SlideShare a Scribd company logo
1 of 10
Download to read offline
1
ความนำ�
_14-10(001-018)P5.indd 1 5/20/58 BE 12:05 AM
2
งานวิจัยวัฒนธรรมภาคใต้
การศึกษาวัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้เป็นส่วนหนึ่งของการ
ศึกษาประวัติศาสตร์วัฒนธรรมของชาติมาโดยตลอด ดังปรากฏใน
งานเขียนของปัญญาชนชั้นน�ำในสังคมไทยมาแต่เดิม เห็นได้จาก
“จดหมายเหตุประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้ ร.ศ. 128” พระราชนิพนธ์
ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เล่าถึงวิถีชีวิตและ
วัฒนธรรมของท้องถิ่นเมื่อครั้งเสด็จฯ ประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้
“ต�ำนานละครอิเหนา” พระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมพระยาด�ำรงราชานุภาพ กล่าวถึงโนรา หรือที่ชาวกรุงเรียกว่า
“ละครชาตรี” ว่าได้แบบอย่างจากภาคกลางมาตั้งแต่สมัยกรุงศรี-
อยุธยา เป็นต้น
นอกจากเรื่องราวท�ำนองบันทึกการเดินทางและข้อสังเกต
ตามกล่าวมาแล้ว ยังมีผู้รู้บางท่านให้ความสนใจวัฒนธรรมภาคใต้
เกี่ยวกับผู้คนและชุมชนตลอดจนประวัติความเป็นมาอีกด้วย ดัง
ปรากฏในงานของ ขจร สุขพานิช เรื่อง “การศึกษาเกี่ยวกับชุมชน
โบราณตามหลักฐานทางโบราณคดี และศิลปวัตถุ” หรือ “สุวัณณภูมิ”
โดย ธนิต อยู่โพธิ์ งานชิ้นส�ำคัญอีกชิ้นหนึ่งคือ “สภาพของอาณาจักร
ต่าง ๆ ในภาคใต้ประเทศไทยก่อนศรีวิชัยมีอ�ำนาจ” โดย มานิต
วัลลิโภดม
ภายหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ความสนใจศึกษา
วัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้ได้รับความสนใจมากขึ้นเช่นเดียวกับ
การตื่นตัวในการศึกษาเรื่องราวของประชาชนรวมถึงเรื่องราวของ
_14-10(001-018)P5.indd 2 5/20/58 BE 12:05 AM
3
ความนำ�
ท้องถิ่นในภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศ กระแสการตื่นตัวดังกล่าว
มีผลท�ำให้รัฐบาลส่งเสริมนโยบายด้านวัฒนธรรมหลายลักษณะ
จนก�ำหนดไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 4
(พ.ศ. 2520-2524) มีการจัดตั้ง “ส�ำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรม
แห่งชาติ” ใน พ.ศ. 2522 อีกทั้งยังมีการจัดตั้งหน่วยงานศึกษา
วัฒนธรรมในส่วนกลางและส่วนภูมิภาครวมถึงภาคใต้
รัฐได้สนับสนุนส่งเสริมการด�ำเนินงานวัฒนธรรมของท้องถิ่น
เช่น วิทยาลัยครูนครศรีธรรมราช จัดตั้งศูนย์วัฒนธรรมภาคใต้ขึ้น
ใน พ.ศ. 2521 และอีก 2 ปีต่อมา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
สงขลา จัดตั้ง “สถาบันทักษิณคดีศึกษา” โดยวิวัฒน์มาจาก “โครงการ
ศูนย์ส่งเสริมภาษาและวัฒนธรรมภาคใต้” เดิม
การส่งเสริมงานวัฒนธรรมดังกล่าวท�ำให้การศึกษาวัฒนธรรม
ท้องถิ่นภาคใต้แพร่ไปอย่างกว้างขวาง มีการจัดสัมมนาประวัติ-
ศาสตร์และวัฒนธรรมโดยหน่วยงานราชการและสถาบันการศึกษา
เช่น “โครงการสัมมนาทางวิชาการประวัติศาสตร์นครศรีธรรมราช
พุทธศักราช 2521-2530” “การสัมมนาประวัติศาสตร์นครศรี-
ธรรมราชครั้งที่ 3 ประวัติศาสตร์นครศรีธรรมราชจากภาษาและ
วรรณกรรม” ท�ำให้ปัญญาชนท้องถิ่นสนใจที่จะศึกษาค้นคว้า
ท้องถิ่นในแง่มุมต่าง ๆ รวมทั้งการวิจัยด้านวัฒนธรรมท้องถิ่น
ก็เพิ่มขึ้น เช่น งานวิจัยเรื่อง พุทธศาสนาแถบลุ่มทะเลสาบ
สงขลาฝั่งตะวันออกสมัยกรุงศรีอยุธยา ของ สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์
_14-10(001-018)P5.indd 3 5/20/58 BE 12:05 AM
4
งานวิจัยวัฒนธรรมภาคใต้
(2523) งานวิจัยเรื่อง การศึกษาวิเคราะห์ค่านิยมเกี่ยวกับสตรีไทย
ถิ่นใต้ที่ปรากฏในวรรณกรรมท้องถิ่นประเภทมุขปาฐะ ของ
วิเชียร ณ นคร และวิมล ด�ำศรี (2525) งานวิจัยเรื่อง การศึกษาเพื่อ
เตรียมการส่งเสริมการจักสานด้วยใยตาล ที่ต�ำบลจะทิ้งพระ
อ�ำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา ของ อุดม หนูทอง (2525) รายงาน
การวิจัยเรื่อง สารัตถะจากเพลงรองเง็งตันหยง : ศึกษาเฉพาะ
กรณีจังหวัดตรัง ของ สถาพร ศรีสัจจัง (2529)
รัฐบาลให้ความส�ำคัญกับการส่งเสริมวัฒนธรรมอย่าง
ต่อเนื่อง นโยบายวัฒนธรรมจึงเป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนา
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเรื่อยมา แผนพัฒนาเศรษฐกิจและ
สังคมแห่งชาติฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2530-2534) กล่าวถึงความส�ำคัญ
ในการรักษาวัฒนธรรมควบคู่กับการรักษาเอกลักษณ์ของชาติว่า
“...พัฒนาสังคมให้ก้าวหน้า มีความสงบสุขเกิดความเป็นธรรม
สอดคล้องและสนับสนุนการพัฒนาประเทศส่วนรวมพร้อม ๆ
กับการธ�ำรงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ของชาติ วัฒนธรรม และค่านิยมอันดี”
(ส�ำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ,
ม.ป.ป. : 1)
ในทศวรรษที่ 2530 เมื่อรัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมการ
ท่องเที่ยว และประกาศให้ พ.ศ. 2530 เป็นปีท่องเที่ยวไทย
