SlideShare a Scribd company logo
1 of 98
Download to read offline
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม
Intangible Cultural Heritage
กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม
Department of Cultural Promotion, Ministry of Culture
Departmentof
Cultural Promotion Ministry of C
ulture
กรมส่งเส
ริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธ
รรม
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม2
	 ประเทศไทย มีความหลากหลายในมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ซึ่งแสดงถึงเอกลักษณ์และความเจริญรุ่งเรือง
ของชาติ และยังเป็นพื้นฐานของการสร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรมรูปแบบต่างๆ ที่เกิดขึ้นปัจจุบัน ด้วยเหตุนี้ ความพยายามให้
เกิดการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และสืบสานมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติให้ดำ�รงอยู่อย่างยั่งยืน ผ่านการดำ�เนินงานของภาคส่วน
ต่างๆ จึงเป็นสิ่งสำ�คัญยิ่ง
	 กรมส่งเสริมวัฒนธรรมเล็งเห็นคุณค่าความสำ�คัญของมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม จึงได้ดำ�เนินโครงการปกป้อง
คุ้มครองมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม โดยมีกิจกรรมที่สำ�คัญ คือ การขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม
เพื่อเป็นหลักฐานสำ�คัญของชาติ เป็นการส่งเสริมให้เกิดความภาคภูมิใจในมรดกทางวัฒนธรรมของคนไทย รวมทั้งยัง
เป็นหนทางหนึ่งเพื่อปกป้องคุ้มครองมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของท้องถิ่นและของชาติให้ดำ�รงอยู่ โดยใน
ปีพุทธศักราช ๒๕๕๓ กรมส่งเสริมวัฒนธรรมได้ประกาศขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ๔ สาขา ได้แก่
สาขาศิลปะการแสดง สาขางานช่างฝีมือดั้งเดิม สาขาวรรณกรรมพื้นบ้าน และสาขากีฬาภูมิปัญญาไทย จำ�นวน ๒๕ รายการ
ซึ่งได้ผ่านการรับรองจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิฯ ที่กรมส่งเสริมวัฒนธรรมแต่งตั้ง และการประชุมระดมความคิดเห็นจาก
ผู้ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งได้จัดงานพิธีประกาศขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ประจำ�ปีพุทธศักราช ๒๕๕๓
เมื่อวันที่ ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๕๓ ในการนี้ จึงได้จัดทำ�หนังสือมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้
เกี่ยวกับมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมทั้ง ๒๕ รายการ ที่ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนประจำ�ปีพุทธศักราช ๒๕๕๓
	 กรมส่งเสริมวัฒนธรรมหวังเป็นอย่างยิ่งว่า หนังสือเล่มนี้จะเป็นสื่อในการเผยแพร่คุณค่าความสำ�คัญของมรดกภูมิปัญญา
ทางวัฒนธรรมที่ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และสืบสาน รวมถึงการศึกษาค้นคว้า
เพื่อการสร้างสรรค์ผลงานทางวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าต่อไป
คำ�นำ�
(นางปริศนา พงษ์ทัดศิริกุล)
อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม
Intangible Cultural Heritage 3
Thailand is the country with the diversity of intangible cultural heritage which is a testimony to the
achievement, progress, and prosperity of the nation, as well as a rich seam to mine for the present
cultural creativity. For these reasons, substantial efforts to conserve, restore, safeguard, and perpetuate
the intangible cultural heritage of the nation through the cooperation of every sector in society is
significant.	Recognizing the importance and value of Thailand’s intangible cultural heritage, the Department
of Cultural Promotion (DCP) has proceeded with its mission to safeguard it through the Project of
Intangible Cultural Heritage Designation -- which serves as the key testimony to the nation’s intangible
cultural heritage, protects it and promotes pride in it. In the 2010 fiscal year, the DCP designated 25 items
of Thailand’s intangible cultural heritage in four domains: the performing arts; the traditional
craftsmanship; the folk literature; and the folk sports, games and martial arts. The items in the list were
selected and endorsed by the Committees of Experts appointed by the Department, as well as through
the organization of public hearing sessions participated by concerned parties. The designation of the 2010
list was eventually announced in a ceremony on 30 July 2010 and a booklet on the designated intangible
cultural heritage was produced to disseminate the information to the public.	
DCP hopes that this booklet will bring about public awareness and appreciation of the nation’s
designated intangible cultural heritage and will contribute to the conservation, restoration, and
perpetuation of the culture heritage, as well as research and studies for the creation of valuable cultural
works.
Introduction
(Prisna Pongtadsirikul)
Director-General
Department of Cultural Promotion
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม4
สารบัญ
การขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ
	 ความเป็นมา	 ๘
	 วัตถุประสงค์ของการขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ	 ๘
	 ความหมายของมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม	 ๑๐	
	 การดำ�เนินงานขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ	 ๑๘
	 เกณฑ์การคัดเลือกมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ	 ๒๒
การประกาศขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ
ประจำ�ปีพุทธศักราช ๒๕๕๓
	 เหตุผลสำ�คัญของการประกาศขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ	 ๒๖
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียน
ประจำ�ปีพุทธศักราช ๒๕๕๓
	 มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม สาขาศิลปะการแสดง	 ๓๒
	 มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม สาขางานช่างฝีมือดั้งเดิม	 ๔๗
	 มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม สาขาวรรณกรรมพื้นบ้าน	 ๕๓
	 มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม สาขากีฬาภูมิปัญญาไทย	 ๘๓
ภาคผนวก
	 ประกาศกระทรวงวัฒนธรรม เรื่อง การขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ 	 ๘๗
	 ประจำ�ปีพุทธศักราช ๒๕๕๓	
	 มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ประจำ�ปี พุทธศักราช ๒๕๕๒	 ๘๙
Intangible Cultural Heritage 5
Designation of Thailand’s Intangible Cultural Heritage	
Background History	 9	
Objectives	 9	
	 11	
	 19	
Criteria for Indentification and Nomination of Items for the Designation of 	 23		
Thailand’s Intangible Cultural Heritage
Designation of Thailand’s Intangible Cultural Heritage in 2010	
	 27
Designated Intangible Cultural Heritage Items in 2010	
Performing Arts Domain	 33	
Traditional Craftsmanship Domain	 48	
Folk Literature Domain	 54		
Folk Sports, Games and Martial Arts Domain	 84	
Appendix			
Announcement of the Ministry of Culture on the Designation of Thailand’s Intangible 88
Cultural Heritage Year 2010	
	 89
Table of Contents
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม6
Intangible Cultural Heritage 7
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม8
การขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ
ความเป็นมา
	 กระทรวงวัฒนธรรมโดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรมได้ดำ�เนินงาน
ด้านการอนุรักษ์ ฟื้นฟู ส่งเสริมและเผยแพร่ รวมทั้งการศึกษา
ค้นคว้าและวิจัยทางวัฒนธรรม โดยเฉพาะการดำ�เนินงานด้าน
วัฒนธรรมพื้นบ้านมาอย่างต่อเนื่อง โดยมีการกำ�หนดนโยบาย
ยุทธศาสตร์ มาตรการ โครงการ และกิจกรรมต่างๆ ที่จะตอบ
สนองต่อภารกิจดังกล่าว
	 ตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๕๔๘–๒๕๕๒ กรมส่งเสริม
วัฒนธรรมได้ดำ�เนินการจัดเก็บและจัดทำ�ฐานข้อมูล
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม โดยได้มีการจัดเก็บข้อมูล
ด้านศิลปะการแสดง จำ�นวน ๓๕๐ เรื่อง ด้านงานช่างฝีมือ
ดั้งเดิม จำ�นวน ๕๐๐ เรื่อง และด้านมุขปาฐะ จำ�นวน ๔๐ เรื่อง
นอกจากนี้ ในปีงบประมาณ ๒๕๕๓ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม
สนับสนุนให้มีการจัดทำ�ทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม
ในระดับจังหวัด โดยการดำ�เนินงานนำ�ร่องในการจัดทำ�ทะเบียน
สาขาศิลปะการแสดง งานช่างฝีมือดั้งเดิม วรรณกรรมพื้นบ้าน
และกีฬาภูมิปัญญาไทย
	 เพื่อต่อยอดการดำ�เนินงาน กรมส่งเสริมวัฒนธรรม
จึงได้กำ�หนดภารกิจในการปกป้องคุ้มครองมรดกภูมิปัญญา
ทางวัฒนธรรมขึ้น โดยมีกิจกรรมที่สำ�คัญ คือ การขึ้นทะเบียน
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ โดยมีวัตถุประสงค์
เพื่อเป็นหลักฐานทางมรดกภูมิปัญญาที่สำ�คัญของชาติและ
เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน ให้เกิดความภาคภูมิใจ
ในวัฒนธรรมของตน รวมทั้งเพื่อเป็นการปกป้องคุ้มครอง
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของท้องถิ่นและของชาติอันจะนำ�
ไปสู่การสร้างความรู้ ความเข้าใจ การเห็นคุณค่าและยอมรับใน
ความหลากหลายทางวัฒนธรรมรวมทั้งเกิดการอยู่ร่วมกันอย่างมี
สันติสุขของคนในสังคมต่อไป
วัตถุประสงค์ของการขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทาง
วัฒนธรรมของชาติ
	 ๑.	เพื่อบันทึกประวัติความเป็นมา ภูมิปัญญาและอัตลักษณ์
ของมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม
	 ๒.	เพื่อเป็นฐานข้อมูลสำ�คัญเกี่ยวกับมรดกภูมิปัญญา
ทางวัฒนธรรมที่อยู่ในอาณาเขตของประเทศไทย
	 ๓.	เพื่อเสริมสร้างบทบาทความสำ�คัญ และความ
ภาคภูมิใจของชุมชน กลุ่มคนหรือบุคคลที่เป็นผู้ถือครองมรดก
ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม
	 ๔.	เพื่อส่งเสริมและพัฒนาสิทธิชุมชนในการอนุรักษ์
สืบสาน ฟื้นฟูและปกป้องคุ้มครองมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม
ของท้องถิ่นและของชาติ
	 ๕.	เพื่อรองรับการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาเพื่อการสงวนรักษา
มรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของยูเนสโก
Intangible Cultural Heritage 9
Designation of Thailand’s Intangible Cultural Heritage
Background History
	 The Department of Cultural Promotion (DCP),
Ministry of Culture, has been carrying out various
works in cultural conservation, restoration, promotion
and disimilation, as well as research and studies,
particularly with regards to the folk culture. The DCP
has laid down policies, strategies, and measures
and has organised various projects and activities to
fulfill its mission.	
From 2005 to 2009, the DCP has collected data and
has prepared Thailand’s Intangible Cultural Heritage
(ICH) database. At present, the database contains
350 items in the performing arts, 500 in the
traditional craftsmanship, and 40 in the folk
literature domains. Moreover, in the 2010 fiscal year,
the DCP supported the ICH inventory making
program at the provincial level through the pilot
project in the performing arts, traditional
craftsmanship, folk literature, and folk sports, games
and martial arts domains.
	 To follow up on the implementation, the DCP
laid down the mission to safeguard the ICH by focusing
on the national ICH designation as one of the main
activities.The designation serves as the key testimony
tothenation’sICH,promotesprideinitandencourages
communityparticipationinsafeguardingandprotecting
the local and national ICH. This will lead to knowledge,
understanding,appreciationandacceptanceofcultural
diversity, and ultimately to the peaceful co-existence
of the people in society.
Objectives	
1.	 To record the background history, wisdom
and identity of the intangible cultural heritage;	
2.	 To provide important database on
intangible cultural heritage in Thailand;	
3.	 To enhance the crucial role and the pride of
the communities, groups, or individuals that own the
intangible cultural heritage;	
4.	 To promote and develop the right of
communities to conserve, perpetuate, restore, and
safeguard the local and national intangible cultural
heritage;	
5.	 To prepare the groundwork for Thailand to
become a state party to UNESCO's Convention for the
Safeguarding of the Intangible Cultural Heritage.
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม10
ความหมายของมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม	
	 “มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม” หมายถึง การปฏิบัติ
การแสดงออก ความรู้ ทักษะ ตลอดจนเครื่องมือ วัตถุ
สิ่งประดิษฐ์ และพื้นที่ทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับสิ่งเหล่านั้น
ซึ่งชุมชน กลุ่มชน หรือในบางกรณีปัจเจกบุคคลยอมรับว่า
เป็นส่วนหนึ่งของมรดกทางวัฒนธรรมของตน มรดกภูมิปัญญา
ทางวัฒนธรรมซึ่งถ่ายทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปยังคนอีกรุ่นหนึ่งนี้
“มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม” จำ�แนกออกเป็น ๖ สาขา ดังนี้
ลำ�ดับที่ สาขา ความหมาย ประเภท
๑ ศิลปะการแสดง การแสดงออกซึ่งอารมณ์ความรู้สึก
และเรื่องราวต่างๆ โดยมีผู้แสดง
เป็นสื่อผ่านทางเสียง ได้แก่
การขับร้อง หรือการเล่นดนตรี
และทางร่างกาย ได้แก่ การร่ายรำ�
การเชิด การเต้น การแสดงท่าทาง
ฯลฯ
	 ๑.	 ดนตรี หมายถึง เสียงที่ประกอบกันเป็นทำ�นองเพลง
และ/หรือลีลาจังหวะทำ�ให้รู้สึกเพลิดเพลิน หรือเกิดอารมณ์รัก โศก หรือ
รื่นเริง เป็นต้น ดนตรีมีบทบาทหน้าที่ในการบรรเลงเพื่อการขับกล่อม
ความบันเทิง ประกอบพิธีกรรม และประกอบการแสดง
	 ๒.	 การแสดง หมายถึง การแสดงออกทางร่างกาย ท่วงท่า
การเคลื่อนไหว ท่าเต้น ท่ารำ� การแสดงกิริยาของการเต้น การรำ�
การเชิดฯลฯ ซึ่งแสดงถึงอารมณ์ความรู้สึกและเรื่องราว การแสดง
อาจแสดงร่วมกับดนตรีและการขับร้องหรือไม่ก็ได้
	 ๓.	 ดนตรีและการแสดงในพิธีกรรม หมายถึง การผสมผสาน
ระหว่างการแสดง การร้อง การร่ายรำ� และดนตรีที่ใช้ประกอบพิธีกรรม
	 ๔.	 เพลงร้องพื้นบ้านหมายถึงบทเพลงที่เกิดจากคนในท้องถิ่นนั้นๆ
ที่คิดรูปแบบการร้อง การเล่น เป็นบทเพลงที่มีท่วงทำ�นอง ภาษาที่
เรียบง่าย มุ่งความสนุกสนานเพลิดเพลินในโอกาสต่างๆ หรือการร่วม
แรงร่วมใจทำ�สิ่งใดสิ่งหนึ่งในการประกอบอาชีพ
๒. งานช่างฝีมือ
ดั้งเดิม
ภูมิปัญญาทักษะฝีมือช่างการเลือก
ใช้วัสดุ และกลวิธีการสร้างสรรค์
ที่แสดงถึงอัตลักษณ์ สะท้อน
พัฒนาการทางสังคมและวัฒนธรรม
ของกลุ่มชน
	 ๑.	 ผ้าและผลิตภัณฑ์จากผ้า หมายถึง ผลผลิตที่เกิดจากการทอ
ย้อม ถัก ปัก ตีเกลียว ยก จก มัดหมี่ พิมพ์ลาย ขิด เกาะ/ล้วง เพื่อใช้เป็น
เครื่องนุ่งห่ม และแสดงสถานภาพทางสังคม
	 ๒.	 เครื่องจักสาน หมายถึง ภาชนะเครื่องใช้ประจำ�บ้านที่ทำ�จาก
วัตถุดิบในท้องถิ่น เช่น ไผ่ หวาย กระจูด ลำ�เจียก โดยนำ�มาจักและสาน
จึงเรียกว่า เครื่องจักสาน กลวิธีในการทำ�เครื่องจักสาน ได้แก่ การถัก ผูก
รัดมัดร้อยโดยใช้ตอกหวายเพื่อให้เครื่องจักสานคงทนและคงรูปอยู่ได้
ตามต้องการ
เป็นสิ่งซึ่งชุมชนและกลุ่มชนสร้างขึ้นมาอย่างสมํ่าเสมอ
เพื่อตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมของตน เป็นปฏิสัมพันธ์ของ
พวกเขาที่มีต่อธรรมชาติและประวัติศาสตร์ของตน และทำ�ให้
คนเหล่านั้นเกิดความภูมิใจในตัวตนและความรู้สึกสืบเนื่อง
ก่อให้เกิดความเคารพต่อความหลากหลายทางวัฒนธรรม และ
การคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์
Intangible Cultural Heritage 11
Intangible Cultural Heritage is divided into six domains as follows:
No. Domain Definition Category
1. Performing arts “Performing arts” mean the
expressionofemotions,feelings,
orstoriesbyaperformerthrough
sound, such as singing or music
playing, and through body
movement,suchasindanceor
inthemanipulation(ofpuppets),
in gesture etc.	
1)	 “Traditionalmusic”meansthesoundthatmakes
upatuneand/orrhythmthatentertainsorinducesemotion
of love, sadness, or joy, for example. The roles and
the functions of music are to entertain, to accompany
rites and ceremonies, or performances, for example;	
2)	 “Traditionalperformance”meanstheexpression
throughbodymovements,postures,gestures,dancesteps,
theactofdancing,manipulating(thepuppets)etc.,allof
which express emotions, feelings, or tell stories.
Aperformancemightbeaccompaniedbymusicandsinging; 	
3)	 “Folk ritual performance” means the traditional
playactivity,suchasfestivaldrama,folkdance,ritualistic
dance drama, ritual music used in rites and rituals;	
4)	 “Folk song” means the song of folk origin in its
form or style, with a simple tune and lyric that aim to
entertain during the various occasions or festivities
or during a collaborative labour or work.
2. Traditional
craftsmanship
“Traditional craftsmanship”
means the knowledge and
skills of a group of people
in making handicrafts, in
selecting materials and
methods to create handicrafts
that reflect the identity and
the social development and
culture.	
1)	 “Textilesandtextileproducts”meantheproducts
created by weaving, dying, knitting, embroidering,
Ti-kliao, Yok (pulled extra weft-threads technique),
Chok, weft ikat, printing motifs, Khit, Ko/Luang technique
withtheaimtobeused as items of clothing which show
the social status of the wearer; 	
2)	 “Basketry” means the traditional household
utensils and objects made by weaving together thin
strips of locally available raw materials, such as
bamboo, rattan, Krachut (Lepironia articulate (Retz.)
Domin),Lamchiak(PandanusodoratissimusLinn).Weaving
methods involve knitting, tying, fastening, binding or
stringing strips of bamboo or rattan, to make durable
products that retain their shape for a long time;	
“Intangible Cultural Heritage” means the practices,
expressions, knowledge, skills, tools, objects,
inventions, and the relevant cultural space that
communities, groups of people or, in some cases,
individuals, acknowledge as a part of their cultural
heritage. The intangible cultural heritage, which is
passed on from one generation to another,
is constantly recreated by the communities and groups
of people in response to their environment. It is their
interaction to nature and to their history. It gives them
pride in their identity and a sense of continuity, which
eventually leads to respect for cultural diversity and
creativity.
Definition of Intangible Cultural Heritage
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม12
ลำ�ดับที่ สาขา ความหมาย ประเภท
	 ๓.	 เครื่องรัก หมายถึง หัตถกรรมที่ใช้รักเป็นวัสดุสำ�คัญ
ในการสร้างผลงาน เช่น ปิดทองรดนํ้า ภาพกำ�มะลอ ประดับมุก
ประดับกระจกสี ปั้นกระแหนะ และเขิน รักหรือยางรัก มีคุณลักษณะ
เป็นยางเหนียว สามารถเกาะจับพื้นของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ประสงค์จะทา
หรือถมทับหรือเคลือบผิวได้ดี ทำ�ให้เป็นผิวมันภายหลังรักแห้งสนิท
มีคุณภาพคงทนต่อความร้อน ความชื้น กรดหรือด่างอ่อนๆ และยังเป็น
วัสดุที่ใช้เชื่อมสมุกหรือสีเข้าด้วยกัน
	 ๔.	 เครื่องปั้นดินเผา หมายถึง หัตถกรรมที่ใช้ดินเหนียวเป็นวัตถุดิบ
หลักในการผลิต มีทั้งชนิดเคลือบและไม่เคลือบ โดยที่เนื้อดินเหนียวต้อง
มีส่วนผสมของทรายแม่นํ้าที่เป็นทรายเนื้อละเอียดและช่วยให้เนื้อดิน
แห้งสนิทไม่แตกร้าว ดินเหนียวที่ใช้ทำ�เครื่องปั้นดินเผาจากที่ต่างๆ ให้สี
แตกต่างกัน
	 ๕.	 เครื่องโลหะ หมายถึง สิ่งที่มีวัสดุหลักเป็นเหล็ก ทองเหลือง
หรือทองแดง เครื่องโลหะที่ทำ�จากเหล็ก นิยมทำ�โดยการเผาไฟให้อ่อนตัว
และตีเหล็กเป็นรูปทรงต่างๆเครื่องโลหะที่ทำ�จากทองเหลืองนิยมนำ�ทองเหลือง
มาเผาจนหลอมเหลวแล้วจึงนำ�ไปเทลงในแบบตามลักษณะที่ต้องการ
เสร็จแล้วนำ�มาตกแต่ง ส่วนเครื่องโลหะที่ทำ�จากทองแดง มีการนำ�ทองแดง
มาใช้เป็นโลหะเจือหลักสำ�หรับผลิตตัวเรือนของเครื่องประดับโลหะเงินเจือ
	 ๖.	 เครื่องไม้ หมายถึง งานฝีมือช่างที่ทำ�จากไม้ซุงหรือไม้แปรรูป
เป็นท่อน เป็นแผ่น เพื่อใช้ในงานช่างก่อสร้างประเภทเครื่องสับ
เครื่องเรือน เครื่องบูชา เครื่องตั้ง เครื่องประดับ เครื่องมือ เครื่องใช้
เครื่องศาสตรา เครื่องดนตรี เครื่องเล่น และยานพาหนะ โดยอาศัย
เทคนิควิธีการแกะ สลัก สับ ขุด เจาะ กลึง ถาก ขูด และขัด
	 ๗.	 เครื่องหนัง หมายถึง งานหัตถกรรมพื้นบ้านที่ทำ�มาจากหนังสัตว์
โดยผ่านกระบวนการหมักและฟอกหนังเพื่อไม่ให้เน่าเปื่อย และให้เกิด
ความนิ่มนวลสามารถบีบงอได้ตามที่ต้องการ เครื่องหนังนิยมนำ�ไปใช้
ในงานด้านศิลปะการแสดง รวมถึงอุปกรณ์อื่นๆ ที่มีหนังเป็นส่วนประกอบ
	 ๘.	 เครื่องประดับ หมายถึง งานช่างฝีมือที่ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อการ
ตกแต่งให้เกิดความงดงาม เริ่มต้นจากการใช้วัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น
นำ�มาผลิตและพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ โดยใช้อัญมณีและโลหะมีค่าต่างๆ
	 ๙.	 งานศิลปกรรมพื้นบ้าน หมายถึง งานที่มีการแสดงอารมณ์สะท้อน
ออกทางฝีมือการช่างให้เห็นประจักษ์เป็นรูปธรรมเพื่อตอบสนองต่อการ
ยังชีพและความต้องการด้านคุณค่าความงาม เช่น งานเขียน งานปั้น
งานแกะสลัก งานหล่อ เป็นต้น
	 ๑๐.	 ผลิตภัณฑ์อย่างอื่น หมายถึง งานช่างฝีมือดั้งเดิมที่ไม่สามารถ
จัดอยู่ใน ๙ ประเภทแรกได้ ซึ่งอาจเป็นงานช่างฝีมือที่ประดิษฐ์หรือผลิตขึ้นจาก
วัสดุในท้องถิ่นหรือจากวัสดุเหลือใช้ เป็นต้น
Intangible Cultural Heritage 13
No. Domain Definition Category	
3)	 “Lacquerware” means the handicraft objects that are
coated with the lacquer that is made from the gum of Rak tree
(Melanorrhoea usitata). Various applications and techniques
are used to make lacquer objects, for example, the gilt lacquer,
gold appliqué on lacquer, Kammalo (Japanese style lacquer object),
mother-of-pearl or coloured glass inlay on lacquer, Pan Kranae
(gilt stucco work), and Khoen (vermillion paint on lacquer).
The gum from Rak tree is viscous and sticky. It holds fast to
the surface of objects and when the gum dries, it makes a smooth
and shiny surface and is resistant to heat, moisture, weak acid
or alkaline. Rak’s gum also acts as a binding agent for Samuk
(ground charcoal of dried banana leaves and lalang grass, used as
a primer on the surface of wood to be gilded with gold leaves)
or other colours;	
4)	 “Pottery” is the handicraft work that uses clay as
the principal raw material. Pottery comes in glazed and
unglazed types. The clay must be mixed with fine river sand,
which helps to make the clay dry well and prevent cracking.
Different types of clay from various sites make for the different
colors of the pottery;	
5)	 “Metal work” means the handicraft objects, mostly for
household use and agricultural work, which are made of iron,
brass, or copper as the principal raw material. Iron-based material
