SlideShare a Scribd company logo
บทบาทหน่วยงานทรัพยากรมนØÉย์ãนงาน
´Œานความรับ¼ิ´ชอบต่อสังคมขององค์การ
The role of human resource department
in connection with corporate social responsibilityin connection with corporate social responsibility
อาจารยสานิตย หนูนิล*
Sanit Nunil
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มุ่งเน้นศึกษาบทบาทหน่วยงานทรัพยากรมนุษย์ในการดำเนินงานด้านความรับ
ผิดชอบต่อสังคมจาก 4 องค์การ ได้แก่ บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัท แพรนด้า
จิวเวลรี่ จำกัด (มหาชน) โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล และบริษัทน้ำมันพืชไทย
จำกัด (มหาชน) โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1. ศึกษานโยบายด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของ
องค์การธุรกิจและความคิดเห็นของหน่วยงานทรัพยากรมนุษย์ที่มีต่อการดำเนินงานด้านความ
รับผิดชอบต่อสังคมขององค์การ 2. ศึกษาบทบาทของหน่วยงานทรัพยากรมนุษย์ในการ
ดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมรวมไปถึงกิจกรรมหรืองานด้านความรับผิดชอบต่อ
สังคมที่หน่วยงานทรัพยากรมนุษย์มีส่วนในการดำเนินงาน 3. ศึกษาผลจากการดำเนินงาน
ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของหน่วยงานทรัพยากรมนุษย์และแนวโน้มบทบาทด้านความรับ
ผิดชอบต่อสังคมของหน่วยงานทรัพยากรมนุษย์ในอนาคต
*
อาจารย์ประจำสาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี
2 สหศาสตรศรีปทุม
ชลบุรี
ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 ตุลาคม 2553-มกราคม 2554 ISSN 2228-8007
2
ผลจากการศึกษาพบว่า 1. องค์การที่ศึกษาไม่ได้มีการกำหนดนโยบายด้านความรับผิด
ชอบต่อสังคมไว้โดยตรง แต่มีแนวทางในการดำเนินงานด้าน CSR ที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละ
องค์การ โดยองค์การส่วนใหญ่จะเลือกดำเนินกิจกรรมที่เหมาะสมและสอดคล้องกับธุรกิจที่
ดำเนินอยู่ 2. หน่วยงานทรัพยากรมนุษย์ขององค์การที่ศึกษามีบทบาทในการดำเนินงานด้าน
CSR แตกต่างกันไปในแต่ละองค์การ ส่วนใหญ่จะจัดตั้งเป็นคณะกรรมการด้านความรับผิดชอบ
ต่อสังคม (CSR committee) 3. การดำเนินกิจกรรมด้าน CSR ของหน่วยงานทรัพยากร
มนุษย์ส่งผลให้พนักงานมีความจงรักภักดีต่อองค์การเกิดความภาคภูมิใจในการได้ช่วยเหลือ
สังคม ก่อให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ภายในองค์การ หน่วยงานทรัพยากร
มนุษย์ได้รับการยอมรับจากหน่วยงานอื่น ๆ และจากพนักงานมากขึ้น รวมทั้งได้รับรู้ถึงคุณค่าของ
ตนเองที่มีต่อองค์การ นอกจากนั้นกิจกรรม CSR ยังช่วยให้พนักงานเกิดการเรียนรู้และการ
พัฒนาเพิ่มขึ้นอีกด้วย ในอนาคตหน่วยงานทรัพยากรมนุษย์จะมีบทบาทในการดำเนินงานด้าน
CSR มากขึ้นเนื่องจากแรงผลักดันทั้งจากภายในและภายนอกองค์การ
คำสำคัญ: หน่วยงานทรัพยากรมนุษย์, ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การ
ABSTRACT
This research focus on the role of human resource department in corporate social
responsibility. The objectives of this research were 1. to study policy of corporate social
responsibility in four companies and to study the opinion of human resource managers about
corporate social responsibility implementation 2. to study the role of human resource
department in corporate social responsibility activities 3. to examine the result of corporate
social responsibility activities then, to study the trend of corporate social responsibility activities
in the future.
The results of this study were as follows: 1. CSR implementations of four companies not
have policy but CSR activities follow by different factors. CSR implementations humanize with
the nature of business 2. Human resource department play a key role in corporate social
responsibility activities that vary in format of activities. Companies set up the CSR committee to
manage CSR activities 3. the benefits of human resource department in corporate social
responsibility activities were the promotion of employee royalty, pride, and unity. In addition
human resource department go across others department and employee in company. In the
future human resource department feature in CSR activities.
Keywords: human resource department. corporate social responsibility.
3สหศาสตรศรีปทุม
ชลบุรี
ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 ตุลาคม 2553-มกราคม 2554 ISSN 2228-8007
3
ความนำ
ปจจุบันองค์การต่าง ๆ หันมาให้ความสำคัญกับกระแสของปญหาสังคมและสิ่งแวดล้อม
เนื่องจากปญหาทางด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการให้
ความสำคัญในประเด็นความรับผิดชอบต่อสังคม (corporate social responsibility) หรือ CSR
โดยเฉพาะในองค์การภาคธุรกิจที่ออกมาดำเนินการในเรื่องนี้กันอย่างจริงจัง โดยกระแสความ
รับผิดชอบต่อสังคมนั้นพัฒนามาจากแนวคิดของประเทศตะวันตกที่มองว่าการดำเนินธุรกิจของ
องค์การต่าง ๆ ได้ส่งผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก จากแรงผลักดันดังกล่าว
ทำให้หลายองค์การได้ดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างต่อเนื่องมาจนถึงใน
ปจจุบัน (Kotler & Lee, 2005) องค์การชั้นนำระดับโลกรวมถึงองค์การในประเทศไทยเอง
หลายองค์การได้กำหนดเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมไว้ในนโยบายของบริษัท นอกจาก
องค์การภาคเอกชนที่ให้ความสำคัญกับเรื่องดังกล่าวแล้ว องค์การภาครัฐรวมทั้งองค์การไม่
แสวงหากำไร (NGOs) ก็ได้ออกมารณรงค์ในเรื่องดังกล่าวกันอย่างจริงจัง เช่น ธนาคารโลก
(World Bank) ที่ได้กำหนดองค์ประกอบความรับผิดชอบต่อสังคมให้ประเทศสมาชิกปฏิบัติตาม
องค์การสหประชาชาติ (UN) ก็ได้กำหนด “The global compact” หรือ “The UN global
compact” ซึ่งประกอบด้วยเรื่องสิทธิมนุษยชน แรงงาน สิ่งแวดล้อม และต่อต้านการทุจริต
รวมทั้งองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรฐาน (ISO) ก็ได้กำหนดมาตรฐานว่าด้วยความรับ
ผิดชอบต่อสังคม (ISO 26000 social responsibility) ขึ้น เป็นมาตรฐานการแสดงความรับ
ผิดชอบต่อผลกระทบของสังคมและสิ่งแวดล้อมจากการตัดสินใจและดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของ
องค์การ เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของคนในสังคม และการพัฒนาที่ยั่งยืนทางธุรกิจ
ประเด็นเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคมเป็นเรื่องที่องค์การให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง
ดังนั้นหน่วยงานทรัพยากรมนุษย์ในฐานะเป็นหน่วยงานหนึ่งในองค์การจะต้องหันมาให้ความ
สำคัญในเรื่องดังกล่าว การวิจัยในครั้งนี้จึงมุ่งที่จะศึกษาถึงบทบาทของหน่วยงานทรัพยากร
มนุษย์ในการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การในประเด็นต่าง ๆ
วัตถุประสงคการวิจัย
1. เพื่อศึกษานโยบายด้านความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การธุรกิจ และความคิดเห็น
ของหน่วยงานทรัพยากรมนุษย์ที่มีต่อการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การ
2. เพื่อศึกษาบทบาทของหน่วยงานทรัพยากรมนุษย์ในการดำเนินงานด้านความรับผิด
ชอบต่อสังคมรวมถึงกิจกรรมหรืองานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมที่หน่วยงานทรัพยากรมนุษย์
มีส่วนในการดำเนินงาน
3. เพื่อศึกษาผลจากการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของหน่วยงาน
4 สหศาสตรศรีปทุม
ชลบุรี
ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 ตุลาคม 2553-มกราคม 2554 ISSN 2228-8007
4
ทรัพยากรมนุษย์ และแนวโน้มบทบาทด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของหน่วยงานทรัพยากร
มนุษย์ในอนาคต
วิธีดำเนินการวิจัย
เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) แบบใช้กรณีศึกษา (case study) มี
การศึกษาข้อมูลจากหนังสือ เอกสารทางวิชาการ บทความ เว็บไซต์ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
รวมทั้งการสัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interview) จากผู้บริหารหน่วยงานทรัพยากรมนุษย์
ขอบเขตการวิจัย
ศึกษาถึงบทบาทหน่วยงานทรัพยากรมนุษย์ในการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อ
สังคมขององค์การ โดยเลือกศึกษาจากองค์การที่เป็นสมาชิกซีเอสอาร์ คลับ (CSR club) ซึ่ง
เกิดจากการสนับสนุนของสมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลัก
ทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จำนวน 4 องค์การ ได้แก่
บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัท แพรนด้า จิวเวลรี่ จำกัด (มหาชน) โรงพยาบาล
บำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล และบริษัทน้ำมันพืชไทย จำกัด (มหาชน)
ผลการวิจัย
นโยบายด้านความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การพบว่า องค์การไม่ได้มีการกำหนด
นโยบายด้านความรับผิดชอบต่อสังคมไว้โดยตรง แต่จะยึดแนวทางปฏิบัติในด้านความรับผิด
ชอบต่อสังคมที่แตกต่างกันไป มีทั้งแนวทางขององค์การเอง ได้แก่ การยึดตามแนวทางหลัก
ปฏิบัติ (guiding principle) ขององค์การ ยึดตามวิสัยทัศน์และพันธกิจขององค์การ และยึด
ตามแนวทางจากหน่วยงานภายนอก ได้แก่ ยึดตามหลักธรรมาภิบาลของตลาดหลักทรัพย์แห่ง
ประเทศไทย และยึดตามแนวทางโลกบัญญัติขององค์การสหประชาชาติ (UN global compact)
ผู้บริหารหน่วยงานทรัพยากรมนุษย์มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินงานความรับผิด
ชอบต่อสังคมขององค์การค่อนข้างสอดคล้องกัน อาจมีข้อแตกต่างในรายละเอียดและแนวทาง
การปฏิบัติของแต่ละองค์การ แต่ทุกองค์การล้วนมีวัตถุประสงค์ของการดำเนินงานด้านความรับ
ผิดชอบต่อสังคมเพื่อการช่วยเหลือสังคมทั้งภายในและภายนอกองค์การ สอดคล้องกับนโยบาย
ด้านสิ่งแวดล้อมของสหภาพยุโรป (European commission on CSR, 2009) ที่ได้แบ่งมิติ
ความรับผิดชอบต่อสังคมเป็นสองมิติ คือ มิติภายใน ได้แก่ การจัดการทรัพยากรมนุษย์
สุขภาพและความปลอดภัยในการทำงาน และมิติภายนอก ได้แก่ การดูแลผู้บริโภค ความรับ
ผิดชอบต่อชุมชนใกล้เคียง และยังพบว่าผู้บริหารระดับสูงมีบทบาทสำคัญในประเด็นด้าน
5สหศาสตรศรีปทุม
ชลบุรี
ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 ตุลาคม 2553-มกราคม 2554 ISSN 2228-8007
5
ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การโดยผู้บริหารจะต้องให้ความสำคัญในเรื่องดังกล่าวและทำ
ให้พนักงานเกิดความตระหนักและเห็นถึงความสำคัญของประเด็นความรับผิดชอบต่อสังคม
นอกจากนี้ยังพบว่าการดำเนินกิจกรรมด้านความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การส่วนใหญ่ไม่
เน้นการประชาสัมพันธ์ไปสู่สังคมภายนอก
หน่วยงานทรัพยากรมนุษย์มีบทบาทในการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมแต่มี
บทบาทที่แตกต่างกัน ในบางองค์การหน่วยงานทรัพยากรมนุษย์มีบทบาทหลักในการดำเนินงาน
ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การโดยเป็นผู้ริเริ่มทำให้งานด้านความรับผิดชอบต่อสังคม
ขององค์การมีลักษณะเป็นทางการ และเป็นผู้นำในการทำกิจกรรมด้านความรับผิดชอบต่อ
สังคม ทั้งภายนอกและภายในองค์การ และองค์การส่วนใหญ่จะจัดตั้งเป็นคณะกรรมการด้าน
ความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR committee)
องค์การมีรูปแบบกิจกรรมหรืองานด้านความรับผิดชอบที่มีความหลากหลายแตกต่างกัน
ออกไป แต่เปาหมายสำคัญของการดำเนินกิจกรรมคือ การได้ช่วยเหลือสังคม ซึ่งพบว่ากิจกรรม
หรืองานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมที่หน่วยงานทรัพยากรมนุษย์มีส่วนในการดำเนินการนั้น
