SlideShare a Scribd company logo
1 of 21
Download to read offline
สรรหามาฝาก
โดย ครูป.
ใครมีเรื่องราวดีๆ
ไอเดียแจ่มๆเจ๋งๆ
ก็นามาเล่าสู่กันฟังครับ
เรื่องนี้มีอยู่ว่า........
1
Best Practices
ระบบกิจกรรมนักเรียน
“หลากหลายความคิด พิชิตกิจกรรม”
โรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ
สานักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่เขต 1
2
ระบบกิจกรรมนักเรียน
โรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ อ. เมือง จ.เชียงใหม่
หลากหลายความคิด พิชิตกิจกรรม
1. ความเป็นมาและบริบทโรงเรียน
โรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ สังกัดสานักงานเขตพื้นที่
การศึกษาเชียงใหม่ เขต 1 สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีเนื้อที่ประมาณ 27 ไร่
เปิดสอนตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 6 ปีการศึกษา 2550 มีนักเรียนรวมทั้งสิ้น 2,593 คน
บุคลากรครูผู้สอน (ข้าราชการ) จานวน 122 คน ครูอัตราจ้าง 14 คน
โรงเรียนได้พัฒนาและเปลี่ยนแปลงการจัดการศึกษาตามสภาพเศรษฐกิจ และสังคมมาโดย
ลาดับ จนมาถึงยุคปฏิรูปการศึกษาในปี 2542 การบริหารและจัดการศึกษาของโรงเรียนเป็นไปตาม
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 คือการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
(School Based Management) ยึดหลักการมีส่วนร่วมของโรงเรียน และชุมชนเป็นสาคัญ
ผู้ปกครอง ครู และชุมชนมุ่งหวังให้นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม มีกระบวนการใน
การทางาน มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ มีวิจารณญาณ คิดไตร่ตรอง และคิด
สร้างสรรค์ มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ มีจิตสานึกที่ดีต่อชุมชนและสังคม อนุรักษ์ พัฒนา
สิ่งแวดล้อม เห็นคุณค่าในศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น รวมทั้งมีความรู้ความสามารถที่จะศึกษาต่อใน
ระดับอุดมศึกษาได้
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เป็นกิจกรรมที่จะช่วยพัฒนาคุณลักษณะด้านต่าง ๆ ของนักเรียนได้
เป็นอย่างดี ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ได้แบ่งกิจกรรมออกเป็น 2
ลักษณะ คือ กิจกรรมแนะแนว และกิจกรรมนักเรียน ซึ่งเป็นกิจกรรมที่จัดอย่างเป็นทางการด้วย
รูปแบบวิธีการที่หลากหลาย ในการพัฒนาผู้เรียนทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ และ
สังคม มุ่งเสริมสร้างเจตคติ คุณค่าชีวิต ปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์
ส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จัก และเข้าใจตัวเอง สร้างจิตสานึกในการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ปรับตัวและปฏิบัติตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม ประเทศชาติ และดารงชีวิตได้อย่างมีความสุข
3
2. การพัฒนาระบบ
โรงเรียนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาโดยใช้มาตรฐานการศึกษาเชิงระบบเป็นหลัก ใน
การบริหารงานของโรงเรียน ทั้งนี้ได้กาหนดระบบของโรงเรียน 13 ระบบ เป็นระบบหลัก 3 ระบบ
และระบบสนับสนุน 10 ระบบ โดยโรงเรียนได้นาข้อกาหนดที่ 4 และ 5 ของมาตรฐานการบริหาร
จัดการมาเป็นระบบเพิ่มอีก 3 ระบบ ดังนั้นระบบของโรงเรียนจะประกอบด้วย ระบบหลัก ได้แก่
ระบบเรียนรู้ ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และระบบกิจกรรมนักเรียน ระบบสนับสนุน ได้แก่
ระบบการนาองค์กร ระบบยุทธศาสตร์การพัฒนา ระบบการบริหารงาน ระบบพัฒนาบุคลากร
ระบบดูแลคุณธรรมจริยธรรมวิชาชีพครู ระบบตรวจสอบภายในและถ่วงดุล ระบบสื่อและแหล่ง
เรียนรู้ ระบบสิ่งแวดล้อม ระบบชุมชนสัมพันธ์ และระบบสารสนเทศ
โรงเรียนได้จัดทาคู่มือระบบในปีการศึกษา 2548 เมื่อดาเนินการตามคู่มือระบบและมี
การประเมินทบทวนแล้ว โรงเรียนได้ปรับปรุงคู่มือระบบในปีการศึกษา 2549 และได้ผ่าน
การประเมินเพื่อรับรองวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ ระบบเรียนรู้ จากสถาบันวิจัยและพัฒนาการเรียนรู้
(สวร.)
โรงเรียนมีนโยบายอย่างต่อเนื่องในการบริหารโรงเรียนเพื่อให้ผู้เรียนมีคุณภาพตาม
มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน และมาตรฐานการศึกษาเชิงระบบ สนับสนุนส่งเสริมการจัด
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ทั้งกิจกรรมแนะแนว กิจกรรมชุมนุม กิจกรรมลูกเสือ เนตรนารีและยุวกาชาด
กิจกรรมสร้างสรรค์สังคมและกิจกรรมนักเรียนอื่นๆ ได้ปรับปรุงการวางระบบกิจกรรมนักเรียน ซึ่ง
มี Flow Chart ของระบบ ดังนี้
4
ดาเนินงานตามแผนการจัดกิจกรรมตามหลักสูตร
และกิจกรรมเสริมหลักสูตร
ระบบกิจกรรมนักเรียน
กาหนดแผนการจัดกิจกรรม
ประเมินผลการดาเนินงาน
บรรลุวัตถุประสงค์
หรือไม่
สรุป รายงานผลการดาเนินงานและพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง
ปรับปรุง / แก้ไข
ไม่ใช่
ใช่
BP
หลากหลายความคิด
พิชิตกิจกรรม
5
จาก Flow Chart คณะกรรมการกลุ่มงานกิจกรรมนักเรียน ได้ประชุมวางแผนการจัด
กิจกรรม ทั้งกิจกรรมตามหลักสูตร และกิจกรรมเสริม หลักสูตร ผู้รับผิดชอบแต่ละกิจกรรม
ดาเนินการตามแผนการจัดกิจกรรมต่างๆ ได้แก่
1) กิจกรรมเสริมหลักสูตรเพื่อส่งเสริม ประชาธิปไตย ความเป็นผู้นาและสุนทรียภาพด้าน
ดนตรี กีฬา ศิลปะ ประกอบด้วย การเลือกตั้งคณะกรรมการนักเรียน การปฐมนิเทศนักเรียนใหม่
พิธีไหว้ครู การหล่อเทียนพรรษาและการถวายเทียนพรรษา ผ้าอาบน้าฝน กีฬาและกรีฑาสี กิจกรรม
สัมพันธ์
2) กิจกรรมตามความถนัดและความสนใจของผู้เรียน ประกอบด้วยกิจกรรมชุมนุมต่างๆ
จานวน 82 ชุมนุม
3) กิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี และยุวกาชาด
4) กิจกรรมสร้างสรรค์สังคม ได้แก่การร่วมกิจกรรมของหน่วยงาน องค์กรต่าง ๆ ทั้ง
ภายในท้องถิ่น และประเทศ
เมื่อสิ้นภาคเรียน หรือสิ้นปีการศึกษา ผู้รับผิดชอบแต่ละกิจกรรม ดาเนินการประเมินผลการ
จัดกิจกรรม ปรับปรุงแก้ไขในกรณีที่มีปัญหา และรายงานผลการดาเนินงานให้ฝ่ายบริหารทราบ
โดยทุกขั้นตอนมีกระบวนการทางานตามวงจร PDCA ซึ่งมีผลการประเมินทบทวนในปีการศึกษา
2548 และปีการศึกษา 2549 ดังนี้
ผลการประเมินทบทวนในปีการศึกษา 2548 และปีการศึกษา 2549
ในด้านกระบวนการ ตามตัวชี้วัดสาคัญของระบบกิจกรรมนักเรียน
ที่ ตัวชี้วัดสาคัญ ผลการประเมินทบทวน
2548 2549
1 ร้อยละของจานวนประเภทของชุมนุม 44 45
2 ร้อยละของชุมนุมที่ออกแบบและจัดกิจกรรมด้วย
นักเรียนเอง
100 100
3 ค่าเฉลี่ยของการประชุมกรรมการชุมนุมรายเดือน 1 1
4 ร้อยละของชุมนุมที่ทากิจกรรมนอกเวลา/นอกโรงเรียน 53 54
จากตาราง พบว่าร้อยละของจานวนประเภทของชุมนุมในปี 2549 เพิ่มจากปี 2548 คือจาก
ร้อยละ 44 เป็น ร้อยละ 45 จะเห็นว่ากิจกรรมชุมนุมของโรงเรียนมีความหลากหลาย สนองต่อความ
สนใจและความต้องการของนักเรียน และร้อยละ 100 ของชุมนุม นักเรียนจะเป็นผู้ออกแบบ
วางแผน และจัดกิจกรรมด้วยตนเอง จนสาเร็จตามเป้าหมาย รวมทั้งมากกว่าครึ่งหนึ่งของชุมนุมที่มี
นักเรียนทากิจกรรมทั้งนอกเวลาและนอกโรงเรียน
6
3. วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices )
นวัตกรรมที่ถือว่าเป็นวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices ) ของระบบกิจกรรมนักเรียน คือ
“หลากหลายความคิด พิชิตกิจกรรม” ซึ่งอยู่ในขั้นตอนของการดาเนินงานตามแผนกิจกรรมเสริม
หลักสูตร กิจกรรมชุมนุมและกิจกรรมสร้างสรรค์สังคมเพื่อส่งเสริมความเป็นประชาธิปไตย
ความเป็นผู้นา และสุนทรียภาพด้านดนตรี กีฬา และศิลปะ ซึ่งเป็นการส่งเสริมทักษะการทางาน
ความเป็นผู้นา การทางานร่วมกับผู้อื่น มีความรับผิดชอบต่อส่วนรวม การอนุรักษ์ การพัฒนา
สิ่งแวดล้อม และการเห็นคุณค่าของศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น ของนักเรียนวัฒโนทัยพายัพ
วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ “หลากหลายความคิด พิชิตกิจกรรม” ประกอบด้วยนวัตกรรม 2
นวัตกรรม ได้แก่
3.1 กล้าคิด กล้าทา
3.2 พี่สอนน้อง
ดังรายละเอียดต่อไปนี้
3.1 กล้าคิด กล้าทา เป็นนวัตกรรมที่พัฒนาความเป็นผู้นาของนักเรียน ส่งเสริมความเป็น
ประชาธิปไตย ฝึกทักษะ กระบวนการทางาน การทางานร่วมกับผู้อื่น และส่งเสริมการคิดวิเคราะห์
สังเคราะห์ และคิดสร้างสรรค์ ของนักเรียน โดยใช้กระบวนการของการเลือกตั้งคณะกรรมการ
นักเรียน ซึ่งมีขั้นตอนของการดาเนินงาน ดัง Flow Chart ต่อไปนี้
7
กล้าคิด กล้าทา
บรรลุวัตถุประสงค์
หรือไม่
ไม่
ประชุมวางแผนและเตรียมการ
เลือกตั้งคณะกรรมการนักเรียน
ดาเนินการจัดการเลือกตั้ง
คณะกรรมการนักเรียน
คณะกรรมการนักเรียน
ดาเนินงานตามภาระหน้าที่
ประเมินผลการดาเนินงาน
ปรับปรุง/
แก้ไข
สรุปรายงานผล
บรรลุ
จัดอบรมเพื่อพัฒนาความเป็น
ผู้นาของคณะกรรมการนักเรียน
8
1) การวางแผนและเตรียมการ
1.1 ครูกิจกรรมนักเรียนและคณะกรรมการนักเรียนชุดเก่าประชุมวางแผนดาเนินการ
จัดการเลือกตั้งคณะกรรมการนักเรียน ในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนกุมภาพันธ์
1.2 แจ้งให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เตรียมตัวสมัครรับเลือกตั้งเป็นคณะกรรมการ
นักเรียน โดยผู้ที่ต้องการแข่งขันในตาแหน่งประธานนักเรียนจะรวบรวมคณะทางานซึ่งเป็น
นักเรียนในระดับชั้นต่าง ๆ ตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 4 และตั้งพรรคจานวน 2
พรรค ตามระเบียบข้อบังคับของการเลือกตั้งคณะกรรมการนักเรียนของโรงเรียน
1.3 กาหนดรูปแบบการเลือกตั้ง โดยจาลองรูปแบบการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
คือ เลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ และแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง (แบ่งเป็น 6 เขต ตามระดับชั้น ม.1-ม.6 )
2) ดาเนินการจัดการเลือกตั้ง
2.1 งานกิจกรรมนักเรียนประกาศรับสมัครรับเลือกตั้งคณะกรรมการนักเรียนและกาหนด
วันเลือกตั้ง (วันอังคารแรกของเดือนกุมภาพันธ์)
2.2 การหาเสียงและแนะนาสมาชิกพรรค ผู้สมัครรับเลือกตั้งวางแผนการหาเสียง แนะนา
ตัว และเสนอนโยบายพรรค โดยระดมความคิด ในการออกแบบสัญลักษณ์ สโลแกนของพรรค
เลือกรูปแบบการหาเสียง จัดทาอุปกรณ์ สื่อ เพื่อประชาสัมพันธ์ ผู้สมัครรับเลือกตั้งหาเสียงโดย
1) จัดทาโปสเตอร์ ติดบริเวณที่โรงเรียนกาหนด
2) แนะนาตัว ประชาสัมพันธ์ แนะนาสมาชิกพรรคบริเวณหน้าเสาธงหลังจากเสร็จพิธี
เคารพธงชาติ 2 สัปดาห์ก่อนวันเลือกตั้ง ได้แก่การแนะนาพรรคและหัวหน้าพรรค แนะนา
นโยบายพรรค แนะนาสมาชิกพรรคระบบบัญชีรายชื่อ แนะนาสมาชิกพรรคระบบแบ่งเขต
เลือกตั้ง และการชักชวนนักเรียนทุก ๆ คนไปใช้สิทธิลงคะแนน
การแนะนาตนเองและการหาเสียงผู้สมัครรับเลือกตั้งจะใช้ความสามารถหลากหลายเพื่อ
กระตุ้น ชักจูงให้นักเรียนลงคะแนนเสียงแก่พรรคของตนโดยการแสดงละคร แต่งคาประพันธ์
ร้องเพลง เล่นดนตรี ฯลฯ
2.3 ก่อนวันเลือกตั้ง 1 วัน แต่ละพรรคจะต้องหยุดหาเสียง
2.4 คณะกรรมการนักเรียนชุดเดิมซึ่งเป็นคณะกรรมการเลือกตั้ง ดาเนินการเตรียมสิ่งต่างๆ
ต่อไปนี้
1) ทาบัตรเลือกตั้ง
2) เตรียมบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
3) เตรียมหีบบัตรเลือกตั้ง
4) ทาบอร์ดแนะนาผู้สมัครรับเลือกตั้ง
5) แต่งตั้งกรรมการประจาหน่วยเลือกตั้ง
6) เตรียมบอร์ดนับคะแนนผลการเลือกตั้ง
9
7) จัดหน่วยเลือกตั้งบริเวณชั้นล่างอาคารศรีสวรินทิรา สถานที่เลือกตั้งจะจาลองแบบ
การเลือกตั้ง คือ มีบอร์ดติดรายชื่อผู้สมัคร รายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง คูหาสาหรับผู้มีสิทธิเลือกตั้งเข้า
ไปกากบาท หีบบัตรเลือกตั้ง นาฬิกา บอร์ดนับคะแนน
2.5 การลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง
นักเรียนทุกคนมีสิทธิในการออกเสียงเลือกตั้ง ตามวิธีการลงคะแนนของการเลือกตั้ง