is heated to soften it before being beaten into shape. Brass work is
made by heating brass until it becomes molten before pouring it
into a mould. After it cools down and is taken out of the mould, it is
chasedanddressed.Copperismostlyusedastheprincipalcomposite
in the silver alloy jewellery;	
6)	 “Woodwork” means the handicraft objects made of logs
or planks of wood for use as furniture, altar offerings, altar sets,
costume accessories, tools, weapons, musical instruments, toys,
and vehicles, or as building material in the Khrueang Sap house
(house built by wooden joints, without using metal nails).
Techniques used are carving, sculpturing, chopping, digging,
piercing, turning on the lathe, planning, scraping, and polishing; 	
7)	 “Leatherwork” means the folk handicraft objects made
from animal raw hides and skins that are soaked in alkali
solution and tanned to prevent decay and to make them soft
and pliable. Leather work is often used in various ways in
the performing arts and in instruments that require leather;	
8)	 “Folk ornamentation” means the handicraft accessories
used in decorating the body for beauty. At first easy-to-find,
local materials were used, but in later development,
they were replaced by gems and precious metals; 	
9)	 “Folk art” means the art objects that concretely
express emotions through craftsmanship for practical use and
for aesthetic value, for example, painting, sculpture, carving,
and casting;
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม14
ลำ�ดับที่ สาขา ความหมาย ประเภท
๓. วรรณกรรม
พื้นบ้าน
วรรณกรรมที่ถ่ายทอดอยู่ใน
วิถีชีวิตชาวบ้าน โดยครอบคลุม
วรรณกรรมที่ถ่ายทอดโดยวิธี
การบอกเล่าและที่เขียนเป็น
ลายลักษณ์อักษร
	 ๑.	 นิทานพื้นบ้านหมายถึงเรื่องเล่าที่สืบทอดต่อๆกันมาประกอบ
ด้วยนิทานเทวปกรณ์ ตำ�นาน นิทานศาสนา นิทานคติ นิทานมหัศจรรย์
นิทานชีวิต นิทานประจำ�ถิ่น นิทานอธิบายเหตุ นิทานเรื่องสัตว์ นิทาน
เรื่องผี มุขตลกและเรื่องโม้ นิทานเข้าแบบของไทย
	 ๒.	 ประวัติศาสตร์บอกเล่า หมายถึง เรื่องเล่าเกี่ยวกับประวัติ
การตั้งถิ่นฐาน การอพยพ ความเป็นมา และบุคคลสำ�คัญของชุมชน
	 ๓.	 บทสวดหรือบทกล่าวในพิธีกรรม หมายถึง คำ�สวดที่ใช้
ประกอบในพิธีกรรมต่างๆ เช่น บททำ�ขวัญ คำ�บูชา คำ�สมา คำ�เวนทาน
บทสวดสรภัญญ์ คาถาบทอานิสงส์ บทประกอบการรักษาโรคพื้นบ้าน
คำ�ให้พร คำ�อธิษฐานฯลฯ
	 ๔.	 บทร้องพื้นบ้าน หมายถึง คำ�ร้องที่ถ่ายทอดสืบต่อกันมา
ในโอกาสต่างๆ เช่น บทกล่อมเด็ก บทร้องเล่น บทเกี้ยวพาราสี
บทจ๊อย คำ�เซิ้งฯลฯ
	 ๕.	 สำ�นวนและภาษิต หมายถึง คำ�พูดหรือคำ�กล่าวที่สืบทอดกันมา
มักมีสัมผัสคล้องจองกัน เช่น โวหาร คำ�คม คำ�พังเพย คำ�อุปมาอุปไมย
คำ�ขวัญ คติพจน์ คำ�สบถสาบาน คำ�สาปแช่ง คำ�ชม คำ�คะนองฯลฯ
	 ๖.	 ปริศนาคำ�ทายหมายถึงคำ�หรือข้อความที่ตั้งเป็นคำ�ถามคำ�ตอบ
ที่สืบทอดกันมา เพื่อให้ผู้ตอบได้ทายหรือตอบปัญหา เช่น คำ�ทาย
ปัญหาเชาวน์ ผะหมี
	 ๗.	 ตำ�ราหมายถึงองค์ความรู้ที่มีการเขียนบันทึกในเอกสารโบราณ
เช่น ตำ�ราโหราศาสตร์ ตำ�ราดูลักษณะคนและสัตว์ ตำ�รายาฯลฯ
๔. กีฬา
ภูมิปัญญาไทย
การเล่น การกีฬา และศิลปะ
การต่อสู้ป้องกันตัวที่มีการปฏิบัติ
กันอยู่ในประเทศไทยและมี
เอกลักษณ์สะท้อนวิถีไทย
	 ๑.	 การเล่นพื้นบ้าน หมายถึง การเล่นของคนไทยในแต่ละวัย
ที่มีวัตถุประสงค์ต่างๆ กันออกไป โดยมีผลลัพธ์สุดท้าย คือ ความรัก
ความสามัคคี และความสนุกสนานเพลิดเพลิน
	 ๒.	 กีฬาพื้นบ้าน หมายถึง การเล่นและการแข่งขันของคนไทย
ในแต่ละวัย โดยมีอุปกรณ์และกฎกติกาที่เป็นลักษณะเฉพาะถิ่น
	 ๓.	 ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวหมายถึงวิธีการหรือรูปแบบการต่อสู้
ที่ใช้ร่างกายหรืออุปกรณ์โดยได้รับการฝึกฝนตามวัฒนธรรมที่ได้รับ
การถ่ายทอดกันมา
Intangible Cultural Heritage 15
No. Domain Definition Category	
10)		 “Other kinds of products” mean other
traditional handicraft products that cannot be
classified in the aforementioned nine
categories and may involve those handicraft
products made from locally available materials
or waste materials, for example.
3. Folk literature “Folkliterature”meanstheoral
or written literature that is
transmitted through the folk
way of life.	
1)	 “Folktale”meansthestoriesthataretransmitted
from generation to generation by words of mouth,
namely myths, religious tales, didactic tales, fairy tales,
romantic tales, legends/sages, explanatory tales,
animal tales, ghost tales, jokes/humorous anecdotes,
formula tales;	
2)	 “Oralhistory”meansstoriesaboutthehistoryof
settlement, resettlement, exodus, and the background
history of a community and its important persons;	
3)	 “Incantation or ritual chant” means
the incantation or chant that is used in the various rites
and rituals such as the Bot Tham Kwan (incantations
used in the heartening rite to invoke the guardian-spirit),
Kham Bucha (chants of worship), Kham Sama
(incantations for asking forgiveness), Kham Wen Than
(incantations for transferring the merit), Bot Suat
Sora-phan-ya, Kha-tha Bot Anisong, incantations
used in folk medicine and faith healing, blessings,
chants of invocation or prayers etc.;	
4)	 “Folk chant” means the words of the songs
and chants that are transmitted in the society during
various occasions such as lullaby and nursery rhyme,
Bot Rong Len, Bot Kiao-pha-rasi (courtship ritual
dialogue), Bot Joi, Kham Soeng etc.;	
5)	 “Idiom and adage” mean the words or sayings
which are transmitted from generation to generation
in the society and which often rhyme - for example,
rhetorical expressions, epigrams, aporisms, metaphors,
slogans, mottos, swear words/vows, curses/spells,
eulogies, Kham Khanong (slangs) etc.;	
6)	 “Riddle” means wordplays in the form of
questions, which have been transmitted within
the society -- for example, riddles, trick questions,
and Phami;	
7)	 “Treatise” means a body of knowledge
and information recorded, written or inscribed in old
manuscripts, for example, texts on astrology,
physiognomy, medicines etc.
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม16
ลำ�ดับที่ สาขา ความหมาย ประเภท
๕. แนวปฏิบัติทางสังคม
พิธีกรรมและงาน
เทศกาล
การประพฤติปฏิบัติในแนวทาง
เดียวกันของคนในชุมชนที่สืบทอด
ต่อกันมาบนหนทางของมงคลวิธี
นำ�ไปสู่สังคมแห่งสันติสุขแสดงให้
เห็นอัตลักษณ์ของชุมชนและชาติ
พันธุ์นั้นๆ
	 ๑.	 มารยาทหมายถึงการประพฤติปฏิบัติที่ดีงามต่อผู้อื่น
	 ๒.	 ขนบธรรมเนียมประเพณีหมายถึงการประพฤติปฏิบัติ
และการกระทำ�กิจกรรมที่สืบทอดต่อๆ กันมาในวิถีชีวิต
และสังคมของชุมชนนั้นๆ
	 ๓.	 งานเทศกาลหมายถึงกิจกรรมที่กระทำ�ตามกำ�หนดเวลา
ในรอบปี
๖. ความรู้และแนวปฏิบัติ
เกี่ยวกับธรรมชาติและ
จักรวาล
องค์ความรู้ วิธีการ ทักษะ ความเชื่อ
แนวปฏิบัติและการแสดงออกที่
พัฒนาขึ้นจากการมีปฏิสัมพันธ์
ระหว่างคนกับสภาพแวดล้อม
ตามธรรมชาติและเหนือธรรมชาติ
	 ๑.	 อาหารและโภชนาการ
	 ๒.	 การแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้าน
	 ๓.	 โหราศาสตร์และดาราศาสตร์
	 ๔.	 การจัดการทรัพยากรธรรมชาติเพื่อการอนุรักษ์
และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน
	 ๕.	 ชัยภูมิและการตั้งถิ่นฐาน
Intangible Cultural Heritage 17
No. Domain Definition Category
4. Folk sports, games
and martial arts
“Folk sports, games and
martial arts” mean games,
sports and martial arts which
are practiced in Thailand and
which uniquely reflect the
Thai way of life.	
1)	 “Folk games” mean the games that the
Thai people of different ages play for different
objectives with the ultimate aims to foster
brotherly love, solidarity, and to have fun;	
2)	 “Folk sports” mean games and
competitions that the Thai people of different
ages play by using equipments and by following
the rules and regulations that are particular to
the different regions of the country;	
3)	 “Folk martial arts” mean the methods or
forms of fighting by using parts of the body or
equipments and which require training through
cultural transmission.
5. Social practices,
rituals and festive
events
“Social practices, rituals and
festive events”mean the
customary or traditional
practices that have been
commonly adopted by the
people in a community
andpassedonfromgeneration
togenerationastheauspicious
way and that foster social
peace and reflect the
self-image of the community
or ethnic group.	
1)	 “Etiquette”meanspolitewaysoftreatingother
people;	
2)	 “Custom and tradition” mean the practices
and activities which are adopted in the people’s way
of life and their community and which have been
passed on from generation to generation;	
3)	 “Festive event” means the activities that
are performed on specific dates of the year.
6. Knowledge and
practicesconcerning
nature and the
universe
“Knowledge and practices
concerning nature and
the universe” mean the body
of knowledge, methods,
skills, beliefs, practices,
and expressions which
are developed from
the interaction between
man and his natural and
supernatural environments.	
1)	 Food and nutrition.	
2)	 Thai traditional medicine and folk medicine.	
3)	 Astrology and astronomy.	
4)	 Naturalresourcesmanagementofconservation
and sustainable utilization.	
5)	 Chaiya-phum (divination for auspicious
location) and human settlement.
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม18
	 เพื่อให้การบริหารจัดการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม
ของไทยเป็นไปอย่างมีระบบและต่อเนื่อง กระตุ้นให้ชุมชน
ตระหนักถึงคุณค่า อัตลักษณ์ และเกิดความภาคภูมิใจในมรดก
ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมรวมทั้งส่งเสริมให้คนรุ่นหลังได้มีโอกาส
ในการรับรู้และสืบทอดมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมในท้องถิ่น
ของตน กรมส่งเสริมวัฒนธรรมจึงได้กำ�หนดขั้นตอนในการ
ขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ดังนี้
	 ๑.	กรมส่งเสริมวัฒนธรรมแต่งตั้งคณะกรรมการผู้ทรง
คุณวุฒิมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม สาขาศิลปะการแสดง
สาขางานช่างฝีมือดั้งเดิม สาขาวรรณกรรมพื้นบ้าน สาขากีฬา
ภูมิปัญญาไทย
	 ๒.	คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมรดกภูมิปัญญาทาง
วัฒนธรรมจัดทำ�และปรับปรุงเกณฑ์การขึ้นทะเบียนมรดก
ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ
	 ๓.	คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมรดกภูมิปัญญาทาง
วัฒนธรรมคัดเลือกรายการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม
เพื่อขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ
	 ๔.	คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมรดกภูมิปัญญาทาง
วัฒนธรรมจัดทำ�ข้อมูลความสำ�คัญของมรดกภูมิปัญญาทาง
วัฒนธรรมแต่ละรายการประกอบการพิจารณาขึ้นทะเบียน
การดำ�เนินงานขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ
	 ๕.	กรมส่งเสริมวัฒนธรรมแต่งตั้งคณะกรรมการผู้ทรง
คุณวุฒิอำ�นวยการขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม
	 ๖.	คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอำ�นวยการขึ้นทะเบียน
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมให้ความเห็นชอบรายการมรดก
ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมเพื่อขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทาง
วัฒนธรรมของชาติ
	 ๗.	คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมรดกภูมิปัญญาทาง
วัฒนธรรมพิจารณาผลการสำ�รวจและการประชุมรับฟังความ
คิดเห็นต่อการเสนอรายการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม
ที่จะขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ
	 ๘.	คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอำ�นวยการขึ้นทะเบียน
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมรับรองผลการขึ้นทะเบียน
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ
	 ๙.	รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมลงนามในประกาศ
ขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ
	 ๑๐.	กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรมจัดพิธี
ประกาศขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ
	 ๑๑.	กรมส่งเสริมวัฒนธรรมผลิตสื่อสิ่งพิมพ์และวีดิทัศน์
เพื่อเผยแพร่สู่ประชาชน
	 ๑๒.	กรมส่งเสริมวัฒนธรรมส่งเสริม สนับสนุนการถ่ายทอด
และการสืบสานมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติที่ได้รับ
การประกาศขึ้นทะเบียน
Intangible Cultural Heritage 19
	 To facilitate Thailand's ICH management in
systematic and continuous manner, to promote
an awareness in the communities of the value
and identity of their ICH, to bring about the
pride in their ICH, and to encourage the younger
generations to learn and perpetuate the ICH in their
communities, the DCP has therefore laid down the
operational directives and regulated the procedure
for the designation of Thailand’s ICH as follows:	
1.	 The DCP shall appoint the ICH Committees of
Experts in the following domains: performing arts,
traditional craftsmanship, folk literature; folk sports,
games and martial arts; 		
2.	 The ICH Committees of Experts shall prepare
and revise the criteria for national ICH designation;	
3.	 The ICH Committees of Experts shall nominate
the items to be designated as the national ICH;	
4.	 The ICH Committees of Experts shall prepare
key information relevant to each ICH item to be
designated as the national ICH;	
5.	 TheDCPshallappointtheExecutiveCommittee
of Experts for the ICH Designation;
Operational Directives for Thailand’s Intangible Cultural Heritage Designation	
6.	 The Executive Committee of Experts for
the ICH Designation shall approve the list of items
to be designated as the national ICH;	
7.	 The ICH Committees of Experts shall consider
the result of public hearings on the list of items to be
designated as the national ICH;	
8.	 The Executive Committee of Experts for the
ICH Designation shall endorse the result of national
ICH designation;	
9.	 The Minister of Culture shall sign the
announcement of the national ICH designation;	
10.	 The DCP shall organize the announcement
ceremony of the national ICH designation;	
11.	 The DCP shall publicize the information
through the printed and video media;	
12.	 The DCP shall promote and support the
transmission and perpetuation of the designated
national ICH.
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม20
แผนผังขั้นตอนการขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ
คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม
คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
อำ�นวยการขึ้นทะเบียน
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม
กรมส่งเสริมวัฒนธรรม
กระทรวงวัฒนธรรม
จัดทำ�และปรับปรุงเกณฑ์การขึ้นทะเบียน
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ
คัดเลือกรายการมรดกภูมิปัญญาทาง
วัฒนธรรมเพื่อขึ้นทะเบียนเป็นมรดก
ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ
จัดทำ�ข้อมูลความสำ�คัญประกอบการ
พิจารณาขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภูมิปัญญา
ทางวัฒนธรรมของชาติ
จัดกิจกรรมรับฟังความคิดเห็นในรายการ
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จะ
ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภูมิปัญญาทาง
วัฒนธรรมของชาติ
ให้ความเห็นชอบรายการมรดก
ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมเพื่อการ
ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภูมิปัญญาทาง
วัฒนธรรมของชาติ
รับรองผลการขึ้นทะเบียนมรดก
ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ
นำ�เสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวง
วัฒนธรรมลงนามในประกาศ
ขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทาง
วัฒนธรรมของชาติ
จัดงานประกาศขึ้นทะเบียนมรดก
ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ
ผลิตสื่อสิ่งพิมพ์และวิดีทัศน์
เกี่ยวกับรายการมรดกภูมิปัญญา
ทางวัฒนธรรมของชาติที่ได้รับการ
ประกาศขึ้นทะเบียน
ส่งเสริมสนับสนุนการถ่ายทอด
และการสืบสานมรดกภูมิปัญญา
ทางวัฒนธรรมของชาติที่ได้รับ
การประกาศขึ้นทะเบียน
Intangible Cultural Heritage 21
Flow Chart on Operational Directives for Thailand’s Intangible Cultural Heritage Designation
The ICH Committees of Experts
The Executive Committee of
Experts for the ICH
Designation
Department of Cultural
Promotion, Ministry of Culture
Prepare and revise the criteria for
national ICH designation.
Nominate the items to be designated
as the national ICH.
Prepare key information for
consideration of each ICH item to be
designated.
Organize forums to gather public
opinion on the nominated items.
Approves the list of items to be
designated as the national ICH.
EndorsestheresultofnationalICH
designation.
Submits the designation
announcement to the Minister
for signature.
Organizes the announcement
ceremony.
Publicizestheinformationthrough
the printed and video media.
Promotes and supports the
transmission and perpetuation
of the designated national ICH.
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม22
	 คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม
ได้กำ�หนดเกณฑ์การขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม
ของชาติ โดยแบ่งตามสาขาของมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม
ดังนี้
สาขาศิลปะการแสดง
	 ๑. 	มีคุณสมบัติเฉพาะของวัฒนธรรมนั้นๆ ที่แสดงให้เห็น
		 ถึงเอกลักษณ์และอัตลักษณ์
	 ๒.	มีองค์ประกอบของศิลปะการแสดงที่บ่งบอกให้เห็น
		 คุณลักษณะของศิลปะการแสดงนั้นๆ
	 ๓.	มีรูปแบบการแสดงหรือการนำ�เสนอที่ชัดเจน
	 ๔. 	มีการสืบทอดที่ยังคงมีการแสดงอยู่ หรือแสดง
		 ตามวาระโอกาสของการแสดงนั้นๆ
	 ๕.	มีคุณค่าทางสังคม จิตใจ และวิถีชีวิตชุมชน
	 ๖. 	คุณสมบัติอื่นๆ ที่คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเห็นว่า
		 เหมาะสม
สาขางานช่างฝีมือดั้งเดิม
	 ๑.	มีต้นกำ�เนิด และ/หรือถูกนำ�มาพัฒนาในชุมชน
		 นั้นจนเป็นที่ยอมรับและมีการสืบทอด
	 ๒.	แสดงถึงทักษะ ฝีมือ ภูมิปัญญา และใช้เทคโนโลยี
		 อย่างเหมาะสม เช่น ผลิตด้วยมือ หรือใช้เทคโนโลยี
		 พื้นบ้าน
	 ๓.	มีการพัฒนาเครื่องมือ วัสดุเพื่อสนองต่อกระบวน
		 การผลิต
	 ๔.	ผลิตเพื่อประโยชน์ใช้สอยในวิถีชีวิต ขนบประเพณี
		 ความเชื่อ วัฒนธรรม หรือการประกอบอาชีพ
		 ของคนในชุมชน
	 ๕.	แสดงให้เห็นถึงเอกลักษณ์ หรืออัตลักษณ์เฉพาะ
		 ท้องถิ่นหรือชาติพันธุ์นั้นๆ และเป็นความภาคภูมิใจ
		 ของคนในชุมชน
	 ๖.	มีคุณค่าทางศิลปะ วัฒนธรรม เศรษฐกิจและสังคม
		 มีความหมายและคุณค่าทางประวัติศาสตร์ท้องถิ่น
		 หรือชาติพันธุ์นั้นๆ
	 ๗.	เป็นงานช่างที่ต้องได้รับการคุ้มครองอย่างเร่งด่วน
		 เสี่ยงต่อการสูญหาย หรือกำ�ลังเผชิญกับภัยคุกคาม
	 ๘.	คุณสมบัติอื่นๆ ที่คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเห็นว่า
		 เหมาะสมต่อการขึ้นทะเบียน
เกณฑ์การคัดเลือกมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ
สาขาวรรณกรรมพื้นบ้าน
	 ๑.	เป็นเรื่องที่รู้จักแพร่หลายในระดับชาติ ภูมิภาค
		 หรือท้องถิ่น
	 ๒.	เป็นเรื่องที่สะท้อนอัตลักษณ์ของภูมิภาคหรือท้องถิ่น
	 ๓.	เป็นเรื่องที่เป็นแกนยึดโยงและสร้างเครือข่าย
		 ความสัมพันธ์ระหว่างท้องถิ่นต่างๆ
	 ๔.	เป็นเรื่องที่ต้องได้รับการคุ้มครองอย่างเร่งด่วน
		 เสี่ยงต่อการสูญหายหรือกำ�ลังเผชิญกับภัยคุกคาม
	 ๕.	คุณสมบัติอื่นๆ ที่คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเห็นว่า
		 เหมาะสมต่อการขึ้นทะเบียน
สาขากีฬาภูมิปัญญาไทย
	 ๑.	เป็นการเล่นพื้นบ้าน กีฬาพื้นบ้าน และศิลปะการ
		 ต่อสู้ป้องกันตัวที่แสดงให้เห็นถึงเอกลักษณ์หรือ
		 อัตลักษณ์เฉพาะท้องถิ่นหรือชาติพันธุ์
	 ๒.	มีวิธีการเล่นหรือการแข่งขันที่ชัดเจน (เช่น ลำ�ดับ
		 ขั้นตอน กฎ กติกา ช่วงระยะเวลา)
	 ๓.	มีการสืบทอดและยังคงมีการเล่น หรือการแข่งขัน
		 ตามวาระโอกาสของกีฬา การเล่นนั้น ๆ
	 ๔.	มีคุณค่าทางกาย อารมณ์ สังคม วิถีชีวิตชุมชน
		 และจิตวิญญาณของความเป็นไทย
	 ๕.	เป็นการเล่นพื้นบ้าน กีฬาพื้นบ้านและศิลปะการต่อสู้
		 ป้องกันตัวที่ต้องได้รับการคุ้มครองอย่างเร่งด่วน
		 เสี่ยงต่อการสูญหายหรือกำ�ลังเผชิญกับภัยคุกคาม
	 ๖.	คุณสมบัติอื่นๆ ที่คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเห็นว่า
		 เหมาะสมต่อการขึ้นทะเบียน
สาขาแนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรมและงานเทศกาล
	 ๑.	มีคุณสมบัติเฉพาะที่แสดงอัตลักษณ์ หรือเอกลักษณ์
		 ในด้านประวัติความเป็นมา กระบวนการคัดสรร
		 กลั่นกรอง การนำ�มาปรับเปลี่ยนพัฒนาในชุมชน
		 จนเป็นที่ยอมรับและสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน
	 ๒.	มีรูปแบบการปฏิบัติ ช่วงเวลา วิธีการและขั้นตอน
		 ที่ชัดเจน
	 ๓.	มีการปฏิบัติสืบสานกันมาหลายชั่วคน ยังคงมี
		 การปฏิบัติอยู่ หรือมีหลักฐานว่าเคยปฏิบัติในชุมชน
Intangible Cultural Heritage 23
Criteria for Identification and Nomination of Items for the Designation of
Thailand’s Intangible Cultural Heritage	
The ICH Committees of Experts have provided the
criteria for intangible cultural heritage designation
by describing the defining attributes of the items to
be considered in each of the six domains as
follows:
Performing arts domain:	
1.	 Having specific characteristics that attest to the		
cultural identity and self-image of the		
community;	
2.	 Having elements that correspond to the		
performance genre;	
3.	 Having the explicit performance or presentation		
format;	
4.	 Being transmitted and perpetuated to the		
present, or continuing to be performed		
on specific occasions;	
5.	 Having social and spiritual value and value		
to the community's way of life;	
6.	 HavingothercharacteristicsthattheCommittees		
of Experts consider relevant.
Traditional craftsmanship domain:	
1.	 Having been originated in and/or introduced		
into and developed by the community to		
the point of being commonly recognized		
as such and having been perpetuated/		
transmitted within the community;	
2.	 Showing the skills, wisdom, and appropriate		
technology, such as production by hand or		
using folk technology;	
3.	 Having developed the tools and materials		
to accommodate the production process;	
4.	 Having the primary functions for use in		
daily life, or for use related to custom,		
tradition, belief, and culture, or for use in the		
work of the people in the community;	
5.	 Representing the identity or the self-image		
