SlideShare a Scribd company logo
1 of 25
Download to read offline
ทัักษะ
ออกแบบชีีวิิต
ทัี�ใชี้ได้้
ตลอด้ชีีวิิต
シンプルで合理的な人生設計
AW Skill 1-336.indd 1
AW Skill 1-336.indd 1 3/27/24 10:29
3/27/24 10:29
มาสร้้างพื้้�นฐานการ้ใชี้ชีีวิิตเพื้้�อควิามสำาเร้็จกันเถอะ
หนังสือเล่มนี้ต้องการนำาเสนอกฎแห่งความสำาเร็จที่ง่าย
มากที่สุด นั่นคือ “ความมีเหตุผล” แต่ไม่ได้หมายความว่าเราจะ
พูดอะไรบ้าๆอย่างการบอกให้คุณ“ใช้ชีวิตให้มีเหตุผลสิ” อะไร
อย่างนั้น เพราะเราเป็นมนุษย์ไม่ใช่“เครื่องจักร”
มาวางแผนสร้างพื้นฐานการใช้ชีวิตอย่างมีเหตุผล
เพื่อใช้ชีวิตได้อย่างมีอิสระกันดีกว่า
นี่คือสิ่งที่หนังสือเล่มนี้ต้องการจะบอก
ผมพูดมาตลอด 20 ปีว่า “คำาว่า อิสระ ไม่ใช่ประเด็นทาง
ปรัชญาหรือทางจิตวิทยา แต่มันขึ้นอยู่กับว่า เรามีต้นทุนชีวิต
เพื่อให้ดำารงชีวิตได้อย่างอิสระมากน้อยแค่ไหน” หรือที่ปัจจุบัน
เรียกกันว่าอิสรภาพทางการเงิน (Financial Independence)
นั่นเอง
ผมได้เขียนอธิบายเรื่องนี้ในหนังสือเล่มที่แล้ว (‘ทุนแห่ง
ความสุข’) และแบ่งพื้นฐานของความสุขออกเป็นทุน 3 อย่าง
นั่นคือ ทุนการเงิน ทุนมนุษย์ และทุนสังคม (ภาพที่ 1)
คำานำา
AW Skill 1-336.indd 3
AW Skill 1-336.indd 3 3/27/24 10:29
3/27/24 10:29
สิ่งที่ผมคิดว่าเป็นเรื่องใหม่ซึ่งไม่เคยมีมาก่อนก็คือ เรา
สามารถนิยามความสุขได้อย่างเป็นกลาง ถ้ามีทุนทั้งสามอย่าง
ก็จะมีความสุข แต่ถ้าไม่มีเลยสักอย่าง ก็จะไม่มีความสุข ทุกคน
ล้วนอยู่ในสเปกตรัมที่ว่านี้
แต่คงจะมีคนจำานวนไม่น้อยที่มีทรัพย์สินมากมาย
ประสบความสำาเร็จในหน้าที่การงาน มีชื่อเสียงในสังคม แต่
กลับรู้สึกไม่มีความสุข อย่างไรก็ตาม คนกลุ่มนี้ตามคำานิยาม
ข้างต้นถือว่า “มีความสุข”
ในทางกลับกัน อาจมีบางคนที่คิดว่าตัวเองมีความสุข
แม้จะถังแตก ไม่มีงานทำา และใช้ชีวิตอยู่คนเดียวอย่างโดดเดี่ยว
โดยที่ไม่มีครอบครัวหรือเพื่อนฝูง แต่สำาหรับกรณีนี้ ตามคำา
นิยามจะเรียกว่า “ไม่มีความสุข”
คุณอาจจะคิดว่า “นี่ฟังดูแปลก” แต่การแยกความสุข
ออกจากความคิดเห็นส่วนตัวจะช่วยให้เราพูดถึงความสุขได้
อย่างเป็นกลาง และหนังสือเล่มนี้ก็อยากจะแสดงให้คุณเห็น
ถึงพื้นฐานของความสุขที่ชัดเจนยิ่งขึ้นจากกรอบของ “ความมี
เหตุผล”
ภาพที่ 1 ทุนแห่งความสุข 3 อย่างกับชีวิตที่เป็นอิสระ
ชีวิตที่เปนอิสระ
ทุนมนุษย
ทุนสังคม ทุนการเงิน
AW Skill 1-336.indd 4
AW Skill 1-336.indd 4 3/27/24 10:29
3/27/24 10:29
เรานิยามความมีเหตุผลว่าเป็น “การได้รับผลตอบแทน
(Return) มากกว่าทรัพยากร (Resource) ที่ลงทุนไป” ใครๆ
ก็คงทราบว่า ถ้าลงทุนไป 100 เยน แล้วได้กลับมา 110 เยน
ย่อมสมเหตุสมผลกว่าได้คืนมาแค่ 100 เยน
อย่างไรก็ตาม บทบาทของความมีเหตุผลจะแตกต่าง
กันไปตามทุนแต่ละประเภท หากเราลากเส้นเฉียงขึ้นที่ชื่อว่า
“ความมีเหตุผล”ลงในภาพที่ 1 ก็จะได้เป็นภาพที่ 2
การใช้ทุนการเงินคือการลงทุนในตลาดการเงินเพื่อให้ได้
ผลกำาไรกลับมา ซึ่งส่วนใหญ่อธิบายได้โดยใช้ทฤษฎีการตัดสินใจ
อย่างมีเหตุผล (ทฤษฎีการเงิน) ตามหลักการแล้ว “แม้ว่าจะ
ขาดทุน แต่ยังถือเป็นการลงทุนที่ดี” นั้นแทบเป็นไปไม่ได้เลย
แต่กระนั้นก็ยังมีข้อยกเว้นอยู่ ไว้เราค่อยมาอธิบายอย่างละเอียด
กันหลังจากนี้นะครับ แต่ในทฤษฎีการเงิน การจะพิสูจน์ว่าบ้าน
เป็น “การลงทุนอสังหาริมทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนสูง” นับเป็น
เรื่องยาก แต่ก็คงมีคนจำานวนไม่น้อยที่ยอมเสี่ยงซื้อบ้านเป็นของ
ตนเองเพราะมันคือความฝัน (ที่อธิบายไม่ได้ด้วยเหตุผล) เช่นกัน
ภาพที่ 2
ลากเส้นความมีเหตุผลเพิ่มลงไปบนทุนแห่งความสุข 3 อย่าง
ทุนมนุษย
ทุนสังคม ทุนการเงิน
ความ
มีเหตุผล
ชีวิตที่เปนอิสระ
AW Skill 1-336.indd 5
AW Skill 1-336.indd 5 3/27/24 10:29
3/27/24 10:29
การใช้ทุนมนุษย์ หมายถึง การลงทุนลงแรงของแต่ละ
บุคคลในตลาดแรงงานเพื่อให้ได้ผลตอบแทน แต่ก็ไม่อาจพูดได้
เต็มปากว่า “งานที่ให้รายได้ต่อหน่วยเวลากมากกว่าจะเป็นงาน
ที่ดี” เพราะยังมีปัจจัยอื่นนอกเหนือจากเรื่องเงิน เช่น ความ
พึงพอใจในการทำางาน การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติ คุณค่าทาง
สังคมที่นับว่ายังมีอิทธิพลอย่างมากต่อการเลือกงาน แต่กระนั้น
ความคิดในอุดมคติที่ว่า “ความพึงพอใจในการทำางานคือ
ทุกอย่าง”นั้น ไม่ช้าก็เร็วคงล้มเหลวลง เมื่อพูดถึงทุนมนุษย์ เรา
อาจจำาเป็นต้องคำานึงถึงเหตุผลทางเศรษฐศาสตร์ด้วยครึ่งหนึ่ง
หรือมากกว่านั้น
ทุนสังคม หมายถึง เครือข่ายหรือ “สายสัมพันธ์” และ
ความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของสังคม พวกเราแยกความรู้สึกรักหรือ
มิตรภาพออกจากเรื่องผลประโยชน์อยู่แล้วโดยธรรมชาติ การให้
แหวนเพชรเป็นของขวัญหลังมีเพศสัมพันธ์คือความรู้สึกรัก แต่
ถ้าเปลี่ยนเป็นให้เงิน 10,000 เยน จะกลายเป็นการซื้อบริการ
ทางเพศไปในทันที
อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีปัจจัยของ
ความมีเหตุผลอยู่เลยในการเลือกคู่ครองและการเลือกคบเพื่อน
ในทฤษฎีเครือข่ายกล่าวว่า คุณคือค่าเฉลี่ยของเพื่อนที่สนิทที่สุด
5 คน แม้จะไม่รู้จักอีกฝ่ายเลย แต่เราก็สามารถตัดสินเรื่อง
ส่วนใหญ่ของคนคนนั้นได้ เพียงแค่ดูจากความสัมพันธ์ทาง
สังคมของเขา
AW Skill 1-336.indd 6
AW Skill 1-336.indd 6 3/27/24 10:29
3/27/24 10:29
Part 1 ของหนังสือเล่มนี้เป็นส่วนทฤษฎีซึ่งจะอธิบายว่า
“การเลือกอย่างมีเหตุผล” หมายถึงอะไร จากนั้น ใน Part 2
จะวิเคราะห์ว่า การวางแผน “ทุนแห่งความสุข 3 อย่าง” อย่าง
มีเหตุผลนั้นควรทำาอย่างไร
หากเรามีเวทีที่มั่นคง คุณจะเลือกแสดงอะไรบนเวทีก็ได้
ทางเลือกของคุณขยายออกไปได้กว้างมากขึ้น และในหนังสือ
เล่มนี้ ผมอยากนิยามว่า การมี “พื้นฐานที่แข็งแกร่ง” เท่ากับ
“ความสำาเร็จ”
เมื่อได้ออกแบบพื้นฐานของชีวิตอย่างมีเหตุผลแล้ว
คราวนี้คุณก็จะสานต่อเรื่องราวของชีวิตให้เป็นอย่างที่ต้องการ
ได้อย่างอิสระ ต่อให้มันจะไร้เหตุผลโดยสิ้นเชิงก็ไม่เป็นไร เพราะ
ถึงอย่างไร คุณก็จะเป็น“ผู้ที่ประสบความสำาเร็จ”อยู่ดี
AW Skill 1-336.indd 7
AW Skill 1-336.indd 7 3/27/24 10:29
3/27/24 10:29
Part 1
[ภาคทฤษฎีี] ความรู้้�พื้้�นฐานของความมีเหตุุผล 9
1 ประสิทธิภาพต่อต้นทุน เวลา และความเสี่ยง 10
2 การนอนหลับและการเดินเล่น
คือการพัฒนาตัวเองที่สำาคัญที่สุด 36
3 ความมีเหตุผลเชิงวิวัฒนาการ
กับความมีเหตุผลเชิงตรรกะ 62
4 การตัดสินใจที่นำาไปสู่ความสำาเร็จ 95
Part 2
[ภาคปฏิิบััตุิ] กลยุุทธ์์ในการู้ออกแบับัชีีวิตุ
อยุ่างมีเหตุุผล 137
5 ทุน 3 อย่าง กับรูปแบบชีวิต 8 แบบ 138
6 กฎแห่งความสำาเร็จของทุนการเงิน 154
7 กฎแห่งความสำาเร็จของทุนมนุษย์ 201
8 กฎแห่งความสำาเร็จของทุนสังคม 255
บัทส่่งท�ายุ 304
คำาแถลงท�ายุเล่ม 330
สาร้บัญ
AW Skill 1-336.indd 8
AW Skill 1-336.indd 8 3/27/24 10:29
3/27/24 10:29
P A R T
1
1
[ภาคทัฤษฎีี]
ควิามร้้้พื้้�นฐาน
ของควิามมีเหตุผล
AW Skill 1-336.indd 9
AW Skill 1-336.indd 9 3/27/24 10:29
3/27/24 10:29
10 ทัักษะออกแบบชีีวิิต ทัี�ใชี้ได้้ตลอด้ชีีวิิต
1
ปร้ะสิทัธิิภาพื้ต่อต้นทัุน เวิลา
และควิามเสี�ยง
เจฟฟ์ เบโซส์ ผู้ก่อตั้ง Amazon ตื่นแต่เช้าและเข้านอน
แต่หัววันเป็นกิจวัตร ในช่วงเช้า เขาจะอ่านหนังสือพิมพ์และใช้
ชีวิตไปตามสบาย ก่อนที่การประชุมแรกจะเริ่มตอน 10 โมงเช้า
และพอ 5 โมงเย็น เขาก็จะเลิกงาน สำาคัญที่สุดคือ เขาจะต้อง
เข้านอนตอน 2 ทุ่มเสมอ “หากนอนหลับสนิทดี สมองจะแล่น
มีเรี่ยวแรง แล้วก็จะอารมณ์ดีขึ้นด้วย” เขาบอก1
สมมุติว่าในหนึ่งวัน เรานอนได้ 6 ชั่วโมง หรืออย่างน้อย
ที่สุด 4 ชั่วโมง เช่นนั้นเราจะได้เวลาเพิ่มขึ้น 4 ชั่วโมง ถ้าที่ผ่านมา
เราทำางานวันละ 12 ชั่วโมง เราก็จะมีเวลาทำางานเพิ่มเป็น 16
ชั่วโมง เท่ากับเรามีเวลาตัดสินใจเพิ่มขึ้นมาอีก 33% ถ้าที่
ผ่านมาเราตัดสินใจได้ 100 เรื่อง จากนี้เราจะตัดสินใจได้เพิ่ม
อีก 33 เรื่อง
1
เจฟฟ์ เบโซส์, วอลเตอร์ ไอแซคสัน ‘Invent and Wander: The Collected Writings
of Jeff Bezos, With an Introduction by Walter Isaacson’
AW Skill 1-336.indd 10
AW Skill 1-336.indd 10 3/27/24 10:29
3/27/24 10:29
11
บทท่� 1 ประสิิทธิิภาพต่่อต่้นทุน เวลา และความเสิ่�ยง
แต่ประสิทธิภาพในการตัดสินใจจะลดลงเพราะเรา
เหนื่อยล้าหรือหมดแรงจากการอดนอน คำาถามคือมันคุ้มค่ากับ
เวลาทำางานที่ได้มาหรือเปล่า
สิ่งที่จะกล่าวต่อไปในหนังสือเล่มนี้ก็เหมือนกับเรื่องที่เล่า
ไปข้างต้น
แน่นอนว่าเบโซส์ที่มีสินทรัพย์ 15 ล้านล้านเยนกับตัว
ผมนั้นแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ผมไม่ใช่ผู้ก่อตั้งบริษัทระดับโลก
ไม่เคยท่องอวกาศ (และไม่เคยคิดอยากไปด้วย) แต่ถึงอย่างนั้น
เราก็ยังมีจุดที่เหมือนกัน นั่นก็คือ “ข้อจำากัดทางวิวัฒนาการ
และข้อจำากัดทางชีวภาพ”
มนุษย์ทุกคนเป็นสิ่งมีชีวิตในสปีชีส์เดียวกัน จึงมีข้อจำากัด
เหมือนๆ กันในคนทุกคน ไม่ว่าจะขุนนาง ข้าทาส มหาเศรษฐี
หรือยาจก โดยสามารถแบ่งออกกว้างๆได้เป็นข้อจำากัด 3 อย่าง
ดังนี้
1. ข้อจำากัดทางกายภาพ: ตราบใดที่ไม่ใช่ในความฝัน
หรือในโลกจำาลองเสมือนจริง (VR) มนุษย์เราบินไม่ได้้
2. ข้อจำากัดทางทรัพยากร: มนุษย์เรามีทรัพยากรที่
ลงทุนได้จำากัดมาก เจฟฟ์ เบโซส์ อาจใช้เงินได้แทบไม่จำากัด
เพื่อสิ่งที่เขาต้องการ แต่ไม่ว่าอย่างไร 1 วันของเขาก็มีแค่ 24
ชั่วโมง และถ้าคิดจะประสบความสำาเร็จ เขาจำาเป็นจะต้อง
นอนให้ได้วันละ 8 ชั่วโมง ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ล่าสุดที่จะ
ได้กล่าวต่อไปแสดงให้เห็นว่า ถ้าต้องการเพิ่มประสิทธิภาพ
ในการทำางานหรือการเรียนให้สูงสุด เงื่อนไขที่สำาคัญคือต้อง
AW Skill 1-336.indd 11
AW Skill 1-336.indd 11 3/27/24 10:29
3/27/24 10:29
12 ทัักษะออกแบบชีีวิิต ทัี�ใชี้ได้้ตลอด้ชีีวิิต
นอนหลับให้เพียงพอ
3. ข้อจำากัดทางสังคม: เป็นข้อจำากัดที่เข้มงวดสุดใน
3 ข้อ เพราะมนุษย์ดำารงอยู่ในสังคม (ชุมชน) จึงต้องคำานึงถึง
ความคิดเห็นของมนุษย์คนอื่นอยู่เสมอ อย่างเบโซส์ที่มีอำานาจ
ยิ่งใหญ่ เขาก็ไม่อาจละเมิดศีลธรรมของสังคมได้ ลองคิดดูว่า
ถ้าใช้ความมั่งคั่งสร้างฮาเร็มจะเกิดอะไรขึ้น
ควิามสุขมาจากควิามมีเหตุผล
เชีิงวิิวิัฒนาการ้เทั่านั�น
เทพเจ้ามีทรัพยากรไม่จำากัด ดังนั้นเทพเจ้าจึงไม่จำาเป็น
ต้องเลือกทำาแค่บางอย่าง แต่สามารถทำาได้ทุกอย่างที่ต้องการ
แต่สำาหรับมนุษย์แล้ว ทรัพยากรที่มีอย่างจำากัดนี้ทำาให้เรา
จำาเป็นต้องตัดสินใจเลือก เรียกว่า “การเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง”
การเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง คือการไม่สามารถบรรลุ
ผลลัพธ์ที่ต้องการทั้งหมดได้
