SlideShare a Scribd company logo
1 of 12
Download to read offline
บทที่ 4
การพัฒนาทางสังคม การเมือง และเศรษฐกิจ
ความนา
การพัฒนาประเทศส่วนใหญ่ยอมรับกันว่าองค์ประกอบที่สาคัญประการหนึ่งของการบริหารการพัฒนา คือ
การมุ่งเน้นถึงการพัฒนาทางเศรษฐกิจให้มีความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (Economic Growth) เป็นหลักใหญ่ ดังที่
Marle Fainsod มีความเห็นว่า ในประเทศที่กาลังพัฒนาซึ่งกาลังเปลี่ยนประเทศให้มีภาวะทันสมัย และกลายเป็น
ประเทศอุตสาหกรรม (Modernization and Industrailization) การบริหารการพัฒนาโดยทั่วไปแล้วเป็นการวางแผน
เพื่อให้เกิดความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ มีการกาหนดนโยบายการใช้ทรัพยากรเพื่อเพิ่มขยายรายได้
ประชาชาติ หน่วยงานบริหารใหม่ ๆ ซึ่งเรียกว่าเป็นหน่วยงานหรือกรมซึ่งมีหน้าที่ทางานเพื่อสร้างชาติ (nation-building
departments) จะถูกจัดตั้งขึ้นมาเพื่อทาหน้าที่พัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศ จะดาเนินงานบริหารหน่วยงานทาง
เศรษฐกิจใหม่ ๆ ของรัฐ ยกระดับผลผลิตทางการเกษตร พัฒนาทรัพยากรธรรมชาติของประเทศ ปรับปรุงขอบข่าย
งานขนส่งและการสื่อสารคมนาคม ปฏิรูประบบการศึกษา และทาหน้าที่อื่น ๆ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการพัฒนา
ที่ได้กาหนดไว้ ซึ่งต่างกับประเทศที่พัฒนาแล้วที่เห็นว่าเศรษฐกิจนั้นเป็นเพียงปัจจัยหนึ่งที่ต้องบริหารเพื่อให้เกิดการ
พัฒนา เพราะการพัฒนาแบ่งออกเป็นการพัฒนาปัจจัย 4 ประการ คือ การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และ
การบริหาร
การพัฒนาเศรษฐกิจ (economic development) โดยทั่วไปหมายถึง การเพิ่มผลผลิตประชาชาติมวลรวม
(gross national product) กระทาให้รายได้เฉลี่ยต่อหัว (per capita income) ของประชาชนเพิ่มสูงขึ้น ทาให้มีการ
กระจายรายได้เท่าเทียมกัน (equality in distribution of income) มีมากขึ้น
การพัฒนาสังคม (social development) หมายถึง การทาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสังคมซึ่งครอบคลุมทุก
อย่างตั้งแต่ทาให้สภาพของประเทศมีลักษณะเป็นชุมชนเมืองไปจนถึงการทาให้ลักษณะครอบครัวขยายในสังคมหมดไป
กาพัฒนาทางการเมือง (political development) หมายถึง การเพิ่มความเท่าเทียมกันในระหว่างประชาชน
ให้โอกาสแก่ประชาชนในการเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้นในการเลือกผู้นาในการปกครอง ตลอดจนมีบูรณภาพแห่งชาติหรือ
ความเป็นน้าหนึ่งใจเดียวกันของคนในชาติ (national cohesion) มากขึ้นกว่าเดิม
ส่วน การพัฒนาการบริหาร (administrative development) หมายถึง การนาเอาระบบคุณธรรม หรือ
คุณวุฒิ (merit system) มาใช้แทนระบบอุปถัมภ์มากขึ้นในการสรรหาและบรรจุคนเข้าทางานในราชการ ตลอดจนการ
จัดระบบงบประมาณของทางราชการให้มีความยืดหยุ่นและมีลักษณะรวมเป็นส่วนกลางให้เป็นที่รู้และเข้าใจได้
การพัฒนาทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และการบริหาร เมื่อรวมเข้าด้วยกันทั้งหมดเรียกว่า “การ
พัฒนาชาติหรือพัฒนาประเทศโดยส่วนรวม” (national development)
การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และการบริหาร จะจัดทาด้านใดก่อนด้านใดหลังนั้น นักวิชาการ
ให้ความเห็นไว้ว่า การพัฒนาถ้าจะให้เกิดผลดีจะต้องทาไปพร้อมกันทุกด้าน จะแบ่งแยกกันมิได้ (indivisibility of
development) เพราะว่าระบบเศรษฐกิจที่มีหลักเกณฑ์และเหตุผลทางเศรษฐกิจแท้นั้นจะมีขึ้นไม่ได้ ถ้าสังคมนั้นไม่
เคารพมนุษยชาติ ถ้าทางฝ่ายการเมืองไม่มีความรับผิดชอบ และฝ่ายบริหารไม่ทาตามกฎหมาย ทานองเดียวกันสังคม
หน้า 52
จะมีความเคารพในเกียรติมนุษยชาติไม่ได้ จนกว่าระบบเศรษฐกิจจะพัฒนาแล้ว ฝ่ายการเมืองมีความรับผิดชอบ และ
ฝ่ายบริหารทาตามกฎหมาย
ในส่วนย่อยก็เช่นกัน สภาพการเป็นพลเมืองจะเกิดขึ้นไม่ได้ถ้ายังไม่สามารถประกอบการทางเศรษฐกิจได้อย่าง
อิสระ ไม่มีอิสระเสรีในการดารงชีวิตในสังคม และข้าราชการไม่ยอมรับใช้ประชาชน เป็นต้น ความสัมพันธ์ระหว่าง
งานด้านต่าง ๆ ของการพัฒนาเป็นแผนผังดังนี้
ดังนั้นจะเห็นได้ว่า การพัฒนาเพื่อจะให้ได้ผลดีนั้นจาเป็นต้องพัฒนาพร้อมกันไปทุกด้าน หรืออีกนัยหนึ่งอาจ
เปรียบประเทศหรือสังคมเสมือนลูกโป่ง ขณะที่ไม่เจริญก็เป็นลูกโป่งขนาดเล็ก เมื่อเจริญก็เหมือนลูกโป่งที่พองตัวขึ้น
ถ้าพัฒนาอย่างถูกทางลูกโป่งนั้นก็จะพองตัวอย่างสม่าเสมอกัน ถ้าพัฒนาทางด้านใดด้านหนึ่งก็จะทาให้ปูด ซึ่งทาให้ด้าน
หนึ่งแฟบด้านหนึ่งพองไม่พอดีกัน เช่น ถ้ารัฐบาลจะส่งเสริมการพัฒนาทางสังคมและการศึกษาขนานใหญ่ด้วยการสร้าง
โรงเรียน มหาวิทยาลัยขึ้นมามากมายเพียงด้านเดียว โดยไม่ได้พัฒนาเศรษฐกิจให้เป็นสัดส่วนกัน แล้วจะเอาเงินที่ไหน
มาก่อสร้าง จะเอาคนที่ไหนมาสอน มาบริหารงาน บางทีอาจจะต้องพิจารณาถึงว่าจะมีนักเรียนพอทั้งปริมาณและ
คุณภาพที่จะเปิดโรงเรียน หรือมหาวิทยาลัยได้ไหม เป็นต้น
ดร. ยูยืน แสตลลีย์ (Dr. Eugene Staley) นักวิชาการได้กล่าวไว้ว่า กระบวนการพัฒนาที่ดีนั้นไม่ควร
เน้นหนักเฉพาะด้านเศรษฐกิจ แต่ควรเน้นไปที่ด้านการเมืองและสังคมด้วย ซึ่งแสตลลีย์ได้ชี้ให้เห็นว่ามีหลายประเทศที่
ได้รับความสาเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจแต่เป็นความสาเร็จในวงแคบ คือ เป็นเพียงการเพิ่มความสามารถในการผลิต
ของประเทศให้สูงขึ้น แต่ในขณะเดียวกันประชาชนส่วนใหญ่ไม่ได้รับผลประโยชน์จากการพัฒนาเศรษฐกิจ โดยยังคงมี
ระดับค่าครองชีพต่ากว่าอยู่เช่นเดิม และในขณะเดียวกันกระบวนการพัฒนาดังกล่าวก็ไม่ได้เป็นการส่งเสริมอุดมการณ์
ประชาธิปไตยแต่ประการใด ประชาชนยังคงอยู่ใต้ระบอบเผด็จการอยู่ต่อไป
ดร. แสตลลีย์ สรุปว่า วัตถุประสงค์ของกระบวนการพัฒนาที่ดีนั้นควรจะมุ่งพัฒนาทุกด้านไปพร้อม ๆ กัน
รวมทั้งด้านสังคมและการเมือง มิใช่เฉพาะผลทางด้านเศรษฐกิจหรือวัตถุ ทั้งนี้เพราะความต้องการขั้นมูลฐานของ
มนุษย์มีหลายอย่าง เช่น มีระดับค่าครองชีพที่สูงพอสมควร มีความมั่นคงปลอดภัยในชีวิต มีเสรีภาพและอานาจใน
การปกครองตนเอง มีโอกาสที่จะใช้ความสามารถของตนได้อย่างเต็มภาคภูมิ การยอมรับนับถือว่าตนเป็นส่วนหนึ่งของ
สังคมโดยไม่ถูกกีดกันหรือเหยียดหยามจากสังคม ตลอดจนความรู้สึกว่าตนได้ดาเนินชีวิตไปอย่างมีความหมาย และ
การถือหลักเหตุผล ความรับผิดชอบ
การเป็นผู้ประกอบการ การเป็นพลเมือง
ความเป็นมนุษยธรรม การทาถูกกฎหมาย
อิสรภาพ การรับใช้
หน้า 53
มีความหวัง โดยมีความเชื่อว่า ทรรศนะนิยมในสังคมที่คนยึดถืออยู่นั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้องและมีคุณค่า สรุปแล้วความ
ต้องการขั้นมูลฐานของมนุษย์นั้น นอกจากความต้องการทางด้านวัตถุในการดารงชีพแล้ว ยังมีความต้องการทางด้าน
จิตใจ ซึ่งต้องการที่จะมีชีวิตอยู่อย่างมีเกียรติในฐานะที่เป็นมนุษย์ ไม่ใช่อยู่อย่างทาส
การพัฒนาทางสังคม (Social development)
1. ความหมายของสังคม
คาว่า “สังคม” พิจารณาความหมายได้ 2 นัย ดังนี้
1.1 สังคมที่เป็นรูปธรรม สังคม หมายถึง คนจานวนหนึ่งที่อยู่ร่วมกันเป็นกลุ่ม มีความรู้สึกผูกพันว่า
เป็นเหล่าเดียวกัน ดารงชีวิตร่วมกันตามกฎเกณฑ์ระเบียบวิธีที่ส่วนรวมกาหนดไว้ เพื่อให้กลุ่มนั้นดารงอยู่ต่อเนื่องไป
มิให้แตกสลาย ในความหมายนี้จะมองเห็นสังคมได้จากตัวบุคคลที่มีชีวิตอยู่ในขอบเขตอาณาบริเวณที่กาหนดให้
บุคคลที่ประกอบกันเป็นสังคมนี้ย่อมมีแบบอย่างวิธีการดารงชีวิตที่เป็นลักษณะร่วมกันซึ่งเรียกว่า “วัฒนธรรม” และมี
จานวนคนเพิ่มขึ้นหรือลดลงตามอัตราการเกิดการตายอันเป็นปกติวิสัยของสิ่งมีชีวิต
1.2 สังคมที่นามธรรม สังคม หมายถึง ระบบความสัมพันธ์ของบุคคลที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่มหรือพวก
เดียวกัน ระบบความสัมพันธ์เกิดมีขึ้นเพราะการที่คนซึ่งอยู่ด้วยกันต้องมีการประพฤติปฏิบัติต่อกันและการประพฤติ
ปฏิบัติต่อกันนี้ย่อมอยู่ในกรอบกาหนดที่ยอมรับร่วมกันอยู่ว่า ผู้ที่จะมีการกระทาต่อกันนั้นฝ่ายใดจะมีสิทธิและหน้าที่ให้
ทาอย่างไรได้มากน้อยเพียงใด หากกระทาเกินขอบเขตของกรอบกาหนดที่ส่วนรวมวางไว้นี้ ก็จะเกิดปัญหาขัดแย้งจาก
การล่วงละเมิดสิทธิและหน้าที่ที่มีต่อกัน และถ้าหากไม่สามารถปรับการขัดแย้งนี้ให้ราบรื่นไม่ได้ความสัมพันธ์ที่มีต่อกัน
ก็อาจสิ้นสุดลงได้
การพัฒนาสังคมหรือการทาให้สังคมเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่พึงปรารถนานั้น สังคมจะต้องพัฒนาความ
ปรารถนาของคนทั้งสังคม ซึ่งเป็นความปรารถนาที่สาคัญที่สุด แต่โดยปกติแล้วความปรารถนาของคนตรงกันได้ยาก
และความปรารถนาของบุคคลบางคนหรือบางกลุ่มหากมีอานาจหรือความสามารถที่จะทาให้ความปรารถนานั้นสัมฤทธิ์
ผลได้ คือ ความปรารถนาที่มีความสาคัญที่สุด ถึงแม้ว่าผู้อื่นจะปรารถนาเป็นอย่างอื่นก็ตาม ทั้งนี้ได้มีมาตรฐานหนึ่ง
ที่จะเป็นเกณฑ์วัดความเจริญหรือการเปลี่ยนแปลงในทางที่พึงปรารถนา ซึ่งมักเป็นการพัฒนาสังคมโดยแท้ได้ คือ การ
เปลี่ยนแปลงที่ทาให้เกิดประโยชน์ของส่วนรวมได้ จึงจะไม่เกิดการขัดแย้งกันในระบบความสัมพันธ์ที่ส่วนตัวบุคคลมีต่อ
ส่วนรวม แต่มิใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ทาให้ทุกคนมีสิทธิและหน้าที่เสมอภาคกัน เพราะในสังคมที่คนอยู่ด้วยกันนั้นมี
หน้าที่การงานแตกต่างกันหลายอย่างที่ต่างคนต้องช่วยกันทาประกอบกัน เพราะฉะนั้นสิทธิหน้าที่จะให้เหมือนกันไม่ได้
และไม่มีกฎตายตัวเป็นมาตรฐานสากลได้ว่าสิทธิและหน้าที่ของบุคคลประเภทต่าง ๆ กันนั้นจะต้องเป็นอย่างไร เช่น
สิทธิของชายและหญิง เด็กและผู้ใหญ่ ผู้ปกครองและผู้ถูกปกครอง เป็นต้น ซึ่งเป็นเรื่องของการตกลงกันระหว่าง
สมาชิกในสังคมตามสถานภาพความจาเป็น และความเหมาะสมของสังคมในขณะนั้น การพัฒนาทางสังคมเป็นการทา
ให้ความขัดแย้งยังมีอานาจอยู่ในระบบความสัมพันธ์ของบุคคลในสังคมลดน้อยลงจนหมดไป หรือเป็นการกระทาให้
ระบบความสัมพันธ์นั้นราบรื่นมีความกลมกลืนกันมากกว่าที่เป็นอยู่เดิม การพัฒนาทางสังคมเป็นการเปลี่ยนแปลงชนิด
หนึ่งนี้อาจเกิดขึ้นเองทีละเล็กทีละน้อยโดยอัตโนมัติ ได้แก่ ผลของการสั่งสอนทางศาสนาของผู้นาทางศาสนาบางคน
เช่น พระพุทธเจ้า และพระเยซูคริสต์ เป็นต้น แต่ถ้าเกิดขึ้นโดยเป็นผลของการกระทาที่จงใจเจตนาจะกระทาให้เกิด
หน้า 54
การเปลี่ยนแปลงในส่วนรวมภายในระยะเวลาอันสั้น การพัฒนาสังคมจาเป็นต้องมีบุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือกลุ่มใดกลุ่ม
หนึ่งทาให้เกิดขึ้นอย่างตั้งใจ ได้แก่ การดาเนินงานตามโครงการในระยะต่าง ๆ เช่น โครงการ 3 ปี โครงการ 5 ปี
และโครงการ 10 ปี เป็นต้น
ก่อนที่ประเทศจะมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงทางด้านวัตถุให้ก้าวหน้าได้อย่างแท้จริงนั้น จะต้องมีการพัฒนาทาง
สังคมซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงจิตใจและแบบแผนพฤติกรรม ตลอดจนความสัมพันธ์ของมนุษย์ในสังคมนั้นเสียก่อน
ปัญหาทางด้านสังคมในประเทศด้อยพัฒนาที่เป็นอุปสรรคขัดขวางทางเศรษฐกิจมีหลายประการ เช่น ขนบธรรมเนียม
ประเพณี และสถาบันที่ล้าสมัย ระดับการศึกษาของประชาชนยังต่าอยู่ การขาดความรู้ความชานาญทางเทคนิค
เกี่ยวกับอุตสาหกรรม ระบบการยึดถือยึดครองที่ดินที่ล้าสมัย ตลอดจนชีวิตทางเศรษฐกิจที่ผูกพันอย่างแน่นแฟ้นกับ
ระบบครอบครัวเผ่าพันธุ์วงศ์ตระกูล หรือกลุ่มและชุมชนของตนมากเกินไป เป็นต้น
2. ลักษณะสังคมที่พัฒนาแล้ว
ในสังคมที่พัฒนาเต็มที่แล้วจะเห็นว่าคนมีคุณค่าเหมือนกัน หรือเท่ากัน คือ มีฐานะความเป็นมนุษย์
เหมือนกัน โดยไม่มีความรังเกียจในเรื่องชาติ ชั้น วรรณะ ซึ่งเป็นไปตามคติที่ว่า “เหนือชาติอื่นใด คือ มนุษยชาติ”
แต่ในด้านของแต่ละคนแล้วทุกคนจะมีเสรีภาพอิสรภาพมาก คือ จะไม่ถูกคนหรือสังคมอื่นกีดกัน มีอิสระที่จะเลือก
งาน ที่อยู่ คู่ครอง ศาสนา เพื่อน พรรคการเมือง เป็นต้น ที่คนนิยมชมชอบจะเห็นว่าในสังคมที่พัฒนาแล้วคนจะ
ไม่ยุ่งเกี่ยวในเรื่องส่วนตัวของผู้อื่น เมื่อพบปะกันตามท้องถนนก็ไม่มีการโอภาปราศรัย ภาวะนี้เป็นสิ่งจาเป็นที่จะรักษา
อิสรภาพของแต่ละคนในชุมชนหนาแน่นไว้ แต่ถ้ามีเหตุร้ายภยันตรายสาธารณะเกิดขึ้น เช่น น้าท่วม ไฟไหม้ คน
เหล่านั้นจะหันหน้าเข้าหากัน ร่วมมือกันช่วยปัดเป่าภัยพิบัติดังกล่าว เพราะถือว่าเป็นการช่วยเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน เป็น
ของธรรมดาที่จะเห็นคนส่งเงินไปช่วยองค์การกุศลสาธารณะกันอย่างเข้มแข็ง โดยไม่ทราบว่ากองการกุศลจะนาเงินนั้น
ไปใช้อย่างไหนเมื่อใด
3. ลักษณะสังคมที่ยังไม่พัฒนา (Lack of development) และสังคมกึ่งพัฒนาในรูปพัฒนาเทียมแฝง
(pseudomorphic development)
3.1 สังคมที่ยังไม่พัฒนาจะมีลักษณะสังคมที่ตัดตอนกัน คือ ถือว่าทุกคนในหมู่พวกของตนเป็นพวก
เดียวกัน ต่างพวกเป็นศัตรู นอกจากนั้นยังได้แบ่งคนออกตามชาติ ชั้น วรรณะของบุคคล ทาให้เกิดความแตกแยก
เป็นหมู่เป็นเหล่า เมื่อสังคมมีลักษณะตัดตอนกันแต่ละคนจึงถูกจากัดขอบเขตการติดต่อเกี่ยวข้องซึ่งกันและกัน จึงต้อง
มีการกาหนดวิธีปฏิบัติต่อกันอย่างเพื่อนฝูง อย่างคนแก่กับเด็ก ข้ากับเจ้า เป็นต้น
3.2 สังคมกึ่งพัฒนาในรูปพัฒนาเทียมแฝง ซึ่งได้รับอิทธิพลของการพัฒนาจากสังคมอื่นมาใช้ในสังคมตน
โดยส่วนรวมอาจมีการยอมรับนับถือความสามารถของบุคคล เป็นกุญแจของความสาเร็จที่จะเคลื่อนไหวเลื่อนฐานะใน
สังคมได้ แต่ความเป็นจริงแล้วเป็นไปได้ยาก เช่น สถาบันการศึกษา ไม่เพียงพอที่จะเปิดโอกาสให้แก่ทุกคน และแม้
จะได้รับการศึกษามาดีแล้วหรือเป็นผู้มีความสามารถดี ก็จะไม่ได้รับเข้าทางานในตาแหน่งสาคัญ ๆ หากไม่ใช่พรรคพวก
ของคนในชั้นผู้นา ฉะนั้นตามความเป็นจริงแล้วการเคลื่อนไหวทางสังคมยังเป็นคาขวัญอยู่ ในด้านตัวบุคคลก็เช่นกัน
ส่วนมากศึกษาเพื่อให้ได้ปริญญาสูง ๆ จากมหาวิทยาลัยดี ๆ เพื่อเป็นกุญแจหรือทางลัดไปสู่ความสาเร็จการงานโดยเร็ว
โดยไม่ได้ใช้ความรู้ที่ได้รับมาใช้ทาประโยชน์ตามที่เรียนอย่างแท้จริง ส่วนมากจะไม่ค่อยยอมมีชีวิตในวงการศึกษาและ
วิจัยจริง ๆ หากมาทาอาชีพสอนก็มักจะสอนและวิจัยไปในแนวที่ทางราชการต้องการ ไม่ให้ใช้ปัญญาเต็มที่เพราะอิสระ
หน้า 55
ทางการศึกษาเป็นเพียงคาขวัญเหมือนกัน ฉะนั้นผู้ทรงคุณวุฒิและผู้ทรงภูมิปัญญา (intellectual) จึงกลายเป็น
ปัญญาชน (intelligentsia) หมายถึงว่า เป็นผู้มีความรู้ที่นามาปฏิบัติไม่ได้ หรือความหมายที่ว่า ไม่พอใจในลักษณะ