มอบให้กระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ ด�ำเนินการส่งเสริมการท่อง
เที่ยว เน้นที่การส่งเสริมการท่องเที่ยวตามธรรมชาติ ศิลปวัตถุ
_14-10(001-018)P5.indd 4 5/20/58 BE 12:05 AM
5
ความนำ�
โบราณสถาน และการจัดแสดงทางวัฒนธรรม หน่วยงานของ
รัฐบาลที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย และศิลปวัฒนธรรม เช่น สภาวิจัย
แห่งชาติ ส�ำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ จึงสนับสนุน
การค้นคว้าวิจัยให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล งานวิจัย
ที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้จ�ำนวนไม่น้อยเกิดขึ้น
ในช่วงนี้ เช่น การศึกษาวรรณกรรมท้องถิ่นภาคใต้เรื่องปริศนา
สอนน้อง ของ มาลี แก้วละเอียด (2532) ลักษณะทางจิตสังคม
ที่เกี่ยวข้องกับการบวชในพุทธศาสนาโดยชายไทยในภาคใต้
ของ ฉกาจ ช่วยโต และดวงเดือน พันธุมนาวิน (2533) รายงาน
การวิจัยลักษณะ/รูปแบบโดยการประชาสัมพันธ์ที่ช่วยส่งเสริม
การเรียนรู้และการใช้ภาษาไทยโดยชาวไทยมุสลิม ของ อนันต์
ทิพยรัตน์ (2536)
เป็นที่น่าสังเกตว่า การศึกษาวิจัยวัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้
ในช่วงนี้ให้ความส�ำคัญกับการศึกษาวัฒนธรรมที่หลากหลาย มี
พลวัตสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงของสังคมมากขึ้น การเปิด
การเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาใน
ภาคใต้ในทศวรรษนี้ยังส่งผลต่อการผลิตงานวิจัยทางวัฒนธรรม
โดยนักวิชาการท้องถิ่นเพิ่มขึ้นอีกด้วย
ในทศวรรษที่ 2540 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่ง
ชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545-2549) ยังคงให้ความส�ำคัญกับการ
ส่งเสริมงานวัฒนธรรมของชาติ ผ่านการท่องเที่ยวและพัฒนา
_14-10(001-018)P5.indd 5 5/20/58 BE 12:05 AM
6
งานวิจัยวัฒนธรรมภาคใต้
ประเทศควบคู่กันไป มีความตื่นตัวในอันที่จะท�ำความเข้าใจคุณค่า
และความหมายของวัฒนธรรมยิ่งขึ้นจากบุคคลหลายกลุ่มเหล่า
โดยนัยนี้ความหมายและค�ำจ�ำกัดความของค�ำว่า “วัฒนธรรม”
จึงถูกอธิบายและตีความอย่างกว้างขวาง สัมพันธ์กับวิถีชีวิต
ของชุมชนและมุ่งน�ำวัฒนธรรมชุมชนมาใช้เพื่อการพัฒนา
หน่วยงานด้านการวิจัยของรัฐมีบทบาทในการเชื่อมโยง
ความรู้ความเข้าใจ ระหว่างท้องถิ่นกับการท�ำงานในระดับชาติ
ด้วยการให้ทุนการศึกษาและท�ำวิจัยเพื่อเข้าใจปัญหาทาง
การเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมมากยิ่งขึ้น อีกทั้ง
ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ทวีความรุนแรง ยิ่งท�ำให้ทุกฝ่าย
ที่เกี่ยวข้องเชื่อว่าการท�ำวิจัยเกี่ยวกับภาคใต้ให้มากขึ้นน�ำไป
สู่ความเข้าใจและวิธีการแก้ปัญหาเกี่ยวกับภาคใต้ ดังเช่น
“ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)” ซึ่งก่อตั้งใน พ.ศ.
2535 เพื่อท�ำหน้าที่สนับสนุนการสร้างองค์ความรู้ทั้งในระดับ
ท้องถิ่นและระดับประเทศ โดยใช้การวิจัยเป็นกลไกสร้างฐาน
ความรู้ส�ำหรับการแก้ปัญหาให้แก่สังคม เริ่มเข้ามาสนับสนุนการ
ค้นคว้าเกี่ยวกับวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นภาคใต้ใน
ทศวรรษนี้ เริ่มด้วยการสนับสนุนทุนการวิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่น
ประมาณปลาย พ.ศ. 2541 โดยมีเป้าหมายส�ำคัญคือ การสร้าง
กระบวนการ “ติดอาวุธทางปัญญา” (Empowerment) แก่
ชุมชนและท้องถิ่นรวมทั้งเน้นให้ชุมชนใช้ประโยชน์จากกระบวน
_14-10(001-018)P5.indd 6 5/20/58 BE 12:05 AM
7
ความนำ�
การวิจัย มุ่งเน้นการจัดการ และประสานให้เกิดความเชื่อมโยง
ระหว่างนักวิจัย และนักพัฒนา ทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับจังหวัด
ระดับชาติ (http://www.trf.or.th/keydefault.asp) งานวิจัย
เกี่ยวกับการศึกษาเรื่องราวของท้องถิ่นภาคใต้ที่ได้รับการสนับสนุน
เช่น โครงสร้างและพลวัตวัฒนธรรมภาคใต้กับการพัฒนา ของ
สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์ (2544) โครงการภูมิศาสตร์ค�ำศัพท์ภาษาไทย
และภาษามลายูในเขต 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ประเทศไทย
ของ เปรมินทร์ คาระวี (2545) โครงการแผนที่ภูมินิทัศน์ภาคใต้ :
ฐานเศรษฐกิจและทุนวัฒนธรรม ของ สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์ (2548)
โครงการการศึกษาศักยภาพโดยทรัพยากรการท่องเที่ยวด้าน
วัฒนธรรม จังหวัดกระบี่ พังงา ภูเก็ต ของ สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์
(2549)
การส�ำรวจสถานะความรู้ด้านงานวิจัยทางวัฒนธรรมภาคใต้
ในประเทศไทย ในช่วง 3 ทศวรรษ (พ.ศ. 2520-2550) ดังกล่าว
มีแนวโน้มให้เห็นว่า ความสนใจทางด้านนี้ได้ขยายตัวจากการศึกษา
หรือตั้งข้อสังเกตในหมู่นักวิชาการและชนชั้นน�ำของรัฐ กลายเป็น
เวทีเปิดมุมมองใหม่ทางด้านวัฒนธรรมในสังคมท้องถิ่นผ่านทัศนะและ
ความเข้าใจของนักวิชาการและคนในท้องถิ่นมากยิ่งขึ้น การตื่นตัว