สมมุติว่าแอปเปิลกับส้มต่างก็ราคา 100 เยน และเรา
เหลือเงินในกระเป๋าแค่ 100 เยน ในสถานการณ์เช่นนี้ ด้วย
ข้อจำากัดทางทรัพยากรคือเงิน 100 เยน เราจึงไม่สามารถสนอง
ความต้องการ “กินทั้งแอปเปิลและส้ม” ได้ หมายความว่า เรา
ต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่งระหว่างแอปเปิลกับส้ม
ชีวิตของพวกเราล้วนอยู่บนเงื่อนไข
ของการเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง
AW Skill 1-336.indd 12
AW Skill 1-336.indd 12 3/27/24 10:29
3/27/24 10:29
13
บทท่� 1 ประสิิทธิิภาพต่่อต่้นทุน เวลา และความเสิ่�ยง
หลักการนี้จะสอดแทรกอยู่ในหนังสือเล่มนี้ตลอดทั้งเล่ม
ปัญหาที่แก้ไขได้จะได้รับการแก้ไขทั้งหมด ดังนั้นปัญหา
ที่เหลืออยู่จึงเป็นปัญหาที่ไม่สามารถแก้ไขได้โดยง่ายเพราะ
มีข้อจำากัดบางอย่าง หรือก็คือ ต้องเลือกอย่างหนึ่งเพื่อเสีย
อีกอย่างไป
การตัดสินใจเลือกแบ่งได้เป็น “การสร้างประสิทธิผล
ระยะสั้น” และ “การสร้างประสิทธิผลระยะยาว” การยัดเค้ก
ที่ดูน่าอร่อยบนโต๊ะเข้าปากคือการสร้างประสิทธิผลระยะสั้น
แต่การอดทนลดความอ้วนเพื่อสุขภาพคือการสร้างประสิทธิผล
ระยะยาว
จุดเด่นของการสร้างประสิทธิผลระยะสั้นคือ ทำาให้ระดับ
ความสุขสูงขึ้น ซึ่งจะเข้าไปกระตุ้นกลไกการให้รางวัลของสมอง
ทำาให้เรารู้สึกมีความสุขมาก ในทางกลับกัน การสร้างประสิทธิ-
ผลระยะยาวไม่ได้ให้ความสุข บางครั้งอาจเรียกได้ว่าเป็นความ
รู้สึก“เย็นชา” “ไร้ชีวิตชีวา” แต่ในอนาคตจะก่อให้เกิดความสุข
(ผลพลอยได้) ที่มากที่สุด
เราอาจเรียกการสร้างประสิทธิผลระยะสั้นว่าเป็น“ความ
มีเหตุผลเชิงวิวัฒนาการ” ส่วนการสร้างประสิทธิผลระยะยาว
เรียกว่า “ความมีเหตุผลเชิงตรรกะ” ซึ่งเรามักต้องอยู่บน
ทางแยกระหว่างความมีเหตุผล 2 อย่างนี้เสมอ และส่วนใหญ่
แล้ว เรามักเลือกตัวเลือกที่มีแนวโน้มจะให้ความสุขมากกว่า
(ความมีเหตุผลเชิงวิวัฒนาการ) แต่แท้จริงแล้ว การเลือกทาง
ที่ให้ความสุขตำ่ากว่า (ความมีเหตุผลเชิงตรรกะ) กลับให้
AW Skill 1-336.indd 13
AW Skill 1-336.indd 13 3/27/24 10:29
3/27/24 10:29
14 ทัักษะออกแบบชีีวิิต ทัี�ใชี้ได้้ตลอด้ชีีวิิต
ผลกำาไรที่ยิ่งใหญ่กว่า
“การเลือกอย่างมีเหตุผล” หมายถึงการทำาให้ความ
มีเหตุผลเชิงตรรกะสอดคล้องกัน (กำาจัดความมีเหตุผลเชิง
วิวัฒนาการออกไป) โดยไม่หวั่นไหวกับการรับรู้ต่างๆที่บิดเบี้ยว
แน่นอนว่านี่ไม่ใช่เรื่องผิด แต่ก็เป็นการละเลยธรรมชาติของ
มนุษย์เช่นกัน เพราะความสุขได้มาจากความมีเหตุผลเชิง
วิวัฒนาการเท่านั้น
เราต้อง “เลือก” เพราะเรามีทรัพยากรจำากัด จุดประสงค์
ในการเลือกก็คือ “การจัดสรรทรัพยากรอย่างเหมาะสมที่สุด
เพื่อเพิ่มระดับความสุข (ประสิทธิผล) ให้สูงที่สุดแก่ตัวเอง
ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว” ทว่าจุดประสงค์นี้บรรลุไม่ได้
ง่ายๆ เพราะมันขัดแย้งกันตั้งแต่แรกแล้ว จึงเป็นเรื่องธรรมดา
ที่จะกล่าวว่า “การจะได้บางอย่าง จำาเป็นต้องเสียอีกอย่างไป”
เร้าแก้ไข “ปัญหาแร้งโน้มถ่วิง” ไม่ได้้
สิ่งที่ควรทำาความเข้าใจเป็นอันดับแรกในการตัดสินใจ
เลือกคือ “ปัญหาแรงโน้มถ่วง” บิล เบอร์เนทท์ และเดฟ อีแวนส์
เจ้าของหลักสูตรการออกแบบชีวิตอันโด่งดังแห่งมหาวิทยาลัย
สแตนฟอร์ด2
อธิบายไว้ดังนี้
“ฉันกลุ้มใจเพราะเจอปัญหาใหญ่อยู่แหละ”
“ปัญหาแบบไหนเหรอ”
2
บิล เบอร์เนทท์ และเดฟ อีแวนส์ ‘Designing Your Life’
AW Skill 1-336.indd 14
AW Skill 1-336.indd 14 3/27/24 10:29
3/27/24 10:29
15
บทท่� 1 ประสิิทธิิภาพต่่อต่้นทุน เวลา และความเสิ่�ยง
“แรงโน้มถ่วง”
“แรงโน้มถ่วง?”
“ใช่ รู้สึกแปลกๆ น่ะ! เหมือนร่างกายค่อยๆ หนักขึ้น
ตอนปั่นจักรยานขึ้นเนินก็ลำาบากมากเลย ทำายังไงก็ไม่หาย คิด
ว่าฉันควรทำายังไงดี”
ปัญหาเรื่องแรงโน้มถ่วง ตามหลักการแล้วเป็นปัญหา
ที่แก้ไขไม่ได้ เพราะเราควบคุมแรงโน้มถ่วงไม่ได้ ดังนั้นเราจึง
แนะนำาทางแก้ตามอาการได้เพียงว่า “งั้น ไม่ลองใช้จักรยาน
ไฟฟ้าดูล่ะ”เท่านั้น
เบอร์เนทท์และอีแวนส์บอกว่า พวกเขาได้ยิน “ปัญหา
แรงโน้มถ่วง”ทำานองนี้ตลอดเวลา
“เป็นนักประพันธ์ในอเมริกาน่ะ ไม่มีอันจะกินหรอก
สถานะทางสังคมก็ตำ่า ควรทำาไงดี”
“บริษัทที่ฉันทำางานอยู่เป็นธุรกิจครอบครัว บริหารโดย
ตระกูลเดียวมาตลอด 5 รุ่นแล้ว คนนอกอย่างฉันไม่มีทางขึ้นไป
เป็นผู้บริหารได้หรอก ทำายังไงดี”
“ตกงานมาตั้ง 5 ปีแล้ว การหางานมีแต่จะยากขึ้นเท่านั้น
ไม่แฟร์เลย ทำายังไงดี”
“อยากเรียนต่อหมอ แต่ต้องใช้เวลาอย่างตำ่า 10 ปีเลย
อายุขนาดนี้แล้ว ไปเสียเวลาขนาดนั้นไม่ได้หรอก ควรทำายังไง
ล่ะ”
AW Skill 1-336.indd 15
AW Skill 1-336.indd 15 3/27/24 10:29
3/27/24 10:29
16 ทัักษะออกแบบชีีวิิต ทัี�ใชี้ได้้ตลอด้ชีีวิิต
ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ไม่ว่าเรื่องไหนก็ไม่ใช่ปัญหาที่แท้จริง
ปัญหาที่จัดการไม่ได้ไม่ใช่ “ปัญหา” แต่เป็นสถานการณ์
สภาพแวดล้อม และเป็นความจริง “เมื่อมนุษย์และความจริง
ต้องมาต่อสู้กัน ฝ่ายที่จะชนะร้อยเปอร์เซ็นต์คือความจริง เรา
ไม่สามารถเอาชนะความเป็นจริงได้ ความจริงเป็นสิ่งที่หลอกกัน
ไม่ได้ เราบิดเบือนความเป็นจริงตามต้องการไม่ได้”
ดังนั้น แทนที่เราจะท้าทายด้วยการเปลี่ยนแปลงโลก
(เช่น การปฏิวัติ) เราควรยอมรับว่ามันเป็นเงื่อนไขเสียดีกว่า
ถ้าเป็นนักประพันธ์แล้วไม่มีอันจะกิน เราก็ไปทำางานอื่น
แล้วเขียนบทกวีเป็นงานอดิเรก หรือเมื่อลูกดูแลตัวเองได้แล้ว
เราค่อยกลับไปเรียนต่อมหาวิทยาลัยอย่างจริงจัง และอาศัย
เงินบำานาญสร้างผลงานหรือไปบรรยายก็ได้
ถ้าทำางานอยู่ในบริษัทที่เป็นธุรกิจครอบครัว แทนที่จะคิด
ปฏิรูปองค์กร เราก็เปลี่ยนงานใหม่ หรือไม่ก็กลับไปคิดถึงข้อดี
ของธุรกิจครอบครัวเสีย (เช่น มีตำาแหน่งหน้าที่การงานที่มั่นคง
ไปจนเกษียณ) แล้วออกแบบการทำางานกับการใช้ชีวิตให้สมดุล
กัน (Work-Life Balance)
ถ้าว่างงานมาแล้วถึง 5 ปี การกลับไปทำางานอีกครั้ง
ด้วยประวัติการทำางานที่ขาดช่วงไปถือเป็นเรื่องยาก ถ้าอย่างนั้น
แทนที่จะเสียเวลาส่งเรซูเม่ไปสมัครงานในอุดมคติ ลองเปลี่ยน
มาเป็นทำางานอะไรสักอย่างดูก่อน รวมถึงงานอาสาสมัคร (ที่
ไม่ได้รับค่าตอบแทน) เพื่อเขียนลงในเรซูเม่
เราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงความจริงที่ว่าต้องใช้เวลาถึง
AW Skill 1-336.indd 16
AW Skill 1-336.indd 16 3/27/24 10:29
3/27/24 10:29
17
บทท่� 1 ประสิิทธิิภาพต่่อต่้นทุน เวลา และความเสิ่�ยง
สิบปีกว่าจะได้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพแพทย์ได้ จึงทำาได้
เพียงตัดสินใจว่ามันคุ้มค่ากับเวลาหรือไม่ หากคิดว่าคุ้ม ก็สอบ
เข้าเรียนแพทย์ แต่ถ้าคิดว่าไม่คุ้ม ก็เปลี่ยนไปเรียนต่อสาย
สุขภาพสาขาอื่นๆหรือทำางานในโครงการด้านสุขภาพของบริษัท
ประกันก็ได้นี่
ความทุกข์ในการพยายามแก้ปัญหาที่ไม่สามารถแก้
ได้นั้น นับว่าเปลืองเวลาชีวิต
การ้มีทัางเล้อกเยอะ
ไม่ได้้หมายควิามวิ่าชีีวิิตจะมั�งคั�ง
ในการเลือกทุกครั้งจะเกิดต้นทุน 2 อย่างเสมอ
อย่างแรกคือ ต้นทุนในการคิดประมวลผล สมองเป็น
อวัยวะที่ต้องใช้พลังงานมาก ดังนั้นมันจึงถูกตั้งค่าไว้ว่า “คิดให้
น้อยที่สุด” ซึ่งในการเลือกแต่ละครั้งเราจะต้องเปลี่ยนแปลงการ
ตั้งค่านี้อย่างมีสติ เพราะมีต้นทุนในการคิดประมวลผลเกิดขึ้น
ในการเลือกทุกครั้ง เมื่อต้องเผชิญหน้ากับการเลือกหลายครั้ง
และต้องเลือกอยู่ตลอดเวลา ผลก็คือทำาให้สมองเหนื่อยล้า
ส่วนต้นทุนอีกอย่างคือ ค่าเสียโอกาส “หากเราเลือก
สิ่งหนึ่ง เราจะต้องเสียอีกสิ่งหนึ่งไป” ภายใต้ข้อจำากัดทาง
ทรัพยากรที่มีเงินอยู่เพียง 100 เยน ถ้าเลือกแอปเปิล เราจะ
พลาดโอกาสในการกินส้มไป (หรือไม่ก็เป็นไปในทางกลับกัน)
การเลือกอย่างใดอย่างหนึ่งนี้มักทำาให้เกิดค่าเสียโอกาส
อยู่เสมอ
AW Skill 1-336.indd 17
AW Skill 1-336.indd 17 3/27/24 10:29
3/27/24 10:29
18 ทัักษะออกแบบชีีวิิต ทัี�ใชี้ได้้ตลอด้ชีีวิิต
“การเลือกที่ดี” หมายถึงการเลือกที่เสียต้นทุนในการคิด
ประมวลผลและค่าเสียโอกาสน้อยที่สุด และตามหลักการแล้ว
การทำาให้ต้นทุนในการเลือกเป็นศูนย์นั้นเป็นไปไม่ได้เลย
เมื่อคิดตามนี้แล้ว เราก็จะตกผลึกหลักการสำาคัญในการ
ประสบความสำาเร็จ
ยิ่งจำาเป็นต้องเลือกน้อยเท่าไร ชีวิตยิ่งมั่งคั่งขึ้นเท่านั้น
คำากล่าวนี้สมเหตุสมผล เพราะถ้าเราไม่ค่อยตกอยู่ใน
สถานการณ์บังคับให้ต้องเลือก ต้นทุนในการเลือก (ต้นทุนใน
การคิดประมวลผลกับค่าเสียโอกาส) ก็น้อยลง ผลตอบแทนก็ยิ่ง
เพิ่มขึ้น เมื่อเรานำาทรัพยากรนั้นไปลงทุนในสิ่งที่สำาคัญกับชีวิต
มากกว่า เราก็ยิ่งประสบความสำาเร็จทั้งทางสังคมและเศรษฐกิจ
และชีวิตก็จะยิ่งมั่งคั่งขึ้น ในทางกลับกัน ถ้าเราถูกบังคับให้ต้อง
เลือกอยู่ตลอดเวลา ความสุขในชีวิตจะลดลงอย่างมาก
เมื่อคิดอย่างมีเหตุผลแล้ว วิธีที่จะลดการต้องเลือก
อย่างใดอย่างหนึ่งระหว่างแอปเปิลกับส้มอย่างชาญฉลาดนั้น
คือการมองหาคนที่มีข้อจำากัดแบบเดียวกันคือมีเงินแค่ 100 เยน
แล้วให้คนหนึ่งซื้อแอปเปิล ส่วนอีกคนซื้อส้ม จากนั้นค่อยเอา
ทั้งสองอย่างมาแบ่งกันคนละครึ่ง เท่านี้ก็จะได้กินทั้งแอปเปิล
และส้ม
อย่างไรก็ตาม ยังมีวิธีที่ง่ายและมีประสิทธิภาพกว่านั้น
คือ การใส่เงิน 200 เยนลงในกระเป๋าสตางค์แล้วไปซื้อของ
AW Skill 1-336.indd 18
AW Skill 1-336.indd 18 3/27/24 10:29
3/27/24 10:29
19
บทท่� 1 ประสิิทธิิภาพต่่อต่้นทุน เวลา และความเสิ่�ยง
แค่นี้เราก็จะตัดข้อจำากัดทางทรัพยากรออกไปได้ และไม่จำาเป็น
ต้องเลือก
จากนี้ผมจะอธิบายและเปิดเผยหลักการอย่างหมด
เปลือก
กลยุทธ์ที่ง่ายที่สุดที่จะหลีกหนีจากการเลือก
คือการเป็นคนรวย
แน่นอน ผมไม่ได้กำาลังบอกว่า “หากไม่ได้เป็นมหาเศรษฐี
คุณไม่มีทางมีความสุขหรอก” เพียงแต่ ถ้าคุณไม่เดือดร้อนเรื่อง
เงิน คุณก็ไม่จำาเป็นต้องดูป้ายราคาตามแผงอาหารในซูเปอร์
มาร์เก็ต แล้วก้มหน้าปรึกษากับเงินในกระเป๋าสตางค์ตัวเอง คุณ
สามารถหยิบของที่อยากกินลงในตะกร้า จ่ายเงิน แล้วออกจาก
ร้านได้เลย เท่านี้ความสุขในแต่ละวันของคุณจะเพิ่มขึ้นแน่นอน
“การ้ไม่มีเวิลา” เทัียบเทั่ากับ “การ้ไม่มีเงิน”
ทรัพยากรอีกอย่างที่สำาคัญนอกจากเงิน คือ “เวลา”
ตามทฤษฎีแล้ว ข้อจำากัดทางทรัพยากรแก้ไขได้ด้วยการเพิ่ม
ทรัพยากร แต่การเพิ่มเวลาเกี่ยวโยงกับเรื่องกายภาพและ
ชีวภาพด้วย จึงไม่มีวิธีใดแก้ไขได้มาแต่ไหนแต่ไรแล้ว
ดูเหมือนว่าสมองเราไม่ได้แยกความแตกต่างระหว่าง
“ไม่มีเงิน” กับ “ไม่มีเวลา” เพราะทั้งสองปัญหานี้จะเข้าไป
กระตุ้นสมองแบบเดียวกับ“ตอนที่เราไม่มีอะไรกิน”เหมือนกัน
AW Skill 1-336.indd 19
AW Skill 1-336.indd 19 3/27/24 10:29
3/27/24 10:29
20 ทัักษะออกแบบชีีวิิต ทัี�ใชี้ได้้ตลอด้ชีีวิิต
เมื่อเรามีอาหารเพียงพอกับความต้องการ เราไม่จำาเป็น
