SlideShare a Scribd company logo
1 of 31
Download to read offline
บทที่ 1
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเมืองการปกครอง
การศึกษาการเมืองการปกครอง นับเป็นส่วนสาคัญในการบริหารงานภาครัฐที่มีระบบ มี
ความสลับซับซ้อนอยู่เป็นอย่างมาก ซึ่งมีแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องหลากหลาย ผู้นาประเทศหรือ
ผู้บริหารประเทศต้องใช้ศาสตร์ ศิลป์ องค์ความรู้ ประสบการณ์ ภาวะผู้นา ระบบบริหารราชการ
แผ่นดินต่อการบริหารประเทศให้ประสบความสาเร็จและมีการพัฒนาทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม
การเมืองไปพร้อม ๆ กัน ในประเทศที่พัฒนาแล้วการเมืองการปกครองนับเป็นเรื่องที่สาคัญต่อการ
พัฒนาประเทศเป็นอย่างมากที่จะนาพาให้ประเทศไปสู่ความเจริญในทุกด้านในขณะที่ประเทศกาลัง
พัฒนายังต้องอาศัยการพัฒนาระบบการเมืองการปกครองอันจะนาไปสู่ความมั่นคงแน่นอนทั้งใน
กระบวนการทางการเมือง พรรคการเมือง นักการเมือง ความขัดแย้ง วัฒนธรรมทางการเมืองและ
จริยธรรมทางการเมือง การปฏิวัติทางการเมืองและการปฎิรูปทางการเมือง รวมถึงผู้นาและภาวะผู้นา
กระบวนการทางการเมือง
กระบวนการทางการเมืองเป็นกิจกรรมที่มีความสลับซับซ้อนเพราะมีหน่วยงานที่มีส่วน
เกี่ยวข้องหลายหน่วย แต่ละหน่วยมีความรับผิดชอบโดยเฉพาะ แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องประสานงาน
กันเพื่อให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากอานาจอธิปไตยประกอบด้วยอานาจ
บริหาร อานาจนิติบัญญัติ และอานาจตุลาการ ยกตัวอย่างฝ่ายนิติบัญญัติทาหน้าที่ออกกฎหมาย ฝ่าย
บริหารมีหน้าที่กากับควบคุมให้มีการปฏิบัติตามกฎหมาย ถ้าไม่มีการปฏิบัติตามกฎหมายฝ่ายตุลาการ
จะเป็นผู้ตัดสินว่ากระทาผิดจริงหรือไม่ และตัดสินลงโทษตามที่กฎหมายกาหนดกระบวนการทาง
การเมืองครอบคลุมตั้งแต่สถาบันทางการเมือง
กระบวนการทางการเมือง (Political Process) หมายถึง วิธีการใช้อานาจอธิปไตย
(Process) เป็นกระบวนการอยู่ระหว่างปัจจัยนาเข้า (Input) ก่อให้เกิดผลผลิต (Output) ออกมา เมื่อ
มีรัฐเกิดขึ้นย่อมมีกระบวนการทางการเมือง (โกวิท วงศ์สุรวัฒน์. ม.ป.ป. : 113)
กระบวนการทางการเมือง คือ เรื่องของการใช้อานาจทางการเมือง การใช้อานาจทาง
การเมืองเป็นสิ่งที่เก่าแก่สืบเนื่องกันมาช้านาน กระบวนการทางการเมืองนี้มีหลายวิธีแตกต่างกันตาม
2
ยุคตามสมัยในสมัยโบราณ การเปลี่ยนมือการปกครองภายในประเทศระหว่างชนชั้นนาในชุมชนก็เป็น
วิธีการใช้อานาจทางการเมืองอย่างหนึ่ง บางชุมชนถือว่าเป็นการสืบมรดกอานาจทางการเมือง
เหมือนการสืบมรดกในทรัพย์สิน บางสังคมการใช้อานาจทางการเมืองต้องได้รับความยินยอมจาก
บรรดาสมาชิกของสังคม ชุมชนบางแห่งใช้ความรุนแรงและอานาจบังคับเป็นแนวทางในการ
ครอบครองอานาจและใช้อานาจนั้น ทุกวิธีดังกล่าวข้างต้นนั้นล้วนแล้วแต่เป็นกระบวนการ
ทางการเมืองทั้งสิ้น (จรูญ สุภาพ. 2527 : 104)
กระบวนการทางการเมือง หมายถึง วิธีการใช้อานาจอธิปไตย หรือ เรื่องของการใช้อานาจ
ทางการเมือง เนื่องจากอานาจอธิปไตยประกอบด้วยอานาจบริหาร อานาจนิติบัญญัติ และอานาจ
ตุลาการ นอกเหนือจากสถาบันหลักของอานาจอธิปไตยทั้งสามสถาบันแล้ว ยังประกอบไปด้วยองค์กร
อื่น ๆ ที่มีบทบาทต่อกระบวนการทางการเมือง องค์กรเหล่านั้นได้แก่ พรรคการเมือง
กลุ่มผลประโยชน์ ระบบราชการและสื่อมวลชนองค์กรเหล่านี้ล้วนมีบทบาทหน้าที่เฉพาะด้านของ
ตนเองทั้งยังต้องประสานงานซึ่งกันและกันเพื่อขับเคลื่อนกระบวนการทางการเมืองในระบอบ
ประชาธิปไตย (ณัชชาภัทร อุ่นตรงจิตร. 2548 : 17)
จากความหมายของนักวิชาการ พอจะสรุปความหมายได้ว่า กระบวนการทางการเมือง มี
บทบาทสาคัญในการนานโยบายไปปฏิบัติให้บังเกิดผลสาเร็จ ระบบราชการเป็นองค์กรขนาดใหญ่ที่มี
ขั้นตอนการบังคับบัญชาที่มีความสลับซับซ้อน มีการปฏิบัติงานสาธารณะโดยอาศัยอานาจตาม
กฎหมายในกระบวนการทางการเมือง ระบบราชการและข้าราชการจะต้องถือหลักการแบ่งแยกหน้าที่
กันอย่างชัดเจนระหว่างฝ่ายการเมืองกับฝ่ายข้าราชการประจา คือ ห้ามมิให้ข้าราชการประจาดารง
ตาแหน่งทางการเมือง และห้ามฝ่ายการเมืองมิให้เข้าไปก้าวก่ายแทรกแซงงานของข้าราชการประจา
การวางตัวเป็นกลางของระบบราชการและข้าราชการเป็นสิ่งจาเป็นในกระบวนการทางการเมืองที่จะ
ขับเคลื่อนระบบการเมืองโดยต่างฝ่ายต่างปฏิบัติตามหน้าที่ไม่แทรกแซงซึ่งกันและกันจะนามาซึ่ง
ความเป็นธรรมในสังคมระบอบประชาธิปไตย
แนวคิดทางการเมือง
การเมือง (Political) มีความหมายแตกต่างกันในหลายสมัย ไม่สามารถกาหนดคานิยามให้
แน่ชัดได้ นักปราชญ์ทางการเมืองแต่ละท่านก็มีความเห็นแตกต่างกัน เพื่อจะทาให้ความเข้าใจ
3
การเมืองให้กระจ่างชัดขึ้น จึงจาเป็นต้องมองย้อนกลับไปในยุคสมัยที่วิชารัฐศาสตร์เพิ่งเริ่มต้น คือ ใน
สมัยนครรัฐกรีกหรือกรีกโบราณ ซึ่งเป็นต้นกาเนิดของคาว่า “Polis” หรือ “Coty-state” ซึ่งแปลว่า
“นครรัฐ”
การเมือง เป็นเรื่องเกี่ยวกับ นครรัฐ รัฐธรรมนูญ พลเมือง และรัฐบุรุษ อันเป็นเรื่องเกี่ยวกับ
“สาธารณะ” อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันยังหมายรวมถึง รัฐ สถาบันทางการเมือง การปกครองต่าง ๆ
ความสัมพันธ์เกี่ยวกับอานาจ การตัดสินใจ นโยบายสาธารณะ และระบบความสัมพันธ์ใด ๆ ที่ทา
หน้าที่เกี่ยวกับการจัดสรร การปรับปรุง การเปลี่ยนแปลงการบารุงรักษา สิ่งที่มีคุณค่าต่าง ๆ เพื่อ
สังคม ซึ่งเป็นอานาจที่ต้องมีการปฏิบัติตาม (ทินพันธุ์ นาคะตะ. 2537 : 39)
Aristotle (384-322 B.C.) บิดาแห่งรัฐศาสตร์ ได้สะท้อนความคิดเกี่ยวกับการเมืองในสมัย
กรีกโบราณได้เป็นอย่างดีในหนังสือ The politics โดยเน้นว่า “มนุษย์โดยธรรมชาติเป็นสัตว์
การเมือง” โดยนัยนี้หมายความว่า “การเกิดของสังคมเป็นการเมือง ดังนั้นการกระทาร่วมกันของ
บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปเป็นการกระทาทางการเมือง” ลักษณะเช่นนี้สอดคล้องกับสภาพความเป็น
จริงในสังคมเอเธนส์ เพราะราษฎรทุกคนมีส่วนร่วมในกิจการของรัฐอย่างทั่วถึง (Rodee. 1983 : 2)
การเมือง หมายถึง กิจกรรมของบุคคลและสถาบันในอันที่จะขจัดปัญหาหรือความขัดแย้ง
สาธารณะ การจัดสรร แบ่งปัน หรือประสานผลประโยชน์ทรัพยากร หรือสิ่งที่มีคุณค่าในสังคมตาม
โอกาส และความสาคัญของกลุ่ม และบุคคลเพื่อความคงอยู่ และสวัสดิภาพของสังคมโดนส่วนรวม
(มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขารัฐศาสตร์. 2540 : 8)
การเมืองจึงเป็นกิจกรรมของมนุษย์ภายใต้ชุมชนหรือนครรัฐซึ่งประกอบด้วยบุคคลกลุ่มต่าง ๆ
มีผลประโยชน์ มีธรรมเนียม ประเพณีที่แตกต่างกัน แต่มาอยู่ภายในอาณาเขตเดียวกันและมีการ
ปกครองเดียวกัน กิจกรรมทางการเมืองนี้ก็คือการปกครองและการธารงรักษาความเป็นระเบียบ
เรียบร้อยในชุมชน การเมืองที่เรียกว่า “รัฐ” เพื่อนาไปสู่ชีวิตที่ดีและยุติธรรมของพลเมืองในสังคม
นับตั้งแต่ปีค.ศ. 1950 เป็นต้นมา นักรัฐศาสตร์จานวนมากต่างยอมรับว่า ภายใต้คาว่า
“กระบวนการทางการเมือง” ไม่เพียงแต่การดาเนินงานขององค์กรทางนิติบัญญัติ องค์กรบริหารและ
องค์กรด้านตุลาการเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงกลุ่มผลประโยชน์ กลุ่มอิทธิพล และพรรคการเมืองต่าง ๆ
ซึ่งนาไปสู่รูปแบบของ “ระบบเมือง” (Political System) ซึ่งให้ความหมายการเมืองว่า เป็น
กระบวนการอันสลับซับซ้อนขององค์กรทางการเมืองต่าง ๆ อันเกี่ยวเนื่องถึงทัศนคติและผลประโยชน์
ของพลเมือง
4
คาว่า ทฤษฎี (Theory) อาจมีความหมายได้หลายอย่างตามความคิด ประสบการณ์ หลักการ
การสังเกต เพื่อใช้ในการอธิบายเกี่ยวกับปรากฏการณ์บางสิ่งบางอย่างเกี่ยวกับข้อมูล หรือ
ความสัมพันธ์ต่าง ๆ ที่ไม่ได้เกิดจากการสังเกตเห็นโดยตรง ซึ่งอาจจะถูกหรือผิดก็ได้ ทฤษฎีแบบ
วิทยาศาสตร์เป็นทฤษฎีที่อาศัยการสังเกตการณ์ที่สามารถทดสอบได้ (Empirical) และอาศัยการใช้
หลักตรรกวิทยา (Logical) (Amold Brecht. 1967 : 14)
สาหรับความหมายอย่างกว้าง ทฤษฎีเป็นเรื่องของการสังเกตจากการปฏิบัติ และรวบรวม
ประสบการณ์จากที่ต่าง ๆ เพื่อใช้มองสังคมตน แล้วประเมินความสาคัญของสิ่งที่ได้สังเกตว่ามี
ความหมายต่อสิ่งที่ตนรู้จักอย่างไรบ้าง สาระสาคัญของความหมายของทฤษฎีการเมือง แบ่งเป็น
2 ลักษณะสาคัญ คือ
1. แนวคิดทฤษฎีการเมืองโบราณ
ทฤษฎีการเมืองโบราณ มีลักษณะสาคัญ คือ เป็นการศึกษาอย่างมีระบบ เพื่อให้เกิด
ความรู้ที่เชื่อถือได้ในเรื่องเกี่ยวกับสาธารณะ มุ่งสร้างรากฐานที่มีเหตุผล มุ่งการมีส่วนร่วมของสมาชิก
ระบบการเมืองเป็นหน่วยในการวิเคราะห์ศึกษาเปรียบเทียบ สนใจในสิ่งที่แตกต่างออกไปเพื่อแสวงหา
ระบบที่ดีที่สุด (Wolin. 1960 : 1-27)
Plato (427 – 324 B.C.) ความคิดของคนเราเกี่ยวกับสิ่งหนึ่งสิ่งใดเป็นเรื่องของจิตใจ
ไม่ใช่เป็นเรื่องของการใช้ประสาทสัมผัสลักษณะของสิ่งต่าง ๆ เป็นเรื่องที่สังเกตกันไม่ได้ ความรู้หรือ
ทฤษฎี ได้แก่ การแสวงหาแนวความคิดต่าง ๆ เกี่ยวกับสิ่งทั้งหลายซึ่งถือเป็นความจริงสากลและ
ชั่วนิรันดร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับสิ่งที่ดีงาม ซึ่งหมายถึงสิ่งใด ๆ ก็ตาม ทาหน้าที่ของตนได้อย่าง
เหมาะสมนั่นเอง Plato ถือว่า การเมืองเป็นศิลป์หรือวิธีการอย่างหนึ่งที่จะช่วยให้บรรลุถึงสิ่งที่ดีงามได้
การมีนครรัฐของระบบการเมือง ที่ดีกับการมีความยุติธรรมจะมีขึ้นได้ ก็จะต้องเกิดจากการมี
สมานฉันท์ และการแบ่งงานกันทา ระบบการเมืองที่ดีต้องปกครองโดยคนฉลาด เพราะนักปราชญ์
หรือคนฉลาดเท่านั้นที่มีความรู้เกี่ยวกับสิ่งที่ดีงามได้ (Corntord. 1967 : 16)
Alistotle ได้กล่าวไว้ว่า ทฤษฎีการเมือง ถือเป็นเรื่องการศึกษาค้นคว้าที่มีระเบียบแบบ
แผน เกี่ยวกับสิ่งอันเป็น “สาธารณะ” ซึ่งได้แก่การมีส่วนร่วมกันในสิ่งต่าง ๆ จากการเป็นสมาชิกของ
ระบบการเมืองเดียวกัน การเมืองเป็นวิธีการอย่างหนึ่งที่จะนาไปสู่การบรรลุความสุขของมนุษย์ โดย
อาศัยความรู้อันจะนาไปสู่การปรับปรุงคุณภาพของชีวิตมนุษย์ให้ดีขึ้น (Barker. 1948 : 7)
5
2. แนวคิดทฤษฎีการเมืองปัจจุบัน
ช่วยรวบรวมความรู้ต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ทาหน้าที่เป็นกรอบแนวความคิด จัดระเบียบข้อมูล
เพื่อให้มีความเข้าใจปรากฏการณ์ทางการเมืองต่าง ๆ จัดลาดับความสาคัญเร่งด่วนเกี่ยวกับเรื่องที่จะ
ศึกษาวิจัย โดยใช้เกณฑ์ในการมองปัญหาและตัวแปรต่าง ๆ เพื่อเป็นแนวทางในการวิเคราะห์ จัด
ระเบียบข้อเท็จจริงต่าง ๆ เป็นการประมวลความรู้ สามารถทดสอบได้ในโลกความเป็นจริง มี
เครื่องมือและตัวแบบในจานวนที่จากัด (Mcclelland. 1967 : 6-7)
นักทฤษฎีการเมืองโบราณกับนักทฤษฎีการเมืองปัจจุบัน มองทฤษฎีการเมือง และมอง
บทบาทของทฤษฎีการเมืองใหม่เหมือนกันทั้งในเรื่องของเนื้อหา วิชาการศึกษา และความมุ่งหมาย
ของทฤษฎี ทาให้เกิดความพยายามแสวงหาวิธีการ ความรู้ เพื่อเปลี่ยนแปลงแนวความคิดของทฤษฎี
รุ่นก่อน ๆ
Machiavelli เป็นบุคคลที่สอนให้โลกรู้จักอานาจทางการเมืองโดย เจ้าผู้ปกครอง เน้นการ
ใช้อานาจทางการเมือง ถือว่าผู้ปกครองมีความสามารถในการประพฤติตนอย่างมีเหตุผล และควบคุม
โชคชะตาของรัฐและของประชาชนได้ สามารถสร้างภาพทางการเมืองตามที่ตนต้องการได้ เนื่องจาก
มีตาแหน่งทางสังคม เข้าถึงข่าวสารได้มากกว่า เขามองคนโดยธรรมชาติว่า จะเป็นคนเลว คือ เต็มไป
ด้วยปัญหาและความทะเยอทะยาน แสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัว นาไปสู่ความขัดแย้ง รัฐเป็น
เครื่องมือที่ทาให้มนุษย์บรรลุความมั่นคง ปลอดภัย และการกินดีอยู่ดี รัฐบุรุษจึงต้องรู้จักวิธีที่จะทา
อะไรโดยปราศจากศีลธรรมได้ เพื่อผลประโยชน์ส่วนรวม (ทินพันธุ์ นาคะตะ. 2541 : 51)
Hobbes เป้าหมายของความรู้ คือ การมีอานาจ ทฤษฎีการเมือง เป็นวิธีการอย่างหนึ่งที่
จะช่วยให้บรรลุเป้าหมายทางการเมืองขึ้นมาได้ โดยมองเห็นว่าระบบการเมืองหรือรัฐนั้น ตั้งขึ้นมาเพื่อ
พิทักษ์ตนและเพื่อความปลอดภัยของบุคคล สาหรับแนวคิดของ Rousseau ก็คล้ายกันคือยืนยันว่า
คนเราจะมีเสรีภาพและความปลอดภัยได้ต้องอยู่ในระบบการเมืองเท่านั้น หากไม่มีรัฐ จะไม่มีกฎหมาย
และความมีศีลธรรมเกิดขึ้น (Rousseau. 1967 : 8)
Marx ที่มีแนวความคิดว่า ความก้าวหน้าเป็นผลจากการขัดแย้งกัน (Dialictic) ของพลัง
ต่าง ๆ ที่ตรงกันข้ามกัน ระหว่างข้อเสนอ (Thesis) และข้อขัดแย้ง (Antithesis) และการสังเคราะห์
(Synthesis) หรือการเปลี่ยนแปลง เข้าถือว่าการขัดแย้งกันไม่ใช่ภาพสะท้อนของความคิด แต่เกิดจาก
การขัดแย้งกันของพลังทางวัตถุที่สัมผัสได้ ส่วนความคิดเป็นเรื่องของวัตถุ เขาเน้นหลักวัตถุนิยม
(Materialism) เข้าเชื่อว่าการต่อสู้ระหว่างชนชั้น ในที่สุดแล้วชนชั้นกรรมาชีพก็จะทาการปฏิวัติ เพื่อ
6
ใช้อานาจขจัดชนชั้นนายทุนออกไปจากการควบคุมสถาบันทางเศรษฐกิจและการเมืองซึ่งจะทาให้การ
กดขี่หมดสิ้นไปด้วย(Marx and Engels. 1955 : 22)
Voegelin ถือว่า กิจกรรมทางการเมืองโดยธรรมชาติแล้วเป็นเรื่องของการเลือกตัดสินใจ
และเป็นเรื่องของค่านิยมซึ่งต้องอาศัยมาตรฐานอย่างหนึ่งอย่างใดเป็นแนวทาง ความรู้ทางการเมืองจึง
เป็นเรื่องของการแสวงหาความจริงอันเป็นสากลเกี่ยวกับสิ่งที่ถูกที่ควร ดังนั้นสาระสาคัญของสิ่งที่เป็น
การเมือง จึงต้องกาหนดให้อยู่ในรูปของค่านิยมของมนุษย์ การศึกษาเรื่องการเมืองจึงต้องมุ่งเน้น
ปัญหาเรื่องการเมืองมากกว่าพูดถึงลักษณะของสิ่งต่าง ๆ ทางการเมือง(Veogelin. 1952 : 8)
Easton ศึกษากรอบแนวความคิดสาหรับวิเคราะห์ระบบการเมืองต่าง ๆ ในทุกระบบและทุก
ระดับกล่าวว่า ระบบการเมืองใดจะดารงอยู่ได้ชั่วระยะเวลาหนึ่ง จะต้องมีปัจจัยนาเข้ามาจาก
สิ่งแวดล้อมของระบบ ซึ่งได้แก่การเรียกร้องกับการสนับสนุนต่าง ๆ จากนั้นระบบการเมืองจะ
ดาเนินการปรับเปลี่ยนสิ่งดังกล่าวให้ออกมาในรูปของปัจจัยส่งออก ซึ่งได้แก่นโยบายหรือการตัดสินใจ
ต่าง ๆ ของระบบการเมือง สิ่งเหล่านี้จะถูกป้อนกลับไปสู่สิ่งแวดล้อมของมันอีกต่อหนึ่ง(Easton.
1965 : 4)
Dahl กล่าวถึงทฤษฎีของความพยายาม (Polyarchy Theory) ที่จะทาให้ทฤษฎี
ประชาธิปไตยมีสมมติฐานต่าง ๆ สาหรับทาการพิสูจน์ได้โดยกาหนดเงื่อนไขต่าง ๆ โดยเฉพาะสาหรับ
การประเมินว่า ระบบการเมืองใดเป็นประชาธิปไตยหรือไม่ เช่น การออกเสียงลงคะแนนโดยเสรี
การที่คะแนนเสียงต่าง ๆ มีน้าหนักเท่ากันผู้ที่ได้คะแนนเสียงมากที่สุดเป็นฝ่ายชนะ (Dahl. 1963 : 9)
Lasswell ที่เน้นการศึกษาแบบจิตวิเคราะห์เป็นแนวทางสาหรับศึกษาบุคลิกภาพทาง
การเมือง ความสัมพันธ์ระหว่างมูลเหตุจูงใจส่วนตัว กับกิจกรรมทางการเมืองต่าง ๆ การศึกษานี้แสดง
ให้เห็นว่า ประสบการณ์ชีวิตเป็นปัจจัยสาคัญที่มีอิทธิพลต่อความคิดเห็นพฤติกรรมในทางการเมืองของ
บุคคล ทั้งยังแสดงให้เห็นประโยชน์ของการใช้ความรู้จากสาขาวิชาอื่น ๆ มาศึกษาการเมืองได้
