้คนงานที่
ทํางานในโรงงานพลังงานแห่งนี้และครอบครัวได้พักอาศัย ขณะที่เดินชมบริเวณเมืองนักท่องเที่ยวจะ
ได้รับการบอกกล่าวให้เที่ยวชมและสัมผัสนี่นั่นได้และไม่เช่นนั้นก็เพียงได้สังเกตบริเวณรอบๆ ที่ครั้ง
หนึ่งเคยเป็นชุมชนที่รุ่งเรือง จุดเด่นๆ เห็นจะได้แก่โรงเรียนในท้องถิ่น ชิงช้าสวรรค์ของสวนสนุกที่ยัง
ไม่เคยเปิดใช้เลย และสระว่ายน้ําขนาดใหญ่เท่าสระว่ายน้ําของโอลิมปิค แต่ละจุดเหล่านี้ทําให้ระลึกถึง
ผู้คนที่ถูกบังคับให้ต้องหนีออกไปจากบ้านเรือนและหอบหิ้วทรัพย์สมบัติออกไปอย่างรีบด่วนเมื่อ
โรงงานระเบิด
การทําความเข้าใจแรงกระตุ้นนักท่องเที่ยวเมื่อตรวจตราแหล่งท่องเที่ยวด้านมืดเป็นสิ่งที่ยาก
ยิ่งเพราะการท่องเที่ยวเชอร์โนบีก็เป็นกรณีตัวอย่างศึกษาที่วิเศษเหลือ เมื่อนําทฤษฎีโพสโมเดิร์นเข้า
มาอธิบายพฤติกรรมการท่องเที่ยวที่เชอร์โนบีก็กล่าวได้ว่านักท่องเที่ยวแสวงหาประสบการณ์ที่
“แท้จริง” ระหว่างท่องเที่ยวชมเชอร์โนบี แต่ความเข้าใจเกี่ยวกับการระเบิดและผลจากการที่โรงงาน
ระเบิดนั้นมาจากการรับรู้เรื่องราวจากสื่อต่างๆ ที่นําเสนอข่าวเรื่องราวเกี่ยวกับเหตุการณ์นั้น นั้นก็
หมายความว่านักท่องเที่ยวไม่ได้แสวงหาความเข้าใจใดๆ ในที่นี้เพียงแต่ประสงค์จะได้ประสบการณ์
จากการได้มาเห็น นักท่องเที่ยวพยายามสุดฤทธิ์ที่จะใช้ความเข้าใจที่มีอยู่สร้างรูปแบบและได้
ความรู้สึกจากเหตุการณ์ที่ยุ่งเหยิงวุ่นวายที่มีอยู่ อันที่จริงแล้วนี้ก็คือสัญลักษณ์เด่นของการท่องเที่ยว
ด้านมืดและในหลายกรณีก็เป็นโพสโมเดอร์นีสในที่ซึ่งความตายและความสับสนวุ่นวายครอบงําอยู่
ผู้คนพยายามที่จะจัดประเภทและจัดระบบเหตุการณ์เพื่อว่าจะสะท้อนเหนือเหตุการณ์และศึกษา
เหตุการณ์นั้น
ในตําราเล่มสุดท้าย “Simulacra and Simulation” ของ Jean Baudrillard (ค.ศ. 1981)
ได้อภิปรายแนวคิดความจริงที่เหนือจริงซึ่งสามารถนิยามในฐานะของการหลอมรวมกันของความแท้
และความไม่แท้ชนิดที่หารอยต่อกันไม่ได้ ผลก็คือ ความไม่สามารถแยกให้เห็นความแตกต่างของ
สภาพทั้ง 2 นั้นได้ เมื่อพิจารณาความจริงที่เหนือจริง ในการศึกษาการท่องเที่ยวจึงจําเป็นต้อง
พิจารณาความจริงแท้กันอีก Umberto Eco (ค.ศ. 1988) ได้วิเคราะห์แนวคิดดังกล่าวของ
Baudrillard และได้เสนอไว้ว่าความจริงที่เหนือจริงอาจจะนิยาม โดยการโหยหา (ปรารถนา) ความ
เป็นจริงเป็นสื่อจําเป็นที่จะได้มีประสบการณ์ว่าอะไรเป็นจริงนั้นก็มีผลลัพธ์ปรากฏอยู่ในการสร้าง (จัด
8
ฉาก) ความเป็นจริงขึ้นมา ผู้คนที่ปรารถนาความจริงได้เสพสภาวะการจัดฉากไปแล้วแต่ก็ไม่มีอะไรเป็น
ความจริงแท้ดังจะเห็นได้จากรณีการท่องเที่ยวแบบจัดฉากในอัฟริกาได้ต่อไปนี้
โรงแรม Emoya Luxury และ Spa แห่งอัฟริกาใต้จัดโปรแกรมให้นักท่องเที่ยวได้มีโอกาสหา
ประสบการณ์ในชุมชนเมืองแออัดของ Bloemfontein ประสบการณ์นั้นเรียกตามจุดเด่นของทัวร์ว่า
เป็น “การท่องเที่ยวแห่งความยากจน” นักท่องเที่ยวเสียค่าใช้จ่ายประมาณ 82 เหรียญสหรัฐต่อคืนที่
จะหลับนอนในเพิงกระท่อมที่มุงฝาและหลังคาด้วยสังกะสี อย่างไรก็ตามนักท่องเที่ยวก็ไม่ได้มีโอกาส
อยู่ในสภาพแวดล้อมของเมืองชุมชนแออัดแห่งอัฟริกาใต้จริงๆ เพราะทุกห้องที่จัดเพื่อทัวร์รายนี้ติด
เครื่องทําความอบอุ่นไว้ มีน้ําประปาและมีไวไฟ (Wi-Fi) ใช้ นอกจากนี้ยังมีบริการสปาและรายการเปิด
โอกาสให้ผู้มาเยือนมีส่วนร่วมไปกับการนั่งรถและเดินตามเส้นทางที่จัดไว้ให้ชมสัตว์พื้นเมืองอัฟริกาที่
หายากเกือบ 40 สายพันธุ์ ยิ่งไปกว่านั้นทางบริษัทผู้จัดยังมีบริการแต่งงานแบบเหมาจ่ายไว้ให้และยัง
ได้เสนอเมืองชุมชนแออัดแห่งนี้เหมาะสมที่สุดสําหรับการทีมงานที่จะจัดทํากิจกรรมต่างๆ ร่วมกัน
การจัดบริการการท่องเที่ยวอย่างที่กล่าวมาข้างตนนับว่าเป็นตัวอย่างสมบูรณ์แบบของความ
จริงที่เหนือจริง นักท่องเที่ยวผู้ที่ใคร่ได้รับประสบการณ์ชีวิตในสลัมแออัดของอัฟนิกาใต้ก็จะได้รับ
โอกาสที่จะได้มีประสบการณ์เช่นนั้นเพียงแต่อาจไม่ได้รับความสะดวกสบายบ้างแต่ก็เล็กๆ น้อยๆ ใน
ความเป็นจริงแล้วการจัดทัวร์ดังกล่าวไม่มีความจริงแท้แม้แต่น้อย ทางผู้จัดเชื่อว่าความจริงแท้นั้นมา
จากความปรารถนาที่จะมีประสบการณ์ความเป็นจริงแต่ทางผู้จัดก็ได้สร้างฉากขึ้นมาเพื่อให้
นักท่องเที่ยวได้มีโอกาสพิสูจน์กับตัวเองว่าเป็นเช่นไร
ตัวอย่างการนําที่ที่เคยเป็นคุกขังกักกันและประหารนักโทษให้มาเป็นโรงแรมเพื่อให้นัก
เดินทางแนวนี้ได้มีโอกาสรับประสบการณ์อย่างเช่นกรณีโรงแรมคุกในเมือง Liepaja ประเทศ Latvia
แถบยุโรปตะวันออกนับเป็นตัวอย่างที่น่าฉงนสุดๆ ของการท่องเที่ยวยุคหลังสมัยใหม่และความ
ต้องการประสบการณ์ความจริงที่เหนือจริง ที่โรงแรมคุกแห่งนี้ผู้มาเยือนจะได้รับประสบการณ์เหมือน
นักโทษที่ถูกกระทําทารุณโดย KGB เป็นประสบการณ์ที่ถือว่าเป็นรูปแบบของการท่องเที่ยวเพื่อความ
เป็นจริง พอนักท่องเที่ยวมาถึงทุกคนก็จะถูกบังคับให้นั่งหมอบและไขว้มือไว้ด้านหลังศีรษะ ขณะที่ผู้
คุมจะอธิบายกฎระเบียบต่างๆ ของโรงแรม ผู้มาเยือนจะได้รับการตรวจสอบทางการแพทย์ ถ่ายรูป
และทดสอบความรู้เกี่ยวกับประวัติของประเทศ Latvia หากการกระทําอันใดของนักท่องเที่ยวไม่
เป็นไปตามที่ผู้คุมคาดหวังนักท่องเที่ยวรายนั้นก็จะถูกแยกขังเดี่ยว ทุกอย่างมีกําหนดเวลากาล จะกิน
จะนอน จะพักผ่อนในห้องนั่งเล่น ฯลฯ ทุกอย่างต้องเป็นไปตามระเบียบของทางโรงแรมคุกแห่งนี้
การจัดท่องเที่ยวโรงแรมคุกของ Liepaja เป็นตัวอย่างที่แปลกของความต้องการ
ประสบการณ์ความจริงที่เหนือจริง เหมือนกันกับในประสบการณ์ชุมชนแออัดของอัฟริกา
นักท่องเที่ยวไม่สามารถได้รับประสบการณ์จริงๆ ทุกอย่างที่เกิดขึ้นเป็นเพียงประสบการณ์จากการจัด
ฉาก ความต้องการความจริงแท้เป็นสิ่งหนึ่งที่ไม่อาจเติมเต็มได้ นักท่องเที่ยวได้ผ่านประสบการณ์ที่จัด
ฉากไว้ให้ก็เพราะอยากทราบว่าหากตัวเองต้องตกอยู่ในสถานการณ์ เช่น คนในสลัมและนักโทษคุก
(ซึ่งเป็นคนอื่นที่ไม่ใช่นักท่องเที่ยว) แล้วจะมีความรู้สึกเช่นไร โลกในความเป็นจริง (ของนักท่องเที่ยว)
9
และโลกของคนอื่น (คนในสลัมและคนคุก) เพียงได้มาเผชิญกันเพื่อที่จะสร้างโลกที่มาจากความเป็น
จริงที่เหนือจริงเท่านั้น
ในแวดวงของการท่องเที่ยวนั้นคนส่วนใหญ่ในโลกยังคงมีพฤติกรรมการท่องเที่ยวพักผ่อน
คล้ายๆ กัน คือ ยังคงมีการท่องเที่ยวธรรมชาติและการท่องเที่ยววัฒนธรรม ขณะเดียวกันก็ปรากฎ
ความต้องการท่องเที่ยวเฉพาะทางเกิดขึ้นเป็นแบบแผนการท่องเที่ยวที่รวมว่าเป็นการท่องเที่ยวชม
แหล่งท่องเที่ยวที่สามารถบอกเล่าเรื่องราวของผู้อื่นที่แตกต่างไปจากนักท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวอยากมี
โอกาสผ่านเข้าไปหาประสบการณ์ด้วยตนเองว่าหากตนได้อยู่ในสถานการณ์เช่นนั้นจะเกิดความรู้สึก
เช่นไร และจะมีประสบการณ์อย่างไร แหล่งท่องเที่ยวและสถานการณ์ในแหล่งท่องเที่ยวแนวนี้มักเป็น
สิ่งที่สะท้อนปัญหา ความเจ็บปวด บาดแผล การกระทําโหดร้ายทารุณ ฯลฯ ที่เคยเกิดขึ้นในแหล่ง
ท่องเที่ยวมาก่อน แม้ว่าการจัดการท่องเที่ยวหลังยุคสมัยใหม่ส่วนใหญ่จะเป็นการจัดฉากกระนั้นถ้า
เป็นการจัดการท่องเที่ยวที่ช่วยเสริมเพิ่มประสบการณ์แก่ผู่มาเยือนได้ระดับหนึ่งที่ไม่ใช่ความจริงแท้ใน
ชีวิต การจัดการท่องเที่ยวเพื่อตอบสนองความต้องการการท่องเที่ยวยุคหลังสมัยใหม่เป็นเรื่องยาก
ประการหนึ่งนักท่องเที่ยวยุคหลังสมัยใหม่อาจจะมีพฤติกรรมต้องการท่องเที่ยวเฉพาะทางที่ผิดแผกไป
จากคนส่วนใหญ่ แต่ก็เป็นความต้องการท่องเที่ยวเพื่อประสบการณ์เฉพาะกิจ ด้วยในชีวิตจริง
นักท่องเที่ยวแนวยุคหลังสมัยใหม่ก็ยังคงท่องเที่ยวกันตามวิถีการท่องเที่ยวสมัยใหม่ บางช่วงบางเวลา
ของชีวิตเท่านั้นที่อาจจะใคร่ได้แสวงหาประสบการณ์แปลกใหม่ในแหล่งท่องเที่ยวที่ไม่ซ้ํากับใครที่จะ
ช่วยให้เติมเต็มความต้องการสร้างเสริมอัตตาของตน
10
เอกสารอ้างอิง
Baudrillard, Jean. 1981. Simulacra and Simulation, trans. Sheila Faria Glaser (Paris:
Editions Galilée)
Eco, Umberto. Travels in Hyperreality, 1986. trans. William Weaver Houghton Mifflin
Harcourt Publishing
Heintz, Jim. Chernobyl Tour Offered 25 Years after Blast. NBC News, April 11, 2011,
assessed December 14, 2013
MacCannell, Dean. 1976. The Tourists A New Theory of Leisure Class. California
University of California Press
Uriely, Natan. 1997. Theories of Modern and Postmodern Tourism. Annals of Tourism
Research
Wnag, Ning. 1999. Rethinking Authenticity in the Tourism Experiences. Annals of
Tourism Research
Yuill, Stephanie. 2003. Dark Tourism: Understanding Visitor Motivation at Sites of
Death and Disaster. MA dissertation, Texas and M University

