SlideShare a Scribd company logo
1 of 87
Download to read offline
อารยธรรมกรีก - โรมัน
อารยธรรมกรีก
ปัจจัยทางภูมิศาสตร์กับการตั้งถิ่นฐาน
1. ภาคเหนือ ได้แก่ แคว้นมาซิโดเนีย (Macedonid) เทสซาลี (Thessaly) และอิไพรัส (Epirus)
2. ภาคกลาง ได้แก่ บริเวณที่เป็นเนินเขาสูง เป็นที่ตั้งของนครทีบส์ (Thebes) นครเดลฟี (Delphi) ช่องเขาเทอร์มอปิเล (Thermopylae) และยอดเขา พาร์แนสซัส (Parnassus) ซึ่งเป็นที่สถิตของอะพอลโล (Apollo) หรือสุ ริยเทพ ตรงปลายสุดของด้านตะวันออก คือ แคว้นแอตติกะ (Attica) ซึ่ง มีเมืองหลวง คือ นครรัฐเอเธนส์ (Athens) แหล่งกาเนิดของการปกครอง ระบอบประชาธิปไตย
ยอดเขาพาร์แนสซัส
3. บริเวณคาบสมุทรเพโลพอนนีซัส (Peloponnessus) อยู่ตอนใต้อ่าว คอรินท์ เป็นที่ตั้งของนครรัฐสปาร์ตา (Sparta) ที่มีชื่อเสียง ทางการรบ และโอลิมเปีย (Olympia) ซึ่งเป็นที่สิงสถิตของบรรดา เทพเจ้ากรีก
โอลิมเปีย
สภาพภูมิประเทศของดินแดนกรีซเต็มไปด้วยภูเขาและเนินเขา ซึ่งแบ่งแผ่นดินกรีซออกเป็นที่ราบหุบเขามากมาย ภูเขาเป็นอุปสรรค สาคัญในการติดต่อระหว่างผู้คนที่อยู่อาศัยตามที่ราบหุบเขาต่างๆ หมู่บ้านตามหุบเขาจึงปกครองเป็นอิสระต่อกัน สภาพการเมืองใน ดินแดนกรีซจึงมีลักษณะแตกแยกเป็นรัฐเล็กๆจานวนมาก
ดินส่วนใหญ่ของกรีซเป็นดินขาดความอุดมสมบูรณ์ แม่น้าใน กรีซเป็นแม่น้าสายสั้นๆในฤดูที่มีน้าไหลมาก น้าจะไหลเชี่ยวและพัด พาเอาดินที่อุดมสมบูรณ์ไป พื้นราบตามหุบเขาแม้มีความอุดม สมบูรณ์ แต่มีพื้นที่ขนาดเล็ก ไม่สามารถเพาะปลูกได้มากนัก สภาพ ภูมิศาสตร์ของกรีซจึงไม่สามารถผลิตพืชผลเพียงพอกับจานวน พลเมือง
แต่ในดินกรีซส่วนใหญ่มีลักษณะคล้ายแหลมยื่นไปในทะเล ชายฝั่ง ทะเลสามารถใช้เป็นอ่าวธรรมชาติสาหรับจอดเรือได้เป็นอย่างดี ที่ตั้งและ สภาพภูมิประเทศจึงเป็นปัจจัยส่งเสริมให้ชาวกรีกหันมาทาการค้าขายทาง ทะเลกับดินแดนอื่นๆอย่างกว้างขวาง ทาให้ชาวกรีกได้เรียนรู้วัฒนธรรม อื่นๆ เช่น อารยธรรมของอียิปต์ อารยธรรมเมโสโปเตเมีย ส่วนหมู่เกาะใน ทะเลอีเจียนที่สาคัญ คือ เกาะครีต(Crete) ซึ่งเป็นเกาะใหญ่อันดับ 1 และมี ความสาคัญในฐานะเป็นต้นกาเนิดอารยธรรมกรีก
เกาะครีต
ดินแดนคาบสมุทรกรีซ เป็นดินแดนที่มีทรัพยากรธรรมชาติ พอสมควร ได้แก่ เหล็ก ทอง เงิน หินอ่อน ดังนั้นชาวกรีกจึงนิยมนาหินอ่อน มาใช้ในการก่อสร้างบ้านเรือนและศาสนสถานต่างๆมากมาย
อารยธรรมกรีกสมัยก่อนประวัติศาสตร์
หลักฐานทางโบราณคดีที่ค้นพบได้ในบริเวณที่ราบในแคว้นทาง ภาคเหนือ ภาคกลาง และคาบสมุทรกรีซ แสดงว่ามีการตั้งถิ่นฐาน บ้านเรือนในดินแดนกรีซเมื่อประมาณ 4,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช พบ เครื่องมือเครื่องใช้ทาด้วยหิน เครื่องปั้นดินเผามีลวดลายประดับและมี คุณภาพ ผู้คนในดินแดนนี้ดารงชีวิตด้วยการเกษตรเป็นหลัก ลักษณะ สิ่งก่อสร้างบางแห่งมีลักษณะคล้ายป้อมปราการ สันนิษฐานว่าอาจมีการ จัดระเบียบการปกครองในชุมชนกันแล้ว
ในราว 3,000-2,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช บนเกาะครีตในทะเล อีเจียนรู้จักใช้โลหะ ได้แก่ ทองแดง สาริด ซึ่งเข้าใจว่าคงรับมาจากอารย ธรรมอียิปต์โบราณ เนื่องจากเกาะครีตตั้งอยู่ทางตอนใต้สุดของกรีซ ใต้ เกาะครีตลงไปคืออียิปต์ โดยมีทะเลเมดิเตอร์เรเนียนอยู่ระหว่างกลาง
อารยธรรมกรีกสมัยประวัติศาสตร์
อารยธรรมกรีกเริ่มต้นขึ้นบริเวณเกาะต่างๆในทะเลอีเจียนและริม ฝั่งทะเลอีเจียน จึงเรียกว่าอารยธรรมในทะเลอีเจียน
1. อารยธรรมไมนวน (Minoan Civillization) เกิดขึ้นบนเกาะครีต ชาวค รีตหรือชาวครีตัน (Cretan) เป็นชนพื้นเมืองของเกาะนี้ กษัตริย์ที่มี อานาจมากที่สุด คือ พระเจ้ามินอส (Minos) ความเจริญของชาวครีตัน ได้ชื่อว่า อารยธรรมไมนวน อารยธรรมไมนวนเจริญสูงสุดในระหว่าง 1,800-1,500 ปีก่อนคริสต์ศักราช เรียกช่วงสมัยนี้ว่า สมัยวัง (Palace Period) เนื่องจากชาวครีตันสร้างพระราชวังขนาดมโหราฬ พระราชวัง สาคัญคือ พระราชวังนอสซัส (Knossos)
Knossos
ประมาณ 1,400 ปีก่อนคริสต์ศักราช อารยธรรมไมนวนที่ เกาะครีตถึงจุดสิ้นสุด เมื่อถูกพวกไมซีเนียนจากแผ่นดินใหญ่รุกราน
2. อารยธรรมไมซีเน (Mycenae Civillization) เป็นอารยธรรมพวกไมซี เนียน (Mycenaean) เจริญรุ่งเรืองอยู่เมื่อประมาณ 1,400-1,100 ปีก่อน คริสต์ศักราช มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองไมซีเนบนคาบสมุทรเพโลพอน
บรรพบุรุษของชาวไมซีเนียน คือ พวกเอเคียน (Achean) ซึ่งเป็นกลุ่มชนที่พูดภาษาตระกูลอินโด-ยูโรเปียน อพยพมาจากทาง เหนือประมาณ 2,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช พวกเอเคียนมีความสามารถใน การรบและการค้า รับและแลกเปลี่ยนอารยธรรมกับดินแดนใกล้เคียงที่ ติดต่อกันทางการค้า เช่น เกาะครีต อียิปต์ คาบสมุทรอานาโตเลีย
ประมาณ 1,460 ปีก่อนคริสต์ศักราช พวกเอเคียนโจมตีเกาะครีต ทาลายพระราชวังนอสซัส และเข้าครอบครองเกาะครีต ต่อเมื่อ 1,400 ปี ก่อนคริสต์ศักราชได้สร้างเมืองไมซีเนที่มีป้อมปราการแข็งแรง พวกเอ เคียนจึงมีชื่อใหม่ว่าไมซีเนียนตามชื่อเมือง
