SlideShare a Scribd company logo
1 of 18
Download to read offline
วาระที่ .1
โครงการยานตาขาวโมเดล
โครงการยานตาขาวโมเดล เปนชุดงานวิจัยภายใตโครงการบริการวิชาการของคณะสถาปตยกรรมศาสตร
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร วิทยาเขตตรัง รวมกับองคกรปกครองสวนทองถิ่น และภาคประชาชนในพื้นที่อําเภอ
ยานตาขาว จังหวัดตรัง ภายใตการสนับสนุนงบประมาณจากหนวยพันธกิจสัมพันธมหาวิทยาลัยกับสังคม
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร งบประมาณเงินแผนดิน ประจําปงบประมาณ 2559 – 2560 โดยในปงบประมาณ
2559 คณะสถาปตยกรรมศาสตร ไดดําเนินโครงการวิจัยเชิงสํารวจรวมทั้งสิ้น 6 โครงการ ประกอบดวย
1. การสํารวจขอมูลพื้นฐานสภาพภูมิอากาศ ภูมิประเทศ ชาติพันธุ ประเพณีวัฒนธรรม และอุปสรรคที่สงผล
ตอการพัฒนาเมืองยานตาขาวในชวง 10 ปที่ผานมา
2. การสํารวจแหลงมรดกทางสถาปตยกรรมในพื้นที่เทศบาลตําบลยานตาขาว
3. การสํารวจรังวัดสถาปตยกรรมที่คงไวซึ่งภูมิปญญาทองถิ่นและควรคาแกการอนุรักษ
4. การคนหาอัตลักษณของพื้นที่ทางสถาปตยกรรมที่แสดงวิวัฒนาการณตั้งแตอดีตถึงปจจุบันของอําเภอ
ยานตาขาว
5. การสํารวจความตองการพื้นฐานของบานพักอาศัยรวมกับคนพิการในอําเภอยานตาขาว
6. การสํารวจความเปนไปไดของเสนทางทองเที่ยวเชิงนิเวศและวัฒนธรรมในเขตพื้นที่เทศบาลตําบลยานตาขาว
โดยผลที่ไดจากการวิจัยเชิงสํารวจในปแรกของโครงการสามารถสรุปไดดังนี้
1. รายงานขอมูลพื้นฐานสภาพภูมิอากาศ ภูมิประเทศ จํานวนประชากร อาชีพและรายไดเฉลี่ยตอคน และ
ประเด็นปญหาที่เปนอุปสรรคตอการพัฒนาเมืองยานตาขาวในชวง 10 ปที่ผานมา
2. แผนที่แหลงมรดกทางสถาปตยกรรมในพื้นที่เทศบาลตําบลยานตาขาว
3. แบบทางสถาปตยกรรมของอาคารพื้นถิ่นดั้งเดิมในพื้นที่เขตเทศบาลตําบลยานตาขาวที่แสดงผลเปนแปลน
รูปดาน รูปตัดอาคาร แบบจําลอง 3 มิติดวยคอมพิวเตอรของสถาปตยกรรมอนุรักษ
4. รายงานแสดงผลพื้นที่และกิจกรรมที่เปลี่ยนไปตามชวงเวลาตั้งแตอดีตถึงปจจุบันของสถาปตยกรรม
ในเขตเทศบาลตําบลยานตาขาวและอิทธิพลที่เกี่ยวของ
5. รายงานลักษณะใชสอยอาคารรวมกับคนพิการ
6. แผนที่แหลงมรดกทางสถาปตยกรรมในพื้นที่เทศบาลตําบลยานตาขาวและรูปแบบกิจกรรมที่เปนไปได
ในพื้นที่
ผลจากการวิจัยเชิงสํารวจดังกลาวนําไปสูการวิจัยเชิงลึกตอเนื่องในปงบประมาณ 2560 อีกจํานวน 6
เรื่อง ไดแก
1. กระบวนการเกิดและการเปลี่ยนแปลงของเมืองยานตาขาว
2. ความเปนไปไดสําหรับพิพิธภัณฑมีชีวิตของเมืองยานตาขาว
3. แนวทางการปรับปรุงระบบการสัญจรเพื่อสงเสริมกิจกรรมการทองเที่ยวเมืองยานตาขาว
4. แนวทางการพัฒนาสวนสาธารณะขนาดเล็กในเขตเทศบาลเมืองยานตาขาว
-2-
5. แนวทางการพัฒนาเมืองยานตาขาว สูเมืองสีเขียวอยางยั่งยืน
6. การเปลี่ยนแปลงรูปแบบสถาปตยกรรมยานเมืองเกาในยานตาขาว ที่ไดรับผลกระทบจากน้ําทวม
โดยมีแผนการดําเนินงานวิจัยเพื่อนําไปใชประโยชนในชวงเดือน สิงหาคม 2560 - มีนาคม 2561 และคาดวา
จะแลวเสร็จในชวงปลายเดือนมีนาคม และจะนําเสนอแผนสูชุมชนและองคกรปกครองสวนทองถิ่นเพื่อเขาสูแผน
ในการพัฒนาทองถิ่นตอไป
จึงนําเรียนเสนอที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยเพื่อโปรดพิจารณา
- 1 -
โครงการย่านตาขาวโมเดล
ผู้เสนอ : อาจารย์ชาวดี ง่วนสน (หัวหน้าโครงการ)
อาจารย์ตรีชาติ เลาแก้วหนู
อาจารย์โอปอร์ ชัยสง่าพงษ์
อาจารย์ภวัต รอดเข็ม
อาจารย์วรวุฒิ มัธยันต์
อาจารย์คัมภีร์ คล้ามนฤมล
อาจารย์สมพงษ์ กฤตธรรมากุล
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง
หน่วยงานร่วมโครงการ : -
ระยะเวลาดําเนินการ : 5 เดือน (วันที่...1...พฤษภาคม...2559 ถึง วันที่..30..กันยายน....2559...)
งบประมาณที่เสนอ : 500,000 บาท (ห้าแสนบาทถ้วน)
เสนอต่อสํานักงานฯ เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2559
1. หลักการและเหตุผล
กรอบแนวคิดย่านตาขาวโมเดล จ.ตรัง มีจุดเริ่มต้นจากรูปแบบพัฒนาการเมืองที่เปลี่ยนแปลงไปในช่วง
10 ปีที่ผ่านมาของอําเภอย่านตาขาว จากอดีตเป็นเมืองที่มีเอกลักษณ์ของรูปแบบสินค้าเฉพาะที่ดึงดูด
นักท่องเที่ยวมาจับจ่ายใช้สอย จนกระทั่งปัจจุบันที่เศรษฐกิจซบเซาส่งผลให้พื้นที่เทศบาลเมืองย่านตาขาว
ขาดอัตลักษณ์ความเป็นชุมชนดั้งเดิม เมืองขาดชีวิตชีวาเนื่องจากประชาชนย้ายไปทํางานต่างถิ่น ขาดเทศกาล
และรูปแบบกิจกรรมที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวจากต่างถิ่นมาเยี่ยมชมอย่างในอดีต หากพิจารณาลักษณะทาง
กายภาพของเทศบาลเมืองย่านตาขาว เมืองยังคงมีจุดแข็งในเรื่องของต้นทุนทรัพยากรธรรมชาติ ทรัพยากร
ทางวัฒนธรรมและทรัพยากรทางสถาปัตยกรรมที่เอื้อต่อการพัฒนาในอนาคต
ย่านตาขาวโมเดลมีเป้าหมายเพื่อศึกษา ค้นคว้าและวิจัยข้อมูลเมืองย่านตาขาวในทุกมิติเพื่อการฟื้นฟู
และวางแผนการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนในเขตพื้นที่เทศบาลเมืองย่านตาขาวในอนาคต ย่านตาขาวโมเดล
ประกอบด้วยกิจกรรมย่อย 6 กิจกรรม ดังนี้
1.สํารวจข้อมูลพื้นฐานสภาพภูมิอากาศ ภูมิประเทศ ชาติพันธุ์ ประเพณีวัฒนธรรม และอุปสรรคที่
ส่งผลต่อการพัฒนาเมืองย่านตาขาวในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา
2. สํารวจแหล่งมรดกทางสถาปัตยกรรมในพื้นที่เทศบาลอําเภอย่านตาขาว
3. รังวัดสถาปัตยกรรมที่คงไว้ซึ่งภูมิปัญญาท้องถิ่นและควรค่าแก่การอนุรักษณ์
4. ค้นหาอัตลักษณ์ของพื้นที่ทางสถาปัตยกรรมที่แสดงวิวัฒนาการณ์ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันของอําเภอ
ย่านตาขาว
5.สํารวจความต้องการพื้นฐานของบ้านพักอาศัยร่วมกับคนพิการ
- 2 -
6.สํารวจความเป็นไปได้ของเส้นทางท่องเที่ยวเชิงนิเวศและวัฒนธรรมในเขตพื้นที่เทศบาลเมืองย่านตา
ขาว
ข้อมูลจากการศึกษาค้นคว้าในทุกกิจกรรมจะถูกนํามาวางแผนร่วมเพื่อการออกแบบการพัฒนาเมือง
ย่านตาขาวอย่างยั่งยืนในอนาคต โดยอาศัยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนได้แก่ ประชาชน องค์การบริหารส่วน
ตําบล เทศบาลเมืองย่านตาขาว อําเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง การท่องเที่ยวจังหวัดตรัง บริษัทเอกชนและ
รวมทั้งนักศึกษาและคณาจารย์คณะสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง ร่วมเป็น
ผู้ดําเนินการหลักในการพัฒนา
2. วัตถุประสงค์ของโครงการ
2.1 เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานสภาพภูมิอากาศ ภูมิประเทศ ชาติพันธุ์ ประเพณีวัฒนธรรม และอุปสรรค
ที่ส่งผลต่อการพัฒนาเมืองย่านตาขาวในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา
2.2 เพื่อสํารวจแหล่งมรดกทางสถาปัตยกรรมในพื้นที่เทศบาลอําเภอย่านตาขาว
2.3 เพื่อรังวัดสถาปัตยกรรมที่คงไว้ซึ่งภูมิปัญญาท้องถิ่นและควรค่าแก่การอนุรักษณ์
หน่วยงาน
1. คณะสถาปัตยกรรม
ศาสตร์ มอ.
2. ชุมชน
3. ราชการ
-ท้องถิ่น
-อําเภอ
-จังหวัด
4. เอกชน
พื้นที่
เขตเทศบาลอําเภอย่านตาขาว
จ.ตรัง
กิจกรรม
คณะทําร่วมกับชุมชน
ผ่านกิจกรรม
6 กิจกรรม
กระบวนการ
-Active Learning
-ลงพื้นที่สํารวจชุมชน
-วิจัย
ผู้ได้ประโยชน์
-ชุมชนเทศบาลเมืองย่านตา
ขาว
-นักศึกษา
-อาจารย์
-มหาวิทยาลัย
- 3 -
2.4 เพื่อค้นหาอัตลักษณ์ของพื้นที่ทางสถาปัตยกรรมที่แสดงวิวัฒนาการณ์ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันของ
อําเภอย่านตาขาว
2.5 เพื่อสํารวจความต้องการพื้นฐานของบ้านพักอาศัยร่วมกับคนพิการ
2.6 เพื่อสํารวจความเป็นไปได้ของเส้นทางท่องเที่ยวเชิงนิเวศและวัฒนธรรมในเขตพื้นที่เทศบาลเมือง
ย่านตาขาว
2.7 เพื่อฝึกการปฏิบัติการสํารวจพื้นที่ร่วมกับการมีส่วนรวมกับชุมชนหรือ Active Learning ซึ่งเป็น
ส่วนหนึ่งของรายวิชา สาขาสถาปัตยกรรม อันได้แก่
997-200 Architectural Design Criteria and Concepts I
997-312 Computer-aided Design Fundamental
997-420 Measuring Work in Architecture
997-250 Building Technology and Construction I
997-333 Cross-cultural Workshop in Architectural and Urban Design
2.8 เพื่อฝึกปฎิบัติการมีส่วนร่วมระหว่างคณาจารย์มหาวิทยาลัย นักศึกษาและองค์กรต่างๆ ทั้งองค์กร
ส่วนท้องถิ่นและองค์กรอิสระทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
2.9 เพื่อรวบรวมข้อมูลสถาปัตยกรรมและวัฒนธรรมที่ทรงคุณค่าในพื้นที่อําเภอย่านตาขาว จังหวัด
ตรัง เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลสําหรับการศึกษาวิจัยเพื่อการพัฒนาเมืองย่านตาขาวอย่างยั่งยืนในลําดับต่อไป
3. เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
คําขวัญอําเภอย่านตาขาว
สวนป่าโบราณ ชมม่านเมฆหมอก
น้ําตกเต็มป่า ภูผาเทียมเมฆ
ที่มาของชื่อ “ย่านตาขาว”
พ.ศ. 2499 ทางราชการได้พิจารณาเห็นว่า กิ่งอําเภอย่านตาขาว มีความเจริญขึ้นพอสมควร มี
ประชาชนพลเมืองหนาแน่น การคมนาคมระหว่างกิ่งอําเภอ จังหวัด สะดวกและใกล้กว่าจะต้องผ่านไปอําเภอ