More Related Content

What's hot

สินค้าการท่องเที่ยวแบบใด จะถูกใจตลาด
สินค้าการท่องเที่ยวแบบใด จะถูกใจตลาดสินค้าการท่องเที่ยวแบบใด จะถูกใจตลาด
สินค้าการท่องเที่ยวแบบใด จะถูกใจตลาดnattatira
 
แบบสอบถาม ความพึงพอใจ นักท่องเที่ยว หน้า 41
แบบสอบถาม  ความพึงพอใจ นักท่องเที่ยว หน้า 41แบบสอบถาม  ความพึงพอใจ นักท่องเที่ยว หน้า 41
แบบสอบถาม ความพึงพอใจ นักท่องเที่ยว หน้า 41สำเร็จ นางสีคุณ
 
ธุรกิจที่พักแรม
ธุรกิจที่พักแรมธุรกิจที่พักแรม
ธุรกิจที่พักแรมWichien Juthamongkol
 
บทที่ 1 วิวัฒนาการของการท่องเที่ยว
บทที่ 1 วิวัฒนาการของการท่องเที่ยวบทที่ 1 วิวัฒนาการของการท่องเที่ยว
บทที่ 1 วิวัฒนาการของการท่องเที่ยว재 민 Praew 김
 
ท่องเที่ยว9
ท่องเที่ยว9ท่องเที่ยว9
ท่องเที่ยว9Nurat Puankhamma
 
บุคลิกภาพ จรรยาบรรณและจริยธรรมทางวิชาชีพผู้นําเที่ยว
บุคลิกภาพ จรรยาบรรณและจริยธรรมทางวิชาชีพผู้นําเที่ยวบุคลิกภาพ จรรยาบรรณและจริยธรรมทางวิชาชีพผู้นําเที่ยว
บุคลิกภาพ จรรยาบรรณและจริยธรรมทางวิชาชีพผู้นําเที่ยวSomyot Ongkhluap
 
หลักการและการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
หลักการและการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศหลักการและการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
หลักการและการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศSomyot Ongkhluap
 
5 ทักษะการสื่อสารสำหรับบุคลากรธุรกิจท่องเที่ยว
5 ทักษะการสื่อสารสำหรับบุคลากรธุรกิจท่องเที่ยว5 ทักษะการสื่อสารสำหรับบุคลากรธุรกิจท่องเที่ยว
5 ทักษะการสื่อสารสำหรับบุคลากรธุรกิจท่องเที่ยวMint NutniCha
 
บทที่ 4 การคมนาคมขนส่งในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
บทที่ 4 การคมนาคมขนส่งในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวบทที่ 4 การคมนาคมขนส่งในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
บทที่ 4 การคมนาคมขนส่งในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว재 민 Praew 김
 
1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับธุรกิจท่องเที่ยว
1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับธุรกิจท่องเที่ยว1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับธุรกิจท่องเที่ยว
1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับธุรกิจท่องเที่ยวMint NutniCha
 
บทที่ ๒ บทบาทและความสำคัญของการท่องเที่ยว
บทที่ ๒ บทบาทและความสำคัญของการท่องเที่ยวบทที่ ๒ บทบาทและความสำคัญของการท่องเที่ยว
บทที่ ๒ บทบาทและความสำคัญของการท่องเที่ยวpraphol
 
กฎหมายการท่องเที่ยวในประเทศไทย
กฎหมายการท่องเที่ยวในประเทศไทยกฎหมายการท่องเที่ยวในประเทศไทย
กฎหมายการท่องเที่ยวในประเทศไทยNurat Puankhamma
 
บทพูดโทรทัศน์
บทพูดโทรทัศน์บทพูดโทรทัศน์
บทพูดโทรทัศน์Aoffy Nakjuetong
 
1 บุุคคลิกภาพของบุคคลากรท่องเที่ยว
1 บุุคคลิกภาพของบุคคลากรท่องเที่ยว1 บุุคคลิกภาพของบุคคลากรท่องเที่ยว
1 บุุคคลิกภาพของบุคคลากรท่องเที่ยวMint NutniCha
 
การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์
การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์
การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์Calvinlok
 
อารยธรรมกรีก-โรมัน
อารยธรรมกรีก-โรมันอารยธรรมกรีก-โรมัน
อารยธรรมกรีก-โรมันJungko
 
7 6 การพัฒนาผลิตภัณฑ์แหล่งท่องเที่ยว
7 6 การพัฒนาผลิตภัณฑ์แหล่งท่องเที่ยว7 6 การพัฒนาผลิตภัณฑ์แหล่งท่องเที่ยว
7 6 การพัฒนาผลิตภัณฑ์แหล่งท่องเที่ยวMint NutniCha
 
การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพโดยชุมชน
การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพโดยชุมชน การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพโดยชุมชน
การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพโดยชุมชน Manisa Piuchan
 
แบบสอบถาม ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยว
แบบสอบถาม ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวแบบสอบถาม ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยว
แบบสอบถาม ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวสำเร็จ นางสีคุณ
 
2.ตลาดท่องเที่ยว
2.ตลาดท่องเที่ยว2.ตลาดท่องเที่ยว
2.ตลาดท่องเที่ยวchickyshare
 

What's hot (20)

สินค้าการท่องเที่ยวแบบใด จะถูกใจตลาด
สินค้าการท่องเที่ยวแบบใด จะถูกใจตลาดสินค้าการท่องเที่ยวแบบใด จะถูกใจตลาด
สินค้าการท่องเที่ยวแบบใด จะถูกใจตลาด
 
