SlideShare a Scribd company logo
1 of 41
Download to read offline
พฤติกรรมและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มาใช้บริการแพนด้าสโนว์โดม
สวนสัตว์เชียงใหม่
จัดทาโดย
ชนินทร์ อุดมศรีรัตน์
491610020
อาจารย์ที่ปรึกษา
รศ.ดร. วีนัส ฤๅชัย
รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งในกระบวนวิชา 751409
(แบบฝึกหัดการวิจัยปัญหาเศรษฐกิจปัจจุบัน)
ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2552
คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ก
กิตติกรรมประกาศ
การค้นคว้าแบบฝึกหัดการวิจัยฉบับนี้ สาเร็จลุล่วงลงได้ด้วยความกรุณาและการอนุเคราะห์
ช่วยเหลือจากบุคคลและหน่วยงานหลายฝ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง รศ. ดร.วีนัส ฤาชัย อาจารย์ที่ปรึกษา
แบบฝึกหัดการวิจัยฉบับนี้ที่ได้กรุณา เสียสละเวลา ให้คาแนะนา ปรึกษา ตลอดจนตรวจสอบแก้ไขและให้
ความรู้แก่ผู้ทาการศึกษาจนการค้นคว้าแบบอิสระนี้เสร็จสมบูรณ์ ผู้วิจัยกราบขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงไว้
ณ ที่นี้
ขอขอบคุณสาหรับเพื่อน ๆ ทุกคนที่คอยให้คาแนะนาและคาปรึกษาที่ดีเสมอมา และขอขอบคุณทุก
แรงใจที่ผลักดันให้การค้นคว้าแบบฝึกหัดการวิจัยฉบับนี้เสร็จสมบูรณ์ ขอขอบคุณเจ้าหน้าที่สวนสัตว์
เชียงใหม่และเจ้าหน้าที่แพนด้าสโนว์โดมทุกท่านที่เอื้อเฟื้อ ให้คาแนะนาและช่วยเหลือในการเก็บข้อมูลของ
ข้าพเจ้าดาเนินไปได้ด้วยดี และ ขอขอบคุณผู้ที่ช่วยตอบแบบสอบถามทุกท่านที่ได้ให้ความร่วมมือและ
เสียสละเวลาในการตอบแบบสอบถาม ทาให้การเก็บข้อมูลสามารถลุล่วงไปได้ด้วยดี
ท้ายที่สุดนี้ หากมีสิ่งขาดตกบกพร่องหรือผิดพลาดประการใด ผู้เขียนขออภัยเป็นอย่างสูงใน
ข้อบกพร่องและความผิดพลาดนั้น และผู้เขียนหวังว่าการศึกษาเพื่อการค้นคว้าแบบฝึกหัดการวิจัยฉบับนี้ จะ
เป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยสาหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนผู้สนใจข้อมูล
ชนินทร์ อุดมศรีรัตน์
ข
สารบัญ
หน้า
กิตติกรรมประกาศ ก
สารบัญ ข
สารบัญตาราง ค
บทที่ 1 บทนา 1
1.1 ที่มาและความสาคัญของปัญหา 1
1.2 วัตถุประสงค์ในการศึกษา 4
1.3 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 4
1.4 ขอบเขตการศึกษา 4
1.5 นิยามศัพท์ 4
บทที่ 2 การทบทวนวรรณกรรม 6
2.1 ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง 6
2.2 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 11
2.3 กรอบแนวคิด 13
บทที่ 3 ระเบียบวิธีวิจัย 14
3.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา 14
3.2 ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษา 14
3.3 วิธีการศึกษา 15
บทที่ 4 ผลการศึกษา 17
4.1 ผลการศึกษาข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างของนักท่องเที่ยว 17
4.2 ผลการศึกษาพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยว 19
4.3 ผลการศึกษาระดับความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว 27
บทที่ 5 สรุปผลการศึกษาและข้อเสนอแนะ 30
5.1 สรุปผลการศึกษา 30
5.2 ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย 31
5.3 ข้อเสนอแนะในการศึกษาครั้งต่อไป 32
เอกสารอ้างอิง 33
ภาคผนวก 34
ค
สารบัญตาราง
ตารางที่ หน้า
1.1 แสดงรายได้และจานวนนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวสวนสัตว์เชียงใหม่ช่วงปี 2
งบประมาณ 2540 ถึง มิ.ย. 2547
4.1 แสดงจานวนและร้อยละข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างที่มาท่องเที่ยว 18
4.2.1 แสดงจานวนและร้อยละของรูปแบบของกลุ่มที่มาใช้บริการ จาแนกตามกลุ่มอาชีพ19
4.2.2 แสดงจานวนและร้อยละของรูปแบบของกลุ่มที่มาใช้บริการ จาแนกตามกลุ่มรายได้ 20
4.2.3 แสดงจานวนและร้อยละของ แหล่งข้อมูลในการมาใช้บริการจาแนกตามกลุ่มอาชีพ 21
4.2.4 แสดงจานวนและร้อยละของแหล่งข้อมูลในการมาใช้บริการจาแนกตามกลุ่มรายได้ 22
4.2.5 แสดงจานวนและร้อยละของค่าใช้จ่ายในการมาใช้บริการจาแนกตามกลุ่มอาชีพ 23
4.2.6 แสดงจานวนและร้อยละของ ค่าใช้จ่ายในการมาใช้บริการจาแนกตามกลุ่มรายได้ 24
4.2.7 แสดงจานวนและร้อยละของ ความถี่ในการมาใช้บริการจาแนกตามกลุ่มอาชีพ 25
4.2.8 แสดงจานวนและร้อยละของ ความถี่ในการมาใช้บริการจาแนกตามกลุ่มรายได้26
4.3.1 แสดงระดับความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวต่อปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ 27
4.3.2 แสดงระดับความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวต่อปัจจัยด้านราคา 28
4.3.3 แสดงระดับความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวต่อปัจจัยด้านสถานที่ 28
4.3.4 แสดงระดับความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวต่อปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาด 29
4.3.5 แสดงระดับและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวต่อปัจจัยด้านต่างๆ ตาม 29
แนวคิดส่วนประสมการตลาด
1
บทที่ 1
บทนา
1.1 ที่มาและความสาคัญของปัญหา
เป็นที่ไม่ปรากฏแน่ชัดว่า“สวนสัตว์” แห่งแรกของโลกแต่เดิมมานั้นคือที่ใด แต่ตามบันทึกใน
อดีตนั้นสวนสัตว์จะเป็นส่วนหนึ่งของสวนของคหบดีหรือคนชั้นสูงในการสะสมหรือรวบรวมสัตว์
ที่หายากเพื่ออวดโชว์กันในแวดวงสังคมชั้นสูงในยุโรป ซึ่งสวนสัตว์ในยุคแรกๆเป็น แต่เพียงกรง
หรือคอกกักขังสัตว์ ต่อมาได้มีการปรับปรุงสวนสัตว์ที่มีอยู่เดิมให้มีสภาพแวดล้อมเหมาะกับสัตว์
มากขึ้น จนในปัจจุบันกล่าวได้ว่า สวนสัตว์ คือ สถานที่จัดแสดงสัตว์ป่าที่จับมาได้จากป่าใหญ่ หรือ
นําเข้าจากต่างประเทศ และมีส่วนอนุรักษ์วิจัยเพื่อศึกษาชีวิตของสัตว์ป่าทุกชนิด สวนสัตว์จึงนับได้
ว่าเป็นสถานที่ท่องเที่ยวและเป็นแหล่งศึกษาหาความรู้ เฉกเช่นเดียวกับพิพิธภัณฑ์ที่ดึงดูดผู้ชมเป็น
จํานวนมาก โดยการจัดแสดงภายในสวนสัตว์มักมีการแบ่งเป็นโซนเน้นให้เห็นสภาพความเป็นอยู่
หรือจัดกลุ่มสัตว์เป็นประเภทๆ ซึ่งสวนสัตว์บางแห่งอาจอยู่ในรูปแบบของ สวนสัตว์เปิด ( Open
Zoo) หรืออยู่ในรูปแบบของสวนสัตว์เด็ก (Children Zoo) ที่คล้ายกับสนามเด็กเล่น
สําหรับสวนสัตว์ในประเทศไทยมีหน่วยงานราชการ ชื่อ องค์การสวนสัตว์ ในพระบรม
ราชูปถัมภ์ดูแล โดยมีสวนสัตว์อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบทั้งสิ้น 5 แห่ง คือ สวนสัตว์ดุสิต, สวนสัตว์
เปิดเขาเขียว, สวนสัตว์เชียงใหม่, สวนสัตว์นครราชสีมา และสวนสัตว์สงขลา
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา สวนสัตว์เชียงใหม่นับว่าได้รับความสนใจจากคนในประเทศเป็น
อย่างมากทั้งในส่วนของประชาชนทั่วไปและสื่อมวลชน เนื่องด้วยนับตั้งแต่ พ.ศ.2544 ที่พลเอก
ชวลิต ยงใจยุทธ ฯพณฯรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมในขณะนั้นได้
เจรจาขอหมีแพนด้าจากประธานาธิบดีและนายกรัฐมนตรีของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่ง
ทางรัฐบาลจีนมีความยินดีที่จะมอบหมีแพนด้าจํานวน 2 ตัวให้ประเทศไทยนํามาจัดแสดง ณ สวน
สัตว์เชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นเวลา 10 ปี เริ่มตั้งแต่ปลายปี พ.ศ.2546 เป็นต้นไป เพื่อเป็น
สัญลักษณ์แห่งสัมพันธไมตรีที่มีต่อกันอย่างยาวนานและเพื่อร่วมเฉลิมฉลอง 72 พรรษามหาราชินี
ในปี พ.ศ.2547
การเดินทางมาของหมีแพนด้าทั้งสองได้แก่ ช่วงช่วง และหลินฮุ่ยในเดือนตุลาคม พ.ศ.2546
ได้รับความสนใจจากประชาชนและสื่อมวลชนเป็นอย่างมาก มีการจัดพิธีต้อนรับอย่างยิ่งใหญ่
ถ่ายทอดสดแพร่ภาพทั่วประเทศ ทําให้ดึงดูดนักท่องเที่ยวและสร้างรายได้ให้แก่สวนสัตว์เชียงใหม่
และจังหวัดเชียงใหม่เป็นอันมาก ดังตารางที่ 1.1
2
ตารางที่ 1.1 รายได้และจํานวนนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวสวนสัตว์เชียงใหม่ช่วงปีงบประมาณ
2540 ถึง มิ.ย. 2547
ปีงบประมาณ จํานวนนักท่องเที่ยว(คน) รายได้(บาท)
2540 681,232 13,957,772
2541 704,674 14,851,353
2542 588,581 17,356,714
2543 522,805 14,930,423
2544 565,488 13,598,930
2545 558,456 14,248,718
2546 611,635 17,670,566
ต.ค.2546– มิ.ย 2547 1,316,758 29,687,813
ที่มา : สวนสัตว์เชียงใหม่
ในเดือนมิถุนายน พ.ศ.2552 ได้มีเหตุการณ์น่าชื่นชมยินดีคือ เจ้าหน้าที่โครงการวิจัยหมี
แพนด้าประจําสวนสัตว์เชียงใหม่ประสบความสําเร็จในการผสมเทียมแก่หมีแพนด้าเพศเมียหลินฮุ่ย
และได้ให้กําเนิดลูกหมีแพนด้าเพศเมีย 1 ตัว ซึ่งการถือกําเนิดมาของสมาชิกใหม่ของสวนสัตว์
เชียงใหม่ดังกล่าวได้รับความสนใจจากประชาชนเป็นอย่างมาก โดยมีการจัดพิธีล้านนารับขวัญลูก
หมีแพนด้าเกิดใหม่อย่างครึกครื้น รวมถึงการประกวดตั้งชื่อให้แก่ลูกหมีแพนด้าที่ได้รับความสนใจ
จากคนทั้งประเทศ โดยจะพบว่าตั้งแต่ปีแรกที่หมีแพนด้าทั้งสองเข้ามาประเทศไทย ได้ สร้างรายได้
จากการท่องเที่ยวให้เชียงใหม่ 3,000 ล้านบาท โดยหากนับเฉพาะรายได้ของทางสวนสัตว์นั้นในปี
แรกมีรายได้กว่า 120 ล้านบาทจนถึงปัจจุบันปี พ.ศ.2552ผ่านมาแล้ว 6ปี สวนสัตว์มีรายได้มากกว่า
500-600 ล้านบาทแล้วจากที่ลงทุนไปทั้งหมด ประมาณ 120 ล้านบาท(โสภณ ดํานุ้ย, ผู้อํานวยการ
องค์การสวนสัตว์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 2552.)
และกลางเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2552 ทางสวนสัตว์เชียงใหม่ได้เปิดบ้านหลังใหม่ของ
ครอบครัวหมีแพนด้า “แพนด้าสโนว์โดม” ซึ่งมีจุดเด่นที่น่าสนใจคือภายในเป็นโดมประกอบด้วย
เครื่องสร้างหิมะซึ่งจําลองกระบวนการเกิดหิมะจริงในธรรมชาติที่เปิดโอกาสให้ประชาชนได้สัมผัส
บรรยากาศของหิมะตกที่เกิดขึ้นครั้งแรกในภาคเหนือ สร้างความตื่นตาตื่นใจเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งการ
ก่อสร้างแพนด้าสโนว์โดมมีแนวความคิดมาจากการที่สวนสัตว์เชียงใหม่ได้รับแพนด้าจากประเทศ
จีนซึ่งเป็นเมืองหนาวมาเลี้ยงไว้ที่ประเทศไทยซึ่งเป็นเมืองร้อน โดยที่ผ่านมาได้ให้แพนด้าอยู่ แต่
เพียงในห้องปรับอากาศที่ควบคุมอุณหภูมิอยู่ระหว่าง 18-25 องศาเซลเซียส ซึ่งพอทําให้แพนด้าอยู่
ได้อย่างสบายแต่ไม่เหมือนประเทศจีนที่ในฤดูหนาวจะมีหิมะตกและอากาศหนาวเย็นตลอดทั้งปี
สวนสัตว์เชียงใหม่จึงได้วางแผนที่จะทําให้แพนด้าในเมืองไทยได้สัมผัสอากาศหนาวเย็นและอยู่กับ
หิมะโดยจําลองบรรยากาศให้ใกล้เคียงกับที่มณฑลเฉิงตูประเทศจีนซึ่งเป็นถิ่นกําเนิดของหมีแพนด้า
3
อีกทั้งมีแนวคิดของผู้บริหารสวนสัตว์ว่าจะทําหิมะตกในเมืองไทยครั้งแรกซึ่งจะเป็นแหล่งท่องเที่ยว
ที่น่าสนใจอย่างมาก จึงได้ขออนุมัติงบประมาณจากรัฐบาลและองค์การสวนสัตว์ ในพระบรม
ราชูปถัมภ์ในการออกแบบและก่อสร้างแพนด้าสโนว์โดมรวมมูลค่ากว่า 67 ล้านบาท (นายธนภัทร
พงษ์ภมร, ผู้อํานวยการสวนสัตว์เชียงใหม่, 2552.)
สําหรับการเปิดให้บริการ แก่นักท่องเที่ยว ชองแพนด้าสโนว์โดมใน เบื้องต้นกําหนดเปิด
ให้บริการแบบเป็นฤดูกาล โดยหากเป็นในช่วงฤดูหนาวจะใช้พื้นที่สําหรับจัดแสดงแพนด้าและเปิด
ให้นักท่องเที่ยวเข้าไปชมเท่านั้น แต่หากเป็นช่วงฤดู อื่นจะเปิดให้นักท่องเที่ยวสามารถลงไปเล่น
หิมะได้ โดยสวมใส่ชุดกันหนาวที่มีการจัดเตรียมไว้ให้บริการ โดยแพนด้าสโนว์โดมได้เริ่มเปิด
ให้บริการแก่ประชาชนทั่วไปตั้งแต่วันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 เป็นต้นมา ในเบื้องต้นได้ เปิด
ให้บริการจํานวน 12 รอบต่อวัน จํากัดจํานวนผู้เข้าชม 50 คนต่อรอบ โดยเข้าชมรอบแรกในเวลา
09.45 -10.20 น. และสิ้นสุดรอบสุดท้ายในเวลา 17.05-17.40 น. ค่าเข้าใช้บริการมี 2 ราคาคือ ผู้ใหญ่
150 บาทและเด็ก 100 บาท โดยนายพงษ์สิทธิ์ สิทธวัง(2552) ผู้จัดการโครงการสโนว์โดมเชื่อว่าจะ
คุ้มค่าสําหรับคนไทยที่มาเที่ยวชม เพราะมีค่าใช้จ่ายไม่สูง เมื่อเทียบกับการไปเที่ยวถึงต่างประเทศ
และทางด้านนายชุมพร แสงมณี(2552) รองผู้ว่าราชการเชียงใหม่ก็เชื่อมั่นว่า “แพนด้าสโนว์โดม ”
แห่งนี้จะเป็นจุดขายใหม่ที่ช่วยดึงดูด ให้นักท่องเที่ยวเดินทางมาท่องเที่ยวสวนสัตว์เชียงใหม่และ
จังหวัดเชียงใหม่เพิ่มโอกาสทางรายได้จากการท่องเที่ยวแก่เชียงใหม่ในอนาคตซึ่งผลดีต่อเศรษฐกิจ
การท่องเที่ยวที่จะเกิดขึ้นไม่เพียงแต่จังหวัดเชียงใหม่เท่านั้น แต่ยังหมายถึงการสะพัดของเงินตราทั้ง
ในประเทศและต่างประเทศ
จากความสําคัญของแพนด้าสโนว์โดมที่มีต่อการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจที่ได้กล่าวมาแล้ว
ข้างต้น และด้วยงบประมาณกว่า 60 ล้านบาทที่สวนสัตว์เชียงใหม่ได้ใช้ไปในการสร้างแพนด้าส
โนว์โดมเพื่อให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สําคัญแหล่งหนึ่งของจังหวัดเชียงใหม่ในอนาคต จึงมีความ
จําเป็นต้องศึกษาถึงปัจจัยต่างๆที่มีผลต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มาใช้บริการแพนด้าสโนว์
โดมของสวนสัตว์เชียงใหม่ เพื่อให้แพนด้าสโนว์โดมเป็นส่วนหนึ่งของแหล่งท่องเที่ยวที่สามารถ
ดึงดูดนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างประเทศให้กลับมาใช้บริการซ้ําได้อย่างต่อเนื่องในระยะยาว
ดังนั้นการศึกษานี้จึงต้องการศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มาใช้
บริการแพนด้าสโนว์โดม ของสวนสัตว์เชียงใหม่ เพื่อที่จะสามารถนําไปเป็นข้อมูลแก่สวนสัตว์
เชียงใหม่ในการวางนโยบายบริหารแพนด้าสโนว์โดม หรืออาจใช้อ้างอิงในการบริหารแหล่ง
ท่องเที่ยวที่มีลักษณะรูปแบบเดียวกันกับแพนด้าสโนว์โดมที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งมีส่วนสําคัญ
ต่อการสร้างรายได้ผ่านการท่องเที่ยวให้แก่ท้องถิ่นและประเทศชาติ
4
1.2 วัตถุประสงค์ในการศึกษา
1. เพื่อศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวที่มาใช้บริการ แพนด้าสโนว์โดม ของสวนสัตว์
เชียงใหม่
2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มาใช้บริการแพนด้าสโนว์โดม
ของสวนสัตว์เชียงใหม่
1.3 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
ผลการศึกษาสามารถนํา ไปเป็นแนวทางในการวางแผนการตลาด แก้ไขปรับปรุง และ
พัฒนาการให้บริการ ของสวนสัตว์เชียงใหม่ ให้มีคุณภาพ และตอบสนองความต้องการของ
ผู้ใช้บริการมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้นักท่องเที่ยวผู้มาใช้บริการสวนสัตว์เชียงใหม่สามารถได้รับ
ความพึงพอใจมากขึ้นต่อไป
1.4 ขอบเขตการศึกษา
การศึกษาในครั้งนี้เป็นการศึกษาถึงพฤติกรรมและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว ต่อการ
ใช้บริการแพนด้าสโนว์โดม สวนสัตว์เชียงใหม่ ซึ่งได้ทําการศึกษากับกลุ่มตัวอย่าง คือผู้ที่มาใช้
บริการแพนด้าสโนว์โดม สวนสัตว์เชียงใหม่ ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญจํานวน 100 ตัวอย่าง
โดยสถานที่เก็บข้อมูล คือ แพนด้าสโนว์โดม สวนสัตว์เชียงใหม่ โดยจะมีช่วงระยะเวลาใน
การศึกษา ในเดือนมกราคม 2553
1.5 นิยามศัพท์
ความพึงพอใจ คือ ความรู้สึกระดับบุคคลซึ่งเป็นผลมาจากการเปรียบเทียบระหว่างการรับรู้
ผลจากการทํางาน หรือประสิทธิภาพของสินค้าและบริการ กับความคาดหวังของลูกค้าที่มีต่อสินค้า
และบริการ กล่าวคือ ถ้าผลที่ได้รับจากสินค้าบริการนั้นต่ํากว่าความคาดหวังจะทําให้เกิดความไม่
พอใจ ถ้าผลที่ได้รับจากสินค้าบริการนั้นตรงกับความคาดหวังจะทําให้เกิดความพึงพอใจ และถ้าผล
ที่ได้รับจากสินค้าบริการนั้นสูงกว่าความคาดหวังจะทําให้เกิดความประทับใจ
แพนด้าสโนว์โดม คือ สิ่งก่อสร้าง เนื้อที่ 680 ตารางเมตร ตั้งอยู่ในส่วนจัดแสดง หมีแพนด้า
ของสวนสัตว์เชียงใหม่ มีการจําลองสภาพอากาศและสถานที่ให้เหมาะสมกับการดําเนินชีวิตของ
หมีแพนด้า ที่มีแหล่งกําเนิดที่เมืองเฉิงตู สาธารณรัฐประชาชนจีน ภายในโดมมีอุณหภูมิลบ 8 องศา
เซลเซียส โดยฉีดน้ําเย็นอุณหภูมิ 10 องศาเซลเซียส ผ่านเครื่องฉีดความดันสูงจนเป็นละอองน้ําเมื่อ
ปะทะความเย็นเป็นเกล็ดน้ําแข็งห้าแฉก ภายในโดมหิมะมี 3 ชั้น คือระบียงชั้นบน ลานหิมะ และ
บริเวณสไลเดอร์
5
หมีแพนด้า คือ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ ลําตัวมีสีขาวและสีดําสลับกันโดยส่วนที่มีสี
ดําคือบริเวณรอบดวงตา จมูก หู ขาหน้าจนถึงหัวไหล่ ขาหลังและเท้า มีจมูกแบนราบ น้าหนักตัว
ประมาณ 70-125 กิโลกรัม สูงประมาณ 1 เมตร ลําตัวยาว 1.5-1.9 เมตร ลักษณะถิ่นที่อยู่อาศัยเป็น
บนภูเขาที่มีความสูงประมาณ 2,600-3,000 เมตรจากระดับน้ําทะเล โดยอาศัยอยู่ในป่าเขาซึ่งมีต้นไม้
ไผ่ขึ้นหนาแน่น
6
บทที่ 2
การทบทวนวรรณกรรม
2.1 ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
2.1.1 แนวคิดส่วนประสมทางการตลาด (Marketing Mix )
แนวคิดส่วนประสมทางการตลาด เป็นตัวแปรทางการตลาดที่สามารถควบคุมได้ 7
ประการโดยนํามาใช้ร่วมกันอย่างเหมาะสม เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดเป้าหมาย