ของท้องถิ่นเช่นนี้แสดงถึงพลวัตของสังคมสมัยใหม่ในประเทศไทย
ที่กระแสประชาสังคมก�ำลังเข้ามามีบทบาทและเป็นที่รับรู้ของ
สังคมมากยิ่งขึ้น ความรู้จากผลงานการศึกษาทั้งจากรัฐและสังคม
_14-10(001-018)P5.indd 7 5/20/58 BE 12:05 AM
8
งานวิจัยวัฒนธรรมภาคใต้
จะเป็นฐานความรู้ที่สร้างความเข้าใจในหมู่นักวิชาการและผู้สนใจ
ยังประโยชน์ให้เกิดความหลากหลายในการมองประเด็นปัญหา
การศึกษาวัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้ต่อไปในอนาคตอย่างมีทิศทาง
ทั้งนี้การส�ำรวจสถานะความรู้ด้านงานวิจัยวัฒนธรรมภาคใต้
ในประเทศไทย มีผู้ศึกษาวิจัยมาตลอด ใช้ระเบียบวิธีการศึกษา
และให้ข้อสรุปแตกต่างกัน นับตั้งแต่งานวิจัยเรื่อง บรรณนิทัศน์
งานวิจัยวัฒนธรรมภาคใต้ ของ ปรีชา นุ่นสุข (2539) ศึกษางานวิจัย
ภาคใต้ตั้งแต่ พ.ศ. 2445-2539 โดยจ�ำแนกผลงานการวิจัยทาง
วัฒนธรรมของภาคใต้ออกเป็นหมวดหมู่อย่างกว้าง ๆ 5 สาขา
คือ สาขาขนบธรรมเนียม ประเพณี และศาสนา สาขาความเป็นอยู่
และวิทยาการ สาขาภาษาและวรรณกรรม สาขาศิลปกรรมและ
โบราณคดี และสาขาการละเล่น ดนตรี และการพักผ่อนหย่อนใจ
โดยจัดแบ่งพัฒนาการของผลงานดังกล่าวออกได้เป็น 4 ระยะ
ระยะแรก (พ.ศ. 2445-2483) จัดเป็นระยะเริ่มแรกแห่งการ
ศึกษาวัฒนธรรมของภาคใต้ ผู้ศึกษาส่วนใหญ่เป็นนักวิชาการชาว
ต่างประเทศ งานวิจัยส่วนใหญ่เป็นการศึกษาแนวโบราณคดี ระยะ
ที่ 2 (พ.ศ. 2588-2514) เป็นระยะที่สืบเนื่องมาจากระยะแรก
นักวิชาการที่ศึกษาส่วนใหญ่ยังคงเป็นชาวต่างชาติซึ่งเริ่มปรากฏ
ให้เห็นการศึกษาในเชิงการรวบรวมข้อมูลทางวัฒนธรรม การจัด
ระบบข้อมูลทางวัฒนธรรม และการศึกษาเปรียบเทียบทางวัฒนธรรม
ตามหลักวิชา รวมทั้งมีการศึกษาเกี่ยวกับอิทธิพลของวัฒนธรรม
_14-10(001-018)P5.indd 8 5/20/58 BE 12:05 AM
9
ความนำ�
ที่เกี่ยวเนื่องกับศาสนาและความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมระหว่าง
ภาคใต้กับดินแดนอื่น ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะ
“วัฒนธรรมศรีวิชัย” ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2515-2519) เป็นระยะแห่ง
การเริ่มต้นในการศึกษาวัฒนธรรมของภาคใต้ในแนวลึก และเน้น
ประเด็นที่มีความจ�ำเพาะเจาะจงมากกว่าระยะที่ผ่านมา โดยเริ่ม
ปรากฏผลงานการศึกษาในรูปของการวิจัยที่เกี่ยวกับอิทธิพลของ
วัฒนธรรมอินเดีย และวัฒนธรรมโบราณบริเวณคาบสมุทร ทั้งนี้
มีผลงานของนักวิชาการชาวไทยเพิ่มมากยิ่งขึ้น ระยะที่ 4 (พ.ศ.
2520-2539) เป็นระยะที่การวิจัยทางวัฒนธรรมของภาคใต้เฟื่องฟู
ขึ้นมาก โดยการวิจัยดังกล่าวปรากฏขึ้นควบคู่กันกับการที่หน่วยงาน
ต่าง ๆ ซึ่งด�ำเนินงานทางวัฒนธรรมมีพัฒนาการอย่างเป็นระบบ
มากยิ่งขึ้น
ผู้วิจัยให้ข้อสรุปว่า ผลงานการวิจัยทางวัฒนธรรมของภาคใต้ที่
ปรากฏขึ้นในระยะที่ 3 และระยะที่ 4 มีงานวิจัยด้านขนบธรรมเนียม
ประเพณี และศาสนา เป็นงานวิจัยทางวัฒนธรรมสาขาหนึ่งที่ได้
ปรากฏขึ้นในระยะแรก ๆ ในปริมาณสูง ประเด็นส�ำคัญที่มีการ
วิจัยมากที่สุด เป็นประเด็นที่เกี่ยวเนื่องกันกับวัฒนธรรมในศาสนา
อิสลามบริเวณจังหวัดชายแดนภาคใต้ รองลงมาเป็นประเด็น
ที่เกี่ยวเนื่องกันกับพระพุทธศาสนา และศาสนาพราหมณ์ ตาม
ล�ำดับ งานวิจัยด้านความเป็นอยู่และวิทยาการ เป็นงานวิจัยทาง
วัฒนธรรมในภาคใต้ที่มีปริมาณมากที่สุด งานวิจัยด้านภาษาและ
_14-10(001-018)P5.indd 9 5/20/58 BE 12:05 AM
10
งานวิจัยวัฒนธรรมภาคใต้
วรรณกรรม เป็นงานวิจัยทางวัฒนธรรมในภาคใต้ที่ได้ปรากฏใน
ปริมาณสูง รองลงมาจากงานวิจัยด้านความเป็นอยู่ และวิทยาการ
ส่วนงานวิจัยด้านศิลปกรรมและโบราณคดีในภาคใต้มีปริมาณ
น้อย ผลงานการวิจัยทางวัฒนธรรมด้านศิลปกรรมส่วนใหญ่เป็น
การวิจัยวัฒนธรรมที่เกี่ยวเนื่องกันกับศิลปหัตถกรรม งานวิจัย
วัฒนธรรมทางด้านโบราณคดีส่วนใหญ่มีความเกี่ยวเนื่องกันกับ
วัฒนธรรมโบราณที่ปรากฏขึ้นในบรรดาแหล่งโบราณคดี ชุมชน
โบราณ เมืองโบราณต่าง ๆ ที่ตั้งอยู่ในภาคใต้ของประเทศไทย
ส่วนงานวิจัยด้านการละเล่น ดนตรี และการพักผ่อนหย่อนใจ มี
ปริมาณน้อย รวมทั้งยังเป็นผลงานการวิจัยที่สัมพันธ์กันกับผลงาน
การวิจัยทางวัฒนธรรมสาขาอื่น ๆ (2539 : บทคัดย่อ)
งานวิจัยเรื่อง สถานภาพมหาบัณฑิตที่ท�ำวิทยานิพนธ์และ
สถานภาพวิทยานิพนธ์ของมหาวิทยาลัยทักษิณ ของ ทรงธรรม
ธีระกุล (2546) ศึกษาสถานภาพวิทยานิพนธ์ของมหาวิทยาลัย
ทักษิณตั้งแต่ปีการศึกษา 2525-2543 และสถานภาพบัณฑิต
ที่ท�ำวิทยานิพนธ์ของมหาวิทยาลัยทักษิณในช่วงเดียวกัน พบว่า
หัวข้อประเด็นที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมที่มหาบัณฑิตท�ำวิทยา
นิพนธ์มากที่สุด ในหลักสูตร กศ.ม. ภาษาไทยคือ งานประพันธ์
วรรณกรรม มีจ�ำนวนมากที่สุด (จ�ำนวน 42 เรื่อง ร้อยละ 29.17)
หัวข้อประเด็นที่มหาบัณฑิตท�ำวิทยานิพนธ์มากที่สุด ในหลักสูตร
ศศ.ม. ไทยศึกษาคือ วัฒนธรรม ภาพสะท้อนทางสังคมและ
_14-10(001-018)P5.indd 10 5/20/58 BE 12:05 AM