ผู้แทนราษฎร โดยจะตรวจรายชื่อ ลงลายมือชื่อ พิมพิ์ลายนิ้วมือ รับบัตร เข้าคูหาเพื่อกากบาท
และหย่อนบัตรในหีบบัตร ตั้งแต่เวลา 08.30 น.- 13.00 น.
การดาเนินการนับคะแนนเสียงจะเริ่มเวลา 14.00 น. คณะกรรมการฯ จะนับคะแนน
ณ เขตเลือกตั้ง มีการขานคะแนน ขีดรอยคะแนนโดยเปิดเผยต่อนักเรียนคนอื่น ๆ
หัวหน้างานกิจกรรมนักเรียนสรุปรายงานผลการเลือกตั้งต่อผู้อานวยการโรงเรียน และ
ประกาศผล การเลือกตั้งอย่างเป็นทางการบริเวณหน้าเสาธง
2.6 การแต่งตั้งคณะกรรมการนักเรียน
หัวหน้าพรรคที่ได้คะแนนเสียงมากที่สุดจะได้รับแต่งตั้งให้เป็นประธานนักเรียน มี
คณะกรรมการจานวน 52 คน ประกอบด้วย
1) ผู้สมัครแบบแบ่งเขต 6 คน จาก 6 เขต
2) ผู้สมัครบัญชีรายชื่อ 36 คน
3) นักเรียนอื่น ๆ จากการสรรหาของคณะครู กรรมการงานกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
10 คน
3) จัดอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพความเป็ นผู้นาของคณะกรรมการนักเรียน และ
อนุกรรมการนักเรียน
กลุ่มงานกิจกรรมนักเรียนจัดอบรมให้แก่คณะกรรมการนักเรียนและอนุกรรมการนักเรียน
ซึ่งได้แก่ หัวหน้าห้องทุกห้องและรองหัวหน้าห้อง จานวน 120 คน เนื้อหาสาระของการอบรม
ได้แก่ ความเป็นผู้นา เทคนิคการทางานป็นกลุ่ม หลักธรรมาภิบาล และการเขียนโครงการ ทั้งนี้
มีวิทยากรที่เป็นบุคคลจากหน่วยงานภายนอก บุคลากรภายในโรงเรียน คณะกรรมการนักเรียนชุด
เดิม รวมทั้งอดีตคณะกรรมการนักเรียนที่กาลังศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา เช่นมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และสถาบันอื่น ๆ ตั้งแต่ปีที่ 1- 4 จะถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ ความ
เข้มแข็ง อดทน เสียสละ แก่คณะกรรมการนักเรียนชุดใหม่ ด้วยกิจกรรม “ พี่สอนน้อง ”
หลังจากผ่านการอบรมแล้ว โรงเรียนจะแต่งตั้งคณะกรรมการนักเรียน มีพิธีมอบเข็ม
คณะกรรมการนักเรียนแก่คณะกรรมการนักเรียนชุดใหม่และมอบเกียรติบัตรแก่คณะกรรมการชุด
เดิม เมื่อถึงปีการศึกษาใหม่ คณะกรรมการชุดเดิมหมดวาระ คณะกรรมการชุดใหม่จะเริ่มปฏิบัติ
หน้าที่
10
4) คณะกรรมการนักเรียน และอนุกรรมการนักเรียน ดาเนินงานตามภาระหน้าที่
ภาระงานที่คณะกรรมการนักเรียนและอนุกรรมการนักเรียนปฏิบัติ แบ่งออกเป็น
3 ลักษณะ ได้แก่
4.1 ภาระงานประจาวัน
คณะกรรมการนักเรียนและอนุกรรมการนักเรียนปฏิบัติหน้าที่ ดังนี้
- ดูแลการมาโรงเรียน การแต่งกาย และการปฏิบัติตามระเบียบวินัยของนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 1-6 ทุกเช้า ทุกเย็น โดยกรรมการนักเรียนที่มีหน้าที่ ปฏิบัติหน้าที่ในเวลา 6.45 –
8.20 น. และเวลา 16.00-17.00 น. ณ บริเวณประตูโรงเรียน บันทึกข้อมูลนักเรียนที่ประพฤติผิด
ระเบียบ เช่น มาสาย แต่งกายผิดระเบียบ ไม่ปฏิบัติตามกฎจราจร สรุปข้อมูลส่งกลุ่มกิจการนักเรียน
เดือนละ 1 ครั้ง
- ดาเนินการการเข้าแถวเคารพธงชาติ กรรมการนักเรียนที่รับผิดชอบจัดระเบียบแถว
เชิญธงชาติ และนาสวดมนต์
- ตรวจความสะอาด เรียบร้อยของห้องเรียน อาคารเรียน กรรมการที่รับผิดชอบ
แต่ละอาคารตรวจสอบความสะอาดห้องเรียน การปิดไฟฟ้ า พัดลม และนักเรียนที่ไม่ลงมาเข้าแถว
บันทึกข้อมูลส่งกลุ่มกิจการนักเรียน สรุปข้อมูลส่งงานสิ่งแวดล้อมของโรงเรียน
4.2 ภาระงานในการดาเนินกิจกรรมต่าง ๆ โรงเรียนให้โอกาสและส่งเสริม
คณะกรรมการนักเรียนในการเป็นผู้วางแผนและดาเนินกิจกรรมเอง ได้แก่
4.2.1 การปฐมนิเทศ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 4 รวมทั้งนักเรียนที่เข้าใหม่
ระหว่างชั้น เข้าค่ายปฐมนิเทศ ใช้เวลา 3 วัน โดยพักค้างคืนในโรงเรียน และมีกิจกรรมสร้าง
ความคุ้นเคย กิจกรรมเพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรงเรียนและการเรียน รวมทั้งกิจกรรม
สันทนาการ คณะกรรมการนักเรียนมีบทบาท ดังนี้
- เตรียมเอกสาร รับขวัญลูกฟ้ าขาว เพื่อให้นักเรียนใหม่รู้จักสถานที่ บุคลากร
การจัดการเรียนการสอน การปฏิบัติตนตามระเบียบของโรงเรียน ฯลฯ เพื่อให้สามารถปรับตัวใช้
ชีวิตอยู่ในโรงเรียนอย่างมีความสุข
- จัดสถานที่ในการปฐมนิเทศ เช่น หอประชุมสาหรับประกอบพิธีเปิด
การปฐมนิเทศ ห้องนอนนักเรียน ฐานต่าง ๆ สาหรับจัดกิจกรรม
- เป็นผู้ช่วยครูประจาชั้นในการรับลงทะเบียน จัดกลุ่มนักเรียนใหม่ ดูแลนักเรียน
ใหม่ทุกคนระหว่างการปฐมนิเทศ
- เป็นผู้ช่วยครูในการดาเนินกิจกรรมตามฐานต่าง ๆ เช่น ฐานวิชาการ ฐานสุขภาพ
ดีไม่มีขาย ฐานความรู้คือประทีป(ห้องสมุด) ฐานรู้จักตัวเอง(แนะแนว )และฐานหลักธรรมา
ภิบาล ซึ่งคณะกรรมการนักเรียนเป็นผู้ออกแบบกิจกรรม โดยใช้เพลงและเกมเป็นสื่อ
- ดาเนินงานด้านพิธีการ คณะกรรมการนักเรียนจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ จัดสถานที่
11
ในการประกอบพิธีผูกข้อมือรับขวัญลูกฟ้ าขาว และ พิธีถวายตัวเป็ นลูกสมเด็จพระศรี
สวรินทิรา ทาหน้าที่เป็นพิธีกรดาเนินรายการ และควบคุมดูแลให้การจัดกิจกรรมดาเนินไปด้วย
ความเรียบร้อย
- ดาเนินงาน กิจกรรมสันทนาการ โดยกรรมการนักเรียนมอบหมายให้นักเรียน
ใหม่ ซึ่งได้แบ่งเป็นกลุ่มสี 7 กลุ่มสี คิดการแสดงของกลุ่มสี กลุ่มสีละ 1 ชุด และคณะกรรมการ
นักเรียนก็คิดการแสดง 1ชุด คณะกรรมการนักเรียนเป็นผู้ดาเนินรายการจัดให้มีการแสดงของ
ทุกกลุ่มสี และการแสดงของคณะกรรมการนักเรียน
4.2.2 วันไหว้ครู กรรมการนักเรียนทาหนังสือเชิญผู้อานวยการโรงเรียน และคณะครู
ร่วมประกอบพิธีไหว้ครู จัดสถานที่และประสานงานอนุกรรมการแต่ละห้องในการทาพานไหว้ครู
ในวันไหว้ครู ได้ดาเนินงานด้านพิธีการ เป็นพิธีกร ดูแลความเรียบร้อยของพิธีการ และร่วมเป็น
กรรมการตัดสินพานไหว้ครูกับคณะครูที่เป็นกรรมการ
4.2.3 กิจกรรมการหล่อเทียนพรรษา และแห่เทียนพรรษา ไปถวายวัดต่าง ๆ ได้แก่วัด
เมธัง วัดหมื่นเงินกอง วัดพระสิงห์ วัดพระเจ้าเม็งราย วัดพันแหวน วัดพวกแต้ม และวัดศรีเกิด
นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และนักเรียนคณะสีต่าง ๆ 6 คณะสี ( เหลือง ชมพู เขียว แสด
ม่วง แดง ) จะร่วมพิธีหล่อเทียนพรรษา และแห่เทียนพรรษา ไปยังวัดที่ได้รับมอบหมายโดย
นักเรียนเป็นผู้ปฏิบัติกิจกรรมทุกขั้นตอน คณะกรรมการนักเรียนจะเป็นผู้ประสานงานกับนักเรียน
ที่เป็นประธานคณะสีทุกสี ผู้รับผิดชอบแต่ละคณะสี จะดาเนินการ ดังนี้
- ติดต่อประสานงานวัดใกล้โรงเรียน ศึกษาขั้นตอน พิธีการทางศาสนาเกี่ยวกับ
การถวายเทียนพรรษา
- ตกแต่งเทียนพรรษา ออกแบบขบวนแห่เทียน จัดเตรียมเครื่องไทยทาน
- ดูแล ควบคุม การจัดขบวน และการถวายเทียนพรรษาให้เป็นไปตามแผนที่วางไว้
4.2.4 กิจกรรมการแข่งขันกีฬา และกรีฑาสี คณะกรรมการนักเรียน ปฏิบัติหน้าที่
กรรมการจัดการแข่งขันในส่วนของนักเรียน ทาหน้าที่ประสานงานคณะสีต่าง ๆ เช่นเดียวกับ
การหล่อเทียน และถวายเทียนพรรษา ดังนี้
- เป็นผู้ช่วยครูปฏิบัติหน้าที่ต่าง ๆ เช่น ดาเนินการพิธีเปิด พิธีปิดการแข่งขัน
ประชาสัมพันธ์ระหว่างการแข่งขัน ควบคุมการแข่งขัน และเป็นผู้ช่วยในการตัดสินกีฬา กรีฑา
ประเภทต่าง ๆ
- คณะกรรมการนักเรียนและอนุกรรมการ ประสานงานกับประธานคณะสี ใน
การดาเนินงานทุกอย่างภายในคณะสีของตนเอง ตั้งแต่การวางแผนการแข่งขัน การแสดง ขบวน
พาเหรด การฝึกซ้อม ดาเนินการ และประเมินผลการดาเนินการ
4.2.5 การปัจฉิมนิเทศ คณะกรรมการเป็นผู้ช่วยครู ดูแลความเรียบร้อยของพิธีการ
12
4.2.6 กิจกรรมสร้างสรรค์สังคม อาทิ งานไหว้สาป๋ าระมี แห่พระเจ้าฝนแสนห่า พิธีบูชา
เสาอินทขิล การทาบุญเมืองเชียงใหม่ คณะกรรมการนักเรียนจะดาเนินการตามที่ได้รับ
มอบหมาย ตามความเหมาะสม เช่น ออกแบบขบวนแห่ ( ถ้ามี ) ควบคุม ดูแล อานวย
ความสะดวกแก่นักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมนั้น ๆ
4.3 ดาเนินการในการประสานงานกิจกรรมชุมนุม
โรงเรียนจัดคาบกิจกรรมชุมนุมทุกวันอังคาร เวลา 14.00 น. - 15.00 น. โดย
คณะกรรมการนักเรียนเป็นผู้ประสานงานการดาเนินการต่าง ๆ ของกิจกรรมชุมนุม โดยปฏิบัติตาม
ขั้นตอนดังนี้
4.3.1 นักเรียนที่มีความสนใจในกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งด้านวิชาการ กีฬา ศิลปะ
วัฒนธรรม ฯลฯ แจ้งความจานงในการตั้งชุมนุมต่อครูหัวหน้ากิจกรรม โดยคณะกรรมการนักเรียน
เป็นผู้รับสมัคร
4.3.2 คณะกรรมการนักเรียนรวบรวมรายชื่อชุมนุมต่าง ๆ ส่งครูหัวหน้ากิจกรรม
4.3.3 คณะกรรมการนักเรียนหรือนักเรียนผู้ขอจัดตั้งชุมนุมดาเนินการเพื่อขอครู
หรือบุคลากรเป็นที่ปรึกษาชุมนุม
4.3.4 แจ้งรายชื่อกิจกรรมให้นักเรียนทราบ ผ่านทางคณะกรรมการนักเรียนและ
อนุกรรมการนักเรียน
4.3.5 นักเรียนทุกระดับชั้นเลือกชุมนุมตามความสนใจ ความถนัด โดย
คณะกรรมการนักเรียนเป็นผู้รับลงทะเบียน ซึ่งในปีการศึกษา 2548 และ 2549 มีกิจกรรมชุมนุม
ทั้งสิ้น 82 ชุมนุม (รายละเอียดดังภาคผนวก)
5) ประเมินผลการทางาน
5.1 ภาระงานประจาวัน ประเมินผลโดยการสังเกต ครูหัวหน้ากิจกรรมนักเรียนและครู
เวรสังเกตการณ์ปฏิบัติงานของคณะกรรมการนักเรียน และประชุมสรุปผลการประเมินทุกวัน
อังคาร
5.2 ภาระงานในการดาเนินกิจกรรมต่าง ๆ ได้แก่ การปฐมนิเทศนักเรียนใหม่ พิธีไหว้
ครู กิจกรรมหล่อเทียน และแห่เทียนพรรษา การแข่งขันกีฬาและกรีฑาสี การปัจฉิมนิเทศ
ประเมินผลโดยใช้แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้อง เช่น นักเรียน ผู้ปกครอง หรือ ครู ที่
ปฏิบัติกิจกรรมนั้น ๆ ส่วนกิจกรรมสร้างสรรค์สังคม ประเมินผลจากสภาพจริงทีเกิดขึ้น
5.3 หัวหน้ากิจกรรมนักเรียน คณะกรรมการระบบกิจกรรม และคณะกรรมการนักเรียน
ประชุมสรุปผลการดาเนินงาน เมื่อสิ้นภาคเรียน/สิ้นปีการศึกษา เพื่อนาผลการประเมินไปปรับปรุง
แก้ไข การดาเนินกิจกรรมในภาคเรียน / ปีการศึกษาต่อไป
13
3.2 พี่สอนน้อง เป็นนวัตกรรมที่ ส่งเสริมให้นักเรียนรุ่นพี่ที่มีความรู้ความสามารถในด้าน
ต่างๆ ได้ถ่ายทอดความรู้ ทักษะในการทางาน ให้แก่เพื่อน และรุ่นน้อง โดยเป็นผู้ช่วยครูในการสอน
และฝึกนักเรียนรุ่นน้อง เป็นการสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างเพื่อน รุ่นพี่-รุ่นน้อง ทาให้เกิดการยอมรับ
ในความสามารถ มีความเอื้อเฟื้อซึ่งกันและกัน ฝึกความรับผิดชอบ และความสามัคคีในหมู่คณะ
ซึ่งมีขั้นตอนของการดาเนินงาน ดัง Flow Chart ต่อไปนี้
พี่สอนน้อง
วางแผนปฏิบัติงาน
ดาเนินการตามแผน
ประเมินผลการปฏิบัติงาน
ผ่านเกณฑ์
หรือไม่
ปรับปรุง แก้ไข
สรุปรายงานผลการ
ปฏิบัติงาน
ไม่
ผ่าน
14
1) วางแผนปฏิบัติงาน
1.1 กิจกรรมชุมนุมต่าง ๆ ประชุมสมาชิกชุมนุม เลือกคณะกรรมการดาเนินงานและ
วางแผน การปฎิบัติงานร่วมกัน คณะกรรมการนักเรียนร่วมกับคณะครูงานกิจกรรมนักเรียน
กาหนดปฏิทินหลัก ระบุวันที่ดาเนินกิจกรรม การนัดหมายส่งงาน เช่น กาหนดส่งโครงการ รายชื่อ
สมาชิก แผนปฏิบัติกิจกรรมนักเรียน การประเมินผล ส่วนสมาชิกชุมนุมจะวางแผนและกาหนด
กิจกรรมที่จะทาในภาคเรียนนั้น ๆ
1.2 สาหรับกิจกรรมที่ส่งเสริมด้านศิลปะ ดนตรี กีฬา นาฎศิลป์ และชุมนุมที่มีกิจกรรมที่
กระทาอย่างต่อเนื่อง ครูที่ปรึกษากิจกรรมชุมนุม และนักเรียนรุ่นพี่ซึ่งอยู่ในกิจกรรมชุมนุมนี้มาในปี
ก่อน ๆ มีความรู้ ความสามารถ และเชียวชาญจะเป็นผู้นาในชุมนุม เป็นผู้ช่วยครูในการให้ความรู้
และฝึกทักษะแก่รุ่นน้องที่เป็นสมาชิกในชุมนุม อย่างต่อเนื่อง สม่าเสมอ โดยมีการดาเนินกิจกรรม
ทั้งในเวลา และนอกเวลาเรียน เช่น ชุมนุม ดนตรีไทย ดนตรีพื้นเมือง โยธวาทิต นาฎศิลป์ อย.น้อย
สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน เป็นต้น
2) การดาเนินการ
2.1 ประธานชุมนุมและสมาชิกดาเนินงานตามแผนที่กาหนด
2.2 เลขานุการชุมนุมบันทึกกิจกรรมที่ได้ปฏิบัติ
2.3 สมาชิกชุมนุมนาเสนอผลงาน ประเมินผลและสรุปผลการเรียนรู้กิจกรรม
3) ประเมินผลการปฏิบัติงาน
ครูที่ปรึกษาชุมนุม ประเมินผลการปฏิบัติงาน เมื่อสิ้นภาคเรียน/สิ้นปีการศึกษา ถ้าไม่ผ่าน