การศึกษาแนวนี้ต้องใช้เทคนิคพิเศษ จึงเป็นการยากที่จะนาไปใช้ทั่วไปได้ (Lasswell. 1966 : 11)
การศึกษาทฤษฎีการเมืองในสมัยปัจจุบัน มีรากฐานมาจากทฤษฎีการเมืองโบราณ ในลักษณะ
หนึ่งลักษณะใดอยู่เสมอ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการมองปัญหา การตั้งข้อสมมติ การใช้
แนวความคิด การพรรณนา การอธิบาย การเสนอแนะ รวมทั้งการใช้แนวทางศึกษาวิเคราะห์ใน
ประวัติศาสตร์แห่งการศึกษาทฤษฎีการเมือง ปรากฏความต่อเนื่องในการคิด หรือการสร้างทฤษฎี
การเมืองมาโดยตลอด ข้อได้เปรียบประการหนึ่งของทฤษฎีการเมืองสมัยใหม่ คือ ได้เรียนรู้จาก
7
ข้อบกพร่องต่าง ๆ ของทฤษฎีการเมืองโบราณมาก่อน รวมทั้งมีโอกาสได้อาศัยแนวความคิดและ
แนวทางการศึกษาวิเคราะห์ของทฤษฎีเหล่านั้น เป็นแนวทางในการพัฒนาทฤษฎีของตนขึ้นมา
ยิ่งกว่านั้น ในระยะหลัง ๆ นี้ ระเบียบวิธีการศึกษาที่อาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ได้มีความ
เจริญก้าวหน้าขึ้นเป็นอันมาก สิ่งเหล่านี้จึงมีส่วนช่วยให้ทฤษฎีการเมืองสมัยใหม่มีความรัดกุม และ
สามารถทาการทดสอบได้มากขึ้น
จากคานิยามของนักวิชาการตะวันตก พอจะสรุปความได้ว่า “แนวคิดทางการเมือง” คือ
ทฤษฎีทางการเมืองใดจะมีความเชื่อถือมากน้อยแค่ไหน ย่อมขึ้นอยู่กับการทดสอบด้วยข้อมูลจริงที่
รวบรวมและวิเคราะห์กันด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์เป็นสาคัญ สิ่งดังกล่าวนี้คือ กิจกรรมหลักในการ
แสวงหาความรู้หรือความจริง อันเป็นหัวใจของการศึกษาในศาสตร์หนึ่ง ๆ การพัฒนาของทฤษฎี
การเมืองโบราณในแต่ละยุคสมัยขึ้นอยู่กับสถานภาพของความเจริญในวิธีการทางวิทยาศาสตร์เป็น
ส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันทฤษฎีการเมืองโบราณนับว่ามีคุณค่าต่อทฤษฎีการเมือง และ
การศึกษาวิชาการเมืองโดยส่วนรวม
พรรคการเมือง
ในระบอบประชาธิปไตย การเมืองการปกครองจะดารงอยู่ได้ต้องอาศัยพรรคการเมือง การ
เลือกผู้แทนจึงควรกระทาโดยยึดพรรคการเมืองมากกว่าตัวบุคคล ซึ่งไม่สามารถให้หลักประกันได้ว่า
จะปฏิบัติตามนโยบายที่ได้แถลงไว้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระบบรัฐสภา พรรคการเมืองที่ประชาชนส่วน
ใหญ่ไว้วางใจด้วยการเลือกสมาชิกของพรรคการเมืองนั้นเข้าไปมีเสียงข้างมากในรัฐสภา จะเป็นพรรค
ที่ได้รับมอบหมายให้เป็นแกนนาในการจัดตั้งรัฐบาล ส่วนพรรคอื่นใดที่ได้รับคะแนนเสียงข้างน้อย ก็จะ
ทาหน้าที่เป็นพรรคฝ่ายค้าน ทาหน้าที่ท้วงติง และให้คาแนะนาแก่รัฐบาล
1. ความหมายของพรรคการเมือง
มีนักวิชาการและนักรัฐศาสตร์หลายท่านได้แสดงทัศนะรวมถึงคาจากัดความของคาว่า
“พรรคการเมือง” ไว้มากมายดังนี้
Goodman อธิบายว่า พรรคการเมือง คือ องค์การซึ่งเป็นที่รวมกันของสมาชิกที่มีความ
คิดเห็นคล้ายคลึงกันโดยมีความม่งหมายอย่างชัดแจ้งที่หวังจะได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งอันจะทาให้
8
มีสิทธิเข้าไปใช้อานาจการปกครองเพื่อที่จะได้รับประโยชน์จากการเข้าไปมีอานาจทางการเมือง
(Goodman. 1975 : 8)
Stevenson ให้คานิยามว่า พรรคการเมืองประกอบด้วย กลุ่มบุคคลที่ได้รวบรวมกันจัดตั้ง
องค์การขึ้นมา เพื่อจะได้เสนอเป็นตัวแทนเข้าสมัครรับการเลือกตั้ง และจัดตั้งรัฐบาลดาเนินการ
ปกครองประเทศ (Stevenson. 1973 : 218)
โกวิท วงศ์สุวัฒน์ อธิบายความหมายพรรคการเมืองว่า คือ กลุ่มบุคคลที่รวมกันขึ้นเพื่อ
แสวงหาอานาจทางการเมือง ตามวิถีทางของแต่ละรัฐซึ่งกาหนดไว้ (โกวิท วงศ์สุวัฒน์. 2543 : 97)
ดังนั้น พอจะสรุปได้ว่า พรรคการเมือง คือ คณะบุคคลที่มารวมกันมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาอานาจ
ทางการเมือง เหนือพรรคการเมืองอื่นหรือนัยหนึ่ง คือ เป็นรัฐบาลนั่นเอง
2. หน้าที่ของพรรคการเมือง
พรรคการเมืองคือสถาบันที่มีความสาคัญทางสังคมสถาบันหนึ่ง การดาเนินงานของพรรค
การเมืองจะส่งผลต่อการดาเนินชีวิตของประชาชนรวมถึงการบริหารราชการแผ่นดินไปจนถึงเรื่องของ
การพัฒนาประเทศ หน้าที่ของพรรคการเมืองจึงมีความสาคัญทั้งในมิติการพัฒนาและการศึกษา ดังนี้
(ปรีชา หงษ์ไกรเลิศ. 2524 : 15-21)
2.1 หน้าที่ให้การศึกษาทางการเมืองแก่ประชาชน ในระบอบประชาธิปไตย พรรค
การเมืองมีบทบาทและหน้าที่ที่จะให้การศึกษาอบรมด้านการเมืองแก่ประชาชน เพื่อให้ประชาชน
ทราบว่า การปกครองประเทศนั้นมิใช่เป็นเรื่องของชนชั้นใดชั้นหนึ่งหรือกลุ่มใด กลุ่มหนึ่ง
หากแต่เป็นเรื่องของพลเมืองทุกคนจะต้องร่วมมือร่วมใจกัน การให้การศึกษาทางการเมืองอาจทาได้
หลายรูปแบบ เช่น การอธิบายหรือแถลงนโยบายของพรรคผ่านทางสื่อมวลชน ตลอดจน การเข้าถึง
ประชาชนโดยตรง เช่น การอภิปราย ปาฐกถา การบรรยายตามสถานที่ต่าง ๆ ตามโอกาส
2.2 หน้าที่สรรหาบุคคลที่มีความรู้ความสามารถในการเป็นผู้แทนราษฎรในระบอบ
ประชาธิปไตย เพราะผู้แทนราษฎรจะต้องเป็นตัวแทนไปทาหน้าที่รักษาผลประโยชน์ของประชาชน
และกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ ผู้ที่จะเป็นผู้แทนราษฎรจะต้องเป็นบุคคลที่เสียสละ มีความรับผิดชอบต่อ
ส่วนรวม มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ในการเป็นตัวแทนของราษฎรที่ดี พรรคการเมือง
จะต้องทาหน้าที่สรรหาบุคคลที่มีคุณสมบัติดังกล่าว ซึ่งจะเป็นการกลั่นกรองตัวบุคคลที่เหมาะสมที่จะ
เป็นตัวแทนที่ดีของประชาชน
9
2.3 หน้าที่ประสานประโยชน์ของกลุ่มอิทธิพลและกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ โดยทั่วไปแล้ว
กลุ่มอิทธิพลและกลุ่มผลประโยชน์จะมีบทบาทในการสร้างอิทธิพลต่อรัฐบาลในนโยบายสาธารณะ
เช่น การนัดหยุดงานของสหภาพแรงงาน การเดินขบวนประท้วงของกลุ่มเกษตรกร เพื่อเรียกร้องให้
รัฐบาลหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลยินยอมปฏิบัติตามในสิ่งที่ตนต้องการ ในขณะเดียวกัน กลุ่มนายจ้างก็
ไม่ยินยอมที่จะปฏิบัติตาม เพราะต้องการรักษาผลประโยชน์ของตนไว้อย่างเหนียวแน่น ในการนั้น
พรรคการเมืองจะทาหน้าที่ประสานผลประโยชน์ให้กับกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ ด้วยการเสนอให้มี
กฎหมายแรงงานที่เป็นธรรมกับทั้งสองฝ่าย รวมทั้งกลุ่มผลประโยชน์อื่น ๆ ด้วย
2.4 หน้าที่ในการระดมสรรพกาลังทางการเมือง พรรคการเมืองจะทาหน้าที่เป็นศูนย์พลัง
ทางการเมือง เพราะเป็นที่รวมของกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ และประชาชนที่มีความคิดเห็นทางด้าน
การเมือง เศรษฐกิจและสังคม ในแนวทางกว้าง ๆ ที่คล้ายคลึงกัน เข้าด้วยกันเพื่อหาโอกาสเป็นรัฐบาล
ซึ่งจะสามารถนาเอานโยบายของพรรคการเมืองของตนไปปกครองประเทศ พรรคการเมืองจึงเป็นที่
รวมในการระดมสรรพกาลังต่าง ๆ เพื่อให้เกิดอานาจต่าง ๆ เรียกร้องและรวบรวมความคิดเห็นจาก
ประชาชนและกลุ่มของประชาชนต่าง ๆ เพื่อนามาบริหารประเทศ
2.5 หน้าที่เป็นรัฐบาลบริหารประเทศ เมื่อสมาชิกของพรรคได้รับการเลือกตั้งเป็น
ผู้แทนราษฎรฝ่ายเสียงข้างมากในรัฐสภาในกรณีรัฐบาลรูปแบบรัฐสภา ย่อมถือได้ว่า ประชาชนมีความ
ประสงค์ให้นโยบายของพรรคการเมืองนั้น เป็นนโยบายของรัฐบาล ส่วนในรูปแบบรัฐบาลแบบ
ประธานาธิบดี ประชาชนจะเลือกผู้นาฝ่ายบริหารจากพรรคการเมืองพรรคหนึ่งพรรคใดโดยตรง
2.6 หน้าที่ในฐานะฝ่ายค้านในระบอบประชาธิปไตย พรรคการเมืองที่มีสมาชิกของพรรค
ได้รับเลือกตั้งน้อยและไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ก็จะทาหน้าที่เป็นฝ่ายค้าน หน้าที่ของฝ่ายค้านนี้ถือ
ว่าเป็นสิ่งสาคัญสาหรับระบอบประชาธิปไตย เพราะทาหน้าที่เป็นเสมือนกระจกเงาให้รัฐบาลได้ทราบ
ว่ามีสิ่งใดที่รัฐบาลบริหารงานขาดตกบกพร่องไปบ้าง หรือสิ่งใดที่รัฐบาลควรทาเพิ่มเติมเพื่อให้เกิด
ประโยชน์กับประชาชนผู้เป็นเจ้าของประเทศ พรรคการเมืองฝ่ายค้านจะทาหน้าที่ท้วงติงคัดค้านหรือ
ยับยั้งมิให้รัฐบาลใช้อานาจเกินขอบเขตจนกลายเป็นเผด็จการโดยเสียงข้างมาก นอกจากนี้พรรคฝ่าย
ค้านยังทาหน้าที่ควบคุมให้รัฐบาลปฏิบัติตามนโยบายของตนที่ได้แถลงไว้ต่อสภา
2.7 หน้าที่ในการเป็นศูนย์กลางของกลุ่มผลประโยชน์และสมาชิกพรรคการเมืองเนื่องจาก
พรรคการเมืองเป็นที่รวมของบุคคลหลายกลุ่มหลายอาชีพมากมาย ฉะนั้น โอกาสที่จะเกิดความ
แตกแยกทางความคิดเห็น จึงมักจะมีอยู่เสมอ พรรคการเมืองจึงสามารถทาหน้าที่เสมือนเป็นเวทีให้
10
สมาชิกต่าง ๆ ของพรรคได้ระบายความอัดอั้นตันใจของตน หรือกลุ่มของตน เพื่อนาไปสู่การตกลง
ด้วยสันติวิธีก่อนที่จะนาปัญหาต่าง ๆ ไปอภิปรายในสภา โดยนัยนี้เอง พรรคการเมืองเป็นศูนย์กลางใน
การประสานการติดต่อและสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างมวลสมาชิกของพรรค รวมทั้ง ระหว่างพรรค
ต่อพรรค ระหว่างพรรคต่อรัฐบาล และระหว่างพรรคการเมืองกับประชาชนทั่วไปด้วย
2.8 หน้าที่สร้างผู้นาทางการเมือง ในประเทศประชาธิปไตย พรรคการเมืองจะเป็นสถาบันที่
สร้างผู้นาทางการเมืองที่ดีเพื่อผลิตออกไปเป็นนักการเมืองอาชีพที่มีความสามารถและพร้อมที่จะดารง
ตาแหน่งผู้นาทางการเมืองในระดับต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ผู้ว่า
ราชการมหานครและนายกเทศมนตรี เป็นต้น สถาบันอื่น ๆ ที่มิใช่พรรคการเมือง ย่อมมีความ
เหมาะสมน้อยกว่าในการผลิตผู้นาทางการเมือง เช่น สถาบันราชการย่อมมีความเหมาะสมที่จะผลิต
ผู้นาทางการบริหารหรือข้าราชการที่ดีเท่านั้น แต่มิใช่ผลิตผู้นาทางการเมือง เพราะการเป็นผู้นาทาง
การเมืองย่อมมีลักษณะแตกต่างไปจากผู้นาทางการบริหารเป็นอย่างมาก กล่าวคือ ผู้บริหารหรือ
ข้าราชการเป็นผู้ปฏิบัติตามกฎหมาย คาสั่งและระเบียบแบบแผนต่าง ๆ ซึ่งฝ่ายการเมืองเป็นผู้วางไว้
ให้ ส่วนผู้นาทางการเมืองเป็นผู้กาหนดนโยบาย โดยคานึงถึงผลประโยชน์ของประชาชน ฉะนั้น
นักการเมืองจะต้องเข้าใจการต่อรองผลประโยชน์ทางการเมืองของประชาชน การประสานประโยชน์
ต่าง ๆ ตลอดจนการสร้างความสามัคคีของกลุ่มต่าง ๆ ด้วยการวางนโยบายของพรรคและเมื่อพรรคได้
เป็นรัฐบาลก็จะต้องเอานโยบายเหล่านี้ไปใช้โดยมีข้าราชการซึ่งเป็นฝ่ายบริหารเป็นผู้ปฏิบัติตาม ฉะนั้น
ในระบอบประชาธิปไตย พรรคการเมืองจึงเป็นสถาบันที่ฝึกอบรมและสร้างผู้นาทางการเมืองที่
เหมาะสมกว่าสถาบันอื่นใด
จากความหมายของนักวิชาการต่าง ๆ สรุปความหมายของคาว่า “พรรคการเมือง” มีหน้าที่
ที่สาคัญได้แก่ หน้าที่ในการให้การศึกษาทางการเมืองแก่ประชาชน โดยการบรรยาย อภิปรายตาม
โอกาสต่าง ๆ หน้าที่ในการสรรหาบุคคลที่มีความรู้ความสามารถในการเป็นผู้แทนราษฎร เพราะ
บุคคลที่เป็นนักการเมืองจะต้องมีคุณสมบัติเฉพาะนอกเหนือจากความรู้ความสามารถแล้วต้องเสียสละ
และมีความรับผิดชอบต่อสังคม หน้าที่ประสานประโยชน์ของกลุ่มอิทธิพลและกลุ่มผลประโยชน์
หน้าที่ทาได้โดยการเสนอกฎหมายที่ให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย หน้าที่ในการระดมสรรพกาลังทาง
การเมือง คน และกลุ่มผลประโยชน์ที่มีแนวทางเดียวกันสามารถมารวมพลังกันกาหนดนโยบายของ
พรรคการเมือง ซึ่งถ้าพรรคการเมืองชนะการเลือกตั้งก็จะต้องทาหน้าที่เป็นรัฐบาล เมื่อเป็นรัฐบาลก็จะ
ได้นานโยบายที่กาหนดไว้ไปใช้ นอกจากจะเป็นรัฐบาลแล้ว พรรคการเมืองก็ต้องพร้อมทาหน้าที่
11
ฝ่ายค้าน เพราะฝ่ายค้านเป็นเสมือนกระจกเงาให้รัฐบาลได้ทราบถึงผลของการบริหารงาน นอกจากนี้
พรรคการเมืองยังเป็นเวทีให้มีการอภิปรายปัญหาต่าง ๆ ก่อนที่จะนาเข้าสู่สภา และพรรคการเมืองยัง
ทาหน้าที่สร้างผู้นาทางการเมืองที่สามารถต่อรองผลประโยชน์ต่าง ๆ เพื่อประชาชนได้
นักการเมือง
ในสังคมหนึ่ง ๆ มักจะมีค่านิยมและความเชื่อในการดารงคงอยู่ ค่านิยมและความเชื่อจะทา
หน้าที่ผนึกสังคมเข้าเป็นปึกแผ่น และยังทาหน้าที่เป็นแนวทางชี้นาพฤติกรรมที่เป็นที่ยอมรับขอ
สมาชิกในสังคม และในระบบการเมืองสิ่งที่สาคัญประการหนึ่งก็คือ ปัญหาแห่งความชอบธรรมของ
อานาจ ซึ่งนั่นก็คือ ปัญหาที่ผู้ถูกปกครองจะยอมรับผู้ปกครองอย่างไร การยอมรับในความชอบธรรม
แห่งอานาจและค่านิยมนั่นก็คือตัวแทนในทางการเมืองอันได้แก่ “นักการเมือง” ซึ่งเป็นตัวแทนที่ได้รับ
ความชอบธรรมของสมาชิกในสังคมในการใช้อานาจในฐานะผู้ปกครอง
1. ความหมายของนักการเมือง
คาว่า นักการเมือง (Politician) มาจากคาว่า การเมือง (Politics) ในนครรัฐเอเธนส์ ถือ
ว่า สังคม คือ การเมือง ประชาชนทั้งหมดในฐานะที่มีส่วนร่วมในกิจกรรมของรัฐก็คือ นักการเมืองและ
บุคคลที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการอานวยการปกครองรัฐหรือเมืองก็คือ ประชาชนที่เกี่ยวข้องกับ
การเมืองมากกว่าคนอื่น ๆ (มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. 2540 : 10)
ในปัจจุบันความหมายของนักการเมืองได้เน้นลักษณะของบุคคลที่ทาหน้าที่สาธารณะ
ศาสตราจารย์ Kline R. Swygart แห่งมหาวิทยาลัยออเรกอนในสหรัฐอเมริกาได้ให้ความหมายของ
นักการเมืองไว้ว่า “นักการเมือง” คือ บุคคลผู้เสียสละเวลาและกาลังตนแทบทั้งหมดเพื่อไปร่วม
กิจกรรมของรัฐบาล หรือเป็นบุคคลผู้ซึ่งพยายามใช้อิทธิพลต่อวิถีการดาเนินงานของรัฐบาล โดยปกติ
เขากระทาในฐานะที่เป็นสมาชิกพรรคการเมืองหรือกลุ่มอิทธิพล นักการเมืองตามนัยนี้จึงได้แก่ผู้ที่
ดาเนินการเคลื่อนไหวทางการเมือง เพื่อเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจการของรัฐบาลได้แก่ ประธานาธิบดี
นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี สมาชิกรัฐสภา ฯลฯ
ในระบอบประชาธิปไตย บุคคลที่ได้ชื่อว่าเป็นนักการเมือง โดยปกติแล้วต้องสมัครรับ
เลือกตั้ง เพื่อให้ประชาชนแสดงความนิยมชมชอบ มีการต่อสู้กับคู่แข่งขัน เมื่อได้รับการเลือกตั้งแล้วก็
อยู่ในตาแหน่งในระยะเวลาอันมีความจากัด ขึ้นอยู่กับการระบุไว้ในรัฐธรรมนูญในด้านของการได้มา
12
ซึ่งสมาชิก เมื่อระยะเวลาการดารงตาแหน่งสิ้นสุดวงจรการเมืองก็จะเริ่มต้นใหม่อีกครั้งเพื่อสรรหา
บุคคลที่จะไปดารงตาแหน่งทางการเมือง ทัศนคติของประชาชนที่มีต่อนักการเมืองนั้นมีความขัดแย้ง
กัน คือ ทางหนึ่งมีทัศนคติที่ว่า การเมืองและนักการเมืองมีแนวโน้มที่จะทาให้เกิดชีวิตที่ดีขึ้นในสังคม
อีกแนวทางหนึ่งมองการเมืองหรือนักการเมืองไปในทางตรงกันข้าม โดยมองว่าการเมืองเป็นธุรกิจที่
สามารถสาหรับบุคคลที่มีความต้องการจะอาศัยความเชื่อถือของสาธารณชนเป็นเครื่องมือเพื่อบรรลุ
เป้าหมายสาหรับตนเอง ดังนั้น ทัศนคติทั้งสองทางจึงมีลักษณะผสมผสานกันไปในสังคมการเมือง คือ
มีคนจานวนมากที่พิจารณาธุรกิจการเมืองว่าเป็นความ จาเป็นที่ชั่วร้าย ขณะเดียวกันพวกเขาก็มองหา
ผู้นาทางการเมือง หรือกลุ่มบุคคลที่จะสามารถอุทิศตนเองเพื่อรับใช้ประชาชน
2. ระดับของบุคคลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมือง
เพื่อที่จะได้เห็นความแตกต่างระหว่างบุคคลธรรมดาโดยทั่วไปกับนักการเมืองได้ชัดเจนขึ้น
Dahl แบ่งบุคคลทางการเมืองตามลักษณะของการเข้าไปยุ่งเกี่ยวทางการเมือง โดยยอมรับคากล่าว
