SlideShare a Scribd company logo
กฎหมาย ลักษณะ
ทรัพย์สิน
๑. นาย กตัญญู สุวรรณกิจ รหัส 531121723
๒. นาย ประกาศิต พลอาจ รหัส 531121731
๓. นางสาว รัชดาภรณ์ ใจงาม รหัส 5311217
๔. นาย อดิเทพ ใจยา รหัส 531121738
คณะครุศาสตร์
โปรแกรมวิชา สังคมศึกษา ชั้นปีที่ ๔
มหาวิทยาลัยราชภัฏกาแพงเพชร
ทรัพย์ หมายความว่าอะไร (ป.พ.พ. มาตรา ๑๓๗)
ทรัพย์ หมายความว่า วัตถุมีรูปร่าง สิ่งที่เห็นได้ด้วยตาและจับ
ต้องสัมผัสได้ เช่น บ้าน รถยนต์ พระพุทธรูป ม้า เป็นต้น
ความหมายของทรัพย์
“ มีราคา” หมายถึง มีคุณค่าในตัวของสิ่งนั้นเอง โดยอาจมีคุณค่า
เพื่อประโยชน์ใช้สอยในทางเศรษฐกิจหรือประโยชน์ทางจิตใจก็ได้
ไม่จาเป็นต้องมีราคาที่อาจซื้อขายกันได้ตามท้องตลาด เช่น
จดหมายติดต่อระหว่างคู่รัก เป็นต้น
ความหมายของคาว่า “ มีราคา”
“ ถือเอาได้ ” หมายถึง การที่บุคคลสามารถเข้าหวงกันไม่ให้บุคคลอื่น
เข้ามาเกี่ยวข้องกับทรัพย์นั้น
ความหมายของคาว่า “ ถือเอาได้ ”
ทรัพย์สินหมายความว่าอะไร (ป.ป.พ. มาตรา ๑๓๘)
ทรัพย์สิน หมายถึง ทรัพย์ และวัตถุไม่มีรูปร่าง ซึ่งอาจมีราคาและอาจ
ถือเอาได้ เช่น รถยนต์ กระแสไฟฟ้า พลังงานน้าตก แก๊ส ลิขสิทธิ์ สิทธิ
เรียกร้อง เป็นต้น
ความหมายของทรัพย์สิน
(๑) อสังหาริมทรัพย์
(๒) สังหาริมทรัพย์
ประเภทของทรัพย์สินแบ่งออกเป็ น ๒ ประเภท
ประเภทของทรัพย์สินแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท
๑. อสังหาริมทรัพย์ หมายถึง ทรัพย์สินอันเคลื่อนที่ไม่ได้ ซึ่งได้แก่
(๑.๑) ที่ดิน
(๑.๒) ทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดินมีลักษณะเป็นการถาวร เช่น บ้าน กาแพง โกดัง
โรงงาน สะพาน เจดีย์ ไม้ยืนต้น คือพันธุ์ไม้ที่มีอายุยืนกว่า ๓ ปี ถือเป็นไม้ยืนต้น
ทั้งสิ้น
(๑.๓) ทรัพย์ซึ่งประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดิน เช่น แม่น้า ลาคลอง แร่ธาตุ กรวด
ทราย ซึ่งมีอยู่ตามธรรมชาติ หรือบุคคลนามารวมเป็นอันเดียวกับที่ดิน เช่น
คอนกรีต ที่นามาทาถนน
(๑.๔) ทรัพย์สิทธิอันเกี่ยวกับที่ดินหรือทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดินหรือประกอบเป็น
อันเดียวกับที่ดิน เช่น กรรมสิทธิ์ในที่ดิน สิทธิครอบครองที่ดิน ภาระจายอม สิทธิ
อาศัย สิทธิจานอง เป็นต้น
ประเภทของทรัพย์สินแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท
(ต่อ)
๒. สังหาริมทรัพย์ (ป.พ.พ. มาตรา ๑๔๐) หมายถึง ทรัพย์สินอันเคลื่อนที่ได้
ซึ่งได้แก่
(๑) ทรัพย์สินอื่นนอกจากอสังหาริมทรัพย์ เช่น ช้าง ม้า วัว ควาย รถยนต์
เครื่องบิน โต๊ะ เก้าอี้ สมุด ปากกา ดินสอ วิทยุ โทรทัศน์ พลังน้าตก แก๊ส พลังไอ
น้า เป็นต้น
(๒) สิทธิอันเกี่ยวกับทรัพย์สิน เช่น สิทธิจานา สิทธิยึดหน่วง ลิขสิทธิ์ เป็นต้น
อนึ่ง ไม้ล้มลุกและธัญชาติ ถือเป็น สังหาริมทรัพย์ด้วย
(๑) ทรัพย์แบ่งได้
(๒) ทรัพย์แบ่งไม่ได้
เกณฑ์การแยกออกจากกันของทรัพย์สิน
มาพิจารณาแบ่งออกเป็ น ๒ ประเภท
(๑) ทรัพย์แบ่งได้ หมายถึง ทรัพย์ที่อาจแยกออกจากกันได้เป็นส่วนๆ
โดยไม่เสียรูปลักษณะของทรัพย์เดิม และแต่ละส่วนที่แยกออกไปได้รูป
บริบูรณ์ในตัวเอง เช่น ที่ดินซึ่งอาจแยกเป็นแปลงเล็กๆ หลายแปลงได้
ข้าวสารซึ่งอาจแยกเป็นหลายกระสอบได้
(๒) ทรัพย์แบ่งไม่ได้ หมายถึง ทรัพย์ซึ่งไม่สามารถแยกออกจากกันได้
