SlideShare a Scribd company logo
1 of 10
Download to read offline
โรคของเนื้อเยื่อใน
โรคของเนื้อเยื่อรอบปลายรากฟัน
และการรักษา
1
_16-03(001-044)P4.indd 1 8/17/59 BE 10:35 AM
2	 ศาสตร์การรักษาคลองรากฟัน
การติดเชื้อในช่องปากและฟันจากจุลชีพในช่องปากสามารถก่อให้เกิดโรคปริทันต์ โรคฟันผุ
โรคเนื่อเยื่อในอักเสบ (pulpitis) และสามารถลุกลามจนเกิดโรคเนื้อเยื่อรอบปลายรากฟันอักเสบ
(apical periodontitis) ได้ การศึกษาทางระบาดวิทยาเกี่ยวกับอัตราการเกิดโรคเนื้อเยื่อรอบปลาย
รากฟันอักเสบ มีรายงานครั้งแรกในประเทศสวีเดน1
และพบว่ามีอัตราสูงขึ้นในช่วง 15 ปี ในประเทศ
อื่น ๆ ดังนั้นหลักการของการรักษาคลองรากฟันก็คือ การควบคุมการติดเชื้อ และการก�ำจัดแบคทีเรีย
ในคลองรากฟัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการเกิดรอยโรครอบปลายรากฟัน หรือส่งเสริมให้เกิด
การหายของรอยโรคนั่นเอง
1.1 สาเหตุของการติดเชื้อของฟัน
โรคของเนื้อเยื่อใน และโรคของเนื้อเยื่อรอบปลายรากฟัน (Pulpal and periapical disease)
อาจมีสาเหตุมาจาก
1	.			เหตุแบคทีเรีย (bacterial causes) แบคทีเรียเป็นสาเหตุหลักในการเกิดการอักเสบและ
ตายของเนื้อเยื่อใน แบคทีเรียหรือชีวพิษ (toxin) ของมันสามารถเข้าไปท�ำอันตรายเนื้อเยื่อใน โดยผ่าน
เข้าทางตัวฟันหรือทางรากฟัน ตามรอยผุ รอยแตกหักของฟัน หรือทางรูเปิดปลายรากฟัน เป็นต้น
2	.			เหตุการบาดเจ็บ (traumatic causes) การที่ฟันได้รับบาดเจ็บอย่างรุนแรงและ/หรือ
เฉียบพลัน หรือได้รับการบาดเจ็บอย่างต่อเนื่อง เป็นอีกสาเหตุหลักที่ท�ำให้เนื้อเยื่อในเกิดการอักเสบ
ตาย หรือเกิดการเปลี่ยนแปลงของเซลล์จากภาวะทุพโภชนาการ เหตุการบาดเจ็บ ได้แก่ การเกิด
ตัวฟันและ/หรือรากฟันแตก ฟันเคลื่อนเหตุแรงกระแทก (luxation) ฟันหลุดจากเบ้า (avulsion)
การบดกัดฟันไม่รู้ตัว (bruxism) การสึกเหตุบดเคี้ยว (attrition) การสึกเหตุขัดถู (abrasion) การสึก
กร่อน (erosion) เป็นต้น
3	.			เหตุหมอท�ำ (iatrogenic causes) การรักษาทางทันตกรรมโดยทันตแพทย์สามารถก่อ
ให้เกิดภยันตรายต่อเนื้อเยื่อใน เช่น
					•				การเตรียมโพรงฟัน หากเกิดความร้อนจากการกรอฟันมากเกินไปหรือกรอลึกเกินไปอาจ
เป็นสาเหตุให้เกิดอันตรายต่อเนื้อเยื่อใน
					•				การบูรณะฟัน เช่น การท�ำครอบฟันชั่วคราวในปากผู้ป่วยอาจท�ำให้เกิดอันตรายต่อ
เนื้อเยื่อในจากความร้อนที่เกิดขึ้นขณะวัสดุมีการเกิดพอลิเมอร์ (polymerization) จึงไม่ควรปล่อย
ให้เกิดความร้อนนานเกินไป
					•				การใส่ยาชาเฉพาะที่ สารบีบหลอดเลือด (vasoconstrictors) ในส่วนประกอบของยาชา
มีผลท�ำให้การไหลของเลือดในเนื้อเยื่อใน (pulpul blood flow) ลดลง ซึ่งอาจมีผลต่อความมีชีวิต
ของเนื้อเยื่อใน หากเนื้อเยื่อในมีภาวะอ่อนแออยู่แล้ว
_16-03(001-044)P4.indd 2 8/17/59 BE 10:35 AM
โรคของเนื้อเยื่อใน โรคของเนื้อเยื่อรอบปลายรากฟัน และการรักษา	 3
					•				การจงใจดึงเนื้อเยื่อในออก (intentional extirpation) ในบางครั้งทันตแพทย์ต้อง
ตัดสินใจท�ำการรักษาคลองรากฟันให้กับผู้ป่วยแม้เนื้อเยื่อในเป็นปกติ ทั้งนี้เพื่อให้การรักษาทาง
ทันตกรรมนั้นบรรลุวัตถุประสงค์ เช่น กรณีที่ต้องตัดรากฟันบางรากที่มีโรคปริทันต์รุนแรงออกเพื่อ
เก็บฟันและรากอื่น ๆ ไว้ในช่องปาก กรณีที่ต้องการปรับระนาบสบ (occlusal plane) ของฟันที่มี
การยื่นยาวออกมามาก เป็นต้น
4	.			เหตุเคมี (chemical causes) เช่น วัสดุอุดฟัน สารฆ่าเชื้อ (disinfectant) เป็นต้น
5	.			เหตุเกิดขึ้นเอง (idiopathic causes) เช่น การสลายของเนื้อฟันซึ่งอาจเกิดจากการมี
การอักเสบเรื้อรัง (chronic inflammation) หรือในผู้สูงอายุที่เนื้อเยื่อใน มีการเปลี่ยนแปลงใน
ลักษณะภาวะเจริญเพี้ยน (dystrophy) มากขึ้น เป็นต้น
1.2 โรคของเนื้อเยื่อใน
1.2.1			กระบวนการอักเสบของเนื้อเยื่อใน
											การอักเสบของเนื้อเยื่อในมี 2 แบบ คือ การอักเสบเฉียบพลัน (acute inflammation)
และการอักเสบเรื้อรัง (chronic inflammation) การอักเสบเฉียบพลันจะเกิดขึ้นเป็นระยะเวลา
สั้น ๆ และเป็นการตอบสนองแบบทันทีทันใดต่อการระคายเคือง ส่วนการอักเสบเรื้อรังเป็นการ
ตอบสนองที่ยาวนานกว่า โดยทั่วไปการอักเสบเรื้อรังจะตามหลังการอักเสบเฉียบพลัน แต่ใน
บางสภาวะก็สามารถเกิดการอักเสบเรื้อรังได้เลย เช่น การติดเชื้อระดับต�่ำ ๆ (low grade infection)2
ปฏิกิริยาต่อวัตถุแปลกปลอม (foreign body reaction) เป็นต้น
											การอักเสบเฉียบพลัน
											เมื่อมีภยันตรายเกิดขึ้นแก่ร่างกาย ระบบหลอดเลือดจะเป็นส่วนแรกที่มีการตอบสนอง
โดยหลอดเลือดแดงเล็ก (arteriole) จะเริ่มหดตัวก่อนในระยะแรกแล้วตามด้วยการขยายตัว หลอดเลือด
ด�ำเล็ก (venule) ยอมให้สารต่าง ๆ ซึมผ่านได้มากขึ้น ท�ำให้มีน�้ำเหลืองพลาสมา (plasma fluid) และ
โปรตีนต่าง ๆ เข้ามาสะสมที่เนื้อเยื่อรอบ ๆ เซลล์ เกิดการบวมน�้ำ โดยปริมาณของเหลวที่ไหลซึมออกมา
ท�ำให้แรงดันหลอดเลือดบริเวณนั้นเพิ่มสูงขึ้นมีเซลล์อักเสบในกลุ่มพอลิมอร์โฟนิวเคลียร์ (polymorpho-
nuclear cell) เข้ามาสะสม และเริ่มมีการหลั่งสารชักน�ำ (mediator) ต่าง ๆ ออกมามากมาย
											van Hassel ค.ศ. 19713
ได้ตั้งทฤษฎีสแทรงกิวเลชัน (Strangulation theory) ขึ้น
เพื่ออธิบายกระบวนการตายของเนื้อเยื่อใน โดยการขาดเลือดจากการอักเสบเป็นกระบวนการส�ำคัญ
ที่น�ำไปสู่การตายของเนื้อเยื่อใน แรงดันที่เกิดขึ้นจากสิ่งซึมข้น (exudates) จะไปกดการไหลเวียนของ
เลือด ท�ำให้ไหลช้าลง หรือไม่สามารถไหลต่อไปได้ เลือดไม่สามารถไหลเวียนไปเลี้ยงเซลล์ต่าง ๆ ได้
เพียงพอแก่ความต้องการ ท�ำให้เนื้อเยื่อในตาย อย่างไรก็ตามเหตุการณ์ดังกล่าวไม่ได้เกิดขึ้นในทุกกรณี
โดยจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อเกิดแรงดันขึ้นสูงเกินกว่าที่กลไกการป้องกันตัวของเนื้อเยื่อในจะรับมือได้4
_16-03(001-044)P4.indd 3 8/17/59 BE 10:35 AM
4	 ศาสตร์การรักษาคลองรากฟัน
											เซลล์ในบริเวณที่มีการอักเสบจะมีการหลั่งเคมีชักน�ำ (chemical mediator) ชนิดต่าง ๆ
เพื่อช่วยส่งเสริมการท�ำงานของเซลล์ต่าง ๆ หรือช่วยปรับการท�ำงานของระบบหลอดเลือด เช่น ฮีสทามีน
(histamine) เซโรโทนิน (serotonin) แบรดีไคนิน (bradykinin) หรือสารที่หลั่งออกมาจากเส้นประสาท
											การอักเสบเรื้อรัง
											หากต้นเหตุของการอักเสบไม่ถูกก�ำจัดออก การอักเสบเรื้อรังก็จะเกิดขึ้น โดยที่
การอักเสบเรื้อรังจะมีอาการคงอยู่นานกว่าการอักเสบเฉียบพลัน จุลกายวิภาค (histology) ของ
การอักเสบแบบเรื้อรัง ประกอบด้วยเซลล์สร้างเส้นใยไวงาน (active fibroblast) และหลอดเลือด
ที่เจริญขึ้นมาจ�ำนวนมาก รวมทั้งเซลล์อักเสบ โดยเซลล์อักเสบที่พบมาก คือ พลาสมาเซลล์ (plasma
cell) ลิมโฟไซต์ (lymphocytes) และแมคโครฟาจ (macrophages) พลาสมาเซลล์และลิมโฟไซต์
ท�ำหน้าที่เกี่ยวกับการซ่อมแซมเนื้อเยื่อ ส่วนแมคโครฟาจท�ำหน้าที่เกี่ยวกับการท�ำลายภยันตรายและ
ท�ำลายเนื้อเยื่อที่เสียหาย
1.2.2 		พยาธิวิทยาของสภาวะเนื้อเยื่อในอักเสบ
											เมื่อมีการรุกรานของเชื้อแบคทีเรีย หรือเกิดภยันตรายต่อเนื้อเยื่อ ร่างกายจะตอบสนอง
เพื่อป้องกันการลุกลามของเชื้อโรคต่าง ๆ โดยอาศัยกลไกทั้งแบบจ�ำเพาะและไม่จ�ำเพาะ หลังจากนั้น
ก็จะเกิดการซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่เสียหายไป เนื้อเยื่อใน (pulp) ก็เช่นเดียวกัน เมื่อมีการติดเชื้อก็จะมี
การอักเสบและการซ่อมแซมเกิดขึ้น แต่เนื้อเยื่อในมีความพิเศษจ�ำเพาะและแตกต่างจากเนื้อเยื่ออื่น ๆ
ในร่างกาย ได้แก่ เป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่มีโครงแข็งหุ้มอยู่ภายนอกคล้ายสมองและเล็บ มีระบบการไหล
เวียนของเลือดที่จ�ำกัด ข้อจ�ำกัดนี้ท�ำให้เนื้อเยื่อในมีความเสี่ยงต่อการถูกท�ำลายได้โดยง่ายหากเกิดการ
อักเสบ
											ภยันตรายต่อเนื้อเยื่อในที่พบบ่อยที่สุด คือ โรคฟันผุ (dental caries) ซึ่งมีการด�ำเนิน
โรคแบบค่อยเป็นค่อยไป อุบัติเหตุต่อตัวฟันที่ท�ำให้เกิดการเผยผึ่งของเนื้อเยื่อใน เปิดช่องทางให้
แบคทีเรียในช่องปากเข้าสู่ฟันได้โดยตรง5
แม้แต่ขั้นตอนการบูรณะฟันต่าง ๆ เช่น การกรอ6
วัสดุต่าง ๆ
ที่ใช้7-10
ก็ล้วนสามารถท�ำให้เกิดภยันตรายต่อเนื้อเยื่อในได้ทั้งสิ้น
											โรคฟันผุ
											โรคฟันผุเป็นสาเหตุหลักที่ท�ำให้เกิดพยาธิสภาพต่อเนื้อเยื่อใน รอยผุไวงาน (active
caries) ที่ชั้นเคลือบฟัน ที่มีการด�ำเนินของโรคมาถึงรอยต่อเนื้อฟัน-เคลือบฟัน (dentino-enamel
junction) แล้ว สามารถท�ำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเนื้อเยื่อในได้11, 12
รอยผุที่เห็นในคลินิกมักไม่
สัมพันธ์กับสภาพที่เกิดขึ้นจริงทางจุลพยาธิวิทยา ทั้งนี้เนื้อเยื่อในและเนื้อฟัน (dentine-pulpal
complex) มีการท�ำงานร่วมกันในการตอบสนองต่อภยันตราย โดยการตอบสนองต่อฟันผุระยะแรก
จะเกิดขึ้นโดยเนื้อเยื่อในจะพยายามลดการซึมผ่านของสารพิษต่าง ๆ ด้วยการตกผลึกในท่อเนื้อฟัน
ซึ่งสามารถเห็นได้ทางกล้องจุลทรรศน์แบบแสงส่องผ่านเป็นเนื้อฟันแข็ง (sclerotic dentine)13, 14
_16-03(001-044)P4.indd 4 8/17/59 BE 10:35 AM
โรคของเนื้อเยื่อใน โรคของเนื้อเยื่อรอบปลายรากฟัน และการรักษา	 5
ชั้นโอดอนโทบลาสต์ (odontoblastic layer) ตอบสนองโดยสร้างเนื้อฟันตติยภูมิ (tertiary dentine)