ของอริสโตเติลที่ว่า “มนุษย์เป็นสัตว์การเมือง” คือ บุคคลใดก็ตามแม้ว่าจะไม่มีความต้องการที่จะเข้า
ไปเกี่ยวข้อง หรือมีส่วนร่วมในวิถีชีวิตการเมือง แต่ภายใต้ระบบการเมืองแล้ว เขาไม่อาจหลีกเลี่ยง
ความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกีบอานาจและอิทธิพลได้ ดังนั้นในสังคมการเมือง บุคคลแต่ละคนจึงมีระดับ
ความแตกต่างในการเข้าไปมีส่วนร่วมหรือเกี่ยวข้องทางการเมือง (Dahl. 1982 : 94-120) ซึ่ง Dahl
ได้แยกออกเป็น 4 ระดับ คือ
2.1 ผู้ไม่สนใจทางการเมือง หรือสนใจทางการเมืองน้อย (The apolitical stratum) มัก
เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศที่กาลังพัฒนา ได้แก่ ผู้ที่มีความเฉยเมยทางการเมือง ไม่สนใจที่จะเข้าไป
ยุ่งเกี่ยวกับนักการเมือง เช่น ไม่สนใจไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ไม่สนใจเป็นสมาชิกพรรคการเมือง
หรือลงสมัครรับเลือกตั้ง รวมไปถึงผู้ที่ไม่สนใจเรื่องราวต่าง ๆ ของการเมืองเลย
2.2 ผู้สนใจทางการเมือง (The political stratum) เป็นบุคคลที่สนใจเรื่องราวข่าวสาร
ทางการเมือง และอาจเข้าไปมีส่วนร่วมเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจในการดาเนินกิจการของรัฐ รู้ว่าจะ
เกิดอะไรขึ้นทางการเมือง และมีความเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของตนอย่างไร สามารถรับรู้และเข้าใจ
ในความสาคัญของการตัดสินตกลงใจของรัฐบาลหรือสถาบันการเมืองต่าง ๆ เช่น สนใจไปลงคะแนน
เสียงเลือกตั้ง สนใจสมัครเป็นสมาชิกพรรคการเมือง แต่ยังไม่ถึงกับที่จะลงสมัครรับเลือกตั้ง หรือเข้าไป
เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ หรือกาหนดนโยบายของรัฐโดยตรง
13
2.3 ผู้แสวงหาอานาจและผู้นา (The power-seekers) ในสังคมการเมืองมีบุคคลพยายาม
แสวงหาอานาจมากกว่าคนอื่น ๆ เพื่อทาให้เขามีอานาจหรืออิทธิพลทางการเมืองมากกว่า เพื่อผล
ทางด้านนโยบาย ระเบียบข้อบังคับ และการตัดสินตกลงใจในการใช้บังคับกฎหมายของรัฐ และ
อิทธิพลทางการเมืองนี้ไม่มีทางที่สมาชิกในระบบการเมืองจะได้มีอย่างเท่าเทียมกัน การแสวงหา
อานาจก็เพื่อประโยชน์ในการยึดครองทรัพยากรทางการเมือง โดยมีวัตถุประสงค์ในการปกป้อง
คุ้มครองผลประโยชน์ของประชาชนโดยส่วนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในสังคม หรืออาจจะ
เป็นการแสวงหาอานาจเพื่อผลประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้องกลุ่มน้อยก็ตาม
2.4 ผู้ทรงอานาจ (The powerful) หมายถึง บุคคลที่มีทรัพยากรทางการเมืองหรือเป็น
ผู้ใช้อานาจทางการเมือง อันเนื่องมาจากความแตกต่างของสภาพแวดล้อมที่เอื้ออานวยให้แก่บุคคล
เหล่านี้มากกว่าบุคคลโดยทั่วไปในระบบการเมือง บุคคลเหล่านี้มิได้ต้องการแสวงหาอานาจหรือ
ทรัพยากรทางการเมืองเลย แต่เขากลับมีอานาจนั้นและเป็นผู้ใช้อานาจนั้นเสียเอง
การจาแนกบุคคลออกเป็น 4 ระดับทาให้เห็นว่า นักการเมืองในความหมายทั่วไป คือ
บุคคลประเภทที่ 3 หรือผู้ที่แสวงหาอานาจและต้องการเป็นผู้นา อีกทั้งบุคคลประเภทที่ 4 จะเป็นผู้ที่
ควบคุมการใช้อานาจในทางการเมืองและมีอานาจในทางการเมืองแต่มิได้ต้องการเข้าไปเป็น
นักการเมือง หรือในอีกนัยยะหนึ่ง บุคคลประเภทที่ 3 และ 4 เป็นผู้ฝักใฝ่ทางการเมือง (Partisan
politics) ส่วนบุคคลประเภทที่ 1 และ 2 นั้นเป็นผู้ที่ไม่ฝักฝ่ายทางการเมือง (Non-partisan politics)
เป็นต้น
จากความหมายของนักวิชาการต่าง ๆ สรุปความหมายของคาว่า “นักการเมือง” คือ
บุคคลที่มีฐานะทางสังคม เชื้อสาย ชาติพันธุ์ที่แตกต่างกัน แต่ได้มาอยู่ในสังคมเดียวกัน บุคคลที่เติบโต
มาภายใต้สิ่งแวดล้อมทางการเมืองที่กาลังเปลี่ยนแปลงก็อาจมีความคิดทางการเมืองที่ต่างออกไปจาก
บุคคลที่เติบโตภายใต้สิ่งแวดล้อมของสังคมอานาจนิยมที่มองว่าการเมืองเป็นเรื่องของชนชั้นปกครอง
ผู้แสวงหาอานาจในทางการเมือง เป็นนักอุดมคติหรือนักปฏิวัติ นักการเมืองทั้งหมดมีส่วนทาให้ระบบ
การเมืองดาเนินไปได้ และสิ่งที่พวกเขากระทาจะเป็นตัวกาหนดว่า สังคมนั้นจะมีระบบการเมืองชนิด
ใด จะมีรัฐบาลแบบใด มีประเทศเช่นใด และเราจะมีวิธีการแก้ไขปัญหาของประเทศด้วยนโยบาย
อย่างไร ดังนั้นในรูปสังคมเมืองหรือรัฐ นักการเมืองจึงมีความสาคัญเป็นอย่างมากในการบริหาร และ
การปกครอง เพื่อให้เกิดความสงบสุข และความผาสุกของประชาชนโดยทั่วไป
14
ความขัดแย้งทางการเมือง
การเมืองเป็นกิจกรรมของบุคคลในอันที่จะขจัดปัญหาหรือจัดการกับความขัดแย้งสาธารณะ
การจัดสรรแบ่งปันหรือประสานประโยชน์ทรัพยากรหรือสิ่งที่มีคุณค่าให้แก่กลุ่ม และบุคคลตามโอกาส
และความสาคัญของกลุ่มและบุคคลนั้น เพื่อความคงอยู่และสวัสดิภาพของสังคมโดยส่วนรวม แล้ว
ปัญหาการเมืองจึงเป็นปัญหาหรือความขัดแย้งที่มีผลกระทบต่อสาธารณะ หรือปัญหาของระบบ
การเมืองที่เป็นอุปสรรคต่อการจัดสรรแบ่งปันทรัพยากรต่าง ๆ นี่เอง คือ ที่มาของนโยบายและการ
ดาเนินงานขององค์กรฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ ในอันที่จะแก้ไขความขัดแย้งสาธารณะ
1. ประเภทของความขัดแย้ง
ความขัดแย้ง คือ ผลอันเกิดจากความแตกต่างระหว่างกลุ่มและปัจเจกชนในสังคม ซึ่ง
รวมทั้งแนวความคิดหรือทัศนคติที่ขัดแย้งกัน อันเนื่องมาจากผลของความแตกต่างเหล่านั้น ในสังคม
ใหญ่ย่อมมีรูปแบบของความแตกต่างปัจเจกบุคคลอยู่มาก เนื่องจากแต่ละบุคคลก็บุคลิกและ
สถานภาพทางสังคมแตกต่างกันในทุก ๆ ด้าน และนี่เองที่เป็นความแตกต่างอันเป็นพื้นฐานของ
แนวโน้มของความขัดแย้งบนสภาพความเป็นจริงการเกิดความขัดแย้งทางสังคมในประเด็นที่เกี่ยวกับ
สาธารณะ ก็เนื่องมาจากผลของความแตกต่างระหว่างกลุ่มที่มีลักษณะแตกต่างกัน และขึ้นอยู่กับ
สถานการณ์เฉพาะในช่วงเวลานั้น ๆ ความเป็นไปได้ของความไม่เห็นด้วยในกรณีใดก็ตาม จึงไม่มีที่
สิ้นสุด และสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกกรณี เมื่อกล่าวถึงความขัดแย้ง สามารถแบ่งประเภทของความ
ขัดแย้งเป็น 3 ส่วนด้วยกัน คือ (March and Simon. 1958 : 16)
1.1 ความขัดแย้งต่อตนเอง (Individual Conflict) ความขัดแย้งต่อตนเองเป็นความ
ขัดแย้งทางจิตวิทยา เป็นแบบของการกระทาอันเกิดจากการ ไม่สบอารมณ์และทรรศนะ เป็นความไม่
ลงรอยระหว่างความต้องการของบุคคล และการยอมรับของสังคม หรือข้อจากัดต่อความสาเร็จที่
ต้องการ และอาจรวมไปถึงการไม่อาจมีการเสียสละให้แก่กันและกันได้
1.2 ความขัดแย้งต่อองค์กร (Organizational Conflict)เป็นความขัดแย้งของกลุ่มหรือ
ของคนในองค์กร มนุษย์เรานั้นย่อมนิยมชมชอบและมีใจเข้าข้างกลุ่มที่ตนเองทางานด้วย และ
ขณะเดียวกันก็จะต่อต้านคู่แข่งของตน สภาพของความขัดแย้งเช่นนี้มีอยู่หลายโอกาสที่ตั้งอยู่บนฐาน
ของการมีเหตุผล ความรู้สึก และอารมณ์
15
1.3 ความขัดแย้งระหว่างองค์การ (Interorganizational Conflict) ความขัดแย้งของ
กลุ่มภายในองค์การ มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับความขัดแย้งระหว่างองค์การ แต่ลักษณะความขัดแย้ง
จะแตกต่างกัน การแก้ปัญหาต้องใช้ระบบการต่อรองว่าฝ่ายใดจะได้รับอะไร และสิ่งสาคัญที่สุดในการ
ต่อรองนั้น จะต้องคานึงถึงผลที่ได้รับอย่างยุติธรรมด้วยซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการขัดแย้งกันในเรื่องของ
ผลประโยชน์
2. สาเหตุของความขัดแย้ง
ความขัดแย้งหรือความไม่เข้าใจกันของคนในสังคมก่อให้เกิดปัญหาโดยเฉพาะปัญหาความ
ขัดแย้งซึ่งต้นเหตุของความขัดแย้งทางสังคมที่เกิดขึ้นมีมาอยู่ 2 ทาง คือ
2.1 ความแตกต่างทางด้านวัฒนธรรม โดยเฉพาะกลุ่มเชื้อชาตินาไปสู่ความขัดแย้งหรือ
ปัญหาทางสังคมได้ตลอดเวลา เช่น ในสหรัฐอเมริกา ประกอบด้วยคนผิวขาวเป็นคนส่วนใหญ่ของ
ประเทศ และคนผิวดาเป็นคนส่วนน้อย ประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ของประชากร นอกนั้นเป็นชนชาติอื่น
ๆ ทาให้วัฒนธรรมของประเทศมีความแตกต่างกันอย่างมาก ประเทศที่ประกอบด้วยคนหลายเชื้อชาติ
หลายศาสนา ย่อมมีความแตกต่างกันทางด้านประเพณี วัฒนธรรม และวิถีทางในการดาเนินชีวิต
ความขัดแย้งจึงเกิดข้นตามความแตกต่างทางด้านวัฒนธรรมเป็นสาคัญ
2.2 ความแตกต่างทางด้านเศรษฐกิจ ในสังคมก็เป็นปัญหาทางสังคมที่สาคัญประการหนึ่ง
เหมือนอย่างที่ Adam Smith ได้กล่าวไว้เมื่อ 200 ปีมาแล้วว่า ทุก ๆ สังคมมีความแตกต่างทางด้าน
แรงงานในการผลิตสินค้า และการบริการที่จาเป็นของประชาชน แม้แต่ในสังคมพื้นฐานก็ยังมีความ
แตกต่างด้านเศรษฐกิจ และความแตกต่างทางด้านเศรษฐกิจนี้ก็นาไปสู่ความแตกต่างทางสังคม
(Adam Smith. 1973 : 2)
จึงอาจกล่าวได้ว่า ต้นเหตุของความขัดแย้งทางสังคมมาจากความแตกต่างทางวัฒนธรรม
และเศรษฐกิจเป็นสาคัญ ความแตกต่างของสภาพการณ์และทัศนคติของสังคม ทาให้เกิดความขัดแย้ง
ทางสังคม และเมื่อความขัดแย้งทางสังคมกลายมาเป็นเรื่องสาธารณะที่มีผลกระทบต่อประชาชน
จานวนมาก ก็หมายความว่าความขัดแย้งสาธารณะนาไปสู่ปัญหาทางการเมือง เมื่อพิจารณาจานวน
พลเมืองที่ได้รับผลกระทบ หรือได้เข้าร่วมกับความขัดแย้งนั้น จะเห็นได้ว่ารัฐบาลจาเป็นต้องเข้ามามี
ส่วนเกี่ยวข้อง หรือเป็นหน้าที่ของระบบการเมืองที่จะต้องปรับตัวเพื่อทาการแก้ไข ดังนั้นการกระทา
ของบุคคล กลุ่มบุคคล หรือ ผู้ประท้วงที่ถูกจัดให้เกี่ยวข้องกับเรื่องสาธารณะ ล้วนเป็นปัญหาทาง
การเมืองทั้งสิ้น
16
วัฒนธรรมทางการเมืองและจริยธรรมทางการเมือง
กระบวนการในการหล่อหลอม ความเชื่อ ค่านิยม ทัศนคติที่ปลูกฝังสืบทอดมาต่อเนื่อง
ยาวนานซึ่งยากที่จะเปลี่ยนแปลงได้โดยในทางการเมืองนั้นก็ได้แก่ วัฒนธรรมทางการเมือง มีลักษณะ
เป็นพลวัตร (Dynamic) กลไกที่จะสามารถกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความเชื่อ ค่านิยม ทัศนคติ
ทางการเมืองก็คือ องค์ความรู้ใหม่ที่ก่อตัวขึ้นเป็นพลังทางการเมืองที่จะผลักดันให้เกิดการ
เปลี่ยนแปลงที่นาไปสู่ความเชื่อใหม่ให้สอดคล้องกับการเสริมสร้างชีวิตทางการเมืองที่ดีกว่าเป็นกระแส
การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมทางการเมืองในที่สุด เป็นกระบวนการที่ต้องใช้การปรับตัวเพื่อล้างความ
เชื่อดั้งเดิมเป็นการปลูกฝังระบบความเชื่อใหม่ที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทางการเมือง
ในด้านจริยธรรมทางการเมืองเป็นการศึกษาหาความรู้ที่เกี่ยวกับแนวคิดทางการเมือง เป็นลักษณะของ
การกาหนดปทัสถานเพื่อหาข้อยุติเกี่ยวกับค่านิยมทางการเมืองซึ่งมีลักษณะเป็นปรัชญาการเมืองให้ได้
หลักเกณฑ์การปกครองที่ดี อีกทั้งจริยธรรมทางการเมืองเป็นลักษณะของการหาสัจธรรมทางการเมือง
ที่ดี
1. วัฒนธรรมทางการเมือง
การเมืองนั้นเป็นเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับรัฐบาล ดังนั้นความคิดของ
ประชาชนที่มีส่วนกาหนดพฤติกรรมในทางการเมือง จึงเป็นลักษณะสาคัญอย่างหนึ่งของการศึกษา
วิชาการเมือง ความรู้ที่ได้สะสมกันมานานมีอยู่ว่า ระบบการเมืองใดจะดารงอยู่ได้ ต้องอาศัยการมี
วัฒนธรรมทางการเมือง (Political culture) ที่เอื้ออานวยต่อการปกครองแบบนั้น ๆ วัฒนธรรมทาง
การเมืองเป็นผลมาจากกระบวนการถ่ายทอดวัฒนธรรมทางการเมือง และประวัติศาสตร์ของระบบ
การเมืองอีกต่อหนึ่ง
Almond ให้ความหมายของวัฒนธรรมทางการเมืองว่า เป็นรูปแบบของทัศนคติของบุคคล
ที่มีต่อระบบการเมืองและต่อบทบาทของตัวเอง (Almond and Powell. 1966 : 6)
Beer and Ulam เพิ่มเติมความหมายรวมถึงค่านิยม ความเชื่อ และทัศนคติของบุคคล
เกี่ยวกับกิจกรรมทางการเมืองด้วย (Beer and Ulam. 1962 : 8)
Dahl อธิบายว่า วัฒนธรรมทางการเมืองเป็นปัจจัยในการอธิบายแบบแผนต่าง อันแตกต่าง
กันของความขัดแย้งทางการเมือง ลักษณะวัฒนธรรมทางการเมืองที่เด่น ๆ ได้แก่ ความรู้สึก หรือการ
อบรมกล่อมเกลาของบุคคลที่มีต่อระบบการเมือง (Dahl. 1966 : 352 – 355)
17
Manheim อธิบายว่า วัฒนธรรมทางการเมือง หมายถึงแบบแผนของความเชื่อและทัศนคติ
ร่วมกันของของบุคคลในสังคมเกี่ยวกับเป้าหมายทางการเมืองอย่างเดียวกัน ซึ่งปรากฏอยู่ในระบบ
การเมืองต่าง ๆ เป้าหมายที่ว่าหมายถึงการมีผลประโยชน์ร่วมกันในขั้นมูลฐาน และการประเมินค่าที่
เหมือนกัน ตลอดจนการเห็นพ้องต้องกันจากการที่ได้รับประสบการณ์ทางประวัติศาสตร์อย่างเดียวกัน
(Manheim. 1975 : 30)
Pye กล่าวว่า วัฒนธรรมทางการเมืองก็คือ ทัศนคติ ความเชื่อความรู้สึก เกี่ยวกับ
กระบวนการ ทางการเมือง สิ่งดังกล่าวนี้เป็นสิ่งกาหนดพฤติกรรมของบุคคลในระบบการเมืองโดย
ครอบคลุมทั้งอุดมการณ์ทางการเมือง และปทัสถานในทางปฏิบัติของบุคคลในระบบการเมืองนั้น
วัฒนธรรมทางการเมืองจึงเป็นรูปแบบรวมของมิติทางด้านจิตวิทยา และด้านความรู้สึกนึกคิดของ
การเมือง แนวความคิดนี้จึงครอบคลุมถึงแนวความคิด หรือประเด็นปัญหาอันเก่าแก่ทางการเมือง
เหล่านี้ได้ เช่น อุดมการณ์ทางการเมือง ความชอบธรรมในการปกครอง อานาจอธิปไตยความเป็นชาติ
การปกครอง โดยยึดหลักกฎหมายและมติมหาชน (Pye. 1996 : 104-105)
วัฒนธรรมทางการเมืองคือ ผลิตผลของประวัติศาสตร์ไทย ส่วนรวมของกระบวนการเมือง
และประวัติส่วนบุคคลของสมาชิกในระบบดังกล่าว และอาจกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่าวัฒนธรรมทาง
การเมืองจะดารงอยู่ได้หรือเปลี่ยนไป ย่อมขึ้นอยู่กับกระบวนการถ่ายทอดวัฒนธรรมทางการเมือง การ
พัฒนาบุคลิกภาพ และรูปแบบของค่านิยมต่าง ๆ จะได้มาจากกระบวนการถ่ายทอดวัฒนธรรมทาง
การเมืองโดยวิธการเช่นนี้ บุคคลจะได้รับการปลูกฝังให้มีวัฒนธรรมทั่วไป หรือวัฒนธรรมทางการเมือง
อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น เกี่ยวกับอานาจ ความไว้วางใจในเพื่อนมนุษย์ และสถานภาพของตนในระบบ
การเมือง เป็นต้น (Almond and Powell. 1959 : 64 -72)
จากความหมายของนักวิชาการต่าง ๆ สรุปความหมายของคาว่า “วัฒนธรรมทางการเมือง”
คือ เป็นผลมาจากรูปแบบทัศนคติ ความเชื่อ กระบวนการถ่ายทอดวัฒนธรรมทางการเมืองของบุคคล
ที่สอดคล้องเหมือน ๆ กันด้วย ในกรณีนี้สิ่งดังกล่าวในทุกขั้นตอนเสริมสร้างซึ่งกันและกัน เช่น มี
ความเห็นร่วมกันเกี่ยวกับหน้าที่ และขอบเขตที่เหมาะสมของการเมือง เกี่ยวกับความหมาย วิธีการ
และเป้าหมายที่เหมาะสมของกิจกรรมทางการเมือง เป็นต้น อาจกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า ค่านิยมต่าง ๆ
ที่ตรงกันที่ได้มาจากกระบวนการถ่ายทอดวัฒนธรรมในขั้นต่าง ๆ มีส่วนเสริมวัฒนธรรมทางการเมืองที่
มีอยู่ ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นแบบเฉยเมย อ่อนน้อม ยอมจานนต่อผู้มีอานาจ ก้าวร้าว หรือสนใจในการมีส่วน
ร่วมทางการเมือง จึงทาให้วัฒนธรรมทางการเมืองนั้นดารงอยู่ต่อไป
บทที่ 1
บทที่ 1
บทที่ 1
บทที่ 1
บทที่ 1
บทที่ 1
บทที่ 1
บทที่ 1
บทที่ 1
บทที่ 1
บทที่ 1
บทที่ 1
บทที่ 1
บทที่ 1