of the folk, locality, or ethnic group and		
being the pride of the people in the		
community;	
6.	 Having artistic, cultural, economic and social		
value, as well as historical meaning and value		
to the community or the ethnic group;	
7.	 Being in urgent need of safeguarding, being at		
risk of disappearance, or facing threatening		
danger;	
8.	 HavingothercharacteristicsthattheCommittees		
of Experts consider relevant.
Folk literature domain:	
1.	 Being commonly known at national, regional		
or local levels;	
2.	 Reflecting the self-image of the region or		
locality;	
3.	 Being the connecting core and forming the		
network of relations among the different		
regions;	
4.	 Being in urgent need of safeguarding,		
being at risk of disappearance, or facing		
threatening danger;	
5.	 Having other characteristics that the		
Committees of Experts consider relevant.
Folk sports, games and martial arts domain:	
1.	 Reflecting the local or ethnic identity or		
self-image;	
2.	 Having explicit method of playing or		
competing (for example, procedure and		
sequence, rules and regulations, timing);	
3.	 Being transmitted and perpetuated to the		
present, or continuing to be played or		
competed on specific occasions;	
4.	 Having physical, emotional, and social		
value, as well as value to the community’s		
way of life and the Thai spirit;	
5.	 Being in urgent need of safeguarding, being		
at risk of disappearance, or facing threatening		
danger;	
6.	 HavingothercharacteristicsthattheCommittees		
of Experts consider relevant.
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม24
	 ๔.	เป็นกิจกรรมที่รู้จัก ประพฤติปฏิบัติกันอย่าง
		 แพร่หลายในระดับกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ชุมชน
		 ท้องถิ่น ภูมิภาค และประเทศชาติ
	 ๕.	แสดงออกถึงภูมิธรรม ภูมิปัญญาที่มีคุณค่าต่อจิตใจ
		 วิถีชีวิตและสังคม
	 ๖.	เป็นแกนยึดโยงและสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์
		 ของคนในชุมชน ท้องถิ่นและประเทศชาติ
	 ๗.	เสี่ยงต่อการสูญหายหรือนำ�ไปใช้อย่างไม่ถูกต้อง
		 และไม่เหมาะสม
	 ๘.	คุณสมบัติอื่นๆ ที่คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
		 เห็นว่าเหมาะสมต่อการขึ้นทะเบียน
สาขาความรู้และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล
	 ๑.	มีการสืบทอดและยังปฏิบัติอยู่ในวิถีชีวิต
	 ๒.	เป็นเรื่องที่สะท้อนเอกลักษณ์ของชาติ หรืออัตลักษณ์
		 ของชุมชนหรือภูมิภาค
	 ๓.	เป็นเรื่องที่เสี่ยงต่อการสูญหาย หรือกำ�ลังเผชิญกับ
		 ภัยคุกคาม
	 ๔.	คุณสมบัติอื่นๆ ที่คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
		 เห็นว่าเหมาะสมต่อการขึ้นทะเบียน
หมายเหตุ	 ในการพิจารณาคัดเลือกรายการมรดกภูมิปัญญา
ทางวัฒนธรรมเพื่อขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภูมิปัญญา
ทางวัฒนธรรมของชาติ ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของคณะกรรมการ
ผู้ทรงคุณวุฒิที่กรมส่งเสริมวัฒนธรรมแต่งตั้ง โดยพิจารณาให้อยู่
ในเกณฑ์อย่างน้อย ๑ ข้อ
Intangible Cultural Heritage 25
Social practices, rituals and festive events
domain:	
1.	 Having specific characteristics that reflect		
the identity or self-image concerning the		
history or origins, the selection process,		
including the adaptation and development		
within the community to the point of being		
well-accepted and perpetuated by the		
community;	
2.	 Having explicit format or pattern of practice,		
timing, procedure, and sequence;	
3.	 Having been transmitted through several		
generations and perpetuated to the		
present or having evidence of having been		
practiced in the community;	
4.	 Being commonly known, adopted and		
practiced at the level of ethnic group, as well as		
at the level of local, regional and national		
communities;	
5.					 Reflecting the moral/ethical wisdom and
Intangible wisdom, which possess value for
the spirit, the way of life, and the society;	
6.	 Being the connecting core and forming the		
network of relations among the different		
regions;	
7.	 Being at risk of disappearance or misuse;	
8.	 Having other characteristics that the		
Committees of Experts consider relevant.
Knowledge and practices concerning nature and
the universe domain:	
1.	 Having been transmitted and perpetuated		
to the present in the people’s way of life;	
2.	 Reflecting national identity or self-image		
of the community or region;	
3.	 Being at risk of disappearance or facing		
threatening danger;	
4.	 Having other characteristics that the		
Committees of Experts consider relevant.	
Remark: At least one criterion shall be met for an
item to be designated as Thailand’s Intangible
cultural heritage, which shall be done at the
discretion of the Committees of Experts, who are
appointed by the Department of Cultural
Promotion.
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม26
การประกาศขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ
ประจำ�ปีพุทธศักราช ๒๕๕๓
	 กระทรวงวัฒนธรรมตระหนักถึงความจำ�เป็นในการปกป้อง
คุ้มครอง ส่งเสริม และสืบทอดมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม
จึงประกาศขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ
ประจำ�ปีพุทธศักราช ๒๕๕๓ เพื่อการคุ้มครองในเบื้องต้น จำ�นวน
๔ สาขา ๒๕ รายการ คือ
	 ๑.	สาขาศิลปะการแสดง จำ�นวน ๒ ประเภท ๖ รายการ
	 ๒.	สาขางานช่างฝีมือดั้งเดิม จำ�นวน ๒ ประเภท ๓ รายการ
	 ๓.	สาขาวรรณกรรมพื้นบ้านจำ�นวน๓ประเภท๑๕รายการ
	 ๔.	สาขากีฬาภูมิปัญญาไทย จำ�นวน ๑ ประเภท ๑ รายการ
	 ในการนี้กระทรวงวัฒนธรรมจะดำ�เนินการส่งเสริมสนับสนุน
ให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และถ่ายทอดมรดกวัฒนธรรม
ที่ได้รับการประกาศอยู่ในบัญชีรายชื่อโดยวิธีการต่างๆ
ตามความเหมาะสมต่อไป
เหตุผลสำ�คัญของการประกาศขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญา
ทางวัฒนธรรมของชาติ
	 มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม เป็นสมบัติอันลํ้าค่าที่
บรรพบุรุษได้สร้างสรรค์ สั่งสม และสืบทอดมาถึงลูกหลานรุ่นต่อ
รุ่น สิ่งที่เป็นมรดกภูมิปัญญา หมายถึง สิ่งที่เป็นความรู้ ความคิด
ทักษะ ความชำ�นาญ ความเชี่ยวชาญที่แสดงออกผ่านทางภาษา
วรรณกรรม ศิลปะการแสดง ขนบธรรมเนียมประเพณี พิธีกรรม
งานช่างฝีมือดั้งเดิม และความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล
	 ในยุคที่โลกกำ�ลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเช่นปัจจุบัน
สิ่งที่เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของประเทศด้านต่างๆ
กำ�ลังถูกคุกคามจากภัยรอบด้าน ทั้งด้วยการถูกรุกรานจาก
วัฒนธรรมต่างชาติ การฉกฉวยผลประโยชน์ หรือการนำ�มรดก
ภูมิปัญญาไปใช้อย่างไม่เหมาะสม ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ ส่งผล
ให้กลุ่มชนที่ได้รับผลกระทบถูกครอบงำ�ทางวัฒนธรรม
จนเกิดการสูญเสียอัตลักษณ์ และสูญเสียภูมิปัญญาที่เป็น
องค์ความรู้ของตนไปอย่างรู้เท่าไม่ถึงการณ์
	 การประกาศขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม
ชองชาติ จึงเป็นหนทางหนึ่งในการปกป้องคุ้มครอง และเป็น
หลักฐานสำ�คัญของประเทศในการประกาศความเป็นเจ้าของ
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมประเภทต่างๆ ในขณะที่ยังไม่มี
มาตรการทางกฎหมายที่จะคุ้มครองมรดกภูมิปัญญา
ทางวัฒนธรรมของชาติ รวมทั้งในอนาคต หากประเทศไทย
ได้เข้าเป็นภาคีสมาชิกอนุสัญญาว่าด้วยการสงวนรักษา
มรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ก็จะเป็นโอกาสอันดียิ่ง
ในการเผยแพร่ชื่อเสียงเกียรติภูมิของประเทศชาติให้ปรากฏ
ในสังคมโลก เช่นเดียวกับที่ประเทศต่างๆ จำ�นวน ๑๓๖ ประเทศ
ที่เป็นภาคีสมาชิกแล้วในปัจจุบัน
Intangible Cultural Heritage 27	
Recognizing the necessity to safeguard, promote
and perpetuate the intangible cultural heritage, the
Ministry of Culture therefore designated 25 items in
four domains as Thailand’s intangible cultural
heritage in 2010, namely:	
1.	 In the performing arts domain, 6 items		
in 2 categories;	
2.	 In the traditional craftsmanship domain,		
3 items in 2 categories;	
3.	 In the folk literature domain, 15 items in		
3 categories;	
4.	 In the folk sports, games and martial arts		
domain, 1 item in 1 category.
	 The Ministry of Culture will foster and support the
exchange of knowledge and learning about, as well as
the transmission of, the ICH-designated items through
various means as appropriate.
Rationale for the Designation of Thailand’s
Intangible Cultural Heritage	
An intangible cultural heritage is a precious legacy
from the ancestors, who created, accumulated,
perpetuated and passed it on to the next
generation. An intangible heritage means the
knowledge, thought, skill, and expertise expressed
through language, literature, the performing arts,
customs and traditions, rites and rituals, traditional
crafts, and cosmological knowledge.	
In today’s fast-changing world, the intangible
cultural heritage of the nation is threatened by the
spread of foreign cultures, the appropriation and
misuse of the intangible cultural heritage in
Designation of Thailand’s Intangible Cultural Heritage in 2010
an unfairly manner. Dominated by these factors, the
affected groups of people unknowingly lose their
self-image and their body of knowledge that forms
their wisdom.
	 While no legal measure is available to protect
Thailand’s ICH, the designation of the national
ICH might provide one way of safeguarding, and
an important evidence of Thailand’s ownership
of, the ICH in various domains. Moreover, in the
future, if Thailand shall join the other 136 countries
as a state party to UNESCO’s Convention for the
Safeguarding of the Intangible Cultural Heritage,
it will be a good opportunity to make known to the
world community of Thailand’s prestige.
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม28
รายชื่อมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่ได้รับการประกาศ
ขึ้นทะเบียน ประจำ�ปีพุทธศักราช ๒๕๕๓
สาขา ประเภท รายการ
ศิลปะการแสดง ดนตรี ๑.	 ปี่พาทย์
การแสดง ๒.	 ละครใน
๓.	 หุ่นกระบอก
๔.	 ลิเกทรงเครื่อง
๕.	 รำ�เพลงช้า-เพลงเร็ว
๖.	 แม่ท่ายักษ์-ลิง
งานช่างฝีมือดั้งเดิม
ผ้าและผลิตภัณฑ์จากผ้า
๑.	 ผ้ายก
๒.	 ผ้ามัดหมี่
เครื่องโลหะ ๓.	 การปั้นหล่อพระพุทธรูป
วรรณกรรมพื้นบ้าน นิทาน ๑.	 นิทานศรีธนญชัย
๒.	 นิทานสังข์ทอง
๓.	 นิทานขุนช้างขุนแผน
ตำ�นาน ๔.	 ตำ�นานพระแก้วมรกต
๕.	 ตำ�นานพระเจ้าห้าพระองค์
๖.	 ตำ�นานดาวลูกไก่
๗.	 ตำ�นานพระเจ้าเลียบโลก
๘.	 ตำ�นานพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช
๙.	 ตำ�นานพระพุทธสิหิงค์
๑๐.	ตำ�นานพญาคันคาก
บทสวดหรือบทกล่าวในพิธีกรรม ๑๑.	บททำ�ขวัญข้าว
๑๒.	บททำ�ขวัญนาค
๑๓.	บททำ�ขวัญควาย
ตำ�รา ๑๔	ตำ�ราแมวไทย
๑๕.	ตำ�ราเลขยันต์
กีฬาภูมิปัญญาไทย ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว ๑.	 มวยไทย
Intangible Cultural Heritage 29
Domain Category Item
Performing arts Music 1.	 Pi Phat ensemble
Performing arts 2.	 Lakhon Nai
3.	 Hun Krabok
4.	 Li-ke Song Khrueang
5.	 Ram Phleng Cha-Ram Phleng Reo
6.	 Mae Tha Yak - Mae Tha Ling
Traditional craftsmanship
Textiles and textile products
1.	 Yok cloth
2.	 Mat Mi cloth
Metalwork 3.	 Buddha statue model making and casting
Folk literature Tales 1.	 The tale of Sri Thanonchai
2.	 The tale of Sang Thong
3.	 The tale of Khun Chang-Khun Phaen
Myths and Legends 4.	 The legend of Phra Kaeo Morakot
5.	 The myth of Phra Chao Ha Phra Ong
6.	 The myth of Dao Luk Kai
7.	 The legend of Phra Chao Liab Lok
8.	 The legend of the Phra Boromma That	
Nakhon Sri Thammarat
9.	 The legend of Phra Phutta Sihing
10.	 The myth of Phraya Khan-khak
IncantationsandRitualChants 11.	Tham Khwan Khao ritual text
12.	 Tham Khwan Nak ritual text
13.	 Tham Khwan Khwai ritual text
Texts 14 	Text on Thai Cats
15.	 Text on Lek Yan
Folk sports, games and
martial arts
Martial art 1.	 Muai Thai
List of Designated Intangible Cultural Heritage Items in 2010
สาขาศิลปะการแสดง
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม30
PerformingArtsDomain
Intangible Cultural Heritage 31
สาขาศิลปะการแสดง
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม32
ปี่พาทย์
	 ปี่พาทย์หมายถึงวงดนตรีไทยประเภทหนึ่งที่มีเครื่องดนตรี
ประเภทเครื่องตีเป็นหลัก ได้แก่ ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ระนาด
เอกเหล็ก ระนาดทุ้มเหล็ก ฆ้องวงใหญ่ฆ้องวงเล็ก มีเครื่องดนตรี
ประเภทเครื่องเป่าเช่นปี่ขลุ่ยและเครื่องกำ�กับจังหวะเช่นตะโพน
กลองทัด เป็นต้น
	 ปี่พาทย์ครอบคลุมวัฒนธรรมด้านเครื่องดนตรี ความเชื่อ
ค่านิยม ขนบนิยม ประเพณี และระเบียบปฏิบัติ วงปี่พาทย์
สามารถนำ�ไปบรรเลง – ขับร้องในกิจกรรมต่างๆ ทั้งในส่วนของ
งานพระราชพิธี งานพิธีกรรมของราษฎร ประกอบการแสดง
โขน หนังใหญ่ ละคร หุ่นกระบอก ลิเก และเป็นดนตรีเพื่อ
การฟัง นอกจากนี้ยังใช้บรรเลงในงานอวมงคล เช่น งานสวด
พระอภิธรรมศพและงานฌาปนกิจศพฯลฯ
	 วงปี่พาทย์แบ่งออกได้เป็น ๖ ประเภท ดังนี้
	 ๑. วงปี่พาทย์ไม้แข็ง
	 วงปี่พาทย์ไม้แข็ง เป็นวงปี่พาทย์ประเภทหนี่ง ที่เป็นต้นแบบ
ของวงปี่พาทย์ประเภทอื่นๆโดยทั่วไปนิยมเรียกว่า “วงปี่พาทย์”
เดิมเรียกชื่อว่า“วงพิณพาทย์”ต่อมาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงเปลี่ยนเป็นคำ�ว่า
“ปี่พาทย์” สำ�หรับวงปี่พาทย์ ที่ระบุคำ�ว่า “ไม้แข็ง” เนื่องจาก
ไม้ที่ใช้ตีระนาดเอกจะใช้ไม้แข็งบรรเลง วงปี่พาทย์ไม้แข็ง
ใช้บรรเลงในงานพระราชพิธี งานพิธีกรรมของราษฎร เช่น
งานทำ�บุญขึ้นบ้านใหม่ งานบวชนาค งานเทศกาลบุญ รวมทั้ง
ใช้ประกอบการแสดงต่างๆปัจจุบันยังนิยมนำ�มาบรรเลง–ขับร้อง
บทเพลงต่างๆ เพื่อการฟังด้วย
	 ๒. วงปี่พาทย์เสภา
	 วงปี่พาทย์เสภา เป็นวงดนตรีที่เกิดขึ้นครั้งแรกในรัชกาล
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย มีการนำ�เอาลูกเปิง
หรือกลองสองหน้า เข้ามาตีในวงปี่พาทย์เครื่องห้า โดย
ทำ�หน้าที่ตีประกอบจังหวะหน้าทับ วงปี่พาทย์เสภาใช้บรรเลง
ประกอบการเล่นเสภาประกอบละครเสภาและบรรเลง–ขับร้อง
บทเพลงต่างๆ เพื่อการฟัง
	 ๓. วงปี่พาทย์ไม้นวม
	 วงปี่พาทย์ไม้นวม เป็นวงปี่พาทย์ประเภทหนึ่งที่เกิดขึ้น
ในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ (หม่อมราชวงศ์หลาน กุญชร)
เป็นผู้ริเริ่มปรับปรุงวงและบรรเลงรับ-ร้องก่อน ในการประสม
วงดนตรี ท่านใช้ขลุ่ยเพียงออและขลุ่ยหลิบแทนปี่ในและ
ปี่นอก และได้เพิ่มซออู้ ส่วนระนาดเอกก็เปลี่ยนมาใช้ไม้นวม
ตีแทนไม้แข็งเพื่อลดระดับเสียงเนื่องจากใช้บรรเลงประกอบการ
แสดงโขน ละครที่แสดงในโรงละครหรือในอาคาร
	 ๔. วงปี่พาทย์ดึกดำ�บรรพ์
	 วงปี่พาทย์ดึกดำ�บรรพ์เป็นวงดนตรีที่มีขึ้นครั้งแรกในรัชกาล
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยสมเด็จ
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
ทรงปรับปรุงขึ้น เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๑ เพื่อใช้บรรเลงประกอบ
การแสดงละครแนวใหม่ ซึ่งเจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์
(หม่อมราชวงศ์หลาน กุญชร) เป็นผู้ริเริ่มปรับปรุงรูปแบบด้วย
การผสมผสานระหว่างละครในกับละครอุปรากร เจ้าพระยา
เทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ได้สร้างโรงละครขึ้นใหม่ ตั้งชื่อว่า “โรงละคร
ดึกดำ�บรรพ์” จึงส่งผลให้ชื่อ “ดึกดำ�บรรพ์” เป็นชื่อของละคร
รูปแบบใหม่และวงดนตรีด้วยเครื่องดนตรีที่ประสมในวงปี่พาทย์
ดึกดำ�บรรพ์ ประกอบด้วย ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ฆ้องวงใหญ่
ระนาดทุ้มเหล็ก ขลุ่ยเพียงออ ขลุ่ยอู้ ซออู้ ตะโพน กลองตะโพน
ฆ้องหุ่ย ๗ ใบ และฉิ่ง
PerformingArtsDomain
Intangible Cultural Heritage 33
Pi Phat ensemble
	 Pi Phat is a type of Thai musical ensemble
comprising mainly the “striking instruments”, namely
RanatEk,RanatThum,RanatThumLek,KhongWongYai,
and Khong Wong Lek; wind instruments - such as
Pi, Khlui; and ‘tempo control and time marking
instruments’ such as Ta-phon, Klong That,
for example.
	 Pi Phat embraces aspects of culture that include
the musical instruments used in the ensemble,
the beliefs, values, norms, customs, traditions, and
rules. Pi Phat ensemble is performed in the royal
ceremonies and public festivities in musical concerts
or as an accompaniment to the Khon (mask dance
drama), Nang Yai (grand shadow puppet spectacle),
Lakhon (dance drama), Hun Krabok (bamboo
puppet theatre), and Li-ke (folk dance drama). Pi Phat
ensemble also features during sorrowful occasions
related to the death rituals -- a funeral ceremony
where the Buddhist monks perform a funeral chant
and a cremation, for example.
	 Pi Phat ensemble is sub-divided into six sub-types
as follows:	
1. Pi Phat Mai Khaeng ensemble
	 Pi Phat Mai Khaeng is the prototype of all other
sub-types of Pi Phat ensemble. Previously called
Phin Phat ensemble, it was changed to the presently
popular name Pi Phat ensemble by HRH Prince Naritsara
Nuwattiwong. Mai Khaeng, literally “hard wooden
stick”, refers to the unpadded wooden mallets for
striking on the bars of the Ranat Ek (Ranat - Thai
xylophone; Ek - the main or leading instrument in the
ensemble). Pi Phat Mai Khaeng ensemble features
in royal ceremonies and commoners’ rites --
the merit-making during the house-warming rite,
the ordination ceremony, and the religious festivals.
It is also used to accompany dramatic performances
and today it also performs in music concerts.	
2. Pi Phat Se-pha ensemble
	 Created during the reign of King Rama II, this
sub-type introduced either Luk Poeng or Song Na
(two-faced) drum into the Pi Phat Khrueang Ha
(five instruments) ensemble. The drum beats time
and the rhythmic pattern, or Na Thap, as
the ensemble accompanies the Se-pha singing,
Lakhon Se-pha performance, or performs in music
concerts.	
3. Pi Phat Mai Nuam ensemble
	 Pi Phat Mai Nuam was introduced during the reign
of King Rama V by Chao Phraya Thewetwongwiwat
(Mom Ratchawong (a royal title) Lan Kunchon), who
re-arranged the Pi Phat band as well as the instrumental
and the accompaniment parts. He substituted Khlui
Phiang O (medium size fipple flute) and Khlui Lip
(small size fipple flute) for Pi Nai (soprano oboe) and
Pi Nok (sopranino oboe) and added So U (alto fiddle)
to the ensemble. Unpadded wooden mallets
are replaced by padded wooden mallets for the
Ranat Ek (soprano bamboo xylophone). Pi Phat
Mai Nuam ensemble performs in accompaniment to
the Khon and Lakhon.
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๓
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๓
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๓
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๓
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๓
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๓
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๓
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๓
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๓
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๓
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๓
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๓
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๓
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๓
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๓
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๓
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๓
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๓
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๓
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๓
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๓
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๓
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๓
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๓
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๓
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๓
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๓
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๓
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๓
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๓
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๓
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๓
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๓
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๓
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๓
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๓
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๓
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๓
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๓
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๓
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๓
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๓
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๓
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๓
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๓
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๓
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๓
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๓
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๓
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๓
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๓
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๓
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๓
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๓
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๓
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๓
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๓
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๓
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๓
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๓
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๓
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๓
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๓
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๓

