SlideShare a Scribd company logo
1 of 19
Download to read offline
การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม 2
เรื่อง ภาคตัดกรวย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
โดยใช้ชุดการสอนที่เน้นการเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้
นางทิภาพร บุตรโคตร
โรงเรียนปทุมเทพวิทยาคาร
อาเภอเมือง จังหวัดหนองคาย
รายงานวิจัย
1
การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม 2
เรื่อง ภาคตัดกรวย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
โดยใช้ชุดการสอนที่เน้นการเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้
ทิภาพร บุตรโคตร
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดการสอนวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม 2 เรื่อง ภาคตัด
กรวย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของชุดการสอน
ที่เน้นการเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้วิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม 2 เรื่อง ภาคตัดกรวย ชั้นมัธยม ศึกษาปีที่ 4
3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม 2 เรื่อง ภาคตัดกรวย ของนักเรียนที่เรียน
โดยใช้ชุดการสอนที่เน้นการเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 4) เปรียบเทียบ
คะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม 2 เรื่อง ภาคตัดกรวย ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้
ชุดการสอนที่เน้นการเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้หลังเรียน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 และ 5) ศึกษาความพึง
พอใจของนักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดการสอนที่เน้นการเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้วิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม2
เรื่อง ภาคตัดกรวย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยม ศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนปทุมเทพ
วิทยาคาร อาเภอเมือง จังหวัดหนองคาย สานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 จานวน 1
ห้องเรียน จานวน 40 คน ที่ได้มาโดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยทา
การทดลองในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง 16 คาบ เป็นเวลา 4 สัปดาห์
แบบแผนการวิจัยแบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน (One Group Pretest–Posttest Design)
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ 2) ชุดการสอนที่เน้นการ
เรียนแบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง ภาคตัดกรวย 3) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ และ 4)
แบบ สอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (X) และค่าส่วน
เบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบสมมติฐานใช้ t–test for Dependent Samples และ t–test
One Sample Test ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุดการสอนวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม 2 เรื่อง ภาคตัดกรวย ชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.77/81.41 ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้ 2)
ดัชนีประสิทธิผลของชุดการสอนที่เน้นการเรียนแบบสืบเสาะ หาความรู้วิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม 2 เรื่อง ภาค
ตัดกรวย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เท่ากับ 0.6783 แสดงว่า เมื่อนักเรียนได้รับการสอนโดยใช้ชุดการสอนที่เน้น
การเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้แล้ว นักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนรู้เพิ่มขึ้น 0.6783 หรือคิดเป็นร้อย
ละ 67.833) นักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดการสอนที่เน้นการเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้ วิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม
2 เรื่อง ภาคตัดกรวย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมี
2
นัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4) นักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดการสอนที่เน้นการเรียนแบบ สืบเสาะหาความรู้
วิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม 2 เรื่อง ภาคตัดกรวย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูง
กว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 ที่กาหนดไว้ อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 5) นักเรียนมีความพึงพอใจ
ต่อการเรียนโดยใช้ชุดการสอนที่เน้นการเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้ วิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม 2 เรื่อง ภาค
ตัดกรวย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
บทนา
สังคมโลกในยุคศตวรรษที่ 21 เป็นสังคม
แห่งความรู้ (Knowledge Society) ผู้ที่จะประสบ
ความสาเร็จในสังคมของโลกยุคใหม่จะต้องมีความรู้
อันเป็นสากล มีความสามารถในการสื่อสาร การคิด
การแก้ปัญหาการใช้เทคโนโลยีมีคุณธรรม จริยธรรม
สามารถทางานร่วมกับผู้อื่นมีวินัยและมีคุณลักษณะ
อันพึงประสงค์ที่จาเป็นต่อการเรียนรู้การพัฒนา
ตนเองอย่างต่อเนื่องและมีทักษะชีวิตสามารถอยู่
ร่วมกับผู้อื่นในสังคมโลกได้อย่างสันติสุข ดังนั้นการ
จัดการศึกษาในปัจจุบันต้องเป็นการจัดการศึกษาให้
คนในชาติ เป็นคนเก่ง คนดีและมีความสุข ตาม
ปฏิญญาว่าด้วยการจัดการศึกษาของ UNESCO
โดยในศตวรรษที่ 21 ทุกประเทศตื่นตัวให้ความ
ใส่ใจต่อการพัฒนาคุณภาพของมนุษย์ทุกเพศทุกวัย
ทุกสมรรถนะจึงได้มีการพัฒนาและใช้หลักสูตร
การศึกษาที่มีเป้าหมายให้ผู้เรียน Learn to know,
Learn to be, Learn to do เพื่อให้มีคุณลักษณะที่
พึงประสงค์ในฐานะพลเมืองของชาติและ Learn to
Live Together เพื่อสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์
ในฐานะพลโลกนโยบายด้านหนึ่งของกระทรวง
ศึกษาธิการในการพัฒนาเยาวชนของชาติเข้าสู่โลก
ยุคศตวรรษที่ 21 คือการที่ประเทศไทยได้ตอบสนอง
ต่อแนวคิดดังกล่าว ดังจะเห็นได้จากการพัฒนา
หลักสูตรที่มีการดาเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่ง
ส่งเสริมให้นักเรียนมีคุณธรรม รักความเป็นไทย มี
ทักษะการคิดวิเคราะห์ คิดสร้างสรรค์ มีทักษะด้าน
เทคโนโลยีสามารถทางานร่วมกับผู้อื่นและสามารถ
อยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมโลกได้อย่างสันติ (กระทรวง
ศึกษาธิการ, 2552: 2)
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.
2542 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2553) กล่าวถึงแนวทาง
การจัดการศึกษาว่า นักเรียนทุกคนมีความ สามารถ
ในการเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียน
สาคัญที่สุดกระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้
นักเรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตาม
ศักยภาพ ประกอบกับการจัดการศึกษาศึกษาตาม
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช
2551 ซึ่งเป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อความเป็น
เอกภาพของชาติ มีจุดหมายและมาตรฐานการ
เรียนรู้ เป็นเป้าหมายสาหรับพัฒนาเด็กและเยาวชน
ให้มีความรู้ ทักษะ เจตคติ และคุณธรรมบนพื้นฐาน
ของความเป็นไทยควบคู่ความเป็นสากล จึงจัดการ
ศึกษาให้ทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาอย่างเสมอ
ภาคและมีคุณภาพ สนองการกระจายอานาจ โดย
สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับ
สภาพความต้องการของท้องถิ่น มีโครงสร้าง
ยืดหยุ่นทั้งด้านสาระการเรียนรู้ เวลาและการ
จัดการเรียนรู้โดยเน้นนักเรียนเป็นสาคัญ มุ่งพัฒนา
นักเรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้และ
เกิดสมรรถนะสาคัญ 5 ประการ คือความสามารถใน
การสื่อสาร การคิด การแก้ปัญหา การใช้ทักษะชีวิต
และการใช้เทคโนโลยี (กระทรวงศึกษาธิการ, 2551:
3
3) ในการจัดการเรียนการรู้ตามหลักสูตรแกนกลาง
การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระ
การเรียนรู้คณิตศาสตร์ได้กาหนดให้นักเรียนทุกคน
ต้องเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เนื่องจากเป็นวิชาที่มี
บทบาทสาคัญยิ่งต่อการพัฒนาความคิดของมนุษย์
ทาให้มนุษย์มีความคิดสร้างสรรค์ คิดอย่างมีเหตุผล
เป็นระบบ มีแบบแผน สามารถวิเคราะห์ปัญหาหรือ
สถานการณ์ได้อย่างถี่ถ้วน ช่วยให้คาดการณ์ วาง
แผน ตัดสินใจ แก้ปัญหาและนาไปใช้ในชีวิต
ประจาวันได้อย่างถูกต้องเหมาะสม นอกจากนี้
คณิตศาสตร์ยังเป็นเครื่องมือในการศึกษาทางด้าน
วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและศาสตร์อื่นๆ
คณิตศาสตร์จึงมีประโยชน์ต่อการดาเนินชีวิต ช่วย
พัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นและสามารถอยู่ร่วมกับ
ผู้อื่นได้อย่างมีความสุข(สานักวิชาการและมาตรฐาน
การศึกษา, 2551: 1) สอดคล้องกับที่สถาบันส่งเสริม
การสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (2551: 114–
127) ได้ระบุว่า คณิตศาสตร์มีบทบาทสาคัญต่อ
ศาสตร์อื่นๆ มาตั้งแต่สมัยโบราณ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ในทางวิทยาศาสตร์ เกาส์ (Gauss: ค.ศ.1777–1855
อ้างถึงในสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยา ศาสตร์ และ
เทคโนโลยี, 2551: 114) ได้กล่าวว่า คณิตศาสตร์
เป็นราชินีของวิทยาศาสตร์ (Mathematics is the
Queen of the Sciences) ถึงแม้ว่าการจัดการ
ศึกษาให้ความสาคัญกับกลุ่มสาระการเรียนรู้
คณิตศาสตร์มากเพียงใดก็ตาม แต่ก็ยังไม่สามารถที่
จะทาให้นักเรียนประสบความสาเร็จในการเรียน
คณิตศาสตร์ตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตรได้ ซึ่งก็
มีหลายปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพของการเรียนการ
สอนคณิตศาสตร์ ทั้งกระบวนการนาหลักสูตรไปใช้
คุณภาพของนักเรียนในด้านความรู้ ส่วนหนึ่งก็
ขึ้นอยู่กับความรู้ความสามารถของครูผู้สอน รวมทั้ง
กระบวนการถ่ายทอดความรู้ของครูยังไม่สอดคล้อง
กับความต้องการของนักเรียน สถาน การณ์ในโลก
ปัจจุบันยุคศตวรรษที่ 21 ที่เต็มไปด้วยการ
เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ซึ่งการเรียนรู้ในศตวรรษที่
21 ต้อง “ก้าวข้ามสาระวิชา” ไปสู่การเรียนรู้
“ทักษะเพื่อการดารงชีวิตในศตวรรษที่ 21” (21st
Century Skills) ที่ครูสอนไม่ได้ นักเรียนต้องเรียน
เองหรือพูดใหม่ว่าครูต้องไม่สอน แต่ต้องออกแบบ
การเรียนรู้ และอานวยความสะดวก (facilitate) ใน
การเรียนรู้ ให้นักเรียนเรียนรู้จากการเรียนแบบลง
มือทา แล้วการเรียนรู้ก็จะเกิดจากภายในใจและ
สมองของตนเอง (วิจารณ์ พานิช, 2555: 15) ครู
เป็นผู้ที่มีบทบาทสาคัญอย่างยิ่งในฐานะเป็นผู้ที่
ถ่ายทอดวิชาความรู้ให้แก่ศิษย์ รวมทั้ง เป็นผู้ที่
สร้างสรรค์ภูมิปัญญา และปลูกฝังด้านคุณธรรม
จริยธรรม ให้นักเรียนเป็นผู้ที่มีความพร้อมทั้งด้าน
ความรู้ สติปัญญา ร่างกายและจิตใจ ดังนั้นครูใน
ศตวรรษที่21 จาเป็นจะต้องมีการปรับกระบวนการ
รูปแบบการสอนครูต้องเป็นผู้ออกแบบ กระบวนการ
เรียนรู้ที่จะทาให้นักเรียนเกิดทักษะในการแสวงหา
ความรู้ด้วยตนเอง โดยเฉพาะการเรียน คณิตศาสตร์
ซึ่งเป็นวิชาที่จาเป็นและสาคัญอย่างยิ่งในการดาเนิน
ชีวิต
ปัจจุบันพบว่านักเรียนส่วนใหญ่ไม่ประสบ
ผลสาเร็จในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เท่าที่ควร ดัง
จะเห็นได้จากผลการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ
ขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 6 โรงเรียนปทุมเทพวิทยาคาร โดยสถาบัน
ทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์กรมหาชน)
ปีการศึกษา 2558 ผลจากการประเมินพบว่า
คะแนนเฉลี่ยวิชาคณิต ศาสตร์ของนักเรียนโรงเรียน
ปทุมเทพวิทยาคารนั้นมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 29.70
คะแนน คะแนนเฉลี่ยระดับประเทศเท่ากับ 26.59
คะแนน ซึ่งสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยระดับประเทศ แต่
4
ต่ากว่ารายวิชาอื่นๆ ซึ่งสาเหตุที่ทาให้นักเรียนส่วน
ใหญ่ไม่ประสบผลสาเร็จในการเรียนคณิตศาสตร์
เท่าที่ควรนั้น อาจเนื่องมาจากปัจจัยแวดล้อมหลาย
อย่าง เช่น ลักษณะของวิชาที่ค่อนข้างเป็นนามธรรม
ซึ่งประกอบด้วยสัญลักษณ์ อาศัยการคิดที่เป็นแบบ
แผนมีขั้นตอนและมีเหตุผล นอกจากนี้นักเรียน
บางส่วนยังมีพื้นฐานความรู้ในวิชาคณิตศาสตร์ไม่ดี
พอ ทาให้นักเรียนไม่สนใจเรียน และมีเจตคติที่ไม่ดี
ต่อวิชาคณิตศาสตร์ ส่งผลให้นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ย
ต่ากว่าวิชาอื่น และแม้ว่านักเรียนจะมีความรู้ความ
เข้าใจในเนื้อหาคณิตศาสตร์เป็นอย่างดี แต่ยังมี
นักเรียนจานวนไม่น้อยที่ด้อยความสามารถในการ
แก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร การเสนอ
ความคิดทางคณิตศาสตร์ การเชื่อมโยงคณิตศาสตร์
กับสถานการณ์ต่างๆ และความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
ซึ่งส่งผลให้นักเรียนไม่สามารถนาความรู้ทาง
คณิตศาสตร์ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจาวันได้อย่าง
มีประสิทธิภาพ ดังนั้นครูผู้สอนจึงต้องปรับวิธีการ
จัดการเรียนการสอนที่ช่วยเร่งเร้าให้นักเรียนเกิด
ความสนใจและเกิดการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้น เนื่องจาก
วิธีสอนหรือวิธีจัดการเรียนรู้เป็นหัวใจสาคัญ ของ
การสอน คือสอนให้นักเรียนเรียนรู้เป็น ไม่ใช่สอน
ให้รู้แต่เพียงเนื้อหาต้องสอนให้นักเรียนมี
ความสามารถในการเรียน และมีประสิทธิผลใน
อนาคต (Joyce, Weil and Calhoun, 2009: 6)
การสอนคณิตศาสตร์ให้เกิดผลสมบูรณ์ได้
ต้องทาให้นักเรียนเกิดความคงทนในการเรียนรู้
เพราะเนื้อหาของวิชาคณิตศาสตร์มีความสัมพันธ์กัน
เป็นลูกโซ่ เนื้อหาในบทเรียนแรกจะเป็นพื้นฐานใน
บทเรียนต่อไปในระดับชั้นที่สูงขึ้น การจัดการศึกษา
ต้องมุ่งพัฒนาคนให้เต็มตามศักยภาพที่มีอยู่ โดยต้อง
ให้เกิดการพัฒนาที่สมดุล ทั้งร่างกาย จิตใจ
สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม การจัดการศึกษา
ดังกล่าวต้องสอดคล้องกับการจัดกิจกรรมการเรียน
การสอนที่ให้นักเรียนสร้างความรู้ด้วยตนเอง
กล่าวคือให้นักเรียนมีบทบาทร่วมในกิจกรรมการ
เรียนการสอนมากขึ้น กระตุ้นให้เกิดการอยากเรียนรู้
ส่งเสริมให้นักเรียนทากิจกรรมต่างๆ ที่ก่อให้เกิดการ
เรียนรู้ด้วยตนเอง กระบวนการที่น่าสนใจอย่างหนึ่ง
คือ การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry
Method) เพราะเป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้น
นักเรียนเป็นเป็นสาคัญและเปิดโอกาสให้นักเรียนได้
มีปฏิสัมพันธ์กันในกิจกรรมการเรียนรู้ เป็นรูปแบบ
การจัดกิจกรรมที่มุ่งเน้นให้นักเรียนศึกษารวบรวม
ข้อมูลด้วยตนเอง สร้างและค้นพบ แสวงหาความรู้
ด้วยตนเอง แลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยกระบวนการต่างๆ
ที่ส่งผลให้นักเรียนเกิดความคิดรวบยอด (สุนีย์
เหมะประสิทธิ์, 2546: 334) การเรียนแบบสืบ
เสาะหาความรู้เป็นการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีสรรค์
สร้างความรู้ (Constructivism) ที่เชื่อว่าการเรียนรู้
เกิดขึ้นในตัวของนักเรียน โดยครูเป็นผู้กระตุ้น
อานวยความสะดวก ซักถามและจัดสถานการณ์ให้
เหมาะสมกับความรู้เดิมของนักเรียน เพื่อให้
นักเรียนคิดและเชื่อมโยงความรู้จนเกิดการเรียนรู้
อย่างมีความ หมาย เหมาะสาหรับการนาไปพัฒนา
ทักษะการคิดพื้นฐานของผู้เรียน โดยการเรียนแบบ
สืบเสาะหาความรู้เป็นกระบวนการที่นักเรียนจะต้อง
สืบค้น เสาะหา สารวจตรวจสอบ และค้นคว้าด้วย
วิธีการต่างๆ จนทาให้นักเรียนเกิดความเข้าใจและ
เกิดการรับรู้ความรู้นั้นอย่างมีความหมาย จึงจะ
สามารถเป็นองค์ความรู้ของนักเรียนเอง และเก็บ
เป็นข้อมูลไว้ในสมองได้อย่างยาวนาน สามารถ
นามาใช้ได้เมื่อมีสถานการณ์ใด ๆ มาเผชิญหน้า
ดังนั้นการที่นักเรียนจะสร้างองค์ความรู้ได้ต้องผ่าน
กระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย
5
นอกจากวิธีการจัดการเรียนการสอนที่
เหมาะสมแล้วการนาสื่อมาใช้ประกอบการเรียนการ
สอนก็เป็นส่วนสาคัญอีกส่วนหนึ่งที่ทาให้นักเรียนเกิด
การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ สื่อการเรียนการ
สอนสามารถช่วยให้นักเรียนเรียนรู้ในสิ่งต่างๆ ได้
โดยใช้เวลาเรียนน้อยลง เรียนรู้ประสบการณ์ที่มี
ความหมายในรูปแบบต่างๆ เกิดความประทับใจ
มั่นใจ และจดจาได้นาน ยิ่งไปกว่านั้นสื่อการเรียน
การสอนยังมีบทบาทอย่างมากในการเรียนการสอน
เนื่องจากเป็นตัวกลางที่ช่วยให้การสื่อสารระหว่างครู
และนักเรียนดาเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ ทาให้
นักเรียนเข้าใจความหมายของเนื้อหาบทเรียนได้ตรง
กับที่ครูต้องการ ไม่ว่าสื่อนั้นจะอยู่ในรูปแบบใดก็
ตาม ชุดการสอนก็คือนวัตกรรมทางการศึกษาอย่าง
หนึ่งที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ประกอบการจัดการเรียนรู้ ซึ่ง
นักเรียนสามารถศึกษาได้ด้วยตนเองตามขั้นตอนที่
ระบุไว้ตามศักยภาพของแต่ละคน เป็นการพัฒนา
สมรรถนะทางด้านการเรียนรู้ของนักเรียน เพื่อให้
บรรลุผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของชุดการสอนที่ได้
กาหนดไว้ โดยมีครูเป็นผู้แนะนาหรือคาปรึกษา
เท่านั้น (เบญจวรรณ ใจหาญ, 2550: 10) โดยชุด
การสอนมี การนาเสนอเนื้อหาในรูปของสื่อประสม
มีการแบ่งเนื้อหาออกเป็นส่วนย่อยๆ นาเสนอ