อารยธรรมสาคัญของชาวไมซีเนียน คือ ตัวอักษรไมซีเนียน ซึ่งเป็น รากฐานของตัวอักษรกรีก นอกจากนี้ยังมีการสร้างถนน สะพาน และ รู้จักทาท่อส่งน้าแบบท่อประปา
ด้านความเชื่อทางศาสนา ชาวไมซีเนียนนับถือเทพเจ้าหลายองค์ รวมทั้งเทพเจ้าซูส (Zeus) ซึ่งชาวกรีกในสมัยต่อมานับถือเป็นเทพเจ้า สูงสุด
อารยธรรมไมซีเนสิ้นสุดลงเพราะถูกพวกดอเรียน(Dorian) ซึ่ง เป็นกรีกอีกเผ่าหนึ่งรุกราน 
ทหารดิเรียน
นครรัฐของกรีก
ลักษณะภูมิประเทศของกรีซทาให้การตั้งถิ่นฐานบ้านเมือง ของชาวกรีก แบ่งออกเป็นนครรัฐ (city-state) ซึ่งชาวกรีกนิยมเรียกว่า โพลิส (polis) แต่ละนครรัฐต่างมีสภาพสังคมและวัฒนธรรมเป็นของ ตนเอง
การปกครองกรีกหลัง 800 ปีก่อนคริสต์ศักราช หรือที่เรียกว่า ยุคคลาสสิก (Classical Age) ใน 700 ปีก่อนคริสต์ศักราช กษัตริย์ได้สูญเสีย อานาจทั้งหมดให้แก่พวกขุนนาง ซึ่งเข้ามามีบทบาทในการปกครองและ บริหารนครรัฐแก่ราษฎรที่เป็นผู้ชายที่อายุบรรลุนิติภาวะและเป็นพลเมือง ของนครรัฐ อุดมการณ์ประชาธิปไตยของกรีกนับว่าเป็นมรดกทางอารย ธรรมที่สาคัญประการหนึ่งที่ถ่ายทอดให้แก่โลกตะวันตก จนเกิดพัฒนาการ กลายเป็นระบอบประชาธิปไตยในปัจจุบัน
ประมาณ 500 ปีก่อนคริสต์ศักราช ศูนย์กลางความเจริญ ของกรีกได้ย้ายมาสู่นครรัฐเอเธนส์ (Athens) ในแคว้นแอตติกะ (Attica) สถาปัตยกรรม วรรณคดี ประวัติศาสตร์ การแพทย์ และปรัชญาเจริญขึ้น ในเวลารวดเร็ว
เอเธนส์และนครรัฐกรีกอื่นๆก็ผนึกกาลังกันเพื่อทาสงคราม ป้องกันการรุกรานจากเปอร์เซียในระหว่าง 470-429 ปีก่อนคริสต์ศักราชผล ของสงครามเอเธอนเป็นฝ่ายชนะ เอเธนส์ได้จัดตั้งสมาพันธรัฐแห่งหมู่เกาะ เดลอส (Delos) ซึ่งใช้เป็นศูนย์และเป็นที่เก็บรักษาทรัพย์สมบัติ ต่อมา สหพันธรัฐได้ย้ายศูนย์กลางไปอยู่ที่เอเธนส์ ความมั่งคั่งของเอเธนส์ได้นา เอเธนส์เข้าสู่สงครามเพโลพอนนีเชียน (Peloponnesian War 431-404 ปี ก่อนคริสต์ศักราช) อันเป็นสงครามระหว่างเอเธนส์กับสปาร์ตา เนื่องจากนั้น ขณะสปาร์ตาเป็นนครรัฐทหารและเป็นคู่แข่งที่สาคัญในการแย่งชิงอานาจ เพื่อเป็นผู้นาของกรีก
Delos
สงครามเพโลพอนนีเชียนได้นาความเสื่อมมาสู่นครรัฐกรีก และ เปิดโอกาสให้มาชิโดเนีย (Macedonia) ขยายอานาจเข้าครอบครองนครรัฐของ กรีก ในสมัยพระเจ้าอะเล็กซานเดอร์มหาราช (Alexander the Great 336-323 ปีก่อนคริสต์ศักราช) หรือที่เรียกว่า ยุคเฮลเลนิสติก (Hellenistic Age) กรีก สามารถขยายดินแดนครอบคลุมอียิปต์ เอเชียไมเนอร์ เปอร์เซีย ไปจนถึง อินเดีย ในยุคแห่งความเจริญรุ่งเรืองนี้ มีการจัดตั้งเมืองอะเล็กซานเดรีย (Alexandria) ในอียิปต์ เพื่อเป็นศูนย์กลางของการค้าและศิลปวัฒนธรรมของ กรีก
มรดกทางวัฒนธรรมกรีก
เนื่องจากระบอบการปกครองของกรีกในยุคคลาสสิกเป็น แบบนครรัฐที่ไม่มีกษัตริย์เป็นประมุข งานก่อสร้างของกรีกจึงไม่ใช่ พระราชวังที่หรูหราเหมือนสมัยไมนวน แต่จะเป็นวิหารสาหรับเทพเจ้า ซึ่งชาวกรีกให้ความสาคัญอย่างสูง เทพเจ้าของกรีกกับธรรมชาติมี ความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด ชาวกรีกซึ่งเป็นพวกที่นับถือธรรมชาติเชื่อ ว่าพลังลึกลับที่มีอยู่ตามธรรมชาติสามารถให้คุณและโทษได้ อานาจ ลึกลับในธรรมชาติดังกล่าวนี้เกิดขึ้นเพราะมีเทพเจ้าต่างๆเป็นผู้บันดาล 
สถาปัตยกรรม
วิหารที่กรีกสร้างไว้บูชาเทพเจ้าต่างๆนั้น นิยมสร้างบนเนิน ดินหรือภูเขาเล็กๆ ซึ่งมีชื่อเรียกว่า อะครอโพลิส (Acropolis) วิหารที่ สาคัญ ได้แก่ วิหารพาร์เธนอน (Parthenon) ที่อะครอโพลิสในนครรัฐ เอเธนส์ สร้างในศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสต์ศักราช แสดงให้เห็นถึง สถาปัตยกรรมที่งดงามของกรีก ตัวอาคารสร้างด้วยหินอ่อน หลังคาหน้า จั่ว มีเสาหินเรียงราย โครงสร้างได้สัดส่วนและสมดุลกัน
ลักษณะของเสากรีก
1. แบบดอริก (Doric order) เน้นความแข็งแรง เสาส่วนล่างใหญ่และเรียว ขึ้นเล็กน้อย ตารมลาเสาแกะเป็นทางยาวตามแนวตั้ง หัวเสาเป็นแผ่นหิน เรียบ วิหารพาร์เธนอนเป็นตัวอย่างอาคารที่ใช้เสาหินแบบดอริก
2. แบบไอออนิก (Ionic order) ลักษณะเรียวกว่าเสาแบบดอริก หัวเสาทา เป็นลวดลายโค้งม้วนย้อยลงมาทั้งสองข้าง ทาให้เสาดูสูงเพรียว ตัวอย่าง อาคารที่ใช้เสาแบบนี้ เช่น วิหารอีเรกเธอัม (Erectheum) ที่เอเธนส์ สร้าง อุทิศแก่อีเรกเธอัส (Erectheus)
3. แบบคอรินเทียน (Corinthian order) เน้นความงามหรูหรา มีการประดับ ยอดเสาด้วยลายใบไม้ เสาแบบนี้ปรากฏมากในยุคเฮลเลนิสติก
สถาปัตยกรรมกรีกได้รับการยกย่องอย่างมาก และมีการเลียนแบบ ต่อไปยังจักรวรรดิโรมันยุโรป และบางแห่งในทวีปเอเชีย 
โรงอุปรากร พาเลส์การ์นิเยร์ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส
งานประติมากรรมของกรีกสะท้อนให้เห็นถึงลักษณะธรรมชาติที่นิยม อย่างแท้จริง เทพเจ้าของกรีกจะมีลักษณะเป็นมนุษย์ มีอารมณ์ความรู้สึก ท่าทางและการเคลื่อนไหวเหมือนจริง งานประติมากรรมของกรีกใน ระยะแรกได้รับอิทธิพลจากอียิปต์ซึ่งมีลักษณะหน้าตรงแข็งทื่อ 
ประติมากรรม
