SlideShare a Scribd company logo
1 of 35
Download to read offline
โครงงาน IS
เรื่อง การศึกษาการเจริญเติบโตระหว่างพืชที่ใช้ปุ๋ยเคมีและออกซิน
คณะผู้จัดทำ
นายบุริศร์ ชาติชำนิ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/4 เลขที่ 15
นายวฤษณิ์ ทับทิม ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/4 เลขที่ 21
นายรัฐ ปะทีปะวณิช ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/5 เลขที่ 14
นายลัทธโชติ ตู้ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/5 เลขที่ 15
ครูที่ปรึกษา
คุณครูธาริกา ภูมิสถาน
โครงงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา IS รหัสวิชา I30202
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562
โรงเรียนราชวินิตบางแก้ว
ชื่อเรื่อง : การศึกษาการเจริญเติบโตระหว่างพืชที่ใช้ปุ๋ยเคมีและออกซิน
คณะผู้จัดทำ : 1. นายบุริศร์ ชาติชำนิ
2. นายวฤษณิ์ ทับทิม
3. นายรัฐ ปะทีปะวณิช
4. นายลัทธโชติ ตู้
ครูที่ปรึกษา : คุณครูธาริกา ภูมิสถาน
ปีการศึกษา : 2562
บทคัดย่อ
โครงงานฉบับนี้มีจุดประสงค์เพื่อต้องการทราบผลการทดลองการเปรียบระหว่างออกซินกับปุ๋ยเคมี
เนื่องจากในปัจจุบันมนุษย์เรานั้นปลูกพืชโดยมีการใช้สารเคมีในการเพาะปลูก เพื่อเร่งการเจริญเติบโตและ
ผลผลิตจากการเพาะปลูก โดยมิได้คำนึงถึงความเสียหายที่มีผลต่อธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและอาจรวมถึง
ผู้บริโภค จึงต้องมีการทำให้พืชเจริญเติบโตได้โดยไม่ต้องพึ่งสารเคมี นั่นคือ ออกซิน พืชตัวอย่างที่นำมาใช้ใน
การทดลองครั้งนี้ คือ ผักบุ้งและผักกวางตุ้ง ซึ่งเป็นผักที่ให้ผลผลิตในเร็วประมาณ 30-45 วัน จึงเหมาะแก่การ
ทำการทดลองนี้อย่างยิ่ง
คณะผู้จัดทำได้ทำการศึกษาจากพืชตัวอย่างที่นำมา โดยทดลองด้วยวิธีการปลูกโดยใช้ออกซิน 1
กระถางและปลูกโดยใช้ปุ๋ยเคมี 1 กระถาง ของแต่พืชแต่ละชนิดที่นำมา ซึ่งจะทำให้ทราบการเจริญเติบโตของ
พืชที่ใช้ออกซินหรือปุ๋ยเคมีในการปลูกได้
โครงงานนี้จะช่วยให้เราได้ทราบว่า ออกซินนั้นมีความสามารถเทียบเท่า ดีกว่า หรือได้ผลน้อยกว่า
ปุ๋ยเคมีหรือไม่อย่างไร เพราะออกซินนั้นสามารถหาได้จากแหล่งธรรมชาติ เป็นการช่วยรักโลก ถ้านำออกซิน
นั้นมาใช้แทนปุ๋ยเคมีได้
ก
กิตติกรรมประกาศ
โครงงานนี้สำเร็จลุล่วงได้ด้วยดี ด้วยความกรุณาจากคุณครูธาริกา ภูมิสถาน อาจารย์ที่ปรึกษา
โครงงาน ท่านคอยให้คำแนะนำชี้แนะแก่คณะผู้จัดทำ ตลอดจนแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆมาโดยตลอดจน
โครงงานฉบับนี้เสร็จสมบูรณ์ คณะผู้จัดทำจึงขอกราบขอบพระคุณมา ณ โอกาสนี้
ขอขอบพระคุณผู้ปกครองของสมาชิกของคณะผู้จัดทำที่ได้ให้ความอนุเคราะห์สถานที่การทดลอง
โครงงาน และยังคอยให้ข้อเสนอแนะและให้กำลังใจอยู่เสมอมา ขอขอบพระคุณอย่างสูง
คณะผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่าโครงงานฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจที่จะศึกษาค้นคว้านี้
คณะผู้จัดทำ
20 มกราคม 2563
ข
สารบัญ
เรื่อง หน้า
บทคัดย่อ ก
กิตติกรรมประกาศ ข
สารบัญ ค
บทที่ 1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา 1
วัตถุประสงค์ของการศึกษา 1
สมมติฐานของการศึกษา 1
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 2
ขอบเขตการศึกษา 2
นิยามศัพท์เฉพาะ 2
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 3-18
บทที่ 3 วิธีการดำเนินการศึกษา 19-23
บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล 24-25
บทที่ 5 สรุปผลการศึกษา และข้อเสนอแนะ 26
บรรณานุกรม 27
ภาคผนวก 28-31
ค
บทที่ 1
บทนำ
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
ในปัจจุบันมนุษย์เราปลูกพืชโดยใช้สารเคมีในการเพาะปลูกและการเกษตร โดยที่สารเคมีนั้น
ส่งผลเสียต่อธรรมชาติ ทำลายดิน สิ่งแวดล้อม รวมถึงผู้ที่บริโภคเข้าไป คนส่วนใหญ่ไม่ได้ใส่ใจในเรื่องนี้ ซึ่ง
ต่อไปสภาพแวดล้อมก็จะเสื่อมแย่ลงเราจึงคิดหาสิ่งอื่นที่จะทำให้พืชนั้นเจริญเติบโตได้เร็วขึ้นโดยไม่ต้องพึ่ง
ปุ๋ยเคมี สิ่งนั้นคือ ออกซิน โดยออกซินเป็นฮอร์โมนพืช ช่วยในการเร่งการเจริญเติบโตของพืช เกิดขึ้นเองตาม
ธรรมชาติ เช่น จากต้นพืชหลากหลายชนิด ซึ่งออกซินไม่เป็นอันตรายต่อธรรมชาติและผู้บริโภค
เราจึงมีความสงสัยว่าการใช้ออกซินจากธรรมชาติกับปุ๋ยเคมี จะมีระยะเวลานานเท่าใดที่กว่าจะได้
ผลผลิตมา เราจึงได้ทดลองกับพืชผักสวนครัว 2 ชนิด ได้แก่ ผักบุ้ง และผักกวางตุ้ง โดยควบคุมตัวแปร
บางอย่าง คือ น้ำ , ดิน , ขนาดกระถาง , แสง , ปริมาณออกซินกับปุ๋ยเคมี ซึ่งจะปลูกไว้อย่างละ 2 กระถาง
โดยกระถางใบที่ 1 จะใส่ออกซิน ส่วนในกระถางใบที่ 2 จะใส่ปุ๋ยเคมี ปลูกจนกว่าจะได้ผลผลิตที่เจริญเติบโต
เต็มที่ แล้วเปรียบเทียบเวลาที่ใช้ในการปลูกระหว่าง ออกซินกับปุ๋ยเคมี ออกซินนั้นเป็นธรรมชาติต่อสิ่งแวดล้อม
ก็จริงแต่ผลผลิตที่ได้จะเทียบเท่ากับการใช้ปุ๋ยเคมีหรือไม่ ถ้าออกซินมีผลผลิตที่ดีกว่าหรือเทียบเท่ากับปุ๋ยเคมี
เราก็จะมีวิธีแก้ปัญหาการใช้สารเคมีในพืช และสิ่งแวดล้อมเพื่อรักษาธรรมชาติของเราไว้ได้
การใช้ปุ๋ยเคมีในการปลูกพืชเป็นการทำลายธรรมชาติ และสิ่งต่างๆ ออกซินนั้นจะสามารถเป็นอีกทาง
หนึ่งที่จะทำให้ธรรมชาติไม่เสียหาย เพราะเป็นฮอร์โมนที่อยู่ตามธรรมชาติ หาได้จากพืชทั่วไป ดังนั้น รายงาน
การศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเองเรื่อง “การศึกษาการเจริญเติบโตระหว่างพืชที่ใช้ปุ๋ยเคมีกับออกซิน” ฉบับนี้ จึงมุ่ง
ศึกษาประสิทธิภาพระหว่างปุ๋ยเคมีและออกซินว่าสิ่งใดช่วยในการเจริญเติบโตของพืชได้ดีกว่ากัน เพื่อเป็น
ประโยชน์ต่อการเกษตรและผู้ศึกษาเรื่องนี้ต่อไป
วัตถุประสงค์
1. เพื่อเปรียบเทียบการเจริญเติบโตของพืชระหว่างการใช้ออกซินกับปุ๋ยเคมี
2. เพื่อเปรียบเทียบผลผลิตที่ได้ระหว่างการใช้ออกซินกับปุ๋ยเคมี
สมมติฐาน
พืชที่ใช้ออกซินจากธรรมชาติจะให้ผลผลิตที่เร็วกว่าพืชที่ใช้ปุ๋ยเคมีในการปลูก
1
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย
1.ได้รับความรู้เกี่ยวกับออกซินและปุ๋ยเคมีว่าสิ่งใดให้การเจริญเติบโตได้รวดเร็วกว่ากัน
2.ได้แนวทางในการต่อยอดไปสู่วิจัยอื่นๆ ที่สามารถศึกษาต่อไปได้
ขอบเขตของการศึกษา
1.เนื้อหาที่ใช้ในการศึกษา
เนื้อหาที่ใช้ในการศึกษาเป็นเนื้อหาที่เลือกจากปัญหาที่พบในโรงเรียนคือ การศึกษาการ
เจริญเติบโตระหว่างพืชที่ใช้ปุ๋ยเคมีกับออกซิน
2.ระยะเวลา
ระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 เดือน กรกฎาคม พ.ศ.2562 ถึง
วันที่ 30 เดือน กรกฎาคม พ.ศ.2562
3.ขอบเขตด้านตัวแปร
ตัวแปรต้น : ออกซินและปุ๋ยเคมี
ตัวแปรตาม : ผลผลิตเจริญเติบโต
ตัวแปรควบคุม : แสง , ดิน , กระถาง , ปริมาณออกซิน , ปริมาณปุ๋ยเคมี , ปริมาณน้ำ
นิยามศัพท์เฉพาะ
1.ออกซิน หมายถึง เป็นสารเร่งการเจริญเติบโตที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและมนุษย์เราสามารถ
สังเคราะห์ขึ้นได้เองด้วยกรรมวิธีทางเคมี ซึ่งมีอยู่หลายชนิด สำหรับบทบาทของออกซินที่พืชผลิตขึ้นนั้นหลักๆ
เป็นไปเพื่อการยืดขยายเซลล์หรือเพิ่มจำนวนเซลล์ พบมากในส่วนที่เป็นเนื้อเยื่อเจริญ เช่น ตายอด,ปลายราก,
ยอดอ่อน,ตา,ผลอ่อน หรือ ในส่วนต่างๆ ของพืชที่กำลังเจริญเติบโต และมีอิทธิพลต่อการข่มตาข้างไม่ให้เจริญ
(Apical Dominance)
2.ปุ๋ยเคมี หมายถึง ปุ๋ยที่ได้จากการผลิต หรือสังเคราะห์โดยกระบวนการทางเคมี ให้มีธาตุอาหารหลัก
เพียงธาตุเดียว หรือหลายธาตุ และสามารถปลดปล่อยให้เป็นประโยชน์แก่พืชได้ง่าย และเร็ว, ภาษาปาก
เรียกว่า ปุ๋ยวิทยาศาสตร์.
2
บทที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
1.ออกซิน
สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช (plant growth regulating chemicals : PGRC) ที่จัดอยู่ใน
กลุ่มออกซิน มีอยู่หลายชนิดและเป็นที่รู้จักกันดีสำหรับเกษตรกรในประเทศไทย สารออกซินชนิดแรกที่
ค้นพบคือ IAA (indol-3-acetic acid) ซึ่งเป็นสารที่พืชสร้างขึ้นเอง โดยมีคุณสมบัติเป็นสารเร่งการ
เจริญเติบโต มีผลกระตุ้นการขยายขนาดของเซล การยืดตัวของเซล และยังมีผลกระตุ้นการเกิดราก รวมถึง
มีคุณสมบัติในการส่งเสริมการเจริญเติบโตในส่วนต่าง ๆ ของพืช ซึ่งสามารถพิสูจน์ได้หลายวิธีกับพืชทั้งต้น
(intact plant) รวมทั้งวิธีที่ตัดอวัยวะเฉพาะส่วนมาทดสอบ (excised part) สรุปได้ว่ากระบวนการต่าง ๆ
หลายอย่างที่เกิดขึ้นในพืชนั้น ออกซินมีส่วนในการควบคุมกระบวนการนั้น ๆ ด้วย เมื่อเป็นเช่นนี้จึงทำให้มี
การสังเคราะห์สารต่าง ๆ ที่มีคุณสมบัติคล้ายออกซินเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ทางการเกษตร สารสังเคราะห์
เหล่านี้มีอยู่หลายชนิด แต่ที่นิยมใช้กันทั่วไปมีอยู่เพียงไม่กี่ชนิด ได้แก่ NAA (1-naphthylacetic acid) IBA
(4-(indol-3-yl)butyric acid) 2,4-D (2,4-dichlorophenoxyacetic acid) และ 4-CPA (4-
chlorophenoxyacetic acid)
1.1. การสังเคราะห์ออกซินในเนื้อเยื่อพืช (Biosynyhesis of Auxins)
กลไกในการสังเคราะห์สารออกซินที่เป็นไปได้มีสองทางโดยเริ่มจากการตัด amino group และ
carboxyl group จาก side-chain ของ amino acid ชนิดหนึ่งคือ tryptophanpathway ที่เกิดขึ้นใน
พืชส่วนใหญ่จะเริ่มจากการตัด amino group ให้กับ -keto acid ตัวหนึ่ง โดยผ่านปฎิกิริยาที่เรียกว่า
transaminayionกลายเป็น indolepyruvic acid จากนั้นจะเกิดปฎิกิริยา decarboxylation กับ
indolepyruvic acid กลายเป็น IAA (indole acetic acid) enzymes ที่จำเป็นสำหรับการเปลี่ยน
tryptophan ไปเป็น IAA จะมีประสิทธิภาพ (active) มากที่สุดในเนื้อเยื่อที่มีอายุน้อย เช่น shoot
meristems ใบที่กำลังเจริญเติบโต และในผล ในเนื้อเยื่อเหล่านี้ยังจะมีออกซิน ในปริมาณมากที่สุดอีกด้วย
จึงทำให้สรุปว่าเป็นแหล่งสังเคราะห์ออกซินซึ่งจะอยู่บริเวณที่มีการเจริญเติบโตทั่วไปทั้งต้น ธาตุสังกะสีมีความ
จำเป็นต่อการสังเคราะห์ทริบโตเฟนจึงมีความสำคัญต่อการสังเคราะห์ออกซินด้วย ดังนั้นเมื่อขาดธาตุสังกะสีก็
ทำให้พืชสร้างออกซินได้น้อยด้วยออกซินมีผลในการกระตุ้นการเจริญเติบโตของลำต้น ตา ใบ และรากใน
ระดับความเข้มข้นที่ต่างกัน ออกซินในระดับความเข้มข้นสูงมาก ๆ จะยับยั้งการเจริญเติบโตทุกส่วนของพืช
ออกซินในระดับความเข้มข้นที่เหมาะสมจะกระตุ้นการเจริญของลำต้น แต่จะมีผลในการยับยั้งการเจริญเติบโต
ของตาและใบ ซึ่งต้องการความเข้มข้นต่ำกว่า ในขณะที่รากต้องการออกซินในปริมาณที่น้อยมาก ดังนั้นลำ
ต้นจึงต้องการออกซินสูงกว่า ตา และใบ ในขณะที่ตาและใบก็ต้องการออกซินสูงกว่าในราก ดังนั้นความ
เข้มข้นของออกซินที่พอเหมาะต่อการเจริญเติบโตของอวัยวะหนึ่งแต่จะยับยั้งการเจริญเติบโตของอวัยวะหนึ่ง
3
1.2. ผลของออกซินที่มีต่อการเจริญเติบโตของพืช
1. ช่วยกระตุ้นการแบ่งเซลของเยื่อเจริญ (cambium) ทำให้พืชมีเนื้อไม้มากขึ้น เกิดการเจริญเติบโต
ด้านข้างเพิ่มขึ้น
2.ออกซินช่วยให้เซลล์ในส่วนต่าง ๆ ของพืชยืดยาวขึ้นโดยการกระตุ้นให้เซลล์สร้างผนังเซลล์มากขึ้น
3.ควบคุมการเจริญของตาข้าง (lateral bud) โดยตายอด (apical bud) ซึ่งเรียกว่า การข่มของ
ตายอด (apical dominant) โดยตายอดสร้างออกซินขึ้นมาในปริมาณที่สูงแล้วลำเลียงลงสู่ด้านล่าง ความ
เข้มข้นระดับนี้จะยับยั้งการเจริญเติบโตของตาและใบด้านข้างไม่ให้เจริญเติบโต พืชจึงสูงขึ้นมากแต่ไม่เป็นพุ่ม
แต่เมื่อเราตัดยอดออกความเข้มข้นของออกซินจะลดลง ทำให้ไม่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของตาด้านข้าง
และใบได้ พืชจึงแตกตาด้านข้างได้ และทำให้ต้นพืชมีลักษณะเป็นพุ่ม
4.ออกซินในปริมาณที่พอเหมาะสามารถใช้การกระตุ้นการเกิดรากสำหรับการตอนและการปักชำกิ่งได้
5.ควบคุมการตอบสนองของพืชโดยการแบบมีแสงเป็นสิ่งเร้า (phototropism) หรือมีแรงโน้มถ่วง
ของโลกเป็นสิ่งเร้า (gravitropism)
6. ควบคุมการออกดอกของพืชปกติ โดยทั่วไปถ้าพ่นออกซินให้แก่พืชที่ใกล้จะออกดอก จะทำให้พืช
นั้นออกดอกช้าลง แต่ในสับปะรด มะม่วง ลิ้นจี่ เมื่อให้ออกซินจะทำให้ออกดอกเร็วขึ้น และออกดอกพร้อม
ๆ กัน อย่างไรก็ตามพีรเดช (2529) กล่าวว่าถึงแม้เกษตรกรหลายท่านเข้าใจว่าสารในกลุ่มออกซินนี้เร่งการเกิด
ดอกของพืชได้ แต่แท้จริงแล้วผลของออกซินในข้อนี้ยังค่อนข้างเลื่อนลอย เท่าที่มีงานทดลองสรุปได้แน่ชัดว่า
ออกซินเร่งการเกิดดอกได้เฉพาะในสับปะรดเท่านั้น การใช้ NAA หรือ IBA สามารถเร่งการเกิดดอกของ
สับปะรดได้ แต่มีประสิทธิภาพต่ำกว่าการใช้ถ่านก๊าซ (calcium carbide) และ เอทธิฟอน (ethephon) แต่
ก็เชื่อได้ว่าการเกิดดอกของสับปะรดไม่ได้เป็นผลของ NAA หรือ IBA โดยตรง แต่เป็นผลทางอ้อมที่สาร
ดังกล่าวไปกระตุ้นให้ต้นสับปะรดสร้างเอทธิลีน (ethylene) ขึ้นมา และเอทธิลีนเป็นตัวกระตุ้นให้สับปะรด
เกิดดอก สำหรับในประเทศไทยเคยมีการแนะนำให้ใช้ NAA ผสมกับโพแทสเซียมไนเตรท (KNO3) เพื่อฉีดเร่ง
ดอกมะม่วง แต่ยังไม่มีข้อมูลใด ๆ ยืนยันว่าวิธีการดังกล่าวใช้ได้ผล
7. เปลี่ยนเพศดอก พืชหลายชนิดที่มีดอกตัวผู้และดอกตัวเมียอยู่ต่างดอก หรือต่างต้นกัน เช่น ต้น
เงาะ ซึ่งมี 2 ชนิด คือ ต้นตัวผู้ซึ่งมีแต่ดอกตัวผู้ ที่ไม่สามารถให้ผลผลิต จึงถูกตัดทิ้งเนื่องจากไม่สามารถให้
ผลผลิตได้ และต้นตัวเมียซึ่งมีดอกตัวเมีย จากการที่ต้นตัวผู้ถูกตัดทิ้ง ทำให้มีเกสรตัวผู้ไม่เพียงพอในการผสมกับ
ดอกตัวเมีย ผลผลิตจึงลดลงเพราะดอกตัวเมียไม่สามารถพัฒนาเป็นผลได้ การพ่นออกซิน ความเข้มข้น 100
มก/ล แก่ช่อดอกเงาะต้นตัวเมีย ในระยะดอกตูม สามารถชักนำให้เกิดการเปลี่ยนเพศดอกจากดอกตัวตัวเมีย
เป็นดอกตัวผู้ได้
8. เพิ่มขนาดของผล และป้องกันผลร่วง มีรายงานว่าออกซินอาจช่วยขยายขนาดของผลไม้บางชนิด
ได้ เช่น การใช้ 4-CPA หรือ NAA กับสับปะรด ผลไม้บางชนิดสามารถใช้ออกซินเพื่อป้องกันผลร่วงก่อนการ
เก็บเกี่ยวได้ เช่น มะม่วง ส้ม องุ่น และลางสาด สารที่นิยมใช้คือ NAA และ 2,4-D (พีรเดช, 2529)
4
9. ควบคุมการเจริญเติบโตของผล เช่น แตงโม องุ่น มะเขือเทศ บวบ มะเดื่อ สตรอเบอรี่ เมื่อ
พ่นด้วยในปริมาณที่พอเหมาะก็จะทำให้รังไข่เจริญไปเป็นผลได้โดยไม่มีเมล็ด ซึ่งเรียกผลไม้ประเภทนี้ว่า ผลไม่
มีเมล็ด หรือ ผลกระเทย (parthenocarpic fruit) พีรเดช (2529) กล่าวว่ามีรายงานว่าออกซินอาจช่วยขยาย
ขนาดของผลไม้บางชนิดได้ เช่น การใช้ 4-CPA หรือ NAA กับสับปะรด ผลไม้บางชนิดสามารถใช้ออกซิน
เพื่อป้องกันผลร่วงก่อนการเก็บเกี่ยวได้ เช่น มะม่วง ส้ม องุ่น และลางสาด สารที่นิยมใช้คือ NAA และ
2,4-D
10.ควบคุมการหลุดร่วงของใบ ดอก และผล เมื่ออวัยวะดังกล่าวแก่ตัวลง การสร้างออกซิเจนจะ
น้อยลงกว่าส่วนอ่อนและลำต้นจึงทำให้ร่วงได้ ดังนั้นการพ่นออกซินให้ในปริมาณที่พอเหมาะส่วนต่าง ๆ
เหล่านั้นก็จะไม่หลุดร่วงง่าย
11. สารประกอบต่าง ๆ ที่สังเคราะห์ขึ้นมาและนิยมใช้แทนออกซินธรรมชาติได้แก่ กรดแนพทาลีน
แอซิติก (naphthalene acetic acid, NAA) กรดอินโดลบิวทิริก (Indolebutyric acid, IBA) กรดอิน
โดลโพรพิออกนิก (Indolepropionic acid) กรดแนพทอซีแอซิติก (Naphthoxyacetic acid, NOA)
สารเหล่านี้มีผลเช่นเดียวกับออกซินในธรรมชาติ นอกจากนี้ยังใช้ออกซินสังเคระห์สารบางชนิดในการปราบพืช
ประเภทใบกว้าง หรือพืชใบเลี้ยงคู่คือ กรด2,4-ไดคลอโรฟีนอแอซีติก (2,4-Dichlorophenoxyacetic acid
2,4-D) และใช้กรด 2,2 Dichlopropionic acid) ใช้ในการปราบวัชพืชใบแคบคือ พวกหญ้าและใบเลี้ยง
เดี่ยวต่าง ๆ สำหรับสารที่ทำลายฤทธิ์หรือผลของออกซินหรือที่เรียกว่า แอนติออกซิน (antiauxin) ได้แก่
กรด 2,6-ไดคลอโรฟีนอแอซีติก (2,6-Dichlorophenoxyacetic acid 2,6-D) กรดทรานส์ซินเนมิก
(transcinamic acid) เมื่อใช้ร่วมกับออกซินแล้วจะไม่มีผลของออกซินให้เห็น
12. ออกซินมีคุณสมบัติเป็นสารกำจัดวัชพืช (herbicides) ออกซินทุกชนิดถ้าใช้ความเข้มข้นสูงจะ
สามารถฆ่าพืชได้ ดังนั้นจึงมีการนำสารออกซินมาใช้เป็นยากำจัดวัชพืชอย่างกว้างขวาง ออกซินที่ใช้สารกำจัด
