SlideShare a Scribd company logo
1 of 37
Download to read offline
รศ.
1
. ชนัญ วงษ์วิภาค
2
ความนํา
วัฒนธรรมมีขอบเขตที่กว้างขวางด้วยคือทุกสิ่งทุกอย่างที่มนุษย์สร้างทําขึ้น มนุษย์สร้างสรรค์วัฒนธรรมมา
ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ผ่านสมัยประวัติศาสตร์เข้าสู่ยุคปัจจุบัน โดยพื้นฐานแล้ว มนุษย์โลกมีความต้องการ
ทางร่างกาย 4 อย่างคือ ความหิวโหย ความร้อน หนาว ความหวาดกลัว และความป่วยไข้ การสร้างสรรค์ปัจจัย 4
ได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค เป็นการกระทําที่ช่วยให้ร่างกายอยู่รอดและเจริญพันธุ์
ต่อไป กระนั้นตลอดชีวิตมนุษย์ยังต้องการพักผ่อนและเพลิดเพลิน เพราะการเดินทางท่องเที่ยวเป็นโอกาสหนึ่งที่
ช่วยเพิ่มสีสันให้กับชีวิตจากประสบการณ์ใหม่ๆ ที่ผ่านเข้ามา สิ่งที่พบอาจได้แก่ ธรรมชาติ หรือสิ่งที่เกิดจากการ
กระทําของมนุษย์ที่เรียกตามศัพท์บัญญัติว่าวัฒนธรรม คือทุกสิ่งทุกอย่างที่มนุษย์สร้างขึ้น มนุษย์สร้างสิ่งต่างๆ เพื่อ
อํานวยความสะดวกสบายให้กับชีวิต สิ่งที่มนุษย์สร้างสรรค์มีทั้งวัตถุที่สามารถหยิบถือหรือลองชิม เพื่อรู้ผลได้
โดยเร็ว และส่วนที่ไม่ใช่วัตถุแต่ก็สัมผัสได้ด้วยความรู้สึก ความคิด และจินตนาการ อาหาร บ้านเรือน เครื่องนุ่งห่ม
ยารักษาโรค และข้าวของเครื่องใช้อื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องด้วยปัจจัยจําเป็นต่อการดําเนินชีวิต เป็นของที่ทําความคุ้นเคย
ได้ไม่ยากนัก แต่คงต้องใช้เวลาพอสมควรกว่าจะรับรู้เรื่องราวที่รังสรรค์ออกมาในรูปของศิลปะ ประเพณี และ
พิธีกรรม ซึ่งแฝงไว้ซึ่งค่านิยมอุดมการณ์ และปรัชญานานาประการ ปกติระหว่างการเดินทางท่องเที่ยว ผู้มาเยือน
จะได้มีประสบการณ์กับธรรมชาติและวัฒนธรรมในถิ่นที่ไปเยี่ยมเยือนอยู่เสมอ จะได้ประสบการณ์ใหม่ๆมากน้อย
เพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง อย่างแรก คือ ความอยากรู้อยากเห็นที่จะกระตุ้นให้ตื่นเต้นกับสิ่งใหม่ อย่าง
ที่สอง คือ ความแปลกแตกต่าง สิ่งใหม่ที่แตกต่างไปจากประสบการณ์เก่าโดยสิ้นเชิงย่อมเร้าให้อยากรู้จักมากเป็น
พิเศษ ยิ่งสามารถทําความคุ้นเคยกับสิ่งใหม่ได้เร็วและเห็นว่าเป็นของมีประโยชน์ก็อาจรับประสบการณ์ใหม่เข้าเป็น
ส่วนหนึ่งของชีวิต การเดินทางเพื่อหาประสบการณ์ในต่างถิ่นเป็นความต้องการที่มีอยู่ตลอด เพราะความซ้ําซาก
ผลักดันให้ใฝ่หาสิ่งใหม่เพื่อเติมเต็มความอยากรู้อยากเห็น โดยทั่วไปมนุษย์รับรู้เรื่องราวต่างๆ ได้ด้วยการเรียนที่
ได้รับการอบรมสั่งสอนมาและการลอกเลียนแบบอย่างผู้อื่นด้วยการลองผิดลองถูก รู้เรื่องนี้แล้วก็อยากรู้อยากทํา
อย่างอื่นอีกการได้เดินทางท่องเที่ยวเปิดโอกาสให้ได้รู้เห็นความเป็นไปของโลกรอบตัวเพิ่มขึ้น การเดินทางท่องเที่ยว
เป็นหนทางนําไปสู่การเรียนรู้อย่างเป็นธรรมชาติอย่างมาก คือทั้งได้เห็น ได้ฟัง และอาจได้ลองทําในสิ่งที่ประสบอยู่
ความสนุกเพลิดเพลินและการได้พักผ่อนระหว่างเดินทาง ช่วยเพิ่มความสดชื่นให้อย่างน่าพึงพอใจ อย่างน้อยก็ทํา
ให้ห่างออกไปจากความจําเจระยะหนึ่ง
3
ข้อเขียนนี้มีเป้าหมายนําเสนอเรื่องราวของการท่องเที่ยววัฒนธรรมที่สัมพันธ์กับมิติต่างๆของศาสนาความ
เชื่อโดยแบ่งเนื้อหาอกเป็นส่วนๆ กล่าวคือ ส่วนที่หนึ่ง อภิปรายแนวคิดองค์รวม(Holistic approach)และแนวคิด
วัฒนธรรมซึ่งเป็นแนวคิดสําคัญที่ใช้อรรถธิบายความเกี่ยวข้องระหว่างการท่องเที่ยวกับศาสนาความเชื่อ ส่วนที่สอง
นําเสนอข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับศาสนาความเชื่อตามที่ปรากฏในสังคมต่างๆ ซึ่งจําเป็นต้องทราบถึงความแตกต่าง
ระหว่างพฤติกรรมที่เข้าข่ายไสยศาสตร์(magic)และพฤติกรรมที่จัดว่าอยู่ในความหมายของศาสนา(religion)
รวมทั้งบทบาทหน้าที่ศาสนาความเชื่อต่อสังคม ส่วนที่สาม เป็นข้อมูลสําคัญที่ชี้ให้เห็นการท่องเที่ยวทางจิตวิญญาน
ความเชื่อตามที่ปรากฏในโอกาสต่างๆ เช่นการท่องเที่ยวทางจิตวิญญานความเชื่อยามปกติทั่วไป การท่องเที่ยวทาง
จิตวิญญานที่จัดขึ้นในเทศกาลงานประจําปี และการท่องเที่ยวทางจิตวิญญานที่จัดขึ้นในโอกาสพิเศษ(event
tourism and invented tradition) ส่วนที่สี่ ว่าด้วยการจัดการท่องเที่ยวทางจิตวิญญานอย่างยั่งยืน พร้อมเสนอ
แนวทางการศึกษาวิจัยการท่องเที่ยวทางจิตวิญญาน เพื่ออภิปรายถึงความเป็นสากลของการท่องเที่ยวทางจิต
วิญญาน ผู้เขียนได้นําตัวอย่างการท่องเที่ยวทางจิตวิญญานที่ปรากฏในแหล่งท่องเที่ยวเด่นๆของโลกควบคู่ไปกับ
การท่องเที่ยวทางจิตวิญญานที่มีอยู่ในภูมิภาคต่างๆของประเทศไทย อนึ่งข้อเขียนนี้ได้ปรับบางส่วนมาจาก “ตํารา
การท่องเที่ยววัฒนธรรม”(พ.ศ.2552)ที่เป็นเอกสารใช้ในการเรียนการวิชาสอน การจัดการท่องเที่ยววัฒนธรรม
ระดับบัณฑิตศึกษา และระดับมหาบัณฑิต ในคณะวิทยาการจัดการ และคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
รศ. ชนัญ วงษ์วิภาค
มหาวิทยาลัยศิลปากร
4
1.กรอบแนวคิดเกี่ยวกับวัฒนธรรม
วัฒนธรรมคือเรื่องราวของมนุษย์จึงย่อมมีแง่มุมด้านต่างๆ ที่ประกอบกันขึ้นมาเป็นตัวตนหรือเป็น
เอกลักษณ์ หากจะจัดกลุ่มการกระทําของมนุษย์ออกเป็น 7 หมวดหมู่ก็พอรวมได้ว่าเป็นการกระทําที่ว่าด้วยเรื่อง
ของการทํามาหากิน (เศรษฐกิจ) การจัดระเบียบความสัมพันธ์ของคนในครอบครัวและเครือญาติ การศึกษา
การเมืองการปกครอง การสาธารณสุข นันทนาการ และศาสนาความเชื่อนักสังคมศาสตร์ชอบเปรียบเทียบการ
ทํางานของส่วนประกอบวัฒนธรรมดังกล่าวว่าคล้ายกันกับการทํางานของอวัยวะต่างๆ ของร่างกายที่ทุกส่วนต้อง
สัมพันธ์เกื้อกูลกันในอันที่จะขับเคลื่อนต่อไปได้ ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงในส่วนใดส่วนหนึ่งขององค์ประกอบก็จะส่งผล
กระทบส่วนประกอบอื่นๆ ของโครงสร้างเดิม การพิจารณาวัฒนธรรมด้วยแนวคิดองค์รวม (holistic approach)
หรือแนวคิดระบบ(system approach) ตามที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในช่วงปี ค.ศ.1930 (Leiper, 1995)
อย่างที่กล่าวมานี้สําคัญอย่างมากต่อการกระทําใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรม โดยเฉพาะการจัดวัฒนธรรมให้เป็น
ทรัพยากรสําหรับธุรกิจการท่องเที่ยวซึ่งเป็นการกระทําที่เข้าข่ายการประยุกต์วัฒนธรรมเพื่อให้เป็นไปตาม
เป้าหมายของการพัฒนาขีดความสามารถของการท่องเที่ยว ดังได้กล่าวมาข้างต้นแล้วว่าธุรกิจการท่องเที่ยวต้อง
อาศัยการบริการจากงานด้านต่างๆ เป็นจํานวนมาก อธิบายด้วยแนวคิดองค์รวมหรือระบบจึงเห็นได้ว่าการ
ท่องเที่ยวเป็นโครงสร้างที่ประกอบด้วยส่วนต่างๆ ที่ต้องพึ่งพาอาศัยกันอยู่ตลอดเวลา หากเปรียบระหว่างการ
ท่องเที่ยวภายในประเทศและการท่องเที่ยวนานาชาติก็ยิ่งปรากฏชัดว่าการท่องเที่ยวที่มาจากต่างประเทศจะมี
ภารกิจที่ซับซ้อนที่ผู้ซึ่งเกี่ยวข้องต้องร่วมมือกันอย่างมากเพื่อให้การท่องเที่ยวก้าวไปข้างหน้าต่อไปได้ ในทํานอง
เดียวกัน ถ้าจะลองพิจารณาการท่องเที่ยววัฒนธรรมอย่างเป็นองค์รวมหรือเป็นระบบก็จะได้ภาพเครือข่ายที่โยงใย
บริบทของวัฒนธรรมด้านต่างๆที่ประกอบกันเป็นโครงสร้างที่ซับซ้อนเช่นกัน
บริบทวัฒนธรรมประการแรกที่ควรรับทราบคือแนวคิดเกี่ยวกับวัฒนธรรมใหญ่และวัฒนธรรมย่อย เวลา
กล่าวถึงวัฒนธรรมของประเทศชาติใดๆ เช่น วัฒนธรรมจีน ญี่ปุ่น ลังกา พม่าขอม ฯลฯ ก็จะหมายความถึงแบบ
แผนการดําเนินชีวิตของคนในประเทศนั้นๆ โดยรวม เราจึงพอทราบว่ารัฐชาติแต่ละรัฐชาติมีเอกภาพทางวัฒนธรรม
อย่างไรที่พอระบุได้ในเบื้องต้นว่าแตกต่างไปจาเอกภาพทางวัฒนธรรมของคนในรัฐชาติอื่น บุคคลภายนอกเช่น
ชาวตะวันตกจึงพอเห็นในเบื้องต้นว่าวัฒนธรรมพม่า ลาว กัมพูชา และไทย ระดับรัฐชาตินั้นเป็นแบบแผนชีวิตที่มี
5
อิทธิพลของความเชื่อที่เนื่องในพุทธศาสนาอยู่มาก อย่างไรก็ตามในรัฐชาติต่างๆ ก็มักจะประกอบด้วยคนกลุ่มต่างๆ
ที่ยังดําเนินชีวิตตามครรลองที่สืบทอดมาแต่บรรพบุรุษเมื่ออยู่เฉพาะในกลุ่มคนพวกเดียวกันพุทธศาสนาแบบ
ชาวบ้านมีอิทธิพลอยู่ในความคิดปรัชญาชีวิตของชาวพม่า ลาว กัมพูชา และไทยขณะเดียวกันผู้คนในกลุ่มประเทศ
แถบนี้ก็ยังมีความเชื่อในภูตผีวิญญาณระดับต่างๆ อยู่ด้วยเช่นกันเฉพาะในเขตประเทศไทยที่ประกอบด้วยผู้คนที่ตั้ง
ถิ่นฐานอยู่ตามที่ขุนเขาและในที่ราบลุ่มก็คงมีความเชื่อในอํานาจเหนือธรรมชาติแตกต่างกันออกไป ความเชื่อใน
ภูตผีวิญญาณและสิ่งเหนือธรรมชาติทั้งหลายแฝงอยู่ในวงจรชีวิตทั้งในยามปกติและในภาวะวิกฤติรูปแบบต่างๆ
ความมีเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมใหญ่ท่ามกลางความหลากหลายแห่งวัฒนธรรมย่อยของดินแดนเอเชียตะวันออก
เฉียงใต้เป็นสิ่งดึงดูดใจนักท่องเที่ยวจากต่างแดนยิ่งนัก แต่ด้วยข้อจํากัดในแง่ของขนาดกลุ่มนักท่องเที่ยวและ
ระยะเวลาที่ท่องเที่ยว จึงเป็นที่น่าสังเกตว่านักท่องเที่ยวที่มาเป็นหมู่คณะใหญ่ (mass tour) จะได้สัมผัสกับ
วัฒนธรรมของรัฐชาติขณะที่นักท่องเที่ยวทางเลือกซึ่งมาเป็นกลุ่มเล็กๆ และมีเวลามากพอที่จะไปเยือนตามแหล่ง
ท่องเที่ยวในท้องถิ่นก็ย่อมมีโอกาสได้รับรู้และซึมซับวัฒนธรรมระดับชาติและระดับท้องถิ่นได้ ความสัมพันธ์ระหว่าง
นักท่องเที่ยวและทรัพยากรท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมคือสาระสําคัญที่ได้พิจารณาไว้ในบทที่ 3
บริบทวัฒนธรรมประการที่ 2 ที่สัมพันธ์กับการท่องเที่ยว คือแนวคิดที่ว่าด้วยวัฒนธรรมหลวงและ
วัฒนธรรมราษฎร์ ตามพัฒนาการทางประวัติศาสตร์นั้นการจัดระเบียบทางสังคมได้แบ่งคนออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ
คือ ชนชั้นเจ้าขุนมูลนาย และชนชั้นบ่าวไพร่หรือสามัญชนทั่วไป ในอดีตชนชั้นเจ้านายมักมีโอกาสในเรื่องต่างๆ
และมาตรฐานการดําเนินชีวิตดีกว่าคนอื่นๆ ในสังคม การกระจุกตัวอยู่ท่ามกลางศูนย์รวมของประเทศ ชนชั้น
เจ้านายจึงได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมที่มาจากภายนอก(ประเทศ) ไว้มาก มีประเพณีพิธีกรรมที่บ่งย้ําความเป็นทางการ
และความศักดิ์สิทธิ์สูงส่งของความเป็นผู้นําอยู่เสมอ ประเพณีในราชสํานักที่จัดขึ้นในโอกาสต่างๆ คือตัวอย่างยืนยัน
เอกลักษณ์ของวัฒนธรรมหลวงส่วนหนึ่ง ส่วนวัฒนธรรมราษฎร์คือแบบอย่างการดําเนินชีวิตของประชากรส่วนใหญ่
ของสังคมที่อาศัยการเกษตรกรรมเพื่อการยังชีพเป็นสําคัญ การจัดระเบียบชีวิตจึงสัมพันธ์กับดินฟ้าอากาศและการ
ทํามาหากินอยู่มาก วัฒนธรรมราษฎร์น่าจะเป็นตัวอย่างที่ดีที่สะท้อนถึงการปรับตัวของคนในท้องถิ่นต่อ
สภาพแวดล้อม ดังจะเห็นได้จากการสร้างสรรค์ปัจจัย 4 เพื่อสนองความต้องการจําเป็นของชีวิตส่วนใหญ่จะได้มา
จากทรัพยากรธรรมชาติที่แวดล้อมผนวกกับภูมิปัญญาที่สืบสานมาแต่บรรพบุรุษ ปัจจัยหนึ่งที่ส่งเสริมให้การ
ท่องเที่ยวไทยก้าวหน้าขึ้นมาเป็นอันดับต้นๆ ของภูมิภาคแถบนี้ก็คือ ทรัพยากรท่องเที่ยวที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมหลวง
และวัฒนธรรมราษฎร์ ในช่วงของการรณรงค์ปีการท่องเที่ยวไทยหลายๆ ครั้งที่ผ่านมาได้มีความพยายามที่จะจัดให้
6
มีพิธีประเพณีของหลวงและของราษฎร์เป็นกรณีพิเศษอยู่เนืองๆ ในโอกาสปกติที่มีพิธีประเพณีตามธรรมเนียม
ดั้งเดิมก็ชื่นชมกันว่าเป็นพิธีประเพณีที่เลิศหรูยิ่งในการจัดพิเศษเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวนานาชาติ ก็เห็นว่าจัดงานกัน
ได้อลังการยิ่งนัก กระนั้นก็เป็นที่น่าสังเกตว่ายิ่งปรุงแต่งวัฒนธรรมมากเท่าไร ภาพที่ปรากฏออกมาก็ดูเหมือนจะ
เป็นของในอุดมคติมากกว่าที่เคยปรากฏจริงในยามปกติ โดยเฉพาะการท่องเที่ยวที่มาเป็นหมู่คณะใหญ่ก็น่าที่จะได้
สัมผัสกับวัฒนธรรมตามอุดมคติค่อนข้างมาก ขณะที่นักท่องเที่ยวทางเลือกมีโอกาสที่จะได้รับรู้ความเป็นจริงจาก
เนื้อหาสาระของวัฒนธรรมมากกว่า
บริบทวัฒนธรรมประการที่ 3 เป็นธรรมชาติอย่างหนึ่งของวัฒนธรรมที่จะมีการเปลี่ยนแปลงและการ
สืบเนื่อง วัฒนธรรมก่อเกิดจากมูลเหตุการประดิษฐ์คิดค้นและการรับแบบอย่างจากต่างถิ่น ความจําเป็นต่อความ
อยู่รอด และการตอบสนองการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเป็นปัจจัยผลักดันให้มนุษย์ต้องคิดหาหนทางเพื่อปรับตัวให้
ผ่านพ้นภาวะที่กําลังเผชิญ สังคมโลกก้าวหน้ามีพัฒนาการด้านต่างๆ อย่างที่เห็นทุกวันนี้ก็เพราะการคิดค้นสิ่งใหม่ที่
มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับสภาพแวดล้อม ณ ขณะนั้น กระนั้นมนุษย์ทุกผู้ทุกนามก็มิได้มีความสามารถที่จะ
เป็นนักประดิษฐ์มาตั้งแต่เกิด แต่ได้อาศัยการเลียนแบบอย่างจากผู้อื่นเพื่อปรับผันตนให้เท่าทันยุคสมัย พฤติกรรม
เช่นนี้มีมาตั้งแต่บรรพกาลอย่างที่ประวัติศาสตร์วัฒนธรรมไทยระบุไว้ว่า ในสมัยโบราณไทยรับอิทธิพลจากอารย
ธรรมอินเดียและขอมผสมผสานไปกับรากเหง้าวัฒนธรรมท้องถิ่น พอมาถึงยุครัตนโกสินทร์คนจีนที่อพยพเข้ามาตั้ง
รกรากในสยามได้นําแบบแผนชีวิตใหม่ๆ เข้ามาเผยแพร่ โดยเฉพาะการค้าขายการช่าง อีกทั้งอาหารการกิน ช่วง
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา อิทธิพลวัฒนธรรมตะวันตกที่ปรากฏอยู่ในวัฒนธรรมหลวงตั้งแต่สมัยรัชกาลที่
4 ก็ขยายขอบเขตจากศูนย์กลางของประเทศสู่สามัญชน เห็นได้ชัดจากวัฒนธรรมการบริโภคที่เพิ่มปริมาณตาม
กระแสธารของโลกาภิวัตน์ กระนั้นหากพิจารณาแบบแผนชีวิตคนไทยอย่างลุ่มลึกก็จะพบว่า คนรุ่นลูกรุ่นหลานใน
ปัจจุบันก็ยังคงสืบสานภูมิปัญญาหลายอย่างที่บรรพบุรุษเคยถือปฏิบัติมาแต่กาลก่อน แม้ว่าความเป็นตัวตนของคน
ไทยสมัยใหม่จะไม่เข้มข้นเท่าคนยุคก่อนก็ตาม ในบรรดาแบบแผนชีวิตทั้งมวลนั้น การสร้างปฏิสัมพันธ์อย่างมี
อัธยาศัยด้วยไมตรีนับเป็นเสน่ห์หนึ่งที่ยังคงสร้างความประทับใจให้แก่แขกผู้มาเยือน การท่องเที่ยวพักผ่อนระยะ
ยาว (long stay) ที่รัฐมีเป้าหมายดึงดูดนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติผู้เกษียณอายุแล้วให้เข้ามาพํานักในเมืองไทยได้ผล
ยิ่งขึ้นก็ด้วยวัฒนธรรมความเอื้ออารีแบบไทยๆ นั่นเอง
7
1. 1 ลักษณะสังคมและวัฒนธรรมไทยในบริบทของการท่องเที่ยว
ดังได้กล่าวมาก่อนหน้านี้บ้างแล้วว่า วัฒนธรรมไทยมีพัฒนาการมายาวนานจากการผสมผสานพื้นฐานของ
ท้องถิ่นกับอิทธิพลของอารยธรรมอินเดียและขอม ต้นสมัยรัตนโกสินทร์วัฒนธรรมจีนเริ่มเข้ามามีบทบาทต่อวิถีชีวิต
ของคนไทยยิ่งขึ้นตามการอพยพเข้ามาของชาวจีนโพ้นทะเลช่วงต่างๆ (สกินเนอร์, 2548) พอมาถึงสมัยรัชกาลที่ 4
ภัยคุกคามจากลัทธิจักรวรรดินิยมทําให้ไทยต้องเปิดพื้นที่ทางวัฒนธรรมให้แบบแผนความเป็นอยู่ของชาวตะวันตก
เข้ามาแทรกตัวอยู่ในแวดวงสังคมไทย การผสมเอาลักษณะทางวัฒนธรรมต่างๆ เข้ามารับใช้ผู้คนในสังคมไทยมี
ปรากฏอยู่ในเรื่องต่างๆ ตามที่ผู้รับวัฒนธรรมอย่างคนไทยจะเห็นเหมาะสม อาทิ ในเรื่องของศาสนาก็เห็นได้ว่าพุทธ
ศาสนานิกายเถรวาทและศาสนาพราหมณ์จากอินเดียได้เข้ามาฝังรกรากในดินแดนแถบนี้ตั้งแต่สมัยทวารวดี พุทธ
ศตวรรษที่ 9-11 ผนวกเข้ากับความเชื่อในผีสางเทวดาที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาแต่ดั้งเดิม สิ่งเหล่านี้สะท้อนอยู่ในปรัชญา
ความเชื่อ และการคิดพิจารณาชีวิตในหมู่ชาวไทย นอกจากนี้ยังปรากฏอยู่ในศิลปะแบบประเพณีซึ่งก็คือพุทธศิลป์
นั่นเอง รูปแบบสถาปัตยกรรม วัดวาอารามโบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ หอไตร ตู้พระธรรม ธรรมมาสน์
พระพุทธรูป จิตรกรรมฝาผนัง งานปูนปั้นและงานแกะสลักไม้เพื่อประดับตกแต่งอารามทั้งหลาย เหล่านี้คือผลรวม
