SlideShare a Scribd company logo
1 of 17
Download to read offline
65
แผนบริหารการสอนประจาบทที่ 5
หัวข้อเนื้อหาประจาบท
พันธะไอโอนิก
พันธะโคเวเลนต์
พันธะโลหะ
ค่าต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับพันธะเคมี
ไฮบริดออร์บิทัล และไฮบริไดเซชั่น
วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
เมื่อเรียนจบบทที่ 5 แล้วให้นักศึกษาสามารถ
1. อธิบายความหมายของพันธะเคมีได้
2. บอกความแตกต่างของพันธะเคมีแต่ละชนิดได้
3. เขียนพันธะเคมีในการเกิดสารประกอบชนิดต่าง ๆ ได้
วิธีสอนและกิจกรรมการเรียนการสอนประจาบท
วิธีสอนและกิจกรรมการเรียนการสอนประจาบทที่ 5 มีดังต่อไปนี้
1. ศึกษาเอกสารประกอบการสอน บทที่ 5
2. ฟังบรรยายประกอบเอกสารการสอน รูปภาพ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์
3. อภิปรายและเปิดโอกาสซักถาม
4. ฝึกฝนทักษะการเขียนพันธะเคมีของสารประกอบโดยให้ศึกษาจากตัวอย่างในเอกสาร
และกาหนดแบบฝึกหัดรายบุคคลหรือรายกลุ่ม และออกมาตอบคาถามหน้าชั้นเรียน
5. ค้นคว้าข้อมูลจากตารา อินเทอร์เน็ต และแหล่งเรียนรู้อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่เรียน
ด้วยตนเอง
6. มอบหมายงานให้ทาแบบฝึกหัดท้ายบท
66
สื่อการเรียนการสอน
สื่อการเรียนการสอนประจาบทที่ 5 มีดังต่อไปนี้
1. เอกสารประกอบการสอนวิชาเคมี 1
2. สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
3. โปรแกรมนาเสนอด้วยคอมพิวเตอร์ ประจาบทที่ 5 และชุดประกอบในการนาเสนอ
4. หนังสือ ตารา หรือเอกสารที่เกี่ยวข้อง
การวัดและประเมินผล
การวัดและการประเมินผลบทที่ 5 มีดังต่อไปนี้
1. สังเกตจากการร่วมกิจกรรมของนักศึกษา
2. ซักถามความเข้าใจในชั้นเรียน
3. ตรวจแบบฝึกหัดท้ายบท
4. ทาแบบทดสอบตามที่กาหนด
67
บทที่5
พันธะเคมี
ในการสร้างบ้านนั้น ถ้าเป็นการสร้างด้วยแผ่นไม้แผ่นไม้หลาย ๆ แผ่น ที่นามาต่อประกบกัน
เป็นผนังจะถูกช่างทาการตอกตะปู เพื่อยึดแผ่นไม้แต่ละแผ่นเข้าด้วยกัน เฉกเช่นเดียวกับโมเลกุลซึ่ง
เกิดจากหลาย ๆ อะตอมมารวมกัน เพราะโดยปกติแล้วในธรรมชาติ อะตอมธาตุต่าง ๆ จะไม่อยู่ใน
ลักษณะที่เป็ นอะตอมอย่างโดดเดี่ยว แต่จะรวมกันเป็ นกลุ่มอะตอมหรือเป็ นโมเลกุลของ
สารประกอบ การที่อะตอมเหล่านี้รวมอยู่ด้วยกันได้อย่างเสถียรภาพนั้น เนื่องจากมีแรงชนิดหนึ่งที่
ยึดเหนี่ยวอะตอมเข้าด้วยกันเป็นโมเลกุล แรงยึดเหนี่ยวดังกล่าวเราเรียกว่า พันธะเคมี (Chemical
bond)
พันธะเคมี หมายถึงแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอะตอมต่าง ๆ ให้อยู่ด้วยกันอย่างมีเสถียรภาพ เกิด
เป็นโมเลกุลของสารประกอบ และถ้าต้องการทาให้โมเลกุลแตกออกเป็นอะตอมจะต้องให้พลังงาน
เข้าไปทาลายพันธะเคมี ซึ่งพันธะเคมีมีหลายชนิด ที่สาคัญ ๆ ได้แก่ พันธะไอโอนิก พันธะโคเว
เลนต์ และพันธะโลหะ
พันธะไอโอนิก (Ionic Bond)
พันธะไอออนิก คือ แรงยึดเหนี่ยวระหว่างอะตอมของโลหะกับอะตอมของอโลหะ พันธะเคมี
ชนิดนี้ทาให้เกิดโมเลกุลของสารประกอบที่เรียกว่า สารประกอบไอโอนิก (Ionic compounds) เช่น
NaCl KI LiFและ CaO เป็นต้น
พันธะไอโอนิก เกิดจากการที่อะตอมของโลหะจ่ายอิเล็กตรอนในชั้นนอกสุด 1 2 หรือ 3 ตัว
ให้แก่อะตอมอโลหะ แล้วตัวเองก็กลายเป็นไอออนบวก ซึ่งมีประจุเป็น 1 2 หรือ 3 ตามลาดับ ส่วน
อิเล็กตรอนที่อะตอมของอโลหะรับไว้นั้นจะมีผลทาให้อะตอมของอโลหะกลายเป็นไอออนลบ ซึ่งมี
ประจุ 1- 2- หรือ 3- ตามลาดับ ไอออนบวกกับไอออนลบจึงมีแรงยึดเหนี่ยวซึ่งกันและกัน ซึ่งเป็น
แรงยึดเหนี่ยวแบบไฟฟ้ าสถิต (Electrostatic force) เช่น NaCl (จุดรอบ ๆ เราเรียก ประจุฟอร์มอล
คือประจุสมมติบนอะตอมในโมเลกุลหรือไอออนหลายอะตอม) ดังภาพที่ 5.1
68
ภาพที่ 5.1 แสดงประจุสมมติบนอะตอม
ที่มา : สุทัศน์ ไตรสถิตวร และสมศักดิ์ วรมงคลชัย. 2550 : 146.
พันธะโคเวเลนต์ (Covalent Bond)
พันธะโคเวเลนต์ หมายถึง แรงยึดเหนี่ยวระหว่างอะตอมอโลหะด้วยกัน พันธะชนิดนี้ทาให้
เกิดโมเลกุลของธาตุ เช่น H2 N2 O2 Cl2เป็นต้น และทาให้เกิดโมเลกุลของสารประกอบ เช่น H2O
NH3HCl เป็นต้น
แรงยึดเหนี่ยวนี้เกิดจากการใช้อิเล็กตรอนร่วมกันของอะตอมทั้งสองข้าง ๆ ละ 1 2 หรือ 3
อิเล็กตรอน ถ้าใช้ร่วมกันข้างละ 1 อิเล็กตรอน ก็มีอิเล็กตรอนคู่ที่ใช้ร่วมกัน 1 คู่ พันธะที่เกิดขึ้น
เรียกว่า พันธะเดี่ยว (Single bond) เช่น HCl
ถ้าใช้ร่วมกันข้างละ 2 อิเล็กตรอน ก็มีอิเล็กตรอนที่ใช้ร่วมกัน 2 คู่ พันธะที่เกิดขึ้น เรียกว่า
พันธะคู่ (Double Bond) เช่น CO2
ถ้าใช้ร่วมกันข้างละ 3 อิเล็กตรอน ก็มีอิเล็กตรอนที่ใช้ร่วมกัน 3 คู่ พันธะที่เกิดขึ้น เรียกว่า
พันธะสาม (Triple Bond) เช่น N2 CH2
Na = 2, 8, 1 Cl = 2, 8, 7 Na = 2, 8, 1 Cl = 2, 8, 7
p = 11, e = 11 p = 17, e = 17 p = 11, e = 10 p = 17, e = 18
ประจุไฟฟ้า = 0 ประจุไฟฟ้า = 0 ประจุไฟฟ้า = +1 ประจุไฟฟ้า = -1
69
พันธะโลหะ (Metallic Bond)
พันธะโลหะ ได้แก่ พันธะที่ยึดอะตอมในผลึกโลหะไว้ด้วยกัน โดยที่เวเลนซ์อิเล็กตรอนของ
แต่ละอะตอมสามารถเคลื่อนไหวไปยังจุดต่าง ๆ ในผลึกได้ค่อนข้างง่าย และขณะเดียวกันก็ทา
หน้าที่ดึงดูดนิวเคลียสของอะตอมเหล่านั้นไว้ด้วยกัน โดยทั่วไปโลหะที่มีเวเลนซ์อิเล็กตรอนมากก็
จะมีพันธะโลหะที่แข็งแรงซึ่งโดยทั่วไปอะตอมที่เชื่อมต่อกันด้วยพันธะโลหะจะมีโครงสร้างเป็น
ผลึก
อนึ่ง พันธะโลหะมีเวเลนต์อิเล็กตรอนที่ยึดกับไอออนบวกไม่ได้เป็นของอะตอมใดอะตอม
หนึ่งเพียงอะตอมเดียว แต่เวเลนต์อิเล็กตรอนทุกตัวสามารถเคลื่อนที่ไปยังอะตอมอื่น ๆ ได้ ซึ่ง
แตกต่างจากพันธะโคเวเลนต์ ทั้งนี้เพราะในก้อนโลหะแต่ละอะตอมจะมีอะตอมอื่นล้อมรอบ 8 หรือ
12 อะตอม อะตอมจึงมีเวเลนต์อิเล็กตรอนไม่พอที่จะทาให้เกิดคู่อิเล็กตรอนที่ใช้ร่วมพันธะระหว่าง
อะตอมแต่ละอะตอมเข้าด้วยกันทั้งหมดได้ ดังในแบบจาลองทะเลอิเล็กตรอนในโลหะ ภาพที่ 5.2
หมายเหตุ + หมายถึง metal ions และ - หมายถึง free electrons from outer shells of metal
atoms
ภาพที่ 5.2 แบบจาลองทะเลอิเล็กตรอนในโลหะ
ที่มา : สุทัศน์ ไตรสถิตวร และสมศักดิ์ วรมงคลชัย. 2550 : 226.
ค่าต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับพันธะเคมี
การที่จะตรวจสอบว่า ทฤษฎีมีความถูกต้องเพียงใด นักวิทยาศาสตร์จะต้องคานวณค่าต่าง ๆ
ที่เป็นสมบัติสาคัญของสาร แล้วนามาเปรียบเทียบกับค่าที่วัดได้จากการทดลอง ในกรณีของพันธะ
เคมี ค่าดังกล่าวของโมเลกุลที่วัดได้ ได้แก่ พลังงานพันธะ ความยาวพันธะ มุมพันธะ นอกจากนี้ใน
กรณีที่โมเลกุลมีขั้ว ก็สามารถวัดค่าไดโพลโมเมนต์ ซึ่งจะบอกถึงสภาพขั้วของพันธะได้
1. พลังงานพันธะ (Bonding energy)
+
70
โดยทั่วไปแล้วพลังงานพันธะมี 2 ประเภท คือ พลังงานสลายพันธะ และพลังงานพันธะ
เฉลี่ย ซึ่งต่างกันดังนี้
พลังงานสลายพันธะ (Bond dissociation energy) เขียนย่อเป็น D คือ พลังงานที่ต้องให้แก่
โมเลกุลเพื่อทาลายพันธะเคมีในโมเลกุลนั้น หรือพลังงานที่คายออกเมื่ออะตอมทั้ง 2 รวมตัวกันทาง
เคมีเป็นโมเลกุล สาหรับโมเลกุลอะตอมคู่ พลังงานสลายพันธะ คือ พลังงานที่ใช้ในการทาให้
โมเลกุลนั้นสลายเป็นอะตอมในสถานะที่เป็นแก๊ส และสาหรับโมเลกุลหลายอะตอม (Polyatomic
molecule) จะมีค่า D โดยเฉพาะสาหรับพันธะนั้น ๆ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาวะภายในที่แตกต่างกันของ
แต่ละโมเลกุล หรือ อนุมูลอิสระ ซึ่งพลังงานสลายพันธะนี้จะบอกให้ทราบความแข็งแรงของพันธะ
ยิ่งพันธะมีความแข็งแรงมากเท่าไหร่ ยิ่งต้องการใช้พลังงานสลายพันธะมากขึ้น เช่น
CH4 (g) + 435 kJ/mol CH3 (g) + H (g)
CH3 (g) + 453 kJ/mol CH2 (g) + H (g)
CH2 (g) + 425 kJ/mol CH (g) + H (g)
CH (g) + 339 kJ/mol C (g) + H (g)
เมื่อรวมขั้นทั้ง 4 เข้าด้วยกันจะได้ว่า
CH4 (g) + 1,650 kJ/mol C (g) + 4H (g)
จะเห็นว่าถึงแม้จะเป็นพันธะ C - H เหมือนกันแต่ค่าพลังงานสลายพันธะจะแตกต่างกัน
เมื่อรวมพลังงานสลายพันธะทั้ง 4 ขั้น ก็จะเป็นพลังงานทั้งหมดที่ใช้ในการสลายโมเลกุลมีเทนทั้ง
โมเลกุลให้เป็นอะตอมอย่างสมบูรณ์ พลังงานสลายพันธะทั้ง 4 ขั้นมีค่าเท่ากับ 1,650 kJ/mol และ
เมื่อหารด้วย 4 จะได้ค่าพลังงานเฉลี่ยของพันธะ C – H มีค่าเท่ากับ 412.5 kJ/mol ค่าพลังงานสลาย
พันธะของโมเลกุลอะตอมคู่บางตัว แสดงในตารางที่ 5.1
จากความรู้เกี่ยวกับพลังงานสลายพันธะของโมเลกุลต่าง ๆ ทาให้ทราบถึงความว่องไว
หรือไม่ไวของสารต่อปฏิกิริยาเคมีด้วย ทั้งนี้เพราะก่อนที่จะเกิดปฏิกิริยากัน พันธะจะถูกทาลายก่อน
เป็นอะตอม แล้วจึงทาปฏิกิริยา ตัวอย่างเช่น H2 กับ F2 ก่อนทาปฏิกิริยาระหว่าง H กับ F ได้ HF
โมเลกุลของฟลูออรีนมีพลังงานสลายพันธะเท่ากับ 159 กิโลจูลต่อโมล ฟลูออรีนมีความว่องไวต่อ
ปฏิกิริยามาก ในขณะที่ไฮโดรเจนค่อนข้างเฉื่อยต่อปฏิกิริยา เนื่องจากพลังงานสลายพันธะมีค่าสูงถึง
436 กิโลจูลต่อโมล
พลังงานพันธะเฉลี่ย (Everage bond energy) เขียนย่อเป็น ६ คือ ค่าพลังงานที่ได้จากการ
เฉลี่ยค่าพลังงานต่าง ๆ ของพลังงานสลายพันธะที่มีสาหรับพันธะชนิดใดชนิดหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็น
โมเลกุลใด เช่น พันธะระหว่าง C กับ H มีพลังงานพันธะเฉลี่ย 414 kJ/mol เป็นต้น
71
2. ความยาวพันธะ
ความยาวพันธะ คือ ระยะระหว่างอะตอมที่เกิดพันธะกัน ซึ่งทาให้อะตอมทั้งสองมีแรง
ดึงดูดกันได้ดีที่สุด มีพลังงานต่าที่สุด หรือเสถียรที่สุด เนื่องจากอะตอมต่าง ๆ ในโมเลกุลมีการ
สั่นสะเทือนอยู่เสมอ ระยะระหว่างอะตอมจึงเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ความยาวพันธะนี้จึงเป็น
ค่าเฉลี่ยของความยาวที่เปลี่ยนแปลงนั้น ซึ่งหาได้จากเทคนิคการหักเหกระจายของรังสีเอกซ์ (X-ray
diffraction) ค่าความยาวพันธะของโมเลกุลอะตอมคู่บางตัว แสดงในตารางที่ 5.2
ตารางที่ 5.1 พลังงานสลายพันธะของโมเลกุลอะตอมคู่บางตัว (kJ/mol)
Bond Bond
Energy,
kJ/mol
Bond Bond
Energy,
kJ/mol
Bond Bond
Energy,
kJ/mol
H – H
H – C
H – N
H – O
H – S
H – F
H – Cl
H – Br
H – I
436
414
389
464
368
565
431
364
297
C – C
C = C
C  C
C – N
C = N
C  N
C – O
C = O
C – Cl
347
611
837
305
615
891
360
736
339
N – N
N = N
N  N
N – O
N = O
O – O
O = O
F – F
Cl – Cl
163
418
946
222
590
142
498
159
243
ที่มา : สุนันทา วิบูลย์จันทร์. 2545 : 241.