สังคมที่เป็นอยู่ ในด้านบุคคลนี้ สภาพปัญญาชนมิได้จากัดเฉพาะในวงการศึกษาเท่านั้น หากแต่ยังเกิดในวงการทั่ว ๆ
ไป เช่น ในการโฆษณาสินค้าและมหกรรมต่าง ๆ มักเป็นการแสดงให้เห็นสิ่งที่น่ามีน่าใช้ โดยผู้ดูผู้ชมส่วนมากยังไม่มี
โอกาสหรือทุนทรัพย์เพียงพอที่จะหาซื้อมาใช้ได้ การสร้างผลแสดง (demonstration effect) จึงเป็นการสร้างความไม่
พอใจ ความอึดอัดใจแบบเดียวกับสภาพปัญญาชนเหมือนกัน เพราะโลกของความจริงกับความฝันยังลงรอยกันไม่ได้
4. ลักษณะการพัฒนาสังคม
4.1 วัตถุประสงค์ของการพัฒนาสังคมขององค์การสหประชาชาติ คือ การนามาซึ่งการดารงชีวิตที่ดีขึ้น
สาหรับประชาชนทุกคน เพราะเป้าหมายสุดท้ายของการพัฒนาก็คือ “ประชาชน” แต่ประชาชนไม่ควรจะเป็นเพียงผู้รับ
ผลของการพัฒนาแต่ฝ่ายเดียว ประชาชนเองจะต้องมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมด้วย การพัฒนาอย่างสมบูรณ์จะ
เกิดขึ้นไม่ได้ถ้าปราศจากการเข้ามามีส่วนร่วมของประชาชน ดังนั้นการให้การศึกษาเพื่อการพัฒนาจึงต้องมุ่งไปที่การช่วย
ให้ประชาชนได้เข้าใจเหตุผลของปัญหาที่เกิดขึ้นแก่ตัวเขาเอง ปลุกให้รู้สึกว่าเขาเป็นมนุษย์คนหนึ่งซึ่งมีสิทธิและเสรีภาพ
มีอานาจในการเรียกร้องความยุติธรรมจากสังคมได้ ซึ่งรากฐานของความยุติธรรมทางสังคมอันเป็นเป้าหมายสุดท้าย
อันหนึ่งของการพัฒนาทางสังคม คือ สิทธิมนุษยชน ได้แก่ สิทธิในด้านชีวิต ทรัพย์สิน ความมั่นคง และปลอดภัย
อิสระและการสื่อสารงาน การเลือกงานอย่างมีเสรี การพักผ่อนและการบันเทิงต่าง ๆ อาหาร การแต่งงาน และมี
ครอบครัว อิสรภาพเกี่ยวกับความคิดเห็น ศาสนา เป็นต้น นอกจากส่งเสริมในด้านสิทธิมนุษยชนแล้ว ยังมี
มาตรการอื่นที่อาจนามาใช้ในการพัฒนาสังคม ได้แก่ ใช้การวางแผนแบบรวม (Unified Planning Approach) ทั้ง
ในระดับท้องถิ่น ระดับภาค และระดับชาติ โดยให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมโดยผ่านผู้แทนที่เขาเลือกเข้ามา เจตนารมณ์
ทางการเมืองที่มีต่อการพัฒนาการสร้างความสานึกรับผิดชอบในหมู่ประชาชน การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประชาชน
ผู้นา และสื่อแห่งการเปลี่ยนแปลง สร้างทัศนคติใหม่ ๆ ให้กับประชาชน การสร้างความเข้าใจต่อการเปลี่ยนแปลงของ
โลก และการสร้างความเข้าใจต่อสาเหตุของการเปลี่ยนแปลง
Myrdall นักวิชาการได้ให้ข้อคิดในการพัฒนาทางสังคมในเอเชียไว้ว่า การปฏิรูปภายในประเทศเป็นสิ่งจาเป็น
ก่อนที่ประเทศต่าง ๆ จะสามารถมีการพัฒนาได้ การปฏิรูปภายในประเทศที่จะต้องทา คือ การปฏิรูปที่ดิน การปฏิรูป
ทางการศึกษา การกาหนดนโยบายด้านประชากร การลดการทุจริตในหน้าที่ และมีมาตรการในการส่งเสริมความ
ยุติธรรมทางสังคม
4.2 การศึกษาจะมีส่วนช่วยในการพัฒนาสังคมเป็นอย่างมาก โดยจะช่วยให้มาตรฐานความเป็นอยู่ของ
ประชาชนสูงขึ้น มีความเป็นอยู่และมีวัฒนธรรมสูง การศึกษาจะช่วยปรุงแต่ง รักษา แก้ไข และถ่ายทอดวัฒนธรรม
อันดีงามจากคนรุ่นหนึ่งไปอีกรุ่นหนึ่ง นักศึกษาจึงต้องสรุปกาหนดนโยบายอย่างแน่นอนว่าพลเมืองดีมีวัฒนธรรมนั้น
จะต้องมีอย่างไรบ้าง และมีวัฒนธรรมอย่างไรบ้าง เพื่อเป็นมาตรฐานในการพัฒนาสังคม
4.3 การพัฒนาสังคมในเมือง เป็นปัญหาสังคมที่มีเอกลักษณ์แตกต่างไปจากสังคมชนบท เนื่องจากความ
หนาแน่นของประชาชรและการผังเมืองที่ไม่ถูกต้อง ก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ มากมาย เช่น ปัญหาการจราจร ปัญหา
การคมนาคม ปัญหาที่อยู่อาศัย ปัญหาอาชีพ ปัญหาการครองชีพ ปัญหาการศึกษา ปัญหาอาชญากรรม ปัญหาการ
กาจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล ปัญหาโสเภณี ปัญหาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ปัญหาการระบายน้าโสโครกและน้าฝน
หน้า 56
ปัญหาด้านสาธารณสุข ปัญหาอากาศเสีย ปัญหายาเสพติด ปัญหาคนชราและคนพิการ ปัญหาบริการของรัฐ ปัญหา
ความรับผิดชอบของประชาชนต่อท้องถิ่น ปัญหาการสมรส และปัญหาการปกครอง เป็นต้น ซึ่งต้องมีหลักการแก้ไข
ประกอบด้วย การกาหนดผังเมืองที่ถูกต้องและสมบูรณ์แบบ การกาหนดจานวนประชากรที่พึงจะอยู่อาศัยในเมืองให้มี
ความแน่นอน การปรับปรุงองค์บุคคลที่เกี่ยวข้องให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น การจัดสรรงบประมาณให้เพียงพอกับการ
ดาเนินงาน และคานึงถึงความสาคัญก่อนหลัง การแก้ไขเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับเทศบัญญัติ
ให้เหมาะสมกับภาวะปัจจุบัน รวมทั้งให้คลุมไปถึงภาวะในอนาคตด้วย
4.4 การพัฒนาสังคมชนบท ปัญหาสังคมในชนบทที่สาคัญอันเป็นอุปสรรคต่อความเจริญของประเทศและ
จาเป็นต้องแก้ไขโดยรีบด่วนมี 5 ประการ คือ ปัญหาทางด้านการเมืองและการปกครอง ปัญหาด้านการศึกษา
ปัญหาด้านอนามัย ปัญหาด้านเศรษฐกิจ และปัญหาในด้านอื่น ๆ เกี่ยวกับสังคม ซึ่งจะต้องนาเอาการพัฒนาชุมชนมา
ใช้แก้ปัญหาในชนบทดังกล่าว โดยมีจุดมุ่งไปสู่ตัวประชาชนเพื่อพัฒนาตัวบุคคลโดยวิธีส่งเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลไปสู่
หมู่บ้านชนบท และเข้าร่วมสัมพันธ์คลุกคลีใกล้ชิดกับประชาชนโดยต้องการสร้างทัศนะหรือแนวทางที่ถูกต้องให้
ประชาชนยึดถือเป็นหลักปฏิบัติในการปรับปรุงวิถีชีวิตของตนเองและของชุมชนให้ก้าวหน้า วัตถุประสงค์ของการพัฒนา
ชุมชนต้องการจะให้ประชาชนรู้จักใช้ความคิดริเริ่มเอง หากไม่มีความคิดริเริ่มก็ต้องใช้วิธีการยั่วยุ เร่งเร้า ส่งเสริมให้
เกิดความคิด หรือยอมรับเอาแนวความคิดใหม่ ๆ ที่สมควรจะเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับวิธีการดารงชีวิตและการประกอบ
อาชีพเดิม
การพัฒนาชุมชนทั้งการพัฒนาสังคมในเมืองและสังคมชนบทนั้น มีกรรมวิธีดาเนินงานให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
2 ประการ ดังนี้
1. การพัฒนาทางด้านรูปธรรมหรือการพัฒนาทางด้านวัตถุ เพื่อส่งเสริมให้เกิดมีการเปลี่ยนแปลงในสิ่งที่เห็น
โดยชัดเจน เช่น การพัฒนาสิ่งแวดล้อมในชุมชน
2. การพัฒนาทางด้านนามธรรม หรือการพัฒนาทางด้านจิตใจให้ประชาชนสามารถเป็นผู้นา รู้จักการ
ตัดสินใจ และมีการทางานร่วมกัน รู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ในทางเศรษฐกิจและสังคม
4.5 การพัฒนาสังคมเป็นการเปลี่ยนแปลงทางสังคม โดยรัฐต้องมีโครงการหลายอย่างเพื่อปรับปรุง
สภาพแวดล้อมและให้โอกาสแก่บุคคลที่จะปรับปรุงยกฐานะตัวเองด้วยการศึกษา โดยจัดทาโครงการพัฒนาการศึกษา
พัฒนากาลังคน พัฒนาชุมชนทั้งในชนบทและในเมือง โครงการอาคารสงเคราะห์ โครงการปรับปรุงการอนามัยและ
สุขาภิบาล โครงการกาจัดแหล่งเสื่อมโทรม โครงการสังคมสงเคราะห์ประเภทต่าง ๆ โครงการเหล่านี้เป็นเรืองต้องใช้เงิน
เป็นจานวนมาก จะต้องเลือกทาในด้านที่จาเป็นจริง ๆ ก่อนแล้วค่อยเพิ่มขยายไปตามลาดับ โครงการที่จะต้องกระทา
โดยด่วน ได้แก่ โครงการที่จะช่วยยกฐานะของประชาชนให้เพิ่มผลผลิตการเกษตร โครงการปฏิรูปที่ดิน โครงการ
สินเชื่อการเกษตร และโครงการเร่งรัดพัฒนาชนบท เป็นต้น
4.6 การมีโครงการพัฒนาสังคมที่ไม่ต้องใช้เงินมาก แต่เป็นการสร้างคุณค่าและทัศนคติแบบใหม่ให้แก่
ประชาชนโดยเฉพาะชาวชนบท และผู้ใช้แรงงานซึ่งเป็นกาลังคนส่วนใหญ่ของประเทศ อันจะช่วยให้เกิดความ
กระตือรือร้นที่จะปรับปรุงตนเอง และทาให้สภาพโดยส่วนรวมของประเทศดีขึ้น เพราะได้รับการจูงใจในการพัฒนา
ตนเองในด้านต่าง ๆ มีความเชื่อมั่นในตนเอง และมีกาลังใจที่จะปรับปรุงตัวเองให้มีนิสัยในการทางาน รสนิยม
ปรัชญาชีวิต การมองโลก การครองชีพ การควบคุมตนเอง อันเป็นไปในทิศทางที่ถูกต้อง มิฉะนั้นบางประเทศปัญหา
หน้า 57
ความยากจนอาจทาให้ประชาชนไม่พอใจระบบการเมืองและสังคม นาไปสู่ปัญหาอาชญากรรมและความคิดเห็นรุนแรง
ทางการเมืองได้ มีโครงการหลายอย่างที่รัฐบาลอาจทาได้และควรถือเป็นโครงการที่ช่วยในการพัฒนาประเทศเท่า ๆ กับ
โครงการลงทุนทางเศรษฐกิจโดยตรง เช่น โครงการเข้าถึงจิตใจประชาชนในชนบท โครงการพัฒนาการเคลื่อนที่
โครงการพัฒนาผู้นาท้องถิ่น โครงการศึกษาผู้ใหญ่ โครงการปรับปรุงวัด โครงการฝึกอบรมเยาวชน โครงการ
สื่อมวลชนสาหรับชนบท โครงการสร้างพื้นฐานสาหรับประชาธิปไตย โครงการเพื่อความเข้าใจอันดีระหว่างชาวเมืองและ
ชาวชนบท เช่น ให้อาจารย์ นิสิต นักศึกษามหาวิทยาลัย ได้ออกไปศึกษาสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของชาวชนบทใน
ระหว่างปิดภาคการศึกษา ในขณะเดียวกันก็ให้ถือโอกาสช่วยพัฒนาให้ความรู้แก่ชาวชนบทในเรื่องต่าง ๆ หรือจัดให้
ผู้นาท้องถิ่นและเยาวชนจากชนบทได้มาเห็นและเข้าใจปัญหาชีวิตและความเป็นอยู่ในเมือง เป็นต้น
4.7 เงื่อนไขที่จะนาไปสู่ความสาเร็จในการพัฒนาประเทศ เงื่อนไขสาคัญประการแรก คือ ชนชั้นนาซึ่ง
เป็นผู้มีอานาจทางการเมืองและเศรษฐกิจ ตลอดจนนักวิชาการจะต้องมีความเข้าใจแท้จริงในปัญหาการพัฒนาประเทศ
วางตัวเป็นกลาง กล้าเผชิญความจริง และยึดประโยชน์ส่วนรวมของประเทศเป็นหลัก ต้องเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลง
ทางสังคมซึ่งซับซ้อน อันจะช่วยให้เข้าใจปัญหาสังคมที่ต้องการพัฒนาได้อย่างถูกต้อง
การพัฒนาทางการเมือง
1. ความหมาย
เฮาเวิด ริกกินส์ (Howard Wriggins) ให้ความหมายของการพัฒนาทางการเมืองไว้ว่า เป็นความ
เจริญก้าวหน้าของสถาบันและวิธีการดาเนินการทางการเมือง ซึ่งช่วยให้ระบบการเมืองได้จัดการกับบรรดาปัญหาพื้นฐาน
ทางการเมืองได้อย่างมีประสิทธิผลยิ่งขึ้นในระยะสั้น ในขณะเดียวกันก็ปฏิบัติงานอย่างมีความรับผิดชอบมากขึ้นต่อ
ความต้องการของประชาชนในระยะเวลาอันยาวนานข้างหน้า
2. ลักษณะทางการเมืองที่พัฒนาแล้ว
การเมืองที่พัฒนาแล้วฝ่ายมีอานาจทางการเมืองซึ่งไม่ว่าจะได้อานาจโดยความยินยอมพร้อมใจของประชาชน
หรือไม่ก็ตาม จะต้องมีความรับผิดชอบและสนองตอบต่อความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง ไม่ใช่มีไว้แต่
กฎหมายระเบียบแบบแผนว่าจะสนองตอบ แต่โดยแท้จริงแล้วไม่ได้ทาหรือทาไม่ได้ ในด้านของประชาชนแต่ละคนนั้น
มีฐานะเป็นพลเมือง คือ เป็นผู้มีส่วนมีเสียงในกระบวนการทางการเมืองของประเทศ ซึ่งผู้ปกครองประเทศจะต้อง
เหลียวแลและรับผิดชอบต่อ ไม่ใช่มีฐานะเป็นไพร่ฟ้าข้าแผ่นดิน
3. ลักษณะทางการเมืองที่ยังไม่พัฒนา (lack of development) และกึ่งพัฒนาในรูปพัฒนาเทียมแฝง
(pseudomorphic development)
3.1 การเมืองที่ยังไม่พัฒนาไม่มีสถาบันการปกครองที่รับผิดชอบต่อประชาชนแต่จะมีในรูปของสถาบันอัน
ศักดิ์สิทธิ์ โดยอาจใช้ศาสนาเป็นเครื่องค้าจุนราชบัลลังก์ คือกษัตริย์เป็นสมมติเทวราช เจ้าบ้านผ่านเมืองเป็นพระเนตร
พระกรรณ ทางด้านประชาชนก็มีลักษณะเป็นไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินทีทาตามคาสั่งกษัตริย์ ไม่ใช่ทาตามเพราะถือว่าเป็น
กฎหมายแต่ทาเพราะเคารพนับถือ คือ มีความนับถือในวาจาสิทธิ์ ในอานาจของพระเจ้า เป็นต้น
3.2 การเมืองกึ่งพัฒนาในรูปพัฒนาเทียมแฝง มีรูปหรือร่องรอยของการปกครองเหมือนประเทศที่พัฒนา
แล้ว เพราะไปนาเอาแบบของเขามา เช่น เห็นประเทศอื่นมีรัฐธรรมนูญก็มีกับเขาบ้าง เห็นมีรัฐสภา มีพรรคการเมือง
หน้า 58
มีศาล มีคณะรัฐมนตรี ก็มีบ้าง แต่ทั้งนี้สิ่งที่นามานั้นเป็นเพียงรูปฟอร์มแต่ไม่ได้นาเอาเนื้อหาองค์ประกอบมาด้วย ผล
ในการปฏิบัติจึงไม่เหมือนกัน เช่น มีพรรคมากมายเป็นดอกเห็ด มีรัฐสภาที่คอยยกมือ มีศาลที่ไม่มีอิสระ และมีนัก
กวนเมืองแทนนักการเมือง และมีการเลือกตั้งที่เป็นเพียงพิธีการ เป็นต้น
ส่วนทางด้านประชาชนแต่ละคนก็ยังไม่ได้เป็นพลเมืองเต็มที่เหมือนในระบอบการเมืองที่พัฒนาแล้ว ใน
ขณะเดียวกันก็เลิกนับถือผู้ปกครองที่เป็นแบบอย่างงดงามดังแต่ก่อน คงเป็นลักษณะครึ่ง ๆ กลาง ๆ เป็นเหมือนคนใน
บังคับไม่ได้ถือสิทธิเต็มที่อย่างพลเมือง และก็ไม่ไร้สิทธิเสียทีเดียว เช่น ในกรณีใช้สิทธิเลือกตั้งก็มีสิทธิอยู่ตาม
กฎหมาย แต่อาจจะใช้ไม่ได้ผลในทางปฏิบัติเพราะอาจมีคนอื่นปลอมลงไปลงชื่อเสียแล้ว หรือถึงไปลงคะแนนก็ไม่บัง
เกิดผล เพราะมีคนอื่นใช้สิทธิหลายครั้งทาให้มีเสียงเกิน 1 เสียง อันขัดกับหลักการสาคัญของการเลือกตั้ง
ผู้แทนราษฎรในระบอบประชาธิปไตย
4. ลักษณะการพัฒนาทางการเมือง
4.1 ความสนใจของประชาชนและการเข้าร่วมในกระบวนการทางการเมือง (Political Socialization and
recruitment) ในประเทศกาลังพัฒนานั้นประชาชนไม่ค่อยเข้าใจถึงคุณค่าของการเข้าร่วมในกระบวนการทางการเมือง
ของประเทศ จึงไม่ค่อยสนใจและไม่ค่อยเข้าร่วม ซึ่งถ้าประชาชนเข้าใจถึงคุณค่าก็ย่อมจะอยากเข้ามามีส่วนร่วม เช่น
อาจจะสนใจลงคะแนนเสียงถ้ารู้ว่าผู้ที่ตนเลือกเข้าไปจะใช้อานาจแทนและรักษาประโยชน์แทน ไม่ให้ถูกรบกวนหรือ
ทาลายโดยฝ่ายผู้ใช้บังคับกฎหมาย แต่ความสนใจมีน้อยถ้าชนชั้นปกครองเห็นแก่ตัวและสกัดกั้นไม่ให้ประชาชนส่วน
ใหญ่เข้าร่วมในกระบวนการทางการเมือง เช่น งดเลือกตั้ง หรือห้ามตั้งพรรคการเมือง ทั้งนี้ทัศนคติดั้งเดิมของ
ประชาชนเองก็มีส่วนร่วมเป็นอุปสรรค แต่ทั้งนี้คนรุ่นใหม่ที่ได้รับการศึกษาซึ่งเป็นกลุ่มปัญญาชนและถือว่าตนควรมีสิทธิ์
เข้าร่วมในการเมืองของประเทศ เพิ่มจานวนมากขึ้นด้วยผลการศึกษาทาให้มีการเรียกร้องและขยายตัวในการขอให้สิทธิ์
ทางการเมืองมากขึ้น
4.2 กลุ่มประโยชน์ (Interest groups) ในทางการเมือง ในประเทศที่กาลังพัฒนาไม่มีกลุ่มผลประโยชน์
เข้มแข็งพอที่จะบีบให้ชนชั้นปกครองยอมรับและรักษาผลประโยชน์ของตนเอง เพราะไม่ได้รวมตัวเป็นสมาคมใหญ่มี
จานวนมากพอที่จะสามารถทาให้เสียงเรียกร้องมีน้าหนักพอที่ฝ่ายปกครองจะต้องฟัง การที่ประเทศไม่มีกลุ่ม
ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจใหญ่มากพอที่จะสนใจเข้าร่วมในกระบวนการทางการเมืองของประเทศ มีผลทาให้กลุ่มบุคคล
ที่มีผลประโยชน์ร่วมกันเพราะอยู่ในสถาบันเดียวกัน เช่น คณะทหารและข้าราชการหรือกลุ่มอิทธิพลทางศาสนา เข้ามา
มีบทบาทคุมอานาจทางการเมืองได้ง่าย ทหารเข้ามาคุยอานาจโดยอ้างว่าเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย และความมั่นคง
ของประเทศซึ่งนานไปอาจกลายเป็นรักษาประโยชน์ของบุคคลกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่ก็จะได้รับการคัดค้านจากกลุ่ม
นักศึกษามหาวิทยาลัยซึ่งเป็นกลุ่มที่มีผลประโยชน์ร่วมกันในการคัดค้านการปกครองระบอบเผด็จการ ทั้งนี้กลุ่มชาวนา
ซึ่งเป็นกลุ่มผลประโยชน์ใหญ่ที่สุดในประเทศกาลังพัฒนาจะมีความตื่นตัวและสานึกว่าตนเป็นผู้มีอานาจแท้จริงใน
ประเทศ และต้องการใช้อิทธิพลมหาศาลด้วยตนเอง ก็จะเป็นปากเสียงในการเรียกร้องให้ชนชั้นปกครองรักษาและ
ส่งเสริมผลประโยชน์ของกลุ่มผลประโยชน์ชาวนาได้อย่างดี
