SlideShare a Scribd company logo
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการไม่รับประทานอาหารเช้าของนักศึกษาสาขาวิศวกรรมอุตสาหการ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์สุพรรณบุรี
พีรพัฒน์ พรมแตง
พีรพงษ์ ยิ้มแย้ม
สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ
คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์สุพรรณบุรี
ปีการศึกษา 2558
ก
ชื่อหัวข้อวิจัย ปัจจัยที่ส่งผลต่อการไม่รับประทานอาหารเช้าของนักศึกษา สาขาวิศวกรรมอุตสา
หการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์สุพรรณบุรี
ชื่อ-นามสกุล พีรพัฒน์ พรมแตง, พีรพงษ์ยิ้มแย้ม
อาจารย์ที่ปรึกษาชญารัตน์ บุญพุฒิกร
ปีการศึกษา 2558
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการไม่รับประทาน
อาหารเช้าของนักศึกษา สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
ศูนย์สุพรรณบุรี โดยศึกษากลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 68 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการ
เก็บรวมรวมข้อมูล สําหรับสถิติที่ใช้เป็นเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบน
มาตรฐาน
ผลการศึกษาสรุปได้ว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 82.4
อายุส่วนใหญ่มีอายุ 19 ปี คิดเป็นร้อยละ 32.4 เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 คิดเป็นร้อยละ 35.3 มีรายได้
ต่อเดือนอยู่ที่ 4,001 – 5,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 50.0 ลักษณะที่อยู่อาศัยส่วนใหญ่ อยู่หอพัก คิด
เป็นร้อยละ 57.4 ส่วนใหญ่มีความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับอาหารอยู่ในระดับที่ดีมาก มีค่าเฉลี่ยผู้ตอบถูกอยู่
ที่ 64.2 ด้านปัจจัยที่ส่งผลต่อการไม่รับประทานอาหารเช้าของนักศึกษาสาขาวิศวกรรมอุตสาหการ
มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.64 และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ 1.153 เมื่อพิจารณาจากรายข้อพบว่า ข้อที่
มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 อันดับแรกที่เป็นปัจจัยต่อการไม่รับประทานอาหารเช้าได้แก่ ร้านอาหารมีคน
เยอะ (xˉ =4.07,S.D.=1.238), เวลาไม่เพียงพอต่อการรับประทานอาหารเช้า (xˉ =4.03,S.D.=1.133),
และในการรับประทานอาหารเช้ามักจะทานด้วยความเร่งรีบ (xˉ =3.85,S.D.=1.011)
ดังนั้นจากผลวิจัยผู้จัดทําเห็นควรจัดเอกสารทางด้านประโยชน์ของอาหารเช้าให้
นักศึกษาไว้ศึกษาค้นคว้า รวมทั้งจัดนิทรรศการเพื่อให้ความรู้แก่นักศึกษาเพิ่มมากขึ้นด้วย เพื่อ
ตระหนักถึงความสําคัญของการรับประทานอาหารเช้า
ข
กิตติกรรมประกาศ
รายงานวิจัยครั้งนี้ สําเร็จได้ด้วยความกรุณาจากอาจารย์ชญารัตน์ บุญพุฒิกร อาจารย์ที่
ปรึกษาวิจัย ที่กรุณาให้คําปรึกษา แนะนําแนวทาง ตลอดจนแก้ข้อบกพร่องต่างๆ ทําให้งานวิจัยมี
ความถูกต้องสมบูรณ์
ยิ่งขึ้น ผู้เขียนขอกราบขอบพระคุณอย่างสูงไว้ณ ที่นี้
ขอขอบคุณผู้ตอบแบบสอบถามทุกท่าน ที่กรุณาให้ความร่วมมือและเสียสละเวลาในการ
ตอบแบบสอบถามในครั้งนี้เป็นอย่างดี
ขอขอบคุณเพื่อน ๆ และบุคคลที่เกี่ยวข้องอีกหลาย ๆ ท่าน ที่ได้มีส่วนสําคัญในการ
ช่วยเหลือและแนะนาการทาวิจัยเพื่อให้งานวิจัยครั้งนี้สําเร็จลุล่วงด้วย
ขอกราบขอบพระคุณคุณพ่อ คุณแม่ และครอบครัวของผู้วิจัย ที่ให้การสนับสนุนและเป็น
กําลังใจในทุก ๆ เรื่องด้วยดีเสมอมา เป็นผู้อยู่เบื้องหลังความสําเร็จในครั้งนี้
สุดท้ายนี้หากการทําวิจัยฉบับนี้มีความผิดพลาดหรือข้อบกพร่องใด ๆ ผู้เขียนขอน้อมรับไว้
ณ โอกาสนี้ และหวังว่าการทําวิจัยนี้ จะมีประโยชน์สําหรับผู้ที่สนใจ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ต่อไป
พีรพัฒน์ พรมแตง
พีรพงษ์ยิ้มแย้ม
ค
สารบัญ
หน้า
บทคัดย่อ ก
กิตติกรรมประกาศ ข
สารบัญ ค
สารบัญตาราง จ
สารบัญภาพ ฉ
บทที่ 1 บทนํา 1
ความเป็นมาและความสําคัญของปัญหา 1
วัตถุประสงค์ 1
สมมติฐาน 1
ขอบเขตของการวิจัย 2
นิยามศัพท์ 2
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 3
กรอบแนวความคิดการวิจัย 3
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 4
พฤติกรรมการรับประทานอาหารเช้า 4
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 11
บทที่ 3 วิธีการดําเนินการวิจัย 13
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 13
การออกแบบการวิจัย 14
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 14
การสร้างและการหาประสิทธิภาพของเครื่องมือ 15
การดําเนินการทดลองและเก็บรวมรวมข้อมูล 16
การวิเคราะห์ข้อมูล 16
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล 17
ง
สารบัญ (ต่อ)
หน้า
บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล 18
สัญลักษณ์และอักษรย่อที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล 18
การวิเคราะห์ข้อมูล 18
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล 18
บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ 24
สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูล 26
อภิปรายผลการวิจัย 27
ข้อเสนอแนะ 28
เอกสารและสิ่งอ้างอิง 29
ภาคผนวก 31
ภาคผนวก ก แบบสอบถาม 32
ประวัติย่อผู้วิจัย 36
จ
สารบัญตาราง
ตารางที่ หน้า
4.1 แสดงจํานวนร้อยละของนักศึกษาสาขาวิศวกรรมอุตสาหการจําแนกตามเพศ 18
4.2 แสดงจํานวนร้อยละของนักศึกษาสาขาวิศวกรรมอุตสาหการจําแนกตามอายุ 19
4.3 แสดงจํานวนร้อยละของนักศึกษาสาขาวิศวกรรมอุตสาหการจําแนกระดับชั้น 19
4.4 แสดงจํานวนร้อยละของนักศึกษาสาขาวิศวกรรมอุตสาหการ
จําแนกตามรายได้ต่อเดือน 20
4.5 แสดงจํานวนร้อยละของนักศึกษาสาขาวิศวกรรมอุตสาหการ
จําแนกตามลักษณะที่อยู่อาศัย 20
4.6 แสดงจํานวนร้อยละ ด้านความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับอาหาร 21
4.7 แสดงค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ปัจจัยที่ส่งผลต่อการ
ไม่รับประทานอาหารเช้า ของนักศึกษาสาขาวิศวกรรมอุตสาหการ 22
4.8 แสดงผลวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยที่ส่งผลต่อการไม่รับประทาน
อาหารเช้าของนักศึกษาสาขาวิศวกรรมอุตสาหการคณะครุศาสตร์ 23
ฉ
สารบัญภาพ
ภาพที่ หน้า
1.1 กรอบแนวความคิด 3
บทที่ 1
บทนํา
ความเป็นมาและความสําคัญของปัญหา
การรับประทานอาหารเช้านั้น เป็นสิ่งที่สําคัญสําหรับการเริ่มต้นวันใหม่ ผู้ที่รับประทาน
อาหารเช้าเป็นประจําทุกวันนั้นจะมีทัศนคติที่ดี รูปร่างที่ดี และอาหารเช้ายังช่วยให้เรามีสมาธิใน
การทํางานได้ดียิ่งขึ้น การรับประทานอาหารเช้าโดยเฉพาะอาหารที่มีเส้นใยสูงจะเป็นการช่วยลด
ระดับความรู้สึกผิวของร่างกาย การเลือกที่จะเริ่มต้นวันใหม่ของเราด้วยการรับประทานอาหารเช้า
นั้น ยังสามารถสร้างความมั่นใจได้ว่า เราจะสามารถบริโภคอาหารที่มีสารอาหารทางโภชนาการที่
สําคัญได้อย่างครบถ้วน
เหตุผลการไม่รับประทานอาหารของนักศึกษานั้นคือ ไม่มีเวลา ในช่วงเวลาเร่งรีบในตอนเช้า
เพื่อที่จะออกมาให้ทันเวลาเรียนเป็นสิ่งที่เห็นกันอยู่เป็นประจํา
วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการไม่รับประทานอาหารเช้าของนักศึกษาสาขาวิศวกรรมอุต
สาหการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์สุพรรณบุรี
สมมติฐาน
ปัจจัยเหล่านี้ได้แก่ ความเร่งรีบ เวลา ที่อาศัยอยู่ไกลร้านอาหาร เลือกกินขนมแทนอาหาร
เช้า เพื่อน ร้านอาหารมีคนเยอะ ส่งผลกระทบต่อการรับประทานอาหารเช้า
2
ขอบเขตของการวิจัย
ประชากร
ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ จํานวนทั้งหมด 82 คน เป็นนักศึกษาสาขาวิศวกรรมอุตสา
หการ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์สุพรรณบุรี
กลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้จํานวน 68 คน โดยการคํานวณจากสูตรของ Yamane
และกําหนดค่าความคลาดเคลื่อนทางสถิติที่ระดับนัยสําคัญ 0.05
ตัวแปรที่ศึกษา
1. ตัวแปรอิสระ
- การรับประทานอาหารเช้า
2. ตัวแปรตาม
- ปัจจัยที่ส่งผลต่อการไม่รับประทานอาหารเช้า
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลนี้เป็นแบบสอบถามปัจจัยที่ส่งผลต่อการไม่
รับประทานอาหารเช้า
นิยามศัพท์
1. นักศึกษา หมายถึง นักศึกษาระดับ ป.ตรี สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ มทรส.สุพรรณบุรี
2. อาหาร หมายถึง สิ่งที่เรารับประทานเข้าไปแล้วทําให้เกิดประโยชน์ต่อร่างกายในด้าน
ต่างๆ ไม่ทําให้เกิดโทษ เช่น เนื้อสัตว์ข้าว แป้ง ผัก ผลไม้นม ฯลฯ ยกเว้นยารักษาโรค
3. โภชนาการ หมายถึง วิทยาศาสตร์สาขาหนึ่งที่ศึกษาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของอาหารที่
เข้าไปในร่างกาย การพัฒนาของร่างกายจากการได้รับสารอาหารรวมทั้งการปรุงแต่ง
อาหารให้เหมาะสมกับความต้องการตามสภาพและวัย
3
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ทําให้ทราบถึงปัจจัยที่มีผลต่อการบริโภคอาหารเช้าของนักศึกษาสาขาวิศวกรรมอุตสา
หการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์สุพรรณบุรี
2. เพื่อใช้เป็นข้อมูลเชิงวิชาการในการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริโภค
ของผู้บริโภคกลุ่มอื่นๆ
กรอบแนวความคิดการวิจัย
ภาพที่ 1.1 กรอบแนวความคิด
การรับประทาน
อาหารเช้า
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการไม่รับประทานอาหาร
- ลักษณะของการอยู่อาศัย
- รายได้ที่ได้รับจากครอบครัว
- เวลาเร่งรีบ
- ภาวะทางอารมณ์และจิตใจ
- เพื่อน
- การเลือกรับประทานอาหาร
บทที่ 2
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
จากการศึกษาผลงานที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการไม่รับประอาหารเช้า โดยผู้ศึกษา
ได้ค้นคว้าเอกสาร แนวคิด ทฤษฎี ตลอดจนงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นกรอบในการศึกษา ดังนี้
1. พฤติกรรมการรับประทานอาหารเช้า
2. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
1. พฤติกรรมการรับประทานอาหารเช้า
ความสําคัญของอาหารมื้อเช้า เวลาที่เหมาะสมที่สุดในการรับประทานอาหารมื้อเช้าคือ
7.00 – 9.00 น. เพราะเป็นช่วงเวลา ที่กระเพาะอาหารเริ่มทํางาน
ผลเสียของการไม่รับประทานอาหารมื้อเช้า
- ร่างกายขาดสารอาหารที่จําเป็นในการเสริมสร้างพลังงานและซ่อมแซมสิ่งที่สึกหรอทํา
ให้อวัยวะต่างๆไม่แข็งแรง
- สมองไม่ได้รับสารอาหารเพียงพอ ทําให้ไอคิวตํ่า เฉื่อยชา ขาดความว่องไว ความจําไม่ดี
ขาดความกระตือรือร้น
- ถ้าไม่ได้รับประทานอาหารเช้าเป็นเวลานาน กระเพาะจะไม่แข็งแรง การขับถ่ายไม่ดี
กล้ามเนื้อเหลว ผิวเหี่ยวและคลํ้าแก่เร็ว ภูมิต้านทานลด ปวดหัว ปวดเข่า ความจําเสื่อม เป็นอัลไซ
เมอร์ อาหารเช้าลดโรค การกินอาหารเช้าช่วยป้ องกันโรคหัวใจ และนํ้าตาลในเลือดสูง ซึ่งเป็น
อาการเตือนของโรคเบาหวาน นอกจากนี้ยังช่วยลดอาการอ่อนเพลียได้อีกด้วย
อาหารเช้าที่ควรใส่ใจ
ถ้าต้องการให้ร่างกายได้ประโยชน์จากอาหารเช้ามากขึ้น ควรพิจารณาเลือกชนิดอาหารที่มี
คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ธัญพืชไม่ขัดสี ผลไม้อาหารทะเลให้กรดอะมิโน ไข่อุดมไปด้วยโปรตีน
วิตามินบีและโคลีนช่วยการทํางานเกี่ยวกับความจํา แม้ไข่มีคลอเลสเตอรอลสูง แต่ไข่วันละฟองใน
มื้ออาหารที่สมดุลนั้น ข้อมูลการวิจัยเปิดเผยว่าไม่เป็นผลเสีย อาหาร แคลเซียมสูง เช่น นมโยเกิร์ต
5
นมถั่วเหลือง หรือธัญพืชเสริม แคลเซียม นํ้าส้ม ช่วยในการเผาผลาญไขมันและลดการสะสมไขมัน
ในร่างกาย
พ่อแม่บางคนก็จะให้ลูกกินข้าวเช้าก่อนไปโรงเรียน การไม่กินอาหารเช้า จะทําให้ร่างกาย
ขาดพลังงานและจะมีผลต่อการเรียนรู้และความจํา ดังนั้นการกินอาหารเช้า จึงทําให้สมองทํางาน
ได้ดี จะช่วยให้มีสมาธิในการเรียนสําหรับ คนที่ไม่กินอาหารเช้า ควรปรับพฤติกรรมใหม่หันมากิน
อาหารเช้า เพื่อให้การทํางานในแต่ละวันมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทําให้การรับรู้และความจําดีขึ้น เมื่อ
รู้อย่างนี้แล้วเราควรมาใส่ใจกับมื้อเช้ากันเถอะ (นายทองปลิว ไกรแสงศรี)
องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ให้คําจํากัดความของพฤติกรรมการบริโภคอาหาร
ไว้ว่า หมายถึง การปฏิบัติที่เคยชินจนเป็นนิสัยในการรับประทานอาหาร ซึ่งครอบคลุมถึงประเภท
อาหาร ชนิดของอาหารที่รับประทาน วิธีการรับประทาน ความถี่ในการรับประทานอาหาร และ
อุปกรณ์ที่ต้องใช้ รวมทั้งสุขนิสัยในการรับประทานอาหารด้วย (ขวัญจิต อินเหยี่ยว, 2542, หน้า 21)
พุทธชาด นิรุติธรรมธารา (2546, หน้า 23-24) กล่าวถึง พฤติกรรมการบริโภค
อาหาร ไว้ว่า พฤติกรรมการบริโภคอาหารเป็นการแสดงออกของบุคคลที่สามารถสังเกตได้และ
สังเกตไม่ได้เกี่ยวกับการรับประทานอาหารโดยมีความสัมพันธ์กับสิ่งอื่น ๆ ได้แก่ ความเชื่อใน
การบริโภคอาหาร ข้อห้ามในเรื่องอาหาร ความนิยมในเรื่องอาหาร และนิสัยการบริโภคอาหาร
ล้วนมีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารทั้งสิ้น ดังนี้คือ
ความเชื่อในการบริโภคอาหาร (Food Belief) เป็นความเข้าใจ และประสบการณ์ที่
ได้รับ การถ่ายทอดกันมา โดยมักมีเหตุผล หรือข้ออ้างอิงเป็นคําอธิบายถึงผลของความเชื่อนั้น ๆ
ซึ่งอาจ เป็นจริง หรือไม่ก็ได้เช่น หญิงมีครรภ์เชื่อว่าดื่มนํ้ามะพร้าวจะช่วยล้างไขมันของทารก
และช่วยให้ คลอดง่าย เป็นต้น
ข้อห้ามในการบริโภคอาหาร (Food Taboo) เป็นกฎเกณฑ์ของสังคมที่ถือปฏิบัติ
สืบทอดกันมาในสภาวะ หรือสถานการณ์บางอย่าง เช่น ห้ามหญิงตั้งครรภ์รับประทานไข่ หรือ
ห้ามหญิงคลอดบุตรที่อยู่ไฟรับประทานของแสลง ซึ่งแตกต่างกันไปแต่ละชุมชน
ความนิยมในเรื่องการบริโภคอาหาร (Food Fad) เป็นการกระทําที่เอาอย่าง เพื่อ
แสดง ความมีส่วนร่วม หรือเพื่อความจําเป็นทางเศรษฐกิจ และสภาพแวดล้อม โดยไม่จําเป็นต้อง
ถูกต้อง และมีเหตุผลเสมอไป เช่น การเลี้ยงลูกด้วยนมขวด หรืออาหารเสริมสําเร็จรูปที่แสดงถึง
ความทันสมัยอย่างเพื่อน หรือเพราะความจําเป็นทางอาชีพที่เปลี่ยนไปตามลักษณะของสังคมใหม่
6
นิสัยการบริโภค (Food Habits) หมายถึง ลักษณะ หรือการกระทําอันซํ้าซาก ซึ่ง
บุคคลใดบุคคลหนึ่งทําด้วยความเข้าใจ เพื่อให้การรับประทานอาหารของเขาบรรลุถึง ความ
ประสงค์ทางอารมณ์ และของสังคม บริโภคนิสัยมักเป็นสิ่งที่สืบเนื่องกันมาเป็นเวลานาน และเป็น
การยากที่จะไปเปลี่ยน การที่บุคคลรับประทานอาหารแตกต่างกันไปนั้นเป็นผลเรียนรู้
จากประสบการณ์คนแต่ละคนไม่ได้เกิดมาพร้อมด้วยบริโภคนิสัย แต่เขาจะเรียนรู้คือ ดูตัวอย่างจาก
ผู้สูงอายุกว่า หรือจากเพื่อน ๆ นิสัยการบริโภค และความเชื่อในเรื่องคุณสมบัติ และคุณภาพของ
อาหาร จะมีอิทธิพลต่อภาวะโภชนาการของบุคคล ซึ่งสืบเนื่องมาจากการเลือกอาหารของเขา
พฤติกรรมการบริโภคอาหาร เป็นการแสดงออกของบุคคลทั้งที่สังเกตได้และสังเกตไม่ได้
เกี่ยวกับการรับประทานอาหาร โดยมีความสัมพันธ์กับสิ่งอื่นๆ ได้แก่ ความเชื่อในการบริโภค
อาหาร(Food belief) เป็นความเข้าใจ และประสบการณ์ที่ได้รับถ่ายทอดและสะสมกันมา โดยมักจะ
มีเหตุผลหรือข้ออ้างอิงเป็นคําอธิบายถึงผลความเชื่อนั้นๆ ซึ่งอาจเป็นจริงหรือไม่ก็ได้ความนิยมใน
การเลือกบริโภคอาหาร ( Food fad ) เป็นการกระทําที่เอาอย่างกัน เพื่อแสดงความมีส่วนร่วม รักษา
สถานะทางสังคม หรือเพื่อความจําเป็นทางเศรษฐกิจ โดยไม่จําเป็นต้องถูกต้องและมีเหตุผลเสมอ
ไป ข้อห้ามในการบริโภค ( Food taboo ) เป็นเกณฑ์ทางสังคมที่ถือปฏิบัติ สืบทอดกันในสภาวะ
หรือสถานการณ์บางอย่าง บริโภคนิสัย ( Food habits ) หมายถึง ลักษณะและการกระทําซํ้าซาก ซึ่ง
บุคคลใดบุคคลหนึ่งทําด้วยความตั้งใจ สืบต่อเนื่องกันมาเป็นเวลานาน เพื่อให้การรับประทาน
อาหารของเขา บรรลุถึงความประสงค์ทางอารมณ์และสังคม ( สุทธิลักษณ์ , 2533 )
วนิดา สิทธิรณฤธิ์ (2527) กล่าวว่า พฤติกรรมการบริโภคอาหาร หมายถึง การแสดงออก
ของบุคคลทั้งที่สังเกตเห็นได้และสังเกตไม่ได้เกี่ยวกับการรับประทานอาหาร ได้แก่ การ
รับประทานอาหารหรือไม่รับประทานอะไร รับประทานอย่างไร จํานวนมื้อที่รับประทานและใช้
อุปกรณ์อะไรบ้างในการรับประทาน รวมทั้งการปฏิบัติก่อนการรับประทานอาหาร และขณะ
รับประทานอาหาร ตลอดจนชนิดของอาหารที่รับประทานอย่างไรก็ตามแม้พฤติกรรมการกิน
บางอย่างโดยเฉพาะเกี่ยวกับความเชื่อทางศาสนาอาจปรับเปลี่ยนได้ยากแต่ความจริงแล้วในแต่ละ
