SlideShare a Scribd company logo
1 of 10
Download to read offline
บทที่ 1
บทนำ
เศรษฐศาสตร์มหภาคเป็นวิชาที่ศึกษาถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยรวมของกลุ่มผู้บริโภคหรือ
กลุ่มผู้ผลิตของประเทศหนึ่ง เช่น การศึกษาถึงมูลค่าผลผลิตโดยรวมของประเทศไทย รายได้รวมของ
แรงงานและของนายจ้างของประเทศสหรัฐอเมริกา อัตราการจ้างงานหรืออัตราการว่างงานของ
สาธารณรัฐประชาชนจีน หรือระดับราคาโดยรวมในประเทศสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ ยังศึกษาถึง
พฤติกรรมการตอบสนองของกลุ่มผู้บริโภคและกลุ่มผู้ผลิตในประเทศนั้นที่มีต่อตัวแปรต่าง ๆ ทั้งตัว
แปรภายในประเทศ (เช่น นโยบายด้านภาษีของรัฐบาล นโยบายการเพิ่มปริมาณของธนาคารกลาง)
และตัวแปรภายนอกประเทศ (เช่น การไหลเข้า–ออกของเงินทุนจากต่างประเทศ)
พื้นฐานการอธิบายการวิเคราะห์ผลกระทบของนโยบายทางการเงินและการคลังที่มีต่อตัว
แปรทางเศรษฐกิจมหภาค เช่น ผลผลิต รายได้ ระดับราคา การจ้างงาน มาจาก 2 แนวคิดคือ แนวคิด
ของนักเศรษฐศาสตร์สานักคลาสสิก (Classical) และแนวคิดของนักเศรษฐศาสตร์สานักเคนส์เซียน
(Keynesian) ซึ่งเราจะศึกษาทั้ง 2 แนวคิดในหนังสือเล่มนี้
ดังนั้น เพื่อให้การศึกษาเศรษฐศาสตร์มหภาคระดับกลางเข้าใจได้ง่ายขึ้น เราควรทาความ
เข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดกว้าง ๆ ในการวิเคราะห์เศรษฐศาสตร์มหภาคของ 2 สานักนี้ รวมถึง
ความหมายตัวแปรทางเศรษฐกิจมหภาคที่สาคัญ ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1.1 แนวคิดพื้นฐำนในกำรวิเครำะห์เศรษฐศำสตร์มหภำคของสำนักคลำสสิกและเคนส์
นักเศรษฐศาสตร์ด้านเศรษฐกิจมหภาค มักจะพยายามอธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นกับ
ระบบเศรษฐกิจโดยรวมตามยุคสมัยที่ตนอยู่ ซึ่งบางยุคพบว่าประชาชนในประเทศมีความอยู่ดีกินดี
แต่บางยุคกลับมีความเป็นอยู่ที่ฝืดเคือง นอกจากนี้ ความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีในแต่ละยุคสมัยก็มี
การพัฒนาแตกต่างกันออกไป ดังนั้น นักเศรษฐศาสตร์ด้านเศรษฐกิจมหภาคจึงมีการพัฒนาการ
วิเคราะห์ที่เปลี่ยนแปลงไปตามสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจของแต่ละยุคสมัย
ในช่วงทศวรรษ 1920 เป็นช่วงที่เศรษฐกิจของประเทศสหรัฐอเมริกามีการเจริญเติบโตอย่าง
รวดเร็ว ราคาตลาดหุ้นเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องหลายปี นักธุรกิจมีการขยายการลงทุนทั้งการสร้าง
โรงงาน การซื้อเครื่องจักร การจ้างงานก็เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นกัน ความเป็นอยู่ของประชาชนดี
มาก แต่ในช่วงทศวรรษ 1930 วัฏจักรธุรกิจในช่วงขาลงเริ่มเกิดขึ้น ประเทศสหรัฐอเมริกาประสบ
ปัญหาเศรษฐกิจตกต่าอย่างรุนแรง ราคาหุ้นลดลง ค่าจ้างลดลง ผลผลิตลดลง ภาคธนาคารล้มละลาย
ภาคธุรกิจจานวนมากต้องปิดกิจการ การว่างงานอยู่ในระดับสูง จนเกิดปัญหาภาวะเศรษฐกิจตกต่า
ทั่วโลก (Great Depression) ความเป็นอยู่ของประชาชนมีความทุกข์ยากลาบาก
ก่อนที่จะเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่าทั่วโลกนั้น นักเศรษฐศาสตร์เชื่อว่า เมื่อภาคธุรกิจอยู่
ในช่วงขาลง เศรษฐกิจไม่ขยายตัว เกิดการว่างงานขึ้นในระบบเศรษฐกิจ เหตุการณ์เหล่านี้จะเกิดขึ้น
เพียงช่วงเวลาสั้น ๆ เท่านั้น จากนั้นระบบราคาจะช่วยจัดการให้ระบบเศรษฐกิจกลับมาให้อยู่ในระดับ
การจ้างงานเต็มที่ (Full Employment) ได้โดยอัตโนมัติ อย่างไรก็ดี หลังจากเกิดภาวะเศรษฐกิจ
ตกต่าทั่วโลก พบว่าระบบเศรษฐกิจไม่สามารถปรับตัวให้กลับมาดีขึ้นได้เอง จากเหตุการณ์นี้เองทาให้
นักเศรษฐศาสตร์ชาวอังกฤษชื่อว่า John Maynard Keynes (มีชีวิตระหว่าง ค.ศ. 18831946)
ได้เสนอแนวคิดการวิเคราะห์เศรษฐกิจมหภาค1
อธิบายว่า การใช้จ่ายมวลรวมที่ไม่เพียงพอคือสาเหตุ
ที่ทาให้ระบบเศรษฐกิจไม่สามารถปรับตัวกลับไปดีขึ้นได้เอง การจ้างงานจึงไม่เพิ่มเข้าสู่ระดับการจ้าง
งานเต็มที่ การแทรกแซงจากภาครัฐบาลจะช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวได้
จากเหตุการณ์ดังกล่าวทาให้เราสามารถแบ่งแนวคิดของนักเศรษฐศาสตร์หลักออกเป็น 2
ช่วง ช่วงที่ 1 คือ ช่วงก่อนเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่าทั่วโลก (ก่อนทศวรรษ 1930) ซึ่งจะเรียกว่า
1
อยู่ในหนังสือชื่อ “The General Theory of Employment, Interest and Money” ซึ่งตีพิมพ์ใน ค.ศ. 1936
แนวคิดของนักเศรษฐศาสตร์สานักคลาสสิก2
ช่วงที่ 2 คือช่วงการเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่าทั่วโลกซึ่ง
จะเรียกว่า แนวคิดของนักเศรษฐศาสตร์สานักเคนส์เซียน3
แนวคิดที่สาคัญของ 2 สานัก สรุปได้ดังนี้
ก. สำนักคลำสสิก (Classical)
แนวคิดของสานักคลาสสิกคือ ผลผลิตจะกลับเข้าสู่ที่ระดับดุลยภาพเสมอ ซึ่งผลผลิตที่ดุลย-
ภาพนี้เป็นระดับที่เกิดจากการจ้างงานเต็มที่4 (Full Employment) การว่างงานไม่เกิดขึ้น ตลาด
ต่าง ๆ ในระบบเศรษฐกิจเป็นตลาดเสรี (Free Market) ไม่มีการควบคุมหรือแทรกแซงใด ๆ จาก
รัฐบาล ดังนั้น ระดับราคาและค่าจ้างปรับตัวได้อย่างเสรี (Flexible Prices and Wages) สินค้าที่
ผลิตออกมาในระบบเศรษฐกิจจะขายได้หมด นโยบายการเงินจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อระดับราคา
เท่านั้น ไม่ทาให้การจ้างงานและผลผลิตเปลี่ยนแปลง ผลผลิตจะเพิ่มขึ้นได้จากการพัฒนาเทคโนโลยี
นโยบายการคลังไม่มีความจาเป็น
ข. สำนักเคนส์เซียน (Keynesian)
แนวคิดของสานักเคนส์คือ ผลผลิตที่เกิดขึ้นในระบบเศรษฐกิจเป็นระดับที่ไม่ได้มาจากการ
จ้างงานเต็มที่ นั่นคือ มีการว่างงานเกิดขึ้น ระดับราคาและค่าจ้างปรับตัวอย่างเสรีไม่ได้ (Sticky
Price and Wages) สินค้าที่ผลิตออกมาในระบบเศรษฐกิจอาจขายไม่หมด เนื่องจากอุปสงค์มวล
รวมอยู่ในระดับที่ต่า ดังนั้น ภาครัฐบาลควรเข้ามาแทรกแซงเพื่อให้อุปสงค์มวลรวมเพิ่มขึ้น นโยบาย
การคลังจึงมีความสาคัญมากที่จะส่งผลกระทบต่อทั้งระดับราคา การจ้างงาน และผลผลิต นโยบาย
การเงินก็สามารถส่งผลต่ออุปสงค์มวลรวมได้เช่นกัน
2
แนวคิดของสำนักคลำสสิกถูกศึกษาโดย Adam Smith (Wealth of Nations, 1776), David Ricardo
(Principles of Political Economy, 1817) และ John Stuart Mill (Principles of Political Economy, 1848)
และยังมีแนวคิดของสำนักนีโอคลำสสิก (Neoclassical) ซึ่งถูกศึกษาโดย Alfred Marshall (Principles of Economics,
1920) และ A. C. Pigou (The Theory of Unemployment, 1933) ซึ่ง Keynes ให้ความเห็นว่า แนวคิดทั้ง 2 ช่วงนี้มี
ความคล้ายกันมาก จึงจัดให้อยู่ในกลุ่มเดียวกันแล้วเรียกว่า “สานักคลาสสิก”
3
และเมื่อเวลาผ่านไป สถานการณ์ทางเศรษฐกิจก็เปลี่ยนแปลงไปด้วย จึงมีการแนวคิดของนักเศรษฐศาสตร์สานักต่าง ๆ
ที่อธิบายถึงเศรษฐกิจมหภาคเกิดขึ้นต่อไปอีก เช่น สานักการเงินนิยม (Monetarist) สานักเคนส์เซียนใหม่ (New Keynesian)
สานักคลาสสิกใหม่ (New Classical) แต่จะไม่ขอกล่าวถึงในหนังสือเล่มนี้
4
หรือกล่าวว่า ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง (Actual Output) เท่ากับผลผลิตที่เป็นไปได้ (Potential Output) เสมอ
