SlideShare a Scribd company logo
1
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
รหัสวิชา ง33202 ชื่อวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 6
ปีการศึกษา 2562
ชื่อโครงงาน ปัญหาเด็กติดเกม
ชื่อผู้ทาโครงงาน
นางสาวลักษิกา สุทิศ เลขที่22 ชั้นม.6/2
ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน ครูเขื่อนทอง มูลวรรณ์
ระยะเวลาดาเนินงาน ภาคเรียนที่ 1-2 ปีการศึกษา 2562
โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่
สานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 34
2
ใบงาน
การจัดทาข้อเสนอโครงงานคอมพิวเตอร์
สมาชิกในกลุ่ม
นางสาวลักษิกา สุทิศ เลขที่22 ชั้นม.6/2
ชื่อโครงงาน (ภาษาไทย)
ปัญหาเด็กติดเกม
ชื่อโครงงาน (ภาษาอังกฤษ)
Pathological Gamers
ประเภทโครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา
ชื่อผู้ทาโครงงาน นางสาวลักษิกา สุทิศ
ชื่อที่ปรึกษา ครูเขื่อนทอง มูลวรรณ์
ระยะเวลาดาเนินงาน ภาคเรียนที่ 1
ที่มาและความสาคัญของโครงงาน
ปัญหาการเด็กติดเกมคอมพิวเตอร์ เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นเมื่อคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตเข้ามามี
บทบาทแพร่หลายในสังคมมากขึ้น ซึ่งเป็นปัญหาระดับโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งบนโทรศัพท์มือถือ
พฤติกรรมการติดเกมของเด็กคล้ายกับพฤติกรรมของผู้ป่วยติดสารเสพติด และผู้ป่วยติดการพนัน คือ มีความ
พึงพอใจเมื่อได้รับชัยชนะในการเล่นเกม และต้องการเอาชนะเพิ่มขึ้นอีกจึงรู้สึกพึงพอใจเท่าเดิม และมักใช้
เวลาในการเล่นเกมนานจนกว่าจะบรรลุเป้าหมายที่ต้องการ มีความคิดหมกมุ่นกับเกมคอมพิวเตอร์อย่างมาก
และมีความต้องการเล่นเกมตลอดเวลา
การติดเกมคอมพิวเตอร์มีผลกระทบต่อเด็กหลายด้าน เช่น ปัญหาการเรียน การทางานสุขภาพ
ความสัมพันธ์ในครอบครัว สังคม และมีปัญหาพฤติกรรมหลายอย่างตามมา เช่นพูดปด ลักขโมย ก้าวร้าว
หนีเรียน หนีออกจากบ้าน ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับเด็กที่ติดเกมคอมพิวเตอร์ดังกล่าว มีทั้งผลกระทบที่เกิด
ขึ้นกับทั้งทางร่างกายและทางจิตใจ การนั่งเล่นเกมคอมพิวเตอร์นานๆ ทาให้เกิดความเครียด หงุดหงิดโกรธ
ง่าย และก้าวร้าว ปัญหาเหล่านี้เป็นปัญหาที่ทุกคนต้องร่วมมือกันในการป้องกันและหาแนวทางในการแก้ไข
เพราะเด็กปัจจุบันหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะเข้าไปสัมผัสกับสิ่งเหล่านี้ซึ่งมีอยู่และเข้าถึงได้ง่ายมากในสังคม
ปัจจุบัน ปัญหาเด็กติดเกมจึงพบได้บ่อยขึ้นในครอบครัวไทยยุคนี้ ซึ่งสร้างความลาบากใจให้แก่พ่อแม่
เนื่องจากไม่รู้จะบังคับให้ลูกเลิกเล่นเกมอย่างไร อีกทั้งเด็กบางคนติดเกมจนไม่สนใจเรียน ทาให้ผลการเรียน
ตกลงเรื่อย ๆ หรือบางคนเล่นจนไม่รู้เวลากินเวลานอนกันเลยทีเดียว ทาอย่างไรที่จะทาให้เด็กที่ใช้เวลาส่วน
ใหญ่ในการเล่นเกมไปเป็นเวลาแห่งการเรียนรู้ที่เกิดประโยชน์ และการสร้างเสริมสุขภาพ
ดังนั้นจึงทาให้กลุ่มของข้าพเจ้าอยากสารวจและศึกษาว่าเด็กช่วงอายุเท่าไรที่ติดเกมมากที่สุดและใช้
เวลาเล่นเกมกันกี่ชั่วโมง
วัตถุประสงค์ (สิ่งที่ต้องการในการทาโครงงาน ระบุเป็นข้อ)
1. เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ว่านักเรียนเล่นเกมวันละกี่ชั่วโมงและอยู่ในขั้นติดเกมหรือไม่
2. เพื่อช่วยกันแก้ปัญหาเด็กติดเกมและป้องกันม่ให้เด็กติดเกม
ขอบเขตโครงงาน (คุณลักษณะ ขอบเขต เงื่อนไขและข้อจากัดของการทาโครงงาน)
1.ศึกษาพฤติกรรมการเล่นเกมของนักเรียนชั้นม.6/2
2.ศึกษาโรคติดเกมว่าลักษณะเป็นอย่างไร ร้ายแรงขนาดไหน
หลักการและทฤษฎี
โรคติดเกม
องค์การอนามัยโลกได้จัดให้การติดเกมเป็นโรคชนิดหนึ่ง (Gaming disorder) เป็นอาการทางจิตที่รุนแรงและ
ต้องได้รับการบาบัดรักษาเช่นเดียวกับโรคอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นการติดเกมออนไลน์ หรือ วิดีโอเกม การเล่นจน
ติดเกมแตกต่างจากการเล่นเพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลิน หรือเล่นเป็นงานอดิเรก คือ ผลกระทบที่เกิดจาก
การติดเกมเป็นผลทางด้านลบ ผู้เล่นไม่สามารถควบคุมตนเองได้ ต้องเล่นอย่างต่อเนื่องและะยะเวลาการเล่น
เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยไม่สนใจการทากิจกรรมอื่น กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข รายงานว่าเด็กไทยเล่น
เกมออนไลน์ผ่านโทรศัพท์และอินเทอร์เน็ตเป็นอันดับ 1 ของประเทศในแถบเอเชีย ปัญหาเด็กติดเกมอยู่ใน
ขั้นวิกฤต และทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นทุกปี
ลักษณะของเด็กติดเกม
1. ไม่สามารถควบคุมตัวเองให้เล่นในเวลาที่กาหนด ทาให้ใช้เวลาในการเล่นนานติดต่อกันหลายๆชั่วโมง
หรือเล่นนานขึ้นเรื่อยๆ จากเดิมไม่กี่ชั่วโมงต่อวัน เพิ่มเป็นหลายชั่วโมงต่อวัน บางคนเล่นข้ามวันข้ามคืน
2. หากถูกบังคับให้เลิกหรือหยุดเล่นจะต่อต้าน หรือมีปฏิกริยาหงุดหงิดไม่พอใจอย่างรุนแรง บางคนถึงขั้น
ก้าวร้าว
3. การเล่นของเด็กมีผลกระทบต่อหน้าที่ความรับผิดชอบของเด็ก เช่น เด็กไม่สนใจการเรียน ไม่สนใจที่จะทา
การบ้าน หนีเรียนหรือแอบหนีออกจากบ้านเพื่อจะไปเล่นเกม การเรียนตกลงอย่างมาก ละเลยการเข้าสังคม
หรือทากิจกรรมร่วมกับครอบครัว
4. บางรายอาจมีปัญหาพฤติกรรมอื่นๆร่วมด้วย เช่น โกหก ลักขโมย (เพื่อนาเงินไปเล่นเกม) ดื้อต่อต้าน
แยกตัว เก็บตัว ฯลฯ
อันตรายของโรคติดเกม
อาการเสพติดเกม ก็คล้ายกับการเสพติพยา คือก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพกายและจิตใจไม่ทางตรงก็ทางอ้อม
เมื่อต้องหยุดเล่นก็จะเกิดอาการคล้ายอาการที่เกิดจากการหยุดยาเสพติด ผลเสียทางร่างกาย เช่น เมื่อต้องเพ่ง
สายตาไปที่หน้าจอเป็นเวลานานๆ จะทาให้ดวงตาเกิดความอ่อนล้า ตาพร่ามัว ตาแห้ง การนั่งเล่นเกมเป็น
เวลานานทาให้เกิดอาการปวดเมื่อยตามตัว คอ ไหล่ และข้อมือ เกิดอาการขาดน้าและขาดสารอาหาร หรือ
บางรายอาจเป็นโรคอ้วน เนื่องจากร่างกายเคลื่อนไหวน้อยลง ขาดการออกกาลังกาย ตลอดจนได้รับอาหารที่
ไม่เหมาะสม ดื่มเครื่องดื่มบารุงกาลังซึ่งส่วนใหญ่ประกอบด้วยน้าตาลและคาเฟอีนมากเกินไป ขาดการ
พักผ่อนนอนหลับ หลายคนต้องทนทุกข์ทรมานจากการอดหลับอดนอน เกมที่รุนแรงจะทาให้ผู้เล่นเคยชิน
กับพฤติกรรมที่รุนแรง เกิดอาการก้าวร้าวจากการที่ไม่สามารถเอาชนะเกม หรือในบางกรณีผู้เล่นสามารถ
เอาชนะเกมได้ทุกครั้ง แต่ชีวิตจริงไม่เหมือนกับในเกม ทาให้เกิดอาการหงุดหงิดฉุนเฉียว ส่งผลกระทบต่อ
หน้าที่การงานที่รับผิดชอบ ผลการเรียนเลวลง ปัญหาทางด้านสุขภาพจิต เช่น เกิดความวิตกกังวล ซึมเศร้า
โรคสมาธิสั้น ในกรณีที่รุนแรง อาจถึงขั้นทาร้ายตัวเองหรือผู้อื่น เกิดอาการวิตกกังวลชนิดหนึ่งที่กลัวการ
ออกจากบ้าน กลัวที่ชุมชน (agoraphobia) ซึ่งเป็นอาการที่เกิดขึ้นกับผู้ที่แยกตัวเองออกจากสังคม
คาแนะนาและแนวทางแก้ไข
โรคติดเกมเกิดได้กับเด็กและผู้ใหญ่ ในกรณีที่เป็นเด็ก พ่อแม่หรือผู้ปกครองจะมีบทบาทสาคัญที่สุด
อย่ามองเกมที่เด็กเล่นว่าไม่เป็นพิษเป็นภัยเหมือนเป็นของเล่นชนิดหนึ่ง ควรตระหนักเสมอว่าเด็กมีโอกาสติด
เกมได้เหมือนติดสิ่งเสพติด ก่อนที่จะอนุญาตให้เด็กเล่นเกม ควรมีการสัญญาและตกลงกันก่อนว่า จะต้องทา
การบ้าน อ่านหนังสือ หรืออาบน้ากินข้าวก่อนถึงจะเล่นเกมได้จากัดเวลาเล่นเกม เช่นเล่นได้ไม่เกินวัน
ละ 2 ชั่วโมง เลือกประเภทเกมให้เด็กเล่น ให้รางวัลเมื่อเด็กทาตามที่ตกลงกันไว้ได้เก็บอุปกรณ์ในการเล่น
เกมรวมทั้งมือถือให้ห่างไกลจากเด็ก เบี่ยงเบนความสนใจของเด็กให้หันไปทากิจกรรมอื่น ๆ โดยเฉพาะ
กิจกรรมที่สามารถทาร่วมกับพ่อแม่ได้เช่น การอ่านหนังสือหรือเล่านิทานก่อนนอน เล่นกีฬาที่เด็กชอบ พา
ไปเดินเที่ยวในสวนสาธารณะ เป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเด็กกับพ่อแม่ให้มากขึ้น
ผู้ใหญ่จานวนไม่น้อยโดยเฉพาะในวัยทางานเป็นโรคติดเกม ผู้ใหญ่ที่ติดเกมอาจจะแก้ไขได้ยากกว่าเด็ก