จะให้ความสำคัญกับสังคมภายในและสังคมภายนอก การเลือกดำเนินกิจกรรมด้านความรับผิด
ชอบต่อสังคมนั้นองค์การส่วนใหญ่จะเลือกให้เหมาะสมและสอดคล้องกับธุรกิจที่ดำเนินอยู่ เช่น
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์เป็นธุรกิจโรงพยาบาล กิจกรรมหรืองานด้านความรับผิดชอบสังคมจึง
มุ่งเน้นไปทางด้านการพยาบาล ได้แก่ การให้การฝกอบรมด้านพยาบาลแก่เยาวชนที่มาจากเขต
พื้นที่ชนบท การทำโครงการผ่าตัดหัวใจให้กับเด็กยากไร้ การออกหน่วยรักษาพยาบาลไปยัง
ชุมชนต่าง ๆ บริษัท ซีเอ็ด ยูเคชั่น ดำเนินธุรกิจด้านสื่อสิ่งพิมพ์ กิจกรรมต่าง ๆ จึงเน้นทาง
การศึกษาและการให้ความรู้แก่สังคม เช่น การบริจาคหนังสือ การซ่อมแซมห้องสมุดให้กับ
โรงเรียนต่าง ๆ
ผลจากการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของหน่วยงานทรัพยากรมนุษย์ทำให้
พนักงานมีความจงรักภักดีต่อองค์การ เกิดความภาคภูมิใจในการได้ช่วยเหลือสังคม ส่งเสริมให้
เกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ภายในองค์การ ทำให้หน่วยงานทรัพยากรมนุษย์
ได้รับการยอมรับจากหน่วยงานอื่น ๆ และจากพนักงานมากขึ้น รวมทั้งหน่วยงานทรัพยากร
มนุษย์ได้รับรู้ถึงคุณค่าของตนเองที่มีต่อองค์การ นอกจากนี้กิจกรรมด้านความรับผิดชอบต่อ
สังคม ยังช่วยให้พนักงานเกิดการเรียนรู้และการพัฒนาเพิ่มขึ้น
หน่วยงานทรัพยากรมนุษย์นอกจากต้องทำหน้าที่เป็นที่พึ่งให้กับพนักงานในองค์การ ทำ
ให้พนักงานเกิดความเชื่อมั่นและเห็นคุณค่าของหน่วยงานทรัพยากรมนุษย์แล้ว ในอนาคต
หน่วยงานทรัพยากรมนุษย์จะต้องมีบทบาทในงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น เน้น
การแสดงบทบาทต่อสังคมภายนอกมากขึ้น เช่น การเป็นวิทยากรเพื่อถ่ายทอดความรู้ให้กับ
6 สหศาสตรศรีปทุม
ชลบุรี
ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 ตุลาคม 2553-มกราคม 2554 ISSN 2228-8007
6
หน่วยงานต่าง ๆ รวมทั้งการร่วมมือกับองค์การอื่น ๆ ในการดำเนินกิจกรรมด้านความรับผิด
ชอบต่อสังคม ต้องแสดงบทบาทเชิงรุกและการเป็นคู่คิดกลยุทธ์ของผู้บริหาร (strategic
partner) ต้องมีความรู้ในธุรกิจขององค์การเป็นอย่างดี รวมทั้งจะต้องมีความรู้ในเรื่องของการ
บริหารโครงการ (project management) เนื่องจากกิจกรรมด้านความรับผิดชอบต่อสังคมจะ
ต้องสอดคล้องกับธุรกิจขององค์การและมีลักษณะเป็นโครงการ
อภิปรายผลการวิจัย
เนื่องจากการดำเนินธุรกิจในปจจุบันองค์การจะต้องให้ความสำคัญกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
ทั้งภายนอกและภายในองค์การ นอกจากนี้องค์การจากภายนอกจะเข้ามามีส่วนในการตรวจ
สอบและกำกับดูแลการดำเนินงานของธุรกิจมากขึ้น รวมทั้งในประเด็นด้านความรับผิดชอบต่อ
สังคม เช่น สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้มีการ
กำหนดหลักการกำกับและดูแลกิจการเพื่อให้บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ใช้เป็น
แนวทางในการปฏิบัติ นอกจากข้อกำหนดจากองค์การในประเทศแล้วองค์การระหว่างประเทศก็
มีบทบาทสำคัญในการกำหนดแนวทางการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การ
เช่น ธนาคารโลก (World Bank) ที่ได้กำหนดองค์ประกอบความรับผิดชอบต่อสังคม ให้
ประเทศสมาชิกปฏิบัติตาม องค์การสหประชาชาติ (UN) ก็ได้กำหนด “The UN global
compact” ซึ่งประกอบด้วยเรื่อง สิทธิมนุษยชน แรงงาน สิ่งแวดล้อม และต่อต้านการทุจริต
รวมทั้งองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรฐาน (ISO) ก็ได้กำหนดมาตรฐานว่าด้วยความรับ
ผิดชอบต่อสังคม (ISO 26000 social responsibility) เพื่อเป็นมาตรฐานการแสดงความรับ
ผิดชอบต่อผลกระทบของสังคมและสิ่งแวดล้อมจากการตัดสินใจและดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของ
องค์การ เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของคนในสังคม และการพัฒนาที่ยั่งยืนทางธุรกิจ ดังนั้นองค์การ
ต่าง ๆ จึงต้องมีการดำเนินธุรกิจที่สอดคล้องกับข้อกำหนดหรือแนวทางปฏิบัติที่หน่วยงานหรือ
องค์การดังกล่าวได้กำหนดขึ้น รวมทั้งประเด็นด้านความรับผิดชอบต่อสังคม ดังจะเห็นได้จาก
องค์การที่ศึกษาได้นำหลักการหรือแนวทางดังกล่าวมาเป็นแนวทางในการดำเนินกิจกรรมด้าน
ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การ
การดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การนั้นผู้บริหารระดับสูงของ
องค์การมีบทบาทสำคัญในการผลักดันให้การดำเนินงานประสบความสำเร็จ สอดคล้องกับแนว
คิดของ McAlister, Ferrell & Ferrell (2008) ที่กล่าวว่าผู้บริหารในองค์การจะต้องให้ความ
สำคัญในเรื่องดังกล่าว และทำให้พนักงานเกิดความตระหนักและเห็นถึงความสำคัญของประเด็น
ความรับผิดชอบต่อสังคม นอกจากนั้นการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมควรดำเนิน
ไปในลักษณะของความสมัครใจ (voluntary action) หมายถึง การดำเนินธุรกิจควบคู่กับการ
7สหศาสตรศรีปทุม
ชลบุรี
ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 ตุลาคม 2553-มกราคม 2554 ISSN 2228-8007
7
ปฏิบัติตามแนวทางความรับผิดชอบต่อสังคมด้วยความสมัครใจโดยไม่ถูกเรียกร้องจากสังคมแต่
อย่างใด ในขั้นนี้ถือเป็นการประกอบธุรกิจอยู่บนพื้นฐานของการมุ่งประโยชน์ของสังคมเป็น
สำคัญ และการดำเนินการด้าน CSR ในส่วนนี้สมควรได้รับการยกย่องชื่นชมจากสังคมอย่าง
แท้จริง (ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, 2551, หน้า 24-26)
ปจจุบันหน่วยงานทรัพยากรมนุษย์เข้ามามีบทบาทที่สำคัญในการดำเนินงานด้านความรับ
ผิดชอบต่อสังคมขององค์การ บทบาทดังกล่าวจะทำให้หน่วยงานทรัพยากรมนุษย์ได้แสดง
บทบาทเชิงกลยุทธ์มากขึ้นทำให้ได้รับการยอมรับจากผู้บริหารระดับสูงขององค์การว่าหน่วยงาน
ทรัพยากรมนุษย์นั้นมีส่วนสำคัญต่อความสำเร็จขององค์การ (นิสดารก์ เวชยานนท์, 2552)
สอดคล้องกับ Redington (2005) ที่ได้นำเสนอผลการศึกษาที่แสดงให้เห็นว่าผู้เชี่ยวชาญด้าน
ทรัพยากรมนุษย์มีโอกาสมากในการแสดงบทบาทเชิงรุก รวมทั้งการสร้างมูลค่าเพิ่ม ผ่านแนว
คิดและวิธีการที่หลากหลายทางธุรกิจควบคู่กับการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคม
กิจกรรมที่ดำเนินการนั้นเน้นทั้งภายในและภายนอกองค์การโดยเลือกให้เหมาะสมและ
สอดคล้องกับธุรกิจที่ดำเนินอยู่ ผลจากการดำเนินกิจกรรมด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของ
หน่วยงานทรัพยากรมนุษย์ส่งผลให้พนักงานเกิดความจงรักภักดีต่อองค์การ เกิดความภาค
ภูมิใจในการได้ช่วยเหลือสังคม มีความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ภายในองค์การ
หน่วยงานทรัพยากรมนุษย์ได้รับการยอมรับจากหน่วยงานอื่น ๆ และจากพนักงานมากขึ้น รวม
ทั้งหน่วยงานทรัพยากรมนุษย์รู้ถึงคุณค่าของตนเองที่มีต่อองค์การ นอกจากนั้นกิจกรรม CSR
ยังช่วยให้พนักงานเกิดการเรียนรู้และการพัฒนาเพิ่มขึ้น สอดคล้องกับผลการศึกษาของ
Sharma, Sharma & Devi (2009) Redington (2005) และ นิตยา วงศ์ธาดา (2552) ที่ได้
สรุปผลของการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมที่มีต่อหน่วยงานทรัพยากรมนุษย์พบว่า
การดำเนินการด้านความรับผิดชอบต่อสังคมมีความสัมพันธ์กับการรักษาพนักงานไว้กับองค์การ
ทำให้พนักงานเกิดความผูกพันกับองค์การ ช่วยให้มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ทัศนคติ และ
ผลการปฏิบัติงานของพนักงาน ทำให้พนักงานมีความทุ่มเทให้กับความสำเร็จขององค์การ
สมบัติ กุสุมาวลี (2550) ยังได้สรุปถึงบทบาทหน่วยงานทรัพยากรมนุษย์กับความรับผิดชอบ
ต่อสังคมในแง่ของการที่จะสามารถสร้างความมั่นใจได้ว่าองค์การจะเป็นบริษัทธุรกิจที่มีความ
ชอบธรรมทางสังคม (social legitimacy) สามารถอยู่ร่วมกันในฐานะที่เป็นสมาชิกหนึ่งของ
สังคม ถือเป็นภาระหน้าที่สำคัญของการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่จะต้องมุ่งเน้นการเสริม
สร้างจิตสำนึกและสร้างบรรยากาศให้องค์การมีความรับผิดชอบต่อสังคม (corporate social
responsibility) โดยเฉพาะอย่างยิ่งความรับผิดชอบต่อคุณภาพชีวิตของบุคลากร (quality of
work life)
8 สหศาสตรศรีปทุม
ชลบุรี
ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 ตุลาคม 2553-มกราคม 2554 ISSN 2228-8007
8
ในอนาคตหน่วยงานทรัพยากรมนุษย์จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในการดำเนินกิจกรรมด้าน
ความรับผิดชอบต่อสังคมเนื่องจากแรงผลักดันทั้งจากภายในและภายนอกองค์การ โดยเฉพาะ
การนำ ISO 26000 เข้ามาใช้ในการบริหารองค์การ สอดคล้องกับผลจากการวิจัยเรื่องแนวโน้ม
งานทรัพยากรมนุษย์ในปี ค.ศ. 2009-2010 ของประเทศสหรัฐอเมริกา ที่จัดทำโดยสมาคมการ
บริหารงานบุคคลสหรัฐอเมริกา (society of human resource management: SHRM) มีข้อ
ค้นพบที่น่าสนใจว่างานด้านความรับผิดชอบต่อสังคม หรือ CSR ถูกกำหนดให้เป็นงานใหม่ล่าสุด
ในความรับผิดชอบดูแลทรัพยากรมนุษย์ในองค์การ (จิรประภา อัครบวร, 2552)
ขอเสนอแนะ
1. องค์การควรมีนโยบาย แนวทาง หรือหลักการที่ใช้ในการดำเนินงานด้านความรับผิด
ชอบต่อสังคม รวมถึงจะต้องมีการสื่อสารนโยบาย แนวทางหรือหลักการดังกล่าวไปสู่พนักงาน
ภายในองค์การให้รับทราบ และทำให้พนักงานทั้งองค์การเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานด้าน
ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การ
2. การดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การควรจะเริ่มต้นจากความรับ
ผิดชอบต่อสังคมภายในองค์การก่อนออกไปสู่สังคมภายนอก
3. การเลือกกิจกรรมหรืองานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การควรจะสอดคล้อง
กับประเภทธุรกิจขององค์การ และพิจารณาถึงความต้องการที่แท้จริงของสังคมกับความ
สามารถในการดำเนินการขององค์การ
4. ทุกกระบวนการในงานด้านทรัพยากรมนุษย์ควรมีการสอดแทรกแนวคิดด้านความรับ
ผิดชอบต่อสังคมเข้าไปเพื่อให้การดำเนินงานด้านทรัพยากรมนุษย์เกิดความเป็นธรรมในทางปฏิบัติ
บรรณานุกรม
จิรประภา อัครบวร. (2552). แนวโน้มการบริหารทรัพยากรมนุษย์.
Competitiveness Review, 4,
หน้า 108-111.
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2551). SET Award 2008. ตลาดหลักทรัพย์, 12(6),
หน้า 24-26.
นิตยา วงศ์ธาดา. (2552). Starbucks coffee CSR ในหลากมิติ. Competitiveness review, 1-2,
หน้า 40-58.
นิสดารก์ เวชยานน์. (2552). เอกสารประกอบการสอนวิชา รอ.7001 การบริหารและ
การพัฒนาทุนมนุษย์ยุคใหม่. กรุงเทพฯ: คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิต
พัฒนบริหารศาสตร์.
9สหศาสตรศรีปทุม
ชลบุรี
ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 ตุลาคม 2553-มกราคม 2554 ISSN 2228-8007
9
สมบัติ กุสุมาวลี. (2550). หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในภาคธุรกิจเอกชน: กรณีศึกษา
การบริหารทรัพยากรมนุษย์ เครือซิเมนต์ไทย. กรุงเทพฯ: บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด
(มหาชน).
European Commission. (2009). Corporate social responsibility: CSR (Online).
Available: http://ec.europa.eu/ social/main.jsp?catId=331&langId=en”langId=en
html [2009, November 14].
Kotler, Philip, & Lee, Nancy. (2005). Corporate social responsibility. New Jersey:
John Wiley & Sons.
McAlister, Debbie Thorne, Ferrell, O.C., & Ferrell, Linda. (2008). Business and
society: A strategic approach to social responsibility (3 rd ed.). New York:
Houghton Mifflin.
Redington, Ian. (2005). Making CSR happen: The contribution of people
management. London: Chartered Institute of Personnel and Development.
Sharma, Suparn, Sharma, Joity, & Devi, Arti. (2009). Corporate social responsibility:
The key role of human resource management. Business Intelligence
Journal, 2(1), pp. 205-213.
Technology Media. (2552). ISO 26000 มาตรฐานเพื่อความรับผิดชอบต่อสังคม (ออนไลน์).