กันตัง จึงได้ยกฐานะเป็นอําเภอย่านตาขาว เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2499 และย้ายที่ว่าการกิ่งอําเภอเดิมไป
ปลูกสร้างขึ้นใหม่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ห่างออกไปประมาณ 1 กิโลเมตร ซึ่งเป็นที่ว่าการอําเภอปัจจุบัน
คําว่า "ย่านตาขาว" นั้นอาจมีความหมายแยกเป็นสองพยางค์ พยางค์แรก คือ "ย่าน" ความหมายตาม
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 มีสามความหมายด้วยกัน คือ
"ย่าน" ความหมายที่ 1 หมายถึง แถว, ถิ่น เช่น เขาเป็นคนย่านนี้, บริเวณ เช่น ย่านบางลําพู ย่านสําเพ็ง,
ระยะทางตามกว้างหรือยาวจากตําบลหนึ่งไปตําบลหนึ่ง
"ย่าน" ความหมายที่ 2 หมายถึง เครือเถา เช่น ย่านวันยอ ย่านลิเภา, เรียกรากไทรที่ย้อยลงมาว่า ย่านไทร
- 4 -
"ย่าน" ความหมายที่ 3 หมายถึง ยั่น
พยางค์ที่สอง คือ "ตาขาว" ความหมายตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน หมายถึง แสดงอาการขลาด
กลัว
ดังนั้น "ย่านตาขาว" น่าจะมาจากคําว่า "ย่าน" กับ "ตาขาว" มาผสมคําเรียกเป็น "ย่านตาขาว" เพราะมี
ประวัติกล่าวกันว่าตลาดย่านตาขาวมีภัยธรรมชาติจากน้ําท่วม ปีละ 2-3 ครั้ง แต่ละครั้งน้ําจะท่วมอย่างรวดเร็ว
ประชาชนที่อาศัยอยู่ละแวกนี้ ต่างได้รับความเดือดร้อนจากภัยน้ําท่วมเป็นอย่างมาก ต้องเหน็ดเหนื่อยวุ่นวาย
กับการขนย้ายทรัพย์สิน สัตว์พาหนะ และ สัตว์เลี้ยง ไปไว้ที่ปลอดภัย สาเหตุที่น้ําท่วมแทบทุกปี เพราะตลาด
ย่านตาขาว มีคลองใหญ่ซึ่งมีแคว 3 แคว ใกล้ ๆ ตลาดย่านตาขาว เมื่อถึงฤดูฝนจึงทําให้เกิดน้ําท่วมฉับพลัน ทํา
ให้ผู้อาศัยอยู่บริเวณนี้ต้องตื่นตัวระมัดระวังภัยอยู่เสมอ ซึ่งเป็นเพียงคําสันนิษฐานเท่านั้น
อีกข้อสันนิษฐานหนึ่ง ชื่อบ้านย่านตาขาวนี้ มิได้หมายความว่า คนตาขาวอยู่ในย่านนี้ แต่มีที่มาของชื่อ
ดังนี้ เดิมทีพื้นที่ของอําเภอย่านตาขาว ซึ่งต่อเขตแดนกับอําเภอปะเหลียน มีลําคลองไหลผ่านย่านตาขาวหลาย
สาย เช่น คลองปะเหลียน คลองโพรงจระเข้ คลองพิกุล ไหลผ่านตําบลต่าง ๆ ในอําเภอย่านตาขาว ประชาชน
ปลูกบ้านเรือน ทํามาหากิน แถบริมลําคลอง ซึ่งรกไปด้วยต้นไม้ และ เถาวัลย์ ที่ขึ้นตามริมคลองชนิดหนึ่ง
เรียกว่า "เถาว์ตาขาว" เมื่อราษฎรเข้าไปตัด ถาก ถาง ต้นไม้ริมคลอง เพื่อเพาะปลูกและเพื่อปลูกที่อยู่อาศัย ก็
ตัดเถาวัลย์นี้ด้วย เมื่อตัดเถาวัลย์นี้จะมีน้ําสีขาวไหลออกมาจากตาของเถาวัลย์ เหมือนร้องไห้ คนปักษ์ใต้ เรียก
เถาวัลย์ว่า "ย่าน" และ เรียกชื่อพันธ์ไม้นี้ว่า "ตาขาว" จึงรวมเรียกว่า "ย่านตาขาว" แล้วก็นํามาเรียกเป็นชื่อบ้าน
นี้ว่า "บ้านย่านตาขาว"
อีกลักษณะหนึ่ง การปลูกบ้านริมคลองมีจํานวนมากขึ้นเป็นชุมชน ผู้คนเรียกชุมชนนั้นว่า "ย่าน" และ
นําชื่อเถาวัลย์ที่มีมากในแถบนั้น คือ เถาว์ตาขาว มาเรียกเป็นชื่อหมู่บ้านนี้ว่า "บ้านย่านตาขาว" จนถึงทุกวันนี้
เรื่องนี้เป็นการบอกเล่าต่อกันมา ข้อมูลจึงเป็นเพียงข้อสันนิษฐานเท่านั้น (จากการสอบถาม นายคล้าย มูลเมฆ
ในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2548 )
สภาพพื้นที่
อําเภอย่านตาขาวมีเนื้อที่ 437.2 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเนินสูงๆ ต่ําๆ ที่ราบสูงเริ่มจากทิศ
ตะวันออกเชิงเขาบรรทัดและลาดต่ําไปทางทิศตะวันตกพื้นที่เหมาะแก่การ กสิกรรม มีที่ราบลุ่มเหมาะแก่การ
ทํานา ลักษณะทางภูมิอากาศไม่ร้อนจัดหรือหนาวจัดโดยทั่วไป อุณหภูมิเฉลี่ย 27 องศาเซลเซียส แบ่งออกเป็น
2 ฤดู คือ
- ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือน กุมภาพันธ์ - พฤษภาคม
- ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือน มิถุนายน - มกราคม
โดยอาศัยมรสุมตะวันตกเฉียงใต้จากมหาสมุทรอินเดีย และมรสุมตะวันออกเฉียงใต้จากอ่าวไทย พื้นที่จึงไม่ขาด
แคลนน้ําในการเกษตรตลอดระยะฤดูแล้ง ย่านตาขาวจึงมีความเป็นไปได้ในการพัฒนาศักยภาพให้เป็นเมือง
ท่องเที่ยวเชิงนิเวศและวัฒนธรรมจากสภาพพื้นที่และข้อมูลภูมิอากาศท้องถิ่นที่มีสภาวะน่าสบายตลอดปี
- 5 -
ประกาศกรมโยธาธิการและผังเมือง
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์การใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินเพื่อประโยชน์ในการวาง
และจัดทําผังเมืองรวมในท้องที่จังหวัดตรัง พ.ศ. ๒๕๕๕
- 6 -
ภาพถ่ายมุมสูงพื้นที่เขตเทศบาลเมืองย่านตาขาว
ภาพมุมกว้างของอําเภอย่านตาขาว
เมืองย่านตาขาว มีคลองปะเหลียนไหลตัดผ่านทางทิศใต้
ในเขตเมืองย่านตาขาว มีชุมชน โรงเรียน หอสมุด และตลาด
- 7 -
ภาพถ่ายพื้นที่ รอบตลาดสด อ.ย่านตาขาว
บริเวณตลาด ทางไป หาดสําราญ และ สตูล
บริเวณชุมชนตลาดมีอาคารตึกเก่าสูง 2และ 3ชั้น
มีวัดวัดนิกรรังสฤษดิ์ บริเวณไกล้ 3แยกไฟแดง
- 8 -
ภาพถ่ายพื้นที่คลองประเหลียน อ.ย่านตาขาว
แม่น้ําลําคลอง ยังคงความอุดมสมบูรณ์
คลองประเหลียนไหลผ่านเทศบาลเมืองย่านตาขาว
สถาปัตยกรรมโบราณ
อาคารไม้โบราณแสดงความรุ่งเรืองในอดีต
- 9 -
ชุมชนย่านอาคารเก่าติดกับคลองประเหลียน
มรดกทางธรรมชาติและวัฒนธรรมท้องถิ่น
1. มรดกทางธรรมชาติ
ธรรมชาติในท้องถิ่นอําเภอย่านตาขาวเป็นมรดกอันล้ําค่าอย่างหนึ่ง มีอิทธิพลต่อการดําเนินชีวิตของ
บุคคลในท้องถิ่นเป็นอย่างยิ่ง ได้แก่ ป่าเขา ต้นน้ําลําธาร พืช สัตว์ แร่ธาตุต่างๆ เป็นต้น โดยยกตัวอย่าง
แหล่งน้ําตกธรรมชาติที่สําคัญ ดังนี้
1) น้ําตกสายรุ้ง ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 4 ตําบลนาชุมเห็น อําเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง
- 10 -
2) น้ําตกไพรสวรรค์ ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 4 ตําบลโพรงจระเข้ อําเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง
3) น้ําตกน้ําเค็ม ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 6 ตําบลทุ่งกระบือ อําเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง
2. มรดกทางวัฒนธรรม
มรดกทางวัฒนธรรมท้องถิ่นเป็นสิ่งที่มนุษย์คิดค้นสร้างสมมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันทั้งสิ่งที่เป็น
รูปธรรม เช่น เครื่องมือเครื่องใช้ งานศิลปกรรม งานฝีมือ ศาสนวัตถุ หรือเรียกรวมๆว่า โบรานวัตถุ
ตลอดจนที่อยู่อาศัย สถานที่ประกอบกิจกรรม แหล่งศิลปกรรม สถานที่ท้องเที่ยวเกี่ยงกับเหตุการณ์สําคัญใน
ประวัติศาสตร์ หรือเรียกว่าโบรานสถาน รวมไปถึงหลักฐานการบันทึกเรื่องราว เช่น จารึก หนังสือบุด เป็น
ต้น และสิ่งที่เป็นนามธรรม เช่น ภาษา ขนบธรรมเนียม ประเพณี ความเชื่อ การละเล่นพื้นบ้าน เป็นต้น
และสิ่งเหล่านี้สามารถพบในพื้นที่ อําเภอ ย่านตาขาวได้ เป็นมรดกทางวัฒนธรรมท้องถิ่น ที่แสดงให้เห็นถึง
พัฒนาการของอําเภอย่านตาขาว ตลอดถึงสังคมหรือวิธีชีวิตของอําเภอย่านตาขาวมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
3. มรดกทางสถาปัตยกรรม
- พระพุทธรูป ที่วัดนิกร ถนนตรัง - ปะเหลียน อ.ย่านตาขาว จ.ตรัง
- มัสยิดมัสยิดปากีสถานย่านตาขาว ถนนตรัง - ปะเหลียน อ.ย่านตาขาว จ.ตรัง
- คริสตจักรย่านตาขาว ถนนตรัง - ปะเหลียน อ.ย่านตาขาว จ.ตรัง
- โรงพระ 108-109 ถนนท่าบันได อ.ย่านตาขาว จ.ตรัง
- 11 -
4. งานฝีมือต่างๆ
- ช่างไม้
- ช่างแกะสลัก
- ช่างปั้นปูน
- ด้านจักรสานไม้ไผ่
- ด้านศิลปะวาดรูป
5. ภาษาและวรรณกรรม
ภาษาและวรรณกรรมเป็นเครื่องมือสื่อสารที่สําคัญยิ่งของมนุษย์ เป็นมรดกทางเอกลักษณ์อันล่ําค่า
เป็นสิ่งแสดงออกถึงภูมิปัญญา อารยธรรม เสรีภาพ ความภาคภูมิใจเอกลักษณ์และเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวชีวิต
จิตใจ ของปวงชนทั้งชาติ อําเภอย่านตาขาวเป็นอําเภอหนึ่งที่มีการพัฒนาการทางด้านสังคมและวัฒนธรรม
เป็นระยะเวลาอันยาวนาน
4. ระเบียบวิธีวิจัย
ประกอบด้วยหัวข้อดังต่อไปนี้
4.1 ศึกษาค้นคว้าเอกสารข้อมูลพื้นฐานของอําเภอย่านตาขาวและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
4.2 ประสานงานกับองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นเพื่อวางแนวทางการทํางานร่วมและการสนับสนุน
4.3 สํารวจพื้นที่ในเขตเทศบาลเมืองย่านตาขาวและพื้นที่ใกล้เคียงเพื่อค้นหา และรวบรวม ข้อมูลทาง
สถาปัตยกรรมและแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ
4.4 สัมภาษณ์ปราญชาวบ้าน เพื่อรวบรวมข้อมูลทางประเพณีวัฒนธรรม
4.5 จัดทําแผนที่แหล่งมรดกทางสถาปัตยกรรมในเขตพื้นที่
4.6 ติดตั้งอุปกรณ์สําหรับการรังวัดสถาปัตยกรรมที่ควรค่าแก่การอนุรักษณ์
4.7 เก็บข้อมูลผลการสํารวจและรังวัดแบบทางสถาปัตยกรรมโดยใช้โปรแกรม Autocad และ
โปรแกรม Sketch Up
4.8 จัดทําแบบจําลองทางสถาปัตยกรรม
4.9 สํารวจและสัมภาษณ์บ้านผู้ที่อาศัยร่วมกับคนพิการ
4.10 วิเคราะห์ข้อมูล และสรุปผลการประเมินความเป็นไปได้ของย่านตาขาวโมเดล
- 12 -
5. แผนงานของโครงการ
คําถามการวิจัย วิธีวิจัย กิจกรรม ผลที่คาดว่าจะได้รับ วัน/เวลา
