SlideShare a Scribd company logo
1 of 21
Download to read offline
1
	
การพัฒนาระบบความคิดเพื่อการสื่อสาร
รศ. ชนัญ วงษ์วิภาค
“หากภาษาไม่ถูกต้อง
อะไรที่กล่าวไว้ก็ไม่มีความหมายอย่างที่พูด
ถ้าอะไรที่กล่าวไว้ไม่มีความหมายอย่างที่พูด
ก็แสดงว่าอะไรที่ควรทำยังไม่ได้ทำ”
(ขงจื้อ)
2
	
การพัฒนาระบบความคิดเพื่อการสื่อสารอย่างเป็นองค์รวม
ความเป็นมาของปัญหา
เป็นที่น่าสังเกตว่าปัจจุบันปัญหาที่ผู้คนต้องเผชิญกันส่วนใหญ่ประเด็นหนึ่งนั้นเกิดจากการคิดและ
กระทำอย่างแยกส่วน ความคิดและการกระทำมักไม่มีความสัมพันธ์เชิงตรรกะ เป็นความคิดจากความคุ้นเคยที่
ผนวกกับประสบการณ์จากสภาวะแวดล้อมของการรับรู้ระดับปัจเจกบุคคล ส่วนการกระทำมักโน้มนำด้วย
อารมณ์และจินตนาการที่ไม่ได้อยู่บนพื้นฐานตามหลักของธรรมชาติที่ทุกอย่างเกี่ยวข้องกันข้อเขียนต่อไปนี้มุ่ง
ให้แง่คิดและวิธีการพิจารณาข้อเท็จจริงทั้งหลายที่จะนำมาสังเคราะห์ให้เข้าใจได้อย่างเป็นรูปธรรม การบอก
เล่าเรื่องราวต่างๆในรูปของเรียงความจะต้องอยู่ในกรอบของความเป็นหนึ่งเดียวกัน ผู้ที่รับรู้เรื่องราว(reader)
จึงจะสามารถสื่อสารได้ตามเจตนารมณ์ของผู้ส่งสาสน์
แนวคิดองค์รวม
แนวคิดองค์รวม (Holistic approach) หรือที่บางครั้งเรียกว่า แนวคิดระบบ (System approach)
และแนวคิดการหน้าที่ (Functionalism) คือ แนวคิดพื้นฐานในการทำความเข้าใจเรื่องราวของมนุษย์กับสิ่งที่
มนุษย์ได้สร้างสรรค์ไว้ แนวคิดดังกล่าวมีสาระอยู่ที่ว่าสิ่งทั้งหลายในโลกล้วนสัมพันธ์กันเป็นความสัมพันธ์ทั้งใน
เชิงเกื้อกูลและแก่งแย่งแข่งขัน ได้มีความพยายามที่จะนำแนวคิดซึ่งเป็นดั่งปรัชญานามธรรมนี้ไปอธิบาย
เปรียบเทียบกับสิ่งต่างๆที่เป็นรูปธรรมสามารถสัมผัสได้หลากหลายเช่น ในแง่ของสถาปัตยกรรมอาจพิจารณาที่
อาคารบ้านเรือน ก็จะพบว่าอาคารบ้านเรือนล้วนมีโครงสร้างที่ประกอบด้วยส่วนต่างๆที่โยงยึดแบกรับน้ำหนัก
ซึ่งกันและกันตามหน้าที่ของแต่ละส่วนไม่ว่าจะเป็นเสา พื้น รอด ขื่อ แป หน้าจั่ว หลังคา หน้าต่าง และประตู
ฯลฯ นักชีววิทยาอธิบายแนวคิดองค์รวมด้วยด้วยการหยิบยกร่างกายมนุษย์มาเป็นตัวอย่างโดยเน้นให้เห็นว่า
ร่างกายมนุษย์ประกอบด้วยอวัยวะต่างๆ 32 ประการ อวัยวะแต่ละส่วนทำหน้าเฉพาะที่ต้องสอดคล้องกับ
อวัยวะส่วนอื่นๆ ชีวิตมนุษย์จึงดำรงอยู่ได้ ตามนัยของแนวคิดเช่นนี้เมื่อพิจารณาวัฒนธรรมเช่นการแสดงหนัง
ใหญ่จะซึ่งจะประกอบด้วยตัวหนัง (ที่ปรุจากหนังวัว) คนเชิด คนพากย์ คนให้แสงหลังฉาก นักดนตรีที่บรรเลง
ในวงปีพาทย์ อันได้แก่คนเป่าปี่ คนตีกลองใหญ่ คนตีตะโพน คนตีระนาด คนตีฆ้องวง และคนตีฉิ่ง ตลอดทั้ง
ผู้ชมที่ช่วยเพิ่มความคึกคักเป็นกำลังใจให้กับการแสดง ณ ขณะนั้น ฉันท์ใดก็ตามประดิษฐกรรมที่เรียกว่า
รถยนต์จะขับเคลื่อนใช้งานได้ก็ต้องมีส่วนประกอบหลักๆ นับตั้งแต่เครื่องยนต์ แบตเตอร์รี่ หม้อน้ำ ไดชาร์จ ได
สตาร์ท ล้อ ลูกหมาก คันชัก คันส่ง เกียร์ เบรก คัช เพลา โช๊ค ตัวถัง น้ำมัน(เชื้อเพลิง) ประตูข้างทั้งหน้าและ
หลัง ฝากระโปรงและคอมแอร์(กรณีรถติดเครื่องปรับอากาศ) ฯลฯ การที่สิ่งทั้งหลายทั้งปวงในโลกสัมพันธ์กัน
3
	
ดังตัวอย่างที่ยกมาข้างต้นเช่นนี้ย่อมหมายความว่าหากส่วนใดส่วนหนึ่งของระบบโครงสร้างนั้นขาดหายไป
หรือไม่อาจดำเนินการได้อย่างที่เคยเป็นมาสภาพเช่นนี้ย่อมส่งผลกระทบให้ส่วนอื่นๆ ของระบบเดียวกันนั้นไม่
สามารถทำหน้าที่ได้ดังเดิม ทุกๆส่วนของระบบเดิมต้องปรับผันกันใหม่เพื่อให้ระบบใหญ่ (องค์รวมเดิม)
ขับเคลื่อนต่อไปได้ รถคันใหม่ดูหรู เครื่องแรงแต่คงเคลื่อนที่ไม่ได้หากไม่มีน้ำมันเชื้อเพลิงหรือระหว่างวิ่งบน
ถนนบังเอิญเบรกแตกหรือยางระเบิดทุกอย่างก็จบสิ้น มนุษย์โดยทั่วไปก็เช่นกันที่ จะมีความรู้ความสามารถ
หลากหลายที่โยงใยอาศัยพึ่งพากันได้ในวาระต่างๆโดยเฉพาะผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นอัจฉริยะอย่างเช่น ลีโอนาร์โด
ดาวินชี่ ที่เริ่มมีประสบการณ์จากการเป็นลูกมือให้กับจิตรกรเวอร๊อคชิโอ ด้วยความเป็นคนช่างสังเกตและชอบ
ทดลองสิ่งใหม่ๆ ดาวินชี่ได้พัฒนาความสามารถโดดเด่นเกินกว่าศิลปินคนใด ดาวินชี่เชื่อว่าความสัมพันธ์
ระหว่างศิลปะและคณิตศาสตร์เป็นสิ่งที่น่าพึงปรารถนาอย่างยิ่งที่จะยกสถานภาพของงานจิตรกรรมจากงาน
ฝีมือไปสู่ความเป็นเลิศทางเชาว์ปัญญา จึงให้ความสนใจที่จะนำวิธีทางคณิตศาสตร์มาใช้ในงานสร้างสรรค์งาน
ศิลปะเป็นที่สุดก่อนสร้างสรรค์งานศิลปะดา วินชี่จะศึกษากายวิภาคของของสิ่งนั้นว่ามีขนาดสัดส่วนเล็กใหญ่
ตามความเป็นจริงเท่าไร จึงพบว่างานจิตรกรรมและประติมากรรมของดาวินชี่มีสัดส่วนเหมือนจริงตาม
ธรรมชาติ ขณะเดียวกันก็มีความงามที่สะท้อนผ่านจินตนาการด้วยความสามารถที่หลากหลายดาวินชี่จึงได้รับ
การยกย่องให้เป็นทั้งศิลปินเอกของโลกท่านหนึ่ง เป็นนักคิดวิทยาศาสตร์ เป็นนักกายวิภาควิทยา เป็นนักวางผัง
เมืองและเป็นวิศวกรผู้เกิดก่อนยุคสมัย นอกจากนี้ยังได้ออกแบบเครื่องกลไกที่ใช้ในการสงครามและออกแบบ
วิธีการแสดงละคร ผลงานศิลปะประเภทภาพจิตรกรรมที่สร้างชื่อเสียงโด่งดังคือ ภาพโมนาลิซ่า และภาพเดอะ
ลาสซับเปอร์(อาหารมื้อสุดท้ายของพระเยซู)
ข้อคิดพิจารณาเพื่อเตรียมการเขียน
การพัฒนาระบบความคิดเพื่อการสื่อสารก็เช่นกันที่จะต้องดำเนินการอย่างเป็นองค์รวมในลักษณะ
คล้ายกับตัวอย่างต่างๆข้างต้น กล่าวคือต้องเป็นไปตามหลักการพื้นฐานของการเขียนเรียงความ
(essay writing) ซึ่งมีโครงสร้างที่ประกอบด้วย 3 ส่วนคือ ส่วนนำ ส่วนของเนื้อเรื่อและส่วนสรุปการเขียน
เรียงความเป็นหัวใจของการศึกษา ไม่ว่าจะเรียนอะไรก็ต้องเขียนเรียงความด้วยการเขียนเรียงความเป็นเครื่อง
พิสูจน์ว่าผู้เรียนสามารถนำทุกสิ่งทุกอย่างที่เรียนรู้มาถักทอ(integrate)ให้เป็นหนึ่งเดียวที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน
อย่างมีเหตุผล ในบรรดาศาสตร์ 3 กลุ่มใหญ่ๆคือมนุษย์ศาสตร์ สังคมศาสตร์และวิทยาศาสตร์นั้นเห็นได้ชัดว่า
การศึกษาทางมนุษย์ศาสตร์ต้องสื่อสารผลสรุปรวบยอดในการศึกษาเล่าเรียนด้วยการเขียนเรียงความ กระนั้น
นักสังคมศาสตร์และนักวิทยาศาสตร์อย่างวิศวกรก็ไม่อาจหลีกเลี่ยงการเขียนเรียงความเพื่อนำเสนอผลงานของ
ตนต่อผู้ที่เกี่ยวข้องได้ หากผู้ศึกษาไม่สามารถเขียนเรียงความที่ดีได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการสอบไล่นั่นก็
4
	
หมายความว่าไม่ประสบความสำเร็จในการเล่าเรียนสาขานั้นๆ นักศึกษาบางรายไม่ประสบความสำเร็จในการ
เรียนทั้งๆที่มีศักยภาพอยู่ก็เพียงเพราะไม่เข้าใจหลักการพื้นฐานของการเขียนเรียงความ ระหว่างเรียนก็อาจจะ
ตามทันแต่พอจะต้องเขียนหนังสือเพื่อเสนอความเข้าใจรวบยอดก็ไม่อาจทำได้ การพูดคุยเกี่ยวกับสิ่งที่ทราบยัง
ไม่เพียงพอ(แม้ว่าการพูดคุยอาจเป็นสิ่งสำคัญส่วนหนึ่งของขบวนการเรียนรู้)ผู้ศึกษายังต้องสามารถเขียนและ
โต้แย้งประเด็นต่างๆในงานเขียนได้อย่างชัดเจนทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการค้นคว้าวิจัยที่เหมาะสมต่อจากนั้นก็
จำเป็นต้องแสดงให้เห็นถึงสิ่งที่เข้าใจและแสดงให้เห็นถึงความสามารถที่จะใช้สิ่งที่รู้นั้น
นักศึกษาจำนวนมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาในระดับมหาบัณฑิตเป็นต้นไปจำเป็นที่จะต้องเขียน
วิทยานิพนธ์ อาจจะเป็นสิ่งที่น่ากลัวและหนักใจมากถ้าไม่คุ้นเคยกับการเขียนบางคนอาจจะดูเหมือนว่ามี
พรสวรรค์ในการเขียนและสามารถเขียนได้อย่างดีโดยไม่ต้องคิดถึงกระบวนการเขียนแต่คนส่วนใหญ่จำเป็นต้อง
อุทิศเวลาและแรงกายเพื่อการเขียนที่ดีเกือบทุกคนสามารถที่จะพัฒนาการเขียนได้อย่างเห็นได้ชัดความชำนาญ
ในการเขียนเป็นสิ่งที่สามารถฝึกฝนและถ่ายทอดให้กันได้ ความชำนาญในการเขียนอย่างกระจ่างชัดอีกทั้งความ
ชำนาญในการพัฒนาการเขียนและความชำนาญในการสนับสนุนข้อโต้แย้งเหล่านี้เป็นพื้นฐานของการเขียน
ความรู้เชิงวิชาการ
การเขียนก็คือการคิดหมายความว่าการเขียนเรียงความไม่ใช่การลอกข้อมูลจากแหล่งใดแหล่งหนึ่ง
บางคนอาจรู้สึกว่าไม่สามารถเขียนได้เลยถ้าหากไม่ได้มีเรียงความที่วางแผนไว้ในความคิดอย่างสมบูรณ์แล้วการ
คิดเช่นนี้ไม่ถูกต้องเพราะสำหรับผู้คนส่วนใหญ่การลงมือเขียนเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ก่อนที่จะเขียนสิ่งใดก็ควรที่
จะต้องมีข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องค้นคว้าประเด็นปัญหาดังกล่าวจากแหล่งข้อมูลที่มีอยู่
หลากหลาย
การเตรียมตัวเพื่อการเขียน
จุดประสงค์ของการเขียนก็เพื่อความเข้าใจและหนทางที่เร็วที่สุดและดีที่สุดที่จะนำไปสู่จุดประสงค์
ดังกล่าว ก็คือการใช้ภาษาที่ชัดเจนและแน่นอนซึ่งก็ไม่เป็นเรื่องยากถ้าจะลองติดตามหลักการการเขียนที่จะ
แนะนำในตอนต่อไปนี้
ทราบข้อความที่ต้องการสื่อ
สิ่งสำคัญประการแรกในการเขียนก็คือ ผู้เขียนต้องถามตัวเองว่าต้องการจะสื่ออะไรให้ผู้อ่านทราบ
ฉะนั้นก่อนที่จะเขียนจึงต้องคิดถึงสิ่งที่ต้องการจะสื่อทั้งหมดที่จะให้ผู้รับสาสน์ได้ทราบอย่างกระจ่างชัดตรงตาม
5
	
วัตถุประสงค์ที่ผู้ส่งสาสน์คาดไว้การกลั่นกรองสิ่งที่จะสื่ออย่างเรียบง่ายตรงไปตรงมาน่าจะช่วยให้วัตถุประสงค์
นั้นสัมฤทธิ์ผล
การเขียนเพื่อสื่อความหมาย
เนื่องจากการเขียนแต่ละประเด็นมักมีเป้าหมายว่าจะให้ใครรับทราบปัญหาที่เขียน ดังนั้นก่อนเขียนจึง
ต้องถามคำถามพื้นฐานบางประการต่อไปนี้
• ใครคือผู้ที่จะรับสาสน์(message)นั้น
• ผู้ที่จะรับสาสน์เหล่านั้นทราบปัญหาดังกล่าวมาบ้างหรือไม่ มากน้อยเพียงใด
• ผู้ที่จะรับสาสน์ต้องการจะทราบอะไรจากประเด็นปัญหาดังกล่าว
• ต่อประเด็นปัญหานั้นผู้ที่จะรับสาสน์จะตอบโต้อย่างไร จะเป็นเพียงผู้รับหรือจะโต้แย้งอย่าง
เผ็ดร้อน หรือว่าจะไม่สนใจประเด็นปัญหาข้างต้นเลย
สิ่งที่ต้องทำต่อไปก็คือโน้ตย่อข้อมูลบางประการเกี่ยวกับผู้รับสาสน์เพื่อให้เป็นแนวทางเบื้องต้น การ
กระทำเช่นนี้จะช่วยให้ผู้เขียนมั่นใจว่ามีผู้รับสารอยู่ในความคิดตลอด ซึ่งในทางกลับกันการทำโน้ตย่อดังกล่าว
จะช่วยให้เขียนได้อย่างตรงประเด็นทีเดียว
ตัวอย่างเช่น ในการเขียนเพื่อประชาสัมพันธ์งานเปิดบ้านของคณะวิศวกรรมศาสตร์ให้นักเรียนที่สนใจ
ได้รับรู้ก็จำเป็นที่ต้องเขียนโดยคิดถึงภูมิหลังและความสนใจของนักเรียนที่คาดว่าจะเป็นกลุ่มเป้าหมายในงาน
เปิดบ้านครั้งนี้ สิ่งที่จะต้องพิจารณาต่อไปก็คือการถามประเด็นที่เกี่ยวข้องเช่น
• กลุ่มเป้าหมายทราบอะไรแล้วบ้างเกี่ยวกับการศึกษาต่อในคณะวิศวกรรมศาสตร์
• กลุ่มเป้าหมายจำเป็นจะต้องรู้เรื่องอะไรบ้างในการศึกษาต่อในคณะวิศวกรรมศาสตร์
• กลุ่มเป้าหมายจะมีความนิยมในการศึกษาต่อที่คณะวิศวกรรมศาสตร์มากน้อยเพียงใด ฯลฯ
การมีกลุ่มเป้าหมายอยู่ในใจก่อนเขียนเช่นนี้จะช่วยให้ข่าวสารที่จะเขียนและส่งออกไปสามารถสื่อได้อย่าง
สัมฤทธิ์ผล
6
	