ต้องกังวลเรื่องการขาดแคลนอาหาร สุดท้ายโรคอ้วน (กินมาก
เกินไป) จึงกลายมาเป็นปัญหาที่รุนแรงในประเทศที่พัฒนา
แล้ว ถึงกระนั้น นี่เป็นสิ่งที่เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อไม่นานนี้เอง ตลอด
ประวัติศาสตร์หลายล้านปี ไม่เพียงเฉพาะของมนุษย์ (โฮโม
เซเปียนส์) แต่ยังรวมถึงของสายพันธุ์มนุษย์ก่อนหน้านั้น ความ
หิวโหยถือเป็นความเสี่ยงที่เลวร้ายที่สุด
เนื่องจากสมองคนเรามีวิวัฒนาการมาในโลกที่อาหาร
ขาดแคลน ดังนั้นแม้ในโลกที่มีอาหารอุดมสมบูรณ์ ถ้าสมอง
รู้สึกหิวขึ้นมาแม้เพียงนิดเดียว มันจะส่งเสียงเตือนอย่างสุด
กำาลังว่า “ถ้าปล่อยไว้แบบนี้ ตายแน่!” และนี่เป็นเหตุผลว่า
ทำาไมการลดความอ้วนถึงมักล้มเหลว นั่นเพราะเวลาที่เราตั้งใจ
ว่า “จะผอม” ส่วนใหญ่แล้วเราจะเอาชนะ “ความกลัวตาย”
ที่เกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัวไม่ได้
พันธุกรรมเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้ช้ามาก แม้ว่า
สภาพแวดล้อมได้เปลี่ยนไปแล้ว แต่มันไม่สามารถเพิ่มคำาสั่ง
ใหม่ๆ ให้สมองไปเรื่อยๆ ได้ แม้จะเผชิญกับการเปลี่ยนแปลง
ครั้งใหญ่ มันก็ตอบสนองแบบเดิม
เมื่อมนุษย์เริ่มปลูกพืชผักเป็นอาหาร ก็เริ่มเก็บตุน
ธัญพืชไว้ให้กินได้นานๆ และว่ากันว่าเงินตราก็เริ่มถูกนำามาใช้
แลกเปลี่ยนอาหารตั้งแต่เมื่อประมาณ 3,500 ปีก่อน แม้ว่า
ความกลัว “การไม่มีอาหาร” ของมนุษย์จะมีมาตั้งแต่ก่อนหน้า
นั้น แต่กับประสบการณ์ “การไม่มีเงิน” นั้น มนุษย์ไม่น่าจะเคย
AW Skill 1-336.indd 20
AW Skill 1-336.indd 20 3/27/24 10:29
3/27/24 10:29
21
บทท่� 1 ประสิิทธิิภาพต่่อต่้นทุน เวลา และความเสิ่�ยง
มีมาก่อน
แต่หลังจากนั้น เงินก็ได้กลายเป็นปัจจัยสำาคัญในการ
ดำารงชีวิตมากขึ้นเรื่อยๆ ในระบบเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยเงิน
การไม่มีเงินอาจทำาให้เราตายได้จริงๆ ดังนั้นสมองของเราจึง
รับมือกับ“การไม่มีเงิน”แบบเดียวกับ“การไม่มีอาหาร”
ต่อมาแม้จะเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อน
ด้วยเงินแล้ว แต่ก็ยังไม่มีประสบการณ์ที่เรียกว่า “ไม่มีเวลา” ใน
ประวัติศาสตร์ของมนุษย์ ทุกวันเราจะทำากิจวัตรตามแบบแผน
เดิมซำ้าๆ ระหว่างนั้นเราก็จะเติบโต แต่งงาน มีลูก เลี้ยงดูลูก
และแก่ตายไป
ไม่ว่าจะในสมัยเอโดะ (ค.ศ. 1603-1868) หรือในยุค
กลางของยุโรป (ค.ศ. 476-1453) ทั้งซามูไร เหล่าขุนนาง หรือ
ราชวงศ์ ต่างใช้เงินมหาศาลและใช้เวลาหลายวัน (บางกรณีอาจ
หลายเดือน) ไปกับพิธีการต่างๆเช่น พิธีราชาภิเษก การสืบสกุล
งานแต่งงาน เป็นต้น และพวกเขาเหล่านั้นไม่น่าจะรู้สึกว่า“ไม่มี
เวลา”แม้แต่น้อย
อย่างไรก็ตาม นับตั้งแต่การปฏิวัติอุตสาหกรรม ขณะที่
สังคมแห่งปัญญาก้าวหน้าไป นักเรียนในโรงเรียนและมนุษย์
งานในที่ทำางานก็เริ่มจำาเป็นต้องทำางานบางอย่างให้เสร็จ
ภายในเวลาที่กำาหนด เราอาจคิดว่ามันเป็นเรื่องปกติ แต่นี่
นับเป็นสถานการณ์ใหม่สำาหรับมนุษย์
คนในยุคปัจจุบันเพิ่งได้สัมผัสกับประสบการณ์ที่ไม่เคย
มีมาก่อนที่เรียกว่า “เวลาไม่พอ” และเป็นเรื่องปกติที่สมองจะ
AW Skill 1-336.indd 21
AW Skill 1-336.indd 21 3/27/24 10:29
3/27/24 10:29
22 ทัักษะออกแบบชีีวิิต ทัี�ใชี้ได้้ตลอด้ชีีวิิต
3
เซนดิล มุลไลนาทัน, เอลดาร์ ชาเฟอร์ ‘Scarcity: Why Having Too Little Means
So Much’
ตอบสนองแบบเดียวกับ “การไม่มีอาหาร” หรือ “การไม่มีเงิน”
เพราะนี่เป็นเพียงกลไกเดียวที่สมองนำามาใช้ซำ้าๆเมื่อต้องประสบ
กับสถานการณ์ที่“สิ่งสำาคัญขาดแคลน”
เรารู้สึกว่าถูกเวลาไล่ตามอยู่ตลอดเพราะเมื่อเรามีเวลา
ไม่พอ สมองจะร้องเตือนอย่างสุดกำาลังว่า “ถ้าปล่อยไว้แบบนี้
ตายแน่!” (เช่นเดียวกับตอนขาดแคลนอาหาร)3
หยุด้เสียงเต้อนทัี�บอกวิ่า
“ถ้าปล่อยไวิ้แบบนี� ตายแน่!”
สำาหรับสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ไม่มีอะไรสำาคัญไปกว่าการ
เอาชีวิตรอด (ถ้าไม่นับการสืบพันธุ์) เมื่อสมองส่งสัญญาณเตือน
ว่าให้เอาชีวิตรอด เราจะนึกอะไรไม่ออกนอกจากต้องหยุด
สัญญาณนั้นให้ได้ ถ้ามีสัญญาณร้องเตือนว่า “อาหารกำาลัง
ขาดแคลน” เราก็จะทำาทุกวิถีทางเพื่อหาอาหารมา (ต่อให้ต้อง
แย่งของคนอื่นมาก็ตาม) เพื่อตอบสนองต่อความหิวโหยของ
ตัวเอง
เช่นเดียวกับเมื่อมีสัญญาณร้องเตือนว่า “เงินไม่พอ”
หรือ“เวลาไม่พอแล้ว” เราจะไม่สามารถทำาอย่างอื่นได้นอกจาก
ต้องจัดการกับมัน สถานการณ์เหล่านี้ไม่ต่างอะไรจากการถูก
บังคับให้ขึ้นไปยืนอยู่บนขอบตึกสูงระฟ้า หรือตอนถูกปืนจ่อหัว
AW Skill 1-336.indd 22
AW Skill 1-336.indd 22 3/27/24 10:29
3/27/24 10:29
23
บทท่� 1 ประสิิทธิิภาพต่่อต่้นทุน เวลา และความเสิ่�ยง
ดังนั้นประสิทธิภาพในการทำางานหรือเรียนจึงลดลงอย่างมาก
แล้วเราจะหนีจากสถานการณ์จวนตัวเช่นนี้ได้อย่างไร
วิธีแก้ปัญหา “การไม่มีเงิน” ที่ทำาได้ง่ายและมีประสิทธิ-
ภาพมาก คือ การหาเงินไว้ล่วงหน้า ถ้าทำาเช่นนั้นแล้ว สมอง
ก็จะหยุดร้องเตือน คุณก็จะมีเวลาจัดการกับเรื่องอื่นๆ และ
ประสิทธิภาพในการทำางานก็จะสูงขึ้นด้วย ว่ากันว่านี่เป็น
เหตุผลหนึ่งว่าทำาไมเด็กจากครอบครัวรำ่ารวยถึงมีผลการเรียน
ที่ยอดเยี่ยม ในขณะที่เด็กจากครอบครัวยากจนกลับประสบ
ความล้มเหลวในโรงเรียน
เราต้องอาศัยพลังและความตั้งใจในการหยุดเสียงร้อง
เตือนนี้ เพื่อที่จะรักษาประสิทธิภาพให้สูงขณะที่ประสบกับ
ความขาดแคลน ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า ผู้ที่เกิดมาในครอบครัว
ยากจนแต่ประสบความสำาเร็จทั้งทางสังคมและเศรษฐกิจ มัก
ต้องแลกมาด้วยการป่วยเป็นโรคต่างๆ เช่น โรคหัวใจ และอาจ
มีอายุสั้น การใช้พลังความตั้งใจที่มากเกินจะก่อให้เกิดความ
เครียด และทำาลายสุขภาพของเราในที่สุด4
การค้นพบดังกล่าวกลายมาเป็นเหตุผลอันทรงพลังใน
การหาแนวทางรับมือกับความยากจน แต่ในความเป็นจริง ยัง
มีคนญี่ปุ่นอีกจำานวนมาก โดยเฉพาะครอบครัวแม่เลี้ยงเดี่ยว
ที่ต้องทนทุกข์ทรมานกับ“การไม่มีเงิน”
4
Gregory E. Miller et al. (2015) Self-control forecasts better psychosocial
outcomes but faster epigenetic aging in low-SES youth, PNAS
AW Skill 1-336.indd 23
AW Skill 1-336.indd 23 3/27/24 10:29
3/27/24 10:29
24 ทัักษะออกแบบชีีวิิต ทัี�ใชี้ได้้ตลอด้ชีีวิิต
แน่นอนว่าสถานการณ์เช่นนี้ต้องได้รับการช่วยเหลือ
จากรัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แต่หากเรื่องนี้ส่งไปไม่ถึง
ผู้มีอำานาจ เราก็ต้องลงมือทำาอะไรสักอย่างแทนที่จะเฝ้ารอคอย
ต่อไป และนี่เป็นเหตุผลว่าทำาไม “ต้นทุนทางการเงิน” จึงมี
ความสำาคัญในฐานะพื้นฐานของความสุข
ข้อเท็จจริงที่ว่าเงินผูกโยงกับความสุข ไม่ได้มาจาก (แค่)
การได้กินอาหารในร้านอาหารระดับมิชลิน สวมใส่เสื้อผ้า
แบรนด์เนม ใช้ชีวิตหรูหรา หรือขับรถซูเปอร์คาร์ ถ้าเรามีเงิน
เพียงพอ เราจะหยุดสัญญาณเตือนเวลา “เงินไม่พอ” ได้ และ
ด้วยสิ่งนี้ เราจะมีอิสระมากขึ้น มีประสิทธิภาพในการทำางาน
เพิ่มขึ้นโดยไม่สร้างความเครียดให้แก่ร่างกายและจิตใจ จน
นำาไปสู่การประสบความสำาเร็จในที่สุด
ในทางกลับกัน วิธีการที่มีประสิทธิภาพดังที่กล่าวมานี้
ใช้แก้ปัญหา“การไม่มีเวลา”ไม่ได้ ไม่ว่าใครก็ยืดเวลาให้มีวันละ
48 หรือ 64 ชั่วโมงไม่ได้ และเพราะแบบนี้ พวกผู้บริหารที่มี
รายได้หลายสิบหรือหลายร้อยล้านเยนต่อปีจะต้องตกอยู่ใน
ความเครียดโดยมีเวลาไล่ตาม ในหัวของพวกเขาหรือเธอจะมี
สัญญาณร้องเตือนดังก้องว่า “ถ้าปล่อยไว้แบบนี้ ตายแน่!”
การ้เล้อกทัี�ด้ีหมายถึงการ้ปร้ับปร้ะสิทัธิิภาพื้
ต่อต้นทัุนและควิามเสี�ยงให้เหมาะสม
เมื่อทรัพยากรมีจำากัด การรู้ว่าจะใช้มันอย่างไรให้คุ้มค่า
จึงเป็นเรื่องสำาคัญ นี่คือ ประสิทธิภาพต่อต้นทุน หรือ CP
AW Skill 1-336.indd 24
AW Skill 1-336.indd 24 3/27/24 10:29
3/27/24 10:29
25
บทท่� 1 ประสิิทธิิภาพต่่อต่้นทุน เวลา และความเสิ่�ยง
(Cost Performance) ซึ่งเป้าหมายคือการใช้ต้นทุน (ทรัพยากร)
ที่มีจำากัดให้ได้ผลตอบแทน (กำาไร) มากที่สุดเท่าที่จะทำาได้
ถ้าได้รับผลตอบแทน 120 เยนจากต้นทุน 100 เยน
ประสิทธิภาพต่อต้นทุนจะเท่ากับ 20% ถ้าได้รับผลตอบแทน
200 เยน ประสิทธิภาพต่อต้นทุนจะเท่ากับ 100%
ตัวบ่งชี้อีกอย่างที่คล้ายกันมากคือ ประสิทธิภาพต่อ
ความเสี่ยง หรือ RP (Risk Performance) ซึ่งคำาที่ผมตั้ง
ขึ้นมาเอง
“เมื่อต้องรับความเสี่ยงเท่ากัน หากได้ผลตอบแทน
มากกว่าย่อมดีกว่า” หรือกลับกัน “ผลตอบแทนแบบเดียวกัน
หากรับความเสี่ยงน้อยกว่าย่อมดีกว่า” การจะเข้าใจประสิทธิภาพ
ต่อความเสี่ยงได้จำาเป็นต้องมีความรู้ทางสถิติ เรื่องนี้ไว้ผมจะ
มาอธิบายภายหลัง (ไม่ยากครับ)
การเลือกที่ดีหรือไม่ดีนั้นไม่สามารถบอกได้โดยใช้
ประสิทธิภาพต่อต้นทุนเพียงอย่างเดียว เพราะแม้มีความเป็น
ไปได้ว่าเราจะได้รับผลตอบแทนที่สูงจากต้นทุนที่ตำ่า แต่ถ้าเรา
แบกรับความเสี่ยงสูงแล้วพลาด ก็อาจจะสูญเสียทุกอย่างไป
(ถ้าลงทุนไป 10,000 เยน มีโอกาส 99% ที่เราจะได้ 1 ล้านเยน
แต่ลองคิดถึงการเดิมพันว่าเรายังมีโอกาส 1% ที่จะเสียชีวิตดูสิ)
การเลือกที่ดีหมายถึงการปรับประสิทธิภาพต่อต้นทุน
และความเสี่ยงให้เหมาะสม
AW Skill 1-336.indd 25
AW Skill 1-336.indd 25 3/27/24 10:29
3/27/24 10:29
26 ทัักษะออกแบบชีีวิิต ทัี�ใชี้ได้้ตลอด้ชีีวิิต
หลักการประสิทธิภาพต่อต้นทุนและความเสี่ยง เดิมที
มักใช้กันในแวดวงการเงิน และเป็นประโยชน์มากตอนบริหาร
สินทรัพย์ หลักการนี้ก็นำามาใช้ตอนคิดถึงทุนมนุษย์ (ความ
สามารถในการทำางานหาเงิน) หรือทุนสังคม (ความสัมพันธ์
ระหว่างมนุษย์) ได้เช่นกัน
ถ้าเป็นงานแบบเดียวกัน ยิ่งได้ค่าจ้างหรือผลตอบแทน
ที่สูงกว่า ประสิทธิภาพต่อต้นทุนยิ่งดี และถ้าได้ค่าจ้างหรือ
ผลตอบแทนเท่ากัน งานที่มั่นคงกว่าก็จะให้ประสิทธิภาพต่อ
ความเสี่ยงสูงกว่า
แต่ในกรณีของทุนมนุษย์ จะมีเรื่องของจิตใจมาเกี่ยวข้อง
เช่น “คุณค่าของการลงมือทำา” หรือ “ความเป็นตัวเอง” เข้ามา
เกี่ยวข้องด้วย คือมีทั้งงานที่แม้ผลตอบแทนจะตำ่าแต่ก็คุ้มที่จะ
ทำา กับงานที่ให้ผลตอบแทนสูงแต่บั่นทอนจิตใจ
ทุนมนุษย์ไม่สามารถใช้ทฤษฎีการเงินมาอธิบายได้
อย่างชัดเจนเหมือนกับทุนการเงิน แต่ถึงอย่างนั้น ตราบใดที่
ผลตอบแทนเกิดจากทุน ประสิทธิภาพต่อต้นทุนและความเสี่ยง
ก็ยังคงมีความสำาคัญ
ในกรณีของทุนสังคม เดิมทีเราไม่สามารถแปลงเป็น
ตัวเลขได้อยู่แล้ว ดังนั้นประสิทธิภาพต่อต้นทุนและความเสี่ยง
จึงยิ่งคลุมเครือมาก และเหนือสิ่งอื่นใด ทุกคนคงจะเลี่ยงไม่เอา
ความรักและมิตรภาพมาพูดถึงในฐานะ“ต้นทุน”
แน่นอนว่าลูกไม่สามารถเลือกพ่อแม่ได้ และพ่อแม่ (ถ้า
ไม่ใช่การรับเลี้ยง) ก็เลือกลูกไม่ได้เช่นกัน แต่เรา “เลือก”คนรัก
AW Skill 1-336.indd 26
AW Skill 1-336.indd 26 3/27/24 10:29
3/27/24 10:29