More Related Content

What's hot

What's hot (11)

Kerala nelvayal thanneerthada samrakshana niyamam GO 2699/18
Kerala nelvayal thanneerthada samrakshana niyamam GO 2699/18Kerala nelvayal thanneerthada samrakshana niyamam GO 2699/18
Kerala nelvayal thanneerthada samrakshana niyamam GO 2699/18
 
Aspek Hukum Bab 7, 8, 9, 10
Aspek Hukum Bab 7, 8, 9, 10Aspek Hukum Bab 7, 8, 9, 10
Aspek Hukum Bab 7, 8, 9, 10
 
Makalah Peradilan Agama di Indonesia Tentang Peradilan Agama Setelah lahirnya...
Makalah Peradilan Agama di Indonesia Tentang Peradilan Agama Setelah lahirnya...Makalah Peradilan Agama di Indonesia Tentang Peradilan Agama Setelah lahirnya...
Makalah Peradilan Agama di Indonesia Tentang Peradilan Agama Setelah lahirnya...
 
Profil ITS TV
Profil ITS TVProfil ITS TV
Profil ITS TV
 
Kerala Land Tax incresed 2018
Kerala Land Tax incresed 2018Kerala Land Tax incresed 2018
Kerala Land Tax incresed 2018
 
Protection of witness;comparitive study
Protection of witness;comparitive studyProtection of witness;comparitive study
Protection of witness;comparitive study
 
pembuktian dan daluarsa
pembuktian dan daluarsapembuktian dan daluarsa
pembuktian dan daluarsa
 
Benami Transaction Act, 1988
Benami Transaction Act, 1988Benami Transaction Act, 1988
Benami Transaction Act, 1988
 
Presentasi Direktorat Hak Cipta
Presentasi Direktorat Hak CiptaPresentasi Direktorat Hak Cipta
Presentasi Direktorat Hak Cipta
 
കേരള ഭൂ പരിഷ്ക്കരണ നിയമം -Klr act 1964
കേരള ഭൂ പരിഷ്ക്കരണ നിയമം -Klr act 1964കേരള ഭൂ പരിഷ്ക്കരണ നിയമം -Klr act 1964
കേരള ഭൂ പരിഷ്ക്കരണ നിയമം -Klr act 1964
 
Transfer of property general view
Transfer of property  general viewTransfer of property  general view
Transfer of property general view
 

Viewers also liked

มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๖
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๖มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๖
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๖Boonlert Aroonpiboon
 
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๒
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๒มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๒
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๒Boonlert Aroonpiboon
 
คู่มือการเสนอขอขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ
คู่มือการเสนอขอขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติคู่มือการเสนอขอขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ
คู่มือการเสนอขอขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติBoonlert Aroonpiboon
 
New 004 ศูนย์ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
New 004 ศูนย์ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมNew 004 ศูนย์ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
New 004 ศูนย์ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมthammanoon laohpiyavisut
 
โครงงานลายผ้าไหมไทย
โครงงานลายผ้าไหมไทยโครงงานลายผ้าไหมไทย
โครงงานลายผ้าไหมไทยPapatchaya Jakchaisin
 

Viewers also liked (6)

มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๖
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๖มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๖
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๖
 
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๒
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๒มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๒
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๒
 
คู่มือการเสนอขอขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ
คู่มือการเสนอขอขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติคู่มือการเสนอขอขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ
คู่มือการเสนอขอขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ
 
New 004 ศูนย์ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
New 004 ศูนย์ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมNew 004 ศูนย์ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
New 004 ศูนย์ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
 
ผ้าไหม
ผ้าไหม ผ้าไหม
ผ้าไหม
 
โครงงานลายผ้าไหมไทย
โครงงานลายผ้าไหมไทยโครงงานลายผ้าไหมไทย
โครงงานลายผ้าไหมไทย
 

Similar to มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๓

มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๗
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๗มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๗
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๗Boonlert Aroonpiboon
 
อ.วนิดา บทที่ 1 (ตำราสารสนเทศท้องถิ่น)
อ.วนิดา  บทที่ 1 (ตำราสารสนเทศท้องถิ่น) อ.วนิดา  บทที่ 1 (ตำราสารสนเทศท้องถิ่น)
อ.วนิดา บทที่ 1 (ตำราสารสนเทศท้องถิ่น) นางสาวอัมพร แสงมณี
 
คลังข้อมูลเพื่อการเรียนรู้ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม
คลังข้อมูลเพื่อการเรียนรู้ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมคลังข้อมูลเพื่อการเรียนรู้ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม
คลังข้อมูลเพื่อการเรียนรู้ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมSittisak Rungcharoensuksri
 
บทบาทของ “ศมส.” กับการจัดการและดูแลสารสนเทศมรดกวัฒนธรรม
บทบาทของ “ศมส.” กับการจัดการและดูแลสารสนเทศมรดกวัฒนธรรมบทบาทของ “ศมส.” กับการจัดการและดูแลสารสนเทศมรดกวัฒนธรรม
บทบาทของ “ศมส.” กับการจัดการและดูแลสารสนเทศมรดกวัฒนธรรมSittisak Rungcharoensuksri
 