การพัฒนาสาสน์ที่จะส่ง
เคล็ดลับในการเขียนอย่างสัมฤทธิ์ผลคือการรู้อย่างแน่ชัดว่าต้องการจะบอกอะไรให้กับผู้รับสาสน์
ก่อนที่จะเริ่มลงมือเขียน หมายถึงการเริ่มต้นที่องค์ประกอบหลักๆของสาสน์โดยการถามคำถามเบื้องต้นบาง
ประการเช่น
• ต้องการจะบอกอะไรแก่ผู้รับสาสน์
• ต้องการจะทำอะไรให้สำเร็จกับสาสน์นี้
• ต้องการให้ผู้รับสาสน์ตอบโต้อย่างไร
• ต้องการให้ผู้รับสาสน์ทำอะไรหลังจากการติดต่อสื่อสารกันแล้ว
จากนั้นก็พัฒนาสาสน์ดังกล่าวให้มีรูปร่างโดยการพิจารณาอย่างใกล้ชิดถึงแรงกระตุ้นในการเขียนถาม
ตัวเองว่าต้องการจะให้สาสน์นั้นสัมฤทธิ์ผลในเรื่องใดต้องการจะบอกเล่าแก่ผู้รับสาสน์หรือเปล่า ข้อมูลข่าวสาร
อะไรที่ต้องการจะให้แก่ผู้รับสาสน์ ต้องการจะชักจูงผู้รับสาสน์หรือเปล่า สาสน์ที่ส่งออกไปจะกระตุ้นผู้รับให้มี
ท่าทีอย่างไร
เนื่องจากสาสน์ที่เขียนส่วนใหญ่จะเป็นการบอกเล่าหรือโน้มน้าวบางครั้งอาจจะต้องกระตุ้น ดังนั้นการ
คำนึงถึงสิ่งเล็กๆน้อยๆต่อไปนี้อาจจะช่วยให้สาสน์ที่จะส่งออกไปตรงใจผู้รับสาสน์ยิ่งขึ้น ฉะนั้นจึงควรมีความแน่
ชัดอย่างมากดังตัวอย่างที่คิดเกี่ยวกับข่าวสารและเขียนเป็นประโยคเดี่ยวๆ
• ท่านสามารถประหยัดเงินได้ถึง 4,500 ต่อเดือนถ้าใช้บริการฝากเงินของเรา
• ซื้อเครื่องกรองน้ำของเรารุ่น NB 401
• โปรดส่งข้อมูลที่สมบูรณ์เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ชนิดพกพา (Notebook) รุ่น L15 Wicker
Whacker
• ขอแนะนำให้ลงทุนกับเรา 2.5 ล้านในเครือข่ายผลิตภัณฑ์อย่างใหม่
• ต้องการคนงานเพื่อทำงานสายประกอบงานเป็นชายจำนวน 40 อัตรา และหญิง 30 อัตรา
จากนั้นนำข้อมูลข้างต้นมากลั่นกรองให้เป็นสาสน์หลักเพียงหนึ่งเดียว การใช้ประโยคที่แจ่มชัดจะช่วย
ให้เริ่มเขียนอย่างมีเป้าหมาย หมายความว่ากำลังจะเขียนในขั้นต่อไปจากตำแหน่งที่เจาะจงเอาไว้ และเมื่อ
เขียนเสร็จก็จะเป็นสาสน์ที่มีน้ำหนักชัดเจนอีกทั้งยังกระชับกว่าสาสน์ที่ไม่ได้เขียนด้วยขั้นตอนเช่นนี้
เพื่อการฝึกฝนที่ดีควรอ่านข้อมูลข่าวสารที่มีอยู่อย่างหลากหลาย ก็จะพบว่าในสาสน์แต่ละอันมีแก่นอยู่
ด้วยกันทั้งนั้นและให้ลองพิจารณาต่อไปว่าสาสน์นั้นควรจะเป็นอย่างไร สาสน์แต่ละอันนั้นชัดเจนหรือไม่ สาสน์
นั้นบิดเบือนหรือเปล่า สาสน์นั้นพูดเกินความจริงหรือไม่ สาสน์นั้นสมบูรณ์หรือไม่
7
	
คราวนี้ก็ได้ทราบแล้วว่า1ต้องการจะสื่อสารอะไร2ใครคือผู้ที่ต้องการจะสื่อสารด้วย 3จุดสำคัญของสิ่ง
ที่จะกล่าวถึงในสาสน์คืออะไรและ4ต้องการจะให้บังเกิดความสำเร็จในเรื่องใด ถ้าพิจารณาการเขียนเสมือนเป็น
การสนทนาสองทางแล้วการเขียนก็จะง่ายกว่าแลได้ผลลัพธ์สุดท้ายที่ดีกว่า การเขียนในแนวทางที่กล่าวมาจะ
ช่วยให้ผู้เขียนได้ใช้น้ำเสียงและน้ำหนักที่ถูกต้อง จงทำให้การเขียนนั้นเป็นเช่นการสนทนาตัวต่อตัวระหว่างผู้ส่ง
สาสน์และผู้รับสาสน์
ใช้ความกระจ่างชัด และลำดับที่มีเหตุผลต่อกัน
เมื่อเริ่มคิดเกี่ยวกับการเขียนผู้เขียนก็จะมีแนวความคิดบางอย่างอยู่ในใจ การบันทึกย่อข้อมูลบาง
ประการก็จะเป็นการฝึกที่ดี
เขียนใจความสำคัญต่างๆของสาสน์ตามลำดับที่เป็นเหตุเป็นผลกันที่สุด การใส่ตำแหน่งใจความสำคัญ
หลักและใจความสำคัญรองดังตัวอย่างในเค้าโครงข้างล่างก็จะช่วยให้เห็นภาพความต่อเนื่องของประเด็นที่จะ
เขียนบางคนอาจจะใส่ความคิดหลักๆของตนลงในคอมพิวเตอร์หรือเขียนลงในสมุดบันทึกแต่ต้องเริ่มคิด
เกี่ยวกับการจัดระเบียบข้อมูลที่มีอยู่และจัดหัวเรื่องอย่างเป็นระเบียบและเป็นเหตุผลกันมากที่สุด จากนั้นจึง
แยกเป็นประเด็นย่อยโดยคำนึงถึง 1.ความสัมพันธ์กับข้อมูลและความสัมพันธ์กับภูมิหลังผู้รับสาสน์ 2.จัดลำดับ
เค้าโครงตามแนวทางที่ผู้รับสาสน์ส่วนใหญ่มักคิดถึงเรื่องนั้นๆหรือ 3.จัดลำดับเรื่องที่จะเขียนให้สัมพันธ์กัน
ตามลำดับก่อนหลังโดยการจัดระเบียบความคิดบนพื้นฐานว่าอะไรคือสิ่งที่ผู้รับสาสน์จำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับเนื้อ
เรื่องดังกล่าวและโดยการจัดระเบียบความคิดบนพื้นฐานว่าอะไรคือสิ่งที่ผู้เขียนต้องการจะให้ผู้รับสาสน์ทำ
หลังจากอ่านสาสน์ที่สื่อแล้ว ผู้เขียนจะทำงานได้ง่ายมากขึ้นจากนั้นให้ย้อนกลับไปดูข้อความที่กำหนดไว้ การ
กระทำเช่นนี้จะช่วยให้ผู้เขียนไม่ออกนอกลู่นอกทางประเด็นต่างๆที่จะเขียนควรจะเชื่อมโยงกันภายใต้ส่วน
ต่างๆดังต่อไปนี้
ส่วนนำ/ระบุจุดประสงค์
เหตุใดจึงเขียนสาสน์นี้และ/หรือกำลังเขียนเกี่ยวกับอะไร
ภูมิหลัง/การอธิบาย
ใช้ประเด็นย่อยกำหนดขั้นตอนเพื่อการสื่อสาร
ถกเถียง/ข้อเสนอ
ทำให้การเขียนครั้งนี้มีการอภิปรายโต้แย้ง
8
	
สรุป
ย่อประเด็นต่างๆ
กระตุ้นให้มีการกระทำ/การตอบสนอง
กระตุ้นให้ผู้รับสาสน์มีส่วนร่วมหรือเรียกร้องให้ผู้รับสาสน์ตอบรับ
เค้าโครงในการเขียน
ขณะที่เขียนให้คิดถึงประเด็นต่างๆที่จะเขียนในกรอบของเหตุการณ์เกิดก่อนเกิดหลังตามลำดับการทำ
เช่นนี้จะช่วยให้ความคิดของผู้เขียนอยู่ในลำดับต่อเนื่องกันถ้าผู้เขียนกำลังจะนิยามกระบวนการเช่น การจัด
ทดสอบในห้องปฏิบัติการความคิดของผู้เขียนจำเป็นต้องจัดให้อยู่ในลำดับต่อเนื่องถ้ากำลังเขียนเกี่ยวกับ
ปริมาณการขายที่เพิ่มขึ้นเมื่อ 5ปีก่อนลำดับที่จะนำเสนอเรื่องอาจจะต้องเป็นไปตามกรอบแห่งเวลาถ้าเนื้อเรื่อง
ที่เขียนมีลำดับอยู่แล้วตามธรรมชาติในตัวเองในลักษณะที่กล่าวมาอย่างใดอย่างหนึ่งก็ให้เดินหน้าเขียนต่อไปได้
เลย ผู้เขียนอาจจะเลือกพัฒนาการเขียนของตนจากทางเลือกที่หลากหลายต่อไปนี้โดยการเขียนภายใต้กรอบ
ของ
• ลำดับเวลา ลำดับก่อนหลัง
• ระยะ การลำดับเหตุการณ์
• การวิเคราะห์ การแบ่งส่วนและการจัดประเภท
ประเด็นหลัก
ประเด็นรอง
เรื่อง
ประเด็นรอง
ประเด็นรอง
ประเด็นรอง
ประเด็นรอง
ประเด็นรอง
9
	
• การพิจารณาจากหลักทั่วไปสู่เรื่องเฉพาะ การพิจารณาจากความเฉพาะไปสู่หลักทั่วไป
(Deduction) (Induction)
• เหตุและผล ลำดับของความสัมพันธ์ที่เพิ่มขึ้น
• ลำดับความสำคัญที่ลดลง
คิดระหว่างเขียนด้วยว่าการใช้สื่ออย่างใดอย่างหนึ่งประกอบจะทำให้สาสน์ชัดเจนกว่าและน่าสนใจยิ่งขึ้น
ขยายเนื้อหาในเค้าโครง
จงจำอยู่เสมอว่าเค้าโครงที่มีน้ำหนักย่อมช่วยให้ผู้เขียนเริ่มต้นเขียนได้อย่างมีกรอบคล้ายกับแผนที่บอก
ทางความซับซ้อนของสาสน์ผู้รับสาสน์และวิธีทำงานของผู้เขียนจะคอยกำกับเมื่อเขียนเค้าโครงเรื่องเสร็จ
สมบูรณ์และจำไว้ด้วยอีกเช่นกันว่าไม่จำเป็นจะต้องดำเนินงานตามลำดับเสมอไป บางขั้นตอนที่สำคัญใน
กระบวนการเขียนอาจจะทำกลับไปกลับได้เช่น ระหว่างตอนทำเค้าโครงผู้เขียนอาจะเริ่มเขียนบางส่วนของ
สาสน์นั้นได้และข้ามไปเขียนขั้นตอนถัดไป จากนั้นจึงย้อนกลับมาเขียนส่วนก่อนหน้าของสิ่งที่จะสื่อสารนั้น
ทำการวิจัยค้นคว้าให้เสร็จสมบูรณ์
การจะเขียนสาสน์ใดๆก็ตามจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อยผู้เขียนอาจจะ
ดูบันทึกต่างๆซึ่งทำไว้ระหว่างเขียนเค้าโครงผู้เขียนอาจต้องสัมภาษณ์คนอื่นๆเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงปัจจัยนำเข้า
(Input)นอกจากนี้ยังอาจต้องค้นงานวิจัยที่พิมพ์เผยแพร่แล้วและข้อมูลเอกสารที่ยังไม่ได้ตีพิมพ์หรือบางกรณี
ผู้เขียนอาจต้องสำรวจหรือพัฒนาแบบสอบถามเพื่อเป็นเครื่องมือหาข้อเท็จจริงทำให้แน่ใจว่าการวิจัยนั้น
ละเอียดลออและถ้าผู้เขียนพัฒนาเครื่องมือการวิจัยเช่น แบบสำรวจก็ต้องใช้ความระมัดระวังสร้างเครื่องมือ
วิจัยที่จะช่วยให้ได้ข้อมูลเชิงวัตถุวิสัยและมีเหตุผล
ผู้เขียนอาจจำเป็นต้องจัดสาสน์ลงในรูปแบบอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้เช่นนำเสนอสาสน์ในรูปของ
• รายงานอย่างเป็นทางการ
• รายงานอย่างไม่เป็นทางการ
• บันทึก
• ข้อเสนอ
• จดหมาย
หลังจากเลือกแบบที่จะบรรจุสาสน์แล้วจากนี้ก็เริ่มเขียนร่างแรกของสาสน์
10
	
การเขียนร่าง
ใช้เค้าโครงบันทึกและข้อความที่เขียนไว้รวมถึงข้อมูลที่รวบรวมมาเพื่อการเขียน สร้างสมาธิให้อยู่กับ
การเขียนครั้งแรกให้เสร็จสิ้นก่อนโดยยังไม่ต้องพยายามขัดเกลาสำนวนใดๆ ถ้าผู้เขียนทำตามทุกขั้นตอนเสร็จ
สิ้นแล้วก็เท่ากับว่ามีความชัดเจนต่อทรรศนะของตนอีกทั้งยังมีความชัดเจนตามระเบียบวิธีและกรอบของเรื่อง
สำหรับนักเขียนส่วนใหญ่แล้วการเขียนร่างแรกจะทำออกมาให้ดีที่สุดเป็นการเขียนที่ยังไม่ได้อ่าน
ทบทวนเพราะเป็นช่วงที่ต้องปล่อยให้ความคิดไหลลื่นและรีบบันทึกความคิดทั้งหมดนั้นไว้
การทบทวน
แม้ว่าการเขียนจะเป็นงานยากการทบทวนสิ่งที่เขียนแล้วคืองานที่ยากที่สุดการเขียนที่กระจ่างชัดที่
ปรากฏว่าเขียนขึ้นมาด้วยความสะดวกง่ายปกติเป็นสิ่งที่ต้องใช้แรงงานหนักมหาศาล ต่อไปนี้เป็นแนวทางบาง
ประการที่ใช้เพื่อการทบทวนร่างงานเขียน
• ให้แน่ใจว่าได้เขียนประโยคหลักเพื่อแต่ละย่อหน้า
• แทรกหัวเรื่องหลักและหัวข้อย่อยเพื่อชี้นำความสนใจของผู้อ่านและทำให้สาสน์ที่เขียนนั้น
ชัดเจนง่ายต่อการเข้าใจทั้งหมดและมีรูปลักษณ์ที่สื่อสารได้
• ต้องทราบว่าการทบทวนนั้นปกติต้องทำหลายครั้งเพื่อตรวจสอบความถูกต้องแม่นยำและ
ความสมบูรณ์ ผู้อ่านจำเป็นต้องรู้อะไรบ้างและผู้อ่านน่าจะได้รู้ละเอียดเพียงใด
• ให้กลับไปดูที่ข้อความในสาสน์แล้วเขียนเกริ่นเรื่องกับคำนำ
• ใช้ประโยคสั้นและได้ใจความ
• พยายามรักษาพื้นที่ย่อหน้าให้อยู่ในขนาดที่เหมาะสม ย่อหน้าละประมาณ 8-9 บรรทัด
• ใช้ประโยคประโยคที่มีความยาวหลากหลายและทำประโยคให้มีโครงสร้างเพื่อจะเพิ่มความ
สนใจเข้าไปได้
• คิดถึงรูปลักษณ์ของสิ่งที่จะสื่อและจัดเตรียมสาสน์ขณะที่ดำเนินการเขียนต่อไป
• ตรวจสอบความต่อเนื่องและสร้างการเปลี่ยนแปลง เขียนแต่ละย่อหน้าให้มีความสัมพันธ์
ต่อเนื่องย่อหน้าแรกๆ เป็นส่วนที่นำเรื่องสำหรับย่อต่อๆไป คือส่วนขยายของย่อหน้าที่ผ่านมา
ส่วนขยายจึงมักเป็นตัวอย่างกรณีต่างๆ ที่นำมาใส่ เพื่อให้แก่นของเรื่องเด่นชัดมากยิ่งขึ้น
• ให้แน่ใจว่าสาสน์นั้นชัดเจนถ้าเป็นไปได้ควรขอให้ใครคนใดคนหนึ่งอ่านและแสดงความคิดเห็น
• ตรวจสอบปัญหาเกี่ยวกับถ้อยคำหรือย่อหน้าที่ให้ไว้
11
	