1.2 ควำมหมำยตัวแปรทำงเศรษฐกิจมหภำคที่สำคัญ
สาหรับหัวข้อนี้ จะสรุปความหมายของตัวแปรทางเศรษฐกิจมหภาคที่สาคัญ ซึ่งจะช่วยให้
การศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์มหภาคเข้าใจได้ง่ายขึ้น ตัวแปรที่ควรทราบได้แก่ ผลิตภัณฑ์มวลรวม
ภายในประเทศ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศที่แท้จริง การว่างงาน การจ้างงานเต็มที่ ช่วงห่าง
ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ อัตราเงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ย ตลาดหุ้น อัตราแลกเปลี่ยน
และปริมาณเงิน
(1) ผลิตภัณฑ์มวลรวมภำยในประเทศ (Gross Domestic Product: Real GDP)
ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) คือการวัดมูลค่าสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายทุก
ชนิดตามราคาที่ซื้อขายกันในท้องตลาดในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง เช่น ใน 1 ไตรมาส หรือใน 1 ปี
(2) ผลิตภัณฑ์มวลรวมภำยในประเทศที่แท้จริง (Real Gross Domestic Product:
Real GDP)
คาว่า “ที่แท้จริง (real)” ในทางเศรษฐศาสตร์หมายถึง การวัดค่าของตัวแปรหนึ่ง โดยค่าของ
ตัวแปรนั้นไม่มีอิทธิพลจากการเปลี่ยนแปลงของราคา ดังนั้น ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศที่
แท้จริงจะต้องวัดค่าโดยไม่นาผลของราคาเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย กล่าวคือ สมมุติให้ในช่วงเวลา 1 ปีที่
ผ่านมา พบว่าราคาสินค้าโดยรวมเพิ่มสูงขึ้น 2 เท่า และผู้ผลิตขายสินค้าได้ในปริมาณที่เท่าเดิมเหมือน
ปีก่อนหน้านี้ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศที่แท้จริง (Real GDP) จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ
เนื่องจากปริมาณสินค้าที่ขายได้ไม่เปลี่ยนแปลง ในขณะที่ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (หรือ
GDP) จะเพิ่มขึ้น 2 เท่าอันเป็นผลเนื่องมาจากราคา
ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศที่แท้จริงอาจเรียกอีกอย่างว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวม
ภายในประเทศ ณ ราคาคงที่ (GDP at Constant Price)
(3) กำรว่ำงงำน (Unemployment)
การว่างงานในทางเศรษฐศาสตร์แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ ดังต่อไปนี้
ก. การว่างงานชั่วคราว (Frictional Unemployment5
) คือการว่างงานที่เกิดจากกาลังแรงงาน
ที่ยังไม่มีงานทาอันเนื่องมาจากถูกให้ออกจากงานที่เดิม หรือลาออกจากที่เดิมเพื่อหางานใหม่
หรือเพิ่งมีความพร้อมในการเข้าสู่ตลาดแรงงาน หรือว่างงานตามฤดูกาล (เช่น เกษตรกรจะ
ว่างงานในช่วงที่เก็บเกี่ยวผลผลิตเสร็จแล้ว)
5
ภาษาอังกฤษอาจใช้คาว่า Transitional Unemployment หรือ Search Unemployment ก็ได้
ข. การว่างงานตามโครงสร้าง (Structural Unemloyment) คือการว่างงานที่เกิดจากกาลัง
แรงงานไม่มีทักษะตรงตามที่ผู้จ้างต้องการ จึงไม่สามารถหางานทาได้
ค. การว่างงานตามวัฏจักร (Cyclical Unemployment) คือการว่างงานที่เกิดจากไม่มี
ความต้องการแรงงานเพราะภาวะเศรษฐกิจถดถอย
ส่วนการอัตราการว่างงาน คานวณโดยใช้สูตรต่อไปนี้
อัตราการว่างงาน =
จานวนคนว่างงาน
กาลังแรงงาน ×100
โดยที่จานวนคนว่างงาน (unemployed workers) หมายถึงประชาชนที่ต้องการทางานและกาลังหา
งานทาแต่ไม่สามารถหางานได้ ซึ่งก็คือการว่างงานทั้ง 3 ประเภทที่กล่าวมาข้างต้นนั่นเอง ส่วนกาลัง
แรงงาน (labor force) คือผลรวมของจานวนคนว่างงานและคนที่มีงานทา
(4) กำรจ้ำงงำนเต็มที่ (Full Employment)
การจ้างงานเต็มที่ หมายถึง การที่ระบบเศรษฐกิจหนึ่งไม่มีการว่างงานตามวัฏจักร นั่นคือ
อัตราการว่างงานจะเกิดจากจานวนคนที่ว่างงานชั่วคราวและจานวนคนที่ว่างงานตามโครงสร้าง
เท่านั้น และเมื่อประเทศหนึ่งมีการจ้างงานเต็มที่ ปริมาณสินค้าและบริการที่ผลิตได้ในประเทศนั้นจะ
เรียกว่า มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศแท้จริงที่เป็นไปได้ (Potential real GDP)
(5) ช่วงห่ำงผลิตภัณฑ์มวลรวมภำยในประเทศ (GDP Gap)
ช่วงห่างผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP Gap) หมายถึงปริมาณสินค้าและบริการ
ที่เศรษฐกิจหนึ่งสูญเสียไปอันเนื่องมาจากการมิได้ผลิตสินค้าและบริการจากระดับการจ้างงานเต็มที่
หรือเขียนเป็นสูตรได้ดังนี้
GDP Gap = มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศแท้จริงที่เป็นไปได้ (Potential real
GDP) ‒ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศแท้จริงที่เกิดขึ้นจริง6
(Actual real GDP)
(6) อัตรำเงินเฟ้อ (Inflation Rate)
อัตราเงินเฟ้อ คืออัตราการเปลี่ยนแปลงในระดับราคาโดยรวมของระบบเศรษฐกิจ เป็นตัววัด
ว่าราคาสินค้าโดยรวมมีการเปลี่ยนแปลงมากหรือน้อยเพียงใด ซึ่งมีสูตรคานวณดังนี้
6
ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศแท้จริงที่เกิดขึ้นจริง ก็คือผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศที่แท้จริง (Real GDP)
นั่นเอง
อัตราเงินเฟ้อ ณ เวลา t =
ดัชนีราคา ณ เวลา t − ดัชนีราคา ณ เวลา (t−1)
ดัชนีราคา ณ เวลา (t−1)
โดยดัชนีราคานี้อาจเป็นตัวหักลดผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP deflator) หรือ
ดัชนีราคาผู้บริโภค (Consumer Price Index: CPI) หรือดัชนีราคาผู้ผลิต (Producer Price
Index: PPI) ก็ได้ แต่ที่นิยมใช้คือดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) นิยามดัชนีราคาแต่ละตัวเป็นดังนี้
o ตัวหักลดผลิตภัณฑ์มวลรวมภำยในประเทศ (GDP deflator) หมายถึงตัววัดการ
เปลี่ยนแปลงของระดับราคาสินค้าและบริการทั้งหมด ถือว่าเป็นเครื่องมือในการวัดอัตราการ
เปลี่ยนแปลงของระดับราคาได้ดีที่สุดเนื่องจากมีพื้นฐานการคานวณมาจาก GDP โดยสูตร
ในการคานวณคือ
GDP deflator =
GDP ที่เป็นตัวเงิน
GDP ณ ราคาคงที่
× 100
o ดัชนีรำคำผู้บริโภค (Consumer Price Index: CPI) วัดราคาขายปลีกของสินค้าและ
บริการโดยเฉลี่ยที่ผู้บริโภคจ่ายไปสาหรับกลุ่มสินค้าและบริการที่กาหนด
o ดัชนีรำคำผู้ผลิต (Producer Price Index: PPI) วัดราคาสินค้าโดยเฉลี่ยที่ผู้ผลิตได้รับ
ซึ่งเป็นราคาที่จาหน่ายออกจากโรงงานหรือแหล่งผลิต โดยไม่รวมค่าขนส่งและภาษีมูลค่าเพิ่ม
ในวิชาเศรษฐศาสตร์มหภาคนั้น เมื่อมีการพูดถึงระดับราคา จะหมายถึงระดับราคาสินค้า
โดยรวมทั้งหมดซึ่งอาจใช้ GDP deflator หรือ CPI เป็นตัวแทนก็ได้
(7) อัตรำดอกเบี้ย (Interest Rate)
อัตราดอกเบี้ย คือราคาที่ต้องจ่ายเมื่อเราต้องการกู้เงิน ซึ่งวัดเป็นร้อยละต่อปี หรืออาจมอง
เป็นราคาที่เราได้รับเมื่อเราให้กู้เงิน (หรือออมเงิน) ก็ได้ หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งว่า อัตราดอกเบี้ยคือ
ตัวที่ทาการจัดสรรทรัพยากรด้านเงินทุนให้แก่ผู้ต้องการเงินกู้และผู้ต้องการออมเงิน ในวิชา
เศรษฐศาสตร์มหภาคมีการพูดถึงอัตราดอกเบี้ย 2 แบบ คืออัตราดอกเบี้ยที่เป็นตัวเงิน (Nominal