อปท.ดีเด่น
อปท.ดีเด่นอปท.ดีเด่น
อปท.ดีเด่นComniwat Jaya
 
Strategic destination marketing presentation 2015 part2
Strategic destination marketing presentation 2015 part2Strategic destination marketing presentation 2015 part2
Strategic destination marketing presentation 2015 part2Silpakorn University
 
บทบาทและความท้าทายของ “ศมส.” กับการจัดการและดูแลสารสนเทศมรดกวัฒนธรรม
บทบาทและความท้าทายของ “ศมส.” กับการจัดการและดูแลสารสนเทศมรดกวัฒนธรรมบทบาทและความท้าทายของ “ศมส.” กับการจัดการและดูแลสารสนเทศมรดกวัฒนธรรม
บทบาทและความท้าทายของ “ศมส.” กับการจัดการและดูแลสารสนเทศมรดกวัฒนธรรมSittisak Rungcharoensuksri
 
Policy Brief 4/2562 ยุทธศาสตร์การทูตสาธารณะของเกาหลีใต้และข้อเสนอแนะสำหรับประ...
Policy Brief 4/2562 ยุทธศาสตร์การทูตสาธารณะของเกาหลีใต้และข้อเสนอแนะสำหรับประ...Policy Brief 4/2562 ยุทธศาสตร์การทูตสาธารณะของเกาหลีใต้และข้อเสนอแนะสำหรับประ...
Policy Brief 4/2562 ยุทธศาสตร์การทูตสาธารณะของเกาหลีใต้และข้อเสนอแนะสำหรับประ...Klangpanya
 
สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน
สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสานสถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน
สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสานPornpimon Gormsang
 
The role of higher education in the arts and cultural dimensions.
The role of higher education in the arts and cultural dimensions.The role of higher education in the arts and cultural dimensions.
The role of higher education in the arts and cultural dimensions.Tor Jt
 
รายงานโครงการกฐิน ๒๕๕๖
รายงานโครงการกฐิน ๒๕๕๖รายงานโครงการกฐิน ๒๕๕๖
รายงานโครงการกฐิน ๒๕๕๖Manoonpong Srivirat
 
อ.วนิดา บทที่ 2 (ตำราสารสนเทศท้องถิ่น) 10 july 57
อ.วนิดา  บทที่ 2 (ตำราสารสนเทศท้องถิ่น) 10 july 57อ.วนิดา  บทที่ 2 (ตำราสารสนเทศท้องถิ่น) 10 july 57
อ.วนิดา บทที่ 2 (ตำราสารสนเทศท้องถิ่น) 10 july 57นางสาวอัมพร แสงมณี
 
การเฉลิมฉลองงานวันเกิดเมืองอย่างสร้างสรรค์ : เกียวโต
การเฉลิมฉลองงานวันเกิดเมืองอย่างสร้างสรรค์ : เกียวโตการเฉลิมฉลองงานวันเกิดเมืองอย่างสร้างสรรค์ : เกียวโต
การเฉลิมฉลองงานวันเกิดเมืองอย่างสร้างสรรค์ : เกียวโตFURD_RSU
 
การศึกษาแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อการศึกษาศิลปวัฒนธรรมในอู่อารยธรรม ...
การศึกษาแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อการศึกษาศิลปวัฒนธรรมในอู่อารยธรรม ...การศึกษาแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อการศึกษาศิลปวัฒนธรรมในอู่อารยธรรม ...
การศึกษาแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อการศึกษาศิลปวัฒนธรรมในอู่อารยธรรม ...สถาบันราชบุรีศึกษา
 
คลังข้อมูลชุมชน 101
คลังข้อมูลชุมชน 101คลังข้อมูลชุมชน 101
คลังข้อมูลชุมชน 101Sittisak Rungcharoensuksri
 

Similar to มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๓ (16)

Sukhothai Kingdom Application
Sukhothai Kingdom ApplicationSukhothai Kingdom Application
Sukhothai Kingdom Application
 
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๗
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๗มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๗
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๗
 
อ.วนิดา บทที่ 1 (ตำราสารสนเทศท้องถิ่น)
อ.วนิดา  บทที่ 1 (ตำราสารสนเทศท้องถิ่น) อ.วนิดา  บทที่ 1 (ตำราสารสนเทศท้องถิ่น)
อ.วนิดา บทที่ 1 (ตำราสารสนเทศท้องถิ่น)
 
คลังข้อมูลเพื่อการเรียนรู้ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม
คลังข้อมูลเพื่อการเรียนรู้ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมคลังข้อมูลเพื่อการเรียนรู้ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม
คลังข้อมูลเพื่อการเรียนรู้ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม
 
บทบาทของ “ศมส.” กับการจัดการและดูแลสารสนเทศมรดกวัฒนธรรม
บทบาทของ “ศมส.” กับการจัดการและดูแลสารสนเทศมรดกวัฒนธรรมบทบาทของ “ศมส.” กับการจัดการและดูแลสารสนเทศมรดกวัฒนธรรม
บทบาทของ “ศมส.” กับการจัดการและดูแลสารสนเทศมรดกวัฒนธรรม
 
อปท.ดีเด่น
อปท.ดีเด่นอปท.ดีเด่น
อปท.ดีเด่น
 
Strategic destination marketing presentation 2015 part2
Strategic destination marketing presentation 2015 part2Strategic destination marketing presentation 2015 part2
Strategic destination marketing presentation 2015 part2
 
บทบาทและความท้าทายของ “ศมส.” กับการจัดการและดูแลสารสนเทศมรดกวัฒนธรรม
บทบาทและความท้าทายของ “ศมส.” กับการจัดการและดูแลสารสนเทศมรดกวัฒนธรรมบทบาทและความท้าทายของ “ศมส.” กับการจัดการและดูแลสารสนเทศมรดกวัฒนธรรม
บทบาทและความท้าทายของ “ศมส.” กับการจัดการและดูแลสารสนเทศมรดกวัฒนธรรม
 
Policy Brief 4/2562 ยุทธศาสตร์การทูตสาธารณะของเกาหลีใต้และข้อเสนอแนะสำหรับประ...
Policy Brief 4/2562 ยุทธศาสตร์การทูตสาธารณะของเกาหลีใต้และข้อเสนอแนะสำหรับประ...Policy Brief 4/2562 ยุทธศาสตร์การทูตสาธารณะของเกาหลีใต้และข้อเสนอแนะสำหรับประ...
Policy Brief 4/2562 ยุทธศาสตร์การทูตสาธารณะของเกาหลีใต้และข้อเสนอแนะสำหรับประ...
 
สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน
สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสานสถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน
สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน
 
The role of higher education in the arts and cultural dimensions.
The role of higher education in the arts and cultural dimensions.The role of higher education in the arts and cultural dimensions.
The role of higher education in the arts and cultural dimensions.
 
รายงานโครงการกฐิน ๒๕๕๖
รายงานโครงการกฐิน ๒๕๕๖รายงานโครงการกฐิน ๒๕๕๖
รายงานโครงการกฐิน ๒๕๕๖
 
อ.วนิดา บทที่ 2 (ตำราสารสนเทศท้องถิ่น) 10 july 57
อ.วนิดา  บทที่ 2 (ตำราสารสนเทศท้องถิ่น) 10 july 57อ.วนิดา  บทที่ 2 (ตำราสารสนเทศท้องถิ่น) 10 july 57
อ.วนิดา บทที่ 2 (ตำราสารสนเทศท้องถิ่น) 10 july 57
 
การเฉลิมฉลองงานวันเกิดเมืองอย่างสร้างสรรค์ : เกียวโต
การเฉลิมฉลองงานวันเกิดเมืองอย่างสร้างสรรค์ : เกียวโตการเฉลิมฉลองงานวันเกิดเมืองอย่างสร้างสรรค์ : เกียวโต
การเฉลิมฉลองงานวันเกิดเมืองอย่างสร้างสรรค์ : เกียวโต
 
การศึกษาแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อการศึกษาศิลปวัฒนธรรมในอู่อารยธรรม ...
การศึกษาแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อการศึกษาศิลปวัฒนธรรมในอู่อารยธรรม ...การศึกษาแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อการศึกษาศิลปวัฒนธรรมในอู่อารยธรรม ...
การศึกษาแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อการศึกษาศิลปวัฒนธรรมในอู่อารยธรรม ...
 
คลังข้อมูลชุมชน 101
คลังข้อมูลชุมชน 101คลังข้อมูลชุมชน 101
คลังข้อมูลชุมชน 101
 

More from Boonlert Aroonpiboon (20)

Excel quiz
Excel quizExcel quiz
Excel quiz
 
Scival for Research Performance
Scival for Research PerformanceScival for Research Performance
Scival for Research Performance
 
20190726 icde-session-chularat-nstda-4
20190726 icde-session-chularat-nstda-420190726 icde-session-chularat-nstda-4
20190726 icde-session-chularat-nstda-4
 
20190409 social-media-backup
20190409 social-media-backup20190409 social-media-backup
20190409 social-media-backup
 
20190220 open-library
20190220 open-library20190220 open-library
20190220 open-library
 
20190220 digital-archives
20190220 digital-archives20190220 digital-archives
20190220 digital-archives
 
OER KKU Library
OER KKU LibraryOER KKU Library
OER KKU Library
 
Museum digital-code
Museum digital-codeMuseum digital-code
Museum digital-code
 
OER MOOC - Success Story
OER MOOC - Success StoryOER MOOC - Success Story
OER MOOC - Success Story
 
LAM Code of conduct
LAM Code of conductLAM Code of conduct
LAM Code of conduct
 
RLPD - OER MOOC
RLPD - OER MOOCRLPD - OER MOOC
RLPD - OER MOOC
 
New Technology for Information Services
New Technology for Information ServicesNew Technology for Information Services
New Technology for Information Services
 
New Technology for Information Services
New Technology for Information ServicesNew Technology for Information Services
New Technology for Information Services
 
digital law for GLAM
digital law for GLAMdigital law for GLAM
digital law for GLAM
 
20180919 digital-collections
20180919 digital-collections20180919 digital-collections
20180919 digital-collections
 
Field-Weighted Citation Impact (FWCI)
Field-Weighted Citation Impact (FWCI)Field-Weighted Citation Impact (FWCI)
Field-Weighted Citation Impact (FWCI)
 
20180828 digital-archives
20180828 digital-archives20180828 digital-archives
20180828 digital-archives
 
Local Wisdom Information : How to
Local Wisdom Information : How toLocal Wisdom Information : How to
Local Wisdom Information : How to
 
201403 etda-library-settup
201403 etda-library-settup201403 etda-library-settup
201403 etda-library-settup
 