More Related Content

More from Piyapong Sirisutthanant

ตัวอย่างหนังสือ_คู่มือทำธุรกิจฉบับคนคิดสร้างสรรค์.pdf
ตัวอย่างหนังสือ_คู่มือทำธุรกิจฉบับคนคิดสร้างสรรค์.pdfตัวอย่างหนังสือ_คู่มือทำธุรกิจฉบับคนคิดสร้างสรรค์.pdf
ตัวอย่างหนังสือ_คู่มือทำธุรกิจฉบับคนคิดสร้างสรรค์.pdf
Piyapong Sirisutthanant
 
ตัวอย่างหนังสือ_คิดอย่างไรไม่ให้คิดไปเอง.pdf
ตัวอย่างหนังสือ_คิดอย่างไรไม่ให้คิดไปเอง.pdfตัวอย่างหนังสือ_คิดอย่างไรไม่ให้คิดไปเอง.pdf
ตัวอย่างหนังสือ_คิดอย่างไรไม่ให้คิดไปเอง.pdf
Piyapong Sirisutthanant
 
AI 2041 ตัวอย่าง
AI 2041 ตัวอย่างAI 2041 ตัวอย่าง
AI 2041 ตัวอย่าง
Piyapong Sirisutthanant
 
ตัวอย่าง หนังสือ คนเก่งคิดแบบนี้ไง พูดอะไรก็รู้เรื่อง
ตัวอย่าง หนังสือ คนเก่งคิดแบบนี้ไง พูดอะไรก็รู้เรื่องตัวอย่าง หนังสือ คนเก่งคิดแบบนี้ไง พูดอะไรก็รู้เรื่อง
ตัวอย่าง หนังสือ คนเก่งคิดแบบนี้ไง พูดอะไรก็รู้เรื่อง
Piyapong Sirisutthanant
 
ตัวอย่างหนังสือ อยากขายดี สตอรี่ต้องโดน Stories that stick
ตัวอย่างหนังสือ อยากขายดี สตอรี่ต้องโดน Stories that stickตัวอย่างหนังสือ อยากขายดี สตอรี่ต้องโดน Stories that stick
ตัวอย่างหนังสือ อยากขายดี สตอรี่ต้องโดน Stories that stick
Piyapong Sirisutthanant
 
ตัวอย่างหนังสือ The Compound Effect
ตัวอย่างหนังสือ The Compound Effect ตัวอย่างหนังสือ The Compound Effect
ตัวอย่างหนังสือ The Compound Effect
Piyapong Sirisutthanant
 
ตัวอย่างหนังสือ Everything is f*cked คู่มือแห่งความหวัง ในโลกสุดเฮงซวย
ตัวอย่างหนังสือ Everything is f*cked คู่มือแห่งความหวัง ในโลกสุดเฮงซวยตัวอย่างหนังสือ Everything is f*cked คู่มือแห่งความหวัง ในโลกสุดเฮงซวย
ตัวอย่างหนังสือ Everything is f*cked คู่มือแห่งความหวัง ในโลกสุดเฮงซวย
Piyapong Sirisutthanant
 

More from Piyapong Sirisutthanant (20)

โปรดเยียวยาใจฉันด้วยหนังสือเล่มนั้น_ตัวอย่าง.pdf
โปรดเยียวยาใจฉันด้วยหนังสือเล่มนั้น_ตัวอย่าง.pdfโปรดเยียวยาใจฉันด้วยหนังสือเล่มนั้น_ตัวอย่าง.pdf
โปรดเยียวยาใจฉันด้วยหนังสือเล่มนั้น_ตัวอย่าง.pdf
 
ความเจริญไม่เคยเกิดขึ้นเอง Power and progress_ตัวอย่าง.pdf
ความเจริญไม่เคยเกิดขึ้นเอง Power and progress_ตัวอย่าง.pdfความเจริญไม่เคยเกิดขึ้นเอง Power and progress_ตัวอย่าง.pdf
ความเจริญไม่เคยเกิดขึ้นเอง Power and progress_ตัวอย่าง.pdf
 
ตัวอย่างหนังสือ_พูดคุยอย่างไร ได้ทั้งใจ ได้ทั้งงาน.pdf
ตัวอย่างหนังสือ_พูดคุยอย่างไร ได้ทั้งใจ ได้ทั้งงาน.pdfตัวอย่างหนังสือ_พูดคุยอย่างไร ได้ทั้งใจ ได้ทั้งงาน.pdf
ตัวอย่างหนังสือ_พูดคุยอย่างไร ได้ทั้งใจ ได้ทั้งงาน.pdf
 
ตัวอย่างหนังสือ_ฉันแข็งแกร่งพอที่จะเชื่อความคิดของตัวเอง.pdf
ตัวอย่างหนังสือ_ฉันแข็งแกร่งพอที่จะเชื่อความคิดของตัวเอง.pdfตัวอย่างหนังสือ_ฉันแข็งแกร่งพอที่จะเชื่อความคิดของตัวเอง.pdf
ตัวอย่างหนังสือ_ฉันแข็งแกร่งพอที่จะเชื่อความคิดของตัวเอง.pdf
 