 
 เข้าถึงได้จาก: http://www.technologymedia.co.th/article/articleview.asp?id=299
html [2552, 14 พฤศจิกายน].

More Related Content

Viewers also liked

บทความ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
บทความ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงบทความ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
บทความ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงDevelopment Science College Puey Ungphakorn,Thammasat University
 
บทความ การพัฒนาจริยธรรมในองค์การผ่านกระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์
บทความ การพัฒนาจริยธรรมในองค์การผ่านกระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์บทความ การพัฒนาจริยธรรมในองค์การผ่านกระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์
บทความ การพัฒนาจริยธรรมในองค์การผ่านกระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์Development Science College Puey Ungphakorn,Thammasat University
 
บทความ การจัดการทรัพยากรมนุษย์ตามแนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การ สานิตย...
บทความ การจัดการทรัพยากรมนุษย์ตามแนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การ สานิตย...บทความ การจัดการทรัพยากรมนุษย์ตามแนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การ สานิตย...
บทความ การจัดการทรัพยากรมนุษย์ตามแนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การ สานิตย...Development Science College Puey Ungphakorn,Thammasat University
 
การบริหารทรัพยากรมนุษย์ทางการศึกษา
การบริหารทรัพยากรมนุษย์ทางการศึกษาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ทางการศึกษา
การบริหารทรัพยากรมนุษย์ทางการศึกษา
วิทวัส รัตนวิรุฬห์
 
การบริหารทรัพยากรมนุษย์สมัยใหม่
การบริหารทรัพยากรมนุษย์สมัยใหม่การบริหารทรัพยากรมนุษย์สมัยใหม่
การบริหารทรัพยากรมนุษย์สมัยใหม่Natepanna Yavirach
 
Aec กับธุรกิจโทรคมนาคม
Aec กับธุรกิจโทรคมนาคมAec กับธุรกิจโทรคมนาคม
Aec กับธุรกิจโทรคมนาคมKhommie Treeruk
 
การบริหาร Hr โรงแรมทิพย์อุไร
การบริหาร Hr โรงแรมทิพย์อุไรการบริหาร Hr โรงแรมทิพย์อุไร
การบริหาร Hr โรงแรมทิพย์อุไรDrDanai Thienphut
 
