SlideShare a Scribd company logo
1 of 33
Download to read offline
นางเอเดียน คุณาสิทธิ์
โรงเรียนบ้านกาเกาะระโยง
อาเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์
สานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
เรื่อง หน่วยของสิ่งมีชีวิตและการดารงชีวิตของพืช
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ข
คานา
ชุดกิจกรรมนี้ จัดทาขึ้นเพื่อใช้ประกอบกิจกรรมการเรียนการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้
วิทยาศาสตร์ รหัสวิชา ว 23101 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง หน่วยของชีวิตและชีวิตพืช ซึ่งเป็นชุดกิจกรรมที่เน้นทักษะการทา
โครงงานวิทยาศาสตร์ควบคู่กับการฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ นักเรียนสามารถปฏิบัติ
กิจกรรมได้ตามความสนใจ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้นี้มี จานวน 8 ชุด เวลาเรียน 24 ชั่วโมง ดังนี้
1. ชุดกิจกรรมที่ 1 เรื่อง กล้องจุลทรรศน์ (เวลา 3 ชั่วโมง)
2. ชุดกิจกรรมที่ 2 เรื่อง โครงสร้างหน้าที่และส่วนประกอบของเซลล์ (เวลา 3 ชั่วโมง)
3. ชุดกิจกรรมที่ 3 เรื่อง การเคลื่อนที่ของสารผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ (เวลา 3 ชั่วโมง)
4. ชุดกิจกรรมที่ 4 เรื่อง กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช (เวลา 3 ชั่วโมง)
5. ชุดกิจกรรมที่ 5 เรื่อง การลาเลียงของสารในพืช (เวลา 3 ชั่วโมง)
6. ชุดกิจกรรมที่ 6 เรื่อง กระบวนการสืบพันธุ์ของพืช (เวลา 3 ชั่วโมง)
7. ชุดกิจกรรมที่ 7 เรื่อง การเจริญเติบโตและการตอบสนองต่อสิ่งเร้าของพืช(เวลา3ชั่วโมง)
8. ชุดกิจกรรมที่ 8 เรื่อง เทคโนโลยีชีวภาพที่เกี่ยวข้องกับพืช (เวลา 3 ชั่วโมง)
ชุดกิจกรรมนี้เป็นชุดกิจกรรมที่ 4 เรื่อง กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช ในการใช้
ชุดกิจกรรมให้นักเรียนปฏิบัติตามคาชี้แจงของชุดกิจกรรมแต่ละชุดอย่างละเอียดโดยปฏิบัติกิจกรรม
ตามลาดับที่ของชุดกิจกรรม
ค
สารบัญ
เรื่อง หน้า
ปก ............................................................................................................................................ ก
คานา......................................................................................................................................... ข
สารบัญ..................................................................................................................................... ค
สารบัญภาพประกอบ..................................................................................................................ง
ส่วนประกอบของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ...................................................................................... จ
คาชี้แจงสาหรับครู .....................................................................................................................ฉ
คาชี้แจงสาหรับนักเรียน..................................................................................................................ช
แผนผังการจัดกลุ่มการเรียน........................................................................................................... ซ
ชุดกิจกรรมที่ 4 เรื่อง กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช................................................1
ใบความรู้ที่ 4 เรื่อง กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช.........................................................2
กิจกรรมที่ 4 เรื่อง กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช..........................................................6
ตอนที่ 1 เรื่อง คลอโรฟิลล์กับการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช.....................................6
ตอนที่ 2 เรื่อง แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์กับการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช..............10
แนวการตอบกิจกรรมที่ 4...............................................................................................................14
เกณฑ์การให้คะแนนกิจกรรมที่ 4..................................................................................................22
บรรณานุกรม..................................................................................................................................24
ง
สารบัญภาพประกอบ
ภาพที่ หน้า
ภาพที่ 4.1 พืชผลิตแก๊สออกซิเจนที่จาเป็นในการหายใจของมนุษย์และสัตว์...............................1
ภาพที่ 4.2 สมการการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช......................................................................2
ภาพที่ 4.3 กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช......................................................................3
ภาพที่ 4.4 ปัจจัยที่จาเป็นในการสังเคราะห์ด้วยแสงและผลผลิตที่ได้จากสังเคราะห์
ด้วยแสงของพืช.........................................................................................................4
ภาพที่ 4.5 การทดลองคลอโรฟิลล์กับการสร้างอาหารของพืช ..................................................8
ภาพที่ 4.6 การทดสอบ แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์กับการสร้างอาหารของพืช.........................11
จ
ชุดกิจกรรมที่4 เรื่อง กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช มีส่วนประกอบที่สาคัญดังนี้
1. เป็นชุดกิจกรรมที่ใช้ประกอบแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 7 และ 8 (ในเล่มคู่มือการใช้)
2. ใบความรู้ที่ 4 เรื่อง กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช
3. ใบกิจกรรมที่ 4 เรื่อง กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช
ตอนที่ 1 เรื่อง คลอโรฟิลล์กับการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช(1ชั่วโมง)
ตอนที่ 2 เรื่อง แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์กับการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช
( 2 ชั่วโมง)
4. แนวการตอบกิจกรรมที่ 4 เรื่อง กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช
5. เกณฑ์การให้คะแนนกิจกรรมที่ 4 เรื่อง กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช
ส่วนประกอบของชุดกิจกรรมที่ 4
เรื่อง กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช
ฉ
คาชี้แจงสาหรับครู
การใช้ชุดกิจกรรมเพื่อให้บรรลุผลตามจุดประสงค์ที่กาหนดไว้ สิ่งที่ครูผู้สอนต้องเตรียม
มีดังนี้
1. ศึกษาแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 7และ 8 ในคู่มือการใช้ชุดกิจกรรมให้ละเอียด
2. ศึกษาเนื้อหาและคาชี้แจงในการใช้ชุดกิจกรรมแต่ละชุด และปฏิบัติตามขั้นตอนใน
คาชี้แจงของกิจกรรมตามลาดับอย่าข้ามขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่ง
3. ครูเตรียมวัสดุอุปกรณ์ในชุดกิจกรรมไว้ล่วงหน้าก่อนทาการเรียนการสอน
4. ครูจัดชั้นเรียนโดยแบ่งนักเรียนออกเป็น 8 กลุ่ม ๆ ละ 5 คน ตามแผนผังที่กาหนดไว้
โดยมีหัวหน้าประจาทุกกลุ่ม ผู้นากลุ่มอาจมีการผลัดเปลี่ยนกันแต่ละกลุ่มควรเป็นกลุ่มเดิมเพื่อจะได้
ทางานที่ต่อเนื่องกัน
5. ครูต้องชี้แจงให้นักเรียนมีความซื่อสัตย์ต่อตนเอง และรู้บทบาทหน้าที่ของตนในกลุ่ม
โดยไม่ให้ดูเฉลยก่อน หลังจากปฏิบัติกิจกรรมเสร็จแล้วจึงเปิดดูเฉลยได้และมีการแลกเปลี่ยนกัน
ตรวจตามเกณฑ์การให้คะแนนที่กาหนดไว้ในแต่ละกิจกรรม
6. การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ แบ่งออกเป็น 5
ขั้นตอน คือ 1) ขั้นสร้างความสนใจ 2) ขั้นสารวจและค้นหา 3) ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป
4) ขั้นขยายความรู้ 5) ขั้นประเมินผล
7. ชุดกิจกรรมที่ 4 เป็นการจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในเนื้อหาประจาหน่วย ซึ่ง
บูรณาการทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และสอดแทรกความรู้เกี่ยวกับโครงงานวิทยาศาสตร์
ไปพร้อม ๆ กัน
8. ขณะที่นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมครูต้องคอยดูแลและแนะนาการปฏิบัติงานอย่างใกล้ชิด
เมื่อนักเรียนพบปัญหาในการเรียนจะได้ช่วยแก้ไขปัญหาได้ทันที
9. เมื่อนักเรียนปฏิบัติกิจกรรมเสร็จเรียบร้อยแล้วให้นักเรียนเก็บสื่อและวัสดุอุปกรณ์ของ
แต่ละกลุ่มให้เรียบร้อย โดยเน้นการเก็บและดูแลรักษาความสะอาดฝึกให้เป็นระเบียบจนเป็นนิสัย
10. เมื่อสิ้นสุดการเรียนชุดกิจกรรมที่ 8 แล้วให้นักเรียนทาแบบทดสอบหลังเรียน
จานวน 40 ข้อซึ่งเป็นแบบทดสอบคู่ขนานกับแบบทดสอบก่อนเรียน
11. แจ้งผลการเรียนจากการปฏิบัติกิจกรรมทันทีที่ตรวจเสร็จแล้ว
ช
คาชี้แจงสาหรับนักเรียน
การใช้ชุดกิจกรรมนักเรียนควรทราบถึงบทบาทของตนเองดังนี้
1. ศึกษาคาชี้แจงในการใช้ชุดกิจกรรมแต่ละชุดอย่างละเอียด
2. ศึกษาใบความรู้ที่ 4 เรื่อง กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชแล้วปฏิบัติ
กิจกรรมตามใบกิจกรรม ดังนี้
ตอนที่ 1 เรื่อง คลอโรฟิลล์กับการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช(1ชั่วโมง)
ตอนที่ 2 เรื่อง แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์กับการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช
( 2 ชั่วโมง)
3. นักเรียนต้องตั้งใจปฏิบัติกิจกรรมอย่างจริงจังไม่เล่นหรือทาให้ล่าช้า
4. กิจกรรมการทดลองต้องทาตามขั้นตอนทุกขั้นตอนด้วยความระมัดระวังเพราะ
อุปกรณ์อาจแตกหรือเสียหายได้
5. หลังทากิจกรรมเสร็จแล้วให้นักเรียนส่งผลงานการทากิจกรรมให้ครูตรวจหรือ
แลกเปลี่ยนกันตรวจก่อนที่จะดาเนินการศึกษากิจกรรมต่อไป ถ้ามีอะไรชารุดเสียหายต้องแจ้งให้ครู
ทราบทันที
6. เมื่อทากิจกรรมเสร็จทั้ง 8 ชุดแล้วให้นักเรียนทาแบบทดสอบหลังเรียน 40 ข้อ เพื่อ
ประเมินความรู้หลังเรียน
ซ
แผนผังการจัดกลุ่มการเรียน
การประเมินผล
1. ประเมินจากการทาแบบทดสอบก่อนเรียน -หลังเรียน จานวน 40 ข้อ
2. ประเมินผลจากการทากิจกรรมที่ 4 ตอนที่ 1 คลอโรฟิลล์กับการสังเคราะห์ด้วยแสง
ของพืชตามเกณฑ์การประเมินที่กาหนด
3. ประเมินการทากิจกรรมการทดลองตอนที่ 2 เรื่อง แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์กับ
การสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชตามเกณฑ์การประเมินที่กาหนด
4. สังเกตความสนใจและความร่วมมือในการปฏิบัติกิจกรรมและพฤติกรรมการทางาน
กลุ่มทุกครั้งที่เรียน
โต๊ะครู
กลุ่มที่ 7 กลุ่มที่ 1
กลุ่มที่ 6 กลุ่มที่ 2
กลุ่มที่ 3
กลุ่มที่ 8
กลุ่มที่ 5
กลุ่มที่ 4
1
ชุดกิจกรรมที่ 4
เรื่องย่อยที่ 4 กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช
ใช้ประกอบแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 7 – 8 (เวลา 3 ชั่วโมง)
คาชี้แจง
1. ให้นักเรียนทากิจกรรมที่ 4 ตอนที่ 1 เรื่อง คลอโรฟิลล์กับการสังเคราะห์
ด้วยแสงของพืช ตอบคาถามและสรุปผลการศึกษา
2.ให้นักเรียนทากิจกรรมที่ 4 ตอนที่ 2 เรื่อง แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์กับ
การสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช ตอบคาถามและสรุปผลการศึกษา
3. ศึกษาใบความรู้ที่ 4 เรื่อง กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช
แล้วร่วมกันอภิปราย เสนอแนะแนวทางการทาโครงงานวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยที่
จาเป็นในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช และการนาความรู้ไปใช้ประโยชน์
4. ตรวจคาตอบจากแนวการตอบ
ภาพที่ 4.1 พืชผลิตแก๊สออกซิเจนที่จาเป็นในการหายใจของมนุษย์และสัตว์
(ที่มาของภาพ : ถนัดศรีบุญเรืองและคณะ. ม.ป.ป. : 69)
2
ใบความรู้ที่ 4
เรื่อง กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช
จุดประสงค์การเรียนรู้
เมื่อนักเรียนได้เรียนรู้เรื่อง กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชแล้ว สามารถ
1. ออกแบบการทดลองเพื่อทดสอบว่า คลอโรฟิลล์ แสง และแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์มี
ความสาคัญในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชได้
2. อธิบายปัจจัยสาคัญและผลผลิตในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชได้
3. บอกความสาคัญและยกตัวอย่างโครงงานวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการ
สังเคราะห์ด้วยแสงของพืชได้
1. กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช
กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช (Photosynthesis) คือ กระบวนการสร้างอาหาร
ของพืช โดยมีคลอโรฟิลล์ทาหน้าที่ในการดูดพลังงานจากดวงอาทิตย์ แล้วเปลี่ยนวัตถุดิบ คือ น้า
คาร์บอนไดออกไซด์ ให้เป็นน้าตาลกลูโคส น้าและแก๊สออกซิเจนปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อม ซึ่ง
แก๊สออกซิเจนมนุษย์และสัตว์ใช้ในการหายใจ ดังสมการ
ภาพที่ 4.2 สมการการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช
(ที่มาของภาพ : ประดับ นาคแก้วและดาวัลย์ เสริมบุญสุข. 2551 : 50)
3
1.1 ปัจจัยที่จาเป็นในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช
1) คลอโรฟิลล์ (Chlorophyll) คลอโรฟิลล์เป็นสารสีเขียว พบในคลอโรพลาสต์ของ
เซลล์พืช ทาหน้าที่รับพลังงานแสง เพื่อใช้ในการสร้างอาหาร ถ้าพืชขาดคลอโรฟิลล์จะสร้างอาหาร
ไม่ได้อาหารที่พืชสร้างได้คือ น้าตาลกลูโคสและสะสมไว้ในรูปของแป้ง
2) แสง (Light) เป็นพลังงานรูปหนึ่ง พลังงานแสงช่วยให้เกิดปฏิกิริยาเคมีระหว่างน้า
และแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ให้รวมตัวเป็นน้าตาลกลูโคสและแก๊สออกซิเจน ชนิดของแสงที่ทาให้
เกิดการสังเคราะห์แสงมากที่สุดคือ แสงสีม่วง แสงสีแดงและแสงสีน้าเงิน ส่วนแสงสีเขียวมีผล
น้อยที่สุด พืชบางชนิดต้องการแสงมาก เช่น ข้าว ข้าวโพด ทานตะวัน พืชบางชนิดต้องการแสง
น้อย เช่น พลูด่าง วาสนา โกสน เป็นต้น
1.2 วัตถุดิบที่ใช้ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช
วัตถุดิบที่จาเป็นในการะบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช คือ น้าและแก๊ส
คาร์บอนไดออกไซด์
1.2.1 แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) พืชต้องการแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เพื่อ
รวมกับน้าในการสร้างอาหาร แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เข้าสู่เซลล์ของพืชทางปากใบ ซึ่งเกิดจาก
เซลล์คุมทาหน้าที่ปิดเปิดปากใบ อยู่บริเวณผิวของใบไม้ด้านล่างซึ่งจะมีปากใบเป็นจานวนมาก
ปากใบยังทาหน้าที่คายน้าส่วนเกินออกจากพืชและคายแก๊สออกซิเจนที่เป็นผลผลิตที่ได้จาก
การสังเคราะห์ด้วยแสงออกมาอีกด้วย
ภาพที่ 4.3 กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช
ที่มาของภาพ : http://images.google.co.th
4
1.2.2 น้า (H2O) เป็นวัตถุดิบที่สาคัญในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช และ
พืชยังใช้น้าในกิจกรรมต่าง ๆ ภายในเซลล์ พืชแต่ละชนิดต้องการน้ามากน้อยแตกต่างกัน หากพืช
ขาดน้าจะส่งผลกระทบต่อกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช การขาดน้าจะทาให้เซลล์ปากใบ
ปิดเพื่อลดการสูญเสียน้า แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จะแพร่เข้าสู่ใบได้น้อยลง อัตราการสังเคราะห์