ของการสังเคราะห์ศาสนาความเชื่อดังกล่าวเข้าด้วยกัน อิทธิพลของอารยธรรมขอมหรือเขมรโบราณเด่นชัดอยู่ใน
เรื่องของภาษา นาฏศิลป์ และสถาปัตยกรรม โดยเฉพาะคําราชาศัพท์ทั้งหลายและรูปทรงของพระปรางค์ เช่นพระ
ปรางค์ 3 ยอด จังหวัดลพบุรี และพระปรางค์วัดอรุณราชวรารามฯ ตามคติความเชื่อเดิมพระมหากษัตริย์คือเทวรา
ชาผู้มีบารมีที่ลงมาจุติในโลกมนุษย์ ปรางค์คือสัญลักษณ์ของเขาพระสุเมรุที่สถิตแห่งเทวะผู้ยิ่งใหญ่ ในราชธานี
สุโขทัย อยุธยา และรัตนโกสินทร์ จึงพบว่ามีการสร้างพระปรางค์เพื่อแสดงสถานภาพของผู้ปกครองอยู่เสมอ ย้อน
อดีตไปเก่าแก่กว่ายุคของการตั้งราชธานีไทย นักโบราณคดีพบว่าอิทธิพลของอารยธรรมเขมรโบราณได้แผ่ขยาย
ทั่วไปในดินแดนอาณาเขตประเทศไทยตั้งแต่ภาคอีสานลงมายังภาคกลางและไปสิ้นสุดอยู่ทางภาคตะวันตกและ
ภาคกลางตอนล่าง ทั้งนี้ดังพอจะแสดงได้ด้วยหลักฐานจากเขาพระวิหาร (ซึ่งอยู่ในดินแดนประเทศไทย) ปราสาท
เขาพนมรุ้งปราสาทหินพิมาย ปราสาทเมืองสิงห์ และโบราณสถานที่วัดกําแพงแลง อําเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี
วัฒนธรรมจีนนั้นแฝงอยู่ในวิถีชีวิตชาวไทยทุกระดับ เช่น ในสมัยรัชกาลที่ 3 และรัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ให้สร้าง
และปฏิสังขรณ์วัดเป็นจํานวนมากด้วยรูปลักษณ์ศิลปะและการตกแต่งแบบจีน อาทิ วัดกัลยาณมิตร พระอุโบสถ
8
เป็นสถาปัตยกรรมแบบจีน อาคารก่ออิฐถือปูน หน้าบันเป็นปูนปั้นลวดลายดอกไม้ ประดับกระเบื้องเคลือบสลับสี
ลายจีน พระอุโบสถวัดนางนอง เขตจอมทองเป็นศิลปะในสมัยรัชกาลที่ 3 บานประตูด้านนอกประดับมุก บาน
ประตูและผนังด้านในเขียนเรื่องจีนเช่น สามก๊ก ฮกลกซิ่ว พระวิหารก็เป็นสถาปัตยกรรมแบบจีน หน้าบันประดับ
ปูนปั้นเป็นรูปมังกรส่วนเจดีย์รูปลักษณ์แบบจีนประดับด้วยกระเบื้องสี สถาปัตยกรรมที่วัดเทพธิดาราม วัดบวร
นิเวศวิหารวัดสุทัศนเทพวราราม วัดพิชยญาติการาม และวัดราชโอรสาราม ฯลฯ ก็มีศิลปะจีนปรากฏอยู่เช่นกัน
การใช้กระจกสี หอยมุก และศิลปะลายรดน้ําปิดทอง รวมทั้งการใช้แล็กเกอร์เคลือบเงาล้วนเป็นศาสตร์ในศิลปะจีน
ทั้งสิ้น สมัยรัชกาลที่ 5 ลงมาอิทธิพลของศิลปะจีนที่มีต่องานสถาปัตยกรรมรัตนโกสินทร์อาจน้อยลง ตัวอย่างศิลปะ
จีนที่สะดุดตา เช่น พระที่นั่งเวหาสน์จํารูญ ในพระราชวังบางปะอินแต่กระนั้นก็มีการสั่งเครื่องโต๊ะและถ้วยปั้นจาก
ประเทศจีนเข้ามาเป็นเครื่องใช้ในพระราชวัง ตําหนักเจ้านายและบ้านขุนนางกันอย่างแพร่หลาย (แน่งน้อย ศักดิ์ศรี
, 2536 : 11) การรับวัฒนธรรมแบบแผนวัฒนธรรมจากแหล่งต่างๆมาปรับปรุงเพื่อให้เหมาะสมกับชีวิตแบบไทยๆที่
ประจักษ์ในมรดกวัฒนธรรมทั้งหลายเป็นปรากฏการที่เกิดขึ้นกับสังคมวัฒนธรรมในภูมิภาคอื่นๆของโลกเช่นกัน สิ่ง
ทั้งหลายทั้งมวลจึงโยงใยอย่างแยกไม่ออกดังที่จะอภิปรายในการท่องเที่ยวทางจิตวิญญานต่อไปนี้
2.ศาสนาและความเชื่อ
ศาสนาเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม ประกอบด้วยความเชื่อและแบบแผนพฤติกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับความ
เชื่อ ที่มนุษย์สร้างขึ้นมาเพื่อจะควบคุมจักวาลที่ในความเป็นจริงแล้วอยู่เหนือการควบคุมของมนุษย์ ในความหมาย
อย่างกว้างๆแล้วการกระทําในศาสนาความเชื่อมักเกี่ยวข้องกับการเซ่นสรวงบูชา หรือการสร้างสรรค์สัมพันธภาพ
ระหว่างมนุษย์กับอํานาจศักดิ์สิทธิทั้งหลาย ซึ่งมนุษย์เชื่อว่าสามารถควบคุมหรือมีอิทธิพลเหนือวิถีทางของ
ธรรมชาติ และวิถีชีวิตของมนุษย์ ศาสนาความเชื่อเป็นสิ่งสากลที่พบได้ในสังคมวัฒนธรรมทุกแห่งหนทั่วโลกตั้งแต่
เริ่มมีเผ่าพันธุ์มนุษย์กระทั่งปัจจุบัน ในสังคมที่ดํารงชีวิตด้วยการหาของป่าล่าสัตว์ศาสนาคือองค์ประกอบพื้นฐาน
ของชีวิตประจําวันทุกแง่มุม ครั้นสังคมพัฒนาไปสู่ความซับซ้อนยิ่งขึ้นศาสนาก็ค่อยๆลดบทบาทการครอบงํา
ชีวิตประจําวัน และมีแนวโน้มที่จํากัดอยู่ในโอกาสพิเศษต่างๆ ความเชื่อในอํานาจเหนือธรรมชาติและพลังต่างๆคือ
ลักษณะเด่นของศาสนาความเชื่อ โดยการสวดอ้อนวอนเซ่นสรวงบูชา และประกอบพิธีโดยเป็นช่องทางที่ผู้คนใช้
เพื่อวิงวอนขอความช่วยเหลือต่อโลกเหนือธรรมชาติ เราอาจจะจัดกลุ่มสิ่งเหนือธรรมชาติออกเป็นสามประเภทคือ
1.เทพเจ้า เทวดา ภูตผี และวิญญานบรรพบุรุษ พระเจ้า และเทพทั้งหลายเป็นสิ่งเหนือธรรมชาติที่ห่างไกลมนุษย์
9
และเชื่อว่ามีอํานาจควบคุมจักวาล หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของจักรวาล เช่น เทพเจ้าแห่งทะเล เช่น โพไซดอน เทพเจ้า
แห่งท้องฟ้า เช่น ซุส เทพเจ้าสายน้ํา เช่น เจ้าแม่ทับทิม และเทพเจ้าแห่งความรู้และสุนทรียทั้งหลาย เช่น พระพิฆ
เณศ ส่วนความเชื่อในผีสางเทวดา เป็นความเชื่อที่เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ 2.ความเชื่อในผีบรรพบุรุษเป็น
ความคิดความเชื่อที่มนุษย์สร้างขึ้นมาจากร่างกายและวิญญาน เชื่อกันว่าเมื่อตายไปแล้ววิญญานจะละจากสังขาร
และยังคงเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับการกระทําต่างๆของมนุษย์ 3.ความเชื่อในวิญญานบรรพบุรุษจะปรากฏอยู่ในกลุ่ม
สังคมที่จัดระเบียบครอบครัวและเครือญาติที่ให้ความสําคัญกับบรรพบุรุษ ดังจะพบได้ในสังคมของชาวจีน ชาว
เวียดนาม ชาวมอญ และลาวโซ่ง
พฤติกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับศาสนาความเชื่อส่วนใหญ่มีเป้าประสงค์อยู่ บุคคลย่อมมีเป้าหมายอย่างใดอย่างห
นี่งในใจขณะประกอบพิธีกรรม ผู้ดําเนินพิธีกรรมจะปรารถนาผลลัพธ์ของการกระทํานั้น เช่น ขอฝน หยุดฝน หรือ
หวังความอุดมสมบูรณ์ของพืชผล ตัวเช่น ชาวคะฉิ่นและชาวพม่าเซ่นใหว้ผีนัท เพื่อความมั่นใจว่าพืชผลจะเจริญ
งอกงามและได้ผลเก็บเกี่ยวสมบูรณ์ ในหลายวัฒนธรรมผู้หญิงประกอบพิธีกรรมความเชื่อเพื่อให้ตั้งครรภ์ เช่นใน
ประเทศโปรแลนด์ สตรีชาวคาทอลิกไปที่หลุมฝังศพของนักบุญคาทอลิก และอาจารย์ชาวยิวสวดอ้อนวอนพื่อให้
สตรีได้ตั้งครรภ์ สตรีชาวยิวออโธะดอคซิ ไปสวดใหว้ที่หลุมศพของนักบุญราเชล ในเมืองฮิบรอนเพื่อจุดประสงค์ของ
การตั้งครรภ์เช่นเดียวกัน เป้าหมายและแรงกระตุ้นของการประกอบพิธีกรรมเหล่านี้ก็เพื่อหวังผลลัพธ์อย่างใดอย่าง
หนึ่งเป็นการเฉพาะในการที่จะทําให้พลังธรรมชาติและอํานาจธรรมชาติตอบสนองความต้องการของมนุษย์
การกระทําทางศาสนาบางอย่างมุ่งเน้นการชี้นําการกระทําของมนุษย์และสามารถทําให้ผู้คนตัดสินใจว่าจะ
มีพฤติกรรมอย่างไร ผู้คนจะไปปรึกษาหารือโหรและหมอดูเพื่อกําหนดหนทางว่าจะกระทําอย่างไรเมื่อเผชิญกับสิ่งที่
จะเกิดขึ้นข้างหน้า อะไรเป็นเหตุกระตุ้นให้ปัจเจกต้องกระทําเช่นนั้น คําตอบก็คือเมื่อสงสัยว่าจะตัดสินใจให้ถูก การ
ไปปรึกษาหารือผู้ประกอบพิธีกรรมดังกล่าว ก็ให้หนทางที่สร้างความเชื่อมั่นที่จะได้รับคําตอบ ในหลายสังคม
พฤติกรรมความเชื่อเน้นไปที่การรักษาโรคภัยไข้เจ็บ ในสังคมที่หมอผีมีบทบาท เช่น ในหมู่ชาวเขาเมื่อป่วยไข้ก็
จะต้องหาสาเหตุที่มักเกี่ยวข้องสิ่งเหนือธรรมชาติ เชื่อกันว่าผู้คนที่ชั่วร้ายได้ใช้สิ่งเหนือธรรมชาติเพื่อสร้างความป่วย
ไข้ให้กับคนอื่น ดังจะเห็นได้จากชาวคริสเตียนบางกลุ่มปฏิเสธการรักษาพยาบาลจากการแพทย์แผนปัจจุบัน
หากแต่ใช้การสวดอ้อนวอนเพื่อรักษาความป่วยไข้
10
เมื่อพิจารณาความเกี่ยวข้องระหว่างศาสนาวิทยาศาสตร์ และไสยศาสตร์ ก็พบว่ามีความเหมือนกัน และ
แตกต่างกันพอสมควร ในสังคมยุโรปแต่เดิมมานั้นเชื่อว่าทุกสิ่งทุกอย่างอยู่ในอํานาจของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ในศตวรรษที่
17 ชาวคาทอลิคเชื่อว่าโลกคือศูนย์กลางของจักวาล และสั่งประหารชีวิตกาลิเลโอ เพราะผลการศึกษาวิจัยทาง
วิทยาศาสตร์ของกาลิเลโอได้แสดงให้เห็นว่าการวิจัยของโคเปอร์นิคัสถูกต้อง ที่เสนอว่าโลกไม่ใช่ศูนย์กลางของจัก
วาลแต่ดวงอาทิตย์ต่างหากที่เป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะจักวาล นับเป็นเวลาหลายร้อยปีต่อมาที่นิกายคาทอลิก
ได้ยอมรับความผิดพลาดนั้น การคิดค้นคว้าตามแนวทางทฤษฎีวิวัฒนาการก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่สามารถเปลี่ยน
คําอธิบายทางศาสนาด้วยคําอธิบายทางวิทยาศาสตร์ ที่เชื่อว่าจากเดิมพระเจ้าเป็นผู้สร้างมนุษย์มาสู่คําอธิบายที่ว่า
มนุษย์ในปัจจุบันคือผลพลวงของการปรับตัวต่อกระบวนการวิวัฒนาการตามแนวคิดทฤษฎีชาล์ดาวิน
ทั้งวิทยาศาสตร์ ศาสนาและไสยศาสตร์ล้วนเป็นวิธีการสร้างความเข้าใจและพยายามจะสร้างอิทธิพลต่อ
โลกธรรมชาติ ไสยศาสตร์และศาสนาต่างไปจากวิทยาศาสตร์ตรงที่ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติบางอย่างไม่สามารถ
อธิบายด้วยวิทยาศาสตร์ได้ ไสยศาสตร์และวิทยาศาสตร์มีลักษณะที่คล้ายกันตรงที่ทั้งคู่มีเป้าหมายเฉพาะเจาะจง
ไสยศาสตร์และวิทยาศาสตร์ต่างอยูบนพื้นฐานความเชื่อที่ว่า หากเรากระทําการอย่างใดอย่างหนึ่งก็จะได้รับผลที่น่า
พึงปรารณา การทดลองทางวิทยาศาสตร์ก็ดีและการประกอบพิธีกรรมทําคุณไสย์ก็ดีต่างหวังได้ผลลัพธ์ในปัจจุบัน
ทันด่วน กระนั้นไสยศาสตร์ก็แตกต่างไปจากวิทยาศาสตร์ตรงที่ทั้งสองอยู่บนพื้นฐานทฤษฎีความรู้ที่แตกต่างกัน
กล่าวคือไสยศาสตร์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความเชื่อนั้นอยู่บนพื้นฐานของความเชื่อที่ว่าถ้าได้เป่าคาถาอาคมหรือ
ประกอบพิธีกรรมอย่างถูกต้องสิ่งเหนือธรรมชาติก็จะปรากฏผลออกมาเป็นที่พึงพอใจ ไสยศาสตร์ตั้งอยู่บนความคิด
ที่ว่ามีความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเหนือธรรมชาติ และโลกธรรมชาติ ส่วนวิทยาศาสตร์อยู่บนพื้นฐานของความสัมพันธ์
ที่เป็นเหตุผลอันเกิดจากการสังเกตระหว่างแง่มุมต่างๆของโลกธรรมชาติ วิทยาศาสตร์ได้ความรู้มาจากสัมผัสทั้ง 5
ได้แก่ หู ตา จมูก ลิ้น และ ผิวกาย ขณะที่ศาสนานั้นเป็นเรื่องของเหนือธรรมชาติ ไสยศาสตร์แตกต่างไปจากแง่มุม
อื่นของศาสนาในประเด็นที่ว่า ผู้คนพยายามที่จะควบคุมเหนือธรรมชาติด้วยคุณไสย์ ถ้าประกอบพิธีกรรมที่ถูกต้อง
ก็จะได้ผลลัพธ์อย่างแน่นอน เพราะเชื่อว่าไสยศาสตร์สามารถโน้มนําสิ่งเหนือธรรมชาติได้ตามประสงค์ของผู้
ประกอบพิธี ส่วนการประกอบกิจพิธีทางศาสนา มิได้มีเป้าประสงค์เป็นการเฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่ง พิธีทางศาสนา
เน้นถึงอัตราของความไร้อํานาจของมนุษย์ และศาสนาก็ไม่ได้บังคับผลลัพธ์ทางตรงอย่างเช่นไสยศาสตร์ พิธีทาง
ศาสนาจะชักนําผู้คนให้วิงวอนต่อเทพเจ้าซึ่งเทพผู้มีอํานาจทั้งปวงอาจจะบรรดารหรือไม่บรรดารให้ตามที่มนุษย์ร้อง
ขอ ดังนั้นไสยศาสตร์จึงเป็นการกระทําที่แสดงการควบคุม และศาสนาเป็นเรื่องของการวิงวอนขอความเมตตา
11
ปราณี ความรู้ทางไสยศาสตร์มักนํามาใช้เพื่อผลประโยชน์ของบุคคล ส่วนศาสนาเป็นระบบความเชื่อและการ
ประกอบพิธีของสังคมชุมชน อาจกล่าวโดยสรุป ณ ที่นี้ได้ว่า การกระทําที่เข้าข่ายไสยศาสตร์นั้นเป็นการกระทําที่
หวังผลในระยะอันไกล้ ขณะที่แบบแผนความเชื่อที่เข้าข่ายศาสนาเป็นการกระทําที่หวังผลระยะยาว เช่นในเรื่อง
ของโลกหน้า นรกสวรรค์ ตามนัยยะนี้พอเห็นได้ว่ากิจจกรรมการท่องเที่ยวศาสนาที่พบทุกแห่งหนอาจนับเนื่องเป็น
การท่องเที่ยวที่มีเป้าหมายที่เป็นไสยศาสตร์ หรือจุดประสงค์ที่เป็นศาสนาอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือมีลักษณะทั้งไสย
ศาสตร์และศาสนาในเวลาเดียวกัน
เป็นที่น่าสังเกตว่าศาสนาใหญ่ๆมีผู้นําที่จัดว่าเป็นศาสดาเผยแพร่ลัทธิความเชื่อนั้นๆ เช่น ศาสนาคริสต์
นิกายต่างๆ ศาสนาพุทธ ลัทธิเต๋าและ ศาสนาอิสลาม ที่เป็นศาสนาความเชื่อซึ่งมีอิทธิพลต่อผู้คนในประเทศแถบ
ตะวันออกกลาง และชาวมุสลิมประเทศอื่นๆอย่างเด่นชัด ในเดือนที่ถือศีลอด เมืองเมกกะซึ่งเป็นที่ตั้งของแท่นบูชา
หินดําหรือที่ตามภาษามุสลิมว่า “คะบาห์” ซึ่งประกอบด้วยหินศักดิ์สิทธิ์ 360 แท่งและกฎข้อบังคับต่างๆทาง
ศาสนา จะมีผู้แสวงบุญจากดินแดนอาราเบียและผู้แสวงบุญจากประเทศอื่นๆมุ่งมาร่วมสักการะและบําเพ็ญบุญ ณ
สถานที่แห่งนี้ ส่วนศาสนาอินดูแม้จะเป็นศาสนาใหญ่ที่ปรากฏมาตั้งแต่อารยธรรมอินเดียโบราณมาจนถึงปัจจุบัน
แม้จะไม่มีศาสดาเพราะศาสนาฮินดูคือแนวทางการดําเนินชีวิตจึงได้รับการผสมผสานไปกับศาสนาอื่นๆโดยเฉพาะ
ศาสนาพุทธหินยานในสังคมวัฒนธรรมอุษาอาคเนย์ อย่างเช่นที่ชาวไทยพุทธถือปฏิบัติกันอยู่ ส่วนศาสนาคริสต์
นิกายคาทอลิกมีบทบาทสําคัญในทุกแง่มุมชีวิตของคนยุโรปยุคกลาง การเผชิญต่อความทุกข์ยากในชีวิตทําให้ผู้คน
ต่างฝากความหวังไว้กับคําสอนของคริสต์ศาสนา คริสต์ศาสนาสอนให้มีหลักนําทางชีวิตเพื่อเพิ่มความสุขสบายใจ
ผู้คนสร้างโบสถ์เพื่อการสารภาพบาปและเพื่อหวังความสุขนิรันดร นอกจากนี้ ศาสนจักรยังทําหน้าที่ในกิจการ
บ้านเมือง เนื่องจากพระผู้ทํางานให้กับโบสถ์เป็นผู้ที่มีการศึกษาเหตุนี้กษัตริย์และขุนนางต่างต้องขอคําปรึกษา
จากศาสนจักร ศาสนจักรจึงมีอิทธิพลสําคัญต่อการตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ยิ่งกว่านั้นศาสนจักรยังมีอิทธิพล
ครอบคลุมผู้คนที่อาศัยพื้นที่ของโบสถ์เป็นแหล่งทํามาหากินอีกด้วย สันตะปาปาพํานักอยู่ที่วาติกันในกรุงโรม เป็นผู้
มีตําแหน่งสูงสุด มีอํานาจทั้งทางจิตวิญญาณและทางการเมือง ในโอกาสสําคัญๆเช่นในการทําพิธีมิซซากรุงวาติกัน
จึงเป็นที่ชุมนุมผู้มาเดินทางท่องเที่ยวเพื่อร่วมประกอบพิธีอย่างล้นหลาม
การศึกษาทางมานุษยวิทยาพบว่าผู้คนในสังคมวัฒนธรรมต่างๆมีแบบแผนในการติดต่อกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์
โดยทั่วไป 12 วิธีด้วยกัน กล่าวคือ 1.การสวดมนต์ การสวดมนต์เป็นกิจกรรมของปัจเจกบุคคลหรือกลุ่มคน บาง
12
ศาสนามีบทสวดมนต์ที่เขียนขึ้นโดยเฉพาะสําหรับพิธีกรรมต่างๆ 2.การร้องเพลง เต้นรําหรือการใช้ดนตรีขับกล่อม
เพื่อสร้างความโปรดปรานให้แก่สิ่งศัดิ์สิทธิ์ 3.การใช้ยาประสาทหรือการทรมานตนเองเพื่อให้ “เข้าถึงดวง วิญาณ
หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ศาสนาบางศาสนามีความเชื่อว่าเมื่อนักบวชทําการเทศน์เพื่อสั่งสอนศาสนิกชน พระผู้เป็นเจ้าหรือ
สิ่งศักดิ์สิทธิ์จะมาสถิตอยู่กับนักบวช 4.การฟังเทศน์จึงเป็นการฟังพระวาจาของพระเจ้าโดยผ่านนักบวชนั่นเอง 5.
การถือศีล หรือการปฏิบัติตามกฏของศาสนาอย่างเคร่งครัดเพื่อให้ผู้ถือศีลมีจิตใจบริสุทธิ์และเป็นที่โปรดปรานของ
สิ่งศักดิ์สิทธิ์ 6.การใช้เวทมนต์คาถาอาคม 7.การใช้เครื่องรางของขลัง 8.การกินเลี้ยงเฉลิมฉลอง เช่นการทําพิธีมิซ
ซาในศาสนาคริสต์เพื่อระลึกถึงอาหารค่ําเมื้อสุดท้ายของพระเยซูและเหล่าสาวก 9.การทําพิธีบูชายัญเซ่นสังเวย
อาหารหรือสัตว์เลี้ยง 10.การรวมกลุ่มเพื่อประกอบพิธีกรรมร่วมกัน 11.การเข้าทรงเพื่อติดต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์โดยตรง
และ12.การใช้สัญลักษณ์บางอย่างเช่น การนําเอาพระพุทธรูป เหรียญ หรือสายประคํา มาคล้องคอเพื่อให้เกิด
ความมั่นใจและความรู้สึกใกล้ชิดกับสิ่งศักดิ์สิทธิ
ศาสนาความเชื่อทั้งหลายมีบทบาทหน้าที่หลายประการในทางจิตวิทยาและในทางสังคมเพราะช่วยลด
ความวิตกกังวลในการอธิบายในสิ่งที่ไม่รู้นั้นให้เป็นที่เข้าใจ ขณะเดียวกันก็ให้ความอบอุ่นใจในความเชื่อที่ว่าสิ่ง
เหนือธรรมชาติที่ว่า การช่วยเหลือจากสิ่งเหนือธรรมชาติที่มีอยู่ในเวลาวิกฤต นอกจากนี้ศาสนาความเชื่อยังควบคุม
พฤติกรรมมนุษย์ให้กระทําในสิ่งที่ถูกและลงโทษการกระทําที่ผิด พิธีกรรมที่จัดขึ้นตามศาสนาความเชื่อยังเป็น
