SlideShare a Scribd company logo
1 of 18
Download to read offline
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสนับสนุนการเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับ 
สิ่งแวดล้อม : กรณีศึกษา โรงแรมดุสิต ปริ๊นเซส ศรีนครินทร์ 
Factors Affecting Behavior in Support of Being an Environmentally 
Friendly Hotel : A Case Study of Dusit Princess Srinakarin Hotel 
สานิตย์ หนูนิล 1 ประสพชัย พสุนนท์ 2 
Sanit Noonin, Prasopchai Pasunon 
บทคัดย่อ 
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับพฤติกรรมสนับสนุนการเป็นโรงแรมที่เป็น 
มิตรกับสิ่งแวดล้อม และ 2) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสนับสนุนการเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับ 
สิ่งแวดล้อม โดยเป็นการวิจัยเชิงสารวจเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากประชากร คือ พนักงานโรงแรม 
ดุสิต ปริ๊นเซส ศรีนครินทร์ มีขนาดกลุ่มตัวอย่างเท่ากับ 129 คน 
ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมสนับสนุนการเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 
อยู่ในระดับปานกลาง ( X = 3.47) ส่วนการศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสนับสนุนการเป็นโรงแรม 
ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งผู้วิจัยทา การวิเคราะห์ด้วยการวิเคราะห์การถดถอย วิธีการเลือกแบบถอยหลัง 
พบว่า ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ ได้แก่ เพศ และระยะเวลาในการปฏิบัติงานในองค์กร ปัจจัยด้านความรู้ 
ความเข้าใจ และปัจจัยด้านการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีอิทธิพล 
ต่อพฤติกรรมสนับสนุนการเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยมีค่าสัมประสิทธ์ิของการตัดสินใจ 
เท่ากับ ร้อยละ 56.9 และค่าสัมประสิทธ์ิของการตัดสินใจที่ปรับแล้ว เท่ากับ ร้อยละ 32.4 
คาสาคัญ : พฤติกรรม โรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 
________________________________ 
1 อาจารย์ประจา สา นักวิชาบริหารธุรกิจ คณะอุตสาหกรรมบริการ วิทยาลัยดุสิตธานี E-mail : sanit@dtc.ac.th 
2 รองศาสตราจารย์ประจา สาขาการจัดการธุรกิจทั่วไป คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร 
E-mail :prasopchai@ms.su.ac.th
ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2557 วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี 
ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2557 วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี 
17 
Abstract 
The purposes of this research were 1) to study the level of behavior in support of being an 
environmentally friendly hotel, and 2) to study the factors that influence the behavior in support of being 
an environmentally friendly hotel. This research collected data by a questionnaire from employees of 
Dusit Princess Srinakarin Hotel, the sample size was 129. 
The study found that the level of behavior of support in being an environmentally friendly hotel 
was shown at a moderate level ( X = 3.47). The study of factors that influence the behavior of support in 
being an environmentally friendly hotel were analyzed by regression analysis (backward method) and found 
that personal factors (gender and duration), knowledge and perception about natural resources and 
environmental conservation factors influence the behavior of support in being an environmentally 
friendly hotel. The coefficient of determination (R Squared) is 56.9% and the adjusted coefficient of 
determination (Adjust R Squared) is 32.4%. 
Keywords : Behavior, Environmentally Friendly Hotel 
บทนา 
ปัจจุบันปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมเป็นปัญหาที่มีความสาคัญอย่างยิ่ง หลายองค์กรทั้งในประเทศ 
และต่างประเทศถือว่าปัญหาดังกล่าวเป็นประเด็นเร่งด่วนที่ต้องหยิบยกขึ้นมาแก้ไข โดยเฉพาะการเกิด 
ภาวะโลกร้อน (Global Warming) ปัญหาการขาดความสมดุลของระบบนิเวศ ปัญหาชั้นบรรยากาศถูก 
ทา ลาย ปัญหาฝนกรด ปัญหามลพิษทางน้า ปัญหาขยะเป็นพิษ เป็นต้น ซึ่งปัญหาที่กล่าวมานั้นเกิดขึ้นทั่วโลก 
ดังนั้นองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรไม่แสวงหาผลกาไร (NGOs) ต่าง ๆ จึงได้มีการกาหนด 
มาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อเป็นกรอบให้องค์กรในภาคส่วนต่าง ๆ นาไปปฏิบัติเพื่อป้องกัน และแก้ไข 
ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมกันอย่างกว้างขวาง อาทิ มาตรฐานสากลด้านสิ่งแวดล้อม (ISO - 14001) ที่กา หนด 
ขึ้นโดยองค์กรระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (International for Standardization Organization: ISO) 
เพื่อให้องค์กรต่าง ๆ มีระบบในการรักษา ควบคุม และปรับปรุงคุณภาพสิ่งแวดล้อม รวมทั้งป้องกัน 
สุขอนามัยของมนุษย์ สาหรับประเทศไทยประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมก็ถือว่าเป็นเรื่องที่มีความสาคัญมาก 
เช่นเดียวกัน โดยได้มีการกาหนดไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับปีพุทธศักราช 2550 โดยเฉพาะมาตราที่ 67 ที่ 
เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมโดยเป็นการระบุว่า “สิทธิของบุคคลที่จะมีส่วนร่วมกับรัฐและชุมชนในการอนุรักษ์ 
บารุงรักษาและการได้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ และในการ 
คุ้มครองส่งเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ดารงชีพอยู่ได้อย่างปกติและต่อเนื่องในสิ่งแวดล้อม
Dusit Thani College Journal Vol.8 No.1 January – June 2014 
18 
ที่จะไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัย สวัสดิภาพ หรือคุณภาพชีวิตของตนย่อมได้รับความคุ้มครอง ตามความเหมาะสม” (กรมควบคุมมลพิษ, 2556) สาเหตุสาคัญประการหนึ่งของปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมนั้น เกิดจากกระบวนการผลิตสินค้าและบริการโดยเฉพาะอุตสาหกรรมการผลิตที่มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ เป็นจานวนมาก รวมทั้งยังมีส่วนทาลายสิ่งแวดล้อมอีกด้วย อาทิ การปล่อยน้าเสียและอากาศเป็นพิษ การเกิดขยะเป็นพิษจากกระบวนการผลิต เป็นต้น 
ธุรกิจโรงแรมก็ถือเป็นธุรกิจหนึ่งที่มีความสาคัญต่อการพัฒนาประเทศ เป็นธุรกิจที่ทารายได้ หลักให้กับประเทศไทย และมีแนวโน้มที่จะขยายตัวเพิ่มขึ้นในทุก ๆ ปี ซึ่งธุรกิจโรงแรมเองถือเป็นอีก ธุรกิจหนึ่งที่มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติในกระบวนการดาเนินงานเป็นจานวนมาก รวมทั้งยังสร้างปัญหา ด้านสิ่งแวดล้อมในวงกว้างอีกด้วย สอดคล้องกับผลการวิจัยที่พบว่า ปัญหาสาคัญที่เกิดขึ้นในธุรกิจ โรงแรมเกี่ยวข้องกับปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม อาทิ ปัญหาด้านการจัดการขยะเป็นพิษที่ไม่ถูกวิธี ปัญหา มลภาวะทางน้าและอากาศ เป็นต้น (Yeung, 2004) จากปัญหาดังกล่าวจึงได้เกิดกระแสให้ธุรกิจโรงแรมหัน มาให้ความสนใจกับปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมกันมากขึ้น อาทิ การกาหนดมาตรฐานใบไม้เขียว (Green Leaf) มาตรฐาน Green Globe มาตรฐาน Green Check เป็นต้น เพื่อให้โรงแรมต่าง ๆ นาไปเป็นแนวทางในการ ปฏิบัติเพื่อให้การดาเนินงานของโรงแรมเป็นไปตามมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะนาไปสู่การเป็น โรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งในการจะเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อมได้นั้นต้องประกอบด้วยปัจจัยต่าง ๆ โดยเฉพาะพฤติกรรมของพนักงานในโรงแรมที่ถือว่าเป็น ปัจจัยสาคัญที่สุดที่จะช่วยให้เกิดการพัฒนาไปสู่การเป็นเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้อย่าง แท้จริง โดยพฤติกรรมสนับสนุนการเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หมายถึง “การกระทาหรือการ แสดงออกของบุคลากรในองค์กรที่มีส่วนช่วยในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อ พัฒนาไปสู่การเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” โดยบุคลากรทุกระดับมีบทบาทสาคัญในการสร้าง ให้เกิดเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 
ตัวอย่างพฤติกรรมสนับสนุนการเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อาทิ การศึกษาของ ชัชพล ทรงสุนทรวงศ์ (2550) เรื่อง พฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมของพนักงานโรงแรม ได้แบ่งพฤติกรรมออกเป็น 3 หมวด ได้แก่ 1) พฤติกรรมการอนุรักษ์น้า ในโรงแรม อาทิ ร่วมศึกษาปัญหา เสนอแนะความคิดเห็นเรื่องการประหยัดน้า ร่วมวางแผนโครงการการ ใช้น้าอย่างประหยัด ร่วมประชุมหาแนวทางรณรงค์การใช้น้าอย่างประหยัด การใช้น้าอย่างประหยัด และ ไม่เปิดก๊อกน้าทิ้งไว้ ช่วยกันปิดก๊อกน้าเมื่อพบเห็นว่ามีคนเปิดทิ้งไว้ เป็นต้น 2) พฤติกรรมการอนุรักษ์ พลังงานไฟฟ้าในโรงแรม อาทิ ร่วมวางแผนโครงการประหยัดไฟ ร่วมออกเงิน และวัสดุอุปกรณ์เพื่อช่วยใน การทาโครงการประหยัดไฟ ใช้ไฟฟ้าอย่างประหยัด และปิดไฟเมื่อเลิกใช้งาน ช่วยปิดประตูห้องที่เปิด
ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2557 วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี 
ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2557 วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี 
19 
เครื่องปรับอากาศ เป็นต้น 3) พฤติกรรมการรักษาสภาพแวดล้อมในโรงแรม อาทิ ร่วมศึกษาปัญหา เสนอ ความคิดเห็นการกาจัดหรือลดมลพิษในโรงแรม ร่วมประชุมทาโครงการกาจัดขยะและลดมลพิษใน โรงแรม ทิ้งขยะลงถัง และไม่ทิ้งขยะเรี่ยราดตามพื้น ช่วยดูแลรักษาความสะอาดสภาพแวดล้อมในโรงแรม เป็นต้น ส่วนอรรถเวทย์ พฤกษ์สถาพร และคณะ (2554) ได้สร้างเครื่องมือวัดพฤติกรรมที่สนับสนุนการ เป็นโรงแรมที่เป็นกับสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วยพฤติกรรมต่าง ๆ ที่หลากหลาย อาทิ พฤติกรรมการเข้า ร่วมเป็นกรรมการ คณะทางาน หรือเป็นผู้ประสานงานในการจัดการสิ่งแวดล้อมของโรงแรม พฤติกรรม การร่วมแสดงความคิดเห็น ร่วมตัดสินใจวางแผนหรือเป็นที่ปรึกษาในการดาเนินกิจกรรมต่าง ๆ ในการ จัดการสิ่งแวดล้อมของโรงแรม พฤติกรรมการเสนอแนะแนวทางการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมไป ยังผู้รับผิดชอบดาเนินการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมของโรงแรม พฤติกรรมการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการ อนุรักษ์พลังงานที่ได้รับจากการอบรมสู่บุคคลอื่น เป็นต้น 
จากการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องพบว่า มีหลายปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมที่สนับสนุนการเป็น โรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ จากการศึกษาของ วัลลี ธีรานันตชัย (2547) พบว่า เพศ มีผลต่อพฤติกรรมการอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้า นอกจากเพศแล้วปัจจัย ด้านประชาศาสตร์ที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสนับสนุนการเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอีก ปัจจัยหนึ่ง คือ ระยะเวลาในการปฏิบัติงานในองค์กร สอดคล้องกับการศึกษาของ ชัชพล ทรงสุนทรวงศ์ (2550) พบว่า ระยะเวลาที่ทางานอยู่ในองค์กรมีผลต่อพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของพนักงาน นอกจากนั้นยังสอดคล้องกับการศึกษาของ วัลลี ธีรานันตชัย (2547) ที่พบว่าระยะเวลาในการปฏิบัติงานมีผลต่อการการอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้าของบุคลากรโรงพยาบาล ทั่วไป จังหวัดราชบุรี ส่วนการศึกษาของสายันห์ ปัญญาทรง (2545) และ ริษฎี เชิดชูงาม (2544) พบว่า เพศ อายุ และอาชีพ มีผลต่อพฤติกรรมการอนุรักษ์แม่น้า ปัจจัยด้านความรู้ความเข้าใจ งานวิจัยที่สอดคล้อง ได้แก่ การศึกษาของ Kozar & Hiller (2013) พบว่าความรู้เกี่ยวกับประเด็นด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมมีผล ต่อพฤติกรรมการบริโภคที่เป็นมิตรกับสังคมและสิ่งแวดล้อม การศึกษาของ เครือวัลย์ วงษ์มิตร (2554) พบว่า การได้รับความรู้ข้อมูลเกี่ยวกับประหยัดพลังงานไฟฟ้ามีผลต่อพฤติกรรมประหยัดพลังงานไฟฟ้า ของบุคลากรภายในองค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง ส่วนการศึกษาของ วัลลี ธีรานันตชัย (2547) พบว่า ระดับความรู้มีผลต่อการผันแปรของพฤติกรรมการอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้า ปัจจัยด้านการรับรู้ข่าวสาร สอดคล้องกับการศึกษาของ Zibarras & Ballinger (2011) ที่พบว่า การประชาสัมพันธ์ภายในองค์กรใน รูปแบบต่าง ๆ เช่น การรณรงค์ การติดแผ่นป้ายประชาสัมพันธ์ การจัดอภิปรายของพนักงานในประเด็น ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เป็นต้น เป็นแนวทางที่มีความสาคัญมากที่สุดในการที่องค์กรใช้ในการพัฒนา พฤติกรรมที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของพนักงาน นอกจากนั้นยังมีการศึกษาที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
Dusit Thani College Journal Vol.8 No.1 January – June 2014 
20 
การศึกษาของ วัลลี ธีรานันตชัย (2547) พบว่า การรับรู้ข่าวสารมีผลต่อพฤติกรรมการอนุรักษ์พลังงาน ไฟฟ้าของบุคลากรโรงพยาบาลทั่วไป จังหวัดราชบุรี การศึกษาของ สายันห์ ปัญญาทรง (2545) พบว่า การ รับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับการอนุรักษ์แม่น้ามีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการอนุรักษ์แม่น้าที่ถูกต้อง และ การศึกษาของ ธีชวัน ญาณอุดม (2544) พบว่า การรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับการอนุรักษ์ป่าชายเลนมีผลต่อ พฤติกรรมการอนุรักษ์ป่าชายเลนของประชาชนในท้องถิ่น และปัจจัยด้านทัศนคติของพนักงาน มีงานวิจัย ที่สอดคล้อง ดังนี้ การศึกษาของ Kozar & Hiller (2013) พบว่า ทัศนคติเกี่ยวกับสังคมและสิ่งแวดล้อมมีผล ต่อพฤติกรรมการบริโภคที่เป็นมิตรกับสังคมและสิ่งแวดล้อม การศึกษาของ ชัชพล ทรงสุนทรวงศ์ (2550) พบว่า ทัศนคติต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของพนักงานมีผลต่อพฤติกรรมการ อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น การไม่ปล่อยน้าให้สูญเปล่า และหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ การถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับอันตรายของมลพิษทางน้าให้ผู้ส่วนทราบ เป็นต้น การศึกษาของ เครือวัลย์ วงษ์มิตร (2554) พบว่า ทัศนคติมีผลต่อพฤติกรรมการประหยัดพลังงานไฟฟ้าของบุคลากรภายในองค์กร การศึกษาของวัลลี ธีรานันตชัย (2547) พบว่าทัศนคติเกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้า และการให้คุณค่า ต่อสิ่งแวดล้อมมีผลต่อพฤติกรรมการอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้า การศึกษาของ สายันห์ ปัญญาทรง (2545) พบว่า ทัศนคติมีผลต่อพฤติกรรมการอนุรักษ์แม่น้า และการศึกษาของ ธีชวัน ญาณอุดม (2544) พบว่า ทัศนคติต่อการอนุรักษ์ป่าชายเลนเป็นปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการอนุรักษ์ป่าชายเลนของประชาชนใน ท้องถิ่น 
ดังนั้นการวิจัยในครั้งนี้จึงมุ่งที่จะศึกษาถึงปัจจัยที่จะมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสนับสนุนการเป็น โรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ และเพื่อนาผลการวิจัยไปประยุกต์ใช้ต่อไป 
วัตถุประสงค์การวิจัย 
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 
1. เพื่อศึกษาระดับพฤติกรรมสนับสนุนการเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 
2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสนับสนุนการเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อม 
สมมติฐานในการวิจัย 
การวิจัยในครั้งนี้มีสมมติฐานในการวิจัย ดังนี้ 
สมมติฐานการวิจัยที่ 1: ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสนับสนุนการเป็น โรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2557 วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี 
ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2557 วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี 
21 
สมมติฐานการวิจัยที่ 2: ปัจจัยด้านความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสนับสนุนการเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 