แบบสอบถาม ความพึงพอใจ นักท่องเที่ยว หน้า 41
แบบสอบถาม  ความพึงพอใจ นักท่องเที่ยว หน้า 41แบบสอบถาม  ความพึงพอใจ นักท่องเที่ยว หน้า 41
แบบสอบถาม ความพึงพอใจ นักท่องเที่ยว หน้า 41
 
ธุรกิจที่พักแรม
ธุรกิจที่พักแรมธุรกิจที่พักแรม
ธุรกิจที่พักแรม
 
บทที่ 1 วิวัฒนาการของการท่องเที่ยว
บทที่ 1 วิวัฒนาการของการท่องเที่ยวบทที่ 1 วิวัฒนาการของการท่องเที่ยว
บทที่ 1 วิวัฒนาการของการท่องเที่ยว
 
ท่องเที่ยว9
ท่องเที่ยว9ท่องเที่ยว9
ท่องเที่ยว9
 
บุคลิกภาพ จรรยาบรรณและจริยธรรมทางวิชาชีพผู้นําเที่ยว
บุคลิกภาพ จรรยาบรรณและจริยธรรมทางวิชาชีพผู้นําเที่ยวบุคลิกภาพ จรรยาบรรณและจริยธรรมทางวิชาชีพผู้นําเที่ยว
บุคลิกภาพ จรรยาบรรณและจริยธรรมทางวิชาชีพผู้นําเที่ยว
 
หลักการและการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
หลักการและการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศหลักการและการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
หลักการและการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
 
5 ทักษะการสื่อสารสำหรับบุคลากรธุรกิจท่องเที่ยว
5 ทักษะการสื่อสารสำหรับบุคลากรธุรกิจท่องเที่ยว5 ทักษะการสื่อสารสำหรับบุคลากรธุรกิจท่องเที่ยว
5 ทักษะการสื่อสารสำหรับบุคลากรธุรกิจท่องเที่ยว
 
บทที่ 4 การคมนาคมขนส่งในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
บทที่ 4 การคมนาคมขนส่งในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวบทที่ 4 การคมนาคมขนส่งในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
บทที่ 4 การคมนาคมขนส่งในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
 
1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับธุรกิจท่องเที่ยว
1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับธุรกิจท่องเที่ยว1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับธุรกิจท่องเที่ยว
1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับธุรกิจท่องเที่ยว
 
บทที่ ๒ บทบาทและความสำคัญของการท่องเที่ยว
บทที่ ๒ บทบาทและความสำคัญของการท่องเที่ยวบทที่ ๒ บทบาทและความสำคัญของการท่องเที่ยว
บทที่ ๒ บทบาทและความสำคัญของการท่องเที่ยว
 
กฎหมายการท่องเที่ยวในประเทศไทย
กฎหมายการท่องเที่ยวในประเทศไทยกฎหมายการท่องเที่ยวในประเทศไทย
กฎหมายการท่องเที่ยวในประเทศไทย
 
บทพูดโทรทัศน์
บทพูดโทรทัศน์บทพูดโทรทัศน์
บทพูดโทรทัศน์
 
1 บุุคคลิกภาพของบุคคลากรท่องเที่ยว
1 บุุคคลิกภาพของบุคคลากรท่องเที่ยว1 บุุคคลิกภาพของบุคคลากรท่องเที่ยว
1 บุุคคลิกภาพของบุคคลากรท่องเที่ยว
 
การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์
การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์
การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์
 
อารยธรรมกรีก-โรมัน
อารยธรรมกรีก-โรมันอารยธรรมกรีก-โรมัน
อารยธรรมกรีก-โรมัน
 
7 6 การพัฒนาผลิตภัณฑ์แหล่งท่องเที่ยว
7 6 การพัฒนาผลิตภัณฑ์แหล่งท่องเที่ยว7 6 การพัฒนาผลิตภัณฑ์แหล่งท่องเที่ยว
7 6 การพัฒนาผลิตภัณฑ์แหล่งท่องเที่ยว
 
การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพโดยชุมชน
การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพโดยชุมชน การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพโดยชุมชน
การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพโดยชุมชน
 
แบบสอบถาม ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยว
แบบสอบถาม ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวแบบสอบถาม ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยว
แบบสอบถาม ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยว
 
2.ตลาดท่องเที่ยว
2.ตลาดท่องเที่ยว2.ตลาดท่องเที่ยว
2.ตลาดท่องเที่ยว
 

Viewers also liked

Mikä tuottaa hyvinvointia työssä ja vapaaehtoistyössä
Mikä tuottaa hyvinvointia työssä ja vapaaehtoistyössäMikä tuottaa hyvinvointia työssä ja vapaaehtoistyössä
Mikä tuottaa hyvinvointia työssä ja vapaaehtoistyössäLari Karreinen
 
It is they are harry potter activity
It is they are harry potter activityIt is they are harry potter activity
It is they are harry potter activityAngy Silva
 
10 derivadas de funciones implicitas
10 derivadas de funciones implicitas10 derivadas de funciones implicitas
10 derivadas de funciones implicitasAlberto Alonso
 
Etapas de la Planificacion de la Evaluacion
Etapas de la Planificacion de la EvaluacionEtapas de la Planificacion de la Evaluacion
Etapas de la Planificacion de la EvaluacionErika Gonzalez
 
IT V12P4 - Indirect Transfer final
IT V12P4 - Indirect Transfer finalIT V12P4 - Indirect Transfer final
IT V12P4 - Indirect Transfer finalNishit Parikh
 
Введення першого прикорму
Введення першого прикормуВведення першого прикорму
Введення першого прикормуISIDA
 
Догляд за грудьми в період вагітності та годування малюка
Догляд за грудьми в період вагітності та годування малюкаДогляд за грудьми в період вагітності та годування малюка
Догляд за грудьми в період вагітності та годування малюкаISIDA
 

Viewers also liked (12)

Mikä tuottaa hyvinvointia työssä ja vapaaehtoistyössä
Mikä tuottaa hyvinvointia työssä ja vapaaehtoistyössäMikä tuottaa hyvinvointia työssä ja vapaaehtoistyössä
Mikä tuottaa hyvinvointia työssä ja vapaaehtoistyössä
 
It is they are harry potter activity
It is they are harry potter activityIt is they are harry potter activity
It is they are harry potter activity
 
10 derivadas de funciones implicitas
10 derivadas de funciones implicitas10 derivadas de funciones implicitas
10 derivadas de funciones implicitas
 
SS4U KICK OFF DỰ ÁN ERP CẢNG ĐỒNG NAI
SS4U KICK OFF DỰ ÁN ERP CẢNG ĐỒNG NAISS4U KICK OFF DỰ ÁN ERP CẢNG ĐỒNG NAI
SS4U KICK OFF DỰ ÁN ERP CẢNG ĐỒNG NAI
 
Etapas de la Planificacion de la Evaluacion
Etapas de la Planificacion de la EvaluacionEtapas de la Planificacion de la Evaluacion
Etapas de la Planificacion de la Evaluacion
 
IT V12P4 - Indirect Transfer final
IT V12P4 - Indirect Transfer finalIT V12P4 - Indirect Transfer final
IT V12P4 - Indirect Transfer final
 
Pesquisa ciclo ii
Pesquisa ciclo iiPesquisa ciclo ii
Pesquisa ciclo ii
 
Secure IoT and Data-driven Innovation in Manufacturing, Prof Tim Watson
Secure IoT and Data-driven Innovation in Manufacturing, Prof Tim WatsonSecure IoT and Data-driven Innovation in Manufacturing, Prof Tim Watson
Secure IoT and Data-driven Innovation in Manufacturing, Prof Tim Watson
 
Funding and connecting: Innovate UK and the Knowledge Transfer Network, Ben P...
Funding and connecting: Innovate UK and the Knowledge Transfer Network, Ben P...Funding and connecting: Innovate UK and the Knowledge Transfer Network, Ben P...
Funding and connecting: Innovate UK and the Knowledge Transfer Network, Ben P...
 
Введення першого прикорму
Введення першого прикормуВведення першого прикорму
Введення першого прикорму
 
Догляд за грудьми в період вагітності та годування малюка
Догляд за грудьми в період вагітності та годування малюкаДогляд за грудьми в період вагітності та годування малюка
Догляд за грудьми в період вагітності та годування малюка
 
Clothes1
Clothes1Clothes1
Clothes1
 

More from Chaloempond Chantong

การท่องเที่ยวทางจิตวิญญาณ Spiritual tourism
การท่องเที่ยวทางจิตวิญญาณ Spiritual tourismการท่องเที่ยวทางจิตวิญญาณ Spiritual tourism
การท่องเที่ยวทางจิตวิญญาณ Spiritual tourismChaloempond Chantong
 
การท่องเที่ยวทางเลือก: ศาสนาวัฒนธรรม Religion tourism
การท่องเที่ยวทางเลือก: ศาสนาวัฒนธรรม Religion tourismการท่องเที่ยวทางเลือก: ศาสนาวัฒนธรรม Religion tourism
การท่องเที่ยวทางเลือก: ศาสนาวัฒนธรรม Religion tourismChaloempond Chantong
 
เครื่องนุ่งห่มและเอกลักษณ์กลุ่มชาติพันธุ์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เครื่องนุ่งห่มและเอกลักษณ์กลุ่มชาติพันธุ์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เครื่องนุ่งห่มและเอกลักษณ์กลุ่มชาติพันธุ์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เครื่องนุ่งห่มและเอกลักษณ์กลุ่มชาติพันธุ์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้Chaloempond Chantong
 
การจัดการมรดกวัฒนธรรม
การจัดการมรดกวัฒนธรรม การจัดการมรดกวัฒนธรรม
การจัดการมรดกวัฒนธรรม Chaloempond Chantong
 
การพัฒนาระบบความคิดเพื่อการสื่อสาร
การพัฒนาระบบความคิดเพื่อการสื่อสารการพัฒนาระบบความคิดเพื่อการสื่อสาร
การพัฒนาระบบความคิดเพื่อการสื่อสารChaloempond Chantong
 
การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ รศ.ชนัญ วงษ์วิภาค
การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ รศ.ชนัญ  วงษ์วิภาคการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ รศ.ชนัญ  วงษ์วิภาค
การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ รศ.ชนัญ วงษ์วิภาคChaloempond Chantong
 

More from Chaloempond Chantong (6)

การท่องเที่ยวทางจิตวิญญาณ Spiritual tourism
การท่องเที่ยวทางจิตวิญญาณ Spiritual tourismการท่องเที่ยวทางจิตวิญญาณ Spiritual tourism
การท่องเที่ยวทางจิตวิญญาณ Spiritual tourism
 
การท่องเที่ยวทางเลือก: ศาสนาวัฒนธรรม Religion tourism
การท่องเที่ยวทางเลือก: ศาสนาวัฒนธรรม Religion tourismการท่องเที่ยวทางเลือก: ศาสนาวัฒนธรรม Religion tourism
การท่องเที่ยวทางเลือก: ศาสนาวัฒนธรรม Religion tourism
 
เครื่องนุ่งห่มและเอกลักษณ์กลุ่มชาติพันธุ์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เครื่องนุ่งห่มและเอกลักษณ์กลุ่มชาติพันธุ์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เครื่องนุ่งห่มและเอกลักษณ์กลุ่มชาติพันธุ์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เครื่องนุ่งห่มและเอกลักษณ์กลุ่มชาติพันธุ์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
 
การจัดการมรดกวัฒนธรรม
การจัดการมรดกวัฒนธรรม การจัดการมรดกวัฒนธรรม
การจัดการมรดกวัฒนธรรม
 
การพัฒนาระบบความคิดเพื่อการสื่อสาร
การพัฒนาระบบความคิดเพื่อการสื่อสารการพัฒนาระบบความคิดเพื่อการสื่อสาร
การพัฒนาระบบความคิดเพื่อการสื่อสาร
 
การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ รศ.ชนัญ วงษ์วิภาค
การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ รศ.ชนัญ  วงษ์วิภาคการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ รศ.ชนัญ  วงษ์วิภาค
การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ รศ.ชนัญ วงษ์วิภาค
 