201403 etda-library
201403 etda-library201403 etda-library
201403 etda-library
 

มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๓

  • 1.
  • 2. มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม Intangible Cultural Heritage กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม Department of Cultural Promotion, Ministry of Culture Departmentof Cultural Promotion Ministry of C ulture กรมส่งเส ริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธ รรม
  • 3. มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม2 ประเทศไทย มีความหลากหลายในมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ซึ่งแสดงถึงเอกลักษณ์และความเจริญรุ่งเรือง ของชาติ และยังเป็นพื้นฐานของการสร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรมรูปแบบต่างๆ ที่เกิดขึ้นปัจจุบัน ด้วยเหตุนี้ ความพยายามให้ เกิดการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และสืบสานมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติให้ดำ�รงอยู่อย่างยั่งยืน ผ่านการดำ�เนินงานของภาคส่วน ต่างๆ จึงเป็นสิ่งสำ�คัญยิ่ง กรมส่งเสริมวัฒนธรรมเล็งเห็นคุณค่าความสำ�คัญของมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม จึงได้ดำ�เนินโครงการปกป้อง คุ้มครองมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม โดยมีกิจกรรมที่สำ�คัญ คือ การขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม เพื่อเป็นหลักฐานสำ�คัญของชาติ เป็นการส่งเสริมให้เกิดความภาคภูมิใจในมรดกทางวัฒนธรรมของคนไทย รวมทั้งยัง เป็นหนทางหนึ่งเพื่อปกป้องคุ้มครองมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของท้องถิ่นและของชาติให้ดำ�รงอยู่ โดยใน ปีพุทธศักราช ๒๕๕๓ กรมส่งเสริมวัฒนธรรมได้ประกาศขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ๔ สาขา ได้แก่ สาขาศิลปะการแสดง สาขางานช่างฝีมือดั้งเดิม สาขาวรรณกรรมพื้นบ้าน และสาขากีฬาภูมิปัญญาไทย จำ�นวน ๒๕ รายการ ซึ่งได้ผ่านการรับรองจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิฯ ที่กรมส่งเสริมวัฒนธรรมแต่งตั้ง และการประชุมระดมความคิดเห็นจาก ผู้ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งได้จัดงานพิธีประกาศขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ประจำ�ปีพุทธศักราช ๒๕๕๓ เมื่อวันที่ ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๕๓ ในการนี้ จึงได้จัดทำ�หนังสือมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ เกี่ยวกับมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมทั้ง ๒๕ รายการ ที่ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนประจำ�ปีพุทธศักราช ๒๕๕๓ กรมส่งเสริมวัฒนธรรมหวังเป็นอย่างยิ่งว่า หนังสือเล่มนี้จะเป็นสื่อในการเผยแพร่คุณค่าความสำ�คัญของมรดกภูมิปัญญา ทางวัฒนธรรมที่ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และสืบสาน รวมถึงการศึกษาค้นคว้า เพื่อการสร้างสรรค์ผลงานทางวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าต่อไป คำ�นำ� (นางปริศนา พงษ์ทัดศิริกุล) อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม
  • 4. Intangible Cultural Heritage 3 Thailand is the country with the diversity of intangible cultural heritage which is a testimony to the achievement, progress, and prosperity of the nation, as well as a rich seam to mine for the present cultural creativity. For these reasons, substantial efforts to conserve, restore, safeguard, and perpetuate the intangible cultural heritage of the nation through the cooperation of every sector in society is significant. Recognizing the importance and value of Thailand’s intangible cultural heritage, the Department of Cultural Promotion (DCP) has proceeded with its mission to safeguard it through the Project of Intangible Cultural Heritage Designation -- which serves as the key testimony to the nation’s intangible cultural heritage, protects it and promotes pride in it. In the 2010 fiscal year, the DCP designated 25 items of Thailand’s intangible cultural heritage in four domains: the performing arts; the traditional craftsmanship; the folk literature; and the folk sports, games and martial arts. The items in the list were selected and endorsed by the Committees of Experts appointed by the Department, as well as through the organization of public hearing sessions participated by concerned parties. The designation of the 2010 list was eventually announced in a ceremony on 30 July 2010 and a booklet on the designated intangible cultural heritage was produced to disseminate the information to the public. DCP hopes that this booklet will bring about public awareness and appreciation of the nation’s designated intangible cultural heritage and will contribute to the conservation, restoration, and perpetuation of the culture heritage, as well as research and studies for the creation of valuable cultural works. Introduction (Prisna Pongtadsirikul) Director-General Department of Cultural Promotion
  • 5. มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม4 สารบัญ การขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ความเป็นมา ๘ วัตถุประสงค์ของการขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๘ ความหมายของมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ๑๐ การดำ�เนินงานขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๑๘ เกณฑ์การคัดเลือกมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๒ การประกาศขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ประจำ�ปีพุทธศักราช ๒๕๕๓ เหตุผลสำ�คัญของการประกาศขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๖ มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียน ประจำ�ปีพุทธศักราช ๒๕๕๓ มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม สาขาศิลปะการแสดง ๓๒ มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม สาขางานช่างฝีมือดั้งเดิม ๔๗ มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม สาขาวรรณกรรมพื้นบ้าน ๕๓ มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม สาขากีฬาภูมิปัญญาไทย ๘๓ ภาคผนวก ประกาศกระทรวงวัฒนธรรม เรื่อง การขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๘๗ ประจำ�ปีพุทธศักราช ๒๕๕๓ มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ประจำ�ปี พุทธศักราช ๒๕๕๒ ๘๙
  • 6. Intangible Cultural Heritage 5 Designation of Thailand’s Intangible Cultural Heritage Background History 9 Objectives 9 11 19 Criteria for Indentification and Nomination of Items for the Designation of 23 Thailand’s Intangible Cultural Heritage Designation of Thailand’s Intangible Cultural Heritage in 2010 27 Designated Intangible Cultural Heritage Items in 2010 Performing Arts Domain 33 Traditional Craftsmanship Domain 48 Folk Literature Domain 54 Folk Sports, Games and Martial Arts Domain 84 Appendix Announcement of the Ministry of Culture on the Designation of Thailand’s Intangible 88 Cultural Heritage Year 2010 89 Table of Contents
  • 9. มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม8 การขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ความเป็นมา กระทรวงวัฒนธรรมโดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรมได้ดำ�เนินงาน ด้านการอนุรักษ์ ฟื้นฟู ส่งเสริมและเผยแพร่ รวมทั้งการศึกษา ค้นคว้าและวิจัยทางวัฒนธรรม โดยเฉพาะการดำ�เนินงานด้าน วัฒนธรรมพื้นบ้านมาอย่างต่อเนื่อง โดยมีการกำ�หนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ มาตรการ โครงการ และกิจกรรมต่างๆ ที่จะตอบ สนองต่อภารกิจดังกล่าว ตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๕๔๘–๒๕๕๒ กรมส่งเสริม วัฒนธรรมได้ดำ�เนินการจัดเก็บและจัดทำ�ฐานข้อมูล มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม โดยได้มีการจัดเก็บข้อมูล ด้านศิลปะการแสดง จำ�นวน ๓๕๐ เรื่อง ด้านงานช่างฝีมือ ดั้งเดิม จำ�นวน ๕๐๐ เรื่อง และด้านมุขปาฐะ จำ�นวน ๔๐ เรื่อง นอกจากนี้ ในปีงบประมาณ ๒๕๕๓ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม สนับสนุนให้มีการจัดทำ�ทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ในระดับจังหวัด โดยการดำ�เนินงานนำ�ร่องในการจัดทำ�ทะเบียน สาขาศิลปะการแสดง งานช่างฝีมือดั้งเดิม วรรณกรรมพื้นบ้าน และกีฬาภูมิปัญญาไทย เพื่อต่อยอดการดำ�เนินงาน กรมส่งเสริมวัฒนธรรม จึงได้กำ�หนดภารกิจในการปกป้องคุ้มครองมรดกภูมิปัญญา ทางวัฒนธรรมขึ้น โดยมีกิจกรรมที่สำ�คัญ คือ การขึ้นทะเบียน มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นหลักฐานทางมรดกภูมิปัญญาที่สำ�คัญของชาติและ เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน ให้เกิดความภาคภูมิใจ ในวัฒนธรรมของตน รวมทั้งเพื่อเป็นการปกป้องคุ้มครอง มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของท้องถิ่นและของชาติอันจะนำ� ไปสู่การสร้างความรู้ ความเข้าใจ การเห็นคุณค่าและยอมรับใน ความหลากหลายทางวัฒนธรรมรวมทั้งเกิดการอยู่ร่วมกันอย่างมี สันติสุขของคนในสังคมต่อไป วัตถุประสงค์ของการขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทาง วัฒนธรรมของชาติ ๑. เพื่อบันทึกประวัติความเป็นมา ภูมิปัญญาและอัตลักษณ์ ของมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ๒. เพื่อเป็นฐานข้อมูลสำ�คัญเกี่ยวกับมรดกภูมิปัญญา ทางวัฒนธรรมที่อยู่ในอาณาเขตของประเทศไทย ๓. เพื่อเสริมสร้างบทบาทความสำ�คัญ และความ ภาคภูมิใจของชุมชน กลุ่มคนหรือบุคคลที่เป็นผู้ถือครองมรดก ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ๔. เพื่อส่งเสริมและพัฒนาสิทธิชุมชนในการอนุรักษ์ สืบสาน ฟื้นฟูและปกป้องคุ้มครองมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ของท้องถิ่นและของชาติ ๕. เพื่อรองรับการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาเพื่อการสงวนรักษา มรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของยูเนสโก
  • 10. Intangible Cultural Heritage 9 Designation of Thailand’s Intangible Cultural Heritage Background History The Department of Cultural Promotion (DCP), Ministry of Culture, has been carrying out various works in cultural conservation, restoration, promotion and disimilation, as well as research and studies, particularly with regards to the folk culture. The DCP has laid down policies, strategies, and measures and has organised various projects and activities to fulfill its mission. From 2005 to 2009, the DCP has collected data and has prepared Thailand’s Intangible Cultural Heritage (ICH) database. At present, the database contains 350 items in the performing arts, 500 in the traditional craftsmanship, and 40 in the folk literature domains. Moreover, in the 2010 fiscal year, the DCP supported the ICH inventory making program at the provincial level through the pilot project in the performing arts, traditional craftsmanship, folk literature, and folk sports, games and martial arts domains. To follow up on the implementation, the DCP laid down the mission to safeguard the ICH by focusing on the national ICH designation as one of the main activities.The designation serves as the key testimony tothenation’sICH,promotesprideinitandencourages communityparticipationinsafeguardingandprotecting the local and national ICH. This will lead to knowledge, understanding,appreciationandacceptanceofcultural diversity, and ultimately to the peaceful co-existence of the people in society. Objectives 1. To record the background history, wisdom and identity of the intangible cultural heritage; 2. To provide important database on intangible cultural heritage in Thailand; 3. To enhance the crucial role and the pride of the communities, groups, or individuals that own the intangible cultural heritage; 4. To promote and develop the right of communities to conserve, perpetuate, restore, and safeguard the local and national intangible cultural heritage; 5. To prepare the groundwork for Thailand to become a state party to UNESCO's Convention for the Safeguarding of the Intangible Cultural Heritage.
  • 11. มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม10 ความหมายของมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม “มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม” หมายถึง การปฏิบัติ การแสดงออก ความรู้ ทักษะ ตลอดจนเครื่องมือ วัตถุ สิ่งประดิษฐ์ และพื้นที่ทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับสิ่งเหล่านั้น ซึ่งชุมชน กลุ่มชน หรือในบางกรณีปัจเจกบุคคลยอมรับว่า เป็นส่วนหนึ่งของมรดกทางวัฒนธรรมของตน มรดกภูมิปัญญา ทางวัฒนธรรมซึ่งถ่ายทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปยังคนอีกรุ่นหนึ่งนี้ “มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม” จำ�แนกออกเป็น ๖ สาขา ดังนี้ ลำ�ดับที่ สาขา ความหมาย ประเภท ๑ ศิลปะการแสดง การแสดงออกซึ่งอารมณ์ความรู้สึก และเรื่องราวต่างๆ โดยมีผู้แสดง เป็นสื่อผ่านทางเสียง ได้แก่ การขับร้อง หรือการเล่นดนตรี และทางร่างกาย ได้แก่ การร่ายรำ� การเชิด การเต้น การแสดงท่าทาง ฯลฯ ๑. ดนตรี หมายถึง เสียงที่ประกอบกันเป็นทำ�นองเพลง และ/หรือลีลาจังหวะทำ�ให้รู้สึกเพลิดเพลิน หรือเกิดอารมณ์รัก โศก หรือ รื่นเริง เป็นต้น ดนตรีมีบทบาทหน้าที่ในการบรรเลงเพื่อการขับกล่อม ความบันเทิง ประกอบพิธีกรรม และประกอบการแสดง ๒. การแสดง หมายถึง การแสดงออกทางร่างกาย ท่วงท่า การเคลื่อนไหว ท่าเต้น ท่ารำ� การแสดงกิริยาของการเต้น การรำ� การเชิดฯลฯ ซึ่งแสดงถึงอารมณ์ความรู้สึกและเรื่องราว การแสดง อาจแสดงร่วมกับดนตรีและการขับร้องหรือไม่ก็ได้ ๓. ดนตรีและการแสดงในพิธีกรรม หมายถึง การผสมผสาน ระหว่างการแสดง การร้อง การร่ายรำ� และดนตรีที่ใช้ประกอบพิธีกรรม ๔. เพลงร้องพื้นบ้านหมายถึงบทเพลงที่เกิดจากคนในท้องถิ่นนั้นๆ ที่คิดรูปแบบการร้อง การเล่น เป็นบทเพลงที่มีท่วงทำ�นอง ภาษาที่ เรียบง่าย มุ่งความสนุกสนานเพลิดเพลินในโอกาสต่างๆ หรือการร่วม แรงร่วมใจทำ�สิ่งใดสิ่งหนึ่งในการประกอบอาชีพ ๒. งานช่างฝีมือ ดั้งเดิม ภูมิปัญญาทักษะฝีมือช่างการเลือก ใช้วัสดุ และกลวิธีการสร้างสรรค์ ที่แสดงถึงอัตลักษณ์ สะท้อน พัฒนาการทางสังคมและวัฒนธรรม ของกลุ่มชน ๑. ผ้าและผลิตภัณฑ์จากผ้า หมายถึง ผลผลิตที่เกิดจากการทอ ย้อม ถัก ปัก ตีเกลียว ยก จก มัดหมี่ พิมพ์ลาย ขิด เกาะ/ล้วง เพื่อใช้เป็น เครื่องนุ่งห่ม และแสดงสถานภาพทางสังคม ๒. เครื่องจักสาน หมายถึง ภาชนะเครื่องใช้ประจำ�บ้านที่ทำ�จาก วัตถุดิบในท้องถิ่น เช่น ไผ่ หวาย กระจูด ลำ�เจียก โดยนำ�มาจักและสาน จึงเรียกว่า เครื่องจักสาน กลวิธีในการทำ�เครื่องจักสาน ได้แก่ การถัก ผูก รัดมัดร้อยโดยใช้ตอกหวายเพื่อให้เครื่องจักสานคงทนและคงรูปอยู่ได้ ตามต้องการ เป็นสิ่งซึ่งชุมชนและกลุ่มชนสร้างขึ้นมาอย่างสมํ่าเสมอ เพื่อตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมของตน เป็นปฏิสัมพันธ์ของ พวกเขาที่มีต่อธรรมชาติและประวัติศาสตร์ของตน และทำ�ให้ คนเหล่านั้นเกิดความภูมิใจในตัวตนและความรู้สึกสืบเนื่อง ก่อให้เกิดความเคารพต่อความหลากหลายทางวัฒนธรรม และ การคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์
  • 12. Intangible Cultural Heritage 11 Intangible Cultural Heritage is divided into six domains as follows: No. Domain Definition Category 1. Performing arts “Performing arts” mean the expressionofemotions,feelings, orstoriesbyaperformerthrough sound, such as singing or music playing, and through body movement,suchasindanceor inthemanipulation(ofpuppets), in gesture etc. 1) “Traditionalmusic”meansthesoundthatmakes upatuneand/orrhythmthatentertainsorinducesemotion of love, sadness, or joy, for example. The roles and the functions of music are to entertain, to accompany rites and ceremonies, or performances, for example; 2) “Traditionalperformance”meanstheexpression throughbodymovements,postures,gestures,dancesteps, theactofdancing,manipulating(thepuppets)etc.,allof which express emotions, feelings, or tell stories. Aperformancemightbeaccompaniedbymusicandsinging; 3) “Folk ritual performance” means the traditional playactivity,suchasfestivaldrama,folkdance,ritualistic dance drama, ritual music used in rites and rituals; 4) “Folk song” means the song of folk origin in its form or style, with a simple tune and lyric that aim to entertain during the various occasions or festivities or during a collaborative labour or work. 2. Traditional craftsmanship “Traditional craftsmanship” means the knowledge and skills of a group of people in making handicrafts, in selecting materials and methods to create handicrafts that reflect the identity and the social development and culture. 1) “Textilesandtextileproducts”meantheproducts created by weaving, dying, knitting, embroidering, Ti-kliao, Yok (pulled extra weft-threads technique), Chok, weft ikat, printing motifs, Khit, Ko/Luang technique withtheaimtobeused as items of clothing which show the social status of the wearer; 2) “Basketry” means the traditional household utensils and objects made by weaving together thin strips of locally available raw materials, such as bamboo, rattan, Krachut (Lepironia articulate (Retz.) Domin),Lamchiak(PandanusodoratissimusLinn).Weaving methods involve knitting, tying, fastening, binding or stringing strips of bamboo or rattan, to make durable products that retain their shape for a long time; “Intangible Cultural Heritage” means the practices, expressions, knowledge, skills, tools, objects, inventions, and the relevant cultural space that communities, groups of people or, in some cases, individuals, acknowledge as a part of their cultural heritage. The intangible cultural heritage, which is passed on from one generation to another, is constantly recreated by the communities and groups of people in response to their environment. It is their interaction to nature and to their history. It gives them pride in their identity and a sense of continuity, which eventually leads to respect for cultural diversity and creativity. Definition of Intangible Cultural Heritage
  • 13. มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม12 ลำ�ดับที่ สาขา ความหมาย ประเภท ๓. เครื่องรัก หมายถึง หัตถกรรมที่ใช้รักเป็นวัสดุสำ�คัญ ในการสร้างผลงาน เช่น ปิดทองรดนํ้า ภาพกำ�มะลอ ประดับมุก ประดับกระจกสี ปั้นกระแหนะ และเขิน รักหรือยางรัก มีคุณลักษณะ เป็นยางเหนียว สามารถเกาะจับพื้นของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ประสงค์จะทา หรือถมทับหรือเคลือบผิวได้ดี ทำ�ให้เป็นผิวมันภายหลังรักแห้งสนิท มีคุณภาพคงทนต่อความร้อน ความชื้น กรดหรือด่างอ่อนๆ และยังเป็น วัสดุที่ใช้เชื่อมสมุกหรือสีเข้าด้วยกัน ๔. เครื่องปั้นดินเผา หมายถึง หัตถกรรมที่ใช้ดินเหนียวเป็นวัตถุดิบ หลักในการผลิต มีทั้งชนิดเคลือบและไม่เคลือบ โดยที่เนื้อดินเหนียวต้อง มีส่วนผสมของทรายแม่นํ้าที่เป็นทรายเนื้อละเอียดและช่วยให้เนื้อดิน แห้งสนิทไม่แตกร้าว ดินเหนียวที่ใช้ทำ�เครื่องปั้นดินเผาจากที่ต่างๆ ให้สี แตกต่างกัน ๕. เครื่องโลหะ หมายถึง สิ่งที่มีวัสดุหลักเป็นเหล็ก ทองเหลือง หรือทองแดง เครื่องโลหะที่ทำ�จากเหล็ก นิยมทำ�โดยการเผาไฟให้อ่อนตัว และตีเหล็กเป็นรูปทรงต่างๆเครื่องโลหะที่ทำ�จากทองเหลืองนิยมนำ�ทองเหลือง มาเผาจนหลอมเหลวแล้วจึงนำ�ไปเทลงในแบบตามลักษณะที่ต้องการ เสร็จแล้วนำ�มาตกแต่ง ส่วนเครื่องโลหะที่ทำ�จากทองแดง มีการนำ�ทองแดง มาใช้เป็นโลหะเจือหลักสำ�หรับผลิตตัวเรือนของเครื่องประดับโลหะเงินเจือ ๖. เครื่องไม้ หมายถึง งานฝีมือช่างที่ทำ�จากไม้ซุงหรือไม้แปรรูป เป็นท่อน เป็นแผ่น เพื่อใช้ในงานช่างก่อสร้างประเภทเครื่องสับ เครื่องเรือน เครื่องบูชา เครื่องตั้ง เครื่องประดับ เครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องศาสตรา เครื่องดนตรี เครื่องเล่น และยานพาหนะ โดยอาศัย เทคนิควิธีการแกะ สลัก สับ ขุด เจาะ กลึง ถาก ขูด และขัด ๗. เครื่องหนัง หมายถึง งานหัตถกรรมพื้นบ้านที่ทำ�มาจากหนังสัตว์ โดยผ่านกระบวนการหมักและฟอกหนังเพื่อไม่ให้เน่าเปื่อย และให้เกิด ความนิ่มนวลสามารถบีบงอได้ตามที่ต้องการ เครื่องหนังนิยมนำ�ไปใช้ ในงานด้านศิลปะการแสดง รวมถึงอุปกรณ์อื่นๆ ที่มีหนังเป็นส่วนประกอบ ๘. เครื่องประดับ หมายถึง งานช่างฝีมือที่ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อการ ตกแต่งให้เกิดความงดงาม เริ่มต้นจากการใช้วัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น นำ�มาผลิตและพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ โดยใช้อัญมณีและโลหะมีค่าต่างๆ ๙. งานศิลปกรรมพื้นบ้าน หมายถึง งานที่มีการแสดงอารมณ์สะท้อน ออกทางฝีมือการช่างให้เห็นประจักษ์เป็นรูปธรรมเพื่อตอบสนองต่อการ ยังชีพและความต้องการด้านคุณค่าความงาม เช่น งานเขียน งานปั้น งานแกะสลัก งานหล่อ เป็นต้น ๑๐. ผลิตภัณฑ์อย่างอื่น หมายถึง งานช่างฝีมือดั้งเดิมที่ไม่สามารถ จัดอยู่ใน ๙ ประเภทแรกได้ ซึ่งอาจเป็นงานช่างฝีมือที่ประดิษฐ์หรือผลิตขึ้นจาก วัสดุในท้องถิ่นหรือจากวัสดุเหลือใช้ เป็นต้น