interest rate) และอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (real interest rate) ซึ่งมีความหมายดังนี้
อัตราดอกเบี้ยที่เป็นตัวเงิน คืออัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในรูปของเงิน ซึ่งก็คืออัตราดอกเบี้ยที่เรา
เห็นกันในชีวิตประจาวันนั่นเอง เช่น อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่ง อัตราดอกเบี้ย
หุ้นกู้ของบริษัทหนึ่ง อัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาล หรืออัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมข้ามคืนระหว่าง
ธนาคาร
อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง คืออัตราดอกเบี้ยในรูปของสินค้าและบริการ กล่าวคือ เปรียบเสมือน
การคานวณดอกเบี้ยอานาจซื้อในรูปของสินค้าและบริการที่ผู้กู้ต้องจ่ายเมื่อมีการกู้เงินนั่นเอง อัตรา
ดอกเบี้ยที่แท้จริง = อัตราดอกเบี้ยที่เป็นตัวเงิน – อัตราเงินเฟ้อ
(8) ตลำดหุ้น (Stock Market)
ตลาดหุ้น คือตลาดซึ่งเป็นแหล่งรวมของบริษัทหลาย ๆ บริษัทที่เข้ามาจดทะเบียนในตลาด
หลักทรัพย์ เพื่อให้ผู้ที่มีเงินเหลือเก็บซึ่งเราเรียกว่า "นักลงทุน" เข้ามาร่วมลงทุน และนักลงทุนเหล่านั้น
ก็จะเป็นหนึ่งในผู้ร่วมถือหุ้นของบริษัท หรือร่วมเป็นเจ้าของในบริษัทนั้น ๆ การลงทุนในตลาดหุ้นจึง
เป็นทางเลือกเพื่อการออมเงินในระยะยาวที่ผู้ออมสามารถป้องกันการขาดทุนที่เกิดจากระดับอัตรา
เงินเฟ้อได้
ดัชนีราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET Index) คือดัชนีที่สะท้อนการ
เคลื่อนไหวของราคาหลักทรัพย์ทั้งหมด ( Composite Index)
SET Index =
มูลค่าตลาดรวมในวันปัจจุบัน
มูลค่าตลาดรวมในวันฐาน (30 เมษายน 2518)
× 100
(9) อัตรำแลกเปลี่ยน (Exchange Rate)
อัตราแลกเปลี่ยนแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ อัตราแลกเปลี่ยนที่เป็นตัวเงิน (Nominal
Exchange Rate) และอัตราแลกเปลี่ยนที่แท้จริง (Real Exchange Rate) ซึ่งมีความหมายอธิบาย
ได้ดังนี้
อัตราแลกเปลี่ยนที่เป็นตัวเงิน คืออัตราที่เงินของประเทศหนึ่งสามารถเปลี่ยนเป็นเงินอีก
ประเทศหนึ่งได้ ซึ่งก็คืออัตราแลกเปลี่ยนที่เราเห็นทั่วไปนั่นเอง เช่น ถ้าอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อ
ดอลลาร์สหรัฐคือ 35 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ หมายถึงเราสามารถนาเงิน 35 บาทไปแลกกับเงิน 1
ดอลลาร์สหรัฐได้ หรือเราอาจมองอัตราแลกเปลี่ยนที่เป็นตัวเงินได้ว่าเป็นราคาของเงินตรา
ต่างประเทศที่จ่ายในรูปเงินบาทก็ได้ เช่น ราคาของเงิน 1 ดอลลาร์สหรัฐคือ 35 บาทนั่นเอง
อัตราแลกเปลี่ยนที่แท้จริง คืออัตราที่จานวนสินค้าของประเทศหนึ่งสามารถแลกเปลี่ยน
สินค้าของอีกประเทศหนึ่งได้ โดยอัตราแลกเปลี่ยนที่แท้จริงของเงินบาทต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ คานวณ
จากสูตรดังนี้
อัตราแลกเปลี่ยนที่แท้จริง = อัตราแลกเปลี่ยนที่เป็นตัวเงิน 
ดัชนีราคาสินค้าของสหรัฐ
ดัชนีราคาสินค้าของไทย
เราอาจมองอัตราแลกเปลี่ยนที่แท้จริงว่าเป็นราคาของสินค้าที่ผลิตในต่างรัฐเทียบกับราคาสินค้าที่
ผลิตในไทย (เมื่อถูกแปลงให้เป็นเงินสกุลเดียวกัน) ก็ได้
(10) อุปทำนเงิน (Money Supply)
อุปทานเงิน ก็คือปริมาณเงินที่หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
ใหญ่ ๆ ได้แก่ อุปทานเงินหรือปริมาณเงินในความหมายแคบ (M1) และอุปทานเงินหรือปริมาณใน
ความหมายกว้าง (M2)
อุปทานเงินหรือปริมาณเงินความหมายแคบ (M1) ประกอบด้วยธนบัตร เหรียญกษาปณ์ใน
มือประชาชน และเงินฝากกระแสรายวัน ส่วนอุปทานเงินความหมายกว้าง (M2) ประกอบด้วย
ปริมาณเงินความหมายแคบ บวกด้วยเงินฝากแบบอื่น ๆ ที่ไม่จาเป็นต้องมีเช็ค เช่น เงินฝากประจา
บทที่ 2
อุปสงค์มวลรวมของสำนักคลำสสิก
ในบทนี้จะศึกษาถึงการวิเคราะห์เศรษฐกิจมหภาคของสานักคลาสสิก ข้อสมมุติและแนวคิด
ของสานักนี้คือ
 ตลาดต่าง ๆ ในสานักคลาสสิกเป็นตลาดเสรี (free market) กล่าวคือ รัฐบาลไม่ต้อง
แทรกแซงการทางานของภาคเอกชนเพื่อควบคุมตัวแปรในระบบเศรษฐกิจ เช่น การจ้างงาน อัตรา
ค่าจ้าง ผลผลิต ระดับราคา และอัตราดอกเบี้ย เนื่องจากตัวแปรเหล่านี้จะสามารถปรับตัวได้อย่าง
เสรีและรวดเร็ว นอกจากนี้ เมื่อมีสินค้าและบริการออกมาสู่ตลาด จะสามารถขายสินค้าและบริการ
นั้นได้หมด หรือตลาดสินค้าจะปรับตัวให้เข้าสู่ดุลยภาพ (Market Clearing) ได้เสมอ
 ระดับดุลยภาพของผลผลิต ณ เวลาใด ๆ (แม้แต่ในระยะสั้น) ตามแนวคิดของสานักคลาสสิก
จะเป็นระดับที่เกิดจากการจ้างงานเต็มที่เสมอ หรือกล่าวอีกอย่างคือ ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง (actual
output) = ผลผลิตสูงสุดที่เป็นไปได้ (potential output)
 สานักคลาสสิกมองว่า เงินตรา (money) เป็นเพียงสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสิ่งของเท่านั้น
เงินจะไม่ใช่ตัวแสดงถึงความมั่งคั่งของประเทศนั้น สิ่งที่แสดงความมั่งคั่งคือ การมีปัจจัยการผลิตที่
มากกว่าและการมีเทคโนโลยีการผลิตที่ก้าวหน้ามากกว่า สานักนี้ยังมองว่า อัตราการหมุนเวียน
เปลี่ยนมือของการใช้เงิน (Money Velocity) มีค่าคงที่ในระยะสั้นด้วย
จากข้อสมมุติข้างต้น เราจะนามาใช้เป็นแนวทางในการวิเคราะห์เศรษฐกิจมหภาค โดยจะ
เริ่มจากการศึกษาอุปสงค์มวลรวมของสานักนี้ซึ่งมีที่มาจากทฤษฎีปริมาณเงิน จากนั้นจะศึกษาถึง
อัตราดอกเบี้ยตามแนวคิดของสานักคลาสสิกนั้นว่าถูกกาหนดขึ้นมาอย่างไรและมีความเชื่อมโยงกับ
อุปสงค์มวลรวมอย่างไร
2.1 ทฤษฎีปริมำณเงินและกำรสร้ำงเส้นอุปสงค์มวลรวม
ทฤษฎีปริมาณเงินเป็นทฤษฎีที่อธิบายถึงการกาหนดระดับราคาสินค้าโดยทั่วไปในระบบ
เศรษฐกิจ ซึ่งจะใช้สมการแลกเปลี่ยน (The Equation of Exchange) และทฤษฎีปริมาณเงินของเคม-
บริดจ์ (Cambridge Approach to the Quantity Theory of Money) เป็นพื้นฐานในการอธิบาย ดังมี
รายละเอียดดังต่อไปนี้
2.1.1 สมกำรแลกเปลี่ยน (The Equation of Exchange)
สมการแลกเปลี่ยน เป็นสมการเอกลักษณ์ที่แสดงถึงปริมาณเงินที่หมุนเวียนเปลี่ยนมือใน
ระบบเศรษฐกิจในช่วงเวลาหนึ่ง จะต้องมีค่าเท่ากับมูลค่าสินค้าและบริการที่ซื้อขายกันในช่วงเวลานั้น
ซึ่งเขียนได้ดังนี้
MVT = PTT (2.1)7
โดยที่ M คือปริมาณเงิน
VT คืออัตราการหมุนเวียนเปลี่ยนมือของเงินที่ใช้ซื้อสินค้า8
PT คือดัชนีราคาของสินค้าที่มีการซื้อขายกัน
T คือปริมาณของสินค้าและบริการที่มีการซื้อขายกัน
ปริมาณของสินค้าและบริการที่มีการซื้อขายกันในช่วงเวลาหนึ่ง เช่น 1 ปีอาจรวมถึงผลผลิตที่ถูกผลิต
ขึ้นในช่วงเวลาที่ผ่านมา ดังนั้น ถ้าคิดเฉพาะผลผลิตที่ผลิตขึ้นในช่วงเวลานี้เท่านั้น สมการแลกเปลี่ยน
จะเขียนใหม่เป็นสมการที่ (2.2) ดังนี้
MV = Py (2.2)
โดยที่ M คือปริมาณเงิน
V คืออัตราการหมุนเวียนเปลี่ยนมือของเงินที่ใช้ซื้อสินค้าที่ถูกผลิตในปีนี้
P คือดัชนีราคาของสินค้าที่ผลิตในปีนี้
7
สมการนี้ถูกพัฒนาโดยนักเศรษฐศาสตร์ชื่อว่า Irving Fisher
8
ถ้า VT = 12 หมายถึงเงิน 1 บาทโดยเฉลี่ยแล้วถูกใช้จ่ายไปเพื่อซื้อสินค้าทั้งหมด 12 ครั้งในช่วงเวลาหนึ่ง ไม่ว่าสินค้า
นั้นจะผลิตขึ้นมาในปีใด ๆ ก็ตาม

