SlideShare a Scribd company logo
1 of 7
Download to read offline
บทความ

              บทบาทการอุดมศึกษาในมิติศิลปวัฒนธรรม




                               เสนอ
                       ดร.สุวพร ตั้งสมวรพงษ์



                                  โดย

                       นายพิเชษฐ พิมพ์เจริญ
                  รหัสประจําตัวนิสิต 55199150051




                        บทความนี้เป็นส่วนหนึงของวิชา
                                             ่
EDA736 SEMINAR IN STUDENT AFFAIRS ADMINISTRATION AND MANAGEMENT
  หลักสูตรปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและการจัดการการศึกษา
                 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
                   ประจําภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2555
บทบาทการอุดมศึกษาในมิติศิลปวัฒนธรรม
                                                                                     พิเชษฐ พิมพ์เจริญ

          “….ชาติไทยเรานั้นได้มีเอกราช มีภาษา ศิลปะ และขนบธรรมเนียมประเพณีเป็นของตนเอง
มาช้านานหลายศตวรรษแล้ว ทั้งนี้เพราะบรรพบุรุษของเราได้เสียสละอุทิศชีวิต กําลังทั้งกายและใจ
สะสมสิ่งเหล่านี้ไว้ให้เพื่อพวกเรา จึงจําเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องรักษาสิ่งเหล่านี้ไว้ให้คงทนถาวร เป็น
มรดกของอนุชนรุ่นหลังต่อไป ข้าพเจ้าเห็นว่าโบราณวัตถุและศิลปวัตถุทั้งหลายนั้นเป็นสิ่งสําคัญยิ่งที่
ชี้ให้เห็นอดีตอันรุ่งโรจน์ของชาติไทยเรา เป็นประโยชน์แก่การศึกษาทั้งในทางประวัติศาสตร์ ศิลปะ
โบราณคดี และวัฒนธรรม จึงควรที่ทุกฝ่ายจะได้ช่วยกันทะนุถนอมบํารุงรักษาอย่าให้สญสลายไป...”   ู
ความตอนหนึ่งในพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ในพิธีเปิด
พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ รามคําแหง จังหวัดสุโขทัย เมื่อวันที่ ๒๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๗

         จะเห็นได้ว่าการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมของชาติให้ดํารงสืบทอดถึงชนรุ่นต่อ ๆ ไป สถาบัน
พระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นสถาบันสูงสุดที่อยู่คู่แผ่นดินไทยมาตั้งแต่สร้างชาติ ให้ความสําคัญเป็นอย่างยิ่ง
ทางด้านรัฐบาลซึ่งมีอํานาจในการปกครองประเทศเห็นว่า วัฒนธรรมนั้นเป็นเอกลักษณ์ของความเป็น
ชาติ เป็นรากฐานของการสร้างสรรค์ความสามัคคี และความมั่นคงของประเทศชาติประเทศไทยมี
วัฒนธรรมที่เจริญรุ่งเรือง ปรากฏเป็นเอกลักษณ์อันโดดเด่นของชาติ ประกอบด้วย ภาษา วรรณกรรม
ศิลปกรรม นาฏศิลป์ ดนตรี โบราณสถาน โบราณวัตถุ ตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณีที่เป็นแบบ
แผน และวิถีชวิตอันดีงามที่สืบทอดมาถึงปัจจุบัน
              ี

         นอกจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงให้ความสําคัญกับวัฒนธรรมของชาติไทยแล้ว
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงสนพระทัยด้านศิลปวัฒนธรรมมาตั้งแต่ยังทรง
พระเยาว์ โดยเฉพาะทางด้านดนตรีไทย พระองค์ทรงสนับสนุนในการอนุรักษ์ สืบทอด เผยแพร่ความรู้
ด้านดนตรีไทยอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด โดยทรงเป็นแบบอย่างในการเสด็จทรงเครื่องดนตรีไทย
ร่วมกับประชาชนทั้งในและต่างประเทศ นอกจากนี้ ยังทรงอนุรักษ์ดนตรีไทยโดยการชําระโน้ตเพลง
บันทึกเพลงเก่า และเผยแพร่งานเหล่านั้นอย่างต่อเนื่อง และส่งเสริมให้สถาบัน การศึกษาต่าง ๆ
จัดการเผยแพร่งานทางด้านดนตรีไทย ซึ่งจากงานทางด้านการอนุรักษ์ดนตรีไทย ครูเสรี หวังในธรรม
ได้กล่าวไว้ว่า “ดนตรีไทยไม่สิ้นแล้ว เพราะพระทูลกระหม่อมแก้วเอาใจใส่”

      นอกจากด้านดนตรีไทยแล้ว พระองค์ยังประกอบพระราชกรณียกิจมากมายเพื่อการอนุรกษ์ ั
และพัฒนาศิลปวัฒนธรรมไทย ทั้งในด้าน การช่างไทย นาฏศิลป์ไทย งานพิพธภัณฑ์ ประวัติศาสตร์
                                                                ิ
และโบราณสถาน ภาษาและวรรณกรรมไทย พระองค์ได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายพระสมัญญาว่า
“เอกอัครราชูปถัมภกมรดกวัฒนธรรมไทย” เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๑ และ “วิศิษฏศิลปิน” เมื่อวันที่
๒๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๖ เพื่อเทิดพระเกียรติที่พระองค์ทรงพระปรีชาสามารถในศิลปะหลายสาขา
รวมทั้ง ทรงมีคณูปการต่อเหล่าศิลปินและศิลปวัฒนธรรมของชาติ นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรีซึ่งมี
              ุ
ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ดํารงตําแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้มีมติให้วันที่ ๒
เมษายน ซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระองค์เป็น “วันอนุรักษ์มรดกของชาติ” เพื่อเป็นการ
เทิดพระเกียรติที่พระองค์ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจในด้านการอนุรักษ์มรดกของชาติในสาขาต่าง ๆ
เป็นจํานวนมาก1

        จากที่กล่าวมาในข้างต้นจะเห็นได้ว่าพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระเทพฯ ทรงให้ความสําคัญ
แก่วัฒนธรรมของชาติเป็นอย่างยิ่ง เพื่อเป็นการสนองต่อพระราชประสงค์ที่จะอนุรกษ์และให้
                                                                          ั
ความสําคัญกับวัฒนธรรมซึ่งเป็นสิ่งที่แสดงความเป็นเอกลักษณ์และความเป็นชาติไทย รัฐบาลจึงได้มี
การดําเนินงานด้านวัฒนธรรมของชาติเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๑ มีการตั้งกองวัฒนธรรม สังกัดกรมศิลปากร
กระทรวงธรรมการตามพระราชกฤษฎีกา จัดวางระเบียบราชการสํานักงาน และกรมในกระทรวง
ธรรมการ (ฉบับที่ ๓) พุทธศักราช ๒๔๘๑ ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๘๓ มีพระราชบัญญัติบํารุงวัฒนธรรม
แห่งชาติ กําหนดความหมายของวัฒนธรรมว่า หมายถึง ลักษณะที่แสดงความเจริญงอกงาม ความ
เป็นระเบียบอันดีงาม ความกลมเกลียวก้าวหน้าของชาติ และศีลธรรมอันดีของประชาชน จากนัน        ้
มีการออกพระราชบัญญัติบํารุงวัฒนธรรมแห่งชาติอีกหลายฉบับ รวมทั้งมีการจัดตั้งสภาวัฒนธรรม
แห่งชาติ จนกระทั่งวันที่ ๑๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๕ จึงมีการสถาปนากระทรวงวัฒนธรรมขึ้น โดยมี
จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นดํารงตําแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
และเมื่อมีการปรับเปลี่ยนรัฐบาลในเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๐๐ หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ได้รับโปรด
เกล้าฯ ให้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ถึง พ.ศ. ๒๕๐๑ เกิดภาวะผันแปรทางการเมือง
กระทรวงวัฒนธรรมถูกยุบ โดยลดฐานะเป็นกองวัฒนธรรม สังกัดสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
และกรมการศาสนาตามลําดับ จนถึง พ.ศ. ๒๕๒๒ จึงจัดตั้งสํานักงานคณะกรรมการวัฒนธรรม
แห่งชาติขึ้น มีฐานะเทียบเท่ากรม

        ต่อมารัฐบาลจึงได้สถาปนากระทรวงวัฒนธรรมขึ้นอีกครั้ง เมื่อวันที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๕
โดยมีภารกิจสําคัญครอบคลุมงานด้านศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม หน่วยงานในสังกัด ประกอบด้วย
สํานักงานรัฐมนตรี สํานักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม กรมการศาสนา กรมศิลปากร สํานักงาน
คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ สํานักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย และสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