วัชพืช อย่างกว้างขวางได้แก่ 2,4-D, 2,4,5-T , MCPA สารที่นิยมใช้คือ 2,4-D รองลงมาคือ 4-CPA สารทั้ง
สองชนิดนี้มีฤทธิ์ของออกซินสูงมากจึงใช้ฆ่าวัชพืชได้ แม้จะใช้ความเข้มข้นไม่สูงมากนักก็ตาม อนุพันธ์ของ
picolinic acid เช่น picloram ชื่อการค้า Tordonมีคุณสมบัติที่ทำให้เป็นที่นิยมกว้างขวางเนื่องจากความ
เป็นพิษต่อพืช มีราคาถูกและการเลือกทำลายพืชใบเลี้ยงคู่มากกว่าพืชใบเลี้ยงเดี่ยว 2,4,5-T ถูกห้ามใช้ใน
สหรัฐอเมริกา เนื่องจากมีสารพิษที่ร้ายแรงคือ dioxin ปนเปื้อนอยู่
สารกำจัดวัชพืชเหล่านี้อาจอยู่ในรูปเกลือของด่างอ่อน เช่น ammonia (amines), กรด
emulsifiable, ester และผสมกับน้ำมันหรือ detergent เพื่อให้มีการกระจายตัวและจับใบสามารถดูดซึม
เข้าสู่ใบพืชได้ดีขึ้นและเมื่อดูดซึมเข้าไปแล้วจะถูกลำเลียงส่วนใหญ่ทาง phloem ไปกับสารที่เกิดจากการ
สังเคราะห์แสง ดังนั้นเวลาฉีดพ่นให้ได้ผลดีที่สุด คือตอนเช้ามืดของวันที่มีแดด กลไกที่แท้จริงของสารเหล่านี้
ยังไม่กระจ่างเพียงแต่สันนิษฐานว่าออกซินเหล่านี้เข้าไปรบกวนการสร้าง DNA และการแปล RNA ดังนั้นจึง
ทำให้การสร้างเอนไซม์ต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตเหล่านี้ได้รับการสร้างอย่างผิดปกติ
5
2. ถั่วงอก
ถั่วงอก (อังกฤษ: bean sprout) คือ ต้นถั่วที่มีรากงอกจากเมล็ด เช่น ถั่วเขียว ถั่วดำ ถั่วเหลือง (ถั่วงอก
หัวโต) ถั่วลันเตา (โต้วเหมี่ยว) เป็นต้น ถั่วงอกเป็นผักชนิดหนึ่งและมีคุณค่าทางอาหารสูง ได้แก่ โปรตีน วิตามิน
บี วิตามินซี ใยอาหาร เหล็ก (1.6 กรัมต่อ 1 ถ้วยตวง) และเกลือแร่[1] นอกจากนี้ ถั่วงอกยังมีแคลอรีต่ำอีกด้วย
การใช้ประโยชน์
ถั่วงอกนิยมใช้รับประทานกับอาหารประเภทเส้นที่มีส่วนผสมของแป้งสาลีหรือแป้งข้าวเจ้า และให้
คาร์โบไฮเดรต (Di-Carbohydrate) สูง ซึ่งมีลักษณะเป็นพันธะสายยาว อาทิ บะหมี่ ก๋วยเตี๋ยว เส้นหมี่ เส้น
จันท์ เส้นเล็ก ชาวจีนในอดีตนิยรับประทานถั่วงอกกับก๋วยเตี๋ยว เส้นหมี่ และเส้นจันท์มากกว่าเส้นประเภทอื่น
เพราะคนแก่ชาวจีนที่อพยพมาตั้งรกรากนั้นไม่ค่อยมีฟันและเรี่ยวแรงที่จะเคี้ยวเนื้อสัตว์[3] ปัจจุบัน ถั่วงอกยัง
ใช้รับประทานร่วมกับบะหมี่เพียงหนึ่งหยิบมือที่เรียกว่า "บะหมี่จับกัง" ด้วย
สรรพคุณทางยา
ถั่วงอกมีสรรพคุณช่วยป้องกันมะเร็งลำไส้และเอนไซม์ เพราะช่วยกระตุ้นสารต่อต้านอนุมูลอิสระที่
จำเป็นภายในร่างกาย หรือที่เรียกว่า "ตัวทำปฏิกิริยา" ทั้งยังช่วยลดระดับน้ำตาลในกระแสเลือด[1]
ข้อเสีย
หากรับประทานถั่วงอกมากเกินควรในครั้งเดียว ร่างกายจะอิดโรย ผอมซูบ เป็นลม หมดสติ เพราะ
ร่างกายผู้หญิงและผู้ชายบางกรุ๊ปเลือดจะเผาผลาญพลังงานตลอดเวลา นี้เป็นปัจจัยให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ
มากผิดปกติ และอาจทำให้เสียชีวิตได้
ข้อควรระวัง
ถั่วงอกในท้องตลาดอาจปนเปื้อนสารเร่งโต สารเร่งให้อ้วน สารฟอร์มาลิน และสารฟอกขาว ซึ่งต้องห้าม
และเป็นโทษต่อร่างกาย สารปนเปื้อนเหล่านี้มีผลกระทบต่อระบบทางเดินอาหาร ระบบประสาท และระบบ
หายใจ รวมถึงอาจเป็นสาเหตุของเนื้องอกและมะเร็งด้วย
6
3. ปุ๋ยเคมี คือ ปุ๋ยที่ได้จากสิ่งมีชีวิต เช่น จากหิน หรือแร่ธาตุต่าง ๆ หรือจากการสังเคราะห์ขึ้น เช่น ปุ๋ยยูเรีย
แอมโมเนียมซัลเฟต หินฟอสเฟตบด หรือปุ๋ยเคมีสูตรต่าง ๆ ที่ใช้กันอยู่โดยทั่วไป
แม้ว่าปุ๋ยเคมีจะมีธาตุอาหารพืชอยู่มากกว่าปุ๋ยอินทรีย์ก็ตาม แต่ปุ๋ยเคมีไม่สามารถทดแทนปุ๋ยอินทรีย์ได้ทั้งหมด
เพราะปุ๋ยเคมีไม่มีคุณสมบัติในการปรับปรุงโครงสร้างของดินให้โปร่งและร่วนซุยได้
นอกจากนั้นปุ๋ยเคมีส่วนใหญ่มักจะไม่มีธาตุอาหารรอง และธาตุอาหารเสริมครบทุกธาตุเหมือนปุ๋ยอินทรีย์
ปุ๋ยเคมีทั่ว ๆ ไป จะเกี่ยวข้องกับธาตุอาหารอยู่ 3 ธาตุ คือ ธาตุไนโตรเจน ธาตุฟอสฟอรัส และธาตุโปรตัสเซียม
ซึ่งทั้ง 3 ธาตุนี้ ก็คือธาตุปุ๋ยนั้นเอง จึงอาจแบ่งปุ๋ยเคมีออกตามจำนวนธาตุที่มีอยู่ในปุ๋ยได้ โดยแบ่งออกเป็น 2
ชนิด คือ ปุ๋ยเดี่ยวและปุ๋ยผสม
ปุ๋ยเดี่ยว คือ ปุ๋ยที่มีธาตุปุ๋ยอยู่เพียงธาตุเดียว เช่น ยูเรีย มีไนโตรเจนเพียงธาตุเดียว หรือโปรตัสเซียมคลอไรด์ มี
โปรตัสเซียมอยู่เพียงธาตุเดียว เป็นต้น
ปุ๋ยผสม จะมีธาตุปุ๋ยอยู่ 2 หรือ 3 ธาตุ เช่ย ปุ๋ยสูตร 16 - 20 - 20 มีธาตุไนโตรเจน และธาตุฟอสฟอรัสเพียง 2
ธาตุ ส่วนปุ๋ยสูตร 15 - 15 - 15 จะมีธาตุ ธาตุไนโตรเจน ธาตุฟอสฟอรัส และธาตุโปรตัสเซียม ครบ 3 ธาตุเป็น
ต้น
บนกระสอบหรือภาชนะซึ่งบรรจุปุ๋ยเคมีนั้นโดยปกติ จะมีตัวเลขอยู่ 3 จำนวน แต่ละจำนวนจะมีขีดคั่นกลาง
เช่น 46 - 0 - 0, 16 - 20 - 0 หรือ 15 - 15 - 15 เป็นต้น ตัวเลขที่อยู่หน้าสุดนั้นเป็นตัวเลขแสดงเปอร์เซ็นต์
ของเนื้อธาตุไนโตรเจน ตัวเลขกลางเป็นเปอร์เซ็นต์ ของเนื้อธาตุฟอสฟอรัส และตัวเลขตัวหลังเป็นเปอร์เซ็นต์
ของเนื้อธาตุโปตัสเซียม โดยน้ำหนัก ตัวเลขทั้ง 3 จำนวนนี้ เรียกว่า “สูตรปุ๋ย"
ดังนั้น คุณค่าของปุ๋ยจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณเนื้อธาตุอาหารที่มีในปุ๋ยนั้น และปุ๋ยที่มีสูตรเหมือนกันก็
ควรจะมีคุณค่าเหมือน ๆ กัน ไม่ว่าจะเป็นคนละชื้อหรือคนละตราก็ตาม เช่น ปุ๋ยสูตร 15 - 15 - 15 ไม่ว่าจะ
7
เป็นตราใดจะให้ธาตุอาหารพืชเท่ากัน จึงควรเลือกซื้อตราที่ราคาถูกที่สุด ยกเว้นปุ๋ยที่ใช้ในนาข้าว น้ำขังซึ่งไม่
สามารถใช้หลักการนี้ได้
ปุ๋ยที่ใช้สำหรับนาข้าวน้ำขัง หรือที่เรียกว่า "ปุ๋ยนา" นั้นเป็นปุ๋ยที่มีคุณสมบัติพิเศษและจะต้องมีข้อความบน
กระสอบปุ๋ยว่า "ถ้าใช้เป็นปุ๋ยข้าวแนะนำให้ใช้ในนาดินเหนียว" หรือ "ถ้าใช้เป็นปุ๋ยข้าวแนะนำให้ใช้ในนาดิน
ทราย" จึงจะเลือกซื้อมาใช้ในนาข้าวได้ ปุ๋ยที่ไม่มีข้อความดังกล่าวแม้จะมีสูตรเหมือนกันก็ไม่ควรนำนาใช้ในนา
ข้าว
สูตรปุ๋ยนั้นถ้านำมาทอนค่าให้เป็นเลขน้อย ๆ ก็จะได้ตัวเลขชุดหนึ่งเรียกว่า "อัตราส่วนปุ๋ย" หรือ "เรโชปุ๋ย" เช่น
สูตร 16 - 16 - 8 จะมีอัตราส่วนปุ๋ย 2 ต่อ 2 ต่อ 1 (2 : 2 : 1) หรือ 15 - 15 - 15 จะมีอัตราส่วนปุ๋ย 1 : 1 : 1
หรือ สูตร 16 - 16 - 16 จะมีอัตราส่วนปุ๋ย 1 : 1 : 1 เช่นกัน
ดังนั้น ปุ๋ยที่มีอัตราส่วนปุ๋ยเหมือนกันจึงสามารถใช้แทนกันได้ แต่ปริมาณการใช้จะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับ
ปริมาณเนื้อธาตุในปุ๋ยนั้น
ปุ๋ยที่มีอัตราส่วนปุ๋ยเหมือนกันจะสามารถนำมาเปรียบเทียบราคากัน ได้ว่าปุ๋ยสูตรใดถูกหรือแพงกว่ากัน เช่น
ปุ๋ยสูตร 15 - 15 - 15 ซึ่งมีอัตราส่วนปุ๋ย 1: 1 : 1 ราคาตันละ 6,300 บาท และปุ๋ยสูตร 14 - 14 - 14 ซึ่งมี
อัตราส่วนปุ๋ย 1: 1 : 1 เช่นเดียวกันแต่ราคาตันละ 6,100 บาท สามารถเทียบราคาได้ว่าควรจะเลือกซื้อปุ๋ยสูตร
ราคาต่อ 1 กก. เนื้อธาตุโดยเฉลี่ย = ราคาปุ๋ย 100 กก. / เนื้อธาตุทั้งหมด
ในการใช้ปุ๋ยกับพืชแต่ละชนิดให้ถูกต้องนั้น มีปัจจัยที่เกี่ยวข้องหลายอย่างได้แก่ ชนิดพืช ชนิดดิน เวลาในการ
ใช้ปุ๋ยและวิธีการใช้ปุ๋ย พืชแต่ละชนิดมีความต้องการธาตุอาหารแต่ละธาตุมากน้อยต่างกันไป บางชนิดต้องการ
ธาตุไนโตรเจนมาก บางชนิดต้องการธาตุโปตัสเซียมมาก หรือในพืชชนิดเดียวกันแต่ต่างเวลาก็อาจต้องการธาตุ
อาหารต่าง ๆ มากน้อยต่างกัน เช่น ในช่วงที่พืชสร้างใบ จะต้องการธาตุไนโตรเจนมาก แต่ในช่วงสร้างผลจะ
ต้องการธาตุโปตัสเวียมมาก เป็นต้น ดินแต่ละชนิดก็มีปริมาณธาตุแตกต่างกัน ดินบางชนิดอาจมีธาตุโปตัสเซียม
สูง ส่วนดินทรายมักจะมีโปตัสเซียมน้อย เป็นต้น
วิธีการใช้ปุ๋ยก็มีหลายวิธี เช่น วิธีหว่าน วิธีโรยเป็นแถว หยอดเป็นหลุม เป็นต้น แต่ละวิธีก็มีประสิทธิภาพและ
ความสะดวกไม่เท่ากัน ดังนั้นการใช้ปุ๋ยเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดนั้นสิ่งที่ควรคำนึงถึงก็คือ
1. ใช้ปุ๋ยให้ถูกสูตร
2. ใช้ปุ๋ยให้ถูกอัตรา
3. ใช้ปุ๋ยให้ถูกช่วงเวลา
4. ใช้ปุ๋ยให้ถูกวิธี
เกษตรกรจึงควรดำเนินการให้ถูกต้องตามคำแนะนำการใช้ปุ๋ย สำหรับพืชแต่ละชนิด ซึ่งนักวิชาการได้ให้ไว้
พืชแต่ละชนิดจะเจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีช่วง พี.เอช. ต่างกัน แต่พืชทั่ว ๆ ไปจะเจริญเติบโตได้ดีในช่วง พ.เอช.
6.0 - 7.0 ช่วง พี.เอช. ของดินที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืชแสดงไว้ในตารางที่ ช่วง พี.เอช. ของดิน ที่
เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช
8
3.1. ปุ๋ยสูตร 12-27-23
ประกอบด้วย
-ไนโตรเจนทั้งหมด 12%
-ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ 27%
-โพแทสเซียมที่ละลายน้ำ 23%
พ่นที่ผลอ่อนเพื่อให้ทรงผลสวยงาม
ใช้ปุ๋ยเกล็ดหรือปุ๋ยเกล็ดหรือปุ๋ยน้ำสูตรตัวกลางสูง สูตร12-27-23 โดยพ่นปุ๋ยให้ทางใบและจะใช้ฮอร์โมนแพลน
โนฟิกซ์ (Planofix) ซึ่งมีสารออกฤทธิ์คือ 1-Naphthylacetic acid (NAA) ผสมสารจับใบพืชพ่นให้อีกเพื่อช่วย
ให้การติดดอกและฝักอ่อนดีขึ้น
– ปุ๋ยสูตรตัวกลางสูง 12-27-23 ½ กิโลกรัม +น้ำ 200 ลิตร + ฮอร์โมน เอ็น เอ เอ อัตราที่ 5 ซี.ซี./น้ำ 20
ลิตร ฉีดพ่นไปที่ผลอ่อน 2-3 ครั้ง ห่างกัน 5-7 วัน
คุณสมบัติ คือ
- ช่วยขยายผลในระยะผลเล็ก
- รูปทรงผลสวย
4. ผักบุ้งจีน
เป็นพืชที่อยู่ในวงศ์ผักบุ้ง (Convolvulaceae) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Ipomoea aquaticaForsk.
Var. reptanเป็นพืชที่พบทั่วไปในเขตร้อน และเป็นผักที่คนไทยนิยมนำมาประกอบอาหารเช่นเดียวกับผักบุ้งไทย
ผักบุ้งจีนมีใบสีเขียว ก้านใบมีสีเหลืองหรือขาว ก้านดอกและดอกมีสีขาว โดยทั่วไปแล้วผักบุ้งจีนจะนิยมนำมา
ประกอบอาหารมากกว่าผักบุ้งไทย จึงมีการปลูกอย่างแพร่หลายในประเทศไทย สำหรับเกษตรกรปลูกเพื่อนำลำต้น
ไปขาย และบริษัทปลูกเพื่อพัฒนาและขายเมล็ดพันธุ์ ตลาดที่สำคัญในการส่งออกผักบุ้งจีน คือ ฮ่องกงมาเลเซีย
และสิงคโปร์
9
ลำต้นลำต้นผักบุ้งจีนเป็นไม้ล้มลุกกึ่งเลื้อย โดยในช่วงแรกลำต้นจะตั้งตรง และต่อมาเมื่อลำต้นยาวมาก ลำต้น
จะค่อยๆโน้ม แล้วเลื้อยไปตามพื้นดิน ลำต้นมีลักษณะมีข้อปล้องที่มีตาใบ และตาดอกแตกออกมา ลำต้นมีสี
เขียว ไม่แตกกิ่งก้าน จะแตกยอดหรือก้านใหม่หลายก้านเมื่อยอดหรือลำต้นถูกทำลาย ด้านในลำต้นกลวงเป็นรู
มีจุดกั้นรูบริเวณส่วนข้อ
ใบ
ใบเป็นใบเดี่ยว ใบเป็นรูปหอก เรียวยาว โคนใบกว้างเป็นรูปหัวใจ ปลายใบแหลม แผ่นใบ และขอบใบเรียบ
ก้านใบยาว 4-8 เซนติเมตร แผ่นใบยาวประมาณ 6-15 เซนติเมตร
ดอก
ดอกผักบุ้งจีนออกเป็นช่อ เป็นดอกสมบูรณ์ แต่ละช่อประกอบด้วยดอกตรงกลาง 1 ดอก และเติบโตก่อน ส่วน
ด้านข้างมีอีก 2 ดอก แต่ละดอกมีกลีบเลี้ยงสีเขียว 5 อัน กลีบดอกเป็นรูปกรวย ด้านนอกสีขาว ด้านในสีม่วง
ภายในมีเกสรตัวผู้ 5 อัน เกสรตัวเมีย 1 อัน ซึ่งดอกจะออกในฤดูที่มีช่วงวันสั้น (วันละ 10-12ชั่วโมง) ดอกจะมี
การผสมเกสรด้วยตัวเอง ซึ่งมีทั้งผสมกันในดอกเดียว และผสมข้ามดอกจากกระแสลม และแมลง ดอกจะบาน
ในเวลาเช้า และผสมเกสรในช่วงสาย 10.00-15.00 น. ใช้เวลาการผสมนาน 3-4 วัน หลังจากการผสมจนถึง
เมล็ดแก่ใช้เวลา 40-50 วัน
ผล และเมล็ด
ผลเป็นผลเดี่ยว มีลักษณะกลม ขนาดประมาณ 1.42 เซนติเมตร มีขนาดใหญ่สุดในระยะ 30 วันแรก หลังการ
ผสม และจะค่อยๆหดเล็กลง ผลมีสีน้ำตาลหรือน้ำตาลเข้ม ผิวมีลักษณะขรุขระ เมื่อผลแก่แห้งจะไม่มีรอยปริ
แตก แต่ละผลมีเมล็ด 4-5 เมล็ด
10
เมล็ดมีลักษณะรูปสามเหลี่ยม ฐานมน เปลือกเมล็ดมีสีน้ำตาลอมดำ ขนาดเมล็ดกว้างประมาณ 0.4 เซนติเมตร
ยาวประมาณ 0.5 เซนติเมตร
ลักษณะการเจริญเติบโต
– ผักบุ้งจีนจะเริ่มงอกหลังเพาะเพียง 48 ชั่วโมง
– หลังจากงอกแล้ว ลำต้นระยะแรก ลำต้นจะมีใบเลี้ยงประมาณ 2 ใบ ซึ่งใบจะมีปลายแฉก และใบจะแก่ร่วง
ไปหลังมีใบจริงขึ้นมา ซึ่งในระยะ 2 สัปดาห์แรก จะมีการเจริญเติบโตทางลำต้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ลำต้นสูง
ชลูดภายในไม่กี่วัน
– เมื่ออายุอยู่ในช่วง 30-45 วัน จะมีการเจริญเติบโตทางส่วนยอด และแตกกอมากขึ้น แต่หากปลูกด้วยการ
หว่านด้วยเมล็ด ลำต้นจะแตกกอน้อยมาก อาจเนื่องจากมีความหนาแน่นมาก แต่หากระยะลำต้นห่างมาก
มักจะแตกกอได้ดี ซึ้งการแตกกอจะเป็นการแตกหน่อใหม่ออกมาจากตาบริเวณโคนต้น และเมื่อแตกกอแล้ว
มักจะเจริญอย่างรวดเร็ว และมีข้อปล้องข้อ มีการติดดอกเหมือนลำต้นหลัก
ประโยชน์ผักบุ้งจีน
ผักบุ้งจีนมีการปลูกเพื่อการค้า และใช้สำหรับการรับประทานเป็นหลัก
– ผักบุ้งสด ใช้รับประทานสดเป็นผักจิ้มน้ำพริก รับประทานคู่กับอาหารอื่น เช่น ส้มตำ
– ปรุงในอาหารจำพวกผัด เช่น ผัดผักบุ้งไฟแดง ผัดพริกขิงหมู
– ปรุงในอาหารจำพวกแกง เช่น แกงส้ม แกงเทโพ
– ลวก นำมาลวกเป็นผักจิ้มน้ำพริก ลวกใส่ก๋วยเตี๋ยว เย็นตาโฟ
คุณค่าทางโภชนาการ
– พลังงาน 23 แคลอรี่
– ไขมัน 0.3 กรัม
– คาร์โบไฮเดรต 2.4 กรัม
– โปรตีน 2.7 กรัม
– แคลเซียม 51.0 มิลลิกรัม
– ฟอสฟอรัส 31.0 มิลลิกรัม
– เหล็ก 3.3 มิลลิกรัม
– ไนอะซีน 0.7 กรัม
– วิตามิน A 11.34 มิลลิกรัม
– วิตามิน B1 0.07 มิลลิกรัม
– วิตามิน B2 0.12 มิลลิกรัม
– วิตามิน C 32.0 มิลลิกรัม
11
– เบต้า-แคโรทีน 420.30 RE
– เส้นใย 2.4 กรัม
สรรพคุณของผักบุ้งจีน
ลำต้น และใบ
– แก้เลือดกำเดาออก
– แก้ท้องผูก
– แก้โรคหนองใน
– บรรเทาอาการริดสีดวง ถ่ายเป็นมูกเลือด
– บรรเทาอาการบวม ฟกช้ำ
– บรรเทาอาการปวดจากแมลงกัดต่อย
5. ผักกวางตุ้ง
ผักกวางตุ้ง ชื่อสามัญFalse pakchoi, Mock pakchoi (USA), Flowering white cabbage (UK), Pakchoi
(FR)
ผักกวางตุ้ง ชื่อวิทยาศาสตร์Brassica rapa L. (Brassica pekinensis var. laxaTsen&S.H.Lee) จัดอยู่ใน
วงศ์ผักกาด (BRASSICACEAE หรือ CRUCIFERAE)
ผักกวางตุ้ง มีชื่อเรียกอื่นว่า ผักกาดเขียวกวางตุ้ง (ทั่วไป), ผักกาดฮ่องเต้, ผักกวางตุ้งฮ่องเต้, กวางตุ้งไต้หวัน,
ผักกาดสายซิม (ภาคใต้), ปากโชย (ภาษาไต้หวัน) เป็นต้น
กวางตุ้ง เป็นผักที่นิยมนำมาประกอบอาหาร ไม่ว่าจะผัดหรือต้มเป็นแกงจืด ให้รสชาติหวานกรอบ โดยเฉพาะ
เมนูบะหมี่หมูแดงหรือเกี๊ยวก็จะมีผักชนิดนี้แซมอยู่เสมอ โดยสามารถรับประทานได้ทั้งลำต้น ใบ และดอก
ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้บริโภค แต่จะนิยมนำมาปรุงให้สุกก่อนนำมารับประทาน (ตามธรรมชาติแล้ว
ผักกวางตุ้งจะมีเส้นใยเหนียว ๆ เคี้ยวยากสักหน่อย)
ผักกาดกวางตุ้ง จะมีสารบางชนิดเมื่อถูกความร้อนแล้วจะกลายเป็นสารตัวใหม่ ซึ่งได้แก่สารไทโอไซยาเนต
(thiocyanate) เมื่อได้รับสารนี้เข้าสู่ร่างกายในปริมาณมากอาจทำให้เกิดอาการท้องเสีย ความดันเลือดต่ำ
ร่างกายอ่อนเพลีย แต่สารชนิดนี้จะสลายไปกับไอน้ำเมื่อเราเปิดฝาทิ้งไว้ แต่ถ้านำมารับประทานสด ๆ ก็
ปลอดภัยเช่นกัน แต่จะมีกลิ่นเขียวบ้างเล็กน้อย
จุดเด่นของผักชนิดนี้จะอยู่ที่คุณค่าทางทางโภชนาการ โดยอุดมไปด้วยแคลเซียม วิตามินเอ และวิตามินซีใน
ปริมาณที่สูงมาก ซึ่งก็มีประโยชน์มาก ๆ เลยทีเดียว โดยการถนอมวิตามินในผักชนิดนี้ก็ทำได้ง่าย ๆ ด้วยการใส่
ไว้ในถุงพลาสติก ปิดให้แน่นแล้วนำไปแช่ไว้ในช่องเก็บผักในตู้เย็น และการนำผักกวางตุ้งไปประกอบอาหารก็ไม่
12
ควรตั้งไฟนานจนเกินไป เพราะความร้อนจะไปทำลายวิตามินที่อยู่ในผักกวางตุ้งอย่างวิตามินซีและเบตาแคโร
ทีน (แต่สำหรับเบตาแคโรทีนนั้นจะทนความร้อนได้ดีกว่าวิตามินซี)
กวางตุ้ง เป็นหนึ่งในผักที่มักตรวจพบสารเคมีหรือยาฆ่าแมลงอยู่บ่อย ๆ การเลือกซื้อผักกาดเขียวกวางตุ้ง
ผู้บริโภคควรระมัดระวังในเรื่องของการเลือกซื้อให้มาก และทำความสะอาดผักก่อนการนำมาปรุงเป็นอาหาร
ไม่ว่าจะด้วยวิธีการแช่น้ำส้มสายชู แช่ในน้ำเกลือ หรือจะล้างด้วยน้ำที่ไหลจากก๊อกน้ำนานอย่างน้อย 2 นาที ก็
จะช่วยลดปริมาณสารพิษที่ตกค้างในผักชนิดนี้ได้เช่นกัน
ประโยชน์ของผักกวางตุ้ง
1. ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย
2. ช่วยบำรุงและรักษาสายตา
3. ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง
4. ช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน ผักกวางตุ้งช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง
5. ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
6. ช่วยป้องกันกล้ามเนื้อเสื่อม ช่วยเพิ่มความกระฉับกระเฉง