ขึ้นมา ชั้นของเนื้อฟันที่สร้างขึ้นมาใหม่นี้ มีลักษณะขรุขระมากกว่าเนื้อฟันทุติยภูมิ (secondary
dentine) หรือเนื้อฟันปฐมภูมิ (primary dentine) ส�ำหรับรอยโรคฟันผุไวงาน เช่น ฟันผุลุกลาม
(rampant caries) ซึ่งมีการผุที่รวดเร็วจนอาจท�ำให้เกิดการตายของโอดอนโทบลาสต์ได้ เซลล์คล้าย
โอดอนโทบลาสต์จะพัฒนาขึ้นมาเพื่อท�ำหน้าที่สร้างเนื้อฟันซ่อมแซม (reparative dentine) โดย
เนื้อฟันซ่อมแซมที่เกิดขึ้นนี้ มีคุณภาพไม่ค่อยดีนัก มีการเรียงตัวของท่อเนื้อฟันอย่างไม่เป็นระเบียบ
และอาจพบการฝังตัวของเซลล์ในเนื้อฟันที่เรียกว่า ไฟโบรเดนทีน (fibrodentine) ได้15
											หากรอยโรคฟันผุไม่ถูกก�ำจัดออกไป โอดอนโทบลาสต์จะเริ่มเกิดการการเปลี่ยนแปลง
ในทางเสื่อม เช่น มีรูปร่างแบนลง และมีกิจกรรมเมแทบอลิก (metabolic activity) ลดลง เซลล์
ที่อยู่ในชั้นถัดลงไปจะเริ่มมีกิจกรรมเพิ่มขึ้นมาแทน16
หากฟันผุถึงครึ่งหนึ่งของความหนาของเนื้อฟัน
จะเห็นเซลล์ที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบได้ค่อนข้างชัด โดยทั่วไปการอักเสบของเนื้อเยื่อในจะเป็น
การติดเชื้อระดับต�่ำ ๆ มากกว่าแบบไวงาน กระบวนการอักเสบในระยะแรกจะมีจ�ำนวนลิมโฟไซต์
พลาสมาเซลล์และแมคโครฟาจมากกว่าเซลล์ชนิดอื่น ซึ่งบ่งบอกว่า อยู่ในระยะการอักเสบระดับต�่ำ ๆ
เมื่อเกิดการผุลึกมากขึ้นจะเริ่มพบนิวโทรฟิล (neutrophil) เพิ่มขึ้น โดยยิ่งผุลึกมากขึ้นเท่าไร นิวโทรฟิล
จะเพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นกัน17
นอกจากนี้ยังอาจพบการสร้างเส้นใยของเซลล์สร้างเส้นใย และการเกิด
ภาวะเลือดคั่งของเนื้อเยื่อใน (pulpal hyperemia) ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความพยายามของร่างกาย
ในการซ่อมแซมเนื้อเยื่อระหว่างที่มีการท�ำลายเกิดขึ้นนั่นเอง
											ความหนาของเนื้อฟันที่เหลืออยู่ (remaining dentine thickness) เป็นปัจจัยหนึ่ง
ที่มีความส�ำคัญต่อสภาพให้ซึมผ่านได้ของเนื้อฟัน (dentine permeability) ถ้ามีความหนาของ
เนื้อฟันที่เหลืออยู่เพียง 0.5 มิลลิเมตร จะท�ำให้เกิดการอักเสบที่รุนแรงข้างใต้เนื้อฟันดังกล่าวได้
โดยจะเห็นเซลล์พอลิมอร์โฟนิวเคลียร์ลิวโคไซต์ (polymorphonuclear leucocyte) เข้ามาสะสม
อยู่รอบ ๆ ผนังเนื้อฟันนั้น และอาจพบการเคลื่อนที่ของเซลล์เหล่านี้ออกจากหลอดเลือด การอักเสบ
เฉียบพลันจะท�ำให้เกิดการสะสมของเศษเซลล์ของร่างกาย และเซลล์ของแบคทีเรียตลอดจนสิ่ง
ซึมข้นต่าง ๆ จนเกิดเป็นหนองขึ้นมาได้ ใต้หนองอาจพบการสะสมของหลอดเลือดจ�ำนวนมากที่ช่วย
พาเซลล์อักเสบเข้ามาในบริเวณดังกล่าว
											ภาวะการอักเสบเป็นเหมือนดาบสองคม ถ้าการอักเสบอยู่ในระดับพอดีจะท�ำให้เกิด
การหายของแผลได้ ซึ่งเป็นผลดีต่อร่างกาย แต่ถ้ามีการอักเสบมากเกินไปจะท�ำให้เกิดการท�ำลาย
ของเนื้อเยื่ออย่างกว้างขวางแทน โดยเฉพาะเมื่อประกอบกับลักษณะพิเศษของเนื้อเยื่อใน ซึ่งทนต่อ
การเพิ่มของแรงดันได้ไม่ดีเท่ากับเนื้อเยื่ออื่น ๆ ของร่างกาย การอักเสบที่มากเกินไปนี้จะท�ำให้เกิด
การตายของเนื้อเยื่อใน โดยทางจุลกายวิภาคศาสตร์จะพบเป็นเนื้อตายแบบลิควิแฟคทีฟเนโครซิส
(liquefactive necrosis) ที่บริเวณใกล้ ๆ กับรอยโรค และอาจมีเนื้อตายแบบโคแอกกูเลทีฟเนโครซิส
_16-03(001-044)P4.indd 5 8/17/59 BE 10:35 AM
6	 ศาสตร์การรักษาคลองรากฟัน
(coagulative necrosis) เกิดขึ้นได้ ท�ำให้เกิดการตายของเนื้อเยื่อในบางส่วนและทั้งหมดได้ในภายหลัง
ในที่สุดการอักเสบของเนื้อเยื่อในซึ่งเกิดจากการติดเชื้อนั้น ก็จะน�ำไปสู่การอักเสบของเนื้อเยื่อรอบ
รากฟันต่อไป
1.2.3 		อาการทางคลินิกของเนื้อเยื่อในอักเสบ
											กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับความเจ็บปวดนั้นประกอบด้วยส่วนส�ำคัญ 2 ส่วนคือ
การรับรู้ความเจ็บปวด และการตอบสนองต่อความเจ็บปวด เนื้อหาในหัวข้อนี้จะอธิบายถึงชีววิทยา
ของความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นและการตอบสนองต่อความเจ็บปวดซึ่งมีความแตกต่างกันไปในแต่ละ
บุคคล องค์ประกอบหลักทางชีววิทยาของการเกิดความเจ็บปวดต่อเนื้อเยื่อใน ได้แก่ ระดับของ
สารชักน�ำความปวด (pain mediator) ชนิดต่าง ๆ ทั้งในบริเวณที่มีพยาธิสภาพ ในระบบประสาท
ส่วนกลาง (central nerve system) ในอินเตอร์สติเชียลฟลูอิด (interstitial fluid) ซึ่งมีส่วน
ท�ำให้ความดันภายในโพรงเนื้อเยื่อในเพิ่มขึ้น ท�ำให้เส้นประสาทมีความไวมากขึ้น นอกจากนี้แบคทีเรีย
บางชนิดยังอาจมีผลท�ำให้เกิดความเจ็บปวดได้ด้วย
											เมื่อเนื้อเยื่อในมีการอักเสบเกิดขึ้นจะส่งผลเพิ่มความไวของระบบประสาทใน 3 ลักษณะ
คือ กลไกการเกิดภาวะปวดเหตุสิ่งเร้าปกติ (allodynia) ภาวะปวดมากเกิน (hyperalgesia) และ
ภาวะปวดขึ้นเองโดยไม่มีสิ่งเร้า (spontaneous pain) ตัวอย่างของภาวะดังกล่าว ได้แก่ การปวดตุบ
(throbbing pain) จากการหดตัวของเส้นเลือดตามจังหวะการบีบตัวของหัวใจ ซึ่งในสภาวะปกติ
ไม่ท�ำให้เกิดความเจ็บปวด18, 19
หรือภาวะที่เนื้อเยื่อในไวต่ออุณหภูมิมากกว่าปกติ ท�ำให้เกิดความเจ็บ
ปวดได้ที่อุณหภูมิของร่างกาย โดยผู้ป่วยมักจะให้ประวัติว่า สามารถใช้ความเย็นช่วยบรรเทาอาการ
ปวดได้ ทั้งนี้กลไกการเกิดความไวของระบบประสาทดังกล่าว สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในต�ำแหน่งที่มี
การอักเสบ และที่ระบบประสาทส่วนกลาง โดยภาวะไวเกินของระบบประสาทในต�ำแหน่งที่มีการ
อักเสบจะเกี่ยวข้องกับระดับของเคมีชักน�ำความปวด (pain chemical mediator) ที่เพิ่มขึ้นในภาวะ
อักเสบ เช่น พรอสตาแกลนดิน (prostaglandin) สารสื่อประสาท พี (substance P) ซีจีอาร์พี
(CGRP)20, 21
และการตอบสนองของใยประสาท ซี (c-fiber) ซึ่งมีความไวต่อการถูกกระตุ้นมากขึ้นใน
ภาวะอักเสบ22
ส่วนภาวะปวดไวเกินของระบบประสาทในระบบประสาทส่วนกลางเกิดได้หลายสาเหตุ
เช่น การเพิ่มขึ้นของสารสื่อประสาท (neurotransmitter) จากเส้นใยประสาทน�ำเข้าปฐมภูมิ (primary
afferent fiber)23
หรืออาจมีการเปลี่ยนแปลงของเส้นใยประสาทหลังไซแนปส์ (synapse)24
หรือ
มีการเปลี่ยนแปลงของ secondary messenger system25
เป็นต้น
1.3 การวินิจฉัยโรคของเนื้อเยื่อใน
วัตถุประสงค์ของการวินิจฉัย คือ เพื่อให้ทราบปัญหา สาเหตุของปัญหา เพื่อน�ำไปสู่การรักษา
ที่เหมาะสม ดังนั้น การตรวจผู้ป่วยอย่างละเอียดและเป็นระบบจึงมีความส�ำคัญ กระบวนการวินิจฉัย
_16-03(001-044)P4.indd 6 8/17/59 BE 10:35 AM
โรคของเนื้อเยื่อใน โรคของเนื้อเยื่อรอบปลายรากฟัน และการรักษา	 7
ประกอบด้วย การซักประวัติ (history taking) การตรวจทั้งภายนอกและภายในช่องปาก (extra and
intraoral examination) การตรวจเพิ่มเติม (additional tests) และการวิเคราะห์ข้อมูล (data
analysis)
1.3.1			การซักประวัติ
											1.			อาการน�ำ (chief complaint) คือ อาการหลักที่ท�ำให้ผู้ป่วยต้องมาพบทันตแพทย์
ควรบันทึกตามค�ำบอกเล่าของผู้ป่วย ค�ำพูดของผู้ป่วยอาจจะเป็นนัย ช่วยให้วินิจฉัยโรคได้อย่างถูกต้อง
											2.			ประวัติทางการแพทย์ (medical history) ให้ระบุโดยสรุปและครอบคลุมสภาวะ
สุขภาพทั้งในอดีตและปัจจุบัน ได้แก่ โรคต่าง ๆ ประวัติการแพ้ ประวัติการปรึกษาหรือการรักษาทาง
การแพทย์ โดยเฉพาะถ้าต้องมีการปรับเปลี่ยนจากแผนการรักษาทางทันตกรรมตามปกติ ซักประวัติ
การใช้ยา โดยให้ผู้ป่วยบอกชื่อยาที่รับประทานอยู่ทั้งหมด รวมถึงขนาด ความถี่ และเหตุผลของ
การใช้ยานั้น บันทึกสัญญาณชีพ (vital signs) ได้แก่ ความดันโลหิต ชีพจร และอุณหภูมิร่างกาย
โดยบันทึกในครั้งแรกที่ผู้ป่วยมาพบทันตแพทย์ และถ้าต้องมีการติดตามอาการก็ให้บันทึกครั้งต่อ ๆ
ไปด้วย
											3.			ประวัติของฟัน (dental history) ซักประวัติอาการของฟันทั้งในอดีตและปัจจุบัน
ป้อนค�ำถามเพื่อให้ทราบถึงต�ำแหน่งที่มีอาการ เวลาที่เกิดอาการครั้งแรก ลักษณะของอาการปวด ได้แก่
ปวดแต่ละครั้งนานแค่ไหน อะไรท�ำให้ปวด อะไรท�ำให้อาการปวดดีขึ้น ปวดเองโดยไม่มีสิ่งกระตุ้นหรือ
ไม่ ปวดรุนแรงจนรบกวนชีวิตประจ�ำวันของผู้ป่วยหรือไม่ การถามค�ำถามเหล่านี้จะท�ำให้ทันตแพทย์
พอจะให้การวินิจฉัยเบื้องต้น (tentative diagnosis) ได้ว่า เป็นอาการปวดของเนื้อเยื่อใน เนื้อเยื่อ
รอบปลายรากฟัน ปวดจากเหตุปริทันต์ (periodontal origin) หรือเป็นอาการปวดที่ไม่ได้มีสาเหตุ
มาจากฟัน ข้อมูลดังกล่าวจะช่วยให้ทันตแพทย์เลือกวิธีการทดสอบฟันเพิ่มเติมได้อย่างเหมาะสม เพื่อ
ใช้ยืนยันผลการวินิจฉัยเบื้องต้น และน�ำไปสู่การวินิจฉัยชี้ขาด
1.3.2 		การตรวจภายนอกช่องปาก
											ให้สังเกตดูส่วนต่าง ๆ ของร่างกายโดยทั่วไป ได้แก่ สีผิว ความสมมาตรของใบหน้า
การบวม การเปลี่ยนสี รอยแดง แผลเป็นหรือรูเปิดทางหนองไหล (sinus opening) บริเวณใบหน้า
และล�ำคอ การมีต่อมน�้ำเหลืองโต เป็นต้น สภาวะเหล่านี้เป็นตัวบ่งชี้ภาวะทางร่างกาย การเอาใจใส่
ในการตรวจจะช่วยบ่งชี้ถึงสาเหตุของอาการน�ำของผู้ป่วยได้
											หากพบอาการบวม การดูและการคล�ำบริเวณใบหน้าและล�ำคอเป็นสิ่งที่ต้องท�ำ
หลายครั้งที่อาการบวมบริเวณใบหน้าสามารถตรวจพบได้จากการคล�ำเพียงอย่างเดียว การคล�ำเป็น
การตรวจโดยใช้ความรู้สึกสัมผัสของนิ้วมือหรือส่วนต่าง ๆ ของฝ่ามือ วัตถุประสงค์เพื่อบอกลักษณะ
ขนาด รูปร่าง ความอ่อนแข็งของอวัยวะ ความรู้สึกเจ็บเมื่อถูกกด (tenderness) การสั่นสะเทือน