  • 14. Intangible Cultural Heritage 13 No. Domain Definition Category 3) “Lacquerware” means the handicraft objects that are coated with the lacquer that is made from the gum of Rak tree (Melanorrhoea usitata). Various applications and techniques are used to make lacquer objects, for example, the gilt lacquer, gold appliqué on lacquer, Kammalo (Japanese style lacquer object), mother-of-pearl or coloured glass inlay on lacquer, Pan Kranae (gilt stucco work), and Khoen (vermillion paint on lacquer). The gum from Rak tree is viscous and sticky. It holds fast to the surface of objects and when the gum dries, it makes a smooth and shiny surface and is resistant to heat, moisture, weak acid or alkaline. Rak’s gum also acts as a binding agent for Samuk (ground charcoal of dried banana leaves and lalang grass, used as a primer on the surface of wood to be gilded with gold leaves) or other colours; 4) “Pottery” is the handicraft work that uses clay as the principal raw material. Pottery comes in glazed and unglazed types. The clay must be mixed with fine river sand, which helps to make the clay dry well and prevent cracking. Different types of clay from various sites make for the different colors of the pottery; 5) “Metal work” means the handicraft objects, mostly for household use and agricultural work, which are made of iron, brass, or copper as the principal raw material. Iron-based material is heated to soften it before being beaten into shape. Brass work is made by heating brass until it becomes molten before pouring it into a mould. After it cools down and is taken out of the mould, it is chasedanddressed.Copperismostlyusedastheprincipalcomposite in the silver alloy jewellery; 6) “Woodwork” means the handicraft objects made of logs or planks of wood for use as furniture, altar offerings, altar sets, costume accessories, tools, weapons, musical instruments, toys, and vehicles, or as building material in the Khrueang Sap house (house built by wooden joints, without using metal nails). Techniques used are carving, sculpturing, chopping, digging, piercing, turning on the lathe, planning, scraping, and polishing; 7) “Leatherwork” means the folk handicraft objects made from animal raw hides and skins that are soaked in alkali solution and tanned to prevent decay and to make them soft and pliable. Leather work is often used in various ways in the performing arts and in instruments that require leather; 8) “Folk ornamentation” means the handicraft accessories used in decorating the body for beauty. At first easy-to-find, local materials were used, but in later development, they were replaced by gems and precious metals; 9) “Folk art” means the art objects that concretely express emotions through craftsmanship for practical use and for aesthetic value, for example, painting, sculpture, carving, and casting;
  • 15. มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม14 ลำ�ดับที่ สาขา ความหมาย ประเภท ๓. วรรณกรรม พื้นบ้าน วรรณกรรมที่ถ่ายทอดอยู่ใน วิถีชีวิตชาวบ้าน โดยครอบคลุม วรรณกรรมที่ถ่ายทอดโดยวิธี การบอกเล่าและที่เขียนเป็น ลายลักษณ์อักษร ๑. นิทานพื้นบ้านหมายถึงเรื่องเล่าที่สืบทอดต่อๆกันมาประกอบ ด้วยนิทานเทวปกรณ์ ตำ�นาน นิทานศาสนา นิทานคติ นิทานมหัศจรรย์ นิทานชีวิต นิทานประจำ�ถิ่น นิทานอธิบายเหตุ นิทานเรื่องสัตว์ นิทาน เรื่องผี มุขตลกและเรื่องโม้ นิทานเข้าแบบของไทย ๒. ประวัติศาสตร์บอกเล่า หมายถึง เรื่องเล่าเกี่ยวกับประวัติ การตั้งถิ่นฐาน การอพยพ ความเป็นมา และบุคคลสำ�คัญของชุมชน ๓. บทสวดหรือบทกล่าวในพิธีกรรม หมายถึง คำ�สวดที่ใช้ ประกอบในพิธีกรรมต่างๆ เช่น บททำ�ขวัญ คำ�บูชา คำ�สมา คำ�เวนทาน บทสวดสรภัญญ์ คาถาบทอานิสงส์ บทประกอบการรักษาโรคพื้นบ้าน คำ�ให้พร คำ�อธิษฐานฯลฯ ๔. บทร้องพื้นบ้าน หมายถึง คำ�ร้องที่ถ่ายทอดสืบต่อกันมา ในโอกาสต่างๆ เช่น บทกล่อมเด็ก บทร้องเล่น บทเกี้ยวพาราสี บทจ๊อย คำ�เซิ้งฯลฯ ๕. สำ�นวนและภาษิต หมายถึง คำ�พูดหรือคำ�กล่าวที่สืบทอดกันมา มักมีสัมผัสคล้องจองกัน เช่น โวหาร คำ�คม คำ�พังเพย คำ�อุปมาอุปไมย คำ�ขวัญ คติพจน์ คำ�สบถสาบาน คำ�สาปแช่ง คำ�ชม คำ�คะนองฯลฯ ๖. ปริศนาคำ�ทายหมายถึงคำ�หรือข้อความที่ตั้งเป็นคำ�ถามคำ�ตอบ ที่สืบทอดกันมา เพื่อให้ผู้ตอบได้ทายหรือตอบปัญหา เช่น คำ�ทาย ปัญหาเชาวน์ ผะหมี ๗. ตำ�ราหมายถึงองค์ความรู้ที่มีการเขียนบันทึกในเอกสารโบราณ เช่น ตำ�ราโหราศาสตร์ ตำ�ราดูลักษณะคนและสัตว์ ตำ�รายาฯลฯ ๔. กีฬา ภูมิปัญญาไทย การเล่น การกีฬา และศิลปะ การต่อสู้ป้องกันตัวที่มีการปฏิบัติ กันอยู่ในประเทศไทยและมี เอกลักษณ์สะท้อนวิถีไทย ๑. การเล่นพื้นบ้าน หมายถึง การเล่นของคนไทยในแต่ละวัย ที่มีวัตถุประสงค์ต่างๆ กันออกไป โดยมีผลลัพธ์สุดท้าย คือ ความรัก ความสามัคคี และความสนุกสนานเพลิดเพลิน ๒. กีฬาพื้นบ้าน หมายถึง การเล่นและการแข่งขันของคนไทย ในแต่ละวัย โดยมีอุปกรณ์และกฎกติกาที่เป็นลักษณะเฉพาะถิ่น ๓. ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวหมายถึงวิธีการหรือรูปแบบการต่อสู้ ที่ใช้ร่างกายหรืออุปกรณ์โดยได้รับการฝึกฝนตามวัฒนธรรมที่ได้รับ การถ่ายทอดกันมา
  • 16. Intangible Cultural Heritage 15 No. Domain Definition Category 10) “Other kinds of products” mean other traditional handicraft products that cannot be classified in the aforementioned nine categories and may involve those handicraft products made from locally available materials or waste materials, for example. 3. Folk literature “Folkliterature”meanstheoral or written literature that is transmitted through the folk way of life. 1) “Folktale”meansthestoriesthataretransmitted from generation to generation by words of mouth, namely myths, religious tales, didactic tales, fairy tales, romantic tales, legends/sages, explanatory tales, animal tales, ghost tales, jokes/humorous anecdotes, formula tales; 2) “Oralhistory”meansstoriesaboutthehistoryof settlement, resettlement, exodus, and the background history of a community and its important persons; 3) “Incantation or ritual chant” means the incantation or chant that is used in the various rites and rituals such as the Bot Tham Kwan (incantations used in the heartening rite to invoke the guardian-spirit), Kham Bucha (chants of worship), Kham Sama (incantations for asking forgiveness), Kham Wen Than (incantations for transferring the merit), Bot Suat Sora-phan-ya, Kha-tha Bot Anisong, incantations used in folk medicine and faith healing, blessings, chants of invocation or prayers etc.; 4) “Folk chant” means the words of the songs and chants that are transmitted in the society during various occasions such as lullaby and nursery rhyme, Bot Rong Len, Bot Kiao-pha-rasi (courtship ritual dialogue), Bot Joi, Kham Soeng etc.; 5) “Idiom and adage” mean the words or sayings which are transmitted from generation to generation in the society and which often rhyme - for example, rhetorical expressions, epigrams, aporisms, metaphors, slogans, mottos, swear words/vows, curses/spells, eulogies, Kham Khanong (slangs) etc.; 6) “Riddle” means wordplays in the form of questions, which have been transmitted within the society -- for example, riddles, trick questions, and Phami; 7) “Treatise” means a body of knowledge and information recorded, written or inscribed in old manuscripts, for example, texts on astrology, physiognomy, medicines etc.
  • 17. มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม16 ลำ�ดับที่ สาขา ความหมาย ประเภท ๕. แนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรมและงาน เทศกาล การประพฤติปฏิบัติในแนวทาง เดียวกันของคนในชุมชนที่สืบทอด ต่อกันมาบนหนทางของมงคลวิธี นำ�ไปสู่สังคมแห่งสันติสุขแสดงให้ เห็นอัตลักษณ์ของชุมชนและชาติ พันธุ์นั้นๆ ๑. มารยาทหมายถึงการประพฤติปฏิบัติที่ดีงามต่อผู้อื่น ๒. ขนบธรรมเนียมประเพณีหมายถึงการประพฤติปฏิบัติ และการกระทำ�กิจกรรมที่สืบทอดต่อๆ กันมาในวิถีชีวิต และสังคมของชุมชนนั้นๆ ๓. งานเทศกาลหมายถึงกิจกรรมที่กระทำ�ตามกำ�หนดเวลา ในรอบปี ๖. ความรู้และแนวปฏิบัติ เกี่ยวกับธรรมชาติและ จักรวาล องค์ความรู้ วิธีการ ทักษะ ความเชื่อ แนวปฏิบัติและการแสดงออกที่ พัฒนาขึ้นจากการมีปฏิสัมพันธ์ ระหว่างคนกับสภาพแวดล้อม ตามธรรมชาติและเหนือธรรมชาติ ๑. อาหารและโภชนาการ ๒. การแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้าน ๓. โหราศาสตร์และดาราศาสตร์ ๔. การจัดการทรัพยากรธรรมชาติเพื่อการอนุรักษ์ และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน ๕. ชัยภูมิและการตั้งถิ่นฐาน
  • 18. Intangible Cultural Heritage 17 No. Domain Definition Category 4. Folk sports, games and martial arts “Folk sports, games and martial arts” mean games, sports and martial arts which are practiced in Thailand and which uniquely reflect the Thai way of life. 1) “Folk games” mean the games that the Thai people of different ages play for different objectives with the ultimate aims to foster brotherly love, solidarity, and to have fun; 2) “Folk sports” mean games and competitions that the Thai people of different ages play by using equipments and by following the rules and regulations that are particular to the different regions of the country; 3) “Folk martial arts” mean the methods or forms of fighting by using parts of the body or equipments and which require training through cultural transmission. 5. Social practices, rituals and festive events “Social practices, rituals and festive events”mean the customary or traditional practices that have been commonly adopted by the people in a community andpassedonfromgeneration togenerationastheauspicious way and that foster social peace and reflect the self-image of the community or ethnic group. 1) “Etiquette”meanspolitewaysoftreatingother people; 2) “Custom and tradition” mean the practices and activities which are adopted in the people’s way of life and their community and which have been passed on from generation to generation; 3) “Festive event” means the activities that are performed on specific dates of the year. 6. Knowledge and practicesconcerning nature and the universe “Knowledge and practices concerning nature and the universe” mean the body of knowledge, methods, skills, beliefs, practices, and expressions which are developed from the interaction between man and his natural and supernatural environments. 1) Food and nutrition. 2) Thai traditional medicine and folk medicine. 3) Astrology and astronomy. 4) Naturalresourcesmanagementofconservation and sustainable utilization. 5) Chaiya-phum (divination for auspicious location) and human settlement.
  • 19. มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม18 เพื่อให้การบริหารจัดการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ของไทยเป็นไปอย่างมีระบบและต่อเนื่อง กระตุ้นให้ชุมชน ตระหนักถึงคุณค่า อัตลักษณ์ และเกิดความภาคภูมิใจในมรดก ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมรวมทั้งส่งเสริมให้คนรุ่นหลังได้มีโอกาส ในการรับรู้และสืบทอดมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมในท้องถิ่น ของตน กรมส่งเสริมวัฒนธรรมจึงได้กำ�หนดขั้นตอนในการ ขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ดังนี้ ๑. กรมส่งเสริมวัฒนธรรมแต่งตั้งคณะกรรมการผู้ทรง คุณวุฒิมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม สาขาศิลปะการแสดง สาขางานช่างฝีมือดั้งเดิม สาขาวรรณกรรมพื้นบ้าน สาขากีฬา ภูมิปัญญาไทย ๒. คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมรดกภูมิปัญญาทาง วัฒนธรรมจัดทำ�และปรับปรุงเกณฑ์การขึ้นทะเบียนมรดก ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๓. คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมรดกภูมิปัญญาทาง วัฒนธรรมคัดเลือกรายการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม เพื่อขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๔. คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมรดกภูมิปัญญาทาง วัฒนธรรมจัดทำ�ข้อมูลความสำ�คัญของมรดกภูมิปัญญาทาง วัฒนธรรมแต่ละรายการประกอบการพิจารณาขึ้นทะเบียน การดำ�เนินงานขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๕. กรมส่งเสริมวัฒนธรรมแต่งตั้งคณะกรรมการผู้ทรง คุณวุฒิอำ�นวยการขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ๖. คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอำ�นวยการขึ้นทะเบียน มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมให้ความเห็นชอบรายการมรดก ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมเพื่อขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทาง วัฒนธรรมของชาติ ๗. คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมรดกภูมิปัญญาทาง วัฒนธรรมพิจารณาผลการสำ�รวจและการประชุมรับฟังความ คิดเห็นต่อการเสนอรายการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ที่จะขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๘. คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอำ�นวยการขึ้นทะเบียน มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมรับรองผลการขึ้นทะเบียน มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๙. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมลงนามในประกาศ ขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๑๐. กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรมจัดพิธี ประกาศขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๑๑. กรมส่งเสริมวัฒนธรรมผลิตสื่อสิ่งพิมพ์และวีดิทัศน์ เพื่อเผยแพร่สู่ประชาชน ๑๒. กรมส่งเสริมวัฒนธรรมส่งเสริม สนับสนุนการถ่ายทอด และการสืบสานมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติที่ได้รับ การประกาศขึ้นทะเบียน
  • 20. Intangible Cultural Heritage 19 To facilitate Thailand's ICH management in systematic and continuous manner, to promote an awareness in the communities of the value and identity of their ICH, to bring about the pride in their ICH, and to encourage the younger generations to learn and perpetuate the ICH in their communities, the DCP has therefore laid down the operational directives and regulated the procedure for the designation of Thailand’s ICH as follows: 1. The DCP shall appoint the ICH Committees of Experts in the following domains: performing arts, traditional craftsmanship, folk literature; folk sports, games and martial arts; 2. The ICH Committees of Experts shall prepare and revise the criteria for national ICH designation; 3. The ICH Committees of Experts shall nominate the items to be designated as the national ICH; 4. The ICH Committees of Experts shall prepare key information relevant to each ICH item to be designated as the national ICH; 5. TheDCPshallappointtheExecutiveCommittee of Experts for the ICH Designation; Operational Directives for Thailand’s Intangible Cultural Heritage Designation 6. The Executive Committee of Experts for the ICH Designation shall approve the list of items to be designated as the national ICH; 7. The ICH Committees of Experts shall consider the result of public hearings on the list of items to be designated as the national ICH; 8. The Executive Committee of Experts for the ICH Designation shall endorse the result of national ICH designation; 9. The Minister of Culture shall sign the announcement of the national ICH designation; 10. The DCP shall organize the announcement ceremony of the national ICH designation; 11. The DCP shall publicize the information through the printed and video media; 12. The DCP shall promote and support the transmission and perpetuation of the designated national ICH.
  • 21. มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม20 แผนผังขั้นตอนการขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ อำ�นวยการขึ้นทะเบียน มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม จัดทำ�และปรับปรุงเกณฑ์การขึ้นทะเบียน มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ คัดเลือกรายการมรดกภูมิปัญญาทาง วัฒนธรรมเพื่อขึ้นทะเบียนเป็นมรดก ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ จัดทำ�ข้อมูลความสำ�คัญประกอบการ พิจารณาขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภูมิปัญญา ทางวัฒนธรรมของชาติ จัดกิจกรรมรับฟังความคิดเห็นในรายการ มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จะ ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภูมิปัญญาทาง วัฒนธรรมของชาติ ให้ความเห็นชอบรายการมรดก ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมเพื่อการ ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภูมิปัญญาทาง วัฒนธรรมของชาติ รับรองผลการขึ้นทะเบียนมรดก ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ นำ�เสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวง วัฒนธรรมลงนามในประกาศ ขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทาง วัฒนธรรมของชาติ จัดงานประกาศขึ้นทะเบียนมรดก ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ผลิตสื่อสิ่งพิมพ์และวิดีทัศน์ เกี่ยวกับรายการมรดกภูมิปัญญา ทางวัฒนธรรมของชาติที่ได้รับการ ประกาศขึ้นทะเบียน ส่งเสริมสนับสนุนการถ่ายทอด และการสืบสานมรดกภูมิปัญญา ทางวัฒนธรรมของชาติที่ได้รับ การประกาศขึ้นทะเบียน
  • 22. Intangible Cultural Heritage 21 Flow Chart on Operational Directives for Thailand’s Intangible Cultural Heritage Designation The ICH Committees of Experts The Executive Committee of Experts for the ICH Designation Department of Cultural Promotion, Ministry of Culture Prepare and revise the criteria for national ICH designation. Nominate the items to be designated as the national ICH. Prepare key information for consideration of each ICH item to be designated. Organize forums to gather public opinion on the nominated items. Approves the list of items to be designated as the national ICH. EndorsestheresultofnationalICH designation. Submits the designation announcement to the Minister for signature. Organizes the announcement ceremony. Publicizestheinformationthrough the printed and video media. Promotes and supports the transmission and perpetuation of the designated national ICH.
  • 23. มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม22 คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ได้กำ�หนดเกณฑ์การขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ของชาติ โดยแบ่งตามสาขาของมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ดังนี้ สาขาศิลปะการแสดง ๑. มีคุณสมบัติเฉพาะของวัฒนธรรมนั้นๆ ที่แสดงให้เห็น ถึงเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ ๒. มีองค์ประกอบของศิลปะการแสดงที่บ่งบอกให้เห็น คุณลักษณะของศิลปะการแสดงนั้นๆ ๓. มีรูปแบบการแสดงหรือการนำ�เสนอที่ชัดเจน ๔. มีการสืบทอดที่ยังคงมีการแสดงอยู่ หรือแสดง ตามวาระโอกาสของการแสดงนั้นๆ ๕. มีคุณค่าทางสังคม จิตใจ และวิถีชีวิตชุมชน ๖. คุณสมบัติอื่นๆ ที่คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเห็นว่า เหมาะสม สาขางานช่างฝีมือดั้งเดิม ๑. มีต้นกำ�เนิด และ/หรือถูกนำ�มาพัฒนาในชุมชน นั้นจนเป็นที่ยอมรับและมีการสืบทอด ๒. แสดงถึงทักษะ ฝีมือ ภูมิปัญญา และใช้เทคโนโลยี อย่างเหมาะสม เช่น ผลิตด้วยมือ หรือใช้เทคโนโลยี พื้นบ้าน ๓. มีการพัฒนาเครื่องมือ วัสดุเพื่อสนองต่อกระบวน การผลิต ๔. ผลิตเพื่อประโยชน์ใช้สอยในวิถีชีวิต ขนบประเพณี ความเชื่อ วัฒนธรรม หรือการประกอบอาชีพ ของคนในชุมชน ๕. แสดงให้เห็นถึงเอกลักษณ์ หรืออัตลักษณ์เฉพาะ ท้องถิ่นหรือชาติพันธุ์นั้นๆ และเป็นความภาคภูมิใจ ของคนในชุมชน ๖. มีคุณค่าทางศิลปะ วัฒนธรรม เศรษฐกิจและสังคม มีความหมายและคุณค่าทางประวัติศาสตร์ท้องถิ่น หรือชาติพันธุ์นั้นๆ ๗. เป็นงานช่างที่ต้องได้รับการคุ้มครองอย่างเร่งด่วน เสี่ยงต่อการสูญหาย หรือกำ�ลังเผชิญกับภัยคุกคาม ๘. คุณสมบัติอื่นๆ ที่คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเห็นว่า เหมาะสมต่อการขึ้นทะเบียน เกณฑ์การคัดเลือกมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ สาขาวรรณกรรมพื้นบ้าน ๑. เป็นเรื่องที่รู้จักแพร่หลายในระดับชาติ ภูมิภาค หรือท้องถิ่น ๒. เป็นเรื่องที่สะท้อนอัตลักษณ์ของภูมิภาคหรือท้องถิ่น ๓. เป็นเรื่องที่เป็นแกนยึดโยงและสร้างเครือข่าย ความสัมพันธ์ระหว่างท้องถิ่นต่างๆ ๔. เป็นเรื่องที่ต้องได้รับการคุ้มครองอย่างเร่งด่วน เสี่ยงต่อการสูญหายหรือกำ�ลังเผชิญกับภัยคุกคาม ๕. คุณสมบัติอื่นๆ ที่คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเห็นว่า เหมาะสมต่อการขึ้นทะเบียน สาขากีฬาภูมิปัญญาไทย ๑. เป็นการเล่นพื้นบ้าน กีฬาพื้นบ้าน และศิลปะการ ต่อสู้ป้องกันตัวที่แสดงให้เห็นถึงเอกลักษณ์หรือ อัตลักษณ์เฉพาะท้องถิ่นหรือชาติพันธุ์ ๒. มีวิธีการเล่นหรือการแข่งขันที่ชัดเจน (เช่น ลำ�ดับ ขั้นตอน กฎ กติกา ช่วงระยะเวลา) ๓. มีการสืบทอดและยังคงมีการเล่น หรือการแข่งขัน ตามวาระโอกาสของกีฬา การเล่นนั้น ๆ ๔. มีคุณค่าทางกาย อารมณ์ สังคม วิถีชีวิตชุมชน และจิตวิญญาณของความเป็นไทย ๕. เป็นการเล่นพื้นบ้าน กีฬาพื้นบ้านและศิลปะการต่อสู้ ป้องกันตัวที่ต้องได้รับการคุ้มครองอย่างเร่งด่วน เสี่ยงต่อการสูญหายหรือกำ�ลังเผชิญกับภัยคุกคาม ๖. คุณสมบัติอื่นๆ ที่คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเห็นว่า เหมาะสมต่อการขึ้นทะเบียน สาขาแนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรมและงานเทศกาล ๑. มีคุณสมบัติเฉพาะที่แสดงอัตลักษณ์ หรือเอกลักษณ์ ในด้านประวัติความเป็นมา กระบวนการคัดสรร กลั่นกรอง การนำ�มาปรับเปลี่ยนพัฒนาในชุมชน จนเป็นที่ยอมรับและสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน ๒. มีรูปแบบการปฏิบัติ ช่วงเวลา วิธีการและขั้นตอน ที่ชัดเจน ๓. มีการปฏิบัติสืบสานกันมาหลายชั่วคน ยังคงมี การปฏิบัติอยู่ หรือมีหลักฐานว่าเคยปฏิบัติในชุมชน