ตัวอย่างหนังสือ_ถกเถียงอย่างไร ให้เราเข้าใจกันมากกว่าเดิม.pdf
ตัวอย่างหนังสือ_ถกเถียงอย่างไร ให้เราเข้าใจกันมากกว่าเดิม.pdfตัวอย่างหนังสือ_ถกเถียงอย่างไร ให้เราเข้าใจกันมากกว่าเดิม.pdf
ตัวอย่างหนังสือ_ถกเถียงอย่างไร ให้เราเข้าใจกันมากกว่าเดิม.pdf
 
ตัวอย่างหนังสือ_เพราะฉันแตกต่างจึงบริหารเวลาแบบนี้.pdf
ตัวอย่างหนังสือ_เพราะฉันแตกต่างจึงบริหารเวลาแบบนี้.pdfตัวอย่างหนังสือ_เพราะฉันแตกต่างจึงบริหารเวลาแบบนี้.pdf
ตัวอย่างหนังสือ_เพราะฉันแตกต่างจึงบริหารเวลาแบบนี้.pdf
 
ตัวอย่างหนังสือ_เธอหรือฉันใครกันที่Toxic.pdf
ตัวอย่างหนังสือ_เธอหรือฉันใครกันที่Toxic.pdfตัวอย่างหนังสือ_เธอหรือฉันใครกันที่Toxic.pdf
ตัวอย่างหนังสือ_เธอหรือฉันใครกันที่Toxic.pdf
 
ตัวอย่างหนังสือ_เก่งด้วยศาสตร์.pdf
ตัวอย่างหนังสือ_เก่งด้วยศาสตร์.pdfตัวอย่างหนังสือ_เก่งด้วยศาสตร์.pdf
ตัวอย่างหนังสือ_เก่งด้วยศาสตร์.pdf
 
ตัวอย่างหนังสือ_ถ้าสอนงานแบบนี้.pdf
ตัวอย่างหนังสือ_ถ้าสอนงานแบบนี้.pdfตัวอย่างหนังสือ_ถ้าสอนงานแบบนี้.pdf
ตัวอย่างหนังสือ_ถ้าสอนงานแบบนี้.pdf
 
ตัวอย่างหนังสือ_แค่มองให้เป็น.pdf
ตัวอย่างหนังสือ_แค่มองให้เป็น.pdfตัวอย่างหนังสือ_แค่มองให้เป็น.pdf
ตัวอย่างหนังสือ_แค่มองให้เป็น.pdf
 
ตัวอย่างหนังสือ_คู่มือทำธุรกิจฉบับคนคิดสร้างสรรค์.pdf
ตัวอย่างหนังสือ_คู่มือทำธุรกิจฉบับคนคิดสร้างสรรค์.pdfตัวอย่างหนังสือ_คู่มือทำธุรกิจฉบับคนคิดสร้างสรรค์.pdf
ตัวอย่างหนังสือ_คู่มือทำธุรกิจฉบับคนคิดสร้างสรรค์.pdf
 
ตัวอย่างหนังสือ_คิดอย่างไรไม่ให้คิดไปเอง.pdf
ตัวอย่างหนังสือ_คิดอย่างไรไม่ให้คิดไปเอง.pdfตัวอย่างหนังสือ_คิดอย่างไรไม่ให้คิดไปเอง.pdf
ตัวอย่างหนังสือ_คิดอย่างไรไม่ให้คิดไปเอง.pdf
 
ตัวอย่างหนังสือ_Blitzscaling.pdf
ตัวอย่างหนังสือ_Blitzscaling.pdfตัวอย่างหนังสือ_Blitzscaling.pdf
ตัวอย่างหนังสือ_Blitzscaling.pdf
 
ฉันหมด Passion หรือแค่ยังหามันไม่เจอ_Sample.pdf
ฉันหมด Passion หรือแค่ยังหามันไม่เจอ_Sample.pdfฉันหมด Passion หรือแค่ยังหามันไม่เจอ_Sample.pdf
ฉันหมด Passion หรือแค่ยังหามันไม่เจอ_Sample.pdf
 
AI 2041 ตัวอย่าง
AI 2041 ตัวอย่างAI 2041 ตัวอย่าง
AI 2041 ตัวอย่าง
 
LHTL_Sample.pdf
LHTL_Sample.pdfLHTL_Sample.pdf
LHTL_Sample.pdf
 
ตัวอย่าง หนังสือ คนเก่งคิดแบบนี้ไง พูดอะไรก็รู้เรื่อง
ตัวอย่าง หนังสือ คนเก่งคิดแบบนี้ไง พูดอะไรก็รู้เรื่องตัวอย่าง หนังสือ คนเก่งคิดแบบนี้ไง พูดอะไรก็รู้เรื่อง
ตัวอย่าง หนังสือ คนเก่งคิดแบบนี้ไง พูดอะไรก็รู้เรื่อง
 
ตัวอย่างหนังสือ อยากขายดี สตอรี่ต้องโดน Stories that stick
ตัวอย่างหนังสือ อยากขายดี สตอรี่ต้องโดน Stories that stickตัวอย่างหนังสือ อยากขายดี สตอรี่ต้องโดน Stories that stick
ตัวอย่างหนังสือ อยากขายดี สตอรี่ต้องโดน Stories that stick
 
ตัวอย่างหนังสือ The Compound Effect
ตัวอย่างหนังสือ The Compound Effect ตัวอย่างหนังสือ The Compound Effect
ตัวอย่างหนังสือ The Compound Effect
 
ตัวอย่างหนังสือ Everything is f*cked คู่มือแห่งความหวัง ในโลกสุดเฮงซวย
ตัวอย่างหนังสือ Everything is f*cked คู่มือแห่งความหวัง ในโลกสุดเฮงซวยตัวอย่างหนังสือ Everything is f*cked คู่มือแห่งความหวัง ในโลกสุดเฮงซวย
ตัวอย่างหนังสือ Everything is f*cked คู่มือแห่งความหวัง ในโลกสุดเฮงซวย
 