7. ช่วยในการขับถ่าย ถ่ายสะดวก ป้องกันโรคท้องผูก
8. เชื่อว่ามีฤทธิ์ในการบรรเทาอาการปวดตามข้อ ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งกล้ามเนื้อเสื่อม
9. ช่วยแก้อาการเป็นตะคริว สำหรับใครที่เป็นตะคริวบ่อย ๆ ผักกวางตุ้งช่วยคุณได้ เพราะเป็นผักที่มี
แคลเซียมสูง
13
คุณค่าทางโภชนาการของผักกวางตุ้งดิบต่อ 100 กรัม
• พลังงาน 13 กิโลแคลอรี
• คาร์โบไฮเดรต 2.2 กรัม
• เส้นใย 1.0 กรัม
• ไขมัน 0.2 กรัม
• โปรตีน 1.5 กรัม
• วิตามินเอ 243 ไมโครกรัม 30%
• วิตามินเอ 4,468 หน่วยสากล
• วิตามินซี 45 มิลลิกรัม 54%
• ธาตุแคลเซียม 105 มิลลิกรัม 11%
• ธาตุเหล็ก 0.80 มิลลิกรัม 6%
• ธาตุแมกนีเซียม 19 มิลลิกรัม 5%
• ธาตุโซเดียม 65 มิลลิกรัม 4%
6.การวัดการเจริญเติบโตของพืช
การวัดการเจริญเติบโตของพืชสามารถวัดได้หลายวิธี เช่น ความสูง จำนวนใบ ขนาดใบ เส้นรอบวง มวล
ฯลฯ
1. การนับจำนวนเซลล์ที่เพิ่มขึ้น วิธีนี้อาจใช้ได้ในบางกรณี แต่กระทำได้ยาก ไม่สะดวก จึงไม่ค่อย
นิยมปฏิบัติ
2. การวัดความสูง (height) วิธีนี้อาจไม่ใช่การวัดการเติบโตที่แท้จริง เพราะในบางกรณีความสูงอาจ
ไม่เพิ่มในอัตราส่วนเดียวกันกับมวล ดังนั้น การวัดความสูงจึงเป็นเพียงการคาดคะเนการเติบโต
3. การวัดมวลของสิ่งมีชีวิต (weight) เป็นวิธีที่นิยมกันมากที่สุด แต่ไม่ใช่เกณฑ์ที่ดีที่สุดเนื่องจาก
เกณฑ์นี้ไม่อาจถือได้เสมอไปว่าน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นนั้นเป็นการเติบโตที่แท้จริง เพราะน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นอาจมาจาก
การแปรเปลี่ยนของปริมาณของเหลงในร่างกาย เช่น มาจากการที่เซลล์ดูดน้ำเข้าไป หรือสิ่งมีชีวิตกินน้ำเข้าไป
เป็นต้น
4. การวัดน้ำหนักแห้ง (dry weight) หรือน้ำหนักคงที่ น้ำหนักแห้งเป็นน้ำหนักของสิ่งมีชีวิตหลังจาก
ที่ความชื้นถูกขจัดออกจนหมดสิ้นโดยใช้ความร้อน เกณฑ์นี้นับได้ว่าเป็นการวัดการเติบโตที่ดีที่สุด เนื่องจาก
น้ำหนักแห้งนั้นเป็นน้ำหนักของมวลอินทรีย์ที่เกิดจากการเติบโตที่แท้จริงแต่วิธีปฏิบัติยุ่งยาก เพราะสิ่งมีชีวิตที่
จะใช้วัดการเติบโตต้องตาย เพราะต้องอบให้ไอน้ำระเหยไปหมด วิธีที่ปฏิบัติกันคือ สุ่มตัวอย่างประชากร
บางส่วนในช่วงระยะเวลาที่ต่างกัน (สิ่งมีชีวิตที่จะวัดการเติบโตจะต้องมีอายุเท่ากันและเติบโตใน
14
สภาพแวดล้อมเดียวกัน) แล้วนำมาผ่านการระเหยให้น้ำออกไปจนหมด ซึ่งทราบได้จากน้ำหนักของสิ่งมีชีวิต
นั้นจะไม่ลดลงอีก
ตัวอย่างเช่นต้องการวัดการเติบโตของสิ่งมีชีวิตโดยใช้เกณฑ์น้ำหนักแห้งกระทำได้ดังนี้
สัปดาห์ที่ 1 สุ่มตัวอย่าง 100 ต้น จากประชากรทั้งหมดมาชั่งน้ำหนักแห้ง สมมติได้น้ำหนักคงที่
เท่ากับ 50 กรัม
สัปดาห์ที่ 2 สุ่มตัวอย่าง 100 ต้น จากประชากรทั้งหมดมาชั่งน้ำหนักแห้ง สมมติได้น้ำหนักคงที่
เท่ากับ 70 กรัม
สัปดาห์ที่ 3 ทำวิธีเดียวกับที่ผ่านมา และใช้ประชากรจำนวนเท่ากัน ชั่งน้ำหนักแห้งได้ 110 กรัม
จากข้อมูลที่ได้จะเห็นว่าพืชมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น จาก 50/100 70/100 110/100 หรือน้ำหนัก
แห้งที่เพิ่มขึ้นเป็น 0.5 กรัม 0.7 กรัม 1.1 กรัมต่อต้น จึงสรุปได้ว่าพืชชนิดนี้มีการเติบโต
เพราะน้ำหนักแห้งเพิ่มขึ้น
5.เกณฑ์อื่นๆ เช่น วัดความหนา วัดขนาดเส้นรอบวง เส้นผ่าศูนย์กลางของโครงสร้างต่างๆ หรือ
จำนวนโครงสร้างที่เพิ่มขึ้น เช่น นับจำนวนใบ จำนวนกิ่ง เป็นต้น
7. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
1.โครงงานเรื่อง ยาวไป...ออกซิน
ประเภทโครงงาน การทดลอง
โครงงานวิทยาศาสตร์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาว่าสารออกซินที่ได้จากพืชชนิดใด.สามารถทำให้
หน่อไม้ฝรั่งยาวได้มากที่สุด ซึ่งพืชที่นำมาทดสอบมีดังนี้ ยอดผักบุ้ง รากไทร ถั่วงอก ผลการทดสอบปรากฎว่า
สารออกซินที่ได้จากถั่วงอกมีประสิทธิภาพมากที่สุด และสารออกซินที่ได้จากยอดผักบุ้งและรากไทรมี
ประสิทธิภาพในการเร่งความยาวของต้นหน่อไม้ฝรั่งเท่ากัน
2. ออกซินมีคุณสมบัติเป็นสารกำจัดวัชพืช (herbicides) ออกซินทุกชนิดถ้าใช้ความเข้มข้นสูงจะสามารถฆ่า
พืชได้ ดังนั้นจึงมีการนำสารออกซินมาใช้เป็นยากำจัดวัชพืชอย่างกว้างขวาง ออกซินที่ใช้สารกำจัดวัชพืช
อย่างกว้างขวางได้แก่ 2,4-D, 2,4,5-T , MCPA สารที่นิยมใช้คือ 2,4-D รองลงมาคือ 4-CPA สารทั้งสอง
ชนิดนี้มีฤทธิ์ของออกซินสูงมากจึงใช้ฆ่าวัชพืชได้ แม้จะใช้ความเข้มข้นไม่สูงมากนักก็ตาม อนุพันธ์ของ
picolinic acid เช่น picloram ชื่อการค้า Tordon มีคุณสมบัติที่ทำให้เป็นที่นิยมกว้างขวางเนื่องจาก
ความเป็นพิษต่อพืช มีราคาถูกและการเลือกทำลายพืชใบเลี้ยงคู่มากกว่าพืชใบเลี้ยงเดี่ยว 2,4,5-T ถูกห้ามใช้ใน
สหรัฐอเมริกา เนื่องจากมีสารพิษที่ร้ายแรงคือ dioxin ปนเปื้อนอยู่ สารกำจัดวัชพืชเหล่านี้อาจอยู่ในรูปเกลือ
15
ของด่างอ่อน เช่น ammonia (amines), กรด emulsifiable, ester และผสมกับน้ำมันหรือ detergent
เพื่อให้มีการกระจายตัวและจับใบสามารถดูดซึมเข้าสู่ใบพืชได้ดีขึ้นและเมื่อดูดซึมเข้าไปแล้วจะถูกลำเลียงส่วน
ใหญ่ทาง phloem ไปกับสารที่เกิดจากการสังเคราะห์แสง ดังนั้นเวลาฉีดพ่นให้ได้ผลดีที่สุด คือตอนเช้ามืด
ของวันที่มีแดด กลไกที่แท้จริงของสารเหล่านี้ยังไม่กระจ่างเพียงแต่สันนิษฐานว่าออกซินเหล่านี้เข้าไปรบกวน
การสร้าง DNA และการแปล RNA ดังนั้นจึงทำให้การสร้างเอนไซม์ต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตเหล่านี้
ได้รับการสร้างอย่างผิดปกติ (พีรเดช, 2529; นพดล, 2536)
3.สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช (plant growth regulating chemicals : PGRC) ที่จัดอยู่ในกลุ่มออก
ซิน มีอยู่หลายชนิดและเป็นที่รู้จักกันดีสำหรับเกษตรกรในประเทศไทย สารออกซินชนิดแรกที่ค้นพบคือ IAA
(indol-3-acetic acid) ซึ่งเป็นสารที่พืชสร้างขึ้นเอง โดยมีคุณสมบัติเป็นสารเร่งการเจริญเติบโต มีผลกระตุ้น
การขยายขนาดของเซล การยืดตัวของเซล และยังมีผลกระตุ้นการเกิดราก รวมถึงมีคุณสมบัติในการส่งเสริม
การเจริญเติบโตในส่วนต่าง ๆ ของพืช ซึ่งสามารถพิสูจน์ได้หลายวิธีกับพืชทั้งต้น (intact plant) รวมทั้งวิธีที่
ตัดอวัยวะเฉพาะส่วนมาทดสอบ (excised part) สรุปได้ว่ากระบวนการต่าง ๆ หลายอย่างที่เกิดขึ้นในพืชนั้น
ออกซินมีส่วนในการควบคุมกระบวนการนั้น ๆ ด้วย เมื่อเป็นเช่นนี้จึงทำให้มีการสังเคราะห์สารต่าง ๆ ที่มี
คุณสมบัติคล้ายออกซินเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ทางการเกษตร สารสังเคราะห์เหล่านี้มีอยู่หลายชนิด แต่ที่นิยม
ใช้กันทั่วไปมีอยู่เพียงไม่กี่ชนิด ได้แก่ NAA (1-naphthylacetic acid) IBA (4-(indol-3-yl)butyric acid)
2,4-D (2,4-dichlorophenoxyacetic acid) และ 4-CPA (4-chlorophenoxyacetic acid) (พันทวี, 2532 ;
พีรเดช, 2529)
4. pathway ที่เกิดขึ้นในพืชส่วนใหญ่จะเริ่มจากการตัด amino group ให้กับ -keto acid ตัวหนึ่ง โดย
ผ่านปฎิกิริยาที่เรียกว่า transaminayion กลายเป็น indolepyruvic acid จากนั้นจะเกิดปฎิกิริยา
decarboxylation กับ indolepyruvic acid กลายเป็น IAA (indole acetic acid) enzymes ที่
จำเป็นสำหรับการเปลี่ยน tryptophan ไปเป็น IAA จะมีประสิทธิภาพ (active) มากที่สุดในเนื้อเยื่อที่มี
อายุน้อย เช่น shoot meristems ใบที่กำลังเจริญเติบโต และในผล ในเนื้อเยื่อเหล่านี้ยังจะมีออกซิน ใน
ปริมาณมากที่สุดอีกด้วย จึงทำให้สรุปว่าเป็นแหล่งสังเคราะห์ออกซินซึ่งจะอยู่บริเวณที่มีการเจริญเติบโตทั่วไป
ทั้งต้น ธาตุสังกะสีมีความจำเป็นต่อการสังเคราะห์ทริบโตเฟนจึงมีความสำคัญต่อการสังเคราะห์ออกซินด้วย
ดังนั้นเมื่อขาดธาตุสังกะสีก็ทำให้พืชสร้างออกซินได้น้อยด้วยออกซินมีผลในการกระตุ้นการเจริญเติบโตของลำ
ต้น ตา ใบ และรากในระดับความเข้มข้นที่ต่างกัน ออกซินในระดับความเข้มข้นสูงมาก ๆ จะยับยั้งการ
เจริญเติบโตทุกส่วนของพืช ออกซินในระดับความเข้มข้นที่เหมาะสมจะกระตุ้นการเจริญของลำต้น แต่จะมี
ผลในการยับยั้งการเจริญเติบโตของตาและใบ ซึ่งต้องการความเข้มข้นต่ำกว่า ในขณะที่รากต้องการออกซิน
ในปริมาณที่น้อยมาก ดังนั้นลำต้นจึงต้องการออกซินสูงกว่า ตา และใบ ในขณะที่ตาและใบก็ต้องการออกซิ
16
นสูงกว่าในราก ดังนั้น ความเข้มข้นของออกซินที่พอเหมาะต่อการเจริญเติบโตของอวัยวะหนึ่งแต่จะยับยั้งการ
เจริญเติบโตของอวัยวะหนึ่งได้ (นพดล, 2536)
5. ควบคุมการออกดอกของพืชปกติ โดยทั่วไปถ้าพ่นออกซินให้แก่พืชที่ใกล้จะออกดอก จะทำให้พืชนั้นออก
ดอกช้าลง แต่ในสับปะรด มะม่วง ลิ้นจี่ เมื่อให้ออกซินจะทำให้ออกดอกเร็วขึ้น และออกดอกพร้อม ๆ กัน
อย่างไรก็ตามพีรเดช (2529) กล่าวว่าถึงแม้เกษตรกรหลายท่านเข้าใจว่าสารในกลุ่มออกซินนี้เร่งการเกิดดอก
ของพืชได้ แต่แท้จริงแล้วผลของออกซินในข้อนี้ยังค่อนข้างเลื่อนลอย เท่าที่มีงานทดลองสรุปได้แน่ชัดว่าออก
ซินเร่งการเกิดดอกได้เฉพาะในสับปะรดเท่านั้น การใช้ NAA หรือ IBA สามารถเร่งการเกิดดอกของสับปะรด
ได้ แต่มีประสิทธิภาพต่ำกว่าการใช้ถ่านก๊าซ (calcium carbide) และ เอทธิฟอน (ethephon) แต่ก็เชื่อได้ว่า
การเกิดดอกของสับปะรดไม่ได้เป็นผลของ NAA หรือ IBA โดยตรง แต่เป็นผลทางอ้อมที่สารดังกล่าวไปกระตุ้น
ให้ต้นสับปะรดสร้างเอทธิลีน (ethylene) ขึ้นมา และเอทธิลีนเป็นตัวกระตุ้นให้สับปะรดเกิดดอก สำหรับใน
ประเทศไทยเคยมีการแนะนำให้ใช้ NAA ผสมกับโพแทสเซียมไนเตรท (KNO3) เพื่อฉีดเร่งดอกมะม่วง แต่ยังไม่
มีข้อมูลใด ๆ ยืนยันว่าวิธีการดังกล่าวใช้ได้ผล (พีรเดช, 2529)
6.เปลี่ยนเพศดอก พืชหลายชนิดที่มีดอกตัวผู้และดอกตัวเมียอยู่ต่างดอก หรือต่างต้นกัน เช่น ต้นเงาะ ซึ่งมี 2
ชนิด คือ ต้นตัวผู้ซึ่งมีแต่ดอกตัวผู้ ที่ไม่สามารถให้ผลผลิต จึงถูกตัดทิ้งเนื่องจากไม่สามารถให้ผลผลิตได้ และ
ต้นตัวเมียซึ่งมีดอกตัวเมีย จากการที่ต้นตัวผู้ถูกตัดทิ้ง ทำให้มีเกสรตัวผู้ไม่เพียงพอในการผสมกับดอกตัวเมีย
ผลผลิตจึงลดลงเพราะดอกตัวเมียไม่สามารถพัฒนาเป็นผลได้ การพ่นออกซิน ความเข้มข้น 100 มก/ล แก่ช่อ
ดอกเงาะต้นตัวเมีย ในระยะดอกตูม สามารถชักนำให้เกิดการเปลี่ยนเพศดอกจากดอกตัวตัวเมียเป็นดอกตัวผู้
ได้ (พีรเดช, 2529)
7.เพิ่มขนาดของผล และป้องกันผลร่วง มีรายงานว่าออกซินอาจช่วยขยายขนาดของผลไม้บางชนิดได้ เช่น
การใช้ 4-CPA หรือ NAA กับสับปะรด ผลไม้บางชนิดสามารถใช้ออกซินเพื่อป้องกันผลร่วงก่อนการเก็บเกี่ยว
ได้ เช่น มะม่วง ส้ม องุ่น และลางสาด สารที่นิยมใช้คือ NAA และ 2,4-D (พีรเดช, 2529)
8.ออกซินมีคุณสมบัติเป็นสารกำจัดวัชพืช (herbicides) ออกซินทุกชนิดถ้าใช้ความเข้มข้นสูงจะสามารถฆ่าพืช
ได้ ดังนั้นจึงมีการนำสารออกซินมาใช้เป็นยากำจัดวัชพืชอย่างกว้างขวาง ออกซินที่ใช้สารกำจัดวัชพืช อย่าง
กว้างขวางได้แก่ 2,4-D, 2,4,5-T , MCPA สารที่นิยมใช้คือ 2,4-D รองลงมาคือ 4-CPA สารทั้งสองชนิดนี้มี
ฤทธิ์ของออกซินสูงมากจึงใช้ฆ่าวัชพืชได้ แม้จะใช้ความเข้มข้นไม่สูงมากนักก็ตาม อนุพันธ์ของ picolinic
acid เช่น picloram ชื่อการค้า Tordon มีคุณสมบัติที่ทำให้เป็นที่นิยมกว้างขวางเนื่องจากความเป็นพิษ
ต่อพืช มีราคาถูกและการเลือกทำลายพืชใบเลี้ยงคู่มากกว่าพืชใบเลี้ยงเดี่ยว 2,4,5-T ถูกห้ามใช้ในสหรัฐอเมริกา
17
เนื่องจากมีสารพิษที่ร้ายแรงคือ dioxin ปนเปื้อนอยู่ สารกำจัดวัชพืชเหล่านี้อาจอยู่ในรูปเกลือของด่างอ่อน
เช่น ammonia (amines), กรด emulsifiable, ester และผสมกับน้ำมันหรือ detergent เพื่อให้มีการ
กระจายตัวและจับใบสามารถดูดซึมเข้าสู่ใบพืชได้ดีขึ้นและเมื่อดูดซึมเข้าไปแล้วจะถูกลำเลียงส่วนใหญ่ทาง
phloem ไปกับสารที่เกิดจากการสังเคราะห์แสง ดังนั้นเวลาฉีดพ่นให้ได้ผลดีที่สุด คือตอนเช้ามืดของวันที่มี
แดด กลไกที่แท้จริงของสารเหล่านี้ยังไม่กระจ่างเพียงแต่สันนิษฐานว่าออกซินเหล่านี้เข้าไปรบกวนการสร้าง
DNA และการแปล RNA ดังนั้นจึงทำให้การสร้างเอนไซม์ต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตเหล่านี้ได้รับการ
สร้างอย่างผิดปกติ (พีรเดช, 2529; นพดล, 2536)
18
บทที่ 3
วิธีการดำเนินงาน
ในการทำโครงงานนี้ ผู้จัดทำโครงงานมีวิธีการดำเนินงานโครงงาน ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
3.1 วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง
• กระถาง 4 อัน
• ดินและขุ๋ยมะพร้าว
• เมล็ดผักบุ้งจีน 1 ซอง
• เมล็ดกวางตุ้ง 1 ซอง
• ฟ็อกกี้จุได้ 1 ลิตร 4 อัน
• ออกซินธรรมชาติสกัดจากถั่วงอก
• ปุ๋ยเคมีสูตร 12-27-23 (Nitrogen-Phosphorus-Potassium)
• น้ำ
3.2 ขั้นตอนดำเนินวิธีการศึกษา
วันที่ กิจกรรมที่ปฏิบัติ สถานที่ทำกิจกรรม ผู้รับผิดชอบ
1-22 มิ.ย. 62
- จับกลุ่ม
- เลือกหัวข้อที่จะค้นคว้า
- สืบค้นข้อมูล เกี่ยวกับหัวข้อที่
ค้นคว้า จากแหล่งต่างๆ
โรงเรียนราชวินิตบางแก้ว
สมาชิกในกลุ่ม
ครูที่ปรึกษา
23-30 มิ.ย. 62
- วางแผนการทำงาน
- แบ่งหน้าที่ภายในกลุ่ม
- ระดมทุนที่ใช้ในการทำ
โครงงาน
- จัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์ และ
สารเคมีต่างๆ
โรงเรียนราชวินิตบางแก้ว
สมาชิกในกลุ่ม
ครูที่ปรึกษา
1-30 ก.ค. 62
- ทดลองปลูกครั้งที่ 1
- สังเกตและบันทึกผล
บ้านของผู้จัดทำ
สมาชิกในกลุ่ม
ครูที่ปรึกษา
1-24 ส.ค. 62 - นำเสนอผลการทดลองที่ได้ โรงเรียนราชวินิตบางแก้ว สมาชิกในกลุ่ม
19
ครูที่ปรึกษา
28 ต.ค. – 8 พ.ย.
62
- ศึกษาค้นคว้า การเขียน
รายงานการศึกษาค้นคว้าเชิง
วิชาการ
โรงเรียนราชวินิตบางแก้ว
สมาชิกในกลุ่ม
ครูที่ปรึกษา
9-15 พ.ย. 62
- นำผลงานจากการทดลองมา
วิเคราะห์
- แบ่งหน้าที่ในการจัดทำ
รูปเล่มโครงงาน
โรงเรียนราชวินิตบางแก้ว
สมาชิกในกลุ่ม
ครูที่ปรึกษา
16-22 พ.ย. 62
- ทำรูปเล่มโครงงานบทที่ 1
- แก้ไขปรับปรุงตามคำแนะนำ
ของครูที่ปรึกษา
โรงเรียนราชวินิตบางแก้ว
สมาชิกในกลุ่ม
ครูที่ปรึกษา
23-30 พ.ย. 62
- หาข้อมูลเพิ่มเติม และ
ผลงานวิจัยรองรับ
- ทำรูปเล่มโครงงานบทที่ 2
โรงเรียนราชวินิตบางแก้ว
สมาชิกในกลุ่ม
ครูที่ปรึกษา
1-6 ธ.ค. 62 - ทำรูปเล่มโครงงานบทที่ 3 โรงเรียนราชวินิตบางแก้ว
สมาชิกในกลุ่ม
ครูที่ปรึกษา
7-20 ธ.ค. 62
- ทำรูปเล่มโครงงานบทที่ 4
- นำผลการทดลองในบทที่ 4
มาวิเคราะห์เพื่อเขียนบทที่ 5
โรงเรียนราชวินิตบางแก้ว
สมาชิกในกลุ่ม
ครูที่ปรึกษา
6-10 ม.ค. 63
- ปรึกษาเรื่องรูปแบบการ
นำเสนอ
- ออกแบบสื่อการนำเสนอ
โครงงาน
โรงเรียนราชวินิตบางแก้ว
สมาชิกในกลุ่ม
ครูที่ปรึกษา
11-17 ม.ค. 63
- ปรึกษาครูที่ปรึกษาในการ
นำเสนอโครงงาน
โรงเรียนราชวินิตบางแก้ว
สมาชิกในกลุ่ม
ครูที่ปรึกษา
18-31 ม.ค. 63
- ระดมทุนในการทำสื่อ
นำเสนอ
- จัดทำสื่อที่ใช้ในการนำเสนอ
- แบ่งเนื้อหาในการนำเสนอ
โรงเรียนราชวินิตบางแก้ว
สมาชิกในกลุ่ม
ครูที่ปรึกษา
เดือนกุมภาพันธ์ - นำเสนอผลงานการทดลอง โรงเรียนราชวินิตบางแก้ว
สมาชิกในกลุ่ม
ครูที่ปรึกษา
20
3.3 ขั้นตอนดำเนินการทดลอง
1) นำเมล็ดผักบุ้งจีนและเมล็ดกวางตุ้งไปแช่น้ำ 1 วัน และนำกระถางใส่ดินทั้ง 4 กระถางแล้วรดน้ำลงดินพอ
ให้ชุ่ม
2) นำเมล็ดที่แช่น้ำแล้วโรยลงกระถางโดยแยกเป็น กระถางที่ใช้ปลูกผักบุ้งจีนใช้ 2 กระถางและกระถางที่ใช้
ปลูกกวางตุ้งใช้ 2 กระถาง โรยเมล็ดให้ทั่วและเว้นความห่างของเมล็ดเล็กหน่อย
ก. กระถางที่ปลูกผักบุ้งจีน ข. กระถางที่ปลูกผักกวางตุ้ง
21
การศึกษาการเจริญเติบโตระหว่างพืชที่ใช้ปุ๋ยเคมี และออกซิน IS
การศึกษาการเจริญเติบโตระหว่างพืชที่ใช้ปุ๋ยเคมี และออกซิน IS
การศึกษาการเจริญเติบโตระหว่างพืชที่ใช้ปุ๋ยเคมี และออกซิน IS
การศึกษาการเจริญเติบโตระหว่างพืชที่ใช้ปุ๋ยเคมี และออกซิน IS
การศึกษาการเจริญเติบโตระหว่างพืชที่ใช้ปุ๋ยเคมี และออกซิน IS
การศึกษาการเจริญเติบโตระหว่างพืชที่ใช้ปุ๋ยเคมี และออกซิน IS
การศึกษาการเจริญเติบโตระหว่างพืชที่ใช้ปุ๋ยเคมี และออกซิน IS
การศึกษาการเจริญเติบโตระหว่างพืชที่ใช้ปุ๋ยเคมี และออกซิน IS
การศึกษาการเจริญเติบโตระหว่างพืชที่ใช้ปุ๋ยเคมี และออกซิน IS
การศึกษาการเจริญเติบโตระหว่างพืชที่ใช้ปุ๋ยเคมี และออกซิน IS