เกณฑ์ จะมีการซ่อมเสริม และประเมินผลซ้า และสรุปรายงานผลการจัดกิจกรรมให้โรงเรียนทราบ
ต่อไป
4. ผลการดาเนินงาน
4.1 จากการดาเนินงานตามขั้นตอนต่าง ๆ ของ “หลากหลายความคิด พิชิตกิจกรรม” ซึ่ง
ประกอบด้วยนวัตกรรม “กล้าคิด กล้าทา” และ “พี่สอนน้อง” ก่อให้เกิดผลอันน่าพึงพอใจต่อ
นักเรียน ผู้ปกครอง ครู และชุมชน ดังนี้
4.1.1 ผลที่เกิดต่อนักเรียน ตามนวัตกรรม กล้าคิด กล้าทา ทาให้นักเรียนมีความ
เป็นผู้นา ผู้ตามที่ดี มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ และสังคม มีความเป็นประชาธิปไตย นักเรียนได้รับ
การประกาศเกียรติคุณ ดังนี้
- นักเรียนได้รับคัดเลือกเป็นนักเรียนรางวัลพระราชทาน ประเภทนักเรียนมัธยมศึกษา
ตอนต้น ประจาปี 2547
- นักเรียนได้รับเกียรติบัตรและเข็มเครื่องหมาย “ นักเรียนที่มีความประพฤติดี” จาก
ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ประจาปี 2548
15
- นักเรียนได้รับคัดเลือกเป็นเยาวชนดีเด่น จังหวัดเชียงใหม่ เนื่องในวันเยาวชนแห่งชาติ
ประจาปี 2548
- นักเรียนได้รับพระราชทานเกียรติบัตรจากสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามบรมราช
กุมาร วันที่ 20 กันยายน 2549 รางวัลเยาวชนดีเด่นแห่งชาติ สาขาศิลปวัฒนธรรม ของสานักงาน
ส่งเสริมสวัสดิการและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการ และผู้สูงอายุ (สท) กระทรวง
การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
- นักเรียนได้รับพระราชทานเกียรติบัตรจากสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามบรมราช
กุมาร วันที่ 20 กันยายน 2549 รางวัลเยาวชนดีเด่นแห่งชาติ สาขาสื่อมวลชนเพื่อเด็กและเยาวชนที่
ป้ องกันปัญหาสังคม ของสานักงานส่งเสริมสวัสดิการและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คน
พิการ และผู้สูงอายุ (สท) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
- ประธานนักเรียน ได้รับรางวัลเยาวชนดีเด่นของจังหวัดเชียงใหม่ ประจาปี 2549 รับ
เกียรติบัตรจากปลัดจังหวัดเชียงใหม่ วันที่ 24 กันยายน 2549
- นักเรียนได้รับคัดเลือกเป็นเยาวชนดีเด่น ของสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต
1 เข้าเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรี วันที่ 30 มกราคม 2550
- ประธานนักเรียน ได้รับคัดเลือกให้เข้าประชุมตามโครงการสภานักเรียนไทย หัวใจ
สมานฉันท์ ยึดมั่นธรรมาภิบาล เข้าพบนายกรัฐมนตรี ณ ทาเนียบรัฐบาล และเข้าพบประธาน ค.ม.ช.
พลเอกสนธิ บุญรัตกลิน วันที่ 17 มกราคม 2550
ผลที่เกิดต่อนักเรียน ตามนวัตกรรม พี่สอนน้อง ทาให้เกิดความสามัคคี มีความเอื้ออาทร
ซึ่งกันและกัน น้องให้ความเคารพพี่ มีการพัฒนาความสามารถของรุ่นน้อง ๆ ให้มากยิ่งขึ้น การ
ดาเนินกิจกรรมมีความยั่งยืน ต่อเนื่องรุ่นต่อรุ่น ทาให้ประสบความสาเร็จ ได้รับการประกาศเกียรติ
คุณด้านต่าง ๆ เช่น
- นักเรียนที่เป็นนักกีฬาลีลาศ ได้รับรางวัลชนะเลิศ แชมป์ ลีลาศประเภท Standard Junior
11 Class A (Open) ระดับประเทศถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราช
กุมารี ประจาปี 2548
- นักเรียนได้รับเลือกเป็นตัวแทนสมาชิกยุวกาชาด ได้ร่วมกิจกรรมในต่างประเทศ ประจาปี
2548
- นักเรียนชนะเลิศการจ๊อยค่าว รับเกียรติบัตรและเงินรางวัล 5,000 บาท จากมหาวิทยาลัย
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ ปีการศึกษา 2548
- นักกีฬาวอลเล่ย์บอลของโรงเรียนชนะเลิศการแข่งขันกีฬานักเรียนส่วนภูมิภาค จังหวัด
เชียงใหม่ รุ่น 14 ปีหญิง , รุ่น 16 ปีหญิง , รุ่น 18 ปีหญิง และรุ่น 18 ปีชาย ปีการศึกษา 2548-2549
- วงดนตรีลูกทุ่งวัฒโนทัย รับประทานรางวัลจากทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญาสิริ
โสภาพรรณวดี วันที่ 7 กันยายน 2549 ณ หอประชุมกรมประชาสัมพันธ์
16
- นักเรียนได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมกิจกรรมกาชาด-ยุวกาชาด ณ ประเทศออสเตรีย
ระหว่างวันที่ 7-24 กรกฎาคม 2549
- นักเรียน อย.น้อย โรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ รับรางวัลรองชนะเลิศระดับประเทศ รับโล่
และเงินรางวัล 22,000 บาท จากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข วันที่ 7 กันยายน 2549 และใน
ปีการศึกษา 2550 ได้รับรางวัลชนะเลิศระดับประเทศ
- วงดนตรีลูกทุ่งของโรงเรียน ชนะเลิศการประกวด Power Band Awards ภาคเหนือ ชิง
ถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จัดโดยศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดิน เชิง
คุณธรรม ร่วมกับสมาคมดนตรีแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ วันที่ 18 พฤศจิกายน 2549
- ชนะเลิศการแข่งขันดนตรี “รักษ์สิ่งแวดล้อม ตามรอยพ่อ กินอยู่อย่างพอเพียง” วันที่
4-6 ธันวาคม 2549
4.1.2 ผลที่เกิดกับผู้ปกครอง ผู้ปกครองมีความภาคภูมิใจในความสามารถ และ
ความสาเร็จของลูก ผู้ปกครองให้การส่งเสริมสนับสนุนนักเรียนในการทากิจกรรมต่าง ๆ เป็นอย่างดี
4.1.3 ผลที่เกิดกับครู ครูมีความภาคภูมิใจในความสาเร็จของนักเรียนที่สร้าง
ชื่อเสียงให้แก่โรงเรียนอย่างต่อเนื่อง
4.1.4 ผลที่เกิดกับโรงเรียน โรงเรียนได้รับการยอมรับ และยกย่องชมเชยจาก
ผู้ปกครอง ชุมชน สังคม ทาให้ได้รับความร่วมมือจากผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายเป็นอย่างดียิ่ง
4.1.5 ผลที่เกิดกับชุมชน การที่นักเรียนได้มีส่วนร่วมกิจกรรมต่าง ๆ กับชุมชน
และชุมชนมีส่วนร่วมในการเป็นวิทยากรและจัดกิจกรรมแก่นาเรียนทาให้ชุมชนเห็นคุณค่าใน
ตนเอง และสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชน สามารถรักษาศิลปะ วัฒนธรรมของชุมชนได้อย่างยั่งยืน
4.2 ผลการประเมินทบทวนปี 2548 และ 2549 ตามตัวชี้วัดสาคัญด้านผลลัพธ์ของระบบ
กิจกรรม มีดังนี้
ที่ ตัวชี้วัดสาคัญ ผลการประเมินทบทวน
2548 2549
1 ร้อยละของนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์การประเมิน
การร่วมกิจกรรมตามความถนัดความสนใจ
100 100
2 ร้อยละของชุมนุมที่ประสบความสาเร็จ
ได้รับการยกย่องชมเชย
100 100
จากตารางพบว่านักเรียนทุกคนผ่านเกณฑ์การประเมินการร่วมกิจกรรมตามความถนัดและ
ความสนใจ และชุมนุมทุกชุมนุมประสบความสาเร็จในการทากิจกรรมและได้รับการยกย่องชมเชย
17
4.3 จากการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนในการประเมินตนเองของโรงเรียน
(SAR) ตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2549 พบว่า นักเรียนมีคุณสมบัติ
สอดคล้องกับมาตรฐานต่าง ๆ ดังนี้
มาตรฐานที่ 2 ผู้เรียนมีจิตสานึกในการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม ร้อยละ 91.00
มาตรฐานที่ 3 ผู้เรียนมีทักษะในการทางาน รักการทางาน สามารถทางานร่วมกับผู้อื่นได้
และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต ร้อยละ 94.00
มาตรฐานที่ 8 ผู้เรียนมีสุนทรียภาพและลักษณะนิสัย ด้านศิลปะ ร้อยละ 91.00 ด้านดนตรี
ร้อยละ 90.00 และด้านกีฬา ร้อยละ 93.00
นอกจากนี้นักเรียนยังมีคุณลักษณะด้านการเป็นผู้นา ผู้ตาม และเป็นประชาธิปไตย
ร้อยละ 97.00
5. ปัจจัยความสาเร็จ
5.1 การเปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงความสามารถ ในการดาเนินงานกิจกรรมนักเรียน
ทุกกิจกรรม โรงเรียนเปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงความสามารถตามศักยภาพ แสดงความเป็น
ผู้นาในทุกโอกาสตามความถนัด ความสนใจของนักเรียน โดยให้นักเรียนเป็นผู้วางแผนการ
ดาเนินงาน เป็นผู้ดาเนินการจัดกิจกรรม โดยเน้นการทางานเป็นทีม ยึดหลักประชาธิปไตยในการ
ทางาน ฝึกให้นักเรียนรู้จักทางานอย่างเป็นระบบ และเกิดประสิทธิภาพตามเป้ าหมาย ทาให้นักเรียน
มีการพัฒนาด้านความรู้ ความสามารถ และมีประสบการณ์ในการทางาน ส่งผลให้นักเรียนมีความ
เชื่อมั่น มีความภาคภูมิใจในตนเอง มีความเสียสละเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม สามารถทางานเป็น
ทีมและมีความเป็นประชาธิปไตย
5.2 การสนับสนุนจากครูและผู้บริหาร ครูให้คาปรึกษา ดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างเข้าใจ
ผู้บริหารสนับสนุนและมีส่วนร่วมในทุกกิจกรรมที่นักเรียนดาเนินการ
5.3 การสนับสนุนและการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง ผู้ปกครองมีส่วนร่วม และส่งเสริม
นักเรียนในการทากิจกรรมต่าง ๆ เป็นอย่างดี เป็นผู้สนับสนุนทั้งด้านค่าใช้จ่าย วัสดุอุปกรณ์ในการ
ทากิจกรรม และเป็นวิทยากรให้ความรู้
5.4 การบูรณาการกับระบบเรียนรู้และระบบดูแลนักเรียน นักเรียนสามารถนาความรู้ที่ได้
จากการเรียนรู้ในสาระวิชาต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรม และแก้ปัญหาในชีวิตประจาวัน
ได้ และการจัดกิจกรรมที่ใช้ระบบพี่สอนน้อง ทาให้รุ่นพี่ รุ่นน้อง ได้ดูแลช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
เกิดความสามัคคี ความเอื้ออาทร ช่วยให้การดาเนินกิจกรรมต่าง ๆ บรรลุผลสาเร็จ
18
6. บทเรียนที่ได้รับ
6.1 นักเรียนทุกคนมีศักยภาพที่สามารถพัฒนาได้ ถ้าสถานศึกษาออกแบบการจัดกิจกรรม
ที่เอื้อให้นักเรียนแสดงศักยภาพของตนเองในการปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ อย่างเต็มที่ ย่อมทาให้
นักเรียนได้มีโอกาสพัฒนาตนเองเต็มตามศักยภาพที่มีอยู่ ดังนั้น โรงเรียนควรเปิดโอกาสและ
ส่งเสริมให้นักเรียนได้แสดงออกซึ่งความสามารถด้านต่าง ๆ
6.2 ความสาเร็จในการใช้นวัตกรรม หลากหลายความคิด พิชิตกิจกรรม เกิดจากความ
ร่วมมือของทุกฝ่าย คือ ผู้บริหาร ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน
6.3 การที่นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ นอกเหนือจากกิจกรรมการเรียนการสอน เป็นการ
สร้างทักษะในการดาเนินชีวิตของนักเรียนในด้านการเป็นผู้นาผู้ตามที่ดี และมีความเป็น
ประชาธิปไตย การมีปฏิสัมพันธ์และการร่วมทากิจกรรมระหว่างเพื่อน พี่-น้อง ทาให้เกิดการยอมรับ
ในความสามารถ มีการเอื้อเฟื้อต่อกัน มีความรับผิดชอบ ความสามัคคี ซึ่งสามารถนาไปใช้ใน
ชีวิตประจาวันได้
6.4 การจัดกิจกรรมต่าง ๆ ของนักเรียน ได้น้อมนาปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ใน
การดาเนินงาน ส่งผลให้นักเรียนเข้าใจถึงหลักความพอดี พอประมาณ มีเหตุผล และ มีภูมิคุ้มกันที่ดี
ในตัว
ข้อพึงระวัง
- ครูและผู้บริหารต้องเปิดใจกว้างในการรับฟังความคิดเห็นของนักเรียน และต้องไม่
ปิดกั้นในการแสดงความสามารถของนักเรียน เพื่อให้นักเรียนได้แสดงออกถึงความเป็นผู้นา ผู้ตาม
และได้แสดงศักยภาพอย่างเต็มที่
- ในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ผู้รับผิดชอบต้องคานึงถึงการบริหารจัดการเรื่องเวลาให้
เหมาะสม
.................................................
19
ตารางแสดงประเภทและจานวนชุมนุม ปีการศึกษา 2548 และ 2549
ประเภทชุมนุม จานวนชุมนุม ประเภทชุมนุม จานวนชุมนุม
2548 2549 2548 2549
1. ภาษาอังกฤษ 10 9 18.แนะแนว 1 1
2. ภาษาไทย 5 5 19.สวนพฤกษศาสตร์ 1 1
3. ภาษาฝรั่งเศส 2 2 20.จุดศึกษาในอุทยานการ
เรียนรู้
11 11
4. ภาษาจีน 1 1 21.งานบ้านและคหกรรม 5 5
5. ภาษาญี่ปุ่น 1 1 22.คุ้มครองผู้บริโภค สุขภาพ
และ อย.น้อย
2 2
6. ภาษาเยอรมัน 2 2 23.กีฬา 11 11
7. คณิตศาสตร์ 2 2 24.สิ่งแวดล้อม 1 1
8. วิทยาศาสตร์ 1 1 25.ศิลปะ 1 1
9. การจัดทาแฟ้มสะสมงาน 1 1 26.นาฎศิลป์ 1 1
10.คอมพิวเตอร์ 2 2 27.ดนตรีไทย 1 1
11.ประชาสัมพันธ์ 1 1 28.ดนตรีสากล 1 1
12.วัฒนธรรม 2 2 29.โยธวาทิต 1 1
13.ภูมิปัญญาท้องถิ่น 1 1 30.ธนาคารโรงเรียน 1 1
14.โสตทัศนศึกษา 1 1 31.พระพุทธศาสนาและ
สมาธิ
1 1
15.พัสดุ 1 1 32.คณะกรรมการนักเรียน 1 1
16.มัคคุเทศก์ 2 2 33.หนังสืออนุสรณ์ 1 1
17.ส่งเสริมการอ่าน 2 2 34.B-Boy 0 1
35.รักษาดินแดน 1 1
36.ยุวกาชาด 2 2
37.เกม 1 1
ที่มา : http://goo.gl/NJCte6
20

