SlideShare a Scribd company logo
1 of 18
ชิ้นงานที่ 12 มงคงชีวิต 38 ประการ
มงคลชีวิต 38 ประการ
ข้อที่ 1: ไม่คบคนพาล
บาลี: อเสวนา จ พาลานํ(อะเสวะนา จะ พาลานัง)
พาล แปลว่า โง่เขลา อับปัญญา รู้เท่าไม่ถึงการณ์ คนพาลคือคนโง่เขลา คนเกเรแม้คนมีปริญญาสูง ๆ แต่ประพฤติทุจริตทางกาย วาจา ใจ เรียกว่า คนพาล การไม่คบคนพาลจึง
เป็นมงคล เพราะการคบคนพาลพาไปหาผิดและพาเราไปทําสิ่งไม่ดีไม่ร้ายกับตัวเรา การไม่คบคนพาลจึงทําให้พ้นจากโอกาสที่จะหลงเข้าสู่ความผิด นํามาซึ่งความสรรเสริญ
ของคนทั่วไป และประสบความสุขความก้าวหน้าในชีวิต เป็นการตัดกําลังไม่ให้เชื้อคนพาลระบาดไป เพราะขาดคนสนับสนุน
ข้อที่ 2: คบบัณฑิต
บาลี: ปณฑิตานญฺจ เสวนา (ปัณฑิตานัญจะ เสวะนา)
บัณฑิต แปลว่า ผู้มีปัญญา นักปราชญ์ หมายถึง ผู้รู้ทัน และมีเหตุผล ในการกระทํา ในคําที่พูด และเรื่องที่คิด คบบัณฑิตเป็นมงคล เพราะได้ความรู้ ความปลอดภัย ความ
สรรเสริญ ความสุข เกียรติยศ ชื่อเสียง และชื่อว่าได้ทําความดีด้วย ทําให้บรรลุมรรคผลนิพพานได้ง่าย ได้ชื่อว่ามี "กัลยาณมิตร"
ข้อที่ 3: บูชาบุคคลที่ควรบูชา
บาลี: ปูชา จ ปูชนียานํ(ปูชา จะ ปูชะนียานัง)
บูชา คือ สักการะ เคารพ นับถือ ยําเกรง กราบไหว้ ทําด้วยความเอื้อเฟื้อ การบูชาเป็นมงคล เพราะทําให้เราลดทิฏฐิมานะลงได้ ป้องกันความเห็นผิด และทําให้เราได้แบบอย่างที่
ดีจากคนที่เราเคารพ เป็นการขจัดคนพาลให้พินาศไปโดยทางอ้อมและเป็นการเชิดชูบัณฑิตให้สูงเด่นยิ่งขึ้น และได้ชื่อว่าเป็นผู้มี "กตัญญูกตเวที" อีกด้วย
ข้อที่ 4: อยู่ในถิ่นอันสมควร
บาลี: ปฏิรูปเทสวาโส จ (ปะฏิรูปะเทสะวาโส จะ)
ปฏิรูป แปลว่า เหมาะสมหรือสมควร เทสะ แปลว่าสถานที่หรือท้องถิ่น ปฏิรูปเทสวาสะ คือการอยู่ในท้องถิ่นอันสมควร คืออยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีมีความพร้อม การอยู่ในประเทศ
อันสมควรเป็นมงคล เพราะการอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดีย่อมทําให้เป็นคนดี คนมีความรู้ถ้าอยู่ในถิ่นที่ไม่ต้องใช้วิชาความรู้ ความรู้นั้นก็หมดค่าไป และทําให้คนเรากล้าต่อการเผชิญกับ
ปัญหา เพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีได้ได้รับความสุขกาย สุขใจ มีความเจริญก้าวหน้า ทั้งทางโลกและทางธรรม
ข้อที่ 5: ทําบุญมาไว้ก่อน
บาลี: ปุพฺเพ จ กตปุญฺญตา (ปุพเพ จะ กะตะปุญญะตา)
บุญ แปลว่า ความดี ความสุข สิ่งที่ชําระจิตใจ สิ่งที่ฟอกจิต การทําบุญไว้ก่อนเป็นมงคล เพราะการทําบุญเป็นการสร้างความดี ซึ่งมีระยะเวลายาวนานต้องอดทน เหมือนปลูกต้นไม้
ยืนต้นจะต้องคอยผลไม้นั้นเป็นปี ๆ การทําบุญในอดีตส่งผลในปัจจุบัน การทําบุญในปัจจุบันส่งผลในปัจจุบันและอนาคต ผู้ทําความดีจึงต้องคิดว่าเป็นการสร้างฐานแห่งอนาคตไว้
ฉะนั้น
ข้อที่ 6: ตั้งตนชอบ
บาลี: อตฺตสมฺมาปณิธิ จ (อัตตะสัมมาปะณิธิ จะ)
อัตตะ หรือ ตน หมายถึงกายกับใจ การตั้งตนไว้ชอบคือการวางตัวในการดํารงชีพ หรือในชีวิตประจําวันได้อย่างถูกต้องและมั่นคง จึงจะได้ชื่อว่าเป็นคนมีคุณภาพชีวิต การตั้งตนไว้
ชอบเป็นมงคล เพราะเป็นการสร้างความมั่นคง ความปลอดภัยแก่ตนเอง เป็นตัวอย่างที่ดีแก่คนอื่น มีความก้าวหน้า เป็นผู้ป้องกันภัยในอบายภูมิ และได้รับสมบัติ 3 ประการคือ
มนุษยสมบัติ ทิพยสมบัติ และนิพพานสมบัติ
ข้อที่ 7: เป็นพหูสูต
บาลี: พาหุสจฺจญฺจ (พาหุสัจจัญจะ)
พหู แปลว่ามาก สูต แปลว่าความเป็นผู้ได้สดับตรับฟัง ดังนั้นพหูสูต จึงหมายถึงความเป็นผู้รู้ ได้สดับตรับฟังมาก หรือความเป็นผู้คงแก่เรียน พหูสูตเป็นมงคล เพราะการฟัง
มาก (ในที่นี้รวมถึงผู้ที่รู้จากการอ่านด้วย) ย่อมเพิ่มวุฒิปัญญา เชาวน์ และไหวพริบ นําความรู้ที่ได้ยินได้ฟัง ได้อ่าน ไปปฏิบัติเพื่อช่วยเหลือตนเองหรือคนอื่นได้มาก และเป็น
ช่องทางนําความเจริญด้วย ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ความเจริญก้าวหน้ามาสู่ตน ไม่มีใครแย่งชิงได้เป็นสหชาติปัญญา
ข้อที่ 8: รอบรู้ในศิลปะ
บาลี: สิปฺปญฺจ (สิปปัญจะ)
สิปปะ หรือ ศิลปะ หมายถึง วิชาชีพหรือความฉลาดในการใช้มือ ความมีศิลปะเป็นมงคล เพราะคนมีศิลปะจะช่วยตัวเองได้ไม่ว่าจะตกอยู่ในสถานะใด คนมีศิลปะย่อม
เจริญก้าวหน้า ได้รับความสุขทั้งในโลกนี้และโลกหน้า และทําให้โลกเจริญทั้งด้านวัตถุและจิตใจ ดังพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 6 ที่ว่า "ศิลปกรรมนําใจให้สร่างโศก ช่วย
บรรเทาทุกข์ในโลกให้เหือดหาย"
ข้อที่ 9: มีวินัยที่ดี
บาลี: วินโย จ สุสิกฺขิโต (วินะโย จะ สุสิกขิโต)
วินัย แปลว่า ข้อแนะนํา บทฝึกหัด ได้แก่ กฎเกณฑ์และข้อบังคับต่าง ๆ ที่ใช้ในสังคมนั้น ๆ มีวินัยเป็นมงคล เพราะวินัยเป็นตัวกําหนดให้เกิดความสามัคคี ความมีระเบียบ
สร้างความเข้มแข็งในกิจการงานต่างๆ ทําให้สังคมที่ดีดํารงอยู่
ข้อที่ 10: มีวาจาอันเป็นสุภาษิต
บาลี: สุภาสิตา จ ยา วาจา (สุภาสิตา จะ ยา วาจา)
วาจา คือ คําพูด สุภาษิต คือพูดดี คําว่า วาจาสุภาษิตจึงหมายถึงพูดดี วาจาสุภาษิตเป็นมงคล เพราะคนที่พูดวาจาสุภาษิต จะบันดาลให้การงานทั้งปวงสําเร็จลุล่วงไปด้วยดี มีความ
เจริญก้าวหน้าทั้งทางโลกและทางธรรม ได้รับความสําเร็จในเรื่องที่เจรจา
ข้อที่ 11: ดูแลบํารุงบิดามารดา
บาลี: มาตาปิตุอุปฏฺฐานํ(มาตาปิตุอุปัฏฐานัง)
มารดา แปลว่า ผู้รักษาบุตร ผู้เลี้ยงดูบุตร บิดา แปลว่า ผู้รักใคร่บุตร ผู้ให้สัตว์โลกยินดี การเลี้ยงดูมารดาเป็นมงคล เพราะเป็นการสืบต่อสังคมโดยอัตโนมัติ การบํารุงเลี้ยงดูมารดาบิดา ทําให้
ได้รับการยกย่องสรรเสริญ มีความเจริญก้าวหน้า เป็นตัวอย่างที่ดีแก่อนุชนรุ่นหลัง
ข้อที่ 12: ดูแลสงเคราะห์บุตร
บาลี: ปุตฺตสงฺคโห (ปุตตะสังคะโห) แยกมาจาก ปุตฺตทารสฺส สงฺคโห (ปุตตะทารัสสะ สังคะโห)
บุตร แบ่งตามคุณธรรม มี 3 ประเภท คือ 1. อภิชาตบุตร บุตรที่ยิ่งใหญ่กว่ามารดาบิดา 2. อนุชาตบุตร บุตรเสมอมารดาบิดา 3. อวชาตบุตร บุตรที่เลวกว่ามารดาบิดา บุตรทั้ง 3 ประเภทนี้มีอยู่
ในทุกสังคม ตระกูลจะมั่นคงได้ บุตรจะต้องเป็นอภิชาตบุตร หรืออนุชาตบุตร ส่วนอวชาตบุตร เกิดมาเพื่อทําลายวงศ์ตระกูลโดยเฉพาะ การเลี้ยงดูบุตรเป็นมงคล เพราะบุตรเป็นส่วนหนึ่ง
ของครอบครัว ซึ่งก็คือส่วนหนึ่งของประเทศชาติ ถ้าเลี้ยงดูบุตรให้ดีได้รับการศึกษา ก็เท่ากับสร้างครอบครัวให้ดี ประเทศชาติจะเจริญมั่นคง การไม่ดูแลบุตรปล่อยให้เป็นจิ้งจอกสังคม มาร
สังคม เป็นนักเลง เป็นโจร เป็นคนไม่มีวินัย เป็นนักเลงหญิง นักเลงการพนัน เท่ากับว่าทําลายสังคมและประเทศชาติด้วย
ข้อที่ 13: ดูแลสงเคราะห์ภรรยา (สามี)
บาลี: ทารสงฺคโห (ทาระสังคะโห) แยกมาจาก ปุตฺตทารสฺส สงฺคโห (ปุตตะทารัสสะ สังคะโห)
ทาระ แปลว่า เมีย ภรรยา แปลว่า ผู้ที่สามีต้องเลี้ยงดู คือเมีย พระพุทธศาสนา ได้กําหนดหลักการเลี้ยงดู หรือสงเคราะห์ภรรยาไว้ห้าประการ ได้แก่ การยกย่อง ไม่ดูหมิ่น ไม่
นอกใจ มอบความเป็นใหญ่ให้ มอบเครื่องแต่งตัวตลอดถึงพาออกงานด้วย การเลี้ยงดูภรรยาเป็นมงคล เพราะทําให้ชีวิตครอบครัวมั่นคงยั่งยืนเป็นการร่วมกันสร้างฐานะให้มั่นคง
การสงเคราะห์ภรรยาเป็นการสร้างความมั่นคงและมั่นใจให้แก่ภรรยา ครอบครัวมีความสงบสุข ได้รับการยกย่องสรรเสริญ และเป็นตัวอย่างที่ดีแก่อนุชนรุ่นหลัง
ข้อที่ 14: ทําการงานไม่ให้คั่งค้าง
บาลี: อนากุลา จ กมฺมนฺตา (อะนากุลา จะ กัมมันตา)
กรรม หรือการงาน แบ่งออกเป็นสองอย่าง คือ งานทางโลกและงานทางธรรมงานทางโลก ได้แก่ ทํานา ทําสวน ทําไร่ ค้าขาย บริการ รับราชการ เป็นต้น ส่วนงานทางธรรม ได้แก่
งานสร้างสันติสุขให้แก่โลก ลดละกิเลส ความเห็นแก่ตัว ความริษยา เป็นต้น ให้น้อยลง งานไม่คั่งค้างเป็นมงคล เพราะถ้าหากงานคั่งค้างแล้วย่อมไม่มีประโยชน์ไม่เห็นผล งานไม่