More Related Content

What's hot

ใบความรู้ ที่ 2.1 เรื่อง ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโปรแกรม microsoft excel 2010
ใบความรู้ ที่ 2.1  เรื่อง ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโปรแกรม microsoft excel 2010ใบความรู้ ที่ 2.1  เรื่อง ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโปรแกรม microsoft excel 2010
ใบความรู้ ที่ 2.1 เรื่อง ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโปรแกรม microsoft excel 2010Nicharee Piwjan
 
บทที่ 7 ต้นทุนการผลิต และรายรับจากการผลิต
บทที่ 7 ต้นทุนการผลิต และรายรับจากการผลิตบทที่ 7 ต้นทุนการผลิต และรายรับจากการผลิต
บทที่ 7 ต้นทุนการผลิต และรายรับจากการผลิตOrnkapat Bualom
 
บทที่ 6 การจัดองค์การ
บทที่ 6 การจัดองค์การบทที่ 6 การจัดองค์การ
บทที่ 6 การจัดองค์การPrapaporn Boonplord
 
แผนธุรกิจร้านก๋วยเตี๋ยวลูกชิ้นปลา “ชามโต”
แผนธุรกิจร้านก๋วยเตี๋ยวลูกชิ้นปลา “ชามโต”แผนธุรกิจร้านก๋วยเตี๋ยวลูกชิ้นปลา “ชามโต”
แผนธุรกิจร้านก๋วยเตี๋ยวลูกชิ้นปลา “ชามโต”Utai Sukviwatsirikul
 
คู่อันดับและกราฟ
คู่อันดับและกราฟคู่อันดับและกราฟ
คู่อันดับและกราฟJiraprapa Suwannajak
 
ฟังก์ชันต่อเนื่อง (continuous function)
ฟังก์ชันต่อเนื่อง (continuous function)ฟังก์ชันต่อเนื่อง (continuous function)
ฟังก์ชันต่อเนื่อง (continuous function)CC Nakhon Pathom Rajabhat University
 
บทที่ 5 พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
บทที่ 5 พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์บทที่ 5 พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
บทที่ 5 พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์Wanphen Wirojcharoenwong
 
บทที่ 2 การพยากรณ์
บทที่ 2 การพยากรณ์บทที่ 2 การพยากรณ์
บทที่ 2 การพยากรณ์Teetut Tresirichod
 
พื้นที่ใต้โค้ง
พื้นที่ใต้โค้งพื้นที่ใต้โค้ง
พื้นที่ใต้โค้งkrurutsamee
 
Chapter3 ความยืดหยุ่น
Chapter3 ความยืดหยุ่นChapter3 ความยืดหยุ่น
Chapter3 ความยืดหยุ่นPattapong Promchai
 
บทที่ 7 การวางแผนกลยุทธ์และกลยุทธ์การเจรจาต่อรองข้ามชาติ
บทที่ 7 การวางแผนกลยุทธ์และกลยุทธ์การเจรจาต่อรองข้ามชาติบทที่ 7 การวางแผนกลยุทธ์และกลยุทธ์การเจรจาต่อรองข้ามชาติ
บทที่ 7 การวางแผนกลยุทธ์และกลยุทธ์การเจรจาต่อรองข้ามชาติTeetut Tresirichod
 
แบบทดสอบ Xcel ปวส. 1-3 (ตอนที่ 2).doc
แบบทดสอบ Xcel ปวส. 1-3 (ตอนที่ 2).docแบบทดสอบ Xcel ปวส. 1-3 (ตอนที่ 2).doc
แบบทดสอบ Xcel ปวส. 1-3 (ตอนที่ 2).docAnuwatBhumthavorn
 
ใบความรู้ การเขียนรายงาน
ใบความรู้ การเขียนรายงานใบความรู้ การเขียนรายงาน
ใบความรู้ การเขียนรายงานDuangsuwun Lasadang
 
ใบลาป่วยลากิจนักเรียนนักศึกษา
ใบลาป่วยลากิจนักเรียนนักศึกษาใบลาป่วยลากิจนักเรียนนักศึกษา
ใบลาป่วยลากิจนักเรียนนักศึกษาPiyarerk Bunkoson
 
เนื้อหาเมทริกซ์
เนื้อหาเมทริกซ์เนื้อหาเมทริกซ์
เนื้อหาเมทริกซ์Beer Aksornsart
 
ตัวอย่างแผนธุรกิจบริษัทเสียงดีจำกัด
ตัวอย่างแผนธุรกิจบริษัทเสียงดีจำกัดตัวอย่างแผนธุรกิจบริษัทเสียงดีจำกัด
ตัวอย่างแผนธุรกิจบริษัทเสียงดีจำกัดNattakorn Sunkdon
 
ตัวอย่างแผนธุรกิจPocket tissue
ตัวอย่างแผนธุรกิจPocket tissueตัวอย่างแผนธุรกิจPocket tissue
ตัวอย่างแผนธุรกิจPocket tissueNattakorn Sunkdon
 
คอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์คอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์พัน พัน
 
การบัญชีเบื้องต้น Power point
การบัญชีเบื้องต้น Power pointการบัญชีเบื้องต้น Power point
การบัญชีเบื้องต้น Power pointOrawonya Wbac
 

What's hot (20)

ใบความรู้ ที่ 2.1 เรื่อง ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโปรแกรม microsoft excel 2010
ใบความรู้ ที่ 2.1  เรื่อง ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโปรแกรม microsoft excel 2010ใบความรู้ ที่ 2.1  เรื่อง ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโปรแกรม microsoft excel 2010
ใบความรู้ ที่ 2.1 เรื่อง ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโปรแกรม microsoft excel 2010
 
บทที่ 7 ต้นทุนการผลิต และรายรับจากการผลิต
บทที่ 7 ต้นทุนการผลิต และรายรับจากการผลิตบทที่ 7 ต้นทุนการผลิต และรายรับจากการผลิต
บทที่ 7 ต้นทุนการผลิต และรายรับจากการผลิต
 
บทที่ 6 การจัดองค์การ
บทที่ 6 การจัดองค์การบทที่ 6 การจัดองค์การ
บทที่ 6 การจัดองค์การ
 
แผนธุรกิจร้านก๋วยเตี๋ยวลูกชิ้นปลา “ชามโต”
แผนธุรกิจร้านก๋วยเตี๋ยวลูกชิ้นปลา “ชามโต”แผนธุรกิจร้านก๋วยเตี๋ยวลูกชิ้นปลา “ชามโต”
แผนธุรกิจร้านก๋วยเตี๋ยวลูกชิ้นปลา “ชามโต”
 
คู่อันดับและกราฟ
คู่อันดับและกราฟคู่อันดับและกราฟ
คู่อันดับและกราฟ
 
ฟังก์ชันต่อเนื่อง (continuous function)
ฟังก์ชันต่อเนื่อง (continuous function)ฟังก์ชันต่อเนื่อง (continuous function)
ฟังก์ชันต่อเนื่อง (continuous function)
 
บทที่ 5 พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
บทที่ 5 พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์บทที่ 5 พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
บทที่ 5 พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
 
บทที่ 2 การพยากรณ์
บทที่ 2 การพยากรณ์บทที่ 2 การพยากรณ์
บทที่ 2 การพยากรณ์
 
พื้นที่ใต้โค้ง
พื้นที่ใต้โค้งพื้นที่ใต้โค้ง
พื้นที่ใต้โค้ง
 
Chapter3 ความยืดหยุ่น
Chapter3 ความยืดหยุ่นChapter3 ความยืดหยุ่น
Chapter3 ความยืดหยุ่น
 
บทที่ 7 การวางแผนกลยุทธ์และกลยุทธ์การเจรจาต่อรองข้ามชาติ
บทที่ 7 การวางแผนกลยุทธ์และกลยุทธ์การเจรจาต่อรองข้ามชาติบทที่ 7 การวางแผนกลยุทธ์และกลยุทธ์การเจรจาต่อรองข้ามชาติ
บทที่ 7 การวางแผนกลยุทธ์และกลยุทธ์การเจรจาต่อรองข้ามชาติ
 