4.3 การรวมกลุ่มผลประโยชน์ (Interest Aggregation) หรือพรรคการเมืองในประเทศกาลังพัฒนา ไม่
มีพรรคการเมืองซึ่งเป็นที่รวมของกลุ่มผลประโยชน์ ที่ต้องการหาทางร่วมมือกันรักษาและส่งเสริมผลประโยชน์ของพวก
ตน และต่างแข่งขันเพื่อแสวงหาอานาจทางการเมืองมักมีสมาชิกจากัด และพรรคการเมืองถูกตั้งขึ้นเพื่อเป็นเครื่องมือ
หน้า 59
ของบุคคลชั้นนาของพรรค เพื่อเป็นบันไดไปสู่อานาจทางการเมือง คนสาคัญ ๆ ที่เปลี่ยนแปลงระบบเก่ามาเป็นระบบ
ใหม่มักจะมาแยกกันตั้งพรรคการเมืองเพื่อแข่งขันเข้ามามีอานาจทางการเมือง ไม่ได้นาเอาประโยชน์ของสมาชิกของ
พรรคที่เป็นประชาชนมากาหนดเป็นแนวนโยบายของพรรค เมื่อมีพรรคการเมืองมากจนไม่มีพรรคใดมีอิทธิพลพอที่จะ
เลือกตั้งได้เด็ดขาดก็ทาให้ไม่มีเสถียรภาพทางการเมือง รัฐบาลต้องเป็นรัฐบาลผสมมีการเปลี่ยนรัฐบาลบ่อย ๆ ด้วย
สาเหตุจากนักการเมืองในพรรคต่าง ๆ ทาให้ประเทศขาดความสามัคคีและความมั่นคง เปิดโอกาสให้คณะทหารอ้าง
ความจาเป็นเข้ามาจัดระบบทางการเมือง ดังนั้นทางแก้ไขคือการทาให้กลุ่มผลประโยชน์ใหญ่ ๆ ทางเศรษฐกิจของ
ประเทศเข้าร่วมกันจัดตั้งพรรคการเมืองและยึดเอาผลประโยชน์ของกลุ่มเป็นนโยบายของพรรคที่จะดาเนินงานในฐานะ
เป็นรัฐบาลต่อไปเมื่อสมาชิกของพรรคได้รับเลือกตั้งเข้าไปมีเสียงข้างมากในสภา
4.4 การแพร่ข่าวทางการเมืองและมติมหาชน (P0litical Communication) สื่อมวลชน เช่น
หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ ในประเทศกาลังพัฒนาส่วนใหญ่มีเฉพาะในเมืองใหญ่ ประชาชนในชนบทมีความรู้
เกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองน้อยกว่าประชาชนในเมือง เพราะไม่มีโอกาสทราบข่าวสารเพียงพอ ทาให้ขาด
ความสนใจในการเมือง และมติมหาชนที่เกิดอาจไม่มีน้าหนักเป็นเสียงของประชาชนทั้งชาติ นอกจากนี้การที่ชนชั้น
ปกครองจากัดสิทธิสื่อมวลชนในการแพร่ข่าวการเมืองก็เป็นอุปสรรคในการพัฒนาการเมือง เพราะประชาชนจะได้ภาพ
ผิด ๆ ทางการเมืองของประเทศ แล้วข่าวลือจะทาให้ประชาชนสับสน ความวิตกกังวลไม่พอใจก็เกิดทาให้เสถียรภาพ
ทางการเมืองถูกทาลายได้ ฉะนั้นทางที่จะพัฒนาคือรัฐบาลต้องพยายามเผยแพร่ข่าวให้ประชาชนได้รับทราบความ
เคลื่อนไหวทางการเมืองอย่างถูกต้อง ไม่มีการปิดบังความเลวร้ายทางการเมืองไว้
4.5. การใช้อานาจในการปกครองประเทศ (The Authoritative Functions) ประเทศกาลังพัฒนาจะลอก
แบบการจัดสถาบันปกครองประเทศมาจากยุโรปและอเมริกา โดยแยกอานาจปกครองออกเป็นฝ่ายนิติบัญญัติ บริหาร
และตุลาการ แต่สถาบันเหล่านั้นไม่ได้ทาหน้าที่ที่กาหนด เช่น รัฐสภาไม่ใคร่ทราบถึงหน้าที่ของตนและยอมเป็น
เครื่องมือของฝ่ายบริหาร ฝ่ายบริหารมีความโน้มเอียงที่จะเข้าควบคุมฝ่ายนิติบัญญัติและตุลาการ นอกจากนี้ยังมีความ
โน้มเอียงที่จะรวมอานาจไว้ที่ส่วนกลางแทนที่จะกระจายอานาจไปสู่ภูมิภาค และให้ประชาชนในท้องถิ่นมีการปกครอง
ซึ่งจะช่วยให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการใช้อานาจปกครองประเทศ ซึ่งแนวทางที่จะพัฒนาควรยึดแบบประเทศ
ประชาธิปไตยที่พัฒนาแล้ว ซึ่งถือเอาการปกครองตนเองของท้องถิ่นเป็นการวางรากฐานของระบอบประชาธิปไตยเพราะ
ประชาชนมีส่วนได้เสียเป็นอันดับแรกและโดยตรงต่อความเจริญของท้องถิ่นตน และการปกครองท้องถิ่นเป็นการสร้าง
ความชานาญทางการเมืองระดับประเทศให้แก่ประชาชน ประชาชนจะสนใจถ้าเป็นผู้เสียภาษีออกค่าใช้จ่ายในการบูรณะ
ท้องถิ่นของตนเอง โดยไม่ต้องพึ่งรัฐบาลกลางนอกจากในรูปของการกู้ยืม ผู้สมัครรับเลือกตั้งในการปกครองท้องถิ่นจะ
สามารถเสนอโครงการที่จะใช้จ่ายเงินให้ประชาชนพิจารณา รัฐบาลกลางเองควรจะเพียงแต่ดูแลทั่วไป ไม่ควรมา
ควบคุมโดยตรงและต้องยอมให้ท้องถิ่นมีสิทธิเก็บภาษีบางอย่างโดยตรงเพื่อดาเนินงานส่วนท้องถิ่น เช่น ภาษีทรัพย์สิน
ภาษีโภคภัณฑ์ แต่รัฐบาลกลางเองยังคงมีรายได้จากส่วนใหญ่ คือ ภาษีเงินได้ ในทางวิชาการถือว่ายิ่งมีกระบวนการ
ประชาธิปไตยในท้องถิ่นมากขึ้นเท่าใด ก็จะส่งผลบังคับให้การเมืองระดับชาติมีความเป็นเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น หรือ
รวดเร็วขึ้นด้วย
หน้า 60
การพัฒนาทางเศรษฐกิจ (economic development)
1. ความหมาย
ในประเทศที่ประชาชนมีมาตรฐานการครองชีพต่า การพัฒนาเศรษฐกิจหมายถึงการพัฒนาสถานภาพของ
ประเทศ โดยทั่วไปแล้ว หมายถึง การทาให้มีมาตรฐานการครองชีพสูงขึ้นกว่าเดิม และยังหมายถึง การเพิ่มผลผลิต
โดยใช้วิธีที่ดีกว่าเดิมในการผลิตและกระจายสินค้าและบริการ แต่ทั้งนี้การพัฒนาเศรษฐกิจเป็นการพัฒนาเพียงด้าน
เดียวของสังคมโดยส่วนรวมทั้งหมด ได้แก่ การเมือง สังคม วัฒนธรรม และอื่น ๆ
2. ลักษณะทางเศรษฐกิจที่พัฒนาแล้ว
ในสังคมที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจแล้วประชาชนทั่วไปในสังคมนั้น ๆ สามารถวินิจฉัยปัญหาทางเศรษฐกิจไป
ตามหลักเหตุผลทางเศรษฐกิจอย่างเดียว โดยไม่ต้องกังวลถึงปัจจัยทางการเมือง ศาสนา มิตรภาพ เป็นต้น และใน
ส่วนของแต่ละบุคคลนั้นทุกคนก็มีน้าใจเป็นผู้ประกอบการ ทั้งนี้คือทาอะไรก็พิจารณาว่าตนจะได้กาไรขาดทุนเพียงใด
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดจากสังคมแบบนี้คือ ราคาสินค้าในตลาดก็เป็นไปตามหลักอุปสงค์อุปทานแท้ ไม่ใช่แพงเพราะต้อง
เสียเบี้ยบ้ายรายทางให้ผู้มีอานาจ การกาหนดราคาสินค้าเป็นไปตามเกณฑ์ทางเศรษฐกิจแท้ ส่วนทางด้านบุคคลนั้นเมื่อ
ก้าวไปซื้อของหรือบริการใด ๆ ที่ไหน ๆ ก็คิดว่า ตนจะต้องซื้อตามราคาที่กาหนดไว้ จะหวังว่าผู้ขายจะลดราคาให้
เพราะเป็นเพื่อนกับลูกสาวหาได้ไม่ ฉะนั้นในบางกรณีเราจึงได้ยินเรื่องที่พ่อแม่ให้ลูกยืมเงินไปเรียนหนังสือ และเมื่อลูก
เติบโตแล้วถ้าพ่อแม่มาแบ่งห้องอยู่ด้วยก็ต้องช่วยกันเสียค่าเช่าบ้าน เป็นต้น
3. ลักษณะทางเศรษฐกิจที่ยังไม่พัฒนา (lackof development) กึ่งพัฒนาในรูปพัฒนาเทียมแฝง
(pseudomorphic development)
3.1 เศรษฐกิจที่ยังไม่พัฒนาไม่มีตลาดนั้น บุคคลส่วนใหญ่แลกเปลี่ยนสิ่งของซึ่งกันและกัน ต่างตอบ
แทนกัน เช่น วันนี้ช่วยเขาทานา พรุ่งนี้เขาช่วยเรา แต่ละคนมีความรู้สึกผูกพันต่อกัน มีการแบ่งสู่กันกิน
3.2 เศรษฐกิจกึ่งพัฒนาในรูปพัฒนาเทียมแฝง จะมีสภาพอยู่กึ่งกลางระหว่างการถือหลักเหตุผลและหลัก
ปฏิบัติตอบแทน คือโดยส่วนรวมประชาชนจะคิกจากแง่เศรษฐศาสตร์แท้ ๆ อย่างเดียวไม่พอ ต้องคานึงถึง
องค์ประกอบอื่น ๆ เช่น แทนที่จะแสวงหาความร่ารวยด้วยวิธีลงทุนทาการค้าแบบสังคมที่พัฒนาแล้ว กลับเป็นว่าถ้าทา
การค้าขายอาจถูกอิทธิพลมืด ฉะนั้นถ้าหวังรวยอาจใช้เงินไปซื้อเสียงหาตาแหน่งทางการเมืองเสียก่อน เมื่อมีตาแหน่ง
แล้วจึงกอบโกยภายหลังจะรวยเร็วกว่า สภาพตลาดที่แท้จริงจึงยังไม่เกิดขึ้นทางด้านตัวบุคคลผู้ประกอบการทาง
เศรษฐกิจแทนที่จะก้มหน้าทาการค้าขายตรงไปตรงมาก็กลับทาไม่ได้ เพราะในสังคมรูปนี้มักถือว่าอาชีพขายเป็นอาชีพที่
ไร้เกียรติ ผู้ทาการค้าขายจึงได้แก่คนต่างด้าวที่อยู่นอกรีดนอกวงการที่จะไม่มีโอกาสเป็นชนชั้นนาของประเทศ ฉะนั้นใน
ทวีปเอเชียการค้าขายจึงอยู่ในมือของคนจีนและอินเดียต่างด้าว ส่วนยุโรปและอเมริกามักได้แก่ พวกยิวหรือไอริสต่าง
ด้าว ถ้าคนในชาติเดียวกันไปทาการค้าเข้าก็มักจะประสบความยากลาบาก เพราะต้องคิดราคาส่วนลดกับเพื่อนฝูงหรือ
ถูกซื้อเชื่อจนล้มละลายไป
4. ลักษณะปัญหาทางเศรษฐกิจของประเทศด้อยพัฒนาโดยทั่วไป
4.1 ทรัพยากรหรือปัจจัยการผลิต มักจะถูกมองว่าขาดคลนอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง เช่น มีทุน
น้อย ความรู้ทางเทคโนโลยีล้าหลัง ขาดผู้ประกอบการ หรือทรัพยากรธรรมชาติไม่อานวย และมักจะมีนโยบายจัดหา
เพิ่มเติมปัจจัยการผลิตที่ขาด เช่น เพิ่มการออมและการลงทุน การจัดกาความรู้ด้านวิชาการจากต่างประเทศ และการ
หน้า 61
ขยายรัฐวิสาหกิจของรัฐเพื่อชดเชยกับการมีผู้ประกอบการเอกชนไม่เพียงพอ แต่ความจริงแล้วยังมีทรัพยากรหรือปัจจัย
การผลิตที่อาจนาไปใช้ในการพัฒนาได้อีกเป็นจานวนมาก แต่ยังถูกใช้ไม่เต็มที่หรือถูกใช้ไปในทางไม่เกิดผลประโยชน์แก่
เศรษฐกิจแท้จริง เช่น แรงงานยังได้ทางานไม่เต็มที่ การประกอบธุรกิจที่มีอยู่ไม่น้อยนั้น บางประเภทไม่ค่อยจะเป็น
ประโยชน์แก่การพัฒนาเศรษฐกิจ เช่น การกักตุน การค้าแบบเก็งกาไร การปลูกสร้างอาคารให้เช่า เป็นต้น
4.2 ไม่ได้ใช้การออมให้เกิดประโยชน์เต็มที่ เช่น ออมเก็บไว้เฉย ๆ และยังสามารถเพิ่มการออมได้อีก
มาก เช่น การจัดงานพิธีรีตองอย่างหรูหราสิ้นเปลื้องและการใช้จ่ายเงินเพื่อโอ้อวดหรือการบริโภคเอาอย่าง ซึ่งการใช้
จ่ายบริโภคเหล่านี้สามารถลดลงได้อีกมาก
4.3 ความรู้ทางเทคนิคซึ่งเป็นปัจจัยการผลิตที่สาคัญซึ่งยังขาดอยู่ ประเทศด้อยพัฒนาหรือกาลังพัฒนา
สามารถจะเรียนรู้และนาเอาความรู้ทางเทคนิคที่ผ่านการทดลองและใช้ในประเทศพัฒนาแล้วมาใช้เป็นประโยชน์ได้
5. แนวทางการพัฒนาทางเศรษฐกิจ
ปัญหาของการพัฒนาเศรษฐกิจอยู่ที่ว่าทาอย่างไรจึงจะนาเอาปัจจัยการผลิตหรือทรัพยากรที่มีอยู่แต่ยังกระจัด
กระจาย ยังไม่ถูกใช้หรือใช้ผิด ๆ มาประกอบกันและใช้ให้เป็นประโยชน์อย่างเต็มที่ สิ่งที่ขาดคือการตัดสินใจนา
ทรัพยากรที่มีอยู่แล้วมาใช้ในการพัฒนา ดังนั้นการแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจของประเทศ มีดังนี้
5.1 ต้องหาสิ่งที่จะช่วยผลักดัน (pressures) และชักนา (inducement) ให้มีการตัดสินใจระดม
ทรัพยากร และปัจจัยการผลิตที่มีอยู่แล้วมาใช้ให้เป็นประโยชน์แก่การพัฒนามากที่สุด
5.2 ต้องมีความสามารถในการตัดสินใจที่จะพัฒนา จะต้องสร้างบรรยากาศทางจิตใจให้เหมาะสม คือ
ต้องเข้าใจว่าผลประโยชน์ส่วนตัวอาจสอดคล้องกับผลประโยชน์ส่วนรวมได้ คือเอกชนต้องรู้สึกว่าอาจจะปรับปรุงฐานะ
ตัวเองได้ในขณะที่เศรษฐกิจของประเทศขยายตัว และสังคมต้องตระหนักว่าการที่เอกชนสามารถปรับปรุงฐานะตนเอง
ได้สาเร็จก็จะเป็นผลดีกับสังคมส่วนรวมได้ด้วย เมื่อเป็นดังนี้การตัดสินใจพัฒนา คือ ความสามารถที่จะรวบรวม
ทรัพยากรที่มีอยู่มาใช้พัฒนาประเทศอย่างจริงจังและเต็มที่จะค่อยเกิดขึ้นเอง มิฉะนั้นจะมีการคิดหนักไปทางด้านใด
ด้านหนึ่งเพียง 2 อย่าง ดังนี้
5.2.1 การเปลี่ยนแปลงแบบคานึงถึงส่วนรวม (group-focused image of change) คือเห็นว่า
ฐานะทางเศรษฐกิจของคนจะดีขึ้นก็โดยทาให้ผู้อื่นเสียเปรียบ ดังนั้นจึงเห็นว่าการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจไม่พึง
ปรารถนา เว้นแต่สมาชิกในสังคมจะได้ประโยชน์ทั่วกัน
5.2.2 การเปลี่ยนแปลงแบบคานึงถึงส่วนตัว (ego-focused image of change) เห็นว่าจะใช้
สมาชิกของสังคมก้าวหน้าไปพร้อม ๆ กันนั้นสุดวิสัย ดังนั้นจึงจึงนึกถึงแต่ตนเอง แยกตัวเองจากส่วนรวมและมุ่ง
ประโยชน์ส่วนตัวเป็นที่ตั้ง
5.3 ประเทศกาลังพัฒนาควรริเริ่มและเลือกลงทุน (autonomous investment) ในกิจการที่ไม่สมดุล
เพราะมีนักวิชาการเห็นว่าควรจะมีการจาเริญทางเศรษฐกิจแบบสมดุล (สมดุลในด้านอุปสงค์) คือให้มีการตั้ง
อุตสาหกรรมหลาย ๆ อย่างพร้อม ๆ กัน อุปทานจะก่อให้เกิดอุปสงค์ เช่น ตั้งโรงงานผลิตรองเท้า ขยาย
อุตสาหกรรมผลิตอาหาร เสื้อผ้า เครื่องใช้ต่าง ๆ พร้อม ๆ กัน รอยได้จากการประกอบอาชีพในโรงงานผลิตรองเท้า
จะถูกนามาใช้ซื้อรองเท้า อาหาร เสื้อผ้า ซึ่งจะทาให้ประสบความสาเร็จในอุตสาหกรรมทุกด้าน แต่ตามความเป็นจริง
แล้วในประเทศกาลังพัฒนาจะทาไม่ได้เช่นนั้นเพราะขาดแคลน ดังนั้น อุตสาหกรรมตั้งใหม่ในประเทศกาลังพัฒนาควร
หน้า 62
เป็นอุตสาหกรรมผลิตสินค้าชนิดที่มีอยู่แล้ว สินค้าใหม่หรือสินค้าชนิดที่เมื่อก่อนต้องสั่งซื้อจากต่างประเทศ
อุตสาหกรรมเหล่านี้ก็จะดาเนินงานไปได้เพราะมีอุปสงค์เพียงพอ
การจัดสรรทรัพยากรเพื่อการลงทุน ควรมีหลักพิจารณาว่าการลงทุนในกิจการใดจะมีกาลังกระตุ้นทาให้เกิด
การลงทุนอื่นง่ายและเร็วกว่ากัน โดยดูว่าควรเลือกทาโครงการใดก่อนถ้าเป็นสิ่งจาเป็นทั้งคู่ และต้องพิจารณาว่าควร
ตัดสินใจเริ่มโครงการใดก่อนหลัง ควรเลือกลงทุนในโครงการที่ทาให้การตัดสินใจในโครงการหลังง่ายและเร็วขึ้น เช่น
การพัฒนาอุตสาหกรรมและการพัฒนาการศึกษา ถ้าเลือกทาโครงการแรกก่อนอุปสงค์คนงานที่มีความรู้และได้รับการ
อบรมจะมากกว่าอุปทานที่มีอยู่ ทาให้การพัฒนาการศึกษาติดตามมาได้ง่าย ดีกว่าจะพัฒนาการศึกษาให้มีอุปทานก่อน
แล้วจึงไปพัฒนาอุตสาหกรรมให้เกิดอุปสงค์ทีหลัง
5.4 ถ้าเป็นไปได้ ประเทศกาลังพัฒนาควรจะลงทุนในอุตสาหกรรมที่มีผลทั้งสองด้านมากที่สุด คือเมื่อ
ลงทุนไปแล้วทาให้ไปกระตุ้นชักนาหรือผลักดันให้มีการลงทุนในอุตสาหกรรมที่เกิดก่อน เช่น อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์
กับอุตสาหกรรมกระดาษ หรืออีกประเภทหนึ่งเมื่อลงทุนไปแล้วผลผลิตของอุตสาหกรรมใหม่จะใช้เป็นวัสดุการผลิต
สาหรับอุตสาหกรรมที่ถูกกระตุ้นให้ตั้งขึ้นในภายหลัง เช่น อุตสาหกรรมเหล็กกับอุตสาหกรรมเหล็กกล้า
5.5 การลงทุนขั้นพื้นฐาน (intrastructure) เช่น การคมนาคม การขนส่ง การพลังงานไฟฟ้า เป็น
ของจาเป็น แต่กิจการเพิ่มผลผลิตโดยตรง เช่น การอุตสาหกรรมก็ต้องได้รับการพิจารณาลงทุนด้วย คือลงทุนขั้น
พื้นฐานเท่าที่มีความจาเป็นแล้วนาเอาทรัพยากรที่สงวนไว้ไปใช้ลงทุนในกิจการที่เพิ่มผลผลิตโดยตรงให้มากขึ้น
5.2 เมื่อมีการพัฒนาทั้งสังคม การเมือง และเศรษฐกิจไปพร้อม ๆ กัน คือในทางสังคมจะมีความเสมอ
ภาคเท่าเทียมกันจริง เปิดโอกาสให้คนได้เลื่อนฐานะในสังคมด้วยการศึกษา ด้วยการประกอบอาชีพสุจริต การรับ
บุคคลเข้าทางานเป็นไปตามระบบคุณวุฒิอย่างแท้จริง มิใช่เอามาแต่เพียงรูปแบบให้การศึกษาระดับพื้นฐานและระดับที่
สูงขึ้นไปอย่างทั่วถึง ซึ่งจะช่วยในทางสังคมให้ประกอบด้วยคนที่มีทัศนคติที่ถูกต้อง นอกจากนี้ยังมีความเข้าใจถึงสิทธิ
ทางการเมืองและใช้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งสงวนรักษาสิทธิทางการเมืองดังกล่าวไว้มิให้ถูกทาลายไป ในทาง
เศรษฐกิจเมื่อมีการศึกษาก็จะช่วยให้การประกอบอาชีพได้ผลตอบแทนสูงเป็นเงาตามตัว เมื่อเศรษฐกิจแต่ละบุคคลดี
เศรษฐกิจโดยส่วนรวมของประเทศจะดีตามไปด้วย มีการออมและการลงทุนที่ถูกต้อง การที่รัฐจัดโครงการทั้งที่ต้องใช้
จ่ายเงินจานวนมาก เช่น การพัฒนาการศึกษา การพัฒนาชุมชน โดยจัดลาดับก่อนหลัง และมีโครงการเข้าถึง
ประชาชน โดยไม่จาเป็นต้องใช้งบประมาณจานวนมากคือจูงใจให้ประชาชนได้มีการพัฒนาตนเองในด้านต่าง ๆ และมี
การปฏิรูปที่ดิน มีการจัดสหกรณ์ชาวนาและสหกรณ์กลุ่มของกลุ่มอาชีพต่าง ๆ โดยทั่วถึง ก็จะมีผลช่วยทั้งทาง
เศรษฐกิจ สังคม ตลอดจนขจัดปัญหาทางการเมืองพร้อมกันไปด้วย