(Kotler, 2000 อ้างใน กัลยารัตน์ คงพิบูลย์กิจ , 2549) โดยส่วนประสมทางการตลาดดังกล่าว
ประกอบด้วย
1) ผลิตภัณฑ์ เป็นสิ่งที่สามารถตอบสนองความจําเป็น และความต้องการของมนุษย์โดยที่
ผลิตภัณฑ์อาจเป็นสิ่งที่จับต้องได้หรือจับต้องไม่ได้ กล่าวคือเป็นได้ทั้งสินค้าและการบริการ
โดยทั่วไปการผลิตผลิตภัณฑ์ต้องมีการพิจารณาคุณภาพสินค้า ลักษณะ การออกแบบ ขนาด การ
รับประกัน เป็นต้น ซึ่งสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้า และทําให้ลูกคาเกิดความพึง
พอใจได้ จําแนกความพึงพอใจ ประเภทผลิตภัณฑ์ออกเป็น
1.1) ประโยชน์หลัก หมายถึงประโยชน์พื้นฐานที่ผู้ผลิตเตรียมไว้ให้ผู้บริโภคได้รับโดยตรง
จากการบริโภคผลิตภัณฑ์นั้นๆ ซึ่งสามารถตอบสนองต่อความต้องการที่แท้จริงของลูกค้าได้
1.2) รูปลักษณ์ผลิตภัณฑ์ หรือผลิตภัณฑ์พื้นฐาน หมายถึงลักษณะผลิตภัณฑ์ที่ผู้บริโภค
สามารถรับรู้ได้
1.3) ผลิตภัณฑ์คาดหวัง หมายถึงคุณสมบัติและเงื่อนไขที่ผู้บริโภคคาดหวังว่าจะได้รับจาก
การใช้ผลิตภัณฑ์ การเสนอผลิตภัณฑ์ที่คาดหวังจะคํานึงถึงความพึงพอใจของผู้บริโภคเป็นหลัก
1.4) ผลิตภัณฑ์ควบ หมายถึงผลประโยชน์เพิ่มเติม หรือบริการที่ผู้ซื้อจะได้รับควบคู่กับการ
ซื้อสินค้า ประกอบด้วยบริการก่อนและหลังการขาย
1.5) ศักยภาพเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ หมายถึงคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ทีการเปลี่ยนแปลง
หรือพัฒนาไปเพื่อตอบสนองความต้องการ
2) ราคา เป็นสิ่งกําหนดมูลค่าในการแลกเปลี่ยน หรือการให้บริการในรูปของเงินตรา ราคา
จึงเป็นต้นทุนในการใช้บริการของลูกค้า ที่จะทําการเปรียบเทียบระหว่างคุณค่าผลิตภัณฑ์กับราคา
ผลิตภัณฑ์ ถ้าคุณค่าผลิตภัณฑ์สูงกว่าราคาแล้วลูกค้าจะตัดสินใจซื้อ ดังนั้นผู้ผลิตต้องคํานึงถึงคุณค่า
ที่รับรู้โดยผู้บริโภค ซึ่งผู้ผลิตต้องพิจารณาว่าการยอมรับของลูกค้าในคุณค่าของผลิตภัณฑ์ต้องสูง
กว่าราคาผลิตภัณฑ์นั้นๆ
7
3) ช่องทางการจัดจาหน่าย หมายถึงสถานที่ให้บริการและเส้นทางในการจําหน่าย ในส่วน
แรกที่ต้องคํานึงถึง คือ การเลือกทําเลที่ตั้ง การเลือกทําเลที่ตั้งของธุรกิจนั้นนับว่ามีความสําคัญมาก
โดยเฉพาะธุรกิจบริการ เนื่องจากผู้บริโภคต้องเดินทางไปรับบริการในสถานที่ที่ผู้ให้บริการจัดอยู่
การกําหนดช่องทางการจัดจําหน่ายต้องคํานึงถึงองค์ประกอบ 3 ส่วน ได้แก่ ลักษณะของการบริการ
ความจําเป็นในการใช้คนกลางในการจําหน่าย และลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจบริการ
4) การส่งเสริมการตลาด หมายถึงการติดต่อสื่อสารข้อมูลระหว่างผู้จําหน่ายและลูกค้า โดย
มีวัตถุประสงค์เพื่อ แจ้งข่าวสาร หรือชักจูงให้เกิดทัศนคติและพฤติกรรมการซื้อ การติดต่อสื่อสารมี
หลายประการซึ่งอาจเลือกใช้หนึ่งหรือหลายเครื่องมือก็ได้เครื่องมือที่ใช้ส่งเสริมการตลาดที่สําคัญมี
5 ประเภทดังนี้ คือ
4.1) การโฆษณา เป็นการติดต่อสื่อสารเกี่ยวกับองค์กร และผลิตภัณฑ์ บริการ หรือความคิด
โดยไม่ใช้บุคคลเข้าไปติดต่อ แต่จะติดต่อโดยใช้สื่อต่างๆ ที่จะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการโฆษณา เช่น
การโฆษณาผ่านสื่อหนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ ป้ายโฆษณา และสารสนเทศต่างๆ เป็นต้น
4.2) การขายโดยใช้พนักงานขาย เป็นการติดต่อสื่อสารจากผู้ขายไปยังผู้รับ ลูกค้าที่มีอํานาจ
ซื้อโดยตรง พนักงานขายสามารถแนะนํา ชักชวนให้ผู้บริโภคซื้อสินค้าและบริโภค สามารถให้
ความช่วยเหลือ ดูแลลูกค้า และเรียนรู้ล่วงหน้าว่าลูกค้าต้องการอะไร เพื่อให้เกิดโอกาสในการขาย
บริการอื่นให้กับลูกค้าเพิ่มเติมในอนาคต
4.3) การส่งเสริมการขาย เป็นกิจกรรมทางการตลาดที่นอกเหนือจากการขายโดยใช้บุคคล
การโฆษณา และประชาสัมพันธ์ที่ช่วยกระตุ้นการซื้อของผู้บริโภคและประสิทธิภาพของผู้ขาย เช่น
การลดราคา การแจกตัวอย่างสินค้า การสะสมแต้มชิงรางวัล เป็นต้น
4.4) การบอกกล่าวแบบปากต่อปาก มีบทบาทสําคัญอย่างยิ่งต่อธุรกิจบริการ เพราะผู้ที่เคย
ใช้บริการจะทราบว่าการบริการของธุรกิจนั้นเป็นอย่างไร จากประสบการณ์ของตนเองแล้วถ่ายทอด
ประสบการณ์นั้นต่อไปยังผู้อื่นซึ่งอาจจะเป็นผู้ใช้บริการในอนาคต หากผู้ที่เคยใช้บริการมีความรู้สึก
ดี ประทับใจในบริการ ก็จะบอกต่อไปยังญาติและคนรู้จัก และแนะนําให้ไปใช้บริการด้วย ซึ่ง
สามารถลดค่าใช้จ่ายในการส่งเสริมการตลาดและการติดต่อสื่อสารได้มาก แต่ในทางตรงกันข้าม
หากผู้ที่เคยใช้บริการแล้วไม่ประทับใจก็จะบอกต่อในทางลบได้การแนะนําจากคนรู้จัก มีอิทธิพล
ต่อการตัดสินใจเลือกบริการของผู้ที่ไม่เคยใช้บริการสูงมาก ดังนั้นการบอกกล่าวปากต่อปาก จึงมีผล
ต่อธุรกิจบริการอย่างยิ่ง การได้รับประสบการณ์ที่ไม่ประทับใจจะส่งผลเสยอย่างยิ่งต่อธุรกิจบริการ
เพราะผู้ใช้บริการที่ไม่ประทับใจมีแนวโน้มที่จะบอกกล่าวแบบปากต่อปากสู่ผู้อื่นมากกว่าผู้ที่
ประทับใจในการบริการ
5) ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหรือบุคลากร คือ บุคคลผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการบริการทั้งหมดรวมถึง
ลูกค้าและบุคลากรที่ให้บริการลูกค้า คุณภาพในการให้บริการต้องอาศัยการคัดเลือก การฝึกอบรม
การจูงใจ เพื่อให้สามารถสร้างความพอใจแก่ลูกค้าผู้ใช้บริการเหนือคู่แข่ง บุคลากรต้องมี
8
ความสามารถ มีทัศนคติที่ดี สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้า มีความสามารถในการ
แก้ปัญหา และสามารถสร้างค่านิยมที่ดีแก่องค์กร
6) การสร้างและการนาเสนอลักษณะกายภาพ ได้แก่ สภาพแวดล้อมของสถานที่ให้บริการ
การออกแบบตกแต่ง และแบ่งส่วน หรือแผนกของพื้นที่ภายในอาคาร และลักษณะทางกายภาพ
อื่นๆ ที่สามารถดึงดูดใจลูกค้าและทําให้มองภาพลักษณ์ของบริการได้อย่างชัดเจน รวมไปถึง
เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ ที่มีไว้ให้บริการด้วย
7) กระบวนการให้บริการ หมายถึงขั้นตอนในการให้บริการเพื่อส่งมอบคุณภาพในการ
ให้บริการกับลูกค้าได้อย่างรวดเร็วและประทับใจ ซึ่งพิจารณาใน 2 ด้าน คือ ความซับซ้อน และ
ความหลากหลาย ในความซับซ้อนจะต้องพิจารณาถึงขั้นตอนและความต่อเนื่องของงานใน
กระบวนการ เช่น ความสะดวกรวดเร็วในการลงทะเบียนเรียน ส่วนในด้านของความหลากหลาย
ต้องพิจารณาถึงความมีอิสระ ความยืดหยุ่น ความสามารถเปลี่ยนแปลงขั้นตอน หรือลําดับงาน
2.1.2 แนวคิดความพอใจของลูกค้า (Consumer Satisfaction)
ความพึงพอใจ (Satisfaction) เป็นระดับความรู้สึกของบุคคลหรือลูกค้า ซึ่งเป็นผลมาจาก
การเปรียบเทียบระหว่างการรับรู้ผลจากการทํางาน หรือประสิทธิภาพของสินค้าหรือบริการ
(Product / Service’s Received Performance) กับความหวังของลูกค้า (Person Expectation) ซึ่งจะ
พิจารณาถึงความพอใจหลังการขายของลูกค้าต่อสินค้าหรือบริการนั้นๆถ้าผลที่ได้รับจากสินค้าหรือ
บริการสูงกว่าความคาดหวังที่ลูกค้าตั้งไว้ก็จะทําให้ลูกค้าเกิดความประทับใจ และถ้าระดับผลที่
ได้รับตรงกับความคาดหวังของลูกค้าก็จะทําให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจ ในทางตรงกันข้ามถ้าผลที่
ได้รับจากสินค้าหรือบริการต่ํากว่าความคาดหวังของลูกค้าก็จะทําให้ลูกค้าเกิดความไม่พึงพอใจ ซึ่ง
ความแตกต่างของความพึงพอใจทั้ง 3 ระดับนี้ จะส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการในครั้ง
ต่อไป และจะเกี่ยวโยงไปถึงการประชาสัมพันธ์องค์กรในด้านดีหรือไม่ดีต่อบุคคลอื่นๆ ในอนาคต
(Kotler, 2000 ; Goncalves, 1998 อ้างใน กัลยารัตน์ คงพิบูลย์กิจ, 2549) ดังนั้นองค์กรจึงจําเป็นอย่าง
ยิ่งที่จะต้องสร้างหรือเสนอผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับความคาดหวังของลูกค้า การศึกษาความพึง
พอใจที่นิยมใช้ส่วนใหญ่สามารถจําแนกเป็น 4 รูปแบบ ดังนี้
1) แบบจาลองความพึงพอใจอันเนื่องมาจากความคาดหวัง (Expectations Disconfirmation
Model of Satisfaction)
ความพึงพอใจในลักษณะนี้ เกิดขึ้นจากผู้บริโภคเปรียบเทียบคุณสมบัติของสินค้าที่เกิดขึ้น
จริงกับความคาดหวังที่ผู้บริโภคต้องการให้สินค้านั้นมี ความแตกต่างระหว่างทั้งสองสิ่งนี้เป็นที่มา
ของระดับความพึงพอใจของผู้บริโภค
Tse และ Wilton (1983) (อ้างใน กัลยารัตน์ คงพิบูลย์กิจ, 2549) ได้ให้คํานิยามความพึง
พอใจของลูกค้าว่า ความพึงพอใจเป็นความรู้สึกตอบสนองของผู้บริโภคต่อการประมาณค่าในการ
9
รับรู้ที่ไม่ตรงกัน ระหว่างสิ่งที่คาดหวังไว้กับผลการดําเนินการอันเกิดขึ้นจริงของสินค้าหรือบริการ
ที่รับรู้ภายหลังการบริโภคสินค้านั้นแล้ว จากนิยามสามารถนํามาอธิบายหลักการสร้างความพึง
พอใจได้ 3 ประการ คือ
(1) ความคาดหวังต่อสินค้าหรือผลการดําเนินงาน ลูกค้ามักตั้งความหวังที่อาจเป็นไปได้ต่อ
สินค้าหรือผลการดําเนินการ โดยรับรู้จากแหล่งต่างๆ เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับคุณภาพของสินค้า การ
โฆษณา หรือการบอกกล่าวแบบปากต่อปาก เป็นต้น
(2) ผลการดําเนินงานที่เกิดขึ้นจริง ลูกค้าจะประมาณค่าผลการดําเนินงานของสินค้าจากผล
การดําเนินงานที่เกิดขึ้นจริง หรือผลการดําเนินงานที่รับรู้ภายหลังจากการบริโภคผลิตภัณฑ์
(3) ความไม่ตรงกัน ความแตกต่างระหว่างสิ่งที่คาดหวังกับการรับรู้ที่เกิดขึ้นจริงทําให้เกิด
ช่องว่างขึ้น หากความคาดหวังนั้นตรงกับสิ่งที่เกิดขึ้นจริง จะนํามาซึ่งความพอใจของผู้บริโภคที่
สูงขึ้น
ภาพที่ 2.1 แบบจําลองความพึงพอใจอันเนื่องมาจากความคาดหวัง
2) แบบจาลองความพึงพอใจอันเนื่องมาจากความปรารถนา (Desired – Disconfirmation
Model of Satisfaction)
ความพึงพอใจในลักษณะนี้เกิดขึ้นจากผู้บริโภคเปรียบเทียบคุณสมบัติของสินค้าที่เกิดขึ้น
จริงกับความปรารถนาที่ผู้บริโภคต้องการให้สินค้านั้นมี ความแตกต่างระหว่างทั้งสองสิ่งเป็นที่มา
ของระดับความพึงพอใจของผู้บริโภค
Spreng etal.(1996) (อ้างใน กัลยารัตน์ คงพิบูลย์กิจ,2549) ได้ให้คํานิยามความพึงพอใจไว้
ว่า ความพึงพอใจเป็นผลมาจากปฏิกิริยาของความรู้สึกของผู้บริโภคที่มีต่อประสบการณ์จากสินค้า
และบริการนั้นๆ โดยหลักความพึงพอใจมีอยู่ 3 ประการด้วยกัน คือ
(1) การดําเนินงานที่รับรู้ได้ (Perceived Performance )
(2) ความคาดหวังและความคาดหวังที่เหมาะสม (Expectation and Expectation
Congruency)
10
(3) ความปรารถนาและความปรารถนาที่เหมาะสม (Desires and Desires Congruency)
นอกจากนี้ยังได้คํานิยามของความปรารถนาไว้ว่า เป็นระดับของคุณสมบัติและประโยชน์ที่
ผู้บริโภคเชื่อว่าจะนํามาซึ่งคุณค่าในระดับสูงขึ้น และเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงผลการดําเนินงานในอุดม
คติ โดยที่เขาได้สร้างความแตกต่างระหว่างความคาดหวังกับความปรารถนา โดยที่ความคาดหวัง
เป็นความเชื่อเกี่ยวกับคุณสมบัติหรือประโยชน์ของสินค้าที่มีอยู่และอาจเกิดขึ้นได้ในขณะที่ความ
ปรารถนาเป็นการประมาณค่าขอบเขตของคุณสมบัติ หรือประโยชน์ของสินค้าเพื่อให้ได้มาซึ่ง
คุณค่าในสิ่งนั้น ความปรารถนาที่เหมาะสมเป็นผลมาจากความแตกต่างระหว่างผลการดําเนินการที่
รับรู้ได้กับความปรารถนาในตัวสินค้าหากความปรารถนาและความคาดหวังเป็นบวก ผู้บริโภคย่อม
มีความพึงพอใจในสินค้าหรือบริการนั้นๆ
ภาพที่ 2.2 แบบจําลองความพึงพอใจอันเนื่องมาจากความปรารถนา
3) แบบจาลองความพึงพอใจอันเนื่องมาจากความยุติธรรม (Equity – Disconfirmation
Model of Satisfaction)
ความพึงพอใจในลักษณะนี้เป็นความคาดหวังในด้านความยุติธรรม ความถูกต้องในการซื้อ
ระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย
Olive และ Swan (1989) (อ้างใน กัลยารัตน์ คงพิบูลย์กิจ, 2549) ได้ให้คํานิยามของความ
ยุติธรรมไว้ว่า เป็นความถูกต้องที่แต่ละบุคคลสมควรจะได้รับ ถ้าผู้บริโภคการซื้อขายมีความถูกต้อง
ยุติธรรมจะนํามาซึ่งความพึงพอใจโดยความยุติธรรมนี้ต้องอยู่บนพื้นฐานของการประเมินเวลาและ
เงินของผู้ซื้อว่า สมควรกับเวลาและความพยายามในการซื้อขายสินค้าของผู้ขาย รวมถึงผลจากการ
ซื้อด้วย
4) แบบจาลองความพึงพอใจอันเนื่องมาจากความคาดหวังจากประสบการณ์พื้นฐาน
(Experience – Based Expectations – Disconfirmation Model of Satisfaction)
ความพึงพอใจในลักษณะนี้ เกิดจากการตั้งบรรทัดฐานจากประสบการณ์ในอดีต
Cadotte et al. (1987) (อ้างใน กัลยารัตน์ คงพิบูลย์กิจ, 2549) ได้ให้คํานิยามของความพึง
พอใจไว้ว่า เป็นผลมาจากการประมาณค่าในการบริโภคสินค้าหรือบริการ ถ้าผลการประเมินสินค้า
11
มากกว่าความคาดหวังที่เกิดจากประสบการณ์ในอดีต ผู้บริโภคจะเกิดความพึงพอใจ ในทางตรงกัน
ข้ามถ้าผลการประเมินสินค้าน้อยกว่าความคาดหวังจากประสบการณ์ในอดีตแล้วผู้บริโภคจะเกิด
ความรู้สึกไม่พอใจ(Dissatisfaction)การเปรียบเทียบในรูปแบบนี้จะแตกต่างจากรูปแบบแรกคือใน
รูปแบบแรกความคาดหวังของลูกค้าสามารถเกิดขึ้นโดยไม่ต้องอาศัยประสบการณ์ในสินค้าหรือ
บริการที่เกิดขึ้นในอดีต
ภาพที่ 2.4 แบบจําลองความพึงพอใจอันเนื่องมาจากประสบการณ์พื้นฐานในอดีต
2.2 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
เกรียงศักดิ์ เอี่ยมชาญชัย (2547) ทําการศึกษาเกี่ยวกับความพึงพอใจต่อการเข้าชมสวนสัตว์
เชียงใหม่ ของนักท่องเที่ยวเยาวชน โดยมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาความพึงพอใจละข้อเสน อแนะ
ของนักท่องเที่ยวเยาวชนที่มีต่อการเข้าชมสวนสัตว์เชียงใหม่ ได้ใช้กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาเป็น
นักท่องเที่ยวเยาวชน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ จํานวน 300 ตัวอย่าง การเก็บรวบรวมข้อมูล
ใช้วิธีการออกแบบสอบถาม นําค่าที่ได้มา อธิบายในรูปของสถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า
กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจทุกปัจจัยหลักอยู่ในระดับความพึงพอใจมาก ซึ่งแบ่งเป็นปัจจัยด้านสิ่ง
ดึงดูดใจ ปัจจัยด้านการเข้าถึง และปัจจัยด้านสิ่งอํานวยความสะดวกของสวนสัตว์เชียงใหม่
ธนวัฒน์ รัตนชัย (2550) ทําการศึกษาเกี่ยวกับความพึงพอใจต่อการท่องเที่ยวจังหวัด
เชียงใหม่ของนักท่องเที่ยวชาวไทย โดยมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาพฤติกรรมและระดับความพึง
พอใจของนักท่องเที่ยวต่อการท่องเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่ ได้ใช้กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาเป็น
นักท่องเที่ยวชาวไทย โดยการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ จํานวน 100 ตัวอย่าง การเก็บรวบรวมข้อมูล
ใช้วิธีการออกแบบสอบถาม ณ สถานีขนส่งทางบกจังหวัดเชียงใหม่ นําค่าที่ได้มาหาค่าความถี่ ร้อย
ละ และเปรียบเทียบความสัมพันธ์ของตัวแปรโดยการทดสอบสมมติฐาน ผลการศึกษาพบว่า ระดับ
ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อปัจจัยหลักทั้ง 4 ปัจจัยอยู่ในระดับที่ดี ได้แก่ ปัจจัยด้านแหล่ง
ท่องเที่ยว ปัจจัยด้านสิ่งอํานวยความสะดวก ปัจจัยด้านการต้อนรับของคนในพื้นที่ และปัจจัยด้าน
การคมนาคมขนส่ง
12
ชากรณ์ ขันแก้ว (2551) ทําการศึกษาเกี่ยวกับความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวต่อการบริการ
ของส่วนจัดแสดงหมีแพนด้าในสวนสัตว์เชียงใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาถึงความคิดเห็น
ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะของนักท่องเที่ยวเกี่ยวกับการให้บริการของส่วนจัดแสดงหมี
แพนด้า สวนสัตว์เชียงใหม่ ได้ใช้กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาเป็นนักท่องเที่ยวที่มาใช้บริการส่วนจัด
แสดงหมีแพนด้า สวนสัตว์เชียงใหม่ โดยการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง จํานวน 399 ตัวอย่าง
การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้วิธีการออกแบบสอบถาม นําค่าที่ได้มาอธิบายในรูปของสถิติเชิงพรรณนา
ผลการศึกษาพบว่า ด้านความคิดเห็นในภาพรวมนักท่องเที่ยวมีความคิดเห็นในระดับไม่แน่ใจได้แก่
ด้านความเหมาะสมของพื้นที่ที่ใช้ในการจัดแสดง ด้านค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการมาใช้บริการ และ
ด้านความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่ได้รับจากการเข้าชมหมีแพนด้า
13
2.3 กรอบแนวคิด
3.
4.
5.
6.
7.
8.
9.
10.
11.
12.
13.
14.
15.
16.
17.
18.
19.
20.
21.
ข้อมูลพื้นฐานของนักท่องเที่ยว
- เพศ - อาชีพ
- ระดับการศึกษา - รายได้
- อายุ
วิเคราะห์ข้อมูลในรูปความถี่, ร้อยละ
เพื่ออธิบายพฤติกรรมของนักท่องเที่ยว
ที่มาใช้บริการแพนด้าสโนว์โดม สวน
สัตว์เชียงใหม่
พฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยว
- รูปแบบของกลุ่มที่มาใช้บริการ
- แหล่งข้อมูลในการมาใช้บริการ
- ค่าใช้จ่ายในการมาใช้บริการแพนด้าสโนว์โดม
- ความถี่ในการมาใช้บริการ
วิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย เพื่ออธิบายระดับ
ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวต่อการ
ใช้บริการแพนด้าสโนว์โดม สวนสัตว์
เชียงใหม่
พฤติกรรมและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว
ต่อการใช้บริการแพนด้าสโนว์โดม
สวนสัตว์เชียงใหม่
ปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาด(Promotion)
-การโฆษณาประชาสัมพันธ์ข้อมูลทางสื่อต่างๆ
-การบริการอัดรูปหลังใช้บริการ
-รูปแบบของที่ระลึก
-ราคาของที่ระลึก
ปัจจัยด้านลักษณะทางกายภาพ(Physical)
-ความสะดวกในการเข้าถึงโดยการเดินเท้า/พาหนะ
-การเอื้ออํานวยให้มาถึงโดยป้ายบอกทางของสวนสัตว์
-ความสะอาดของสถานที่
-ความกว้างขวางของสถานที่
-ความสวยงามของสถานที่
ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์(Product)
-ความบันเทิงจากบริการที่ได้รับ
-ความสะดวกสบายของบริการ
-ระยะเวลาของบริการที่ได้รับ
-ความปลอดภัยของบริการ
-การบริการของเจ้าหน้าที่
-การให้คําแนะนําก่อนการใช้บริการ
ปัจจัยด้านราคา(Price)
-ความคุ้มค่าของราคากับความบันเทิงที่ได้รับ
-ความคุ้มค่าของราคากับคุณภาพของบริการที่ได้รับ
-ความคุ้มค่าของราคากับระยะเวลาของบริการที่ได้รับ
-ความเหมาะสมของราคาค่าบริการ
-การแยกราคาเป็นกลุ่มของผู้ใหญ่, เด็ก
14
บทที่ 3
ระเบียบวิธีวิจัย
ในการค้นคว้าวิจัยเรื่องการศึกษาพฤติกรรมและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวในการใช้
บริการแพนด้าสโนว์โดม สวนสัตว์เชียงใหม่กําหนดรายละเอียดและขั้นตอนการวิจัย ดังนี้
3.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่างใช้ในการศึกษา
ประชากรในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่นักท่องเที่ยวที่มาใช้บริการแพนด้าสโนว์โดม สวนสัตว์
เชียงใหม่
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาจํานวน 100 ตัวอย่าง ใช้การ สุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ
(Accidental Sampling) สุ่มจากประชากรในช่วงเดือนมกราคม พ.ศ. 2553 ที่แพนด้าสโนว์โดม สวน
สัตว์เชียงใหม่
3.2 ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษา
การศึกษาเรื่องระดับความพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อการท่องเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่ ได้
กําหนดแหล่งข้อมูล ดังนี้
1)ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary data) ได้จากการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง โดยการใช้แบบสอบถาม
(Questionnaire) ในการศึกษา ซึ่งแบบสอบถามแบ่งออกเป็น 3 ส่วนประกอบด้วย
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของนักท่องเที่ยวที่มาใช้บริการแพนด้าสโนว์โดม สวนสัตว์เชียงใหม่
ได้แก่ เพศ อายุ การศึกษา อาชีพ รายได้
ส่วนที่ 2 ข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้บริการของนักท่องเที่ยว ซึ่งสอบถามเกี่ยวกับ
- รูปแบบของกลุ่มที่มาใช้บริการ ได้แก่ 1-2 คน 3-5 คน 6 คนขึ้นไป
- แหล่งข้อมูล ในการมาใช้บริการได้แก่ เพื่อน/ญาติ/จากบุคคลอื่น วารสารท่องเที่ยว /
หนังสือพิมพ์ บริษัทนําเที่ยว โทรทัศน์/วิทยุ/เว็บไซต์
-ความถี่ในการมาใช้บริการ ได้แก่ ไม่เกิน 1 ครั้ง/ปี 2-3 ครั้ง/ปี มากกว่า 3 ครั้ง/ปี
-ค่าใช้จ่ายในการมาใช้บริการ ได้แก่ ไม่เกิน 200 บาท 200-500 บาท มากกว่า 500 บาท
ส่วนที่ 3 ระดับความพึงพอใจในของนักท่องเที่ยวที่มีต่อการ ใช้บริการแพนด้าสโนว์โดม
สวนสัตว์เชียงใหม่ ประกอบด้วย
15
- ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์(Product)ได้แก่ ความบันเทิงจากบริการที่ได้รับ ความสะดวกสบาย
ของบริการ ระยะเวลาของบริการที่ได้รับ ความปลอดภัยของบริการ การบริการของเจ้าหน้าที่ การ
ให้คําแนะนําการใช้บริการ
-ปัจจัยด้านราคา(Price)ได้แก่ ความคุ้มค่าของราคากับความบันเทิงที่ได้รับ ความคุ้มค่าของ
ราคากับคุณภาพของบริการ ที่ได้รับ ความคุ้มค่าของราคากับ ระยะเวลาของบริการที่ได้รับ ความ
เหมาะสมของ ราคาค่าบริการ การแยกราคาเป็นกลุ่มของผู้ใหญ่, เด็ก
-ปัจจัยด้านลักษณะทางกายภาพ (Physical) ได้แก่ ความสะดวกในการเข้าถึงโดยการเดิน
เท้า/พาหนะ การเอื้ออํานวยให้มาถึงโดยป้ายบอกทางของสวนสัตว์ ความสะอาดของสถานที่ ความ
กว้างขวางของสถานที่ ความสวยงามของสถานที่
-ปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาด (Promotion) ได้แก่ การโฆษณาประชาสัมพันธ์ข้อมูลทาง
สื่อต่างๆ การอัดรูปหลังใช้บริการ รูปแบบของที่ระลึก ราคาของที่ระลึก
2)ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary data) เป็นการศึกษางานจากเอกสาร งานวิจัย และบทความต่างๆที่มี
ผู้จัดทําเอาไว้ โดยมีที่มาของแหล่งข้อมูลดั้งนี้
- การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สํานักงานภาคเหนือ เขต 1 จังหวัดเชียงใหม่
- จากเอกสารทางวิชาการอื่นๆ เช่น วารสาร จุลสารการท่องเที่ยว หนังสือพิมพ์
- จากงานวิจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
3.3 วิธีการศึกษา
แยกตามวัตถุประสงค์ของกสนศึกษา ดังนี้
วัตถุประสงค์ที่ 1 การศึกษาพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยว ที่มาใช้บริการ
แพนด้าสโนว์โดม สวนสัตว์เชียงใหม่
ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษา ข้อมูลปฐมภูมิ
- ข้อมูลทั่วไป ซึ่งสอบถามถึงเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้
- ข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรม ได้แก่ รูปแบบการเดินทางมาท่องเที่ยว จํานวนครั้งที่เคย
มาใช้บริการ วัตถุประสงค์หลักในการ ท่องเที่ยว แหล่งข้อมูลในการมาใช้บริการ
วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล
1) ส่วนที่เป็นข้อมูลทั่วไป ทําการวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (descriptive statistices)
โดยนําเสนอเป็นตารางแจกแจงความถี่ อัตราร้อยละ และอธิบายเชิงพรรณนาประกอบ
2) ส่วนที่เป็นข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรม ทําการวิเคราะห์ข้อมูลในรูปของตารางแจกแจง
ความถี่ อัตราร้อยละ จําแนกตามกลุ่มอาชีพ กลุ่มรายได้ และอธิบายเชิงพรรณนาประกอบ
16
วัตถุประสงค์ที่2การศึกษาระดับความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวต่อการใช้บริการแพนด้าส
โนว์โดม สวนสัตวเชียงใหม่
ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษา ข้อมูลปฐมภูมิ
- ข้อมูลระดับความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวต่อการท่องเที่ย วจังหวัดเชียงใหม่
ได้แก่ ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์,ปัจจัยด้านราคา,ปัจจัยด้านลักษณะทางกายภาพ, ปัจจัยด้านการ
ส่งเสริมการตลาด
วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล
ให้ผู้ตอบแบบสอบถามเลือกระดับความพึงพอใจในแต่ละปัจจัยว่ามีระดับความพึงพอใจใน
ระดับใด ซึ่งแบ่งระดับความพึงพอใจ 4 ระดับ คือ มาก ปานกลาง น้อย ไม่พึงพอใจ และนําระดับ
ความพึงพอใจที่ได้มาให้คะแนนโดยเรียงลําดับของค่าคะแนน ดังนี้
ระดับความพึงพอใจ ค่าคะแนน
ให้ความพึงพอใจมาก 3
ให้ความพึงพอใจปานกลาง 2
ให้ความพึงพอใจน้อย 1
ไม่พึงพอใจ 0
ทําการเก็บรวบรวมคะแนนของปัจจัยที่ได้ นําค่าที่ได้มาวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย และทําการ
จัดเรียง คะแนนเฉลี่ยระดับความพึงพอใจจาก มากที่สุดลง ไปหาน้อยที่สุด แล้วทําการแป ล
ความหมายของระดับคะแนนเฉลี่ย โดยยึดถือหลักเกณฑ์ ดังนี้
คะแนนเฉลี่ย ความหมาย
2.50 – 3.00 มาก
1.50 – 2.49 ปานกลาง
0.50 – 1.49 น้อย
0.00 – 0.49 ไม่พึงพอใจ
จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และนําเสนอข้อมูลในรูปแบบของตาราง
17
บทที่ 4
ผลการศึกษา
จากการศึกษาพฤติกรรมและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวต่อการใช้บริการแพนด้าสโนว์
โดม สวนสัตว์เชียงใหม่ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา 2วัตถุประสงค์ คือวัตถุประสงค์แรกเพื่อ
ศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวต่อการใช้บริการ วัตถุประสงค์ที่สอง คือ เพื่อศึกษาระดับความพึง
พอใจของนักท่องเที่ยวต่อการใช้บริการแพนด้าสโนว์โดม สวนสัตว์เชียงใหม่ โดยผลการศึกษาได้
แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้
4.1 ผลการศึกษาข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างของนักท่องเที่ยว
จากการศึกษากลุ่มตัวอย่างที่มาท่องเที่ยว จํานวน 100 ราย มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
ด้านเพศ พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คือ ร้อยละ 62 ขณะที่เป็นเพศชาย ร้อยละ 38
ด้านอายุ พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีอายุในช่วง 30-39 ปีมากที่สุด ร้อยละ 44 รองลงมาคือช่วง
20-29 ปี ที่ร้อยละ 27 ตามลําดับ
ด้านอาชีพ พบว่า อันดับหนึ่ง คือ พนักงานเอกชน อันดับสอง คือ รับจ้างทั่วไป/อาชีพอิสระ
อันดับสาม คือ นักธรกิจ/เจ้าของธุรกิจ
ด้านรายได้เฉลี่ยต่อเดือน พบว่า อันดับหนึ่ง คือ 20,000-29,999 บาท ตามมาด้วย 10,000-
19,999 บาท, 30,000 บาทขึ้นไป, และ ต่ํากว่า 10,000 บาท ซึ่งไม่แตกต่างกันมากนัก
ด้านระดับการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีการศึกษาระดับมัธยมศึกษา และ
ปริญญาตรี/เทียบเท่า โดยการศึกษาระดับปริญญาตรี/เทียบเท่าคิดเป็นร้อยละ 37 ส่วนการศึกษา
ระดับมัธยมศึกษาคิดเป็นร้อยละ 32 ดังตารางที่ 4.1
18
ตารางที่ 4.1 แสดงจํานวนและร้อยละข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างที่มาท่องเที่ยว
จํานวน(คน) ร้อยละ
เพศ ชาย 38 38
หญิง 62 62
อายุ ต่ํากว่า 20 ปี 14 14
20 - 29 ปี 27 27
30 - 39 ปี 44 44
40 ปีขึ้นไป 15 15
อาชีพ รับราชการ 12 12
นักธุรกิจ/เจ้าของธุรกิจ 19 19
รับจ้างทั่วไป/อาชีพอิสระ 23 23
พนักงานเอกชน 30 30
อื่นๆ 16 16
รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ต่ํากว่า 10,000 บาท 18 18
10,000 - 19,999 บาท 22 22
20,000 – 29,999 บาท 39 39
30,000 บาทขึ้นไป 21 21
ระดับการศึกษา ต่ํากว่ามัธยมศึกษา 8 8
มัธยมศึกษา 32 32
ปริญญาตรี/เทียบเท่า 37 37
ปริญญาตรีขึ้นไป 13 13
ที่มา : จากการศึกษา
19
4.2 ผลการศึกษาพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยว
4.2.1 รูปแบบของกลุ่มที่มาใช้บริการจาแนกตามกลุ่มอาชีพ
จากการศึกษากลุ่มตัวอย่าง พบว่า กลุ่มตัวอย่างนิยมมาใช้บริการในรูปแบบของ
กลุ่ม 3-5 คน คิดเป็นร้อยละ 67 รองลงมาคือรูปแบบของกลุ่ม 1-2 คน และ 6 คนขึ้นไปซึ่งใกล้เคียง
กันที่ร้อยละ 17 และร้อยละ 16 ตามลําดับ โดยหากจําแนกตามกลุ่มอาชีพพบว่าทุกกลุ่มอาชีพมี
รูปแบบของกลุ่มที่มาใช้บริการ 3-5 คนเป็นอันดับที่ 1 ขณะที่ 6 คนขึ้นไปเป็นอันดับที่ 2 ยกเว้นใน
กลุ่มอาชีพของนักธุรกิจ/เจ้าของกิจการที่มีรูปแบบของกลุ่มที่มาใช้บริการ 1-2 คนเป็นอันดับที่ 2 ดัง
ตารางที่ 4.2.1
ตารางที่ 4.2.1 แสดงจํานวนและร้อยละของรูปแบบของกลุ่มที่มาใช้บริการจําแนกตามกลุ่มอาชีพ
รูปแบบของกลุ่มที่มาใช้บริการ
อาชีพ
รวม
รับราชการ
นักธุรกิจ/เจ้าของธุรกิจ
รับจ้างทั่วไป/อาชีพอิสระ
พนักงานเอกชน
อื่นๆ
1-2 คน จํานวน 1 8 3 1 4 17
อันดับที่ 3 2 2 3 3 2
3-5 คน จํานวน 6 10 17 27 7 67
อันดับที่ 1 1 1 1 1 1
6 คนขึ้นไป จํานวน 5 1 3 2 5 16
อันดับที่ 2 3 2 2 2 3
รวม จํานวน 12 19 23 30 16 100
ที่มา : จากการศึกษา
20
4.2.2 รูปแบบของกลุ่มที่มาใช้บริการจาแนกตามกลุ่มรายได้
จากการศึกษากลุ่มตัวอย่าง พบว่า กลุ่มตัวอย่างนิยมมาใช้บริการในรูปแบบของ
กลุ่ม 3-5 คน คิดเป็นร้อยละ 67 รองลงมาคือรูปแบบของกลุ่ม 1-2 คน และ 6 คนขึ้นไปซึ่งใกล้เคียง
กันที่ร้อยละ 17 และร้อยละ 16 ตามลําดับ โดยหากจําแนกตามกลุ่มรายได้พบว่า ทุกกลุ่มรายได้มี
รูปแบบของกลุ่มที่มาใช้บริการ 3-5 คนเป็นอันดับที่ 1 ขณะที่ 1-2 คนเป็นอันดับที่ 2 ยกเว้นในกลุ่ม
รายได้ 30,000 บาทขึ้นไปที่มีรูปแบบของกลุ่มที่มาใช้บริการ 6 คนขึ้นไปเป็นอันดับที่ 2 ดังตารางที่
4.2.2
ตารางที่ 4.2.2 แสดงจํานวนและร้อยละของรูปแบบของกลุ่มที่มาใช้บริการจําแนกตามกลุ่มรายได้
รูปแบบของกลุ่มที่มาใช้บริการ
รายได้
รวม
ต่ํากว่า10,000บาท
10,000–19,999บาท
20,000–29,999บาท
30,000บาทขึ้นไป
1-2 คน จํานวน 5 5 5 2 17
อันดับที่ 2 2 2 3 2
3-5 คน จํานวน 8 15 30 14 67
อันดับที่ 1 1 1 1 1
6 คนขึ้นไป จํานวน 5 2 4 5 16
อันดับที่ 2 3 3 2 3
รวม จํานวน 18 22 39 21 16
ที่มา : จากการศึกษา
21
4.2.3 แหล่งข้อมูลในการมาใช้บริการจาแนกตามกลุ่มอาชีพ
จากการศึกษากลุ่มตัวอย่าง พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีแหล่งข้อมูลในการมาใช้
บริการคือ จากเพื่อน/ญาติ/บุคคลอื่น เป็นอันดับที่ 1 ที่ร้อยละ 61 อันดับสองคือ จากวารสารการ
ท่องเที่ยว/หนังสือพิมพ์ที่ร้อยละ 24 โดยหากจําแนกตามกลุ่มอาชีพพบว่ากลุ่มอาชีพส่วนใหญ่มี
แหล่งข้อมูลในการมาใช้บริการคือ เพื่อน/ญาติ/บุคคลอื่น เป็นอันดับที่ 1 ยกเว้นในกลุ่มอาชีพของ
นักธุรกิจ/เจ้าของกิจการที่มีแหล่งข้อมูลในการมาใช้บริการอันดับที่ 1 คือ วารสารการท่องเที่ยว/
หนังสือพิมพ์ ดังตารางที่ 4.2.3
ตารางที่ 4.2.3 แสดงจํานวนและร้อยละของแหล่งข้อมูลในการมาใช้บริการจําแนกตามกลุ่มอาชีพ
แหล่งข้อมูลในการมาใช้บริการ
อาชีพ
รวม
รับราชการ
นักธุรกิจ/เจ้าของธุรกิจ
รับจ้างทั่วไป/อาชีพอิสระ
พนักงานเอกชน
อื่นๆ
เพื่อน/ญาติ/บุคคลอื่น จํานวน 6 6 17 25 7 61
อันดับ 1 2 1 1 1 1
วารสารการท่องเที่ยว/
หนังสือพิมพ์
จํานวน 4 13 4 2 1 24
อันดับ 2 1 2 3 4 2
บริษัทนําเที่ยว จํานวน 1 0 1 3 2 7
อันดับ 3 3 3 2 3 4
โทรทัศน์/วิทยุ/เว็บไซต์ จํานวน 1 0 1 0 6 8
อันดับ 3 3 3 4 2 3
รวม จํานวน 12 19 23 30 16 100
ที่มา : จากการศึกษา
22
4.2.4 แหล่งข้อมูลในการมาใช้บริการจาแนกตามกลุ่มรายได้
จากการศึกษากลุ่มตัวอย่าง พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีแหล่งข้อมูลในการมาใช้
บริการคือ จากเพื่อน/ญาติ/บุคคลอื่น เป็นอันดับที่ 1 ที่ร้อยละ 61 อันดับสองคือ จากวารสารการ
ท่องเที่ยว/หนังสือพิมพ์ที่ร้อยละ 24 โดยหากจําแนกตามกลุ่มรายได้พบว่า ทุกกลุ่มรายได้มี
แหล่งข้อมูลในการมาใช้บริการคือ เพื่อน/ญาติ/บุคคลอื่น เป็นอันดับที่ 1 ขณะที่วารสารการ
ท่องเที่ยว/หนังสือพิมพ์เป็นอันดับที่ 2 ยกเว้นในกลุ่มรายได้ต่ํากว่า 10,000 บาทที่มีแหล่งข้อมูลใน
การมาใช้บริการอันดับที่ 2 เป็นบริษัทนําเที่ยว ดังตารางที่ 4.2.4
ตารางที่ 4.2.4 แสดงจํานวนและร้อยละของแหล่งข้อมูลในการมาใช้บริการจําแนกตามกลุ่มรายได้
แหล่งข้อมูลในการมาใช้บริการ
รายได้
รวม
ต่ํากว่า10,000บาท
10,000–19,999บาท
20,000–29,999บาท
30,000บาทขึ้นไป
เพื่อน/ญาติ/บุคคลอื่น จํานวน 12 13 25 11 61
อันดับ 1 1 1 1 1
วารสารการท่องเที่ยว/
หนังสือพิมพ์
จํานวน 1 7 8 8 24
อันดับ 4 2 2 2 2
บริษัทนําเที่ยว จํานวน 3 0 2 2 7
อันดับ 2 4 4 3 4
โทรทัศน์/วิทยุ/เว็บไซต์ จํานวน 2 2 4 0 8
อันดับ 3 3 3 4 3
รวม จํานวน 18 22 39 21 100
ที่มา : จากการศึกษา
23
4.2.5 ค่าใช้จ่ายในการมาใช้บริการจาแนกตามกลุ่มอาชีพ
จากการศึกษากลุ่มตัวอย่าง พบว่า กลุ่มอาชีพส่วนใหญ่มีค่าใช้จ่ายในการมาใช้
บริการอยู่ที่ 200-500 บาทต่อราย ยกเว้นกลุ่มอาชีพรับราชการและนักธุรกิจ/เจ้าของธุรกิจที่มี
ค่าใช้จ่ายการบริการอยู่ที่มากกว่า 500 บาทต่อรายเป็นอันดับที่ 1 ขณะที่กลุ่มอาชีพพนักงานเอกชน
และอื่นๆมีค่าใช้จ่ายการบริการที่มากกว่า 500 บาทต่อรายเป็นอันดับที่ 2 ดังตารางที่ 4.2.5
ตารางที่ 4.2.5 แสดงจํานวนและร้อยละของค่าใช้จ่ายในการมาใช้บริการจําแนกตามกลุ่มอาชีพ
ค่าใช้จ่ายในการมาใช้บริการ
อาชีพ
รวม
รับราชการ
นักธุรกิจ/เจ้าของธุรกิจ
รับจ้างทั่วไป/อาชีพอิสระ
พนักงานเอกชน
อื่นๆ
ไม่เกิน 200 บาท จํานวน 2 0 7 4 4 17
อันดับที่ 3 3 2 3 2 3
200-500 บาท จํานวน 3 3 11 18 8 43
อันดับที่ 2 2 1 1 1 1
มากกว่า 500 บาท จํานวน 7 16 5 8 4 40
อันดับที่ 1 1 3 2 2 2
รวม จํานวน 12 19 23 30 16 100
ที่มา : จากการศึกษา
แบบสอบถาม  ความพึงพอใจ นักท่องเที่ยว หน้า 41
แบบสอบถาม  ความพึงพอใจ นักท่องเที่ยว หน้า 41
แบบสอบถาม  ความพึงพอใจ นักท่องเที่ยว หน้า 41
แบบสอบถาม  ความพึงพอใจ นักท่องเที่ยว หน้า 41
แบบสอบถาม  ความพึงพอใจ นักท่องเที่ยว หน้า 41
แบบสอบถาม  ความพึงพอใจ นักท่องเที่ยว หน้า 41
แบบสอบถาม  ความพึงพอใจ นักท่องเที่ยว หน้า 41
แบบสอบถาม  ความพึงพอใจ นักท่องเที่ยว หน้า 41
แบบสอบถาม  ความพึงพอใจ นักท่องเที่ยว หน้า 41
แบบสอบถาม  ความพึงพอใจ นักท่องเที่ยว หน้า 41
แบบสอบถาม  ความพึงพอใจ นักท่องเที่ยว หน้า 41
แบบสอบถาม  ความพึงพอใจ นักท่องเที่ยว หน้า 41
แบบสอบถาม  ความพึงพอใจ นักท่องเที่ยว หน้า 41
แบบสอบถาม  ความพึงพอใจ นักท่องเที่ยว หน้า 41