แบบทดสอบ Xcel ปวส. 1-3 (ตอนที่ 2).doc
แบบทดสอบ Xcel ปวส. 1-3 (ตอนที่ 2).docแบบทดสอบ Xcel ปวส. 1-3 (ตอนที่ 2).doc
แบบทดสอบ Xcel ปวส. 1-3 (ตอนที่ 2).doc
 
ใบความรู้ การเขียนรายงาน
ใบความรู้ การเขียนรายงานใบความรู้ การเขียนรายงาน
ใบความรู้ การเขียนรายงาน
 
ใบลาป่วยลากิจนักเรียนนักศึกษา
ใบลาป่วยลากิจนักเรียนนักศึกษาใบลาป่วยลากิจนักเรียนนักศึกษา
ใบลาป่วยลากิจนักเรียนนักศึกษา
 
เนื้อหาเมทริกซ์
เนื้อหาเมทริกซ์เนื้อหาเมทริกซ์
เนื้อหาเมทริกซ์
 
ตัวอย่างแผนธุรกิจบริษัทเสียงดีจำกัด
ตัวอย่างแผนธุรกิจบริษัทเสียงดีจำกัดตัวอย่างแผนธุรกิจบริษัทเสียงดีจำกัด
ตัวอย่างแผนธุรกิจบริษัทเสียงดีจำกัด
 
ตัวอย่างแผนธุรกิจPocket tissue
ตัวอย่างแผนธุรกิจPocket tissueตัวอย่างแผนธุรกิจPocket tissue
ตัวอย่างแผนธุรกิจPocket tissue
 
Value chain27 09-2556
Value chain27 09-2556Value chain27 09-2556
Value chain27 09-2556
 
คอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์คอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์
 
การบัญชีเบื้องต้น Power point
การบัญชีเบื้องต้น Power pointการบัญชีเบื้องต้น Power point
การบัญชีเบื้องต้น Power point
 

Similar to 9789740335337

มหภาค1
มหภาค1มหภาค1
มหภาค1jimkongkaew
 
Macro Economics c2 รายได้ประชาชาติ
Macro Economics c2 รายได้ประชาชาติMacro Economics c2 รายได้ประชาชาติ
Macro Economics c2 รายได้ประชาชาติOrnkapat Bualom
 
เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น 6
เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น 6เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น 6
เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น 6Apple Natthakan
 
เศรษฐศาสตร์
เศรษฐศาสตร์เศรษฐศาสตร์
เศรษฐศาสตร์Krumai Kjna
 
หมวกสีเขียว
หมวกสีเขียวหมวกสีเขียว
หมวกสีเขียวPannatut Pakphichai
 
9789740329848
97897403298489789740329848
9789740329848CUPress
 
ใช้ประกอบนิเทศ
ใช้ประกอบนิเทศใช้ประกอบนิเทศ
ใช้ประกอบนิเทศPannatut Pakphichai
 
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงKowin Butdawong
 
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงKowin Butdawong
 
เอกสารประกอบการเรียน เศรษฐกิจ1ฯ
เอกสารประกอบการเรียน เศรษฐกิจ1ฯเอกสารประกอบการเรียน เศรษฐกิจ1ฯ
เอกสารประกอบการเรียน เศรษฐกิจ1ฯthnaporn999
 

Similar to 9789740335337 (20)

มหภาค1
มหภาค1มหภาค1
มหภาค1
 
Economy ppt-05
Economy ppt-05Economy ppt-05
Economy ppt-05
 
MACRO ECONOMICS.pdf
MACRO ECONOMICS.pdfMACRO ECONOMICS.pdf
MACRO ECONOMICS.pdf
 
Introgecon
IntrogeconIntrogecon
Introgecon
 
Macro Economics c2 รายได้ประชาชาติ
Macro Economics c2 รายได้ประชาชาติMacro Economics c2 รายได้ประชาชาติ
Macro Economics c2 รายได้ประชาชาติ
 
Ch12
Ch12Ch12
Ch12
 
เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น 6
เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น 6เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น 6
เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น 6
 
ศศ
ศศศศ
ศศ
 
เศรษฐศาสตร์
เศรษฐศาสตร์เศรษฐศาสตร์
เศรษฐศาสตร์
 
Economic Environment #Ch.2 (Global Marketing)
Economic Environment #Ch.2 (Global Marketing)Economic Environment #Ch.2 (Global Marketing)
Economic Environment #Ch.2 (Global Marketing)
 
หมวกสีเขียว
หมวกสีเขียวหมวกสีเขียว
หมวกสีเขียว
 
Retailing2+1
Retailing2+1Retailing2+1
Retailing2+1
 
หมวกสีฟ้า
หมวกสีฟ้าหมวกสีฟ้า
หมวกสีฟ้า
 
9789740329848
97897403298489789740329848
9789740329848
 
ใช้ประกอบนิเทศ
ใช้ประกอบนิเทศใช้ประกอบนิเทศ
ใช้ประกอบนิเทศ
 
Ch5
Ch5Ch5
Ch5
 
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
 
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
 
หมวกสีแดง
หมวกสีแดงหมวกสีแดง
หมวกสีแดง
 
เอกสารประกอบการเรียน เศรษฐกิจ1ฯ
เอกสารประกอบการเรียน เศรษฐกิจ1ฯเอกสารประกอบการเรียน เศรษฐกิจ1ฯ
เอกสารประกอบการเรียน เศรษฐกิจ1ฯ
 

More from CUPress

9789740337737
97897403377379789740337737
9789740337737CUPress
 
9789740337560
97897403375609789740337560
9789740337560CUPress
 
9789740337478
97897403374789789740337478
9789740337478CUPress
 
9789740337270
97897403372709789740337270
9789740337270CUPress
 
9789740337102
97897403371029789740337102
9789740337102CUPress
 
9789740337096
97897403370969789740337096
9789740337096CUPress
 
9789740337072
97897403370729789740337072
9789740337072CUPress
 
9789740337027
97897403370279789740337027
9789740337027CUPress
 
9789740336914
97897403369149789740336914
9789740336914CUPress
 
9789740336907
97897403369079789740336907
9789740336907CUPress
 
9789740336686
97897403366869789740336686
9789740336686CUPress
 
9789740336457
97897403364579789740336457
9789740336457CUPress
 
9789740336440
97897403364409789740336440
9789740336440CUPress
 
9789740336389
97897403363899789740336389
9789740336389CUPress
 
9789740336280
97897403362809789740336280
9789740336280CUPress
 
9789740336365
97897403363659789740336365
9789740336365CUPress
 
9789740336303
97897403363039789740336303
9789740336303CUPress
 
9789740336242
97897403362429789740336242
9789740336242CUPress
 
9789740336235
97897403362359789740336235
9789740336235CUPress
 
9789740336099
97897403360999789740336099
9789740336099CUPress
 

More from CUPress (20)