ดําเนินการ
1. อุปสรรคที่ส่งผล
ต่อการพัฒนาเมือง
ย่านตาขาวในช่วง
10 ปีที่ผ่านมา คือ
อะไร
1.การวิจัยเชิง
สํารวจ
1. สํารวจข้อมูลสภาพ
ภูมิอากาศ ภูมิประเทศ
2.สํารวจข้อมูล
ประชากร อาชีพและ
รายได้เฉลี่ยต่อคน
3.สํารวจปัจจัยภายใน
และปัจจัยภายนอกที่
เป็นอุปสรรคต่อการ
พัฒนาเมืองย่านตาขาว
ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา
1. ข้อมูลเฉพาะ
ภูมิอากาศ ภูมิประเทศ
ของอําเภอย่านตาขาว
2. ข้อมูลประชากร
อาชีพและรายได้เฉลี่ยต่อ
คน
3.ปัจจัยภายในและ
ปัจจัยภายนอกที่เป็น
อุปสรรคต่อการพัฒนา
เมืองย่านตาขาวในช่วง
10 ปีที่ผ่านมา
1 พฤษภาคม –
30 กันยายน
2559
2.แหล่งมรดกทาง
สถาปัตยกรรมใน
พื้นที่เทศบาล
อําเภอย่านตาขาว
ตั้งอยู่ในบริเวณใด
1.การวิจัยเชิง
สํารวจ
1. สํารวจแหล่งมรดก
ทางสถาปัตยกรรมใน
พื้นที่
1. ได้แผนที่แหล่งมรดก
ทางสถาปัตยกรรม
1 พฤษภาคม –
30 กันยายน
2559
3.สถาปัตยกรรมที่
ควรค่าแก่การอนุ
รักษณ์และเก็บ
ข้อมูลสํารวจรังวัด
มีจํานวนกี่หลัง
1.การวิจัยเชิง
สํารวจ
1. สํารวจอาคารเก่าที่
ควรค่าแก่การอนุ
รักษณ์
2. รังวัดพื้นที่ สัดส่วน
สถาปัตยกรรมที่ได้จาก
การสํารวจข้อที่1
1. จํานวนอาคารพื้นถิ่น
ดั้งเดิมในพื้นที่เขต
เทศบาลอําเภอย่านตา
ขาว
2. ผลการสํารวจรังวัด
อาคารแสดงผลเป็น
ขนาดพื้นที่ใช้สอยอาคาร
, สัดส่วนและแบบทาง
สถาปัตยกรรม
1 พฤษภาคม –
30 กันยายน
2559
- 13 -
คําถามการวิจัย วิธีวิจัย กิจกรรม ผลที่คาดว่าจะได้รับ วัน/เวลา
ดําเนินการ
4.อัตลักษณ์ของ
พื้นที่ทาง
สถาปัตยกรรมของ
อําเภอย่านตาขาว
และกิจกรรม
เฉพาะคืออะไร
1.การวิจัยเชิง
สํารวจ
1. สํารวจกิจกรรมที่
เกิดขึ้นในเมือง Urban
Spaces, Urban
Activities
2.สัมภาษณ์พฤติกรรม
และวิวัฒนาการณ์การ
ใช้พื้นที่ในเมืองใน
รูปแบบต่างๆตั้งแต่
อดีตถึงปัจจุบัน
1. ได้รูปแบบการใช้งาน
พื้นที่ร่วมของประชาชน
ในเขตเมืองย่านตาขาว
2.แสดงจํานวนพื้นที่ที่ใช้
ร่วมกันในเมืองและ
กิจกรรมที่เปลี่ยนไปตาม
ช่วงเวลาและความ
เชื่อมโยงตั้งแต่อดีตถึง
ปัจจุบัน
1 พฤษภาคม –
30 กันยายน
2559
5. ความต้องการ
พื้นฐานของ
บ้านพักอาศัย
ร่วมกับคนพิการ
เป็นอย่างไร
1.การวิจัยเชิง
สํารวจ
1.ตรวจสอบการใช้งาน
บ้านพักอาศัย
กรณีศึกษา
2.สอบถามความ
ต้องการจากผู้ใช้งาน
คือคนพิการและผู้ใช้
อาคารร่วมกับคนพิการ
1. ทราบลักษณะใช้สอย
อาคารร่วมกับคนพิการ
2.เป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อ
ศึกษาแนวทางการ
แก้ปัญหา
1 พฤษภาคม –
30 กันยายน
2559
6. เส้นทาง
ท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
และวัฒนธรรมใน
เขตพื้นที่เทศบาล
เมืองย่านตาขาว
มีจํานวนกี่เส้นทาง
1.การวิจัยเชิง
สํารวจ
1.สํารวจเส้นทาง
ท่องเที่ยวเชิงนิเวศและ
วัฒนธรรมในเขตพื้นที่
เทศบาลเมืองย่านตา
ขาว
1.จํานวนเส้นทาง
ท่องเที่ยวเชิงนิเวศและ
วัฒนธรรมในเขตพื้นที่
เทศบาล อ.ย่านตาขาว
1 พฤษภาคม –
30 กันยายน
2559
- 14 -
6. ผลที่คาดว่าจะได้รับ (Outputs)
ระยะเวลา กิจกรรม ผลที่คาดว่าจะได้รับ
เดือนที่ 1-3
1 พฤษภาคม –
1 สิงหาคม 2559
1. ข้อมูลพื้นฐานสภาพภูมิอากาศ ภูมิ
ประเทศ ชาติพันธุ์ ประเพณี
วัฒนธรรม และอุปสรรคที่ส่งผลต่อ
การพัฒนาเมืองย่านตาขาวในช่วง 10
ปีที่ผ่านมา
2. สํารวจแหล่งมรดกทาง
สถาปัตยกรรมในพื้นที่เทศบาลอําเภอ
ย่านตาขาว
3. รังวัดสถาปัตยกรรมที่คงไว้ซึ่งภูมิ
ปัญญาท้องถิ่นและควรค่าแก่การอนุ
รักษณ์
1.รายงานข้อมูลพื้นฐานสภาพภูมิอากาศ ภูมิ
ประเทศ จํานวนประชากร อาชีพและรายได้เฉลี่ย
ต่อคน และประเด็นปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อการ
พัฒนาเมืองย่านตาขาวในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา
2.แผนที่แหล่งมรดกทางสถาปัตยกรรมในพื้นที่
เทศบาลอําเภอย่านตาขาว
- โมเดลจําลองผังเมืองเทศบาลย่านตาขาวที่ระบุ
โซนอาคารอนุรักษณ์
3. แบบทางสถาปัตยกรรมของอาคารพื้นถิ่นดั้งเดิม
ในพื้นที่เขตเทศบาลอําเภอย่านตาขาวที่แสดงผล
เป็น
- แปลน รูปด้าน รูปตัดอาคาร
- แบบจําลอง 3 มิติด้วยคอมพิวเตอร์ของ
สถาปัตยกรรมอนุรักษณ์
- โมเดลสถาปัตยกรรมอนุรักษณ์
เดือนที่ 4 - 5
2 สิงหาคม – 30
กันยายน 2559
1. อัตลักษณ์ของพื้นที่ทาง
สถาปัตยกรรมที่แสดงวิวัฒนาการณ์
ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันของอําเภอย่าน
ตาขาว
2. ความต้องการพื้นฐานของบ้านพัก
อาศัยร่วมกับคนพิการ
3. สํารวจความเป็นไปได้ของเส้นทาง
ท่องเที่ยวเชิงนิเวศและวัฒนธรรมใน
เขตพื้นที่
1. รายงานแสดงผลพื้นที่และกิจกรรมที่เปลี่ยนไป
ตามช่วงเวลาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันของ
สถาปัตยกรรมในเขตเทศบาลเมืองย่านตาขาวและ
อิทธิพลที่เกี่ยวข้อง
2.รายงานลักษณะใช้สอยอาคารร่วมกับคนพิการ
3.แผนที่แหล่งมรดกทางสถาปัตยกรรมในพื้นที่
เทศบาลอําเภอย่านตาขาวและรูปแบบกิจกรรมที่
เป็นไปได้ในพื้นที่
- 15 -
7. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ (Outcomes)
1) มหาวิทยาลัย
- มหาวิทยาลัยเกิดการบูรณาการงานร่วมกับชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม : มหาวิทยาลัย ชุมชน
นักศึกษา ภาครัฐ และภาคเอกชน
- สนับสนุนกระบวนการเรียนการสอนแบบ Active Learning
- ความตระหนักและการมีส่วนร่วมของนักศึกษาต่อปัญหาของชุมชน
- อาจารย์มีส่วนร่วมในการเข้าไปแก้ปัญหาและทํางานร่วมกับชุมชน
- การประยุกต์องค์ความรู้ในมหาวิทยาลัยเข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาพื้นที่จริง
- เกิด Social Lab คือ การใช้สถานะการณ์และพื้นที่จริงเป็นห้องทดลองและห้องเรียนของนักศึกษา
การเรียนรู้นอกห้องเรียน และการเรียนรู้จากการปฎิบัติจริง
2) ชุมชน
- การบริหารจัดการทุนทางมรดกวัฒนธรรม มรดกทางธรรมชาติและมรดกทางสถาปัตยกรรม
- เป็นข้อมูลพื้นฐานของการวางแผนการพัฒนาเมืองย่านตาขาวอย่างยั่งยืน บนพื้นฐานของการ
สร้างรายได้ให้กับชุมชนอย่างยั่งยืนและชุมชนสามารถอยู่ได้ด้วยตนเอง
-
8. แนวทางในการนําผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ประชาชนและชุมชนในท้องถิ่นคือศูนย์กลางของการระบุปัญหา ดังนั้นทุกขั้นตอนชุมชนสามารถนําไป
ปรับใช้ประโยชน์ได้ ผ่านกระบวนการสนับสนุนขององค์การส่วนท้องถิ่น จังหวัดและภาคเอกชน ด้วยวิธีการ
ดังนี้
- การจัดนิทรรศการเล่าเรื่องเมืองย่านตาขาว
- การเปิดถนนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ผ่านการสนับสนุนของเทศบาลเมืองย่านตาขาว
9. บรรณานุกรม
เทศบาลตําบลย่านตาขาว. (2551). แผนพัฒนาชุมชนสามปี (พศ.2552-2554). ตรัง : เทศบาลตําบลย่านตา
ขาว
เทศบาลตําบลย่านตาขาว. (2552). แผนชุมชน. ตรัง : เทศบาลตําบลย่านตาขาว
อรทัย คงสิน และคณะ.(2552). ข้อมูลพื้นฐานศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. ตรัง:
กศน. ย่านตาขาว
- 16 -
10. ภาคผนวก
ประวัติของนักวิจัยที่เข้าร่วมโครงการ
รายชื่อ
และเลขประจําตัวประชาชน
คุณวุฒิ/สาขาวิชา/ปีที่สําเร็จการศึกษา
นางสาวชาวดี ง่วนสน
1 9299 00004 27 2
- Master of Architecture, University of Tasmania,
Australia, 2554
- สถ.บ. (สถาปัตยกรรม), มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2550
นางสาวโอปอร์ ชัยสง่าพงษ์
1 1017 00006 05 1
- Master of Arts (MA) in Architecture, Cultural Identity and
Globalisation , University of Westminster, United Kingdom,
2554
- สถ.บ. (สถาปัตยกรรม), มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2550
นายวรวุฒิ มัธยันต์
3 9299 00285 52 9
- สถ.ม.(นวัตกรรมอาคาร), มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2553
- สถ.บ. (สถาปัตยกรรม), มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2546
นายคัมภีร์ คล้ามนฤมล
3 1601 00217 69 2
- ผ.ม. (การวางผังเมือง), จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
- สถ.บ. (สถาปัตยกรรม) เกียรตินิยมอันดับสอง, มหาวิทยาลัยเกษม
บัณฑิต, 2536
นายภวัต รอดเข็ม
3 9201 00729 43 2
- สถ.ม. (นวัตกรรมอาคาร), มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2552
- สถ.บ. (เทคโนโลยีสถาปัตยกรรม), สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล,
2547
นายตรีชาติ เลาแก้วหนู
3 9206 00185 32 6
- ผ.ม. (การวางผังชุมชน), จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
- Diploma in Urban Renewal and Planning, University of
Cergy Pontoise, France, 2006
- สถ.บ. (สถาปัตยกรรม), จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
นายสมพงษ์ กฤตธรรมากุล
3 9299 00178 50 1
- ผ.ม. (การออกแบบชุมชนเมือง), จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
- สถ.บ. (สถาปัตยกรรม), จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548