เพราะไม่มีผู้ปกครองคอยตักเตือน โดยเฉพาะในรายที่อยู่คนเดียว แนวทางการแก้ไข เช่น จากัดเวลาเล่นเกม
แบ่งแยกเวลาการทางานกับการเล่นเกมให้ชัดเจน ปรึกษาคนในครอบครัวหรือเพื่อนสนิทให้ช่วยคอยห้าม
คอยเตือน ให้กาลังใจ หรือคอยชักชวนให้หันไปทากิจกรรมอื่น ๆ เช่นเล่นกีฬา ออกกาลังกาย เล่นดนตรี ใช้
เวลาว่างไปทากิจกรรมที่เป็นสาธารณประโยชน์ เช่น ช่วยดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาล อาสาจราจร ทาความ
สะอาดวัดวาอาราม ปลูกต้นไม้ปลูกป่า อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เป็นต้น ในรายที่ติดเกมรุนแรงมากอาจต้องพบ
นักจิตวิทยาหรือจิตแพทย์
การเล่นเกมอย่างพอดี ทาให้ผู้เล่นได้รับความสนุกสนานเพลิดเพลิน คลายเครียด ฝึกทักษะ สมาธิ การ
ตัดสินใจ การประสานการทางานของกล้ามเนื้อและประสาทระหว่างมือกับตา อย่างไรก็ตาม การเล่นเกมไม่
ควรเล่นติดต่อกันเป็นเวลานาน หรือหมกมุ่นมากจนเกินไปจนทาให้เกิดอาการเสพติดและเกิดผลเสียต่อ
สุขภาพทางกายและจิตใจ
สาเหตุของการเสพติดเกม
เกิดจากหลายสาเหตุร่วมกัน ทั้งด้านชีวภาพ จิตใจ และสังคม (Bio-Psychosocial factors)
ด้านชีวภาพ (Biological factors)
มีการศึกษาวิจัยสมองของคนที่เสพติดเกม พบว่ามีวงจรการทางานของสมองที่ผิดปกติเหมือน คนที่
ติดสารเสพติดจริง ทั้งความผิดปกติทางด้านโครงสร้าง การทางาน และสารสื่อประสาท ที่ผิดปกติ แต่ละคน
มีความเปราะบาง (Vulnerability) ต่อการติดเกมไม่เหมือนกัน ดังนั้น ไม่จาเป็นว่าทุกคนที่เล่นเกมจะต้องเสพ
ติดเกมเสมอไป ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เพียงแต่การที่เริ่มเล่นเกมก็เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเสพติด
เกมได้เด็กที่ป่วยเป็นโรคทางจิตเวชหลายโรคพบร่วมกับโรคเสพติดเกมได้บ่อย เช่น โรคสมาธิสั้น (ADHD)
โรคบกพร่องทางการเรียนเฉพาะด้าน (LD) โรคดื้อต่อต้าน/เกเร (ODD/conduct disorder) โรคซึมเศร้า
(Depression) โรคอารมณ์สองขั้ว (Bipolar disorder)
ตัวอย่างคาอธิบายความสัมพันธ์ (Correlation) ระหว่างโรคทางจิตเวชและโรคเสพติดเกม เช่น
- โรคสมาธิสั้น (ADHD) การทางานสมองของเด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้นจะชอบการตอบสนอง ที่
ฉับพลันทันไว ไม่สามารถอดทนรอคอยได้ขี้เบื่อ ต้องการสิ่งแปลกใหม่ การเล่นเกมสามารถตอบสนองต่อผู้
เล่นได้ทันที เพียงแค่กดปุ่มบังคับ ผลลัพธ์จะเกิดขึ้นโดยไม่ต้องรอนาน และการเล่นเกมมีความแปลกใหม่
ตื่นเต้นอยู่ตลอดเวลา ทาให้ยิ่งเล่นยิ่งติด มีการศึกษาพบว่า การเล่นเกมจะทาให้อาการของสมาธิสั้นยิ่ง
เป็นมากขึ้นด้วย ในทางกลับกันในเด็กปกติที่เล่นเกมมากๆ การทางานของสมองจะเริ่มมีความผิดปกติ มี
อาการคล้ายโรคสมาธิสั้นได้เช่น อดทนรอคอย ได้ลดลง ทาอะไรได้ไม่นาน ทางานแบบขอไปที เพื่อที่จะรีบ
ไปเล่นเกม
- โรคบกพร่องทางการเรียนเฉพาะด้าน (LD) เด็กที่เป็นโรคนี้อาจมีผลการเรียนไม่ดี คนรอบข้างมักจะ
ตาหนิหรือแสดงท่าทีไม่ยอมรับเด็ก ทาให้เด็กมีความภาคภูมิใจในตัวเอง (Self-esteem) ที่ไม่ดี เมื่อไปเล่นเกม
แล้วเด็กเล่นได้เก่ง มีสังคมเพื่อนในเกม ได้รับการชื่นชมยอมรับ เด็กจะรู้สึกตัวเองมีคุณค่า ทาให้อยากเล่น
เกมมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเด็กใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับ การเล่นเกม ทาให้ไม่ได้ฝึกพัฒนาทักษะทางการเรียนที่
บกพร่อง เช่น ไม่ได้ฝึกอ่านเขียน อาการของโรคจะเป็นมากขึ้น
- โรคซึมเศร้า (Depression) อาการของโรค คือ เศร้า เบื่อหน่ายท้อแท้ไม่อยากทาอะไร รู้สึกหมดหวัง
กับโลกความเป็นจริง การเล่นเกมเป็นหนทางหลีกหนี (Escape) จากความทุกข์ทรมานที่เป็นอยู่ เด็กจึงอยาก
ที่จะอยู่ในโลกของเกม ปฏิเสธความพยายามในการใช้ชีวิตอยู่ในโลกความเป็นจริง ส่วนเด็กปกติที่เล่นเกม
และมีสังคมอยู่ในนั้น อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้าได้ เช่น ถูกกลั่นแกล้งในสังคมเกม (Cyber
bullying) ติดเล่นเกมจนไม่มีปฏิสัมพันธ์กับคนในชีวิตจริง ทาให้ไม่มีเพื่อน รู้สึกอ้างว้าง โดดเดี่ยว นาไปสู่
การเป็นซึมเศร้าในที่สุด
ด้านจิตใจและสังคม (Psychosocial factors) ตัวอย่างเช่น
- มีความภาคภูมิใจในตนเองต่า (Low self-esteem) อยากได้การยอมรับจากคนอื่น การเล่นเกมชนะ
ได้อันดับดี มีชื่อเสียงในโลกของเกม ได้แรงเสริมทางบวกจากการเล่นเกม (Positive reinforcement) เช่น ได้
รับคาชม จะทาให้อยากเล่นเกมมากขึ้นเรื่อยๆ
- การเลี้ยงดูแบบไม่มีระเบียบวินัย (Poor disciplines) ไม่มีกฎกติกา ทาให้เด็กมีความสามารถ ในการ
ควบคุมตัวเองไม่ดี เมื่อเริ่มเล่นเกมแล้วจะติดพัน เล่นมากขึ้นเรื่อยๆ จนไม่ได้ทาสิ่งที่ต้องรับผิดชอบ ไม่รู้
หน้าที่ เช่น การเรียน กิจวัตรประจาวัน โดยที่ผู้ปกครองไม่ได้สอนตักเตือน หรือแค่พูดห้ามไม่ให้เล่น แต่
ไม่ได้ลงมือหยุดการเล่นเกมของเด็กอย่างจริงจัง
- ปัญหาครอบครัว (Family dysfunction) ทาให้เด็กมีความเครียดเกิดขึ้น เด็กเล่นเกมเพื่อเป็นการ
ระบายความเครียด
- การขาดต้นแบบที่ดี (Poor role model) บางครอบครัวตัวผู้ใหญ่เองก็ไม่มีระเบียบวินัย ติดมือถือ ไม่มี
กิจกรรมอย่างอื่นทาร่วมกัน
- มีกลุ่มเพื่อนที่โน้มน้าวกดดันให้ต้องเล่น (Peer pressure) ต้องเล่นเพื่อให้เพื่อนยอมรับเป็นส่วนหนึ่ง
ของกลุ่ม
ปัญหาผลเสียที่ตามมาจากการเสพติดเกม
การเสพติดเกมส่งผลเสียหลายอย่างไม่ว่าจะเป็นด้านสุขภาพ พัฒนาการ สังคม พฤติกรรม ผลการ
เรียน และการเงิน
1. ผลเสียด้านสุขภาพ
- อาการทางกายที่ไม่สามารถอธิบายสาเหตุได้(Unexplained Somatic symptoms) เช่น ปวดหัว ปวด
ท้อง ปวดเมื่อยตามตัว
- เพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจและความดันโลหิต
- เพิ่มโอกาสการเกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดดา (Venous Thromboembolism) คือ เมื่อนั่งเล่นเกมนานๆ
ร่างกายไม่ได้มีการขยับเคลื่อนไหว การไหลเวียนของเลือดไม่ดี ทาให้มีลิ่มเลือดเกิดขึ้นที่ขาได้
- เพิ่มโอกาสการเกิดลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือดที่ปอด (Pulmonary Thromboembolism) เมื่อ มีลิ่ม
เลือดเกิดที่ขา ลิ่มเลือดจะเดินทางจากขาไปยังปอดตามระบบหมุนเวียนโลหิต แล้วไป อุดตันที่ปอด ทาให้
เสียชีวิตได้
- โรคอ้วน เกิดจากการที่ไม่ได้ทากิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหวอย่างอื่น บางคนเล่นเกมไป กินไปด้วย
2. ผลเสียด้านพัฒนาการและพฤติกรรม ทาให้มีพัฒนาการทักษะสังคมไม่ดี ไม่ค่อยมีสมาธิ
- เมื่อเด็กใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการเล่นเกมที่นั่งอยู่หน้าจอ แม้จะมีการคุยกันกับเพื่อนที่อยู่ ในเกม
แต่ไม่ได้เป็นการมีปฏิสัมพันธ์กับคนจริงๆ ทาให้เด็กขาดโอกาสในการฝึกพัฒนาทักษะทางสังคม การเสพติด
เกมทาให้มีปัญหาความสัมพันธ์กับคนรอบข้างได้เช่น มีเรื่องทะเลาะ กับผู้ปกครอง เด็กแยกตัวออกจากกลุ่ม
เพื่อนเพื่อไปเล่นเกม
- มีงานศึกษาวิจัย พบว่า ความรุนแรงจากสื่อจะส่งผลให้เด็กเลียนแบบพฤติกรรมก้าวร้าว เพราะเด็ก
คิดว่าสิ่งที่เห็นในเกมเป็นสิ่งที่ยังทาได้เด็กบางคนแยกแยะเรื่องจริงกับสิ่งที่อยู่ ในเกมได้ไม่ดี เกมต่างๆ จะมี
การจัดเรตอายุที่เด็กสามารถเล่นได้เอาไว้ผู้ปกครองต้องคอยตรวจสอบว่าเด็กเล่นเกมเหมาะสมกับอายุ
หรือไม่
- บางช่วงวัย เด็กจะต้องมีการฝึก สารวจ เรียนรู้สิ่งแวดล้อม เพื่อให้มีพัฒนาการด้านต่างๆตามปกติ
การเล่นเกมอาจไปขัดขวางพัฒนาการได้ เช่น เด็กวัย 3 ปี ต้องฝึกจับดินสอ วาดภาพ ระบายสี แต่เมื่อใช้เวลา
ไปกับการเล่นเกม ทาให้ขาดโอกาสในการฝึกไป
- เด็กที่เสพติดเกมจะมีความสามารถในการควบคุมตนเองต่า อดทนรอคอยไม่ได้ เพราะเวลา ที่เล่น
เกม เมื่อกดปุ่มใดไป จะมีการตอบสนองตอบกลับมาทันที ภาพในเกมมีการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว เกม
ส่วนใหญ่มักทาให้ผู้เล่นรู้สึกลุ้น ตื่นเต้น เร้าใจ แต่ในชีวิตจริงไม่ว่าจะทาการสิ่งใด ต้องมีการอดทนรอคอย
และความพยายามสม่าเสมอ เช่น อยากเก่งวิชาเลข ต้องฝึกทาโจทย์ให้มาก อยากเก่งกีฬา ดนตรี ต้องมีการ
ฝึกซ้อม ไม่มีอะไรที่ได้มาได้ง่ายๆ โดยไม่ใช้ความพยายาม ทาให้มีอาการคล้ายสมาธิสั้นได้
3. การเรียน ทาให้มีพัฒนาการทักษะสังคมไม่ดี ไม่ค่อยมีสมาธิ
- มีงานวิจัยหนึ่ง พบว่า ยิ่งเด็กวัยรุ่นใช้เวลาเล่นเกมที่มีความรุนแรงมากเท่าไร จะส่งผลให้มีผลการ
เรียนที่ลดลงมากเท่านั้น
- เมื่อเด็กใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการเล่นเกมทาให้เด็กไม่ได้ทาการบ้าน ไม่ได้ทบทวนหนังสือ ไม่ได้
ไปเรียนพิเศษ เวลาที่ต้องเรียนเด็กอาจใจลอย จดจ่อคิดถึงแต่เรื่องที่จะเล่นเกม
4. การเงิน
- สูญเสียเงินทางตรง เช่น ค่าไฟ ค่าซื้ออุปกรณ์ ค่าเข้าร้านเล่นเกม ค่าซื้อไอเทม
- สูญเสียเงินทางอ้อม เช่น การที่เด็กที่มีระดับสติปัญญาดี ตามปกติควรได้มีโอกาสได้เรียน ในคณะ
ดีๆ แต่เมื่อติดเกมจนเสียการเรียน ทาให้ไม่สามารถเข้าคณะที่คะแนนสูงๆ ได้เป็นการสูญเสียด้านทรัพยากร
บุคคล ทั้งที่จริงมีความสามารถในการประกอบอาชีพและสมรรถภาพในการทางานที่ดี แต่การเล่นเกมทาให้
ความสามารถถดถอย ซึ่งเป็นการสูญเสียตัวเงินที่มองไม่เห็น (Invisible cost)
การป้องกันโรคเสพติดเกม
ผู้ปกครองควรมีความรู้เรื่องเกม
- ควรพูดคุยและให้ความรู้สอดแทรกให้เด็กเข้าใจ และยอมรับว่าการเล่นเกมที่ดี ควรเลือกเกมอะไร
เกมใดที่ไม่ส่งเสริมให้เล่น เนื่องจากเหตุผลใด
- แต่ละเกมมีความรุนแรง ความก้าวร้าว เรื่องทางเพศ หรือเรื่องไม่เหมาะสมอื่นๆ ที่แตกต่างกัน
ผู้ปกครองต้องดูแลไม่ให้เด็กเล่นเกมที่เกินอายุของเด็ก เพราะเด็กแต่ละวัย มีความเข้าใจ และความสามารถ
ในการแยกแยะเรื่องจริงกับเรื่องไม่จริง สิ่งที่สมควรทากับห้ามทาที่แตกต่างกัน การเล่นเกมที่สื่อถึง
พฤติกรรมไม่เหมาะสม เด็กอาจลอกเลียนแบบได้
จัดระบบการเล่นเกมตั้งแต่ต้น
- ก่อนจะมีข้อตกลงที่ชัดเจนเรื่องกติกาการเล่นเกม **ห้ามซื้อหรือให้เด็กใช้อุปกรณ์ที่เล่นเกม**
- การเล่นเกมต้องอยู่ในสายตาพ่อแม่ ภายในเวลาที่กาหนด ไม่ให้เสียหน้าที่อื่นๆ
- ควรกาหนดให้เล่นเกมได้หลังจากทางานในหน้าที่เสร็จเรียบร้อย
- มีการปิดกั้นการเข้าถึงเกมที่อันตราย
- มีการคุยกันเรื่องประเภทของเกมที่จะให้เล่น อุปกรณ์ที่จะใช้เล่น จานวนชั่วโมงที่เล่นได้ต่อวัน ช่วง
ระยะเวลาที่สามารถเล่นได้วิธีการเตือนก่อนหมดเวลาเล่น และผลที่ตามมาหากฝ่าฝืนเล่นเลยเวลาจากที่
กาหนดไว้ต้องเขียนเป็นข้อตกลงให้เห็นเป็นรูปธรรมชัดเจน สามารถทาตาม ได้จริง และมีการลงชื่อ
รับทราบ (Sign contract) จากผู้ใหญ่ในบ้านทุกคนที่เกี่ยวข้อง เพื่อปฏิบัติไปในแนวทางเดียวกัน โดยให้เด็กมี
ส่วนร่วมในการออกความเห็นด้วย มีเอกสารบันทึกวันที่ และเวลาในการเล่น เพื่อป้องกันการถกเถียงกันว่า
เล่นไปนานเท่าไร วันนี้ได้เล่นแล้วหรือยัง ตัวอย่างข้อตกลง เช่น
1. ให้เล่นเกม Minecraft ได้โดยใช้มือถือของพ่อหรือแม่ในการเล่นเท่านั้น ให้มาขออนุญาตก่อนเล่น
2. วันธรรมดาเล่นได้30 นาที หลังจากทาการบ้านเสร็จ ในช่วงเวลา 18.00 – 19.00 น. (เช่น เล่นตอน
18.15 – 18.45 น.) โดยนาการบ้านมาให้พ่อแม่ตรวจดูความเรียบร้อยก่อนเล่น
3. วันหยุดเล่นได้1 ชั่วโมง แบ่งเป็นครั้งละ 30 นาที ไม่ให้เล่นติดต่อกัน ให้เลือกเล่นช่วงเวลาที่ไม่ติด
ทากิจกรรมอย่างอื่น
4. ก่อนหมดเวลา 10 นาที จะมีคนบอกเตือน ถ้าเล่นเกินจากเวลาที่กาหนดไว้เช่น เล่นนาน 40 นาที
(เกินไป 10 นาที) วันรุ่งขึ้นจะโดนลดเวลาการเล่นไป 10 นาที
5. ห้ามเล่นเกมก่อนนอน 1 ชั่วโมง หรือเล่นระหว่างการทากิจวัตรอื่นๆ เช่น กินข้าว
6. หากแอบเล่นเกม ไม่ทาตามกติกาที่ตกลงกันไว้งดเล่นเกมอย่างต่า 1 สัปดาห์ขึ้นไป
7. หากมีเหตุจาเป็นที่ทาให้ไม่ได้เล่นเกมในวันนั้น ไม่สามารถเก็บเวลามาใช้ในวันอื่นได้
ไม่ควรให้เด็กใช้มือถือหรืออินเตอร์เน็ตที่มีความเร็วสูง
อย่าให้เด็กเข้าถึงมือถือหรือคอมพิวเตอร์ได้ง่าย โดยไม่มีการควบคุม
อย่าใช้เกมเป็นพี่เลี้ยงเด็กหรือหยุดพฤติกรรมไม่ดี
เช่น เด็กซนหรือก่อกวนมาก เลยให้เล่น มือถือ เพื่อไม่ให้มาก่อกวน ไม่มีคนช่วยดูแล ผู้ปกครองต้อง
ทางาน เลยให้มือถือเพื่อที่ผู้ปกครอง จะได้ทางานได้เด็กมีพฤติกรรมก้าวร้าว เช่น โวยวายเสียงดัง ขว้างปา
ข้าวของ เลยให้มือถือเพื่อหยุดพฤติกรรมดังกล่าว เด็กไม่ยอมไปโรงเรียน ต่อรองว่าต้องให้เล่นมือถือก่อนถึง
จะยอมไปโรงเรียนวันรุ่งขึ้น
วางตาแหน่งคอมพิวเตอร์หรือเครื่องเล่นเกมในสถานที่ที่เป็นที่โล่ง
เพื่อที่ผู้ปกครองจะได้เฝ้าดูได้
ไม่ควรตั้งคอมพิวเตอร์ไว้ในห้องนอนหรือห้องที่ปิดมิดชิด
หากจะเล่นในห้องที่มีประตูปิด ห้ามล็อคประตู ผู้ปกครองต้องสามารถสุ่มเข้าไปดูการใช้คอมพิวเตอร์
ของเด็กได้
วางนาฬิกาขนาดใหญ่ไว้หน้าเครื่อง
หรือในตาแหน่งที่เด็กสามารถมองเห็นได้ชัดเจน เพื่อที่จะควบคุมให้เล่นภายในเวลาที่กาหนดกันไว้
พยายามจัดหากิจกรรมอย่างอื่นให้เด็กทา
ชดเชยการเล่นเกม เช่น ดนตรี กีฬา ศิลปะ
เมื่อมีการละเมิดกฎกติกาที่ตกลงกันไว้
- ทบทวนอย่างจริงจังว่าเกิดปัญหาอุปสรรคใดที่ทาให้ไม่สามารถทาตามกติกาที่ตกลงไว้ได้
- กาหนดมาตรการควบคุมเพิ่มเติม ถ้ายังทาไม่ได้อีกอาจเพิ่มมาตรการให้เข้มงวดขึ้น
- ไม่มีการต่อรอง ไม่ต้องอธิบายมาก หรือบ่นว่าหรือพูดเตือนซ้าๆ หลายครั้ง แต่เน้นลงมือปฎิบัติให้
เป็นไปตามที่ตกลงกันไว้
- ไม่สนใจปฏิกิริยาเด็กที่อาจบ่น โวยวาย ให้เพิกเฉยกับพฤติกรรมที่ไม่ดี
การป้องกันที่ควรทาล่วงหน้าก่อนที่จะให้เด็กเล่นเกม
- ฝึกให้เด็กมีการควบคุมตนเอง มีการจัดตารางเวลามาตั้งแต่เล็ก ควรฝึกตั้งแต่เด็กอายุ 2 ปีขึ้นไป
- สร้างความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่ลูกที่ดี เพื่อที่จะสามารถพูดคุยตกลงกันได้
หากเด็กต่อต้านรุนแรงที่จะเลิกหรือลดการเล่นเกม
- ในระยะแรกพ่อแม่ควรร่วมเล่นเกมกับเด็ก พยายามทาความรู้จักกับเกมที่เด็กชอบเล่น
- หากเห็นว่าเป็นเกมที่ไม่เหมาะสมหรือเกมที่ใช้ความรุนแรง พยายามเบี่ยงเบนให้เด็กมาสนใจเกมอื่น
ที่พอจะมีส่วนดี เมื่อสัมพันธภาพกับเด็กเริ่มดีขึ้น พ่อแม่จึงค่อยๆ ดึงเด็กให้มาสนใจ ในกิจกรรมอื่นทีละเล็กที
ละน้อย
หากทาทุกวิธีข้างต้นแล้วไม่ได้ผล พ่อแม่ควรพาเด็กมาพบจิตแพทย์เด็ก
เนื่องจากเด็กอาจ จะป่วย จาเป็นต้องได้รับการรักษาโรคเสพติดเกมและโรคอื่นๆ ที่อาจพบร่วม เช่น
โรคสมาธิสั้น โรคซึมเศร้า
วิธีดาเนินงาน
แนวทางการดาเนินงาน
-ปรึกษาเลือกหัวข้อ
-นาเสนอหัวข้อกับครูผู้สอน
-ศึกษารวบรวมข้อมูล
-จัดทารายงาน
-นาเสนอครู
-ปรับปรุงและแก้ไข
เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้
-อินเตอร์เน็ต
-หนังสือที่เกี่ยวข้อง
-คอมพิวเตอร์
-โทรศัพท์
งบประมาณ
-
ขั้นตอนและแผนดาเนินงาน
ลาดับ
ที่
ขั้นตอน สัปดาห์ที่ ผู้รับผิดชอบ
1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17
1 คิดหัวข้อโครงงาน ลักษิกา
2 ศึกษาและค้นคว้าข้อมูล ลักษิกา
3 จัดทาโครงร่างงาน ลักษิกา
4 ปฏิบัติการสร้างโครงงาน ลักษิกา
5 ปรับปรุงทดสอบ ลักษิกา
6 การทาเอกสารรายงาน ลักษิกา
7 ประเมินผลงาน ลักษิกา
8 นาเสนอโครงงาน ลักษิกา
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.ได้รับความรู้เกี่ยวกับโรคติดเกมมากขึ้น
2.ได้รู้วิธีการแก้ปัญหาเกี่ยวกับโรคนี้
3.ได้รู้วิธีการป้องกันไม่ให้เกิดโรคนี้
สถานที่ดาเนินการ
โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จ.เชียงใหม่
กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้อง
คอมพิวเตอร์
บรรณานุกรม
เกี่ยวกับโรคติดเกม(2562). [ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก https://www.who.int/features/qa/gaming-disorder
(วันที่สืบค้นข้อมูล 9กันยายน 2562)
ปัญหาโรคติดเกม(2561). [ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก https://www.psychiatry.org/patients-families/internet-gaming (วันที่สืบค้น
ข้อมูล 11กันยายน 2562)
ปัญหาเด็กติดเกม(2561). [ออนไลน์].เข้าถึงได้จากhttps://sites.google.com/site/khorngnganpayhadektidkem/bth-thi2 (วันที่
สืบค้นข้อมูล 12กันยายน 2562)

More Related Content

What's hot

แบบร่างโครงงาน (งานคู่)
แบบร่างโครงงาน (งานคู่)แบบร่างโครงงาน (งานคู่)
แบบร่างโครงงาน (งานคู่)
sirinya55555
 
โครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
โครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์โครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
โครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์Patchara Pussadee
 
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
Apaiwong Nalinee
 
สมุนไพรไทยน่ารู้
สมุนไพรไทยน่ารู้สมุนไพรไทยน่ารู้
สมุนไพรไทยน่ารู้
Thanyalak Chanmai
 
2562 final-project
2562 final-project2562 final-project
2562 final-project
duangdeunnkamhanghan
 
2562 final-project social-addict
2562 final-project social-addict2562 final-project social-addict
2562 final-project social-addict
duangdeunnkamhanghan
 
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
Jiratchaya Yam
 
งานคอมมมม
งานคอมมมมงานคอมมมม
งานคอมมมม
gearnuttapong
 
Work1
Work1Work1
Work1
saliorim
 
2562 final-project 44-609_amornrat
2562 final-project 44-609_amornrat2562 final-project 44-609_amornrat
2562 final-project 44-609_amornrat
Amornrat49882
 
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
ploypoll
 
ใบงานที่5 โครงร่างโครงาน
ใบงานที่5 โครงร่างโครงานใบงานที่5 โครงร่างโครงาน
ใบงานที่5 โครงร่างโครงาน
Popeye Kotchakorn
 
2562 final-project 24-jaruwan
2562 final-project 24-jaruwan2562 final-project 24-jaruwan
โครงงาน สมุนไพรลดความอ้วน
โครงงาน สมุนไพรลดความอ้วนโครงงาน สมุนไพรลดความอ้วน
โครงงาน สมุนไพรลดความอ้วน
Mai Natthida
 
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
Guy Prp
 
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
จิณณรัตน์ จอมอูป
 
2562 final-project 605-10
2562 final-project 605-102562 final-project 605-10
2562 final-project 605-10
buakhamlungkham
 
Project com-28
Project com-28Project com-28
Project com-28
Pussadee Teajafun
 
2560 project
2560 project 2560 project
2560 project
Gear Tanatchaporn
 

What's hot (20)

แบบร่างโครงงาน (งานคู่)
แบบร่างโครงงาน (งานคู่)แบบร่างโครงงาน (งานคู่)
แบบร่างโครงงาน (งานคู่)
 
โครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
โครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์โครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
โครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
 
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
 
สมุนไพรไทยน่ารู้
สมุนไพรไทยน่ารู้สมุนไพรไทยน่ารู้
สมุนไพรไทยน่ารู้
 
2562 final-project
2562 final-project2562 final-project
2562 final-project
 
2562 final-project social-addict
2562 final-project social-addict2562 final-project social-addict
2562 final-project social-addict
 
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
 
งานคอมมมม
งานคอมมมมงานคอมมมม
งานคอมมมม
 
Work1
Work1Work1
Work1
 
2562 final-project 44-609_amornrat
2562 final-project 44-609_amornrat2562 final-project 44-609_amornrat
2562 final-project 44-609_amornrat
 
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
 
ใบงานที่5 โครงร่างโครงาน
ใบงานที่5 โครงร่างโครงานใบงานที่5 โครงร่างโครงาน
ใบงานที่5 โครงร่างโครงาน
 
2562 final-project 24-jaruwan
2562 final-project 24-jaruwan2562 final-project 24-jaruwan
2562 final-project 24-jaruwan
 
โครงงาน สมุนไพรลดความอ้วน
โครงงาน สมุนไพรลดความอ้วนโครงงาน สมุนไพรลดความอ้วน
โครงงาน สมุนไพรลดความอ้วน
 
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
 
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
 
2562 final-project 605-10
2562 final-project 605-102562 final-project 605-10
2562 final-project 605-10
 
Project com no.38 (1)
Project com no.38 (1)Project com no.38 (1)
Project com no.38 (1)
 
Project com-28
Project com-28Project com-28
Project com-28
 
2560 project
2560 project 2560 project
2560 project
 

Similar to Pathological gamers

ใบงานที่5 โครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
ใบงานที่5 โครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์ใบงานที่5 โครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
ใบงานที่5 โครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
Thansuda07
 
Philophobia
PhilophobiaPhilophobia
Philophobia
Suppamas
 
บทคความ1
บทคความ1บทคความ1
บทคความ1kasor
 
Ngan ku krongrang1
Ngan ku krongrang1Ngan ku krongrang1
Ngan ku krongrang1
Natthapatch37
 
Ngan ku krongrang1
Ngan ku krongrang1Ngan ku krongrang1
Ngan ku krongrang1
Natthapatch37
 
บทคความ
บทคความบทคความ
บทคความkasor
 
พฤติกรรมการเล่นเกมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
พฤติกรรมการเล่นเกมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยพฤติกรรมการเล่นเกมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
พฤติกรรมการเล่นเกมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
Supawit Kunakornbodin
 
โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์
ธีรนาถ ก่ำโน
 
เรื่อง ปัญหาการติดเกมในหมู่วัยรุ่น
เรื่อง ปัญหาการติดเกมในหมู่วัยรุ่นเรื่อง ปัญหาการติดเกมในหมู่วัยรุ่น
เรื่อง ปัญหาการติดเกมในหมู่วัยรุ่นNutdanai Dt
 
โครงงานคอมพิวเตอร์ปัญหาเด็กติดเกม
โครงงานคอมพิวเตอร์ปัญหาเด็กติดเกมโครงงานคอมพิวเตอร์ปัญหาเด็กติดเกม
โครงงานคอมพิวเตอร์ปัญหาเด็กติดเกม
jutamart muemsittiprae
 
23 jutamart โครงรางงานคอม
23 jutamart โครงรางงานคอม23 jutamart โครงรางงานคอม
23 jutamart โครงรางงานคอม
jutamart muemsittiprae
 
โครงร่างโครงงาน
โครงร่างโครงงานโครงร่างโครงงาน
โครงร่างโครงงาน
Kanyarat606
 
AT1
AT1AT1
2561 project -
2561 project -2561 project -
2561 project -
SornApasorn
 
กิจกรรมที่5
กิจกรรมที่5กิจกรรมที่5
กิจกรรมที่5
Manop Amphonyothin
 
นางสาว ดรัญพร โกฏิเเก้ว
นางสาว ดรัญพร โกฏิเเก้วนางสาว ดรัญพร โกฏิเเก้ว
นางสาว ดรัญพร โกฏิเเก้ว
daranpornkotkaew
 
แบบเสนอ
แบบเสนอแบบเสนอ
แบบเสนอ
Chapa Paha
 
เค้าโครงร่างงานคู่
เค้าโครงร่างงานคู่เค้าโครงร่างงานคู่
เค้าโครงร่างงานคู่
Jah Jadeite
 

Similar to Pathological gamers (20)

ใบงานที่5 โครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
ใบงานที่5 โครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์ใบงานที่5 โครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
ใบงานที่5 โครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
 
Philophobia
PhilophobiaPhilophobia
Philophobia
 
บทคความ1
บทคความ1บทคความ1
บทคความ1
 
Ngan ku krongrang1
Ngan ku krongrang1Ngan ku krongrang1
Ngan ku krongrang1
 
Ngan ku krongrang1
Ngan ku krongrang1Ngan ku krongrang1
Ngan ku krongrang1
 
บทคความ
บทคความบทคความ
บทคความ
 
พฤติกรรมการเล่นเกมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
พฤติกรรมการเล่นเกมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยพฤติกรรมการเล่นเกมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
พฤติกรรมการเล่นเกมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
 
โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์
 
เรื่อง ปัญหาการติดเกมในหมู่วัยรุ่น
เรื่อง ปัญหาการติดเกมในหมู่วัยรุ่นเรื่อง ปัญหาการติดเกมในหมู่วัยรุ่น
เรื่อง ปัญหาการติดเกมในหมู่วัยรุ่น
 
Comm
CommComm
Comm
 
Com
ComCom
Com
 
โครงงานคอมพิวเตอร์ปัญหาเด็กติดเกม
โครงงานคอมพิวเตอร์ปัญหาเด็กติดเกมโครงงานคอมพิวเตอร์ปัญหาเด็กติดเกม
โครงงานคอมพิวเตอร์ปัญหาเด็กติดเกม
 
23 jutamart โครงรางงานคอม
23 jutamart โครงรางงานคอม23 jutamart โครงรางงานคอม
23 jutamart โครงรางงานคอม
 
โครงร่างโครงงาน
โครงร่างโครงงานโครงร่างโครงงาน
โครงร่างโครงงาน
 
AT1
AT1AT1
AT1
 
2561 project -
2561 project -2561 project -
2561 project -
 
กิจกรรมที่5
กิจกรรมที่5กิจกรรมที่5
กิจกรรมที่5
 
นางสาว ดรัญพร โกฏิเเก้ว
นางสาว ดรัญพร โกฏิเเก้วนางสาว ดรัญพร โกฏิเเก้ว
นางสาว ดรัญพร โกฏิเเก้ว
 
แบบเสนอ
แบบเสนอแบบเสนอ
แบบเสนอ
 
เค้าโครงร่างงานคู่
เค้าโครงร่างงานคู่เค้าโครงร่างงานคู่
เค้าโครงร่างงานคู่
 

Pathological gamers

  • 1. 1 แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์ รหัสวิชา ง33202 ชื่อวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 6 ปีการศึกษา 2562 ชื่อโครงงาน ปัญหาเด็กติดเกม ชื่อผู้ทาโครงงาน นางสาวลักษิกา สุทิศ เลขที่22 ชั้นม.6/2 ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน ครูเขื่อนทอง มูลวรรณ์ ระยะเวลาดาเนินงาน ภาคเรียนที่ 1-2 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ สานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 34
  • 2. 2 ใบงาน การจัดทาข้อเสนอโครงงานคอมพิวเตอร์ สมาชิกในกลุ่ม นางสาวลักษิกา สุทิศ เลขที่22 ชั้นม.6/2 ชื่อโครงงาน (ภาษาไทย) ปัญหาเด็กติดเกม ชื่อโครงงาน (ภาษาอังกฤษ) Pathological Gamers ประเภทโครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา ชื่อผู้ทาโครงงาน นางสาวลักษิกา สุทิศ ชื่อที่ปรึกษา ครูเขื่อนทอง มูลวรรณ์ ระยะเวลาดาเนินงาน ภาคเรียนที่ 1 ที่มาและความสาคัญของโครงงาน ปัญหาการเด็กติดเกมคอมพิวเตอร์ เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นเมื่อคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตเข้ามามี บทบาทแพร่หลายในสังคมมากขึ้น ซึ่งเป็นปัญหาระดับโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งบนโทรศัพท์มือถือ พฤติกรรมการติดเกมของเด็กคล้ายกับพฤติกรรมของผู้ป่วยติดสารเสพติด และผู้ป่วยติดการพนัน คือ มีความ พึงพอใจเมื่อได้รับชัยชนะในการเล่นเกม และต้องการเอาชนะเพิ่มขึ้นอีกจึงรู้สึกพึงพอใจเท่าเดิม และมักใช้ เวลาในการเล่นเกมนานจนกว่าจะบรรลุเป้าหมายที่ต้องการ มีความคิดหมกมุ่นกับเกมคอมพิวเตอร์อย่างมาก และมีความต้องการเล่นเกมตลอดเวลา การติดเกมคอมพิวเตอร์มีผลกระทบต่อเด็กหลายด้าน เช่น ปัญหาการเรียน การทางานสุขภาพ ความสัมพันธ์ในครอบครัว สังคม และมีปัญหาพฤติกรรมหลายอย่างตามมา เช่นพูดปด ลักขโมย ก้าวร้าว หนีเรียน หนีออกจากบ้าน ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับเด็กที่ติดเกมคอมพิวเตอร์ดังกล่าว มีทั้งผลกระทบที่เกิด ขึ้นกับทั้งทางร่างกายและทางจิตใจ การนั่งเล่นเกมคอมพิวเตอร์นานๆ ทาให้เกิดความเครียด หงุดหงิดโกรธ ง่าย และก้าวร้าว ปัญหาเหล่านี้เป็นปัญหาที่ทุกคนต้องร่วมมือกันในการป้องกันและหาแนวทางในการแก้ไข เพราะเด็กปัจจุบันหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะเข้าไปสัมผัสกับสิ่งเหล่านี้ซึ่งมีอยู่และเข้าถึงได้ง่ายมากในสังคม ปัจจุบัน ปัญหาเด็กติดเกมจึงพบได้บ่อยขึ้นในครอบครัวไทยยุคนี้ ซึ่งสร้างความลาบากใจให้แก่พ่อแม่ เนื่องจากไม่รู้จะบังคับให้ลูกเลิกเล่นเกมอย่างไร อีกทั้งเด็กบางคนติดเกมจนไม่สนใจเรียน ทาให้ผลการเรียน
  • 3. ตกลงเรื่อย ๆ หรือบางคนเล่นจนไม่รู้เวลากินเวลานอนกันเลยทีเดียว ทาอย่างไรที่จะทาให้เด็กที่ใช้เวลาส่วน ใหญ่ในการเล่นเกมไปเป็นเวลาแห่งการเรียนรู้ที่เกิดประโยชน์ และการสร้างเสริมสุขภาพ ดังนั้นจึงทาให้กลุ่มของข้าพเจ้าอยากสารวจและศึกษาว่าเด็กช่วงอายุเท่าไรที่ติดเกมมากที่สุดและใช้ เวลาเล่นเกมกันกี่ชั่วโมง วัตถุประสงค์ (สิ่งที่ต้องการในการทาโครงงาน ระบุเป็นข้อ) 1. เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ว่านักเรียนเล่นเกมวันละกี่ชั่วโมงและอยู่ในขั้นติดเกมหรือไม่ 2. เพื่อช่วยกันแก้ปัญหาเด็กติดเกมและป้องกันม่ให้เด็กติดเกม ขอบเขตโครงงาน (คุณลักษณะ ขอบเขต เงื่อนไขและข้อจากัดของการทาโครงงาน) 1.ศึกษาพฤติกรรมการเล่นเกมของนักเรียนชั้นม.6/2 2.ศึกษาโรคติดเกมว่าลักษณะเป็นอย่างไร ร้ายแรงขนาดไหน หลักการและทฤษฎี โรคติดเกม องค์การอนามัยโลกได้จัดให้การติดเกมเป็นโรคชนิดหนึ่ง (Gaming disorder) เป็นอาการทางจิตที่รุนแรงและ ต้องได้รับการบาบัดรักษาเช่นเดียวกับโรคอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นการติดเกมออนไลน์ หรือ วิดีโอเกม การเล่นจน ติดเกมแตกต่างจากการเล่นเพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลิน หรือเล่นเป็นงานอดิเรก คือ ผลกระทบที่เกิดจาก การติดเกมเป็นผลทางด้านลบ ผู้เล่นไม่สามารถควบคุมตนเองได้ ต้องเล่นอย่างต่อเนื่องและะยะเวลาการเล่น เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยไม่สนใจการทากิจกรรมอื่น กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข รายงานว่าเด็กไทยเล่น เกมออนไลน์ผ่านโทรศัพท์และอินเทอร์เน็ตเป็นอันดับ 1 ของประเทศในแถบเอเชีย ปัญหาเด็กติดเกมอยู่ใน ขั้นวิกฤต และทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นทุกปี ลักษณะของเด็กติดเกม 1. ไม่สามารถควบคุมตัวเองให้เล่นในเวลาที่กาหนด ทาให้ใช้เวลาในการเล่นนานติดต่อกันหลายๆชั่วโมง หรือเล่นนานขึ้นเรื่อยๆ จากเดิมไม่กี่ชั่วโมงต่อวัน เพิ่มเป็นหลายชั่วโมงต่อวัน บางคนเล่นข้ามวันข้ามคืน 2. หากถูกบังคับให้เลิกหรือหยุดเล่นจะต่อต้าน หรือมีปฏิกริยาหงุดหงิดไม่พอใจอย่างรุนแรง บางคนถึงขั้น ก้าวร้าว 3. การเล่นของเด็กมีผลกระทบต่อหน้าที่ความรับผิดชอบของเด็ก เช่น เด็กไม่สนใจการเรียน ไม่สนใจที่จะทา การบ้าน หนีเรียนหรือแอบหนีออกจากบ้านเพื่อจะไปเล่นเกม การเรียนตกลงอย่างมาก ละเลยการเข้าสังคม หรือทากิจกรรมร่วมกับครอบครัว 4. บางรายอาจมีปัญหาพฤติกรรมอื่นๆร่วมด้วย เช่น โกหก ลักขโมย (เพื่อนาเงินไปเล่นเกม) ดื้อต่อต้าน แยกตัว เก็บตัว ฯลฯ
  • 4. อันตรายของโรคติดเกม อาการเสพติดเกม ก็คล้ายกับการเสพติพยา คือก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพกายและจิตใจไม่ทางตรงก็ทางอ้อม เมื่อต้องหยุดเล่นก็จะเกิดอาการคล้ายอาการที่เกิดจากการหยุดยาเสพติด ผลเสียทางร่างกาย เช่น เมื่อต้องเพ่ง สายตาไปที่หน้าจอเป็นเวลานานๆ จะทาให้ดวงตาเกิดความอ่อนล้า ตาพร่ามัว ตาแห้ง การนั่งเล่นเกมเป็น เวลานานทาให้เกิดอาการปวดเมื่อยตามตัว คอ ไหล่ และข้อมือ เกิดอาการขาดน้าและขาดสารอาหาร หรือ บางรายอาจเป็นโรคอ้วน เนื่องจากร่างกายเคลื่อนไหวน้อยลง ขาดการออกกาลังกาย ตลอดจนได้รับอาหารที่ ไม่เหมาะสม ดื่มเครื่องดื่มบารุงกาลังซึ่งส่วนใหญ่ประกอบด้วยน้าตาลและคาเฟอีนมากเกินไป ขาดการ พักผ่อนนอนหลับ หลายคนต้องทนทุกข์ทรมานจากการอดหลับอดนอน เกมที่รุนแรงจะทาให้ผู้เล่นเคยชิน กับพฤติกรรมที่รุนแรง เกิดอาการก้าวร้าวจากการที่ไม่สามารถเอาชนะเกม หรือในบางกรณีผู้เล่นสามารถ เอาชนะเกมได้ทุกครั้ง แต่ชีวิตจริงไม่เหมือนกับในเกม ทาให้เกิดอาการหงุดหงิดฉุนเฉียว ส่งผลกระทบต่อ หน้าที่การงานที่รับผิดชอบ ผลการเรียนเลวลง ปัญหาทางด้านสุขภาพจิต เช่น เกิดความวิตกกังวล ซึมเศร้า โรคสมาธิสั้น ในกรณีที่รุนแรง อาจถึงขั้นทาร้ายตัวเองหรือผู้อื่น เกิดอาการวิตกกังวลชนิดหนึ่งที่กลัวการ ออกจากบ้าน กลัวที่ชุมชน (agoraphobia) ซึ่งเป็นอาการที่เกิดขึ้นกับผู้ที่แยกตัวเองออกจากสังคม คาแนะนาและแนวทางแก้ไข โรคติดเกมเกิดได้กับเด็กและผู้ใหญ่ ในกรณีที่เป็นเด็ก พ่อแม่หรือผู้ปกครองจะมีบทบาทสาคัญที่สุด อย่ามองเกมที่เด็กเล่นว่าไม่เป็นพิษเป็นภัยเหมือนเป็นของเล่นชนิดหนึ่ง ควรตระหนักเสมอว่าเด็กมีโอกาสติด เกมได้เหมือนติดสิ่งเสพติด ก่อนที่จะอนุญาตให้เด็กเล่นเกม ควรมีการสัญญาและตกลงกันก่อนว่า จะต้องทา การบ้าน อ่านหนังสือ หรืออาบน้ากินข้าวก่อนถึงจะเล่นเกมได้จากัดเวลาเล่นเกม เช่นเล่นได้ไม่เกินวัน ละ 2 ชั่วโมง เลือกประเภทเกมให้เด็กเล่น ให้รางวัลเมื่อเด็กทาตามที่ตกลงกันไว้ได้เก็บอุปกรณ์ในการเล่น เกมรวมทั้งมือถือให้ห่างไกลจากเด็ก เบี่ยงเบนความสนใจของเด็กให้หันไปทากิจกรรมอื่น ๆ โดยเฉพาะ กิจกรรมที่สามารถทาร่วมกับพ่อแม่ได้เช่น การอ่านหนังสือหรือเล่านิทานก่อนนอน เล่นกีฬาที่เด็กชอบ พา ไปเดินเที่ยวในสวนสาธารณะ เป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเด็กกับพ่อแม่ให้มากขึ้น ผู้ใหญ่จานวนไม่น้อยโดยเฉพาะในวัยทางานเป็นโรคติดเกม ผู้ใหญ่ที่ติดเกมอาจจะแก้ไขได้ยากกว่าเด็ก เพราะไม่มีผู้ปกครองคอยตักเตือน โดยเฉพาะในรายที่อยู่คนเดียว แนวทางการแก้ไข เช่น จากัดเวลาเล่นเกม แบ่งแยกเวลาการทางานกับการเล่นเกมให้ชัดเจน ปรึกษาคนในครอบครัวหรือเพื่อนสนิทให้ช่วยคอยห้าม คอยเตือน ให้กาลังใจ หรือคอยชักชวนให้หันไปทากิจกรรมอื่น ๆ เช่นเล่นกีฬา ออกกาลังกาย เล่นดนตรี ใช้ เวลาว่างไปทากิจกรรมที่เป็นสาธารณประโยชน์ เช่น ช่วยดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาล อาสาจราจร ทาความ สะอาดวัดวาอาราม ปลูกต้นไม้ปลูกป่า อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เป็นต้น ในรายที่ติดเกมรุนแรงมากอาจต้องพบ นักจิตวิทยาหรือจิตแพทย์ การเล่นเกมอย่างพอดี ทาให้ผู้เล่นได้รับความสนุกสนานเพลิดเพลิน คลายเครียด ฝึกทักษะ สมาธิ การ ตัดสินใจ การประสานการทางานของกล้ามเนื้อและประสาทระหว่างมือกับตา อย่างไรก็ตาม การเล่นเกมไม่ ควรเล่นติดต่อกันเป็นเวลานาน หรือหมกมุ่นมากจนเกินไปจนทาให้เกิดอาการเสพติดและเกิดผลเสียต่อ
  • 5. สุขภาพทางกายและจิตใจ สาเหตุของการเสพติดเกม เกิดจากหลายสาเหตุร่วมกัน ทั้งด้านชีวภาพ จิตใจ และสังคม (Bio-Psychosocial factors) ด้านชีวภาพ (Biological factors) มีการศึกษาวิจัยสมองของคนที่เสพติดเกม พบว่ามีวงจรการทางานของสมองที่ผิดปกติเหมือน คนที่ ติดสารเสพติดจริง ทั้งความผิดปกติทางด้านโครงสร้าง การทางาน และสารสื่อประสาท ที่ผิดปกติ แต่ละคน มีความเปราะบาง (Vulnerability) ต่อการติดเกมไม่เหมือนกัน ดังนั้น ไม่จาเป็นว่าทุกคนที่เล่นเกมจะต้องเสพ ติดเกมเสมอไป ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เพียงแต่การที่เริ่มเล่นเกมก็เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเสพติด เกมได้เด็กที่ป่วยเป็นโรคทางจิตเวชหลายโรคพบร่วมกับโรคเสพติดเกมได้บ่อย เช่น โรคสมาธิสั้น (ADHD) โรคบกพร่องทางการเรียนเฉพาะด้าน (LD) โรคดื้อต่อต้าน/เกเร (ODD/conduct disorder) โรคซึมเศร้า (Depression) โรคอารมณ์สองขั้ว (Bipolar disorder) ตัวอย่างคาอธิบายความสัมพันธ์ (Correlation) ระหว่างโรคทางจิตเวชและโรคเสพติดเกม เช่น - โรคสมาธิสั้น (ADHD) การทางานสมองของเด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้นจะชอบการตอบสนอง ที่ ฉับพลันทันไว ไม่สามารถอดทนรอคอยได้ขี้เบื่อ ต้องการสิ่งแปลกใหม่ การเล่นเกมสามารถตอบสนองต่อผู้ เล่นได้ทันที เพียงแค่กดปุ่มบังคับ ผลลัพธ์จะเกิดขึ้นโดยไม่ต้องรอนาน และการเล่นเกมมีความแปลกใหม่ ตื่นเต้นอยู่ตลอดเวลา ทาให้ยิ่งเล่นยิ่งติด มีการศึกษาพบว่า การเล่นเกมจะทาให้อาการของสมาธิสั้นยิ่ง เป็นมากขึ้นด้วย ในทางกลับกันในเด็กปกติที่เล่นเกมมากๆ การทางานของสมองจะเริ่มมีความผิดปกติ มี อาการคล้ายโรคสมาธิสั้นได้เช่น อดทนรอคอย ได้ลดลง ทาอะไรได้ไม่นาน ทางานแบบขอไปที เพื่อที่จะรีบ ไปเล่นเกม - โรคบกพร่องทางการเรียนเฉพาะด้าน (LD) เด็กที่เป็นโรคนี้อาจมีผลการเรียนไม่ดี คนรอบข้างมักจะ ตาหนิหรือแสดงท่าทีไม่ยอมรับเด็ก ทาให้เด็กมีความภาคภูมิใจในตัวเอง (Self-esteem) ที่ไม่ดี เมื่อไปเล่นเกม แล้วเด็กเล่นได้เก่ง มีสังคมเพื่อนในเกม ได้รับการชื่นชมยอมรับ เด็กจะรู้สึกตัวเองมีคุณค่า ทาให้อยากเล่น เกมมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเด็กใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับ การเล่นเกม ทาให้ไม่ได้ฝึกพัฒนาทักษะทางการเรียนที่ บกพร่อง เช่น ไม่ได้ฝึกอ่านเขียน อาการของโรคจะเป็นมากขึ้น - โรคซึมเศร้า (Depression) อาการของโรค คือ เศร้า เบื่อหน่ายท้อแท้ไม่อยากทาอะไร รู้สึกหมดหวัง กับโลกความเป็นจริง การเล่นเกมเป็นหนทางหลีกหนี (Escape) จากความทุกข์ทรมานที่เป็นอยู่ เด็กจึงอยาก ที่จะอยู่ในโลกของเกม ปฏิเสธความพยายามในการใช้ชีวิตอยู่ในโลกความเป็นจริง ส่วนเด็กปกติที่เล่นเกม และมีสังคมอยู่ในนั้น อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้าได้ เช่น ถูกกลั่นแกล้งในสังคมเกม (Cyber
  • 6. bullying) ติดเล่นเกมจนไม่มีปฏิสัมพันธ์กับคนในชีวิตจริง ทาให้ไม่มีเพื่อน รู้สึกอ้างว้าง โดดเดี่ยว นาไปสู่ การเป็นซึมเศร้าในที่สุด ด้านจิตใจและสังคม (Psychosocial factors) ตัวอย่างเช่น - มีความภาคภูมิใจในตนเองต่า (Low self-esteem) อยากได้การยอมรับจากคนอื่น การเล่นเกมชนะ ได้อันดับดี มีชื่อเสียงในโลกของเกม ได้แรงเสริมทางบวกจากการเล่นเกม (Positive reinforcement) เช่น ได้ รับคาชม จะทาให้อยากเล่นเกมมากขึ้นเรื่อยๆ - การเลี้ยงดูแบบไม่มีระเบียบวินัย (Poor disciplines) ไม่มีกฎกติกา ทาให้เด็กมีความสามารถ ในการ ควบคุมตัวเองไม่ดี เมื่อเริ่มเล่นเกมแล้วจะติดพัน เล่นมากขึ้นเรื่อยๆ จนไม่ได้ทาสิ่งที่ต้องรับผิดชอบ ไม่รู้ หน้าที่ เช่น การเรียน กิจวัตรประจาวัน โดยที่ผู้ปกครองไม่ได้สอนตักเตือน หรือแค่พูดห้ามไม่ให้เล่น แต่ ไม่ได้ลงมือหยุดการเล่นเกมของเด็กอย่างจริงจัง - ปัญหาครอบครัว (Family dysfunction) ทาให้เด็กมีความเครียดเกิดขึ้น เด็กเล่นเกมเพื่อเป็นการ ระบายความเครียด - การขาดต้นแบบที่ดี (Poor role model) บางครอบครัวตัวผู้ใหญ่เองก็ไม่มีระเบียบวินัย ติดมือถือ ไม่มี กิจกรรมอย่างอื่นทาร่วมกัน - มีกลุ่มเพื่อนที่โน้มน้าวกดดันให้ต้องเล่น (Peer pressure) ต้องเล่นเพื่อให้เพื่อนยอมรับเป็นส่วนหนึ่ง ของกลุ่ม ปัญหาผลเสียที่ตามมาจากการเสพติดเกม การเสพติดเกมส่งผลเสียหลายอย่างไม่ว่าจะเป็นด้านสุขภาพ พัฒนาการ สังคม พฤติกรรม ผลการ เรียน และการเงิน 1. ผลเสียด้านสุขภาพ - อาการทางกายที่ไม่สามารถอธิบายสาเหตุได้(Unexplained Somatic symptoms) เช่น ปวดหัว ปวด ท้อง ปวดเมื่อยตามตัว - เพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจและความดันโลหิต - เพิ่มโอกาสการเกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดดา (Venous Thromboembolism) คือ เมื่อนั่งเล่นเกมนานๆ ร่างกายไม่ได้มีการขยับเคลื่อนไหว การไหลเวียนของเลือดไม่ดี ทาให้มีลิ่มเลือดเกิดขึ้นที่ขาได้ - เพิ่มโอกาสการเกิดลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือดที่ปอด (Pulmonary Thromboembolism) เมื่อ มีลิ่ม เลือดเกิดที่ขา ลิ่มเลือดจะเดินทางจากขาไปยังปอดตามระบบหมุนเวียนโลหิต แล้วไป อุดตันที่ปอด ทาให้ เสียชีวิตได้ - โรคอ้วน เกิดจากการที่ไม่ได้ทากิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหวอย่างอื่น บางคนเล่นเกมไป กินไปด้วย 2. ผลเสียด้านพัฒนาการและพฤติกรรม ทาให้มีพัฒนาการทักษะสังคมไม่ดี ไม่ค่อยมีสมาธิ
  • 7. - เมื่อเด็กใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการเล่นเกมที่นั่งอยู่หน้าจอ แม้จะมีการคุยกันกับเพื่อนที่อยู่ ในเกม แต่ไม่ได้เป็นการมีปฏิสัมพันธ์กับคนจริงๆ ทาให้เด็กขาดโอกาสในการฝึกพัฒนาทักษะทางสังคม การเสพติด เกมทาให้มีปัญหาความสัมพันธ์กับคนรอบข้างได้เช่น มีเรื่องทะเลาะ กับผู้ปกครอง เด็กแยกตัวออกจากกลุ่ม เพื่อนเพื่อไปเล่นเกม - มีงานศึกษาวิจัย พบว่า ความรุนแรงจากสื่อจะส่งผลให้เด็กเลียนแบบพฤติกรรมก้าวร้าว เพราะเด็ก คิดว่าสิ่งที่เห็นในเกมเป็นสิ่งที่ยังทาได้เด็กบางคนแยกแยะเรื่องจริงกับสิ่งที่อยู่ ในเกมได้ไม่ดี เกมต่างๆ จะมี การจัดเรตอายุที่เด็กสามารถเล่นได้เอาไว้ผู้ปกครองต้องคอยตรวจสอบว่าเด็กเล่นเกมเหมาะสมกับอายุ หรือไม่ - บางช่วงวัย เด็กจะต้องมีการฝึก สารวจ เรียนรู้สิ่งแวดล้อม เพื่อให้มีพัฒนาการด้านต่างๆตามปกติ การเล่นเกมอาจไปขัดขวางพัฒนาการได้ เช่น เด็กวัย 3 ปี ต้องฝึกจับดินสอ วาดภาพ ระบายสี แต่เมื่อใช้เวลา ไปกับการเล่นเกม ทาให้ขาดโอกาสในการฝึกไป - เด็กที่เสพติดเกมจะมีความสามารถในการควบคุมตนเองต่า อดทนรอคอยไม่ได้ เพราะเวลา ที่เล่น เกม เมื่อกดปุ่มใดไป จะมีการตอบสนองตอบกลับมาทันที ภาพในเกมมีการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว เกม ส่วนใหญ่มักทาให้ผู้เล่นรู้สึกลุ้น ตื่นเต้น เร้าใจ แต่ในชีวิตจริงไม่ว่าจะทาการสิ่งใด ต้องมีการอดทนรอคอย และความพยายามสม่าเสมอ เช่น อยากเก่งวิชาเลข ต้องฝึกทาโจทย์ให้มาก อยากเก่งกีฬา ดนตรี ต้องมีการ ฝึกซ้อม ไม่มีอะไรที่ได้มาได้ง่ายๆ โดยไม่ใช้ความพยายาม ทาให้มีอาการคล้ายสมาธิสั้นได้ 3. การเรียน ทาให้มีพัฒนาการทักษะสังคมไม่ดี ไม่ค่อยมีสมาธิ - มีงานวิจัยหนึ่ง พบว่า ยิ่งเด็กวัยรุ่นใช้เวลาเล่นเกมที่มีความรุนแรงมากเท่าไร จะส่งผลให้มีผลการ เรียนที่ลดลงมากเท่านั้น - เมื่อเด็กใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการเล่นเกมทาให้เด็กไม่ได้ทาการบ้าน ไม่ได้ทบทวนหนังสือ ไม่ได้ ไปเรียนพิเศษ เวลาที่ต้องเรียนเด็กอาจใจลอย จดจ่อคิดถึงแต่เรื่องที่จะเล่นเกม 4. การเงิน - สูญเสียเงินทางตรง เช่น ค่าไฟ ค่าซื้ออุปกรณ์ ค่าเข้าร้านเล่นเกม ค่าซื้อไอเทม - สูญเสียเงินทางอ้อม เช่น การที่เด็กที่มีระดับสติปัญญาดี ตามปกติควรได้มีโอกาสได้เรียน ในคณะ ดีๆ แต่เมื่อติดเกมจนเสียการเรียน ทาให้ไม่สามารถเข้าคณะที่คะแนนสูงๆ ได้เป็นการสูญเสียด้านทรัพยากร บุคคล ทั้งที่จริงมีความสามารถในการประกอบอาชีพและสมรรถภาพในการทางานที่ดี แต่การเล่นเกมทาให้ ความสามารถถดถอย ซึ่งเป็นการสูญเสียตัวเงินที่มองไม่เห็น (Invisible cost) การป้องกันโรคเสพติดเกม ผู้ปกครองควรมีความรู้เรื่องเกม
  • 8. - ควรพูดคุยและให้ความรู้สอดแทรกให้เด็กเข้าใจ และยอมรับว่าการเล่นเกมที่ดี ควรเลือกเกมอะไร เกมใดที่ไม่ส่งเสริมให้เล่น เนื่องจากเหตุผลใด - แต่ละเกมมีความรุนแรง ความก้าวร้าว เรื่องทางเพศ หรือเรื่องไม่เหมาะสมอื่นๆ ที่แตกต่างกัน ผู้ปกครองต้องดูแลไม่ให้เด็กเล่นเกมที่เกินอายุของเด็ก เพราะเด็กแต่ละวัย มีความเข้าใจ และความสามารถ ในการแยกแยะเรื่องจริงกับเรื่องไม่จริง สิ่งที่สมควรทากับห้ามทาที่แตกต่างกัน การเล่นเกมที่สื่อถึง พฤติกรรมไม่เหมาะสม เด็กอาจลอกเลียนแบบได้ จัดระบบการเล่นเกมตั้งแต่ต้น - ก่อนจะมีข้อตกลงที่ชัดเจนเรื่องกติกาการเล่นเกม **ห้ามซื้อหรือให้เด็กใช้อุปกรณ์ที่เล่นเกม** - การเล่นเกมต้องอยู่ในสายตาพ่อแม่ ภายในเวลาที่กาหนด ไม่ให้เสียหน้าที่อื่นๆ - ควรกาหนดให้เล่นเกมได้หลังจากทางานในหน้าที่เสร็จเรียบร้อย - มีการปิดกั้นการเข้าถึงเกมที่อันตราย - มีการคุยกันเรื่องประเภทของเกมที่จะให้เล่น อุปกรณ์ที่จะใช้เล่น จานวนชั่วโมงที่เล่นได้ต่อวัน ช่วง ระยะเวลาที่สามารถเล่นได้วิธีการเตือนก่อนหมดเวลาเล่น และผลที่ตามมาหากฝ่าฝืนเล่นเลยเวลาจากที่ กาหนดไว้ต้องเขียนเป็นข้อตกลงให้เห็นเป็นรูปธรรมชัดเจน สามารถทาตาม ได้จริง และมีการลงชื่อ รับทราบ (Sign contract) จากผู้ใหญ่ในบ้านทุกคนที่เกี่ยวข้อง เพื่อปฏิบัติไปในแนวทางเดียวกัน โดยให้เด็กมี ส่วนร่วมในการออกความเห็นด้วย มีเอกสารบันทึกวันที่ และเวลาในการเล่น เพื่อป้องกันการถกเถียงกันว่า เล่นไปนานเท่าไร วันนี้ได้เล่นแล้วหรือยัง ตัวอย่างข้อตกลง เช่น 1. ให้เล่นเกม Minecraft ได้โดยใช้มือถือของพ่อหรือแม่ในการเล่นเท่านั้น ให้มาขออนุญาตก่อนเล่น 2. วันธรรมดาเล่นได้30 นาที หลังจากทาการบ้านเสร็จ ในช่วงเวลา 18.00 – 19.00 น. (เช่น เล่นตอน 18.15 – 18.45 น.) โดยนาการบ้านมาให้พ่อแม่ตรวจดูความเรียบร้อยก่อนเล่น 3. วันหยุดเล่นได้1 ชั่วโมง แบ่งเป็นครั้งละ 30 นาที ไม่ให้เล่นติดต่อกัน ให้เลือกเล่นช่วงเวลาที่ไม่ติด ทากิจกรรมอย่างอื่น 4. ก่อนหมดเวลา 10 นาที จะมีคนบอกเตือน ถ้าเล่นเกินจากเวลาที่กาหนดไว้เช่น เล่นนาน 40 นาที (เกินไป 10 นาที) วันรุ่งขึ้นจะโดนลดเวลาการเล่นไป 10 นาที 5. ห้ามเล่นเกมก่อนนอน 1 ชั่วโมง หรือเล่นระหว่างการทากิจวัตรอื่นๆ เช่น กินข้าว 6. หากแอบเล่นเกม ไม่ทาตามกติกาที่ตกลงกันไว้งดเล่นเกมอย่างต่า 1 สัปดาห์ขึ้นไป 7. หากมีเหตุจาเป็นที่ทาให้ไม่ได้เล่นเกมในวันนั้น ไม่สามารถเก็บเวลามาใช้ในวันอื่นได้ ไม่ควรให้เด็กใช้มือถือหรืออินเตอร์เน็ตที่มีความเร็วสูง อย่าให้เด็กเข้าถึงมือถือหรือคอมพิวเตอร์ได้ง่าย โดยไม่มีการควบคุม อย่าใช้เกมเป็นพี่เลี้ยงเด็กหรือหยุดพฤติกรรมไม่ดี
  • 9. เช่น เด็กซนหรือก่อกวนมาก เลยให้เล่น มือถือ เพื่อไม่ให้มาก่อกวน ไม่มีคนช่วยดูแล ผู้ปกครองต้อง ทางาน เลยให้มือถือเพื่อที่ผู้ปกครอง จะได้ทางานได้เด็กมีพฤติกรรมก้าวร้าว เช่น โวยวายเสียงดัง ขว้างปา ข้าวของ เลยให้มือถือเพื่อหยุดพฤติกรรมดังกล่าว เด็กไม่ยอมไปโรงเรียน ต่อรองว่าต้องให้เล่นมือถือก่อนถึง จะยอมไปโรงเรียนวันรุ่งขึ้น วางตาแหน่งคอมพิวเตอร์หรือเครื่องเล่นเกมในสถานที่ที่เป็นที่โล่ง เพื่อที่ผู้ปกครองจะได้เฝ้าดูได้ ไม่ควรตั้งคอมพิวเตอร์ไว้ในห้องนอนหรือห้องที่ปิดมิดชิด หากจะเล่นในห้องที่มีประตูปิด ห้ามล็อคประตู ผู้ปกครองต้องสามารถสุ่มเข้าไปดูการใช้คอมพิวเตอร์ ของเด็กได้ วางนาฬิกาขนาดใหญ่ไว้หน้าเครื่อง หรือในตาแหน่งที่เด็กสามารถมองเห็นได้ชัดเจน เพื่อที่จะควบคุมให้เล่นภายในเวลาที่กาหนดกันไว้ พยายามจัดหากิจกรรมอย่างอื่นให้เด็กทา ชดเชยการเล่นเกม เช่น ดนตรี กีฬา ศิลปะ เมื่อมีการละเมิดกฎกติกาที่ตกลงกันไว้ - ทบทวนอย่างจริงจังว่าเกิดปัญหาอุปสรรคใดที่ทาให้ไม่สามารถทาตามกติกาที่ตกลงไว้ได้ - กาหนดมาตรการควบคุมเพิ่มเติม ถ้ายังทาไม่ได้อีกอาจเพิ่มมาตรการให้เข้มงวดขึ้น - ไม่มีการต่อรอง ไม่ต้องอธิบายมาก หรือบ่นว่าหรือพูดเตือนซ้าๆ หลายครั้ง แต่เน้นลงมือปฎิบัติให้ เป็นไปตามที่ตกลงกันไว้ - ไม่สนใจปฏิกิริยาเด็กที่อาจบ่น โวยวาย ให้เพิกเฉยกับพฤติกรรมที่ไม่ดี การป้องกันที่ควรทาล่วงหน้าก่อนที่จะให้เด็กเล่นเกม - ฝึกให้เด็กมีการควบคุมตนเอง มีการจัดตารางเวลามาตั้งแต่เล็ก ควรฝึกตั้งแต่เด็กอายุ 2 ปีขึ้นไป - สร้างความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่ลูกที่ดี เพื่อที่จะสามารถพูดคุยตกลงกันได้ หากเด็กต่อต้านรุนแรงที่จะเลิกหรือลดการเล่นเกม - ในระยะแรกพ่อแม่ควรร่วมเล่นเกมกับเด็ก พยายามทาความรู้จักกับเกมที่เด็กชอบเล่น - หากเห็นว่าเป็นเกมที่ไม่เหมาะสมหรือเกมที่ใช้ความรุนแรง พยายามเบี่ยงเบนให้เด็กมาสนใจเกมอื่น ที่พอจะมีส่วนดี เมื่อสัมพันธภาพกับเด็กเริ่มดีขึ้น พ่อแม่จึงค่อยๆ ดึงเด็กให้มาสนใจ ในกิจกรรมอื่นทีละเล็กที ละน้อย หากทาทุกวิธีข้างต้นแล้วไม่ได้ผล พ่อแม่ควรพาเด็กมาพบจิตแพทย์เด็ก
  • 10. เนื่องจากเด็กอาจ จะป่วย จาเป็นต้องได้รับการรักษาโรคเสพติดเกมและโรคอื่นๆ ที่อาจพบร่วม เช่น โรคสมาธิสั้น โรคซึมเศร้า วิธีดาเนินงาน แนวทางการดาเนินงาน -ปรึกษาเลือกหัวข้อ -นาเสนอหัวข้อกับครูผู้สอน -ศึกษารวบรวมข้อมูล -จัดทารายงาน -นาเสนอครู -ปรับปรุงและแก้ไข เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ -อินเตอร์เน็ต -หนังสือที่เกี่ยวข้อง -คอมพิวเตอร์ -โทรศัพท์ งบประมาณ - ขั้นตอนและแผนดาเนินงาน ลาดับ ที่ ขั้นตอน สัปดาห์ที่ ผู้รับผิดชอบ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 1 คิดหัวข้อโครงงาน ลักษิกา 2 ศึกษาและค้นคว้าข้อมูล ลักษิกา 3 จัดทาโครงร่างงาน ลักษิกา 4 ปฏิบัติการสร้างโครงงาน ลักษิกา 5 ปรับปรุงทดสอบ ลักษิกา 6 การทาเอกสารรายงาน ลักษิกา 7 ประเมินผลงาน ลักษิกา 8 นาเสนอโครงงาน ลักษิกา ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1.ได้รับความรู้เกี่ยวกับโรคติดเกมมากขึ้น 2.ได้รู้วิธีการแก้ปัญหาเกี่ยวกับโรคนี้
  • 11. 3.ได้รู้วิธีการป้องกันไม่ให้เกิดโรคนี้ สถานที่ดาเนินการ โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จ.เชียงใหม่ กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้อง คอมพิวเตอร์ บรรณานุกรม เกี่ยวกับโรคติดเกม(2562). [ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก https://www.who.int/features/qa/gaming-disorder (วันที่สืบค้นข้อมูล 9กันยายน 2562) ปัญหาโรคติดเกม(2561). [ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก https://www.psychiatry.org/patients-families/internet-gaming (วันที่สืบค้น ข้อมูล 11กันยายน 2562) ปัญหาเด็กติดเกม(2561). [ออนไลน์].เข้าถึงได้จากhttps://sites.google.com/site/khorngnganpayhadektidkem/bth-thi2 (วันที่ สืบค้นข้อมูล 12กันยายน 2562)