ประหนึ่งเครื่องส่งเสริมการเรียนรู้เกี่ยวกับประเพณีจากคําบอกเล่าที่สําคัญที่สุด ศาสนาความเชื่อมีบทบาทสําคัญใน
การดํารงใว้ซึ่งความเป็นปึกแผ่นทางสังคม
3.การท่องเที่ยวทางจิตวิญญานและความเชื่อ
ดังได้กล่าวใว้ในส่วนที่ 1 ของงานเขียนนี้ว่า สิ่งทั้งหลายที่เป็นวัฒนธรรมสัมพันธ์เกื้อกูลต่อกันโดยเฉพาะ
การท่องเที่ยวนั้นยิ่งเป็นสิ่งที่ต้องอาศัยทรัพยากรหลากหลาย เพื่อตอบสนองความต้องการท่องเที่ยวได้อย่าง
ครอบคลุม หากพิจารณาแหล่งท่องเที่ยวทางท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมที่ผ่านมาอาจกล่าวได้ว่า ศาสนสถานในศาสนา
ต่างๆ อาทิ โบสถ์คริสต์ มัสยิต วัดในพุทธศาสนา สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ในที่ต่างๆเช่น ศาลหลักเมือง ศาลเจ้า และ
สถานที่สําคัญทางประวัติศาสตร์ อันมีอนุสาวรีย์ และสุสาน ฯลฯ เป็นปลายทางการท่องเที่ยวที่มีผู้มาเยือนเสมอมา
แหล่งท่องเที่ยวเหล่านี้จึงมีบทบาททับซ้อนกัน กล่าวคือ ในยามปกติผู้ที่เกี่ยวข้องใช้เป็นที่ประกอบกิจพิธี และผู้ที่มา
ร่วมงานส่วนใหญ่มักได้แก่ชุมชนในละแวกนั้น แต่ความโดดเด่นมีชื่อเสียง มีเอกลักษณ์ทางศิลปะ มีประวัติความ
13
เป็นมา และเป็นที่พํานักของบุคคลสําคัญ เหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยดึงดูดให้มีผู้มาเยือน และเมื่อการท่องเที่ยวตาม
สถานที่ที่เกี่ยวข้องกับศาสนาและความเชื่อกลายเป็นกระแสสถานที่เหล่านี้จึงต้องปรับบทบาทเพิ่มขึ้นเพื่อสนอง
ความต้องการมาเยือน โดยทั่วไปการปรับบทบาทเช่นนี้มักเป็นไปในเรื่องของการปรุงแต่งทางกายภาพของสถานที่
และการเพิ่มบริการด้านต่างๆ เช่น การให้ข้อมูลประวัติความเป็นมา ข้อมูลการเดินทาง ข้อมูลการติดต่อขอเยี่ยม
ชม และข้อมูลเกี่ยวกับที่พัก ในบางกรณีมีการใช้สื่อหลากหลายรูปแบบ เช่น แผ่นพับ หนังสือคู่มือท่องเที่ยวท้องถิ่น
และการประชาสัมพันธ์ผ่านอินเทอร์เนต และเมื่อจะมีการจัดงานครั้งสําคัญก็จะมีการประชาสัมพันธ์ในลักษณะ
โฆษณาทั้งทางวิทยุ และโทรทัศน์
ในแง่ของพฤติกรรมนักท่องเที่ยวโดยทั่วไปแล้วมีเหตุผลหลายประการที่ผู้คนเดินทางท่องเที่ยว การ
เดินทางท่องเที่ยวเพื่อพักผ่อนดูจะเป็นเหตุผลของคนส่วนใหญ่ที่ประสงค์จะหลุดออกไปจาความเบื่อหน่ายจําเจ ที่
บ้าน ที่ทํางานหรือถิ่นกําเนิด การเที่ยวด้วยเหตุผลเช่นนี้นอกจากจะได้พักผ่อนทั้งจิตใจและร่างกายแล้วยังได้เติม
เต็มประสบการณ์ใหม่ๆระหว่างการไปเยือน กระนั้นก็มีผู้คนอีกจํานวนไม่น้อยที่ได้รับประโยชน์ด้วยเป็นผลพลวง
จากการท่องเที่ยวระหว่างการเดินทางไปต่างถิ่นเพื่อประชุม เพื่อศึกษาต่อ เพื่อเยี่ยมญาติ และหรือเพื่อไปติดต่อ
ค้าขาย ฯลฯ
ตามนัยยะนี้อาจกล่าวได้ว่าการท่องเที่ยวทางจิตวิญญานความเชื่อก็เป็นพฤติกรรมที่คล้ายกันกับผู้คนใน
กลุ่มหลังด้วยมีจุดประสงค์หลักแน่ชัดในการเดินทางเพื่อเติมเต็มความต้องการในลักษณะที่เข้าข่ายไสยศาสตร์และ
หรือศาสนา ส่วนประโยชน์ท่องเที่ยวอื่นๆดังที่กล่าวมาข้างต้นจึงเป็นผลพลอยได้จากการไปเยือนปลายทาง
นอกจากนี้นักเดินทางท่องเที่ยวเชิงศาสนายังมีเป้าหมายอื่นๆในการไปเยือนแหล่งท่องเที่ยวเหล่านั้น นักท่องเที่ยว
จํานวนหนึ่งต้องการจะเชื่อมโยงการรับรู้เรื่องราวของสถานที่แห่งนั้นกับข้อมูลที่ตนเคยรับทราบมาให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
จึงพบว่าแหล่งท่องเที่ยวเชิงศาสนา ซึ่งเป็นที่รู้จักกันมาแต่อดีตก็ยังคงมีนักท่องเที่ยวทั้งเก่าและใหม่มาเยือนอยู่เสมอ
จึงไม่เป็นที่ประหลาดแต่อย่างใดที่จะพบว่าจํานวนชาวคริสต์ และนักท่องเที่ยวทั่วไปต่างให้ความสนใจไปเยือนนคร
วาติกันศูนย์กลางอันเก่าแก่ของศาสนาคริสในกรุงโรมประเทศอิตาลีเพิ่มขึ้นตลอดมา ส่วนชาวมุสลิมทั่วภูมิภาคของ
โลกต่างก็ปรารถณาที่จะได้ไปประกอบกิจพิธีที่มหามัสยิด(Haram)นครเมกกะในเทศกาลถือศีลอดเพิ่มขึ้น ประมาณ
กันว่าปีหนึ่งๆมีผู้มาแสวงบุญถึง 3 ล้านคน ในช่วงเทศกาลเช่นนี้ธุรกิจการท่องเที่ยวจึงคึกคักเป็นพิเศษ เห็นได้จาก
การเพิ่มเที่ยวบินและเพื่อรับนักท่องเที่ยวได้มากยิ่งขึ้น รัฐบาลซาอุดิอารเบียได้ใช้เงินจํานวนพันๆล้านดอลลาร์จาก
14
รายได้การขายน้ํามันเพื่อปรับปรุงสวัสดิการความสะดวกสบายด้านสาธารณสุข การคมนาคม และระบบน้ําปะปา
ในนครศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้เพิ่มขึ้น ตามความเชื่อของอิสลามการได้ไปแสวงบุญ ณ สถานที่ดังกล่าวเป็นโอกาสที่ยิ่งใหญ่
ที่สุดของชีวิต การได้แสวงบุญที่นั่นเป็นหนึ่งในห้าหลักธรรมของศาสนาอิสลาม ผู้คนจึงพยายามจะได้ไปร่วมแสวง
บุญแม้จะมีค่าใช้จ่ายสูงเท่าใดก็ตามเพราะเป็นการกระทําที่จะนับเป็นคุณความดีในวันพิพากษาหลังความตายชาว
ไทยมุสลิมผู้ที่กลับจากการแสวงบุญจะได้รับการยกย่องเป็นพิเศษด้วยการเรียกผู้ชายว่า “ฮัจยี”และเรียกผู้หญิงผู้
กลับจากแสวงบุญว่า “ฮัจยะ”นับเป็นสถานภาพทางสังคมที่น่าสรรเสริญยิ่งนัก จุดประสงค์อื่นอีกประการหนึ่งของ
การเดินทางท่องเที่ยวเชิงศาสนาก็คือการได้ไประลึกถึงความดีงามในอดีตของสถานที่นั้นๆหรืออาจจะเรียกว่าการ
เดินทางท่องเที่ยวเพื่อจุดประสงค์ “วันวานยังหวานอยู่”(nostalgia)ใครๆได้ไปเยือนพุกามต่างก็ระลึกชื่นชมกับ
ความยิ่งใหญ่ในอดีตของอาณาจักรแห่งนี้ที่เคยรุ่งเรืองด้วยความเลื่อมใสศรัทธาในพุทธศาสนาเถรวาทที่ยังคงอธิบาย
ได้ด้วยทรากปรักหักพังของเจดีย์ทรงต่างๆอีกทั้งมณฑปและศาสนสถานอื่นๆโดยเฉพาะอานันทเจดีย์ที่ได้รับการ
บูรณะให้คงความงดงามอลังการตามอิทธิพลของศิลปะอินเดียอย่างครบถ้วน รายการท่องเที่ยวประเทศพม่าส่วน
ใหญ่พลาดไม่ได้ที่จะจัดให้นักท่องเที่ยวได้ไปกราบใหว้เจดีย์ชเวดากอง เพราะเป็นตัวอย่างของความเลื่อมใสศรัทธา
อย่างแน่นแฟ้นของพุทธศาสนิกชน กรมศิลปากรของประเทศพม่าถือเป็นนโยบายที่จะต้องปฏิสังขรศาสนสถาน
หลักๆอย่างเจดีย์ชเวดากองให้ดูเด่นเป็นสง่าดังทองสุกปลั่งอยู่เสมอ ผู้ไปเยือนประเทศพม่าในช่วงที่กําลังบูรณะ
เจดีย์แห่งนี้อาจต้องผิดหวังที่ไม่ได้เห็นความอลังการและความอิ่มเอิบในบุญที่ได้มาบูชาศาสนสถานแห่งนี้ หากติด
อยู่ในรูปลักษณ์ของเจดีย์ชเวดากอง นักท่องเที่ยวจํานวนไม่น้อยไปเยือนแหล่งท่องเที่ยวทางศาสนาความเชื่อก็เพื่อ
หวังเพิ่มบุญบารมีเพื่อชาตินี้และชาติหน้า วัดที่โด่งดังด้วยพระศรีอริยเมตรัยมักเนืองแน่นไปด้วยนักท่องเที่ยว
ผู้ปวรณาจะได้รับความสุขสบายในภพหน้า ส่วนการทําบุญทําทานด้วยการปล่อยโค กระบือ ปล่อยนก และกุ้งหอย
ปูปลา ในหลายๆโอกาส เช่นในวันเกิดหรือในเทศกาลงานบุญที่จัดขึ้นตามวัดต่างๆ ของนักท่องเที่ยวบางรายอาจจะ
เนื่องด้วยประสงค์ที่จะชําระชะล้างความไม่ดีงามที่เคยกระทํามา
รายการท่องเที่ยววัฒนธรรมที่หลายบริษัทจัดขึ้นนอกจากจะให้ไปเยือนสถานที่สําคัญมีชื่อเสียงทั่วไปแล้ว
ปลายทางของการท่องเที่ยวอีกส่วนหนึ่งก็เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เกี่ยวข้องกับศาสนาความเชื่อและมักเป็นเป็นการ
ท่องเที่ยวนานาชาติ บริษัททัวร์ชาวยิวส์ต่างก็จัดให้นักท่องเที่ยวได้ไปเยือนวิหารในนครเยรูซาเล็ม ส่วนการ
ท่องเที่ยวเนื่องด้วยคริสศาสนาก็เน้นการไปเยือนดินแดนศักดิ์สิทธิ์เช่น กรุงเบธธิแรมที่อยู่ห่างจากกรุงเยรูซาเล็มไป
ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ในแคว้นจูเดียประมาณสิบกิโลเมตร ซึ่งเชื่อว่าเป็นที่ประสูตรของพระเยซู นอกจากนี้ยังจัด
15
ให้ไปเยือนตําบลแนสอะเร็ธ(Nazareth) ที่ประทับของพระเยซูในปาเลสไตน์หลังหนีภัยมาจากกรุงเบธธิแรม และ
แหล่งท่องเที่ยวท้ายสุดก็คงไม่พ้นหมู่บ้านบีทานี(Bethany)ที่ตั้งอยู่ในทิศตะวันของประเทศจอร์แดน ซึ่งเชื่อว่าเป็นที่
ฟื้นคืนชีพของพระเยซู สําหรับการท่องเที่ยวทางจิตวิญญานพุทธจากประเทศไทยหลายบริษัทได้สนองตอบความ
ต้องการนักท่องเที่ยวให้ได้ไปเยือนพุทธภูมิแดนพุทธองค์ เส้นทางแสวงบุญ ตามเส้นทางของสังเวชนียสถานต่างๆ
ซึ่งเริ่มต้นที่ตําบลลุมพินีอันเป็นที่สถานที่ประสูติ ต่อด้วยพุทธคยาอันเป็นสถานที่ตรัสรู้ จากนั้นก็ไปเยือนสารนาถ
สถานที่ซึ่งพระพุทธองค์ทรงเทศนาสั่งสอนเป็นครั้งแรก และรายการทัวร์ก็จะจบลงที่ กุสินาราอันเป็นสถานที่
ปรินิพพานของพระพุทธเจ้า รายการท่องเที่ยวจากประเทศไทยให้ไปเยือนสาธารณรัฐประชาธิไตยประชาชนลาว
นอกจากจะจัดรายการให้ตรงกับเทศกาลงานบุญสําคัญๆ เช่น เข้าพรรษาและออกพรรษาแล้วสถานที่ท่องเที่ยว
ส่วนใหญ่ก็ยังคงนับเนื่องอยู่ในการท่องเที่ยวทางจิตวิญญานเช่นกัน ทั้งนี้ดังจะยกตัวอย่างของการท่องเที่ยวจาก
บริษัทแห่งหนึ่งดังข้อมูลต่อไปนี้
เยือนสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 3 วัน
หลวงพระบาง มรดกโลก
วันที่หนึ่ง กรุงเทพฯ-หลวงพระบาง-วัดใหม่-วัดวิชุน-วัดเชียงทอง
08.30 น. พร้อมคณะที่สนามบินดอนเมือง เคาน์เตอร์สายการบินบางกอกแอร์เวย์ส 2 แถวที่ 10พบเจ้าหน้าที่
บริษัทคอยต้อนรับและอํานวยความสะดวก
10.40 น. ออกเดินทางสู่เมืองหลวงพระบาง โดยสายการบินบางกอกแอร์เวย์ส์ เที่ยวบินที่ PG632
12.30 น. ถึงสนามบินหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ผ่านขั้นตอนการตรวจคนเข้าเมืองและศุลกากร
13.30 น. อาหารกลางวันที่ภัตตาคาร
บ่าย นําชมวัดใหม่สุวรรณภูมาราม สร้างโดยพระเจ้าอนุรุทธ์ ในปี พ.ศ.2337 และบูรณะในสมัยพระเจ้า
มันตา ทุราช ในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 24 ทั้งโปรดให้เปลี่ยนชื่อจากเดิมว่า “วัดสุวรรณภุมมาราม”
เป็น “วัดใหม่สุวรรณภูมาราม” วัดแห่งนี้เคยเป็นที่ประดิษฐานพระบางระยะหนึ่งในสมัยของเจ้ามหาชีวิต
16
สักรินทร์ (คําสุก) ซึ่งครองราชย์ในช่วง พ.ศ.2431-2448,นําชมวัดวิชุน สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าวิชุนราช
ราว พ.ศ.2046-2047 มีพระเจดีย์องค์ใหญ่รูปทรงคล้ายแตงโม ชาวลาวเรียกว่า “พระธาตุหมากโม” และ
เคยเป็นที่ประดิษฐานพระบางอีกทั้งเป็นแหล่งรวบรวมผลงานฝีมือสกุลช่างต่างๆ นําชมวัดเชียงทอง วัด
คู่บ้านคู่เมืองของหลวงพระบาง บริเวณที่ตั้งของวัดอยู่ที่ดอนหัวโค้งของแผ่นดินที่มีแม่น้ําคานมาบรรจบกับ
แม่น้ําโขง และเป็นศูนย์รวมของศิลปกรรมแห่งอาณาจักรล้านช้าง ความงามของวัดอยู่ที่ความสงบ สง่า
สะอาด มีการวางผัง ออกแบบ และการบํารุงรักษาอย่างดีเยี่ยม ภายในพระอุโบสถตกแต่งด้วยภาพเขียนสี
ทองบนพื้นชาดแดงด้วยลวดลายอันสูงส่งของราชสํานักพระไชยเชษฐา ชมวิหารประดับกระจก หอพระ
นอน ซึ่งประดิษฐานพระพุทธรูปสําริดปางไสยาสน์อันงดงามที่สุดของเมืองหลวงพระบางขนาดเท่าคนจริง
ชมโรงราชรถและพระโกศที่ใช้ในพระราชพิธีศพของอดีตกษัตริย์ลาว ชมฝีมือการแกะสลักไม้เล่าเรื่องภาพ
รามเกียรติ์นําชมวัดพระบาทใต้ นมัสการพระพุทธบาท อันเป็นที่มาของชื่อวัดที่ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ําโขงชม
พระอาทิตย์อัสดงอันสวยงาม จากนั้นนําเข้าสู่ที่พัก
18.30 น. อาหารค่ําที่ภัตตาคาร
วันที่สอง ตักบาตรข้าวเหนียว-น้ําตกตาดกวงสี-ล่องเรือชมแม่น้ําโขง-ถ้ําติ่ง
05.30 น. เชิญท่านร่วมทําบุญตักบาตรร่วมกับชาวเมืองหลวงพระบาง ที่จะพากันออกมารอตักบาตรกับ
พระภิกษุสามเณรนับร้อยๆ รูป ซึ่งนับเป็นภาพอันน่าประทับใจและมีชีวิตชีวาของเมืองหลวง
พระบาง โดยสะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตของสังคมที่เลื่อมใสศรัทธาในพุทธศาสนา จากนั้นเชิญ
ท่านเดินชมตลาดเช้า ชมบรรยากาศของชาวบ้านที่ออกมาจับจ่ายใช้สอยสินค้าอุปโภคบริโภค
08.00 น. อาหารเช้าในโรงแรม
09.00 น. นําเดินทางสู่น้ําตกตาดกวงสี น้ําตกขนาดกลางที่มีความกว้างประมาณ 70 เมตร มี 2 ชั้นชั้นที่
1 สูง 50 เมตร และชั้นที่ 2 สูง 30 เมตร ชมความสวยงามของน้ําตกที่ใสสะอาดและมีสีเขียวคล้าย
มรกต จากนั้นนําเดินทางกลับสู่หลวงพระบาง
12.00 น. อาหารกลางวันที่ภัตตาคาร
บ่าย นําชมหัตถกรรมพื้นบ้านที่หมู่บ้านผานม ซึ่งเป็นหมู่บ้านไทยลื้อที่อพยพมาจากสิบสอง
17
ปันนา มีชื่อเสียงในด้านการทอผ้าลวดลายสวยงามมากและราคาไม่แพง เชิญเลือกซื้อผ้าทอเป็นของฝาก
จากนั้นนําเดินทางสู่บ้านซ่างไห ชุมชนริมแม่น้ําโขง ชมวิถีชีวิตของชาวบ้านที่อาศัยอยู่ริมแม่น้ําโขงและมี
อาชีพการหมักเหล้าสาโท ต้มเหล้าโรงจําหน่ายพร้อมกันนั้นยังเป็นแหล่งรวมสินค้าพื้นเมืองจําพวกผ้าทอ
ลวดลายสวยงามมากมายจากนั้นนําท่านล่องเรือชมเกาะแก่งและทิวทัศน์สองฝั่งแม่น้ําโขงมุ่งหน้าสู่ถ้ําติ่ง
ซึ่งเป็นถ้ําบนหน้าผาริมฝั่งแม่น้ําโขงซึ่งมีอยู่ 2 ถ้ํา คือ ถ้ําบนและถ้ําล่าง เคยมีพระพุทธรูปทอง เงิน นาก
แต่ปัจจุบันเหลืออยู่แค่เพียงพระพุทธรูปไม้จํานวนนับพันองค์ จากนั้นเชิญอิสระตามอัธยาศัยกับการเดินชม
ตลาดหลวงพระบาง เชิญเลือกซื้อของฝากคนทางบ้านที่เป็นผลงานศิลปหัตถกรรมของท้องถิ่น เช่น เครื่อง
แกะสลักไม้ เครื่องเงิน และผ้าทอราคาถูก
18.00 น. อาหารค่ําที่ภัตตาคาร แล้วนํากลับสู่ที่พัก
วันที่สาม พระธาตุพูศรี-พระราชวังเก่าเจ้ามหาชีวิต-หลวงพระบาง-กรุงเทพฯ
07.30 น. อาหารเช้าในโรงแรม
08.30 น. นําเที่ยวชมเมืองหลวงพระบาง เมืองมรดกโลก อดีตราชธานีของอาณาจักรล้านช้างเกือบ200 ปี
ซึ่งมีชื่อเดิมว่า “ศรีสัตนาคนหุตมะราชธานี” มีความเจริญรุ่งเรืองมากในสมัยเจ้าฟ้างุ้ม จากนั้นนําขึ้น
นมัสการพระธาตุพูศรี และวัดพระศรี ที่ตั้งอยู่บนเนินใจกลางเมืองตรงข้ามพระราชวัง โดยขึ้นบันได 328
ขั้นเพื่อชมบรรยากาศของเมืองที่ทอดผ่านลําน้ําโขงและลําน้ําคาน รายล้อมด้วยขุนเขาเขียวขจีกับความ
สงบของการดําเนินชีวิตอันเรียบง่ายของชาวหลวงพระบาง พร้อมชมวิวทิวทัศน์ของเมือง แล้วนําเข้าชม
พระราชวังเก่าเจ้ามหาชีวิตของลาว นมัสการพระบาง พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของหลวงพระบาง ชม
ความสง่างามที่บริสุทธิ์โปร่งเบาและสมถะ ชมท้องพระโรง เครื่องราชูปโภค และห้องหับต่างๆ ซึ่งครั้งหนึ่ง
เคยเป็นพระราชวังของพระเจ้าแผ่นดินศรีสว่างวัฒนาและเป็นองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์ลาวประทับ ชมท้อง
พระโรงที่ประดับตกแต่งด้วยเครื่องราชูปโภคส่วนพระองค์และพระมเหสี สัมผัสถึงวิถีชีวิตอันเรียบง่ายแห่ง
ราชวงศ์ในสมัยก่อน
11.00 น. อาหารกลางวันที่ภัตตาคาร
12.00 น. นําเดินทางสู่สนามบินหลวงพระบาง
13.30 น. ออกเดินทางกลับสู่กรุงเทพฯ โดยสายการบินบางกอกแอร์เวย์ส เที่ยวบินที่ PG635
การท่องเที่ยวทางจิตวิญญาณ Spiritual tourism
การท่องเที่ยวทางจิตวิญญาณ Spiritual tourism
การท่องเที่ยวทางจิตวิญญาณ Spiritual tourism
การท่องเที่ยวทางจิตวิญญาณ Spiritual tourism
การท่องเที่ยวทางจิตวิญญาณ Spiritual tourism
การท่องเที่ยวทางจิตวิญญาณ Spiritual tourism
การท่องเที่ยวทางจิตวิญญาณ Spiritual tourism
การท่องเที่ยวทางจิตวิญญาณ Spiritual tourism
การท่องเที่ยวทางจิตวิญญาณ Spiritual tourism
การท่องเที่ยวทางจิตวิญญาณ Spiritual tourism
การท่องเที่ยวทางจิตวิญญาณ Spiritual tourism
การท่องเที่ยวทางจิตวิญญาณ Spiritual tourism
การท่องเที่ยวทางจิตวิญญาณ Spiritual tourism
การท่องเที่ยวทางจิตวิญญาณ Spiritual tourism
การท่องเที่ยวทางจิตวิญญาณ Spiritual tourism
การท่องเที่ยวทางจิตวิญญาณ Spiritual tourism
การท่องเที่ยวทางจิตวิญญาณ Spiritual tourism
การท่องเที่ยวทางจิตวิญญาณ Spiritual tourism
การท่องเที่ยวทางจิตวิญญาณ Spiritual tourism
การท่องเที่ยวทางจิตวิญญาณ Spiritual tourism