การทำสาสน์ให้กระจ่างชัด
เป็นเรื่องง่ายที่จะเชื่อมโยงอะไรก็ตามที่เขียนแต่ในการทบทวนผู้เขียนต้องพินิจพิจารณาเป็นอย่างยิ่ง
ถามตัวเองว่าแต่ละคำมีความหมายที่แท้จริงหรือไม่ แต่ละคำมีหน้าที่ที่สำคัญหรือไม่ ถ้าได้คำตอบว่า “ไม่”ก็ให้
ตัดคำเหล่านั้นออก การกำจัดถ้อยคำที่ไม่จำเป็นในสาสน์เป็นงานหนักที่น่าเบื่อจึงต้องใช้ความพยายามที่แท้จริง
และความสันโดษอย่างที่มืออาชีพทำด้วยต้องอาศัยสมาธิเป็นหลัก
การทำสาสน์ให้สื่อสารได้ง่ายเพื่อผู้อ่านทั่วๆไป
ใช้คำง่ายๆถ้าคำนั้นเหมาะสม ใช้ศัพท์ทางเทคนิคเมื่อศัพท์เหล่านั้นเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดเมื่อผู้อ่าน
ทราบความหมายของคำเหล่านั้นและเมื่อศัพท์ทางเทคนิคดังกล่าวตรงไปตรงมาและแน่ชัดที่สุดนั่นไม่ได้
หมายความว่าสิ่งที่เขียนนั้นจะน่าเบื่อหน่ายหรือง่ายเกินไปงานเขียนที่ดีจะต้องมีน้ำหนัก ชัดเจน และเข้าใจได้
ง่าย
การทำสาสน์ให้สื่อกับผู้รับอย่างเป็นกันเอง
การเขียนที่เป็นกันเองกับผู้อ่านหมายถึงการเขียนที่ชัดเจนตรงไปตรงมานอกจากนี้ยังหมายถึง
รูปลักษณ์ของสาสน์ที่สามารถสื่อสารได้และเชื้อเชิญให้ผู้อ่านได้เข้ามาสัมผัสใช้กระดาษสีขาวเพื่อเขียนสาสน์จะ
ทำให้ดูเป็นมิตรและง่ายที่จะอ่านและใช้หัวข้อต่างๆเพื่อให้ดึงดูดความสนใจจากผู้อ่านการใช้การนำเสนอด้วย
การแจกแจงรายการ กราฟและแผนภูมิประกอบจะช่วยให้สาสน์นั้นมีรูปลักษณ์ที่สื่อได้อีกระดับหนึ่ง
สำหรับการใช้วิธีการแจกแจงน่าจะได้คำนึงถึงกฎเกณฑ์บางประการต่อไปนี้
• เริ่มแต่ละขั้นตอนใช้ถ้อยคำอย่างตรงไปตรงมาแต่เลี่ยงการใช้ถ้อยคำซ้ำๆ
• แจกแจงแต่ละขั้นตอนต่างหากจากกัน
• ทำให้แน่ใจว่าแต่ละขั้นตอนนั้นอยู่ในลำดับต่อเนื่องกันอย่างมีเหตุผล
• เขียนแต่ละขั้นตอนในรูปของประโยคที่สมบูรณ์
• การใช้ถ้อยคำที่มีอำนาจในการอธิบาย
12
	
การตรวจทานแก้ไข(ต้นฉบับ)
การตรวจทานแก้ไขสิ่งที่เขียนหลายๆครั้งก็จะทำให้สาสน์นั้นเป็นที่เข้าใจของผู้รับได้ดียิ่งขึ้นคำถาม
ต่อไปนี้อาจจะช่วยตรวจทานว่าผู้เขียนได้แต่งสาสน์นั้นอย่างชัดเจนที่สุดที่จะเป็นไปได้หรือยัง
• ได้เขียนสาสน์นั้นถึงผู้รับในเป้าหมายหรือเปล่า
• ได้บรรจงแต่งสาสน์อย่างเรียบง่ายหรือเปล่า
• ได้ใช้ถ้อยคำที่คลุมเครือเฉพาะเจาะจงหรือเปล่า
• ได้ตัดถ้อยคำเชิง “น้ำท่วมทุ่ง”และถ้อยคำที่ไม่จำเป็นออกไปจากสาสน์หรือยัง
หลักในการเขียนเรียงความที่กล่าวมาในข้างต้นทั้งหมดเป็นหลักทั่วๆไปที่ต้องใช้เป็นพื้นฐานในการ
เขียนข้อมูลข่าวสารในหลากหลายรูปแบบและในโอกาสต่างๆ เช่นการเขียนที่เกี่ยวข้องกับบริบททาง
สังคม อาทิการเขียนแสดงความยินดี การเขียนเพื่อเชื้อเชิญ การเขียนขอบคุณ การเขียนจดหมาย
ส่วนตัว และการเขียนจดหมายรัก นอกจากนี้ในการเขียนเกี่ยวกับการสมัครงาน การเขียนเพื่อสื่อสาร
ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง การเขียนเพื่อเสนอโครงการและรายงาน การเขียนเพื่อเสนอปัญหาและ
เรื่องราวที่อ่อนไหวรวมถึงวิธีแก้ปัญหา การเขียนเพื่อการตลาด และการเขียนสื่อสารในงานสารสนเทศ
เหล่านี้ล้วนต้องเริ่มต้นและดำเนินการอยู่ในลักษณะของการเขียนเรียงความทั้งสิ้น จะแตกต่างออกไป
จากเรียงความทั่วๆไปที่ประเด็นปัญหาเฉพาะด้านซึ่งเป็นรายละเอียดของงานแต่ละด้าน
การนำเสนอ
การนำเสนอผลงานต่อเวทีใดเวทีหนึ่งก็ใช้หลักการเขียนเรียงความที่กล่าวมาข้างต้น เพียงแต่เป็นเรียงความ
ฉบับกระเป๋าที่สามารถสื่อผู้ฟังให้รับรู้สาสน์ของเรื่องที่จะนำเสนอให้ครอบคลุมที่สุดและจบสิ้นภายในเวลา
จำกัด หากเขียนเป็นโครงสร้างของการนำเสนอก็จะแบ่งได้เป็น 3 ส่วนดังรูปต่อไปนี้
ส่วนเนื้อหา(เกริ่นนำ)
คำถามเนื้อหา
สรุป
คำถาม
คราวนี้มาลองพิจารณาแต่ละส่วนให้มีรายละเอียดมากขึ้น
ส่วนนำ
13
	
ส่วนนำสำคัญมากหรือบางทีก็สำคัญที่สุดในการนำเสนอครั้งนั้น ด้วยเป็นโอกาสทองที่ผู้นำเสนอจะ
สร้างความประทับใจให้กับผู้ฟังจึงควรที่จะทุ่มเทความสามารถในการเขียนและพูดให้สัมฤทธิ์ผลมากที่สุด
ข้อมูลในตารางข้างล่างนี้เป็นตัวอย่างภาษาที่จะใช้พูดและขั้นตอนในการนำเสนอการจะนำแนวทางใน
ตัวอย่างไปใช้จริงอาจต้องปรับเปลี่ยนวลีให้เข้ากับสถานการณ์
ลำดับ ภาษาที่ใช้
1.กล่าวต้อนรับผู้ฟังและแนะนำตัวเอง -กล่าวสวัสดี
-กล่าวแนะนำตนเองด้วยชื่อนามสกุลและสถานภาพขณะนั้น เช่นเป็น น.ศ. พนักงานจาก......
2.กล่าวให้ผู้ฟังทราบถึงประเด็นที่จะพูดและบอกว่า
ประเด็นดังกล่าวจะเกี่ยวข้องกับผู้ฟังอย่างไรและ
ทำไม
-กระผมจะนำเสนอ
-ประเด็นที่จะนำเสนอวันนี้คือ
-ในการนำเสนอครั้งนี้สาระของเรื่องคือ...
-วันนี้กระผมจะได้นำเสนอสาระเกี่ยวกับ.....
3.ระบุโครงสร้างของการนำเสนอว่าจะมีกี่ตอน/มี
อะไรบ้าง
-บอกจุดประสงค์ของการนำเสนอ
-การนำเสนอครั้งนี้แบ่งออกเป็น 3 ตอนใหญ่ๆคือ.......
-การนำเสนอจะแบ่งออกเป็น 3 ประเด็นหลักคือ.....
4.ลำดับและเวลาที่เสนอ -การนำเสนอในตอนที่ 1 ว่าด้วย.............
ตอนที่ 2ว่าด้วย............ ตอนที่ 3 ว่าด้วย............
-ข้าพเจ้าจะเริ่มนำเสนอด้วย............
จากจากประเด็นนั้นจะนำเสนอเกี่ยวกับ............
-การนำเสนอครั้งนี้ใช้เวลาทั้งสิ้นประมาณ............นาที
5.คำถามต่างๆ -ท่านผู้ฟังมีคำถามอะไรเชิญครับ
-ยังพอมีเวลา...........เพื่อการตอบคำถาม เชิญครับ
-คำถามของท่านจะช่วยให้ผู้ร่วมฟังได้ประสบการณ์เพิ่มขึ้นขอเชิญครับ
ส่วนเนื้อหาสาระ
ส่วนนี้คือตัวจริงเสียงจริงของการนำเสนอ หากสามารถดำเนินการส่วนนำได้กระชับ สร้างความสนใจ
ให้กับผู้ฟังได้ระดับดีก็นับว่าช่วยลดความวิตกกังวลและตกประหม่าในการนำเสนอประเด็นหลักต่อไปได้ ผู้นำ
เสนอจะมีความมั่นคงในการนำเสนอได้อย่างมาก
จัดการนำเสนออย่างมีโครงสร้างที่ดีโดยการแบ่งเนื้อหาเป็นส่วนๆอย่างมีความสัมพันธ์กันด้วยการ
เริ่มต้นที่เนื้อหาใหญ่เรื่อยลงไปสู่เนื้อหาย่อย การมีสรุป ภาพ ฯลฯ ประกอบของแต่ละส่วนของเนื้อหาช่วยให้
ผู้ฟังเห็นความชัดเจนและความต่อเนื่องของเนื้อที่นำเสนอได้มาก ตัวอย่างในตารางต่อไปนี้เป็นข้อมูลการ
นำเสนออย่างกว้างๆ ลองปรับแนวทางจากตัวอย่างให้เข้ากับการใช้งานจริงต่อไปนี้
การใช้งาน ถ้อยคำที่อาจนำไปใช้
1.ระบุตอนจบของส่วนเนื้อหา ส่วนแรกของเนื้อเรื่องจะจบลงตรงนี้
2.เขยิบไปยังส่วนถัดไป คราวนี้ก็กลับมาดูตอนต่อไปของเรื่อง
14
	
3.กลับมาทบทวน ดังที่กล่าวไว้แต่แรกว่า.............
4.แนะนำภาพกราฟรูป ฯลฯ
ที่นำมาประกอบเรื่อง
-ลองมาดู Power point รูปแรกที่จะอธิบายว่า.............
-กราฟนี้แสดงให้เห็นว่า............
-อย่างที่ท่านเห็นในแผนภูมิพอจะบอกได้ว่า.............
5.ท ำ ให ้ข ้อ ม ูล โด ด เด ่น
น่าสนใจ
-กระผมอยากจะเน้นให้เห็นว่า.............
-สิ่งที่สำคัญ ณ ที่นี้ก็คือ.............
-พิจารณาให้ใกล้ชิดที่สุดก็จะพบว่า.............
ส่วนสรุป
เป็นส่วนสุดท้ายของการนำเสนอที่ต้องมีการ
-สรุปสาระทั้งหมดที่กล่าวมาอย่างย่นย่อที่สุดเพียง 2-3 ประโยค
-เชิญผู้ฟังถามข้อข้องใจ
-ขอบคุณผู้ฟัง
ตัวอย่างต่อไปนี้เป็นแนวทางกว้างๆที่อาจใช้กล่าวตอนสรุปการนำเสนอเปลี่ยนแปลงคำพูดจากตัวอย่าง
ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
การใช้งาน ถ้อยคำที่อาจนำไปใช้
1.สรุปประเด็นสำคัญ -อาจกล่าวสรุปประเด็นสำคัญๆของการนำเสนอได้ว่า...........
-โดยสรุปแล้วอาจกล่าวได้ว่า.............
2.เชิญฟังถามข้อข้องใจ -ยังพอมีเวลาให้คำถาม 2-3 คำถามครับ
3.ขอบคุณผู้ฟัง -ขอบคุณทุกท่านที่มาร่วมฟัง
-ขอบคุณท่านทั้งหลายที่ให้ความสนใจเข้าร่วมฟัง
การเตรียมการเพื่อนำเสนอ
ก่อนจะนำเสนอผลงานต่อที่ประชุมแบบเผชิญหน้าน่าจะได้ทำตามขั้นตอนต่อไปนี้คือ
1.เขียนข้อความที่จะนำเสนออย่างคร่าวๆเหมือนกับการเขียนร่างแรกของรายงานเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
15
	
2.ทบทวนสาระของต้นฉบับร่างแรกนั้น
3.เวลานำเสนอบนเวทีห้ามอ่านบทที่เตรียมมา แต่ต้องจดจำประเด็นหลักๆของการนำเสนอใว้ในใจ
4.ฝึกฝนการนำเสนอ ตอนแรกอาจนำเสนอกับตัวเองต่อหน้ากระจกส่อง และต่อไปลองนำเสนอต่อ
หน้าเพื่อนฝูง
5.แต่งกายเหมาะสมกับสถานการณ์
6.ต้องเตรียมบทนำเสนอไว้ให้พร้อมก่อนขึ้นเวที
ขั้นตอนของการนำเสนอ
-นำเสนอเรื่องราว
-ทบทวนประเด็นที่สำคัญๆ
-ให้ผู้ฟังถามประเด็นที่สนใจและผู้นำเสนอก็ตอบประเด็นเป็นข้อๆ เพื่อให้ผู้ร่วมฟังคนอื่นสื่อสารได้
อย่างต่อเนื่อง
การนำเสนอ(เพื่อส่งสาสน์)
-พูดชัดเจนในระดับเสียงที่ไม่ตะโกนและแผ่วเบาอย่างการกระซิบ ออกเสียงอักขระโดยเฉพาะคำควบ
กล้ำด้วย ร และ ล
-อย่าพูดเร่งเร็วหรือพูดเนิบนาบ พูดอย่างเป็นธรรมชาติแต่ก็ไม่ใช่พูดอย่างการสนทนา
-หยุดพูดเล็กน้อยก่อนจะขึ้นต้นตอนต่อไป
ตอนสำคัญๆ
-ใช้มือเคลื่อนไหว เช่น ชี้ไปยังจุดสำคัญๆ (ที่ปรากฏเป็นสื่อบนจอภาพหรือกระดาน)
-ไม่หันหน้าไปอ่านบนจอภาพและหันหลังให้ผู้ฟัง ต้องจำบทแม่นยำและหันหน้าพูดต่อผู้ฟังตลอดเวลา
-พูดโดยมองไปยังสายตา สื่อสารกับผู้ฟัง
การแสดงออกทาง(สี)หน้า
16
	