หากแยกออกจากกันจะทาให้เปลี่ยนแปลงภาวะหรือรูปลักษณะของ
ทรัพย์จนผิดแผกไปจากเดิม เช่น กางเกง ถ้าแยกออกจากกันแล้ว ก็จะ
ใส่ไม่ได้ เป็นต้น
(๑) ทรัพย์นอกพาณิชย์
(๒)ทรัพย์ในพาณิชย์
เกณฑ์ความสามารถในการถือเอาทรัพย์สินมาพิจารณาแบ่ง
ทรัพย์สิน สามารถแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท
(๑) ทรัพย์นอกพาณิชย์ หมายถึง ทรัพย์ที่ไม่สามารถยึดถือเอาได้
และทรัพย์ที่ไม่สามารถโอนแก่กันได้โดยชอบด้วยกฎหมาย ทรัพย์
นอกพาณิชย์มี ๒ ประเภท คือ
(๑.๑) ทรัพย์ที่ไม่สามารถยึดถือเอาได้ เช่น สายลม แสงแดด
ดวงดาว ดวงอาทิตย์ เป็นต้น
(๒.๒) ทรัพย์ที่ไม่สามารถโอนกันได้โดยชอบด้วยกฎหมาย เช่น วัด
สาธารณสมบัติของแผ่นดิน เป็นต้น
(๒) ทรัพย์ในพาณิชย์ หมายถึง ทรัพย์ที่ไม่ใช่ทรัพย์นอกพาณิชย์
ทรัพย์ที่ประชาชนสามารถถือเอาได้อย่างเสรีและสามารถโอนกันได้โดย
ไม่มีกฎหมายห้ามไว้ เช่น เงิน ที่ดิน มือถือ เป็นต้น
ส่วนควบของทรัพย์ (ป.พ.พ. มาตรา ๑๔๔) หมายถึง ส่วนซึ่งโดยสภาพ
แห่งทรัพย์ หรือโดยจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น เป็นสาระสาคัญในความ
เป็นอยู่ของทรัพย์นั้น และไม่อาจแยกจากกันได้ นอกจากจะทาลาย ทา
ให้บุบสลาย หรือทาให้ทรัพย์นั้นเปลี่ยนแปลงรูปทรงหรือสภาพไป
ส่วนควบของทรัพย์หมายความว่าอะไร
(๑) ส่วนควบต้องเป็นสาระสาคัญในความเป็นอยู่ของทรัพย์นั้น เช่น
เข็มนาฬิกาเป็นสาระสาคัญของนาฬิกา หากไม่มีเข็มนาฬิกาย่อมไม่
อาจใช้บอกเวลาได้
(๒) ส่วนควบต้องมีสภาพที่ไม่อาจแยกออกจากทรัพย์นั้นได้ เช่น ขา
โต๊ะไม่อาจแยกจากตัวโต๊ะได้นอกจากจะทาให้มันบุบสลาย เป็นต้น
ทรัพย์ที่จะเป็นส่วนควบได้จะต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์ ๒ ประการ
เคนขโมยกระเบื้องมุงหลังคาของป๋ อ เมื่อเคนนากระเบื้องดังกล่าว
มามุงหลังคาบ้านของตน กระเบื้องนั้นก็จะเป็นส่วนควบของบ้าน
ของเคน ดังนั้น กรรมสิทธิ์ในกระเบื้องอันเป็นส่วนควบนั้นย่อม
เป็นของเคนซึ่งเป็นเจ้าของบ้าน แม้การกระทาของเคนจะเป็นละเมิด
และเป็นความผิดอาญาฐานลักทรัพย์ก็ตาม
ไม้ล้มลุกหรือธัญชาติ ตามกฎหมายไม้ยืนต้นเป็นส่วนควบของ
ที่ดินเสมอ เช่น ต้นมะม่วง ต้นพลู ต้นไผ่ แต่ถ้าเป็นไม้ล้มลุกคือ
ต้นไม้ที่มีอายุไม่เกิน ๓ ปี เช่น ต้นอ้อย ต้นกล้วย เป็นต้น หรือ
พวกธัญชาติ เช่น ข้าว ข้าวโพด ข้าวฟ่าง พืชผักสวนครัว
กฎหมายกาหนดว่าไม่เป็นส่วนควบของที่ดิน
ข้อยกเว้นของส่วนควบ
 ไม้ปลูกต้นมะขามในที่ดินของกาหลง ดังนี้ ต้นมะม่วงที่ไม้
ปลูกย่อมเป็นส่วนควบกับที่ดินของกาหลง ทั้งนี้ ไม่ว่าไม้จะปลูก
โดยได้รับอนุญาตหรือไม่ได้รับอนุญาตจากกาหลงก็ตาม
เนื่องจากต้นมะขามเป็นไม้ยืนต้น ซึ่งกฎหมายกาหนดให้ไม้ยืน
ต้นเป็นส่วนควบกับที่ดินเสมอ ดังนั้นไม้ผู้ปลูกจึงไม่เป็นเจ้าของ
กรรมสิทธิ์ในต้นมะขามดังกล่าว แต่เจ้าของกรรมสิทธิ์ใน
ต้นมะขามดังกล่าว ก็คือ กาหลงซึ่งเป็นเจ้าของที่ดิน
(ตัวอย่างที่ ๑)
 มีนปลูกต้นกล้วยในที่ดินของใหม่ ดังนี้ ต้นกล้วยที่มีนปลูกย่อม
ไม่เป็นส่วนควบกับที่ดินของใหม่ทั้งนี้ ไม่ว่ามีนจะปลูกโดย
ได้รับอนุญาตจากใหม่ก็ตาม เนื่องจากต้นกล้วยจัดเป็นไม้ล้มลุก
ชนิดหนึ่ง ซึ่งกฎหมายกาหนดให้ไม้ล้มลุกไม่เป็นส่วนควบกับ
ที่ดินเสมอ ดังนั้น มีนผู้ปลูกจึงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในต้นกล้วย