9789740337737
97897403377379789740337737
9789740337737
 
9789740337560
97897403375609789740337560
9789740337560
 
9789740337478
97897403374789789740337478
9789740337478
 
9789740337270
97897403372709789740337270
9789740337270
 
9789740337102
97897403371029789740337102
9789740337102
 
9789740337096
97897403370969789740337096
9789740337096
 
9789740337072
97897403370729789740337072
9789740337072
 
9789740337027
97897403370279789740337027
9789740337027
 
9789740336914
97897403369149789740336914
9789740336914
 
9789740336907
97897403369079789740336907
9789740336907
 
9789740336686
97897403366869789740336686
9789740336686
 
9789740336457
97897403364579789740336457
9789740336457
 
9789740336440
97897403364409789740336440
9789740336440
 
9789740336389
97897403363899789740336389
9789740336389
 
9789740336280
97897403362809789740336280
9789740336280
 
9789740336365
97897403363659789740336365
9789740336365
 
9789740336303
97897403363039789740336303
9789740336303
 
9789740336242
97897403362429789740336242
9789740336242
 
9789740336235
97897403362359789740336235
9789740336235
 
9789740336099
97897403360999789740336099
9789740336099
 

9789740335337

  • 1. บทที่ 1 บทนำ เศรษฐศาสตร์มหภาคเป็นวิชาที่ศึกษาถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยรวมของกลุ่มผู้บริโภคหรือ กลุ่มผู้ผลิตของประเทศหนึ่ง เช่น การศึกษาถึงมูลค่าผลผลิตโดยรวมของประเทศไทย รายได้รวมของ แรงงานและของนายจ้างของประเทศสหรัฐอเมริกา อัตราการจ้างงานหรืออัตราการว่างงานของ สาธารณรัฐประชาชนจีน หรือระดับราคาโดยรวมในประเทศสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ ยังศึกษาถึง พฤติกรรมการตอบสนองของกลุ่มผู้บริโภคและกลุ่มผู้ผลิตในประเทศนั้นที่มีต่อตัวแปรต่าง ๆ ทั้งตัว แปรภายในประเทศ (เช่น นโยบายด้านภาษีของรัฐบาล นโยบายการเพิ่มปริมาณของธนาคารกลาง) และตัวแปรภายนอกประเทศ (เช่น การไหลเข้า–ออกของเงินทุนจากต่างประเทศ) พื้นฐานการอธิบายการวิเคราะห์ผลกระทบของนโยบายทางการเงินและการคลังที่มีต่อตัว แปรทางเศรษฐกิจมหภาค เช่น ผลผลิต รายได้ ระดับราคา การจ้างงาน มาจาก 2 แนวคิดคือ แนวคิด ของนักเศรษฐศาสตร์สานักคลาสสิก (Classical) และแนวคิดของนักเศรษฐศาสตร์สานักเคนส์เซียน (Keynesian) ซึ่งเราจะศึกษาทั้ง 2 แนวคิดในหนังสือเล่มนี้ ดังนั้น เพื่อให้การศึกษาเศรษฐศาสตร์มหภาคระดับกลางเข้าใจได้ง่ายขึ้น เราควรทาความ เข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดกว้าง ๆ ในการวิเคราะห์เศรษฐศาสตร์มหภาคของ 2 สานักนี้ รวมถึง ความหมายตัวแปรทางเศรษฐกิจมหภาคที่สาคัญ ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
  • 2. 1.1 แนวคิดพื้นฐำนในกำรวิเครำะห์เศรษฐศำสตร์มหภำคของสำนักคลำสสิกและเคนส์ นักเศรษฐศาสตร์ด้านเศรษฐกิจมหภาค มักจะพยายามอธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นกับ ระบบเศรษฐกิจโดยรวมตามยุคสมัยที่ตนอยู่ ซึ่งบางยุคพบว่าประชาชนในประเทศมีความอยู่ดีกินดี แต่บางยุคกลับมีความเป็นอยู่ที่ฝืดเคือง นอกจากนี้ ความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีในแต่ละยุคสมัยก็มี การพัฒนาแตกต่างกันออกไป ดังนั้น นักเศรษฐศาสตร์ด้านเศรษฐกิจมหภาคจึงมีการพัฒนาการ วิเคราะห์ที่เปลี่ยนแปลงไปตามสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจของแต่ละยุคสมัย ในช่วงทศวรรษ 1920 เป็นช่วงที่เศรษฐกิจของประเทศสหรัฐอเมริกามีการเจริญเติบโตอย่าง รวดเร็ว ราคาตลาดหุ้นเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องหลายปี นักธุรกิจมีการขยายการลงทุนทั้งการสร้าง โรงงาน การซื้อเครื่องจักร การจ้างงานก็เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นกัน ความเป็นอยู่ของประชาชนดี มาก แต่ในช่วงทศวรรษ 1930 วัฏจักรธุรกิจในช่วงขาลงเริ่มเกิดขึ้น ประเทศสหรัฐอเมริกาประสบ ปัญหาเศรษฐกิจตกต่าอย่างรุนแรง ราคาหุ้นลดลง ค่าจ้างลดลง ผลผลิตลดลง ภาคธนาคารล้มละลาย ภาคธุรกิจจานวนมากต้องปิดกิจการ การว่างงานอยู่ในระดับสูง จนเกิดปัญหาภาวะเศรษฐกิจตกต่า ทั่วโลก (Great Depression) ความเป็นอยู่ของประชาชนมีความทุกข์ยากลาบาก ก่อนที่จะเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่าทั่วโลกนั้น นักเศรษฐศาสตร์เชื่อว่า เมื่อภาคธุรกิจอยู่ ในช่วงขาลง เศรษฐกิจไม่ขยายตัว เกิดการว่างงานขึ้นในระบบเศรษฐกิจ เหตุการณ์เหล่านี้จะเกิดขึ้น เพียงช่วงเวลาสั้น ๆ เท่านั้น จากนั้นระบบราคาจะช่วยจัดการให้ระบบเศรษฐกิจกลับมาให้อยู่ในระดับ การจ้างงานเต็มที่ (Full Employment) ได้โดยอัตโนมัติ อย่างไรก็ดี หลังจากเกิดภาวะเศรษฐกิจ ตกต่าทั่วโลก พบว่าระบบเศรษฐกิจไม่สามารถปรับตัวให้กลับมาดีขึ้นได้เอง จากเหตุการณ์นี้เองทาให้ นักเศรษฐศาสตร์ชาวอังกฤษชื่อว่า John Maynard Keynes (มีชีวิตระหว่าง ค.ศ. 18831946) ได้เสนอแนวคิดการวิเคราะห์เศรษฐกิจมหภาค1 อธิบายว่า การใช้จ่ายมวลรวมที่ไม่เพียงพอคือสาเหตุ ที่ทาให้ระบบเศรษฐกิจไม่สามารถปรับตัวกลับไปดีขึ้นได้เอง การจ้างงานจึงไม่เพิ่มเข้าสู่ระดับการจ้าง งานเต็มที่ การแทรกแซงจากภาครัฐบาลจะช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวได้ จากเหตุการณ์ดังกล่าวทาให้เราสามารถแบ่งแนวคิดของนักเศรษฐศาสตร์หลักออกเป็น 2 ช่วง ช่วงที่ 1 คือ ช่วงก่อนเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่าทั่วโลก (ก่อนทศวรรษ 1930) ซึ่งจะเรียกว่า 1 อยู่ในหนังสือชื่อ “The General Theory of Employment, Interest and Money” ซึ่งตีพิมพ์ใน ค.ศ. 1936
  • 3. แนวคิดของนักเศรษฐศาสตร์สานักคลาสสิก2 ช่วงที่ 2 คือช่วงการเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่าทั่วโลกซึ่ง จะเรียกว่า แนวคิดของนักเศรษฐศาสตร์สานักเคนส์เซียน3 แนวคิดที่สาคัญของ 2 สานัก สรุปได้ดังนี้ ก. สำนักคลำสสิก (Classical) แนวคิดของสานักคลาสสิกคือ ผลผลิตจะกลับเข้าสู่ที่ระดับดุลยภาพเสมอ ซึ่งผลผลิตที่ดุลย- ภาพนี้เป็นระดับที่เกิดจากการจ้างงานเต็มที่4 (Full Employment) การว่างงานไม่เกิดขึ้น ตลาด ต่าง ๆ ในระบบเศรษฐกิจเป็นตลาดเสรี (Free Market) ไม่มีการควบคุมหรือแทรกแซงใด ๆ จาก รัฐบาล ดังนั้น ระดับราคาและค่าจ้างปรับตัวได้อย่างเสรี (Flexible Prices and Wages) สินค้าที่ ผลิตออกมาในระบบเศรษฐกิจจะขายได้หมด นโยบายการเงินจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อระดับราคา เท่านั้น ไม่ทาให้การจ้างงานและผลผลิตเปลี่ยนแปลง ผลผลิตจะเพิ่มขึ้นได้จากการพัฒนาเทคโนโลยี นโยบายการคลังไม่มีความจาเป็น ข. สำนักเคนส์เซียน (Keynesian) แนวคิดของสานักเคนส์คือ ผลผลิตที่เกิดขึ้นในระบบเศรษฐกิจเป็นระดับที่ไม่ได้มาจากการ จ้างงานเต็มที่ นั่นคือ มีการว่างงานเกิดขึ้น ระดับราคาและค่าจ้างปรับตัวอย่างเสรีไม่ได้ (Sticky Price and Wages) สินค้าที่ผลิตออกมาในระบบเศรษฐกิจอาจขายไม่หมด เนื่องจากอุปสงค์มวล รวมอยู่ในระดับที่ต่า ดังนั้น ภาครัฐบาลควรเข้ามาแทรกแซงเพื่อให้อุปสงค์มวลรวมเพิ่มขึ้น นโยบาย การคลังจึงมีความสาคัญมากที่จะส่งผลกระทบต่อทั้งระดับราคา การจ้างงาน และผลผลิต นโยบาย การเงินก็สามารถส่งผลต่ออุปสงค์มวลรวมได้เช่นกัน 2 แนวคิดของสำนักคลำสสิกถูกศึกษาโดย Adam Smith (Wealth of Nations, 1776), David Ricardo (Principles of Political Economy, 1817) และ John Stuart Mill (Principles of Political Economy, 1848) และยังมีแนวคิดของสำนักนีโอคลำสสิก (Neoclassical) ซึ่งถูกศึกษาโดย Alfred Marshall (Principles of Economics, 1920) และ A. C. Pigou (The Theory of Unemployment, 1933) ซึ่ง Keynes ให้ความเห็นว่า แนวคิดทั้ง 2 ช่วงนี้มี ความคล้ายกันมาก จึงจัดให้อยู่ในกลุ่มเดียวกันแล้วเรียกว่า “สานักคลาสสิก” 3 และเมื่อเวลาผ่านไป สถานการณ์ทางเศรษฐกิจก็เปลี่ยนแปลงไปด้วย จึงมีการแนวคิดของนักเศรษฐศาสตร์สานักต่าง ๆ ที่อธิบายถึงเศรษฐกิจมหภาคเกิดขึ้นต่อไปอีก เช่น สานักการเงินนิยม (Monetarist) สานักเคนส์เซียนใหม่ (New Keynesian) สานักคลาสสิกใหม่ (New Classical) แต่จะไม่ขอกล่าวถึงในหนังสือเล่มนี้ 4 หรือกล่าวว่า ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง (Actual Output) เท่ากับผลผลิตที่เป็นไปได้ (Potential Output) เสมอ