More Related Content

What's hot

หัวข้อที่ ๓ แหล่งกำเนิดของชนชาติไทย
หัวข้อที่  ๓  แหล่งกำเนิดของชนชาติไทยหัวข้อที่  ๓  แหล่งกำเนิดของชนชาติไทย
หัวข้อที่ ๓ แหล่งกำเนิดของชนชาติไทยchakaew4524
 
อ.วนิดา บทที่ 1 (ตำราสารสนเทศท้องถิ่น)
อ.วนิดา  บทที่ 1 (ตำราสารสนเทศท้องถิ่น) อ.วนิดา  บทที่ 1 (ตำราสารสนเทศท้องถิ่น)
อ.วนิดา บทที่ 1 (ตำราสารสนเทศท้องถิ่น) นางสาวอัมพร แสงมณี
 
Pastel watercolor-painted-power point-template
Pastel watercolor-painted-power point-templatePastel watercolor-painted-power point-template
Pastel watercolor-painted-power point-templateMai Lovelove
 

What's hot (6)

หัวข้อที่ ๓ แหล่งกำเนิดของชนชาติไทย
หัวข้อที่  ๓  แหล่งกำเนิดของชนชาติไทยหัวข้อที่  ๓  แหล่งกำเนิดของชนชาติไทย
หัวข้อที่ ๓ แหล่งกำเนิดของชนชาติไทย
 
บทที่ 4 การจัดการสารสนเทศท้องถิ่น
บทที่ 4 การจัดการสารสนเทศท้องถิ่นบทที่ 4 การจัดการสารสนเทศท้องถิ่น
บทที่ 4 การจัดการสารสนเทศท้องถิ่น
 
อ.วนิดา บทที่ 1 (ตำราสารสนเทศท้องถิ่น)
อ.วนิดา  บทที่ 1 (ตำราสารสนเทศท้องถิ่น) อ.วนิดา  บทที่ 1 (ตำราสารสนเทศท้องถิ่น)
อ.วนิดา บทที่ 1 (ตำราสารสนเทศท้องถิ่น)
 
บทที่ 1 ประเภทของสารสนเทศท้องถิ่น
บทที่ 1 ประเภทของสารสนเทศท้องถิ่นบทที่ 1 ประเภทของสารสนเทศท้องถิ่น
บทที่ 1 ประเภทของสารสนเทศท้องถิ่น
 
Nuin
NuinNuin
Nuin
 
Pastel watercolor-painted-power point-template
Pastel watercolor-painted-power point-templatePastel watercolor-painted-power point-template
Pastel watercolor-painted-power point-template
 

Similar to 9789740333418

The role of higher education in the arts and cultural dimensions.
The role of higher education in the arts and cultural dimensions.The role of higher education in the arts and cultural dimensions.
The role of higher education in the arts and cultural dimensions.Tor Jt
 
เชียงคานโมเดล
เชียงคานโมเดลเชียงคานโมเดล
เชียงคานโมเดลpentanino
 
010.book scout encyclopedia_2
010.book scout encyclopedia_2010.book scout encyclopedia_2
010.book scout encyclopedia_2watdang
 
10151 ไทยศึกษา (ถอดคำบรรยาย)
10151 ไทยศึกษา (ถอดคำบรรยาย)10151 ไทยศึกษา (ถอดคำบรรยาย)
10151 ไทยศึกษา (ถอดคำบรรยาย)Khwanchai Phunchanat
 
ความหมายและโอกาสของชำร่วย Gift
ความหมายและโอกาสของชำร่วย Giftความหมายและโอกาสของชำร่วย Gift
ความหมายและโอกาสของชำร่วย GiftPloykarn Lamdual
 
คู่มือการเสนอขอขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ
คู่มือการเสนอขอขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติคู่มือการเสนอขอขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ
คู่มือการเสนอขอขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติBoonlert Aroonpiboon
 
Unit 1 early thailand from prehistory to sukhothai
Unit 1  early thailand from prehistory to sukhothaiUnit 1  early thailand from prehistory to sukhothai
Unit 1 early thailand from prehistory to sukhothaiThaiway Thanathep
 
บทความ ถึงเวลายกระดับการท่องเที่ยวชุมชนหรือยัง
บทความ ถึงเวลายกระดับการท่องเที่ยวชุมชนหรือยังบทความ ถึงเวลายกระดับการท่องเที่ยวชุมชนหรือยัง
บทความ ถึงเวลายกระดับการท่องเที่ยวชุมชนหรือยังDrDanai Thienphut
 
สันติธานี
สันติธานีสันติธานี
สันติธานีTaraya Srivilas
 
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๗
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๗มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๗
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๗Boonlert Aroonpiboon
 
สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน
สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสานสถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน
สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสานPornpimon Gormsang
 
การสร้างสรรค์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์
การสร้างสรรค์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์การสร้างสรรค์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์
การสร้างสรรค์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์พัน พัน
 
แผนการจัดการเรียนรู้ ป.4-6 หน่วย 6+477+dltvsocp5+T2 p4 6-u06-soc
แผนการจัดการเรียนรู้ ป.4-6 หน่วย 6+477+dltvsocp5+T2 p4 6-u06-socแผนการจัดการเรียนรู้ ป.4-6 หน่วย 6+477+dltvsocp5+T2 p4 6-u06-soc
แผนการจัดการเรียนรู้ ป.4-6 หน่วย 6+477+dltvsocp5+T2 p4 6-u06-socPrachoom Rangkasikorn
 

Similar to 9789740333418 (20)

The role of higher education in the arts and cultural dimensions.
The role of higher education in the arts and cultural dimensions.The role of higher education in the arts and cultural dimensions.
The role of higher education in the arts and cultural dimensions.
 