More Related Content

What's hot

Best practices
Best practicesBest practices
Best practicesthkitiya
 
Best01 ไม้เด็ดครู
Best01 ไม้เด็ดครูBest01 ไม้เด็ดครู
Best01 ไม้เด็ดครูPrasong Somarat
 
Utq 101หลักสูตรและวัดผล
Utq 101หลักสูตรและวัดผลUtq 101หลักสูตรและวัดผล
Utq 101หลักสูตรและวัดผลkrusoon1103
 
โครงการนิเทศภายในโรงเรียน
โครงการนิเทศภายในโรงเรียนโครงการนิเทศภายในโรงเรียน
โครงการนิเทศภายในโรงเรียนMontira Butyothee
 
บทความวิจัยดุษฎีบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา ภาคภาษาไทย ผอ.เชิดศักดิ์ ศุภโสภณ
บทความวิจัยดุษฎีบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา ภาคภาษาไทย ผอ.เชิดศักดิ์  ศุภโสภณบทความวิจัยดุษฎีบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา ภาคภาษาไทย ผอ.เชิดศักดิ์  ศุภโสภณ
บทความวิจัยดุษฎีบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา ภาคภาษาไทย ผอ.เชิดศักดิ์ ศุภโสภณKobwit Piriyawat
 
แผนการพัฒนาตนเอง นายกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์ ปีการศึกษา 2553
แผนการพัฒนาตนเอง นายกอบวิทย์  พิริยะวัฒน์ ปีการศึกษา 2553แผนการพัฒนาตนเอง นายกอบวิทย์  พิริยะวัฒน์ ปีการศึกษา 2553
แผนการพัฒนาตนเอง นายกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์ ปีการศึกษา 2553Kobwit Piriyawat
 
Best practice บทเรียนการ์ตูนและเกมส์ช่วยสอน โรงเรียนบ้านซับสนุ่น
Best practice   บทเรียนการ์ตูนและเกมส์ช่วยสอน โรงเรียนบ้านซับสนุ่นBest practice   บทเรียนการ์ตูนและเกมส์ช่วยสอน โรงเรียนบ้านซับสนุ่น
Best practice บทเรียนการ์ตูนและเกมส์ช่วยสอน โรงเรียนบ้านซับสนุ่นatunya2530
 
แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน รร.มัธยมจารพัตวิทยา
แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน รร.มัธยมจารพัตวิทยาแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน รร.มัธยมจารพัตวิทยา
แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน รร.มัธยมจารพัตวิทยาWorrachet Boonyong
 
การศึกษาทางไกล
การศึกษาทางไกลการศึกษาทางไกล
การศึกษาทางไกลdtschool
 
จุดเน้นที่ 5 ภาค1 ปี55
จุดเน้นที่ 5 ภาค1 ปี55จุดเน้นที่ 5 ภาค1 ปี55
จุดเน้นที่ 5 ภาค1 ปี55tassanee chaicharoen
 
การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานtanongsak
 
การบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
การบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
การบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานrbsupervision
 
Best1 ไม้เด็ดของครู
Best1 ไม้เด็ดของครูBest1 ไม้เด็ดของครู
Best1 ไม้เด็ดของครูPrasong Somarat
 

What's hot (20)

Best practices
Best practicesBest practices
Best practices
 
เอกสารเสนอ Best practice ครูเต้
เอกสารเสนอ Best practice ครูเต้เอกสารเสนอ Best practice ครูเต้
เอกสารเสนอ Best practice ครูเต้
 
Best01 ไม้เด็ดครู
Best01 ไม้เด็ดครูBest01 ไม้เด็ดครู
Best01 ไม้เด็ดครู
 
Best practices
Best practicesBest practices
Best practices
 
Plan 4
Plan 4Plan 4
Plan 4
 
Utq 101หลักสูตรและวัดผล
Utq 101หลักสูตรและวัดผลUtq 101หลักสูตรและวัดผล
Utq 101หลักสูตรและวัดผล
 
โครงการนิเทศภายในโรงเรียน
โครงการนิเทศภายในโรงเรียนโครงการนิเทศภายในโรงเรียน
โครงการนิเทศภายในโรงเรียน
 
บทความวิจัยดุษฎีบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา ภาคภาษาไทย ผอ.เชิดศักดิ์ ศุภโสภณ
บทความวิจัยดุษฎีบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา ภาคภาษาไทย ผอ.เชิดศักดิ์  ศุภโสภณบทความวิจัยดุษฎีบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา ภาคภาษาไทย ผอ.เชิดศักดิ์  ศุภโสภณ
บทความวิจัยดุษฎีบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา ภาคภาษาไทย ผอ.เชิดศักดิ์ ศุภโสภณ
 
Uprightschool
UprightschoolUprightschool
Uprightschool
 
นโยบาย สพฐ.ปีงบประมาณ 2558 มี 11 ประการ
นโยบาย สพฐ.ปีงบประมาณ 2558 มี 11 ประการนโยบาย สพฐ.ปีงบประมาณ 2558 มี 11 ประการ
นโยบาย สพฐ.ปีงบประมาณ 2558 มี 11 ประการ
 
แผนการพัฒนาตนเอง นายกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์ ปีการศึกษา 2553
แผนการพัฒนาตนเอง นายกอบวิทย์  พิริยะวัฒน์ ปีการศึกษา 2553แผนการพัฒนาตนเอง นายกอบวิทย์  พิริยะวัฒน์ ปีการศึกษา 2553
แผนการพัฒนาตนเอง นายกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์ ปีการศึกษา 2553
 
Best practice บทเรียนการ์ตูนและเกมส์ช่วยสอน โรงเรียนบ้านซับสนุ่น
Best practice   บทเรียนการ์ตูนและเกมส์ช่วยสอน โรงเรียนบ้านซับสนุ่นBest practice   บทเรียนการ์ตูนและเกมส์ช่วยสอน โรงเรียนบ้านซับสนุ่น
Best practice บทเรียนการ์ตูนและเกมส์ช่วยสอน โรงเรียนบ้านซับสนุ่น
 
แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน รร.มัธยมจารพัตวิทยา
แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน รร.มัธยมจารพัตวิทยาแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน รร.มัธยมจารพัตวิทยา
แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน รร.มัธยมจารพัตวิทยา
 
วิจัย
วิจัยวิจัย
วิจัย
 
Ea5103
Ea5103Ea5103
Ea5103
 
การศึกษาทางไกล
การศึกษาทางไกลการศึกษาทางไกล
การศึกษาทางไกล
 
จุดเน้นที่ 5 ภาค1 ปี55
จุดเน้นที่ 5 ภาค1 ปี55จุดเน้นที่ 5 ภาค1 ปี55
จุดเน้นที่ 5 ภาค1 ปี55
 
การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
 
การบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
การบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
การบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
 
Best1 ไม้เด็ดของครู
Best1 ไม้เด็ดของครูBest1 ไม้เด็ดของครู
Best1 ไม้เด็ดของครู
 

Similar to Best ไม้เด็ดครู เรื่องที่ 1

รูปแบบนำเสนอโครงงาน
รูปแบบนำเสนอโครงงานรูปแบบนำเสนอโครงงาน
รูปแบบนำเสนอโครงงานKiattipong Sriwichai
 
รูปแบบขอเสนอโครงงาน
รูปแบบขอเสนอโครงงานรูปแบบขอเสนอโครงงาน
รูปแบบขอเสนอโครงงานKiattipong Sriwichai
 
ค่ายต้นกล้า ครูพันธุ์ดี ครั้งที่ 5
ค่ายต้นกล้า ครูพันธุ์ดี ครั้งที่ 5ค่ายต้นกล้า ครูพันธุ์ดี ครั้งที่ 5
ค่ายต้นกล้า ครูพันธุ์ดี ครั้งที่ 5mahaoath พระมหาโอ๊ท
 
คู่มือครูและบุคลากร
คู่มือครูและบุคลากรคู่มือครูและบุคลากร
คู่มือครูและบุคลากรMontree Jareeyanuwat
 
คู่มือครูและบุคลากร
คู่มือครูและบุคลากรคู่มือครูและบุคลากร
คู่มือครูและบุคลากรMontree Jareeyanuwat
 
คู่มือครูและบุคลากร
คู่มือครูและบุคลากรคู่มือครูและบุคลากร
คู่มือครูและบุคลากรMontree Jareeyanuwat
 
สาระความรู้จากการให้บริการวิชาการ 56
สาระความรู้จากการให้บริการวิชาการ 56สาระความรู้จากการให้บริการวิชาการ 56
สาระความรู้จากการให้บริการวิชาการ 56Ttmed Psu
 
นำเสนองานโรงเรียนสุจริต โรงเรียนถนนหักพิทยาคม The trash
นำเสนองานโรงเรียนสุจริต โรงเรียนถนนหักพิทยาคม The trashนำเสนองานโรงเรียนสุจริต โรงเรียนถนนหักพิทยาคม The trash
นำเสนองานโรงเรียนสุจริต โรงเรียนถนนหักพิทยาคม The trashกมลรัตน์ ฉิมพาลี
 
แนะนำมัธยมเพลินพัฒนา 9 nov 12
แนะนำมัธยมเพลินพัฒนา 9 nov 12แนะนำมัธยมเพลินพัฒนา 9 nov 12
แนะนำมัธยมเพลินพัฒนา 9 nov 12Orange Wongwaiwit
 
สรุปผลงานโรงเรียนบ้านดู่ (สหราษฎร์วิทยา) ปีการศึกษา 2554
สรุปผลงานโรงเรียนบ้านดู่ (สหราษฎร์วิทยา) ปีการศึกษา 2554สรุปผลงานโรงเรียนบ้านดู่ (สหราษฎร์วิทยา) ปีการศึกษา 2554
สรุปผลงานโรงเรียนบ้านดู่ (สหราษฎร์วิทยา) ปีการศึกษา 2554Thanawut Rattanadon
 
โครงการเก็บขยะในโรงเรียนสู่จิตสำนึกต่อชุมชน
โครงการเก็บขยะในโรงเรียนสู่จิตสำนึกต่อชุมชนโครงการเก็บขยะในโรงเรียนสู่จิตสำนึกต่อชุมชน
โครงการเก็บขยะในโรงเรียนสู่จิตสำนึกต่อชุมชนNatthawut Sutthi
 
เสริมสร้างคุณธรรม
เสริมสร้างคุณธรรมเสริมสร้างคุณธรรม
เสริมสร้างคุณธรรมchanhom357
 
2554 ค่ายคืนปัญญาสู่มาตุภูมิ ชมรมอีสาน พระนครเหนือ
2554 ค่ายคืนปัญญาสู่มาตุภูมิ ชมรมอีสาน พระนครเหนือ2554 ค่ายคืนปัญญาสู่มาตุภูมิ ชมรมอีสาน พระนครเหนือ
2554 ค่ายคืนปัญญาสู่มาตุภูมิ ชมรมอีสาน พระนครเหนือmahaoath พระมหาโอ๊ท
 
สุนทรียภาพแห่งการเรียนรู้ จากครูสู่นักเรียน-
สุนทรียภาพแห่งการเรียนรู้ จากครูสู่นักเรียน-สุนทรียภาพแห่งการเรียนรู้ จากครูสู่นักเรียน-
สุนทรียภาพแห่งการเรียนรู้ จากครูสู่นักเรียน-Dental Faculty,Phayao University.
 