ต่อมาในสมัยคลาสสิก กรีกก็สร้างงานประติมากรรมภาพเปลือยที่ แสดงกล้ามเนื้อให้มีความถูกต้องตามหลักกายวิภาคศาสตร์ และสามารถ แกะสลักหินอ่อนเป็นเสื้อผ้าที่ดูพลิ้วอย่างไรก็ดี รสนิยมของชาวกรีกก็จะเริ่ม เปลี่ยนไปในสมัยเฮลเลนิสติก (หลังศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสต์ศักราช) ศิลปิน จะสร้างงานประติมากรรมจากสภาพมนุษย์ที่เป็นจริงและสิ่งที่ตนเห็น ไม่ สวยตามแบบอุดมคติอีกต่อไป งานประติมากรรมในยุคหลังของกรีกมัก แสดงให้เห็นถึงความทุกข์ยาก ความทรมาน ความเจ็บปวด และความชรา ของมนุษย์
งานจิตรกรรมยุคแรกๆ ของกรีกที่หลงเหลือมาถึงทุกวันนี้ส่วนใหญ่จะ เป็นงานจิตรกรรมบนภาชนะของใช้ต่างๆ ที่ทาจากเครื่องปั้นดินเผา ชาวกรีก ได้พัฒนาลวดลายโบราณที่คล้ายลายเรขาคณิตของเมโสโปเตเมีย ภาพที่นิยม วาดในตอนแรกมักเป็นรูปสัตว์ใหญ่ แต่ต่อมาได้มีการวาดภาพคนลงไปด้วย ในระยะแรกนิยมใช้สีแดงเป็นพื้นและวาดรูปคนเป็นสีดา เรียกว่า แจกัน ลวดลายคนสีดา (Black Figure Vase) ต่อมาในยุคคลาสสิกรูปวาดและสีพื้น จะสลับสีกัน มีชื่อว่า แจกันลวดลายคนสีแดง (Red Figure Vase) รูปที่วาด เป็นเรื่องราวจากเทพปกรณัม (mythology) และมหากาพย์ของโฮเมอร์ มีรูป เถาเครือไม้ประกอบ กลายเป็นแม่แบบของจิตรกรรมบนภาชนะที่นิยมในสมัย ต่อมา 
จิตรกรรม
Black Figure Vase 
Red Figure Vase
ในยุคเฮลเลนิสติก กรีกได้ค้นพบเทคนิคใหม่ในการวาดภาพ ประดับฝาผนังขนาดใหญ่โดยใช้หินหรือกระเบื้องสีมาประดับ เรียกว่า โมเสก (mosaic) ซึ่งมีความคงทนถาวร ภาพโมเสกนี้ได้รับความนิยมมาก และได้ ถ่ายทอดต่อไปยังจักรวรรดิโรมัน จนกลายเป็นมรดกทางวัฒนธรรมสืบทอด กันมาตราบเท่าทุกวันนี้
ความเชื่อและศรัทธาในเทพเจ้าของชาวกรีกมีผลกระทบต่องาน สร้างสรรค์ศิลปะแขนงนาฏกรรมหรือการละคร การละครของกรีกมี ความเกี่ยวพันใกล้ชิดกับเทศกาลบวงสรวงและเฉลิมฉลองให้แก่เทพเจ้า ไดโอนิซัส (Dionysus) ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งความสมบูรณ์พูนสุข การ แสดงละครนี้จะแพร่หลายอย่างมากในยุคคลาสสิก 
นาฏกรรม
จนในที่สุดก็พัฒนาเป็นละครประเภทโศกนาฏกรรม (tragedy) และ สุขนาฏกรรม (comedy) การแสดงนาฏกรรมของกรีกใช้นักแสดงชาย ทั้งหมด โดยทุกคนจะสวมหน้ากากและมีผู้พากย์และหมู่นักร้อง (chorus) ส่งเสียงประกอบ เวที การแสดงเป็นโรงละครกลางแจ้ง การ ละครของกรีกนี้นับว่าเป็นมรดกล้าค่าทางวัฒนธรรมอย่างหนึ่งที่กรีกได้ มอบให้แก่ชาวโลก และยังคงมีอิทธิพลสาคัญต่อวงการละครตะวันตกใน ปัจจุบัน
นอกจาก มหากาพย์อิเลียด และ โอดิสชีย์ ของมหากวีโฮเมอร์ที่ ได้รับการยกย่องในแง่โครงเรื่อง ความไพเราะ จินตนาการ ตลอดจน อารมณ์ที่ถ่ายทอดออกมาได้อย่างงดงามซึ่งถือกันว่าเป็นงานที่เป็น แม่แบบของงานวรรณกรรมแล้ว กรีกก็ยังมีงานประพันธ์อื่นๆ ที่ถือเป็น มรดกทางวัฒนธรรมที่สาคัญ งานประพันธ์ดังกล่าวนี้ถือว่าเป็นการ เริ่มต้นหรือจุดกาเนิดของวิชาปรัชญาและประวัติศาสตร์ จริยศาสตร์ 
Ethics ของอาริสโตเติล (Aristotle) 
ประมาณ 384-322 ปีก่อนคริสต์ศักราช 
วรรณกรรม
นักคณิตศาสตร์ ได้แก่ ปีทาโกรัสแห่งซามอส (Pythagoras of Samos ประมาณ 580-496 ปีก่อนคริสต์ศักราช) เป็นผู้คิดทฤษฎีบทปีทา โกรัส ซึ่งเป็นหลักสาคัญในวิชาเรขาคณิต และยูคลิดแห่งอะเล็กซานเดรีย (Euclid of Alexandria ประมาณ 450-380 ปีก่อนคริสต์ศักราช) ผู้คิด เรขาคณิตแบบยูคลิด เป็นผู้เขียนหนังสือชุด Elements ซึ่งมีจานวน 13 เล่ม เนื้อหาส่วนใหญ่กล่าวถึงเรขาคณิตระนาบและเรื่องสัดส่วน 
คณิตศาสตร์ 
Pythagoras 
Euclid
อาร์คิมิดิสแห่งเซียราคิวส์ (Archimedes 282-281 ปีก่อน คริสต์ศักราช) เป็นผู้คิดระหัดวิดน้าแบบเกลียวลูกรอกชุด ตั้งกฎของคาน ดีดคานงัด และพบวิธีกาปริมาตรของวัตถุโดยการแทนที่น้า 
ฟิสิกส์
ฮิปโปคราตีส (Hippocrates ประมาณ 460-377 ปีก่อนคริสต์ศักราช) ได้รับการยกย่องเป็น “บิดาแห่งการแพทย์” มีความเชื่อว่าโรคทุกชนิดเกิดจาก ธรรมชาติ ไม่ใช่พระเจ้าลงโทษ เฮโลฟิลัสแห่งแคลซีดอน (Herophilus of Chalcedon ประมาณ 335-280 ปีก่อนคริสต์ศักราช) เป็นคนแรกที่ตัดชิ้นส่วน ของมนุษย์เพื่อศึกษา และพบว่าสมองเป็นศูนย์กลางของระบบประสาท ได้รับการยกย่องเป็น “บิดาแห่งกายวิภาคศาสตร์” 
การแพทย์
เอราทอสทินีส (Eratosthenes ประมาณ 276-196 ปีก่อน คริสต์ศักราช) เป็นนักดาราศาสตร์และนักภูมิศาสตร์ สามารถคานวณเส้น รอบโลกได้ 
ภูมิศาสตร์
เฮโรโดตัส (Herodotus ประมาณ 484-425 ปีก่อนคริสต์ศักราช) ได้ เดินทางไปยังดินแดนต่างๆ แล้วเขียนหนังสือ ประวัติศาสตร์ (History เป็น ภาษากรีก แปลว่า สอบถาม) กล่าวถึงขนบธรรมเนียมประเพณี ตานาน และ ประวัติศาสตร์ของโลกสมัยโบราณ ส่วนท้ายของหนังสือกล่าวถึงความ ขัดแย้งระหว่างกรีกกับเปอร์เซีย 
ประวัติศาสตร์
นอกจากนี้กรีกยังได้รับการยกย่องให้เป็นผู้นาในการวางรากฐาน ให้แก่การปกครองระบอบประชาธิปไตยที่ให้สิทธิแก่ประชาชนในการ ปกครอง การศึกษา และอื่นๆ
ศิลปวัฒนธรรมกรีกได้กลายเป็นมรดกที่สาคัญที่ชาวกรีกมอบให้แก่ โลกตะวันตก โดยมีชาวโรมันเป็นสื่อกลางในการถ่ายทอด แม้ในปัจจุบันโลก ทัศน์ของชาวตะวันตกจะเปลี่ยนแปลงไปมาก แต่ความคิดสร้างสรรค์ต่างๆ ของกรีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านศิลปะ ก็ยังคงได้รับการยกย่องอย่างสูง และถือเป็นแม่แบบของความเจริญและอารยธรรมตะวันตกอย่างแท้จริง