คั่งค้างจะทําให้ฐานะของตนครอบครัว และประเทศชาติเจริญขึ้นเพราะฉะนั้นงานที่ทําเสร็จเห็นผลงานจึงเป็นมงคล
ข้อที่ 15: ให้ทาน
บาลี: ทานญฺจ (ทานัญจะ)
ทาน แปลว่า ให้ และเป็นการให้ด้วยเจตนาอยากให้ ทานมี 2 อย่างคือ อามิสทาน ให้วัตถุสิ่งของ เช่น ปัจจัย 4 ดอกไม้ ธูป เทียน เป็นต้น และธรรมทาน ให้สิ่งที่ไม่ใช่วัตถุ เช่น ให้
คําแนะนําสั่งสอน ให้อภัย เป็นต้น การให้ทานเป็นมงคล เพราะเป็นการฝึกใจให้เป็นนักเสียสละ เป็นการลดความเห็นแก่ตัว ถ้าต่างคนต่างมุ่งหวังให้ทาน ความเห็นแก่ตัวจะลดลง
การทุจริตจะลดลง ทําให้มีชื่อเสียงในสังคม แม้ตายแล้วย่อมไปเกิดในสวรรค์
ข้อที่ 16: ปฏิบัติธรรม
บาลี: ธมฺมจริยา จ (ธัมมะจะริยา จะ)
ธรรม คือ คําสอนของพระพุทธเจ้าและสาวก จริยา แปลว่าประพฤติ ธรรมจริยา จึงหมายถึง การประพฤติปฏิบัติตามคําสอนของพระพุทธเจ้าและของพระสาวก การประพฤติธรรมเป็น
มงคล เพราะเป็นการยกระดับจิตใจให้สูงขึ้น ผู้ประพฤติธรรมมีแต่ความสุข (ธมฺมจารี สุขํ เสติ) ผู้ประพฤติธรรมได้ชื่อว่าสอนคนอื่นด้วยการประพฤติตลอดเวลา สร้างความ
เจริญก้าวหน้าแก่ตนเองและส่วนรวมเป็นผู้สร้างทางสวรรค์เอาไว้
ข้อที่ 17: ช่วยเหลือสงเคราะห์ญาติ/พี่น้อง
บาลี: ญาตกานญฺจ สงฺคโห (ญาตะกา นัญจะ สังคะโห) การสงเคราะห์ญาติคือ เมื่อยามญาติ อัตคัด เกินขัดข้องควรหาช่อง สงเคราะห์ ไม่เลาะหนี เขาซาบซึ้ง ถึงคุณ อบอุ่นดี หากถึงที
เราจน ญาติสนใจ
ข้อที่ 18: ทํางานที่ไม่มีโทษ
บาลี: อนวชฺชานิ กมฺมานิ (อะนะวัชชานิ กัมมานิ) ทํางานที่ไม่มีโทษ คือ งานรับจ้าง ล้างชาม ก็ตามเถิดหากไม่เกิด โทษทัณฑ์ นั่นสดใสเมื่อได้ช่อง ต้องจํา กระทําไปได้กําไร ทุกทาง ไม่
ว่างงาน งานที่ไม่มีโทษ ประกอบด้วยลักษณะดังต่อไปนี้
1.ไม่ผิดกฎหมาย คือทําให้ถูกต้องตามกฎหมายของบ้านเมือง
2.ไม่ผิดประเพณี คือแบบแผนที่ปฏิบัติกันมาแต่เดิม ควรดําเนินตาม
3.ไม่ผิดศีล คือข้อห้ามที่บัญญัติไว้ในศีล 5
4.ไม่ผิดธรรม คือหลักธรรมทั้งหลายอาทิเช่น การพนัน การหลอกลวง
ข้อที่ 19: ละเว้นการทําบาป
บาลี: อารตี วิรตี ปาปา (อาระตี วิระตี ปาปา) บาปคือสิ่งที่ไม่ดี เสีย ความชั่วที่ติดตัว ซึ่งไม่ควรทํา ท่านว่าสิ่งที่ทําแล้วถือว่าเป็นบาปได้แก่ อกุศลกรรมบถ 10 คือ
1.ฆ่าสัตว์
2.ลักทรัพย์
3.ประพฤติผิดในกาม
4.พูดเท็จ
5.พูดส่อเสียด
6.พูดคําหยาบ
7.พูดเพ้อเจ้อ
8.โลภอยากได้ของเขา
9.คิดพยาบาทปองร้ายคนอื่น
10.เห็นผิดเป็นชอบ
ข้อที่ 20: สํารวมจากการดื่มนํ้าเมา
บาลี: มชฺชปานา จ สญฺญโม (มัชชะปานา จะ สัญญะโม) ว่าด้วยเรื่องของนํ้าเมานั้น อาจทํามาจากแป้ง ข้าวสุก การปรุงโดยผสมเชื้อ หรืออะไรก็แล้วแต่ที่ดื่มแล้วทําให้มึนเมา เช่น
เบียร์ ไวน์ ไม่ใช่แค่เหล้าเท่านั้นล้วนมีโทษอันได้แก่
1.ทําให้เสียทรัพย์เพราะต้องนําเงินไปซื้อหา ทั้ง ๆ ที่เงินจํานวนเดียวกันนี้ สามารถนําเอาไปใช้ในสิ่งที่เป็นประโยชน์อย่างอื่นได้มากกว่า
2.ทําให้เกิดการทะเลาะวิวาท ซึ่งนําไปสู่ความวุ่นวายเจ็บตัว หรือถึงแก่ชีวิต และคดีความ เพราะนํ้าเมาทําให้ขาดการยับยั้งชั่งใจ
3.ทําให้เกิดโรค โรคที่เกิดเนื่องมาจากการดื่มสุราล้วนแล้วแต่บั่นทอนสุขภาพกายจนถึงตายได้เช่น โรคตับแข็ง โรคหัวใจ โรคความดัน
4.ทําให้เสียชื่อเสียง เมื่อคนเมาไปทําเรื่องไม่ดีเข้าเช่นไปลวนลามสตรี ปล่อยตัวปล่อยใจ ก็ทําให้วงศ์ตระกูล และหน้าที่การงานเสี่อมเสีย
ข้อที่ 21: ไม่ดํารงตนอยู่ในความประมาท
บาลี: อปฺปมาโท จ ธมฺเมสุ (อัปปะมาโท จะ ธัมเมสุ) ไม่ประมาท คือมี สติพร้อม คอยหน่วงน้อม ธรรมคุณ ไม่ผลุนผลัน ธรรมอันใด ไม่ดี หลีกหนีพลัน ธรรมดีนั้น ยึดแน่น ไม่แคลนคลอน
ธรรมในที่นี้ก็คือ หลักปฏิบัติที่ทําแล้วมีผลในทางดี และเป็นจริงที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงโปรดแนะทางไว้คนที่ประมาทในธรรมนั้นมีลักษณะที่สรุปได้ดังนี้คือ
1.ไม่ทําเหตุดี แต่จะเอาผลดี
2.ทําตัวเลว แต่จะเอาผลดี
3.ทําย่อหย่อน แต่จะเอาผลมาก
ข้อที่ 22: มีความเคารพในบุคคลที่ควรเคารพ
บาลี: คารโว จ (คาระโว จะ) ความเคารพ นับถือ คือเสน่ห์ ไม่โลเล เหมือนลิง วิ่งหลอกหลอน ทั้งต่อหน้า ลับหลัง พึงสังวร ย่อมงามงอน สวยสง่า ราคาแพง ท่านได้กล่าวว่าสิ่งที่ควรเคารพมี
อยู่ดังนี้
1.พระพุทธเจ้า
2.พระธรรม
3.พระสงฆ์
4.การศึกษา
5.ความไม่ประมาท คือการดําเนินตามหลักธรรมคําสอนพระพุทธศาสนาอื่น ๆ ด้วยความเคารพ
6. การสนทนาปราศรัย คือการต้อนรับอาคันตุกะผู้มาเยือนด้วยความเคารพ
ข้อที่ 23: มีความถ่อมตน
บาลี: นิวาโต จ (นิวาโต จะ) ไม่พองลม ก้มหัว เจียมตัวด้วย มรรยาทสวย นิ่มนวล สิ้นส่วแข็ง เหมือนงูพิษ ถอดเขี้ยว หมดเรี่ยวแรง ยามแถลง นอบน้อม พร้อมใจกาย ความอ่อนน้อมถ่อมตน
คือ การไม่แสดงออกถึงความสามารถที่ตัวเองมีอยู่ให้ผู้อื่นทราบเพื่อข่มผู้อื่น หรือเพื่อโอ้อวด การไม่อวดดี เย่อหยิ่งจองหอง แต่แสดงตนอย่างสงบเสงี่ยม ท่านว่าไว้ว่าโทษของการอวดดีนั้นมี
อยู่ดังนี้คือ1.
1.ทําให้เสียคน คือไม่สามารถกลับมาอยู่ในร่องในรอยได้เหมือนเดิม เสียอนาคต
2.ทําให้เสียมิตร คือไม่มีใครคบหาเป็นเพื่อนด้วย ถึงจะมีก็ไม่ใช่เพื่อนแท้
ข้อที่ 24: มีความสันโดษ
บาลี: สนฺตุฏฺฐี จ (สันตุฏฺะฐี จะ) ความสันโดษ พอใจ ในสิ่งของ เช่นเงินทอง ของตน แม้ล้นหลาย เมื่อมีน้อย จ่ายน้อย ค่อยสบาย ความจนหาย เลยลับ กลับมั่งมี คําว่าสันโดษไม่ได้หมายถึงการ
อยู่ลําพังคนเดียวอย่างเดียวก็หาไม่ แต่หมายถึงการพอใจในสิ่งที่ตนมีอยู่ในของของตัว ซึ่งท่านได้ให้นิยามที่เป็นลักษณะของความสันโดษเป็นดังนี้ คือ
1.ยถาลาภสันโดษ หมายถึงความยินดีตามมีตามเกิด คือมีแค่ไหนก็พอใจเท่านั้น เป็นอยู่อย่างไรก็ควรจะพอใจ ไม่คิดน้อยเนื้อตํ่าใจในสิ่งที่ตัวเองเป็นอยู่
2.ยถาพลสันโดษ หมายถึงความยินดีตามกําลัง เรามีกําลังแค่ไหนก็พอใจเท่านั้น ตั้งแต่กําลังกาย กําลังทรัพย์กําลังบารมี หรือกําลังความสามารถเป็นต้น
ข้อที่ 25: มีความกตัญญู
บาลี: กตญฺญุตา (กะตัญญุตา) คือ การรู้คุณ และตอบแทนท่านผู้นั้น บุญคุณที่ว่านี้มิใช่ว่าตอบแทนกันแล้วก็หายกัน แต่หมายถึงการรําลึกถึงพระคุณที่เคยให้ความอุปการะแก่เราด้วยความเคารพ
ยิ่ง ท่านว่าสิ่งของหรือผู้ที่ควรกตัญญูนั้นมีดังนี้
1.กตัญญูต่อบุคคล บุคคลที่ควรกตัญญูก็คือ ใครก็ตามที่มีบุญคุณควรระลึกถึงและตอบแทนพระคุณ เช่น บิดา มารดา อาจารย์เป็นต้น
2.กตัญญูต่อสัตว์ได้แก่สัตว์ที่มีคุณต่อเราช่วยทํางานให้เรา เราก็ควรเลี้ยงดูให้ดีเช่นช้าง ม้า วัว ควาย หรือสุนัขที่ช่วยเฝ้าบ้าน เป็นต้น
ข้อที่ 26: ฟังธรรมตามกาล
บาลี: กาเลน ธมฺมสฺสวนํ(กาเลนะ ธัมมัสสะวะนัง) เมื่อมีโอกาส เวลา หรือตามวันสําคัญต่าง ๆ ก็ควรต้องไปฟังธรรมบ้าง เพื่อสดับตรับฟัง สิ่งที่เป็นประโยชน์ในหลักธรรมนั้น ๆ และนํามาใช้
กับชีวิตเรา เพื่อปรับปรุงให้ดีขึ้น ท่านว่าเวลาที่ควรไปฟังธรรมนั้นมีดังนี้คือ
1.วันธรรมสวนะ ก็คือวันพระ หรือวันที่สําคัญทางศาสนา
2.เมื่อมีผู้มาแสดงธรรมก็อย่างเช่น การฟังธรรมตามวิทยุ การที่มีพระมาแสดงธรรมตามสถานที่ต่าง ๆ หรือการอ่านจากสื่อต่าง ๆ
3.เมื่อมีโอกาสอันสมควร อาทิเช่นในวันอาทิตย์เมื่อมีเวลาว่าง หรือในงานมงคล งานบวช งานกฐิน งานวัดเป็นต้น
ข้อที่ 27: มีความอดทน
บาลี: ขนฺตี จ (ขันตี จะ) ท่านว่าลักษณะของความอดทนนั้นสามารถจําแนกออกได้เป็นดังต่อไปนี้คือ
1.ความอดทนต่อความลําบาก คือความลําบากที่ต้องประสพตามธรรมชาติ ซึ่งอาจมาจากสภาพแวดล้อมเป็นต้น
2.ความอดทนต่อทุกขเวทนา คือทุกข์ที่เกิดจากสังขารของเราเอง เช่นความไม่สบายกายเป็นต้น
3.ความอดทนต่อความเจ็บใจ คือการที่คนอื่นทําให้เราต้องผิดหวัง หรือพูดจาให้เจ็บชํ้าใจ ไม่เป็นอย่างที่หวังเป็นต้น
4.ความอดทนต่ออํานาจกิเลส คือสิ่งยั่วยวนทั้งหลายถือเป็นกิเลสทั้งทางใจและทางกายอาทิเช่น ความนึกโลภอยากได้ของเขา หรือการพ่ายแพ้ต่ออํานาจเงินเป็นต้น