เมื่อเปรียบเทียบพลังงานพันธะกับความยาวพันธะ ดังตัวอย่างในภาพที่ 5.3 จะได้ว่า
พันธะเดี่ยว (—) ยาวกว่าพันธะคู่ (=) และยาวกว่าพันธะสาม () ส่วนพลังงานพันธะ พันธะสาม ()
แข็งแรงกว่าพันธะคู่ (=) และพันธะเดี่ยว (—) หรือจาง่าย ๆ คือ
ความยาว พันธะเดี่ยว > พันธะคู่ > พันธะสาม
พลังงานพันธะ พันธะเดี่ยว < พันธะคู่ < พันธะสาม
72
ตารางที่ 5.2 แสดงความยาวพันธะของโมเลกุลอะตอมคู่บางตัว
Bond Bond
Length,
pm
Bond Bond
Length,
pm
Bond Bond
Length,
pm
H – H
H – C
H – N
H – O
H – S
H – F
H – Cl
H – Br
H – I
74.14
110
100
97
132
91.7
127.4
141.4
160.9
C – C
C = C
C  C
C – N
C = N
C  N
C – O
C = O
C – Cl
154
134
120
147
128
116
143
120
178
N – N
N = N
N  N
N – O
N = O
O – O
O = O
F – F
Cl – Cl
145
123
109.8
136
120
145
121
143
199
ที่มา : ทบวงมหาวิทยาลัย. 2536 : 98.
ภาพที่ 5.3 แสดงพลังงานพันธะกับความยาวพันธะของโมเลกุลอะตอมคู่บางตัว
ที่มา : คลังความรู้สู่ความเป็นเลิศ. ออนไลน์. 2557.
ความยาว
พลังงาน
พันธะ
73
3. มุมพันธะ (Bond angle)
อะตอมที่สร้างพันธะได้ 2 พันธะขึ้นไป ถ้าลากเส้นผ่านพันธะต่าง ๆ เหล่านี้มาตัดกันที่
นิวเคลียสของอะตอมดังกล่าว มุมที่เกิดขึ้นเรียกว่า มุมพันธะ เช่น โมเลกุลของ H2O
มุมระหว่างพันธะในโมเลกุลของน้าประมาณ 105 องศา เนื่องจากออกซิเจนอะตอมใน
โมเลกุลของน้ามีอิเล็กตรอนอิสระเหลืออยู่จึงทาให้เกิดแรงผลักอะตอมของไฮโดรเจนทาให้เกิดมุม
ขึ้น ดังภาพ 5.4
ก. ข. ค.
ภาพที่ 5.4 แสดงมุมระหว่างพันธะ ก. 105 องศา ข. 180 องศา ค. 120 องศา
ที่มา : สุทัศน์ ไตรสถิตวร และสมศักดิ์ วรมงคลชัย. 2550 : 187.
มุมพันธะ โดยปกติแล้วมุมพันธะเป็นค่าเฉลี่ย ทั้งนี้เนื่องจากการสั่นสะเทือนของอะตอม
ต่าง ๆ มุมพันธะมีค่าได้ตั้งแต่ 60o
ถึง 180o
ดังตัวอย่างภาพที่ 5.5
ก. ข. ค.
ภาพที่ 5.5 แสดงมุมระหว่างพันธะ ก. 109.5 องศา ข. 90 และ 120 องศา ค. 60 องศา
ที่มา : สุทัศน์ ไตรสถิตวร และสมศักดิ์ วรมงคลชัย. 2550 : 188 - 189.
74
4. สภาพขั้วของพันธะ
สาหรับโมเลกุลที่ประกอบด้วยอะตอมต่างชนิดกัน แม้ว่าจะใช้อิเล็กตรอนร่วมกัน แต่
ความสามารถในการดึงอิเล็กตรอนเข้าหาตัวเองไม่เท่ากัน จึงทาให้อิเล็กตรอนที่ใช้ร่วมกันนั้นอยู่
ค่อนไปทางอะตอมที่ดึงได้มากกว่า หรือเรียกว่า กลุ่มหมอกของอิเล็กตรอนอยู่ใกล้กับอะตอมที่มี
ความสามารถดึงได้มากกว่า ทาให้สภาพทางไฟฟ้าไม่เท่ากันกล่าวคือ กลุ่มหมอกอิเล็กตรอนอยู่ใกล้
อะตอมใด ทาให้อะตอมนั้นเกิดประจุไฟฟ้ าลบเล็กน้อย (Partially negative charge) เขียนแทนด้วย
δ-
และทาให้อะตอมที่อยู่ตรงข้ามเกิดประจุไฟฟ้าบวกเล็กน้อย (Partially positive charge) เขียนแทน
ด้วย δ+
ทาให้โมเลกุลนี้มีการแยกประจุไฟฟ้ า หรือเรียกว่า โมเลกุลแบบมีขั้ว (Polar molecule) เช่น
HF H2O NH3เป็นต้น
ความสามารถในการดึงอิเล็กตรอนเข้าหาตัวเองของอะตอมในโมเลกุลนี้เรียกว่า สภาพ
ไฟฟ้าลบ (Electronegativity) ซึ่งมีความสาคัญในการทาให้เกิดเป็นโมเลกุลมีขั้วหรือไม่มีขั้ว และ มี
ค่าตั้งแต่ 0 – 1 ถ้า δ มีค่า 1 พันธะนั้นก็เป็นไอออนิก ถ้า δ มีค่าต่ากว่า 1 ก็เป็นพันธะโคเวเลนต์ แต่มี
สมบัติเป็นไอออนิกอยู่บ้างตามค่าของ δ ค่าของ δ จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับผลต่างของสภาพ
ไฟฟ้ าลบของอะตอมทั้ง 2 ที่เกิดพันธะกัน เช่น H กับ Cl เท่ากับ 0.9 มีสมบัติเป็นไอออนิก (Ionic
character) = 19% ในสารประกอบไอออนิก อะตอมทั้ง 2 มีสภาพไฟฟ้ าลบต่างกันอยู่มาก แสดง
ผลต่างของสภาพไฟฟ้าและเปอร์เซ็นต์ของการมีสมบัติไอออนิกบางตัวในตารางที่ 5.3
อนึ่งถ้าพิจารณาในแต่ละพันธะไป เราอาจกล่าวได้ว่าโมเลกุลที่มีขั้วนั้นมีสมบัติสาคัญคือ
electric dipole moment หรือเรียกสั้น ๆ ว่า ไดโพลโมเมนต์ (dipole moment)เป็นปริมาณที่ใช้วัด
ความมีขั้วของพันธะ ใช้สัญลักษณ์ µ คือ ผลคูณของประจุ q และระยะทางระหว่างประจุ r เพื่อ
รักษาสภาพความเป็นกลางทางไฟฟ้า ประจุที่ปลายทั้งสองของโมเลกุลอะตอมคู่ที่เป็นกลางจะต้อง
เท่ากัน และมีเครื่องหมายตรงกันข้าม อย่างไรก็ตามปริมาณ q หมายความถึงขนาดของประจุ
เท่านั้น ดังนั้น µ จึงมีค่าเป็นบวกเสมอ ไดโพลโมเมนต์มีหน่วยเป็น เดอบาย (debye, D) แฟกเตอร์
การเปลี่ยนหน่วยคือ 1 D = 3.36 x 10 -30
cm บอกถึงสภาพขั้วของโมเลกุล เช่น H2O มีสภาพขั้ว =
1.8 X 10-18
esu-cm และ HCl มีสภาพขั้ว = 1.08 X 10-18
esu-cm โดยค่า dipole moment เขียนแทน
ด้วย µ หาได้จากสูตร
µ = qr หรือ q = µ/r
เมื่อ q คือ ประจุ และ r คือ ระยะทางระหว่างประจุ
75
ตารางที่ 5.3 เปอร์เซ็นต์ของการมีสมบัติไอออนขึ้นกับผลต่างของสภาพไฟฟ้าลบ
ผลต่างของสภาพไฟฟ้าลบ เปอร์เซ็นต์ของการมีสมบัติไอออนิก
0.1 0.5
0.2 1
0.3 2
0.4 4
0.5 6
0.6 9
0.7 12
0.8 15
0.9 19
1.0 22
1.2 30
1.5 43
1.7 54
2.0 63
2.3 74
2.5 79
3.0 89
3.2 92
ที่มา : สุทัศน์ ไตรสถิตวร และสมศักดิ์ วรมงคลชัย, 2550: 203.
ไฮบริดออร์บิทัล และไฮบริไดเซชั่น
เรื่องออร์บิทัลหรือทฤษฎีโมเลกุลออร์บิทัล เริ่มใช้ในปี ค.ศ. 1932 โดยเอฟฮุนด์ (F. Hund)
อาร์มุลลิแกน (R. Mulliken) อีฮืกเกล (E. Huckel) และเจ เลนนาร์ด-โจนส์ (J. Lennard-Jones) โดย
สรุปหลักใหญ่ ๆ ได้ดังนี้
76
1. การสร้างโมเลกุลาร์ออร์บิตอล
ในขั้นแรกจะเป็นการรวมอะตอมิกออร์บิตอลเข้าด้วยกันอย่างเหมาะสม เพื่อสร้างเป็น
โมเลกุลาร์ออร์บิตอลขึ้น ความเหมาะสมในที่นี้ขึ้นอยู่กับรูปทรงเรขาคณิตของโมเลกุล โดยยึดหลัก
ว่า จานวนโมเลกุลาร์ออร์บิตอลที่สร้างขึ้นใหม่ ต้องเท่ากับจานวนอะตอมิกออร์บิตอลทั้งหมดที่มา
รวมกัน โดยรูปร่างของโมเลกุลาร์ออร์บิตอลที่จะได้ เป็นลักษณะการกระจายของอิเล็กตรอนใน
โมเลกุล ซึ่งสาหรับแบบแรกโอกาสจะพบอิเล็กตรอนที่บริเวณระหว่างนิวเคลียสมีมากที่สุด และ
เรียก โมเลกุลาร์ออกบิตอลแบบนี้ว่า โมเลกุลาร์ออร์บิตอลแบบมีพันธะ (bonding molecular orbital,
BMO) ส่วนแบบผลต่าง โอกาสที่จะพบอิเล็กตรอนตรงกลางเป็นศูนย์ และมีชื่อเรียกว่า โมเลกุลาร์
ออร์บิตอลแบบต้านพันธะ (anti-bonding molecular orbital, AMO)
สาหรับอะตอมิกออร์บิตอลแบบอื่น ๆ เช่น p-ออร์บิตอล เราก็นามารวมกันได้เช่นกัน โดย
อาจรวม (ทั้งผลรวมและผลต่าง) ได้ในสองลักษณะ คือ
1) ซ้อนเหลื่อมกันตามแนวปลาย (head to head) เป็นการซ้อนเหลื่อมกันทางส่วนปลาย
ของออร์บิทัล ความหนาแน่นของกลุ่มเมฆหมอกอิเล็กตรอน อยู่ระหว่างอะตอมทั้ง 2 เกิดเป็นพันธะ
ซิกมา (sigma bond) เขียนแทนด้วย σ ดังตัวอย่าง
F2 (1s2
2s2
2p5
) แผนผังแสดงอิเล็กตรอนที่เกี่ยวข้องในการสร้างพันธะเป็นดังนี้
ภาพที่ 5.6 แสดงอิเล็กตรอนที่เกี่ยวข้องในการสร้างพันธะของ F2
ที่มา : พินิติ รตะนานุกูล และคณะ. 2553 : 158.
รูปการซ้อนเหลื่อมของ 2pz ออร์บิทัล แสดงได้ดังนี้
พันธะซิกมา
อิเล็กตรอน
คู่
ที่ไม่ใช้
สร้างพันธะ
F F
F2
2pz
2pz
77
ภาพที่ 5.7 แสดงการซ้อนเหลื่อมของ 2pz ออร์บิทัล
ที่มา : พินิติ รตะนานุกูล และคณะ. 2553 : 159.
2) การซ้อมเหลื่อมตามแนวข้าง (side to side) เป็นการซ้อนเหลื่อมกันของ p-orbital ที่
ขนานกันเท่านั้น มีส่วนที่ซ้อนเหลื่อมกันอยู่ 2 ส่วน ทาให้เกิดพันธะไพ (pi-bond) เขียนแทนด้วย π
ดังนี้
O2 (1s2
2s2
2p4
) แผนผังแสดงอิเล็กตรอนที่เกี่ยวข้องในการสร้างพันธะเป็นดังนี้
ภาพที่ 5.8 แสดงอิเล็กตรอนที่เกี่ยวข้องในการสร้างพันธะ O2
ที่มา : พินิติ รตะนานุกูล และคณะ. 2553 : 159.
รูปการซ้อนเหลื่อมของ 2py และ 2pz ออร์บิทัลแสดงได้ดังนี้
ภาพที่ 5.9 แสดงการซ้อนเหลื่อมของ 2py และ 2pz ออร์บิทัล
ที่มา : พินิติ รตะนานุกูล และคณะ. 2553 : 159.
2. ไฮบริดออร์บิทัลและไฮบริไดเซชั่น (Hybrid orbital Hybridization)
ในโมเลกุลที่ประกอบด้วย 3 อะตอมขึ้นไป เช่น H2O NH3 CH4 เป็นต้น อะตอมที่เป็น
อะตอมกลางจะมีการปรับปรุงอิเล็กตรอนชั้นนอกสุดของตัวเองก่อน เพื่อเลื่อนระดับพลังงานให้
เหมาะสม จึงซ้อนทับกับอะตอมอื่นเกิดเป็นพันธะเคมีได้ การเลื่อนระดับพลังงานนี้ก็คือการผสมกัน
ของออร์บิทัลที่มีระดับพลังงานใกล้เคียงกัน เช่น s กับ p ในระดับพลังงานเดียวกัน หรือบางโมเลกุล
พันธะ
ไพ
พันธะซิก
มา
ออร์บิทัลที่เต็ม
แล้ว
78
อาจมี d-orbital มาเกี่ยวข้องด้วย การผสมกันระหว่างออร์บิทัลในอะตอมเดียวกันซึ่งเป็นออร์บิทัลที่
มีระดับพลังงานใกล้เคียงกันนี้ เรียกว่า ไฮบริไดเซชั่น (Hybridization) ออร์บิทัลผสมซึ่งเกิดขึ้นใหม่
นี้เรียกว่า ไฮบริดออร์บิทัล (Hybrid orbital)
ไฮบริดออร์บิทัล ยังคงเป็นออร์บิทัลเชิงอะตอมมิใช่ออร์บิทัลเชิงโมเลกุล เพราะยังมิได้
ซ้อนเหลื่อมกับออร์บิทัลของอะตอมอื่น จานวนออร์บิทัลที่เกิดขึ้นใหม่ย่อมเท่ากับจานวนออร์บิทัล
ที่มาผสม และออร์บิทัลที่เกิดขึ้นใหม่ย่อมมีพลังงานเท่ากันทั้งหมด การสร้างไฮบริดออร์บิทัลจาก s
และ p อาจทาได้หลายแบบ และมีชื่อเรียกต่าง ๆ กันดังนี้
1) sp ไฮบริดออร์บิทัล คือ ออร์บิทัลที่เกิดจากการผสมกันระหว่าง s กับ p อย่างละหนึ่ง
ออร์บิทัล เกิดเป็นไฮบริดออร์บิทัลสองออร์บิทัล อยู่ในแนวเส้นตรงเดียวกันทิศทางตรงข้าม
ตัวอย่างเช่น BeCl2 พิจารณาการจัดอิเล็กตรอนของ Be ในภาวะปกติหรือพลังงานต่า (Ground
state) จะเป็น 1s2
2s2
แต่เมื่อพลังงานสูง (excited state) อิเล็กตรอน 1 ตัวจาก 2s2
จะย้ายไปอยู่
ในออร์บิทัล px จึงเกิดออร์บิทัลที่มีอิเล็กตรอนเดี่ยว 2 ออร์บิทอล คือ 2s1
และ 2p1
จากนั้นรวมตัว
กันเป็นไฮบริดออร์บิทัลชื่อ sp (พลังงานเท่ากัน) ดังภาพที่ 5.10
1s2
2s2
2p0
4Be   ภาวะปกติ (พลังงานต่า)
1s2
2s1
2p1
4Be    เมื่อพลังงานสูง
เกิดไฮบริไดเซชัน
ได้ไฮบริดออร์บิทัล sp
ภาพที่ 5.10 แสดงการรวมตัวกันเป็นไฮบริดออร์บิทัลชื่อ sp
ที่มา : พินิติ รตะนานุกูล และคณะ. 2553 : 162.
รูปทรงเรขาคณิตของไฮบริดออร์บิทัล spมีรูปร่างเป็นเส้นตรง (linear)ทามุม 180องศา
เมื่อทาปฏิกิริยากับธาตุอื่น โมเลกุลของสารประกอบที่เกิดขึ้นจะมีรูปร่างเป็นเส้นตรงเช่นกัน
2) sp2
ไฮบริดออร์บิทัล คือ ออร์บิทัลที่เกิดจากการผสมกันระหว่าง s 1 ออร์บิทัลกับ p 2
ออร์บิทัล เกิดเป็นออร์บิทัลใหม่ 3 ออร์บิทัลตัวอย่างเช่น BCl3 ให้สังเกตว่าอะตอมที่จะเกิดไฮบริได-
เซชันชนิดนี้จะจัดอิเล็กตรอนเต็มใน subshell s เต็มแต่ subshell p ยังว่างหรือมีอิเล็กตรอนเดี่ยวอยู่
 