More Related Content

What's hot

7 1 แนวคิดการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว
7 1  แนวคิดการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว7 1  แนวคิดการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว
7 1 แนวคิดการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวMint NutniCha
 
1 บุุคคลิกภาพของบุคคลากรท่องเที่ยว
1 บุุคคลิกภาพของบุคคลากรท่องเที่ยว1 บุุคคลิกภาพของบุคคลากรท่องเที่ยว
1 บุุคคลิกภาพของบุคคลากรท่องเที่ยวMint NutniCha
 
ความสำคัญของทรัพยากรการท่องเที่ยว
ความสำคัญของทรัพยากรการท่องเที่ยวความสำคัญของทรัพยากรการท่องเที่ยว
ความสำคัญของทรัพยากรการท่องเที่ยวamornsrivisan
 
การท่องเที่ยวยั่งยืน
การท่องเที่ยวยั่งยืนการท่องเที่ยวยั่งยืน
การท่องเที่ยวยั่งยืนDr.Pirun Chinachot
 
บุคลิกภาพ จรรยาบรรณและจริยธรรมทางวิชาชีพผู้นําเที่ยว
บุคลิกภาพ จรรยาบรรณและจริยธรรมทางวิชาชีพผู้นําเที่ยวบุคลิกภาพ จรรยาบรรณและจริยธรรมทางวิชาชีพผู้นําเที่ยว
บุคลิกภาพ จรรยาบรรณและจริยธรรมทางวิชาชีพผู้นําเที่ยวSomyot Ongkhluap
 
1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับธุรกิจท่องเที่ยว
1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับธุรกิจท่องเที่ยว1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับธุรกิจท่องเที่ยว
1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับธุรกิจท่องเที่ยวMint NutniCha
 
การอนุรักษ์ทรัพยากรการท่องเที่ยว
การอนุรักษ์ทรัพยากรการท่องเที่ยวการอนุรักษ์ทรัพยากรการท่องเที่ยว
การอนุรักษ์ทรัพยากรการท่องเที่ยวSomyot Ongkhluap
 
8 2 พฤติกรรมนักท่องเที่ยว
8 2 พฤติกรรมนักท่องเที่ยว 8 2 พฤติกรรมนักท่องเที่ยว
8 2 พฤติกรรมนักท่องเที่ยว Mint NutniCha
 
แบบโครงการท่องเที่ยว
แบบโครงการท่องเที่ยวแบบโครงการท่องเที่ยว
แบบโครงการท่องเที่ยวZ'Jame Clup
 
บทที่ 4 การคมนาคมขนส่งในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
บทที่ 4 การคมนาคมขนส่งในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวบทที่ 4 การคมนาคมขนส่งในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
บทที่ 4 การคมนาคมขนส่งในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว재 민 Praew 김
 
2.ตลาดท่องเที่ยว
2.ตลาดท่องเที่ยว2.ตลาดท่องเที่ยว
2.ตลาดท่องเที่ยวchickyshare
 
ความรู้เกี่ยวกับเครื่องดื่ม
ความรู้เกี่ยวกับเครื่องดื่มความรู้เกี่ยวกับเครื่องดื่ม
ความรู้เกี่ยวกับเครื่องดื่มBenjamas Kamma
 
7 5 มาตรฐานและการประเมินแหล่งท่องเที่ยว
7 5 มาตรฐานและการประเมินแหล่งท่องเที่ยว7 5 มาตรฐานและการประเมินแหล่งท่องเที่ยว
7 5 มาตรฐานและการประเมินแหล่งท่องเที่ยวMint NutniCha
 
การท่องเที่ยว
การท่องเที่ยวการท่องเที่ยว
การท่องเที่ยวArtitayamontree
 
บทที่ ๓ ระบบการท่องเที่ยวและองค์ประกอบของอุตสาหกรรมการ
บทที่ ๓ ระบบการท่องเที่ยวและองค์ประกอบของอุตสาหกรรมการบทที่ ๓ ระบบการท่องเที่ยวและองค์ประกอบของอุตสาหกรรมการ
บทที่ ๓ ระบบการท่องเที่ยวและองค์ประกอบของอุตสาหกรรมการpraphol
 
คำกล่าวรายงาน คำกล่าวปิด
คำกล่าวรายงาน คำกล่าวปิดคำกล่าวรายงาน คำกล่าวปิด
คำกล่าวรายงาน คำกล่าวปิดkrisdika
 
ธุรกิจโรงแรม
ธุรกิจโรงแรมธุรกิจโรงแรม
ธุรกิจโรงแรมBenjamas Kamma
 

What's hot (20)

T guide2
T  guide2T  guide2
T guide2
 
7 1 แนวคิดการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว
7 1  แนวคิดการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว7 1  แนวคิดการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว
7 1 แนวคิดการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว
 
1 บุุคคลิกภาพของบุคคลากรท่องเที่ยว
1 บุุคคลิกภาพของบุคคลากรท่องเที่ยว1 บุุคคลิกภาพของบุคคลากรท่องเที่ยว
1 บุุคคลิกภาพของบุคคลากรท่องเที่ยว
 
แนวข้อสอบ 100 ข้อ
แนวข้อสอบ  100  ข้อแนวข้อสอบ  100  ข้อ
แนวข้อสอบ 100 ข้อ
 
ความสำคัญของทรัพยากรการท่องเที่ยว
ความสำคัญของทรัพยากรการท่องเที่ยวความสำคัญของทรัพยากรการท่องเที่ยว
ความสำคัญของทรัพยากรการท่องเที่ยว
 
การท่องเที่ยวยั่งยืน
การท่องเที่ยวยั่งยืนการท่องเที่ยวยั่งยืน
การท่องเที่ยวยั่งยืน
 
บุคลิกภาพ จรรยาบรรณและจริยธรรมทางวิชาชีพผู้นําเที่ยว
บุคลิกภาพ จรรยาบรรณและจริยธรรมทางวิชาชีพผู้นําเที่ยวบุคลิกภาพ จรรยาบรรณและจริยธรรมทางวิชาชีพผู้นําเที่ยว
บุคลิกภาพ จรรยาบรรณและจริยธรรมทางวิชาชีพผู้นําเที่ยว
 
1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับธุรกิจท่องเที่ยว
1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับธุรกิจท่องเที่ยว1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับธุรกิจท่องเที่ยว
1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับธุรกิจท่องเที่ยว
 
การอนุรักษ์ทรัพยากรการท่องเที่ยว
การอนุรักษ์ทรัพยากรการท่องเที่ยวการอนุรักษ์ทรัพยากรการท่องเที่ยว
การอนุรักษ์ทรัพยากรการท่องเที่ยว
 
T guide1
T guide1T guide1
T guide1
 
8 2 พฤติกรรมนักท่องเที่ยว
8 2 พฤติกรรมนักท่องเที่ยว 8 2 พฤติกรรมนักท่องเที่ยว
8 2 พฤติกรรมนักท่องเที่ยว
 