ยุทธศาสตร์การพัฒนาของสิงคโปร์ในยุคบูรพาภิวัฒน์ : บทเรียนต่อประเทศไทย
ยุทธศาสตร์การพัฒนาของสิงคโปร์ในยุคบูรพาภิวัฒน์ : บทเรียนต่อประเทศไทยยุทธศาสตร์การพัฒนาของสิงคโปร์ในยุคบูรพาภิวัฒน์ : บทเรียนต่อประเทศไทย
ยุทธศาสตร์การพัฒนาของสิงคโปร์ในยุคบูรพาภิวัฒน์ : บทเรียนต่อประเทศไทย
Klangpanya
 
บทที่ 2 การบริหารทรัพยากรมนุษย์สมัยใหม่
บทที่ 2 การบริหารทรัพยากรมนุษย์สมัยใหม่บทที่ 2 การบริหารทรัพยากรมนุษย์สมัยใหม่
บทที่ 2 การบริหารทรัพยากรมนุษย์สมัยใหม่Sakda Hwankaew
 
งานวิจัยและพัฒนาด้านการเรียนออนไลน์ e-Learning
งานวิจัยและพัฒนาด้านการเรียนออนไลน์ e-Learningงานวิจัยและพัฒนาด้านการเรียนออนไลน์ e-Learning
งานวิจัยและพัฒนาด้านการเรียนออนไลน์ e-Learning
NECTEC, NSTDA
 
โครงสร้างหน่วยงานภูมิภาคสังกัด สปสธ.
โครงสร้างหน่วยงานภูมิภาคสังกัด สปสธ.โครงสร้างหน่วยงานภูมิภาคสังกัด สปสธ.
โครงสร้างหน่วยงานภูมิภาคสังกัด สปสธ.
nhs0
 
โครงสร้างสาธารณสุขไทย
โครงสร้างสาธารณสุขไทยโครงสร้างสาธารณสุขไทย
โครงสร้างสาธารณสุขไทย
Surasak Tumthong
 
วิจัยในชั้นเรียน ครู เจี๊ยบ
วิจัยในชั้นเรียน ครู เจี๊ยบวิจัยในชั้นเรียน ครู เจี๊ยบ
วิจัยในชั้นเรียน ครู เจี๊ยบ
ครูนิรุต ฉิมเพชร
 
เทคนิคการบริหารทรัพยากรมนุษย์ทางการศึกษา(Eductaional Administraion )
เทคนิคการบริหารทรัพยากรมนุษย์ทางการศึกษา(Eductaional Administraion )เทคนิคการบริหารทรัพยากรมนุษย์ทางการศึกษา(Eductaional Administraion )
เทคนิคการบริหารทรัพยากรมนุษย์ทางการศึกษา(Eductaional Administraion )
Sireetorn Buanak
 

Viewers also liked (14)

บทความ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
บทความ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงบทความ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
บทความ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
 
บทความ การพัฒนาจริยธรรมในองค์การผ่านกระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์
บทความ การพัฒนาจริยธรรมในองค์การผ่านกระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์บทความ การพัฒนาจริยธรรมในองค์การผ่านกระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์
บทความ การพัฒนาจริยธรรมในองค์การผ่านกระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์
 
บทความ การจัดการทรัพยากรมนุษย์ตามแนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การ สานิตย...
บทความ การจัดการทรัพยากรมนุษย์ตามแนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การ สานิตย...บทความ การจัดการทรัพยากรมนุษย์ตามแนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การ สานิตย...
บทความ การจัดการทรัพยากรมนุษย์ตามแนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การ สานิตย...
 
การบริหารทรัพยากรมนุษย์ทางการศึกษา
การบริหารทรัพยากรมนุษย์ทางการศึกษาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ทางการศึกษา
การบริหารทรัพยากรมนุษย์ทางการศึกษา
 
การบริหารทรัพยากรมนุษย์สมัยใหม่
การบริหารทรัพยากรมนุษย์สมัยใหม่การบริหารทรัพยากรมนุษย์สมัยใหม่
การบริหารทรัพยากรมนุษย์สมัยใหม่
 
Aec กับธุรกิจโทรคมนาคม
Aec กับธุรกิจโทรคมนาคมAec กับธุรกิจโทรคมนาคม
Aec กับธุรกิจโทรคมนาคม
 
การบริหาร Hr โรงแรมทิพย์อุไร
การบริหาร Hr โรงแรมทิพย์อุไรการบริหาร Hr โรงแรมทิพย์อุไร
การบริหาร Hr โรงแรมทิพย์อุไร
 
ยุทธศาสตร์การพัฒนาของสิงคโปร์ในยุคบูรพาภิวัฒน์ : บทเรียนต่อประเทศไทย
ยุทธศาสตร์การพัฒนาของสิงคโปร์ในยุคบูรพาภิวัฒน์ : บทเรียนต่อประเทศไทยยุทธศาสตร์การพัฒนาของสิงคโปร์ในยุคบูรพาภิวัฒน์ : บทเรียนต่อประเทศไทย
ยุทธศาสตร์การพัฒนาของสิงคโปร์ในยุคบูรพาภิวัฒน์ : บทเรียนต่อประเทศไทย
 
บทที่ 2 การบริหารทรัพยากรมนุษย์สมัยใหม่
บทที่ 2 การบริหารทรัพยากรมนุษย์สมัยใหม่บทที่ 2 การบริหารทรัพยากรมนุษย์สมัยใหม่
บทที่ 2 การบริหารทรัพยากรมนุษย์สมัยใหม่
 
งานวิจัยและพัฒนาด้านการเรียนออนไลน์ e-Learning
งานวิจัยและพัฒนาด้านการเรียนออนไลน์ e-Learningงานวิจัยและพัฒนาด้านการเรียนออนไลน์ e-Learning
งานวิจัยและพัฒนาด้านการเรียนออนไลน์ e-Learning
 
โครงสร้างหน่วยงานภูมิภาคสังกัด สปสธ.
โครงสร้างหน่วยงานภูมิภาคสังกัด สปสธ.โครงสร้างหน่วยงานภูมิภาคสังกัด สปสธ.
โครงสร้างหน่วยงานภูมิภาคสังกัด สปสธ.
 
โครงสร้างสาธารณสุขไทย
โครงสร้างสาธารณสุขไทยโครงสร้างสาธารณสุขไทย
โครงสร้างสาธารณสุขไทย
 
วิจัยในชั้นเรียน ครู เจี๊ยบ
วิจัยในชั้นเรียน ครู เจี๊ยบวิจัยในชั้นเรียน ครู เจี๊ยบ
วิจัยในชั้นเรียน ครู เจี๊ยบ
 
เทคนิคการบริหารทรัพยากรมนุษย์ทางการศึกษา(Eductaional Administraion )
เทคนิคการบริหารทรัพยากรมนุษย์ทางการศึกษา(Eductaional Administraion )เทคนิคการบริหารทรัพยากรมนุษย์ทางการศึกษา(Eductaional Administraion )
เทคนิคการบริหารทรัพยากรมนุษย์ทางการศึกษา(Eductaional Administraion )
 

Similar to บทความวิจัยบทบาทหน่วยงานทรัพยากรมนุษย์ในการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์ก

Corporate Social Responsibility (CSR)
Corporate Social Responsibility  (CSR)Corporate Social Responsibility  (CSR)
Corporate Social Responsibility (CSR)
Pongsa Pongsathorn
 
Ba.453 ch7.2
Ba.453 ch7.2Ba.453 ch7.2
Ba.453 ch7.2
Parinya Siemuang
 
การบริหารแบบมีส่วนร่วม
การบริหารแบบมีส่วนร่วมการบริหารแบบมีส่วนร่วม
การบริหารแบบมีส่วนร่วม
Phakawat Owat
 
หน่วยที่ 1 ลักษณะและการจัดระเบียบทางสังคม ความหมายทางสังคม
หน่วยที่ 1 ลักษณะและการจัดระเบียบทางสังคม ความหมายทางสังคมหน่วยที่ 1 ลักษณะและการจัดระเบียบทางสังคม ความหมายทางสังคม
หน่วยที่ 1 ลักษณะและการจัดระเบียบทางสังคม ความหมายทางสังคม
Chalit Arm'k
 
Ba.453 ch7.1
Ba.453 ch7.1Ba.453 ch7.1
Ba.453 ch7.1
Parinya Siemuang
 
20180110104912
2018011010491220180110104912
20180110104912
chotika homhoon
 
20180110104912
2018011010491220180110104912
20180110104912
chotika homhoon
 
พฤติกรรมองค์การสมัยใหม่
พฤติกรรมองค์การสมัยใหม่พฤติกรรมองค์การสมัยใหม่
พฤติกรรมองค์การสมัยใหม่Chatnakrop Sukhonthawat
 
RSU-SE Center SE-รุ่น2
RSU-SE Center SE-รุ่น2RSU-SE Center SE-รุ่น2
RSU-SE Center SE-รุ่น2
Image plus Communication
 
องค์ความรู้การบริการวิชาการโครงการ “คืนคลองสวยใส ให้ชุมชนของเรา”
องค์ความรู้การบริการวิชาการโครงการ “คืนคลองสวยใส ให้ชุมชนของเรา”องค์ความรู้การบริการวิชาการโครงการ “คืนคลองสวยใส ให้ชุมชนของเรา”
องค์ความรู้การบริการวิชาการโครงการ “คืนคลองสวยใส ให้ชุมชนของเรา”
นู๋หนึ่ง nooneung
 
Prและสังคม2
Prและสังคม2Prและสังคม2
Prและสังคม2
Vivace Narasuwan
 
กำไรสนองทั้งชีวิต Profit for life
กำไรสนองทั้งชีวิต Profit for life กำไรสนองทั้งชีวิต Profit for life
กำไรสนองทั้งชีวิต Profit for life
maruay songtanin
 
กลุ่มกิงก่องแก้ว --ทุนนิยมที่มีหัวใจ สรุปเนื้อหา
กลุ่มกิงก่องแก้ว --ทุนนิยมที่มีหัวใจ สรุปเนื้อหากลุ่มกิงก่องแก้ว --ทุนนิยมที่มีหัวใจ สรุปเนื้อหา
กลุ่มกิงก่องแก้ว --ทุนนิยมที่มีหัวใจ สรุปเนื้อหา
freelance
 
หลักสูตรที่ 1 หน่วยที่ 3: ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน และการพัฒนาชุมชน
หลักสูตรที่ 1 หน่วยที่ 3: ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน และการพัฒนาชุมชนหลักสูตรที่ 1 หน่วยที่ 3: ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน และการพัฒนาชุมชน
หลักสูตรที่ 1 หน่วยที่ 3: ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน และการพัฒนาชุมชนthanathip
 