More Related Content

What's hot

หลักธรรมพุทธศาสนา
หลักธรรมพุทธศาสนาหลักธรรมพุทธศาสนา
หลักธรรมพุทธศาสนาkruudompcccr
 
กฎหมายในชีวิตประจำวัน ครั้งที่ 2
กฎหมายในชีวิตประจำวัน  ครั้งที่ 2กฎหมายในชีวิตประจำวัน  ครั้งที่ 2
กฎหมายในชีวิตประจำวัน ครั้งที่ 2AJ Por
 
บทที่ 4 การบริหารงานในประเทศที่กำลังพัฒนา
บทที่ 4   การบริหารงานในประเทศที่กำลังพัฒนาบทที่ 4   การบริหารงานในประเทศที่กำลังพัฒนา
บทที่ 4 การบริหารงานในประเทศที่กำลังพัฒนาSaiiew
 
ปัจจัยที่ทำให้เกิดรัฐชาติ
ปัจจัยที่ทำให้เกิดรัฐชาติปัจจัยที่ทำให้เกิดรัฐชาติ
ปัจจัยที่ทำให้เกิดรัฐชาติPatt Thank
 
เศรษฐกิจพอเพียงPpt
เศรษฐกิจพอเพียงPptเศรษฐกิจพอเพียงPpt
เศรษฐกิจพอเพียงPptpronprom11
 
แผนวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
แผนวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาแผนวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
แผนวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาThongsawan Seeha
 
บทที่ ๑ ประวัติและวิวัฒนาการของการปฏิบัติกรรมฐาน
บทที่ ๑ ประวัติและวิวัฒนาการของการปฏิบัติกรรมฐานบทที่ ๑ ประวัติและวิวัฒนาการของการปฏิบัติกรรมฐาน
บทที่ ๑ ประวัติและวิวัฒนาการของการปฏิบัติกรรมฐานpop Jaturong
 
ตัวอย่างแผนธุรกิจการทำร้านดอกไม้(Flower shop)
ตัวอย่างแผนธุรกิจการทำร้านดอกไม้(Flower shop)ตัวอย่างแผนธุรกิจการทำร้านดอกไม้(Flower shop)
ตัวอย่างแผนธุรกิจการทำร้านดอกไม้(Flower shop)Nattakorn Sunkdon
 
พุทธศาสนากับการบริหาร
พุทธศาสนากับการบริหารพุทธศาสนากับการบริหาร
พุทธศาสนากับการบริหารAnchalee BuddhaBucha
 
ความรู้พื้นฐานและบ่อเกิดพุทธศาสนามหายาน
ความรู้พื้นฐานและบ่อเกิดพุทธศาสนามหายานความรู้พื้นฐานและบ่อเกิดพุทธศาสนามหายาน
ความรู้พื้นฐานและบ่อเกิดพุทธศาสนามหายานPadvee Academy
 
ทฤษฎีทางการบริหาร
ทฤษฎีทางการบริหารทฤษฎีทางการบริหาร
ทฤษฎีทางการบริหารPrapaporn Boonplord
 
แนวคิดเสรีนิยม
แนวคิดเสรีนิยมแนวคิดเสรีนิยม
แนวคิดเสรีนิยมGolfzie Loliconer
 
Chapter : 2 Organization Theory (บทที่ 2 ทฤษฎีองค์การ)
Chapter : 2 Organization Theory (บทที่ 2 ทฤษฎีองค์การ)Chapter : 2 Organization Theory (บทที่ 2 ทฤษฎีองค์การ)
Chapter : 2 Organization Theory (บทที่ 2 ทฤษฎีองค์การ)Aj.Mallika Phongphaew
 
รัฐประศาสนศาสตร์
รัฐประศาสนศาสตร์รัฐประศาสนศาสตร์
รัฐประศาสนศาสตร์Thida Noodaeng
 
เพาเวอพอย ภาษาบาลี 1
เพาเวอพอย ภาษาบาลี 1เพาเวอพอย ภาษาบาลี 1
เพาเวอพอย ภาษาบาลี 1Gawewat Dechaapinun
 

What's hot (20)

หลักธรรมพุทธศาสนา
หลักธรรมพุทธศาสนาหลักธรรมพุทธศาสนา
หลักธรรมพุทธศาสนา
 
ประวัติศาสตร์ไทยสมัยธนบุรี
ประวัติศาสตร์ไทยสมัยธนบุรีประวัติศาสตร์ไทยสมัยธนบุรี
ประวัติศาสตร์ไทยสมัยธนบุรี
 
กฎหมายในชีวิตประจำวัน ครั้งที่ 2
กฎหมายในชีวิตประจำวัน  ครั้งที่ 2กฎหมายในชีวิตประจำวัน  ครั้งที่ 2
กฎหมายในชีวิตประจำวัน ครั้งที่ 2
 
9 การกรอกแบบฟอร์ม(263-287)
9 การกรอกแบบฟอร์ม(263-287)9 การกรอกแบบฟอร์ม(263-287)
9 การกรอกแบบฟอร์ม(263-287)
 
บทที่ 4 การบริหารงานในประเทศที่กำลังพัฒนา
บทที่ 4   การบริหารงานในประเทศที่กำลังพัฒนาบทที่ 4   การบริหารงานในประเทศที่กำลังพัฒนา
บทที่ 4 การบริหารงานในประเทศที่กำลังพัฒนา
 
ปัจจัยที่ทำให้เกิดรัฐชาติ
ปัจจัยที่ทำให้เกิดรัฐชาติปัจจัยที่ทำให้เกิดรัฐชาติ
ปัจจัยที่ทำให้เกิดรัฐชาติ
 
เศรษฐกิจพอเพียงPpt
เศรษฐกิจพอเพียงPptเศรษฐกิจพอเพียงPpt
เศรษฐกิจพอเพียงPpt
 
แผนวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
แผนวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาแผนวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
แผนวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
 
บทที่ ๑ ประวัติและวิวัฒนาการของการปฏิบัติกรรมฐาน
บทที่ ๑ ประวัติและวิวัฒนาการของการปฏิบัติกรรมฐานบทที่ ๑ ประวัติและวิวัฒนาการของการปฏิบัติกรรมฐาน
บทที่ ๑ ประวัติและวิวัฒนาการของการปฏิบัติกรรมฐาน
 
ตัวอย่างแผนธุรกิจการทำร้านดอกไม้(Flower shop)
ตัวอย่างแผนธุรกิจการทำร้านดอกไม้(Flower shop)ตัวอย่างแผนธุรกิจการทำร้านดอกไม้(Flower shop)
ตัวอย่างแผนธุรกิจการทำร้านดอกไม้(Flower shop)
 
พุทธศาสนากับการบริหาร
พุทธศาสนากับการบริหารพุทธศาสนากับการบริหาร
พุทธศาสนากับการบริหาร
 
ความรู้พื้นฐานและบ่อเกิดพุทธศาสนามหายาน
ความรู้พื้นฐานและบ่อเกิดพุทธศาสนามหายานความรู้พื้นฐานและบ่อเกิดพุทธศาสนามหายาน
ความรู้พื้นฐานและบ่อเกิดพุทธศาสนามหายาน
 
ทฤษฎีทางการบริหาร
ทฤษฎีทางการบริหารทฤษฎีทางการบริหาร
ทฤษฎีทางการบริหาร
 
ลิลิตตะเลงพ่าย (สอน Ppt)[1]
ลิลิตตะเลงพ่าย (สอน Ppt)[1]ลิลิตตะเลงพ่าย (สอน Ppt)[1]
ลิลิตตะเลงพ่าย (สอน Ppt)[1]
 