ท้องถิ่นมักจะมีทางเลือกที่สามารถชดเชยให้เกิดความ เพียงพอการได้รับสารอาหาร เพราะถึงแม้จะ
มีพฤติกรรมการกินที่ถูกปรับเกลาจนเป็นวัฒนธรรมการ กินของสังคมนั้นๆ ก็มิได้หมายความ
หมายว่า ทุกครอบครัวจะสามารถมีพฤติกรรมการกินเหล่านั้นได้ทั้งหมด ทั้งนี้ต้องผ่านการ “
เลือก” ที่จะปฏิบัติซึ่งขึ้นอยู่กับศักยภาพของเศรษฐกิจและทรัพยากรของ แต่ละครอบครัว คนรวย
7
อาจจะกินลาบได้บ่อยครั้งกว่าคนจน แต่คนจนก็อาจจะกินกบ เขียด แมงมันหรือถั่ว และกินลาบ
นานๆ ครั้ง ตามวัฒนธรรมนิยม เนื่องจากวัฒนธรรมมิได้หยุดนิ่งอยู่กับที่ มีการผันแปรเปลี่ยนแปลง
ตามกาลเวลา ดังนั้นพฤติกรรมการกินบางอย่างก็อาจหายไปกับกาลเวลา ขณะที่
พฤติกรรมการกินใหม่ๆ อาจ “เกิด” ขึ้นแทนตามการผันของสิ่งแวดล้อม ตามการปรับ “เกลา” ของ
สมัยนิยมในสังคมและตามศักยภาพในการ “เลือก”สรรของครอบครัว แต่ในระดับ “ทํา”
พฤติกรรมการกินส่วนบุคลยังขึ้นอยู่กับอุปนิสัย ความชอบและการตอบสนองของร่างกาย เช่น รูป
กลิ่น สี ความหิวหรืออิ่ม ซึงพฤติกรรมบางอย่างเป็นวัฒนาการมาโดยกําเนิด เช่น การดูดนมแม่ของ
เด็กแรกเกิด แต่ส่วนใหญ่ เป็นพฤติกรรมเรียนรู้บนพื้นฐานทางจิตวิทยา บนพื้นฐานความ
เอื้ออํานวยทางเศรษฐกิจของครอบครัวบนพื้นฐานการยอมรับของสังคม และบนพื้นฐานความ
เอื้ออํานวยทางสิงแวดล้อมซึ่งอาจจะเป็นความชอบหรือโปรดปรานอาหารเฉพาะอย่าง หรือไม่ชอบ
อาหารบางอย่าง จากความหมายของพฤติกรรมการบริโภคอาหารได้มีผู้ให้ความหมายไว้มากมาย
ดังนั้นผู้วิจัยสรุปได้ว่า พฤติกรรมการบริโภคอาหาร หมายถึง ความประพฤติ การปฏิบัติหรือการ
แสดงออกที่เกี่ยวกับการบริโภคอาหาร สุขลักษณะและวิธีรับประทานอาหาร ทั้งนี้สังเกตได้และ
สังเกตไม่ได้
ปัจจัยที่มีผลต่อการบริโภคอาหาร ได้มีการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหาร
โดยแบ่งออกได้ดังนี้ คือปัจจัย แวดล้อมทางกายภาพ ปัจจัยแวดล้อมทางชีวภาพ และปัจจัยแวดล้อม
ทางสังคม (วลัยทิพย์,2527 :227)
1. ปัจจัยแวดล้อมทางกายภาพ (Physical Factor) สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ได้แก่ สภาพ
ทางภูมิศาสตร์ของชุมชนจะเป็นตัวกําหนดชนิดของอาหารที่จะสามรถผลิตหรือหาได้ในชุมชน
นั้นๆเช่นชุมชนที่อยู่ใกล้ทะเลจะหาอาหารได้จากการประมง เป็นต้น นอกจากนี้สภาพทาง
ภูมิศาสตร์ เช่น ดิน นํ้า ภูมิอากาศ ยังเป็นกําหนดชนิดของพืชที่จะสามารถเพาะปลูกได้ในแต่ละ
ชุมชนอีกด้วย ชนิดของพืชและสัตว์ในแต่ละท้องถิ่นจะเป็นเครื่องกําหนดแบบแผนของลักษณะ
อาหารที่บริโภคของชุมชนของชุมชน ปัจจัยทางกายภาพมีอิทธิพลโดยตรงต่อการกินอาหารของ
ชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งชุมชนที่มีเศรษฐศาสตร์เพียงแต่ยังชีพได้ดังนั้นความแตกต่างของ
ลักษณะทางกายภาพย่อมจะมีผลกระทบต่อพฤติกรรมการบริโภคของคนในท้องถิ่นนั้นๆ
8
2. ปัจจัยแวดล้อมทางชีวภาพ (Biological Factor) ด้วยเหตุที่ว่าแต่ละคนจะมีความต้องการ
สารอาหารแต่ละชนิดเหมือนกัน จะแตกต่างกันก็เพียงแต่จะต้องการในปริมาณที่ไม่เท่ากันทั้งนี้
ขึ้นอยู่กับเพศ วัย สภาพร่างกาย กิจกรรมที่ทําและสิ่งแวดล้อม(วลัย,2526: 309)
เกี่ยวกับความหมายของปัจจัยแวดล้อมชีวภาพ วลัยทิพย์สาชลวิจารณ์ (2527 : 227) ได้ให้
ความหมายว่า หมายถึง ชนิดและปริมาณของสารอาหารที่ร่างกายต้องการตามสภาวะของร่างกาย
เช่นสภาวะการตั้งครรภ์ อายุ เพศ วัย ความเจ็บป่วย ชนิดของยาที่กิน การทํางานของอวัยวะใน
ร่างกาย เช่นการย่อย การดูดซึมอาหาร เป็นต้น เช่น
- อายุที่แตกต่างกันทําให้ความต้องการของสารอาหารแตกต่างกัน
- เพศ ผู้ชายจะมีความต้องการพลังงานจากอาหารและสารอาหารต่างๆ สูงกว่าผู้หญิงในอายุ
รุ่นราวคราวเดียวกัน
- วัย ความต้องการอาหารของคนขึ้นอยู่กับความเปลี่ยนแปลงของร่างกาย ซึ่งเริ่มตั้งแต่เกิดเป็น
ทารกจนถึงวัยชราระยะที่ร่างกายเปลี่ยนแปลงเป็นสาเหตุที่คนเรามีความต้องการอาหารที่ต่างกัน
จากที่กล่าวมาแล้วจะพบว่าปัจจัยแวดล้อมทางชีวภาพมีอิทธิพลโดยตรงต่อพฤติกรรมการ
บริโภคของแต่ละบุคคลในแต่ละวัยด้วย
3. ปัจจัยทางสังคม (Social Factor) เป็นการศึกษาเกี่ยวกับ
3.1 ลักษณะของสังคมชนบทและสังคมเมืองไทย
ในชนบทของไทยโดยทั่วไปเป็นสังคมแบบเครือญาติ มีลักษณะครอบครัว คือครอบครัว
หนึ่งๆ จะประกอบไปด้วย พ่อ แม่ ลูก หลาน อยู่ร่วมกัน เป็นสมาชิกครอบครัว พ่อ แม่ เป็น
ศูนย์กลางของครอบครัว สมาชิกในครอบครัวจะมีการแบ่งงานกันทํา หมู่บ้านมีขนาดเล็กและอยู่
กระจัดกระจาย ชาวชนบทส่วนใหญ่มีการศึกษาน้อยในการทําอะไรก็มักจะมีการเลียนแบบกัน และ
ไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงอะไรง่ายๆ ซึ่งโดยทั่วไปสังคมในชนบทมักจะเอื้อเฟื้อ มีอะไรจะแลกเปลี่ยน
กัน
3.2 ด้านเศรษฐกิจและสังคมของครอบครัวได้มีการพิจารณาในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
ดังนี้
3.2.1 รายได้ของครอบครัว
ฐานะทางเศรษฐกิจหรือรายได้รายจ่ายภายในครอบครัวมีอิทธิพลต่อการเลือกซื้อ
และการบริโภคอาหารในครอบครัวจากการสํารวจสถิติของสํานักงานสถิติแห่งชาติ
9
(พ.ศ. 2511-2512) พบว่าครอบครัวผู้มีรายได้น้อยจะมีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับอาหารเป็นร้อยละ
มากกว่าผู้ที่มีรายได้มากและทุกระดับรายได้จะมีการใช้จ่ายเงินเป็นค่าอาหารมากกว่าค่าใช้จ่ายอื่นๆ
ซึ่งหมายความว่ารายจ่าย ส่วนใหญ่ของครอบครัวเป็นเรื่องเกี่ยวกับอาหารการกิน ดังนั้นการเพิ่ม
หรือลดลงของรายได้ย่อมมีผลกระทบต่อการบริโภคอาหารด้วย เช่น ถ้ารายได้เพิ่มขึ้นการบริโภค
เนื้อสัตว์ก็มีสูงขึ้น (สนอง, 2527: 26)
ดังนั้นจะเห็นว่ารายได้ของครอบครัวจึงมีผลกระทบโดยตรงต่อความสามารถใน
การซื้ออาหาร ซึ่งมีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารของบุคคลด้วย (ปุ๋ ย, 2519: 31)
3.2.2 อาชีพของบิดามารดา
อาชีพของบิดามารดาเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อนิสัยการกิน ดังจะเห็นได้จากผล
การศึกษาของ ชูเกียรติ และคณะ (2529:บทคัดย่อ) พฤติกรรมการกินของหญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นม
บุตร ทารกก่อนวัยเรียน ในชนบทภาคตะวันออกของไทย พบว่า การที่เด็กมีพฤติกรรมไม่ดี
เนื่องมาจากมารดาของเด็กวัยก่อนเรียนไม่มีเวลาเลี้ยงดูเด็ก เนื่องจากต้องรีบออกไปทํางานปล่อยให้
เด็กอยู่บ้านและหาอาหารกินเองซึ่งสอดคล้องกับผลการวิจัยของเครือวัลย์และคณะ
(2529:บทคัดย่อ) พฤติกรรมการกินของชาวชนบทอีสานตอนบน พบว่า การที่พ่อแม่ต้องออก
ทํางานรับจ้างทําให้มีเวลาเลี้ยงดูบุตรน้อยลง เด็กจึงถูกทอดทิ้งให้อยู่กันตามลําพัง จึงมักกินอาหาร
สําเร็จรูปที่ด้อยคุณค่าทางโภชนาการ แต่จากการศึกษาของวิณี (2521:บทคัดย่อ) ที่จังหวัดนราธิวาส
และทัศนีย์(2527:บทคัดย่อ) ที่จังหวัดราชบุรี พบว่า เด็กวัยก่อนเรียนที่มารดามีสภาพการทํางาน
ต่างกันจะมีการบริโภคนิสัยที่ต่างกัน กล่าวคือ เด็กที่มารดาออกไปทํางานนอกบ้านจะมีพฤติกรรม
การบริโภคดีกว่าเด็กที่มารดาทํางานในบ้าน ทั้งนี้เนื่องจากการที่มารดาออกทํางานนอกบ้าน ทําให้
ครอบครัวมีรายได้สูงขึ้น สามารถซื้อหาอาหารที่มีประโยชน์มาให้เด็กกินได้บ่อยๆ กว่าเด็กที่มารดา
ไม่ได้ออกทํางานนอกบ้าน
10
3.2.3 ระดับการศึกษาของบิดามารดา
ในเรื่องการศึกษาของบิดามารดา (ปุ๋ ย 2519:บทคัดย่อ) และวศินา
(2526:บทคัดย่อ) พบว่า การศึกษาของพ่อบ้านหรือแม่บ้านมีความสําคัญมากเกี่ยวกับปัญหาในเรื่อง
การกินอาหารของครอบครัว ถ้าพ่อบ้านแม่บ้านที่มีการศึกษาดี ก็จะมีความรู้เรื่องการกินอาหารที่
ถูกต้อง รู้ถึงคุณค่าอาหารทางโภชนาการ อาหารสิ่งใดที่มีประโยชน์ควรซื้อมาให้คนในครอบครัว
บริโภค อาหารสิ่งใดไม่มีประโยชน์ควรละเว้นเสีย ทั้งยังสามารถอบรมสั่งสอนบุตรในเรื่องของ
อาหารที่มีประโยชน์ และมีคุณค่าทางโภชนาการ และถ้าบิดามารดาที่มีการศึกษาดี แต่ขาดความรู้
ทางโภชนาการก็สามารถจะหาเอกสารในเรื่องนี้มาอ่าน และถ่ายทอดมายังบุตรได้
3.2.4 ขนาดของครอบครัว
ขนาดของครอบครัวหรือจํานวนสมาชิกของคนที่อยู่ในครอบครัว ก็มีผลกระทบ
ต่อปริมาณและคุณภาพของอาหารที่คนในครอบครัวนั้นกิน ครอบครัวใหญ่มีสมาชิกในครอบครัว
หลายคน ค่าใช้จ่ายเรื่องอาหารจะสูง แต่คิดเป็นค่าใช้จ่ายต่อคนน้อย ยิ่งถ้ารายได้คงที่ แต่ขนาด
ครอบครัวใหญ่ขึ้นคือมีสมาชิกมากขึ้น ปริมาณและคุณภาพของอาหารที่คนในครอบครัวนั้นกินก็
จะด้อยลง ดังนั้น ขนาดของครอบครัวจึงเป็นปัจจัยที่สําคัญประการหนึ่งต่อการได้รับอาหารของ
สมาชิกในครอบครัว (ปุ๋ ย 2519:56 , วศินา 2526:94)
3.2.5 การประกอบอาหารในครอบครัว
มารดาเป็นบุคคลสําคัญคนหนึ่งของครอบครัว ในการปลูกฝังนิสัยการกินให้กับ
เด็กเพราะมารดาเป็นผู้ประกอบอาหารของครอบครัว (วลัย, 2518) ซึ่งจะประกอบอาหารให้
เหมาะสมกับนิสัยการกินของสมาชิกในครอบครัว โดยแตกต่างกันไปตามความเคยชินและความ
เชื่อต่างๆ ดังนั้นถ้าครอบครัวใดที่มารดาประกอบอาหารถูกหลักโภชนาการ จะทําให้เด็กใน
ครอบครัวนั้นได้กินอาหารที่มีประโยชน์และสามารถเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ด้วย (ชู
เกียรติ และคณะ, 2529) ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาบริโภคนิสัยของเด็กก่อนวัยเรียน ที่พบว่าเด็กใน
ครอบครัวที่มารดาประกอบอาหารถูกหลักโภชนาการจะทําให้เด็กมีนิสัยการกินที่ดี
11
2. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
อนุกูล พลศิริ (2531: บทคัดย่อ) ได้ศึกษาพฤติกรรมการเลือกกินอาหารกลางวันของ
นักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคําแหง เพื่อศึกษาการเลือกกินอาหารกลางวันชนิดและ
ปริมาณสารอาหารที่ได้รับภาวะการเจริญเติบโตและปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกซื้ออาหารกลุ่ม
ตัวอย่างคือนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่1-6 จํานวน 300 คนในจํานวนนี้เป็นนักเรียนระดับชั้น
มัธยมศึกษาตอนต้นจํานวน150 คน ตอนปลาย 150 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม
แบบบันทึกอาหารที่รับประทานในรอบ 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา เครื่องชั่งนํ้าหนักและวัดส่วนสูง
ผลการวิจัยพบว่านักเรียนส่วนใหญ่มีภาวะการเจริญเติบโตอยู่ในระดับปกติมีพฤติกรรมการเลือก
ซื้ออาหารที่ดี และใช้เหตุผลในการเลือกอาหารที่ถูกต้องเหมาะสม แต่พลังงานที่ได้รับจากการเลือก
ซื้ออาหารตํ่ากว่าเกณฑ์ที่แนะนํา
วิณี ชิดเชิดวงศ์(2541: บทคัดย่อ) ได้ศึกษาการศึกษาเปรียบเทียบลักษณะนิสัยในการ
บริโภคและการเจริญเติบโตของเด็กวัยก่อนเรียน ที่มาจากสภาพครอบครัวต่างกันในจังหวัด
นราธิวาส เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบลักษณะนิสัยในการบริโภคและการเจริญเติบโตของเด็กวัย
ก่อนเรียน ตามตัวแปรในด้านการศึกษา สถานภาพการทํางาน สถานภาพของครอบครัว ขนาดของ
ครอบครัว เศรษฐกิจและความเชื่อในการบริโภคของบิดามารดา ผลการวิจัยพบว่า เด็กวัยก่อนเรียน
ที่มาจากครอบครัวที่บิดามารดามีการศึกษาสูง มีฐานะทางเศรษฐกิจดี บิดามารดาอยู่ด้วยกันบิดา
มารดามีความเชื่อที่ถูกต้องจะมีลักษณะนิสัยในการบริโภคอาหารดีกว่าเด็กวัยก่อนเรียนที่มาจาก
ครอบครัวที่บิดามารดามีการศึกษาและฐานะทางเศรษฐกิจตํ่ากว่า
วิชัย จุฬาโรจน์มนตรี (2514: บทคัดย่อ) ได้ศึกษาอุปสรรคต่อการส่งเสริมโภชนาการ
ชนบทศึกษาเฉพาะกรณีที่อําเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา พบว่า มารดาที่มีระดับการศึกษาดีกว่า
มีโอกาสที่จะหาความรู้เกี่ยวกับโภชนาการได้ดีกว่าผู้ที่มีการศึกษาน้อยกว่า และด้วยเหตุผลนี้จึงทํา
ให้นิสัยการกินของเด็กมักจะมีผลจากระดับการศึกษาของบิดามารดา
โสภา ญาณภิรัตน์ (2547: บทคัดย่อ) ได้ศึกษาภาวะโภชนาการของเด็กวัยเรียนในอําเภอ
โคกสําโรง จังหวัดลพบุรี โดยศึกษาจากนักเรียนชั้นประถมปีที่ 1-6 มีอายุระหว่าง 7-14 ปี จํานวน
240 คนพบว่า เด็กนักเรียนบริโภคอาหารไม่ครบ 5 หมู่ในหนึ่งวัน อาหารที่ขาดมากที่สุดคือผลไม้
12
จากการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างโภชนาการกับเพศ อายุ บริโภคนิสัยของเด็กวัยเรียน อาชีพของ
ผู้ปกครอง ระดับการศึกษาของผู้ปกครอง และแหล่งอาหารของครอบครัวพบว่าไม่มีความสัมพันธ์
กันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ
นภัศ ศิรสัมพันธ์ (2527:บทคัดย่อ) ได้ศึกษาพฤติกรรมการบริโภคของประชากรในเขต
เทศบาลเมืองชลบุรี โดยศึกษาธุรกิจการขายอาหารสําเร็จรูปขนาดย่อม พบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่มี
พฤติกรรมการกินอาหารที่ฟุ่มเฟือย เป็นพฤติกรรมการกินเพื่อ “ความบันเทิง” มากกว่าเพื่อที่จะให้
อิ่มท้อง หรือเป็นความจําเป็นโดยผู้บริโภคที่เป็นสตรีนิยมซื้ออาหารสําเร็จรูปประเภทของว่าง ของ
กินเล่นและขนมหวาน ซึ่งเป็นการกินระหว่างมื้อ ส่วนผู้ชายนิยมซื้ออาหารสําเร็จรูปที่กินอิ่มเป็นมื้อ
ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจเลือกซื้ออาหารสําเร็จรูป ได้แก่ ความสะดวก รสนิยม
ความชอบหรือไม่ชอบ ความอยากกิน ความเชื่อถือทางธรรมเนียม ประเพณี ราคา สีสัน และความ
น่ากินของอาหาร ประชาชนเพียงส่วนน้อยที่ให้ความสนใจด้านความสะอาด คุณค่าและคุณภาพ
ของอาหาร
สุนี มุนิปภา (2531: บทคัดย่อ) ได้ศึกษา พฤติกรรมการกินของเด็กวัยเรียน อําเภอเมือง
จังหวัดเพชรบุรี ยกตัวอย่างประชากรเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนสังกัด
สํานักงานคณะกรรมการการประถมศึกษา อําเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี จํานวน 90 คน ใช้การ
สัมภาษณ์ และแบบบันทึกอาหารที่บริโภค 3 วัน ผลการวิจัยพบว่าระดับรายได้ของครอบครัว
ขนาดของครอบครัวและลําดับที่การเกิดเป็นบุตร ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการกิน ส่วน
ระดับการศึกษาของบิดาและระดับการศึกษาของมารดา พบว่า มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการ
กิน และพฤติกรรมการกินมีความสัมพันธ์กับภาวะโภชนาการ
บทที่ 3
วิธีการดําเนินการวิจัย
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักศึกษาสาขาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะครุศาสตร์
อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์สุพรรณบุรี จํานวนทั้งหมด 82 คน
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักศึกษาสาขาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะครุ
ศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์สุพรรณบุรี จํานวน 68 คน
วิธีคิด
สูตร n = N สูตรหากลุ่มตัวอย่าง
1+Ne2
เมื่อ n = กลุ่มตัวอย่าง
N = ประชากร
e = ความคลาดเคลื่อนที่เกิดขึ้น
แทนค่า n = กลุ่มตัวอย่าง
N = 82
e = 0.05% ความคลาดเคลื่อน
จะได้n = 82
1+82(0.05)2
n = 68.05 68 คน
ดังนั้น ขนาดของกลุ่มตัวอย่างที่ได้จากการคํานวณเท่ากับ 68 คน จากประชากรทั้งหมด 82 คน
14
การออกแบบการวิจัย
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ดําเนินการศึกษาแบบ การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantity Research)โดย
เป็นการศึกษาแบบวัดครั้งเดียว ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามโดยกลุ่ม
ประชากรที่ศึกษา คือ นักศึกษาสาขาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์สุพรรณบุรี จํานวน 68 คน จากทั้งหมด 82 คน
เป็นผู้ตอบแบบสอบถามด้วยตนเอง ซึ่ง แบบสอบถามจะแบ่งออกเป็น 3 ตอน ดังนี้
ตอนที่ 1 คําถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ได้แก่ เพศ อายุ ระดับ
การศึกษา ระดับชั้นปี รายได้ ที่อยู่อาศัย เป็นต้น โดยเป็นแบบสอบถามแบบปลายปิด
ตอนที่ 2 คําถามความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับอาหาร เป็นแบบสอบถามแบบ Check List จํานวน 9
ข้อ โดยใช้เกณฑ์การให้คะแนน ดังนี้
ตอบถูก ได้ 1 คะแนน
ตอบผิด ได้ 0 คะแนน
เกณฑ์การแปลความหมายคะแนนที่ได้จากการวัดความรู้ มีดังนี้
ค่าเฉลี่ย 7 – 9 คะแนน หมายถึง ผู้ตอบมีความรู้เกี่ยวกับอาหารในระดับมาก
ค่าเฉลี่ย 4 – 6 คะแนน หมายถึง ผู้ตอบมีความรู้เกี่ยวกับอาหารในระดับปานกลาง
ค่าเฉลี่ย 0 – 3 คะแนน หมายถึง ผู้ตอบมีความรู้เกี่ยวกับอาหารในระดับน้อย
ตอนที่ 3 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการไม่รับประทานอาหารเช้า เป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วน