การยิ้มแย้มแสดงสีหน้าแจ่มใสก็ช่วยสร้างความมีไมตรีระหว่าผู้พูดและผู้ฟัง อย่าแสดงอาการเคร่งครึม
และเกร็งเพราะกลัวการนำเสนอ จะทำให้ผู้ฟังรู้สึกอึดอัดและไม่สนุกรื่นรมย์ที่จะฟังจนจบรายการ
ภาษาท่าทางและการวางตำแหน่งต่างๆของร่างกายระหว่างการนำเสนอ
-ขณะพูดห้ามวางมือทั้งสองข้างไว้ในกระเป๋ากางเกง
-ไม่ยืนพิงผนังห้องหรือยืนอิงโพเดียม
ทำตัวตามสบายและร่าเริง
-นำเสนอไปพักหนึ่งแล้วอาจดื่มน้ำเพื่อให้คลายเครียด
-หายใจลึกๆ
-ทุ่มเทสมาธิให้กับการนำเสนอโดยบอกกับตัวเองว่า “ฉันทำได้อยู่แล้ว”
-ทำตัวเองให้สนุกกับการนำเสนอผู้ฟังจะอยู่ข้างคุณและต้องการจะฟังสิ่งที่คุณพูด
การนำเสนอด้วย Power Point
สิ่งที่ควรทำ สิ่งที่ไม่ควรทำ
-ใช้คำหลักๆและวลีสำคัญๆ -ให้รายละเอียดแต่ละสไลด์มากเกินไป
-ปกติจะให้แนวคิดสำคัญๆ
ประมาณ 5 แนวต่อสไลด์ 1
รูป
-พื้นหลังสไลด์สีเข้มกว่าตัวหนังสือที่นำเสนอ พื้นสีสไลด์กลมกลืนกับตัวหนังสือ
-ใช้สิ่งที่ช่วยเพิ่มความสำคัญ
ให้กับคำหลักๆ
-ใช้สีสไลด์ไม่เหมาะสมกับสาระที่นำเสนอ
-ใช้ตัวอักษรขนาดที่อ่านง่าย -ใช้ตัวพิมพ์ใหญ่พร่ำเพรื่อ
-ตรวจสอบตัวสะกดบน
ข้อความสไลด์
-หันไปอ่านข้อตามในจอและหันหลังให้ผู้ฟัง
การค้นคว้าวิจัย
มนุษย์มีความสงสัยใคร่หาคำตอบไม่รู้จบ ในอดีตมักหาคำตอบด้วยการลองลองผิดลองถูก พัฒนาการ
ของการสื่อสารรูปแบบต่างๆที่ปรับปรุงก้าวหน้าไปตามการค้นพบของวิทยาการช่วยให้การหาคำตอบต่อข้อ
สงสัยต่างๆเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว กว้างไกลและลุ่มลึก กระนั้นการเปลี่ยนแปลงของโลกอย่างไร้ขอบเขตยิ่งทำ
17
	
ให้มีคำถาม 108 ท้าทายให้ต้องหาคำตอบอย่างไม่มีจบสิ้น เห็นได้ชัดอย่างกรณีของการเรียนการสอนใน
ระดับอุดมศึกษาที่ผู้สอนอย่างมีประสิทธิภาพแสวงหาโจทย์ให้ผู้เรียนได้ฝึกค้นคว้าหาเหตุผลที่น่าเชื่อถือมา
ยืนยันตอบต่อคำถามต่างๆกัน บางโอกาสผู้เรียนอาจมีอิสระทางความคิดอย่างมากโดยการตั้งคำถามเป็นโจทย์
การวิจัยเอง นับเป็นโจทย์การวิจัยที่มีค่าต่อการสำรวจ ต่อการอ่านอย่างกว้างขวางในการแสวงหาคำตอบที่
เป็นไปได้ นอกจากนั้นยังเป็นสิ่งมีค่าไปถึงการตีความจากสิ่งที่ผู้เรียนอ่านมา(เพื่อตอบโจทย์) มีค่าถึงการหา
ข้อสรุปอย่างมีเหตุผล เพราะมีคำตอบต่อการสนับสนุนข้อสรุปเหล่านั้นด้วยหลักฐานที่ดีและมีตรรกะน่าเชื่อถือ
เพื่อช่วยให้มีทักษะในการเขียน เรียงความตามปกติทั่วไปที่เริ่มตั้งแต่การตั้งคำถาม(โจทย์วิจัย)ไปถึงการหา
ข้อมูลจากแหล่งต่างๆ คำแนะนำต่อไปนี้นับว่าช่วยฝึกฝนขั้นพื้นฐานได้มาก
การตั้งคำถามวิจัย
ในการเรียนการสอนที่ผู้ศึกษาต้องหาหัวข้อ(ประเด็น)วิจัยเองคงเริ่มที่การตั้งคำถาม 2-3 คำถาม ว่า
คำถามเหล่านั้นดูมีค่าควรต่อการค้นคว้าหรือไม่ ระหว่างที่สร้างคำถามที่คิดว่าพอจะเป็นไปได้เพื่อการค้นคว้าก็
ต้องให้แน่ใจว่าเป็นคำถามที่อยู่ในแนวทางของการค้นคว้าเพื่อการวิจัยหรือไม่ การตั้งโจทย์วิจัยหรือตั้งคำถามที่
ทำการวิจัยต้องเป็นคำถามที่ไม่กว้างจนเกินไป เป็นคำถามที่ท้าทายและเป็นคำถามที่อยู่บนพื้นฐานความเป็น
จริง(ไม่ใช่คำถามที่คาดคะเน)
การเลือกคำถามที่ไม่กว้างเกินไปและไม่เจาะจงลงลึก
การศึกษาค้นคว้าก็ไม่ต่างกับการลงทุนทางธุรกิจที่ต้องคำนึงถึงปัจจัยเกี่ยวเนื่องที่สำคัญคือ ระยะที่จะ
ศึกษา เงินทุนที่มีอยู่และแรงงานที่จะใช้ในการศึกษาค้นคว้า หากคำถามวิจัยที่ตั้งไว้แต่แรกกว้างเกินไปอาจ
ดำเนินการไม่เสร็จทันในเวลาที่กำหนด ทุนที่มีอยู่ก็ไม่พอ อีกทั้งแรงคนที่จะร่วมค้นคว้าก็อาจน้อยเกินกว่าจะหา
คำตอบได้คลอบคลุมตามข้อปัญหา(ใหญ่)วิจัย จึงต้องหาหนทางทำประเด็นที่สนใจศึกษาให้เล็กลงและสามารถ
หาคำตอบได้อย่างลุ่มลึก ลองดูตัวอย่างข้างล่างนี้
โจทย์การวิจัยกว้างเกิน
-การศึกษาความเห็นของนักศึกษากับการฝ่าฝืนระเบียบการแต่งกายชุดนักศึกษาในสถานศึกษา
-การเที่ยวสถานบันเทิงละแวกมหาลัยของนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต
18
	
โจทย์วิจัยที่เล็กและลุ่มลึก
-
-
การเลือกโจทย์คำถามวิจัยที่ท้าทาย
หัวข้อค้นคว้าวิจัยจะเป็นที่น่าสนใจของผู้ศึกษาและผู้ฟังหากเป็นหัวข้อวิจัยที่อยู่บนความท้าทายอย่าง
ที่ต้องใช้เชาว์ปัญญาในการสืบค้นข้อเท็จจริง หลีกเลี่ยงการตั้งคำถามชนิดเลียบๆ พื้น ๆ ที่ไม่อาจกระตุ้น
ความคิดหรือไม่ดึงดูดให้ผู้ฟังเข้ามามีส่วนร่วมถกเถียงแสดงความเห็นและวิสัยทัศน์นานา
คำถามที่เรียบแบน
-ผู้คนเสี่ยงโชคด้วยช่องทางสลากกินแบ่งรัฐบาลกันทำไม
-การทดสอบ DNA ทำงานอย่างไร
คำถามที่ท้าทาย
-สภาวะเศรษฐกิจตกต่ำกับการเสี่ยงโชคด้านสลากกินแบ่งในหมู่แรงงานรับจ้างรายวัน
-การทดสอบ DNAน่าเชื่อถืออย่างงไร
ผู้ศึกษาอาจจะเพิ่มคำถามพื้นๆไปด้วยก็ได้ในตอนที่ตอบคำถามชนิดท้าทายแต่จะเป็นความผิดอย่างมากที่จะใช้
เน้นการตอบคำถามพื้นๆตลอดการเขียนเรียงความนั้น
เลือกคำถามที่อยู่บนความเป็นจริง
ในที่สุดผู้ศึกษาก็ต้องการทำให้แน่ใจว่าโจทย์วิจัยนั้นอยู่บนความเป็นไปได้ ไม่ใช่คำถามที่เข้าข่าย”ฝัน
ลมๆแล้ง”ที่อยู่กับการคาดคะเนเป็นหลัก แม้ว่าคำถามชนิดคาดเดาเช่น คำถามที่ระบุประเด็นทางศาสนาและ
ความเชื่อจริยธรรมและปรัชญาก็เป็นคำถามที่มีค่าต่อการถามและอาจให้ความสนใจอยู่ด้วยในงานวิจัยนี้
แต่คำถามชนิดคาดคะเนเช่นนี้เป็นเพียงคำถามที่นำมาประกอบ ไม่ใช่คำถามหลักของการวิจัยเพราะคำถาม
หลักต้องอยู่บนข้อเท็จจริงที่พิสูจน์ได้
คำถามชนิดคาดคะเน
19
	
-นักศึกษาแพทย์มีสิทธิ์ทดลองกับสัตว์หรือไม่
-ผิดหรือไม่ที่ชาย หญิงจะอยู่ด้วยกันก่อนแต่ง
คำถามบนความเป็นจริง
-ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ด้านเทคโนโลยีทำให้การทดลองในสัตว์เกือบจะไม่มีความจำเป็นอีก
ต่อไป
-ความคิดของวัยรุ่นในเมืองต่อการอยู่กินก่อนแต่ง
การหาแหล่งข้อมูลที่เหมาะสม
การหาแหล่งข้อมูลนั้นขึ้นอยู่กับปัญหาวิจัย ตัวอย่างเช่นถ้าคำถามวิจัยเป็นประเด็นทางประวัติศาสตร์
ก็อาจจะพิจารณาข้อมูลอ้างอิงจากหนังสือบทความทางวิชาการ และข้อมูลเอกสารชั้นต้นอาทิ สุนทรพจน์ หาก
โจทย์วิจัยเป็นประเด็นทางการเมืองร่วมสมัยก็อาจดูที่นิตยสารบทความทางหนังสือพิมพ์ เว็บไซต์และเอกสาร
รัฐบาล
การหาตำแหน่งเอกสารอ้างอิง
สำหรับประเด็นวิจัยบางประเด็นอาจเริ่มต้นโดยการอาศัยงานอ้างอิงเฉพาะด้าน ตรวจสอบ
เอกสารอ้างอิงกับบรรณารักษ์เพื่อดูว่ามีงานอ้างอิงที่เกี่ยวกับประเด็นวิจัยใดบ้างที่อยู่ในระบบ e-(electronic
format)
เป็นอย่างที่หวังตั้งใจ
ทุกคนอยากจะเป็นเลิศ แต่จะเป็น
เลิศอยากที่ต้องการประมาณไหน
ก็ดี
ดี
20
	
ดีเยี่ยม
ดีที่สุดในสายงาน
หรือดีที่สุดในโลก
บางทีอาจจะเป็นที่พรสวรรค์ แต่พรสวรรค์ ก็คงไม่พาให้ถึงฝั่งตามทะยานยากสุดๆ ได้
ทุกๆ คนต้องการจะเป็นเลิศ แต่หลายคน ก็ยังไม่ได้พยายามเต็มที่ที่จะเป็นดั่งหวัง
สำหรับคนจำนวนไม่น้อย เพียงทำตัวน่ารักเพื่อให้เป็นที่ชื่นชอบสำคัญกว่า
คนส่วนใหญ่รอคอยสูตรสำเร็จที่จะไปถึงความเป็นเลิศ
สูตรทางลัดเพื่อไปถึงตามความเป็นเลิศไม่เคยมี ประสบการณ์และความผิดพลาดเป็นเพียงหนทางเดียวที่จะ
นำไปสู่ความเป็นเลิศ
แล้วคุณจะได้เป็นอย่างที่หวัง
The forest is dark and deep
But I have promises
21
	
Miles to go
before I sleep
(English poetry)

More Related Content

Viewers also liked

Escocia (canal rotativo)
Escocia (canal rotativo)Escocia (canal rotativo)
Escocia (canal rotativo)
antoni royo
 
Cuáles son las limitaciones para la comprensión de los mensajes en una socied...
Cuáles son las limitaciones para la comprensión de los mensajes en una socied...Cuáles son las limitaciones para la comprensión de los mensajes en una socied...
Cuáles son las limitaciones para la comprensión de los mensajes en una socied...
Free TIC
 
06 Materiales I
06 Materiales I06 Materiales I
06 Materiales I
Gil Amador
 
Estudio de mercado para Caleta portales de Valparaíso
Estudio de mercado para Caleta portales de ValparaísoEstudio de mercado para Caleta portales de Valparaíso
Estudio de mercado para Caleta portales de Valparaíso
Eduardo Albornoz Lagos
 
A catalunya tenim
A catalunya tenim A catalunya tenim
A catalunya tenim
antoni royo
 
Lapomadita
LapomaditaLapomadita
Lapomadita
morako
 
Ciro NiñEz
Ciro NiñEzCiro NiñEz
Ciro NiñEz
eliul
 
directoriowarez.com
directoriowarez.comdirectoriowarez.com
directoriowarez.com
m4rcoirre
 
Heus ací catalunya
Heus ací catalunyaHeus ací catalunya
Heus ací catalunya
antoni royo
 
Energía Mecánica
Energía MecánicaEnergía Mecánica
Energía Mecánica
Free TIC
 

Viewers also liked (18)

Caleta Portales Valparaíso
Caleta Portales ValparaísoCaleta Portales Valparaíso
Caleta Portales Valparaíso
 
Escocia (canal rotativo)
Escocia (canal rotativo)Escocia (canal rotativo)
Escocia (canal rotativo)
 
Se sabe ya
Se sabe yaSe sabe ya
Se sabe ya
 
Chang
ChangChang
Chang
 
Cuáles son las limitaciones para la comprensión de los mensajes en una socied...
Cuáles son las limitaciones para la comprensión de los mensajes en una socied...Cuáles son las limitaciones para la comprensión de los mensajes en una socied...
Cuáles son las limitaciones para la comprensión de los mensajes en una socied...
 