More Related Content

What's hot

ภูมิศาสตร์
ภูมิศาสตร์ภูมิศาสตร์
ภูมิศาสตร์koorimkhong
 
โครงงาน Is-กลุ่มสบู่-1-5
โครงงาน Is-กลุ่มสบู่-1-5โครงงาน Is-กลุ่มสบู่-1-5
โครงงาน Is-กลุ่มสบู่-1-5Nontagan Lertkachensri
 
แบบประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมต่อต้านยาไอซ์ในโรงเรียน
แบบประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมต่อต้านยาไอซ์ในโรงเรียนแบบประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมต่อต้านยาไอซ์ในโรงเรียน
แบบประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมต่อต้านยาไอซ์ในโรงเรียนKruthai Kidsdee
 
คำกล่าวต้อนรับคณะกรรมการประเมิน
คำกล่าวต้อนรับคณะกรรมการประเมินคำกล่าวต้อนรับคณะกรรมการประเมิน
คำกล่าวต้อนรับคณะกรรมการประเมินpupphawittayacom
 
1.แบบประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมต่อต้านยาไอซ์ในโรงเรียน (1)
1.แบบประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมต่อต้านยาไอซ์ในโรงเรียน (1)1.แบบประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมต่อต้านยาไอซ์ในโรงเรียน (1)
1.แบบประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมต่อต้านยาไอซ์ในโรงเรียน (1)ครูเฒ่าบุรีรัมย์ ย่าแก่
 
คำกล่าวรายงาน คำกล่าวปิด
คำกล่าวรายงาน คำกล่าวปิดคำกล่าวรายงาน คำกล่าวปิด
คำกล่าวรายงาน คำกล่าวปิดkrisdika
 
แบบประเมินโครงการ
แบบประเมินโครงการแบบประเมินโครงการ
แบบประเมินโครงการNatthawut Sutthi
 
แบบสอบถาม การตัดสินใจซื้อโทรศัพท์มือถือ I phone ของผู้ใช้บริการรถไฟฟ้า bts
แบบสอบถาม การตัดสินใจซื้อโทรศัพท์มือถือ I phone ของผู้ใช้บริการรถไฟฟ้า btsแบบสอบถาม การตัดสินใจซื้อโทรศัพท์มือถือ I phone ของผู้ใช้บริการรถไฟฟ้า bts
แบบสอบถาม การตัดสินใจซื้อโทรศัพท์มือถือ I phone ของผู้ใช้บริการรถไฟฟ้า btsสำเร็จ นางสีคุณ
 
แผนการจัดกิจกรรมผู้บำเพ็ญประโยชน์
แผนการจัดกิจกรรมผู้บำเพ็ญประโยชน์แผนการจัดกิจกรรมผู้บำเพ็ญประโยชน์
แผนการจัดกิจกรรมผู้บำเพ็ญประโยชน์Wichai Likitponrak
 
แบบประเมินโครงการแสดงความยินดี
แบบประเมินโครงการแสดงความยินดีแบบประเมินโครงการแสดงความยินดี
แบบประเมินโครงการแสดงความยินดีmaethaya
 
ขอความอนุเคราะห์
ขอความอนุเคราะห์ขอความอนุเคราะห์
ขอความอนุเคราะห์Rapheephan Phola
 
แบบประเมินกิจกรรม
แบบประเมินกิจกรรมแบบประเมินกิจกรรม
แบบประเมินกิจกรรมPhajon Kamta
 
แบบสอบถามความพึงพอใจ
แบบสอบถามความพึงพอใจแบบสอบถามความพึงพอใจ
แบบสอบถามความพึงพอใจDuangnapa Inyayot
 
โครงการจิตอาสาพัฒนาวัด
โครงการจิตอาสาพัฒนาวัดโครงการจิตอาสาพัฒนาวัด
โครงการจิตอาสาพัฒนาวัดพัน พัน
 
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง สมุนไพรกำจัดปลวก
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง สมุนไพรกำจัดปลวกโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง สมุนไพรกำจัดปลวก
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง สมุนไพรกำจัดปลวกพัน พัน
 
โครงงานประเภททฤษฏี
โครงงานประเภททฤษฏีโครงงานประเภททฤษฏี
โครงงานประเภททฤษฏีNuchy Geez
 

What's hot (20)

ภูมิศาสตร์
ภูมิศาสตร์ภูมิศาสตร์
ภูมิศาสตร์
 
โครงงาน Is-กลุ่มสบู่-1-5
โครงงาน Is-กลุ่มสบู่-1-5โครงงาน Is-กลุ่มสบู่-1-5
โครงงาน Is-กลุ่มสบู่-1-5
 
แบบประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมต่อต้านยาไอซ์ในโรงเรียน
แบบประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมต่อต้านยาไอซ์ในโรงเรียนแบบประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมต่อต้านยาไอซ์ในโรงเรียน
แบบประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมต่อต้านยาไอซ์ในโรงเรียน
 
คำกล่าวต้อนรับคณะกรรมการประเมิน
คำกล่าวต้อนรับคณะกรรมการประเมินคำกล่าวต้อนรับคณะกรรมการประเมิน
คำกล่าวต้อนรับคณะกรรมการประเมิน
 
1.แบบประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมต่อต้านยาไอซ์ในโรงเรียน (1)
1.แบบประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมต่อต้านยาไอซ์ในโรงเรียน (1)1.แบบประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมต่อต้านยาไอซ์ในโรงเรียน (1)
1.แบบประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมต่อต้านยาไอซ์ในโรงเรียน (1)
 
คำกล่าวรายงาน คำกล่าวปิด
คำกล่าวรายงาน คำกล่าวปิดคำกล่าวรายงาน คำกล่าวปิด
คำกล่าวรายงาน คำกล่าวปิด
 
แบบประเมินโครงการ
แบบประเมินโครงการแบบประเมินโครงการ
แบบประเมินโครงการ
 
แบบสอบถาม การตัดสินใจซื้อโทรศัพท์มือถือ I phone ของผู้ใช้บริการรถไฟฟ้า bts
แบบสอบถาม การตัดสินใจซื้อโทรศัพท์มือถือ I phone ของผู้ใช้บริการรถไฟฟ้า btsแบบสอบถาม การตัดสินใจซื้อโทรศัพท์มือถือ I phone ของผู้ใช้บริการรถไฟฟ้า bts
แบบสอบถาม การตัดสินใจซื้อโทรศัพท์มือถือ I phone ของผู้ใช้บริการรถไฟฟ้า bts
 
แผนการจัดกิจกรรมผู้บำเพ็ญประโยชน์
แผนการจัดกิจกรรมผู้บำเพ็ญประโยชน์แผนการจัดกิจกรรมผู้บำเพ็ญประโยชน์
แผนการจัดกิจกรรมผู้บำเพ็ญประโยชน์
 
แบบประเมินโครงการแสดงความยินดี
แบบประเมินโครงการแสดงความยินดีแบบประเมินโครงการแสดงความยินดี
แบบประเมินโครงการแสดงความยินดี
 
แผ่นพับโครงงาน
แผ่นพับโครงงานแผ่นพับโครงงาน
แผ่นพับโครงงาน
 
ขอความอนุเคราะห์
ขอความอนุเคราะห์ขอความอนุเคราะห์
ขอความอนุเคราะห์
 
ใบงาน
ใบงานใบงาน
ใบงาน
 
แบบประเมินกิจกรรม
แบบประเมินกิจกรรมแบบประเมินกิจกรรม
แบบประเมินกิจกรรม
 
คำนำ
คำนำคำนำ
คำนำ
 
แบบสอบถามความพึงพอใจ
แบบสอบถามความพึงพอใจแบบสอบถามความพึงพอใจ
แบบสอบถามความพึงพอใจ
 
โครงงานภาษาไทย เรื่อง คำไทยที่มักเขียนผิด
โครงงานภาษาไทย เรื่อง คำไทยที่มักเขียนผิดโครงงานภาษาไทย เรื่อง คำไทยที่มักเขียนผิด
โครงงานภาษาไทย เรื่อง คำไทยที่มักเขียนผิด
 
โครงการจิตอาสาพัฒนาวัด
โครงการจิตอาสาพัฒนาวัดโครงการจิตอาสาพัฒนาวัด
โครงการจิตอาสาพัฒนาวัด
 
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง สมุนไพรกำจัดปลวก
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง สมุนไพรกำจัดปลวกโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง สมุนไพรกำจัดปลวก
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง สมุนไพรกำจัดปลวก
 
โครงงานประเภททฤษฏี
โครงงานประเภททฤษฏีโครงงานประเภททฤษฏี
โครงงานประเภททฤษฏี
 

Similar to แบบสอบถาม ความพึงพอใจ นักท่องเที่ยว หน้า 41

ย่านตาขาวโมเดล
ย่านตาขาวโมเดลย่านตาขาวโมเดล
ย่านตาขาวโมเดลPattie Pattie
 
โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์Bliss_09
 
Nrct northern initiatives
Nrct northern initiativesNrct northern initiatives
Nrct northern initiativesrattapol
 
2.แผนเรื่องโครงงานกระทงรักษ์น้ำ
2.แผนเรื่องโครงงานกระทงรักษ์น้ำ2.แผนเรื่องโครงงานกระทงรักษ์น้ำ
2.แผนเรื่องโครงงานกระทงรักษ์น้ำWareerut Hunter
 
Medhub 3 4 52 anchana na ranong
Medhub 3 4 52  anchana na ranongMedhub 3 4 52  anchana na ranong
Medhub 3 4 52 anchana na ranongNithimar Or
 
ต้นกำเนิดของยางแท่ง
ต้นกำเนิดของยางแท่งต้นกำเนิดของยางแท่ง
ต้นกำเนิดของยางแท่งCheeta2
 
การประดิษฐ์สื่อการเรียนการสอนแบบจำลองน้ำตกจากวัสดุเหลือใช้
การประดิษฐ์สื่อการเรียนการสอนแบบจำลองน้ำตกจากวัสดุเหลือใช้การประดิษฐ์สื่อการเรียนการสอนแบบจำลองน้ำตกจากวัสดุเหลือใช้
การประดิษฐ์สื่อการเรียนการสอนแบบจำลองน้ำตกจากวัสดุเหลือใช้Kobwit Piriyawat
 
โครงการวรรณกรรมอาเซียนกับคติชน ประชาสัมพันธ์
โครงการวรรณกรรมอาเซียนกับคติชน  ประชาสัมพันธ์โครงการวรรณกรรมอาเซียนกับคติชน  ประชาสัมพันธ์
โครงการวรรณกรรมอาเซียนกับคติชน ประชาสัมพันธ์pyopyo
 
59 ssh e news
59 ssh e news59 ssh e news
59 ssh e newsshm-nstda
 

Similar to แบบสอบถาม ความพึงพอใจ นักท่องเที่ยว หน้า 41 (20)

V 297
V 297V 297
V 297
 
ย่านตาขาวโมเดล
ย่านตาขาวโมเดลย่านตาขาวโมเดล
ย่านตาขาวโมเดล
 
โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์
 
Nrct northern initiatives
Nrct northern initiativesNrct northern initiatives
Nrct northern initiatives
 
Exhibition NAC 2009
Exhibition NAC 2009Exhibition NAC 2009
Exhibition NAC 2009
 
Book Exhibition NAC 2009 Full
Book Exhibition NAC 2009 FullBook Exhibition NAC 2009 Full
Book Exhibition NAC 2009 Full
 
2.แผนเรื่องโครงงานกระทงรักษ์น้ำ
2.แผนเรื่องโครงงานกระทงรักษ์น้ำ2.แผนเรื่องโครงงานกระทงรักษ์น้ำ
2.แผนเรื่องโครงงานกระทงรักษ์น้ำ
 
V 293
V 293V 293
V 293
 
Medhub 3 4 52 anchana na ranong
Medhub 3 4 52  anchana na ranongMedhub 3 4 52  anchana na ranong
Medhub 3 4 52 anchana na ranong
 
ต้นกำเนิดของยางแท่ง
ต้นกำเนิดของยางแท่งต้นกำเนิดของยางแท่ง
ต้นกำเนิดของยางแท่ง
 
การประดิษฐ์สื่อการเรียนการสอนแบบจำลองน้ำตกจากวัสดุเหลือใช้
การประดิษฐ์สื่อการเรียนการสอนแบบจำลองน้ำตกจากวัสดุเหลือใช้การประดิษฐ์สื่อการเรียนการสอนแบบจำลองน้ำตกจากวัสดุเหลือใช้
การประดิษฐ์สื่อการเรียนการสอนแบบจำลองน้ำตกจากวัสดุเหลือใช้
 