ข้อที่ 28: เป็นผู้ว่าง่าย
บาลี: โสวจสฺสตา (โสวะจัสสะตา) ควรเป็นคน สอนง่าย ไม่ตายด้าน ก่อรําคาญ คํ่าเช้า ไม่เข้าไหน ไม่ซัดโทษ ของตน ให้คนใด เมื่อมีใคร สอนพรํ่า ให้นํามา ท่านว่าผู้ว่าง่าย
นั้นมีลักษณะที่สังเกตได้ดังนี้คือ
1.ไม่พูดกลบเกลื่อนเมื่อได้รับการว่ากล่าวตักเตือน คือการรับฟังด้วยดี ไม่ใช่แก้ตัวแล้วปิดประตูความคิดไม่รับฟัง
2.ไม่นิ่งเฉยเมื่อได้รับการเตือน คือการนําคําตักเตือนนั้นมาพิจารณาและแก้ไขข้อบกพร่องนั้น ๆ
3.ไม่จับผิดผู้ว่ากล่าวสั่งสอน คือการที่ผู้สอนอาจจะมีความผิดพลาด เนื่องจากความประมาท เราควรให้อภัยต่อผู้สอน เพราะการจับผิดทําให้ผู้สอนต้องอับอายขายหน้าได้ซึ่ง
เป็นสิ่งที่ไม่ดีงาม
ข้อที่ 29: ได้เห็นสมณะ
บาลี: สมณานญฺจ ทสฺสนํ(สะมะณานัญจะ ทัสสะนัง) คําว่าสมณะแปลตรงตัวได้ว่า ผู้สงบ (หมายถึงผู้อยู่ในสมณเพศ) ท่านว่าคุณสมบัติของสมณะต้องประกอบไปด้วย 3 อย่างคือ
1.ต้องสงบกาย คือมีความสํารวมในการกระทําทุกอย่าง รวมถึงกิริยา มรรยาท ตามหลักศีลธรรม
2.ต้องสงบวาจา คือการพูดจาให้อยู่ในกรอบของความพอดี มีความสุภาพสงบเสงี่ยมในคําพูดและภาษาที่ใช้เป็นไปตามข้อปฏิบัติ ประเพณี
3.ต้องสงบใจ คือการทําใจให้สงบปราศจากกิเลสครอบงํา ไม่ว่าจะเป็น โลภ โกรธ หลง หรือความพยาบาทใด ๆ ตั้งมั่นอยู่ในสมาธิภาวนา
ข้อที่ 30: สนทนาธรรมตามกาล
บาลี: กาเลน ธมฺมสากจฺฉา (กาเลนะ ธัมมะสากัจฉา) การได้สนทนากันเรื่องธรรม ทําให้ขยายขอบเขตการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนความรู้ และได้รู้ในสิ่งใหม่ ๆ ที่เราอาจนึกไม่ถึง หรือเป็น
การเผื่อแผ่ความรู้ที่เรามีให้แก่ผู้อื่นได้ทราบด้วย ก่อนที่เราจะสนทนาธรรม ควรต้องพิจารณาและคํานึงถึงสิ่งต่อไปนี้คือ
1.ต้องรู้เรื่องที่จะพูดดี
2.ต้องพูดเรื่องจริง มีประโยชน์
3.ต้องเป็นคําพูดที่ไพเราะ
4.ต้องพูดด้วยความเมตตา
5.ต้องไม่พูดจาโอ้อวด หรือยกตนข่มท่าน
ข้อที่ 31: บําเพ็ญตบะ
บาลี: ตโป จ (ตะโป จะ) ตบะ โดยความหมายแปลว่า ทําให้ร้อน ไม่ว่าด้วยวิธีใด การบําเพ็ญตบะหมายความถึงการทําให้กิเลส ความรุ่มร้อนต่าง ๆ หมดไป หรือเบาบางลง ลักษณะการ
บําเพ็ญตบะมีดังนี้
1.การมีใจสํารวมในอินทรีย์ทั้ง 6 (อายตนะภายใน 6 อย่าง) ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ไม่ให้หลง ติดอยู่กับสัมผัสภายนอกมากเกินไป ไม่ให้กิเลสครอบงําใจเวลาที่รับรู้อารมณ์ผ่าน
อินทรีย์ทั้ง 6 (อินทรีย์สังวร)
2.การประพฤติรักษาพรหมจรรย์เว้นจากการร่วมประเวณี หรือกามกิจทั้งปวง
ข้อที่ 32: ประพฤติพรหมจรรย์
บาลี: พฺรหฺมจริยญฺจ (พรัหมะจะริยัญจะ) คําว่าพรหมจรรย์หมายความถึง การบวชซึ่งละเว้นเมถุน การครองชีวิตที่ปราศจากเมถุน การประพฤติธรรมอันประเสริฐ ท่านว่าลักษณะของธรรม
ที่ถือว่าเป็นการประพฤติพรหมจรรย์นั้น (ไม่ใช่ว่าต้องบวชเป็นพระ) มีอยู่ดังนี้คือ
1.ให้ทาน บริจาคทานไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สิ่งของ เงินทอง หรือปัญญา
2.ช่วยเหลือผู้อื่นในกิจการงานที่ชอบ ที่ถูกที่ควร (เวยยาวัจจมัย)
3.รักษาศีล 5 คือไม่ฆ่าสัตว์ไม่ลักขโมย ไม่ทําผิดในกาม ไม่พูดปด ไม่ดื่มนํ้าเมา (เบญจศีล)
ข้อที่ 33: เห็นอริยสัจ
บาลี: อริยสจฺจานทสฺสน (อะริยะสัจจานะทัสสะนะ) อริยสัจ หมายถึงความจริงอันประเสริฐ หลักแห่งอริยสัจมีอยู่4 ประการตามที่ท่านได้สั่งสอนไว้มีดังนี้
1.ทุกข์คือความไม่สบายกายไม่สบายใจ ความเป็นจริงของสัตว์โลกทุกผู้ทุกนามต้องมีทุกข์
2.สมุทัย คือเหตุที่ทําให้เกิดทุกข์ นอกจากเหตุแห่งทุกข์ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น
3.นิโรธ คือความดับทุกข์ ภาวะที่ตัณหาดับสิ้นไป ความหลุดพ้น หรือหมายถึงภาวะของพระนิพพานนั่นเอง
4.มรรค คือข้อปฏิบัติ หรือหนทางที่นําไปสู่การดับทุกข์ การเดินทางสายกลางเพื่อไปให้ถึงการดับทุกข์
ข้อที่ 34: ทําให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน
บาลี: นิพฺพานสจฺฉิกิริยา จ (นิพพานะสัจฉิกิริยา จะ) ทําให้แจ้ง นิพพาน ผลาญสังโยชน์ ตรวจตราโทษ ธาตุ ขันธ์ หมั่นฝึกถอน เอาอรหัต มรรคญาณ เผาราญรอน ดับทุกข์ร้อน นิพพาน สําราญนัก
ท่านพระพุทธโฆษาจารย์ผู้รจนาคัมภีร์วิสุทธิมรรค ท่านเป็นพระอรหันต์ขั้นปฏิสัมภิทาญาณ ท่านอธิบายถึงการระลึกถึงคุณพระนิพพาน โดยท่านยกบาลี 8 ข้อ ไว้เป็นแนวเครื่องระลึก ดังจะนํามา
เขียนไว้เพื่อเป็นเครื่องอุปกรณ์ในการระลึก
ข้อที่ 35: มีจิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม
บาลี: ผุฏฺฐสฺส โลกธมฺเมหิ จิตฺตํ ยสฺส น กมฺปต (ผุฏฺฐัสสะ โลกะธัมเมหิ จิตตัง ยัสสะ นะ กัมปะตะ) คําว่าโลกธรรม มีความหมายถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้นอยู่เป็นประจําบนโลกนี้ ซึ่งเราไม่ควรมีจิด
หวั่นไหวต่อสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ ท่านว่าลักษณะของโลกธรรมมี 4 ประการคือ
1.การได้ลาภ เมื่อมีลาภผลก็ย่อมมีความเสื่อมเป็นธรรมดา
2.การได้ยศ ยศฐาบรรดาศักดิ์ล้วนเป็นสิ่งสมมุติขึ้นมาทั้งนั้น
3.การได้รับการสรรเสริญ ที่ใดมีคนนิยมชมชอบ ที่นั่นก็ย่อมต้องมีคนเกลียดชังเป็นเรื่องธรรมดา
4.การได้รับความสุข ที่ใดมีสุขที่นั่นก็จะมีทุกข์ด้วย
ข้อที่ 36: มีจิตไม่เศร้าโศก
บาลี: อโสกํ(อะโสกัง) คราวพลัดพราก จากญาติ ขาดชีวิต ถูกพิชิต จองจํา ทําโทษใหญ่ มีสติ คุมจิต เป็นนิตย์ไป ไม่เสียใจ โศกเศร้า เฝ้าประคอง ท่านว่ามีเหตุอยู่5 ประการที่ทําให้
จิตเราต้องโศกเศร้าคือ
1.ความโศกเศร้าที่เกิดเนื่องมาจากความรัก
2.ความโศกเศร้าที่เกิดจากความใคร่
3.ใช้ปัญญาพิจารณาอยู่เนือง ๆ ถึงความไม่เที่ยงในสิ่งของทั้งหลาย และร่างกายของเรา
4.ไม่ยึดมั่นในตัวตน หรือความจีรังยั่งยืน ในคนหรือสิ่งของว่าเป็นของเรา
5.ทุกอย่างในโลกล้วนเปลี่ยนแปลงอยู่ทุกขณะ แม้ร่างกายเราก็ใช้เป็นที่อาศัยชั่วคราวเท่านั้น
ข้อที่ 37: มีจิตปราศจากกิเลส
บาลี: วิรชํ(วิระชัง)
ธุลี คือ กิเลส(สภาพที่ทําให้จิตเศร้าหมอง ย่อมไม่ติดอยู่ในจิตที่ฝึกดีแล้ว เหมือนหยาดนํ้าไม่ติดอยู่บนใบบัว)
จิตทีฝึกฝนดีแล้วย่อมหลุดพ้นไม่พัวพันอยู่กับกิเลสทั้งปวง เป็นจิตที่ปลอดโปร่งเป็นอิสรเสรีและมีศักยภาพสูงสุด เป็นจิตที่นําเอาความสงบร่มเย็นที่ยั่งยืนมาสู่โลก
ข้อที่ 38: มีจิตเกษม
บาลี: เขมํ (เขมัง) เกษม หมายถึงมีความสุข สบาย หรือสภาพที่มีจิตใจที่เป็นสุข มีจิดเกษมก็คือว่ามีจิตที่เป็นสุขในที่นี้หมายถึงการละแล้วซึ่งกิเลส ที่ท่านว่าไว้ว่าเป็น
เครื่องผูกอยู่ 4 ประการคือ
1.การละกามโยคะ คือการละความยินดีในวัตถุ
2.การละภวโยคะ คือการละความยินดีในภพ
3.การละทิฏฐิโยคะ คือการละความยินดีในความเห็นผิดเป็นชอบ
4.การละอวิชชาโยคะ คือการละความยินดีในอวิชชาทั้งหลาย ความไม่รู้ทั้งหลาย
ชิ้นงานที่ 13 เรื่องคาถามทบทวน มงคลชีวิต 38 ประการ
คําถามทบทวนมงคลชีวิต 38 ประการ
1.ความสุขความเจริญสามารถเกิดขึ้นได้กับผู้ที่ ได้ปฏิบัติธรรมตามหัวข้อใด
ตอบ มงคลชีวิต 38 ประการ
2.การละเว้นจากความชั่ว ตามมงคลชีวิต 38 หมายถึง
ตอบ การปฏิบัติตนตามกุศลกรรมบถ 10
3.การเป็นผู้รู้ ผู้ฟังมา ตรงกับ มงคงชีวิต ข้อใด
ตอบ เป็นพหูสูตร
4. การพูดดี วาจาสุภาษิต ตรงกับข้อใด
ตอบ มีวาจาอันเป็นสุภาษิต
5. อริญสัจ 4 มี 4 ประการย่อคือ
ตอบ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
6.การละล้างซึ่งกิเลส มี 4 ประการ
ตอบ การละกามโยคะ , การละภวโยคะ , การละทิฎฐิโยคะ , การละอวิชชาโยคะ
7.สมณะ คือ อะไร
ตอบ ผู้สงบ ประกอบด้วย 3 อย่าง สงบกาย,สงบวาจา, สงบใจ
8.อกุศลกรรมบถ 10 ความหมายคือ
ตอบ การละเว้นการทําบาป
9. การทําความดี ทําให้บรรลุมรรค ผลนิพพานได้ เรียกชื่อว่าอะไร
ตอบ กัลยาณมิตร
10. ความไม่ประมาท ในมงคลชีวิต 38 คือข้อใด
ตอบ การมีสติ พร้อมคอยหน่วงน้อม ธรรมคุณ ไม่ผลุนผลัน