06 Materiales I
06 Materiales I06 Materiales I
06 Materiales I
 
Arena basics
Arena basics Arena basics
Arena basics
 
Estudio de mercado para Caleta portales de Valparaíso
Estudio de mercado para Caleta portales de ValparaísoEstudio de mercado para Caleta portales de Valparaíso
Estudio de mercado para Caleta portales de Valparaíso
 
Venezuela
VenezuelaVenezuela
Venezuela
 
El perich
El perichEl perich
El perich
 
A catalunya tenim
A catalunya tenim A catalunya tenim
A catalunya tenim
 
Lapomadita
LapomaditaLapomadita
Lapomadita
 
Creacionyouwild
CreacionyouwildCreacionyouwild
Creacionyouwild
 
Ciro NiñEz
Ciro NiñEzCiro NiñEz
Ciro NiñEz
 
directoriowarez.com
directoriowarez.comdirectoriowarez.com
directoriowarez.com
 
Oficios
OficiosOficios
Oficios
 
Heus ací catalunya
Heus ací catalunyaHeus ací catalunya
Heus ací catalunya
 
Energía Mecánica
Energía MecánicaEnergía Mecánica
Energía Mecánica
 

Similar to การพัฒนาระบบความคิดเพื่อการสื่อสาร

วิเคราะห์เว็บ
วิเคราะห์เว็บวิเคราะห์เว็บ
วิเคราะห์เว็บ
Jirawat Fishingclub
 
วิเคราะห็การออกแบบเว็บไซ
วิเคราะห็การออกแบบเว็บไซวิเคราะห็การออกแบบเว็บไซ
วิเคราะห็การออกแบบเว็บไซ
Jirawat Fishingclub
 
หนังสือเล่มเล็ก
หนังสือเล่มเล็กหนังสือเล่มเล็ก
หนังสือเล่มเล็ก
Phanudet Senounjan
 
สมุดเล่มเล็ก
สมุดเล่มเล็กสมุดเล่มเล็ก
สมุดเล่มเล็ก
Ariaty KiKi Sang
 
นำเสนอ Hl ของเขต
นำเสนอ Hl ของเขตนำเสนอ Hl ของเขต
นำเสนอ Hl ของเขต
jd18122505
 
สรุปทักษะการสื่อสารและการประสานงานอย่างมืออาชีพ
สรุปทักษะการสื่อสารและการประสานงานอย่างมืออาชีพสรุปทักษะการสื่อสารและการประสานงานอย่างมืออาชีพ
สรุปทักษะการสื่อสารและการประสานงานอย่างมืออาชีพ
nunaka
 
ปัญญาประดิษฐ์กับการศึกษา
ปัญญาประดิษฐ์กับการศึกษาปัญญาประดิษฐ์กับการศึกษา
ปัญญาประดิษฐ์กับการศึกษา
apiromrut
 
ใบงานที่ประเด็นโลก 8 ด้าน
ใบงานที่ประเด็นโลก 8 ด้านใบงานที่ประเด็นโลก 8 ด้าน
ใบงานที่ประเด็นโลก 8 ด้าน
princess Thirteenpai
 
การวิจัยเพื่อตอบสนองการพัฒนาท้องถิ่น
การวิจัยเพื่อตอบสนองการพัฒนาท้องถิ่นการวิจัยเพื่อตอบสนองการพัฒนาท้องถิ่น
การวิจัยเพื่อตอบสนองการพัฒนาท้องถิ่น
Korawan Sangkakorn
 

Similar to การพัฒนาระบบความคิดเพื่อการสื่อสาร (20)

Technology Of Participation(Top)
Technology Of Participation(Top)Technology Of Participation(Top)
Technology Of Participation(Top)
 
วิเคราะห์เว็บ
วิเคราะห์เว็บวิเคราะห์เว็บ
วิเคราะห์เว็บ
 
เน อหา ว_จ_ย
เน  อหา ว_จ_ยเน  อหา ว_จ_ย
เน อหา ว_จ_ย
 
วิเคราะห็การออกแบบเว็บไซ
วิเคราะห็การออกแบบเว็บไซวิเคราะห็การออกแบบเว็บไซ
วิเคราะห็การออกแบบเว็บไซ
 
วิจัยญี่ปุ่น
วิจัยญี่ปุ่นวิจัยญี่ปุ่น
วิจัยญี่ปุ่น
 
ข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น ดินอุดม
ข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น ดินอุดมข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น ดินอุดม
ข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น ดินอุดม
 
หนังสือเล่มเล็ก
หนังสือเล่มเล็กหนังสือเล่มเล็ก
หนังสือเล่มเล็ก
 
06 ตอนที่ 2 หน่วย 5
06 ตอนที่ 2 หน่วย 506 ตอนที่ 2 หน่วย 5
06 ตอนที่ 2 หน่วย 5
 
Atack
AtackAtack
Atack
 
Atack
AtackAtack
Atack
 
สมุดเล่มเล็ก
สมุดเล่มเล็กสมุดเล่มเล็ก
สมุดเล่มเล็ก
 
Atack
AtackAtack
Atack
 
นำเสนอ Hl ของเขต
นำเสนอ Hl ของเขตนำเสนอ Hl ของเขต
นำเสนอ Hl ของเขต
 
สรุปทักษะการสื่อสารและการประสานงานอย่างมืออาชีพ
สรุปทักษะการสื่อสารและการประสานงานอย่างมืออาชีพสรุปทักษะการสื่อสารและการประสานงานอย่างมืออาชีพ
สรุปทักษะการสื่อสารและการประสานงานอย่างมืออาชีพ
 
ปัญญาประดิษฐ์กับการศึกษา
ปัญญาประดิษฐ์กับการศึกษาปัญญาประดิษฐ์กับการศึกษา
ปัญญาประดิษฐ์กับการศึกษา
 
09.chapter6 the learning sciences
09.chapter6 the learning sciences09.chapter6 the learning sciences
09.chapter6 the learning sciences
 
Innovation
InnovationInnovation
Innovation
 
Innovation...
Innovation...Innovation...
Innovation...
 
ใบงานที่ประเด็นโลก 8 ด้าน
ใบงานที่ประเด็นโลก 8 ด้านใบงานที่ประเด็นโลก 8 ด้าน
ใบงานที่ประเด็นโลก 8 ด้าน
 
การวิจัยเพื่อตอบสนองการพัฒนาท้องถิ่น
การวิจัยเพื่อตอบสนองการพัฒนาท้องถิ่นการวิจัยเพื่อตอบสนองการพัฒนาท้องถิ่น
การวิจัยเพื่อตอบสนองการพัฒนาท้องถิ่น
 