แบบโครงการท่องเที่ยว
แบบโครงการท่องเที่ยวแบบโครงการท่องเที่ยว
แบบโครงการท่องเที่ยว
 
บทที่ 4 การคมนาคมขนส่งในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
บทที่ 4 การคมนาคมขนส่งในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวบทที่ 4 การคมนาคมขนส่งในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
บทที่ 4 การคมนาคมขนส่งในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
 
2.ตลาดท่องเที่ยว
2.ตลาดท่องเที่ยว2.ตลาดท่องเที่ยว
2.ตลาดท่องเที่ยว
 
ความรู้เกี่ยวกับเครื่องดื่ม
ความรู้เกี่ยวกับเครื่องดื่มความรู้เกี่ยวกับเครื่องดื่ม
ความรู้เกี่ยวกับเครื่องดื่ม
 
7 5 มาตรฐานและการประเมินแหล่งท่องเที่ยว
7 5 มาตรฐานและการประเมินแหล่งท่องเที่ยว7 5 มาตรฐานและการประเมินแหล่งท่องเที่ยว
7 5 มาตรฐานและการประเมินแหล่งท่องเที่ยว
 
การท่องเที่ยว
การท่องเที่ยวการท่องเที่ยว
การท่องเที่ยว
 
บทที่ ๓ ระบบการท่องเที่ยวและองค์ประกอบของอุตสาหกรรมการ
บทที่ ๓ ระบบการท่องเที่ยวและองค์ประกอบของอุตสาหกรรมการบทที่ ๓ ระบบการท่องเที่ยวและองค์ประกอบของอุตสาหกรรมการ
บทที่ ๓ ระบบการท่องเที่ยวและองค์ประกอบของอุตสาหกรรมการ
 
คำกล่าวรายงาน คำกล่าวปิด
คำกล่าวรายงาน คำกล่าวปิดคำกล่าวรายงาน คำกล่าวปิด
คำกล่าวรายงาน คำกล่าวปิด
 
ธุรกิจโรงแรม
ธุรกิจโรงแรมธุรกิจโรงแรม
ธุรกิจโรงแรม
 

Similar to การท่องเที่ยวทางจิตวิญญาณ Spiritual tourism

วิวัฒนาการทางเศรษฐกิจของโลก
วิวัฒนาการทางเศรษฐกิจของโลกวิวัฒนาการทางเศรษฐกิจของโลก
วิวัฒนาการทางเศรษฐกิจของโลกwathanasin38
 
หน่วยที่ 4 โรคทางพันธุกรรมและโรคจากการประกอบอาชีพ
หน่วยที่ 4 โรคทางพันธุกรรมและโรคจากการประกอบอาชีพหน่วยที่ 4 โรคทางพันธุกรรมและโรคจากการประกอบอาชีพ
หน่วยที่ 4 โรคทางพันธุกรรมและโรคจากการประกอบอาชีพTerapong Piriyapan
 
อาหารสุขภาพ 5
อาหารสุขภาพ 5อาหารสุขภาพ 5
อาหารสุขภาพ 5Utai Sukviwatsirikul
 
Biodiversity.pptkokokiojiojiojiojiojijkjkij
Biodiversity.pptkokokiojiojiojiojiojijkjkijBiodiversity.pptkokokiojiojiojiojiojijkjkij
Biodiversity.pptkokokiojiojiojiojiojijkjkijTonnhawKimpai
 
สุทธิวัสส์ คำภา นาฬิกาชีวิต
สุทธิวัสส์ คำภา   นาฬิกาชีวิตสุทธิวัสส์ คำภา   นาฬิกาชีวิต
สุทธิวัสส์ คำภา นาฬิกาชีวิตTongsamut vorasan
 
อาหารสุขภาพ 1
อาหารสุขภาพ 1อาหารสุขภาพ 1
อาหารสุขภาพ 1Utai Sukviwatsirikul
 
หนังสือ ข้อมูลสมุนไพรจีน (เมชฌ สอดส่องกฤษ พ.ศ. 2558) สำนักงานส่งเสริมบริหารงา...
หนังสือ ข้อมูลสมุนไพรจีน (เมชฌ สอดส่องกฤษ พ.ศ. 2558) สำนักงานส่งเสริมบริหารงา...หนังสือ ข้อมูลสมุนไพรจีน (เมชฌ สอดส่องกฤษ พ.ศ. 2558) สำนักงานส่งเสริมบริหารงา...
หนังสือ ข้อมูลสมุนไพรจีน (เมชฌ สอดส่องกฤษ พ.ศ. 2558) สำนักงานส่งเสริมบริหารงา...Vorawut Wongumpornpinit
 
มรดกอารยธรรมโลก
มรดกอารยธรรมโลกมรดกอารยธรรมโลก
มรดกอารยธรรมโลกHeritagecivil Kasetsart
 
ปลิงบำบัด 4/5
ปลิงบำบัด 4/5ปลิงบำบัด 4/5
ปลิงบำบัด 4/5aeay555
 
พื้นฐานชีวิต 15.pptx
พื้นฐานชีวิต 15.pptxพื้นฐานชีวิต 15.pptx
พื้นฐานชีวิต 15.pptxSunnyStrong
 
โครงงานครั้งที่ 2.ppt โพรไบโอติก
โครงงานครั้งที่ 2.ppt โพรไบโอติกโครงงานครั้งที่ 2.ppt โพรไบโอติก
โครงงานครั้งที่ 2.ppt โพรไบโอติกiooido
 
โครงงานครั้งที่ 2.ppt โพรไบโอติก
โครงงานครั้งที่ 2.ppt โพรไบโอติกโครงงานครั้งที่ 2.ppt โพรไบโอติก
โครงงานครั้งที่ 2.ppt โพรไบโอติกiooido
 

Similar to การท่องเที่ยวทางจิตวิญญาณ Spiritual tourism (13)

วิวัฒนาการทางเศรษฐกิจของโลก
วิวัฒนาการทางเศรษฐกิจของโลกวิวัฒนาการทางเศรษฐกิจของโลก
วิวัฒนาการทางเศรษฐกิจของโลก
 
หน่วยที่ 4 โรคทางพันธุกรรมและโรคจากการประกอบอาชีพ
หน่วยที่ 4 โรคทางพันธุกรรมและโรคจากการประกอบอาชีพหน่วยที่ 4 โรคทางพันธุกรรมและโรคจากการประกอบอาชีพ
หน่วยที่ 4 โรคทางพันธุกรรมและโรคจากการประกอบอาชีพ
 
อาหารสุขภาพ 5
อาหารสุขภาพ 5อาหารสุขภาพ 5
อาหารสุขภาพ 5
 
Biodiversity.pptkokokiojiojiojiojiojijkjkij
Biodiversity.pptkokokiojiojiojiojiojijkjkijBiodiversity.pptkokokiojiojiojiojiojijkjkij
Biodiversity.pptkokokiojiojiojiojiojijkjkij
 
Biodiversity.ppt
Biodiversity.pptBiodiversity.ppt
Biodiversity.ppt
 
สุทธิวัสส์ คำภา นาฬิกาชีวิต
สุทธิวัสส์ คำภา   นาฬิกาชีวิตสุทธิวัสส์ คำภา   นาฬิกาชีวิต
สุทธิวัสส์ คำภา นาฬิกาชีวิต
 
อาหารสุขภาพ 1
อาหารสุขภาพ 1อาหารสุขภาพ 1
อาหารสุขภาพ 1
 
หนังสือ ข้อมูลสมุนไพรจีน (เมชฌ สอดส่องกฤษ พ.ศ. 2558) สำนักงานส่งเสริมบริหารงา...
หนังสือ ข้อมูลสมุนไพรจีน (เมชฌ สอดส่องกฤษ พ.ศ. 2558) สำนักงานส่งเสริมบริหารงา...หนังสือ ข้อมูลสมุนไพรจีน (เมชฌ สอดส่องกฤษ พ.ศ. 2558) สำนักงานส่งเสริมบริหารงา...
หนังสือ ข้อมูลสมุนไพรจีน (เมชฌ สอดส่องกฤษ พ.ศ. 2558) สำนักงานส่งเสริมบริหารงา...
 
มรดกอารยธรรมโลก
มรดกอารยธรรมโลกมรดกอารยธรรมโลก
มรดกอารยธรรมโลก
 
ปลิงบำบัด 4/5
ปลิงบำบัด 4/5ปลิงบำบัด 4/5
ปลิงบำบัด 4/5
 
พื้นฐานชีวิต 15.pptx
พื้นฐานชีวิต 15.pptxพื้นฐานชีวิต 15.pptx
พื้นฐานชีวิต 15.pptx
 
โครงงานครั้งที่ 2.ppt โพรไบโอติก
โครงงานครั้งที่ 2.ppt โพรไบโอติกโครงงานครั้งที่ 2.ppt โพรไบโอติก
โครงงานครั้งที่ 2.ppt โพรไบโอติก
 
โครงงานครั้งที่ 2.ppt โพรไบโอติก
โครงงานครั้งที่ 2.ppt โพรไบโอติกโครงงานครั้งที่ 2.ppt โพรไบโอติก
โครงงานครั้งที่ 2.ppt โพรไบโอติก
 