More Related Content

What's hot

ศึกษาเปรียบเทียบแนวความคิด
ศึกษาเปรียบเทียบแนวความคิดศึกษาเปรียบเทียบแนวความคิด
ศึกษาเปรียบเทียบแนวความคิดpentanino
 
หลวงพ่อทูล วัฏฏะสงสาร
หลวงพ่อทูล วัฏฏะสงสารหลวงพ่อทูล วัฏฏะสงสาร
หลวงพ่อทูล วัฏฏะสงสารguestf16531
 
ปริศนาธรรมในพุทธปรัชญา
ปริศนาธรรมในพุทธปรัชญาปริศนาธรรมในพุทธปรัชญา
ปริศนาธรรมในพุทธปรัชญาpentanino
 
แนวคิดเรื่องกรรมและความจริงสูงสุดของศาสนาเชน
แนวคิดเรื่องกรรมและความจริงสูงสุดของศาสนาเชนแนวคิดเรื่องกรรมและความจริงสูงสุดของศาสนาเชน
แนวคิดเรื่องกรรมและความจริงสูงสุดของศาสนาเชนTongsamut vorasan
 
ศาสนาสากล โดย ครูอัมพร
ศาสนาสากล                โดย ครูอัมพรศาสนาสากล                โดย ครูอัมพร
ศาสนาสากล โดย ครูอัมพรampy48
 
อิสลามกับคำถามที่คุณอยากรู้คำตอบ
อิสลามกับคำถามที่คุณอยากรู้คำตอบอิสลามกับคำถามที่คุณอยากรู้คำตอบ
อิสลามกับคำถามที่คุณอยากรู้คำตอบKumobarick Achiroki
 

What's hot (7)

ศึกษาเปรียบเทียบแนวความคิด
ศึกษาเปรียบเทียบแนวความคิดศึกษาเปรียบเทียบแนวความคิด
ศึกษาเปรียบเทียบแนวความคิด
 
หลวงพ่อทูล วัฏฏะสงสาร
หลวงพ่อทูล วัฏฏะสงสารหลวงพ่อทูล วัฏฏะสงสาร
หลวงพ่อทูล วัฏฏะสงสาร
 
ปริศนาธรรมในพุทธปรัชญา
ปริศนาธรรมในพุทธปรัชญาปริศนาธรรมในพุทธปรัชญา
ปริศนาธรรมในพุทธปรัชญา
 
แนวคิดเรื่องกรรมและความจริงสูงสุดของศาสนาเชน
แนวคิดเรื่องกรรมและความจริงสูงสุดของศาสนาเชนแนวคิดเรื่องกรรมและความจริงสูงสุดของศาสนาเชน
แนวคิดเรื่องกรรมและความจริงสูงสุดของศาสนาเชน
 
ฮินดู
ฮินดูฮินดู
ฮินดู
 
ศาสนาสากล โดย ครูอัมพร
ศาสนาสากล                โดย ครูอัมพรศาสนาสากล                โดย ครูอัมพร
ศาสนาสากล โดย ครูอัมพร
 
อิสลามกับคำถามที่คุณอยากรู้คำตอบ
อิสลามกับคำถามที่คุณอยากรู้คำตอบอิสลามกับคำถามที่คุณอยากรู้คำตอบ
อิสลามกับคำถามที่คุณอยากรู้คำตอบ
 

Viewers also liked

Aprendizajes autónomo y significativo luis mauricio esquivel torres
Aprendizajes autónomo y significativo luis mauricio esquivel torresAprendizajes autónomo y significativo luis mauricio esquivel torres
Aprendizajes autónomo y significativo luis mauricio esquivel torresLuis Mauricio Esquivel Torres
 
The differing perceptions of plastic surgery between potential applicants and...
The differing perceptions of plastic surgery between potential applicants and...The differing perceptions of plastic surgery between potential applicants and...
The differing perceptions of plastic surgery between potential applicants and...Jonathan Kanevsky, MD, FRCSC
 
Mantenimiento preventivo para una pc
Mantenimiento preventivo para una pcMantenimiento preventivo para una pc
Mantenimiento preventivo para una pcHector Peñalva
 
El plato del bien comer
El plato del bien comerEl plato del bien comer
El plato del bien comerAxel Balderas
 
Linguagem e argumentação jurídica 2 - Opinião do Juízes PB
Linguagem e argumentação jurídica 2 -  Opinião do Juízes PB Linguagem e argumentação jurídica 2 -  Opinião do Juízes PB
Linguagem e argumentação jurídica 2 - Opinião do Juízes PB Direito_fspb
 
Iimpact 2016 Prabhat Agarwal
Iimpact 2016 Prabhat AgarwalIimpact 2016 Prabhat Agarwal
Iimpact 2016 Prabhat AgarwalPrashant Kothari
 
Ахарей мот- подготовительная группа
Ахарей мот- подготовительная группаАхарей мот- подготовительная группа
Ахарей мот- подготовительная группаMiriamEidel Zak
 
Gbi diana velasco y glenda escobar
Gbi diana velasco y glenda escobarGbi diana velasco y glenda escobar
Gbi diana velasco y glenda escobardiana velasco
 

Viewers also liked (20)

Aprendizajes autónomo y significativo luis mauricio esquivel torres
Aprendizajes autónomo y significativo luis mauricio esquivel torresAprendizajes autónomo y significativo luis mauricio esquivel torres
Aprendizajes autónomo y significativo luis mauricio esquivel torres
 
ไตรลักษณ์
ไตรลักษณ์ ไตรลักษณ์
ไตรลักษณ์
 
ARVR TECH TALK
ARVR TECH TALKARVR TECH TALK
ARVR TECH TALK
 
The differing perceptions of plastic surgery between potential applicants and...
The differing perceptions of plastic surgery between potential applicants and...The differing perceptions of plastic surgery between potential applicants and...
The differing perceptions of plastic surgery between potential applicants and...
 
Cebolla
CebollaCebolla
Cebolla
 
Factores de produccion
Factores de produccionFactores de produccion
Factores de produccion
 
Coach Report
Coach ReportCoach Report
Coach Report
 
Masterthesis uiteindelijke versie
Masterthesis uiteindelijke versieMasterthesis uiteindelijke versie
Masterthesis uiteindelijke versie
 
Books for Every Child
Books for Every ChildBooks for Every Child
Books for Every Child
 
Sugu Resume Scan
Sugu Resume ScanSugu Resume Scan
Sugu Resume Scan
 
Mantenimiento preventivo para una pc
Mantenimiento preventivo para una pcMantenimiento preventivo para una pc
Mantenimiento preventivo para una pc
 
Spotlight on Innovation
Spotlight on InnovationSpotlight on Innovation
Spotlight on Innovation
 
El plato del bien comer
El plato del bien comerEl plato del bien comer
El plato del bien comer
 
Healthy habits
Healthy habitsHealthy habits
Healthy habits
 
Linguagem e argumentação jurídica 2 - Opinião do Juízes PB
Linguagem e argumentação jurídica 2 -  Opinião do Juízes PB Linguagem e argumentação jurídica 2 -  Opinião do Juízes PB
Linguagem e argumentação jurídica 2 - Opinião do Juízes PB
 
Iimpact 2016 Prabhat Agarwal
Iimpact 2016 Prabhat AgarwalIimpact 2016 Prabhat Agarwal
Iimpact 2016 Prabhat Agarwal
 
Ахарей мот- подготовительная группа
Ахарей мот- подготовительная группаАхарей мот- подготовительная группа
Ахарей мот- подготовительная группа
 
ขันธ์52
ขันธ์52ขันธ์52
ขันธ์52
 
Gbi diana velasco y glenda escobar
Gbi diana velasco y glenda escobarGbi diana velasco y glenda escobar
Gbi diana velasco y glenda escobar
 
DIEP
DIEPDIEP
DIEP
 

Similar to มงคลชีวิต 38 ประการ

บริหารธุรกิจตามวิถีแห่งเต๋าของเหลาจื๊อ โดย ก่อศักดิ์ ธรรมเจริญกิจ
บริหารธุรกิจตามวิถีแห่งเต๋าของเหลาจื๊อ โดย ก่อศักดิ์ ธรรมเจริญกิจบริหารธุรกิจตามวิถีแห่งเต๋าของเหลาจื๊อ โดย ก่อศักดิ์ ธรรมเจริญกิจ
บริหารธุรกิจตามวิถีแห่งเต๋าของเหลาจื๊อ โดย ก่อศักดิ์ ธรรมเจริญกิจNopporn Thepsithar
 
027โอวาท๓
027โอวาท๓027โอวาท๓
027โอวาท๓niralai
 
กลยุทธ์ในการจัดกิจกรรมนักเรียน111แก้ไข
กลยุทธ์ในการจัดกิจกรรมนักเรียน111แก้ไขกลยุทธ์ในการจัดกิจกรรมนักเรียน111แก้ไข
กลยุทธ์ในการจัดกิจกรรมนักเรียน111แก้ไขPornthip Tanamai
 
แผ่นพับวันมาฆบูชา
แผ่นพับวันมาฆบูชาแผ่นพับวันมาฆบูชา
แผ่นพับวันมาฆบูชาthanaetch
 
บทที่ 4 วิสุทธิ
บทที่ 4 วิสุทธิบทที่ 4 วิสุทธิ
บทที่ 4 วิสุทธิOnpa Akaradech
 
ทศพิธราชธรรม
ทศพิธราชธรรมทศพิธราชธรรม
ทศพิธราชธรรมniralai
 
แนวคิดเรื่องกรรมและความจริงสูงสุดของศาสนาเชน
แนวคิดเรื่องกรรมและความจริงสูงสุดของศาสนาเชนแนวคิดเรื่องกรรมและความจริงสูงสุดของศาสนาเชน
แนวคิดเรื่องกรรมและความจริงสูงสุดของศาสนาเชนTongsamut vorasan
 
หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาprimpatcha
 
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๓
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๓บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๓
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๓วัดดอนทอง กาฬสินธุ์
 
Why not the best? draft 2.0-29-9-59
Why not the best? draft 2.0-29-9-59Why not the best? draft 2.0-29-9-59
Why not the best? draft 2.0-29-9-59Pramook Boothsamarn
 
สังคหวัตถุ
สังคหวัตถุสังคหวัตถุ
สังคหวัตถุniralai
 
บทที่ 1 ศึกษาความหมายและความเป็นมาของวิชาเทววิทยาเบื้องต้น
บทที่ 1 ศึกษาความหมายและความเป็นมาของวิชาเทววิทยาเบื้องต้นบทที่ 1 ศึกษาความหมายและความเป็นมาของวิชาเทววิทยาเบื้องต้น
บทที่ 1 ศึกษาความหมายและความเป็นมาของวิชาเทววิทยาเบื้องต้นGawewat Dechaapinun
 
ศาสนาเปรียบเทียบ 1
ศาสนาเปรียบเทียบ 1ศาสนาเปรียบเทียบ 1
ศาสนาเปรียบเทียบ 1thnaporn999
 
วิธีคิดกระบวนระบบ
วิธีคิดกระบวนระบบวิธีคิดกระบวนระบบ
วิธีคิดกระบวนระบบsivapong klongpanich
 

Similar to มงคลชีวิต 38 ประการ (20)

คำนำทำ1
คำนำทำ1คำนำทำ1
คำนำทำ1
 
Lifebalance
LifebalanceLifebalance
Lifebalance
 
Mongkon 38
Mongkon 38Mongkon 38
Mongkon 38
 
บริหารธุรกิจตามวิถีแห่งเต๋าของเหลาจื๊อ โดย ก่อศักดิ์ ธรรมเจริญกิจ
บริหารธุรกิจตามวิถีแห่งเต๋าของเหลาจื๊อ โดย ก่อศักดิ์ ธรรมเจริญกิจบริหารธุรกิจตามวิถีแห่งเต๋าของเหลาจื๊อ โดย ก่อศักดิ์ ธรรมเจริญกิจ
บริหารธุรกิจตามวิถีแห่งเต๋าของเหลาจื๊อ โดย ก่อศักดิ์ ธรรมเจริญกิจ
 
027โอวาท๓
027โอวาท๓027โอวาท๓
027โอวาท๓
 
กลยุทธ์ในการจัดกิจกรรมนักเรียน111แก้ไข
กลยุทธ์ในการจัดกิจกรรมนักเรียน111แก้ไขกลยุทธ์ในการจัดกิจกรรมนักเรียน111แก้ไข
กลยุทธ์ในการจัดกิจกรรมนักเรียน111แก้ไข
 
แผ่นพับวันมาฆบูชา
แผ่นพับวันมาฆบูชาแผ่นพับวันมาฆบูชา
แผ่นพับวันมาฆบูชา
 
บทที่ 4 วิสุทธิ
บทที่ 4 วิสุทธิบทที่ 4 วิสุทธิ
บทที่ 4 วิสุทธิ
 
ทศพิธราชธรรม
ทศพิธราชธรรมทศพิธราชธรรม
ทศพิธราชธรรม
 
แนวคิดเรื่องกรรมและความจริงสูงสุดของศาสนาเชน
แนวคิดเรื่องกรรมและความจริงสูงสุดของศาสนาเชนแนวคิดเรื่องกรรมและความจริงสูงสุดของศาสนาเชน
แนวคิดเรื่องกรรมและความจริงสูงสุดของศาสนาเชน
 
หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
 
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๓
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๓บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๓
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๓
 
10
1010
10
 
คุณธรรม
คุณธรรมคุณธรรม
คุณธรรม
 
Why not the best? draft 2.0-29-9-59
Why not the best? draft 2.0-29-9-59Why not the best? draft 2.0-29-9-59
Why not the best? draft 2.0-29-9-59
 
สังคหวัตถุ
สังคหวัตถุสังคหวัตถุ
สังคหวัตถุ
 
บทที่ 1 ศึกษาความหมายและความเป็นมาของวิชาเทววิทยาเบื้องต้น
บทที่ 1 ศึกษาความหมายและความเป็นมาของวิชาเทววิทยาเบื้องต้นบทที่ 1 ศึกษาความหมายและความเป็นมาของวิชาเทววิทยาเบื้องต้น
บทที่ 1 ศึกษาความหมายและความเป็นมาของวิชาเทววิทยาเบื้องต้น
 
โครงสร้างสังคม
โครงสร้างสังคมโครงสร้างสังคม
โครงสร้างสังคม
 
ศาสนาเปรียบเทียบ 1
ศาสนาเปรียบเทียบ 1ศาสนาเปรียบเทียบ 1
ศาสนาเปรียบเทียบ 1
 
วิธีคิดกระบวนระบบ
วิธีคิดกระบวนระบบวิธีคิดกระบวนระบบ
วิธีคิดกระบวนระบบ
 

More from ศศิพร แซ่เฮ้ง

Isหรือisisคืออะไรจะแก้ไขอย่างไร
Isหรือisisคืออะไรจะแก้ไขอย่างไรIsหรือisisคืออะไรจะแก้ไขอย่างไร
Isหรือisisคืออะไรจะแก้ไขอย่างไรศศิพร แซ่เฮ้ง
 
สาเหตุของสงครามครูเสดคืออะไรจบลงอย่างไร
สาเหตุของสงครามครูเสดคืออะไรจบลงอย่างไรสาเหตุของสงครามครูเสดคืออะไรจบลงอย่างไร
สาเหตุของสงครามครูเสดคืออะไรจบลงอย่างไรศศิพร แซ่เฮ้ง
 
สาเหตุของสงครามโลกครั้งที่1และ2คืออะไรจบลงอย่างไร
สาเหตุของสงครามโลกครั้งที่1และ2คืออะไรจบลงอย่างไรสาเหตุของสงครามโลกครั้งที่1และ2คืออะไรจบลงอย่างไร
สาเหตุของสงครามโลกครั้งที่1และ2คืออะไรจบลงอย่างไรศศิพร แซ่เฮ้ง
 
หลักการสร้างสันติสุขสันติภาพ
หลักการสร้างสันติสุขสันติภาพหลักการสร้างสันติสุขสันติภาพ
หลักการสร้างสันติสุขสันติภาพศศิพร แซ่เฮ้ง
 
เป้าหมายชีวิตตามหลักวิทยาศาสตร์
เป้าหมายชีวิตตามหลักวิทยาศาสตร์เป้าหมายชีวิตตามหลักวิทยาศาสตร์
เป้าหมายชีวิตตามหลักวิทยาศาสตร์ศศิพร แซ่เฮ้ง
 

More from ศศิพร แซ่เฮ้ง (19)

Isหรือisisคืออะไรจะแก้ไขอย่างไร
Isหรือisisคืออะไรจะแก้ไขอย่างไรIsหรือisisคืออะไรจะแก้ไขอย่างไร
Isหรือisisคืออะไรจะแก้ไขอย่างไร
 
สาเหตุของสงครามครูเสดคืออะไรจบลงอย่างไร
สาเหตุของสงครามครูเสดคืออะไรจบลงอย่างไรสาเหตุของสงครามครูเสดคืออะไรจบลงอย่างไร
สาเหตุของสงครามครูเสดคืออะไรจบลงอย่างไร
 
สาเหตุของสงครามโลกครั้งที่1และ2คืออะไรจบลงอย่างไร
สาเหตุของสงครามโลกครั้งที่1และ2คืออะไรจบลงอย่างไรสาเหตุของสงครามโลกครั้งที่1และ2คืออะไรจบลงอย่างไร
สาเหตุของสงครามโลกครั้งที่1และ2คืออะไรจบลงอย่างไร
 
หลักการสร้างสันติสุขสันติภาพ
หลักการสร้างสันติสุขสันติภาพหลักการสร้างสันติสุขสันติภาพ
หลักการสร้างสันติสุขสันติภาพ
 
เป้าหมายชีวิตตามหลักวิทยาศาสตร์
เป้าหมายชีวิตตามหลักวิทยาศาสตร์เป้าหมายชีวิตตามหลักวิทยาศาสตร์
เป้าหมายชีวิตตามหลักวิทยาศาสตร์
 