More Related Content

Similar to Development4(1)

1942 เศรษฐกิจพอเพียง
1942 เศรษฐกิจพอเพียง1942 เศรษฐกิจพอเพียง
1942 เศรษฐกิจพอเพียงseri_101
 
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทยทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทยKlangpanya
 
หน่วยที่ 1 ลักษณะและการจัดระเบียบทางสังคม ความหมายทางสังคม
หน่วยที่ 1 ลักษณะและการจัดระเบียบทางสังคม ความหมายทางสังคมหน่วยที่ 1 ลักษณะและการจัดระเบียบทางสังคม ความหมายทางสังคม
หน่วยที่ 1 ลักษณะและการจัดระเบียบทางสังคม ความหมายทางสังคมChalit Arm'k
 
5 170819173404
5 1708191734045 170819173404
5 170819173404gam030
 
บทที่ 5
บทที่ 5บทที่ 5
บทที่ 5nattawad147
 
บทที่ 5
บทที่ 5บทที่ 5
บทที่ 5benty2443
 
บทที่ 5
บทที่ 5บทที่ 5
บทที่ 5wanneemayss
 
บทที่ 5
บทที่ 5บทที่ 5
บทที่ 5nattawad147
 
กลุ่มหมูหมี --เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
กลุ่มหมูหมี --เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนกลุ่มหมูหมี --เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
กลุ่มหมูหมี --เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนfreelance
 
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทยทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทยKlangpanya
 
บทที่ 1 ความหมายของการบริหารการพัฒนา
บทที่ 1 ความหมายของการบริหารการพัฒนาบทที่ 1 ความหมายของการบริหารการพัฒนา
บทที่ 1 ความหมายของการบริหารการพัฒนาSaiiew
 
เศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียงเศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียงbanlangkhao
 

Similar to Development4(1) (20)

1942 เศรษฐกิจพอเพียง
1942 เศรษฐกิจพอเพียง1942 เศรษฐกิจพอเพียง
1942 เศรษฐกิจพอเพียง
 
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทยทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
 
หน่วยที่ 1 ลักษณะและการจัดระเบียบทางสังคม ความหมายทางสังคม
หน่วยที่ 1 ลักษณะและการจัดระเบียบทางสังคม ความหมายทางสังคมหน่วยที่ 1 ลักษณะและการจัดระเบียบทางสังคม ความหมายทางสังคม
หน่วยที่ 1 ลักษณะและการจัดระเบียบทางสังคม ความหมายทางสังคม
 
5 170819173404
5 1708191734045 170819173404
5 170819173404
 
บทที่ 5
บทที่ 5บทที่ 5
บทที่ 5
 
5 170819173404
5 1708191734045 170819173404
5 170819173404
 
5 170819173404
5 1708191734045 170819173404
5 170819173404
 
5 170819173404
5 1708191734045 170819173404
5 170819173404
 
บทที่ 5
บทที่ 5บทที่ 5
บทที่ 5
 
บทที่ 5
บทที่ 5บทที่ 5
บทที่ 5
 
5 170819173404
5 1708191734045 170819173404
5 170819173404
 
5 170819173404
5 1708191734045 170819173404
5 170819173404
 
บทที่ 5
บทที่ 5บทที่ 5
บทที่ 5
 
บทที่ 5
บทที่ 5บทที่ 5
บทที่ 5
 
บทที่ 5
บทที่ 5บทที่ 5
บทที่ 5
 
บทที่ 5
บทที่ 5บทที่ 5
บทที่ 5
 
กลุ่มหมูหมี --เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
กลุ่มหมูหมี --เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนกลุ่มหมูหมี --เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
กลุ่มหมูหมี --เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
 
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทยทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
 
บทที่ 1 ความหมายของการบริหารการพัฒนา
บทที่ 1 ความหมายของการบริหารการพัฒนาบทที่ 1 ความหมายของการบริหารการพัฒนา
บทที่ 1 ความหมายของการบริหารการพัฒนา
 
เศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียงเศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียง
 

Development4(1)