1
    กองราชเลขานุการในพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี. (2555).
    พระราชประวัติ. สืบค้นเมื่อ 7 ตุลาคม 2555 จาก http://www.sirindhorn.net/HRH-
    biography.html
และมีองค์การมหาชนขึ้นตรงกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ๒ หน่วยงาน คือ ศูนย์
มานุษยวิทยาสิรินธร และหอภาพยนตร์ ปัจจุบันกระทรวงวัฒนธรรมได้ปรับปรุงรูปแบบและวิธีการ
ทํางาน พร้อมทั้งพัฒนาบุคลากรให้มีความรอบรู้ ทันสมัย เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน
พร้อมกับการขยายเครือข่ายทางวัฒนธรรม เพื่อให้ประชาชนได้ตระหนักถึงคุณค่าและความสําคัญของ
วัฒนธรรม พร้อมทั้งมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และพัฒนามรดกวัฒนธรรมไทย อันเปรียบเสมือน
รากฐานของชาติให้คงอยู่ตลอดไป2

         ดังนั้น การที่จะทําให้ศิลปวัฒนธรรมคงอยู่คู่ชาติตลอดไปนั้น ควรที่จะปลูกฝังให้กับเยาวชนใน
วัยเรียนตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษา ด้วยเหตุนี้การศึกษาจึงเข้ามามีบทบาทอย่างสูงในการปลูกฝัง
ศิลปวัฒนธรรมให้กับประชาชนในชาติให้ตระหนักรักษ์วัฒนธรรม โดยเริ่มตั้งแต่การศึกษาขั้นพื้นฐาน
จนถึงระดับอุดมศึกษา

         ก่อนอื่นควรทําความเข้าใจกันก่อนว่า วัฒนธรรมนั้นหมายถึงอะไร และมีขอบข่ายเช่นใด
สํานักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้ให้ความหมายไว้ว่า วัฒนธรรม คือ “ความเจริญงอก
งาม ซึ่งเป็นผลจากระบบความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ มนุษย์กับสังคม และมนุษย์กบ    ั
ธรรมชาติ จําแนกออกเป็น 3 ด้าน คือ จิตใจ สังคม และวัตถุ มีการสั่งสมและสืบทอดจากคนรุ่น
หนึ่งไปสูคนอีกรุ่นหนึ่ง จากสังคมหนึ่งไปสูอีกสังคมหนึ่ง จนกลายเป็นแบบแผนที่สามารถเรียนรู้
         ่                                ่
และก่อให้เกิดผลิตกรรมและผลิตผล ทั้งทีเป็นรูปธรรมและนามธรรม อันควรค่าแก่การวิจัย
                                        ่
อนุรกษ์ ฟื้นฟู ถ่ายทอด เสริมสร้างเอตทัคคะ และแลกเปลี่ยนเพื่อสร้างดุลยภาพแห่งความสัมพันธ์
     ั
ระหว่างมนุษย์ สังคม และธรรมชาติ ซึ่งจะช่วยให้มนุษย์สามารถดํารงชีวตอย่างมีสข สันติสุข และ
                                                                    ิ       ุ
อิสรภาพ อันเป็นพืนฐานแห่งอารยธรรมของมนุษยชาติ”
                   ้

        นอกจากนี้องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ได้แบ่ง
วัฒนธรรมออกเป็น 5 สาขา ซึงมีรายละเอียดดังนี้คือ
                           ่
        1. สาขามนุษยศาสตร์ (The Humanities) ได้แก่ วัฒนธรรมที่ว่าด้วยขนบธรรมเนียม
ประเพณี คุณธรรม ศีลธรรม จริยธรรม ค่านิยม ศาสนา ปรัชญา ประวัติศาสตร์ โบราณคดี มารยาทใน
สังคม การปกครอง กฎหมาย เป็นต้น
        2. สาขาศิลปะ (The Arts) ได้แก่ วัฒนธรรมในเรื่องภาษา วรรณคดี ดนตรี ฟ้อนรํา
จิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม เป็นต้น




2
 กระทรวงวัฒนธรรม. (2555). ประวัติกระทรวงวัฒนธรรม. สืบค้นเมื่อ 8 ตุลาคม 2555 จาก
http://www.m-culture.go.th/about.php
3. สาขาการช่างฝีมือ (The Practical crafts) ได้แก่ วัฒนธรรมในเรื่องการเย็บปักถักร้อย
การแกะสลัก การทอผ้า การจักสาน การทําเครื่องเขิน เครื่องเงินเครื่องทอง เครื่องถม การจัดดอกไม้
การทําตุ๊กตา การทอเสื่อ การประดิษฐ์ การทําเครื่องปั้นดินเผา เป็นต้น
         4. สาขาคหกรรมศิลป์ (The Domestic Arts) ได้แก่ วัฒนธรรมในเรื่องอาหาร เสื้อผ้า การ
แต่งงาน บ้าน ยา การดูแลเด็ก ครอบครัว การรู้จักประกอบอาชีพช่วยเศรษฐกิจในครอบครัว เป็นต้น
         5. สาขากีฬาและนันทนาการ (The Sports and Recreation) ได้แก่ วัฒนธรรมในเรื่อง
การละเล่น มวยไทย ฟันดาบสองมือ กระบี่กระบอง กีฬาพื้นบ้าน เป็นต้น3

           จากความหมายและขอบข่ายของศิลปวัฒนธรรมที่กล่าวมาจะเห็นว่ารอบ ๆ ตัวเรามี
วัฒนธรรมสอดแทรกอยู่ในทุก ๆ ส่วนของการใช้ชีวิตประจําวัน จนบางครั้งถูกละเลยไปโดยไม่ได้ตั้งใจ
และด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทาให้วัฒนธรรมบางอย่างถูกมองข้ามไป อาทิ การเสนอข่าวจาก
                                         ํ
สถานีโทรทัศน์ช่องหนึ่งเมื่อไม่นานมานี้เกี่ยวกับการใช้แท็บเล็ตของเด็กนักเรียนชั้นประถมปีที่ 1 ภาพ
ข่าวได้จับไปตอนที่เด็กนักเรียนใช้นิ้วชี้ลากไปบนจอแท็บเล็ตเป็นอักษร ก.ไก่ คาดว่าผู้ที่ได้ดูข่าวนี้
หลาย ๆ คน คงมีความคิดไปในทิศทางเดียวกันว่าเป็นเช่นนี้ได้อย่างไร เพราะเด็กนักเรียนชั้นประถมปี
ที่ 1 เป็นช่วงที่นักเรียนควรที่จะมีทักษะในการเรียนรู้การใช้ภาษา เรียนรู้การใช้นิ้วโป้งและนิ้วชี้จับ
ดินสอเขียนตัวอักษรลงบนกระดาษ ไม่ใช่ใช้นิ้วชี้ลากไปบนจอ จากตัวอย่างนี้ทําให้เห็นว่าการเข้ามา
ของเทคโนโลยีนั้นมีประโยชน์ แต่ด้วยนโยบายของรัฐบาลทางด้านการศึกษายังขาดทิศทาง ขาดการ
วางแผน ทําให้สูญเสียเงิน สูญเสียโอกาส สูญเสียการเริ่มต้นปลูกฝังสิ่งที่ถกต้อง ดีงามให้กับเยาวชน
                                                                        ู
ตั้งแต่ยังเด็ก

            แม้กระทั่งนิสิตนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาเองก็ตาม มักจะใช้ภาษาไทยได้ไม่เหมาะสม การ
เขียนตัวสะกดผิดไปจากที่ควรเป็น ไม่มีความแตกฉานในภาษา พบว่าเทคโนโลยีเข้ามามีอทธิพลทําให้ิ
ความงดงาม ตลอดจนสุนทรียภาพของภาษาไทยลดเลือนไป การใช้ภาษาในโลกออนไลน์
การใช้คาสั้น ๆ การบัญญัติคําใหม่ที่เป็นคํากร่อนเพื่อใช้สื่อสารผ่านอุปกรณ์เทคโนโลยีเพื่อความ
          ํ
รวดเร็ว จนทําให้เยาวชนรุ่นใหม่แทบจะไม่รถึงความงดงามและต้นกําเนิดของคําแต่ละคําในภาษาไทย
                                           ู้
ซึ่งนับว่าเป็นเอกลักษณ์ทแสดงถึงความมีวัฒนธรรมของชาติที่มีความเฉพาะของตนเอง
                            ี่

       กระแสโลกาภิวัตน์นอกจากจะนําพาวัฒนธรรมตะวันตกมาแล้วนั้น ณ ปัจจุบันยังได้นําพา
วัฒนธรรมตะวันออกจากเกาหลี ญี่ปุ่น แทรกซึมเข้าสู่เยาวชนไทย จนให้ความสําคัญ ชืนชมกับ
                                                                            ่
วัฒนธรรมต่างชาติ จนลืมความงดงามของศิลปวัฒนธรรมไทยกลับมองว่าเป็นความโบราณไม่ทนสมัย  ั