สมมติฐานการวิจัยที่ 3: ปัจจัยด้านทัศนคติเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสนับสนุนการเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 
สมมติฐานการวิจัยที่ 4: ปัจจัยด้านการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสนับสนุนการเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 
กรอบแนวคิดการวิจัย 
จากการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องสรุปเป็นกรอบแนวคิดในการวิจัย เรื่อง พฤติกรรมที่ สนับสนุนการเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้ดังภาพต่อไปนี้ 
ภาพที่ 1 กรอบแนวคิดการวิจัย 
นิยามศัพท์ 
พฤติกรรมสนับสนุนการเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หมายถึง การกระทาหรือการ แสดงออกของพนักงานโรงแรมที่มีส่วนช่วยในการพัฒนาไปสู่การเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 
โรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หมายถึง โรงแรมที่มีการดาเนินการธุรกิจที่ใส่ใจกับการ อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในทุก ๆ กระบวนการของการดาเนินการเพื่อให้มีผลกระทบ ต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด 
ปัจจัยด้านความรู้ความเข้าใจ 
ปัจจัยด้านทัศนคติ 
พฤติกรรมสนับสนุนการเป็น โรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 
ปัจจัยด้านการรับรู้ข่าวสาร 
ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์
Dusit Thani College Journal Vol.8 No.1 January – June 2014 
22 
ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หมายถึง ความรู้ ความเข้าใจของพนักงานโรงแรมเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 
ทัศนคติเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หมายถึง ความรู้สึกของ พนักงานโรงแรมเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 
การรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หมายถึง การได้รับ ความรู้และข้อมูลต่าง ๆ ของพนักงานโรงแรมเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผ่านช่องทางการสื่อสารภายในองค์กร ได้แก่ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ บอร์ดประสัมพันธ์ของโรงแรม การชี้แจงโดยคณะกรรมการด้านสิ่งแวดล้อมของโรงแรม การชี้แจงโดยผู้บังคับบัญชา การประชุมของ แผนก/ฝ่าย และช่องทางการสื่อสารภายนอกองค์กร ได้แก่ วิทยุ โทรทัศน์ อินเทอร์เน็ต หนังสือพิมพ์/ วารสาร การจัดนิทรรศการด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 
ขอบเขตของการวิจัย 
ขอบเขตด้านประชากร การวิจัยในครั้งนี้ศึกษาเฉพาะพนักงานของโรงแรมดุสิต ปริ๊นเซส ศรีนครินทร์ โดยโรงแรมดังกล่าวได้ดาเนินการด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมา อย่างต่อเนื่อง ขอบเขตด้านเนื้อหา สาหรับขอบเขตด้านเนื้อที่เกี่ยวข้องกับโรงแรมที่เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อมในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยจากัดขอบเขตเพียงแค่ 3 ด้านหลัก ๆ คือ การอนุรักษ์ทรัพยากรน้า การ อนุรักษ์พลังงานไฟฟ้า และการกาจัดขยะที่ถูกวิธี ส่วนขอบเขตด้านระยะเวลา การวิจัยในครั้งนี้ใช้ ระยะเวลาในการดาเนินการวิจัยประมาณ 4 เดือน คือ ตั้งแต่ เดือนกรกฎาคม ถึงเดือนตุลาคม 2556 
ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย 
1. ตัวแปรอิสระ ประกอบด้วย 
1) ตัวแปรด้านประชากรศาสตร์ ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา ระยะเวลาในการ ปฏิบัติงานในองค์กร 
2) ตัวแปรด้านความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม ได้แก่ ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรน้า ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการ อนุรักษ์พลังงานไฟฟ้า และความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการกาจัดขยะที่ถูกวิธี 
3) ตัวแปรด้านทัศนคติเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ทัศนคติเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรน้า ทัศนคติเกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้า และทัศนคติเกี่ยวกับ การกาจัดขยะที่ถูกวิธี
ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2557 วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี 
ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2557 วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี 
23 
4) ตัวแปรด้านการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรน้า การรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงาน ไฟฟ้า และการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับการกาจัดขยะที่ถูกวิธี 
2. ตัวแปรตาม ได้แก่ พฤติกรรมสนับสนุนการเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ได้แก่ พฤติกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรน้า พฤติกรรมการอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้า และและพฤติกรรมการกาจัด ขยะที่ถูกวิธี 
ระเบียบวิธีวิจัย 
การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสารวจ (Survey Research) ระเบียบวิธีวิจัยมีรายละเอียด ดังนี้ 
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 
ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ พนักงานของโรงแรมดุสิต ปริ๊นเซส ศรีนครินทร์ จานวน ทั้งหมด 190 คน ผู้วิจัยกาหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ ทาโร่ ยามาเน่ ที่ระดับความเชื่อมั่นที่ 95% (Yamane, 1976 ) โดยมีขนาดกลุ่มตัวอย่างเท่ากับ 129 คน ผู้วิจัยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified Sampling) โดยแบ่งพนักงานออกเป็น 2 กลุ่มตามสายงาน คือ สายงานหลัก และสายงาน สนับสนุน ตามสัดส่วนของพนักงาน มีรายละเอียด ดังตารางที่ 1 
ตารางที่ 1 แสดงกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยแบ่งตามสายงาน 
สายงาน 
ประชากร 
ขนาดตัวอย่าง 
สัดส่วน (ร้อยละ) 
สายงานหลัก 
133 
90 
70 
สายงานสนับสนุน 
57 
39 
30 
รวม 
190 
129 
100 
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม (Questionnaire) โดยแบ่งออกเป็น 6 ตอน ได้แก่ ตอนที่ 1 แบบสอบถามข้อมูลด้านประชากรศาสตร์ของผู้ตอบแบบสอบถาม ประกอบด้วย เพศ อายุ ระดับการศึกษา และระยะเวลาในการปฏิบัติงานอยู่ในองค์กร ตอนที่ 2 แบบสอบถามปัจจัยด้านความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วยข้อคาถามจานวน 20 ข้อ ตอนที่ 3 แบบสอบถามปัจจัยด้านทัศนคติเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วยข้อคาถามจานวน 14 ข้อ ตอนที่ 4 แบบสอบถามปัจจัยด้านการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับการ อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วยข้อคาถามจานวน 10 ข้อ และตอนที่ 5
Dusit Thani College Journal Vol.8 No.1 January – June 2014 
24 
แบบสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมที่สนับสนุนการเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วยข้อ คาถามจานวน 19 ข้อ 
ขั้นตอนในการสร้างเครื่องมือ 
ผู้วิจัยมีขั้นตอนในการสร้างเครื่องมือการวิจัย ดังนี้ 1) ศึกษาข้อมูลเบื้องต้น โดยศึกษาหลักการ ทฤษฎี เอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นแนวคิดและแนวทางในการสร้างเครื่องมือ 2) สร้างเครื่องมือ ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้นาเครื่องมือการวิจัยที่เป็นแบบสอบถามของ ชัชพล ทรงสุนทรวงศ์ (2550) ใน การศึกษาเรื่องพฤติกรรมการมีส่วนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของพนักงาน โรงแรม: กรณีศึกษาโรงแรมระดับ 4 และ 5 ดาวในกรุงเทพมหานคร มาปรับ รวมทั้งมีการเพิ่มข้อคาถามใน แบบสอบถามให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การวิจัย แล้วนาเสนอที่ปรึกษางานวิจัย เพื่อพิจารณา แบบสอบถามเบื้องต้น 3) นาแบบสอบถามที่ได้ เสนอให้ผู้เชี่ยวชาญจานวน 3 ท่าน เพื่อตรวจสอบความ เที่ยงตรง (Validity) ของแบบสอบถาม 4)ปรับปรุงแบบสอบถามตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ แล้ว นาไปทดลองใช้ (Try out) กับกลุ่มตัวอย่างที่มีคุณลักษณะเดียวกันกับกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยจานวน ทั้งสิ้น 30 คน แล้วหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของคอนบาค (Cronbach’s Alpha Coefficient) และ 5) ปรับปรุง แบบสอบถามจากผลการทดลองแล้วนาไปใช้ในการเก็บข้อมูล 
การทดสอบคุณภาพเครื่องมือ 
การทดสอบคุณภาพเครื่องมือในการวิจัย เริ่มจากการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) โดยใช้ผู้เชี่ยวชาญจานวน 3 ท่าน ด้วยการหาค่า IOC โดยข้อคาถามทุกข้อมีค่า IOC ตั้งแต่ 0.5 ขึ้นไป และการหาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ประกอบด้วย การหาค่าความเชื่อมั่นของ แบบสอบถามตอนที่ 2 ด้านความรู้ความเข้าใจ โดยการหาค่าความสอดคล้องภายใน โดยใช้สูตร KR-20 ซึ่ง ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามมีค่าเท่ากับ 0.78 ส่วนการหาความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม ตอนที่ 3 - 5 โดยใช้วิธีการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของคอนบาค (Cronbach’s Alpha Coefficient) โดยมีค่า สัมประสิทธิ์แอลฟาของคอนบาคทั้งฉบับเท่ากับ 0.89 
การเก็บรวบรวมข้อมูล 
การเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยใช้วิธีการเก็บรวมรวบข้อมูลด้วยตัวผู้วิจัยเอง โดยได้รับการช่วยเหลือจากผู้บริหาร คณะกรรมการด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม ตลอดจนฝ่ายบริหาร ทรัพยากรบุคคลของโรงแรมดุสิต ปริ๊นเซส ศรีนครินทร์ ในการช่วยประสานงานในการเก็บแบบสอบถาม ในช่วงเดือนตุลาคม 2556
ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2557 วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี 
ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2557 วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี 
25 
การวิเคราะห์ข้อมูล 
การวิจัยครั้งนี้วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณา (Descriptive Statistics) ประกอบด้วย ค่าความถี่ 
ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสนับสนุนการเป็นโรงแรม 
ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ด้วยการวิเคราะห์การถดถอย (Regression Analysis) วิธีการเลือกแบบถอยหลัง 
(Backward Selection) 
ผลการวิจัย 
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม 
กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาในครั้งนี้เป็นเพศชาย จา นวน 56 คน คิดเป็น ร้อยละ 43.40 และเป็นเพศหญิง 
จา นวน 73 คน คิดเป็น ร้อยละ 56.60 อายุเฉลี่ย 33.53 ปี โดยอายุต่า สุด 18 ปี และสูงสุด 53 ปี มีการศึกษาอยู่ 
ในระดับประถมศึกษาปีที่ 6 จานวน 1 คน คิดเป็น ร้อยละ 0.80 ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นจานวน 20 คน 
คิดเป็น ร้อยละ 15.90 ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย/ปวช. จานวน 38 คน คิดเป็นร้อยละ 30.20 ระดับ 
อนุปริญญา/ ปวส. จานวน 17 คน คิดเป็น ร้อยละ13.50 ระดับปริญญาตรีจานวน 45 คน คิดเป็นร้อยละ 
35.70 และระดับปริญญาโทจา นวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 4.00 มีระยะเวลาในการปฏิบัติงานในองค์กรแห่งนี้ 
เฉลี่ย 3.98 ปีโดยมีระยะเวลาในการปฏิบัติงานต่า สุด 1 เดือนและสูงสุด 23 ปี 
ส่วนที่ 2 ระดับพฤติกรรมสนับสนุนการเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 
ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมสนับสนุนการเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับ 
สิ่งแวดล้อม อยู่ในระดับปานกลาง ( X = 3.47) โดยมีรายละเอียดของพฤติกรรมในแต่ละข้อ ดังตาราง 
ต่อไปนี้
Dusit Thani College Journal Vol.8 No.1 January – June 2014 
26 
ตารางที่ 2 แสดงค่าเฉลี่ย ( X ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และระดับพฤติกรรมสนับสนุนการเป็น 
โรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จาแนกเป็นรายข้อ 
พฤติกรรม X S.D. การแปลผล 
1. การได้รับแต่งตั้งให้เป็นคณะกรรมการหรือคณะทา งาน หรือ 
เป็นผู้ประสานงานในการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมของโรงแรม 
2.38 1.32 ปานกลาง 
2. การร่วมแสดงความคิดเห็นหรือร่วมตัดสินใจวางแผนหรือเป็นที่ 
ปรึกษาในการดาเนินกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการจัดการด้าน 
สิ่งแวดล้อมของโรงแรม 
2.64 1.23 ปานกลาง 
3. การเสนอแนะแนวทางการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมภายในไป 
ยังผู้รับผิดชอบโดยตรงต่อการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมของโรงแรม 
2.64 1.18 ปานกลาง 
4. การมีส่วนในการใช้แรงงานหรือสละแรงงานในการดาเนินการด้าน 
การจัดการสิ่งแวดล้อมของโรงแรม 
3.09 1.05 ปานกลาง 
5. การนา ความรู้เรื่องการประหยัดพลังงานและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่ 
ได้รับจากการอบรมด้านสิ่งแวดล้อมของโรงแรมไปเผยแพร่สู่บุคคล 
อื่นในองค์กร 
3.21 1.11 ปานกลาง 
6. การสนใจติดตามผลการดาเนินงานด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม 
ของโรมแรม 
3.45 1.02 ปานกลาง 
7. การติดตามเพื่อหาทางปรับปรุงในการจัดการสิ่งแวดล้อมของโรงแรม 
ให้พัฒนาอย่างสม่า เสมอ 
3.26 1.08 ปานกลาง 
8. การจะเร่งหาทางแก้ไขหากพบว่า ผลการดาเนินงานในการจัดการ 
สิ่งแวดล้อมของโรงแรมมีปัญหาหรืออุปสรรค 
3.37 0.98 ปานกลาง 
9. การล้างหน้า แปรงฟันโดยใช้ภาชนะรองน้า แทนการใช้มือรองน้า 3.50 1.20 ปานกลาง 
10. การช่วยปิดก๊อกน้า เมื่อพบเห็นมีคนเปิดทิ้งไว้ 4.21 0.96 มาก 
11. การช่วยปิดประตูห้องที่เปิดเครื่องปรับอากาศ เมื่อพบเห็นมีคนเปิดทิ้งไว้ 4.27 0.84 มาก 
12. การสารวจปลั๊กไฟ และอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิดก่อนออกจากที่ทางาน 4.05 0.97 มาก 
13. การทาความสะอาด หรือแจ้งให้เจ้าหน้าที่มาทาความสะอาด 
เครื่องใช้ไฟฟ้าในแผนก 
3.31 1.06 ปานกลาง 
14. การชักชวนให้บุคคลอื่น ทั้งที่ทา งานและสมาชิกในครอบครัวร่วมกัน 
ลด ละ เลิกการใช้พลังงานอย่างสิ้นเปลือง 
3.85 1.04 มาก
ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2557 วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี 
ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2557 วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี 
27 
พฤติกรรม X S.D. การแปลผล 
15. การปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าเมื่อเลิกใช้ 4.36 0.78 มาก 
16. การพยายามหาสาเหตุเพื่อหาแนวทางแก้ไขเมื่อค่าสาธารณูปโภคของ 
โรงแรมสูงขึ้น 
3.47 1.13 ปานกลาง 
17. การแนะนา ผู้มารับบริการของโรงแรมให้ร่วมกันอนุรักษ์ทรัพยากร 
ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น การร่วมรณรงค์ประหยัดน้า ไฟฟ้า 
เป็นต้น 
3.27 1.22 ปานกลาง 
18. การแยกประเภทของขยะก่อนทิ้ง 3.81 0.99 มาก 
19. การช่วยดูแลรักษาความสะอาดสภาพแวดล้อมภายในบริเวณโรงแรม 3.83 1.07 มาก 
รวม 3.47 0.61 ปานกลาง 
เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมสนับสนุนการเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับ 
สิ่งแวดล้อม อยู่ในระดับปานกลาง เกือบทุกข้อ และเมื่อพิจารณาในรายละเอียด จะพบว่า ระดับพฤติกรรม 
สนับสนุนการเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ของผู้ปฏิบัติงานที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ “การปิด 
อุปกรณ์ไฟฟ้าเมื่อเลิกใช้” ในขณะที่ระดับพฤติกรรมสนับสนุนการเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 
ของผู้ปฏิบัติงานที่มีค่าเฉลี่ยต่า ที่สุด คือ “การได้รับการแต่งตั้งให้เป็นคณะกรรมการหรือคณะทา งาน หรือ 
เป็นผู้ประสานงานในการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมของโรงแรม” 
ส่วนที่ 3 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสนับสนุนการเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 
การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสนับสนุนการเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 
ผู้วิจัยทาการวิเคราะห์ด้วยการวิเคราะห์การถดถอย (Regression Analysis) วิธีการเลือกแบบถอยหลัง 