ตัวอย่าง_หนังสือทักษะออกแบบชีวิตที่ใช้ได้ตลอดชีวิต.pdf

  • 2. มาสร้้างพื้้�นฐานการ้ใชี้ชีีวิิตเพื้้�อควิามสำาเร้็จกันเถอะ หนังสือเล่มนี้ต้องการนำาเสนอกฎแห่งความสำาเร็จที่ง่าย มากที่สุด นั่นคือ “ความมีเหตุผล” แต่ไม่ได้หมายความว่าเราจะ พูดอะไรบ้าๆอย่างการบอกให้คุณ“ใช้ชีวิตให้มีเหตุผลสิ” อะไร อย่างนั้น เพราะเราเป็นมนุษย์ไม่ใช่“เครื่องจักร” มาวางแผนสร้างพื้นฐานการใช้ชีวิตอย่างมีเหตุผล เพื่อใช้ชีวิตได้อย่างมีอิสระกันดีกว่า นี่คือสิ่งที่หนังสือเล่มนี้ต้องการจะบอก ผมพูดมาตลอด 20 ปีว่า “คำาว่า อิสระ ไม่ใช่ประเด็นทาง ปรัชญาหรือทางจิตวิทยา แต่มันขึ้นอยู่กับว่า เรามีต้นทุนชีวิต เพื่อให้ดำารงชีวิตได้อย่างอิสระมากน้อยแค่ไหน” หรือที่ปัจจุบัน เรียกกันว่าอิสรภาพทางการเงิน (Financial Independence) นั่นเอง ผมได้เขียนอธิบายเรื่องนี้ในหนังสือเล่มที่แล้ว (‘ทุนแห่ง ความสุข’) และแบ่งพื้นฐานของความสุขออกเป็นทุน 3 อย่าง นั่นคือ ทุนการเงิน ทุนมนุษย์ และทุนสังคม (ภาพที่ 1) คำานำา AW Skill 1-336.indd 3 AW Skill 1-336.indd 3 3/27/24 10:29 3/27/24 10:29
  • 3. สิ่งที่ผมคิดว่าเป็นเรื่องใหม่ซึ่งไม่เคยมีมาก่อนก็คือ เรา สามารถนิยามความสุขได้อย่างเป็นกลาง ถ้ามีทุนทั้งสามอย่าง ก็จะมีความสุข แต่ถ้าไม่มีเลยสักอย่าง ก็จะไม่มีความสุข ทุกคน ล้วนอยู่ในสเปกตรัมที่ว่านี้ แต่คงจะมีคนจำานวนไม่น้อยที่มีทรัพย์สินมากมาย ประสบความสำาเร็จในหน้าที่การงาน มีชื่อเสียงในสังคม แต่ กลับรู้สึกไม่มีความสุข อย่างไรก็ตาม คนกลุ่มนี้ตามคำานิยาม ข้างต้นถือว่า “มีความสุข” ในทางกลับกัน อาจมีบางคนที่คิดว่าตัวเองมีความสุข แม้จะถังแตก ไม่มีงานทำา และใช้ชีวิตอยู่คนเดียวอย่างโดดเดี่ยว โดยที่ไม่มีครอบครัวหรือเพื่อนฝูง แต่สำาหรับกรณีนี้ ตามคำา นิยามจะเรียกว่า “ไม่มีความสุข” คุณอาจจะคิดว่า “นี่ฟังดูแปลก” แต่การแยกความสุข ออกจากความคิดเห็นส่วนตัวจะช่วยให้เราพูดถึงความสุขได้ อย่างเป็นกลาง และหนังสือเล่มนี้ก็อยากจะแสดงให้คุณเห็น ถึงพื้นฐานของความสุขที่ชัดเจนยิ่งขึ้นจากกรอบของ “ความมี เหตุผล” ภาพที่ 1 ทุนแห่งความสุข 3 อย่างกับชีวิตที่เป็นอิสระ ชีวิตที่เปนอิสระ ทุนมนุษย ทุนสังคม ทุนการเงิน AW Skill 1-336.indd 4 AW Skill 1-336.indd 4 3/27/24 10:29 3/27/24 10:29
  • 4. เรานิยามความมีเหตุผลว่าเป็น “การได้รับผลตอบแทน (Return) มากกว่าทรัพยากร (Resource) ที่ลงทุนไป” ใครๆ ก็คงทราบว่า ถ้าลงทุนไป 100 เยน แล้วได้กลับมา 110 เยน ย่อมสมเหตุสมผลกว่าได้คืนมาแค่ 100 เยน อย่างไรก็ตาม บทบาทของความมีเหตุผลจะแตกต่าง กันไปตามทุนแต่ละประเภท หากเราลากเส้นเฉียงขึ้นที่ชื่อว่า “ความมีเหตุผล”ลงในภาพที่ 1 ก็จะได้เป็นภาพที่ 2 การใช้ทุนการเงินคือการลงทุนในตลาดการเงินเพื่อให้ได้ ผลกำาไรกลับมา ซึ่งส่วนใหญ่อธิบายได้โดยใช้ทฤษฎีการตัดสินใจ อย่างมีเหตุผล (ทฤษฎีการเงิน) ตามหลักการแล้ว “แม้ว่าจะ ขาดทุน แต่ยังถือเป็นการลงทุนที่ดี” นั้นแทบเป็นไปไม่ได้เลย แต่กระนั้นก็ยังมีข้อยกเว้นอยู่ ไว้เราค่อยมาอธิบายอย่างละเอียด กันหลังจากนี้นะครับ แต่ในทฤษฎีการเงิน การจะพิสูจน์ว่าบ้าน เป็น “การลงทุนอสังหาริมทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนสูง” นับเป็น เรื่องยาก แต่ก็คงมีคนจำานวนไม่น้อยที่ยอมเสี่ยงซื้อบ้านเป็นของ ตนเองเพราะมันคือความฝัน (ที่อธิบายไม่ได้ด้วยเหตุผล) เช่นกัน ภาพที่ 2 ลากเส้นความมีเหตุผลเพิ่มลงไปบนทุนแห่งความสุข 3 อย่าง ทุนมนุษย ทุนสังคม ทุนการเงิน ความ มีเหตุผล ชีวิตที่เปนอิสระ AW Skill 1-336.indd 5 AW Skill 1-336.indd 5 3/27/24 10:29 3/27/24 10:29
  • 5. การใช้ทุนมนุษย์ หมายถึง การลงทุนลงแรงของแต่ละ บุคคลในตลาดแรงงานเพื่อให้ได้ผลตอบแทน แต่ก็ไม่อาจพูดได้ เต็มปากว่า “งานที่ให้รายได้ต่อหน่วยเวลากมากกว่าจะเป็นงาน ที่ดี” เพราะยังมีปัจจัยอื่นนอกเหนือจากเรื่องเงิน เช่น ความ พึงพอใจในการทำางาน การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติ คุณค่าทาง สังคมที่นับว่ายังมีอิทธิพลอย่างมากต่อการเลือกงาน แต่กระนั้น ความคิดในอุดมคติที่ว่า “ความพึงพอใจในการทำางานคือ ทุกอย่าง”นั้น ไม่ช้าก็เร็วคงล้มเหลวลง เมื่อพูดถึงทุนมนุษย์ เรา อาจจำาเป็นต้องคำานึงถึงเหตุผลทางเศรษฐศาสตร์ด้วยครึ่งหนึ่ง หรือมากกว่านั้น ทุนสังคม หมายถึง เครือข่ายหรือ “สายสัมพันธ์” และ ความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของสังคม พวกเราแยกความรู้สึกรักหรือ มิตรภาพออกจากเรื่องผลประโยชน์อยู่แล้วโดยธรรมชาติ การให้ แหวนเพชรเป็นของขวัญหลังมีเพศสัมพันธ์คือความรู้สึกรัก แต่ ถ้าเปลี่ยนเป็นให้เงิน 10,000 เยน จะกลายเป็นการซื้อบริการ ทางเพศไปในทันที อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีปัจจัยของ ความมีเหตุผลอยู่เลยในการเลือกคู่ครองและการเลือกคบเพื่อน ในทฤษฎีเครือข่ายกล่าวว่า คุณคือค่าเฉลี่ยของเพื่อนที่สนิทที่สุด 5 คน แม้จะไม่รู้จักอีกฝ่ายเลย แต่เราก็สามารถตัดสินเรื่อง ส่วนใหญ่ของคนคนนั้นได้ เพียงแค่ดูจากความสัมพันธ์ทาง สังคมของเขา AW Skill 1-336.indd 6 AW Skill 1-336.indd 6 3/27/24 10:29 3/27/24 10:29
  • 6. Part 1 ของหนังสือเล่มนี้เป็นส่วนทฤษฎีซึ่งจะอธิบายว่า “การเลือกอย่างมีเหตุผล” หมายถึงอะไร จากนั้น ใน Part 2 จะวิเคราะห์ว่า การวางแผน “ทุนแห่งความสุข 3 อย่าง” อย่าง มีเหตุผลนั้นควรทำาอย่างไร หากเรามีเวทีที่มั่นคง คุณจะเลือกแสดงอะไรบนเวทีก็ได้ ทางเลือกของคุณขยายออกไปได้กว้างมากขึ้น และในหนังสือ เล่มนี้ ผมอยากนิยามว่า การมี “พื้นฐานที่แข็งแกร่ง” เท่ากับ “ความสำาเร็จ” เมื่อได้ออกแบบพื้นฐานของชีวิตอย่างมีเหตุผลแล้ว คราวนี้คุณก็จะสานต่อเรื่องราวของชีวิตให้เป็นอย่างที่ต้องการ ได้อย่างอิสระ ต่อให้มันจะไร้เหตุผลโดยสิ้นเชิงก็ไม่เป็นไร เพราะ ถึงอย่างไร คุณก็จะเป็น“ผู้ที่ประสบความสำาเร็จ”อยู่ดี AW Skill 1-336.indd 7 AW Skill 1-336.indd 7 3/27/24 10:29 3/27/24 10:29
  • 7. Part 1 [ภาคทฤษฎีี] ความรู้้�พื้้�นฐานของความมีเหตุุผล 9 1 ประสิทธิภาพต่อต้นทุน เวลา และความเสี่ยง 10 2 การนอนหลับและการเดินเล่น คือการพัฒนาตัวเองที่สำาคัญที่สุด 36 3 ความมีเหตุผลเชิงวิวัฒนาการ กับความมีเหตุผลเชิงตรรกะ 62 4 การตัดสินใจที่นำาไปสู่ความสำาเร็จ 95 Part 2 [ภาคปฏิิบััตุิ] กลยุุทธ์์ในการู้ออกแบับัชีีวิตุ อยุ่างมีเหตุุผล 137 5 ทุน 3 อย่าง กับรูปแบบชีวิต 8 แบบ 138 6 กฎแห่งความสำาเร็จของทุนการเงิน 154 7 กฎแห่งความสำาเร็จของทุนมนุษย์ 201 8 กฎแห่งความสำาเร็จของทุนสังคม 255 บัทส่่งท�ายุ 304 คำาแถลงท�ายุเล่ม 330 สาร้บัญ AW Skill 1-336.indd 8 AW Skill 1-336.indd 8 3/27/24 10:29 3/27/24 10:29
  • 8. P A R T 1 1 [ภาคทัฤษฎีี] ควิามร้้้พื้้�นฐาน ของควิามมีเหตุผล AW Skill 1-336.indd 9 AW Skill 1-336.indd 9 3/27/24 10:29 3/27/24 10:29
  • 9. 10 ทัักษะออกแบบชีีวิิต ทัี�ใชี้ได้้ตลอด้ชีีวิิต 1 ปร้ะสิทัธิิภาพื้ต่อต้นทัุน เวิลา และควิามเสี�ยง เจฟฟ์ เบโซส์ ผู้ก่อตั้ง Amazon ตื่นแต่เช้าและเข้านอน แต่หัววันเป็นกิจวัตร ในช่วงเช้า เขาจะอ่านหนังสือพิมพ์และใช้ ชีวิตไปตามสบาย ก่อนที่การประชุมแรกจะเริ่มตอน 10 โมงเช้า และพอ 5 โมงเย็น เขาก็จะเลิกงาน สำาคัญที่สุดคือ เขาจะต้อง เข้านอนตอน 2 ทุ่มเสมอ “หากนอนหลับสนิทดี สมองจะแล่น มีเรี่ยวแรง แล้วก็จะอารมณ์ดีขึ้นด้วย” เขาบอก1 สมมุติว่าในหนึ่งวัน เรานอนได้ 6 ชั่วโมง หรืออย่างน้อย ที่สุด 4 ชั่วโมง เช่นนั้นเราจะได้เวลาเพิ่มขึ้น 4 ชั่วโมง ถ้าที่ผ่านมา เราทำางานวันละ 12 ชั่วโมง เราก็จะมีเวลาทำางานเพิ่มเป็น 16 ชั่วโมง เท่ากับเรามีเวลาตัดสินใจเพิ่มขึ้นมาอีก 33% ถ้าที่ ผ่านมาเราตัดสินใจได้ 100 เรื่อง จากนี้เราจะตัดสินใจได้เพิ่ม อีก 33 เรื่อง 1 เจฟฟ์ เบโซส์, วอลเตอร์ ไอแซคสัน ‘Invent and Wander: The Collected Writings of Jeff Bezos, With an Introduction by Walter Isaacson’ AW Skill 1-336.indd 10 AW Skill 1-336.indd 10 3/27/24 10:29 3/27/24 10:29
  • 10. 11 บทท่� 1 ประสิิทธิิภาพต่่อต่้นทุน เวลา และความเสิ่�ยง แต่ประสิทธิภาพในการตัดสินใจจะลดลงเพราะเรา เหนื่อยล้าหรือหมดแรงจากการอดนอน คำาถามคือมันคุ้มค่ากับ เวลาทำางานที่ได้มาหรือเปล่า สิ่งที่จะกล่าวต่อไปในหนังสือเล่มนี้ก็เหมือนกับเรื่องที่เล่า ไปข้างต้น แน่นอนว่าเบโซส์ที่มีสินทรัพย์ 15 ล้านล้านเยนกับตัว ผมนั้นแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ผมไม่ใช่ผู้ก่อตั้งบริษัทระดับโลก ไม่เคยท่องอวกาศ (และไม่เคยคิดอยากไปด้วย) แต่ถึงอย่างนั้น เราก็ยังมีจุดที่เหมือนกัน นั่นก็คือ “ข้อจำากัดทางวิวัฒนาการ และข้อจำากัดทางชีวภาพ” มนุษย์ทุกคนเป็นสิ่งมีชีวิตในสปีชีส์เดียวกัน จึงมีข้อจำากัด เหมือนๆ กันในคนทุกคน ไม่ว่าจะขุนนาง ข้าทาส มหาเศรษฐี หรือยาจก โดยสามารถแบ่งออกกว้างๆได้เป็นข้อจำากัด 3 อย่าง ดังนี้ 1. ข้อจำากัดทางกายภาพ: ตราบใดที่ไม่ใช่ในความฝัน หรือในโลกจำาลองเสมือนจริง (VR) มนุษย์เราบินไม่ได้้ 2. ข้อจำากัดทางทรัพยากร: มนุษย์เรามีทรัพยากรที่ ลงทุนได้จำากัดมาก เจฟฟ์ เบโซส์ อาจใช้เงินได้แทบไม่จำากัด เพื่อสิ่งที่เขาต้องการ แต่ไม่ว่าอย่างไร 1 วันของเขาก็มีแค่ 24 ชั่วโมง และถ้าคิดจะประสบความสำาเร็จ เขาจำาเป็นจะต้อง นอนให้ได้วันละ 8 ชั่วโมง ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ล่าสุดที่จะ ได้กล่าวต่อไปแสดงให้เห็นว่า ถ้าต้องการเพิ่มประสิทธิภาพ ในการทำางานหรือการเรียนให้สูงสุด เงื่อนไขที่สำาคัญคือต้อง AW Skill 1-336.indd 11 AW Skill 1-336.indd 11 3/27/24 10:29 3/27/24 10:29
  • 11. 12 ทัักษะออกแบบชีีวิิต ทัี�ใชี้ได้้ตลอด้ชีีวิิต นอนหลับให้เพียงพอ 3. ข้อจำากัดทางสังคม: เป็นข้อจำากัดที่เข้มงวดสุดใน 3 ข้อ เพราะมนุษย์ดำารงอยู่ในสังคม (ชุมชน) จึงต้องคำานึงถึง ความคิดเห็นของมนุษย์คนอื่นอยู่เสมอ อย่างเบโซส์ที่มีอำานาจ ยิ่งใหญ่ เขาก็ไม่อาจละเมิดศีลธรรมของสังคมได้ ลองคิดดูว่า ถ้าใช้ความมั่งคั่งสร้างฮาเร็มจะเกิดอะไรขึ้น ควิามสุขมาจากควิามมีเหตุผล เชีิงวิิวิัฒนาการ้เทั่านั�น เทพเจ้ามีทรัพยากรไม่จำากัด ดังนั้นเทพเจ้าจึงไม่จำาเป็น ต้องเลือกทำาแค่บางอย่าง แต่สามารถทำาได้ทุกอย่างที่ต้องการ แต่สำาหรับมนุษย์แล้ว ทรัพยากรที่มีอย่างจำากัดนี้ทำาให้เรา จำาเป็นต้องตัดสินใจเลือก เรียกว่า “การเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง” การเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง คือการไม่สามารถบรรลุ ผลลัพธ์ที่ต้องการทั้งหมดได้ สมมุติว่าแอปเปิลกับส้มต่างก็ราคา 100 เยน และเรา เหลือเงินในกระเป๋าแค่ 100 เยน ในสถานการณ์เช่นนี้ ด้วย ข้อจำากัดทางทรัพยากรคือเงิน 100 เยน เราจึงไม่สามารถสนอง ความต้องการ “กินทั้งแอปเปิลและส้ม” ได้ หมายความว่า เรา ต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่งระหว่างแอปเปิลกับส้ม ชีวิตของพวกเราล้วนอยู่บนเงื่อนไข ของการเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง AW Skill 1-336.indd 12 AW Skill 1-336.indd 12 3/27/24 10:29 3/27/24 10:29