ดังกล่าว
(ตัวอย่างที่ ๒)
 อุปกรณ์ หมายถึง สังหาริมทรัพย์ ซึ่งโดยปกตินิยมเฉพาะถิ่นหรือโดยเจตนาชัด
แจ้งของเจ้าของทรัพย์ที่เป็นประธาน เป็นของใช้ประจาอยู่กับทรัพย์ที่เป็นประธาน
เป็นอาจิณ เพื่อประโยชน์แก่การจัดดูแล ใช้สอย หรือรักษาทรัพย์ที่เป็นประธาน
และเจ้าของทรัพย์ได้นามาสู่ทรัพย์ที่ประธาน เช่น ซื้อรถยนต์ย่อมได้เครื่อง
อุปกรณ์ ยางอะไหล่ เว้นแต่จะตกลงกันว่าไม่ให้เครื่องอุปกรณ์ หรือยางอะไหล่
ด้วย
อุปกรณ์
 (๑) อุปกรณ์จะต้องเป็นสังหาริมทรัพย์เท่านั้น เช่น กรงนกเป็นอุปกรณ์ของนกเพราะ
กรงนกเป็นสังหาริมทรัพย์
 (๒) อุปกรณ์จะต้องมีทรัพย์ประธานเสมอ เช่น ช้อนกับส้อมเป็นอุปกรณ์คู่กัน เพราะ
ไม่มีทรัพย์ชิ้นใดเป็นทรัพย์ประธาน เนื่องจาก ช้อนกับส้อมมีความสาคัญเท่าๆกัน
 (๓) อุปกรณ์ต้องเป็นของใช้ประจาอยู่กับทรัพย์ประธาน
 (๔) อุปกรณ์ต้องเป็นไปเพื่อใช้ประโยชน์ในการจัด ดูแล ใช้สอย หรือรักษาทรัพย์
ประธาน
 (๕) อุปกรณ์และทรัพย์ประธานต้องมีเจ้าของเป็นคนเดียวกัน
 (๖) อุปกรณ์จะต้องเป็นทรัพย์ที่เจ้าของทรัพย์ประธานได้นามาสู่ทรัพย์ประธานใน
ฐานะเป็นของใช้ประกอบกับทรัพย์ประธาน
ทรัพย์ที่จะเป็นอุปกรณ์ได้จะต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์ ๖ ประการ
ประเด็น ส่วนควบ อุปกรณ์
๑. ประเภทของทรัพย์ อาจเป็นสังหาริมทรัพย์หรือ
อสังหาริมทรัพย์ก็ได้
ต้องเป็นสังหาริมทรัพย์
เท่านั้น
๒. ทรัพย์ประธาน จะมีทรัพย์ประธานหรือไม่ก็
ได้
ต้องมีทรัพย์ประธานเสมอ
๓. การแยกออกจากทรัพย์
ประธาน
แยกไม่ได้ หากแยกออกจาก
ทรัพย์ประธานจะทาให้ทรัพย์
ประธาน บุบ สลายเสียสภาพ
ไป
แยกได้โดยไม่ทาให้ทรัพย์
ประธานบุบสลายหรือเสีย
สภาพไป
ความแตกต่างระหว่างส่วนควบกับอุปกรณ์
ดอกผลทรัพย์
ดอกผลของทรัพย์แบ่งได้เป็น ๒ ประเภท
(๑) ดอกผลธรรมดา
(๒) ดอกผลนิตินัย
(๑) ดอกผลธรรมดา หมายถึง ทรัพย์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติจากแม่
ทรัพย์ ซึ่งได้มาจากตัวทรัพย์โดยการมีหรือใช้ทรัพย์นั้นตามปกติ
นิยม และสามารถถือเอาได้เมื่อขาดจากทรัพย์นั้น เช่น ผลไม้ ลูก
ของสัตว์ เป็นต้น
(๒) ดอกผลนิตินัย หมายถึง ทรัพย์หรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้มา
เป็นครั้งคราวแก่เจ้าของทรัพย์จากผู้อื่นเพื่อการที่ได้ใช้ทรัพย์นั้น
และสามารถคานวณหรือถือเอาได้เป็นรายวันหรือตามระยะเวลาที่
กาหนดไว้ เช่น ดอกเบี้ย ค่าเช่า กาไร เป็นต้น
สาธารณสมบัติของ
แผ่นดิน
สาธารณสมบัติของแผ่นดิน หมายถึง ทรัพย์สินทุกชนิดของแผ่นดินซึ่งใช้เพื่อ
สาธารณประโยชน์หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกัน เช่น
(๑) ที่ดินรกร้างว่างป่าว และที่ดินที่มีผู้เวนคืนหรือทอดทิ้งหรือกลับมาเป็นของ
แผ่นดินโดยประการอื่นตามกฎหมายที่ดิน
(๒) ทรัพย์สินสาหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน เป็นต้นว่า ที่ชายตลิ่ง ทางน้า ทางหลวง
ทะเลสาบ
(๓) ทรัพย์สินที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ เป็นต้นว่า ป้ อมและโรง
ทหาร สานักราชการบ้านเมือง เป็นต้น
๑) ทรัพย์สินนั้นต้องเป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน หมายถึง บรรดาทรัพย์สินที่