More Related Content

What's hot

กรอบรูปสวยด้วย GSP
กรอบรูปสวยด้วย GSPกรอบรูปสวยด้วย GSP
กรอบรูปสวยด้วย GSPwaranyuati
 
ตะไคร้หอมไล่ยุง
ตะไคร้หอมไล่ยุงตะไคร้หอมไล่ยุง
ตะไคร้หอมไล่ยุงAoF-Monkey Nuttapong
 
คำสั่ง กิจกรรมวันแม่แห่งชาติ 2559
คำสั่ง กิจกรรมวันแม่แห่งชาติ 2559คำสั่ง กิจกรรมวันแม่แห่งชาติ 2559
คำสั่ง กิจกรรมวันแม่แห่งชาติ 2559ยุทธกิจ สัตยาวุธ
 
ระบบการจัดการภาวะฉุกเฉินสหรัฐอเมริกา NIMS
ระบบการจัดการภาวะฉุกเฉินสหรัฐอเมริกา NIMSระบบการจัดการภาวะฉุกเฉินสหรัฐอเมริกา NIMS
ระบบการจัดการภาวะฉุกเฉินสหรัฐอเมริกา NIMSPongsatorn Sirisakorn
 
กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง
กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดงกาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง
กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดงLakkana Wuittiket
 
บทที่ 1 สารสนเทศและการรู้สารสนเทศ
บทที่ 1 สารสนเทศและการรู้สารสนเทศบทที่ 1 สารสนเทศและการรู้สารสนเทศ
บทที่ 1 สารสนเทศและการรู้สารสนเทศKanitta_p
 
โครงงานคณิตศาสตร์ (1)
โครงงานคณิตศาสตร์ (1)โครงงานคณิตศาสตร์ (1)
โครงงานคณิตศาสตร์ (1)Nomjeab Nook
 
รวมแบบประเมินก่อนและหลังใช้นวัตกรรม
รวมแบบประเมินก่อนและหลังใช้นวัตกรรมรวมแบบประเมินก่อนและหลังใช้นวัตกรรม
รวมแบบประเมินก่อนและหลังใช้นวัตกรรมJirathorn Buenglee
 
บทที่ 1 อัตราส่วนและร้อยละ
บทที่ 1 อัตราส่วนและร้อยละบทที่ 1 อัตราส่วนและร้อยละ
บทที่ 1 อัตราส่วนและร้อยละsawed kodnara
 
ตัวอย่างหนังสือระเบียบ
ตัวอย่างหนังสือระเบียบตัวอย่างหนังสือระเบียบ
ตัวอย่างหนังสือระเบียบWoodyThailand
 

What's hot (20)

ใบความรู้กาพย์เห่เรือ
ใบความรู้กาพย์เห่เรือใบความรู้กาพย์เห่เรือ
ใบความรู้กาพย์เห่เรือ
 
รายงาน
รายงานรายงาน
รายงาน
 
กรอบรูปสวยด้วย GSP
กรอบรูปสวยด้วย GSPกรอบรูปสวยด้วย GSP
กรอบรูปสวยด้วย GSP
 
หมวกสีขาว
หมวกสีขาวหมวกสีขาว
หมวกสีขาว
 
รายงาน
รายงานรายงาน
รายงาน
 
ตะไคร้หอมไล่ยุง
ตะไคร้หอมไล่ยุงตะไคร้หอมไล่ยุง
ตะไคร้หอมไล่ยุง
 
คำสั่ง กิจกรรมวันแม่แห่งชาติ 2559
คำสั่ง กิจกรรมวันแม่แห่งชาติ 2559คำสั่ง กิจกรรมวันแม่แห่งชาติ 2559
คำสั่ง กิจกรรมวันแม่แห่งชาติ 2559
 
009 รายงาน
009 รายงาน009 รายงาน
009 รายงาน
 
ระบบการจัดการภาวะฉุกเฉินสหรัฐอเมริกา NIMS
ระบบการจัดการภาวะฉุกเฉินสหรัฐอเมริกา NIMSระบบการจัดการภาวะฉุกเฉินสหรัฐอเมริกา NIMS
ระบบการจัดการภาวะฉุกเฉินสหรัฐอเมริกา NIMS
 
กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง
กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดงกาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง
กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง
 
Social network direct media
Social network direct mediaSocial network direct media
Social network direct media
 
กลุ่มที่ ๒
กลุ่มที่ ๒กลุ่มที่ ๒
กลุ่มที่ ๒
 
บทที่ 1 สารสนเทศและการรู้สารสนเทศ
บทที่ 1 สารสนเทศและการรู้สารสนเทศบทที่ 1 สารสนเทศและการรู้สารสนเทศ
บทที่ 1 สารสนเทศและการรู้สารสนเทศ
 
การบวกเลข ป.1
การบวกเลข ป.1การบวกเลข ป.1
การบวกเลข ป.1
 
โครงงานคณิตศาสตร์ (1)
โครงงานคณิตศาสตร์ (1)โครงงานคณิตศาสตร์ (1)
โครงงานคณิตศาสตร์ (1)
 
รวมแบบประเมินก่อนและหลังใช้นวัตกรรม
รวมแบบประเมินก่อนและหลังใช้นวัตกรรมรวมแบบประเมินก่อนและหลังใช้นวัตกรรม
รวมแบบประเมินก่อนและหลังใช้นวัตกรรม
 
ลำดับเรขาคณิต (Geometric sequence)
ลำดับเรขาคณิต (Geometric sequence)ลำดับเรขาคณิต (Geometric sequence)
ลำดับเรขาคณิต (Geometric sequence)
 
บทที่ 1 อัตราส่วนและร้อยละ
บทที่ 1 อัตราส่วนและร้อยละบทที่ 1 อัตราส่วนและร้อยละ
บทที่ 1 อัตราส่วนและร้อยละ
 
SCG Financial Presentation
SCG Financial PresentationSCG Financial Presentation
SCG Financial Presentation
 
ตัวอย่างหนังสือระเบียบ
ตัวอย่างหนังสือระเบียบตัวอย่างหนังสือระเบียบ
ตัวอย่างหนังสือระเบียบ
 

Similar to ย่านตาขาวโมเดล

สภาคนแป้ : เครือข่ายลูกหลานเมืองแพร่
สภาคนแป้ : เครือข่ายลูกหลานเมืองแพร่สภาคนแป้ : เครือข่ายลูกหลานเมืองแพร่
สภาคนแป้ : เครือข่ายลูกหลานเมืองแพร่FURD_RSU
 
Kick off nrct
Kick off nrctKick off nrct
Kick off nrctrattapol
 
โครงการวรรณกรรมอาเซียนกับคติชน ประชาสัมพันธ์
โครงการวรรณกรรมอาเซียนกับคติชน  ประชาสัมพันธ์โครงการวรรณกรรมอาเซียนกับคติชน  ประชาสัมพันธ์
โครงการวรรณกรรมอาเซียนกับคติชน ประชาสัมพันธ์pyopyo
 
ตัวอย่าง บทที่1-2 การสำรวจทัศนคติหรือความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว
ตัวอย่าง บทที่1-2 การสำรวจทัศนคติหรือความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวตัวอย่าง บทที่1-2 การสำรวจทัศนคติหรือความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว
ตัวอย่าง บทที่1-2 การสำรวจทัศนคติหรือความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวสำเร็จ นางสีคุณ
 
แบบสอบถาม ความพึงพอใจ นักท่องเที่ยว หน้า 41
แบบสอบถาม  ความพึงพอใจ นักท่องเที่ยว หน้า 41แบบสอบถาม  ความพึงพอใจ นักท่องเที่ยว หน้า 41
แบบสอบถาม ความพึงพอใจ นักท่องเที่ยว หน้า 41สำเร็จ นางสีคุณ
 
อินเทอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ตอินเทอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ตdlled
 
Nrct northern initiatives
Nrct northern initiativesNrct northern initiatives
Nrct northern initiativesrattapol
 
รายงานผลการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาสามปี (พ.ศ.2560-2562) ผลการดำเนินงานประจ...
รายงานผลการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาสามปี (พ.ศ.2560-2562) ผลการดำเนินงานประจ...รายงานผลการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาสามปี (พ.ศ.2560-2562) ผลการดำเนินงานประจ...
รายงานผลการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาสามปี (พ.ศ.2560-2562) ผลการดำเนินงานประจ...Kanjana thong
 
โครงการห้วยองคต
โครงการห้วยองคตโครงการห้วยองคต
โครงการห้วยองคตjeabjeabloei
 
โครงการเพื่อขับเคลื่อนงานเด็กและเยาวชนแบบบูรณาการระดับจังอุบลราชธานี
โครงการเพื่อขับเคลื่อนงานเด็กและเยาวชนแบบบูรณาการระดับจังอุบลราชธานีโครงการเพื่อขับเคลื่อนงานเด็กและเยาวชนแบบบูรณาการระดับจังอุบลราชธานี
โครงการเพื่อขับเคลื่อนงานเด็กและเยาวชนแบบบูรณาการระดับจังอุบลราชธานีMr-Dusit Kreachai
 
เอกสารนำเสนอนวัตกรรมNonsi 3 s together(20แผ่น)
เอกสารนำเสนอนวัตกรรมNonsi 3 s together(20แผ่น)เอกสารนำเสนอนวัตกรรมNonsi 3 s together(20แผ่น)
เอกสารนำเสนอนวัตกรรมNonsi 3 s together(20แผ่น)Kobwit Piriyawat
 
หนังสืออบรม
หนังสืออบรมหนังสืออบรม
หนังสืออบรมMr-Dusit Kreachai
 
หนังสือเชิญอบรมหลักสูตร
หนังสือเชิญอบรมหลักสูตรหนังสือเชิญอบรมหลักสูตร
หนังสือเชิญอบรมหลักสูตรMr-Dusit Kreachai
 

Similar to ย่านตาขาวโมเดล (20)

สภาคนแป้ : เครือข่ายลูกหลานเมืองแพร่
สภาคนแป้ : เครือข่ายลูกหลานเมืองแพร่สภาคนแป้ : เครือข่ายลูกหลานเมืองแพร่
สภาคนแป้ : เครือข่ายลูกหลานเมืองแพร่
 
Kick off nrct
Kick off nrctKick off nrct
Kick off nrct
 
โครงการวรรณกรรมอาเซียนกับคติชน ประชาสัมพันธ์
โครงการวรรณกรรมอาเซียนกับคติชน  ประชาสัมพันธ์โครงการวรรณกรรมอาเซียนกับคติชน  ประชาสัมพันธ์
โครงการวรรณกรรมอาเซียนกับคติชน ประชาสัมพันธ์
 
บทที่ 2
บทที่ 2บทที่ 2
บทที่ 2
 
ตัวอย่าง บทที่1-2 การสำรวจทัศนคติหรือความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว
ตัวอย่าง บทที่1-2 การสำรวจทัศนคติหรือความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวตัวอย่าง บทที่1-2 การสำรวจทัศนคติหรือความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว
ตัวอย่าง บทที่1-2 การสำรวจทัศนคติหรือความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว
 
แบบสอบถาม ความพึงพอใจ นักท่องเที่ยว หน้า 41
แบบสอบถาม  ความพึงพอใจ นักท่องเที่ยว หน้า 41แบบสอบถาม  ความพึงพอใจ นักท่องเที่ยว หน้า 41
แบบสอบถาม ความพึงพอใจ นักท่องเที่ยว หน้า 41
 
Good practice watcharee
Good practice watchareeGood practice watcharee
Good practice watcharee
 
อินเทอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ตอินเทอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ต
 
Nrct northern initiatives
Nrct northern initiativesNrct northern initiatives
Nrct northern initiatives
 
V 289
V 289V 289
V 289
 
Is pre
Is preIs pre
Is pre
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2561
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2561NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2561
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2561
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2562
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2562NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2562
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2562
 
รายงานผลการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาสามปี (พ.ศ.2560-2562) ผลการดำเนินงานประจ...
รายงานผลการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาสามปี (พ.ศ.2560-2562) ผลการดำเนินงานประจ...รายงานผลการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาสามปี (พ.ศ.2560-2562) ผลการดำเนินงานประจ...
รายงานผลการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาสามปี (พ.ศ.2560-2562) ผลการดำเนินงานประจ...
 