ประมาณค่า (Raiting Scale) มี 5 ระดับ จํานวน 6 ข้อ ตามรูปแบบของ Liker’s Scale คือ มากที่สุด
มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด โดยนําแบบสอบถามที่ได้รับการตอบแล้วมาหาคะแนนรวมแต่ละ
บุคคล โดยนํามาตรวจให้คะแนน ดังนี้
15
มากที่สุด 5 คะแนน
มาก 4 คะแนน
ปานกลาง 3 คะแนน
น้อย 2 คะแนน
น้อยที่สุด 1 คะแนน
เมื่อได้คะแนนแล้ว นําคะแนนดังกล่าวไปหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
โดยแปลความหมายของค่าเฉลี่ยตามช่วงคะแนนที่กําหนดไว้ดังนี้
4.50-5.00 คะแนน หมายถึง อยู่ในระดับมากที่สุด
3.50-4.49 คะแนน หมายถึง อยู่ในระดับมาก
2.50-3.49 คะแนน หมายถึง อยู่ในระดับปานกลาง
1.50-2.49 คะแนน หมายถึง อยู่ในระดับน้อย
1.00-1.49 คะแนน หมายถึง อยู่ในระดับน้อยที่สุด
การสร้างและการหาประสิทธิภาพของเครื่องมือ
ในการสร้างเครื่องมือผู้วิจัย ผู้วิจัยได้ดําเนินการสร้างแบบสอบถาม โดยมีขั้นตอนดังนี้
ขั้นที่ 1 ศึกษาวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง และนําผลการศึกษามาสร้างเป็นชุดแบบสอบถาม
ขั้นที่ 2 ตรวจสอบความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม ให้ผู้เชี่ยวชาญพิจารณามีความสอดคล้อง
กับเนื้อหา
ขั้นที่ 3 ปรับปรุงแก้ไขแบบสอบถามชัดเจนและครอบคลุมวัตถุประสงค์ของการวิจัย และ
นําแบบสอบถามไปทดสอบกับกลุ่มตัวอย่างที่มีคุณสมบัติเหมือนกับกลุ่มตัวอย่างจริงคือ นักศึกษา
สาขาวิศวกรรมเครื่องกล โดยทําการทดสอบแบบสอบถาม จํานวน 40 ชุด แล้วนําไปหาค่าความ
เชื่อมั่น (Reliability) โดยใช้วิธีหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค (Alpha Coefficient ของ
Cronbach) ซึ่งได้ความเชื่อมั่นแบบสอบถามในแต่ละรายด้าน ดังนี้
1. ด้านความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับอาหาร ได้ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.802
2. ด้านปัจจัยที่ส่งผลต่อการไม่รับประทานอาหารเช้า ได้ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.803
16
ขั้นที่ 4 นําแบบสอบถามฉบับสมบูรณ์ไปสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างจริง จํานวน 68 ชุด
ขั้นที่ 5 นําแบบสอบสอบถามที่ได้มาวิเคราะห์ประมวลผลโดยโปรแกรม IBM SPSS
Statistics 22
การดําเนินการทดลองและเก็บรวมรวมข้อมูล
1. แหล่งที่มาข้อมูล
ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) โดยใช้การออกแบบสอบถาม เก็บรวบรวมจากนักศึกษา
สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณ
ภูมิ ศูนย์สุพรรณบุรี
ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) โดยได้จาการศึกษาค้นคว้าไว้ก่อนหน้านี้แล้ว รวมทั้ง
แนวคิดทฤษฎีต่างๆที่เกี่ยวข้องจากตําราและหนังสือต่างๆโดยมุ่งเน้นศึกษาข้อมูลหลักวิชาการ
บทความ เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการวิจัย
2. การเก็บรวบรวมข้อมูล
ผู้ศึกษาเป็นผู้เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง เพื่อทําการเก็บรวบรวมข้อมูลจากนักศึกษา
สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณ
ภูมิ ศูนย์สุพรรณบุรี โดยใช้แบบสอบถามที่ผู้ตอบแบบสอบถามสามารถตอบได้
การวิเคราะห์ข้อมูล
เมื่อได้รวบรวมและตรวจสอบความสมบูรณ์ของแบบสอบถามแล้ว ผู้วิจัยได้นํา
แบบสอบถามมาลงรหัส และถ่ายทอดรหัสแบบสอบถามลงในแบบฟอร์มลงรหัส (Coding form)
แล้วนําไปประมวลผลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์โปรแกรม (SPSS) Statistical package for social
Science 14 for Windows หลังจากนั้นนําผลที่ได้จากเครื่องคอมพิวเตอร์มาวิเคราะห์สรุปและ
อภิปรายผลสรุปและอภิปรายผล
17
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
การดําเนินการวิเคราะห์ข้อมูลครั้งนี้ใช้สถิติพื้นฐาน เช่น คะแนนเฉลี่ย คะแนนเฉลี่ยร้อย
ละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และหาปัจจัยที่ส่งผลต่อศักยภาพการบริหารการผลิตกลุ่มวิสาหกิจ
ชุมชน ตามสูตร ดังนี้
1. คะแนนเฉลี่ย ( x ) คํานวณจากสูตร (บุญชม ศรีสะอาด. 2545:105)
N
x
x
∑
=
เมื่อ x แทน คะแนนเฉลี่ย
x∑ แทน ผลรวมของคะแนนทั้งหมด
N แทน จํานวนข้อมูล
2. ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) คํานวณจากสูตร (บุญชม ศรีสะอาด. 2545:106)
2 2
( )
.
( 1)
N x x
S D
N N
∑ − ∑
=
−
เมื่อ S.D แทน ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
2
x∑ แทน ผลรวมกําลังสองของคะแนน
2
( )x∑ แทน ผลรวมของคะแนนยกกําลังสอง
N แทน จํานวนคน
บทที่ 4
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
สัญลักษณ์และอักษรย่อที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
ผู้วิจัยได้กําหนดสัญลักษณ์ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้
N แทน จํานวนกลุ่มตัวอย่าง
xˉ แทน ค่าเฉลี่ย (Mean)
S.D. แทน ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
การวิเคราะห์ข้อมูล
1. วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
2. วิเคราะห์จํานวนร้อยละ ด้านความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับอาหาร
3. วิเคราะห์ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ปัจจัยที่ส่งผลต่อการไม่รับประทานอาหาร
เช้าของนักศึกษาสาขาวิศวกรรมอุตสาหการคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัย
เทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์สุพรรณบุรี
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
ส่วนที่ 1 วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ตาราง 4.1 แสดงจํานวนร้อยละของนักศึกษาสาขาวิศวกรรมอุตสาหการ จําแนกตามเพศ
ปัจจัยที่ศึกษา จํานวน ร้อยละ %
เพศ
ชาย
หญิง
56
12
82.4
17.6
รวม 68 100
19
จากตาราง 4.1 พบว่า นักศึกษาสาขาวิศวกรรมอุตสาหการ จํานวน 68 คน เมื่อจําแนกตาม
เพศส่วนใหญ่เป็นเพศชายคิดเป็นร้อยละ 82.4 ส่วนเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 17.6
ตาราง 4.2 แสดงจํานวนร้อยละของนักศึกษาสาขาวิศวกรรมอุตสาหการ จําแนกตามอายุ
จากตาราง 4.2 พบว่า นักศึกษาสาขาวิศวกรรมอุตสาหการ จํานวน 68 คน เมื่อจําแนกตาม
อายุส่วนใหญ่มีอายุ 19 ปี คิดเป็นร้อยละ 32.4 รองลงมาคืออายุ 20 ปี คิดเป็นร้อยละ 25.0 อายุ 22 ปี
คิดเป็นร้อยละ 17.6 อายุ 21 ปี คิดเป็นร้อยละ 16.2 อายุ 18 ปี คิดเป็นร้อยละ 5.9 อายุ 23 ปีคิดเป็น
ร้อยละ 2.9
ตาราง 4.3 แสดงจํานวนร้อยละของนักศึกษาสาขาวิศวกรรมอุตสาหการ จําแนกระดับชั้น
ปัจจัยที่ศึกษา จํานวน ร้อยละ %
อายุ
18
19
20
21
22
23
4
22
17
11
12
2
5.9
32.4
25.0
16.2
17.6
2.9
รวม 68 100
ปัจจัยที่ศึกษา จํานวน ร้อยละ %
ระดับชั้นปี
1
2
3
4
24
18
11
15
35.3
26.5
16.2
22.1
รวม 68 100
20
จากตาราง 4.3 นักศึกษาสาขาวิศวกรรมอุตสาหการ แบ่งตามระดับชั้นปี พบว่า นักศึกษา
สาขาวิศวกรรมอุตสาหการชั้นปีที่ 1 คิดเป็นร้อยละ 35.3 นักศึกษาสาขาวิศวกรรมอุตสาหการชั้นปี
ที่ 2 คิดเป็นร้อยละ 26.5 นักศึกษาสาขาวิศวกรรมอุตสาหการชั้นปีที่ 3 คิดเป็นร้อยละ 16.2 และ
นักศึกษาสาขาวิศวกรรมอุตสาหการชั้นปีที่ 4 คิดเป็นร้อยละ 22.1
ตาราง 4.4 แสดงจํานวนร้อยละของนักศึกษาสาขาวิศวกรรมอุตสาหการ จําแนกตามรายได้
ต่อเดือน
จากตาราง 4.4 พบว่า นักศึกษาสาขาวิศวกรรมอุตสาหการ มีรายได้ต่อเดือน ไม่เกิน 4,000
บาท คิดเป็นร้อยละ 33.8 ช่วง 4,001 – 5,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 50.0 ช่วง 5,001 – 6,000 บาท คิด
เป็นร้อยละ 10.3 ช่วงมากกว่า 6,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 5.9
ตาราง 4.5 แสดงจํานวนร้อยละของนักศึกษาสาขาวิศวกรรมอุตสาหการ จําแนกตาม
ลักษณะที่อยู่อาศัย
ปัจจัยที่ศึกษา จํานวน ร้อยละ %
รายได้ต่อเดือน
ไม่เกิน 4,000 บาท
4,001 – 5,000 บาท
5,001 – 6,000 บาท
มากกว่า 6,000 บาท
23
34
7
4
33.8
50.0
10.3
5.9
รวม 68 100
ปัจจัยที่ศึกษา จํานวน ร้อยละ %
ลักษณะที่อยู่อาศัย
อยู่บ้านกับบิดา – มารดา
อยู่หอพัก
29
39
42.6
57.4
รวม 68 100
21
จากตาราง 4.5 พบว่า นักศึกษาสาขาวิศวกรรมอุตสาหการ จํานวน 68 คน เมื่อจําแนกตาม
ลักษณะที่อยู่อาศัยส่วนใหญ่ อยู่หอพัก คิดเป็นร้อยละ 57.4 และอยู่บ้านกับบิดา – มารดา คิดเป็น
ร้อยละ 42.6
ส่วนที่ 2 วิเคราะห์จํานวนร้อยละ ด้านความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับอาหาร
ตาราง 4.6 แสดงจํานวนร้อยละ ด้านความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับอาหาร
จากตาราง 4.6 พบว่า นักศึกษาสาขาวิศวกรรมอุตสาหการ มีความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับอาหาร
อยู่ในระดับดีมาก มีค่าเฉลี่ยจํานวนผู้ตอบถูกอยู่ที่ 64.2 และตอบถูกทั้งหมดถึง 3 ข้อ คือ 1. อาหาร
ข้อคําถามความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับอาหาร
ความคิดเห็น
ตอบถูก
จํานวน (ร้อยละ)
ตอบผิด
จํานวน (ร้อยละ)
1. อาหารเช้าเป็นประโยชน์ต่อร่างกายมาก
2. การรับประทานอาหารเช้าทําให้ร่างกายแข็งแรง
3. การไม่รับประทานอาหารเช้าทําให้เป็นโรคกระเพาะ
4. อาหารกลุ่ม 1.โปรตีนช่วยในการเจริญเติบโตซ่อมแซม
ส่วนที่สึกหรอสร้างกระดูกกล้ามเนื้อนํ้าย่อยฮอร์โมน
5. อาหารกลุ่ม 2.คาร์โบไฮเดรตคือ เมล็ดธัญพืชแป้ง นํ้าตาล
ข้าว ขนมปัง ข้าว เผือก มัน
6. อาหารกลุ่ม 4.วิตามิน ช่วยบํารุงสุขภาพของผิวหนังให้สด
ชื่น บํารุงสุขภาพปาก เหงือก และฟัน ช่วยให้ระบบการย่อย
และการขับถ่ายเป็นปกติ
7. อาหารกลุ่ม 5.ไขมัน มีหน้าที่ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย
ช่วยในเรื่องการดูดซึมของวิตามินที่ละลายในไขมัน
8. การรับประทานอาหารที่มีจําพวกแป้งหรือนํ้าตาลเยอะๆจะ
ทําให้เกิดโรคอ้วนได้
9. การรับประทานอาหารเช้าทําให้สมองทํางานได้ดี และช่วย
ให้มีสมาธิในการเรียนมากกว่าไม่รับประทานอาหารเช้า
68 (100)
68 (100)
68 (100)
62 (91.2)
64 (94.1)
62 (91.2)
60 (88.2)
61 (89.7)
65 (95.6)
0 (0)
0 (0)
0 (0)
6 (8.8)
4 (5.9)
6 (8.8)
8 (11.8)
7 (10.3)
3 (4.4)
22
เช้าเป็นประโยชน์ต่อร่างกายมาก (68), 2. การรับประทานอาหารเช้าทําให้ร่างกายแข็งแรง (68), 3.
การไม่รับประทานอาหารเช้าทําให้เป็นโรคกระเพาะ (68)
ส่วนที่ 3 วิเคราะห์ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ปัจจัยที่ส่งผลต่อการไม่รับประทานอาหาร
เช้าของนักศึกษาสาขาวิศวกรรมอุตสาหการคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
ราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์สุพรรณบุรี
ตาราง 4.7 แสดงค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ปัจจัยที่ส่งผลต่อการไม่รับประทาน
อาหารเช้าของนักศึกษาสาขาวิศวกรรมอุตสาหการคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัย
เทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์สุพรรณบุรี
จากตาราง 4.7 พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการไม่รับประทานอาหารเช้าของนักศึกษาสาขา
วิศวกรรมอุตสาหการ มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.64 และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ 1.153 เมื่อพิจารณา
จากรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 อันดับแรกที่เป็นปัจจัยต่อการไม่รับประทานอาหารเช้า
ได้แก่ ร้านอาหารมีคนเยอะ (xˉ =4.07,S.D.=1.238), เวลาไม่เพียงพอต่อการรับประทานอาหารเช้า
(xˉ =4.03,S.D.=1.133), และในการรับประทานอาหารเช้ามักจะทานด้วยความเร่งรีบ (xˉ
=3.85,S.D.=1.011) ตามลําดับ
ปัจจัย
ความคิดเห็น
xˉ (S.D.) แปลความ
1. เวลาไม่เพียงพอต่อการรับประทานอาหารเช้า
2. ในการรับประทานอาหารเช้ามักจะทานด้วย
ความเร่งรีบ
3. ที่อยู่อาศัยตั้งอยู่ไกลจากร้านอาหาร
4. เลือกไปซื้อขนมหรือนมรับประทานแทนอาหาร
เช้า
5. เพื่อนเป็นปัจจัยในการไม่รับประทานอาหารเช้า
6. ร้านอาหารมีคนเยอะ
4.03
3.85
3.09
3.71
3.06
4.07
1.133
1.011
1.143
1.023
1.370
1.238
มาก
มาก
ปานกลาง
มาก
ปานกลาง
มาก
รวม 3.64 1.153 มาก
23
ตาราง 4.8 แสดงผลวิเคราะห์ความสัมพันธ์ปัจจัยเหล่านี้ ได้แก่ ความเร่งรีบ เวลา ที่อาศัย
อยู่ไกลร้านอาหาร เลือกกินขนมแทนอาหารเช้า เพื่อน ร้านอาหารมีคนเยอะ ส่งผลกระทบต่อการ
ไม่รับประทานอาหารเช้าของนักศึกษาสาขาวิศวกรรมอุตสาหการคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์สุพรรณบุรี
* มีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05
** มีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01
จากตาราง 4.8 พบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางบวกกัน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ
.01 ได้แก่ เวลาไม่เพียงพอต่อการรับประทานอาหารเช้า, ในการรับประทานอาหารเช้ามักจะทาน
ด้วยความเร่งรีบ, ที่อยู่อาศัยตั้งอยู่ไกลจากร้านอาหาร, เลือกไปซื้อขนมหรือนมรับประทานแทน
อาหารเช้าเพื่อความสะดวกและรวดเร็ว และ เพื่อนเป็นปัจจัยในการไม่รับประทานอาหารเช้า ปัจจัย
ที่มีความสัมพันธ์ทางบวกกัน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ ร้านอาหารมีคนเยอะ
ตัวแปร B1 B2 B3 B4 B5 B6
เวลาไม่เพียงพอต่อการรับประทานอาหารเช้า(B1) 1 .551** .554** .362** .534** .247*
ในการทานอาหารเช้าทานด้วยความเร่งรีบ (B2) 1 .379** .355** .345** .360**
ที่อยู่อาศัยตั้งอยู่ไกลจากร้านอาหาร (B3) 1 .342** .607** .312**
เลือกไปซื้อขนมรับประทานแทนอาหารเช้า (B4) 1 .417** .265*
เพื่อนเป็นปัจจัยในการไม่รับประทานอาหารเช้า (B5) 1 .473**
ร้านอาหารมีคนเยอะ (B6) 1
บทที่ 5
สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
ความมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการไม่รับประทานอาหารเช้าของนักศึกษาสาขาวิศวกรรมอุตสาหการ
คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์สุพรรณบุรี
วัตถุประสงค์
1.เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการไม่รับประทานอาหารเช้าของนักศึกษาสาขาวิศวกรรมอุต
สาหการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์สุพรรณบุรี
สมมติฐาน
ปัจจัยเหล่านี้ได้แก่ ความเร่งรีบ เวลา ที่อาศัยอยู่ไกลร้านอาหาร เลือกกินขนมแทนอาหาร
เช้า เพื่อน ร้านอาหารมีคนเยอะ ส่งผลกระทบต่อการรับประทานอาหารเช้า
ขอบเขตของการวิจัย
ประชากร
ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ จํานวนทั้งหมด 82 คน เป็นนักศึกษาสาขาวิศวกรรมอุตสา
หการ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์สุพรรณบุรี
กลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้จํานวน 68 คน โดยการคํานวณจากสูตรของ Yamane
และกําหนดค่าความคลาดเคลื่อนทางสถิติที่ระดับนัยสําคัญ 0.05
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการไม่รับประทานอาหารเช้าของนักศึกษาสาขาวิศวกรรมอุตสาหการ
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการไม่รับประทานอาหารเช้าของนักศึกษาสาขาวิศวกรรมอุตสาหการ
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการไม่รับประทานอาหารเช้าของนักศึกษาสาขาวิศวกรรมอุตสาหการ
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการไม่รับประทานอาหารเช้าของนักศึกษาสาขาวิศวกรรมอุตสาหการ
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการไม่รับประทานอาหารเช้าของนักศึกษาสาขาวิศวกรรมอุตสาหการ
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการไม่รับประทานอาหารเช้าของนักศึกษาสาขาวิศวกรรมอุตสาหการ
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการไม่รับประทานอาหารเช้าของนักศึกษาสาขาวิศวกรรมอุตสาหการ
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการไม่รับประทานอาหารเช้าของนักศึกษาสาขาวิศวกรรมอุตสาหการ
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการไม่รับประทานอาหารเช้าของนักศึกษาสาขาวิศวกรรมอุตสาหการ
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการไม่รับประทานอาหารเช้าของนักศึกษาสาขาวิศวกรรมอุตสาหการ
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการไม่รับประทานอาหารเช้าของนักศึกษาสาขาวิศวกรรมอุตสาหการ
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการไม่รับประทานอาหารเช้าของนักศึกษาสาขาวิศวกรรมอุตสาหการ