การท่องเที่ยวทางจิตวิญญาณ Spiritual tourism

  • 2. 2 ความนํา วัฒนธรรมมีขอบเขตที่กว้างขวางด้วยคือทุกสิ่งทุกอย่างที่มนุษย์สร้างทําขึ้น มนุษย์สร้างสรรค์วัฒนธรรมมา ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ผ่านสมัยประวัติศาสตร์เข้าสู่ยุคปัจจุบัน โดยพื้นฐานแล้ว มนุษย์โลกมีความต้องการ ทางร่างกาย 4 อย่างคือ ความหิวโหย ความร้อน หนาว ความหวาดกลัว และความป่วยไข้ การสร้างสรรค์ปัจจัย 4 ได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค เป็นการกระทําที่ช่วยให้ร่างกายอยู่รอดและเจริญพันธุ์ ต่อไป กระนั้นตลอดชีวิตมนุษย์ยังต้องการพักผ่อนและเพลิดเพลิน เพราะการเดินทางท่องเที่ยวเป็นโอกาสหนึ่งที่ ช่วยเพิ่มสีสันให้กับชีวิตจากประสบการณ์ใหม่ๆ ที่ผ่านเข้ามา สิ่งที่พบอาจได้แก่ ธรรมชาติ หรือสิ่งที่เกิดจากการ กระทําของมนุษย์ที่เรียกตามศัพท์บัญญัติว่าวัฒนธรรม คือทุกสิ่งทุกอย่างที่มนุษย์สร้างขึ้น มนุษย์สร้างสิ่งต่างๆ เพื่อ อํานวยความสะดวกสบายให้กับชีวิต สิ่งที่มนุษย์สร้างสรรค์มีทั้งวัตถุที่สามารถหยิบถือหรือลองชิม เพื่อรู้ผลได้ โดยเร็ว และส่วนที่ไม่ใช่วัตถุแต่ก็สัมผัสได้ด้วยความรู้สึก ความคิด และจินตนาการ อาหาร บ้านเรือน เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค และข้าวของเครื่องใช้อื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องด้วยปัจจัยจําเป็นต่อการดําเนินชีวิต เป็นของที่ทําความคุ้นเคย ได้ไม่ยากนัก แต่คงต้องใช้เวลาพอสมควรกว่าจะรับรู้เรื่องราวที่รังสรรค์ออกมาในรูปของศิลปะ ประเพณี และ พิธีกรรม ซึ่งแฝงไว้ซึ่งค่านิยมอุดมการณ์ และปรัชญานานาประการ ปกติระหว่างการเดินทางท่องเที่ยว ผู้มาเยือน จะได้มีประสบการณ์กับธรรมชาติและวัฒนธรรมในถิ่นที่ไปเยี่ยมเยือนอยู่เสมอ จะได้ประสบการณ์ใหม่ๆมากน้อย เพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง อย่างแรก คือ ความอยากรู้อยากเห็นที่จะกระตุ้นให้ตื่นเต้นกับสิ่งใหม่ อย่าง ที่สอง คือ ความแปลกแตกต่าง สิ่งใหม่ที่แตกต่างไปจากประสบการณ์เก่าโดยสิ้นเชิงย่อมเร้าให้อยากรู้จักมากเป็น พิเศษ ยิ่งสามารถทําความคุ้นเคยกับสิ่งใหม่ได้เร็วและเห็นว่าเป็นของมีประโยชน์ก็อาจรับประสบการณ์ใหม่เข้าเป็น ส่วนหนึ่งของชีวิต การเดินทางเพื่อหาประสบการณ์ในต่างถิ่นเป็นความต้องการที่มีอยู่ตลอด เพราะความซ้ําซาก ผลักดันให้ใฝ่หาสิ่งใหม่เพื่อเติมเต็มความอยากรู้อยากเห็น โดยทั่วไปมนุษย์รับรู้เรื่องราวต่างๆ ได้ด้วยการเรียนที่ ได้รับการอบรมสั่งสอนมาและการลอกเลียนแบบอย่างผู้อื่นด้วยการลองผิดลองถูก รู้เรื่องนี้แล้วก็อยากรู้อยากทํา อย่างอื่นอีกการได้เดินทางท่องเที่ยวเปิดโอกาสให้ได้รู้เห็นความเป็นไปของโลกรอบตัวเพิ่มขึ้น การเดินทางท่องเที่ยว เป็นหนทางนําไปสู่การเรียนรู้อย่างเป็นธรรมชาติอย่างมาก คือทั้งได้เห็น ได้ฟัง และอาจได้ลองทําในสิ่งที่ประสบอยู่ ความสนุกเพลิดเพลินและการได้พักผ่อนระหว่างเดินทาง ช่วยเพิ่มความสดชื่นให้อย่างน่าพึงพอใจ อย่างน้อยก็ทํา ให้ห่างออกไปจากความจําเจระยะหนึ่ง
  • 3. 3 ข้อเขียนนี้มีเป้าหมายนําเสนอเรื่องราวของการท่องเที่ยววัฒนธรรมที่สัมพันธ์กับมิติต่างๆของศาสนาความ เชื่อโดยแบ่งเนื้อหาอกเป็นส่วนๆ กล่าวคือ ส่วนที่หนึ่ง อภิปรายแนวคิดองค์รวม(Holistic approach)และแนวคิด วัฒนธรรมซึ่งเป็นแนวคิดสําคัญที่ใช้อรรถธิบายความเกี่ยวข้องระหว่างการท่องเที่ยวกับศาสนาความเชื่อ ส่วนที่สอง นําเสนอข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับศาสนาความเชื่อตามที่ปรากฏในสังคมต่างๆ ซึ่งจําเป็นต้องทราบถึงความแตกต่าง ระหว่างพฤติกรรมที่เข้าข่ายไสยศาสตร์(magic)และพฤติกรรมที่จัดว่าอยู่ในความหมายของศาสนา(religion) รวมทั้งบทบาทหน้าที่ศาสนาความเชื่อต่อสังคม ส่วนที่สาม เป็นข้อมูลสําคัญที่ชี้ให้เห็นการท่องเที่ยวทางจิตวิญญาน ความเชื่อตามที่ปรากฏในโอกาสต่างๆ เช่นการท่องเที่ยวทางจิตวิญญานความเชื่อยามปกติทั่วไป การท่องเที่ยวทาง จิตวิญญานที่จัดขึ้นในเทศกาลงานประจําปี และการท่องเที่ยวทางจิตวิญญานที่จัดขึ้นในโอกาสพิเศษ(event tourism and invented tradition) ส่วนที่สี่ ว่าด้วยการจัดการท่องเที่ยวทางจิตวิญญานอย่างยั่งยืน พร้อมเสนอ แนวทางการศึกษาวิจัยการท่องเที่ยวทางจิตวิญญาน เพื่ออภิปรายถึงความเป็นสากลของการท่องเที่ยวทางจิต วิญญาน ผู้เขียนได้นําตัวอย่างการท่องเที่ยวทางจิตวิญญานที่ปรากฏในแหล่งท่องเที่ยวเด่นๆของโลกควบคู่ไปกับ การท่องเที่ยวทางจิตวิญญานที่มีอยู่ในภูมิภาคต่างๆของประเทศไทย อนึ่งข้อเขียนนี้ได้ปรับบางส่วนมาจาก “ตํารา การท่องเที่ยววัฒนธรรม”(พ.ศ.2552)ที่เป็นเอกสารใช้ในการเรียนการวิชาสอน การจัดการท่องเที่ยววัฒนธรรม ระดับบัณฑิตศึกษา และระดับมหาบัณฑิต ในคณะวิทยาการจัดการ และคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร รศ. ชนัญ วงษ์วิภาค มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • 4. 4 1.กรอบแนวคิดเกี่ยวกับวัฒนธรรม วัฒนธรรมคือเรื่องราวของมนุษย์จึงย่อมมีแง่มุมด้านต่างๆ ที่ประกอบกันขึ้นมาเป็นตัวตนหรือเป็น เอกลักษณ์ หากจะจัดกลุ่มการกระทําของมนุษย์ออกเป็น 7 หมวดหมู่ก็พอรวมได้ว่าเป็นการกระทําที่ว่าด้วยเรื่อง ของการทํามาหากิน (เศรษฐกิจ) การจัดระเบียบความสัมพันธ์ของคนในครอบครัวและเครือญาติ การศึกษา การเมืองการปกครอง การสาธารณสุข นันทนาการ และศาสนาความเชื่อนักสังคมศาสตร์ชอบเปรียบเทียบการ ทํางานของส่วนประกอบวัฒนธรรมดังกล่าวว่าคล้ายกันกับการทํางานของอวัยวะต่างๆ ของร่างกายที่ทุกส่วนต้อง สัมพันธ์เกื้อกูลกันในอันที่จะขับเคลื่อนต่อไปได้ ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงในส่วนใดส่วนหนึ่งขององค์ประกอบก็จะส่งผล กระทบส่วนประกอบอื่นๆ ของโครงสร้างเดิม การพิจารณาวัฒนธรรมด้วยแนวคิดองค์รวม (holistic approach) หรือแนวคิดระบบ(system approach) ตามที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในช่วงปี ค.ศ.1930 (Leiper, 1995) อย่างที่กล่าวมานี้สําคัญอย่างมากต่อการกระทําใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรม โดยเฉพาะการจัดวัฒนธรรมให้เป็น ทรัพยากรสําหรับธุรกิจการท่องเที่ยวซึ่งเป็นการกระทําที่เข้าข่ายการประยุกต์วัฒนธรรมเพื่อให้เป็นไปตาม เป้าหมายของการพัฒนาขีดความสามารถของการท่องเที่ยว ดังได้กล่าวมาข้างต้นแล้วว่าธุรกิจการท่องเที่ยวต้อง อาศัยการบริการจากงานด้านต่างๆ เป็นจํานวนมาก อธิบายด้วยแนวคิดองค์รวมหรือระบบจึงเห็นได้ว่าการ ท่องเที่ยวเป็นโครงสร้างที่ประกอบด้วยส่วนต่างๆ ที่ต้องพึ่งพาอาศัยกันอยู่ตลอดเวลา หากเปรียบระหว่างการ ท่องเที่ยวภายในประเทศและการท่องเที่ยวนานาชาติก็ยิ่งปรากฏชัดว่าการท่องเที่ยวที่มาจากต่างประเทศจะมี ภารกิจที่ซับซ้อนที่ผู้ซึ่งเกี่ยวข้องต้องร่วมมือกันอย่างมากเพื่อให้การท่องเที่ยวก้าวไปข้างหน้าต่อไปได้ ในทํานอง เดียวกัน ถ้าจะลองพิจารณาการท่องเที่ยววัฒนธรรมอย่างเป็นองค์รวมหรือเป็นระบบก็จะได้ภาพเครือข่ายที่โยงใย บริบทของวัฒนธรรมด้านต่างๆที่ประกอบกันเป็นโครงสร้างที่ซับซ้อนเช่นกัน บริบทวัฒนธรรมประการแรกที่ควรรับทราบคือแนวคิดเกี่ยวกับวัฒนธรรมใหญ่และวัฒนธรรมย่อย เวลา กล่าวถึงวัฒนธรรมของประเทศชาติใดๆ เช่น วัฒนธรรมจีน ญี่ปุ่น ลังกา พม่าขอม ฯลฯ ก็จะหมายความถึงแบบ แผนการดําเนินชีวิตของคนในประเทศนั้นๆ โดยรวม เราจึงพอทราบว่ารัฐชาติแต่ละรัฐชาติมีเอกภาพทางวัฒนธรรม อย่างไรที่พอระบุได้ในเบื้องต้นว่าแตกต่างไปจาเอกภาพทางวัฒนธรรมของคนในรัฐชาติอื่น บุคคลภายนอกเช่น ชาวตะวันตกจึงพอเห็นในเบื้องต้นว่าวัฒนธรรมพม่า ลาว กัมพูชา และไทย ระดับรัฐชาตินั้นเป็นแบบแผนชีวิตที่มี
  • 5. 5 อิทธิพลของความเชื่อที่เนื่องในพุทธศาสนาอยู่มาก อย่างไรก็ตามในรัฐชาติต่างๆ ก็มักจะประกอบด้วยคนกลุ่มต่างๆ ที่ยังดําเนินชีวิตตามครรลองที่สืบทอดมาแต่บรรพบุรุษเมื่ออยู่เฉพาะในกลุ่มคนพวกเดียวกันพุทธศาสนาแบบ ชาวบ้านมีอิทธิพลอยู่ในความคิดปรัชญาชีวิตของชาวพม่า ลาว กัมพูชา และไทยขณะเดียวกันผู้คนในกลุ่มประเทศ แถบนี้ก็ยังมีความเชื่อในภูตผีวิญญาณระดับต่างๆ อยู่ด้วยเช่นกันเฉพาะในเขตประเทศไทยที่ประกอบด้วยผู้คนที่ตั้ง ถิ่นฐานอยู่ตามที่ขุนเขาและในที่ราบลุ่มก็คงมีความเชื่อในอํานาจเหนือธรรมชาติแตกต่างกันออกไป ความเชื่อใน ภูตผีวิญญาณและสิ่งเหนือธรรมชาติทั้งหลายแฝงอยู่ในวงจรชีวิตทั้งในยามปกติและในภาวะวิกฤติรูปแบบต่างๆ ความมีเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมใหญ่ท่ามกลางความหลากหลายแห่งวัฒนธรรมย่อยของดินแดนเอเชียตะวันออก เฉียงใต้เป็นสิ่งดึงดูดใจนักท่องเที่ยวจากต่างแดนยิ่งนัก แต่ด้วยข้อจํากัดในแง่ของขนาดกลุ่มนักท่องเที่ยวและ ระยะเวลาที่ท่องเที่ยว จึงเป็นที่น่าสังเกตว่านักท่องเที่ยวที่มาเป็นหมู่คณะใหญ่ (mass tour) จะได้สัมผัสกับ วัฒนธรรมของรัฐชาติขณะที่นักท่องเที่ยวทางเลือกซึ่งมาเป็นกลุ่มเล็กๆ และมีเวลามากพอที่จะไปเยือนตามแหล่ง ท่องเที่ยวในท้องถิ่นก็ย่อมมีโอกาสได้รับรู้และซึมซับวัฒนธรรมระดับชาติและระดับท้องถิ่นได้ ความสัมพันธ์ระหว่าง นักท่องเที่ยวและทรัพยากรท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมคือสาระสําคัญที่ได้พิจารณาไว้ในบทที่ 3 บริบทวัฒนธรรมประการที่ 2 ที่สัมพันธ์กับการท่องเที่ยว คือแนวคิดที่ว่าด้วยวัฒนธรรมหลวงและ วัฒนธรรมราษฎร์ ตามพัฒนาการทางประวัติศาสตร์นั้นการจัดระเบียบทางสังคมได้แบ่งคนออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ ชนชั้นเจ้าขุนมูลนาย และชนชั้นบ่าวไพร่หรือสามัญชนทั่วไป ในอดีตชนชั้นเจ้านายมักมีโอกาสในเรื่องต่างๆ และมาตรฐานการดําเนินชีวิตดีกว่าคนอื่นๆ ในสังคม การกระจุกตัวอยู่ท่ามกลางศูนย์รวมของประเทศ ชนชั้น เจ้านายจึงได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมที่มาจากภายนอก(ประเทศ) ไว้มาก มีประเพณีพิธีกรรมที่บ่งย้ําความเป็นทางการ และความศักดิ์สิทธิ์สูงส่งของความเป็นผู้นําอยู่เสมอ ประเพณีในราชสํานักที่จัดขึ้นในโอกาสต่างๆ คือตัวอย่างยืนยัน เอกลักษณ์ของวัฒนธรรมหลวงส่วนหนึ่ง ส่วนวัฒนธรรมราษฎร์คือแบบอย่างการดําเนินชีวิตของประชากรส่วนใหญ่ ของสังคมที่อาศัยการเกษตรกรรมเพื่อการยังชีพเป็นสําคัญ การจัดระเบียบชีวิตจึงสัมพันธ์กับดินฟ้าอากาศและการ ทํามาหากินอยู่มาก วัฒนธรรมราษฎร์น่าจะเป็นตัวอย่างที่ดีที่สะท้อนถึงการปรับตัวของคนในท้องถิ่นต่อ สภาพแวดล้อม ดังจะเห็นได้จากการสร้างสรรค์ปัจจัย 4 เพื่อสนองความต้องการจําเป็นของชีวิตส่วนใหญ่จะได้มา จากทรัพยากรธรรมชาติที่แวดล้อมผนวกกับภูมิปัญญาที่สืบสานมาแต่บรรพบุรุษ ปัจจัยหนึ่งที่ส่งเสริมให้การ ท่องเที่ยวไทยก้าวหน้าขึ้นมาเป็นอันดับต้นๆ ของภูมิภาคแถบนี้ก็คือ ทรัพยากรท่องเที่ยวที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมหลวง และวัฒนธรรมราษฎร์ ในช่วงของการรณรงค์ปีการท่องเที่ยวไทยหลายๆ ครั้งที่ผ่านมาได้มีความพยายามที่จะจัดให้
  • 6. 6 มีพิธีประเพณีของหลวงและของราษฎร์เป็นกรณีพิเศษอยู่เนืองๆ ในโอกาสปกติที่มีพิธีประเพณีตามธรรมเนียม ดั้งเดิมก็ชื่นชมกันว่าเป็นพิธีประเพณีที่เลิศหรูยิ่งในการจัดพิเศษเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวนานาชาติ ก็เห็นว่าจัดงานกัน ได้อลังการยิ่งนัก กระนั้นก็เป็นที่น่าสังเกตว่ายิ่งปรุงแต่งวัฒนธรรมมากเท่าไร ภาพที่ปรากฏออกมาก็ดูเหมือนจะ เป็นของในอุดมคติมากกว่าที่เคยปรากฏจริงในยามปกติ โดยเฉพาะการท่องเที่ยวที่มาเป็นหมู่คณะใหญ่ก็น่าที่จะได้ สัมผัสกับวัฒนธรรมตามอุดมคติค่อนข้างมาก ขณะที่นักท่องเที่ยวทางเลือกมีโอกาสที่จะได้รับรู้ความเป็นจริงจาก เนื้อหาสาระของวัฒนธรรมมากกว่า บริบทวัฒนธรรมประการที่ 3 เป็นธรรมชาติอย่างหนึ่งของวัฒนธรรมที่จะมีการเปลี่ยนแปลงและการ สืบเนื่อง วัฒนธรรมก่อเกิดจากมูลเหตุการประดิษฐ์คิดค้นและการรับแบบอย่างจากต่างถิ่น ความจําเป็นต่อความ อยู่รอด และการตอบสนองการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเป็นปัจจัยผลักดันให้มนุษย์ต้องคิดหาหนทางเพื่อปรับตัวให้ ผ่านพ้นภาวะที่กําลังเผชิญ สังคมโลกก้าวหน้ามีพัฒนาการด้านต่างๆ อย่างที่เห็นทุกวันนี้ก็เพราะการคิดค้นสิ่งใหม่ที่ มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับสภาพแวดล้อม ณ ขณะนั้น กระนั้นมนุษย์ทุกผู้ทุกนามก็มิได้มีความสามารถที่จะ เป็นนักประดิษฐ์มาตั้งแต่เกิด แต่ได้อาศัยการเลียนแบบอย่างจากผู้อื่นเพื่อปรับผันตนให้เท่าทันยุคสมัย พฤติกรรม เช่นนี้มีมาตั้งแต่บรรพกาลอย่างที่ประวัติศาสตร์วัฒนธรรมไทยระบุไว้ว่า ในสมัยโบราณไทยรับอิทธิพลจากอารย ธรรมอินเดียและขอมผสมผสานไปกับรากเหง้าวัฒนธรรมท้องถิ่น พอมาถึงยุครัตนโกสินทร์คนจีนที่อพยพเข้ามาตั้ง รกรากในสยามได้นําแบบแผนชีวิตใหม่ๆ เข้ามาเผยแพร่ โดยเฉพาะการค้าขายการช่าง อีกทั้งอาหารการกิน ช่วง หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา อิทธิพลวัฒนธรรมตะวันตกที่ปรากฏอยู่ในวัฒนธรรมหลวงตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 ก็ขยายขอบเขตจากศูนย์กลางของประเทศสู่สามัญชน เห็นได้ชัดจากวัฒนธรรมการบริโภคที่เพิ่มปริมาณตาม กระแสธารของโลกาภิวัตน์ กระนั้นหากพิจารณาแบบแผนชีวิตคนไทยอย่างลุ่มลึกก็จะพบว่า คนรุ่นลูกรุ่นหลานใน ปัจจุบันก็ยังคงสืบสานภูมิปัญญาหลายอย่างที่บรรพบุรุษเคยถือปฏิบัติมาแต่กาลก่อน แม้ว่าความเป็นตัวตนของคน ไทยสมัยใหม่จะไม่เข้มข้นเท่าคนยุคก่อนก็ตาม ในบรรดาแบบแผนชีวิตทั้งมวลนั้น การสร้างปฏิสัมพันธ์อย่างมี อัธยาศัยด้วยไมตรีนับเป็นเสน่ห์หนึ่งที่ยังคงสร้างความประทับใจให้แก่แขกผู้มาเยือน การท่องเที่ยวพักผ่อนระยะ ยาว (long stay) ที่รัฐมีเป้าหมายดึงดูดนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติผู้เกษียณอายุแล้วให้เข้ามาพํานักในเมืองไทยได้ผล ยิ่งขึ้นก็ด้วยวัฒนธรรมความเอื้ออารีแบบไทยๆ นั่นเอง