79
บ้างแต่ยังมีออร์บิทัลว่างเหลืออยู่ เช่น 5B มีการจัดอิเล็กตรอนในภาวะปกติและภาวะถูกกระตุ้นดัง
ภาพ 5.11
1s2
2s2
2p1
5B    ภาวะปกติ (พลังงานต่า)
1s2
2s1
2p2
5B     เมื่อพลังงานสูง
เกิดไฮบริไดเซชัน
ได้ไฮบริดออร์บิทัล ชื่อ sp2
ภาพที่ 5.11 แสดงการรวมตัวกันเป็นไฮบริดออร์บิทัลชื่อ sp2
ที่มา : พินิติ รตะนานุกูล และคณะ. 2553 : 163.
รูปทรงเรขาคณิ ตของไฮบริดออร์บิทัล sp2
มีรูปร่างเป็ นสามเหลี่ยมแบนราบ
(trigonalplana) ทามุม 120 องศา เมื่อทาปฏิกิริยากับธาตุอื่น โมเลกุลของสารประกอบที่เกิดขึ้นจะ
มีรูปร่างเป็นสามเหลี่ยมแบนราบเช่นกัน
3) sp3
ไฮบริดออร์บิทัล คือ ออร์บิทัลที่เกิดจากการผสมกันระหว่าง s 1 ออร์บิทัลกับ p 3
ออร์บิทัล กลายเป็นออร์บิทัลผสม 4 ออร์บิทัล ทุกออร์บิทัลมีชื่อเรียกว่า sp3
ไฮบริดออร์บิทัล หรือ
เรียกสั้น ๆ ว่า sp3
แต่ละออร์บิทัลมีสมบัติเป็น ¼ ของ s และ ¾ ของ p ตัวอย่างเช่น CH4 ให้สังเกตว่า
อะตอมที่จะเกิดไฮบริไดเซชันชนิดนี้จะจัดอิเล็กตรอนเต็มใน subshell s เต็ม แต่ subsell p ยังว่าง
หรือมีอิเล็กตรอนเดี่ยวอยู่บ้างแต่ยังมีออร์บิทัลว่างเหลืออยู่ เช่น 6C มีการจัดอิเล็กตรอนในภาวะ
ปกติและภาวะถูกกระตุ้น ดังภาพ 5.12
รูป ท รงเรขาคณิ ตของไฮบ ริ ดออร์บิ ทัล sp3
มีรู ป ร่ างเป็ น ทรงเห ลี่ยม
สี่หน้า (tetrahedral) ทามุม 109.5 องศา เมื่อทาปฏิกิริยากับธาตุอื่น โมเลกุลของสารประกอบที่
เกิดขึ้นจะมีรูปร่างเป็นทรงเหลี่ยมสี่หน้าเช่นกัน
สาหรับไฮบริไดเซชั่นที่ใช้ d-ออร์บิทัลด้วยนั้น มีหลายออร์บิทัล เช่น sp3
d sp3
d2
dsp3
และ
d2
sp3
เป็นต้น แต่จะไม่กล่าวละเอียดในที่นี้
  