แผ่นดินหรือรัฐเป็นเจ้าของ ไม่ว่าจะเป็นอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์
๒) ทรัพย์สินนั้นได้ใช้เพื่อสาธารณะประโยชน์หรือสงวนไว้เพื่อใช้ประโยชน์ร่วมกัน
เช่น ที่ราชพัสดุที่ให้เอกชนเช่า เป็นต้น
ทรัพย์สินใดจะเป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดินจะต้องมี
องค์ประกอบ ๒ ประการ ดังนี้
(๑) สาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้นจะโอนแก่กันมิได้
(๒) สาธารณสมบัติของแผ่นดินไม่สามารถถูกครอบครองปรปักษ์ได้
(๓) สาธารณสมบัติของแผ่นดินไม่สามารถถูกยึดมาบังคับคดีได้
ผลของการเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน มี ๓ ประการ
กรรมสิทธิ์
กรรมสิทธิ์ หมายถึง ทรัพย์สิทธิที่แสดงความเป็นเจ้าของทรัพย์สิน
หรือสิทธิทั้งปวงที่ผู้เป็นเจ้าของมีอยู่ในทรัพย์สิน ได้แก่
(๑) สิทธิใช้สอย
(๒) สิทธิจาหน่ายจ่ายโอน
(๓) สิทธิได้ดอกผลในทรัพย์สิน
(๔) สิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นเข้ามายุ่งเกี่ยวกับทรัพย์สินของตน
(๕) สิทธิติดตามเอาทรัพย์คืนจากผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้
กรรมสิทธิ์รวม คือ การที่บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปเป็นเจ้าของ
ทรัพย์สินเดียวกัน ซึ่งถ้าไม่ได้ตกลงกันไว้ก่อนว่า ใครมีกรรมสิทธิ์
ในทรัพย์สินนั้นเป็นจานวนเท่าใดแล้ว กฎหมายให้ถือว่า เจ้าของ
รวมทุกคนมีส่วนเท่ากันในทรัพย์สินนั้น
กรรมสิทธิ์รวม
 เขียวเป็นเจ้าของรถยนต์คันหนึ่ง กล่าวอีกนัยหนึ่งเขียวมีกรรมสิทธิ์ใน
รถยนต์คันดังกล่าว ดังนั้น เขียวจึงสามารถใช้รถยนต์ของตนอย่างไรก็ได้
นาไปขายก็ได้นาไปให้เช่าก็ได้ขัดขวางไม่ให้ผู้ใดมายุ่งเกี่ยวกับรถของ
ตน และหากมีผู้ใดเอารถของตนไป เขียวก็สามารถติดตามเอารถคืนจาก
ผู้นั้นได้
ตัวอย่าง
การครอบครอง
ปรปักษ์
การครอบครองปรปักษ์ หมายถึง การที่บุคคลหนึ่งครอบครอง
ทรัพย์สินของผู้อื่นไว้โดยสงบโดยเปิดเผยและโดยเจตนาเป็น
เจ้าของ ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ (เช่นที่ดิน) ได้ครอบครอง
ติดต่อกันเป็นเวลา (๑๐) ปี ดังนี้บุคคลผู้ครอบครองได้กรรมสิทธิ์
ในทรัพย์สินนั้น
ทางจาเป็น
ทางจาเป็น หมายถึง ทางออกที่ต้องผ่านที่ดินของบุคคลอื่นไปสู่ทางสาธารณะ
ซึ่งกฎหมาย กาหนดไว้สาหรับที่ดินที่ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ
 แดงมีที่ดินแปลงหนึ่งซึ่งไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ เนื่องจากทิศเหนือติด
กับที่ดินของดาซึ่งติดอยู่กับถนนหลวง ทิศใต้ติดกับแม่น้าที่สามารถสัญจรไป
มาได้ทิศตะวันออก ติดกับที่ดินของเขียว และทิศตะวันตกติดกับที่ดินของฟ้า
ดังนี้ แดงสามารถผ่านที่ดินของดาไปสู่ถนนหลวงอันเป็นทางสาธารณะได้
โดยแดงต้องเสียค่าทดแทนแก่ดาเพื่อตอบแทนการใช้ทางจาเป็นบนที่ดินของ
ดา หากดาไม่ยอมให้ผ่านที่ดินของตนแดงก็สามารถฟ้องศาลขอให้เปิดทางจา
เป็นได้
ตัวอย่าง
ภาระจายอม
ภาระจายอม คือ เป็นทรัพย์สิทธิที่ทาให้เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ที่เรียกว่า
ภารยทรัพย์ ต้องรับกรรมบางอย่างซึ่งกระทบ ถึงทรัพย์สินของตนหรือทาให้
ต้องงดใช้สิทธิบางอย่างในทรัพย์สินของตนเพื่อโยชน์แก่เจ้าของ
อสังหาริมทรัพย์อื่น เรียกว่า สามยทรัพย์
(๑) ต้องมีอสังหาริมทรัพย์