Similar to Best ไม้เด็ดครู เรื่องที่ 1 (20)

รูปแบบนำเสนอโครงงาน
รูปแบบนำเสนอโครงงานรูปแบบนำเสนอโครงงาน
รูปแบบนำเสนอโครงงาน
 
รูปแบบขอเสนอโครงงาน
รูปแบบขอเสนอโครงงานรูปแบบขอเสนอโครงงาน
รูปแบบขอเสนอโครงงาน
 
บทบาทบริหารกิจการนักเรียน
บทบาทบริหารกิจการนักเรียนบทบาทบริหารกิจการนักเรียน
บทบาทบริหารกิจการนักเรียน
 
ค่ายต้นกล้า ครูพันธุ์ดี ครั้งที่ 5
ค่ายต้นกล้า ครูพันธุ์ดี ครั้งที่ 5ค่ายต้นกล้า ครูพันธุ์ดี ครั้งที่ 5
ค่ายต้นกล้า ครูพันธุ์ดี ครั้งที่ 5
 
ส่วนที่ 1
ส่วนที่ 1ส่วนที่ 1
ส่วนที่ 1
 
คู่มือครูและบุคลากร
คู่มือครูและบุคลากรคู่มือครูและบุคลากร
คู่มือครูและบุคลากร
 
คู่มือครูและบุคลากร
คู่มือครูและบุคลากรคู่มือครูและบุคลากร
คู่มือครูและบุคลากร
 
คู่มือครูและบุคลากร
คู่มือครูและบุคลากรคู่มือครูและบุคลากร
คู่มือครูและบุคลากร
 
สาระความรู้จากการให้บริการวิชาการ 56
สาระความรู้จากการให้บริการวิชาการ 56สาระความรู้จากการให้บริการวิชาการ 56
สาระความรู้จากการให้บริการวิชาการ 56
 
นำเสนองานโรงเรียนสุจริต โรงเรียนถนนหักพิทยาคม The trash
นำเสนองานโรงเรียนสุจริต โรงเรียนถนนหักพิทยาคม The trashนำเสนองานโรงเรียนสุจริต โรงเรียนถนนหักพิทยาคม The trash
นำเสนองานโรงเรียนสุจริต โรงเรียนถนนหักพิทยาคม The trash
 
Learning by project
Learning by projectLearning by project
Learning by project
 
แนะนำมัธยมเพลินพัฒนา 9 nov 12
แนะนำมัธยมเพลินพัฒนา 9 nov 12แนะนำมัธยมเพลินพัฒนา 9 nov 12
แนะนำมัธยมเพลินพัฒนา 9 nov 12
 
สรุปผลงานโรงเรียนบ้านดู่ (สหราษฎร์วิทยา) ปีการศึกษา 2554
สรุปผลงานโรงเรียนบ้านดู่ (สหราษฎร์วิทยา) ปีการศึกษา 2554สรุปผลงานโรงเรียนบ้านดู่ (สหราษฎร์วิทยา) ปีการศึกษา 2554
สรุปผลงานโรงเรียนบ้านดู่ (สหราษฎร์วิทยา) ปีการศึกษา 2554
 
996 File
996 File996 File
996 File
 
โครงการเก็บขยะในโรงเรียนสู่จิตสำนึกต่อชุมชน
โครงการเก็บขยะในโรงเรียนสู่จิตสำนึกต่อชุมชนโครงการเก็บขยะในโรงเรียนสู่จิตสำนึกต่อชุมชน
โครงการเก็บขยะในโรงเรียนสู่จิตสำนึกต่อชุมชน
 
แบบนำเสนอผลงานวิชาการ
แบบนำเสนอผลงานวิชาการแบบนำเสนอผลงานวิชาการ
แบบนำเสนอผลงานวิชาการ
 
เสริมสร้างคุณธรรม
เสริมสร้างคุณธรรมเสริมสร้างคุณธรรม
เสริมสร้างคุณธรรม
 
2554 ค่ายคืนปัญญาสู่มาตุภูมิ ชมรมอีสาน พระนครเหนือ
2554 ค่ายคืนปัญญาสู่มาตุภูมิ ชมรมอีสาน พระนครเหนือ2554 ค่ายคืนปัญญาสู่มาตุภูมิ ชมรมอีสาน พระนครเหนือ
2554 ค่ายคืนปัญญาสู่มาตุภูมิ ชมรมอีสาน พระนครเหนือ
 
ด้านที่ 1
ด้านที่ 1ด้านที่ 1
ด้านที่ 1
 
สุนทรียภาพแห่งการเรียนรู้ จากครูสู่นักเรียน-
สุนทรียภาพแห่งการเรียนรู้ จากครูสู่นักเรียน-สุนทรียภาพแห่งการเรียนรู้ จากครูสู่นักเรียน-
สุนทรียภาพแห่งการเรียนรู้ จากครูสู่นักเรียน-
 

More from Prasong Somarat

ผลงานทางวิชาการ ครูสุพัฒน์ ชาติเจริญ
ผลงานทางวิชาการ ครูสุพัฒน์  ชาติเจริญผลงานทางวิชาการ ครูสุพัฒน์  ชาติเจริญ
ผลงานทางวิชาการ ครูสุพัฒน์ ชาติเจริญPrasong Somarat
 
ผลงานวิชาการ ผอ.สมเกียรติ พาณิชญ์กิจเจริญ
ผลงานวิชาการ ผอ.สมเกียรติ  พาณิชญ์กิจเจริญผลงานวิชาการ ผอ.สมเกียรติ  พาณิชญ์กิจเจริญ
ผลงานวิชาการ ผอ.สมเกียรติ พาณิชญ์กิจเจริญPrasong Somarat
 
เผยแพร่ผลงานวิชาการ โดย ผอ.สมเกียรติ พาณิชย์กิจเจริญ
เผยแพร่ผลงานวิชาการ โดย ผอ.สมเกียรติ  พาณิชย์กิจเจริญเผยแพร่ผลงานวิชาการ โดย ผอ.สมเกียรติ  พาณิชย์กิจเจริญ
เผยแพร่ผลงานวิชาการ โดย ผอ.สมเกียรติ พาณิชย์กิจเจริญPrasong Somarat
 
วรรณณคดีอีสาน บัวธมบัวฮอง
วรรณณคดีอีสาน บัวธมบัวฮองวรรณณคดีอีสาน บัวธมบัวฮอง
วรรณณคดีอีสาน บัวธมบัวฮองPrasong Somarat
 
0การพัฒนากระบวนการนิเทศ โรงเรียนสรินธร
0การพัฒนากระบวนการนิเทศ  โรงเรียนสรินธร0การพัฒนากระบวนการนิเทศ  โรงเรียนสรินธร
0การพัฒนากระบวนการนิเทศ โรงเรียนสรินธรPrasong Somarat
 
เรียงร้อยถ้อยคำลำนำสมุนไพร สิรินธร สุรินทร์
เรียงร้อยถ้อยคำลำนำสมุนไพร  สิรินธร สุรินทร์เรียงร้อยถ้อยคำลำนำสมุนไพร  สิรินธร สุรินทร์
เรียงร้อยถ้อยคำลำนำสมุนไพร สิรินธร สุรินทร์Prasong Somarat
 
การแต่งกลอน สิรินธร จ.สุรินทร์
การแต่งกลอน สิรินธร จ.สุรินทร์การแต่งกลอน สิรินธร จ.สุรินทร์
การแต่งกลอน สิรินธร จ.สุรินทร์Prasong Somarat
 
การออกแบบอิงมฐ.สิรินธร
การออกแบบอิงมฐ.สิรินธรการออกแบบอิงมฐ.สิรินธร
การออกแบบอิงมฐ.สิรินธรPrasong Somarat
 
หลักสูตรสิรินธร 2555
หลักสูตรสิรินธร 2555หลักสูตรสิรินธร 2555
หลักสูตรสิรินธร 2555Prasong Somarat
 
หลักสูตร 2551 สิรินธร 2555
หลักสูตร 2551 สิรินธร 2555หลักสูตร 2551 สิรินธร 2555
หลักสูตร 2551 สิรินธร 2555Prasong Somarat
 
การออกแบบอิงมฐ.สธ.
การออกแบบอิงมฐ.สธ.การออกแบบอิงมฐ.สธ.
การออกแบบอิงมฐ.สธ.Prasong Somarat
 
2การออกแบบอิงมฐ.
2การออกแบบอิงมฐ.2การออกแบบอิงมฐ.
2การออกแบบอิงมฐ.Prasong Somarat
 
psของกินถิ่นเรา
psของกินถิ่นเราpsของกินถิ่นเรา
psของกินถิ่นเราPrasong Somarat
 
แบบฝึกอ่านคิดจากนิทาน
แบบฝึกอ่านคิดจากนิทานแบบฝึกอ่านคิดจากนิทาน
แบบฝึกอ่านคิดจากนิทานPrasong Somarat
 
Psประเพณีฮีตสิบสอง
PsประเพณีฮีตสิบสองPsประเพณีฮีตสิบสอง
PsประเพณีฮีตสิบสองPrasong Somarat
 
ตารางสอนครุประสงค์
ตารางสอนครุประสงค์ตารางสอนครุประสงค์
ตารางสอนครุประสงค์Prasong Somarat
 
แผ่นพับวิจัยครูประสงค์
แผ่นพับวิจัยครูประสงค์แผ่นพับวิจัยครูประสงค์
แผ่นพับวิจัยครูประสงค์Prasong Somarat
 

More from Prasong Somarat (20)

ผลงานทางวิชาการ ครูสุพัฒน์ ชาติเจริญ
ผลงานทางวิชาการ ครูสุพัฒน์  ชาติเจริญผลงานทางวิชาการ ครูสุพัฒน์  ชาติเจริญ
ผลงานทางวิชาการ ครูสุพัฒน์ ชาติเจริญ
 
190071010142559is
190071010142559is190071010142559is
190071010142559is
 
ผลงานวิชาการ ผอ.สมเกียรติ พาณิชญ์กิจเจริญ
ผลงานวิชาการ ผอ.สมเกียรติ  พาณิชญ์กิจเจริญผลงานวิชาการ ผอ.สมเกียรติ  พาณิชญ์กิจเจริญ
ผลงานวิชาการ ผอ.สมเกียรติ พาณิชญ์กิจเจริญ
 
เผยแพร่ผลงานวิชาการ โดย ผอ.สมเกียรติ พาณิชย์กิจเจริญ
เผยแพร่ผลงานวิชาการ โดย ผอ.สมเกียรติ  พาณิชย์กิจเจริญเผยแพร่ผลงานวิชาการ โดย ผอ.สมเกียรติ  พาณิชย์กิจเจริญ
เผยแพร่ผลงานวิชาการ โดย ผอ.สมเกียรติ พาณิชย์กิจเจริญ
 
วรรณณคดีอีสาน บัวธมบัวฮอง
วรรณณคดีอีสาน บัวธมบัวฮองวรรณณคดีอีสาน บัวธมบัวฮอง
วรรณณคดีอีสาน บัวธมบัวฮอง
 
0การพัฒนากระบวนการนิเทศ โรงเรียนสรินธร
0การพัฒนากระบวนการนิเทศ  โรงเรียนสรินธร0การพัฒนากระบวนการนิเทศ  โรงเรียนสรินธร
0การพัฒนากระบวนการนิเทศ โรงเรียนสรินธร
 
เรียงร้อยถ้อยคำลำนำสมุนไพร สิรินธร สุรินทร์
เรียงร้อยถ้อยคำลำนำสมุนไพร  สิรินธร สุรินทร์เรียงร้อยถ้อยคำลำนำสมุนไพร  สิรินธร สุรินทร์
เรียงร้อยถ้อยคำลำนำสมุนไพร สิรินธร สุรินทร์
 
การแต่งกลอน สิรินธร จ.สุรินทร์
การแต่งกลอน สิรินธร จ.สุรินทร์การแต่งกลอน สิรินธร จ.สุรินทร์
การแต่งกลอน สิรินธร จ.สุรินทร์
 
การออกแบบอิงมฐ.สิรินธร
การออกแบบอิงมฐ.สิรินธรการออกแบบอิงมฐ.สิรินธร
การออกแบบอิงมฐ.สิรินธร
 
หลักสูตรสิรินธร 2555
หลักสูตรสิรินธร 2555หลักสูตรสิรินธร 2555
หลักสูตรสิรินธร 2555
 
หลักสูตร 2551 สิรินธร 2555
หลักสูตร 2551 สิรินธร 2555หลักสูตร 2551 สิรินธร 2555
หลักสูตร 2551 สิรินธร 2555
 
การออกแบบอิงมฐ.สธ.
การออกแบบอิงมฐ.สธ.การออกแบบอิงมฐ.สธ.
การออกแบบอิงมฐ.สธ.
 
2การออกแบบอิงมฐ.
2การออกแบบอิงมฐ.2การออกแบบอิงมฐ.
2การออกแบบอิงมฐ.
 
psของกินถิ่นเรา
psของกินถิ่นเราpsของกินถิ่นเรา
psของกินถิ่นเรา
 
แบบฝึกอ่านคิดจากนิทาน
แบบฝึกอ่านคิดจากนิทานแบบฝึกอ่านคิดจากนิทาน
แบบฝึกอ่านคิดจากนิทาน
 
Psประเพณีฮีตสิบสอง
PsประเพณีฮีตสิบสองPsประเพณีฮีตสิบสอง
Psประเพณีฮีตสิบสอง
 
แบบฝึก
แบบฝึกแบบฝึก
แบบฝึก
 
ตารางสอนครุประสงค์
ตารางสอนครุประสงค์ตารางสอนครุประสงค์
ตารางสอนครุประสงค์
 
แผ่นพับวิจัยครูประสงค์
แผ่นพับวิจัยครูประสงค์แผ่นพับวิจัยครูประสงค์
แผ่นพับวิจัยครูประสงค์
 