More Related Content

What's hot

หนังสือนำส่ง
หนังสือนำส่งหนังสือนำส่ง
หนังสือนำส่งMapowzee Dahajee
 
โครงการ เสริมสร้างบรรยากาศในชั้นเรียน
โครงการ    เสริมสร้างบรรยากาศในชั้นเรียนโครงการ    เสริมสร้างบรรยากาศในชั้นเรียน
โครงการ เสริมสร้างบรรยากาศในชั้นเรียนmadechada
 
องค์ประกอบของหลักสูตร
องค์ประกอบของหลักสูตรองค์ประกอบของหลักสูตร
องค์ประกอบของหลักสูตร
Sunisa199444
 
ขอความอนุเคราะห์
ขอความอนุเคราะห์ขอความอนุเคราะห์
ขอความอนุเคราะห์Rapheephan Phola
 
แบบสอบถามความคิดเห็นสำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาเกี่ยวกับ
แบบสอบถามความคิดเห็นสำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาเกี่ยวกับแบบสอบถามความคิดเห็นสำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาเกี่ยวกับ
แบบสอบถามความคิดเห็นสำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาเกี่ยวกับ
บุญรักษา ของฉัน
 
โครงงานเว็บไซต์โทษของบุหรี่
โครงงานเว็บไซต์โทษของบุหรี่โครงงานเว็บไซต์โทษของบุหรี่
โครงงานเว็บไซต์โทษของบุหรี่
พัน พัน
 
โครงการปรับปรุงซ่อมแซมโรงอาหารโรงเรียนบ้านโคกกลางแก้งน้อยฯ
โครงการปรับปรุงซ่อมแซมโรงอาหารโรงเรียนบ้านโคกกลางแก้งน้อยฯโครงการปรับปรุงซ่อมแซมโรงอาหารโรงเรียนบ้านโคกกลางแก้งน้อยฯ
โครงการปรับปรุงซ่อมแซมโรงอาหารโรงเรียนบ้านโคกกลางแก้งน้อยฯศิริพัฒน์ ธงยศ
 
เค้าโครงโครงงานวิทยาศาสตร์
เค้าโครงโครงงานวิทยาศาสตร์เค้าโครงโครงงานวิทยาศาสตร์
เค้าโครงโครงงานวิทยาศาสตร์
โทโต๊ะ บินไกล
 
แบบประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมต่อต้านยาไอซ์ในโรงเรียน
แบบประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมต่อต้านยาไอซ์ในโรงเรียนแบบประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมต่อต้านยาไอซ์ในโรงเรียน
แบบประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมต่อต้านยาไอซ์ในโรงเรียน
Kruthai Kidsdee
 
โครงงานอาชีพม.ปลาย
โครงงานอาชีพม.ปลายโครงงานอาชีพม.ปลาย
โครงงานอาชีพม.ปลาย
ratchadaphun
 
ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
ที่มาและความสำคัญของโครงงานที่มาและความสำคัญของโครงงาน
ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
Phongsak Kongkham
 
แบบสอบถามความพึงพอใจ
แบบสอบถามความพึงพอใจแบบสอบถามความพึงพอใจ
แบบสอบถามความพึงพอใจ
Duangnapa Inyayot
 
โครงงานสิ่งประดิษฐ์เหลือใช้
โครงงานสิ่งประดิษฐ์เหลือใช้โครงงานสิ่งประดิษฐ์เหลือใช้
โครงงานสิ่งประดิษฐ์เหลือใช้
thanapisit marakul na ayudhya
 
หัวกระดาษข้อสอบ
หัวกระดาษข้อสอบหัวกระดาษข้อสอบ
หัวกระดาษข้อสอบ
worapanthewaha
 
แบบทดสอบ วิทยาศาสตร์ ป.3
แบบทดสอบ วิทยาศาสตร์ ป.3แบบทดสอบ วิทยาศาสตร์ ป.3
แบบทดสอบ วิทยาศาสตร์ ป.3
Khunnawang Khunnawang
 
เครื่องดักจับแมลงวันจากขวดพลาสติก 2
เครื่องดักจับแมลงวันจากขวดพลาสติก 2เครื่องดักจับแมลงวันจากขวดพลาสติก 2
เครื่องดักจับแมลงวันจากขวดพลาสติก 2Enormity_tung
 
รูปแบบวิจัย 5 บท
รูปแบบวิจัย 5 บทรูปแบบวิจัย 5 บท
รูปแบบวิจัย 5 บทKannika Kerdsiri
 
แบบสอบถาม
แบบสอบถามแบบสอบถาม
แบบสอบถาม
supattrapachanawan
 
คำกล่าวต้อนรับคณะกรรมการประเมิน
คำกล่าวต้อนรับคณะกรรมการประเมินคำกล่าวต้อนรับคณะกรรมการประเมิน
คำกล่าวต้อนรับคณะกรรมการประเมิน
pupphawittayacom
 

What's hot (20)

หนังสือนำส่ง
หนังสือนำส่งหนังสือนำส่ง
หนังสือนำส่ง
 
โครงการ เสริมสร้างบรรยากาศในชั้นเรียน
โครงการ    เสริมสร้างบรรยากาศในชั้นเรียนโครงการ    เสริมสร้างบรรยากาศในชั้นเรียน
โครงการ เสริมสร้างบรรยากาศในชั้นเรียน
 
การเขียนแผนปฏิบัติงาน
การเขียนแผนปฏิบัติงานการเขียนแผนปฏิบัติงาน
การเขียนแผนปฏิบัติงาน
 
องค์ประกอบของหลักสูตร
องค์ประกอบของหลักสูตรองค์ประกอบของหลักสูตร
องค์ประกอบของหลักสูตร
 
ขอความอนุเคราะห์
ขอความอนุเคราะห์ขอความอนุเคราะห์
ขอความอนุเคราะห์
 
แบบสอบถามความคิดเห็นสำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาเกี่ยวกับ
แบบสอบถามความคิดเห็นสำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาเกี่ยวกับแบบสอบถามความคิดเห็นสำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาเกี่ยวกับ
แบบสอบถามความคิดเห็นสำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาเกี่ยวกับ
 
โครงงานเว็บไซต์โทษของบุหรี่
โครงงานเว็บไซต์โทษของบุหรี่โครงงานเว็บไซต์โทษของบุหรี่
โครงงานเว็บไซต์โทษของบุหรี่
 
โครงการปรับปรุงซ่อมแซมโรงอาหารโรงเรียนบ้านโคกกลางแก้งน้อยฯ
โครงการปรับปรุงซ่อมแซมโรงอาหารโรงเรียนบ้านโคกกลางแก้งน้อยฯโครงการปรับปรุงซ่อมแซมโรงอาหารโรงเรียนบ้านโคกกลางแก้งน้อยฯ
โครงการปรับปรุงซ่อมแซมโรงอาหารโรงเรียนบ้านโคกกลางแก้งน้อยฯ
 
เค้าโครงโครงงานวิทยาศาสตร์
เค้าโครงโครงงานวิทยาศาสตร์เค้าโครงโครงงานวิทยาศาสตร์
เค้าโครงโครงงานวิทยาศาสตร์
 
แบบประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมต่อต้านยาไอซ์ในโรงเรียน
แบบประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมต่อต้านยาไอซ์ในโรงเรียนแบบประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมต่อต้านยาไอซ์ในโรงเรียน
แบบประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมต่อต้านยาไอซ์ในโรงเรียน
 
โครงงานอาชีพม.ปลาย
โครงงานอาชีพม.ปลายโครงงานอาชีพม.ปลาย
โครงงานอาชีพม.ปลาย
 
ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
ที่มาและความสำคัญของโครงงานที่มาและความสำคัญของโครงงาน
ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
 
แบบสอบถามความพึงพอใจ
แบบสอบถามความพึงพอใจแบบสอบถามความพึงพอใจ
แบบสอบถามความพึงพอใจ
 
โครงงานสิ่งประดิษฐ์เหลือใช้
โครงงานสิ่งประดิษฐ์เหลือใช้โครงงานสิ่งประดิษฐ์เหลือใช้
โครงงานสิ่งประดิษฐ์เหลือใช้
 
หัวกระดาษข้อสอบ
หัวกระดาษข้อสอบหัวกระดาษข้อสอบ
หัวกระดาษข้อสอบ
 
แบบทดสอบ วิทยาศาสตร์ ป.3
แบบทดสอบ วิทยาศาสตร์ ป.3แบบทดสอบ วิทยาศาสตร์ ป.3
แบบทดสอบ วิทยาศาสตร์ ป.3
 
เครื่องดักจับแมลงวันจากขวดพลาสติก 2
เครื่องดักจับแมลงวันจากขวดพลาสติก 2เครื่องดักจับแมลงวันจากขวดพลาสติก 2
เครื่องดักจับแมลงวันจากขวดพลาสติก 2
 
รูปแบบวิจัย 5 บท
รูปแบบวิจัย 5 บทรูปแบบวิจัย 5 บท
รูปแบบวิจัย 5 บท
 
แบบสอบถาม
แบบสอบถามแบบสอบถาม
แบบสอบถาม
 
คำกล่าวต้อนรับคณะกรรมการประเมิน
คำกล่าวต้อนรับคณะกรรมการประเมินคำกล่าวต้อนรับคณะกรรมการประเมิน
คำกล่าวต้อนรับคณะกรรมการประเมิน
 

Viewers also liked

รายงานพฤติกรรมการบริโภคอาหาร และเครื่องดื่ม
รายงานพฤติกรรมการบริโภคอาหาร และเครื่องดื่มรายงานพฤติกรรมการบริโภคอาหาร และเครื่องดื่ม
รายงานพฤติกรรมการบริโภคอาหาร และเครื่องดื่ม
Happy Zaza
 
แบบสอบถาม Social
แบบสอบถาม  Socialแบบสอบถาม  Social
แบบสอบถาม Socialkwang_reindiiz
 
ปัญหาความอยากขาวของวัยรุ่น
ปัญหาความอยากขาวของวัยรุ่นปัญหาความอยากขาวของวัยรุ่น
ปัญหาความอยากขาวของวัยรุ่น
warisfuu
 
แบบสอบถาม “แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ก่อนการสมรส
แบบสอบถาม “แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ก่อนการสมรสแบบสอบถาม “แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ก่อนการสมรส
แบบสอบถาม “แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ก่อนการสมรสสำเร็จ นางสีคุณ
 
แบบสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
แบบสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตแบบสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
แบบสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
podjarin
 
แบบสอบถาม โครงการบันทึกรักการอ่าน2013
แบบสอบถาม โครงการบันทึกรักการอ่าน2013แบบสอบถาม โครงการบันทึกรักการอ่าน2013
แบบสอบถาม โครงการบันทึกรักการอ่าน2013
Kruthai Kidsdee
 
แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการจัดประชุมสัมมนาโครงการสภานักเรียน ประจำปี ๒๕๕๘
แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการจัดประชุมสัมมนาโครงการสภานักเรียน ประจำปี ๒๕๕๘แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการจัดประชุมสัมมนาโครงการสภานักเรียน ประจำปี ๒๕๕๘
แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการจัดประชุมสัมมนาโครงการสภานักเรียน ประจำปี ๒๕๕๘
Duangnapa Inyayot
 
แบบสอบถาม การสูบบุหรี่ นักเรียนหญิง
แบบสอบถาม การสูบบุหรี่ นักเรียนหญิงแบบสอบถาม การสูบบุหรี่ นักเรียนหญิง
แบบสอบถาม การสูบบุหรี่ นักเรียนหญิงสำเร็จ นางสีคุณ
 