ด้วยแสงของพืชจะลดต่าลง
1.3 ผลผลิตจากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง
ผลผลิตจากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง คือ น้าตาลกลูโคส แก๊สออกซิเจน และ
น้า ซึ่งมีความสาคัญต่อการดารงชีวิตของสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม อาหารและแก๊สออกซิเจนจะถูก
ลาเลียงไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของพืชทางระบบการลาเลียงของพืช
1.3.1 น้าตาลกลูโคส (C6H12O6) น้าตาลกลูโคสบางส่วนจะนาไปใช้ในกระบวนการ
หายใจเพื่อสร้างพลังงานให้แก่เซลล์พืช เพื่อการเจริญเติบโตของเซลล์และนาไปสร้างเซลลูโลส
ซึ่งเป็นผนังเซลล์ของพืช บางส่วนนาไปสะสมไว้ในรูปของแป้ งโดยสะสมไว้ที่ใบ ราก ลาต้น
เมล็ด นอกจากนี้น้าตาลกลูโคสยังเปลี่ยนเป็นสารอื่น ๆ เช่น ไขมัน โปรตีน น้ามันในพืช โดยเก็บ
ไว้ในแหล่งสะสมอาหารของพืชแต่ละชนิด
1.3.2 แก๊สออกซิเจน (O2) แก๊สออกซิเจนถูกนาไปใช้ในกระบวนการหายใจ โดยรวม
กับอาหารเพื่อให้พลังงานแก่เซลล์พืชในการดาเนินกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งแก๊สออกซิเจนจะถูกคาย
ออกมาทางปากใบ ดังนั้นต้นไม้จึงเป็นแหล่งออกซิเจนที่สาคัญของสิ่งมีชีวิต
ภาพที่ 4.4 ปัจจัยที่จาเป็นในการสังเคราะห์ด้วยแสงและผลผลิตที่ได้จากสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช
ที่มาของภาพ : http://healthcareperfect.blogspot.com
(ที่มา ปรับปรุงจาก : ประดับ นาคแก้วและดาวัลย์ เสริมบุญสุข. (2551). หนังสือเรียนสาระ
การเรียนรู้พื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. รัตน์ธรา การพิมพ์ : กรุงเทพฯ.)
5
กิจกรรมที่ 4
เรื่อง กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช
จุดประสงค์การเรียนรู้
เมื่อนักเรียนได้เรียนรู้เรื่อง กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชแล้ว สามารถ
1. ออกแบบการทดลองเพื่อทดสอบว่า คลอโรฟิลล์ แสง และแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
มีความสาคัญในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชได้
2. อธิบายปัจจัยสาคัญและผลผลิตในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชได้
3. บอกความสาคัญและยกตัวอย่างโครงงานวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการ
สังเคราะห์ด้วยแสงของพืชได้
คาชี้แจง
1. ให้นักเรียนแบ่งกลุ่มออกเป็น 5 กลุ่ม ๆ ละ 4-5 คน โดยคละเพศและความสามารถ
ควรเป็นกลุ่มเดิม
2. นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนรับอุปกรณ์การทดลองและชุดกิจกรรมที่ 4 แล้ว
ทากิจกรรมที่ 4 ตอนที่ 1 และตอนที่ 2
ตอนที่ 1 เรื่อง คลอโรฟิลล์กับการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช
1. กาหนดปัญหา ................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
2. ตั้งสมมุติฐาน .................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
3. ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม และตัวแปรควบคุม ของการศึกษาเรื่องนี้คืออะไร
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
6
4. อุปกรณ์
1) ใบชบาด่าง จานวน 1 ใบต่อกลุ่ม
2) ชุดตะเกียงแอลกอฮอล์ จานวน 1 อัน ต่อกลุ่ม
3) เอทธิลแอลกอฮอล์ จานวน 15 ลูกบาศก์เซนติเมตรต่อกลุ่ม
4) หลอดทดลอง ขนาดใหญ่ จานวน 1 หลอด ต่อกลุ่ม
5) สารละลายไอโอดีน จานวน 2 – 3 หยด ต่อกลุ่ม
6) ปากคีบ จานวน 1 อัน ต่อกลุ่ม
7) หลอดหยด จานวน 1 อัน ต่อกลุ่ม
8) บีกเกอร์ขนาด 250 ลูกบาศก์เซนติเมตร จานวน 1 ใบ ต่อกลุ่ม
9) น้า 40 ลูกบาศก์เซนติเมตร
10) หลอดฉีดยา 1 หลอดต่อกลุ่ม
5. วิธีศึกษาทดลอง
ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มศึกษาว่า คลอโรฟิลล์ จาเป็นในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช
หรือไม่ โดยปฏิบัติกิจกรรมตามขั้นตอน ดังนี้
1) เด็ดใบชบาด่างที่ถูกแสงมาแล้ว 3 ชั่วโมงวาดภาพแสดงส่วนสีเขียวและส่วนสีขาว
2) จุดตะเกียงแอลกอฮอล์ เพื่อต้มน้าในบีกเกอร์ที่มีน้าเดือดนาใบชบาด่างไปต้มนาน 1 นาที
เพื่อให้เซลล์ตาย
3) ใช้หลอดฉีดยาตวงเอทธิลแอลกอฮอล์ 15 ลูกบาศก์เซนติเมตร ใส่ลงในหลอดทดลอง
คีบใบชบาด่างจากบีกเกอร์ใส่ในหลอดทดลองที่มีแอลกอฮอล์อยู่ แล้วต้มในน้าเดือดอีก 2 นาที
เพื่อให้คลอโรฟิลล์ออกจากใบพืช
4) คีบใบชบาด่างออกจากหลอดทดลองจุ่มลงในน้าเย็น ใส่ลงในถ้วยกระเบื้องแล้วหยด
สารละลายไอโอดีน 2 – 3 หยด เพื่อทดสอบแป้ง ถ้าบริเวณใดมีแป้ง สารละลายไอโอดีนจะเปลี่ยน
จากสีน้าตาลเป็นสีม่วงแกมน้าเงิน คีบใบชบาด่างมาล้างน้า แล้วสังเกตและวาดรูประบายสีตามที่
สังเกตเห็น
5) หยดสารละลายไอโอดีน 2 หยดลงในน้าแป้ งสุก สังเกตและบันทึกผลเปรียบเทียบสีกับใบ
ชบาด่างที่ทดลอง บันทึกผลการทดลอง
7
ภาพที่ 4.5 การทดลองคลอโรฟิลล์กับการสร้างอาหารของพืช
(ที่มาของภาพ ปรับปรุงจาก : ศรีลักษณ์ ผลวัฒนะและคณะ. 2545 : 32)
6. ตารางบันทึกผลการทดลอง
ภาพลักษณะของใบชบาด่าง ลักษณะของใบชบาด่างที่สังเกตได้
1. ก่อนการทดลอง 1. ก่อนการทดลองใบชบาด่างมีสี.................................
2. เมื่อสกัดคลอโรฟิลล์แล้ว 2. เมื่อสกัดคลอโรฟิลล์ออกแล้วใบชบาด่างจะมีสี............
3. หลังหยดสารละลายไอโอดีน 3. เมื่อนามาทดสอบด้วยสารละลายไอโอดีน บริเวณ
ที่เคยมีสีเขียวจะเป็นสี................ ................... และบริเวณ
ที่เคยเป็นสีขาวจะมีสี .........................................
4. น้าแป้ งเมื่อทดสอบด้วยสารละลายไอโอดีนพบว่า
....................................................................................
8
7. คาถามท้ายการทดลอง
1) จากผลการทดลอง สารใดที่ใช้สกัดสีเขียวในใบพืชออกได้
.............................................................................................................................................................
2) เมื่อนาใบชบาด่างที่สกัดคลอโรฟิลล์ออกแล้ว นามาทดสอบกับสารละลายไอโอดีน พบว่า
บริเวณของใบที่เคยเป็นสีเขียวและสีขาว จะเปลี่ยนแปลงต่างกันหรือไม่ อย่างไร
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
3) ผลการทดสอบน้าแป้ งสุกเปลี่ยนสีของสารละลายไอโอดีน อย่างไร
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
4) ผลการทดสอบของสารละลายไอโอดีนกับน้าแป้ งสุก และผลการทดสอบสารละลาย
ไอโอดีนกับส่วนที่เป็นสีเขียวของพืช มีการเปลี่ยนแปลงเหมือนกันหรือไม่ อย่างไร
.............................................................................................................................................................
5) สารละลายไอโอดีนใช้ทดสอบสิ่งใดในใบพืช
.............................................................................................................................................................
6) ส่วนที่พบแป้ งในพืชคือส่วนที่มีสีอะไร..................................................................................
7) ส่วนของใบชบาด่างที่มีสีใดจะสร้างอาหารได้ อาหารที่พืชสร้างได้คืออะไร
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
8) ต้นหญ้าที่ถูกขอนไม้ใหญ่ทับไว้นาน ๆ จะมีสีอะไร ทาไมจึงเป็นเช่นนั้น
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
8. สรุปผลการศึกษา
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
9
ตอนที่ 2 เรื่อง แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์กับการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช
1. กาหนดปัญหา ................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
2. ตั้งสมมุติฐาน .................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
3. ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม และตัวแปรควบคุม ของการศึกษาเรื่องนี้คืออะไร
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
4. อุปกรณ์
1) ผักบุ้งที่เพาะไว้สูงประมาณ 5 เซนติเมตร 1 กระป๋ อง ๆ ละ 5 – 6 ต้น
2) กล่องทึบ 1 ใบ ต่อกลุ่ม
3) ชุดตะเกียงแอลกอฮอล์ จานวน 1 ชุด ต่อกลุ่ม
4) เอทิลแอลกอฮอล์ จานวน 15 ลูกบาศก์เซนติเมตรต่อกลุ่ม
5) หลอดทดลอง ขนาดใหญ่ จานวน 1 หลอด ต่อกลุ่ม
6) สารละลายไอโอดีน จานวน 2 – 3 หยด ต่อกลุ่ม
7) ปากคีบ จานวน 1 อัน ต่อกลุ่ม
8) หลอดหยด จานวน 1 อัน ต่อกลุ่ม
9) บีกเกอร์ขนาด 250 ลูกบาศก์เซนติเมตร จานวน 1 ใบ ต่อกลุ่ม
10) หลอดฉีดยา จานวน 1 หลอดต่อกลุ่ม
11) น้า 40 ลูกบาศก์เซนติเมตร
12) สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ ความเข้มข้น 50% โดยมวลต่อปริมาตร จานวน 50
ลูกบาศก์เซนติเมตร
13) บีกเกอร์ขนาด 100 ลูกบาศก์เซนติเมตร จานวน 1 ใบ ต่อกลุ่ม
10
5. วิธีศึกษาทดลอง
ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มศึกษาเกี่ยวกับ แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จาเป็นต่อการสังเคราะห์ด้วยแสง
ของพืชหรือไม่ โดยปฏิบัติกิจกรรมตามขั้นตอนดังนี้
1) นาต้นผักบุ้งที่เพาะไว้สูงประมาณ 5 เซนติเมตร ใส่ลงในกล่องทึบทิ้งไว้1 คืน
2) นาถุงพลาสติกมัดผักบุ้งที่นาออกจากกล่องทึบไว้2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ใส่บีกเกอร์ที่บรรจุ
สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ อีกกลุ่มหนึ่งไม่ได้ใส่สารชนิดใด นาไปตั้งไว้กลางแดด 3 ชั่วโมง
เด็ดใบออกจากถุง ๆ ละ 2 ใบ
3) นาใบผักบุ้งทั้ง 4 ใบ ใบมาสกัดคลอโรฟิลล์ ด้วยเอธิลแอลกอฮอล์ ทดสอบด้วยสารละลาย
ไอโอดีนตามขั้นตอน เหมือนตอนที่ 1 สังเกตและบันทึกผล
ภาพที่ 4.6 การทดสอบ แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์กับการสร้างอาหารของพืช
(ที่มาของภาพ ปรับปรุงจาก : ศรีลักษณ์ ผลวัฒนะและคณะ. 2545 : 35)
11
6. ตารางบันทึกผลการทดลอง
ใบผักบุ้งที่นามาทดสอบ ผลการทดสอบด้วยสารละลายไอโอดีน
1. ใบผักบุ้งที่มีสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์
2. ใบผักบุ้งที่ไม่มีสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์
7. คาถามท้ายการทดลอง
1) จากการทดสอบผักบุ้งกับสารละลายไอโอดีนที่นามาจากถุงทั้งสองใบ พบว่าผักบุ้งจาก
ถุงใดที่มีการเปลี่ยนสีของสารละลายไอโอดีน เพราะเหตุใด
.............................................................................................................................................................
2) ใบผักบุ้งจากถุงใบใดที่พบแป้ งอยู่ปริมาณมาก สังเกตได้จากอะไร
.............................................................................................................................................................
3) ใบผักบุ้งจากถุงใบใดที่ไม่พบแป้ ง สังเกตได้จากอะไร
.............................................................................................................................................................
4) สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ มีผลอย่างไรต่อพืช จึงทาให้พืชตรวจแล้วไม่พบแป้ ง
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
5) เพราะเหตุใดจึงต้องนาต้นผักบุ้งไปไว้ในที่มืดก่อนนามาทดลอง
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
6) การสังเคราะห์แสงของพืช จะเกิดขึ้นได้ดีในถุงใด เพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น
.............................................................................................................................................................
7) แก๊สชนิดใดที่จาเป็นในการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช
.............................................................................................................................................................
8) ปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ มีผลต่อพืชอย่างไร
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
12
8. สรุปผลการศึกษา
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
9. ให้นักเรียนเสนอชื่อเรื่องของโครงงานวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสังเคราะห์ด้วย
แสงของพืช
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
14
แนวการตอบกิจกรรมที่ 4
เรื่อง กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช
จุดประสงค์การเรียนรู้
เมื่อนักเรียนได้เรียนรู้เรื่อง กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชแล้ว สามารถ
1. ระบุปัจจัยและวัตถุดิบที่จาเป็นในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชได้
2. ระบุผลผลิตที่เกิดขึ้นจากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชได้
3. ออกแบบการทดลองเพื่อทดสอบว่าคลอโรฟิลล์ แสง และแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
มีความสาคัญในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชได้
4. บอกความสาคัญและยกตัวอย่างโครงงานวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการ
สังเคราะห์ด้วยแสงของพืชได้
คาชี้แจง
1. ให้นักเรียนแบ่งกลุ่มออกเป็น 8 กลุ่ม ๆ ละ 5 คน โดยคละเพศและความสามารถ
ควรเป็นกลุ่มเดิม
2. นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนรับอุปกรณ์การทดลองและชุดกิจกรรมที่ 4 แล้ว
ทากิจกรรมที่ 4 ตอนที่ 1 และตอนที่ 2
ตอนที่ 1 เรื่อง คลอโรฟิลล์กับการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช
1. กาหนดปัญหา คลอโรฟิลล์จาเป็นต่อการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชอย่างไร
2. ตั้งสมมุติฐาน
ถ้าคลอโรฟิลล์จาเป็นต่อกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชแล้ว ดังนั้น บริเวณของพืช
ที่มีสีเขียวจะสร้างอาหารได้โดยเมื่อนาใบพืชมาทดสอบด้วยสารละลายไอโอดีนจะเปลี่ยนสีจาก
สีน้าตาลเป็นสีม่วงแกมน้าเงิน แสดงว่า มีแป้ งเกิดขึ้น
3. ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม และตัวแปรควบคุม ของการศึกษาเรื่องนี้คืออะไร
ตัวแปรต้นคือ สารสีเขียวที่อยู่ในใบพืช
ตัวแปรตาม คือ การเปลี่ยนสีของสารละลายไอโอดีน
ตัวแปรควบคุม คือ ระยะเวลาในการถูกแสง, ใบพืชที่นามาทดสอบ, จานวนหยดของ
สารละลายไอโอดีน , ปริมาตรของแอลกอฮอล์, เวลาในการต้มใบพืช
15
4. อุปกรณ์
1) ใบชบาด่าง จานวน 1 ใบต่อกลุ่ม
2) ชุดตะเกียงแอลกอฮอล์ จานวน 1 อัน ต่อกลุ่ม
3) เอทิลแอลกอฮอล์ จานวน 15 ลูกบาศก์เซนติเมตรต่อกลุ่ม
4) หลอดทดลอง ขนาดใหญ่ จานวน 1 หลอด ต่อกลุ่ม
5) สารละลายไอโอดี จานวน 2 – 3 หยด ต่อกลุ่ม
6) ปากคีบ จานวน 1 อัน ต่อกลุ่ม
7) หลอดหยด จานวน 1 อัน ต่อกลุ่ม
8) บีกเกอร์ขนาด 250 ลูกบาศก์เซนติเมตร จานวน 1 ใบ ต่อกลุ่ม
9) น้า 40 ลูกบาศก์เซนติเมตร
10) หลอดฉีดยา 1 หลอดต่อกลุ่ม
5. วิธีศึกษาทดลอง
ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มศึกษาว่า คลอโรฟิลล์ จาเป็นในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช
หรือไม่ โดยปฏิบัติกิจกรรมตามขั้นตอน ดังนี้
1) เด็ดใบชบาด่างที่ถูกแสงมาแล้ว 3 ชั่วโมงวาดภาพแสดงส่วนสีเขียวและส่วนสีขาว
2) จุดตะเกียงแอลกอฮอล์ เพื่อต้มน้าในบีกเกอร์ที่มีน้าเดือดนาใบชบาด่างไปต้มนาน 1 นาที
เพื่อให้เซลล์ตาย
3) ใช้หลอดฉีดยาตวงเอทิลแอลกอฮอล์ 15 ลูกบาศก์เซนติเมตร ใส่ลงในหลอดทดลอง
คีบใบชบาด่างจากบีกเกอร์ใส่ในหลอดทดลองที่มีแอลกอฮอล์อยู่ แล้วต้มในน้าเดือดอีก 2 นาที
เพื่อให้คลอโรฟิลล์ออกจากใบพืช