อารยธรรมโรมัน
ปัจจัยทางภูมิศาสตร์กับการตั้งถิ่นฐาน
อารยธรรมโรมันกาเนิดในบริเวณคาบสมุทรอิตาลี ซึ่งตั้งอยู่ทาง ตอนใต้ของทวีปยุโรป ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาและเนินเขา ได้แก่ เทือกเขาแอลป์ทางทิศเหนือ ซึ่งกั้นคาบสมุทรอิตาลีออกจากดินแดน ส่วนอื่นของทวีปยุโรป และเทือกเขาแอเพนไนน์ซึ่งเป็นแกนกลางของ คาบสมุทร
เนื่องจากลักษณะภูมิประเทศตอนกลางของคาบสมุทรเป็นที่ราบ เล็กๆจึงทาให้การตั้งถิ่นฐานของชุมชนอยู่อย่างกระจัดกระจายเป็นชุมชน เล็กๆ พื้นที่การเกษตรมีไม่มากนัก และเมื่อมีประชากรเพิ่มมากขึ้น บริเวณดังกล่าวไม่สามารถรองรับการเกษตรที่ขยายตัวได้ จึงเป็นสาเหตุ ให้ชาวโรมันขายายดินแดนไปยังดินแดนบริเวณอื่นๆ
โดยทั่วไปคาบสมุทรอิตาลี มีภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน สภาพอากาศอบอุ่น มีฝนตกในฤดูหนาว และอากาศแห้งในฤดูแล้ง ดินแดนในคาบสมุทรอิตาลีมีทรัพยากรแร่อุดมสมบูรณ์ เช่น เหล็ก สังกะสี เงิน หินอ่อน ยิปซัม เกลือ และโพแทช
นอกจากนั้นยังมีทรัพยากรป่าไม้ ส่วนทรัพยากรดินมีจานวน จากัดเนื่องจากลักษณะภูมิประเทศที่ไม่มีพื้นที่เพียงพอต่อการตั้งถิ่นฐาน และต้องแย่งชิงกับกับชนอื่นๆที่อยู่ในดินแดนแถบนี้ ในขณะเดียวกันยัง สามารถเดินเรือค้าขายในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนได้อย่างสะดวก
ปัจจัยทางภูมิศาสตร์ส่งผลให้ชาวโรมันเป็นคนที่ขยันอดทน มี ระเบียบวินัย ปฏิบัติตามกฎระเบียบอย่างเคร่งครัด สามารถขยายอาณา เขตยึดครองดินแดนของชนเผ่าอื่นๆ เช่น ดินแดนของพวกอิทรัสกัน ดินแดนรอบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทาให้ชาวโรมันได้รับอารยธรรมจาก ดินแดนต่างๆที่เข้ายึดครองผสมผสานกับอารยธรรมโรมันของตนเอง
อารยธรรมโรมันสมัยประวัติศาสตร์
ความเชื่อตามตานานว่า กรุงโรมสถาปนาขึ้นบนเนินเขา 7 ลูกเมื่อ 753 ปีก่อนคริสต์ศักราช โดยพี่น้องฝาแฝดคู่หนึ่งชื่อ โรมูลุส (Romulus) และเรมุส (Remus) แต่ตามหลักฐานทางด้านโบราณคดีและประวัติศาสตร์ ยืนยันว่าบริเวณที่ตั้งของกรุงโรมในปัจจุบันมีพวกอิทรัสกัน (Etruscan) ซึ่ง ได้รับอารยธรรมของกรีกและเมื่ออพยพเข้ามา ก็ได้นาความเชื่อในศาสนาของ กรีก ศิลปะการแกะสลัก การทาเครื่องปั้นดินเผา อักษรกรีก การปกครองแบบ นครรัฐ และอื่นๆเข้ามา
ที่ตั้งถิ่นฐานของผู้อพยพจากเผ่าอื่นๆอีกที่สาคัญ ได้แก่ พวก ละตินซึ่งเป็นบรรพบุรุษของชาวโรมัน เมื่อ 509 ปีก่อนคริสต์ศักราช พวกละตินได้ขับไล่กษัตริย์อิทรัสกันออกจากบัลลังก์ และจัดตั้งโรม จัดตั้งสาธารณรัฐ แต่อานาจการปกครองยังเป็นของชนชั้นสูงที่เรียกว่า พวกพาทริเชียน (patrician) เท่านั้น ส่วนประชาชนส่วนใหญ่ที่ เรียกว่า เพลเบียน (plebeian) ไม่มีสิทธิใดๆทางด้านการเมืองและสังคม
ความขัดแย้งระหว่างพวกพาทริเชียนและเพลเบียนนาไปสู่การต่อสู้ ระหว่างทั้งสองชนชั้นใน 494 ปีก่อนคริสต์ศักราช พวกเพลเบียนได้มีสิทธิ ออกกฎหมายร่วมกับพวกพาทริเชียน เป็นการออกประมวลกฎหมายเป็น ลายลักษณ์อักษรฉบับแรกของโรมัน เรียกว่ากฎหมายสิบสองโต๊ะ (Law of the twelve tables) เพื่อใช้บังคับให้ชาวโรมันทุกคนปฏิบัติอยู่ในกรอบ เดียวกันของกฎหมายและสังคม กฎหมายสิบสองโต๊ะนับเป็นมรดกชิ้น สาคัญของโรมที่ถือกันว่าเป็นแม่บทของกฎหมายโลกตะวันตก
ระหว่าง 264-146 ปีก่อนคริสต์ศักราช โรมันทาสงครามพิวนิก (Punic Wars) กับพวกคาร์เทจ สาเหตุมาจากการแย่งผลประโยชน์ในเกาะซิ ซิลี คาร์เทจเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ตลอดและหมดอานาจไป เป็นการเปิดโอกาส ให้โรมันได้เป็นเจ้าทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และเป็นรัฐที่มีอานาจมากที่สุดใน ขณะนั้น โดยผูกขาดการค้าระหว่างยุโรปตะวันตกกับยุโรปตะวันออกและ เอเชียไมเนอร์ จนมีฐานะมั่งคั่งและมีอานาจปกครองดินแดนอันกว้างใหญ่ ไพศาล
เมื่อ 27 ปีก่อนคริสต์ศักราช ชาวโรมันได้ยุติการปกครองในระบอบ สาธารณรัฐและหันมาใช้การปกครองแบบจักรวัติอย่างเป็นทางการ ออคเท เวียน (Octavian) ได้รับสมญานามว่า ออกัสตัส (Augustus) และสภาโรมันได้ ยกย่องให้เป็นจักรพรรดิองค์แรกของจักรวรรดิโรมัน โรมันเจริญถึงขีดสูงสุด และสามารถขยายอานาจและอิทธิพลไปทั่วทั้งทวีปยุโรป เอเชียตะวันตก และแอฟริกาเหนือ
ในคริสต์ศตวรรษที่ 1 คริสต์ศาสนาแผ่ขยายไปทางทิศตะวันตก ของปาเลสไตน์ซึ่งขณะนั้นอยู่ใต้การปกครองของโรม จักรวรรดิโรมัน ต่อต้านคริสต์ศาสนาอย่างรุนแรง จนถึง ค.ศ. 313 จักรพรรดิคอนสแตนติ นมหาราช ประกาศกฤษฎีกาให้เสรีภาพในการนับถือศาสนาคริสต์ ทาให้ คริสต์ศาสนาได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลาย มีผลให้จักรวรรดิโรมันเป็น จักรวรรดิของคริสต์ศาสนา
ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 4 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 5 จักรวรรดิโรมัน อ่อนแอลงตามลาดับ จนในที่สุดกรุงโรมถูกพวกอนารยชนเผ่าเยอรมันหรือ เผ่ากอท (Goth) เข้าปล้นสะดมหลายครั้ง จักรพรรดิของโรมันองค์สุดท้าย ถูกอนารยชนขับออกจากบัลลังก์ใน ค.ศ.476 จึงถือกันว่าปีดังกล่าวเป็นการ สิ้นสุดของจักรวรรดิโรมันและประวัติศาสตร์สมัยโบราณ