_16-03(001-044)P4.indd 7 8/17/59 BE 10:35 AM
8	 ศาสตร์การรักษาคลองรากฟัน
ตลอดจนอุณหภูมิของบริเวณที่คล�ำ การคล�ำท�ำให้ทราบว่า เป็นการบวมเฉพาะที่ (localize) หรือบวม
กระจายทั่วไป (diffuse) บวมแข็ง (firm) หรือบวมน่วม (fluctuant) การคล�ำต่อมน�้ำเหลืองบริเวณคอ
และใต้ขากรรไกรล่าง (submandibular area) เป็นส่วนหนึ่งของการตรวจภายนอกช่องปากที่ต้องท�ำ
เป็นประจ�ำ ถ้าพบว่าต่อมน�้ำเหลืองคล�ำได้เป็นก้อนแน่นและนิ่ม กดเจ็บร่วมกับมีการบวมบริเวณใบหน้า
และมีไข้ แสดงถึงอาการติดเชื้อ (infection) หากตรวจพบลักษณะผิดปกติ ควรจดบันทึกไว้ด้วย
1.3.3 		การตรวจภายในช่องปาก
											การตรวจเนื้อเยื่ออ่อน เช็ดบริเวณเหงือกและเยื่อเมือกช่องปากให้แห้งเสียก่อน ท�ำ
การตรวจโดยใช้ ตาดู มือคล�ำ และใช้โพรบ (probe) ตรวจดูร่องลึกปริทันต์ ตรวจดูบริเวณริมฝีปาก
เยื่อบุช่องปาก แก้ม ลิ้น อวัยวะปริทันต์ (periodontium) เพดานปาก และกล้ามเนื้อ สังเกต
ความผิดปกติทั้งสีและลักษณะพื้นผิว ถ้าพบรอยโรคนูน (raised lesions) หรือแผลในช่องปาก
(ulcerations) ควรบันทึกไว้ด้วย หากพบรูเปิดทางหนองไหลควรใช้กัตทาเพอร์ชาสอดติดตาม (gutta
percha tracing) แล้วไปถ่ายภาพรังสี เพื่อหาแหล่งที่มาของรอยโรค26
											การตรวจเนื้อเยื่อแข็ง ท�ำการตรวจฟันโดยใช้กระจกตรวจช่องปาก (mouth mirror)
และเอกซ์พลอเรอร์ (explorer) ตรวจดูการเปลี่ยนสี รอยแตก การสึกของฟัน การผุ การเสื่อมของวัสดุ
บูรณะ หรือความผิดปกติอื่น ๆ การเปลี่ยนสีของตัวฟัน มักเกิดจากฟันมีพยาธิสภาพที่เนื้อเยื่อใน
ควรท�ำการตรวจทางคลินิกและทางภาพรังสีเพื่อยืนยันผลการตรวจก่อนให้การรักษา
											การเคาะตรวจ (percussion) เป็นการตรวจโดยการเคาะลงบนฟันที่ต้องการด้วย
ความเร็วและตรงจุด ใช้ทดสอบฟันโดยเฉพาะเมื่อผู้ป่วยให้ประวัติปวดฟันเวลาเคี้ยวอาหาร อาการเจ็บ
เมื่อถูกเคาะ ไม่ได้แสดงถึงความมีหรือไม่มีชีวิตของฟัน แต่แสดงถึงการอักเสบของเอ็นยึดปริทันต์
(periodontal ligament) ก่อนทดสอบควรอธิบายวิธีการให้ผู้ป่วยทราบ เคาะฟันควบคุม (ฟันซี่เดียวกัน
ที่อยู่ด้านตรงข้ามในขากรรไกรเดียวกัน) ก่อนเพื่อใช้เปรียบเทียบกับฟันที่ต้องการทดสอบ
											การโยก (mobility) หากฟันที่ทดสอบโยกผิดไปจากปกติ แสดงถึงความผิดปกติของ
กลุ่มเนื้อเยื่อยึดพันปริทันต์ (periodontal attachment apparatus) อาจเป็นผลมาจากการบาดเจ็บ
เหตุกายภาพชนิดเฉียบพลัน หรือเรื้อรัง (acute/chronic physical trauma) การบาดเจ็บเหตุสบฟัน
(occlusal trauma) นิสัยท�ำงานนอกหน้าที่ (parafunctional habits) โรคปริทันต์ (periodontal
disease) รากฟันแตก (root fracture) เป็นต้น
1.3.4 		การตรวจเพิ่มเติม
											บางครั้งข้อมูลจากการซักประวัติ การตรวจภายนอกและภายในช่องปาก อาจไม่เพียงพอ
ที่จะตัดสินใจให้การวินิจฉัย จ�ำเป็นต้องอาศัยการตรวจเพิ่มเติมให้ได้ข้อมูลจนสามารถให้การวินิจฉัย
_16-03(001-044)P4.indd 8 8/17/59 BE 10:35 AM
โรคของเนื้อเยื่อใน โรคของเนื้อเยื่อรอบปลายรากฟัน และการรักษา	 9
ได้ ประเด็นส�ำคัญของการวินิจฉัยโรคของเนื้อเยื่อใน คือ ฟันซี่นั้นมีความจ�ำเป็นต้องได้รับการรักษา
คลองรากฟัน หรือควรพยายามรักษาความมีชีวิตของฟันไว้ การประเมินสภาวะของเนื้อเยื่อใน จึงมี
ความจ�ำเป็นอย่างยิ่งในการตัดสินใจเลือกแผนการรักษา การทดสอบที่ได้รับการยอมรับและใช้กันอย่าง
กว้างขวางในการประเมินสภาวะของเนื้อเยื่อใน ได้แก่ การทดสอบด้วยกระแสไฟฟ้า และการทดสอบ
ด้วยอุณหภูมิซึ่งมีทั้งความร้อนและความเย็น การทดสอบเหล่านี้เป็นการทดสอบสภาพรู้สึกได้ของ
เนื้อเยื่อใน (pulp sensibility testing) มากกว่าการทดสอบความมีชีวิตของเนื้อเยื่อใน (pulp vitality
testing) เนื่องจากไม่สามารถตรวจสอบการไหลเวียนโลหิตภายในโพรงเนื้อเยื่อในได้ อย่างไรก็ตาม
ผลของการทดสอบสภาพรู้สึกได้ของเนื้อเยื่อในถูกน�ำมาใช้ในการประเมินความมีชีวิตของเนื้อเยื่อใน
โดยหากเนื้อเยื่อในตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้น แสดงว่ายังมีเส้นประสาทที่มีชีวิต (innervations) อยู่ใน
โพรงเนื้อเยื่อใน จึงสันนิษฐานได้ว่าเนื้อเยื่อในน่าจะยังมีชีวิตอยู่ โดยอาจจะมีสุขภาพดีหรืออักเสบ
ขึ้นกับการตอบสนอง (ลักษณะอาการปวด ระยะเวลาที่ปวด) ประวัติ และผลการตรวจอื่น ๆ การทดสอบ
สภาพรู้สึกได้ของเนื้อเยื่อใน สามารถแบ่งชนิดของการตอบสนองได้เป็น 3 แบบดังนี้
											1.			เมื่อเอาสิ่งกระตุ้นออกแล้วอาการปวดก็หายได้ทันที ไม่ปวดต่อเนื่องนานแสดงว่า
เนื้อเยื่อในยังปกติอยู่
											2.			เมื่อเอาสิ่งกระตุ้นออกแล้วมีอาการปวดระดับน้อยและไม่ปวดนานต่อเนื่อง แสดงว่า
เกิดเนื้อเยื่อในอักเสบแบบผันกลับได้ (reversible pulpitis) ถ้าเกิดอาการปวดระดับรุนแรง และ
มีอาการปวดนานต่อเนื่องหลังเอาสิ่งกระตุ้นออก แสดงว่าเกิดเนื้อเยื่อในอักเสบแบบผันกลับไม่ได้
(irreversible pulpitis)
											3.			เมื่อท�ำการทดสอบสภาพรู้สึกได้ของเนื้อเยื่อในแล้วไม่พบการตอบสนองใด ๆ แสดง
ถึงภาวะเนื้อเยื่อในตาย (pulp necrosis) หรือไร้เนื้อเยื่อใน (pulpless) หรือเคยรักษาคลองรากฟัน
มาแล้ว
											ข้อจ�ำกัดของการทดสอบสภาพรู้สึกได้ของเนื้อเยื่อใน
											การทดสอบสภาพรู้สึกได้ของเนื้อเยื่อใน เป็นการทดสอบการตอบสนองของเส้นประสาท
ต่อสิ่งกระตุ้น โดยประเมินผลจากการบอกเล่าของผู้ป่วยซึ่งเป็นความรู้สึกส่วนตัวของแต่ละบุคคล
(subjective) ไม่ได้ทดสอบการไหลเวียนของเลือด การทดสอบชนิดนี้ไม่เหมาะที่จะใช้กับเด็ก27
เนื่องจากเด็กไม่สามารถอธิบายอาการที่ตนเองรู้สึก หรืออธิบายความรู้สึกตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นนั้น
ได้ ส�ำหรับฟันผู้สูงอายุซึ่งมีองค์ประกอบของเส้นประสาทลดลง และมีการเปลี่ยนแปลงลักษณะของ
เนื้อพื้น (ground substance) จะท�ำให้การตอบสนองต่อการกระตุ้นต่างจากฟันของวัยหนุ่มสาว
นอกจากนี้การมีวัสดุบูรณะขนาดใหญ่ การร่นของเนื้อเยื่อใน (pulp recession) และการมีแคลเซียม
พอกพูนมากเกินไป (excessive calcifications) ยังเป็นข้อจ�ำกัดในการตอบสนองและการแปลผล
จากการทดสอบอีกด้วย28
_16-03(001-044)P4.indd 9 8/17/59 BE 10:35 AM
10	 ศาสตร์การรักษาคลองรากฟัน
1.4 เครื่องมือที่ใช้ในการตรวจเพิ่มเติม
เครื่องมือที่ใช้ในการตรวจเพิ่มเติมเพื่อประเมินสภาวะของเนื้อเยื่อใน ได้แก่ เครื่องมือที่ใช้
ในการทดสอบสภาพรู้สึกได้ของเนื้อเยื่อในซึ่งได้รับการยอมรับและใช้กันอย่างแพร่หลาย ส�ำหรับ
เครื่องมือทดสอบความมีชีวิตของเนื้อเยื่อใน เป็นเครื่องมือที่มีความเหมาะสมอย่างยิ่งในการทดสอบฟัน
ที่ได้รับบาดเจ็บ แต่ยังไม่เป็นที่แพร่หลายเนื่องจากมีข้อจ�ำกัดในการใช้มาก และยังจ�ำเป็นต้องพัฒนา
ให้สามารถใช้งานได้จริงในทางคลินิกต่อไป
1.4.1 		เครื่องมือที่ใช้ในการทดสอบสภาพรู้สึกได้ของเนื้อเยื่อใน
											เนื้อเยื่อในมีเส้นประสาทรับความรู้สึก (sensory nerve) แตกแขนงหนาแน่นอยู่บริเวณ
ขอบนอกของเนื้อเยื่อใน เส้นประสาทรับความรู้สึกเหล่านี้มีการขดตัวเกิดเป็น subodontoblastic
plexus และแตกแขนงผ่านเข้าไปสู่ท่อเนื้อฟัน พร้อม ๆ ไปกับส่วนยื่นโอดอนโทบลาสต์ (odontob-
lastic process) ส่วนปลายมีลักษณะเป็นปลายประสาทเสรี (free nerve ending) โพรงเนื้อเยื่อใน
มีเส้นประสาทรับความรู้สึกอยู่ 2 ประเภท คือ เส้นใยประสาทชนิดเอซึ่งมีไมอีลินชีทหุ้ม (myelinated
A fibers) และเส้นใยประสาทชนิดซีซึ่งไม่มีไมอีลินชีทหุ้ม (non-myelinated C-fibers) เส้นใย
ประสาทเอ (A fibers) เป็นกลุ่มที่รับความรู้สึกจากเนื้อฟันเป็นหลัก จ�ำแนกเป็นกลุ่มย่อยได้ 2 กลุ่ม
คือ เอบีตา (Aβ) และเอเดลตา (Aδ) ตามขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของเส้นใยประสาทและความเร็ว
ในการน�ำกระแสประสาท โดยเส้นใยประสาทเอบีตา ไวต่อการกระตุ้นและส่งกระแสประสาทได้เร็วกว่า
แต่เอเดลตามีปริมาณมากถึงร้อยละ 90 เส้นใยประสาททั้งสองกลุ่มนี้มักจะอยู่รวมกันและถูกกระตุ้น
ไปพร้อม ๆ กัน ส่วนเส้นใยประสาทซี (C-fibers) อยู่ในเนื้อเยื่อยึดต่อในส่วนกลางของโพรงฟัน
(pulp proper) และมีระดับเริ่มปวด (threshold) ของการตอบสนองสูงกว่าเส้นใยประสาทเอ
มาก การกระตุ้นชนิดต่าง ๆ อย่างเช่น อีพีที (Electric Pulp Test, EPT) สามารถกระตุ้นเส้นใย
ประสาทเอได้ แต่ไม่สามารถกระตุ้นเส้นใยประสาทซี แต่การกระตุ้นด้วยความร้อนสามารถกระตุ้น
เส้นใยประสาทซีได้ เครื่องมือที่ใช้ในการทดสอบสภาพรู้สึกได้ของเนื้อเยื่อใน ได้แก่ เครื่องทดสอบ
เนื้อเยื่อในด้วยกระแสไฟฟ้า (electric pulp test) การทดสอบด้วยอุณหภูมิ (thermal test) ซึ่งมี
ทั้งการทดสอบด้วยความเย็น (cold test) และการทดสอบด้วยความร้อน (heat test)
											เครื่องทดสอบเนื้อเยื่อในด้วยกระแสไฟฟ้า
											เครื่องทดสอบเนื้อเยื่อในด้วยกระแสไฟฟ้าหรืออีพีที ถูกน�ำมาใช้ในคลินิกเพื่อการ
วินิจฉัยโรคของเนื้อเยื่อในเป็นครั้งแรกโดย Roentgen ใน ค.ศ. 189529
อีพีทีเป็นเครื่องมือที่มี
ความปลอดภัยและให้ข้อมูลเพื่อการวินิจฉัยสภาวะความเป็นโรคของเนื้อเยื่อในได้เป็นอย่างดี
อีพีทีท�ำงานโดยการปล่อยกระแสไฟฟ้าจากขั้วไฟฟ้าไปยังตัวรับกระแสไฟฟ้าเพื่อให้ครบวงจร เครื่อง
ท�ำงานโดยปล่อยกระแสไฟฟ้าเข้าสู่ตัวฟันผ่านเคลือบฟัน เนื้อฟันและของเหลวในท่อฟัน (dentinal
_16-03(001-044)P4.indd 10 8/17/59 BE 10:35 AM