80
1s2
2s2
2p2
6C     ภาวะปกติ (พลังงานต่า)
1s2
2s1
2p3
6C      เมื่อพลังงานสูง
เกิดไฮบริไดเซชัน
ได้ไฮบริดออร์บิทัล ชื่อ sp3
ภาพที่ 5.12 แสดงการรวมตัวกันเป็นไฮบริดออร์บิทัลชื่อ sp3
ที่มา : พินิติ รตะนานุกูล และคณะ. 2553 : 164.
สรุป
พันธะไอออนิก พันธะโคเวเลนต์ หรือ พันธะโลหะ เกิดจากแรงยึดเหนี่ยวที่เกิดขึ้นระหว่าง
อะตอมหรือกลุ่มของอะตอม เป็นการใช้อิเล็กตรอนร่วมกัน ซึ่งการเกิดพันธะนี้เพื่อให้เกิดเป็นกลุ่มที่
เสถียรและเป็นอิสระในระดับโมเลกุล ลักษณะเฉพาะที่สาคัญของพันธะเคมีหรือค่าต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับ
พันธะเคมี ไม่ว่าจะเป็นพลังงานพันธะ ความยาวพันธะ มุมพันธะ สภาพขั้วพันธะ หรือการไฮบริด
ออร์บิทัล และไฮบริไดเซชั่นในโมเลกุล ซึ่งเป็นการสร้างโมเลกุลาร์ออร์บิทัล ไฮบริดออร์บิทัล และ
ไฮบริไดเซชั่นระหว่างอิเล็กตรอนที่อยู่ในออร์บิทัลเดียวกันหรือต่างกัน ก็เพื่อให้โมเลกุลอยู่สภาพที่
เสถียรที่สุด
แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 5
1. พันธะไอออนิกต่างจากพันธะโคเวเลนต์อย่างไร อธิบายพร้อมทั้งยกตัวอย่างประกอบ
2. จงให้ความหมายของคาหรือข้อความต่อไปนี้
2.1 พันธะโลหะ
2.2 พลังงานพันธะ
2.3 พลังงานพันธะเฉลี่ย
2.4 ความยาวพันธะ
2.5 สภาพขั้วของพันธะ
   
81
3. พันธะโคเวเลนต์จะมีสภาพขั้วหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยอะไรเป็นสาคัญ อธิบายพร้อมทั้ง
ยกตัวอย่างประกอบ
4. พันธะไพกับพันธะซิกมาต่างกันอย่างไร พันธะใดมีเสถียรภาพมั่นคงกว่า เพราะเหตุใด
5. แคลเซียมเป็นโลหะที่แข็งกว่าและหลอมเหลวยากกว่าโพแทสเซียม สมบัตินี้เกี่ยวข้องกับพันธะ
โลหะหรือไม่อย่างไร
6. จงเสนอไฮบริดออร์บิทัลที่เหมาะสมสาหรับคาร์บอนแต่ละตัว ในสารประกอบนี้
เอกสารอ้างอิง
คลังความรู้สู่ความเป็นเลิศ. (2557). พันธะเคมี. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://www.scimath.org. [9
พฤษภาคม 2558].
ทบวงมหาวิทยาลัย. (2536). เคมี 1. เล่มที่ 1. พิมพ์ครั้ งที่ 7. บริษัทอักษรเจริญทัศน์ :
กรุงเทพมหานคร.
พินิติ รตะนานุกูล, นัยนา ชวนเกริกกุล, พรพรรณ อุดมกาญจนนันท์, วรวรรณ พันธุมนาวิน, สุชาดา
จูอนุวัฒนกุล, ธีรยุทธ วิไลวัลย์, นัทธมน คูณแสง และอรพินท์ เจียรถาวร. (2553). เคมี. พิมพ์
ครั้งที่ 5. บริษัทด่านสุทธาการพิมพ์จากัด : กรุงเทพมหานคร.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2546). หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน
และเพิ่มเติม เคมี เล่ม 1. โรงพิมพ์ครุสภา : กรุงเทพมหานคร.
สุทัศน์ ไตรสถิตวร และสมศักดิ์ วรมงคลชัย. (2550). เคมี. ม.4 เล่ม 1. บริษัทไทเนรมิตกิจอินเตอร์
โปรเกรสซิฟจากัด : นนทบุรี.
สุนันทา วิบูลย์จันทร์. (2545). เคมี : วิชาแกนทางวิทยาศาสตร์ 1. เล่ม 1. บริษัทเพียร์สันเอ็ดดูเคชั่น
อินโดไชน่าจากัด : กรุงเทพมหานคร.
อัญชุลี ฉวีราช, สมศักดิ์ ศิริไชย และ นิศากร ทองก้อน. (2553). เคมี 1. บริษัทเจเอสทีพับลิชชิ่งจากัด
: กรุงเทพมหานคร.
Uno Kask and J. David Rawn. (1993). General Chemistry. Wm. C. Brown Communications,
Inc. : United States of America.
H