เชียงคานโมเดล
เชียงคานโมเดลเชียงคานโมเดล
เชียงคานโมเดล
 
010.book scout encyclopedia_2
010.book scout encyclopedia_2010.book scout encyclopedia_2
010.book scout encyclopedia_2
 
Hist m1
Hist m1Hist m1
Hist m1
 
Hist m1
Hist m1Hist m1
Hist m1
 
10151 ไทยศึกษา (ถอดคำบรรยาย)
10151 ไทยศึกษา (ถอดคำบรรยาย)10151 ไทยศึกษา (ถอดคำบรรยาย)
10151 ไทยศึกษา (ถอดคำบรรยาย)
 
ความหมายและโอกาสของชำร่วย Gift
ความหมายและโอกาสของชำร่วย Giftความหมายและโอกาสของชำร่วย Gift
ความหมายและโอกาสของชำร่วย Gift
 
คู่มือการเสนอขอขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ
คู่มือการเสนอขอขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติคู่มือการเสนอขอขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ
คู่มือการเสนอขอขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ
 
Unit 1 early thailand from prehistory to sukhothai
Unit 1  early thailand from prehistory to sukhothaiUnit 1  early thailand from prehistory to sukhothai
Unit 1 early thailand from prehistory to sukhothai
 
บทความ ถึงเวลายกระดับการท่องเที่ยวชุมชนหรือยัง
บทความ ถึงเวลายกระดับการท่องเที่ยวชุมชนหรือยังบทความ ถึงเวลายกระดับการท่องเที่ยวชุมชนหรือยัง
บทความ ถึงเวลายกระดับการท่องเที่ยวชุมชนหรือยัง
 
สันติธานี
สันติธานีสันติธานี
สันติธานี
 
V 289
V 289V 289
V 289
 
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๗
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๗มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๗
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๗
 
สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน
สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสานสถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน
สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน
 
ประวัติศาสตร์ไทย 3
ประวัติศาสตร์ไทย 3ประวัติศาสตร์ไทย 3
ประวัติศาสตร์ไทย 3
 
การสร้างสรรค์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์
การสร้างสรรค์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์การสร้างสรรค์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์
การสร้างสรรค์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์
 
สังคมศึกษา ต้น
สังคมศึกษา ต้นสังคมศึกษา ต้น
สังคมศึกษา ต้น
 
สังคมศึกษา
สังคมศึกษาสังคมศึกษา
สังคมศึกษา
 
อังกฤษ ต้น
อังกฤษ ต้นอังกฤษ ต้น
อังกฤษ ต้น
 
แผนการจัดการเรียนรู้ ป.4-6 หน่วย 6+477+dltvsocp5+T2 p4 6-u06-soc
แผนการจัดการเรียนรู้ ป.4-6 หน่วย 6+477+dltvsocp5+T2 p4 6-u06-socแผนการจัดการเรียนรู้ ป.4-6 หน่วย 6+477+dltvsocp5+T2 p4 6-u06-soc
แผนการจัดการเรียนรู้ ป.4-6 หน่วย 6+477+dltvsocp5+T2 p4 6-u06-soc
 

More from CUPress

9789740337737
97897403377379789740337737
9789740337737CUPress
 
9789740337560
97897403375609789740337560
9789740337560CUPress
 
9789740337478
97897403374789789740337478
9789740337478CUPress
 
9789740337270
97897403372709789740337270
9789740337270CUPress
 
9789740337102
97897403371029789740337102
9789740337102CUPress
 
9789740337096
97897403370969789740337096
9789740337096CUPress
 
9789740337072
97897403370729789740337072
9789740337072CUPress
 
9789740337027
97897403370279789740337027
9789740337027CUPress
 
9789740336914
97897403369149789740336914
9789740336914CUPress
 
9789740336907
97897403369079789740336907
9789740336907CUPress
 
9789740336686
97897403366869789740336686
9789740336686CUPress
 
9789740336457
97897403364579789740336457
9789740336457CUPress
 
9789740336440
97897403364409789740336440
9789740336440CUPress
 
9789740336389
97897403363899789740336389
9789740336389CUPress
 
9789740336280
97897403362809789740336280
9789740336280CUPress
 
9789740336365
97897403363659789740336365
9789740336365CUPress
 
9789740336303
97897403363039789740336303
9789740336303CUPress
 
9789740336242
97897403362429789740336242
9789740336242CUPress
 
9789740336235
97897403362359789740336235
9789740336235CUPress
 
9789740336099
97897403360999789740336099
9789740336099CUPress
 

More from CUPress (20)