(Backward Selection) โดยพิจารณาค่าสัมประสิทธ์ิสหสัมพันธ์ระหว่าง 1) ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ตอบ 
แบบสอบถาม ซึ่งได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา และระยะเวลาทั้งหมดที่ปฏิบัติงานในองค์กร 2) ความรู้ 
ความเข้าใจเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 3) ทัศนคติเกี่ยวกับการอนุรักษ์ 
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 4) การรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและ 
สิ่งแวดล้อม กับพฤติกรรมสนับสนุนการเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ผลการวิเคราะห์แสดง 
รายละเอียดดังตาราง ต่อไปนี้
Dusit Thani College Journal Vol.8 No.1 January – June 2014 
28 
ตารางที่ 3 แสดงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสนับสนุนการเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 
ตัวแปร 
b 
SEb 
t 
P-value 
ค่าคงที่ (Constant) 
1.043 
0.402 
2.597 
0.011 
เพศ 
0.157 
0.087 
1.800 
0.074 
ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ในองค์กร (ปี) 
0.028 
0.010 
2.840 
0.005 
ความรู้ความเข้าใจ 
0.036 
0.0160 
2.238 
0.027 
การรับรู้ข่าวสาร 
0.474 
0.072 
6.624 
0.000 
R2= 0.569 
F-test = 8.366 
Adjusted R2= 0.324 
P-value = 0.000 
หมายเหตุ: เพศ แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ หญิง และชาย (กลุ่มอ้างอิง) 
จากตารางที่ 3 เมื่อพิจารณาผลการวิเคราะห์การถดถอย พบว่า ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ปฏิบัติงาน ที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสนับสนุนการเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ได้แก่ เพศ และระยะเวลา ในการปฏิบัติงานในองค์กร และพบว่า ความรู้ความเข้าใจ และการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสนับสนุนการเป็นโรงแรมที่เป็น มิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยมีค่าสัมประสิทธิ์ของการตัดสินใจ (R Square) เท่ากับ ร้อยละ 56.9 และค่า สัมประสิทธิ์ของการตัดสินใจที่ปรับแล้ว (Adjust R Square) เท่ากับ ร้อยละ 32.4 สามารถเขียนสมการ ถดถอย ได้ดังนี้ 
= 1.043 + 0.157Sex + 0.028Exp + 0.036Knowl + 0.474Perc 
กรณีเป็นเพศชาย 
= 1.043 + 0.028Exp + 0.036Knowl + 0.474Perc 
กรณีเป็นเพศหญิง 
= 1.210 + 0.028Exp + 0.036Knowl + 0.474Perc 
โดย 
แทนพฤติกรรมสนับสนุนการเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 
Sex แทน เพศ 
Exp แทน ระยะเวลาทั้งหมดที่ปฏิบัติงานในองค์กร (ปี) 
Knowl แทน คะแนนความรู้ความเข้าใจ 
Perc แทน คะแนนการรับรู้ข่าวสาร 
เมื่อพิจารณาจากสมการ สามารถอธิบายได้ว่า หากระยะเวลาทั้งหมดที่ปฏิบัติงานในองค์กร (ปี) เปลี่ยนไป 1 หน่วย พฤติกรรมสนับสนุนการเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จะเพิ่มขึ้น 0.028 หน่วย
ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2557 วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี 
ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2557 วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี 
29 
หากคะแนนความรู้ความเข้าใจเปลี่ยนไป 1 หน่วย พฤติกรรมสนับสนุนการเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อม จะเพิ่มขึ้น 0.036 หน่วย หากคะแนนการรับรู้ข่าวสารเปลี่ยนไป 1 หน่วย พฤติกรรมสนับสนุน การเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จะเพิ่มขึ้น 0.474 หน่วย และผู้ปฏิบัติงานเพศหญิง มีพฤติกรรม สนับสนุนการเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สูงกว่าผู้ปฏิบัติงานเพศชาย ดังนั้นการวิจัยในครั้งนี้ จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัยที่ 1 ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ ได้แก่ เพศ และระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ในองค์กร มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสนับสนุนการเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สมมติฐานการวิจัย ที่ 2 ปัจจัยด้านความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อ พฤติกรรมสนับสนุนการเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม คือ พนักงานที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมากกว่าจะมีพฤติกรรมสนับสนุนการเป็นโรงแรมที่เป็น มิตรกับสิ่งแวดล้อมสูงกว่าพนักงานที่มีความรู้ความเข้าใจน้อยกว่า สมมติฐานการวิจัยที่ 4 ปัจจัยด้านการ รับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสนับสนุน การเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม คือ พนักงานที่รับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมากกว่าจะมีพฤติกรรมสนับสนุนการเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อมสูงกว่าพนักงานที่รับรู้รับข่าวสารน้อยกว่า และปฏิเสธสมมติฐานการวิจัยที่ 3 ปัจจัยด้าน ทัศนคติเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสนับสนุนการ เป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม คือ ทัศนคติเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมของพนักงานไม่มีผลต่อพฤติกรรมสนับสนุนการเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 
อภิปรายผล 
จากผลการศึกษาพบว่าพนักงานมีพฤติกรรมสนับสนุนการเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อมในระดับปานกลาง สาหรับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสนับสนุนการเป็นโรงแรมที่เป็น มิตรกับสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ คือ เพศ โดยพบว่า พนักงานเพศหญิงมี พฤติกรรมสนับสนุนการเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สูงกว่าพนักงานเพศชาย สอดคล้องกับ การศึกษาของ วัลลี ธีรานันตชัย (2547) ที่พบว่า เพศ มีผลต่อพฤติกรรมการอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้า และการศึกษาของสายันห์ ปัญญาทรง (2545) และ ริษฎี เชิดชูงาม (2544) ที่พบว่า เพศ มีผลต่อ พฤติกรรมการอนุรักษ์แม่น้า แต่แตกต่างจากการศึกษาของ ชัชพล ทรงสุนทรวงศ์ (2550) ที่พบว่า เพศไม่มีผลต่อพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของพนักงาน นอกจากเพศแล้วปัจจัยด้านประชาศาสตร์ที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสนับสนุนการเป็นโรงแรมที่เป็นมิตร กับสิ่งแวดล้อมอีกปัจจัยหนึ่ง คือ ระยะเวลาในการปฏิบัติงานในองค์กร สอดคล้องกับการศึกษาของ ชัชพล
Dusit Thani College Journal Vol.8 No.1 January – June 2014 
30 
ทรงสุนทรวงศ์ (2550) ที่พบว่าระยะเวลาที่ทางานอยู่ในองค์กรมีผลต่อพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการ อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของพนักงาน นอกนั้นยังสอดคล้องกับการศึกษาของ วัลลี ธีรานันตชัย (2547) ที่พบว่าระยะเวลาในการปฏิบัติงานมีผลต่อการการอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้าของบุคลากร โรงพยาบาลทั่วไป จังหวัดราชบุรี 
นอกจากปัจจัยด้านประชากรศาสตร์แล้ว ผลการวิจัยพบว่า ยังมีปัจจัยด้านความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อพฤติกรรมสนับสนุนการเป็นโรงแรมที่ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สอดคล้องกับการศึกษาของ Kozar & Hiller (2013) พบว่าความรู้เกี่ยวกับ ประเด็นด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมมีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคที่เป็นมิตรกับสังคมและสิ่งแวดล้อม การศึกษาของเครือวัลย์ วงษ์มิตร (2554) พบว่าการได้รับความรู้ข้อมูลเกี่ยวกับประหยัดพลังงานไฟฟ้ามี ผลต่อพฤติกรรมประหยัดพลังงานไฟฟ้าของบุคลากรภายในองค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง และยัง สอดคล้องกับการศึกษาของวัลลี ธีรานันตชัย (2547) ที่พบว่า ระดับความรู้มีผลต่อการผันแปรของ พฤติกรรมการอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้าอีกด้วย 
นอกจากนั้นปัจจัยด้านการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ยังมีผลต่อพฤติกรรมสนับสนุนการเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอีกด้วย สอดคล้องกับการศึกษา ของ Zibarras & Ballinger (2011) ที่พบว่าการประชาสัมพันธ์ภายในองค์กรในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การ รณรงค์ การติดแผ่นป้ายประชาสัมพันธ์ การจัดอภิปรายของพนักงานในประเด็นด้านการอนุรักษ์ สิ่งแวดล้อม เป็นต้น เป็นแนวทางที่มีความสาคัญมากที่สุดในการที่องค์กรใช้ในการพัฒนาพฤติกรรมที่ เกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของพนักงาน นอกจากนั้นยังสอดคล้องกับการศึกษาของ วัลลี ธีรานันตชัย (2547) พบว่า การรับรู้ข่าวสารมีผลต่อพฤติกรรมการอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้าของบุคลากร โรงพยาบาลทั่วไป จังหวัดราชบุรี การศึกษาของ สายันห์ ปัญญาทรง (2545) พบว่า การรับรู้ข่าวสาร เกี่ยวกับการอนุรักษ์แม่น้ามีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการอนุรักษ์แม่น้าที่ถูกต้อง และสอดคล้องกับ การศึกษาของ ธีชวัน ญาณอุดม (2544) พบว่า การรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับการอนุรักษ์ป่าชายเลนมีผลต่อ พฤติกรรมการอนุรักษ์ป่าชายเลนของประชาชนในท้องถิ่น 
ส่วนปัจจัยด้านทัศนคติผลการวิจัยในครั้งนี้พบว่าไม่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสนับสนุนการเป็น โรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งไม่สอดคล้องกับการศึกษาของนักวิจัยหลายท่าน อาทิ การศึกษาของ Kozar & Hiller (2013) พบว่า ทัศนคติเกี่ยวกับสังคมและสิ่งแวดล้อมมีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคที่เป็น มิตรกับสังคมและสิ่งแวดล้อม และการศึกษาของ ชัชพล ทรงสุนทรวงศ์ (2550) ที่พบว่า ทัศนคติต่อการ อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของพนักงานมีผลต่อพฤติกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2557 วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี 
ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2557 วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี 
31 
ข้อเสนอแนะ 
1) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการนาผลการวิจัยไปใช้ 
จากผลการวิจัยครั้งนี้พบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสนับสนุนการเป็นโรงแรมที่เป็น มิตรกับสิ่งแวดล้อมของพนักงานโรงแรมดุสิต ปริ๊นเซส ศรีนครินทร์ ประกอบด้วย ปัจจัยด้าน ประชากรศาสตร์ คือ เพศ และระยะเวลาในการปฏิบัติงานในองค์กร ปัจจัยด้านความรู้ความเข้าใจ และ ปัจจัยด้านการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ซึ่งองค์กรสามารถนาผลการวิจัยดังกล่าวไปประยุกต์ใช้การพัฒนาส่งเสริม พฤติกรรมของพนักงานในองค์กรที่สนับสนุนการเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะปัจจัย ด้านการความรู้ความเข้าใจ โดยองค์กรควรจะมีแนวทางการพัฒนาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องการ อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้กับพนักงานในองค์กรผ่านแนวทางต่าง ๆ อาทิ การ ฝึกอบรมและพัฒนา การไปศึกษาดูงานภายนอกองค์กร การจัดทาคู่มือเพื่อให้ความรู้ เป็นต้น ส่วนปัจจัยที่ สาคัญอีกประการที่องค์กรควรให้ความสาคัญ คือ การให้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเรื่องของการเป็นโรงแรมที่ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมผ่านช่องทางการสื่อสารต่าง ๆ อาทิ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E - mail) การจัดทา บอร์ดประชาสัมพันธ์ในองค์กร การจัดกิจกรรมรณรงค์การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การประชุมภายในแผนก การจัดมุมเกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมภายในองค์กร การจัดทา แผ่นพับเพื่อนาเสนอข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว เป็นต้น 
2) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการทาวิจัยในครั้งต่อไป 
เนื่องจากการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยศึกษาจากเพียงแค่องค์กรเดียวซึ่งเป็นการศึกษาในลักษณะของ กรณีศึกษา (Case Study) ดังนั้นในการศึกษาครั้งต่อไปผู้วิจัยควรศึกษาจากหลายองค์กรเพื่อให้ผลการวิจัย สามารถอ้างอิงไปยังประชากรที่กว้างขึ้น
Dusit Thani College Journal Vol.8 No.1 January – June 2014 
32 
บรรณานุกรม 
กรมควบคุมมลพิษ. “พ.ร.บ. กฎหมาย และมาตรฐาน ที่เกี่ยวกับการควบคุมมลพิษ, 2556.” (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก : http://www.pcd.go.th/info_serv/reg_relatedlaw.html วันที่เข้าถึง : 9 พฤษภาคม 2556. 
เครือวัลย์ วงษ์มิตร. พฤติกรรมการประหยัดพลังงานไฟฟ้าของบุคลากรภายในองค์กรการปกครองส่วน ท้องถิ่น: องค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง. การค้นคว้าอิสระคณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2554. 
ชัชพล ทรงสุนทรวงศ์. พฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของ พนักงานโรงแรม : กรณีศึกษาโรงแรมระดับ 4 และ 5 ดาว ในกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ : วิทยาลัยดุสิตธานี, 2550. 
ธีชวัน ญาณอุดม. พฤติกรรมการอนุรักษ์ป่าชายเลนของประชาชนในท้องถิ่น: กรณีศึกษา ตาบลหงาว อาเภอเมือง จังหวัดระนอง. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิตสาขาสังคมศาสตร์ (สิ่งแวดล้อม) 
คณะสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, 2544. ริษฎี เชิดชูงาม. พฤติกรรมการอนุรักษ์แม่น้าบางปะกงของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิตสาขาสังคมศาสตร์ (สิ่งแวดล้อม) คณะสังคมศาสตร์ และมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, 2544. 
วัลลี ธีรานันตชัย. พฤติกรรมการอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้าของบุคลากรโรงพยาบาลทั่วไป จังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์สังคมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสิ่งแวดล้อม คณะสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, 2547. 
สายันห์ ปัญญาทรง. พฤติกรรมการอนุรักษ์แม่น้าของอาสาสมัครพิทักษ์แม่น้าน้อยใน จังหวัดสิงห์บุรี. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544. 
อรรถเวทย์ พฤกษ์สถาพร และคณะ. แนวปฏิบัติในการพัฒนาโรงแรมในเมืองให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พร้อมบริการที่เป็นเลิศ. กรุงเทพฯ : สานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา, 2554. 
Kozar & Hiller. Socially and Environmentally responsible apparel consumption: knowledge, attitudes and behaviors. Social Responsibility Journal. 9, 2 (2013) : 316 - 325. 
Yamane, Taro. Statistics, An Introductory Analysis. New York : Harper and Row, 1973. 
Yeung, Slyvester. “Hospitality Ethics Curriculum: an Industry Perspective.” International Journal of Contemporary Hospitality Management. 16, 4 (2004) : 253 – 262.
ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2557 วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี 
ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2557 วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี 
33 
Zibarras, L. & Ballinger, C. Promoting Environmental Behavior in the Workplace: Survey of UK Organizations. London : City University, 2012. 
นายสานิตย์ หนูนิล วุฒิการศึกษาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์และองค์การ คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สถาบันบัณฑิต พัฒนบริหารศาสตร์ ปัจจุบันศึกษาระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการจัดการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร ปัจจุบันดารงตาแหน่ง อาจารย์ประจา สานักวิชาบริหารธุรกิจ คณะอุตสาหกรรมบริการ วิทยาลัยดุสิตธานี 
รองศาสตราจารย์ประสพชัย พสุนนท์ วุฒิการศึกษาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร ปัจจุบันศึกษาระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการจัดการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร ปัจจุบันดารงตาแหน่ง อาจารย์ประจา สาขาวิชาการจัดการธุรกิจทั่วไป คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร

More Related Content

What's hot

Key of 3 การสถาปนาสุโขทัย-57
Key of 3 การสถาปนาสุโขทัย-57Key of 3 การสถาปนาสุโขทัย-57
Key of 3 การสถาปนาสุโขทัย-57Pracha Wongsrida
 
สงครามโลกครั้งที่ 1
สงครามโลกครั้งที่ 1สงครามโลกครั้งที่ 1
สงครามโลกครั้งที่ 1Taraya Srivilas
 
การบริการอาหารและเครื่องดื่ม
การบริการอาหารและเครื่องดื่มการบริการอาหารและเครื่องดื่ม
การบริการอาหารและเครื่องดื่มMai Nuntanuch
 
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง สมุนไพรกำจัดปลวก
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง สมุนไพรกำจัดปลวกโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง สมุนไพรกำจัดปลวก
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง สมุนไพรกำจัดปลวกพัน พัน
 
โครงงานการทำขนมเค้ก
โครงงานการทำขนมเค้กโครงงานการทำขนมเค้ก
โครงงานการทำขนมเค้กPloy Siriwanna
 
อิทธิพลของคริสต์ศาสนาในยุโรปสมัยกลาง ม.6.1
อิทธิพลของคริสต์ศาสนาในยุโรปสมัยกลาง ม.6.1อิทธิพลของคริสต์ศาสนาในยุโรปสมัยกลาง ม.6.1
อิทธิพลของคริสต์ศาสนาในยุโรปสมัยกลาง ม.6.1Omm Suwannavisut
 
ผลกระทบของการขยายอิทธิพลของประเทศในยุโรปที่มีต่อทวีปแอฟริกา
ผลกระทบของการขยายอิทธิพลของประเทศในยุโรปที่มีต่อทวีปแอฟริกาผลกระทบของการขยายอิทธิพลของประเทศในยุโรปที่มีต่อทวีปแอฟริกา
ผลกระทบของการขยายอิทธิพลของประเทศในยุโรปที่มีต่อทวีปแอฟริกาfriend209
 
Se4.Pptบทบาทหน้าที่
Se4.Pptบทบาทหน้าที่Se4.Pptบทบาทหน้าที่
Se4.Pptบทบาทหน้าที่sopida
 
การประสานประโยชน์ระหว่างประเทศ
การประสานประโยชน์ระหว่างประเทศการประสานประโยชน์ระหว่างประเทศ
การประสานประโยชน์ระหว่างประเทศPannaray Kaewmarueang
 
หลักการทรูแมน
หลักการทรูแมนหลักการทรูแมน
หลักการทรูแมนNattha Namm
 
ปัญหาท้องในวัยเรียน
ปัญหาท้องในวัยเรียนปัญหาท้องในวัยเรียน
ปัญหาท้องในวัยเรียนKornnicha Wonglai
 
ศาสนาซิกข์
ศาสนาซิกข์ศาสนาซิกข์
ศาสนาซิกข์Padvee Academy
 
ตัวอย่างแผนธุรกิจPocket tissue
ตัวอย่างแผนธุรกิจPocket tissueตัวอย่างแผนธุรกิจPocket tissue
ตัวอย่างแผนธุรกิจPocket tissueNattakorn Sunkdon
 
การขยายอิทธิพลของชาติตะวันตก
การขยายอิทธิพลของชาติตะวันตกการขยายอิทธิพลของชาติตะวันตก
การขยายอิทธิพลของชาติตะวันตกPannaray Kaewmarueang
 
ตัวอย่างแผนธุรกิจการทำร้านดอกไม้(Flower shop)
ตัวอย่างแผนธุรกิจการทำร้านดอกไม้(Flower shop)ตัวอย่างแผนธุรกิจการทำร้านดอกไม้(Flower shop)
ตัวอย่างแผนธุรกิจการทำร้านดอกไม้(Flower shop)Nattakorn Sunkdon
 
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้องบทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้องKittichai Pinlert
 
ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
ที่มาและความสำคัญของโครงงานที่มาและความสำคัญของโครงงาน
ที่มาและความสำคัญของโครงงานPhongsak Kongkham
 

What's hot (20)

Key of 3 การสถาปนาสุโขทัย-57
Key of 3 การสถาปนาสุโขทัย-57Key of 3 การสถาปนาสุโขทัย-57
Key of 3 การสถาปนาสุโขทัย-57
 
สงครามโลกครั้งที่ 1
สงครามโลกครั้งที่ 1สงครามโลกครั้งที่ 1
สงครามโลกครั้งที่ 1
 
การบริการอาหารและเครื่องดื่ม
การบริการอาหารและเครื่องดื่มการบริการอาหารและเครื่องดื่ม
การบริการอาหารและเครื่องดื่ม
 
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง สมุนไพรกำจัดปลวก
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง สมุนไพรกำจัดปลวกโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง สมุนไพรกำจัดปลวก
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง สมุนไพรกำจัดปลวก
 
โครงงานการทำขนมเค้ก
โครงงานการทำขนมเค้กโครงงานการทำขนมเค้ก
โครงงานการทำขนมเค้ก
 
สงครามเย็น
สงครามเย็นสงครามเย็น
สงครามเย็น
 
อิทธิพลของคริสต์ศาสนาในยุโรปสมัยกลาง ม.6.1
อิทธิพลของคริสต์ศาสนาในยุโรปสมัยกลาง ม.6.1อิทธิพลของคริสต์ศาสนาในยุโรปสมัยกลาง ม.6.1
อิทธิพลของคริสต์ศาสนาในยุโรปสมัยกลาง ม.6.1
 
ผลกระทบของการขยายอิทธิพลของประเทศในยุโรปที่มีต่อทวีปแอฟริกา
ผลกระทบของการขยายอิทธิพลของประเทศในยุโรปที่มีต่อทวีปแอฟริกาผลกระทบของการขยายอิทธิพลของประเทศในยุโรปที่มีต่อทวีปแอฟริกา
ผลกระทบของการขยายอิทธิพลของประเทศในยุโรปที่มีต่อทวีปแอฟริกา
 
Se4.Pptบทบาทหน้าที่
Se4.Pptบทบาทหน้าที่Se4.Pptบทบาทหน้าที่
Se4.Pptบทบาทหน้าที่
 
การประสานประโยชน์ระหว่างประเทศ
การประสานประโยชน์ระหว่างประเทศการประสานประโยชน์ระหว่างประเทศ
การประสานประโยชน์ระหว่างประเทศ
 
บทบาทสหรัฐอเมริกาหลังสงครามโลก2
บทบาทสหรัฐอเมริกาหลังสงครามโลก2บทบาทสหรัฐอเมริกาหลังสงครามโลก2
บทบาทสหรัฐอเมริกาหลังสงครามโลก2
 
หลักการทรูแมน
หลักการทรูแมนหลักการทรูแมน
หลักการทรูแมน
 
ปัญหาท้องในวัยเรียน
ปัญหาท้องในวัยเรียนปัญหาท้องในวัยเรียน
ปัญหาท้องในวัยเรียน
 
การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์
การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์
การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์
 
ศาสนาซิกข์
ศาสนาซิกข์ศาสนาซิกข์
ศาสนาซิกข์
 
ตัวอย่างแผนธุรกิจPocket tissue
ตัวอย่างแผนธุรกิจPocket tissueตัวอย่างแผนธุรกิจPocket tissue
ตัวอย่างแผนธุรกิจPocket tissue
 
การขยายอิทธิพลของชาติตะวันตก
การขยายอิทธิพลของชาติตะวันตกการขยายอิทธิพลของชาติตะวันตก
การขยายอิทธิพลของชาติตะวันตก
 
ตัวอย่างแผนธุรกิจการทำร้านดอกไม้(Flower shop)
ตัวอย่างแผนธุรกิจการทำร้านดอกไม้(Flower shop)ตัวอย่างแผนธุรกิจการทำร้านดอกไม้(Flower shop)
ตัวอย่างแผนธุรกิจการทำร้านดอกไม้(Flower shop)
 
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้องบทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
 
ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
ที่มาและความสำคัญของโครงงานที่มาและความสำคัญของโครงงาน
ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
 

Similar to บทความปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสนับสนุนการเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

การจัดการท่องเที่ยวสีเขียว Green Tourism
การจัดการท่องเที่ยวสีเขียว Green Tourismการจัดการท่องเที่ยวสีเขียว Green Tourism
การจัดการท่องเที่ยวสีเขียว Green TourismKorawan Sangkakorn
 
กรณีศึกษาการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมเชิงยุทธศาสตร์ในต่างประเทศ
กรณีศึกษาการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมเชิงยุทธศาสตร์ในต่างประเทศกรณีศึกษาการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมเชิงยุทธศาสตร์ในต่างประเทศ
กรณีศึกษาการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมเชิงยุทธศาสตร์ในต่างประเทศDr.Choen Krainara
 
กลุ่มมือเย็นเมืองเย็น : การขับเคลื่อนสู่เมืองสีเขียว
กลุ่มมือเย็นเมืองเย็น : การขับเคลื่อนสู่เมืองสีเขียวกลุ่มมือเย็นเมืองเย็น : การขับเคลื่อนสู่เมืองสีเขียว
กลุ่มมือเย็นเมืองเย็น : การขับเคลื่อนสู่เมืองสีเขียวFURD_RSU
 
โครงการนักสำรวจแห่งท้องทุ่ง
โครงการนักสำรวจแห่งท้องทุ่งโครงการนักสำรวจแห่งท้องทุ่ง
โครงการนักสำรวจแห่งท้องทุ่งTaweesak Poochai
 
รายงานการจัดการสภาพแวดล้อมของสถานประกอบการของ บริษัท NISSAN MOTOR CORPORATION
รายงานการจัดการสภาพแวดล้อมของสถานประกอบการของ บริษัท  NISSAN MOTOR CORPORATIONรายงานการจัดการสภาพแวดล้อมของสถานประกอบการของ บริษัท  NISSAN MOTOR CORPORATION
รายงานการจัดการสภาพแวดล้อมของสถานประกอบการของ บริษัท NISSAN MOTOR CORPORATIONPreedaphol Yaisawat
 
รูปเล่ม งานEma 1
รูปเล่ม งานEma 1รูปเล่ม งานEma 1
รูปเล่ม งานEma 1teeclub
 
นักบริหารงานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
นักบริหารงานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมนักบริหารงานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
นักบริหารงานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมประพันธ์ เวารัมย์
 
โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์Bliss_09
 
แผนการจัดการเรียนรู้หน่วยที่ ๔
แผนการจัดการเรียนรู้หน่วยที่ ๔แผนการจัดการเรียนรู้หน่วยที่ ๔
แผนการจัดการเรียนรู้หน่วยที่ ๔srkschool
 
จุดเน้นที่ 4
จุดเน้นที่ 4จุดเน้นที่ 4
จุดเน้นที่ 4Suwakhon Phus
 
twessapan,+##default.groups.name.editor##,+Natthawat+Suwakhon.pdf
twessapan,+##default.groups.name.editor##,+Natthawat+Suwakhon.pdftwessapan,+##default.groups.name.editor##,+Natthawat+Suwakhon.pdf
twessapan,+##default.groups.name.editor##,+Natthawat+Suwakhon.pdf60909
 
โครงการปลูกป่าด้อยมือเรา รวมเล่ม
โครงการปลูกป่าด้อยมือเรา รวมเล่มโครงการปลูกป่าด้อยมือเรา รวมเล่ม
โครงการปลูกป่าด้อยมือเรา รวมเล่มSudarat Sangsuriya
 
องค์ความรู้การบริการวิชาการโครงการ “คืนคลองสวยใส ให้ชุมชนของเรา”
องค์ความรู้การบริการวิชาการโครงการ “คืนคลองสวยใส ให้ชุมชนของเรา”องค์ความรู้การบริการวิชาการโครงการ “คืนคลองสวยใส ให้ชุมชนของเรา”
องค์ความรู้การบริการวิชาการโครงการ “คืนคลองสวยใส ให้ชุมชนของเรา”นู๋หนึ่ง nooneung
 
ไฟล์กิจกรรมสร้างสรรค์แนวนอน
ไฟล์กิจกรรมสร้างสรรค์แนวนอนไฟล์กิจกรรมสร้างสรรค์แนวนอน
ไฟล์กิจกรรมสร้างสรรค์แนวนอนkrupornpana55
 
ไฟล์กิจกรรมสร้างสรรค์
ไฟล์กิจกรรมสร้างสรรค์ไฟล์กิจกรรมสร้างสรรค์
ไฟล์กิจกรรมสร้างสรรค์krupornpana55
 
Hw4 cognitive tools for open-ended learning environments
Hw4   cognitive tools for open-ended learning environmentsHw4   cognitive tools for open-ended learning environments
Hw4 cognitive tools for open-ended learning environmentsSukanya Dee
 
RESILIENCE ทางออกของการจัดการน้ำท่วมที่ยั่งยืน
RESILIENCE ทางออกของการจัดการน้ำท่วมที่ยั่งยืนRESILIENCE ทางออกของการจัดการน้ำท่วมที่ยั่งยืน
RESILIENCE ทางออกของการจัดการน้ำท่วมที่ยั่งยืนFURD_RSU
 
Ice research 30 08-2012 (absolutely2012)
Ice research 30 08-2012 (absolutely2012)Ice research 30 08-2012 (absolutely2012)
Ice research 30 08-2012 (absolutely2012)Kruthai Kidsdee
 

Similar to บทความปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสนับสนุนการเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (20)

การจัดการท่องเที่ยวสีเขียว Green Tourism
การจัดการท่องเที่ยวสีเขียว Green Tourismการจัดการท่องเที่ยวสีเขียว Green Tourism
การจัดการท่องเที่ยวสีเขียว Green Tourism
 
กรณีศึกษาการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมเชิงยุทธศาสตร์ในต่างประเทศ
กรณีศึกษาการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมเชิงยุทธศาสตร์ในต่างประเทศกรณีศึกษาการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมเชิงยุทธศาสตร์ในต่างประเทศ
กรณีศึกษาการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมเชิงยุทธศาสตร์ในต่างประเทศ
 
กลุ่มมือเย็นเมืองเย็น : การขับเคลื่อนสู่เมืองสีเขียว
กลุ่มมือเย็นเมืองเย็น : การขับเคลื่อนสู่เมืองสีเขียวกลุ่มมือเย็นเมืองเย็น : การขับเคลื่อนสู่เมืองสีเขียว
กลุ่มมือเย็นเมืองเย็น : การขับเคลื่อนสู่เมืองสีเขียว
 