  • 7. 7 1. 1 ลักษณะสังคมและวัฒนธรรมไทยในบริบทของการท่องเที่ยว ดังได้กล่าวมาก่อนหน้านี้บ้างแล้วว่า วัฒนธรรมไทยมีพัฒนาการมายาวนานจากการผสมผสานพื้นฐานของ ท้องถิ่นกับอิทธิพลของอารยธรรมอินเดียและขอม ต้นสมัยรัตนโกสินทร์วัฒนธรรมจีนเริ่มเข้ามามีบทบาทต่อวิถีชีวิต ของคนไทยยิ่งขึ้นตามการอพยพเข้ามาของชาวจีนโพ้นทะเลช่วงต่างๆ (สกินเนอร์, 2548) พอมาถึงสมัยรัชกาลที่ 4 ภัยคุกคามจากลัทธิจักรวรรดินิยมทําให้ไทยต้องเปิดพื้นที่ทางวัฒนธรรมให้แบบแผนความเป็นอยู่ของชาวตะวันตก เข้ามาแทรกตัวอยู่ในแวดวงสังคมไทย การผสมเอาลักษณะทางวัฒนธรรมต่างๆ เข้ามารับใช้ผู้คนในสังคมไทยมี ปรากฏอยู่ในเรื่องต่างๆ ตามที่ผู้รับวัฒนธรรมอย่างคนไทยจะเห็นเหมาะสม อาทิ ในเรื่องของศาสนาก็เห็นได้ว่าพุทธ ศาสนานิกายเถรวาทและศาสนาพราหมณ์จากอินเดียได้เข้ามาฝังรกรากในดินแดนแถบนี้ตั้งแต่สมัยทวารวดี พุทธ ศตวรรษที่ 9-11 ผนวกเข้ากับความเชื่อในผีสางเทวดาที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาแต่ดั้งเดิม สิ่งเหล่านี้สะท้อนอยู่ในปรัชญา ความเชื่อ และการคิดพิจารณาชีวิตในหมู่ชาวไทย นอกจากนี้ยังปรากฏอยู่ในศิลปะแบบประเพณีซึ่งก็คือพุทธศิลป์ นั่นเอง รูปแบบสถาปัตยกรรม วัดวาอารามโบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ หอไตร ตู้พระธรรม ธรรมมาสน์ พระพุทธรูป จิตรกรรมฝาผนัง งานปูนปั้นและงานแกะสลักไม้เพื่อประดับตกแต่งอารามทั้งหลาย เหล่านี้คือผลรวม ของการสังเคราะห์ศาสนาความเชื่อดังกล่าวเข้าด้วยกัน อิทธิพลของอารยธรรมขอมหรือเขมรโบราณเด่นชัดอยู่ใน เรื่องของภาษา นาฏศิลป์ และสถาปัตยกรรม โดยเฉพาะคําราชาศัพท์ทั้งหลายและรูปทรงของพระปรางค์ เช่นพระ ปรางค์ 3 ยอด จังหวัดลพบุรี และพระปรางค์วัดอรุณราชวรารามฯ ตามคติความเชื่อเดิมพระมหากษัตริย์คือเทวรา ชาผู้มีบารมีที่ลงมาจุติในโลกมนุษย์ ปรางค์คือสัญลักษณ์ของเขาพระสุเมรุที่สถิตแห่งเทวะผู้ยิ่งใหญ่ ในราชธานี สุโขทัย อยุธยา และรัตนโกสินทร์ จึงพบว่ามีการสร้างพระปรางค์เพื่อแสดงสถานภาพของผู้ปกครองอยู่เสมอ ย้อน อดีตไปเก่าแก่กว่ายุคของการตั้งราชธานีไทย นักโบราณคดีพบว่าอิทธิพลของอารยธรรมเขมรโบราณได้แผ่ขยาย ทั่วไปในดินแดนอาณาเขตประเทศไทยตั้งแต่ภาคอีสานลงมายังภาคกลางและไปสิ้นสุดอยู่ทางภาคตะวันตกและ ภาคกลางตอนล่าง ทั้งนี้ดังพอจะแสดงได้ด้วยหลักฐานจากเขาพระวิหาร (ซึ่งอยู่ในดินแดนประเทศไทย) ปราสาท เขาพนมรุ้งปราสาทหินพิมาย ปราสาทเมืองสิงห์ และโบราณสถานที่วัดกําแพงแลง อําเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี วัฒนธรรมจีนนั้นแฝงอยู่ในวิถีชีวิตชาวไทยทุกระดับ เช่น ในสมัยรัชกาลที่ 3 และรัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ให้สร้าง และปฏิสังขรณ์วัดเป็นจํานวนมากด้วยรูปลักษณ์ศิลปะและการตกแต่งแบบจีน อาทิ วัดกัลยาณมิตร พระอุโบสถ
  • 8. 8 เป็นสถาปัตยกรรมแบบจีน อาคารก่ออิฐถือปูน หน้าบันเป็นปูนปั้นลวดลายดอกไม้ ประดับกระเบื้องเคลือบสลับสี ลายจีน พระอุโบสถวัดนางนอง เขตจอมทองเป็นศิลปะในสมัยรัชกาลที่ 3 บานประตูด้านนอกประดับมุก บาน ประตูและผนังด้านในเขียนเรื่องจีนเช่น สามก๊ก ฮกลกซิ่ว พระวิหารก็เป็นสถาปัตยกรรมแบบจีน หน้าบันประดับ ปูนปั้นเป็นรูปมังกรส่วนเจดีย์รูปลักษณ์แบบจีนประดับด้วยกระเบื้องสี สถาปัตยกรรมที่วัดเทพธิดาราม วัดบวร นิเวศวิหารวัดสุทัศนเทพวราราม วัดพิชยญาติการาม และวัดราชโอรสาราม ฯลฯ ก็มีศิลปะจีนปรากฏอยู่เช่นกัน การใช้กระจกสี หอยมุก และศิลปะลายรดน้ําปิดทอง รวมทั้งการใช้แล็กเกอร์เคลือบเงาล้วนเป็นศาสตร์ในศิลปะจีน ทั้งสิ้น สมัยรัชกาลที่ 5 ลงมาอิทธิพลของศิลปะจีนที่มีต่องานสถาปัตยกรรมรัตนโกสินทร์อาจน้อยลง ตัวอย่างศิลปะ จีนที่สะดุดตา เช่น พระที่นั่งเวหาสน์จํารูญ ในพระราชวังบางปะอินแต่กระนั้นก็มีการสั่งเครื่องโต๊ะและถ้วยปั้นจาก ประเทศจีนเข้ามาเป็นเครื่องใช้ในพระราชวัง ตําหนักเจ้านายและบ้านขุนนางกันอย่างแพร่หลาย (แน่งน้อย ศักดิ์ศรี , 2536 : 11) การรับวัฒนธรรมแบบแผนวัฒนธรรมจากแหล่งต่างๆมาปรับปรุงเพื่อให้เหมาะสมกับชีวิตแบบไทยๆที่ ประจักษ์ในมรดกวัฒนธรรมทั้งหลายเป็นปรากฏการที่เกิดขึ้นกับสังคมวัฒนธรรมในภูมิภาคอื่นๆของโลกเช่นกัน สิ่ง ทั้งหลายทั้งมวลจึงโยงใยอย่างแยกไม่ออกดังที่จะอภิปรายในการท่องเที่ยวทางจิตวิญญานต่อไปนี้ 2.ศาสนาและความเชื่อ ศาสนาเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม ประกอบด้วยความเชื่อและแบบแผนพฤติกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับความ เชื่อ ที่มนุษย์สร้างขึ้นมาเพื่อจะควบคุมจักวาลที่ในความเป็นจริงแล้วอยู่เหนือการควบคุมของมนุษย์ ในความหมาย อย่างกว้างๆแล้วการกระทําในศาสนาความเชื่อมักเกี่ยวข้องกับการเซ่นสรวงบูชา หรือการสร้างสรรค์สัมพันธภาพ ระหว่างมนุษย์กับอํานาจศักดิ์สิทธิทั้งหลาย ซึ่งมนุษย์เชื่อว่าสามารถควบคุมหรือมีอิทธิพลเหนือวิถีทางของ ธรรมชาติ และวิถีชีวิตของมนุษย์ ศาสนาความเชื่อเป็นสิ่งสากลที่พบได้ในสังคมวัฒนธรรมทุกแห่งหนทั่วโลกตั้งแต่ เริ่มมีเผ่าพันธุ์มนุษย์กระทั่งปัจจุบัน ในสังคมที่ดํารงชีวิตด้วยการหาของป่าล่าสัตว์ศาสนาคือองค์ประกอบพื้นฐาน ของชีวิตประจําวันทุกแง่มุม ครั้นสังคมพัฒนาไปสู่ความซับซ้อนยิ่งขึ้นศาสนาก็ค่อยๆลดบทบาทการครอบงํา ชีวิตประจําวัน และมีแนวโน้มที่จํากัดอยู่ในโอกาสพิเศษต่างๆ ความเชื่อในอํานาจเหนือธรรมชาติและพลังต่างๆคือ ลักษณะเด่นของศาสนาความเชื่อ โดยการสวดอ้อนวอนเซ่นสรวงบูชา และประกอบพิธีโดยเป็นช่องทางที่ผู้คนใช้ เพื่อวิงวอนขอความช่วยเหลือต่อโลกเหนือธรรมชาติ เราอาจจะจัดกลุ่มสิ่งเหนือธรรมชาติออกเป็นสามประเภทคือ 1.เทพเจ้า เทวดา ภูตผี และวิญญานบรรพบุรุษ พระเจ้า และเทพทั้งหลายเป็นสิ่งเหนือธรรมชาติที่ห่างไกลมนุษย์
  • 9. 9 และเชื่อว่ามีอํานาจควบคุมจักวาล หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของจักรวาล เช่น เทพเจ้าแห่งทะเล เช่น โพไซดอน เทพเจ้า แห่งท้องฟ้า เช่น ซุส เทพเจ้าสายน้ํา เช่น เจ้าแม่ทับทิม และเทพเจ้าแห่งความรู้และสุนทรียทั้งหลาย เช่น พระพิฆ เณศ ส่วนความเชื่อในผีสางเทวดา เป็นความเชื่อที่เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ 2.ความเชื่อในผีบรรพบุรุษเป็น ความคิดความเชื่อที่มนุษย์สร้างขึ้นมาจากร่างกายและวิญญาน เชื่อกันว่าเมื่อตายไปแล้ววิญญานจะละจากสังขาร และยังคงเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับการกระทําต่างๆของมนุษย์ 3.ความเชื่อในวิญญานบรรพบุรุษจะปรากฏอยู่ในกลุ่ม สังคมที่จัดระเบียบครอบครัวและเครือญาติที่ให้ความสําคัญกับบรรพบุรุษ ดังจะพบได้ในสังคมของชาวจีน ชาว เวียดนาม ชาวมอญ และลาวโซ่ง พฤติกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับศาสนาความเชื่อส่วนใหญ่มีเป้าประสงค์อยู่ บุคคลย่อมมีเป้าหมายอย่างใดอย่างห นี่งในใจขณะประกอบพิธีกรรม ผู้ดําเนินพิธีกรรมจะปรารถนาผลลัพธ์ของการกระทํานั้น เช่น ขอฝน หยุดฝน หรือ หวังความอุดมสมบูรณ์ของพืชผล ตัวเช่น ชาวคะฉิ่นและชาวพม่าเซ่นใหว้ผีนัท เพื่อความมั่นใจว่าพืชผลจะเจริญ งอกงามและได้ผลเก็บเกี่ยวสมบูรณ์ ในหลายวัฒนธรรมผู้หญิงประกอบพิธีกรรมความเชื่อเพื่อให้ตั้งครรภ์ เช่นใน ประเทศโปรแลนด์ สตรีชาวคาทอลิกไปที่หลุมฝังศพของนักบุญคาทอลิก และอาจารย์ชาวยิวสวดอ้อนวอนพื่อให้ สตรีได้ตั้งครรภ์ สตรีชาวยิวออโธะดอคซิ ไปสวดใหว้ที่หลุมศพของนักบุญราเชล ในเมืองฮิบรอนเพื่อจุดประสงค์ของ การตั้งครรภ์เช่นเดียวกัน เป้าหมายและแรงกระตุ้นของการประกอบพิธีกรรมเหล่านี้ก็เพื่อหวังผลลัพธ์อย่างใดอย่าง หนึ่งเป็นการเฉพาะในการที่จะทําให้พลังธรรมชาติและอํานาจธรรมชาติตอบสนองความต้องการของมนุษย์ การกระทําทางศาสนาบางอย่างมุ่งเน้นการชี้นําการกระทําของมนุษย์และสามารถทําให้ผู้คนตัดสินใจว่าจะ มีพฤติกรรมอย่างไร ผู้คนจะไปปรึกษาหารือโหรและหมอดูเพื่อกําหนดหนทางว่าจะกระทําอย่างไรเมื่อเผชิญกับสิ่งที่ จะเกิดขึ้นข้างหน้า อะไรเป็นเหตุกระตุ้นให้ปัจเจกต้องกระทําเช่นนั้น คําตอบก็คือเมื่อสงสัยว่าจะตัดสินใจให้ถูก การ ไปปรึกษาหารือผู้ประกอบพิธีกรรมดังกล่าว ก็ให้หนทางที่สร้างความเชื่อมั่นที่จะได้รับคําตอบ ในหลายสังคม พฤติกรรมความเชื่อเน้นไปที่การรักษาโรคภัยไข้เจ็บ ในสังคมที่หมอผีมีบทบาท เช่น ในหมู่ชาวเขาเมื่อป่วยไข้ก็ จะต้องหาสาเหตุที่มักเกี่ยวข้องสิ่งเหนือธรรมชาติ เชื่อกันว่าผู้คนที่ชั่วร้ายได้ใช้สิ่งเหนือธรรมชาติเพื่อสร้างความป่วย ไข้ให้กับคนอื่น ดังจะเห็นได้จากชาวคริสเตียนบางกลุ่มปฏิเสธการรักษาพยาบาลจากการแพทย์แผนปัจจุบัน หากแต่ใช้การสวดอ้อนวอนเพื่อรักษาความป่วยไข้
  • 10. 10 เมื่อพิจารณาความเกี่ยวข้องระหว่างศาสนาวิทยาศาสตร์ และไสยศาสตร์ ก็พบว่ามีความเหมือนกัน และ แตกต่างกันพอสมควร ในสังคมยุโรปแต่เดิมมานั้นเชื่อว่าทุกสิ่งทุกอย่างอยู่ในอํานาจของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ในศตวรรษที่ 17 ชาวคาทอลิคเชื่อว่าโลกคือศูนย์กลางของจักวาล และสั่งประหารชีวิตกาลิเลโอ เพราะผลการศึกษาวิจัยทาง วิทยาศาสตร์ของกาลิเลโอได้แสดงให้เห็นว่าการวิจัยของโคเปอร์นิคัสถูกต้อง ที่เสนอว่าโลกไม่ใช่ศูนย์กลางของจัก วาลแต่ดวงอาทิตย์ต่างหากที่เป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะจักวาล นับเป็นเวลาหลายร้อยปีต่อมาที่นิกายคาทอลิก ได้ยอมรับความผิดพลาดนั้น การคิดค้นคว้าตามแนวทางทฤษฎีวิวัฒนาการก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่สามารถเปลี่ยน คําอธิบายทางศาสนาด้วยคําอธิบายทางวิทยาศาสตร์ ที่เชื่อว่าจากเดิมพระเจ้าเป็นผู้สร้างมนุษย์มาสู่คําอธิบายที่ว่า มนุษย์ในปัจจุบันคือผลพลวงของการปรับตัวต่อกระบวนการวิวัฒนาการตามแนวคิดทฤษฎีชาล์ดาวิน ทั้งวิทยาศาสตร์ ศาสนาและไสยศาสตร์ล้วนเป็นวิธีการสร้างความเข้าใจและพยายามจะสร้างอิทธิพลต่อ โลกธรรมชาติ ไสยศาสตร์และศาสนาต่างไปจากวิทยาศาสตร์ตรงที่ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติบางอย่างไม่สามารถ อธิบายด้วยวิทยาศาสตร์ได้ ไสยศาสตร์และวิทยาศาสตร์มีลักษณะที่คล้ายกันตรงที่ทั้งคู่มีเป้าหมายเฉพาะเจาะจง ไสยศาสตร์และวิทยาศาสตร์ต่างอยูบนพื้นฐานความเชื่อที่ว่า หากเรากระทําการอย่างใดอย่างหนึ่งก็จะได้รับผลที่น่า พึงปรารณา การทดลองทางวิทยาศาสตร์ก็ดีและการประกอบพิธีกรรมทําคุณไสย์ก็ดีต่างหวังได้ผลลัพธ์ในปัจจุบัน ทันด่วน กระนั้นไสยศาสตร์ก็แตกต่างไปจากวิทยาศาสตร์ตรงที่ทั้งสองอยู่บนพื้นฐานทฤษฎีความรู้ที่แตกต่างกัน กล่าวคือไสยศาสตร์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความเชื่อนั้นอยู่บนพื้นฐานของความเชื่อที่ว่าถ้าได้เป่าคาถาอาคมหรือ ประกอบพิธีกรรมอย่างถูกต้องสิ่งเหนือธรรมชาติก็จะปรากฏผลออกมาเป็นที่พึงพอใจ ไสยศาสตร์ตั้งอยู่บนความคิด ที่ว่ามีความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเหนือธรรมชาติ และโลกธรรมชาติ ส่วนวิทยาศาสตร์อยู่บนพื้นฐานของความสัมพันธ์ ที่เป็นเหตุผลอันเกิดจากการสังเกตระหว่างแง่มุมต่างๆของโลกธรรมชาติ วิทยาศาสตร์ได้ความรู้มาจากสัมผัสทั้ง 5 ได้แก่ หู ตา จมูก ลิ้น และ ผิวกาย ขณะที่ศาสนานั้นเป็นเรื่องของเหนือธรรมชาติ ไสยศาสตร์แตกต่างไปจากแง่มุม อื่นของศาสนาในประเด็นที่ว่า ผู้คนพยายามที่จะควบคุมเหนือธรรมชาติด้วยคุณไสย์ ถ้าประกอบพิธีกรรมที่ถูกต้อง ก็จะได้ผลลัพธ์อย่างแน่นอน เพราะเชื่อว่าไสยศาสตร์สามารถโน้มนําสิ่งเหนือธรรมชาติได้ตามประสงค์ของผู้ ประกอบพิธี ส่วนการประกอบกิจพิธีทางศาสนา มิได้มีเป้าประสงค์เป็นการเฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่ง พิธีทางศาสนา เน้นถึงอัตราของความไร้อํานาจของมนุษย์ และศาสนาก็ไม่ได้บังคับผลลัพธ์ทางตรงอย่างเช่นไสยศาสตร์ พิธีทาง ศาสนาจะชักนําผู้คนให้วิงวอนต่อเทพเจ้าซึ่งเทพผู้มีอํานาจทั้งปวงอาจจะบรรดารหรือไม่บรรดารให้ตามที่มนุษย์ร้อง ขอ ดังนั้นไสยศาสตร์จึงเป็นการกระทําที่แสดงการควบคุม และศาสนาเป็นเรื่องของการวิงวอนขอความเมตตา
  • 11. 11 ปราณี ความรู้ทางไสยศาสตร์มักนํามาใช้เพื่อผลประโยชน์ของบุคคล ส่วนศาสนาเป็นระบบความเชื่อและการ ประกอบพิธีของสังคมชุมชน อาจกล่าวโดยสรุป ณ ที่นี้ได้ว่า การกระทําที่เข้าข่ายไสยศาสตร์นั้นเป็นการกระทําที่ หวังผลในระยะอันไกล้ ขณะที่แบบแผนความเชื่อที่เข้าข่ายศาสนาเป็นการกระทําที่หวังผลระยะยาว เช่นในเรื่อง ของโลกหน้า นรกสวรรค์ ตามนัยยะนี้พอเห็นได้ว่ากิจจกรรมการท่องเที่ยวศาสนาที่พบทุกแห่งหนอาจนับเนื่องเป็น การท่องเที่ยวที่มีเป้าหมายที่เป็นไสยศาสตร์ หรือจุดประสงค์ที่เป็นศาสนาอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือมีลักษณะทั้งไสย ศาสตร์และศาสนาในเวลาเดียวกัน เป็นที่น่าสังเกตว่าศาสนาใหญ่ๆมีผู้นําที่จัดว่าเป็นศาสดาเผยแพร่ลัทธิความเชื่อนั้นๆ เช่น ศาสนาคริสต์ นิกายต่างๆ ศาสนาพุทธ ลัทธิเต๋าและ ศาสนาอิสลาม ที่เป็นศาสนาความเชื่อซึ่งมีอิทธิพลต่อผู้คนในประเทศแถบ ตะวันออกกลาง และชาวมุสลิมประเทศอื่นๆอย่างเด่นชัด ในเดือนที่ถือศีลอด เมืองเมกกะซึ่งเป็นที่ตั้งของแท่นบูชา หินดําหรือที่ตามภาษามุสลิมว่า “คะบาห์” ซึ่งประกอบด้วยหินศักดิ์สิทธิ์ 360 แท่งและกฎข้อบังคับต่างๆทาง ศาสนา จะมีผู้แสวงบุญจากดินแดนอาราเบียและผู้แสวงบุญจากประเทศอื่นๆมุ่งมาร่วมสักการะและบําเพ็ญบุญ ณ สถานที่แห่งนี้ ส่วนศาสนาอินดูแม้จะเป็นศาสนาใหญ่ที่ปรากฏมาตั้งแต่อารยธรรมอินเดียโบราณมาจนถึงปัจจุบัน แม้จะไม่มีศาสดาเพราะศาสนาฮินดูคือแนวทางการดําเนินชีวิตจึงได้รับการผสมผสานไปกับศาสนาอื่นๆโดยเฉพาะ ศาสนาพุทธหินยานในสังคมวัฒนธรรมอุษาอาคเนย์ อย่างเช่นที่ชาวไทยพุทธถือปฏิบัติกันอยู่ ส่วนศาสนาคริสต์ นิกายคาทอลิกมีบทบาทสําคัญในทุกแง่มุมชีวิตของคนยุโรปยุคกลาง การเผชิญต่อความทุกข์ยากในชีวิตทําให้ผู้คน ต่างฝากความหวังไว้กับคําสอนของคริสต์ศาสนา คริสต์ศาสนาสอนให้มีหลักนําทางชีวิตเพื่อเพิ่มความสุขสบายใจ ผู้คนสร้างโบสถ์เพื่อการสารภาพบาปและเพื่อหวังความสุขนิรันดร นอกจากนี้ ศาสนจักรยังทําหน้าที่ในกิจการ บ้านเมือง เนื่องจากพระผู้ทํางานให้กับโบสถ์เป็นผู้ที่มีการศึกษาเหตุนี้กษัตริย์และขุนนางต่างต้องขอคําปรึกษา จากศาสนจักร ศาสนจักรจึงมีอิทธิพลสําคัญต่อการตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ยิ่งกว่านั้นศาสนจักรยังมีอิทธิพล ครอบคลุมผู้คนที่อาศัยพื้นที่ของโบสถ์เป็นแหล่งทํามาหากินอีกด้วย สันตะปาปาพํานักอยู่ที่วาติกันในกรุงโรม เป็นผู้ มีตําแหน่งสูงสุด มีอํานาจทั้งทางจิตวิญญาณและทางการเมือง ในโอกาสสําคัญๆเช่นในการทําพิธีมิซซากรุงวาติกัน จึงเป็นที่ชุมนุมผู้มาเดินทางท่องเที่ยวเพื่อร่วมประกอบพิธีอย่างล้นหลาม การศึกษาทางมานุษยวิทยาพบว่าผู้คนในสังคมวัฒนธรรมต่างๆมีแบบแผนในการติดต่อกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ โดยทั่วไป 12 วิธีด้วยกัน กล่าวคือ 1.การสวดมนต์ การสวดมนต์เป็นกิจกรรมของปัจเจกบุคคลหรือกลุ่มคน บาง