3
สํานักเลขาธิการสภาการศึกษา. (2555). ขอบข่ายวัฒนธรรม. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2555 จาก
http://www.thaiwisdom.org/p_culture/api/api_4.htm
ณ ปัจจุบัน กระแสการเต้นแบบกัมนังสไตล์ของเกาหลี ที่มท่าทางการเต้นเหมือนการควบม้า ซึ่งแทรก
                                                     ี
ซึมไปสู่เยาวชน จนหันมาเต้นเลียนแบบท่าทางดังกล่าว และระบาดไปทั่วโลกจนทําให้ซีกโลกตะวันตก
เกิดการเลียนแบบท่าทางการเต้นเช่นกัน รวมทั้งการแต่งกายแบบเกาหลี ญี่ปุ่น การใส่คอนแท็กเลนส์
ตากลม การเรียนภาษาญี่ปุ่น เกาหลี ความคลั่งไคล้ศิลปินเกาหลี การรับประทานอาหารเกาหลี ญี่ปุ่น
จนกลายเป็นกระแส K-pop J-pop ปฏิเสธความเป็นไทย ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นกับเยาวชน
ไทยในปัจจุบัน

         จากที่กล่าวมานั้นนับว่าเป็นวิกฤตที่กําลังก่อตัวขึ้น บทบาทของการศึกษาในฐานะแหล่งบ่ม
เพาะทางวัฒนธรรมให้กับเยาวชนของชาติ นักการศึกษาและผู้ที่มส่วนเกี่ยวข้อง จะต้องตระหนักถึง
                                                                 ี
ปัญหาดังกล่าวและต้องเร่งแก้ไขโดยเร็ว การใช้เทคโนโลยีเข้ามาอํานวยความสะดวกนั้นเป็นสิ่งที่ดีแต่
ทําอย่างไรที่เราทุกคนจะต้องรู้เท่าทัน ในบทความนี้จะขอกล่าวถึงเฉพาะการศึกษาในระดับอุดมศึกษา
เกี่ยวกับบทบาทและหน้าทีในการทํานุบํารุงและอนุรักษ์วฒนธรรมของชาติ
                          ่                                ั

          การอุดมศึกษามีพันธกิจหลัก 4 ประการ ได้แก่ การเรียนการสอน การวิจัย การบริการ
วิชาการ และการทํานุบารุงศิลปวัฒนธรรม ทุกสถาบันอุดมศึกษาไม่ว่าจะเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ
                        ํ
มหาวิทยาลัยในกํากับของรัฐ มหาวิทยาลัยเอกชน สถาบันหรือวิทยาลัย ต่างตระหนักถึงภารกิจทั้ง 4
ด้าน แต่ดูเหมือนว่าภารกิจทางด้านการทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรมนั้นจะถูกเบียดบังจากภารกิจอื่น ๆ
ไม่ว่าจะเป็นการเรียนการสอน ซึ่งบุคลากรส่วนใหญ่มองว่าสถาบันอุดมศึกษามีภารกิจอันใหญ่หลวงนี้
เป็นภารกิจหลัก ซึ่งคงไม่อาจปฏิเสธได้เช่นกันว่าสถาบันอุดมศึกษาเป็นแหล่งศึกษาหาความรู้ ส่วน
ทางด้านการวิจัยและการบริการวิชาการนั้นเพื่อแสวงหาความรู้ใหม่และถ่ายทอดสู่สังคม ก็เป็นภารกิจ
ที่สําคัญอีกเช่นกัน อย่างไรก็ตาม การทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรมของชาติให้อยู่สืบทอดต่อไปก็เป็น
หน้าที่ของสถาบันอุดมศึกษาที่เป็นแหล่งการศึกษาขั้นสูงสุด ดังคํากล่าวที่ว่า “ไม่มีวัฒนธรรมก็สิ้น
ชาติ”

         แต่ในทางปฏิบัตินั้น การทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรมของสถาบันอุดมศึกษายังขาดการวางแผน
และทิศทาง ไม่มีหน่วยงานรับผิดชอบโดยตรง การปฏิบัติส่วนใหญ่ยังเป็นภาระหน้าที่ของคณะวิชา
อย่างเช่นสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งหนึ่ง การทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรมในภาพรวมของ
สถาบันอุดมศึกษาแห่งนี้รับผิดชอบโดยศูนย์ศิลปวัฒนธรรม บทบาทหน้าที่ของศูนย์นี้คือดูแลวงดนตรี
ไทยและนักศึกษาที่ได้รับทุนนาฏศิลป์ เมื่อมีงานที่เป็นพิธีการของทางสถาบันก็จะเข้าร่วมแสดงดนตรี
ไทยและนํานักศึกษารําอวยพร

       การที่มีการประกันคุณภาพการศึกษาทั้งจาก สมศ. และ สกอ. โดยเฉพาะ สกอ.
องค์ประกอบที่ 6 การทํานุบํารุงศิลปะและวัฒนธรรม มีหลักการว่าการทํานุบํารุงศิลปะและวัฒนธรรม
ถือเป็นพันธกิจสําคัญประการหนึ่งของสถาบันอุดมศึกษา ดังนั้น สถาบันอุดมศึกษาจึงต้องมีระบบและ
กลไกการดําเนินงานด้านนี้ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและคุณภาพ โดยอาจมีจุดเน้นเฉพาะที่
แตกต่างกันตามปรัชญา และธรรมชาติของแต่ละสถาบัน และมีการบูรณาการเข้ากับพันธกิจอื่น ๆ
โดยเฉพาะการผลิตบัณฑิต รวมทั้งมีการจัดกิจกรรมที่ฟื้นฟู อนุรกษ์ สืบสาน พัฒนา เผยแพร่ศิลปะ
                                                             ั
และวัฒนธรรม สร้างสรรค์ ส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เป็นรากฐานการพัฒนาองค์ความรู้ที่ดีขึ้น4
โดยได้กําหนดตัวบ่งชี้ต่าง ๆ มากมาย ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านีจะตรวจสอบด้วยตัวเอกสาร และลงลึกถึง
                                                         ้
ระดับหลักสูตร ดังนั้นคณะวิชาที่มีหลักสูตรต่าง ๆ ตามสาขาวิชา ต้องรับผิดชอบในองค์ประกอบนี้โดย
ขาดทิศทางและแนวทางที่ชดเจนในทางปฏิบติทําให้เกิดการสิ้นเปลือง ทํางานซ้ําซ้อน และไม่มี
                           ั                 ั
ประสิทธิภาพ

         เมื่อเป็นเช่นนี้เพื่อให้การทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรมของสถาบันอุดมศึกษาเกิดประสิทธิผล
สูงสุด โดยเฉพาะสถาบันอุดมศึกษาเอกชนที่ขาดทิศทาง ควรจัดตั้งหน่วยงานที่เป็นศูนย์กลางของ
สถาบันเพื่อกําหนดนโยบาย แผนงาน โครงสร้าง และการบริหารจัดการงานทํานุบํารุงศิลปะและ
วัฒนธรรมทั้งการอนุรักษ์ ฟื้นฟู สืบสาน เผยแพร่วัฒนธรรม และให้การแนะนําแก่คณะวิชาต่าง ๆ เพื่อ
การทํางานด้านนี้อย่างมีเอกภาพ ไม่ซ้ําซ้อนและสิ้นเปลืองงบประมาณ การจัดตั้งหน่วยงานนี้อาจจะ
เป็นศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มีผู้อํานวยการและกําหนดโครงสร้างของหน่วยงาน

       อีกประการหนึ่ง เนื่องจากขอบข่ายของศิลปวัฒนธรรมไทยนั้นมีมากมายหลายแขนง อาจทํา
ให้หลายฝ่ายทีเ่ กี่ยวข้องเกิดความสับสนในทางปฏิบัติ ดังนั้นควรประชุมสัมมนาเพื่อจัดทําคู่มือกําหนด
ขอบข่ายของศิลปวัฒนธรรมไทย โดยมีหน่วยงานประกันคุณภาพการศึกษา สกอ. รับรองเพื่อกําหนด
ขอบข่ายดังกล่าวไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อการปฏิบัติที่ถูกต้อง

         สุดท้ายบทบาทของการอุดมศึกษาในมิติของศิลปวัฒนธรรม ยังคงเป็นความท้าทายว่า
อุดมศึกษานั้นจะต้องแสดงบทบาทในการเป็นผู้ทําหน้าทีชี้นําสังคมไปสู่ทางที่ถกต้องและเหมาะสม
                                                  ่                     ู
ถึงแม้ว่าจะมีกฏเกณฑ์ใด ๆ มากําหนดให้สถาบันอุดมศึกษาต้องทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรม แต่ด้วย
จิตสํานึกของคนไทยทุกคนไม่ว่าจะเป็นบุคลากรหรือนักศึกษาต้องทําหน้าที่ของคนไทยคือการทํานุ
บํารุงศิลปวัฒนธรรมให้อยู่คชาติไทยสืบสานถ่ายทอดถึงลูกหลานต่อไป
                          ู่


                                *********************************


4
    สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2554). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน
    สถานศึกษา ระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2553. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจํากัด ภาพพิมพ์.