บทที่ 5
บทที่ 5บทที่ 5
บทที่ 5
 

Best ไม้เด็ดครู เรื่องที่ 1

  • 3. 2 ระบบกิจกรรมนักเรียน โรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ อ. เมือง จ.เชียงใหม่ หลากหลายความคิด พิชิตกิจกรรม 1. ความเป็นมาและบริบทโรงเรียน โรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ สังกัดสานักงานเขตพื้นที่ การศึกษาเชียงใหม่ เขต 1 สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีเนื้อที่ประมาณ 27 ไร่ เปิดสอนตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 6 ปีการศึกษา 2550 มีนักเรียนรวมทั้งสิ้น 2,593 คน บุคลากรครูผู้สอน (ข้าราชการ) จานวน 122 คน ครูอัตราจ้าง 14 คน โรงเรียนได้พัฒนาและเปลี่ยนแปลงการจัดการศึกษาตามสภาพเศรษฐกิจ และสังคมมาโดย ลาดับ จนมาถึงยุคปฏิรูปการศึกษาในปี 2542 การบริหารและจัดการศึกษาของโรงเรียนเป็นไปตาม พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 คือการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (School Based Management) ยึดหลักการมีส่วนร่วมของโรงเรียน และชุมชนเป็นสาคัญ ผู้ปกครอง ครู และชุมชนมุ่งหวังให้นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม มีกระบวนการใน การทางาน มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ มีวิจารณญาณ คิดไตร่ตรอง และคิด สร้างสรรค์ มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ มีจิตสานึกที่ดีต่อชุมชนและสังคม อนุรักษ์ พัฒนา สิ่งแวดล้อม เห็นคุณค่าในศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น รวมทั้งมีความรู้ความสามารถที่จะศึกษาต่อใน ระดับอุดมศึกษาได้ กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เป็นกิจกรรมที่จะช่วยพัฒนาคุณลักษณะด้านต่าง ๆ ของนักเรียนได้ เป็นอย่างดี ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ได้แบ่งกิจกรรมออกเป็น 2 ลักษณะ คือ กิจกรรมแนะแนว และกิจกรรมนักเรียน ซึ่งเป็นกิจกรรมที่จัดอย่างเป็นทางการด้วย รูปแบบวิธีการที่หลากหลาย ในการพัฒนาผู้เรียนทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ และ สังคม มุ่งเสริมสร้างเจตคติ คุณค่าชีวิต ปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ ส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จัก และเข้าใจตัวเอง สร้างจิตสานึกในการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปรับตัวและปฏิบัติตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม ประเทศชาติ และดารงชีวิตได้อย่างมีความสุข
  • 4. 3 2. การพัฒนาระบบ โรงเรียนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาโดยใช้มาตรฐานการศึกษาเชิงระบบเป็นหลัก ใน การบริหารงานของโรงเรียน ทั้งนี้ได้กาหนดระบบของโรงเรียน 13 ระบบ เป็นระบบหลัก 3 ระบบ และระบบสนับสนุน 10 ระบบ โดยโรงเรียนได้นาข้อกาหนดที่ 4 และ 5 ของมาตรฐานการบริหาร จัดการมาเป็นระบบเพิ่มอีก 3 ระบบ ดังนั้นระบบของโรงเรียนจะประกอบด้วย ระบบหลัก ได้แก่ ระบบเรียนรู้ ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และระบบกิจกรรมนักเรียน ระบบสนับสนุน ได้แก่ ระบบการนาองค์กร ระบบยุทธศาสตร์การพัฒนา ระบบการบริหารงาน ระบบพัฒนาบุคลากร ระบบดูแลคุณธรรมจริยธรรมวิชาชีพครู ระบบตรวจสอบภายในและถ่วงดุล ระบบสื่อและแหล่ง เรียนรู้ ระบบสิ่งแวดล้อม ระบบชุมชนสัมพันธ์ และระบบสารสนเทศ โรงเรียนได้จัดทาคู่มือระบบในปีการศึกษา 2548 เมื่อดาเนินการตามคู่มือระบบและมี การประเมินทบทวนแล้ว โรงเรียนได้ปรับปรุงคู่มือระบบในปีการศึกษา 2549 และได้ผ่าน การประเมินเพื่อรับรองวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ ระบบเรียนรู้ จากสถาบันวิจัยและพัฒนาการเรียนรู้ (สวร.) โรงเรียนมีนโยบายอย่างต่อเนื่องในการบริหารโรงเรียนเพื่อให้ผู้เรียนมีคุณภาพตาม มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน และมาตรฐานการศึกษาเชิงระบบ สนับสนุนส่งเสริมการจัด กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ทั้งกิจกรรมแนะแนว กิจกรรมชุมนุม กิจกรรมลูกเสือ เนตรนารีและยุวกาชาด กิจกรรมสร้างสรรค์สังคมและกิจกรรมนักเรียนอื่นๆ ได้ปรับปรุงการวางระบบกิจกรรมนักเรียน ซึ่ง มี Flow Chart ของระบบ ดังนี้
  • 6. 5 จาก Flow Chart คณะกรรมการกลุ่มงานกิจกรรมนักเรียน ได้ประชุมวางแผนการจัด กิจกรรม ทั้งกิจกรรมตามหลักสูตร และกิจกรรมเสริม หลักสูตร ผู้รับผิดชอบแต่ละกิจกรรม ดาเนินการตามแผนการจัดกิจกรรมต่างๆ ได้แก่ 1) กิจกรรมเสริมหลักสูตรเพื่อส่งเสริม ประชาธิปไตย ความเป็นผู้นาและสุนทรียภาพด้าน ดนตรี กีฬา ศิลปะ ประกอบด้วย การเลือกตั้งคณะกรรมการนักเรียน การปฐมนิเทศนักเรียนใหม่ พิธีไหว้ครู การหล่อเทียนพรรษาและการถวายเทียนพรรษา ผ้าอาบน้าฝน กีฬาและกรีฑาสี กิจกรรม สัมพันธ์ 2) กิจกรรมตามความถนัดและความสนใจของผู้เรียน ประกอบด้วยกิจกรรมชุมนุมต่างๆ จานวน 82 ชุมนุม 3) กิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี และยุวกาชาด 4) กิจกรรมสร้างสรรค์สังคม ได้แก่การร่วมกิจกรรมของหน่วยงาน องค์กรต่าง ๆ ทั้ง ภายในท้องถิ่น และประเทศ เมื่อสิ้นภาคเรียน หรือสิ้นปีการศึกษา ผู้รับผิดชอบแต่ละกิจกรรม ดาเนินการประเมินผลการ จัดกิจกรรม ปรับปรุงแก้ไขในกรณีที่มีปัญหา และรายงานผลการดาเนินงานให้ฝ่ายบริหารทราบ โดยทุกขั้นตอนมีกระบวนการทางานตามวงจร PDCA ซึ่งมีผลการประเมินทบทวนในปีการศึกษา 2548 และปีการศึกษา 2549 ดังนี้ ผลการประเมินทบทวนในปีการศึกษา 2548 และปีการศึกษา 2549 ในด้านกระบวนการ ตามตัวชี้วัดสาคัญของระบบกิจกรรมนักเรียน ที่ ตัวชี้วัดสาคัญ ผลการประเมินทบทวน 2548 2549 1 ร้อยละของจานวนประเภทของชุมนุม 44 45 2 ร้อยละของชุมนุมที่ออกแบบและจัดกิจกรรมด้วย นักเรียนเอง 100 100 3 ค่าเฉลี่ยของการประชุมกรรมการชุมนุมรายเดือน 1 1 4 ร้อยละของชุมนุมที่ทากิจกรรมนอกเวลา/นอกโรงเรียน 53 54 จากตาราง พบว่าร้อยละของจานวนประเภทของชุมนุมในปี 2549 เพิ่มจากปี 2548 คือจาก ร้อยละ 44 เป็น ร้อยละ 45 จะเห็นว่ากิจกรรมชุมนุมของโรงเรียนมีความหลากหลาย สนองต่อความ สนใจและความต้องการของนักเรียน และร้อยละ 100 ของชุมนุม นักเรียนจะเป็นผู้ออกแบบ วางแผน และจัดกิจกรรมด้วยตนเอง จนสาเร็จตามเป้าหมาย รวมทั้งมากกว่าครึ่งหนึ่งของชุมนุมที่มี นักเรียนทากิจกรรมทั้งนอกเวลาและนอกโรงเรียน
  • 7. 6 3. วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices ) นวัตกรรมที่ถือว่าเป็นวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices ) ของระบบกิจกรรมนักเรียน คือ “หลากหลายความคิด พิชิตกิจกรรม” ซึ่งอยู่ในขั้นตอนของการดาเนินงานตามแผนกิจกรรมเสริม หลักสูตร กิจกรรมชุมนุมและกิจกรรมสร้างสรรค์สังคมเพื่อส่งเสริมความเป็นประชาธิปไตย ความเป็นผู้นา และสุนทรียภาพด้านดนตรี กีฬา และศิลปะ ซึ่งเป็นการส่งเสริมทักษะการทางาน ความเป็นผู้นา การทางานร่วมกับผู้อื่น มีความรับผิดชอบต่อส่วนรวม การอนุรักษ์ การพัฒนา สิ่งแวดล้อม และการเห็นคุณค่าของศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น ของนักเรียนวัฒโนทัยพายัพ วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ “หลากหลายความคิด พิชิตกิจกรรม” ประกอบด้วยนวัตกรรม 2 นวัตกรรม ได้แก่ 3.1 กล้าคิด กล้าทา 3.2 พี่สอนน้อง ดังรายละเอียดต่อไปนี้ 3.1 กล้าคิด กล้าทา เป็นนวัตกรรมที่พัฒนาความเป็นผู้นาของนักเรียน ส่งเสริมความเป็น ประชาธิปไตย ฝึกทักษะ กระบวนการทางาน การทางานร่วมกับผู้อื่น และส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และคิดสร้างสรรค์ ของนักเรียน โดยใช้กระบวนการของการเลือกตั้งคณะกรรมการ นักเรียน ซึ่งมีขั้นตอนของการดาเนินงาน ดัง Flow Chart ต่อไปนี้
  • 8. 7 กล้าคิด กล้าทา บรรลุวัตถุประสงค์ หรือไม่ ไม่ ประชุมวางแผนและเตรียมการ เลือกตั้งคณะกรรมการนักเรียน ดาเนินการจัดการเลือกตั้ง คณะกรรมการนักเรียน คณะกรรมการนักเรียน ดาเนินงานตามภาระหน้าที่ ประเมินผลการดาเนินงาน ปรับปรุง/ แก้ไข สรุปรายงานผล บรรลุ จัดอบรมเพื่อพัฒนาความเป็น ผู้นาของคณะกรรมการนักเรียน
  • 9. 8 1) การวางแผนและเตรียมการ 1.1 ครูกิจกรรมนักเรียนและคณะกรรมการนักเรียนชุดเก่าประชุมวางแผนดาเนินการ จัดการเลือกตั้งคณะกรรมการนักเรียน ในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ 1.2 แจ้งให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เตรียมตัวสมัครรับเลือกตั้งเป็นคณะกรรมการ นักเรียน โดยผู้ที่ต้องการแข่งขันในตาแหน่งประธานนักเรียนจะรวบรวมคณะทางานซึ่งเป็น นักเรียนในระดับชั้นต่าง ๆ ตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 4 และตั้งพรรคจานวน 2 พรรค ตามระเบียบข้อบังคับของการเลือกตั้งคณะกรรมการนักเรียนของโรงเรียน 1.3 กาหนดรูปแบบการเลือกตั้ง โดยจาลองรูปแบบการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร คือ เลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ และแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง (แบ่งเป็น 6 เขต ตามระดับชั้น ม.1-ม.6 ) 2) ดาเนินการจัดการเลือกตั้ง 2.1 งานกิจกรรมนักเรียนประกาศรับสมัครรับเลือกตั้งคณะกรรมการนักเรียนและกาหนด วันเลือกตั้ง (วันอังคารแรกของเดือนกุมภาพันธ์) 2.2 การหาเสียงและแนะนาสมาชิกพรรค ผู้สมัครรับเลือกตั้งวางแผนการหาเสียง แนะนา ตัว และเสนอนโยบายพรรค โดยระดมความคิด ในการออกแบบสัญลักษณ์ สโลแกนของพรรค เลือกรูปแบบการหาเสียง จัดทาอุปกรณ์ สื่อ เพื่อประชาสัมพันธ์ ผู้สมัครรับเลือกตั้งหาเสียงโดย 1) จัดทาโปสเตอร์ ติดบริเวณที่โรงเรียนกาหนด 2) แนะนาตัว ประชาสัมพันธ์ แนะนาสมาชิกพรรคบริเวณหน้าเสาธงหลังจากเสร็จพิธี เคารพธงชาติ 2 สัปดาห์ก่อนวันเลือกตั้ง ได้แก่การแนะนาพรรคและหัวหน้าพรรค แนะนา นโยบายพรรค แนะนาสมาชิกพรรคระบบบัญชีรายชื่อ แนะนาสมาชิกพรรคระบบแบ่งเขต เลือกตั้ง และการชักชวนนักเรียนทุก ๆ คนไปใช้สิทธิลงคะแนน การแนะนาตนเองและการหาเสียงผู้สมัครรับเลือกตั้งจะใช้ความสามารถหลากหลายเพื่อ กระตุ้น ชักจูงให้นักเรียนลงคะแนนเสียงแก่พรรคของตนโดยการแสดงละคร แต่งคาประพันธ์ ร้องเพลง เล่นดนตรี ฯลฯ 2.3 ก่อนวันเลือกตั้ง 1 วัน แต่ละพรรคจะต้องหยุดหาเสียง 2.4 คณะกรรมการนักเรียนชุดเดิมซึ่งเป็นคณะกรรมการเลือกตั้ง ดาเนินการเตรียมสิ่งต่างๆ ต่อไปนี้ 1) ทาบัตรเลือกตั้ง 2) เตรียมบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 3) เตรียมหีบบัตรเลือกตั้ง 4) ทาบอร์ดแนะนาผู้สมัครรับเลือกตั้ง 5) แต่งตั้งกรรมการประจาหน่วยเลือกตั้ง 6) เตรียมบอร์ดนับคะแนนผลการเลือกตั้ง