การพัฒนาระบบความคิดเพื่อการสื่อสาร

  • 2. 2 การพัฒนาระบบความคิดเพื่อการสื่อสารอย่างเป็นองค์รวม ความเป็นมาของปัญหา เป็นที่น่าสังเกตว่าปัจจุบันปัญหาที่ผู้คนต้องเผชิญกันส่วนใหญ่ประเด็นหนึ่งนั้นเกิดจากการคิดและ กระทำอย่างแยกส่วน ความคิดและการกระทำมักไม่มีความสัมพันธ์เชิงตรรกะ เป็นความคิดจากความคุ้นเคยที่ ผนวกกับประสบการณ์จากสภาวะแวดล้อมของการรับรู้ระดับปัจเจกบุคคล ส่วนการกระทำมักโน้มนำด้วย อารมณ์และจินตนาการที่ไม่ได้อยู่บนพื้นฐานตามหลักของธรรมชาติที่ทุกอย่างเกี่ยวข้องกันข้อเขียนต่อไปนี้มุ่ง ให้แง่คิดและวิธีการพิจารณาข้อเท็จจริงทั้งหลายที่จะนำมาสังเคราะห์ให้เข้าใจได้อย่างเป็นรูปธรรม การบอก เล่าเรื่องราวต่างๆในรูปของเรียงความจะต้องอยู่ในกรอบของความเป็นหนึ่งเดียวกัน ผู้ที่รับรู้เรื่องราว(reader) จึงจะสามารถสื่อสารได้ตามเจตนารมณ์ของผู้ส่งสาสน์ แนวคิดองค์รวม แนวคิดองค์รวม (Holistic approach) หรือที่บางครั้งเรียกว่า แนวคิดระบบ (System approach) และแนวคิดการหน้าที่ (Functionalism) คือ แนวคิดพื้นฐานในการทำความเข้าใจเรื่องราวของมนุษย์กับสิ่งที่ มนุษย์ได้สร้างสรรค์ไว้ แนวคิดดังกล่าวมีสาระอยู่ที่ว่าสิ่งทั้งหลายในโลกล้วนสัมพันธ์กันเป็นความสัมพันธ์ทั้งใน เชิงเกื้อกูลและแก่งแย่งแข่งขัน ได้มีความพยายามที่จะนำแนวคิดซึ่งเป็นดั่งปรัชญานามธรรมนี้ไปอธิบาย เปรียบเทียบกับสิ่งต่างๆที่เป็นรูปธรรมสามารถสัมผัสได้หลากหลายเช่น ในแง่ของสถาปัตยกรรมอาจพิจารณาที่ อาคารบ้านเรือน ก็จะพบว่าอาคารบ้านเรือนล้วนมีโครงสร้างที่ประกอบด้วยส่วนต่างๆที่โยงยึดแบกรับน้ำหนัก ซึ่งกันและกันตามหน้าที่ของแต่ละส่วนไม่ว่าจะเป็นเสา พื้น รอด ขื่อ แป หน้าจั่ว หลังคา หน้าต่าง และประตู ฯลฯ นักชีววิทยาอธิบายแนวคิดองค์รวมด้วยด้วยการหยิบยกร่างกายมนุษย์มาเป็นตัวอย่างโดยเน้นให้เห็นว่า ร่างกายมนุษย์ประกอบด้วยอวัยวะต่างๆ 32 ประการ อวัยวะแต่ละส่วนทำหน้าเฉพาะที่ต้องสอดคล้องกับ อวัยวะส่วนอื่นๆ ชีวิตมนุษย์จึงดำรงอยู่ได้ ตามนัยของแนวคิดเช่นนี้เมื่อพิจารณาวัฒนธรรมเช่นการแสดงหนัง ใหญ่จะซึ่งจะประกอบด้วยตัวหนัง (ที่ปรุจากหนังวัว) คนเชิด คนพากย์ คนให้แสงหลังฉาก นักดนตรีที่บรรเลง ในวงปีพาทย์ อันได้แก่คนเป่าปี่ คนตีกลองใหญ่ คนตีตะโพน คนตีระนาด คนตีฆ้องวง และคนตีฉิ่ง ตลอดทั้ง ผู้ชมที่ช่วยเพิ่มความคึกคักเป็นกำลังใจให้กับการแสดง ณ ขณะนั้น ฉันท์ใดก็ตามประดิษฐกรรมที่เรียกว่า รถยนต์จะขับเคลื่อนใช้งานได้ก็ต้องมีส่วนประกอบหลักๆ นับตั้งแต่เครื่องยนต์ แบตเตอร์รี่ หม้อน้ำ ไดชาร์จ ได สตาร์ท ล้อ ลูกหมาก คันชัก คันส่ง เกียร์ เบรก คัช เพลา โช๊ค ตัวถัง น้ำมัน(เชื้อเพลิง) ประตูข้างทั้งหน้าและ หลัง ฝากระโปรงและคอมแอร์(กรณีรถติดเครื่องปรับอากาศ) ฯลฯ การที่สิ่งทั้งหลายทั้งปวงในโลกสัมพันธ์กัน
  • 3. 3 ดังตัวอย่างที่ยกมาข้างต้นเช่นนี้ย่อมหมายความว่าหากส่วนใดส่วนหนึ่งของระบบโครงสร้างนั้นขาดหายไป หรือไม่อาจดำเนินการได้อย่างที่เคยเป็นมาสภาพเช่นนี้ย่อมส่งผลกระทบให้ส่วนอื่นๆ ของระบบเดียวกันนั้นไม่ สามารถทำหน้าที่ได้ดังเดิม ทุกๆส่วนของระบบเดิมต้องปรับผันกันใหม่เพื่อให้ระบบใหญ่ (องค์รวมเดิม) ขับเคลื่อนต่อไปได้ รถคันใหม่ดูหรู เครื่องแรงแต่คงเคลื่อนที่ไม่ได้หากไม่มีน้ำมันเชื้อเพลิงหรือระหว่างวิ่งบน ถนนบังเอิญเบรกแตกหรือยางระเบิดทุกอย่างก็จบสิ้น มนุษย์โดยทั่วไปก็เช่นกันที่ จะมีความรู้ความสามารถ หลากหลายที่โยงใยอาศัยพึ่งพากันได้ในวาระต่างๆโดยเฉพาะผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นอัจฉริยะอย่างเช่น ลีโอนาร์โด ดาวินชี่ ที่เริ่มมีประสบการณ์จากการเป็นลูกมือให้กับจิตรกรเวอร๊อคชิโอ ด้วยความเป็นคนช่างสังเกตและชอบ ทดลองสิ่งใหม่ๆ ดาวินชี่ได้พัฒนาความสามารถโดดเด่นเกินกว่าศิลปินคนใด ดาวินชี่เชื่อว่าความสัมพันธ์ ระหว่างศิลปะและคณิตศาสตร์เป็นสิ่งที่น่าพึงปรารถนาอย่างยิ่งที่จะยกสถานภาพของงานจิตรกรรมจากงาน ฝีมือไปสู่ความเป็นเลิศทางเชาว์ปัญญา จึงให้ความสนใจที่จะนำวิธีทางคณิตศาสตร์มาใช้ในงานสร้างสรรค์งาน ศิลปะเป็นที่สุดก่อนสร้างสรรค์งานศิลปะดา วินชี่จะศึกษากายวิภาคของของสิ่งนั้นว่ามีขนาดสัดส่วนเล็กใหญ่ ตามความเป็นจริงเท่าไร จึงพบว่างานจิตรกรรมและประติมากรรมของดาวินชี่มีสัดส่วนเหมือนจริงตาม ธรรมชาติ ขณะเดียวกันก็มีความงามที่สะท้อนผ่านจินตนาการด้วยความสามารถที่หลากหลายดาวินชี่จึงได้รับ การยกย่องให้เป็นทั้งศิลปินเอกของโลกท่านหนึ่ง เป็นนักคิดวิทยาศาสตร์ เป็นนักกายวิภาควิทยา เป็นนักวางผัง เมืองและเป็นวิศวกรผู้เกิดก่อนยุคสมัย นอกจากนี้ยังได้ออกแบบเครื่องกลไกที่ใช้ในการสงครามและออกแบบ วิธีการแสดงละคร ผลงานศิลปะประเภทภาพจิตรกรรมที่สร้างชื่อเสียงโด่งดังคือ ภาพโมนาลิซ่า และภาพเดอะ ลาสซับเปอร์(อาหารมื้อสุดท้ายของพระเยซู) ข้อคิดพิจารณาเพื่อเตรียมการเขียน การพัฒนาระบบความคิดเพื่อการสื่อสารก็เช่นกันที่จะต้องดำเนินการอย่างเป็นองค์รวมในลักษณะ คล้ายกับตัวอย่างต่างๆข้างต้น กล่าวคือต้องเป็นไปตามหลักการพื้นฐานของการเขียนเรียงความ (essay writing) ซึ่งมีโครงสร้างที่ประกอบด้วย 3 ส่วนคือ ส่วนนำ ส่วนของเนื้อเรื่อและส่วนสรุปการเขียน เรียงความเป็นหัวใจของการศึกษา ไม่ว่าจะเรียนอะไรก็ต้องเขียนเรียงความด้วยการเขียนเรียงความเป็นเครื่อง พิสูจน์ว่าผู้เรียนสามารถนำทุกสิ่งทุกอย่างที่เรียนรู้มาถักทอ(integrate)ให้เป็นหนึ่งเดียวที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน อย่างมีเหตุผล ในบรรดาศาสตร์ 3 กลุ่มใหญ่ๆคือมนุษย์ศาสตร์ สังคมศาสตร์และวิทยาศาสตร์นั้นเห็นได้ชัดว่า การศึกษาทางมนุษย์ศาสตร์ต้องสื่อสารผลสรุปรวบยอดในการศึกษาเล่าเรียนด้วยการเขียนเรียงความ กระนั้น นักสังคมศาสตร์และนักวิทยาศาสตร์อย่างวิศวกรก็ไม่อาจหลีกเลี่ยงการเขียนเรียงความเพื่อนำเสนอผลงานของ ตนต่อผู้ที่เกี่ยวข้องได้ หากผู้ศึกษาไม่สามารถเขียนเรียงความที่ดีได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการสอบไล่นั่นก็
  • 4. 4 หมายความว่าไม่ประสบความสำเร็จในการเล่าเรียนสาขานั้นๆ นักศึกษาบางรายไม่ประสบความสำเร็จในการ เรียนทั้งๆที่มีศักยภาพอยู่ก็เพียงเพราะไม่เข้าใจหลักการพื้นฐานของการเขียนเรียงความ ระหว่างเรียนก็อาจจะ ตามทันแต่พอจะต้องเขียนหนังสือเพื่อเสนอความเข้าใจรวบยอดก็ไม่อาจทำได้ การพูดคุยเกี่ยวกับสิ่งที่ทราบยัง ไม่เพียงพอ(แม้ว่าการพูดคุยอาจเป็นสิ่งสำคัญส่วนหนึ่งของขบวนการเรียนรู้)ผู้ศึกษายังต้องสามารถเขียนและ โต้แย้งประเด็นต่างๆในงานเขียนได้อย่างชัดเจนทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการค้นคว้าวิจัยที่เหมาะสมต่อจากนั้นก็ จำเป็นต้องแสดงให้เห็นถึงสิ่งที่เข้าใจและแสดงให้เห็นถึงความสามารถที่จะใช้สิ่งที่รู้นั้น นักศึกษาจำนวนมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาในระดับมหาบัณฑิตเป็นต้นไปจำเป็นที่จะต้องเขียน วิทยานิพนธ์ อาจจะเป็นสิ่งที่น่ากลัวและหนักใจมากถ้าไม่คุ้นเคยกับการเขียนบางคนอาจจะดูเหมือนว่ามี พรสวรรค์ในการเขียนและสามารถเขียนได้อย่างดีโดยไม่ต้องคิดถึงกระบวนการเขียนแต่คนส่วนใหญ่จำเป็นต้อง อุทิศเวลาและแรงกายเพื่อการเขียนที่ดีเกือบทุกคนสามารถที่จะพัฒนาการเขียนได้อย่างเห็นได้ชัดความชำนาญ ในการเขียนเป็นสิ่งที่สามารถฝึกฝนและถ่ายทอดให้กันได้ ความชำนาญในการเขียนอย่างกระจ่างชัดอีกทั้งความ ชำนาญในการพัฒนาการเขียนและความชำนาญในการสนับสนุนข้อโต้แย้งเหล่านี้เป็นพื้นฐานของการเขียน ความรู้เชิงวิชาการ การเขียนก็คือการคิดหมายความว่าการเขียนเรียงความไม่ใช่การลอกข้อมูลจากแหล่งใดแหล่งหนึ่ง บางคนอาจรู้สึกว่าไม่สามารถเขียนได้เลยถ้าหากไม่ได้มีเรียงความที่วางแผนไว้ในความคิดอย่างสมบูรณ์แล้วการ คิดเช่นนี้ไม่ถูกต้องเพราะสำหรับผู้คนส่วนใหญ่การลงมือเขียนเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ก่อนที่จะเขียนสิ่งใดก็ควรที่ จะต้องมีข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องค้นคว้าประเด็นปัญหาดังกล่าวจากแหล่งข้อมูลที่มีอยู่ หลากหลาย การเตรียมตัวเพื่อการเขียน จุดประสงค์ของการเขียนก็เพื่อความเข้าใจและหนทางที่เร็วที่สุดและดีที่สุดที่จะนำไปสู่จุดประสงค์ ดังกล่าว ก็คือการใช้ภาษาที่ชัดเจนและแน่นอนซึ่งก็ไม่เป็นเรื่องยากถ้าจะลองติดตามหลักการการเขียนที่จะ แนะนำในตอนต่อไปนี้ ทราบข้อความที่ต้องการสื่อ สิ่งสำคัญประการแรกในการเขียนก็คือ ผู้เขียนต้องถามตัวเองว่าต้องการจะสื่ออะไรให้ผู้อ่านทราบ ฉะนั้นก่อนที่จะเขียนจึงต้องคิดถึงสิ่งที่ต้องการจะสื่อทั้งหมดที่จะให้ผู้รับสาสน์ได้ทราบอย่างกระจ่างชัดตรงตาม
  • 5. 5 วัตถุประสงค์ที่ผู้ส่งสาสน์คาดไว้การกลั่นกรองสิ่งที่จะสื่ออย่างเรียบง่ายตรงไปตรงมาน่าจะช่วยให้วัตถุประสงค์ นั้นสัมฤทธิ์ผล การเขียนเพื่อสื่อความหมาย เนื่องจากการเขียนแต่ละประเด็นมักมีเป้าหมายว่าจะให้ใครรับทราบปัญหาที่เขียน ดังนั้นก่อนเขียนจึง ต้องถามคำถามพื้นฐานบางประการต่อไปนี้ • ใครคือผู้ที่จะรับสาสน์(message)นั้น • ผู้ที่จะรับสาสน์เหล่านั้นทราบปัญหาดังกล่าวมาบ้างหรือไม่ มากน้อยเพียงใด • ผู้ที่จะรับสาสน์ต้องการจะทราบอะไรจากประเด็นปัญหาดังกล่าว • ต่อประเด็นปัญหานั้นผู้ที่จะรับสาสน์จะตอบโต้อย่างไร จะเป็นเพียงผู้รับหรือจะโต้แย้งอย่าง เผ็ดร้อน หรือว่าจะไม่สนใจประเด็นปัญหาข้างต้นเลย สิ่งที่ต้องทำต่อไปก็คือโน้ตย่อข้อมูลบางประการเกี่ยวกับผู้รับสาสน์เพื่อให้เป็นแนวทางเบื้องต้น การ กระทำเช่นนี้จะช่วยให้ผู้เขียนมั่นใจว่ามีผู้รับสารอยู่ในความคิดตลอด ซึ่งในทางกลับกันการทำโน้ตย่อดังกล่าว จะช่วยให้เขียนได้อย่างตรงประเด็นทีเดียว ตัวอย่างเช่น ในการเขียนเพื่อประชาสัมพันธ์งานเปิดบ้านของคณะวิศวกรรมศาสตร์ให้นักเรียนที่สนใจ ได้รับรู้ก็จำเป็นที่ต้องเขียนโดยคิดถึงภูมิหลังและความสนใจของนักเรียนที่คาดว่าจะเป็นกลุ่มเป้าหมายในงาน เปิดบ้านครั้งนี้ สิ่งที่จะต้องพิจารณาต่อไปก็คือการถามประเด็นที่เกี่ยวข้องเช่น • กลุ่มเป้าหมายทราบอะไรแล้วบ้างเกี่ยวกับการศึกษาต่อในคณะวิศวกรรมศาสตร์ • กลุ่มเป้าหมายจำเป็นจะต้องรู้เรื่องอะไรบ้างในการศึกษาต่อในคณะวิศวกรรมศาสตร์ • กลุ่มเป้าหมายจะมีความนิยมในการศึกษาต่อที่คณะวิศวกรรมศาสตร์มากน้อยเพียงใด ฯลฯ การมีกลุ่มเป้าหมายอยู่ในใจก่อนเขียนเช่นนี้จะช่วยให้ข่าวสารที่จะเขียนและส่งออกไปสามารถสื่อได้อย่าง สัมฤทธิ์ผล
  • 6. 6 การพัฒนาสาสน์ที่จะส่ง เคล็ดลับในการเขียนอย่างสัมฤทธิ์ผลคือการรู้อย่างแน่ชัดว่าต้องการจะบอกอะไรให้กับผู้รับสาสน์ ก่อนที่จะเริ่มลงมือเขียน หมายถึงการเริ่มต้นที่องค์ประกอบหลักๆของสาสน์โดยการถามคำถามเบื้องต้นบาง ประการเช่น • ต้องการจะบอกอะไรแก่ผู้รับสาสน์ • ต้องการจะทำอะไรให้สำเร็จกับสาสน์นี้ • ต้องการให้ผู้รับสาสน์ตอบโต้อย่างไร • ต้องการให้ผู้รับสาสน์ทำอะไรหลังจากการติดต่อสื่อสารกันแล้ว จากนั้นก็พัฒนาสาสน์ดังกล่าวให้มีรูปร่างโดยการพิจารณาอย่างใกล้ชิดถึงแรงกระตุ้นในการเขียนถาม ตัวเองว่าต้องการจะให้สาสน์นั้นสัมฤทธิ์ผลในเรื่องใดต้องการจะบอกเล่าแก่ผู้รับสาสน์หรือเปล่า ข้อมูลข่าวสาร อะไรที่ต้องการจะให้แก่ผู้รับสาสน์ ต้องการจะชักจูงผู้รับสาสน์หรือเปล่า สาสน์ที่ส่งออกไปจะกระตุ้นผู้รับให้มี ท่าทีอย่างไร เนื่องจากสาสน์ที่เขียนส่วนใหญ่จะเป็นการบอกเล่าหรือโน้มน้าวบางครั้งอาจจะต้องกระตุ้น ดังนั้นการ คำนึงถึงสิ่งเล็กๆน้อยๆต่อไปนี้อาจจะช่วยให้สาสน์ที่จะส่งออกไปตรงใจผู้รับสาสน์ยิ่งขึ้น ฉะนั้นจึงควรมีความแน่ ชัดอย่างมากดังตัวอย่างที่คิดเกี่ยวกับข่าวสารและเขียนเป็นประโยคเดี่ยวๆ • ท่านสามารถประหยัดเงินได้ถึง 4,500 ต่อเดือนถ้าใช้บริการฝากเงินของเรา • ซื้อเครื่องกรองน้ำของเรารุ่น NB 401 • โปรดส่งข้อมูลที่สมบูรณ์เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ชนิดพกพา (Notebook) รุ่น L15 Wicker Whacker • ขอแนะนำให้ลงทุนกับเรา 2.5 ล้านในเครือข่ายผลิตภัณฑ์อย่างใหม่ • ต้องการคนงานเพื่อทำงานสายประกอบงานเป็นชายจำนวน 40 อัตรา และหญิง 30 อัตรา จากนั้นนำข้อมูลข้างต้นมากลั่นกรองให้เป็นสาสน์หลักเพียงหนึ่งเดียว การใช้ประโยคที่แจ่มชัดจะช่วย ให้เริ่มเขียนอย่างมีเป้าหมาย หมายความว่ากำลังจะเขียนในขั้นต่อไปจากตำแหน่งที่เจาะจงเอาไว้ และเมื่อ เขียนเสร็จก็จะเป็นสาสน์ที่มีน้ำหนักชัดเจนอีกทั้งยังกระชับกว่าสาสน์ที่ไม่ได้เขียนด้วยขั้นตอนเช่นนี้ เพื่อการฝึกฝนที่ดีควรอ่านข้อมูลข่าวสารที่มีอยู่อย่างหลากหลาย ก็จะพบว่าในสาสน์แต่ละอันมีแก่นอยู่ ด้วยกันทั้งนั้นและให้ลองพิจารณาต่อไปว่าสาสน์นั้นควรจะเป็นอย่างไร สาสน์แต่ละอันนั้นชัดเจนหรือไม่ สาสน์ นั้นบิดเบือนหรือเปล่า สาสน์นั้นพูดเกินความจริงหรือไม่ สาสน์นั้นสมบูรณ์หรือไม่