More Related Content

What's hot

โครงงานเรื่อง การศึกษาต้นไม้ในโรงเรียน
โครงงานเรื่อง การศึกษาต้นไม้ในโรงเรียนโครงงานเรื่อง การศึกษาต้นไม้ในโรงเรียน
โครงงานเรื่อง การศึกษาต้นไม้ในโรงเรียนพัน พัน
 
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 7
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 7แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 7
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 7chunkidtid
 
Casestudy การศึกษารายกรณี
Casestudy การศึกษารายกรณีCasestudy การศึกษารายกรณี
Casestudy การศึกษารายกรณีrewat Chitthaing
 
โฟมบอร์ดห้องเรียนสีขาว
โฟมบอร์ดห้องเรียนสีขาวโฟมบอร์ดห้องเรียนสีขาว
โฟมบอร์ดห้องเรียนสีขาวkrupornpana55
 
เรื่อง เปลือกผลไม้พื้นบ้านกับน้ำยาลบคำผิด
เรื่อง  เปลือกผลไม้พื้นบ้านกับน้ำยาลบคำผิด เรื่อง  เปลือกผลไม้พื้นบ้านกับน้ำยาลบคำผิด
เรื่อง เปลือกผลไม้พื้นบ้านกับน้ำยาลบคำผิด O-SOT Kanesuna POTATO
 
สารคดีท่องเที่ยว แอ่วเหนือเมื่อหน้าหนาว
สารคดีท่องเที่ยว   แอ่วเหนือเมื่อหน้าหนาวสารคดีท่องเที่ยว   แอ่วเหนือเมื่อหน้าหนาว
สารคดีท่องเที่ยว แอ่วเหนือเมื่อหน้าหนาวwaraporny
 
ห้องสีขาว 1.1
ห้องสีขาว 1.1ห้องสีขาว 1.1
ห้องสีขาว 1.1peter dontoom
 
ถอดคำประพันธ์มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรี
ถอดคำประพันธ์มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรีถอดคำประพันธ์มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรี
ถอดคำประพันธ์มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรีWarodom Techasrisutee
 
เทียนหอมสมุนไพรไล่ยุง
เทียนหอมสมุนไพรไล่ยุงเทียนหอมสมุนไพรไล่ยุง
เทียนหอมสมุนไพรไล่ยุงBoomCNC
 
เครื่องชี้วัดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
เครื่องชี้วัดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเครื่องชี้วัดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
เครื่องชี้วัดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจPannatut Pakphichai
 
ศึกษารายการณี
ศึกษารายการณีศึกษารายการณี
ศึกษารายการณีSunisa199444
 
เฉลยแนวข้อสอบ GAT Eng 2565 (อังกฤษ)
เฉลยแนวข้อสอบ GAT Eng 2565 (อังกฤษ)เฉลยแนวข้อสอบ GAT Eng 2565 (อังกฤษ)
เฉลยแนวข้อสอบ GAT Eng 2565 (อังกฤษ)Non Phakanon
 
ห้องสีขาว 1.1
ห้องสีขาว 1.1ห้องสีขาว 1.1
ห้องสีขาว 1.1peter dontoom
 
โครงงานคอมพิวเตอร์ ยาดมสมุนไพร PDF
โครงงานคอมพิวเตอร์ ยาดมสมุนไพร PDFโครงงานคอมพิวเตอร์ ยาดมสมุนไพร PDF
โครงงานคอมพิวเตอร์ ยาดมสมุนไพร PDFWichitchai Buathong
 
เพลงหนูมาลี
เพลงหนูมาลีเพลงหนูมาลี
เพลงหนูมาลีTeach Singing
 
รุปเล่มโครงงานคอมM5
รุปเล่มโครงงานคอมM5รุปเล่มโครงงานคอมM5
รุปเล่มโครงงานคอมM5jiratchaya sakornphanich
 

What's hot (20)

โครงงานเรื่อง การศึกษาต้นไม้ในโรงเรียน
โครงงานเรื่อง การศึกษาต้นไม้ในโรงเรียนโครงงานเรื่อง การศึกษาต้นไม้ในโรงเรียน
โครงงานเรื่อง การศึกษาต้นไม้ในโรงเรียน
 
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 7
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 7แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 7
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 7
 
Casestudy การศึกษารายกรณี
Casestudy การศึกษารายกรณีCasestudy การศึกษารายกรณี
Casestudy การศึกษารายกรณี
 
โฟมบอร์ดห้องเรียนสีขาว
โฟมบอร์ดห้องเรียนสีขาวโฟมบอร์ดห้องเรียนสีขาว
โฟมบอร์ดห้องเรียนสีขาว
 
เรื่อง เปลือกผลไม้พื้นบ้านกับน้ำยาลบคำผิด
เรื่อง  เปลือกผลไม้พื้นบ้านกับน้ำยาลบคำผิด เรื่อง  เปลือกผลไม้พื้นบ้านกับน้ำยาลบคำผิด
เรื่อง เปลือกผลไม้พื้นบ้านกับน้ำยาลบคำผิด
 
สารคดีท่องเที่ยว แอ่วเหนือเมื่อหน้าหนาว
สารคดีท่องเที่ยว   แอ่วเหนือเมื่อหน้าหนาวสารคดีท่องเที่ยว   แอ่วเหนือเมื่อหน้าหนาว
สารคดีท่องเที่ยว แอ่วเหนือเมื่อหน้าหนาว
 
ห้องสีขาว 1.1
ห้องสีขาว 1.1ห้องสีขาว 1.1
ห้องสีขาว 1.1
 
ถอดคำประพันธ์มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรี
ถอดคำประพันธ์มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรีถอดคำประพันธ์มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรี
ถอดคำประพันธ์มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรี
 
เทียนหอมสมุนไพรไล่ยุง
เทียนหอมสมุนไพรไล่ยุงเทียนหอมสมุนไพรไล่ยุง
เทียนหอมสมุนไพรไล่ยุง
 
เครื่องชี้วัดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
เครื่องชี้วัดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเครื่องชี้วัดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
เครื่องชี้วัดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
 