แนวทางการดำเนิน เรียนฟรี เรียนดี 15 ปี อย่างมีคุณภาพ ปีที่ 3
แนวทางการดำเนิน เรียนฟรี เรียนดี 15 ปี อย่างมีคุณภาพ ปีที่ 3แนวทางการดำเนิน เรียนฟรี เรียนดี 15 ปี อย่างมีคุณภาพ ปีที่ 3
แนวทางการดำเนิน เรียนฟรี เรียนดี 15 ปี อย่างมีคุณภาพ ปีที่ 3
thanaetch
 
โครงงานบล็อกเรื่องอาหาร
โครงงานบล็อกเรื่องอาหารโครงงานบล็อกเรื่องอาหาร
โครงงานบล็อกเรื่องอาหารBank Kitsana
 
เอกสารหมายเลข 6 ใบรับฝากขายสินค้า
เอกสารหมายเลข 6 ใบรับฝากขายสินค้าเอกสารหมายเลข 6 ใบรับฝากขายสินค้า
เอกสารหมายเลข 6 ใบรับฝากขายสินค้าApichaya Savetvijit
 
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลผลการวิเคราะห์ข้อมูล
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลJimmy Pongpisut Santumpol
 
Cardiovasculare risk among staff working at the Central of MoPH
Cardiovasculare risk among staff working at the Central of MoPHCardiovasculare risk among staff working at the Central of MoPH
Cardiovasculare risk among staff working at the Central of MoPH
DMS Library
 
เศรษฐศาสตร์พฤติกรรมกับการบริโภคอาหาร
เศรษฐศาสตร์พฤติกรรมกับการบริโภคอาหารเศรษฐศาสตร์พฤติกรรมกับการบริโภคอาหาร
เศรษฐศาสตร์พฤติกรรมกับการบริโภคอาหาร
Thira Woratanarat
 
เอกสารประกอบทางการเงินโครงการเด็กไทยแก้มใส
เอกสารประกอบทางการเงินโครงการเด็กไทยแก้มใสเอกสารประกอบทางการเงินโครงการเด็กไทยแก้มใส
เอกสารประกอบทางการเงินโครงการเด็กไทยแก้มใส
นายสมเพชร เชื้อหมอ
 
แบบฟอร์มใบสำคัญรับเงิน
แบบฟอร์มใบสำคัญรับเงินแบบฟอร์มใบสำคัญรับเงิน
แบบฟอร์มใบสำคัญรับเงินNan NaJa
 
ปัญหาการไม่นิยมรับประทานอาหารเช้า
ปัญหาการไม่นิยมรับประทานอาหารเช้าปัญหาการไม่นิยมรับประทานอาหารเช้า
ปัญหาการไม่นิยมรับประทานอาหารเช้า
Jenjira1996
 

Viewers also liked (20)

รายงานพฤติกรรมการบริโภคอาหาร และเครื่องดื่ม
รายงานพฤติกรรมการบริโภคอาหาร และเครื่องดื่มรายงานพฤติกรรมการบริโภคอาหาร และเครื่องดื่ม
รายงานพฤติกรรมการบริโภคอาหาร และเครื่องดื่ม
 
แบบสอบถาม Social
แบบสอบถาม  Socialแบบสอบถาม  Social
แบบสอบถาม Social
 
ปัญหาความอยากขาวของวัยรุ่น
ปัญหาความอยากขาวของวัยรุ่นปัญหาความอยากขาวของวัยรุ่น
ปัญหาความอยากขาวของวัยรุ่น
 
แบบสอบถาม “แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ก่อนการสมรส
แบบสอบถาม “แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ก่อนการสมรสแบบสอบถาม “แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ก่อนการสมรส
แบบสอบถาม “แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ก่อนการสมรส
 
แบบสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
แบบสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตแบบสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
แบบสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
 
ตัวอย่างแบบประเมินการฝึกอบรม
ตัวอย่างแบบประเมินการฝึกอบรมตัวอย่างแบบประเมินการฝึกอบรม
ตัวอย่างแบบประเมินการฝึกอบรม
 
แบบสอบถาม โครงการบันทึกรักการอ่าน2013
แบบสอบถาม โครงการบันทึกรักการอ่าน2013แบบสอบถาม โครงการบันทึกรักการอ่าน2013
แบบสอบถาม โครงการบันทึกรักการอ่าน2013
 
แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการจัดประชุมสัมมนาโครงการสภานักเรียน ประจำปี ๒๕๕๘
แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการจัดประชุมสัมมนาโครงการสภานักเรียน ประจำปี ๒๕๕๘แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการจัดประชุมสัมมนาโครงการสภานักเรียน ประจำปี ๒๕๕๘
แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการจัดประชุมสัมมนาโครงการสภานักเรียน ประจำปี ๒๕๕๘
 
แบบสอบถาม การสูบบุหรี่ นักเรียนหญิง
แบบสอบถาม การสูบบุหรี่ นักเรียนหญิงแบบสอบถาม การสูบบุหรี่ นักเรียนหญิง
แบบสอบถาม การสูบบุหรี่ นักเรียนหญิง
 
แนวทางการดำเนิน เรียนฟรี เรียนดี 15 ปี อย่างมีคุณภาพ ปีที่ 3
แนวทางการดำเนิน เรียนฟรี เรียนดี 15 ปี อย่างมีคุณภาพ ปีที่ 3แนวทางการดำเนิน เรียนฟรี เรียนดี 15 ปี อย่างมีคุณภาพ ปีที่ 3
แนวทางการดำเนิน เรียนฟรี เรียนดี 15 ปี อย่างมีคุณภาพ ปีที่ 3
 
โครงงานบล็อกเรื่องอาหาร
โครงงานบล็อกเรื่องอาหารโครงงานบล็อกเรื่องอาหาร
โครงงานบล็อกเรื่องอาหาร
 
เอกสารหมายเลข 6 ใบรับฝากขายสินค้า
เอกสารหมายเลข 6 ใบรับฝากขายสินค้าเอกสารหมายเลข 6 ใบรับฝากขายสินค้า
เอกสารหมายเลข 6 ใบรับฝากขายสินค้า
 
แบบใบสำคัญรับเงิน
แบบใบสำคัญรับเงินแบบใบสำคัญรับเงิน
แบบใบสำคัญรับเงิน
 
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลผลการวิเคราะห์ข้อมูล
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
 
Cardiovasculare risk among staff working at the Central of MoPH
Cardiovasculare risk among staff working at the Central of MoPHCardiovasculare risk among staff working at the Central of MoPH
Cardiovasculare risk among staff working at the Central of MoPH
 
เศรษฐศาสตร์พฤติกรรมกับการบริโภคอาหาร
เศรษฐศาสตร์พฤติกรรมกับการบริโภคอาหารเศรษฐศาสตร์พฤติกรรมกับการบริโภคอาหาร
เศรษฐศาสตร์พฤติกรรมกับการบริโภคอาหาร
 
เอกสารประกอบทางการเงินโครงการเด็กไทยแก้มใส
เอกสารประกอบทางการเงินโครงการเด็กไทยแก้มใสเอกสารประกอบทางการเงินโครงการเด็กไทยแก้มใส
เอกสารประกอบทางการเงินโครงการเด็กไทยแก้มใส
 
แบบฟอร์มใบสำคัญรับเงิน
แบบฟอร์มใบสำคัญรับเงินแบบฟอร์มใบสำคัญรับเงิน
แบบฟอร์มใบสำคัญรับเงิน
 
ปัญหาการไม่นิยมรับประทานอาหารเช้า
ปัญหาการไม่นิยมรับประทานอาหารเช้าปัญหาการไม่นิยมรับประทานอาหารเช้า
ปัญหาการไม่นิยมรับประทานอาหารเช้า
 
คุณภาพชีวิตการทำงาน
คุณภาพชีวิตการทำงานคุณภาพชีวิตการทำงาน
คุณภาพชีวิตการทำงาน
 

Similar to ปัจจัยที่ส่งผลต่อการไม่รับประทานอาหารเช้าของนักศึกษาสาขาวิศวกรรมอุตสาหการ

แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์Bai'mon Chankaew
 
Fulltext#1 72590งานวิจัย
Fulltext#1 72590งานวิจัยFulltext#1 72590งานวิจัย
Fulltext#1 72590งานวิจัย
Mayko Chan
 
โครงการพ ฒนาผ _เร_ยน
โครงการพ ฒนาผ _เร_ยนโครงการพ ฒนาผ _เร_ยน
โครงการพ ฒนาผ _เร_ยน
ไชยา แก้วผาไล
 
มาตรฐานโรงเรียนวัดพวงนิมิต 15 มาตรฐาน
มาตรฐานโรงเรียนวัดพวงนิมิต  15 มาตรฐานมาตรฐานโรงเรียนวัดพวงนิมิต  15 มาตรฐาน
มาตรฐานโรงเรียนวัดพวงนิมิต 15 มาตรฐานtassanee chaicharoen
 
ตัวอย่างโครงงาน
ตัวอย่างโครงงานตัวอย่างโครงงาน
ตัวอย่างโครงงานBenjarin Puanloon
 
ประกาศคุณูปการ
ประกาศคุณูปการประกาศคุณูปการ
ประกาศคุณูปการ
Kongkrit Pimpa
 
จุดสิ้นสุดของการเริ่มต้นบนถนนครุวิจัย ของครูกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์
จุดสิ้นสุดของการเริ่มต้นบนถนนครุวิจัย ของครูกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์จุดสิ้นสุดของการเริ่มต้นบนถนนครุวิจัย ของครูกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์
จุดสิ้นสุดของการเริ่มต้นบนถนนครุวิจัย ของครูกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์Kobwit Piriyawat
 
M6 143 60_1
M6 143 60_1M6 143 60_1
M6 143 60_1
Wichai Likitponrak
 
รายงานการประชุมคณะกรรมการสหวิทยาเขตสมเด็จ ครั้งที่2-55
รายงานการประชุมคณะกรรมการสหวิทยาเขตสมเด็จ ครั้งที่2-55 รายงานการประชุมคณะกรรมการสหวิทยาเขตสมเด็จ ครั้งที่2-55
รายงานการประชุมคณะกรรมการสหวิทยาเขตสมเด็จ ครั้งที่2-55 somdetpittayakom school
 
โครงงานเพื่อการศึกษา
โครงงานเพื่อการศึกษาโครงงานเพื่อการศึกษา
โครงงานเพื่อการศึกษา
Bream Mie
 
นโยบายขับเคลื่อนPptx
นโยบายขับเคลื่อนPptxนโยบายขับเคลื่อนPptx
นโยบายขับเคลื่อนPptx
Phornpilart Wanich
 
งานคอมแฟ้มสะสมผลงาน
งานคอมแฟ้มสะสมผลงานงานคอมแฟ้มสะสมผลงาน
งานคอมแฟ้มสะสมผลงาน
ืNoengruthai ngamsomdech
 
มคอ.3 เคมีทั้วไป ภาคต้น 55
มคอ.3 เคมีทั้วไป ภาคต้น 55มคอ.3 เคมีทั้วไป ภาคต้น 55
มคอ.3 เคมีทั้วไป ภาคต้น 55ไชยยา มะณี
 

Similar to ปัจจัยที่ส่งผลต่อการไม่รับประทานอาหารเช้าของนักศึกษาสาขาวิศวกรรมอุตสาหการ (13)

แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
 
Fulltext#1 72590งานวิจัย
Fulltext#1 72590งานวิจัยFulltext#1 72590งานวิจัย
Fulltext#1 72590งานวิจัย
 
โครงการพ ฒนาผ _เร_ยน
โครงการพ ฒนาผ _เร_ยนโครงการพ ฒนาผ _เร_ยน
โครงการพ ฒนาผ _เร_ยน
 
มาตรฐานโรงเรียนวัดพวงนิมิต 15 มาตรฐาน
มาตรฐานโรงเรียนวัดพวงนิมิต  15 มาตรฐานมาตรฐานโรงเรียนวัดพวงนิมิต  15 มาตรฐาน
มาตรฐานโรงเรียนวัดพวงนิมิต 15 มาตรฐาน
 
ตัวอย่างโครงงาน
ตัวอย่างโครงงานตัวอย่างโครงงาน
ตัวอย่างโครงงาน
 
ประกาศคุณูปการ
ประกาศคุณูปการประกาศคุณูปการ
ประกาศคุณูปการ
 
จุดสิ้นสุดของการเริ่มต้นบนถนนครุวิจัย ของครูกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์
จุดสิ้นสุดของการเริ่มต้นบนถนนครุวิจัย ของครูกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์จุดสิ้นสุดของการเริ่มต้นบนถนนครุวิจัย ของครูกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์
จุดสิ้นสุดของการเริ่มต้นบนถนนครุวิจัย ของครูกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์
 
M6 143 60_1
M6 143 60_1M6 143 60_1
M6 143 60_1
 
รายงานการประชุมคณะกรรมการสหวิทยาเขตสมเด็จ ครั้งที่2-55
รายงานการประชุมคณะกรรมการสหวิทยาเขตสมเด็จ ครั้งที่2-55 รายงานการประชุมคณะกรรมการสหวิทยาเขตสมเด็จ ครั้งที่2-55
รายงานการประชุมคณะกรรมการสหวิทยาเขตสมเด็จ ครั้งที่2-55
 
โครงงานเพื่อการศึกษา
โครงงานเพื่อการศึกษาโครงงานเพื่อการศึกษา
โครงงานเพื่อการศึกษา
 
นโยบายขับเคลื่อนPptx
นโยบายขับเคลื่อนPptxนโยบายขับเคลื่อนPptx
นโยบายขับเคลื่อนPptx
 
งานคอมแฟ้มสะสมผลงาน
งานคอมแฟ้มสะสมผลงานงานคอมแฟ้มสะสมผลงาน
งานคอมแฟ้มสะสมผลงาน
 
มคอ.3 เคมีทั้วไป ภาคต้น 55
มคอ.3 เคมีทั้วไป ภาคต้น 55มคอ.3 เคมีทั้วไป ภาคต้น 55
มคอ.3 เคมีทั้วไป ภาคต้น 55
 

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการไม่รับประทานอาหารเช้าของนักศึกษาสาขาวิศวกรรมอุตสาหการ