  • 4. 1.2 ควำมหมำยตัวแปรทำงเศรษฐกิจมหภำคที่สำคัญ สาหรับหัวข้อนี้ จะสรุปความหมายของตัวแปรทางเศรษฐกิจมหภาคที่สาคัญ ซึ่งจะช่วยให้ การศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์มหภาคเข้าใจได้ง่ายขึ้น ตัวแปรที่ควรทราบได้แก่ ผลิตภัณฑ์มวลรวม ภายในประเทศ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศที่แท้จริง การว่างงาน การจ้างงานเต็มที่ ช่วงห่าง ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ อัตราเงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ย ตลาดหุ้น อัตราแลกเปลี่ยน และปริมาณเงิน (1) ผลิตภัณฑ์มวลรวมภำยในประเทศ (Gross Domestic Product: Real GDP) ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) คือการวัดมูลค่าสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายทุก ชนิดตามราคาที่ซื้อขายกันในท้องตลาดในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง เช่น ใน 1 ไตรมาส หรือใน 1 ปี (2) ผลิตภัณฑ์มวลรวมภำยในประเทศที่แท้จริง (Real Gross Domestic Product: Real GDP) คาว่า “ที่แท้จริง (real)” ในทางเศรษฐศาสตร์หมายถึง การวัดค่าของตัวแปรหนึ่ง โดยค่าของ ตัวแปรนั้นไม่มีอิทธิพลจากการเปลี่ยนแปลงของราคา ดังนั้น ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศที่ แท้จริงจะต้องวัดค่าโดยไม่นาผลของราคาเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย กล่าวคือ สมมุติให้ในช่วงเวลา 1 ปีที่ ผ่านมา พบว่าราคาสินค้าโดยรวมเพิ่มสูงขึ้น 2 เท่า และผู้ผลิตขายสินค้าได้ในปริมาณที่เท่าเดิมเหมือน ปีก่อนหน้านี้ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศที่แท้จริง (Real GDP) จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ เนื่องจากปริมาณสินค้าที่ขายได้ไม่เปลี่ยนแปลง ในขณะที่ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (หรือ GDP) จะเพิ่มขึ้น 2 เท่าอันเป็นผลเนื่องมาจากราคา ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศที่แท้จริงอาจเรียกอีกอย่างว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวม ภายในประเทศ ณ ราคาคงที่ (GDP at Constant Price) (3) กำรว่ำงงำน (Unemployment) การว่างงานในทางเศรษฐศาสตร์แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ ดังต่อไปนี้ ก. การว่างงานชั่วคราว (Frictional Unemployment5 ) คือการว่างงานที่เกิดจากกาลังแรงงาน ที่ยังไม่มีงานทาอันเนื่องมาจากถูกให้ออกจากงานที่เดิม หรือลาออกจากที่เดิมเพื่อหางานใหม่ หรือเพิ่งมีความพร้อมในการเข้าสู่ตลาดแรงงาน หรือว่างงานตามฤดูกาล (เช่น เกษตรกรจะ ว่างงานในช่วงที่เก็บเกี่ยวผลผลิตเสร็จแล้ว) 5 ภาษาอังกฤษอาจใช้คาว่า Transitional Unemployment หรือ Search Unemployment ก็ได้
  • 5. ข. การว่างงานตามโครงสร้าง (Structural Unemloyment) คือการว่างงานที่เกิดจากกาลัง แรงงานไม่มีทักษะตรงตามที่ผู้จ้างต้องการ จึงไม่สามารถหางานทาได้ ค. การว่างงานตามวัฏจักร (Cyclical Unemployment) คือการว่างงานที่เกิดจากไม่มี ความต้องการแรงงานเพราะภาวะเศรษฐกิจถดถอย ส่วนการอัตราการว่างงาน คานวณโดยใช้สูตรต่อไปนี้ อัตราการว่างงาน = จานวนคนว่างงาน กาลังแรงงาน ×100 โดยที่จานวนคนว่างงาน (unemployed workers) หมายถึงประชาชนที่ต้องการทางานและกาลังหา งานทาแต่ไม่สามารถหางานได้ ซึ่งก็คือการว่างงานทั้ง 3 ประเภทที่กล่าวมาข้างต้นนั่นเอง ส่วนกาลัง แรงงาน (labor force) คือผลรวมของจานวนคนว่างงานและคนที่มีงานทา (4) กำรจ้ำงงำนเต็มที่ (Full Employment) การจ้างงานเต็มที่ หมายถึง การที่ระบบเศรษฐกิจหนึ่งไม่มีการว่างงานตามวัฏจักร นั่นคือ อัตราการว่างงานจะเกิดจากจานวนคนที่ว่างงานชั่วคราวและจานวนคนที่ว่างงานตามโครงสร้าง เท่านั้น และเมื่อประเทศหนึ่งมีการจ้างงานเต็มที่ ปริมาณสินค้าและบริการที่ผลิตได้ในประเทศนั้นจะ เรียกว่า มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศแท้จริงที่เป็นไปได้ (Potential real GDP) (5) ช่วงห่ำงผลิตภัณฑ์มวลรวมภำยในประเทศ (GDP Gap) ช่วงห่างผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP Gap) หมายถึงปริมาณสินค้าและบริการ ที่เศรษฐกิจหนึ่งสูญเสียไปอันเนื่องมาจากการมิได้ผลิตสินค้าและบริการจากระดับการจ้างงานเต็มที่ หรือเขียนเป็นสูตรได้ดังนี้ GDP Gap = มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศแท้จริงที่เป็นไปได้ (Potential real GDP) ‒ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศแท้จริงที่เกิดขึ้นจริง6 (Actual real GDP) (6) อัตรำเงินเฟ้อ (Inflation Rate) อัตราเงินเฟ้อ คืออัตราการเปลี่ยนแปลงในระดับราคาโดยรวมของระบบเศรษฐกิจ เป็นตัววัด ว่าราคาสินค้าโดยรวมมีการเปลี่ยนแปลงมากหรือน้อยเพียงใด ซึ่งมีสูตรคานวณดังนี้ 6 ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศแท้จริงที่เกิดขึ้นจริง ก็คือผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศที่แท้จริง (Real GDP) นั่นเอง
  • 6. อัตราเงินเฟ้อ ณ เวลา t = ดัชนีราคา ณ เวลา t − ดัชนีราคา ณ เวลา (t−1) ดัชนีราคา ณ เวลา (t−1) โดยดัชนีราคานี้อาจเป็นตัวหักลดผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP deflator) หรือ ดัชนีราคาผู้บริโภค (Consumer Price Index: CPI) หรือดัชนีราคาผู้ผลิต (Producer Price Index: PPI) ก็ได้ แต่ที่นิยมใช้คือดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) นิยามดัชนีราคาแต่ละตัวเป็นดังนี้ o ตัวหักลดผลิตภัณฑ์มวลรวมภำยในประเทศ (GDP deflator) หมายถึงตัววัดการ เปลี่ยนแปลงของระดับราคาสินค้าและบริการทั้งหมด ถือว่าเป็นเครื่องมือในการวัดอัตราการ เปลี่ยนแปลงของระดับราคาได้ดีที่สุดเนื่องจากมีพื้นฐานการคานวณมาจาก GDP โดยสูตร ในการคานวณคือ GDP deflator = GDP ที่เป็นตัวเงิน GDP ณ ราคาคงที่ × 100 o ดัชนีรำคำผู้บริโภค (Consumer Price Index: CPI) วัดราคาขายปลีกของสินค้าและ บริการโดยเฉลี่ยที่ผู้บริโภคจ่ายไปสาหรับกลุ่มสินค้าและบริการที่กาหนด o ดัชนีรำคำผู้ผลิต (Producer Price Index: PPI) วัดราคาสินค้าโดยเฉลี่ยที่ผู้ผลิตได้รับ ซึ่งเป็นราคาที่จาหน่ายออกจากโรงงานหรือแหล่งผลิต โดยไม่รวมค่าขนส่งและภาษีมูลค่าเพิ่ม ในวิชาเศรษฐศาสตร์มหภาคนั้น เมื่อมีการพูดถึงระดับราคา จะหมายถึงระดับราคาสินค้า โดยรวมทั้งหมดซึ่งอาจใช้ GDP deflator หรือ CPI เป็นตัวแทนก็ได้ (7) อัตรำดอกเบี้ย (Interest Rate) อัตราดอกเบี้ย คือราคาที่ต้องจ่ายเมื่อเราต้องการกู้เงิน ซึ่งวัดเป็นร้อยละต่อปี หรืออาจมอง เป็นราคาที่เราได้รับเมื่อเราให้กู้เงิน (หรือออมเงิน) ก็ได้ หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งว่า อัตราดอกเบี้ยคือ ตัวที่ทาการจัดสรรทรัพยากรด้านเงินทุนให้แก่ผู้ต้องการเงินกู้และผู้ต้องการออมเงิน ในวิชา เศรษฐศาสตร์มหภาคมีการพูดถึงอัตราดอกเบี้ย 2 แบบ คืออัตราดอกเบี้ยที่เป็นตัวเงิน (Nominal interest rate) และอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (real interest rate) ซึ่งมีความหมายดังนี้ อัตราดอกเบี้ยที่เป็นตัวเงิน คืออัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในรูปของเงิน ซึ่งก็คืออัตราดอกเบี้ยที่เรา เห็นกันในชีวิตประจาวันนั่นเอง เช่น อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่ง อัตราดอกเบี้ย หุ้นกู้ของบริษัทหนึ่ง อัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาล หรืออัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมข้ามคืนระหว่าง ธนาคาร