Com03
Com03Com03
9789740330660
97897403306609789740330660
9789740330660
CUPress
 
RSU SE CENTER
RSU SE CENTERRSU SE CENTER
โครงสร้างสังคม
โครงสร้างสังคมโครงสร้างสังคม
โครงสร้างสังคมthnaporn999
 
ความรับผิดชอบต่อสังคม Baldrige awareness series 9 societal responsibility
ความรับผิดชอบต่อสังคม Baldrige awareness series 9   societal responsibility ความรับผิดชอบต่อสังคม Baldrige awareness series 9   societal responsibility
ความรับผิดชอบต่อสังคม Baldrige awareness series 9 societal responsibility
maruay songtanin
 

Similar to บทความวิจัยบทบาทหน่วยงานทรัพยากรมนุษย์ในการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์ก (20)

Corporate Social Responsibility (CSR)
Corporate Social Responsibility  (CSR)Corporate Social Responsibility  (CSR)
Corporate Social Responsibility (CSR)
 
Csr พงศธร550122
Csr พงศธร550122Csr พงศธร550122
Csr พงศธร550122
 
Ba.453 ch7.2
Ba.453 ch7.2Ba.453 ch7.2
Ba.453 ch7.2
 
การบริหารแบบมีส่วนร่วม
การบริหารแบบมีส่วนร่วมการบริหารแบบมีส่วนร่วม
การบริหารแบบมีส่วนร่วม
 
หน่วยที่ 1 ลักษณะและการจัดระเบียบทางสังคม ความหมายทางสังคม
หน่วยที่ 1 ลักษณะและการจัดระเบียบทางสังคม ความหมายทางสังคมหน่วยที่ 1 ลักษณะและการจัดระเบียบทางสังคม ความหมายทางสังคม
หน่วยที่ 1 ลักษณะและการจัดระเบียบทางสังคม ความหมายทางสังคม
 
Ba.453 ch7.1
Ba.453 ch7.1Ba.453 ch7.1
Ba.453 ch7.1
 
20180110104912
2018011010491220180110104912
20180110104912
 
20180110104912
2018011010491220180110104912
20180110104912
 
พฤติกรรมองค์การสมัยใหม่
พฤติกรรมองค์การสมัยใหม่พฤติกรรมองค์การสมัยใหม่
พฤติกรรมองค์การสมัยใหม่
 
RSU-SE Center SE-รุ่น2
RSU-SE Center SE-รุ่น2RSU-SE Center SE-รุ่น2
RSU-SE Center SE-รุ่น2
 
องค์ความรู้การบริการวิชาการโครงการ “คืนคลองสวยใส ให้ชุมชนของเรา”
องค์ความรู้การบริการวิชาการโครงการ “คืนคลองสวยใส ให้ชุมชนของเรา”องค์ความรู้การบริการวิชาการโครงการ “คืนคลองสวยใส ให้ชุมชนของเรา”
องค์ความรู้การบริการวิชาการโครงการ “คืนคลองสวยใส ให้ชุมชนของเรา”
 
Prและสังคม2
Prและสังคม2Prและสังคม2
Prและสังคม2
 
กำไรสนองทั้งชีวิต Profit for life
กำไรสนองทั้งชีวิต Profit for life กำไรสนองทั้งชีวิต Profit for life
กำไรสนองทั้งชีวิต Profit for life
 
กลุ่มกิงก่องแก้ว --ทุนนิยมที่มีหัวใจ สรุปเนื้อหา
กลุ่มกิงก่องแก้ว --ทุนนิยมที่มีหัวใจ สรุปเนื้อหากลุ่มกิงก่องแก้ว --ทุนนิยมที่มีหัวใจ สรุปเนื้อหา
กลุ่มกิงก่องแก้ว --ทุนนิยมที่มีหัวใจ สรุปเนื้อหา
 
หลักสูตรที่ 1 หน่วยที่ 3: ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน และการพัฒนาชุมชน
หลักสูตรที่ 1 หน่วยที่ 3: ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน และการพัฒนาชุมชนหลักสูตรที่ 1 หน่วยที่ 3: ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน และการพัฒนาชุมชน
หลักสูตรที่ 1 หน่วยที่ 3: ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน และการพัฒนาชุมชน
 
Com03
Com03Com03
Com03
 
9789740330660
97897403306609789740330660
9789740330660
 
RSU SE CENTER
RSU SE CENTERRSU SE CENTER
RSU SE CENTER
 
โครงสร้างสังคม
โครงสร้างสังคมโครงสร้างสังคม
โครงสร้างสังคม
 
ความรับผิดชอบต่อสังคม Baldrige awareness series 9 societal responsibility
ความรับผิดชอบต่อสังคม Baldrige awareness series 9   societal responsibility ความรับผิดชอบต่อสังคม Baldrige awareness series 9   societal responsibility
ความรับผิดชอบต่อสังคม Baldrige awareness series 9 societal responsibility
 

More from Development Science College Puey Ungphakorn,Thammasat University

การเขียนบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ
การเขียนบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการการเขียนบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ
การเขียนบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ
Development Science College Puey Ungphakorn,Thammasat University
 
บทความวิชาการ ธรรมาภิบาลในองค์การภาคเอกชน : ธุรกิจภาคบริการ
บทความวิชาการ ธรรมาภิบาลในองค์การภาคเอกชน : ธุรกิจภาคบริการบทความวิชาการ ธรรมาภิบาลในองค์การภาคเอกชน : ธุรกิจภาคบริการ
บทความวิชาการ ธรรมาภิบาลในองค์การภาคเอกชน : ธุรกิจภาคบริการ
Development Science College Puey Ungphakorn,Thammasat University
 
บทความ การจัดการข้ามวัฒนธรรมเพื่อการเข้าสู่ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
บทความ การจัดการข้ามวัฒนธรรมเพื่อการเข้าสู่ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนบทความ การจัดการข้ามวัฒนธรรมเพื่อการเข้าสู่ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
บทความ การจัดการข้ามวัฒนธรรมเพื่อการเข้าสู่ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
Development Science College Puey Ungphakorn,Thammasat University
 
บทความวิชาการ ปัญหาการคุกคามทางเพศในอุตสาหกรรมบริการ แนวคิด ผลกระทบ และแนวทาง...
บทความวิชาการ ปัญหาการคุกคามทางเพศในอุตสาหกรรมบริการ แนวคิด ผลกระทบ และแนวทาง...บทความวิชาการ ปัญหาการคุกคามทางเพศในอุตสาหกรรมบริการ แนวคิด ผลกระทบ และแนวทาง...
บทความวิชาการ ปัญหาการคุกคามทางเพศในอุตสาหกรรมบริการ แนวคิด ผลกระทบ และแนวทาง...
Development Science College Puey Ungphakorn,Thammasat University
 
การจัดการในศตวรรษที่ 21
การจัดการในศตวรรษที่ 21การจัดการในศตวรรษที่ 21
การจัดการในศตวรรษที่ 21
Development Science College Puey Ungphakorn,Thammasat University
 
บทความ พฤติกรรมสนับสนุนการเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิงแวดล้อม
บทความ พฤติกรรมสนับสนุนการเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิงแวดล้อมบทความ พฤติกรรมสนับสนุนการเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิงแวดล้อม
บทความ พฤติกรรมสนับสนุนการเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิงแวดล้อมDevelopment Science College Puey Ungphakorn,Thammasat University
 
บทความปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสนับสนุนการเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวด...
บทความปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสนับสนุนการเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวด...บทความปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสนับสนุนการเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวด...
บทความปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสนับสนุนการเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวด...Development Science College Puey Ungphakorn,Thammasat University
 
บทความ กิจการเพื่อสังคมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
บทความ กิจการเพื่อสังคมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนบทความ กิจการเพื่อสังคมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
บทความ กิจการเพื่อสังคมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนDevelopment Science College Puey Ungphakorn,Thammasat University
 
บทความ จริยธรรมที่จำเป็นในอุตสาหกรรมบริการ
บทความ จริยธรรมที่จำเป็นในอุตสาหกรรมบริการบทความ จริยธรรมที่จำเป็นในอุตสาหกรรมบริการ
บทความ จริยธรรมที่จำเป็นในอุตสาหกรรมบริการDevelopment Science College Puey Ungphakorn,Thammasat University
 
บทความ การเรียนรู้จริยธรรมทางธุรกิจผ่านการทำโครงการเพื่อสังคม
บทความ การเรียนรู้จริยธรรมทางธุรกิจผ่านการทำโครงการเพื่อสังคมบทความ การเรียนรู้จริยธรรมทางธุรกิจผ่านการทำโครงการเพื่อสังคม
บทความ การเรียนรู้จริยธรรมทางธุรกิจผ่านการทำโครงการเพื่อสังคมDevelopment Science College Puey Ungphakorn,Thammasat University
 

More from Development Science College Puey Ungphakorn,Thammasat University (14)

การเขียนบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ
การเขียนบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการการเขียนบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ
การเขียนบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ
 
บทความวิชาการ ธรรมาภิบาลในองค์การภาคเอกชน : ธุรกิจภาคบริการ
บทความวิชาการ ธรรมาภิบาลในองค์การภาคเอกชน : ธุรกิจภาคบริการบทความวิชาการ ธรรมาภิบาลในองค์การภาคเอกชน : ธุรกิจภาคบริการ
บทความวิชาการ ธรรมาภิบาลในองค์การภาคเอกชน : ธุรกิจภาคบริการ
 
บทความ การจัดการข้ามวัฒนธรรมเพื่อการเข้าสู่ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
บทความ การจัดการข้ามวัฒนธรรมเพื่อการเข้าสู่ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนบทความ การจัดการข้ามวัฒนธรรมเพื่อการเข้าสู่ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
บทความ การจัดการข้ามวัฒนธรรมเพื่อการเข้าสู่ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
 
บทความวิชาการ ปัญหาการคุกคามทางเพศในอุตสาหกรรมบริการ แนวคิด ผลกระทบ และแนวทาง...
บทความวิชาการ ปัญหาการคุกคามทางเพศในอุตสาหกรรมบริการ แนวคิด ผลกระทบ และแนวทาง...บทความวิชาการ ปัญหาการคุกคามทางเพศในอุตสาหกรรมบริการ แนวคิด ผลกระทบ และแนวทาง...
บทความวิชาการ ปัญหาการคุกคามทางเพศในอุตสาหกรรมบริการ แนวคิด ผลกระทบ และแนวทาง...
 