  • 7. 7 คราวนี้ก็ได้ทราบแล้วว่า1ต้องการจะสื่อสารอะไร2ใครคือผู้ที่ต้องการจะสื่อสารด้วย 3จุดสำคัญของสิ่ง ที่จะกล่าวถึงในสาสน์คืออะไรและ4ต้องการจะให้บังเกิดความสำเร็จในเรื่องใด ถ้าพิจารณาการเขียนเสมือนเป็น การสนทนาสองทางแล้วการเขียนก็จะง่ายกว่าแลได้ผลลัพธ์สุดท้ายที่ดีกว่า การเขียนในแนวทางที่กล่าวมาจะ ช่วยให้ผู้เขียนได้ใช้น้ำเสียงและน้ำหนักที่ถูกต้อง จงทำให้การเขียนนั้นเป็นเช่นการสนทนาตัวต่อตัวระหว่างผู้ส่ง สาสน์และผู้รับสาสน์ ใช้ความกระจ่างชัด และลำดับที่มีเหตุผลต่อกัน เมื่อเริ่มคิดเกี่ยวกับการเขียนผู้เขียนก็จะมีแนวความคิดบางอย่างอยู่ในใจ การบันทึกย่อข้อมูลบาง ประการก็จะเป็นการฝึกที่ดี เขียนใจความสำคัญต่างๆของสาสน์ตามลำดับที่เป็นเหตุเป็นผลกันที่สุด การใส่ตำแหน่งใจความสำคัญ หลักและใจความสำคัญรองดังตัวอย่างในเค้าโครงข้างล่างก็จะช่วยให้เห็นภาพความต่อเนื่องของประเด็นที่จะ เขียนบางคนอาจจะใส่ความคิดหลักๆของตนลงในคอมพิวเตอร์หรือเขียนลงในสมุดบันทึกแต่ต้องเริ่มคิด เกี่ยวกับการจัดระเบียบข้อมูลที่มีอยู่และจัดหัวเรื่องอย่างเป็นระเบียบและเป็นเหตุผลกันมากที่สุด จากนั้นจึง แยกเป็นประเด็นย่อยโดยคำนึงถึง 1.ความสัมพันธ์กับข้อมูลและความสัมพันธ์กับภูมิหลังผู้รับสาสน์ 2.จัดลำดับ เค้าโครงตามแนวทางที่ผู้รับสาสน์ส่วนใหญ่มักคิดถึงเรื่องนั้นๆหรือ 3.จัดลำดับเรื่องที่จะเขียนให้สัมพันธ์กัน ตามลำดับก่อนหลังโดยการจัดระเบียบความคิดบนพื้นฐานว่าอะไรคือสิ่งที่ผู้รับสาสน์จำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับเนื้อ เรื่องดังกล่าวและโดยการจัดระเบียบความคิดบนพื้นฐานว่าอะไรคือสิ่งที่ผู้เขียนต้องการจะให้ผู้รับสาสน์ทำ หลังจากอ่านสาสน์ที่สื่อแล้ว ผู้เขียนจะทำงานได้ง่ายมากขึ้นจากนั้นให้ย้อนกลับไปดูข้อความที่กำหนดไว้ การ กระทำเช่นนี้จะช่วยให้ผู้เขียนไม่ออกนอกลู่นอกทางประเด็นต่างๆที่จะเขียนควรจะเชื่อมโยงกันภายใต้ส่วน ต่างๆดังต่อไปนี้ ส่วนนำ/ระบุจุดประสงค์ เหตุใดจึงเขียนสาสน์นี้และ/หรือกำลังเขียนเกี่ยวกับอะไร ภูมิหลัง/การอธิบาย ใช้ประเด็นย่อยกำหนดขั้นตอนเพื่อการสื่อสาร ถกเถียง/ข้อเสนอ ทำให้การเขียนครั้งนี้มีการอภิปรายโต้แย้ง
  • 8. 8 สรุป ย่อประเด็นต่างๆ กระตุ้นให้มีการกระทำ/การตอบสนอง กระตุ้นให้ผู้รับสาสน์มีส่วนร่วมหรือเรียกร้องให้ผู้รับสาสน์ตอบรับ เค้าโครงในการเขียน ขณะที่เขียนให้คิดถึงประเด็นต่างๆที่จะเขียนในกรอบของเหตุการณ์เกิดก่อนเกิดหลังตามลำดับการทำ เช่นนี้จะช่วยให้ความคิดของผู้เขียนอยู่ในลำดับต่อเนื่องกันถ้าผู้เขียนกำลังจะนิยามกระบวนการเช่น การจัด ทดสอบในห้องปฏิบัติการความคิดของผู้เขียนจำเป็นต้องจัดให้อยู่ในลำดับต่อเนื่องถ้ากำลังเขียนเกี่ยวกับ ปริมาณการขายที่เพิ่มขึ้นเมื่อ 5ปีก่อนลำดับที่จะนำเสนอเรื่องอาจจะต้องเป็นไปตามกรอบแห่งเวลาถ้าเนื้อเรื่อง ที่เขียนมีลำดับอยู่แล้วตามธรรมชาติในตัวเองในลักษณะที่กล่าวมาอย่างใดอย่างหนึ่งก็ให้เดินหน้าเขียนต่อไปได้ เลย ผู้เขียนอาจจะเลือกพัฒนาการเขียนของตนจากทางเลือกที่หลากหลายต่อไปนี้โดยการเขียนภายใต้กรอบ ของ • ลำดับเวลา ลำดับก่อนหลัง • ระยะ การลำดับเหตุการณ์ • การวิเคราะห์ การแบ่งส่วนและการจัดประเภท ประเด็นหลัก ประเด็นรอง เรื่อง ประเด็นรอง ประเด็นรอง ประเด็นรอง ประเด็นรอง ประเด็นรอง
  • 9. 9 • การพิจารณาจากหลักทั่วไปสู่เรื่องเฉพาะ การพิจารณาจากความเฉพาะไปสู่หลักทั่วไป (Deduction) (Induction) • เหตุและผล ลำดับของความสัมพันธ์ที่เพิ่มขึ้น • ลำดับความสำคัญที่ลดลง คิดระหว่างเขียนด้วยว่าการใช้สื่ออย่างใดอย่างหนึ่งประกอบจะทำให้สาสน์ชัดเจนกว่าและน่าสนใจยิ่งขึ้น ขยายเนื้อหาในเค้าโครง จงจำอยู่เสมอว่าเค้าโครงที่มีน้ำหนักย่อมช่วยให้ผู้เขียนเริ่มต้นเขียนได้อย่างมีกรอบคล้ายกับแผนที่บอก ทางความซับซ้อนของสาสน์ผู้รับสาสน์และวิธีทำงานของผู้เขียนจะคอยกำกับเมื่อเขียนเค้าโครงเรื่องเสร็จ สมบูรณ์และจำไว้ด้วยอีกเช่นกันว่าไม่จำเป็นจะต้องดำเนินงานตามลำดับเสมอไป บางขั้นตอนที่สำคัญใน กระบวนการเขียนอาจจะทำกลับไปกลับได้เช่น ระหว่างตอนทำเค้าโครงผู้เขียนอาจะเริ่มเขียนบางส่วนของ สาสน์นั้นได้และข้ามไปเขียนขั้นตอนถัดไป จากนั้นจึงย้อนกลับมาเขียนส่วนก่อนหน้าของสิ่งที่จะสื่อสารนั้น ทำการวิจัยค้นคว้าให้เสร็จสมบูรณ์ การจะเขียนสาสน์ใดๆก็ตามจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อยผู้เขียนอาจจะ ดูบันทึกต่างๆซึ่งทำไว้ระหว่างเขียนเค้าโครงผู้เขียนอาจต้องสัมภาษณ์คนอื่นๆเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงปัจจัยนำเข้า (Input)นอกจากนี้ยังอาจต้องค้นงานวิจัยที่พิมพ์เผยแพร่แล้วและข้อมูลเอกสารที่ยังไม่ได้ตีพิมพ์หรือบางกรณี ผู้เขียนอาจต้องสำรวจหรือพัฒนาแบบสอบถามเพื่อเป็นเครื่องมือหาข้อเท็จจริงทำให้แน่ใจว่าการวิจัยนั้น ละเอียดลออและถ้าผู้เขียนพัฒนาเครื่องมือการวิจัยเช่น แบบสำรวจก็ต้องใช้ความระมัดระวังสร้างเครื่องมือ วิจัยที่จะช่วยให้ได้ข้อมูลเชิงวัตถุวิสัยและมีเหตุผล ผู้เขียนอาจจำเป็นต้องจัดสาสน์ลงในรูปแบบอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้เช่นนำเสนอสาสน์ในรูปของ • รายงานอย่างเป็นทางการ • รายงานอย่างไม่เป็นทางการ • บันทึก • ข้อเสนอ • จดหมาย หลังจากเลือกแบบที่จะบรรจุสาสน์แล้วจากนี้ก็เริ่มเขียนร่างแรกของสาสน์
  • 10. 10 การเขียนร่าง ใช้เค้าโครงบันทึกและข้อความที่เขียนไว้รวมถึงข้อมูลที่รวบรวมมาเพื่อการเขียน สร้างสมาธิให้อยู่กับ การเขียนครั้งแรกให้เสร็จสิ้นก่อนโดยยังไม่ต้องพยายามขัดเกลาสำนวนใดๆ ถ้าผู้เขียนทำตามทุกขั้นตอนเสร็จ สิ้นแล้วก็เท่ากับว่ามีความชัดเจนต่อทรรศนะของตนอีกทั้งยังมีความชัดเจนตามระเบียบวิธีและกรอบของเรื่อง สำหรับนักเขียนส่วนใหญ่แล้วการเขียนร่างแรกจะทำออกมาให้ดีที่สุดเป็นการเขียนที่ยังไม่ได้อ่าน ทบทวนเพราะเป็นช่วงที่ต้องปล่อยให้ความคิดไหลลื่นและรีบบันทึกความคิดทั้งหมดนั้นไว้ การทบทวน แม้ว่าการเขียนจะเป็นงานยากการทบทวนสิ่งที่เขียนแล้วคืองานที่ยากที่สุดการเขียนที่กระจ่างชัดที่ ปรากฏว่าเขียนขึ้นมาด้วยความสะดวกง่ายปกติเป็นสิ่งที่ต้องใช้แรงงานหนักมหาศาล ต่อไปนี้เป็นแนวทางบาง ประการที่ใช้เพื่อการทบทวนร่างงานเขียน • ให้แน่ใจว่าได้เขียนประโยคหลักเพื่อแต่ละย่อหน้า • แทรกหัวเรื่องหลักและหัวข้อย่อยเพื่อชี้นำความสนใจของผู้อ่านและทำให้สาสน์ที่เขียนนั้น ชัดเจนง่ายต่อการเข้าใจทั้งหมดและมีรูปลักษณ์ที่สื่อสารได้ • ต้องทราบว่าการทบทวนนั้นปกติต้องทำหลายครั้งเพื่อตรวจสอบความถูกต้องแม่นยำและ ความสมบูรณ์ ผู้อ่านจำเป็นต้องรู้อะไรบ้างและผู้อ่านน่าจะได้รู้ละเอียดเพียงใด • ให้กลับไปดูที่ข้อความในสาสน์แล้วเขียนเกริ่นเรื่องกับคำนำ • ใช้ประโยคสั้นและได้ใจความ • พยายามรักษาพื้นที่ย่อหน้าให้อยู่ในขนาดที่เหมาะสม ย่อหน้าละประมาณ 8-9 บรรทัด • ใช้ประโยคประโยคที่มีความยาวหลากหลายและทำประโยคให้มีโครงสร้างเพื่อจะเพิ่มความ สนใจเข้าไปได้ • คิดถึงรูปลักษณ์ของสิ่งที่จะสื่อและจัดเตรียมสาสน์ขณะที่ดำเนินการเขียนต่อไป • ตรวจสอบความต่อเนื่องและสร้างการเปลี่ยนแปลง เขียนแต่ละย่อหน้าให้มีความสัมพันธ์ ต่อเนื่องย่อหน้าแรกๆ เป็นส่วนที่นำเรื่องสำหรับย่อต่อๆไป คือส่วนขยายของย่อหน้าที่ผ่านมา ส่วนขยายจึงมักเป็นตัวอย่างกรณีต่างๆ ที่นำมาใส่ เพื่อให้แก่นของเรื่องเด่นชัดมากยิ่งขึ้น • ให้แน่ใจว่าสาสน์นั้นชัดเจนถ้าเป็นไปได้ควรขอให้ใครคนใดคนหนึ่งอ่านและแสดงความคิดเห็น • ตรวจสอบปัญหาเกี่ยวกับถ้อยคำหรือย่อหน้าที่ให้ไว้
  • 11. 11 การทำสาสน์ให้กระจ่างชัด เป็นเรื่องง่ายที่จะเชื่อมโยงอะไรก็ตามที่เขียนแต่ในการทบทวนผู้เขียนต้องพินิจพิจารณาเป็นอย่างยิ่ง ถามตัวเองว่าแต่ละคำมีความหมายที่แท้จริงหรือไม่ แต่ละคำมีหน้าที่ที่สำคัญหรือไม่ ถ้าได้คำตอบว่า “ไม่”ก็ให้ ตัดคำเหล่านั้นออก การกำจัดถ้อยคำที่ไม่จำเป็นในสาสน์เป็นงานหนักที่น่าเบื่อจึงต้องใช้ความพยายามที่แท้จริง และความสันโดษอย่างที่มืออาชีพทำด้วยต้องอาศัยสมาธิเป็นหลัก การทำสาสน์ให้สื่อสารได้ง่ายเพื่อผู้อ่านทั่วๆไป ใช้คำง่ายๆถ้าคำนั้นเหมาะสม ใช้ศัพท์ทางเทคนิคเมื่อศัพท์เหล่านั้นเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดเมื่อผู้อ่าน ทราบความหมายของคำเหล่านั้นและเมื่อศัพท์ทางเทคนิคดังกล่าวตรงไปตรงมาและแน่ชัดที่สุดนั่นไม่ได้ หมายความว่าสิ่งที่เขียนนั้นจะน่าเบื่อหน่ายหรือง่ายเกินไปงานเขียนที่ดีจะต้องมีน้ำหนัก ชัดเจน และเข้าใจได้ ง่าย การทำสาสน์ให้สื่อกับผู้รับอย่างเป็นกันเอง การเขียนที่เป็นกันเองกับผู้อ่านหมายถึงการเขียนที่ชัดเจนตรงไปตรงมานอกจากนี้ยังหมายถึง รูปลักษณ์ของสาสน์ที่สามารถสื่อสารได้และเชื้อเชิญให้ผู้อ่านได้เข้ามาสัมผัสใช้กระดาษสีขาวเพื่อเขียนสาสน์จะ ทำให้ดูเป็นมิตรและง่ายที่จะอ่านและใช้หัวข้อต่างๆเพื่อให้ดึงดูดความสนใจจากผู้อ่านการใช้การนำเสนอด้วย การแจกแจงรายการ กราฟและแผนภูมิประกอบจะช่วยให้สาสน์นั้นมีรูปลักษณ์ที่สื่อได้อีกระดับหนึ่ง สำหรับการใช้วิธีการแจกแจงน่าจะได้คำนึงถึงกฎเกณฑ์บางประการต่อไปนี้ • เริ่มแต่ละขั้นตอนใช้ถ้อยคำอย่างตรงไปตรงมาแต่เลี่ยงการใช้ถ้อยคำซ้ำๆ • แจกแจงแต่ละขั้นตอนต่างหากจากกัน • ทำให้แน่ใจว่าแต่ละขั้นตอนนั้นอยู่ในลำดับต่อเนื่องกันอย่างมีเหตุผล • เขียนแต่ละขั้นตอนในรูปของประโยคที่สมบูรณ์ • การใช้ถ้อยคำที่มีอำนาจในการอธิบาย
  • 12. 12 การตรวจทานแก้ไข(ต้นฉบับ) การตรวจทานแก้ไขสิ่งที่เขียนหลายๆครั้งก็จะทำให้สาสน์นั้นเป็นที่เข้าใจของผู้รับได้ดียิ่งขึ้นคำถาม ต่อไปนี้อาจจะช่วยตรวจทานว่าผู้เขียนได้แต่งสาสน์นั้นอย่างชัดเจนที่สุดที่จะเป็นไปได้หรือยัง • ได้เขียนสาสน์นั้นถึงผู้รับในเป้าหมายหรือเปล่า • ได้บรรจงแต่งสาสน์อย่างเรียบง่ายหรือเปล่า • ได้ใช้ถ้อยคำที่คลุมเครือเฉพาะเจาะจงหรือเปล่า • ได้ตัดถ้อยคำเชิง “น้ำท่วมทุ่ง”และถ้อยคำที่ไม่จำเป็นออกไปจากสาสน์หรือยัง หลักในการเขียนเรียงความที่กล่าวมาในข้างต้นทั้งหมดเป็นหลักทั่วๆไปที่ต้องใช้เป็นพื้นฐานในการ เขียนข้อมูลข่าวสารในหลากหลายรูปแบบและในโอกาสต่างๆ เช่นการเขียนที่เกี่ยวข้องกับบริบททาง สังคม อาทิการเขียนแสดงความยินดี การเขียนเพื่อเชื้อเชิญ การเขียนขอบคุณ การเขียนจดหมาย ส่วนตัว และการเขียนจดหมายรัก นอกจากนี้ในการเขียนเกี่ยวกับการสมัครงาน การเขียนเพื่อสื่อสาร ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง การเขียนเพื่อเสนอโครงการและรายงาน การเขียนเพื่อเสนอปัญหาและ เรื่องราวที่อ่อนไหวรวมถึงวิธีแก้ปัญหา การเขียนเพื่อการตลาด และการเขียนสื่อสารในงานสารสนเทศ เหล่านี้ล้วนต้องเริ่มต้นและดำเนินการอยู่ในลักษณะของการเขียนเรียงความทั้งสิ้น จะแตกต่างออกไป จากเรียงความทั่วๆไปที่ประเด็นปัญหาเฉพาะด้านซึ่งเป็นรายละเอียดของงานแต่ละด้าน การนำเสนอ การนำเสนอผลงานต่อเวทีใดเวทีหนึ่งก็ใช้หลักการเขียนเรียงความที่กล่าวมาข้างต้น เพียงแต่เป็นเรียงความ ฉบับกระเป๋าที่สามารถสื่อผู้ฟังให้รับรู้สาสน์ของเรื่องที่จะนำเสนอให้ครอบคลุมที่สุดและจบสิ้นภายในเวลา จำกัด หากเขียนเป็นโครงสร้างของการนำเสนอก็จะแบ่งได้เป็น 3 ส่วนดังรูปต่อไปนี้ ส่วนเนื้อหา(เกริ่นนำ) คำถามเนื้อหา สรุป คำถาม คราวนี้มาลองพิจารณาแต่ละส่วนให้มีรายละเอียดมากขึ้น ส่วนนำ