  • 12. 13 บทท่� 1 ประสิิทธิิภาพต่่อต่้นทุน เวลา และความเสิ่�ยง หลักการนี้จะสอดแทรกอยู่ในหนังสือเล่มนี้ตลอดทั้งเล่ม ปัญหาที่แก้ไขได้จะได้รับการแก้ไขทั้งหมด ดังนั้นปัญหา ที่เหลืออยู่จึงเป็นปัญหาที่ไม่สามารถแก้ไขได้โดยง่ายเพราะ มีข้อจำากัดบางอย่าง หรือก็คือ ต้องเลือกอย่างหนึ่งเพื่อเสีย อีกอย่างไป การตัดสินใจเลือกแบ่งได้เป็น “การสร้างประสิทธิผล ระยะสั้น” และ “การสร้างประสิทธิผลระยะยาว” การยัดเค้ก ที่ดูน่าอร่อยบนโต๊ะเข้าปากคือการสร้างประสิทธิผลระยะสั้น แต่การอดทนลดความอ้วนเพื่อสุขภาพคือการสร้างประสิทธิผล ระยะยาว จุดเด่นของการสร้างประสิทธิผลระยะสั้นคือ ทำาให้ระดับ ความสุขสูงขึ้น ซึ่งจะเข้าไปกระตุ้นกลไกการให้รางวัลของสมอง ทำาให้เรารู้สึกมีความสุขมาก ในทางกลับกัน การสร้างประสิทธิ- ผลระยะยาวไม่ได้ให้ความสุข บางครั้งอาจเรียกได้ว่าเป็นความ รู้สึก“เย็นชา” “ไร้ชีวิตชีวา” แต่ในอนาคตจะก่อให้เกิดความสุข (ผลพลอยได้) ที่มากที่สุด เราอาจเรียกการสร้างประสิทธิผลระยะสั้นว่าเป็น“ความ มีเหตุผลเชิงวิวัฒนาการ” ส่วนการสร้างประสิทธิผลระยะยาว เรียกว่า “ความมีเหตุผลเชิงตรรกะ” ซึ่งเรามักต้องอยู่บน ทางแยกระหว่างความมีเหตุผล 2 อย่างนี้เสมอ และส่วนใหญ่ แล้ว เรามักเลือกตัวเลือกที่มีแนวโน้มจะให้ความสุขมากกว่า (ความมีเหตุผลเชิงวิวัฒนาการ) แต่แท้จริงแล้ว การเลือกทาง ที่ให้ความสุขตำ่ากว่า (ความมีเหตุผลเชิงตรรกะ) กลับให้ AW Skill 1-336.indd 13 AW Skill 1-336.indd 13 3/27/24 10:29 3/27/24 10:29
  • 13. 14 ทัักษะออกแบบชีีวิิต ทัี�ใชี้ได้้ตลอด้ชีีวิิต ผลกำาไรที่ยิ่งใหญ่กว่า “การเลือกอย่างมีเหตุผล” หมายถึงการทำาให้ความ มีเหตุผลเชิงตรรกะสอดคล้องกัน (กำาจัดความมีเหตุผลเชิง วิวัฒนาการออกไป) โดยไม่หวั่นไหวกับการรับรู้ต่างๆที่บิดเบี้ยว แน่นอนว่านี่ไม่ใช่เรื่องผิด แต่ก็เป็นการละเลยธรรมชาติของ มนุษย์เช่นกัน เพราะความสุขได้มาจากความมีเหตุผลเชิง วิวัฒนาการเท่านั้น เราต้อง “เลือก” เพราะเรามีทรัพยากรจำากัด จุดประสงค์ ในการเลือกก็คือ “การจัดสรรทรัพยากรอย่างเหมาะสมที่สุด เพื่อเพิ่มระดับความสุข (ประสิทธิผล) ให้สูงที่สุดแก่ตัวเอง ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว” ทว่าจุดประสงค์นี้บรรลุไม่ได้ ง่ายๆ เพราะมันขัดแย้งกันตั้งแต่แรกแล้ว จึงเป็นเรื่องธรรมดา ที่จะกล่าวว่า “การจะได้บางอย่าง จำาเป็นต้องเสียอีกอย่างไป” เร้าแก้ไข “ปัญหาแร้งโน้มถ่วิง” ไม่ได้้ สิ่งที่ควรทำาความเข้าใจเป็นอันดับแรกในการตัดสินใจ เลือกคือ “ปัญหาแรงโน้มถ่วง” บิล เบอร์เนทท์ และเดฟ อีแวนส์ เจ้าของหลักสูตรการออกแบบชีวิตอันโด่งดังแห่งมหาวิทยาลัย สแตนฟอร์ด2 อธิบายไว้ดังนี้ “ฉันกลุ้มใจเพราะเจอปัญหาใหญ่อยู่แหละ” “ปัญหาแบบไหนเหรอ” 2 บิล เบอร์เนทท์ และเดฟ อีแวนส์ ‘Designing Your Life’ AW Skill 1-336.indd 14 AW Skill 1-336.indd 14 3/27/24 10:29 3/27/24 10:29
  • 14. 15 บทท่� 1 ประสิิทธิิภาพต่่อต่้นทุน เวลา และความเสิ่�ยง “แรงโน้มถ่วง” “แรงโน้มถ่วง?” “ใช่ รู้สึกแปลกๆ น่ะ! เหมือนร่างกายค่อยๆ หนักขึ้น ตอนปั่นจักรยานขึ้นเนินก็ลำาบากมากเลย ทำายังไงก็ไม่หาย คิด ว่าฉันควรทำายังไงดี” ปัญหาเรื่องแรงโน้มถ่วง ตามหลักการแล้วเป็นปัญหา ที่แก้ไขไม่ได้ เพราะเราควบคุมแรงโน้มถ่วงไม่ได้ ดังนั้นเราจึง แนะนำาทางแก้ตามอาการได้เพียงว่า “งั้น ไม่ลองใช้จักรยาน ไฟฟ้าดูล่ะ”เท่านั้น เบอร์เนทท์และอีแวนส์บอกว่า พวกเขาได้ยิน “ปัญหา แรงโน้มถ่วง”ทำานองนี้ตลอดเวลา “เป็นนักประพันธ์ในอเมริกาน่ะ ไม่มีอันจะกินหรอก สถานะทางสังคมก็ตำ่า ควรทำาไงดี” “บริษัทที่ฉันทำางานอยู่เป็นธุรกิจครอบครัว บริหารโดย ตระกูลเดียวมาตลอด 5 รุ่นแล้ว คนนอกอย่างฉันไม่มีทางขึ้นไป เป็นผู้บริหารได้หรอก ทำายังไงดี” “ตกงานมาตั้ง 5 ปีแล้ว การหางานมีแต่จะยากขึ้นเท่านั้น ไม่แฟร์เลย ทำายังไงดี” “อยากเรียนต่อหมอ แต่ต้องใช้เวลาอย่างตำ่า 10 ปีเลย อายุขนาดนี้แล้ว ไปเสียเวลาขนาดนั้นไม่ได้หรอก ควรทำายังไง ล่ะ” AW Skill 1-336.indd 15 AW Skill 1-336.indd 15 3/27/24 10:29 3/27/24 10:29
  • 15. 16 ทัักษะออกแบบชีีวิิต ทัี�ใชี้ได้้ตลอด้ชีีวิิต ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ไม่ว่าเรื่องไหนก็ไม่ใช่ปัญหาที่แท้จริง ปัญหาที่จัดการไม่ได้ไม่ใช่ “ปัญหา” แต่เป็นสถานการณ์ สภาพแวดล้อม และเป็นความจริง “เมื่อมนุษย์และความจริง ต้องมาต่อสู้กัน ฝ่ายที่จะชนะร้อยเปอร์เซ็นต์คือความจริง เรา ไม่สามารถเอาชนะความเป็นจริงได้ ความจริงเป็นสิ่งที่หลอกกัน ไม่ได้ เราบิดเบือนความเป็นจริงตามต้องการไม่ได้” ดังนั้น แทนที่เราจะท้าทายด้วยการเปลี่ยนแปลงโลก (เช่น การปฏิวัติ) เราควรยอมรับว่ามันเป็นเงื่อนไขเสียดีกว่า ถ้าเป็นนักประพันธ์แล้วไม่มีอันจะกิน เราก็ไปทำางานอื่น แล้วเขียนบทกวีเป็นงานอดิเรก หรือเมื่อลูกดูแลตัวเองได้แล้ว เราค่อยกลับไปเรียนต่อมหาวิทยาลัยอย่างจริงจัง และอาศัย เงินบำานาญสร้างผลงานหรือไปบรรยายก็ได้ ถ้าทำางานอยู่ในบริษัทที่เป็นธุรกิจครอบครัว แทนที่จะคิด ปฏิรูปองค์กร เราก็เปลี่ยนงานใหม่ หรือไม่ก็กลับไปคิดถึงข้อดี ของธุรกิจครอบครัวเสีย (เช่น มีตำาแหน่งหน้าที่การงานที่มั่นคง ไปจนเกษียณ) แล้วออกแบบการทำางานกับการใช้ชีวิตให้สมดุล กัน (Work-Life Balance) ถ้าว่างงานมาแล้วถึง 5 ปี การกลับไปทำางานอีกครั้ง ด้วยประวัติการทำางานที่ขาดช่วงไปถือเป็นเรื่องยาก ถ้าอย่างนั้น แทนที่จะเสียเวลาส่งเรซูเม่ไปสมัครงานในอุดมคติ ลองเปลี่ยน มาเป็นทำางานอะไรสักอย่างดูก่อน รวมถึงงานอาสาสมัคร (ที่ ไม่ได้รับค่าตอบแทน) เพื่อเขียนลงในเรซูเม่ เราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงความจริงที่ว่าต้องใช้เวลาถึง AW Skill 1-336.indd 16 AW Skill 1-336.indd 16 3/27/24 10:29 3/27/24 10:29
  • 16. 17 บทท่� 1 ประสิิทธิิภาพต่่อต่้นทุน เวลา และความเสิ่�ยง สิบปีกว่าจะได้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพแพทย์ได้ จึงทำาได้ เพียงตัดสินใจว่ามันคุ้มค่ากับเวลาหรือไม่ หากคิดว่าคุ้ม ก็สอบ เข้าเรียนแพทย์ แต่ถ้าคิดว่าไม่คุ้ม ก็เปลี่ยนไปเรียนต่อสาย สุขภาพสาขาอื่นๆหรือทำางานในโครงการด้านสุขภาพของบริษัท ประกันก็ได้นี่ ความทุกข์ในการพยายามแก้ปัญหาที่ไม่สามารถแก้ ได้นั้น นับว่าเปลืองเวลาชีวิต การ้มีทัางเล้อกเยอะ ไม่ได้้หมายควิามวิ่าชีีวิิตจะมั�งคั�ง ในการเลือกทุกครั้งจะเกิดต้นทุน 2 อย่างเสมอ อย่างแรกคือ ต้นทุนในการคิดประมวลผล สมองเป็น อวัยวะที่ต้องใช้พลังงานมาก ดังนั้นมันจึงถูกตั้งค่าไว้ว่า “คิดให้ น้อยที่สุด” ซึ่งในการเลือกแต่ละครั้งเราจะต้องเปลี่ยนแปลงการ ตั้งค่านี้อย่างมีสติ เพราะมีต้นทุนในการคิดประมวลผลเกิดขึ้น ในการเลือกทุกครั้ง เมื่อต้องเผชิญหน้ากับการเลือกหลายครั้ง และต้องเลือกอยู่ตลอดเวลา ผลก็คือทำาให้สมองเหนื่อยล้า ส่วนต้นทุนอีกอย่างคือ ค่าเสียโอกาส “หากเราเลือก สิ่งหนึ่ง เราจะต้องเสียอีกสิ่งหนึ่งไป” ภายใต้ข้อจำากัดทาง ทรัพยากรที่มีเงินอยู่เพียง 100 เยน ถ้าเลือกแอปเปิล เราจะ พลาดโอกาสในการกินส้มไป (หรือไม่ก็เป็นไปในทางกลับกัน) การเลือกอย่างใดอย่างหนึ่งนี้มักทำาให้เกิดค่าเสียโอกาส อยู่เสมอ AW Skill 1-336.indd 17 AW Skill 1-336.indd 17 3/27/24 10:29 3/27/24 10:29
  • 17. 18 ทัักษะออกแบบชีีวิิต ทัี�ใชี้ได้้ตลอด้ชีีวิิต “การเลือกที่ดี” หมายถึงการเลือกที่เสียต้นทุนในการคิด ประมวลผลและค่าเสียโอกาสน้อยที่สุด และตามหลักการแล้ว การทำาให้ต้นทุนในการเลือกเป็นศูนย์นั้นเป็นไปไม่ได้เลย เมื่อคิดตามนี้แล้ว เราก็จะตกผลึกหลักการสำาคัญในการ ประสบความสำาเร็จ ยิ่งจำาเป็นต้องเลือกน้อยเท่าไร ชีวิตยิ่งมั่งคั่งขึ้นเท่านั้น คำากล่าวนี้สมเหตุสมผล เพราะถ้าเราไม่ค่อยตกอยู่ใน สถานการณ์บังคับให้ต้องเลือก ต้นทุนในการเลือก (ต้นทุนใน การคิดประมวลผลกับค่าเสียโอกาส) ก็น้อยลง ผลตอบแทนก็ยิ่ง เพิ่มขึ้น เมื่อเรานำาทรัพยากรนั้นไปลงทุนในสิ่งที่สำาคัญกับชีวิต มากกว่า เราก็ยิ่งประสบความสำาเร็จทั้งทางสังคมและเศรษฐกิจ และชีวิตก็จะยิ่งมั่งคั่งขึ้น ในทางกลับกัน ถ้าเราถูกบังคับให้ต้อง เลือกอยู่ตลอดเวลา ความสุขในชีวิตจะลดลงอย่างมาก เมื่อคิดอย่างมีเหตุผลแล้ว วิธีที่จะลดการต้องเลือก อย่างใดอย่างหนึ่งระหว่างแอปเปิลกับส้มอย่างชาญฉลาดนั้น คือการมองหาคนที่มีข้อจำากัดแบบเดียวกันคือมีเงินแค่ 100 เยน แล้วให้คนหนึ่งซื้อแอปเปิล ส่วนอีกคนซื้อส้ม จากนั้นค่อยเอา ทั้งสองอย่างมาแบ่งกันคนละครึ่ง เท่านี้ก็จะได้กินทั้งแอปเปิล และส้ม อย่างไรก็ตาม ยังมีวิธีที่ง่ายและมีประสิทธิภาพกว่านั้น คือ การใส่เงิน 200 เยนลงในกระเป๋าสตางค์แล้วไปซื้อของ AW Skill 1-336.indd 18 AW Skill 1-336.indd 18 3/27/24 10:29 3/27/24 10:29
  • 18. 19 บทท่� 1 ประสิิทธิิภาพต่่อต่้นทุน เวลา และความเสิ่�ยง แค่นี้เราก็จะตัดข้อจำากัดทางทรัพยากรออกไปได้ และไม่จำาเป็น ต้องเลือก จากนี้ผมจะอธิบายและเปิดเผยหลักการอย่างหมด เปลือก กลยุทธ์ที่ง่ายที่สุดที่จะหลีกหนีจากการเลือก คือการเป็นคนรวย แน่นอน ผมไม่ได้กำาลังบอกว่า “หากไม่ได้เป็นมหาเศรษฐี คุณไม่มีทางมีความสุขหรอก” เพียงแต่ ถ้าคุณไม่เดือดร้อนเรื่อง เงิน คุณก็ไม่จำาเป็นต้องดูป้ายราคาตามแผงอาหารในซูเปอร์ มาร์เก็ต แล้วก้มหน้าปรึกษากับเงินในกระเป๋าสตางค์ตัวเอง คุณ สามารถหยิบของที่อยากกินลงในตะกร้า จ่ายเงิน แล้วออกจาก ร้านได้เลย เท่านี้ความสุขในแต่ละวันของคุณจะเพิ่มขึ้นแน่นอน “การ้ไม่มีเวิลา” เทัียบเทั่ากับ “การ้ไม่มีเงิน” ทรัพยากรอีกอย่างที่สำาคัญนอกจากเงิน คือ “เวลา” ตามทฤษฎีแล้ว ข้อจำากัดทางทรัพยากรแก้ไขได้ด้วยการเพิ่ม ทรัพยากร แต่การเพิ่มเวลาเกี่ยวโยงกับเรื่องกายภาพและ ชีวภาพด้วย จึงไม่มีวิธีใดแก้ไขได้มาแต่ไหนแต่ไรแล้ว ดูเหมือนว่าสมองเราไม่ได้แยกความแตกต่างระหว่าง “ไม่มีเงิน” กับ “ไม่มีเวลา” เพราะทั้งสองปัญหานี้จะเข้าไป กระตุ้นสมองแบบเดียวกับ“ตอนที่เราไม่มีอะไรกิน”เหมือนกัน AW Skill 1-336.indd 19 AW Skill 1-336.indd 19 3/27/24 10:29 3/27/24 10:29