More Related Content

What's hot

ดนตรีและการแสดงพื้นเมือง วิถีชีวิตของเทศบาลตำบลต้นเปาตั้งแต่อดีตสู่ปัจจุบัน ผ...
ดนตรีและการแสดงพื้นเมือง วิถีชีวิตของเทศบาลตำบลต้นเปาตั้งแต่อดีตสู่ปัจจุบัน ผ...ดนตรีและการแสดงพื้นเมือง วิถีชีวิตของเทศบาลตำบลต้นเปาตั้งแต่อดีตสู่ปัจจุบัน ผ...
ดนตรีและการแสดงพื้นเมือง วิถีชีวิตของเทศบาลตำบลต้นเปาตั้งแต่อดีตสู่ปัจจุบัน ผ...kawla2012
 
2554 ค่ายสืบศิลป์ถิ่นบ้านเกิดฯ
2554 ค่ายสืบศิลป์ถิ่นบ้านเกิดฯ2554 ค่ายสืบศิลป์ถิ่นบ้านเกิดฯ
2554 ค่ายสืบศิลป์ถิ่นบ้านเกิดฯmahaoath พระมหาโอ๊ท
 
ประวัติการศึกษาไทย
ประวัติการศึกษาไทยประวัติการศึกษาไทย
ประวัติการศึกษาไทยChalee Pop
 
ประวัติการศึกษาไทย
ประวัติการศึกษาไทยประวัติการศึกษาไทย
ประวัติการศึกษาไทยSuwanan Nonsrikham
 
ภูมิปัญญาท้องถิ่นตำบลเทพราช อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา
ภูมิปัญญาท้องถิ่นตำบลเทพราช อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทราภูมิปัญญาท้องถิ่นตำบลเทพราช อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา
ภูมิปัญญาท้องถิ่นตำบลเทพราช อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทราnungruthai2513
 
งานคอมใบ 2 8
งานคอมใบ 2 8งานคอมใบ 2 8
งานคอมใบ 2 8Hiran Vayakk
 

What's hot (7)

Information2012
Information2012Information2012
Information2012
 
ดนตรีและการแสดงพื้นเมือง วิถีชีวิตของเทศบาลตำบลต้นเปาตั้งแต่อดีตสู่ปัจจุบัน ผ...
ดนตรีและการแสดงพื้นเมือง วิถีชีวิตของเทศบาลตำบลต้นเปาตั้งแต่อดีตสู่ปัจจุบัน ผ...ดนตรีและการแสดงพื้นเมือง วิถีชีวิตของเทศบาลตำบลต้นเปาตั้งแต่อดีตสู่ปัจจุบัน ผ...
ดนตรีและการแสดงพื้นเมือง วิถีชีวิตของเทศบาลตำบลต้นเปาตั้งแต่อดีตสู่ปัจจุบัน ผ...
 
2554 ค่ายสืบศิลป์ถิ่นบ้านเกิดฯ
2554 ค่ายสืบศิลป์ถิ่นบ้านเกิดฯ2554 ค่ายสืบศิลป์ถิ่นบ้านเกิดฯ
2554 ค่ายสืบศิลป์ถิ่นบ้านเกิดฯ
 
ประวัติการศึกษาไทย
ประวัติการศึกษาไทยประวัติการศึกษาไทย
ประวัติการศึกษาไทย
 
ประวัติการศึกษาไทย
ประวัติการศึกษาไทยประวัติการศึกษาไทย
ประวัติการศึกษาไทย
 
ภูมิปัญญาท้องถิ่นตำบลเทพราช อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา
ภูมิปัญญาท้องถิ่นตำบลเทพราช อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทราภูมิปัญญาท้องถิ่นตำบลเทพราช อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา
ภูมิปัญญาท้องถิ่นตำบลเทพราช อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา
 
งานคอมใบ 2 8
งานคอมใบ 2 8งานคอมใบ 2 8
งานคอมใบ 2 8
 

Similar to The role of higher education in the arts and cultural dimensions.

สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน
สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสานสถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน
สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสานPornpimon Gormsang
 
ถ้ำโม่เกาเมืองตุนหวง
ถ้ำโม่เกาเมืองตุนหวงถ้ำโม่เกาเมืองตุนหวง
ถ้ำโม่เกาเมืองตุนหวงSRINAKARIN MOTHER PRINCESS SCHOOL
 
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๗
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๗มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๗
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๗Boonlert Aroonpiboon
 
ประวัติวันภาษาไทย
ประวัติวันภาษาไทยประวัติวันภาษาไทย
ประวัติวันภาษาไทยpinyada
 
01+hisp5+dltv54+ แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง ประวัติศาสตร์น่ารู้
01+hisp5+dltv54+ แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง ประวัติศาสตร์น่ารู้01+hisp5+dltv54+ แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง ประวัติศาสตร์น่ารู้
01+hisp5+dltv54+ แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง ประวัติศาสตร์น่ารู้Prachoom Rangkasikorn
 
แผนการสอนประวัติศาสตร์ป.4-6+562+T1 p4 6-u01-his
แผนการสอนประวัติศาสตร์ป.4-6+562+T1 p4 6-u01-hisแผนการสอนประวัติศาสตร์ป.4-6+562+T1 p4 6-u01-his
แผนการสอนประวัติศาสตร์ป.4-6+562+T1 p4 6-u01-hisPrachoom Rangkasikorn
 
01+hisp6+dltv54+แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง ประวัติศาสตร์น่ารู้
01+hisp6+dltv54+แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง ประวัติศาสตร์น่ารู้01+hisp6+dltv54+แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง ประวัติศาสตร์น่ารู้
01+hisp6+dltv54+แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง ประวัติศาสตร์น่ารู้Prachoom Rangkasikorn
 
แผนการจัดการเรียนรู้เรื่องประวัติศาสตร์+579+dltvhisp5+T1 p4 6-u01-his
แผนการจัดการเรียนรู้เรื่องประวัติศาสตร์+579+dltvhisp5+T1 p4 6-u01-hisแผนการจัดการเรียนรู้เรื่องประวัติศาสตร์+579+dltvhisp5+T1 p4 6-u01-his
แผนการจัดการเรียนรู้เรื่องประวัติศาสตร์+579+dltvhisp5+T1 p4 6-u01-hisPrachoom Rangkasikorn
 
01+hisp4+dltv54+แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง ประวัติศาสตร์น่ารู้
01+hisp4+dltv54+แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง ประวัติศาสตร์น่ารู้01+hisp4+dltv54+แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง ประวัติศาสตร์น่ารู้
01+hisp4+dltv54+แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง ประวัติศาสตร์น่ารู้Prachoom Rangkasikorn
 
แผนการจัดการเรียนรู้สังคม ป.5+579+T1 p4 6-u01-his
แผนการจัดการเรียนรู้สังคม ป.5+579+T1 p4 6-u01-hisแผนการจัดการเรียนรู้สังคม ป.5+579+T1 p4 6-u01-his
แผนการจัดการเรียนรู้สังคม ป.5+579+T1 p4 6-u01-hisPrachoom Rangkasikorn
 
แผน GPAS 5 STEP แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 9 วัฒนธรรมไทย PA 66 PLC.pdf
แผน GPAS 5 STEP แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 9 วัฒนธรรมไทย PA 66 PLC.pdfแผน GPAS 5 STEP แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 9 วัฒนธรรมไทย PA 66 PLC.pdf
แผน GPAS 5 STEP แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 9 วัฒนธรรมไทย PA 66 PLC.pdfssuser6a0d4f
 
กลุ่มชาวชุมชนปงสนุก
กลุ่มชาวชุมชนปงสนุกกลุ่มชาวชุมชนปงสนุก
กลุ่มชาวชุมชนปงสนุกFURD_RSU
 
News library kku
News library kkuNews library kku
News library kkutipzaa
 
News library kku
News library kkuNews library kku
News library kkutipzaa
 
News library kku
News library kkuNews library kku
News library kkutipzaa
 
News library kku
News library kkuNews library kku
News library kkutipzaa
 
สังคมศึกษา ม.ปลาย สค31001
สังคมศึกษา ม.ปลาย สค31001สังคมศึกษา ม.ปลาย สค31001
สังคมศึกษา ม.ปลาย สค31001Thidarat Termphon
 
9789740333418
97897403334189789740333418
9789740333418CUPress
 

Similar to The role of higher education in the arts and cultural dimensions. (20)

แผนการจัดการเรียนรู้ที่๗
แผนการจัดการเรียนรู้ที่๗แผนการจัดการเรียนรู้ที่๗
แผนการจัดการเรียนรู้ที่๗
 
สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน
สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสานสถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน
สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน
 