การจัดการในศตวรรษที่ 21
การจัดการในศตวรรษที่ 21การจัดการในศตวรรษที่ 21
การจัดการในศตวรรษที่ 21
 
Project based learning
Project based learningProject based learning
Project based learning
 
บทความ พฤติกรรมสนับสนุนการเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิงแวดล้อม
บทความ พฤติกรรมสนับสนุนการเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิงแวดล้อมบทความ พฤติกรรมสนับสนุนการเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิงแวดล้อม
บทความ พฤติกรรมสนับสนุนการเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิงแวดล้อม
 
2013 spuc full Proceeding
2013 spuc full Proceeding2013 spuc full Proceeding
2013 spuc full Proceeding
 
Adult learning and HRD
Adult learning and HRDAdult learning and HRD
Adult learning and HRD
 
Sexual Harassment of Kitchen Department’s Staff in Hotel Business: A Study of...
Sexual Harassment of Kitchen Department’s Staff in Hotel Business: A Study of...Sexual Harassment of Kitchen Department’s Staff in Hotel Business: A Study of...
Sexual Harassment of Kitchen Department’s Staff in Hotel Business: A Study of...
 
บทความปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสนับสนุนการเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวด...
บทความปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสนับสนุนการเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวด...บทความปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสนับสนุนการเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวด...
บทความปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสนับสนุนการเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวด...
 
บทความ กิจการเพื่อสังคมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
บทความ กิจการเพื่อสังคมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนบทความ กิจการเพื่อสังคมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
บทความ กิจการเพื่อสังคมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
 
บทความ จริยธรรมที่จำเป็นในอุตสาหกรรมบริการ
บทความ จริยธรรมที่จำเป็นในอุตสาหกรรมบริการบทความ จริยธรรมที่จำเป็นในอุตสาหกรรมบริการ
บทความ จริยธรรมที่จำเป็นในอุตสาหกรรมบริการ
 
บทความ การเรียนรู้จริยธรรมทางธุรกิจผ่านการทำโครงการเพื่อสังคม
บทความ การเรียนรู้จริยธรรมทางธุรกิจผ่านการทำโครงการเพื่อสังคมบทความ การเรียนรู้จริยธรรมทางธุรกิจผ่านการทำโครงการเพื่อสังคม
บทความ การเรียนรู้จริยธรรมทางธุรกิจผ่านการทำโครงการเพื่อสังคม
 

บทความวิจัยบทบาทหน่วยงานทรัพยากรมนุษย์ในการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์ก