  • 1. บทที่ 4 การพัฒนาทางสังคม การเมือง และเศรษฐกิจ ความนา การพัฒนาประเทศส่วนใหญ่ยอมรับกันว่าองค์ประกอบที่สาคัญประการหนึ่งของการบริหารการพัฒนา คือ การมุ่งเน้นถึงการพัฒนาทางเศรษฐกิจให้มีความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (Economic Growth) เป็นหลักใหญ่ ดังที่ Marle Fainsod มีความเห็นว่า ในประเทศที่กาลังพัฒนาซึ่งกาลังเปลี่ยนประเทศให้มีภาวะทันสมัย และกลายเป็น ประเทศอุตสาหกรรม (Modernization and Industrailization) การบริหารการพัฒนาโดยทั่วไปแล้วเป็นการวางแผน เพื่อให้เกิดความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ มีการกาหนดนโยบายการใช้ทรัพยากรเพื่อเพิ่มขยายรายได้ ประชาชาติ หน่วยงานบริหารใหม่ ๆ ซึ่งเรียกว่าเป็นหน่วยงานหรือกรมซึ่งมีหน้าที่ทางานเพื่อสร้างชาติ (nation-building departments) จะถูกจัดตั้งขึ้นมาเพื่อทาหน้าที่พัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศ จะดาเนินงานบริหารหน่วยงานทาง เศรษฐกิจใหม่ ๆ ของรัฐ ยกระดับผลผลิตทางการเกษตร พัฒนาทรัพยากรธรรมชาติของประเทศ ปรับปรุงขอบข่าย งานขนส่งและการสื่อสารคมนาคม ปฏิรูประบบการศึกษา และทาหน้าที่อื่น ๆ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการพัฒนา ที่ได้กาหนดไว้ ซึ่งต่างกับประเทศที่พัฒนาแล้วที่เห็นว่าเศรษฐกิจนั้นเป็นเพียงปัจจัยหนึ่งที่ต้องบริหารเพื่อให้เกิดการ พัฒนา เพราะการพัฒนาแบ่งออกเป็นการพัฒนาปัจจัย 4 ประการ คือ การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และ การบริหาร การพัฒนาเศรษฐกิจ (economic development) โดยทั่วไปหมายถึง การเพิ่มผลผลิตประชาชาติมวลรวม (gross national product) กระทาให้รายได้เฉลี่ยต่อหัว (per capita income) ของประชาชนเพิ่มสูงขึ้น ทาให้มีการ กระจายรายได้เท่าเทียมกัน (equality in distribution of income) มีมากขึ้น การพัฒนาสังคม (social development) หมายถึง การทาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสังคมซึ่งครอบคลุมทุก อย่างตั้งแต่ทาให้สภาพของประเทศมีลักษณะเป็นชุมชนเมืองไปจนถึงการทาให้ลักษณะครอบครัวขยายในสังคมหมดไป กาพัฒนาทางการเมือง (political development) หมายถึง การเพิ่มความเท่าเทียมกันในระหว่างประชาชน ให้โอกาสแก่ประชาชนในการเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้นในการเลือกผู้นาในการปกครอง ตลอดจนมีบูรณภาพแห่งชาติหรือ ความเป็นน้าหนึ่งใจเดียวกันของคนในชาติ (national cohesion) มากขึ้นกว่าเดิม ส่วน การพัฒนาการบริหาร (administrative development) หมายถึง การนาเอาระบบคุณธรรม หรือ คุณวุฒิ (merit system) มาใช้แทนระบบอุปถัมภ์มากขึ้นในการสรรหาและบรรจุคนเข้าทางานในราชการ ตลอดจนการ จัดระบบงบประมาณของทางราชการให้มีความยืดหยุ่นและมีลักษณะรวมเป็นส่วนกลางให้เป็นที่รู้และเข้าใจได้ การพัฒนาทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และการบริหาร เมื่อรวมเข้าด้วยกันทั้งหมดเรียกว่า “การ พัฒนาชาติหรือพัฒนาประเทศโดยส่วนรวม” (national development) การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และการบริหาร จะจัดทาด้านใดก่อนด้านใดหลังนั้น นักวิชาการ ให้ความเห็นไว้ว่า การพัฒนาถ้าจะให้เกิดผลดีจะต้องทาไปพร้อมกันทุกด้าน จะแบ่งแยกกันมิได้ (indivisibility of development) เพราะว่าระบบเศรษฐกิจที่มีหลักเกณฑ์และเหตุผลทางเศรษฐกิจแท้นั้นจะมีขึ้นไม่ได้ ถ้าสังคมนั้นไม่ เคารพมนุษยชาติ ถ้าทางฝ่ายการเมืองไม่มีความรับผิดชอบ และฝ่ายบริหารไม่ทาตามกฎหมาย ทานองเดียวกันสังคม
  • 2. หน้า 52 จะมีความเคารพในเกียรติมนุษยชาติไม่ได้ จนกว่าระบบเศรษฐกิจจะพัฒนาแล้ว ฝ่ายการเมืองมีความรับผิดชอบ และ ฝ่ายบริหารทาตามกฎหมาย ในส่วนย่อยก็เช่นกัน สภาพการเป็นพลเมืองจะเกิดขึ้นไม่ได้ถ้ายังไม่สามารถประกอบการทางเศรษฐกิจได้อย่าง อิสระ ไม่มีอิสระเสรีในการดารงชีวิตในสังคม และข้าราชการไม่ยอมรับใช้ประชาชน เป็นต้น ความสัมพันธ์ระหว่าง งานด้านต่าง ๆ ของการพัฒนาเป็นแผนผังดังนี้ ดังนั้นจะเห็นได้ว่า การพัฒนาเพื่อจะให้ได้ผลดีนั้นจาเป็นต้องพัฒนาพร้อมกันไปทุกด้าน หรืออีกนัยหนึ่งอาจ เปรียบประเทศหรือสังคมเสมือนลูกโป่ง ขณะที่ไม่เจริญก็เป็นลูกโป่งขนาดเล็ก เมื่อเจริญก็เหมือนลูกโป่งที่พองตัวขึ้น ถ้าพัฒนาอย่างถูกทางลูกโป่งนั้นก็จะพองตัวอย่างสม่าเสมอกัน ถ้าพัฒนาทางด้านใดด้านหนึ่งก็จะทาให้ปูด ซึ่งทาให้ด้าน หนึ่งแฟบด้านหนึ่งพองไม่พอดีกัน เช่น ถ้ารัฐบาลจะส่งเสริมการพัฒนาทางสังคมและการศึกษาขนานใหญ่ด้วยการสร้าง โรงเรียน มหาวิทยาลัยขึ้นมามากมายเพียงด้านเดียว โดยไม่ได้พัฒนาเศรษฐกิจให้เป็นสัดส่วนกัน แล้วจะเอาเงินที่ไหน มาก่อสร้าง จะเอาคนที่ไหนมาสอน มาบริหารงาน บางทีอาจจะต้องพิจารณาถึงว่าจะมีนักเรียนพอทั้งปริมาณและ คุณภาพที่จะเปิดโรงเรียน หรือมหาวิทยาลัยได้ไหม เป็นต้น ดร. ยูยืน แสตลลีย์ (Dr. Eugene Staley) นักวิชาการได้กล่าวไว้ว่า กระบวนการพัฒนาที่ดีนั้นไม่ควร เน้นหนักเฉพาะด้านเศรษฐกิจ แต่ควรเน้นไปที่ด้านการเมืองและสังคมด้วย ซึ่งแสตลลีย์ได้ชี้ให้เห็นว่ามีหลายประเทศที่ ได้รับความสาเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจแต่เป็นความสาเร็จในวงแคบ คือ เป็นเพียงการเพิ่มความสามารถในการผลิต ของประเทศให้สูงขึ้น แต่ในขณะเดียวกันประชาชนส่วนใหญ่ไม่ได้รับผลประโยชน์จากการพัฒนาเศรษฐกิจ โดยยังคงมี ระดับค่าครองชีพต่ากว่าอยู่เช่นเดิม และในขณะเดียวกันกระบวนการพัฒนาดังกล่าวก็ไม่ได้เป็นการส่งเสริมอุดมการณ์ ประชาธิปไตยแต่ประการใด ประชาชนยังคงอยู่ใต้ระบอบเผด็จการอยู่ต่อไป ดร. แสตลลีย์ สรุปว่า วัตถุประสงค์ของกระบวนการพัฒนาที่ดีนั้นควรจะมุ่งพัฒนาทุกด้านไปพร้อม ๆ กัน รวมทั้งด้านสังคมและการเมือง มิใช่เฉพาะผลทางด้านเศรษฐกิจหรือวัตถุ ทั้งนี้เพราะความต้องการขั้นมูลฐานของ มนุษย์มีหลายอย่าง เช่น มีระดับค่าครองชีพที่สูงพอสมควร มีความมั่นคงปลอดภัยในชีวิต มีเสรีภาพและอานาจใน การปกครองตนเอง มีโอกาสที่จะใช้ความสามารถของตนได้อย่างเต็มภาคภูมิ การยอมรับนับถือว่าตนเป็นส่วนหนึ่งของ สังคมโดยไม่ถูกกีดกันหรือเหยียดหยามจากสังคม ตลอดจนความรู้สึกว่าตนได้ดาเนินชีวิตไปอย่างมีความหมาย และ การถือหลักเหตุผล ความรับผิดชอบ การเป็นผู้ประกอบการ การเป็นพลเมือง ความเป็นมนุษยธรรม การทาถูกกฎหมาย อิสรภาพ การรับใช้
  • 3. หน้า 53 มีความหวัง โดยมีความเชื่อว่า ทรรศนะนิยมในสังคมที่คนยึดถืออยู่นั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้องและมีคุณค่า สรุปแล้วความ ต้องการขั้นมูลฐานของมนุษย์นั้น นอกจากความต้องการทางด้านวัตถุในการดารงชีพแล้ว ยังมีความต้องการทางด้าน จิตใจ ซึ่งต้องการที่จะมีชีวิตอยู่อย่างมีเกียรติในฐานะที่เป็นมนุษย์ ไม่ใช่อยู่อย่างทาส การพัฒนาทางสังคม (Social development) 1. ความหมายของสังคม คาว่า “สังคม” พิจารณาความหมายได้ 2 นัย ดังนี้ 1.1 สังคมที่เป็นรูปธรรม สังคม หมายถึง คนจานวนหนึ่งที่อยู่ร่วมกันเป็นกลุ่ม มีความรู้สึกผูกพันว่า เป็นเหล่าเดียวกัน ดารงชีวิตร่วมกันตามกฎเกณฑ์ระเบียบวิธีที่ส่วนรวมกาหนดไว้ เพื่อให้กลุ่มนั้นดารงอยู่ต่อเนื่องไป มิให้แตกสลาย ในความหมายนี้จะมองเห็นสังคมได้จากตัวบุคคลที่มีชีวิตอยู่ในขอบเขตอาณาบริเวณที่กาหนดให้ บุคคลที่ประกอบกันเป็นสังคมนี้ย่อมมีแบบอย่างวิธีการดารงชีวิตที่เป็นลักษณะร่วมกันซึ่งเรียกว่า “วัฒนธรรม” และมี จานวนคนเพิ่มขึ้นหรือลดลงตามอัตราการเกิดการตายอันเป็นปกติวิสัยของสิ่งมีชีวิต 1.2 สังคมที่นามธรรม สังคม หมายถึง ระบบความสัมพันธ์ของบุคคลที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่มหรือพวก เดียวกัน ระบบความสัมพันธ์เกิดมีขึ้นเพราะการที่คนซึ่งอยู่ด้วยกันต้องมีการประพฤติปฏิบัติต่อกันและการประพฤติ ปฏิบัติต่อกันนี้ย่อมอยู่ในกรอบกาหนดที่ยอมรับร่วมกันอยู่ว่า ผู้ที่จะมีการกระทาต่อกันนั้นฝ่ายใดจะมีสิทธิและหน้าที่ให้ ทาอย่างไรได้มากน้อยเพียงใด หากกระทาเกินขอบเขตของกรอบกาหนดที่ส่วนรวมวางไว้นี้ ก็จะเกิดปัญหาขัดแย้งจาก การล่วงละเมิดสิทธิและหน้าที่ที่มีต่อกัน และถ้าหากไม่สามารถปรับการขัดแย้งนี้ให้ราบรื่นไม่ได้ความสัมพันธ์ที่มีต่อกัน ก็อาจสิ้นสุดลงได้ การพัฒนาสังคมหรือการทาให้สังคมเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่พึงปรารถนานั้น สังคมจะต้องพัฒนาความ ปรารถนาของคนทั้งสังคม ซึ่งเป็นความปรารถนาที่สาคัญที่สุด แต่โดยปกติแล้วความปรารถนาของคนตรงกันได้ยาก และความปรารถนาของบุคคลบางคนหรือบางกลุ่มหากมีอานาจหรือความสามารถที่จะทาให้ความปรารถนานั้นสัมฤทธิ์ ผลได้ คือ ความปรารถนาที่มีความสาคัญที่สุด ถึงแม้ว่าผู้อื่นจะปรารถนาเป็นอย่างอื่นก็ตาม ทั้งนี้ได้มีมาตรฐานหนึ่ง ที่จะเป็นเกณฑ์วัดความเจริญหรือการเปลี่ยนแปลงในทางที่พึงปรารถนา ซึ่งมักเป็นการพัฒนาสังคมโดยแท้ได้ คือ การ เปลี่ยนแปลงที่ทาให้เกิดประโยชน์ของส่วนรวมได้ จึงจะไม่เกิดการขัดแย้งกันในระบบความสัมพันธ์ที่ส่วนตัวบุคคลมีต่อ ส่วนรวม แต่มิใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ทาให้ทุกคนมีสิทธิและหน้าที่เสมอภาคกัน เพราะในสังคมที่คนอยู่ด้วยกันนั้นมี หน้าที่การงานแตกต่างกันหลายอย่างที่ต่างคนต้องช่วยกันทาประกอบกัน เพราะฉะนั้นสิทธิหน้าที่จะให้เหมือนกันไม่ได้ และไม่มีกฎตายตัวเป็นมาตรฐานสากลได้ว่าสิทธิและหน้าที่ของบุคคลประเภทต่าง ๆ กันนั้นจะต้องเป็นอย่างไร เช่น สิทธิของชายและหญิง เด็กและผู้ใหญ่ ผู้ปกครองและผู้ถูกปกครอง เป็นต้น ซึ่งเป็นเรื่องของการตกลงกันระหว่าง สมาชิกในสังคมตามสถานภาพความจาเป็น และความเหมาะสมของสังคมในขณะนั้น การพัฒนาทางสังคมเป็นการทา ให้ความขัดแย้งยังมีอานาจอยู่ในระบบความสัมพันธ์ของบุคคลในสังคมลดน้อยลงจนหมดไป หรือเป็นการกระทาให้ ระบบความสัมพันธ์นั้นราบรื่นมีความกลมกลืนกันมากกว่าที่เป็นอยู่เดิม การพัฒนาทางสังคมเป็นการเปลี่ยนแปลงชนิด หนึ่งนี้อาจเกิดขึ้นเองทีละเล็กทีละน้อยโดยอัตโนมัติ ได้แก่ ผลของการสั่งสอนทางศาสนาของผู้นาทางศาสนาบางคน เช่น พระพุทธเจ้า และพระเยซูคริสต์ เป็นต้น แต่ถ้าเกิดขึ้นโดยเป็นผลของการกระทาที่จงใจเจตนาจะกระทาให้เกิด
  • 4. หน้า 54 การเปลี่ยนแปลงในส่วนรวมภายในระยะเวลาอันสั้น การพัฒนาสังคมจาเป็นต้องมีบุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือกลุ่มใดกลุ่ม หนึ่งทาให้เกิดขึ้นอย่างตั้งใจ ได้แก่ การดาเนินงานตามโครงการในระยะต่าง ๆ เช่น โครงการ 3 ปี โครงการ 5 ปี และโครงการ 10 ปี เป็นต้น ก่อนที่ประเทศจะมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงทางด้านวัตถุให้ก้าวหน้าได้อย่างแท้จริงนั้น จะต้องมีการพัฒนาทาง สังคมซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงจิตใจและแบบแผนพฤติกรรม ตลอดจนความสัมพันธ์ของมนุษย์ในสังคมนั้นเสียก่อน ปัญหาทางด้านสังคมในประเทศด้อยพัฒนาที่เป็นอุปสรรคขัดขวางทางเศรษฐกิจมีหลายประการ เช่น ขนบธรรมเนียม ประเพณี และสถาบันที่ล้าสมัย ระดับการศึกษาของประชาชนยังต่าอยู่ การขาดความรู้ความชานาญทางเทคนิค เกี่ยวกับอุตสาหกรรม ระบบการยึดถือยึดครองที่ดินที่ล้าสมัย ตลอดจนชีวิตทางเศรษฐกิจที่ผูกพันอย่างแน่นแฟ้นกับ ระบบครอบครัวเผ่าพันธุ์วงศ์ตระกูล หรือกลุ่มและชุมชนของตนมากเกินไป เป็นต้น 2. ลักษณะสังคมที่พัฒนาแล้ว ในสังคมที่พัฒนาเต็มที่แล้วจะเห็นว่าคนมีคุณค่าเหมือนกัน หรือเท่ากัน คือ มีฐานะความเป็นมนุษย์ เหมือนกัน โดยไม่มีความรังเกียจในเรื่องชาติ ชั้น วรรณะ ซึ่งเป็นไปตามคติที่ว่า “เหนือชาติอื่นใด คือ มนุษยชาติ” แต่ในด้านของแต่ละคนแล้วทุกคนจะมีเสรีภาพอิสรภาพมาก คือ จะไม่ถูกคนหรือสังคมอื่นกีดกัน มีอิสระที่จะเลือก งาน ที่อยู่ คู่ครอง ศาสนา เพื่อน พรรคการเมือง เป็นต้น ที่คนนิยมชมชอบจะเห็นว่าในสังคมที่พัฒนาแล้วคนจะ ไม่ยุ่งเกี่ยวในเรื่องส่วนตัวของผู้อื่น เมื่อพบปะกันตามท้องถนนก็ไม่มีการโอภาปราศรัย ภาวะนี้เป็นสิ่งจาเป็นที่จะรักษา อิสรภาพของแต่ละคนในชุมชนหนาแน่นไว้ แต่ถ้ามีเหตุร้ายภยันตรายสาธารณะเกิดขึ้น เช่น น้าท่วม ไฟไหม้ คน เหล่านั้นจะหันหน้าเข้าหากัน ร่วมมือกันช่วยปัดเป่าภัยพิบัติดังกล่าว เพราะถือว่าเป็นการช่วยเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน เป็น ของธรรมดาที่จะเห็นคนส่งเงินไปช่วยองค์การกุศลสาธารณะกันอย่างเข้มแข็ง โดยไม่ทราบว่ากองการกุศลจะนาเงินนั้น ไปใช้อย่างไหนเมื่อใด 3. ลักษณะสังคมที่ยังไม่พัฒนา (Lack of development) และสังคมกึ่งพัฒนาในรูปพัฒนาเทียมแฝง (pseudomorphic development) 3.1 สังคมที่ยังไม่พัฒนาจะมีลักษณะสังคมที่ตัดตอนกัน คือ ถือว่าทุกคนในหมู่พวกของตนเป็นพวก เดียวกัน ต่างพวกเป็นศัตรู นอกจากนั้นยังได้แบ่งคนออกตามชาติ ชั้น วรรณะของบุคคล ทาให้เกิดความแตกแยก เป็นหมู่เป็นเหล่า เมื่อสังคมมีลักษณะตัดตอนกันแต่ละคนจึงถูกจากัดขอบเขตการติดต่อเกี่ยวข้องซึ่งกันและกัน จึงต้อง มีการกาหนดวิธีปฏิบัติต่อกันอย่างเพื่อนฝูง อย่างคนแก่กับเด็ก ข้ากับเจ้า เป็นต้น 3.2 สังคมกึ่งพัฒนาในรูปพัฒนาเทียมแฝง ซึ่งได้รับอิทธิพลของการพัฒนาจากสังคมอื่นมาใช้ในสังคมตน โดยส่วนรวมอาจมีการยอมรับนับถือความสามารถของบุคคล เป็นกุญแจของความสาเร็จที่จะเคลื่อนไหวเลื่อนฐานะใน สังคมได้ แต่ความเป็นจริงแล้วเป็นไปได้ยาก เช่น สถาบันการศึกษา ไม่เพียงพอที่จะเปิดโอกาสให้แก่ทุกคน และแม้ จะได้รับการศึกษามาดีแล้วหรือเป็นผู้มีความสามารถดี ก็จะไม่ได้รับเข้าทางานในตาแหน่งสาคัญ ๆ หากไม่ใช่พรรคพวก ของคนในชั้นผู้นา ฉะนั้นตามความเป็นจริงแล้วการเคลื่อนไหวทางสังคมยังเป็นคาขวัญอยู่ ในด้านตัวบุคคลก็เช่นกัน ส่วนมากศึกษาเพื่อให้ได้ปริญญาสูง ๆ จากมหาวิทยาลัยดี ๆ เพื่อเป็นกุญแจหรือทางลัดไปสู่ความสาเร็จการงานโดยเร็ว โดยไม่ได้ใช้ความรู้ที่ได้รับมาใช้ทาประโยชน์ตามที่เรียนอย่างแท้จริง ส่วนมากจะไม่ค่อยยอมมีชีวิตในวงการศึกษาและ วิจัยจริง ๆ หากมาทาอาชีพสอนก็มักจะสอนและวิจัยไปในแนวที่ทางราชการต้องการ ไม่ให้ใช้ปัญญาเต็มที่เพราะอิสระ