ระดับภาษา 2
ระดับภาษา 2ระดับภาษา 2
ระดับภาษา 2
 
ไตรสิกขา
ไตรสิกขาไตรสิกขา
ไตรสิกขา
 
แนวคิดเสรีนิยม
แนวคิดเสรีนิยมแนวคิดเสรีนิยม
แนวคิดเสรีนิยม
 
Chapter : 2 Organization Theory (บทที่ 2 ทฤษฎีองค์การ)
Chapter : 2 Organization Theory (บทที่ 2 ทฤษฎีองค์การ)Chapter : 2 Organization Theory (บทที่ 2 ทฤษฎีองค์การ)
Chapter : 2 Organization Theory (บทที่ 2 ทฤษฎีองค์การ)
 
รัฐประศาสนศาสตร์
รัฐประศาสนศาสตร์รัฐประศาสนศาสตร์
รัฐประศาสนศาสตร์
 
เพาเวอพอย ภาษาบาลี 1
เพาเวอพอย ภาษาบาลี 1เพาเวอพอย ภาษาบาลี 1
เพาเวอพอย ภาษาบาลี 1
 

Viewers also liked (14)

บทที่ 2
บทที่ 2บทที่ 2
บทที่ 2
 
บทที่ 3
บทที่ 3บทที่ 3
บทที่ 3
 
บทที่ 4
บทที่ 4บทที่ 4
บทที่ 4
 
บทที่ 6
บทที่ 6บทที่ 6
บทที่ 6
 
บทที่ 7
บทที่ 7บทที่ 7
บทที่ 7
 
บทที่ 5
บทที่ 5บทที่ 5
บทที่ 5
 
Lesson5
Lesson5Lesson5
Lesson5
 
บทที่ 8
บทที่ 8บทที่ 8
บทที่ 8
 
Nrru 003
Nrru 003Nrru 003
Nrru 003
 
Nrru 002
Nrru 002Nrru 002
Nrru 002
 
Nrru 001
Nrru 001Nrru 001
Nrru 001
 
Nrru 004
Nrru 004Nrru 004
Nrru 004
 
บทที่ 2 การรู้สารสนเทศ
บทที่ 2 การรู้สารสนเทศบทที่ 2 การรู้สารสนเทศ
บทที่ 2 การรู้สารสนเทศ
 
บท 2 แนวคิดเกี่ยวกับการรู้สารสนเทศ
บท 2 แนวคิดเกี่ยวกับการรู้สารสนเทศบท 2 แนวคิดเกี่ยวกับการรู้สารสนเทศ
บท 2 แนวคิดเกี่ยวกับการรู้สารสนเทศ
 

Similar to บทที่ 1

10 เป้าหมายปฏิรูปการเมือง พลิกโฉมประเทศ
 10 เป้าหมายปฏิรูปการเมือง พลิกโฉมประเทศ 10 เป้าหมายปฏิรูปการเมือง พลิกโฉมประเทศ
10 เป้าหมายปฏิรูปการเมือง พลิกโฉมประเทศKlangpanya
 
ธรรมาภิบาลกับการบริหารงานภาครัฐ กทม
ธรรมาภิบาลกับการบริหารงานภาครัฐ กทมธรรมาภิบาลกับการบริหารงานภาครัฐ กทม
ธรรมาภิบาลกับการบริหารงานภาครัฐ กทมTaraya Srivilas
 
รัฐธรรมนูญและสถาบันการเมืองขั้นสูง
รัฐธรรมนูญและสถาบันการเมืองขั้นสูงรัฐธรรมนูญและสถาบันการเมืองขั้นสูง
รัฐธรรมนูญและสถาบันการเมืองขั้นสูงTanterm Thebest
 
ปรัชญาการ..
ปรัชญาการ..ปรัชญาการ..
ปรัชญาการ..kruruty
 
คู่มือ นวัตกรสังคม เนื้อหาหลักสูตร
คู่มือ นวัตกรสังคม เนื้อหาหลักสูตรคู่มือ นวัตกรสังคม เนื้อหาหลักสูตร
คู่มือ นวัตกรสังคม เนื้อหาหลักสูตรDental Faculty,Phayao University.
 
เพ้าเวอร์พ้อยโครงการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
เพ้าเวอร์พ้อยโครงการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพ้าเวอร์พ้อยโครงการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
เพ้าเวอร์พ้อยโครงการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงpatcharapornfilmmii
 
En401 314-english for political scientists 1
En401 314-english for political scientists 1En401 314-english for political scientists 1
En401 314-english for political scientists 1Yota Bhikkhu
 
กลุ่มหมูหมี --เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
กลุ่มหมูหมี --เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนกลุ่มหมูหมี --เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
กลุ่มหมูหมี --เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนfreelance
 
พัฒนาทางการเมือง
พัฒนาทางการเมืองพัฒนาทางการเมือง
พัฒนาทางการเมืองpailinsarn
 
Tic 1
Tic  1Tic  1
Tic 1BTNHO
 
เอกสารเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง
เอกสารเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงเอกสารเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง
เอกสารเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงDaungthip Pansomboon
 
บริบทที่ส่งผลต่อการจัดการศึกษา
บริบทที่ส่งผลต่อการจัดการศึกษาบริบทที่ส่งผลต่อการจัดการศึกษา
บริบทที่ส่งผลต่อการจัดการศึกษาjuriporn chuchanakij
 

Similar to บทที่ 1 (20)

10 เป้าหมายปฏิรูปการเมือง พลิกโฉมประเทศ
 10 เป้าหมายปฏิรูปการเมือง พลิกโฉมประเทศ 10 เป้าหมายปฏิรูปการเมือง พลิกโฉมประเทศ
10 เป้าหมายปฏิรูปการเมือง พลิกโฉมประเทศ
 
ธรรมาภิบาลกับการบริหารงานภาครัฐ กทม
ธรรมาภิบาลกับการบริหารงานภาครัฐ กทมธรรมาภิบาลกับการบริหารงานภาครัฐ กทม
ธรรมาภิบาลกับการบริหารงานภาครัฐ กทม
 
รัฐธรรมนูญและสถาบันการเมืองขั้นสูง
รัฐธรรมนูญและสถาบันการเมืองขั้นสูงรัฐธรรมนูญและสถาบันการเมืองขั้นสูง
รัฐธรรมนูญและสถาบันการเมืองขั้นสูง
 
เนื้อหาสรุป Comprehensive หมวด c
เนื้อหาสรุป Comprehensive หมวด cเนื้อหาสรุป Comprehensive หมวด c
เนื้อหาสรุป Comprehensive หมวด c
 
ปรัชญาการ..
ปรัชญาการ..ปรัชญาการ..
ปรัชญาการ..
 
คู่มือ นวัตกรสังคม เนื้อหาหลักสูตร
คู่มือ นวัตกรสังคม เนื้อหาหลักสูตรคู่มือ นวัตกรสังคม เนื้อหาหลักสูตร
คู่มือ นวัตกรสังคม เนื้อหาหลักสูตร
 
เพ้าเวอร์พ้อยโครงการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
เพ้าเวอร์พ้อยโครงการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพ้าเวอร์พ้อยโครงการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
เพ้าเวอร์พ้อยโครงการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
 
En401 314-english for political scientists 1
En401 314-english for political scientists 1En401 314-english for political scientists 1
En401 314-english for political scientists 1
 
Development4(1)
Development4(1)Development4(1)
Development4(1)
 
กลุ่มหมูหมี --เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
กลุ่มหมูหมี --เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนกลุ่มหมูหมี --เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
กลุ่มหมูหมี --เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
 
Presentation1
Presentation1Presentation1
Presentation1
 
พัฒนาทางการเมือง
พัฒนาทางการเมืองพัฒนาทางการเมือง
พัฒนาทางการเมือง
 
แผนการจัดการเรียนรู้ที่๙
แผนการจัดการเรียนรู้ที่๙แผนการจัดการเรียนรู้ที่๙
แผนการจัดการเรียนรู้ที่๙
 
Thai civic org
Thai civic orgThai civic org
Thai civic org
 
Tic 1
Tic  1Tic  1
Tic 1
 
183356
183356183356
183356
 
เอกสารเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง
เอกสารเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงเอกสารเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง
เอกสารเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง
 
แผน E se(เศรษฐกิจพอเพียง)2
แผน E se(เศรษฐกิจพอเพียง)2แผน E se(เศรษฐกิจพอเพียง)2
แผน E se(เศรษฐกิจพอเพียง)2
 
001
001001
001
 
บริบทที่ส่งผลต่อการจัดการศึกษา
บริบทที่ส่งผลต่อการจัดการศึกษาบริบทที่ส่งผลต่อการจัดการศึกษา
บริบทที่ส่งผลต่อการจัดการศึกษา
 