More Related Content

What's hot

DENTIN BONDING AGENTS
 DENTIN BONDING AGENTS DENTIN BONDING AGENTS
DENTIN BONDING AGENTSshibil_v90
 
Retention and resistance forms of cavity design
Retention and resistance forms of cavity designRetention and resistance forms of cavity design
Retention and resistance forms of cavity designSheetal Kotni Patra
 
Management of deep carious
Management of  deep cariousManagement of  deep carious
Management of deep cariousKainaat Kaur
 
Acute gingival infections
Acute gingival infections Acute gingival infections
Acute gingival infections Aswanth E.P
 
bacterial association of the smear layer/ rotary endodontic courses by indian...
bacterial association of the smear layer/ rotary endodontic courses by indian...bacterial association of the smear layer/ rotary endodontic courses by indian...
bacterial association of the smear layer/ rotary endodontic courses by indian...Indian dental academy
 
Dentin bonding agents
Dentin bonding agentsDentin bonding agents
Dentin bonding agentsSk Aziz Ikbal
 
Post & core in dentistry / orthodontic continuing education
Post & core in dentistry / orthodontic continuing educationPost & core in dentistry / orthodontic continuing education
Post & core in dentistry / orthodontic continuing educationIndian dental academy
 
Contacts and contours
Contacts and contoursContacts and contours
Contacts and contoursParth Thakkar
 
Labial bows
Labial bowsLabial bows
Labial bowsmeekhole
 
Endodontic periodontal interactions
Endodontic periodontal interactionsEndodontic periodontal interactions
Endodontic periodontal interactionsDr. Virshali Gupta
 
Splinting of teeth in periodontics
Splinting of teeth in periodonticsSplinting of teeth in periodontics
Splinting of teeth in periodonticsVIGNESH PRABHU.T
 
Dental cast base metal alloys (2)
Dental cast base metal alloys (2)Dental cast base metal alloys (2)
Dental cast base metal alloys (2)IAU Dent
 

What's hot (20)

DENTIN BONDING AGENTS
 DENTIN BONDING AGENTS DENTIN BONDING AGENTS
DENTIN BONDING AGENTS
 
Retention and resistance forms of cavity design
Retention and resistance forms of cavity designRetention and resistance forms of cavity design
Retention and resistance forms of cavity design
 
Management of deep carious
Management of  deep cariousManagement of  deep carious
Management of deep carious
 
Acute gingival infections
Acute gingival infections Acute gingival infections
Acute gingival infections
 
bacterial association of the smear layer/ rotary endodontic courses by indian...
bacterial association of the smear layer/ rotary endodontic courses by indian...bacterial association of the smear layer/ rotary endodontic courses by indian...
bacterial association of the smear layer/ rotary endodontic courses by indian...
 
Dentinogenesis Imperfecta
Dentinogenesis ImperfectaDentinogenesis Imperfecta
Dentinogenesis Imperfecta
 
Dentin bonding agents
Dentin bonding agentsDentin bonding agents
Dentin bonding agents
 
Post & core in dentistry / orthodontic continuing education
Post & core in dentistry / orthodontic continuing educationPost & core in dentistry / orthodontic continuing education
Post & core in dentistry / orthodontic continuing education
 
SONIC AND ULTRASONIC INSTRUMENTATION - Copy.ppt
SONIC AND ULTRASONIC INSTRUMENTATION - Copy.pptSONIC AND ULTRASONIC INSTRUMENTATION - Copy.ppt
SONIC AND ULTRASONIC INSTRUMENTATION - Copy.ppt
 
Deep caries management
Deep caries managementDeep caries management
Deep caries management
 
ROOT RESORPTION
ROOT RESORPTIONROOT RESORPTION
ROOT RESORPTION
 
Pulpitis
PulpitisPulpitis
Pulpitis
 
Contacts and contours
Contacts and contoursContacts and contours
Contacts and contours
 
bonding to enamel & dentin
bonding to enamel & dentinbonding to enamel & dentin
bonding to enamel & dentin
 
Porcelain
PorcelainPorcelain
Porcelain
 
Labial bows
Labial bowsLabial bows
Labial bows
 
Endodontic microbiology
Endodontic microbiologyEndodontic microbiology
Endodontic microbiology
 
Endodontic periodontal interactions
Endodontic periodontal interactionsEndodontic periodontal interactions
Endodontic periodontal interactions
 
Splinting of teeth in periodontics
Splinting of teeth in periodonticsSplinting of teeth in periodontics
Splinting of teeth in periodontics
 
Dental cast base metal alloys (2)
Dental cast base metal alloys (2)Dental cast base metal alloys (2)
Dental cast base metal alloys (2)
 

Viewers also liked

9789740335443
97897403354439789740335443
9789740335443CUPress
 
Chaipattana tsunami
Chaipattana tsunamiChaipattana tsunami
Chaipattana tsunamidentyomaraj
 
หลวงตาบัว
หลวงตาบัวหลวงตาบัว
หลวงตาบัวdentyomaraj
 
Dhamma nearby 16/06/2011volume 54
Dhamma nearby 16/06/2011volume 54Dhamma nearby 16/06/2011volume 54
Dhamma nearby 16/06/2011volume 54dentyomaraj
 
Endodontic or root canal treatment knowledge, panpub
Endodontic or root canal treatment knowledge, panpubEndodontic or root canal treatment knowledge, panpub
Endodontic or root canal treatment knowledge, panpubdentyomaraj
 
ระบบบริการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากคนพิการ โรงพยาบาลโพนทอง จ.ร้อยเอ็ด
ระบบบริการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากคนพิการ โรงพยาบาลโพนทอง จ.ร้อยเอ็ดระบบบริการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากคนพิการ โรงพยาบาลโพนทอง จ.ร้อยเอ็ด
ระบบบริการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากคนพิการ โรงพยาบาลโพนทอง จ.ร้อยเอ็ดNithimar Or
 
ใบงาน ตาราง
ใบงาน ตารางใบงาน ตาราง
ใบงาน ตารางdkinbenzza
 
ค่าตอบแทนภาระงาน™P 4 P
ค่าตอบแทนภาระงาน™P 4 Pค่าตอบแทนภาระงาน™P 4 P
ค่าตอบแทนภาระงาน™P 4 Pdentyomaraj
 
Photo albumDental ImplantationDay10012011
Photo albumDental ImplantationDay10012011Photo albumDental ImplantationDay10012011
Photo albumDental ImplantationDay10012011dentyomaraj
 
01 loads
01 loads01 loads
01 loadsELIMENG
 
Esthetic in Dentistry
Esthetic in DentistryEsthetic in Dentistry
Esthetic in Dentistrytechno UCH
 
ฟันปลอม
ฟันปลอมฟันปลอม
ฟันปลอมBallista Pg
 
หลักฐานเชิงประจักษ์ในการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. 2547
หลักฐานเชิงประจักษ์ในการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. 2547หลักฐานเชิงประจักษ์ในการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. 2547
หลักฐานเชิงประจักษ์ในการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. 2547dentyomaraj
 

Viewers also liked (20)

9789740335443
97897403354439789740335443
9789740335443
 
Chaipattana tsunami
Chaipattana tsunamiChaipattana tsunami
Chaipattana tsunami
 
หลวงตาบัว
หลวงตาบัวหลวงตาบัว
หลวงตาบัว
 
Ummoua1
Ummoua1Ummoua1
Ummoua1
 
Presentation1
Presentation1Presentation1
Presentation1
 
Dhamma nearby 16/06/2011volume 54
Dhamma nearby 16/06/2011volume 54Dhamma nearby 16/06/2011volume 54
Dhamma nearby 16/06/2011volume 54
 
Complete case
Complete caseComplete case
Complete case
 
Endodontic or root canal treatment knowledge, panpub
Endodontic or root canal treatment knowledge, panpubEndodontic or root canal treatment knowledge, panpub
Endodontic or root canal treatment knowledge, panpub
 
Bolivia
BoliviaBolivia
Bolivia
 
ระบบบริการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากคนพิการ โรงพยาบาลโพนทอง จ.ร้อยเอ็ด
ระบบบริการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากคนพิการ โรงพยาบาลโพนทอง จ.ร้อยเอ็ดระบบบริการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากคนพิการ โรงพยาบาลโพนทอง จ.ร้อยเอ็ด
ระบบบริการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากคนพิการ โรงพยาบาลโพนทอง จ.ร้อยเอ็ด
 
ใบงาน ตาราง
ใบงาน ตารางใบงาน ตาราง
ใบงาน ตาราง
 
ค่าตอบแทนภาระงาน™P 4 P
ค่าตอบแทนภาระงาน™P 4 Pค่าตอบแทนภาระงาน™P 4 P
ค่าตอบแทนภาระงาน™P 4 P
 
Photo albumDental ImplantationDay10012011
Photo albumDental ImplantationDay10012011Photo albumDental ImplantationDay10012011
Photo albumDental ImplantationDay10012011
 
01 loads
01 loads01 loads
01 loads
 
Generealized cervical resorption case present
Generealized cervical resorption case presentGenerealized cervical resorption case present
Generealized cervical resorption case present
 
Emphysema from Cl V restoration
Emphysema from Cl V restorationEmphysema from Cl V restoration
Emphysema from Cl V restoration
 
16 prosth[1]
16 prosth[1]16 prosth[1]
16 prosth[1]
 
Esthetic in Dentistry
Esthetic in DentistryEsthetic in Dentistry
Esthetic in Dentistry
 
ฟันปลอม
ฟันปลอมฟันปลอม
ฟันปลอม
 
หลักฐานเชิงประจักษ์ในการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. 2547
หลักฐานเชิงประจักษ์ในการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. 2547หลักฐานเชิงประจักษ์ในการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. 2547
หลักฐานเชิงประจักษ์ในการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. 2547
 

Similar to 9789740335368

ปริทันต์Lสั้นๆ
ปริทันต์Lสั้นๆปริทันต์Lสั้นๆ
ปริทันต์Lสั้นๆWoraya Manee
 
โรค มือ ปาก เท้าเปื่อย
โรค มือ ปาก เท้าเปื่อยโรค มือ ปาก เท้าเปื่อย
โรค มือ ปาก เท้าเปื่อยLoveis1able Khumpuangdee
 
สไลด์นำเสนอ AIDS
สไลด์นำเสนอ AIDSสไลด์นำเสนอ AIDS
สไลด์นำเสนอ AIDSpipepipe10
 
เรื่องของโรคทางระบบ ที่สัมพันธ์กับสุขภาพช่องปาก
เรื่องของโรคทางระบบ ที่สัมพันธ์กับสุขภาพช่องปากเรื่องของโรคทางระบบ ที่สัมพันธ์กับสุขภาพช่องปาก
เรื่องของโรคทางระบบ ที่สัมพันธ์กับสุขภาพช่องปากอาม อีฟ
 
เรื่องของโรคทางระบบ ที่สัมพันธ์กับสุขภาพช่องปาก
เรื่องของโรคทางระบบ ที่สัมพันธ์กับสุขภาพช่องปากเรื่องของโรคทางระบบ ที่สัมพันธ์กับสุขภาพช่องปาก
เรื่องของโรคทางระบบ ที่สัมพันธ์กับสุขภาพช่องปากอาม อีฟ
 
Centre management - PD quality นพ.สกานต์
Centre management -  PD quality นพ.สกานต์Centre management -  PD quality นพ.สกานต์
Centre management - PD quality นพ.สกานต์Kamol Khositrangsikun
 
Sti guideline nov.2013 version2
Sti guideline nov.2013 version2Sti guideline nov.2013 version2
Sti guideline nov.2013 version2elearning obste
 
โรคปริทันต์
โรคปริทันต์โรคปริทันต์
โรคปริทันต์Ballista Pg
 
การควบคุมและป้องกันฟันผุ
การควบคุมและป้องกันฟันผุ การควบคุมและป้องกันฟันผุ
การควบคุมและป้องกันฟันผุ Dr.Ratchaneewan Sinawat Poomsa-ad
 
เยื่อหุ้มปอดอักเสบ
เยื่อหุ้มปอดอักเสบเยื่อหุ้มปอดอักเสบ
เยื่อหุ้มปอดอักเสบWan Ngamwongwan
 
Finalpresentationl20 23
Finalpresentationl20 23Finalpresentationl20 23
Finalpresentationl20 23mewsanit
 
Current practice and guidance in allergic rhinitis management
Current practice and guidance in allergic rhinitis managementCurrent practice and guidance in allergic rhinitis management
Current practice and guidance in allergic rhinitis managementUtai Sukviwatsirikul
 
Current Practice and Guidance in Allergic Rhinitis Management
Current Practice and Guidance in Allergic Rhinitis ManagementCurrent Practice and Guidance in Allergic Rhinitis Management
Current Practice and Guidance in Allergic Rhinitis ManagementUtai Sukviwatsirikul
 
9789740333463
97897403334639789740333463
9789740333463CUPress
 

Similar to 9789740335368 (20)

hand foot mouth
hand foot mouthhand foot mouth
hand foot mouth
 
ปริทันต์Lสั้นๆ
ปริทันต์Lสั้นๆปริทันต์Lสั้นๆ
ปริทันต์Lสั้นๆ
 
Factsheet hfm
Factsheet hfmFactsheet hfm
Factsheet hfm
 
โรค มือ ปาก เท้าเปื่อย
โรค มือ ปาก เท้าเปื่อยโรค มือ ปาก เท้าเปื่อย
โรค มือ ปาก เท้าเปื่อย
 
Factsheet hfm
Factsheet hfmFactsheet hfm
Factsheet hfm
 
Respiratory1 2
Respiratory1 2Respiratory1 2
Respiratory1 2
 
สไลด์นำเสนอ AIDS
สไลด์นำเสนอ AIDSสไลด์นำเสนอ AIDS
สไลด์นำเสนอ AIDS
 
เรื่องของโรคทางระบบ ที่สัมพันธ์กับสุขภาพช่องปาก
เรื่องของโรคทางระบบ ที่สัมพันธ์กับสุขภาพช่องปากเรื่องของโรคทางระบบ ที่สัมพันธ์กับสุขภาพช่องปาก
เรื่องของโรคทางระบบ ที่สัมพันธ์กับสุขภาพช่องปาก
 
เรื่องของโรคทางระบบ ที่สัมพันธ์กับสุขภาพช่องปาก
เรื่องของโรคทางระบบ ที่สัมพันธ์กับสุขภาพช่องปากเรื่องของโรคทางระบบ ที่สัมพันธ์กับสุขภาพช่องปาก
เรื่องของโรคทางระบบ ที่สัมพันธ์กับสุขภาพช่องปาก
 
Centre management - PD quality นพ.สกานต์
Centre management -  PD quality นพ.สกานต์Centre management -  PD quality นพ.สกานต์
Centre management - PD quality นพ.สกานต์
 
Sti guideline nov.2013 version2
Sti guideline nov.2013 version2Sti guideline nov.2013 version2
Sti guideline nov.2013 version2
 
Presentation
PresentationPresentation
Presentation
 
โรคปริทันต์
โรคปริทันต์โรคปริทันต์
โรคปริทันต์
 
การควบคุมและป้องกันฟันผุ
การควบคุมและป้องกันฟันผุ การควบคุมและป้องกันฟันผุ
การควบคุมและป้องกันฟันผุ
 
เยื่อหุ้มปอดอักเสบ
เยื่อหุ้มปอดอักเสบเยื่อหุ้มปอดอักเสบ
เยื่อหุ้มปอดอักเสบ
 
Finalpresentationl20 23
Finalpresentationl20 23Finalpresentationl20 23
Finalpresentationl20 23
 
Current practice and guidance in allergic rhinitis management
Current practice and guidance in allergic rhinitis managementCurrent practice and guidance in allergic rhinitis management
Current practice and guidance in allergic rhinitis management
 
Current Practice and Guidance in Allergic Rhinitis Management
Current Practice and Guidance in Allergic Rhinitis ManagementCurrent Practice and Guidance in Allergic Rhinitis Management
Current Practice and Guidance in Allergic Rhinitis Management
 
N sdis 126_60_6
N sdis 126_60_6N sdis 126_60_6
N sdis 126_60_6
 
9789740333463
97897403334639789740333463
9789740333463
 

More from CUPress

9789740337737
97897403377379789740337737
9789740337737CUPress
 
9789740337560
97897403375609789740337560
9789740337560CUPress
 
9789740337478
97897403374789789740337478
9789740337478CUPress
 
9789740337270
97897403372709789740337270
9789740337270CUPress
 
9789740337102
97897403371029789740337102
9789740337102CUPress
 
9789740337096
97897403370969789740337096
9789740337096CUPress
 
9789740337072
97897403370729789740337072
9789740337072CUPress
 
9789740337027
97897403370279789740337027
9789740337027CUPress
 
9789740336914
97897403369149789740336914
9789740336914CUPress
 
9789740336907
97897403369079789740336907
9789740336907CUPress
 
9789740336686
97897403366869789740336686
9789740336686CUPress
 
9789740336457
97897403364579789740336457
9789740336457CUPress
 
9789740336440
97897403364409789740336440
9789740336440CUPress
 
9789740336389
97897403363899789740336389
9789740336389CUPress
 
9789740336280
97897403362809789740336280
9789740336280CUPress
 
9789740336365
97897403363659789740336365
9789740336365CUPress
 
9789740336303
97897403363039789740336303
9789740336303CUPress
 
9789740336242
97897403362429789740336242
9789740336242CUPress
 
9789740336235
97897403362359789740336235
9789740336235CUPress
 
9789740336099
97897403360999789740336099
9789740336099CUPress
 

More from CUPress (20)

9789740337737
97897403377379789740337737
9789740337737
 
9789740337560
97897403375609789740337560
9789740337560
 
9789740337478
97897403374789789740337478
9789740337478
 
9789740337270
97897403372709789740337270
9789740337270
 
9789740337102
97897403371029789740337102
9789740337102
 
9789740337096
97897403370969789740337096
9789740337096
 
9789740337072
97897403370729789740337072
9789740337072
 
9789740337027
97897403370279789740337027
9789740337027
 
9789740336914
97897403369149789740336914
9789740336914
 
9789740336907
97897403369079789740336907
9789740336907
 
9789740336686
97897403366869789740336686
9789740336686
 
9789740336457
97897403364579789740336457
9789740336457
 
9789740336440
97897403364409789740336440
9789740336440
 
9789740336389
97897403363899789740336389
9789740336389
 
9789740336280
97897403362809789740336280
9789740336280
 
9789740336365
97897403363659789740336365
9789740336365
 
9789740336303
97897403363039789740336303
9789740336303
 
9789740336242
97897403362429789740336242
9789740336242
 
9789740336235
97897403362359789740336235
9789740336235
 
9789740336099
97897403360999789740336099
9789740336099
 

9789740335368

  • 2. 2 ศาสตร์การรักษาคลองรากฟัน การติดเชื้อในช่องปากและฟันจากจุลชีพในช่องปากสามารถก่อให้เกิดโรคปริทันต์ โรคฟันผุ โรคเนื่อเยื่อในอักเสบ (pulpitis) และสามารถลุกลามจนเกิดโรคเนื้อเยื่อรอบปลายรากฟันอักเสบ (apical periodontitis) ได้ การศึกษาทางระบาดวิทยาเกี่ยวกับอัตราการเกิดโรคเนื้อเยื่อรอบปลาย รากฟันอักเสบ มีรายงานครั้งแรกในประเทศสวีเดน1 และพบว่ามีอัตราสูงขึ้นในช่วง 15 ปี ในประเทศ อื่น ๆ ดังนั้นหลักการของการรักษาคลองรากฟันก็คือ การควบคุมการติดเชื้อ และการก�ำจัดแบคทีเรีย ในคลองรากฟัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการเกิดรอยโรครอบปลายรากฟัน หรือส่งเสริมให้เกิด การหายของรอยโรคนั่นเอง 1.1 สาเหตุของการติดเชื้อของฟัน โรคของเนื้อเยื่อใน และโรคของเนื้อเยื่อรอบปลายรากฟัน (Pulpal and periapical disease) อาจมีสาเหตุมาจาก 1 . เหตุแบคทีเรีย (bacterial causes) แบคทีเรียเป็นสาเหตุหลักในการเกิดการอักเสบและ ตายของเนื้อเยื่อใน แบคทีเรียหรือชีวพิษ (toxin) ของมันสามารถเข้าไปท�ำอันตรายเนื้อเยื่อใน โดยผ่าน เข้าทางตัวฟันหรือทางรากฟัน ตามรอยผุ รอยแตกหักของฟัน หรือทางรูเปิดปลายรากฟัน เป็นต้น 2 . เหตุการบาดเจ็บ (traumatic causes) การที่ฟันได้รับบาดเจ็บอย่างรุนแรงและ/หรือ เฉียบพลัน หรือได้รับการบาดเจ็บอย่างต่อเนื่อง เป็นอีกสาเหตุหลักที่ท�ำให้เนื้อเยื่อในเกิดการอักเสบ ตาย หรือเกิดการเปลี่ยนแปลงของเซลล์จากภาวะทุพโภชนาการ เหตุการบาดเจ็บ ได้แก่ การเกิด ตัวฟันและ/หรือรากฟันแตก ฟันเคลื่อนเหตุแรงกระแทก (luxation) ฟันหลุดจากเบ้า (avulsion) การบดกัดฟันไม่รู้ตัว (bruxism) การสึกเหตุบดเคี้ยว (attrition) การสึกเหตุขัดถู (abrasion) การสึก กร่อน (erosion) เป็นต้น 3 . เหตุหมอท�ำ (iatrogenic causes) การรักษาทางทันตกรรมโดยทันตแพทย์สามารถก่อ ให้เกิดภยันตรายต่อเนื้อเยื่อใน เช่น • การเตรียมโพรงฟัน หากเกิดความร้อนจากการกรอฟันมากเกินไปหรือกรอลึกเกินไปอาจ เป็นสาเหตุให้เกิดอันตรายต่อเนื้อเยื่อใน • การบูรณะฟัน เช่น การท�ำครอบฟันชั่วคราวในปากผู้ป่วยอาจท�ำให้เกิดอันตรายต่อ เนื้อเยื่อในจากความร้อนที่เกิดขึ้นขณะวัสดุมีการเกิดพอลิเมอร์ (polymerization) จึงไม่ควรปล่อย ให้เกิดความร้อนนานเกินไป • การใส่ยาชาเฉพาะที่ สารบีบหลอดเลือด (vasoconstrictors) ในส่วนประกอบของยาชา มีผลท�ำให้การไหลของเลือดในเนื้อเยื่อใน (pulpul blood flow) ลดลง ซึ่งอาจมีผลต่อความมีชีวิต ของเนื้อเยื่อใน หากเนื้อเยื่อในมีภาวะอ่อนแออยู่แล้ว _16-03(001-044)P4.indd 2 8/17/59 BE 10:35 AM
  • 3. โรคของเนื้อเยื่อใน โรคของเนื้อเยื่อรอบปลายรากฟัน และการรักษา 3 • การจงใจดึงเนื้อเยื่อในออก (intentional extirpation) ในบางครั้งทันตแพทย์ต้อง ตัดสินใจท�ำการรักษาคลองรากฟันให้กับผู้ป่วยแม้เนื้อเยื่อในเป็นปกติ ทั้งนี้เพื่อให้การรักษาทาง ทันตกรรมนั้นบรรลุวัตถุประสงค์ เช่น กรณีที่ต้องตัดรากฟันบางรากที่มีโรคปริทันต์รุนแรงออกเพื่อ เก็บฟันและรากอื่น ๆ ไว้ในช่องปาก กรณีที่ต้องการปรับระนาบสบ (occlusal plane) ของฟันที่มี การยื่นยาวออกมามาก เป็นต้น 4 . เหตุเคมี (chemical causes) เช่น วัสดุอุดฟัน สารฆ่าเชื้อ (disinfectant) เป็นต้น 5 . เหตุเกิดขึ้นเอง (idiopathic causes) เช่น การสลายของเนื้อฟันซึ่งอาจเกิดจากการมี การอักเสบเรื้อรัง (chronic inflammation) หรือในผู้สูงอายุที่เนื้อเยื่อใน มีการเปลี่ยนแปลงใน ลักษณะภาวะเจริญเพี้ยน (dystrophy) มากขึ้น เป็นต้น 1.2 โรคของเนื้อเยื่อใน 1.2.1 กระบวนการอักเสบของเนื้อเยื่อใน การอักเสบของเนื้อเยื่อในมี 2 แบบ คือ การอักเสบเฉียบพลัน (acute inflammation) และการอักเสบเรื้อรัง (chronic inflammation) การอักเสบเฉียบพลันจะเกิดขึ้นเป็นระยะเวลา สั้น ๆ และเป็นการตอบสนองแบบทันทีทันใดต่อการระคายเคือง ส่วนการอักเสบเรื้อรังเป็นการ ตอบสนองที่ยาวนานกว่า โดยทั่วไปการอักเสบเรื้อรังจะตามหลังการอักเสบเฉียบพลัน แต่ใน บางสภาวะก็สามารถเกิดการอักเสบเรื้อรังได้เลย เช่น การติดเชื้อระดับต�่ำ ๆ (low grade infection)2 ปฏิกิริยาต่อวัตถุแปลกปลอม (foreign body reaction) เป็นต้น การอักเสบเฉียบพลัน เมื่อมีภยันตรายเกิดขึ้นแก่ร่างกาย ระบบหลอดเลือดจะเป็นส่วนแรกที่มีการตอบสนอง โดยหลอดเลือดแดงเล็ก (arteriole) จะเริ่มหดตัวก่อนในระยะแรกแล้วตามด้วยการขยายตัว หลอดเลือด ด�ำเล็ก (venule) ยอมให้สารต่าง ๆ ซึมผ่านได้มากขึ้น ท�ำให้มีน�้ำเหลืองพลาสมา (plasma fluid) และ โปรตีนต่าง ๆ เข้ามาสะสมที่เนื้อเยื่อรอบ ๆ เซลล์ เกิดการบวมน�้ำ โดยปริมาณของเหลวที่ไหลซึมออกมา ท�ำให้แรงดันหลอดเลือดบริเวณนั้นเพิ่มสูงขึ้นมีเซลล์อักเสบในกลุ่มพอลิมอร์โฟนิวเคลียร์ (polymorpho- nuclear cell) เข้ามาสะสม และเริ่มมีการหลั่งสารชักน�ำ (mediator) ต่าง ๆ ออกมามากมาย van Hassel ค.ศ. 19713 ได้ตั้งทฤษฎีสแทรงกิวเลชัน (Strangulation theory) ขึ้น เพื่ออธิบายกระบวนการตายของเนื้อเยื่อใน โดยการขาดเลือดจากการอักเสบเป็นกระบวนการส�ำคัญ ที่น�ำไปสู่การตายของเนื้อเยื่อใน แรงดันที่เกิดขึ้นจากสิ่งซึมข้น (exudates) จะไปกดการไหลเวียนของ เลือด ท�ำให้ไหลช้าลง หรือไม่สามารถไหลต่อไปได้ เลือดไม่สามารถไหลเวียนไปเลี้ยงเซลล์ต่าง ๆ ได้ เพียงพอแก่ความต้องการ ท�ำให้เนื้อเยื่อในตาย อย่างไรก็ตามเหตุการณ์ดังกล่าวไม่ได้เกิดขึ้นในทุกกรณี โดยจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อเกิดแรงดันขึ้นสูงเกินกว่าที่กลไกการป้องกันตัวของเนื้อเยื่อในจะรับมือได้4 _16-03(001-044)P4.indd 3 8/17/59 BE 10:35 AM
  • 4. 4 ศาสตร์การรักษาคลองรากฟัน เซลล์ในบริเวณที่มีการอักเสบจะมีการหลั่งเคมีชักน�ำ (chemical mediator) ชนิดต่าง ๆ เพื่อช่วยส่งเสริมการท�ำงานของเซลล์ต่าง ๆ หรือช่วยปรับการท�ำงานของระบบหลอดเลือด เช่น ฮีสทามีน (histamine) เซโรโทนิน (serotonin) แบรดีไคนิน (bradykinin) หรือสารที่หลั่งออกมาจากเส้นประสาท การอักเสบเรื้อรัง หากต้นเหตุของการอักเสบไม่ถูกก�ำจัดออก การอักเสบเรื้อรังก็จะเกิดขึ้น โดยที่ การอักเสบเรื้อรังจะมีอาการคงอยู่นานกว่าการอักเสบเฉียบพลัน จุลกายวิภาค (histology) ของ การอักเสบแบบเรื้อรัง ประกอบด้วยเซลล์สร้างเส้นใยไวงาน (active fibroblast) และหลอดเลือด ที่เจริญขึ้นมาจ�ำนวนมาก รวมทั้งเซลล์อักเสบ โดยเซลล์อักเสบที่พบมาก คือ พลาสมาเซลล์ (plasma cell) ลิมโฟไซต์ (lymphocytes) และแมคโครฟาจ (macrophages) พลาสมาเซลล์และลิมโฟไซต์ ท�ำหน้าที่เกี่ยวกับการซ่อมแซมเนื้อเยื่อ ส่วนแมคโครฟาจท�ำหน้าที่เกี่ยวกับการท�ำลายภยันตรายและ ท�ำลายเนื้อเยื่อที่เสียหาย 1.2.2 พยาธิวิทยาของสภาวะเนื้อเยื่อในอักเสบ เมื่อมีการรุกรานของเชื้อแบคทีเรีย หรือเกิดภยันตรายต่อเนื้อเยื่อ ร่างกายจะตอบสนอง เพื่อป้องกันการลุกลามของเชื้อโรคต่าง ๆ โดยอาศัยกลไกทั้งแบบจ�ำเพาะและไม่จ�ำเพาะ หลังจากนั้น ก็จะเกิดการซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่เสียหายไป เนื้อเยื่อใน (pulp) ก็เช่นเดียวกัน เมื่อมีการติดเชื้อก็จะมี การอักเสบและการซ่อมแซมเกิดขึ้น แต่เนื้อเยื่อในมีความพิเศษจ�ำเพาะและแตกต่างจากเนื้อเยื่ออื่น ๆ ในร่างกาย ได้แก่ เป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่มีโครงแข็งหุ้มอยู่ภายนอกคล้ายสมองและเล็บ มีระบบการไหล เวียนของเลือดที่จ�ำกัด ข้อจ�ำกัดนี้ท�ำให้เนื้อเยื่อในมีความเสี่ยงต่อการถูกท�ำลายได้โดยง่ายหากเกิดการ อักเสบ ภยันตรายต่อเนื้อเยื่อในที่พบบ่อยที่สุด คือ โรคฟันผุ (dental caries) ซึ่งมีการด�ำเนิน โรคแบบค่อยเป็นค่อยไป อุบัติเหตุต่อตัวฟันที่ท�ำให้เกิดการเผยผึ่งของเนื้อเยื่อใน เปิดช่องทางให้ แบคทีเรียในช่องปากเข้าสู่ฟันได้โดยตรง5 แม้แต่ขั้นตอนการบูรณะฟันต่าง ๆ เช่น การกรอ6 วัสดุต่าง ๆ ที่ใช้7-10 ก็ล้วนสามารถท�ำให้เกิดภยันตรายต่อเนื้อเยื่อในได้ทั้งสิ้น โรคฟันผุ โรคฟันผุเป็นสาเหตุหลักที่ท�ำให้เกิดพยาธิสภาพต่อเนื้อเยื่อใน รอยผุไวงาน (active caries) ที่ชั้นเคลือบฟัน ที่มีการด�ำเนินของโรคมาถึงรอยต่อเนื้อฟัน-เคลือบฟัน (dentino-enamel junction) แล้ว สามารถท�ำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเนื้อเยื่อในได้11, 12 รอยผุที่เห็นในคลินิกมักไม่ สัมพันธ์กับสภาพที่เกิดขึ้นจริงทางจุลพยาธิวิทยา ทั้งนี้เนื้อเยื่อในและเนื้อฟัน (dentine-pulpal complex) มีการท�ำงานร่วมกันในการตอบสนองต่อภยันตราย โดยการตอบสนองต่อฟันผุระยะแรก จะเกิดขึ้นโดยเนื้อเยื่อในจะพยายามลดการซึมผ่านของสารพิษต่าง ๆ ด้วยการตกผลึกในท่อเนื้อฟัน ซึ่งสามารถเห็นได้ทางกล้องจุลทรรศน์แบบแสงส่องผ่านเป็นเนื้อฟันแข็ง (sclerotic dentine)13, 14 _16-03(001-044)P4.indd 4 8/17/59 BE 10:35 AM