(๒) อสังหาริมทรัพย์ทั้งสองนั้นต้องมีเจ้าของคนละคนกัน
(๓) เจ้าของภารยทรัพย์ต้องมีหน้าที่บางอย่างหรือต้องงดเว้น
การใช้สิทธิบางอย่างเพื่อประโยชน์แก่สามยทรัพย์
ภาระจายอมจะเกิดขึ้นได้ต้องเข้าองค์ประกอบ ๓ ประเภท
 (๑) โดยนิติกรรมหรือสัญญา คือ เจ้าของภารยทรัพย์ยอมให้สิทธิภาระจายอมแก่
เจ้าของสามยทรัพย์ โดยการทาสัญญา (นิติกรรม) แต่ต้องทาเป็นหนังสือและจด
ทะเบียนต่อเจ้าหน้าที่จึงจะสมบูรณ์
 (๒) โดยอายุความ คือ เจ้าของสามยทรัพย์ได้ใช้ที่ดินของเจ้าของภารยทรัพย์เป็น
เวลา ๑๐ ปี ไม่ว่าที่ดินมีโฉนดหรือ น.ส.๓ ก็ตาม
 (๓) โดยผลกฎหมายกาหนดให้เป็นสิทธิภาระจายอม เช่น ผู้ที่ปลูกบ้านรุกล้าไปใน
ที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริต ย่อมได้ภาระจายอมในส่วนที่ปลูกรุกล้า
การได้มาซึ่งสิทธิภาระจายอมมี ๓ วิธี
สิทธิอาศัย
สิทธิอาศัย คือ สิทธิที่บุคคลได้อาศัยในโรงเรือนของบุคคลอื่น โดยไม่ต้องเสียค่าเช่า
โดยจะกาหนดระยะเวลากันไว้ไม่เกิน ๓๐ ปี หรือกาหนดไว้ให้มีระยะเวลาตลอดชีวิต
ของผู้อาศัยก็ได้มีสิทธิเฉพาะการอาศัยเท่านั้น จะทาการค้าไม่ได้ และห้ามโอนให้แก่
กันแม้โดยทางมรดก
สิทธิอาศัย คืออะไร
สิทธิเหนือพื้นดิน คือ สิทธิที่เจ้าของที่ดินให้แก่บุคคลหนึ่งเพื่อให้บุคคลนั้นได้เป็น
เจ้าของโรงเรือน สิ่งปลูกสร้าง ที่ได้กระทาบนดินหรือใต้ดิน เช่น ก. เจ้าของที่ดิน
ยินยอมให้นาย ข. ปลูกบ้านในที่ดินของตนได้ สิทธิเหนือพื้นดินต้องเกิดจากนิติ
กรรมสัญญาเท่านั้นและต้องทาเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อเจ้าหน้าที่จึงจะสมบูรณ์
สิทธิเหนือพื้นดิน คืออะไร
สิทธิเก็บกิน คือ สิทธิครอบครองใช้ และถือเอาประโยชน์ในอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่น
เช่น ผู้มีสิทธิเก็บกินในป่าไม้ เหมืองแร่ หรือถ่านหิน มีสิทธิแสวงหาผลประโยชน์จาก
ป่าไม้เหมืองแร่หรือที่ขุดถ่านหินนั้น
สิทธิเก็บกิน คืออะไร
แบบทดสอบ
ก. ที่ดิน
ข. รถยนต์
ค. เรือนแพ
ง. เรือหางยาว
ก. เงินค่าเช่าห้องแถว
ข. ภรรยาได้รับรางวัลตุ๊กตาทอง
ค. สามีได้รับโอนกรรมสิทธิ์จากบิดาตน
ง. ภรรยาได้รับเงินค่าขายข้าวสารจากพ่อค้า
ก. ไม่สามารถยึดถือเอาได้
ข. สามารถยึดถือเอาได้และโอนกันได้
ค. ไม่สามารถโอนให้กันได้โดยชอบ
ง. ถูกทั้งข้อ ก และข้อ ค
ก. ไม่มีผู้ใดฝ่าฝืนกฎหมายได้
ข. มีผลใช้บังคับตลอดไป
ค. ประชาชนทุกคนต้องปฏิบัติตาม
ง. ผู้ใดฝ่าฝืนย่อมต้องได้รับโทษ
ก. ผิดกฎหมายเพราะถือว่าฆ่าคนตาย
ข. ไม่ผิดกฎหมายเพราะเป็นจารีตประเพณี
ค. ผิดกฎหมายแต่ไม่ถูกลงโทษ
ง. ผิดกฎหมายแต่กฎหมายลดโทษให้
เฉลย แบบทดสอบ
ก. ที่ดิน
ข. รถยนต์
ค. เรือนแพ
ง. เรือหางยาว
ก. เงินค่าเช่าห้องแถว
ข. ภรรยาได้รับรางวัลตุ๊กตาทอง
ค. สามีได้รับโอนกรรมสิทธิ์จากบิดาตน
ง. ภรรยาได้รับเงินค่าขายข้าวสารจากพ่อค้า
ก. ไม่สามารถยึดถือเอาได้
ข. สามารถยึดถือเอาได้และโอนกันได้
ค. ไม่สามารถโอนให้กันได้โดยชอบ
ง. ถูกทั้งข้อ ก และข้อ ค
ก. ไม่มีผู้ใดฝ่าฝืนกฎหมายได้
ข. มีผลใช้บังคับตลอดไป
ค. ประชาชนทุกคนต้องปฏิบัติตาม
ง. ผู้ใดฝ่าฝืนย่อมต้องได้รับโทษ
ก. ผิดกฎหมายเพราะถือว่าฆ่าคนตาย
ข. ไม่ผิดกฎหมายเพราะเป็นจารีตประเพณี
ค. ผิดกฎหมายแต่ไม่ถูกลงโทษ
ง. ผิดกฎหมายแต่กฎหมายลดโทษให้
ขอขอบพระคุณ