  • 24. Intangible Cultural Heritage 23 Criteria for Identification and Nomination of Items for the Designation of Thailand’s Intangible Cultural Heritage The ICH Committees of Experts have provided the criteria for intangible cultural heritage designation by describing the defining attributes of the items to be considered in each of the six domains as follows: Performing arts domain: 1. Having specific characteristics that attest to the cultural identity and self-image of the community; 2. Having elements that correspond to the performance genre; 3. Having the explicit performance or presentation format; 4. Being transmitted and perpetuated to the present, or continuing to be performed on specific occasions; 5. Having social and spiritual value and value to the community's way of life; 6. HavingothercharacteristicsthattheCommittees of Experts consider relevant. Traditional craftsmanship domain: 1. Having been originated in and/or introduced into and developed by the community to the point of being commonly recognized as such and having been perpetuated/ transmitted within the community; 2. Showing the skills, wisdom, and appropriate technology, such as production by hand or using folk technology; 3. Having developed the tools and materials to accommodate the production process; 4. Having the primary functions for use in daily life, or for use related to custom, tradition, belief, and culture, or for use in the work of the people in the community; 5. Representing the identity or the self-image of the folk, locality, or ethnic group and being the pride of the people in the community; 6. Having artistic, cultural, economic and social value, as well as historical meaning and value to the community or the ethnic group; 7. Being in urgent need of safeguarding, being at risk of disappearance, or facing threatening danger; 8. HavingothercharacteristicsthattheCommittees of Experts consider relevant. Folk literature domain: 1. Being commonly known at national, regional or local levels; 2. Reflecting the self-image of the region or locality; 3. Being the connecting core and forming the network of relations among the different regions; 4. Being in urgent need of safeguarding, being at risk of disappearance, or facing threatening danger; 5. Having other characteristics that the Committees of Experts consider relevant. Folk sports, games and martial arts domain: 1. Reflecting the local or ethnic identity or self-image; 2. Having explicit method of playing or competing (for example, procedure and sequence, rules and regulations, timing); 3. Being transmitted and perpetuated to the present, or continuing to be played or competed on specific occasions; 4. Having physical, emotional, and social value, as well as value to the community’s way of life and the Thai spirit; 5. Being in urgent need of safeguarding, being at risk of disappearance, or facing threatening danger; 6. HavingothercharacteristicsthattheCommittees of Experts consider relevant.
  • 25. มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม24 ๔. เป็นกิจกรรมที่รู้จัก ประพฤติปฏิบัติกันอย่าง แพร่หลายในระดับกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ชุมชน ท้องถิ่น ภูมิภาค และประเทศชาติ ๕. แสดงออกถึงภูมิธรรม ภูมิปัญญาที่มีคุณค่าต่อจิตใจ วิถีชีวิตและสังคม ๖. เป็นแกนยึดโยงและสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์ ของคนในชุมชน ท้องถิ่นและประเทศชาติ ๗. เสี่ยงต่อการสูญหายหรือนำ�ไปใช้อย่างไม่ถูกต้อง และไม่เหมาะสม ๘. คุณสมบัติอื่นๆ ที่คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ เห็นว่าเหมาะสมต่อการขึ้นทะเบียน สาขาความรู้และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล ๑. มีการสืบทอดและยังปฏิบัติอยู่ในวิถีชีวิต ๒. เป็นเรื่องที่สะท้อนเอกลักษณ์ของชาติ หรืออัตลักษณ์ ของชุมชนหรือภูมิภาค ๓. เป็นเรื่องที่เสี่ยงต่อการสูญหาย หรือกำ�ลังเผชิญกับ ภัยคุกคาม ๔. คุณสมบัติอื่นๆ ที่คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ เห็นว่าเหมาะสมต่อการขึ้นทะเบียน หมายเหตุ ในการพิจารณาคัดเลือกรายการมรดกภูมิปัญญา ทางวัฒนธรรมเพื่อขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภูมิปัญญา ทางวัฒนธรรมของชาติ ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของคณะกรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิที่กรมส่งเสริมวัฒนธรรมแต่งตั้ง โดยพิจารณาให้อยู่ ในเกณฑ์อย่างน้อย ๑ ข้อ
  • 26. Intangible Cultural Heritage 25 Social practices, rituals and festive events domain: 1. Having specific characteristics that reflect the identity or self-image concerning the history or origins, the selection process, including the adaptation and development within the community to the point of being well-accepted and perpetuated by the community; 2. Having explicit format or pattern of practice, timing, procedure, and sequence; 3. Having been transmitted through several generations and perpetuated to the present or having evidence of having been practiced in the community; 4. Being commonly known, adopted and practiced at the level of ethnic group, as well as at the level of local, regional and national communities; 5. Reflecting the moral/ethical wisdom and Intangible wisdom, which possess value for the spirit, the way of life, and the society; 6. Being the connecting core and forming the network of relations among the different regions; 7. Being at risk of disappearance or misuse; 8. Having other characteristics that the Committees of Experts consider relevant. Knowledge and practices concerning nature and the universe domain: 1. Having been transmitted and perpetuated to the present in the people’s way of life; 2. Reflecting national identity or self-image of the community or region; 3. Being at risk of disappearance or facing threatening danger; 4. Having other characteristics that the Committees of Experts consider relevant. Remark: At least one criterion shall be met for an item to be designated as Thailand’s Intangible cultural heritage, which shall be done at the discretion of the Committees of Experts, who are appointed by the Department of Cultural Promotion.
  • 27. มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม26 การประกาศขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ประจำ�ปีพุทธศักราช ๒๕๕๓ กระทรวงวัฒนธรรมตระหนักถึงความจำ�เป็นในการปกป้อง คุ้มครอง ส่งเสริม และสืบทอดมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม จึงประกาศขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ประจำ�ปีพุทธศักราช ๒๕๕๓ เพื่อการคุ้มครองในเบื้องต้น จำ�นวน ๔ สาขา ๒๕ รายการ คือ ๑. สาขาศิลปะการแสดง จำ�นวน ๒ ประเภท ๖ รายการ ๒. สาขางานช่างฝีมือดั้งเดิม จำ�นวน ๒ ประเภท ๓ รายการ ๓. สาขาวรรณกรรมพื้นบ้านจำ�นวน๓ประเภท๑๕รายการ ๔. สาขากีฬาภูมิปัญญาไทย จำ�นวน ๑ ประเภท ๑ รายการ ในการนี้กระทรวงวัฒนธรรมจะดำ�เนินการส่งเสริมสนับสนุน ให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และถ่ายทอดมรดกวัฒนธรรม ที่ได้รับการประกาศอยู่ในบัญชีรายชื่อโดยวิธีการต่างๆ ตามความเหมาะสมต่อไป เหตุผลสำ�คัญของการประกาศขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญา ทางวัฒนธรรมของชาติ มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม เป็นสมบัติอันลํ้าค่าที่ บรรพบุรุษได้สร้างสรรค์ สั่งสม และสืบทอดมาถึงลูกหลานรุ่นต่อ รุ่น สิ่งที่เป็นมรดกภูมิปัญญา หมายถึง สิ่งที่เป็นความรู้ ความคิด ทักษะ ความชำ�นาญ ความเชี่ยวชาญที่แสดงออกผ่านทางภาษา วรรณกรรม ศิลปะการแสดง ขนบธรรมเนียมประเพณี พิธีกรรม งานช่างฝีมือดั้งเดิม และความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล ในยุคที่โลกกำ�ลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเช่นปัจจุบัน สิ่งที่เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของประเทศด้านต่างๆ กำ�ลังถูกคุกคามจากภัยรอบด้าน ทั้งด้วยการถูกรุกรานจาก วัฒนธรรมต่างชาติ การฉกฉวยผลประโยชน์ หรือการนำ�มรดก ภูมิปัญญาไปใช้อย่างไม่เหมาะสม ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ ส่งผล ให้กลุ่มชนที่ได้รับผลกระทบถูกครอบงำ�ทางวัฒนธรรม จนเกิดการสูญเสียอัตลักษณ์ และสูญเสียภูมิปัญญาที่เป็น องค์ความรู้ของตนไปอย่างรู้เท่าไม่ถึงการณ์ การประกาศขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ชองชาติ จึงเป็นหนทางหนึ่งในการปกป้องคุ้มครอง และเป็น หลักฐานสำ�คัญของประเทศในการประกาศความเป็นเจ้าของ มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมประเภทต่างๆ ในขณะที่ยังไม่มี มาตรการทางกฎหมายที่จะคุ้มครองมรดกภูมิปัญญา ทางวัฒนธรรมของชาติ รวมทั้งในอนาคต หากประเทศไทย ได้เข้าเป็นภาคีสมาชิกอนุสัญญาว่าด้วยการสงวนรักษา มรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ก็จะเป็นโอกาสอันดียิ่ง ในการเผยแพร่ชื่อเสียงเกียรติภูมิของประเทศชาติให้ปรากฏ ในสังคมโลก เช่นเดียวกับที่ประเทศต่างๆ จำ�นวน ๑๓๖ ประเทศ ที่เป็นภาคีสมาชิกแล้วในปัจจุบัน
  • 28. Intangible Cultural Heritage 27 Recognizing the necessity to safeguard, promote and perpetuate the intangible cultural heritage, the Ministry of Culture therefore designated 25 items in four domains as Thailand’s intangible cultural heritage in 2010, namely: 1. In the performing arts domain, 6 items in 2 categories; 2. In the traditional craftsmanship domain, 3 items in 2 categories; 3. In the folk literature domain, 15 items in 3 categories; 4. In the folk sports, games and martial arts domain, 1 item in 1 category. The Ministry of Culture will foster and support the exchange of knowledge and learning about, as well as the transmission of, the ICH-designated items through various means as appropriate. Rationale for the Designation of Thailand’s Intangible Cultural Heritage An intangible cultural heritage is a precious legacy from the ancestors, who created, accumulated, perpetuated and passed it on to the next generation. An intangible heritage means the knowledge, thought, skill, and expertise expressed through language, literature, the performing arts, customs and traditions, rites and rituals, traditional crafts, and cosmological knowledge. In today’s fast-changing world, the intangible cultural heritage of the nation is threatened by the spread of foreign cultures, the appropriation and misuse of the intangible cultural heritage in Designation of Thailand’s Intangible Cultural Heritage in 2010 an unfairly manner. Dominated by these factors, the affected groups of people unknowingly lose their self-image and their body of knowledge that forms their wisdom. While no legal measure is available to protect Thailand’s ICH, the designation of the national ICH might provide one way of safeguarding, and an important evidence of Thailand’s ownership of, the ICH in various domains. Moreover, in the future, if Thailand shall join the other 136 countries as a state party to UNESCO’s Convention for the Safeguarding of the Intangible Cultural Heritage, it will be a good opportunity to make known to the world community of Thailand’s prestige.
  • 29. มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม28 รายชื่อมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่ได้รับการประกาศ ขึ้นทะเบียน ประจำ�ปีพุทธศักราช ๒๕๕๓ สาขา ประเภท รายการ ศิลปะการแสดง ดนตรี ๑. ปี่พาทย์ การแสดง ๒. ละครใน ๓. หุ่นกระบอก ๔. ลิเกทรงเครื่อง ๕. รำ�เพลงช้า-เพลงเร็ว ๖. แม่ท่ายักษ์-ลิง งานช่างฝีมือดั้งเดิม ผ้าและผลิตภัณฑ์จากผ้า ๑. ผ้ายก ๒. ผ้ามัดหมี่ เครื่องโลหะ ๓. การปั้นหล่อพระพุทธรูป วรรณกรรมพื้นบ้าน นิทาน ๑. นิทานศรีธนญชัย ๒. นิทานสังข์ทอง ๓. นิทานขุนช้างขุนแผน ตำ�นาน ๔. ตำ�นานพระแก้วมรกต ๕. ตำ�นานพระเจ้าห้าพระองค์ ๖. ตำ�นานดาวลูกไก่ ๗. ตำ�นานพระเจ้าเลียบโลก ๘. ตำ�นานพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช ๙. ตำ�นานพระพุทธสิหิงค์ ๑๐. ตำ�นานพญาคันคาก บทสวดหรือบทกล่าวในพิธีกรรม ๑๑. บททำ�ขวัญข้าว ๑๒. บททำ�ขวัญนาค ๑๓. บททำ�ขวัญควาย ตำ�รา ๑๔ ตำ�ราแมวไทย ๑๕. ตำ�ราเลขยันต์ กีฬาภูมิปัญญาไทย ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว ๑. มวยไทย
  • 30. Intangible Cultural Heritage 29 Domain Category Item Performing arts Music 1. Pi Phat ensemble Performing arts 2. Lakhon Nai 3. Hun Krabok 4. Li-ke Song Khrueang 5. Ram Phleng Cha-Ram Phleng Reo 6. Mae Tha Yak - Mae Tha Ling Traditional craftsmanship Textiles and textile products 1. Yok cloth 2. Mat Mi cloth Metalwork 3. Buddha statue model making and casting Folk literature Tales 1. The tale of Sri Thanonchai 2. The tale of Sang Thong 3. The tale of Khun Chang-Khun Phaen Myths and Legends 4. The legend of Phra Kaeo Morakot 5. The myth of Phra Chao Ha Phra Ong 6. The myth of Dao Luk Kai 7. The legend of Phra Chao Liab Lok 8. The legend of the Phra Boromma That Nakhon Sri Thammarat 9. The legend of Phra Phutta Sihing 10. The myth of Phraya Khan-khak IncantationsandRitualChants 11. Tham Khwan Khao ritual text 12. Tham Khwan Nak ritual text 13. Tham Khwan Khwai ritual text Texts 14 Text on Thai Cats 15. Text on Lek Yan Folk sports, games and martial arts Martial art 1. Muai Thai List of Designated Intangible Cultural Heritage Items in 2010
  • 33. สาขาศิลปะการแสดง มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม32 ปี่พาทย์ ปี่พาทย์หมายถึงวงดนตรีไทยประเภทหนึ่งที่มีเครื่องดนตรี ประเภทเครื่องตีเป็นหลัก ได้แก่ ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ระนาด เอกเหล็ก ระนาดทุ้มเหล็ก ฆ้องวงใหญ่ฆ้องวงเล็ก มีเครื่องดนตรี ประเภทเครื่องเป่าเช่นปี่ขลุ่ยและเครื่องกำ�กับจังหวะเช่นตะโพน กลองทัด เป็นต้น ปี่พาทย์ครอบคลุมวัฒนธรรมด้านเครื่องดนตรี ความเชื่อ ค่านิยม ขนบนิยม ประเพณี และระเบียบปฏิบัติ วงปี่พาทย์ สามารถนำ�ไปบรรเลง – ขับร้องในกิจกรรมต่างๆ ทั้งในส่วนของ งานพระราชพิธี งานพิธีกรรมของราษฎร ประกอบการแสดง โขน หนังใหญ่ ละคร หุ่นกระบอก ลิเก และเป็นดนตรีเพื่อ การฟัง นอกจากนี้ยังใช้บรรเลงในงานอวมงคล เช่น งานสวด พระอภิธรรมศพและงานฌาปนกิจศพฯลฯ วงปี่พาทย์แบ่งออกได้เป็น ๖ ประเภท ดังนี้ ๑. วงปี่พาทย์ไม้แข็ง วงปี่พาทย์ไม้แข็ง เป็นวงปี่พาทย์ประเภทหนี่ง ที่เป็นต้นแบบ ของวงปี่พาทย์ประเภทอื่นๆโดยทั่วไปนิยมเรียกว่า “วงปี่พาทย์” เดิมเรียกชื่อว่า“วงพิณพาทย์”ต่อมาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงเปลี่ยนเป็นคำ�ว่า “ปี่พาทย์” สำ�หรับวงปี่พาทย์ ที่ระบุคำ�ว่า “ไม้แข็ง” เนื่องจาก ไม้ที่ใช้ตีระนาดเอกจะใช้ไม้แข็งบรรเลง วงปี่พาทย์ไม้แข็ง ใช้บรรเลงในงานพระราชพิธี งานพิธีกรรมของราษฎร เช่น งานทำ�บุญขึ้นบ้านใหม่ งานบวชนาค งานเทศกาลบุญ รวมทั้ง ใช้ประกอบการแสดงต่างๆปัจจุบันยังนิยมนำ�มาบรรเลง–ขับร้อง บทเพลงต่างๆ เพื่อการฟังด้วย ๒. วงปี่พาทย์เสภา วงปี่พาทย์เสภา เป็นวงดนตรีที่เกิดขึ้นครั้งแรกในรัชกาล พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย มีการนำ�เอาลูกเปิง หรือกลองสองหน้า เข้ามาตีในวงปี่พาทย์เครื่องห้า โดย ทำ�หน้าที่ตีประกอบจังหวะหน้าทับ วงปี่พาทย์เสภาใช้บรรเลง ประกอบการเล่นเสภาประกอบละครเสภาและบรรเลง–ขับร้อง บทเพลงต่างๆ เพื่อการฟัง ๓. วงปี่พาทย์ไม้นวม วงปี่พาทย์ไม้นวม เป็นวงปี่พาทย์ประเภทหนึ่งที่เกิดขึ้น ในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ (หม่อมราชวงศ์หลาน กุญชร) เป็นผู้ริเริ่มปรับปรุงวงและบรรเลงรับ-ร้องก่อน ในการประสม วงดนตรี ท่านใช้ขลุ่ยเพียงออและขลุ่ยหลิบแทนปี่ในและ ปี่นอก และได้เพิ่มซออู้ ส่วนระนาดเอกก็เปลี่ยนมาใช้ไม้นวม ตีแทนไม้แข็งเพื่อลดระดับเสียงเนื่องจากใช้บรรเลงประกอบการ แสดงโขน ละครที่แสดงในโรงละครหรือในอาคาร ๔. วงปี่พาทย์ดึกดำ�บรรพ์ วงปี่พาทย์ดึกดำ�บรรพ์เป็นวงดนตรีที่มีขึ้นครั้งแรกในรัชกาล พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยสมเด็จ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงปรับปรุงขึ้น เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๑ เพื่อใช้บรรเลงประกอบ การแสดงละครแนวใหม่ ซึ่งเจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ (หม่อมราชวงศ์หลาน กุญชร) เป็นผู้ริเริ่มปรับปรุงรูปแบบด้วย การผสมผสานระหว่างละครในกับละครอุปรากร เจ้าพระยา เทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ได้สร้างโรงละครขึ้นใหม่ ตั้งชื่อว่า “โรงละคร ดึกดำ�บรรพ์” จึงส่งผลให้ชื่อ “ดึกดำ�บรรพ์” เป็นชื่อของละคร รูปแบบใหม่และวงดนตรีด้วยเครื่องดนตรีที่ประสมในวงปี่พาทย์ ดึกดำ�บรรพ์ ประกอบด้วย ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ฆ้องวงใหญ่ ระนาดทุ้มเหล็ก ขลุ่ยเพียงออ ขลุ่ยอู้ ซออู้ ตะโพน กลองตะโพน ฆ้องหุ่ย ๗ ใบ และฉิ่ง
  • 34. PerformingArtsDomain Intangible Cultural Heritage 33 Pi Phat ensemble Pi Phat is a type of Thai musical ensemble comprising mainly the “striking instruments”, namely RanatEk,RanatThum,RanatThumLek,KhongWongYai, and Khong Wong Lek; wind instruments - such as Pi, Khlui; and ‘tempo control and time marking instruments’ such as Ta-phon, Klong That, for example. Pi Phat embraces aspects of culture that include the musical instruments used in the ensemble, the beliefs, values, norms, customs, traditions, and rules. Pi Phat ensemble is performed in the royal ceremonies and public festivities in musical concerts or as an accompaniment to the Khon (mask dance drama), Nang Yai (grand shadow puppet spectacle), Lakhon (dance drama), Hun Krabok (bamboo puppet theatre), and Li-ke (folk dance drama). Pi Phat ensemble also features during sorrowful occasions related to the death rituals -- a funeral ceremony where the Buddhist monks perform a funeral chant and a cremation, for example. Pi Phat ensemble is sub-divided into six sub-types as follows: 1. Pi Phat Mai Khaeng ensemble Pi Phat Mai Khaeng is the prototype of all other sub-types of Pi Phat ensemble. Previously called Phin Phat ensemble, it was changed to the presently popular name Pi Phat ensemble by HRH Prince Naritsara Nuwattiwong. Mai Khaeng, literally “hard wooden stick”, refers to the unpadded wooden mallets for striking on the bars of the Ranat Ek (Ranat - Thai xylophone; Ek - the main or leading instrument in the ensemble). Pi Phat Mai Khaeng ensemble features in royal ceremonies and commoners’ rites -- the merit-making during the house-warming rite, the ordination ceremony, and the religious festivals. It is also used to accompany dramatic performances and today it also performs in music concerts. 2. Pi Phat Se-pha ensemble Created during the reign of King Rama II, this sub-type introduced either Luk Poeng or Song Na (two-faced) drum into the Pi Phat Khrueang Ha (five instruments) ensemble. The drum beats time and the rhythmic pattern, or Na Thap, as the ensemble accompanies the Se-pha singing, Lakhon Se-pha performance, or performs in music concerts. 3. Pi Phat Mai Nuam ensemble Pi Phat Mai Nuam was introduced during the reign of King Rama V by Chao Phraya Thewetwongwiwat (Mom Ratchawong (a royal title) Lan Kunchon), who re-arranged the Pi Phat band as well as the instrumental and the accompaniment parts. He substituted Khlui Phiang O (medium size fipple flute) and Khlui Lip (small size fipple flute) for Pi Nai (soprano oboe) and Pi Nok (sopranino oboe) and added So U (alto fiddle) to the ensemble. Unpadded wooden mallets are replaced by padded wooden mallets for the Ranat Ek (soprano bamboo xylophone). Pi Phat Mai Nuam ensemble performs in accompaniment to the Khon and Lakhon.