  • 5. โรคของเนื้อเยื่อใน โรคของเนื้อเยื่อรอบปลายรากฟัน และการรักษา 5 ชั้นโอดอนโทบลาสต์ (odontoblastic layer) ตอบสนองโดยสร้างเนื้อฟันตติยภูมิ (tertiary dentine) ขึ้นมา ชั้นของเนื้อฟันที่สร้างขึ้นมาใหม่นี้ มีลักษณะขรุขระมากกว่าเนื้อฟันทุติยภูมิ (secondary dentine) หรือเนื้อฟันปฐมภูมิ (primary dentine) ส�ำหรับรอยโรคฟันผุไวงาน เช่น ฟันผุลุกลาม (rampant caries) ซึ่งมีการผุที่รวดเร็วจนอาจท�ำให้เกิดการตายของโอดอนโทบลาสต์ได้ เซลล์คล้าย โอดอนโทบลาสต์จะพัฒนาขึ้นมาเพื่อท�ำหน้าที่สร้างเนื้อฟันซ่อมแซม (reparative dentine) โดย เนื้อฟันซ่อมแซมที่เกิดขึ้นนี้ มีคุณภาพไม่ค่อยดีนัก มีการเรียงตัวของท่อเนื้อฟันอย่างไม่เป็นระเบียบ และอาจพบการฝังตัวของเซลล์ในเนื้อฟันที่เรียกว่า ไฟโบรเดนทีน (fibrodentine) ได้15 หากรอยโรคฟันผุไม่ถูกก�ำจัดออกไป โอดอนโทบลาสต์จะเริ่มเกิดการการเปลี่ยนแปลง ในทางเสื่อม เช่น มีรูปร่างแบนลง และมีกิจกรรมเมแทบอลิก (metabolic activity) ลดลง เซลล์ ที่อยู่ในชั้นถัดลงไปจะเริ่มมีกิจกรรมเพิ่มขึ้นมาแทน16 หากฟันผุถึงครึ่งหนึ่งของความหนาของเนื้อฟัน จะเห็นเซลล์ที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบได้ค่อนข้างชัด โดยทั่วไปการอักเสบของเนื้อเยื่อในจะเป็น การติดเชื้อระดับต�่ำ ๆ มากกว่าแบบไวงาน กระบวนการอักเสบในระยะแรกจะมีจ�ำนวนลิมโฟไซต์ พลาสมาเซลล์และแมคโครฟาจมากกว่าเซลล์ชนิดอื่น ซึ่งบ่งบอกว่า อยู่ในระยะการอักเสบระดับต�่ำ ๆ เมื่อเกิดการผุลึกมากขึ้นจะเริ่มพบนิวโทรฟิล (neutrophil) เพิ่มขึ้น โดยยิ่งผุลึกมากขึ้นเท่าไร นิวโทรฟิล จะเพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นกัน17 นอกจากนี้ยังอาจพบการสร้างเส้นใยของเซลล์สร้างเส้นใย และการเกิด ภาวะเลือดคั่งของเนื้อเยื่อใน (pulpal hyperemia) ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความพยายามของร่างกาย ในการซ่อมแซมเนื้อเยื่อระหว่างที่มีการท�ำลายเกิดขึ้นนั่นเอง ความหนาของเนื้อฟันที่เหลืออยู่ (remaining dentine thickness) เป็นปัจจัยหนึ่ง ที่มีความส�ำคัญต่อสภาพให้ซึมผ่านได้ของเนื้อฟัน (dentine permeability) ถ้ามีความหนาของ เนื้อฟันที่เหลืออยู่เพียง 0.5 มิลลิเมตร จะท�ำให้เกิดการอักเสบที่รุนแรงข้างใต้เนื้อฟันดังกล่าวได้ โดยจะเห็นเซลล์พอลิมอร์โฟนิวเคลียร์ลิวโคไซต์ (polymorphonuclear leucocyte) เข้ามาสะสม อยู่รอบ ๆ ผนังเนื้อฟันนั้น และอาจพบการเคลื่อนที่ของเซลล์เหล่านี้ออกจากหลอดเลือด การอักเสบ เฉียบพลันจะท�ำให้เกิดการสะสมของเศษเซลล์ของร่างกาย และเซลล์ของแบคทีเรียตลอดจนสิ่ง ซึมข้นต่าง ๆ จนเกิดเป็นหนองขึ้นมาได้ ใต้หนองอาจพบการสะสมของหลอดเลือดจ�ำนวนมากที่ช่วย พาเซลล์อักเสบเข้ามาในบริเวณดังกล่าว ภาวะการอักเสบเป็นเหมือนดาบสองคม ถ้าการอักเสบอยู่ในระดับพอดีจะท�ำให้เกิด การหายของแผลได้ ซึ่งเป็นผลดีต่อร่างกาย แต่ถ้ามีการอักเสบมากเกินไปจะท�ำให้เกิดการท�ำลาย ของเนื้อเยื่ออย่างกว้างขวางแทน โดยเฉพาะเมื่อประกอบกับลักษณะพิเศษของเนื้อเยื่อใน ซึ่งทนต่อ การเพิ่มของแรงดันได้ไม่ดีเท่ากับเนื้อเยื่ออื่น ๆ ของร่างกาย การอักเสบที่มากเกินไปนี้จะท�ำให้เกิด การตายของเนื้อเยื่อใน โดยทางจุลกายวิภาคศาสตร์จะพบเป็นเนื้อตายแบบลิควิแฟคทีฟเนโครซิส (liquefactive necrosis) ที่บริเวณใกล้ ๆ กับรอยโรค และอาจมีเนื้อตายแบบโคแอกกูเลทีฟเนโครซิส _16-03(001-044)P4.indd 5 8/17/59 BE 10:35 AM
  • 6. 6 ศาสตร์การรักษาคลองรากฟัน (coagulative necrosis) เกิดขึ้นได้ ท�ำให้เกิดการตายของเนื้อเยื่อในบางส่วนและทั้งหมดได้ในภายหลัง ในที่สุดการอักเสบของเนื้อเยื่อในซึ่งเกิดจากการติดเชื้อนั้น ก็จะน�ำไปสู่การอักเสบของเนื้อเยื่อรอบ รากฟันต่อไป 1.2.3 อาการทางคลินิกของเนื้อเยื่อในอักเสบ กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับความเจ็บปวดนั้นประกอบด้วยส่วนส�ำคัญ 2 ส่วนคือ การรับรู้ความเจ็บปวด และการตอบสนองต่อความเจ็บปวด เนื้อหาในหัวข้อนี้จะอธิบายถึงชีววิทยา ของความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นและการตอบสนองต่อความเจ็บปวดซึ่งมีความแตกต่างกันไปในแต่ละ บุคคล องค์ประกอบหลักทางชีววิทยาของการเกิดความเจ็บปวดต่อเนื้อเยื่อใน ได้แก่ ระดับของ สารชักน�ำความปวด (pain mediator) ชนิดต่าง ๆ ทั้งในบริเวณที่มีพยาธิสภาพ ในระบบประสาท ส่วนกลาง (central nerve system) ในอินเตอร์สติเชียลฟลูอิด (interstitial fluid) ซึ่งมีส่วน ท�ำให้ความดันภายในโพรงเนื้อเยื่อในเพิ่มขึ้น ท�ำให้เส้นประสาทมีความไวมากขึ้น นอกจากนี้แบคทีเรีย บางชนิดยังอาจมีผลท�ำให้เกิดความเจ็บปวดได้ด้วย เมื่อเนื้อเยื่อในมีการอักเสบเกิดขึ้นจะส่งผลเพิ่มความไวของระบบประสาทใน 3 ลักษณะ คือ กลไกการเกิดภาวะปวดเหตุสิ่งเร้าปกติ (allodynia) ภาวะปวดมากเกิน (hyperalgesia) และ ภาวะปวดขึ้นเองโดยไม่มีสิ่งเร้า (spontaneous pain) ตัวอย่างของภาวะดังกล่าว ได้แก่ การปวดตุบ (throbbing pain) จากการหดตัวของเส้นเลือดตามจังหวะการบีบตัวของหัวใจ ซึ่งในสภาวะปกติ ไม่ท�ำให้เกิดความเจ็บปวด18, 19 หรือภาวะที่เนื้อเยื่อในไวต่ออุณหภูมิมากกว่าปกติ ท�ำให้เกิดความเจ็บ ปวดได้ที่อุณหภูมิของร่างกาย โดยผู้ป่วยมักจะให้ประวัติว่า สามารถใช้ความเย็นช่วยบรรเทาอาการ ปวดได้ ทั้งนี้กลไกการเกิดความไวของระบบประสาทดังกล่าว สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในต�ำแหน่งที่มี การอักเสบ และที่ระบบประสาทส่วนกลาง โดยภาวะไวเกินของระบบประสาทในต�ำแหน่งที่มีการ อักเสบจะเกี่ยวข้องกับระดับของเคมีชักน�ำความปวด (pain chemical mediator) ที่เพิ่มขึ้นในภาวะ อักเสบ เช่น พรอสตาแกลนดิน (prostaglandin) สารสื่อประสาท พี (substance P) ซีจีอาร์พี (CGRP)20, 21 และการตอบสนองของใยประสาท ซี (c-fiber) ซึ่งมีความไวต่อการถูกกระตุ้นมากขึ้นใน ภาวะอักเสบ22 ส่วนภาวะปวดไวเกินของระบบประสาทในระบบประสาทส่วนกลางเกิดได้หลายสาเหตุ เช่น การเพิ่มขึ้นของสารสื่อประสาท (neurotransmitter) จากเส้นใยประสาทน�ำเข้าปฐมภูมิ (primary afferent fiber)23 หรืออาจมีการเปลี่ยนแปลงของเส้นใยประสาทหลังไซแนปส์ (synapse)24 หรือ มีการเปลี่ยนแปลงของ secondary messenger system25 เป็นต้น 1.3 การวินิจฉัยโรคของเนื้อเยื่อใน วัตถุประสงค์ของการวินิจฉัย คือ เพื่อให้ทราบปัญหา สาเหตุของปัญหา เพื่อน�ำไปสู่การรักษา ที่เหมาะสม ดังนั้น การตรวจผู้ป่วยอย่างละเอียดและเป็นระบบจึงมีความส�ำคัญ กระบวนการวินิจฉัย _16-03(001-044)P4.indd 6 8/17/59 BE 10:35 AM
  • 7. โรคของเนื้อเยื่อใน โรคของเนื้อเยื่อรอบปลายรากฟัน และการรักษา 7 ประกอบด้วย การซักประวัติ (history taking) การตรวจทั้งภายนอกและภายในช่องปาก (extra and intraoral examination) การตรวจเพิ่มเติม (additional tests) และการวิเคราะห์ข้อมูล (data analysis) 1.3.1 การซักประวัติ 1. อาการน�ำ (chief complaint) คือ อาการหลักที่ท�ำให้ผู้ป่วยต้องมาพบทันตแพทย์ ควรบันทึกตามค�ำบอกเล่าของผู้ป่วย ค�ำพูดของผู้ป่วยอาจจะเป็นนัย ช่วยให้วินิจฉัยโรคได้อย่างถูกต้อง 2. ประวัติทางการแพทย์ (medical history) ให้ระบุโดยสรุปและครอบคลุมสภาวะ สุขภาพทั้งในอดีตและปัจจุบัน ได้แก่ โรคต่าง ๆ ประวัติการแพ้ ประวัติการปรึกษาหรือการรักษาทาง การแพทย์ โดยเฉพาะถ้าต้องมีการปรับเปลี่ยนจากแผนการรักษาทางทันตกรรมตามปกติ ซักประวัติ การใช้ยา โดยให้ผู้ป่วยบอกชื่อยาที่รับประทานอยู่ทั้งหมด รวมถึงขนาด ความถี่ และเหตุผลของ การใช้ยานั้น บันทึกสัญญาณชีพ (vital signs) ได้แก่ ความดันโลหิต ชีพจร และอุณหภูมิร่างกาย โดยบันทึกในครั้งแรกที่ผู้ป่วยมาพบทันตแพทย์ และถ้าต้องมีการติดตามอาการก็ให้บันทึกครั้งต่อ ๆ ไปด้วย 3. ประวัติของฟัน (dental history) ซักประวัติอาการของฟันทั้งในอดีตและปัจจุบัน ป้อนค�ำถามเพื่อให้ทราบถึงต�ำแหน่งที่มีอาการ เวลาที่เกิดอาการครั้งแรก ลักษณะของอาการปวด ได้แก่ ปวดแต่ละครั้งนานแค่ไหน อะไรท�ำให้ปวด อะไรท�ำให้อาการปวดดีขึ้น ปวดเองโดยไม่มีสิ่งกระตุ้นหรือ ไม่ ปวดรุนแรงจนรบกวนชีวิตประจ�ำวันของผู้ป่วยหรือไม่ การถามค�ำถามเหล่านี้จะท�ำให้ทันตแพทย์ พอจะให้การวินิจฉัยเบื้องต้น (tentative diagnosis) ได้ว่า เป็นอาการปวดของเนื้อเยื่อใน เนื้อเยื่อ รอบปลายรากฟัน ปวดจากเหตุปริทันต์ (periodontal origin) หรือเป็นอาการปวดที่ไม่ได้มีสาเหตุ มาจากฟัน ข้อมูลดังกล่าวจะช่วยให้ทันตแพทย์เลือกวิธีการทดสอบฟันเพิ่มเติมได้อย่างเหมาะสม เพื่อ ใช้ยืนยันผลการวินิจฉัยเบื้องต้น และน�ำไปสู่การวินิจฉัยชี้ขาด 1.3.2 การตรวจภายนอกช่องปาก ให้สังเกตดูส่วนต่าง ๆ ของร่างกายโดยทั่วไป ได้แก่ สีผิว ความสมมาตรของใบหน้า การบวม การเปลี่ยนสี รอยแดง แผลเป็นหรือรูเปิดทางหนองไหล (sinus opening) บริเวณใบหน้า และล�ำคอ การมีต่อมน�้ำเหลืองโต เป็นต้น สภาวะเหล่านี้เป็นตัวบ่งชี้ภาวะทางร่างกาย การเอาใจใส่ ในการตรวจจะช่วยบ่งชี้ถึงสาเหตุของอาการน�ำของผู้ป่วยได้ หากพบอาการบวม การดูและการคล�ำบริเวณใบหน้าและล�ำคอเป็นสิ่งที่ต้องท�ำ หลายครั้งที่อาการบวมบริเวณใบหน้าสามารถตรวจพบได้จากการคล�ำเพียงอย่างเดียว การคล�ำเป็น การตรวจโดยใช้ความรู้สึกสัมผัสของนิ้วมือหรือส่วนต่าง ๆ ของฝ่ามือ วัตถุประสงค์เพื่อบอกลักษณะ ขนาด รูปร่าง ความอ่อนแข็งของอวัยวะ ความรู้สึกเจ็บเมื่อถูกกด (tenderness) การสั่นสะเทือน _16-03(001-044)P4.indd 7 8/17/59 BE 10:35 AM