ตามลาดับ ทาให้นักเรียนทราบความ ก้าวหน้าใน
การเรียนรู้ด้วยตนเอง สะดวกแก่นักเรียนเพราะ
สามารถเรียนรู้ในทุกสถานที่และทบทวนเนื้อหาได้
ตามต้องการ นอกจากนี้ชุดการสอนที่มีประสิทธิภาพ
ตามเกณฑ์ จะมีประโยชน์ต่อการเรียนการสอนอย่าง
ยิ่ง คือช่วยเร้าความสนใจของนักเรียนและเปิด
โอกาสให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการเรียน ได้แสดง
ความคิดเห็น ได้ฝึกทักษะในกระบวนการกลุ่ม ได้
ฝึกการตัดสินใจและแสวงหาความรู้ด้วยตนเองและ
เปิดโอกาสให้นักเรียนได้เรียนรู้ตามความถนัด
ความสนใจ (Heinich and others, 1999: 792–
795)
จากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของ
ผู้วิจัยที่ผ่านมาพบว่า เรื่อง ภาคตัดกรวย เป็นหนึ่งใน
สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่นักเรียนส่วนใหญ่
ประสบปัญหาในการเรียน นักเรียนโดยส่วนใหญ่ไม่
ผ่านเกณฑ์ตามผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ซึ่งจากการ
สังเกตการถามตอบในห้องเรียน การตรวจ
แบบฝึกหัดและแบบทดสอบ พบว่านักเรียนบางคน
มักจะทาผิดในโจทย์ที่มีลักษณะเดิม ๆ หรือถ้าโจทย์
มีการประยุกต์นักเรียนมักจะทาไม่ได้ แม้ว่าจะใช้
ความรู้พื้นฐานเดิมในการแก้โจทย์ปัญหานั้น แสดง
ให้เห็นว่านักเรียนยังไม่เข้าใจในเนื้อหาอย่างแท้จริง
นอกจากนี้ภาคตัดกรวยยังเป็นพื้นฐานในการเรียน
เนื้อหาแคลคูลัสเบื้องต้นในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
และวิชาแคลคูลัสในระดับอุดมศึกษาอีกด้วย ดังนั้น
นักเรียนควรจะมีความรู้เรื่องภาคตัดกรวยอย่างเพียง
พอที่จะสามารถนาความรู้ไปใช้ในการเรียนวิชา
แคลคูลัสขั้นสูงต่อไปได้ ในอดีตการเรียนการสอน
คณิตศาสตร์เป็นลักษณะของการที่ครูอธิบาย แล้วให้
นักเรียนทาแบบฝึกหัดให้มากที่สุด เพื่อจะได้ฝึกฝน
ให้มีความเข้าใจดียิ่งขึ้น ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว
นักเรียนอาจไม่เข้าใจตามที่ครูสอน ส่งผลให้นักเรียน
เกิดความเบื่อหน่ายในการเรียน ครูจึงควร
ปรับเปลี่ยนวิธีการสอนโดยครูจะเป็นผู้แนะนาให้
นักเรียน รู้จักสังเกต แสวงหาความรู้และสร้าง
ความรู้ด้วยตนเอง ซึ่งทาให้ได้ข้อสรุปที่สามารถ
นาไปทาแบบฝึกหัดได้ด้วยความเข้าใจ นอกจากนี้
การเรียนการสอนในห้องเรียนที่มีนักเรียนจานวน
มาก เป็นการยากที่จะให้นักเรียนทุกคนสามารถ
เรียนรู้ฝึกฝนทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
ต่างๆ ได้พร้อมกัน
6
จากเหตุผลที่กล่าวมาแล้วข้างต้นผู้วิจัยจึง
สนใจที่จะพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์
เรื่อง ภาคตัดกรวย ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้
สืบเสาะหาความรู้ โดยมีชุดการสอนมาเป็น
เครื่องมือช่วยในการเรียนรู้เพื่อให้เห็นเป็นรูปธรรม
ในเนื้อหาเรื่อง ภาคตัดกรวย ทาให้การจัดกิจกรรม
การเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์มีประสิทธิภาพ
มากยิ่งขึ้น ตลอดจนส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนที่สูงขึ้น
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อพัฒนาชุดการสอนวิชาคณิตศาสตร์
เพิ่มเติม 2 เรื่อง ภาคตัดกรวย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
2. เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของชุดการ
สอนที่เน้นการเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้ วิชา
คณิตศาสตร์เพิ่มเติม 2 เรื่อง ภาคตัดกรวย ชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 4
3. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
วิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม 2 เรื่อง ภาคตัดกรวย ของ
นักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดการสอนที่เน้นการเรียน
แบบสืบเสาะหาความรู้ ระหว่างก่อนเรียนและหลัง
เรียน
4. เพื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม 2 เรื่อง ภาค
ตัดกรวย ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดการสอนที่
เน้นการเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้ หลังเรียนไม่
น้อยกว่าร้อยละ 70
5. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่
เรียนโดยใช้ชุดการสอนที่เน้นการเรียนแบบสืบเสาะ
หาความรู้ วิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม 2 เรื่อง ภาคตัด
กรวย
ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
1.1 ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนปทุมเทพวิทยาคาร
อาเภอเมือง จังหวัดหนองคาย สานักงานเขตพื้นที่
การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 ภาคเรียนที่ 2
1.2 ปีการศึกษา 2559 จานวน 2 ห้องเรียน จานวน
ทั้งหมด 83 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้ 1) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการหา
ประสิทธิภาพของชุดการสอนเป็นนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนปทุมเทพวิทยาคาร
อาเภอเมือง จังหวัดหนองคาย สานักงานเขตพื้นที่
การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 ภาคเรียนที่ 2
1.3 ปีการศึกษา 2558 จานวน 49 คน ที่ได้มาโดยการ
สุ่มอย่างง่าย 2) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง
เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/15 โรงเรียนปทุม
เทพวิทยาคาร อาเภอเมือง จังหวัดหนองคาย
สานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยม ศึกษา เขต 21
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จานวน 1
ห้องเรียน จานวน 40 คน ที่ได้มาโดยการสุ่มกลุ่ม
ตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling)
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1. แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดการสอน
ที่เน้นการเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้ วิชา
คณิตศาสตร์เพิ่มเติม 2 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง
ภาคตัดกรวย จานวน 8 แผน ซึ่งแผนการจัดการ
เรียนรู้นี้ผ่านการตรวจแก้ไขปรับปรุงและทดลองใช้
แล้ว
2. ชุดการสอนที่เน้นการเรียนแบบสืบเสาะ
หาความรู้ วิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม 2 เรื่อง ภาค
ตัดกรวย ประกอบด้วย วงกลม พาราโบลา วงรี
และไฮเพอร์โบลา จานวน 8 ชุด
7
3. แบบทดสอบประจาชุดการสอน
สาหรับใช้ทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนของแต่ละ
ชุดการสอน เป็นแบบทดสอบแบบปรนัย 4 ตัวเลือก
จานวน 8 ชุด ชุดละ 10 ข้อ
4. แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา
คณิตศาสตร์เพิ่มเติม 2 เรื่อง ภาคตัดกรวย เป็น
แบบทดสอบแบบปรนัย 4 ตัวเลือก จานวน 30 ข้อ
มีค่าความยากอยู่ระหว่าง 0.36–0.77 มีค่าอานาจ
จาแนกอยู่ระหว่าง 0.33–0.83 และมีค่าความ
เชื่อมั่นของแบบทดสอบ ทั้งฉบับเท่ากับ 0.89
5. แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการเรียน
โดยใช้ชุดการสอนที่เน้นการเรียนแบบสืบเสาะหา
ความรู้ เป็นแบบมาตรประเมินค่า (Rating Scale)
5 ระดับ คือ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย
และน้อยที่สุด จานวน 20 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่น
ของแบบสอบถามความพึงพอใจทั้งฉบับ เท่ากับ
0.84
การเก็บรวบรวมข้อมูล
1. ขออนุญาตดาเนินการทดลองต่อ
ผู้อานวยการโรงเรียนปทุมเทพวิทยาคาร สานักงาน
เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21
2. เลือกกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็น
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนปทุมเทพ
วิทยาคาร จังหวัดหนองคาย สานักงานเขตพื้นที่
การศึกษาหนองคายเขต21ภาคเรียนที่2ปีการศึกษา
2559 จานวน 1 ห้องเรียน จานวน 40 คน ที่ได้มา
โดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive
Sampling)
3. จัดตารางระยะเวลาในการทดลอง โดย
ทดลองในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 ใช้
เวลาในการทดลองทั้งสิ้น 16 คาบ
4. จัดปฐมนิเทศนักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง
เพื่อชี้แจงทาความเข้าใจกับนักเรียนเกี่ยวกับการ
เรียนการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้ชุดการสอนที่เน้น
การเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้ จุดประสงค์การ
เรียนรู้ รวมทั้งการวัดผลและการประเมินผลการ
เรียนรู้ เพื่อที่นักเรียนจะได้ปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้อง
5. ทาการทดสอบก่อนเรียน (Pre-test)
กับนักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่างด้วยแบบทดสอบวัด
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม 2
เรื่อง ภาคตัดกรวย ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจานวน 30 ข้อ
6. ดาเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตาม
แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดการสอนที่เน้นการ
เรียนแบบสืบเสาะหาความรู้ จานวน 8 แผน
รวมทั้งหมด 16 คาบ โดยทาการทดลองในภาคเรียน
ที่ 2 ปีการศึกษา 2559
7. เมื่อดาเนินการสอนครบทั้ง 8 แผน
แล้วทาการทดสอบหลังเรียน (Post-test) กับ
นักเรียนกลุ่มตัวอย่างโดยใช้แบบทดสอบวัดผล
สัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ภาคตัดกรวย ซึ่งเป็น
ฉบับเดียวกับแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการ
เรียนก่อนเรียน
8. ผู้วิจัยดาเนินการแจกแบบสอบถาม
ความพึงพอใจ เพื่อให้นักเรียนแสดงความรู้สึก
ความคิดเห็นที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดการสอนที่เน้น
การเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้
9. นาผลที่ได้จากการทดลองกับนักเรียน
กลุ่มตัวอย่างไปทาการตรวจ วิเคราะห์ทางสถิติเพื่อ
สรุปผลการทดลองตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย
ต่อไป
8
การวิเคราะห์ข้อมูล
1. การวิเคราะห์หาประสิทธิภาพของชุด
การสอนที่เน้นการเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้ ตาม
เกณฑ์ 80/80 ตามสูตร E1/E2
2. การวิเคราะห์หาค่าดัชนีประสิทธิผลของ
ชุดการสอนที่เน้นการเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้
โดยใช้สูตรการหาค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I.)
3. การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบ
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม 2
เรื่อง ภาคตัดกรวย โดยใช้การทดสอบ t-test แบบ
Dependent
4. การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบ
คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนกับเกณฑ์
ร้อยละ 70 โดยใช้การทดสอบ t-test แบบ One
Sample Test
5. การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อศึกษาความพึง
พอใจต่อการเรียนโดยใช้ชุดการสอนที่เน้นการเรียน
แบบสืบเสาะหาความรู้ โดยใช้ค่าเฉลี่ย (X) และค่า
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการวิจัย
1. ชุดการสอนวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม 2
เรื่อง ภาคตัดกรวย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มี
ประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้ทุกชุด
และเมื่อพิจารณาโดยภาพรวมพบว่า ชุดการสอนมี
ประสิทธิภาพ เท่ากับ 81.77/81.41 ซึ่งมี
ประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
2. ดัชนีประสิทธิผลของชุดการสอนที่เน้น
การเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้ วิชาคณิตศาสตร์
เพิ่มเติม 2 เรื่อง ภาคตัดกรวย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่
4 เท่ากับ 0.6783 แสดงว่า เมื่อนักเรียนได้รับการ
สอนโดยใช้ชุดการสอนที่เน้นการเรียนแบบสืบ
เสาะหาความรู้แล้ว นักเรียนมีความก้าวหน้าในการ
เรียนรู้เพิ่มขึ้น 0.6783 หรือคิดเป็นร้อยละ 67.83
3. นักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดการสอนที่เน้น
การเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้ วิชาคณิตศาสตร์
เพิ่มเติม 2 เรื่อง ภาคตัดกรวย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่
4 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่า ก่อน
เรียน อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. นักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดการสอนที่เน้น
การเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้ วิชาคณิตศาสตร์
เพิ่มเติม 2 เรื่อง ภาคตัดกรวย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่
4 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์
ร้อยละ 70 ที่กาหนดไว้ อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ
ที่ระดับ .01
5. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนโดย
ใช้ชุดการสอนที่เน้นการเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้
วิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม 2 เรื่อง ภาคตัดกรวย ชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
การอภิปรายผล
1. การพัฒนาชุดการสอนวิชาคณิตศาสตร์
เพิ่มเติม 2 เรื่อง ภาคตัดกรวย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 ผลการวิจัย
พบว่า ชุดการสอนที่เน้นการเรียนแบบสืบเสาะหา
ความรู้ วิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม 2 เรื่อง ภาคตัด
กรวย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ทั้ง 8 ชุด ประกอบด้วย
วงกลม โจทย์ปัญหาวงกลม พาราโบลาที่มีจุดยอด
ที่จุด (0, 0) พาราโบลาที่มีจุดยอดที่จุด (h, k) วงรี
ที่มีจุดศูนย์กลางที่จุด (0, 0) วงรีที่มีจุดศูนย์กลางที่
จุด(h, k) ไฮเพอร์โบลาและโจทย์ปัญหาไฮเพอร์โบลา
มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.33/83.16, 81.43/81.32,
81.34/81.05, 81.4/81.32 ,81.42/81.05 ,
81.14/80.53 , 81.94/81.32 และ 82.15/81.58
ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้ทุก
9
ชุดและเมื่อพิจารณาโดยภาพรวมพบว่า ชุดการสอน
มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 81.77/81.41 ซึ่งมี
ประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้ ทั้งนี้
การทีชุดการสอนมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้
อาจเนื่องมาจาก ชุดการสอนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ได้
ผ่านกระบวนการขั้นตอนการสร้างและพัฒนาขึ้น
อย่างมีระบบและวิธีการที่เหมาะสม โดยเริ่มจาก
การศึกษารายละเอียดเทคนิควิธีการสร้างชุดการ
สอนจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็น
แนวทางในการจัดทา มีการศึกษาหลักสูตร
จุดประสงค์ และรายละเอียดของเนื้อหากลุ่มสาระ
การเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง
ภาคตัดกรวย เพื่อกาหนดขอบเขตเนื้อหาราย
ละเอียดของกิจกรรมการเรียนการสอนในแต่ละชุด
การสอน จัดลาดับเนื้อหาในชุดการสอนให้มีความ
ต่อเนื่องและเชื่อมโยงกัน และกาหนดกิจกรรมการ
เรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ให้สอดคล้องกับ
เนื้อหาวิชาจากง่ายไปยาก โดยยึดหลักตามความ
แตกต่างระหว่างบุคคล เพื่อให้นักเรียนสามารถ
ค้นพบองค์ความรู้จากการทากิจกรรมในชุดการสอน
โดยมีครูเป็นผู้แนะแนวทาง นอกจากนี้ยังมีใบ
กิจกรรมและแบบทดสอบแต่ละชุดเพื่อให้นักเรียน
ตรวจสอบความเข้าใจและประเมินผลความรู้ของ
ตนเอง นอกจากนี้ในขั้นตอนของการดาเนินงานแต่
ละขั้นตอนนั้นได้ผ่านการตรวจสอบแก้ไขจาก
ผู้เชี่ยวชาญที่ช่วยให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุง
แก้ไข ซึ่งทาให้ชุดการสอนที่สร้างขึ้นดังกล่าวมีความ
น่าเชื่อถือและมีข้อบกพร่องไม่มากนัก ที่สาคัญอย่าง
ยิ่งก็คือในการตรวจสอบในแต่ละขั้นตอน ผู้วิจัยได้
ปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญอย่าง
ครบถ้วน อันถือเป็นกระบวนการหนึ่งของการสร้าง
ชุดการสอนอย่างเป็นระบบ นอกจากนี้หลังจากที่นา
ชุดการสอนไปทดลองใช้กับนักเรียนไม่ว่าจะเป็น
ขั้นตอนของการทดสอบแบบรายบุคคล หรือแบบ
กลุ่มย่อย ผู้วิจัยได้พยายามขจัดปัญหาและข้อ
บกพร่องต่างๆ ที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นที่ตัวสื่อการสอน
กิจกรรมการเรียนหรือเวลาที่ใช้ในการเรียนการสอน
ตลอดจนการบริหารจัดการการเรียนการสอนก่อนที่
จะนาไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างให้มากที่สุด ซึ่งส่งผลให้
การนาชุดการสอนไปใช้กับนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง
ประสบผลสาเร็จและทาให้นักเรียนบรรลุผลสาเร็จ
ในการเรียนตามเป้าหมายที่วางไว้ ตลอดจนส่งผล
ให้ชุดการสอนที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่
กาหนดไว้ สอดคล้องกับงานวิจัยของ วัชระ น้อยมี
(2550: 122) ที่ได้พัฒนาชุดการเรียนคณิตศาสตร์
แบบสืบสวนสอบสวน เรื่อง การให้เหตุผลและการ
พิสูจน์ทางคณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมทักษะการให้
เหตุผล ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
ผลการวิจัยพบว่าชุดการเรียนที่พัฒนามีประสิทธิ
ภาพ 84.80/87.20 และสอดคล้องกับ สันติ
อิทธิพลนาวากุล (2550: 91) ที่ได้พัฒนาชุดการเรียน
คณิตศาสตร์แบบสืบสวนสอบสวนโดยใช้โปรแกรม
GSP เพื่อส่งเสริมความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์
เรื่อง ภาคตัดกรวย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่
4 โรงเรียนสตรีวิทยา แขวงบวรนิเวศ กรุงเทพฯ
ผลการวิจัยพบว่า ชุดการเรียนคณิตศาสตร์แบบ
สืบสวนสอบสวนโดยใช้โปรแกรม GSP มี