4) คีบใบชบาด่างออกจากหลอดทดลองจุ่มลงในน้าเย็น ใส่ลงในถ้วยกระเบื้องแล้วหยด
สารละลายไอโอดีน 2 – 3 หยด เพื่อทดสอบแป้ง ถ้าบริเวณใดมีแป้ง สารละลายไอโอดีนจะเปลี่ยน
จากสีน้าตาลเป็นสีม่วงแกมน้าเงิน คีบใบชบาด่างมาล้างน้า แล้วสังเกตและวาดรูประบายสีตามที่
สังเกตเห็น
5) หยดสารละลายไอโอดีน 2 หยดลงในน้าแป้ งสุก สังเกตและบันทึกผลเปรียบเทียบสีกับใบ
ชบาด่างที่ทดลอง บันทึกผลการทดลอง
16
ภาพที่ 36 การทดลองคลอโรฟิลล์กับการสร้างอาหารของพืช
(ที่มาภาพ ปรับปรุงจาก : ศรีลักษณ์ ผลวัฒนะและคณะ. (2545). : 32)
6. ตารางบันทึกผลการทดลอง
ภาพลักษณะของใบชบาด่าง ลักษณะของใบชบาด่างที่สังเกตได้
1. ก่อนการทดลอง 1. ก่อนการทดลองใบชบาด่างมีสี เขียวและสีขาวสลับกัน
2. เมื่อสกัดคลอโรฟิลล์แล้ว 2. เมื่อสกัดคลอโรฟิลล์ออกแล้วใบชบาด่างจะมี
สีขาวทั้งใบ
3. หลังหยดสารละลายไอโอดีน 3. เมื่อนามาทดสอบด้วยสารละลายไอโอดีน บริเวณ
ที่เคยมีสีเขียวจะเป็นสีม่วงแกมน้าเงิน และบริเวณที่เคย
เป็นสีขาวจะมีสี ขาวเหมือนเดิม
4. น้าแป้ งเมื่อทดสอบด้วยสารละลายไอโอดีนพบว่า
เปลี่ยนเป็นสีม่วงแกมน้าเงิน
17
7. คาถามท้ายการทดลอง
1) จากผลการทดลอง สารใดที่ใช้สกัดสีเขียวในใบพืชออกได้
เอทธิลแอลกอฮอล์ ใช้สกัดคลอโรฟิลล์
2) เมื่อนาใบชบาด่างที่สกัดคลอโรฟิลล์ออกแล้ว นามาทดสอบกับสารละลายไอโอดีน พบว่า
บริเวณของใบที่เคยเป็นสีเขียวและสีขาว จะเปลี่ยนแปลงต่างกันหรือไม่ อย่างไร
บริเวณที่เคยมีสีเขียวจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงแกมน้าเงิน และบริเวณที่เคยเป็นสีขาวจะมีสีขาว
เหมือนเดิม
3) ผลการทดสอบน้าแป้ งสุกเปลี่ยนสีของสารละลายไอโอดีน อย่างไร
สารละลายไอโอดีนเปลี่ยนจากสีน้าตาลเป็นเป็นสีม่วงแกมน้าเงิน
4) ผลการทดสอบของสารละลายไอโอดีนกับน้าแป้ งสุก และผลการทดสอบสารละลาย
ไอโอดีนกับส่วนที่เป็นสีเขียวของพืช มีการเปลี่ยนแปลงเหมือนกันหรือไม่ อย่างไร
มีการเปลี่ยนแปลงเหมือนกัน คือเปลี่ยนสารละลายไอโอดีนจากสีน้าตาลเป็นสีม่วงแกมน้าเงิน
5) สารละลายไอโอดีนใช้ทดสอบสิ่งใดในใบพืช
สารละลายไอโอดีนใช้ทดสอบแป้งในใบพืช
6) ส่วนที่พบแป้ งในพืชคือส่วนที่มีสีอะไร ส่วนที่มีสีเขียว
7) ส่วนของใบชบาด่างที่มีสีใดจะสร้างอาหารได้ อาหารที่พืชสร้างได้คืออะไร
ส่วนที่มีสีเขียว อาหารที่สร้างได้ คือ แป้ง
8) ต้นหญ้าที่ถูกขอนไม้ใหญ่ทับไว้นาน ๆ จะมีสีอะไร ทาไมจึงเป็นเช่นนั้น
จะมีสีขาวเพราะสร้างอาหารไม่ได้
8. สรุปผลการศึกษา
จากการทดลองพบว่า สารสีเขียวในใบพืชมีความสาคัญในการสร้างอาหารของพืช ถ้าพืช
ไม่มีสีเขียวจะสร้างอาหารไม่ได้อาหารที่พืชสร้างได้คือ แป้ ง ซึ่งบริเวณที่พบแป้ งคือ บริเวณที่มีสี
เขียวจะเปลี่ยนสารละลายไอโอดีนจากสีน้าตาลเป็นสีน้าเงินแกมม่วง
18
ตอนที่ 2 เรื่อง แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์กับการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช
1. กาหนดปัญหา แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จาเป็นในการสร้างอาหารของพืชหรือไม่
2. ตั้งสมมุติฐาน
ถ้าแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จาเป็นในการสร้างอาหารของพืชแล้ว ดังนั้น พืชที่มีสารละลาย
โซเดียมไฮดรอกไซด์อยู่ ซึ่งโซเดียมไฮดรอกไซด์ดูดซับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ออก จะตรวจ
ไม่พบแป้ ง แสดงว่าแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ จาเป็นในการสร้างอาหารของพืช
3. ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม และตัวแปรควบคุม ของการศึกษาเรื่องนี้คืออะไร
ตัวแปรต้นคือ แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
ตัวแปรตาม คือ การเปลี่ยนสีของสารละลายไอโอดีน
ตัวแปรควบคุม คือ พืชที่เก็บไว้ในกล่องทึบไม่ให้ถูกแสง, ระยะเวลาในการถูกแสง, ชนิดของ
ใบพืชที่นามาทดสอบ, จานวนหยดของสารละลายไอโอดีน , ปริมาตรของแอลกอฮอล์, เวลาในการ
ต้มในพืช
4. อุปกรณ์
1) ผักบุ้งที่เพาะไว้สูงประมาณ 5 เซนติเมตร 1 กระป๋ อง ๆ ละ 5 – 6 ต้น
2) กล่องทึบ 1 ใบ ต่อกลุ่ม
3) ชุดตะเกียงแอลกอฮอล์ จานวน 1 ชุด ต่อกลุ่ม
4) เอทธิลแอลกอฮอล์ จานวน 15 ลูกบาศก์เซนติเมตรต่อกลุ่ม
5) หลอดทดลอง ขนาดใหญ่ จานวน 1 หลอด ต่อกลุ่ม
6) สารละลายไอโอดี จานวน 2 – 3 หยด ต่อกลุ่ม
7) ปากคีบ จานวน 1 อัน ต่อกลุ่ม
8) หลอดหยด จานวน 1 อัน ต่อกลุ่ม
9) บีกเกอร์ขนาด 250 ลูกบาศก์เซนติเมตร จานวน 1 ใบ ต่อกลุ่ม
10) หลอดฉีดยา จานวน 1 หลอดต่อกลุ่ม
11) น้า 40 ลูกบาศก์เซนติเมตร
12) สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ ความเข้มข้น 50% โดยมวลต่อปริมาตร จานวน 50
ลูกบาศก์เซนติเมตร
13) บรรจุในบีกเกอร์ขนาด 100 ลูกบาศก์เซนติเมตร จานวน 1 ใบ ต่อกลุ่ม
19
5. วิธีศึกษาทดลอง
ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มศึกษาเกี่ยวกับ แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จาเป็นต่อการสังเคราะห์ด้วยแสง
ของพืชหรือไม่ โดยปฏิบัติกิจกรรมตามขั้นตอนดังนี้
1) น้าต้นผักบุ้งที่เพาะไว้สูงประมาณ 5 เซนติเมตร ใส่ลงในกล่องทึบทิ้งไว้1 คืน
2) นาถุงพลาสติกมัดผักบุ้งที่นาออกจากกล่องทึบไว้2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ใส่บีกเกอร์ที่บรรจุ
สารละลายโซเดียม ไฮดรอกไซด์ อีกกลุ่มหนึ่งไม่ได้ใส่สารชนิดใด นาไปตั้งไว้กลางแดด 3 ชั่วโมง
เด็ดใบออกจากถุง ๆ ละ 2 ใบ
3) นาใบผักบุ้งทั้ง 4 ใบ ใบมาสกัดคลอโรฟิลล์ ด้วยเอธิลแอลกอฮอล์ ทดสอบด้วยสารละลาย
ไอโอดีนตามขั้นตอน เหมือนตอนที่ 1 สังเกตและบันทึกผล
ภาพที่ 37 การทดสอบ แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์กับการสร้างอาหารของพืช
(ที่มาภาพ ปรับปรุงจาก : ศรีลักษณ์ ผลวัฒนะและคณะ. (2545). : 35)
20
6. ตารางบันทึกผลการทดลอง
ใบผักบุ้งที่นามาทดสอบ ผลการทดสอบด้วยสารละลายไอโอดีน
1. ใบผักบุ้งที่มีสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ ไม่เปลี่ยนแปลง
2. ใบผักบุ้งที่ไม่มีสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ เปลี่ยนเป็นสีน้าเงินแกมม่วง
7. คาถามท้ายการทดลอง
1) จากการทดสอบผักบุ้งกับสารละลายไอโอดีนที่นามาจากถุงทั้งสองใบ พบว่าผักบุ้งจาก
ถุงใดที่มีการเปลี่ยนสีของสารละลายไอโอดีน เพราะเหตุใด
ใบผักบุ้งที่ไม่มีสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์อยู่ เพราะมีการสร้างอาหารคือ แป้ง
2) ใบผักบุ้งจากถุงใบใดที่พบแป้ งอยู่ปริมาณมาก สังเกตได้จากอะไร
ใบผักบุ้งที่ไม่มีสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์อยู่ สังเกตจากการเปลี่ยนสีของสารละลาย
ไอโอดีน
3) ใบผักบุ้งจากถุงใบใดที่ไม่พบแป้ ง สังเกตได้จากอะไร
ใบผักบุ้งที่มีสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ สังเกตจากสารละลายไอโอดีนไม่เปลี่ยนสี
4) สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ มีผลอย่างไรต่อพืช จึงทาให้พืชตรวจแล้วไม่พบแป้ ง
สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ จะดูดซับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ จึงทาให้พืชตรวจแล้ว
ไม่พบแป้ ง
5) เพราะเหตุใดจึงต้องนาต้นถั่วไปไว้ในที่มืดก่อนนามาทดลอง
เพื่อไม่ให้พืชสังเคราะห์แสงได้
6) การสังเคราะห์แสงของพืช จะเกิดขึ้นได้ดีในถุงใด เพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น
เกิดขึ้นได้ดีในถุงที่ไม่มี สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์อยู่ เพราะ สารละลาย
โซเดียมไฮดรอกไซด์จะดูดซับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ไปหมด
7) แก๊สชนิดใดที่จาเป็นในการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
8) ปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ มีผลต่อพืชอย่างไร
ถ้าปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่มากหรือเข้มข้น จะทาให้พืชสังเคราะห์แสงได้ดี
21
8. สรุปผลการศึกษา
แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เป็นปัจจัยสาคัญในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช
พืชที่มีสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์อยู่ พืชจะสร้างอาหารไม่ได้ เพราะสารละลาย
โซเดียมไฮดรอกไซด์จะดูดซับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ไว้อาหารที่สร้างได้คือ แป้ง ตรวจสอบ
โดยใช้สารละลายไอโอดีน
9. ให้นักเรียนเสนอชื่อเรื่องของโครงงานวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสังเคราะห์ด้วย
แสงของพืช
ชื่อโครงงานที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช เช่น
1) การศึกษาปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่มีผลต่อการสังเคราะห์แสงของถั่วเขียว
2) การปลูกผักขึ้นฉ่ายให้เป็นสีขาว
3) แสงสีม่วงเพิ่มการเจริญเติบโตของถั่วงอก
4) การเพิ่มการเจริญเติบโตของเห็ดนางฟ้าด้วยน้ามะพร้าว
5) การศึกษาแสงจากแหล่งกาเนิดแสงอื่นที่พืชสามารถใช้ในการเจริญเติบโต
22
เกณฑ์การให้คะแนนกิจกรรมที่ 4
เรื่อง กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช
ข้อ รายการประเมิน ระดับคะแนน
ตอนที่ 1 (15 คะแนน)
1 -3 ตอบได้ถูกต้องตรงประเด็นมากไม่มีส่วนผิด 1
ตอบไม่ถูกต้อง หรือไม่ตอบ 0
4-5 ได้ทาการทดลองตามขั้นตอนและมีการบันทึกผลการทดลองครบทุกส่วน
ไม่มีส่วนใดผิดหรือผิดไม่เกิน 1 รายการ
3
ได้ทาการทดลองตามขั้นตอนและมีการบันทึกผลการทดลองครบทุกส่วน
ไม่มีส่วนใดผิดหรือผิดไม่เกิน 2 รายการ
2
ไม่ได้ทาการทดลองตามขั้นตอนและไม่มีการบันทึกผลการทดลองหรือ
บันทึกผลการทดลองไม่ครบส่วนผิดมากกว่า 2 รายการ
1
7
(1- 8)
ตอบได้ถูกต้องตรงประเด็นมากไม่มีส่วนผิด 1
ตอบไม่ถูกต้อง หรือไม่ตอบ 0
8 สรุปผลการศึกษาได้ถูกต้องตรงตามผลการทดลอง 1
ไม่ได้สรุปผลการศึกษาหรือสรุปแต่ไม่ถูกต้อง 0
23
ข้อ รายการประเมิน ระดับคะแนน
ตอนที่ 2 (15 คะแนน)
1 -3 ตอบได้ถูกต้องตรงประเด็นมากไม่มีส่วนผิด 1
ตอบไม่ถูกต้อง หรือไม่ตอบ 0
4-5 ได้ทาการทดลองตามขั้นตอนและมีการบันทึกผลการทดลองครบทุกส่วน
ไม่มีส่วนใดผิดหรือผิดไม่เกิน 1 รายการ
3
ได้ทาการทดลองตามขั้นตอนและมีการบันทึกผลการทดลองครบทุกส่วน
ไม่มีส่วนใดผิดหรือผิดไม่เกิน 2 รายการ
2
ไม่ได้ทาการทดลองตามขั้นตอนและไม่มีการบันทึกผลการทดลองหรือ
บันทึกผลการทดลองไม่ครบส่วนผิดมากกว่า 2 รายการ
1
7
(1- 8)
ตอบได้ถูกต้องตรงประเด็นมากไม่มีส่วนผิด 1
ตอบไม่ถูกต้อง หรือไม่ตอบ 0
8 สรุปผลการศึกษาได้ถูกต้องตรงตามผลการทดลอง 1
ไม่ได้สรุปผลการศึกษาหรือสรุปแต่ไม่ถูกต้อง 0
9 บอกชื่อโครงงานที่สอดคล้องกับกระบวนการสังเคราะห์แสงของพืชได้
2 ชื่อขึ้นไป
2
บอกชื่อโครงงานที่สอดคล้องกับกระบวนการสังเคราะห์แสงของพืชได้
1 ชื่อ
1
บอกชื่อโครงงานที่สอดคล้องกับกระบวนการสังเคราะห์แสงของพืช
ไม่ได้หรือบอกแต่ไม่สอดคล้อง
0
รวมตอนที่ 1 และ 2 (15+15) = 30 คะแนน
สรุปผลการประเมิน
 ดีมาก (26 – 30 คะแนน)  ดี (21 –25 คะแนน)
 ปานกลาง ( 16 – 20 คะแนน)  ผ่าน ( 11 – 15 คะแนน)
 ต้องปรับปรุง (ต่ากว่า 11 คะแนน)
ผู้ประเมิน ............................................
(............................................)
24
บรรณานุกรม
กนก จันทร์ขจร และคณะ. (2533). วิทยาศาสตร์ ม.1. พิมพ์ครั้งที่ 5. นนทบุรี : ไทยร่วมเกล้า.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2544). เอกสารประกอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544
คู่มือการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ : องค์การรับส่ง
สินค้าและพัสดุภัณฑ์.
. (2545). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 . พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ :
คุรุสภาลาดพร้าว.
กฤษณีย์ ปิตุรัตน์. (2548). ผลการใช้ชุดฝึกเพื่อส่งเสริมความสามารถในการทาโครงงาน
วิทยาศาสตร์ที่พัฒนามาจากภูมิปัญญาท้องถิ่นของนักเรียน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
จังหวัดแม่ฮ่องสอน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์ศึกษา
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
กุณฑรี เพชรทวีพรเดช และนิตยา บุญมี. (2548). วิทยาศาสตร์ ม.1. เล่ม 1. กรุงเทพฯ :
อักษรเจริญทัศน์.
เกริก ท่วมกลาง. (2546). แบบฝึกปฏิบัติการทาโครงงาน คู่มือการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
ช่วงชั้นที่ 2 (ประถมศึกษาปีที่ 4- 6). : กรุงเทพฯ : สถาพรบุ๊คส์.
จักฬพล สว่างอารมณ์. (2543). ผลการใช้ชุดกิจกรรมฝึกทาโครงงานวิทยาศาสตร์ที่มีต่อ
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4.
วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาบูรพา.
ชาตรี เกิดธรรม. (2547). เทคนิคการสอนแบบโครงงาน. กรุงเทพฯ : ชมรมเด็ก.
เตือนใจ ไชยโย. (2545). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์และความสามารถในการทา
โครงงานวิทยาศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการสอนโดยการใช้แบบฝึกคิดหัวข้อและ
วางแผนการทาโครงงานวิทยาศาสตร์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต
สาขาวิทยาศาสตร์ศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ถนัด ศรีบุญเรือง. (2549). วิทยาศาสตร์ ม.1 เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 7. นนทบุรี : ไทยร่วมเกล้า.
. (2551). วิทยาศาสตร์ ม.1. เล่ม 1. นนทบุรี : ไทยร่วมเกล้า.
ถวัลย์ มาศจรัสและมณี เรืองขา. (2549). แนวการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโครงงาน.
กรุงเทพฯ : ดวงกมลสมัย.
25
บัญชา แสนทวี และคณะ. (2546). วิทยาศาสตร์ เล่ม 1 ช่วงชั้นที่ 3 ชั้น ม.1. กรุงเทพฯ :
วัฒนาพาณิช.
ประดับ นาคแก้ว และดาวัลย์ เสริมบุญสุข. (2551). วิทยาศาสตร์ ม.1. กรุงเทพฯ :
สานักพิมพ์แม็ค .
ปิ่นศักดิ์ ชุมเกษียน และปิยาณี สมคิด. (2545). วิทยาศาสตร์ 2 ช่วงชั้นที่ 3 (ม.1-ม.3). นนทบุรี :
ไทยร่มเกล้า.
พเยาว์ ยินดีสุข และคณะ. (2546). วิทยาศาสตร์ ม.1. กรุงเทพฯ : พัฒนาคุณภาพวิชาการ.
พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2545). พฤติกรรมการสอนวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ : พัฒนาคุณภาพวิชาการ
(วพ)จากัด
. (2551). การสอนคิดด้วยโครงงาน. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิมพ์พันธุ์ เดชะคุปต์ และคณะ. (2548). วิทยาศาสตร์ ม.1. กรุงเทพฯ : สถาบันพัฒนาคุณภาพ
วิชาการ.
. (2550). สุดยอดคู่มือครูแผนการจัดการเรียนรู้รายชั่วโมง. กรุงเทพฯ : สถาบันพัฒนา
คุณภาพวิชาการ.
พีระ พนาสุภน. (2551). แม็ค ม.ต้น. กรุงเทพฯ : ซีวีแอลการพิมพ์.
โรงเรียนบ้านกาเกาะระโยง. (2551). แผนปฏิบัติการประจาปีการศึกษา 2551.
กลุ่มบริหารงานทั่วไป.
. (2550). หลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
(ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 2). ฝ่ายวิชาการ.
ลิขิต ฉัตรสกุล และคณะ. (2533). วิทยาศาสตร์ เล่ม 2. กรุงเทพฯ : วัฒนาพาณิช.
วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์. (2550). นวัตกรรมตามแนวคิดแบบ Backward Design.กรุงเทพฯ :
ช้างทอง.
ศรีลักษณ์ ผลวัฒนะ. (2545). วิทยาศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 3 (ม.1-ม.3). กรุงเทพฯ : นิยมวิทยา
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2548). ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดารงชีวิต. กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว.
สมพงศ์ จันทร์โพธิ์ศรี. (2549). โครงงานวิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษา. : กรุงเทพฯ :
เจ้าพระยาระบบการพิมพ์.
7.ชุดที่ 4 การสังเคราะห์แสง