บทที่ 1

  • 1. บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเมืองการปกครอง การศึกษาการเมืองการปกครอง นับเป็นส่วนสาคัญในการบริหารงานภาครัฐที่มีระบบ มี ความสลับซับซ้อนอยู่เป็นอย่างมาก ซึ่งมีแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องหลากหลาย ผู้นาประเทศหรือ ผู้บริหารประเทศต้องใช้ศาสตร์ ศิลป์ องค์ความรู้ ประสบการณ์ ภาวะผู้นา ระบบบริหารราชการ แผ่นดินต่อการบริหารประเทศให้ประสบความสาเร็จและมีการพัฒนาทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมืองไปพร้อม ๆ กัน ในประเทศที่พัฒนาแล้วการเมืองการปกครองนับเป็นเรื่องที่สาคัญต่อการ พัฒนาประเทศเป็นอย่างมากที่จะนาพาให้ประเทศไปสู่ความเจริญในทุกด้านในขณะที่ประเทศกาลัง พัฒนายังต้องอาศัยการพัฒนาระบบการเมืองการปกครองอันจะนาไปสู่ความมั่นคงแน่นอนทั้งใน กระบวนการทางการเมือง พรรคการเมือง นักการเมือง ความขัดแย้ง วัฒนธรรมทางการเมืองและ จริยธรรมทางการเมือง การปฏิวัติทางการเมืองและการปฎิรูปทางการเมือง รวมถึงผู้นาและภาวะผู้นา กระบวนการทางการเมือง กระบวนการทางการเมืองเป็นกิจกรรมที่มีความสลับซับซ้อนเพราะมีหน่วยงานที่มีส่วน เกี่ยวข้องหลายหน่วย แต่ละหน่วยมีความรับผิดชอบโดยเฉพาะ แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องประสานงาน กันเพื่อให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากอานาจอธิปไตยประกอบด้วยอานาจ บริหาร อานาจนิติบัญญัติ และอานาจตุลาการ ยกตัวอย่างฝ่ายนิติบัญญัติทาหน้าที่ออกกฎหมาย ฝ่าย บริหารมีหน้าที่กากับควบคุมให้มีการปฏิบัติตามกฎหมาย ถ้าไม่มีการปฏิบัติตามกฎหมายฝ่ายตุลาการ จะเป็นผู้ตัดสินว่ากระทาผิดจริงหรือไม่ และตัดสินลงโทษตามที่กฎหมายกาหนดกระบวนการทาง การเมืองครอบคลุมตั้งแต่สถาบันทางการเมือง กระบวนการทางการเมือง (Political Process) หมายถึง วิธีการใช้อานาจอธิปไตย (Process) เป็นกระบวนการอยู่ระหว่างปัจจัยนาเข้า (Input) ก่อให้เกิดผลผลิต (Output) ออกมา เมื่อ มีรัฐเกิดขึ้นย่อมมีกระบวนการทางการเมือง (โกวิท วงศ์สุรวัฒน์. ม.ป.ป. : 113) กระบวนการทางการเมือง คือ เรื่องของการใช้อานาจทางการเมือง การใช้อานาจทาง การเมืองเป็นสิ่งที่เก่าแก่สืบเนื่องกันมาช้านาน กระบวนการทางการเมืองนี้มีหลายวิธีแตกต่างกันตาม
  • 2. 2 ยุคตามสมัยในสมัยโบราณ การเปลี่ยนมือการปกครองภายในประเทศระหว่างชนชั้นนาในชุมชนก็เป็น วิธีการใช้อานาจทางการเมืองอย่างหนึ่ง บางชุมชนถือว่าเป็นการสืบมรดกอานาจทางการเมือง เหมือนการสืบมรดกในทรัพย์สิน บางสังคมการใช้อานาจทางการเมืองต้องได้รับความยินยอมจาก บรรดาสมาชิกของสังคม ชุมชนบางแห่งใช้ความรุนแรงและอานาจบังคับเป็นแนวทางในการ ครอบครองอานาจและใช้อานาจนั้น ทุกวิธีดังกล่าวข้างต้นนั้นล้วนแล้วแต่เป็นกระบวนการ ทางการเมืองทั้งสิ้น (จรูญ สุภาพ. 2527 : 104) กระบวนการทางการเมือง หมายถึง วิธีการใช้อานาจอธิปไตย หรือ เรื่องของการใช้อานาจ ทางการเมือง เนื่องจากอานาจอธิปไตยประกอบด้วยอานาจบริหาร อานาจนิติบัญญัติ และอานาจ ตุลาการ นอกเหนือจากสถาบันหลักของอานาจอธิปไตยทั้งสามสถาบันแล้ว ยังประกอบไปด้วยองค์กร อื่น ๆ ที่มีบทบาทต่อกระบวนการทางการเมือง องค์กรเหล่านั้นได้แก่ พรรคการเมือง กลุ่มผลประโยชน์ ระบบราชการและสื่อมวลชนองค์กรเหล่านี้ล้วนมีบทบาทหน้าที่เฉพาะด้านของ ตนเองทั้งยังต้องประสานงานซึ่งกันและกันเพื่อขับเคลื่อนกระบวนการทางการเมืองในระบอบ ประชาธิปไตย (ณัชชาภัทร อุ่นตรงจิตร. 2548 : 17) จากความหมายของนักวิชาการ พอจะสรุปความหมายได้ว่า กระบวนการทางการเมือง มี บทบาทสาคัญในการนานโยบายไปปฏิบัติให้บังเกิดผลสาเร็จ ระบบราชการเป็นองค์กรขนาดใหญ่ที่มี ขั้นตอนการบังคับบัญชาที่มีความสลับซับซ้อน มีการปฏิบัติงานสาธารณะโดยอาศัยอานาจตาม กฎหมายในกระบวนการทางการเมือง ระบบราชการและข้าราชการจะต้องถือหลักการแบ่งแยกหน้าที่ กันอย่างชัดเจนระหว่างฝ่ายการเมืองกับฝ่ายข้าราชการประจา คือ ห้ามมิให้ข้าราชการประจาดารง ตาแหน่งทางการเมือง และห้ามฝ่ายการเมืองมิให้เข้าไปก้าวก่ายแทรกแซงงานของข้าราชการประจา การวางตัวเป็นกลางของระบบราชการและข้าราชการเป็นสิ่งจาเป็นในกระบวนการทางการเมืองที่จะ ขับเคลื่อนระบบการเมืองโดยต่างฝ่ายต่างปฏิบัติตามหน้าที่ไม่แทรกแซงซึ่งกันและกันจะนามาซึ่ง ความเป็นธรรมในสังคมระบอบประชาธิปไตย แนวคิดทางการเมือง การเมือง (Political) มีความหมายแตกต่างกันในหลายสมัย ไม่สามารถกาหนดคานิยามให้ แน่ชัดได้ นักปราชญ์ทางการเมืองแต่ละท่านก็มีความเห็นแตกต่างกัน เพื่อจะทาให้ความเข้าใจ
  • 3. 3 การเมืองให้กระจ่างชัดขึ้น จึงจาเป็นต้องมองย้อนกลับไปในยุคสมัยที่วิชารัฐศาสตร์เพิ่งเริ่มต้น คือ ใน สมัยนครรัฐกรีกหรือกรีกโบราณ ซึ่งเป็นต้นกาเนิดของคาว่า “Polis” หรือ “Coty-state” ซึ่งแปลว่า “นครรัฐ” การเมือง เป็นเรื่องเกี่ยวกับ นครรัฐ รัฐธรรมนูญ พลเมือง และรัฐบุรุษ อันเป็นเรื่องเกี่ยวกับ “สาธารณะ” อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันยังหมายรวมถึง รัฐ สถาบันทางการเมือง การปกครองต่าง ๆ ความสัมพันธ์เกี่ยวกับอานาจ การตัดสินใจ นโยบายสาธารณะ และระบบความสัมพันธ์ใด ๆ ที่ทา หน้าที่เกี่ยวกับการจัดสรร การปรับปรุง การเปลี่ยนแปลงการบารุงรักษา สิ่งที่มีคุณค่าต่าง ๆ เพื่อ สังคม ซึ่งเป็นอานาจที่ต้องมีการปฏิบัติตาม (ทินพันธุ์ นาคะตะ. 2537 : 39) Aristotle (384-322 B.C.) บิดาแห่งรัฐศาสตร์ ได้สะท้อนความคิดเกี่ยวกับการเมืองในสมัย กรีกโบราณได้เป็นอย่างดีในหนังสือ The politics โดยเน้นว่า “มนุษย์โดยธรรมชาติเป็นสัตว์ การเมือง” โดยนัยนี้หมายความว่า “การเกิดของสังคมเป็นการเมือง ดังนั้นการกระทาร่วมกันของ บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปเป็นการกระทาทางการเมือง” ลักษณะเช่นนี้สอดคล้องกับสภาพความเป็น จริงในสังคมเอเธนส์ เพราะราษฎรทุกคนมีส่วนร่วมในกิจการของรัฐอย่างทั่วถึง (Rodee. 1983 : 2) การเมือง หมายถึง กิจกรรมของบุคคลและสถาบันในอันที่จะขจัดปัญหาหรือความขัดแย้ง สาธารณะ การจัดสรร แบ่งปัน หรือประสานผลประโยชน์ทรัพยากร หรือสิ่งที่มีคุณค่าในสังคมตาม โอกาส และความสาคัญของกลุ่ม และบุคคลเพื่อความคงอยู่ และสวัสดิภาพของสังคมโดนส่วนรวม (มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขารัฐศาสตร์. 2540 : 8) การเมืองจึงเป็นกิจกรรมของมนุษย์ภายใต้ชุมชนหรือนครรัฐซึ่งประกอบด้วยบุคคลกลุ่มต่าง ๆ มีผลประโยชน์ มีธรรมเนียม ประเพณีที่แตกต่างกัน แต่มาอยู่ภายในอาณาเขตเดียวกันและมีการ ปกครองเดียวกัน กิจกรรมทางการเมืองนี้ก็คือการปกครองและการธารงรักษาความเป็นระเบียบ เรียบร้อยในชุมชน การเมืองที่เรียกว่า “รัฐ” เพื่อนาไปสู่ชีวิตที่ดีและยุติธรรมของพลเมืองในสังคม นับตั้งแต่ปีค.ศ. 1950 เป็นต้นมา นักรัฐศาสตร์จานวนมากต่างยอมรับว่า ภายใต้คาว่า “กระบวนการทางการเมือง” ไม่เพียงแต่การดาเนินงานขององค์กรทางนิติบัญญัติ องค์กรบริหารและ องค์กรด้านตุลาการเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงกลุ่มผลประโยชน์ กลุ่มอิทธิพล และพรรคการเมืองต่าง ๆ ซึ่งนาไปสู่รูปแบบของ “ระบบเมือง” (Political System) ซึ่งให้ความหมายการเมืองว่า เป็น กระบวนการอันสลับซับซ้อนขององค์กรทางการเมืองต่าง ๆ อันเกี่ยวเนื่องถึงทัศนคติและผลประโยชน์ ของพลเมือง
  • 4. 4 คาว่า ทฤษฎี (Theory) อาจมีความหมายได้หลายอย่างตามความคิด ประสบการณ์ หลักการ การสังเกต เพื่อใช้ในการอธิบายเกี่ยวกับปรากฏการณ์บางสิ่งบางอย่างเกี่ยวกับข้อมูล หรือ ความสัมพันธ์ต่าง ๆ ที่ไม่ได้เกิดจากการสังเกตเห็นโดยตรง ซึ่งอาจจะถูกหรือผิดก็ได้ ทฤษฎีแบบ วิทยาศาสตร์เป็นทฤษฎีที่อาศัยการสังเกตการณ์ที่สามารถทดสอบได้ (Empirical) และอาศัยการใช้ หลักตรรกวิทยา (Logical) (Amold Brecht. 1967 : 14) สาหรับความหมายอย่างกว้าง ทฤษฎีเป็นเรื่องของการสังเกตจากการปฏิบัติ และรวบรวม ประสบการณ์จากที่ต่าง ๆ เพื่อใช้มองสังคมตน แล้วประเมินความสาคัญของสิ่งที่ได้สังเกตว่ามี ความหมายต่อสิ่งที่ตนรู้จักอย่างไรบ้าง สาระสาคัญของความหมายของทฤษฎีการเมือง แบ่งเป็น 2 ลักษณะสาคัญ คือ 1. แนวคิดทฤษฎีการเมืองโบราณ ทฤษฎีการเมืองโบราณ มีลักษณะสาคัญ คือ เป็นการศึกษาอย่างมีระบบ เพื่อให้เกิด ความรู้ที่เชื่อถือได้ในเรื่องเกี่ยวกับสาธารณะ มุ่งสร้างรากฐานที่มีเหตุผล มุ่งการมีส่วนร่วมของสมาชิก ระบบการเมืองเป็นหน่วยในการวิเคราะห์ศึกษาเปรียบเทียบ สนใจในสิ่งที่แตกต่างออกไปเพื่อแสวงหา ระบบที่ดีที่สุด (Wolin. 1960 : 1-27) Plato (427 – 324 B.C.) ความคิดของคนเราเกี่ยวกับสิ่งหนึ่งสิ่งใดเป็นเรื่องของจิตใจ ไม่ใช่เป็นเรื่องของการใช้ประสาทสัมผัสลักษณะของสิ่งต่าง ๆ เป็นเรื่องที่สังเกตกันไม่ได้ ความรู้หรือ ทฤษฎี ได้แก่ การแสวงหาแนวความคิดต่าง ๆ เกี่ยวกับสิ่งทั้งหลายซึ่งถือเป็นความจริงสากลและ ชั่วนิรันดร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับสิ่งที่ดีงาม ซึ่งหมายถึงสิ่งใด ๆ ก็ตาม ทาหน้าที่ของตนได้อย่าง เหมาะสมนั่นเอง Plato ถือว่า การเมืองเป็นศิลป์หรือวิธีการอย่างหนึ่งที่จะช่วยให้บรรลุถึงสิ่งที่ดีงามได้ การมีนครรัฐของระบบการเมือง ที่ดีกับการมีความยุติธรรมจะมีขึ้นได้ ก็จะต้องเกิดจากการมี สมานฉันท์ และการแบ่งงานกันทา ระบบการเมืองที่ดีต้องปกครองโดยคนฉลาด เพราะนักปราชญ์ หรือคนฉลาดเท่านั้นที่มีความรู้เกี่ยวกับสิ่งที่ดีงามได้ (Corntord. 1967 : 16) Alistotle ได้กล่าวไว้ว่า ทฤษฎีการเมือง ถือเป็นเรื่องการศึกษาค้นคว้าที่มีระเบียบแบบ แผน เกี่ยวกับสิ่งอันเป็น “สาธารณะ” ซึ่งได้แก่การมีส่วนร่วมกันในสิ่งต่าง ๆ จากการเป็นสมาชิกของ ระบบการเมืองเดียวกัน การเมืองเป็นวิธีการอย่างหนึ่งที่จะนาไปสู่การบรรลุความสุขของมนุษย์ โดย อาศัยความรู้อันจะนาไปสู่การปรับปรุงคุณภาพของชีวิตมนุษย์ให้ดีขึ้น (Barker. 1948 : 7)
  • 5. 5 2. แนวคิดทฤษฎีการเมืองปัจจุบัน ช่วยรวบรวมความรู้ต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ทาหน้าที่เป็นกรอบแนวความคิด จัดระเบียบข้อมูล เพื่อให้มีความเข้าใจปรากฏการณ์ทางการเมืองต่าง ๆ จัดลาดับความสาคัญเร่งด่วนเกี่ยวกับเรื่องที่จะ ศึกษาวิจัย โดยใช้เกณฑ์ในการมองปัญหาและตัวแปรต่าง ๆ เพื่อเป็นแนวทางในการวิเคราะห์ จัด ระเบียบข้อเท็จจริงต่าง ๆ เป็นการประมวลความรู้ สามารถทดสอบได้ในโลกความเป็นจริง มี เครื่องมือและตัวแบบในจานวนที่จากัด (Mcclelland. 1967 : 6-7) นักทฤษฎีการเมืองโบราณกับนักทฤษฎีการเมืองปัจจุบัน มองทฤษฎีการเมือง และมอง บทบาทของทฤษฎีการเมืองใหม่เหมือนกันทั้งในเรื่องของเนื้อหา วิชาการศึกษา และความมุ่งหมาย ของทฤษฎี ทาให้เกิดความพยายามแสวงหาวิธีการ ความรู้ เพื่อเปลี่ยนแปลงแนวความคิดของทฤษฎี รุ่นก่อน ๆ Machiavelli เป็นบุคคลที่สอนให้โลกรู้จักอานาจทางการเมืองโดย เจ้าผู้ปกครอง เน้นการ ใช้อานาจทางการเมือง ถือว่าผู้ปกครองมีความสามารถในการประพฤติตนอย่างมีเหตุผล และควบคุม โชคชะตาของรัฐและของประชาชนได้ สามารถสร้างภาพทางการเมืองตามที่ตนต้องการได้ เนื่องจาก มีตาแหน่งทางสังคม เข้าถึงข่าวสารได้มากกว่า เขามองคนโดยธรรมชาติว่า จะเป็นคนเลว คือ เต็มไป ด้วยปัญหาและความทะเยอทะยาน แสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัว นาไปสู่ความขัดแย้ง รัฐเป็น เครื่องมือที่ทาให้มนุษย์บรรลุความมั่นคง ปลอดภัย และการกินดีอยู่ดี รัฐบุรุษจึงต้องรู้จักวิธีที่จะทา อะไรโดยปราศจากศีลธรรมได้ เพื่อผลประโยชน์ส่วนรวม (ทินพันธุ์ นาคะตะ. 2541 : 51) Hobbes เป้าหมายของความรู้ คือ การมีอานาจ ทฤษฎีการเมือง เป็นวิธีการอย่างหนึ่งที่ จะช่วยให้บรรลุเป้าหมายทางการเมืองขึ้นมาได้ โดยมองเห็นว่าระบบการเมืองหรือรัฐนั้น ตั้งขึ้นมาเพื่อ พิทักษ์ตนและเพื่อความปลอดภัยของบุคคล สาหรับแนวคิดของ Rousseau ก็คล้ายกันคือยืนยันว่า คนเราจะมีเสรีภาพและความปลอดภัยได้ต้องอยู่ในระบบการเมืองเท่านั้น หากไม่มีรัฐ จะไม่มีกฎหมาย และความมีศีลธรรมเกิดขึ้น (Rousseau. 1967 : 8) Marx ที่มีแนวความคิดว่า ความก้าวหน้าเป็นผลจากการขัดแย้งกัน (Dialictic) ของพลัง ต่าง ๆ ที่ตรงกันข้ามกัน ระหว่างข้อเสนอ (Thesis) และข้อขัดแย้ง (Antithesis) และการสังเคราะห์ (Synthesis) หรือการเปลี่ยนแปลง เข้าถือว่าการขัดแย้งกันไม่ใช่ภาพสะท้อนของความคิด แต่เกิดจาก การขัดแย้งกันของพลังทางวัตถุที่สัมผัสได้ ส่วนความคิดเป็นเรื่องของวัตถุ เขาเน้นหลักวัตถุนิยม (Materialism) เข้าเชื่อว่าการต่อสู้ระหว่างชนชั้น ในที่สุดแล้วชนชั้นกรรมาชีพก็จะทาการปฏิวัติ เพื่อ
  • 6. 6 ใช้อานาจขจัดชนชั้นนายทุนออกไปจากการควบคุมสถาบันทางเศรษฐกิจและการเมืองซึ่งจะทาให้การ กดขี่หมดสิ้นไปด้วย(Marx and Engels. 1955 : 22) Voegelin ถือว่า กิจกรรมทางการเมืองโดยธรรมชาติแล้วเป็นเรื่องของการเลือกตัดสินใจ และเป็นเรื่องของค่านิยมซึ่งต้องอาศัยมาตรฐานอย่างหนึ่งอย่างใดเป็นแนวทาง ความรู้ทางการเมืองจึง เป็นเรื่องของการแสวงหาความจริงอันเป็นสากลเกี่ยวกับสิ่งที่ถูกที่ควร ดังนั้นสาระสาคัญของสิ่งที่เป็น การเมือง จึงต้องกาหนดให้อยู่ในรูปของค่านิยมของมนุษย์ การศึกษาเรื่องการเมืองจึงต้องมุ่งเน้น ปัญหาเรื่องการเมืองมากกว่าพูดถึงลักษณะของสิ่งต่าง ๆ ทางการเมือง(Veogelin. 1952 : 8) Easton ศึกษากรอบแนวความคิดสาหรับวิเคราะห์ระบบการเมืองต่าง ๆ ในทุกระบบและทุก ระดับกล่าวว่า ระบบการเมืองใดจะดารงอยู่ได้ชั่วระยะเวลาหนึ่ง จะต้องมีปัจจัยนาเข้ามาจาก สิ่งแวดล้อมของระบบ ซึ่งได้แก่การเรียกร้องกับการสนับสนุนต่าง ๆ จากนั้นระบบการเมืองจะ ดาเนินการปรับเปลี่ยนสิ่งดังกล่าวให้ออกมาในรูปของปัจจัยส่งออก ซึ่งได้แก่นโยบายหรือการตัดสินใจ ต่าง ๆ ของระบบการเมือง สิ่งเหล่านี้จะถูกป้อนกลับไปสู่สิ่งแวดล้อมของมันอีกต่อหนึ่ง(Easton. 1965 : 4) Dahl กล่าวถึงทฤษฎีของความพยายาม (Polyarchy Theory) ที่จะทาให้ทฤษฎี ประชาธิปไตยมีสมมติฐานต่าง ๆ สาหรับทาการพิสูจน์ได้โดยกาหนดเงื่อนไขต่าง ๆ โดยเฉพาะสาหรับ การประเมินว่า ระบบการเมืองใดเป็นประชาธิปไตยหรือไม่ เช่น การออกเสียงลงคะแนนโดยเสรี การที่คะแนนเสียงต่าง ๆ มีน้าหนักเท่ากันผู้ที่ได้คะแนนเสียงมากที่สุดเป็นฝ่ายชนะ (Dahl. 1963 : 9) Lasswell ที่เน้นการศึกษาแบบจิตวิเคราะห์เป็นแนวทางสาหรับศึกษาบุคลิกภาพทาง การเมือง ความสัมพันธ์ระหว่างมูลเหตุจูงใจส่วนตัว กับกิจกรรมทางการเมืองต่าง ๆ การศึกษานี้แสดง ให้เห็นว่า ประสบการณ์ชีวิตเป็นปัจจัยสาคัญที่มีอิทธิพลต่อความคิดเห็นพฤติกรรมในทางการเมืองของ บุคคล ทั้งยังแสดงให้เห็นประโยชน์ของการใช้ความรู้จากสาขาวิชาอื่น ๆ มาศึกษาการเมืองได้ การศึกษาแนวนี้ต้องใช้เทคนิคพิเศษ จึงเป็นการยากที่จะนาไปใช้ทั่วไปได้ (Lasswell. 1966 : 11) การศึกษาทฤษฎีการเมืองในสมัยปัจจุบัน มีรากฐานมาจากทฤษฎีการเมืองโบราณ ในลักษณะ หนึ่งลักษณะใดอยู่เสมอ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการมองปัญหา การตั้งข้อสมมติ การใช้ แนวความคิด การพรรณนา การอธิบาย การเสนอแนะ รวมทั้งการใช้แนวทางศึกษาวิเคราะห์ใน ประวัติศาสตร์แห่งการศึกษาทฤษฎีการเมือง ปรากฏความต่อเนื่องในการคิด หรือการสร้างทฤษฎี การเมืองมาโดยตลอด ข้อได้เปรียบประการหนึ่งของทฤษฎีการเมืองสมัยใหม่ คือ ได้เรียนรู้จาก