โครงการห้วยองคต
โครงการห้วยองคตโครงการห้วยองคต
โครงการห้วยองคต
 
Planict2552 2556
Planict2552 2556Planict2552 2556
Planict2552 2556
 
โครงการเพื่อขับเคลื่อนงานเด็กและเยาวชนแบบบูรณาการระดับจังอุบลราชธานี
โครงการเพื่อขับเคลื่อนงานเด็กและเยาวชนแบบบูรณาการระดับจังอุบลราชธานีโครงการเพื่อขับเคลื่อนงานเด็กและเยาวชนแบบบูรณาการระดับจังอุบลราชธานี
โครงการเพื่อขับเคลื่อนงานเด็กและเยาวชนแบบบูรณาการระดับจังอุบลราชธานี
 
เอกสารนำเสนอนวัตกรรมNonsi 3 s together(20แผ่น)
เอกสารนำเสนอนวัตกรรมNonsi 3 s together(20แผ่น)เอกสารนำเสนอนวัตกรรมNonsi 3 s together(20แผ่น)
เอกสารนำเสนอนวัตกรรมNonsi 3 s together(20แผ่น)
 
หนังสืออบรม
หนังสืออบรมหนังสืออบรม
หนังสืออบรม
 
หนังสือเชิญอบรมหลักสูตร
หนังสือเชิญอบรมหลักสูตรหนังสือเชิญอบรมหลักสูตร
หนังสือเชิญอบรมหลักสูตร
 

More from Pattie Pattie

สรุปการประชุม AAR การเข้าร่วมงาน HA National Forum ครั้งที่ 24 จาก กสศ
สรุปการประชุม AAR การเข้าร่วมงาน HA National Forum ครั้งที่ 24 จาก กสศสรุปการประชุม AAR การเข้าร่วมงาน HA National Forum ครั้งที่ 24 จาก กสศ
สรุปการประชุม AAR การเข้าร่วมงาน HA National Forum ครั้งที่ 24 จาก กสศPattie Pattie
 
สรุป Schools That Matter วันที่ 10 เมษายน 2567
สรุป Schools That Matter วันที่ 10 เมษายน 2567สรุป Schools That Matter วันที่ 10 เมษายน 2567
สรุป Schools That Matter วันที่ 10 เมษายน 2567Pattie Pattie
 
รูปแบบการขยายผลการจัดการเรียนรู้การแพทย์ฉุกเฉิน
รูปแบบการขยายผลการจัดการเรียนรู้การแพทย์ฉุกเฉินรูปแบบการขยายผลการจัดการเรียนรู้การแพทย์ฉุกเฉิน
รูปแบบการขยายผลการจัดการเรียนรู้การแพทย์ฉุกเฉินPattie Pattie
 
AIforTeaching โดย รศ. ดร. สิริวุฒิ บูรณพิร
AIforTeaching โดย รศ. ดร. สิริวุฒิ บูรณพิรAIforTeaching โดย รศ. ดร. สิริวุฒิ บูรณพิร
AIforTeaching โดย รศ. ดร. สิริวุฒิ บูรณพิรPattie Pattie
 
การบริหารวิชาการและหลักสูตร บรรยายโดย ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช
การบริหารวิชาการและหลักสูตร บรรยายโดย ศ.นพ.วิจารณ์ พานิชการบริหารวิชาการและหลักสูตร บรรยายโดย ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช
การบริหารวิชาการและหลักสูตร บรรยายโดย ศ.นพ.วิจารณ์ พานิชPattie Pattie
 
The Lancet Commission on peaceful societies through health equity and gender ...
The Lancet Commission on peaceful societies through health equity and gender ...The Lancet Commission on peaceful societies through health equity and gender ...
The Lancet Commission on peaceful societies through health equity and gender ...Pattie Pattie
 
คณะพยาบาลศาสตร์ สบช KMSharingforLearningOrganization
คณะพยาบาลศาสตร์ สบช KMSharingforLearningOrganizationคณะพยาบาลศาสตร์ สบช KMSharingforLearningOrganization
คณะพยาบาลศาสตร์ สบช KMSharingforLearningOrganizationPattie Pattie
 
การประชุมกลุ่มสามพราน ตระกูล ส โดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี
การประชุมกลุ่มสามพราน ตระกูล ส โดย ศ.นพ.ประเวศ วะสีการประชุมกลุ่มสามพราน ตระกูล ส โดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี
การประชุมกลุ่มสามพราน ตระกูล ส โดย ศ.นพ.ประเวศ วะสีPattie Pattie
 
Transformative Education——Pearls in Medical Education 2567
Transformative Education——Pearls in Medical Education 2567Transformative Education——Pearls in Medical Education 2567
Transformative Education——Pearls in Medical Education 2567Pattie Pattie
 
ResearchfoundationPro.pdf
ResearchfoundationPro.pdfResearchfoundationPro.pdf
ResearchfoundationPro.pdfPattie Pattie
 
PMAYP2024_Opening speech (Prof. Vicharn).pdf
PMAYP2024_Opening speech (Prof. Vicharn).pdfPMAYP2024_Opening speech (Prof. Vicharn).pdf
PMAYP2024_Opening speech (Prof. Vicharn).pdfPattie Pattie
 
KrungthepThaonUniv.pptx
KrungthepThaonUniv.pptxKrungthepThaonUniv.pptx
KrungthepThaonUniv.pptxPattie Pattie
 
จาก KM สู่ SLC.pptx
จาก KM สู่ SLC.pptxจาก KM สู่ SLC.pptx
จาก KM สู่ SLC.pptxPattie Pattie
 

More from Pattie Pattie (20)

สรุปการประชุม AAR การเข้าร่วมงาน HA National Forum ครั้งที่ 24 จาก กสศ
สรุปการประชุม AAR การเข้าร่วมงาน HA National Forum ครั้งที่ 24 จาก กสศสรุปการประชุม AAR การเข้าร่วมงาน HA National Forum ครั้งที่ 24 จาก กสศ
สรุปการประชุม AAR การเข้าร่วมงาน HA National Forum ครั้งที่ 24 จาก กสศ
 
สรุป Schools That Matter วันที่ 10 เมษายน 2567
สรุป Schools That Matter วันที่ 10 เมษายน 2567สรุป Schools That Matter วันที่ 10 เมษายน 2567
สรุป Schools That Matter วันที่ 10 เมษายน 2567
 
รูปแบบการขยายผลการจัดการเรียนรู้การแพทย์ฉุกเฉิน
รูปแบบการขยายผลการจัดการเรียนรู้การแพทย์ฉุกเฉินรูปแบบการขยายผลการจัดการเรียนรู้การแพทย์ฉุกเฉิน
รูปแบบการขยายผลการจัดการเรียนรู้การแพทย์ฉุกเฉิน
 
AIforTeaching โดย รศ. ดร. สิริวุฒิ บูรณพิร
AIforTeaching โดย รศ. ดร. สิริวุฒิ บูรณพิรAIforTeaching โดย รศ. ดร. สิริวุฒิ บูรณพิร
AIforTeaching โดย รศ. ดร. สิริวุฒิ บูรณพิร
 
การบริหารวิชาการและหลักสูตร บรรยายโดย ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช
การบริหารวิชาการและหลักสูตร บรรยายโดย ศ.นพ.วิจารณ์ พานิชการบริหารวิชาการและหลักสูตร บรรยายโดย ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช
การบริหารวิชาการและหลักสูตร บรรยายโดย ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช
 
The Lancet Commission on peaceful societies through health equity and gender ...
The Lancet Commission on peaceful societies through health equity and gender ...The Lancet Commission on peaceful societies through health equity and gender ...
The Lancet Commission on peaceful societies through health equity and gender ...
 
คณะพยาบาลศาสตร์ สบช KMSharingforLearningOrganization
คณะพยาบาลศาสตร์ สบช KMSharingforLearningOrganizationคณะพยาบาลศาสตร์ สบช KMSharingforLearningOrganization
คณะพยาบาลศาสตร์ สบช KMSharingforLearningOrganization
 
การประชุมกลุ่มสามพราน ตระกูล ส โดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี
การประชุมกลุ่มสามพราน ตระกูล ส โดย ศ.นพ.ประเวศ วะสีการประชุมกลุ่มสามพราน ตระกูล ส โดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี
การประชุมกลุ่มสามพราน ตระกูล ส โดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี
 
Transformative Education——Pearls in Medical Education 2567
Transformative Education——Pearls in Medical Education 2567Transformative Education——Pearls in Medical Education 2567
Transformative Education——Pearls in Medical Education 2567
 
ResearchfoundationPro.pdf
ResearchfoundationPro.pdfResearchfoundationPro.pdf
ResearchfoundationPro.pdf
 
PMAYP2024_Opening speech (Prof. Vicharn).pdf
PMAYP2024_Opening speech (Prof. Vicharn).pdfPMAYP2024_Opening speech (Prof. Vicharn).pdf
PMAYP2024_Opening speech (Prof. Vicharn).pdf
 
670111_PDF.pdf
670111_PDF.pdf670111_PDF.pdf
670111_PDF.pdf
 
NoteMemoCare.pdf
NoteMemoCare.pdfNoteMemoCare.pdf
NoteMemoCare.pdf
 
KrungthepThaonUniv.pptx
KrungthepThaonUniv.pptxKrungthepThaonUniv.pptx
KrungthepThaonUniv.pptx
 