More Related Content

What's hot

แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องสถานะของสาร รายการครูมืออาชีพ ตอนครูหัดบิน ครูกอบว...
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องสถานะของสาร รายการครูมืออาชีพ ตอนครูหัดบิน ครูกอบว...แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องสถานะของสาร รายการครูมืออาชีพ ตอนครูหัดบิน ครูกอบว...
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องสถานะของสาร รายการครูมืออาชีพ ตอนครูหัดบิน ครูกอบว...Kobwit Piriyawat
 
ใบความรู้+แผนการสอนและใบกิจกรรม ประถม4-6 เรื่อง วรจรไฟฟ้า+ป.6+290+dltvscip6+P...
ใบความรู้+แผนการสอนและใบกิจกรรม ประถม4-6 เรื่อง วรจรไฟฟ้า+ป.6+290+dltvscip6+P...ใบความรู้+แผนการสอนและใบกิจกรรม ประถม4-6 เรื่อง วรจรไฟฟ้า+ป.6+290+dltvscip6+P...
ใบความรู้+แผนการสอนและใบกิจกรรม ประถม4-6 เรื่อง วรจรไฟฟ้า+ป.6+290+dltvscip6+P...Prachoom Rangkasikorn
 
แบบทดสอบ บทที่ 6 การถ่ายทอดลักษณะทางพันธูกรรม
แบบทดสอบ บทที่  6  การถ่ายทอดลักษณะทางพันธูกรรมแบบทดสอบ บทที่  6  การถ่ายทอดลักษณะทางพันธูกรรม
แบบทดสอบ บทที่ 6 การถ่ายทอดลักษณะทางพันธูกรรมdnavaroj
 
การคายน้ำและการแลกเปลี่ยนแก๊ส
การคายน้ำและการแลกเปลี่ยนแก๊สการคายน้ำและการแลกเปลี่ยนแก๊ส
การคายน้ำและการแลกเปลี่ยนแก๊สThanyamon Chat.
 
การลำเลียงในพืช
การลำเลียงในพืชการลำเลียงในพืช
การลำเลียงในพืชพัน พัน
 
เฉลยชีววิทยาหน้า52- 59
เฉลยชีววิทยาหน้า52- 59เฉลยชีววิทยาหน้า52- 59
เฉลยชีววิทยาหน้า52- 59Wan Ngamwongwan
 
ระบบขับถ่าย ม.2
ระบบขับถ่าย ม.2ระบบขับถ่าย ม.2
ระบบขับถ่าย ม.2Sukanya Nak-on
 
เอกสารประกอบการสอน อวัยวะรับสัมผัส
เอกสารประกอบการสอน อวัยวะรับสัมผัสเอกสารประกอบการสอน อวัยวะรับสัมผัส
เอกสารประกอบการสอน อวัยวะรับสัมผัสBiobiome
 
แบบทดสอบ บทที่ 4 ระบบนิเวศ
แบบทดสอบ บทที่ 4 ระบบนิเวศแบบทดสอบ บทที่ 4 ระบบนิเวศ
แบบทดสอบ บทที่ 4 ระบบนิเวศdnavaroj
 
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง สารและการจำแนกสาร ชุดที่ 1 สสารและสาร
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง สารและการจำแนกสาร ชุดที่ 1 สสารและสารชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง สารและการจำแนกสาร ชุดที่ 1 สสารและสาร
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง สารและการจำแนกสาร ชุดที่ 1 สสารและสารKetsarin Prommajun
 
โครงสร้างและหน้าที่ของราก
โครงสร้างและหน้าที่ของรากโครงสร้างและหน้าที่ของราก
โครงสร้างและหน้าที่ของรากThanyamon Chat.
 
เล่มที่ 2 โครงสร้างของราก
เล่มที่ 2 โครงสร้างของรากเล่มที่ 2 โครงสร้างของราก
เล่มที่ 2 โครงสร้างของรากkanyamadcharoen
 
เพาเวอร์เซต
เพาเวอร์เซตเพาเวอร์เซต
เพาเวอร์เซตAon Narinchoti
 
ใบความรู้เรื่องเซลล์ของสิ่งมีชีวิต1
ใบความรู้เรื่องเซลล์ของสิ่งมีชีวิต1ใบความรู้เรื่องเซลล์ของสิ่งมีชีวิต1
ใบความรู้เรื่องเซลล์ของสิ่งมีชีวิต1Sumarin Sanguanwong
 
แบบทดสอบก่อนเรียนหน่วยระบบนิเวศ
แบบทดสอบก่อนเรียนหน่วยระบบนิเวศแบบทดสอบก่อนเรียนหน่วยระบบนิเวศ
แบบทดสอบก่อนเรียนหน่วยระบบนิเวศkrupornpana55
 
ความร้อนกับการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของสสาร
ความร้อนกับการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของสสารความร้อนกับการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของสสาร
ความร้อนกับการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของสสารdalarat
 
แบบทดสอบดาราศาสตร์ ม.3
แบบทดสอบดาราศาสตร์ ม.3แบบทดสอบดาราศาสตร์ ม.3
แบบทดสอบดาราศาสตร์ ม.3Jariya Jaiyot
 
สสารและการเปลี่ยนแปลง
สสารและการเปลี่ยนแปลงสสารและการเปลี่ยนแปลง
สสารและการเปลี่ยนแปลงพัน พัน
 

What's hot (20)

แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องสถานะของสาร รายการครูมืออาชีพ ตอนครูหัดบิน ครูกอบว...
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องสถานะของสาร รายการครูมืออาชีพ ตอนครูหัดบิน ครูกอบว...แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องสถานะของสาร รายการครูมืออาชีพ ตอนครูหัดบิน ครูกอบว...
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องสถานะของสาร รายการครูมืออาชีพ ตอนครูหัดบิน ครูกอบว...
 
ใบความรู้+แผนการสอนและใบกิจกรรม ประถม4-6 เรื่อง วรจรไฟฟ้า+ป.6+290+dltvscip6+P...
ใบความรู้+แผนการสอนและใบกิจกรรม ประถม4-6 เรื่อง วรจรไฟฟ้า+ป.6+290+dltvscip6+P...ใบความรู้+แผนการสอนและใบกิจกรรม ประถม4-6 เรื่อง วรจรไฟฟ้า+ป.6+290+dltvscip6+P...
ใบความรู้+แผนการสอนและใบกิจกรรม ประถม4-6 เรื่อง วรจรไฟฟ้า+ป.6+290+dltvscip6+P...
 
แบบทดสอบ บทที่ 6 การถ่ายทอดลักษณะทางพันธูกรรม
แบบทดสอบ บทที่  6  การถ่ายทอดลักษณะทางพันธูกรรมแบบทดสอบ บทที่  6  การถ่ายทอดลักษณะทางพันธูกรรม
แบบทดสอบ บทที่ 6 การถ่ายทอดลักษณะทางพันธูกรรม
 
การคายน้ำและการแลกเปลี่ยนแก๊ส
การคายน้ำและการแลกเปลี่ยนแก๊สการคายน้ำและการแลกเปลี่ยนแก๊ส
การคายน้ำและการแลกเปลี่ยนแก๊ส
 
การลำเลียงในพืช
การลำเลียงในพืชการลำเลียงในพืช
การลำเลียงในพืช
 
เฉลยชีววิทยาหน้า52- 59
เฉลยชีววิทยาหน้า52- 59เฉลยชีววิทยาหน้า52- 59
เฉลยชีววิทยาหน้า52- 59
 
ระบบขับถ่าย ม.2
ระบบขับถ่าย ม.2ระบบขับถ่าย ม.2
ระบบขับถ่าย ม.2
 
เอกสารประกอบการสอน อวัยวะรับสัมผัส
เอกสารประกอบการสอน อวัยวะรับสัมผัสเอกสารประกอบการสอน อวัยวะรับสัมผัส
เอกสารประกอบการสอน อวัยวะรับสัมผัส
 
ใบงานการย่อยอาหาร Version คุณครู
ใบงานการย่อยอาหาร Version คุณครูใบงานการย่อยอาหาร Version คุณครู
ใบงานการย่อยอาหาร Version คุณครู
 
แบบทดสอบ บทที่ 4 ระบบนิเวศ
แบบทดสอบ บทที่ 4 ระบบนิเวศแบบทดสอบ บทที่ 4 ระบบนิเวศ
แบบทดสอบ บทที่ 4 ระบบนิเวศ
 
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง สารและการจำแนกสาร ชุดที่ 1 สสารและสาร
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง สารและการจำแนกสาร ชุดที่ 1 สสารและสารชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง สารและการจำแนกสาร ชุดที่ 1 สสารและสาร
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง สารและการจำแนกสาร ชุดที่ 1 สสารและสาร
 
โครงสร้างและหน้าที่ของราก
โครงสร้างและหน้าที่ของรากโครงสร้างและหน้าที่ของราก
โครงสร้างและหน้าที่ของราก
 
เล่มที่ 2 โครงสร้างของราก
เล่มที่ 2 โครงสร้างของรากเล่มที่ 2 โครงสร้างของราก
เล่มที่ 2 โครงสร้างของราก
 
เพาเวอร์เซต
เพาเวอร์เซตเพาเวอร์เซต
เพาเวอร์เซต
 
งานและพลังงาน (work and_energy)
งานและพลังงาน (work and_energy)งานและพลังงาน (work and_energy)
งานและพลังงาน (work and_energy)
 
ใบความรู้เรื่องเซลล์ของสิ่งมีชีวิต1
ใบความรู้เรื่องเซลล์ของสิ่งมีชีวิต1ใบความรู้เรื่องเซลล์ของสิ่งมีชีวิต1
ใบความรู้เรื่องเซลล์ของสิ่งมีชีวิต1
 
แบบทดสอบก่อนเรียนหน่วยระบบนิเวศ
แบบทดสอบก่อนเรียนหน่วยระบบนิเวศแบบทดสอบก่อนเรียนหน่วยระบบนิเวศ
แบบทดสอบก่อนเรียนหน่วยระบบนิเวศ
 
ความร้อนกับการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของสสาร
ความร้อนกับการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของสสารความร้อนกับการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของสสาร
ความร้อนกับการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของสสาร
 
แบบทดสอบดาราศาสตร์ ม.3
แบบทดสอบดาราศาสตร์ ม.3แบบทดสอบดาราศาสตร์ ม.3
แบบทดสอบดาราศาสตร์ ม.3
 
สสารและการเปลี่ยนแปลง
สสารและการเปลี่ยนแปลงสสารและการเปลี่ยนแปลง
สสารและการเปลี่ยนแปลง
 

Viewers also liked

เอกสารประกอบกิจกรรมการเรียนรู้ การศึกษาการสังเคราะห์ด้วยแสง
เอกสารประกอบกิจกรรมการเรียนรู้ การศึกษาการสังเคราะห์ด้วยแสงเอกสารประกอบกิจกรรมการเรียนรู้ การศึกษาการสังเคราะห์ด้วยแสง
เอกสารประกอบกิจกรรมการเรียนรู้ การศึกษาการสังเคราะห์ด้วยแสงOui Nuchanart
 
ม.2/1 วิตามิน แร่ธาตุ น้ำ
ม.2/1 วิตามิน แร่ธาตุ น้ำม.2/1 วิตามิน แร่ธาตุ น้ำ
ม.2/1 วิตามิน แร่ธาตุ น้ำJanejira Meezong
 
ปริมาณกระแสไฟฟ้าในผลไม้
ปริมาณกระแสไฟฟ้าในผลไม้ปริมาณกระแสไฟฟ้าในผลไม้
ปริมาณกระแสไฟฟ้าในผลไม้ดีโด้ ดีโด้
 
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โครงงานคอมพิวเตอร์ ชุดที่ 1
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โครงงานคอมพิวเตอร์ ชุดที่ 1ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โครงงานคอมพิวเตอร์ ชุดที่ 1
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โครงงานคอมพิวเตอร์ ชุดที่ 1มาณวิกา นาคนอก
 
ม.2/1 การทดสอบวิตามินซี
ม.2/1 การทดสอบวิตามินซีม.2/1 การทดสอบวิตามินซี
ม.2/1 การทดสอบวิตามินซีJanejira Meezong
 
ตัวอย่างชุดกิจกรรม
ตัวอย่างชุดกิจกรรมตัวอย่างชุดกิจกรรม
ตัวอย่างชุดกิจกรรมbankfai1330
 
การสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช
การสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช
การสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชsukanya petin
 
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง เรียนรู้ชั้นบรรยากาศ
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง เรียนรู้ชั้นบรรยากาศชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง เรียนรู้ชั้นบรรยากาศ
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง เรียนรู้ชั้นบรรยากาศKhwankamon Changwiriya
 
บทที่ 12 การสังเคราะห์ด้วยแสง
บทที่ 12 การสังเคราะห์ด้วยแสงบทที่ 12 การสังเคราะห์ด้วยแสง
บทที่ 12 การสังเคราะห์ด้วยแสงTiew Yotakong
 
การลำเลียงอาหารของพืช
การลำเลียงอาหารของพืชการลำเลียงอาหารของพืช
การลำเลียงอาหารของพืชAnana Anana
 
การลำเลียงน้ำของพืช
การลำเลียงน้ำของพืชการลำเลียงน้ำของพืช
การลำเลียงน้ำของพืชAnana Anana
 
คู่มือครูวิทยาศาสตร์สสวท ม.3เล่ม2
คู่มือครูวิทยาศาสตร์สสวท ม.3เล่ม2คู่มือครูวิทยาศาสตร์สสวท ม.3เล่ม2
คู่มือครูวิทยาศาสตร์สสวท ม.3เล่ม2KruPa Jggdd
 
การลำเลียงน้ำและอาหารของพืช
การลำเลียงน้ำและอาหารของพืชการลำเลียงน้ำและอาหารของพืช
การลำเลียงน้ำและอาหารของพืชThanyamon Chat.
 