มรดกของอารยธรรมโรมัน
สถาปัตยกรรม 
นิยมสร้างอาคารต่างๆเพื่อสนองความต้องการของรัฐและประโยชน์ ใช้สอยของสาธารณชน เช่น สร้างโรงมหรสพขนาดใหญ่ เรียกว่า โคลอส เซียม (Colosseum) สร้างท่อส่งน้า ถนนและสะพานขนาดใหญ่ที่แสดงให้ เห็นถึงความสามารถเชิงวิศวกรรม งานทางด้านสถาปัตยกรรมจะเน้นความ ใหญ่โต แข็งแรงทนทาน ได้พัฒนาเทคนิคในการออกแบบก่อสร้างของกรีก เป็นประตูทางโค้ง (arch) และเปลี่ยนหลังคาแบบจั่วเป็นโดม (dome)
ประติมากรรม 
สะท้อนบุคลิกภาพของมนุษย์อย่างสมจริงตามธรรมชาติ มีสัดส่วน งดงามเหมือนกรีก แต่โรมันจะพัฒนาศิลปะด้านการแกะสลักรูปเหมือนของ บุคคลสาคัญๆ โดยเฉพาะในท่าครึ่งท่อนบนได้อย่างสมบูรณ์ เพราะสามารถ ทาให้หินอ่อนแกะสลักนั้นดูมีชีวิต อีกทั้งสะท้อนบุคลิกภาพของบุคคลที่เป็น แบบอย่างสมจริงที่สุด นอกจากนี้ชาวโรมันยังได้พัฒนาศิลปะการแกะสลัก ภาพนูนต่า เพื่อบันทึกเรื่องราวหรือเหตุการณ์สาคัญทางประวัติศาสตร์ และ สดุดีวีรกรรมของนักรบ
วรรณกรรม 
งานประพันธ์ของโรมันมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างจากกรีก งาน ประพันธ์ของกรีกมีสีสันและจินตนาการที่กว้างไกล เรื่องเทพปกรณัม หรือ ประเภทปรัชญาที่ลึกซึ้ง แต่งานประพันธ์ที่เป็นของโรมันแท้ๆจะมีวัตุ ประสงค์ที่จะรับใช้จักรวรรดิของตน งานประเภทนี้จะสดุดีความยิ่งใหญ่ของ ชาวโรมัน ได้แก่ 
งานเขียนของเวอร์จิล ( Virgil 70-19 ปีก่อนคริสต์ศักราช) เรื่องอีนีอิด (Aeneid) ซึ่งเป็นมหากาพย์ว่าด้วยความเป็นมาของกรุง โรม สอดแทรกคาสอนเกี่ยวกับหน้าที่ และ ความจงรักภักดีต่อจักรวรรดิ
งานประพันธ์ร้อยแก้วของซิเซโร (Cicero 106-43 ปีก่อนคริสต์ศักราช) เป็นข้อเขียน ทางการเมืองและจริยธรรมในรูปแบบของสุนทรพจน์และจดหมาย ซิเซโรใช้ภาษาละตินที่ สละสลวย มีระเบียบแบบแผนในงานประพันธ์ร้อยแก้วของเขา ซึ่งเป็นแม่แบบของการใช้ภาษา ละตินทุกยุคทุกสมัยต่อมา ดังนั้นซิเซโรจึงได้รับการยกย่องให้เป็นผู้ให้กาเนิดคาประพันธ์ ประเภทร้อยแก้ว งานประพันธ์ของเขายังมีลักษณะพิเศษที่ใช้โวหารในการเสียดสีประชด ประชัน (Satire) พฤติกรรมของฝ่ายปกครองในด้านศีลธรรมจรรยาและอานาจรัฐ ทั้งในเชิงติ เตียนและสร้างสรรค์ ซึ่งไม่เคยปรากฏมาก่อนในงานประพันธ์ของกรีก
นอกจากนี้ก็มีงานประวัติศาสตร์ที่เน้นความยิ่งใหญ่ของโรม เช่น 
งานเขียนเรื่อง บันทึกสงคราม กอล (Commentaries on the Gallic War) ของจูเลียส ซีซาร์ (Julius Caesar 100-44 ปีก่อนคริสต์ศักราช) 
ประวัติศาสตร์กรุงโรม (History of Rome) ของลีวี (Livy 59 ปีก่อน คริสต์ศักราช-ค.ศ.17)
งานเขียนเกี่ยวกับอนารยชน เรื่องชนเผ่าเยอรมัน (Germania) ของแทกซิตัส (Tacitus ค.ศ.55-117) ซึ่งยังเป็นที่นิยมอ่านและศึกษาจนถึงปัจจุบัน
วิศวกรรม 
โรมันประสบความสาเร็จในการสร้างถนนคอนกรีตที่มีความ แข็งแรงทนทานสองข้างถนนมีท่อระบายน้าและมีหลักบอกระยะทาง ถนน ที่ยังใช้มาถึงปัจจุบัน ได้แก่ ถนนแอปเพียน (Appian Ways) ในประเทศ อิตาลี นอกจากนี้ยังสร้างท่อส่งน้าหลายแห่งเพื่อนาน้าจากภูเขาไปสู่เมือง ใกล้เคียง ท่อส่งน้าที่ปัจจุบันยังใช้อยู่ เช่น ท่อส่งน้าที่เมืองนีมส์ทางตอนใต้ ของประเทศฝรั่งเศส
ปฏิทิน 
เดิมชาวโรมันใช้ปฏิทินจันทรคติ ปีหนึ่งมี 10 เดือน ภายหลังเพิ่ม เป็น 12 เดือน แต่ก็ยังมีความคลาดเคลื่อนไปจากฤดูกาล จนกระทั่งเมื่อ 45 ปีก่อนคริสต์ศักราช จูเลียส ซีซาร์ ให้ใช้ปฏิทินจูเลียนซึ่งเป็นแบบสุริยคติ ปีหนึ่งมี 12 เดือน แต่ละปีมี 365 วัน และให้เพิ่มวันในเดือนกุมภาพันธ์ในทุก 4 ปี ให้เป็นปีที่มี 366 วัน ปฏิทินจูเลียนใช้มานานถึง 1,600 ปี จึงมีการ ปรับปรุงเป็นปฏิทินเกรกอเรียนใน ค.ศ. 1582
กฎหมาย 
ในระยะแรกกฎหมายโรมันไม่ได้เขียนเป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็น ระบบ กฎหมายยังมีลักษณะผสมกลมกลืนกับศาสนา แต่ต่อมากฎหมายโรมัน ได้เปลี่ยนแปลงทีละเล็กทีละน้อยจากข้อบัญญัติของพระเจ้ามาเป็นกฎหมาย บ้านเมือง ในที่สุดก็ได้มีการตรากฎหมายสิบสองโต๊ะ (Law of Twelve Tables) เพื่อให้ความยุติธรรมแก่ชาวโรมันอย่างทัดเทียมกันใน 450 ปีก่อนคริสต์ศักราช
จากนั้นกฎหมายของโรมันก็วิวัฒนาการเป็นระบบมากขึ้น และใช้ บังคับประชาชนทั่วไปในจักรวรรดิโดยไม่จากัดเชื้อชาติ และให้ความ ยุติธรรมแก่ประชาชนยิ่งขึ้น แม้แต่ทาสซึ่งโรมันไม่นับเป็นพลเมืองก็มี สิทธิที่จะอุทรณ์เรียกร้องความยุติธรรมจากบ้านเมืองได้ในกรณีที่ถูก เจ้านายทาทารุณกรรม ประมวลกฎหมายของโรมันนี้เป็นรากฐานของ ประมวลกฎหมายของประเทศต่างๆ เช่น อิตาลี ฝรั่งเศส สเปน สกอตแลนด์ ญี่ปุ่น
แม้แต่กฎหมายของวัด (Cannon Law) ในสมัยกลาง (Middle Ages) ก็ยังแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของกฎหมายโรมันในสมัยจักรวรรดิจัสติ เนียน (Justinian ค.ศ. 527-565) แห่งจักรวรรดิไบแซนไทน์ (Byzantine Empire) หรือจักรวรรดิโรมันตะวันออก ซึ่งได้รวบรวมและจัดประมวล กฎหมายโรมันเป็นหมวดหมู่ เรียกว่า ประมวลกฎหมายจัสติเนียน (Justinian Code) และทิ้งไว้เป็นมรดกอันล้าค่าของโลกตะวันตก
THANK YOU