การท่องเที่ยววัฒนธรรมยุคหลังสมัยใหม่ Postmodern tourism

  • 1. การท่องเที่ยววัฒนธรรมยุคหลังสมัยใหม่ (Postmodern Tourism) รศ.ชนัญ วงษ์วิภาค การท่องเที่ยวที่ผู้คนส่วนใหญ่ในโลกคุ้นเคยมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 เรื่อยมากระทั่ง ปัจจุบันเป็นแบบแผนพฤติกรรมที่เลียนแบบทําซ้ําๆ กันมาหลายศตวรรษ กระทั่งหาต้นแบบดั้งเดิมที่ แท้จริงไม่ได้นั้น เป็นจุดเปลี่ยนให้ผู้คนส่วนหนึ่งที่มีฐานะค่อนข้างดีพยายามหาและสร้างแนวทาง ท่องเที่ยวที่คิดว่าจะช่วยเติมเต็มความต้องการเสริมอัตตา (Self) ของตนให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้นด้วยการ ปลีกวิเวกเข้าในรับทราบและมีส่วนร่วมในแหล่งท่องเที่ยวที่มีการจัดการเฉพาะทาง อาทิไปเยือนถิ่น ชนเผ่าพื้นเมืองในนิวกินี เที่ยวไปในหมู่ชนเผ่าเบดูอินผู้มีวิถีชีวิตเลี้ยงสัตว์ร่อนเร่ในเขตทะเลทรายอารา เบีย เที่ยวหาประสบการณ์การใช้ชีวิตค้างแรมในสลัมของแอฟริกาใต้ เที่ยวเพื่อให้เกิดประสบการณ์ใน เขตโรงงานนิวเคลียร์ที่ระเบิด และร้างมาหลายปี หรือเข้าพักแรมในโรงแรมที่เคยเป็นคุกขังและ ประหารนักโทษการเมืองมาก่อน เหล่านี้เป็นแบบแผนการท่องเที่ยวหลังยุคสมัยใหม่ที่ผู้มีส่วนได้ส่วน เสียกับการท่องเที่ยวได้จัดกิจกรรมต่างๆ ไว้ให้อย่างที่ผู้มาเยือนคาดหวังว่าจะได้เติมเต็มความต้องการ โหยหาอดีตและความจริงที่เหนือจริงและความจริงแท้ แม้ว่าการจัดการจะเป็นเพียงการจัดฉาก คําสําคัญ ย้อนแย้ง วาทกรรมการท่องเที่ยวหลังยุคสมัยใหม่ ความต้องการโหยหาอดีต ความจริงแท้ การท่องเที่ยวจัดฉาก การท่องเที่ยวด้านมืด ความจริงที่เหนือจริง
  • 2. 2 การท่องเที่ยววัฒนธรรมยุคหลังสมัยใหม่ (Postmodern Tourism) รศ.ชนัญ วงษ์วิภาค แบบแผนการท่องเที่ยวพักผ่อนและพฤติกรรมการท่องเที่ยวพักผ่อนที่ผู้คนส่วนใหญ่ใน ปัจจุบันคุ้นเคยอยู่นั้นเป็นปรากฏการณ์ที่เริ่มมีมาตั้งแต่ช่วงปี ค.ศ. 1950 ซึ่งนักประวัติศาสตร์ตะวันตก จัดว่าเป็นยุคสมัยใหม่ที่เศรษฐกิจและสังคมของชาติต่างๆ ในยุโรปและอเมริกาพัฒนาเข้าสู่สภาวะทุน นิยมเต็มรูปแบบ ความซ้ําซากจําเจจากการทํางานภายใต้ระบบอุตสาหกรรมผลักดันให้ผู้คนใคร่ แสวงหาการท่องเที่ยวพักผ่อนเพื่อเติมเต็มความสดใสร่าเริงให้กับชีวิตเมื่อมีวันหยุด โดยเฉพาะวันหยุด ที่ติดต่อกันเป็นระยะยาว ความต้องการเช่นนี้กระตุ้นให้เกิดอุตสาหกรรมการเป็นเจ้าบ้านและการ ท่องเที่ยวที่รวมการบริการต่างๆ เข้าไว้ด้วยกันหลากหลายสาขาทั้งการโรงแรม การท่องเที่ยว การ คมนาคมขนส่ง การบริการด้านภัตตาคาร และการให้ความสะดวกด้านอื่นๆ ฯลฯ ทั้งนี้ดังจะพอเห็นได้ จากตัวอย่างของการเดินทางท่องเที่ยวกรณี The Grand Tour, Thomas Cook Tour และ The Orient Express ที่จัดโดย Compagine International des Wagons List ซึ่งมีเส้นทางจากยุโรปสู่ เอเซียและอัฟริกาที่เป็นการจัดบริการการเดินทางโดยรถไฟระยะทางไกล เช่น เส้นทางจากกรุงปารีส- สู่-นครอิสตันบลูในปี ค.ศ. 1883 เป็นการเดินทางท่องเที่ยวแบบเลิศหรูที่มีบริการความสะดวกสบาย ครบครันตามยุคสมัย การท่องเที่ยวเดินทางเช่นนี้เพิ่งยุติไปเมื่อปี ค.ศ. 2009 ด้วยเหตุที่การเดินทาง ท่องเที่ยวของผู้คนในสังคมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวธรรมชาติจึงเป็นทรัพยากรหลัก เช่น การ ท่องเที่ยวทางทะเล อาบแดด เล่นน้ําทะเล เล่นกระดานบนผิวน้ํา ฯลฯ ท่องเที่ยวธรรมชาติแนวนี้ไป นานๆ ก็อยากเพิ่มมิติการท่องเที่ยวไปสู่การท่องเที่ยววัฒนธรรมที่มีทรัพยากรการท่องเที่ยว หลากหลาย เช่น การชมโบราณวัตถุที่จัดแสดงไว้ตามพิพิธภัณฑ์ และหอศิลป์ และการท่องเที่ยวชม แหล่งโบราณคดี และเมืองโบราณในที่ต่างๆ รวมทั้งการท่องเที่ยวไปเทศกาลงานบุญประเพณีที่มีขึ้นใน ท้องถิ่น ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 การติดต่อเดินทางระหว่างประเทศต่างๆ สะดวกยิ่งขึ้นเพราะ ปัจจัยหลากหลาย โดยเฉพาะความก้าวหน้าด้านคมนาคม การบริการด้านการโรงแรม ภัตตาคาร การ คมนาคมขนส่งทางบก การคมนาคมขนส่งทางอากาศและด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ฯลฯ ล้วนเป็นปัจจัยที่ส่งเสริมให้อุตสาหกรรมท่องเที่ยวเจริญเติบโตอย่างไม่อาจหยุดยั้งได้ ทั้งนี้ดังจะเห็นได้ จากกรณีตัวอย่างของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ การท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ การท่องเที่ยวเพื่อการศึกษา การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ การท่องเที่ยวเพื่อการทดลอง การท่องเที่ยวเพื่อการกีฬา การท่องเที่ยว แบบผจญภัย ฯลฯ การท่องเที่ยวเพื่อจุดประสงค์ต่างๆ อย่างที่กล่าวมาเป็นการกระทําตามๆ กันของคนหมู่มากที่ นิยมไปเยือนแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงเป็นสําคัญ อาทิ การไปเยือนอียิปต์ ผู้เดินทางต่างก็หวังได้ไป เห็นพีระมิด สฟิงค์และสุสานฝังศพฟาโรห์องค์ต่างๆ ครั้นพอจะได้ไปเที่ยวประเทศจีนก็ตั้งเป้าว่าจะได้ ไปเยือนกําแพงเมืองจีน พระราชวังต้องห้ามและสุสานฝังศพของจักรพรรดิ์จิ๋นซีเป็นสําคัญ ใครๆ ที่ไป ท่องเที่ยวประเทศอินเดียล้วนมุ่งได้ไปเห็นทัสมาฮาลซึ่งเป็นตัวอย่างของการก่อสร้างตามแบบมุสลิม
  • 3. 3 แต่ครั้นอยากได้ประสบการณ์งานก่อสร้างตามวิถีชาวพุทธก็ต้องไปเยือนศาสนสถานอย่างเช่น สถูป สารจีหรือถ้ําอชันตาที่มีเรื่องราวแสดงเกี่ยวกับพุทธศาสนา ส่วนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มาเยือน เมืองไทยนั้นเป้าหมายแหล่งท่องเที่ยวคงไม่พ้นวัดพระแก้วและพระบรมมหาราชวัง พอเข้าสู่ช่วง อากาศหนาวเย็น แหล่งท่องเที่ยวในภาคเหนือของประเทศ คือ เป้าหมายที่ผู้คนในภาคอื่นๆ โดยเฉพาะผู้อาศัยอยู่ในเมืองใหญ่อย่างกรุงเทพฯต่างก็หวังจะได้เปลี่ยนไปสัมผัสบรรยากาศที่แตกต่าง ไปจากในเมือง เกือบจะทุกคนล้วนมุ่งหวังได้ไปเยือนดอยอินทนนท์ พระตําหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ และ วัดพระธาตุดอยสุเทพด้วยกันทั้งนั้น ช่วงเทศกาลวันหยุดในฤดูกาลท่องเที่ยวที่อากาศและโอกาส อํานวย แหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมจึงเนืองแน่นไปด้วยผู้มาเยือนจากทั่วทุกสารทิศ พฤติกรรมการ ท่องเที่ยวทั้งหลายทั้งการเดินทาง การพักแรม การกินอยู่ ความสุขสันต์หรรษาและการซื้อหาของฝาก ฯลฯ จึงเป็นแบบแผนที่กระทําซ้ําๆ กันเป็นส่วนใหญ่ จํานวนผู้มาเยือนแหล่งท่องเที่ยวแต่ละแห่งมีการ เปลี่ยนแปลงขึ้นๆ ลงๆ อยู่เสมอตามภาวะเศรษฐกิจและสถานการณ์ทางการเมือง ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย กับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจึงต้องคอยปรับเปลี่ยนกลยุทธการตลาดเพื่อให้ตอบรับกับภาวะการ เปลี่ยนแปลงดังกล่าวอยู่ตลอดเวลา อย่างไรก็ตามมาในระยะหลังนักท่องเที่ยววัฒนธรรมบางส่วนที่มีวิถีชีวิตอยู่ในเมืองและมี ฐานะทางเศรษฐกิจการเงินค่อยข้างดีมีความต้องการท่องเที่ยวเฉพาะทาง ผู้คนเหล่านี้มิได้เสพ วัฒนธรรม (ในฐานะทรัพยากรท่องเที่ยว) ที่ตนได้ไปเยือนในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของวันหยุด นักท่องเที่ยวแนวนี้มีความใฝ่ฝันและมีแง่มุมการสร้างสรรค์ประสบการณ์ที่คนเหล่านี้กําลังแสวงหาใน ฐานะที่จะช่วยเสริมอัตตลักษณ์ของตนนับเป็นการท่องเที่ยวสร้างสรรค์ (Creative Tourism) ที่ แตกต่างไปจากการการท่องเที่ยววัฒนธรรมแบบดั้งเดิมหลายประการและที่สําคัญที่สุด