SlideShare a Scribd company logo
1 of 146
Download to read offline
รายงาน
การสร้างหลักประกัน
สุขภาพแห่งชาติ
ประจำ�ปีงบประมาณ 2559
สารจากประธานกรรมการ
หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
	 รัฐบาลไทยให้ความส�ำคัญต่อการพัฒนาประเทศด้าน
สาธารณสุข ทั้งด้านระบบบริการสาธารณสุข ยา เวชภัณฑ์
และอุปกรณ์ทางการแพทย์ การเงินการคลัง บุคลากร
ข้อมูลสารสนเทศ และการอภิบาลระบบ เพื่อช่วยยกระดับ
คุณภาพชีวิตของประชาชนทุกคนในภาพรวม โดยประกาศ
ให้เป็นนโยบายที่ส�ำคัญมาอย่างต่อเนื่อง นอกจากนั้น
การท�ำให้ประชาชนทุกคนมีหลักประกันด้านสุขภาพ
สามารถเข้าถึงบริการด้านสุขภาพที่มีคุณภาพ มาตรฐาน
ได้ตามความจ�ำเป็น และได้รับการปกป้องการเกิดวิกฤติ
ทางการเงินจากการจ่ายค่ารักษาพยาบาล ยังเป็นเป้าหมาย
หนึ่งในเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ
พ.ศ.2559-2574 (Sustainable Development Goals
2015-2030)
	 ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เป็นระบบหนึ่งที่
ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการการเงินการคลัง
ในระบบบริการสาธารณสุข ภายใต้หลักการ “เฉลี่ยทุกข์
เฉลี่ยสุข” หรือ “ดีช่วยป่วย รวยช่วยจน” โดยให้ความ
ส�ำคัญกับการคุ้มครองสิทธิด้านสุขภาพของประชาชนตาม
รัฐธรรมนูญ ความส�ำเร็จของการพัฒนาระบบหลักประกัน
สุขภาพของประเทศไทยเป็นหนึ่งตัวอย่างที่ได้รับการ
ยอมรับในระดับนานาชาติ อย่างไรก็ตาม การด�ำเนินงาน
ดังกล่าวยังคงมีภารกิจที่ต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่องและ
บริหารจัดการให้ดียิ่งขึ้น เพื่อประโยชน์ต่อประชาชนและ
ระบบสาธารณสุขโดยรวมของประเทศ โดยจะเน้นการเพิ่ม
ประสิทธิภาพการบริหารจัดการ การใช้ทรัพยากร
สาธารณสุข และการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
เพื่อให้ประชาชนผู้มีสิทธิสามารถเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพ
มาตรฐานในทุกระดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กลุ่มที่ยังไม่
สามารถเข้าถึงบริการได้ตามความจ�ำเป็น พร้อมกับการ
เพิ่มประสิทธิภาพการใช้จ่ายด้านสุขภาพ เพื่อความยั่งยืน
ของระบบคุ้มครองความมั่นคงด้านสุขภาพส�ำหรับคนไทย
ในระยะยาว
	 ในปี 2559 คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพ
แห่งชาติ ให้ความส�ำคัญกับการขยายความร่วมมือ ร่วมคิด
ร่วมท�ำ ระหว่างกระทรวงสาธารณสุขในฐานะต้นสังกัด
ของผู้ให้บริการหลักในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
และ สปสช. ในฐานะผู้จัดหาบริการ ส่งผลต่อการสนับสนุน
ซึ่งกันและกันมากขึ้น รวมทั้ง ได้เร่งรัดการด�ำเนินการที่
ส�ำคัญหลายด้าน เช่น1) การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหาร
กองทุนและการพัฒนารูปแบบการจ่ายชดเชยค่าบริการ
รวมทั้งความพยายามอย่างต่อเนื่องในการแก้ไขปัญหาการ
บริหารจัดการเงินกองทุนหลักประกันฯ ของหน่วยบริการ
2) การสนับสนุนการบูรณาการระบบประกันสุขภาพ
ภาครัฐตามนโยบายรัฐบาล ผ่านการสนับสนุนการพัฒนา
ระบบบริการเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติ(EMCO)3) การพัฒนา
ประเภทและขอบเขตบริการสาธารณสุขและระบบบริการ
อย่างต่อเนื่อง เช่น การออกแบบการบริหารจัดการระบบ
การดูแลระยะยาวส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง การ
ปรับปรุงชุดบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค และ
การดูแลผู้ป่วยกลุ่มเฉพาะต่างๆ ที่ยังมีปัญหาการเข้าถึง
บริการ 4) การพัฒนาอย่างต่อเนื่องในการคุ้มครองสิทธิ
ด้านสุขภาพของประชาชน เช่น การจัดการระบบฐาน
ข้อมูลกลางทะเบียนสิทธิการรักษาพยาบาลของประชาชน
รวมทั้งการให้บริการข้อมูลข่าวสารและการรับเรื่องร้อง
เรียนต่างๆ และ5) การพัฒนาระบบสนับสนุนอื่นๆ รองรับ
การบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เช่น
การปรับปรุงแนวทางการรับฟังความเห็นทั่วไปประจ�ำปี
การปรับปรุงประกาศ/ระเบียบ/ข้อบังคับ/ค�ำสั่งต่างๆ
ให้สอดคล้องและรองรับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ และ
กระบวนการสรรหาและคัดเลือกเลขาธิการ สปสช. แทน
เลขาธิการที่หมดวาระ เป็นต้น
	 ความส�ำเร็จดังกล่าวเกิดขึ้นจากการสนับสนุน และ
ความร่วมมือของทุกภาคส่วน ผมขอขอบคุณท่านผู้บริหาร
กระทรวงสาธารณสุข ท่านผู้บริหารกระทรวงอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ท่านผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ของสถานพยาบาล/โรงพยาบาล
ทุกแห่ง ทั้งภาครัฐและเอกชน องค์กรวิชาชีพ องค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคประชาชน และภาคีเครือข่าย
ทุกภาคส่วน รวมทั้งส�ำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่ง
ชาติ ที่สนับสนุนการด�ำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและ
คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และมี
ส่วนร่วมพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มุ่ง
เป้าหมายให้ประชาชนได้รับความคุ้มครองด้านสุขภาพ
เข้าถึงบริการที่มีคุณภาพมาตรฐานตามที่จ�ำเป็นได้อย่าง
ต่อเนื่อง เหมาะสม และมีความเท่าเทียมกัน
	 ในโอกาสนี้ ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ทุกภาคส่วนจะ
ให้การสนับสนุนการพัฒนาและร่วมเป็นเจ้าของระบบ
หลักประกันสุขภาพและระบบสุขภาพของประเทศไปด้วย
กันอย่างต่อเนื่อง เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนต่อไป
และขออวยพรให้ทุกท่าน ตลอดจนครอบครัวประสบ
แต่ความสุขความเจริญโดยทั่วกัน
	                (นายปิยะสกล สกลสัตยาทร)
	           รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
          ประธานกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
สารจากประธานกรรมการ
	 ปีงบประมาณ 2559 เป็นการเริ่มด�ำเนินงานของ
คณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการ
สาธารณสุข สมัยวาระที่4 (ปี พ.ศ. 2559–2562) การ
ด�ำเนินงานของคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐาน
บริการสาธารณสุขในสมัยวาระที่ 4 นั้น ยังเป็นการ
ด�ำเนินงานตามบทบาทหน้าที่ตามมาตรา50 แห่งพระราช
บัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 และได้มี
การน�ำข้อเสนอเพื่อการพัฒนางานของคณะกรรมการ
ควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุขสมัย
วาระที่3 มาทบทวน เพื่อวางกรอบแนวทางการด�ำเนินงาน
โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการ
สาธารณสุขที่มีคุณภาพและมาตรฐาน จึงได้ก�ำหนด
เป็นความท้าทายของคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและ
มาตรฐานบริการสาธารณสุขสมัยวาระที่ 4 ได้แก่
1) ก�ำหนดทิศทางและยุทธศาสตร์ด้านมาตรฐานและ
คุณภาพบริการ 2) เสริมสร้างความเข้มแข็งและศักยภาพ
ของกลไกการจัดการมาตรฐานและคุณภาพบริการใน
ระดับพื้นที่ 3) สร้างความร่วมมือและความเป็นเจ้าของ
ของทุกภาคส่วนในการสนับสนุนมาตรฐานและคุณภาพ
บริการ 4) สร้างการรับรู้และความเข้าใจระหว่างผู้ให้และ
ผู้รับบริการด้านมาตรฐานและคุณภาพบริการ เพื่อลด
ความขัดแย้ง และ 5) การพัฒนามาตรฐานและคุณภาพ
บริการโดยการใช้ข้อมูลสารสนเทศ
	 ในการเริ่มต้นการด�ำเนินงานของคณะกรรมการ
ควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุขสมัย
วาระที่ 4 นั้น ได้มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการตาม
ภารกิจภายใต้คณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐาน
บริการสาธารณสุขจ�ำนวน3 คณะ ได้แก่ คณะอนุกรรมการ
ควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุข
ก�ำกับคุณภาพและมาตรฐานบริการ คณะอนุกรรมการ
คุ้มครองสิทธิและส่งเสริมการมีส่วนร่วม และคณะอนุ-
กรรมการด้านกฎหมายที่เกี่ยวกับการพิจารณาจ่ายเงิน
ช่วยเหลือเบื้องต้นและการก�ำกับมาตรฐานหน่วยบริการ
ซึ่งคณะอนุกรรมการตามภารกิจภายใต้คณะกรรมการ
ควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุข มีบทบาท
หน้าที่ที่ส�ำคัญในการจัดท�ำข้อเสนอและพัฒนากลไกใน
การควบคุมก�ำกับคุณภาพและมาตรฐานหน่วยบริการและ
เครือข่ายบริการการคุ้มครองสิทธิในระบบหลักประกัน
สุขภาพแห่งชาติ โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน และ
การศึกษาทบทวนและให้ความเห็นในประเด็นกฎหมายที่
เกี่ยวกับการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้น การก�ำกับมาตรฐาน
หน่วยบริการ เพื่อพัฒนาคุณภาพบริการของหน่วยบริการ
และเครือข่ายบริการ
	 ส่วนการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการใน
ระดับพื้นที่ ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการควบคุมคุณภาพ
และมาตรฐานบริการสาธารณสุขระดับเขตพื้นที่ให้ปฏิบัติ
หน้าที่ต่ออีก 1 วาระ คณะกรรมการควบคุมคุณภาพและ
มาตรฐานบริการสาธารณสุขระดับเขตพื้นที่มีบทบาท
ส�ำคัญในการก�ำกับและติดตามการให้บริการของหน่วย
บริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ทั้งในด้าน
มาตรฐานและคุณภาพ การเข้าถึงสิทธิ รวมถึงการเข้ารับ
บริการ โดยมีรูปแบบการท�ำงานที่เชื่อมโยงกับกลไกต่างๆ
ของภาคส่วนในพื้นที่ เช่น คณะอนุกรรมการพิจารณา
วินิจฉัยค�ำร้องขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้นระดับจังหวัด
จ�ำนวน 77 จังหวัด ซึ่งคณะอนุกรรมการชุดใหม่ได้รับการ
แต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่แทนคณะอนุกรรมการชุดเดิมที่ครบ
วาระการด�ำรงต�ำแหน่ง หน่วยรับเรื่องร้องเรียนอื่นที่เป็น
อิสระจากผู้ถูกร้องเรียน ศูนย์บริการหลักประกันสุขภาพ
ในหน่วยบริการ ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพ
ภาคประชาชน รวมถึงคณะอนุกรรมการหลักประกัน
สุขภาพเขตพื้นที่ (อปสข.)
	 การด�ำเนินงานของคณะกรรมการควบคุมคุณภาพ
และมาตรฐานบริการสาธารณสุขสมัยวาระที่4 มุ่งเน้นการ
ท�ำงานที่เชื่อมโยงและบูรณาการอย่างเป็นระบบ กับหน่วย
งาน สมาคมวิชาชีพ องค์กรภาคีที่เกี่ยวข้อง และภาค
ประชาชน การเชื่อมโยงการท�ำงานร่วมกันดังกล่าวเพื่อน�ำ
ไปสู่การมีสุขภาพที่ดีของประชาชน ผู้ให้บริการมีความสุข
และระบบคุณภาพและมาตรฐานที่ยั่งยืนต่อไป
	 ขอขอบคุณคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและ
มาตรฐานบริการสาธารณสุข คณะอนุกรรมการทั้งใน
ส่วนกลาง ระดับเขตพื้นที่ และระดับจังหวัด รวมถึงภาคี
สุขภาพ ส�ำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่สนับ
สนุนการท�ำงานและมีส่วนร่วมในการส่งเสริมและก�ำกับ
คุณภาพและมาตรฐานบริการ ท�ำให้ประชาชนได้รับบริการ
สาธารณสุขที่มีมาตรฐานเท่าเทียมกันทุกคน ตามเจตนา-
รมณ์ของพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
พ.ศ. 2545
		