9789740337737
97897403377379789740337737
9789740337737
 
9789740337560
97897403375609789740337560
9789740337560
 
9789740337478
97897403374789789740337478
9789740337478
 
9789740337270
97897403372709789740337270
9789740337270
 
9789740337102
97897403371029789740337102
9789740337102
 
9789740337096
97897403370969789740337096
9789740337096
 
9789740337072
97897403370729789740337072
9789740337072
 
9789740337027
97897403370279789740337027
9789740337027
 
9789740336914
97897403369149789740336914
9789740336914
 
9789740336907
97897403369079789740336907
9789740336907
 
9789740336686
97897403366869789740336686
9789740336686
 
9789740336457
97897403364579789740336457
9789740336457
 
9789740336440
97897403364409789740336440
9789740336440
 
9789740336389
97897403363899789740336389
9789740336389
 
9789740336280
97897403362809789740336280
9789740336280
 
9789740336365
97897403363659789740336365
9789740336365
 
9789740336303
97897403363039789740336303
9789740336303
 
9789740336242
97897403362429789740336242
9789740336242
 
9789740336235
97897403362359789740336235
9789740336235
 
9789740336099
97897403360999789740336099
9789740336099
 

9789740333418

  • 2. 2 งานวิจัยวัฒนธรรมภาคใต้ การศึกษาวัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้เป็นส่วนหนึ่งของการ ศึกษาประวัติศาสตร์วัฒนธรรมของชาติมาโดยตลอด ดังปรากฏใน งานเขียนของปัญญาชนชั้นน�ำในสังคมไทยมาแต่เดิม เห็นได้จาก “จดหมายเหตุประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้ ร.ศ. 128” พระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เล่าถึงวิถีชีวิตและ วัฒนธรรมของท้องถิ่นเมื่อครั้งเสด็จฯ ประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้ “ต�ำนานละครอิเหนา” พระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาด�ำรงราชานุภาพ กล่าวถึงโนรา หรือที่ชาวกรุงเรียกว่า “ละครชาตรี” ว่าได้แบบอย่างจากภาคกลางมาตั้งแต่สมัยกรุงศรี- อยุธยา เป็นต้น นอกจากเรื่องราวท�ำนองบันทึกการเดินทางและข้อสังเกต ตามกล่าวมาแล้ว ยังมีผู้รู้บางท่านให้ความสนใจวัฒนธรรมภาคใต้ เกี่ยวกับผู้คนและชุมชนตลอดจนประวัติความเป็นมาอีกด้วย ดัง ปรากฏในงานของ ขจร สุขพานิช เรื่อง “การศึกษาเกี่ยวกับชุมชน โบราณตามหลักฐานทางโบราณคดี และศิลปวัตถุ” หรือ “สุวัณณภูมิ” โดย ธนิต อยู่โพธิ์ งานชิ้นส�ำคัญอีกชิ้นหนึ่งคือ “สภาพของอาณาจักร ต่าง ๆ ในภาคใต้ประเทศไทยก่อนศรีวิชัยมีอ�ำนาจ” โดย มานิต วัลลิโภดม ภายหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ความสนใจศึกษา วัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้ได้รับความสนใจมากขึ้นเช่นเดียวกับ การตื่นตัวในการศึกษาเรื่องราวของประชาชนรวมถึงเรื่องราวของ _14-10(001-018)P5.indd 2 5/20/58 BE 12:05 AM
  • 3. 3 ความนำ� ท้องถิ่นในภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศ กระแสการตื่นตัวดังกล่าว มีผลท�ำให้รัฐบาลส่งเสริมนโยบายด้านวัฒนธรรมหลายลักษณะ จนก�ำหนดไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2520-2524) มีการจัดตั้ง “ส�ำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรม แห่งชาติ” ใน พ.ศ. 2522 อีกทั้งยังมีการจัดตั้งหน่วยงานศึกษา วัฒนธรรมในส่วนกลางและส่วนภูมิภาครวมถึงภาคใต้ รัฐได้สนับสนุนส่งเสริมการด�ำเนินงานวัฒนธรรมของท้องถิ่น เช่น วิทยาลัยครูนครศรีธรรมราช จัดตั้งศูนย์วัฒนธรรมภาคใต้ขึ้น ใน พ.ศ. 2521 และอีก 2 ปีต่อมา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สงขลา จัดตั้ง “สถาบันทักษิณคดีศึกษา” โดยวิวัฒน์มาจาก “โครงการ ศูนย์ส่งเสริมภาษาและวัฒนธรรมภาคใต้” เดิม การส่งเสริมงานวัฒนธรรมดังกล่าวท�ำให้การศึกษาวัฒนธรรม ท้องถิ่นภาคใต้แพร่ไปอย่างกว้างขวาง มีการจัดสัมมนาประวัติ- ศาสตร์และวัฒนธรรมโดยหน่วยงานราชการและสถาบันการศึกษา เช่น “โครงการสัมมนาทางวิชาการประวัติศาสตร์นครศรีธรรมราช พุทธศักราช 2521-2530” “การสัมมนาประวัติศาสตร์นครศรี- ธรรมราชครั้งที่ 3 ประวัติศาสตร์นครศรีธรรมราชจากภาษาและ วรรณกรรม” ท�ำให้ปัญญาชนท้องถิ่นสนใจที่จะศึกษาค้นคว้า ท้องถิ่นในแง่มุมต่าง ๆ รวมทั้งการวิจัยด้านวัฒนธรรมท้องถิ่น ก็เพิ่มขึ้น เช่น งานวิจัยเรื่อง พุทธศาสนาแถบลุ่มทะเลสาบ สงขลาฝั่งตะวันออกสมัยกรุงศรีอยุธยา ของ สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์ _14-10(001-018)P5.indd 3 5/20/58 BE 12:05 AM