คือ ความ แตกต่างที่การท่องเที่ยวสร้างสรรค์ต้องการ คือ การมีส่วนร่วมอย่างมากในส่วนของผู้บริโภคหรือเป็น การเปลี่ยนแปลงจากการบริโภค (พฤติกรรมของนักท่องเที่ยวดั้งเดิม) ไปสู่การบริโภคของมืออาชีพ (อย่างที่ปรากฏกับนักท่องเที่ยวสร้างสรรค์) การท่องเที่ยวสร้างสรรค์ปรากฏตัวขึ้นก็เพราะโครงสร้าง ของสังคมและวัฒนธรรมไม่อาจที่จะหยิบยื่นความปลอดภัยให้กับปัจเจกและไม่อาจหยิบยื่นการ ตระหนักสํานึกให้กับปัจเจก ผู้คน (อย่างนักท่องเที่ยวสร้างสรรค์) จึงเริ่มพัฒนาตนเอง โดยผ่านการ บริโภคอย่างผู้ชํานาญการ การท่องเที่ยวสมัยใหม่ที่ผู้คนส่วนใหญ่ทั่วโลกคุ้นเคยกันนั้นเป็นพฤติกรรม การท่องเที่ยวที่เน้นรูปแบบและหน้าที่ แต่การท่องเที่ยวสร้างสรรค์หรือการท่องเที่ยวแบบโพสโมเดิร์น ห่วงใยสัมพันธ์เพื่อสุนทรีย์และพัฒนาการของตัวตนหรืออัตตา (self) เป็นอย่างยิ่ง อาจกล่าวได้ว่าใน การท่องเที่ยวแบบโพสโมเดิร์นนั้นระบบการบริโภคสินค้าและการบริการถูกแทนที่โดยเศรษฐกิจ ของสัญญะไปแล้ว มนุษย์สะสมสัญญะของวัฒนธรรมผ่านการท่องเที่ยววัฒนธรรม แต่สํานึกของ โพสโมเดิร์นก็บ่งชัดเช่นกันว่า นักท่องเที่ยวแนวนี้ย้อนแย้งเพิ่มขึ้นเกี่ยวกับขบวนการดังกล่าว นักท่องเที่ยวโพสโมเดิร์นตระหนักอย่างยิ่งถึงความปราศจากเหตุผลในการแสวงหาความจริงแท้ และก็ สนุกสุขสันต์ที่จะเล่นกับคําดังกล่าว การชอบสนุก คือ เครื่องหมายตราสัญลักษณ์หนึ่งของการบริโภค การท่องเที่ยวแบบโพสโมเดิร์น แต่การจัดการธุรกิจเพื่อการท่องเที่ยวแนวนี้ก็อย่างยิ่งเช่นกัน ที่ผ่านมา
  • 4. 4 มีตัวอย่างโอกาสการเดินทางอยู่มากที่อยู่ในข่ายของการท่องเที่ยวแบบโพสโมเดิร์น ทุกวันนี้ นักท่องเที่ยวสามารถเพิ่มพูนประสบการณ์การท่องเที่ยวมาดกวัฒนธรรม การท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ การท่องเที่ยวแบบผจญภัย การท่องเที่ยวถวิลหาอดีต เช่น เที่ยวพิพิธภัณฑ์บ้านควาย หรือเที่ยวตลาด เก่า 200 ปีและมีโอกาสพิเศษอีกมากมายที่มุ่งเน้นการเดินทางท่องเที่ยวแบบเหมาจ่าย (Travel Packages) ตามความเห็นของ Natan Uriely (ค.ศ. 1997) วาทกรรมเกี่ยวกับการท่องเที่ยวแนว โพสโมเดิร์นอาจแบ่งได้เป็น 2 กรอบแนวคิด คือ แนวคิดแรกเน้นที่การท่องเที่ยวแบบจัดฉากและ แนวคิดที่ 2 คือ การท่องเที่ยวอื่นๆ การศึกษาการท่องเที่ยวแบบจัดฉากส่วนใหญ่มุ่งไปที่การแสวงหา ความจริงที่เหนือจริงและความต้องการของนักท่องเที่ยวเพื่อแบบฉบับ ของความจริงที่จัดสร้างขึ้นมา ส่วนการท่องเที่ยวอื่นส่วนใหญ่เกี่ยวกับความคิดที่ว่านักท่องเที่ยวโดยมากแสวงหาโอกาสที่จะเดินทาง ไปสู่สภาพแวดล้อมธรรมชาติที่ที่ซึ่งนักท่องเที่ยวอาจได้เผชิญกับจริงแท้อันแน่จริง แม้ว่ากรอบแนวคิด ทั้ง 2 จะต่างกันคนละขั้ว แนวคิดทฤษฎีการท่องเที่ยวโพสโมเดิร์นก็รวมกันอย่างไม่ค่อยจะเต็มใจที่ สรุป (เบื้องต้น) ว่านักท่องเที่ยวก็เหมือนๆ กัน ณ ปัจจุบันแรงกระตุ้นผู้มาเยือนจึงมีหลากหลายมิติ การท่องเที่ยวสู่ชนเผ่าเบดูอินในประเทศอิสราเอลเป็นตัวอย่างดีเยี่ยมที่สะท้อนประสบการณ์ การเดินทางแนวโพสโมเดิร์น มีบริษัทท่องเที่ยวหลายแห่งนําเสนอการท่องเที่ยวเบดูอินในรูปแบบของ การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ การอนุรักษ์วัฒนธรรมและการแสวงหาความจริงแท้ อย่างเช่นการท่องเที่ยวที่ จัดโดยบริษัท Kfar Hanokdim นั้นนักท่องเที่ยวมีโอกาสเข้าพักแรมหลากหลายรูปแบบ เช่น เข้าพัก ในเต็นท์แบบชนเผ่า เข้าพักในห้องหรือที่เจาะภูผาเป็นห้องไว้ให้ ทัวร์นี้มีสองแพคเกจส์ คือ ให้ขี่หลังลา หรือขี่หลังอูฐ เพื่อเที่ยวชมสภาพแวดล้อมทะเลทรายพร้อมมีอาหารพื้นถิ่นบริการ นักท่องเที่ยวทุก ท่านจะได้รับการต้อนรับแบบเบดูอินซึ่งเป็นรายการที่รวมถึงการต้อนรับแบบพื้นถิ่นโดยชนพื้นเมืองผู้ เป็นเจ้าบ้าน การได้ดูพิธีบดโม่และเตรียมกาแฟ ได้ฟังบรรยายและได้รับรู้เรื่องราวเกี่ยวกับชีวิต ชุมชนเบดูอิน นอกจากนี้ Kfar Hanokdim ยังมีบริการบาร์ Mitzvahs และจัดเตรียมหมู่บ้านลานการ แสดงไว้ให้เช่าเพื่อผู้มาเยือนได้จัดงานโอกาสพิเศษเป็นการส่วนตัว บริษัทที่สอง คือ Bedouin Experience เป็นการจัดการท่องเที่ยวที่เน้นความสัมพันธ์อัน เปราะบางระหว่างวัฒนธรรมเบดูอินและโลกตะวันตก นับเป็นตัวแทนการท่องเที่ยวที่มุ่งหมายให้การ จัดการท่องเที่ยวได้สร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจท้องถิ่นเบดูอินและเน้นการนําผู้คนจากต่าง วัฒนธรรมได้มารู้จักและให้เกียรติซึ่งกันและกัน นอกจากนี้ตัวแทนจัดการท่องเที่ยวยังหวังที่จะให้ ความรู้แก่ผู้มาเยือนได้ทราบบทบาทความสําคัญของทะเลทรายที่มีต่อวัฒนธรรมเบดูอินอันจะนําไปสู่ การส่งเสริมให้เกิดการอนุรักษ์วิถีวัฒนธรรมไว้ ประสบการณ์การท่องเที่ยวเบดูอินเป็นแบบแผนการท่องเที่ยวในแนวทฤษฎีการท่องเที่ยว โพสโมเดิร์นโดยแท้ นักท่องเที่ยวได้รับโอกาสที่จะมีประสบการณ์เอกลักษณ์วัฒนธรรมที่ตนต้องการ แสวงหาโดยไม่เหมือนใคร อีกทั้งยังเป็นตัวอย่างการท่องเที่ยวของการจัดโอกาสพิเศษที่จัดสร้างขึ้นมา เพื่อให้ผู้มาเยือนได้เติมเต็มความต้องการหาความจริงที่เหนือจริงตามที่นิยามไว้โดยทฤษฎีการ
  • 5. 5 ท่องเที่ยวแบบจัดฉาก ขณะเดียวกันนักท่องเที่ยวผู้มาเยือนยังมีโอกาสที่จะได้ประสบการณ์การ ท่องเที่ยวอื่นๆ ที่นี่ขณะที่สามารถเที่ยวเตร่ไปในสภาพแวดล้อมทะเลทรายที่ยากลําบากของเขต Negev ในอิสราเอล ในสภาพแวดล้อมที่โหดเป็นการกระทําที่น่าขําด้วยขาดประสบการณ์ที่จําเป็นต่อ การอยู่รอดในสภาพแวดล้อมของที่นั่นโดยปราศจากความช่วยเหลือของชุมชนเบดูอินที่เป็นเจ้าบ้าน และเป็นตัวแทนการเดินทางผู้จัดแจงทัวร์ของตน อันคําว่า “ความจริงแท้” เมื่อนํามาประยุกต์ใช้อธิบายในการท่องเที่ยวก็เป็นที่โต้แย้งกันอยู่ มาก Dean MacCannell (ค.ศ. 1976) เป็นคนแรกที่นําแนวคิดความจริงแท้มาใช้ในงานเขียนตํารา “The Tourist: A New Theory of the Leisure Class” ในงานเขียนนี้ MacCannell ใช้คําว่า “ประสบการณ์ความจริงแท้” และ “ความจริงแท้แบบจัดฉาก” ตามความเห็นของ MacCannell แล้วเป็นไปได้เสมอที่ว่าอะไรที่ถือว่าเป็นทางเข้าไปสู่ด้านหลังจริงๆ แล้วก็เป็นทางเข้าไปสู่ด้านหน้าที่ ทั้งหมดทั้งมวลถูกจัดไว้ล่วงหน้าเพื่อการมาเยือนของการท่องเที่ยว ประสบการณ์ของนักท่องเที่ยว อาจจะไม่เคยจริงแท้เลยหรือแม้ว่านักท่องเที่ยวจะเข้าใจรับรู้ว่าประสบการณ์เป็นเช่นไร นักวิจัย Ning Wang (ค.ศ. 1999) ได้โต้แย้งแนวคิดของ MacCannell โดยการสังเกตว่าความจริงแท้เป็นคําที่ใช้โดย ชนชั้นผู้นําผู้ที่มีการศึกษา คนภายนอก ในหลายหนทางก็คล้ายๆ กับนักท่องเที่ยวกําลังหาความจริง แท้ ดูเหมือนว่าทั้ง MacCannell และ Wang เปรียบเทียบเสมือนอยู่คนละด้านบนเหรียญอันเดียวกัน ที่จริงแล้วความจริงแท้เป็นอัตตวิสัย สําหรับนักท่องเที่ยวโอกาสที่จัดแสดงไว้ให้ดูอาจจะดูจริงสมบูรณ์ แบบ แม้ว่าผู้จัดและนักแสดงก็ทราบดีเป็นเพียงว่าการจัดฉากที่แท้จริง ในปี ค.