More Related Content

What's hot

การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance)
การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance)การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance)
การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance)sudoooooo
 
อารยธรรมจีนPdf
อารยธรรมจีนPdfอารยธรรมจีนPdf
อารยธรรมจีนPdfkruchangjy
 
อารยธรรมเมโสโปเตเมีย
อารยธรรมเมโสโปเตเมีย อารยธรรมเมโสโปเตเมีย
อารยธรรมเมโสโปเตเมีย Kran Sirikran
 
กำเนิดรัฐชาติ
กำเนิดรัฐชาติกำเนิดรัฐชาติ
กำเนิดรัฐชาติWarinthorn Limpanakorn
 
Key of 2 อาณาจักรโบราณ-57
Key of 2 อาณาจักรโบราณ-57Key of 2 อาณาจักรโบราณ-57
Key of 2 อาณาจักรโบราณ-57Pracha Wongsrida
 
อารยธรรมอียิปต์
อารยธรรมอียิปต์ อารยธรรมอียิปต์
อารยธรรมอียิปต์ Tha WaiHei
 
สมรรถภาพทางกลไก
สมรรถภาพทางกลไกสมรรถภาพทางกลไก
สมรรถภาพทางกลไก593non
 
แบบทดสอบอาเซียน 30 ข้อ
แบบทดสอบอาเซียน 30 ข้อแบบทดสอบอาเซียน 30 ข้อ
แบบทดสอบอาเซียน 30 ข้อKruthai Kidsdee
 