More Related Content

What's hot

กฎหมายทรัพย์สิน
กฎหมายทรัพย์สินกฎหมายทรัพย์สิน
กฎหมายทรัพย์สิน
Yosiri
 
Key of sheet 8 56x
Key of sheet 8 56xKey of sheet 8 56x
Key of sheet 8 56x
Pracha Wongsrida
 
กฎหมายในชีวิตประจำวัน ครั้งที่ 2
กฎหมายในชีวิตประจำวัน  ครั้งที่ 2กฎหมายในชีวิตประจำวัน  ครั้งที่ 2
กฎหมายในชีวิตประจำวัน ครั้งที่ 2
AJ Por
 
กฎหมายมรดก
กฎหมายมรดกกฎหมายมรดก
กฎหมายมรดก
Yosiri
 
ประวัติศาสตร์สุโขทัย
ประวัติศาสตร์สุโขทัยประวัติศาสตร์สุโขทัย
ประวัติศาสตร์สุโขทัย
chatsawat265
 
กฎหมายในชีวิตประจำวัน ครั้งที่ 2
กฎหมายในชีวิตประจำวัน  ครั้งที่ 2กฎหมายในชีวิตประจำวัน  ครั้งที่ 2
กฎหมายในชีวิตประจำวัน ครั้งที่ 2
AJ Por
 
การจัดระเบียบทางสังคม
การจัดระเบียบทางสังคมการจัดระเบียบทางสังคม
การจัดระเบียบทางสังคมthnaporn999
 
กฎหมายนิติกรรม
กฎหมายนิติกรรมกฎหมายนิติกรรม
กฎหมายนิติกรรม
Yosiri
 
การเมืองการปกครองสมัยกรุงศรีอยุธยา
การเมืองการปกครองสมัยกรุงศรีอยุธยาการเมืองการปกครองสมัยกรุงศรีอยุธยา
การเมืองการปกครองสมัยกรุงศรีอยุธยา
tinnaphop jampafaed
 
กฎหมายที่ควรรู้
กฎหมายที่ควรรู้กฎหมายที่ควรรู้
กฎหมายที่ควรรู้
montira
 
Ptt อาณาจักรสูโขทัย
Ptt อาณาจักรสูโขทัยPtt อาณาจักรสูโขทัย
Ptt อาณาจักรสูโขทัย
Yim Wiphawan
 
กำเนิดรัฐชาติ
กำเนิดรัฐชาติกำเนิดรัฐชาติ
กำเนิดรัฐชาติ
Warinthorn Limpanakorn
 
หลักการทรงงาน 23 ข้อกับการประยุกต์ใช้
หลักการทรงงาน 23 ข้อกับการประยุกต์ใช้หลักการทรงงาน 23 ข้อกับการประยุกต์ใช้
หลักการทรงงาน 23 ข้อกับการประยุกต์ใช้
Sutthiluck Kaewboonrurn
 
กฎหมายในชีวิตประจำวัน
กฎหมายในชีวิตประจำวันกฎหมายในชีวิตประจำวัน
กฎหมายในชีวิตประจำวัน0895043723
 