อริยสัจ4
อริยสัจ4อริยสัจ4
อริยสัจ4
 
อริยสัจ 4
อริยสัจ 4อริยสัจ 4
อริยสัจ 4
 
ไตรสิกขา
ไตรสิกขาไตรสิกขา
ไตรสิกขา
 
กฏแห่งกรรม3
กฏแห่งกรรม3กฏแห่งกรรม3
กฏแห่งกรรม3
 
บิ๊กแบง1
บิ๊กแบง1บิ๊กแบง1
บิ๊กแบง1
 
บิ๊กแบง1
บิ๊กแบง1บิ๊กแบง1
บิ๊กแบง1
 
บิ๊กแบง1
บิ๊กแบง1บิ๊กแบง1
บิ๊กแบง1
 
บิ๊กแบง1
บิ๊กแบง1บิ๊กแบง1
บิ๊กแบง1
 
บิ๊กแบง1
บิ๊กแบง1บิ๊กแบง1
บิ๊กแบง1
 
สรุป.Ppt
สรุป.Pptสรุป.Ppt
สรุป.Ppt
 
สรุป.Ppt
สรุป.Pptสรุป.Ppt
สรุป.Ppt
 
Clip.ppt
Clip.pptClip.ppt
Clip.ppt
 
คลิปกฏแห่งกรรม
คลิปกฏแห่งกรรมคลิปกฏแห่งกรรม
คลิปกฏแห่งกรรม
 
คลิปกฏแห่งกรรม
คลิปกฏแห่งกรรมคลิปกฏแห่งกรรม
คลิปกฏแห่งกรรม
 

มงคลชีวิต 38 ประการ

  • 2. มงคลชีวิต 38 ประการ ข้อที่ 1: ไม่คบคนพาล บาลี: อเสวนา จ พาลานํ(อะเสวะนา จะ พาลานัง) พาล แปลว่า โง่เขลา อับปัญญา รู้เท่าไม่ถึงการณ์ คนพาลคือคนโง่เขลา คนเกเรแม้คนมีปริญญาสูง ๆ แต่ประพฤติทุจริตทางกาย วาจา ใจ เรียกว่า คนพาล การไม่คบคนพาลจึง เป็นมงคล เพราะการคบคนพาลพาไปหาผิดและพาเราไปทําสิ่งไม่ดีไม่ร้ายกับตัวเรา การไม่คบคนพาลจึงทําให้พ้นจากโอกาสที่จะหลงเข้าสู่ความผิด นํามาซึ่งความสรรเสริญ ของคนทั่วไป และประสบความสุขความก้าวหน้าในชีวิต เป็นการตัดกําลังไม่ให้เชื้อคนพาลระบาดไป เพราะขาดคนสนับสนุน ข้อที่ 2: คบบัณฑิต บาลี: ปณฑิตานญฺจ เสวนา (ปัณฑิตานัญจะ เสวะนา) บัณฑิต แปลว่า ผู้มีปัญญา นักปราชญ์ หมายถึง ผู้รู้ทัน และมีเหตุผล ในการกระทํา ในคําที่พูด และเรื่องที่คิด คบบัณฑิตเป็นมงคล เพราะได้ความรู้ ความปลอดภัย ความ สรรเสริญ ความสุข เกียรติยศ ชื่อเสียง และชื่อว่าได้ทําความดีด้วย ทําให้บรรลุมรรคผลนิพพานได้ง่าย ได้ชื่อว่ามี "กัลยาณมิตร" ข้อที่ 3: บูชาบุคคลที่ควรบูชา บาลี: ปูชา จ ปูชนียานํ(ปูชา จะ ปูชะนียานัง) บูชา คือ สักการะ เคารพ นับถือ ยําเกรง กราบไหว้ ทําด้วยความเอื้อเฟื้อ การบูชาเป็นมงคล เพราะทําให้เราลดทิฏฐิมานะลงได้ ป้องกันความเห็นผิด และทําให้เราได้แบบอย่างที่ ดีจากคนที่เราเคารพ เป็นการขจัดคนพาลให้พินาศไปโดยทางอ้อมและเป็นการเชิดชูบัณฑิตให้สูงเด่นยิ่งขึ้น และได้ชื่อว่าเป็นผู้มี "กตัญญูกตเวที" อีกด้วย
  • 3. ข้อที่ 4: อยู่ในถิ่นอันสมควร บาลี: ปฏิรูปเทสวาโส จ (ปะฏิรูปะเทสะวาโส จะ) ปฏิรูป แปลว่า เหมาะสมหรือสมควร เทสะ แปลว่าสถานที่หรือท้องถิ่น ปฏิรูปเทสวาสะ คือการอยู่ในท้องถิ่นอันสมควร คืออยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีมีความพร้อม การอยู่ในประเทศ อันสมควรเป็นมงคล เพราะการอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดีย่อมทําให้เป็นคนดี คนมีความรู้ถ้าอยู่ในถิ่นที่ไม่ต้องใช้วิชาความรู้ ความรู้นั้นก็หมดค่าไป และทําให้คนเรากล้าต่อการเผชิญกับ ปัญหา เพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีได้ได้รับความสุขกาย สุขใจ มีความเจริญก้าวหน้า ทั้งทางโลกและทางธรรม ข้อที่ 5: ทําบุญมาไว้ก่อน บาลี: ปุพฺเพ จ กตปุญฺญตา (ปุพเพ จะ กะตะปุญญะตา) บุญ แปลว่า ความดี ความสุข สิ่งที่ชําระจิตใจ สิ่งที่ฟอกจิต การทําบุญไว้ก่อนเป็นมงคล เพราะการทําบุญเป็นการสร้างความดี ซึ่งมีระยะเวลายาวนานต้องอดทน เหมือนปลูกต้นไม้ ยืนต้นจะต้องคอยผลไม้นั้นเป็นปี ๆ การทําบุญในอดีตส่งผลในปัจจุบัน การทําบุญในปัจจุบันส่งผลในปัจจุบันและอนาคต ผู้ทําความดีจึงต้องคิดว่าเป็นการสร้างฐานแห่งอนาคตไว้ ฉะนั้น ข้อที่ 6: ตั้งตนชอบ บาลี: อตฺตสมฺมาปณิธิ จ (อัตตะสัมมาปะณิธิ จะ) อัตตะ หรือ ตน หมายถึงกายกับใจ การตั้งตนไว้ชอบคือการวางตัวในการดํารงชีพ หรือในชีวิตประจําวันได้อย่างถูกต้องและมั่นคง จึงจะได้ชื่อว่าเป็นคนมีคุณภาพชีวิต การตั้งตนไว้ ชอบเป็นมงคล เพราะเป็นการสร้างความมั่นคง ความปลอดภัยแก่ตนเอง เป็นตัวอย่างที่ดีแก่คนอื่น มีความก้าวหน้า เป็นผู้ป้องกันภัยในอบายภูมิ และได้รับสมบัติ 3 ประการคือ มนุษยสมบัติ ทิพยสมบัติ และนิพพานสมบัติ
  • 4. ข้อที่ 7: เป็นพหูสูต บาลี: พาหุสจฺจญฺจ (พาหุสัจจัญจะ) พหู แปลว่ามาก สูต แปลว่าความเป็นผู้ได้สดับตรับฟัง ดังนั้นพหูสูต จึงหมายถึงความเป็นผู้รู้ ได้สดับตรับฟังมาก หรือความเป็นผู้คงแก่เรียน พหูสูตเป็นมงคล เพราะการฟัง มาก (ในที่นี้รวมถึงผู้ที่รู้จากการอ่านด้วย) ย่อมเพิ่มวุฒิปัญญา เชาวน์ และไหวพริบ นําความรู้ที่ได้ยินได้ฟัง ได้อ่าน ไปปฏิบัติเพื่อช่วยเหลือตนเองหรือคนอื่นได้มาก และเป็น ช่องทางนําความเจริญด้วย ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ความเจริญก้าวหน้ามาสู่ตน ไม่มีใครแย่งชิงได้เป็นสหชาติปัญญา ข้อที่ 8: รอบรู้ในศิลปะ บาลี: สิปฺปญฺจ (สิปปัญจะ) สิปปะ หรือ ศิลปะ หมายถึง วิชาชีพหรือความฉลาดในการใช้มือ ความมีศิลปะเป็นมงคล เพราะคนมีศิลปะจะช่วยตัวเองได้ไม่ว่าจะตกอยู่ในสถานะใด คนมีศิลปะย่อม เจริญก้าวหน้า ได้รับความสุขทั้งในโลกนี้และโลกหน้า และทําให้โลกเจริญทั้งด้านวัตถุและจิตใจ ดังพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 6 ที่ว่า "ศิลปกรรมนําใจให้สร่างโศก ช่วย บรรเทาทุกข์ในโลกให้เหือดหาย" ข้อที่ 9: มีวินัยที่ดี บาลี: วินโย จ สุสิกฺขิโต (วินะโย จะ สุสิกขิโต) วินัย แปลว่า ข้อแนะนํา บทฝึกหัด ได้แก่ กฎเกณฑ์และข้อบังคับต่าง ๆ ที่ใช้ในสังคมนั้น ๆ มีวินัยเป็นมงคล เพราะวินัยเป็นตัวกําหนดให้เกิดความสามัคคี ความมีระเบียบ สร้างความเข้มแข็งในกิจการงานต่างๆ ทําให้สังคมที่ดีดํารงอยู่
  • 5. ข้อที่ 10: มีวาจาอันเป็นสุภาษิต บาลี: สุภาสิตา จ ยา วาจา (สุภาสิตา จะ ยา วาจา) วาจา คือ คําพูด สุภาษิต คือพูดดี คําว่า วาจาสุภาษิตจึงหมายถึงพูดดี วาจาสุภาษิตเป็นมงคล เพราะคนที่พูดวาจาสุภาษิต จะบันดาลให้การงานทั้งปวงสําเร็จลุล่วงไปด้วยดี มีความ เจริญก้าวหน้าทั้งทางโลกและทางธรรม ได้รับความสําเร็จในเรื่องที่เจรจา ข้อที่ 11: ดูแลบํารุงบิดามารดา บาลี: มาตาปิตุอุปฏฺฐานํ(มาตาปิตุอุปัฏฐานัง) มารดา แปลว่า ผู้รักษาบุตร ผู้เลี้ยงดูบุตร บิดา แปลว่า ผู้รักใคร่บุตร ผู้ให้สัตว์โลกยินดี การเลี้ยงดูมารดาเป็นมงคล เพราะเป็นการสืบต่อสังคมโดยอัตโนมัติ การบํารุงเลี้ยงดูมารดาบิดา ทําให้ ได้รับการยกย่องสรรเสริญ มีความเจริญก้าวหน้า เป็นตัวอย่างที่ดีแก่อนุชนรุ่นหลัง ข้อที่ 12: ดูแลสงเคราะห์บุตร บาลี: ปุตฺตสงฺคโห (ปุตตะสังคะโห) แยกมาจาก ปุตฺตทารสฺส สงฺคโห (ปุตตะทารัสสะ สังคะโห) บุตร แบ่งตามคุณธรรม มี 3 ประเภท คือ 1. อภิชาตบุตร บุตรที่ยิ่งใหญ่กว่ามารดาบิดา 2. อนุชาตบุตร บุตรเสมอมารดาบิดา 3. อวชาตบุตร บุตรที่เลวกว่ามารดาบิดา บุตรทั้ง 3 ประเภทนี้มีอยู่ ในทุกสังคม ตระกูลจะมั่นคงได้ บุตรจะต้องเป็นอภิชาตบุตร หรืออนุชาตบุตร ส่วนอวชาตบุตร เกิดมาเพื่อทําลายวงศ์ตระกูลโดยเฉพาะ การเลี้ยงดูบุตรเป็นมงคล เพราะบุตรเป็นส่วนหนึ่ง ของครอบครัว ซึ่งก็คือส่วนหนึ่งของประเทศชาติ ถ้าเลี้ยงดูบุตรให้ดีได้รับการศึกษา ก็เท่ากับสร้างครอบครัวให้ดี ประเทศชาติจะเจริญมั่นคง การไม่ดูแลบุตรปล่อยให้เป็นจิ้งจอกสังคม มาร สังคม เป็นนักเลง เป็นโจร เป็นคนไม่มีวินัย เป็นนักเลงหญิง นักเลงการพนัน เท่ากับว่าทําลายสังคมและประเทศชาติด้วย