ถ้ำโม่เกาเมืองตุนหวง
ถ้ำโม่เกาเมืองตุนหวงถ้ำโม่เกาเมืองตุนหวง
ถ้ำโม่เกาเมืองตุนหวง
 
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๗
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๗มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๗
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๗
 
ประวัติวันภาษาไทย
ประวัติวันภาษาไทยประวัติวันภาษาไทย
ประวัติวันภาษาไทย
 
01+hisp5+dltv54+ แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง ประวัติศาสตร์น่ารู้
01+hisp5+dltv54+ แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง ประวัติศาสตร์น่ารู้01+hisp5+dltv54+ แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง ประวัติศาสตร์น่ารู้
01+hisp5+dltv54+ แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง ประวัติศาสตร์น่ารู้
 
แผนการสอนประวัติศาสตร์ป.4-6+562+T1 p4 6-u01-his
แผนการสอนประวัติศาสตร์ป.4-6+562+T1 p4 6-u01-hisแผนการสอนประวัติศาสตร์ป.4-6+562+T1 p4 6-u01-his
แผนการสอนประวัติศาสตร์ป.4-6+562+T1 p4 6-u01-his
 
01+hisp6+dltv54+แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง ประวัติศาสตร์น่ารู้
01+hisp6+dltv54+แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง ประวัติศาสตร์น่ารู้01+hisp6+dltv54+แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง ประวัติศาสตร์น่ารู้
01+hisp6+dltv54+แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง ประวัติศาสตร์น่ารู้
 
แผนการจัดการเรียนรู้เรื่องประวัติศาสตร์+579+dltvhisp5+T1 p4 6-u01-his
แผนการจัดการเรียนรู้เรื่องประวัติศาสตร์+579+dltvhisp5+T1 p4 6-u01-hisแผนการจัดการเรียนรู้เรื่องประวัติศาสตร์+579+dltvhisp5+T1 p4 6-u01-his
แผนการจัดการเรียนรู้เรื่องประวัติศาสตร์+579+dltvhisp5+T1 p4 6-u01-his
 
01+hisp4+dltv54+แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง ประวัติศาสตร์น่ารู้
01+hisp4+dltv54+แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง ประวัติศาสตร์น่ารู้01+hisp4+dltv54+แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง ประวัติศาสตร์น่ารู้
01+hisp4+dltv54+แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง ประวัติศาสตร์น่ารู้
 
แผนการจัดการเรียนรู้สังคม ป.5+579+T1 p4 6-u01-his
แผนการจัดการเรียนรู้สังคม ป.5+579+T1 p4 6-u01-hisแผนการจัดการเรียนรู้สังคม ป.5+579+T1 p4 6-u01-his
แผนการจัดการเรียนรู้สังคม ป.5+579+T1 p4 6-u01-his
 
แผน GPAS 5 STEP แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 9 วัฒนธรรมไทย PA 66 PLC.pdf
แผน GPAS 5 STEP แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 9 วัฒนธรรมไทย PA 66 PLC.pdfแผน GPAS 5 STEP แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 9 วัฒนธรรมไทย PA 66 PLC.pdf
แผน GPAS 5 STEP แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 9 วัฒนธรรมไทย PA 66 PLC.pdf
 
กลุ่มชาวชุมชนปงสนุก
กลุ่มชาวชุมชนปงสนุกกลุ่มชาวชุมชนปงสนุก
กลุ่มชาวชุมชนปงสนุก
 
News library kku
News library kkuNews library kku
News library kku
 
News library kku
News library kkuNews library kku
News library kku
 
News library kku
News library kkuNews library kku
News library kku
 
News library kku
News library kkuNews library kku
News library kku
 
สังคมศึกษา ม.ปลาย สค31001
สังคมศึกษา ม.ปลาย สค31001สังคมศึกษา ม.ปลาย สค31001
สังคมศึกษา ม.ปลาย สค31001
 
9789740333418
97897403334189789740333418
9789740333418
 
วัฒนธรรมไทย
วัฒนธรรมไทยวัฒนธรรมไทย
วัฒนธรรมไทย
 

More from Tor Jt

อเมริกันฟุตบอล Sport, entertainment and marketing
อเมริกันฟุตบอล Sport, entertainment and marketingอเมริกันฟุตบอล Sport, entertainment and marketing
อเมริกันฟุตบอล Sport, entertainment and marketingTor Jt
 
Photoshop - lab exercise 56
Photoshop - lab exercise 56Photoshop - lab exercise 56
Photoshop - lab exercise 56Tor Jt
 
Photoshop - CD Cover
Photoshop - CD CoverPhotoshop - CD Cover
Photoshop - CD CoverTor Jt
 
๋JM.104 บทที่ 9 องค์กรสื่อสิ่งพิมพ์
๋JM.104 บทที่ 9 องค์กรสื่อสิ่งพิมพ์๋JM.104 บทที่ 9 องค์กรสื่อสิ่งพิมพ์
๋JM.104 บทที่ 9 องค์กรสื่อสิ่งพิมพ์Tor Jt
 
Jt.305 บทที่ 8 ข้อมูลและสารสนเทศ
Jt.305   บทที่ 8 ข้อมูลและสารสนเทศJt.305   บทที่ 8 ข้อมูลและสารสนเทศ
Jt.305 บทที่ 8 ข้อมูลและสารสนเทศTor Jt
 
Jt.305 บทที่ 7 ระบบสื่อสารข้อมูล
Jt.305   บทที่ 7 ระบบสื่อสารข้อมูลJt.305   บทที่ 7 ระบบสื่อสารข้อมูล
Jt.305 บทที่ 7 ระบบสื่อสารข้อมูลTor Jt
 
Jt.305 บทที่ 6 เทคโนโลยีโทรคมนาคม
Jt.305   บทที่ 6 เทคโนโลยีโทรคมนาคมJt.305   บทที่ 6 เทคโนโลยีโทรคมนาคม
Jt.305 บทที่ 6 เทคโนโลยีโทรคมนาคมTor Jt
 
Analysis of science and technology affect the education
Analysis of science and technology affect the educationAnalysis of science and technology affect the education
Analysis of science and technology affect the educationTor Jt
 
Hr in private university [compatibility mode]
Hr in private university [compatibility mode]Hr in private university [compatibility mode]
Hr in private university [compatibility mode]Tor Jt
 
การวิเคราะห์แนวโน้มและการเปลี่ยนแปลงด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทยในอนาคต
การวิเคราะห์แนวโน้มและการเปลี่ยนแปลงด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทยในอนาคตการวิเคราะห์แนวโน้มและการเปลี่ยนแปลงด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทยในอนาคต
การวิเคราะห์แนวโน้มและการเปลี่ยนแปลงด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทยในอนาคตTor Jt
 

More from Tor Jt (12)

อเมริกันฟุตบอล Sport, entertainment and marketing
อเมริกันฟุตบอล Sport, entertainment and marketingอเมริกันฟุตบอล Sport, entertainment and marketing
อเมริกันฟุตบอล Sport, entertainment and marketing
 
Photoshop - lab exercise 56
Photoshop - lab exercise 56Photoshop - lab exercise 56
Photoshop - lab exercise 56
 
Photoshop - CD Cover
Photoshop - CD CoverPhotoshop - CD Cover
Photoshop - CD Cover
 
๋JM.104 บทที่ 9 องค์กรสื่อสิ่งพิมพ์
๋JM.104 บทที่ 9 องค์กรสื่อสิ่งพิมพ์๋JM.104 บทที่ 9 องค์กรสื่อสิ่งพิมพ์
๋JM.104 บทที่ 9 องค์กรสื่อสิ่งพิมพ์
 
Jt.305 บทที่ 8 ข้อมูลและสารสนเทศ
Jt.305   บทที่ 8 ข้อมูลและสารสนเทศJt.305   บทที่ 8 ข้อมูลและสารสนเทศ
Jt.305 บทที่ 8 ข้อมูลและสารสนเทศ
 
Jt.305 บทที่ 7 ระบบสื่อสารข้อมูล
Jt.305   บทที่ 7 ระบบสื่อสารข้อมูลJt.305   บทที่ 7 ระบบสื่อสารข้อมูล
Jt.305 บทที่ 7 ระบบสื่อสารข้อมูล
 
Jt.305 บทที่ 6 เทคโนโลยีโทรคมนาคม
Jt.305   บทที่ 6 เทคโนโลยีโทรคมนาคมJt.305   บทที่ 6 เทคโนโลยีโทรคมนาคม
Jt.305 บทที่ 6 เทคโนโลยีโทรคมนาคม
 
Analysis of science and technology affect the education
Analysis of science and technology affect the educationAnalysis of science and technology affect the education
Analysis of science and technology affect the education
 
Hr in private university [compatibility mode]
Hr in private university [compatibility mode]Hr in private university [compatibility mode]
Hr in private university [compatibility mode]
 
Japan
JapanJapan
Japan
 
Korea
KoreaKorea
Korea
 
การวิเคราะห์แนวโน้มและการเปลี่ยนแปลงด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทยในอนาคต
การวิเคราะห์แนวโน้มและการเปลี่ยนแปลงด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทยในอนาคตการวิเคราะห์แนวโน้มและการเปลี่ยนแปลงด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทยในอนาคต
การวิเคราะห์แนวโน้มและการเปลี่ยนแปลงด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทยในอนาคต
 

The role of higher education in the arts and cultural dimensions.