กฏหมายบุคคล
กฏหมายบุคคลกฏหมายบุคคล
กฏหมายบุคคล
Yosiri
 
กฎหมายในชีวิตประจำวัน ครั้งที่ 2
กฎหมายในชีวิตประจำวัน  ครั้งที่ 2 กฎหมายในชีวิตประจำวัน  ครั้งที่ 2
กฎหมายในชีวิตประจำวัน ครั้งที่ 2
AJ Por
 
ระบอบประชาธิปไตย 3
ระบอบประชาธิปไตย 3ระบอบประชาธิปไตย 3
ระบอบประชาธิปไตย 3thnaporn999
 

What's hot (20)

กฎหมายทรัพย์สิน
กฎหมายทรัพย์สินกฎหมายทรัพย์สิน
กฎหมายทรัพย์สิน
 
Key of sheet 8 56x
Key of sheet 8 56xKey of sheet 8 56x
Key of sheet 8 56x
 
ทฤษฎีทางการเมือง (Political theory)
ทฤษฎีทางการเมือง (Political theory)ทฤษฎีทางการเมือง (Political theory)
ทฤษฎีทางการเมือง (Political theory)
 
กฎหมายในชีวิตประจำวัน ครั้งที่ 2
กฎหมายในชีวิตประจำวัน  ครั้งที่ 2กฎหมายในชีวิตประจำวัน  ครั้งที่ 2
กฎหมายในชีวิตประจำวัน ครั้งที่ 2
 
กฎหมายมรดก
กฎหมายมรดกกฎหมายมรดก
กฎหมายมรดก
 
ประวัติศาสตร์สุโขทัย
ประวัติศาสตร์สุโขทัยประวัติศาสตร์สุโขทัย
ประวัติศาสตร์สุโขทัย
 
กฎหมายในชีวิตประจำวัน ครั้งที่ 2
กฎหมายในชีวิตประจำวัน  ครั้งที่ 2กฎหมายในชีวิตประจำวัน  ครั้งที่ 2
กฎหมายในชีวิตประจำวัน ครั้งที่ 2
 
การจัดระเบียบทางสังคม
การจัดระเบียบทางสังคมการจัดระเบียบทางสังคม
การจัดระเบียบทางสังคม
 
กฎหมายนิติกรรม
กฎหมายนิติกรรมกฎหมายนิติกรรม
กฎหมายนิติกรรม
 
การเมืองการปกครองสมัยกรุงศรีอยุธยา
การเมืองการปกครองสมัยกรุงศรีอยุธยาการเมืองการปกครองสมัยกรุงศรีอยุธยา
การเมืองการปกครองสมัยกรุงศรีอยุธยา
 
กฎหมายที่ควรรู้
กฎหมายที่ควรรู้กฎหมายที่ควรรู้
กฎหมายที่ควรรู้
 
Ptt อาณาจักรสูโขทัย
Ptt อาณาจักรสูโขทัยPtt อาณาจักรสูโขทัย
Ptt อาณาจักรสูโขทัย
 
กำเนิดรัฐชาติ
กำเนิดรัฐชาติกำเนิดรัฐชาติ
กำเนิดรัฐชาติ
 
หลักการทรงงาน 23 ข้อกับการประยุกต์ใช้
หลักการทรงงาน 23 ข้อกับการประยุกต์ใช้หลักการทรงงาน 23 ข้อกับการประยุกต์ใช้
หลักการทรงงาน 23 ข้อกับการประยุกต์ใช้
 
กฎหมายในชีวิตประจำวัน
กฎหมายในชีวิตประจำวันกฎหมายในชีวิตประจำวัน
กฎหมายในชีวิตประจำวัน
 
กฏหมายบุคคล
กฏหมายบุคคลกฏหมายบุคคล
กฏหมายบุคคล
 
กฎหมายในชีวิตประจำวัน ครั้งที่ 2
กฎหมายในชีวิตประจำวัน  ครั้งที่ 2 กฎหมายในชีวิตประจำวัน  ครั้งที่ 2
กฎหมายในชีวิตประจำวัน ครั้งที่ 2
 
แบบทดสอบทวีปยุโรป
แบบทดสอบทวีปยุโรปแบบทดสอบทวีปยุโรป
แบบทดสอบทวีปยุโรป
 
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
 
ระบอบประชาธิปไตย 3
ระบอบประชาธิปไตย 3ระบอบประชาธิปไตย 3
ระบอบประชาธิปไตย 3
 

More from Yosiri

กฎหมายลักษณะนิติกรรม
กฎหมายลักษณะนิติกรรมกฎหมายลักษณะนิติกรรม
กฎหมายลักษณะนิติกรรม
Yosiri
 
กฎหมายเอกเทศสัญญา
กฎหมายเอกเทศสัญญากฎหมายเอกเทศสัญญา
กฎหมายเอกเทศสัญญา
Yosiri
 
กฎหมายหนี้
กฎหมายหนี้กฎหมายหนี้
กฎหมายหนี้
Yosiri
 
ตอบปัญหาอาเซียน
ตอบปัญหาอาเซียนตอบปัญหาอาเซียน
ตอบปัญหาอาเซียน
Yosiri
 
กฎหมายที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
กฎหมายที่ใช้ในชีวิตประจำวันกฎหมายที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
กฎหมายที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
Yosiri
 
กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา
กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญากฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา
กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา
Yosiri
 