โครงการนักสำรวจแห่งท้องทุ่ง
โครงการนักสำรวจแห่งท้องทุ่งโครงการนักสำรวจแห่งท้องทุ่ง
โครงการนักสำรวจแห่งท้องทุ่ง
 
รายงานการจัดการสภาพแวดล้อมของสถานประกอบการของ บริษัท NISSAN MOTOR CORPORATION
รายงานการจัดการสภาพแวดล้อมของสถานประกอบการของ บริษัท  NISSAN MOTOR CORPORATIONรายงานการจัดการสภาพแวดล้อมของสถานประกอบการของ บริษัท  NISSAN MOTOR CORPORATION
รายงานการจัดการสภาพแวดล้อมของสถานประกอบการของ บริษัท NISSAN MOTOR CORPORATION
 
รูปเล่ม งานEma 1
รูปเล่ม งานEma 1รูปเล่ม งานEma 1
รูปเล่ม งานEma 1
 
นักบริหารงานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
นักบริหารงานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมนักบริหารงานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
นักบริหารงานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
 
โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์
 
แผนการจัดการเรียนรู้หน่วยที่ ๔
แผนการจัดการเรียนรู้หน่วยที่ ๔แผนการจัดการเรียนรู้หน่วยที่ ๔
แผนการจัดการเรียนรู้หน่วยที่ ๔
 
04
0404
04
 
จุดเน้นที่ 4
จุดเน้นที่ 4จุดเน้นที่ 4
จุดเน้นที่ 4
 
twessapan,+##default.groups.name.editor##,+Natthawat+Suwakhon.pdf
twessapan,+##default.groups.name.editor##,+Natthawat+Suwakhon.pdftwessapan,+##default.groups.name.editor##,+Natthawat+Suwakhon.pdf
twessapan,+##default.groups.name.editor##,+Natthawat+Suwakhon.pdf
 
The Value of Nature
The Value of NatureThe Value of Nature
The Value of Nature
 
โครงการปลูกป่าด้อยมือเรา รวมเล่ม
โครงการปลูกป่าด้อยมือเรา รวมเล่มโครงการปลูกป่าด้อยมือเรา รวมเล่ม
โครงการปลูกป่าด้อยมือเรา รวมเล่ม
 
องค์ความรู้การบริการวิชาการโครงการ “คืนคลองสวยใส ให้ชุมชนของเรา”
องค์ความรู้การบริการวิชาการโครงการ “คืนคลองสวยใส ให้ชุมชนของเรา”องค์ความรู้การบริการวิชาการโครงการ “คืนคลองสวยใส ให้ชุมชนของเรา”
องค์ความรู้การบริการวิชาการโครงการ “คืนคลองสวยใส ให้ชุมชนของเรา”
 
ไฟล์กิจกรรมสร้างสรรค์แนวนอน
ไฟล์กิจกรรมสร้างสรรค์แนวนอนไฟล์กิจกรรมสร้างสรรค์แนวนอน
ไฟล์กิจกรรมสร้างสรรค์แนวนอน
 
ไฟล์กิจกรรมสร้างสรรค์
ไฟล์กิจกรรมสร้างสรรค์ไฟล์กิจกรรมสร้างสรรค์
ไฟล์กิจกรรมสร้างสรรค์
 
Hw4 cognitive tools for open-ended learning environments
Hw4   cognitive tools for open-ended learning environmentsHw4   cognitive tools for open-ended learning environments
Hw4 cognitive tools for open-ended learning environments
 
RESILIENCE ทางออกของการจัดการน้ำท่วมที่ยั่งยืน
RESILIENCE ทางออกของการจัดการน้ำท่วมที่ยั่งยืนRESILIENCE ทางออกของการจัดการน้ำท่วมที่ยั่งยืน
RESILIENCE ทางออกของการจัดการน้ำท่วมที่ยั่งยืน
 
Ice research 30 08-2012 (absolutely2012)
Ice research 30 08-2012 (absolutely2012)Ice research 30 08-2012 (absolutely2012)
Ice research 30 08-2012 (absolutely2012)
 

More from Development Science College Puey Ungphakorn,Thammasat University

การเขียนบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ
การเขียนบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการการเขียนบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ
การเขียนบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการDevelopment Science College Puey Ungphakorn,Thammasat University
 
บทความวิชาการ ธรรมาภิบาลในองค์การภาคเอกชน : ธุรกิจภาคบริการ
บทความวิชาการ ธรรมาภิบาลในองค์การภาคเอกชน : ธุรกิจภาคบริการบทความวิชาการ ธรรมาภิบาลในองค์การภาคเอกชน : ธุรกิจภาคบริการ
บทความวิชาการ ธรรมาภิบาลในองค์การภาคเอกชน : ธุรกิจภาคบริการDevelopment Science College Puey Ungphakorn,Thammasat University
 
บทความ การจัดการข้ามวัฒนธรรมเพื่อการเข้าสู่ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
บทความ การจัดการข้ามวัฒนธรรมเพื่อการเข้าสู่ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนบทความ การจัดการข้ามวัฒนธรรมเพื่อการเข้าสู่ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
บทความ การจัดการข้ามวัฒนธรรมเพื่อการเข้าสู่ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนDevelopment Science College Puey Ungphakorn,Thammasat University
 
บทความวิชาการ ปัญหาการคุกคามทางเพศในอุตสาหกรรมบริการ แนวคิด ผลกระทบ และแนวทาง...
บทความวิชาการ ปัญหาการคุกคามทางเพศในอุตสาหกรรมบริการ แนวคิด ผลกระทบ และแนวทาง...บทความวิชาการ ปัญหาการคุกคามทางเพศในอุตสาหกรรมบริการ แนวคิด ผลกระทบ และแนวทาง...
บทความวิชาการ ปัญหาการคุกคามทางเพศในอุตสาหกรรมบริการ แนวคิด ผลกระทบ และแนวทาง...Development Science College Puey Ungphakorn,Thammasat University
 
บทความ พฤติกรรมสนับสนุนการเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิงแวดล้อม
บทความ พฤติกรรมสนับสนุนการเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิงแวดล้อมบทความ พฤติกรรมสนับสนุนการเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิงแวดล้อม
บทความ พฤติกรรมสนับสนุนการเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิงแวดล้อมDevelopment Science College Puey Ungphakorn,Thammasat University
 
บทความ การวิเคราะห์องค์การประเภทกิจการเพื่อสังคม
บทความ การวิเคราะห์องค์การประเภทกิจการเพื่อสังคมบทความ การวิเคราะห์องค์การประเภทกิจการเพื่อสังคม
บทความ การวิเคราะห์องค์การประเภทกิจการเพื่อสังคมDevelopment Science College Puey Ungphakorn,Thammasat University
 
บทความ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
บทความ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงบทความ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
บทความ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงDevelopment Science College Puey Ungphakorn,Thammasat University
 
บทความวิจัยบทบาทหน่วยงานทรัพยากรมนุษย์ในการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคม...
บทความวิจัยบทบาทหน่วยงานทรัพยากรมนุษย์ในการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคม...บทความวิจัยบทบาทหน่วยงานทรัพยากรมนุษย์ในการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคม...
บทความวิจัยบทบาทหน่วยงานทรัพยากรมนุษย์ในการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคม...Development Science College Puey Ungphakorn,Thammasat University
 
บทความ การพัฒนาจริยธรรมในองค์การผ่านกระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์
บทความ การพัฒนาจริยธรรมในองค์การผ่านกระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์บทความ การพัฒนาจริยธรรมในองค์การผ่านกระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์
บทความ การพัฒนาจริยธรรมในองค์การผ่านกระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์Development Science College Puey Ungphakorn,Thammasat University
 
บทความวิจัย จริยธรรมในอุตสาหกรรมบริการตามมุมมองนักศึกษาฝึกงานวิทยาลัยดุสิตธานี
บทความวิจัย จริยธรรมในอุตสาหกรรมบริการตามมุมมองนักศึกษาฝึกงานวิทยาลัยดุสิตธานีบทความวิจัย จริยธรรมในอุตสาหกรรมบริการตามมุมมองนักศึกษาฝึกงานวิทยาลัยดุสิตธานี
บทความวิจัย จริยธรรมในอุตสาหกรรมบริการตามมุมมองนักศึกษาฝึกงานวิทยาลัยดุสิตธานีDevelopment Science College Puey Ungphakorn,Thammasat University
 
บทความ กิจการเพื่อสังคมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
บทความ กิจการเพื่อสังคมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนบทความ กิจการเพื่อสังคมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
บทความ กิจการเพื่อสังคมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนDevelopment Science College Puey Ungphakorn,Thammasat University
 
บทความ จริยธรรมที่จำเป็นในอุตสาหกรรมบริการ
บทความ จริยธรรมที่จำเป็นในอุตสาหกรรมบริการบทความ จริยธรรมที่จำเป็นในอุตสาหกรรมบริการ
บทความ จริยธรรมที่จำเป็นในอุตสาหกรรมบริการDevelopment Science College Puey Ungphakorn,Thammasat University
 
บทความ การจัดการทรัพยากรมนุษย์ตามแนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การ สานิตย...
บทความ การจัดการทรัพยากรมนุษย์ตามแนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การ สานิตย...บทความ การจัดการทรัพยากรมนุษย์ตามแนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การ สานิตย...
บทความ การจัดการทรัพยากรมนุษย์ตามแนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การ สานิตย...Development Science College Puey Ungphakorn,Thammasat University
 
บทความ การเรียนรู้จริยธรรมทางธุรกิจผ่านการทำโครงการเพื่อสังคม
บทความ การเรียนรู้จริยธรรมทางธุรกิจผ่านการทำโครงการเพื่อสังคมบทความ การเรียนรู้จริยธรรมทางธุรกิจผ่านการทำโครงการเพื่อสังคม
บทความ การเรียนรู้จริยธรรมทางธุรกิจผ่านการทำโครงการเพื่อสังคมDevelopment Science College Puey Ungphakorn,Thammasat University
 

More from Development Science College Puey Ungphakorn,Thammasat University (19)

การเขียนบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ
การเขียนบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการการเขียนบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ
การเขียนบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ
 
บทความวิชาการ ธรรมาภิบาลในองค์การภาคเอกชน : ธุรกิจภาคบริการ
บทความวิชาการ ธรรมาภิบาลในองค์การภาคเอกชน : ธุรกิจภาคบริการบทความวิชาการ ธรรมาภิบาลในองค์การภาคเอกชน : ธุรกิจภาคบริการ
บทความวิชาการ ธรรมาภิบาลในองค์การภาคเอกชน : ธุรกิจภาคบริการ
 
บทความ การจัดการข้ามวัฒนธรรมเพื่อการเข้าสู่ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
บทความ การจัดการข้ามวัฒนธรรมเพื่อการเข้าสู่ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนบทความ การจัดการข้ามวัฒนธรรมเพื่อการเข้าสู่ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
บทความ การจัดการข้ามวัฒนธรรมเพื่อการเข้าสู่ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
 
บทความวิชาการ ปัญหาการคุกคามทางเพศในอุตสาหกรรมบริการ แนวคิด ผลกระทบ และแนวทาง...
บทความวิชาการ ปัญหาการคุกคามทางเพศในอุตสาหกรรมบริการ แนวคิด ผลกระทบ และแนวทาง...บทความวิชาการ ปัญหาการคุกคามทางเพศในอุตสาหกรรมบริการ แนวคิด ผลกระทบ และแนวทาง...
บทความวิชาการ ปัญหาการคุกคามทางเพศในอุตสาหกรรมบริการ แนวคิด ผลกระทบ และแนวทาง...
 
การจัดการในศตวรรษที่ 21
การจัดการในศตวรรษที่ 21การจัดการในศตวรรษที่ 21
การจัดการในศตวรรษที่ 21
 
Project based learning
Project based learningProject based learning
Project based learning
 
บทความ พฤติกรรมสนับสนุนการเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิงแวดล้อม
บทความ พฤติกรรมสนับสนุนการเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิงแวดล้อมบทความ พฤติกรรมสนับสนุนการเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิงแวดล้อม
บทความ พฤติกรรมสนับสนุนการเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิงแวดล้อม
 
2013 spuc full Proceeding
2013 spuc full Proceeding2013 spuc full Proceeding
2013 spuc full Proceeding
 
บทความ การวิเคราะห์องค์การประเภทกิจการเพื่อสังคม
บทความ การวิเคราะห์องค์การประเภทกิจการเพื่อสังคมบทความ การวิเคราะห์องค์การประเภทกิจการเพื่อสังคม
บทความ การวิเคราะห์องค์การประเภทกิจการเพื่อสังคม
 
Adult learning and HRD
Adult learning and HRDAdult learning and HRD
Adult learning and HRD
 
Sexual Harassment of Kitchen Department’s Staff in Hotel Business: A Study of...
Sexual Harassment of Kitchen Department’s Staff in Hotel Business: A Study of...Sexual Harassment of Kitchen Department’s Staff in Hotel Business: A Study of...
Sexual Harassment of Kitchen Department’s Staff in Hotel Business: A Study of...
 
บทความ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
บทความ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงบทความ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
บทความ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
 
บทความวิจัยบทบาทหน่วยงานทรัพยากรมนุษย์ในการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคม...
บทความวิจัยบทบาทหน่วยงานทรัพยากรมนุษย์ในการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคม...บทความวิจัยบทบาทหน่วยงานทรัพยากรมนุษย์ในการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคม...
บทความวิจัยบทบาทหน่วยงานทรัพยากรมนุษย์ในการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคม...
 
บทความ การพัฒนาจริยธรรมในองค์การผ่านกระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์
บทความ การพัฒนาจริยธรรมในองค์การผ่านกระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์บทความ การพัฒนาจริยธรรมในองค์การผ่านกระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์
บทความ การพัฒนาจริยธรรมในองค์การผ่านกระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์
 
บทความวิจัย จริยธรรมในอุตสาหกรรมบริการตามมุมมองนักศึกษาฝึกงานวิทยาลัยดุสิตธานี
บทความวิจัย จริยธรรมในอุตสาหกรรมบริการตามมุมมองนักศึกษาฝึกงานวิทยาลัยดุสิตธานีบทความวิจัย จริยธรรมในอุตสาหกรรมบริการตามมุมมองนักศึกษาฝึกงานวิทยาลัยดุสิตธานี
บทความวิจัย จริยธรรมในอุตสาหกรรมบริการตามมุมมองนักศึกษาฝึกงานวิทยาลัยดุสิตธานี
 
บทความ กิจการเพื่อสังคมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
บทความ กิจการเพื่อสังคมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนบทความ กิจการเพื่อสังคมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
บทความ กิจการเพื่อสังคมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
 
บทความ จริยธรรมที่จำเป็นในอุตสาหกรรมบริการ
บทความ จริยธรรมที่จำเป็นในอุตสาหกรรมบริการบทความ จริยธรรมที่จำเป็นในอุตสาหกรรมบริการ
บทความ จริยธรรมที่จำเป็นในอุตสาหกรรมบริการ
 
บทความ การจัดการทรัพยากรมนุษย์ตามแนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การ สานิตย...
บทความ การจัดการทรัพยากรมนุษย์ตามแนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การ สานิตย...บทความ การจัดการทรัพยากรมนุษย์ตามแนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การ สานิตย...
บทความ การจัดการทรัพยากรมนุษย์ตามแนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การ สานิตย...
 