  • 1. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการไม่รับประทานอาหารเช้าของนักศึกษาสาขาวิศวกรรมอุตสาหการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์สุพรรณบุรี พีรพัฒน์ พรมแตง พีรพงษ์ ยิ้มแย้ม สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์สุพรรณบุรี ปีการศึกษา 2558
  • 2. ก ชื่อหัวข้อวิจัย ปัจจัยที่ส่งผลต่อการไม่รับประทานอาหารเช้าของนักศึกษา สาขาวิศวกรรมอุตสา หการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์สุพรรณบุรี ชื่อ-นามสกุล พีรพัฒน์ พรมแตง, พีรพงษ์ยิ้มแย้ม อาจารย์ที่ปรึกษาชญารัตน์ บุญพุฒิกร ปีการศึกษา 2558 บทคัดย่อ การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการไม่รับประทาน อาหารเช้าของนักศึกษา สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์สุพรรณบุรี โดยศึกษากลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 68 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการ เก็บรวมรวมข้อมูล สําหรับสถิติที่ใช้เป็นเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบน มาตรฐาน ผลการศึกษาสรุปได้ว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 82.4 อายุส่วนใหญ่มีอายุ 19 ปี คิดเป็นร้อยละ 32.4 เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 คิดเป็นร้อยละ 35.3 มีรายได้ ต่อเดือนอยู่ที่ 4,001 – 5,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 50.0 ลักษณะที่อยู่อาศัยส่วนใหญ่ อยู่หอพัก คิด เป็นร้อยละ 57.4 ส่วนใหญ่มีความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับอาหารอยู่ในระดับที่ดีมาก มีค่าเฉลี่ยผู้ตอบถูกอยู่ ที่ 64.2 ด้านปัจจัยที่ส่งผลต่อการไม่รับประทานอาหารเช้าของนักศึกษาสาขาวิศวกรรมอุตสาหการ มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.64 และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ 1.153 เมื่อพิจารณาจากรายข้อพบว่า ข้อที่ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 อันดับแรกที่เป็นปัจจัยต่อการไม่รับประทานอาหารเช้าได้แก่ ร้านอาหารมีคน เยอะ (xˉ =4.07,S.D.=1.238), เวลาไม่เพียงพอต่อการรับประทานอาหารเช้า (xˉ =4.03,S.D.=1.133), และในการรับประทานอาหารเช้ามักจะทานด้วยความเร่งรีบ (xˉ =3.85,S.D.=1.011) ดังนั้นจากผลวิจัยผู้จัดทําเห็นควรจัดเอกสารทางด้านประโยชน์ของอาหารเช้าให้ นักศึกษาไว้ศึกษาค้นคว้า รวมทั้งจัดนิทรรศการเพื่อให้ความรู้แก่นักศึกษาเพิ่มมากขึ้นด้วย เพื่อ ตระหนักถึงความสําคัญของการรับประทานอาหารเช้า
  • 3. ข กิตติกรรมประกาศ รายงานวิจัยครั้งนี้ สําเร็จได้ด้วยความกรุณาจากอาจารย์ชญารัตน์ บุญพุฒิกร อาจารย์ที่ ปรึกษาวิจัย ที่กรุณาให้คําปรึกษา แนะนําแนวทาง ตลอดจนแก้ข้อบกพร่องต่างๆ ทําให้งานวิจัยมี ความถูกต้องสมบูรณ์ ยิ่งขึ้น ผู้เขียนขอกราบขอบพระคุณอย่างสูงไว้ณ ที่นี้ ขอขอบคุณผู้ตอบแบบสอบถามทุกท่าน ที่กรุณาให้ความร่วมมือและเสียสละเวลาในการ ตอบแบบสอบถามในครั้งนี้เป็นอย่างดี ขอขอบคุณเพื่อน ๆ และบุคคลที่เกี่ยวข้องอีกหลาย ๆ ท่าน ที่ได้มีส่วนสําคัญในการ ช่วยเหลือและแนะนาการทาวิจัยเพื่อให้งานวิจัยครั้งนี้สําเร็จลุล่วงด้วย ขอกราบขอบพระคุณคุณพ่อ คุณแม่ และครอบครัวของผู้วิจัย ที่ให้การสนับสนุนและเป็น กําลังใจในทุก ๆ เรื่องด้วยดีเสมอมา เป็นผู้อยู่เบื้องหลังความสําเร็จในครั้งนี้ สุดท้ายนี้หากการทําวิจัยฉบับนี้มีความผิดพลาดหรือข้อบกพร่องใด ๆ ผู้เขียนขอน้อมรับไว้ ณ โอกาสนี้ และหวังว่าการทําวิจัยนี้ จะมีประโยชน์สําหรับผู้ที่สนใจ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ต่อไป พีรพัฒน์ พรมแตง พีรพงษ์ยิ้มแย้ม
  • 4. ค สารบัญ หน้า บทคัดย่อ ก กิตติกรรมประกาศ ข สารบัญ ค สารบัญตาราง จ สารบัญภาพ ฉ บทที่ 1 บทนํา 1 ความเป็นมาและความสําคัญของปัญหา 1 วัตถุประสงค์ 1 สมมติฐาน 1 ขอบเขตของการวิจัย 2 นิยามศัพท์ 2 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 3 กรอบแนวความคิดการวิจัย 3 บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 4 พฤติกรรมการรับประทานอาหารเช้า 4 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 11 บทที่ 3 วิธีการดําเนินการวิจัย 13 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 13 การออกแบบการวิจัย 14 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 14 การสร้างและการหาประสิทธิภาพของเครื่องมือ 15 การดําเนินการทดลองและเก็บรวมรวมข้อมูล 16 การวิเคราะห์ข้อมูล 16 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล 17
  • 5. ง สารบัญ (ต่อ) หน้า บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล 18 สัญลักษณ์และอักษรย่อที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล 18 การวิเคราะห์ข้อมูล 18 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล 18 บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ 24 สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูล 26 อภิปรายผลการวิจัย 27 ข้อเสนอแนะ 28 เอกสารและสิ่งอ้างอิง 29 ภาคผนวก 31 ภาคผนวก ก แบบสอบถาม 32 ประวัติย่อผู้วิจัย 36
  • 6. จ สารบัญตาราง ตารางที่ หน้า 4.1 แสดงจํานวนร้อยละของนักศึกษาสาขาวิศวกรรมอุตสาหการจําแนกตามเพศ 18 4.2 แสดงจํานวนร้อยละของนักศึกษาสาขาวิศวกรรมอุตสาหการจําแนกตามอายุ 19 4.3 แสดงจํานวนร้อยละของนักศึกษาสาขาวิศวกรรมอุตสาหการจําแนกระดับชั้น 19 4.4 แสดงจํานวนร้อยละของนักศึกษาสาขาวิศวกรรมอุตสาหการ จําแนกตามรายได้ต่อเดือน 20 4.5 แสดงจํานวนร้อยละของนักศึกษาสาขาวิศวกรรมอุตสาหการ จําแนกตามลักษณะที่อยู่อาศัย 20 4.6 แสดงจํานวนร้อยละ ด้านความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับอาหาร 21 4.7 แสดงค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ปัจจัยที่ส่งผลต่อการ ไม่รับประทานอาหารเช้า ของนักศึกษาสาขาวิศวกรรมอุตสาหการ 22 4.8 แสดงผลวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยที่ส่งผลต่อการไม่รับประทาน อาหารเช้าของนักศึกษาสาขาวิศวกรรมอุตสาหการคณะครุศาสตร์ 23
  • 8. บทที่ 1 บทนํา ความเป็นมาและความสําคัญของปัญหา การรับประทานอาหารเช้านั้น เป็นสิ่งที่สําคัญสําหรับการเริ่มต้นวันใหม่ ผู้ที่รับประทาน อาหารเช้าเป็นประจําทุกวันนั้นจะมีทัศนคติที่ดี รูปร่างที่ดี และอาหารเช้ายังช่วยให้เรามีสมาธิใน การทํางานได้ดียิ่งขึ้น การรับประทานอาหารเช้าโดยเฉพาะอาหารที่มีเส้นใยสูงจะเป็นการช่วยลด ระดับความรู้สึกผิวของร่างกาย การเลือกที่จะเริ่มต้นวันใหม่ของเราด้วยการรับประทานอาหารเช้า นั้น ยังสามารถสร้างความมั่นใจได้ว่า เราจะสามารถบริโภคอาหารที่มีสารอาหารทางโภชนาการที่ สําคัญได้อย่างครบถ้วน เหตุผลการไม่รับประทานอาหารของนักศึกษานั้นคือ ไม่มีเวลา ในช่วงเวลาเร่งรีบในตอนเช้า เพื่อที่จะออกมาให้ทันเวลาเรียนเป็นสิ่งที่เห็นกันอยู่เป็นประจํา วัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการไม่รับประทานอาหารเช้าของนักศึกษาสาขาวิศวกรรมอุต สาหการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์สุพรรณบุรี สมมติฐาน ปัจจัยเหล่านี้ได้แก่ ความเร่งรีบ เวลา ที่อาศัยอยู่ไกลร้านอาหาร เลือกกินขนมแทนอาหาร เช้า เพื่อน ร้านอาหารมีคนเยอะ ส่งผลกระทบต่อการรับประทานอาหารเช้า
  • 9. 2 ขอบเขตของการวิจัย ประชากร ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ จํานวนทั้งหมด 82 คน เป็นนักศึกษาสาขาวิศวกรรมอุตสา หการ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์สุพรรณบุรี กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้จํานวน 68 คน โดยการคํานวณจากสูตรของ Yamane และกําหนดค่าความคลาดเคลื่อนทางสถิติที่ระดับนัยสําคัญ 0.05 ตัวแปรที่ศึกษา 1. ตัวแปรอิสระ - การรับประทานอาหารเช้า 2. ตัวแปรตาม - ปัจจัยที่ส่งผลต่อการไม่รับประทานอาหารเช้า เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลนี้เป็นแบบสอบถามปัจจัยที่ส่งผลต่อการไม่ รับประทานอาหารเช้า นิยามศัพท์ 1. นักศึกษา หมายถึง นักศึกษาระดับ ป.ตรี สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ มทรส.สุพรรณบุรี 2. อาหาร หมายถึง สิ่งที่เรารับประทานเข้าไปแล้วทําให้เกิดประโยชน์ต่อร่างกายในด้าน ต่างๆ ไม่ทําให้เกิดโทษ เช่น เนื้อสัตว์ข้าว แป้ง ผัก ผลไม้นม ฯลฯ ยกเว้นยารักษาโรค 3. โภชนาการ หมายถึง วิทยาศาสตร์สาขาหนึ่งที่ศึกษาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของอาหารที่ เข้าไปในร่างกาย การพัฒนาของร่างกายจากการได้รับสารอาหารรวมทั้งการปรุงแต่ง อาหารให้เหมาะสมกับความต้องการตามสภาพและวัย
  • 10. 3 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1. ทําให้ทราบถึงปัจจัยที่มีผลต่อการบริโภคอาหารเช้าของนักศึกษาสาขาวิศวกรรมอุตสา หการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์สุพรรณบุรี 2. เพื่อใช้เป็นข้อมูลเชิงวิชาการในการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริโภค ของผู้บริโภคกลุ่มอื่นๆ กรอบแนวความคิดการวิจัย ภาพที่ 1.1 กรอบแนวความคิด การรับประทาน อาหารเช้า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการไม่รับประทานอาหาร - ลักษณะของการอยู่อาศัย - รายได้ที่ได้รับจากครอบครัว - เวลาเร่งรีบ - ภาวะทางอารมณ์และจิตใจ - เพื่อน - การเลือกรับประทานอาหาร
  • 11. บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง จากการศึกษาผลงานที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการไม่รับประอาหารเช้า โดยผู้ศึกษา ได้ค้นคว้าเอกสาร แนวคิด ทฤษฎี ตลอดจนงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นกรอบในการศึกษา ดังนี้ 1. พฤติกรรมการรับประทานอาหารเช้า 2. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 1. พฤติกรรมการรับประทานอาหารเช้า ความสําคัญของอาหารมื้อเช้า เวลาที่เหมาะสมที่สุดในการรับประทานอาหารมื้อเช้าคือ 7.00 – 9.00 น. เพราะเป็นช่วงเวลา ที่กระเพาะอาหารเริ่มทํางาน ผลเสียของการไม่รับประทานอาหารมื้อเช้า - ร่างกายขาดสารอาหารที่จําเป็นในการเสริมสร้างพลังงานและซ่อมแซมสิ่งที่สึกหรอทํา ให้อวัยวะต่างๆไม่แข็งแรง - สมองไม่ได้รับสารอาหารเพียงพอ ทําให้ไอคิวตํ่า เฉื่อยชา ขาดความว่องไว ความจําไม่ดี ขาดความกระตือรือร้น - ถ้าไม่ได้รับประทานอาหารเช้าเป็นเวลานาน กระเพาะจะไม่แข็งแรง การขับถ่ายไม่ดี กล้ามเนื้อเหลว ผิวเหี่ยวและคลํ้าแก่เร็ว ภูมิต้านทานลด ปวดหัว ปวดเข่า ความจําเสื่อม เป็นอัลไซ เมอร์ อาหารเช้าลดโรค การกินอาหารเช้าช่วยป้ องกันโรคหัวใจ และนํ้าตาลในเลือดสูง ซึ่งเป็น อาการเตือนของโรคเบาหวาน นอกจากนี้ยังช่วยลดอาการอ่อนเพลียได้อีกด้วย อาหารเช้าที่ควรใส่ใจ ถ้าต้องการให้ร่างกายได้ประโยชน์จากอาหารเช้ามากขึ้น ควรพิจารณาเลือกชนิดอาหารที่มี คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ธัญพืชไม่ขัดสี ผลไม้อาหารทะเลให้กรดอะมิโน ไข่อุดมไปด้วยโปรตีน วิตามินบีและโคลีนช่วยการทํางานเกี่ยวกับความจํา แม้ไข่มีคลอเลสเตอรอลสูง แต่ไข่วันละฟองใน มื้ออาหารที่สมดุลนั้น ข้อมูลการวิจัยเปิดเผยว่าไม่เป็นผลเสีย อาหาร แคลเซียมสูง เช่น นมโยเกิร์ต
  • 12. 5 นมถั่วเหลือง หรือธัญพืชเสริม แคลเซียม นํ้าส้ม ช่วยในการเผาผลาญไขมันและลดการสะสมไขมัน ในร่างกาย พ่อแม่บางคนก็จะให้ลูกกินข้าวเช้าก่อนไปโรงเรียน การไม่กินอาหารเช้า จะทําให้ร่างกาย ขาดพลังงานและจะมีผลต่อการเรียนรู้และความจํา ดังนั้นการกินอาหารเช้า จึงทําให้สมองทํางาน ได้ดี จะช่วยให้มีสมาธิในการเรียนสําหรับ คนที่ไม่กินอาหารเช้า ควรปรับพฤติกรรมใหม่หันมากิน อาหารเช้า เพื่อให้การทํางานในแต่ละวันมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทําให้การรับรู้และความจําดีขึ้น เมื่อ รู้อย่างนี้แล้วเราควรมาใส่ใจกับมื้อเช้ากันเถอะ (นายทองปลิว ไกรแสงศรี) องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ให้คําจํากัดความของพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ไว้ว่า หมายถึง การปฏิบัติที่เคยชินจนเป็นนิสัยในการรับประทานอาหาร ซึ่งครอบคลุมถึงประเภท อาหาร ชนิดของอาหารที่รับประทาน วิธีการรับประทาน ความถี่ในการรับประทานอาหาร และ อุปกรณ์ที่ต้องใช้ รวมทั้งสุขนิสัยในการรับประทานอาหารด้วย (ขวัญจิต อินเหยี่ยว, 2542, หน้า 21) พุทธชาด นิรุติธรรมธารา (2546, หน้า 23-24) กล่าวถึง พฤติกรรมการบริโภค อาหาร ไว้ว่า พฤติกรรมการบริโภคอาหารเป็นการแสดงออกของบุคคลที่สามารถสังเกตได้และ สังเกตไม่ได้เกี่ยวกับการรับประทานอาหารโดยมีความสัมพันธ์กับสิ่งอื่น ๆ ได้แก่ ความเชื่อใน การบริโภคอาหาร ข้อห้ามในเรื่องอาหาร ความนิยมในเรื่องอาหาร และนิสัยการบริโภคอาหาร ล้วนมีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารทั้งสิ้น ดังนี้คือ ความเชื่อในการบริโภคอาหาร (Food Belief) เป็นความเข้าใจ และประสบการณ์ที่ ได้รับ การถ่ายทอดกันมา โดยมักมีเหตุผล หรือข้ออ้างอิงเป็นคําอธิบายถึงผลของความเชื่อนั้น ๆ ซึ่งอาจ เป็นจริง หรือไม่ก็ได้เช่น หญิงมีครรภ์เชื่อว่าดื่มนํ้ามะพร้าวจะช่วยล้างไขมันของทารก และช่วยให้ คลอดง่าย เป็นต้น ข้อห้ามในการบริโภคอาหาร (Food Taboo) เป็นกฎเกณฑ์ของสังคมที่ถือปฏิบัติ สืบทอดกันมาในสภาวะ หรือสถานการณ์บางอย่าง เช่น ห้ามหญิงตั้งครรภ์รับประทานไข่ หรือ ห้ามหญิงคลอดบุตรที่อยู่ไฟรับประทานของแสลง ซึ่งแตกต่างกันไปแต่ละชุมชน ความนิยมในเรื่องการบริโภคอาหาร (Food Fad) เป็นการกระทําที่เอาอย่าง เพื่อ แสดง ความมีส่วนร่วม หรือเพื่อความจําเป็นทางเศรษฐกิจ และสภาพแวดล้อม โดยไม่จําเป็นต้อง ถูกต้อง และมีเหตุผลเสมอไป เช่น การเลี้ยงลูกด้วยนมขวด หรืออาหารเสริมสําเร็จรูปที่แสดงถึง ความทันสมัยอย่างเพื่อน หรือเพราะความจําเป็นทางอาชีพที่เปลี่ยนไปตามลักษณะของสังคมใหม่
  • 13. 6 นิสัยการบริโภค (Food Habits) หมายถึง ลักษณะ หรือการกระทําอันซํ้าซาก ซึ่ง บุคคลใดบุคคลหนึ่งทําด้วยความเข้าใจ เพื่อให้การรับประทานอาหารของเขาบรรลุถึง ความ ประสงค์ทางอารมณ์ และของสังคม บริโภคนิสัยมักเป็นสิ่งที่สืบเนื่องกันมาเป็นเวลานาน และเป็น การยากที่จะไปเปลี่ยน การที่บุคคลรับประทานอาหารแตกต่างกันไปนั้นเป็นผลเรียนรู้ จากประสบการณ์คนแต่ละคนไม่ได้เกิดมาพร้อมด้วยบริโภคนิสัย แต่เขาจะเรียนรู้คือ ดูตัวอย่างจาก ผู้สูงอายุกว่า หรือจากเพื่อน ๆ นิสัยการบริโภค และความเชื่อในเรื่องคุณสมบัติ และคุณภาพของ อาหาร จะมีอิทธิพลต่อภาวะโภชนาการของบุคคล ซึ่งสืบเนื่องมาจากการเลือกอาหารของเขา พฤติกรรมการบริโภคอาหาร เป็นการแสดงออกของบุคคลทั้งที่สังเกตได้และสังเกตไม่ได้ เกี่ยวกับการรับประทานอาหาร โดยมีความสัมพันธ์กับสิ่งอื่นๆ ได้แก่ ความเชื่อในการบริโภค อาหาร(Food belief) เป็นความเข้าใจ และประสบการณ์ที่ได้รับถ่ายทอดและสะสมกันมา โดยมักจะ มีเหตุผลหรือข้ออ้างอิงเป็นคําอธิบายถึงผลความเชื่อนั้นๆ ซึ่งอาจเป็นจริงหรือไม่ก็ได้ความนิยมใน การเลือกบริโภคอาหาร ( Food fad ) เป็นการกระทําที่เอาอย่างกัน เพื่อแสดงความมีส่วนร่วม รักษา สถานะทางสังคม หรือเพื่อความจําเป็นทางเศรษฐกิจ โดยไม่จําเป็นต้องถูกต้องและมีเหตุผลเสมอ ไป ข้อห้ามในการบริโภค ( Food taboo ) เป็นเกณฑ์ทางสังคมที่ถือปฏิบัติ สืบทอดกันในสภาวะ หรือสถานการณ์บางอย่าง บริโภคนิสัย ( Food habits ) หมายถึง ลักษณะและการกระทําซํ้าซาก ซึ่ง บุคคลใดบุคคลหนึ่งทําด้วยความตั้งใจ สืบต่อเนื่องกันมาเป็นเวลานาน เพื่อให้การรับประทาน อาหารของเขา บรรลุถึงความประสงค์ทางอารมณ์และสังคม ( สุทธิลักษณ์ , 2533 ) วนิดา สิทธิรณฤธิ์ (2527) กล่าวว่า พฤติกรรมการบริโภคอาหาร หมายถึง การแสดงออก ของบุคคลทั้งที่สังเกตเห็นได้และสังเกตไม่ได้เกี่ยวกับการรับประทานอาหาร ได้แก่ การ รับประทานอาหารหรือไม่รับประทานอะไร รับประทานอย่างไร จํานวนมื้อที่รับประทานและใช้ อุปกรณ์อะไรบ้างในการรับประทาน รวมทั้งการปฏิบัติก่อนการรับประทานอาหาร และขณะ รับประทานอาหาร ตลอดจนชนิดของอาหารที่รับประทานอย่างไรก็ตามแม้พฤติกรรมการกิน บางอย่างโดยเฉพาะเกี่ยวกับความเชื่อทางศาสนาอาจปรับเปลี่ยนได้ยากแต่ความจริงแล้วในแต่ละ ท้องถิ่นมักจะมีทางเลือกที่สามารถชดเชยให้เกิดความ เพียงพอการได้รับสารอาหาร เพราะถึงแม้จะ มีพฤติกรรมการกินที่ถูกปรับเกลาจนเป็นวัฒนธรรมการ กินของสังคมนั้นๆ ก็มิได้หมายความ หมายว่า ทุกครอบครัวจะสามารถมีพฤติกรรมการกินเหล่านั้นได้ทั้งหมด ทั้งนี้ต้องผ่านการ “ เลือก” ที่จะปฏิบัติซึ่งขึ้นอยู่กับศักยภาพของเศรษฐกิจและทรัพยากรของ แต่ละครอบครัว คนรวย