  • 5. หน้า 55 ทางการศึกษาเป็นเพียงคาขวัญเหมือนกัน ฉะนั้นผู้ทรงคุณวุฒิและผู้ทรงภูมิปัญญา (intellectual) จึงกลายเป็น ปัญญาชน (intelligentsia) หมายถึงว่า เป็นผู้มีความรู้ที่นามาปฏิบัติไม่ได้ หรือความหมายที่ว่า ไม่พอใจในลักษณะ สังคมที่เป็นอยู่ ในด้านบุคคลนี้ สภาพปัญญาชนมิได้จากัดเฉพาะในวงการศึกษาเท่านั้น หากแต่ยังเกิดในวงการทั่ว ๆ ไป เช่น ในการโฆษณาสินค้าและมหกรรมต่าง ๆ มักเป็นการแสดงให้เห็นสิ่งที่น่ามีน่าใช้ โดยผู้ดูผู้ชมส่วนมากยังไม่มี โอกาสหรือทุนทรัพย์เพียงพอที่จะหาซื้อมาใช้ได้ การสร้างผลแสดง (demonstration effect) จึงเป็นการสร้างความไม่ พอใจ ความอึดอัดใจแบบเดียวกับสภาพปัญญาชนเหมือนกัน เพราะโลกของความจริงกับความฝันยังลงรอยกันไม่ได้ 4. ลักษณะการพัฒนาสังคม 4.1 วัตถุประสงค์ของการพัฒนาสังคมขององค์การสหประชาชาติ คือ การนามาซึ่งการดารงชีวิตที่ดีขึ้น สาหรับประชาชนทุกคน เพราะเป้าหมายสุดท้ายของการพัฒนาก็คือ “ประชาชน” แต่ประชาชนไม่ควรจะเป็นเพียงผู้รับ ผลของการพัฒนาแต่ฝ่ายเดียว ประชาชนเองจะต้องมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมด้วย การพัฒนาอย่างสมบูรณ์จะ เกิดขึ้นไม่ได้ถ้าปราศจากการเข้ามามีส่วนร่วมของประชาชน ดังนั้นการให้การศึกษาเพื่อการพัฒนาจึงต้องมุ่งไปที่การช่วย ให้ประชาชนได้เข้าใจเหตุผลของปัญหาที่เกิดขึ้นแก่ตัวเขาเอง ปลุกให้รู้สึกว่าเขาเป็นมนุษย์คนหนึ่งซึ่งมีสิทธิและเสรีภาพ มีอานาจในการเรียกร้องความยุติธรรมจากสังคมได้ ซึ่งรากฐานของความยุติธรรมทางสังคมอันเป็นเป้าหมายสุดท้าย อันหนึ่งของการพัฒนาทางสังคม คือ สิทธิมนุษยชน ได้แก่ สิทธิในด้านชีวิต ทรัพย์สิน ความมั่นคง และปลอดภัย อิสระและการสื่อสารงาน การเลือกงานอย่างมีเสรี การพักผ่อนและการบันเทิงต่าง ๆ อาหาร การแต่งงาน และมี ครอบครัว อิสรภาพเกี่ยวกับความคิดเห็น ศาสนา เป็นต้น นอกจากส่งเสริมในด้านสิทธิมนุษยชนแล้ว ยังมี มาตรการอื่นที่อาจนามาใช้ในการพัฒนาสังคม ได้แก่ ใช้การวางแผนแบบรวม (Unified Planning Approach) ทั้ง ในระดับท้องถิ่น ระดับภาค และระดับชาติ โดยให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมโดยผ่านผู้แทนที่เขาเลือกเข้ามา เจตนารมณ์ ทางการเมืองที่มีต่อการพัฒนาการสร้างความสานึกรับผิดชอบในหมู่ประชาชน การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประชาชน ผู้นา และสื่อแห่งการเปลี่ยนแปลง สร้างทัศนคติใหม่ ๆ ให้กับประชาชน การสร้างความเข้าใจต่อการเปลี่ยนแปลงของ โลก และการสร้างความเข้าใจต่อสาเหตุของการเปลี่ยนแปลง Myrdall นักวิชาการได้ให้ข้อคิดในการพัฒนาทางสังคมในเอเชียไว้ว่า การปฏิรูปภายในประเทศเป็นสิ่งจาเป็น ก่อนที่ประเทศต่าง ๆ จะสามารถมีการพัฒนาได้ การปฏิรูปภายในประเทศที่จะต้องทา คือ การปฏิรูปที่ดิน การปฏิรูป ทางการศึกษา การกาหนดนโยบายด้านประชากร การลดการทุจริตในหน้าที่ และมีมาตรการในการส่งเสริมความ ยุติธรรมทางสังคม 4.2 การศึกษาจะมีส่วนช่วยในการพัฒนาสังคมเป็นอย่างมาก โดยจะช่วยให้มาตรฐานความเป็นอยู่ของ ประชาชนสูงขึ้น มีความเป็นอยู่และมีวัฒนธรรมสูง การศึกษาจะช่วยปรุงแต่ง รักษา แก้ไข และถ่ายทอดวัฒนธรรม อันดีงามจากคนรุ่นหนึ่งไปอีกรุ่นหนึ่ง นักศึกษาจึงต้องสรุปกาหนดนโยบายอย่างแน่นอนว่าพลเมืองดีมีวัฒนธรรมนั้น จะต้องมีอย่างไรบ้าง และมีวัฒนธรรมอย่างไรบ้าง เพื่อเป็นมาตรฐานในการพัฒนาสังคม 4.3 การพัฒนาสังคมในเมือง เป็นปัญหาสังคมที่มีเอกลักษณ์แตกต่างไปจากสังคมชนบท เนื่องจากความ หนาแน่นของประชาชรและการผังเมืองที่ไม่ถูกต้อง ก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ มากมาย เช่น ปัญหาการจราจร ปัญหา การคมนาคม ปัญหาที่อยู่อาศัย ปัญหาอาชีพ ปัญหาการครองชีพ ปัญหาการศึกษา ปัญหาอาชญากรรม ปัญหาการ กาจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล ปัญหาโสเภณี ปัญหาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ปัญหาการระบายน้าโสโครกและน้าฝน
  • 6. หน้า 56 ปัญหาด้านสาธารณสุข ปัญหาอากาศเสีย ปัญหายาเสพติด ปัญหาคนชราและคนพิการ ปัญหาบริการของรัฐ ปัญหา ความรับผิดชอบของประชาชนต่อท้องถิ่น ปัญหาการสมรส และปัญหาการปกครอง เป็นต้น ซึ่งต้องมีหลักการแก้ไข ประกอบด้วย การกาหนดผังเมืองที่ถูกต้องและสมบูรณ์แบบ การกาหนดจานวนประชากรที่พึงจะอยู่อาศัยในเมืองให้มี ความแน่นอน การปรับปรุงองค์บุคคลที่เกี่ยวข้องให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น การจัดสรรงบประมาณให้เพียงพอกับการ ดาเนินงาน และคานึงถึงความสาคัญก่อนหลัง การแก้ไขเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับเทศบัญญัติ ให้เหมาะสมกับภาวะปัจจุบัน รวมทั้งให้คลุมไปถึงภาวะในอนาคตด้วย 4.4 การพัฒนาสังคมชนบท ปัญหาสังคมในชนบทที่สาคัญอันเป็นอุปสรรคต่อความเจริญของประเทศและ จาเป็นต้องแก้ไขโดยรีบด่วนมี 5 ประการ คือ ปัญหาทางด้านการเมืองและการปกครอง ปัญหาด้านการศึกษา ปัญหาด้านอนามัย ปัญหาด้านเศรษฐกิจ และปัญหาในด้านอื่น ๆ เกี่ยวกับสังคม ซึ่งจะต้องนาเอาการพัฒนาชุมชนมา ใช้แก้ปัญหาในชนบทดังกล่าว โดยมีจุดมุ่งไปสู่ตัวประชาชนเพื่อพัฒนาตัวบุคคลโดยวิธีส่งเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลไปสู่ หมู่บ้านชนบท และเข้าร่วมสัมพันธ์คลุกคลีใกล้ชิดกับประชาชนโดยต้องการสร้างทัศนะหรือแนวทางที่ถูกต้องให้ ประชาชนยึดถือเป็นหลักปฏิบัติในการปรับปรุงวิถีชีวิตของตนเองและของชุมชนให้ก้าวหน้า วัตถุประสงค์ของการพัฒนา ชุมชนต้องการจะให้ประชาชนรู้จักใช้ความคิดริเริ่มเอง หากไม่มีความคิดริเริ่มก็ต้องใช้วิธีการยั่วยุ เร่งเร้า ส่งเสริมให้ เกิดความคิด หรือยอมรับเอาแนวความคิดใหม่ ๆ ที่สมควรจะเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับวิธีการดารงชีวิตและการประกอบ อาชีพเดิม การพัฒนาชุมชนทั้งการพัฒนาสังคมในเมืองและสังคมชนบทนั้น มีกรรมวิธีดาเนินงานให้เกิดการเปลี่ยนแปลง 2 ประการ ดังนี้ 1. การพัฒนาทางด้านรูปธรรมหรือการพัฒนาทางด้านวัตถุ เพื่อส่งเสริมให้เกิดมีการเปลี่ยนแปลงในสิ่งที่เห็น โดยชัดเจน เช่น การพัฒนาสิ่งแวดล้อมในชุมชน 2. การพัฒนาทางด้านนามธรรม หรือการพัฒนาทางด้านจิตใจให้ประชาชนสามารถเป็นผู้นา รู้จักการ ตัดสินใจ และมีการทางานร่วมกัน รู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ในทางเศรษฐกิจและสังคม 4.5 การพัฒนาสังคมเป็นการเปลี่ยนแปลงทางสังคม โดยรัฐต้องมีโครงการหลายอย่างเพื่อปรับปรุง สภาพแวดล้อมและให้โอกาสแก่บุคคลที่จะปรับปรุงยกฐานะตัวเองด้วยการศึกษา โดยจัดทาโครงการพัฒนาการศึกษา พัฒนากาลังคน พัฒนาชุมชนทั้งในชนบทและในเมือง โครงการอาคารสงเคราะห์ โครงการปรับปรุงการอนามัยและ สุขาภิบาล โครงการกาจัดแหล่งเสื่อมโทรม โครงการสังคมสงเคราะห์ประเภทต่าง ๆ โครงการเหล่านี้เป็นเรืองต้องใช้เงิน เป็นจานวนมาก จะต้องเลือกทาในด้านที่จาเป็นจริง ๆ ก่อนแล้วค่อยเพิ่มขยายไปตามลาดับ โครงการที่จะต้องกระทา โดยด่วน ได้แก่ โครงการที่จะช่วยยกฐานะของประชาชนให้เพิ่มผลผลิตการเกษตร โครงการปฏิรูปที่ดิน โครงการ สินเชื่อการเกษตร และโครงการเร่งรัดพัฒนาชนบท เป็นต้น 4.6 การมีโครงการพัฒนาสังคมที่ไม่ต้องใช้เงินมาก แต่เป็นการสร้างคุณค่าและทัศนคติแบบใหม่ให้แก่ ประชาชนโดยเฉพาะชาวชนบท และผู้ใช้แรงงานซึ่งเป็นกาลังคนส่วนใหญ่ของประเทศ อันจะช่วยให้เกิดความ กระตือรือร้นที่จะปรับปรุงตนเอง และทาให้สภาพโดยส่วนรวมของประเทศดีขึ้น เพราะได้รับการจูงใจในการพัฒนา ตนเองในด้านต่าง ๆ มีความเชื่อมั่นในตนเอง และมีกาลังใจที่จะปรับปรุงตัวเองให้มีนิสัยในการทางาน รสนิยม ปรัชญาชีวิต การมองโลก การครองชีพ การควบคุมตนเอง อันเป็นไปในทิศทางที่ถูกต้อง มิฉะนั้นบางประเทศปัญหา
  • 7. หน้า 57 ความยากจนอาจทาให้ประชาชนไม่พอใจระบบการเมืองและสังคม นาไปสู่ปัญหาอาชญากรรมและความคิดเห็นรุนแรง ทางการเมืองได้ มีโครงการหลายอย่างที่รัฐบาลอาจทาได้และควรถือเป็นโครงการที่ช่วยในการพัฒนาประเทศเท่า ๆ กับ โครงการลงทุนทางเศรษฐกิจโดยตรง เช่น โครงการเข้าถึงจิตใจประชาชนในชนบท โครงการพัฒนาการเคลื่อนที่ โครงการพัฒนาผู้นาท้องถิ่น โครงการศึกษาผู้ใหญ่ โครงการปรับปรุงวัด โครงการฝึกอบรมเยาวชน โครงการ สื่อมวลชนสาหรับชนบท โครงการสร้างพื้นฐานสาหรับประชาธิปไตย โครงการเพื่อความเข้าใจอันดีระหว่างชาวเมืองและ ชาวชนบท เช่น ให้อาจารย์ นิสิต นักศึกษามหาวิทยาลัย ได้ออกไปศึกษาสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของชาวชนบทใน ระหว่างปิดภาคการศึกษา ในขณะเดียวกันก็ให้ถือโอกาสช่วยพัฒนาให้ความรู้แก่ชาวชนบทในเรื่องต่าง ๆ หรือจัดให้ ผู้นาท้องถิ่นและเยาวชนจากชนบทได้มาเห็นและเข้าใจปัญหาชีวิตและความเป็นอยู่ในเมือง เป็นต้น 4.7 เงื่อนไขที่จะนาไปสู่ความสาเร็จในการพัฒนาประเทศ เงื่อนไขสาคัญประการแรก คือ ชนชั้นนาซึ่ง เป็นผู้มีอานาจทางการเมืองและเศรษฐกิจ ตลอดจนนักวิชาการจะต้องมีความเข้าใจแท้จริงในปัญหาการพัฒนาประเทศ วางตัวเป็นกลาง กล้าเผชิญความจริง และยึดประโยชน์ส่วนรวมของประเทศเป็นหลัก ต้องเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลง ทางสังคมซึ่งซับซ้อน อันจะช่วยให้เข้าใจปัญหาสังคมที่ต้องการพัฒนาได้อย่างถูกต้อง การพัฒนาทางการเมือง 1. ความหมาย เฮาเวิด ริกกินส์ (Howard Wriggins) ให้ความหมายของการพัฒนาทางการเมืองไว้ว่า เป็นความ เจริญก้าวหน้าของสถาบันและวิธีการดาเนินการทางการเมือง ซึ่งช่วยให้ระบบการเมืองได้จัดการกับบรรดาปัญหาพื้นฐาน ทางการเมืองได้อย่างมีประสิทธิผลยิ่งขึ้นในระยะสั้น ในขณะเดียวกันก็ปฏิบัติงานอย่างมีความรับผิดชอบมากขึ้นต่อ ความต้องการของประชาชนในระยะเวลาอันยาวนานข้างหน้า 2. ลักษณะทางการเมืองที่พัฒนาแล้ว การเมืองที่พัฒนาแล้วฝ่ายมีอานาจทางการเมืองซึ่งไม่ว่าจะได้อานาจโดยความยินยอมพร้อมใจของประชาชน หรือไม่ก็ตาม จะต้องมีความรับผิดชอบและสนองตอบต่อความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง ไม่ใช่มีไว้แต่ กฎหมายระเบียบแบบแผนว่าจะสนองตอบ แต่โดยแท้จริงแล้วไม่ได้ทาหรือทาไม่ได้ ในด้านของประชาชนแต่ละคนนั้น มีฐานะเป็นพลเมือง คือ เป็นผู้มีส่วนมีเสียงในกระบวนการทางการเมืองของประเทศ ซึ่งผู้ปกครองประเทศจะต้อง เหลียวแลและรับผิดชอบต่อ ไม่ใช่มีฐานะเป็นไพร่ฟ้าข้าแผ่นดิน 3. ลักษณะทางการเมืองที่ยังไม่พัฒนา (lack of development) และกึ่งพัฒนาในรูปพัฒนาเทียมแฝง (pseudomorphic development) 3.1 การเมืองที่ยังไม่พัฒนาไม่มีสถาบันการปกครองที่รับผิดชอบต่อประชาชนแต่จะมีในรูปของสถาบันอัน ศักดิ์สิทธิ์ โดยอาจใช้ศาสนาเป็นเครื่องค้าจุนราชบัลลังก์ คือกษัตริย์เป็นสมมติเทวราช เจ้าบ้านผ่านเมืองเป็นพระเนตร พระกรรณ ทางด้านประชาชนก็มีลักษณะเป็นไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินทีทาตามคาสั่งกษัตริย์ ไม่ใช่ทาตามเพราะถือว่าเป็น กฎหมายแต่ทาเพราะเคารพนับถือ คือ มีความนับถือในวาจาสิทธิ์ ในอานาจของพระเจ้า เป็นต้น 3.2 การเมืองกึ่งพัฒนาในรูปพัฒนาเทียมแฝง มีรูปหรือร่องรอยของการปกครองเหมือนประเทศที่พัฒนา แล้ว เพราะไปนาเอาแบบของเขามา เช่น เห็นประเทศอื่นมีรัฐธรรมนูญก็มีกับเขาบ้าง เห็นมีรัฐสภา มีพรรคการเมือง
  • 8. หน้า 58 มีศาล มีคณะรัฐมนตรี ก็มีบ้าง แต่ทั้งนี้สิ่งที่นามานั้นเป็นเพียงรูปฟอร์มแต่ไม่ได้นาเอาเนื้อหาองค์ประกอบมาด้วย ผล ในการปฏิบัติจึงไม่เหมือนกัน เช่น มีพรรคมากมายเป็นดอกเห็ด มีรัฐสภาที่คอยยกมือ มีศาลที่ไม่มีอิสระ และมีนัก กวนเมืองแทนนักการเมือง และมีการเลือกตั้งที่เป็นเพียงพิธีการ เป็นต้น ส่วนทางด้านประชาชนแต่ละคนก็ยังไม่ได้เป็นพลเมืองเต็มที่เหมือนในระบอบการเมืองที่พัฒนาแล้ว ใน ขณะเดียวกันก็เลิกนับถือผู้ปกครองที่เป็นแบบอย่างงดงามดังแต่ก่อน คงเป็นลักษณะครึ่ง ๆ กลาง ๆ เป็นเหมือนคนใน บังคับไม่ได้ถือสิทธิเต็มที่อย่างพลเมือง และก็ไม่ไร้สิทธิเสียทีเดียว เช่น ในกรณีใช้สิทธิเลือกตั้งก็มีสิทธิอยู่ตาม กฎหมาย แต่อาจจะใช้ไม่ได้ผลในทางปฏิบัติเพราะอาจมีคนอื่นปลอมลงไปลงชื่อเสียแล้ว หรือถึงไปลงคะแนนก็ไม่บัง เกิดผล เพราะมีคนอื่นใช้สิทธิหลายครั้งทาให้มีเสียงเกิน 1 เสียง อันขัดกับหลักการสาคัญของการเลือกตั้ง ผู้แทนราษฎรในระบอบประชาธิปไตย 4. ลักษณะการพัฒนาทางการเมือง 4.1 ความสนใจของประชาชนและการเข้าร่วมในกระบวนการทางการเมือง (Political Socialization and recruitment) ในประเทศกาลังพัฒนานั้นประชาชนไม่ค่อยเข้าใจถึงคุณค่าของการเข้าร่วมในกระบวนการทางการเมือง ของประเทศ จึงไม่ค่อยสนใจและไม่ค่อยเข้าร่วม ซึ่งถ้าประชาชนเข้าใจถึงคุณค่าก็ย่อมจะอยากเข้ามามีส่วนร่วม เช่น อาจจะสนใจลงคะแนนเสียงถ้ารู้ว่าผู้ที่ตนเลือกเข้าไปจะใช้อานาจแทนและรักษาประโยชน์แทน ไม่ให้ถูกรบกวนหรือ ทาลายโดยฝ่ายผู้ใช้บังคับกฎหมาย แต่ความสนใจมีน้อยถ้าชนชั้นปกครองเห็นแก่ตัวและสกัดกั้นไม่ให้ประชาชนส่วน ใหญ่เข้าร่วมในกระบวนการทางการเมือง เช่น งดเลือกตั้ง หรือห้ามตั้งพรรคการเมือง ทั้งนี้ทัศนคติดั้งเดิมของ ประชาชนเองก็มีส่วนร่วมเป็นอุปสรรค แต่ทั้งนี้คนรุ่นใหม่ที่ได้รับการศึกษาซึ่งเป็นกลุ่มปัญญาชนและถือว่าตนควรมีสิทธิ์ เข้าร่วมในการเมืองของประเทศ เพิ่มจานวนมากขึ้นด้วยผลการศึกษาทาให้มีการเรียกร้องและขยายตัวในการขอให้สิทธิ์ ทางการเมืองมากขึ้น 4.2 กลุ่มประโยชน์ (Interest groups) ในทางการเมือง ในประเทศที่กาลังพัฒนาไม่มีกลุ่มผลประโยชน์ เข้มแข็งพอที่จะบีบให้ชนชั้นปกครองยอมรับและรักษาผลประโยชน์ของตนเอง เพราะไม่ได้รวมตัวเป็นสมาคมใหญ่มี จานวนมากพอที่จะสามารถทาให้เสียงเรียกร้องมีน้าหนักพอที่ฝ่ายปกครองจะต้องฟัง การที่ประเทศไม่มีกลุ่ม ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจใหญ่มากพอที่จะสนใจเข้าร่วมในกระบวนการทางการเมืองของประเทศ มีผลทาให้กลุ่มบุคคล ที่มีผลประโยชน์ร่วมกันเพราะอยู่ในสถาบันเดียวกัน เช่น คณะทหารและข้าราชการหรือกลุ่มอิทธิพลทางศาสนา เข้ามา มีบทบาทคุมอานาจทางการเมืองได้ง่าย ทหารเข้ามาคุยอานาจโดยอ้างว่าเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย และความมั่นคง ของประเทศซึ่งนานไปอาจกลายเป็นรักษาประโยชน์ของบุคคลกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่ก็จะได้รับการคัดค้านจากกลุ่ม นักศึกษามหาวิทยาลัยซึ่งเป็นกลุ่มที่มีผลประโยชน์ร่วมกันในการคัดค้านการปกครองระบอบเผด็จการ ทั้งนี้กลุ่มชาวนา ซึ่งเป็นกลุ่มผลประโยชน์ใหญ่ที่สุดในประเทศกาลังพัฒนาจะมีความตื่นตัวและสานึกว่าตนเป็นผู้มีอานาจแท้จริงใน ประเทศ และต้องการใช้อิทธิพลมหาศาลด้วยตนเอง ก็จะเป็นปากเสียงในการเรียกร้องให้ชนชั้นปกครองรักษาและ ส่งเสริมผลประโยชน์ของกลุ่มผลประโยชน์ชาวนาได้อย่างดี 4.3 การรวมกลุ่มผลประโยชน์ (Interest Aggregation) หรือพรรคการเมืองในประเทศกาลังพัฒนา ไม่ มีพรรคการเมืองซึ่งเป็นที่รวมของกลุ่มผลประโยชน์ ที่ต้องการหาทางร่วมมือกันรักษาและส่งเสริมผลประโยชน์ของพวก ตน และต่างแข่งขันเพื่อแสวงหาอานาจทางการเมืองมักมีสมาชิกจากัด และพรรคการเมืองถูกตั้งขึ้นเพื่อเป็นเครื่องมือ