  • 13. 13 ส่วนนำสำคัญมากหรือบางทีก็สำคัญที่สุดในการนำเสนอครั้งนั้น ด้วยเป็นโอกาสทองที่ผู้นำเสนอจะ สร้างความประทับใจให้กับผู้ฟังจึงควรที่จะทุ่มเทความสามารถในการเขียนและพูดให้สัมฤทธิ์ผลมากที่สุด ข้อมูลในตารางข้างล่างนี้เป็นตัวอย่างภาษาที่จะใช้พูดและขั้นตอนในการนำเสนอการจะนำแนวทางใน ตัวอย่างไปใช้จริงอาจต้องปรับเปลี่ยนวลีให้เข้ากับสถานการณ์ ลำดับ ภาษาที่ใช้ 1.กล่าวต้อนรับผู้ฟังและแนะนำตัวเอง -กล่าวสวัสดี -กล่าวแนะนำตนเองด้วยชื่อนามสกุลและสถานภาพขณะนั้น เช่นเป็น น.ศ. พนักงานจาก...... 2.กล่าวให้ผู้ฟังทราบถึงประเด็นที่จะพูดและบอกว่า ประเด็นดังกล่าวจะเกี่ยวข้องกับผู้ฟังอย่างไรและ ทำไม -กระผมจะนำเสนอ -ประเด็นที่จะนำเสนอวันนี้คือ -ในการนำเสนอครั้งนี้สาระของเรื่องคือ... -วันนี้กระผมจะได้นำเสนอสาระเกี่ยวกับ..... 3.ระบุโครงสร้างของการนำเสนอว่าจะมีกี่ตอน/มี อะไรบ้าง -บอกจุดประสงค์ของการนำเสนอ -การนำเสนอครั้งนี้แบ่งออกเป็น 3 ตอนใหญ่ๆคือ....... -การนำเสนอจะแบ่งออกเป็น 3 ประเด็นหลักคือ..... 4.ลำดับและเวลาที่เสนอ -การนำเสนอในตอนที่ 1 ว่าด้วย............. ตอนที่ 2ว่าด้วย............ ตอนที่ 3 ว่าด้วย............ -ข้าพเจ้าจะเริ่มนำเสนอด้วย............ จากจากประเด็นนั้นจะนำเสนอเกี่ยวกับ............ -การนำเสนอครั้งนี้ใช้เวลาทั้งสิ้นประมาณ............นาที 5.คำถามต่างๆ -ท่านผู้ฟังมีคำถามอะไรเชิญครับ -ยังพอมีเวลา...........เพื่อการตอบคำถาม เชิญครับ -คำถามของท่านจะช่วยให้ผู้ร่วมฟังได้ประสบการณ์เพิ่มขึ้นขอเชิญครับ ส่วนเนื้อหาสาระ ส่วนนี้คือตัวจริงเสียงจริงของการนำเสนอ หากสามารถดำเนินการส่วนนำได้กระชับ สร้างความสนใจ ให้กับผู้ฟังได้ระดับดีก็นับว่าช่วยลดความวิตกกังวลและตกประหม่าในการนำเสนอประเด็นหลักต่อไปได้ ผู้นำ เสนอจะมีความมั่นคงในการนำเสนอได้อย่างมาก จัดการนำเสนออย่างมีโครงสร้างที่ดีโดยการแบ่งเนื้อหาเป็นส่วนๆอย่างมีความสัมพันธ์กันด้วยการ เริ่มต้นที่เนื้อหาใหญ่เรื่อยลงไปสู่เนื้อหาย่อย การมีสรุป ภาพ ฯลฯ ประกอบของแต่ละส่วนของเนื้อหาช่วยให้ ผู้ฟังเห็นความชัดเจนและความต่อเนื่องของเนื้อที่นำเสนอได้มาก ตัวอย่างในตารางต่อไปนี้เป็นข้อมูลการ นำเสนออย่างกว้างๆ ลองปรับแนวทางจากตัวอย่างให้เข้ากับการใช้งานจริงต่อไปนี้ การใช้งาน ถ้อยคำที่อาจนำไปใช้ 1.ระบุตอนจบของส่วนเนื้อหา ส่วนแรกของเนื้อเรื่องจะจบลงตรงนี้ 2.เขยิบไปยังส่วนถัดไป คราวนี้ก็กลับมาดูตอนต่อไปของเรื่อง
  • 14. 14 3.กลับมาทบทวน ดังที่กล่าวไว้แต่แรกว่า............. 4.แนะนำภาพกราฟรูป ฯลฯ ที่นำมาประกอบเรื่อง -ลองมาดู Power point รูปแรกที่จะอธิบายว่า............. -กราฟนี้แสดงให้เห็นว่า............ -อย่างที่ท่านเห็นในแผนภูมิพอจะบอกได้ว่า............. 5.ท ำ ให ้ข ้อ ม ูล โด ด เด ่น น่าสนใจ -กระผมอยากจะเน้นให้เห็นว่า............. -สิ่งที่สำคัญ ณ ที่นี้ก็คือ............. -พิจารณาให้ใกล้ชิดที่สุดก็จะพบว่า............. ส่วนสรุป เป็นส่วนสุดท้ายของการนำเสนอที่ต้องมีการ -สรุปสาระทั้งหมดที่กล่าวมาอย่างย่นย่อที่สุดเพียง 2-3 ประโยค -เชิญผู้ฟังถามข้อข้องใจ -ขอบคุณผู้ฟัง ตัวอย่างต่อไปนี้เป็นแนวทางกว้างๆที่อาจใช้กล่าวตอนสรุปการนำเสนอเปลี่ยนแปลงคำพูดจากตัวอย่าง ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น การใช้งาน ถ้อยคำที่อาจนำไปใช้ 1.สรุปประเด็นสำคัญ -อาจกล่าวสรุปประเด็นสำคัญๆของการนำเสนอได้ว่า........... -โดยสรุปแล้วอาจกล่าวได้ว่า............. 2.เชิญฟังถามข้อข้องใจ -ยังพอมีเวลาให้คำถาม 2-3 คำถามครับ 3.ขอบคุณผู้ฟัง -ขอบคุณทุกท่านที่มาร่วมฟัง -ขอบคุณท่านทั้งหลายที่ให้ความสนใจเข้าร่วมฟัง การเตรียมการเพื่อนำเสนอ ก่อนจะนำเสนอผลงานต่อที่ประชุมแบบเผชิญหน้าน่าจะได้ทำตามขั้นตอนต่อไปนี้คือ 1.เขียนข้อความที่จะนำเสนออย่างคร่าวๆเหมือนกับการเขียนร่างแรกของรายงานเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
  • 15. 15 2.ทบทวนสาระของต้นฉบับร่างแรกนั้น 3.เวลานำเสนอบนเวทีห้ามอ่านบทที่เตรียมมา แต่ต้องจดจำประเด็นหลักๆของการนำเสนอใว้ในใจ 4.ฝึกฝนการนำเสนอ ตอนแรกอาจนำเสนอกับตัวเองต่อหน้ากระจกส่อง และต่อไปลองนำเสนอต่อ หน้าเพื่อนฝูง 5.แต่งกายเหมาะสมกับสถานการณ์ 6.ต้องเตรียมบทนำเสนอไว้ให้พร้อมก่อนขึ้นเวที ขั้นตอนของการนำเสนอ -นำเสนอเรื่องราว -ทบทวนประเด็นที่สำคัญๆ -ให้ผู้ฟังถามประเด็นที่สนใจและผู้นำเสนอก็ตอบประเด็นเป็นข้อๆ เพื่อให้ผู้ร่วมฟังคนอื่นสื่อสารได้ อย่างต่อเนื่อง การนำเสนอ(เพื่อส่งสาสน์) -พูดชัดเจนในระดับเสียงที่ไม่ตะโกนและแผ่วเบาอย่างการกระซิบ ออกเสียงอักขระโดยเฉพาะคำควบ กล้ำด้วย ร และ ล -อย่าพูดเร่งเร็วหรือพูดเนิบนาบ พูดอย่างเป็นธรรมชาติแต่ก็ไม่ใช่พูดอย่างการสนทนา -หยุดพูดเล็กน้อยก่อนจะขึ้นต้นตอนต่อไป ตอนสำคัญๆ -ใช้มือเคลื่อนไหว เช่น ชี้ไปยังจุดสำคัญๆ (ที่ปรากฏเป็นสื่อบนจอภาพหรือกระดาน) -ไม่หันหน้าไปอ่านบนจอภาพและหันหลังให้ผู้ฟัง ต้องจำบทแม่นยำและหันหน้าพูดต่อผู้ฟังตลอดเวลา -พูดโดยมองไปยังสายตา สื่อสารกับผู้ฟัง การแสดงออกทาง(สี)หน้า
  • 16. 16 การยิ้มแย้มแสดงสีหน้าแจ่มใสก็ช่วยสร้างความมีไมตรีระหว่าผู้พูดและผู้ฟัง อย่าแสดงอาการเคร่งครึม และเกร็งเพราะกลัวการนำเสนอ จะทำให้ผู้ฟังรู้สึกอึดอัดและไม่สนุกรื่นรมย์ที่จะฟังจนจบรายการ ภาษาท่าทางและการวางตำแหน่งต่างๆของร่างกายระหว่างการนำเสนอ -ขณะพูดห้ามวางมือทั้งสองข้างไว้ในกระเป๋ากางเกง -ไม่ยืนพิงผนังห้องหรือยืนอิงโพเดียม ทำตัวตามสบายและร่าเริง -นำเสนอไปพักหนึ่งแล้วอาจดื่มน้ำเพื่อให้คลายเครียด -หายใจลึกๆ -ทุ่มเทสมาธิให้กับการนำเสนอโดยบอกกับตัวเองว่า “ฉันทำได้อยู่แล้ว” -ทำตัวเองให้สนุกกับการนำเสนอผู้ฟังจะอยู่ข้างคุณและต้องการจะฟังสิ่งที่คุณพูด การนำเสนอด้วย Power Point สิ่งที่ควรทำ สิ่งที่ไม่ควรทำ -ใช้คำหลักๆและวลีสำคัญๆ -ให้รายละเอียดแต่ละสไลด์มากเกินไป -ปกติจะให้แนวคิดสำคัญๆ ประมาณ 5 แนวต่อสไลด์ 1 รูป -พื้นหลังสไลด์สีเข้มกว่าตัวหนังสือที่นำเสนอ พื้นสีสไลด์กลมกลืนกับตัวหนังสือ -ใช้สิ่งที่ช่วยเพิ่มความสำคัญ ให้กับคำหลักๆ -ใช้สีสไลด์ไม่เหมาะสมกับสาระที่นำเสนอ -ใช้ตัวอักษรขนาดที่อ่านง่าย -ใช้ตัวพิมพ์ใหญ่พร่ำเพรื่อ -ตรวจสอบตัวสะกดบน ข้อความสไลด์ -หันไปอ่านข้อตามในจอและหันหลังให้ผู้ฟัง การค้นคว้าวิจัย มนุษย์มีความสงสัยใคร่หาคำตอบไม่รู้จบ ในอดีตมักหาคำตอบด้วยการลองลองผิดลองถูก พัฒนาการ ของการสื่อสารรูปแบบต่างๆที่ปรับปรุงก้าวหน้าไปตามการค้นพบของวิทยาการช่วยให้การหาคำตอบต่อข้อ สงสัยต่างๆเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว กว้างไกลและลุ่มลึก กระนั้นการเปลี่ยนแปลงของโลกอย่างไร้ขอบเขตยิ่งทำ
  • 17. 17 ให้มีคำถาม 108 ท้าทายให้ต้องหาคำตอบอย่างไม่มีจบสิ้น เห็นได้ชัดอย่างกรณีของการเรียนการสอนใน ระดับอุดมศึกษาที่ผู้สอนอย่างมีประสิทธิภาพแสวงหาโจทย์ให้ผู้เรียนได้ฝึกค้นคว้าหาเหตุผลที่น่าเชื่อถือมา ยืนยันตอบต่อคำถามต่างๆกัน บางโอกาสผู้เรียนอาจมีอิสระทางความคิดอย่างมากโดยการตั้งคำถามเป็นโจทย์ การวิจัยเอง นับเป็นโจทย์การวิจัยที่มีค่าต่อการสำรวจ ต่อการอ่านอย่างกว้างขวางในการแสวงหาคำตอบที่ เป็นไปได้ นอกจากนั้นยังเป็นสิ่งมีค่าไปถึงการตีความจากสิ่งที่ผู้เรียนอ่านมา(เพื่อตอบโจทย์) มีค่าถึงการหา ข้อสรุปอย่างมีเหตุผล เพราะมีคำตอบต่อการสนับสนุนข้อสรุปเหล่านั้นด้วยหลักฐานที่ดีและมีตรรกะน่าเชื่อถือ เพื่อช่วยให้มีทักษะในการเขียน เรียงความตามปกติทั่วไปที่เริ่มตั้งแต่การตั้งคำถาม(โจทย์วิจัย)ไปถึงการหา ข้อมูลจากแหล่งต่างๆ คำแนะนำต่อไปนี้นับว่าช่วยฝึกฝนขั้นพื้นฐานได้มาก การตั้งคำถามวิจัย ในการเรียนการสอนที่ผู้ศึกษาต้องหาหัวข้อ(ประเด็น)วิจัยเองคงเริ่มที่การตั้งคำถาม 2-3 คำถาม ว่า คำถามเหล่านั้นดูมีค่าควรต่อการค้นคว้าหรือไม่ ระหว่างที่สร้างคำถามที่คิดว่าพอจะเป็นไปได้เพื่อการค้นคว้าก็ ต้องให้แน่ใจว่าเป็นคำถามที่อยู่ในแนวทางของการค้นคว้าเพื่อการวิจัยหรือไม่ การตั้งโจทย์วิจัยหรือตั้งคำถามที่ ทำการวิจัยต้องเป็นคำถามที่ไม่กว้างจนเกินไป เป็นคำถามที่ท้าทายและเป็นคำถามที่อยู่บนพื้นฐานความเป็น จริง(ไม่ใช่คำถามที่คาดคะเน) การเลือกคำถามที่ไม่กว้างเกินไปและไม่เจาะจงลงลึก การศึกษาค้นคว้าก็ไม่ต่างกับการลงทุนทางธุรกิจที่ต้องคำนึงถึงปัจจัยเกี่ยวเนื่องที่สำคัญคือ ระยะที่จะ ศึกษา เงินทุนที่มีอยู่และแรงงานที่จะใช้ในการศึกษาค้นคว้า หากคำถามวิจัยที่ตั้งไว้แต่แรกกว้างเกินไปอาจ ดำเนินการไม่เสร็จทันในเวลาที่กำหนด ทุนที่มีอยู่ก็ไม่พอ อีกทั้งแรงคนที่จะร่วมค้นคว้าก็อาจน้อยเกินกว่าจะหา คำตอบได้คลอบคลุมตามข้อปัญหา(ใหญ่)วิจัย จึงต้องหาหนทางทำประเด็นที่สนใจศึกษาให้เล็กลงและสามารถ หาคำตอบได้อย่างลุ่มลึก ลองดูตัวอย่างข้างล่างนี้ โจทย์การวิจัยกว้างเกิน -การศึกษาความเห็นของนักศึกษากับการฝ่าฝืนระเบียบการแต่งกายชุดนักศึกษาในสถานศึกษา -การเที่ยวสถานบันเทิงละแวกมหาลัยของนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต
  • 18. 18 โจทย์วิจัยที่เล็กและลุ่มลึก - - การเลือกโจทย์คำถามวิจัยที่ท้าทาย หัวข้อค้นคว้าวิจัยจะเป็นที่น่าสนใจของผู้ศึกษาและผู้ฟังหากเป็นหัวข้อวิจัยที่อยู่บนความท้าทายอย่าง ที่ต้องใช้เชาว์ปัญญาในการสืบค้นข้อเท็จจริง หลีกเลี่ยงการตั้งคำถามชนิดเลียบๆ พื้น ๆ ที่ไม่อาจกระตุ้น ความคิดหรือไม่ดึงดูดให้ผู้ฟังเข้ามามีส่วนร่วมถกเถียงแสดงความเห็นและวิสัยทัศน์นานา คำถามที่เรียบแบน -ผู้คนเสี่ยงโชคด้วยช่องทางสลากกินแบ่งรัฐบาลกันทำไม -การทดสอบ DNA ทำงานอย่างไร คำถามที่ท้าทาย -สภาวะเศรษฐกิจตกต่ำกับการเสี่ยงโชคด้านสลากกินแบ่งในหมู่แรงงานรับจ้างรายวัน -การทดสอบ DNAน่าเชื่อถืออย่างงไร ผู้ศึกษาอาจจะเพิ่มคำถามพื้นๆไปด้วยก็ได้ในตอนที่ตอบคำถามชนิดท้าทายแต่จะเป็นความผิดอย่างมากที่จะใช้ เน้นการตอบคำถามพื้นๆตลอดการเขียนเรียงความนั้น เลือกคำถามที่อยู่บนความเป็นจริง ในที่สุดผู้ศึกษาก็ต้องการทำให้แน่ใจว่าโจทย์วิจัยนั้นอยู่บนความเป็นไปได้ ไม่ใช่คำถามที่เข้าข่าย”ฝัน ลมๆแล้ง”ที่อยู่กับการคาดคะเนเป็นหลัก แม้ว่าคำถามชนิดคาดเดาเช่น คำถามที่ระบุประเด็นทางศาสนาและ ความเชื่อจริยธรรมและปรัชญาก็เป็นคำถามที่มีค่าต่อการถามและอาจให้ความสนใจอยู่ด้วยในงานวิจัยนี้ แต่คำถามชนิดคาดคะเนเช่นนี้เป็นเพียงคำถามที่นำมาประกอบ ไม่ใช่คำถามหลักของการวิจัยเพราะคำถาม หลักต้องอยู่บนข้อเท็จจริงที่พิสูจน์ได้ คำถามชนิดคาดคะเน
  • 19. 19 -นักศึกษาแพทย์มีสิทธิ์ทดลองกับสัตว์หรือไม่ -ผิดหรือไม่ที่ชาย หญิงจะอยู่ด้วยกันก่อนแต่ง คำถามบนความเป็นจริง -ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ด้านเทคโนโลยีทำให้การทดลองในสัตว์เกือบจะไม่มีความจำเป็นอีก ต่อไป -ความคิดของวัยรุ่นในเมืองต่อการอยู่กินก่อนแต่ง การหาแหล่งข้อมูลที่เหมาะสม การหาแหล่งข้อมูลนั้นขึ้นอยู่กับปัญหาวิจัย ตัวอย่างเช่นถ้าคำถามวิจัยเป็นประเด็นทางประวัติศาสตร์ ก็อาจจะพิจารณาข้อมูลอ้างอิงจากหนังสือบทความทางวิชาการ และข้อมูลเอกสารชั้นต้นอาทิ สุนทรพจน์ หาก โจทย์วิจัยเป็นประเด็นทางการเมืองร่วมสมัยก็อาจดูที่นิตยสารบทความทางหนังสือพิมพ์ เว็บไซต์และเอกสาร รัฐบาล การหาตำแหน่งเอกสารอ้างอิง สำหรับประเด็นวิจัยบางประเด็นอาจเริ่มต้นโดยการอาศัยงานอ้างอิงเฉพาะด้าน ตรวจสอบ เอกสารอ้างอิงกับบรรณารักษ์เพื่อดูว่ามีงานอ้างอิงที่เกี่ยวกับประเด็นวิจัยใดบ้างที่อยู่ในระบบ e-(electronic format) เป็นอย่างที่หวังตั้งใจ ทุกคนอยากจะเป็นเลิศ แต่จะเป็น เลิศอยากที่ต้องการประมาณไหน ก็ดี ดี
  • 20. 20 ดีเยี่ยม ดีที่สุดในสายงาน หรือดีที่สุดในโลก บางทีอาจจะเป็นที่พรสวรรค์ แต่พรสวรรค์ ก็คงไม่พาให้ถึงฝั่งตามทะยานยากสุดๆ ได้ ทุกๆ คนต้องการจะเป็นเลิศ แต่หลายคน ก็ยังไม่ได้พยายามเต็มที่ที่จะเป็นดั่งหวัง สำหรับคนจำนวนไม่น้อย เพียงทำตัวน่ารักเพื่อให้เป็นที่ชื่นชอบสำคัญกว่า คนส่วนใหญ่รอคอยสูตรสำเร็จที่จะไปถึงความเป็นเลิศ สูตรทางลัดเพื่อไปถึงตามความเป็นเลิศไม่เคยมี ประสบการณ์และความผิดพลาดเป็นเพียงหนทางเดียวที่จะ นำไปสู่ความเป็นเลิศ แล้วคุณจะได้เป็นอย่างที่หวัง The forest is dark and deep But I have promises
  • 21. 21 Miles to go before I sleep (English poetry)