	 	                      (นายชาตรี บานชื่น)
	                   ประธานกรรมการควบคุมคุณภาพ
                         และมาตรฐานบริการสาธารณสุข
สารจากเลขาธิการ
สำ�นักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
	 19 พฤศจิกายน 2545 เป็นวันแรกที่พระราชบัญญัติ
หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มีผลบังคับใช้ และเป็น
จุดก�ำเนิดของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าใน
ประเทศไทย นับแต่วันนั้น คนไทยที่ไม่มีสิทธิสวัสดิการ
รักษาพยาบาลข้าราชการ และสิทธิประกันสังคม จะมีสิทธิ
หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเป็นสิทธิรักษาพยาบาลขั้น
พื้นฐานตามกฎหมายในทันที
	 ช่วงแรกของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เน้นไป
ที่ความครอบคลุมของสิทธิ โดยประชาชนจะต้องมีหน่วย
บริการประจ�ำ การท�ำงานในช่วงแรกจึงมุ่งเน้นเพื่อให้บรรลุ
เป้าหมาย และด�ำเนินการอย่างต่อเนื่อง จนถึงปัจจุบัน
สปสช. สามารถสร้างความครอบคลุมได้กว่าร้อยละ99.93
แต่เมื่อพิจารณาข้อมูลการใช้สิทธิในปี2558 เปรียบเทียบ
กับการใช้สิทธิในปี 2546 พบว่า ประชาชนใช้สิทธิเมื่อ
รักษาเป็นผู้ป่วยในเพิ่มขึ้นมากกว่า7 จุด จากร้อยละ79.85
เป็น87.58 ในขณะที่การใช้สิทธิเมื่อเป็นผู้ป่วยนอกเพิ่มขึ้น
เพียง 4 จุด จากร้อยละ 71.48 เป็น 75.30
	 อย่างไรก็ตาม นอกจากประชาชนจะเข้าถึงบริการ
สุขภาพได้มากขึ้นแล้ว การเกิดวิกฤติทางการเงินของครัว
เรือนไทยจากการจ่ายค่ารักษาพยาบาล ลดลงจากร้อยละ
5.74 ในปี2546 เหลือเพียงร้อยละ2.01 ในปี2558 ตัวเลข
ที่น่าสนใจที่ได้จากการส�ำรวจอีกประการหนึ่งคือ ร้อยละ
ของครัวเรือนที่ต้องกลายเป็นครัวเรือนยากจนหลังจากการ
จ่ายค่ารักษาพยาบาล ลดลงจากร้อยละ 2.01 ในปี 2546
เหลือเพียงร้อยละ 0.34 ในปี 2558
	 ส�ำหรับโรคที่มีค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลสูง หรือ
ผู้ป่วยที่เป็นโรคที่ต้องการการรักษาต่อเนื่อง เช่น ผู้ป่วยไต
วายเรื้อรังระยะสุดท้าย ผู้ป่วยเอชไอวี ฯลฯ หรือผู้ป่วยที่
เดิมมีความยากล�ำบากในการเข้าถึงบริการ เช่น ผู้ป่วย
เปลี่ยนอวัยวะ ก็มีการเข้าถึงบริการมากขึ้น
	 ด้วยข้อจ�ำกัดด้านงบประมาณของกองทุนหลักประกัน
สุขภาพแห่งชาติ และเพื่อลดภาระงบประมาณของประเทศ
สปสช. จึงได้พยายามปรับประสิทธิภาพในการบริหาร
จัดการกองทุนในหลายมาตรการ มาตรการหนึ่งที่ประสพ
ผลส�ำเร็จคือการบริหารยาและเวชภัณฑ์ในบางรายการที่มี
ราคาแพงและมีปัญหาในการเข้าถึง ผลการด�ำเนินการ
ตั้งแต่ปี 2555-2559 ท�ำให้ประหยัดงบประมาณไปได้ถึง
กว่า 30,000 ล้านบาท
	 นอกจากนั้น สปสช. ยังค�ำนึงถึงการมีส่วนร่วมและ
เสียงสะท้อนของภาคส่วนต่างๆ ช่องทางหนึ่งที่ สปสช.
ด�ำเนินการ คือ บริการสายด่วน สปสช. 1330 โดยมีสถิติ
การให้บริการเฉลี่ยในปี 2559 ถึงวันละ 1,400 สาย โดย
มีสถิติการแก้ไขปัญหา/ข้อร้องเรียนที่ได้รับการแก้ไข
ภายใน 25 วัน ถึงร้อยละ 74.79
	 รายงานการสร้างหลักประกันสุขภาพประจ�ำปี 2559
ฉบับนี้ ได้รวบรวมผลการท�ำงานและสถิติข้อมูลของ
ส�ำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ภายใต้คณะ-
กรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ทั้งที่เป็นผลส�ำรวจ
ของส�ำนักงานสถิติแห่งชาติ และจากฐานข้อมูลบริการของ
ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยหวังว่าจะเป็น
ประโยชน์ให้ท่านที่สนใจได้เห็นความก้าวหน้าในการ
ด�ำเนินงาน อุปสรรค และความท้าทายในการพัฒนาระบบ
หลักประกันสุขภาพ ตามสมควร
                         (นายศักดิ์ชัย กาญจนวัฒนา)
                        รองเลขาธิการ รักษาการแทน
                              เลขาธิการส�ำนักงาน
                          หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
บทสรุปผู้บริหาร
	 ส�ำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) จัด
ตั้งตาม พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545
มาตรา 24 ก�ำหนดให้ สปสช. เป็นหน่วยงานของรัฐ มี
ฐานะเป็นนิติบุคคลอยู่ภายใต้ก�ำกับดูแลของรัฐมนตรี
ว่าการกระทรวงสาธารณสุข ท�ำหน้าที่เป็นส�ำนักงาน
เลขานุการของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
และคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการ
สาธารณสุข
	 มีวิสัยทัศน์คือ “ทุกคนที่อาศัยอยู่บนแผ่นดินไทย ได้
รับความคุ้มครองหลักประกันสุขภาพอย่างถ้วนหน้า ด้วย
ความมั่นใจ” โดยมีบทบาทหน้าที่ในการสนับสนุนให้มี
ระบบหลักประกันสุขภาพที่ครอบคลุมทุกคน การพัฒนา
บริการสาธารณสุขให้มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน ทุกคนเข้าถึง
ได้ ไม่เกิดวิกฤติทางการเงินจากการจ่ายค่ารักษาพยาบาล
(Catastrophic health expenditure) เสริมสร้างความ
เท่าเทียมกันระหว่างกองทุนอื่นๆ และทุกภาคส่วนมีส่วน
ร่วมพัฒนา และเป็นเจ้าของโดยเคารพในสิทธิและศักดิ์ศรี
ซึ่งกันและกัน
	 ปีงบประมาณ 2559 กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่ง
ชาติ ได้รับการจัดสรรงบประมาณหมวดเงินอุดหนุนจาก
รัฐบาล เพื่อเป็นค่าใช้จ่าย สนับสนุน และส่งเสริมการจัด
บริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ ส�ำหรับประชากรผู้มี
สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จ�ำนวน 48.79 ล้านคน
ดังนี้
	 1.	งบค่าบริการทางการแพทย์เหมาจ่ายรายหัว ประกอบด้วย
	 	 1.1 ค่าบริการทางการแพทย์ส�ำหรับผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ	 107,629.76 	 ล้านบาท
	 	 1.2 ค่าแรงของหน่วยบริการภาครัฐในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 	 40,143.14 	 ล้านบาท
	 	 รวมงบค่าบริการทางการแพทย์เหมาจ่ายรายหัว 		 	 	 147,772.90 	 ล้านบาท
	 	 คิดเป็นอัตราเหมาจ่ายรายหัว (บาทต่อประชากรสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ รวมค่าแรงหน่วยบริการ
	 	 ภาครัฐ) เท่ากับ 3,028.94 บาท
	 2.	งบประมาณเพื่อดูแลในกลุ่มบริการเฉพาะ ประกอบด้วย
	 	 2.1 ค่าบริการสุขภาพผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ 	 	 	 3,011.90	 ล้านบาท
	 	 2.2 ค่าบริการสุขภาพผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง 	 	 	 	 6,318.10 	 ล้านบาท
	 	 2.3 ค่าบริการควบคุม ป้องกัน และรักษาโรคเรื้อรัง 	 	 	 959.00 		 ล้านบาท
	 	 2.4 ค่าบริการสาธารณสุขส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง 	 	 	 600.00 		 ล้านบาท
	 3.	งบประมาณส�ำหรับจัดสรรเป็นขวัญก�ำลังใจให้กับบุคลากรที่ปฏิบัติงานในที่ห่างไกลและหน่วยบริการที่มีประชากร
เบาบางให้สามารถด�ำรงอยู่ได้ ประกอบด้วย
	 	 3.1	งบค่าใช้จ่ายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพหน่วยบริการในพื้นที่กันดาร 	 	 1,490.29 	 ล้านบาท
	 	 	 พื้นที่เสี่ยงภัยและพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 	 	
	 	 3.2 ค่าตอบแทนก�ำลังคนด้านการสาธารณสุข	 	 	 	 3,000.00 	 ล้านบาท
| รายงานการสรางหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประจำ�ปีงบประมาณ 25598
รวมเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติทั้งสิ้น
163,152.18 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ6.0 ของงบประมาณ
ประเทศ โดยเหลือเงินสดให้ส�ำนักงานบริหาร (ไม่รวม
ค่าแรงหน่วยบริการภาครัฐ) 123,009.04 ล้านบาท และ