ประสิทธิภาพ 85.95/86.64 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์
80/80 ที่ตั้งไว้ นอกจากนี้ยังสอดคล้องกับกฤติยาณี
รู้สุข (2557: 138) ที่ได้พัฒนาชุดการเรียนคณิต
ศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง อัตราส่วน
ตรีโกณมิติ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า
ชุดการเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่องอัตราส่วน
ตรีโกณมิติ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพ
เท่ากับ 84.30/81.50
10
2. การศึกษาดัชนีประสิทธิผลของชุดการ
สอนที่เน้นการเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้ วิชา
คณิตศาสตร์เพิ่มเติม 2 เรื่อง ภาคตัดกรวย ชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 4
ผลการวิจัยพบว่า ดัชนีประสิทธิผลของ
ชุดการสอนที่เน้นการเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้
วิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม 2 เรื่อง ภาคตัดกรวย ชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 4 เท่ากับ 0.6783 แสดงว่า เมื่อ
นักเรียนได้รับการสอนโดยใช้ชุดการสอนที่เน้นการ
เรียนแบบสืบเสาะหาความรู้แล้ว นักเรียนมี
ความก้าวหน้าในการเรียนรู้เพิ่มขึ้น 0.6783 หรือคิด
เป็นร้อยละ 67.83
ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากการเรียนโดยใช้ชุด
การสอนที่เน้นการเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้เป็น
กระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้
แสดงออกตามความสนใจ มีการนาเสนอตาม
ขั้นตอนโดยเรียงลาดับการเรียนรู้ไว้อย่างเป็นระบบ
ทาให้ง่ายต่อการเรียนรู้ของนักเรียน โดยคานึงถึง
ความแตกต่างระหว่างบุคคลและความสามารถของ
นักเรียน ทาให้นักเรียนแต่ละคนสามารถที่จะเรียนรู้
และทาความเข้าใจในบทเรียนตามระดับความ
สามารถของตนเอง ส่งผลให้นักเรียนมีความ
กระตือรือร้นที่จะหาข้อมูลตามความสนใจ มีการ
ปฏิบัติกิจกรรมระหว่างการเรียน และเมื่อปฏิบัติ
กิจกรรมเสร็จแล้วนักเรียนได้ทาแบบทดสอบก่อน
เรียนและหลังเรียนในแต่ละชุดการสอน ซึ่งช่วย
ส่งเสริมให้นักเรียนได้ฝึกทักษะ มีการแลกเปลี่ยน
ความคิดเห็นซึ่งกันและกัน ทาให้นักเรียนได้
ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน คนเก่งช่วยแนะนาคนอ่อน
ครูผู้สอนจะคอยสังเกตและให้คาแนะนาตามความ
เหมาะสม นอกจากนี้แบบฝึกหัดและแบบทดสอบ
ยังสอดคล้องกับเนื้อหาในเอกสารหน่วย การเรียน
ทาให้นักเรียนสามารถปฏิบัติกิจกรรมได้ และเมื่อ
สิ้นสุดการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในแต่ละแผนการ
จัดการเรียนรู้ ผู้วิจัยได้ตรวจให้คะแนนเพื่อเป็นส่วน
หนึ่งของการประเมินผลการเรียนรู้ และนามาคืนให้
นักเรียนได้ตรวจสอบความถูกต้อง และข้อผิดพลาด
ในการทากิจกรรม ให้นักเรียนได้ซักถามข้อสงสัย
พร้อมทั้งชี้แนะข้อผิดพลาดให้กับนักเรียน เพื่อให้
นักเรียนได้นาไปแก้ไขปรับปรุง ซึ่งเป็นการกระตุ้น
ให้นักเรียนทุกคนได้มีส่วนรับรู้ผลการตัดสินใจของ
ตนเองว่าผิดหรือถูกทันท่วงที สอดคล้องกับแนวคิด
ของ บลูม (Bloom, 1976: 115-124) ที่กล่าวว่า
การสอนที่มีประสิทธิภาพจะต้องมีการให้ข้อมูล
ย้อนกลับและแก้ไขข้อบกพร่อง จะต้องมีการแจ้งผล
การเรียนและข้อบกพร่องให้นักเรียนทราบทันที
เพราะมีการวัดผลและประเมินผลก่อนเรียนและหลัง
เรียนที่ให้ผลย้อนกลับอย่างรวดเร็ว ทาให้นักเรียนที่
ได้คะแนนมากมีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ที่จะปฏิบัติ
กิจกรรมในการเรียนครั้งต่อไป ส่วนนักเรียนที่ได้
คะแนนน้อยก็จะทาให้ทราบข้อบกพร่องของตนเอง
และนาไปปฏิบัติเพื่อจะได้พยายามปรับปรุงแก้ไข
ตนเองในการเรียนหรือทากิจกรรมต่อไป เท่ากับ
เป็นการเสริมแรงให้กับนักเรียนอยากมีส่วนร่วมใน
การเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา และนักเรียนมีการเรียนรู้ที่
เป็นไปตามลาดับขั้นตามหลักการเสริมแรงทาให้
นักเรียนเกิดการตอบสนองที่พึงพอใจ มีส่วนทาให้
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น ดังที่ สกินเนอร์ กล่าว
ไว้ว่า การเสริมแรงจะมีประสิทธิภาพมากที่สุด เมื่อ
ระยะเวลาระหว่างการแสดงพฤติกรรมที่ถูกต้องกับ
การได้รับการเสริมแรงใกล้เคียงกันมากที่สุด การที่รู้
ว่าคาตอบของตนเองถูกต้องจะเป็นการเสริมแรงได้
อีกอย่างหนึ่ง สอดคล้องกับงานวิจัยของ ชุติ
กาญจน์ สุประดิษฐ (2556: 55) ที่ได้พัฒนาชุด
กิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ โดยใช้
โปรแกรม GSP เป็นสื่อประกอบเรื่องวงรี สาหรับ
11
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่าดัชนีประสิทธิ
ผลของชุดกิจกรรม เท่ากับ 0.6775 ซึ่งสูงกว่า
เกณฑ์ที่กาหนดไว้คือ 0.50 และสอดคล้องกับ
ปวัญญา นาคะวงศ์ (2557: 65–66) ที่ได้ศึกษา
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 3 เรื่อง ระบบนิเวศ ที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรม
การเรียนกับการเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้ พบว่า
ดัชนีประสิทธิผลของชุดกิจกรรมการเรียน มีค่า
เท่ากับ 0.6848
3. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการ
เรียนวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม 2 เรื่อง ภาคตัด
กรวย ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดการสอนที่เน้น
การเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้ ระหว่างก่อน
เรียนและหลังเรียน
ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนที่เรียนโดย
ใช้ชุดการสอนที่เน้นการเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้
วิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม 2 เรื่อง ภาคตัดกรวย ชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 4 มีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการ
เรียนก่อนเรียนเท่ากับ 10.03 คะแนน และมี
คะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน
เท่ากับ 23.58 คะแนน ซึ่งคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ย
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน อย่างมีนัยสาคัญ
ทางสถิติที่ระดับ .01
ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากชุดการสอนที่เน้น
การเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้เป็นสื่อหรือ
นวัตกรรมการศึกษาที่จัดลาดับขั้นตอนของกิจกรรม
อย่างต่อเนื่อง เป็นกระบวนการเรียนรู้อย่างหนึ่ง ที่
ให้นักเรียนได้ฝึกการเรียนรู้ด้วยตนเอง ลงมือปฏิบัติ
จริง ได้มีโอกาสสัมพันธ์กับสิ่งที่จะเรียนรู้ ครูผู้สอน
มีหน้าที่เป็นที่ปรึกษาและให้คาแนะนาเท่านั้น
ดังนั้นชุดการสอนจึงเป็นเครื่องมือที่ทาให้นักเรียน
เข้าใจในเนื้อหาและบทเรียนมากขึ้น ส่งผลให้
นักเรียนได้รับข้อมูลความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่เรียน
ดังที่ พรศรี ดาวรุ่งสวรรค์ (2548: 15) ที่สรุปไว้ว่า
ชุดการสอนทาให้นักเรียนมีอิสระในการเรียนรู้และ
สามารถแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ที่พบด้วย
ตนเอง ได้ฝึกทักษะกระบวนการคิดด้านต่างๆ เรียนรู้
ได้ตลอดเวลาและทุกสถานที่ ย้าให้เกิดความเข้าใจ
ในเนื้อหาที่เรียนมากยิ่งขึ้น เมื่อนักเรียนยังเกิดความ
ไม่เข้าใจก็สามารถนามาศึกษาเรียนรู้ได้อยู่เสมอ
แม้กระทั่งอาจจะลืมเรื่องที่เรียนมาแล้ว และยังช่วย
พัฒนาศักยภาพของนักเรียนให้เกิดประสิทธิภาพ
นอกจากนี้การเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้เป็น
วิธีการสอนที่เน้นนักเรียนเป็นสาคัญ ครูผู้สอนเปิด
โอกาสให้ผู้เรียนได้ค้นคว้าความรู้อย่างอิสระ ศึกษา
ค้นคว้าเพื่อหาข้อมูลและร่วมอภิปรายแสดงความ
คิดเห็น ประเมินและวิเคราะห์ข้อมูลจนสามารถ
สรุปและสร้างองค์ความรู้ได้ถูกต้อง ทาให้นักเรียนมี
ส่วนร่วมในการเรียนการสอนและที่สาคัญนักเรียน
สามารถสร้างความรู้ได้ด้วยตนเอง และความคิดรวบ
ยอดที่ได้จากการเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้เป็น
นามธรรมที่นักเรียนสรุปด้วยตนเองด้วยเหตุผล
ความคิดรวบยอดที่เกิดขึ้นจะยังอยู่ในความทรงจาที่
เป็นประโยชน์ต่อนักเรียนไปนาน สอด คล้องกับ
บรูเนอร์ (Bruner, 1968: 159) ที่กล่าวถึง ข้อดี
ของการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ว่าเป็นการช่วย
ให้เด็กมีพัฒนาการทางความคิดก่อให้เกิดความพึง
พอใจในการเรียนในลักษณะที่เป็นรางวัลในตัวเด็กได้
เรียนรู้วิธีที่ศึกษาค้นคว้า โดยได้มีโอกาสค้นพบสิ่ง
ต่างๆ ด้วยตนเองช่วยให้เกิดความเข้าใจและจาสิ่งที่
เรียนไปได้นาน เพราะเด็กเป็นผู้เริ่มสังเกต ค้นคว้า
รวบรวมข้อมูลต่างๆ ด้วยตนเอง นอกจากนี้ ซุคแมน
(Suchman, 1986: 90–137) ยังได้กล่าวถึงการ
จัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ว่าช่วยให้
นักเรียนจะได้เรียนรู้ได้มากกว่าการเรียนแบบครู
12
บอกให้หมด นักเรียนสามารถปรับประสบการณ์
ต่างๆ ได้มากกว่าเป็นไปตามความต้องการความ
อยากรู้อยากเห็นและความเหมาะสมกับระดับ
ความรู้พื้นฐานกับอัตราความ สามารถในการรับรู้
ของแต่ละคน นอกจากนี้ยังเป็นกิจกรรมการเรียน
การสอนที่เน้นกิจกรรมที่หลากหลาย น่าสนใจ ไม่
ยากหรือง่ายเกินไป เนื้อหาเรียงลาดับจากง่ายไปหา
ยาก ซึ่งไม่เกินความสามารถและระดับสติปัญญา
ของนักเรียน สอดคล้องกับความสนใจของนักเรียน
อีกทั้งยังเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ปฏิบัติจริงมากที่สุด
โดยอาศัยสื่อและกิจกรรมที่ครูจัดเตรียมไว้ให้ ทาให้
นักเรียนได้รับประสบ การณ์ตรงในการเรียนรู้
สอดคล้องกับงานวิจัยของ อรอุมา ไชยโยธา (2547:
51–52) ได้พัฒนาชุดการเรียนคณิตศาสตร์ด้วย
ตนเองแบบสืบสวนสอบสวนที่ใช้การ์ตูนประกอบ
เรื่องระบบจานวนเต็ม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของ
นักเรียนภายหลังได้รับการสอนโดยใช้ชุดการเรียน
คณิตศาสตร์ด้วยตนเองแบบสืบสวนสอบสวนที่ใช้
การ์ตูนประกอบสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสาคัญ
ทางสถิติที่ระดับ .01 และ สอดคล้องกับ สันติ
อิทธิพลนาวากุล (2550: 91) ได้พัฒนาชุดการเรียน
คณิตศาสตร์แบบสืบสวนสอบสวนโดยใช้โปรแกรม
GSP เพื่อส่งเสริมความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์
เรื่อง ภาคตัดกรวย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่
4 พบว่า นักเรียนมีความคิดรวบยอดทางคณิต
ศาสตร์สูงขึ้นอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01
และสอดคล้องกับ วัชระ น้อยมี (2550: 122) ได้
พัฒนาชุดการเรียนคณิตศาสตร์แบบสืบสวน
สอบสวน เรื่อง การให้เหตุผลและการพิสูจน์ทาง
คณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมทักษะการให้เหตุผลของ
ผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า ผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของผู้เรียนหลังได้รับ
การสอนโดยใช้ชุดการเรียนสูงกว่าก่อนได้รับการ
สอน อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01
นอกจากนี้ยังสอดคล้องกับ กฤติยาณี รู้สุข (2557:
138) ได้พัฒนาชุดการเรียนคณิตศาสตร์แบบสืบ
เสาะหาความรู้ เรื่อง อัตราส่วนตรีโกณมิติ ระดับ
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า นักเรียนที่สอนโดยใช้
ชุดการเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้มีผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนคณิตศาสตร์สูงกว่านักเรียนที่สอนโดย
ใช้วิธีการสอนแบบปกติ อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่
ระดับ .01
4. การเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยผล
สัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม 2
เรื่อง ภาคตัดกรวย ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุด
การสอนที่เน้นการเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้
หลังเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 70
ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนที่เรียนโดย
ใช้ชุดการสอนที่เน้นการเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้
วิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม 2 เรื่อง ภาคตัดกรวย ชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 4 มีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการ
เรียนหลังเรียนเท่ากับ 23.58 คะแนน คิดเป็นร้อย
ละ 78.58 ซึ่งสูงกว่าร้อยละ 70 ที่ตั้งไว้ อย่างมี
นัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01
ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากการจัดกิจกรรมการ
เรียนโดยใช้ชุดการสอนที่เน้นการเรียนแบบ สืบ
เสาะหาความรู้เป็นการจัดสภาพสิ่งแวดล้อมและ
บรรยากาศแห่งการเรียนรู้ที่มุ่งส่งเสริมและสนับสนุน
การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองโดยใช้กระบวนการกลุ่ม
(Group Process) เป็นสิ่งสาคัญ มีการดาเนินด้าน
กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ยึดนักเรียนเป็น
สาคัญ นักเรียนเรียนรู้ด้วยตนเองจากการลงมือ
ปฏิบัติตั้งแต่ศึกษาขั้นตอนการดาเนินงาน ศึกษา
เอกสารความรู้ นาความรู้ไปฝึกทาแบบฝึกหัด เมื่อ
สงสัยสอบถามกันเองภายในกลุ่ม หากยังหาคาตอบ
13
ภายในกลุ่มไม่ได้นักเรียนก็มีครูผู้สอนเป็นที่ปรึกษา
ไม่ทิ้งให้นักเรียนศึกษาโดยลาพัง ทาให้นักเรียนเกิด
การเรียนรู้และพัฒนาสติปัญญาจากการทากิจกรรม
พร้อมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปในทางที่เหมาะสม
ต่างจากการเรียนในชั้นเรียนตามปกติ ทาให้
นักเรียนเกิดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ ส่งเสริมการมี
ส่วนร่วม การวิเคราะห์ การแสวงหาความรู้และการ
ลงข้อสรุปด้วยตนเอง ดังที่ไทเลอร์ (Tylor, 1965:
148-150) ได้กล่าวไว้ว่า การที่ครูให้หลักการหรือ
ข้อสรุปแก่นักเรียนโดยตรง นักเรียนจะจดจาสิ่งที่ครู
ให้โดยปราศจากความเข้าใจในสิ่งนั้นๆ อย่างแท้จริง
แต่การให้นักเรียนสรุปหรือสร้างหลักการด้วยตนเอง
จะช่วยให้นักเรียนมองเห็นความจริงทาง
วิทยาศาสตร์ได้ลึกซึ้งและรวดเร็ว สอดคล้องกับ
สันติ อิทธิพลนาวากุล (2550: 91) ได้พัฒนาชุด
การเรียนคณิตศาสตร์แบบสืบสวนสอบสวนโดยใช้
โปรแกรม GSP เพื่อส่งเสริมความคิดรวบยอดทาง
คณิตศาสตร์ เรื่อง ภาคตัดกรวย ของนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า นักเรียนเรียนมีผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนหลังเรียนสูงขึ้น และผ่านเกณฑ์ ร้อยละ
65 อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ
สอดคล้องกับ วัชระ น้อยมี (2550: 122) ได้พัฒนา
ชุดการเรียนคณิตศาสตร์แบบสืบสวนสอบสวน เรื่อง
การให้เหตุผลและการพิสูจน์ทางคณิตศาสตร์ เพื่อ
ส่งเสริมทักษะการให้เหตุผลของผู้เรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 60 อย่างมีนัยสาคัญ
ทางสถิติที่ระดับ .01 และ ศิวัชญ์ ราชพัฒน์
(2552: 62) ได้พัฒนาชุดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะ
การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ภาคตัดกรวย
สาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า
นักเรียนที่เรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมมีความสามารถใน
การแก้ ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ภาคตัดกรวย
สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ
ที่ระดับ .05 นอกจากนี้ยังสอดคล้องกับ สุชีรา
ศุภพิมลวรรณ (2555: 45) ได้ศึกษาผลการจัดการ
เรียนรู้แบบ 5E โดยใช้โปรแกรม GSP เรื่องวงกลม
และพาราโบลา ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
คณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์หลัง
เรียนเรื่องวงกลมและพาราโบลาของนักเรียนสูงกว่า
เกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ
.05 โดยมีคะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 79.27
5. การศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่
เรียนโดยใช้ชุดการสอนที่เน้นการเรียนแบบสืบ
เสาะหาความรู้ วิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม 2 เรื่อง
ภาคตัดกรวย
ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนมีความพึง
พอใจต่อการเรียนโดยใช้ชุดการสอนที่เน้นการเรียน
แบบสืบเสาะหาความรู้ วิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม 2
เรื่อง ภาคตัดกรวย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยภาพ
รวมอยู่ในระดับมากที่สุด คิดเป็นค่าเฉลี่ยเท่ากับ
4.54 และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.55
เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า นักเรียนสามารถ
ย้อนกลับไปเรียนเนื้อหาที่สนใจได้ใหม่เมื่อไม่เข้าใจ
หรือต้องการทบทวนความรู้เดิม และเนื้อหามีความ
ถูกต้อง ชัดเจน น่าสนใจ เข้าใจง่าย เรียงลาดับจาก
ง่ายไปยาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.64 รองลงมาคือ
นักเรียนได้ทราบผลการประเมินทันทีหลังจากทา
กิจกรรมหรือแบบทดสอบ และกิจกรรมการเรียนนี้
ช่วยให้นักเรียนจดจาเนื้อหาได้ง่ายและจาได้นาน มี
ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.62
ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากการเรียนโดยใช้ชุด
การสอนที่เน้นการเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้ได้ใช้
กระบวนการเรียนรู้ที่กระตุ้นส่งเสริมจูงใจให้นักเรียน
ได้ใช้ความรู้ความสามารถในการปฏิบัติกิจกรรมที่
รายงานวิจัยเผยแพร่
รายงานวิจัยเผยแพร่
รายงานวิจัยเผยแพร่
รายงานวิจัยเผยแพร่
รายงานวิจัยเผยแพร่