  • 7. อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง คืออัตราดอกเบี้ยในรูปของสินค้าและบริการ กล่าวคือ เปรียบเสมือน การคานวณดอกเบี้ยอานาจซื้อในรูปของสินค้าและบริการที่ผู้กู้ต้องจ่ายเมื่อมีการกู้เงินนั่นเอง อัตรา ดอกเบี้ยที่แท้จริง = อัตราดอกเบี้ยที่เป็นตัวเงิน – อัตราเงินเฟ้อ (8) ตลำดหุ้น (Stock Market) ตลาดหุ้น คือตลาดซึ่งเป็นแหล่งรวมของบริษัทหลาย ๆ บริษัทที่เข้ามาจดทะเบียนในตลาด หลักทรัพย์ เพื่อให้ผู้ที่มีเงินเหลือเก็บซึ่งเราเรียกว่า "นักลงทุน" เข้ามาร่วมลงทุน และนักลงทุนเหล่านั้น ก็จะเป็นหนึ่งในผู้ร่วมถือหุ้นของบริษัท หรือร่วมเป็นเจ้าของในบริษัทนั้น ๆ การลงทุนในตลาดหุ้นจึง เป็นทางเลือกเพื่อการออมเงินในระยะยาวที่ผู้ออมสามารถป้องกันการขาดทุนที่เกิดจากระดับอัตรา เงินเฟ้อได้ ดัชนีราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET Index) คือดัชนีที่สะท้อนการ เคลื่อนไหวของราคาหลักทรัพย์ทั้งหมด ( Composite Index) SET Index = มูลค่าตลาดรวมในวันปัจจุบัน มูลค่าตลาดรวมในวันฐาน (30 เมษายน 2518) × 100 (9) อัตรำแลกเปลี่ยน (Exchange Rate) อัตราแลกเปลี่ยนแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ อัตราแลกเปลี่ยนที่เป็นตัวเงิน (Nominal Exchange Rate) และอัตราแลกเปลี่ยนที่แท้จริง (Real Exchange Rate) ซึ่งมีความหมายอธิบาย ได้ดังนี้ อัตราแลกเปลี่ยนที่เป็นตัวเงิน คืออัตราที่เงินของประเทศหนึ่งสามารถเปลี่ยนเป็นเงินอีก ประเทศหนึ่งได้ ซึ่งก็คืออัตราแลกเปลี่ยนที่เราเห็นทั่วไปนั่นเอง เช่น ถ้าอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อ ดอลลาร์สหรัฐคือ 35 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ หมายถึงเราสามารถนาเงิน 35 บาทไปแลกกับเงิน 1 ดอลลาร์สหรัฐได้ หรือเราอาจมองอัตราแลกเปลี่ยนที่เป็นตัวเงินได้ว่าเป็นราคาของเงินตรา ต่างประเทศที่จ่ายในรูปเงินบาทก็ได้ เช่น ราคาของเงิน 1 ดอลลาร์สหรัฐคือ 35 บาทนั่นเอง อัตราแลกเปลี่ยนที่แท้จริง คืออัตราที่จานวนสินค้าของประเทศหนึ่งสามารถแลกเปลี่ยน สินค้าของอีกประเทศหนึ่งได้ โดยอัตราแลกเปลี่ยนที่แท้จริงของเงินบาทต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ คานวณ จากสูตรดังนี้ อัตราแลกเปลี่ยนที่แท้จริง = อัตราแลกเปลี่ยนที่เป็นตัวเงิน  ดัชนีราคาสินค้าของสหรัฐ ดัชนีราคาสินค้าของไทย
  • 8. เราอาจมองอัตราแลกเปลี่ยนที่แท้จริงว่าเป็นราคาของสินค้าที่ผลิตในต่างรัฐเทียบกับราคาสินค้าที่ ผลิตในไทย (เมื่อถูกแปลงให้เป็นเงินสกุลเดียวกัน) ก็ได้ (10) อุปทำนเงิน (Money Supply) อุปทานเงิน ก็คือปริมาณเงินที่หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ใหญ่ ๆ ได้แก่ อุปทานเงินหรือปริมาณเงินในความหมายแคบ (M1) และอุปทานเงินหรือปริมาณใน ความหมายกว้าง (M2) อุปทานเงินหรือปริมาณเงินความหมายแคบ (M1) ประกอบด้วยธนบัตร เหรียญกษาปณ์ใน มือประชาชน และเงินฝากกระแสรายวัน ส่วนอุปทานเงินความหมายกว้าง (M2) ประกอบด้วย ปริมาณเงินความหมายแคบ บวกด้วยเงินฝากแบบอื่น ๆ ที่ไม่จาเป็นต้องมีเช็ค เช่น เงินฝากประจา
  • 9. บทที่ 2 อุปสงค์มวลรวมของสำนักคลำสสิก ในบทนี้จะศึกษาถึงการวิเคราะห์เศรษฐกิจมหภาคของสานักคลาสสิก ข้อสมมุติและแนวคิด ของสานักนี้คือ  ตลาดต่าง ๆ ในสานักคลาสสิกเป็นตลาดเสรี (free market) กล่าวคือ รัฐบาลไม่ต้อง แทรกแซงการทางานของภาคเอกชนเพื่อควบคุมตัวแปรในระบบเศรษฐกิจ เช่น การจ้างงาน อัตรา ค่าจ้าง ผลผลิต ระดับราคา และอัตราดอกเบี้ย เนื่องจากตัวแปรเหล่านี้จะสามารถปรับตัวได้อย่าง เสรีและรวดเร็ว นอกจากนี้ เมื่อมีสินค้าและบริการออกมาสู่ตลาด จะสามารถขายสินค้าและบริการ นั้นได้หมด หรือตลาดสินค้าจะปรับตัวให้เข้าสู่ดุลยภาพ (Market Clearing) ได้เสมอ  ระดับดุลยภาพของผลผลิต ณ เวลาใด ๆ (แม้แต่ในระยะสั้น) ตามแนวคิดของสานักคลาสสิก จะเป็นระดับที่เกิดจากการจ้างงานเต็มที่เสมอ หรือกล่าวอีกอย่างคือ ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง (actual output) = ผลผลิตสูงสุดที่เป็นไปได้ (potential output)  สานักคลาสสิกมองว่า เงินตรา (money) เป็นเพียงสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสิ่งของเท่านั้น เงินจะไม่ใช่ตัวแสดงถึงความมั่งคั่งของประเทศนั้น สิ่งที่แสดงความมั่งคั่งคือ การมีปัจจัยการผลิตที่ มากกว่าและการมีเทคโนโลยีการผลิตที่ก้าวหน้ามากกว่า สานักนี้ยังมองว่า อัตราการหมุนเวียน เปลี่ยนมือของการใช้เงิน (Money Velocity) มีค่าคงที่ในระยะสั้นด้วย จากข้อสมมุติข้างต้น เราจะนามาใช้เป็นแนวทางในการวิเคราะห์เศรษฐกิจมหภาค โดยจะ เริ่มจากการศึกษาอุปสงค์มวลรวมของสานักนี้ซึ่งมีที่มาจากทฤษฎีปริมาณเงิน จากนั้นจะศึกษาถึง อัตราดอกเบี้ยตามแนวคิดของสานักคลาสสิกนั้นว่าถูกกาหนดขึ้นมาอย่างไรและมีความเชื่อมโยงกับ อุปสงค์มวลรวมอย่างไร
  • 10. 2.1 ทฤษฎีปริมำณเงินและกำรสร้ำงเส้นอุปสงค์มวลรวม ทฤษฎีปริมาณเงินเป็นทฤษฎีที่อธิบายถึงการกาหนดระดับราคาสินค้าโดยทั่วไปในระบบ เศรษฐกิจ ซึ่งจะใช้สมการแลกเปลี่ยน (The Equation of Exchange) และทฤษฎีปริมาณเงินของเคม- บริดจ์ (Cambridge Approach to the Quantity Theory of Money) เป็นพื้นฐานในการอธิบาย ดังมี รายละเอียดดังต่อไปนี้ 2.1.1 สมกำรแลกเปลี่ยน (The Equation of Exchange) สมการแลกเปลี่ยน เป็นสมการเอกลักษณ์ที่แสดงถึงปริมาณเงินที่หมุนเวียนเปลี่ยนมือใน ระบบเศรษฐกิจในช่วงเวลาหนึ่ง จะต้องมีค่าเท่ากับมูลค่าสินค้าและบริการที่ซื้อขายกันในช่วงเวลานั้น ซึ่งเขียนได้ดังนี้ MVT = PTT (2.1)7 โดยที่ M คือปริมาณเงิน VT คืออัตราการหมุนเวียนเปลี่ยนมือของเงินที่ใช้ซื้อสินค้า8 PT คือดัชนีราคาของสินค้าที่มีการซื้อขายกัน T คือปริมาณของสินค้าและบริการที่มีการซื้อขายกัน ปริมาณของสินค้าและบริการที่มีการซื้อขายกันในช่วงเวลาหนึ่ง เช่น 1 ปีอาจรวมถึงผลผลิตที่ถูกผลิต ขึ้นในช่วงเวลาที่ผ่านมา ดังนั้น ถ้าคิดเฉพาะผลผลิตที่ผลิตขึ้นในช่วงเวลานี้เท่านั้น สมการแลกเปลี่ยน จะเขียนใหม่เป็นสมการที่ (2.2) ดังนี้ MV = Py (2.2) โดยที่ M คือปริมาณเงิน V คืออัตราการหมุนเวียนเปลี่ยนมือของเงินที่ใช้ซื้อสินค้าที่ถูกผลิตในปีนี้ P คือดัชนีราคาของสินค้าที่ผลิตในปีนี้ 7 สมการนี้ถูกพัฒนาโดยนักเศรษฐศาสตร์ชื่อว่า Irving Fisher 8 ถ้า VT = 12 หมายถึงเงิน 1 บาทโดยเฉลี่ยแล้วถูกใช้จ่ายไปเพื่อซื้อสินค้าทั้งหมด 12 ครั้งในช่วงเวลาหนึ่ง ไม่ว่าสินค้า นั้นจะผลิตขึ้นมาในปีใด ๆ ก็ตาม