  • 1.
  • 2. บทบาทหน่วยงานทรัพยากรมนØÉย์ãนงาน ´Œานความรับ¼ิ´ชอบต่อสังคมขององค์การ The role of human resource department in connection with corporate social responsibilityin connection with corporate social responsibility อาจารยสานิตย หนูนิล* Sanit Nunil บทคัดย่อ งานวิจัยนี้มุ่งเน้นศึกษาบทบาทหน่วยงานทรัพยากรมนุษย์ในการดำเนินงานด้านความรับ ผิดชอบต่อสังคมจาก 4 องค์การ ได้แก่ บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัท แพรนด้า จิวเวลรี่ จำกัด (มหาชน) โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล และบริษัทน้ำมันพืชไทย จำกัด (มหาชน) โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1. ศึกษานโยบายด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของ องค์การธุรกิจและความคิดเห็นของหน่วยงานทรัพยากรมนุษย์ที่มีต่อการดำเนินงานด้านความ รับผิดชอบต่อสังคมขององค์การ 2. ศึกษาบทบาทของหน่วยงานทรัพยากรมนุษย์ในการ ดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมรวมไปถึงกิจกรรมหรืองานด้านความรับผิดชอบต่อ สังคมที่หน่วยงานทรัพยากรมนุษย์มีส่วนในการดำเนินงาน 3. ศึกษาผลจากการดำเนินงาน ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของหน่วยงานทรัพยากรมนุษย์และแนวโน้มบทบาทด้านความรับ ผิดชอบต่อสังคมของหน่วยงานทรัพยากรมนุษย์ในอนาคต * อาจารย์ประจำสาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี
  • 3. 2 สหศาสตรศรีปทุม ชลบุรี ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 ตุลาคม 2553-มกราคม 2554 ISSN 2228-8007 2 ผลจากการศึกษาพบว่า 1. องค์การที่ศึกษาไม่ได้มีการกำหนดนโยบายด้านความรับผิด ชอบต่อสังคมไว้โดยตรง แต่มีแนวทางในการดำเนินงานด้าน CSR ที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละ องค์การ โดยองค์การส่วนใหญ่จะเลือกดำเนินกิจกรรมที่เหมาะสมและสอดคล้องกับธุรกิจที่ ดำเนินอยู่ 2. หน่วยงานทรัพยากรมนุษย์ขององค์การที่ศึกษามีบทบาทในการดำเนินงานด้าน CSR แตกต่างกันไปในแต่ละองค์การ ส่วนใหญ่จะจัดตั้งเป็นคณะกรรมการด้านความรับผิดชอบ ต่อสังคม (CSR committee) 3. การดำเนินกิจกรรมด้าน CSR ของหน่วยงานทรัพยากร มนุษย์ส่งผลให้พนักงานมีความจงรักภักดีต่อองค์การเกิดความภาคภูมิใจในการได้ช่วยเหลือ สังคม ก่อให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ภายในองค์การ หน่วยงานทรัพยากร มนุษย์ได้รับการยอมรับจากหน่วยงานอื่น ๆ และจากพนักงานมากขึ้น รวมทั้งได้รับรู้ถึงคุณค่าของ ตนเองที่มีต่อองค์การ นอกจากนั้นกิจกรรม CSR ยังช่วยให้พนักงานเกิดการเรียนรู้และการ พัฒนาเพิ่มขึ้นอีกด้วย ในอนาคตหน่วยงานทรัพยากรมนุษย์จะมีบทบาทในการดำเนินงานด้าน CSR มากขึ้นเนื่องจากแรงผลักดันทั้งจากภายในและภายนอกองค์การ คำสำคัญ: หน่วยงานทรัพยากรมนุษย์, ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การ ABSTRACT This research focus on the role of human resource department in corporate social responsibility. The objectives of this research were 1. to study policy of corporate social responsibility in four companies and to study the opinion of human resource managers about corporate social responsibility implementation 2. to study the role of human resource department in corporate social responsibility activities 3. to examine the result of corporate social responsibility activities then, to study the trend of corporate social responsibility activities in the future. The results of this study were as follows: 1. CSR implementations of four companies not have policy but CSR activities follow by different factors. CSR implementations humanize with the nature of business 2. Human resource department play a key role in corporate social responsibility activities that vary in format of activities. Companies set up the CSR committee to manage CSR activities 3. the benefits of human resource department in corporate social responsibility activities were the promotion of employee royalty, pride, and unity. In addition human resource department go across others department and employee in company. In the future human resource department feature in CSR activities. Keywords: human resource department. corporate social responsibility.
  • 4. 3สหศาสตรศรีปทุม ชลบุรี ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 ตุลาคม 2553-มกราคม 2554 ISSN 2228-8007 3 ความนำ ปจจุบันองค์การต่าง ๆ หันมาให้ความสำคัญกับกระแสของปญหาสังคมและสิ่งแวดล้อม เนื่องจากปญหาทางด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการให้ ความสำคัญในประเด็นความรับผิดชอบต่อสังคม (corporate social responsibility) หรือ CSR โดยเฉพาะในองค์การภาคธุรกิจที่ออกมาดำเนินการในเรื่องนี้กันอย่างจริงจัง โดยกระแสความ รับผิดชอบต่อสังคมนั้นพัฒนามาจากแนวคิดของประเทศตะวันตกที่มองว่าการดำเนินธุรกิจของ องค์การต่าง ๆ ได้ส่งผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก จากแรงผลักดันดังกล่าว ทำให้หลายองค์การได้ดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างต่อเนื่องมาจนถึงใน ปจจุบัน (Kotler & Lee, 2005) องค์การชั้นนำระดับโลกรวมถึงองค์การในประเทศไทยเอง หลายองค์การได้กำหนดเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมไว้ในนโยบายของบริษัท นอกจาก องค์การภาคเอกชนที่ให้ความสำคัญกับเรื่องดังกล่าวแล้ว องค์การภาครัฐรวมทั้งองค์การไม่ แสวงหากำไร (NGOs) ก็ได้ออกมารณรงค์ในเรื่องดังกล่าวกันอย่างจริงจัง เช่น ธนาคารโลก (World Bank) ที่ได้กำหนดองค์ประกอบความรับผิดชอบต่อสังคมให้ประเทศสมาชิกปฏิบัติตาม องค์การสหประชาชาติ (UN) ก็ได้กำหนด “The global compact” หรือ “The UN global compact” ซึ่งประกอบด้วยเรื่องสิทธิมนุษยชน แรงงาน สิ่งแวดล้อม และต่อต้านการทุจริต รวมทั้งองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรฐาน (ISO) ก็ได้กำหนดมาตรฐานว่าด้วยความรับ ผิดชอบต่อสังคม (ISO 26000 social responsibility) ขึ้น เป็นมาตรฐานการแสดงความรับ ผิดชอบต่อผลกระทบของสังคมและสิ่งแวดล้อมจากการตัดสินใจและดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของ องค์การ เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของคนในสังคม และการพัฒนาที่ยั่งยืนทางธุรกิจ ประเด็นเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคมเป็นเรื่องที่องค์การให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นหน่วยงานทรัพยากรมนุษย์ในฐานะเป็นหน่วยงานหนึ่งในองค์การจะต้องหันมาให้ความ สำคัญในเรื่องดังกล่าว การวิจัยในครั้งนี้จึงมุ่งที่จะศึกษาถึงบทบาทของหน่วยงานทรัพยากร มนุษย์ในการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การในประเด็นต่าง ๆ วัตถุประสงคการวิจัย 1. เพื่อศึกษานโยบายด้านความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การธุรกิจ และความคิดเห็น ของหน่วยงานทรัพยากรมนุษย์ที่มีต่อการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การ 2. เพื่อศึกษาบทบาทของหน่วยงานทรัพยากรมนุษย์ในการดำเนินงานด้านความรับผิด ชอบต่อสังคมรวมถึงกิจกรรมหรืองานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมที่หน่วยงานทรัพยากรมนุษย์ มีส่วนในการดำเนินงาน 3. เพื่อศึกษาผลจากการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของหน่วยงาน
  • 5. 4 สหศาสตรศรีปทุม ชลบุรี ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 ตุลาคม 2553-มกราคม 2554 ISSN 2228-8007 4 ทรัพยากรมนุษย์ และแนวโน้มบทบาทด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของหน่วยงานทรัพยากร มนุษย์ในอนาคต วิธีดำเนินการวิจัย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) แบบใช้กรณีศึกษา (case study) มี การศึกษาข้อมูลจากหนังสือ เอกสารทางวิชาการ บทความ เว็บไซต์ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการสัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interview) จากผู้บริหารหน่วยงานทรัพยากรมนุษย์ ขอบเขตการวิจัย ศึกษาถึงบทบาทหน่วยงานทรัพยากรมนุษย์ในการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อ สังคมขององค์การ โดยเลือกศึกษาจากองค์การที่เป็นสมาชิกซีเอสอาร์ คลับ (CSR club) ซึ่ง เกิดจากการสนับสนุนของสมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลัก ทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จำนวน 4 องค์การ ได้แก่ บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัท แพรนด้า จิวเวลรี่ จำกัด (มหาชน) โรงพยาบาล บำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล และบริษัทน้ำมันพืชไทย จำกัด (มหาชน) ผลการวิจัย นโยบายด้านความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การพบว่า องค์การไม่ได้มีการกำหนด นโยบายด้านความรับผิดชอบต่อสังคมไว้โดยตรง แต่จะยึดแนวทางปฏิบัติในด้านความรับผิด ชอบต่อสังคมที่แตกต่างกันไป มีทั้งแนวทางขององค์การเอง ได้แก่ การยึดตามแนวทางหลัก ปฏิบัติ (guiding principle) ขององค์การ ยึดตามวิสัยทัศน์และพันธกิจขององค์การ และยึด ตามแนวทางจากหน่วยงานภายนอก ได้แก่ ยึดตามหลักธรรมาภิบาลของตลาดหลักทรัพย์แห่ง ประเทศไทย และยึดตามแนวทางโลกบัญญัติขององค์การสหประชาชาติ (UN global compact) ผู้บริหารหน่วยงานทรัพยากรมนุษย์มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินงานความรับผิด ชอบต่อสังคมขององค์การค่อนข้างสอดคล้องกัน อาจมีข้อแตกต่างในรายละเอียดและแนวทาง การปฏิบัติของแต่ละองค์การ แต่ทุกองค์การล้วนมีวัตถุประสงค์ของการดำเนินงานด้านความรับ ผิดชอบต่อสังคมเพื่อการช่วยเหลือสังคมทั้งภายในและภายนอกองค์การ สอดคล้องกับนโยบาย ด้านสิ่งแวดล้อมของสหภาพยุโรป (European commission on CSR, 2009) ที่ได้แบ่งมิติ ความรับผิดชอบต่อสังคมเป็นสองมิติ คือ มิติภายใน ได้แก่ การจัดการทรัพยากรมนุษย์ สุขภาพและความปลอดภัยในการทำงาน และมิติภายนอก ได้แก่ การดูแลผู้บริโภค ความรับ ผิดชอบต่อชุมชนใกล้เคียง และยังพบว่าผู้บริหารระดับสูงมีบทบาทสำคัญในประเด็นด้าน