ได้รับงบประมาณ เพื่อบริหารจัดการในส�ำนักงาน
ส่วนกลาง และส�ำนักงานสาขา13 สาขา วงเงิน1,414.09
ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 0.87 เมื่อเทียบกับงบกองทุน
หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
ผลการสร้างหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
สรุปพอสังเขป ดังนี้
	 1. ความครอบคลุมสิทธิในระบบประกันสุขภาพ
ประชากรไทยผู้มีสิทธิในระบบประกันสุขภาพ จ�ำนวน
65.81 ล้านคน(ข้อมูล ณ30 กันยายน2559) ลงทะเบียน
สิทธิในระบบประกันสุขภาพ จ�ำนวน 65.78 ล้านคน คิด
เป็นความครอบคลุมสิทธิในระบบประกันสุขภาพของ
ประเทศ (Universal Health Coverage: UHC) ร้อยละ
99.95 ส�ำหรับประชากรผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพ
แห่งชาติ จ�ำนวน 48.37 ล้านคน ลงทะเบียนสิทธิแล้ว
จ�ำนวน48.33 ล้านคน คิดเป็นความครอบคลุมของประชากร
ที่มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(UniversalCoverage
Scheme: UCS) ร้อยละ 99.93 โดยมีประชากรที่ยังไม่ลง
ทะเบียนสิทธิ 0.03 ล้านคน (ร้อยละ 0.05) และมีบุคคลที่
ไม่อยู่ในทะเบียนบ้าน (รอยืนยันสิทธิ) 0.13 ล้านคน	
	 2. หน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
หน่วยบริการขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยบริการในระบบหลัก
ประกันสุขภาพแห่งชาติ ประกอบด้วย 1) หน่วยบริการ
ปฐมภูมิ จ�ำนวน 11,565 แห่ง ร้อยละ 94.36 เป็นหน่วย
บริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข 2) หน่วยบริการ
ประจ�ำ  จ�ำนวน 1,301 แห่ง ร้อยละ 68.95 เป็น
หน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ร้อยละ18.52
เป็นหน่วยบริการเอกชน และ 3) หน่วยบริการรับส่งต่อ
จ�ำนวน 1,109 แห่ง ร้อยละ 84.58 เป็นหน่วยบริการใน
สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ร้อยละ8.21 เป็นหน่วยบริการ
นอกสังกัดกระทรวงสาธารณสุข
	 3. การเข้าถึงบริการทางการแพทย์และสาธารณสุข
พบว่า
	 3.1 บริการพื้นฐานตามงบบริการทางการแพทย์เหมา
จ่ายรายหัว
•	ใช้บริการแบบผู้ป่วยนอก จ�ำนวน173.23 ล้าน
ครั้ง อัตราการใช้บริการเท่ากับ3.589 ครั้งต่อ
คนต่อปี
•	ใช้บริการแบบผู้ป่วยใน จ�ำนวน5.78 ล้านครั้ง
อัตราการใช้บริการเท่ากับ 0.120 ครั้งต่อคน
ต่อปี
•	ใช้บริการกรณีเฉพาะ ได้แก่ บริการผู้ป่วยนอก
กรณีอุบัติเหตุ/เจ็บป่วยฉุกเฉิน นอกเครือข่าย
1.30 ล้านครั้ง ผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจ
ขาดเลือดเฉียบพลัน ชนิด STEMI และผู้ป่วย
โรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน เข้าถึง
ยาละลายลิ่มเลือด จ�ำนวน 3,895 คน/ 3,955
ครั้ง และจ�ำนวน 2,889 คน/ 2,901 ครั้ง ตาม
ล�ำดับ ผู้ป่วยต้อกระจกได้รับการผ่าตัดต้อ-
กระจก จ�ำนวน 154,561 ครั้ง ผู้ป่วยวัณโรค
ได้รับการดูแล 78,388 คน ผู้ป่วยระยะสุดท้าย
ได้รับการดูแลแบบประคับประคองจ�ำนวน
10,755 คน/ 43,442 ครั้ง
รายงานการสรางหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประจำ�ปีงบประมาณ 2559 | 9
บทสรุปผู้บริหาร
| รายงานการสรางหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประจำ�ปีงบประมาณ 255910
•	การเข้าถึงยาที่มีราคาสูง รวมถึงยาก�ำพร้าและ
ยาต้านพิษ ได้มีการพัฒนาระบบการจัดการ
กระจายยาทั่วประเทศโดยบริการผ่านระบบ
VMI ร่วมกับองค์การเภสัชกรรม พบว่า มี
ผู้ป่วยเข้าถึงยาบัญชี จ(2) จ�ำนวน34,434 คน
ยาก�ำพร้าและยาต้านพิษ(19 รายการ) จ�ำนวน
7,141 คน และยาที่ใช้สิทธิ Compulsory
Lisensing(Clopidogrel: ยาละลายลิ่มเลือด)
จ�ำนวน 232,052 คน
•	การใช้บริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่
ให้กับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ จ�ำนวน2,369,796
คน
•	มีผู้พิการลงทะเบียนสะสมจ�ำนวน 1,183,474
คน ได้รับการสนับสนุนอุปกรณ์เครื่องช่วย
คนพิการ จ�ำนวน32,997 คน/34,670 ชิ้น ใช้
บริการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ จ�ำนวน
264,008 คน/ 764,438 ครั้ง ผู้สูงอายุ
และผู้ป่วยที่มีความจ�ำเป็นได้รับการฟื้นฟู
สมรรถภาพ 332,635 คน/ 982,114 ครั้ง
และ 424,117 คน/ 1,234,396 ครั้ง ตาม
ล�ำดับ และคนพิการทางการเห็นได้รับการฝึก
ทักษะการท�ำความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อม
และการเคลื่อนไหว(Orientation&Mobility)
จ�ำนวน 2,399 คน
•	การใช้บริการแพทย์แผนไทย มีผู้รับบริการ
แผนไทย ประเภทบริการ นวด ประคบ อบ
สมุนไพร จ�ำนวน1,713,769 คน/4,217,406
ครั้ง บริการฟื้นฟูสุขภาพมารดาหลังคลอด
จ�ำนวน35,855 คน/133,594 ครั้ง บริการยา
สมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ จ�ำนวน
3,067,295 คน/ 4,826,880 ครั้ง
	 3.2 บริการที่ของบประมาณเพื่อดูแลเฉพาะ
•	ผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ ทราบสถานะ
การติดเชื้อเอชไอวี จ�ำนวน 270,993 คน
(ร้อยละ 94.52 เทียบกับการคาดประมาณ)
ได้รับยาต้านไวรัส จ�ำนวน 234,834 คน
(ร้อยละ 86.66 เทียบกับผู้ที่ทราบสถานะ
การติดเชื้อ) ผลการตรวจระดับไวรัสน้อยกว่า
1000 copies/ml หรือสามารถกดไวรัสลงได้
(Suppressed) จ�ำนวน 172,095 คน (ร้อยละ
73.28 เทียบกับผู้ที่ได้รับยาต้านไวรัส)
•	ผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง เข้ารับบริการบ�ำบัดทดแทน
ไต จ�ำนวน 45,629 คน โดยใช้บริการล้างไต
ผ่านช่องท้องอย่างต่อเนื่อง (CAPD) จ�ำนวน
24,056 คน บริการฟอกเลือดด้วยเครื่องไต
เทียม (HD) จ�ำนวน 15,248 คน สนับสนุน
เฉพาะค่ายากระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดง
(EPO) จ�ำนวน 4,626 คน บริการผ่าตัดปลูก
ถ่ายไต (KT) จ�ำนวน 172 คน และรับยากด
ภูมิคุ้มกันหลังการปลูกถ่ายไต (KTI) จ�ำนวน
1,527 คน
•	ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ได้
รับบริการตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อน
เพื่อลดหรือชะลอการเกิดโรคแทรกซ้อน
(SecondaryPrevention) จ�ำนวน3,603,840
คน โดยเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานและเบาหวาน
ที่มีโรคความดันโลหิตสูงร่วมด้วย จ�ำนวน
1,702,378 คน และผู้ป่วยโรคความดันโลหิต
สูง จ�ำนวน 1,901,462 คน
รายงานการสรางหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประจำ�ปีงบประมาณ 2559 | 11
•	ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง มีการบูรณาการใน
การจัดระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข
ส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง กับทุกภาคส่วน
เพื่อรวมพลังขับเคลื่อน “สังคมผู้สูงวัย เข้าใจ
เข้าถึง พึ่งได้” ตั้งแต่การประเมินความต้องการ
บริการสาธารณสุขของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง
พร้อมทั้งจัดท�ำแผนการดูแลรายบุคคล(Care
plan) และจัดหาบริการด้านสาธารณสุขใน
การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงได้ จ�ำนวน
80,826 คน (เป้าหมาย 100,000 คน) โดยมี
หน่วยบริการปฐมภูมิและกองทุนหลักประกัน
สุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่เข้าร่วม
ด�ำเนินการ 889 แห่ง และ 1,752 แห่ง ตาม
ล�ำดับ
	 4. คุณภาพบริการ ส�ำนักงานหลักประกันสุขภาพ
แห่งชาติร่วมมือกับสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล
(สรพ.) ส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพมาตรฐาน
บริการอย่างต่อเนื่องโดยใช้กระบวนการรับรองคุณภาพ
โรงพยาบาล (Hospital Accreditation: HA) พบว่า
มีหน่วยบริการที่ขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยบริการรับการส่งต่อ
ได้รับการรับรองคุณภาพในขั้นต่างๆ ตามมาตรฐาน HA
จ�ำนวน 992 แห่ง (ร้อยละ 93.58 ของหน่วยบริการรับส่ง
ต่อที่ขอรับการประเมินเพื่อรับรองคุณภาพ 1,060 แห่ง)
โดยได้รับการรับรองคุณภาพ HA จ�ำนวน 585 แห่ง
(ร้อยละ 55.19) รับรองคุณภาพขั้น 2 จ�ำนวน 396 แห่ง
(ร้อยละ37.36) และรับรองคุณภาพขั้น1 จ�ำนวน11 แห่ง
(ร้อยละ 1.04)
	 5. การคุ้มครองสิทธิ
	 	 5.1	การให้บริการคุ้มครองสิทธิ โดยมีประชาชน
และผู้ให้บริการเข้ามาสอบถามข้อมูล ร้องเรียน ร้องทุกข์
และประสานส่งต่อผู้ป่วย ผ่านช่องทาง โทรศัพท์สายด่วน
1330 จดหมาย โทรสาร อีเมลล์ หรือมาติดต่อด้วยตนเอง
มีจ�ำนวนทั้งสิ้น 579,338 เรื่อง โดยเป็น 1) การสอบถาม
ข้อมูล จ�ำนวน 560,293 เรื่อง เป็นการสอบถามโดย
ประชาชน526,092 เรื่อง สอบถามโดยผู้ให้บริการ34,201
เรื่อง2) รับเรื่องร้องเรียน จ�ำนวน4,405 เรื่อง3) รับเรื่อง
ร้องทุกข์ จ�ำนวน 11,035 เรื่อง และ 4) ประสานส่งต่อ
3,605 คน
	 	 5.2	การช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ผู้รับบริการ กรณี
ได้รับความเสียหายจากการรักษาพยาบาล โดยได้รับการ
ชดเชย 885 คน เงินชดเชยทั้งสิ้น 212.952 ล้านบาท
	 	 5.3	การมีส่วนร่วมของเครือข่ายองค์กรภาค
ประชาชน ในการสนับสนุนการจัดตั้งเครือข่ายงาน
คุ้มครองสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยมี
ศูนย์บริการหลักประกันสุขภาพในหน่วยบริการ จ�ำนวน
818 แห่ง ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพภาค
ประชาชน จ�ำนวน 146 แห่ง ใน 77 จังหวัดทั่วประเทศ
และหน่วยรับเรื่องร้องเรียนที่เป็นอิสระจากผู้ถูกร้องเรียน
ตามมาตรา 50 (5) จ�ำนวน 115 แห่ง ใน 76 จังหวัด
บทสรุปผู้บริหาร
| รายงานการสรางหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประจำ�ปีงบประมาณ 255912
	 6.	การมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบหลักประกัน
สุขภาพแห่งชาติ มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (องค์การ
บริหารส่วนต�ำบลและเทศบาล) เข้าร่วมกองทุน
หลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น จ�ำนวน 7,755 แห่ง
(ร้อยละ 99.73 จากทั้งหมด 7,776 แห่ง) มีเงินสมทบ
กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นจากองค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่น 1,214 ล้านบาท ส�ำหรับด�ำเนิน
กิจกรรมสุขภาพในกลุ่มประชาชนที่มีภาวะเสี่ยง กลุ่มเด็ก
วัยเรียนและเยาวชน กลุ่มผู้สูงอายุ และกลุ่มวัยท�ำงาน
	 7.	ความพึงพอใจ ผลส�ำรวจความพึงพอใจต่อระบบ
หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พบว่า ประชาชนสิทธิหลัก
ประกันสุขภาพแห่งชาติที่เคยได้รับบริการ มีความพึงพอใจ
ร้อยละ 89.50 (คะแนนความพึงพอใจเฉลี่ย 8.95) ใน
ขณะที่ความพึงพอใจต่อการด�ำเนินงานหลักประกันสุขภาพ
แห่งชาติของผู้ให้บริการอยู่ที่ร้อยละ70.00(คะแนนความ
พึงพอใจเฉลี่ย 7.00) ส่วนความพึงพอใจขององค์กรภาคี
เท่ากับ ร้อยละ 79.60 (คะแนนความพึงพอใจเฉลี่ย 7.96)
	 8. ปัญหา อุปสรรค และความท้าทายในการด�ำเนิน
งานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
	 8.1 สถานการณ์ปัญหา และอุปสรรค
•	มีความกดดันระหว่างหน่วยบริหารงบประมาณ
และหน่วยให้บริการ จากการบริหารกองทุน
ภายใต้ข้อจ�ำกัดด้านงบประมาณ ในขณะที่
ประชาชนยังคงได้รับบริการที่จ�ำเป็น และไม่
กระทบต่อคุณภาพการบริการ
•	ความต้องการบริการสุขภาพที่เพิ่มสูงขึ้น จาก
โครงสร้างประชากรผู้สูงอายุ
•	ปัญหาสุขภาพที่เป็นผลจากพฤติกรรมสุขภาพ
มีแนวโน้มสูงขึ้น
•	การตรวจสอบของหน่วยตรวจสอบต่างๆ เช่น
คณะกรรมการติดตามและตรวจสอบการใช้
จ่ายงบประมาณภาครัฐ(คตร.) ส�ำนักงานการ
ตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ส่งผลต่อระบบ
บริหารจัดการและการท�ำความเข้าใจ
	 8.2 ความท้าทาย
•	การแสวงหาแหล่งทุนอื่น เพื่อความยั่งยืนของ
ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
•	การบูรณาการระบบประกันสุขภาพภาครัฐเพื่อ
เกิดความเป็นธรรมในการเข้าถึงบริการสุขภาพ
ตามที่จ�ำเป็นของประชาชนทุกสิทธิ
•	การสร้างความเข้าใจระหว่างหน่วยบริหาร
งบประมาณ หน่วยให้บริการ ผู้มีส่วนได้เสีย
•	การเพิ่มการเข้าถึงบริการของกลุ่มเป้าหมาย
เฉพาะ เช่น กลุ่มเปราะบาง/ด้อยโอกาสต่างๆ
หรือโรคที่ป้องกันได้และเป็นปัญหาส�ำคัญ
ผลงานสำ�คัญประจำ�ปีงบประมาณ 2559
รายงานการสรางหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประจำ�ปีงบประมาณ 2559 | 13
	 ช่วงปี2557-2558 คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพ
แห่งชาติ ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบการดูแล
ระยะยาวส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง เพื่อวางยุทธ-
ศาสตร์การดูแลระยะยาวส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง
พ.ศ. 2557-2561 และวางระบบการบริหารจัดการ ได้แก่
การพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการคัดกรองและประเมิน
ผู้สูงอายุ การพัฒนาชุดกิจกรรมบริการ การพัฒนา
ศักยภาพบุคลากรส�ำหรับดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในชุมชน
(ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุ(Caregiver) ผู้จัดการระบบการ
ดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขในชุมชน(Caremanager))
การพัฒนากฎระเบียบ มาตรฐานและการบริหารจัดการ
และน�ำร่องพัฒนาระบบบริการดูแลระยะยาวในครอบครัว
และชุมชน ใน 9 จังหวัด 11 พื้นที่ เพื่อเป็นการขับเคลื่อน
การพัฒนาระบบการดูแลระยะยาวส�ำหรับผู้สูงอายุ โดย
เน้นการบูรณาการบริการด้านสาธารณสุขและบริการด้าน
สังคม ในระดับพื้นที่ (ต�ำบล/หมู่บ้าน/ครอบครัว) และ
สนับสนุนการมีส่วนร่วมโดยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
(อปท.) เป็นเจ้าภาพหลักในการบริหารระบบภายใต้การ
สนับสนุนของเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิในพื้นที่
	 	 ในปีงบประมาณ 2559 มีการลงนามความร่วมมือ
ระหว่างกระทรวงสาธารณสุข ส�ำนักงานหลักประกัน
สุขภาพแห่งชาติ สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย
และสมาคมองค์การบริหารส่วนต�ำบลแห่งประเทศไทย
เพื่อร่วมขับเคลื่อนการด�ำเนินงาน “รวมพลังขับเคลื่อน
สังคมผู้สูงวัย เข้าใจ เข้าถึง พึ่งได้” มีการแต่งตั้ง
คณะท�ำงานสนับสนุนระบบการดูแลระยะยาวส�ำหรับ
ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง พัฒนาชุดสิทธิประโยชน์และ
อัตราการชดเชยค่าบริการด้านสาธารณสุข ออกประกาศ
คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (ฉบับที่ 2)
พ.ศ. 2559 เรื่องการก�ำหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด�ำเนินงานและบริหารจัดการ
กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ มี
ผลตั้งแต่ 4 มกราคม 2559 โดยองค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่น ร่วมกับส�ำนักงานหลักประกันสุขภาพเขตทั้ง
13 เขต คัดเลือกพื้นที่เป้าหมายทั่วประเทศ ที่มีความพร้อม
ด�ำเนินการหรือเคยเป็นพื้นที่น�ำร่องในการด�ำเนินการดูแล
ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง หลังจากทีมหมอครอบครัว ท�ำการ
ประเมินผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงตามแบบประเมินความ
สามารถในการด�ำเนินชีวิตประจ�ำวันตาม Barthel ADL
index ตามความต้องการการบริการด้านสาธารสุข ร่วมกับ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจ�ำนวน 1,752 แห่ง จัดท�ำ
แผนการดูแลรายบุคคล (Care plan) และจัดหาบริการ
ด้านสาธารณสุขให้กับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ปีงบ-
ประมาณ 2559 จ�ำนวน 80,826 คน ซึ่งเป็นกลุ่มติดบ้าน
64,660 คน กลุ่มติดเตียง 16,166 คน (เป้าหมายรวม
100,000 คน) วงเงินที่ใช้ส�ำหรับจัดหาบริการจ�ำนวน
404.130 ล้านบาท โดยมีหน่วยบริการปฐมภูมิในพื้นที่
ให้การดูแลด้านสาธารณสุข จ�ำนวน 889 แห่ง (หน่วย
บริการจะได้รับงบประมาณแห่งละ 100,000 บาท รวม
จ�ำนวน 88.9 ล้านบาท ส�ำหรับพัฒนาบริการและวิชาการ
นอกเหนือจากอัตราค่าชดเชยบริการ)
1. การสนับสนุนการพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง
| รายงานการสรางหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประจำ�ปีงบประมาณ 255914
ผลงานสำ�คัญประจำ�ปีงบประมาณ 2559
2.	 การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ ด้านการเงินการคลัง ก�ำลังคน
	 และด้านข้อมูลสุขภาพเพื่อสนับสนุนการปฏิรูประบบสาธารณสุข	
	 เพื่อให้การจ่ายเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
ของหน่วยบริการสังกัดส�ำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข
เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และมีส่วนร่วม กระทรวง
สาธารณสุขมีค�ำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการก�ำหนดแนวทาง
การใช้จ่ายเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติของ
หน่วยบริการสังกัดส�ำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข ระดับ
ประเทศ (คณะกรรมการฯ 7x7) คณะท�ำงานก�ำหนด
แนวทางการใช้จ่ายเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
ของหน่วยบริการสังกัดส�ำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข
ระดับเขต(คณะท�ำงานฯ5x5) และคณะกรรมการติดตาม
และประเมินผลการปรับปรุงแนวทางการบริหารกองทุน
หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อติดตามความก้าวหน้า
และความส�ำเร็จการท�ำงานร่วมกัน ใน 5 ประเด็น คือ
กลไกการท�ำงาน การเงินการคลัง การจัดบริการร่วมกัน
การจัดการข้อมูลร่วมกัน และการท�ำให้ประชาชนได้รับ
บริการที่มีคุณภาพ โดยได้ประกาศแนวทางการใช้จ่ายเงิน
กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติของหน่วยบริการสังกัด
ส�ำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข ในภาพรวมและระดับเขต
ส�ำหรับปีงบประมาณ 2558 (การแก้ไขปัญหาหนี้คงค้าง)
ปีงบประมาณ 2559 วางแนวทางการจัดสรรรายรับขั้นต�่ำ
ส�ำหรับการบริการผู้ป่วยนอก (OP), การบริการผู้ป่วยใน
(IP) และบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค (PP)
เกลี่ยงบสิทธิอื่นๆ (PP-non UC) การบริหารการจ่ายโดย
ก�ำหนด Base rate ร่วมกันส�ำหรับบริการ IP และใช้ระบบ
เหมาจ่ายส�ำหรับบริการOP,PP และพิจารณาเงื่อนไขการ
รับขั้นต�่ำของหน่วยบริการ รวมถึงการปรับเกลี่ยค่าตอบแทน
ภายใต้วงเงินระดับเขต และวงเงินส�ำหรับหน่วยบริการที่
ให้บริการประชาชนในพื้นที่กันดาร พื้นที่เสี่ยงภัยและพื้นที่
3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (Hardship) และจัดท�ำข้อเสนอ
การใช้จ่ายเงินกองทุน ปีงบประมาณ 2560 โดยจ�ำลอง
ข้อมูลเพื่อจัดท�ำข้อเสนอการจัดสรรเหมาจ่ายรายหัว การ
จัดท�ำรายละเอียดหลักเกณฑ์การบริหารกองทุนหลักประกัน
สุขภาพแห่งชาติ การพัฒนาระบบการรวบรวมข้อมูล เพื่อ
ใช้จัดท�ำแนวทางการบริหารกองทุนฯ และการใช้ข้อมูล
ร่วมกันในระดับประเทศและระดับเขต การพัฒนาระบบ
บริการสาธารณสุข ส�ำหรับผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่ง
ชาติ ได้แก่ พิจารณาประเภทและขอบเขตบริการสร้าง
เสริมสุขภาพและป้องกันโรค(PP) โดยครอบคลุมสิทธิอื่น
(Non-UC) การบูรณาการงานServiceplan เพื่อปรับปรุง
ระบบบริการ และการจัดระบบบริการที่มีปัญหาเรื่องการ
เข้าถึงและคุณภาพบริการ (การผ่าตัดต้อกระจก เปลี่ยน
ข้อเข่า การเปลี่ยนเลนส์ตา) เป็นต้น
สารจากประธานกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ	 2
สารจากประธานกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุข	 4
สารจากเลขาธิการส�ำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ	 6
บทสรุปผู้บริหาร	 8
ผลงานส�ำคัญประจ�ำปีงบประมาณ 2559	 13
ส่วนที่ 1 ผลการด�ำเนินงานการสร้าง	 23
หลักประกันสุขภาพแห่งชาติแก่ประชาชนไทย		
1.	กรอบแนวคิดการสร้างระบบหลักประกันสุขภาพ	 24
2. 	การคลังสุขภาพ และงบประมาณการสร้างหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ	 28
	 2.1.	การคลังสุขภาพ	 28
	 2.2.	งบประมาณการสร้างหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ	 29
	 2.3.	ผลการเบิกจ่ายงบกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ	 32
3. 	การเพิ่มความเป็นธรรมในการเข้าถึงบริการสุขภาพ และภาระรายจ่ายสุขภาพของครัวเรือน	 33
	 3.1.	การเพิ่มความเป็นธรรมในการเข้าถึงบริการสุขภาพ	 33
	 3.2.	ภาระรายจ่ายสุขภาพของครัวเรือน	 37
4. 	หน่วยบริการสุขภาพ และคุณภาพของหน่วยบริการ	 39
	 4.1.	หน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ	 39
	 4.2.	คุณภาพหน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ	 40
5. 	การเข้าถึงบริการสุขภาพ	 44
	 5.1.	บริการด้านการแพทย์และสาธารณสุขส�ำหรับผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ	 44
	 5.2.	การประเมินการเข้าถึงบริการ ประสิทธิภาพ คุณภาพ และผลลัพธ์บริการ	 49
	 	 5.2.1	การเข้าถึงบริการ	 49
	 	 5.2.2 การเข้าถึงบริการที่จ�ำเป็น	 51
	 	 5.2.3	ประสิทธิภาพการจัดบริการ	 67
	 	 5.2.4	คุณภาพ และผลลัพธ์บริการภาพรวม	 71
6. 	การคุ้มครองสิทธิ การมีส่วนร่วมจากท้องถิ่น/ภาคีเครือข่าย และความพึงพอใจ	 76
	 6.1.	การคุ้มครองสิทธิ	 76
	 6.2.	การมีส่วนร่วม	 83
	 6.3.	ความพึงพอใจของผู้รับบริการและผู้ให้บริการ	 85
สารบัญ
สารบัญ
ส่วนที่ 2 การด�ำเนินงานของส�ำนักงาน	 87
หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ	
1.	ลักษณะองค์กร ที่ตั้ง โครงสร้างการบริหาร และแผนยุทธศาสตร์	 88
2.	การบริหารงบกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ	 94
	 และงบบริหารจัดการส�ำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ	
3.	การประเมินผลการด�ำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ	 106
	 ประจ�ำปีงบประมาณ 2559	
4.	ปัญหาอุปสรรค และความท้าทาย	 108
ส่วนที่ 3 ผลการด�ำเนินงานของคณะกรรมการ	 111
หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และคณะกรรมการควบคุมคุณภาพ
และมาตรฐานบริการสาธารณสุข
1.	รายนามคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ	 112
2.	รายนามคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุข	 114
3.	ผลการด�ำเนินงานคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ	 116
4.	ผลการด�ำเนินงานคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุข	 127
ภาคผนวก		 	 139
แผนภูมิที่ 1 	 มิติของการขยายระบบประกันสุขภาพ	 24
แผนภูมิที่ 2 	 ความสมดุลระหว่าง 4 มิติของสมรรถนะระบบบริการสุขภาพ	 25
แผนภูมิที่ 3 	 ความสัมพันธ์และบทบาทของระบบประกันสุขภาพ กับผู้ให้บริการและประชาชน	 26
แผนภูมิที่ 4 	 กรอบแนวคิดการน�ำเสนอผลการด�ำเนินงานสร้างหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ	 27
แผนภูมิที่ 5 	 รายจ่ายสุขภาพของประชากรไทย ปี พ.ศ. 2537-2556	 28
แผนภูมิที่ 6 	 เปรียบเทียบรายจ่ายสุขภาพของประเทศระหว่างภาครัฐและเอกชน	 29
	 ปี พ.ศ. 2537-2556	
แผนภูมิที่ 7 	 เปรียบเทียบงบประมาณหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2546-2559	 29
แผนภูมิที่ 8 	 งบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่ได้รับ ปีงบประมาณ 2546-2559	 30
แผนภูมิที่ 9 	 เปรียบเทียบสัดส่วนประชากรสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สิทธิประกันสังคม	 35
	 และสิทธิสวัสดิการข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ และสิทธิอื่นๆ จ�ำแนกตามเพศ
	 และอายุ ปีงบประมาณ 2559	
แผนภูมิที่ 10 	 อัตราการใช้สิทธิของผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เมื่อมีการใช้บริการ	 36
	 แบบผู้ป่วยนอก และผู้ป่วยใน ปี พ.ศ. 2546-2558	
แผนภูมิที่ 11 	 เหตุผลที่ผู้มีสิทธิ ไม่ใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เมื่อเข้ารับบริการ	 36
	 ในหน่วยบริการ จ�ำแนกตามประเภทของการเข้ารับบริการสุขภาพ ปี พ.ศ. 2558	
แผนภูมิที่ 12 	 พฤติกรรมการรับบริการ/ดูแลสุขภาพเมื่อเจ็บป่วย ของผู้มีสิทธิ UCS ปี พ.ศ.2558	36
	 (กรณีไม่ได้นอนรักษาในโรงพยาบาล)	
แผนภูมิที่ 13 	 ร้อยละของครัวเรือนที่เกิดวิกฤติทางการเงินจากการจ่ายค่ารักษาพยาบาล	 38
	 (Catastrophic health expenditure) ปี พ.ศ. 2540-2558	
แผนภูมิที่ 14 	 ร้อยละครัวเรือนที่ต้องกลายเป็นครัวเรือนยากจนภายหลังจากการจ่าย	 38
	 ค่ารักษาพยาบาล (Health impoverishment) ปี พ.ศ. 2540-2558	
แผนภูมิที่ 15 	 ร้อยละของหน่วยบริการรับส่งต่อที่ได้รับการรับรองคุณภาพ	 40
	 จ�ำแนกตามขั้นการรับรองคุณภาพตามมาตรฐานโรงพยาบาล (HA)
	 ปีงบประมาณ 2546-2559	
แผนภูมิที่ 16 	 ร้อยละของหน่วยบริการรับส่งต่อที่ได้รับการรับรองคุณภาพ	 41
	 จ�ำแนกตามขั้นการรับรองคุณภาพตามมาตรฐานโรงพยาบาล (HA)
	 และสปสช.เขต ปีงบประมาณ 2559	
แผนภูมิที่ 17 	 ผลการตรวจประเมินหน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ	 42
	 จ�ำแนกตามประเภทและสังกัดของหน่วยบริการ ปีงบประมาณ 2559	
สารบัญแผนภูมิ
แผนภูมิที่ 18 	 ผลการตรวจประเมินหน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ	 43
	 จ�ำแนกตามประเภทของหน่วยบริการและสปสช.เขต ปีงบประมาณ 2559	
แผนภูมิที่ 19 	 จ�ำนวนและอัตราการใช้บริการผู้ป่วยนอก	 49
	 ของผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2549-2559	
แผนภูมิที่ 20 	 สัดส่วนการใช้บริการผู้ป่วยนอก จ�ำแนกตามประเภทหน่วยบริการ	 50
	 ปีงบประมาณ 2549-2559	
แผนภูมิที่ 21 	 จ�ำนวนและอัตราการใช้บริการผู้ป่วยใน	 50
	 ของผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2549-2559	
แผนภูมิที่ 22 	 สัดส่วนการใช้บริการผู้ป่วยใน จ�ำแนกตามประเภทหน่วยบริการ	 51
	 ปีงบประมาณ 2549-2559	
แผนภูมิที่ 23 	 อัตราการผ่าตัดหัวใจแบบเปิด การท�ำหัตถการผ่านสายสวนหัวใจ (PCI)	 52
	 และการได้รับยาละลายลิ่มเลือด สิทธิ UCS อายุ 15 ปีขึ้นไป
	 ปีงบประมาณ 2548-2559	
แผนภูมิที่ 24 	 อัตราการรับไว้รักษาในโรงพยาบาล อัตราการได้รับยาละลายลิ่มเลือด	 53
	 และอัตราป่วยตายภายใน 30 วันหลังจากรับไว้รักษาในโรงพยาบาล
	 ด้วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน สิทธิ UCS อายุ 15 ปีขึ้นไป
	 ปีงบประมาณ 2548-2559	
แผนภูมิที่ 25 	 การรับบริการควบคุมและป้องกันความรุนแรงของโรค (Secondary prevention)	 54
	 ในผู้ป่วยโรคเบาหวานและ/หรือความดันโลหิตสูงร่วมด้วย ปีงบประมาณ 2559	
แผนภูมิที่ 26 	 การรับบริการควบคุมป้องกันความรุนแรงของโรค (Secondary prevention)	 54
	 ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ปีงบประมาณ 2559	
แผนภูมิที่ 27 	 อัตราการกลับมารักษาซ�้ำที่แผนกผู้ป่วยใน (Re-admission rate)	 55
	 ภายใน 28 วันหลังการจ�ำหน่าย ด้วยโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง
	 สิทธิ UCS อายุ 15 ปีขึ้นไป ปีงบประมาณ 2554-2559	
แผนภูมิที่ 28 	 การรับบริการผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ ปีงบประมาณ 2559	 56
แผนภูมิที่ 29 	 สัดส่วนของผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์รายใหม่สิทธิ UCS ที่มีระดับ CD4	 56
	 ครั้งแรก จ�ำแนกตามระดับภูมิคุ้มกัน CD4 (cell/mm3)
	 ปีงบประมาณ 2552-2559	
แผนภูมิที่ 30 	 การรับบริการผ่าตัดต้อกระจก จ�ำแนกตามระดับสายตา	 59
	 ปีงบประมาณ 2556 – 2559	
แผนภูมิที่ 31 	 คนพิการที่ลงทะเบียนสะสมในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ	 62
	 ปีงบประมาณ 2548 – 2559	
สารบัญแผนภูมิ
สารบัญแผนภูมิ
แผนภูมิที่ 32 	 สัดส่วนคนพิการ จ�ำแนกตามประเภทความพิการ ปีงบประมาณ 2559	 62
แผนภูมิที่ 33 	 วันนอนเฉลี่ยผู้ป่วยใน จ�ำแนกตามประเภทหน่วยบริการ	 68
	 ปีงบประมาณ 2549-2559	
แผนภูมิที่ 34 	 ค่าน�้ำหนักสัมพัทธ์เฉลี่ยผู้ป่วยในที่ปรับแล้ว (Adj.CMI)	 69
	 จ�ำแนกตามประเภทหน่วยบริการ ปีงบประมาณ 2549 -2559	
แผนภูมิที่ 35 	 สัดส่วนผู้ป่วยในที่มีค่าน�้ำหนักสัมพัทธ์ (RW) น้อยกว่า 0.5	 70
	 จ�ำแนกตามประเภทหน่วยบริการ ปีงบประมาณ 2549-2559	
แผนภูมิที่ 36 	 อัตราการผ่าท้องคลอด สิทธิ UCS จ�ำแนกตามประเภทหน่วยบริการ	 71
	 ปีงบประมาณ 2549-2559	
แผนภูมิที่ 37 	 อัตราการกลับมารักษาซ�้ำที่แผนกผู้ป่วยใน (Re-admission rate)	 72
	 ภายใน 28 วันหลังการจ�ำหน่าย จ�ำแนกตามประเภทหน่วยบริการ	
	 ปีงบประมาณ 2549-2559	
แผนภูมิที่ 38 	 อัตราป่วยตายภายใน 30 วันหลังจากรับไว้รักษาในโรงพยาบาล	 73
	 ของผู้ป่วยโรคหัวใจที่ได้รับหัตถการผ่าตัดหัวใจแบบเปิด
	 และผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดที่ท�ำหัตถการผ่านสายสวนหัวใจ (PCI)
	 สิทธิ UC ปีงบประมาณ 2549-2559	
แผนภูมิที่ 39 	 อัตราการรับไว้รักษาในโรงพยาบาลของผู้ป่วยกลุ่มโรคที่ควรรักษาแบบผู้ป่วยนอก	 74
	 (Ambulatory care sensitivity condition: ACSC)
	 สิทธิ UCS ปีงบประมาณ 2549- 2559	
แผนภูมิที่ 40 	 อัตราป่วยตายของผู้ป่วยในสิทธิ UCS จ�ำแนกตามกลุ่มอายุ	 75
	 ปีงบประมาณ 2549-2559	
แผนภูมิที่ 41 	 การให้บริการรับเรื่องร้องเรียน จ�ำแนกตามประเด็นการร้องเรียน	 79
	 ปีงบประมาณ 2555-2559	
แผนภูมิที่ 42 	 จ�ำนวนและร้อยละองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อบต.และเทศบาล)	 83
	 ที่เข้าร่วมกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น ปีงบประมาณ 2549-2559	
แผนภูมิที่ 43 	 จ�ำนวนเงินสมทบเข้ากองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น	 84
	 จ�ำแนกตามแหล่งงบประมาณ ปีงบประมาณ 2549-2559	
แผนภูมิที่ 44 	 สัดส่วนงบกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น	 84
	 จ�ำแนกตามกลุ่มเป้าหมายที่ด�ำเนินการ ปีงบประมาณ 2559	
แผนภูมิที่ 45 	 ร้อยละและคะแนนความพึงพอใจของประชาชนผู้เคยใช้บริการสิทธิ	 86
	 หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และผู้ให้บริการต่อการด�ำเนินงาน
	 หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2546-2559
สารบัญแผนภูมิ
แผนภูมิที่ 46 	 ความพึงพอใจของประชาชน และผู้ให้บริการ ปีงบประมาณ 2546-2559	 120
แผนภูมิที่ 47 	 จ�ำนวนหน่วยงานรัฐ จ�ำแนกตามประเภทหน่วยบริการ ปี 2559	 121
แผนภูมิที่ 48 	 ผลการรับฟังความคิดเห็นทั่วไปจากผู้ให้บริการและผู้รับบริการ	 125
	 ระดับประเทศและระดับเขต ปีงบประมาณ 2559	
แผนภูมิที่ 49 	 จ�ำนวนค�ำร้องขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้น จ�ำแนกตามแผนกที่เข้ารับบริการ	 136	
ปีงบประมาณ 2559	
แผนภูมิที่ 50 	 จ�ำนวนค�ำร้องขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้น จ�ำแนกตามประเภทหน่วยบริการ	 137
	 ปีงบประมาณ 2559
สารบัญตาราง
ตารางที่ 1 	 งบกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จ�ำแนกตามรายการ	 31
	 ปีงบประมาณ 2555-2559	
ตารางที่ 2 	 อัตราเหมาจ่ายรายหัวงบการบริการทางการแพทย์ จ�ำแนกตามประเภทบริการ	 32
	 ปีงบประมาณ 2559	
ตารางที่ 3 	 การเบิกจ่ายงบกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2559	 32
ตารางที่ 4 	 จ�ำนวนประชากรที่ลงทะเบียนสิทธิ จ�ำแนกตามประเภทสิทธิ	 34
	 ปีงบประมาณ 2555-2559	
ตารางที่ 5 	 จ�ำนวนและร้อยละหน่วยบริการที่ขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยบริการ	 39
	 ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จ�ำแนกตามสังกัดหน่วยบริการ
	 ปีงบประมาณ 2559	
ตารางที่ 6 	 ผลการตรวจประเมินหน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ	 42
	 จ�ำแนกตามประเภทการขึ้นทะเบียน ปีงบประมาณ 2559	
ตารางที่ 7 	 แผน/ผลการด�ำเนินงานการบริการทางการแพทย์เหมาจ่ายรายหัว	 44
	 ปีงบประมาณ 2559	
ตารางที่ 8 	 การรับบริการบ�ำบัดทดแทนไต ในผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง	 57
	 ปีงบประมาณ 2556 –2559	
ตารางที่ 9 	 ร้อยละการรับบริการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค จ�ำแนกตามกลุ่มวัย	 60
	 ปีงบประมาณ 2558-2559	
ตารางที่ 10 	การรับอุปกรณ์เครื่องช่วยคนพิการ จ�ำแนกตามอุปกรณ์ที่ได้รับ	 62
	 ปีงบประมาณ 2557-2559	
ตารางที่ 11 	การรับบริการฟื้นฟูสมรรถภาพ จ�ำแนกตามประเภทผู้รับบริการ	 63
	 ปีงบประมาณ 2557-2559	
ตารางที่ 12 	การรับบริการฟื้นฟูสมรรถภาพ จ�ำแนกตามประเภทบริการฟื้นฟูสมรรถภาพ	 63
	 ปีงบประมาณ 2557-2559	
ตารางที่ 13 	การรับบริการแพทย์แผนไทย ปีงบประมาณ 2555-2559	 64
ตารางที่ 14 	การรับยา จ (2) จ�ำแนกตามรายการยา ปีงบประมาณ 2555-2559	 65
ตารางที่ 15 	การรับยาก�ำพร้าและยาต้านพิษ (Orphan and Antidote drug)	 66
	 ปีงบประมาณ 2556-2559	
ตารางที่ 16 	มูลค่ายาที่ภาครัฐประหยัดได้ ปีงบประมาณ 2553-2559	 67
ตารางที่ 17 	การให้บริการสอบถามข้อมูล รับเรื่องร้องเรียน เรื่องร้องทุกข์ และประสานส่งต่อ 	 76
	 ปีงบประมาณ 2555-2559
Final annual report nhso 2559
Final annual report nhso 2559
Final annual report nhso 2559
Final annual report nhso 2559
Final annual report nhso 2559
Final annual report nhso 2559
Final annual report nhso 2559
Final annual report nhso 2559
Final annual report nhso 2559
Final annual report nhso 2559
Final annual report nhso 2559
Final annual report nhso 2559
Final annual report nhso 2559
Final annual report nhso 2559
Final annual report nhso 2559
Final annual report nhso 2559
Final annual report nhso 2559
Final annual report nhso 2559
Final annual report nhso 2559
Final annual report nhso 2559
Final annual report nhso 2559
Final annual report nhso 2559
Final annual report nhso 2559
Final annual report nhso 2559
Final annual report nhso 2559
Final annual report nhso 2559
Final annual report nhso 2559
Final annual report nhso 2559
Final annual report nhso 2559
Final annual report nhso 2559
Final annual report nhso 2559
Final annual report nhso 2559
Final annual report nhso 2559
Final annual report nhso 2559
Final annual report nhso 2559
Final annual report nhso 2559
Final annual report nhso 2559
Final annual report nhso 2559
Final annual report nhso 2559
Final annual report nhso 2559
Final annual report nhso 2559
Final annual report nhso 2559
Final annual report nhso 2559
Final annual report nhso 2559
Final annual report nhso 2559
Final annual report nhso 2559
Final annual report nhso 2559
Final annual report nhso 2559
Final annual report nhso 2559
Final annual report nhso 2559
Final annual report nhso 2559
Final annual report nhso 2559
Final annual report nhso 2559
Final annual report nhso 2559
Final annual report nhso 2559
Final annual report nhso 2559
Final annual report nhso 2559
Final annual report nhso 2559
Final annual report nhso 2559
Final annual report nhso 2559
Final annual report nhso 2559
Final annual report nhso 2559
Final annual report nhso 2559
Final annual report nhso 2559
Final annual report nhso 2559
Final annual report nhso 2559
Final annual report nhso 2559
Final annual report nhso 2559
Final annual report nhso 2559
Final annual report nhso 2559
Final annual report nhso 2559
Final annual report nhso 2559
Final annual report nhso 2559
Final annual report nhso 2559
Final annual report nhso 2559
Final annual report nhso 2559
Final annual report nhso 2559
Final annual report nhso 2559
Final annual report nhso 2559
Final annual report nhso 2559
Final annual report nhso 2559
Final annual report nhso 2559
Final annual report nhso 2559
Final annual report nhso 2559
Final annual report nhso 2559
Final annual report nhso 2559
Final annual report nhso 2559
Final annual report nhso 2559
Final annual report nhso 2559
Final annual report nhso 2559
Final annual report nhso 2559
Final annual report nhso 2559
Final annual report nhso 2559
Final annual report nhso 2559
Final annual report nhso 2559
Final annual report nhso 2559
Final annual report nhso 2559
Final annual report nhso 2559
Final annual report nhso 2559
Final annual report nhso 2559
Final annual report nhso 2559
Final annual report nhso 2559
Final annual report nhso 2559
Final annual report nhso 2559
Final annual report nhso 2559
Final annual report nhso 2559
Final annual report nhso 2559
Final annual report nhso 2559
Final annual report nhso 2559
Final annual report nhso 2559
Final annual report nhso 2559
Final annual report nhso 2559
Final annual report nhso 2559
Final annual report nhso 2559
Final annual report nhso 2559
Final annual report nhso 2559
Final annual report nhso 2559
Final annual report nhso 2559
Final annual report nhso 2559
Final annual report nhso 2559
Final annual report nhso 2559
Final annual report nhso 2559
Final annual report nhso 2559
Final annual report nhso 2559