  • 19. 20 ทัักษะออกแบบชีีวิิต ทัี�ใชี้ได้้ตลอด้ชีีวิิต เมื่อเรามีอาหารเพียงพอกับความต้องการ เราไม่จำาเป็น ต้องกังวลเรื่องการขาดแคลนอาหาร สุดท้ายโรคอ้วน (กินมาก เกินไป) จึงกลายมาเป็นปัญหาที่รุนแรงในประเทศที่พัฒนา แล้ว ถึงกระนั้น นี่เป็นสิ่งที่เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อไม่นานนี้เอง ตลอด ประวัติศาสตร์หลายล้านปี ไม่เพียงเฉพาะของมนุษย์ (โฮโม เซเปียนส์) แต่ยังรวมถึงของสายพันธุ์มนุษย์ก่อนหน้านั้น ความ หิวโหยถือเป็นความเสี่ยงที่เลวร้ายที่สุด เนื่องจากสมองคนเรามีวิวัฒนาการมาในโลกที่อาหาร ขาดแคลน ดังนั้นแม้ในโลกที่มีอาหารอุดมสมบูรณ์ ถ้าสมอง รู้สึกหิวขึ้นมาแม้เพียงนิดเดียว มันจะส่งเสียงเตือนอย่างสุด กำาลังว่า “ถ้าปล่อยไว้แบบนี้ ตายแน่!” และนี่เป็นเหตุผลว่า ทำาไมการลดความอ้วนถึงมักล้มเหลว นั่นเพราะเวลาที่เราตั้งใจ ว่า “จะผอม” ส่วนใหญ่แล้วเราจะเอาชนะ “ความกลัวตาย” ที่เกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัวไม่ได้ พันธุกรรมเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้ช้ามาก แม้ว่า สภาพแวดล้อมได้เปลี่ยนไปแล้ว แต่มันไม่สามารถเพิ่มคำาสั่ง ใหม่ๆ ให้สมองไปเรื่อยๆ ได้ แม้จะเผชิญกับการเปลี่ยนแปลง ครั้งใหญ่ มันก็ตอบสนองแบบเดิม เมื่อมนุษย์เริ่มปลูกพืชผักเป็นอาหาร ก็เริ่มเก็บตุน ธัญพืชไว้ให้กินได้นานๆ และว่ากันว่าเงินตราก็เริ่มถูกนำามาใช้ แลกเปลี่ยนอาหารตั้งแต่เมื่อประมาณ 3,500 ปีก่อน แม้ว่า ความกลัว “การไม่มีอาหาร” ของมนุษย์จะมีมาตั้งแต่ก่อนหน้า นั้น แต่กับประสบการณ์ “การไม่มีเงิน” นั้น มนุษย์ไม่น่าจะเคย AW Skill 1-336.indd 20 AW Skill 1-336.indd 20 3/27/24 10:29 3/27/24 10:29
  • 20. 21 บทท่� 1 ประสิิทธิิภาพต่่อต่้นทุน เวลา และความเสิ่�ยง มีมาก่อน แต่หลังจากนั้น เงินก็ได้กลายเป็นปัจจัยสำาคัญในการ ดำารงชีวิตมากขึ้นเรื่อยๆ ในระบบเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยเงิน การไม่มีเงินอาจทำาให้เราตายได้จริงๆ ดังนั้นสมองของเราจึง รับมือกับ“การไม่มีเงิน”แบบเดียวกับ“การไม่มีอาหาร” ต่อมาแม้จะเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อน ด้วยเงินแล้ว แต่ก็ยังไม่มีประสบการณ์ที่เรียกว่า “ไม่มีเวลา” ใน ประวัติศาสตร์ของมนุษย์ ทุกวันเราจะทำากิจวัตรตามแบบแผน เดิมซำ้าๆ ระหว่างนั้นเราก็จะเติบโต แต่งงาน มีลูก เลี้ยงดูลูก และแก่ตายไป ไม่ว่าจะในสมัยเอโดะ (ค.ศ. 1603-1868) หรือในยุค กลางของยุโรป (ค.ศ. 476-1453) ทั้งซามูไร เหล่าขุนนาง หรือ ราชวงศ์ ต่างใช้เงินมหาศาลและใช้เวลาหลายวัน (บางกรณีอาจ หลายเดือน) ไปกับพิธีการต่างๆเช่น พิธีราชาภิเษก การสืบสกุล งานแต่งงาน เป็นต้น และพวกเขาเหล่านั้นไม่น่าจะรู้สึกว่า“ไม่มี เวลา”แม้แต่น้อย อย่างไรก็ตาม นับตั้งแต่การปฏิวัติอุตสาหกรรม ขณะที่ สังคมแห่งปัญญาก้าวหน้าไป นักเรียนในโรงเรียนและมนุษย์ งานในที่ทำางานก็เริ่มจำาเป็นต้องทำางานบางอย่างให้เสร็จ ภายในเวลาที่กำาหนด เราอาจคิดว่ามันเป็นเรื่องปกติ แต่นี่ นับเป็นสถานการณ์ใหม่สำาหรับมนุษย์ คนในยุคปัจจุบันเพิ่งได้สัมผัสกับประสบการณ์ที่ไม่เคย มีมาก่อนที่เรียกว่า “เวลาไม่พอ” และเป็นเรื่องปกติที่สมองจะ AW Skill 1-336.indd 21 AW Skill 1-336.indd 21 3/27/24 10:29 3/27/24 10:29
  • 21. 22 ทัักษะออกแบบชีีวิิต ทัี�ใชี้ได้้ตลอด้ชีีวิิต 3 เซนดิล มุลไลนาทัน, เอลดาร์ ชาเฟอร์ ‘Scarcity: Why Having Too Little Means So Much’ ตอบสนองแบบเดียวกับ “การไม่มีอาหาร” หรือ “การไม่มีเงิน” เพราะนี่เป็นเพียงกลไกเดียวที่สมองนำามาใช้ซำ้าๆเมื่อต้องประสบ กับสถานการณ์ที่“สิ่งสำาคัญขาดแคลน” เรารู้สึกว่าถูกเวลาไล่ตามอยู่ตลอดเพราะเมื่อเรามีเวลา ไม่พอ สมองจะร้องเตือนอย่างสุดกำาลังว่า “ถ้าปล่อยไว้แบบนี้ ตายแน่!” (เช่นเดียวกับตอนขาดแคลนอาหาร)3 หยุด้เสียงเต้อนทัี�บอกวิ่า “ถ้าปล่อยไวิ้แบบนี� ตายแน่!” สำาหรับสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ไม่มีอะไรสำาคัญไปกว่าการ เอาชีวิตรอด (ถ้าไม่นับการสืบพันธุ์) เมื่อสมองส่งสัญญาณเตือน ว่าให้เอาชีวิตรอด เราจะนึกอะไรไม่ออกนอกจากต้องหยุด สัญญาณนั้นให้ได้ ถ้ามีสัญญาณร้องเตือนว่า “อาหารกำาลัง ขาดแคลน” เราก็จะทำาทุกวิถีทางเพื่อหาอาหารมา (ต่อให้ต้อง แย่งของคนอื่นมาก็ตาม) เพื่อตอบสนองต่อความหิวโหยของ ตัวเอง เช่นเดียวกับเมื่อมีสัญญาณร้องเตือนว่า “เงินไม่พอ” หรือ“เวลาไม่พอแล้ว” เราจะไม่สามารถทำาอย่างอื่นได้นอกจาก ต้องจัดการกับมัน สถานการณ์เหล่านี้ไม่ต่างอะไรจากการถูก บังคับให้ขึ้นไปยืนอยู่บนขอบตึกสูงระฟ้า หรือตอนถูกปืนจ่อหัว AW Skill 1-336.indd 22 AW Skill 1-336.indd 22 3/27/24 10:29 3/27/24 10:29
  • 22. 23 บทท่� 1 ประสิิทธิิภาพต่่อต่้นทุน เวลา และความเสิ่�ยง ดังนั้นประสิทธิภาพในการทำางานหรือเรียนจึงลดลงอย่างมาก แล้วเราจะหนีจากสถานการณ์จวนตัวเช่นนี้ได้อย่างไร วิธีแก้ปัญหา “การไม่มีเงิน” ที่ทำาได้ง่ายและมีประสิทธิ- ภาพมาก คือ การหาเงินไว้ล่วงหน้า ถ้าทำาเช่นนั้นแล้ว สมอง ก็จะหยุดร้องเตือน คุณก็จะมีเวลาจัดการกับเรื่องอื่นๆ และ ประสิทธิภาพในการทำางานก็จะสูงขึ้นด้วย ว่ากันว่านี่เป็น เหตุผลหนึ่งว่าทำาไมเด็กจากครอบครัวรำ่ารวยถึงมีผลการเรียน ที่ยอดเยี่ยม ในขณะที่เด็กจากครอบครัวยากจนกลับประสบ ความล้มเหลวในโรงเรียน เราต้องอาศัยพลังและความตั้งใจในการหยุดเสียงร้อง เตือนนี้ เพื่อที่จะรักษาประสิทธิภาพให้สูงขณะที่ประสบกับ ความขาดแคลน ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า ผู้ที่เกิดมาในครอบครัว ยากจนแต่ประสบความสำาเร็จทั้งทางสังคมและเศรษฐกิจ มัก ต้องแลกมาด้วยการป่วยเป็นโรคต่างๆ เช่น โรคหัวใจ และอาจ มีอายุสั้น การใช้พลังความตั้งใจที่มากเกินจะก่อให้เกิดความ เครียด และทำาลายสุขภาพของเราในที่สุด4 การค้นพบดังกล่าวกลายมาเป็นเหตุผลอันทรงพลังใน การหาแนวทางรับมือกับความยากจน แต่ในความเป็นจริง ยัง มีคนญี่ปุ่นอีกจำานวนมาก โดยเฉพาะครอบครัวแม่เลี้ยงเดี่ยว ที่ต้องทนทุกข์ทรมานกับ“การไม่มีเงิน” 4 Gregory E. Miller et al. (2015) Self-control forecasts better psychosocial outcomes but faster epigenetic aging in low-SES youth, PNAS AW Skill 1-336.indd 23 AW Skill 1-336.indd 23 3/27/24 10:29 3/27/24 10:29
  • 23. 24 ทัักษะออกแบบชีีวิิต ทัี�ใชี้ได้้ตลอด้ชีีวิิต แน่นอนว่าสถานการณ์เช่นนี้ต้องได้รับการช่วยเหลือ จากรัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แต่หากเรื่องนี้ส่งไปไม่ถึง ผู้มีอำานาจ เราก็ต้องลงมือทำาอะไรสักอย่างแทนที่จะเฝ้ารอคอย ต่อไป และนี่เป็นเหตุผลว่าทำาไม “ต้นทุนทางการเงิน” จึงมี ความสำาคัญในฐานะพื้นฐานของความสุข ข้อเท็จจริงที่ว่าเงินผูกโยงกับความสุข ไม่ได้มาจาก (แค่) การได้กินอาหารในร้านอาหารระดับมิชลิน สวมใส่เสื้อผ้า แบรนด์เนม ใช้ชีวิตหรูหรา หรือขับรถซูเปอร์คาร์ ถ้าเรามีเงิน เพียงพอ เราจะหยุดสัญญาณเตือนเวลา “เงินไม่พอ” ได้ และ ด้วยสิ่งนี้ เราจะมีอิสระมากขึ้น มีประสิทธิภาพในการทำางาน เพิ่มขึ้นโดยไม่สร้างความเครียดให้แก่ร่างกายและจิตใจ จน นำาไปสู่การประสบความสำาเร็จในที่สุด ในทางกลับกัน วิธีการที่มีประสิทธิภาพดังที่กล่าวมานี้ ใช้แก้ปัญหา“การไม่มีเวลา”ไม่ได้ ไม่ว่าใครก็ยืดเวลาให้มีวันละ 48 หรือ 64 ชั่วโมงไม่ได้ และเพราะแบบนี้ พวกผู้บริหารที่มี รายได้หลายสิบหรือหลายร้อยล้านเยนต่อปีจะต้องตกอยู่ใน ความเครียดโดยมีเวลาไล่ตาม ในหัวของพวกเขาหรือเธอจะมี สัญญาณร้องเตือนดังก้องว่า “ถ้าปล่อยไว้แบบนี้ ตายแน่!” การ้เล้อกทัี�ด้ีหมายถึงการ้ปร้ับปร้ะสิทัธิิภาพื้ ต่อต้นทัุนและควิามเสี�ยงให้เหมาะสม เมื่อทรัพยากรมีจำากัด การรู้ว่าจะใช้มันอย่างไรให้คุ้มค่า จึงเป็นเรื่องสำาคัญ นี่คือ ประสิทธิภาพต่อต้นทุน หรือ CP AW Skill 1-336.indd 24 AW Skill 1-336.indd 24 3/27/24 10:29 3/27/24 10:29
  • 24. 25 บทท่� 1 ประสิิทธิิภาพต่่อต่้นทุน เวลา และความเสิ่�ยง (Cost Performance) ซึ่งเป้าหมายคือการใช้ต้นทุน (ทรัพยากร) ที่มีจำากัดให้ได้ผลตอบแทน (กำาไร) มากที่สุดเท่าที่จะทำาได้ ถ้าได้รับผลตอบแทน 120 เยนจากต้นทุน 100 เยน ประสิทธิภาพต่อต้นทุนจะเท่ากับ 20% ถ้าได้รับผลตอบแทน 200 เยน ประสิทธิภาพต่อต้นทุนจะเท่ากับ 100% ตัวบ่งชี้อีกอย่างที่คล้ายกันมากคือ ประสิทธิภาพต่อ ความเสี่ยง หรือ RP (Risk Performance) ซึ่งคำาที่ผมตั้ง ขึ้นมาเอง “เมื่อต้องรับความเสี่ยงเท่ากัน หากได้ผลตอบแทน มากกว่าย่อมดีกว่า” หรือกลับกัน “ผลตอบแทนแบบเดียวกัน หากรับความเสี่ยงน้อยกว่าย่อมดีกว่า” การจะเข้าใจประสิทธิภาพ ต่อความเสี่ยงได้จำาเป็นต้องมีความรู้ทางสถิติ เรื่องนี้ไว้ผมจะ มาอธิบายภายหลัง (ไม่ยากครับ) การเลือกที่ดีหรือไม่ดีนั้นไม่สามารถบอกได้โดยใช้ ประสิทธิภาพต่อต้นทุนเพียงอย่างเดียว เพราะแม้มีความเป็น ไปได้ว่าเราจะได้รับผลตอบแทนที่สูงจากต้นทุนที่ตำ่า แต่ถ้าเรา แบกรับความเสี่ยงสูงแล้วพลาด ก็อาจจะสูญเสียทุกอย่างไป (ถ้าลงทุนไป 10,000 เยน มีโอกาส 99% ที่เราจะได้ 1 ล้านเยน แต่ลองคิดถึงการเดิมพันว่าเรายังมีโอกาส 1% ที่จะเสียชีวิตดูสิ) การเลือกที่ดีหมายถึงการปรับประสิทธิภาพต่อต้นทุน และความเสี่ยงให้เหมาะสม AW Skill 1-336.indd 25 AW Skill 1-336.indd 25 3/27/24 10:29 3/27/24 10:29
  • 25. 26 ทัักษะออกแบบชีีวิิต ทัี�ใชี้ได้้ตลอด้ชีีวิิต หลักการประสิทธิภาพต่อต้นทุนและความเสี่ยง เดิมที มักใช้กันในแวดวงการเงิน และเป็นประโยชน์มากตอนบริหาร สินทรัพย์ หลักการนี้ก็นำามาใช้ตอนคิดถึงทุนมนุษย์ (ความ สามารถในการทำางานหาเงิน) หรือทุนสังคม (ความสัมพันธ์ ระหว่างมนุษย์) ได้เช่นกัน ถ้าเป็นงานแบบเดียวกัน ยิ่งได้ค่าจ้างหรือผลตอบแทน ที่สูงกว่า ประสิทธิภาพต่อต้นทุนยิ่งดี และถ้าได้ค่าจ้างหรือ ผลตอบแทนเท่ากัน งานที่มั่นคงกว่าก็จะให้ประสิทธิภาพต่อ ความเสี่ยงสูงกว่า แต่ในกรณีของทุนมนุษย์ จะมีเรื่องของจิตใจมาเกี่ยวข้อง เช่น “คุณค่าของการลงมือทำา” หรือ “ความเป็นตัวเอง” เข้ามา เกี่ยวข้องด้วย คือมีทั้งงานที่แม้ผลตอบแทนจะตำ่าแต่ก็คุ้มที่จะ ทำา กับงานที่ให้ผลตอบแทนสูงแต่บั่นทอนจิตใจ ทุนมนุษย์ไม่สามารถใช้ทฤษฎีการเงินมาอธิบายได้ อย่างชัดเจนเหมือนกับทุนการเงิน แต่ถึงอย่างนั้น ตราบใดที่ ผลตอบแทนเกิดจากทุน ประสิทธิภาพต่อต้นทุนและความเสี่ยง ก็ยังคงมีความสำาคัญ ในกรณีของทุนสังคม เดิมทีเราไม่สามารถแปลงเป็น ตัวเลขได้อยู่แล้ว ดังนั้นประสิทธิภาพต่อต้นทุนและความเสี่ยง จึงยิ่งคลุมเครือมาก และเหนือสิ่งอื่นใด ทุกคนคงจะเลี่ยงไม่เอา ความรักและมิตรภาพมาพูดถึงในฐานะ“ต้นทุน” แน่นอนว่าลูกไม่สามารถเลือกพ่อแม่ได้ และพ่อแม่ (ถ้า ไม่ใช่การรับเลี้ยง) ก็เลือกลูกไม่ได้เช่นกัน แต่เรา “เลือก”คนรัก AW Skill 1-336.indd 26 AW Skill 1-336.indd 26 3/27/24 10:29 3/27/24 10:29