  • 14. 7 อาจจะกินลาบได้บ่อยครั้งกว่าคนจน แต่คนจนก็อาจจะกินกบ เขียด แมงมันหรือถั่ว และกินลาบ นานๆ ครั้ง ตามวัฒนธรรมนิยม เนื่องจากวัฒนธรรมมิได้หยุดนิ่งอยู่กับที่ มีการผันแปรเปลี่ยนแปลง ตามกาลเวลา ดังนั้นพฤติกรรมการกินบางอย่างก็อาจหายไปกับกาลเวลา ขณะที่ พฤติกรรมการกินใหม่ๆ อาจ “เกิด” ขึ้นแทนตามการผันของสิ่งแวดล้อม ตามการปรับ “เกลา” ของ สมัยนิยมในสังคมและตามศักยภาพในการ “เลือก”สรรของครอบครัว แต่ในระดับ “ทํา” พฤติกรรมการกินส่วนบุคลยังขึ้นอยู่กับอุปนิสัย ความชอบและการตอบสนองของร่างกาย เช่น รูป กลิ่น สี ความหิวหรืออิ่ม ซึงพฤติกรรมบางอย่างเป็นวัฒนาการมาโดยกําเนิด เช่น การดูดนมแม่ของ เด็กแรกเกิด แต่ส่วนใหญ่ เป็นพฤติกรรมเรียนรู้บนพื้นฐานทางจิตวิทยา บนพื้นฐานความ เอื้ออํานวยทางเศรษฐกิจของครอบครัวบนพื้นฐานการยอมรับของสังคม และบนพื้นฐานความ เอื้ออํานวยทางสิงแวดล้อมซึ่งอาจจะเป็นความชอบหรือโปรดปรานอาหารเฉพาะอย่าง หรือไม่ชอบ อาหารบางอย่าง จากความหมายของพฤติกรรมการบริโภคอาหารได้มีผู้ให้ความหมายไว้มากมาย ดังนั้นผู้วิจัยสรุปได้ว่า พฤติกรรมการบริโภคอาหาร หมายถึง ความประพฤติ การปฏิบัติหรือการ แสดงออกที่เกี่ยวกับการบริโภคอาหาร สุขลักษณะและวิธีรับประทานอาหาร ทั้งนี้สังเกตได้และ สังเกตไม่ได้ ปัจจัยที่มีผลต่อการบริโภคอาหาร ได้มีการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหาร โดยแบ่งออกได้ดังนี้ คือปัจจัย แวดล้อมทางกายภาพ ปัจจัยแวดล้อมทางชีวภาพ และปัจจัยแวดล้อม ทางสังคม (วลัยทิพย์,2527 :227) 1. ปัจจัยแวดล้อมทางกายภาพ (Physical Factor) สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ได้แก่ สภาพ ทางภูมิศาสตร์ของชุมชนจะเป็นตัวกําหนดชนิดของอาหารที่จะสามรถผลิตหรือหาได้ในชุมชน นั้นๆเช่นชุมชนที่อยู่ใกล้ทะเลจะหาอาหารได้จากการประมง เป็นต้น นอกจากนี้สภาพทาง ภูมิศาสตร์ เช่น ดิน นํ้า ภูมิอากาศ ยังเป็นกําหนดชนิดของพืชที่จะสามารถเพาะปลูกได้ในแต่ละ ชุมชนอีกด้วย ชนิดของพืชและสัตว์ในแต่ละท้องถิ่นจะเป็นเครื่องกําหนดแบบแผนของลักษณะ อาหารที่บริโภคของชุมชนของชุมชน ปัจจัยทางกายภาพมีอิทธิพลโดยตรงต่อการกินอาหารของ ชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งชุมชนที่มีเศรษฐศาสตร์เพียงแต่ยังชีพได้ดังนั้นความแตกต่างของ ลักษณะทางกายภาพย่อมจะมีผลกระทบต่อพฤติกรรมการบริโภคของคนในท้องถิ่นนั้นๆ
  • 15. 8 2. ปัจจัยแวดล้อมทางชีวภาพ (Biological Factor) ด้วยเหตุที่ว่าแต่ละคนจะมีความต้องการ สารอาหารแต่ละชนิดเหมือนกัน จะแตกต่างกันก็เพียงแต่จะต้องการในปริมาณที่ไม่เท่ากันทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับเพศ วัย สภาพร่างกาย กิจกรรมที่ทําและสิ่งแวดล้อม(วลัย,2526: 309) เกี่ยวกับความหมายของปัจจัยแวดล้อมชีวภาพ วลัยทิพย์สาชลวิจารณ์ (2527 : 227) ได้ให้ ความหมายว่า หมายถึง ชนิดและปริมาณของสารอาหารที่ร่างกายต้องการตามสภาวะของร่างกาย เช่นสภาวะการตั้งครรภ์ อายุ เพศ วัย ความเจ็บป่วย ชนิดของยาที่กิน การทํางานของอวัยวะใน ร่างกาย เช่นการย่อย การดูดซึมอาหาร เป็นต้น เช่น - อายุที่แตกต่างกันทําให้ความต้องการของสารอาหารแตกต่างกัน - เพศ ผู้ชายจะมีความต้องการพลังงานจากอาหารและสารอาหารต่างๆ สูงกว่าผู้หญิงในอายุ รุ่นราวคราวเดียวกัน - วัย ความต้องการอาหารของคนขึ้นอยู่กับความเปลี่ยนแปลงของร่างกาย ซึ่งเริ่มตั้งแต่เกิดเป็น ทารกจนถึงวัยชราระยะที่ร่างกายเปลี่ยนแปลงเป็นสาเหตุที่คนเรามีความต้องการอาหารที่ต่างกัน จากที่กล่าวมาแล้วจะพบว่าปัจจัยแวดล้อมทางชีวภาพมีอิทธิพลโดยตรงต่อพฤติกรรมการ บริโภคของแต่ละบุคคลในแต่ละวัยด้วย 3. ปัจจัยทางสังคม (Social Factor) เป็นการศึกษาเกี่ยวกับ 3.1 ลักษณะของสังคมชนบทและสังคมเมืองไทย ในชนบทของไทยโดยทั่วไปเป็นสังคมแบบเครือญาติ มีลักษณะครอบครัว คือครอบครัว หนึ่งๆ จะประกอบไปด้วย พ่อ แม่ ลูก หลาน อยู่ร่วมกัน เป็นสมาชิกครอบครัว พ่อ แม่ เป็น ศูนย์กลางของครอบครัว สมาชิกในครอบครัวจะมีการแบ่งงานกันทํา หมู่บ้านมีขนาดเล็กและอยู่ กระจัดกระจาย ชาวชนบทส่วนใหญ่มีการศึกษาน้อยในการทําอะไรก็มักจะมีการเลียนแบบกัน และ ไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงอะไรง่ายๆ ซึ่งโดยทั่วไปสังคมในชนบทมักจะเอื้อเฟื้อ มีอะไรจะแลกเปลี่ยน กัน 3.2 ด้านเศรษฐกิจและสังคมของครอบครัวได้มีการพิจารณาในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ 3.2.1 รายได้ของครอบครัว ฐานะทางเศรษฐกิจหรือรายได้รายจ่ายภายในครอบครัวมีอิทธิพลต่อการเลือกซื้อ และการบริโภคอาหารในครอบครัวจากการสํารวจสถิติของสํานักงานสถิติแห่งชาติ
  • 16. 9 (พ.ศ. 2511-2512) พบว่าครอบครัวผู้มีรายได้น้อยจะมีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับอาหารเป็นร้อยละ มากกว่าผู้ที่มีรายได้มากและทุกระดับรายได้จะมีการใช้จ่ายเงินเป็นค่าอาหารมากกว่าค่าใช้จ่ายอื่นๆ ซึ่งหมายความว่ารายจ่าย ส่วนใหญ่ของครอบครัวเป็นเรื่องเกี่ยวกับอาหารการกิน ดังนั้นการเพิ่ม หรือลดลงของรายได้ย่อมมีผลกระทบต่อการบริโภคอาหารด้วย เช่น ถ้ารายได้เพิ่มขึ้นการบริโภค เนื้อสัตว์ก็มีสูงขึ้น (สนอง, 2527: 26) ดังนั้นจะเห็นว่ารายได้ของครอบครัวจึงมีผลกระทบโดยตรงต่อความสามารถใน การซื้ออาหาร ซึ่งมีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารของบุคคลด้วย (ปุ๋ ย, 2519: 31) 3.2.2 อาชีพของบิดามารดา อาชีพของบิดามารดาเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อนิสัยการกิน ดังจะเห็นได้จากผล การศึกษาของ ชูเกียรติ และคณะ (2529:บทคัดย่อ) พฤติกรรมการกินของหญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นม บุตร ทารกก่อนวัยเรียน ในชนบทภาคตะวันออกของไทย พบว่า การที่เด็กมีพฤติกรรมไม่ดี เนื่องมาจากมารดาของเด็กวัยก่อนเรียนไม่มีเวลาเลี้ยงดูเด็ก เนื่องจากต้องรีบออกไปทํางานปล่อยให้ เด็กอยู่บ้านและหาอาหารกินเองซึ่งสอดคล้องกับผลการวิจัยของเครือวัลย์และคณะ (2529:บทคัดย่อ) พฤติกรรมการกินของชาวชนบทอีสานตอนบน พบว่า การที่พ่อแม่ต้องออก ทํางานรับจ้างทําให้มีเวลาเลี้ยงดูบุตรน้อยลง เด็กจึงถูกทอดทิ้งให้อยู่กันตามลําพัง จึงมักกินอาหาร สําเร็จรูปที่ด้อยคุณค่าทางโภชนาการ แต่จากการศึกษาของวิณี (2521:บทคัดย่อ) ที่จังหวัดนราธิวาส และทัศนีย์(2527:บทคัดย่อ) ที่จังหวัดราชบุรี พบว่า เด็กวัยก่อนเรียนที่มารดามีสภาพการทํางาน ต่างกันจะมีการบริโภคนิสัยที่ต่างกัน กล่าวคือ เด็กที่มารดาออกไปทํางานนอกบ้านจะมีพฤติกรรม การบริโภคดีกว่าเด็กที่มารดาทํางานในบ้าน ทั้งนี้เนื่องจากการที่มารดาออกทํางานนอกบ้าน ทําให้ ครอบครัวมีรายได้สูงขึ้น สามารถซื้อหาอาหารที่มีประโยชน์มาให้เด็กกินได้บ่อยๆ กว่าเด็กที่มารดา ไม่ได้ออกทํางานนอกบ้าน
  • 17. 10 3.2.3 ระดับการศึกษาของบิดามารดา ในเรื่องการศึกษาของบิดามารดา (ปุ๋ ย 2519:บทคัดย่อ) และวศินา (2526:บทคัดย่อ) พบว่า การศึกษาของพ่อบ้านหรือแม่บ้านมีความสําคัญมากเกี่ยวกับปัญหาในเรื่อง การกินอาหารของครอบครัว ถ้าพ่อบ้านแม่บ้านที่มีการศึกษาดี ก็จะมีความรู้เรื่องการกินอาหารที่ ถูกต้อง รู้ถึงคุณค่าอาหารทางโภชนาการ อาหารสิ่งใดที่มีประโยชน์ควรซื้อมาให้คนในครอบครัว บริโภค อาหารสิ่งใดไม่มีประโยชน์ควรละเว้นเสีย ทั้งยังสามารถอบรมสั่งสอนบุตรในเรื่องของ อาหารที่มีประโยชน์ และมีคุณค่าทางโภชนาการ และถ้าบิดามารดาที่มีการศึกษาดี แต่ขาดความรู้ ทางโภชนาการก็สามารถจะหาเอกสารในเรื่องนี้มาอ่าน และถ่ายทอดมายังบุตรได้ 3.2.4 ขนาดของครอบครัว ขนาดของครอบครัวหรือจํานวนสมาชิกของคนที่อยู่ในครอบครัว ก็มีผลกระทบ ต่อปริมาณและคุณภาพของอาหารที่คนในครอบครัวนั้นกิน ครอบครัวใหญ่มีสมาชิกในครอบครัว หลายคน ค่าใช้จ่ายเรื่องอาหารจะสูง แต่คิดเป็นค่าใช้จ่ายต่อคนน้อย ยิ่งถ้ารายได้คงที่ แต่ขนาด ครอบครัวใหญ่ขึ้นคือมีสมาชิกมากขึ้น ปริมาณและคุณภาพของอาหารที่คนในครอบครัวนั้นกินก็ จะด้อยลง ดังนั้น ขนาดของครอบครัวจึงเป็นปัจจัยที่สําคัญประการหนึ่งต่อการได้รับอาหารของ สมาชิกในครอบครัว (ปุ๋ ย 2519:56 , วศินา 2526:94) 3.2.5 การประกอบอาหารในครอบครัว มารดาเป็นบุคคลสําคัญคนหนึ่งของครอบครัว ในการปลูกฝังนิสัยการกินให้กับ เด็กเพราะมารดาเป็นผู้ประกอบอาหารของครอบครัว (วลัย, 2518) ซึ่งจะประกอบอาหารให้ เหมาะสมกับนิสัยการกินของสมาชิกในครอบครัว โดยแตกต่างกันไปตามความเคยชินและความ เชื่อต่างๆ ดังนั้นถ้าครอบครัวใดที่มารดาประกอบอาหารถูกหลักโภชนาการ จะทําให้เด็กใน ครอบครัวนั้นได้กินอาหารที่มีประโยชน์และสามารถเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ด้วย (ชู เกียรติ และคณะ, 2529) ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาบริโภคนิสัยของเด็กก่อนวัยเรียน ที่พบว่าเด็กใน ครอบครัวที่มารดาประกอบอาหารถูกหลักโภชนาการจะทําให้เด็กมีนิสัยการกินที่ดี
  • 18. 11 2. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง อนุกูล พลศิริ (2531: บทคัดย่อ) ได้ศึกษาพฤติกรรมการเลือกกินอาหารกลางวันของ นักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคําแหง เพื่อศึกษาการเลือกกินอาหารกลางวันชนิดและ ปริมาณสารอาหารที่ได้รับภาวะการเจริญเติบโตและปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกซื้ออาหารกลุ่ม ตัวอย่างคือนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่1-6 จํานวน 300 คนในจํานวนนี้เป็นนักเรียนระดับชั้น มัธยมศึกษาตอนต้นจํานวน150 คน ตอนปลาย 150 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม แบบบันทึกอาหารที่รับประทานในรอบ 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา เครื่องชั่งนํ้าหนักและวัดส่วนสูง ผลการวิจัยพบว่านักเรียนส่วนใหญ่มีภาวะการเจริญเติบโตอยู่ในระดับปกติมีพฤติกรรมการเลือก ซื้ออาหารที่ดี และใช้เหตุผลในการเลือกอาหารที่ถูกต้องเหมาะสม แต่พลังงานที่ได้รับจากการเลือก ซื้ออาหารตํ่ากว่าเกณฑ์ที่แนะนํา วิณี ชิดเชิดวงศ์(2541: บทคัดย่อ) ได้ศึกษาการศึกษาเปรียบเทียบลักษณะนิสัยในการ บริโภคและการเจริญเติบโตของเด็กวัยก่อนเรียน ที่มาจากสภาพครอบครัวต่างกันในจังหวัด นราธิวาส เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบลักษณะนิสัยในการบริโภคและการเจริญเติบโตของเด็กวัย ก่อนเรียน ตามตัวแปรในด้านการศึกษา สถานภาพการทํางาน สถานภาพของครอบครัว ขนาดของ ครอบครัว เศรษฐกิจและความเชื่อในการบริโภคของบิดามารดา ผลการวิจัยพบว่า เด็กวัยก่อนเรียน ที่มาจากครอบครัวที่บิดามารดามีการศึกษาสูง มีฐานะทางเศรษฐกิจดี บิดามารดาอยู่ด้วยกันบิดา มารดามีความเชื่อที่ถูกต้องจะมีลักษณะนิสัยในการบริโภคอาหารดีกว่าเด็กวัยก่อนเรียนที่มาจาก ครอบครัวที่บิดามารดามีการศึกษาและฐานะทางเศรษฐกิจตํ่ากว่า วิชัย จุฬาโรจน์มนตรี (2514: บทคัดย่อ) ได้ศึกษาอุปสรรคต่อการส่งเสริมโภชนาการ ชนบทศึกษาเฉพาะกรณีที่อําเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา พบว่า มารดาที่มีระดับการศึกษาดีกว่า มีโอกาสที่จะหาความรู้เกี่ยวกับโภชนาการได้ดีกว่าผู้ที่มีการศึกษาน้อยกว่า และด้วยเหตุผลนี้จึงทํา ให้นิสัยการกินของเด็กมักจะมีผลจากระดับการศึกษาของบิดามารดา โสภา ญาณภิรัตน์ (2547: บทคัดย่อ) ได้ศึกษาภาวะโภชนาการของเด็กวัยเรียนในอําเภอ โคกสําโรง จังหวัดลพบุรี โดยศึกษาจากนักเรียนชั้นประถมปีที่ 1-6 มีอายุระหว่าง 7-14 ปี จํานวน 240 คนพบว่า เด็กนักเรียนบริโภคอาหารไม่ครบ 5 หมู่ในหนึ่งวัน อาหารที่ขาดมากที่สุดคือผลไม้
  • 19. 12 จากการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างโภชนาการกับเพศ อายุ บริโภคนิสัยของเด็กวัยเรียน อาชีพของ ผู้ปกครอง ระดับการศึกษาของผู้ปกครอง และแหล่งอาหารของครอบครัวพบว่าไม่มีความสัมพันธ์ กันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ นภัศ ศิรสัมพันธ์ (2527:บทคัดย่อ) ได้ศึกษาพฤติกรรมการบริโภคของประชากรในเขต เทศบาลเมืองชลบุรี โดยศึกษาธุรกิจการขายอาหารสําเร็จรูปขนาดย่อม พบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่มี พฤติกรรมการกินอาหารที่ฟุ่มเฟือย เป็นพฤติกรรมการกินเพื่อ “ความบันเทิง” มากกว่าเพื่อที่จะให้ อิ่มท้อง หรือเป็นความจําเป็นโดยผู้บริโภคที่เป็นสตรีนิยมซื้ออาหารสําเร็จรูปประเภทของว่าง ของ กินเล่นและขนมหวาน ซึ่งเป็นการกินระหว่างมื้อ ส่วนผู้ชายนิยมซื้ออาหารสําเร็จรูปที่กินอิ่มเป็นมื้อ ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจเลือกซื้ออาหารสําเร็จรูป ได้แก่ ความสะดวก รสนิยม ความชอบหรือไม่ชอบ ความอยากกิน ความเชื่อถือทางธรรมเนียม ประเพณี ราคา สีสัน และความ น่ากินของอาหาร ประชาชนเพียงส่วนน้อยที่ให้ความสนใจด้านความสะอาด คุณค่าและคุณภาพ ของอาหาร สุนี มุนิปภา (2531: บทคัดย่อ) ได้ศึกษา พฤติกรรมการกินของเด็กวัยเรียน อําเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี ยกตัวอย่างประชากรเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนสังกัด สํานักงานคณะกรรมการการประถมศึกษา อําเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี จํานวน 90 คน ใช้การ สัมภาษณ์ และแบบบันทึกอาหารที่บริโภค 3 วัน ผลการวิจัยพบว่าระดับรายได้ของครอบครัว ขนาดของครอบครัวและลําดับที่การเกิดเป็นบุตร ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการกิน ส่วน ระดับการศึกษาของบิดาและระดับการศึกษาของมารดา พบว่า มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการ กิน และพฤติกรรมการกินมีความสัมพันธ์กับภาวะโภชนาการ
  • 20. บทที่ 3 วิธีการดําเนินการวิจัย ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักศึกษาสาขาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะครุศาสตร์ อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์สุพรรณบุรี จํานวนทั้งหมด 82 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักศึกษาสาขาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะครุ ศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์สุพรรณบุรี จํานวน 68 คน วิธีคิด สูตร n = N สูตรหากลุ่มตัวอย่าง 1+Ne2 เมื่อ n = กลุ่มตัวอย่าง N = ประชากร e = ความคลาดเคลื่อนที่เกิดขึ้น แทนค่า n = กลุ่มตัวอย่าง N = 82 e = 0.05% ความคลาดเคลื่อน จะได้n = 82 1+82(0.05)2 n = 68.05 68 คน ดังนั้น ขนาดของกลุ่มตัวอย่างที่ได้จากการคํานวณเท่ากับ 68 คน จากประชากรทั้งหมด 82 คน