Information2012
Information2012Information2012
Information2012
 
โครงการวรรณกรรมอาเซียนกับคติชน ประชาสัมพันธ์
โครงการวรรณกรรมอาเซียนกับคติชน  ประชาสัมพันธ์โครงการวรรณกรรมอาเซียนกับคติชน  ประชาสัมพันธ์
โครงการวรรณกรรมอาเซียนกับคติชน ประชาสัมพันธ์
 
V 279
V 279V 279
V 279
 
V 279
V 279V 279
V 279
 
V 289
V 289V 289
V 289
 
V 282
V 282V 282
V 282
 
Tsmt vol16
Tsmt vol16Tsmt vol16
Tsmt vol16
 
59 ssh e news
59 ssh e news59 ssh e news
59 ssh e news
 
Stem workshop report
Stem workshop reportStem workshop report
Stem workshop report
 

More from สำเร็จ นางสีคุณ

แบบสอบถาม การตัดสินใจซื้อโทรศัพท์มือถือ I phone ของผู้ใช้บริการรถไฟฟ้า bts
แบบสอบถาม การตัดสินใจซื้อโทรศัพท์มือถือ I phone ของผู้ใช้บริการรถไฟฟ้า btsแบบสอบถาม การตัดสินใจซื้อโทรศัพท์มือถือ I phone ของผู้ใช้บริการรถไฟฟ้า bts
แบบสอบถาม การตัดสินใจซื้อโทรศัพท์มือถือ I phone ของผู้ใช้บริการรถไฟฟ้า btsสำเร็จ นางสีคุณ
 
แบบฟอร์มการเขียนบทความวิชาการ
แบบฟอร์มการเขียนบทความวิชาการแบบฟอร์มการเขียนบทความวิชาการ
แบบฟอร์มการเขียนบทความวิชาการสำเร็จ นางสีคุณ
 
Ppt ติว ระบบต่อมไร้ท่อ นักเรียน
Ppt ติว ระบบต่อมไร้ท่อ นักเรียนPpt ติว ระบบต่อมไร้ท่อ นักเรียน
Ppt ติว ระบบต่อมไร้ท่อ นักเรียนสำเร็จ นางสีคุณ
 
ใบงาน ระบบต่อมไร้ท่อ นักเรียน
ใบงาน ระบบต่อมไร้ท่อ นักเรียนใบงาน ระบบต่อมไร้ท่อ นักเรียน
ใบงาน ระบบต่อมไร้ท่อ นักเรียนสำเร็จ นางสีคุณ
 
ใบงาน พฤติกรรม สิ่งมีชีวิต นักเรียน
ใบงาน พฤติกรรม สิ่งมีชีวิต นักเรียนใบงาน พฤติกรรม สิ่งมีชีวิต นักเรียน
ใบงาน พฤติกรรม สิ่งมีชีวิต นักเรียนสำเร็จ นางสีคุณ
 
Ppt ระบบประสาท (nervous system) ชีววิทยา ม.5
Ppt ระบบประสาท (nervous system) ชีววิทยา ม.5Ppt ระบบประสาท (nervous system) ชีววิทยา ม.5
Ppt ระบบประสาท (nervous system) ชีววิทยา ม.5สำเร็จ นางสีคุณ
 
แบบทดสอบ เตรียมสอบ Nt วิชาวิทยาศาสตร์ ป.6
แบบทดสอบ เตรียมสอบ Nt วิชาวิทยาศาสตร์  ป.6แบบทดสอบ เตรียมสอบ Nt วิชาวิทยาศาสตร์  ป.6
แบบทดสอบ เตรียมสอบ Nt วิชาวิทยาศาสตร์ ป.6สำเร็จ นางสีคุณ
 
ข้อสอบอัจฉริยภาพ ทางวิทยาศาสตร์ ป.6 2553
ข้อสอบอัจฉริยภาพ ทางวิทยาศาสตร์  ป.6 2553ข้อสอบอัจฉริยภาพ ทางวิทยาศาสตร์  ป.6 2553
ข้อสอบอัจฉริยภาพ ทางวิทยาศาสตร์ ป.6 2553สำเร็จ นางสีคุณ
 
ข้อสอบอัจฉริยภาพ ทางวิทยาศาสตร์ ป.6 2552
ข้อสอบอัจฉริยภาพ ทางวิทยาศาสตร์  ป.6 2552ข้อสอบอัจฉริยภาพ ทางวิทยาศาสตร์  ป.6 2552
ข้อสอบอัจฉริยภาพ ทางวิทยาศาสตร์ ป.6 2552สำเร็จ นางสีคุณ
 
ข้อสอบอัจฉริยภาพ ทางวิทยาศาสตร์ ป.6 2549
ข้อสอบอัจฉริยภาพ ทางวิทยาศาสตร์  ป.6 2549ข้อสอบอัจฉริยภาพ ทางวิทยาศาสตร์  ป.6 2549
ข้อสอบอัจฉริยภาพ ทางวิทยาศาสตร์ ป.6 2549สำเร็จ นางสีคุณ
 
ข้อสอบอัจฉริยภาพ ทางวิทยาศาสตร์ ป. 6 2550.1
ข้อสอบอัจฉริยภาพ ทางวิทยาศาสตร์  ป. 6 2550.1ข้อสอบอัจฉริยภาพ ทางวิทยาศาสตร์  ป. 6 2550.1
ข้อสอบอัจฉริยภาพ ทางวิทยาศาสตร์ ป. 6 2550.1สำเร็จ นางสีคุณ
 
ข้อสอบวิทยาศาสตร์ O net (โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ)
ข้อสอบวิทยาศาสตร์ O net (โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ)ข้อสอบวิทยาศาสตร์ O net (โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ)
ข้อสอบวิทยาศาสตร์ O net (โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ)สำเร็จ นางสีคุณ
 
ข้อสอบอัจฉริยภาพ ทางวิทยาศาสตร์ ป.3 2550
ข้อสอบอัจฉริยภาพ ทางวิทยาศาสตร์ ป.3 2550ข้อสอบอัจฉริยภาพ ทางวิทยาศาสตร์ ป.3 2550
ข้อสอบอัจฉริยภาพ ทางวิทยาศาสตร์ ป.3 2550สำเร็จ นางสีคุณ
 
ใบงาน ระบบต่อมไร้ท่อ นักเรียน
ใบงาน ระบบต่อมไร้ท่อ นักเรียนใบงาน ระบบต่อมไร้ท่อ นักเรียน
ใบงาน ระบบต่อมไร้ท่อ นักเรียนสำเร็จ นางสีคุณ
 
ใบงาน ระบบต่อมไร้ท่อ นักเรียน
ใบงาน ระบบต่อมไร้ท่อ นักเรียนใบงาน ระบบต่อมไร้ท่อ นักเรียน
ใบงาน ระบบต่อมไร้ท่อ นักเรียนสำเร็จ นางสีคุณ
 
ใบงาน พฤติกรรม สิ่งมีชีวิต นักเรียน
ใบงาน พฤติกรรม สิ่งมีชีวิต นักเรียนใบงาน พฤติกรรม สิ่งมีชีวิต นักเรียน
ใบงาน พฤติกรรม สิ่งมีชีวิต นักเรียนสำเร็จ นางสีคุณ
 
แบบฟอร์มการเขียนบทความวิชการ Is1 30 คะแนน รายกลุ่ม 1 ชิ้น
แบบฟอร์มการเขียนบทความวิชการ Is1 30 คะแนน รายกลุ่ม 1 ชิ้นแบบฟอร์มการเขียนบทความวิชการ Is1 30 คะแนน รายกลุ่ม 1 ชิ้น
แบบฟอร์มการเขียนบทความวิชการ Is1 30 คะแนน รายกลุ่ม 1 ชิ้นสำเร็จ นางสีคุณ
 

More from สำเร็จ นางสีคุณ (20)

ของเล่นทำให้เกิดเสียง
ของเล่นทำให้เกิดเสียงของเล่นทำให้เกิดเสียง
ของเล่นทำให้เกิดเสียง
 
สาวน้อยนักกายกรรม
สาวน้อยนักกายกรรมสาวน้อยนักกายกรรม
สาวน้อยนักกายกรรม
 
แบบสอบถาม การตัดสินใจซื้อโทรศัพท์มือถือ I phone ของผู้ใช้บริการรถไฟฟ้า bts
แบบสอบถาม การตัดสินใจซื้อโทรศัพท์มือถือ I phone ของผู้ใช้บริการรถไฟฟ้า btsแบบสอบถาม การตัดสินใจซื้อโทรศัพท์มือถือ I phone ของผู้ใช้บริการรถไฟฟ้า bts
แบบสอบถาม การตัดสินใจซื้อโทรศัพท์มือถือ I phone ของผู้ใช้บริการรถไฟฟ้า bts
 
แบบฟอร์มการเขียนบทความวิชาการ
แบบฟอร์มการเขียนบทความวิชาการแบบฟอร์มการเขียนบทความวิชาการ
แบบฟอร์มการเขียนบทความวิชาการ
 
Ppt ติว ระบบต่อมไร้ท่อ นักเรียน
Ppt ติว ระบบต่อมไร้ท่อ นักเรียนPpt ติว ระบบต่อมไร้ท่อ นักเรียน
Ppt ติว ระบบต่อมไร้ท่อ นักเรียน
 
ใบงาน ระบบต่อมไร้ท่อ นักเรียน
ใบงาน ระบบต่อมไร้ท่อ นักเรียนใบงาน ระบบต่อมไร้ท่อ นักเรียน
ใบงาน ระบบต่อมไร้ท่อ นักเรียน
 
ใบงาน พฤติกรรม สิ่งมีชีวิต นักเรียน
ใบงาน พฤติกรรม สิ่งมีชีวิต นักเรียนใบงาน พฤติกรรม สิ่งมีชีวิต นักเรียน
ใบงาน พฤติกรรม สิ่งมีชีวิต นักเรียน
 
Ppt ระบบประสาท (nervous system) ชีววิทยา ม.5
Ppt ระบบประสาท (nervous system) ชีววิทยา ม.5Ppt ระบบประสาท (nervous system) ชีววิทยา ม.5
Ppt ระบบประสาท (nervous system) ชีววิทยา ม.5
 
แบบทดสอบ เตรียมสอบ Nt วิชาวิทยาศาสตร์ ป.6
แบบทดสอบ เตรียมสอบ Nt วิชาวิทยาศาสตร์  ป.6แบบทดสอบ เตรียมสอบ Nt วิชาวิทยาศาสตร์  ป.6
แบบทดสอบ เตรียมสอบ Nt วิชาวิทยาศาสตร์ ป.6
 
ข้อสอบอัจฉริยภาพ ทางวิทยาศาสตร์ ป.6 2553
ข้อสอบอัจฉริยภาพ ทางวิทยาศาสตร์  ป.6 2553ข้อสอบอัจฉริยภาพ ทางวิทยาศาสตร์  ป.6 2553
ข้อสอบอัจฉริยภาพ ทางวิทยาศาสตร์ ป.6 2553
 
ข้อสอบอัจฉริยภาพ ทางวิทยาศาสตร์ ป.6 2552
ข้อสอบอัจฉริยภาพ ทางวิทยาศาสตร์  ป.6 2552ข้อสอบอัจฉริยภาพ ทางวิทยาศาสตร์  ป.6 2552
ข้อสอบอัจฉริยภาพ ทางวิทยาศาสตร์ ป.6 2552
 
ข้อสอบอัจฉริยภาพ ทางวิทยาศาสตร์ ป.6 2549
ข้อสอบอัจฉริยภาพ ทางวิทยาศาสตร์  ป.6 2549ข้อสอบอัจฉริยภาพ ทางวิทยาศาสตร์  ป.6 2549
ข้อสอบอัจฉริยภาพ ทางวิทยาศาสตร์ ป.6 2549
 
ข้อสอบอัจฉริยภาพ ทางวิทยาศาสตร์ ป. 6 2550.1
ข้อสอบอัจฉริยภาพ ทางวิทยาศาสตร์  ป. 6 2550.1ข้อสอบอัจฉริยภาพ ทางวิทยาศาสตร์  ป. 6 2550.1
ข้อสอบอัจฉริยภาพ ทางวิทยาศาสตร์ ป. 6 2550.1
 
ข้อสอบวิทยาศาสตร์ O net (โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ)
ข้อสอบวิทยาศาสตร์ O net (โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ)ข้อสอบวิทยาศาสตร์ O net (โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ)
ข้อสอบวิทยาศาสตร์ O net (โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ)
 
ข้อสอบอัจฉริยภาพ ทางวิทยาศาสตร์ ป.3 2550
ข้อสอบอัจฉริยภาพ ทางวิทยาศาสตร์ ป.3 2550ข้อสอบอัจฉริยภาพ ทางวิทยาศาสตร์ ป.3 2550
ข้อสอบอัจฉริยภาพ ทางวิทยาศาสตร์ ป.3 2550
 
ใบงาน ระบบต่อมไร้ท่อ นักเรียน
ใบงาน ระบบต่อมไร้ท่อ นักเรียนใบงาน ระบบต่อมไร้ท่อ นักเรียน
ใบงาน ระบบต่อมไร้ท่อ นักเรียน
 
ใบงาน ระบบต่อมไร้ท่อ นักเรียน
ใบงาน ระบบต่อมไร้ท่อ นักเรียนใบงาน ระบบต่อมไร้ท่อ นักเรียน
ใบงาน ระบบต่อมไร้ท่อ นักเรียน
 
ใบงาน พฤติกรรม สิ่งมีชีวิต นักเรียน
ใบงาน พฤติกรรม สิ่งมีชีวิต นักเรียนใบงาน พฤติกรรม สิ่งมีชีวิต นักเรียน
ใบงาน พฤติกรรม สิ่งมีชีวิต นักเรียน
 
แบบฟอร์มการเขียนบทความวิชการ Is1 30 คะแนน รายกลุ่ม 1 ชิ้น
แบบฟอร์มการเขียนบทความวิชการ Is1 30 คะแนน รายกลุ่ม 1 ชิ้นแบบฟอร์มการเขียนบทความวิชการ Is1 30 คะแนน รายกลุ่ม 1 ชิ้น
แบบฟอร์มการเขียนบทความวิชการ Is1 30 คะแนน รายกลุ่ม 1 ชิ้น
 
Tutur(biology)0 net 2
Tutur(biology)0 net 2Tutur(biology)0 net 2
Tutur(biology)0 net 2
 