  • 1. บทความ บทบาทการอุดมศึกษาในมิติศิลปวัฒนธรรม เสนอ ดร.สุวพร ตั้งสมวรพงษ์ โดย นายพิเชษฐ พิมพ์เจริญ รหัสประจําตัวนิสิต 55199150051 บทความนี้เป็นส่วนหนึงของวิชา ่ EDA736 SEMINAR IN STUDENT AFFAIRS ADMINISTRATION AND MANAGEMENT หลักสูตรปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและการจัดการการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประจําภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2555
  • 2. บทบาทการอุดมศึกษาในมิติศิลปวัฒนธรรม พิเชษฐ พิมพ์เจริญ “….ชาติไทยเรานั้นได้มีเอกราช มีภาษา ศิลปะ และขนบธรรมเนียมประเพณีเป็นของตนเอง มาช้านานหลายศตวรรษแล้ว ทั้งนี้เพราะบรรพบุรุษของเราได้เสียสละอุทิศชีวิต กําลังทั้งกายและใจ สะสมสิ่งเหล่านี้ไว้ให้เพื่อพวกเรา จึงจําเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องรักษาสิ่งเหล่านี้ไว้ให้คงทนถาวร เป็น มรดกของอนุชนรุ่นหลังต่อไป ข้าพเจ้าเห็นว่าโบราณวัตถุและศิลปวัตถุทั้งหลายนั้นเป็นสิ่งสําคัญยิ่งที่ ชี้ให้เห็นอดีตอันรุ่งโรจน์ของชาติไทยเรา เป็นประโยชน์แก่การศึกษาทั้งในทางประวัติศาสตร์ ศิลปะ โบราณคดี และวัฒนธรรม จึงควรที่ทุกฝ่ายจะได้ช่วยกันทะนุถนอมบํารุงรักษาอย่าให้สญสลายไป...” ู ความตอนหนึ่งในพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ในพิธีเปิด พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ รามคําแหง จังหวัดสุโขทัย เมื่อวันที่ ๒๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๗ จะเห็นได้ว่าการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมของชาติให้ดํารงสืบทอดถึงชนรุ่นต่อ ๆ ไป สถาบัน พระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นสถาบันสูงสุดที่อยู่คู่แผ่นดินไทยมาตั้งแต่สร้างชาติ ให้ความสําคัญเป็นอย่างยิ่ง ทางด้านรัฐบาลซึ่งมีอํานาจในการปกครองประเทศเห็นว่า วัฒนธรรมนั้นเป็นเอกลักษณ์ของความเป็น ชาติ เป็นรากฐานของการสร้างสรรค์ความสามัคคี และความมั่นคงของประเทศชาติประเทศไทยมี วัฒนธรรมที่เจริญรุ่งเรือง ปรากฏเป็นเอกลักษณ์อันโดดเด่นของชาติ ประกอบด้วย ภาษา วรรณกรรม ศิลปกรรม นาฏศิลป์ ดนตรี โบราณสถาน โบราณวัตถุ ตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณีที่เป็นแบบ แผน และวิถีชวิตอันดีงามที่สืบทอดมาถึงปัจจุบัน ี นอกจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงให้ความสําคัญกับวัฒนธรรมของชาติไทยแล้ว สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงสนพระทัยด้านศิลปวัฒนธรรมมาตั้งแต่ยังทรง พระเยาว์ โดยเฉพาะทางด้านดนตรีไทย พระองค์ทรงสนับสนุนในการอนุรักษ์ สืบทอด เผยแพร่ความรู้ ด้านดนตรีไทยอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด โดยทรงเป็นแบบอย่างในการเสด็จทรงเครื่องดนตรีไทย ร่วมกับประชาชนทั้งในและต่างประเทศ นอกจากนี้ ยังทรงอนุรักษ์ดนตรีไทยโดยการชําระโน้ตเพลง บันทึกเพลงเก่า และเผยแพร่งานเหล่านั้นอย่างต่อเนื่อง และส่งเสริมให้สถาบัน การศึกษาต่าง ๆ จัดการเผยแพร่งานทางด้านดนตรีไทย ซึ่งจากงานทางด้านการอนุรักษ์ดนตรีไทย ครูเสรี หวังในธรรม ได้กล่าวไว้ว่า “ดนตรีไทยไม่สิ้นแล้ว เพราะพระทูลกระหม่อมแก้วเอาใจใส่” นอกจากด้านดนตรีไทยแล้ว พระองค์ยังประกอบพระราชกรณียกิจมากมายเพื่อการอนุรกษ์ ั และพัฒนาศิลปวัฒนธรรมไทย ทั้งในด้าน การช่างไทย นาฏศิลป์ไทย งานพิพธภัณฑ์ ประวัติศาสตร์ ิ และโบราณสถาน ภาษาและวรรณกรรมไทย พระองค์ได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายพระสมัญญาว่า
  • 3. “เอกอัครราชูปถัมภกมรดกวัฒนธรรมไทย” เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๑ และ “วิศิษฏศิลปิน” เมื่อวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๖ เพื่อเทิดพระเกียรติที่พระองค์ทรงพระปรีชาสามารถในศิลปะหลายสาขา รวมทั้ง ทรงมีคณูปการต่อเหล่าศิลปินและศิลปวัฒนธรรมของชาติ นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรีซึ่งมี ุ ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ดํารงตําแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้มีมติให้วันที่ ๒ เมษายน ซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระองค์เป็น “วันอนุรักษ์มรดกของชาติ” เพื่อเป็นการ เทิดพระเกียรติที่พระองค์ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจในด้านการอนุรักษ์มรดกของชาติในสาขาต่าง ๆ เป็นจํานวนมาก1 จากที่กล่าวมาในข้างต้นจะเห็นได้ว่าพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระเทพฯ ทรงให้ความสําคัญ แก่วัฒนธรรมของชาติเป็นอย่างยิ่ง เพื่อเป็นการสนองต่อพระราชประสงค์ที่จะอนุรกษ์และให้ ั ความสําคัญกับวัฒนธรรมซึ่งเป็นสิ่งที่แสดงความเป็นเอกลักษณ์และความเป็นชาติไทย รัฐบาลจึงได้มี การดําเนินงานด้านวัฒนธรรมของชาติเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๑ มีการตั้งกองวัฒนธรรม สังกัดกรมศิลปากร กระทรวงธรรมการตามพระราชกฤษฎีกา จัดวางระเบียบราชการสํานักงาน และกรมในกระทรวง ธรรมการ (ฉบับที่ ๓) พุทธศักราช ๒๔๘๑ ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๘๓ มีพระราชบัญญัติบํารุงวัฒนธรรม แห่งชาติ กําหนดความหมายของวัฒนธรรมว่า หมายถึง ลักษณะที่แสดงความเจริญงอกงาม ความ เป็นระเบียบอันดีงาม ความกลมเกลียวก้าวหน้าของชาติ และศีลธรรมอันดีของประชาชน จากนัน ้ มีการออกพระราชบัญญัติบํารุงวัฒนธรรมแห่งชาติอีกหลายฉบับ รวมทั้งมีการจัดตั้งสภาวัฒนธรรม แห่งชาติ จนกระทั่งวันที่ ๑๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๕ จึงมีการสถาปนากระทรวงวัฒนธรรมขึ้น โดยมี จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นดํารงตําแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม และเมื่อมีการปรับเปลี่ยนรัฐบาลในเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๐๐ หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ได้รับโปรด เกล้าฯ ให้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ถึง พ.ศ. ๒๕๐๑ เกิดภาวะผันแปรทางการเมือง กระทรวงวัฒนธรรมถูกยุบ โดยลดฐานะเป็นกองวัฒนธรรม สังกัดสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และกรมการศาสนาตามลําดับ จนถึง พ.ศ. ๒๕๒๒ จึงจัดตั้งสํานักงานคณะกรรมการวัฒนธรรม แห่งชาติขึ้น มีฐานะเทียบเท่ากรม ต่อมารัฐบาลจึงได้สถาปนากระทรวงวัฒนธรรมขึ้นอีกครั้ง เมื่อวันที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๕ โดยมีภารกิจสําคัญครอบคลุมงานด้านศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม หน่วยงานในสังกัด ประกอบด้วย สํานักงานรัฐมนตรี สํานักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม กรมการศาสนา กรมศิลปากร สํานักงาน คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ สํานักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย และสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ 1 กองราชเลขานุการในพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี. (2555). พระราชประวัติ. สืบค้นเมื่อ 7 ตุลาคม 2555 จาก http://www.sirindhorn.net/HRH- biography.html