More Related Content

What's hot

มวลอะตอม มวลโมเลกุล มวลไอออน
มวลอะตอม มวลโมเลกุล มวลไอออนมวลอะตอม มวลโมเลกุล มวลไอออน
มวลอะตอม มวลโมเลกุล มวลไอออนพัน พัน
 
เอกสารประกอบการเรียนรู้ ว40223acids base1
เอกสารประกอบการเรียนรู้ ว40223acids base1เอกสารประกอบการเรียนรู้ ว40223acids base1
เอกสารประกอบการเรียนรู้ ว40223acids base1Sircom Smarnbua
 
เซลล์อิเล็กโทรไลต์
เซลล์อิเล็กโทรไลต์เซลล์อิเล็กโทรไลต์
เซลล์อิเล็กโทรไลต์Jariya Jaiyot
 
ธาตุกัมมันตรังสี
ธาตุกัมมันตรังสีธาตุกัมมันตรังสี
ธาตุกัมมันตรังสีพัน พัน
 
บทที่ 8 กรด เบส
บทที่ 8 กรด เบสบทที่ 8 กรด เบส
บทที่ 8 กรด เบสoraneehussem
 
หน่วยที่ 2 ตารางธาตุ
หน่วยที่ 2 ตารางธาตุหน่วยที่ 2 ตารางธาตุ
หน่วยที่ 2 ตารางธาตุtiraphankhumduang2
 
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีกิตติธัช สืบสุนทร
 
วิทยาศาสตร์กายภาพ 1 เรื่อง น้ำ
วิทยาศาสตร์กายภาพ 1 เรื่อง น้ำวิทยาศาสตร์กายภาพ 1 เรื่อง น้ำ
วิทยาศาสตร์กายภาพ 1 เรื่อง น้ำKatewaree Yosyingyong
 
กรด เบสและสมดุลไอออน - Ion Equilibrium
กรด เบสและสมดุลไอออน - Ion Equilibriumกรด เบสและสมดุลไอออน - Ion Equilibrium
กรด เบสและสมดุลไอออน - Ion EquilibriumDr.Woravith Chansuvarn
 
พันธะไอออนิก57
พันธะไอออนิก57 พันธะไอออนิก57
พันธะไอออนิก57 Saipanya school
 
การเปลี่ยนแปลงพลังงานและการเกิดปฏิกิริยาเคมี
การเปลี่ยนแปลงพลังงานและการเกิดปฏิกิริยาเคมีการเปลี่ยนแปลงพลังงานและการเกิดปฏิกิริยาเคมี
การเปลี่ยนแปลงพลังงานและการเกิดปฏิกิริยาเคมีครูเสกสรรค์ สุวรรณสุข
 
เคมีไฟฟ้า (Electrochemistry)
เคมีไฟฟ้า (Electrochemistry)เคมีไฟฟ้า (Electrochemistry)
เคมีไฟฟ้า (Electrochemistry)Dr.Woravith Chansuvarn
 
เคมีอินทรีย์เบื้องต้น
เคมีอินทรีย์เบื้องต้นเคมีอินทรีย์เบื้องต้น
เคมีอินทรีย์เบื้องต้นDr.Woravith Chansuvarn
 
แอลกอฮอล์ ฟีนอล แอลดีไฮด์ คีโตน
แอลกอฮอล์ ฟีนอล แอลดีไฮด์ คีโตนแอลกอฮอล์ ฟีนอล แอลดีไฮด์ คีโตน
แอลกอฮอล์ ฟีนอล แอลดีไฮด์ คีโตนjirat266
 
4 พลังงานกับการดำเนินไปของปฏิกิริยา
4 พลังงานกับการดำเนินไปของปฏิกิริยา4 พลังงานกับการดำเนินไปของปฏิกิริยา
4 พลังงานกับการดำเนินไปของปฏิกิริยาSircom Smarnbua
 
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าChakkrawut Mueangkhon
 

What's hot (20)

มวลอะตอม มวลโมเลกุล มวลไอออน
มวลอะตอม มวลโมเลกุล มวลไอออนมวลอะตอม มวลโมเลกุล มวลไอออน
มวลอะตอม มวลโมเลกุล มวลไอออน
 
เอกสารประกอบการเรียนรู้ ว40223acids base1
เอกสารประกอบการเรียนรู้ ว40223acids base1เอกสารประกอบการเรียนรู้ ว40223acids base1
เอกสารประกอบการเรียนรู้ ว40223acids base1
 
เซลล์อิเล็กโทรไลต์
เซลล์อิเล็กโทรไลต์เซลล์อิเล็กโทรไลต์
เซลล์อิเล็กโทรไลต์
 
ธาตุกัมมันตรังสี
ธาตุกัมมันตรังสีธาตุกัมมันตรังสี
ธาตุกัมมันตรังสี
 
Physics atom part 4
Physics atom part 4Physics atom part 4
Physics atom part 4
 
บทที่ 8 กรด เบส
บทที่ 8 กรด เบสบทที่ 8 กรด เบส
บทที่ 8 กรด เบส
 
หน่วยที่ 2 ตารางธาตุ
หน่วยที่ 2 ตารางธาตุหน่วยที่ 2 ตารางธาตุ
หน่วยที่ 2 ตารางธาตุ
 
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
 
ปฏิสัมพันธ์ในระบบสุริยะ
ปฏิสัมพันธ์ในระบบสุริยะปฏิสัมพันธ์ในระบบสุริยะ
ปฏิสัมพันธ์ในระบบสุริยะ
 
วิทยาศาสตร์กายภาพ 1 เรื่อง น้ำ
วิทยาศาสตร์กายภาพ 1 เรื่อง น้ำวิทยาศาสตร์กายภาพ 1 เรื่อง น้ำ
วิทยาศาสตร์กายภาพ 1 เรื่อง น้ำ
 
กรด เบสและสมดุลไอออน - Ion Equilibrium
กรด เบสและสมดุลไอออน - Ion Equilibriumกรด เบสและสมดุลไอออน - Ion Equilibrium
กรด เบสและสมดุลไอออน - Ion Equilibrium
 
พันธะไอออนิก57
พันธะไอออนิก57 พันธะไอออนิก57
พันธะไอออนิก57
 
การเปลี่ยนแปลงพลังงานและการเกิดปฏิกิริยาเคมี
การเปลี่ยนแปลงพลังงานและการเกิดปฏิกิริยาเคมีการเปลี่ยนแปลงพลังงานและการเกิดปฏิกิริยาเคมี
การเปลี่ยนแปลงพลังงานและการเกิดปฏิกิริยาเคมี
 
เคมีไฟฟ้า (Electrochemistry)
เคมีไฟฟ้า (Electrochemistry)เคมีไฟฟ้า (Electrochemistry)
เคมีไฟฟ้า (Electrochemistry)
 
คลื่นกล
คลื่นกลคลื่นกล
คลื่นกล
 
เคมีอินทรีย์เบื้องต้น
เคมีอินทรีย์เบื้องต้นเคมีอินทรีย์เบื้องต้น
เคมีอินทรีย์เบื้องต้น
 
แรงไฟฟ้าและสนามไฟฟ้าสถิต
แรงไฟฟ้าและสนามไฟฟ้าสถิตแรงไฟฟ้าและสนามไฟฟ้าสถิต
แรงไฟฟ้าและสนามไฟฟ้าสถิต
 
แอลกอฮอล์ ฟีนอล แอลดีไฮด์ คีโตน
แอลกอฮอล์ ฟีนอล แอลดีไฮด์ คีโตนแอลกอฮอล์ ฟีนอล แอลดีไฮด์ คีโตน
แอลกอฮอล์ ฟีนอล แอลดีไฮด์ คีโตน
 
4 พลังงานกับการดำเนินไปของปฏิกิริยา
4 พลังงานกับการดำเนินไปของปฏิกิริยา4 พลังงานกับการดำเนินไปของปฏิกิริยา
4 พลังงานกับการดำเนินไปของปฏิกิริยา
 
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
 

Viewers also liked

013 science a-net(เคมี)
013 science a-net(เคมี)013 science a-net(เคมี)
013 science a-net(เคมี)Sasitorn Kapana
 
ความรู้พื้นฐานทางเคมี
 ความรู้พื้นฐานทางเคมี ความรู้พื้นฐานทางเคมี
ความรู้พื้นฐานทางเคมีnn ning
 
Glasses structures, properties and applications
Glasses structures, properties and applicationsGlasses structures, properties and applications
Glasses structures, properties and applicationsRushikesh Raval
 
การบำบัดของเสียในอุตสาหกรรม 31 03 59
การบำบัดของเสียในอุตสาหกรรม 31 03 59การบำบัดของเสียในอุตสาหกรรม 31 03 59
การบำบัดของเสียในอุตสาหกรรม 31 03 59BPpiangruetai
 
สถานะของสาร ม.1
สถานะของสาร ม.1สถานะของสาร ม.1
สถานะของสาร ม.1Wuttipong Tubkrathok
 
Chapter 1.3 properties of glass crystalline mixtures
Chapter 1.3 properties of glass crystalline mixturesChapter 1.3 properties of glass crystalline mixtures
Chapter 1.3 properties of glass crystalline mixturesGawewat Dechaapinun
 
การจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา ดร.กุศลิน 191116
การจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา ดร.กุศลิน 191116การจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา ดร.กุศลิน 191116
การจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา ดร.กุศลิน 191116kroofon fon
 
จักราวุธ เนื้อหา และตัวอย่างข้อสอบจรรยาบรรณวิชาชีพครู
จักราวุธ เนื้อหา และตัวอย่างข้อสอบจรรยาบรรณวิชาชีพครู จักราวุธ เนื้อหา และตัวอย่างข้อสอบจรรยาบรรณวิชาชีพครู
จักราวุธ เนื้อหา และตัวอย่างข้อสอบจรรยาบรรณวิชาชีพครู นายจักราวุธ คำทวี
 
แนวข้อสอบครูผู้ช่วยเอกวิทยาศาสตร์
แนวข้อสอบครูผู้ช่วยเอกวิทยาศาสตร์ แนวข้อสอบครูผู้ช่วยเอกวิทยาศาสตร์
แนวข้อสอบครูผู้ช่วยเอกวิทยาศาสตร์ wan Jeerisuda
 
เอกสารประกอบคำบรรยายติวสอบ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
เอกสารประกอบคำบรรยายติวสอบ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เอกสารประกอบคำบรรยายติวสอบ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
เอกสารประกอบคำบรรยายติวสอบ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ถูกต้อง ไม่จำเป็นต้องถูกใจ
 
7 วิชา ฟิสิกส์ the brain
7 วิชา ฟิสิกส์   the brain7 วิชา ฟิสิกส์   the brain
7 วิชา ฟิสิกส์ the brainHiran Vayakk
 
สรุปเนื้อหา คณิตศาสตร์ ม.ปลาย
สรุปเนื้อหา คณิตศาสตร์ ม.ปลายสรุปเนื้อหา คณิตศาสตร์ ม.ปลาย
สรุปเนื้อหา คณิตศาสตร์ ม.ปลายAphisak Srichan
 

Viewers also liked (20)

E7
E7E7
E7
 
บทที่ 1 บทนำ
บทที่ 1 บทนำบทที่ 1 บทนำ
บทที่ 1 บทนำ
 
013 science a-net(เคมี)
013 science a-net(เคมี)013 science a-net(เคมี)
013 science a-net(เคมี)
 
Chapter 1.2 properties of glass
Chapter 1.2 properties of glassChapter 1.2 properties of glass
Chapter 1.2 properties of glass
 
ความรู้พื้นฐานทางเคมี
 ความรู้พื้นฐานทางเคมี ความรู้พื้นฐานทางเคมี
ความรู้พื้นฐานทางเคมี
 
Glasses structures, properties and applications
Glasses structures, properties and applicationsGlasses structures, properties and applications
Glasses structures, properties and applications
 
การบำบัดของเสียในอุตสาหกรรม 31 03 59
การบำบัดของเสียในอุตสาหกรรม 31 03 59การบำบัดของเสียในอุตสาหกรรม 31 03 59
การบำบัดของเสียในอุตสาหกรรม 31 03 59
 
สถานะของสาร ม.1
สถานะของสาร ม.1สถานะของสาร ม.1
สถานะของสาร ม.1
 
อาชีพ
อาชีพอาชีพ
อาชีพ
 
Chapter 1.3 properties of glass crystalline mixtures
Chapter 1.3 properties of glass crystalline mixturesChapter 1.3 properties of glass crystalline mixtures
Chapter 1.3 properties of glass crystalline mixtures
 
Chapter 5 glazes defects
Chapter 5 glazes defectsChapter 5 glazes defects
Chapter 5 glazes defects
 
การจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา ดร.กุศลิน 191116
การจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา ดร.กุศลิน 191116การจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา ดร.กุศลิน 191116
การจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา ดร.กุศลิน 191116
 