แบบสอบถาม ความพึงพอใจ นักท่องเที่ยว หน้า 41

  • 1. พฤติกรรมและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มาใช้บริการแพนด้าสโนว์โดม สวนสัตว์เชียงใหม่ จัดทาโดย ชนินทร์ อุดมศรีรัตน์ 491610020 อาจารย์ที่ปรึกษา รศ.ดร. วีนัส ฤๅชัย รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งในกระบวนวิชา 751409 (แบบฝึกหัดการวิจัยปัญหาเศรษฐกิจปัจจุบัน) ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2552 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • 2. ก กิตติกรรมประกาศ การค้นคว้าแบบฝึกหัดการวิจัยฉบับนี้ สาเร็จลุล่วงลงได้ด้วยความกรุณาและการอนุเคราะห์ ช่วยเหลือจากบุคคลและหน่วยงานหลายฝ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง รศ. ดร.วีนัส ฤาชัย อาจารย์ที่ปรึกษา แบบฝึกหัดการวิจัยฉบับนี้ที่ได้กรุณา เสียสละเวลา ให้คาแนะนา ปรึกษา ตลอดจนตรวจสอบแก้ไขและให้ ความรู้แก่ผู้ทาการศึกษาจนการค้นคว้าแบบอิสระนี้เสร็จสมบูรณ์ ผู้วิจัยกราบขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงไว้ ณ ที่นี้ ขอขอบคุณสาหรับเพื่อน ๆ ทุกคนที่คอยให้คาแนะนาและคาปรึกษาที่ดีเสมอมา และขอขอบคุณทุก แรงใจที่ผลักดันให้การค้นคว้าแบบฝึกหัดการวิจัยฉบับนี้เสร็จสมบูรณ์ ขอขอบคุณเจ้าหน้าที่สวนสัตว์ เชียงใหม่และเจ้าหน้าที่แพนด้าสโนว์โดมทุกท่านที่เอื้อเฟื้อ ให้คาแนะนาและช่วยเหลือในการเก็บข้อมูลของ ข้าพเจ้าดาเนินไปได้ด้วยดี และ ขอขอบคุณผู้ที่ช่วยตอบแบบสอบถามทุกท่านที่ได้ให้ความร่วมมือและ เสียสละเวลาในการตอบแบบสอบถาม ทาให้การเก็บข้อมูลสามารถลุล่วงไปได้ด้วยดี ท้ายที่สุดนี้ หากมีสิ่งขาดตกบกพร่องหรือผิดพลาดประการใด ผู้เขียนขออภัยเป็นอย่างสูงใน ข้อบกพร่องและความผิดพลาดนั้น และผู้เขียนหวังว่าการศึกษาเพื่อการค้นคว้าแบบฝึกหัดการวิจัยฉบับนี้ จะ เป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยสาหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนผู้สนใจข้อมูล ชนินทร์ อุดมศรีรัตน์
  • 3. ข สารบัญ หน้า กิตติกรรมประกาศ ก สารบัญ ข สารบัญตาราง ค บทที่ 1 บทนา 1 1.1 ที่มาและความสาคัญของปัญหา 1 1.2 วัตถุประสงค์ในการศึกษา 4 1.3 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 4 1.4 ขอบเขตการศึกษา 4 1.5 นิยามศัพท์ 4 บทที่ 2 การทบทวนวรรณกรรม 6 2.1 ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง 6 2.2 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 11 2.3 กรอบแนวคิด 13 บทที่ 3 ระเบียบวิธีวิจัย 14 3.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา 14 3.2 ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษา 14 3.3 วิธีการศึกษา 15 บทที่ 4 ผลการศึกษา 17 4.1 ผลการศึกษาข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างของนักท่องเที่ยว 17 4.2 ผลการศึกษาพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยว 19 4.3 ผลการศึกษาระดับความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว 27 บทที่ 5 สรุปผลการศึกษาและข้อเสนอแนะ 30 5.1 สรุปผลการศึกษา 30 5.2 ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย 31 5.3 ข้อเสนอแนะในการศึกษาครั้งต่อไป 32 เอกสารอ้างอิง 33 ภาคผนวก 34
  • 4. ค สารบัญตาราง ตารางที่ หน้า 1.1 แสดงรายได้และจานวนนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวสวนสัตว์เชียงใหม่ช่วงปี 2 งบประมาณ 2540 ถึง มิ.ย. 2547 4.1 แสดงจานวนและร้อยละข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างที่มาท่องเที่ยว 18 4.2.1 แสดงจานวนและร้อยละของรูปแบบของกลุ่มที่มาใช้บริการ จาแนกตามกลุ่มอาชีพ19 4.2.2 แสดงจานวนและร้อยละของรูปแบบของกลุ่มที่มาใช้บริการ จาแนกตามกลุ่มรายได้ 20 4.2.3 แสดงจานวนและร้อยละของ แหล่งข้อมูลในการมาใช้บริการจาแนกตามกลุ่มอาชีพ 21 4.2.4 แสดงจานวนและร้อยละของแหล่งข้อมูลในการมาใช้บริการจาแนกตามกลุ่มรายได้ 22 4.2.5 แสดงจานวนและร้อยละของค่าใช้จ่ายในการมาใช้บริการจาแนกตามกลุ่มอาชีพ 23 4.2.6 แสดงจานวนและร้อยละของ ค่าใช้จ่ายในการมาใช้บริการจาแนกตามกลุ่มรายได้ 24 4.2.7 แสดงจานวนและร้อยละของ ความถี่ในการมาใช้บริการจาแนกตามกลุ่มอาชีพ 25 4.2.8 แสดงจานวนและร้อยละของ ความถี่ในการมาใช้บริการจาแนกตามกลุ่มรายได้26 4.3.1 แสดงระดับความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวต่อปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ 27 4.3.2 แสดงระดับความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวต่อปัจจัยด้านราคา 28 4.3.3 แสดงระดับความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวต่อปัจจัยด้านสถานที่ 28 4.3.4 แสดงระดับความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวต่อปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาด 29 4.3.5 แสดงระดับและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวต่อปัจจัยด้านต่างๆ ตาม 29 แนวคิดส่วนประสมการตลาด
  • 5. 1 บทที่ 1 บทนา 1.1 ที่มาและความสาคัญของปัญหา เป็นที่ไม่ปรากฏแน่ชัดว่า“สวนสัตว์” แห่งแรกของโลกแต่เดิมมานั้นคือที่ใด แต่ตามบันทึกใน อดีตนั้นสวนสัตว์จะเป็นส่วนหนึ่งของสวนของคหบดีหรือคนชั้นสูงในการสะสมหรือรวบรวมสัตว์ ที่หายากเพื่ออวดโชว์กันในแวดวงสังคมชั้นสูงในยุโรป ซึ่งสวนสัตว์ในยุคแรกๆเป็น แต่เพียงกรง หรือคอกกักขังสัตว์ ต่อมาได้มีการปรับปรุงสวนสัตว์ที่มีอยู่เดิมให้มีสภาพแวดล้อมเหมาะกับสัตว์ มากขึ้น จนในปัจจุบันกล่าวได้ว่า สวนสัตว์ คือ สถานที่จัดแสดงสัตว์ป่าที่จับมาได้จากป่าใหญ่ หรือ นําเข้าจากต่างประเทศ และมีส่วนอนุรักษ์วิจัยเพื่อศึกษาชีวิตของสัตว์ป่าทุกชนิด สวนสัตว์จึงนับได้ ว่าเป็นสถานที่ท่องเที่ยวและเป็นแหล่งศึกษาหาความรู้ เฉกเช่นเดียวกับพิพิธภัณฑ์ที่ดึงดูดผู้ชมเป็น จํานวนมาก โดยการจัดแสดงภายในสวนสัตว์มักมีการแบ่งเป็นโซนเน้นให้เห็นสภาพความเป็นอยู่ หรือจัดกลุ่มสัตว์เป็นประเภทๆ ซึ่งสวนสัตว์บางแห่งอาจอยู่ในรูปแบบของ สวนสัตว์เปิด ( Open Zoo) หรืออยู่ในรูปแบบของสวนสัตว์เด็ก (Children Zoo) ที่คล้ายกับสนามเด็กเล่น สําหรับสวนสัตว์ในประเทศไทยมีหน่วยงานราชการ ชื่อ องค์การสวนสัตว์ ในพระบรม ราชูปถัมภ์ดูแล โดยมีสวนสัตว์อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบทั้งสิ้น 5 แห่ง คือ สวนสัตว์ดุสิต, สวนสัตว์ เปิดเขาเขียว, สวนสัตว์เชียงใหม่, สวนสัตว์นครราชสีมา และสวนสัตว์สงขลา ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา สวนสัตว์เชียงใหม่นับว่าได้รับความสนใจจากคนในประเทศเป็น อย่างมากทั้งในส่วนของประชาชนทั่วไปและสื่อมวลชน เนื่องด้วยนับตั้งแต่ พ.ศ.2544 ที่พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ ฯพณฯรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมในขณะนั้นได้ เจรจาขอหมีแพนด้าจากประธานาธิบดีและนายกรัฐมนตรีของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่ง ทางรัฐบาลจีนมีความยินดีที่จะมอบหมีแพนด้าจํานวน 2 ตัวให้ประเทศไทยนํามาจัดแสดง ณ สวน สัตว์เชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นเวลา 10 ปี เริ่มตั้งแต่ปลายปี พ.ศ.2546 เป็นต้นไป เพื่อเป็น สัญลักษณ์แห่งสัมพันธไมตรีที่มีต่อกันอย่างยาวนานและเพื่อร่วมเฉลิมฉลอง 72 พรรษามหาราชินี ในปี พ.ศ.2547 การเดินทางมาของหมีแพนด้าทั้งสองได้แก่ ช่วงช่วง และหลินฮุ่ยในเดือนตุลาคม พ.ศ.2546 ได้รับความสนใจจากประชาชนและสื่อมวลชนเป็นอย่างมาก มีการจัดพิธีต้อนรับอย่างยิ่งใหญ่ ถ่ายทอดสดแพร่ภาพทั่วประเทศ ทําให้ดึงดูดนักท่องเที่ยวและสร้างรายได้ให้แก่สวนสัตว์เชียงใหม่ และจังหวัดเชียงใหม่เป็นอันมาก ดังตารางที่ 1.1
  • 6. 2 ตารางที่ 1.1 รายได้และจํานวนนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวสวนสัตว์เชียงใหม่ช่วงปีงบประมาณ 2540 ถึง มิ.ย. 2547 ปีงบประมาณ จํานวนนักท่องเที่ยว(คน) รายได้(บาท) 2540 681,232 13,957,772 2541 704,674 14,851,353 2542 588,581 17,356,714 2543 522,805 14,930,423 2544 565,488 13,598,930 2545 558,456 14,248,718 2546 611,635 17,670,566 ต.ค.2546– มิ.ย 2547 1,316,758 29,687,813 ที่มา : สวนสัตว์เชียงใหม่ ในเดือนมิถุนายน พ.ศ.2552 ได้มีเหตุการณ์น่าชื่นชมยินดีคือ เจ้าหน้าที่โครงการวิจัยหมี แพนด้าประจําสวนสัตว์เชียงใหม่ประสบความสําเร็จในการผสมเทียมแก่หมีแพนด้าเพศเมียหลินฮุ่ย และได้ให้กําเนิดลูกหมีแพนด้าเพศเมีย 1 ตัว ซึ่งการถือกําเนิดมาของสมาชิกใหม่ของสวนสัตว์ เชียงใหม่ดังกล่าวได้รับความสนใจจากประชาชนเป็นอย่างมาก โดยมีการจัดพิธีล้านนารับขวัญลูก หมีแพนด้าเกิดใหม่อย่างครึกครื้น รวมถึงการประกวดตั้งชื่อให้แก่ลูกหมีแพนด้าที่ได้รับความสนใจ จากคนทั้งประเทศ โดยจะพบว่าตั้งแต่ปีแรกที่หมีแพนด้าทั้งสองเข้ามาประเทศไทย ได้ สร้างรายได้ จากการท่องเที่ยวให้เชียงใหม่ 3,000 ล้านบาท โดยหากนับเฉพาะรายได้ของทางสวนสัตว์นั้นในปี แรกมีรายได้กว่า 120 ล้านบาทจนถึงปัจจุบันปี พ.ศ.2552ผ่านมาแล้ว 6ปี สวนสัตว์มีรายได้มากกว่า 500-600 ล้านบาทแล้วจากที่ลงทุนไปทั้งหมด ประมาณ 120 ล้านบาท(โสภณ ดํานุ้ย, ผู้อํานวยการ องค์การสวนสัตว์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 2552.) และกลางเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2552 ทางสวนสัตว์เชียงใหม่ได้เปิดบ้านหลังใหม่ของ ครอบครัวหมีแพนด้า “แพนด้าสโนว์โดม” ซึ่งมีจุดเด่นที่น่าสนใจคือภายในเป็นโดมประกอบด้วย เครื่องสร้างหิมะซึ่งจําลองกระบวนการเกิดหิมะจริงในธรรมชาติที่เปิดโอกาสให้ประชาชนได้สัมผัส บรรยากาศของหิมะตกที่เกิดขึ้นครั้งแรกในภาคเหนือ สร้างความตื่นตาตื่นใจเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งการ ก่อสร้างแพนด้าสโนว์โดมมีแนวความคิดมาจากการที่สวนสัตว์เชียงใหม่ได้รับแพนด้าจากประเทศ จีนซึ่งเป็นเมืองหนาวมาเลี้ยงไว้ที่ประเทศไทยซึ่งเป็นเมืองร้อน โดยที่ผ่านมาได้ให้แพนด้าอยู่ แต่ เพียงในห้องปรับอากาศที่ควบคุมอุณหภูมิอยู่ระหว่าง 18-25 องศาเซลเซียส ซึ่งพอทําให้แพนด้าอยู่ ได้อย่างสบายแต่ไม่เหมือนประเทศจีนที่ในฤดูหนาวจะมีหิมะตกและอากาศหนาวเย็นตลอดทั้งปี สวนสัตว์เชียงใหม่จึงได้วางแผนที่จะทําให้แพนด้าในเมืองไทยได้สัมผัสอากาศหนาวเย็นและอยู่กับ หิมะโดยจําลองบรรยากาศให้ใกล้เคียงกับที่มณฑลเฉิงตูประเทศจีนซึ่งเป็นถิ่นกําเนิดของหมีแพนด้า
  • 7. 3 อีกทั้งมีแนวคิดของผู้บริหารสวนสัตว์ว่าจะทําหิมะตกในเมืองไทยครั้งแรกซึ่งจะเป็นแหล่งท่องเที่ยว ที่น่าสนใจอย่างมาก จึงได้ขออนุมัติงบประมาณจากรัฐบาลและองค์การสวนสัตว์ ในพระบรม ราชูปถัมภ์ในการออกแบบและก่อสร้างแพนด้าสโนว์โดมรวมมูลค่ากว่า 67 ล้านบาท (นายธนภัทร พงษ์ภมร, ผู้อํานวยการสวนสัตว์เชียงใหม่, 2552.) สําหรับการเปิดให้บริการ แก่นักท่องเที่ยว ชองแพนด้าสโนว์โดมใน เบื้องต้นกําหนดเปิด ให้บริการแบบเป็นฤดูกาล โดยหากเป็นในช่วงฤดูหนาวจะใช้พื้นที่สําหรับจัดแสดงแพนด้าและเปิด ให้นักท่องเที่ยวเข้าไปชมเท่านั้น แต่หากเป็นช่วงฤดู อื่นจะเปิดให้นักท่องเที่ยวสามารถลงไปเล่น หิมะได้ โดยสวมใส่ชุดกันหนาวที่มีการจัดเตรียมไว้ให้บริการ โดยแพนด้าสโนว์โดมได้เริ่มเปิด ให้บริการแก่ประชาชนทั่วไปตั้งแต่วันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 เป็นต้นมา ในเบื้องต้นได้ เปิด ให้บริการจํานวน 12 รอบต่อวัน จํากัดจํานวนผู้เข้าชม 50 คนต่อรอบ โดยเข้าชมรอบแรกในเวลา 09.45 -10.20 น. และสิ้นสุดรอบสุดท้ายในเวลา 17.05-17.40 น. ค่าเข้าใช้บริการมี 2 ราคาคือ ผู้ใหญ่ 150 บาทและเด็ก 100 บาท โดยนายพงษ์สิทธิ์ สิทธวัง(2552) ผู้จัดการโครงการสโนว์โดมเชื่อว่าจะ คุ้มค่าสําหรับคนไทยที่มาเที่ยวชม เพราะมีค่าใช้จ่ายไม่สูง เมื่อเทียบกับการไปเที่ยวถึงต่างประเทศ และทางด้านนายชุมพร แสงมณี(2552) รองผู้ว่าราชการเชียงใหม่ก็เชื่อมั่นว่า “แพนด้าสโนว์โดม ” แห่งนี้จะเป็นจุดขายใหม่ที่ช่วยดึงดูด ให้นักท่องเที่ยวเดินทางมาท่องเที่ยวสวนสัตว์เชียงใหม่และ จังหวัดเชียงใหม่เพิ่มโอกาสทางรายได้จากการท่องเที่ยวแก่เชียงใหม่ในอนาคตซึ่งผลดีต่อเศรษฐกิจ การท่องเที่ยวที่จะเกิดขึ้นไม่เพียงแต่จังหวัดเชียงใหม่เท่านั้น แต่ยังหมายถึงการสะพัดของเงินตราทั้ง ในประเทศและต่างประเทศ จากความสําคัญของแพนด้าสโนว์โดมที่มีต่อการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจที่ได้กล่าวมาแล้ว ข้างต้น และด้วยงบประมาณกว่า 60 ล้านบาทที่สวนสัตว์เชียงใหม่ได้ใช้ไปในการสร้างแพนด้าส โนว์โดมเพื่อให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สําคัญแหล่งหนึ่งของจังหวัดเชียงใหม่ในอนาคต จึงมีความ จําเป็นต้องศึกษาถึงปัจจัยต่างๆที่มีผลต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มาใช้บริการแพนด้าสโนว์ โดมของสวนสัตว์เชียงใหม่ เพื่อให้แพนด้าสโนว์โดมเป็นส่วนหนึ่งของแหล่งท่องเที่ยวที่สามารถ ดึงดูดนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างประเทศให้กลับมาใช้บริการซ้ําได้อย่างต่อเนื่องในระยะยาว ดังนั้นการศึกษานี้จึงต้องการศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มาใช้ บริการแพนด้าสโนว์โดม ของสวนสัตว์เชียงใหม่ เพื่อที่จะสามารถนําไปเป็นข้อมูลแก่สวนสัตว์ เชียงใหม่ในการวางนโยบายบริหารแพนด้าสโนว์โดม หรืออาจใช้อ้างอิงในการบริหารแหล่ง ท่องเที่ยวที่มีลักษณะรูปแบบเดียวกันกับแพนด้าสโนว์โดมที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งมีส่วนสําคัญ ต่อการสร้างรายได้ผ่านการท่องเที่ยวให้แก่ท้องถิ่นและประเทศชาติ
  • 8. 4 1.2 วัตถุประสงค์ในการศึกษา 1. เพื่อศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวที่มาใช้บริการ แพนด้าสโนว์โดม ของสวนสัตว์ เชียงใหม่ 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มาใช้บริการแพนด้าสโนว์โดม ของสวนสัตว์เชียงใหม่ 1.3 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ผลการศึกษาสามารถนํา ไปเป็นแนวทางในการวางแผนการตลาด แก้ไขปรับปรุง และ พัฒนาการให้บริการ ของสวนสัตว์เชียงใหม่ ให้มีคุณภาพ และตอบสนองความต้องการของ ผู้ใช้บริการมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้นักท่องเที่ยวผู้มาใช้บริการสวนสัตว์เชียงใหม่สามารถได้รับ ความพึงพอใจมากขึ้นต่อไป 1.4 ขอบเขตการศึกษา การศึกษาในครั้งนี้เป็นการศึกษาถึงพฤติกรรมและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว ต่อการ ใช้บริการแพนด้าสโนว์โดม สวนสัตว์เชียงใหม่ ซึ่งได้ทําการศึกษากับกลุ่มตัวอย่าง คือผู้ที่มาใช้ บริการแพนด้าสโนว์โดม สวนสัตว์เชียงใหม่ ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญจํานวน 100 ตัวอย่าง โดยสถานที่เก็บข้อมูล คือ แพนด้าสโนว์โดม สวนสัตว์เชียงใหม่ โดยจะมีช่วงระยะเวลาใน การศึกษา ในเดือนมกราคม 2553 1.5 นิยามศัพท์ ความพึงพอใจ คือ ความรู้สึกระดับบุคคลซึ่งเป็นผลมาจากการเปรียบเทียบระหว่างการรับรู้ ผลจากการทํางาน หรือประสิทธิภาพของสินค้าและบริการ กับความคาดหวังของลูกค้าที่มีต่อสินค้า และบริการ กล่าวคือ ถ้าผลที่ได้รับจากสินค้าบริการนั้นต่ํากว่าความคาดหวังจะทําให้เกิดความไม่ พอใจ ถ้าผลที่ได้รับจากสินค้าบริการนั้นตรงกับความคาดหวังจะทําให้เกิดความพึงพอใจ และถ้าผล ที่ได้รับจากสินค้าบริการนั้นสูงกว่าความคาดหวังจะทําให้เกิดความประทับใจ แพนด้าสโนว์โดม คือ สิ่งก่อสร้าง เนื้อที่ 680 ตารางเมตร ตั้งอยู่ในส่วนจัดแสดง หมีแพนด้า ของสวนสัตว์เชียงใหม่ มีการจําลองสภาพอากาศและสถานที่ให้เหมาะสมกับการดําเนินชีวิตของ หมีแพนด้า ที่มีแหล่งกําเนิดที่เมืองเฉิงตู สาธารณรัฐประชาชนจีน ภายในโดมมีอุณหภูมิลบ 8 องศา เซลเซียส โดยฉีดน้ําเย็นอุณหภูมิ 10 องศาเซลเซียส ผ่านเครื่องฉีดความดันสูงจนเป็นละอองน้ําเมื่อ ปะทะความเย็นเป็นเกล็ดน้ําแข็งห้าแฉก ภายในโดมหิมะมี 3 ชั้น คือระบียงชั้นบน ลานหิมะ และ บริเวณสไลเดอร์
  • 9. 5 หมีแพนด้า คือ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ ลําตัวมีสีขาวและสีดําสลับกันโดยส่วนที่มีสี ดําคือบริเวณรอบดวงตา จมูก หู ขาหน้าจนถึงหัวไหล่ ขาหลังและเท้า มีจมูกแบนราบ น้าหนักตัว ประมาณ 70-125 กิโลกรัม สูงประมาณ 1 เมตร ลําตัวยาว 1.5-1.9 เมตร ลักษณะถิ่นที่อยู่อาศัยเป็น บนภูเขาที่มีความสูงประมาณ 2,600-3,000 เมตรจากระดับน้ําทะเล โดยอาศัยอยู่ในป่าเขาซึ่งมีต้นไม้ ไผ่ขึ้นหนาแน่น