สรุปเข้มฯ#7 วิทยาศาสตร์พื้นฐาน
สรุปเข้มฯ#7 วิทยาศาสตร์พื้นฐานสรุปเข้มฯ#7 วิทยาศาสตร์พื้นฐาน
สรุปเข้มฯ#7 วิทยาศาสตร์พื้นฐานPasit Suwanichkul
 
ชุดการเรียนรู้ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์เรื่อง ซากดึกดำบรรพ์ โดยครูกอบวิทย์ พิร...
ชุดการเรียนรู้ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์เรื่อง ซากดึกดำบรรพ์ โดยครูกอบวิทย์  พิร...ชุดการเรียนรู้ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์เรื่อง ซากดึกดำบรรพ์ โดยครูกอบวิทย์  พิร...
ชุดการเรียนรู้ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์เรื่อง ซากดึกดำบรรพ์ โดยครูกอบวิทย์ พิร...Kobwit Piriyawat
 
03แบบฝึกกฎการอนุรักษ์พลังงานกล
03แบบฝึกกฎการอนุรักษ์พลังงานกล03แบบฝึกกฎการอนุรักษ์พลังงานกล
03แบบฝึกกฎการอนุรักษ์พลังงานกลPhanuwat Somvongs
 
เอกสารประกอบการเรียน เคมีอินทรีย์ 2
เอกสารประกอบการเรียน เคมีอินทรีย์ 2เอกสารประกอบการเรียน เคมีอินทรีย์ 2
เอกสารประกอบการเรียน เคมีอินทรีย์ 2Tanchanok Pps
 

Viewers also liked (20)

เอกสารประกอบกิจกรรมการเรียนรู้ การศึกษาการสังเคราะห์ด้วยแสง
เอกสารประกอบกิจกรรมการเรียนรู้ การศึกษาการสังเคราะห์ด้วยแสงเอกสารประกอบกิจกรรมการเรียนรู้ การศึกษาการสังเคราะห์ด้วยแสง
เอกสารประกอบกิจกรรมการเรียนรู้ การศึกษาการสังเคราะห์ด้วยแสง
 
ม.2/1 วิตามิน แร่ธาตุ น้ำ
ม.2/1 วิตามิน แร่ธาตุ น้ำม.2/1 วิตามิน แร่ธาตุ น้ำ
ม.2/1 วิตามิน แร่ธาตุ น้ำ
 
ปริมาณกระแสไฟฟ้าในผลไม้
ปริมาณกระแสไฟฟ้าในผลไม้ปริมาณกระแสไฟฟ้าในผลไม้
ปริมาณกระแสไฟฟ้าในผลไม้
 
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โครงงานคอมพิวเตอร์ ชุดที่ 1
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โครงงานคอมพิวเตอร์ ชุดที่ 1ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โครงงานคอมพิวเตอร์ ชุดที่ 1
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โครงงานคอมพิวเตอร์ ชุดที่ 1
 
ม.2/1 การทดสอบวิตามินซี
ม.2/1 การทดสอบวิตามินซีม.2/1 การทดสอบวิตามินซี
ม.2/1 การทดสอบวิตามินซี
 
ตัวอย่างชุดกิจกรรม
ตัวอย่างชุดกิจกรรมตัวอย่างชุดกิจกรรม
ตัวอย่างชุดกิจกรรม
 
เซลล์พืช 1
เซลล์พืช 1 เซลล์พืช 1
เซลล์พืช 1
 
ใบงานวิทย์ ม.1
ใบงานวิทย์ ม.1ใบงานวิทย์ ม.1
ใบงานวิทย์ ม.1
 
การสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช
การสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช
การสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช
 
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง เรียนรู้ชั้นบรรยากาศ
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง เรียนรู้ชั้นบรรยากาศชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง เรียนรู้ชั้นบรรยากาศ
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง เรียนรู้ชั้นบรรยากาศ
 
บทที่ 12 การสังเคราะห์ด้วยแสง
บทที่ 12 การสังเคราะห์ด้วยแสงบทที่ 12 การสังเคราะห์ด้วยแสง
บทที่ 12 การสังเคราะห์ด้วยแสง
 
การลำเลียงอาหารของพืช
การลำเลียงอาหารของพืชการลำเลียงอาหารของพืช
การลำเลียงอาหารของพืช
 
การลำเลียงน้ำของพืช
การลำเลียงน้ำของพืชการลำเลียงน้ำของพืช
การลำเลียงน้ำของพืช
 
การลำเลี้ยงน้ำและอาหารในพืช
การลำเลี้ยงน้ำและอาหารในพืชการลำเลี้ยงน้ำและอาหารในพืช
การลำเลี้ยงน้ำและอาหารในพืช
 
คู่มือครูวิทยาศาสตร์สสวท ม.3เล่ม2
คู่มือครูวิทยาศาสตร์สสวท ม.3เล่ม2คู่มือครูวิทยาศาสตร์สสวท ม.3เล่ม2
คู่มือครูวิทยาศาสตร์สสวท ม.3เล่ม2
 
การลำเลียงน้ำและอาหารของพืช
การลำเลียงน้ำและอาหารของพืชการลำเลียงน้ำและอาหารของพืช
การลำเลียงน้ำและอาหารของพืช
 
สรุปเข้มฯ#7 วิทยาศาสตร์พื้นฐาน
สรุปเข้มฯ#7 วิทยาศาสตร์พื้นฐานสรุปเข้มฯ#7 วิทยาศาสตร์พื้นฐาน
สรุปเข้มฯ#7 วิทยาศาสตร์พื้นฐาน
 
ชุดการเรียนรู้ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์เรื่อง ซากดึกดำบรรพ์ โดยครูกอบวิทย์ พิร...
ชุดการเรียนรู้ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์เรื่อง ซากดึกดำบรรพ์ โดยครูกอบวิทย์  พิร...ชุดการเรียนรู้ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์เรื่อง ซากดึกดำบรรพ์ โดยครูกอบวิทย์  พิร...
ชุดการเรียนรู้ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์เรื่อง ซากดึกดำบรรพ์ โดยครูกอบวิทย์ พิร...
 
03แบบฝึกกฎการอนุรักษ์พลังงานกล
03แบบฝึกกฎการอนุรักษ์พลังงานกล03แบบฝึกกฎการอนุรักษ์พลังงานกล
03แบบฝึกกฎการอนุรักษ์พลังงานกล
 
เอกสารประกอบการเรียน เคมีอินทรีย์ 2
เอกสารประกอบการเรียน เคมีอินทรีย์ 2เอกสารประกอบการเรียน เคมีอินทรีย์ 2
เอกสารประกอบการเรียน เคมีอินทรีย์ 2
 

Similar to 7.ชุดที่ 4 การสังเคราะห์แสง

4.แผนเรื่องโครงงานทองม้วน
4.แผนเรื่องโครงงานทองม้วน4.แผนเรื่องโครงงานทองม้วน
4.แผนเรื่องโครงงานทองม้วนWareerut Hunter
 
การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E) เรื่อง เทคโนโ...
การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E) เรื่อง เทคโนโ...การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E) เรื่อง เทคโนโ...
การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E) เรื่อง เทคโนโ...Kroo Keng
 
แผนการจัดการเรียนรู้ระบบนิเวศ
แผนการจัดการเรียนรู้ระบบนิเวศแผนการจัดการเรียนรู้ระบบนิเวศ
แผนการจัดการเรียนรู้ระบบนิเวศJiraporn
 
แผนการจัดการเรียนรู้เพศศึกษาหน่วยที่ 4
แผนการจัดการเรียนรู้เพศศึกษาหน่วยที่ 4แผนการจัดการเรียนรู้เพศศึกษาหน่วยที่ 4
แผนการจัดการเรียนรู้เพศศึกษาหน่วยที่ 4tassanee chaicharoen
 
การสอบแบบวิทยาศสาตร์
การสอบแบบวิทยาศสาตร์การสอบแบบวิทยาศสาตร์
การสอบแบบวิทยาศสาตร์citylong117
 
หน่วยการเรียนรู้เรื่อง เพศศึกษา
หน่วยการเรียนรู้เรื่อง เพศศึกษาหน่วยการเรียนรู้เรื่อง เพศศึกษา
หน่วยการเรียนรู้เรื่อง เพศศึกษาtassanee chaicharoen
 
1 แบบฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์วิชาฟิสกส์ เรื่อง ความหนาแน่น
1 แบบฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์วิชาฟิสกส์ เรื่อง ความหนาแน่น1 แบบฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์วิชาฟิสกส์ เรื่อง ความหนาแน่น
1 แบบฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์วิชาฟิสกส์ เรื่อง ความหนาแน่นKruNistha Akkho
 
ภารกิจระดับครูผู้ช่วย
ภารกิจระดับครูผู้ช่วยภารกิจระดับครูผู้ช่วย
ภารกิจระดับครูผู้ช่วยFuangFah Tingmaha-in
 
ภารกิจระดับครูผู้ช่วย
ภารกิจระดับครูผู้ช่วยภารกิจระดับครูผู้ช่วย
ภารกิจระดับครูผู้ช่วยนภสร ยั่งยืน
 
แผนการจัดการเรียนรู้พระพุทธศาสนา
แผนการจัดการเรียนรู้พระพุทธศาสนาแผนการจัดการเรียนรู้พระพุทธศาสนา
แผนการจัดการเรียนรู้พระพุทธศาสนาPrincess Chulabhorn's College, Chiang Rai Thailand
 
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนwatdang
 
เล่มที่ 3 การเคลื่อนที่ของสัตว์มีกระดูกสันหลัง
เล่มที่  3 การเคลื่อนที่ของสัตว์มีกระดูกสันหลังเล่มที่  3 การเคลื่อนที่ของสัตว์มีกระดูกสันหลัง
เล่มที่ 3 การเคลื่อนที่ของสัตว์มีกระดูกสันหลังกมลรัตน์ ฉิมพาลี
 

Similar to 7.ชุดที่ 4 การสังเคราะห์แสง (20)

5.ชุดที่ 2 โครงสร้างของเซลล์
5.ชุดที่ 2 โครงสร้างของเซลล์5.ชุดที่ 2 โครงสร้างของเซลล์
5.ชุดที่ 2 โครงสร้างของเซลล์
 
R61(1)
R61(1)R61(1)
R61(1)
 
4.แผนเรื่องโครงงานทองม้วน
4.แผนเรื่องโครงงานทองม้วน4.แผนเรื่องโครงงานทองม้วน
4.แผนเรื่องโครงงานทองม้วน
 
Expand
ExpandExpand
Expand
 
ครูผู้ช่วย
ครูผู้ช่วยครูผู้ช่วย
ครูผู้ช่วย
 
การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E) เรื่อง เทคโนโ...
การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E) เรื่อง เทคโนโ...การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E) เรื่อง เทคโนโ...
การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E) เรื่อง เทคโนโ...
 
แผนการจัดการเรียนรู้ระบบนิเวศ
แผนการจัดการเรียนรู้ระบบนิเวศแผนการจัดการเรียนรู้ระบบนิเวศ
แผนการจัดการเรียนรู้ระบบนิเวศ
 
แผนการจัดการเรียนรู้เพศศึกษาหน่วยที่ 4
แผนการจัดการเรียนรู้เพศศึกษาหน่วยที่ 4แผนการจัดการเรียนรู้เพศศึกษาหน่วยที่ 4
แผนการจัดการเรียนรู้เพศศึกษาหน่วยที่ 4
 
การสอบแบบวิทยาศสาตร์
การสอบแบบวิทยาศสาตร์การสอบแบบวิทยาศสาตร์
การสอบแบบวิทยาศสาตร์
 
05chap3
05chap305chap3
05chap3
 
4mat
4mat4mat
4mat
 
Plan 4
Plan 4Plan 4
Plan 4
 
หน่วยการเรียนรู้เรื่อง เพศศึกษา
หน่วยการเรียนรู้เรื่อง เพศศึกษาหน่วยการเรียนรู้เรื่อง เพศศึกษา
หน่วยการเรียนรู้เรื่อง เพศศึกษา
 
1 แบบฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์วิชาฟิสกส์ เรื่อง ความหนาแน่น
1 แบบฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์วิชาฟิสกส์ เรื่อง ความหนาแน่น1 แบบฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์วิชาฟิสกส์ เรื่อง ความหนาแน่น
1 แบบฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์วิชาฟิสกส์ เรื่อง ความหนาแน่น
 
03chap1
03chap103chap1
03chap1
 
ภารกิจระดับครูผู้ช่วย
ภารกิจระดับครูผู้ช่วยภารกิจระดับครูผู้ช่วย
ภารกิจระดับครูผู้ช่วย
 
ภารกิจระดับครูผู้ช่วย
ภารกิจระดับครูผู้ช่วยภารกิจระดับครูผู้ช่วย
ภารกิจระดับครูผู้ช่วย
 
แผนการจัดการเรียนรู้พระพุทธศาสนา
แผนการจัดการเรียนรู้พระพุทธศาสนาแผนการจัดการเรียนรู้พระพุทธศาสนา
แผนการจัดการเรียนรู้พระพุทธศาสนา
 
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
 
เล่มที่ 3 การเคลื่อนที่ของสัตว์มีกระดูกสันหลัง
เล่มที่  3 การเคลื่อนที่ของสัตว์มีกระดูกสันหลังเล่มที่  3 การเคลื่อนที่ของสัตว์มีกระดูกสันหลัง
เล่มที่ 3 การเคลื่อนที่ของสัตว์มีกระดูกสันหลัง
 

More from เอเดียน คุณาสิทธิ์ (6)

11. ชุดที่ 8 เทคโนโลยีชีวภาพ
11. ชุดที่ 8 เทคโนโลยีชีวภาพ11. ชุดที่ 8 เทคโนโลยีชีวภาพ
11. ชุดที่ 8 เทคโนโลยีชีวภาพ
 
10. ชุดที่ 7 การเจริญเติบโต
10. ชุดที่ 7 การเจริญเติบโต10. ชุดที่ 7 การเจริญเติบโต
10. ชุดที่ 7 การเจริญเติบโต
 
9. ชุดที่ 6 การสืบพันธุ์ของพืช
9. ชุดที่ 6 การสืบพันธุ์ของพืช9. ชุดที่ 6 การสืบพันธุ์ของพืช
9. ชุดที่ 6 การสืบพันธุ์ของพืช
 
3. แผน กล้อง ม.1
3. แผน   กล้อง ม.13. แผน   กล้อง ม.1
3. แผน กล้อง ม.1
 
2.ส่วนหน้าแผน
2.ส่วนหน้าแผน2.ส่วนหน้าแผน
2.ส่วนหน้าแผน
 
1.วิเคราะห์หลักสูตร วิทย์ ม.1 เรื่อง เซลล์
1.วิเคราะห์หลักสูตร วิทย์ ม.1 เรื่อง เซลล์1.วิเคราะห์หลักสูตร วิทย์ ม.1 เรื่อง เซลล์
1.วิเคราะห์หลักสูตร วิทย์ ม.1 เรื่อง เซลล์
 