Properties of glass
Properties of glassProperties of glass
Properties of glass
 
จักราวุธ เนื้อหา และตัวอย่างข้อสอบจรรยาบรรณวิชาชีพครู
จักราวุธ เนื้อหา และตัวอย่างข้อสอบจรรยาบรรณวิชาชีพครู จักราวุธ เนื้อหา และตัวอย่างข้อสอบจรรยาบรรณวิชาชีพครู
จักราวุธ เนื้อหา และตัวอย่างข้อสอบจรรยาบรรณวิชาชีพครู
 
แนวข้อสอบครูผู้ช่วยเอกวิทยาศาสตร์
แนวข้อสอบครูผู้ช่วยเอกวิทยาศาสตร์ แนวข้อสอบครูผู้ช่วยเอกวิทยาศาสตร์
แนวข้อสอบครูผู้ช่วยเอกวิทยาศาสตร์
 
เอกสารประกอบคำบรรยายติวสอบ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
เอกสารประกอบคำบรรยายติวสอบ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เอกสารประกอบคำบรรยายติวสอบ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
เอกสารประกอบคำบรรยายติวสอบ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
 
7 วิชา ฟิสิกส์ the brain
7 วิชา ฟิสิกส์   the brain7 วิชา ฟิสิกส์   the brain
7 วิชา ฟิสิกส์ the brain
 
สรุปเนื้อหา คณิตศาสตร์ ม.ปลาย
สรุปเนื้อหา คณิตศาสตร์ ม.ปลายสรุปเนื้อหา คณิตศาสตร์ ม.ปลาย
สรุปเนื้อหา คณิตศาสตร์ ม.ปลาย
 
Ceramics
CeramicsCeramics
Ceramics
 
Biobook
BiobookBiobook
Biobook
 

Similar to บทที่ 5 พันธะเคมี

Ch 02 ionic bond
Ch 02 ionic bond Ch 02 ionic bond
Ch 02 ionic bond kruannchem
 
covelent_bond
covelent_bondcovelent_bond
covelent_bondShe's Bee
 
พันธะเคมี1
พันธะเคมี1พันธะเคมี1
พันธะเคมี1She's Bee
 
Chemical Bonding1.pdf
Chemical Bonding1.pdfChemical Bonding1.pdf
Chemical Bonding1.pdfsensei48
 
เรื่องสารเคมีภายในเซลล์ cytochemistry ตอนที่ 1
เรื่องสารเคมีภายในเซลล์ cytochemistry ตอนที่ 1เรื่องสารเคมีภายในเซลล์ cytochemistry ตอนที่ 1
เรื่องสารเคมีภายในเซลล์ cytochemistry ตอนที่ 1kasidid20309
 
บทที่ 2 พันธะเคมี
บทที่ 2 พันธะเคมีบทที่ 2 พันธะเคมี
บทที่ 2 พันธะเคมีoraneehussem
 
State of matter
State of matterState of matter
State of matteradriamycin
 

Similar to บทที่ 5 พันธะเคมี (20)

Chembond
ChembondChembond
Chembond
 
Chembond
ChembondChembond
Chembond
 
Chap 5 chemical bonding
Chap 5 chemical bondingChap 5 chemical bonding
Chap 5 chemical bonding
 
Chemical bonding1
Chemical bonding1Chemical bonding1
Chemical bonding1
 
Chemical bond
Chemical bondChemical bond
Chemical bond
 
พันธะเคมี
พันธะเคมีพันธะเคมี
พันธะเคมี
 
Chemical
ChemicalChemical
Chemical
 
Ch 02 ionic bond
Ch 02 ionic bond Ch 02 ionic bond
Ch 02 ionic bond
 
covelent_bond
covelent_bondcovelent_bond
covelent_bond
 
พันธะเคมี1
พันธะเคมี1พันธะเคมี1
พันธะเคมี1
 
Punmanee study 6
Punmanee study 6Punmanee study 6
Punmanee study 6
 
Punmanee study 3
Punmanee study 3Punmanee study 3
Punmanee study 3
 
Chemical Bonding1.pdf
Chemical Bonding1.pdfChemical Bonding1.pdf
Chemical Bonding1.pdf
 
เรื่องสารเคมีภายในเซลล์ cytochemistry ตอนที่ 1
เรื่องสารเคมีภายในเซลล์ cytochemistry ตอนที่ 1เรื่องสารเคมีภายในเซลล์ cytochemistry ตอนที่ 1
เรื่องสารเคมีภายในเซลล์ cytochemistry ตอนที่ 1
 
Punmanee study 8
Punmanee study 8Punmanee study 8
Punmanee study 8
 
Study 1
Study 1Study 1
Study 1
 
Punmanee study 1
Punmanee study 1Punmanee study 1
Punmanee study 1
 
บทที่ 2 พันธะเคมี
บทที่ 2 พันธะเคมีบทที่ 2 พันธะเคมี
บทที่ 2 พันธะเคมี
 
โควาเลนต์
โควาเลนต์โควาเลนต์
โควาเลนต์
 
State of matter
State of matterState of matter
State of matter
 

More from Gawewat Dechaapinun

เน€เธ—เธ„เน‚เธ™เน‚เธฅเธขเธตเธœเธฑเธเนเธฅเธฐเธœเธฅเน„เธกเน‰
เน€เธ—เธ„เน‚เธ™เน‚เธฅเธขเธตเธœเธฑเธเนเธฅเธฐเธœเธฅเน„เธกเน‰เน€เธ—เธ„เน‚เธ™เน‚เธฅเธขเธตเธœเธฑเธเนเธฅเธฐเธœเธฅเน„เธกเน‰
เน€เธ—เธ„เน‚เธ™เน‚เธฅเธขเธตเธœเธฑเธเนเธฅเธฐเธœเธฅเน„เธกเน‰Gawewat Dechaapinun
 
เน€เธ—เธ„เน‚เธ™เน‚เธฅเธขเธตเธœเธฑเธเนเธฅเธฐเธœเธฅเน„เธกเน‰
เน€เธ—เธ„เน‚เธ™เน‚เธฅเธขเธตเธœเธฑเธเนเธฅเธฐเธœเธฅเน„เธกเน‰เน€เธ—เธ„เน‚เธ™เน‚เธฅเธขเธตเธœเธฑเธเนเธฅเธฐเธœเธฅเน„เธกเน‰
เน€เธ—เธ„เน‚เธ™เน‚เธฅเธขเธตเธœเธฑเธเนเธฅเธฐเธœเธฅเน„เธกเน‰Gawewat Dechaapinun
 
บทที่ 8 แนวคิดและความเชื่อเรื่องผีในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถร
บทที่ 8 แนวคิดและความเชื่อเรื่องผีในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรบทที่ 8 แนวคิดและความเชื่อเรื่องผีในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถร
บทที่ 8 แนวคิดและความเชื่อเรื่องผีในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรGawewat Dechaapinun
 
บทที่ ๒ ศาสนาโบราณ
บทที่ ๒ ศาสนาโบราณบทที่ ๒ ศาสนาโบราณ
บทที่ ๒ ศาสนาโบราณGawewat Dechaapinun
 
บทที่ 8 แนวคิดและความเชื่อเรื่องผีในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถร
บทที่ 8 แนวคิดและความเชื่อเรื่องผีในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรบทที่ 8 แนวคิดและความเชื่อเรื่องผีในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถร
บทที่ 8 แนวคิดและความเชื่อเรื่องผีในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรGawewat Dechaapinun
 
บทที่ 2 ประเภทของบทเรียนคอมพิวเตอร์
บทที่ 2 ประเภทของบทเรียนคอมพิวเตอร์บทที่ 2 ประเภทของบทเรียนคอมพิวเตอร์
บทที่ 2 ประเภทของบทเรียนคอมพิวเตอร์Gawewat Dechaapinun
 
Chapter 4 properties of glazes and control
Chapter 4 properties of glazes and controlChapter 4 properties of glazes and control
Chapter 4 properties of glazes and controlGawewat Dechaapinun
 
Chapter 2.1 glaze classifications
Chapter 2.1 glaze classificationsChapter 2.1 glaze classifications
Chapter 2.1 glaze classificationsGawewat Dechaapinun
 
Chapter 1.3 properties of glass crystalline mixtures
Chapter 1.3 properties of glass crystalline mixturesChapter 1.3 properties of glass crystalline mixtures
Chapter 1.3 properties of glass crystalline mixturesGawewat Dechaapinun
 
งานนำเสนอเทววิทยา3
งานนำเสนอเทววิทยา3งานนำเสนอเทววิทยา3
งานนำเสนอเทววิทยา3Gawewat Dechaapinun
 

More from Gawewat Dechaapinun (20)

เน€เธ—เธ„เน‚เธ™เน‚เธฅเธขเธตเธœเธฑเธเนเธฅเธฐเธœเธฅเน„เธกเน‰
เน€เธ—เธ„เน‚เธ™เน‚เธฅเธขเธตเธœเธฑเธเนเธฅเธฐเธœเธฅเน„เธกเน‰เน€เธ—เธ„เน‚เธ™เน‚เธฅเธขเธตเธœเธฑเธเนเธฅเธฐเธœเธฅเน„เธกเน‰
เน€เธ—เธ„เน‚เธ™เน‚เธฅเธขเธตเธœเธฑเธเนเธฅเธฐเธœเธฅเน„เธกเน‰
 
เน€เธ—เธ„เน‚เธ™เน‚เธฅเธขเธตเธœเธฑเธเนเธฅเธฐเธœเธฅเน„เธกเน‰
เน€เธ—เธ„เน‚เธ™เน‚เธฅเธขเธตเธœเธฑเธเนเธฅเธฐเธœเธฅเน„เธกเน‰เน€เธ—เธ„เน‚เธ™เน‚เธฅเธขเธตเธœเธฑเธเนเธฅเธฐเธœเธฅเน„เธกเน‰
เน€เธ—เธ„เน‚เธ™เน‚เธฅเธขเธตเธœเธฑเธเนเธฅเธฐเธœเธฅเน„เธกเน‰
 
งานนำเสนอ8
งานนำเสนอ8งานนำเสนอ8
งานนำเสนอ8
 
งานนำเสนอ1
งานนำเสนอ1งานนำเสนอ1
งานนำเสนอ1
 
Chapter 3 glaze manufacturing
Chapter 3 glaze manufacturingChapter 3 glaze manufacturing
Chapter 3 glaze manufacturing
 
บทที่ 8 แนวคิดและความเชื่อเรื่องผีในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถร
บทที่ 8 แนวคิดและความเชื่อเรื่องผีในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรบทที่ 8 แนวคิดและความเชื่อเรื่องผีในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถร
บทที่ 8 แนวคิดและความเชื่อเรื่องผีในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถร
 
บทที่ ๒ ศาสนาโบราณ
บทที่ ๒ ศาสนาโบราณบทที่ ๒ ศาสนาโบราณ
บทที่ ๒ ศาสนาโบราณ
 
บทที่ 8 แนวคิดและความเชื่อเรื่องผีในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถร
บทที่ 8 แนวคิดและความเชื่อเรื่องผีในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรบทที่ 8 แนวคิดและความเชื่อเรื่องผีในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถร
บทที่ 8 แนวคิดและความเชื่อเรื่องผีในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถร
 
งานนำเสนอ7
งานนำเสนอ7งานนำเสนอ7
งานนำเสนอ7
 
งานนำเสนอ6
งานนำเสนอ6งานนำเสนอ6
งานนำเสนอ6
 
บทที่ 2 ประเภทของบทเรียนคอมพิวเตอร์
บทที่ 2 ประเภทของบทเรียนคอมพิวเตอร์บทที่ 2 ประเภทของบทเรียนคอมพิวเตอร์
บทที่ 2 ประเภทของบทเรียนคอมพิวเตอร์
 
งานนำเสนอ5
งานนำเสนอ5งานนำเสนอ5
งานนำเสนอ5
 
งานนำเสนอ4
งานนำเสนอ4งานนำเสนอ4
งานนำเสนอ4
 
Chapter 4 properties of glazes and control
Chapter 4 properties of glazes and controlChapter 4 properties of glazes and control
Chapter 4 properties of glazes and control
 
Chapter 3 glaze manufacturing
Chapter 3 glaze manufacturingChapter 3 glaze manufacturing
Chapter 3 glaze manufacturing
 
Chapter 3 glaze manufacturing
Chapter 3 glaze manufacturingChapter 3 glaze manufacturing
Chapter 3 glaze manufacturing
 
Chapter 2.3 glaze calculations
Chapter 2.3 glaze calculationsChapter 2.3 glaze calculations
Chapter 2.3 glaze calculations
 
Chapter 2.1 glaze classifications
Chapter 2.1 glaze classificationsChapter 2.1 glaze classifications
Chapter 2.1 glaze classifications
 
Chapter 1.3 properties of glass crystalline mixtures
Chapter 1.3 properties of glass crystalline mixturesChapter 1.3 properties of glass crystalline mixtures
Chapter 1.3 properties of glass crystalline mixtures
 