บทความ การเรียนรู้จริยธรรมทางธุรกิจผ่านการทำโครงการเพื่อสังคม
บทความ การเรียนรู้จริยธรรมทางธุรกิจผ่านการทำโครงการเพื่อสังคมบทความ การเรียนรู้จริยธรรมทางธุรกิจผ่านการทำโครงการเพื่อสังคม
บทความ การเรียนรู้จริยธรรมทางธุรกิจผ่านการทำโครงการเพื่อสังคม
 

บทความปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสนับสนุนการเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

  • 1. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสนับสนุนการเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อม : กรณีศึกษา โรงแรมดุสิต ปริ๊นเซส ศรีนครินทร์ Factors Affecting Behavior in Support of Being an Environmentally Friendly Hotel : A Case Study of Dusit Princess Srinakarin Hotel สานิตย์ หนูนิล 1 ประสพชัย พสุนนท์ 2 Sanit Noonin, Prasopchai Pasunon บทคัดย่อ การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับพฤติกรรมสนับสนุนการเป็นโรงแรมที่เป็น มิตรกับสิ่งแวดล้อม และ 2) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสนับสนุนการเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อม โดยเป็นการวิจัยเชิงสารวจเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากประชากร คือ พนักงานโรงแรม ดุสิต ปริ๊นเซส ศรีนครินทร์ มีขนาดกลุ่มตัวอย่างเท่ากับ 129 คน ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมสนับสนุนการเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อยู่ในระดับปานกลาง ( X = 3.47) ส่วนการศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสนับสนุนการเป็นโรงแรม ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งผู้วิจัยทา การวิเคราะห์ด้วยการวิเคราะห์การถดถอย วิธีการเลือกแบบถอยหลัง พบว่า ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ ได้แก่ เพศ และระยะเวลาในการปฏิบัติงานในองค์กร ปัจจัยด้านความรู้ ความเข้าใจ และปัจจัยด้านการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีอิทธิพล ต่อพฤติกรรมสนับสนุนการเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยมีค่าสัมประสิทธ์ิของการตัดสินใจ เท่ากับ ร้อยละ 56.9 และค่าสัมประสิทธ์ิของการตัดสินใจที่ปรับแล้ว เท่ากับ ร้อยละ 32.4 คาสาคัญ : พฤติกรรม โรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ________________________________ 1 อาจารย์ประจา สา นักวิชาบริหารธุรกิจ คณะอุตสาหกรรมบริการ วิทยาลัยดุสิตธานี E-mail : sanit@dtc.ac.th 2 รองศาสตราจารย์ประจา สาขาการจัดการธุรกิจทั่วไป คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร E-mail :prasopchai@ms.su.ac.th
  • 2. ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2557 วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2557 วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี 17 Abstract The purposes of this research were 1) to study the level of behavior in support of being an environmentally friendly hotel, and 2) to study the factors that influence the behavior in support of being an environmentally friendly hotel. This research collected data by a questionnaire from employees of Dusit Princess Srinakarin Hotel, the sample size was 129. The study found that the level of behavior of support in being an environmentally friendly hotel was shown at a moderate level ( X = 3.47). The study of factors that influence the behavior of support in being an environmentally friendly hotel were analyzed by regression analysis (backward method) and found that personal factors (gender and duration), knowledge and perception about natural resources and environmental conservation factors influence the behavior of support in being an environmentally friendly hotel. The coefficient of determination (R Squared) is 56.9% and the adjusted coefficient of determination (Adjust R Squared) is 32.4%. Keywords : Behavior, Environmentally Friendly Hotel บทนา ปัจจุบันปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมเป็นปัญหาที่มีความสาคัญอย่างยิ่ง หลายองค์กรทั้งในประเทศ และต่างประเทศถือว่าปัญหาดังกล่าวเป็นประเด็นเร่งด่วนที่ต้องหยิบยกขึ้นมาแก้ไข โดยเฉพาะการเกิด ภาวะโลกร้อน (Global Warming) ปัญหาการขาดความสมดุลของระบบนิเวศ ปัญหาชั้นบรรยากาศถูก ทา ลาย ปัญหาฝนกรด ปัญหามลพิษทางน้า ปัญหาขยะเป็นพิษ เป็นต้น ซึ่งปัญหาที่กล่าวมานั้นเกิดขึ้นทั่วโลก ดังนั้นองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรไม่แสวงหาผลกาไร (NGOs) ต่าง ๆ จึงได้มีการกาหนด มาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อเป็นกรอบให้องค์กรในภาคส่วนต่าง ๆ นาไปปฏิบัติเพื่อป้องกัน และแก้ไข ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมกันอย่างกว้างขวาง อาทิ มาตรฐานสากลด้านสิ่งแวดล้อม (ISO - 14001) ที่กา หนด ขึ้นโดยองค์กรระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (International for Standardization Organization: ISO) เพื่อให้องค์กรต่าง ๆ มีระบบในการรักษา ควบคุม และปรับปรุงคุณภาพสิ่งแวดล้อม รวมทั้งป้องกัน สุขอนามัยของมนุษย์ สาหรับประเทศไทยประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมก็ถือว่าเป็นเรื่องที่มีความสาคัญมาก เช่นเดียวกัน โดยได้มีการกาหนดไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับปีพุทธศักราช 2550 โดยเฉพาะมาตราที่ 67 ที่ เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมโดยเป็นการระบุว่า “สิทธิของบุคคลที่จะมีส่วนร่วมกับรัฐและชุมชนในการอนุรักษ์ บารุงรักษาและการได้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ และในการ คุ้มครองส่งเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ดารงชีพอยู่ได้อย่างปกติและต่อเนื่องในสิ่งแวดล้อม
  • 3. Dusit Thani College Journal Vol.8 No.1 January – June 2014 18 ที่จะไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัย สวัสดิภาพ หรือคุณภาพชีวิตของตนย่อมได้รับความคุ้มครอง ตามความเหมาะสม” (กรมควบคุมมลพิษ, 2556) สาเหตุสาคัญประการหนึ่งของปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมนั้น เกิดจากกระบวนการผลิตสินค้าและบริการโดยเฉพาะอุตสาหกรรมการผลิตที่มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ เป็นจานวนมาก รวมทั้งยังมีส่วนทาลายสิ่งแวดล้อมอีกด้วย อาทิ การปล่อยน้าเสียและอากาศเป็นพิษ การเกิดขยะเป็นพิษจากกระบวนการผลิต เป็นต้น ธุรกิจโรงแรมก็ถือเป็นธุรกิจหนึ่งที่มีความสาคัญต่อการพัฒนาประเทศ เป็นธุรกิจที่ทารายได้ หลักให้กับประเทศไทย และมีแนวโน้มที่จะขยายตัวเพิ่มขึ้นในทุก ๆ ปี ซึ่งธุรกิจโรงแรมเองถือเป็นอีก ธุรกิจหนึ่งที่มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติในกระบวนการดาเนินงานเป็นจานวนมาก รวมทั้งยังสร้างปัญหา ด้านสิ่งแวดล้อมในวงกว้างอีกด้วย สอดคล้องกับผลการวิจัยที่พบว่า ปัญหาสาคัญที่เกิดขึ้นในธุรกิจ โรงแรมเกี่ยวข้องกับปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม อาทิ ปัญหาด้านการจัดการขยะเป็นพิษที่ไม่ถูกวิธี ปัญหา มลภาวะทางน้าและอากาศ เป็นต้น (Yeung, 2004) จากปัญหาดังกล่าวจึงได้เกิดกระแสให้ธุรกิจโรงแรมหัน มาให้ความสนใจกับปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมกันมากขึ้น อาทิ การกาหนดมาตรฐานใบไม้เขียว (Green Leaf) มาตรฐาน Green Globe มาตรฐาน Green Check เป็นต้น เพื่อให้โรงแรมต่าง ๆ นาไปเป็นแนวทางในการ ปฏิบัติเพื่อให้การดาเนินงานของโรงแรมเป็นไปตามมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะนาไปสู่การเป็น โรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งในการจะเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อมได้นั้นต้องประกอบด้วยปัจจัยต่าง ๆ โดยเฉพาะพฤติกรรมของพนักงานในโรงแรมที่ถือว่าเป็น ปัจจัยสาคัญที่สุดที่จะช่วยให้เกิดการพัฒนาไปสู่การเป็นเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้อย่าง แท้จริง โดยพฤติกรรมสนับสนุนการเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หมายถึง “การกระทาหรือการ แสดงออกของบุคลากรในองค์กรที่มีส่วนช่วยในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อ พัฒนาไปสู่การเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” โดยบุคลากรทุกระดับมีบทบาทสาคัญในการสร้าง ให้เกิดเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตัวอย่างพฤติกรรมสนับสนุนการเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อาทิ การศึกษาของ ชัชพล ทรงสุนทรวงศ์ (2550) เรื่อง พฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมของพนักงานโรงแรม ได้แบ่งพฤติกรรมออกเป็น 3 หมวด ได้แก่ 1) พฤติกรรมการอนุรักษ์น้า ในโรงแรม อาทิ ร่วมศึกษาปัญหา เสนอแนะความคิดเห็นเรื่องการประหยัดน้า ร่วมวางแผนโครงการการ ใช้น้าอย่างประหยัด ร่วมประชุมหาแนวทางรณรงค์การใช้น้าอย่างประหยัด การใช้น้าอย่างประหยัด และ ไม่เปิดก๊อกน้าทิ้งไว้ ช่วยกันปิดก๊อกน้าเมื่อพบเห็นว่ามีคนเปิดทิ้งไว้ เป็นต้น 2) พฤติกรรมการอนุรักษ์ พลังงานไฟฟ้าในโรงแรม อาทิ ร่วมวางแผนโครงการประหยัดไฟ ร่วมออกเงิน และวัสดุอุปกรณ์เพื่อช่วยใน การทาโครงการประหยัดไฟ ใช้ไฟฟ้าอย่างประหยัด และปิดไฟเมื่อเลิกใช้งาน ช่วยปิดประตูห้องที่เปิด
  • 4. ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2557 วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2557 วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี 19 เครื่องปรับอากาศ เป็นต้น 3) พฤติกรรมการรักษาสภาพแวดล้อมในโรงแรม อาทิ ร่วมศึกษาปัญหา เสนอ ความคิดเห็นการกาจัดหรือลดมลพิษในโรงแรม ร่วมประชุมทาโครงการกาจัดขยะและลดมลพิษใน โรงแรม ทิ้งขยะลงถัง และไม่ทิ้งขยะเรี่ยราดตามพื้น ช่วยดูแลรักษาความสะอาดสภาพแวดล้อมในโรงแรม เป็นต้น ส่วนอรรถเวทย์ พฤกษ์สถาพร และคณะ (2554) ได้สร้างเครื่องมือวัดพฤติกรรมที่สนับสนุนการ เป็นโรงแรมที่เป็นกับสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วยพฤติกรรมต่าง ๆ ที่หลากหลาย อาทิ พฤติกรรมการเข้า ร่วมเป็นกรรมการ คณะทางาน หรือเป็นผู้ประสานงานในการจัดการสิ่งแวดล้อมของโรงแรม พฤติกรรม การร่วมแสดงความคิดเห็น ร่วมตัดสินใจวางแผนหรือเป็นที่ปรึกษาในการดาเนินกิจกรรมต่าง ๆ ในการ จัดการสิ่งแวดล้อมของโรงแรม พฤติกรรมการเสนอแนะแนวทางการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมไป ยังผู้รับผิดชอบดาเนินการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมของโรงแรม พฤติกรรมการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการ อนุรักษ์พลังงานที่ได้รับจากการอบรมสู่บุคคลอื่น เป็นต้น จากการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องพบว่า มีหลายปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมที่สนับสนุนการเป็น โรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ จากการศึกษาของ วัลลี ธีรานันตชัย (2547) พบว่า เพศ มีผลต่อพฤติกรรมการอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้า นอกจากเพศแล้วปัจจัย ด้านประชาศาสตร์ที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสนับสนุนการเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอีก ปัจจัยหนึ่ง คือ ระยะเวลาในการปฏิบัติงานในองค์กร สอดคล้องกับการศึกษาของ ชัชพล ทรงสุนทรวงศ์ (2550) พบว่า ระยะเวลาที่ทางานอยู่ในองค์กรมีผลต่อพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของพนักงาน นอกจากนั้นยังสอดคล้องกับการศึกษาของ วัลลี ธีรานันตชัย (2547) ที่พบว่าระยะเวลาในการปฏิบัติงานมีผลต่อการการอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้าของบุคลากรโรงพยาบาล ทั่วไป จังหวัดราชบุรี ส่วนการศึกษาของสายันห์ ปัญญาทรง (2545) และ ริษฎี เชิดชูงาม (2544) พบว่า เพศ อายุ และอาชีพ มีผลต่อพฤติกรรมการอนุรักษ์แม่น้า ปัจจัยด้านความรู้ความเข้าใจ งานวิจัยที่สอดคล้อง ได้แก่ การศึกษาของ Kozar & Hiller (2013) พบว่าความรู้เกี่ยวกับประเด็นด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมมีผล ต่อพฤติกรรมการบริโภคที่เป็นมิตรกับสังคมและสิ่งแวดล้อม การศึกษาของ เครือวัลย์ วงษ์มิตร (2554) พบว่า การได้รับความรู้ข้อมูลเกี่ยวกับประหยัดพลังงานไฟฟ้ามีผลต่อพฤติกรรมประหยัดพลังงานไฟฟ้า ของบุคลากรภายในองค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง ส่วนการศึกษาของ วัลลี ธีรานันตชัย (2547) พบว่า ระดับความรู้มีผลต่อการผันแปรของพฤติกรรมการอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้า ปัจจัยด้านการรับรู้ข่าวสาร สอดคล้องกับการศึกษาของ Zibarras & Ballinger (2011) ที่พบว่า การประชาสัมพันธ์ภายในองค์กรใน รูปแบบต่าง ๆ เช่น การรณรงค์ การติดแผ่นป้ายประชาสัมพันธ์ การจัดอภิปรายของพนักงานในประเด็น ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เป็นต้น เป็นแนวทางที่มีความสาคัญมากที่สุดในการที่องค์กรใช้ในการพัฒนา พฤติกรรมที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของพนักงาน นอกจากนั้นยังมีการศึกษาที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
  • 5. Dusit Thani College Journal Vol.8 No.1 January – June 2014 20 การศึกษาของ วัลลี ธีรานันตชัย (2547) พบว่า การรับรู้ข่าวสารมีผลต่อพฤติกรรมการอนุรักษ์พลังงาน ไฟฟ้าของบุคลากรโรงพยาบาลทั่วไป จังหวัดราชบุรี การศึกษาของ สายันห์ ปัญญาทรง (2545) พบว่า การ รับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับการอนุรักษ์แม่น้ามีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการอนุรักษ์แม่น้าที่ถูกต้อง และ การศึกษาของ ธีชวัน ญาณอุดม (2544) พบว่า การรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับการอนุรักษ์ป่าชายเลนมีผลต่อ พฤติกรรมการอนุรักษ์ป่าชายเลนของประชาชนในท้องถิ่น และปัจจัยด้านทัศนคติของพนักงาน มีงานวิจัย ที่สอดคล้อง ดังนี้ การศึกษาของ Kozar & Hiller (2013) พบว่า ทัศนคติเกี่ยวกับสังคมและสิ่งแวดล้อมมีผล ต่อพฤติกรรมการบริโภคที่เป็นมิตรกับสังคมและสิ่งแวดล้อม การศึกษาของ ชัชพล ทรงสุนทรวงศ์ (2550) พบว่า ทัศนคติต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของพนักงานมีผลต่อพฤติกรรมการ อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น การไม่ปล่อยน้าให้สูญเปล่า และหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ การถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับอันตรายของมลพิษทางน้าให้ผู้ส่วนทราบ เป็นต้น การศึกษาของ เครือวัลย์ วงษ์มิตร (2554) พบว่า ทัศนคติมีผลต่อพฤติกรรมการประหยัดพลังงานไฟฟ้าของบุคลากรภายในองค์กร การศึกษาของวัลลี ธีรานันตชัย (2547) พบว่าทัศนคติเกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้า และการให้คุณค่า ต่อสิ่งแวดล้อมมีผลต่อพฤติกรรมการอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้า การศึกษาของ สายันห์ ปัญญาทรง (2545) พบว่า ทัศนคติมีผลต่อพฤติกรรมการอนุรักษ์แม่น้า และการศึกษาของ ธีชวัน ญาณอุดม (2544) พบว่า ทัศนคติต่อการอนุรักษ์ป่าชายเลนเป็นปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการอนุรักษ์ป่าชายเลนของประชาชนใน ท้องถิ่น ดังนั้นการวิจัยในครั้งนี้จึงมุ่งที่จะศึกษาถึงปัจจัยที่จะมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสนับสนุนการเป็น โรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ และเพื่อนาผลการวิจัยไปประยุกต์ใช้ต่อไป วัตถุประสงค์การวิจัย การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาระดับพฤติกรรมสนับสนุนการเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสนับสนุนการเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อม สมมติฐานในการวิจัย การวิจัยในครั้งนี้มีสมมติฐานในการวิจัย ดังนี้ สมมติฐานการวิจัยที่ 1: ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสนับสนุนการเป็น โรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