  • 6. 5สหศาสตรศรีปทุม ชลบุรี ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 ตุลาคม 2553-มกราคม 2554 ISSN 2228-8007 5 ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การโดยผู้บริหารจะต้องให้ความสำคัญในเรื่องดังกล่าวและทำ ให้พนักงานเกิดความตระหนักและเห็นถึงความสำคัญของประเด็นความรับผิดชอบต่อสังคม นอกจากนี้ยังพบว่าการดำเนินกิจกรรมด้านความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การส่วนใหญ่ไม่ เน้นการประชาสัมพันธ์ไปสู่สังคมภายนอก หน่วยงานทรัพยากรมนุษย์มีบทบาทในการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมแต่มี บทบาทที่แตกต่างกัน ในบางองค์การหน่วยงานทรัพยากรมนุษย์มีบทบาทหลักในการดำเนินงาน ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การโดยเป็นผู้ริเริ่มทำให้งานด้านความรับผิดชอบต่อสังคม ขององค์การมีลักษณะเป็นทางการ และเป็นผู้นำในการทำกิจกรรมด้านความรับผิดชอบต่อ สังคม ทั้งภายนอกและภายในองค์การ และองค์การส่วนใหญ่จะจัดตั้งเป็นคณะกรรมการด้าน ความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR committee) องค์การมีรูปแบบกิจกรรมหรืองานด้านความรับผิดชอบที่มีความหลากหลายแตกต่างกัน ออกไป แต่เปาหมายสำคัญของการดำเนินกิจกรรมคือ การได้ช่วยเหลือสังคม ซึ่งพบว่ากิจกรรม หรืองานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมที่หน่วยงานทรัพยากรมนุษย์มีส่วนในการดำเนินการนั้น จะให้ความสำคัญกับสังคมภายในและสังคมภายนอก การเลือกดำเนินกิจกรรมด้านความรับผิด ชอบต่อสังคมนั้นองค์การส่วนใหญ่จะเลือกให้เหมาะสมและสอดคล้องกับธุรกิจที่ดำเนินอยู่ เช่น โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์เป็นธุรกิจโรงพยาบาล กิจกรรมหรืองานด้านความรับผิดชอบสังคมจึง มุ่งเน้นไปทางด้านการพยาบาล ได้แก่ การให้การฝกอบรมด้านพยาบาลแก่เยาวชนที่มาจากเขต พื้นที่ชนบท การทำโครงการผ่าตัดหัวใจให้กับเด็กยากไร้ การออกหน่วยรักษาพยาบาลไปยัง ชุมชนต่าง ๆ บริษัท ซีเอ็ด ยูเคชั่น ดำเนินธุรกิจด้านสื่อสิ่งพิมพ์ กิจกรรมต่าง ๆ จึงเน้นทาง การศึกษาและการให้ความรู้แก่สังคม เช่น การบริจาคหนังสือ การซ่อมแซมห้องสมุดให้กับ โรงเรียนต่าง ๆ ผลจากการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของหน่วยงานทรัพยากรมนุษย์ทำให้ พนักงานมีความจงรักภักดีต่อองค์การ เกิดความภาคภูมิใจในการได้ช่วยเหลือสังคม ส่งเสริมให้ เกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ภายในองค์การ ทำให้หน่วยงานทรัพยากรมนุษย์ ได้รับการยอมรับจากหน่วยงานอื่น ๆ และจากพนักงานมากขึ้น รวมทั้งหน่วยงานทรัพยากร มนุษย์ได้รับรู้ถึงคุณค่าของตนเองที่มีต่อองค์การ นอกจากนี้กิจกรรมด้านความรับผิดชอบต่อ สังคม ยังช่วยให้พนักงานเกิดการเรียนรู้และการพัฒนาเพิ่มขึ้น หน่วยงานทรัพยากรมนุษย์นอกจากต้องทำหน้าที่เป็นที่พึ่งให้กับพนักงานในองค์การ ทำ ให้พนักงานเกิดความเชื่อมั่นและเห็นคุณค่าของหน่วยงานทรัพยากรมนุษย์แล้ว ในอนาคต หน่วยงานทรัพยากรมนุษย์จะต้องมีบทบาทในงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น เน้น การแสดงบทบาทต่อสังคมภายนอกมากขึ้น เช่น การเป็นวิทยากรเพื่อถ่ายทอดความรู้ให้กับ
  • 7. 6 สหศาสตรศรีปทุม ชลบุรี ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 ตุลาคม 2553-มกราคม 2554 ISSN 2228-8007 6 หน่วยงานต่าง ๆ รวมทั้งการร่วมมือกับองค์การอื่น ๆ ในการดำเนินกิจกรรมด้านความรับผิด ชอบต่อสังคม ต้องแสดงบทบาทเชิงรุกและการเป็นคู่คิดกลยุทธ์ของผู้บริหาร (strategic partner) ต้องมีความรู้ในธุรกิจขององค์การเป็นอย่างดี รวมทั้งจะต้องมีความรู้ในเรื่องของการ บริหารโครงการ (project management) เนื่องจากกิจกรรมด้านความรับผิดชอบต่อสังคมจะ ต้องสอดคล้องกับธุรกิจขององค์การและมีลักษณะเป็นโครงการ อภิปรายผลการวิจัย เนื่องจากการดำเนินธุรกิจในปจจุบันองค์การจะต้องให้ความสำคัญกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทั้งภายนอกและภายในองค์การ นอกจากนี้องค์การจากภายนอกจะเข้ามามีส่วนในการตรวจ สอบและกำกับดูแลการดำเนินงานของธุรกิจมากขึ้น รวมทั้งในประเด็นด้านความรับผิดชอบต่อ สังคม เช่น สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้มีการ กำหนดหลักการกำกับและดูแลกิจการเพื่อให้บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ใช้เป็น แนวทางในการปฏิบัติ นอกจากข้อกำหนดจากองค์การในประเทศแล้วองค์การระหว่างประเทศก็ มีบทบาทสำคัญในการกำหนดแนวทางการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การ เช่น ธนาคารโลก (World Bank) ที่ได้กำหนดองค์ประกอบความรับผิดชอบต่อสังคม ให้ ประเทศสมาชิกปฏิบัติตาม องค์การสหประชาชาติ (UN) ก็ได้กำหนด “The UN global compact” ซึ่งประกอบด้วยเรื่อง สิทธิมนุษยชน แรงงาน สิ่งแวดล้อม และต่อต้านการทุจริต รวมทั้งองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรฐาน (ISO) ก็ได้กำหนดมาตรฐานว่าด้วยความรับ ผิดชอบต่อสังคม (ISO 26000 social responsibility) เพื่อเป็นมาตรฐานการแสดงความรับ ผิดชอบต่อผลกระทบของสังคมและสิ่งแวดล้อมจากการตัดสินใจและดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของ องค์การ เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของคนในสังคม และการพัฒนาที่ยั่งยืนทางธุรกิจ ดังนั้นองค์การ ต่าง ๆ จึงต้องมีการดำเนินธุรกิจที่สอดคล้องกับข้อกำหนดหรือแนวทางปฏิบัติที่หน่วยงานหรือ องค์การดังกล่าวได้กำหนดขึ้น รวมทั้งประเด็นด้านความรับผิดชอบต่อสังคม ดังจะเห็นได้จาก องค์การที่ศึกษาได้นำหลักการหรือแนวทางดังกล่าวมาเป็นแนวทางในการดำเนินกิจกรรมด้าน ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การ การดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การนั้นผู้บริหารระดับสูงของ องค์การมีบทบาทสำคัญในการผลักดันให้การดำเนินงานประสบความสำเร็จ สอดคล้องกับแนว คิดของ McAlister, Ferrell & Ferrell (2008) ที่กล่าวว่าผู้บริหารในองค์การจะต้องให้ความ สำคัญในเรื่องดังกล่าว และทำให้พนักงานเกิดความตระหนักและเห็นถึงความสำคัญของประเด็น ความรับผิดชอบต่อสังคม นอกจากนั้นการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมควรดำเนิน ไปในลักษณะของความสมัครใจ (voluntary action) หมายถึง การดำเนินธุรกิจควบคู่กับการ
  • 8. 7สหศาสตรศรีปทุม ชลบุรี ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 ตุลาคม 2553-มกราคม 2554 ISSN 2228-8007 7 ปฏิบัติตามแนวทางความรับผิดชอบต่อสังคมด้วยความสมัครใจโดยไม่ถูกเรียกร้องจากสังคมแต่ อย่างใด ในขั้นนี้ถือเป็นการประกอบธุรกิจอยู่บนพื้นฐานของการมุ่งประโยชน์ของสังคมเป็น สำคัญ และการดำเนินการด้าน CSR ในส่วนนี้สมควรได้รับการยกย่องชื่นชมจากสังคมอย่าง แท้จริง (ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, 2551, หน้า 24-26) ปจจุบันหน่วยงานทรัพยากรมนุษย์เข้ามามีบทบาทที่สำคัญในการดำเนินงานด้านความรับ ผิดชอบต่อสังคมขององค์การ บทบาทดังกล่าวจะทำให้หน่วยงานทรัพยากรมนุษย์ได้แสดง บทบาทเชิงกลยุทธ์มากขึ้นทำให้ได้รับการยอมรับจากผู้บริหารระดับสูงขององค์การว่าหน่วยงาน ทรัพยากรมนุษย์นั้นมีส่วนสำคัญต่อความสำเร็จขององค์การ (นิสดารก์ เวชยานนท์, 2552) สอดคล้องกับ Redington (2005) ที่ได้นำเสนอผลการศึกษาที่แสดงให้เห็นว่าผู้เชี่ยวชาญด้าน ทรัพยากรมนุษย์มีโอกาสมากในการแสดงบทบาทเชิงรุก รวมทั้งการสร้างมูลค่าเพิ่ม ผ่านแนว คิดและวิธีการที่หลากหลายทางธุรกิจควบคู่กับการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคม กิจกรรมที่ดำเนินการนั้นเน้นทั้งภายในและภายนอกองค์การโดยเลือกให้เหมาะสมและ สอดคล้องกับธุรกิจที่ดำเนินอยู่ ผลจากการดำเนินกิจกรรมด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของ หน่วยงานทรัพยากรมนุษย์ส่งผลให้พนักงานเกิดความจงรักภักดีต่อองค์การ เกิดความภาค ภูมิใจในการได้ช่วยเหลือสังคม มีความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ภายในองค์การ หน่วยงานทรัพยากรมนุษย์ได้รับการยอมรับจากหน่วยงานอื่น ๆ และจากพนักงานมากขึ้น รวม ทั้งหน่วยงานทรัพยากรมนุษย์รู้ถึงคุณค่าของตนเองที่มีต่อองค์การ นอกจากนั้นกิจกรรม CSR ยังช่วยให้พนักงานเกิดการเรียนรู้และการพัฒนาเพิ่มขึ้น สอดคล้องกับผลการศึกษาของ Sharma, Sharma & Devi (2009) Redington (2005) และ นิตยา วงศ์ธาดา (2552) ที่ได้ สรุปผลของการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมที่มีต่อหน่วยงานทรัพยากรมนุษย์พบว่า การดำเนินการด้านความรับผิดชอบต่อสังคมมีความสัมพันธ์กับการรักษาพนักงานไว้กับองค์การ ทำให้พนักงานเกิดความผูกพันกับองค์การ ช่วยให้มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ทัศนคติ และ ผลการปฏิบัติงานของพนักงาน ทำให้พนักงานมีความทุ่มเทให้กับความสำเร็จขององค์การ สมบัติ กุสุมาวลี (2550) ยังได้สรุปถึงบทบาทหน่วยงานทรัพยากรมนุษย์กับความรับผิดชอบ ต่อสังคมในแง่ของการที่จะสามารถสร้างความมั่นใจได้ว่าองค์การจะเป็นบริษัทธุรกิจที่มีความ ชอบธรรมทางสังคม (social legitimacy) สามารถอยู่ร่วมกันในฐานะที่เป็นสมาชิกหนึ่งของ สังคม ถือเป็นภาระหน้าที่สำคัญของการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่จะต้องมุ่งเน้นการเสริม สร้างจิตสำนึกและสร้างบรรยากาศให้องค์การมีความรับผิดชอบต่อสังคม (corporate social responsibility) โดยเฉพาะอย่างยิ่งความรับผิดชอบต่อคุณภาพชีวิตของบุคลากร (quality of work life)
  • 9. 8 สหศาสตรศรีปทุม ชลบุรี ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 ตุลาคม 2553-มกราคม 2554 ISSN 2228-8007 8 ในอนาคตหน่วยงานทรัพยากรมนุษย์จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในการดำเนินกิจกรรมด้าน ความรับผิดชอบต่อสังคมเนื่องจากแรงผลักดันทั้งจากภายในและภายนอกองค์การ โดยเฉพาะ การนำ ISO 26000 เข้ามาใช้ในการบริหารองค์การ สอดคล้องกับผลจากการวิจัยเรื่องแนวโน้ม งานทรัพยากรมนุษย์ในปี ค.ศ. 2009-2010 ของประเทศสหรัฐอเมริกา ที่จัดทำโดยสมาคมการ บริหารงานบุคคลสหรัฐอเมริกา (society of human resource management: SHRM) มีข้อ ค้นพบที่น่าสนใจว่างานด้านความรับผิดชอบต่อสังคม หรือ CSR ถูกกำหนดให้เป็นงานใหม่ล่าสุด ในความรับผิดชอบดูแลทรัพยากรมนุษย์ในองค์การ (จิรประภา อัครบวร, 2552) ขอเสนอแนะ 1. องค์การควรมีนโยบาย แนวทาง หรือหลักการที่ใช้ในการดำเนินงานด้านความรับผิด ชอบต่อสังคม รวมถึงจะต้องมีการสื่อสารนโยบาย แนวทางหรือหลักการดังกล่าวไปสู่พนักงาน ภายในองค์การให้รับทราบ และทำให้พนักงานทั้งองค์การเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานด้าน ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การ 2. การดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การควรจะเริ่มต้นจากความรับ ผิดชอบต่อสังคมภายในองค์การก่อนออกไปสู่สังคมภายนอก 3. การเลือกกิจกรรมหรืองานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การควรจะสอดคล้อง กับประเภทธุรกิจขององค์การ และพิจารณาถึงความต้องการที่แท้จริงของสังคมกับความ สามารถในการดำเนินการขององค์การ 4. ทุกกระบวนการในงานด้านทรัพยากรมนุษย์ควรมีการสอดแทรกแนวคิดด้านความรับ ผิดชอบต่อสังคมเข้าไปเพื่อให้การดำเนินงานด้านทรัพยากรมนุษย์เกิดความเป็นธรรมในทางปฏิบัติ บรรณานุกรม จิรประภา อัครบวร. (2552). แนวโน้มการบริหารทรัพยากรมนุษย์. Competitiveness Review, 4, หน้า 108-111. ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2551). SET Award 2008. ตลาดหลักทรัพย์, 12(6), หน้า 24-26. นิตยา วงศ์ธาดา. (2552). Starbucks coffee CSR ในหลากมิติ. Competitiveness review, 1-2, หน้า 40-58. นิสดารก์ เวชยานน์. (2552). เอกสารประกอบการสอนวิชา รอ.7001 การบริหารและ การพัฒนาทุนมนุษย์ยุคใหม่. กรุงเทพฯ: คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิต พัฒนบริหารศาสตร์.
  • 10. 9สหศาสตรศรีปทุม ชลบุรี ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 ตุลาคม 2553-มกราคม 2554 ISSN 2228-8007 9 สมบัติ กุสุมาวลี. (2550). หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในภาคธุรกิจเอกชน: กรณีศึกษา การบริหารทรัพยากรมนุษย์ เครือซิเมนต์ไทย. กรุงเทพฯ: บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน). European Commission. (2009). Corporate social responsibility: CSR (Online). Available: http://ec.europa.eu/ social/main.jsp?catId=331&langId=en”langId=en html [2009, November 14]. Kotler, Philip, & Lee, Nancy. (2005). Corporate social responsibility. New Jersey: John Wiley & Sons. McAlister, Debbie Thorne, Ferrell, O.C., & Ferrell, Linda. (2008). Business and society: A strategic approach to social responsibility (3 rd ed.). New York: Houghton Mifflin. Redington, Ian. (2005). Making CSR happen: The contribution of people management. London: Chartered Institute of Personnel and Development. Sharma, Suparn, Sharma, Joity, & Devi, Arti. (2009). Corporate social responsibility: The key role of human resource management. Business Intelligence Journal, 2(1), pp. 205-213. Technology Media. (2552). ISO 26000 มาตรฐานเพื่อความรับผิดชอบต่อสังคม (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: http://www.technologymedia.co.th/article/articleview.asp?id=299 html [2552, 14 พฤศจิกายน].