ศ. 1988 Dennis O’Rourke ได้ถ่ายทําภาพยนตร์สารคดีเรื่อง “Cannibal Tours” โดยได้ติดตามกลุ่มชาวยุโรปตะวันตกผู้มั่งคั่งและนักท่องเที่ยวชาวอเมริกันเดินทางโดยทางเรือสําราญ ขึ้นไปต้นน้ําเซปิกในปาปัวนิวกินี โดยแวะเยี่ยมชมหมู่บ้านต่างๆ โดยการถ่ายรูปและเดินซื้อหาของที่ ชาวบ้านนํามาวางเร่ขายเพื่อเป็นของที่ระลึก ส่วนใหญ่เป็นงานฝีมือ เช่น ถุงที่ถักจากเชือกเปลือกไม้ และงานแกะสลักรูปทรงอย่างพื้นเมือง ภาพยนตร์ได้แสดงปฏิสัมพันธ์ของผู้มาเยือนกับคนพื้นเมือง ใน ความเข้าใจ (ก่อนมาเยือน) ของนักท่องเที่ยวคิดว่าชนพื้นเมืองอยู่ในสภาพป่าเถื่อน อดอยากและไม่ เป็นมิตรกับคนแปลกหน้า ฯลฯ เหล่านี้ คือ “ความจริงแท้” ที่คนนอกอย่างนักท่องเที่ยวคาดหวัง ครั้น เมื่อได้มาเยือนก็ประจักษ์แก่สายตาว่าชนพื้นเมืองไม่ได้ดําเนินชีวิตตามวิถีประเพณีที่เป็นความจริงแท้ มาแต่กาลก่อน กลับมีความเป็นอยู่ที่อุดมสมบูรณ์ตามอัตตภาพของท้องถิ่น ประเพณีพิธีกรรมหลาย อย่างก็เลิกถือปฏิบัติไปแล้วตามกฎของการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม ประเด็นเหล่านี้ได้สร้างความ ผิดหวังให้แก่นักท่องเที่ยวที่มุ่งหวังได้เผชิญสภาพดั้งเดิมของคนอื่น (Primitive Other) ส่วนคนท้องถิ่น ก็คาดหวังว่านักท่องเที่ยวฝรั่งเป็นคนร่ํารวยคงจะแย่งกันซื้อของที่ตนนํามาวางขายแต่ก็ผิดคาด นักท่องเที่ยวไม่ได้ซื้อของพื้นเมืองมากนัก อีกทั้งระหว่างซื้อขายยังต่อรองราคาอย่างเป็นล่ําเป็นสัน ทํา ให้ชนพื้นเมืองเข้าใจว่านักท่องเที่ยวขี้เหนียวและเพื่อให้ความสัมพันธ์ระหว่างการเผชิญหน้ากันดําเนิน ไปได้ ชนพื้นเมืองได้พยายามทําให้นักท่องเที่ยวพึงพอใจโดยจัดแสดงเซ่นไหว้บรรพบุรุษ แต่งกายแบบ พื้นเมืองเพื่อให้นักท่องเที่ยวได้ถ่ายรูปเป็นที่ระลึกและนักท่องเที่ยวก็ให้เงินเป็นรางวัล ความเข้าใจ
  • 6. 6 เช่นนี้กระตุ้นให้คนพื้นเมืองพยายามทําและขายทุกอย่างเพื่อเติมเต็มความปรารถนาความจริงแท้ของ นักท่องเที่ยวโดยปรับเปลี่ยนแบบแผนชีวิตชนิดจัดแสดงเฉพาะกิจเพื่อเอาใจผู้มาเยือน สภาวะเช่นนี้ ส่งผลให้เกิดความไร้ค่าแก่วัฒนธรรมพื้นถิ่นที่นับวันจะถูกนํามาเป็นสินค้ายิ่งขึ้นเพราะชนพื้นเมืองต้อง นําวัฒนธรรมของตนมาผลิตซ้ําเพื่อตอบสนองกระแสการท่องเที่ยวที่มีจํานวนผู้มาเยือนเพิ่มขึ้นตลอด มา ผลที่ตามมาก็คือทั้งนักท่องเที่ยวและเจ้าบ้านอย่างชนพื้นเมืองจะยังคงความสัมพันธ์ในฐานะผู้มา เยือนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างชนท้องถิ่นและก็จะไม่มีปฏิสัมพันธ์ที่แท้จริงระหว่างคนทั้งสองฝ่าย หากสภาวการณ์เช่นนี้ยังดําเนินต่อไปก็จะมีผลให้วิถีวัฒนธรรมเดิมของท้องถิ่นเข้าไปสู่ความล่มสลาย ในที่สุด หนทางหนึ่งที่น่าจะให้ความสัมพันธ์ระหว่างนักท่องเที่ยวและคนพื้นเมืองดํารงอยู่ต่อไปได้ใน สภาพธรรมชาติก็คือให้ทั้งสองฝ่ายเรียนรู้ซึ่งกันและกันเพื่อให้เกิดบรรยากาศการท่องเที่ยววัฒนธรรม อย่างสมานฉันท์อย่างเช่นที่นักมานุษยวิทยาทําตนกลมกลืนอยู่ในสนามวิจัย จากตัวอย่างความคิดที่ รับทราบเข้าใจเกี่ยวกับความจริงแท้นั้นอยู่ในสภาพขัดแย้งอย่างมากกับความเป็นจริงในปัจจุบันที่ผู้คน โดยเฉพาะผู้เดินทางท่องเที่ยวจะต้องเข้าใจธรรมชาติของวัฒนธรรมที่จะปรับเปลี่ยนเพื่อให้สมสมัยอยู่ เสมอ ไม่มีมนุษย์เผ่าพันธุ์ใดจะสืบสานวิถีประเพณีชีวิตได้ครบครันตามแบบอย่างที่สืบสานมาจาก บรรพบุรุษเพราะบรรพบุรุษและลูกหลานยุคปัจจุบันอยู่ในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน การ ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตเพื่อให้ตอบรับกับเงื่อนไขที่แวดล้อมอยู่ ณ ขณะนั้นเป็นปรากฏการณ์ปกติที่พบเห็น ได้ในสังคมมนุษย์ทั่วโลก นอกจากการแสวงหาความจริงแท้จากกรณีการท่องเที่ยวอย่างที่กล่าวมาข้างต้นยังมีกรณี ตัวอย่างการแสวงหาความจริงแท้ในการท่องเที่ยวด้านมืด (Dark Tourism) สถาบันการวิจัยการ ท่องเที่ยวด้านมืดได้นิยามการท่องเที่ยวแนวนี้ไว้ว่า “เป็นสาขาวิชาการของการศึกษาที่ให้ข้อมูลความรู้ เกี่ยวกับความตายและการศึกษาการท่องเที่ยว” การท่องเที่ยวแนวนี้จะให้ความกระจ่างเชิงวิกฤตด้าน ความเป็นจริงทางสังคมที่เกี่ยวกับความตาย การท่องเที่ยวด้านมืดอาจเผยให้เห็นความตึงเครียดใน ความทรงจําทางวัฒนธรรมซึ่งคาบเกี่ยวกับการตีความและความจริงแท้และสภาวะทางการเมืองและ สภาวะทางศีลธรรมในความทรงจําของผู้คน เป็นมรดกวัฒนธรรมที่แสดงความเจ็บปวด ในการศึกษา ความจริงแท้นั้นการท่องเที่ยวแนวนี้มีนัยสําคัญในความสัมพันธ์ที่การท่องเที่ยวด้านมืดมีต่อทฤษฎีการ ท่องเที่ยวยุคหลังสมัยใหม่ ความจริงที่เหนือจริงและการจัดฉาก Stephanie Yuill (ค.ศ. 2003) โต้แย้งไว้ว่าในการหาสถานที่ที่ถือว่าเป็นด้านมืดจริงๆ นั้นจําเป็นจะต้องเสาะหาปฏิกิริยาที่มีต่อวิถี สมัยใหม่และฉะนั้นจะต้องโยงใยถึงเหตุการณ์หรือหายนะที่เพิ่งเกิดขึ้นและยังอยู่ในความทรงจําของ ผู้คนในปัจจุบัน ตามกรอบความคิดเช่นนี้พัฒนาการเมื่อเร็วๆ นี้ของการท่องเที่ยวไปเยือนตําบลเชอร์ โนบีที่มีกัมมันตภาพรังสีกระจายทั่วและเมืองปริบยัทที่อยู่ใกล้ๆ กันในรัฐยูเครนเป็นตัวอย่างที่ดีที่จะ อธิบายการท่องเที่ยวด้านมืดและสามารถตรวจตราด้วยกรอบแนวคิดยุคหลังสมัยใหม่ได้ วันที่ 26 เมษายน ค.ศ. 1986 เตาปฏิกรณ์ปรมาณูที่โรงงานพลังงานเชอร์โนบีเกิดขัดข้องเป็น เหตุให้เกิดการระเบิดรุนแรงกว่าการระเบิดที่ฮิโรชิมา ประเทศญี่ปุ่นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ถึง 400 เท่า เชอร์โนบีเสียหายย่อยยับ ผู้คนในละแวกนั้นโดยเฉพาะประชากรเกือบ 50,000 คนของเมือง
  • 7. 7 ปริบยัทต้องอพยพออกไป ในปี ค.ศ. 2010 พื้นที่บางส่วนเริ่มมีความปลอดภัยจึงมีการจัดการ ท่องเที่ยวเข้ามา นักท่องเที่ยวจะได้รับอุปกรณ์ติดตัวเพื่อคอยเตือนระดับของกัมมันตภาพรังสีขณะที่ เดินเข้าสู่พื้นที่ นอกจากนี้ยังได้รับการเตือนว่าจะต้องไม่: “... สัมผัสสิ่งก่อสร้างใดๆ หรือพืชพันธุ์ใดๆ ห้ามนั่งบนพื้นหรือแม้แต่กระทั่งจะวางกล้อง ถ่ายรูปตรงนั้นตรงนี้ไม่ได้ จะนําสิ่งของอย่างใดอย่างหนึ่งติดมือออกไปจากเขตโรงงานไม่ได้ ห้ามกิน อาหารด้านนอก มัคคุเทศก์ต้องให้แน่ใจว่านักท่องเที่ยวเข้าใจว่าหลายๆ จุดในพื้นที่ยังมีสารปนเปื้อน มากกว่าจุดอื่นๆ และยืนกรานว่าจะไม่มีใครเดินออกไปนอกเส้นทางที่กําหนด” จากจุดโรงงานนักท่องเที่ยวจะได้ไปเยือนเมืองปริบยัทซึ่งเป็นเมืองที่สร้างขึ้นเพื่อให้คนงานที่ ทํางานในโรงงานพลังงานแห่งนี้และครอบครัวได้พักอาศัย ขณะที่เดินชมบริเวณเมืองนักท่องเที่ยวจะ ได้รับการบอกกล่าวให้เที่ยวชมและสัมผัสนี่นั่นได้และไม่เช่นนั้นก็เพียงได้สังเกตบริเวณรอบๆ ที่ครั้ง หนึ่งเคยเป็นชุมชนที่รุ่งเรือง จุดเด่นๆ เห็นจะได้แก่โรงเรียนในท้องถิ่น ชิงช้าสวรรค์ของสวนสนุกที่ยัง ไม่เคยเปิดใช้เลย และสระว่ายน้ําขนาดใหญ่เท่าสระว่ายน้ําของโอลิมปิค แต่ละจุดเหล่านี้ทําให้ระลึกถึง ผู้คนที่ถูกบังคับให้ต้องหนีออกไปจากบ้านเรือนและหอบหิ้วทรัพย์สมบัติออกไปอย่างรีบด่วนเมื่อ โรงงานระเบิด การทําความเข้าใจแรงกระตุ้นนักท่องเที่ยวเมื่อตรวจตราแหล่งท่องเที่ยวด้านมืดเป็นสิ่งที่ยาก ยิ่งเพราะการท่องเที่ยวเชอร์โนบีก็เป็นกรณีตัวอย่างศึกษาที่วิเศษเหลือ เมื่อนําทฤษฎีโพสโมเดิร์นเข้า มาอธิบายพฤติกรรมการท่องเที่ยวที่เชอร์โนบีก็กล่าวได้ว่านักท่องเที่ยวแสวงหาประสบการณ์ที่ “แท้จริง” ระหว่างท่องเที่ยวชมเชอร์โนบี แต่ความเข้าใจเกี่ยวกับการระเบิดและผลจากการที่โรงงาน ระเบิดนั้นมาจากการรับรู้เรื่องราวจากสื่อต่างๆ ที่นําเสนอข่าวเรื่องราวเกี่ยวกับเหตุการณ์นั้น นั้นก็ หมายความว่านักท่องเที่ยวไม่ได้แสวงหาความเข้าใจใดๆ ในที่นี้เพียงแต่ประสงค์จะได้ประสบการณ์ จากการได้มาเห็น นักท่องเที่ยวพยายามสุดฤทธิ์ที่จะใช้ความเข้าใจที่มีอยู่สร้างรูปแบบและได้ ความรู้สึกจากเหตุการณ์ที่ยุ่งเหยิงวุ่นวายที่มีอยู่ อันที่จริงแล้วนี้ก็คือสัญลักษณ์เด่นของการท่องเที่ยว ด้านมืดและในหลายกรณีก็เป็นโพสโมเดอร์นีสในที่ซึ่งความตายและความสับสนวุ่นวายครอบงําอยู่ ผู้คนพยายามที่จะจัดประเภทและจัดระบบเหตุการณ์เพื่อว่าจะสะท้อนเหนือเหตุการณ์และศึกษา เหตุการณ์นั้น ในตําราเล่มสุดท้าย “Simulacra and Simulation” ของ Jean Baudrillard (ค.ศ. 1981) ได้อภิปรายแนวคิดความจริงที่เหนือจริงซึ่งสามารถนิยามในฐานะของการหลอมรวมกันของความแท้ และความไม่แท้ชนิดที่หารอยต่อกันไม่ได้ ผลก็คือ ความไม่สามารถแยกให้เห็นความแตกต่างของ สภาพทั้ง 2 นั้นได้ เมื่อพิจารณาความจริงที่เหนือจริง ในการศึกษาการท่องเที่ยวจึงจําเป็นต้อง พิจารณาความจริงแท้กันอีก Umberto Eco (ค.ศ. 1988) ได้วิเคราะห์แนวคิดดังกล่าวของ Baudrillard และได้เสนอไว้ว่าความจริงที่เหนือจริงอาจจะนิยาม โดยการโหยหา (ปรารถนา) ความ เป็นจริงเป็นสื่อจําเป็นที่จะได้มีประสบการณ์ว่าอะไรเป็นจริงนั้นก็มีผลลัพธ์ปรากฏอยู่ในการสร้าง (จัด