  • 10. 6 บทที่ 2 การทบทวนวรรณกรรม 2.1 ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง 2.1.1 แนวคิดส่วนประสมทางการตลาด (Marketing Mix ) แนวคิดส่วนประสมทางการตลาด เป็นตัวแปรทางการตลาดที่สามารถควบคุมได้ 7 ประการโดยนํามาใช้ร่วมกันอย่างเหมาะสม เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดเป้าหมาย (Kotler, 2000 อ้างใน กัลยารัตน์ คงพิบูลย์กิจ , 2549) โดยส่วนประสมทางการตลาดดังกล่าว ประกอบด้วย 1) ผลิตภัณฑ์ เป็นสิ่งที่สามารถตอบสนองความจําเป็น และความต้องการของมนุษย์โดยที่ ผลิตภัณฑ์อาจเป็นสิ่งที่จับต้องได้หรือจับต้องไม่ได้ กล่าวคือเป็นได้ทั้งสินค้าและการบริการ โดยทั่วไปการผลิตผลิตภัณฑ์ต้องมีการพิจารณาคุณภาพสินค้า ลักษณะ การออกแบบ ขนาด การ รับประกัน เป็นต้น ซึ่งสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้า และทําให้ลูกคาเกิดความพึง พอใจได้ จําแนกความพึงพอใจ ประเภทผลิตภัณฑ์ออกเป็น 1.1) ประโยชน์หลัก หมายถึงประโยชน์พื้นฐานที่ผู้ผลิตเตรียมไว้ให้ผู้บริโภคได้รับโดยตรง จากการบริโภคผลิตภัณฑ์นั้นๆ ซึ่งสามารถตอบสนองต่อความต้องการที่แท้จริงของลูกค้าได้ 1.2) รูปลักษณ์ผลิตภัณฑ์ หรือผลิตภัณฑ์พื้นฐาน หมายถึงลักษณะผลิตภัณฑ์ที่ผู้บริโภค สามารถรับรู้ได้ 1.3) ผลิตภัณฑ์คาดหวัง หมายถึงคุณสมบัติและเงื่อนไขที่ผู้บริโภคคาดหวังว่าจะได้รับจาก การใช้ผลิตภัณฑ์ การเสนอผลิตภัณฑ์ที่คาดหวังจะคํานึงถึงความพึงพอใจของผู้บริโภคเป็นหลัก 1.4) ผลิตภัณฑ์ควบ หมายถึงผลประโยชน์เพิ่มเติม หรือบริการที่ผู้ซื้อจะได้รับควบคู่กับการ ซื้อสินค้า ประกอบด้วยบริการก่อนและหลังการขาย 1.5) ศักยภาพเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ หมายถึงคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ทีการเปลี่ยนแปลง หรือพัฒนาไปเพื่อตอบสนองความต้องการ 2) ราคา เป็นสิ่งกําหนดมูลค่าในการแลกเปลี่ยน หรือการให้บริการในรูปของเงินตรา ราคา จึงเป็นต้นทุนในการใช้บริการของลูกค้า ที่จะทําการเปรียบเทียบระหว่างคุณค่าผลิตภัณฑ์กับราคา ผลิตภัณฑ์ ถ้าคุณค่าผลิตภัณฑ์สูงกว่าราคาแล้วลูกค้าจะตัดสินใจซื้อ ดังนั้นผู้ผลิตต้องคํานึงถึงคุณค่า ที่รับรู้โดยผู้บริโภค ซึ่งผู้ผลิตต้องพิจารณาว่าการยอมรับของลูกค้าในคุณค่าของผลิตภัณฑ์ต้องสูง กว่าราคาผลิตภัณฑ์นั้นๆ
  • 11. 7 3) ช่องทางการจัดจาหน่าย หมายถึงสถานที่ให้บริการและเส้นทางในการจําหน่าย ในส่วน แรกที่ต้องคํานึงถึง คือ การเลือกทําเลที่ตั้ง การเลือกทําเลที่ตั้งของธุรกิจนั้นนับว่ามีความสําคัญมาก โดยเฉพาะธุรกิจบริการ เนื่องจากผู้บริโภคต้องเดินทางไปรับบริการในสถานที่ที่ผู้ให้บริการจัดอยู่ การกําหนดช่องทางการจัดจําหน่ายต้องคํานึงถึงองค์ประกอบ 3 ส่วน ได้แก่ ลักษณะของการบริการ ความจําเป็นในการใช้คนกลางในการจําหน่าย และลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจบริการ 4) การส่งเสริมการตลาด หมายถึงการติดต่อสื่อสารข้อมูลระหว่างผู้จําหน่ายและลูกค้า โดย มีวัตถุประสงค์เพื่อ แจ้งข่าวสาร หรือชักจูงให้เกิดทัศนคติและพฤติกรรมการซื้อ การติดต่อสื่อสารมี หลายประการซึ่งอาจเลือกใช้หนึ่งหรือหลายเครื่องมือก็ได้เครื่องมือที่ใช้ส่งเสริมการตลาดที่สําคัญมี 5 ประเภทดังนี้ คือ 4.1) การโฆษณา เป็นการติดต่อสื่อสารเกี่ยวกับองค์กร และผลิตภัณฑ์ บริการ หรือความคิด โดยไม่ใช้บุคคลเข้าไปติดต่อ แต่จะติดต่อโดยใช้สื่อต่างๆ ที่จะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการโฆษณา เช่น การโฆษณาผ่านสื่อหนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ ป้ายโฆษณา และสารสนเทศต่างๆ เป็นต้น 4.2) การขายโดยใช้พนักงานขาย เป็นการติดต่อสื่อสารจากผู้ขายไปยังผู้รับ ลูกค้าที่มีอํานาจ ซื้อโดยตรง พนักงานขายสามารถแนะนํา ชักชวนให้ผู้บริโภคซื้อสินค้าและบริโภค สามารถให้ ความช่วยเหลือ ดูแลลูกค้า และเรียนรู้ล่วงหน้าว่าลูกค้าต้องการอะไร เพื่อให้เกิดโอกาสในการขาย บริการอื่นให้กับลูกค้าเพิ่มเติมในอนาคต 4.3) การส่งเสริมการขาย เป็นกิจกรรมทางการตลาดที่นอกเหนือจากการขายโดยใช้บุคคล การโฆษณา และประชาสัมพันธ์ที่ช่วยกระตุ้นการซื้อของผู้บริโภคและประสิทธิภาพของผู้ขาย เช่น การลดราคา การแจกตัวอย่างสินค้า การสะสมแต้มชิงรางวัล เป็นต้น 4.4) การบอกกล่าวแบบปากต่อปาก มีบทบาทสําคัญอย่างยิ่งต่อธุรกิจบริการ เพราะผู้ที่เคย ใช้บริการจะทราบว่าการบริการของธุรกิจนั้นเป็นอย่างไร จากประสบการณ์ของตนเองแล้วถ่ายทอด ประสบการณ์นั้นต่อไปยังผู้อื่นซึ่งอาจจะเป็นผู้ใช้บริการในอนาคต หากผู้ที่เคยใช้บริการมีความรู้สึก ดี ประทับใจในบริการ ก็จะบอกต่อไปยังญาติและคนรู้จัก และแนะนําให้ไปใช้บริการด้วย ซึ่ง สามารถลดค่าใช้จ่ายในการส่งเสริมการตลาดและการติดต่อสื่อสารได้มาก แต่ในทางตรงกันข้าม หากผู้ที่เคยใช้บริการแล้วไม่ประทับใจก็จะบอกต่อในทางลบได้การแนะนําจากคนรู้จัก มีอิทธิพล ต่อการตัดสินใจเลือกบริการของผู้ที่ไม่เคยใช้บริการสูงมาก ดังนั้นการบอกกล่าวปากต่อปาก จึงมีผล ต่อธุรกิจบริการอย่างยิ่ง การได้รับประสบการณ์ที่ไม่ประทับใจจะส่งผลเสยอย่างยิ่งต่อธุรกิจบริการ เพราะผู้ใช้บริการที่ไม่ประทับใจมีแนวโน้มที่จะบอกกล่าวแบบปากต่อปากสู่ผู้อื่นมากกว่าผู้ที่ ประทับใจในการบริการ 5) ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหรือบุคลากร คือ บุคคลผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการบริการทั้งหมดรวมถึง ลูกค้าและบุคลากรที่ให้บริการลูกค้า คุณภาพในการให้บริการต้องอาศัยการคัดเลือก การฝึกอบรม การจูงใจ เพื่อให้สามารถสร้างความพอใจแก่ลูกค้าผู้ใช้บริการเหนือคู่แข่ง บุคลากรต้องมี
  • 12. 8 ความสามารถ มีทัศนคติที่ดี สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้า มีความสามารถในการ แก้ปัญหา และสามารถสร้างค่านิยมที่ดีแก่องค์กร 6) การสร้างและการนาเสนอลักษณะกายภาพ ได้แก่ สภาพแวดล้อมของสถานที่ให้บริการ การออกแบบตกแต่ง และแบ่งส่วน หรือแผนกของพื้นที่ภายในอาคาร และลักษณะทางกายภาพ อื่นๆ ที่สามารถดึงดูดใจลูกค้าและทําให้มองภาพลักษณ์ของบริการได้อย่างชัดเจน รวมไปถึง เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ ที่มีไว้ให้บริการด้วย 7) กระบวนการให้บริการ หมายถึงขั้นตอนในการให้บริการเพื่อส่งมอบคุณภาพในการ ให้บริการกับลูกค้าได้อย่างรวดเร็วและประทับใจ ซึ่งพิจารณาใน 2 ด้าน คือ ความซับซ้อน และ ความหลากหลาย ในความซับซ้อนจะต้องพิจารณาถึงขั้นตอนและความต่อเนื่องของงานใน กระบวนการ เช่น ความสะดวกรวดเร็วในการลงทะเบียนเรียน ส่วนในด้านของความหลากหลาย ต้องพิจารณาถึงความมีอิสระ ความยืดหยุ่น ความสามารถเปลี่ยนแปลงขั้นตอน หรือลําดับงาน 2.1.2 แนวคิดความพอใจของลูกค้า (Consumer Satisfaction) ความพึงพอใจ (Satisfaction) เป็นระดับความรู้สึกของบุคคลหรือลูกค้า ซึ่งเป็นผลมาจาก การเปรียบเทียบระหว่างการรับรู้ผลจากการทํางาน หรือประสิทธิภาพของสินค้าหรือบริการ (Product / Service’s Received Performance) กับความหวังของลูกค้า (Person Expectation) ซึ่งจะ พิจารณาถึงความพอใจหลังการขายของลูกค้าต่อสินค้าหรือบริการนั้นๆถ้าผลที่ได้รับจากสินค้าหรือ บริการสูงกว่าความคาดหวังที่ลูกค้าตั้งไว้ก็จะทําให้ลูกค้าเกิดความประทับใจ และถ้าระดับผลที่ ได้รับตรงกับความคาดหวังของลูกค้าก็จะทําให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจ ในทางตรงกันข้ามถ้าผลที่ ได้รับจากสินค้าหรือบริการต่ํากว่าความคาดหวังของลูกค้าก็จะทําให้ลูกค้าเกิดความไม่พึงพอใจ ซึ่ง ความแตกต่างของความพึงพอใจทั้ง 3 ระดับนี้ จะส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการในครั้ง ต่อไป และจะเกี่ยวโยงไปถึงการประชาสัมพันธ์องค์กรในด้านดีหรือไม่ดีต่อบุคคลอื่นๆ ในอนาคต (Kotler, 2000 ; Goncalves, 1998 อ้างใน กัลยารัตน์ คงพิบูลย์กิจ, 2549) ดังนั้นองค์กรจึงจําเป็นอย่าง ยิ่งที่จะต้องสร้างหรือเสนอผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับความคาดหวังของลูกค้า การศึกษาความพึง พอใจที่นิยมใช้ส่วนใหญ่สามารถจําแนกเป็น 4 รูปแบบ ดังนี้ 1) แบบจาลองความพึงพอใจอันเนื่องมาจากความคาดหวัง (Expectations Disconfirmation Model of Satisfaction) ความพึงพอใจในลักษณะนี้ เกิดขึ้นจากผู้บริโภคเปรียบเทียบคุณสมบัติของสินค้าที่เกิดขึ้น จริงกับความคาดหวังที่ผู้บริโภคต้องการให้สินค้านั้นมี ความแตกต่างระหว่างทั้งสองสิ่งนี้เป็นที่มา ของระดับความพึงพอใจของผู้บริโภค Tse และ Wilton (1983) (อ้างใน กัลยารัตน์ คงพิบูลย์กิจ, 2549) ได้ให้คํานิยามความพึง พอใจของลูกค้าว่า ความพึงพอใจเป็นความรู้สึกตอบสนองของผู้บริโภคต่อการประมาณค่าในการ
  • 13. 9 รับรู้ที่ไม่ตรงกัน ระหว่างสิ่งที่คาดหวังไว้กับผลการดําเนินการอันเกิดขึ้นจริงของสินค้าหรือบริการ ที่รับรู้ภายหลังการบริโภคสินค้านั้นแล้ว จากนิยามสามารถนํามาอธิบายหลักการสร้างความพึง พอใจได้ 3 ประการ คือ (1) ความคาดหวังต่อสินค้าหรือผลการดําเนินงาน ลูกค้ามักตั้งความหวังที่อาจเป็นไปได้ต่อ สินค้าหรือผลการดําเนินการ โดยรับรู้จากแหล่งต่างๆ เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับคุณภาพของสินค้า การ โฆษณา หรือการบอกกล่าวแบบปากต่อปาก เป็นต้น (2) ผลการดําเนินงานที่เกิดขึ้นจริง ลูกค้าจะประมาณค่าผลการดําเนินงานของสินค้าจากผล การดําเนินงานที่เกิดขึ้นจริง หรือผลการดําเนินงานที่รับรู้ภายหลังจากการบริโภคผลิตภัณฑ์ (3) ความไม่ตรงกัน ความแตกต่างระหว่างสิ่งที่คาดหวังกับการรับรู้ที่เกิดขึ้นจริงทําให้เกิด ช่องว่างขึ้น หากความคาดหวังนั้นตรงกับสิ่งที่เกิดขึ้นจริง จะนํามาซึ่งความพอใจของผู้บริโภคที่ สูงขึ้น ภาพที่ 2.1 แบบจําลองความพึงพอใจอันเนื่องมาจากความคาดหวัง 2) แบบจาลองความพึงพอใจอันเนื่องมาจากความปรารถนา (Desired – Disconfirmation Model of Satisfaction) ความพึงพอใจในลักษณะนี้เกิดขึ้นจากผู้บริโภคเปรียบเทียบคุณสมบัติของสินค้าที่เกิดขึ้น จริงกับความปรารถนาที่ผู้บริโภคต้องการให้สินค้านั้นมี ความแตกต่างระหว่างทั้งสองสิ่งเป็นที่มา ของระดับความพึงพอใจของผู้บริโภค Spreng etal.(1996) (อ้างใน กัลยารัตน์ คงพิบูลย์กิจ,2549) ได้ให้คํานิยามความพึงพอใจไว้ ว่า ความพึงพอใจเป็นผลมาจากปฏิกิริยาของความรู้สึกของผู้บริโภคที่มีต่อประสบการณ์จากสินค้า และบริการนั้นๆ โดยหลักความพึงพอใจมีอยู่ 3 ประการด้วยกัน คือ (1) การดําเนินงานที่รับรู้ได้ (Perceived Performance ) (2) ความคาดหวังและความคาดหวังที่เหมาะสม (Expectation and Expectation Congruency)
  • 14. 10 (3) ความปรารถนาและความปรารถนาที่เหมาะสม (Desires and Desires Congruency) นอกจากนี้ยังได้คํานิยามของความปรารถนาไว้ว่า เป็นระดับของคุณสมบัติและประโยชน์ที่ ผู้บริโภคเชื่อว่าจะนํามาซึ่งคุณค่าในระดับสูงขึ้น และเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงผลการดําเนินงานในอุดม คติ โดยที่เขาได้สร้างความแตกต่างระหว่างความคาดหวังกับความปรารถนา โดยที่ความคาดหวัง เป็นความเชื่อเกี่ยวกับคุณสมบัติหรือประโยชน์ของสินค้าที่มีอยู่และอาจเกิดขึ้นได้ในขณะที่ความ ปรารถนาเป็นการประมาณค่าขอบเขตของคุณสมบัติ หรือประโยชน์ของสินค้าเพื่อให้ได้มาซึ่ง คุณค่าในสิ่งนั้น ความปรารถนาที่เหมาะสมเป็นผลมาจากความแตกต่างระหว่างผลการดําเนินการที่ รับรู้ได้กับความปรารถนาในตัวสินค้าหากความปรารถนาและความคาดหวังเป็นบวก ผู้บริโภคย่อม มีความพึงพอใจในสินค้าหรือบริการนั้นๆ ภาพที่ 2.2 แบบจําลองความพึงพอใจอันเนื่องมาจากความปรารถนา 3) แบบจาลองความพึงพอใจอันเนื่องมาจากความยุติธรรม (Equity – Disconfirmation Model of Satisfaction) ความพึงพอใจในลักษณะนี้เป็นความคาดหวังในด้านความยุติธรรม ความถูกต้องในการซื้อ ระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย Olive และ Swan (1989) (อ้างใน กัลยารัตน์ คงพิบูลย์กิจ, 2549) ได้ให้คํานิยามของความ ยุติธรรมไว้ว่า เป็นความถูกต้องที่แต่ละบุคคลสมควรจะได้รับ ถ้าผู้บริโภคการซื้อขายมีความถูกต้อง ยุติธรรมจะนํามาซึ่งความพึงพอใจโดยความยุติธรรมนี้ต้องอยู่บนพื้นฐานของการประเมินเวลาและ เงินของผู้ซื้อว่า สมควรกับเวลาและความพยายามในการซื้อขายสินค้าของผู้ขาย รวมถึงผลจากการ ซื้อด้วย 4) แบบจาลองความพึงพอใจอันเนื่องมาจากความคาดหวังจากประสบการณ์พื้นฐาน (Experience – Based Expectations – Disconfirmation Model of Satisfaction) ความพึงพอใจในลักษณะนี้ เกิดจากการตั้งบรรทัดฐานจากประสบการณ์ในอดีต Cadotte et al. (1987) (อ้างใน กัลยารัตน์ คงพิบูลย์กิจ, 2549) ได้ให้คํานิยามของความพึง พอใจไว้ว่า เป็นผลมาจากการประมาณค่าในการบริโภคสินค้าหรือบริการ ถ้าผลการประเมินสินค้า
  • 15. 11 มากกว่าความคาดหวังที่เกิดจากประสบการณ์ในอดีต ผู้บริโภคจะเกิดความพึงพอใจ ในทางตรงกัน ข้ามถ้าผลการประเมินสินค้าน้อยกว่าความคาดหวังจากประสบการณ์ในอดีตแล้วผู้บริโภคจะเกิด ความรู้สึกไม่พอใจ(Dissatisfaction)การเปรียบเทียบในรูปแบบนี้จะแตกต่างจากรูปแบบแรกคือใน รูปแบบแรกความคาดหวังของลูกค้าสามารถเกิดขึ้นโดยไม่ต้องอาศัยประสบการณ์ในสินค้าหรือ บริการที่เกิดขึ้นในอดีต ภาพที่ 2.4 แบบจําลองความพึงพอใจอันเนื่องมาจากประสบการณ์พื้นฐานในอดีต 2.2 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เกรียงศักดิ์ เอี่ยมชาญชัย (2547) ทําการศึกษาเกี่ยวกับความพึงพอใจต่อการเข้าชมสวนสัตว์ เชียงใหม่ ของนักท่องเที่ยวเยาวชน โดยมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาความพึงพอใจละข้อเสน อแนะ ของนักท่องเที่ยวเยาวชนที่มีต่อการเข้าชมสวนสัตว์เชียงใหม่ ได้ใช้กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาเป็น นักท่องเที่ยวเยาวชน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ จํานวน 300 ตัวอย่าง การเก็บรวบรวมข้อมูล ใช้วิธีการออกแบบสอบถาม นําค่าที่ได้มา อธิบายในรูปของสถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจทุกปัจจัยหลักอยู่ในระดับความพึงพอใจมาก ซึ่งแบ่งเป็นปัจจัยด้านสิ่ง ดึงดูดใจ ปัจจัยด้านการเข้าถึง และปัจจัยด้านสิ่งอํานวยความสะดวกของสวนสัตว์เชียงใหม่ ธนวัฒน์ รัตนชัย (2550) ทําการศึกษาเกี่ยวกับความพึงพอใจต่อการท่องเที่ยวจังหวัด เชียงใหม่ของนักท่องเที่ยวชาวไทย โดยมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาพฤติกรรมและระดับความพึง พอใจของนักท่องเที่ยวต่อการท่องเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่ ได้ใช้กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาเป็น นักท่องเที่ยวชาวไทย โดยการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ จํานวน 100 ตัวอย่าง การเก็บรวบรวมข้อมูล ใช้วิธีการออกแบบสอบถาม ณ สถานีขนส่งทางบกจังหวัดเชียงใหม่ นําค่าที่ได้มาหาค่าความถี่ ร้อย ละ และเปรียบเทียบความสัมพันธ์ของตัวแปรโดยการทดสอบสมมติฐาน ผลการศึกษาพบว่า ระดับ ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อปัจจัยหลักทั้ง 4 ปัจจัยอยู่ในระดับที่ดี ได้แก่ ปัจจัยด้านแหล่ง ท่องเที่ยว ปัจจัยด้านสิ่งอํานวยความสะดวก ปัจจัยด้านการต้อนรับของคนในพื้นที่ และปัจจัยด้าน การคมนาคมขนส่ง
  • 16. 12 ชากรณ์ ขันแก้ว (2551) ทําการศึกษาเกี่ยวกับความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวต่อการบริการ ของส่วนจัดแสดงหมีแพนด้าในสวนสัตว์เชียงใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาถึงความคิดเห็น ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะของนักท่องเที่ยวเกี่ยวกับการให้บริการของส่วนจัดแสดงหมี แพนด้า สวนสัตว์เชียงใหม่ ได้ใช้กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาเป็นนักท่องเที่ยวที่มาใช้บริการส่วนจัด แสดงหมีแพนด้า สวนสัตว์เชียงใหม่ โดยการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง จํานวน 399 ตัวอย่าง การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้วิธีการออกแบบสอบถาม นําค่าที่ได้มาอธิบายในรูปของสถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า ด้านความคิดเห็นในภาพรวมนักท่องเที่ยวมีความคิดเห็นในระดับไม่แน่ใจได้แก่ ด้านความเหมาะสมของพื้นที่ที่ใช้ในการจัดแสดง ด้านค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการมาใช้บริการ และ ด้านความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่ได้รับจากการเข้าชมหมีแพนด้า