More Related Content

What's hot

เครื่องมือวัดคุณภาพผู้เรียนตามจุดเน้น
เครื่องมือวัดคุณภาพผู้เรียนตามจุดเน้นเครื่องมือวัดคุณภาพผู้เรียนตามจุดเน้น
เครื่องมือวัดคุณภาพผู้เรียนตามจุดเน้นLathika Phapchai
 
ทักษะการเรียนรู้ ม.ต้น ทร21001
ทักษะการเรียนรู้ ม.ต้น ทร21001ทักษะการเรียนรู้ ม.ต้น ทร21001
ทักษะการเรียนรู้ ม.ต้น ทร21001Thidarat Termphon
 
ช่่องทางการขยายอาชีพ ม.ปลาย อช31001
ช่่องทางการขยายอาชีพ ม.ปลาย อช31001ช่่องทางการขยายอาชีพ ม.ปลาย อช31001
ช่่องทางการขยายอาชีพ ม.ปลาย อช31001Thidarat Termphon
 
ข้อสอบบรรจุครูผู้ช่วยภาค ข วิชาฟิสิกส์ ชุดที่6
ข้อสอบบรรจุครูผู้ช่วยภาค ข วิชาฟิสิกส์ ชุดที่6ข้อสอบบรรจุครูผู้ช่วยภาค ข วิชาฟิสิกส์ ชุดที่6
ข้อสอบบรรจุครูผู้ช่วยภาค ข วิชาฟิสิกส์ ชุดที่6Anukun Khaiochaaum
 
รายงานอบรม Ict innovation at korea
รายงานอบรม Ict innovation at  koreaรายงานอบรม Ict innovation at  korea
รายงานอบรม Ict innovation at koreaKobwit Piriyawat
 
แผนการจัดการเรียนรู้บูรณาการพอเพียง
แผนการจัดการเรียนรู้บูรณาการพอเพียงแผนการจัดการเรียนรู้บูรณาการพอเพียง
แผนการจัดการเรียนรู้บูรณาการพอเพียงSurachai Chobseang
 
บทที่ 7
บทที่ 7บทที่ 7
บทที่ 7kanwan0429
 
แผนการสอนบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง โครงงานสำรวจและปฎิบัติการ การประหยัดพลังงาน ...
แผนการสอนบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง โครงงานสำรวจและปฎิบัติการ การประหยัดพลังงาน ...แผนการสอนบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง โครงงานสำรวจและปฎิบัติการ การประหยัดพลังงาน ...
แผนการสอนบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง โครงงานสำรวจและปฎิบัติการ การประหยัดพลังงาน ...Weerachat Martluplao
 
3.แผนไฟฟ้าเศรษฐกิจพอเพียง
3.แผนไฟฟ้าเศรษฐกิจพอเพียง3.แผนไฟฟ้าเศรษฐกิจพอเพียง
3.แผนไฟฟ้าเศรษฐกิจพอเพียงWareerut Hunter
 
5.แผนอากาศเศรษฐกิจพอเพียง
5.แผนอากาศเศรษฐกิจพอเพียง5.แผนอากาศเศรษฐกิจพอเพียง
5.แผนอากาศเศรษฐกิจพอเพียงWareerut Hunter
 
รายงานพัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
รายงานพัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนรายงานพัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
รายงานพัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนNatmol Thedsanabun
 
แนวทางปฏิรูปด้านการศึกษาของไทย
แนวทางปฏิรูปด้านการศึกษาของไทยแนวทางปฏิรูปด้านการศึกษาของไทย
แนวทางปฏิรูปด้านการศึกษาของไทยKlangpanya
 
แผน10 นวัตกรรม บูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง
แผน10 นวัตกรรม  บูรณาการเศรษฐกิจพอเพียงแผน10 นวัตกรรม  บูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง
แผน10 นวัตกรรม บูรณาการเศรษฐกิจพอเพียงJirathorn Buenglee
 
Papertest pat2bio 2564
Papertest pat2bio 2564Papertest pat2bio 2564
Papertest pat2bio 2564wichailik
 
14 may20121336982838215552ตัวอย่างโ..
14 may20121336982838215552ตัวอย่างโ..14 may20121336982838215552ตัวอย่างโ..
14 may20121336982838215552ตัวอย่างโ..Kroo Per Ka Santos
 
ตัวอย่างแผนพอเพียงกับคณิตศาสตร์
ตัวอย่างแผนพอเพียงกับคณิตศาสตร์ตัวอย่างแผนพอเพียงกับคณิตศาสตร์
ตัวอย่างแผนพอเพียงกับคณิตศาสตร์ทับทิม เจริญตา
 

What's hot (19)

เครื่องมือวัดคุณภาพผู้เรียนตามจุดเน้น
เครื่องมือวัดคุณภาพผู้เรียนตามจุดเน้นเครื่องมือวัดคุณภาพผู้เรียนตามจุดเน้น
เครื่องมือวัดคุณภาพผู้เรียนตามจุดเน้น
 
ทักษะการเรียนรู้ ม.ต้น ทร21001
ทักษะการเรียนรู้ ม.ต้น ทร21001ทักษะการเรียนรู้ ม.ต้น ทร21001
ทักษะการเรียนรู้ ม.ต้น ทร21001
 
ช่่องทางการขยายอาชีพ ม.ปลาย อช31001
ช่่องทางการขยายอาชีพ ม.ปลาย อช31001ช่่องทางการขยายอาชีพ ม.ปลาย อช31001
ช่่องทางการขยายอาชีพ ม.ปลาย อช31001
 
ข้อสอบบรรจุครูผู้ช่วยภาค ข วิชาฟิสิกส์ ชุดที่6
ข้อสอบบรรจุครูผู้ช่วยภาค ข วิชาฟิสิกส์ ชุดที่6ข้อสอบบรรจุครูผู้ช่วยภาค ข วิชาฟิสิกส์ ชุดที่6
ข้อสอบบรรจุครูผู้ช่วยภาค ข วิชาฟิสิกส์ ชุดที่6
 
รายงานอบรม Ict innovation at korea
รายงานอบรม Ict innovation at  koreaรายงานอบรม Ict innovation at  korea
รายงานอบรม Ict innovation at korea
 
แผนการจัดการเรียนรู้บูรณาการพอเพียง
แผนการจัดการเรียนรู้บูรณาการพอเพียงแผนการจัดการเรียนรู้บูรณาการพอเพียง
แผนการจัดการเรียนรู้บูรณาการพอเพียง
 
บทที่ 7
บทที่ 7บทที่ 7
บทที่ 7
 
แผนการสอนบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง โครงงานสำรวจและปฎิบัติการ การประหยัดพลังงาน ...
แผนการสอนบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง โครงงานสำรวจและปฎิบัติการ การประหยัดพลังงาน ...แผนการสอนบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง โครงงานสำรวจและปฎิบัติการ การประหยัดพลังงาน ...
แผนการสอนบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง โครงงานสำรวจและปฎิบัติการ การประหยัดพลังงาน ...
 
บทที่ 2++77
บทที่  2++77บทที่  2++77
บทที่ 2++77
 
3.แผนไฟฟ้าเศรษฐกิจพอเพียง
3.แผนไฟฟ้าเศรษฐกิจพอเพียง3.แผนไฟฟ้าเศรษฐกิจพอเพียง
3.แผนไฟฟ้าเศรษฐกิจพอเพียง
 
5.แผนอากาศเศรษฐกิจพอเพียง
5.แผนอากาศเศรษฐกิจพอเพียง5.แผนอากาศเศรษฐกิจพอเพียง
5.แผนอากาศเศรษฐกิจพอเพียง
 
รายงานพัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
รายงานพัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนรายงานพัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
รายงานพัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
 
แนวทางปฏิรูปด้านการศึกษาของไทย
แนวทางปฏิรูปด้านการศึกษาของไทยแนวทางปฏิรูปด้านการศึกษาของไทย
แนวทางปฏิรูปด้านการศึกษาของไทย
 
แผน10 นวัตกรรม บูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง
แผน10 นวัตกรรม  บูรณาการเศรษฐกิจพอเพียงแผน10 นวัตกรรม  บูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง
แผน10 นวัตกรรม บูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง
 
Papertest pat2bio 2564
Papertest pat2bio 2564Papertest pat2bio 2564
Papertest pat2bio 2564
 
Microsoft word คำนำ
Microsoft word   คำนำMicrosoft word   คำนำ
Microsoft word คำนำ
 
14 may20121336982838215552ตัวอย่างโ..
14 may20121336982838215552ตัวอย่างโ..14 may20121336982838215552ตัวอย่างโ..
14 may20121336982838215552ตัวอย่างโ..
 