  • 9. หน้า 59 ของบุคคลชั้นนาของพรรค เพื่อเป็นบันไดไปสู่อานาจทางการเมือง คนสาคัญ ๆ ที่เปลี่ยนแปลงระบบเก่ามาเป็นระบบ ใหม่มักจะมาแยกกันตั้งพรรคการเมืองเพื่อแข่งขันเข้ามามีอานาจทางการเมือง ไม่ได้นาเอาประโยชน์ของสมาชิกของ พรรคที่เป็นประชาชนมากาหนดเป็นแนวนโยบายของพรรค เมื่อมีพรรคการเมืองมากจนไม่มีพรรคใดมีอิทธิพลพอที่จะ เลือกตั้งได้เด็ดขาดก็ทาให้ไม่มีเสถียรภาพทางการเมือง รัฐบาลต้องเป็นรัฐบาลผสมมีการเปลี่ยนรัฐบาลบ่อย ๆ ด้วย สาเหตุจากนักการเมืองในพรรคต่าง ๆ ทาให้ประเทศขาดความสามัคคีและความมั่นคง เปิดโอกาสให้คณะทหารอ้าง ความจาเป็นเข้ามาจัดระบบทางการเมือง ดังนั้นทางแก้ไขคือการทาให้กลุ่มผลประโยชน์ใหญ่ ๆ ทางเศรษฐกิจของ ประเทศเข้าร่วมกันจัดตั้งพรรคการเมืองและยึดเอาผลประโยชน์ของกลุ่มเป็นนโยบายของพรรคที่จะดาเนินงานในฐานะ เป็นรัฐบาลต่อไปเมื่อสมาชิกของพรรคได้รับเลือกตั้งเข้าไปมีเสียงข้างมากในสภา 4.4 การแพร่ข่าวทางการเมืองและมติมหาชน (P0litical Communication) สื่อมวลชน เช่น หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ ในประเทศกาลังพัฒนาส่วนใหญ่มีเฉพาะในเมืองใหญ่ ประชาชนในชนบทมีความรู้ เกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองน้อยกว่าประชาชนในเมือง เพราะไม่มีโอกาสทราบข่าวสารเพียงพอ ทาให้ขาด ความสนใจในการเมือง และมติมหาชนที่เกิดอาจไม่มีน้าหนักเป็นเสียงของประชาชนทั้งชาติ นอกจากนี้การที่ชนชั้น ปกครองจากัดสิทธิสื่อมวลชนในการแพร่ข่าวการเมืองก็เป็นอุปสรรคในการพัฒนาการเมือง เพราะประชาชนจะได้ภาพ ผิด ๆ ทางการเมืองของประเทศ แล้วข่าวลือจะทาให้ประชาชนสับสน ความวิตกกังวลไม่พอใจก็เกิดทาให้เสถียรภาพ ทางการเมืองถูกทาลายได้ ฉะนั้นทางที่จะพัฒนาคือรัฐบาลต้องพยายามเผยแพร่ข่าวให้ประชาชนได้รับทราบความ เคลื่อนไหวทางการเมืองอย่างถูกต้อง ไม่มีการปิดบังความเลวร้ายทางการเมืองไว้ 4.5. การใช้อานาจในการปกครองประเทศ (The Authoritative Functions) ประเทศกาลังพัฒนาจะลอก แบบการจัดสถาบันปกครองประเทศมาจากยุโรปและอเมริกา โดยแยกอานาจปกครองออกเป็นฝ่ายนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ แต่สถาบันเหล่านั้นไม่ได้ทาหน้าที่ที่กาหนด เช่น รัฐสภาไม่ใคร่ทราบถึงหน้าที่ของตนและยอมเป็น เครื่องมือของฝ่ายบริหาร ฝ่ายบริหารมีความโน้มเอียงที่จะเข้าควบคุมฝ่ายนิติบัญญัติและตุลาการ นอกจากนี้ยังมีความ โน้มเอียงที่จะรวมอานาจไว้ที่ส่วนกลางแทนที่จะกระจายอานาจไปสู่ภูมิภาค และให้ประชาชนในท้องถิ่นมีการปกครอง ซึ่งจะช่วยให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการใช้อานาจปกครองประเทศ ซึ่งแนวทางที่จะพัฒนาควรยึดแบบประเทศ ประชาธิปไตยที่พัฒนาแล้ว ซึ่งถือเอาการปกครองตนเองของท้องถิ่นเป็นการวางรากฐานของระบอบประชาธิปไตยเพราะ ประชาชนมีส่วนได้เสียเป็นอันดับแรกและโดยตรงต่อความเจริญของท้องถิ่นตน และการปกครองท้องถิ่นเป็นการสร้าง ความชานาญทางการเมืองระดับประเทศให้แก่ประชาชน ประชาชนจะสนใจถ้าเป็นผู้เสียภาษีออกค่าใช้จ่ายในการบูรณะ ท้องถิ่นของตนเอง โดยไม่ต้องพึ่งรัฐบาลกลางนอกจากในรูปของการกู้ยืม ผู้สมัครรับเลือกตั้งในการปกครองท้องถิ่นจะ สามารถเสนอโครงการที่จะใช้จ่ายเงินให้ประชาชนพิจารณา รัฐบาลกลางเองควรจะเพียงแต่ดูแลทั่วไป ไม่ควรมา ควบคุมโดยตรงและต้องยอมให้ท้องถิ่นมีสิทธิเก็บภาษีบางอย่างโดยตรงเพื่อดาเนินงานส่วนท้องถิ่น เช่น ภาษีทรัพย์สิน ภาษีโภคภัณฑ์ แต่รัฐบาลกลางเองยังคงมีรายได้จากส่วนใหญ่ คือ ภาษีเงินได้ ในทางวิชาการถือว่ายิ่งมีกระบวนการ ประชาธิปไตยในท้องถิ่นมากขึ้นเท่าใด ก็จะส่งผลบังคับให้การเมืองระดับชาติมีความเป็นเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น หรือ รวดเร็วขึ้นด้วย
  • 10. หน้า 60 การพัฒนาทางเศรษฐกิจ (economic development) 1. ความหมาย ในประเทศที่ประชาชนมีมาตรฐานการครองชีพต่า การพัฒนาเศรษฐกิจหมายถึงการพัฒนาสถานภาพของ ประเทศ โดยทั่วไปแล้ว หมายถึง การทาให้มีมาตรฐานการครองชีพสูงขึ้นกว่าเดิม และยังหมายถึง การเพิ่มผลผลิต โดยใช้วิธีที่ดีกว่าเดิมในการผลิตและกระจายสินค้าและบริการ แต่ทั้งนี้การพัฒนาเศรษฐกิจเป็นการพัฒนาเพียงด้าน เดียวของสังคมโดยส่วนรวมทั้งหมด ได้แก่ การเมือง สังคม วัฒนธรรม และอื่น ๆ 2. ลักษณะทางเศรษฐกิจที่พัฒนาแล้ว ในสังคมที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจแล้วประชาชนทั่วไปในสังคมนั้น ๆ สามารถวินิจฉัยปัญหาทางเศรษฐกิจไป ตามหลักเหตุผลทางเศรษฐกิจอย่างเดียว โดยไม่ต้องกังวลถึงปัจจัยทางการเมือง ศาสนา มิตรภาพ เป็นต้น และใน ส่วนของแต่ละบุคคลนั้นทุกคนก็มีน้าใจเป็นผู้ประกอบการ ทั้งนี้คือทาอะไรก็พิจารณาว่าตนจะได้กาไรขาดทุนเพียงใด ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดจากสังคมแบบนี้คือ ราคาสินค้าในตลาดก็เป็นไปตามหลักอุปสงค์อุปทานแท้ ไม่ใช่แพงเพราะต้อง เสียเบี้ยบ้ายรายทางให้ผู้มีอานาจ การกาหนดราคาสินค้าเป็นไปตามเกณฑ์ทางเศรษฐกิจแท้ ส่วนทางด้านบุคคลนั้นเมื่อ ก้าวไปซื้อของหรือบริการใด ๆ ที่ไหน ๆ ก็คิดว่า ตนจะต้องซื้อตามราคาที่กาหนดไว้ จะหวังว่าผู้ขายจะลดราคาให้ เพราะเป็นเพื่อนกับลูกสาวหาได้ไม่ ฉะนั้นในบางกรณีเราจึงได้ยินเรื่องที่พ่อแม่ให้ลูกยืมเงินไปเรียนหนังสือ และเมื่อลูก เติบโตแล้วถ้าพ่อแม่มาแบ่งห้องอยู่ด้วยก็ต้องช่วยกันเสียค่าเช่าบ้าน เป็นต้น 3. ลักษณะทางเศรษฐกิจที่ยังไม่พัฒนา (lackof development) กึ่งพัฒนาในรูปพัฒนาเทียมแฝง (pseudomorphic development) 3.1 เศรษฐกิจที่ยังไม่พัฒนาไม่มีตลาดนั้น บุคคลส่วนใหญ่แลกเปลี่ยนสิ่งของซึ่งกันและกัน ต่างตอบ แทนกัน เช่น วันนี้ช่วยเขาทานา พรุ่งนี้เขาช่วยเรา แต่ละคนมีความรู้สึกผูกพันต่อกัน มีการแบ่งสู่กันกิน 3.2 เศรษฐกิจกึ่งพัฒนาในรูปพัฒนาเทียมแฝง จะมีสภาพอยู่กึ่งกลางระหว่างการถือหลักเหตุผลและหลัก ปฏิบัติตอบแทน คือโดยส่วนรวมประชาชนจะคิกจากแง่เศรษฐศาสตร์แท้ ๆ อย่างเดียวไม่พอ ต้องคานึงถึง องค์ประกอบอื่น ๆ เช่น แทนที่จะแสวงหาความร่ารวยด้วยวิธีลงทุนทาการค้าแบบสังคมที่พัฒนาแล้ว กลับเป็นว่าถ้าทา การค้าขายอาจถูกอิทธิพลมืด ฉะนั้นถ้าหวังรวยอาจใช้เงินไปซื้อเสียงหาตาแหน่งทางการเมืองเสียก่อน เมื่อมีตาแหน่ง แล้วจึงกอบโกยภายหลังจะรวยเร็วกว่า สภาพตลาดที่แท้จริงจึงยังไม่เกิดขึ้นทางด้านตัวบุคคลผู้ประกอบการทาง เศรษฐกิจแทนที่จะก้มหน้าทาการค้าขายตรงไปตรงมาก็กลับทาไม่ได้ เพราะในสังคมรูปนี้มักถือว่าอาชีพขายเป็นอาชีพที่ ไร้เกียรติ ผู้ทาการค้าขายจึงได้แก่คนต่างด้าวที่อยู่นอกรีดนอกวงการที่จะไม่มีโอกาสเป็นชนชั้นนาของประเทศ ฉะนั้นใน ทวีปเอเชียการค้าขายจึงอยู่ในมือของคนจีนและอินเดียต่างด้าว ส่วนยุโรปและอเมริกามักได้แก่ พวกยิวหรือไอริสต่าง ด้าว ถ้าคนในชาติเดียวกันไปทาการค้าเข้าก็มักจะประสบความยากลาบาก เพราะต้องคิดราคาส่วนลดกับเพื่อนฝูงหรือ ถูกซื้อเชื่อจนล้มละลายไป 4. ลักษณะปัญหาทางเศรษฐกิจของประเทศด้อยพัฒนาโดยทั่วไป 4.1 ทรัพยากรหรือปัจจัยการผลิต มักจะถูกมองว่าขาดคลนอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง เช่น มีทุน น้อย ความรู้ทางเทคโนโลยีล้าหลัง ขาดผู้ประกอบการ หรือทรัพยากรธรรมชาติไม่อานวย และมักจะมีนโยบายจัดหา เพิ่มเติมปัจจัยการผลิตที่ขาด เช่น เพิ่มการออมและการลงทุน การจัดกาความรู้ด้านวิชาการจากต่างประเทศ และการ
  • 11. หน้า 61 ขยายรัฐวิสาหกิจของรัฐเพื่อชดเชยกับการมีผู้ประกอบการเอกชนไม่เพียงพอ แต่ความจริงแล้วยังมีทรัพยากรหรือปัจจัย การผลิตที่อาจนาไปใช้ในการพัฒนาได้อีกเป็นจานวนมาก แต่ยังถูกใช้ไม่เต็มที่หรือถูกใช้ไปในทางไม่เกิดผลประโยชน์แก่ เศรษฐกิจแท้จริง เช่น แรงงานยังได้ทางานไม่เต็มที่ การประกอบธุรกิจที่มีอยู่ไม่น้อยนั้น บางประเภทไม่ค่อยจะเป็น ประโยชน์แก่การพัฒนาเศรษฐกิจ เช่น การกักตุน การค้าแบบเก็งกาไร การปลูกสร้างอาคารให้เช่า เป็นต้น 4.2 ไม่ได้ใช้การออมให้เกิดประโยชน์เต็มที่ เช่น ออมเก็บไว้เฉย ๆ และยังสามารถเพิ่มการออมได้อีก มาก เช่น การจัดงานพิธีรีตองอย่างหรูหราสิ้นเปลื้องและการใช้จ่ายเงินเพื่อโอ้อวดหรือการบริโภคเอาอย่าง ซึ่งการใช้ จ่ายบริโภคเหล่านี้สามารถลดลงได้อีกมาก 4.3 ความรู้ทางเทคนิคซึ่งเป็นปัจจัยการผลิตที่สาคัญซึ่งยังขาดอยู่ ประเทศด้อยพัฒนาหรือกาลังพัฒนา สามารถจะเรียนรู้และนาเอาความรู้ทางเทคนิคที่ผ่านการทดลองและใช้ในประเทศพัฒนาแล้วมาใช้เป็นประโยชน์ได้ 5. แนวทางการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ปัญหาของการพัฒนาเศรษฐกิจอยู่ที่ว่าทาอย่างไรจึงจะนาเอาปัจจัยการผลิตหรือทรัพยากรที่มีอยู่แต่ยังกระจัด กระจาย ยังไม่ถูกใช้หรือใช้ผิด ๆ มาประกอบกันและใช้ให้เป็นประโยชน์อย่างเต็มที่ สิ่งที่ขาดคือการตัดสินใจนา ทรัพยากรที่มีอยู่แล้วมาใช้ในการพัฒนา ดังนั้นการแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจของประเทศ มีดังนี้ 5.1 ต้องหาสิ่งที่จะช่วยผลักดัน (pressures) และชักนา (inducement) ให้มีการตัดสินใจระดม ทรัพยากร และปัจจัยการผลิตที่มีอยู่แล้วมาใช้ให้เป็นประโยชน์แก่การพัฒนามากที่สุด 5.2 ต้องมีความสามารถในการตัดสินใจที่จะพัฒนา จะต้องสร้างบรรยากาศทางจิตใจให้เหมาะสม คือ ต้องเข้าใจว่าผลประโยชน์ส่วนตัวอาจสอดคล้องกับผลประโยชน์ส่วนรวมได้ คือเอกชนต้องรู้สึกว่าอาจจะปรับปรุงฐานะ ตัวเองได้ในขณะที่เศรษฐกิจของประเทศขยายตัว และสังคมต้องตระหนักว่าการที่เอกชนสามารถปรับปรุงฐานะตนเอง ได้สาเร็จก็จะเป็นผลดีกับสังคมส่วนรวมได้ด้วย เมื่อเป็นดังนี้การตัดสินใจพัฒนา คือ ความสามารถที่จะรวบรวม ทรัพยากรที่มีอยู่มาใช้พัฒนาประเทศอย่างจริงจังและเต็มที่จะค่อยเกิดขึ้นเอง มิฉะนั้นจะมีการคิดหนักไปทางด้านใด ด้านหนึ่งเพียง 2 อย่าง ดังนี้ 5.2.1 การเปลี่ยนแปลงแบบคานึงถึงส่วนรวม (group-focused image of change) คือเห็นว่า ฐานะทางเศรษฐกิจของคนจะดีขึ้นก็โดยทาให้ผู้อื่นเสียเปรียบ ดังนั้นจึงเห็นว่าการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจไม่พึง ปรารถนา เว้นแต่สมาชิกในสังคมจะได้ประโยชน์ทั่วกัน 5.2.2 การเปลี่ยนแปลงแบบคานึงถึงส่วนตัว (ego-focused image of change) เห็นว่าจะใช้ สมาชิกของสังคมก้าวหน้าไปพร้อม ๆ กันนั้นสุดวิสัย ดังนั้นจึงจึงนึกถึงแต่ตนเอง แยกตัวเองจากส่วนรวมและมุ่ง ประโยชน์ส่วนตัวเป็นที่ตั้ง 5.3 ประเทศกาลังพัฒนาควรริเริ่มและเลือกลงทุน (autonomous investment) ในกิจการที่ไม่สมดุล เพราะมีนักวิชาการเห็นว่าควรจะมีการจาเริญทางเศรษฐกิจแบบสมดุล (สมดุลในด้านอุปสงค์) คือให้มีการตั้ง อุตสาหกรรมหลาย ๆ อย่างพร้อม ๆ กัน อุปทานจะก่อให้เกิดอุปสงค์ เช่น ตั้งโรงงานผลิตรองเท้า ขยาย อุตสาหกรรมผลิตอาหาร เสื้อผ้า เครื่องใช้ต่าง ๆ พร้อม ๆ กัน รอยได้จากการประกอบอาชีพในโรงงานผลิตรองเท้า จะถูกนามาใช้ซื้อรองเท้า อาหาร เสื้อผ้า ซึ่งจะทาให้ประสบความสาเร็จในอุตสาหกรรมทุกด้าน แต่ตามความเป็นจริง แล้วในประเทศกาลังพัฒนาจะทาไม่ได้เช่นนั้นเพราะขาดแคลน ดังนั้น อุตสาหกรรมตั้งใหม่ในประเทศกาลังพัฒนาควร
  • 12. หน้า 62 เป็นอุตสาหกรรมผลิตสินค้าชนิดที่มีอยู่แล้ว สินค้าใหม่หรือสินค้าชนิดที่เมื่อก่อนต้องสั่งซื้อจากต่างประเทศ อุตสาหกรรมเหล่านี้ก็จะดาเนินงานไปได้เพราะมีอุปสงค์เพียงพอ การจัดสรรทรัพยากรเพื่อการลงทุน ควรมีหลักพิจารณาว่าการลงทุนในกิจการใดจะมีกาลังกระตุ้นทาให้เกิด การลงทุนอื่นง่ายและเร็วกว่ากัน โดยดูว่าควรเลือกทาโครงการใดก่อนถ้าเป็นสิ่งจาเป็นทั้งคู่ และต้องพิจารณาว่าควร ตัดสินใจเริ่มโครงการใดก่อนหลัง ควรเลือกลงทุนในโครงการที่ทาให้การตัดสินใจในโครงการหลังง่ายและเร็วขึ้น เช่น การพัฒนาอุตสาหกรรมและการพัฒนาการศึกษา ถ้าเลือกทาโครงการแรกก่อนอุปสงค์คนงานที่มีความรู้และได้รับการ อบรมจะมากกว่าอุปทานที่มีอยู่ ทาให้การพัฒนาการศึกษาติดตามมาได้ง่าย ดีกว่าจะพัฒนาการศึกษาให้มีอุปทานก่อน แล้วจึงไปพัฒนาอุตสาหกรรมให้เกิดอุปสงค์ทีหลัง 5.4 ถ้าเป็นไปได้ ประเทศกาลังพัฒนาควรจะลงทุนในอุตสาหกรรมที่มีผลทั้งสองด้านมากที่สุด คือเมื่อ ลงทุนไปแล้วทาให้ไปกระตุ้นชักนาหรือผลักดันให้มีการลงทุนในอุตสาหกรรมที่เกิดก่อน เช่น อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ กับอุตสาหกรรมกระดาษ หรืออีกประเภทหนึ่งเมื่อลงทุนไปแล้วผลผลิตของอุตสาหกรรมใหม่จะใช้เป็นวัสดุการผลิต สาหรับอุตสาหกรรมที่ถูกกระตุ้นให้ตั้งขึ้นในภายหลัง เช่น อุตสาหกรรมเหล็กกับอุตสาหกรรมเหล็กกล้า 5.5 การลงทุนขั้นพื้นฐาน (intrastructure) เช่น การคมนาคม การขนส่ง การพลังงานไฟฟ้า เป็น ของจาเป็น แต่กิจการเพิ่มผลผลิตโดยตรง เช่น การอุตสาหกรรมก็ต้องได้รับการพิจารณาลงทุนด้วย คือลงทุนขั้น พื้นฐานเท่าที่มีความจาเป็นแล้วนาเอาทรัพยากรที่สงวนไว้ไปใช้ลงทุนในกิจการที่เพิ่มผลผลิตโดยตรงให้มากขึ้น 5.2 เมื่อมีการพัฒนาทั้งสังคม การเมือง และเศรษฐกิจไปพร้อม ๆ กัน คือในทางสังคมจะมีความเสมอ ภาคเท่าเทียมกันจริง เปิดโอกาสให้คนได้เลื่อนฐานะในสังคมด้วยการศึกษา ด้วยการประกอบอาชีพสุจริต การรับ บุคคลเข้าทางานเป็นไปตามระบบคุณวุฒิอย่างแท้จริง มิใช่เอามาแต่เพียงรูปแบบให้การศึกษาระดับพื้นฐานและระดับที่ สูงขึ้นไปอย่างทั่วถึง ซึ่งจะช่วยในทางสังคมให้ประกอบด้วยคนที่มีทัศนคติที่ถูกต้อง นอกจากนี้ยังมีความเข้าใจถึงสิทธิ ทางการเมืองและใช้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งสงวนรักษาสิทธิทางการเมืองดังกล่าวไว้มิให้ถูกทาลายไป ในทาง เศรษฐกิจเมื่อมีการศึกษาก็จะช่วยให้การประกอบอาชีพได้ผลตอบแทนสูงเป็นเงาตามตัว เมื่อเศรษฐกิจแต่ละบุคคลดี เศรษฐกิจโดยส่วนรวมของประเทศจะดีตามไปด้วย มีการออมและการลงทุนที่ถูกต้อง การที่รัฐจัดโครงการทั้งที่ต้องใช้ จ่ายเงินจานวนมาก เช่น การพัฒนาการศึกษา การพัฒนาชุมชน โดยจัดลาดับก่อนหลัง และมีโครงการเข้าถึง ประชาชน โดยไม่จาเป็นต้องใช้งบประมาณจานวนมากคือจูงใจให้ประชาชนได้มีการพัฒนาตนเองในด้านต่าง ๆ และมี การปฏิรูปที่ดิน มีการจัดสหกรณ์ชาวนาและสหกรณ์กลุ่มของกลุ่มอาชีพต่าง ๆ โดยทั่วถึง ก็จะมีผลช่วยทั้งทาง เศรษฐกิจ สังคม ตลอดจนขจัดปัญหาทางการเมืองพร้อมกันไปด้วย 