  • 6. ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2557 วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2557 วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี 21 สมมติฐานการวิจัยที่ 2: ปัจจัยด้านความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสนับสนุนการเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สมมติฐานการวิจัยที่ 3: ปัจจัยด้านทัศนคติเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสนับสนุนการเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สมมติฐานการวิจัยที่ 4: ปัจจัยด้านการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสนับสนุนการเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม กรอบแนวคิดการวิจัย จากการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องสรุปเป็นกรอบแนวคิดในการวิจัย เรื่อง พฤติกรรมที่ สนับสนุนการเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้ดังภาพต่อไปนี้ ภาพที่ 1 กรอบแนวคิดการวิจัย นิยามศัพท์ พฤติกรรมสนับสนุนการเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หมายถึง การกระทาหรือการ แสดงออกของพนักงานโรงแรมที่มีส่วนช่วยในการพัฒนาไปสู่การเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หมายถึง โรงแรมที่มีการดาเนินการธุรกิจที่ใส่ใจกับการ อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในทุก ๆ กระบวนการของการดาเนินการเพื่อให้มีผลกระทบ ต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด ปัจจัยด้านความรู้ความเข้าใจ ปัจจัยด้านทัศนคติ พฤติกรรมสนับสนุนการเป็น โรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ปัจจัยด้านการรับรู้ข่าวสาร ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์
  • 7. Dusit Thani College Journal Vol.8 No.1 January – June 2014 22 ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หมายถึง ความรู้ ความเข้าใจของพนักงานโรงแรมเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทัศนคติเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หมายถึง ความรู้สึกของ พนักงานโรงแรมเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หมายถึง การได้รับ ความรู้และข้อมูลต่าง ๆ ของพนักงานโรงแรมเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผ่านช่องทางการสื่อสารภายในองค์กร ได้แก่ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ บอร์ดประสัมพันธ์ของโรงแรม การชี้แจงโดยคณะกรรมการด้านสิ่งแวดล้อมของโรงแรม การชี้แจงโดยผู้บังคับบัญชา การประชุมของ แผนก/ฝ่าย และช่องทางการสื่อสารภายนอกองค์กร ได้แก่ วิทยุ โทรทัศน์ อินเทอร์เน็ต หนังสือพิมพ์/ วารสาร การจัดนิทรรศการด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ขอบเขตของการวิจัย ขอบเขตด้านประชากร การวิจัยในครั้งนี้ศึกษาเฉพาะพนักงานของโรงแรมดุสิต ปริ๊นเซส ศรีนครินทร์ โดยโรงแรมดังกล่าวได้ดาเนินการด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมา อย่างต่อเนื่อง ขอบเขตด้านเนื้อหา สาหรับขอบเขตด้านเนื้อที่เกี่ยวข้องกับโรงแรมที่เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อมในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยจากัดขอบเขตเพียงแค่ 3 ด้านหลัก ๆ คือ การอนุรักษ์ทรัพยากรน้า การ อนุรักษ์พลังงานไฟฟ้า และการกาจัดขยะที่ถูกวิธี ส่วนขอบเขตด้านระยะเวลา การวิจัยในครั้งนี้ใช้ ระยะเวลาในการดาเนินการวิจัยประมาณ 4 เดือน คือ ตั้งแต่ เดือนกรกฎาคม ถึงเดือนตุลาคม 2556 ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย 1. ตัวแปรอิสระ ประกอบด้วย 1) ตัวแปรด้านประชากรศาสตร์ ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา ระยะเวลาในการ ปฏิบัติงานในองค์กร 2) ตัวแปรด้านความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม ได้แก่ ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรน้า ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการ อนุรักษ์พลังงานไฟฟ้า และความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการกาจัดขยะที่ถูกวิธี 3) ตัวแปรด้านทัศนคติเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ทัศนคติเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรน้า ทัศนคติเกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้า และทัศนคติเกี่ยวกับ การกาจัดขยะที่ถูกวิธี
  • 8. ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2557 วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2557 วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี 23 4) ตัวแปรด้านการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรน้า การรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงาน ไฟฟ้า และการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับการกาจัดขยะที่ถูกวิธี 2. ตัวแปรตาม ได้แก่ พฤติกรรมสนับสนุนการเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ได้แก่ พฤติกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรน้า พฤติกรรมการอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้า และและพฤติกรรมการกาจัด ขยะที่ถูกวิธี ระเบียบวิธีวิจัย การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสารวจ (Survey Research) ระเบียบวิธีวิจัยมีรายละเอียด ดังนี้ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ พนักงานของโรงแรมดุสิต ปริ๊นเซส ศรีนครินทร์ จานวน ทั้งหมด 190 คน ผู้วิจัยกาหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ ทาโร่ ยามาเน่ ที่ระดับความเชื่อมั่นที่ 95% (Yamane, 1976 ) โดยมีขนาดกลุ่มตัวอย่างเท่ากับ 129 คน ผู้วิจัยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified Sampling) โดยแบ่งพนักงานออกเป็น 2 กลุ่มตามสายงาน คือ สายงานหลัก และสายงาน สนับสนุน ตามสัดส่วนของพนักงาน มีรายละเอียด ดังตารางที่ 1 ตารางที่ 1 แสดงกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยแบ่งตามสายงาน สายงาน ประชากร ขนาดตัวอย่าง สัดส่วน (ร้อยละ) สายงานหลัก 133 90 70 สายงานสนับสนุน 57 39 30 รวม 190 129 100 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม (Questionnaire) โดยแบ่งออกเป็น 6 ตอน ได้แก่ ตอนที่ 1 แบบสอบถามข้อมูลด้านประชากรศาสตร์ของผู้ตอบแบบสอบถาม ประกอบด้วย เพศ อายุ ระดับการศึกษา และระยะเวลาในการปฏิบัติงานอยู่ในองค์กร ตอนที่ 2 แบบสอบถามปัจจัยด้านความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วยข้อคาถามจานวน 20 ข้อ ตอนที่ 3 แบบสอบถามปัจจัยด้านทัศนคติเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วยข้อคาถามจานวน 14 ข้อ ตอนที่ 4 แบบสอบถามปัจจัยด้านการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับการ อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วยข้อคาถามจานวน 10 ข้อ และตอนที่ 5
  • 9. Dusit Thani College Journal Vol.8 No.1 January – June 2014 24 แบบสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมที่สนับสนุนการเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วยข้อ คาถามจานวน 19 ข้อ ขั้นตอนในการสร้างเครื่องมือ ผู้วิจัยมีขั้นตอนในการสร้างเครื่องมือการวิจัย ดังนี้ 1) ศึกษาข้อมูลเบื้องต้น โดยศึกษาหลักการ ทฤษฎี เอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นแนวคิดและแนวทางในการสร้างเครื่องมือ 2) สร้างเครื่องมือ ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้นาเครื่องมือการวิจัยที่เป็นแบบสอบถามของ ชัชพล ทรงสุนทรวงศ์ (2550) ใน การศึกษาเรื่องพฤติกรรมการมีส่วนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของพนักงาน โรงแรม: กรณีศึกษาโรงแรมระดับ 4 และ 5 ดาวในกรุงเทพมหานคร มาปรับ รวมทั้งมีการเพิ่มข้อคาถามใน แบบสอบถามให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การวิจัย แล้วนาเสนอที่ปรึกษางานวิจัย เพื่อพิจารณา แบบสอบถามเบื้องต้น 3) นาแบบสอบถามที่ได้ เสนอให้ผู้เชี่ยวชาญจานวน 3 ท่าน เพื่อตรวจสอบความ เที่ยงตรง (Validity) ของแบบสอบถาม 4)ปรับปรุงแบบสอบถามตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ แล้ว นาไปทดลองใช้ (Try out) กับกลุ่มตัวอย่างที่มีคุณลักษณะเดียวกันกับกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยจานวน ทั้งสิ้น 30 คน แล้วหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของคอนบาค (Cronbach’s Alpha Coefficient) และ 5) ปรับปรุง แบบสอบถามจากผลการทดลองแล้วนาไปใช้ในการเก็บข้อมูล การทดสอบคุณภาพเครื่องมือ การทดสอบคุณภาพเครื่องมือในการวิจัย เริ่มจากการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) โดยใช้ผู้เชี่ยวชาญจานวน 3 ท่าน ด้วยการหาค่า IOC โดยข้อคาถามทุกข้อมีค่า IOC ตั้งแต่ 0.5 ขึ้นไป และการหาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ประกอบด้วย การหาค่าความเชื่อมั่นของ แบบสอบถามตอนที่ 2 ด้านความรู้ความเข้าใจ โดยการหาค่าความสอดคล้องภายใน โดยใช้สูตร KR-20 ซึ่ง ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามมีค่าเท่ากับ 0.78 ส่วนการหาความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม ตอนที่ 3 - 5 โดยใช้วิธีการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของคอนบาค (Cronbach’s Alpha Coefficient) โดยมีค่า สัมประสิทธิ์แอลฟาของคอนบาคทั้งฉบับเท่ากับ 0.89 การเก็บรวบรวมข้อมูล การเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยใช้วิธีการเก็บรวมรวบข้อมูลด้วยตัวผู้วิจัยเอง โดยได้รับการช่วยเหลือจากผู้บริหาร คณะกรรมการด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม ตลอดจนฝ่ายบริหาร ทรัพยากรบุคคลของโรงแรมดุสิต ปริ๊นเซส ศรีนครินทร์ ในการช่วยประสานงานในการเก็บแบบสอบถาม ในช่วงเดือนตุลาคม 2556
  • 10. ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2557 วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2557 วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี 25 การวิเคราะห์ข้อมูล การวิจัยครั้งนี้วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณา (Descriptive Statistics) ประกอบด้วย ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสนับสนุนการเป็นโรงแรม ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ด้วยการวิเคราะห์การถดถอย (Regression Analysis) วิธีการเลือกแบบถอยหลัง (Backward Selection) ผลการวิจัย ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาในครั้งนี้เป็นเพศชาย จา นวน 56 คน คิดเป็น ร้อยละ 43.40 และเป็นเพศหญิง จา นวน 73 คน คิดเป็น ร้อยละ 56.60 อายุเฉลี่ย 33.53 ปี โดยอายุต่า สุด 18 ปี และสูงสุด 53 ปี มีการศึกษาอยู่ ในระดับประถมศึกษาปีที่ 6 จานวน 1 คน คิดเป็น ร้อยละ 0.80 ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นจานวน 20 คน คิดเป็น ร้อยละ 15.90 ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย/ปวช. จานวน 38 คน คิดเป็นร้อยละ 30.20 ระดับ อนุปริญญา/ ปวส. จานวน 17 คน คิดเป็น ร้อยละ13.50 ระดับปริญญาตรีจานวน 45 คน คิดเป็นร้อยละ 35.70 และระดับปริญญาโทจา นวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 4.00 มีระยะเวลาในการปฏิบัติงานในองค์กรแห่งนี้ เฉลี่ย 3.98 ปีโดยมีระยะเวลาในการปฏิบัติงานต่า สุด 1 เดือนและสูงสุด 23 ปี ส่วนที่ 2 ระดับพฤติกรรมสนับสนุนการเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมสนับสนุนการเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อม อยู่ในระดับปานกลาง ( X = 3.47) โดยมีรายละเอียดของพฤติกรรมในแต่ละข้อ ดังตาราง ต่อไปนี้
  • 11. Dusit Thani College Journal Vol.8 No.1 January – June 2014 26 ตารางที่ 2 แสดงค่าเฉลี่ย ( X ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และระดับพฤติกรรมสนับสนุนการเป็น โรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จาแนกเป็นรายข้อ พฤติกรรม X S.D. การแปลผล 1. การได้รับแต่งตั้งให้เป็นคณะกรรมการหรือคณะทา งาน หรือ เป็นผู้ประสานงานในการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมของโรงแรม 2.38 1.32 ปานกลาง 2. การร่วมแสดงความคิดเห็นหรือร่วมตัดสินใจวางแผนหรือเป็นที่ ปรึกษาในการดาเนินกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการจัดการด้าน สิ่งแวดล้อมของโรงแรม 2.64 1.23 ปานกลาง 3. การเสนอแนะแนวทางการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมภายในไป ยังผู้รับผิดชอบโดยตรงต่อการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมของโรงแรม 2.64 1.18 ปานกลาง 4. การมีส่วนในการใช้แรงงานหรือสละแรงงานในการดาเนินการด้าน การจัดการสิ่งแวดล้อมของโรงแรม 3.09 1.05 ปานกลาง 5. การนา ความรู้เรื่องการประหยัดพลังงานและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่ ได้รับจากการอบรมด้านสิ่งแวดล้อมของโรงแรมไปเผยแพร่สู่บุคคล อื่นในองค์กร 3.21 1.11 ปานกลาง 6. การสนใจติดตามผลการดาเนินงานด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม ของโรมแรม 3.45 1.02 ปานกลาง 7. การติดตามเพื่อหาทางปรับปรุงในการจัดการสิ่งแวดล้อมของโรงแรม ให้พัฒนาอย่างสม่า เสมอ 3.26 1.08 ปานกลาง 8. การจะเร่งหาทางแก้ไขหากพบว่า ผลการดาเนินงานในการจัดการ สิ่งแวดล้อมของโรงแรมมีปัญหาหรืออุปสรรค 3.37 0.98 ปานกลาง 9. การล้างหน้า แปรงฟันโดยใช้ภาชนะรองน้า แทนการใช้มือรองน้า 3.50 1.20 ปานกลาง 10. การช่วยปิดก๊อกน้า เมื่อพบเห็นมีคนเปิดทิ้งไว้ 4.21 0.96 มาก 11. การช่วยปิดประตูห้องที่เปิดเครื่องปรับอากาศ เมื่อพบเห็นมีคนเปิดทิ้งไว้ 4.27 0.84 มาก 12. การสารวจปลั๊กไฟ และอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิดก่อนออกจากที่ทางาน 4.05 0.97 มาก 13. การทาความสะอาด หรือแจ้งให้เจ้าหน้าที่มาทาความสะอาด เครื่องใช้ไฟฟ้าในแผนก 3.31 1.06 ปานกลาง 14. การชักชวนให้บุคคลอื่น ทั้งที่ทา งานและสมาชิกในครอบครัวร่วมกัน ลด ละ เลิกการใช้พลังงานอย่างสิ้นเปลือง 3.85 1.04 มาก
  • 12. ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2557 วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2557 วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี 27 พฤติกรรม X S.D. การแปลผล 15. การปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าเมื่อเลิกใช้ 4.36 0.78 มาก 16. การพยายามหาสาเหตุเพื่อหาแนวทางแก้ไขเมื่อค่าสาธารณูปโภคของ โรงแรมสูงขึ้น 3.47 1.13 ปานกลาง 17. การแนะนา ผู้มารับบริการของโรงแรมให้ร่วมกันอนุรักษ์ทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น การร่วมรณรงค์ประหยัดน้า ไฟฟ้า เป็นต้น 3.27 1.22 ปานกลาง 18. การแยกประเภทของขยะก่อนทิ้ง 3.81 0.99 มาก 19. การช่วยดูแลรักษาความสะอาดสภาพแวดล้อมภายในบริเวณโรงแรม 3.83 1.07 มาก รวม 3.47 0.61 ปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมสนับสนุนการเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อม อยู่ในระดับปานกลาง เกือบทุกข้อ และเมื่อพิจารณาในรายละเอียด จะพบว่า ระดับพฤติกรรม สนับสนุนการเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ของผู้ปฏิบัติงานที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ “การปิด อุปกรณ์ไฟฟ้าเมื่อเลิกใช้” ในขณะที่ระดับพฤติกรรมสนับสนุนการเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ของผู้ปฏิบัติงานที่มีค่าเฉลี่ยต่า ที่สุด คือ “การได้รับการแต่งตั้งให้เป็นคณะกรรมการหรือคณะทา งาน หรือ เป็นผู้ประสานงานในการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมของโรงแรม” ส่วนที่ 3 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสนับสนุนการเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสนับสนุนการเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ผู้วิจัยทาการวิเคราะห์ด้วยการวิเคราะห์การถดถอย (Regression Analysis) วิธีการเลือกแบบถอยหลัง (Backward Selection) โดยพิจารณาค่าสัมประสิทธ์ิสหสัมพันธ์ระหว่าง 1) ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ตอบ แบบสอบถาม ซึ่งได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา และระยะเวลาทั้งหมดที่ปฏิบัติงานในองค์กร 2) ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 3) ทัศนคติเกี่ยวกับการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 4) การรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม กับพฤติกรรมสนับสนุนการเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ผลการวิเคราะห์แสดง รายละเอียดดังตาราง ต่อไปนี้