  • 4. 4 งานวิจัยวัฒนธรรมภาคใต้ (2523) งานวิจัยเรื่อง การศึกษาวิเคราะห์ค่านิยมเกี่ยวกับสตรีไทย ถิ่นใต้ที่ปรากฏในวรรณกรรมท้องถิ่นประเภทมุขปาฐะ ของ วิเชียร ณ นคร และวิมล ด�ำศรี (2525) งานวิจัยเรื่อง การศึกษาเพื่อ เตรียมการส่งเสริมการจักสานด้วยใยตาล ที่ต�ำบลจะทิ้งพระ อ�ำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา ของ อุดม หนูทอง (2525) รายงาน การวิจัยเรื่อง สารัตถะจากเพลงรองเง็งตันหยง : ศึกษาเฉพาะ กรณีจังหวัดตรัง ของ สถาพร ศรีสัจจัง (2529) รัฐบาลให้ความส�ำคัญกับการส่งเสริมวัฒนธรรมอย่าง ต่อเนื่อง นโยบายวัฒนธรรมจึงเป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเรื่อยมา แผนพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2530-2534) กล่าวถึงความส�ำคัญ ในการรักษาวัฒนธรรมควบคู่กับการรักษาเอกลักษณ์ของชาติว่า “...พัฒนาสังคมให้ก้าวหน้า มีความสงบสุขเกิดความเป็นธรรม สอดคล้องและสนับสนุนการพัฒนาประเทศส่วนรวมพร้อม ๆ กับการธ�ำรงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ของชาติ วัฒนธรรม และค่านิยมอันดี” (ส�ำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, ม.ป.ป. : 1) ในทศวรรษที่ 2530 เมื่อรัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมการ ท่องเที่ยว และประกาศให้ พ.ศ. 2530 เป็นปีท่องเที่ยวไทย มอบให้กระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ ด�ำเนินการส่งเสริมการท่อง เที่ยว เน้นที่การส่งเสริมการท่องเที่ยวตามธรรมชาติ ศิลปวัตถุ _14-10(001-018)P5.indd 4 5/20/58 BE 12:05 AM
  • 5. 5 ความนำ� โบราณสถาน และการจัดแสดงทางวัฒนธรรม หน่วยงานของ รัฐบาลที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย และศิลปวัฒนธรรม เช่น สภาวิจัย แห่งชาติ ส�ำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ จึงสนับสนุน การค้นคว้าวิจัยให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล งานวิจัย ที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้จ�ำนวนไม่น้อยเกิดขึ้น ในช่วงนี้ เช่น การศึกษาวรรณกรรมท้องถิ่นภาคใต้เรื่องปริศนา สอนน้อง ของ มาลี แก้วละเอียด (2532) ลักษณะทางจิตสังคม ที่เกี่ยวข้องกับการบวชในพุทธศาสนาโดยชายไทยในภาคใต้ ของ ฉกาจ ช่วยโต และดวงเดือน พันธุมนาวิน (2533) รายงาน การวิจัยลักษณะ/รูปแบบโดยการประชาสัมพันธ์ที่ช่วยส่งเสริม การเรียนรู้และการใช้ภาษาไทยโดยชาวไทยมุสลิม ของ อนันต์ ทิพยรัตน์ (2536) เป็นที่น่าสังเกตว่า การศึกษาวิจัยวัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้ ในช่วงนี้ให้ความส�ำคัญกับการศึกษาวัฒนธรรมที่หลากหลาย มี พลวัตสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงของสังคมมากขึ้น การเปิด การเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาใน ภาคใต้ในทศวรรษนี้ยังส่งผลต่อการผลิตงานวิจัยทางวัฒนธรรม โดยนักวิชาการท้องถิ่นเพิ่มขึ้นอีกด้วย ในทศวรรษที่ 2540 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่ง ชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545-2549) ยังคงให้ความส�ำคัญกับการ ส่งเสริมงานวัฒนธรรมของชาติ ผ่านการท่องเที่ยวและพัฒนา _14-10(001-018)P5.indd 5 5/20/58 BE 12:05 AM
  • 6. 6 งานวิจัยวัฒนธรรมภาคใต้ ประเทศควบคู่กันไป มีความตื่นตัวในอันที่จะท�ำความเข้าใจคุณค่า และความหมายของวัฒนธรรมยิ่งขึ้นจากบุคคลหลายกลุ่มเหล่า โดยนัยนี้ความหมายและค�ำจ�ำกัดความของค�ำว่า “วัฒนธรรม” จึงถูกอธิบายและตีความอย่างกว้างขวาง สัมพันธ์กับวิถีชีวิต ของชุมชนและมุ่งน�ำวัฒนธรรมชุมชนมาใช้เพื่อการพัฒนา หน่วยงานด้านการวิจัยของรัฐมีบทบาทในการเชื่อมโยง ความรู้ความเข้าใจ ระหว่างท้องถิ่นกับการท�ำงานในระดับชาติ ด้วยการให้ทุนการศึกษาและท�ำวิจัยเพื่อเข้าใจปัญหาทาง การเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมมากยิ่งขึ้น อีกทั้ง ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ทวีความรุนแรง ยิ่งท�ำให้ทุกฝ่าย ที่เกี่ยวข้องเชื่อว่าการท�ำวิจัยเกี่ยวกับภาคใต้ให้มากขึ้นน�ำไป สู่ความเข้าใจและวิธีการแก้ปัญหาเกี่ยวกับภาคใต้ ดังเช่น “ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)” ซึ่งก่อตั้งใน พ.ศ. 2535 เพื่อท�ำหน้าที่สนับสนุนการสร้างองค์ความรู้ทั้งในระดับ ท้องถิ่นและระดับประเทศ โดยใช้การวิจัยเป็นกลไกสร้างฐาน ความรู้ส�ำหรับการแก้ปัญหาให้แก่สังคม เริ่มเข้ามาสนับสนุนการ ค้นคว้าเกี่ยวกับวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นภาคใต้ใน ทศวรรษนี้ เริ่มด้วยการสนับสนุนทุนการวิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่น ประมาณปลาย พ.ศ. 2541 โดยมีเป้าหมายส�ำคัญคือ การสร้าง กระบวนการ “ติดอาวุธทางปัญญา” (Empowerment) แก่ ชุมชนและท้องถิ่นรวมทั้งเน้นให้ชุมชนใช้ประโยชน์จากกระบวน _14-10(001-018)P5.indd 6 5/20/58 BE 12:05 AM
  • 7. 7 ความนำ� การวิจัย มุ่งเน้นการจัดการ และประสานให้เกิดความเชื่อมโยง ระหว่างนักวิจัย และนักพัฒนา ทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับจังหวัด ระดับชาติ (http://www.trf.or.th/keydefault.asp) งานวิจัย เกี่ยวกับการศึกษาเรื่องราวของท้องถิ่นภาคใต้ที่ได้รับการสนับสนุน เช่น โครงสร้างและพลวัตวัฒนธรรมภาคใต้กับการพัฒนา ของ สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์ (2544) โครงการภูมิศาสตร์ค�ำศัพท์ภาษาไทย และภาษามลายูในเขต 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ประเทศไทย ของ เปรมินทร์ คาระวี (2545) โครงการแผนที่ภูมินิทัศน์ภาคใต้ : ฐานเศรษฐกิจและทุนวัฒนธรรม ของ สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์ (2548) โครงการการศึกษาศักยภาพโดยทรัพยากรการท่องเที่ยวด้าน วัฒนธรรม จังหวัดกระบี่ พังงา ภูเก็ต ของ สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ (2549) การส�ำรวจสถานะความรู้ด้านงานวิจัยทางวัฒนธรรมภาคใต้ ในประเทศไทย ในช่วง 3 ทศวรรษ (พ.ศ. 2520-2550) ดังกล่าว มีแนวโน้มให้เห็นว่า ความสนใจทางด้านนี้ได้ขยายตัวจากการศึกษา หรือตั้งข้อสังเกตในหมู่นักวิชาการและชนชั้นน�ำของรัฐ กลายเป็น เวทีเปิดมุมมองใหม่ทางด้านวัฒนธรรมในสังคมท้องถิ่นผ่านทัศนะและ ความเข้าใจของนักวิชาการและคนในท้องถิ่นมากยิ่งขึ้น การตื่นตัว ของท้องถิ่นเช่นนี้แสดงถึงพลวัตของสังคมสมัยใหม่ในประเทศไทย ที่กระแสประชาสังคมก�ำลังเข้ามามีบทบาทและเป็นที่รับรู้ของ สังคมมากยิ่งขึ้น ความรู้จากผลงานการศึกษาทั้งจากรัฐและสังคม _14-10(001-018)P5.indd 7 5/20/58 BE 12:05 AM
  • 8. 8 งานวิจัยวัฒนธรรมภาคใต้ จะเป็นฐานความรู้ที่สร้างความเข้าใจในหมู่นักวิชาการและผู้สนใจ ยังประโยชน์ให้เกิดความหลากหลายในการมองประเด็นปัญหา การศึกษาวัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้ต่อไปในอนาคตอย่างมีทิศทาง ทั้งนี้การส�ำรวจสถานะความรู้ด้านงานวิจัยวัฒนธรรมภาคใต้ ในประเทศไทย มีผู้ศึกษาวิจัยมาตลอด ใช้ระเบียบวิธีการศึกษา และให้ข้อสรุปแตกต่างกัน นับตั้งแต่งานวิจัยเรื่อง บรรณนิทัศน์ งานวิจัยวัฒนธรรมภาคใต้ ของ ปรีชา นุ่นสุข (2539) ศึกษางานวิจัย ภาคใต้ตั้งแต่ พ.ศ. 2445-2539 โดยจ�ำแนกผลงานการวิจัยทาง วัฒนธรรมของภาคใต้ออกเป็นหมวดหมู่อย่างกว้าง ๆ 5 สาขา คือ สาขาขนบธรรมเนียม ประเพณี และศาสนา สาขาความเป็นอยู่ และวิทยาการ สาขาภาษาและวรรณกรรม สาขาศิลปกรรมและ โบราณคดี และสาขาการละเล่น ดนตรี และการพักผ่อนหย่อนใจ โดยจัดแบ่งพัฒนาการของผลงานดังกล่าวออกได้เป็น 4 ระยะ ระยะแรก (พ.ศ. 2445-2483) จัดเป็นระยะเริ่มแรกแห่งการ ศึกษาวัฒนธรรมของภาคใต้ ผู้ศึกษาส่วนใหญ่เป็นนักวิชาการชาว ต่างประเทศ งานวิจัยส่วนใหญ่เป็นการศึกษาแนวโบราณคดี ระยะ ที่ 2 (พ.ศ. 2588-2514) เป็นระยะที่สืบเนื่องมาจากระยะแรก นักวิชาการที่ศึกษาส่วนใหญ่ยังคงเป็นชาวต่างชาติซึ่งเริ่มปรากฏ ให้เห็นการศึกษาในเชิงการรวบรวมข้อมูลทางวัฒนธรรม การจัด ระบบข้อมูลทางวัฒนธรรม และการศึกษาเปรียบเทียบทางวัฒนธรรม ตามหลักวิชา รวมทั้งมีการศึกษาเกี่ยวกับอิทธิพลของวัฒนธรรม _14-10(001-018)P5.indd 8 5/20/58 BE 12:05 AM
  • 9. 9 ความนำ� ที่เกี่ยวเนื่องกับศาสนาและความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมระหว่าง ภาคใต้กับดินแดนอื่น ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะ “วัฒนธรรมศรีวิชัย” ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2515-2519) เป็นระยะแห่ง การเริ่มต้นในการศึกษาวัฒนธรรมของภาคใต้ในแนวลึก และเน้น ประเด็นที่มีความจ�ำเพาะเจาะจงมากกว่าระยะที่ผ่านมา โดยเริ่ม ปรากฏผลงานการศึกษาในรูปของการวิจัยที่เกี่ยวกับอิทธิพลของ วัฒนธรรมอินเดีย และวัฒนธรรมโบราณบริเวณคาบสมุทร ทั้งนี้ มีผลงานของนักวิชาการชาวไทยเพิ่มมากยิ่งขึ้น ระยะที่ 4 (พ.ศ. 2520-2539) เป็นระยะที่การวิจัยทางวัฒนธรรมของภาคใต้เฟื่องฟู ขึ้นมาก โดยการวิจัยดังกล่าวปรากฏขึ้นควบคู่กันกับการที่หน่วยงาน ต่าง ๆ ซึ่งด�ำเนินงานทางวัฒนธรรมมีพัฒนาการอย่างเป็นระบบ มากยิ่งขึ้น ผู้วิจัยให้ข้อสรุปว่า ผลงานการวิจัยทางวัฒนธรรมของภาคใต้ที่ ปรากฏขึ้นในระยะที่ 3 และระยะที่ 4 มีงานวิจัยด้านขนบธรรมเนียม ประเพณี และศาสนา เป็นงานวิจัยทางวัฒนธรรมสาขาหนึ่งที่ได้ ปรากฏขึ้นในระยะแรก ๆ ในปริมาณสูง ประเด็นส�ำคัญที่มีการ วิจัยมากที่สุด เป็นประเด็นที่เกี่ยวเนื่องกันกับวัฒนธรรมในศาสนา อิสลามบริเวณจังหวัดชายแดนภาคใต้ รองลงมาเป็นประเด็น ที่เกี่ยวเนื่องกันกับพระพุทธศาสนา และศาสนาพราหมณ์ ตาม ล�ำดับ งานวิจัยด้านความเป็นอยู่และวิทยาการ เป็นงานวิจัยทาง วัฒนธรรมในภาคใต้ที่มีปริมาณมากที่สุด งานวิจัยด้านภาษาและ _14-10(001-018)P5.indd 9 5/20/58 BE 12:05 AM
  • 10. 10 งานวิจัยวัฒนธรรมภาคใต้ วรรณกรรม เป็นงานวิจัยทางวัฒนธรรมในภาคใต้ที่ได้ปรากฏใน ปริมาณสูง รองลงมาจากงานวิจัยด้านความเป็นอยู่ และวิทยาการ ส่วนงานวิจัยด้านศิลปกรรมและโบราณคดีในภาคใต้มีปริมาณ น้อย ผลงานการวิจัยทางวัฒนธรรมด้านศิลปกรรมส่วนใหญ่เป็น การวิจัยวัฒนธรรมที่เกี่ยวเนื่องกันกับศิลปหัตถกรรม งานวิจัย วัฒนธรรมทางด้านโบราณคดีส่วนใหญ่มีความเกี่ยวเนื่องกันกับ วัฒนธรรมโบราณที่ปรากฏขึ้นในบรรดาแหล่งโบราณคดี ชุมชน โบราณ เมืองโบราณต่าง ๆ ที่ตั้งอยู่ในภาคใต้ของประเทศไทย ส่วนงานวิจัยด้านการละเล่น ดนตรี และการพักผ่อนหย่อนใจ มี ปริมาณน้อย รวมทั้งยังเป็นผลงานการวิจัยที่สัมพันธ์กันกับผลงาน การวิจัยทางวัฒนธรรมสาขาอื่น ๆ (2539 : บทคัดย่อ) งานวิจัยเรื่อง สถานภาพมหาบัณฑิตที่ท�ำวิทยานิพนธ์และ สถานภาพวิทยานิพนธ์ของมหาวิทยาลัยทักษิณ ของ ทรงธรรม ธีระกุล (2546) ศึกษาสถานภาพวิทยานิพนธ์ของมหาวิทยาลัย ทักษิณตั้งแต่ปีการศึกษา 2525-2543 และสถานภาพบัณฑิต ที่ท�ำวิทยานิพนธ์ของมหาวิทยาลัยทักษิณในช่วงเดียวกัน พบว่า หัวข้อประเด็นที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมที่มหาบัณฑิตท�ำวิทยา นิพนธ์มากที่สุด ในหลักสูตร กศ.ม. ภาษาไทยคือ งานประพันธ์ วรรณกรรม มีจ�ำนวนมากที่สุด (จ�ำนวน 42 เรื่อง ร้อยละ 29.17) หัวข้อประเด็นที่มหาบัณฑิตท�ำวิทยานิพนธ์มากที่สุด ในหลักสูตร ศศ.ม. ไทยศึกษาคือ วัฒนธรรม ภาพสะท้อนทางสังคมและ _14-10(001-018)P5.indd 10 5/20/58 BE 12:05 AM