จาก KM สู่ SLC.pptx
จาก KM สู่ SLC.pptxจาก KM สู่ SLC.pptx
จาก KM สู่ SLC.pptx
 
Udom_Pdf.pdf
Udom_Pdf.pdfUdom_Pdf.pdf
Udom_Pdf.pdf
 
Kregrit_Pdf.pdf
Kregrit_Pdf.pdfKregrit_Pdf.pdf
Kregrit_Pdf.pdf
 
Phuket_sandbox.pdf
Phuket_sandbox.pdfPhuket_sandbox.pdf
Phuket_sandbox.pdf
 
Surin_ppt.pptx
Surin_ppt.pptxSurin_ppt.pptx
Surin_ppt.pptx
 
Nakornsawan.pdf
Nakornsawan.pdfNakornsawan.pdf
Nakornsawan.pdf
 

ย่านตาขาวโมเดล

  • 1. วาระที่ .1 โครงการยานตาขาวโมเดล โครงการยานตาขาวโมเดล เปนชุดงานวิจัยภายใตโครงการบริการวิชาการของคณะสถาปตยกรรมศาสตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร วิทยาเขตตรัง รวมกับองคกรปกครองสวนทองถิ่น และภาคประชาชนในพื้นที่อําเภอ ยานตาขาว จังหวัดตรัง ภายใตการสนับสนุนงบประมาณจากหนวยพันธกิจสัมพันธมหาวิทยาลัยกับสังคม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร งบประมาณเงินแผนดิน ประจําปงบประมาณ 2559 – 2560 โดยในปงบประมาณ 2559 คณะสถาปตยกรรมศาสตร ไดดําเนินโครงการวิจัยเชิงสํารวจรวมทั้งสิ้น 6 โครงการ ประกอบดวย 1. การสํารวจขอมูลพื้นฐานสภาพภูมิอากาศ ภูมิประเทศ ชาติพันธุ ประเพณีวัฒนธรรม และอุปสรรคที่สงผล ตอการพัฒนาเมืองยานตาขาวในชวง 10 ปที่ผานมา 2. การสํารวจแหลงมรดกทางสถาปตยกรรมในพื้นที่เทศบาลตําบลยานตาขาว 3. การสํารวจรังวัดสถาปตยกรรมที่คงไวซึ่งภูมิปญญาทองถิ่นและควรคาแกการอนุรักษ 4. การคนหาอัตลักษณของพื้นที่ทางสถาปตยกรรมที่แสดงวิวัฒนาการณตั้งแตอดีตถึงปจจุบันของอําเภอ ยานตาขาว 5. การสํารวจความตองการพื้นฐานของบานพักอาศัยรวมกับคนพิการในอําเภอยานตาขาว 6. การสํารวจความเปนไปไดของเสนทางทองเที่ยวเชิงนิเวศและวัฒนธรรมในเขตพื้นที่เทศบาลตําบลยานตาขาว โดยผลที่ไดจากการวิจัยเชิงสํารวจในปแรกของโครงการสามารถสรุปไดดังนี้ 1. รายงานขอมูลพื้นฐานสภาพภูมิอากาศ ภูมิประเทศ จํานวนประชากร อาชีพและรายไดเฉลี่ยตอคน และ ประเด็นปญหาที่เปนอุปสรรคตอการพัฒนาเมืองยานตาขาวในชวง 10 ปที่ผานมา 2. แผนที่แหลงมรดกทางสถาปตยกรรมในพื้นที่เทศบาลตําบลยานตาขาว 3. แบบทางสถาปตยกรรมของอาคารพื้นถิ่นดั้งเดิมในพื้นที่เขตเทศบาลตําบลยานตาขาวที่แสดงผลเปนแปลน รูปดาน รูปตัดอาคาร แบบจําลอง 3 มิติดวยคอมพิวเตอรของสถาปตยกรรมอนุรักษ 4. รายงานแสดงผลพื้นที่และกิจกรรมที่เปลี่ยนไปตามชวงเวลาตั้งแตอดีตถึงปจจุบันของสถาปตยกรรม ในเขตเทศบาลตําบลยานตาขาวและอิทธิพลที่เกี่ยวของ 5. รายงานลักษณะใชสอยอาคารรวมกับคนพิการ 6. แผนที่แหลงมรดกทางสถาปตยกรรมในพื้นที่เทศบาลตําบลยานตาขาวและรูปแบบกิจกรรมที่เปนไปได ในพื้นที่ ผลจากการวิจัยเชิงสํารวจดังกลาวนําไปสูการวิจัยเชิงลึกตอเนื่องในปงบประมาณ 2560 อีกจํานวน 6 เรื่อง ไดแก 1. กระบวนการเกิดและการเปลี่ยนแปลงของเมืองยานตาขาว 2. ความเปนไปไดสําหรับพิพิธภัณฑมีชีวิตของเมืองยานตาขาว 3. แนวทางการปรับปรุงระบบการสัญจรเพื่อสงเสริมกิจกรรมการทองเที่ยวเมืองยานตาขาว 4. แนวทางการพัฒนาสวนสาธารณะขนาดเล็กในเขตเทศบาลเมืองยานตาขาว
  • 2. -2- 5. แนวทางการพัฒนาเมืองยานตาขาว สูเมืองสีเขียวอยางยั่งยืน 6. การเปลี่ยนแปลงรูปแบบสถาปตยกรรมยานเมืองเกาในยานตาขาว ที่ไดรับผลกระทบจากน้ําทวม โดยมีแผนการดําเนินงานวิจัยเพื่อนําไปใชประโยชนในชวงเดือน สิงหาคม 2560 - มีนาคม 2561 และคาดวา จะแลวเสร็จในชวงปลายเดือนมีนาคม และจะนําเสนอแผนสูชุมชนและองคกรปกครองสวนทองถิ่นเพื่อเขาสูแผน ในการพัฒนาทองถิ่นตอไป จึงนําเรียนเสนอที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยเพื่อโปรดพิจารณา
  • 3. - 1 - โครงการย่านตาขาวโมเดล ผู้เสนอ : อาจารย์ชาวดี ง่วนสน (หัวหน้าโครงการ) อาจารย์ตรีชาติ เลาแก้วหนู อาจารย์โอปอร์ ชัยสง่าพงษ์ อาจารย์ภวัต รอดเข็ม อาจารย์วรวุฒิ มัธยันต์ อาจารย์คัมภีร์ คล้ามนฤมล อาจารย์สมพงษ์ กฤตธรรมากุล หน่วยงานต้นสังกัด : คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง หน่วยงานร่วมโครงการ : - ระยะเวลาดําเนินการ : 5 เดือน (วันที่...1...พฤษภาคม...2559 ถึง วันที่..30..กันยายน....2559...) งบประมาณที่เสนอ : 500,000 บาท (ห้าแสนบาทถ้วน) เสนอต่อสํานักงานฯ เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2559 1. หลักการและเหตุผล กรอบแนวคิดย่านตาขาวโมเดล จ.ตรัง มีจุดเริ่มต้นจากรูปแบบพัฒนาการเมืองที่เปลี่ยนแปลงไปในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาของอําเภอย่านตาขาว จากอดีตเป็นเมืองที่มีเอกลักษณ์ของรูปแบบสินค้าเฉพาะที่ดึงดูด นักท่องเที่ยวมาจับจ่ายใช้สอย จนกระทั่งปัจจุบันที่เศรษฐกิจซบเซาส่งผลให้พื้นที่เทศบาลเมืองย่านตาขาว ขาดอัตลักษณ์ความเป็นชุมชนดั้งเดิม เมืองขาดชีวิตชีวาเนื่องจากประชาชนย้ายไปทํางานต่างถิ่น ขาดเทศกาล และรูปแบบกิจกรรมที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวจากต่างถิ่นมาเยี่ยมชมอย่างในอดีต หากพิจารณาลักษณะทาง กายภาพของเทศบาลเมืองย่านตาขาว เมืองยังคงมีจุดแข็งในเรื่องของต้นทุนทรัพยากรธรรมชาติ ทรัพยากร ทางวัฒนธรรมและทรัพยากรทางสถาปัตยกรรมที่เอื้อต่อการพัฒนาในอนาคต ย่านตาขาวโมเดลมีเป้าหมายเพื่อศึกษา ค้นคว้าและวิจัยข้อมูลเมืองย่านตาขาวในทุกมิติเพื่อการฟื้นฟู และวางแผนการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนในเขตพื้นที่เทศบาลเมืองย่านตาขาวในอนาคต ย่านตาขาวโมเดล ประกอบด้วยกิจกรรมย่อย 6 กิจกรรม ดังนี้ 1.สํารวจข้อมูลพื้นฐานสภาพภูมิอากาศ ภูมิประเทศ ชาติพันธุ์ ประเพณีวัฒนธรรม และอุปสรรคที่ ส่งผลต่อการพัฒนาเมืองย่านตาขาวในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา 2. สํารวจแหล่งมรดกทางสถาปัตยกรรมในพื้นที่เทศบาลอําเภอย่านตาขาว 3. รังวัดสถาปัตยกรรมที่คงไว้ซึ่งภูมิปัญญาท้องถิ่นและควรค่าแก่การอนุรักษณ์ 4. ค้นหาอัตลักษณ์ของพื้นที่ทางสถาปัตยกรรมที่แสดงวิวัฒนาการณ์ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันของอําเภอ ย่านตาขาว 5.สํารวจความต้องการพื้นฐานของบ้านพักอาศัยร่วมกับคนพิการ
  • 4. - 2 - 6.สํารวจความเป็นไปได้ของเส้นทางท่องเที่ยวเชิงนิเวศและวัฒนธรรมในเขตพื้นที่เทศบาลเมืองย่านตา ขาว ข้อมูลจากการศึกษาค้นคว้าในทุกกิจกรรมจะถูกนํามาวางแผนร่วมเพื่อการออกแบบการพัฒนาเมือง ย่านตาขาวอย่างยั่งยืนในอนาคต โดยอาศัยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนได้แก่ ประชาชน องค์การบริหารส่วน ตําบล เทศบาลเมืองย่านตาขาว อําเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง การท่องเที่ยวจังหวัดตรัง บริษัทเอกชนและ รวมทั้งนักศึกษาและคณาจารย์คณะสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง ร่วมเป็น ผู้ดําเนินการหลักในการพัฒนา 2. วัตถุประสงค์ของโครงการ 2.1 เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานสภาพภูมิอากาศ ภูมิประเทศ ชาติพันธุ์ ประเพณีวัฒนธรรม และอุปสรรค ที่ส่งผลต่อการพัฒนาเมืองย่านตาขาวในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา 2.2 เพื่อสํารวจแหล่งมรดกทางสถาปัตยกรรมในพื้นที่เทศบาลอําเภอย่านตาขาว 2.3 เพื่อรังวัดสถาปัตยกรรมที่คงไว้ซึ่งภูมิปัญญาท้องถิ่นและควรค่าแก่การอนุรักษณ์ หน่วยงาน 1. คณะสถาปัตยกรรม ศาสตร์ มอ. 2. ชุมชน 3. ราชการ -ท้องถิ่น -อําเภอ -จังหวัด 4. เอกชน พื้นที่ เขตเทศบาลอําเภอย่านตาขาว จ.ตรัง กิจกรรม คณะทําร่วมกับชุมชน ผ่านกิจกรรม 6 กิจกรรม กระบวนการ -Active Learning -ลงพื้นที่สํารวจชุมชน -วิจัย ผู้ได้ประโยชน์ -ชุมชนเทศบาลเมืองย่านตา ขาว -นักศึกษา -อาจารย์ -มหาวิทยาลัย
  • 5. - 3 - 2.4 เพื่อค้นหาอัตลักษณ์ของพื้นที่ทางสถาปัตยกรรมที่แสดงวิวัฒนาการณ์ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันของ อําเภอย่านตาขาว 2.5 เพื่อสํารวจความต้องการพื้นฐานของบ้านพักอาศัยร่วมกับคนพิการ 2.6 เพื่อสํารวจความเป็นไปได้ของเส้นทางท่องเที่ยวเชิงนิเวศและวัฒนธรรมในเขตพื้นที่เทศบาลเมือง ย่านตาขาว 2.7 เพื่อฝึกการปฏิบัติการสํารวจพื้นที่ร่วมกับการมีส่วนรวมกับชุมชนหรือ Active Learning ซึ่งเป็น ส่วนหนึ่งของรายวิชา สาขาสถาปัตยกรรม อันได้แก่ 997-200 Architectural Design Criteria and Concepts I 997-312 Computer-aided Design Fundamental 997-420 Measuring Work in Architecture 997-250 Building Technology and Construction I 997-333 Cross-cultural Workshop in Architectural and Urban Design 2.8 เพื่อฝึกปฎิบัติการมีส่วนร่วมระหว่างคณาจารย์มหาวิทยาลัย นักศึกษาและองค์กรต่างๆ ทั้งองค์กร ส่วนท้องถิ่นและองค์กรอิสระทั้งภาครัฐและภาคเอกชน 2.9 เพื่อรวบรวมข้อมูลสถาปัตยกรรมและวัฒนธรรมที่ทรงคุณค่าในพื้นที่อําเภอย่านตาขาว จังหวัด ตรัง เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลสําหรับการศึกษาวิจัยเพื่อการพัฒนาเมืองย่านตาขาวอย่างยั่งยืนในลําดับต่อไป 3. เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง คําขวัญอําเภอย่านตาขาว สวนป่าโบราณ ชมม่านเมฆหมอก น้ําตกเต็มป่า ภูผาเทียมเมฆ ที่มาของชื่อ “ย่านตาขาว” พ.ศ. 2499 ทางราชการได้พิจารณาเห็นว่า กิ่งอําเภอย่านตาขาว มีความเจริญขึ้นพอสมควร มี ประชาชนพลเมืองหนาแน่น การคมนาคมระหว่างกิ่งอําเภอ จังหวัด สะดวกและใกล้กว่าจะต้องผ่านไปอําเภอ กันตัง จึงได้ยกฐานะเป็นอําเภอย่านตาขาว เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2499 และย้ายที่ว่าการกิ่งอําเภอเดิมไป ปลูกสร้างขึ้นใหม่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ห่างออกไปประมาณ 1 กิโลเมตร ซึ่งเป็นที่ว่าการอําเภอปัจจุบัน คําว่า "ย่านตาขาว" นั้นอาจมีความหมายแยกเป็นสองพยางค์ พยางค์แรก คือ "ย่าน" ความหมายตาม พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 มีสามความหมายด้วยกัน คือ "ย่าน" ความหมายที่ 1 หมายถึง แถว, ถิ่น เช่น เขาเป็นคนย่านนี้, บริเวณ เช่น ย่านบางลําพู ย่านสําเพ็ง, ระยะทางตามกว้างหรือยาวจากตําบลหนึ่งไปตําบลหนึ่ง "ย่าน" ความหมายที่ 2 หมายถึง เครือเถา เช่น ย่านวันยอ ย่านลิเภา, เรียกรากไทรที่ย้อยลงมาว่า ย่านไทร
  • 6. - 4 - "ย่าน" ความหมายที่ 3 หมายถึง ยั่น พยางค์ที่สอง คือ "ตาขาว" ความหมายตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน หมายถึง แสดงอาการขลาด กลัว ดังนั้น "ย่านตาขาว" น่าจะมาจากคําว่า "ย่าน" กับ "ตาขาว" มาผสมคําเรียกเป็น "ย่านตาขาว" เพราะมี ประวัติกล่าวกันว่าตลาดย่านตาขาวมีภัยธรรมชาติจากน้ําท่วม ปีละ 2-3 ครั้ง แต่ละครั้งน้ําจะท่วมอย่างรวดเร็ว ประชาชนที่อาศัยอยู่ละแวกนี้ ต่างได้รับความเดือดร้อนจากภัยน้ําท่วมเป็นอย่างมาก ต้องเหน็ดเหนื่อยวุ่นวาย กับการขนย้ายทรัพย์สิน สัตว์พาหนะ และ สัตว์เลี้ยง ไปไว้ที่ปลอดภัย สาเหตุที่น้ําท่วมแทบทุกปี เพราะตลาด ย่านตาขาว มีคลองใหญ่ซึ่งมีแคว 3 แคว ใกล้ ๆ ตลาดย่านตาขาว เมื่อถึงฤดูฝนจึงทําให้เกิดน้ําท่วมฉับพลัน ทํา ให้ผู้อาศัยอยู่บริเวณนี้ต้องตื่นตัวระมัดระวังภัยอยู่เสมอ ซึ่งเป็นเพียงคําสันนิษฐานเท่านั้น อีกข้อสันนิษฐานหนึ่ง ชื่อบ้านย่านตาขาวนี้ มิได้หมายความว่า คนตาขาวอยู่ในย่านนี้ แต่มีที่มาของชื่อ ดังนี้ เดิมทีพื้นที่ของอําเภอย่านตาขาว ซึ่งต่อเขตแดนกับอําเภอปะเหลียน มีลําคลองไหลผ่านย่านตาขาวหลาย สาย เช่น คลองปะเหลียน คลองโพรงจระเข้ คลองพิกุล ไหลผ่านตําบลต่าง ๆ ในอําเภอย่านตาขาว ประชาชน ปลูกบ้านเรือน ทํามาหากิน แถบริมลําคลอง ซึ่งรกไปด้วยต้นไม้ และ เถาวัลย์ ที่ขึ้นตามริมคลองชนิดหนึ่ง เรียกว่า "เถาว์ตาขาว" เมื่อราษฎรเข้าไปตัด ถาก ถาง ต้นไม้ริมคลอง เพื่อเพาะปลูกและเพื่อปลูกที่อยู่อาศัย ก็ ตัดเถาวัลย์นี้ด้วย เมื่อตัดเถาวัลย์นี้จะมีน้ําสีขาวไหลออกมาจากตาของเถาวัลย์ เหมือนร้องไห้ คนปักษ์ใต้ เรียก เถาวัลย์ว่า "ย่าน" และ เรียกชื่อพันธ์ไม้นี้ว่า "ตาขาว" จึงรวมเรียกว่า "ย่านตาขาว" แล้วก็นํามาเรียกเป็นชื่อบ้าน นี้ว่า "บ้านย่านตาขาว" อีกลักษณะหนึ่ง การปลูกบ้านริมคลองมีจํานวนมากขึ้นเป็นชุมชน ผู้คนเรียกชุมชนนั้นว่า "ย่าน" และ นําชื่อเถาวัลย์ที่มีมากในแถบนั้น คือ เถาว์ตาขาว มาเรียกเป็นชื่อหมู่บ้านนี้ว่า "บ้านย่านตาขาว" จนถึงทุกวันนี้ เรื่องนี้เป็นการบอกเล่าต่อกันมา ข้อมูลจึงเป็นเพียงข้อสันนิษฐานเท่านั้น (จากการสอบถาม นายคล้าย มูลเมฆ ในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2548 ) สภาพพื้นที่ อําเภอย่านตาขาวมีเนื้อที่ 437.2 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเนินสูงๆ ต่ําๆ ที่ราบสูงเริ่มจากทิศ ตะวันออกเชิงเขาบรรทัดและลาดต่ําไปทางทิศตะวันตกพื้นที่เหมาะแก่การ กสิกรรม มีที่ราบลุ่มเหมาะแก่การ ทํานา ลักษณะทางภูมิอากาศไม่ร้อนจัดหรือหนาวจัดโดยทั่วไป อุณหภูมิเฉลี่ย 27 องศาเซลเซียส แบ่งออกเป็น 2 ฤดู คือ - ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือน กุมภาพันธ์ - พฤษภาคม - ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือน มิถุนายน - มกราคม โดยอาศัยมรสุมตะวันตกเฉียงใต้จากมหาสมุทรอินเดีย และมรสุมตะวันออกเฉียงใต้จากอ่าวไทย พื้นที่จึงไม่ขาด แคลนน้ําในการเกษตรตลอดระยะฤดูแล้ง ย่านตาขาวจึงมีความเป็นไปได้ในการพัฒนาศักยภาพให้เป็นเมือง ท่องเที่ยวเชิงนิเวศและวัฒนธรรมจากสภาพพื้นที่และข้อมูลภูมิอากาศท้องถิ่นที่มีสภาวะน่าสบายตลอดปี
  • 7. - 5 - ประกาศกรมโยธาธิการและผังเมือง เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์การใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินเพื่อประโยชน์ในการวาง และจัดทําผังเมืองรวมในท้องที่จังหวัดตรัง พ.ศ. ๒๕๕๕
  • 8. - 6 - ภาพถ่ายมุมสูงพื้นที่เขตเทศบาลเมืองย่านตาขาว ภาพมุมกว้างของอําเภอย่านตาขาว เมืองย่านตาขาว มีคลองปะเหลียนไหลตัดผ่านทางทิศใต้ ในเขตเมืองย่านตาขาว มีชุมชน โรงเรียน หอสมุด และตลาด
  • 9. - 7 - ภาพถ่ายพื้นที่ รอบตลาดสด อ.ย่านตาขาว บริเวณตลาด ทางไป หาดสําราญ และ สตูล บริเวณชุมชนตลาดมีอาคารตึกเก่าสูง 2และ 3ชั้น มีวัดวัดนิกรรังสฤษดิ์ บริเวณไกล้ 3แยกไฟแดง
  • 10. - 8 - ภาพถ่ายพื้นที่คลองประเหลียน อ.ย่านตาขาว แม่น้ําลําคลอง ยังคงความอุดมสมบูรณ์ คลองประเหลียนไหลผ่านเทศบาลเมืองย่านตาขาว สถาปัตยกรรมโบราณ อาคารไม้โบราณแสดงความรุ่งเรืองในอดีต
  • 11. - 9 - ชุมชนย่านอาคารเก่าติดกับคลองประเหลียน มรดกทางธรรมชาติและวัฒนธรรมท้องถิ่น 1. มรดกทางธรรมชาติ ธรรมชาติในท้องถิ่นอําเภอย่านตาขาวเป็นมรดกอันล้ําค่าอย่างหนึ่ง มีอิทธิพลต่อการดําเนินชีวิตของ บุคคลในท้องถิ่นเป็นอย่างยิ่ง ได้แก่ ป่าเขา ต้นน้ําลําธาร พืช สัตว์ แร่ธาตุต่างๆ เป็นต้น โดยยกตัวอย่าง แหล่งน้ําตกธรรมชาติที่สําคัญ ดังนี้ 1) น้ําตกสายรุ้ง ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 4 ตําบลนาชุมเห็น อําเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง
  • 12. - 10 - 2) น้ําตกไพรสวรรค์ ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 4 ตําบลโพรงจระเข้ อําเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง 3) น้ําตกน้ําเค็ม ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 6 ตําบลทุ่งกระบือ อําเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง 2. มรดกทางวัฒนธรรม มรดกทางวัฒนธรรมท้องถิ่นเป็นสิ่งที่มนุษย์คิดค้นสร้างสมมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันทั้งสิ่งที่เป็น รูปธรรม เช่น เครื่องมือเครื่องใช้ งานศิลปกรรม งานฝีมือ ศาสนวัตถุ หรือเรียกรวมๆว่า โบรานวัตถุ ตลอดจนที่อยู่อาศัย สถานที่ประกอบกิจกรรม แหล่งศิลปกรรม สถานที่ท้องเที่ยวเกี่ยงกับเหตุการณ์สําคัญใน ประวัติศาสตร์ หรือเรียกว่าโบรานสถาน รวมไปถึงหลักฐานการบันทึกเรื่องราว เช่น จารึก หนังสือบุด เป็น ต้น และสิ่งที่เป็นนามธรรม เช่น ภาษา ขนบธรรมเนียม ประเพณี ความเชื่อ การละเล่นพื้นบ้าน เป็นต้น และสิ่งเหล่านี้สามารถพบในพื้นที่ อําเภอ ย่านตาขาวได้ เป็นมรดกทางวัฒนธรรมท้องถิ่น ที่แสดงให้เห็นถึง พัฒนาการของอําเภอย่านตาขาว ตลอดถึงสังคมหรือวิธีชีวิตของอําเภอย่านตาขาวมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน 3. มรดกทางสถาปัตยกรรม - พระพุทธรูป ที่วัดนิกร ถนนตรัง - ปะเหลียน อ.ย่านตาขาว จ.ตรัง - มัสยิดมัสยิดปากีสถานย่านตาขาว ถนนตรัง - ปะเหลียน อ.ย่านตาขาว จ.ตรัง - คริสตจักรย่านตาขาว ถนนตรัง - ปะเหลียน อ.ย่านตาขาว จ.ตรัง - โรงพระ 108-109 ถนนท่าบันได อ.ย่านตาขาว จ.ตรัง
  • 13. - 11 - 4. งานฝีมือต่างๆ - ช่างไม้ - ช่างแกะสลัก - ช่างปั้นปูน - ด้านจักรสานไม้ไผ่ - ด้านศิลปะวาดรูป 5. ภาษาและวรรณกรรม ภาษาและวรรณกรรมเป็นเครื่องมือสื่อสารที่สําคัญยิ่งของมนุษย์ เป็นมรดกทางเอกลักษณ์อันล่ําค่า เป็นสิ่งแสดงออกถึงภูมิปัญญา อารยธรรม เสรีภาพ ความภาคภูมิใจเอกลักษณ์และเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวชีวิต จิตใจ ของปวงชนทั้งชาติ อําเภอย่านตาขาวเป็นอําเภอหนึ่งที่มีการพัฒนาการทางด้านสังคมและวัฒนธรรม เป็นระยะเวลาอันยาวนาน 4. ระเบียบวิธีวิจัย ประกอบด้วยหัวข้อดังต่อไปนี้ 4.1 ศึกษาค้นคว้าเอกสารข้อมูลพื้นฐานของอําเภอย่านตาขาวและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 4.2 ประสานงานกับองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นเพื่อวางแนวทางการทํางานร่วมและการสนับสนุน 4.3 สํารวจพื้นที่ในเขตเทศบาลเมืองย่านตาขาวและพื้นที่ใกล้เคียงเพื่อค้นหา และรวบรวม ข้อมูลทาง สถาปัตยกรรมและแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ 4.4 สัมภาษณ์ปราญชาวบ้าน เพื่อรวบรวมข้อมูลทางประเพณีวัฒนธรรม 4.5 จัดทําแผนที่แหล่งมรดกทางสถาปัตยกรรมในเขตพื้นที่ 4.6 ติดตั้งอุปกรณ์สําหรับการรังวัดสถาปัตยกรรมที่ควรค่าแก่การอนุรักษณ์ 4.7 เก็บข้อมูลผลการสํารวจและรังวัดแบบทางสถาปัตยกรรมโดยใช้โปรแกรม Autocad และ โปรแกรม Sketch Up 4.8 จัดทําแบบจําลองทางสถาปัตยกรรม 4.9 สํารวจและสัมภาษณ์บ้านผู้ที่อาศัยร่วมกับคนพิการ 4.10 วิเคราะห์ข้อมูล และสรุปผลการประเมินความเป็นไปได้ของย่านตาขาวโมเดล