  • 6. ข้อที่ 13: ดูแลสงเคราะห์ภรรยา (สามี) บาลี: ทารสงฺคโห (ทาระสังคะโห) แยกมาจาก ปุตฺตทารสฺส สงฺคโห (ปุตตะทารัสสะ สังคะโห) ทาระ แปลว่า เมีย ภรรยา แปลว่า ผู้ที่สามีต้องเลี้ยงดู คือเมีย พระพุทธศาสนา ได้กําหนดหลักการเลี้ยงดู หรือสงเคราะห์ภรรยาไว้ห้าประการ ได้แก่ การยกย่อง ไม่ดูหมิ่น ไม่ นอกใจ มอบความเป็นใหญ่ให้ มอบเครื่องแต่งตัวตลอดถึงพาออกงานด้วย การเลี้ยงดูภรรยาเป็นมงคล เพราะทําให้ชีวิตครอบครัวมั่นคงยั่งยืนเป็นการร่วมกันสร้างฐานะให้มั่นคง การสงเคราะห์ภรรยาเป็นการสร้างความมั่นคงและมั่นใจให้แก่ภรรยา ครอบครัวมีความสงบสุข ได้รับการยกย่องสรรเสริญ และเป็นตัวอย่างที่ดีแก่อนุชนรุ่นหลัง ข้อที่ 14: ทําการงานไม่ให้คั่งค้าง บาลี: อนากุลา จ กมฺมนฺตา (อะนากุลา จะ กัมมันตา) กรรม หรือการงาน แบ่งออกเป็นสองอย่าง คือ งานทางโลกและงานทางธรรมงานทางโลก ได้แก่ ทํานา ทําสวน ทําไร่ ค้าขาย บริการ รับราชการ เป็นต้น ส่วนงานทางธรรม ได้แก่ งานสร้างสันติสุขให้แก่โลก ลดละกิเลส ความเห็นแก่ตัว ความริษยา เป็นต้น ให้น้อยลง งานไม่คั่งค้างเป็นมงคล เพราะถ้าหากงานคั่งค้างแล้วย่อมไม่มีประโยชน์ไม่เห็นผล งานไม่ คั่งค้างจะทําให้ฐานะของตนครอบครัว และประเทศชาติเจริญขึ้นเพราะฉะนั้นงานที่ทําเสร็จเห็นผลงานจึงเป็นมงคล ข้อที่ 15: ให้ทาน บาลี: ทานญฺจ (ทานัญจะ) ทาน แปลว่า ให้ และเป็นการให้ด้วยเจตนาอยากให้ ทานมี 2 อย่างคือ อามิสทาน ให้วัตถุสิ่งของ เช่น ปัจจัย 4 ดอกไม้ ธูป เทียน เป็นต้น และธรรมทาน ให้สิ่งที่ไม่ใช่วัตถุ เช่น ให้ คําแนะนําสั่งสอน ให้อภัย เป็นต้น การให้ทานเป็นมงคล เพราะเป็นการฝึกใจให้เป็นนักเสียสละ เป็นการลดความเห็นแก่ตัว ถ้าต่างคนต่างมุ่งหวังให้ทาน ความเห็นแก่ตัวจะลดลง การทุจริตจะลดลง ทําให้มีชื่อเสียงในสังคม แม้ตายแล้วย่อมไปเกิดในสวรรค์
  • 7. ข้อที่ 16: ปฏิบัติธรรม บาลี: ธมฺมจริยา จ (ธัมมะจะริยา จะ) ธรรม คือ คําสอนของพระพุทธเจ้าและสาวก จริยา แปลว่าประพฤติ ธรรมจริยา จึงหมายถึง การประพฤติปฏิบัติตามคําสอนของพระพุทธเจ้าและของพระสาวก การประพฤติธรรมเป็น มงคล เพราะเป็นการยกระดับจิตใจให้สูงขึ้น ผู้ประพฤติธรรมมีแต่ความสุข (ธมฺมจารี สุขํ เสติ) ผู้ประพฤติธรรมได้ชื่อว่าสอนคนอื่นด้วยการประพฤติตลอดเวลา สร้างความ เจริญก้าวหน้าแก่ตนเองและส่วนรวมเป็นผู้สร้างทางสวรรค์เอาไว้ ข้อที่ 17: ช่วยเหลือสงเคราะห์ญาติ/พี่น้อง บาลี: ญาตกานญฺจ สงฺคโห (ญาตะกา นัญจะ สังคะโห) การสงเคราะห์ญาติคือ เมื่อยามญาติ อัตคัด เกินขัดข้องควรหาช่อง สงเคราะห์ ไม่เลาะหนี เขาซาบซึ้ง ถึงคุณ อบอุ่นดี หากถึงที เราจน ญาติสนใจ ข้อที่ 18: ทํางานที่ไม่มีโทษ บาลี: อนวชฺชานิ กมฺมานิ (อะนะวัชชานิ กัมมานิ) ทํางานที่ไม่มีโทษ คือ งานรับจ้าง ล้างชาม ก็ตามเถิดหากไม่เกิด โทษทัณฑ์ นั่นสดใสเมื่อได้ช่อง ต้องจํา กระทําไปได้กําไร ทุกทาง ไม่ ว่างงาน งานที่ไม่มีโทษ ประกอบด้วยลักษณะดังต่อไปนี้ 1.ไม่ผิดกฎหมาย คือทําให้ถูกต้องตามกฎหมายของบ้านเมือง 2.ไม่ผิดประเพณี คือแบบแผนที่ปฏิบัติกันมาแต่เดิม ควรดําเนินตาม 3.ไม่ผิดศีล คือข้อห้ามที่บัญญัติไว้ในศีล 5 4.ไม่ผิดธรรม คือหลักธรรมทั้งหลายอาทิเช่น การพนัน การหลอกลวง
  • 8. ข้อที่ 19: ละเว้นการทําบาป บาลี: อารตี วิรตี ปาปา (อาระตี วิระตี ปาปา) บาปคือสิ่งที่ไม่ดี เสีย ความชั่วที่ติดตัว ซึ่งไม่ควรทํา ท่านว่าสิ่งที่ทําแล้วถือว่าเป็นบาปได้แก่ อกุศลกรรมบถ 10 คือ 1.ฆ่าสัตว์ 2.ลักทรัพย์ 3.ประพฤติผิดในกาม 4.พูดเท็จ 5.พูดส่อเสียด 6.พูดคําหยาบ 7.พูดเพ้อเจ้อ 8.โลภอยากได้ของเขา 9.คิดพยาบาทปองร้ายคนอื่น 10.เห็นผิดเป็นชอบ ข้อที่ 20: สํารวมจากการดื่มนํ้าเมา บาลี: มชฺชปานา จ สญฺญโม (มัชชะปานา จะ สัญญะโม) ว่าด้วยเรื่องของนํ้าเมานั้น อาจทํามาจากแป้ง ข้าวสุก การปรุงโดยผสมเชื้อ หรืออะไรก็แล้วแต่ที่ดื่มแล้วทําให้มึนเมา เช่น เบียร์ ไวน์ ไม่ใช่แค่เหล้าเท่านั้นล้วนมีโทษอันได้แก่ 1.ทําให้เสียทรัพย์เพราะต้องนําเงินไปซื้อหา ทั้ง ๆ ที่เงินจํานวนเดียวกันนี้ สามารถนําเอาไปใช้ในสิ่งที่เป็นประโยชน์อย่างอื่นได้มากกว่า 2.ทําให้เกิดการทะเลาะวิวาท ซึ่งนําไปสู่ความวุ่นวายเจ็บตัว หรือถึงแก่ชีวิต และคดีความ เพราะนํ้าเมาทําให้ขาดการยับยั้งชั่งใจ 3.ทําให้เกิดโรค โรคที่เกิดเนื่องมาจากการดื่มสุราล้วนแล้วแต่บั่นทอนสุขภาพกายจนถึงตายได้เช่น โรคตับแข็ง โรคหัวใจ โรคความดัน 4.ทําให้เสียชื่อเสียง เมื่อคนเมาไปทําเรื่องไม่ดีเข้าเช่นไปลวนลามสตรี ปล่อยตัวปล่อยใจ ก็ทําให้วงศ์ตระกูล และหน้าที่การงานเสี่อมเสีย
  • 9. ข้อที่ 21: ไม่ดํารงตนอยู่ในความประมาท บาลี: อปฺปมาโท จ ธมฺเมสุ (อัปปะมาโท จะ ธัมเมสุ) ไม่ประมาท คือมี สติพร้อม คอยหน่วงน้อม ธรรมคุณ ไม่ผลุนผลัน ธรรมอันใด ไม่ดี หลีกหนีพลัน ธรรมดีนั้น ยึดแน่น ไม่แคลนคลอน ธรรมในที่นี้ก็คือ หลักปฏิบัติที่ทําแล้วมีผลในทางดี และเป็นจริงที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงโปรดแนะทางไว้คนที่ประมาทในธรรมนั้นมีลักษณะที่สรุปได้ดังนี้คือ 1.ไม่ทําเหตุดี แต่จะเอาผลดี 2.ทําตัวเลว แต่จะเอาผลดี 3.ทําย่อหย่อน แต่จะเอาผลมาก ข้อที่ 22: มีความเคารพในบุคคลที่ควรเคารพ บาลี: คารโว จ (คาระโว จะ) ความเคารพ นับถือ คือเสน่ห์ ไม่โลเล เหมือนลิง วิ่งหลอกหลอน ทั้งต่อหน้า ลับหลัง พึงสังวร ย่อมงามงอน สวยสง่า ราคาแพง ท่านได้กล่าวว่าสิ่งที่ควรเคารพมี อยู่ดังนี้ 1.พระพุทธเจ้า 2.พระธรรม 3.พระสงฆ์ 4.การศึกษา 5.ความไม่ประมาท คือการดําเนินตามหลักธรรมคําสอนพระพุทธศาสนาอื่น ๆ ด้วยความเคารพ 6. การสนทนาปราศรัย คือการต้อนรับอาคันตุกะผู้มาเยือนด้วยความเคารพ ข้อที่ 23: มีความถ่อมตน บาลี: นิวาโต จ (นิวาโต จะ) ไม่พองลม ก้มหัว เจียมตัวด้วย มรรยาทสวย นิ่มนวล สิ้นส่วแข็ง เหมือนงูพิษ ถอดเขี้ยว หมดเรี่ยวแรง ยามแถลง นอบน้อม พร้อมใจกาย ความอ่อนน้อมถ่อมตน คือ การไม่แสดงออกถึงความสามารถที่ตัวเองมีอยู่ให้ผู้อื่นทราบเพื่อข่มผู้อื่น หรือเพื่อโอ้อวด การไม่อวดดี เย่อหยิ่งจองหอง แต่แสดงตนอย่างสงบเสงี่ยม ท่านว่าไว้ว่าโทษของการอวดดีนั้นมี อยู่ดังนี้คือ1. 1.ทําให้เสียคน คือไม่สามารถกลับมาอยู่ในร่องในรอยได้เหมือนเดิม เสียอนาคต 2.ทําให้เสียมิตร คือไม่มีใครคบหาเป็นเพื่อนด้วย ถึงจะมีก็ไม่ใช่เพื่อนแท้
  • 10. ข้อที่ 24: มีความสันโดษ บาลี: สนฺตุฏฺฐี จ (สันตุฏฺะฐี จะ) ความสันโดษ พอใจ ในสิ่งของ เช่นเงินทอง ของตน แม้ล้นหลาย เมื่อมีน้อย จ่ายน้อย ค่อยสบาย ความจนหาย เลยลับ กลับมั่งมี คําว่าสันโดษไม่ได้หมายถึงการ อยู่ลําพังคนเดียวอย่างเดียวก็หาไม่ แต่หมายถึงการพอใจในสิ่งที่ตนมีอยู่ในของของตัว ซึ่งท่านได้ให้นิยามที่เป็นลักษณะของความสันโดษเป็นดังนี้ คือ 1.ยถาลาภสันโดษ หมายถึงความยินดีตามมีตามเกิด คือมีแค่ไหนก็พอใจเท่านั้น เป็นอยู่อย่างไรก็ควรจะพอใจ ไม่คิดน้อยเนื้อตํ่าใจในสิ่งที่ตัวเองเป็นอยู่ 2.ยถาพลสันโดษ หมายถึงความยินดีตามกําลัง เรามีกําลังแค่ไหนก็พอใจเท่านั้น ตั้งแต่กําลังกาย กําลังทรัพย์กําลังบารมี หรือกําลังความสามารถเป็นต้น ข้อที่ 25: มีความกตัญญู บาลี: กตญฺญุตา (กะตัญญุตา) คือ การรู้คุณ และตอบแทนท่านผู้นั้น บุญคุณที่ว่านี้มิใช่ว่าตอบแทนกันแล้วก็หายกัน แต่หมายถึงการรําลึกถึงพระคุณที่เคยให้ความอุปการะแก่เราด้วยความเคารพ ยิ่ง ท่านว่าสิ่งของหรือผู้ที่ควรกตัญญูนั้นมีดังนี้ 1.กตัญญูต่อบุคคล บุคคลที่ควรกตัญญูก็คือ ใครก็ตามที่มีบุญคุณควรระลึกถึงและตอบแทนพระคุณ เช่น บิดา มารดา อาจารย์เป็นต้น 2.กตัญญูต่อสัตว์ได้แก่สัตว์ที่มีคุณต่อเราช่วยทํางานให้เรา เราก็ควรเลี้ยงดูให้ดีเช่นช้าง ม้า วัว ควาย หรือสุนัขที่ช่วยเฝ้าบ้าน เป็นต้น ข้อที่ 26: ฟังธรรมตามกาล บาลี: กาเลน ธมฺมสฺสวนํ(กาเลนะ ธัมมัสสะวะนัง) เมื่อมีโอกาส เวลา หรือตามวันสําคัญต่าง ๆ ก็ควรต้องไปฟังธรรมบ้าง เพื่อสดับตรับฟัง สิ่งที่เป็นประโยชน์ในหลักธรรมนั้น ๆ และนํามาใช้ กับชีวิตเรา เพื่อปรับปรุงให้ดีขึ้น ท่านว่าเวลาที่ควรไปฟังธรรมนั้นมีดังนี้คือ 1.วันธรรมสวนะ ก็คือวันพระ หรือวันที่สําคัญทางศาสนา 2.เมื่อมีผู้มาแสดงธรรมก็อย่างเช่น การฟังธรรมตามวิทยุ การที่มีพระมาแสดงธรรมตามสถานที่ต่าง ๆ หรือการอ่านจากสื่อต่าง ๆ 3.เมื่อมีโอกาสอันสมควร อาทิเช่นในวันอาทิตย์เมื่อมีเวลาว่าง หรือในงานมงคล งานบวช งานกฐิน งานวัดเป็นต้น