7.ชุดที่ 4 การสังเคราะห์แสง

  • 1. นางเอเดียน คุณาสิทธิ์ โรงเรียนบ้านกาเกาะระโยง อาเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ สานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1 ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง หน่วยของสิ่งมีชีวิตและการดารงชีวิตของพืช ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
  • 2. ข คานา ชุดกิจกรรมนี้ จัดทาขึ้นเพื่อใช้ประกอบกิจกรรมการเรียนการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ รหัสวิชา ว 23101 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง หน่วยของชีวิตและชีวิตพืช ซึ่งเป็นชุดกิจกรรมที่เน้นทักษะการทา โครงงานวิทยาศาสตร์ควบคู่กับการฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ นักเรียนสามารถปฏิบัติ กิจกรรมได้ตามความสนใจ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้นี้มี จานวน 8 ชุด เวลาเรียน 24 ชั่วโมง ดังนี้ 1. ชุดกิจกรรมที่ 1 เรื่อง กล้องจุลทรรศน์ (เวลา 3 ชั่วโมง) 2. ชุดกิจกรรมที่ 2 เรื่อง โครงสร้างหน้าที่และส่วนประกอบของเซลล์ (เวลา 3 ชั่วโมง) 3. ชุดกิจกรรมที่ 3 เรื่อง การเคลื่อนที่ของสารผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ (เวลา 3 ชั่วโมง) 4. ชุดกิจกรรมที่ 4 เรื่อง กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช (เวลา 3 ชั่วโมง) 5. ชุดกิจกรรมที่ 5 เรื่อง การลาเลียงของสารในพืช (เวลา 3 ชั่วโมง) 6. ชุดกิจกรรมที่ 6 เรื่อง กระบวนการสืบพันธุ์ของพืช (เวลา 3 ชั่วโมง) 7. ชุดกิจกรรมที่ 7 เรื่อง การเจริญเติบโตและการตอบสนองต่อสิ่งเร้าของพืช(เวลา3ชั่วโมง) 8. ชุดกิจกรรมที่ 8 เรื่อง เทคโนโลยีชีวภาพที่เกี่ยวข้องกับพืช (เวลา 3 ชั่วโมง) ชุดกิจกรรมนี้เป็นชุดกิจกรรมที่ 4 เรื่อง กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช ในการใช้ ชุดกิจกรรมให้นักเรียนปฏิบัติตามคาชี้แจงของชุดกิจกรรมแต่ละชุดอย่างละเอียดโดยปฏิบัติกิจกรรม ตามลาดับที่ของชุดกิจกรรม
  • 3. ค สารบัญ เรื่อง หน้า ปก ............................................................................................................................................ ก คานา......................................................................................................................................... ข สารบัญ..................................................................................................................................... ค สารบัญภาพประกอบ..................................................................................................................ง ส่วนประกอบของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ...................................................................................... จ คาชี้แจงสาหรับครู .....................................................................................................................ฉ คาชี้แจงสาหรับนักเรียน..................................................................................................................ช แผนผังการจัดกลุ่มการเรียน........................................................................................................... ซ ชุดกิจกรรมที่ 4 เรื่อง กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช................................................1 ใบความรู้ที่ 4 เรื่อง กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช.........................................................2 กิจกรรมที่ 4 เรื่อง กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช..........................................................6 ตอนที่ 1 เรื่อง คลอโรฟิลล์กับการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช.....................................6 ตอนที่ 2 เรื่อง แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์กับการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช..............10 แนวการตอบกิจกรรมที่ 4...............................................................................................................14 เกณฑ์การให้คะแนนกิจกรรมที่ 4..................................................................................................22 บรรณานุกรม..................................................................................................................................24
  • 4. ง สารบัญภาพประกอบ ภาพที่ หน้า ภาพที่ 4.1 พืชผลิตแก๊สออกซิเจนที่จาเป็นในการหายใจของมนุษย์และสัตว์...............................1 ภาพที่ 4.2 สมการการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช......................................................................2 ภาพที่ 4.3 กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช......................................................................3 ภาพที่ 4.4 ปัจจัยที่จาเป็นในการสังเคราะห์ด้วยแสงและผลผลิตที่ได้จากสังเคราะห์ ด้วยแสงของพืช.........................................................................................................4 ภาพที่ 4.5 การทดลองคลอโรฟิลล์กับการสร้างอาหารของพืช ..................................................8 ภาพที่ 4.6 การทดสอบ แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์กับการสร้างอาหารของพืช.........................11
  • 5. จ ชุดกิจกรรมที่4 เรื่อง กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช มีส่วนประกอบที่สาคัญดังนี้ 1. เป็นชุดกิจกรรมที่ใช้ประกอบแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 7 และ 8 (ในเล่มคู่มือการใช้) 2. ใบความรู้ที่ 4 เรื่อง กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช 3. ใบกิจกรรมที่ 4 เรื่อง กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช ตอนที่ 1 เรื่อง คลอโรฟิลล์กับการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช(1ชั่วโมง) ตอนที่ 2 เรื่อง แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์กับการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช ( 2 ชั่วโมง) 4. แนวการตอบกิจกรรมที่ 4 เรื่อง กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช 5. เกณฑ์การให้คะแนนกิจกรรมที่ 4 เรื่อง กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช ส่วนประกอบของชุดกิจกรรมที่ 4 เรื่อง กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช
  • 6. ฉ คาชี้แจงสาหรับครู การใช้ชุดกิจกรรมเพื่อให้บรรลุผลตามจุดประสงค์ที่กาหนดไว้ สิ่งที่ครูผู้สอนต้องเตรียม มีดังนี้ 1. ศึกษาแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 7และ 8 ในคู่มือการใช้ชุดกิจกรรมให้ละเอียด 2. ศึกษาเนื้อหาและคาชี้แจงในการใช้ชุดกิจกรรมแต่ละชุด และปฏิบัติตามขั้นตอนใน คาชี้แจงของกิจกรรมตามลาดับอย่าข้ามขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่ง 3. ครูเตรียมวัสดุอุปกรณ์ในชุดกิจกรรมไว้ล่วงหน้าก่อนทาการเรียนการสอน 4. ครูจัดชั้นเรียนโดยแบ่งนักเรียนออกเป็น 8 กลุ่ม ๆ ละ 5 คน ตามแผนผังที่กาหนดไว้ โดยมีหัวหน้าประจาทุกกลุ่ม ผู้นากลุ่มอาจมีการผลัดเปลี่ยนกันแต่ละกลุ่มควรเป็นกลุ่มเดิมเพื่อจะได้ ทางานที่ต่อเนื่องกัน 5. ครูต้องชี้แจงให้นักเรียนมีความซื่อสัตย์ต่อตนเอง และรู้บทบาทหน้าที่ของตนในกลุ่ม โดยไม่ให้ดูเฉลยก่อน หลังจากปฏิบัติกิจกรรมเสร็จแล้วจึงเปิดดูเฉลยได้และมีการแลกเปลี่ยนกัน ตรวจตามเกณฑ์การให้คะแนนที่กาหนดไว้ในแต่ละกิจกรรม 6. การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ แบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นสร้างความสนใจ 2) ขั้นสารวจและค้นหา 3) ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป 4) ขั้นขยายความรู้ 5) ขั้นประเมินผล 7. ชุดกิจกรรมที่ 4 เป็นการจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในเนื้อหาประจาหน่วย ซึ่ง บูรณาการทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และสอดแทรกความรู้เกี่ยวกับโครงงานวิทยาศาสตร์ ไปพร้อม ๆ กัน 8. ขณะที่นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมครูต้องคอยดูแลและแนะนาการปฏิบัติงานอย่างใกล้ชิด เมื่อนักเรียนพบปัญหาในการเรียนจะได้ช่วยแก้ไขปัญหาได้ทันที 9. เมื่อนักเรียนปฏิบัติกิจกรรมเสร็จเรียบร้อยแล้วให้นักเรียนเก็บสื่อและวัสดุอุปกรณ์ของ แต่ละกลุ่มให้เรียบร้อย โดยเน้นการเก็บและดูแลรักษาความสะอาดฝึกให้เป็นระเบียบจนเป็นนิสัย 10. เมื่อสิ้นสุดการเรียนชุดกิจกรรมที่ 8 แล้วให้นักเรียนทาแบบทดสอบหลังเรียน จานวน 40 ข้อซึ่งเป็นแบบทดสอบคู่ขนานกับแบบทดสอบก่อนเรียน 11. แจ้งผลการเรียนจากการปฏิบัติกิจกรรมทันทีที่ตรวจเสร็จแล้ว
  • 7. ช คาชี้แจงสาหรับนักเรียน การใช้ชุดกิจกรรมนักเรียนควรทราบถึงบทบาทของตนเองดังนี้ 1. ศึกษาคาชี้แจงในการใช้ชุดกิจกรรมแต่ละชุดอย่างละเอียด 2. ศึกษาใบความรู้ที่ 4 เรื่อง กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชแล้วปฏิบัติ กิจกรรมตามใบกิจกรรม ดังนี้ ตอนที่ 1 เรื่อง คลอโรฟิลล์กับการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช(1ชั่วโมง) ตอนที่ 2 เรื่อง แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์กับการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช ( 2 ชั่วโมง) 3. นักเรียนต้องตั้งใจปฏิบัติกิจกรรมอย่างจริงจังไม่เล่นหรือทาให้ล่าช้า 4. กิจกรรมการทดลองต้องทาตามขั้นตอนทุกขั้นตอนด้วยความระมัดระวังเพราะ อุปกรณ์อาจแตกหรือเสียหายได้ 5. หลังทากิจกรรมเสร็จแล้วให้นักเรียนส่งผลงานการทากิจกรรมให้ครูตรวจหรือ แลกเปลี่ยนกันตรวจก่อนที่จะดาเนินการศึกษากิจกรรมต่อไป ถ้ามีอะไรชารุดเสียหายต้องแจ้งให้ครู ทราบทันที 6. เมื่อทากิจกรรมเสร็จทั้ง 8 ชุดแล้วให้นักเรียนทาแบบทดสอบหลังเรียน 40 ข้อ เพื่อ ประเมินความรู้หลังเรียน
  • 8. ซ แผนผังการจัดกลุ่มการเรียน การประเมินผล 1. ประเมินจากการทาแบบทดสอบก่อนเรียน -หลังเรียน จานวน 40 ข้อ 2. ประเมินผลจากการทากิจกรรมที่ 4 ตอนที่ 1 คลอโรฟิลล์กับการสังเคราะห์ด้วยแสง ของพืชตามเกณฑ์การประเมินที่กาหนด 3. ประเมินการทากิจกรรมการทดลองตอนที่ 2 เรื่อง แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์กับ การสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชตามเกณฑ์การประเมินที่กาหนด 4. สังเกตความสนใจและความร่วมมือในการปฏิบัติกิจกรรมและพฤติกรรมการทางาน กลุ่มทุกครั้งที่เรียน โต๊ะครู กลุ่มที่ 7 กลุ่มที่ 1 กลุ่มที่ 6 กลุ่มที่ 2 กลุ่มที่ 3 กลุ่มที่ 8 กลุ่มที่ 5 กลุ่มที่ 4
  • 9. 1 ชุดกิจกรรมที่ 4 เรื่องย่อยที่ 4 กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช ใช้ประกอบแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 7 – 8 (เวลา 3 ชั่วโมง) คาชี้แจง 1. ให้นักเรียนทากิจกรรมที่ 4 ตอนที่ 1 เรื่อง คลอโรฟิลล์กับการสังเคราะห์ ด้วยแสงของพืช ตอบคาถามและสรุปผลการศึกษา 2.ให้นักเรียนทากิจกรรมที่ 4 ตอนที่ 2 เรื่อง แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์กับ การสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช ตอบคาถามและสรุปผลการศึกษา 3. ศึกษาใบความรู้ที่ 4 เรื่อง กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช แล้วร่วมกันอภิปราย เสนอแนะแนวทางการทาโครงงานวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยที่ จาเป็นในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช และการนาความรู้ไปใช้ประโยชน์ 4. ตรวจคาตอบจากแนวการตอบ ภาพที่ 4.1 พืชผลิตแก๊สออกซิเจนที่จาเป็นในการหายใจของมนุษย์และสัตว์ (ที่มาของภาพ : ถนัดศรีบุญเรืองและคณะ. ม.ป.ป. : 69)
  • 10. 2 ใบความรู้ที่ 4 เรื่อง กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช จุดประสงค์การเรียนรู้ เมื่อนักเรียนได้เรียนรู้เรื่อง กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชแล้ว สามารถ 1. ออกแบบการทดลองเพื่อทดสอบว่า คลอโรฟิลล์ แสง และแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์มี ความสาคัญในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชได้ 2. อธิบายปัจจัยสาคัญและผลผลิตในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชได้ 3. บอกความสาคัญและยกตัวอย่างโครงงานวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการ สังเคราะห์ด้วยแสงของพืชได้ 1. กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช (Photosynthesis) คือ กระบวนการสร้างอาหาร ของพืช โดยมีคลอโรฟิลล์ทาหน้าที่ในการดูดพลังงานจากดวงอาทิตย์ แล้วเปลี่ยนวัตถุดิบ คือ น้า คาร์บอนไดออกไซด์ ให้เป็นน้าตาลกลูโคส น้าและแก๊สออกซิเจนปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อม ซึ่ง แก๊สออกซิเจนมนุษย์และสัตว์ใช้ในการหายใจ ดังสมการ ภาพที่ 4.2 สมการการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช (ที่มาของภาพ : ประดับ นาคแก้วและดาวัลย์ เสริมบุญสุข. 2551 : 50)
  • 11. 3 1.1 ปัจจัยที่จาเป็นในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช 1) คลอโรฟิลล์ (Chlorophyll) คลอโรฟิลล์เป็นสารสีเขียว พบในคลอโรพลาสต์ของ เซลล์พืช ทาหน้าที่รับพลังงานแสง เพื่อใช้ในการสร้างอาหาร ถ้าพืชขาดคลอโรฟิลล์จะสร้างอาหาร ไม่ได้อาหารที่พืชสร้างได้คือ น้าตาลกลูโคสและสะสมไว้ในรูปของแป้ง 2) แสง (Light) เป็นพลังงานรูปหนึ่ง พลังงานแสงช่วยให้เกิดปฏิกิริยาเคมีระหว่างน้า และแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ให้รวมตัวเป็นน้าตาลกลูโคสและแก๊สออกซิเจน ชนิดของแสงที่ทาให้ เกิดการสังเคราะห์แสงมากที่สุดคือ แสงสีม่วง แสงสีแดงและแสงสีน้าเงิน ส่วนแสงสีเขียวมีผล น้อยที่สุด พืชบางชนิดต้องการแสงมาก เช่น ข้าว ข้าวโพด ทานตะวัน พืชบางชนิดต้องการแสง น้อย เช่น พลูด่าง วาสนา โกสน เป็นต้น 1.2 วัตถุดิบที่ใช้ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช วัตถุดิบที่จาเป็นในการะบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช คือ น้าและแก๊ส คาร์บอนไดออกไซด์ 1.2.1 แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) พืชต้องการแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เพื่อ รวมกับน้าในการสร้างอาหาร แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เข้าสู่เซลล์ของพืชทางปากใบ ซึ่งเกิดจาก เซลล์คุมทาหน้าที่ปิดเปิดปากใบ อยู่บริเวณผิวของใบไม้ด้านล่างซึ่งจะมีปากใบเป็นจานวนมาก ปากใบยังทาหน้าที่คายน้าส่วนเกินออกจากพืชและคายแก๊สออกซิเจนที่เป็นผลผลิตที่ได้จาก การสังเคราะห์ด้วยแสงออกมาอีกด้วย ภาพที่ 4.3 กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช ที่มาของภาพ : http://images.google.co.th
  • 12. 4 1.2.2 น้า (H2O) เป็นวัตถุดิบที่สาคัญในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช และ พืชยังใช้น้าในกิจกรรมต่าง ๆ ภายในเซลล์ พืชแต่ละชนิดต้องการน้ามากน้อยแตกต่างกัน หากพืช ขาดน้าจะส่งผลกระทบต่อกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช การขาดน้าจะทาให้เซลล์ปากใบ ปิดเพื่อลดการสูญเสียน้า แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จะแพร่เข้าสู่ใบได้น้อยลง อัตราการสังเคราะห์ ด้วยแสงของพืชจะลดต่าลง 1.3 ผลผลิตจากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง ผลผลิตจากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง คือ น้าตาลกลูโคส แก๊สออกซิเจน และ น้า ซึ่งมีความสาคัญต่อการดารงชีวิตของสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม อาหารและแก๊สออกซิเจนจะถูก ลาเลียงไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของพืชทางระบบการลาเลียงของพืช 1.3.1 น้าตาลกลูโคส (C6H12O6) น้าตาลกลูโคสบางส่วนจะนาไปใช้ในกระบวนการ หายใจเพื่อสร้างพลังงานให้แก่เซลล์พืช เพื่อการเจริญเติบโตของเซลล์และนาไปสร้างเซลลูโลส ซึ่งเป็นผนังเซลล์ของพืช บางส่วนนาไปสะสมไว้ในรูปของแป้ งโดยสะสมไว้ที่ใบ ราก ลาต้น เมล็ด นอกจากนี้น้าตาลกลูโคสยังเปลี่ยนเป็นสารอื่น ๆ เช่น ไขมัน โปรตีน น้ามันในพืช โดยเก็บ ไว้ในแหล่งสะสมอาหารของพืชแต่ละชนิด 1.3.2 แก๊สออกซิเจน (O2) แก๊สออกซิเจนถูกนาไปใช้ในกระบวนการหายใจ โดยรวม กับอาหารเพื่อให้พลังงานแก่เซลล์พืชในการดาเนินกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งแก๊สออกซิเจนจะถูกคาย ออกมาทางปากใบ ดังนั้นต้นไม้จึงเป็นแหล่งออกซิเจนที่สาคัญของสิ่งมีชีวิต ภาพที่ 4.4 ปัจจัยที่จาเป็นในการสังเคราะห์ด้วยแสงและผลผลิตที่ได้จากสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช ที่มาของภาพ : http://healthcareperfect.blogspot.com (ที่มา ปรับปรุงจาก : ประดับ นาคแก้วและดาวัลย์ เสริมบุญสุข. (2551). หนังสือเรียนสาระ การเรียนรู้พื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. รัตน์ธรา การพิมพ์ : กรุงเทพฯ.)
  • 13. 5 กิจกรรมที่ 4 เรื่อง กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช จุดประสงค์การเรียนรู้ เมื่อนักเรียนได้เรียนรู้เรื่อง กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชแล้ว สามารถ 1. ออกแบบการทดลองเพื่อทดสอบว่า คลอโรฟิลล์ แสง และแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ มีความสาคัญในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชได้ 2. อธิบายปัจจัยสาคัญและผลผลิตในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชได้ 3. บอกความสาคัญและยกตัวอย่างโครงงานวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการ สังเคราะห์ด้วยแสงของพืชได้ คาชี้แจง 1. ให้นักเรียนแบ่งกลุ่มออกเป็น 5 กลุ่ม ๆ ละ 4-5 คน โดยคละเพศและความสามารถ ควรเป็นกลุ่มเดิม 2. นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนรับอุปกรณ์การทดลองและชุดกิจกรรมที่ 4 แล้ว ทากิจกรรมที่ 4 ตอนที่ 1 และตอนที่ 2 ตอนที่ 1 เรื่อง คลอโรฟิลล์กับการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช 1. กาหนดปัญหา ................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................. 2. ตั้งสมมุติฐาน ................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. 3. ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม และตัวแปรควบคุม ของการศึกษาเรื่องนี้คืออะไร ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................
  • 14. 6 4. อุปกรณ์ 1) ใบชบาด่าง จานวน 1 ใบต่อกลุ่ม 2) ชุดตะเกียงแอลกอฮอล์ จานวน 1 อัน ต่อกลุ่ม 3) เอทธิลแอลกอฮอล์ จานวน 15 ลูกบาศก์เซนติเมตรต่อกลุ่ม 4) หลอดทดลอง ขนาดใหญ่ จานวน 1 หลอด ต่อกลุ่ม 5) สารละลายไอโอดีน จานวน 2 – 3 หยด ต่อกลุ่ม 6) ปากคีบ จานวน 1 อัน ต่อกลุ่ม 7) หลอดหยด จานวน 1 อัน ต่อกลุ่ม 8) บีกเกอร์ขนาด 250 ลูกบาศก์เซนติเมตร จานวน 1 ใบ ต่อกลุ่ม 9) น้า 40 ลูกบาศก์เซนติเมตร 10) หลอดฉีดยา 1 หลอดต่อกลุ่ม 5. วิธีศึกษาทดลอง ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มศึกษาว่า คลอโรฟิลล์ จาเป็นในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช หรือไม่ โดยปฏิบัติกิจกรรมตามขั้นตอน ดังนี้ 1) เด็ดใบชบาด่างที่ถูกแสงมาแล้ว 3 ชั่วโมงวาดภาพแสดงส่วนสีเขียวและส่วนสีขาว 2) จุดตะเกียงแอลกอฮอล์ เพื่อต้มน้าในบีกเกอร์ที่มีน้าเดือดนาใบชบาด่างไปต้มนาน 1 นาที เพื่อให้เซลล์ตาย 3) ใช้หลอดฉีดยาตวงเอทธิลแอลกอฮอล์ 15 ลูกบาศก์เซนติเมตร ใส่ลงในหลอดทดลอง คีบใบชบาด่างจากบีกเกอร์ใส่ในหลอดทดลองที่มีแอลกอฮอล์อยู่ แล้วต้มในน้าเดือดอีก 2 นาที เพื่อให้คลอโรฟิลล์ออกจากใบพืช 4) คีบใบชบาด่างออกจากหลอดทดลองจุ่มลงในน้าเย็น ใส่ลงในถ้วยกระเบื้องแล้วหยด สารละลายไอโอดีน 2 – 3 หยด เพื่อทดสอบแป้ง ถ้าบริเวณใดมีแป้ง สารละลายไอโอดีนจะเปลี่ยน จากสีน้าตาลเป็นสีม่วงแกมน้าเงิน คีบใบชบาด่างมาล้างน้า แล้วสังเกตและวาดรูประบายสีตามที่ สังเกตเห็น 5) หยดสารละลายไอโอดีน 2 หยดลงในน้าแป้ งสุก สังเกตและบันทึกผลเปรียบเทียบสีกับใบ ชบาด่างที่ทดลอง บันทึกผลการทดลอง
  • 15. 7 ภาพที่ 4.5 การทดลองคลอโรฟิลล์กับการสร้างอาหารของพืช (ที่มาของภาพ ปรับปรุงจาก : ศรีลักษณ์ ผลวัฒนะและคณะ. 2545 : 32) 6. ตารางบันทึกผลการทดลอง ภาพลักษณะของใบชบาด่าง ลักษณะของใบชบาด่างที่สังเกตได้ 1. ก่อนการทดลอง 1. ก่อนการทดลองใบชบาด่างมีสี................................. 2. เมื่อสกัดคลอโรฟิลล์แล้ว 2. เมื่อสกัดคลอโรฟิลล์ออกแล้วใบชบาด่างจะมีสี............ 3. หลังหยดสารละลายไอโอดีน 3. เมื่อนามาทดสอบด้วยสารละลายไอโอดีน บริเวณ ที่เคยมีสีเขียวจะเป็นสี................ ................... และบริเวณ ที่เคยเป็นสีขาวจะมีสี ......................................... 4. น้าแป้ งเมื่อทดสอบด้วยสารละลายไอโอดีนพบว่า ....................................................................................
  • 16. 8 7. คาถามท้ายการทดลอง 1) จากผลการทดลอง สารใดที่ใช้สกัดสีเขียวในใบพืชออกได้ ............................................................................................................................................................. 2) เมื่อนาใบชบาด่างที่สกัดคลอโรฟิลล์ออกแล้ว นามาทดสอบกับสารละลายไอโอดีน พบว่า บริเวณของใบที่เคยเป็นสีเขียวและสีขาว จะเปลี่ยนแปลงต่างกันหรือไม่ อย่างไร ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. 3) ผลการทดสอบน้าแป้ งสุกเปลี่ยนสีของสารละลายไอโอดีน อย่างไร ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. 4) ผลการทดสอบของสารละลายไอโอดีนกับน้าแป้ งสุก และผลการทดสอบสารละลาย ไอโอดีนกับส่วนที่เป็นสีเขียวของพืช มีการเปลี่ยนแปลงเหมือนกันหรือไม่ อย่างไร ............................................................................................................................................................. 5) สารละลายไอโอดีนใช้ทดสอบสิ่งใดในใบพืช ............................................................................................................................................................. 6) ส่วนที่พบแป้ งในพืชคือส่วนที่มีสีอะไร.................................................................................. 7) ส่วนของใบชบาด่างที่มีสีใดจะสร้างอาหารได้ อาหารที่พืชสร้างได้คืออะไร ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. 8) ต้นหญ้าที่ถูกขอนไม้ใหญ่ทับไว้นาน ๆ จะมีสีอะไร ทาไมจึงเป็นเช่นนั้น ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. 8. สรุปผลการศึกษา ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................
  • 17. 9 ตอนที่ 2 เรื่อง แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์กับการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช 1. กาหนดปัญหา ................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................. 2. ตั้งสมมุติฐาน ................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. 3. ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม และตัวแปรควบคุม ของการศึกษาเรื่องนี้คืออะไร ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. 4. อุปกรณ์ 1) ผักบุ้งที่เพาะไว้สูงประมาณ 5 เซนติเมตร 1 กระป๋ อง ๆ ละ 5 – 6 ต้น 2) กล่องทึบ 1 ใบ ต่อกลุ่ม 3) ชุดตะเกียงแอลกอฮอล์ จานวน 1 ชุด ต่อกลุ่ม 4) เอทิลแอลกอฮอล์ จานวน 15 ลูกบาศก์เซนติเมตรต่อกลุ่ม 5) หลอดทดลอง ขนาดใหญ่ จานวน 1 หลอด ต่อกลุ่ม 6) สารละลายไอโอดีน จานวน 2 – 3 หยด ต่อกลุ่ม 7) ปากคีบ จานวน 1 อัน ต่อกลุ่ม 8) หลอดหยด จานวน 1 อัน ต่อกลุ่ม 9) บีกเกอร์ขนาด 250 ลูกบาศก์เซนติเมตร จานวน 1 ใบ ต่อกลุ่ม 10) หลอดฉีดยา จานวน 1 หลอดต่อกลุ่ม 11) น้า 40 ลูกบาศก์เซนติเมตร 12) สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ ความเข้มข้น 50% โดยมวลต่อปริมาตร จานวน 50 ลูกบาศก์เซนติเมตร 13) บีกเกอร์ขนาด 100 ลูกบาศก์เซนติเมตร จานวน 1 ใบ ต่อกลุ่ม
  • 18. 10 5. วิธีศึกษาทดลอง ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มศึกษาเกี่ยวกับ แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จาเป็นต่อการสังเคราะห์ด้วยแสง ของพืชหรือไม่ โดยปฏิบัติกิจกรรมตามขั้นตอนดังนี้ 1) นาต้นผักบุ้งที่เพาะไว้สูงประมาณ 5 เซนติเมตร ใส่ลงในกล่องทึบทิ้งไว้1 คืน 2) นาถุงพลาสติกมัดผักบุ้งที่นาออกจากกล่องทึบไว้2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ใส่บีกเกอร์ที่บรรจุ สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ อีกกลุ่มหนึ่งไม่ได้ใส่สารชนิดใด นาไปตั้งไว้กลางแดด 3 ชั่วโมง เด็ดใบออกจากถุง ๆ ละ 2 ใบ 3) นาใบผักบุ้งทั้ง 4 ใบ ใบมาสกัดคลอโรฟิลล์ ด้วยเอธิลแอลกอฮอล์ ทดสอบด้วยสารละลาย ไอโอดีนตามขั้นตอน เหมือนตอนที่ 1 สังเกตและบันทึกผล ภาพที่ 4.6 การทดสอบ แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์กับการสร้างอาหารของพืช (ที่มาของภาพ ปรับปรุงจาก : ศรีลักษณ์ ผลวัฒนะและคณะ. 2545 : 35)
  • 19. 11 6. ตารางบันทึกผลการทดลอง ใบผักบุ้งที่นามาทดสอบ ผลการทดสอบด้วยสารละลายไอโอดีน 1. ใบผักบุ้งที่มีสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ 2. ใบผักบุ้งที่ไม่มีสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ 7. คาถามท้ายการทดลอง 1) จากการทดสอบผักบุ้งกับสารละลายไอโอดีนที่นามาจากถุงทั้งสองใบ พบว่าผักบุ้งจาก ถุงใดที่มีการเปลี่ยนสีของสารละลายไอโอดีน เพราะเหตุใด ............................................................................................................................................................. 2) ใบผักบุ้งจากถุงใบใดที่พบแป้ งอยู่ปริมาณมาก สังเกตได้จากอะไร ............................................................................................................................................................. 3) ใบผักบุ้งจากถุงใบใดที่ไม่พบแป้ ง สังเกตได้จากอะไร ............................................................................................................................................................. 4) สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ มีผลอย่างไรต่อพืช จึงทาให้พืชตรวจแล้วไม่พบแป้ ง ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. 5) เพราะเหตุใดจึงต้องนาต้นผักบุ้งไปไว้ในที่มืดก่อนนามาทดลอง ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. 6) การสังเคราะห์แสงของพืช จะเกิดขึ้นได้ดีในถุงใด เพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น ............................................................................................................................................................. 7) แก๊สชนิดใดที่จาเป็นในการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช ............................................................................................................................................................. 8) ปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ มีผลต่อพืชอย่างไร ............................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................
  • 20. 12 8. สรุปผลการศึกษา ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. 9. ให้นักเรียนเสนอชื่อเรื่องของโครงงานวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสังเคราะห์ด้วย แสงของพืช ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................
  • 21. 14 แนวการตอบกิจกรรมที่ 4 เรื่อง กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช จุดประสงค์การเรียนรู้ เมื่อนักเรียนได้เรียนรู้เรื่อง กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชแล้ว สามารถ 1. ระบุปัจจัยและวัตถุดิบที่จาเป็นในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชได้ 2. ระบุผลผลิตที่เกิดขึ้นจากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชได้ 3. ออกแบบการทดลองเพื่อทดสอบว่าคลอโรฟิลล์ แสง และแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ มีความสาคัญในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชได้ 4. บอกความสาคัญและยกตัวอย่างโครงงานวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการ สังเคราะห์ด้วยแสงของพืชได้ คาชี้แจง 1. ให้นักเรียนแบ่งกลุ่มออกเป็น 8 กลุ่ม ๆ ละ 5 คน โดยคละเพศและความสามารถ ควรเป็นกลุ่มเดิม 2. นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนรับอุปกรณ์การทดลองและชุดกิจกรรมที่ 4 แล้ว ทากิจกรรมที่ 4 ตอนที่ 1 และตอนที่ 2 ตอนที่ 1 เรื่อง คลอโรฟิลล์กับการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช 1. กาหนดปัญหา คลอโรฟิลล์จาเป็นต่อการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชอย่างไร 2. ตั้งสมมุติฐาน ถ้าคลอโรฟิลล์จาเป็นต่อกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชแล้ว ดังนั้น บริเวณของพืช ที่มีสีเขียวจะสร้างอาหารได้โดยเมื่อนาใบพืชมาทดสอบด้วยสารละลายไอโอดีนจะเปลี่ยนสีจาก สีน้าตาลเป็นสีม่วงแกมน้าเงิน แสดงว่า มีแป้ งเกิดขึ้น 3. ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม และตัวแปรควบคุม ของการศึกษาเรื่องนี้คืออะไร ตัวแปรต้นคือ สารสีเขียวที่อยู่ในใบพืช ตัวแปรตาม คือ การเปลี่ยนสีของสารละลายไอโอดีน ตัวแปรควบคุม คือ ระยะเวลาในการถูกแสง, ใบพืชที่นามาทดสอบ, จานวนหยดของ สารละลายไอโอดีน , ปริมาตรของแอลกอฮอล์, เวลาในการต้มใบพืช
  • 22. 15 4. อุปกรณ์ 1) ใบชบาด่าง จานวน 1 ใบต่อกลุ่ม 2) ชุดตะเกียงแอลกอฮอล์ จานวน 1 อัน ต่อกลุ่ม 3) เอทิลแอลกอฮอล์ จานวน 15 ลูกบาศก์เซนติเมตรต่อกลุ่ม 4) หลอดทดลอง ขนาดใหญ่ จานวน 1 หลอด ต่อกลุ่ม 5) สารละลายไอโอดี จานวน 2 – 3 หยด ต่อกลุ่ม 6) ปากคีบ จานวน 1 อัน ต่อกลุ่ม 7) หลอดหยด จานวน 1 อัน ต่อกลุ่ม 8) บีกเกอร์ขนาด 250 ลูกบาศก์เซนติเมตร จานวน 1 ใบ ต่อกลุ่ม 9) น้า 40 ลูกบาศก์เซนติเมตร 10) หลอดฉีดยา 1 หลอดต่อกลุ่ม 5. วิธีศึกษาทดลอง ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มศึกษาว่า คลอโรฟิลล์ จาเป็นในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช หรือไม่ โดยปฏิบัติกิจกรรมตามขั้นตอน ดังนี้ 1) เด็ดใบชบาด่างที่ถูกแสงมาแล้ว 3 ชั่วโมงวาดภาพแสดงส่วนสีเขียวและส่วนสีขาว 2) จุดตะเกียงแอลกอฮอล์ เพื่อต้มน้าในบีกเกอร์ที่มีน้าเดือดนาใบชบาด่างไปต้มนาน 1 นาที เพื่อให้เซลล์ตาย 3) ใช้หลอดฉีดยาตวงเอทิลแอลกอฮอล์ 15 ลูกบาศก์เซนติเมตร ใส่ลงในหลอดทดลอง คีบใบชบาด่างจากบีกเกอร์ใส่ในหลอดทดลองที่มีแอลกอฮอล์อยู่ แล้วต้มในน้าเดือดอีก 2 นาที เพื่อให้คลอโรฟิลล์ออกจากใบพืช 4) คีบใบชบาด่างออกจากหลอดทดลองจุ่มลงในน้าเย็น ใส่ลงในถ้วยกระเบื้องแล้วหยด สารละลายไอโอดีน 2 – 3 หยด เพื่อทดสอบแป้ง ถ้าบริเวณใดมีแป้ง สารละลายไอโอดีนจะเปลี่ยน จากสีน้าตาลเป็นสีม่วงแกมน้าเงิน คีบใบชบาด่างมาล้างน้า แล้วสังเกตและวาดรูประบายสีตามที่ สังเกตเห็น 5) หยดสารละลายไอโอดีน 2 หยดลงในน้าแป้ งสุก สังเกตและบันทึกผลเปรียบเทียบสีกับใบ ชบาด่างที่ทดลอง บันทึกผลการทดลอง
  • 23. 16 ภาพที่ 36 การทดลองคลอโรฟิลล์กับการสร้างอาหารของพืช (ที่มาภาพ ปรับปรุงจาก : ศรีลักษณ์ ผลวัฒนะและคณะ. (2545). : 32) 6. ตารางบันทึกผลการทดลอง ภาพลักษณะของใบชบาด่าง ลักษณะของใบชบาด่างที่สังเกตได้ 1. ก่อนการทดลอง 1. ก่อนการทดลองใบชบาด่างมีสี เขียวและสีขาวสลับกัน 2. เมื่อสกัดคลอโรฟิลล์แล้ว 2. เมื่อสกัดคลอโรฟิลล์ออกแล้วใบชบาด่างจะมี สีขาวทั้งใบ 3. หลังหยดสารละลายไอโอดีน 3. เมื่อนามาทดสอบด้วยสารละลายไอโอดีน บริเวณ ที่เคยมีสีเขียวจะเป็นสีม่วงแกมน้าเงิน และบริเวณที่เคย เป็นสีขาวจะมีสี ขาวเหมือนเดิม 4. น้าแป้ งเมื่อทดสอบด้วยสารละลายไอโอดีนพบว่า เปลี่ยนเป็นสีม่วงแกมน้าเงิน
  • 24. 17 7. คาถามท้ายการทดลอง 1) จากผลการทดลอง สารใดที่ใช้สกัดสีเขียวในใบพืชออกได้ เอทธิลแอลกอฮอล์ ใช้สกัดคลอโรฟิลล์ 2) เมื่อนาใบชบาด่างที่สกัดคลอโรฟิลล์ออกแล้ว นามาทดสอบกับสารละลายไอโอดีน พบว่า บริเวณของใบที่เคยเป็นสีเขียวและสีขาว จะเปลี่ยนแปลงต่างกันหรือไม่ อย่างไร บริเวณที่เคยมีสีเขียวจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงแกมน้าเงิน และบริเวณที่เคยเป็นสีขาวจะมีสีขาว เหมือนเดิม 3) ผลการทดสอบน้าแป้ งสุกเปลี่ยนสีของสารละลายไอโอดีน อย่างไร สารละลายไอโอดีนเปลี่ยนจากสีน้าตาลเป็นเป็นสีม่วงแกมน้าเงิน 4) ผลการทดสอบของสารละลายไอโอดีนกับน้าแป้ งสุก และผลการทดสอบสารละลาย ไอโอดีนกับส่วนที่เป็นสีเขียวของพืช มีการเปลี่ยนแปลงเหมือนกันหรือไม่ อย่างไร มีการเปลี่ยนแปลงเหมือนกัน คือเปลี่ยนสารละลายไอโอดีนจากสีน้าตาลเป็นสีม่วงแกมน้าเงิน 5) สารละลายไอโอดีนใช้ทดสอบสิ่งใดในใบพืช สารละลายไอโอดีนใช้ทดสอบแป้งในใบพืช 6) ส่วนที่พบแป้ งในพืชคือส่วนที่มีสีอะไร ส่วนที่มีสีเขียว 7) ส่วนของใบชบาด่างที่มีสีใดจะสร้างอาหารได้ อาหารที่พืชสร้างได้คืออะไร ส่วนที่มีสีเขียว อาหารที่สร้างได้ คือ แป้ง 8) ต้นหญ้าที่ถูกขอนไม้ใหญ่ทับไว้นาน ๆ จะมีสีอะไร ทาไมจึงเป็นเช่นนั้น จะมีสีขาวเพราะสร้างอาหารไม่ได้ 8. สรุปผลการศึกษา จากการทดลองพบว่า สารสีเขียวในใบพืชมีความสาคัญในการสร้างอาหารของพืช ถ้าพืช ไม่มีสีเขียวจะสร้างอาหารไม่ได้อาหารที่พืชสร้างได้คือ แป้ ง ซึ่งบริเวณที่พบแป้ งคือ บริเวณที่มีสี เขียวจะเปลี่ยนสารละลายไอโอดีนจากสีน้าตาลเป็นสีน้าเงินแกมม่วง
  • 25. 18 ตอนที่ 2 เรื่อง แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์กับการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช 1. กาหนดปัญหา แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จาเป็นในการสร้างอาหารของพืชหรือไม่ 2. ตั้งสมมุติฐาน ถ้าแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จาเป็นในการสร้างอาหารของพืชแล้ว ดังนั้น พืชที่มีสารละลาย โซเดียมไฮดรอกไซด์อยู่ ซึ่งโซเดียมไฮดรอกไซด์ดูดซับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ออก จะตรวจ ไม่พบแป้ ง แสดงว่าแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ จาเป็นในการสร้างอาหารของพืช 3. ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม และตัวแปรควบคุม ของการศึกษาเรื่องนี้คืออะไร ตัวแปรต้นคือ แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ตัวแปรตาม คือ การเปลี่ยนสีของสารละลายไอโอดีน ตัวแปรควบคุม คือ พืชที่เก็บไว้ในกล่องทึบไม่ให้ถูกแสง, ระยะเวลาในการถูกแสง, ชนิดของ ใบพืชที่นามาทดสอบ, จานวนหยดของสารละลายไอโอดีน , ปริมาตรของแอลกอฮอล์, เวลาในการ ต้มในพืช 4. อุปกรณ์ 1) ผักบุ้งที่เพาะไว้สูงประมาณ 5 เซนติเมตร 1 กระป๋ อง ๆ ละ 5 – 6 ต้น 2) กล่องทึบ 1 ใบ ต่อกลุ่ม 3) ชุดตะเกียงแอลกอฮอล์ จานวน 1 ชุด ต่อกลุ่ม 4) เอทธิลแอลกอฮอล์ จานวน 15 ลูกบาศก์เซนติเมตรต่อกลุ่ม 5) หลอดทดลอง ขนาดใหญ่ จานวน 1 หลอด ต่อกลุ่ม 6) สารละลายไอโอดี จานวน 2 – 3 หยด ต่อกลุ่ม 7) ปากคีบ จานวน 1 อัน ต่อกลุ่ม 8) หลอดหยด จานวน 1 อัน ต่อกลุ่ม 9) บีกเกอร์ขนาด 250 ลูกบาศก์เซนติเมตร จานวน 1 ใบ ต่อกลุ่ม 10) หลอดฉีดยา จานวน 1 หลอดต่อกลุ่ม 11) น้า 40 ลูกบาศก์เซนติเมตร 12) สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ ความเข้มข้น 50% โดยมวลต่อปริมาตร จานวน 50 ลูกบาศก์เซนติเมตร 13) บรรจุในบีกเกอร์ขนาด 100 ลูกบาศก์เซนติเมตร จานวน 1 ใบ ต่อกลุ่ม
  • 26. 19 5. วิธีศึกษาทดลอง ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มศึกษาเกี่ยวกับ แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จาเป็นต่อการสังเคราะห์ด้วยแสง ของพืชหรือไม่ โดยปฏิบัติกิจกรรมตามขั้นตอนดังนี้ 1) น้าต้นผักบุ้งที่เพาะไว้สูงประมาณ 5 เซนติเมตร ใส่ลงในกล่องทึบทิ้งไว้1 คืน 2) นาถุงพลาสติกมัดผักบุ้งที่นาออกจากกล่องทึบไว้2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ใส่บีกเกอร์ที่บรรจุ สารละลายโซเดียม ไฮดรอกไซด์ อีกกลุ่มหนึ่งไม่ได้ใส่สารชนิดใด นาไปตั้งไว้กลางแดด 3 ชั่วโมง เด็ดใบออกจากถุง ๆ ละ 2 ใบ 3) นาใบผักบุ้งทั้ง 4 ใบ ใบมาสกัดคลอโรฟิลล์ ด้วยเอธิลแอลกอฮอล์ ทดสอบด้วยสารละลาย ไอโอดีนตามขั้นตอน เหมือนตอนที่ 1 สังเกตและบันทึกผล ภาพที่ 37 การทดสอบ แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์กับการสร้างอาหารของพืช (ที่มาภาพ ปรับปรุงจาก : ศรีลักษณ์ ผลวัฒนะและคณะ. (2545). : 35)
  • 27. 20 6. ตารางบันทึกผลการทดลอง ใบผักบุ้งที่นามาทดสอบ ผลการทดสอบด้วยสารละลายไอโอดีน 1. ใบผักบุ้งที่มีสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ ไม่เปลี่ยนแปลง 2. ใบผักบุ้งที่ไม่มีสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ เปลี่ยนเป็นสีน้าเงินแกมม่วง 7. คาถามท้ายการทดลอง 1) จากการทดสอบผักบุ้งกับสารละลายไอโอดีนที่นามาจากถุงทั้งสองใบ พบว่าผักบุ้งจาก ถุงใดที่มีการเปลี่ยนสีของสารละลายไอโอดีน เพราะเหตุใด ใบผักบุ้งที่ไม่มีสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์อยู่ เพราะมีการสร้างอาหารคือ แป้ง 2) ใบผักบุ้งจากถุงใบใดที่พบแป้ งอยู่ปริมาณมาก สังเกตได้จากอะไร ใบผักบุ้งที่ไม่มีสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์อยู่ สังเกตจากการเปลี่ยนสีของสารละลาย ไอโอดีน 3) ใบผักบุ้งจากถุงใบใดที่ไม่พบแป้ ง สังเกตได้จากอะไร ใบผักบุ้งที่มีสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ สังเกตจากสารละลายไอโอดีนไม่เปลี่ยนสี 4) สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ มีผลอย่างไรต่อพืช จึงทาให้พืชตรวจแล้วไม่พบแป้ ง สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ จะดูดซับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ จึงทาให้พืชตรวจแล้ว ไม่พบแป้ ง 5) เพราะเหตุใดจึงต้องนาต้นถั่วไปไว้ในที่มืดก่อนนามาทดลอง เพื่อไม่ให้พืชสังเคราะห์แสงได้ 6) การสังเคราะห์แสงของพืช จะเกิดขึ้นได้ดีในถุงใด เพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น เกิดขึ้นได้ดีในถุงที่ไม่มี สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์อยู่ เพราะ สารละลาย โซเดียมไฮดรอกไซด์จะดูดซับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ไปหมด 7) แก๊สชนิดใดที่จาเป็นในการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ 8) ปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ มีผลต่อพืชอย่างไร ถ้าปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่มากหรือเข้มข้น จะทาให้พืชสังเคราะห์แสงได้ดี
  • 28. 21 8. สรุปผลการศึกษา แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เป็นปัจจัยสาคัญในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช พืชที่มีสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์อยู่ พืชจะสร้างอาหารไม่ได้ เพราะสารละลาย โซเดียมไฮดรอกไซด์จะดูดซับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ไว้อาหารที่สร้างได้คือ แป้ง ตรวจสอบ โดยใช้สารละลายไอโอดีน 9. ให้นักเรียนเสนอชื่อเรื่องของโครงงานวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสังเคราะห์ด้วย แสงของพืช ชื่อโครงงานที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช เช่น 1) การศึกษาปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่มีผลต่อการสังเคราะห์แสงของถั่วเขียว 2) การปลูกผักขึ้นฉ่ายให้เป็นสีขาว 3) แสงสีม่วงเพิ่มการเจริญเติบโตของถั่วงอก 4) การเพิ่มการเจริญเติบโตของเห็ดนางฟ้าด้วยน้ามะพร้าว 5) การศึกษาแสงจากแหล่งกาเนิดแสงอื่นที่พืชสามารถใช้ในการเจริญเติบโต
  • 29. 22 เกณฑ์การให้คะแนนกิจกรรมที่ 4 เรื่อง กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช ข้อ รายการประเมิน ระดับคะแนน ตอนที่ 1 (15 คะแนน) 1 -3 ตอบได้ถูกต้องตรงประเด็นมากไม่มีส่วนผิด 1 ตอบไม่ถูกต้อง หรือไม่ตอบ 0 4-5 ได้ทาการทดลองตามขั้นตอนและมีการบันทึกผลการทดลองครบทุกส่วน ไม่มีส่วนใดผิดหรือผิดไม่เกิน 1 รายการ 3 ได้ทาการทดลองตามขั้นตอนและมีการบันทึกผลการทดลองครบทุกส่วน ไม่มีส่วนใดผิดหรือผิดไม่เกิน 2 รายการ 2 ไม่ได้ทาการทดลองตามขั้นตอนและไม่มีการบันทึกผลการทดลองหรือ บันทึกผลการทดลองไม่ครบส่วนผิดมากกว่า 2 รายการ 1 7 (1- 8) ตอบได้ถูกต้องตรงประเด็นมากไม่มีส่วนผิด 1 ตอบไม่ถูกต้อง หรือไม่ตอบ 0 8 สรุปผลการศึกษาได้ถูกต้องตรงตามผลการทดลอง 1 ไม่ได้สรุปผลการศึกษาหรือสรุปแต่ไม่ถูกต้อง 0
  • 30. 23 ข้อ รายการประเมิน ระดับคะแนน ตอนที่ 2 (15 คะแนน) 1 -3 ตอบได้ถูกต้องตรงประเด็นมากไม่มีส่วนผิด 1 ตอบไม่ถูกต้อง หรือไม่ตอบ 0 4-5 ได้ทาการทดลองตามขั้นตอนและมีการบันทึกผลการทดลองครบทุกส่วน ไม่มีส่วนใดผิดหรือผิดไม่เกิน 1 รายการ 3 ได้ทาการทดลองตามขั้นตอนและมีการบันทึกผลการทดลองครบทุกส่วน ไม่มีส่วนใดผิดหรือผิดไม่เกิน 2 รายการ 2 ไม่ได้ทาการทดลองตามขั้นตอนและไม่มีการบันทึกผลการทดลองหรือ บันทึกผลการทดลองไม่ครบส่วนผิดมากกว่า 2 รายการ 1 7 (1- 8) ตอบได้ถูกต้องตรงประเด็นมากไม่มีส่วนผิด 1 ตอบไม่ถูกต้อง หรือไม่ตอบ 0 8 สรุปผลการศึกษาได้ถูกต้องตรงตามผลการทดลอง 1 ไม่ได้สรุปผลการศึกษาหรือสรุปแต่ไม่ถูกต้อง 0 9 บอกชื่อโครงงานที่สอดคล้องกับกระบวนการสังเคราะห์แสงของพืชได้ 2 ชื่อขึ้นไป 2 บอกชื่อโครงงานที่สอดคล้องกับกระบวนการสังเคราะห์แสงของพืชได้ 1 ชื่อ 1 บอกชื่อโครงงานที่สอดคล้องกับกระบวนการสังเคราะห์แสงของพืช ไม่ได้หรือบอกแต่ไม่สอดคล้อง 0 รวมตอนที่ 1 และ 2 (15+15) = 30 คะแนน สรุปผลการประเมิน  ดีมาก (26 – 30 คะแนน)  ดี (21 –25 คะแนน)  ปานกลาง ( 16 – 20 คะแนน)  ผ่าน ( 11 – 15 คะแนน)  ต้องปรับปรุง (ต่ากว่า 11 คะแนน) ผู้ประเมิน ............................................ (............................................)
  • 31. 24 บรรณานุกรม กนก จันทร์ขจร และคณะ. (2533). วิทยาศาสตร์ ม.1. พิมพ์ครั้งที่ 5. นนทบุรี : ไทยร่วมเกล้า. กระทรวงศึกษาธิการ. (2544). เอกสารประกอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 คู่มือการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ : องค์การรับส่ง สินค้าและพัสดุภัณฑ์. . (2545). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 . พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว. กฤษณีย์ ปิตุรัตน์. (2548). ผลการใช้ชุดฝึกเพื่อส่งเสริมความสามารถในการทาโครงงาน วิทยาศาสตร์ที่พัฒนามาจากภูมิปัญญาท้องถิ่นของนักเรียน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์ศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. กุณฑรี เพชรทวีพรเดช และนิตยา บุญมี. (2548). วิทยาศาสตร์ ม.1. เล่ม 1. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์. เกริก ท่วมกลาง. (2546). แบบฝึกปฏิบัติการทาโครงงาน คู่มือการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ช่วงชั้นที่ 2 (ประถมศึกษาปีที่ 4- 6). : กรุงเทพฯ : สถาพรบุ๊คส์. จักฬพล สว่างอารมณ์. (2543). ผลการใช้ชุดกิจกรรมฝึกทาโครงงานวิทยาศาสตร์ที่มีต่อ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาบูรพา. ชาตรี เกิดธรรม. (2547). เทคนิคการสอนแบบโครงงาน. กรุงเทพฯ : ชมรมเด็ก. เตือนใจ ไชยโย. (2545). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์และความสามารถในการทา โครงงานวิทยาศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการสอนโดยการใช้แบบฝึกคิดหัวข้อและ วางแผนการทาโครงงานวิทยาศาสตร์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์ศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ถนัด ศรีบุญเรือง. (2549). วิทยาศาสตร์ ม.1 เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 7. นนทบุรี : ไทยร่วมเกล้า. . (2551). วิทยาศาสตร์ ม.1. เล่ม 1. นนทบุรี : ไทยร่วมเกล้า. ถวัลย์ มาศจรัสและมณี เรืองขา. (2549). แนวการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโครงงาน. กรุงเทพฯ : ดวงกมลสมัย.
  • 32. 25 บัญชา แสนทวี และคณะ. (2546). วิทยาศาสตร์ เล่ม 1 ช่วงชั้นที่ 3 ชั้น ม.1. กรุงเทพฯ : วัฒนาพาณิช. ประดับ นาคแก้ว และดาวัลย์ เสริมบุญสุข. (2551). วิทยาศาสตร์ ม.1. กรุงเทพฯ : สานักพิมพ์แม็ค . ปิ่นศักดิ์ ชุมเกษียน และปิยาณี สมคิด. (2545). วิทยาศาสตร์ 2 ช่วงชั้นที่ 3 (ม.1-ม.3). นนทบุรี : ไทยร่มเกล้า. พเยาว์ ยินดีสุข และคณะ. (2546). วิทยาศาสตร์ ม.1. กรุงเทพฯ : พัฒนาคุณภาพวิชาการ. พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2545). พฤติกรรมการสอนวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ : พัฒนาคุณภาพวิชาการ (วพ)จากัด . (2551). การสอนคิดด้วยโครงงาน. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พิมพ์พันธุ์ เดชะคุปต์ และคณะ. (2548). วิทยาศาสตร์ ม.1. กรุงเทพฯ : สถาบันพัฒนาคุณภาพ วิชาการ. . (2550). สุดยอดคู่มือครูแผนการจัดการเรียนรู้รายชั่วโมง. กรุงเทพฯ : สถาบันพัฒนา คุณภาพวิชาการ. พีระ พนาสุภน. (2551). แม็ค ม.ต้น. กรุงเทพฯ : ซีวีแอลการพิมพ์. โรงเรียนบ้านกาเกาะระโยง. (2551). แผนปฏิบัติการประจาปีการศึกษา 2551. กลุ่มบริหารงานทั่วไป. . (2550). หลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 2). ฝ่ายวิชาการ. ลิขิต ฉัตรสกุล และคณะ. (2533). วิทยาศาสตร์ เล่ม 2. กรุงเทพฯ : วัฒนาพาณิช. วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์. (2550). นวัตกรรมตามแนวคิดแบบ Backward Design.กรุงเทพฯ : ช้างทอง. ศรีลักษณ์ ผลวัฒนะ. (2545). วิทยาศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 3 (ม.1-ม.3). กรุงเทพฯ : นิยมวิทยา สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2548). ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดารงชีวิต. กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว. สมพงศ์ จันทร์โพธิ์ศรี. (2549). โครงงานวิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษา. : กรุงเทพฯ : เจ้าพระยาระบบการพิมพ์.