  • 13. Dusit Thani College Journal Vol.8 No.1 January – June 2014 28 ตารางที่ 3 แสดงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสนับสนุนการเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตัวแปร b SEb t P-value ค่าคงที่ (Constant) 1.043 0.402 2.597 0.011 เพศ 0.157 0.087 1.800 0.074 ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ในองค์กร (ปี) 0.028 0.010 2.840 0.005 ความรู้ความเข้าใจ 0.036 0.0160 2.238 0.027 การรับรู้ข่าวสาร 0.474 0.072 6.624 0.000 R2= 0.569 F-test = 8.366 Adjusted R2= 0.324 P-value = 0.000 หมายเหตุ: เพศ แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ หญิง และชาย (กลุ่มอ้างอิง) จากตารางที่ 3 เมื่อพิจารณาผลการวิเคราะห์การถดถอย พบว่า ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ปฏิบัติงาน ที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสนับสนุนการเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ได้แก่ เพศ และระยะเวลา ในการปฏิบัติงานในองค์กร และพบว่า ความรู้ความเข้าใจ และการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสนับสนุนการเป็นโรงแรมที่เป็น มิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยมีค่าสัมประสิทธิ์ของการตัดสินใจ (R Square) เท่ากับ ร้อยละ 56.9 และค่า สัมประสิทธิ์ของการตัดสินใจที่ปรับแล้ว (Adjust R Square) เท่ากับ ร้อยละ 32.4 สามารถเขียนสมการ ถดถอย ได้ดังนี้ = 1.043 + 0.157Sex + 0.028Exp + 0.036Knowl + 0.474Perc กรณีเป็นเพศชาย = 1.043 + 0.028Exp + 0.036Knowl + 0.474Perc กรณีเป็นเพศหญิง = 1.210 + 0.028Exp + 0.036Knowl + 0.474Perc โดย แทนพฤติกรรมสนับสนุนการเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม Sex แทน เพศ Exp แทน ระยะเวลาทั้งหมดที่ปฏิบัติงานในองค์กร (ปี) Knowl แทน คะแนนความรู้ความเข้าใจ Perc แทน คะแนนการรับรู้ข่าวสาร เมื่อพิจารณาจากสมการ สามารถอธิบายได้ว่า หากระยะเวลาทั้งหมดที่ปฏิบัติงานในองค์กร (ปี) เปลี่ยนไป 1 หน่วย พฤติกรรมสนับสนุนการเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จะเพิ่มขึ้น 0.028 หน่วย
  • 14. ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2557 วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2557 วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี 29 หากคะแนนความรู้ความเข้าใจเปลี่ยนไป 1 หน่วย พฤติกรรมสนับสนุนการเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อม จะเพิ่มขึ้น 0.036 หน่วย หากคะแนนการรับรู้ข่าวสารเปลี่ยนไป 1 หน่วย พฤติกรรมสนับสนุน การเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จะเพิ่มขึ้น 0.474 หน่วย และผู้ปฏิบัติงานเพศหญิง มีพฤติกรรม สนับสนุนการเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สูงกว่าผู้ปฏิบัติงานเพศชาย ดังนั้นการวิจัยในครั้งนี้ จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัยที่ 1 ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ ได้แก่ เพศ และระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ในองค์กร มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสนับสนุนการเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สมมติฐานการวิจัย ที่ 2 ปัจจัยด้านความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อ พฤติกรรมสนับสนุนการเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม คือ พนักงานที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมากกว่าจะมีพฤติกรรมสนับสนุนการเป็นโรงแรมที่เป็น มิตรกับสิ่งแวดล้อมสูงกว่าพนักงานที่มีความรู้ความเข้าใจน้อยกว่า สมมติฐานการวิจัยที่ 4 ปัจจัยด้านการ รับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสนับสนุน การเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม คือ พนักงานที่รับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมากกว่าจะมีพฤติกรรมสนับสนุนการเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อมสูงกว่าพนักงานที่รับรู้รับข่าวสารน้อยกว่า และปฏิเสธสมมติฐานการวิจัยที่ 3 ปัจจัยด้าน ทัศนคติเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสนับสนุนการ เป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม คือ ทัศนคติเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมของพนักงานไม่มีผลต่อพฤติกรรมสนับสนุนการเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อภิปรายผล จากผลการศึกษาพบว่าพนักงานมีพฤติกรรมสนับสนุนการเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อมในระดับปานกลาง สาหรับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสนับสนุนการเป็นโรงแรมที่เป็น มิตรกับสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ คือ เพศ โดยพบว่า พนักงานเพศหญิงมี พฤติกรรมสนับสนุนการเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สูงกว่าพนักงานเพศชาย สอดคล้องกับ การศึกษาของ วัลลี ธีรานันตชัย (2547) ที่พบว่า เพศ มีผลต่อพฤติกรรมการอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้า และการศึกษาของสายันห์ ปัญญาทรง (2545) และ ริษฎี เชิดชูงาม (2544) ที่พบว่า เพศ มีผลต่อ พฤติกรรมการอนุรักษ์แม่น้า แต่แตกต่างจากการศึกษาของ ชัชพล ทรงสุนทรวงศ์ (2550) ที่พบว่า เพศไม่มีผลต่อพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของพนักงาน นอกจากเพศแล้วปัจจัยด้านประชาศาสตร์ที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสนับสนุนการเป็นโรงแรมที่เป็นมิตร กับสิ่งแวดล้อมอีกปัจจัยหนึ่ง คือ ระยะเวลาในการปฏิบัติงานในองค์กร สอดคล้องกับการศึกษาของ ชัชพล
  • 15. Dusit Thani College Journal Vol.8 No.1 January – June 2014 30 ทรงสุนทรวงศ์ (2550) ที่พบว่าระยะเวลาที่ทางานอยู่ในองค์กรมีผลต่อพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการ อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของพนักงาน นอกนั้นยังสอดคล้องกับการศึกษาของ วัลลี ธีรานันตชัย (2547) ที่พบว่าระยะเวลาในการปฏิบัติงานมีผลต่อการการอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้าของบุคลากร โรงพยาบาลทั่วไป จังหวัดราชบุรี นอกจากปัจจัยด้านประชากรศาสตร์แล้ว ผลการวิจัยพบว่า ยังมีปัจจัยด้านความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อพฤติกรรมสนับสนุนการเป็นโรงแรมที่ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สอดคล้องกับการศึกษาของ Kozar & Hiller (2013) พบว่าความรู้เกี่ยวกับ ประเด็นด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมมีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคที่เป็นมิตรกับสังคมและสิ่งแวดล้อม การศึกษาของเครือวัลย์ วงษ์มิตร (2554) พบว่าการได้รับความรู้ข้อมูลเกี่ยวกับประหยัดพลังงานไฟฟ้ามี ผลต่อพฤติกรรมประหยัดพลังงานไฟฟ้าของบุคลากรภายในองค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง และยัง สอดคล้องกับการศึกษาของวัลลี ธีรานันตชัย (2547) ที่พบว่า ระดับความรู้มีผลต่อการผันแปรของ พฤติกรรมการอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้าอีกด้วย นอกจากนั้นปัจจัยด้านการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ยังมีผลต่อพฤติกรรมสนับสนุนการเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอีกด้วย สอดคล้องกับการศึกษา ของ Zibarras & Ballinger (2011) ที่พบว่าการประชาสัมพันธ์ภายในองค์กรในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การ รณรงค์ การติดแผ่นป้ายประชาสัมพันธ์ การจัดอภิปรายของพนักงานในประเด็นด้านการอนุรักษ์ สิ่งแวดล้อม เป็นต้น เป็นแนวทางที่มีความสาคัญมากที่สุดในการที่องค์กรใช้ในการพัฒนาพฤติกรรมที่ เกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของพนักงาน นอกจากนั้นยังสอดคล้องกับการศึกษาของ วัลลี ธีรานันตชัย (2547) พบว่า การรับรู้ข่าวสารมีผลต่อพฤติกรรมการอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้าของบุคลากร โรงพยาบาลทั่วไป จังหวัดราชบุรี การศึกษาของ สายันห์ ปัญญาทรง (2545) พบว่า การรับรู้ข่าวสาร เกี่ยวกับการอนุรักษ์แม่น้ามีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการอนุรักษ์แม่น้าที่ถูกต้อง และสอดคล้องกับ การศึกษาของ ธีชวัน ญาณอุดม (2544) พบว่า การรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับการอนุรักษ์ป่าชายเลนมีผลต่อ พฤติกรรมการอนุรักษ์ป่าชายเลนของประชาชนในท้องถิ่น ส่วนปัจจัยด้านทัศนคติผลการวิจัยในครั้งนี้พบว่าไม่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสนับสนุนการเป็น โรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งไม่สอดคล้องกับการศึกษาของนักวิจัยหลายท่าน อาทิ การศึกษาของ Kozar & Hiller (2013) พบว่า ทัศนคติเกี่ยวกับสังคมและสิ่งแวดล้อมมีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคที่เป็น มิตรกับสังคมและสิ่งแวดล้อม และการศึกษาของ ชัชพล ทรงสุนทรวงศ์ (2550) ที่พบว่า ทัศนคติต่อการ อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของพนักงานมีผลต่อพฤติกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  • 16. ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2557 วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2557 วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี 31 ข้อเสนอแนะ 1) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการนาผลการวิจัยไปใช้ จากผลการวิจัยครั้งนี้พบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสนับสนุนการเป็นโรงแรมที่เป็น มิตรกับสิ่งแวดล้อมของพนักงานโรงแรมดุสิต ปริ๊นเซส ศรีนครินทร์ ประกอบด้วย ปัจจัยด้าน ประชากรศาสตร์ คือ เพศ และระยะเวลาในการปฏิบัติงานในองค์กร ปัจจัยด้านความรู้ความเข้าใจ และ ปัจจัยด้านการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ซึ่งองค์กรสามารถนาผลการวิจัยดังกล่าวไปประยุกต์ใช้การพัฒนาส่งเสริม พฤติกรรมของพนักงานในองค์กรที่สนับสนุนการเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะปัจจัย ด้านการความรู้ความเข้าใจ โดยองค์กรควรจะมีแนวทางการพัฒนาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องการ อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้กับพนักงานในองค์กรผ่านแนวทางต่าง ๆ อาทิ การ ฝึกอบรมและพัฒนา การไปศึกษาดูงานภายนอกองค์กร การจัดทาคู่มือเพื่อให้ความรู้ เป็นต้น ส่วนปัจจัยที่ สาคัญอีกประการที่องค์กรควรให้ความสาคัญ คือ การให้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเรื่องของการเป็นโรงแรมที่ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมผ่านช่องทางการสื่อสารต่าง ๆ อาทิ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E - mail) การจัดทา บอร์ดประชาสัมพันธ์ในองค์กร การจัดกิจกรรมรณรงค์การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การประชุมภายในแผนก การจัดมุมเกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมภายในองค์กร การจัดทา แผ่นพับเพื่อนาเสนอข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว เป็นต้น 2) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการทาวิจัยในครั้งต่อไป เนื่องจากการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยศึกษาจากเพียงแค่องค์กรเดียวซึ่งเป็นการศึกษาในลักษณะของ กรณีศึกษา (Case Study) ดังนั้นในการศึกษาครั้งต่อไปผู้วิจัยควรศึกษาจากหลายองค์กรเพื่อให้ผลการวิจัย สามารถอ้างอิงไปยังประชากรที่กว้างขึ้น
  • 17. Dusit Thani College Journal Vol.8 No.1 January – June 2014 32 บรรณานุกรม กรมควบคุมมลพิษ. “พ.ร.บ. กฎหมาย และมาตรฐาน ที่เกี่ยวกับการควบคุมมลพิษ, 2556.” (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก : http://www.pcd.go.th/info_serv/reg_relatedlaw.html วันที่เข้าถึง : 9 พฤษภาคม 2556. เครือวัลย์ วงษ์มิตร. พฤติกรรมการประหยัดพลังงานไฟฟ้าของบุคลากรภายในองค์กรการปกครองส่วน ท้องถิ่น: องค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง. การค้นคว้าอิสระคณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2554. ชัชพล ทรงสุนทรวงศ์. พฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของ พนักงานโรงแรม : กรณีศึกษาโรงแรมระดับ 4 และ 5 ดาว ในกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ : วิทยาลัยดุสิตธานี, 2550. ธีชวัน ญาณอุดม. พฤติกรรมการอนุรักษ์ป่าชายเลนของประชาชนในท้องถิ่น: กรณีศึกษา ตาบลหงาว อาเภอเมือง จังหวัดระนอง. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิตสาขาสังคมศาสตร์ (สิ่งแวดล้อม) คณะสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, 2544. ริษฎี เชิดชูงาม. พฤติกรรมการอนุรักษ์แม่น้าบางปะกงของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิตสาขาสังคมศาสตร์ (สิ่งแวดล้อม) คณะสังคมศาสตร์ และมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, 2544. วัลลี ธีรานันตชัย. พฤติกรรมการอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้าของบุคลากรโรงพยาบาลทั่วไป จังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์สังคมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสิ่งแวดล้อม คณะสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, 2547. สายันห์ ปัญญาทรง. พฤติกรรมการอนุรักษ์แม่น้าของอาสาสมัครพิทักษ์แม่น้าน้อยใน จังหวัดสิงห์บุรี. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544. อรรถเวทย์ พฤกษ์สถาพร และคณะ. แนวปฏิบัติในการพัฒนาโรงแรมในเมืองให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พร้อมบริการที่เป็นเลิศ. กรุงเทพฯ : สานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา, 2554. Kozar & Hiller. Socially and Environmentally responsible apparel consumption: knowledge, attitudes and behaviors. Social Responsibility Journal. 9, 2 (2013) : 316 - 325. Yamane, Taro. Statistics, An Introductory Analysis. New York : Harper and Row, 1973. Yeung, Slyvester. “Hospitality Ethics Curriculum: an Industry Perspective.” International Journal of Contemporary Hospitality Management. 16, 4 (2004) : 253 – 262.
  • 18. ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2557 วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2557 วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี 33 Zibarras, L. & Ballinger, C. Promoting Environmental Behavior in the Workplace: Survey of UK Organizations. London : City University, 2012. นายสานิตย์ หนูนิล วุฒิการศึกษาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์และองค์การ คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สถาบันบัณฑิต พัฒนบริหารศาสตร์ ปัจจุบันศึกษาระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการจัดการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร ปัจจุบันดารงตาแหน่ง อาจารย์ประจา สานักวิชาบริหารธุรกิจ คณะอุตสาหกรรมบริการ วิทยาลัยดุสิตธานี รองศาสตราจารย์ประสพชัย พสุนนท์ วุฒิการศึกษาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร ปัจจุบันศึกษาระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการจัดการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร ปัจจุบันดารงตาแหน่ง อาจารย์ประจา สาขาวิชาการจัดการธุรกิจทั่วไป คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร