SlideShare a Scribd company logo
1 of 26
Download to read offline
วิิธีีเซฟใจ
ในวิันที่ี�ครอบครัวิไม่่ใช่่เซฟโซน
Aw Drama 1-304OK 22.3.67.indd 1
Aw Drama 1-304OK 22.3.67.indd 1 3/22/24 12:58
3/22/24 12:58
คนที่่�ต้้องรู้้้จัักรู้ับมืือ
หรู้ือปล่่อยมืือจัาก
ความืสััมืพัันธ์์ในครู้อบครู้ัวที่่�ไมื่ดี่
ไม่่ใช่่ใครอื่่�น แต่่ค่อื่ต่ัวเราเอื่ง
Aw Drama 1-304OK 22.3.67.indd 3
Aw Drama 1-304OK 22.3.67.indd 3 3/22/24 12:58
3/22/24 12:58
“หลายคนต้องไปหานักบำาบัดเพื่อจัดการกับความคิดทั้งหลาย
ในหัวตัวเอง โดยมองข้ามไปว่าความท้าทายที่ยากที่สุดมักจะเป็นเรื่อง
ความสัมพันธ์ครอบครัว ในเล่มนี้ นักบำาบัด Nedra Tawwab จะแนะ
แนวทางที่ทำาได้จริง เพื่อช่วยรับมือปัญหาที่คุณมีกับพ่อแม่ พี่น้อง ลูกๆ
กระทั่งรับมือกับพ่อแม่คู่ชีวิตก็ยังมี ในยุคที่คนหันมาใส่ใจสุขภาพจิตกัน
อย่างที่ควรเป็นแล้ว นี่คือคู่มือในการสร้างครอบครัวที่ดีกว่าเดิมได้เลย”
– Adam Grant, #1 นักเขียนขายดีของ New York Times best
selling เจ้าของเรื่อง Think Again และโฮสต์ของพอดแคสต์ TED
Re:Thinking
“หากไม่มีมุมมองใหม่ๆ และความเชื่อว่าจะสามารถทำาลายวงจรนี้
ลงได้ เราอาจจะติดอยู่กับรูปแบบเดิมๆ มากกว่าจะได้ใช้ชีวิตของเราเอง
Nedra Tawwab ได้แนะแนวทางด้วยความเห็นอกเห็นใจและความชัดเจน
ให้พวกเราได้เข้าใจการเติบใหญ่ของเรา และทำาให้เราเป็นคนที่สามารถ
เปลี่ยนชีวิตตัวเองไปได้”
– Lori Gottlieb, นักเขียนหนังสือขายดี Maybe You Should
Talk to Someone และโฮสต์ร่วมของพอดแคสต์ Dear Therapists ของ
New York Times
คำานิยม่
Aw Drama 1-304OK 22.3.67.indd 4
Aw Drama 1-304OK 22.3.67.indd 4 3/22/24 12:58
3/22/24 12:58
“ในหนังสือเล่มนี้ นักบำาบัด Nedra Tawwab จะมอบเครื่องมือ
ในการทำาความเข้าใจความสัมพันธ์ในครอบครัว และจัดการให้มัน
ออกมาในรูปแบบที่ดีต่อใจได้ ในขณะที่เรายังสามารถซื่อสัตย์ต่อตัวเอง
ได้ว่าเราเป็นใครและต้องการอะไรกันแน่ เป็นหนังสือที่มอบทางเดินต่อ
อันทรงพลังให้เราได้”
– Charlamagne Tha God, นักเขียนหนังสือขายดีของ New
York Times และโฮสต์ร่วมของ The Breakfast Club
“หนังสือเล่มนี้เป็นคู่มือที่น่าสนใจ ทำาให้เราเข้าใจว่าในครอบครัว
เรากำาลังเกิดอะไรขึ้นบ้าง แนะวิธีแก้ปัญหาเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลง
ที่ดียามจำาเป็นซึ่งใช้ได้จริง”
– Myleik Teele ผู้ก่อตั้ง CURLBOX
“ความสัมพันธ์ในครอบครัวที่เราเติบโตมาอาจเป็นความจริงของ
ชีวิตที่เราไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้ มันมีรูปแบบ มีกฎเกณฑ์ ไม่ว่าจะดี
หรือแย่ก็ตาม ในหนังสือเล่มนี้ Nedra Tawwab ได้พลิกสมมติฐานนี้
เผยให้เห็นความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนทั้งหลาย และยื่นเครื่องมือให้เราสร้าง
ความเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นมาได้”
– Judson Brewer, MD (แพทยศาสตร์บัณฑิต), PhD (ปรัชญา
ดุษฎีบัณฑิต) และนักเขียนขายดีของ New York Times bestselling
เจ้าของเรื่อง Unwinding Anxiety
Aw Drama 1-304OK 22.3.67.indd 5
Aw Drama 1-304OK 22.3.67.indd 5 3/22/24 12:58
3/22/24 12:58
บทนำา 8
PART 1 ความผิิดปกติิ
บทที่ 1 ความผิดปกติเป็นแบบไหน 16
บทที่ 2 การลำ้าเส้น ความสัมพันธ์แบบพึ่งพายึดติด
และความผูกพันเกินขอบเขต 34
บทที่ 3 การเสพติด การทอดทิ้ง และการทำาร้าย 48
บทที่ 4 ซำ้าวงจรเดิม 68
บทที่ 5 บาดแผลทางใจข้ามรุ่น 84
PART 2 การเยีียีวยีา
บทที่ 6 อย่าปล่อยให้ความผิดปกติดำาเนินต่อ 98
บทที่ 7 การเติบโต กับ การอยู่รอด 116
บทที่ 8 วิธีจัดการความสัมพันธ์กับคนที่ไม่ยอมเปลี่ยน 132
บทที่ 9 การจบความสัมพันธ์เมื่อคนอื่นไม่ยอมเปลี่ยน 144
บทที่ 10 สร้างแรงสนับสนุนนอกครอบครัว 168
สารบััญ
Aw Drama 1-304OK 22.3.67.indd 6
Aw Drama 1-304OK 22.3.67.indd 6 3/22/24 12:58
3/22/24 12:58
PART 3 การเติิบโติ
บทที่ 11 การแก้ปัญหาความสัมพันธ์กับพ่อแม่ 180
บทที่ 12 การแก้ปัญหาความสัมพันธ์กับพี่น้อง 200
บทที่ 13 การแก้ปัญหาความสัมพันธ์กับลูก 220
บทที่ 14 การแก้ปัญหาความสัมพันธ์กับครอบครัวขยาย 246
บทที่ 15 ความสัมพันธ์กับครอบครัวของคู่ชีวิต 258
บทที่ 16 การจัดการครอบครัวผสม 278
บทที่ 17 จุดเริ่มต้นใหม่ 290
คำาถามที่พบบ่อย 298
Aw Drama 1-304OK 22.3.67.indd 7
Aw Drama 1-304OK 22.3.67.indd 7 3/22/24 12:58
3/22/24 12:58
8 วิิธีีเซฟใจในวิันที่ี�ครอบครัวิไม่่ใช่่เซฟโซน
ความสัมพันธ์เป็นหนึ่งในเรื่องที่ส่งผลต่อสุขภาพจิตและอารมณ์
อย่างมาก ความสัมพันธ์ทำาให้คุณเจ็บปวดหรืออาจช่วยเยียวยาคุณก็ได้
ความสัมพันธ์ไม่ว่าจะเป็นในด้านบวกหรือลบล้วนส่งผลต่อตัวคุณ
นักจิตวิทยาพบว่าการรักษาความสัมพันธ์ที่ดีสามารถยืดอายุขัย
ของคุณได้ ในขณะที่ความสัมพันธ์ที่ไม่ดีอาจนำาไปสู่ปัญหาสุขภาพ เช่น
มะเร็ง โรคหัวใจ อาการซึมเศร้า ไปจนถึงการใช้สารเสพติด เราจึงต้อง
จริงจังกับการดูแลความสัมพันธ์ ถ้าเป็นไปได้ก็ต้องเสริมความสัมพันธ์
ของเราให้แข็งแกร่งขึ้นด้วย
ทั้งหมดนี้ฉันกล่าวถึงความสัมพันธ์ทุกประเภท แต่ความสัมพันธ์
ที่มีผลต่อตัวเรามากที่สุดคงหนีไม่พ้นความสัมพันธ์ในครอบครัว
หนังสือเล่มแรกของฉัน Set Boundaries, Find Peace: A Guide
to Reclaiming Yourself อธิบายความสำาคัญของขอบเขตความสัมพันธ์
ถ้าคุณขีดเส้นขอบเขตดี คุณจะเป็นสุขแม้อีกฝ่ายจะไม่ได้เปลี่ยนแปลง
ตัวเองก็ตาม หนังสือเล่มนั้นช่วยให้คุณรับมือกับความท้าทายและเรื่อง
วุ่นๆ ในความสัมพันธ์ได้ แต่เล่มนี้ไม่ได้เน้นเรื่องขอบเขตความสัมพันธ์
แต่เน้นไปที่วิธีที่จะทำาให้คุณสบายใจในความสัมพันธ์กับสมาชิกใน
ครอบครัว
คนที่เข้ารับการบำาบัดส่วนใหญ่จะมาปรึกษาเรื่องความสัมพันธ์ใน
ครอบครัว จากมุมมองของนักบำาบัดแล้ว หลายปัญหาในการแต่งงาน
มิตรภาพ และความสัมพันธ์อื่นๆ มักจะมีต้นกำาเนิดมาจากครอบครัว
บัทนำา
Aw Drama 1-304OK 22.3.67.indd 8
Aw Drama 1-304OK 22.3.67.indd 8 3/22/24 12:58
3/22/24 12:58
9
บทนำำ�
หลายคนอาจจะบอกว่า “ไม่ใช่ทุกอย่างที่จะเกี่ยวกับเรื่องครอบครัวนะ”
แต่หลายครั้งมันก็เกี่ยว
คำาถามหนึ่งที่มักจะเจอในการบำาบัดคือ “ใครเป็นคนแรกที่ทำาให้
คุณรู้สึกแบบนั้น?” และคำาตอบก็มักจะย้อนไปยังประสบการณ์แรกที่
เกิดขึ้นในครอบครัว
ความสัมพันธ์ที่มีปัญหาที่พบเห็นบ่อยที่สุดคือความสัมพันธ์ใน
ครอบครัว เพราะเราใช้เวลาร่วมกับครอบครัวค่อนข้างมากตั้งแต่เด็ก
จนโต คนรอบตัวเราในวัยเด็กคือครูคนแรกๆ ถ้าเราอยากมีมุมมอง
ค่านิยม หรือใช้ชีวิตต่างจากคนในครอบครัวบ้าง จะเกิดอะไรขึ้น? ก็อาจ
สร้างความตึงเครียดหรือความเกลียดชังขึ้นได้
จริงๆ แล้ว ตอนที่คุณยังเด็ก คุณไม่ค่อยมีโอกาสได้เป็นตัวของ
ตัวเองหรอก การค้นหาตัวเองให้เจอและออกจากกรอบหรือสิ่งที่คนอื่น
บอกให้คุณเป็น ก็ไม่ใช่เรื่องแย่ แต่ถ้าเกิดมีเรื่องกระทบกระทั่งกันขึ้นมา
ก็ไม่ต้องเป็นห่วง ในเล่มนี้ ฉันจะอธิบายว่า “คุณจะเป็นตัวเองกับคน
ในครอบครัวได้อย่างไร”
บางคนอาจบอกว่า “ชีวิตวัยเด็กไม่มีผลต่อตัวฉันในวันนี้หรอก”
ไม่จริงนะคะ คุณดึงแต่พฤติกรรมดีๆ และลืมพฤติกรรมแย่ๆที่ไม่อยาก
มีติดตัวไม่ได้หรอกค่ะ ทุกพฤติกรรมจะติดอยู่กับคุณไปเรื่อย จนกว่า
คุณตั้งใจจะเปลี่ยนมัน แนวโน้มภายในครอบครัวจะกระตุ้นให้เรายอมรับ
บรรทัดฐานบางอย่างในครอบครัวได้
ตัวอย่างเช่น ฉันพบว่าคนที่มาจากครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว มัก
ไม่ค่อยเข้าใจความสัมพันธ์พ่อแม่ลูกที่อยู่กันพร้อมหน้า พอคนเหล่านี้
มีคู่ที่คอยช่วยเลี้ยงลูก พวกเขาจะเข้าใจการมีส่วนร่วมของทั้งสองฝ่าย
ได้ยาก
วัยเด็กที่ “สมบูรณ์แบบ” ก็ไม่มีอยู่จริงค่ะ ถึงภายนอกจะดูปกติ
แต่หลังม่านเราไม่มีทางรู้ได้เลยว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง สำาหรับบางคน ความ
สัมพันธ์ที่ซับซ้อนที่สุดมักจะเป็นความสัมพันธ์ครอบครัว
Aw Drama 1-304OK 22.3.67.indd 9
Aw Drama 1-304OK 22.3.67.indd 9 3/22/24 12:58
3/22/24 12:58
10 วิิธีีเซฟใจในวิันที่ี�ครอบครัวิไม่่ใช่่เซฟโซน
หลายคนบอกฉันว่า อยากเปลี่ยนหรือพัฒนาความสัมพันธ์กับ
ครอบครัวโดยเฉพาะกับพ่อแม่ พี่น้อง และกับสมาชิกในครอบครัวขยาย
อย่างปู่ ย่า ลุง ป้า น้า อาและญาติๆ มากกว่าคนอื่นๆ
อีกปัญหาใหญ่ที่ฉันเคยเห็นคือ ความสัมพันธ์กับพ่อตาแม่ยาย
และสมาชิกครอบครัวใหม่หลังแต่งงาน
ความสัมพันธ์ครอบครัวยังเป็นตัวกำาหนดว่าเราจะสานความ
สัมพันธ์ภายนอกบ้านอย่างไร รวมถึงการสร้างมิตรภาพและความ
สัมพันธ์กับคู่รักด้วย
ตอนที่ฉันเสนอวิธีแก้ปัญหา หลายคนถามว่าแล้วเอาไปใช้กับ
ครอบครัวได้ด้วยไหม? คำาตอบคือใช้ได้ค่ะ ฉันรู้ว่าการนำาวิธีแก้ทั่วๆไป
ไปใช้ในครอบครัวเป็นเรื่องยาก เพราะพอเป็นเรื่องครอบครัวแล้ว เราอาจ
สร้างข้อยกเว้นที่ไม่ถูกต้องขึ้นมาเอง ซึ่งเราไม่ควรพลาดในจุดนี้ ไม่ว่า
อีกฝ่ายจะเป็นใคร อย่าให้เขามาทำาร้ายคุณได้นะคะ
หนังสือเล่มนี้ไม่ได้จะโทษคนอื่นที่ทำาให้ชีวิตคุณเป็นแบบนี้ คุณ
จะได้รับเครื่องมือช่วยพัฒนาทักษะที่เสริมความมั่นใจเมื่อต้องเผชิญกับ
ครอบครัวที่มีปัญหา ถ้าคุณต้องเห็นหรือต้องทนกับอะไรแบบนี้ก็อาจ
เป็นเรื่องที่ทำาใจยาก ฉันเองก็เคยเลี่ยงหรือไม่สนใจปัญหาในครอบครัว
เพื่อให้ครอบครัวยังเป็นเหมือนเดิมเช่นกันค่ะ
หลายครั้งที่เราไม่ยอมพูดตรงๆ เรื่องครอบครัว เพราะเรากลัว
บทสนทนาอันแสนอึดอัดหรือรู้สึกว่าตัวเองทิ้งครอบครัวไว้เบื้องหลัง การ
ได้ปลดปล่อยความสัมพันธ์ครอบครัวนั้นเป็นเพียงหนึ่งทางออกของ
ใครหลายคน แต่การตั้งใจพูดคุยกันที่อาจจะฟังดูยากก็สร้างการเปลี่ยน-
แปลงที่ดีได้เช่นกันค่ะ
ฉันจะสอนวิธีรับมือกับปัญหาความสัมพันธ์ในครอบครัวและวิธี
ตัดความสัมพันธ์ที่คุณไม่สามารถคุมได้ออกไป คุณไม่จำาเป็นต้องทนกับ
พฤติกรรมร้ายๆ ของคนอื่นหรอกนะคะ และคุณก็ไม่จำาเป็นต้องตัดเขา
ออกจากชีวิตด้วยเหมือนกัน ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับความอดทนและความใจดี
Aw Drama 1-304OK 22.3.67.indd 10
Aw Drama 1-304OK 22.3.67.indd 10 3/22/24 12:58
3/22/24 12:58
11
บทนำำ�
ของคุณกับพฤติกรรมแย่ๆ ของอีกฝ่าย ปัญหาที่ฉันพูดถึงไม่ใช่แค่การ
ถูกทำาร้ายหรือถูกทอดทิ้งนะคะ แต่ยังรวมถึงการนินทา ความสัมพันธ์กับ
ครอบครัวของคู่ชีวิตที่ไม่ปกติสุข ความรู้สึกเหมือนเป็นแกะดำา และการ
ต้องรับมือกับคนในครอบครัวที่ใช้สารเสพติดด้วย
ฉันจะแนะนำาเคล็ดลับที่นำาไปใช้ได้จริง ฉันได้ย่อยเนื้อหายากๆ
ให้รวบรัด ซึ่งจะช่วยตอบคำาถามสำาคัญได้ 2 อย่าง นั่นคือ
• จะสานความสัมพันธ์กับครอบครัวให้ดีได้อย่างไรถ้าปัญหา
ภายในยังคุกรุ่นอยู่?
• ถ้าไม่อยากรักษาความสัมพันธ์แล้ว จะตัดคนในครอบครัว
ออกไปได้อย่างไรบ้าง?
เตรียมสมุดไว้จดหรือเตรียมแอปจดโน้ตไว้ให้ดีเลยค่ะ เพราะ
ระหว่างที่อ่านไป การได้มองย้อนตัวเอง ลองคิด และลองเอาประสบ-
การณ์ในเล่มนี้ไปใช้จริง จะช่วยได้เยอะทีเดียวค่ะ เพราะการเขียนคือ
การระบายอย่างหนึ่ง มันช่วยให้คุณจัดการความคิดอย่างลุ่มลึกได้
ใน PART1: ความผิดปกติ ฉันจะอธิบายว่าความผิดปกติเป็น
แบบไหน และระบุว่ามีอะไรที่เรียกว่าผิดปกติได้บ้าง รวมถึงบาดแผล
ทางใจ การลำ้าเส้น ความสัมพันธ์แบบยึดติด ความผูกพันเกินขอบเขต
และการเสพติด
เราจะมาดูกันว่าทำาไมคนเราถึงมักจะทำาผิดซำ้าสอง ทำาแบบเดิมๆ
ทั้งที่ได้ผลลัพธ์แย่ๆ และสร้างผลกระทบที่เจ็บปวดจากรุ่นสู่รุ่น
ใน PART2: การฟื้นฟู ฉันจะเจาะลึกลงไปใน 2 ตัวเลือกที่คุณ
มีถ้าอยากทำาลายวงจรที่มีอยู่ หนึ่งคือรู้จักบริหารความสัมพันธ์กับคนที่
ไม่มีวันเปลี่ยนแปลงตัวเอง หรือสองคือตัดความสัมพันธ์เพราะคนไม่ยอม
เปลี่ยนแปลงตัวเอง
ในส่วนนี้ ฉันจะแนะนำาแนวทางในการเติบโตหรืออยู่รอด และ
แนะนำาการสร้างระบบที่คอยสนับสนุนคุณจากภายนอกครอบครัว
Aw Drama 1-304OK 22.3.67.indd 11
Aw Drama 1-304OK 22.3.67.indd 11 3/22/24 12:58
3/22/24 12:58
12 วิิธีีเซฟใจในวิันที่ี�ครอบครัวิไม่่ใช่่เซฟโซน
ใน PART3: การเติบโต ฉันจะช่วยแก้ไขปัญหาความสัมพันธ์
ครอบครัวหลากหลายประเภททั้งพ่อแม่ พี่น้อง ครอบครัวขยาย ลูกที่
โตแล้ว พ่อตาแม่ยาย และครอบครัวผสม
ระหว่างอ่านหนังสือเล่มนี้ ถ้าคุณเริ่มเจอจุดที่ทำาให้รู้สึกว่าอารมณ์
มันท่วมท้นเกินจะควบคุม ฉันอยากให้คุณลองเข้ารับการบำาบัดเพื่อแก้
ปัญหาเหล่านั้นนะคะ การตอบสนองที่มีนัยยะเช่นนี้เป็นสัญญาณบอกว่า
เราได้แตะโดนบางอย่างในส่วนลึกของจิตใจ การบำาบัดอาจจะช่วย
ล้วงลึกถึงการตอบสนองนั้นได้ เช่น การอดนอน การหวนคิดถึงเหตุการณ์
นั้นซำ้าๆ การคิดอะไรไม่หยุด หรืออาการโศกเศร้ารุนแรง
การบำาบัดเป็นวิธีที่ช่วยให้คุณทำาตามแบบฝึกในหัวข้อต่างๆ
ในหนังสือเล่มนี้ได้ ยิ่งถ้าคุณไม่สามารถอ่านและจัดการมันด้วยตัวเอง
ได้ หนังสือเล่มนี้ยังพูดถึงการบำาบัดใจ เป็นหนังสือเพื่อการศึกษา แต่ก็
ไม่สามารถมาแทนที่การได้พูดคุยกับนักบำาบัดได้นะคะ ถ้ารู้สึกแปลกๆ
หรือไม่มีโอกาสเข้ารับการบำาบัด แล้วเกิดมีการตอบสนองทางอารมณ์
ใดขึ้นมา ฉันขอให้หยุดอ่าน แล้วค่อยกลับมาอ่านใหม่ตอนที่ไหวแล้ว
ก็ได้ค่ะ
ในแต่ละบท ฉันจะเปิดด้วยคำาพูดและบทความสั้นๆโดยอิงจาก
เรื่องราวของคนไข้หรือคนรู้จัก เนื้อหาจะเข้าสู่แนวคิดและเรื่องเชิงการ
แพทย์ แล้วจะจบด้วยคำาถามให้เป็นแบบฝึกหรือเป็นคำาถามสะท้อน
ตัวคุณ เพื่อให้คุณนำาความรู้ในเล่มไปใช้ในชีวิตจริงได้
ในหนังสือเล่มนี้ คำาว่า“พ่อแม่”จะหมายถึงพ่อแม่ทางสายเลือด
ผู้ดูแลหลัก พ่อแม่บุญธรรม หรือผู้ใหญ่คนไหนก็ตามที่มีหน้าที่ดูแล
คุณเป็นหลักนะคะ และเพื่อปิดบังตัวตนของคนไข้ ฉันจะปรับชื่อและ
รายละเอียดอื่นๆให้ต่างไปจากความเป็นจริง
วัฒนธรรมมีผลต่อมุมมองของเราต่อครอบครัว ในบางวัฒนธรรม
นั้น ถ้าเราตอบโต้พฤติกรรมแย่ๆที่เกิดขึ้นในครอบครัว หรือถ้าเราอยาก
ได้สิ่งที่แตกต่างออกไป อาจเป็นเรื่องผิดก็เป็นได้
Aw Drama 1-304OK 22.3.67.indd 12
Aw Drama 1-304OK 22.3.67.indd 12 3/22/24 12:58
3/22/24 12:58
13
บทนำำ�
คุณสามารถเปลี่ยนวัฒนธรรมภายในครอบครัวได้นะคะ เช่น การ
มาเยี่ยมโดยไม่บอกล่วงหน้า การดูแลพ่อแม่ที่แก่ชราแล้วยังต้องเลี้ยงลูก
ตัวเองไปด้วย หรือการเอาคนในครอบครัวเข้าไปทำางานในธุรกิจของคุณ
ทั้งที่ไร้คุณสมบัติ คุณมีอำานาจในการสร้างเส้นทางชีวิตของตัวเองขึ้นมา
ได้ โดยที่ครอบครัวของคุณก็ยังทำาตามเดิมได้เช่นกัน คุณไม่ได้ก้าวร้าว
นะคะ ก็แค่พยายามจะวาดชีวิตตามแบบที่ต้องการเท่านั้นเอง
ความสัมพันธ์ที่ส่งผลกระทบต่อเราที่สุดก็คือความสัมพันธ์กับ
คนในครอบครัวนี่ล่ะค่ะ แผลมักลึก มักเป็นความสัมพันธ์ที่เต็มไปด้วย
ความคาดหวัง ไม่ว่าคุณจะมองว่าครอบครัวตัวเองผิดปกติจริงๆ หรือแค่
อยากแก้ปัญหาหนักใจเล็กน้อย ฉันก็หวังว่าหนังสือเล่มนี้จะทำาให้เห็นว่า
คุณไม่ได้ตัวคนเดียว คุณมีอำานาจที่จะตัดสินใจว่าอยากให้ความสัมพันธ์
ออกมาเป็นแบบไหน คุณเลือกทางเดินชีวิตเองได้
จงเชื่อว่าคุณมีทุกอย่างเพื่อการตัดสินใจที่อาจจะยากแต่ดีกับ
ตัวคุณเข้าไว้ ฉันรู้ว่าคุณทำาได้ เพราะกับคนอื่นหรือตัวเอง ฉันก็เห็น
มาแล้วว่าพวกเขาสร้างความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นได้ค่ะ
Aw Drama 1-304OK 22.3.67.indd 13
Aw Drama 1-304OK 22.3.67.indd 13 3/22/24 12:58
3/22/24 12:58
Aw Drama 1-304OK 22.3.67.indd 14
Aw Drama 1-304OK 22.3.67.indd 14 3/22/24 12:58
3/22/24 12:58
PART 1
ค ว า ม ผิ ด ป ก ติ
Aw Drama 1-304OK 22.3.67.indd 15
Aw Drama 1-304OK 22.3.67.indd 15 3/22/24 12:58
3/22/24 12:58
01
ความ่ผิิดปกต่ิเป็นแบับัไหน
Aw Drama 1-304OK 22.3.67.indd 16
Aw Drama 1-304OK 22.3.67.indd 16 3/22/24 12:58
3/22/24 12:58
17
บทท่� 1 ความผิิดปกติิเป็นแบบไหน
มายเติบโตในครอบครัวที่มีทั้งพ่อและแม่ พ่อทำางานทั้งวัน พอกลับ
บ้านมาก็เมาอาละวาด แม่ก็เอาแต่อยู่ในห้องตัวเองโดยไม่ค่อย
ใส่ใจมายกับน้องๆอีกสองคน แม่ดื่มหนักแต่ไม่หนักเท่าพ่อ
เมื่อไหร่ที่พ่อกับแม่ทะเลาะกัน มายกับน้องๆ จะเปิดโทรทัศน์ให้
ดังกลบเสียงทะเลาะ มายใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่กับเพื่อนๆ เพื่อจะได้
ไม่ต้องกลับบ้าน พอได้เห็นครอบครัวของเพื่อนๆ เธอเลยได้รู้ว่าปกติ
คนเป็นพ่อเป็นแม่ไม่ได้เมาหัวรานำ้าแล้วทะเลาะกันตลอด หรือละเลย
ความรู้สึกของลูกเหมือนอย่างครอบครัวเธอ
เมื่อมายโตขึ้น เธอพอจะพึ่งพาญาติคนอื่นๆ ได้บ้าง ถ้าอยาก
ออกไปเที่ยวกับเพื่อน เธอจะโทรหาคุณยายให้ไปส่งเพราะไม่อยากเสี่ยง
ให้พ่อหรือแม่มารับทั้งที่ยังเมาอยู่ เมื่อต้องซื้อชุดใส่ไปเรียน เธอจะโทร
หาคุณน้าซึ่งก็ยินดีพาเธอไปซื้อชุดด้วยกัน แต่สิ่งที่มายไม่มีคือคนที่เธอ
สามารถคุยเรื่องครอบครัวด้วยได้ เพื่อนๆไม่ได้มีปัญหาเหมือนเธอ ญาติ
ของเธอก็ไม่อยากเข้ามายุ่ง ได้แต่ยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือเรื่องเล็กๆน้อยๆ
มายทั้งเหงาทั้งอาย เธอคิดว่าตัวเองเป็นตัวปัญหาอยู่นานหลายปี
เพราะไม่มีใครเห็นว่าสิ่งที่พ่อแม่ทำาเป็นปัญหาเลย พี่น้องคนอื่นก็ช่วย
พูดแก้ตัวให้พ่อกับแม่ บ้างก็พูดว่า “ถึงพ่อแม่เธอเป็นแบบนั้น เธอก็ต้อง
รักพวกเขานะ” เธอรักพ่อแม่แต่ก็ถูกพ่อแม่ทรมานไปพร้อมกัน ปัญหานี้
ยังลามมาตอนเธอโตด้วย
Aw Drama 1-304OK 22.3.67.indd 17
Aw Drama 1-304OK 22.3.67.indd 17 3/22/24 12:58
3/22/24 12:58
18 วิิธีีเซฟใจในวิันที่ี�ครอบครัวิไม่่ใช่่เซฟโซน
ปกติแล้วมายจะยอมทน พอเธอเอ่ยปากขัดเมื่อไหร่ ครอบครัว
ก็จะพยายามทำาให้เธอรู้สึกผิด กล่าวหาว่าเธอแปลกและใจร้าย เธอ
อยากมีใครสักคนที่มองเห็นปัญหานี้ เคยประสบเหตุการณ์แบบเดียวกัน
และบอกว่าการที่เธออยากได้สิ่งที่ต่างไปจากเดิมจากพ่อแม่เป็นเรื่อง
ธรรมดา
ครอื่บัครัวท่�ม่่ปัญหาหน้าต่าเป็นอื่ย่างไร?
ครอบครัวที่มีปัญหา สำาหรับมายก็คือการมีพ่อแม่ติดสุรา ไม่
สนใจความรู้สึกลูกๆและบางครั้งก็ใช้คำาพูดทำาร้ายจิตใจกัน ครอบครัว
ที่มีปัญหาคือครอบครัวที่มีการทารุณกรรม มีความยุ่งเหยิง และละเลย
ทอดทิ้งกันเป็นปกติ
ในครอบครัวที่มีปัญหานั้น ทุกคนจะมองข้ามพฤติกรรมแย่ๆ
และซุกมันไว้ใต้พรม หรือไม่ก็หาเหตุผลมารองรับการกระทำาเหล่านั้น
ในกรณีของมาย มายดูไม่ออกว่าครอบครัวมีปัญหาจนกระทั่งเห็น
สถานการณ์ของคนอื่นๆที่ดีกว่าของตัวเอง แม้จะได้เห็นแล้ว การทลาย
ปัญหาเดิมๆที่เคยมีก็ยังยากอยู่ดี
ถ้าคุณเติบโตมาในครอบครัวที่มีปัญหา คุณอาจจะคิดว่าการ
กระทำาต่อไปนี้เป็นเรื่องปกติก็ได้
➤ เดินหน้าต่อเหมือนไม่เคยเกิดอะไรขึ้น
➤ ซ่อนปัญหา
➤ ไม่ยอมรับว่ามีปัญหาอยู่จริงๆ
➤ เก็บเรื่องที่ควรให้ทุกคนรู้เป็นความลับ
➤ ให้อภัยและลืมมันไปเสีย (โดยที่ตัวการไม่เปลี่ยนพฤติกรรม)
➤ แกล้งทำาว่าสบายดี
➤ ไม่แสดงอารมณ์
➤ อยู่ท่ามกลางเหล่าคนอันตราย
Aw Drama 1-304OK 22.3.67.indd 18
Aw Drama 1-304OK 22.3.67.indd 18 3/22/24 12:58
3/22/24 12:58
19
บทท่� 1 ความผิิดปกติิเป็นแบบไหน
➤ ใช้ความรุนแรงเพื่อให้ได้ในสิ่งที่ต้องการ
ถ้้ามื่คนมืาบอกว่ามื่ปัญหา ให้เชื่ื�อเขา
แทนที่จะรับรู้ถึงปัญหาและพยายามหาทางแก้ บ่อยครั้งที่คนเรา
จะเข้าสู่โหมดป้องกันตัวเองและไม่ยอมเปลี่ยนแปลงตัวเองเสียอย่างนั้น
ในกรณีของมาย พอเธอพยายามคุยเรื่องพฤติกรรมแย่ๆ ของ
พ่อกับแม่ พวกเขาก็จะเข้าโหมดป้องกันตัวเองหรือไม่ก็โทษว่ามายผิด
ไม่มีใครในครอบครัวเต็มใจรับฟังปัญหาเพราะไม่มีใครพร้อมจะแก้
ปัญหานั่นเอง
มายไม่ได้เจอปัญหาอยู่คนเดียว เธอเจอสิ่งเดียวกันกับคนอื่นๆ
แต่เธอกล้ามากพอที่จะพูดขึ้นมาว่า “มีปัญหา” เธออยากรู้วิธีเผชิญหน้า
กับปัญหาที่ทุกคนพยายามปกปิดหรือเพิกเฉย
แบบสัอบถ้ามืปรู้ะสับการู้ณ์์ที่่�ไมื่พัึงปรู้ะสังค์
ในวัยเดี็ก (ACE)
เรามักใช้แบบสอบถามประสบการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ในวัยเด็ก
(ACE) เพื่อวัดความรุนแรงของบาดแผลทางใจวัยเด็ก แบบสอบถาม
จะครอบคลุมประเด็นต่างๆเช่น
การได้เห็นความรุนแรง
การล่วงละเมิดทางเพศ
การใช้สารเสพติดภายในบ้าน
การทำาร้ายร่างกาย
การทำาร้ายจิตใจด้วยคำาพูด
การถูกทอดทิ้งทางอารมณ์
การที่พ่อแม่มีอาการป่วยทางจิต
การที่พ่อแม่ถูกจำาคุก
Aw Drama 1-304OK 22.3.67.indd 19
Aw Drama 1-304OK 22.3.67.indd 19 3/22/24 12:58
3/22/24 12:58
20 วิิธีีเซฟใจในวิันที่ี�ครอบครัวิไม่่ใช่่เซฟโซน
บาดแผลทางใจในวัยเด็กส่งผลต่อความสามารถในการจัดการ
และการแสดงอารมณ์ เรามีโอกาสที่จะเก็บกดอารมณ์มากขึ้น โดยเฉพาะ
เด็กที่พบกับความรุนแรงมักมีปัญหาในการแยกแยะว่าอะไรเป็นภัย อะไร
ปลอดภัย
เรารู้กันดีว่าการทารุณกรรมและการทอดทิ้งเป็นสิ่งผิดปกติภายใน
ครอบครัว แต่ปัจจัยอื่นๆ ก็ส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ครอบครัวได้
เช่นกัน เราวัดบาดแผลทางใจด้วยคะแนนจาก 0 ถึง 10 แต่สำาหรับ
บาดแผลทางใจในวัยเด็ก แม้จะได้เพียง 2 คะแนนก็ส่งผลกระทบมาก
ทีเดียว
แบบสอบถาม ACE จะไม่ดูเรื่องการเงิน การย้ายบ้านหลายครั้ง
หรือความเจ็บปวดจากรุ่นสู่รุ่น ซึ่งเรารู้ดีว่าสิ่งเหล่านี้ส่งผลต่อสุขภาพจิต
ได้ ฉันเชื่อว่าคะแนน ACE หรือบาดแผลทางใจในวัยเด็กของคุณไม่ใช่
สิ่งกำาหนดอนาคตคุณได้หรอกค่ะ (ของฉันได้ 7 คะแนน) เรามีพลัง
มากพอที่จะเลือกทำาสิ่งที่ยากในตอนนี้เพื่อประโยชน์ในระยะยาวได้
สิ่งที่เราเจอในวัยเยาว์อาจส่งผลถึงตอนโต เพราะเมื่อเรามี
บาดแผลทางใจขึ้นมาแล้ว แผลนี้ก็ยังอยู่กับเราไปเรื่อยๆ เด็กที่เคยไร้
ที่อยู่อาศัยมาก่อนมีแนวโน้มที่จะได้คะแนน ACE สูงกว่าและมีแนวโน้ม
เป็นคนไร้บ้านในวัยผู้ใหญ่
ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆที่มีผลต่อความผิดปกติในวัยเด็ก
➤ พ่อแม่ที่ทำาร้ายตัวเอง
➤ พ่อแม่ที่ไร้วุฒิภาวะทางอารมณ์
➤ พ่อแม่บ้าอำานาจ
➤ ความสัมพันธ์ครอบครัวที่ผูกพันเกินเหตุ
➤ การแข่งขันในครอบครัว
➤ ลูกเป็นฝ่ายดูแลพ่อแม่
Aw Drama 1-304OK 22.3.67.indd 20
Aw Drama 1-304OK 22.3.67.indd 20 3/22/24 12:58
3/22/24 12:58
21
บทท่� 1 ความผิิดปกติิเป็นแบบไหน
(ในบทที่ 2 และ 3 ฉันจะอธิบายเรื่องเหล่านี้อย่างละเอียด)
The Boys of Baraka เป็นสารคดีที่น่าสนใจเรื่องหนึ่ง เป็นเรื่อง
เกี่ยวกับเด็กๆผิวสีในบัลติมอร์ แมริแลนด์ เด็กหนุ่มยี่สิบคนจากครอบ-
ครัวที่มีปัจจัยเสี่ยงได้เข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนที่พาพวกเขาไปเรียน
ในโรงเรียนประจำาประเทศเคนยา และสัมผัสวัฒนธรรม ชุมชน วิชาการ
และโครงสร้างต่างๆของสังคม
ระหว่างอยู่ในโรงเรียน เด็กๆ พัฒนาขึ้นทั้งในด้านการเรียน
อารมณ์ และสังคม ต่อมาโครงการนี้ขาดเงินสนับสนุน เด็กๆต้องกลับ
บ้าน พอกลับไปเจอสภาพแวดล้อมเดิม หลายคนก็ต้องเจอวงจรแย่ๆ
ซำ้าซาก เช่น สารเสพติด สภาพแวดล้อมนั้นจำากัดการเติบโตของพวกเขา
แต่ถ้าใช้เครื่องมือถูกโรค เราก็สามารถรักษาบาดแผลทางใจ
ในวัยเด็กจากครอบครัวได้เช่นกันค่ะ
สภาพแวดล้้อื่ม่
สถานที่ บุคคล และประสบการณ์ในบ้านที่คุณเติบโตมา มีผล
ต่อสิ่งที่คุณเป็นไปตลอดชีวิต บาดแผลทางใจส่งผลระยะยาวต่อร่างกาย
จิตใจ ความสัมพันธ์ สถานะทางการเงิน สุขภาพจิต และสุขภาพ
อารมณ์ ชีวิตสิบแปดปีแรกของคุณจะส่งผลกระทบต่อทั้งชีวิตคุณได้มาก
เชียวละค่ะ
ในหนังสือ What Happened to You?: Conversations on
Trauma, Resilience, and Healing ของโอปราห์ วินฟรีย์และดร.แมน
ดี. เพอรี โอปราห์ เล่าถึงบาดแผลทางใจวัยเด็กและประสบการณ์
ขัดเกลาเธออย่างไรบ้าง แม่จะตีเธอแม้เธอทำาผิดเพียงเล็กน้อย การ
ทารุณนี้ทำาให้เธอกลายเป็นพวกชอบเอาอกเอาใจคน เธอใช้เวลานาน
นับปีถึงได้รู้ว่าพฤติกรรมของเธอมีต้นเหตุมาจากประสบการณ์ในวัยเด็ก
Aw Drama 1-304OK 22.3.67.indd 21
Aw Drama 1-304OK 22.3.67.indd 21 3/22/24 12:58
3/22/24 12:58
22 วิิธีีเซฟใจในวิันที่ี�ครอบครัวิไม่่ใช่่เซฟโซน
สิ่งที่คุณอาจได้รับสืบทอดมาจากคนในครอบครัว
➤ ทักษะการบริหารจัดการเงิน
➤ ทักษะการสื่อสาร
➤ วิธีสานสัมพันธ์กับผู้อื่น
➤ ค่านิยม
➤ การใช้สิ่งเสพติด
➤ วิธีเลี้ยงลูก
➤ วิธีจัดการกับสุขภาพจิตตัวเอง
เรื่องเล่าในวัยเด็กทำาให้นักบำาบัดเห็นภาพว่าปัญหาที่คุณเผชิญ
ในปัจจุบันเกิดจากอะไร มีเรื่องราวมากมายที่ทำาให้นักบำาบัดได้เห็นภาพ
ว่าคุณพัฒนาปัญหาที่คุณเผชิญอยู่เมื่อเป็นผู้ใหญ่อย่างไร คำาถามหนึ่ง
ที่ฉันจะถามคือ “คุณรู้สึกแบบนั้นครั้งแรกเมื่อไหร่?” หรือ “ใครเป็น
คนแรกที่ทำาให้รู้สึกแบบนั้น?” ซึ่งปกติแล้วก็จะต้องเล่าย้อนกลับไปถึง
วัยเด็ก เรายังแบกรับนำ้าหนักเมื่อวัยที่เรายังไร้พลังเอาไว้บนบ่า เหมือน
กับว่าเราต้องอยู่แบบนั้นต่อไป แต่ชีวิตจะมอบโอกาสให้เราได้เปลี่ยน-
แปลงมันค่ะ
ความ่ย่ดหย่่นแล้ะทนทานทางจิิต่ใจิ
ความยืดหยุ่นและทนทานที่ว่านี้คือความสามารถในการยอมรับ
สิ่งที่เกิดขึ้น เราเอาชนะสภาพแวดล้อมได้เมื่อมีปัจจัยป้องกันที่เหมาะสม
เช่น
➤ การมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับผู้ใหญ่ที่ปลอดภัย
➤ การเลี้ยงดูเชิงบวก
➤ ความเชื่อหรือจุดมุ่งหมายที่แข็งแกร่ง
➤ ความสามารถในการควบคุมตัวเอง มีทัศนคติเชิงบวก และ
Aw Drama 1-304OK 22.3.67.indd 22
Aw Drama 1-304OK 22.3.67.indd 22 3/22/24 12:58
3/22/24 12:58
23
บทท่� 1 ความผิิดปกติิเป็นแบบไหน
มีไหวพริบ
➤ ความสัมพันธ์ทางสังคมที่ดี
➤ แรงสนับสนุนจากเพื่อนและที่ปรึกษา
➤ กิจกรรมต่อเนื่องที่ช่วยเพิ่มโอกาสได้สัมผัสกับความสัมพันธ์ที่ดี
คนมักพูดกันว่า สภาพแวดล้อมเป็นอย่างไร เราก็เป็นแบบนั้น
อย่างไรก็ตาม เราก็ได้รับผลดีจากความสัมพันธ์ดีๆนอกบ้านได้เช่นกัน
มายเข้าใจครอบครัวมากขึ้นเมื่อเธอได้เห็นสภาพแวดล้อมที่ดีจาก
นอกบ้าน
ฉันเติบโตมาในเมืองดีทรอยต์ รัฐมิชิแกน และเข้าเรียนโรงเรียน
รัฐบาล ฉันจำาได้ว่าเคยเข้าโปรแกรมที่ช่วยให้เด็กในเมืองรับมือกับปัญหา
ที่เจอภายในบ้านได้ ฉันเลิกทิ้งขยะเรี่ยราดตั้งแต่ประถม เพราะคน
ในกลุ่มสอนเราว่าการทำาแบบนั้นจะส่งผลเสียต่อสภาพแวดล้อมและ
ช่วยทำาความสะอาดพื้นที่แถวโรงเรียน แม้จะเป็นช่วงสั้นๆแต่คำาสอนว่า
อย่าทิ้งขยะเรี่ยราดยังคงอยู่กับฉันเสมอ
คนที่ไม่รู้จักฉันจะคิดว่าฉันโตมาในบ้านที่มีทั้งพ่อและแม่ จึงไม่มี
บาดแผลทางใจวัยเด็ก แต่ไม่จริงเลยค่ะ ฉันโชคดีที่ตัวเองเคยเจอ
หลากหลายมุมมอง เคยเห็นความสัมพันธ์ที่ดีหลายแบบ ฉันก็หวังว่า
พอเป็นผู้ใหญ่ ชีวิตฉันจะแตกต่างจากเดิมบ้าง
ซื่่�อื่สัต่ย์ (อื่ย่างน้อื่ยก็ต่่อื่ต่ัวเอื่ง) กับัเร่�อื่งในวัยเด็ก
ความซื่อสัตย์ไม่ใช่การหักหลัง แต่เป็นความกล้าหาญต่างหาก
หยุดแสร้งว่าประสบการณ์ที่มีเป็นเรื่องดี ให้ความจริงได้ปลดปล่อยคุณ
ออกมาดีกว่าค่ะ
คนเรามักบิดเบือนความจริงเกี่ยวกับความสัมพันธ์และประสบ-
การณ์ของตัวเอง เพราะกลัวการยอมรับว่ามันเป็นเรื่องจริง แต่การ
Aw Drama 1-304OK 22.3.67.indd 23
Aw Drama 1-304OK 22.3.67.indd 23 3/22/24 12:58
3/22/24 12:58
24 วิิธีีเซฟใจในวิันที่ี�ครอบครัวิไม่่ใช่่เซฟโซน
ปฏิเสธจะทำาให้คุณไม่อาจเป็นอิสระจากอดีตได้
เรื่องเกี่ยวกับคนในครอบครัวที่ทำาใจได้ยาก
➤ พวกเขาเห็นแก่ตัว ยอมทำาทุกอย่างเพื่อให้ได้สิ่งที่ต้องการ
➤ พวกเขาไม่ใช่ผู้ฟังที่ดี
➤ พวกเขาเปลี่ยนแปลงได้ แต่ก็แค่ชั่วคราว
➤ พวกเขาใจร้าย บ่อยครั้งที่ใจร้ายแบบไร้เหตุผล
➤ พวกเขาเป็นฝ่ายรับมาก แต่ให้น้อย
➤ พวกเขาไม่ใช่คนที่สมบูรณ์แบบ
สาเหต่่ท่�เราไม่่ค่ยกันเร่�อื่งปัญหาครอื่บัครัว
คิดีว่าปัญหาครู้อบครู้ัวเป็นเงาสัะที่้อนต้ัวต้นเรู้า
สิ่งที่เกิดขึ้นกับคุณไม่ใช่สิ่งที่คุณเป็นนะคะ ในวัยเด็ก คุณต้องเจอ
กับหลายอย่างที่คุณควบคุมไม่ได้ คุณควบคุมสภาพแวดล้อมไม่ได้
ดังนั้นไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นในสภาพแวดล้อมนั้น คุณจึงโทษตัวเอง
ประสบการณ์วัยเด็กหล่อหลอมตัวคุณ เมื่อคุณโตเป็นผู้ใหญ่ คุณ
มีอำานาจที่จะเลือกว่าคุณอยากเป็นผลพวงจากประสบการณ์เหล่านั้นไหม
หรืออยากก้าวข้ามมันไปแล้วสร้างความแตกต่างขึ้นมา
รู้้้สัึกอับอายขายหน้าแล่ะล่ะอายใจั
สิ่งหนึ่งที่ช่วยคุณอายเรื่องครอบครัวน้อยลง คือการได้ฟังว่า
มีคนอื่นๆ ที่เจอเรื่องแบบเดียวกัน คุณจะเชื่อมต่อกับคนเหล่านั้นได้
ก็ต่อเมื่อคุณซื่อสัตย์กับตัวเอง คุณต้องกล้าพอที่จะเล่าความจริง
ความละอายเกิดขึ้นเมื่อคุณเลือกที่จะเก็บงำาเรื่องต่างๆ ไว้กับตัว
Aw Drama 1-304OK 22.3.67.indd 24
Aw Drama 1-304OK 22.3.67.indd 24 3/22/24 12:58
3/22/24 12:58
25
บทท่� 1 ความผิิดปกติิเป็นแบบไหน
การเปิดเผยความลับเหล่านั้นจะปลดปล่อยความละอายได้ค่ะ การ
รักษาความเป็นส่วนตัวไม่ใช่การเก็บความลับนะคะ คุณสะดวกใจจะเล่า
มากน้อยแค่ไหนก็ได้ ความเป็นส่วนตัวจะเป็นตัวแยกว่าคุณจะเล่าเรื่อง
เหล่านั้นให้ใครฟังบ้าง บางครั้งที่คุณไม่ยอมเล่าปัญหาก็เพื่อปกป้อง
คนที่ทำาร้ายคุณ บางทีสิ่งที่คุณทำาอยู่อาจเป็นการป้องกันไม่ให้คนอื่น
อับอายด้วยไม่ใช่เพื่อตัวคุณคนเดียว
พัยายามืเมืินปัญหา
การไม่สนใจปัญหาใหญ่ในครอบครัวจะทำาให้เราฟื้นฟูจากรูปแบบ
ที่ผิดปกติช้าลง คุณไม่สามารถฟื้นฟูจากสิ่งที่“ไม่เคยเกิดขึ้น” ได้หรอก
นะคะ เมื่อคุณเพิกเฉย พฤติกรรมแย่ๆ ก็จะยังคงอยู่ เพราะคุณกับ
ครอบครัวไม่ยอมรับรู้ว่ามีวงจรนี้อยู่และต้องแก้ไขให้ดีขึ้น
คิดีว่าไมื่มื่ใครู้เข้าใจั
คนมีชื่อเสียง ครู เพื่อน เพื่อนร่วมงาน และคนอื่นๆ อาจเคย
ประสบปัญหาที่คล้ายกัน การคิดว่าคุณเป็นคนเดียวที่เจอปัญหานี้ ไม่ใช่
วิธีที่ดีที่สุดในการหาคนที่เข้าใจคุณได้
ความเปราะบางเป็นสิ่งที่หลายคนได้พบเจอ เมื่อคุณดึงดูดคนที่
เหมือนกันเข้ามาแล้วต้องเปิดใจและซื่อสัตย์ต่อตัวเอง บางครั้งคุณอาจ
จะได้เจอ“คนที่เหมือนกัน”หลังจากยอมเล่าเรื่องตัวเองออกมาก็ได้ค่ะ
กล่ัวถ้้กต้ัดีสัิน
บางคนก็ไม่เข้าใจเรื่องราวของคุณ คุณเองก็ใช่ว่าจะเข้าใจเรื่องราว
ของคนอื่นเสมอไป ดังนั้นจงฝึกคิดไว้ว่า ถ้าบางคนไม่เข้าใจ ก็คิดเสียว่า
ไม่เป็นไร พอยอมรับข้อนี้ได้แล้ว ชีวิตจะง่ายขึ้นเยอะเลยค่ะ การแคร์ว่า
Aw Drama 1-304OK 22.3.67.indd 25
Aw Drama 1-304OK 22.3.67.indd 25 3/22/24 12:58
3/22/24 12:58
26 วิิธีีเซฟใจในวิันที่ี�ครอบครัวิไม่่ใช่่เซฟโซน
คนอื่นคิดอย่างไรเป็นเรื่องดีนะคะ แต่ถ้าแคร์มากไป คุณจะไม่สามารถ
เปลี่ยนแปลงอะไรให้ดีขึ้นได้ค่ะ
การู้ไดี้เห็นบาดีแผล่ที่างใจัถ้้กเปิดีเผย
Married... with Children คือรายการทีวีแนวซิตคอมรายการ
โปรดของฉันเลย ในรายการนั้น อัล บันดี ตัวละครหลักเป็นคนขาย
รองเท้าจอมอารมณ์บูด ช่วงชีวิตที่ดีที่สุดของเขาคือสมัยมัธยม เขา
แต่งงานกับเพ็ค มีลูกด้วยกันสองคน ชื่อบัทกับเคลลี่ เด็กๆเห็นพ่อแม่
ทะเลาะกัน และมักถูกทิ้งอยู่บ้านลำาพังโดยไม่มีอะไรกิน
ฉันจำาได้ว่ามีตอนหนึ่งที่เด็กๆหิวข้าวเลยไปหาของกินในครัว แล้ว
ก็ดีใจมากที่เจอช็อกโกแลตเก่าชิ้นหนึ่งอยู่หลังตู้เย็น มันเป็นรายการตลก
นะคะ ฉันเองก็ขำากับมุกหลายอย่างในเรื่อง แต่พอมาทำาความเข้าใจ
จริงๆ แล้ว ฉันก็เลยรู้ว่ารายการนี้ชี้ให้เห็นถึงครอบครัวที่ละเลยลูกๆใช้
คำาพูดทำาร้ายกันก่อให้เกิดความสัมพันธ์ครอบครัวที่ไม่ดี ซึ่งในตอนนั้น
ฉันคิดไม่ถึงเลย
พอเราไม่เข้าใจในสิ่งที่เราเห็น เราก็มักจะยังอยู่ในสถานการณ์
แย่ๆแบบนั้นต่อไป เราอาจจะรู้สึกว่า “ก็ปกตินี่ ยังไงก็เลี่ยงไม่ได้ คนอื่น
เขาก็เป็นเหมือนกัน” ดังนั้นการทำาความเข้าใจประสบการณ์ตัวเองให้ดีขึ้น
จึงต้องใช้มุมมองที่แตกต่างเข้ามาช่วยค่ะ
จิะเกิดอื่ะไรขึ้้�นเม่่�อื่เราเห็นปัญหาช่้า
ตราบใดที่ยังหายใจอยู่ ก็ไม่ช้าเกินที่จะเปลี่ยนแปลงมุมมองและ
พฤติกรรมหรอกนะคะ เราเชื่อกันว่าพอยิ่งแก่ตัวไปก็ยิ่งเปลี่ยนแปลง
ตัวเองยาก “ไม้แก่ดัดยาก” ไม่จริงเลยค่ะ! ถ้าคุณยอมให้ความร่วมมือ
มันก็เปลี่ยนกันได้ เปลี่ยนคำาใหม่ดีกว่าค่ะ “ไม้แก่ที่ไม่เต็มใจจะดัดยาก”
แค่คุณหยิบเล่มนี้ขึ้นมาอ่าน ก็ถือว่าคุณอยากหาข้อมูลใหม่ๆและเต็มใจ
Aw Drama 1-304OK 22.3.67.indd 26
Aw Drama 1-304OK 22.3.67.indd 26 3/22/24 12:58
3/22/24 12:58
27
บทท่� 1 ความผิิดปกติิเป็นแบบไหน
จะหาทางออกแล้วค่ะ
บางครั้งปัญหาเราเห็นอยู่ทนโท่ แต่เพราะครอบครัวปลูกฝัง
ความเชื่อกันมานาน กว่าคุณจะรู้ตัวว่ามีวงจรผิดปกติก็อาจต้องใช้เวลา
เหมือนกับมาย คุณอาจจะเริ่มจากสังเกตคนอื่นๆแล้วเอามาแยกความ
ต่างกับกรณีของตัวเองดูก็ได้
กิจวัตรหลังเลิกเรียนอย่างหนึ่งของฉัน คือการดูรายการ The
Oprah Winfrey Show พอลองกลับไปดูตอนเก่าๆฉันก็เพิ่งมารู้ว่าตัวเอง
ยังไม่พร้อมกับหัวข้อที่ถูกนำาเสนอ แต่แน่นอนว่าฉันจำาเป็นต้องได้ยินเรื่อง
เหล่านั้น รายการมีทั้งหัวข้อเกี่ยวกับการทารุณ การละเลย มีแจกของ
มีสัมภาษณ์ดารา และมีหลากหลายหัวข้อมากทีเดียว รายการนี้ทำาให้ฉัน
รู้เรื่องราวชีวิตของคนอื่นและคำาศัพท์เฉพาะทางของเรื่องต่างๆสื่อเหล่านี้
เป็นช่องทางหนึ่งให้เราได้เรียนรู้และเชื่อมโยงสิ่งที่เราเห็นกับสถานการณ์
ของตัวเอง
เริ่มคิดใหม่ไม่มีคำาว่าสายเกินไปหรอกค่ะ คุณเรียนรู้เรื่องใหม่อยู่
ทุกวัน การนำาแนวคิดใหม่ๆ เข้ามาใช้ก็เป็นสิ่งที่เลือกได้เอง ฉันจะสอน
วิธีเปลี่ยนตัวเองเพื่อพลิกชีวิตและความสัมพันธ์ของคุณผ่านหนังสือเล่มนี้
คุณเป็นส่วนสำาคัญในความสัมพันธ์ต่างๆในชีวิต ดังนั้นเมื่อคุณเปลี่ยน
ทัศนคติ พฤติกรรม และความคาดหวัง คุณก็จะเห็นความสัมพันธ์ที่
เปลี่ยนไป ถึงอีกฝ่ายจะไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปเลยก็ตาม
ในหนังสือเล่มนี้ ฉันจะยำ้าแนวคิดหนึ่งบ่อยๆนั่นคือ คุณเปลี่ยน
คนอื่นไม่ได้ ถ้าฉันมีพลังวิเศษ ฉันอยากได้พลังที่เปลี่ยนคนอื่นได้ แต่
ไม่มีใครมีพลังแบบนั้นหรอกค่ะ เมื่อเรามีปัญหาความสัมพันธ์ ทางออก
ที่เราชอบนึกถึงก็คือการเปลี่ยนคนอื่น หลังจากคุณอ่านเล่มนี้จบ ฉันหวัง
ว่าอย่างน้อยคุณจะรู้ว่า แค่เปลี่ยนตัวคุณเองก็เพียงพอแล้ว
Aw Drama 1-304OK 22.3.67.indd 27
Aw Drama 1-304OK 22.3.67.indd 27 3/22/24 12:58
3/22/24 12:58

More Related Content

Similar to ตัวอย่าง_หนังสือวิธีเซฟใจในวันที่ครอบครัวไม่ใช่เซฟโซน.pdf

Similar to ตัวอย่าง_หนังสือวิธีเซฟใจในวันที่ครอบครัวไม่ใช่เซฟโซน.pdf (6)

2560 project
2560 project 2560 project
2560 project
 
Work1
Work1Work1
Work1
 
การจะมีอีคิวที่ดีในชีวิตคู่และความรัก
การจะมีอีคิวที่ดีในชีวิตคู่และความรักการจะมีอีคิวที่ดีในชีวิตคู่และความรัก
การจะมีอีคิวที่ดีในชีวิตคู่และความรัก
 
Case schizophrenia 28 ก.ย. 54
Case schizophrenia 28 ก.ย. 54Case schizophrenia 28 ก.ย. 54
Case schizophrenia 28 ก.ย. 54
 
Mameyah
MameyahMameyah
Mameyah
 
ทุกศาสนา
ทุกศาสนาทุกศาสนา
ทุกศาสนา
 

More from Piyapong Sirisutthanant

ตัวอย่างหนังสือ_คู่มือทำธุรกิจฉบับคนคิดสร้างสรรค์.pdf
ตัวอย่างหนังสือ_คู่มือทำธุรกิจฉบับคนคิดสร้างสรรค์.pdfตัวอย่างหนังสือ_คู่มือทำธุรกิจฉบับคนคิดสร้างสรรค์.pdf
ตัวอย่างหนังสือ_คู่มือทำธุรกิจฉบับคนคิดสร้างสรรค์.pdf
Piyapong Sirisutthanant
 
ตัวอย่างหนังสือ_คิดอย่างไรไม่ให้คิดไปเอง.pdf
ตัวอย่างหนังสือ_คิดอย่างไรไม่ให้คิดไปเอง.pdfตัวอย่างหนังสือ_คิดอย่างไรไม่ให้คิดไปเอง.pdf
ตัวอย่างหนังสือ_คิดอย่างไรไม่ให้คิดไปเอง.pdf
Piyapong Sirisutthanant
 

More from Piyapong Sirisutthanant (20)

ตัวอย่าง_หนังสือความสำเร็จเริ่มจากรายล้อมตัวเองด้วยคนที่ใช่.pdf
ตัวอย่าง_หนังสือความสำเร็จเริ่มจากรายล้อมตัวเองด้วยคนที่ใช่.pdfตัวอย่าง_หนังสือความสำเร็จเริ่มจากรายล้อมตัวเองด้วยคนที่ใช่.pdf
ตัวอย่าง_หนังสือความสำเร็จเริ่มจากรายล้อมตัวเองด้วยคนที่ใช่.pdf
 
ตัวอย่าง_หนังสือสำเร็จทุกเป้าหมายด้วยการจัดระเบียบชีวิตดิจิทัล.pdf
ตัวอย่าง_หนังสือสำเร็จทุกเป้าหมายด้วยการจัดระเบียบชีวิตดิจิทัล.pdfตัวอย่าง_หนังสือสำเร็จทุกเป้าหมายด้วยการจัดระเบียบชีวิตดิจิทัล.pdf
ตัวอย่าง_หนังสือสำเร็จทุกเป้าหมายด้วยการจัดระเบียบชีวิตดิจิทัล.pdf
 
ตัวอย่าง_หนังสือทักษะออกแบบชีวิตที่ใช้ได้ตลอดชีวิต.pdf
ตัวอย่าง_หนังสือทักษะออกแบบชีวิตที่ใช้ได้ตลอดชีวิต.pdfตัวอย่าง_หนังสือทักษะออกแบบชีวิตที่ใช้ได้ตลอดชีวิต.pdf
ตัวอย่าง_หนังสือทักษะออกแบบชีวิตที่ใช้ได้ตลอดชีวิต.pdf
 
ตัวอย่างหนังสือ 8 กฎทองของคนอยากเข้าใจรัก.pdf
ตัวอย่างหนังสือ 8 กฎทองของคนอยากเข้าใจรัก.pdfตัวอย่างหนังสือ 8 กฎทองของคนอยากเข้าใจรัก.pdf
ตัวอย่างหนังสือ 8 กฎทองของคนอยากเข้าใจรัก.pdf
 
ตัวอย่างหนังสือ_เลิกขายดีกำไรน้อย ยุคนี้ต้องขายน้อยกำไรงาม.pdf
ตัวอย่างหนังสือ_เลิกขายดีกำไรน้อย ยุคนี้ต้องขายน้อยกำไรงาม.pdfตัวอย่างหนังสือ_เลิกขายดีกำไรน้อย ยุคนี้ต้องขายน้อยกำไรงาม.pdf
ตัวอย่างหนังสือ_เลิกขายดีกำไรน้อย ยุคนี้ต้องขายน้อยกำไรงาม.pdf
 
ตัวอย่างหนังสือ_กล้าที่จะเลิก คำว่าพ่ายแพ้ไม่ได้หมายความว่าพยายามไม่พอ.pdf
ตัวอย่างหนังสือ_กล้าที่จะเลิก คำว่าพ่ายแพ้ไม่ได้หมายความว่าพยายามไม่พอ.pdfตัวอย่างหนังสือ_กล้าที่จะเลิก คำว่าพ่ายแพ้ไม่ได้หมายความว่าพยายามไม่พอ.pdf
ตัวอย่างหนังสือ_กล้าที่จะเลิก คำว่าพ่ายแพ้ไม่ได้หมายความว่าพยายามไม่พอ.pdf
 
ตัวอย่างหนังสือ _ความลับเรื่องเงินที่แม่อยากบอกลูกก่อนตาย.pdf
ตัวอย่างหนังสือ _ความลับเรื่องเงินที่แม่อยากบอกลูกก่อนตาย.pdfตัวอย่างหนังสือ _ความลับเรื่องเงินที่แม่อยากบอกลูกก่อนตาย.pdf
ตัวอย่างหนังสือ _ความลับเรื่องเงินที่แม่อยากบอกลูกก่อนตาย.pdf
 
ตัวอย่างหนังสือ_ยกหิน 10 ตันออกจากอก.pdf
ตัวอย่างหนังสือ_ยกหิน 10 ตันออกจากอก.pdfตัวอย่างหนังสือ_ยกหิน 10 ตันออกจากอก.pdf
ตัวอย่างหนังสือ_ยกหิน 10 ตันออกจากอก.pdf
 
โปรดเยียวยาใจฉันด้วยหนังสือเล่มนั้น_ตัวอย่าง.pdf
โปรดเยียวยาใจฉันด้วยหนังสือเล่มนั้น_ตัวอย่าง.pdfโปรดเยียวยาใจฉันด้วยหนังสือเล่มนั้น_ตัวอย่าง.pdf
โปรดเยียวยาใจฉันด้วยหนังสือเล่มนั้น_ตัวอย่าง.pdf
 
ความเจริญไม่เคยเกิดขึ้นเอง Power and progress_ตัวอย่าง.pdf
ความเจริญไม่เคยเกิดขึ้นเอง Power and progress_ตัวอย่าง.pdfความเจริญไม่เคยเกิดขึ้นเอง Power and progress_ตัวอย่าง.pdf
ความเจริญไม่เคยเกิดขึ้นเอง Power and progress_ตัวอย่าง.pdf
 
ตัวอย่างหนังสือ_พูดคุยอย่างไร ได้ทั้งใจ ได้ทั้งงาน.pdf
ตัวอย่างหนังสือ_พูดคุยอย่างไร ได้ทั้งใจ ได้ทั้งงาน.pdfตัวอย่างหนังสือ_พูดคุยอย่างไร ได้ทั้งใจ ได้ทั้งงาน.pdf
ตัวอย่างหนังสือ_พูดคุยอย่างไร ได้ทั้งใจ ได้ทั้งงาน.pdf
 
ตัวอย่างหนังสือ_ฉันแข็งแกร่งพอที่จะเชื่อความคิดของตัวเอง.pdf
ตัวอย่างหนังสือ_ฉันแข็งแกร่งพอที่จะเชื่อความคิดของตัวเอง.pdfตัวอย่างหนังสือ_ฉันแข็งแกร่งพอที่จะเชื่อความคิดของตัวเอง.pdf
ตัวอย่างหนังสือ_ฉันแข็งแกร่งพอที่จะเชื่อความคิดของตัวเอง.pdf
 
ตัวอย่างหนังสือ_ถกเถียงอย่างไร ให้เราเข้าใจกันมากกว่าเดิม.pdf
ตัวอย่างหนังสือ_ถกเถียงอย่างไร ให้เราเข้าใจกันมากกว่าเดิม.pdfตัวอย่างหนังสือ_ถกเถียงอย่างไร ให้เราเข้าใจกันมากกว่าเดิม.pdf
ตัวอย่างหนังสือ_ถกเถียงอย่างไร ให้เราเข้าใจกันมากกว่าเดิม.pdf
 
ตัวอย่างหนังสือ_เพราะฉันแตกต่างจึงบริหารเวลาแบบนี้.pdf
ตัวอย่างหนังสือ_เพราะฉันแตกต่างจึงบริหารเวลาแบบนี้.pdfตัวอย่างหนังสือ_เพราะฉันแตกต่างจึงบริหารเวลาแบบนี้.pdf
ตัวอย่างหนังสือ_เพราะฉันแตกต่างจึงบริหารเวลาแบบนี้.pdf
 
ตัวอย่างหนังสือ_เธอหรือฉันใครกันที่Toxic.pdf
ตัวอย่างหนังสือ_เธอหรือฉันใครกันที่Toxic.pdfตัวอย่างหนังสือ_เธอหรือฉันใครกันที่Toxic.pdf
ตัวอย่างหนังสือ_เธอหรือฉันใครกันที่Toxic.pdf
 
ตัวอย่างหนังสือ_เก่งด้วยศาสตร์.pdf
ตัวอย่างหนังสือ_เก่งด้วยศาสตร์.pdfตัวอย่างหนังสือ_เก่งด้วยศาสตร์.pdf
ตัวอย่างหนังสือ_เก่งด้วยศาสตร์.pdf
 
ตัวอย่างหนังสือ_ถ้าสอนงานแบบนี้.pdf
ตัวอย่างหนังสือ_ถ้าสอนงานแบบนี้.pdfตัวอย่างหนังสือ_ถ้าสอนงานแบบนี้.pdf
ตัวอย่างหนังสือ_ถ้าสอนงานแบบนี้.pdf
 
ตัวอย่างหนังสือ_แค่มองให้เป็น.pdf
ตัวอย่างหนังสือ_แค่มองให้เป็น.pdfตัวอย่างหนังสือ_แค่มองให้เป็น.pdf
ตัวอย่างหนังสือ_แค่มองให้เป็น.pdf
 
ตัวอย่างหนังสือ_คู่มือทำธุรกิจฉบับคนคิดสร้างสรรค์.pdf
ตัวอย่างหนังสือ_คู่มือทำธุรกิจฉบับคนคิดสร้างสรรค์.pdfตัวอย่างหนังสือ_คู่มือทำธุรกิจฉบับคนคิดสร้างสรรค์.pdf
ตัวอย่างหนังสือ_คู่มือทำธุรกิจฉบับคนคิดสร้างสรรค์.pdf
 
ตัวอย่างหนังสือ_คิดอย่างไรไม่ให้คิดไปเอง.pdf
ตัวอย่างหนังสือ_คิดอย่างไรไม่ให้คิดไปเอง.pdfตัวอย่างหนังสือ_คิดอย่างไรไม่ให้คิดไปเอง.pdf
ตัวอย่างหนังสือ_คิดอย่างไรไม่ให้คิดไปเอง.pdf
 

ตัวอย่าง_หนังสือวิธีเซฟใจในวันที่ครอบครัวไม่ใช่เซฟโซน.pdf

  • 3. “หลายคนต้องไปหานักบำาบัดเพื่อจัดการกับความคิดทั้งหลาย ในหัวตัวเอง โดยมองข้ามไปว่าความท้าทายที่ยากที่สุดมักจะเป็นเรื่อง ความสัมพันธ์ครอบครัว ในเล่มนี้ นักบำาบัด Nedra Tawwab จะแนะ แนวทางที่ทำาได้จริง เพื่อช่วยรับมือปัญหาที่คุณมีกับพ่อแม่ พี่น้อง ลูกๆ กระทั่งรับมือกับพ่อแม่คู่ชีวิตก็ยังมี ในยุคที่คนหันมาใส่ใจสุขภาพจิตกัน อย่างที่ควรเป็นแล้ว นี่คือคู่มือในการสร้างครอบครัวที่ดีกว่าเดิมได้เลย” – Adam Grant, #1 นักเขียนขายดีของ New York Times best selling เจ้าของเรื่อง Think Again และโฮสต์ของพอดแคสต์ TED Re:Thinking “หากไม่มีมุมมองใหม่ๆ และความเชื่อว่าจะสามารถทำาลายวงจรนี้ ลงได้ เราอาจจะติดอยู่กับรูปแบบเดิมๆ มากกว่าจะได้ใช้ชีวิตของเราเอง Nedra Tawwab ได้แนะแนวทางด้วยความเห็นอกเห็นใจและความชัดเจน ให้พวกเราได้เข้าใจการเติบใหญ่ของเรา และทำาให้เราเป็นคนที่สามารถ เปลี่ยนชีวิตตัวเองไปได้” – Lori Gottlieb, นักเขียนหนังสือขายดี Maybe You Should Talk to Someone และโฮสต์ร่วมของพอดแคสต์ Dear Therapists ของ New York Times คำานิยม่ Aw Drama 1-304OK 22.3.67.indd 4 Aw Drama 1-304OK 22.3.67.indd 4 3/22/24 12:58 3/22/24 12:58
  • 4. “ในหนังสือเล่มนี้ นักบำาบัด Nedra Tawwab จะมอบเครื่องมือ ในการทำาความเข้าใจความสัมพันธ์ในครอบครัว และจัดการให้มัน ออกมาในรูปแบบที่ดีต่อใจได้ ในขณะที่เรายังสามารถซื่อสัตย์ต่อตัวเอง ได้ว่าเราเป็นใครและต้องการอะไรกันแน่ เป็นหนังสือที่มอบทางเดินต่อ อันทรงพลังให้เราได้” – Charlamagne Tha God, นักเขียนหนังสือขายดีของ New York Times และโฮสต์ร่วมของ The Breakfast Club “หนังสือเล่มนี้เป็นคู่มือที่น่าสนใจ ทำาให้เราเข้าใจว่าในครอบครัว เรากำาลังเกิดอะไรขึ้นบ้าง แนะวิธีแก้ปัญหาเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลง ที่ดียามจำาเป็นซึ่งใช้ได้จริง” – Myleik Teele ผู้ก่อตั้ง CURLBOX “ความสัมพันธ์ในครอบครัวที่เราเติบโตมาอาจเป็นความจริงของ ชีวิตที่เราไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้ มันมีรูปแบบ มีกฎเกณฑ์ ไม่ว่าจะดี หรือแย่ก็ตาม ในหนังสือเล่มนี้ Nedra Tawwab ได้พลิกสมมติฐานนี้ เผยให้เห็นความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนทั้งหลาย และยื่นเครื่องมือให้เราสร้าง ความเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นมาได้” – Judson Brewer, MD (แพทยศาสตร์บัณฑิต), PhD (ปรัชญา ดุษฎีบัณฑิต) และนักเขียนขายดีของ New York Times bestselling เจ้าของเรื่อง Unwinding Anxiety Aw Drama 1-304OK 22.3.67.indd 5 Aw Drama 1-304OK 22.3.67.indd 5 3/22/24 12:58 3/22/24 12:58
  • 5. บทนำา 8 PART 1 ความผิิดปกติิ บทที่ 1 ความผิดปกติเป็นแบบไหน 16 บทที่ 2 การลำ้าเส้น ความสัมพันธ์แบบพึ่งพายึดติด และความผูกพันเกินขอบเขต 34 บทที่ 3 การเสพติด การทอดทิ้ง และการทำาร้าย 48 บทที่ 4 ซำ้าวงจรเดิม 68 บทที่ 5 บาดแผลทางใจข้ามรุ่น 84 PART 2 การเยีียีวยีา บทที่ 6 อย่าปล่อยให้ความผิดปกติดำาเนินต่อ 98 บทที่ 7 การเติบโต กับ การอยู่รอด 116 บทที่ 8 วิธีจัดการความสัมพันธ์กับคนที่ไม่ยอมเปลี่ยน 132 บทที่ 9 การจบความสัมพันธ์เมื่อคนอื่นไม่ยอมเปลี่ยน 144 บทที่ 10 สร้างแรงสนับสนุนนอกครอบครัว 168 สารบััญ Aw Drama 1-304OK 22.3.67.indd 6 Aw Drama 1-304OK 22.3.67.indd 6 3/22/24 12:58 3/22/24 12:58
  • 6. PART 3 การเติิบโติ บทที่ 11 การแก้ปัญหาความสัมพันธ์กับพ่อแม่ 180 บทที่ 12 การแก้ปัญหาความสัมพันธ์กับพี่น้อง 200 บทที่ 13 การแก้ปัญหาความสัมพันธ์กับลูก 220 บทที่ 14 การแก้ปัญหาความสัมพันธ์กับครอบครัวขยาย 246 บทที่ 15 ความสัมพันธ์กับครอบครัวของคู่ชีวิต 258 บทที่ 16 การจัดการครอบครัวผสม 278 บทที่ 17 จุดเริ่มต้นใหม่ 290 คำาถามที่พบบ่อย 298 Aw Drama 1-304OK 22.3.67.indd 7 Aw Drama 1-304OK 22.3.67.indd 7 3/22/24 12:58 3/22/24 12:58
  • 7. 8 วิิธีีเซฟใจในวิันที่ี�ครอบครัวิไม่่ใช่่เซฟโซน ความสัมพันธ์เป็นหนึ่งในเรื่องที่ส่งผลต่อสุขภาพจิตและอารมณ์ อย่างมาก ความสัมพันธ์ทำาให้คุณเจ็บปวดหรืออาจช่วยเยียวยาคุณก็ได้ ความสัมพันธ์ไม่ว่าจะเป็นในด้านบวกหรือลบล้วนส่งผลต่อตัวคุณ นักจิตวิทยาพบว่าการรักษาความสัมพันธ์ที่ดีสามารถยืดอายุขัย ของคุณได้ ในขณะที่ความสัมพันธ์ที่ไม่ดีอาจนำาไปสู่ปัญหาสุขภาพ เช่น มะเร็ง โรคหัวใจ อาการซึมเศร้า ไปจนถึงการใช้สารเสพติด เราจึงต้อง จริงจังกับการดูแลความสัมพันธ์ ถ้าเป็นไปได้ก็ต้องเสริมความสัมพันธ์ ของเราให้แข็งแกร่งขึ้นด้วย ทั้งหมดนี้ฉันกล่าวถึงความสัมพันธ์ทุกประเภท แต่ความสัมพันธ์ ที่มีผลต่อตัวเรามากที่สุดคงหนีไม่พ้นความสัมพันธ์ในครอบครัว หนังสือเล่มแรกของฉัน Set Boundaries, Find Peace: A Guide to Reclaiming Yourself อธิบายความสำาคัญของขอบเขตความสัมพันธ์ ถ้าคุณขีดเส้นขอบเขตดี คุณจะเป็นสุขแม้อีกฝ่ายจะไม่ได้เปลี่ยนแปลง ตัวเองก็ตาม หนังสือเล่มนั้นช่วยให้คุณรับมือกับความท้าทายและเรื่อง วุ่นๆ ในความสัมพันธ์ได้ แต่เล่มนี้ไม่ได้เน้นเรื่องขอบเขตความสัมพันธ์ แต่เน้นไปที่วิธีที่จะทำาให้คุณสบายใจในความสัมพันธ์กับสมาชิกใน ครอบครัว คนที่เข้ารับการบำาบัดส่วนใหญ่จะมาปรึกษาเรื่องความสัมพันธ์ใน ครอบครัว จากมุมมองของนักบำาบัดแล้ว หลายปัญหาในการแต่งงาน มิตรภาพ และความสัมพันธ์อื่นๆ มักจะมีต้นกำาเนิดมาจากครอบครัว บัทนำา Aw Drama 1-304OK 22.3.67.indd 8 Aw Drama 1-304OK 22.3.67.indd 8 3/22/24 12:58 3/22/24 12:58
  • 8. 9 บทนำำ� หลายคนอาจจะบอกว่า “ไม่ใช่ทุกอย่างที่จะเกี่ยวกับเรื่องครอบครัวนะ” แต่หลายครั้งมันก็เกี่ยว คำาถามหนึ่งที่มักจะเจอในการบำาบัดคือ “ใครเป็นคนแรกที่ทำาให้ คุณรู้สึกแบบนั้น?” และคำาตอบก็มักจะย้อนไปยังประสบการณ์แรกที่ เกิดขึ้นในครอบครัว ความสัมพันธ์ที่มีปัญหาที่พบเห็นบ่อยที่สุดคือความสัมพันธ์ใน ครอบครัว เพราะเราใช้เวลาร่วมกับครอบครัวค่อนข้างมากตั้งแต่เด็ก จนโต คนรอบตัวเราในวัยเด็กคือครูคนแรกๆ ถ้าเราอยากมีมุมมอง ค่านิยม หรือใช้ชีวิตต่างจากคนในครอบครัวบ้าง จะเกิดอะไรขึ้น? ก็อาจ สร้างความตึงเครียดหรือความเกลียดชังขึ้นได้ จริงๆ แล้ว ตอนที่คุณยังเด็ก คุณไม่ค่อยมีโอกาสได้เป็นตัวของ ตัวเองหรอก การค้นหาตัวเองให้เจอและออกจากกรอบหรือสิ่งที่คนอื่น บอกให้คุณเป็น ก็ไม่ใช่เรื่องแย่ แต่ถ้าเกิดมีเรื่องกระทบกระทั่งกันขึ้นมา ก็ไม่ต้องเป็นห่วง ในเล่มนี้ ฉันจะอธิบายว่า “คุณจะเป็นตัวเองกับคน ในครอบครัวได้อย่างไร” บางคนอาจบอกว่า “ชีวิตวัยเด็กไม่มีผลต่อตัวฉันในวันนี้หรอก” ไม่จริงนะคะ คุณดึงแต่พฤติกรรมดีๆ และลืมพฤติกรรมแย่ๆที่ไม่อยาก มีติดตัวไม่ได้หรอกค่ะ ทุกพฤติกรรมจะติดอยู่กับคุณไปเรื่อย จนกว่า คุณตั้งใจจะเปลี่ยนมัน แนวโน้มภายในครอบครัวจะกระตุ้นให้เรายอมรับ บรรทัดฐานบางอย่างในครอบครัวได้ ตัวอย่างเช่น ฉันพบว่าคนที่มาจากครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว มัก ไม่ค่อยเข้าใจความสัมพันธ์พ่อแม่ลูกที่อยู่กันพร้อมหน้า พอคนเหล่านี้ มีคู่ที่คอยช่วยเลี้ยงลูก พวกเขาจะเข้าใจการมีส่วนร่วมของทั้งสองฝ่าย ได้ยาก วัยเด็กที่ “สมบูรณ์แบบ” ก็ไม่มีอยู่จริงค่ะ ถึงภายนอกจะดูปกติ แต่หลังม่านเราไม่มีทางรู้ได้เลยว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง สำาหรับบางคน ความ สัมพันธ์ที่ซับซ้อนที่สุดมักจะเป็นความสัมพันธ์ครอบครัว Aw Drama 1-304OK 22.3.67.indd 9 Aw Drama 1-304OK 22.3.67.indd 9 3/22/24 12:58 3/22/24 12:58
  • 9. 10 วิิธีีเซฟใจในวิันที่ี�ครอบครัวิไม่่ใช่่เซฟโซน หลายคนบอกฉันว่า อยากเปลี่ยนหรือพัฒนาความสัมพันธ์กับ ครอบครัวโดยเฉพาะกับพ่อแม่ พี่น้อง และกับสมาชิกในครอบครัวขยาย อย่างปู่ ย่า ลุง ป้า น้า อาและญาติๆ มากกว่าคนอื่นๆ อีกปัญหาใหญ่ที่ฉันเคยเห็นคือ ความสัมพันธ์กับพ่อตาแม่ยาย และสมาชิกครอบครัวใหม่หลังแต่งงาน ความสัมพันธ์ครอบครัวยังเป็นตัวกำาหนดว่าเราจะสานความ สัมพันธ์ภายนอกบ้านอย่างไร รวมถึงการสร้างมิตรภาพและความ สัมพันธ์กับคู่รักด้วย ตอนที่ฉันเสนอวิธีแก้ปัญหา หลายคนถามว่าแล้วเอาไปใช้กับ ครอบครัวได้ด้วยไหม? คำาตอบคือใช้ได้ค่ะ ฉันรู้ว่าการนำาวิธีแก้ทั่วๆไป ไปใช้ในครอบครัวเป็นเรื่องยาก เพราะพอเป็นเรื่องครอบครัวแล้ว เราอาจ สร้างข้อยกเว้นที่ไม่ถูกต้องขึ้นมาเอง ซึ่งเราไม่ควรพลาดในจุดนี้ ไม่ว่า อีกฝ่ายจะเป็นใคร อย่าให้เขามาทำาร้ายคุณได้นะคะ หนังสือเล่มนี้ไม่ได้จะโทษคนอื่นที่ทำาให้ชีวิตคุณเป็นแบบนี้ คุณ จะได้รับเครื่องมือช่วยพัฒนาทักษะที่เสริมความมั่นใจเมื่อต้องเผชิญกับ ครอบครัวที่มีปัญหา ถ้าคุณต้องเห็นหรือต้องทนกับอะไรแบบนี้ก็อาจ เป็นเรื่องที่ทำาใจยาก ฉันเองก็เคยเลี่ยงหรือไม่สนใจปัญหาในครอบครัว เพื่อให้ครอบครัวยังเป็นเหมือนเดิมเช่นกันค่ะ หลายครั้งที่เราไม่ยอมพูดตรงๆ เรื่องครอบครัว เพราะเรากลัว บทสนทนาอันแสนอึดอัดหรือรู้สึกว่าตัวเองทิ้งครอบครัวไว้เบื้องหลัง การ ได้ปลดปล่อยความสัมพันธ์ครอบครัวนั้นเป็นเพียงหนึ่งทางออกของ ใครหลายคน แต่การตั้งใจพูดคุยกันที่อาจจะฟังดูยากก็สร้างการเปลี่ยน- แปลงที่ดีได้เช่นกันค่ะ ฉันจะสอนวิธีรับมือกับปัญหาความสัมพันธ์ในครอบครัวและวิธี ตัดความสัมพันธ์ที่คุณไม่สามารถคุมได้ออกไป คุณไม่จำาเป็นต้องทนกับ พฤติกรรมร้ายๆ ของคนอื่นหรอกนะคะ และคุณก็ไม่จำาเป็นต้องตัดเขา ออกจากชีวิตด้วยเหมือนกัน ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับความอดทนและความใจดี Aw Drama 1-304OK 22.3.67.indd 10 Aw Drama 1-304OK 22.3.67.indd 10 3/22/24 12:58 3/22/24 12:58
  • 10. 11 บทนำำ� ของคุณกับพฤติกรรมแย่ๆ ของอีกฝ่าย ปัญหาที่ฉันพูดถึงไม่ใช่แค่การ ถูกทำาร้ายหรือถูกทอดทิ้งนะคะ แต่ยังรวมถึงการนินทา ความสัมพันธ์กับ ครอบครัวของคู่ชีวิตที่ไม่ปกติสุข ความรู้สึกเหมือนเป็นแกะดำา และการ ต้องรับมือกับคนในครอบครัวที่ใช้สารเสพติดด้วย ฉันจะแนะนำาเคล็ดลับที่นำาไปใช้ได้จริง ฉันได้ย่อยเนื้อหายากๆ ให้รวบรัด ซึ่งจะช่วยตอบคำาถามสำาคัญได้ 2 อย่าง นั่นคือ • จะสานความสัมพันธ์กับครอบครัวให้ดีได้อย่างไรถ้าปัญหา ภายในยังคุกรุ่นอยู่? • ถ้าไม่อยากรักษาความสัมพันธ์แล้ว จะตัดคนในครอบครัว ออกไปได้อย่างไรบ้าง? เตรียมสมุดไว้จดหรือเตรียมแอปจดโน้ตไว้ให้ดีเลยค่ะ เพราะ ระหว่างที่อ่านไป การได้มองย้อนตัวเอง ลองคิด และลองเอาประสบ- การณ์ในเล่มนี้ไปใช้จริง จะช่วยได้เยอะทีเดียวค่ะ เพราะการเขียนคือ การระบายอย่างหนึ่ง มันช่วยให้คุณจัดการความคิดอย่างลุ่มลึกได้ ใน PART1: ความผิดปกติ ฉันจะอธิบายว่าความผิดปกติเป็น แบบไหน และระบุว่ามีอะไรที่เรียกว่าผิดปกติได้บ้าง รวมถึงบาดแผล ทางใจ การลำ้าเส้น ความสัมพันธ์แบบยึดติด ความผูกพันเกินขอบเขต และการเสพติด เราจะมาดูกันว่าทำาไมคนเราถึงมักจะทำาผิดซำ้าสอง ทำาแบบเดิมๆ ทั้งที่ได้ผลลัพธ์แย่ๆ และสร้างผลกระทบที่เจ็บปวดจากรุ่นสู่รุ่น ใน PART2: การฟื้นฟู ฉันจะเจาะลึกลงไปใน 2 ตัวเลือกที่คุณ มีถ้าอยากทำาลายวงจรที่มีอยู่ หนึ่งคือรู้จักบริหารความสัมพันธ์กับคนที่ ไม่มีวันเปลี่ยนแปลงตัวเอง หรือสองคือตัดความสัมพันธ์เพราะคนไม่ยอม เปลี่ยนแปลงตัวเอง ในส่วนนี้ ฉันจะแนะนำาแนวทางในการเติบโตหรืออยู่รอด และ แนะนำาการสร้างระบบที่คอยสนับสนุนคุณจากภายนอกครอบครัว Aw Drama 1-304OK 22.3.67.indd 11 Aw Drama 1-304OK 22.3.67.indd 11 3/22/24 12:58 3/22/24 12:58
  • 11. 12 วิิธีีเซฟใจในวิันที่ี�ครอบครัวิไม่่ใช่่เซฟโซน ใน PART3: การเติบโต ฉันจะช่วยแก้ไขปัญหาความสัมพันธ์ ครอบครัวหลากหลายประเภททั้งพ่อแม่ พี่น้อง ครอบครัวขยาย ลูกที่ โตแล้ว พ่อตาแม่ยาย และครอบครัวผสม ระหว่างอ่านหนังสือเล่มนี้ ถ้าคุณเริ่มเจอจุดที่ทำาให้รู้สึกว่าอารมณ์ มันท่วมท้นเกินจะควบคุม ฉันอยากให้คุณลองเข้ารับการบำาบัดเพื่อแก้ ปัญหาเหล่านั้นนะคะ การตอบสนองที่มีนัยยะเช่นนี้เป็นสัญญาณบอกว่า เราได้แตะโดนบางอย่างในส่วนลึกของจิตใจ การบำาบัดอาจจะช่วย ล้วงลึกถึงการตอบสนองนั้นได้ เช่น การอดนอน การหวนคิดถึงเหตุการณ์ นั้นซำ้าๆ การคิดอะไรไม่หยุด หรืออาการโศกเศร้ารุนแรง การบำาบัดเป็นวิธีที่ช่วยให้คุณทำาตามแบบฝึกในหัวข้อต่างๆ ในหนังสือเล่มนี้ได้ ยิ่งถ้าคุณไม่สามารถอ่านและจัดการมันด้วยตัวเอง ได้ หนังสือเล่มนี้ยังพูดถึงการบำาบัดใจ เป็นหนังสือเพื่อการศึกษา แต่ก็ ไม่สามารถมาแทนที่การได้พูดคุยกับนักบำาบัดได้นะคะ ถ้ารู้สึกแปลกๆ หรือไม่มีโอกาสเข้ารับการบำาบัด แล้วเกิดมีการตอบสนองทางอารมณ์ ใดขึ้นมา ฉันขอให้หยุดอ่าน แล้วค่อยกลับมาอ่านใหม่ตอนที่ไหวแล้ว ก็ได้ค่ะ ในแต่ละบท ฉันจะเปิดด้วยคำาพูดและบทความสั้นๆโดยอิงจาก เรื่องราวของคนไข้หรือคนรู้จัก เนื้อหาจะเข้าสู่แนวคิดและเรื่องเชิงการ แพทย์ แล้วจะจบด้วยคำาถามให้เป็นแบบฝึกหรือเป็นคำาถามสะท้อน ตัวคุณ เพื่อให้คุณนำาความรู้ในเล่มไปใช้ในชีวิตจริงได้ ในหนังสือเล่มนี้ คำาว่า“พ่อแม่”จะหมายถึงพ่อแม่ทางสายเลือด ผู้ดูแลหลัก พ่อแม่บุญธรรม หรือผู้ใหญ่คนไหนก็ตามที่มีหน้าที่ดูแล คุณเป็นหลักนะคะ และเพื่อปิดบังตัวตนของคนไข้ ฉันจะปรับชื่อและ รายละเอียดอื่นๆให้ต่างไปจากความเป็นจริง วัฒนธรรมมีผลต่อมุมมองของเราต่อครอบครัว ในบางวัฒนธรรม นั้น ถ้าเราตอบโต้พฤติกรรมแย่ๆที่เกิดขึ้นในครอบครัว หรือถ้าเราอยาก ได้สิ่งที่แตกต่างออกไป อาจเป็นเรื่องผิดก็เป็นได้ Aw Drama 1-304OK 22.3.67.indd 12 Aw Drama 1-304OK 22.3.67.indd 12 3/22/24 12:58 3/22/24 12:58
  • 12. 13 บทนำำ� คุณสามารถเปลี่ยนวัฒนธรรมภายในครอบครัวได้นะคะ เช่น การ มาเยี่ยมโดยไม่บอกล่วงหน้า การดูแลพ่อแม่ที่แก่ชราแล้วยังต้องเลี้ยงลูก ตัวเองไปด้วย หรือการเอาคนในครอบครัวเข้าไปทำางานในธุรกิจของคุณ ทั้งที่ไร้คุณสมบัติ คุณมีอำานาจในการสร้างเส้นทางชีวิตของตัวเองขึ้นมา ได้ โดยที่ครอบครัวของคุณก็ยังทำาตามเดิมได้เช่นกัน คุณไม่ได้ก้าวร้าว นะคะ ก็แค่พยายามจะวาดชีวิตตามแบบที่ต้องการเท่านั้นเอง ความสัมพันธ์ที่ส่งผลกระทบต่อเราที่สุดก็คือความสัมพันธ์กับ คนในครอบครัวนี่ล่ะค่ะ แผลมักลึก มักเป็นความสัมพันธ์ที่เต็มไปด้วย ความคาดหวัง ไม่ว่าคุณจะมองว่าครอบครัวตัวเองผิดปกติจริงๆ หรือแค่ อยากแก้ปัญหาหนักใจเล็กน้อย ฉันก็หวังว่าหนังสือเล่มนี้จะทำาให้เห็นว่า คุณไม่ได้ตัวคนเดียว คุณมีอำานาจที่จะตัดสินใจว่าอยากให้ความสัมพันธ์ ออกมาเป็นแบบไหน คุณเลือกทางเดินชีวิตเองได้ จงเชื่อว่าคุณมีทุกอย่างเพื่อการตัดสินใจที่อาจจะยากแต่ดีกับ ตัวคุณเข้าไว้ ฉันรู้ว่าคุณทำาได้ เพราะกับคนอื่นหรือตัวเอง ฉันก็เห็น มาแล้วว่าพวกเขาสร้างความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นได้ค่ะ Aw Drama 1-304OK 22.3.67.indd 13 Aw Drama 1-304OK 22.3.67.indd 13 3/22/24 12:58 3/22/24 12:58
  • 13. Aw Drama 1-304OK 22.3.67.indd 14 Aw Drama 1-304OK 22.3.67.indd 14 3/22/24 12:58 3/22/24 12:58
  • 14. PART 1 ค ว า ม ผิ ด ป ก ติ Aw Drama 1-304OK 22.3.67.indd 15 Aw Drama 1-304OK 22.3.67.indd 15 3/22/24 12:58 3/22/24 12:58
  • 15. 01 ความ่ผิิดปกต่ิเป็นแบับัไหน Aw Drama 1-304OK 22.3.67.indd 16 Aw Drama 1-304OK 22.3.67.indd 16 3/22/24 12:58 3/22/24 12:58
  • 16. 17 บทท่� 1 ความผิิดปกติิเป็นแบบไหน มายเติบโตในครอบครัวที่มีทั้งพ่อและแม่ พ่อทำางานทั้งวัน พอกลับ บ้านมาก็เมาอาละวาด แม่ก็เอาแต่อยู่ในห้องตัวเองโดยไม่ค่อย ใส่ใจมายกับน้องๆอีกสองคน แม่ดื่มหนักแต่ไม่หนักเท่าพ่อ เมื่อไหร่ที่พ่อกับแม่ทะเลาะกัน มายกับน้องๆ จะเปิดโทรทัศน์ให้ ดังกลบเสียงทะเลาะ มายใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่กับเพื่อนๆ เพื่อจะได้ ไม่ต้องกลับบ้าน พอได้เห็นครอบครัวของเพื่อนๆ เธอเลยได้รู้ว่าปกติ คนเป็นพ่อเป็นแม่ไม่ได้เมาหัวรานำ้าแล้วทะเลาะกันตลอด หรือละเลย ความรู้สึกของลูกเหมือนอย่างครอบครัวเธอ เมื่อมายโตขึ้น เธอพอจะพึ่งพาญาติคนอื่นๆ ได้บ้าง ถ้าอยาก ออกไปเที่ยวกับเพื่อน เธอจะโทรหาคุณยายให้ไปส่งเพราะไม่อยากเสี่ยง ให้พ่อหรือแม่มารับทั้งที่ยังเมาอยู่ เมื่อต้องซื้อชุดใส่ไปเรียน เธอจะโทร หาคุณน้าซึ่งก็ยินดีพาเธอไปซื้อชุดด้วยกัน แต่สิ่งที่มายไม่มีคือคนที่เธอ สามารถคุยเรื่องครอบครัวด้วยได้ เพื่อนๆไม่ได้มีปัญหาเหมือนเธอ ญาติ ของเธอก็ไม่อยากเข้ามายุ่ง ได้แต่ยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือเรื่องเล็กๆน้อยๆ มายทั้งเหงาทั้งอาย เธอคิดว่าตัวเองเป็นตัวปัญหาอยู่นานหลายปี เพราะไม่มีใครเห็นว่าสิ่งที่พ่อแม่ทำาเป็นปัญหาเลย พี่น้องคนอื่นก็ช่วย พูดแก้ตัวให้พ่อกับแม่ บ้างก็พูดว่า “ถึงพ่อแม่เธอเป็นแบบนั้น เธอก็ต้อง รักพวกเขานะ” เธอรักพ่อแม่แต่ก็ถูกพ่อแม่ทรมานไปพร้อมกัน ปัญหานี้ ยังลามมาตอนเธอโตด้วย Aw Drama 1-304OK 22.3.67.indd 17 Aw Drama 1-304OK 22.3.67.indd 17 3/22/24 12:58 3/22/24 12:58
  • 17. 18 วิิธีีเซฟใจในวิันที่ี�ครอบครัวิไม่่ใช่่เซฟโซน ปกติแล้วมายจะยอมทน พอเธอเอ่ยปากขัดเมื่อไหร่ ครอบครัว ก็จะพยายามทำาให้เธอรู้สึกผิด กล่าวหาว่าเธอแปลกและใจร้าย เธอ อยากมีใครสักคนที่มองเห็นปัญหานี้ เคยประสบเหตุการณ์แบบเดียวกัน และบอกว่าการที่เธออยากได้สิ่งที่ต่างไปจากเดิมจากพ่อแม่เป็นเรื่อง ธรรมดา ครอื่บัครัวท่�ม่่ปัญหาหน้าต่าเป็นอื่ย่างไร? ครอบครัวที่มีปัญหา สำาหรับมายก็คือการมีพ่อแม่ติดสุรา ไม่ สนใจความรู้สึกลูกๆและบางครั้งก็ใช้คำาพูดทำาร้ายจิตใจกัน ครอบครัว ที่มีปัญหาคือครอบครัวที่มีการทารุณกรรม มีความยุ่งเหยิง และละเลย ทอดทิ้งกันเป็นปกติ ในครอบครัวที่มีปัญหานั้น ทุกคนจะมองข้ามพฤติกรรมแย่ๆ และซุกมันไว้ใต้พรม หรือไม่ก็หาเหตุผลมารองรับการกระทำาเหล่านั้น ในกรณีของมาย มายดูไม่ออกว่าครอบครัวมีปัญหาจนกระทั่งเห็น สถานการณ์ของคนอื่นๆที่ดีกว่าของตัวเอง แม้จะได้เห็นแล้ว การทลาย ปัญหาเดิมๆที่เคยมีก็ยังยากอยู่ดี ถ้าคุณเติบโตมาในครอบครัวที่มีปัญหา คุณอาจจะคิดว่าการ กระทำาต่อไปนี้เป็นเรื่องปกติก็ได้ ➤ เดินหน้าต่อเหมือนไม่เคยเกิดอะไรขึ้น ➤ ซ่อนปัญหา ➤ ไม่ยอมรับว่ามีปัญหาอยู่จริงๆ ➤ เก็บเรื่องที่ควรให้ทุกคนรู้เป็นความลับ ➤ ให้อภัยและลืมมันไปเสีย (โดยที่ตัวการไม่เปลี่ยนพฤติกรรม) ➤ แกล้งทำาว่าสบายดี ➤ ไม่แสดงอารมณ์ ➤ อยู่ท่ามกลางเหล่าคนอันตราย Aw Drama 1-304OK 22.3.67.indd 18 Aw Drama 1-304OK 22.3.67.indd 18 3/22/24 12:58 3/22/24 12:58
  • 18. 19 บทท่� 1 ความผิิดปกติิเป็นแบบไหน ➤ ใช้ความรุนแรงเพื่อให้ได้ในสิ่งที่ต้องการ ถ้้ามื่คนมืาบอกว่ามื่ปัญหา ให้เชื่ื�อเขา แทนที่จะรับรู้ถึงปัญหาและพยายามหาทางแก้ บ่อยครั้งที่คนเรา จะเข้าสู่โหมดป้องกันตัวเองและไม่ยอมเปลี่ยนแปลงตัวเองเสียอย่างนั้น ในกรณีของมาย พอเธอพยายามคุยเรื่องพฤติกรรมแย่ๆ ของ พ่อกับแม่ พวกเขาก็จะเข้าโหมดป้องกันตัวเองหรือไม่ก็โทษว่ามายผิด ไม่มีใครในครอบครัวเต็มใจรับฟังปัญหาเพราะไม่มีใครพร้อมจะแก้ ปัญหานั่นเอง มายไม่ได้เจอปัญหาอยู่คนเดียว เธอเจอสิ่งเดียวกันกับคนอื่นๆ แต่เธอกล้ามากพอที่จะพูดขึ้นมาว่า “มีปัญหา” เธออยากรู้วิธีเผชิญหน้า กับปัญหาที่ทุกคนพยายามปกปิดหรือเพิกเฉย แบบสัอบถ้ามืปรู้ะสับการู้ณ์์ที่่�ไมื่พัึงปรู้ะสังค์ ในวัยเดี็ก (ACE) เรามักใช้แบบสอบถามประสบการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ในวัยเด็ก (ACE) เพื่อวัดความรุนแรงของบาดแผลทางใจวัยเด็ก แบบสอบถาม จะครอบคลุมประเด็นต่างๆเช่น การได้เห็นความรุนแรง การล่วงละเมิดทางเพศ การใช้สารเสพติดภายในบ้าน การทำาร้ายร่างกาย การทำาร้ายจิตใจด้วยคำาพูด การถูกทอดทิ้งทางอารมณ์ การที่พ่อแม่มีอาการป่วยทางจิต การที่พ่อแม่ถูกจำาคุก Aw Drama 1-304OK 22.3.67.indd 19 Aw Drama 1-304OK 22.3.67.indd 19 3/22/24 12:58 3/22/24 12:58
  • 19. 20 วิิธีีเซฟใจในวิันที่ี�ครอบครัวิไม่่ใช่่เซฟโซน บาดแผลทางใจในวัยเด็กส่งผลต่อความสามารถในการจัดการ และการแสดงอารมณ์ เรามีโอกาสที่จะเก็บกดอารมณ์มากขึ้น โดยเฉพาะ เด็กที่พบกับความรุนแรงมักมีปัญหาในการแยกแยะว่าอะไรเป็นภัย อะไร ปลอดภัย เรารู้กันดีว่าการทารุณกรรมและการทอดทิ้งเป็นสิ่งผิดปกติภายใน ครอบครัว แต่ปัจจัยอื่นๆ ก็ส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ครอบครัวได้ เช่นกัน เราวัดบาดแผลทางใจด้วยคะแนนจาก 0 ถึง 10 แต่สำาหรับ บาดแผลทางใจในวัยเด็ก แม้จะได้เพียง 2 คะแนนก็ส่งผลกระทบมาก ทีเดียว แบบสอบถาม ACE จะไม่ดูเรื่องการเงิน การย้ายบ้านหลายครั้ง หรือความเจ็บปวดจากรุ่นสู่รุ่น ซึ่งเรารู้ดีว่าสิ่งเหล่านี้ส่งผลต่อสุขภาพจิต ได้ ฉันเชื่อว่าคะแนน ACE หรือบาดแผลทางใจในวัยเด็กของคุณไม่ใช่ สิ่งกำาหนดอนาคตคุณได้หรอกค่ะ (ของฉันได้ 7 คะแนน) เรามีพลัง มากพอที่จะเลือกทำาสิ่งที่ยากในตอนนี้เพื่อประโยชน์ในระยะยาวได้ สิ่งที่เราเจอในวัยเยาว์อาจส่งผลถึงตอนโต เพราะเมื่อเรามี บาดแผลทางใจขึ้นมาแล้ว แผลนี้ก็ยังอยู่กับเราไปเรื่อยๆ เด็กที่เคยไร้ ที่อยู่อาศัยมาก่อนมีแนวโน้มที่จะได้คะแนน ACE สูงกว่าและมีแนวโน้ม เป็นคนไร้บ้านในวัยผู้ใหญ่ ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆที่มีผลต่อความผิดปกติในวัยเด็ก ➤ พ่อแม่ที่ทำาร้ายตัวเอง ➤ พ่อแม่ที่ไร้วุฒิภาวะทางอารมณ์ ➤ พ่อแม่บ้าอำานาจ ➤ ความสัมพันธ์ครอบครัวที่ผูกพันเกินเหตุ ➤ การแข่งขันในครอบครัว ➤ ลูกเป็นฝ่ายดูแลพ่อแม่ Aw Drama 1-304OK 22.3.67.indd 20 Aw Drama 1-304OK 22.3.67.indd 20 3/22/24 12:58 3/22/24 12:58
  • 20. 21 บทท่� 1 ความผิิดปกติิเป็นแบบไหน (ในบทที่ 2 และ 3 ฉันจะอธิบายเรื่องเหล่านี้อย่างละเอียด) The Boys of Baraka เป็นสารคดีที่น่าสนใจเรื่องหนึ่ง เป็นเรื่อง เกี่ยวกับเด็กๆผิวสีในบัลติมอร์ แมริแลนด์ เด็กหนุ่มยี่สิบคนจากครอบ- ครัวที่มีปัจจัยเสี่ยงได้เข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนที่พาพวกเขาไปเรียน ในโรงเรียนประจำาประเทศเคนยา และสัมผัสวัฒนธรรม ชุมชน วิชาการ และโครงสร้างต่างๆของสังคม ระหว่างอยู่ในโรงเรียน เด็กๆ พัฒนาขึ้นทั้งในด้านการเรียน อารมณ์ และสังคม ต่อมาโครงการนี้ขาดเงินสนับสนุน เด็กๆต้องกลับ บ้าน พอกลับไปเจอสภาพแวดล้อมเดิม หลายคนก็ต้องเจอวงจรแย่ๆ ซำ้าซาก เช่น สารเสพติด สภาพแวดล้อมนั้นจำากัดการเติบโตของพวกเขา แต่ถ้าใช้เครื่องมือถูกโรค เราก็สามารถรักษาบาดแผลทางใจ ในวัยเด็กจากครอบครัวได้เช่นกันค่ะ สภาพแวดล้้อื่ม่ สถานที่ บุคคล และประสบการณ์ในบ้านที่คุณเติบโตมา มีผล ต่อสิ่งที่คุณเป็นไปตลอดชีวิต บาดแผลทางใจส่งผลระยะยาวต่อร่างกาย จิตใจ ความสัมพันธ์ สถานะทางการเงิน สุขภาพจิต และสุขภาพ อารมณ์ ชีวิตสิบแปดปีแรกของคุณจะส่งผลกระทบต่อทั้งชีวิตคุณได้มาก เชียวละค่ะ ในหนังสือ What Happened to You?: Conversations on Trauma, Resilience, and Healing ของโอปราห์ วินฟรีย์และดร.แมน ดี. เพอรี โอปราห์ เล่าถึงบาดแผลทางใจวัยเด็กและประสบการณ์ ขัดเกลาเธออย่างไรบ้าง แม่จะตีเธอแม้เธอทำาผิดเพียงเล็กน้อย การ ทารุณนี้ทำาให้เธอกลายเป็นพวกชอบเอาอกเอาใจคน เธอใช้เวลานาน นับปีถึงได้รู้ว่าพฤติกรรมของเธอมีต้นเหตุมาจากประสบการณ์ในวัยเด็ก Aw Drama 1-304OK 22.3.67.indd 21 Aw Drama 1-304OK 22.3.67.indd 21 3/22/24 12:58 3/22/24 12:58
  • 21. 22 วิิธีีเซฟใจในวิันที่ี�ครอบครัวิไม่่ใช่่เซฟโซน สิ่งที่คุณอาจได้รับสืบทอดมาจากคนในครอบครัว ➤ ทักษะการบริหารจัดการเงิน ➤ ทักษะการสื่อสาร ➤ วิธีสานสัมพันธ์กับผู้อื่น ➤ ค่านิยม ➤ การใช้สิ่งเสพติด ➤ วิธีเลี้ยงลูก ➤ วิธีจัดการกับสุขภาพจิตตัวเอง เรื่องเล่าในวัยเด็กทำาให้นักบำาบัดเห็นภาพว่าปัญหาที่คุณเผชิญ ในปัจจุบันเกิดจากอะไร มีเรื่องราวมากมายที่ทำาให้นักบำาบัดได้เห็นภาพ ว่าคุณพัฒนาปัญหาที่คุณเผชิญอยู่เมื่อเป็นผู้ใหญ่อย่างไร คำาถามหนึ่ง ที่ฉันจะถามคือ “คุณรู้สึกแบบนั้นครั้งแรกเมื่อไหร่?” หรือ “ใครเป็น คนแรกที่ทำาให้รู้สึกแบบนั้น?” ซึ่งปกติแล้วก็จะต้องเล่าย้อนกลับไปถึง วัยเด็ก เรายังแบกรับนำ้าหนักเมื่อวัยที่เรายังไร้พลังเอาไว้บนบ่า เหมือน กับว่าเราต้องอยู่แบบนั้นต่อไป แต่ชีวิตจะมอบโอกาสให้เราได้เปลี่ยน- แปลงมันค่ะ ความ่ย่ดหย่่นแล้ะทนทานทางจิิต่ใจิ ความยืดหยุ่นและทนทานที่ว่านี้คือความสามารถในการยอมรับ สิ่งที่เกิดขึ้น เราเอาชนะสภาพแวดล้อมได้เมื่อมีปัจจัยป้องกันที่เหมาะสม เช่น ➤ การมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับผู้ใหญ่ที่ปลอดภัย ➤ การเลี้ยงดูเชิงบวก ➤ ความเชื่อหรือจุดมุ่งหมายที่แข็งแกร่ง ➤ ความสามารถในการควบคุมตัวเอง มีทัศนคติเชิงบวก และ Aw Drama 1-304OK 22.3.67.indd 22 Aw Drama 1-304OK 22.3.67.indd 22 3/22/24 12:58 3/22/24 12:58
  • 22. 23 บทท่� 1 ความผิิดปกติิเป็นแบบไหน มีไหวพริบ ➤ ความสัมพันธ์ทางสังคมที่ดี ➤ แรงสนับสนุนจากเพื่อนและที่ปรึกษา ➤ กิจกรรมต่อเนื่องที่ช่วยเพิ่มโอกาสได้สัมผัสกับความสัมพันธ์ที่ดี คนมักพูดกันว่า สภาพแวดล้อมเป็นอย่างไร เราก็เป็นแบบนั้น อย่างไรก็ตาม เราก็ได้รับผลดีจากความสัมพันธ์ดีๆนอกบ้านได้เช่นกัน มายเข้าใจครอบครัวมากขึ้นเมื่อเธอได้เห็นสภาพแวดล้อมที่ดีจาก นอกบ้าน ฉันเติบโตมาในเมืองดีทรอยต์ รัฐมิชิแกน และเข้าเรียนโรงเรียน รัฐบาล ฉันจำาได้ว่าเคยเข้าโปรแกรมที่ช่วยให้เด็กในเมืองรับมือกับปัญหา ที่เจอภายในบ้านได้ ฉันเลิกทิ้งขยะเรี่ยราดตั้งแต่ประถม เพราะคน ในกลุ่มสอนเราว่าการทำาแบบนั้นจะส่งผลเสียต่อสภาพแวดล้อมและ ช่วยทำาความสะอาดพื้นที่แถวโรงเรียน แม้จะเป็นช่วงสั้นๆแต่คำาสอนว่า อย่าทิ้งขยะเรี่ยราดยังคงอยู่กับฉันเสมอ คนที่ไม่รู้จักฉันจะคิดว่าฉันโตมาในบ้านที่มีทั้งพ่อและแม่ จึงไม่มี บาดแผลทางใจวัยเด็ก แต่ไม่จริงเลยค่ะ ฉันโชคดีที่ตัวเองเคยเจอ หลากหลายมุมมอง เคยเห็นความสัมพันธ์ที่ดีหลายแบบ ฉันก็หวังว่า พอเป็นผู้ใหญ่ ชีวิตฉันจะแตกต่างจากเดิมบ้าง ซื่่�อื่สัต่ย์ (อื่ย่างน้อื่ยก็ต่่อื่ต่ัวเอื่ง) กับัเร่�อื่งในวัยเด็ก ความซื่อสัตย์ไม่ใช่การหักหลัง แต่เป็นความกล้าหาญต่างหาก หยุดแสร้งว่าประสบการณ์ที่มีเป็นเรื่องดี ให้ความจริงได้ปลดปล่อยคุณ ออกมาดีกว่าค่ะ คนเรามักบิดเบือนความจริงเกี่ยวกับความสัมพันธ์และประสบ- การณ์ของตัวเอง เพราะกลัวการยอมรับว่ามันเป็นเรื่องจริง แต่การ Aw Drama 1-304OK 22.3.67.indd 23 Aw Drama 1-304OK 22.3.67.indd 23 3/22/24 12:58 3/22/24 12:58
  • 23. 24 วิิธีีเซฟใจในวิันที่ี�ครอบครัวิไม่่ใช่่เซฟโซน ปฏิเสธจะทำาให้คุณไม่อาจเป็นอิสระจากอดีตได้ เรื่องเกี่ยวกับคนในครอบครัวที่ทำาใจได้ยาก ➤ พวกเขาเห็นแก่ตัว ยอมทำาทุกอย่างเพื่อให้ได้สิ่งที่ต้องการ ➤ พวกเขาไม่ใช่ผู้ฟังที่ดี ➤ พวกเขาเปลี่ยนแปลงได้ แต่ก็แค่ชั่วคราว ➤ พวกเขาใจร้าย บ่อยครั้งที่ใจร้ายแบบไร้เหตุผล ➤ พวกเขาเป็นฝ่ายรับมาก แต่ให้น้อย ➤ พวกเขาไม่ใช่คนที่สมบูรณ์แบบ สาเหต่่ท่�เราไม่่ค่ยกันเร่�อื่งปัญหาครอื่บัครัว คิดีว่าปัญหาครู้อบครู้ัวเป็นเงาสัะที่้อนต้ัวต้นเรู้า สิ่งที่เกิดขึ้นกับคุณไม่ใช่สิ่งที่คุณเป็นนะคะ ในวัยเด็ก คุณต้องเจอ กับหลายอย่างที่คุณควบคุมไม่ได้ คุณควบคุมสภาพแวดล้อมไม่ได้ ดังนั้นไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นในสภาพแวดล้อมนั้น คุณจึงโทษตัวเอง ประสบการณ์วัยเด็กหล่อหลอมตัวคุณ เมื่อคุณโตเป็นผู้ใหญ่ คุณ มีอำานาจที่จะเลือกว่าคุณอยากเป็นผลพวงจากประสบการณ์เหล่านั้นไหม หรืออยากก้าวข้ามมันไปแล้วสร้างความแตกต่างขึ้นมา รู้้้สัึกอับอายขายหน้าแล่ะล่ะอายใจั สิ่งหนึ่งที่ช่วยคุณอายเรื่องครอบครัวน้อยลง คือการได้ฟังว่า มีคนอื่นๆ ที่เจอเรื่องแบบเดียวกัน คุณจะเชื่อมต่อกับคนเหล่านั้นได้ ก็ต่อเมื่อคุณซื่อสัตย์กับตัวเอง คุณต้องกล้าพอที่จะเล่าความจริง ความละอายเกิดขึ้นเมื่อคุณเลือกที่จะเก็บงำาเรื่องต่างๆ ไว้กับตัว Aw Drama 1-304OK 22.3.67.indd 24 Aw Drama 1-304OK 22.3.67.indd 24 3/22/24 12:58 3/22/24 12:58
  • 24. 25 บทท่� 1 ความผิิดปกติิเป็นแบบไหน การเปิดเผยความลับเหล่านั้นจะปลดปล่อยความละอายได้ค่ะ การ รักษาความเป็นส่วนตัวไม่ใช่การเก็บความลับนะคะ คุณสะดวกใจจะเล่า มากน้อยแค่ไหนก็ได้ ความเป็นส่วนตัวจะเป็นตัวแยกว่าคุณจะเล่าเรื่อง เหล่านั้นให้ใครฟังบ้าง บางครั้งที่คุณไม่ยอมเล่าปัญหาก็เพื่อปกป้อง คนที่ทำาร้ายคุณ บางทีสิ่งที่คุณทำาอยู่อาจเป็นการป้องกันไม่ให้คนอื่น อับอายด้วยไม่ใช่เพื่อตัวคุณคนเดียว พัยายามืเมืินปัญหา การไม่สนใจปัญหาใหญ่ในครอบครัวจะทำาให้เราฟื้นฟูจากรูปแบบ ที่ผิดปกติช้าลง คุณไม่สามารถฟื้นฟูจากสิ่งที่“ไม่เคยเกิดขึ้น” ได้หรอก นะคะ เมื่อคุณเพิกเฉย พฤติกรรมแย่ๆ ก็จะยังคงอยู่ เพราะคุณกับ ครอบครัวไม่ยอมรับรู้ว่ามีวงจรนี้อยู่และต้องแก้ไขให้ดีขึ้น คิดีว่าไมื่มื่ใครู้เข้าใจั คนมีชื่อเสียง ครู เพื่อน เพื่อนร่วมงาน และคนอื่นๆ อาจเคย ประสบปัญหาที่คล้ายกัน การคิดว่าคุณเป็นคนเดียวที่เจอปัญหานี้ ไม่ใช่ วิธีที่ดีที่สุดในการหาคนที่เข้าใจคุณได้ ความเปราะบางเป็นสิ่งที่หลายคนได้พบเจอ เมื่อคุณดึงดูดคนที่ เหมือนกันเข้ามาแล้วต้องเปิดใจและซื่อสัตย์ต่อตัวเอง บางครั้งคุณอาจ จะได้เจอ“คนที่เหมือนกัน”หลังจากยอมเล่าเรื่องตัวเองออกมาก็ได้ค่ะ กล่ัวถ้้กต้ัดีสัิน บางคนก็ไม่เข้าใจเรื่องราวของคุณ คุณเองก็ใช่ว่าจะเข้าใจเรื่องราว ของคนอื่นเสมอไป ดังนั้นจงฝึกคิดไว้ว่า ถ้าบางคนไม่เข้าใจ ก็คิดเสียว่า ไม่เป็นไร พอยอมรับข้อนี้ได้แล้ว ชีวิตจะง่ายขึ้นเยอะเลยค่ะ การแคร์ว่า Aw Drama 1-304OK 22.3.67.indd 25 Aw Drama 1-304OK 22.3.67.indd 25 3/22/24 12:58 3/22/24 12:58
  • 25. 26 วิิธีีเซฟใจในวิันที่ี�ครอบครัวิไม่่ใช่่เซฟโซน คนอื่นคิดอย่างไรเป็นเรื่องดีนะคะ แต่ถ้าแคร์มากไป คุณจะไม่สามารถ เปลี่ยนแปลงอะไรให้ดีขึ้นได้ค่ะ การู้ไดี้เห็นบาดีแผล่ที่างใจัถ้้กเปิดีเผย Married... with Children คือรายการทีวีแนวซิตคอมรายการ โปรดของฉันเลย ในรายการนั้น อัล บันดี ตัวละครหลักเป็นคนขาย รองเท้าจอมอารมณ์บูด ช่วงชีวิตที่ดีที่สุดของเขาคือสมัยมัธยม เขา แต่งงานกับเพ็ค มีลูกด้วยกันสองคน ชื่อบัทกับเคลลี่ เด็กๆเห็นพ่อแม่ ทะเลาะกัน และมักถูกทิ้งอยู่บ้านลำาพังโดยไม่มีอะไรกิน ฉันจำาได้ว่ามีตอนหนึ่งที่เด็กๆหิวข้าวเลยไปหาของกินในครัว แล้ว ก็ดีใจมากที่เจอช็อกโกแลตเก่าชิ้นหนึ่งอยู่หลังตู้เย็น มันเป็นรายการตลก นะคะ ฉันเองก็ขำากับมุกหลายอย่างในเรื่อง แต่พอมาทำาความเข้าใจ จริงๆ แล้ว ฉันก็เลยรู้ว่ารายการนี้ชี้ให้เห็นถึงครอบครัวที่ละเลยลูกๆใช้ คำาพูดทำาร้ายกันก่อให้เกิดความสัมพันธ์ครอบครัวที่ไม่ดี ซึ่งในตอนนั้น ฉันคิดไม่ถึงเลย พอเราไม่เข้าใจในสิ่งที่เราเห็น เราก็มักจะยังอยู่ในสถานการณ์ แย่ๆแบบนั้นต่อไป เราอาจจะรู้สึกว่า “ก็ปกตินี่ ยังไงก็เลี่ยงไม่ได้ คนอื่น เขาก็เป็นเหมือนกัน” ดังนั้นการทำาความเข้าใจประสบการณ์ตัวเองให้ดีขึ้น จึงต้องใช้มุมมองที่แตกต่างเข้ามาช่วยค่ะ จิะเกิดอื่ะไรขึ้้�นเม่่�อื่เราเห็นปัญหาช่้า ตราบใดที่ยังหายใจอยู่ ก็ไม่ช้าเกินที่จะเปลี่ยนแปลงมุมมองและ พฤติกรรมหรอกนะคะ เราเชื่อกันว่าพอยิ่งแก่ตัวไปก็ยิ่งเปลี่ยนแปลง ตัวเองยาก “ไม้แก่ดัดยาก” ไม่จริงเลยค่ะ! ถ้าคุณยอมให้ความร่วมมือ มันก็เปลี่ยนกันได้ เปลี่ยนคำาใหม่ดีกว่าค่ะ “ไม้แก่ที่ไม่เต็มใจจะดัดยาก” แค่คุณหยิบเล่มนี้ขึ้นมาอ่าน ก็ถือว่าคุณอยากหาข้อมูลใหม่ๆและเต็มใจ Aw Drama 1-304OK 22.3.67.indd 26 Aw Drama 1-304OK 22.3.67.indd 26 3/22/24 12:58 3/22/24 12:58
  • 26. 27 บทท่� 1 ความผิิดปกติิเป็นแบบไหน จะหาทางออกแล้วค่ะ บางครั้งปัญหาเราเห็นอยู่ทนโท่ แต่เพราะครอบครัวปลูกฝัง ความเชื่อกันมานาน กว่าคุณจะรู้ตัวว่ามีวงจรผิดปกติก็อาจต้องใช้เวลา เหมือนกับมาย คุณอาจจะเริ่มจากสังเกตคนอื่นๆแล้วเอามาแยกความ ต่างกับกรณีของตัวเองดูก็ได้ กิจวัตรหลังเลิกเรียนอย่างหนึ่งของฉัน คือการดูรายการ The Oprah Winfrey Show พอลองกลับไปดูตอนเก่าๆฉันก็เพิ่งมารู้ว่าตัวเอง ยังไม่พร้อมกับหัวข้อที่ถูกนำาเสนอ แต่แน่นอนว่าฉันจำาเป็นต้องได้ยินเรื่อง เหล่านั้น รายการมีทั้งหัวข้อเกี่ยวกับการทารุณ การละเลย มีแจกของ มีสัมภาษณ์ดารา และมีหลากหลายหัวข้อมากทีเดียว รายการนี้ทำาให้ฉัน รู้เรื่องราวชีวิตของคนอื่นและคำาศัพท์เฉพาะทางของเรื่องต่างๆสื่อเหล่านี้ เป็นช่องทางหนึ่งให้เราได้เรียนรู้และเชื่อมโยงสิ่งที่เราเห็นกับสถานการณ์ ของตัวเอง เริ่มคิดใหม่ไม่มีคำาว่าสายเกินไปหรอกค่ะ คุณเรียนรู้เรื่องใหม่อยู่ ทุกวัน การนำาแนวคิดใหม่ๆ เข้ามาใช้ก็เป็นสิ่งที่เลือกได้เอง ฉันจะสอน วิธีเปลี่ยนตัวเองเพื่อพลิกชีวิตและความสัมพันธ์ของคุณผ่านหนังสือเล่มนี้ คุณเป็นส่วนสำาคัญในความสัมพันธ์ต่างๆในชีวิต ดังนั้นเมื่อคุณเปลี่ยน ทัศนคติ พฤติกรรม และความคาดหวัง คุณก็จะเห็นความสัมพันธ์ที่ เปลี่ยนไป ถึงอีกฝ่ายจะไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปเลยก็ตาม ในหนังสือเล่มนี้ ฉันจะยำ้าแนวคิดหนึ่งบ่อยๆนั่นคือ คุณเปลี่ยน คนอื่นไม่ได้ ถ้าฉันมีพลังวิเศษ ฉันอยากได้พลังที่เปลี่ยนคนอื่นได้ แต่ ไม่มีใครมีพลังแบบนั้นหรอกค่ะ เมื่อเรามีปัญหาความสัมพันธ์ ทางออก ที่เราชอบนึกถึงก็คือการเปลี่ยนคนอื่น หลังจากคุณอ่านเล่มนี้จบ ฉันหวัง ว่าอย่างน้อยคุณจะรู้ว่า แค่เปลี่ยนตัวคุณเองก็เพียงพอแล้ว Aw Drama 1-304OK 22.3.67.indd 27 Aw Drama 1-304OK 22.3.67.indd 27 3/22/24 12:58 3/22/24 12:58