งานนำเสนอเทววิทยา3
งานนำเสนอเทววิทยา3งานนำเสนอเทววิทยา3
งานนำเสนอเทววิทยา3
 

บทที่ 5 พันธะเคมี

  • 1. 65 แผนบริหารการสอนประจาบทที่ 5 หัวข้อเนื้อหาประจาบท พันธะไอโอนิก พันธะโคเวเลนต์ พันธะโลหะ ค่าต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับพันธะเคมี ไฮบริดออร์บิทัล และไฮบริไดเซชั่น วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม เมื่อเรียนจบบทที่ 5 แล้วให้นักศึกษาสามารถ 1. อธิบายความหมายของพันธะเคมีได้ 2. บอกความแตกต่างของพันธะเคมีแต่ละชนิดได้ 3. เขียนพันธะเคมีในการเกิดสารประกอบชนิดต่าง ๆ ได้ วิธีสอนและกิจกรรมการเรียนการสอนประจาบท วิธีสอนและกิจกรรมการเรียนการสอนประจาบทที่ 5 มีดังต่อไปนี้ 1. ศึกษาเอกสารประกอบการสอน บทที่ 5 2. ฟังบรรยายประกอบเอกสารการสอน รูปภาพ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ 3. อภิปรายและเปิดโอกาสซักถาม 4. ฝึกฝนทักษะการเขียนพันธะเคมีของสารประกอบโดยให้ศึกษาจากตัวอย่างในเอกสาร และกาหนดแบบฝึกหัดรายบุคคลหรือรายกลุ่ม และออกมาตอบคาถามหน้าชั้นเรียน 5. ค้นคว้าข้อมูลจากตารา อินเทอร์เน็ต และแหล่งเรียนรู้อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่เรียน ด้วยตนเอง 6. มอบหมายงานให้ทาแบบฝึกหัดท้ายบท
  • 2. 66 สื่อการเรียนการสอน สื่อการเรียนการสอนประจาบทที่ 5 มีดังต่อไปนี้ 1. เอกสารประกอบการสอนวิชาเคมี 1 2. สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง 3. โปรแกรมนาเสนอด้วยคอมพิวเตอร์ ประจาบทที่ 5 และชุดประกอบในการนาเสนอ 4. หนังสือ ตารา หรือเอกสารที่เกี่ยวข้อง การวัดและประเมินผล การวัดและการประเมินผลบทที่ 5 มีดังต่อไปนี้ 1. สังเกตจากการร่วมกิจกรรมของนักศึกษา 2. ซักถามความเข้าใจในชั้นเรียน 3. ตรวจแบบฝึกหัดท้ายบท 4. ทาแบบทดสอบตามที่กาหนด
  • 3. 67 บทที่5 พันธะเคมี ในการสร้างบ้านนั้น ถ้าเป็นการสร้างด้วยแผ่นไม้แผ่นไม้หลาย ๆ แผ่น ที่นามาต่อประกบกัน เป็นผนังจะถูกช่างทาการตอกตะปู เพื่อยึดแผ่นไม้แต่ละแผ่นเข้าด้วยกัน เฉกเช่นเดียวกับโมเลกุลซึ่ง เกิดจากหลาย ๆ อะตอมมารวมกัน เพราะโดยปกติแล้วในธรรมชาติ อะตอมธาตุต่าง ๆ จะไม่อยู่ใน ลักษณะที่เป็ นอะตอมอย่างโดดเดี่ยว แต่จะรวมกันเป็ นกลุ่มอะตอมหรือเป็ นโมเลกุลของ สารประกอบ การที่อะตอมเหล่านี้รวมอยู่ด้วยกันได้อย่างเสถียรภาพนั้น เนื่องจากมีแรงชนิดหนึ่งที่ ยึดเหนี่ยวอะตอมเข้าด้วยกันเป็นโมเลกุล แรงยึดเหนี่ยวดังกล่าวเราเรียกว่า พันธะเคมี (Chemical bond) พันธะเคมี หมายถึงแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอะตอมต่าง ๆ ให้อยู่ด้วยกันอย่างมีเสถียรภาพ เกิด เป็นโมเลกุลของสารประกอบ และถ้าต้องการทาให้โมเลกุลแตกออกเป็นอะตอมจะต้องให้พลังงาน เข้าไปทาลายพันธะเคมี ซึ่งพันธะเคมีมีหลายชนิด ที่สาคัญ ๆ ได้แก่ พันธะไอโอนิก พันธะโคเว เลนต์ และพันธะโลหะ พันธะไอโอนิก (Ionic Bond) พันธะไอออนิก คือ แรงยึดเหนี่ยวระหว่างอะตอมของโลหะกับอะตอมของอโลหะ พันธะเคมี ชนิดนี้ทาให้เกิดโมเลกุลของสารประกอบที่เรียกว่า สารประกอบไอโอนิก (Ionic compounds) เช่น NaCl KI LiFและ CaO เป็นต้น พันธะไอโอนิก เกิดจากการที่อะตอมของโลหะจ่ายอิเล็กตรอนในชั้นนอกสุด 1 2 หรือ 3 ตัว ให้แก่อะตอมอโลหะ แล้วตัวเองก็กลายเป็นไอออนบวก ซึ่งมีประจุเป็น 1 2 หรือ 3 ตามลาดับ ส่วน อิเล็กตรอนที่อะตอมของอโลหะรับไว้นั้นจะมีผลทาให้อะตอมของอโลหะกลายเป็นไอออนลบ ซึ่งมี ประจุ 1- 2- หรือ 3- ตามลาดับ ไอออนบวกกับไอออนลบจึงมีแรงยึดเหนี่ยวซึ่งกันและกัน ซึ่งเป็น แรงยึดเหนี่ยวแบบไฟฟ้ าสถิต (Electrostatic force) เช่น NaCl (จุดรอบ ๆ เราเรียก ประจุฟอร์มอล คือประจุสมมติบนอะตอมในโมเลกุลหรือไอออนหลายอะตอม) ดังภาพที่ 5.1
  • 4. 68 ภาพที่ 5.1 แสดงประจุสมมติบนอะตอม ที่มา : สุทัศน์ ไตรสถิตวร และสมศักดิ์ วรมงคลชัย. 2550 : 146. พันธะโคเวเลนต์ (Covalent Bond) พันธะโคเวเลนต์ หมายถึง แรงยึดเหนี่ยวระหว่างอะตอมอโลหะด้วยกัน พันธะชนิดนี้ทาให้ เกิดโมเลกุลของธาตุ เช่น H2 N2 O2 Cl2เป็นต้น และทาให้เกิดโมเลกุลของสารประกอบ เช่น H2O NH3HCl เป็นต้น แรงยึดเหนี่ยวนี้เกิดจากการใช้อิเล็กตรอนร่วมกันของอะตอมทั้งสองข้าง ๆ ละ 1 2 หรือ 3 อิเล็กตรอน ถ้าใช้ร่วมกันข้างละ 1 อิเล็กตรอน ก็มีอิเล็กตรอนคู่ที่ใช้ร่วมกัน 1 คู่ พันธะที่เกิดขึ้น เรียกว่า พันธะเดี่ยว (Single bond) เช่น HCl ถ้าใช้ร่วมกันข้างละ 2 อิเล็กตรอน ก็มีอิเล็กตรอนที่ใช้ร่วมกัน 2 คู่ พันธะที่เกิดขึ้น เรียกว่า พันธะคู่ (Double Bond) เช่น CO2 ถ้าใช้ร่วมกันข้างละ 3 อิเล็กตรอน ก็มีอิเล็กตรอนที่ใช้ร่วมกัน 3 คู่ พันธะที่เกิดขึ้น เรียกว่า พันธะสาม (Triple Bond) เช่น N2 CH2 Na = 2, 8, 1 Cl = 2, 8, 7 Na = 2, 8, 1 Cl = 2, 8, 7 p = 11, e = 11 p = 17, e = 17 p = 11, e = 10 p = 17, e = 18 ประจุไฟฟ้า = 0 ประจุไฟฟ้า = 0 ประจุไฟฟ้า = +1 ประจุไฟฟ้า = -1
  • 5. 69 พันธะโลหะ (Metallic Bond) พันธะโลหะ ได้แก่ พันธะที่ยึดอะตอมในผลึกโลหะไว้ด้วยกัน โดยที่เวเลนซ์อิเล็กตรอนของ แต่ละอะตอมสามารถเคลื่อนไหวไปยังจุดต่าง ๆ ในผลึกได้ค่อนข้างง่าย และขณะเดียวกันก็ทา หน้าที่ดึงดูดนิวเคลียสของอะตอมเหล่านั้นไว้ด้วยกัน โดยทั่วไปโลหะที่มีเวเลนซ์อิเล็กตรอนมากก็ จะมีพันธะโลหะที่แข็งแรงซึ่งโดยทั่วไปอะตอมที่เชื่อมต่อกันด้วยพันธะโลหะจะมีโครงสร้างเป็น ผลึก อนึ่ง พันธะโลหะมีเวเลนต์อิเล็กตรอนที่ยึดกับไอออนบวกไม่ได้เป็นของอะตอมใดอะตอม หนึ่งเพียงอะตอมเดียว แต่เวเลนต์อิเล็กตรอนทุกตัวสามารถเคลื่อนที่ไปยังอะตอมอื่น ๆ ได้ ซึ่ง แตกต่างจากพันธะโคเวเลนต์ ทั้งนี้เพราะในก้อนโลหะแต่ละอะตอมจะมีอะตอมอื่นล้อมรอบ 8 หรือ 12 อะตอม อะตอมจึงมีเวเลนต์อิเล็กตรอนไม่พอที่จะทาให้เกิดคู่อิเล็กตรอนที่ใช้ร่วมพันธะระหว่าง อะตอมแต่ละอะตอมเข้าด้วยกันทั้งหมดได้ ดังในแบบจาลองทะเลอิเล็กตรอนในโลหะ ภาพที่ 5.2 หมายเหตุ + หมายถึง metal ions และ - หมายถึง free electrons from outer shells of metal atoms ภาพที่ 5.2 แบบจาลองทะเลอิเล็กตรอนในโลหะ ที่มา : สุทัศน์ ไตรสถิตวร และสมศักดิ์ วรมงคลชัย. 2550 : 226. ค่าต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับพันธะเคมี การที่จะตรวจสอบว่า ทฤษฎีมีความถูกต้องเพียงใด นักวิทยาศาสตร์จะต้องคานวณค่าต่าง ๆ ที่เป็นสมบัติสาคัญของสาร แล้วนามาเปรียบเทียบกับค่าที่วัดได้จากการทดลอง ในกรณีของพันธะ เคมี ค่าดังกล่าวของโมเลกุลที่วัดได้ ได้แก่ พลังงานพันธะ ความยาวพันธะ มุมพันธะ นอกจากนี้ใน กรณีที่โมเลกุลมีขั้ว ก็สามารถวัดค่าไดโพลโมเมนต์ ซึ่งจะบอกถึงสภาพขั้วของพันธะได้ 1. พลังงานพันธะ (Bonding energy) +
  • 6. 70 โดยทั่วไปแล้วพลังงานพันธะมี 2 ประเภท คือ พลังงานสลายพันธะ และพลังงานพันธะ เฉลี่ย ซึ่งต่างกันดังนี้ พลังงานสลายพันธะ (Bond dissociation energy) เขียนย่อเป็น D คือ พลังงานที่ต้องให้แก่ โมเลกุลเพื่อทาลายพันธะเคมีในโมเลกุลนั้น หรือพลังงานที่คายออกเมื่ออะตอมทั้ง 2 รวมตัวกันทาง เคมีเป็นโมเลกุล สาหรับโมเลกุลอะตอมคู่ พลังงานสลายพันธะ คือ พลังงานที่ใช้ในการทาให้ โมเลกุลนั้นสลายเป็นอะตอมในสถานะที่เป็นแก๊ส และสาหรับโมเลกุลหลายอะตอม (Polyatomic molecule) จะมีค่า D โดยเฉพาะสาหรับพันธะนั้น ๆ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาวะภายในที่แตกต่างกันของ แต่ละโมเลกุล หรือ อนุมูลอิสระ ซึ่งพลังงานสลายพันธะนี้จะบอกให้ทราบความแข็งแรงของพันธะ ยิ่งพันธะมีความแข็งแรงมากเท่าไหร่ ยิ่งต้องการใช้พลังงานสลายพันธะมากขึ้น เช่น CH4 (g) + 435 kJ/mol CH3 (g) + H (g) CH3 (g) + 453 kJ/mol CH2 (g) + H (g) CH2 (g) + 425 kJ/mol CH (g) + H (g) CH (g) + 339 kJ/mol C (g) + H (g) เมื่อรวมขั้นทั้ง 4 เข้าด้วยกันจะได้ว่า CH4 (g) + 1,650 kJ/mol C (g) + 4H (g) จะเห็นว่าถึงแม้จะเป็นพันธะ C - H เหมือนกันแต่ค่าพลังงานสลายพันธะจะแตกต่างกัน เมื่อรวมพลังงานสลายพันธะทั้ง 4 ขั้น ก็จะเป็นพลังงานทั้งหมดที่ใช้ในการสลายโมเลกุลมีเทนทั้ง โมเลกุลให้เป็นอะตอมอย่างสมบูรณ์ พลังงานสลายพันธะทั้ง 4 ขั้นมีค่าเท่ากับ 1,650 kJ/mol และ เมื่อหารด้วย 4 จะได้ค่าพลังงานเฉลี่ยของพันธะ C – H มีค่าเท่ากับ 412.5 kJ/mol ค่าพลังงานสลาย พันธะของโมเลกุลอะตอมคู่บางตัว แสดงในตารางที่ 5.1 จากความรู้เกี่ยวกับพลังงานสลายพันธะของโมเลกุลต่าง ๆ ทาให้ทราบถึงความว่องไว หรือไม่ไวของสารต่อปฏิกิริยาเคมีด้วย ทั้งนี้เพราะก่อนที่จะเกิดปฏิกิริยากัน พันธะจะถูกทาลายก่อน เป็นอะตอม แล้วจึงทาปฏิกิริยา ตัวอย่างเช่น H2 กับ F2 ก่อนทาปฏิกิริยาระหว่าง H กับ F ได้ HF โมเลกุลของฟลูออรีนมีพลังงานสลายพันธะเท่ากับ 159 กิโลจูลต่อโมล ฟลูออรีนมีความว่องไวต่อ ปฏิกิริยามาก ในขณะที่ไฮโดรเจนค่อนข้างเฉื่อยต่อปฏิกิริยา เนื่องจากพลังงานสลายพันธะมีค่าสูงถึง 436 กิโลจูลต่อโมล พลังงานพันธะเฉลี่ย (Everage bond energy) เขียนย่อเป็น ६ คือ ค่าพลังงานที่ได้จากการ เฉลี่ยค่าพลังงานต่าง ๆ ของพลังงานสลายพันธะที่มีสาหรับพันธะชนิดใดชนิดหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็น โมเลกุลใด เช่น พันธะระหว่าง C กับ H มีพลังงานพันธะเฉลี่ย 414 kJ/mol เป็นต้น
  • 7. 71 2. ความยาวพันธะ ความยาวพันธะ คือ ระยะระหว่างอะตอมที่เกิดพันธะกัน ซึ่งทาให้อะตอมทั้งสองมีแรง ดึงดูดกันได้ดีที่สุด มีพลังงานต่าที่สุด หรือเสถียรที่สุด เนื่องจากอะตอมต่าง ๆ ในโมเลกุลมีการ สั่นสะเทือนอยู่เสมอ ระยะระหว่างอะตอมจึงเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ความยาวพันธะนี้จึงเป็น ค่าเฉลี่ยของความยาวที่เปลี่ยนแปลงนั้น ซึ่งหาได้จากเทคนิคการหักเหกระจายของรังสีเอกซ์ (X-ray diffraction) ค่าความยาวพันธะของโมเลกุลอะตอมคู่บางตัว แสดงในตารางที่ 5.2 ตารางที่ 5.1 พลังงานสลายพันธะของโมเลกุลอะตอมคู่บางตัว (kJ/mol) Bond Bond Energy, kJ/mol Bond Bond Energy, kJ/mol Bond Bond Energy, kJ/mol H – H H – C H – N H – O H – S H – F H – Cl H – Br H – I 436 414 389 464 368 565 431 364 297 C – C C = C C  C C – N C = N C  N C – O C = O C – Cl 347 611 837 305 615 891 360 736 339 N – N N = N N  N N – O N = O O – O O = O F – F Cl – Cl 163 418 946 222 590 142 498 159 243 ที่มา : สุนันทา วิบูลย์จันทร์. 2545 : 241. เมื่อเปรียบเทียบพลังงานพันธะกับความยาวพันธะ ดังตัวอย่างในภาพที่ 5.3 จะได้ว่า พันธะเดี่ยว (—) ยาวกว่าพันธะคู่ (=) และยาวกว่าพันธะสาม () ส่วนพลังงานพันธะ พันธะสาม () แข็งแรงกว่าพันธะคู่ (=) และพันธะเดี่ยว (—) หรือจาง่าย ๆ คือ ความยาว พันธะเดี่ยว > พันธะคู่ > พันธะสาม พลังงานพันธะ พันธะเดี่ยว < พันธะคู่ < พันธะสาม
  • 8. 72 ตารางที่ 5.2 แสดงความยาวพันธะของโมเลกุลอะตอมคู่บางตัว Bond Bond Length, pm Bond Bond Length, pm Bond Bond Length, pm H – H H – C H – N H – O H – S H – F H – Cl H – Br H – I 74.14 110 100 97 132 91.7 127.4 141.4 160.9 C – C C = C C  C C – N C = N C  N C – O C = O C – Cl 154 134 120 147 128 116 143 120 178 N – N N = N N  N N – O N = O O – O O = O F – F Cl – Cl 145 123 109.8 136 120 145 121 143 199 ที่มา : ทบวงมหาวิทยาลัย. 2536 : 98. ภาพที่ 5.3 แสดงพลังงานพันธะกับความยาวพันธะของโมเลกุลอะตอมคู่บางตัว ที่มา : คลังความรู้สู่ความเป็นเลิศ. ออนไลน์. 2557. ความยาว พลังงาน พันธะ
  • 9. 73 3. มุมพันธะ (Bond angle) อะตอมที่สร้างพันธะได้ 2 พันธะขึ้นไป ถ้าลากเส้นผ่านพันธะต่าง ๆ เหล่านี้มาตัดกันที่ นิวเคลียสของอะตอมดังกล่าว มุมที่เกิดขึ้นเรียกว่า มุมพันธะ เช่น โมเลกุลของ H2O มุมระหว่างพันธะในโมเลกุลของน้าประมาณ 105 องศา เนื่องจากออกซิเจนอะตอมใน โมเลกุลของน้ามีอิเล็กตรอนอิสระเหลืออยู่จึงทาให้เกิดแรงผลักอะตอมของไฮโดรเจนทาให้เกิดมุม ขึ้น ดังภาพ 5.4 ก. ข. ค. ภาพที่ 5.4 แสดงมุมระหว่างพันธะ ก. 105 องศา ข. 180 องศา ค. 120 องศา ที่มา : สุทัศน์ ไตรสถิตวร และสมศักดิ์ วรมงคลชัย. 2550 : 187. มุมพันธะ โดยปกติแล้วมุมพันธะเป็นค่าเฉลี่ย ทั้งนี้เนื่องจากการสั่นสะเทือนของอะตอม ต่าง ๆ มุมพันธะมีค่าได้ตั้งแต่ 60o ถึง 180o ดังตัวอย่างภาพที่ 5.5 ก. ข. ค. ภาพที่ 5.5 แสดงมุมระหว่างพันธะ ก. 109.5 องศา ข. 90 และ 120 องศา ค. 60 องศา ที่มา : สุทัศน์ ไตรสถิตวร และสมศักดิ์ วรมงคลชัย. 2550 : 188 - 189.