ศึกษารายการณี
ศึกษารายการณีศึกษารายการณี
ศึกษารายการณี
 
เฉลยแนวข้อสอบ GAT Eng 2565 (อังกฤษ)
เฉลยแนวข้อสอบ GAT Eng 2565 (อังกฤษ)เฉลยแนวข้อสอบ GAT Eng 2565 (อังกฤษ)
เฉลยแนวข้อสอบ GAT Eng 2565 (อังกฤษ)
 
รายงาน ฟุตซอล
รายงาน ฟุตซอลรายงาน ฟุตซอล
รายงาน ฟุตซอล
 
ไตรสิกขา
ไตรสิกขาไตรสิกขา
ไตรสิกขา
 
ห้องสีขาว 1.1
ห้องสีขาว 1.1ห้องสีขาว 1.1
ห้องสีขาว 1.1
 
โครงงานคอมพิวเตอร์ ยาดมสมุนไพร PDF
โครงงานคอมพิวเตอร์ ยาดมสมุนไพร PDFโครงงานคอมพิวเตอร์ ยาดมสมุนไพร PDF
โครงงานคอมพิวเตอร์ ยาดมสมุนไพร PDF
 
บทท 2 (1)
บทท  2 (1)บทท  2 (1)
บทท 2 (1)
 
เพลงหนูมาลี
เพลงหนูมาลีเพลงหนูมาลี
เพลงหนูมาลี
 
อิเหนา
อิเหนาอิเหนา
อิเหนา
 
รุปเล่มโครงงานคอมM5
รุปเล่มโครงงานคอมM5รุปเล่มโครงงานคอมM5
รุปเล่มโครงงานคอมM5
 

Similar to การศึกษาการเจริญเติบโตระหว่างพืชที่ใช้ปุ๋ยเคมี และออกซิน IS

การศึกษาการเจริญเติบโตระหว่างพืชที่ใช้ปุ๋ยเคมี และออกซิน
การศึกษาการเจริญเติบโตระหว่างพืชที่ใช้ปุ๋ยเคมี และออกซินการศึกษาการเจริญเติบโตระหว่างพืชที่ใช้ปุ๋ยเคมี และออกซิน
การศึกษาการเจริญเติบโตระหว่างพืชที่ใช้ปุ๋ยเคมี และออกซินRusPateepawanit
 
บทที่4ตอบสนองและฮอร์โมนพืช
บทที่4ตอบสนองและฮอร์โมนพืชบทที่4ตอบสนองและฮอร์โมนพืช
บทที่4ตอบสนองและฮอร์โมนพืชWichai Likitponrak
 
โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์Nongkhao Eiei
 
ปัจจัย
ปัจจัยปัจจัย
ปัจจัยwiyadanam
 
บท4ตอบสนองพืช
บท4ตอบสนองพืชบท4ตอบสนองพืช
บท4ตอบสนองพืชWichai Likitponrak
 
การเจริญเติบโตของพืช
การเจริญเติบโตของพืชการเจริญเติบโตของพืช
การเจริญเติบโตของพืชkookoon11
 
โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลอง เรื่อง การทดลองการเจริญเติบโตของยีสต์ในน้ำหมักช...
โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลอง เรื่อง การทดลองการเจริญเติบโตของยีสต์ในน้ำหมักช...โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลอง เรื่อง การทดลองการเจริญเติบโตของยีสต์ในน้ำหมักช...
โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลอง เรื่อง การทดลองการเจริญเติบโตของยีสต์ในน้ำหมักช...ssuser858855
 
Biomapcontest2014 กะหล่ำปุ้ง
Biomapcontest2014 กะหล่ำปุ้งBiomapcontest2014 กะหล่ำปุ้ง
Biomapcontest2014 กะหล่ำปุ้งWichai Likitponrak
 
เค้าโครงร่างคู่คอม
เค้าโครงร่างคู่คอมเค้าโครงร่างคู่คอม
เค้าโครงร่างคู่คอมJah Jadeite
 
การลำเลียงสารอาหารของพืช
การลำเลียงสารอาหารของพืชการลำเลียงสารอาหารของพืช
การลำเลียงสารอาหารของพืชAnana Anana
 
โครงงานเทคโนโลยี ปุ๋ยคอกปุ๋ยเคมี
โครงงานเทคโนโลยี ปุ๋ยคอกปุ๋ยเคมี โครงงานเทคโนโลยี ปุ๋ยคอกปุ๋ยเคมี
โครงงานเทคโนโลยี ปุ๋ยคอกปุ๋ยเคมี Thitaree Permthongchuchai
 
สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช
สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืชสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช
สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืชAnana Anana
 

Similar to การศึกษาการเจริญเติบโตระหว่างพืชที่ใช้ปุ๋ยเคมี และออกซิน IS (20)

การศึกษาการเจริญเติบโตระหว่างพืชที่ใช้ปุ๋ยเคมี และออกซิน
การศึกษาการเจริญเติบโตระหว่างพืชที่ใช้ปุ๋ยเคมี และออกซินการศึกษาการเจริญเติบโตระหว่างพืชที่ใช้ปุ๋ยเคมี และออกซิน
การศึกษาการเจริญเติบโตระหว่างพืชที่ใช้ปุ๋ยเคมี และออกซิน
 
บทที่4ตอบสนองและฮอร์โมนพืช
บทที่4ตอบสนองและฮอร์โมนพืชบทที่4ตอบสนองและฮอร์โมนพืช
บทที่4ตอบสนองและฮอร์โมนพืช
 
Pp tbio5lessonplanthormone
Pp tbio5lessonplanthormonePp tbio5lessonplanthormone
Pp tbio5lessonplanthormone
 
โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์
 
ปัจจัย
ปัจจัยปัจจัย
ปัจจัย
 
บท4ตอบสนองพืช
บท4ตอบสนองพืชบท4ตอบสนองพืช
บท4ตอบสนองพืช
 
การเจริญเติบโตของพืช
การเจริญเติบโตของพืชการเจริญเติบโตของพืช
การเจริญเติบโตของพืช
 
M6 125 60_10
M6 125 60_10M6 125 60_10
M6 125 60_10
 
M6 143 60_8
M6 143 60_8M6 143 60_8
M6 143 60_8
 
โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลอง เรื่อง การทดลองการเจริญเติบโตของยีสต์ในน้ำหมักช...
โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลอง เรื่อง การทดลองการเจริญเติบโตของยีสต์ในน้ำหมักช...โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลอง เรื่อง การทดลองการเจริญเติบโตของยีสต์ในน้ำหมักช...
โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลอง เรื่อง การทดลองการเจริญเติบโตของยีสต์ในน้ำหมักช...
 
Biomapcontest2014 กะหล่ำปุ้ง
Biomapcontest2014 กะหล่ำปุ้งBiomapcontest2014 กะหล่ำปุ้ง
Biomapcontest2014 กะหล่ำปุ้ง
 
เค้าโครงร่างคู่คอม
เค้าโครงร่างคู่คอมเค้าโครงร่างคู่คอม
เค้าโครงร่างคู่คอม
 
เค้าโครงร่างคู่คอม
เค้าโครงร่างคู่คอมเค้าโครงร่างคู่คอม
เค้าโครงร่างคู่คอม
 
M6 143 60_3
M6 143 60_3M6 143 60_3
M6 143 60_3
 
โครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานวิทยาศาสตร์โครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานวิทยาศาสตร์
 
4 plantrespo plan
4 plantrespo plan4 plantrespo plan
4 plantrespo plan
 
การลำเลียงสารอาหารของพืช
การลำเลียงสารอาหารของพืชการลำเลียงสารอาหารของพืช
การลำเลียงสารอาหารของพืช
 
Flora improvement
Flora improvementFlora improvement
Flora improvement
 
โครงงานเทคโนโลยี ปุ๋ยคอกปุ๋ยเคมี
โครงงานเทคโนโลยี ปุ๋ยคอกปุ๋ยเคมี โครงงานเทคโนโลยี ปุ๋ยคอกปุ๋ยเคมี
โครงงานเทคโนโลยี ปุ๋ยคอกปุ๋ยเคมี
 
สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช
สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืชสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช
สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช
 