  • 14. - 12 - 5. แผนงานของโครงการ คําถามการวิจัย วิธีวิจัย กิจกรรม ผลที่คาดว่าจะได้รับ วัน/เวลา ดําเนินการ 1. อุปสรรคที่ส่งผล ต่อการพัฒนาเมือง ย่านตาขาวในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา คือ อะไร 1.การวิจัยเชิง สํารวจ 1. สํารวจข้อมูลสภาพ ภูมิอากาศ ภูมิประเทศ 2.สํารวจข้อมูล ประชากร อาชีพและ รายได้เฉลี่ยต่อคน 3.สํารวจปัจจัยภายใน และปัจจัยภายนอกที่ เป็นอุปสรรคต่อการ พัฒนาเมืองย่านตาขาว ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา 1. ข้อมูลเฉพาะ ภูมิอากาศ ภูมิประเทศ ของอําเภอย่านตาขาว 2. ข้อมูลประชากร อาชีพและรายได้เฉลี่ยต่อ คน 3.ปัจจัยภายในและ ปัจจัยภายนอกที่เป็น อุปสรรคต่อการพัฒนา เมืองย่านตาขาวในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา 1 พฤษภาคม – 30 กันยายน 2559 2.แหล่งมรดกทาง สถาปัตยกรรมใน พื้นที่เทศบาล อําเภอย่านตาขาว ตั้งอยู่ในบริเวณใด 1.การวิจัยเชิง สํารวจ 1. สํารวจแหล่งมรดก ทางสถาปัตยกรรมใน พื้นที่ 1. ได้แผนที่แหล่งมรดก ทางสถาปัตยกรรม 1 พฤษภาคม – 30 กันยายน 2559 3.สถาปัตยกรรมที่ ควรค่าแก่การอนุ รักษณ์และเก็บ ข้อมูลสํารวจรังวัด มีจํานวนกี่หลัง 1.การวิจัยเชิง สํารวจ 1. สํารวจอาคารเก่าที่ ควรค่าแก่การอนุ รักษณ์ 2. รังวัดพื้นที่ สัดส่วน สถาปัตยกรรมที่ได้จาก การสํารวจข้อที่1 1. จํานวนอาคารพื้นถิ่น ดั้งเดิมในพื้นที่เขต เทศบาลอําเภอย่านตา ขาว 2. ผลการสํารวจรังวัด อาคารแสดงผลเป็น ขนาดพื้นที่ใช้สอยอาคาร , สัดส่วนและแบบทาง สถาปัตยกรรม 1 พฤษภาคม – 30 กันยายน 2559
  • 15. - 13 - คําถามการวิจัย วิธีวิจัย กิจกรรม ผลที่คาดว่าจะได้รับ วัน/เวลา ดําเนินการ 4.อัตลักษณ์ของ พื้นที่ทาง สถาปัตยกรรมของ อําเภอย่านตาขาว และกิจกรรม เฉพาะคืออะไร 1.การวิจัยเชิง สํารวจ 1. สํารวจกิจกรรมที่ เกิดขึ้นในเมือง Urban Spaces, Urban Activities 2.สัมภาษณ์พฤติกรรม และวิวัฒนาการณ์การ ใช้พื้นที่ในเมืองใน รูปแบบต่างๆตั้งแต่ อดีตถึงปัจจุบัน 1. ได้รูปแบบการใช้งาน พื้นที่ร่วมของประชาชน ในเขตเมืองย่านตาขาว 2.แสดงจํานวนพื้นที่ที่ใช้ ร่วมกันในเมืองและ กิจกรรมที่เปลี่ยนไปตาม ช่วงเวลาและความ เชื่อมโยงตั้งแต่อดีตถึง ปัจจุบัน 1 พฤษภาคม – 30 กันยายน 2559 5. ความต้องการ พื้นฐานของ บ้านพักอาศัย ร่วมกับคนพิการ เป็นอย่างไร 1.การวิจัยเชิง สํารวจ 1.ตรวจสอบการใช้งาน บ้านพักอาศัย กรณีศึกษา 2.สอบถามความ ต้องการจากผู้ใช้งาน คือคนพิการและผู้ใช้ อาคารร่วมกับคนพิการ 1. ทราบลักษณะใช้สอย อาคารร่วมกับคนพิการ 2.เป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อ ศึกษาแนวทางการ แก้ปัญหา 1 พฤษภาคม – 30 กันยายน 2559 6. เส้นทาง ท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และวัฒนธรรมใน เขตพื้นที่เทศบาล เมืองย่านตาขาว มีจํานวนกี่เส้นทาง 1.การวิจัยเชิง สํารวจ 1.สํารวจเส้นทาง ท่องเที่ยวเชิงนิเวศและ วัฒนธรรมในเขตพื้นที่ เทศบาลเมืองย่านตา ขาว 1.จํานวนเส้นทาง ท่องเที่ยวเชิงนิเวศและ วัฒนธรรมในเขตพื้นที่ เทศบาล อ.ย่านตาขาว 1 พฤษภาคม – 30 กันยายน 2559
  • 16. - 14 - 6. ผลที่คาดว่าจะได้รับ (Outputs) ระยะเวลา กิจกรรม ผลที่คาดว่าจะได้รับ เดือนที่ 1-3 1 พฤษภาคม – 1 สิงหาคม 2559 1. ข้อมูลพื้นฐานสภาพภูมิอากาศ ภูมิ ประเทศ ชาติพันธุ์ ประเพณี วัฒนธรรม และอุปสรรคที่ส่งผลต่อ การพัฒนาเมืองย่านตาขาวในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา 2. สํารวจแหล่งมรดกทาง สถาปัตยกรรมในพื้นที่เทศบาลอําเภอ ย่านตาขาว 3. รังวัดสถาปัตยกรรมที่คงไว้ซึ่งภูมิ ปัญญาท้องถิ่นและควรค่าแก่การอนุ รักษณ์ 1.รายงานข้อมูลพื้นฐานสภาพภูมิอากาศ ภูมิ ประเทศ จํานวนประชากร อาชีพและรายได้เฉลี่ย ต่อคน และประเด็นปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อการ พัฒนาเมืองย่านตาขาวในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา 2.แผนที่แหล่งมรดกทางสถาปัตยกรรมในพื้นที่ เทศบาลอําเภอย่านตาขาว - โมเดลจําลองผังเมืองเทศบาลย่านตาขาวที่ระบุ โซนอาคารอนุรักษณ์ 3. แบบทางสถาปัตยกรรมของอาคารพื้นถิ่นดั้งเดิม ในพื้นที่เขตเทศบาลอําเภอย่านตาขาวที่แสดงผล เป็น - แปลน รูปด้าน รูปตัดอาคาร - แบบจําลอง 3 มิติด้วยคอมพิวเตอร์ของ สถาปัตยกรรมอนุรักษณ์ - โมเดลสถาปัตยกรรมอนุรักษณ์ เดือนที่ 4 - 5 2 สิงหาคม – 30 กันยายน 2559 1. อัตลักษณ์ของพื้นที่ทาง สถาปัตยกรรมที่แสดงวิวัฒนาการณ์ ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันของอําเภอย่าน ตาขาว 2. ความต้องการพื้นฐานของบ้านพัก อาศัยร่วมกับคนพิการ 3. สํารวจความเป็นไปได้ของเส้นทาง ท่องเที่ยวเชิงนิเวศและวัฒนธรรมใน เขตพื้นที่ 1. รายงานแสดงผลพื้นที่และกิจกรรมที่เปลี่ยนไป ตามช่วงเวลาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันของ สถาปัตยกรรมในเขตเทศบาลเมืองย่านตาขาวและ อิทธิพลที่เกี่ยวข้อง 2.รายงานลักษณะใช้สอยอาคารร่วมกับคนพิการ 3.แผนที่แหล่งมรดกทางสถาปัตยกรรมในพื้นที่ เทศบาลอําเภอย่านตาขาวและรูปแบบกิจกรรมที่ เป็นไปได้ในพื้นที่
  • 17. - 15 - 7. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ (Outcomes) 1) มหาวิทยาลัย - มหาวิทยาลัยเกิดการบูรณาการงานร่วมกับชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม : มหาวิทยาลัย ชุมชน นักศึกษา ภาครัฐ และภาคเอกชน - สนับสนุนกระบวนการเรียนการสอนแบบ Active Learning - ความตระหนักและการมีส่วนร่วมของนักศึกษาต่อปัญหาของชุมชน - อาจารย์มีส่วนร่วมในการเข้าไปแก้ปัญหาและทํางานร่วมกับชุมชน - การประยุกต์องค์ความรู้ในมหาวิทยาลัยเข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาพื้นที่จริง - เกิด Social Lab คือ การใช้สถานะการณ์และพื้นที่จริงเป็นห้องทดลองและห้องเรียนของนักศึกษา การเรียนรู้นอกห้องเรียน และการเรียนรู้จากการปฎิบัติจริง 2) ชุมชน - การบริหารจัดการทุนทางมรดกวัฒนธรรม มรดกทางธรรมชาติและมรดกทางสถาปัตยกรรม - เป็นข้อมูลพื้นฐานของการวางแผนการพัฒนาเมืองย่านตาขาวอย่างยั่งยืน บนพื้นฐานของการ สร้างรายได้ให้กับชุมชนอย่างยั่งยืนและชุมชนสามารถอยู่ได้ด้วยตนเอง - 8. แนวทางในการนําผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ ประชาชนและชุมชนในท้องถิ่นคือศูนย์กลางของการระบุปัญหา ดังนั้นทุกขั้นตอนชุมชนสามารถนําไป ปรับใช้ประโยชน์ได้ ผ่านกระบวนการสนับสนุนขององค์การส่วนท้องถิ่น จังหวัดและภาคเอกชน ด้วยวิธีการ ดังนี้ - การจัดนิทรรศการเล่าเรื่องเมืองย่านตาขาว - การเปิดถนนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ผ่านการสนับสนุนของเทศบาลเมืองย่านตาขาว 9. บรรณานุกรม เทศบาลตําบลย่านตาขาว. (2551). แผนพัฒนาชุมชนสามปี (พศ.2552-2554). ตรัง : เทศบาลตําบลย่านตา ขาว เทศบาลตําบลย่านตาขาว. (2552). แผนชุมชน. ตรัง : เทศบาลตําบลย่านตาขาว อรทัย คงสิน และคณะ.(2552). ข้อมูลพื้นฐานศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. ตรัง: กศน. ย่านตาขาว
  • 18. - 16 - 10. ภาคผนวก ประวัติของนักวิจัยที่เข้าร่วมโครงการ รายชื่อ และเลขประจําตัวประชาชน คุณวุฒิ/สาขาวิชา/ปีที่สําเร็จการศึกษา นางสาวชาวดี ง่วนสน 1 9299 00004 27 2 - Master of Architecture, University of Tasmania, Australia, 2554 - สถ.บ. (สถาปัตยกรรม), มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2550 นางสาวโอปอร์ ชัยสง่าพงษ์ 1 1017 00006 05 1 - Master of Arts (MA) in Architecture, Cultural Identity and Globalisation , University of Westminster, United Kingdom, 2554 - สถ.บ. (สถาปัตยกรรม), มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2550 นายวรวุฒิ มัธยันต์ 3 9299 00285 52 9 - สถ.ม.(นวัตกรรมอาคาร), มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2553 - สถ.บ. (สถาปัตยกรรม), มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2546 นายคัมภีร์ คล้ามนฤมล 3 1601 00217 69 2 - ผ.ม. (การวางผังเมือง), จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 - สถ.บ. (สถาปัตยกรรม) เกียรตินิยมอันดับสอง, มหาวิทยาลัยเกษม บัณฑิต, 2536 นายภวัต รอดเข็ม 3 9201 00729 43 2 - สถ.ม. (นวัตกรรมอาคาร), มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2552 - สถ.บ. (เทคโนโลยีสถาปัตยกรรม), สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล, 2547 นายตรีชาติ เลาแก้วหนู 3 9206 00185 32 6 - ผ.ม. (การวางผังชุมชน), จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 - Diploma in Urban Renewal and Planning, University of Cergy Pontoise, France, 2006 - สถ.บ. (สถาปัตยกรรม), จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 นายสมพงษ์ กฤตธรรมากุล 3 9299 00178 50 1 - ผ.ม. (การออกแบบชุมชนเมือง), จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 - สถ.บ. (สถาปัตยกรรม), จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548