SlideShare a Scribd company logo
ชีวิตดีเมื่อมีของน้อย
ปรัชญาความสุขฉบับมินิมอล
James Wallman
STUFFOCATION
ชีวิตดีเมื่อมีของน้อย: ปรัชญาความสุขฉบับมินิมอล
Stuffocation
Original English language edition first published by Penguin Books Ltd, London
Text copyright © James Wallman 2013
The author has asserted his moral rights.
Thai language translation copyright © 2019 by Superposition Co., Ltd.
All rights reserved.
เลขมาตรฐานสากลประจ�าหนังสือ ISBN 978-616-8109-15-1
ผู้เขียน James Wallman
ผู้แปล นรินทร์ องค์อินทรี
บรรณาธิการ กนกกาญจน์ เวชชวิศิษฏ์, ธีร์ มีนสุข
รูปเล่มและออกแบบปก สมเกียรติ ภูผาสิทธิ์
ราคา 245 บาท
จัดพิมพ์โดย ส�านักพิมพ์บิงโก
ภายในเครือ บริษัท ซุปเปอร์โพซิชั่น จ�ากัด (Superposition Co., Ltd.)
18 ซอยดุลิยา ถนนกาญจนาภิเษก แขวงบางระมาด เขตตลิ่งชัน กทม. 10170
อีเมล superposition.books@gmail.com
โทรศัพท์ 094-810-7272
เว็บไซต์ www.bingobook.co เฟซบุ๊ก www.facebook.com/bingobooks
จัดจ�าหน่ายโดย
บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จ�ากัด (มหาชน) SE-EDUCATION Public Company Limited
เลขที่ 1858/87-90 ถนนเทพรัตน แขวงบางนาใต้ เขตบางนา กรุงเทพฯ 10260
โทร. 0-2826-8000 โทรสาร 0-2826-8999
เว็บไซต์ www.se-ed.com
พิมพ์ที่ P.R. Color Print โทรศัพท์ 02-806-6344
หากต้องการสั่งซื้อเป็นจ�านวนมาก กรุณาติดต่อรับส่วนลดได้ที่ บริษัท ซุปเปอร์โพซิชั่น จ�ากัด
อีเมล superposition.books@gmail.com
สารบัญ
บทน�า
เรามีข้าวของเยอะไปแล้ว 1
ส่วนที่ 1 ปัญหา
อาการอึดอัดคับของ
บทที่ 1 นักมานุษยวิทยากับภาวะรกขั้นวิกฤต 33
บทที่ 2 ด้านมืดของวัตถุนิยม 56
ส่วนที่ 2 เรามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร
จุดเริ่มต้นของวัฒนธรรมใช้ทิ้งใช้ขว้าง
บทที่ 3 ต้นฉบับกับงานสร้างความต้องการ 65
บทที่ 4 บาร์บรา สไตรแซนด์ กับกฎแห่งผลพวงที่ไม่ตั้งใจ 78
ส่วนที่ 3 ทางแยก
ป้ ายชี้ทางสู่อนาคตที่ดีกว่า
บทที่ 5 สิ่งของจ�านวน 33, 47, 69 และ 100 ชิ้น 89
บทที่ 6 ชีวิตเรียบง่ายกับครอบครัวเปี่ยมอิสรภาพ 99
บทที่ 7 ทางสายกลาง 112
ส่วนที่ 4 หนทางข้างหน้า
นักค้นหาประสบการณ์
บทที่ 8 ประสบการณ์หรือข้าวของ 125
บทที่ 9 นักค้นหาประสบการณ์ 131
บทที่ 10 เฟซบุ๊กเปลี่ยนวิธีที่เราไล่ตามคนอื่น 152
บทที่ 11 วิธีวัดความก้าวหน้าแบบใหม่ 165
บทที่ 12 แล้วคนจีนล่ะ 173
บทที่ 13 ยิปซี ตัวต่อ และเศรษฐกิจภาคประสบการณ์ 181
บทที่ 14 คุณจะเป็นนักค้นหาประสบการณ์
โดยที่ยังคงรักสิ่งของได้หรือไม่ 199
บทสรุป
ท�าไมคุณถึงต้องการประสบการณ์มากกว่าที่เคย 219
3 ขั้นตอนสู่การค้นหาประสบการณ์ 230
7 นิสัยของนักค้นหาประสบการณ์ผู้ประสบความส�าเร็จ 235
ส่วนเสริม 251
ชีวิตดีเมื่อมีของน้อย: ปรัชญาความสุขฉบับมินิมอล 1
บทน�า
เรามีข้าวของเยอ ป ล้ว
เช้าวันหนึ่งในเดือนกันยายน ปี 2010 ชายหนุ่มชื่อ ไรอัน นิโคเดมัส ตื่นขึ้นใน
ห้องว่างเปล่าซึ่งมีเพียงแค่เตียงเท่านั้น ท้องฟ้ าภายนอกสีคราม ลมโชย
มาแผ่วๆ ผู้คนก�าลังเริ่มต้นสัปดาห์ใหม่ จิบกาแฟ ขึ้นรถ ขับขึ้นเหนือไปเมือง
เดย์ตัน ล่องใต้ไปเมืองซินซินเนติ มันก็เป็นอีกวันธรรมดาเหมือนวันอื่นๆ
ไรอัน ลูกครึ่งอเมริกัน-ไอริช ผู้มีกรามเหลี่ยม และหน้าตาเหมือนดาราดังเบ็น
แอฟเฟล็ก ลุกขึ้นนั่งพร้อมกับหรี่ตามองไปรอบๆ ในห้องไม่มีโต๊ะข้างเตียงหรือ
โคมไฟไม่มีรูปภาพไม่มีอะไรเลยเว้นแต่เตียงที่เขานอนกับผ้าห่มที่ใช้คลุมกาย
เขาจัดผ้าห่มให้เข้าที่เข้าทางแล้วก้าวเท้าไปบนพื้นพรมผ่านตู้เสื้อผ้าว่างเปล่า
เข้าไปในโถงทางเดิน บ้านโล่งโจ้งไปหมด สิ่งเดียวที่มีอยู่คือเสียงประหลาด
“แปลกจริงๆ” ไรอันเล่า “มันดูเงียบนะ แต่กลับมีเสียงสะท้อนอยู่”
หากคุณอยู่ที่นั่นตื่นขึ้นมาล�าพังในบ้านหลังนั้นคงคิดว่าตัวเองตื่นขึ้นในความ
ฝันพิสดาร ในบ้านแปลกๆ หลังหนึ่งที่เจ้าของเพิ่งย้ายออกไปเมื่อวาน พร้อม
กับทิ้งของทั้งหมดไว้ในกล่องและถุงขยะที่เชิงบันได
ไรอันลงไปที่ชั้นล่าง หยิบกล่องใบหนึ่งขึ้นมา ฉลากกล่องเขียนว่า ‘เบ็ดเตล็ด 7’
เขาวางมันลงด้านข้าง หยิบอีกกล่องขึ้นมา ‘ของในครัว 2’ แล้ววางลงเหมือน
เดิมเขาหาไปเรื่อยๆจนกระทั่งพบ‘ห้องน�้า1’และควานมือในกล่องหยิบเจล
อาบน�้า ยาสีฟัน และแปรงสีฟันออกมา จากนั้นก็เริ่มรื้อถุงจนกระทั่งเจอ
ผ้าเช็ดตัวเขามัดปิดปากถุงทั้งหมดปิดฝากล่องแล้วขึ้นไปชั้นบนเพื่ออาบน�้า
บทนำ�
2 ชีวิตดีเมื่อมีของน้อย: ปรัชญาความสุขฉบับมินิมอล
ขณะน�้าไหลรดตัวไรอันก็คิดในใจ“เรารู้สึกยังไงนะแปลกหรือว่าดี?บ้านที่ไม่มี
ของนี่ดีขึ้นหรือแย่ลงกันแน่” ที่รู้คือนี่ไม่ใช่ความฝัน มันคือการทดลองที่เขาคิด
ขึ้นมา
ตอนนั้นไรอันอยู่ในวัย28ปี และชีวิตก�าลังไปได้ดีเขามีแฟนมีบ้านมีงานท�ามี
รายได้ปีละกว่าแสนดอลลาร์ ในฐานะผู้จัดการร้านสาขาต่างๆ ของบริษัท
โทรคมนาคมชื่อ ซินซินเนติเบลล์ เขารักงาน รักเพื่อนร่วมงาน เขาสนุกที่ได้เห็น
ลูกน้องพัฒนาและได้ช่วยพวกเขาเพิ่มยอดขาย เพื่อจะได้โบนัส หรือได้รางวัล
ไปเที่ยวฮาวายฟรี เขาสวมสูทของบรูกบราเธอร์ รองเท้าคู่ละ300ดอลลาร์ และ
เนคไทเส้นละ 100 ดอลลาร์ (ที่มีนับร้อยเส้น) ช่วงสุดสัปดาห์ เขาจะขับรถออก
ท่องเที่ยวไปกับเพื่อนฝูง เขาเล่นเอ็กซ์บ็อกซ์ และดูหนังบนจอโทรทัศน์ซัมซุงรุ่น
ท็อปขนาด 53 นิ้ว เขาขับโตโยต้าสีฟ้ าคันใหม่เอี่ยม
ไรอันบอกว่า “ถ้าผมบอกตัวเองสมัยอายุสิบแปดว่าจะมีอะไรบ้างตอนอายุ
ยี่สิบแปดละก็ ผมคงจะเป็นเด็กหนุ่มอายุสิบแปดที่ตื่นเต้นที่สุด ผมคงจะพูด
ท�านองว่า ‘ล้อเล่นใช่มั้ยเนี่ย มันจะเป็นชีวิตที่เจ๋งที่สุดเลย!’ ”
แต่ 10 ปีต่อมา เขากลับไม่รู้สึกว่าชีวิตเจ๋งสุดยอดแบบนั้น ไรอันไม่มีความสุข
เลย แถมยังรู้สึกสับสนอีกต่างหาก เขาบอกว่า “ผมแทบจะไม่รู้สึกปลื้มปริ่ม
อะไรเลย ทั้งๆ ที่ผมมีทุกอย่างที่อยากได้มาตลอด”
ในตอนแรกเขายังคงทุ่มเทต่อไปท�างานหนักและใช้เงินโดยหวังว่าความรู้สึก
นั้นจะหายไปเองแต่ไม่ว่าเขาจะหาเงินได้มากแค่ไหนซื้อของมากเท่าไรความ
รู้สึกก็ยังเหมือนเดิมและแล้วความคิดหนึ่งก็ผุดขึ้นมาบางทีเขาอาจเข้าใจผิด
มาโดยตลอด บางทีสมการความสุขที่เขาคิดขึ้นอาจจะผิดพลาดก็เป็นได้
ชีวิตดีเมื่อมีของน้อย: ปรัชญาความสุขฉบับมินิมอล 3
สมการความสุข
ไรอันเติบโตขึ้นมาอย่างยากไร้ ในเมืองเลบานอนรัฐโอไฮโอที่มีประชากรราว
20,000 คน และมีรายได้เฉลี่ย 20,000 ดอลลาร์ต่อปี เมื่อพ่อแม่แยกทางกัน
เขาอาศัยอยู่กับแม่ในห้องเช่าซอมซ่อแม่มัวแต่ง่วนอยู่กับเหล้าและยาเสพติด
จนไม่เคยสนใจการท�าความสะอาด แมลงสาบ และลูกตัวเอง พอไรอันอายุ
สิบสองเขาก็ย้ายไปอยู่กับพ่อซึ่งท�าธุรกิจเล็กๆชื่อว่า‘นิโคเดมัสงานท�าสีและ
ผนัง’ พ่อเป็นชาวคริสต์ที่เคร่งครัด รักความสะอาด ดังนั้นไรอันจึงกระเด้งไป
มาเหมือนลูกพินบอลระหว่างพระเจ้าของพ่อกับมารร้ายของแม่ เขาเสพยา
ไปโบสถ์ และกินจุ
เมื่อไรอันช่วยงานพ่อระหว่างปิดภาคเรียนเขาได้เห็นลักษณะการตกแต่งบ้าน
ของบรรดาคู่รักทั้งหลายทั้งยังพบว่าบรรดาคู่รักดูเหมือนจะมีความสุขแบบที่
ตัวเขาเองก�าลังมองหาอยู่
วันหนึ่ง สองพ่อลูกไปท�างานในชุดกันเปื้อน บ้านหลังนั้นไม่มีอะไรหรูหรา ทุก
อย่างทันสมัยและใหม่ยกเว้นนาฬิกาลูกตุ้มตั้งพื้นในโถงทางเดินขณะที่ไรอัน
ก�าลังเตรียมการปลดรูปภาพบนผนังลง เขาสังเกตว่าผู้คนในภาพเหล่านั้นดู
มีความสุขทีเดียว เช้าวันนั้นเจ้าของบ้านก็ดูค่อนข้างมีความสุขเสียด้วย อาจ
เป็นอย่างนั้นจริงเมื่อมองไปรอบๆเขาก็นึกสงสัยว่าบางทีบ้านหลังงามนี้อาจ
เป็นบ้านแบบที่คนมีความสุขอยู่กันก็ได้
“พ่อครับ” เขาพูด “ผมต้องหาเงินได้แค่ไหนถึงจะมีบ้านแบบนี้ได้”
“ไอ้หนู” เอริกตอบเสียงห้าวและห้วน “ประมาณ 50,000 ดอลลาร์ต่อปี”
บทนำ�
4 ชีวิตดีเมื่อมีของน้อย: ปรัชญาความสุขฉบับมินิมอล
ง่ายๆ อย่างนี้เอง ความสุขหน้าตาแบบนี้ แบบข้างในบ้านหลังนี้ ป้ ายราคา
ของมันคือ ห้าหมื่นดอลลาร์ ไรอันบอกเรื่องสมการลับที่ส�าคัญ ‘ความสุข =
ห้าหมื่นดอลลาร์ต่อปี’ กับเพื่อนสนิทของเขา โจชัว ฟีลดส์ มิลล์เบิร์น
ทุกวันนี้ฟีลดส์ มิลล์เบิร์น มีรูปร่างสมส่วนและหน้าตาดี ผมบลอนด์เป็นลอน
ของเขาตั้งชี้ขึ้นรอยยิ้มของเขาก�้ากึ่งระหว่างพอใจในตนเองกับท่าทีเรียกร้อง
ความสนใจ ทว่าในตอนนั้นเขาก็เป็นแค่วัยรุ่นกะโปโลเหมือนกับไรอัน
หลังเรียนจบ ฟีลดส์ มิลล์เบิร์นกับไรอันก็ทุ่มเทท�างานหนักเพื่อท�าสมการ
ความสุขของตนให้เป็นจริงไม่กี่ปีต่อมาทั้งสองก็เอื้อมถึงตัวเลขมหัศจรรย์นั้น
นั่นหมายความว่าพวกเขาน่าจะมีความสุขใช่ไหม? ถ้าเพียงชีวิตจะง่ายแบบ
นั้นก็ดีสิ ไม่ช้าฟีลดส์ มิลล์เบิร์นก็ขบคิดถึงปัญหา
“สมการมันผิด”เขาบอกไรอันในวันหนึ่ง“เราไม่ได้ค�านวณเรื่องเงินเฟ้ อมันอาจ
จะไม่ใช่ห้าหมื่นดอลลาร์ก็ได้นะ แต่เป็นแปดหมื่น” ฟังดูเข้าเค้าทีเดียว เงินเฟ้ อ
หมายความว่าของมีราคาเพิ่มขึ้นนั่นเอง โดยเฉพาะของดีๆ ที่คุณอยากได้ทั้ง
หลายแหล่ และถ้าราคาข้าวของดีๆ สูงขึ้น ราคาชีวิตดีๆ ย่อมสูงขึ้นเช่นกัน
สองหนุ่มจึงทุ่มเทกันต่อท�างานไปใช้เงินไปแข่งขันกันไปไรอันซื้อบ้านขนาด
158 ตารางเมตร ฟีลดส์ มิลล์เบิร์นซื้อบ้านขนาด 186 ตารางเมตร ไรอันขับ
โตโยต้า ส่วนฟีลดส์ มิลล์เบิร์น จัดเล็กซัสมาคันหนึ่ง ไรอันมีเนคไท 100 เส้น
ส่วนฟีลดส์ มิลล์เบิร์น ก็ไม่น้อยหน้า มีเสื้อเชิ้ตแบรนด์ดังอยู่ 70 ตัว แถมด้วย
สูทยี่ห้อเดียวกันอีก 15 ชุด มากกว่าจ�านวนสูทยี่ห้อนี้ของไรอันอยู่ 3 ชุด
ชีวิตดีเมื่อมีของน้อย: ปรัชญาความสุขฉบับมินิมอล 5
แต่ไม่ว่าพวกเขาจะหาเงินได้มากเท่าไรหรือซื้อหาอะไรมาไม่ว่าพวกเขาจะมี
มากกว่าที่เคย หรือมากกว่ากันแค่ไหนก็ไม่ส�าคัญ ทุกครั้งที่พวกเขาแตะ
เป้ าหมายสมการความสุขก็ไร้ผลคล้ายกับว่าพวกเขาก�าลังไล่ตามไหทองค�า
ที่สุดปลายสายรุ้ง ท้ายที่สุด ก็มีความคิดหนึ่งผุดขึ้นมา ถ้าเกิดสมการความสุข
เองที่ผิดมาตั้งแต่ต้นล่ะ
“ทุกๆ อย่างรอบตัวผมที่ควรจะน�าความสุขมาให้ กลับไม่ได้ท�าให้ผมมีความ
สุขเลย”ฟีลดส์มิลล์เบิร์นกล่าวในปัจจุบัน“ที่จริงแล้วมันตรงข้ามเสียมากกว่า
แทนที่จะมีความสุข ผมกลับมีหนี้เครียด และไม่สบายใจ ผมเต็มกลืนเต็มที
ท้ายที่สุดผมก็รู้สึกหดหู่”
ในช่วงนั้นเอง ฟีลดส์ มิลล์เบิร์น ก็ได้พบกับคนกลุ่มหนึ่งในอินเทอร์เน็ต
ที่มีแนวคิดเรื่องความสุขที่แตกต่างอย่างสุดขั้ว พวกเขาได้ชื่อว่า ‘นักนิยม
ความน้อย’ (minimalists) พวกเขาคิดว่าหนทางสู่ความสุขที่ดีที่สุดนั้นไม่ใช่
โดยการมีมากขึ้น แต่โดยการมีเพียงเล็กน้อย ถ้ามันได้ผลดีส�าหรับคนเหล่า
นั้น มันจะได้ผลกับเขาและไรอันด้วยไหม มันน่าลองกันสักตั้ง
ทั้งสองจึงค่อยๆ ร่างแผนหนึ่งขึ้นมา โดยเริ่มด้วยการทดลอง เพื่อดูว่าถ้า
มีสิ่งของน้อยลง พวกเขาจะมีความสุขมากขึ้นหรือไม่ พวกเขาเอาทุกอย่าง
ในบ้านของไรอันใส่ถุงและกล่องเหมือนว่าเขาก�าลังจะย้ายบ้าน แต่ละครั้งที่
เขาต้องการอะไรสักอย่างก็จะรื้อมันออกมา การทดลองนี้กินเวลา 21 วัน
พวกเขาเคยอ่านพบว่าการจะสร้างนิสัยใหม่ต้องใช้เวลาประมาณนั้น
พอครบก�าหนด ไรอันก็จะรู้ว่าของที่เขาจ�าเป็นต้องใช้จริงๆ มีมากน้อย
แค่ไหนรวมทั้งการใช้ชีวิตแบบมีของน้อยชิ้นนั้นท�าให้เขามีความสุขมากขึ้น
จริงหรือไม่
บทนำ�
6 ชีวิตดีเมื่อมีของน้อย: ปรัชญาความสุขฉบับมินิมอล
มันเป็นอย่างนั้นจริงๆ เสียด้วย เขาไม่เคยต้องเที่ยวรื้อของทั้งหมดที่ยัดอยู่ใน
กล่องหรือถุงเลย แน่ละ เขาเอาของบางอย่างออกมาบ้าง หลังจากตื่นขึ้นใน
เช้าวันนั้นท่ามกลางความเงียบที่สะท้อนก้อง เขารื้อของอย่างเช่น แปรงสีฟัน
ยาสีฟัน และเสื้อผ้าส�าหรับใส่ไปท�างาน รวมทั้งเอาของอื่นๆ ออกมาอีก เช่น
มีด ช้อน ส้อม และจานอย่างละหนึ่ง เท่าที่เขาต้องใช้ในแต่ละวัน
ทว่าหลังผ่านไป 10 วัน ไรอันก็ไม่ได้รื้ออะไรออกมาอีกเลย ถึงตรงนั้น เขารู้
แน่ชัดแล้วว่ามีทุกอย่างที่จ�าเป็นแล้วตอนนี้ที่รู้สึกแปลกไม่ใช่เรื่องเสียงในบ้าน
แต่เป็นเรื่องขยะต่างหาก “มันช่วยให้ผมตาสว่างขึ้นมาว่าผมใช้ของทั้งหมดที่
ตัวเองมีน้อยนิดแค่ไหน”เขาบอก“พอคิดถึงเงินทั้งหมดที่ผมผลาญไปกับของ
ทั้งหมดแล้ว นั่นแหละคือความรู้สึกพิสดารอย่างแท้จริง”
เขาเคยกังวลว่าแฟนจะคิดอย่างไร แต่เธอกลับคิดว่าทั้งหมดเป็นเรื่องน่าขัน
เสียมากกว่า ไรอันเล่าว่า “เธอจะเดินยิ้มๆ เข้ามาในห้องนั่งเล่นแล้วพูดว่า
‘ที่รักคะ เห็นช้อนบ้างมั้ย’”
เมื่อพอใจว่าเขามีเพียงพอแล้ว อีกทั้งการมีน้อยนั้นดีกว่าจริงๆ ไรอันจึงก�าจัด
ของที่อยู่ในกล่องและถุงไปทั้งหมด เขาขายบางอย่างในอินเทอร์เน็ต ส่วนที่
เหลือก็บริจาคให้คนอื่นๆ เขาส่งของเต็มรถบรรทุกคันหนึ่งไปให้พ่อเพื่อ
บริจาคต่อให้กับโบสถ์ แล้วก็เริ่มต้นชีวิตใหม่ด้วยข้าวของที่น้อยลงอย่าง
สุดขั้ว
ในบางขณะ พวกเราหลายคนก็มีค�าถามว่าเรามีความสุขกับชีวิตและงาน
ของเราจริงๆไหมหรือว่าเราแค่ท�างานเพื่อให้มีเงินจ่ายค่าสิ่งของที่เรามีเท่านั้น
เองและเราจ�าเป็นต้องมีขยะทั้งหมดที่อัดแน่นรกบ้านรกชีวิตของเราจริงๆหรือ
ชีวิตดีเมื่อมีของน้อย: ปรัชญาความสุขฉบับมินิมอล 7
ดังนั้นเราจึงก�าจัดของแบบลวกๆ กันบ้างเป็นบางครั้งคราวเพื่อให้เลิกสงสัย
และถอยห่างจากงานเพื่อมีเวลากับงานอดิเรกที่บ้านมากขึ้น แล้วก็หยุดอยู่
แค่นั้น
ทว่าไรอันไม่หยุดตอนก�าจัดของเขาเอาทุกอย่างลงกล่องลงถุงจนเกลี้ยงและ
เอาไปบริจาค เขาเลิกโหยหาและซื้อของใหม่ๆ เลิกท�างานหนักเพื่อหาเงินมา
จ่ายค่าของที่ไม่จ�าเป็นจริงๆ เขาเริ่มใช้ชีวิตแบบมีข้าวของเพียงน้อยนิด เริ่ม
มุ่งหาเป้ าหมายอื่นๆ เช่น การมีสุขภาพและความสัมพันธ์ที่ดี แทนการ
พยายามไปให้ถึงเป้ าหมายทางวัตถุ และมันได้ผล เดี๋ยวนี้เขามีความสุขมาก
ขึ้นอย่างที่เขาบอกผมมาแล้วหลายครั้งท�าไมน่ะหรือท�าไมเขาจึงรู้สึกว่าการ
ใช้ชีวิตแบบมีของน้อยลงหมายถึงความสุขที่มากขึ้น และสมการความสุข
แบบใหม่นี้ดีเฉพาะกับเขา ฟีลดส์ มิลล์เบิร์น และคนที่เป็นแบบพวกเขาอีก
ไม่กี่คนเท่านั้น หรือมันจะได้ผลส�าหรับพวกเราทุกคนที่เหลือด้วย
คุณก�าลังมีอาการอึดอัดคับของหรือเปล่า?
อาการอึดอัดคับของ เป็นหนึ่งในความทุกข์ที่รุนแรงที่สุดในปัจจุบันซึ่งยัง
ไม่มีการตั้งชื่ออย่างเป็นทางการลักษณะอาการคือแทนที่คุณผมและสังคม
โดยทั่วไปจะรู้สึกมั่งคั่งขึ้นด้วยสิ่งต่างๆ ที่มี เรากลับรู้สึกอึดอัดเพราะสิ่งเหล่า
นั้น แทนที่จะคิดบวกกับค�าว่า “มาก” อย่างที่เคย ตอนนี้เรากลับคิดว่า “มาก”
หมายถึงกวนใจมากขึ้นมีเรื่องยุ่งยากมากขึ้นและมีเรื่องให้คิดมากขึ้นในชีวิต
อันชุลมุนวุ่นวายของเรานั้น ค�าว่า “มาก” ไม่ใช่ดีขึ้นอีกต่อไป แต่กลายเป็น
แย่ลงเรารู้สึกเต็มกลืนและอึดอัดกับสิ่งของรอบตัว เราก�าลังทุกข์ทรมานจาก
ความกระวนกระวายใจที่ผมเรียกว่า อาการอึดอัดคับของ
บทนำ�
8 ชีวิตดีเมื่อมีของน้อย: ปรัชญาความสุขฉบับมินิมอล
คุณคงเห็นแล้วว่าไม่ได้มีแค่ไรอันคนเดียว ปัจจุบันมีหลายล้านคนทั่วโลกที่
ก�าลังรู้สึกว่าพวกเขามีสิ่งของมากเกินไป ยกตัวอย่างเช่น ในทุกปีจะมีคน
2ล้านคนที่อ่านบล็อกและหนังสือต่างๆที่ไรอันกับฟีลดส์เขียนเกี่ยวกับการใช้
ชีวิตด้วยสิ่งของที่น้อยลง และยังมีอีก 12 ล้านคน (เทียบเท่ากับจ�านวนคนที่
อยู่ในเกรเทอร์ลอนดอนหรือจ�านวนคนในนิวยอร์กและลอสแองเจลิสรวมกัน)
ที่ดูภาพยนตร์ของพวกเขาเกี่ยวกับผลร้ายของวัตถุนิยม หลังจากดูหนัง
เรื่องนี้ พวกเขาได้เรียนรู้บางอย่าง เช่น ถุงขยะทุกใบที่ถูกน�าไปทิ้งจะมีขยะ
อีก 70 ถุงเกิดขึ้นจากการผลิตข้าวของในถุงใบนั้น นั่นแสดงว่ายังมีคนอีก
จ�านวนมากที่รู้สึกว่าชีวิตจะดีขึ้นถ้ามีข้าวของน้อยลง
นักรัฐศาสตร์ชื่อ โรนัลด์ อิงเกิลอาร์ต ได้ศึกษามุมมองของผู้คนที่มีต่อวัตถุ
สิ่งของมาตั้งแต่ปี 1970 เมื่อเริ่มงานวิจัยนี้ เขาพบว่าใน 6 ประเทศที่ท�าการ
ส�ารวจซึ่งได้แก่สหราชอาณาจักรฝรั่งเศสเยอรมนีตะวันตกอิตาลีเนเธอร์แลนด์
และเบลเยียมนั้น4ใน5คนเป็นพวกวัตถุนิยมคนส่วนใหญ่สนใจเรื่องจ�านวน
เงินและสิ่งของที่พวกเขามีมากกว่าคุณภาพชีวิตของตนเอง
นับแต่นั้น บรรดานักรัฐศาสตร์ได้ท�าการส�ารวจเช่นเดียวกันนี้อีกกว่า 50
ประเทศสิ่งที่พบจากงานวิจัยนั้นชัดเจนทีเดียวว่าพวกเราก�าลังนิยมวัตถุน้อย
ลงอย่างมาก ปัจจุบันมีแค่ประมาณ 1 ใน 2 คนเท่านั้นที่นิยมวัตถุ และอาจ
จะน้อยกว่านั้นด้วยซ�้า
เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมาบริษัทโฆษณาที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลกท�าการส�ารวจ
ในประเทศต่างๆ เช่น สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส และสหรัฐอเมริกา พวกเขา
พบว่า‘คนเหนื่อยหน่ายกับข้าวของที่ล้นเกินเต็มที’และ‘ระอากับแรงผลักดัน
ให้สะสมมากขึ้น’ และพวกเขายังพบด้วยว่าคนจ�านวน 2 ใน 3 คิดว่า
ชีวิตดีเมื่อมีของน้อย: ปรัชญาความสุขฉบับมินิมอล 9
ตนน่าจะมีชีวิตที่ดีกว่านี้หากใช้ชีวิตที่เรียบง่ายขึ้น หรือพูดอีกอย่างว่า “หาก
มีสิ่งของน้อยลง”
เมื่อบริษัทโฆษณาเดียวกันนี้ท�าการศึกษาซ�้าอีกครั้งในปี 2014 พวกเขา
รายงานว่า ‘คนจ�านวนมากรู้สึกเหนื่อยใจกับข้าวของที่มากล้นของตัวเอง’
และ‘คนส่วนใหญ่น่าจะอยู่อย่างมีความสุขได้โดยไม่ต้องมีสิ่งของส่วนใหญ่ที่
เรามี (ตัวเอียงเป็นการเน้นความคิดของพวกเขาไม่ใช่ของผม)และ‘คนจ�านวน
2 ใน 3 ตั้งใจที่จะปลดแอกตัวเองจากสิ่งของที่ไม่จ�าเป็นอย่างน้อยปีละครั้ง’
คุณเองก็อาจรู้สึกอย่างนั้นด้วยเหมือนกัน คุณเหนื่อยหน่ายกับความมากล้น
บ้างไหม เหนื่อยใจกับแรงผลักให้สะสมมากขึ้นหรือเปล่า ว่ากันตามจริง คุณ
จะมีความสุขกว่าเดิมหรือไม่ถ้ามีสมบัติน้อยกว่าที่มีในตอนนี้ขอให้คุณส�ารวจ
สิ่งของต่างๆ ในตู้ ลิ้นชัก และชั้นวางของภายในบ้าน ตามค�าถามถัดไป
สักหน่อย เพื่อดูว่าคุณเป็นเหมือนกับไรอันและคนอีกหลายล้านคนทั่วโลกที่
ก�าลังทรมานจาก “อาการอึดอัดคับของ” หรือไม่
บทนำ�
10 ชีวิตดีเมื่อมีของน้อย: ปรัชญาความสุขฉบับมินิมอล
คุณเต็มกลืนกับสิ่งของหรือไม่?
1.
2.
3.
4.
5.
6.
7.
8.
คุณรู้สึกว่าสมบัติของคุณน�า ก ความสุขมากขึ้น หรือ
ข ความเครียดมากขึ้น
ก ทุกอย่างในบ้านเป็นระเบียบเรียบร้อยดี หรือ
ข มีบริเวณที่รกยุ่งเหยิงจนคุณเข้าไปใช้ไม่ได้ และที่คุณไม่กล้าเข้าไป
เพราะมีของที่ต้องรื้อออกไปทิ้ง
เวลาคนในครอบครัวเอาของบางอย่างเข้าบ้าน ปฏิกิริยาปกติของคุณ
คือ ก ‘ท�าไมก่อนหน้านี้เราถึงไม่คิดถึงมันนะ’ หรือ
ข ‘แล้วเราจะเอามันไปไว้ไหนล่ะ’
ก คุณมีเฉพาะสิ่งของที่คุณใช้เป็นประจ�า หรือ
ข คุณเก็บของต่างๆ เพราะว่ามันคือสิ่งแทนบุคคลที่คุณอยากจะเป็น
เช่น นิยายคลาสสิกที่คุณควรจะอ่าน กีตาร์ที่คุณจะเรียนแน่ๆ หรือ
เสื้อผ้าที่สักวันหนึ่งคุณน่าจะใส่ได้พอดี
ก คุณคิดว่าสามารถจัดการกับสมบัติของคุณได้ค่อนข้างง่าย หรือ
ข คุณนึกอยากให้นางฟ้ าเจ้าระเบียบโผล่มาช่วยจัดการข้าวของให้คุณ
โดยคิดแทนให้ว่าอะไรที่คุณต้องใช้จริงๆ แล้วโยนที่เหลือทิ้งไป
ก คุณใส่เสื้อผ้าทุกตัวที่มี หรือ
ข คุณมีบางตัวที่ไม่ได้ใส่มาเป็นปี หรือนานเต็มทีแล้ว
ถ้าคุณอยากจะแขวนชุดหรือเสื้อตัวใหม่ในตู้ ก คุณจะแขวนได้ง่ายๆ
หรือ ข คุณต้องโกยกองของเก่าไปทางนั้นทีทางนี้ทีเพื่อให้มีที่ว่าง แล้ว
ยัดของใหม่เข้าตู้ก่อนที่ช่องว่างจะหายไป
ก ทุกอย่างอยู่ในลิ้นชักแบบพอเหมาะพอดี หรือ
ข ตอนคุณเปิดลิ้นชัก เสื้อผ้าจะเด้งขึ้นมาเหมือนต้องการอากาศหายใจ
ชีวิตดีเมื่อมีของน้อย: ปรัชญาความสุขฉบับมินิมอล 11
บทนำ�
เมื่อครัวดูสะอาดและเป็นระเบียบเหมือนภาพในนิตยสารตกแต่งภายใน
ก ด้านหลังประตูตู้ต่างๆ เป็นแบบนั้นด้วย หรือ
ข ประตูตู้ต่างๆ อ�าพรางของด้านในที่อัดแน่นกันมั่วไปหมด
หากคุณมีโรงรถ ก คุณจอดรถไว้ในนั้น หรือ
ข มันมีของอัดเต็มจนไม่เหลือที่ให้รถจอดได้
ก ของต่างๆ จัดเก็บในบ้านได้พอดี หรือ
ข ของล้นเกินจนคุณต้องเช่าที่เก็บของเพิ่ม
การซื้อของเพื่อคลายเครียด ก ท�าให้คุณรู้สึกดีขึ้น หรือ
ข ท�าให้คุณห่อเหี่ยวใจ
ก คุณมีความสุขดีกับวัฒนธรรมวัตถุนิยมในปัจจุบัน หรือ
ข คุณกลัวว่าตัวเองจะเคยชินไปกับมัน จนรู้ตัวอีกทีก็ถอนตัวไม่ขึ้นแล้ว
ก คุณมีความสุขดี หรือ ข คุณรู้สึกว่าสังคมมีบางอย่างไม่ถูกต้องในแง่
ที่ให้ความส�าคัญกับการครอบครองวัตถุสิ่งของมากเกินไป
ลองนึกถึงครั้งล่าสุดที่มีคนให้ของบางอย่างกับคุณในช่วงปีที่ผ่านมา อาจ
เป็นช่วงคริสต์มาสที่ป้ าดอรีนกับลุงปีเตอร์ยื่นกล่องของขวัญให้ หรืออาจ
เป็นตอนวันเกิดซึ่งแม่ของคุณไม่ควรจะมีของขวัญมาให้ แต่เธอก็ยื่น
อะไรบางอย่างให้อยู่ดี พร้อมกับบอกว่านั่นเป็นของที่เหมาะกับคุณที่สุด
ปฏิกิริยาตอบสนองในความคิดของคุณคือ ก อยากรู้ทันทีเลยว่าข้างใน
เป็นอะไร หรือ ข ไม่เห็นสนใจเลยว่าจะได้อะไร
หากคุณตอบ ข ในข้อใดข้อหนึ่ง คุณเองก็ก�าลังทุกข์ทรมานกับ อาการ
อึดอัดคับของ อยู่บ้างเหมือนกัน
9.
10.
11.
12.
13.
14.
15.
12 ชีวิตดีเมื่อมีของน้อย: ปรัชญาความสุขฉบับมินิมอล
เชอร์ล็อก โฮมส์ กับความลี้ลับของคริสปี้ครีม
แล้วท�าไมเราถึงยังซื้อของอยู่ตลอดทั้งที่มีมากเกินความจ�าเป็นและเกินกว่า
จะจัดการได้อยู่แล้วล่ะ? วิธีที่ดีที่สุดในการตอบค�าถามนี้คือ ตอบผ่านเรื่อง
เล่าเรื่องหนึ่งที่ผมเรียกว่า “ความลี้ลับของคริสปี้ครีม”
วันพฤหัสบดีที่ 14 กุมภาพันธ์ 2013 ต�ารวจที่หน่วยโลเธียนและบอร์เดอร์ได้
รับสายโทรศัพท์ที่ดูเหมือนว่าจะเป็นสายธรรมดาสายหนึ่ง มีรถติดอยู่แถวๆ
ถนนวงแหวนข้างศูนย์การค้าเฮอร์มิสตันเกตถ้าเป็นที่อื่นๆส่วนใหญ่ก็คงจะ
ไม่ใช่เรื่องใหญ่อะไร ทว่าเฮอร์มิสตันเกตนั้นตั้งอยู่ข้างทางเข้าถนนเอ็ม 8
ซึ่งเป็นทางหลวงสายพิเศษที่มีการจราจรหนาแน่นที่สุดสายหนึ่งของอังกฤษ
และเป็นสายหลักที่เชื่อมต่อเอดินบะระกับกลาสโกว์ซึ่งเป็นเมืองใหญ่สุดสอง
เมืองของสกอตแลนด์ ไม่ช้าผู้บังคับบัญชากองบัญชาการใหญ่ก็ตัดสินใจ
ท�าสิ่งที่กองก�าลังต�ารวจทั่วโลกจะท�าในสถานการณ์เช่นนั้น พวกเขาเตือน
ผู้ขับขี่ให้หลีกเลี่ยงย่านดังกล่าวพร้อมกับส่งรถสายตรวจ2คันไปดูว่าสาเหตุ
ของปัญหานั้นมาจากอะไร ซึ่งก็คือร้านโดนัทคริสปี้ครีมสาขาใหม่นั่นเอง
ร้านเปิดตัวครั้งแรกในวันก่อนหน้าตอน 7 นาฬิกา 1 ชั่วโมงก่อนพระอาทิตย์
ขึ้น มีคนจ�านวน 300 คนต่อแถวรอกันอยู่ด้านนอก พนักงานเสิร์ฟกาแฟและ
โดนัทอย่างเร็วที่สุดเท่าที่จะท�าได้ พวกเขาให้บริการลูกค้า 400 คนภายใน
ชั่วโมงแรกที่เปิดท�าการ ซึ่งถือเป็นสถิติใหม่ของคริสปี้ครีม แต่ถึงอย่างนั้น
พวกเขาก็ยังท�างานได้ไม่เร็วพอ ไม่ว่าพวกเขาจะพยายามมากแค่ไหน
แถวคนด้านนอกก็ยังคงยาวขึ้นอยู่ตลอด และแถวรถยนต์ที่ต่อคิวในช่องขับ
ผ่านเพื่อซื้อ (drive-thru) ก็ยาวขึ้นเรื่อยๆ เช่นกัน ตอนแรกอัดกันอยู่ใน
ศูนย์การค้าต่อมาก็ท�าให้รถยนต์ รถตู้ และรถบรรทุกรอบๆบริเวณนั้นเคลื่อน
ชีวิตดีเมื่อมีของน้อย: ปรัชญาความสุขฉบับมินิมอล 13
ช้าลงพอถึงวันถัดมาการจราจรก็ติดหนึบไปทั้งเส้นเอ็ม8นั่นคือตอนที่ต�ารวจ
มาตรวจดูคิวโดนัท
ไม่ใช่ว่าทุกคนจะตื่นเต้นไปกับร้านเปิดใหม่เหมือนกับพวกที่ยืนต่อแถวอยู่
“ผมพูดอะไรไม่ออกเลย”เป็นเสียงบ่นของผู้ชายคนหนึ่งจากประชาคมโรคอ้วน
แห่งอังกฤษชื่อ แทม ฟราย
โดนัทเคลือบน�้าตาลต้นต�ารับของคริสปี้ครีมให้พลังงาน 217 แคลอรีต่อชิ้น
ประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรต 22 กรัม และไขมัน 13 กรัม โดนัทแบบอื่นๆ ยิ่ง
มีแคลอรีสูงกว่านั้นอีก บอกได้เลยว่าโดนัทคริสปี้ครีมไม่ใช่ของว่างที่ดีต่อ
สุขภาพแน่นอน
คนที่ยืนต่อแถวอยู่ด้านนอกรู้เรื่องนี้ดี คนที่ก�าลังนั่งอยู่ในรถก็รู้ดี แล้วท�าไม
พวกเขาถึงยังรอคิวกันนานถึง 2 ชั่วโมง ในเมื่อรู้ทั้งรู้ว่าของที่ตัวเองรออยู่นั้น
ไม่ได้ดีต่อตัวพวกเขาเลย
คุณอาจบอกว่าค�าตอบมันชัดเจนอยู่แล้ว ก็นี่มันสกอตแลนด์ ต้นก�าเนิดของ
ช็อกโกแล็ตชนิดแท่ง ตัวการท�าให้อ้วน แค่นี้ก็ ‘จบ’ ไม่ต้องพูดอย่างอื่นอีก!
แต่ก่อนอื่นขอให้นึกถึงพฤติกรรมของตัวเองสักครู่ คุณเองก็รู้อยู่ว่าคริสปี้ครีม
และอาหารขยะจ�าพวกนี้ไม่ได้ดีต่อตัวคุณเลย แต่คุณก็ยังคงกินมันเป็นครั้ง
คราว แถมบางครั้งยังต่อคิวซื้ออีกต่างหาก ท�าไมล่ะ?
ไม่มีใครแก้ปริศนาเรื่องนี้ได้ดีไปกว่าไบรอัน แวนซิงก์ นักวิทยาศาสตร์การ
อาหาร ผู้ซึ่งบางครั้งได้รับการขนานนามว่าเป็น ‘เชอร์ล็อก โฮมส์แห่งวงการ
อาหาร’แวนซิงก์ศึกษาว่าท�าไมพวกเรากินอาหารเหล่านี้มานานกว่า2ทศวรรษ
บทนำ�
14 ชีวิตดีเมื่อมีของน้อย: ปรัชญาความสุขฉบับมินิมอล
แล้วค�าตอบส�าหรับเรื่องคริสปี้ครีมนั้นอยู่ในหนังสือชื่อกินไม่รู้ตัว (Mindless
Eating) ของเขาซึ่งเขียนไว้ว่า “เรามีสัญชาตญาณที่จะหลงใหลรสชาติของ
ไขมันเกลือและน�้าตาลอาหารอุดมไขมันช่วยให้บรรพบุรุษของเรามีพลังงาน
ส�ารองไว้ส�าหรับช่วงอาหารขาดแคลนตามสภาพอากาศ เกลือช่วยให้พวก
เขาสามารถกักเก็บน�้าและหลีกเลี่ยงสภาพขาดน�้า น�้าตาลช่วยให้พวกเขา
แยกแยะผลไม้รสหวานออกจากผลไม้รสเปรี้ยวที่เป็นพิษ เราจึงเรียนรู้ที่จะ
โน้มเข้าหาอาหารที่ส่อแววว่าจะช่วยให้เราด�ารงชีวิตอยู่ได้มากที่สุด นั่นก็คือ
ไขมัน เกลือ และน�้าตาล”
ค�าอธิบายของแวนซิงก์ว่าท�าไมเราถึงชอบอาหารบางชนิด เกี่ยวข้องกับ
ศาสตร์ที่ชื่อว่าจิตวิทยาเชิงวิวัฒนาการซึ่งไม่เพียงท�าให้เรื่องของชนิดอาหาร
ที่ดึงดูดเราเข้าหาฟังดูเข้าท่าเท่านั้น แต่รวมถึงเรื่องปริมาณที่เรากินอีกด้วย
แวนซิงก์เขียนไว้ว่า “เรามีช่วงวิวัฒนาการนับล้านปี สัญชาตญาณบอกให้
เรากินให้บ่อยที่สุดเท่าที่จะกินได้ และมากที่สุดเท่าที่จะมากได้”
ความคิดนี้สมเหตุสมผลในยามที่หาอาหารยาก แต่มันไม่สมเหตุสมผลกับ
ศตวรรษที่ 21 นี้ เมื่อเรามีปุ๋ ยสังเคราะห์ เมล็ดพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูง รวมถึง
เครื่องเก็บเกี่ยวสมัยใหม่ซึ่งให้ผลผลิตที่ไม่ใช่แค่เพียงพอแต่ยังล้นเกินอีกด้วย
นั่นท�าให้เราพบกับปัญหาใหม่โดยสิ้นเชิง เพราะถึงแม้แรงกระตุ้นอัตโนมัติ
ให้กินมากที่สุดเท่าที่จะกินได้จะไม่มีประโยชน์อีกต่อไป เราก็ยังไม่สามารถ
ปิดสวิตช์มันได้ง่ายๆ เหมือนปิดสวิตช์ไฟ สัญชาตญาณในการกินท�าให้พวก
เราหลายคนอ้วน จนตอนนี้เราถึงกับมีชื่อส�าหรับเรียกปัญหาดังกล่าว ซึ่งก็
คือ “โรคอ้วน” นั่นเอง
ชีวิตดีเมื่อมีของน้อย: ปรัชญาความสุขฉบับมินิมอล 15
ในปัจจุบัน เราก�าลังอยู่ในยุคอุดมสมบูรณ์ด้านวัตถุ ก่อนหน้านั้นข้าวของ
ราคาแพงและหายาก ยกตัวอย่างเช่น เสื้อผ้านั้นหาได้ยากจนกระทั่งต้องส่ง
ทอดกันมาเป็นรุ่นๆ ก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรม เสื้อเชิ้ตหนึ่งตัวมีราคาแพง
มากเมื่อมองในแง่เวลาความทุ่มเทและเงินที่ใช้ในการผลิตนักประวัติศาสตร์
ชื่อ อีฟ ฟิชเชอร์ เคยค�านวณว่าเสื้อเชิ้ตหนึ่งตัวจะต้องมีมูลค่าราว 2,000
ปอนด์ตามค่าเงินทุกวันนี้แต่ปัจจุบันสิ่งของต่างๆ เช่น เสื้อเชิ้ต รองเท้า ถ้วย
รถยนต์ แว่นตา หนังสือ ของเล่น และอื่นๆ อีกนับล้านอย่างมีอยู่ดาษดื่นและ
ราคาถูก ผลก็คือ พวกเราหลายล้านคนจึงเติมบ้านและชีวิตของตัวเองด้วย
สิ่งของ เมื่อเต็มล้นและเต็มกลืนกับสิ่งของ เราแต่ละคนจึงต้องทุกข์ระทมกับ
อาการอึดอัดคับของ ส่วนสังคมของเราก็ก�าลังทุกข์ทนกับอาการอึดอัดคับ
ของ ซึ่งอาการนี้เทียบได้กับโรคอ้วนในเชิงของวัตถุนั่นเอง
อาการอึดอัดคับของเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
โรคอ้วนเป็นปัญหาหนึ่งที่น่าห่วงที่สุด การมีน�้าหนักเกินหมายความว่าคุณมี
แนวโน้มที่จะมีอาการหัวใจวายหมดสติเฉียบพลันหรือเป็นเบาหวานซึ่งเป็น
สภาวะอันเลวร้ายที่อาจท�าให้คุณสูญเสียการมองเห็น รวมทั้งแขนและขาได้
การมีน�้าหนักเกินหมายความว่าคุณอาจเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ถ้าคุณอ้วน
มากๆ คุณอาจตายก่อนวัยอันควรถึง 10 ปี แม้โรคอ้วนจะมีผลเลวร้ายเช่นนี้
ปัจจุบันคนจ�านวนมากก็ยังคงมีน�้าหนักเกิน ที่น่าเป็นห่วงคือ ผลกระทบของ
โรคอ้วนที่จะเกิดกับคนรุ่นถัดไปปัจจุบันเด็กจ�านวนมากมีปัญหาเรื่องน�้าหนัก
เกินพวกเขาอาจเป็นคนรุ่นแรกในรอบหลายร้อยปี ที่จะเสียชีวิตก่อนพ่อแม่ของ
ตัวเองเมื่อพิจารณาความร้ายแรงของโรคอ้วนดังที่กล่าวมาการบอกว่า“อาการ
อึดอัดคับของ” ก็เป็นเช่นเดียวกันจึงเป็นค�ากล่าวที่ค่อนข้างฟังขึ้น
บทนำ�
16 ชีวิตดีเมื่อมีของน้อย: ปรัชญาความสุขฉบับมินิมอล
ผมเชื่อว่านั่นเป็นการเปรียบเทียบที่ดีเพราะจ�านวนผู้ทุกข์ทรมานจากทั้งโรคอ้วน
และอาการอึดอัดคับของนั้นมีพอๆ กัน โรคอ้วนเลวร้ายต่อเราอย่างไร อาการ
อึดอัดคับของก็เป็นแบบนั้นด้วยเช่นกัน การกินมากเกินและออกก�าลังกาย
น้อยเกินมีผลร้ายต่อสุขภาพกายอย่างไร การมีสิ่งของมากเกินและใช้มันน้อย
เกินก็ท�าลายสุขภาพจิตและคุณภาพชีวิตของเราเช่นกัน
ตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญและงานวิจัยที่มีมากขึ้นเรื่อยๆ การมีสิ่งของ
มากเกินและท�ากิจกรรมน้อยเกินรวมถึงการสะสมสิ่งของก�าลังท�าให้ผู้คนกลุ้ม
อกกลุ้มใจและเครียดงานวิจัยใหม่ๆบ่งชี้ว่ามันสามารถน�าไปสู่โรคซึมเศร้าบาง
ประเภทที่ท�าให้คนเสียชีวิตก่อนวัยอันควร มีคนจ�านวนมากถึง 2 ใน 3 รู้สึกว่า
ตัวเองมีของมากเกินไป จนสามารถกล่าวได้ว่า อาการอึดอัดคับของนั้นเป็น
ปัญหาที่น่ากังวลไม่น้อย
แล้วเราจะท�าอย่างไรกับเรื่องนี้ดีโดยปกติในสังคมสมัยใหม่นั้นเมื่อเราตระหนัก
ว่า สินค้าหรือกิจกรรมบางอย่างไม่ดีต่อสุขภาพของคนในสังคม เราก็จะ
เข้าควบคุมอย่างเป็นขั้นตอน เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพดี รัฐบาลจะออก
กฏหมาย รณรงค์เผยแพร่ และกระตุ้นให้ประชาชนตัดสินใจให้ดีขึ้น เช่น
เรื่องโรคอ้วนกับข้อมูลในฉลากสินค้าที่เตือนให้เรากินอาหารไม่ดีให้น้อยลง
เช่น น�้าตาลและไขมันอิ่มตัว รวมทั้งให้กินอาหารดีให้มากขึ้น เช่น พืชผัก ผลไม้
ลองนึกถึงกรณีสูบบุหรี่ เมื่อความจริงเกี่ยวกับอันตรายของการสูบบุหรี่ถูก
เปิดเผย ฉลากค�าเตือนก็ปรากฏบนซองบุหรี่พร้อมค�าคมอย่าง ‘การสูบบุหรี่
อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของคุณ’
ชีวิตดีเมื่อมีของน้อย: ปรัชญาความสุขฉบับมินิมอล 17
เมื่อมีหลักฐานมากขึ้นเรื่อยๆว่าการมีสิ่งของมากเกินนั้นเป็นผลเสียต่อสุขภาพจิต
ผมจึงสงสัยว่าจะมีสักวันไหมที่เราจะเห็นข้อบ่งชี้เกี่ยวกับอาการอึดอัดคับของ
พร้อมกับฉลากเตือนบนสินค้าด้วยเหมือนกัน บางทีอาจจะมีฉลากบนสินค้า
ต่างๆ ที่กระตุ้นให้เราซื้อของที่ดีต่อตนเองและหลีกเลี่ยงของที่ไม่ดี อาจมีสักวัน
ที่สินค้าจ�าพวกน�าพาความเครียดมากกว่าความสุขจะมีป้ ายเตือนแปะด้านหน้า
ว่า ‘การมีสิ่งของมากเกินอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของคุณ’
อภิมหาพายุ
ถ้าคุณพิจารณาอันตรายที่เกิดจาก“อาการอึดอัดคับของ”คุณจะเห็นทันทีว่า
ท�าไมมันจึงเป็นปัญหาที่เราจ�าเป็นต้องรีบแก้ไขอย่างเร่งด่วน แต่การจะคิด
กลยุทธ์ที่ยอดเยี่ยมและใช้ได้จริงซึ่งจะแก้ปัญหาในระยะยาวได้นั้นเราจ�าเป็น
ต้องรู้สาเหตุของอาการให้มากกว่านี้เสียก่อน
“ความลี้ลับของคริสปี้ครีม” ช่วยให้เราเข้าใจว่า ท�าไมเราจึงซื้อของเพิ่มอยู่
เรื่อยๆทั้งที่มีของล้นเกินความจ�าเป็นและเกินกว่าจะดูแลจัดการได้ มันท�าให้
รู้ว่าเรามาถึงจุดนี้ได้อย่างไรแต่ถ้าลองคิดดูดีๆคุณจะเห็นว่าขณะที่มันอธิบาย
ว่าท�าไมคนเราถึงมีแนวโน้มสะสมสิ่งของมันกลับไม่สมเหตุสมผลเลยว่าท�าไม
พวกเราจึงรู้สึกเต็มกลืนกับข้าวของในตอนนี้ และท�าไมจึงเป็น “ตอนนี้”
ที่เราเพิ่งหันหลังให้กับลัทธิวัตถุนิยม
อะไรก็ตามที่มีขนาดใหญ่โตมโหฬารและมีผลกระทบใหญ่หลวงมักมีค�า
อธิบายอันหลายหลากอาการอึดอัดคับของก็เช่นกันหากเราถามผู้เชี่ยวชาญ
แต่ละสาขา ก็จะได้ค�าอธิบายที่แตกต่างกันไป
บทนำ�
18 ชีวิตดีเมื่อมีของน้อย: ปรัชญาความสุขฉบับมินิมอล
ตัวอย่างเช่น นักรัฐศาสตร์คงจะบอกว่า เพราะมีคนมากขึ้นที่เติบโตมามีชีวิต
มั่นคง และไม่ต้องกังวลว่ามื้อหน้าจะเอาที่ไหนกิน คนเราจึงใส่ใจเรื่องความ
จ�าเป็นพื้นฐานด้านวัตถุน้อยลงเช่นอาหารและที่อยู่อาศัยและสนใจเรื่องอื่น
มากขึ้น เช่น เสรีภาพในการพูดสิ่งที่เราอยากพูดและท�าสิ่งที่เราอยากท�า
นักสิ่งแวดล้อมจะบอกคุณว่าพวกเราเต็มกลืนเพราะโลกร้อนขยะและปริมาณ
คาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศ เรากังวลว่าก�าลังผลาญทรัพยากรเกิน
กว่าที่โลกจะรับมือได้
นักประชากรศาสตร์อาจบอกว่ามีเหตุผลส�าคัญ 4 ข้อส�าหรับอาการอึดอัด
คับของ นั่นคือ ประชากรผู้สูงอายุ การเพิ่มขึ้นของจ�านวนประชากร การเพิ่ม
ขึ้นของชนชั้นกลางทั่วโลกและการอพยพเข้าเมืองเมื่ออายุมากขึ้นคนเราจะ
สนใจเรื่องการมีสมบัติน้อยลง นอกจากนี้เมื่อมีคนจ�านวนมากขึ้นในโลกซึ่งมี
พื้นที่จ�ากัด และกลายเป็นชนชั้นกลางมากกว่าแต่ก่อน ก็ย่อมมีความกดดัน
ด้านทรัพยากรมากขึ้น และเมื่อพวกเราย้ายถิ่นฐานเข้าเมืองมากขึ้น เราจึง
ซื้อรถกันน้อยลง และบ้านของเราก็หลังเล็กลง นั่นหมายความว่าห้องส�าหรับ
วางของก็น้อยลงไปด้วย
นักสังคมศาสตร์อาจจะเสริมว่าเราเหนื่อยหน่ายกับลัทธิวัตถุนิยม เพราะเรา
เห็นว่าระบบทุนนิยมสร้างความเหลื่อมล�้า จนพวกเราผิดหวังและโกรธ พวก
เราก็แค่ไม่ไว้ใจระบบที่ท�าให้ทุกคนไม่เท่าเทียมกันแค่นั้นเอง
นักเศรษฐศาสตร์ก็อาจยิ้มน้อยๆ ให้กับค�าอธิบายทั้งหมดนี้ แน่ละ เธออาจ
บอกว่าเหตุผลทั้งหมดที่ว่ามาข้างบนนั้นล้วนส�าคัญทั้งสิ้นแต่เหตุผลที่แท้จริง
ของอาการอึดอัดคับของนั้นก็คือเศรษฐกิจยังไงล่ะ โง่ไปได้ ในโลกที่ต้นทุน
ชีวิตดีเมื่อมีของน้อย: ปรัชญาความสุขฉบับมินิมอล 19
พุ่งสูงขึ้นขณะรายได้เท่าเดิมคนส่วนใหญ่แค่ไม่มีเงินซื้อของได้อีกก็เท่านั้นเอง
ดังนั้นแทนที่จะเป็นค�าว่า‘เต็มกลืน’น่าจะบอกว่าเราไม่มีปัญญาซื้ออะไรเพิ่ม
ได้อีกแล้ว จะถูกต้องมากกว่า
นักเทคโนโลยีอาจเห็นพ้องกับทั้งหมดนี้ แล้วบอกเหตุผลที่แท้จริงว่าท�าไม
เราจึงก�าลังหันเหออกจากวัตถุสิ่งของ นั่นก็เพราะเราไม่ต้องมีมันแล้วก็ได้
เราจะมีหนังสือเป็นเล่มและแผ่นซีดีเป็นตั้งไปเพื่ออะไรในเมื่อเราเข้าถึงมันได้
ผ่านอินเทอร์เน็ต
สุดท้าย ผมคิดอย่างไรน่ะหรือ?
ผมท�างานวิเคราะห์แนวโน้ม และพยากรณ์การเปลี่ยนแปลงของสังคมมา
ตลอดกว่า 10 ปีแล้ว ประสบการณ์นี้ท�าให้ผมเห็นชัดขึ้นเรื่อยๆ ว่าตอนนี้มี
รอยร้าว 3 อย่างที่ส�าคัญเกิดขึ้นในสังคมเรา นั่นคือ โครงสร้างของระบบ
ทุนนิยม พฤติกรรมบริโภคนิยม และค่านิยมแบบวัตถุนิยม แต่เมื่อผมมองดู
ทางแก้ไขที่คนอื่นก�าลังเสนอแนะอยู่ เช่น การต่อต้านทุนนิยม การต่อต้าน
บริโภคนิยม หรือแนวคิดที่ว่าเทคโนโลยีจะแก้ปัญหาทุกอย่างได้ ผมไม่เชื่อ
มั่นอะไรเลย เพราะแต่ละทางเลือกไม่น่าจะเป็นจริงได้ ทั้งหมดดูง่ายเกินไป
เหมือนกับพวกเขาก�าลังเอากระดาษปิดรอยร้าวไว้ หรือไม่ก็แค่แก้ไขเฉพาะ
บางส่วนของปัญหาแล้วละเลยส่วนที่เหลือแทนที่จะเจาะหาสาเหตุเชิงโครง
สร้างจริงๆ ผมจึงตัดสินใจลุยกับมันด้วยตัวเอง ผลลัพธ์ของงานที่ผมท�าอยู่
ในหนังสือเล่มนี้แล้ว
มีหลายปัจจัยที่ท�าให้เกิดอาการอึดอัดคับของ แต่ปัจจัยเหล่านั้นเป็นเหมือน
คลื่นมากกว่าเป็นอิฐก่อสร้างที่ตายตัว พูดง่ายๆ ก็คือ แต่ละอย่างเกิดขึ้นเอง
บทนำ�
20 ชีวิตดีเมื่อมีของน้อย: ปรัชญาความสุขฉบับมินิมอล
โดยไม่ได้พึ่งพาปัจจัยอื่น ดังนั้นแม้คุณจะไม่เห็นด้วยกับนักสิ่งแวดล้อม และ
ไม่คิดว่าผู้คนห่วงใยสภาพแวดล้อมเสียจนบริโภคสิ่งของน้อยลง นั่นก็ไม่ได้
มีผลต่อการเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับนักเทคโนโลยีหรือนักประชากรศาสตร์
ดังนั้นอาการอึดอัดคับของจึงอาจเกิดจากหลายปัจจัยรวมกันก็ได้
ปัจจัยทั้งหมดที่ก่อให้เกิดอาการอึดอัดคับของ เกิดมาจากกระแสระยะยาวอีกที
แต่ละปัจจัยเดี่ยวๆ เหล่านี้เป็นเหมือนลูกคลื่นที่ส่งผลต่อโลกของเรา แต่พอ
คลื่นทั้งหมดซัดเข้ามาพร้อมกันจึงก่อเกิดเป็นอภิมหาพายุส�าหรับวัฒนธรรม
วัตถุนิยมของเรา สิ่งนี้จึงกลายเป็นปัญหาคอขาดบาดตายปัญหาหนึ่งแห่ง
ศตวรรษและเป็นเหตุผลว่าท�าไมตอนนี้พวกเราจ�านวนมากจึงเริ่มทุกข์ทรมาน
จากอาการอึดอัดคับของ
สมการความสุขแบบใหม่
แต่ไหนแต่ไรมา ระบบทุนนิยมนั้นมักขึ้นอยู่กับการบริโภคเยอะๆ เช่น
ในสมการความสุขเริ่มแรกของไรอัน สมบัติพัสถานและการแสวงหาสิ่งของ
เหล่านั้นท�าให้เราดูดี มีตัวตน มีความหมาย และมีความสุข ในโลกแบบนั้น
ความโลภคือสิ่งที่ดียิ่งมากยิ่งดีและการครอบครองวัตถุสิ่งของคือวิธีที่ดีที่สุด
ในการไล่ให้ทันคนอื่นๆ แต่มันไม่เป็นเช่นนั้นอีกต่อไปแล้ว
ถึงอย่างนั้นผมก็ไม่อยากพูดโจมตีข้าวของทั้งหมดที่คุณซื้อมา หรือสมบัติที่
คุณสะสมมาตลอดหลายปีหรอกนะ ผมไม่ได้บอกว่าวัตถุนิยมไม่ดี แต่
ผมอยากจะเปลี่ยนแปลงมัน วัตถุนิยมเป็นแนวคิดที่เหมาะเจาะในเวลาที่
เหมาะสม มันท�าให้เรามีชีวิตอุดมสมบูรณ์ มีเครื่องซักผ้า โทรทัศน์ และ
ห้องสุขาภายในบ้าน มันช่วยส่งน�้าสะอาด รัฐสวัสดิการ และสุขอนามัย

More Related Content

More from Piyapong Sirisutthanant

ตัวอย่าง_หนังสือความสำเร็จเริ่มจากรายล้อมตัวเองด้วยคนที่ใช่.pdf
ตัวอย่าง_หนังสือความสำเร็จเริ่มจากรายล้อมตัวเองด้วยคนที่ใช่.pdfตัวอย่าง_หนังสือความสำเร็จเริ่มจากรายล้อมตัวเองด้วยคนที่ใช่.pdf
ตัวอย่าง_หนังสือความสำเร็จเริ่มจากรายล้อมตัวเองด้วยคนที่ใช่.pdf
Piyapong Sirisutthanant
 
ตัวอย่าง_หนังสือวิธีเซฟใจในวันที่ครอบครัวไม่ใช่เซฟโซน.pdf
ตัวอย่าง_หนังสือวิธีเซฟใจในวันที่ครอบครัวไม่ใช่เซฟโซน.pdfตัวอย่าง_หนังสือวิธีเซฟใจในวันที่ครอบครัวไม่ใช่เซฟโซน.pdf
ตัวอย่าง_หนังสือวิธีเซฟใจในวันที่ครอบครัวไม่ใช่เซฟโซน.pdf
Piyapong Sirisutthanant
 
ตัวอย่าง_หนังสือสำเร็จทุกเป้าหมายด้วยการจัดระเบียบชีวิตดิจิทัล.pdf
ตัวอย่าง_หนังสือสำเร็จทุกเป้าหมายด้วยการจัดระเบียบชีวิตดิจิทัล.pdfตัวอย่าง_หนังสือสำเร็จทุกเป้าหมายด้วยการจัดระเบียบชีวิตดิจิทัล.pdf
ตัวอย่าง_หนังสือสำเร็จทุกเป้าหมายด้วยการจัดระเบียบชีวิตดิจิทัล.pdf
Piyapong Sirisutthanant
 
ตัวอย่าง_หนังสือทักษะออกแบบชีวิตที่ใช้ได้ตลอดชีวิต.pdf
ตัวอย่าง_หนังสือทักษะออกแบบชีวิตที่ใช้ได้ตลอดชีวิต.pdfตัวอย่าง_หนังสือทักษะออกแบบชีวิตที่ใช้ได้ตลอดชีวิต.pdf
ตัวอย่าง_หนังสือทักษะออกแบบชีวิตที่ใช้ได้ตลอดชีวิต.pdf
Piyapong Sirisutthanant
 
ตัวอย่างหนังสือ 8 กฎทองของคนอยากเข้าใจรัก.pdf
ตัวอย่างหนังสือ 8 กฎทองของคนอยากเข้าใจรัก.pdfตัวอย่างหนังสือ 8 กฎทองของคนอยากเข้าใจรัก.pdf
ตัวอย่างหนังสือ 8 กฎทองของคนอยากเข้าใจรัก.pdf
Piyapong Sirisutthanant
 
ตัวอย่างหนังสือ_เลิกขายดีกำไรน้อย ยุคนี้ต้องขายน้อยกำไรงาม.pdf
ตัวอย่างหนังสือ_เลิกขายดีกำไรน้อย ยุคนี้ต้องขายน้อยกำไรงาม.pdfตัวอย่างหนังสือ_เลิกขายดีกำไรน้อย ยุคนี้ต้องขายน้อยกำไรงาม.pdf
ตัวอย่างหนังสือ_เลิกขายดีกำไรน้อย ยุคนี้ต้องขายน้อยกำไรงาม.pdf
Piyapong Sirisutthanant
 
ตัวอย่างหนังสือ_กล้าที่จะเลิก คำว่าพ่ายแพ้ไม่ได้หมายความว่าพยายามไม่พอ.pdf
ตัวอย่างหนังสือ_กล้าที่จะเลิก คำว่าพ่ายแพ้ไม่ได้หมายความว่าพยายามไม่พอ.pdfตัวอย่างหนังสือ_กล้าที่จะเลิก คำว่าพ่ายแพ้ไม่ได้หมายความว่าพยายามไม่พอ.pdf
ตัวอย่างหนังสือ_กล้าที่จะเลิก คำว่าพ่ายแพ้ไม่ได้หมายความว่าพยายามไม่พอ.pdf
Piyapong Sirisutthanant
 
ตัวอย่างหนังสือ _ความลับเรื่องเงินที่แม่อยากบอกลูกก่อนตาย.pdf
ตัวอย่างหนังสือ _ความลับเรื่องเงินที่แม่อยากบอกลูกก่อนตาย.pdfตัวอย่างหนังสือ _ความลับเรื่องเงินที่แม่อยากบอกลูกก่อนตาย.pdf
ตัวอย่างหนังสือ _ความลับเรื่องเงินที่แม่อยากบอกลูกก่อนตาย.pdf
Piyapong Sirisutthanant
 
ตัวอย่างหนังสือ_ยกหิน 10 ตันออกจากอก.pdf
ตัวอย่างหนังสือ_ยกหิน 10 ตันออกจากอก.pdfตัวอย่างหนังสือ_ยกหิน 10 ตันออกจากอก.pdf
ตัวอย่างหนังสือ_ยกหิน 10 ตันออกจากอก.pdf
Piyapong Sirisutthanant
 
โปรดเยียวยาใจฉันด้วยหนังสือเล่มนั้น_ตัวอย่าง.pdf
โปรดเยียวยาใจฉันด้วยหนังสือเล่มนั้น_ตัวอย่าง.pdfโปรดเยียวยาใจฉันด้วยหนังสือเล่มนั้น_ตัวอย่าง.pdf
โปรดเยียวยาใจฉันด้วยหนังสือเล่มนั้น_ตัวอย่าง.pdf
Piyapong Sirisutthanant
 
ความเจริญไม่เคยเกิดขึ้นเอง Power and progress_ตัวอย่าง.pdf
ความเจริญไม่เคยเกิดขึ้นเอง Power and progress_ตัวอย่าง.pdfความเจริญไม่เคยเกิดขึ้นเอง Power and progress_ตัวอย่าง.pdf
ความเจริญไม่เคยเกิดขึ้นเอง Power and progress_ตัวอย่าง.pdf
Piyapong Sirisutthanant
 
ตัวอย่างหนังสือ_ฉันแข็งแกร่งพอที่จะเชื่อความคิดของตัวเอง.pdf
ตัวอย่างหนังสือ_ฉันแข็งแกร่งพอที่จะเชื่อความคิดของตัวเอง.pdfตัวอย่างหนังสือ_ฉันแข็งแกร่งพอที่จะเชื่อความคิดของตัวเอง.pdf
ตัวอย่างหนังสือ_ฉันแข็งแกร่งพอที่จะเชื่อความคิดของตัวเอง.pdf
Piyapong Sirisutthanant
 
ตัวอย่างหนังสือ_ถกเถียงอย่างไร ให้เราเข้าใจกันมากกว่าเดิม.pdf
ตัวอย่างหนังสือ_ถกเถียงอย่างไร ให้เราเข้าใจกันมากกว่าเดิม.pdfตัวอย่างหนังสือ_ถกเถียงอย่างไร ให้เราเข้าใจกันมากกว่าเดิม.pdf
ตัวอย่างหนังสือ_ถกเถียงอย่างไร ให้เราเข้าใจกันมากกว่าเดิม.pdf
Piyapong Sirisutthanant
 
ตัวอย่างหนังสือ_เพราะฉันแตกต่างจึงบริหารเวลาแบบนี้.pdf
ตัวอย่างหนังสือ_เพราะฉันแตกต่างจึงบริหารเวลาแบบนี้.pdfตัวอย่างหนังสือ_เพราะฉันแตกต่างจึงบริหารเวลาแบบนี้.pdf
ตัวอย่างหนังสือ_เพราะฉันแตกต่างจึงบริหารเวลาแบบนี้.pdf
Piyapong Sirisutthanant
 
ตัวอย่างหนังสือ_เธอหรือฉันใครกันที่Toxic.pdf
ตัวอย่างหนังสือ_เธอหรือฉันใครกันที่Toxic.pdfตัวอย่างหนังสือ_เธอหรือฉันใครกันที่Toxic.pdf
ตัวอย่างหนังสือ_เธอหรือฉันใครกันที่Toxic.pdf
Piyapong Sirisutthanant
 
ตัวอย่างหนังสือ_เก่งด้วยศาสตร์.pdf
ตัวอย่างหนังสือ_เก่งด้วยศาสตร์.pdfตัวอย่างหนังสือ_เก่งด้วยศาสตร์.pdf
ตัวอย่างหนังสือ_เก่งด้วยศาสตร์.pdf
Piyapong Sirisutthanant
 
ตัวอย่างหนังสือ_ถ้าสอนงานแบบนี้.pdf
ตัวอย่างหนังสือ_ถ้าสอนงานแบบนี้.pdfตัวอย่างหนังสือ_ถ้าสอนงานแบบนี้.pdf
ตัวอย่างหนังสือ_ถ้าสอนงานแบบนี้.pdf
Piyapong Sirisutthanant
 
ตัวอย่างหนังสือ_แค่มองให้เป็น.pdf
ตัวอย่างหนังสือ_แค่มองให้เป็น.pdfตัวอย่างหนังสือ_แค่มองให้เป็น.pdf
ตัวอย่างหนังสือ_แค่มองให้เป็น.pdf
Piyapong Sirisutthanant
 
ตัวอย่างหนังสือ_คู่มือทำธุรกิจฉบับคนคิดสร้างสรรค์.pdf
ตัวอย่างหนังสือ_คู่มือทำธุรกิจฉบับคนคิดสร้างสรรค์.pdfตัวอย่างหนังสือ_คู่มือทำธุรกิจฉบับคนคิดสร้างสรรค์.pdf
ตัวอย่างหนังสือ_คู่มือทำธุรกิจฉบับคนคิดสร้างสรรค์.pdf
Piyapong Sirisutthanant
 
ตัวอย่างหนังสือ_Blitzscaling.pdf
ตัวอย่างหนังสือ_Blitzscaling.pdfตัวอย่างหนังสือ_Blitzscaling.pdf
ตัวอย่างหนังสือ_Blitzscaling.pdf
Piyapong Sirisutthanant
 

More from Piyapong Sirisutthanant (20)

ตัวอย่าง_หนังสือความสำเร็จเริ่มจากรายล้อมตัวเองด้วยคนที่ใช่.pdf
ตัวอย่าง_หนังสือความสำเร็จเริ่มจากรายล้อมตัวเองด้วยคนที่ใช่.pdfตัวอย่าง_หนังสือความสำเร็จเริ่มจากรายล้อมตัวเองด้วยคนที่ใช่.pdf
ตัวอย่าง_หนังสือความสำเร็จเริ่มจากรายล้อมตัวเองด้วยคนที่ใช่.pdf
 
ตัวอย่าง_หนังสือวิธีเซฟใจในวันที่ครอบครัวไม่ใช่เซฟโซน.pdf
ตัวอย่าง_หนังสือวิธีเซฟใจในวันที่ครอบครัวไม่ใช่เซฟโซน.pdfตัวอย่าง_หนังสือวิธีเซฟใจในวันที่ครอบครัวไม่ใช่เซฟโซน.pdf
ตัวอย่าง_หนังสือวิธีเซฟใจในวันที่ครอบครัวไม่ใช่เซฟโซน.pdf
 
ตัวอย่าง_หนังสือสำเร็จทุกเป้าหมายด้วยการจัดระเบียบชีวิตดิจิทัล.pdf
ตัวอย่าง_หนังสือสำเร็จทุกเป้าหมายด้วยการจัดระเบียบชีวิตดิจิทัล.pdfตัวอย่าง_หนังสือสำเร็จทุกเป้าหมายด้วยการจัดระเบียบชีวิตดิจิทัล.pdf
ตัวอย่าง_หนังสือสำเร็จทุกเป้าหมายด้วยการจัดระเบียบชีวิตดิจิทัล.pdf
 
ตัวอย่าง_หนังสือทักษะออกแบบชีวิตที่ใช้ได้ตลอดชีวิต.pdf
ตัวอย่าง_หนังสือทักษะออกแบบชีวิตที่ใช้ได้ตลอดชีวิต.pdfตัวอย่าง_หนังสือทักษะออกแบบชีวิตที่ใช้ได้ตลอดชีวิต.pdf
ตัวอย่าง_หนังสือทักษะออกแบบชีวิตที่ใช้ได้ตลอดชีวิต.pdf
 
ตัวอย่างหนังสือ 8 กฎทองของคนอยากเข้าใจรัก.pdf
ตัวอย่างหนังสือ 8 กฎทองของคนอยากเข้าใจรัก.pdfตัวอย่างหนังสือ 8 กฎทองของคนอยากเข้าใจรัก.pdf
ตัวอย่างหนังสือ 8 กฎทองของคนอยากเข้าใจรัก.pdf
 
ตัวอย่างหนังสือ_เลิกขายดีกำไรน้อย ยุคนี้ต้องขายน้อยกำไรงาม.pdf
ตัวอย่างหนังสือ_เลิกขายดีกำไรน้อย ยุคนี้ต้องขายน้อยกำไรงาม.pdfตัวอย่างหนังสือ_เลิกขายดีกำไรน้อย ยุคนี้ต้องขายน้อยกำไรงาม.pdf
ตัวอย่างหนังสือ_เลิกขายดีกำไรน้อย ยุคนี้ต้องขายน้อยกำไรงาม.pdf
 
ตัวอย่างหนังสือ_กล้าที่จะเลิก คำว่าพ่ายแพ้ไม่ได้หมายความว่าพยายามไม่พอ.pdf
ตัวอย่างหนังสือ_กล้าที่จะเลิก คำว่าพ่ายแพ้ไม่ได้หมายความว่าพยายามไม่พอ.pdfตัวอย่างหนังสือ_กล้าที่จะเลิก คำว่าพ่ายแพ้ไม่ได้หมายความว่าพยายามไม่พอ.pdf
ตัวอย่างหนังสือ_กล้าที่จะเลิก คำว่าพ่ายแพ้ไม่ได้หมายความว่าพยายามไม่พอ.pdf
 
ตัวอย่างหนังสือ _ความลับเรื่องเงินที่แม่อยากบอกลูกก่อนตาย.pdf
ตัวอย่างหนังสือ _ความลับเรื่องเงินที่แม่อยากบอกลูกก่อนตาย.pdfตัวอย่างหนังสือ _ความลับเรื่องเงินที่แม่อยากบอกลูกก่อนตาย.pdf
ตัวอย่างหนังสือ _ความลับเรื่องเงินที่แม่อยากบอกลูกก่อนตาย.pdf
 
ตัวอย่างหนังสือ_ยกหิน 10 ตันออกจากอก.pdf
ตัวอย่างหนังสือ_ยกหิน 10 ตันออกจากอก.pdfตัวอย่างหนังสือ_ยกหิน 10 ตันออกจากอก.pdf
ตัวอย่างหนังสือ_ยกหิน 10 ตันออกจากอก.pdf
 
โปรดเยียวยาใจฉันด้วยหนังสือเล่มนั้น_ตัวอย่าง.pdf
โปรดเยียวยาใจฉันด้วยหนังสือเล่มนั้น_ตัวอย่าง.pdfโปรดเยียวยาใจฉันด้วยหนังสือเล่มนั้น_ตัวอย่าง.pdf
โปรดเยียวยาใจฉันด้วยหนังสือเล่มนั้น_ตัวอย่าง.pdf
 
ความเจริญไม่เคยเกิดขึ้นเอง Power and progress_ตัวอย่าง.pdf
ความเจริญไม่เคยเกิดขึ้นเอง Power and progress_ตัวอย่าง.pdfความเจริญไม่เคยเกิดขึ้นเอง Power and progress_ตัวอย่าง.pdf
ความเจริญไม่เคยเกิดขึ้นเอง Power and progress_ตัวอย่าง.pdf
 
ตัวอย่างหนังสือ_ฉันแข็งแกร่งพอที่จะเชื่อความคิดของตัวเอง.pdf
ตัวอย่างหนังสือ_ฉันแข็งแกร่งพอที่จะเชื่อความคิดของตัวเอง.pdfตัวอย่างหนังสือ_ฉันแข็งแกร่งพอที่จะเชื่อความคิดของตัวเอง.pdf
ตัวอย่างหนังสือ_ฉันแข็งแกร่งพอที่จะเชื่อความคิดของตัวเอง.pdf
 
ตัวอย่างหนังสือ_ถกเถียงอย่างไร ให้เราเข้าใจกันมากกว่าเดิม.pdf
ตัวอย่างหนังสือ_ถกเถียงอย่างไร ให้เราเข้าใจกันมากกว่าเดิม.pdfตัวอย่างหนังสือ_ถกเถียงอย่างไร ให้เราเข้าใจกันมากกว่าเดิม.pdf
ตัวอย่างหนังสือ_ถกเถียงอย่างไร ให้เราเข้าใจกันมากกว่าเดิม.pdf
 
ตัวอย่างหนังสือ_เพราะฉันแตกต่างจึงบริหารเวลาแบบนี้.pdf
ตัวอย่างหนังสือ_เพราะฉันแตกต่างจึงบริหารเวลาแบบนี้.pdfตัวอย่างหนังสือ_เพราะฉันแตกต่างจึงบริหารเวลาแบบนี้.pdf
ตัวอย่างหนังสือ_เพราะฉันแตกต่างจึงบริหารเวลาแบบนี้.pdf
 
ตัวอย่างหนังสือ_เธอหรือฉันใครกันที่Toxic.pdf
ตัวอย่างหนังสือ_เธอหรือฉันใครกันที่Toxic.pdfตัวอย่างหนังสือ_เธอหรือฉันใครกันที่Toxic.pdf
ตัวอย่างหนังสือ_เธอหรือฉันใครกันที่Toxic.pdf
 
ตัวอย่างหนังสือ_เก่งด้วยศาสตร์.pdf
ตัวอย่างหนังสือ_เก่งด้วยศาสตร์.pdfตัวอย่างหนังสือ_เก่งด้วยศาสตร์.pdf
ตัวอย่างหนังสือ_เก่งด้วยศาสตร์.pdf
 
ตัวอย่างหนังสือ_ถ้าสอนงานแบบนี้.pdf
ตัวอย่างหนังสือ_ถ้าสอนงานแบบนี้.pdfตัวอย่างหนังสือ_ถ้าสอนงานแบบนี้.pdf
ตัวอย่างหนังสือ_ถ้าสอนงานแบบนี้.pdf
 
ตัวอย่างหนังสือ_แค่มองให้เป็น.pdf
ตัวอย่างหนังสือ_แค่มองให้เป็น.pdfตัวอย่างหนังสือ_แค่มองให้เป็น.pdf
ตัวอย่างหนังสือ_แค่มองให้เป็น.pdf
 
ตัวอย่างหนังสือ_คู่มือทำธุรกิจฉบับคนคิดสร้างสรรค์.pdf
ตัวอย่างหนังสือ_คู่มือทำธุรกิจฉบับคนคิดสร้างสรรค์.pdfตัวอย่างหนังสือ_คู่มือทำธุรกิจฉบับคนคิดสร้างสรรค์.pdf
ตัวอย่างหนังสือ_คู่มือทำธุรกิจฉบับคนคิดสร้างสรรค์.pdf
 
ตัวอย่างหนังสือ_Blitzscaling.pdf
ตัวอย่างหนังสือ_Blitzscaling.pdfตัวอย่างหนังสือ_Blitzscaling.pdf
ตัวอย่างหนังสือ_Blitzscaling.pdf
 

ตัวอย่างหนังสือ ชีวิตดีเมื่อมีของน้อย

  • 2. ชีวิตดีเมื่อมีของน้อย: ปรัชญาความสุขฉบับมินิมอล Stuffocation Original English language edition first published by Penguin Books Ltd, London Text copyright © James Wallman 2013 The author has asserted his moral rights. Thai language translation copyright © 2019 by Superposition Co., Ltd. All rights reserved. เลขมาตรฐานสากลประจ�าหนังสือ ISBN 978-616-8109-15-1 ผู้เขียน James Wallman ผู้แปล นรินทร์ องค์อินทรี บรรณาธิการ กนกกาญจน์ เวชชวิศิษฏ์, ธีร์ มีนสุข รูปเล่มและออกแบบปก สมเกียรติ ภูผาสิทธิ์ ราคา 245 บาท จัดพิมพ์โดย ส�านักพิมพ์บิงโก ภายในเครือ บริษัท ซุปเปอร์โพซิชั่น จ�ากัด (Superposition Co., Ltd.) 18 ซอยดุลิยา ถนนกาญจนาภิเษก แขวงบางระมาด เขตตลิ่งชัน กทม. 10170 อีเมล superposition.books@gmail.com โทรศัพท์ 094-810-7272 เว็บไซต์ www.bingobook.co เฟซบุ๊ก www.facebook.com/bingobooks จัดจ�าหน่ายโดย บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จ�ากัด (มหาชน) SE-EDUCATION Public Company Limited เลขที่ 1858/87-90 ถนนเทพรัตน แขวงบางนาใต้ เขตบางนา กรุงเทพฯ 10260 โทร. 0-2826-8000 โทรสาร 0-2826-8999 เว็บไซต์ www.se-ed.com พิมพ์ที่ P.R. Color Print โทรศัพท์ 02-806-6344 หากต้องการสั่งซื้อเป็นจ�านวนมาก กรุณาติดต่อรับส่วนลดได้ที่ บริษัท ซุปเปอร์โพซิชั่น จ�ากัด อีเมล superposition.books@gmail.com
  • 3. สารบัญ บทน�า เรามีข้าวของเยอะไปแล้ว 1 ส่วนที่ 1 ปัญหา อาการอึดอัดคับของ บทที่ 1 นักมานุษยวิทยากับภาวะรกขั้นวิกฤต 33 บทที่ 2 ด้านมืดของวัตถุนิยม 56 ส่วนที่ 2 เรามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร จุดเริ่มต้นของวัฒนธรรมใช้ทิ้งใช้ขว้าง บทที่ 3 ต้นฉบับกับงานสร้างความต้องการ 65 บทที่ 4 บาร์บรา สไตรแซนด์ กับกฎแห่งผลพวงที่ไม่ตั้งใจ 78 ส่วนที่ 3 ทางแยก ป้ ายชี้ทางสู่อนาคตที่ดีกว่า บทที่ 5 สิ่งของจ�านวน 33, 47, 69 และ 100 ชิ้น 89 บทที่ 6 ชีวิตเรียบง่ายกับครอบครัวเปี่ยมอิสรภาพ 99 บทที่ 7 ทางสายกลาง 112
  • 4. ส่วนที่ 4 หนทางข้างหน้า นักค้นหาประสบการณ์ บทที่ 8 ประสบการณ์หรือข้าวของ 125 บทที่ 9 นักค้นหาประสบการณ์ 131 บทที่ 10 เฟซบุ๊กเปลี่ยนวิธีที่เราไล่ตามคนอื่น 152 บทที่ 11 วิธีวัดความก้าวหน้าแบบใหม่ 165 บทที่ 12 แล้วคนจีนล่ะ 173 บทที่ 13 ยิปซี ตัวต่อ และเศรษฐกิจภาคประสบการณ์ 181 บทที่ 14 คุณจะเป็นนักค้นหาประสบการณ์ โดยที่ยังคงรักสิ่งของได้หรือไม่ 199 บทสรุป ท�าไมคุณถึงต้องการประสบการณ์มากกว่าที่เคย 219 3 ขั้นตอนสู่การค้นหาประสบการณ์ 230 7 นิสัยของนักค้นหาประสบการณ์ผู้ประสบความส�าเร็จ 235 ส่วนเสริม 251
  • 5. ชีวิตดีเมื่อมีของน้อย: ปรัชญาความสุขฉบับมินิมอล 1 บทน�า เรามีข้าวของเยอ ป ล้ว เช้าวันหนึ่งในเดือนกันยายน ปี 2010 ชายหนุ่มชื่อ ไรอัน นิโคเดมัส ตื่นขึ้นใน ห้องว่างเปล่าซึ่งมีเพียงแค่เตียงเท่านั้น ท้องฟ้ าภายนอกสีคราม ลมโชย มาแผ่วๆ ผู้คนก�าลังเริ่มต้นสัปดาห์ใหม่ จิบกาแฟ ขึ้นรถ ขับขึ้นเหนือไปเมือง เดย์ตัน ล่องใต้ไปเมืองซินซินเนติ มันก็เป็นอีกวันธรรมดาเหมือนวันอื่นๆ ไรอัน ลูกครึ่งอเมริกัน-ไอริช ผู้มีกรามเหลี่ยม และหน้าตาเหมือนดาราดังเบ็น แอฟเฟล็ก ลุกขึ้นนั่งพร้อมกับหรี่ตามองไปรอบๆ ในห้องไม่มีโต๊ะข้างเตียงหรือ โคมไฟไม่มีรูปภาพไม่มีอะไรเลยเว้นแต่เตียงที่เขานอนกับผ้าห่มที่ใช้คลุมกาย เขาจัดผ้าห่มให้เข้าที่เข้าทางแล้วก้าวเท้าไปบนพื้นพรมผ่านตู้เสื้อผ้าว่างเปล่า เข้าไปในโถงทางเดิน บ้านโล่งโจ้งไปหมด สิ่งเดียวที่มีอยู่คือเสียงประหลาด “แปลกจริงๆ” ไรอันเล่า “มันดูเงียบนะ แต่กลับมีเสียงสะท้อนอยู่” หากคุณอยู่ที่นั่นตื่นขึ้นมาล�าพังในบ้านหลังนั้นคงคิดว่าตัวเองตื่นขึ้นในความ ฝันพิสดาร ในบ้านแปลกๆ หลังหนึ่งที่เจ้าของเพิ่งย้ายออกไปเมื่อวาน พร้อม กับทิ้งของทั้งหมดไว้ในกล่องและถุงขยะที่เชิงบันได ไรอันลงไปที่ชั้นล่าง หยิบกล่องใบหนึ่งขึ้นมา ฉลากกล่องเขียนว่า ‘เบ็ดเตล็ด 7’ เขาวางมันลงด้านข้าง หยิบอีกกล่องขึ้นมา ‘ของในครัว 2’ แล้ววางลงเหมือน เดิมเขาหาไปเรื่อยๆจนกระทั่งพบ‘ห้องน�้า1’และควานมือในกล่องหยิบเจล อาบน�้า ยาสีฟัน และแปรงสีฟันออกมา จากนั้นก็เริ่มรื้อถุงจนกระทั่งเจอ ผ้าเช็ดตัวเขามัดปิดปากถุงทั้งหมดปิดฝากล่องแล้วขึ้นไปชั้นบนเพื่ออาบน�้า บทนำ�
  • 6. 2 ชีวิตดีเมื่อมีของน้อย: ปรัชญาความสุขฉบับมินิมอล ขณะน�้าไหลรดตัวไรอันก็คิดในใจ“เรารู้สึกยังไงนะแปลกหรือว่าดี?บ้านที่ไม่มี ของนี่ดีขึ้นหรือแย่ลงกันแน่” ที่รู้คือนี่ไม่ใช่ความฝัน มันคือการทดลองที่เขาคิด ขึ้นมา ตอนนั้นไรอันอยู่ในวัย28ปี และชีวิตก�าลังไปได้ดีเขามีแฟนมีบ้านมีงานท�ามี รายได้ปีละกว่าแสนดอลลาร์ ในฐานะผู้จัดการร้านสาขาต่างๆ ของบริษัท โทรคมนาคมชื่อ ซินซินเนติเบลล์ เขารักงาน รักเพื่อนร่วมงาน เขาสนุกที่ได้เห็น ลูกน้องพัฒนาและได้ช่วยพวกเขาเพิ่มยอดขาย เพื่อจะได้โบนัส หรือได้รางวัล ไปเที่ยวฮาวายฟรี เขาสวมสูทของบรูกบราเธอร์ รองเท้าคู่ละ300ดอลลาร์ และ เนคไทเส้นละ 100 ดอลลาร์ (ที่มีนับร้อยเส้น) ช่วงสุดสัปดาห์ เขาจะขับรถออก ท่องเที่ยวไปกับเพื่อนฝูง เขาเล่นเอ็กซ์บ็อกซ์ และดูหนังบนจอโทรทัศน์ซัมซุงรุ่น ท็อปขนาด 53 นิ้ว เขาขับโตโยต้าสีฟ้ าคันใหม่เอี่ยม ไรอันบอกว่า “ถ้าผมบอกตัวเองสมัยอายุสิบแปดว่าจะมีอะไรบ้างตอนอายุ ยี่สิบแปดละก็ ผมคงจะเป็นเด็กหนุ่มอายุสิบแปดที่ตื่นเต้นที่สุด ผมคงจะพูด ท�านองว่า ‘ล้อเล่นใช่มั้ยเนี่ย มันจะเป็นชีวิตที่เจ๋งที่สุดเลย!’ ” แต่ 10 ปีต่อมา เขากลับไม่รู้สึกว่าชีวิตเจ๋งสุดยอดแบบนั้น ไรอันไม่มีความสุข เลย แถมยังรู้สึกสับสนอีกต่างหาก เขาบอกว่า “ผมแทบจะไม่รู้สึกปลื้มปริ่ม อะไรเลย ทั้งๆ ที่ผมมีทุกอย่างที่อยากได้มาตลอด” ในตอนแรกเขายังคงทุ่มเทต่อไปท�างานหนักและใช้เงินโดยหวังว่าความรู้สึก นั้นจะหายไปเองแต่ไม่ว่าเขาจะหาเงินได้มากแค่ไหนซื้อของมากเท่าไรความ รู้สึกก็ยังเหมือนเดิมและแล้วความคิดหนึ่งก็ผุดขึ้นมาบางทีเขาอาจเข้าใจผิด มาโดยตลอด บางทีสมการความสุขที่เขาคิดขึ้นอาจจะผิดพลาดก็เป็นได้
  • 7. ชีวิตดีเมื่อมีของน้อย: ปรัชญาความสุขฉบับมินิมอล 3 สมการความสุข ไรอันเติบโตขึ้นมาอย่างยากไร้ ในเมืองเลบานอนรัฐโอไฮโอที่มีประชากรราว 20,000 คน และมีรายได้เฉลี่ย 20,000 ดอลลาร์ต่อปี เมื่อพ่อแม่แยกทางกัน เขาอาศัยอยู่กับแม่ในห้องเช่าซอมซ่อแม่มัวแต่ง่วนอยู่กับเหล้าและยาเสพติด จนไม่เคยสนใจการท�าความสะอาด แมลงสาบ และลูกตัวเอง พอไรอันอายุ สิบสองเขาก็ย้ายไปอยู่กับพ่อซึ่งท�าธุรกิจเล็กๆชื่อว่า‘นิโคเดมัสงานท�าสีและ ผนัง’ พ่อเป็นชาวคริสต์ที่เคร่งครัด รักความสะอาด ดังนั้นไรอันจึงกระเด้งไป มาเหมือนลูกพินบอลระหว่างพระเจ้าของพ่อกับมารร้ายของแม่ เขาเสพยา ไปโบสถ์ และกินจุ เมื่อไรอันช่วยงานพ่อระหว่างปิดภาคเรียนเขาได้เห็นลักษณะการตกแต่งบ้าน ของบรรดาคู่รักทั้งหลายทั้งยังพบว่าบรรดาคู่รักดูเหมือนจะมีความสุขแบบที่ ตัวเขาเองก�าลังมองหาอยู่ วันหนึ่ง สองพ่อลูกไปท�างานในชุดกันเปื้อน บ้านหลังนั้นไม่มีอะไรหรูหรา ทุก อย่างทันสมัยและใหม่ยกเว้นนาฬิกาลูกตุ้มตั้งพื้นในโถงทางเดินขณะที่ไรอัน ก�าลังเตรียมการปลดรูปภาพบนผนังลง เขาสังเกตว่าผู้คนในภาพเหล่านั้นดู มีความสุขทีเดียว เช้าวันนั้นเจ้าของบ้านก็ดูค่อนข้างมีความสุขเสียด้วย อาจ เป็นอย่างนั้นจริงเมื่อมองไปรอบๆเขาก็นึกสงสัยว่าบางทีบ้านหลังงามนี้อาจ เป็นบ้านแบบที่คนมีความสุขอยู่กันก็ได้ “พ่อครับ” เขาพูด “ผมต้องหาเงินได้แค่ไหนถึงจะมีบ้านแบบนี้ได้” “ไอ้หนู” เอริกตอบเสียงห้าวและห้วน “ประมาณ 50,000 ดอลลาร์ต่อปี” บทนำ�
  • 8. 4 ชีวิตดีเมื่อมีของน้อย: ปรัชญาความสุขฉบับมินิมอล ง่ายๆ อย่างนี้เอง ความสุขหน้าตาแบบนี้ แบบข้างในบ้านหลังนี้ ป้ ายราคา ของมันคือ ห้าหมื่นดอลลาร์ ไรอันบอกเรื่องสมการลับที่ส�าคัญ ‘ความสุข = ห้าหมื่นดอลลาร์ต่อปี’ กับเพื่อนสนิทของเขา โจชัว ฟีลดส์ มิลล์เบิร์น ทุกวันนี้ฟีลดส์ มิลล์เบิร์น มีรูปร่างสมส่วนและหน้าตาดี ผมบลอนด์เป็นลอน ของเขาตั้งชี้ขึ้นรอยยิ้มของเขาก�้ากึ่งระหว่างพอใจในตนเองกับท่าทีเรียกร้อง ความสนใจ ทว่าในตอนนั้นเขาก็เป็นแค่วัยรุ่นกะโปโลเหมือนกับไรอัน หลังเรียนจบ ฟีลดส์ มิลล์เบิร์นกับไรอันก็ทุ่มเทท�างานหนักเพื่อท�าสมการ ความสุขของตนให้เป็นจริงไม่กี่ปีต่อมาทั้งสองก็เอื้อมถึงตัวเลขมหัศจรรย์นั้น นั่นหมายความว่าพวกเขาน่าจะมีความสุขใช่ไหม? ถ้าเพียงชีวิตจะง่ายแบบ นั้นก็ดีสิ ไม่ช้าฟีลดส์ มิลล์เบิร์นก็ขบคิดถึงปัญหา “สมการมันผิด”เขาบอกไรอันในวันหนึ่ง“เราไม่ได้ค�านวณเรื่องเงินเฟ้ อมันอาจ จะไม่ใช่ห้าหมื่นดอลลาร์ก็ได้นะ แต่เป็นแปดหมื่น” ฟังดูเข้าเค้าทีเดียว เงินเฟ้ อ หมายความว่าของมีราคาเพิ่มขึ้นนั่นเอง โดยเฉพาะของดีๆ ที่คุณอยากได้ทั้ง หลายแหล่ และถ้าราคาข้าวของดีๆ สูงขึ้น ราคาชีวิตดีๆ ย่อมสูงขึ้นเช่นกัน สองหนุ่มจึงทุ่มเทกันต่อท�างานไปใช้เงินไปแข่งขันกันไปไรอันซื้อบ้านขนาด 158 ตารางเมตร ฟีลดส์ มิลล์เบิร์นซื้อบ้านขนาด 186 ตารางเมตร ไรอันขับ โตโยต้า ส่วนฟีลดส์ มิลล์เบิร์น จัดเล็กซัสมาคันหนึ่ง ไรอันมีเนคไท 100 เส้น ส่วนฟีลดส์ มิลล์เบิร์น ก็ไม่น้อยหน้า มีเสื้อเชิ้ตแบรนด์ดังอยู่ 70 ตัว แถมด้วย สูทยี่ห้อเดียวกันอีก 15 ชุด มากกว่าจ�านวนสูทยี่ห้อนี้ของไรอันอยู่ 3 ชุด
  • 9. ชีวิตดีเมื่อมีของน้อย: ปรัชญาความสุขฉบับมินิมอล 5 แต่ไม่ว่าพวกเขาจะหาเงินได้มากเท่าไรหรือซื้อหาอะไรมาไม่ว่าพวกเขาจะมี มากกว่าที่เคย หรือมากกว่ากันแค่ไหนก็ไม่ส�าคัญ ทุกครั้งที่พวกเขาแตะ เป้ าหมายสมการความสุขก็ไร้ผลคล้ายกับว่าพวกเขาก�าลังไล่ตามไหทองค�า ที่สุดปลายสายรุ้ง ท้ายที่สุด ก็มีความคิดหนึ่งผุดขึ้นมา ถ้าเกิดสมการความสุข เองที่ผิดมาตั้งแต่ต้นล่ะ “ทุกๆ อย่างรอบตัวผมที่ควรจะน�าความสุขมาให้ กลับไม่ได้ท�าให้ผมมีความ สุขเลย”ฟีลดส์มิลล์เบิร์นกล่าวในปัจจุบัน“ที่จริงแล้วมันตรงข้ามเสียมากกว่า แทนที่จะมีความสุข ผมกลับมีหนี้เครียด และไม่สบายใจ ผมเต็มกลืนเต็มที ท้ายที่สุดผมก็รู้สึกหดหู่” ในช่วงนั้นเอง ฟีลดส์ มิลล์เบิร์น ก็ได้พบกับคนกลุ่มหนึ่งในอินเทอร์เน็ต ที่มีแนวคิดเรื่องความสุขที่แตกต่างอย่างสุดขั้ว พวกเขาได้ชื่อว่า ‘นักนิยม ความน้อย’ (minimalists) พวกเขาคิดว่าหนทางสู่ความสุขที่ดีที่สุดนั้นไม่ใช่ โดยการมีมากขึ้น แต่โดยการมีเพียงเล็กน้อย ถ้ามันได้ผลดีส�าหรับคนเหล่า นั้น มันจะได้ผลกับเขาและไรอันด้วยไหม มันน่าลองกันสักตั้ง ทั้งสองจึงค่อยๆ ร่างแผนหนึ่งขึ้นมา โดยเริ่มด้วยการทดลอง เพื่อดูว่าถ้า มีสิ่งของน้อยลง พวกเขาจะมีความสุขมากขึ้นหรือไม่ พวกเขาเอาทุกอย่าง ในบ้านของไรอันใส่ถุงและกล่องเหมือนว่าเขาก�าลังจะย้ายบ้าน แต่ละครั้งที่ เขาต้องการอะไรสักอย่างก็จะรื้อมันออกมา การทดลองนี้กินเวลา 21 วัน พวกเขาเคยอ่านพบว่าการจะสร้างนิสัยใหม่ต้องใช้เวลาประมาณนั้น พอครบก�าหนด ไรอันก็จะรู้ว่าของที่เขาจ�าเป็นต้องใช้จริงๆ มีมากน้อย แค่ไหนรวมทั้งการใช้ชีวิตแบบมีของน้อยชิ้นนั้นท�าให้เขามีความสุขมากขึ้น จริงหรือไม่ บทนำ�
  • 10. 6 ชีวิตดีเมื่อมีของน้อย: ปรัชญาความสุขฉบับมินิมอล มันเป็นอย่างนั้นจริงๆ เสียด้วย เขาไม่เคยต้องเที่ยวรื้อของทั้งหมดที่ยัดอยู่ใน กล่องหรือถุงเลย แน่ละ เขาเอาของบางอย่างออกมาบ้าง หลังจากตื่นขึ้นใน เช้าวันนั้นท่ามกลางความเงียบที่สะท้อนก้อง เขารื้อของอย่างเช่น แปรงสีฟัน ยาสีฟัน และเสื้อผ้าส�าหรับใส่ไปท�างาน รวมทั้งเอาของอื่นๆ ออกมาอีก เช่น มีด ช้อน ส้อม และจานอย่างละหนึ่ง เท่าที่เขาต้องใช้ในแต่ละวัน ทว่าหลังผ่านไป 10 วัน ไรอันก็ไม่ได้รื้ออะไรออกมาอีกเลย ถึงตรงนั้น เขารู้ แน่ชัดแล้วว่ามีทุกอย่างที่จ�าเป็นแล้วตอนนี้ที่รู้สึกแปลกไม่ใช่เรื่องเสียงในบ้าน แต่เป็นเรื่องขยะต่างหาก “มันช่วยให้ผมตาสว่างขึ้นมาว่าผมใช้ของทั้งหมดที่ ตัวเองมีน้อยนิดแค่ไหน”เขาบอก“พอคิดถึงเงินทั้งหมดที่ผมผลาญไปกับของ ทั้งหมดแล้ว นั่นแหละคือความรู้สึกพิสดารอย่างแท้จริง” เขาเคยกังวลว่าแฟนจะคิดอย่างไร แต่เธอกลับคิดว่าทั้งหมดเป็นเรื่องน่าขัน เสียมากกว่า ไรอันเล่าว่า “เธอจะเดินยิ้มๆ เข้ามาในห้องนั่งเล่นแล้วพูดว่า ‘ที่รักคะ เห็นช้อนบ้างมั้ย’” เมื่อพอใจว่าเขามีเพียงพอแล้ว อีกทั้งการมีน้อยนั้นดีกว่าจริงๆ ไรอันจึงก�าจัด ของที่อยู่ในกล่องและถุงไปทั้งหมด เขาขายบางอย่างในอินเทอร์เน็ต ส่วนที่ เหลือก็บริจาคให้คนอื่นๆ เขาส่งของเต็มรถบรรทุกคันหนึ่งไปให้พ่อเพื่อ บริจาคต่อให้กับโบสถ์ แล้วก็เริ่มต้นชีวิตใหม่ด้วยข้าวของที่น้อยลงอย่าง สุดขั้ว ในบางขณะ พวกเราหลายคนก็มีค�าถามว่าเรามีความสุขกับชีวิตและงาน ของเราจริงๆไหมหรือว่าเราแค่ท�างานเพื่อให้มีเงินจ่ายค่าสิ่งของที่เรามีเท่านั้น เองและเราจ�าเป็นต้องมีขยะทั้งหมดที่อัดแน่นรกบ้านรกชีวิตของเราจริงๆหรือ
  • 11. ชีวิตดีเมื่อมีของน้อย: ปรัชญาความสุขฉบับมินิมอล 7 ดังนั้นเราจึงก�าจัดของแบบลวกๆ กันบ้างเป็นบางครั้งคราวเพื่อให้เลิกสงสัย และถอยห่างจากงานเพื่อมีเวลากับงานอดิเรกที่บ้านมากขึ้น แล้วก็หยุดอยู่ แค่นั้น ทว่าไรอันไม่หยุดตอนก�าจัดของเขาเอาทุกอย่างลงกล่องลงถุงจนเกลี้ยงและ เอาไปบริจาค เขาเลิกโหยหาและซื้อของใหม่ๆ เลิกท�างานหนักเพื่อหาเงินมา จ่ายค่าของที่ไม่จ�าเป็นจริงๆ เขาเริ่มใช้ชีวิตแบบมีข้าวของเพียงน้อยนิด เริ่ม มุ่งหาเป้ าหมายอื่นๆ เช่น การมีสุขภาพและความสัมพันธ์ที่ดี แทนการ พยายามไปให้ถึงเป้ าหมายทางวัตถุ และมันได้ผล เดี๋ยวนี้เขามีความสุขมาก ขึ้นอย่างที่เขาบอกผมมาแล้วหลายครั้งท�าไมน่ะหรือท�าไมเขาจึงรู้สึกว่าการ ใช้ชีวิตแบบมีของน้อยลงหมายถึงความสุขที่มากขึ้น และสมการความสุข แบบใหม่นี้ดีเฉพาะกับเขา ฟีลดส์ มิลล์เบิร์น และคนที่เป็นแบบพวกเขาอีก ไม่กี่คนเท่านั้น หรือมันจะได้ผลส�าหรับพวกเราทุกคนที่เหลือด้วย คุณก�าลังมีอาการอึดอัดคับของหรือเปล่า? อาการอึดอัดคับของ เป็นหนึ่งในความทุกข์ที่รุนแรงที่สุดในปัจจุบันซึ่งยัง ไม่มีการตั้งชื่ออย่างเป็นทางการลักษณะอาการคือแทนที่คุณผมและสังคม โดยทั่วไปจะรู้สึกมั่งคั่งขึ้นด้วยสิ่งต่างๆ ที่มี เรากลับรู้สึกอึดอัดเพราะสิ่งเหล่า นั้น แทนที่จะคิดบวกกับค�าว่า “มาก” อย่างที่เคย ตอนนี้เรากลับคิดว่า “มาก” หมายถึงกวนใจมากขึ้นมีเรื่องยุ่งยากมากขึ้นและมีเรื่องให้คิดมากขึ้นในชีวิต อันชุลมุนวุ่นวายของเรานั้น ค�าว่า “มาก” ไม่ใช่ดีขึ้นอีกต่อไป แต่กลายเป็น แย่ลงเรารู้สึกเต็มกลืนและอึดอัดกับสิ่งของรอบตัว เราก�าลังทุกข์ทรมานจาก ความกระวนกระวายใจที่ผมเรียกว่า อาการอึดอัดคับของ บทนำ�
  • 12. 8 ชีวิตดีเมื่อมีของน้อย: ปรัชญาความสุขฉบับมินิมอล คุณคงเห็นแล้วว่าไม่ได้มีแค่ไรอันคนเดียว ปัจจุบันมีหลายล้านคนทั่วโลกที่ ก�าลังรู้สึกว่าพวกเขามีสิ่งของมากเกินไป ยกตัวอย่างเช่น ในทุกปีจะมีคน 2ล้านคนที่อ่านบล็อกและหนังสือต่างๆที่ไรอันกับฟีลดส์เขียนเกี่ยวกับการใช้ ชีวิตด้วยสิ่งของที่น้อยลง และยังมีอีก 12 ล้านคน (เทียบเท่ากับจ�านวนคนที่ อยู่ในเกรเทอร์ลอนดอนหรือจ�านวนคนในนิวยอร์กและลอสแองเจลิสรวมกัน) ที่ดูภาพยนตร์ของพวกเขาเกี่ยวกับผลร้ายของวัตถุนิยม หลังจากดูหนัง เรื่องนี้ พวกเขาได้เรียนรู้บางอย่าง เช่น ถุงขยะทุกใบที่ถูกน�าไปทิ้งจะมีขยะ อีก 70 ถุงเกิดขึ้นจากการผลิตข้าวของในถุงใบนั้น นั่นแสดงว่ายังมีคนอีก จ�านวนมากที่รู้สึกว่าชีวิตจะดีขึ้นถ้ามีข้าวของน้อยลง นักรัฐศาสตร์ชื่อ โรนัลด์ อิงเกิลอาร์ต ได้ศึกษามุมมองของผู้คนที่มีต่อวัตถุ สิ่งของมาตั้งแต่ปี 1970 เมื่อเริ่มงานวิจัยนี้ เขาพบว่าใน 6 ประเทศที่ท�าการ ส�ารวจซึ่งได้แก่สหราชอาณาจักรฝรั่งเศสเยอรมนีตะวันตกอิตาลีเนเธอร์แลนด์ และเบลเยียมนั้น4ใน5คนเป็นพวกวัตถุนิยมคนส่วนใหญ่สนใจเรื่องจ�านวน เงินและสิ่งของที่พวกเขามีมากกว่าคุณภาพชีวิตของตนเอง นับแต่นั้น บรรดานักรัฐศาสตร์ได้ท�าการส�ารวจเช่นเดียวกันนี้อีกกว่า 50 ประเทศสิ่งที่พบจากงานวิจัยนั้นชัดเจนทีเดียวว่าพวกเราก�าลังนิยมวัตถุน้อย ลงอย่างมาก ปัจจุบันมีแค่ประมาณ 1 ใน 2 คนเท่านั้นที่นิยมวัตถุ และอาจ จะน้อยกว่านั้นด้วยซ�้า เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมาบริษัทโฆษณาที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลกท�าการส�ารวจ ในประเทศต่างๆ เช่น สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส และสหรัฐอเมริกา พวกเขา พบว่า‘คนเหนื่อยหน่ายกับข้าวของที่ล้นเกินเต็มที’และ‘ระอากับแรงผลักดัน ให้สะสมมากขึ้น’ และพวกเขายังพบด้วยว่าคนจ�านวน 2 ใน 3 คิดว่า
  • 13. ชีวิตดีเมื่อมีของน้อย: ปรัชญาความสุขฉบับมินิมอล 9 ตนน่าจะมีชีวิตที่ดีกว่านี้หากใช้ชีวิตที่เรียบง่ายขึ้น หรือพูดอีกอย่างว่า “หาก มีสิ่งของน้อยลง” เมื่อบริษัทโฆษณาเดียวกันนี้ท�าการศึกษาซ�้าอีกครั้งในปี 2014 พวกเขา รายงานว่า ‘คนจ�านวนมากรู้สึกเหนื่อยใจกับข้าวของที่มากล้นของตัวเอง’ และ‘คนส่วนใหญ่น่าจะอยู่อย่างมีความสุขได้โดยไม่ต้องมีสิ่งของส่วนใหญ่ที่ เรามี (ตัวเอียงเป็นการเน้นความคิดของพวกเขาไม่ใช่ของผม)และ‘คนจ�านวน 2 ใน 3 ตั้งใจที่จะปลดแอกตัวเองจากสิ่งของที่ไม่จ�าเป็นอย่างน้อยปีละครั้ง’ คุณเองก็อาจรู้สึกอย่างนั้นด้วยเหมือนกัน คุณเหนื่อยหน่ายกับความมากล้น บ้างไหม เหนื่อยใจกับแรงผลักให้สะสมมากขึ้นหรือเปล่า ว่ากันตามจริง คุณ จะมีความสุขกว่าเดิมหรือไม่ถ้ามีสมบัติน้อยกว่าที่มีในตอนนี้ขอให้คุณส�ารวจ สิ่งของต่างๆ ในตู้ ลิ้นชัก และชั้นวางของภายในบ้าน ตามค�าถามถัดไป สักหน่อย เพื่อดูว่าคุณเป็นเหมือนกับไรอันและคนอีกหลายล้านคนทั่วโลกที่ ก�าลังทรมานจาก “อาการอึดอัดคับของ” หรือไม่ บทนำ�
  • 14. 10 ชีวิตดีเมื่อมีของน้อย: ปรัชญาความสุขฉบับมินิมอล คุณเต็มกลืนกับสิ่งของหรือไม่? 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. คุณรู้สึกว่าสมบัติของคุณน�า ก ความสุขมากขึ้น หรือ ข ความเครียดมากขึ้น ก ทุกอย่างในบ้านเป็นระเบียบเรียบร้อยดี หรือ ข มีบริเวณที่รกยุ่งเหยิงจนคุณเข้าไปใช้ไม่ได้ และที่คุณไม่กล้าเข้าไป เพราะมีของที่ต้องรื้อออกไปทิ้ง เวลาคนในครอบครัวเอาของบางอย่างเข้าบ้าน ปฏิกิริยาปกติของคุณ คือ ก ‘ท�าไมก่อนหน้านี้เราถึงไม่คิดถึงมันนะ’ หรือ ข ‘แล้วเราจะเอามันไปไว้ไหนล่ะ’ ก คุณมีเฉพาะสิ่งของที่คุณใช้เป็นประจ�า หรือ ข คุณเก็บของต่างๆ เพราะว่ามันคือสิ่งแทนบุคคลที่คุณอยากจะเป็น เช่น นิยายคลาสสิกที่คุณควรจะอ่าน กีตาร์ที่คุณจะเรียนแน่ๆ หรือ เสื้อผ้าที่สักวันหนึ่งคุณน่าจะใส่ได้พอดี ก คุณคิดว่าสามารถจัดการกับสมบัติของคุณได้ค่อนข้างง่าย หรือ ข คุณนึกอยากให้นางฟ้ าเจ้าระเบียบโผล่มาช่วยจัดการข้าวของให้คุณ โดยคิดแทนให้ว่าอะไรที่คุณต้องใช้จริงๆ แล้วโยนที่เหลือทิ้งไป ก คุณใส่เสื้อผ้าทุกตัวที่มี หรือ ข คุณมีบางตัวที่ไม่ได้ใส่มาเป็นปี หรือนานเต็มทีแล้ว ถ้าคุณอยากจะแขวนชุดหรือเสื้อตัวใหม่ในตู้ ก คุณจะแขวนได้ง่ายๆ หรือ ข คุณต้องโกยกองของเก่าไปทางนั้นทีทางนี้ทีเพื่อให้มีที่ว่าง แล้ว ยัดของใหม่เข้าตู้ก่อนที่ช่องว่างจะหายไป ก ทุกอย่างอยู่ในลิ้นชักแบบพอเหมาะพอดี หรือ ข ตอนคุณเปิดลิ้นชัก เสื้อผ้าจะเด้งขึ้นมาเหมือนต้องการอากาศหายใจ
  • 15. ชีวิตดีเมื่อมีของน้อย: ปรัชญาความสุขฉบับมินิมอล 11 บทนำ� เมื่อครัวดูสะอาดและเป็นระเบียบเหมือนภาพในนิตยสารตกแต่งภายใน ก ด้านหลังประตูตู้ต่างๆ เป็นแบบนั้นด้วย หรือ ข ประตูตู้ต่างๆ อ�าพรางของด้านในที่อัดแน่นกันมั่วไปหมด หากคุณมีโรงรถ ก คุณจอดรถไว้ในนั้น หรือ ข มันมีของอัดเต็มจนไม่เหลือที่ให้รถจอดได้ ก ของต่างๆ จัดเก็บในบ้านได้พอดี หรือ ข ของล้นเกินจนคุณต้องเช่าที่เก็บของเพิ่ม การซื้อของเพื่อคลายเครียด ก ท�าให้คุณรู้สึกดีขึ้น หรือ ข ท�าให้คุณห่อเหี่ยวใจ ก คุณมีความสุขดีกับวัฒนธรรมวัตถุนิยมในปัจจุบัน หรือ ข คุณกลัวว่าตัวเองจะเคยชินไปกับมัน จนรู้ตัวอีกทีก็ถอนตัวไม่ขึ้นแล้ว ก คุณมีความสุขดี หรือ ข คุณรู้สึกว่าสังคมมีบางอย่างไม่ถูกต้องในแง่ ที่ให้ความส�าคัญกับการครอบครองวัตถุสิ่งของมากเกินไป ลองนึกถึงครั้งล่าสุดที่มีคนให้ของบางอย่างกับคุณในช่วงปีที่ผ่านมา อาจ เป็นช่วงคริสต์มาสที่ป้ าดอรีนกับลุงปีเตอร์ยื่นกล่องของขวัญให้ หรืออาจ เป็นตอนวันเกิดซึ่งแม่ของคุณไม่ควรจะมีของขวัญมาให้ แต่เธอก็ยื่น อะไรบางอย่างให้อยู่ดี พร้อมกับบอกว่านั่นเป็นของที่เหมาะกับคุณที่สุด ปฏิกิริยาตอบสนองในความคิดของคุณคือ ก อยากรู้ทันทีเลยว่าข้างใน เป็นอะไร หรือ ข ไม่เห็นสนใจเลยว่าจะได้อะไร หากคุณตอบ ข ในข้อใดข้อหนึ่ง คุณเองก็ก�าลังทุกข์ทรมานกับ อาการ อึดอัดคับของ อยู่บ้างเหมือนกัน 9. 10. 11. 12. 13. 14. 15.
  • 16. 12 ชีวิตดีเมื่อมีของน้อย: ปรัชญาความสุขฉบับมินิมอล เชอร์ล็อก โฮมส์ กับความลี้ลับของคริสปี้ครีม แล้วท�าไมเราถึงยังซื้อของอยู่ตลอดทั้งที่มีมากเกินความจ�าเป็นและเกินกว่า จะจัดการได้อยู่แล้วล่ะ? วิธีที่ดีที่สุดในการตอบค�าถามนี้คือ ตอบผ่านเรื่อง เล่าเรื่องหนึ่งที่ผมเรียกว่า “ความลี้ลับของคริสปี้ครีม” วันพฤหัสบดีที่ 14 กุมภาพันธ์ 2013 ต�ารวจที่หน่วยโลเธียนและบอร์เดอร์ได้ รับสายโทรศัพท์ที่ดูเหมือนว่าจะเป็นสายธรรมดาสายหนึ่ง มีรถติดอยู่แถวๆ ถนนวงแหวนข้างศูนย์การค้าเฮอร์มิสตันเกตถ้าเป็นที่อื่นๆส่วนใหญ่ก็คงจะ ไม่ใช่เรื่องใหญ่อะไร ทว่าเฮอร์มิสตันเกตนั้นตั้งอยู่ข้างทางเข้าถนนเอ็ม 8 ซึ่งเป็นทางหลวงสายพิเศษที่มีการจราจรหนาแน่นที่สุดสายหนึ่งของอังกฤษ และเป็นสายหลักที่เชื่อมต่อเอดินบะระกับกลาสโกว์ซึ่งเป็นเมืองใหญ่สุดสอง เมืองของสกอตแลนด์ ไม่ช้าผู้บังคับบัญชากองบัญชาการใหญ่ก็ตัดสินใจ ท�าสิ่งที่กองก�าลังต�ารวจทั่วโลกจะท�าในสถานการณ์เช่นนั้น พวกเขาเตือน ผู้ขับขี่ให้หลีกเลี่ยงย่านดังกล่าวพร้อมกับส่งรถสายตรวจ2คันไปดูว่าสาเหตุ ของปัญหานั้นมาจากอะไร ซึ่งก็คือร้านโดนัทคริสปี้ครีมสาขาใหม่นั่นเอง ร้านเปิดตัวครั้งแรกในวันก่อนหน้าตอน 7 นาฬิกา 1 ชั่วโมงก่อนพระอาทิตย์ ขึ้น มีคนจ�านวน 300 คนต่อแถวรอกันอยู่ด้านนอก พนักงานเสิร์ฟกาแฟและ โดนัทอย่างเร็วที่สุดเท่าที่จะท�าได้ พวกเขาให้บริการลูกค้า 400 คนภายใน ชั่วโมงแรกที่เปิดท�าการ ซึ่งถือเป็นสถิติใหม่ของคริสปี้ครีม แต่ถึงอย่างนั้น พวกเขาก็ยังท�างานได้ไม่เร็วพอ ไม่ว่าพวกเขาจะพยายามมากแค่ไหน แถวคนด้านนอกก็ยังคงยาวขึ้นอยู่ตลอด และแถวรถยนต์ที่ต่อคิวในช่องขับ ผ่านเพื่อซื้อ (drive-thru) ก็ยาวขึ้นเรื่อยๆ เช่นกัน ตอนแรกอัดกันอยู่ใน ศูนย์การค้าต่อมาก็ท�าให้รถยนต์ รถตู้ และรถบรรทุกรอบๆบริเวณนั้นเคลื่อน
  • 17. ชีวิตดีเมื่อมีของน้อย: ปรัชญาความสุขฉบับมินิมอล 13 ช้าลงพอถึงวันถัดมาการจราจรก็ติดหนึบไปทั้งเส้นเอ็ม8นั่นคือตอนที่ต�ารวจ มาตรวจดูคิวโดนัท ไม่ใช่ว่าทุกคนจะตื่นเต้นไปกับร้านเปิดใหม่เหมือนกับพวกที่ยืนต่อแถวอยู่ “ผมพูดอะไรไม่ออกเลย”เป็นเสียงบ่นของผู้ชายคนหนึ่งจากประชาคมโรคอ้วน แห่งอังกฤษชื่อ แทม ฟราย โดนัทเคลือบน�้าตาลต้นต�ารับของคริสปี้ครีมให้พลังงาน 217 แคลอรีต่อชิ้น ประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรต 22 กรัม และไขมัน 13 กรัม โดนัทแบบอื่นๆ ยิ่ง มีแคลอรีสูงกว่านั้นอีก บอกได้เลยว่าโดนัทคริสปี้ครีมไม่ใช่ของว่างที่ดีต่อ สุขภาพแน่นอน คนที่ยืนต่อแถวอยู่ด้านนอกรู้เรื่องนี้ดี คนที่ก�าลังนั่งอยู่ในรถก็รู้ดี แล้วท�าไม พวกเขาถึงยังรอคิวกันนานถึง 2 ชั่วโมง ในเมื่อรู้ทั้งรู้ว่าของที่ตัวเองรออยู่นั้น ไม่ได้ดีต่อตัวพวกเขาเลย คุณอาจบอกว่าค�าตอบมันชัดเจนอยู่แล้ว ก็นี่มันสกอตแลนด์ ต้นก�าเนิดของ ช็อกโกแล็ตชนิดแท่ง ตัวการท�าให้อ้วน แค่นี้ก็ ‘จบ’ ไม่ต้องพูดอย่างอื่นอีก! แต่ก่อนอื่นขอให้นึกถึงพฤติกรรมของตัวเองสักครู่ คุณเองก็รู้อยู่ว่าคริสปี้ครีม และอาหารขยะจ�าพวกนี้ไม่ได้ดีต่อตัวคุณเลย แต่คุณก็ยังคงกินมันเป็นครั้ง คราว แถมบางครั้งยังต่อคิวซื้ออีกต่างหาก ท�าไมล่ะ? ไม่มีใครแก้ปริศนาเรื่องนี้ได้ดีไปกว่าไบรอัน แวนซิงก์ นักวิทยาศาสตร์การ อาหาร ผู้ซึ่งบางครั้งได้รับการขนานนามว่าเป็น ‘เชอร์ล็อก โฮมส์แห่งวงการ อาหาร’แวนซิงก์ศึกษาว่าท�าไมพวกเรากินอาหารเหล่านี้มานานกว่า2ทศวรรษ บทนำ�
  • 18. 14 ชีวิตดีเมื่อมีของน้อย: ปรัชญาความสุขฉบับมินิมอล แล้วค�าตอบส�าหรับเรื่องคริสปี้ครีมนั้นอยู่ในหนังสือชื่อกินไม่รู้ตัว (Mindless Eating) ของเขาซึ่งเขียนไว้ว่า “เรามีสัญชาตญาณที่จะหลงใหลรสชาติของ ไขมันเกลือและน�้าตาลอาหารอุดมไขมันช่วยให้บรรพบุรุษของเรามีพลังงาน ส�ารองไว้ส�าหรับช่วงอาหารขาดแคลนตามสภาพอากาศ เกลือช่วยให้พวก เขาสามารถกักเก็บน�้าและหลีกเลี่ยงสภาพขาดน�้า น�้าตาลช่วยให้พวกเขา แยกแยะผลไม้รสหวานออกจากผลไม้รสเปรี้ยวที่เป็นพิษ เราจึงเรียนรู้ที่จะ โน้มเข้าหาอาหารที่ส่อแววว่าจะช่วยให้เราด�ารงชีวิตอยู่ได้มากที่สุด นั่นก็คือ ไขมัน เกลือ และน�้าตาล” ค�าอธิบายของแวนซิงก์ว่าท�าไมเราถึงชอบอาหารบางชนิด เกี่ยวข้องกับ ศาสตร์ที่ชื่อว่าจิตวิทยาเชิงวิวัฒนาการซึ่งไม่เพียงท�าให้เรื่องของชนิดอาหาร ที่ดึงดูดเราเข้าหาฟังดูเข้าท่าเท่านั้น แต่รวมถึงเรื่องปริมาณที่เรากินอีกด้วย แวนซิงก์เขียนไว้ว่า “เรามีช่วงวิวัฒนาการนับล้านปี สัญชาตญาณบอกให้ เรากินให้บ่อยที่สุดเท่าที่จะกินได้ และมากที่สุดเท่าที่จะมากได้” ความคิดนี้สมเหตุสมผลในยามที่หาอาหารยาก แต่มันไม่สมเหตุสมผลกับ ศตวรรษที่ 21 นี้ เมื่อเรามีปุ๋ ยสังเคราะห์ เมล็ดพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูง รวมถึง เครื่องเก็บเกี่ยวสมัยใหม่ซึ่งให้ผลผลิตที่ไม่ใช่แค่เพียงพอแต่ยังล้นเกินอีกด้วย นั่นท�าให้เราพบกับปัญหาใหม่โดยสิ้นเชิง เพราะถึงแม้แรงกระตุ้นอัตโนมัติ ให้กินมากที่สุดเท่าที่จะกินได้จะไม่มีประโยชน์อีกต่อไป เราก็ยังไม่สามารถ ปิดสวิตช์มันได้ง่ายๆ เหมือนปิดสวิตช์ไฟ สัญชาตญาณในการกินท�าให้พวก เราหลายคนอ้วน จนตอนนี้เราถึงกับมีชื่อส�าหรับเรียกปัญหาดังกล่าว ซึ่งก็ คือ “โรคอ้วน” นั่นเอง
  • 19. ชีวิตดีเมื่อมีของน้อย: ปรัชญาความสุขฉบับมินิมอล 15 ในปัจจุบัน เราก�าลังอยู่ในยุคอุดมสมบูรณ์ด้านวัตถุ ก่อนหน้านั้นข้าวของ ราคาแพงและหายาก ยกตัวอย่างเช่น เสื้อผ้านั้นหาได้ยากจนกระทั่งต้องส่ง ทอดกันมาเป็นรุ่นๆ ก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรม เสื้อเชิ้ตหนึ่งตัวมีราคาแพง มากเมื่อมองในแง่เวลาความทุ่มเทและเงินที่ใช้ในการผลิตนักประวัติศาสตร์ ชื่อ อีฟ ฟิชเชอร์ เคยค�านวณว่าเสื้อเชิ้ตหนึ่งตัวจะต้องมีมูลค่าราว 2,000 ปอนด์ตามค่าเงินทุกวันนี้แต่ปัจจุบันสิ่งของต่างๆ เช่น เสื้อเชิ้ต รองเท้า ถ้วย รถยนต์ แว่นตา หนังสือ ของเล่น และอื่นๆ อีกนับล้านอย่างมีอยู่ดาษดื่นและ ราคาถูก ผลก็คือ พวกเราหลายล้านคนจึงเติมบ้านและชีวิตของตัวเองด้วย สิ่งของ เมื่อเต็มล้นและเต็มกลืนกับสิ่งของ เราแต่ละคนจึงต้องทุกข์ระทมกับ อาการอึดอัดคับของ ส่วนสังคมของเราก็ก�าลังทุกข์ทนกับอาการอึดอัดคับ ของ ซึ่งอาการนี้เทียบได้กับโรคอ้วนในเชิงของวัตถุนั่นเอง อาการอึดอัดคับของเป็นอันตรายต่อสุขภาพ โรคอ้วนเป็นปัญหาหนึ่งที่น่าห่วงที่สุด การมีน�้าหนักเกินหมายความว่าคุณมี แนวโน้มที่จะมีอาการหัวใจวายหมดสติเฉียบพลันหรือเป็นเบาหวานซึ่งเป็น สภาวะอันเลวร้ายที่อาจท�าให้คุณสูญเสียการมองเห็น รวมทั้งแขนและขาได้ การมีน�้าหนักเกินหมายความว่าคุณอาจเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ถ้าคุณอ้วน มากๆ คุณอาจตายก่อนวัยอันควรถึง 10 ปี แม้โรคอ้วนจะมีผลเลวร้ายเช่นนี้ ปัจจุบันคนจ�านวนมากก็ยังคงมีน�้าหนักเกิน ที่น่าเป็นห่วงคือ ผลกระทบของ โรคอ้วนที่จะเกิดกับคนรุ่นถัดไปปัจจุบันเด็กจ�านวนมากมีปัญหาเรื่องน�้าหนัก เกินพวกเขาอาจเป็นคนรุ่นแรกในรอบหลายร้อยปี ที่จะเสียชีวิตก่อนพ่อแม่ของ ตัวเองเมื่อพิจารณาความร้ายแรงของโรคอ้วนดังที่กล่าวมาการบอกว่า“อาการ อึดอัดคับของ” ก็เป็นเช่นเดียวกันจึงเป็นค�ากล่าวที่ค่อนข้างฟังขึ้น บทนำ�
  • 20. 16 ชีวิตดีเมื่อมีของน้อย: ปรัชญาความสุขฉบับมินิมอล ผมเชื่อว่านั่นเป็นการเปรียบเทียบที่ดีเพราะจ�านวนผู้ทุกข์ทรมานจากทั้งโรคอ้วน และอาการอึดอัดคับของนั้นมีพอๆ กัน โรคอ้วนเลวร้ายต่อเราอย่างไร อาการ อึดอัดคับของก็เป็นแบบนั้นด้วยเช่นกัน การกินมากเกินและออกก�าลังกาย น้อยเกินมีผลร้ายต่อสุขภาพกายอย่างไร การมีสิ่งของมากเกินและใช้มันน้อย เกินก็ท�าลายสุขภาพจิตและคุณภาพชีวิตของเราเช่นกัน ตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญและงานวิจัยที่มีมากขึ้นเรื่อยๆ การมีสิ่งของ มากเกินและท�ากิจกรรมน้อยเกินรวมถึงการสะสมสิ่งของก�าลังท�าให้ผู้คนกลุ้ม อกกลุ้มใจและเครียดงานวิจัยใหม่ๆบ่งชี้ว่ามันสามารถน�าไปสู่โรคซึมเศร้าบาง ประเภทที่ท�าให้คนเสียชีวิตก่อนวัยอันควร มีคนจ�านวนมากถึง 2 ใน 3 รู้สึกว่า ตัวเองมีของมากเกินไป จนสามารถกล่าวได้ว่า อาการอึดอัดคับของนั้นเป็น ปัญหาที่น่ากังวลไม่น้อย แล้วเราจะท�าอย่างไรกับเรื่องนี้ดีโดยปกติในสังคมสมัยใหม่นั้นเมื่อเราตระหนัก ว่า สินค้าหรือกิจกรรมบางอย่างไม่ดีต่อสุขภาพของคนในสังคม เราก็จะ เข้าควบคุมอย่างเป็นขั้นตอน เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพดี รัฐบาลจะออก กฏหมาย รณรงค์เผยแพร่ และกระตุ้นให้ประชาชนตัดสินใจให้ดีขึ้น เช่น เรื่องโรคอ้วนกับข้อมูลในฉลากสินค้าที่เตือนให้เรากินอาหารไม่ดีให้น้อยลง เช่น น�้าตาลและไขมันอิ่มตัว รวมทั้งให้กินอาหารดีให้มากขึ้น เช่น พืชผัก ผลไม้ ลองนึกถึงกรณีสูบบุหรี่ เมื่อความจริงเกี่ยวกับอันตรายของการสูบบุหรี่ถูก เปิดเผย ฉลากค�าเตือนก็ปรากฏบนซองบุหรี่พร้อมค�าคมอย่าง ‘การสูบบุหรี่ อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของคุณ’
  • 21. ชีวิตดีเมื่อมีของน้อย: ปรัชญาความสุขฉบับมินิมอล 17 เมื่อมีหลักฐานมากขึ้นเรื่อยๆว่าการมีสิ่งของมากเกินนั้นเป็นผลเสียต่อสุขภาพจิต ผมจึงสงสัยว่าจะมีสักวันไหมที่เราจะเห็นข้อบ่งชี้เกี่ยวกับอาการอึดอัดคับของ พร้อมกับฉลากเตือนบนสินค้าด้วยเหมือนกัน บางทีอาจจะมีฉลากบนสินค้า ต่างๆ ที่กระตุ้นให้เราซื้อของที่ดีต่อตนเองและหลีกเลี่ยงของที่ไม่ดี อาจมีสักวัน ที่สินค้าจ�าพวกน�าพาความเครียดมากกว่าความสุขจะมีป้ ายเตือนแปะด้านหน้า ว่า ‘การมีสิ่งของมากเกินอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของคุณ’ อภิมหาพายุ ถ้าคุณพิจารณาอันตรายที่เกิดจาก“อาการอึดอัดคับของ”คุณจะเห็นทันทีว่า ท�าไมมันจึงเป็นปัญหาที่เราจ�าเป็นต้องรีบแก้ไขอย่างเร่งด่วน แต่การจะคิด กลยุทธ์ที่ยอดเยี่ยมและใช้ได้จริงซึ่งจะแก้ปัญหาในระยะยาวได้นั้นเราจ�าเป็น ต้องรู้สาเหตุของอาการให้มากกว่านี้เสียก่อน “ความลี้ลับของคริสปี้ครีม” ช่วยให้เราเข้าใจว่า ท�าไมเราจึงซื้อของเพิ่มอยู่ เรื่อยๆทั้งที่มีของล้นเกินความจ�าเป็นและเกินกว่าจะดูแลจัดการได้ มันท�าให้ รู้ว่าเรามาถึงจุดนี้ได้อย่างไรแต่ถ้าลองคิดดูดีๆคุณจะเห็นว่าขณะที่มันอธิบาย ว่าท�าไมคนเราถึงมีแนวโน้มสะสมสิ่งของมันกลับไม่สมเหตุสมผลเลยว่าท�าไม พวกเราจึงรู้สึกเต็มกลืนกับข้าวของในตอนนี้ และท�าไมจึงเป็น “ตอนนี้” ที่เราเพิ่งหันหลังให้กับลัทธิวัตถุนิยม อะไรก็ตามที่มีขนาดใหญ่โตมโหฬารและมีผลกระทบใหญ่หลวงมักมีค�า อธิบายอันหลายหลากอาการอึดอัดคับของก็เช่นกันหากเราถามผู้เชี่ยวชาญ แต่ละสาขา ก็จะได้ค�าอธิบายที่แตกต่างกันไป บทนำ�
  • 22. 18 ชีวิตดีเมื่อมีของน้อย: ปรัชญาความสุขฉบับมินิมอล ตัวอย่างเช่น นักรัฐศาสตร์คงจะบอกว่า เพราะมีคนมากขึ้นที่เติบโตมามีชีวิต มั่นคง และไม่ต้องกังวลว่ามื้อหน้าจะเอาที่ไหนกิน คนเราจึงใส่ใจเรื่องความ จ�าเป็นพื้นฐานด้านวัตถุน้อยลงเช่นอาหารและที่อยู่อาศัยและสนใจเรื่องอื่น มากขึ้น เช่น เสรีภาพในการพูดสิ่งที่เราอยากพูดและท�าสิ่งที่เราอยากท�า นักสิ่งแวดล้อมจะบอกคุณว่าพวกเราเต็มกลืนเพราะโลกร้อนขยะและปริมาณ คาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศ เรากังวลว่าก�าลังผลาญทรัพยากรเกิน กว่าที่โลกจะรับมือได้ นักประชากรศาสตร์อาจบอกว่ามีเหตุผลส�าคัญ 4 ข้อส�าหรับอาการอึดอัด คับของ นั่นคือ ประชากรผู้สูงอายุ การเพิ่มขึ้นของจ�านวนประชากร การเพิ่ม ขึ้นของชนชั้นกลางทั่วโลกและการอพยพเข้าเมืองเมื่ออายุมากขึ้นคนเราจะ สนใจเรื่องการมีสมบัติน้อยลง นอกจากนี้เมื่อมีคนจ�านวนมากขึ้นในโลกซึ่งมี พื้นที่จ�ากัด และกลายเป็นชนชั้นกลางมากกว่าแต่ก่อน ก็ย่อมมีความกดดัน ด้านทรัพยากรมากขึ้น และเมื่อพวกเราย้ายถิ่นฐานเข้าเมืองมากขึ้น เราจึง ซื้อรถกันน้อยลง และบ้านของเราก็หลังเล็กลง นั่นหมายความว่าห้องส�าหรับ วางของก็น้อยลงไปด้วย นักสังคมศาสตร์อาจจะเสริมว่าเราเหนื่อยหน่ายกับลัทธิวัตถุนิยม เพราะเรา เห็นว่าระบบทุนนิยมสร้างความเหลื่อมล�้า จนพวกเราผิดหวังและโกรธ พวก เราก็แค่ไม่ไว้ใจระบบที่ท�าให้ทุกคนไม่เท่าเทียมกันแค่นั้นเอง นักเศรษฐศาสตร์ก็อาจยิ้มน้อยๆ ให้กับค�าอธิบายทั้งหมดนี้ แน่ละ เธออาจ บอกว่าเหตุผลทั้งหมดที่ว่ามาข้างบนนั้นล้วนส�าคัญทั้งสิ้นแต่เหตุผลที่แท้จริง ของอาการอึดอัดคับของนั้นก็คือเศรษฐกิจยังไงล่ะ โง่ไปได้ ในโลกที่ต้นทุน
  • 23. ชีวิตดีเมื่อมีของน้อย: ปรัชญาความสุขฉบับมินิมอล 19 พุ่งสูงขึ้นขณะรายได้เท่าเดิมคนส่วนใหญ่แค่ไม่มีเงินซื้อของได้อีกก็เท่านั้นเอง ดังนั้นแทนที่จะเป็นค�าว่า‘เต็มกลืน’น่าจะบอกว่าเราไม่มีปัญญาซื้ออะไรเพิ่ม ได้อีกแล้ว จะถูกต้องมากกว่า นักเทคโนโลยีอาจเห็นพ้องกับทั้งหมดนี้ แล้วบอกเหตุผลที่แท้จริงว่าท�าไม เราจึงก�าลังหันเหออกจากวัตถุสิ่งของ นั่นก็เพราะเราไม่ต้องมีมันแล้วก็ได้ เราจะมีหนังสือเป็นเล่มและแผ่นซีดีเป็นตั้งไปเพื่ออะไรในเมื่อเราเข้าถึงมันได้ ผ่านอินเทอร์เน็ต สุดท้าย ผมคิดอย่างไรน่ะหรือ? ผมท�างานวิเคราะห์แนวโน้ม และพยากรณ์การเปลี่ยนแปลงของสังคมมา ตลอดกว่า 10 ปีแล้ว ประสบการณ์นี้ท�าให้ผมเห็นชัดขึ้นเรื่อยๆ ว่าตอนนี้มี รอยร้าว 3 อย่างที่ส�าคัญเกิดขึ้นในสังคมเรา นั่นคือ โครงสร้างของระบบ ทุนนิยม พฤติกรรมบริโภคนิยม และค่านิยมแบบวัตถุนิยม แต่เมื่อผมมองดู ทางแก้ไขที่คนอื่นก�าลังเสนอแนะอยู่ เช่น การต่อต้านทุนนิยม การต่อต้าน บริโภคนิยม หรือแนวคิดที่ว่าเทคโนโลยีจะแก้ปัญหาทุกอย่างได้ ผมไม่เชื่อ มั่นอะไรเลย เพราะแต่ละทางเลือกไม่น่าจะเป็นจริงได้ ทั้งหมดดูง่ายเกินไป เหมือนกับพวกเขาก�าลังเอากระดาษปิดรอยร้าวไว้ หรือไม่ก็แค่แก้ไขเฉพาะ บางส่วนของปัญหาแล้วละเลยส่วนที่เหลือแทนที่จะเจาะหาสาเหตุเชิงโครง สร้างจริงๆ ผมจึงตัดสินใจลุยกับมันด้วยตัวเอง ผลลัพธ์ของงานที่ผมท�าอยู่ ในหนังสือเล่มนี้แล้ว มีหลายปัจจัยที่ท�าให้เกิดอาการอึดอัดคับของ แต่ปัจจัยเหล่านั้นเป็นเหมือน คลื่นมากกว่าเป็นอิฐก่อสร้างที่ตายตัว พูดง่ายๆ ก็คือ แต่ละอย่างเกิดขึ้นเอง บทนำ�
  • 24. 20 ชีวิตดีเมื่อมีของน้อย: ปรัชญาความสุขฉบับมินิมอล โดยไม่ได้พึ่งพาปัจจัยอื่น ดังนั้นแม้คุณจะไม่เห็นด้วยกับนักสิ่งแวดล้อม และ ไม่คิดว่าผู้คนห่วงใยสภาพแวดล้อมเสียจนบริโภคสิ่งของน้อยลง นั่นก็ไม่ได้ มีผลต่อการเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับนักเทคโนโลยีหรือนักประชากรศาสตร์ ดังนั้นอาการอึดอัดคับของจึงอาจเกิดจากหลายปัจจัยรวมกันก็ได้ ปัจจัยทั้งหมดที่ก่อให้เกิดอาการอึดอัดคับของ เกิดมาจากกระแสระยะยาวอีกที แต่ละปัจจัยเดี่ยวๆ เหล่านี้เป็นเหมือนลูกคลื่นที่ส่งผลต่อโลกของเรา แต่พอ คลื่นทั้งหมดซัดเข้ามาพร้อมกันจึงก่อเกิดเป็นอภิมหาพายุส�าหรับวัฒนธรรม วัตถุนิยมของเรา สิ่งนี้จึงกลายเป็นปัญหาคอขาดบาดตายปัญหาหนึ่งแห่ง ศตวรรษและเป็นเหตุผลว่าท�าไมตอนนี้พวกเราจ�านวนมากจึงเริ่มทุกข์ทรมาน จากอาการอึดอัดคับของ สมการความสุขแบบใหม่ แต่ไหนแต่ไรมา ระบบทุนนิยมนั้นมักขึ้นอยู่กับการบริโภคเยอะๆ เช่น ในสมการความสุขเริ่มแรกของไรอัน สมบัติพัสถานและการแสวงหาสิ่งของ เหล่านั้นท�าให้เราดูดี มีตัวตน มีความหมาย และมีความสุข ในโลกแบบนั้น ความโลภคือสิ่งที่ดียิ่งมากยิ่งดีและการครอบครองวัตถุสิ่งของคือวิธีที่ดีที่สุด ในการไล่ให้ทันคนอื่นๆ แต่มันไม่เป็นเช่นนั้นอีกต่อไปแล้ว ถึงอย่างนั้นผมก็ไม่อยากพูดโจมตีข้าวของทั้งหมดที่คุณซื้อมา หรือสมบัติที่ คุณสะสมมาตลอดหลายปีหรอกนะ ผมไม่ได้บอกว่าวัตถุนิยมไม่ดี แต่ ผมอยากจะเปลี่ยนแปลงมัน วัตถุนิยมเป็นแนวคิดที่เหมาะเจาะในเวลาที่ เหมาะสม มันท�าให้เรามีชีวิตอุดมสมบูรณ์ มีเครื่องซักผ้า โทรทัศน์ และ ห้องสุขาภายในบ้าน มันช่วยส่งน�้าสะอาด รัฐสวัสดิการ และสุขอนามัย