  • 10. 9 7) จัดหน่วยเลือกตั้งบริเวณชั้นล่างอาคารศรีสวรินทิรา สถานที่เลือกตั้งจะจาลองแบบ การเลือกตั้ง คือ มีบอร์ดติดรายชื่อผู้สมัคร รายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง คูหาสาหรับผู้มีสิทธิเลือกตั้งเข้า ไปกากบาท หีบบัตรเลือกตั้ง นาฬิกา บอร์ดนับคะแนน 2.5 การลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง นักเรียนทุกคนมีสิทธิในการออกเสียงเลือกตั้ง ตามวิธีการลงคะแนนของการเลือกตั้ง ผู้แทนราษฎร โดยจะตรวจรายชื่อ ลงลายมือชื่อ พิมพิ์ลายนิ้วมือ รับบัตร เข้าคูหาเพื่อกากบาท และหย่อนบัตรในหีบบัตร ตั้งแต่เวลา 08.30 น.- 13.00 น. การดาเนินการนับคะแนนเสียงจะเริ่มเวลา 14.00 น. คณะกรรมการฯ จะนับคะแนน ณ เขตเลือกตั้ง มีการขานคะแนน ขีดรอยคะแนนโดยเปิดเผยต่อนักเรียนคนอื่น ๆ หัวหน้างานกิจกรรมนักเรียนสรุปรายงานผลการเลือกตั้งต่อผู้อานวยการโรงเรียน และ ประกาศผล การเลือกตั้งอย่างเป็นทางการบริเวณหน้าเสาธง 2.6 การแต่งตั้งคณะกรรมการนักเรียน หัวหน้าพรรคที่ได้คะแนนเสียงมากที่สุดจะได้รับแต่งตั้งให้เป็นประธานนักเรียน มี คณะกรรมการจานวน 52 คน ประกอบด้วย 1) ผู้สมัครแบบแบ่งเขต 6 คน จาก 6 เขต 2) ผู้สมัครบัญชีรายชื่อ 36 คน 3) นักเรียนอื่น ๆ จากการสรรหาของคณะครู กรรมการงานกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 10 คน 3) จัดอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพความเป็ นผู้นาของคณะกรรมการนักเรียน และ อนุกรรมการนักเรียน กลุ่มงานกิจกรรมนักเรียนจัดอบรมให้แก่คณะกรรมการนักเรียนและอนุกรรมการนักเรียน ซึ่งได้แก่ หัวหน้าห้องทุกห้องและรองหัวหน้าห้อง จานวน 120 คน เนื้อหาสาระของการอบรม ได้แก่ ความเป็นผู้นา เทคนิคการทางานป็นกลุ่ม หลักธรรมาภิบาล และการเขียนโครงการ ทั้งนี้ มีวิทยากรที่เป็นบุคคลจากหน่วยงานภายนอก บุคลากรภายในโรงเรียน คณะกรรมการนักเรียนชุด เดิม รวมทั้งอดีตคณะกรรมการนักเรียนที่กาลังศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา เช่นมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และสถาบันอื่น ๆ ตั้งแต่ปีที่ 1- 4 จะถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ ความ เข้มแข็ง อดทน เสียสละ แก่คณะกรรมการนักเรียนชุดใหม่ ด้วยกิจกรรม “ พี่สอนน้อง ” หลังจากผ่านการอบรมแล้ว โรงเรียนจะแต่งตั้งคณะกรรมการนักเรียน มีพิธีมอบเข็ม คณะกรรมการนักเรียนแก่คณะกรรมการนักเรียนชุดใหม่และมอบเกียรติบัตรแก่คณะกรรมการชุด เดิม เมื่อถึงปีการศึกษาใหม่ คณะกรรมการชุดเดิมหมดวาระ คณะกรรมการชุดใหม่จะเริ่มปฏิบัติ หน้าที่
  • 11. 10 4) คณะกรรมการนักเรียน และอนุกรรมการนักเรียน ดาเนินงานตามภาระหน้าที่ ภาระงานที่คณะกรรมการนักเรียนและอนุกรรมการนักเรียนปฏิบัติ แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ ได้แก่ 4.1 ภาระงานประจาวัน คณะกรรมการนักเรียนและอนุกรรมการนักเรียนปฏิบัติหน้าที่ ดังนี้ - ดูแลการมาโรงเรียน การแต่งกาย และการปฏิบัติตามระเบียบวินัยของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1-6 ทุกเช้า ทุกเย็น โดยกรรมการนักเรียนที่มีหน้าที่ ปฏิบัติหน้าที่ในเวลา 6.45 – 8.20 น. และเวลา 16.00-17.00 น. ณ บริเวณประตูโรงเรียน บันทึกข้อมูลนักเรียนที่ประพฤติผิด ระเบียบ เช่น มาสาย แต่งกายผิดระเบียบ ไม่ปฏิบัติตามกฎจราจร สรุปข้อมูลส่งกลุ่มกิจการนักเรียน เดือนละ 1 ครั้ง - ดาเนินการการเข้าแถวเคารพธงชาติ กรรมการนักเรียนที่รับผิดชอบจัดระเบียบแถว เชิญธงชาติ และนาสวดมนต์ - ตรวจความสะอาด เรียบร้อยของห้องเรียน อาคารเรียน กรรมการที่รับผิดชอบ แต่ละอาคารตรวจสอบความสะอาดห้องเรียน การปิดไฟฟ้ า พัดลม และนักเรียนที่ไม่ลงมาเข้าแถว บันทึกข้อมูลส่งกลุ่มกิจการนักเรียน สรุปข้อมูลส่งงานสิ่งแวดล้อมของโรงเรียน 4.2 ภาระงานในการดาเนินกิจกรรมต่าง ๆ โรงเรียนให้โอกาสและส่งเสริม คณะกรรมการนักเรียนในการเป็นผู้วางแผนและดาเนินกิจกรรมเอง ได้แก่ 4.2.1 การปฐมนิเทศ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 4 รวมทั้งนักเรียนที่เข้าใหม่ ระหว่างชั้น เข้าค่ายปฐมนิเทศ ใช้เวลา 3 วัน โดยพักค้างคืนในโรงเรียน และมีกิจกรรมสร้าง ความคุ้นเคย กิจกรรมเพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรงเรียนและการเรียน รวมทั้งกิจกรรม สันทนาการ คณะกรรมการนักเรียนมีบทบาท ดังนี้ - เตรียมเอกสาร รับขวัญลูกฟ้ าขาว เพื่อให้นักเรียนใหม่รู้จักสถานที่ บุคลากร การจัดการเรียนการสอน การปฏิบัติตนตามระเบียบของโรงเรียน ฯลฯ เพื่อให้สามารถปรับตัวใช้ ชีวิตอยู่ในโรงเรียนอย่างมีความสุข - จัดสถานที่ในการปฐมนิเทศ เช่น หอประชุมสาหรับประกอบพิธีเปิด การปฐมนิเทศ ห้องนอนนักเรียน ฐานต่าง ๆ สาหรับจัดกิจกรรม - เป็นผู้ช่วยครูประจาชั้นในการรับลงทะเบียน จัดกลุ่มนักเรียนใหม่ ดูแลนักเรียน ใหม่ทุกคนระหว่างการปฐมนิเทศ - เป็นผู้ช่วยครูในการดาเนินกิจกรรมตามฐานต่าง ๆ เช่น ฐานวิชาการ ฐานสุขภาพ ดีไม่มีขาย ฐานความรู้คือประทีป(ห้องสมุด) ฐานรู้จักตัวเอง(แนะแนว )และฐานหลักธรรมา ภิบาล ซึ่งคณะกรรมการนักเรียนเป็นผู้ออกแบบกิจกรรม โดยใช้เพลงและเกมเป็นสื่อ - ดาเนินงานด้านพิธีการ คณะกรรมการนักเรียนจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ จัดสถานที่
  • 12. 11 ในการประกอบพิธีผูกข้อมือรับขวัญลูกฟ้ าขาว และ พิธีถวายตัวเป็ นลูกสมเด็จพระศรี สวรินทิรา ทาหน้าที่เป็นพิธีกรดาเนินรายการ และควบคุมดูแลให้การจัดกิจกรรมดาเนินไปด้วย ความเรียบร้อย - ดาเนินงาน กิจกรรมสันทนาการ โดยกรรมการนักเรียนมอบหมายให้นักเรียน ใหม่ ซึ่งได้แบ่งเป็นกลุ่มสี 7 กลุ่มสี คิดการแสดงของกลุ่มสี กลุ่มสีละ 1 ชุด และคณะกรรมการ นักเรียนก็คิดการแสดง 1ชุด คณะกรรมการนักเรียนเป็นผู้ดาเนินรายการจัดให้มีการแสดงของ ทุกกลุ่มสี และการแสดงของคณะกรรมการนักเรียน 4.2.2 วันไหว้ครู กรรมการนักเรียนทาหนังสือเชิญผู้อานวยการโรงเรียน และคณะครู ร่วมประกอบพิธีไหว้ครู จัดสถานที่และประสานงานอนุกรรมการแต่ละห้องในการทาพานไหว้ครู ในวันไหว้ครู ได้ดาเนินงานด้านพิธีการ เป็นพิธีกร ดูแลความเรียบร้อยของพิธีการ และร่วมเป็น กรรมการตัดสินพานไหว้ครูกับคณะครูที่เป็นกรรมการ 4.2.3 กิจกรรมการหล่อเทียนพรรษา และแห่เทียนพรรษา ไปถวายวัดต่าง ๆ ได้แก่วัด เมธัง วัดหมื่นเงินกอง วัดพระสิงห์ วัดพระเจ้าเม็งราย วัดพันแหวน วัดพวกแต้ม และวัดศรีเกิด นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และนักเรียนคณะสีต่าง ๆ 6 คณะสี ( เหลือง ชมพู เขียว แสด ม่วง แดง ) จะร่วมพิธีหล่อเทียนพรรษา และแห่เทียนพรรษา ไปยังวัดที่ได้รับมอบหมายโดย นักเรียนเป็นผู้ปฏิบัติกิจกรรมทุกขั้นตอน คณะกรรมการนักเรียนจะเป็นผู้ประสานงานกับนักเรียน ที่เป็นประธานคณะสีทุกสี ผู้รับผิดชอบแต่ละคณะสี จะดาเนินการ ดังนี้ - ติดต่อประสานงานวัดใกล้โรงเรียน ศึกษาขั้นตอน พิธีการทางศาสนาเกี่ยวกับ การถวายเทียนพรรษา - ตกแต่งเทียนพรรษา ออกแบบขบวนแห่เทียน จัดเตรียมเครื่องไทยทาน - ดูแล ควบคุม การจัดขบวน และการถวายเทียนพรรษาให้เป็นไปตามแผนที่วางไว้ 4.2.4 กิจกรรมการแข่งขันกีฬา และกรีฑาสี คณะกรรมการนักเรียน ปฏิบัติหน้าที่ กรรมการจัดการแข่งขันในส่วนของนักเรียน ทาหน้าที่ประสานงานคณะสีต่าง ๆ เช่นเดียวกับ การหล่อเทียน และถวายเทียนพรรษา ดังนี้ - เป็นผู้ช่วยครูปฏิบัติหน้าที่ต่าง ๆ เช่น ดาเนินการพิธีเปิด พิธีปิดการแข่งขัน ประชาสัมพันธ์ระหว่างการแข่งขัน ควบคุมการแข่งขัน และเป็นผู้ช่วยในการตัดสินกีฬา กรีฑา ประเภทต่าง ๆ - คณะกรรมการนักเรียนและอนุกรรมการ ประสานงานกับประธานคณะสี ใน การดาเนินงานทุกอย่างภายในคณะสีของตนเอง ตั้งแต่การวางแผนการแข่งขัน การแสดง ขบวน พาเหรด การฝึกซ้อม ดาเนินการ และประเมินผลการดาเนินการ 4.2.5 การปัจฉิมนิเทศ คณะกรรมการเป็นผู้ช่วยครู ดูแลความเรียบร้อยของพิธีการ
  • 13. 12 4.2.6 กิจกรรมสร้างสรรค์สังคม อาทิ งานไหว้สาป๋ าระมี แห่พระเจ้าฝนแสนห่า พิธีบูชา เสาอินทขิล การทาบุญเมืองเชียงใหม่ คณะกรรมการนักเรียนจะดาเนินการตามที่ได้รับ มอบหมาย ตามความเหมาะสม เช่น ออกแบบขบวนแห่ ( ถ้ามี ) ควบคุม ดูแล อานวย ความสะดวกแก่นักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมนั้น ๆ 4.3 ดาเนินการในการประสานงานกิจกรรมชุมนุม โรงเรียนจัดคาบกิจกรรมชุมนุมทุกวันอังคาร เวลา 14.00 น. - 15.00 น. โดย คณะกรรมการนักเรียนเป็นผู้ประสานงานการดาเนินการต่าง ๆ ของกิจกรรมชุมนุม โดยปฏิบัติตาม ขั้นตอนดังนี้ 4.3.1 นักเรียนที่มีความสนใจในกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งด้านวิชาการ กีฬา ศิลปะ วัฒนธรรม ฯลฯ แจ้งความจานงในการตั้งชุมนุมต่อครูหัวหน้ากิจกรรม โดยคณะกรรมการนักเรียน เป็นผู้รับสมัคร 4.3.2 คณะกรรมการนักเรียนรวบรวมรายชื่อชุมนุมต่าง ๆ ส่งครูหัวหน้ากิจกรรม 4.3.3 คณะกรรมการนักเรียนหรือนักเรียนผู้ขอจัดตั้งชุมนุมดาเนินการเพื่อขอครู หรือบุคลากรเป็นที่ปรึกษาชุมนุม 4.3.4 แจ้งรายชื่อกิจกรรมให้นักเรียนทราบ ผ่านทางคณะกรรมการนักเรียนและ อนุกรรมการนักเรียน 4.3.5 นักเรียนทุกระดับชั้นเลือกชุมนุมตามความสนใจ ความถนัด โดย คณะกรรมการนักเรียนเป็นผู้รับลงทะเบียน ซึ่งในปีการศึกษา 2548 และ 2549 มีกิจกรรมชุมนุม ทั้งสิ้น 82 ชุมนุม (รายละเอียดดังภาคผนวก) 5) ประเมินผลการทางาน 5.1 ภาระงานประจาวัน ประเมินผลโดยการสังเกต ครูหัวหน้ากิจกรรมนักเรียนและครู เวรสังเกตการณ์ปฏิบัติงานของคณะกรรมการนักเรียน และประชุมสรุปผลการประเมินทุกวัน อังคาร 5.2 ภาระงานในการดาเนินกิจกรรมต่าง ๆ ได้แก่ การปฐมนิเทศนักเรียนใหม่ พิธีไหว้ ครู กิจกรรมหล่อเทียน และแห่เทียนพรรษา การแข่งขันกีฬาและกรีฑาสี การปัจฉิมนิเทศ ประเมินผลโดยใช้แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้อง เช่น นักเรียน ผู้ปกครอง หรือ ครู ที่ ปฏิบัติกิจกรรมนั้น ๆ ส่วนกิจกรรมสร้างสรรค์สังคม ประเมินผลจากสภาพจริงทีเกิดขึ้น 5.3 หัวหน้ากิจกรรมนักเรียน คณะกรรมการระบบกิจกรรม และคณะกรรมการนักเรียน ประชุมสรุปผลการดาเนินงาน เมื่อสิ้นภาคเรียน/สิ้นปีการศึกษา เพื่อนาผลการประเมินไปปรับปรุง แก้ไข การดาเนินกิจกรรมในภาคเรียน / ปีการศึกษาต่อไป
  • 14. 13 3.2 พี่สอนน้อง เป็นนวัตกรรมที่ ส่งเสริมให้นักเรียนรุ่นพี่ที่มีความรู้ความสามารถในด้าน ต่างๆ ได้ถ่ายทอดความรู้ ทักษะในการทางาน ให้แก่เพื่อน และรุ่นน้อง โดยเป็นผู้ช่วยครูในการสอน และฝึกนักเรียนรุ่นน้อง เป็นการสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างเพื่อน รุ่นพี่-รุ่นน้อง ทาให้เกิดการยอมรับ ในความสามารถ มีความเอื้อเฟื้อซึ่งกันและกัน ฝึกความรับผิดชอบ และความสามัคคีในหมู่คณะ ซึ่งมีขั้นตอนของการดาเนินงาน ดัง Flow Chart ต่อไปนี้ พี่สอนน้อง วางแผนปฏิบัติงาน ดาเนินการตามแผน ประเมินผลการปฏิบัติงาน ผ่านเกณฑ์ หรือไม่ ปรับปรุง แก้ไข สรุปรายงานผลการ ปฏิบัติงาน ไม่ ผ่าน
  • 15. 14 1) วางแผนปฏิบัติงาน 1.1 กิจกรรมชุมนุมต่าง ๆ ประชุมสมาชิกชุมนุม เลือกคณะกรรมการดาเนินงานและ วางแผน การปฎิบัติงานร่วมกัน คณะกรรมการนักเรียนร่วมกับคณะครูงานกิจกรรมนักเรียน กาหนดปฏิทินหลัก ระบุวันที่ดาเนินกิจกรรม การนัดหมายส่งงาน เช่น กาหนดส่งโครงการ รายชื่อ สมาชิก แผนปฏิบัติกิจกรรมนักเรียน การประเมินผล ส่วนสมาชิกชุมนุมจะวางแผนและกาหนด กิจกรรมที่จะทาในภาคเรียนนั้น ๆ 1.2 สาหรับกิจกรรมที่ส่งเสริมด้านศิลปะ ดนตรี กีฬา นาฎศิลป์ และชุมนุมที่มีกิจกรรมที่ กระทาอย่างต่อเนื่อง ครูที่ปรึกษากิจกรรมชุมนุม และนักเรียนรุ่นพี่ซึ่งอยู่ในกิจกรรมชุมนุมนี้มาในปี ก่อน ๆ มีความรู้ ความสามารถ และเชียวชาญจะเป็นผู้นาในชุมนุม เป็นผู้ช่วยครูในการให้ความรู้ และฝึกทักษะแก่รุ่นน้องที่เป็นสมาชิกในชุมนุม อย่างต่อเนื่อง สม่าเสมอ โดยมีการดาเนินกิจกรรม ทั้งในเวลา และนอกเวลาเรียน เช่น ชุมนุม ดนตรีไทย ดนตรีพื้นเมือง โยธวาทิต นาฎศิลป์ อย.น้อย สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน เป็นต้น 2) การดาเนินการ 2.1 ประธานชุมนุมและสมาชิกดาเนินงานตามแผนที่กาหนด 2.2 เลขานุการชุมนุมบันทึกกิจกรรมที่ได้ปฏิบัติ 2.3 สมาชิกชุมนุมนาเสนอผลงาน ประเมินผลและสรุปผลการเรียนรู้กิจกรรม 3) ประเมินผลการปฏิบัติงาน ครูที่ปรึกษาชุมนุม ประเมินผลการปฏิบัติงาน เมื่อสิ้นภาคเรียน/สิ้นปีการศึกษา ถ้าไม่ผ่าน เกณฑ์ จะมีการซ่อมเสริม และประเมินผลซ้า และสรุปรายงานผลการจัดกิจกรรมให้โรงเรียนทราบ ต่อไป 4. ผลการดาเนินงาน 4.1 จากการดาเนินงานตามขั้นตอนต่าง ๆ ของ “หลากหลายความคิด พิชิตกิจกรรม” ซึ่ง ประกอบด้วยนวัตกรรม “กล้าคิด กล้าทา” และ “พี่สอนน้อง” ก่อให้เกิดผลอันน่าพึงพอใจต่อ นักเรียน ผู้ปกครอง ครู และชุมชน ดังนี้ 4.1.1 ผลที่เกิดต่อนักเรียน ตามนวัตกรรม กล้าคิด กล้าทา ทาให้นักเรียนมีความ เป็นผู้นา ผู้ตามที่ดี มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ และสังคม มีความเป็นประชาธิปไตย นักเรียนได้รับ การประกาศเกียรติคุณ ดังนี้ - นักเรียนได้รับคัดเลือกเป็นนักเรียนรางวัลพระราชทาน ประเภทนักเรียนมัธยมศึกษา ตอนต้น ประจาปี 2547 - นักเรียนได้รับเกียรติบัตรและเข็มเครื่องหมาย “ นักเรียนที่มีความประพฤติดี” จาก ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ประจาปี 2548