  • 10. 74 4. สภาพขั้วของพันธะ สาหรับโมเลกุลที่ประกอบด้วยอะตอมต่างชนิดกัน แม้ว่าจะใช้อิเล็กตรอนร่วมกัน แต่ ความสามารถในการดึงอิเล็กตรอนเข้าหาตัวเองไม่เท่ากัน จึงทาให้อิเล็กตรอนที่ใช้ร่วมกันนั้นอยู่ ค่อนไปทางอะตอมที่ดึงได้มากกว่า หรือเรียกว่า กลุ่มหมอกของอิเล็กตรอนอยู่ใกล้กับอะตอมที่มี ความสามารถดึงได้มากกว่า ทาให้สภาพทางไฟฟ้าไม่เท่ากันกล่าวคือ กลุ่มหมอกอิเล็กตรอนอยู่ใกล้ อะตอมใด ทาให้อะตอมนั้นเกิดประจุไฟฟ้ าลบเล็กน้อย (Partially negative charge) เขียนแทนด้วย δ- และทาให้อะตอมที่อยู่ตรงข้ามเกิดประจุไฟฟ้าบวกเล็กน้อย (Partially positive charge) เขียนแทน ด้วย δ+ ทาให้โมเลกุลนี้มีการแยกประจุไฟฟ้ า หรือเรียกว่า โมเลกุลแบบมีขั้ว (Polar molecule) เช่น HF H2O NH3เป็นต้น ความสามารถในการดึงอิเล็กตรอนเข้าหาตัวเองของอะตอมในโมเลกุลนี้เรียกว่า สภาพ ไฟฟ้าลบ (Electronegativity) ซึ่งมีความสาคัญในการทาให้เกิดเป็นโมเลกุลมีขั้วหรือไม่มีขั้ว และ มี ค่าตั้งแต่ 0 – 1 ถ้า δ มีค่า 1 พันธะนั้นก็เป็นไอออนิก ถ้า δ มีค่าต่ากว่า 1 ก็เป็นพันธะโคเวเลนต์ แต่มี สมบัติเป็นไอออนิกอยู่บ้างตามค่าของ δ ค่าของ δ จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับผลต่างของสภาพ ไฟฟ้ าลบของอะตอมทั้ง 2 ที่เกิดพันธะกัน เช่น H กับ Cl เท่ากับ 0.9 มีสมบัติเป็นไอออนิก (Ionic character) = 19% ในสารประกอบไอออนิก อะตอมทั้ง 2 มีสภาพไฟฟ้ าลบต่างกันอยู่มาก แสดง ผลต่างของสภาพไฟฟ้าและเปอร์เซ็นต์ของการมีสมบัติไอออนิกบางตัวในตารางที่ 5.3 อนึ่งถ้าพิจารณาในแต่ละพันธะไป เราอาจกล่าวได้ว่าโมเลกุลที่มีขั้วนั้นมีสมบัติสาคัญคือ electric dipole moment หรือเรียกสั้น ๆ ว่า ไดโพลโมเมนต์ (dipole moment)เป็นปริมาณที่ใช้วัด ความมีขั้วของพันธะ ใช้สัญลักษณ์ µ คือ ผลคูณของประจุ q และระยะทางระหว่างประจุ r เพื่อ รักษาสภาพความเป็นกลางทางไฟฟ้า ประจุที่ปลายทั้งสองของโมเลกุลอะตอมคู่ที่เป็นกลางจะต้อง เท่ากัน และมีเครื่องหมายตรงกันข้าม อย่างไรก็ตามปริมาณ q หมายความถึงขนาดของประจุ เท่านั้น ดังนั้น µ จึงมีค่าเป็นบวกเสมอ ไดโพลโมเมนต์มีหน่วยเป็น เดอบาย (debye, D) แฟกเตอร์ การเปลี่ยนหน่วยคือ 1 D = 3.36 x 10 -30 cm บอกถึงสภาพขั้วของโมเลกุล เช่น H2O มีสภาพขั้ว = 1.8 X 10-18 esu-cm และ HCl มีสภาพขั้ว = 1.08 X 10-18 esu-cm โดยค่า dipole moment เขียนแทน ด้วย µ หาได้จากสูตร µ = qr หรือ q = µ/r เมื่อ q คือ ประจุ และ r คือ ระยะทางระหว่างประจุ
  • 11. 75 ตารางที่ 5.3 เปอร์เซ็นต์ของการมีสมบัติไอออนขึ้นกับผลต่างของสภาพไฟฟ้าลบ ผลต่างของสภาพไฟฟ้าลบ เปอร์เซ็นต์ของการมีสมบัติไอออนิก 0.1 0.5 0.2 1 0.3 2 0.4 4 0.5 6 0.6 9 0.7 12 0.8 15 0.9 19 1.0 22 1.2 30 1.5 43 1.7 54 2.0 63 2.3 74 2.5 79 3.0 89 3.2 92 ที่มา : สุทัศน์ ไตรสถิตวร และสมศักดิ์ วรมงคลชัย, 2550: 203. ไฮบริดออร์บิทัล และไฮบริไดเซชั่น เรื่องออร์บิทัลหรือทฤษฎีโมเลกุลออร์บิทัล เริ่มใช้ในปี ค.ศ. 1932 โดยเอฟฮุนด์ (F. Hund) อาร์มุลลิแกน (R. Mulliken) อีฮืกเกล (E. Huckel) และเจ เลนนาร์ด-โจนส์ (J. Lennard-Jones) โดย สรุปหลักใหญ่ ๆ ได้ดังนี้
  • 12. 76 1. การสร้างโมเลกุลาร์ออร์บิตอล ในขั้นแรกจะเป็นการรวมอะตอมิกออร์บิตอลเข้าด้วยกันอย่างเหมาะสม เพื่อสร้างเป็น โมเลกุลาร์ออร์บิตอลขึ้น ความเหมาะสมในที่นี้ขึ้นอยู่กับรูปทรงเรขาคณิตของโมเลกุล โดยยึดหลัก ว่า จานวนโมเลกุลาร์ออร์บิตอลที่สร้างขึ้นใหม่ ต้องเท่ากับจานวนอะตอมิกออร์บิตอลทั้งหมดที่มา รวมกัน โดยรูปร่างของโมเลกุลาร์ออร์บิตอลที่จะได้ เป็นลักษณะการกระจายของอิเล็กตรอนใน โมเลกุล ซึ่งสาหรับแบบแรกโอกาสจะพบอิเล็กตรอนที่บริเวณระหว่างนิวเคลียสมีมากที่สุด และ เรียก โมเลกุลาร์ออกบิตอลแบบนี้ว่า โมเลกุลาร์ออร์บิตอลแบบมีพันธะ (bonding molecular orbital, BMO) ส่วนแบบผลต่าง โอกาสที่จะพบอิเล็กตรอนตรงกลางเป็นศูนย์ และมีชื่อเรียกว่า โมเลกุลาร์ ออร์บิตอลแบบต้านพันธะ (anti-bonding molecular orbital, AMO) สาหรับอะตอมิกออร์บิตอลแบบอื่น ๆ เช่น p-ออร์บิตอล เราก็นามารวมกันได้เช่นกัน โดย อาจรวม (ทั้งผลรวมและผลต่าง) ได้ในสองลักษณะ คือ 1) ซ้อนเหลื่อมกันตามแนวปลาย (head to head) เป็นการซ้อนเหลื่อมกันทางส่วนปลาย ของออร์บิทัล ความหนาแน่นของกลุ่มเมฆหมอกอิเล็กตรอน อยู่ระหว่างอะตอมทั้ง 2 เกิดเป็นพันธะ ซิกมา (sigma bond) เขียนแทนด้วย σ ดังตัวอย่าง F2 (1s2 2s2 2p5 ) แผนผังแสดงอิเล็กตรอนที่เกี่ยวข้องในการสร้างพันธะเป็นดังนี้ ภาพที่ 5.6 แสดงอิเล็กตรอนที่เกี่ยวข้องในการสร้างพันธะของ F2 ที่มา : พินิติ รตะนานุกูล และคณะ. 2553 : 158. รูปการซ้อนเหลื่อมของ 2pz ออร์บิทัล แสดงได้ดังนี้ พันธะซิกมา อิเล็กตรอน คู่ ที่ไม่ใช้ สร้างพันธะ F F F2 2pz 2pz
  • 13. 77 ภาพที่ 5.7 แสดงการซ้อนเหลื่อมของ 2pz ออร์บิทัล ที่มา : พินิติ รตะนานุกูล และคณะ. 2553 : 159. 2) การซ้อมเหลื่อมตามแนวข้าง (side to side) เป็นการซ้อนเหลื่อมกันของ p-orbital ที่ ขนานกันเท่านั้น มีส่วนที่ซ้อนเหลื่อมกันอยู่ 2 ส่วน ทาให้เกิดพันธะไพ (pi-bond) เขียนแทนด้วย π ดังนี้ O2 (1s2 2s2 2p4 ) แผนผังแสดงอิเล็กตรอนที่เกี่ยวข้องในการสร้างพันธะเป็นดังนี้ ภาพที่ 5.8 แสดงอิเล็กตรอนที่เกี่ยวข้องในการสร้างพันธะ O2 ที่มา : พินิติ รตะนานุกูล และคณะ. 2553 : 159. รูปการซ้อนเหลื่อมของ 2py และ 2pz ออร์บิทัลแสดงได้ดังนี้ ภาพที่ 5.9 แสดงการซ้อนเหลื่อมของ 2py และ 2pz ออร์บิทัล ที่มา : พินิติ รตะนานุกูล และคณะ. 2553 : 159. 2. ไฮบริดออร์บิทัลและไฮบริไดเซชั่น (Hybrid orbital Hybridization) ในโมเลกุลที่ประกอบด้วย 3 อะตอมขึ้นไป เช่น H2O NH3 CH4 เป็นต้น อะตอมที่เป็น อะตอมกลางจะมีการปรับปรุงอิเล็กตรอนชั้นนอกสุดของตัวเองก่อน เพื่อเลื่อนระดับพลังงานให้ เหมาะสม จึงซ้อนทับกับอะตอมอื่นเกิดเป็นพันธะเคมีได้ การเลื่อนระดับพลังงานนี้ก็คือการผสมกัน ของออร์บิทัลที่มีระดับพลังงานใกล้เคียงกัน เช่น s กับ p ในระดับพลังงานเดียวกัน หรือบางโมเลกุล พันธะ ไพ พันธะซิก มา ออร์บิทัลที่เต็ม แล้ว
  • 14. 78 อาจมี d-orbital มาเกี่ยวข้องด้วย การผสมกันระหว่างออร์บิทัลในอะตอมเดียวกันซึ่งเป็นออร์บิทัลที่ มีระดับพลังงานใกล้เคียงกันนี้ เรียกว่า ไฮบริไดเซชั่น (Hybridization) ออร์บิทัลผสมซึ่งเกิดขึ้นใหม่ นี้เรียกว่า ไฮบริดออร์บิทัล (Hybrid orbital) ไฮบริดออร์บิทัล ยังคงเป็นออร์บิทัลเชิงอะตอมมิใช่ออร์บิทัลเชิงโมเลกุล เพราะยังมิได้ ซ้อนเหลื่อมกับออร์บิทัลของอะตอมอื่น จานวนออร์บิทัลที่เกิดขึ้นใหม่ย่อมเท่ากับจานวนออร์บิทัล ที่มาผสม และออร์บิทัลที่เกิดขึ้นใหม่ย่อมมีพลังงานเท่ากันทั้งหมด การสร้างไฮบริดออร์บิทัลจาก s และ p อาจทาได้หลายแบบ และมีชื่อเรียกต่าง ๆ กันดังนี้ 1) sp ไฮบริดออร์บิทัล คือ ออร์บิทัลที่เกิดจากการผสมกันระหว่าง s กับ p อย่างละหนึ่ง ออร์บิทัล เกิดเป็นไฮบริดออร์บิทัลสองออร์บิทัล อยู่ในแนวเส้นตรงเดียวกันทิศทางตรงข้าม ตัวอย่างเช่น BeCl2 พิจารณาการจัดอิเล็กตรอนของ Be ในภาวะปกติหรือพลังงานต่า (Ground state) จะเป็น 1s2 2s2 แต่เมื่อพลังงานสูง (excited state) อิเล็กตรอน 1 ตัวจาก 2s2 จะย้ายไปอยู่ ในออร์บิทัล px จึงเกิดออร์บิทัลที่มีอิเล็กตรอนเดี่ยว 2 ออร์บิทอล คือ 2s1 และ 2p1 จากนั้นรวมตัว กันเป็นไฮบริดออร์บิทัลชื่อ sp (พลังงานเท่ากัน) ดังภาพที่ 5.10 1s2 2s2 2p0 4Be   ภาวะปกติ (พลังงานต่า) 1s2 2s1 2p1 4Be    เมื่อพลังงานสูง เกิดไฮบริไดเซชัน ได้ไฮบริดออร์บิทัล sp ภาพที่ 5.10 แสดงการรวมตัวกันเป็นไฮบริดออร์บิทัลชื่อ sp ที่มา : พินิติ รตะนานุกูล และคณะ. 2553 : 162. รูปทรงเรขาคณิตของไฮบริดออร์บิทัล spมีรูปร่างเป็นเส้นตรง (linear)ทามุม 180องศา เมื่อทาปฏิกิริยากับธาตุอื่น โมเลกุลของสารประกอบที่เกิดขึ้นจะมีรูปร่างเป็นเส้นตรงเช่นกัน 2) sp2 ไฮบริดออร์บิทัล คือ ออร์บิทัลที่เกิดจากการผสมกันระหว่าง s 1 ออร์บิทัลกับ p 2 ออร์บิทัล เกิดเป็นออร์บิทัลใหม่ 3 ออร์บิทัลตัวอย่างเช่น BCl3 ให้สังเกตว่าอะตอมที่จะเกิดไฮบริได- เซชันชนิดนี้จะจัดอิเล็กตรอนเต็มใน subshell s เต็มแต่ subshell p ยังว่างหรือมีอิเล็กตรอนเดี่ยวอยู่  
  • 15. 79 บ้างแต่ยังมีออร์บิทัลว่างเหลืออยู่ เช่น 5B มีการจัดอิเล็กตรอนในภาวะปกติและภาวะถูกกระตุ้นดัง ภาพ 5.11 1s2 2s2 2p1 5B    ภาวะปกติ (พลังงานต่า) 1s2 2s1 2p2 5B     เมื่อพลังงานสูง เกิดไฮบริไดเซชัน ได้ไฮบริดออร์บิทัล ชื่อ sp2 ภาพที่ 5.11 แสดงการรวมตัวกันเป็นไฮบริดออร์บิทัลชื่อ sp2 ที่มา : พินิติ รตะนานุกูล และคณะ. 2553 : 163. รูปทรงเรขาคณิ ตของไฮบริดออร์บิทัล sp2 มีรูปร่างเป็ นสามเหลี่ยมแบนราบ (trigonalplana) ทามุม 120 องศา เมื่อทาปฏิกิริยากับธาตุอื่น โมเลกุลของสารประกอบที่เกิดขึ้นจะ มีรูปร่างเป็นสามเหลี่ยมแบนราบเช่นกัน 3) sp3 ไฮบริดออร์บิทัล คือ ออร์บิทัลที่เกิดจากการผสมกันระหว่าง s 1 ออร์บิทัลกับ p 3 ออร์บิทัล กลายเป็นออร์บิทัลผสม 4 ออร์บิทัล ทุกออร์บิทัลมีชื่อเรียกว่า sp3 ไฮบริดออร์บิทัล หรือ เรียกสั้น ๆ ว่า sp3 แต่ละออร์บิทัลมีสมบัติเป็น ¼ ของ s และ ¾ ของ p ตัวอย่างเช่น CH4 ให้สังเกตว่า อะตอมที่จะเกิดไฮบริไดเซชันชนิดนี้จะจัดอิเล็กตรอนเต็มใน subshell s เต็ม แต่ subsell p ยังว่าง หรือมีอิเล็กตรอนเดี่ยวอยู่บ้างแต่ยังมีออร์บิทัลว่างเหลืออยู่ เช่น 6C มีการจัดอิเล็กตรอนในภาวะ ปกติและภาวะถูกกระตุ้น ดังภาพ 5.12 รูป ท รงเรขาคณิ ตของไฮบ ริ ดออร์บิ ทัล sp3 มีรู ป ร่ างเป็ น ทรงเห ลี่ยม สี่หน้า (tetrahedral) ทามุม 109.5 องศา เมื่อทาปฏิกิริยากับธาตุอื่น โมเลกุลของสารประกอบที่ เกิดขึ้นจะมีรูปร่างเป็นทรงเหลี่ยมสี่หน้าเช่นกัน สาหรับไฮบริไดเซชั่นที่ใช้ d-ออร์บิทัลด้วยนั้น มีหลายออร์บิทัล เช่น sp3 d sp3 d2 dsp3 และ d2 sp3 เป็นต้น แต่จะไม่กล่าวละเอียดในที่นี้   
  • 16. 80 1s2 2s2 2p2 6C     ภาวะปกติ (พลังงานต่า) 1s2 2s1 2p3 6C      เมื่อพลังงานสูง เกิดไฮบริไดเซชัน ได้ไฮบริดออร์บิทัล ชื่อ sp3 ภาพที่ 5.12 แสดงการรวมตัวกันเป็นไฮบริดออร์บิทัลชื่อ sp3 ที่มา : พินิติ รตะนานุกูล และคณะ. 2553 : 164. สรุป พันธะไอออนิก พันธะโคเวเลนต์ หรือ พันธะโลหะ เกิดจากแรงยึดเหนี่ยวที่เกิดขึ้นระหว่าง อะตอมหรือกลุ่มของอะตอม เป็นการใช้อิเล็กตรอนร่วมกัน ซึ่งการเกิดพันธะนี้เพื่อให้เกิดเป็นกลุ่มที่ เสถียรและเป็นอิสระในระดับโมเลกุล ลักษณะเฉพาะที่สาคัญของพันธะเคมีหรือค่าต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับ พันธะเคมี ไม่ว่าจะเป็นพลังงานพันธะ ความยาวพันธะ มุมพันธะ สภาพขั้วพันธะ หรือการไฮบริด ออร์บิทัล และไฮบริไดเซชั่นในโมเลกุล ซึ่งเป็นการสร้างโมเลกุลาร์ออร์บิทัล ไฮบริดออร์บิทัล และ ไฮบริไดเซชั่นระหว่างอิเล็กตรอนที่อยู่ในออร์บิทัลเดียวกันหรือต่างกัน ก็เพื่อให้โมเลกุลอยู่สภาพที่ เสถียรที่สุด แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 5 1. พันธะไอออนิกต่างจากพันธะโคเวเลนต์อย่างไร อธิบายพร้อมทั้งยกตัวอย่างประกอบ 2. จงให้ความหมายของคาหรือข้อความต่อไปนี้ 2.1 พันธะโลหะ 2.2 พลังงานพันธะ 2.3 พลังงานพันธะเฉลี่ย 2.4 ความยาวพันธะ 2.5 สภาพขั้วของพันธะ    
  • 17. 81 3. พันธะโคเวเลนต์จะมีสภาพขั้วหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยอะไรเป็นสาคัญ อธิบายพร้อมทั้ง ยกตัวอย่างประกอบ 4. พันธะไพกับพันธะซิกมาต่างกันอย่างไร พันธะใดมีเสถียรภาพมั่นคงกว่า เพราะเหตุใด 5. แคลเซียมเป็นโลหะที่แข็งกว่าและหลอมเหลวยากกว่าโพแทสเซียม สมบัตินี้เกี่ยวข้องกับพันธะ โลหะหรือไม่อย่างไร 6. จงเสนอไฮบริดออร์บิทัลที่เหมาะสมสาหรับคาร์บอนแต่ละตัว ในสารประกอบนี้ เอกสารอ้างอิง คลังความรู้สู่ความเป็นเลิศ. (2557). พันธะเคมี. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://www.scimath.org. [9 พฤษภาคม 2558]. ทบวงมหาวิทยาลัย. (2536). เคมี 1. เล่มที่ 1. พิมพ์ครั้ งที่ 7. บริษัทอักษรเจริญทัศน์ : กรุงเทพมหานคร. พินิติ รตะนานุกูล, นัยนา ชวนเกริกกุล, พรพรรณ อุดมกาญจนนันท์, วรวรรณ พันธุมนาวิน, สุชาดา จูอนุวัฒนกุล, ธีรยุทธ วิไลวัลย์, นัทธมน คูณแสง และอรพินท์ เจียรถาวร. (2553). เคมี. พิมพ์ ครั้งที่ 5. บริษัทด่านสุทธาการพิมพ์จากัด : กรุงเทพมหานคร. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2546). หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน และเพิ่มเติม เคมี เล่ม 1. โรงพิมพ์ครุสภา : กรุงเทพมหานคร. สุทัศน์ ไตรสถิตวร และสมศักดิ์ วรมงคลชัย. (2550). เคมี. ม.4 เล่ม 1. บริษัทไทเนรมิตกิจอินเตอร์ โปรเกรสซิฟจากัด : นนทบุรี. สุนันทา วิบูลย์จันทร์. (2545). เคมี : วิชาแกนทางวิทยาศาสตร์ 1. เล่ม 1. บริษัทเพียร์สันเอ็ดดูเคชั่น อินโดไชน่าจากัด : กรุงเทพมหานคร. อัญชุลี ฉวีราช, สมศักดิ์ ศิริไชย และ นิศากร ทองก้อน. (2553). เคมี 1. บริษัทเจเอสทีพับลิชชิ่งจากัด : กรุงเทพมหานคร. Uno Kask and J. David Rawn. (1993). General Chemistry. Wm. C. Brown Communications, Inc. : United States of America. H