กฎหมายลักษณะเอกเทศสัญญา
กฎหมายลักษณะเอกเทศสัญญากฎหมายลักษณะเอกเทศสัญญา
กฎหมายลักษณะเอกเทศสัญญาYosiri
 
กฎหมายเอกเทศสัญญา
กฎหมายเอกเทศสัญญากฎหมายเอกเทศสัญญา
กฎหมายเอกเทศสัญญา
Yosiri
 
กฎหมายหนี้
กฎหมายหนี้กฎหมายหนี้
กฎหมายหนี้
Yosiri
 
กฎหมายครอบครัว
กฎหมายครอบครัวกฎหมายครอบครัว
กฎหมายครอบครัว
Yosiri
 
กฎหมายบุคคล
กฎหมายบุคคล กฎหมายบุคคล
กฎหมายบุคคล
Yosiri
 
บุคคล 17
บุคคล 17บุคคล 17
บุคคล 17Yosiri
 
กฎหมายหนี้
กฎหมายหนี้กฎหมายหนี้
กฎหมายหนี้
Yosiri
 
กฎหมายเอกเทศสัญญา
กฎหมายเอกเทศสัญญากฎหมายเอกเทศสัญญา
กฎหมายเอกเทศสัญญา
Yosiri
 
กฎหมายนิติกรรม
กฎหมายนิติกรรมกฎหมายนิติกรรม
กฎหมายนิติกรรม
Yosiri
 
กฎหมายมรดก
กฎหมายมรดกกฎหมายมรดก
กฎหมายมรดก
Yosiri
 
ครอบครัว
ครอบครัวครอบครัว
ครอบครัวYosiri
 
กฎหมายบุุคคล ปี1/56
กฎหมายบุุคคล ปี1/56กฎหมายบุุคคล ปี1/56
กฎหมายบุุคคล ปี1/56
Yosiri
 
กฎหมายเครื่องหมายการค้า
กฎหมายเครื่องหมายการค้ากฎหมายเครื่องหมายการค้า
กฎหมายเครื่องหมายการค้า
Yosiri
 
กฎหมายสิทธิบัตร
กฎหมายสิทธิบัตรกฎหมายสิทธิบัตร
กฎหมายสิทธิบัตร
Yosiri
 

More from Yosiri (20)

กฎหมายลักษณะนิติกรรม
กฎหมายลักษณะนิติกรรมกฎหมายลักษณะนิติกรรม
กฎหมายลักษณะนิติกรรม
 
กฎหมายเอกเทศสัญญา
กฎหมายเอกเทศสัญญากฎหมายเอกเทศสัญญา
กฎหมายเอกเทศสัญญา
 
กฎหมายหนี้
กฎหมายหนี้กฎหมายหนี้
กฎหมายหนี้
 
ตอบปัญหาอาเซียน
ตอบปัญหาอาเซียนตอบปัญหาอาเซียน
ตอบปัญหาอาเซียน
 
กฎหมายที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
กฎหมายที่ใช้ในชีวิตประจำวันกฎหมายที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
กฎหมายที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
 
กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา
กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญากฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา
กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา
 
กฎหมายลักษณะเอกเทศสัญญา
กฎหมายลักษณะเอกเทศสัญญากฎหมายลักษณะเอกเทศสัญญา
กฎหมายลักษณะเอกเทศสัญญา
 
กฎหมายเอกเทศสัญญา
กฎหมายเอกเทศสัญญากฎหมายเอกเทศสัญญา
กฎหมายเอกเทศสัญญา
 
กฎหมายหนี้
กฎหมายหนี้กฎหมายหนี้
กฎหมายหนี้
 
กฎหมายครอบครัว
กฎหมายครอบครัวกฎหมายครอบครัว
กฎหมายครอบครัว
 
กฎหมายบุคคล
กฎหมายบุคคล กฎหมายบุคคล
กฎหมายบุคคล
 
บุคคล 17
บุคคล 17บุคคล 17
บุคคล 17
 
กฎหมายหนี้
กฎหมายหนี้กฎหมายหนี้
กฎหมายหนี้
 
กฎหมายเอกเทศสัญญา
กฎหมายเอกเทศสัญญากฎหมายเอกเทศสัญญา
กฎหมายเอกเทศสัญญา
 
กฎหมายนิติกรรม
กฎหมายนิติกรรมกฎหมายนิติกรรม
กฎหมายนิติกรรม
 
กฎหมายมรดก
กฎหมายมรดกกฎหมายมรดก
กฎหมายมรดก
 
ครอบครัว
ครอบครัวครอบครัว
ครอบครัว
 
กฎหมายบุุคคล ปี1/56
กฎหมายบุุคคล ปี1/56กฎหมายบุุคคล ปี1/56
กฎหมายบุุคคล ปี1/56
 
กฎหมายเครื่องหมายการค้า
กฎหมายเครื่องหมายการค้ากฎหมายเครื่องหมายการค้า
กฎหมายเครื่องหมายการค้า
 
กฎหมายสิทธิบัตร
กฎหมายสิทธิบัตรกฎหมายสิทธิบัตร
กฎหมายสิทธิบัตร
 

กฎหมายทรัพย์สิน