ตัวอย่างแผนเศรษฐกิจพอเพียง
ตัวอย่างแผนเศรษฐกิจพอเพียงตัวอย่างแผนเศรษฐกิจพอเพียง
ตัวอย่างแผนเศรษฐกิจพอเพียง
 
ตัวอย่างแผนพอเพียงกับคณิตศาสตร์
ตัวอย่างแผนพอเพียงกับคณิตศาสตร์ตัวอย่างแผนพอเพียงกับคณิตศาสตร์
ตัวอย่างแผนพอเพียงกับคณิตศาสตร์
 

Viewers also liked

What Makes Great Infographics
What Makes Great InfographicsWhat Makes Great Infographics
What Makes Great InfographicsSlideShare
 
Masters of SlideShare
Masters of SlideShareMasters of SlideShare
Masters of SlideShareKapost
 
STOP! VIEW THIS! 10-Step Checklist When Uploading to Slideshare
STOP! VIEW THIS! 10-Step Checklist When Uploading to SlideshareSTOP! VIEW THIS! 10-Step Checklist When Uploading to Slideshare
STOP! VIEW THIS! 10-Step Checklist When Uploading to SlideshareEmpowered Presentations
 
10 Ways to Win at SlideShare SEO & Presentation Optimization
10 Ways to Win at SlideShare SEO & Presentation Optimization10 Ways to Win at SlideShare SEO & Presentation Optimization
10 Ways to Win at SlideShare SEO & Presentation OptimizationOneupweb
 
How To Get More From SlideShare - Super-Simple Tips For Content Marketing
How To Get More From SlideShare - Super-Simple Tips For Content MarketingHow To Get More From SlideShare - Super-Simple Tips For Content Marketing
How To Get More From SlideShare - Super-Simple Tips For Content MarketingContent Marketing Institute
 
How to Make Awesome SlideShares: Tips & Tricks
How to Make Awesome SlideShares: Tips & TricksHow to Make Awesome SlideShares: Tips & Tricks
How to Make Awesome SlideShares: Tips & TricksSlideShare
 
Getting Started With SlideShare
Getting Started With SlideShareGetting Started With SlideShare
Getting Started With SlideShareSlideShare
 

Viewers also liked (10)

My school docx
My school docxMy school docx
My school docx
 
การนำเสนองานวิจัย
การนำเสนองานวิจัยการนำเสนองานวิจัย
การนำเสนองานวิจัย
 
What Makes Great Infographics
What Makes Great InfographicsWhat Makes Great Infographics
What Makes Great Infographics
 
Masters of SlideShare
Masters of SlideShareMasters of SlideShare
Masters of SlideShare
 
STOP! VIEW THIS! 10-Step Checklist When Uploading to Slideshare
STOP! VIEW THIS! 10-Step Checklist When Uploading to SlideshareSTOP! VIEW THIS! 10-Step Checklist When Uploading to Slideshare
STOP! VIEW THIS! 10-Step Checklist When Uploading to Slideshare
 
You Suck At PowerPoint!
You Suck At PowerPoint!You Suck At PowerPoint!
You Suck At PowerPoint!
 
10 Ways to Win at SlideShare SEO & Presentation Optimization
10 Ways to Win at SlideShare SEO & Presentation Optimization10 Ways to Win at SlideShare SEO & Presentation Optimization
10 Ways to Win at SlideShare SEO & Presentation Optimization
 
How To Get More From SlideShare - Super-Simple Tips For Content Marketing
How To Get More From SlideShare - Super-Simple Tips For Content MarketingHow To Get More From SlideShare - Super-Simple Tips For Content Marketing
How To Get More From SlideShare - Super-Simple Tips For Content Marketing
 
How to Make Awesome SlideShares: Tips & Tricks
How to Make Awesome SlideShares: Tips & TricksHow to Make Awesome SlideShares: Tips & Tricks
How to Make Awesome SlideShares: Tips & Tricks
 
Getting Started With SlideShare
Getting Started With SlideShareGetting Started With SlideShare
Getting Started With SlideShare
 

Similar to รายงานวิจัยเผยแพร่

Report1 5
Report1 5Report1 5
Report1 5kruwaeo
 
วิจัยในชั้นเรียนตรีโกณมิติ
วิจัยในชั้นเรียนตรีโกณมิติวิจัยในชั้นเรียนตรีโกณมิติ
วิจัยในชั้นเรียนตรีโกณมิติWichai Likitponrak
 
หลักสูตรเรณูนครฯปี51
หลักสูตรเรณูนครฯปี51หลักสูตรเรณูนครฯปี51
หลักสูตรเรณูนครฯปี51Manchai
 
แนวทางการดำเนินงานโรงเรียนมาตรฐานสากล2
แนวทางการดำเนินงานโรงเรียนมาตรฐานสากล2แนวทางการดำเนินงานโรงเรียนมาตรฐานสากล2
แนวทางการดำเนินงานโรงเรียนมาตรฐานสากล2krupornpana55
 
Original edu 1
Original edu 1Original edu 1
Original edu 1pui003
 
รายงานผลการพัฒนาการเรียนการสอนด้วยสื่อรคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
รายงานผลการพัฒนาการเรียนการสอนด้วยสื่อรคอมพิวเตอร์ช่วยสอนรายงานผลการพัฒนาการเรียนการสอนด้วยสื่อรคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
รายงานผลการพัฒนาการเรียนการสอนด้วยสื่อรคอมพิวเตอร์ช่วยสอนNatmol Thedsanabun
 
ร่างหลักสูตรสถานศึกษา เนื้อหาโรงเรียน
ร่างหลักสูตรสถานศึกษา เนื้อหาโรงเรียนร่างหลักสูตรสถานศึกษา เนื้อหาโรงเรียน
ร่างหลักสูตรสถานศึกษา เนื้อหาโรงเรียนNattayaporn Dokbua
 
หลักสูตรและวิชาพิเศษลูกเสือ
หลักสูตรและวิชาพิเศษลูกเสือหลักสูตรและวิชาพิเศษลูกเสือ
หลักสูตรและวิชาพิเศษลูกเสือwatdang
 
R บทที่ 1
R บทที่  1R บทที่  1
R บทที่ 1khuwawa
 
ตัวอย่างแผนการเรียนรู้ BackWard Design คณิตศาสตร์
ตัวอย่างแผนการเรียนรู้ BackWard Design คณิตศาสตร์ตัวอย่างแผนการเรียนรู้ BackWard Design คณิตศาสตร์
ตัวอย่างแผนการเรียนรู้ BackWard Design คณิตศาสตร์คุณครูพี่อั๋น
 
เอกสารเผยแพร่การจัดการความรู้คณะนิเทศศาสตร์ 54 แก้2
เอกสารเผยแพร่การจัดการความรู้คณะนิเทศศาสตร์ 54 แก้2เอกสารเผยแพร่การจัดการความรู้คณะนิเทศศาสตร์ 54 แก้2
เอกสารเผยแพร่การจัดการความรู้คณะนิเทศศาสตร์ 54 แก้2นู๋หนึ่ง nooneung
 

Similar to รายงานวิจัยเผยแพร่ (20)

Abstrac
AbstracAbstrac
Abstrac
 
Report1 5
Report1 5Report1 5
Report1 5
 
วิจัยในชั้นเรียนตรีโกณมิติ
วิจัยในชั้นเรียนตรีโกณมิติวิจัยในชั้นเรียนตรีโกณมิติ
วิจัยในชั้นเรียนตรีโกณมิติ
 
หลักสูตรเรณูนครฯปี51
หลักสูตรเรณูนครฯปี51หลักสูตรเรณูนครฯปี51
หลักสูตรเรณูนครฯปี51
 
E book world-class
E book world-classE book world-class
E book world-class
 
แนวทางการดำเนินงานโรงเรียนมาตรฐานสากล2
แนวทางการดำเนินงานโรงเรียนมาตรฐานสากล2แนวทางการดำเนินงานโรงเรียนมาตรฐานสากล2
แนวทางการดำเนินงานโรงเรียนมาตรฐานสากล2
 
Original edu 1
Original edu 1Original edu 1
Original edu 1
 
รายงานผลการพัฒนาการเรียนการสอนด้วยสื่อรคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
รายงานผลการพัฒนาการเรียนการสอนด้วยสื่อรคอมพิวเตอร์ช่วยสอนรายงานผลการพัฒนาการเรียนการสอนด้วยสื่อรคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
รายงานผลการพัฒนาการเรียนการสอนด้วยสื่อรคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
 
บทที่ 2
บทที่ 2บทที่ 2
บทที่ 2
 
ร่างหลักสูตรสถานศึกษา เนื้อหาโรงเรียน
ร่างหลักสูตรสถานศึกษา เนื้อหาโรงเรียนร่างหลักสูตรสถานศึกษา เนื้อหาโรงเรียน
ร่างหลักสูตรสถานศึกษา เนื้อหาโรงเรียน
 
หลักสูตรและวิชาพิเศษลูกเสือ
หลักสูตรและวิชาพิเศษลูกเสือหลักสูตรและวิชาพิเศษลูกเสือ
หลักสูตรและวิชาพิเศษลูกเสือ
 
R บทที่ 1
R บทที่  1R บทที่  1
R บทที่ 1
 
หลักสูตรแกนกลาง
หลักสูตรแกนกลางหลักสูตรแกนกลาง
หลักสูตรแกนกลาง
 
B2
B2B2
B2
 
ตัวอย่างแผนการเรียนรู้ BackWard Design คณิตศาสตร์
ตัวอย่างแผนการเรียนรู้ BackWard Design คณิตศาสตร์ตัวอย่างแผนการเรียนรู้ BackWard Design คณิตศาสตร์
ตัวอย่างแผนการเรียนรู้ BackWard Design คณิตศาสตร์
 
Botkwam
BotkwamBotkwam
Botkwam
 
Botkwam
BotkwamBotkwam
Botkwam
 
Botkwam
BotkwamBotkwam
Botkwam
 
เอกสารเผยแพร่การจัดการความรู้คณะนิเทศศาสตร์ 54 แก้2
เอกสารเผยแพร่การจัดการความรู้คณะนิเทศศาสตร์ 54 แก้2เอกสารเผยแพร่การจัดการความรู้คณะนิเทศศาสตร์ 54 แก้2
เอกสารเผยแพร่การจัดการความรู้คณะนิเทศศาสตร์ 54 แก้2
 