การศึกษาการเจริญเติบโตระหว่างพืชที่ใช้ปุ๋ยเคมี และออกซิน IS

  • 1. โครงงาน IS เรื่อง การศึกษาการเจริญเติบโตระหว่างพืชที่ใช้ปุ๋ยเคมีและออกซิน คณะผู้จัดทำ นายบุริศร์ ชาติชำนิ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/4 เลขที่ 15 นายวฤษณิ์ ทับทิม ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/4 เลขที่ 21 นายรัฐ ปะทีปะวณิช ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/5 เลขที่ 14 นายลัทธโชติ ตู้ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/5 เลขที่ 15 ครูที่ปรึกษา คุณครูธาริกา ภูมิสถาน โครงงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา IS รหัสวิชา I30202 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนราชวินิตบางแก้ว
  • 2. ชื่อเรื่อง : การศึกษาการเจริญเติบโตระหว่างพืชที่ใช้ปุ๋ยเคมีและออกซิน คณะผู้จัดทำ : 1. นายบุริศร์ ชาติชำนิ 2. นายวฤษณิ์ ทับทิม 3. นายรัฐ ปะทีปะวณิช 4. นายลัทธโชติ ตู้ ครูที่ปรึกษา : คุณครูธาริกา ภูมิสถาน ปีการศึกษา : 2562 บทคัดย่อ โครงงานฉบับนี้มีจุดประสงค์เพื่อต้องการทราบผลการทดลองการเปรียบระหว่างออกซินกับปุ๋ยเคมี เนื่องจากในปัจจุบันมนุษย์เรานั้นปลูกพืชโดยมีการใช้สารเคมีในการเพาะปลูก เพื่อเร่งการเจริญเติบโตและ ผลผลิตจากการเพาะปลูก โดยมิได้คำนึงถึงความเสียหายที่มีผลต่อธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและอาจรวมถึง ผู้บริโภค จึงต้องมีการทำให้พืชเจริญเติบโตได้โดยไม่ต้องพึ่งสารเคมี นั่นคือ ออกซิน พืชตัวอย่างที่นำมาใช้ใน การทดลองครั้งนี้ คือ ผักบุ้งและผักกวางตุ้ง ซึ่งเป็นผักที่ให้ผลผลิตในเร็วประมาณ 30-45 วัน จึงเหมาะแก่การ ทำการทดลองนี้อย่างยิ่ง คณะผู้จัดทำได้ทำการศึกษาจากพืชตัวอย่างที่นำมา โดยทดลองด้วยวิธีการปลูกโดยใช้ออกซิน 1 กระถางและปลูกโดยใช้ปุ๋ยเคมี 1 กระถาง ของแต่พืชแต่ละชนิดที่นำมา ซึ่งจะทำให้ทราบการเจริญเติบโตของ พืชที่ใช้ออกซินหรือปุ๋ยเคมีในการปลูกได้ โครงงานนี้จะช่วยให้เราได้ทราบว่า ออกซินนั้นมีความสามารถเทียบเท่า ดีกว่า หรือได้ผลน้อยกว่า ปุ๋ยเคมีหรือไม่อย่างไร เพราะออกซินนั้นสามารถหาได้จากแหล่งธรรมชาติ เป็นการช่วยรักโลก ถ้านำออกซิน นั้นมาใช้แทนปุ๋ยเคมีได้ ก
  • 3. กิตติกรรมประกาศ โครงงานนี้สำเร็จลุล่วงได้ด้วยดี ด้วยความกรุณาจากคุณครูธาริกา ภูมิสถาน อาจารย์ที่ปรึกษา โครงงาน ท่านคอยให้คำแนะนำชี้แนะแก่คณะผู้จัดทำ ตลอดจนแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆมาโดยตลอดจน โครงงานฉบับนี้เสร็จสมบูรณ์ คณะผู้จัดทำจึงขอกราบขอบพระคุณมา ณ โอกาสนี้ ขอขอบพระคุณผู้ปกครองของสมาชิกของคณะผู้จัดทำที่ได้ให้ความอนุเคราะห์สถานที่การทดลอง โครงงาน และยังคอยให้ข้อเสนอแนะและให้กำลังใจอยู่เสมอมา ขอขอบพระคุณอย่างสูง คณะผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่าโครงงานฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจที่จะศึกษาค้นคว้านี้ คณะผู้จัดทำ 20 มกราคม 2563 ข
  • 4. สารบัญ เรื่อง หน้า บทคัดย่อ ก กิตติกรรมประกาศ ข สารบัญ ค บทที่ 1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา 1 วัตถุประสงค์ของการศึกษา 1 สมมติฐานของการศึกษา 1 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 2 ขอบเขตการศึกษา 2 นิยามศัพท์เฉพาะ 2 บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 3-18 บทที่ 3 วิธีการดำเนินการศึกษา 19-23 บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล 24-25 บทที่ 5 สรุปผลการศึกษา และข้อเสนอแนะ 26 บรรณานุกรม 27 ภาคผนวก 28-31 ค
  • 5. บทที่ 1 บทนำ ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา ในปัจจุบันมนุษย์เราปลูกพืชโดยใช้สารเคมีในการเพาะปลูกและการเกษตร โดยที่สารเคมีนั้น ส่งผลเสียต่อธรรมชาติ ทำลายดิน สิ่งแวดล้อม รวมถึงผู้ที่บริโภคเข้าไป คนส่วนใหญ่ไม่ได้ใส่ใจในเรื่องนี้ ซึ่ง ต่อไปสภาพแวดล้อมก็จะเสื่อมแย่ลงเราจึงคิดหาสิ่งอื่นที่จะทำให้พืชนั้นเจริญเติบโตได้เร็วขึ้นโดยไม่ต้องพึ่ง ปุ๋ยเคมี สิ่งนั้นคือ ออกซิน โดยออกซินเป็นฮอร์โมนพืช ช่วยในการเร่งการเจริญเติบโตของพืช เกิดขึ้นเองตาม ธรรมชาติ เช่น จากต้นพืชหลากหลายชนิด ซึ่งออกซินไม่เป็นอันตรายต่อธรรมชาติและผู้บริโภค เราจึงมีความสงสัยว่าการใช้ออกซินจากธรรมชาติกับปุ๋ยเคมี จะมีระยะเวลานานเท่าใดที่กว่าจะได้ ผลผลิตมา เราจึงได้ทดลองกับพืชผักสวนครัว 2 ชนิด ได้แก่ ผักบุ้ง และผักกวางตุ้ง โดยควบคุมตัวแปร บางอย่าง คือ น้ำ , ดิน , ขนาดกระถาง , แสง , ปริมาณออกซินกับปุ๋ยเคมี ซึ่งจะปลูกไว้อย่างละ 2 กระถาง โดยกระถางใบที่ 1 จะใส่ออกซิน ส่วนในกระถางใบที่ 2 จะใส่ปุ๋ยเคมี ปลูกจนกว่าจะได้ผลผลิตที่เจริญเติบโต เต็มที่ แล้วเปรียบเทียบเวลาที่ใช้ในการปลูกระหว่าง ออกซินกับปุ๋ยเคมี ออกซินนั้นเป็นธรรมชาติต่อสิ่งแวดล้อม ก็จริงแต่ผลผลิตที่ได้จะเทียบเท่ากับการใช้ปุ๋ยเคมีหรือไม่ ถ้าออกซินมีผลผลิตที่ดีกว่าหรือเทียบเท่ากับปุ๋ยเคมี เราก็จะมีวิธีแก้ปัญหาการใช้สารเคมีในพืช และสิ่งแวดล้อมเพื่อรักษาธรรมชาติของเราไว้ได้ การใช้ปุ๋ยเคมีในการปลูกพืชเป็นการทำลายธรรมชาติ และสิ่งต่างๆ ออกซินนั้นจะสามารถเป็นอีกทาง หนึ่งที่จะทำให้ธรรมชาติไม่เสียหาย เพราะเป็นฮอร์โมนที่อยู่ตามธรรมชาติ หาได้จากพืชทั่วไป ดังนั้น รายงาน การศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเองเรื่อง “การศึกษาการเจริญเติบโตระหว่างพืชที่ใช้ปุ๋ยเคมีกับออกซิน” ฉบับนี้ จึงมุ่ง ศึกษาประสิทธิภาพระหว่างปุ๋ยเคมีและออกซินว่าสิ่งใดช่วยในการเจริญเติบโตของพืชได้ดีกว่ากัน เพื่อเป็น ประโยชน์ต่อการเกษตรและผู้ศึกษาเรื่องนี้ต่อไป วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเปรียบเทียบการเจริญเติบโตของพืชระหว่างการใช้ออกซินกับปุ๋ยเคมี 2. เพื่อเปรียบเทียบผลผลิตที่ได้ระหว่างการใช้ออกซินกับปุ๋ยเคมี สมมติฐาน พืชที่ใช้ออกซินจากธรรมชาติจะให้ผลผลิตที่เร็วกว่าพืชที่ใช้ปุ๋ยเคมีในการปลูก 1
  • 6. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย 1.ได้รับความรู้เกี่ยวกับออกซินและปุ๋ยเคมีว่าสิ่งใดให้การเจริญเติบโตได้รวดเร็วกว่ากัน 2.ได้แนวทางในการต่อยอดไปสู่วิจัยอื่นๆ ที่สามารถศึกษาต่อไปได้ ขอบเขตของการศึกษา 1.เนื้อหาที่ใช้ในการศึกษา เนื้อหาที่ใช้ในการศึกษาเป็นเนื้อหาที่เลือกจากปัญหาที่พบในโรงเรียนคือ การศึกษาการ เจริญเติบโตระหว่างพืชที่ใช้ปุ๋ยเคมีกับออกซิน 2.ระยะเวลา ระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 เดือน กรกฎาคม พ.ศ.2562 ถึง วันที่ 30 เดือน กรกฎาคม พ.ศ.2562 3.ขอบเขตด้านตัวแปร ตัวแปรต้น : ออกซินและปุ๋ยเคมี ตัวแปรตาม : ผลผลิตเจริญเติบโต ตัวแปรควบคุม : แสง , ดิน , กระถาง , ปริมาณออกซิน , ปริมาณปุ๋ยเคมี , ปริมาณน้ำ นิยามศัพท์เฉพาะ 1.ออกซิน หมายถึง เป็นสารเร่งการเจริญเติบโตที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและมนุษย์เราสามารถ สังเคราะห์ขึ้นได้เองด้วยกรรมวิธีทางเคมี ซึ่งมีอยู่หลายชนิด สำหรับบทบาทของออกซินที่พืชผลิตขึ้นนั้นหลักๆ เป็นไปเพื่อการยืดขยายเซลล์หรือเพิ่มจำนวนเซลล์ พบมากในส่วนที่เป็นเนื้อเยื่อเจริญ เช่น ตายอด,ปลายราก, ยอดอ่อน,ตา,ผลอ่อน หรือ ในส่วนต่างๆ ของพืชที่กำลังเจริญเติบโต และมีอิทธิพลต่อการข่มตาข้างไม่ให้เจริญ (Apical Dominance) 2.ปุ๋ยเคมี หมายถึง ปุ๋ยที่ได้จากการผลิต หรือสังเคราะห์โดยกระบวนการทางเคมี ให้มีธาตุอาหารหลัก เพียงธาตุเดียว หรือหลายธาตุ และสามารถปลดปล่อยให้เป็นประโยชน์แก่พืชได้ง่าย และเร็ว, ภาษาปาก เรียกว่า ปุ๋ยวิทยาศาสตร์. 2
  • 7. บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง 1.ออกซิน สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช (plant growth regulating chemicals : PGRC) ที่จัดอยู่ใน กลุ่มออกซิน มีอยู่หลายชนิดและเป็นที่รู้จักกันดีสำหรับเกษตรกรในประเทศไทย สารออกซินชนิดแรกที่ ค้นพบคือ IAA (indol-3-acetic acid) ซึ่งเป็นสารที่พืชสร้างขึ้นเอง โดยมีคุณสมบัติเป็นสารเร่งการ เจริญเติบโต มีผลกระตุ้นการขยายขนาดของเซล การยืดตัวของเซล และยังมีผลกระตุ้นการเกิดราก รวมถึง มีคุณสมบัติในการส่งเสริมการเจริญเติบโตในส่วนต่าง ๆ ของพืช ซึ่งสามารถพิสูจน์ได้หลายวิธีกับพืชทั้งต้น (intact plant) รวมทั้งวิธีที่ตัดอวัยวะเฉพาะส่วนมาทดสอบ (excised part) สรุปได้ว่ากระบวนการต่าง ๆ หลายอย่างที่เกิดขึ้นในพืชนั้น ออกซินมีส่วนในการควบคุมกระบวนการนั้น ๆ ด้วย เมื่อเป็นเช่นนี้จึงทำให้มี การสังเคราะห์สารต่าง ๆ ที่มีคุณสมบัติคล้ายออกซินเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ทางการเกษตร สารสังเคราะห์ เหล่านี้มีอยู่หลายชนิด แต่ที่นิยมใช้กันทั่วไปมีอยู่เพียงไม่กี่ชนิด ได้แก่ NAA (1-naphthylacetic acid) IBA (4-(indol-3-yl)butyric acid) 2,4-D (2,4-dichlorophenoxyacetic acid) และ 4-CPA (4- chlorophenoxyacetic acid) 1.1. การสังเคราะห์ออกซินในเนื้อเยื่อพืช (Biosynyhesis of Auxins) กลไกในการสังเคราะห์สารออกซินที่เป็นไปได้มีสองทางโดยเริ่มจากการตัด amino group และ carboxyl group จาก side-chain ของ amino acid ชนิดหนึ่งคือ tryptophanpathway ที่เกิดขึ้นใน พืชส่วนใหญ่จะเริ่มจากการตัด amino group ให้กับ -keto acid ตัวหนึ่ง โดยผ่านปฎิกิริยาที่เรียกว่า transaminayionกลายเป็น indolepyruvic acid จากนั้นจะเกิดปฎิกิริยา decarboxylation กับ indolepyruvic acid กลายเป็น IAA (indole acetic acid) enzymes ที่จำเป็นสำหรับการเปลี่ยน tryptophan ไปเป็น IAA จะมีประสิทธิภาพ (active) มากที่สุดในเนื้อเยื่อที่มีอายุน้อย เช่น shoot meristems ใบที่กำลังเจริญเติบโต และในผล ในเนื้อเยื่อเหล่านี้ยังจะมีออกซิน ในปริมาณมากที่สุดอีกด้วย จึงทำให้สรุปว่าเป็นแหล่งสังเคราะห์ออกซินซึ่งจะอยู่บริเวณที่มีการเจริญเติบโตทั่วไปทั้งต้น ธาตุสังกะสีมีความ จำเป็นต่อการสังเคราะห์ทริบโตเฟนจึงมีความสำคัญต่อการสังเคราะห์ออกซินด้วย ดังนั้นเมื่อขาดธาตุสังกะสีก็ ทำให้พืชสร้างออกซินได้น้อยด้วยออกซินมีผลในการกระตุ้นการเจริญเติบโตของลำต้น ตา ใบ และรากใน ระดับความเข้มข้นที่ต่างกัน ออกซินในระดับความเข้มข้นสูงมาก ๆ จะยับยั้งการเจริญเติบโตทุกส่วนของพืช ออกซินในระดับความเข้มข้นที่เหมาะสมจะกระตุ้นการเจริญของลำต้น แต่จะมีผลในการยับยั้งการเจริญเติบโต ของตาและใบ ซึ่งต้องการความเข้มข้นต่ำกว่า ในขณะที่รากต้องการออกซินในปริมาณที่น้อยมาก ดังนั้นลำ ต้นจึงต้องการออกซินสูงกว่า ตา และใบ ในขณะที่ตาและใบก็ต้องการออกซินสูงกว่าในราก ดังนั้นความ เข้มข้นของออกซินที่พอเหมาะต่อการเจริญเติบโตของอวัยวะหนึ่งแต่จะยับยั้งการเจริญเติบโตของอวัยวะหนึ่ง 3
  • 8. 1.2. ผลของออกซินที่มีต่อการเจริญเติบโตของพืช 1. ช่วยกระตุ้นการแบ่งเซลของเยื่อเจริญ (cambium) ทำให้พืชมีเนื้อไม้มากขึ้น เกิดการเจริญเติบโต ด้านข้างเพิ่มขึ้น 2.ออกซินช่วยให้เซลล์ในส่วนต่าง ๆ ของพืชยืดยาวขึ้นโดยการกระตุ้นให้เซลล์สร้างผนังเซลล์มากขึ้น 3.ควบคุมการเจริญของตาข้าง (lateral bud) โดยตายอด (apical bud) ซึ่งเรียกว่า การข่มของ ตายอด (apical dominant) โดยตายอดสร้างออกซินขึ้นมาในปริมาณที่สูงแล้วลำเลียงลงสู่ด้านล่าง ความ เข้มข้นระดับนี้จะยับยั้งการเจริญเติบโตของตาและใบด้านข้างไม่ให้เจริญเติบโต พืชจึงสูงขึ้นมากแต่ไม่เป็นพุ่ม แต่เมื่อเราตัดยอดออกความเข้มข้นของออกซินจะลดลง ทำให้ไม่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของตาด้านข้าง และใบได้ พืชจึงแตกตาด้านข้างได้ และทำให้ต้นพืชมีลักษณะเป็นพุ่ม 4.ออกซินในปริมาณที่พอเหมาะสามารถใช้การกระตุ้นการเกิดรากสำหรับการตอนและการปักชำกิ่งได้ 5.ควบคุมการตอบสนองของพืชโดยการแบบมีแสงเป็นสิ่งเร้า (phototropism) หรือมีแรงโน้มถ่วง ของโลกเป็นสิ่งเร้า (gravitropism) 6. ควบคุมการออกดอกของพืชปกติ โดยทั่วไปถ้าพ่นออกซินให้แก่พืชที่ใกล้จะออกดอก จะทำให้พืช นั้นออกดอกช้าลง แต่ในสับปะรด มะม่วง ลิ้นจี่ เมื่อให้ออกซินจะทำให้ออกดอกเร็วขึ้น และออกดอกพร้อม ๆ กัน อย่างไรก็ตามพีรเดช (2529) กล่าวว่าถึงแม้เกษตรกรหลายท่านเข้าใจว่าสารในกลุ่มออกซินนี้เร่งการเกิด ดอกของพืชได้ แต่แท้จริงแล้วผลของออกซินในข้อนี้ยังค่อนข้างเลื่อนลอย เท่าที่มีงานทดลองสรุปได้แน่ชัดว่า ออกซินเร่งการเกิดดอกได้เฉพาะในสับปะรดเท่านั้น การใช้ NAA หรือ IBA สามารถเร่งการเกิดดอกของ สับปะรดได้ แต่มีประสิทธิภาพต่ำกว่าการใช้ถ่านก๊าซ (calcium carbide) และ เอทธิฟอน (ethephon) แต่ ก็เชื่อได้ว่าการเกิดดอกของสับปะรดไม่ได้เป็นผลของ NAA หรือ IBA โดยตรง แต่เป็นผลทางอ้อมที่สาร ดังกล่าวไปกระตุ้นให้ต้นสับปะรดสร้างเอทธิลีน (ethylene) ขึ้นมา และเอทธิลีนเป็นตัวกระตุ้นให้สับปะรด เกิดดอก สำหรับในประเทศไทยเคยมีการแนะนำให้ใช้ NAA ผสมกับโพแทสเซียมไนเตรท (KNO3) เพื่อฉีดเร่ง ดอกมะม่วง แต่ยังไม่มีข้อมูลใด ๆ ยืนยันว่าวิธีการดังกล่าวใช้ได้ผล 7. เปลี่ยนเพศดอก พืชหลายชนิดที่มีดอกตัวผู้และดอกตัวเมียอยู่ต่างดอก หรือต่างต้นกัน เช่น ต้น เงาะ ซึ่งมี 2 ชนิด คือ ต้นตัวผู้ซึ่งมีแต่ดอกตัวผู้ ที่ไม่สามารถให้ผลผลิต จึงถูกตัดทิ้งเนื่องจากไม่สามารถให้ ผลผลิตได้ และต้นตัวเมียซึ่งมีดอกตัวเมีย จากการที่ต้นตัวผู้ถูกตัดทิ้ง ทำให้มีเกสรตัวผู้ไม่เพียงพอในการผสมกับ ดอกตัวเมีย ผลผลิตจึงลดลงเพราะดอกตัวเมียไม่สามารถพัฒนาเป็นผลได้ การพ่นออกซิน ความเข้มข้น 100 มก/ล แก่ช่อดอกเงาะต้นตัวเมีย ในระยะดอกตูม สามารถชักนำให้เกิดการเปลี่ยนเพศดอกจากดอกตัวตัวเมีย เป็นดอกตัวผู้ได้ 8. เพิ่มขนาดของผล และป้องกันผลร่วง มีรายงานว่าออกซินอาจช่วยขยายขนาดของผลไม้บางชนิด ได้ เช่น การใช้ 4-CPA หรือ NAA กับสับปะรด ผลไม้บางชนิดสามารถใช้ออกซินเพื่อป้องกันผลร่วงก่อนการ เก็บเกี่ยวได้ เช่น มะม่วง ส้ม องุ่น และลางสาด สารที่นิยมใช้คือ NAA และ 2,4-D (พีรเดช, 2529) 4
  • 9. 9. ควบคุมการเจริญเติบโตของผล เช่น แตงโม องุ่น มะเขือเทศ บวบ มะเดื่อ สตรอเบอรี่ เมื่อ พ่นด้วยในปริมาณที่พอเหมาะก็จะทำให้รังไข่เจริญไปเป็นผลได้โดยไม่มีเมล็ด ซึ่งเรียกผลไม้ประเภทนี้ว่า ผลไม่ มีเมล็ด หรือ ผลกระเทย (parthenocarpic fruit) พีรเดช (2529) กล่าวว่ามีรายงานว่าออกซินอาจช่วยขยาย ขนาดของผลไม้บางชนิดได้ เช่น การใช้ 4-CPA หรือ NAA กับสับปะรด ผลไม้บางชนิดสามารถใช้ออกซิน เพื่อป้องกันผลร่วงก่อนการเก็บเกี่ยวได้ เช่น มะม่วง ส้ม องุ่น และลางสาด สารที่นิยมใช้คือ NAA และ 2,4-D 10.ควบคุมการหลุดร่วงของใบ ดอก และผล เมื่ออวัยวะดังกล่าวแก่ตัวลง การสร้างออกซิเจนจะ น้อยลงกว่าส่วนอ่อนและลำต้นจึงทำให้ร่วงได้ ดังนั้นการพ่นออกซินให้ในปริมาณที่พอเหมาะส่วนต่าง ๆ เหล่านั้นก็จะไม่หลุดร่วงง่าย 11. สารประกอบต่าง ๆ ที่สังเคราะห์ขึ้นมาและนิยมใช้แทนออกซินธรรมชาติได้แก่ กรดแนพทาลีน แอซิติก (naphthalene acetic acid, NAA) กรดอินโดลบิวทิริก (Indolebutyric acid, IBA) กรดอิน โดลโพรพิออกนิก (Indolepropionic acid) กรดแนพทอซีแอซิติก (Naphthoxyacetic acid, NOA) สารเหล่านี้มีผลเช่นเดียวกับออกซินในธรรมชาติ นอกจากนี้ยังใช้ออกซินสังเคระห์สารบางชนิดในการปราบพืช ประเภทใบกว้าง หรือพืชใบเลี้ยงคู่คือ กรด2,4-ไดคลอโรฟีนอแอซีติก (2,4-Dichlorophenoxyacetic acid 2,4-D) และใช้กรด 2,2 Dichlopropionic acid) ใช้ในการปราบวัชพืชใบแคบคือ พวกหญ้าและใบเลี้ยง เดี่ยวต่าง ๆ สำหรับสารที่ทำลายฤทธิ์หรือผลของออกซินหรือที่เรียกว่า แอนติออกซิน (antiauxin) ได้แก่ กรด 2,6-ไดคลอโรฟีนอแอซีติก (2,6-Dichlorophenoxyacetic acid 2,6-D) กรดทรานส์ซินเนมิก (transcinamic acid) เมื่อใช้ร่วมกับออกซินแล้วจะไม่มีผลของออกซินให้เห็น 12. ออกซินมีคุณสมบัติเป็นสารกำจัดวัชพืช (herbicides) ออกซินทุกชนิดถ้าใช้ความเข้มข้นสูงจะ สามารถฆ่าพืชได้ ดังนั้นจึงมีการนำสารออกซินมาใช้เป็นยากำจัดวัชพืชอย่างกว้างขวาง ออกซินที่ใช้สารกำจัด วัชพืช อย่างกว้างขวางได้แก่ 2,4-D, 2,4,5-T , MCPA สารที่นิยมใช้คือ 2,4-D รองลงมาคือ 4-CPA สารทั้ง สองชนิดนี้มีฤทธิ์ของออกซินสูงมากจึงใช้ฆ่าวัชพืชได้ แม้จะใช้ความเข้มข้นไม่สูงมากนักก็ตาม อนุพันธ์ของ picolinic acid เช่น picloram ชื่อการค้า Tordonมีคุณสมบัติที่ทำให้เป็นที่นิยมกว้างขวางเนื่องจากความ เป็นพิษต่อพืช มีราคาถูกและการเลือกทำลายพืชใบเลี้ยงคู่มากกว่าพืชใบเลี้ยงเดี่ยว 2,4,5-T ถูกห้ามใช้ใน สหรัฐอเมริกา เนื่องจากมีสารพิษที่ร้ายแรงคือ dioxin ปนเปื้อนอยู่ สารกำจัดวัชพืชเหล่านี้อาจอยู่ในรูปเกลือของด่างอ่อน เช่น ammonia (amines), กรด emulsifiable, ester และผสมกับน้ำมันหรือ detergent เพื่อให้มีการกระจายตัวและจับใบสามารถดูดซึม เข้าสู่ใบพืชได้ดีขึ้นและเมื่อดูดซึมเข้าไปแล้วจะถูกลำเลียงส่วนใหญ่ทาง phloem ไปกับสารที่เกิดจากการ สังเคราะห์แสง ดังนั้นเวลาฉีดพ่นให้ได้ผลดีที่สุด คือตอนเช้ามืดของวันที่มีแดด กลไกที่แท้จริงของสารเหล่านี้ ยังไม่กระจ่างเพียงแต่สันนิษฐานว่าออกซินเหล่านี้เข้าไปรบกวนการสร้าง DNA และการแปล RNA ดังนั้นจึง ทำให้การสร้างเอนไซม์ต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตเหล่านี้ได้รับการสร้างอย่างผิดปกติ 5