  • 4. และมีองค์การมหาชนขึ้นตรงกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ๒ หน่วยงาน คือ ศูนย์ มานุษยวิทยาสิรินธร และหอภาพยนตร์ ปัจจุบันกระทรวงวัฒนธรรมได้ปรับปรุงรูปแบบและวิธีการ ทํางาน พร้อมทั้งพัฒนาบุคลากรให้มีความรอบรู้ ทันสมัย เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน พร้อมกับการขยายเครือข่ายทางวัฒนธรรม เพื่อให้ประชาชนได้ตระหนักถึงคุณค่าและความสําคัญของ วัฒนธรรม พร้อมทั้งมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และพัฒนามรดกวัฒนธรรมไทย อันเปรียบเสมือน รากฐานของชาติให้คงอยู่ตลอดไป2 ดังนั้น การที่จะทําให้ศิลปวัฒนธรรมคงอยู่คู่ชาติตลอดไปนั้น ควรที่จะปลูกฝังให้กับเยาวชนใน วัยเรียนตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษา ด้วยเหตุนี้การศึกษาจึงเข้ามามีบทบาทอย่างสูงในการปลูกฝัง ศิลปวัฒนธรรมให้กับประชาชนในชาติให้ตระหนักรักษ์วัฒนธรรม โดยเริ่มตั้งแต่การศึกษาขั้นพื้นฐาน จนถึงระดับอุดมศึกษา ก่อนอื่นควรทําความเข้าใจกันก่อนว่า วัฒนธรรมนั้นหมายถึงอะไร และมีขอบข่ายเช่นใด สํานักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้ให้ความหมายไว้ว่า วัฒนธรรม คือ “ความเจริญงอก งาม ซึ่งเป็นผลจากระบบความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ มนุษย์กับสังคม และมนุษย์กบ ั ธรรมชาติ จําแนกออกเป็น 3 ด้าน คือ จิตใจ สังคม และวัตถุ มีการสั่งสมและสืบทอดจากคนรุ่น หนึ่งไปสูคนอีกรุ่นหนึ่ง จากสังคมหนึ่งไปสูอีกสังคมหนึ่ง จนกลายเป็นแบบแผนที่สามารถเรียนรู้ ่ ่ และก่อให้เกิดผลิตกรรมและผลิตผล ทั้งทีเป็นรูปธรรมและนามธรรม อันควรค่าแก่การวิจัย ่ อนุรกษ์ ฟื้นฟู ถ่ายทอด เสริมสร้างเอตทัคคะ และแลกเปลี่ยนเพื่อสร้างดุลยภาพแห่งความสัมพันธ์ ั ระหว่างมนุษย์ สังคม และธรรมชาติ ซึ่งจะช่วยให้มนุษย์สามารถดํารงชีวตอย่างมีสข สันติสุข และ ิ ุ อิสรภาพ อันเป็นพืนฐานแห่งอารยธรรมของมนุษยชาติ” ้ นอกจากนี้องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ได้แบ่ง วัฒนธรรมออกเป็น 5 สาขา ซึงมีรายละเอียดดังนี้คือ ่ 1. สาขามนุษยศาสตร์ (The Humanities) ได้แก่ วัฒนธรรมที่ว่าด้วยขนบธรรมเนียม ประเพณี คุณธรรม ศีลธรรม จริยธรรม ค่านิยม ศาสนา ปรัชญา ประวัติศาสตร์ โบราณคดี มารยาทใน สังคม การปกครอง กฎหมาย เป็นต้น 2. สาขาศิลปะ (The Arts) ได้แก่ วัฒนธรรมในเรื่องภาษา วรรณคดี ดนตรี ฟ้อนรํา จิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม เป็นต้น 2 กระทรวงวัฒนธรรม. (2555). ประวัติกระทรวงวัฒนธรรม. สืบค้นเมื่อ 8 ตุลาคม 2555 จาก http://www.m-culture.go.th/about.php
  • 5. 3. สาขาการช่างฝีมือ (The Practical crafts) ได้แก่ วัฒนธรรมในเรื่องการเย็บปักถักร้อย การแกะสลัก การทอผ้า การจักสาน การทําเครื่องเขิน เครื่องเงินเครื่องทอง เครื่องถม การจัดดอกไม้ การทําตุ๊กตา การทอเสื่อ การประดิษฐ์ การทําเครื่องปั้นดินเผา เป็นต้น 4. สาขาคหกรรมศิลป์ (The Domestic Arts) ได้แก่ วัฒนธรรมในเรื่องอาหาร เสื้อผ้า การ แต่งงาน บ้าน ยา การดูแลเด็ก ครอบครัว การรู้จักประกอบอาชีพช่วยเศรษฐกิจในครอบครัว เป็นต้น 5. สาขากีฬาและนันทนาการ (The Sports and Recreation) ได้แก่ วัฒนธรรมในเรื่อง การละเล่น มวยไทย ฟันดาบสองมือ กระบี่กระบอง กีฬาพื้นบ้าน เป็นต้น3 จากความหมายและขอบข่ายของศิลปวัฒนธรรมที่กล่าวมาจะเห็นว่ารอบ ๆ ตัวเรามี วัฒนธรรมสอดแทรกอยู่ในทุก ๆ ส่วนของการใช้ชีวิตประจําวัน จนบางครั้งถูกละเลยไปโดยไม่ได้ตั้งใจ และด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทาให้วัฒนธรรมบางอย่างถูกมองข้ามไป อาทิ การเสนอข่าวจาก ํ สถานีโทรทัศน์ช่องหนึ่งเมื่อไม่นานมานี้เกี่ยวกับการใช้แท็บเล็ตของเด็กนักเรียนชั้นประถมปีที่ 1 ภาพ ข่าวได้จับไปตอนที่เด็กนักเรียนใช้นิ้วชี้ลากไปบนจอแท็บเล็ตเป็นอักษร ก.ไก่ คาดว่าผู้ที่ได้ดูข่าวนี้ หลาย ๆ คน คงมีความคิดไปในทิศทางเดียวกันว่าเป็นเช่นนี้ได้อย่างไร เพราะเด็กนักเรียนชั้นประถมปี ที่ 1 เป็นช่วงที่นักเรียนควรที่จะมีทักษะในการเรียนรู้การใช้ภาษา เรียนรู้การใช้นิ้วโป้งและนิ้วชี้จับ ดินสอเขียนตัวอักษรลงบนกระดาษ ไม่ใช่ใช้นิ้วชี้ลากไปบนจอ จากตัวอย่างนี้ทําให้เห็นว่าการเข้ามา ของเทคโนโลยีนั้นมีประโยชน์ แต่ด้วยนโยบายของรัฐบาลทางด้านการศึกษายังขาดทิศทาง ขาดการ วางแผน ทําให้สูญเสียเงิน สูญเสียโอกาส สูญเสียการเริ่มต้นปลูกฝังสิ่งที่ถกต้อง ดีงามให้กับเยาวชน ู ตั้งแต่ยังเด็ก แม้กระทั่งนิสิตนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาเองก็ตาม มักจะใช้ภาษาไทยได้ไม่เหมาะสม การ เขียนตัวสะกดผิดไปจากที่ควรเป็น ไม่มีความแตกฉานในภาษา พบว่าเทคโนโลยีเข้ามามีอทธิพลทําให้ิ ความงดงาม ตลอดจนสุนทรียภาพของภาษาไทยลดเลือนไป การใช้ภาษาในโลกออนไลน์ การใช้คาสั้น ๆ การบัญญัติคําใหม่ที่เป็นคํากร่อนเพื่อใช้สื่อสารผ่านอุปกรณ์เทคโนโลยีเพื่อความ ํ รวดเร็ว จนทําให้เยาวชนรุ่นใหม่แทบจะไม่รถึงความงดงามและต้นกําเนิดของคําแต่ละคําในภาษาไทย ู้ ซึ่งนับว่าเป็นเอกลักษณ์ทแสดงถึงความมีวัฒนธรรมของชาติที่มีความเฉพาะของตนเอง ี่ กระแสโลกาภิวัตน์นอกจากจะนําพาวัฒนธรรมตะวันตกมาแล้วนั้น ณ ปัจจุบันยังได้นําพา วัฒนธรรมตะวันออกจากเกาหลี ญี่ปุ่น แทรกซึมเข้าสู่เยาวชนไทย จนให้ความสําคัญ ชืนชมกับ ่ วัฒนธรรมต่างชาติ จนลืมความงดงามของศิลปวัฒนธรรมไทยกลับมองว่าเป็นความโบราณไม่ทนสมัย ั 3 สํานักเลขาธิการสภาการศึกษา. (2555). ขอบข่ายวัฒนธรรม. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2555 จาก http://www.thaiwisdom.org/p_culture/api/api_4.htm