  • 21. 14 การออกแบบการวิจัย การศึกษาวิจัยครั้งนี้ดําเนินการศึกษาแบบ การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantity Research)โดย เป็นการศึกษาแบบวัดครั้งเดียว ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามโดยกลุ่ม ประชากรที่ศึกษา คือ นักศึกษาสาขาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์สุพรรณบุรี จํานวน 68 คน จากทั้งหมด 82 คน เป็นผู้ตอบแบบสอบถามด้วยตนเอง ซึ่ง แบบสอบถามจะแบ่งออกเป็น 3 ตอน ดังนี้ ตอนที่ 1 คําถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ได้แก่ เพศ อายุ ระดับ การศึกษา ระดับชั้นปี รายได้ ที่อยู่อาศัย เป็นต้น โดยเป็นแบบสอบถามแบบปลายปิด ตอนที่ 2 คําถามความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับอาหาร เป็นแบบสอบถามแบบ Check List จํานวน 9 ข้อ โดยใช้เกณฑ์การให้คะแนน ดังนี้ ตอบถูก ได้ 1 คะแนน ตอบผิด ได้ 0 คะแนน เกณฑ์การแปลความหมายคะแนนที่ได้จากการวัดความรู้ มีดังนี้ ค่าเฉลี่ย 7 – 9 คะแนน หมายถึง ผู้ตอบมีความรู้เกี่ยวกับอาหารในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4 – 6 คะแนน หมายถึง ผู้ตอบมีความรู้เกี่ยวกับอาหารในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย 0 – 3 คะแนน หมายถึง ผู้ตอบมีความรู้เกี่ยวกับอาหารในระดับน้อย ตอนที่ 3 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการไม่รับประทานอาหารเช้า เป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วน ประมาณค่า (Raiting Scale) มี 5 ระดับ จํานวน 6 ข้อ ตามรูปแบบของ Liker’s Scale คือ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด โดยนําแบบสอบถามที่ได้รับการตอบแล้วมาหาคะแนนรวมแต่ละ บุคคล โดยนํามาตรวจให้คะแนน ดังนี้
  • 22. 15 มากที่สุด 5 คะแนน มาก 4 คะแนน ปานกลาง 3 คะแนน น้อย 2 คะแนน น้อยที่สุด 1 คะแนน เมื่อได้คะแนนแล้ว นําคะแนนดังกล่าวไปหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยแปลความหมายของค่าเฉลี่ยตามช่วงคะแนนที่กําหนดไว้ดังนี้ 4.50-5.00 คะแนน หมายถึง อยู่ในระดับมากที่สุด 3.50-4.49 คะแนน หมายถึง อยู่ในระดับมาก 2.50-3.49 คะแนน หมายถึง อยู่ในระดับปานกลาง 1.50-2.49 คะแนน หมายถึง อยู่ในระดับน้อย 1.00-1.49 คะแนน หมายถึง อยู่ในระดับน้อยที่สุด การสร้างและการหาประสิทธิภาพของเครื่องมือ ในการสร้างเครื่องมือผู้วิจัย ผู้วิจัยได้ดําเนินการสร้างแบบสอบถาม โดยมีขั้นตอนดังนี้ ขั้นที่ 1 ศึกษาวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง และนําผลการศึกษามาสร้างเป็นชุดแบบสอบถาม ขั้นที่ 2 ตรวจสอบความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม ให้ผู้เชี่ยวชาญพิจารณามีความสอดคล้อง กับเนื้อหา ขั้นที่ 3 ปรับปรุงแก้ไขแบบสอบถามชัดเจนและครอบคลุมวัตถุประสงค์ของการวิจัย และ นําแบบสอบถามไปทดสอบกับกลุ่มตัวอย่างที่มีคุณสมบัติเหมือนกับกลุ่มตัวอย่างจริงคือ นักศึกษา สาขาวิศวกรรมเครื่องกล โดยทําการทดสอบแบบสอบถาม จํานวน 40 ชุด แล้วนําไปหาค่าความ เชื่อมั่น (Reliability) โดยใช้วิธีหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค (Alpha Coefficient ของ Cronbach) ซึ่งได้ความเชื่อมั่นแบบสอบถามในแต่ละรายด้าน ดังนี้ 1. ด้านความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับอาหาร ได้ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.802 2. ด้านปัจจัยที่ส่งผลต่อการไม่รับประทานอาหารเช้า ได้ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.803
  • 23. 16 ขั้นที่ 4 นําแบบสอบถามฉบับสมบูรณ์ไปสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างจริง จํานวน 68 ชุด ขั้นที่ 5 นําแบบสอบสอบถามที่ได้มาวิเคราะห์ประมวลผลโดยโปรแกรม IBM SPSS Statistics 22 การดําเนินการทดลองและเก็บรวมรวมข้อมูล 1. แหล่งที่มาข้อมูล ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) โดยใช้การออกแบบสอบถาม เก็บรวบรวมจากนักศึกษา สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณ ภูมิ ศูนย์สุพรรณบุรี ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) โดยได้จาการศึกษาค้นคว้าไว้ก่อนหน้านี้แล้ว รวมทั้ง แนวคิดทฤษฎีต่างๆที่เกี่ยวข้องจากตําราและหนังสือต่างๆโดยมุ่งเน้นศึกษาข้อมูลหลักวิชาการ บทความ เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการวิจัย 2. การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้ศึกษาเป็นผู้เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง เพื่อทําการเก็บรวบรวมข้อมูลจากนักศึกษา สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณ ภูมิ ศูนย์สุพรรณบุรี โดยใช้แบบสอบถามที่ผู้ตอบแบบสอบถามสามารถตอบได้ การวิเคราะห์ข้อมูล เมื่อได้รวบรวมและตรวจสอบความสมบูรณ์ของแบบสอบถามแล้ว ผู้วิจัยได้นํา แบบสอบถามมาลงรหัส และถ่ายทอดรหัสแบบสอบถามลงในแบบฟอร์มลงรหัส (Coding form) แล้วนําไปประมวลผลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์โปรแกรม (SPSS) Statistical package for social Science 14 for Windows หลังจากนั้นนําผลที่ได้จากเครื่องคอมพิวเตอร์มาวิเคราะห์สรุปและ อภิปรายผลสรุปและอภิปรายผล
  • 24. 17 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล การดําเนินการวิเคราะห์ข้อมูลครั้งนี้ใช้สถิติพื้นฐาน เช่น คะแนนเฉลี่ย คะแนนเฉลี่ยร้อย ละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และหาปัจจัยที่ส่งผลต่อศักยภาพการบริหารการผลิตกลุ่มวิสาหกิจ ชุมชน ตามสูตร ดังนี้ 1. คะแนนเฉลี่ย ( x ) คํานวณจากสูตร (บุญชม ศรีสะอาด. 2545:105) N x x ∑ = เมื่อ x แทน คะแนนเฉลี่ย x∑ แทน ผลรวมของคะแนนทั้งหมด N แทน จํานวนข้อมูล 2. ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) คํานวณจากสูตร (บุญชม ศรีสะอาด. 2545:106) 2 2 ( ) . ( 1) N x x S D N N ∑ − ∑ = − เมื่อ S.D แทน ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2 x∑ แทน ผลรวมกําลังสองของคะแนน 2 ( )x∑ แทน ผลรวมของคะแนนยกกําลังสอง N แทน จํานวนคน
  • 25. บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล สัญลักษณ์และอักษรย่อที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยได้กําหนดสัญลักษณ์ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้ N แทน จํานวนกลุ่มตัวอย่าง xˉ แทน ค่าเฉลี่ย (Mean) S.D. แทน ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) การวิเคราะห์ข้อมูล 1. วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2. วิเคราะห์จํานวนร้อยละ ด้านความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับอาหาร 3. วิเคราะห์ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ปัจจัยที่ส่งผลต่อการไม่รับประทานอาหาร เช้าของนักศึกษาสาขาวิศวกรรมอุตสาหการคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์สุพรรณบุรี ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ส่วนที่ 1 วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ตาราง 4.1 แสดงจํานวนร้อยละของนักศึกษาสาขาวิศวกรรมอุตสาหการ จําแนกตามเพศ ปัจจัยที่ศึกษา จํานวน ร้อยละ % เพศ ชาย หญิง 56 12 82.4 17.6 รวม 68 100
  • 26. 19 จากตาราง 4.1 พบว่า นักศึกษาสาขาวิศวกรรมอุตสาหการ จํานวน 68 คน เมื่อจําแนกตาม เพศส่วนใหญ่เป็นเพศชายคิดเป็นร้อยละ 82.4 ส่วนเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 17.6 ตาราง 4.2 แสดงจํานวนร้อยละของนักศึกษาสาขาวิศวกรรมอุตสาหการ จําแนกตามอายุ จากตาราง 4.2 พบว่า นักศึกษาสาขาวิศวกรรมอุตสาหการ จํานวน 68 คน เมื่อจําแนกตาม อายุส่วนใหญ่มีอายุ 19 ปี คิดเป็นร้อยละ 32.4 รองลงมาคืออายุ 20 ปี คิดเป็นร้อยละ 25.0 อายุ 22 ปี คิดเป็นร้อยละ 17.6 อายุ 21 ปี คิดเป็นร้อยละ 16.2 อายุ 18 ปี คิดเป็นร้อยละ 5.9 อายุ 23 ปีคิดเป็น ร้อยละ 2.9 ตาราง 4.3 แสดงจํานวนร้อยละของนักศึกษาสาขาวิศวกรรมอุตสาหการ จําแนกระดับชั้น ปัจจัยที่ศึกษา จํานวน ร้อยละ % อายุ 18 19 20 21 22 23 4 22 17 11 12 2 5.9 32.4 25.0 16.2 17.6 2.9 รวม 68 100 ปัจจัยที่ศึกษา จํานวน ร้อยละ % ระดับชั้นปี 1 2 3 4 24 18 11 15 35.3 26.5 16.2 22.1 รวม 68 100
  • 27. 20 จากตาราง 4.3 นักศึกษาสาขาวิศวกรรมอุตสาหการ แบ่งตามระดับชั้นปี พบว่า นักศึกษา สาขาวิศวกรรมอุตสาหการชั้นปีที่ 1 คิดเป็นร้อยละ 35.3 นักศึกษาสาขาวิศวกรรมอุตสาหการชั้นปี ที่ 2 คิดเป็นร้อยละ 26.5 นักศึกษาสาขาวิศวกรรมอุตสาหการชั้นปีที่ 3 คิดเป็นร้อยละ 16.2 และ นักศึกษาสาขาวิศวกรรมอุตสาหการชั้นปีที่ 4 คิดเป็นร้อยละ 22.1 ตาราง 4.4 แสดงจํานวนร้อยละของนักศึกษาสาขาวิศวกรรมอุตสาหการ จําแนกตามรายได้ ต่อเดือน จากตาราง 4.4 พบว่า นักศึกษาสาขาวิศวกรรมอุตสาหการ มีรายได้ต่อเดือน ไม่เกิน 4,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 33.8 ช่วง 4,001 – 5,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 50.0 ช่วง 5,001 – 6,000 บาท คิด เป็นร้อยละ 10.3 ช่วงมากกว่า 6,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 5.9 ตาราง 4.5 แสดงจํานวนร้อยละของนักศึกษาสาขาวิศวกรรมอุตสาหการ จําแนกตาม ลักษณะที่อยู่อาศัย ปัจจัยที่ศึกษา จํานวน ร้อยละ % รายได้ต่อเดือน ไม่เกิน 4,000 บาท 4,001 – 5,000 บาท 5,001 – 6,000 บาท มากกว่า 6,000 บาท 23 34 7 4 33.8 50.0 10.3 5.9 รวม 68 100 ปัจจัยที่ศึกษา จํานวน ร้อยละ % ลักษณะที่อยู่อาศัย อยู่บ้านกับบิดา – มารดา อยู่หอพัก 29 39 42.6 57.4 รวม 68 100
  • 28. 21 จากตาราง 4.5 พบว่า นักศึกษาสาขาวิศวกรรมอุตสาหการ จํานวน 68 คน เมื่อจําแนกตาม ลักษณะที่อยู่อาศัยส่วนใหญ่ อยู่หอพัก คิดเป็นร้อยละ 57.4 และอยู่บ้านกับบิดา – มารดา คิดเป็น ร้อยละ 42.6 ส่วนที่ 2 วิเคราะห์จํานวนร้อยละ ด้านความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับอาหาร ตาราง 4.6 แสดงจํานวนร้อยละ ด้านความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับอาหาร จากตาราง 4.6 พบว่า นักศึกษาสาขาวิศวกรรมอุตสาหการ มีความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับอาหาร อยู่ในระดับดีมาก มีค่าเฉลี่ยจํานวนผู้ตอบถูกอยู่ที่ 64.2 และตอบถูกทั้งหมดถึง 3 ข้อ คือ 1. อาหาร ข้อคําถามความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับอาหาร ความคิดเห็น ตอบถูก จํานวน (ร้อยละ) ตอบผิด จํานวน (ร้อยละ) 1. อาหารเช้าเป็นประโยชน์ต่อร่างกายมาก 2. การรับประทานอาหารเช้าทําให้ร่างกายแข็งแรง 3. การไม่รับประทานอาหารเช้าทําให้เป็นโรคกระเพาะ 4. อาหารกลุ่ม 1.โปรตีนช่วยในการเจริญเติบโตซ่อมแซม ส่วนที่สึกหรอสร้างกระดูกกล้ามเนื้อนํ้าย่อยฮอร์โมน 5. อาหารกลุ่ม 2.คาร์โบไฮเดรตคือ เมล็ดธัญพืชแป้ง นํ้าตาล ข้าว ขนมปัง ข้าว เผือก มัน 6. อาหารกลุ่ม 4.วิตามิน ช่วยบํารุงสุขภาพของผิวหนังให้สด ชื่น บํารุงสุขภาพปาก เหงือก และฟัน ช่วยให้ระบบการย่อย และการขับถ่ายเป็นปกติ 7. อาหารกลุ่ม 5.ไขมัน มีหน้าที่ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย ช่วยในเรื่องการดูดซึมของวิตามินที่ละลายในไขมัน 8. การรับประทานอาหารที่มีจําพวกแป้งหรือนํ้าตาลเยอะๆจะ ทําให้เกิดโรคอ้วนได้ 9. การรับประทานอาหารเช้าทําให้สมองทํางานได้ดี และช่วย ให้มีสมาธิในการเรียนมากกว่าไม่รับประทานอาหารเช้า 68 (100) 68 (100) 68 (100) 62 (91.2) 64 (94.1) 62 (91.2) 60 (88.2) 61 (89.7) 65 (95.6) 0 (0) 0 (0) 0 (0) 6 (8.8) 4 (5.9) 6 (8.8) 8 (11.8) 7 (10.3) 3 (4.4)
  • 29. 22 เช้าเป็นประโยชน์ต่อร่างกายมาก (68), 2. การรับประทานอาหารเช้าทําให้ร่างกายแข็งแรง (68), 3. การไม่รับประทานอาหารเช้าทําให้เป็นโรคกระเพาะ (68) ส่วนที่ 3 วิเคราะห์ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ปัจจัยที่ส่งผลต่อการไม่รับประทานอาหาร เช้าของนักศึกษาสาขาวิศวกรรมอุตสาหการคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์สุพรรณบุรี ตาราง 4.7 แสดงค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ปัจจัยที่ส่งผลต่อการไม่รับประทาน อาหารเช้าของนักศึกษาสาขาวิศวกรรมอุตสาหการคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์สุพรรณบุรี จากตาราง 4.7 พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการไม่รับประทานอาหารเช้าของนักศึกษาสาขา วิศวกรรมอุตสาหการ มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.64 และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ 1.153 เมื่อพิจารณา จากรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 อันดับแรกที่เป็นปัจจัยต่อการไม่รับประทานอาหารเช้า ได้แก่ ร้านอาหารมีคนเยอะ (xˉ =4.07,S.D.=1.238), เวลาไม่เพียงพอต่อการรับประทานอาหารเช้า (xˉ =4.03,S.D.=1.133), และในการรับประทานอาหารเช้ามักจะทานด้วยความเร่งรีบ (xˉ =3.85,S.D.=1.011) ตามลําดับ ปัจจัย ความคิดเห็น xˉ (S.D.) แปลความ 1. เวลาไม่เพียงพอต่อการรับประทานอาหารเช้า 2. ในการรับประทานอาหารเช้ามักจะทานด้วย ความเร่งรีบ 3. ที่อยู่อาศัยตั้งอยู่ไกลจากร้านอาหาร 4. เลือกไปซื้อขนมหรือนมรับประทานแทนอาหาร เช้า 5. เพื่อนเป็นปัจจัยในการไม่รับประทานอาหารเช้า 6. ร้านอาหารมีคนเยอะ 4.03 3.85 3.09 3.71 3.06 4.07 1.133 1.011 1.143 1.023 1.370 1.238 มาก มาก ปานกลาง มาก ปานกลาง มาก รวม 3.64 1.153 มาก
  • 30. 23 ตาราง 4.8 แสดงผลวิเคราะห์ความสัมพันธ์ปัจจัยเหล่านี้ ได้แก่ ความเร่งรีบ เวลา ที่อาศัย อยู่ไกลร้านอาหาร เลือกกินขนมแทนอาหารเช้า เพื่อน ร้านอาหารมีคนเยอะ ส่งผลกระทบต่อการ ไม่รับประทานอาหารเช้าของนักศึกษาสาขาวิศวกรรมอุตสาหการคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์สุพรรณบุรี * มีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ** มีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จากตาราง 4.8 พบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางบวกกัน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ได้แก่ เวลาไม่เพียงพอต่อการรับประทานอาหารเช้า, ในการรับประทานอาหารเช้ามักจะทาน ด้วยความเร่งรีบ, ที่อยู่อาศัยตั้งอยู่ไกลจากร้านอาหาร, เลือกไปซื้อขนมหรือนมรับประทานแทน อาหารเช้าเพื่อความสะดวกและรวดเร็ว และ เพื่อนเป็นปัจจัยในการไม่รับประทานอาหารเช้า ปัจจัย ที่มีความสัมพันธ์ทางบวกกัน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ ร้านอาหารมีคนเยอะ ตัวแปร B1 B2 B3 B4 B5 B6 เวลาไม่เพียงพอต่อการรับประทานอาหารเช้า(B1) 1 .551** .554** .362** .534** .247* ในการทานอาหารเช้าทานด้วยความเร่งรีบ (B2) 1 .379** .355** .345** .360** ที่อยู่อาศัยตั้งอยู่ไกลจากร้านอาหาร (B3) 1 .342** .607** .312** เลือกไปซื้อขนมรับประทานแทนอาหารเช้า (B4) 1 .417** .265* เพื่อนเป็นปัจจัยในการไม่รับประทานอาหารเช้า (B5) 1 .473** ร้านอาหารมีคนเยอะ (B6) 1
  • 31. บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ ความมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการไม่รับประทานอาหารเช้าของนักศึกษาสาขาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์สุพรรณบุรี วัตถุประสงค์ 1.เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการไม่รับประทานอาหารเช้าของนักศึกษาสาขาวิศวกรรมอุต สาหการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์สุพรรณบุรี สมมติฐาน ปัจจัยเหล่านี้ได้แก่ ความเร่งรีบ เวลา ที่อาศัยอยู่ไกลร้านอาหาร เลือกกินขนมแทนอาหาร เช้า เพื่อน ร้านอาหารมีคนเยอะ ส่งผลกระทบต่อการรับประทานอาหารเช้า ขอบเขตของการวิจัย ประชากร ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ จํานวนทั้งหมด 82 คน เป็นนักศึกษาสาขาวิศวกรรมอุตสา หการ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์สุพรรณบุรี กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้จํานวน 68 คน โดยการคํานวณจากสูตรของ Yamane และกําหนดค่าความคลาดเคลื่อนทางสถิติที่ระดับนัยสําคัญ 0.05