  • 10. 2. ถั่วงอก ถั่วงอก (อังกฤษ: bean sprout) คือ ต้นถั่วที่มีรากงอกจากเมล็ด เช่น ถั่วเขียว ถั่วดำ ถั่วเหลือง (ถั่วงอก หัวโต) ถั่วลันเตา (โต้วเหมี่ยว) เป็นต้น ถั่วงอกเป็นผักชนิดหนึ่งและมีคุณค่าทางอาหารสูง ได้แก่ โปรตีน วิตามิน บี วิตามินซี ใยอาหาร เหล็ก (1.6 กรัมต่อ 1 ถ้วยตวง) และเกลือแร่[1] นอกจากนี้ ถั่วงอกยังมีแคลอรีต่ำอีกด้วย การใช้ประโยชน์ ถั่วงอกนิยมใช้รับประทานกับอาหารประเภทเส้นที่มีส่วนผสมของแป้งสาลีหรือแป้งข้าวเจ้า และให้ คาร์โบไฮเดรต (Di-Carbohydrate) สูง ซึ่งมีลักษณะเป็นพันธะสายยาว อาทิ บะหมี่ ก๋วยเตี๋ยว เส้นหมี่ เส้น จันท์ เส้นเล็ก ชาวจีนในอดีตนิยรับประทานถั่วงอกกับก๋วยเตี๋ยว เส้นหมี่ และเส้นจันท์มากกว่าเส้นประเภทอื่น เพราะคนแก่ชาวจีนที่อพยพมาตั้งรกรากนั้นไม่ค่อยมีฟันและเรี่ยวแรงที่จะเคี้ยวเนื้อสัตว์[3] ปัจจุบัน ถั่วงอกยัง ใช้รับประทานร่วมกับบะหมี่เพียงหนึ่งหยิบมือที่เรียกว่า "บะหมี่จับกัง" ด้วย สรรพคุณทางยา ถั่วงอกมีสรรพคุณช่วยป้องกันมะเร็งลำไส้และเอนไซม์ เพราะช่วยกระตุ้นสารต่อต้านอนุมูลอิสระที่ จำเป็นภายในร่างกาย หรือที่เรียกว่า "ตัวทำปฏิกิริยา" ทั้งยังช่วยลดระดับน้ำตาลในกระแสเลือด[1] ข้อเสีย หากรับประทานถั่วงอกมากเกินควรในครั้งเดียว ร่างกายจะอิดโรย ผอมซูบ เป็นลม หมดสติ เพราะ ร่างกายผู้หญิงและผู้ชายบางกรุ๊ปเลือดจะเผาผลาญพลังงานตลอดเวลา นี้เป็นปัจจัยให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ มากผิดปกติ และอาจทำให้เสียชีวิตได้ ข้อควรระวัง ถั่วงอกในท้องตลาดอาจปนเปื้อนสารเร่งโต สารเร่งให้อ้วน สารฟอร์มาลิน และสารฟอกขาว ซึ่งต้องห้าม และเป็นโทษต่อร่างกาย สารปนเปื้อนเหล่านี้มีผลกระทบต่อระบบทางเดินอาหาร ระบบประสาท และระบบ หายใจ รวมถึงอาจเป็นสาเหตุของเนื้องอกและมะเร็งด้วย 6
  • 11. 3. ปุ๋ยเคมี คือ ปุ๋ยที่ได้จากสิ่งมีชีวิต เช่น จากหิน หรือแร่ธาตุต่าง ๆ หรือจากการสังเคราะห์ขึ้น เช่น ปุ๋ยยูเรีย แอมโมเนียมซัลเฟต หินฟอสเฟตบด หรือปุ๋ยเคมีสูตรต่าง ๆ ที่ใช้กันอยู่โดยทั่วไป แม้ว่าปุ๋ยเคมีจะมีธาตุอาหารพืชอยู่มากกว่าปุ๋ยอินทรีย์ก็ตาม แต่ปุ๋ยเคมีไม่สามารถทดแทนปุ๋ยอินทรีย์ได้ทั้งหมด เพราะปุ๋ยเคมีไม่มีคุณสมบัติในการปรับปรุงโครงสร้างของดินให้โปร่งและร่วนซุยได้ นอกจากนั้นปุ๋ยเคมีส่วนใหญ่มักจะไม่มีธาตุอาหารรอง และธาตุอาหารเสริมครบทุกธาตุเหมือนปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยเคมีทั่ว ๆ ไป จะเกี่ยวข้องกับธาตุอาหารอยู่ 3 ธาตุ คือ ธาตุไนโตรเจน ธาตุฟอสฟอรัส และธาตุโปรตัสเซียม ซึ่งทั้ง 3 ธาตุนี้ ก็คือธาตุปุ๋ยนั้นเอง จึงอาจแบ่งปุ๋ยเคมีออกตามจำนวนธาตุที่มีอยู่ในปุ๋ยได้ โดยแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ปุ๋ยเดี่ยวและปุ๋ยผสม ปุ๋ยเดี่ยว คือ ปุ๋ยที่มีธาตุปุ๋ยอยู่เพียงธาตุเดียว เช่น ยูเรีย มีไนโตรเจนเพียงธาตุเดียว หรือโปรตัสเซียมคลอไรด์ มี โปรตัสเซียมอยู่เพียงธาตุเดียว เป็นต้น ปุ๋ยผสม จะมีธาตุปุ๋ยอยู่ 2 หรือ 3 ธาตุ เช่ย ปุ๋ยสูตร 16 - 20 - 20 มีธาตุไนโตรเจน และธาตุฟอสฟอรัสเพียง 2 ธาตุ ส่วนปุ๋ยสูตร 15 - 15 - 15 จะมีธาตุ ธาตุไนโตรเจน ธาตุฟอสฟอรัส และธาตุโปรตัสเซียม ครบ 3 ธาตุเป็น ต้น บนกระสอบหรือภาชนะซึ่งบรรจุปุ๋ยเคมีนั้นโดยปกติ จะมีตัวเลขอยู่ 3 จำนวน แต่ละจำนวนจะมีขีดคั่นกลาง เช่น 46 - 0 - 0, 16 - 20 - 0 หรือ 15 - 15 - 15 เป็นต้น ตัวเลขที่อยู่หน้าสุดนั้นเป็นตัวเลขแสดงเปอร์เซ็นต์ ของเนื้อธาตุไนโตรเจน ตัวเลขกลางเป็นเปอร์เซ็นต์ ของเนื้อธาตุฟอสฟอรัส และตัวเลขตัวหลังเป็นเปอร์เซ็นต์ ของเนื้อธาตุโปตัสเซียม โดยน้ำหนัก ตัวเลขทั้ง 3 จำนวนนี้ เรียกว่า “สูตรปุ๋ย" ดังนั้น คุณค่าของปุ๋ยจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณเนื้อธาตุอาหารที่มีในปุ๋ยนั้น และปุ๋ยที่มีสูตรเหมือนกันก็ ควรจะมีคุณค่าเหมือน ๆ กัน ไม่ว่าจะเป็นคนละชื้อหรือคนละตราก็ตาม เช่น ปุ๋ยสูตร 15 - 15 - 15 ไม่ว่าจะ 7
  • 12. เป็นตราใดจะให้ธาตุอาหารพืชเท่ากัน จึงควรเลือกซื้อตราที่ราคาถูกที่สุด ยกเว้นปุ๋ยที่ใช้ในนาข้าว น้ำขังซึ่งไม่ สามารถใช้หลักการนี้ได้ ปุ๋ยที่ใช้สำหรับนาข้าวน้ำขัง หรือที่เรียกว่า "ปุ๋ยนา" นั้นเป็นปุ๋ยที่มีคุณสมบัติพิเศษและจะต้องมีข้อความบน กระสอบปุ๋ยว่า "ถ้าใช้เป็นปุ๋ยข้าวแนะนำให้ใช้ในนาดินเหนียว" หรือ "ถ้าใช้เป็นปุ๋ยข้าวแนะนำให้ใช้ในนาดิน ทราย" จึงจะเลือกซื้อมาใช้ในนาข้าวได้ ปุ๋ยที่ไม่มีข้อความดังกล่าวแม้จะมีสูตรเหมือนกันก็ไม่ควรนำนาใช้ในนา ข้าว สูตรปุ๋ยนั้นถ้านำมาทอนค่าให้เป็นเลขน้อย ๆ ก็จะได้ตัวเลขชุดหนึ่งเรียกว่า "อัตราส่วนปุ๋ย" หรือ "เรโชปุ๋ย" เช่น สูตร 16 - 16 - 8 จะมีอัตราส่วนปุ๋ย 2 ต่อ 2 ต่อ 1 (2 : 2 : 1) หรือ 15 - 15 - 15 จะมีอัตราส่วนปุ๋ย 1 : 1 : 1 หรือ สูตร 16 - 16 - 16 จะมีอัตราส่วนปุ๋ย 1 : 1 : 1 เช่นกัน ดังนั้น ปุ๋ยที่มีอัตราส่วนปุ๋ยเหมือนกันจึงสามารถใช้แทนกันได้ แต่ปริมาณการใช้จะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับ ปริมาณเนื้อธาตุในปุ๋ยนั้น ปุ๋ยที่มีอัตราส่วนปุ๋ยเหมือนกันจะสามารถนำมาเปรียบเทียบราคากัน ได้ว่าปุ๋ยสูตรใดถูกหรือแพงกว่ากัน เช่น ปุ๋ยสูตร 15 - 15 - 15 ซึ่งมีอัตราส่วนปุ๋ย 1: 1 : 1 ราคาตันละ 6,300 บาท และปุ๋ยสูตร 14 - 14 - 14 ซึ่งมี อัตราส่วนปุ๋ย 1: 1 : 1 เช่นเดียวกันแต่ราคาตันละ 6,100 บาท สามารถเทียบราคาได้ว่าควรจะเลือกซื้อปุ๋ยสูตร ราคาต่อ 1 กก. เนื้อธาตุโดยเฉลี่ย = ราคาปุ๋ย 100 กก. / เนื้อธาตุทั้งหมด ในการใช้ปุ๋ยกับพืชแต่ละชนิดให้ถูกต้องนั้น มีปัจจัยที่เกี่ยวข้องหลายอย่างได้แก่ ชนิดพืช ชนิดดิน เวลาในการ ใช้ปุ๋ยและวิธีการใช้ปุ๋ย พืชแต่ละชนิดมีความต้องการธาตุอาหารแต่ละธาตุมากน้อยต่างกันไป บางชนิดต้องการ ธาตุไนโตรเจนมาก บางชนิดต้องการธาตุโปตัสเซียมมาก หรือในพืชชนิดเดียวกันแต่ต่างเวลาก็อาจต้องการธาตุ อาหารต่าง ๆ มากน้อยต่างกัน เช่น ในช่วงที่พืชสร้างใบ จะต้องการธาตุไนโตรเจนมาก แต่ในช่วงสร้างผลจะ ต้องการธาตุโปตัสเวียมมาก เป็นต้น ดินแต่ละชนิดก็มีปริมาณธาตุแตกต่างกัน ดินบางชนิดอาจมีธาตุโปตัสเซียม สูง ส่วนดินทรายมักจะมีโปตัสเซียมน้อย เป็นต้น วิธีการใช้ปุ๋ยก็มีหลายวิธี เช่น วิธีหว่าน วิธีโรยเป็นแถว หยอดเป็นหลุม เป็นต้น แต่ละวิธีก็มีประสิทธิภาพและ ความสะดวกไม่เท่ากัน ดังนั้นการใช้ปุ๋ยเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดนั้นสิ่งที่ควรคำนึงถึงก็คือ 1. ใช้ปุ๋ยให้ถูกสูตร 2. ใช้ปุ๋ยให้ถูกอัตรา 3. ใช้ปุ๋ยให้ถูกช่วงเวลา 4. ใช้ปุ๋ยให้ถูกวิธี เกษตรกรจึงควรดำเนินการให้ถูกต้องตามคำแนะนำการใช้ปุ๋ย สำหรับพืชแต่ละชนิด ซึ่งนักวิชาการได้ให้ไว้ พืชแต่ละชนิดจะเจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีช่วง พี.เอช. ต่างกัน แต่พืชทั่ว ๆ ไปจะเจริญเติบโตได้ดีในช่วง พ.เอช. 6.0 - 7.0 ช่วง พี.เอช. ของดินที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืชแสดงไว้ในตารางที่ ช่วง พี.เอช. ของดิน ที่ เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช 8
  • 13. 3.1. ปุ๋ยสูตร 12-27-23 ประกอบด้วย -ไนโตรเจนทั้งหมด 12% -ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ 27% -โพแทสเซียมที่ละลายน้ำ 23% พ่นที่ผลอ่อนเพื่อให้ทรงผลสวยงาม ใช้ปุ๋ยเกล็ดหรือปุ๋ยเกล็ดหรือปุ๋ยน้ำสูตรตัวกลางสูง สูตร12-27-23 โดยพ่นปุ๋ยให้ทางใบและจะใช้ฮอร์โมนแพลน โนฟิกซ์ (Planofix) ซึ่งมีสารออกฤทธิ์คือ 1-Naphthylacetic acid (NAA) ผสมสารจับใบพืชพ่นให้อีกเพื่อช่วย ให้การติดดอกและฝักอ่อนดีขึ้น – ปุ๋ยสูตรตัวกลางสูง 12-27-23 ½ กิโลกรัม +น้ำ 200 ลิตร + ฮอร์โมน เอ็น เอ เอ อัตราที่ 5 ซี.ซี./น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นไปที่ผลอ่อน 2-3 ครั้ง ห่างกัน 5-7 วัน คุณสมบัติ คือ - ช่วยขยายผลในระยะผลเล็ก - รูปทรงผลสวย 4. ผักบุ้งจีน เป็นพืชที่อยู่ในวงศ์ผักบุ้ง (Convolvulaceae) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Ipomoea aquaticaForsk. Var. reptanเป็นพืชที่พบทั่วไปในเขตร้อน และเป็นผักที่คนไทยนิยมนำมาประกอบอาหารเช่นเดียวกับผักบุ้งไทย ผักบุ้งจีนมีใบสีเขียว ก้านใบมีสีเหลืองหรือขาว ก้านดอกและดอกมีสีขาว โดยทั่วไปแล้วผักบุ้งจีนจะนิยมนำมา ประกอบอาหารมากกว่าผักบุ้งไทย จึงมีการปลูกอย่างแพร่หลายในประเทศไทย สำหรับเกษตรกรปลูกเพื่อนำลำต้น ไปขาย และบริษัทปลูกเพื่อพัฒนาและขายเมล็ดพันธุ์ ตลาดที่สำคัญในการส่งออกผักบุ้งจีน คือ ฮ่องกงมาเลเซีย และสิงคโปร์ 9
  • 14. ลำต้นลำต้นผักบุ้งจีนเป็นไม้ล้มลุกกึ่งเลื้อย โดยในช่วงแรกลำต้นจะตั้งตรง และต่อมาเมื่อลำต้นยาวมาก ลำต้น จะค่อยๆโน้ม แล้วเลื้อยไปตามพื้นดิน ลำต้นมีลักษณะมีข้อปล้องที่มีตาใบ และตาดอกแตกออกมา ลำต้นมีสี เขียว ไม่แตกกิ่งก้าน จะแตกยอดหรือก้านใหม่หลายก้านเมื่อยอดหรือลำต้นถูกทำลาย ด้านในลำต้นกลวงเป็นรู มีจุดกั้นรูบริเวณส่วนข้อ ใบ ใบเป็นใบเดี่ยว ใบเป็นรูปหอก เรียวยาว โคนใบกว้างเป็นรูปหัวใจ ปลายใบแหลม แผ่นใบ และขอบใบเรียบ ก้านใบยาว 4-8 เซนติเมตร แผ่นใบยาวประมาณ 6-15 เซนติเมตร ดอก ดอกผักบุ้งจีนออกเป็นช่อ เป็นดอกสมบูรณ์ แต่ละช่อประกอบด้วยดอกตรงกลาง 1 ดอก และเติบโตก่อน ส่วน ด้านข้างมีอีก 2 ดอก แต่ละดอกมีกลีบเลี้ยงสีเขียว 5 อัน กลีบดอกเป็นรูปกรวย ด้านนอกสีขาว ด้านในสีม่วง ภายในมีเกสรตัวผู้ 5 อัน เกสรตัวเมีย 1 อัน ซึ่งดอกจะออกในฤดูที่มีช่วงวันสั้น (วันละ 10-12ชั่วโมง) ดอกจะมี การผสมเกสรด้วยตัวเอง ซึ่งมีทั้งผสมกันในดอกเดียว และผสมข้ามดอกจากกระแสลม และแมลง ดอกจะบาน ในเวลาเช้า และผสมเกสรในช่วงสาย 10.00-15.00 น. ใช้เวลาการผสมนาน 3-4 วัน หลังจากการผสมจนถึง เมล็ดแก่ใช้เวลา 40-50 วัน ผล และเมล็ด ผลเป็นผลเดี่ยว มีลักษณะกลม ขนาดประมาณ 1.42 เซนติเมตร มีขนาดใหญ่สุดในระยะ 30 วันแรก หลังการ ผสม และจะค่อยๆหดเล็กลง ผลมีสีน้ำตาลหรือน้ำตาลเข้ม ผิวมีลักษณะขรุขระ เมื่อผลแก่แห้งจะไม่มีรอยปริ แตก แต่ละผลมีเมล็ด 4-5 เมล็ด 10
  • 15. เมล็ดมีลักษณะรูปสามเหลี่ยม ฐานมน เปลือกเมล็ดมีสีน้ำตาลอมดำ ขนาดเมล็ดกว้างประมาณ 0.4 เซนติเมตร ยาวประมาณ 0.5 เซนติเมตร ลักษณะการเจริญเติบโต – ผักบุ้งจีนจะเริ่มงอกหลังเพาะเพียง 48 ชั่วโมง – หลังจากงอกแล้ว ลำต้นระยะแรก ลำต้นจะมีใบเลี้ยงประมาณ 2 ใบ ซึ่งใบจะมีปลายแฉก และใบจะแก่ร่วง ไปหลังมีใบจริงขึ้นมา ซึ่งในระยะ 2 สัปดาห์แรก จะมีการเจริญเติบโตทางลำต้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ลำต้นสูง ชลูดภายในไม่กี่วัน – เมื่ออายุอยู่ในช่วง 30-45 วัน จะมีการเจริญเติบโตทางส่วนยอด และแตกกอมากขึ้น แต่หากปลูกด้วยการ หว่านด้วยเมล็ด ลำต้นจะแตกกอน้อยมาก อาจเนื่องจากมีความหนาแน่นมาก แต่หากระยะลำต้นห่างมาก มักจะแตกกอได้ดี ซึ้งการแตกกอจะเป็นการแตกหน่อใหม่ออกมาจากตาบริเวณโคนต้น และเมื่อแตกกอแล้ว มักจะเจริญอย่างรวดเร็ว และมีข้อปล้องข้อ มีการติดดอกเหมือนลำต้นหลัก ประโยชน์ผักบุ้งจีน ผักบุ้งจีนมีการปลูกเพื่อการค้า และใช้สำหรับการรับประทานเป็นหลัก – ผักบุ้งสด ใช้รับประทานสดเป็นผักจิ้มน้ำพริก รับประทานคู่กับอาหารอื่น เช่น ส้มตำ – ปรุงในอาหารจำพวกผัด เช่น ผัดผักบุ้งไฟแดง ผัดพริกขิงหมู – ปรุงในอาหารจำพวกแกง เช่น แกงส้ม แกงเทโพ – ลวก นำมาลวกเป็นผักจิ้มน้ำพริก ลวกใส่ก๋วยเตี๋ยว เย็นตาโฟ คุณค่าทางโภชนาการ – พลังงาน 23 แคลอรี่ – ไขมัน 0.3 กรัม – คาร์โบไฮเดรต 2.4 กรัม – โปรตีน 2.7 กรัม – แคลเซียม 51.0 มิลลิกรัม – ฟอสฟอรัส 31.0 มิลลิกรัม – เหล็ก 3.3 มิลลิกรัม – ไนอะซีน 0.7 กรัม – วิตามิน A 11.34 มิลลิกรัม – วิตามิน B1 0.07 มิลลิกรัม – วิตามิน B2 0.12 มิลลิกรัม – วิตามิน C 32.0 มิลลิกรัม 11
  • 16. – เบต้า-แคโรทีน 420.30 RE – เส้นใย 2.4 กรัม สรรพคุณของผักบุ้งจีน ลำต้น และใบ – แก้เลือดกำเดาออก – แก้ท้องผูก – แก้โรคหนองใน – บรรเทาอาการริดสีดวง ถ่ายเป็นมูกเลือด – บรรเทาอาการบวม ฟกช้ำ – บรรเทาอาการปวดจากแมลงกัดต่อย 5. ผักกวางตุ้ง ผักกวางตุ้ง ชื่อสามัญFalse pakchoi, Mock pakchoi (USA), Flowering white cabbage (UK), Pakchoi (FR) ผักกวางตุ้ง ชื่อวิทยาศาสตร์Brassica rapa L. (Brassica pekinensis var. laxaTsen&S.H.Lee) จัดอยู่ใน วงศ์ผักกาด (BRASSICACEAE หรือ CRUCIFERAE) ผักกวางตุ้ง มีชื่อเรียกอื่นว่า ผักกาดเขียวกวางตุ้ง (ทั่วไป), ผักกาดฮ่องเต้, ผักกวางตุ้งฮ่องเต้, กวางตุ้งไต้หวัน, ผักกาดสายซิม (ภาคใต้), ปากโชย (ภาษาไต้หวัน) เป็นต้น กวางตุ้ง เป็นผักที่นิยมนำมาประกอบอาหาร ไม่ว่าจะผัดหรือต้มเป็นแกงจืด ให้รสชาติหวานกรอบ โดยเฉพาะ เมนูบะหมี่หมูแดงหรือเกี๊ยวก็จะมีผักชนิดนี้แซมอยู่เสมอ โดยสามารถรับประทานได้ทั้งลำต้น ใบ และดอก ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้บริโภค แต่จะนิยมนำมาปรุงให้สุกก่อนนำมารับประทาน (ตามธรรมชาติแล้ว ผักกวางตุ้งจะมีเส้นใยเหนียว ๆ เคี้ยวยากสักหน่อย) ผักกาดกวางตุ้ง จะมีสารบางชนิดเมื่อถูกความร้อนแล้วจะกลายเป็นสารตัวใหม่ ซึ่งได้แก่สารไทโอไซยาเนต (thiocyanate) เมื่อได้รับสารนี้เข้าสู่ร่างกายในปริมาณมากอาจทำให้เกิดอาการท้องเสีย ความดันเลือดต่ำ ร่างกายอ่อนเพลีย แต่สารชนิดนี้จะสลายไปกับไอน้ำเมื่อเราเปิดฝาทิ้งไว้ แต่ถ้านำมารับประทานสด ๆ ก็ ปลอดภัยเช่นกัน แต่จะมีกลิ่นเขียวบ้างเล็กน้อย จุดเด่นของผักชนิดนี้จะอยู่ที่คุณค่าทางทางโภชนาการ โดยอุดมไปด้วยแคลเซียม วิตามินเอ และวิตามินซีใน ปริมาณที่สูงมาก ซึ่งก็มีประโยชน์มาก ๆ เลยทีเดียว โดยการถนอมวิตามินในผักชนิดนี้ก็ทำได้ง่าย ๆ ด้วยการใส่ ไว้ในถุงพลาสติก ปิดให้แน่นแล้วนำไปแช่ไว้ในช่องเก็บผักในตู้เย็น และการนำผักกวางตุ้งไปประกอบอาหารก็ไม่ 12