  • 8. 8 ฉาก) ความเป็นจริงขึ้นมา ผู้คนที่ปรารถนาความจริงได้เสพสภาวะการจัดฉากไปแล้วแต่ก็ไม่มีอะไรเป็น ความจริงแท้ดังจะเห็นได้จากรณีการท่องเที่ยวแบบจัดฉากในอัฟริกาได้ต่อไปนี้ โรงแรม Emoya Luxury และ Spa แห่งอัฟริกาใต้จัดโปรแกรมให้นักท่องเที่ยวได้มีโอกาสหา ประสบการณ์ในชุมชนเมืองแออัดของ Bloemfontein ประสบการณ์นั้นเรียกตามจุดเด่นของทัวร์ว่า เป็น “การท่องเที่ยวแห่งความยากจน” นักท่องเที่ยวเสียค่าใช้จ่ายประมาณ 82 เหรียญสหรัฐต่อคืนที่ จะหลับนอนในเพิงกระท่อมที่มุงฝาและหลังคาด้วยสังกะสี อย่างไรก็ตามนักท่องเที่ยวก็ไม่ได้มีโอกาส อยู่ในสภาพแวดล้อมของเมืองชุมชนแออัดแห่งอัฟริกาใต้จริงๆ เพราะทุกห้องที่จัดเพื่อทัวร์รายนี้ติด เครื่องทําความอบอุ่นไว้ มีน้ําประปาและมีไวไฟ (Wi-Fi) ใช้ นอกจากนี้ยังมีบริการสปาและรายการเปิด โอกาสให้ผู้มาเยือนมีส่วนร่วมไปกับการนั่งรถและเดินตามเส้นทางที่จัดไว้ให้ชมสัตว์พื้นเมืองอัฟริกาที่ หายากเกือบ 40 สายพันธุ์ ยิ่งไปกว่านั้นทางบริษัทผู้จัดยังมีบริการแต่งงานแบบเหมาจ่ายไว้ให้และยัง ได้เสนอเมืองชุมชนแออัดแห่งนี้เหมาะสมที่สุดสําหรับการทีมงานที่จะจัดทํากิจกรรมต่างๆ ร่วมกัน การจัดบริการการท่องเที่ยวอย่างที่กล่าวมาข้างตนนับว่าเป็นตัวอย่างสมบูรณ์แบบของความ จริงที่เหนือจริง นักท่องเที่ยวผู้ที่ใคร่ได้รับประสบการณ์ชีวิตในสลัมแออัดของอัฟนิกาใต้ก็จะได้รับ โอกาสที่จะได้มีประสบการณ์เช่นนั้นเพียงแต่อาจไม่ได้รับความสะดวกสบายบ้างแต่ก็เล็กๆ น้อยๆ ใน ความเป็นจริงแล้วการจัดทัวร์ดังกล่าวไม่มีความจริงแท้แม้แต่น้อย ทางผู้จัดเชื่อว่าความจริงแท้นั้นมา จากความปรารถนาที่จะมีประสบการณ์ความเป็นจริงแต่ทางผู้จัดก็ได้สร้างฉากขึ้นมาเพื่อให้ นักท่องเที่ยวได้มีโอกาสพิสูจน์กับตัวเองว่าเป็นเช่นไร ตัวอย่างการนําที่ที่เคยเป็นคุกขังกักกันและประหารนักโทษให้มาเป็นโรงแรมเพื่อให้นัก เดินทางแนวนี้ได้มีโอกาสรับประสบการณ์อย่างเช่นกรณีโรงแรมคุกในเมือง Liepaja ประเทศ Latvia แถบยุโรปตะวันออกนับเป็นตัวอย่างที่น่าฉงนสุดๆ ของการท่องเที่ยวยุคหลังสมัยใหม่และความ ต้องการประสบการณ์ความจริงที่เหนือจริง ที่โรงแรมคุกแห่งนี้ผู้มาเยือนจะได้รับประสบการณ์เหมือน นักโทษที่ถูกกระทําทารุณโดย KGB เป็นประสบการณ์ที่ถือว่าเป็นรูปแบบของการท่องเที่ยวเพื่อความ เป็นจริง พอนักท่องเที่ยวมาถึงทุกคนก็จะถูกบังคับให้นั่งหมอบและไขว้มือไว้ด้านหลังศีรษะ ขณะที่ผู้ คุมจะอธิบายกฎระเบียบต่างๆ ของโรงแรม ผู้มาเยือนจะได้รับการตรวจสอบทางการแพทย์ ถ่ายรูป และทดสอบความรู้เกี่ยวกับประวัติของประเทศ Latvia หากการกระทําอันใดของนักท่องเที่ยวไม่ เป็นไปตามที่ผู้คุมคาดหวังนักท่องเที่ยวรายนั้นก็จะถูกแยกขังเดี่ยว ทุกอย่างมีกําหนดเวลากาล จะกิน จะนอน จะพักผ่อนในห้องนั่งเล่น ฯลฯ ทุกอย่างต้องเป็นไปตามระเบียบของทางโรงแรมคุกแห่งนี้ การจัดท่องเที่ยวโรงแรมคุกของ Liepaja เป็นตัวอย่างที่แปลกของความต้องการ ประสบการณ์ความจริงที่เหนือจริง เหมือนกันกับในประสบการณ์ชุมชนแออัดของอัฟริกา นักท่องเที่ยวไม่สามารถได้รับประสบการณ์จริงๆ ทุกอย่างที่เกิดขึ้นเป็นเพียงประสบการณ์จากการจัด ฉาก ความต้องการความจริงแท้เป็นสิ่งหนึ่งที่ไม่อาจเติมเต็มได้ นักท่องเที่ยวได้ผ่านประสบการณ์ที่จัด ฉากไว้ให้ก็เพราะอยากทราบว่าหากตัวเองต้องตกอยู่ในสถานการณ์ เช่น คนในสลัมและนักโทษคุก (ซึ่งเป็นคนอื่นที่ไม่ใช่นักท่องเที่ยว) แล้วจะมีความรู้สึกเช่นไร โลกในความเป็นจริง (ของนักท่องเที่ยว)
  • 9. 9 และโลกของคนอื่น (คนในสลัมและคนคุก) เพียงได้มาเผชิญกันเพื่อที่จะสร้างโลกที่มาจากความเป็น จริงที่เหนือจริงเท่านั้น ในแวดวงของการท่องเที่ยวนั้นคนส่วนใหญ่ในโลกยังคงมีพฤติกรรมการท่องเที่ยวพักผ่อน คล้ายๆ กัน คือ ยังคงมีการท่องเที่ยวธรรมชาติและการท่องเที่ยววัฒนธรรม ขณะเดียวกันก็ปรากฎ ความต้องการท่องเที่ยวเฉพาะทางเกิดขึ้นเป็นแบบแผนการท่องเที่ยวที่รวมว่าเป็นการท่องเที่ยวชม แหล่งท่องเที่ยวที่สามารถบอกเล่าเรื่องราวของผู้อื่นที่แตกต่างไปจากนักท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวอยากมี โอกาสผ่านเข้าไปหาประสบการณ์ด้วยตนเองว่าหากตนได้อยู่ในสถานการณ์เช่นนั้นจะเกิดความรู้สึก เช่นไร และจะมีประสบการณ์อย่างไร แหล่งท่องเที่ยวและสถานการณ์ในแหล่งท่องเที่ยวแนวนี้มักเป็น สิ่งที่สะท้อนปัญหา ความเจ็บปวด บาดแผล การกระทําโหดร้ายทารุณ ฯลฯ ที่เคยเกิดขึ้นในแหล่ง ท่องเที่ยวมาก่อน แม้ว่าการจัดการท่องเที่ยวหลังยุคสมัยใหม่ส่วนใหญ่จะเป็นการจัดฉากกระนั้นถ้า เป็นการจัดการท่องเที่ยวที่ช่วยเสริมเพิ่มประสบการณ์แก่ผู่มาเยือนได้ระดับหนึ่งที่ไม่ใช่ความจริงแท้ใน ชีวิต การจัดการท่องเที่ยวเพื่อตอบสนองความต้องการการท่องเที่ยวยุคหลังสมัยใหม่เป็นเรื่องยาก ประการหนึ่งนักท่องเที่ยวยุคหลังสมัยใหม่อาจจะมีพฤติกรรมต้องการท่องเที่ยวเฉพาะทางที่ผิดแผกไป จากคนส่วนใหญ่ แต่ก็เป็นความต้องการท่องเที่ยวเพื่อประสบการณ์เฉพาะกิจ ด้วยในชีวิตจริง นักท่องเที่ยวแนวยุคหลังสมัยใหม่ก็ยังคงท่องเที่ยวกันตามวิถีการท่องเที่ยวสมัยใหม่ บางช่วงบางเวลา ของชีวิตเท่านั้นที่อาจจะใคร่ได้แสวงหาประสบการณ์แปลกใหม่ในแหล่งท่องเที่ยวที่ไม่ซ้ํากับใครที่จะ ช่วยให้เติมเต็มความต้องการสร้างเสริมอัตตาของตน
  • 10. 10 เอกสารอ้างอิง Baudrillard, Jean. 1981. Simulacra and Simulation, trans. Sheila Faria Glaser (Paris: Editions Galilée) Eco, Umberto. Travels in Hyperreality, 1986. trans. William Weaver Houghton Mifflin Harcourt Publishing Heintz, Jim. Chernobyl Tour Offered 25 Years after Blast. NBC News, April 11, 2011, assessed December 14, 2013 MacCannell, Dean. 1976. The Tourists A New Theory of Leisure Class. California University of California Press Uriely, Natan. 1997. Theories of Modern and Postmodern Tourism. Annals of Tourism Research Wnag, Ning. 1999. Rethinking Authenticity in the Tourism Experiences. Annals of Tourism Research Yuill, Stephanie. 2003. Dark Tourism: Understanding Visitor Motivation at Sites of Death and Disaster. MA dissertation, Texas and M University