  • 8. 8 ศาสตร์การรักษาคลองรากฟัน ตลอดจนอุณหภูมิของบริเวณที่คล�ำ การคล�ำท�ำให้ทราบว่า เป็นการบวมเฉพาะที่ (localize) หรือบวม กระจายทั่วไป (diffuse) บวมแข็ง (firm) หรือบวมน่วม (fluctuant) การคล�ำต่อมน�้ำเหลืองบริเวณคอ และใต้ขากรรไกรล่าง (submandibular area) เป็นส่วนหนึ่งของการตรวจภายนอกช่องปากที่ต้องท�ำ เป็นประจ�ำ ถ้าพบว่าต่อมน�้ำเหลืองคล�ำได้เป็นก้อนแน่นและนิ่ม กดเจ็บร่วมกับมีการบวมบริเวณใบหน้า และมีไข้ แสดงถึงอาการติดเชื้อ (infection) หากตรวจพบลักษณะผิดปกติ ควรจดบันทึกไว้ด้วย 1.3.3 การตรวจภายในช่องปาก การตรวจเนื้อเยื่ออ่อน เช็ดบริเวณเหงือกและเยื่อเมือกช่องปากให้แห้งเสียก่อน ท�ำ การตรวจโดยใช้ ตาดู มือคล�ำ และใช้โพรบ (probe) ตรวจดูร่องลึกปริทันต์ ตรวจดูบริเวณริมฝีปาก เยื่อบุช่องปาก แก้ม ลิ้น อวัยวะปริทันต์ (periodontium) เพดานปาก และกล้ามเนื้อ สังเกต ความผิดปกติทั้งสีและลักษณะพื้นผิว ถ้าพบรอยโรคนูน (raised lesions) หรือแผลในช่องปาก (ulcerations) ควรบันทึกไว้ด้วย หากพบรูเปิดทางหนองไหลควรใช้กัตทาเพอร์ชาสอดติดตาม (gutta percha tracing) แล้วไปถ่ายภาพรังสี เพื่อหาแหล่งที่มาของรอยโรค26 การตรวจเนื้อเยื่อแข็ง ท�ำการตรวจฟันโดยใช้กระจกตรวจช่องปาก (mouth mirror) และเอกซ์พลอเรอร์ (explorer) ตรวจดูการเปลี่ยนสี รอยแตก การสึกของฟัน การผุ การเสื่อมของวัสดุ บูรณะ หรือความผิดปกติอื่น ๆ การเปลี่ยนสีของตัวฟัน มักเกิดจากฟันมีพยาธิสภาพที่เนื้อเยื่อใน ควรท�ำการตรวจทางคลินิกและทางภาพรังสีเพื่อยืนยันผลการตรวจก่อนให้การรักษา การเคาะตรวจ (percussion) เป็นการตรวจโดยการเคาะลงบนฟันที่ต้องการด้วย ความเร็วและตรงจุด ใช้ทดสอบฟันโดยเฉพาะเมื่อผู้ป่วยให้ประวัติปวดฟันเวลาเคี้ยวอาหาร อาการเจ็บ เมื่อถูกเคาะ ไม่ได้แสดงถึงความมีหรือไม่มีชีวิตของฟัน แต่แสดงถึงการอักเสบของเอ็นยึดปริทันต์ (periodontal ligament) ก่อนทดสอบควรอธิบายวิธีการให้ผู้ป่วยทราบ เคาะฟันควบคุม (ฟันซี่เดียวกัน ที่อยู่ด้านตรงข้ามในขากรรไกรเดียวกัน) ก่อนเพื่อใช้เปรียบเทียบกับฟันที่ต้องการทดสอบ การโยก (mobility) หากฟันที่ทดสอบโยกผิดไปจากปกติ แสดงถึงความผิดปกติของ กลุ่มเนื้อเยื่อยึดพันปริทันต์ (periodontal attachment apparatus) อาจเป็นผลมาจากการบาดเจ็บ เหตุกายภาพชนิดเฉียบพลัน หรือเรื้อรัง (acute/chronic physical trauma) การบาดเจ็บเหตุสบฟัน (occlusal trauma) นิสัยท�ำงานนอกหน้าที่ (parafunctional habits) โรคปริทันต์ (periodontal disease) รากฟันแตก (root fracture) เป็นต้น 1.3.4 การตรวจเพิ่มเติม บางครั้งข้อมูลจากการซักประวัติ การตรวจภายนอกและภายในช่องปาก อาจไม่เพียงพอ ที่จะตัดสินใจให้การวินิจฉัย จ�ำเป็นต้องอาศัยการตรวจเพิ่มเติมให้ได้ข้อมูลจนสามารถให้การวินิจฉัย _16-03(001-044)P4.indd 8 8/17/59 BE 10:35 AM
  • 9. โรคของเนื้อเยื่อใน โรคของเนื้อเยื่อรอบปลายรากฟัน และการรักษา 9 ได้ ประเด็นส�ำคัญของการวินิจฉัยโรคของเนื้อเยื่อใน คือ ฟันซี่นั้นมีความจ�ำเป็นต้องได้รับการรักษา คลองรากฟัน หรือควรพยายามรักษาความมีชีวิตของฟันไว้ การประเมินสภาวะของเนื้อเยื่อใน จึงมี ความจ�ำเป็นอย่างยิ่งในการตัดสินใจเลือกแผนการรักษา การทดสอบที่ได้รับการยอมรับและใช้กันอย่าง กว้างขวางในการประเมินสภาวะของเนื้อเยื่อใน ได้แก่ การทดสอบด้วยกระแสไฟฟ้า และการทดสอบ ด้วยอุณหภูมิซึ่งมีทั้งความร้อนและความเย็น การทดสอบเหล่านี้เป็นการทดสอบสภาพรู้สึกได้ของ เนื้อเยื่อใน (pulp sensibility testing) มากกว่าการทดสอบความมีชีวิตของเนื้อเยื่อใน (pulp vitality testing) เนื่องจากไม่สามารถตรวจสอบการไหลเวียนโลหิตภายในโพรงเนื้อเยื่อในได้ อย่างไรก็ตาม ผลของการทดสอบสภาพรู้สึกได้ของเนื้อเยื่อในถูกน�ำมาใช้ในการประเมินความมีชีวิตของเนื้อเยื่อใน โดยหากเนื้อเยื่อในตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้น แสดงว่ายังมีเส้นประสาทที่มีชีวิต (innervations) อยู่ใน โพรงเนื้อเยื่อใน จึงสันนิษฐานได้ว่าเนื้อเยื่อในน่าจะยังมีชีวิตอยู่ โดยอาจจะมีสุขภาพดีหรืออักเสบ ขึ้นกับการตอบสนอง (ลักษณะอาการปวด ระยะเวลาที่ปวด) ประวัติ และผลการตรวจอื่น ๆ การทดสอบ สภาพรู้สึกได้ของเนื้อเยื่อใน สามารถแบ่งชนิดของการตอบสนองได้เป็น 3 แบบดังนี้ 1. เมื่อเอาสิ่งกระตุ้นออกแล้วอาการปวดก็หายได้ทันที ไม่ปวดต่อเนื่องนานแสดงว่า เนื้อเยื่อในยังปกติอยู่ 2. เมื่อเอาสิ่งกระตุ้นออกแล้วมีอาการปวดระดับน้อยและไม่ปวดนานต่อเนื่อง แสดงว่า เกิดเนื้อเยื่อในอักเสบแบบผันกลับได้ (reversible pulpitis) ถ้าเกิดอาการปวดระดับรุนแรง และ มีอาการปวดนานต่อเนื่องหลังเอาสิ่งกระตุ้นออก แสดงว่าเกิดเนื้อเยื่อในอักเสบแบบผันกลับไม่ได้ (irreversible pulpitis) 3. เมื่อท�ำการทดสอบสภาพรู้สึกได้ของเนื้อเยื่อในแล้วไม่พบการตอบสนองใด ๆ แสดง ถึงภาวะเนื้อเยื่อในตาย (pulp necrosis) หรือไร้เนื้อเยื่อใน (pulpless) หรือเคยรักษาคลองรากฟัน มาแล้ว ข้อจ�ำกัดของการทดสอบสภาพรู้สึกได้ของเนื้อเยื่อใน การทดสอบสภาพรู้สึกได้ของเนื้อเยื่อใน เป็นการทดสอบการตอบสนองของเส้นประสาท ต่อสิ่งกระตุ้น โดยประเมินผลจากการบอกเล่าของผู้ป่วยซึ่งเป็นความรู้สึกส่วนตัวของแต่ละบุคคล (subjective) ไม่ได้ทดสอบการไหลเวียนของเลือด การทดสอบชนิดนี้ไม่เหมาะที่จะใช้กับเด็ก27 เนื่องจากเด็กไม่สามารถอธิบายอาการที่ตนเองรู้สึก หรืออธิบายความรู้สึกตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นนั้น ได้ ส�ำหรับฟันผู้สูงอายุซึ่งมีองค์ประกอบของเส้นประสาทลดลง และมีการเปลี่ยนแปลงลักษณะของ เนื้อพื้น (ground substance) จะท�ำให้การตอบสนองต่อการกระตุ้นต่างจากฟันของวัยหนุ่มสาว นอกจากนี้การมีวัสดุบูรณะขนาดใหญ่ การร่นของเนื้อเยื่อใน (pulp recession) และการมีแคลเซียม พอกพูนมากเกินไป (excessive calcifications) ยังเป็นข้อจ�ำกัดในการตอบสนองและการแปลผล จากการทดสอบอีกด้วย28 _16-03(001-044)P4.indd 9 8/17/59 BE 10:35 AM
  • 10. 10 ศาสตร์การรักษาคลองรากฟัน 1.4 เครื่องมือที่ใช้ในการตรวจเพิ่มเติม เครื่องมือที่ใช้ในการตรวจเพิ่มเติมเพื่อประเมินสภาวะของเนื้อเยื่อใน ได้แก่ เครื่องมือที่ใช้ ในการทดสอบสภาพรู้สึกได้ของเนื้อเยื่อในซึ่งได้รับการยอมรับและใช้กันอย่างแพร่หลาย ส�ำหรับ เครื่องมือทดสอบความมีชีวิตของเนื้อเยื่อใน เป็นเครื่องมือที่มีความเหมาะสมอย่างยิ่งในการทดสอบฟัน ที่ได้รับบาดเจ็บ แต่ยังไม่เป็นที่แพร่หลายเนื่องจากมีข้อจ�ำกัดในการใช้มาก และยังจ�ำเป็นต้องพัฒนา ให้สามารถใช้งานได้จริงในทางคลินิกต่อไป 1.4.1 เครื่องมือที่ใช้ในการทดสอบสภาพรู้สึกได้ของเนื้อเยื่อใน เนื้อเยื่อในมีเส้นประสาทรับความรู้สึก (sensory nerve) แตกแขนงหนาแน่นอยู่บริเวณ ขอบนอกของเนื้อเยื่อใน เส้นประสาทรับความรู้สึกเหล่านี้มีการขดตัวเกิดเป็น subodontoblastic plexus และแตกแขนงผ่านเข้าไปสู่ท่อเนื้อฟัน พร้อม ๆ ไปกับส่วนยื่นโอดอนโทบลาสต์ (odontob- lastic process) ส่วนปลายมีลักษณะเป็นปลายประสาทเสรี (free nerve ending) โพรงเนื้อเยื่อใน มีเส้นประสาทรับความรู้สึกอยู่ 2 ประเภท คือ เส้นใยประสาทชนิดเอซึ่งมีไมอีลินชีทหุ้ม (myelinated A fibers) และเส้นใยประสาทชนิดซีซึ่งไม่มีไมอีลินชีทหุ้ม (non-myelinated C-fibers) เส้นใย ประสาทเอ (A fibers) เป็นกลุ่มที่รับความรู้สึกจากเนื้อฟันเป็นหลัก จ�ำแนกเป็นกลุ่มย่อยได้ 2 กลุ่ม คือ เอบีตา (Aβ) และเอเดลตา (Aδ) ตามขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของเส้นใยประสาทและความเร็ว ในการน�ำกระแสประสาท โดยเส้นใยประสาทเอบีตา ไวต่อการกระตุ้นและส่งกระแสประสาทได้เร็วกว่า แต่เอเดลตามีปริมาณมากถึงร้อยละ 90 เส้นใยประสาททั้งสองกลุ่มนี้มักจะอยู่รวมกันและถูกกระตุ้น ไปพร้อม ๆ กัน ส่วนเส้นใยประสาทซี (C-fibers) อยู่ในเนื้อเยื่อยึดต่อในส่วนกลางของโพรงฟัน (pulp proper) และมีระดับเริ่มปวด (threshold) ของการตอบสนองสูงกว่าเส้นใยประสาทเอ มาก การกระตุ้นชนิดต่าง ๆ อย่างเช่น อีพีที (Electric Pulp Test, EPT) สามารถกระตุ้นเส้นใย ประสาทเอได้ แต่ไม่สามารถกระตุ้นเส้นใยประสาทซี แต่การกระตุ้นด้วยความร้อนสามารถกระตุ้น เส้นใยประสาทซีได้ เครื่องมือที่ใช้ในการทดสอบสภาพรู้สึกได้ของเนื้อเยื่อใน ได้แก่ เครื่องทดสอบ เนื้อเยื่อในด้วยกระแสไฟฟ้า (electric pulp test) การทดสอบด้วยอุณหภูมิ (thermal test) ซึ่งมี ทั้งการทดสอบด้วยความเย็น (cold test) และการทดสอบด้วยความร้อน (heat test) เครื่องทดสอบเนื้อเยื่อในด้วยกระแสไฟฟ้า เครื่องทดสอบเนื้อเยื่อในด้วยกระแสไฟฟ้าหรืออีพีที ถูกน�ำมาใช้ในคลินิกเพื่อการ วินิจฉัยโรคของเนื้อเยื่อในเป็นครั้งแรกโดย Roentgen ใน ค.ศ. 189529 อีพีทีเป็นเครื่องมือที่มี ความปลอดภัยและให้ข้อมูลเพื่อการวินิจฉัยสภาวะความเป็นโรคของเนื้อเยื่อในได้เป็นอย่างดี อีพีทีท�ำงานโดยการปล่อยกระแสไฟฟ้าจากขั้วไฟฟ้าไปยังตัวรับกระแสไฟฟ้าเพื่อให้ครบวงจร เครื่อง ท�ำงานโดยปล่อยกระแสไฟฟ้าเข้าสู่ตัวฟันผ่านเคลือบฟัน เนื้อฟันและของเหลวในท่อฟัน (dentinal _16-03(001-044)P4.indd 10 8/17/59 BE 10:35 AM