  • 12. 12 ศาสนามีบทสวดมนต์ที่เขียนขึ้นโดยเฉพาะสําหรับพิธีกรรมต่างๆ 2.การร้องเพลง เต้นรําหรือการใช้ดนตรีขับกล่อม เพื่อสร้างความโปรดปรานให้แก่สิ่งศัดิ์สิทธิ์ 3.การใช้ยาประสาทหรือการทรมานตนเองเพื่อให้ “เข้าถึงดวง วิญาณ หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ศาสนาบางศาสนามีความเชื่อว่าเมื่อนักบวชทําการเทศน์เพื่อสั่งสอนศาสนิกชน พระผู้เป็นเจ้าหรือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์จะมาสถิตอยู่กับนักบวช 4.การฟังเทศน์จึงเป็นการฟังพระวาจาของพระเจ้าโดยผ่านนักบวชนั่นเอง 5. การถือศีล หรือการปฏิบัติตามกฏของศาสนาอย่างเคร่งครัดเพื่อให้ผู้ถือศีลมีจิตใจบริสุทธิ์และเป็นที่โปรดปรานของ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ 6.การใช้เวทมนต์คาถาอาคม 7.การใช้เครื่องรางของขลัง 8.การกินเลี้ยงเฉลิมฉลอง เช่นการทําพิธีมิซ ซาในศาสนาคริสต์เพื่อระลึกถึงอาหารค่ําเมื้อสุดท้ายของพระเยซูและเหล่าสาวก 9.การทําพิธีบูชายัญเซ่นสังเวย อาหารหรือสัตว์เลี้ยง 10.การรวมกลุ่มเพื่อประกอบพิธีกรรมร่วมกัน 11.การเข้าทรงเพื่อติดต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์โดยตรง และ12.การใช้สัญลักษณ์บางอย่างเช่น การนําเอาพระพุทธรูป เหรียญ หรือสายประคํา มาคล้องคอเพื่อให้เกิด ความมั่นใจและความรู้สึกใกล้ชิดกับสิ่งศักดิ์สิทธิ ศาสนาความเชื่อทั้งหลายมีบทบาทหน้าที่หลายประการในทางจิตวิทยาและในทางสังคมเพราะช่วยลด ความวิตกกังวลในการอธิบายในสิ่งที่ไม่รู้นั้นให้เป็นที่เข้าใจ ขณะเดียวกันก็ให้ความอบอุ่นใจในความเชื่อที่ว่าสิ่ง เหนือธรรมชาติที่ว่า การช่วยเหลือจากสิ่งเหนือธรรมชาติที่มีอยู่ในเวลาวิกฤต นอกจากนี้ศาสนาความเชื่อยังควบคุม พฤติกรรมมนุษย์ให้กระทําในสิ่งที่ถูกและลงโทษการกระทําที่ผิด พิธีกรรมที่จัดขึ้นตามศาสนาความเชื่อยังเป็น ประหนึ่งเครื่องส่งเสริมการเรียนรู้เกี่ยวกับประเพณีจากคําบอกเล่าที่สําคัญที่สุด ศาสนาความเชื่อมีบทบาทสําคัญใน การดํารงใว้ซึ่งความเป็นปึกแผ่นทางสังคม 3.การท่องเที่ยวทางจิตวิญญานและความเชื่อ ดังได้กล่าวใว้ในส่วนที่ 1 ของงานเขียนนี้ว่า สิ่งทั้งหลายที่เป็นวัฒนธรรมสัมพันธ์เกื้อกูลต่อกันโดยเฉพาะ การท่องเที่ยวนั้นยิ่งเป็นสิ่งที่ต้องอาศัยทรัพยากรหลากหลาย เพื่อตอบสนองความต้องการท่องเที่ยวได้อย่าง ครอบคลุม หากพิจารณาแหล่งท่องเที่ยวทางท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมที่ผ่านมาอาจกล่าวได้ว่า ศาสนสถานในศาสนา ต่างๆ อาทิ โบสถ์คริสต์ มัสยิต วัดในพุทธศาสนา สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ในที่ต่างๆเช่น ศาลหลักเมือง ศาลเจ้า และ สถานที่สําคัญทางประวัติศาสตร์ อันมีอนุสาวรีย์ และสุสาน ฯลฯ เป็นปลายทางการท่องเที่ยวที่มีผู้มาเยือนเสมอมา แหล่งท่องเที่ยวเหล่านี้จึงมีบทบาททับซ้อนกัน กล่าวคือ ในยามปกติผู้ที่เกี่ยวข้องใช้เป็นที่ประกอบกิจพิธี และผู้ที่มา ร่วมงานส่วนใหญ่มักได้แก่ชุมชนในละแวกนั้น แต่ความโดดเด่นมีชื่อเสียง มีเอกลักษณ์ทางศิลปะ มีประวัติความ
  • 13. 13 เป็นมา และเป็นที่พํานักของบุคคลสําคัญ เหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยดึงดูดให้มีผู้มาเยือน และเมื่อการท่องเที่ยวตาม สถานที่ที่เกี่ยวข้องกับศาสนาและความเชื่อกลายเป็นกระแสสถานที่เหล่านี้จึงต้องปรับบทบาทเพิ่มขึ้นเพื่อสนอง ความต้องการมาเยือน โดยทั่วไปการปรับบทบาทเช่นนี้มักเป็นไปในเรื่องของการปรุงแต่งทางกายภาพของสถานที่ และการเพิ่มบริการด้านต่างๆ เช่น การให้ข้อมูลประวัติความเป็นมา ข้อมูลการเดินทาง ข้อมูลการติดต่อขอเยี่ยม ชม และข้อมูลเกี่ยวกับที่พัก ในบางกรณีมีการใช้สื่อหลากหลายรูปแบบ เช่น แผ่นพับ หนังสือคู่มือท่องเที่ยวท้องถิ่น และการประชาสัมพันธ์ผ่านอินเทอร์เนต และเมื่อจะมีการจัดงานครั้งสําคัญก็จะมีการประชาสัมพันธ์ในลักษณะ โฆษณาทั้งทางวิทยุ และโทรทัศน์ ในแง่ของพฤติกรรมนักท่องเที่ยวโดยทั่วไปแล้วมีเหตุผลหลายประการที่ผู้คนเดินทางท่องเที่ยว การ เดินทางท่องเที่ยวเพื่อพักผ่อนดูจะเป็นเหตุผลของคนส่วนใหญ่ที่ประสงค์จะหลุดออกไปจาความเบื่อหน่ายจําเจ ที่ บ้าน ที่ทํางานหรือถิ่นกําเนิด การเที่ยวด้วยเหตุผลเช่นนี้นอกจากจะได้พักผ่อนทั้งจิตใจและร่างกายแล้วยังได้เติม เต็มประสบการณ์ใหม่ๆระหว่างการไปเยือน กระนั้นก็มีผู้คนอีกจํานวนไม่น้อยที่ได้รับประโยชน์ด้วยเป็นผลพลวง จากการท่องเที่ยวระหว่างการเดินทางไปต่างถิ่นเพื่อประชุม เพื่อศึกษาต่อ เพื่อเยี่ยมญาติ และหรือเพื่อไปติดต่อ ค้าขาย ฯลฯ ตามนัยยะนี้อาจกล่าวได้ว่าการท่องเที่ยวทางจิตวิญญานความเชื่อก็เป็นพฤติกรรมที่คล้ายกันกับผู้คนใน กลุ่มหลังด้วยมีจุดประสงค์หลักแน่ชัดในการเดินทางเพื่อเติมเต็มความต้องการในลักษณะที่เข้าข่ายไสยศาสตร์และ หรือศาสนา ส่วนประโยชน์ท่องเที่ยวอื่นๆดังที่กล่าวมาข้างต้นจึงเป็นผลพลอยได้จากการไปเยือนปลายทาง นอกจากนี้นักเดินทางท่องเที่ยวเชิงศาสนายังมีเป้าหมายอื่นๆในการไปเยือนแหล่งท่องเที่ยวเหล่านั้น นักท่องเที่ยว จํานวนหนึ่งต้องการจะเชื่อมโยงการรับรู้เรื่องราวของสถานที่แห่งนั้นกับข้อมูลที่ตนเคยรับทราบมาให้ชัดเจนยิ่งขึ้น จึงพบว่าแหล่งท่องเที่ยวเชิงศาสนา ซึ่งเป็นที่รู้จักกันมาแต่อดีตก็ยังคงมีนักท่องเที่ยวทั้งเก่าและใหม่มาเยือนอยู่เสมอ จึงไม่เป็นที่ประหลาดแต่อย่างใดที่จะพบว่าจํานวนชาวคริสต์ และนักท่องเที่ยวทั่วไปต่างให้ความสนใจไปเยือนนคร วาติกันศูนย์กลางอันเก่าแก่ของศาสนาคริสในกรุงโรมประเทศอิตาลีเพิ่มขึ้นตลอดมา ส่วนชาวมุสลิมทั่วภูมิภาคของ โลกต่างก็ปรารถณาที่จะได้ไปประกอบกิจพิธีที่มหามัสยิด(Haram)นครเมกกะในเทศกาลถือศีลอดเพิ่มขึ้น ประมาณ กันว่าปีหนึ่งๆมีผู้มาแสวงบุญถึง 3 ล้านคน ในช่วงเทศกาลเช่นนี้ธุรกิจการท่องเที่ยวจึงคึกคักเป็นพิเศษ เห็นได้จาก การเพิ่มเที่ยวบินและเพื่อรับนักท่องเที่ยวได้มากยิ่งขึ้น รัฐบาลซาอุดิอารเบียได้ใช้เงินจํานวนพันๆล้านดอลลาร์จาก
  • 14. 14 รายได้การขายน้ํามันเพื่อปรับปรุงสวัสดิการความสะดวกสบายด้านสาธารณสุข การคมนาคม และระบบน้ําปะปา ในนครศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้เพิ่มขึ้น ตามความเชื่อของอิสลามการได้ไปแสวงบุญ ณ สถานที่ดังกล่าวเป็นโอกาสที่ยิ่งใหญ่ ที่สุดของชีวิต การได้แสวงบุญที่นั่นเป็นหนึ่งในห้าหลักธรรมของศาสนาอิสลาม ผู้คนจึงพยายามจะได้ไปร่วมแสวง บุญแม้จะมีค่าใช้จ่ายสูงเท่าใดก็ตามเพราะเป็นการกระทําที่จะนับเป็นคุณความดีในวันพิพากษาหลังความตายชาว ไทยมุสลิมผู้ที่กลับจากการแสวงบุญจะได้รับการยกย่องเป็นพิเศษด้วยการเรียกผู้ชายว่า “ฮัจยี”และเรียกผู้หญิงผู้ กลับจากแสวงบุญว่า “ฮัจยะ”นับเป็นสถานภาพทางสังคมที่น่าสรรเสริญยิ่งนัก จุดประสงค์อื่นอีกประการหนึ่งของ การเดินทางท่องเที่ยวเชิงศาสนาก็คือการได้ไประลึกถึงความดีงามในอดีตของสถานที่นั้นๆหรืออาจจะเรียกว่าการ เดินทางท่องเที่ยวเพื่อจุดประสงค์ “วันวานยังหวานอยู่”(nostalgia)ใครๆได้ไปเยือนพุกามต่างก็ระลึกชื่นชมกับ ความยิ่งใหญ่ในอดีตของอาณาจักรแห่งนี้ที่เคยรุ่งเรืองด้วยความเลื่อมใสศรัทธาในพุทธศาสนาเถรวาทที่ยังคงอธิบาย ได้ด้วยทรากปรักหักพังของเจดีย์ทรงต่างๆอีกทั้งมณฑปและศาสนสถานอื่นๆโดยเฉพาะอานันทเจดีย์ที่ได้รับการ บูรณะให้คงความงดงามอลังการตามอิทธิพลของศิลปะอินเดียอย่างครบถ้วน รายการท่องเที่ยวประเทศพม่าส่วน ใหญ่พลาดไม่ได้ที่จะจัดให้นักท่องเที่ยวได้ไปกราบใหว้เจดีย์ชเวดากอง เพราะเป็นตัวอย่างของความเลื่อมใสศรัทธา อย่างแน่นแฟ้นของพุทธศาสนิกชน กรมศิลปากรของประเทศพม่าถือเป็นนโยบายที่จะต้องปฏิสังขรศาสนสถาน หลักๆอย่างเจดีย์ชเวดากองให้ดูเด่นเป็นสง่าดังทองสุกปลั่งอยู่เสมอ ผู้ไปเยือนประเทศพม่าในช่วงที่กําลังบูรณะ เจดีย์แห่งนี้อาจต้องผิดหวังที่ไม่ได้เห็นความอลังการและความอิ่มเอิบในบุญที่ได้มาบูชาศาสนสถานแห่งนี้ หากติด อยู่ในรูปลักษณ์ของเจดีย์ชเวดากอง นักท่องเที่ยวจํานวนไม่น้อยไปเยือนแหล่งท่องเที่ยวทางศาสนาความเชื่อก็เพื่อ หวังเพิ่มบุญบารมีเพื่อชาตินี้และชาติหน้า วัดที่โด่งดังด้วยพระศรีอริยเมตรัยมักเนืองแน่นไปด้วยนักท่องเที่ยว ผู้ปวรณาจะได้รับความสุขสบายในภพหน้า ส่วนการทําบุญทําทานด้วยการปล่อยโค กระบือ ปล่อยนก และกุ้งหอย ปูปลา ในหลายๆโอกาส เช่นในวันเกิดหรือในเทศกาลงานบุญที่จัดขึ้นตามวัดต่างๆ ของนักท่องเที่ยวบางรายอาจจะ เนื่องด้วยประสงค์ที่จะชําระชะล้างความไม่ดีงามที่เคยกระทํามา รายการท่องเที่ยววัฒนธรรมที่หลายบริษัทจัดขึ้นนอกจากจะให้ไปเยือนสถานที่สําคัญมีชื่อเสียงทั่วไปแล้ว ปลายทางของการท่องเที่ยวอีกส่วนหนึ่งก็เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เกี่ยวข้องกับศาสนาความเชื่อและมักเป็นเป็นการ ท่องเที่ยวนานาชาติ บริษัททัวร์ชาวยิวส์ต่างก็จัดให้นักท่องเที่ยวได้ไปเยือนวิหารในนครเยรูซาเล็ม ส่วนการ ท่องเที่ยวเนื่องด้วยคริสศาสนาก็เน้นการไปเยือนดินแดนศักดิ์สิทธิ์เช่น กรุงเบธธิแรมที่อยู่ห่างจากกรุงเยรูซาเล็มไป ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ในแคว้นจูเดียประมาณสิบกิโลเมตร ซึ่งเชื่อว่าเป็นที่ประสูตรของพระเยซู นอกจากนี้ยังจัด
  • 15. 15 ให้ไปเยือนตําบลแนสอะเร็ธ(Nazareth) ที่ประทับของพระเยซูในปาเลสไตน์หลังหนีภัยมาจากกรุงเบธธิแรม และ แหล่งท่องเที่ยวท้ายสุดก็คงไม่พ้นหมู่บ้านบีทานี(Bethany)ที่ตั้งอยู่ในทิศตะวันของประเทศจอร์แดน ซึ่งเชื่อว่าเป็นที่ ฟื้นคืนชีพของพระเยซู สําหรับการท่องเที่ยวทางจิตวิญญานพุทธจากประเทศไทยหลายบริษัทได้สนองตอบความ ต้องการนักท่องเที่ยวให้ได้ไปเยือนพุทธภูมิแดนพุทธองค์ เส้นทางแสวงบุญ ตามเส้นทางของสังเวชนียสถานต่างๆ ซึ่งเริ่มต้นที่ตําบลลุมพินีอันเป็นที่สถานที่ประสูติ ต่อด้วยพุทธคยาอันเป็นสถานที่ตรัสรู้ จากนั้นก็ไปเยือนสารนาถ สถานที่ซึ่งพระพุทธองค์ทรงเทศนาสั่งสอนเป็นครั้งแรก และรายการทัวร์ก็จะจบลงที่ กุสินาราอันเป็นสถานที่ ปรินิพพานของพระพุทธเจ้า รายการท่องเที่ยวจากประเทศไทยให้ไปเยือนสาธารณรัฐประชาธิไตยประชาชนลาว นอกจากจะจัดรายการให้ตรงกับเทศกาลงานบุญสําคัญๆ เช่น เข้าพรรษาและออกพรรษาแล้วสถานที่ท่องเที่ยว ส่วนใหญ่ก็ยังคงนับเนื่องอยู่ในการท่องเที่ยวทางจิตวิญญานเช่นกัน ทั้งนี้ดังจะยกตัวอย่างของการท่องเที่ยวจาก บริษัทแห่งหนึ่งดังข้อมูลต่อไปนี้ เยือนสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 3 วัน หลวงพระบาง มรดกโลก วันที่หนึ่ง กรุงเทพฯ-หลวงพระบาง-วัดใหม่-วัดวิชุน-วัดเชียงทอง 08.30 น. พร้อมคณะที่สนามบินดอนเมือง เคาน์เตอร์สายการบินบางกอกแอร์เวย์ส 2 แถวที่ 10พบเจ้าหน้าที่ บริษัทคอยต้อนรับและอํานวยความสะดวก 10.40 น. ออกเดินทางสู่เมืองหลวงพระบาง โดยสายการบินบางกอกแอร์เวย์ส์ เที่ยวบินที่ PG632 12.30 น. ถึงสนามบินหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ผ่านขั้นตอนการตรวจคนเข้าเมืองและศุลกากร 13.30 น. อาหารกลางวันที่ภัตตาคาร บ่าย นําชมวัดใหม่สุวรรณภูมาราม สร้างโดยพระเจ้าอนุรุทธ์ ในปี พ.ศ.2337 และบูรณะในสมัยพระเจ้า มันตา ทุราช ในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 24 ทั้งโปรดให้เปลี่ยนชื่อจากเดิมว่า “วัดสุวรรณภุมมาราม” เป็น “วัดใหม่สุวรรณภูมาราม” วัดแห่งนี้เคยเป็นที่ประดิษฐานพระบางระยะหนึ่งในสมัยของเจ้ามหาชีวิต
  • 16. 16 สักรินทร์ (คําสุก) ซึ่งครองราชย์ในช่วง พ.ศ.2431-2448,นําชมวัดวิชุน สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าวิชุนราช ราว พ.ศ.2046-2047 มีพระเจดีย์องค์ใหญ่รูปทรงคล้ายแตงโม ชาวลาวเรียกว่า “พระธาตุหมากโม” และ เคยเป็นที่ประดิษฐานพระบางอีกทั้งเป็นแหล่งรวบรวมผลงานฝีมือสกุลช่างต่างๆ นําชมวัดเชียงทอง วัด คู่บ้านคู่เมืองของหลวงพระบาง บริเวณที่ตั้งของวัดอยู่ที่ดอนหัวโค้งของแผ่นดินที่มีแม่น้ําคานมาบรรจบกับ แม่น้ําโขง และเป็นศูนย์รวมของศิลปกรรมแห่งอาณาจักรล้านช้าง ความงามของวัดอยู่ที่ความสงบ สง่า สะอาด มีการวางผัง ออกแบบ และการบํารุงรักษาอย่างดีเยี่ยม ภายในพระอุโบสถตกแต่งด้วยภาพเขียนสี ทองบนพื้นชาดแดงด้วยลวดลายอันสูงส่งของราชสํานักพระไชยเชษฐา ชมวิหารประดับกระจก หอพระ นอน ซึ่งประดิษฐานพระพุทธรูปสําริดปางไสยาสน์อันงดงามที่สุดของเมืองหลวงพระบางขนาดเท่าคนจริง ชมโรงราชรถและพระโกศที่ใช้ในพระราชพิธีศพของอดีตกษัตริย์ลาว ชมฝีมือการแกะสลักไม้เล่าเรื่องภาพ รามเกียรติ์นําชมวัดพระบาทใต้ นมัสการพระพุทธบาท อันเป็นที่มาของชื่อวัดที่ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ําโขงชม พระอาทิตย์อัสดงอันสวยงาม จากนั้นนําเข้าสู่ที่พัก 18.30 น. อาหารค่ําที่ภัตตาคาร วันที่สอง ตักบาตรข้าวเหนียว-น้ําตกตาดกวงสี-ล่องเรือชมแม่น้ําโขง-ถ้ําติ่ง 05.30 น. เชิญท่านร่วมทําบุญตักบาตรร่วมกับชาวเมืองหลวงพระบาง ที่จะพากันออกมารอตักบาตรกับ พระภิกษุสามเณรนับร้อยๆ รูป ซึ่งนับเป็นภาพอันน่าประทับใจและมีชีวิตชีวาของเมืองหลวง พระบาง โดยสะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตของสังคมที่เลื่อมใสศรัทธาในพุทธศาสนา จากนั้นเชิญ ท่านเดินชมตลาดเช้า ชมบรรยากาศของชาวบ้านที่ออกมาจับจ่ายใช้สอยสินค้าอุปโภคบริโภค 08.00 น. อาหารเช้าในโรงแรม 09.00 น. นําเดินทางสู่น้ําตกตาดกวงสี น้ําตกขนาดกลางที่มีความกว้างประมาณ 70 เมตร มี 2 ชั้นชั้นที่ 1 สูง 50 เมตร และชั้นที่ 2 สูง 30 เมตร ชมความสวยงามของน้ําตกที่ใสสะอาดและมีสีเขียวคล้าย มรกต จากนั้นนําเดินทางกลับสู่หลวงพระบาง 12.00 น. อาหารกลางวันที่ภัตตาคาร บ่าย นําชมหัตถกรรมพื้นบ้านที่หมู่บ้านผานม ซึ่งเป็นหมู่บ้านไทยลื้อที่อพยพมาจากสิบสอง
  • 17. 17 ปันนา มีชื่อเสียงในด้านการทอผ้าลวดลายสวยงามมากและราคาไม่แพง เชิญเลือกซื้อผ้าทอเป็นของฝาก จากนั้นนําเดินทางสู่บ้านซ่างไห ชุมชนริมแม่น้ําโขง ชมวิถีชีวิตของชาวบ้านที่อาศัยอยู่ริมแม่น้ําโขงและมี อาชีพการหมักเหล้าสาโท ต้มเหล้าโรงจําหน่ายพร้อมกันนั้นยังเป็นแหล่งรวมสินค้าพื้นเมืองจําพวกผ้าทอ ลวดลายสวยงามมากมายจากนั้นนําท่านล่องเรือชมเกาะแก่งและทิวทัศน์สองฝั่งแม่น้ําโขงมุ่งหน้าสู่ถ้ําติ่ง ซึ่งเป็นถ้ําบนหน้าผาริมฝั่งแม่น้ําโขงซึ่งมีอยู่ 2 ถ้ํา คือ ถ้ําบนและถ้ําล่าง เคยมีพระพุทธรูปทอง เงิน นาก แต่ปัจจุบันเหลืออยู่แค่เพียงพระพุทธรูปไม้จํานวนนับพันองค์ จากนั้นเชิญอิสระตามอัธยาศัยกับการเดินชม ตลาดหลวงพระบาง เชิญเลือกซื้อของฝากคนทางบ้านที่เป็นผลงานศิลปหัตถกรรมของท้องถิ่น เช่น เครื่อง แกะสลักไม้ เครื่องเงิน และผ้าทอราคาถูก 18.00 น. อาหารค่ําที่ภัตตาคาร แล้วนํากลับสู่ที่พัก วันที่สาม พระธาตุพูศรี-พระราชวังเก่าเจ้ามหาชีวิต-หลวงพระบาง-กรุงเทพฯ 07.30 น. อาหารเช้าในโรงแรม 08.30 น. นําเที่ยวชมเมืองหลวงพระบาง เมืองมรดกโลก อดีตราชธานีของอาณาจักรล้านช้างเกือบ200 ปี ซึ่งมีชื่อเดิมว่า “ศรีสัตนาคนหุตมะราชธานี” มีความเจริญรุ่งเรืองมากในสมัยเจ้าฟ้างุ้ม จากนั้นนําขึ้น นมัสการพระธาตุพูศรี และวัดพระศรี ที่ตั้งอยู่บนเนินใจกลางเมืองตรงข้ามพระราชวัง โดยขึ้นบันได 328 ขั้นเพื่อชมบรรยากาศของเมืองที่ทอดผ่านลําน้ําโขงและลําน้ําคาน รายล้อมด้วยขุนเขาเขียวขจีกับความ สงบของการดําเนินชีวิตอันเรียบง่ายของชาวหลวงพระบาง พร้อมชมวิวทิวทัศน์ของเมือง แล้วนําเข้าชม พระราชวังเก่าเจ้ามหาชีวิตของลาว นมัสการพระบาง พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของหลวงพระบาง ชม ความสง่างามที่บริสุทธิ์โปร่งเบาและสมถะ ชมท้องพระโรง เครื่องราชูปโภค และห้องหับต่างๆ ซึ่งครั้งหนึ่ง เคยเป็นพระราชวังของพระเจ้าแผ่นดินศรีสว่างวัฒนาและเป็นองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์ลาวประทับ ชมท้อง พระโรงที่ประดับตกแต่งด้วยเครื่องราชูปโภคส่วนพระองค์และพระมเหสี สัมผัสถึงวิถีชีวิตอันเรียบง่ายแห่ง ราชวงศ์ในสมัยก่อน 11.00 น. อาหารกลางวันที่ภัตตาคาร 12.00 น. นําเดินทางสู่สนามบินหลวงพระบาง 13.30 น. ออกเดินทางกลับสู่กรุงเทพฯ โดยสายการบินบางกอกแอร์เวย์ส เที่ยวบินที่ PG635