ตัวอย่าง Sar
ตัวอย่าง Sarตัวอย่าง Sar
ตัวอย่าง Sar
 

รายงานวิจัยเผยแพร่

  • 1. การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม 2 เรื่อง ภาคตัดกรวย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้ชุดการสอนที่เน้นการเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้ นางทิภาพร บุตรโคตร โรงเรียนปทุมเทพวิทยาคาร อาเภอเมือง จังหวัดหนองคาย รายงานวิจัย
  • 2. 1 การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม 2 เรื่อง ภาคตัดกรวย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้ชุดการสอนที่เน้นการเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้ ทิภาพร บุตรโคตร บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดการสอนวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม 2 เรื่อง ภาคตัด กรวย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของชุดการสอน ที่เน้นการเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้วิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม 2 เรื่อง ภาคตัดกรวย ชั้นมัธยม ศึกษาปีที่ 4 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม 2 เรื่อง ภาคตัดกรวย ของนักเรียนที่เรียน โดยใช้ชุดการสอนที่เน้นการเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 4) เปรียบเทียบ คะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม 2 เรื่อง ภาคตัดกรวย ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้ ชุดการสอนที่เน้นการเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้หลังเรียน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 และ 5) ศึกษาความพึง พอใจของนักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดการสอนที่เน้นการเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้วิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม2 เรื่อง ภาคตัดกรวย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยม ศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนปทุมเทพ วิทยาคาร อาเภอเมือง จังหวัดหนองคาย สานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 จานวน 1 ห้องเรียน จานวน 40 คน ที่ได้มาโดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยทา การทดลองในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง 16 คาบ เป็นเวลา 4 สัปดาห์ แบบแผนการวิจัยแบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน (One Group Pretest–Posttest Design) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ 2) ชุดการสอนที่เน้นการ เรียนแบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง ภาคตัดกรวย 3) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ และ 4) แบบ สอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (X) และค่าส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบสมมติฐานใช้ t–test for Dependent Samples และ t–test One Sample Test ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุดการสอนวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม 2 เรื่อง ภาคตัดกรวย ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.77/81.41 ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้ 2) ดัชนีประสิทธิผลของชุดการสอนที่เน้นการเรียนแบบสืบเสาะ หาความรู้วิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม 2 เรื่อง ภาค ตัดกรวย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เท่ากับ 0.6783 แสดงว่า เมื่อนักเรียนได้รับการสอนโดยใช้ชุดการสอนที่เน้น การเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้แล้ว นักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนรู้เพิ่มขึ้น 0.6783 หรือคิดเป็นร้อย ละ 67.833) นักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดการสอนที่เน้นการเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้ วิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม 2 เรื่อง ภาคตัดกรวย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมี
  • 3. 2 นัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4) นักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดการสอนที่เน้นการเรียนแบบ สืบเสาะหาความรู้ วิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม 2 เรื่อง ภาคตัดกรวย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูง กว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 ที่กาหนดไว้ อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 5) นักเรียนมีความพึงพอใจ ต่อการเรียนโดยใช้ชุดการสอนที่เน้นการเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้ วิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม 2 เรื่อง ภาค ตัดกรวย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด บทนา สังคมโลกในยุคศตวรรษที่ 21 เป็นสังคม แห่งความรู้ (Knowledge Society) ผู้ที่จะประสบ ความสาเร็จในสังคมของโลกยุคใหม่จะต้องมีความรู้ อันเป็นสากล มีความสามารถในการสื่อสาร การคิด การแก้ปัญหาการใช้เทคโนโลยีมีคุณธรรม จริยธรรม สามารถทางานร่วมกับผู้อื่นมีวินัยและมีคุณลักษณะ อันพึงประสงค์ที่จาเป็นต่อการเรียนรู้การพัฒนา ตนเองอย่างต่อเนื่องและมีทักษะชีวิตสามารถอยู่ ร่วมกับผู้อื่นในสังคมโลกได้อย่างสันติสุข ดังนั้นการ จัดการศึกษาในปัจจุบันต้องเป็นการจัดการศึกษาให้ คนในชาติ เป็นคนเก่ง คนดีและมีความสุข ตาม ปฏิญญาว่าด้วยการจัดการศึกษาของ UNESCO โดยในศตวรรษที่ 21 ทุกประเทศตื่นตัวให้ความ ใส่ใจต่อการพัฒนาคุณภาพของมนุษย์ทุกเพศทุกวัย ทุกสมรรถนะจึงได้มีการพัฒนาและใช้หลักสูตร การศึกษาที่มีเป้าหมายให้ผู้เรียน Learn to know, Learn to be, Learn to do เพื่อให้มีคุณลักษณะที่ พึงประสงค์ในฐานะพลเมืองของชาติและ Learn to Live Together เพื่อสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ในฐานะพลโลกนโยบายด้านหนึ่งของกระทรวง ศึกษาธิการในการพัฒนาเยาวชนของชาติเข้าสู่โลก ยุคศตวรรษที่ 21 คือการที่ประเทศไทยได้ตอบสนอง ต่อแนวคิดดังกล่าว ดังจะเห็นได้จากการพัฒนา หลักสูตรที่มีการดาเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่ง ส่งเสริมให้นักเรียนมีคุณธรรม รักความเป็นไทย มี ทักษะการคิดวิเคราะห์ คิดสร้างสรรค์ มีทักษะด้าน เทคโนโลยีสามารถทางานร่วมกับผู้อื่นและสามารถ อยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมโลกได้อย่างสันติ (กระทรวง ศึกษาธิการ, 2552: 2) พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2553) กล่าวถึงแนวทาง การจัดการศึกษาว่า นักเรียนทุกคนมีความ สามารถ ในการเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียน สาคัญที่สุดกระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ นักเรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตาม ศักยภาพ ประกอบกับการจัดการศึกษาศึกษาตาม หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 ซึ่งเป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อความเป็น เอกภาพของชาติ มีจุดหมายและมาตรฐานการ เรียนรู้ เป็นเป้าหมายสาหรับพัฒนาเด็กและเยาวชน ให้มีความรู้ ทักษะ เจตคติ และคุณธรรมบนพื้นฐาน ของความเป็นไทยควบคู่ความเป็นสากล จึงจัดการ ศึกษาให้ทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาอย่างเสมอ ภาคและมีคุณภาพ สนองการกระจายอานาจ โดย สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับ สภาพความต้องการของท้องถิ่น มีโครงสร้าง ยืดหยุ่นทั้งด้านสาระการเรียนรู้ เวลาและการ จัดการเรียนรู้โดยเน้นนักเรียนเป็นสาคัญ มุ่งพัฒนา นักเรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้และ เกิดสมรรถนะสาคัญ 5 ประการ คือความสามารถใน การสื่อสาร การคิด การแก้ปัญหา การใช้ทักษะชีวิต และการใช้เทคโนโลยี (กระทรวงศึกษาธิการ, 2551:
  • 4. 3 3) ในการจัดการเรียนการรู้ตามหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระ การเรียนรู้คณิตศาสตร์ได้กาหนดให้นักเรียนทุกคน ต้องเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เนื่องจากเป็นวิชาที่มี บทบาทสาคัญยิ่งต่อการพัฒนาความคิดของมนุษย์ ทาให้มนุษย์มีความคิดสร้างสรรค์ คิดอย่างมีเหตุผล เป็นระบบ มีแบบแผน สามารถวิเคราะห์ปัญหาหรือ สถานการณ์ได้อย่างถี่ถ้วน ช่วยให้คาดการณ์ วาง แผน ตัดสินใจ แก้ปัญหาและนาไปใช้ในชีวิต ประจาวันได้อย่างถูกต้องเหมาะสม นอกจากนี้ คณิตศาสตร์ยังเป็นเครื่องมือในการศึกษาทางด้าน วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและศาสตร์อื่นๆ คณิตศาสตร์จึงมีประโยชน์ต่อการดาเนินชีวิต ช่วย พัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นและสามารถอยู่ร่วมกับ ผู้อื่นได้อย่างมีความสุข(สานักวิชาการและมาตรฐาน การศึกษา, 2551: 1) สอดคล้องกับที่สถาบันส่งเสริม การสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (2551: 114– 127) ได้ระบุว่า คณิตศาสตร์มีบทบาทสาคัญต่อ ศาสตร์อื่นๆ มาตั้งแต่สมัยโบราณ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในทางวิทยาศาสตร์ เกาส์ (Gauss: ค.ศ.1777–1855 อ้างถึงในสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยา ศาสตร์ และ เทคโนโลยี, 2551: 114) ได้กล่าวว่า คณิตศาสตร์ เป็นราชินีของวิทยาศาสตร์ (Mathematics is the Queen of the Sciences) ถึงแม้ว่าการจัดการ ศึกษาให้ความสาคัญกับกลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์มากเพียงใดก็ตาม แต่ก็ยังไม่สามารถที่ จะทาให้นักเรียนประสบความสาเร็จในการเรียน คณิตศาสตร์ตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตรได้ ซึ่งก็ มีหลายปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพของการเรียนการ สอนคณิตศาสตร์ ทั้งกระบวนการนาหลักสูตรไปใช้ คุณภาพของนักเรียนในด้านความรู้ ส่วนหนึ่งก็ ขึ้นอยู่กับความรู้ความสามารถของครูผู้สอน รวมทั้ง กระบวนการถ่ายทอดความรู้ของครูยังไม่สอดคล้อง กับความต้องการของนักเรียน สถาน การณ์ในโลก ปัจจุบันยุคศตวรรษที่ 21 ที่เต็มไปด้วยการ เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ซึ่งการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ต้อง “ก้าวข้ามสาระวิชา” ไปสู่การเรียนรู้ “ทักษะเพื่อการดารงชีวิตในศตวรรษที่ 21” (21st Century Skills) ที่ครูสอนไม่ได้ นักเรียนต้องเรียน เองหรือพูดใหม่ว่าครูต้องไม่สอน แต่ต้องออกแบบ การเรียนรู้ และอานวยความสะดวก (facilitate) ใน การเรียนรู้ ให้นักเรียนเรียนรู้จากการเรียนแบบลง มือทา แล้วการเรียนรู้ก็จะเกิดจากภายในใจและ สมองของตนเอง (วิจารณ์ พานิช, 2555: 15) ครู เป็นผู้ที่มีบทบาทสาคัญอย่างยิ่งในฐานะเป็นผู้ที่ ถ่ายทอดวิชาความรู้ให้แก่ศิษย์ รวมทั้ง เป็นผู้ที่ สร้างสรรค์ภูมิปัญญา และปลูกฝังด้านคุณธรรม จริยธรรม ให้นักเรียนเป็นผู้ที่มีความพร้อมทั้งด้าน ความรู้ สติปัญญา ร่างกายและจิตใจ ดังนั้นครูใน ศตวรรษที่21 จาเป็นจะต้องมีการปรับกระบวนการ รูปแบบการสอนครูต้องเป็นผู้ออกแบบ กระบวนการ เรียนรู้ที่จะทาให้นักเรียนเกิดทักษะในการแสวงหา ความรู้ด้วยตนเอง โดยเฉพาะการเรียน คณิตศาสตร์ ซึ่งเป็นวิชาที่จาเป็นและสาคัญอย่างยิ่งในการดาเนิน ชีวิต ปัจจุบันพบว่านักเรียนส่วนใหญ่ไม่ประสบ ผลสาเร็จในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เท่าที่ควร ดัง จะเห็นได้จากผลการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ ขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 6 โรงเรียนปทุมเทพวิทยาคาร โดยสถาบัน ทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์กรมหาชน) ปีการศึกษา 2558 ผลจากการประเมินพบว่า คะแนนเฉลี่ยวิชาคณิต ศาสตร์ของนักเรียนโรงเรียน ปทุมเทพวิทยาคารนั้นมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 29.70 คะแนน คะแนนเฉลี่ยระดับประเทศเท่ากับ 26.59 คะแนน ซึ่งสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยระดับประเทศ แต่
  • 5. 4 ต่ากว่ารายวิชาอื่นๆ ซึ่งสาเหตุที่ทาให้นักเรียนส่วน ใหญ่ไม่ประสบผลสาเร็จในการเรียนคณิตศาสตร์ เท่าที่ควรนั้น อาจเนื่องมาจากปัจจัยแวดล้อมหลาย อย่าง เช่น ลักษณะของวิชาที่ค่อนข้างเป็นนามธรรม ซึ่งประกอบด้วยสัญลักษณ์ อาศัยการคิดที่เป็นแบบ แผนมีขั้นตอนและมีเหตุผล นอกจากนี้นักเรียน บางส่วนยังมีพื้นฐานความรู้ในวิชาคณิตศาสตร์ไม่ดี พอ ทาให้นักเรียนไม่สนใจเรียน และมีเจตคติที่ไม่ดี ต่อวิชาคณิตศาสตร์ ส่งผลให้นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ย ต่ากว่าวิชาอื่น และแม้ว่านักเรียนจะมีความรู้ความ เข้าใจในเนื้อหาคณิตศาสตร์เป็นอย่างดี แต่ยังมี นักเรียนจานวนไม่น้อยที่ด้อยความสามารถในการ แก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร การเสนอ ความคิดทางคณิตศาสตร์ การเชื่อมโยงคณิตศาสตร์ กับสถานการณ์ต่างๆ และความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ซึ่งส่งผลให้นักเรียนไม่สามารถนาความรู้ทาง คณิตศาสตร์ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจาวันได้อย่าง มีประสิทธิภาพ ดังนั้นครูผู้สอนจึงต้องปรับวิธีการ จัดการเรียนการสอนที่ช่วยเร่งเร้าให้นักเรียนเกิด ความสนใจและเกิดการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้น เนื่องจาก วิธีสอนหรือวิธีจัดการเรียนรู้เป็นหัวใจสาคัญ ของ การสอน คือสอนให้นักเรียนเรียนรู้เป็น ไม่ใช่สอน ให้รู้แต่เพียงเนื้อหาต้องสอนให้นักเรียนมี ความสามารถในการเรียน และมีประสิทธิผลใน อนาคต (Joyce, Weil and Calhoun, 2009: 6) การสอนคณิตศาสตร์ให้เกิดผลสมบูรณ์ได้ ต้องทาให้นักเรียนเกิดความคงทนในการเรียนรู้ เพราะเนื้อหาของวิชาคณิตศาสตร์มีความสัมพันธ์กัน เป็นลูกโซ่ เนื้อหาในบทเรียนแรกจะเป็นพื้นฐานใน บทเรียนต่อไปในระดับชั้นที่สูงขึ้น การจัดการศึกษา ต้องมุ่งพัฒนาคนให้เต็มตามศักยภาพที่มีอยู่ โดยต้อง ให้เกิดการพัฒนาที่สมดุล ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม การจัดการศึกษา ดังกล่าวต้องสอดคล้องกับการจัดกิจกรรมการเรียน การสอนที่ให้นักเรียนสร้างความรู้ด้วยตนเอง กล่าวคือให้นักเรียนมีบทบาทร่วมในกิจกรรมการ เรียนการสอนมากขึ้น กระตุ้นให้เกิดการอยากเรียนรู้ ส่งเสริมให้นักเรียนทากิจกรรมต่างๆ ที่ก่อให้เกิดการ เรียนรู้ด้วยตนเอง กระบวนการที่น่าสนใจอย่างหนึ่ง คือ การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Method) เพราะเป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้น นักเรียนเป็นเป็นสาคัญและเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ มีปฏิสัมพันธ์กันในกิจกรรมการเรียนรู้ เป็นรูปแบบ การจัดกิจกรรมที่มุ่งเน้นให้นักเรียนศึกษารวบรวม ข้อมูลด้วยตนเอง สร้างและค้นพบ แสวงหาความรู้ ด้วยตนเอง แลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยกระบวนการต่างๆ ที่ส่งผลให้นักเรียนเกิดความคิดรวบยอด (สุนีย์ เหมะประสิทธิ์, 2546: 334) การเรียนแบบสืบ เสาะหาความรู้เป็นการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีสรรค์ สร้างความรู้ (Constructivism) ที่เชื่อว่าการเรียนรู้ เกิดขึ้นในตัวของนักเรียน โดยครูเป็นผู้กระตุ้น อานวยความสะดวก ซักถามและจัดสถานการณ์ให้ เหมาะสมกับความรู้เดิมของนักเรียน เพื่อให้ นักเรียนคิดและเชื่อมโยงความรู้จนเกิดการเรียนรู้ อย่างมีความ หมาย เหมาะสาหรับการนาไปพัฒนา ทักษะการคิดพื้นฐานของผู้เรียน โดยการเรียนแบบ สืบเสาะหาความรู้เป็นกระบวนการที่นักเรียนจะต้อง สืบค้น เสาะหา สารวจตรวจสอบ และค้นคว้าด้วย วิธีการต่างๆ จนทาให้นักเรียนเกิดความเข้าใจและ เกิดการรับรู้ความรู้นั้นอย่างมีความหมาย จึงจะ สามารถเป็นองค์ความรู้ของนักเรียนเอง และเก็บ เป็นข้อมูลไว้ในสมองได้อย่างยาวนาน สามารถ นามาใช้ได้เมื่อมีสถานการณ์ใด ๆ มาเผชิญหน้า ดังนั้นการที่นักเรียนจะสร้างองค์ความรู้ได้ต้องผ่าน กระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย
  • 6. 5 นอกจากวิธีการจัดการเรียนการสอนที่ เหมาะสมแล้วการนาสื่อมาใช้ประกอบการเรียนการ สอนก็เป็นส่วนสาคัญอีกส่วนหนึ่งที่ทาให้นักเรียนเกิด การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ สื่อการเรียนการ สอนสามารถช่วยให้นักเรียนเรียนรู้ในสิ่งต่างๆ ได้ โดยใช้เวลาเรียนน้อยลง เรียนรู้ประสบการณ์ที่มี ความหมายในรูปแบบต่างๆ เกิดความประทับใจ มั่นใจ และจดจาได้นาน ยิ่งไปกว่านั้นสื่อการเรียน การสอนยังมีบทบาทอย่างมากในการเรียนการสอน เนื่องจากเป็นตัวกลางที่ช่วยให้การสื่อสารระหว่างครู และนักเรียนดาเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ ทาให้ นักเรียนเข้าใจความหมายของเนื้อหาบทเรียนได้ตรง กับที่ครูต้องการ ไม่ว่าสื่อนั้นจะอยู่ในรูปแบบใดก็ ตาม ชุดการสอนก็คือนวัตกรรมทางการศึกษาอย่าง หนึ่งที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ประกอบการจัดการเรียนรู้ ซึ่ง นักเรียนสามารถศึกษาได้ด้วยตนเองตามขั้นตอนที่ ระบุไว้ตามศักยภาพของแต่ละคน เป็นการพัฒนา สมรรถนะทางด้านการเรียนรู้ของนักเรียน เพื่อให้ บรรลุผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของชุดการสอนที่ได้ กาหนดไว้ โดยมีครูเป็นผู้แนะนาหรือคาปรึกษา เท่านั้น (เบญจวรรณ ใจหาญ, 2550: 10) โดยชุด การสอนมี การนาเสนอเนื้อหาในรูปของสื่อประสม มีการแบ่งเนื้อหาออกเป็นส่วนย่อยๆ นาเสนอ ตามลาดับ ทาให้นักเรียนทราบความ ก้าวหน้าใน การเรียนรู้ด้วยตนเอง สะดวกแก่นักเรียนเพราะ สามารถเรียนรู้ในทุกสถานที่และทบทวนเนื้อหาได้ ตามต้องการ นอกจากนี้ชุดการสอนที่มีประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์ จะมีประโยชน์ต่อการเรียนการสอนอย่าง ยิ่ง คือช่วยเร้าความสนใจของนักเรียนและเปิด โอกาสให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการเรียน ได้แสดง ความคิดเห็น ได้ฝึกทักษะในกระบวนการกลุ่ม ได้ ฝึกการตัดสินใจและแสวงหาความรู้ด้วยตนเองและ เปิดโอกาสให้นักเรียนได้เรียนรู้ตามความถนัด ความสนใจ (Heinich and others, 1999: 792– 795) จากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของ ผู้วิจัยที่ผ่านมาพบว่า เรื่อง ภาคตัดกรวย เป็นหนึ่งใน สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่นักเรียนส่วนใหญ่ ประสบปัญหาในการเรียน นักเรียนโดยส่วนใหญ่ไม่ ผ่านเกณฑ์ตามผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ซึ่งจากการ สังเกตการถามตอบในห้องเรียน การตรวจ แบบฝึกหัดและแบบทดสอบ พบว่านักเรียนบางคน มักจะทาผิดในโจทย์ที่มีลักษณะเดิม ๆ หรือถ้าโจทย์ มีการประยุกต์นักเรียนมักจะทาไม่ได้ แม้ว่าจะใช้ ความรู้พื้นฐานเดิมในการแก้โจทย์ปัญหานั้น แสดง ให้เห็นว่านักเรียนยังไม่เข้าใจในเนื้อหาอย่างแท้จริง นอกจากนี้ภาคตัดกรวยยังเป็นพื้นฐานในการเรียน เนื้อหาแคลคูลัสเบื้องต้นในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และวิชาแคลคูลัสในระดับอุดมศึกษาอีกด้วย ดังนั้น นักเรียนควรจะมีความรู้เรื่องภาคตัดกรวยอย่างเพียง พอที่จะสามารถนาความรู้ไปใช้ในการเรียนวิชา แคลคูลัสขั้นสูงต่อไปได้ ในอดีตการเรียนการสอน คณิตศาสตร์เป็นลักษณะของการที่ครูอธิบาย แล้วให้ นักเรียนทาแบบฝึกหัดให้มากที่สุด เพื่อจะได้ฝึกฝน ให้มีความเข้าใจดียิ่งขึ้น ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว นักเรียนอาจไม่เข้าใจตามที่ครูสอน ส่งผลให้นักเรียน เกิดความเบื่อหน่ายในการเรียน ครูจึงควร ปรับเปลี่ยนวิธีการสอนโดยครูจะเป็นผู้แนะนาให้ นักเรียน รู้จักสังเกต แสวงหาความรู้และสร้าง ความรู้ด้วยตนเอง ซึ่งทาให้ได้ข้อสรุปที่สามารถ นาไปทาแบบฝึกหัดได้ด้วยความเข้าใจ นอกจากนี้ การเรียนการสอนในห้องเรียนที่มีนักเรียนจานวน มาก เป็นการยากที่จะให้นักเรียนทุกคนสามารถ เรียนรู้ฝึกฝนทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ต่างๆ ได้พร้อมกัน
  • 7. 6 จากเหตุผลที่กล่าวมาแล้วข้างต้นผู้วิจัยจึง สนใจที่จะพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ภาคตัดกรวย ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้ สืบเสาะหาความรู้ โดยมีชุดการสอนมาเป็น เครื่องมือช่วยในการเรียนรู้เพื่อให้เห็นเป็นรูปธรรม ในเนื้อหาเรื่อง ภาคตัดกรวย ทาให้การจัดกิจกรรม การเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์มีประสิทธิภาพ มากยิ่งขึ้น ตลอดจนส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนที่สูงขึ้น วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อพัฒนาชุดการสอนวิชาคณิตศาสตร์ เพิ่มเติม 2 เรื่อง ภาคตัดกรวย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2. เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของชุดการ สอนที่เน้นการเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้ วิชา คณิตศาสตร์เพิ่มเติม 2 เรื่อง ภาคตัดกรวย ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4 3. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม 2 เรื่อง ภาคตัดกรวย ของ นักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดการสอนที่เน้นการเรียน แบบสืบเสาะหาความรู้ ระหว่างก่อนเรียนและหลัง เรียน 4. เพื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม 2 เรื่อง ภาค ตัดกรวย ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดการสอนที่ เน้นการเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้ หลังเรียนไม่ น้อยกว่าร้อยละ 70 5. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่ เรียนโดยใช้ชุดการสอนที่เน้นการเรียนแบบสืบเสาะ หาความรู้ วิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม 2 เรื่อง ภาคตัด กรวย ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย 1.1 ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนปทุมเทพวิทยาคาร อาเภอเมือง จังหวัดหนองคาย สานักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 ภาคเรียนที่ 2 1.2 ปีการศึกษา 2559 จานวน 2 ห้องเรียน จานวน ทั้งหมด 83 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้ 1) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการหา ประสิทธิภาพของชุดการสอนเป็นนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนปทุมเทพวิทยาคาร อาเภอเมือง จังหวัดหนองคาย สานักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 ภาคเรียนที่ 2 1.3 ปีการศึกษา 2558 จานวน 49 คน ที่ได้มาโดยการ สุ่มอย่างง่าย 2) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/15 โรงเรียนปทุม เทพวิทยาคาร อาเภอเมือง จังหวัดหนองคาย สานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยม ศึกษา เขต 21 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จานวน 1 ห้องเรียน จานวน 40 คน ที่ได้มาโดยการสุ่มกลุ่ม ตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1. แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดการสอน ที่เน้นการเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้ วิชา คณิตศาสตร์เพิ่มเติม 2 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง ภาคตัดกรวย จานวน 8 แผน ซึ่งแผนการจัดการ เรียนรู้นี้ผ่านการตรวจแก้ไขปรับปรุงและทดลองใช้ แล้ว 2. ชุดการสอนที่เน้นการเรียนแบบสืบเสาะ หาความรู้ วิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม 2 เรื่อง ภาค ตัดกรวย ประกอบด้วย วงกลม พาราโบลา วงรี และไฮเพอร์โบลา จานวน 8 ชุด
  • 8. 7 3. แบบทดสอบประจาชุดการสอน สาหรับใช้ทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนของแต่ละ ชุดการสอน เป็นแบบทดสอบแบบปรนัย 4 ตัวเลือก จานวน 8 ชุด ชุดละ 10 ข้อ 4. แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา คณิตศาสตร์เพิ่มเติม 2 เรื่อง ภาคตัดกรวย เป็น แบบทดสอบแบบปรนัย 4 ตัวเลือก จานวน 30 ข้อ มีค่าความยากอยู่ระหว่าง 0.36–0.77 มีค่าอานาจ จาแนกอยู่ระหว่าง 0.33–0.83 และมีค่าความ เชื่อมั่นของแบบทดสอบ ทั้งฉบับเท่ากับ 0.89 5. แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการเรียน โดยใช้ชุดการสอนที่เน้นการเรียนแบบสืบเสาะหา ความรู้ เป็นแบบมาตรประเมินค่า (Rating Scale) 5 ระดับ คือ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย และน้อยที่สุด จานวน 20 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่น ของแบบสอบถามความพึงพอใจทั้งฉบับ เท่ากับ 0.84 การเก็บรวบรวมข้อมูล 1. ขออนุญาตดาเนินการทดลองต่อ ผู้อานวยการโรงเรียนปทุมเทพวิทยาคาร สานักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 2. เลือกกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็น นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนปทุมเทพ วิทยาคาร จังหวัดหนองคาย สานักงานเขตพื้นที่ การศึกษาหนองคายเขต21ภาคเรียนที่2ปีการศึกษา 2559 จานวน 1 ห้องเรียน จานวน 40 คน ที่ได้มา โดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) 3. จัดตารางระยะเวลาในการทดลอง โดย ทดลองในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 ใช้ เวลาในการทดลองทั้งสิ้น 16 คาบ 4. จัดปฐมนิเทศนักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง เพื่อชี้แจงทาความเข้าใจกับนักเรียนเกี่ยวกับการ เรียนการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้ชุดการสอนที่เน้น การเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้ จุดประสงค์การ เรียนรู้ รวมทั้งการวัดผลและการประเมินผลการ เรียนรู้ เพื่อที่นักเรียนจะได้ปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้อง 5. ทาการทดสอบก่อนเรียน (Pre-test) กับนักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่างด้วยแบบทดสอบวัด ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม 2 เรื่อง ภาคตัดกรวย ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจานวน 30 ข้อ 6. ดาเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตาม แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดการสอนที่เน้นการ เรียนแบบสืบเสาะหาความรู้ จานวน 8 แผน รวมทั้งหมด 16 คาบ โดยทาการทดลองในภาคเรียน ที่ 2 ปีการศึกษา 2559 7. เมื่อดาเนินการสอนครบทั้ง 8 แผน แล้วทาการทดสอบหลังเรียน (Post-test) กับ นักเรียนกลุ่มตัวอย่างโดยใช้แบบทดสอบวัดผล สัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ภาคตัดกรวย ซึ่งเป็น ฉบับเดียวกับแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนก่อนเรียน 8. ผู้วิจัยดาเนินการแจกแบบสอบถาม ความพึงพอใจ เพื่อให้นักเรียนแสดงความรู้สึก ความคิดเห็นที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดการสอนที่เน้น การเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้ 9. นาผลที่ได้จากการทดลองกับนักเรียน กลุ่มตัวอย่างไปทาการตรวจ วิเคราะห์ทางสถิติเพื่อ สรุปผลการทดลองตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย ต่อไป
  • 9. 8 การวิเคราะห์ข้อมูล 1. การวิเคราะห์หาประสิทธิภาพของชุด การสอนที่เน้นการเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้ ตาม เกณฑ์ 80/80 ตามสูตร E1/E2 2. การวิเคราะห์หาค่าดัชนีประสิทธิผลของ ชุดการสอนที่เน้นการเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้ โดยใช้สูตรการหาค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I.) 3. การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม 2 เรื่อง ภาคตัดกรวย โดยใช้การทดสอบ t-test แบบ Dependent 4. การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบ คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนกับเกณฑ์ ร้อยละ 70 โดยใช้การทดสอบ t-test แบบ One Sample Test 5. การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อศึกษาความพึง พอใจต่อการเรียนโดยใช้ชุดการสอนที่เน้นการเรียน แบบสืบเสาะหาความรู้ โดยใช้ค่าเฉลี่ย (X) และค่า ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการวิจัย 1. ชุดการสอนวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม 2 เรื่อง ภาคตัดกรวย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มี ประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้ทุกชุด และเมื่อพิจารณาโดยภาพรวมพบว่า ชุดการสอนมี ประสิทธิภาพ เท่ากับ 81.77/81.41 ซึ่งมี ประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้ 2. ดัชนีประสิทธิผลของชุดการสอนที่เน้น การเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้ วิชาคณิตศาสตร์ เพิ่มเติม 2 เรื่อง ภาคตัดกรวย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เท่ากับ 0.6783 แสดงว่า เมื่อนักเรียนได้รับการ สอนโดยใช้ชุดการสอนที่เน้นการเรียนแบบสืบ เสาะหาความรู้แล้ว นักเรียนมีความก้าวหน้าในการ เรียนรู้เพิ่มขึ้น 0.6783 หรือคิดเป็นร้อยละ 67.83 3. นักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดการสอนที่เน้น การเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้ วิชาคณิตศาสตร์ เพิ่มเติม 2 เรื่อง ภาคตัดกรวย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่า ก่อน เรียน อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4. นักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดการสอนที่เน้น การเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้ วิชาคณิตศาสตร์ เพิ่มเติม 2 เรื่อง ภาคตัดกรวย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 70 ที่กาหนดไว้ อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 5. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนโดย ใช้ชุดการสอนที่เน้นการเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้ วิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม 2 เรื่อง ภาคตัดกรวย ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด การอภิปรายผล 1. การพัฒนาชุดการสอนวิชาคณิตศาสตร์ เพิ่มเติม 2 เรื่อง ภาคตัดกรวย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 ผลการวิจัย พบว่า ชุดการสอนที่เน้นการเรียนแบบสืบเสาะหา ความรู้ วิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม 2 เรื่อง ภาคตัด กรวย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ทั้ง 8 ชุด ประกอบด้วย วงกลม โจทย์ปัญหาวงกลม พาราโบลาที่มีจุดยอด ที่จุด (0, 0) พาราโบลาที่มีจุดยอดที่จุด (h, k) วงรี ที่มีจุดศูนย์กลางที่จุด (0, 0) วงรีที่มีจุดศูนย์กลางที่ จุด(h, k) ไฮเพอร์โบลาและโจทย์ปัญหาไฮเพอร์โบลา มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.33/83.16, 81.43/81.32, 81.34/81.05, 81.4/81.32 ,81.42/81.05 , 81.14/80.53 , 81.94/81.32 และ 82.15/81.58 ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้ทุก
  • 10. 9 ชุดและเมื่อพิจารณาโดยภาพรวมพบว่า ชุดการสอน มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 81.77/81.41 ซึ่งมี ประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้ ทั้งนี้ การทีชุดการสอนมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ อาจเนื่องมาจาก ชุดการสอนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ได้ ผ่านกระบวนการขั้นตอนการสร้างและพัฒนาขึ้น อย่างมีระบบและวิธีการที่เหมาะสม โดยเริ่มจาก การศึกษารายละเอียดเทคนิควิธีการสร้างชุดการ สอนจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็น แนวทางในการจัดทา มีการศึกษาหลักสูตร จุดประสงค์ และรายละเอียดของเนื้อหากลุ่มสาระ การเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง ภาคตัดกรวย เพื่อกาหนดขอบเขตเนื้อหาราย ละเอียดของกิจกรรมการเรียนการสอนในแต่ละชุด การสอน จัดลาดับเนื้อหาในชุดการสอนให้มีความ ต่อเนื่องและเชื่อมโยงกัน และกาหนดกิจกรรมการ เรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ให้สอดคล้องกับ เนื้อหาวิชาจากง่ายไปยาก โดยยึดหลักตามความ แตกต่างระหว่างบุคคล เพื่อให้นักเรียนสามารถ ค้นพบองค์ความรู้จากการทากิจกรรมในชุดการสอน โดยมีครูเป็นผู้แนะแนวทาง นอกจากนี้ยังมีใบ กิจกรรมและแบบทดสอบแต่ละชุดเพื่อให้นักเรียน ตรวจสอบความเข้าใจและประเมินผลความรู้ของ ตนเอง นอกจากนี้ในขั้นตอนของการดาเนินงานแต่ ละขั้นตอนนั้นได้ผ่านการตรวจสอบแก้ไขจาก ผู้เชี่ยวชาญที่ช่วยให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุง แก้ไข ซึ่งทาให้ชุดการสอนที่สร้างขึ้นดังกล่าวมีความ น่าเชื่อถือและมีข้อบกพร่องไม่มากนัก ที่สาคัญอย่าง ยิ่งก็คือในการตรวจสอบในแต่ละขั้นตอน ผู้วิจัยได้ ปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญอย่าง ครบถ้วน อันถือเป็นกระบวนการหนึ่งของการสร้าง ชุดการสอนอย่างเป็นระบบ นอกจากนี้หลังจากที่นา ชุดการสอนไปทดลองใช้กับนักเรียนไม่ว่าจะเป็น ขั้นตอนของการทดสอบแบบรายบุคคล หรือแบบ กลุ่มย่อย ผู้วิจัยได้พยายามขจัดปัญหาและข้อ บกพร่องต่างๆ ที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นที่ตัวสื่อการสอน กิจกรรมการเรียนหรือเวลาที่ใช้ในการเรียนการสอน ตลอดจนการบริหารจัดการการเรียนการสอนก่อนที่ จะนาไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างให้มากที่สุด ซึ่งส่งผลให้ การนาชุดการสอนไปใช้กับนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง ประสบผลสาเร็จและทาให้นักเรียนบรรลุผลสาเร็จ ในการเรียนตามเป้าหมายที่วางไว้ ตลอดจนส่งผล ให้ชุดการสอนที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่ กาหนดไว้ สอดคล้องกับงานวิจัยของ วัชระ น้อยมี (2550: 122) ที่ได้พัฒนาชุดการเรียนคณิตศาสตร์ แบบสืบสวนสอบสวน เรื่อง การให้เหตุผลและการ พิสูจน์ทางคณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมทักษะการให้ เหตุผล ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ผลการวิจัยพบว่าชุดการเรียนที่พัฒนามีประสิทธิ ภาพ 84.80/87.20 และสอดคล้องกับ สันติ อิทธิพลนาวากุล (2550: 91) ที่ได้พัฒนาชุดการเรียน คณิตศาสตร์แบบสืบสวนสอบสวนโดยใช้โปรแกรม GSP เพื่อส่งเสริมความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ภาคตัดกรวย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสตรีวิทยา แขวงบวรนิเวศ กรุงเทพฯ ผลการวิจัยพบว่า ชุดการเรียนคณิตศาสตร์แบบ สืบสวนสอบสวนโดยใช้โปรแกรม GSP มี ประสิทธิภาพ 85.95/86.64 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้ นอกจากนี้ยังสอดคล้องกับกฤติยาณี รู้สุข (2557: 138) ที่ได้พัฒนาชุดการเรียนคณิต ศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง อัตราส่วน ตรีโกณมิติ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า ชุดการเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่องอัตราส่วน ตรีโกณมิติ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 84.30/81.50