  • 7. 7 ข้อบกพร่องต่าง ๆ ของทฤษฎีการเมืองโบราณมาก่อน รวมทั้งมีโอกาสได้อาศัยแนวความคิดและ แนวทางการศึกษาวิเคราะห์ของทฤษฎีเหล่านั้น เป็นแนวทางในการพัฒนาทฤษฎีของตนขึ้นมา ยิ่งกว่านั้น ในระยะหลัง ๆ นี้ ระเบียบวิธีการศึกษาที่อาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ได้มีความ เจริญก้าวหน้าขึ้นเป็นอันมาก สิ่งเหล่านี้จึงมีส่วนช่วยให้ทฤษฎีการเมืองสมัยใหม่มีความรัดกุม และ สามารถทาการทดสอบได้มากขึ้น จากคานิยามของนักวิชาการตะวันตก พอจะสรุปความได้ว่า “แนวคิดทางการเมือง” คือ ทฤษฎีทางการเมืองใดจะมีความเชื่อถือมากน้อยแค่ไหน ย่อมขึ้นอยู่กับการทดสอบด้วยข้อมูลจริงที่ รวบรวมและวิเคราะห์กันด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์เป็นสาคัญ สิ่งดังกล่าวนี้คือ กิจกรรมหลักในการ แสวงหาความรู้หรือความจริง อันเป็นหัวใจของการศึกษาในศาสตร์หนึ่ง ๆ การพัฒนาของทฤษฎี การเมืองโบราณในแต่ละยุคสมัยขึ้นอยู่กับสถานภาพของความเจริญในวิธีการทางวิทยาศาสตร์เป็น ส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันทฤษฎีการเมืองโบราณนับว่ามีคุณค่าต่อทฤษฎีการเมือง และ การศึกษาวิชาการเมืองโดยส่วนรวม พรรคการเมือง ในระบอบประชาธิปไตย การเมืองการปกครองจะดารงอยู่ได้ต้องอาศัยพรรคการเมือง การ เลือกผู้แทนจึงควรกระทาโดยยึดพรรคการเมืองมากกว่าตัวบุคคล ซึ่งไม่สามารถให้หลักประกันได้ว่า จะปฏิบัติตามนโยบายที่ได้แถลงไว้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระบบรัฐสภา พรรคการเมืองที่ประชาชนส่วน ใหญ่ไว้วางใจด้วยการเลือกสมาชิกของพรรคการเมืองนั้นเข้าไปมีเสียงข้างมากในรัฐสภา จะเป็นพรรค ที่ได้รับมอบหมายให้เป็นแกนนาในการจัดตั้งรัฐบาล ส่วนพรรคอื่นใดที่ได้รับคะแนนเสียงข้างน้อย ก็จะ ทาหน้าที่เป็นพรรคฝ่ายค้าน ทาหน้าที่ท้วงติง และให้คาแนะนาแก่รัฐบาล 1. ความหมายของพรรคการเมือง มีนักวิชาการและนักรัฐศาสตร์หลายท่านได้แสดงทัศนะรวมถึงคาจากัดความของคาว่า “พรรคการเมือง” ไว้มากมายดังนี้ Goodman อธิบายว่า พรรคการเมือง คือ องค์การซึ่งเป็นที่รวมกันของสมาชิกที่มีความ คิดเห็นคล้ายคลึงกันโดยมีความม่งหมายอย่างชัดแจ้งที่หวังจะได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งอันจะทาให้
  • 8. 8 มีสิทธิเข้าไปใช้อานาจการปกครองเพื่อที่จะได้รับประโยชน์จากการเข้าไปมีอานาจทางการเมือง (Goodman. 1975 : 8) Stevenson ให้คานิยามว่า พรรคการเมืองประกอบด้วย กลุ่มบุคคลที่ได้รวบรวมกันจัดตั้ง องค์การขึ้นมา เพื่อจะได้เสนอเป็นตัวแทนเข้าสมัครรับการเลือกตั้ง และจัดตั้งรัฐบาลดาเนินการ ปกครองประเทศ (Stevenson. 1973 : 218) โกวิท วงศ์สุวัฒน์ อธิบายความหมายพรรคการเมืองว่า คือ กลุ่มบุคคลที่รวมกันขึ้นเพื่อ แสวงหาอานาจทางการเมือง ตามวิถีทางของแต่ละรัฐซึ่งกาหนดไว้ (โกวิท วงศ์สุวัฒน์. 2543 : 97) ดังนั้น พอจะสรุปได้ว่า พรรคการเมือง คือ คณะบุคคลที่มารวมกันมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาอานาจ ทางการเมือง เหนือพรรคการเมืองอื่นหรือนัยหนึ่ง คือ เป็นรัฐบาลนั่นเอง 2. หน้าที่ของพรรคการเมือง พรรคการเมืองคือสถาบันที่มีความสาคัญทางสังคมสถาบันหนึ่ง การดาเนินงานของพรรค การเมืองจะส่งผลต่อการดาเนินชีวิตของประชาชนรวมถึงการบริหารราชการแผ่นดินไปจนถึงเรื่องของ การพัฒนาประเทศ หน้าที่ของพรรคการเมืองจึงมีความสาคัญทั้งในมิติการพัฒนาและการศึกษา ดังนี้ (ปรีชา หงษ์ไกรเลิศ. 2524 : 15-21) 2.1 หน้าที่ให้การศึกษาทางการเมืองแก่ประชาชน ในระบอบประชาธิปไตย พรรค การเมืองมีบทบาทและหน้าที่ที่จะให้การศึกษาอบรมด้านการเมืองแก่ประชาชน เพื่อให้ประชาชน ทราบว่า การปกครองประเทศนั้นมิใช่เป็นเรื่องของชนชั้นใดชั้นหนึ่งหรือกลุ่มใด กลุ่มหนึ่ง หากแต่เป็นเรื่องของพลเมืองทุกคนจะต้องร่วมมือร่วมใจกัน การให้การศึกษาทางการเมืองอาจทาได้ หลายรูปแบบ เช่น การอธิบายหรือแถลงนโยบายของพรรคผ่านทางสื่อมวลชน ตลอดจน การเข้าถึง ประชาชนโดยตรง เช่น การอภิปราย ปาฐกถา การบรรยายตามสถานที่ต่าง ๆ ตามโอกาส 2.2 หน้าที่สรรหาบุคคลที่มีความรู้ความสามารถในการเป็นผู้แทนราษฎรในระบอบ ประชาธิปไตย เพราะผู้แทนราษฎรจะต้องเป็นตัวแทนไปทาหน้าที่รักษาผลประโยชน์ของประชาชน และกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ ผู้ที่จะเป็นผู้แทนราษฎรจะต้องเป็นบุคคลที่เสียสละ มีความรับผิดชอบต่อ ส่วนรวม มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ในการเป็นตัวแทนของราษฎรที่ดี พรรคการเมือง จะต้องทาหน้าที่สรรหาบุคคลที่มีคุณสมบัติดังกล่าว ซึ่งจะเป็นการกลั่นกรองตัวบุคคลที่เหมาะสมที่จะ เป็นตัวแทนที่ดีของประชาชน
  • 9. 9 2.3 หน้าที่ประสานประโยชน์ของกลุ่มอิทธิพลและกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ โดยทั่วไปแล้ว กลุ่มอิทธิพลและกลุ่มผลประโยชน์จะมีบทบาทในการสร้างอิทธิพลต่อรัฐบาลในนโยบายสาธารณะ เช่น การนัดหยุดงานของสหภาพแรงงาน การเดินขบวนประท้วงของกลุ่มเกษตรกร เพื่อเรียกร้องให้ รัฐบาลหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลยินยอมปฏิบัติตามในสิ่งที่ตนต้องการ ในขณะเดียวกัน กลุ่มนายจ้างก็ ไม่ยินยอมที่จะปฏิบัติตาม เพราะต้องการรักษาผลประโยชน์ของตนไว้อย่างเหนียวแน่น ในการนั้น พรรคการเมืองจะทาหน้าที่ประสานผลประโยชน์ให้กับกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ ด้วยการเสนอให้มี กฎหมายแรงงานที่เป็นธรรมกับทั้งสองฝ่าย รวมทั้งกลุ่มผลประโยชน์อื่น ๆ ด้วย 2.4 หน้าที่ในการระดมสรรพกาลังทางการเมือง พรรคการเมืองจะทาหน้าที่เป็นศูนย์พลัง ทางการเมือง เพราะเป็นที่รวมของกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ และประชาชนที่มีความคิดเห็นทางด้าน การเมือง เศรษฐกิจและสังคม ในแนวทางกว้าง ๆ ที่คล้ายคลึงกัน เข้าด้วยกันเพื่อหาโอกาสเป็นรัฐบาล ซึ่งจะสามารถนาเอานโยบายของพรรคการเมืองของตนไปปกครองประเทศ พรรคการเมืองจึงเป็นที่ รวมในการระดมสรรพกาลังต่าง ๆ เพื่อให้เกิดอานาจต่าง ๆ เรียกร้องและรวบรวมความคิดเห็นจาก ประชาชนและกลุ่มของประชาชนต่าง ๆ เพื่อนามาบริหารประเทศ 2.5 หน้าที่เป็นรัฐบาลบริหารประเทศ เมื่อสมาชิกของพรรคได้รับการเลือกตั้งเป็น ผู้แทนราษฎรฝ่ายเสียงข้างมากในรัฐสภาในกรณีรัฐบาลรูปแบบรัฐสภา ย่อมถือได้ว่า ประชาชนมีความ ประสงค์ให้นโยบายของพรรคการเมืองนั้น เป็นนโยบายของรัฐบาล ส่วนในรูปแบบรัฐบาลแบบ ประธานาธิบดี ประชาชนจะเลือกผู้นาฝ่ายบริหารจากพรรคการเมืองพรรคหนึ่งพรรคใดโดยตรง 2.6 หน้าที่ในฐานะฝ่ายค้านในระบอบประชาธิปไตย พรรคการเมืองที่มีสมาชิกของพรรค ได้รับเลือกตั้งน้อยและไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ก็จะทาหน้าที่เป็นฝ่ายค้าน หน้าที่ของฝ่ายค้านนี้ถือ ว่าเป็นสิ่งสาคัญสาหรับระบอบประชาธิปไตย เพราะทาหน้าที่เป็นเสมือนกระจกเงาให้รัฐบาลได้ทราบ ว่ามีสิ่งใดที่รัฐบาลบริหารงานขาดตกบกพร่องไปบ้าง หรือสิ่งใดที่รัฐบาลควรทาเพิ่มเติมเพื่อให้เกิด ประโยชน์กับประชาชนผู้เป็นเจ้าของประเทศ พรรคการเมืองฝ่ายค้านจะทาหน้าที่ท้วงติงคัดค้านหรือ ยับยั้งมิให้รัฐบาลใช้อานาจเกินขอบเขตจนกลายเป็นเผด็จการโดยเสียงข้างมาก นอกจากนี้พรรคฝ่าย ค้านยังทาหน้าที่ควบคุมให้รัฐบาลปฏิบัติตามนโยบายของตนที่ได้แถลงไว้ต่อสภา 2.7 หน้าที่ในการเป็นศูนย์กลางของกลุ่มผลประโยชน์และสมาชิกพรรคการเมืองเนื่องจาก พรรคการเมืองเป็นที่รวมของบุคคลหลายกลุ่มหลายอาชีพมากมาย ฉะนั้น โอกาสที่จะเกิดความ แตกแยกทางความคิดเห็น จึงมักจะมีอยู่เสมอ พรรคการเมืองจึงสามารถทาหน้าที่เสมือนเป็นเวทีให้
  • 10. 10 สมาชิกต่าง ๆ ของพรรคได้ระบายความอัดอั้นตันใจของตน หรือกลุ่มของตน เพื่อนาไปสู่การตกลง ด้วยสันติวิธีก่อนที่จะนาปัญหาต่าง ๆ ไปอภิปรายในสภา โดยนัยนี้เอง พรรคการเมืองเป็นศูนย์กลางใน การประสานการติดต่อและสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างมวลสมาชิกของพรรค รวมทั้ง ระหว่างพรรค ต่อพรรค ระหว่างพรรคต่อรัฐบาล และระหว่างพรรคการเมืองกับประชาชนทั่วไปด้วย 2.8 หน้าที่สร้างผู้นาทางการเมือง ในประเทศประชาธิปไตย พรรคการเมืองจะเป็นสถาบันที่ สร้างผู้นาทางการเมืองที่ดีเพื่อผลิตออกไปเป็นนักการเมืองอาชีพที่มีความสามารถและพร้อมที่จะดารง ตาแหน่งผู้นาทางการเมืองในระดับต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ผู้ว่า ราชการมหานครและนายกเทศมนตรี เป็นต้น สถาบันอื่น ๆ ที่มิใช่พรรคการเมือง ย่อมมีความ เหมาะสมน้อยกว่าในการผลิตผู้นาทางการเมือง เช่น สถาบันราชการย่อมมีความเหมาะสมที่จะผลิต ผู้นาทางการบริหารหรือข้าราชการที่ดีเท่านั้น แต่มิใช่ผลิตผู้นาทางการเมือง เพราะการเป็นผู้นาทาง การเมืองย่อมมีลักษณะแตกต่างไปจากผู้นาทางการบริหารเป็นอย่างมาก กล่าวคือ ผู้บริหารหรือ ข้าราชการเป็นผู้ปฏิบัติตามกฎหมาย คาสั่งและระเบียบแบบแผนต่าง ๆ ซึ่งฝ่ายการเมืองเป็นผู้วางไว้ ให้ ส่วนผู้นาทางการเมืองเป็นผู้กาหนดนโยบาย โดยคานึงถึงผลประโยชน์ของประชาชน ฉะนั้น นักการเมืองจะต้องเข้าใจการต่อรองผลประโยชน์ทางการเมืองของประชาชน การประสานประโยชน์ ต่าง ๆ ตลอดจนการสร้างความสามัคคีของกลุ่มต่าง ๆ ด้วยการวางนโยบายของพรรคและเมื่อพรรคได้ เป็นรัฐบาลก็จะต้องเอานโยบายเหล่านี้ไปใช้โดยมีข้าราชการซึ่งเป็นฝ่ายบริหารเป็นผู้ปฏิบัติตาม ฉะนั้น ในระบอบประชาธิปไตย พรรคการเมืองจึงเป็นสถาบันที่ฝึกอบรมและสร้างผู้นาทางการเมืองที่ เหมาะสมกว่าสถาบันอื่นใด จากความหมายของนักวิชาการต่าง ๆ สรุปความหมายของคาว่า “พรรคการเมือง” มีหน้าที่ ที่สาคัญได้แก่ หน้าที่ในการให้การศึกษาทางการเมืองแก่ประชาชน โดยการบรรยาย อภิปรายตาม โอกาสต่าง ๆ หน้าที่ในการสรรหาบุคคลที่มีความรู้ความสามารถในการเป็นผู้แทนราษฎร เพราะ บุคคลที่เป็นนักการเมืองจะต้องมีคุณสมบัติเฉพาะนอกเหนือจากความรู้ความสามารถแล้วต้องเสียสละ และมีความรับผิดชอบต่อสังคม หน้าที่ประสานประโยชน์ของกลุ่มอิทธิพลและกลุ่มผลประโยชน์ หน้าที่ทาได้โดยการเสนอกฎหมายที่ให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย หน้าที่ในการระดมสรรพกาลังทาง การเมือง คน และกลุ่มผลประโยชน์ที่มีแนวทางเดียวกันสามารถมารวมพลังกันกาหนดนโยบายของ พรรคการเมือง ซึ่งถ้าพรรคการเมืองชนะการเลือกตั้งก็จะต้องทาหน้าที่เป็นรัฐบาล เมื่อเป็นรัฐบาลก็จะ ได้นานโยบายที่กาหนดไว้ไปใช้ นอกจากจะเป็นรัฐบาลแล้ว พรรคการเมืองก็ต้องพร้อมทาหน้าที่
  • 11. 11 ฝ่ายค้าน เพราะฝ่ายค้านเป็นเสมือนกระจกเงาให้รัฐบาลได้ทราบถึงผลของการบริหารงาน นอกจากนี้ พรรคการเมืองยังเป็นเวทีให้มีการอภิปรายปัญหาต่าง ๆ ก่อนที่จะนาเข้าสู่สภา และพรรคการเมืองยัง ทาหน้าที่สร้างผู้นาทางการเมืองที่สามารถต่อรองผลประโยชน์ต่าง ๆ เพื่อประชาชนได้ นักการเมือง ในสังคมหนึ่ง ๆ มักจะมีค่านิยมและความเชื่อในการดารงคงอยู่ ค่านิยมและความเชื่อจะทา หน้าที่ผนึกสังคมเข้าเป็นปึกแผ่น และยังทาหน้าที่เป็นแนวทางชี้นาพฤติกรรมที่เป็นที่ยอมรับขอ สมาชิกในสังคม และในระบบการเมืองสิ่งที่สาคัญประการหนึ่งก็คือ ปัญหาแห่งความชอบธรรมของ อานาจ ซึ่งนั่นก็คือ ปัญหาที่ผู้ถูกปกครองจะยอมรับผู้ปกครองอย่างไร การยอมรับในความชอบธรรม แห่งอานาจและค่านิยมนั่นก็คือตัวแทนในทางการเมืองอันได้แก่ “นักการเมือง” ซึ่งเป็นตัวแทนที่ได้รับ ความชอบธรรมของสมาชิกในสังคมในการใช้อานาจในฐานะผู้ปกครอง 1. ความหมายของนักการเมือง คาว่า นักการเมือง (Politician) มาจากคาว่า การเมือง (Politics) ในนครรัฐเอเธนส์ ถือ ว่า สังคม คือ การเมือง ประชาชนทั้งหมดในฐานะที่มีส่วนร่วมในกิจกรรมของรัฐก็คือ นักการเมืองและ บุคคลที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการอานวยการปกครองรัฐหรือเมืองก็คือ ประชาชนที่เกี่ยวข้องกับ การเมืองมากกว่าคนอื่น ๆ (มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. 2540 : 10) ในปัจจุบันความหมายของนักการเมืองได้เน้นลักษณะของบุคคลที่ทาหน้าที่สาธารณะ ศาสตราจารย์ Kline R. Swygart แห่งมหาวิทยาลัยออเรกอนในสหรัฐอเมริกาได้ให้ความหมายของ นักการเมืองไว้ว่า “นักการเมือง” คือ บุคคลผู้เสียสละเวลาและกาลังตนแทบทั้งหมดเพื่อไปร่วม กิจกรรมของรัฐบาล หรือเป็นบุคคลผู้ซึ่งพยายามใช้อิทธิพลต่อวิถีการดาเนินงานของรัฐบาล โดยปกติ เขากระทาในฐานะที่เป็นสมาชิกพรรคการเมืองหรือกลุ่มอิทธิพล นักการเมืองตามนัยนี้จึงได้แก่ผู้ที่ ดาเนินการเคลื่อนไหวทางการเมือง เพื่อเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจการของรัฐบาลได้แก่ ประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี สมาชิกรัฐสภา ฯลฯ ในระบอบประชาธิปไตย บุคคลที่ได้ชื่อว่าเป็นนักการเมือง โดยปกติแล้วต้องสมัครรับ เลือกตั้ง เพื่อให้ประชาชนแสดงความนิยมชมชอบ มีการต่อสู้กับคู่แข่งขัน เมื่อได้รับการเลือกตั้งแล้วก็ อยู่ในตาแหน่งในระยะเวลาอันมีความจากัด ขึ้นอยู่กับการระบุไว้ในรัฐธรรมนูญในด้านของการได้มา