  • 16. 15 - นักเรียนได้รับคัดเลือกเป็นเยาวชนดีเด่น จังหวัดเชียงใหม่ เนื่องในวันเยาวชนแห่งชาติ ประจาปี 2548 - นักเรียนได้รับพระราชทานเกียรติบัตรจากสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามบรมราช กุมาร วันที่ 20 กันยายน 2549 รางวัลเยาวชนดีเด่นแห่งชาติ สาขาศิลปวัฒนธรรม ของสานักงาน ส่งเสริมสวัสดิการและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการ และผู้สูงอายุ (สท) กระทรวง การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ - นักเรียนได้รับพระราชทานเกียรติบัตรจากสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามบรมราช กุมาร วันที่ 20 กันยายน 2549 รางวัลเยาวชนดีเด่นแห่งชาติ สาขาสื่อมวลชนเพื่อเด็กและเยาวชนที่ ป้ องกันปัญหาสังคม ของสานักงานส่งเสริมสวัสดิการและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คน พิการ และผู้สูงอายุ (สท) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ - ประธานนักเรียน ได้รับรางวัลเยาวชนดีเด่นของจังหวัดเชียงใหม่ ประจาปี 2549 รับ เกียรติบัตรจากปลัดจังหวัดเชียงใหม่ วันที่ 24 กันยายน 2549 - นักเรียนได้รับคัดเลือกเป็นเยาวชนดีเด่น ของสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต 1 เข้าเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรี วันที่ 30 มกราคม 2550 - ประธานนักเรียน ได้รับคัดเลือกให้เข้าประชุมตามโครงการสภานักเรียนไทย หัวใจ สมานฉันท์ ยึดมั่นธรรมาภิบาล เข้าพบนายกรัฐมนตรี ณ ทาเนียบรัฐบาล และเข้าพบประธาน ค.ม.ช. พลเอกสนธิ บุญรัตกลิน วันที่ 17 มกราคม 2550 ผลที่เกิดต่อนักเรียน ตามนวัตกรรม พี่สอนน้อง ทาให้เกิดความสามัคคี มีความเอื้ออาทร ซึ่งกันและกัน น้องให้ความเคารพพี่ มีการพัฒนาความสามารถของรุ่นน้อง ๆ ให้มากยิ่งขึ้น การ ดาเนินกิจกรรมมีความยั่งยืน ต่อเนื่องรุ่นต่อรุ่น ทาให้ประสบความสาเร็จ ได้รับการประกาศเกียรติ คุณด้านต่าง ๆ เช่น - นักเรียนที่เป็นนักกีฬาลีลาศ ได้รับรางวัลชนะเลิศ แชมป์ ลีลาศประเภท Standard Junior 11 Class A (Open) ระดับประเทศถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราช กุมารี ประจาปี 2548 - นักเรียนได้รับเลือกเป็นตัวแทนสมาชิกยุวกาชาด ได้ร่วมกิจกรรมในต่างประเทศ ประจาปี 2548 - นักเรียนชนะเลิศการจ๊อยค่าว รับเกียรติบัตรและเงินรางวัล 5,000 บาท จากมหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ ปีการศึกษา 2548 - นักกีฬาวอลเล่ย์บอลของโรงเรียนชนะเลิศการแข่งขันกีฬานักเรียนส่วนภูมิภาค จังหวัด เชียงใหม่ รุ่น 14 ปีหญิง , รุ่น 16 ปีหญิง , รุ่น 18 ปีหญิง และรุ่น 18 ปีชาย ปีการศึกษา 2548-2549 - วงดนตรีลูกทุ่งวัฒโนทัย รับประทานรางวัลจากทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญาสิริ โสภาพรรณวดี วันที่ 7 กันยายน 2549 ณ หอประชุมกรมประชาสัมพันธ์
  • 17. 16 - นักเรียนได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมกิจกรรมกาชาด-ยุวกาชาด ณ ประเทศออสเตรีย ระหว่างวันที่ 7-24 กรกฎาคม 2549 - นักเรียน อย.น้อย โรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ รับรางวัลรองชนะเลิศระดับประเทศ รับโล่ และเงินรางวัล 22,000 บาท จากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข วันที่ 7 กันยายน 2549 และใน ปีการศึกษา 2550 ได้รับรางวัลชนะเลิศระดับประเทศ - วงดนตรีลูกทุ่งของโรงเรียน ชนะเลิศการประกวด Power Band Awards ภาคเหนือ ชิง ถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จัดโดยศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดิน เชิง คุณธรรม ร่วมกับสมาคมดนตรีแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ วันที่ 18 พฤศจิกายน 2549 - ชนะเลิศการแข่งขันดนตรี “รักษ์สิ่งแวดล้อม ตามรอยพ่อ กินอยู่อย่างพอเพียง” วันที่ 4-6 ธันวาคม 2549 4.1.2 ผลที่เกิดกับผู้ปกครอง ผู้ปกครองมีความภาคภูมิใจในความสามารถ และ ความสาเร็จของลูก ผู้ปกครองให้การส่งเสริมสนับสนุนนักเรียนในการทากิจกรรมต่าง ๆ เป็นอย่างดี 4.1.3 ผลที่เกิดกับครู ครูมีความภาคภูมิใจในความสาเร็จของนักเรียนที่สร้าง ชื่อเสียงให้แก่โรงเรียนอย่างต่อเนื่อง 4.1.4 ผลที่เกิดกับโรงเรียน โรงเรียนได้รับการยอมรับ และยกย่องชมเชยจาก ผู้ปกครอง ชุมชน สังคม ทาให้ได้รับความร่วมมือจากผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายเป็นอย่างดียิ่ง 4.1.5 ผลที่เกิดกับชุมชน การที่นักเรียนได้มีส่วนร่วมกิจกรรมต่าง ๆ กับชุมชน และชุมชนมีส่วนร่วมในการเป็นวิทยากรและจัดกิจกรรมแก่นาเรียนทาให้ชุมชนเห็นคุณค่าใน ตนเอง และสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชน สามารถรักษาศิลปะ วัฒนธรรมของชุมชนได้อย่างยั่งยืน 4.2 ผลการประเมินทบทวนปี 2548 และ 2549 ตามตัวชี้วัดสาคัญด้านผลลัพธ์ของระบบ กิจกรรม มีดังนี้ ที่ ตัวชี้วัดสาคัญ ผลการประเมินทบทวน 2548 2549 1 ร้อยละของนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์การประเมิน การร่วมกิจกรรมตามความถนัดความสนใจ 100 100 2 ร้อยละของชุมนุมที่ประสบความสาเร็จ ได้รับการยกย่องชมเชย 100 100 จากตารางพบว่านักเรียนทุกคนผ่านเกณฑ์การประเมินการร่วมกิจกรรมตามความถนัดและ ความสนใจ และชุมนุมทุกชุมนุมประสบความสาเร็จในการทากิจกรรมและได้รับการยกย่องชมเชย
  • 18. 17 4.3 จากการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนในการประเมินตนเองของโรงเรียน (SAR) ตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2549 พบว่า นักเรียนมีคุณสมบัติ สอดคล้องกับมาตรฐานต่าง ๆ ดังนี้ มาตรฐานที่ 2 ผู้เรียนมีจิตสานึกในการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม ร้อยละ 91.00 มาตรฐานที่ 3 ผู้เรียนมีทักษะในการทางาน รักการทางาน สามารถทางานร่วมกับผู้อื่นได้ และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต ร้อยละ 94.00 มาตรฐานที่ 8 ผู้เรียนมีสุนทรียภาพและลักษณะนิสัย ด้านศิลปะ ร้อยละ 91.00 ด้านดนตรี ร้อยละ 90.00 และด้านกีฬา ร้อยละ 93.00 นอกจากนี้นักเรียนยังมีคุณลักษณะด้านการเป็นผู้นา ผู้ตาม และเป็นประชาธิปไตย ร้อยละ 97.00 5. ปัจจัยความสาเร็จ 5.1 การเปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงความสามารถ ในการดาเนินงานกิจกรรมนักเรียน ทุกกิจกรรม โรงเรียนเปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงความสามารถตามศักยภาพ แสดงความเป็น ผู้นาในทุกโอกาสตามความถนัด ความสนใจของนักเรียน โดยให้นักเรียนเป็นผู้วางแผนการ ดาเนินงาน เป็นผู้ดาเนินการจัดกิจกรรม โดยเน้นการทางานเป็นทีม ยึดหลักประชาธิปไตยในการ ทางาน ฝึกให้นักเรียนรู้จักทางานอย่างเป็นระบบ และเกิดประสิทธิภาพตามเป้ าหมาย ทาให้นักเรียน มีการพัฒนาด้านความรู้ ความสามารถ และมีประสบการณ์ในการทางาน ส่งผลให้นักเรียนมีความ เชื่อมั่น มีความภาคภูมิใจในตนเอง มีความเสียสละเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม สามารถทางานเป็น ทีมและมีความเป็นประชาธิปไตย 5.2 การสนับสนุนจากครูและผู้บริหาร ครูให้คาปรึกษา ดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างเข้าใจ ผู้บริหารสนับสนุนและมีส่วนร่วมในทุกกิจกรรมที่นักเรียนดาเนินการ 5.3 การสนับสนุนและการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง ผู้ปกครองมีส่วนร่วม และส่งเสริม นักเรียนในการทากิจกรรมต่าง ๆ เป็นอย่างดี เป็นผู้สนับสนุนทั้งด้านค่าใช้จ่าย วัสดุอุปกรณ์ในการ ทากิจกรรม และเป็นวิทยากรให้ความรู้ 5.4 การบูรณาการกับระบบเรียนรู้และระบบดูแลนักเรียน นักเรียนสามารถนาความรู้ที่ได้ จากการเรียนรู้ในสาระวิชาต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรม และแก้ปัญหาในชีวิตประจาวัน ได้ และการจัดกิจกรรมที่ใช้ระบบพี่สอนน้อง ทาให้รุ่นพี่ รุ่นน้อง ได้ดูแลช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เกิดความสามัคคี ความเอื้ออาทร ช่วยให้การดาเนินกิจกรรมต่าง ๆ บรรลุผลสาเร็จ
  • 19. 18 6. บทเรียนที่ได้รับ 6.1 นักเรียนทุกคนมีศักยภาพที่สามารถพัฒนาได้ ถ้าสถานศึกษาออกแบบการจัดกิจกรรม ที่เอื้อให้นักเรียนแสดงศักยภาพของตนเองในการปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ อย่างเต็มที่ ย่อมทาให้ นักเรียนได้มีโอกาสพัฒนาตนเองเต็มตามศักยภาพที่มีอยู่ ดังนั้น โรงเรียนควรเปิดโอกาสและ ส่งเสริมให้นักเรียนได้แสดงออกซึ่งความสามารถด้านต่าง ๆ 6.2 ความสาเร็จในการใช้นวัตกรรม หลากหลายความคิด พิชิตกิจกรรม เกิดจากความ ร่วมมือของทุกฝ่าย คือ ผู้บริหาร ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน 6.3 การที่นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ นอกเหนือจากกิจกรรมการเรียนการสอน เป็นการ สร้างทักษะในการดาเนินชีวิตของนักเรียนในด้านการเป็นผู้นาผู้ตามที่ดี และมีความเป็น ประชาธิปไตย การมีปฏิสัมพันธ์และการร่วมทากิจกรรมระหว่างเพื่อน พี่-น้อง ทาให้เกิดการยอมรับ ในความสามารถ มีการเอื้อเฟื้อต่อกัน มีความรับผิดชอบ ความสามัคคี ซึ่งสามารถนาไปใช้ใน ชีวิตประจาวันได้ 6.4 การจัดกิจกรรมต่าง ๆ ของนักเรียน ได้น้อมนาปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ใน การดาเนินงาน ส่งผลให้นักเรียนเข้าใจถึงหลักความพอดี พอประมาณ มีเหตุผล และ มีภูมิคุ้มกันที่ดี ในตัว ข้อพึงระวัง - ครูและผู้บริหารต้องเปิดใจกว้างในการรับฟังความคิดเห็นของนักเรียน และต้องไม่ ปิดกั้นในการแสดงความสามารถของนักเรียน เพื่อให้นักเรียนได้แสดงออกถึงความเป็นผู้นา ผู้ตาม และได้แสดงศักยภาพอย่างเต็มที่ - ในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ผู้รับผิดชอบต้องคานึงถึงการบริหารจัดการเรื่องเวลาให้ เหมาะสม .................................................
  • 20. 19 ตารางแสดงประเภทและจานวนชุมนุม ปีการศึกษา 2548 และ 2549 ประเภทชุมนุม จานวนชุมนุม ประเภทชุมนุม จานวนชุมนุม 2548 2549 2548 2549 1. ภาษาอังกฤษ 10 9 18.แนะแนว 1 1 2. ภาษาไทย 5 5 19.สวนพฤกษศาสตร์ 1 1 3. ภาษาฝรั่งเศส 2 2 20.จุดศึกษาในอุทยานการ เรียนรู้ 11 11 4. ภาษาจีน 1 1 21.งานบ้านและคหกรรม 5 5 5. ภาษาญี่ปุ่น 1 1 22.คุ้มครองผู้บริโภค สุขภาพ และ อย.น้อย 2 2 6. ภาษาเยอรมัน 2 2 23.กีฬา 11 11 7. คณิตศาสตร์ 2 2 24.สิ่งแวดล้อม 1 1 8. วิทยาศาสตร์ 1 1 25.ศิลปะ 1 1 9. การจัดทาแฟ้มสะสมงาน 1 1 26.นาฎศิลป์ 1 1 10.คอมพิวเตอร์ 2 2 27.ดนตรีไทย 1 1 11.ประชาสัมพันธ์ 1 1 28.ดนตรีสากล 1 1 12.วัฒนธรรม 2 2 29.โยธวาทิต 1 1 13.ภูมิปัญญาท้องถิ่น 1 1 30.ธนาคารโรงเรียน 1 1 14.โสตทัศนศึกษา 1 1 31.พระพุทธศาสนาและ สมาธิ 1 1 15.พัสดุ 1 1 32.คณะกรรมการนักเรียน 1 1 16.มัคคุเทศก์ 2 2 33.หนังสืออนุสรณ์ 1 1 17.ส่งเสริมการอ่าน 2 2 34.B-Boy 0 1 35.รักษาดินแดน 1 1 36.ยุวกาชาด 2 2 37.เกม 1 1 ที่มา : http://goo.gl/NJCte6
  • 21. 20