  • 17. 13 2.3 กรอบแนวคิด 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9. 10. 11. 12. 13. 14. 15. 16. 17. 18. 19. 20. 21. ข้อมูลพื้นฐานของนักท่องเที่ยว - เพศ - อาชีพ - ระดับการศึกษา - รายได้ - อายุ วิเคราะห์ข้อมูลในรูปความถี่, ร้อยละ เพื่ออธิบายพฤติกรรมของนักท่องเที่ยว ที่มาใช้บริการแพนด้าสโนว์โดม สวน สัตว์เชียงใหม่ พฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยว - รูปแบบของกลุ่มที่มาใช้บริการ - แหล่งข้อมูลในการมาใช้บริการ - ค่าใช้จ่ายในการมาใช้บริการแพนด้าสโนว์โดม - ความถี่ในการมาใช้บริการ วิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย เพื่ออธิบายระดับ ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวต่อการ ใช้บริการแพนด้าสโนว์โดม สวนสัตว์ เชียงใหม่ พฤติกรรมและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว ต่อการใช้บริการแพนด้าสโนว์โดม สวนสัตว์เชียงใหม่ ปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาด(Promotion) -การโฆษณาประชาสัมพันธ์ข้อมูลทางสื่อต่างๆ -การบริการอัดรูปหลังใช้บริการ -รูปแบบของที่ระลึก -ราคาของที่ระลึก ปัจจัยด้านลักษณะทางกายภาพ(Physical) -ความสะดวกในการเข้าถึงโดยการเดินเท้า/พาหนะ -การเอื้ออํานวยให้มาถึงโดยป้ายบอกทางของสวนสัตว์ -ความสะอาดของสถานที่ -ความกว้างขวางของสถานที่ -ความสวยงามของสถานที่ ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์(Product) -ความบันเทิงจากบริการที่ได้รับ -ความสะดวกสบายของบริการ -ระยะเวลาของบริการที่ได้รับ -ความปลอดภัยของบริการ -การบริการของเจ้าหน้าที่ -การให้คําแนะนําก่อนการใช้บริการ ปัจจัยด้านราคา(Price) -ความคุ้มค่าของราคากับความบันเทิงที่ได้รับ -ความคุ้มค่าของราคากับคุณภาพของบริการที่ได้รับ -ความคุ้มค่าของราคากับระยะเวลาของบริการที่ได้รับ -ความเหมาะสมของราคาค่าบริการ -การแยกราคาเป็นกลุ่มของผู้ใหญ่, เด็ก
  • 18. 14 บทที่ 3 ระเบียบวิธีวิจัย ในการค้นคว้าวิจัยเรื่องการศึกษาพฤติกรรมและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวในการใช้ บริการแพนด้าสโนว์โดม สวนสัตว์เชียงใหม่กําหนดรายละเอียดและขั้นตอนการวิจัย ดังนี้ 3.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่างใช้ในการศึกษา ประชากรในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่นักท่องเที่ยวที่มาใช้บริการแพนด้าสโนว์โดม สวนสัตว์ เชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาจํานวน 100 ตัวอย่าง ใช้การ สุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ (Accidental Sampling) สุ่มจากประชากรในช่วงเดือนมกราคม พ.ศ. 2553 ที่แพนด้าสโนว์โดม สวน สัตว์เชียงใหม่ 3.2 ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษา การศึกษาเรื่องระดับความพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อการท่องเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่ ได้ กําหนดแหล่งข้อมูล ดังนี้ 1)ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary data) ได้จากการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง โดยการใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) ในการศึกษา ซึ่งแบบสอบถามแบ่งออกเป็น 3 ส่วนประกอบด้วย ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของนักท่องเที่ยวที่มาใช้บริการแพนด้าสโนว์โดม สวนสัตว์เชียงใหม่ ได้แก่ เพศ อายุ การศึกษา อาชีพ รายได้ ส่วนที่ 2 ข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้บริการของนักท่องเที่ยว ซึ่งสอบถามเกี่ยวกับ - รูปแบบของกลุ่มที่มาใช้บริการ ได้แก่ 1-2 คน 3-5 คน 6 คนขึ้นไป - แหล่งข้อมูล ในการมาใช้บริการได้แก่ เพื่อน/ญาติ/จากบุคคลอื่น วารสารท่องเที่ยว / หนังสือพิมพ์ บริษัทนําเที่ยว โทรทัศน์/วิทยุ/เว็บไซต์ -ความถี่ในการมาใช้บริการ ได้แก่ ไม่เกิน 1 ครั้ง/ปี 2-3 ครั้ง/ปี มากกว่า 3 ครั้ง/ปี -ค่าใช้จ่ายในการมาใช้บริการ ได้แก่ ไม่เกิน 200 บาท 200-500 บาท มากกว่า 500 บาท ส่วนที่ 3 ระดับความพึงพอใจในของนักท่องเที่ยวที่มีต่อการ ใช้บริการแพนด้าสโนว์โดม สวนสัตว์เชียงใหม่ ประกอบด้วย
  • 19. 15 - ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์(Product)ได้แก่ ความบันเทิงจากบริการที่ได้รับ ความสะดวกสบาย ของบริการ ระยะเวลาของบริการที่ได้รับ ความปลอดภัยของบริการ การบริการของเจ้าหน้าที่ การ ให้คําแนะนําการใช้บริการ -ปัจจัยด้านราคา(Price)ได้แก่ ความคุ้มค่าของราคากับความบันเทิงที่ได้รับ ความคุ้มค่าของ ราคากับคุณภาพของบริการ ที่ได้รับ ความคุ้มค่าของราคากับ ระยะเวลาของบริการที่ได้รับ ความ เหมาะสมของ ราคาค่าบริการ การแยกราคาเป็นกลุ่มของผู้ใหญ่, เด็ก -ปัจจัยด้านลักษณะทางกายภาพ (Physical) ได้แก่ ความสะดวกในการเข้าถึงโดยการเดิน เท้า/พาหนะ การเอื้ออํานวยให้มาถึงโดยป้ายบอกทางของสวนสัตว์ ความสะอาดของสถานที่ ความ กว้างขวางของสถานที่ ความสวยงามของสถานที่ -ปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาด (Promotion) ได้แก่ การโฆษณาประชาสัมพันธ์ข้อมูลทาง สื่อต่างๆ การอัดรูปหลังใช้บริการ รูปแบบของที่ระลึก ราคาของที่ระลึก 2)ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary data) เป็นการศึกษางานจากเอกสาร งานวิจัย และบทความต่างๆที่มี ผู้จัดทําเอาไว้ โดยมีที่มาของแหล่งข้อมูลดั้งนี้ - การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สํานักงานภาคเหนือ เขต 1 จังหวัดเชียงใหม่ - จากเอกสารทางวิชาการอื่นๆ เช่น วารสาร จุลสารการท่องเที่ยว หนังสือพิมพ์ - จากงานวิจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง 3.3 วิธีการศึกษา แยกตามวัตถุประสงค์ของกสนศึกษา ดังนี้ วัตถุประสงค์ที่ 1 การศึกษาพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยว ที่มาใช้บริการ แพนด้าสโนว์โดม สวนสัตว์เชียงใหม่ ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษา ข้อมูลปฐมภูมิ - ข้อมูลทั่วไป ซึ่งสอบถามถึงเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ - ข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรม ได้แก่ รูปแบบการเดินทางมาท่องเที่ยว จํานวนครั้งที่เคย มาใช้บริการ วัตถุประสงค์หลักในการ ท่องเที่ยว แหล่งข้อมูลในการมาใช้บริการ วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล 1) ส่วนที่เป็นข้อมูลทั่วไป ทําการวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (descriptive statistices) โดยนําเสนอเป็นตารางแจกแจงความถี่ อัตราร้อยละ และอธิบายเชิงพรรณนาประกอบ 2) ส่วนที่เป็นข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรม ทําการวิเคราะห์ข้อมูลในรูปของตารางแจกแจง ความถี่ อัตราร้อยละ จําแนกตามกลุ่มอาชีพ กลุ่มรายได้ และอธิบายเชิงพรรณนาประกอบ
  • 20. 16 วัตถุประสงค์ที่2การศึกษาระดับความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวต่อการใช้บริการแพนด้าส โนว์โดม สวนสัตวเชียงใหม่ ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษา ข้อมูลปฐมภูมิ - ข้อมูลระดับความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวต่อการท่องเที่ย วจังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่ ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์,ปัจจัยด้านราคา,ปัจจัยด้านลักษณะทางกายภาพ, ปัจจัยด้านการ ส่งเสริมการตลาด วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล ให้ผู้ตอบแบบสอบถามเลือกระดับความพึงพอใจในแต่ละปัจจัยว่ามีระดับความพึงพอใจใน ระดับใด ซึ่งแบ่งระดับความพึงพอใจ 4 ระดับ คือ มาก ปานกลาง น้อย ไม่พึงพอใจ และนําระดับ ความพึงพอใจที่ได้มาให้คะแนนโดยเรียงลําดับของค่าคะแนน ดังนี้ ระดับความพึงพอใจ ค่าคะแนน ให้ความพึงพอใจมาก 3 ให้ความพึงพอใจปานกลาง 2 ให้ความพึงพอใจน้อย 1 ไม่พึงพอใจ 0 ทําการเก็บรวบรวมคะแนนของปัจจัยที่ได้ นําค่าที่ได้มาวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย และทําการ จัดเรียง คะแนนเฉลี่ยระดับความพึงพอใจจาก มากที่สุดลง ไปหาน้อยที่สุด แล้วทําการแป ล ความหมายของระดับคะแนนเฉลี่ย โดยยึดถือหลักเกณฑ์ ดังนี้ คะแนนเฉลี่ย ความหมาย 2.50 – 3.00 มาก 1.50 – 2.49 ปานกลาง 0.50 – 1.49 น้อย 0.00 – 0.49 ไม่พึงพอใจ จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และนําเสนอข้อมูลในรูปแบบของตาราง
  • 21. 17 บทที่ 4 ผลการศึกษา จากการศึกษาพฤติกรรมและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวต่อการใช้บริการแพนด้าสโนว์ โดม สวนสัตว์เชียงใหม่ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา 2วัตถุประสงค์ คือวัตถุประสงค์แรกเพื่อ ศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวต่อการใช้บริการ วัตถุประสงค์ที่สอง คือ เพื่อศึกษาระดับความพึง พอใจของนักท่องเที่ยวต่อการใช้บริการแพนด้าสโนว์โดม สวนสัตว์เชียงใหม่ โดยผลการศึกษาได้ แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้ 4.1 ผลการศึกษาข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างของนักท่องเที่ยว จากการศึกษากลุ่มตัวอย่างที่มาท่องเที่ยว จํานวน 100 ราย มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ ด้านเพศ พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คือ ร้อยละ 62 ขณะที่เป็นเพศชาย ร้อยละ 38 ด้านอายุ พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีอายุในช่วง 30-39 ปีมากที่สุด ร้อยละ 44 รองลงมาคือช่วง 20-29 ปี ที่ร้อยละ 27 ตามลําดับ ด้านอาชีพ พบว่า อันดับหนึ่ง คือ พนักงานเอกชน อันดับสอง คือ รับจ้างทั่วไป/อาชีพอิสระ อันดับสาม คือ นักธรกิจ/เจ้าของธุรกิจ ด้านรายได้เฉลี่ยต่อเดือน พบว่า อันดับหนึ่ง คือ 20,000-29,999 บาท ตามมาด้วย 10,000- 19,999 บาท, 30,000 บาทขึ้นไป, และ ต่ํากว่า 10,000 บาท ซึ่งไม่แตกต่างกันมากนัก ด้านระดับการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีการศึกษาระดับมัธยมศึกษา และ ปริญญาตรี/เทียบเท่า โดยการศึกษาระดับปริญญาตรี/เทียบเท่าคิดเป็นร้อยละ 37 ส่วนการศึกษา ระดับมัธยมศึกษาคิดเป็นร้อยละ 32 ดังตารางที่ 4.1
  • 22. 18 ตารางที่ 4.1 แสดงจํานวนและร้อยละข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างที่มาท่องเที่ยว จํานวน(คน) ร้อยละ เพศ ชาย 38 38 หญิง 62 62 อายุ ต่ํากว่า 20 ปี 14 14 20 - 29 ปี 27 27 30 - 39 ปี 44 44 40 ปีขึ้นไป 15 15 อาชีพ รับราชการ 12 12 นักธุรกิจ/เจ้าของธุรกิจ 19 19 รับจ้างทั่วไป/อาชีพอิสระ 23 23 พนักงานเอกชน 30 30 อื่นๆ 16 16 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ต่ํากว่า 10,000 บาท 18 18 10,000 - 19,999 บาท 22 22 20,000 – 29,999 บาท 39 39 30,000 บาทขึ้นไป 21 21 ระดับการศึกษา ต่ํากว่ามัธยมศึกษา 8 8 มัธยมศึกษา 32 32 ปริญญาตรี/เทียบเท่า 37 37 ปริญญาตรีขึ้นไป 13 13 ที่มา : จากการศึกษา
  • 23. 19 4.2 ผลการศึกษาพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยว 4.2.1 รูปแบบของกลุ่มที่มาใช้บริการจาแนกตามกลุ่มอาชีพ จากการศึกษากลุ่มตัวอย่าง พบว่า กลุ่มตัวอย่างนิยมมาใช้บริการในรูปแบบของ กลุ่ม 3-5 คน คิดเป็นร้อยละ 67 รองลงมาคือรูปแบบของกลุ่ม 1-2 คน และ 6 คนขึ้นไปซึ่งใกล้เคียง กันที่ร้อยละ 17 และร้อยละ 16 ตามลําดับ โดยหากจําแนกตามกลุ่มอาชีพพบว่าทุกกลุ่มอาชีพมี รูปแบบของกลุ่มที่มาใช้บริการ 3-5 คนเป็นอันดับที่ 1 ขณะที่ 6 คนขึ้นไปเป็นอันดับที่ 2 ยกเว้นใน กลุ่มอาชีพของนักธุรกิจ/เจ้าของกิจการที่มีรูปแบบของกลุ่มที่มาใช้บริการ 1-2 คนเป็นอันดับที่ 2 ดัง ตารางที่ 4.2.1 ตารางที่ 4.2.1 แสดงจํานวนและร้อยละของรูปแบบของกลุ่มที่มาใช้บริการจําแนกตามกลุ่มอาชีพ รูปแบบของกลุ่มที่มาใช้บริการ อาชีพ รวม รับราชการ นักธุรกิจ/เจ้าของธุรกิจ รับจ้างทั่วไป/อาชีพอิสระ พนักงานเอกชน อื่นๆ 1-2 คน จํานวน 1 8 3 1 4 17 อันดับที่ 3 2 2 3 3 2 3-5 คน จํานวน 6 10 17 27 7 67 อันดับที่ 1 1 1 1 1 1 6 คนขึ้นไป จํานวน 5 1 3 2 5 16 อันดับที่ 2 3 2 2 2 3 รวม จํานวน 12 19 23 30 16 100 ที่มา : จากการศึกษา
  • 24. 20 4.2.2 รูปแบบของกลุ่มที่มาใช้บริการจาแนกตามกลุ่มรายได้ จากการศึกษากลุ่มตัวอย่าง พบว่า กลุ่มตัวอย่างนิยมมาใช้บริการในรูปแบบของ กลุ่ม 3-5 คน คิดเป็นร้อยละ 67 รองลงมาคือรูปแบบของกลุ่ม 1-2 คน และ 6 คนขึ้นไปซึ่งใกล้เคียง กันที่ร้อยละ 17 และร้อยละ 16 ตามลําดับ โดยหากจําแนกตามกลุ่มรายได้พบว่า ทุกกลุ่มรายได้มี รูปแบบของกลุ่มที่มาใช้บริการ 3-5 คนเป็นอันดับที่ 1 ขณะที่ 1-2 คนเป็นอันดับที่ 2 ยกเว้นในกลุ่ม รายได้ 30,000 บาทขึ้นไปที่มีรูปแบบของกลุ่มที่มาใช้บริการ 6 คนขึ้นไปเป็นอันดับที่ 2 ดังตารางที่ 4.2.2 ตารางที่ 4.2.2 แสดงจํานวนและร้อยละของรูปแบบของกลุ่มที่มาใช้บริการจําแนกตามกลุ่มรายได้ รูปแบบของกลุ่มที่มาใช้บริการ รายได้ รวม ต่ํากว่า10,000บาท 10,000–19,999บาท 20,000–29,999บาท 30,000บาทขึ้นไป 1-2 คน จํานวน 5 5 5 2 17 อันดับที่ 2 2 2 3 2 3-5 คน จํานวน 8 15 30 14 67 อันดับที่ 1 1 1 1 1 6 คนขึ้นไป จํานวน 5 2 4 5 16 อันดับที่ 2 3 3 2 3 รวม จํานวน 18 22 39 21 16 ที่มา : จากการศึกษา
  • 25. 21 4.2.3 แหล่งข้อมูลในการมาใช้บริการจาแนกตามกลุ่มอาชีพ จากการศึกษากลุ่มตัวอย่าง พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีแหล่งข้อมูลในการมาใช้ บริการคือ จากเพื่อน/ญาติ/บุคคลอื่น เป็นอันดับที่ 1 ที่ร้อยละ 61 อันดับสองคือ จากวารสารการ ท่องเที่ยว/หนังสือพิมพ์ที่ร้อยละ 24 โดยหากจําแนกตามกลุ่มอาชีพพบว่ากลุ่มอาชีพส่วนใหญ่มี แหล่งข้อมูลในการมาใช้บริการคือ เพื่อน/ญาติ/บุคคลอื่น เป็นอันดับที่ 1 ยกเว้นในกลุ่มอาชีพของ นักธุรกิจ/เจ้าของกิจการที่มีแหล่งข้อมูลในการมาใช้บริการอันดับที่ 1 คือ วารสารการท่องเที่ยว/ หนังสือพิมพ์ ดังตารางที่ 4.2.3 ตารางที่ 4.2.3 แสดงจํานวนและร้อยละของแหล่งข้อมูลในการมาใช้บริการจําแนกตามกลุ่มอาชีพ แหล่งข้อมูลในการมาใช้บริการ อาชีพ รวม รับราชการ นักธุรกิจ/เจ้าของธุรกิจ รับจ้างทั่วไป/อาชีพอิสระ พนักงานเอกชน อื่นๆ เพื่อน/ญาติ/บุคคลอื่น จํานวน 6 6 17 25 7 61 อันดับ 1 2 1 1 1 1 วารสารการท่องเที่ยว/ หนังสือพิมพ์ จํานวน 4 13 4 2 1 24 อันดับ 2 1 2 3 4 2 บริษัทนําเที่ยว จํานวน 1 0 1 3 2 7 อันดับ 3 3 3 2 3 4 โทรทัศน์/วิทยุ/เว็บไซต์ จํานวน 1 0 1 0 6 8 อันดับ 3 3 3 4 2 3 รวม จํานวน 12 19 23 30 16 100 ที่มา : จากการศึกษา
  • 26. 22 4.2.4 แหล่งข้อมูลในการมาใช้บริการจาแนกตามกลุ่มรายได้ จากการศึกษากลุ่มตัวอย่าง พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีแหล่งข้อมูลในการมาใช้ บริการคือ จากเพื่อน/ญาติ/บุคคลอื่น เป็นอันดับที่ 1 ที่ร้อยละ 61 อันดับสองคือ จากวารสารการ ท่องเที่ยว/หนังสือพิมพ์ที่ร้อยละ 24 โดยหากจําแนกตามกลุ่มรายได้พบว่า ทุกกลุ่มรายได้มี แหล่งข้อมูลในการมาใช้บริการคือ เพื่อน/ญาติ/บุคคลอื่น เป็นอันดับที่ 1 ขณะที่วารสารการ ท่องเที่ยว/หนังสือพิมพ์เป็นอันดับที่ 2 ยกเว้นในกลุ่มรายได้ต่ํากว่า 10,000 บาทที่มีแหล่งข้อมูลใน การมาใช้บริการอันดับที่ 2 เป็นบริษัทนําเที่ยว ดังตารางที่ 4.2.4 ตารางที่ 4.2.4 แสดงจํานวนและร้อยละของแหล่งข้อมูลในการมาใช้บริการจําแนกตามกลุ่มรายได้ แหล่งข้อมูลในการมาใช้บริการ รายได้ รวม ต่ํากว่า10,000บาท 10,000–19,999บาท 20,000–29,999บาท 30,000บาทขึ้นไป เพื่อน/ญาติ/บุคคลอื่น จํานวน 12 13 25 11 61 อันดับ 1 1 1 1 1 วารสารการท่องเที่ยว/ หนังสือพิมพ์ จํานวน 1 7 8 8 24 อันดับ 4 2 2 2 2 บริษัทนําเที่ยว จํานวน 3 0 2 2 7 อันดับ 2 4 4 3 4 โทรทัศน์/วิทยุ/เว็บไซต์ จํานวน 2 2 4 0 8 อันดับ 3 3 3 4 3 รวม จํานวน 18 22 39 21 100 ที่มา : จากการศึกษา
  • 27. 23 4.2.5 ค่าใช้จ่ายในการมาใช้บริการจาแนกตามกลุ่มอาชีพ จากการศึกษากลุ่มตัวอย่าง พบว่า กลุ่มอาชีพส่วนใหญ่มีค่าใช้จ่ายในการมาใช้ บริการอยู่ที่ 200-500 บาทต่อราย ยกเว้นกลุ่มอาชีพรับราชการและนักธุรกิจ/เจ้าของธุรกิจที่มี ค่าใช้จ่ายการบริการอยู่ที่มากกว่า 500 บาทต่อรายเป็นอันดับที่ 1 ขณะที่กลุ่มอาชีพพนักงานเอกชน และอื่นๆมีค่าใช้จ่ายการบริการที่มากกว่า 500 บาทต่อรายเป็นอันดับที่ 2 ดังตารางที่ 4.2.5 ตารางที่ 4.2.5 แสดงจํานวนและร้อยละของค่าใช้จ่ายในการมาใช้บริการจําแนกตามกลุ่มอาชีพ ค่าใช้จ่ายในการมาใช้บริการ อาชีพ รวม รับราชการ นักธุรกิจ/เจ้าของธุรกิจ รับจ้างทั่วไป/อาชีพอิสระ พนักงานเอกชน อื่นๆ ไม่เกิน 200 บาท จํานวน 2 0 7 4 4 17 อันดับที่ 3 3 2 3 2 3 200-500 บาท จํานวน 3 3 11 18 8 43 อันดับที่ 2 2 1 1 1 1 มากกว่า 500 บาท จํานวน 7 16 5 8 4 40 อันดับที่ 1 1 3 2 2 2 รวม จํานวน 12 19 23 30 16 100 ที่มา : จากการศึกษา