  • 6. ณ ปัจจุบัน กระแสการเต้นแบบกัมนังสไตล์ของเกาหลี ที่มท่าทางการเต้นเหมือนการควบม้า ซึ่งแทรก ี ซึมไปสู่เยาวชน จนหันมาเต้นเลียนแบบท่าทางดังกล่าว และระบาดไปทั่วโลกจนทําให้ซีกโลกตะวันตก เกิดการเลียนแบบท่าทางการเต้นเช่นกัน รวมทั้งการแต่งกายแบบเกาหลี ญี่ปุ่น การใส่คอนแท็กเลนส์ ตากลม การเรียนภาษาญี่ปุ่น เกาหลี ความคลั่งไคล้ศิลปินเกาหลี การรับประทานอาหารเกาหลี ญี่ปุ่น จนกลายเป็นกระแส K-pop J-pop ปฏิเสธความเป็นไทย ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นกับเยาวชน ไทยในปัจจุบัน จากที่กล่าวมานั้นนับว่าเป็นวิกฤตที่กําลังก่อตัวขึ้น บทบาทของการศึกษาในฐานะแหล่งบ่ม เพาะทางวัฒนธรรมให้กับเยาวชนของชาติ นักการศึกษาและผู้ที่มส่วนเกี่ยวข้อง จะต้องตระหนักถึง ี ปัญหาดังกล่าวและต้องเร่งแก้ไขโดยเร็ว การใช้เทคโนโลยีเข้ามาอํานวยความสะดวกนั้นเป็นสิ่งที่ดีแต่ ทําอย่างไรที่เราทุกคนจะต้องรู้เท่าทัน ในบทความนี้จะขอกล่าวถึงเฉพาะการศึกษาในระดับอุดมศึกษา เกี่ยวกับบทบาทและหน้าทีในการทํานุบํารุงและอนุรักษ์วฒนธรรมของชาติ ่ ั การอุดมศึกษามีพันธกิจหลัก 4 ประการ ได้แก่ การเรียนการสอน การวิจัย การบริการ วิชาการ และการทํานุบารุงศิลปวัฒนธรรม ทุกสถาบันอุดมศึกษาไม่ว่าจะเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ ํ มหาวิทยาลัยในกํากับของรัฐ มหาวิทยาลัยเอกชน สถาบันหรือวิทยาลัย ต่างตระหนักถึงภารกิจทั้ง 4 ด้าน แต่ดูเหมือนว่าภารกิจทางด้านการทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรมนั้นจะถูกเบียดบังจากภารกิจอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นการเรียนการสอน ซึ่งบุคลากรส่วนใหญ่มองว่าสถาบันอุดมศึกษามีภารกิจอันใหญ่หลวงนี้ เป็นภารกิจหลัก ซึ่งคงไม่อาจปฏิเสธได้เช่นกันว่าสถาบันอุดมศึกษาเป็นแหล่งศึกษาหาความรู้ ส่วน ทางด้านการวิจัยและการบริการวิชาการนั้นเพื่อแสวงหาความรู้ใหม่และถ่ายทอดสู่สังคม ก็เป็นภารกิจ ที่สําคัญอีกเช่นกัน อย่างไรก็ตาม การทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรมของชาติให้อยู่สืบทอดต่อไปก็เป็น หน้าที่ของสถาบันอุดมศึกษาที่เป็นแหล่งการศึกษาขั้นสูงสุด ดังคํากล่าวที่ว่า “ไม่มีวัฒนธรรมก็สิ้น ชาติ” แต่ในทางปฏิบัตินั้น การทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรมของสถาบันอุดมศึกษายังขาดการวางแผน และทิศทาง ไม่มีหน่วยงานรับผิดชอบโดยตรง การปฏิบัติส่วนใหญ่ยังเป็นภาระหน้าที่ของคณะวิชา อย่างเช่นสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งหนึ่ง การทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรมในภาพรวมของ สถาบันอุดมศึกษาแห่งนี้รับผิดชอบโดยศูนย์ศิลปวัฒนธรรม บทบาทหน้าที่ของศูนย์นี้คือดูแลวงดนตรี ไทยและนักศึกษาที่ได้รับทุนนาฏศิลป์ เมื่อมีงานที่เป็นพิธีการของทางสถาบันก็จะเข้าร่วมแสดงดนตรี ไทยและนํานักศึกษารําอวยพร การที่มีการประกันคุณภาพการศึกษาทั้งจาก สมศ. และ สกอ. โดยเฉพาะ สกอ. องค์ประกอบที่ 6 การทํานุบํารุงศิลปะและวัฒนธรรม มีหลักการว่าการทํานุบํารุงศิลปะและวัฒนธรรม
  • 7. ถือเป็นพันธกิจสําคัญประการหนึ่งของสถาบันอุดมศึกษา ดังนั้น สถาบันอุดมศึกษาจึงต้องมีระบบและ กลไกการดําเนินงานด้านนี้ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและคุณภาพ โดยอาจมีจุดเน้นเฉพาะที่ แตกต่างกันตามปรัชญา และธรรมชาติของแต่ละสถาบัน และมีการบูรณาการเข้ากับพันธกิจอื่น ๆ โดยเฉพาะการผลิตบัณฑิต รวมทั้งมีการจัดกิจกรรมที่ฟื้นฟู อนุรกษ์ สืบสาน พัฒนา เผยแพร่ศิลปะ ั และวัฒนธรรม สร้างสรรค์ ส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เป็นรากฐานการพัฒนาองค์ความรู้ที่ดีขึ้น4 โดยได้กําหนดตัวบ่งชี้ต่าง ๆ มากมาย ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านีจะตรวจสอบด้วยตัวเอกสาร และลงลึกถึง ้ ระดับหลักสูตร ดังนั้นคณะวิชาที่มีหลักสูตรต่าง ๆ ตามสาขาวิชา ต้องรับผิดชอบในองค์ประกอบนี้โดย ขาดทิศทางและแนวทางที่ชดเจนในทางปฏิบติทําให้เกิดการสิ้นเปลือง ทํางานซ้ําซ้อน และไม่มี ั ั ประสิทธิภาพ เมื่อเป็นเช่นนี้เพื่อให้การทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรมของสถาบันอุดมศึกษาเกิดประสิทธิผล สูงสุด โดยเฉพาะสถาบันอุดมศึกษาเอกชนที่ขาดทิศทาง ควรจัดตั้งหน่วยงานที่เป็นศูนย์กลางของ สถาบันเพื่อกําหนดนโยบาย แผนงาน โครงสร้าง และการบริหารจัดการงานทํานุบํารุงศิลปะและ วัฒนธรรมทั้งการอนุรักษ์ ฟื้นฟู สืบสาน เผยแพร่วัฒนธรรม และให้การแนะนําแก่คณะวิชาต่าง ๆ เพื่อ การทํางานด้านนี้อย่างมีเอกภาพ ไม่ซ้ําซ้อนและสิ้นเปลืองงบประมาณ การจัดตั้งหน่วยงานนี้อาจจะ เป็นศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มีผู้อํานวยการและกําหนดโครงสร้างของหน่วยงาน อีกประการหนึ่ง เนื่องจากขอบข่ายของศิลปวัฒนธรรมไทยนั้นมีมากมายหลายแขนง อาจทํา ให้หลายฝ่ายทีเ่ กี่ยวข้องเกิดความสับสนในทางปฏิบัติ ดังนั้นควรประชุมสัมมนาเพื่อจัดทําคู่มือกําหนด ขอบข่ายของศิลปวัฒนธรรมไทย โดยมีหน่วยงานประกันคุณภาพการศึกษา สกอ. รับรองเพื่อกําหนด ขอบข่ายดังกล่าวไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อการปฏิบัติที่ถูกต้อง สุดท้ายบทบาทของการอุดมศึกษาในมิติของศิลปวัฒนธรรม ยังคงเป็นความท้าทายว่า อุดมศึกษานั้นจะต้องแสดงบทบาทในการเป็นผู้ทําหน้าทีชี้นําสังคมไปสู่ทางที่ถกต้องและเหมาะสม ่ ู ถึงแม้ว่าจะมีกฏเกณฑ์ใด ๆ มากําหนดให้สถาบันอุดมศึกษาต้องทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรม แต่ด้วย จิตสํานึกของคนไทยทุกคนไม่ว่าจะเป็นบุคลากรหรือนักศึกษาต้องทําหน้าที่ของคนไทยคือการทํานุ บํารุงศิลปวัฒนธรรมให้อยู่คชาติไทยสืบสานถ่ายทอดถึงลูกหลานต่อไป ู่ ********************************* 4 สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2554). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน สถานศึกษา ระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2553. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจํากัด ภาพพิมพ์.