  • 11. ข้อที่ 27: มีความอดทน บาลี: ขนฺตี จ (ขันตี จะ) ท่านว่าลักษณะของความอดทนนั้นสามารถจําแนกออกได้เป็นดังต่อไปนี้คือ 1.ความอดทนต่อความลําบาก คือความลําบากที่ต้องประสพตามธรรมชาติ ซึ่งอาจมาจากสภาพแวดล้อมเป็นต้น 2.ความอดทนต่อทุกขเวทนา คือทุกข์ที่เกิดจากสังขารของเราเอง เช่นความไม่สบายกายเป็นต้น 3.ความอดทนต่อความเจ็บใจ คือการที่คนอื่นทําให้เราต้องผิดหวัง หรือพูดจาให้เจ็บชํ้าใจ ไม่เป็นอย่างที่หวังเป็นต้น 4.ความอดทนต่ออํานาจกิเลส คือสิ่งยั่วยวนทั้งหลายถือเป็นกิเลสทั้งทางใจและทางกายอาทิเช่น ความนึกโลภอยากได้ของเขา หรือการพ่ายแพ้ต่ออํานาจเงินเป็นต้น ข้อที่ 28: เป็นผู้ว่าง่าย บาลี: โสวจสฺสตา (โสวะจัสสะตา) ควรเป็นคน สอนง่าย ไม่ตายด้าน ก่อรําคาญ คํ่าเช้า ไม่เข้าไหน ไม่ซัดโทษ ของตน ให้คนใด เมื่อมีใคร สอนพรํ่า ให้นํามา ท่านว่าผู้ว่าง่าย นั้นมีลักษณะที่สังเกตได้ดังนี้คือ 1.ไม่พูดกลบเกลื่อนเมื่อได้รับการว่ากล่าวตักเตือน คือการรับฟังด้วยดี ไม่ใช่แก้ตัวแล้วปิดประตูความคิดไม่รับฟัง 2.ไม่นิ่งเฉยเมื่อได้รับการเตือน คือการนําคําตักเตือนนั้นมาพิจารณาและแก้ไขข้อบกพร่องนั้น ๆ 3.ไม่จับผิดผู้ว่ากล่าวสั่งสอน คือการที่ผู้สอนอาจจะมีความผิดพลาด เนื่องจากความประมาท เราควรให้อภัยต่อผู้สอน เพราะการจับผิดทําให้ผู้สอนต้องอับอายขายหน้าได้ซึ่ง เป็นสิ่งที่ไม่ดีงาม
  • 12. ข้อที่ 29: ได้เห็นสมณะ บาลี: สมณานญฺจ ทสฺสนํ(สะมะณานัญจะ ทัสสะนัง) คําว่าสมณะแปลตรงตัวได้ว่า ผู้สงบ (หมายถึงผู้อยู่ในสมณเพศ) ท่านว่าคุณสมบัติของสมณะต้องประกอบไปด้วย 3 อย่างคือ 1.ต้องสงบกาย คือมีความสํารวมในการกระทําทุกอย่าง รวมถึงกิริยา มรรยาท ตามหลักศีลธรรม 2.ต้องสงบวาจา คือการพูดจาให้อยู่ในกรอบของความพอดี มีความสุภาพสงบเสงี่ยมในคําพูดและภาษาที่ใช้เป็นไปตามข้อปฏิบัติ ประเพณี 3.ต้องสงบใจ คือการทําใจให้สงบปราศจากกิเลสครอบงํา ไม่ว่าจะเป็น โลภ โกรธ หลง หรือความพยาบาทใด ๆ ตั้งมั่นอยู่ในสมาธิภาวนา ข้อที่ 30: สนทนาธรรมตามกาล บาลี: กาเลน ธมฺมสากจฺฉา (กาเลนะ ธัมมะสากัจฉา) การได้สนทนากันเรื่องธรรม ทําให้ขยายขอบเขตการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนความรู้ และได้รู้ในสิ่งใหม่ ๆ ที่เราอาจนึกไม่ถึง หรือเป็น การเผื่อแผ่ความรู้ที่เรามีให้แก่ผู้อื่นได้ทราบด้วย ก่อนที่เราจะสนทนาธรรม ควรต้องพิจารณาและคํานึงถึงสิ่งต่อไปนี้คือ 1.ต้องรู้เรื่องที่จะพูดดี 2.ต้องพูดเรื่องจริง มีประโยชน์ 3.ต้องเป็นคําพูดที่ไพเราะ 4.ต้องพูดด้วยความเมตตา 5.ต้องไม่พูดจาโอ้อวด หรือยกตนข่มท่าน
  • 13. ข้อที่ 31: บําเพ็ญตบะ บาลี: ตโป จ (ตะโป จะ) ตบะ โดยความหมายแปลว่า ทําให้ร้อน ไม่ว่าด้วยวิธีใด การบําเพ็ญตบะหมายความถึงการทําให้กิเลส ความรุ่มร้อนต่าง ๆ หมดไป หรือเบาบางลง ลักษณะการ บําเพ็ญตบะมีดังนี้ 1.การมีใจสํารวมในอินทรีย์ทั้ง 6 (อายตนะภายใน 6 อย่าง) ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ไม่ให้หลง ติดอยู่กับสัมผัสภายนอกมากเกินไป ไม่ให้กิเลสครอบงําใจเวลาที่รับรู้อารมณ์ผ่าน อินทรีย์ทั้ง 6 (อินทรีย์สังวร) 2.การประพฤติรักษาพรหมจรรย์เว้นจากการร่วมประเวณี หรือกามกิจทั้งปวง ข้อที่ 32: ประพฤติพรหมจรรย์ บาลี: พฺรหฺมจริยญฺจ (พรัหมะจะริยัญจะ) คําว่าพรหมจรรย์หมายความถึง การบวชซึ่งละเว้นเมถุน การครองชีวิตที่ปราศจากเมถุน การประพฤติธรรมอันประเสริฐ ท่านว่าลักษณะของธรรม ที่ถือว่าเป็นการประพฤติพรหมจรรย์นั้น (ไม่ใช่ว่าต้องบวชเป็นพระ) มีอยู่ดังนี้คือ 1.ให้ทาน บริจาคทานไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สิ่งของ เงินทอง หรือปัญญา 2.ช่วยเหลือผู้อื่นในกิจการงานที่ชอบ ที่ถูกที่ควร (เวยยาวัจจมัย) 3.รักษาศีล 5 คือไม่ฆ่าสัตว์ไม่ลักขโมย ไม่ทําผิดในกาม ไม่พูดปด ไม่ดื่มนํ้าเมา (เบญจศีล)
  • 14. ข้อที่ 33: เห็นอริยสัจ บาลี: อริยสจฺจานทสฺสน (อะริยะสัจจานะทัสสะนะ) อริยสัจ หมายถึงความจริงอันประเสริฐ หลักแห่งอริยสัจมีอยู่4 ประการตามที่ท่านได้สั่งสอนไว้มีดังนี้ 1.ทุกข์คือความไม่สบายกายไม่สบายใจ ความเป็นจริงของสัตว์โลกทุกผู้ทุกนามต้องมีทุกข์ 2.สมุทัย คือเหตุที่ทําให้เกิดทุกข์ นอกจากเหตุแห่งทุกข์ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น 3.นิโรธ คือความดับทุกข์ ภาวะที่ตัณหาดับสิ้นไป ความหลุดพ้น หรือหมายถึงภาวะของพระนิพพานนั่นเอง 4.มรรค คือข้อปฏิบัติ หรือหนทางที่นําไปสู่การดับทุกข์ การเดินทางสายกลางเพื่อไปให้ถึงการดับทุกข์ ข้อที่ 34: ทําให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน บาลี: นิพฺพานสจฺฉิกิริยา จ (นิพพานะสัจฉิกิริยา จะ) ทําให้แจ้ง นิพพาน ผลาญสังโยชน์ ตรวจตราโทษ ธาตุ ขันธ์ หมั่นฝึกถอน เอาอรหัต มรรคญาณ เผาราญรอน ดับทุกข์ร้อน นิพพาน สําราญนัก ท่านพระพุทธโฆษาจารย์ผู้รจนาคัมภีร์วิสุทธิมรรค ท่านเป็นพระอรหันต์ขั้นปฏิสัมภิทาญาณ ท่านอธิบายถึงการระลึกถึงคุณพระนิพพาน โดยท่านยกบาลี 8 ข้อ ไว้เป็นแนวเครื่องระลึก ดังจะนํามา เขียนไว้เพื่อเป็นเครื่องอุปกรณ์ในการระลึก ข้อที่ 35: มีจิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม บาลี: ผุฏฺฐสฺส โลกธมฺเมหิ จิตฺตํ ยสฺส น กมฺปต (ผุฏฺฐัสสะ โลกะธัมเมหิ จิตตัง ยัสสะ นะ กัมปะตะ) คําว่าโลกธรรม มีความหมายถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้นอยู่เป็นประจําบนโลกนี้ ซึ่งเราไม่ควรมีจิด หวั่นไหวต่อสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ ท่านว่าลักษณะของโลกธรรมมี 4 ประการคือ 1.การได้ลาภ เมื่อมีลาภผลก็ย่อมมีความเสื่อมเป็นธรรมดา 2.การได้ยศ ยศฐาบรรดาศักดิ์ล้วนเป็นสิ่งสมมุติขึ้นมาทั้งนั้น 3.การได้รับการสรรเสริญ ที่ใดมีคนนิยมชมชอบ ที่นั่นก็ย่อมต้องมีคนเกลียดชังเป็นเรื่องธรรมดา 4.การได้รับความสุข ที่ใดมีสุขที่นั่นก็จะมีทุกข์ด้วย
  • 15. ข้อที่ 36: มีจิตไม่เศร้าโศก บาลี: อโสกํ(อะโสกัง) คราวพลัดพราก จากญาติ ขาดชีวิต ถูกพิชิต จองจํา ทําโทษใหญ่ มีสติ คุมจิต เป็นนิตย์ไป ไม่เสียใจ โศกเศร้า เฝ้าประคอง ท่านว่ามีเหตุอยู่5 ประการที่ทําให้ จิตเราต้องโศกเศร้าคือ 1.ความโศกเศร้าที่เกิดเนื่องมาจากความรัก 2.ความโศกเศร้าที่เกิดจากความใคร่ 3.ใช้ปัญญาพิจารณาอยู่เนือง ๆ ถึงความไม่เที่ยงในสิ่งของทั้งหลาย และร่างกายของเรา 4.ไม่ยึดมั่นในตัวตน หรือความจีรังยั่งยืน ในคนหรือสิ่งของว่าเป็นของเรา 5.ทุกอย่างในโลกล้วนเปลี่ยนแปลงอยู่ทุกขณะ แม้ร่างกายเราก็ใช้เป็นที่อาศัยชั่วคราวเท่านั้น ข้อที่ 37: มีจิตปราศจากกิเลส บาลี: วิรชํ(วิระชัง) ธุลี คือ กิเลส(สภาพที่ทําให้จิตเศร้าหมอง ย่อมไม่ติดอยู่ในจิตที่ฝึกดีแล้ว เหมือนหยาดนํ้าไม่ติดอยู่บนใบบัว) จิตทีฝึกฝนดีแล้วย่อมหลุดพ้นไม่พัวพันอยู่กับกิเลสทั้งปวง เป็นจิตที่ปลอดโปร่งเป็นอิสรเสรีและมีศักยภาพสูงสุด เป็นจิตที่นําเอาความสงบร่มเย็นที่ยั่งยืนมาสู่โลก
  • 16. ข้อที่ 38: มีจิตเกษม บาลี: เขมํ (เขมัง) เกษม หมายถึงมีความสุข สบาย หรือสภาพที่มีจิตใจที่เป็นสุข มีจิดเกษมก็คือว่ามีจิตที่เป็นสุขในที่นี้หมายถึงการละแล้วซึ่งกิเลส ที่ท่านว่าไว้ว่าเป็น เครื่องผูกอยู่ 4 ประการคือ 1.การละกามโยคะ คือการละความยินดีในวัตถุ 2.การละภวโยคะ คือการละความยินดีในภพ 3.การละทิฏฐิโยคะ คือการละความยินดีในความเห็นผิดเป็นชอบ 4.การละอวิชชาโยคะ คือการละความยินดีในอวิชชาทั้งหลาย ความไม่รู้ทั้งหลาย
  • 18. คําถามทบทวนมงคลชีวิต 38 ประการ 1.ความสุขความเจริญสามารถเกิดขึ้นได้กับผู้ที่ ได้ปฏิบัติธรรมตามหัวข้อใด ตอบ มงคลชีวิต 38 ประการ 2.การละเว้นจากความชั่ว ตามมงคลชีวิต 38 หมายถึง ตอบ การปฏิบัติตนตามกุศลกรรมบถ 10 3.การเป็นผู้รู้ ผู้ฟังมา ตรงกับ มงคงชีวิต ข้อใด ตอบ เป็นพหูสูตร 4. การพูดดี วาจาสุภาษิต ตรงกับข้อใด ตอบ มีวาจาอันเป็นสุภาษิต 5. อริญสัจ 4 มี 4 ประการย่อคือ ตอบ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค 6.การละล้างซึ่งกิเลส มี 4 ประการ ตอบ การละกามโยคะ , การละภวโยคะ , การละทิฎฐิโยคะ , การละอวิชชาโยคะ 7.สมณะ คือ อะไร ตอบ ผู้สงบ ประกอบด้วย 3 อย่าง สงบกาย,สงบวาจา, สงบใจ 8.อกุศลกรรมบถ 10 ความหมายคือ ตอบ การละเว้นการทําบาป 9. การทําความดี ทําให้บรรลุมรรค ผลนิพพานได้ เรียกชื่อว่าอะไร ตอบ กัลยาณมิตร 10. ความไม่ประมาท ในมงคลชีวิต 38 คือข้อใด ตอบ การมีสติ พร้อมคอยหน่วงน้อม ธรรมคุณ ไม่ผลุนผลัน