  • 11. 10 2. การศึกษาดัชนีประสิทธิผลของชุดการ สอนที่เน้นการเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้ วิชา คณิตศาสตร์เพิ่มเติม 2 เรื่อง ภาคตัดกรวย ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4 ผลการวิจัยพบว่า ดัชนีประสิทธิผลของ ชุดการสอนที่เน้นการเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้ วิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม 2 เรื่อง ภาคตัดกรวย ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4 เท่ากับ 0.6783 แสดงว่า เมื่อ นักเรียนได้รับการสอนโดยใช้ชุดการสอนที่เน้นการ เรียนแบบสืบเสาะหาความรู้แล้ว นักเรียนมี ความก้าวหน้าในการเรียนรู้เพิ่มขึ้น 0.6783 หรือคิด เป็นร้อยละ 67.83 ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากการเรียนโดยใช้ชุด การสอนที่เน้นการเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้เป็น กระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ แสดงออกตามความสนใจ มีการนาเสนอตาม ขั้นตอนโดยเรียงลาดับการเรียนรู้ไว้อย่างเป็นระบบ ทาให้ง่ายต่อการเรียนรู้ของนักเรียน โดยคานึงถึง ความแตกต่างระหว่างบุคคลและความสามารถของ นักเรียน ทาให้นักเรียนแต่ละคนสามารถที่จะเรียนรู้ และทาความเข้าใจในบทเรียนตามระดับความ สามารถของตนเอง ส่งผลให้นักเรียนมีความ กระตือรือร้นที่จะหาข้อมูลตามความสนใจ มีการ ปฏิบัติกิจกรรมระหว่างการเรียน และเมื่อปฏิบัติ กิจกรรมเสร็จแล้วนักเรียนได้ทาแบบทดสอบก่อน เรียนและหลังเรียนในแต่ละชุดการสอน ซึ่งช่วย ส่งเสริมให้นักเรียนได้ฝึกทักษะ มีการแลกเปลี่ยน ความคิดเห็นซึ่งกันและกัน ทาให้นักเรียนได้ ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน คนเก่งช่วยแนะนาคนอ่อน ครูผู้สอนจะคอยสังเกตและให้คาแนะนาตามความ เหมาะสม นอกจากนี้แบบฝึกหัดและแบบทดสอบ ยังสอดคล้องกับเนื้อหาในเอกสารหน่วย การเรียน ทาให้นักเรียนสามารถปฏิบัติกิจกรรมได้ และเมื่อ สิ้นสุดการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในแต่ละแผนการ จัดการเรียนรู้ ผู้วิจัยได้ตรวจให้คะแนนเพื่อเป็นส่วน หนึ่งของการประเมินผลการเรียนรู้ และนามาคืนให้ นักเรียนได้ตรวจสอบความถูกต้อง และข้อผิดพลาด ในการทากิจกรรม ให้นักเรียนได้ซักถามข้อสงสัย พร้อมทั้งชี้แนะข้อผิดพลาดให้กับนักเรียน เพื่อให้ นักเรียนได้นาไปแก้ไขปรับปรุง ซึ่งเป็นการกระตุ้น ให้นักเรียนทุกคนได้มีส่วนรับรู้ผลการตัดสินใจของ ตนเองว่าผิดหรือถูกทันท่วงที สอดคล้องกับแนวคิด ของ บลูม (Bloom, 1976: 115-124) ที่กล่าวว่า การสอนที่มีประสิทธิภาพจะต้องมีการให้ข้อมูล ย้อนกลับและแก้ไขข้อบกพร่อง จะต้องมีการแจ้งผล การเรียนและข้อบกพร่องให้นักเรียนทราบทันที เพราะมีการวัดผลและประเมินผลก่อนเรียนและหลัง เรียนที่ให้ผลย้อนกลับอย่างรวดเร็ว ทาให้นักเรียนที่ ได้คะแนนมากมีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ที่จะปฏิบัติ กิจกรรมในการเรียนครั้งต่อไป ส่วนนักเรียนที่ได้ คะแนนน้อยก็จะทาให้ทราบข้อบกพร่องของตนเอง และนาไปปฏิบัติเพื่อจะได้พยายามปรับปรุงแก้ไข ตนเองในการเรียนหรือทากิจกรรมต่อไป เท่ากับ เป็นการเสริมแรงให้กับนักเรียนอยากมีส่วนร่วมใน การเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา และนักเรียนมีการเรียนรู้ที่ เป็นไปตามลาดับขั้นตามหลักการเสริมแรงทาให้ นักเรียนเกิดการตอบสนองที่พึงพอใจ มีส่วนทาให้ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น ดังที่ สกินเนอร์ กล่าว ไว้ว่า การเสริมแรงจะมีประสิทธิภาพมากที่สุด เมื่อ ระยะเวลาระหว่างการแสดงพฤติกรรมที่ถูกต้องกับ การได้รับการเสริมแรงใกล้เคียงกันมากที่สุด การที่รู้ ว่าคาตอบของตนเองถูกต้องจะเป็นการเสริมแรงได้ อีกอย่างหนึ่ง สอดคล้องกับงานวิจัยของ ชุติ กาญจน์ สุประดิษฐ (2556: 55) ที่ได้พัฒนาชุด กิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ โดยใช้ โปรแกรม GSP เป็นสื่อประกอบเรื่องวงรี สาหรับ
  • 12. 11 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่าดัชนีประสิทธิ ผลของชุดกิจกรรม เท่ากับ 0.6775 ซึ่งสูงกว่า เกณฑ์ที่กาหนดไว้คือ 0.50 และสอดคล้องกับ ปวัญญา นาคะวงศ์ (2557: 65–66) ที่ได้ศึกษา ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3 เรื่อง ระบบนิเวศ ที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรม การเรียนกับการเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้ พบว่า ดัชนีประสิทธิผลของชุดกิจกรรมการเรียน มีค่า เท่ากับ 0.6848 3. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม 2 เรื่อง ภาคตัด กรวย ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดการสอนที่เน้น การเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้ ระหว่างก่อน เรียนและหลังเรียน ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนที่เรียนโดย ใช้ชุดการสอนที่เน้นการเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้ วิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม 2 เรื่อง ภาคตัดกรวย ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4 มีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนก่อนเรียนเท่ากับ 10.03 คะแนน และมี คะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน เท่ากับ 23.58 คะแนน ซึ่งคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ย ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน อย่างมีนัยสาคัญ ทางสถิติที่ระดับ .01 ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากชุดการสอนที่เน้น การเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้เป็นสื่อหรือ นวัตกรรมการศึกษาที่จัดลาดับขั้นตอนของกิจกรรม อย่างต่อเนื่อง เป็นกระบวนการเรียนรู้อย่างหนึ่ง ที่ ให้นักเรียนได้ฝึกการเรียนรู้ด้วยตนเอง ลงมือปฏิบัติ จริง ได้มีโอกาสสัมพันธ์กับสิ่งที่จะเรียนรู้ ครูผู้สอน มีหน้าที่เป็นที่ปรึกษาและให้คาแนะนาเท่านั้น ดังนั้นชุดการสอนจึงเป็นเครื่องมือที่ทาให้นักเรียน เข้าใจในเนื้อหาและบทเรียนมากขึ้น ส่งผลให้ นักเรียนได้รับข้อมูลความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่เรียน ดังที่ พรศรี ดาวรุ่งสวรรค์ (2548: 15) ที่สรุปไว้ว่า ชุดการสอนทาให้นักเรียนมีอิสระในการเรียนรู้และ สามารถแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ที่พบด้วย ตนเอง ได้ฝึกทักษะกระบวนการคิดด้านต่างๆ เรียนรู้ ได้ตลอดเวลาและทุกสถานที่ ย้าให้เกิดความเข้าใจ ในเนื้อหาที่เรียนมากยิ่งขึ้น เมื่อนักเรียนยังเกิดความ ไม่เข้าใจก็สามารถนามาศึกษาเรียนรู้ได้อยู่เสมอ แม้กระทั่งอาจจะลืมเรื่องที่เรียนมาแล้ว และยังช่วย พัฒนาศักยภาพของนักเรียนให้เกิดประสิทธิภาพ นอกจากนี้การเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้เป็น วิธีการสอนที่เน้นนักเรียนเป็นสาคัญ ครูผู้สอนเปิด โอกาสให้ผู้เรียนได้ค้นคว้าความรู้อย่างอิสระ ศึกษา ค้นคว้าเพื่อหาข้อมูลและร่วมอภิปรายแสดงความ คิดเห็น ประเมินและวิเคราะห์ข้อมูลจนสามารถ สรุปและสร้างองค์ความรู้ได้ถูกต้อง ทาให้นักเรียนมี ส่วนร่วมในการเรียนการสอนและที่สาคัญนักเรียน สามารถสร้างความรู้ได้ด้วยตนเอง และความคิดรวบ ยอดที่ได้จากการเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้เป็น นามธรรมที่นักเรียนสรุปด้วยตนเองด้วยเหตุผล ความคิดรวบยอดที่เกิดขึ้นจะยังอยู่ในความทรงจาที่ เป็นประโยชน์ต่อนักเรียนไปนาน สอด คล้องกับ บรูเนอร์ (Bruner, 1968: 159) ที่กล่าวถึง ข้อดี ของการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ว่าเป็นการช่วย ให้เด็กมีพัฒนาการทางความคิดก่อให้เกิดความพึง พอใจในการเรียนในลักษณะที่เป็นรางวัลในตัวเด็กได้ เรียนรู้วิธีที่ศึกษาค้นคว้า โดยได้มีโอกาสค้นพบสิ่ง ต่างๆ ด้วยตนเองช่วยให้เกิดความเข้าใจและจาสิ่งที่ เรียนไปได้นาน เพราะเด็กเป็นผู้เริ่มสังเกต ค้นคว้า รวบรวมข้อมูลต่างๆ ด้วยตนเอง นอกจากนี้ ซุคแมน (Suchman, 1986: 90–137) ยังได้กล่าวถึงการ จัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ว่าช่วยให้ นักเรียนจะได้เรียนรู้ได้มากกว่าการเรียนแบบครู
  • 13. 12 บอกให้หมด นักเรียนสามารถปรับประสบการณ์ ต่างๆ ได้มากกว่าเป็นไปตามความต้องการความ อยากรู้อยากเห็นและความเหมาะสมกับระดับ ความรู้พื้นฐานกับอัตราความ สามารถในการรับรู้ ของแต่ละคน นอกจากนี้ยังเป็นกิจกรรมการเรียน การสอนที่เน้นกิจกรรมที่หลากหลาย น่าสนใจ ไม่ ยากหรือง่ายเกินไป เนื้อหาเรียงลาดับจากง่ายไปหา ยาก ซึ่งไม่เกินความสามารถและระดับสติปัญญา ของนักเรียน สอดคล้องกับความสนใจของนักเรียน อีกทั้งยังเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ปฏิบัติจริงมากที่สุด โดยอาศัยสื่อและกิจกรรมที่ครูจัดเตรียมไว้ให้ ทาให้ นักเรียนได้รับประสบ การณ์ตรงในการเรียนรู้ สอดคล้องกับงานวิจัยของ อรอุมา ไชยโยธา (2547: 51–52) ได้พัฒนาชุดการเรียนคณิตศาสตร์ด้วย ตนเองแบบสืบสวนสอบสวนที่ใช้การ์ตูนประกอบ เรื่องระบบจานวนเต็ม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของ นักเรียนภายหลังได้รับการสอนโดยใช้ชุดการเรียน คณิตศาสตร์ด้วยตนเองแบบสืบสวนสอบสวนที่ใช้ การ์ตูนประกอบสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสาคัญ ทางสถิติที่ระดับ .01 และ สอดคล้องกับ สันติ อิทธิพลนาวากุล (2550: 91) ได้พัฒนาชุดการเรียน คณิตศาสตร์แบบสืบสวนสอบสวนโดยใช้โปรแกรม GSP เพื่อส่งเสริมความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ภาคตัดกรวย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า นักเรียนมีความคิดรวบยอดทางคณิต ศาสตร์สูงขึ้นอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และสอดคล้องกับ วัชระ น้อยมี (2550: 122) ได้ พัฒนาชุดการเรียนคณิตศาสตร์แบบสืบสวน สอบสวน เรื่อง การให้เหตุผลและการพิสูจน์ทาง คณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมทักษะการให้เหตุผลของ ผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า ผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของผู้เรียนหลังได้รับ การสอนโดยใช้ชุดการเรียนสูงกว่าก่อนได้รับการ สอน อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01 นอกจากนี้ยังสอดคล้องกับ กฤติยาณี รู้สุข (2557: 138) ได้พัฒนาชุดการเรียนคณิตศาสตร์แบบสืบ เสาะหาความรู้ เรื่อง อัตราส่วนตรีโกณมิติ ระดับ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า นักเรียนที่สอนโดยใช้ ชุดการเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้มีผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนคณิตศาสตร์สูงกว่านักเรียนที่สอนโดย ใช้วิธีการสอนแบบปกติ อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ ระดับ .01 4. การเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยผล สัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม 2 เรื่อง ภาคตัดกรวย ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุด การสอนที่เน้นการเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้ หลังเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนที่เรียนโดย ใช้ชุดการสอนที่เน้นการเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้ วิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม 2 เรื่อง ภาคตัดกรวย ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4 มีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนหลังเรียนเท่ากับ 23.58 คะแนน คิดเป็นร้อย ละ 78.58 ซึ่งสูงกว่าร้อยละ 70 ที่ตั้งไว้ อย่างมี นัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากการจัดกิจกรรมการ เรียนโดยใช้ชุดการสอนที่เน้นการเรียนแบบ สืบ เสาะหาความรู้เป็นการจัดสภาพสิ่งแวดล้อมและ บรรยากาศแห่งการเรียนรู้ที่มุ่งส่งเสริมและสนับสนุน การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองโดยใช้กระบวนการกลุ่ม (Group Process) เป็นสิ่งสาคัญ มีการดาเนินด้าน กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ยึดนักเรียนเป็น สาคัญ นักเรียนเรียนรู้ด้วยตนเองจากการลงมือ ปฏิบัติตั้งแต่ศึกษาขั้นตอนการดาเนินงาน ศึกษา เอกสารความรู้ นาความรู้ไปฝึกทาแบบฝึกหัด เมื่อ สงสัยสอบถามกันเองภายในกลุ่ม หากยังหาคาตอบ
  • 14. 13 ภายในกลุ่มไม่ได้นักเรียนก็มีครูผู้สอนเป็นที่ปรึกษา ไม่ทิ้งให้นักเรียนศึกษาโดยลาพัง ทาให้นักเรียนเกิด การเรียนรู้และพัฒนาสติปัญญาจากการทากิจกรรม พร้อมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปในทางที่เหมาะสม ต่างจากการเรียนในชั้นเรียนตามปกติ ทาให้ นักเรียนเกิดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ ส่งเสริมการมี ส่วนร่วม การวิเคราะห์ การแสวงหาความรู้และการ ลงข้อสรุปด้วยตนเอง ดังที่ไทเลอร์ (Tylor, 1965: 148-150) ได้กล่าวไว้ว่า การที่ครูให้หลักการหรือ ข้อสรุปแก่นักเรียนโดยตรง นักเรียนจะจดจาสิ่งที่ครู ให้โดยปราศจากความเข้าใจในสิ่งนั้นๆ อย่างแท้จริง แต่การให้นักเรียนสรุปหรือสร้างหลักการด้วยตนเอง จะช่วยให้นักเรียนมองเห็นความจริงทาง วิทยาศาสตร์ได้ลึกซึ้งและรวดเร็ว สอดคล้องกับ สันติ อิทธิพลนาวากุล (2550: 91) ได้พัฒนาชุด การเรียนคณิตศาสตร์แบบสืบสวนสอบสวนโดยใช้ โปรแกรม GSP เพื่อส่งเสริมความคิดรวบยอดทาง คณิตศาสตร์ เรื่อง ภาคตัดกรวย ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า นักเรียนเรียนมีผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนหลังเรียนสูงขึ้น และผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 65 อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ สอดคล้องกับ วัชระ น้อยมี (2550: 122) ได้พัฒนา ชุดการเรียนคณิตศาสตร์แบบสืบสวนสอบสวน เรื่อง การให้เหตุผลและการพิสูจน์ทางคณิตศาสตร์ เพื่อ ส่งเสริมทักษะการให้เหตุผลของผู้เรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 60 อย่างมีนัยสาคัญ ทางสถิติที่ระดับ .01 และ ศิวัชญ์ ราชพัฒน์ (2552: 62) ได้พัฒนาชุดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะ การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ภาคตัดกรวย สาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า นักเรียนที่เรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมมีความสามารถใน การแก้ ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ภาคตัดกรวย สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 นอกจากนี้ยังสอดคล้องกับ สุชีรา ศุภพิมลวรรณ (2555: 45) ได้ศึกษาผลการจัดการ เรียนรู้แบบ 5E โดยใช้โปรแกรม GSP เรื่องวงกลม และพาราโบลา ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์หลัง เรียนเรื่องวงกลมและพาราโบลาของนักเรียนสูงกว่า เกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีคะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 79.27 5. การศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่ เรียนโดยใช้ชุดการสอนที่เน้นการเรียนแบบสืบ เสาะหาความรู้ วิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม 2 เรื่อง ภาคตัดกรวย ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนมีความพึง พอใจต่อการเรียนโดยใช้ชุดการสอนที่เน้นการเรียน แบบสืบเสาะหาความรู้ วิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม 2 เรื่อง ภาคตัดกรวย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยภาพ รวมอยู่ในระดับมากที่สุด คิดเป็นค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.54 และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.55 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า นักเรียนสามารถ ย้อนกลับไปเรียนเนื้อหาที่สนใจได้ใหม่เมื่อไม่เข้าใจ หรือต้องการทบทวนความรู้เดิม และเนื้อหามีความ ถูกต้อง ชัดเจน น่าสนใจ เข้าใจง่าย เรียงลาดับจาก ง่ายไปยาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.64 รองลงมาคือ นักเรียนได้ทราบผลการประเมินทันทีหลังจากทา กิจกรรมหรือแบบทดสอบ และกิจกรรมการเรียนนี้ ช่วยให้นักเรียนจดจาเนื้อหาได้ง่ายและจาได้นาน มี ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.62 ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากการเรียนโดยใช้ชุด การสอนที่เน้นการเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้ได้ใช้ กระบวนการเรียนรู้ที่กระตุ้นส่งเสริมจูงใจให้นักเรียน ได้ใช้ความรู้ความสามารถในการปฏิบัติกิจกรรมที่