อารยธรรมโรมัน
อารยธรรมโรมันอารยธรรมโรมัน
อารยธรรมโรมันNing Rommanee
 
อารายธรรมอียิปต์โบราญ
อารายธรรมอียิปต์โบราญอารายธรรมอียิปต์โบราญ
อารายธรรมอียิปต์โบราญSRINAKARIN MOTHER PRINCESS SCHOOL
 
อารยธรรมเมโสโปเตเมีย
อารยธรรมเมโสโปเตเมียอารยธรรมเมโสโปเตเมีย
อารยธรรมเมโสโปเตเมียPannaray Kaewmarueang
 
ตัวอย่างบทคัดย่อเล่มโปรเจ็ค
ตัวอย่างบทคัดย่อเล่มโปรเจ็คตัวอย่างบทคัดย่อเล่มโปรเจ็ค
ตัวอย่างบทคัดย่อเล่มโปรเจ็คtumetr1
 
อารยธรรมอินเดีย
อารยธรรมอินเดียอารยธรรมอินเดีย
อารยธรรมอินเดียHercule Poirot
 
เครื่องดักจับแมลงวันจากขวดพลาสติก 2
เครื่องดักจับแมลงวันจากขวดพลาสติก 2เครื่องดักจับแมลงวันจากขวดพลาสติก 2
เครื่องดักจับแมลงวันจากขวดพลาสติก 2Enormity_tung
 

What's hot (20)

การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance)
การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance)การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance)
การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance)
 
อารยธรรมจีนPdf
อารยธรรมจีนPdfอารยธรรมจีนPdf
อารยธรรมจีนPdf
 
อารยธรรมเมโสโปเตเมีย
อารยธรรมเมโสโปเตเมีย อารยธรรมเมโสโปเตเมีย
อารยธรรมเมโสโปเตเมีย
 
กำเนิดรัฐชาติ
กำเนิดรัฐชาติกำเนิดรัฐชาติ
กำเนิดรัฐชาติ
 
Key of 2 อาณาจักรโบราณ-57
Key of 2 อาณาจักรโบราณ-57Key of 2 อาณาจักรโบราณ-57
Key of 2 อาณาจักรโบราณ-57
 
อารยธรรมอียิปต์
อารยธรรมอียิปต์ อารยธรรมอียิปต์
อารยธรรมอียิปต์
 
หน่วย 2
หน่วย 2หน่วย 2
หน่วย 2
 
หน่วย 3
หน่วย 3 หน่วย 3
หน่วย 3
 
สมรรถภาพทางกลไก
สมรรถภาพทางกลไกสมรรถภาพทางกลไก
สมรรถภาพทางกลไก
 
การแบ่งยุคสมัยประวัติศาสตร์
การแบ่งยุคสมัยประวัติศาสตร์การแบ่งยุคสมัยประวัติศาสตร์
การแบ่งยุคสมัยประวัติศาสตร์
 
ประวัติศาสตร์ไทยสมัยธนบุรี
ประวัติศาสตร์ไทยสมัยธนบุรีประวัติศาสตร์ไทยสมัยธนบุรี
ประวัติศาสตร์ไทยสมัยธนบุรี
 
แบบทดสอบอาเซียน 30 ข้อ
แบบทดสอบอาเซียน 30 ข้อแบบทดสอบอาเซียน 30 ข้อ
แบบทดสอบอาเซียน 30 ข้อ
 
อารยธรรมโรมัน
อารยธรรมโรมันอารยธรรมโรมัน
อารยธรรมโรมัน
 
อารายธรรมอียิปต์โบราญ
อารายธรรมอียิปต์โบราญอารายธรรมอียิปต์โบราญ
อารายธรรมอียิปต์โบราญ
 
อารยธรรมเมโสโปเตเมีย
อารยธรรมเมโสโปเตเมียอารยธรรมเมโสโปเตเมีย
อารยธรรมเมโสโปเตเมีย
 
ตัวอย่างบทคัดย่อเล่มโปรเจ็ค
ตัวอย่างบทคัดย่อเล่มโปรเจ็คตัวอย่างบทคัดย่อเล่มโปรเจ็ค
ตัวอย่างบทคัดย่อเล่มโปรเจ็ค
 
Transportation body
Transportation bodyTransportation body
Transportation body
 
อารยธรรมอินเดีย
อารยธรรมอินเดียอารยธรรมอินเดีย
อารยธรรมอินเดีย
 
7.ชุดที่ 4 การสังเคราะห์แสง
7.ชุดที่ 4 การสังเคราะห์แสง7.ชุดที่ 4 การสังเคราะห์แสง
7.ชุดที่ 4 การสังเคราะห์แสง
 
เครื่องดักจับแมลงวันจากขวดพลาสติก 2
เครื่องดักจับแมลงวันจากขวดพลาสติก 2เครื่องดักจับแมลงวันจากขวดพลาสติก 2
เครื่องดักจับแมลงวันจากขวดพลาสติก 2
 

Viewers also liked

อารยธรรมกรีก โรมัน
อารยธรรมกรีก โรมันอารยธรรมกรีก โรมัน
อารยธรรมกรีก โรมันPare Kpb
 
PowerPoint ประกอบการศึกษาเรื่องภูมิศาสตร์ประเทศไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเ...
PowerPoint ประกอบการศึกษาเรื่องภูมิศาสตร์ประเทศไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเ...PowerPoint ประกอบการศึกษาเรื่องภูมิศาสตร์ประเทศไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเ...
PowerPoint ประกอบการศึกษาเรื่องภูมิศาสตร์ประเทศไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเ...Earn Supeerapat
 
2.2 อารยธรรมอินเดีย
2.2 อารยธรรมอินเดีย2.2 อารยธรรมอินเดีย
2.2 อารยธรรมอินเดียJitjaree Lertwilaiwittaya
 
อารยธรรมอินเดีย
อารยธรรมอินเดียอารยธรรมอินเดีย
อารยธรรมอินเดียPannaray Kaewmarueang
 
อารยธรรมอินเดีย
อารยธรรมอินเดียอารยธรรมอินเดีย
อารยธรรมอินเดียPpor Elf'ish
 
อารยธรรมจีน
อารยธรรมจีนอารยธรรมจีน
อารยธรรมจีนKetsuro Yuki
 
อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ(อินเดีย)
อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ(อินเดีย)อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ(อินเดีย)
อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ(อินเดีย)พัน พัน
 
อารยธรรมจีน
อารยธรรมจีนอารยธรรมจีน
อารยธรรมจีนInfinity FonFn
 
อิทธิพลอารยธรรมตะวันออกที่มีต่อภูมิภาค
อิทธิพลอารยธรรมตะวันออกที่มีต่อภูมิภาคอิทธิพลอารยธรรมตะวันออกที่มีต่อภูมิภาค
อิทธิพลอารยธรรมตะวันออกที่มีต่อภูมิภาค6091429
 
อารยธรรมจีน
อารยธรรมจีนอารยธรรมจีน
อารยธรรมจีนพัน พัน
 
อารยธรรมอินเดีย
อารยธรรมอินเดียอารยธรรมอินเดีย
อารยธรรมอินเดียToey Songwatcharachai
 