  • 17. ควรตั้งไฟนานจนเกินไป เพราะความร้อนจะไปทำลายวิตามินที่อยู่ในผักกวางตุ้งอย่างวิตามินซีและเบตาแคโร ทีน (แต่สำหรับเบตาแคโรทีนนั้นจะทนความร้อนได้ดีกว่าวิตามินซี) กวางตุ้ง เป็นหนึ่งในผักที่มักตรวจพบสารเคมีหรือยาฆ่าแมลงอยู่บ่อย ๆ การเลือกซื้อผักกาดเขียวกวางตุ้ง ผู้บริโภคควรระมัดระวังในเรื่องของการเลือกซื้อให้มาก และทำความสะอาดผักก่อนการนำมาปรุงเป็นอาหาร ไม่ว่าจะด้วยวิธีการแช่น้ำส้มสายชู แช่ในน้ำเกลือ หรือจะล้างด้วยน้ำที่ไหลจากก๊อกน้ำนานอย่างน้อย 2 นาที ก็ จะช่วยลดปริมาณสารพิษที่ตกค้างในผักชนิดนี้ได้เช่นกัน ประโยชน์ของผักกวางตุ้ง 1. ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย 2. ช่วยบำรุงและรักษาสายตา 3. ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง 4. ช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน ผักกวางตุ้งช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง 5. ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ 6. ช่วยป้องกันกล้ามเนื้อเสื่อม ช่วยเพิ่มความกระฉับกระเฉง 7. ช่วยในการขับถ่าย ถ่ายสะดวก ป้องกันโรคท้องผูก 8. เชื่อว่ามีฤทธิ์ในการบรรเทาอาการปวดตามข้อ ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งกล้ามเนื้อเสื่อม 9. ช่วยแก้อาการเป็นตะคริว สำหรับใครที่เป็นตะคริวบ่อย ๆ ผักกวางตุ้งช่วยคุณได้ เพราะเป็นผักที่มี แคลเซียมสูง 13
  • 18. คุณค่าทางโภชนาการของผักกวางตุ้งดิบต่อ 100 กรัม • พลังงาน 13 กิโลแคลอรี • คาร์โบไฮเดรต 2.2 กรัม • เส้นใย 1.0 กรัม • ไขมัน 0.2 กรัม • โปรตีน 1.5 กรัม • วิตามินเอ 243 ไมโครกรัม 30% • วิตามินเอ 4,468 หน่วยสากล • วิตามินซี 45 มิลลิกรัม 54% • ธาตุแคลเซียม 105 มิลลิกรัม 11% • ธาตุเหล็ก 0.80 มิลลิกรัม 6% • ธาตุแมกนีเซียม 19 มิลลิกรัม 5% • ธาตุโซเดียม 65 มิลลิกรัม 4% 6.การวัดการเจริญเติบโตของพืช การวัดการเจริญเติบโตของพืชสามารถวัดได้หลายวิธี เช่น ความสูง จำนวนใบ ขนาดใบ เส้นรอบวง มวล ฯลฯ 1. การนับจำนวนเซลล์ที่เพิ่มขึ้น วิธีนี้อาจใช้ได้ในบางกรณี แต่กระทำได้ยาก ไม่สะดวก จึงไม่ค่อย นิยมปฏิบัติ 2. การวัดความสูง (height) วิธีนี้อาจไม่ใช่การวัดการเติบโตที่แท้จริง เพราะในบางกรณีความสูงอาจ ไม่เพิ่มในอัตราส่วนเดียวกันกับมวล ดังนั้น การวัดความสูงจึงเป็นเพียงการคาดคะเนการเติบโต 3. การวัดมวลของสิ่งมีชีวิต (weight) เป็นวิธีที่นิยมกันมากที่สุด แต่ไม่ใช่เกณฑ์ที่ดีที่สุดเนื่องจาก เกณฑ์นี้ไม่อาจถือได้เสมอไปว่าน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นนั้นเป็นการเติบโตที่แท้จริง เพราะน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นอาจมาจาก การแปรเปลี่ยนของปริมาณของเหลงในร่างกาย เช่น มาจากการที่เซลล์ดูดน้ำเข้าไป หรือสิ่งมีชีวิตกินน้ำเข้าไป เป็นต้น 4. การวัดน้ำหนักแห้ง (dry weight) หรือน้ำหนักคงที่ น้ำหนักแห้งเป็นน้ำหนักของสิ่งมีชีวิตหลังจาก ที่ความชื้นถูกขจัดออกจนหมดสิ้นโดยใช้ความร้อน เกณฑ์นี้นับได้ว่าเป็นการวัดการเติบโตที่ดีที่สุด เนื่องจาก น้ำหนักแห้งนั้นเป็นน้ำหนักของมวลอินทรีย์ที่เกิดจากการเติบโตที่แท้จริงแต่วิธีปฏิบัติยุ่งยาก เพราะสิ่งมีชีวิตที่ จะใช้วัดการเติบโตต้องตาย เพราะต้องอบให้ไอน้ำระเหยไปหมด วิธีที่ปฏิบัติกันคือ สุ่มตัวอย่างประชากร บางส่วนในช่วงระยะเวลาที่ต่างกัน (สิ่งมีชีวิตที่จะวัดการเติบโตจะต้องมีอายุเท่ากันและเติบโตใน 14
  • 19. สภาพแวดล้อมเดียวกัน) แล้วนำมาผ่านการระเหยให้น้ำออกไปจนหมด ซึ่งทราบได้จากน้ำหนักของสิ่งมีชีวิต นั้นจะไม่ลดลงอีก ตัวอย่างเช่นต้องการวัดการเติบโตของสิ่งมีชีวิตโดยใช้เกณฑ์น้ำหนักแห้งกระทำได้ดังนี้ สัปดาห์ที่ 1 สุ่มตัวอย่าง 100 ต้น จากประชากรทั้งหมดมาชั่งน้ำหนักแห้ง สมมติได้น้ำหนักคงที่ เท่ากับ 50 กรัม สัปดาห์ที่ 2 สุ่มตัวอย่าง 100 ต้น จากประชากรทั้งหมดมาชั่งน้ำหนักแห้ง สมมติได้น้ำหนักคงที่ เท่ากับ 70 กรัม สัปดาห์ที่ 3 ทำวิธีเดียวกับที่ผ่านมา และใช้ประชากรจำนวนเท่ากัน ชั่งน้ำหนักแห้งได้ 110 กรัม จากข้อมูลที่ได้จะเห็นว่าพืชมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น จาก 50/100 70/100 110/100 หรือน้ำหนัก แห้งที่เพิ่มขึ้นเป็น 0.5 กรัม 0.7 กรัม 1.1 กรัมต่อต้น จึงสรุปได้ว่าพืชชนิดนี้มีการเติบโต เพราะน้ำหนักแห้งเพิ่มขึ้น 5.เกณฑ์อื่นๆ เช่น วัดความหนา วัดขนาดเส้นรอบวง เส้นผ่าศูนย์กลางของโครงสร้างต่างๆ หรือ จำนวนโครงสร้างที่เพิ่มขึ้น เช่น นับจำนวนใบ จำนวนกิ่ง เป็นต้น 7. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 1.โครงงานเรื่อง ยาวไป...ออกซิน ประเภทโครงงาน การทดลอง โครงงานวิทยาศาสตร์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาว่าสารออกซินที่ได้จากพืชชนิดใด.สามารถทำให้ หน่อไม้ฝรั่งยาวได้มากที่สุด ซึ่งพืชที่นำมาทดสอบมีดังนี้ ยอดผักบุ้ง รากไทร ถั่วงอก ผลการทดสอบปรากฎว่า สารออกซินที่ได้จากถั่วงอกมีประสิทธิภาพมากที่สุด และสารออกซินที่ได้จากยอดผักบุ้งและรากไทรมี ประสิทธิภาพในการเร่งความยาวของต้นหน่อไม้ฝรั่งเท่ากัน 2. ออกซินมีคุณสมบัติเป็นสารกำจัดวัชพืช (herbicides) ออกซินทุกชนิดถ้าใช้ความเข้มข้นสูงจะสามารถฆ่า พืชได้ ดังนั้นจึงมีการนำสารออกซินมาใช้เป็นยากำจัดวัชพืชอย่างกว้างขวาง ออกซินที่ใช้สารกำจัดวัชพืช อย่างกว้างขวางได้แก่ 2,4-D, 2,4,5-T , MCPA สารที่นิยมใช้คือ 2,4-D รองลงมาคือ 4-CPA สารทั้งสอง ชนิดนี้มีฤทธิ์ของออกซินสูงมากจึงใช้ฆ่าวัชพืชได้ แม้จะใช้ความเข้มข้นไม่สูงมากนักก็ตาม อนุพันธ์ของ picolinic acid เช่น picloram ชื่อการค้า Tordon มีคุณสมบัติที่ทำให้เป็นที่นิยมกว้างขวางเนื่องจาก ความเป็นพิษต่อพืช มีราคาถูกและการเลือกทำลายพืชใบเลี้ยงคู่มากกว่าพืชใบเลี้ยงเดี่ยว 2,4,5-T ถูกห้ามใช้ใน สหรัฐอเมริกา เนื่องจากมีสารพิษที่ร้ายแรงคือ dioxin ปนเปื้อนอยู่ สารกำจัดวัชพืชเหล่านี้อาจอยู่ในรูปเกลือ 15
  • 20. ของด่างอ่อน เช่น ammonia (amines), กรด emulsifiable, ester และผสมกับน้ำมันหรือ detergent เพื่อให้มีการกระจายตัวและจับใบสามารถดูดซึมเข้าสู่ใบพืชได้ดีขึ้นและเมื่อดูดซึมเข้าไปแล้วจะถูกลำเลียงส่วน ใหญ่ทาง phloem ไปกับสารที่เกิดจากการสังเคราะห์แสง ดังนั้นเวลาฉีดพ่นให้ได้ผลดีที่สุด คือตอนเช้ามืด ของวันที่มีแดด กลไกที่แท้จริงของสารเหล่านี้ยังไม่กระจ่างเพียงแต่สันนิษฐานว่าออกซินเหล่านี้เข้าไปรบกวน การสร้าง DNA และการแปล RNA ดังนั้นจึงทำให้การสร้างเอนไซม์ต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตเหล่านี้ ได้รับการสร้างอย่างผิดปกติ (พีรเดช, 2529; นพดล, 2536) 3.สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช (plant growth regulating chemicals : PGRC) ที่จัดอยู่ในกลุ่มออก ซิน มีอยู่หลายชนิดและเป็นที่รู้จักกันดีสำหรับเกษตรกรในประเทศไทย สารออกซินชนิดแรกที่ค้นพบคือ IAA (indol-3-acetic acid) ซึ่งเป็นสารที่พืชสร้างขึ้นเอง โดยมีคุณสมบัติเป็นสารเร่งการเจริญเติบโต มีผลกระตุ้น การขยายขนาดของเซล การยืดตัวของเซล และยังมีผลกระตุ้นการเกิดราก รวมถึงมีคุณสมบัติในการส่งเสริม การเจริญเติบโตในส่วนต่าง ๆ ของพืช ซึ่งสามารถพิสูจน์ได้หลายวิธีกับพืชทั้งต้น (intact plant) รวมทั้งวิธีที่ ตัดอวัยวะเฉพาะส่วนมาทดสอบ (excised part) สรุปได้ว่ากระบวนการต่าง ๆ หลายอย่างที่เกิดขึ้นในพืชนั้น ออกซินมีส่วนในการควบคุมกระบวนการนั้น ๆ ด้วย เมื่อเป็นเช่นนี้จึงทำให้มีการสังเคราะห์สารต่าง ๆ ที่มี คุณสมบัติคล้ายออกซินเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ทางการเกษตร สารสังเคราะห์เหล่านี้มีอยู่หลายชนิด แต่ที่นิยม ใช้กันทั่วไปมีอยู่เพียงไม่กี่ชนิด ได้แก่ NAA (1-naphthylacetic acid) IBA (4-(indol-3-yl)butyric acid) 2,4-D (2,4-dichlorophenoxyacetic acid) และ 4-CPA (4-chlorophenoxyacetic acid) (พันทวี, 2532 ; พีรเดช, 2529) 4. pathway ที่เกิดขึ้นในพืชส่วนใหญ่จะเริ่มจากการตัด amino group ให้กับ -keto acid ตัวหนึ่ง โดย ผ่านปฎิกิริยาที่เรียกว่า transaminayion กลายเป็น indolepyruvic acid จากนั้นจะเกิดปฎิกิริยา decarboxylation กับ indolepyruvic acid กลายเป็น IAA (indole acetic acid) enzymes ที่ จำเป็นสำหรับการเปลี่ยน tryptophan ไปเป็น IAA จะมีประสิทธิภาพ (active) มากที่สุดในเนื้อเยื่อที่มี อายุน้อย เช่น shoot meristems ใบที่กำลังเจริญเติบโต และในผล ในเนื้อเยื่อเหล่านี้ยังจะมีออกซิน ใน ปริมาณมากที่สุดอีกด้วย จึงทำให้สรุปว่าเป็นแหล่งสังเคราะห์ออกซินซึ่งจะอยู่บริเวณที่มีการเจริญเติบโตทั่วไป ทั้งต้น ธาตุสังกะสีมีความจำเป็นต่อการสังเคราะห์ทริบโตเฟนจึงมีความสำคัญต่อการสังเคราะห์ออกซินด้วย ดังนั้นเมื่อขาดธาตุสังกะสีก็ทำให้พืชสร้างออกซินได้น้อยด้วยออกซินมีผลในการกระตุ้นการเจริญเติบโตของลำ ต้น ตา ใบ และรากในระดับความเข้มข้นที่ต่างกัน ออกซินในระดับความเข้มข้นสูงมาก ๆ จะยับยั้งการ เจริญเติบโตทุกส่วนของพืช ออกซินในระดับความเข้มข้นที่เหมาะสมจะกระตุ้นการเจริญของลำต้น แต่จะมี ผลในการยับยั้งการเจริญเติบโตของตาและใบ ซึ่งต้องการความเข้มข้นต่ำกว่า ในขณะที่รากต้องการออกซิน ในปริมาณที่น้อยมาก ดังนั้นลำต้นจึงต้องการออกซินสูงกว่า ตา และใบ ในขณะที่ตาและใบก็ต้องการออกซิ 16
  • 21. นสูงกว่าในราก ดังนั้น ความเข้มข้นของออกซินที่พอเหมาะต่อการเจริญเติบโตของอวัยวะหนึ่งแต่จะยับยั้งการ เจริญเติบโตของอวัยวะหนึ่งได้ (นพดล, 2536) 5. ควบคุมการออกดอกของพืชปกติ โดยทั่วไปถ้าพ่นออกซินให้แก่พืชที่ใกล้จะออกดอก จะทำให้พืชนั้นออก ดอกช้าลง แต่ในสับปะรด มะม่วง ลิ้นจี่ เมื่อให้ออกซินจะทำให้ออกดอกเร็วขึ้น และออกดอกพร้อม ๆ กัน อย่างไรก็ตามพีรเดช (2529) กล่าวว่าถึงแม้เกษตรกรหลายท่านเข้าใจว่าสารในกลุ่มออกซินนี้เร่งการเกิดดอก ของพืชได้ แต่แท้จริงแล้วผลของออกซินในข้อนี้ยังค่อนข้างเลื่อนลอย เท่าที่มีงานทดลองสรุปได้แน่ชัดว่าออก ซินเร่งการเกิดดอกได้เฉพาะในสับปะรดเท่านั้น การใช้ NAA หรือ IBA สามารถเร่งการเกิดดอกของสับปะรด ได้ แต่มีประสิทธิภาพต่ำกว่าการใช้ถ่านก๊าซ (calcium carbide) และ เอทธิฟอน (ethephon) แต่ก็เชื่อได้ว่า การเกิดดอกของสับปะรดไม่ได้เป็นผลของ NAA หรือ IBA โดยตรง แต่เป็นผลทางอ้อมที่สารดังกล่าวไปกระตุ้น ให้ต้นสับปะรดสร้างเอทธิลีน (ethylene) ขึ้นมา และเอทธิลีนเป็นตัวกระตุ้นให้สับปะรดเกิดดอก สำหรับใน ประเทศไทยเคยมีการแนะนำให้ใช้ NAA ผสมกับโพแทสเซียมไนเตรท (KNO3) เพื่อฉีดเร่งดอกมะม่วง แต่ยังไม่ มีข้อมูลใด ๆ ยืนยันว่าวิธีการดังกล่าวใช้ได้ผล (พีรเดช, 2529) 6.เปลี่ยนเพศดอก พืชหลายชนิดที่มีดอกตัวผู้และดอกตัวเมียอยู่ต่างดอก หรือต่างต้นกัน เช่น ต้นเงาะ ซึ่งมี 2 ชนิด คือ ต้นตัวผู้ซึ่งมีแต่ดอกตัวผู้ ที่ไม่สามารถให้ผลผลิต จึงถูกตัดทิ้งเนื่องจากไม่สามารถให้ผลผลิตได้ และ ต้นตัวเมียซึ่งมีดอกตัวเมีย จากการที่ต้นตัวผู้ถูกตัดทิ้ง ทำให้มีเกสรตัวผู้ไม่เพียงพอในการผสมกับดอกตัวเมีย ผลผลิตจึงลดลงเพราะดอกตัวเมียไม่สามารถพัฒนาเป็นผลได้ การพ่นออกซิน ความเข้มข้น 100 มก/ล แก่ช่อ ดอกเงาะต้นตัวเมีย ในระยะดอกตูม สามารถชักนำให้เกิดการเปลี่ยนเพศดอกจากดอกตัวตัวเมียเป็นดอกตัวผู้ ได้ (พีรเดช, 2529) 7.เพิ่มขนาดของผล และป้องกันผลร่วง มีรายงานว่าออกซินอาจช่วยขยายขนาดของผลไม้บางชนิดได้ เช่น การใช้ 4-CPA หรือ NAA กับสับปะรด ผลไม้บางชนิดสามารถใช้ออกซินเพื่อป้องกันผลร่วงก่อนการเก็บเกี่ยว ได้ เช่น มะม่วง ส้ม องุ่น และลางสาด สารที่นิยมใช้คือ NAA และ 2,4-D (พีรเดช, 2529) 8.ออกซินมีคุณสมบัติเป็นสารกำจัดวัชพืช (herbicides) ออกซินทุกชนิดถ้าใช้ความเข้มข้นสูงจะสามารถฆ่าพืช ได้ ดังนั้นจึงมีการนำสารออกซินมาใช้เป็นยากำจัดวัชพืชอย่างกว้างขวาง ออกซินที่ใช้สารกำจัดวัชพืช อย่าง กว้างขวางได้แก่ 2,4-D, 2,4,5-T , MCPA สารที่นิยมใช้คือ 2,4-D รองลงมาคือ 4-CPA สารทั้งสองชนิดนี้มี ฤทธิ์ของออกซินสูงมากจึงใช้ฆ่าวัชพืชได้ แม้จะใช้ความเข้มข้นไม่สูงมากนักก็ตาม อนุพันธ์ของ picolinic acid เช่น picloram ชื่อการค้า Tordon มีคุณสมบัติที่ทำให้เป็นที่นิยมกว้างขวางเนื่องจากความเป็นพิษ ต่อพืช มีราคาถูกและการเลือกทำลายพืชใบเลี้ยงคู่มากกว่าพืชใบเลี้ยงเดี่ยว 2,4,5-T ถูกห้ามใช้ในสหรัฐอเมริกา 17
  • 22. เนื่องจากมีสารพิษที่ร้ายแรงคือ dioxin ปนเปื้อนอยู่ สารกำจัดวัชพืชเหล่านี้อาจอยู่ในรูปเกลือของด่างอ่อน เช่น ammonia (amines), กรด emulsifiable, ester และผสมกับน้ำมันหรือ detergent เพื่อให้มีการ กระจายตัวและจับใบสามารถดูดซึมเข้าสู่ใบพืชได้ดีขึ้นและเมื่อดูดซึมเข้าไปแล้วจะถูกลำเลียงส่วนใหญ่ทาง phloem ไปกับสารที่เกิดจากการสังเคราะห์แสง ดังนั้นเวลาฉีดพ่นให้ได้ผลดีที่สุด คือตอนเช้ามืดของวันที่มี แดด กลไกที่แท้จริงของสารเหล่านี้ยังไม่กระจ่างเพียงแต่สันนิษฐานว่าออกซินเหล่านี้เข้าไปรบกวนการสร้าง DNA และการแปล RNA ดังนั้นจึงทำให้การสร้างเอนไซม์ต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตเหล่านี้ได้รับการ สร้างอย่างผิดปกติ (พีรเดช, 2529; นพดล, 2536) 18
  • 23. บทที่ 3 วิธีการดำเนินงาน ในการทำโครงงานนี้ ผู้จัดทำโครงงานมีวิธีการดำเนินงานโครงงาน ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้ 3.1 วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง • กระถาง 4 อัน • ดินและขุ๋ยมะพร้าว • เมล็ดผักบุ้งจีน 1 ซอง • เมล็ดกวางตุ้ง 1 ซอง • ฟ็อกกี้จุได้ 1 ลิตร 4 อัน • ออกซินธรรมชาติสกัดจากถั่วงอก • ปุ๋ยเคมีสูตร 12-27-23 (Nitrogen-Phosphorus-Potassium) • น้ำ 3.2 ขั้นตอนดำเนินวิธีการศึกษา วันที่ กิจกรรมที่ปฏิบัติ สถานที่ทำกิจกรรม ผู้รับผิดชอบ 1-22 มิ.ย. 62 - จับกลุ่ม - เลือกหัวข้อที่จะค้นคว้า - สืบค้นข้อมูล เกี่ยวกับหัวข้อที่ ค้นคว้า จากแหล่งต่างๆ โรงเรียนราชวินิตบางแก้ว สมาชิกในกลุ่ม ครูที่ปรึกษา 23-30 มิ.ย. 62 - วางแผนการทำงาน - แบ่งหน้าที่ภายในกลุ่ม - ระดมทุนที่ใช้ในการทำ โครงงาน - จัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์ และ สารเคมีต่างๆ โรงเรียนราชวินิตบางแก้ว สมาชิกในกลุ่ม ครูที่ปรึกษา 1-30 ก.ค. 62 - ทดลองปลูกครั้งที่ 1 - สังเกตและบันทึกผล บ้านของผู้จัดทำ สมาชิกในกลุ่ม ครูที่ปรึกษา 1-24 ส.ค. 62 - นำเสนอผลการทดลองที่ได้ โรงเรียนราชวินิตบางแก้ว สมาชิกในกลุ่ม 19
  • 24. ครูที่ปรึกษา 28 ต.ค. – 8 พ.ย. 62 - ศึกษาค้นคว้า การเขียน รายงานการศึกษาค้นคว้าเชิง วิชาการ โรงเรียนราชวินิตบางแก้ว สมาชิกในกลุ่ม ครูที่ปรึกษา 9-15 พ.ย. 62 - นำผลงานจากการทดลองมา วิเคราะห์ - แบ่งหน้าที่ในการจัดทำ รูปเล่มโครงงาน โรงเรียนราชวินิตบางแก้ว สมาชิกในกลุ่ม ครูที่ปรึกษา 16-22 พ.ย. 62 - ทำรูปเล่มโครงงานบทที่ 1 - แก้ไขปรับปรุงตามคำแนะนำ ของครูที่ปรึกษา โรงเรียนราชวินิตบางแก้ว สมาชิกในกลุ่ม ครูที่ปรึกษา 23-30 พ.ย. 62 - หาข้อมูลเพิ่มเติม และ ผลงานวิจัยรองรับ - ทำรูปเล่มโครงงานบทที่ 2 โรงเรียนราชวินิตบางแก้ว สมาชิกในกลุ่ม ครูที่ปรึกษา 1-6 ธ.ค. 62 - ทำรูปเล่มโครงงานบทที่ 3 โรงเรียนราชวินิตบางแก้ว สมาชิกในกลุ่ม ครูที่ปรึกษา 7-20 ธ.ค. 62 - ทำรูปเล่มโครงงานบทที่ 4 - นำผลการทดลองในบทที่ 4 มาวิเคราะห์เพื่อเขียนบทที่ 5 โรงเรียนราชวินิตบางแก้ว สมาชิกในกลุ่ม ครูที่ปรึกษา 6-10 ม.ค. 63 - ปรึกษาเรื่องรูปแบบการ นำเสนอ - ออกแบบสื่อการนำเสนอ โครงงาน โรงเรียนราชวินิตบางแก้ว สมาชิกในกลุ่ม ครูที่ปรึกษา 11-17 ม.ค. 63 - ปรึกษาครูที่ปรึกษาในการ นำเสนอโครงงาน โรงเรียนราชวินิตบางแก้ว สมาชิกในกลุ่ม ครูที่ปรึกษา 18-31 ม.ค. 63 - ระดมทุนในการทำสื่อ นำเสนอ - จัดทำสื่อที่ใช้ในการนำเสนอ - แบ่งเนื้อหาในการนำเสนอ โรงเรียนราชวินิตบางแก้ว สมาชิกในกลุ่ม ครูที่ปรึกษา เดือนกุมภาพันธ์ - นำเสนอผลงานการทดลอง โรงเรียนราชวินิตบางแก้ว สมาชิกในกลุ่ม ครูที่ปรึกษา 20
  • 25. 3.3 ขั้นตอนดำเนินการทดลอง 1) นำเมล็ดผักบุ้งจีนและเมล็ดกวางตุ้งไปแช่น้ำ 1 วัน และนำกระถางใส่ดินทั้ง 4 กระถางแล้วรดน้ำลงดินพอ ให้ชุ่ม 2) นำเมล็ดที่แช่น้ำแล้วโรยลงกระถางโดยแยกเป็น กระถางที่ใช้ปลูกผักบุ้งจีนใช้ 2 กระถางและกระถางที่ใช้ ปลูกกวางตุ้งใช้ 2 กระถาง โรยเมล็ดให้ทั่วและเว้นความห่างของเมล็ดเล็กหน่อย ก. กระถางที่ปลูกผักบุ้งจีน ข. กระถางที่ปลูกผักกวางตุ้ง 21