  • 12. 12 ซึ่งสมาชิก เมื่อระยะเวลาการดารงตาแหน่งสิ้นสุดวงจรการเมืองก็จะเริ่มต้นใหม่อีกครั้งเพื่อสรรหา บุคคลที่จะไปดารงตาแหน่งทางการเมือง ทัศนคติของประชาชนที่มีต่อนักการเมืองนั้นมีความขัดแย้ง กัน คือ ทางหนึ่งมีทัศนคติที่ว่า การเมืองและนักการเมืองมีแนวโน้มที่จะทาให้เกิดชีวิตที่ดีขึ้นในสังคม อีกแนวทางหนึ่งมองการเมืองหรือนักการเมืองไปในทางตรงกันข้าม โดยมองว่าการเมืองเป็นธุรกิจที่ สามารถสาหรับบุคคลที่มีความต้องการจะอาศัยความเชื่อถือของสาธารณชนเป็นเครื่องมือเพื่อบรรลุ เป้าหมายสาหรับตนเอง ดังนั้น ทัศนคติทั้งสองทางจึงมีลักษณะผสมผสานกันไปในสังคมการเมือง คือ มีคนจานวนมากที่พิจารณาธุรกิจการเมืองว่าเป็นความ จาเป็นที่ชั่วร้าย ขณะเดียวกันพวกเขาก็มองหา ผู้นาทางการเมือง หรือกลุ่มบุคคลที่จะสามารถอุทิศตนเองเพื่อรับใช้ประชาชน 2. ระดับของบุคคลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมือง เพื่อที่จะได้เห็นความแตกต่างระหว่างบุคคลธรรมดาโดยทั่วไปกับนักการเมืองได้ชัดเจนขึ้น Dahl แบ่งบุคคลทางการเมืองตามลักษณะของการเข้าไปยุ่งเกี่ยวทางการเมือง โดยยอมรับคากล่าว ของอริสโตเติลที่ว่า “มนุษย์เป็นสัตว์การเมือง” คือ บุคคลใดก็ตามแม้ว่าจะไม่มีความต้องการที่จะเข้า ไปเกี่ยวข้อง หรือมีส่วนร่วมในวิถีชีวิตการเมือง แต่ภายใต้ระบบการเมืองแล้ว เขาไม่อาจหลีกเลี่ยง ความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกีบอานาจและอิทธิพลได้ ดังนั้นในสังคมการเมือง บุคคลแต่ละคนจึงมีระดับ ความแตกต่างในการเข้าไปมีส่วนร่วมหรือเกี่ยวข้องทางการเมือง (Dahl. 1982 : 94-120) ซึ่ง Dahl ได้แยกออกเป็น 4 ระดับ คือ 2.1 ผู้ไม่สนใจทางการเมือง หรือสนใจทางการเมืองน้อย (The apolitical stratum) มัก เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศที่กาลังพัฒนา ได้แก่ ผู้ที่มีความเฉยเมยทางการเมือง ไม่สนใจที่จะเข้าไป ยุ่งเกี่ยวกับนักการเมือง เช่น ไม่สนใจไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ไม่สนใจเป็นสมาชิกพรรคการเมือง หรือลงสมัครรับเลือกตั้ง รวมไปถึงผู้ที่ไม่สนใจเรื่องราวต่าง ๆ ของการเมืองเลย 2.2 ผู้สนใจทางการเมือง (The political stratum) เป็นบุคคลที่สนใจเรื่องราวข่าวสาร ทางการเมือง และอาจเข้าไปมีส่วนร่วมเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจในการดาเนินกิจการของรัฐ รู้ว่าจะ เกิดอะไรขึ้นทางการเมือง และมีความเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของตนอย่างไร สามารถรับรู้และเข้าใจ ในความสาคัญของการตัดสินตกลงใจของรัฐบาลหรือสถาบันการเมืองต่าง ๆ เช่น สนใจไปลงคะแนน เสียงเลือกตั้ง สนใจสมัครเป็นสมาชิกพรรคการเมือง แต่ยังไม่ถึงกับที่จะลงสมัครรับเลือกตั้ง หรือเข้าไป เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ หรือกาหนดนโยบายของรัฐโดยตรง
  • 13. 13 2.3 ผู้แสวงหาอานาจและผู้นา (The power-seekers) ในสังคมการเมืองมีบุคคลพยายาม แสวงหาอานาจมากกว่าคนอื่น ๆ เพื่อทาให้เขามีอานาจหรืออิทธิพลทางการเมืองมากกว่า เพื่อผล ทางด้านนโยบาย ระเบียบข้อบังคับ และการตัดสินตกลงใจในการใช้บังคับกฎหมายของรัฐ และ อิทธิพลทางการเมืองนี้ไม่มีทางที่สมาชิกในระบบการเมืองจะได้มีอย่างเท่าเทียมกัน การแสวงหา อานาจก็เพื่อประโยชน์ในการยึดครองทรัพยากรทางการเมือง โดยมีวัตถุประสงค์ในการปกป้อง คุ้มครองผลประโยชน์ของประชาชนโดยส่วนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในสังคม หรืออาจจะ เป็นการแสวงหาอานาจเพื่อผลประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้องกลุ่มน้อยก็ตาม 2.4 ผู้ทรงอานาจ (The powerful) หมายถึง บุคคลที่มีทรัพยากรทางการเมืองหรือเป็น ผู้ใช้อานาจทางการเมือง อันเนื่องมาจากความแตกต่างของสภาพแวดล้อมที่เอื้ออานวยให้แก่บุคคล เหล่านี้มากกว่าบุคคลโดยทั่วไปในระบบการเมือง บุคคลเหล่านี้มิได้ต้องการแสวงหาอานาจหรือ ทรัพยากรทางการเมืองเลย แต่เขากลับมีอานาจนั้นและเป็นผู้ใช้อานาจนั้นเสียเอง การจาแนกบุคคลออกเป็น 4 ระดับทาให้เห็นว่า นักการเมืองในความหมายทั่วไป คือ บุคคลประเภทที่ 3 หรือผู้ที่แสวงหาอานาจและต้องการเป็นผู้นา อีกทั้งบุคคลประเภทที่ 4 จะเป็นผู้ที่ ควบคุมการใช้อานาจในทางการเมืองและมีอานาจในทางการเมืองแต่มิได้ต้องการเข้าไปเป็น นักการเมือง หรือในอีกนัยยะหนึ่ง บุคคลประเภทที่ 3 และ 4 เป็นผู้ฝักใฝ่ทางการเมือง (Partisan politics) ส่วนบุคคลประเภทที่ 1 และ 2 นั้นเป็นผู้ที่ไม่ฝักฝ่ายทางการเมือง (Non-partisan politics) เป็นต้น จากความหมายของนักวิชาการต่าง ๆ สรุปความหมายของคาว่า “นักการเมือง” คือ บุคคลที่มีฐานะทางสังคม เชื้อสาย ชาติพันธุ์ที่แตกต่างกัน แต่ได้มาอยู่ในสังคมเดียวกัน บุคคลที่เติบโต มาภายใต้สิ่งแวดล้อมทางการเมืองที่กาลังเปลี่ยนแปลงก็อาจมีความคิดทางการเมืองที่ต่างออกไปจาก บุคคลที่เติบโตภายใต้สิ่งแวดล้อมของสังคมอานาจนิยมที่มองว่าการเมืองเป็นเรื่องของชนชั้นปกครอง ผู้แสวงหาอานาจในทางการเมือง เป็นนักอุดมคติหรือนักปฏิวัติ นักการเมืองทั้งหมดมีส่วนทาให้ระบบ การเมืองดาเนินไปได้ และสิ่งที่พวกเขากระทาจะเป็นตัวกาหนดว่า สังคมนั้นจะมีระบบการเมืองชนิด ใด จะมีรัฐบาลแบบใด มีประเทศเช่นใด และเราจะมีวิธีการแก้ไขปัญหาของประเทศด้วยนโยบาย อย่างไร ดังนั้นในรูปสังคมเมืองหรือรัฐ นักการเมืองจึงมีความสาคัญเป็นอย่างมากในการบริหาร และ การปกครอง เพื่อให้เกิดความสงบสุข และความผาสุกของประชาชนโดยทั่วไป
  • 14. 14 ความขัดแย้งทางการเมือง การเมืองเป็นกิจกรรมของบุคคลในอันที่จะขจัดปัญหาหรือจัดการกับความขัดแย้งสาธารณะ การจัดสรรแบ่งปันหรือประสานประโยชน์ทรัพยากรหรือสิ่งที่มีคุณค่าให้แก่กลุ่ม และบุคคลตามโอกาส และความสาคัญของกลุ่มและบุคคลนั้น เพื่อความคงอยู่และสวัสดิภาพของสังคมโดยส่วนรวม แล้ว ปัญหาการเมืองจึงเป็นปัญหาหรือความขัดแย้งที่มีผลกระทบต่อสาธารณะ หรือปัญหาของระบบ การเมืองที่เป็นอุปสรรคต่อการจัดสรรแบ่งปันทรัพยากรต่าง ๆ นี่เอง คือ ที่มาของนโยบายและการ ดาเนินงานขององค์กรฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ ในอันที่จะแก้ไขความขัดแย้งสาธารณะ 1. ประเภทของความขัดแย้ง ความขัดแย้ง คือ ผลอันเกิดจากความแตกต่างระหว่างกลุ่มและปัจเจกชนในสังคม ซึ่ง รวมทั้งแนวความคิดหรือทัศนคติที่ขัดแย้งกัน อันเนื่องมาจากผลของความแตกต่างเหล่านั้น ในสังคม ใหญ่ย่อมมีรูปแบบของความแตกต่างปัจเจกบุคคลอยู่มาก เนื่องจากแต่ละบุคคลก็บุคลิกและ สถานภาพทางสังคมแตกต่างกันในทุก ๆ ด้าน และนี่เองที่เป็นความแตกต่างอันเป็นพื้นฐานของ แนวโน้มของความขัดแย้งบนสภาพความเป็นจริงการเกิดความขัดแย้งทางสังคมในประเด็นที่เกี่ยวกับ สาธารณะ ก็เนื่องมาจากผลของความแตกต่างระหว่างกลุ่มที่มีลักษณะแตกต่างกัน และขึ้นอยู่กับ สถานการณ์เฉพาะในช่วงเวลานั้น ๆ ความเป็นไปได้ของความไม่เห็นด้วยในกรณีใดก็ตาม จึงไม่มีที่ สิ้นสุด และสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกกรณี เมื่อกล่าวถึงความขัดแย้ง สามารถแบ่งประเภทของความ ขัดแย้งเป็น 3 ส่วนด้วยกัน คือ (March and Simon. 1958 : 16) 1.1 ความขัดแย้งต่อตนเอง (Individual Conflict) ความขัดแย้งต่อตนเองเป็นความ ขัดแย้งทางจิตวิทยา เป็นแบบของการกระทาอันเกิดจากการ ไม่สบอารมณ์และทรรศนะ เป็นความไม่ ลงรอยระหว่างความต้องการของบุคคล และการยอมรับของสังคม หรือข้อจากัดต่อความสาเร็จที่ ต้องการ และอาจรวมไปถึงการไม่อาจมีการเสียสละให้แก่กันและกันได้ 1.2 ความขัดแย้งต่อองค์กร (Organizational Conflict)เป็นความขัดแย้งของกลุ่มหรือ ของคนในองค์กร มนุษย์เรานั้นย่อมนิยมชมชอบและมีใจเข้าข้างกลุ่มที่ตนเองทางานด้วย และ ขณะเดียวกันก็จะต่อต้านคู่แข่งของตน สภาพของความขัดแย้งเช่นนี้มีอยู่หลายโอกาสที่ตั้งอยู่บนฐาน ของการมีเหตุผล ความรู้สึก และอารมณ์
  • 15. 15 1.3 ความขัดแย้งระหว่างองค์การ (Interorganizational Conflict) ความขัดแย้งของ กลุ่มภายในองค์การ มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับความขัดแย้งระหว่างองค์การ แต่ลักษณะความขัดแย้ง จะแตกต่างกัน การแก้ปัญหาต้องใช้ระบบการต่อรองว่าฝ่ายใดจะได้รับอะไร และสิ่งสาคัญที่สุดในการ ต่อรองนั้น จะต้องคานึงถึงผลที่ได้รับอย่างยุติธรรมด้วยซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการขัดแย้งกันในเรื่องของ ผลประโยชน์ 2. สาเหตุของความขัดแย้ง ความขัดแย้งหรือความไม่เข้าใจกันของคนในสังคมก่อให้เกิดปัญหาโดยเฉพาะปัญหาความ ขัดแย้งซึ่งต้นเหตุของความขัดแย้งทางสังคมที่เกิดขึ้นมีมาอยู่ 2 ทาง คือ 2.1 ความแตกต่างทางด้านวัฒนธรรม โดยเฉพาะกลุ่มเชื้อชาตินาไปสู่ความขัดแย้งหรือ ปัญหาทางสังคมได้ตลอดเวลา เช่น ในสหรัฐอเมริกา ประกอบด้วยคนผิวขาวเป็นคนส่วนใหญ่ของ ประเทศ และคนผิวดาเป็นคนส่วนน้อย ประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ของประชากร นอกนั้นเป็นชนชาติอื่น ๆ ทาให้วัฒนธรรมของประเทศมีความแตกต่างกันอย่างมาก ประเทศที่ประกอบด้วยคนหลายเชื้อชาติ หลายศาสนา ย่อมมีความแตกต่างกันทางด้านประเพณี วัฒนธรรม และวิถีทางในการดาเนินชีวิต ความขัดแย้งจึงเกิดข้นตามความแตกต่างทางด้านวัฒนธรรมเป็นสาคัญ 2.2 ความแตกต่างทางด้านเศรษฐกิจ ในสังคมก็เป็นปัญหาทางสังคมที่สาคัญประการหนึ่ง เหมือนอย่างที่ Adam Smith ได้กล่าวไว้เมื่อ 200 ปีมาแล้วว่า ทุก ๆ สังคมมีความแตกต่างทางด้าน แรงงานในการผลิตสินค้า และการบริการที่จาเป็นของประชาชน แม้แต่ในสังคมพื้นฐานก็ยังมีความ แตกต่างด้านเศรษฐกิจ และความแตกต่างทางด้านเศรษฐกิจนี้ก็นาไปสู่ความแตกต่างทางสังคม (Adam Smith. 1973 : 2) จึงอาจกล่าวได้ว่า ต้นเหตุของความขัดแย้งทางสังคมมาจากความแตกต่างทางวัฒนธรรม และเศรษฐกิจเป็นสาคัญ ความแตกต่างของสภาพการณ์และทัศนคติของสังคม ทาให้เกิดความขัดแย้ง ทางสังคม และเมื่อความขัดแย้งทางสังคมกลายมาเป็นเรื่องสาธารณะที่มีผลกระทบต่อประชาชน จานวนมาก ก็หมายความว่าความขัดแย้งสาธารณะนาไปสู่ปัญหาทางการเมือง เมื่อพิจารณาจานวน พลเมืองที่ได้รับผลกระทบ หรือได้เข้าร่วมกับความขัดแย้งนั้น จะเห็นได้ว่ารัฐบาลจาเป็นต้องเข้ามามี ส่วนเกี่ยวข้อง หรือเป็นหน้าที่ของระบบการเมืองที่จะต้องปรับตัวเพื่อทาการแก้ไข ดังนั้นการกระทา ของบุคคล กลุ่มบุคคล หรือ ผู้ประท้วงที่ถูกจัดให้เกี่ยวข้องกับเรื่องสาธารณะ ล้วนเป็นปัญหาทาง การเมืองทั้งสิ้น
  • 16. 16 วัฒนธรรมทางการเมืองและจริยธรรมทางการเมือง กระบวนการในการหล่อหลอม ความเชื่อ ค่านิยม ทัศนคติที่ปลูกฝังสืบทอดมาต่อเนื่อง ยาวนานซึ่งยากที่จะเปลี่ยนแปลงได้โดยในทางการเมืองนั้นก็ได้แก่ วัฒนธรรมทางการเมือง มีลักษณะ เป็นพลวัตร (Dynamic) กลไกที่จะสามารถกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความเชื่อ ค่านิยม ทัศนคติ ทางการเมืองก็คือ องค์ความรู้ใหม่ที่ก่อตัวขึ้นเป็นพลังทางการเมืองที่จะผลักดันให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงที่นาไปสู่ความเชื่อใหม่ให้สอดคล้องกับการเสริมสร้างชีวิตทางการเมืองที่ดีกว่าเป็นกระแส การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมทางการเมืองในที่สุด เป็นกระบวนการที่ต้องใช้การปรับตัวเพื่อล้างความ เชื่อดั้งเดิมเป็นการปลูกฝังระบบความเชื่อใหม่ที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทางการเมือง ในด้านจริยธรรมทางการเมืองเป็นการศึกษาหาความรู้ที่เกี่ยวกับแนวคิดทางการเมือง เป็นลักษณะของ การกาหนดปทัสถานเพื่อหาข้อยุติเกี่ยวกับค่านิยมทางการเมืองซึ่งมีลักษณะเป็นปรัชญาการเมืองให้ได้ หลักเกณฑ์การปกครองที่ดี อีกทั้งจริยธรรมทางการเมืองเป็นลักษณะของการหาสัจธรรมทางการเมือง ที่ดี 1. วัฒนธรรมทางการเมือง การเมืองนั้นเป็นเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับรัฐบาล ดังนั้นความคิดของ ประชาชนที่มีส่วนกาหนดพฤติกรรมในทางการเมือง จึงเป็นลักษณะสาคัญอย่างหนึ่งของการศึกษา วิชาการเมือง ความรู้ที่ได้สะสมกันมานานมีอยู่ว่า ระบบการเมืองใดจะดารงอยู่ได้ ต้องอาศัยการมี วัฒนธรรมทางการเมือง (Political culture) ที่เอื้ออานวยต่อการปกครองแบบนั้น ๆ วัฒนธรรมทาง การเมืองเป็นผลมาจากกระบวนการถ่ายทอดวัฒนธรรมทางการเมือง และประวัติศาสตร์ของระบบ การเมืองอีกต่อหนึ่ง Almond ให้ความหมายของวัฒนธรรมทางการเมืองว่า เป็นรูปแบบของทัศนคติของบุคคล ที่มีต่อระบบการเมืองและต่อบทบาทของตัวเอง (Almond and Powell. 1966 : 6) Beer and Ulam เพิ่มเติมความหมายรวมถึงค่านิยม ความเชื่อ และทัศนคติของบุคคล เกี่ยวกับกิจกรรมทางการเมืองด้วย (Beer and Ulam. 1962 : 8) Dahl อธิบายว่า วัฒนธรรมทางการเมืองเป็นปัจจัยในการอธิบายแบบแผนต่าง อันแตกต่าง กันของความขัดแย้งทางการเมือง ลักษณะวัฒนธรรมทางการเมืองที่เด่น ๆ ได้แก่ ความรู้สึก หรือการ อบรมกล่อมเกลาของบุคคลที่มีต่อระบบการเมือง (Dahl. 1966 : 352 – 355)
  • 17. 17 Manheim อธิบายว่า วัฒนธรรมทางการเมือง หมายถึงแบบแผนของความเชื่อและทัศนคติ ร่วมกันของของบุคคลในสังคมเกี่ยวกับเป้าหมายทางการเมืองอย่างเดียวกัน ซึ่งปรากฏอยู่ในระบบ การเมืองต่าง ๆ เป้าหมายที่ว่าหมายถึงการมีผลประโยชน์ร่วมกันในขั้นมูลฐาน และการประเมินค่าที่ เหมือนกัน ตลอดจนการเห็นพ้องต้องกันจากการที่ได้รับประสบการณ์ทางประวัติศาสตร์อย่างเดียวกัน (Manheim. 1975 : 30) Pye กล่าวว่า วัฒนธรรมทางการเมืองก็คือ ทัศนคติ ความเชื่อความรู้สึก เกี่ยวกับ กระบวนการ ทางการเมือง สิ่งดังกล่าวนี้เป็นสิ่งกาหนดพฤติกรรมของบุคคลในระบบการเมืองโดย ครอบคลุมทั้งอุดมการณ์ทางการเมือง และปทัสถานในทางปฏิบัติของบุคคลในระบบการเมืองนั้น วัฒนธรรมทางการเมืองจึงเป็นรูปแบบรวมของมิติทางด้านจิตวิทยา และด้านความรู้สึกนึกคิดของ การเมือง แนวความคิดนี้จึงครอบคลุมถึงแนวความคิด หรือประเด็นปัญหาอันเก่าแก่ทางการเมือง เหล่านี้ได้ เช่น อุดมการณ์ทางการเมือง ความชอบธรรมในการปกครอง อานาจอธิปไตยความเป็นชาติ การปกครอง โดยยึดหลักกฎหมายและมติมหาชน (Pye. 1996 : 104-105) วัฒนธรรมทางการเมืองคือ ผลิตผลของประวัติศาสตร์ไทย ส่วนรวมของกระบวนการเมือง และประวัติส่วนบุคคลของสมาชิกในระบบดังกล่าว และอาจกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่าวัฒนธรรมทาง การเมืองจะดารงอยู่ได้หรือเปลี่ยนไป ย่อมขึ้นอยู่กับกระบวนการถ่ายทอดวัฒนธรรมทางการเมือง การ พัฒนาบุคลิกภาพ และรูปแบบของค่านิยมต่าง ๆ จะได้มาจากกระบวนการถ่ายทอดวัฒนธรรมทาง การเมืองโดยวิธการเช่นนี้ บุคคลจะได้รับการปลูกฝังให้มีวัฒนธรรมทั่วไป หรือวัฒนธรรมทางการเมือง อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น เกี่ยวกับอานาจ ความไว้วางใจในเพื่อนมนุษย์ และสถานภาพของตนในระบบ การเมือง เป็นต้น (Almond and Powell. 1959 : 64 -72) จากความหมายของนักวิชาการต่าง ๆ สรุปความหมายของคาว่า “วัฒนธรรมทางการเมือง” คือ เป็นผลมาจากรูปแบบทัศนคติ ความเชื่อ กระบวนการถ่ายทอดวัฒนธรรมทางการเมืองของบุคคล ที่สอดคล้องเหมือน ๆ กันด้วย ในกรณีนี้สิ่งดังกล่าวในทุกขั้นตอนเสริมสร้างซึ่งกันและกัน เช่น มี ความเห็นร่วมกันเกี่ยวกับหน้าที่ และขอบเขตที่เหมาะสมของการเมือง เกี่ยวกับความหมาย วิธีการ และเป้าหมายที่เหมาะสมของกิจกรรมทางการเมือง เป็นต้น อาจกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า ค่านิยมต่าง ๆ ที่ตรงกันที่ได้มาจากกระบวนการถ่ายทอดวัฒนธรรมในขั้นต่าง ๆ มีส่วนเสริมวัฒนธรรมทางการเมืองที่ มีอยู่ ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นแบบเฉยเมย อ่อนน้อม ยอมจานนต่อผู้มีอานาจ ก้าวร้าว หรือสนใจในการมีส่วน ร่วมทางการเมือง จึงทาให้วัฒนธรรมทางการเมืองนั้นดารงอยู่ต่อไป