อารยธรรมเมโสโปเตเมีย..510
อารยธรรมเมโสโปเตเมีย..510อารยธรรมเมโสโปเตเมีย..510
อารยธรรมเมโสโปเตเมีย..510Suphatsara Amornluk
 
อารยธรรมกรีก
อารยธรรมกรีกอารยธรรมกรีก
อารยธรรมกรีกDraftfykung U'cslkam
 
อารยธรรมกรีก
อารยธรรมกรีกอารยธรรมกรีก
อารยธรรมกรีกKwandjit Boonmak
 
สรุป การแบ่งยุคทางประวัติศาสตร์สากล
สรุป การแบ่งยุคทางประวัติศาสตร์สากลสรุป การแบ่งยุคทางประวัติศาสตร์สากล
สรุป การแบ่งยุคทางประวัติศาสตร์สากลKittayaporn Changpan
 
อารยธรรมอินเดีย
อารยธรรมอินเดียอารยธรรมอินเดีย
อารยธรรมอินเดียGain Gpk
 

Viewers also liked (20)

อารยธรรมกรีก โรมัน
อารยธรรมกรีก โรมันอารยธรรมกรีก โรมัน
อารยธรรมกรีก โรมัน
 
PowerPoint ประกอบการศึกษาเรื่องภูมิศาสตร์ประเทศไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเ...
PowerPoint ประกอบการศึกษาเรื่องภูมิศาสตร์ประเทศไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเ...PowerPoint ประกอบการศึกษาเรื่องภูมิศาสตร์ประเทศไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเ...
PowerPoint ประกอบการศึกษาเรื่องภูมิศาสตร์ประเทศไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเ...
 
อารยธรรมอินเดีย
อารยธรรมอินเดียอารยธรรมอินเดีย
อารยธรรมอินเดีย
 
2.2 อารยธรรมอินเดีย
2.2 อารยธรรมอินเดีย2.2 อารยธรรมอินเดีย
2.2 อารยธรรมอินเดีย
 
อารยธรรมอินเดีย
อารยธรรมอินเดียอารยธรรมอินเดีย
อารยธรรมอินเดีย
 
อารยธรรมอินเดีย
อารยธรรมอินเดียอารยธรรมอินเดีย
อารยธรรมอินเดีย
 
อารยธรรมอินเดีย
อารยธรรมอินเดียอารยธรรมอินเดีย
อารยธรรมอินเดีย
 
อารยธรรมจีน
อารยธรรมจีนอารยธรรมจีน
อารยธรรมจีน
 
อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ(อินเดีย)
อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ(อินเดีย)อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ(อินเดีย)
อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ(อินเดีย)
 
อารยธรรมจีน
อารยธรรมจีนอารยธรรมจีน
อารยธรรมจีน
 
อารยธรรมจีน
อารยธรรมจีน อารยธรรมจีน
อารยธรรมจีน
 
อิทธิพลอารยธรรมตะวันออกที่มีต่อภูมิภาค
อิทธิพลอารยธรรมตะวันออกที่มีต่อภูมิภาคอิทธิพลอารยธรรมตะวันออกที่มีต่อภูมิภาค
อิทธิพลอารยธรรมตะวันออกที่มีต่อภูมิภาค
 
อารยธรรมจีน
อารยธรรมจีนอารยธรรมจีน
อารยธรรมจีน
 
อารยธรรมอินเดีย
อารยธรรมอินเดียอารยธรรมอินเดีย
อารยธรรมอินเดีย
 
อารยธรรมเมโสโปเตเมีย..510
อารยธรรมเมโสโปเตเมีย..510อารยธรรมเมโสโปเตเมีย..510
อารยธรรมเมโสโปเตเมีย..510
 
อารยธรรมกรีก
อารยธรรมกรีกอารยธรรมกรีก
อารยธรรมกรีก
 
อารยธรรมกรีก
อารยธรรมกรีกอารยธรรมกรีก
อารยธรรมกรีก
 
สรุป การแบ่งยุคทางประวัติศาสตร์สากล
สรุป การแบ่งยุคทางประวัติศาสตร์สากลสรุป การแบ่งยุคทางประวัติศาสตร์สากล
สรุป การแบ่งยุคทางประวัติศาสตร์สากล
 
อารยธรรมอินเดีย
อารยธรรมอินเดียอารยธรรมอินเดีย
อารยธรรมอินเดีย
 
ภูมิศาสตร์กายภาพประเทศไทย
ภูมิศาสตร์กายภาพประเทศไทยภูมิศาสตร์กายภาพประเทศไทย
ภูมิศาสตร์กายภาพประเทศไทย
 

Similar to อารยธรรมกรีก โรมัน

อารยธรรมกรีก
อารยธรรมกรีกอารยธรรมกรีก
อารยธรรมกรีกKwandjit Boonmak
 
บทที่ 2 อารยธรรมของโลกตะวันตกในยุคโบราณ
บทที่ 2 อารยธรรมของโลกตะวันตกในยุคโบราณบทที่ 2 อารยธรรมของโลกตะวันตกในยุคโบราณ
บทที่ 2 อารยธรรมของโลกตะวันตกในยุคโบราณSupicha Ploy
 
จุดเริ่มต้นประวัติศาสตร์ (Oh! History Begin)
จุดเริ่มต้นประวัติศาสตร์ (Oh! History Begin)จุดเริ่มต้นประวัติศาสตร์ (Oh! History Begin)
จุดเริ่มต้นประวัติศาสตร์ (Oh! History Begin)Natee Tasanakulwat
 
7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลก
7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลก7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลก
7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลกgirapong
 

Similar to อารยธรรมกรีก โรมัน (8)

อารยธรรมกรีก
อารยธรรมกรีกอารยธรรมกรีก
อารยธรรมกรีก
 
3.4 อารยธรรมกร ก
3.4 อารยธรรมกร ก3.4 อารยธรรมกร ก
3.4 อารยธรรมกร ก
 
บทที่ 2 อารยธรรมของโลกตะวันตกในยุคโบราณ
บทที่ 2 อารยธรรมของโลกตะวันตกในยุคโบราณบทที่ 2 อารยธรรมของโลกตะวันตกในยุคโบราณ
บทที่ 2 อารยธรรมของโลกตะวันตกในยุคโบราณ
 
จุดเริ่มต้นประวัติศาสตร์ (Oh! History Begin)
จุดเริ่มต้นประวัติศาสตร์ (Oh! History Begin)จุดเริ่มต้นประวัติศาสตร์ (Oh! History Begin)
จุดเริ่มต้นประวัติศาสตร์ (Oh! History Begin)
 
Greek roman
Greek romanGreek roman
Greek roman
 
7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลก
7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลก7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลก
7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลก
 
โครงงานปริศนาแห่งอียิปต์
โครงงานปริศนาแห่งอียิปต์โครงงานปริศนาแห่งอียิปต์
โครงงานปริศนาแห่งอียิปต์
 
โครงงานปริศนาแห่งอียิปต์
โครงงานปริศนาแห่งอียิปต์โครงงานปริศนาแห่งอียิปต์
โครงงานปริศนาแห่งอียิปต์
 

อารยธรรมกรีก โรมัน