More Related Content

What's hot

การปฏิรูประบบสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ
การปฏิรูประบบสุขภาพและหลักประกันสุขภาพการปฏิรูประบบสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ
การปฏิรูประบบสุขภาพและหลักประกันสุขภาพsoftganz
 
โครงสร้างหน่วยงานภูมิภาคสังกัด สปสธ.
โครงสร้างหน่วยงานภูมิภาคสังกัด สปสธ.โครงสร้างหน่วยงานภูมิภาคสังกัด สปสธ.
โครงสร้างหน่วยงานภูมิภาคสังกัด สปสธ.nhs0
 
ธรรมนูญสุขภาพ
ธรรมนูญสุขภาพธรรมนูญสุขภาพ
ธรรมนูญสุขภาพChuchai Sornchumni
 
11_ระบบประกันสุขภาพในประเทศไทย
11_ระบบประกันสุขภาพในประเทศไทย11_ระบบประกันสุขภาพในประเทศไทย
11_ระบบประกันสุขภาพในประเทศไทยWatcharin Chongkonsatit
 
อาเซียนกับระบบบริการสาธารณสุข
อาเซียนกับระบบบริการสาธารณสุขอาเซียนกับระบบบริการสาธารณสุข
อาเซียนกับระบบบริการสาธารณสุขChuchai Sornchumni
 
Six Plus Building Block สาขาสุขภาพช่องปาก 2014
Six Plus Building Block สาขาสุขภาพช่องปาก 2014Six Plus Building Block สาขาสุขภาพช่องปาก 2014
Six Plus Building Block สาขาสุขภาพช่องปาก 2014Tang Thowr
 
แบบประเมินการขับเคลื่อนงาน Ncd ระดับอำเภอ
แบบประเมินการขับเคลื่อนงาน  Ncd ระดับอำเภอแบบประเมินการขับเคลื่อนงาน  Ncd ระดับอำเภอ
แบบประเมินการขับเคลื่อนงาน Ncd ระดับอำเภอAuamporn Junthong
 
ระบบสุขภาพอำเภอ Ln นำเสนอประชุมขับเคลื่อนยุทธศาสตร์2
ระบบสุขภาพอำเภอ Ln นำเสนอประชุมขับเคลื่อนยุทธศาสตร์2ระบบสุขภาพอำเภอ Ln นำเสนอประชุมขับเคลื่อนยุทธศาสตร์2
ระบบสุขภาพอำเภอ Ln นำเสนอประชุมขับเคลื่อนยุทธศาสตร์2กันย์ สมรักษ์
 
การสร้างสรรค์บริการสุขภาพที่มีคุณค่าแก่ประชาชน เขตบริการสุขภาพที่ 10 Better S...
การสร้างสรรค์บริการสุขภาพที่มีคุณค่าแก่ประชาชน เขตบริการสุขภาพที่ 10 Better S...การสร้างสรรค์บริการสุขภาพที่มีคุณค่าแก่ประชาชน เขตบริการสุขภาพที่ 10 Better S...
การสร้างสรรค์บริการสุขภาพที่มีคุณค่าแก่ประชาชน เขตบริการสุขภาพที่ 10 Better S...Dr.Suradet Chawadet
 
ความท้าทาย...นโยบายหลักประกันสุขภาพ
ความท้าทาย...นโยบายหลักประกันสุขภาพความท้าทาย...นโยบายหลักประกันสุขภาพ
ความท้าทาย...นโยบายหลักประกันสุขภาพweeraboon wisartsakul
 
ระบบบริการปฐมภูมิหมออนามัย
ระบบบริการปฐมภูมิหมออนามัยระบบบริการปฐมภูมิหมออนามัย
ระบบบริการปฐมภูมิหมออนามัยChuchai Sornchumni
 
กลยุทธ์บริหารการเงินการคลังโรงพยาบาลEdit
กลยุทธ์บริหารการเงินการคลังโรงพยาบาลEditกลยุทธ์บริหารการเงินการคลังโรงพยาบาลEdit
กลยุทธ์บริหารการเงินการคลังโรงพยาบาลEditChuchai Sornchumni
 
โครงสร้างสาธารณสุขไทย
โครงสร้างสาธารณสุขไทยโครงสร้างสาธารณสุขไทย
โครงสร้างสาธารณสุขไทยSurasak Tumthong
 

What's hot (19)

การปฏิรูประบบสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ
การปฏิรูประบบสุขภาพและหลักประกันสุขภาพการปฏิรูประบบสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ
การปฏิรูประบบสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ
 
โครงสร้างหน่วยงานภูมิภาคสังกัด สปสธ.
โครงสร้างหน่วยงานภูมิภาคสังกัด สปสธ.โครงสร้างหน่วยงานภูมิภาคสังกัด สปสธ.
โครงสร้างหน่วยงานภูมิภาคสังกัด สปสธ.
 
เหลียวหลัง แลหน้า พัฒนาบริการ
เหลียวหลัง แลหน้า พัฒนาบริการเหลียวหลัง แลหน้า พัฒนาบริการ
เหลียวหลัง แลหน้า พัฒนาบริการ
 
ธรรมนูญสุขภาพ
ธรรมนูญสุขภาพธรรมนูญสุขภาพ
ธรรมนูญสุขภาพ
 
11_ระบบประกันสุขภาพในประเทศไทย
11_ระบบประกันสุขภาพในประเทศไทย11_ระบบประกันสุขภาพในประเทศไทย
11_ระบบประกันสุขภาพในประเทศไทย
 
อาเซียนกับระบบบริการสาธารณสุข
อาเซียนกับระบบบริการสาธารณสุขอาเซียนกับระบบบริการสาธารณสุข
อาเซียนกับระบบบริการสาธารณสุข
 
Six Plus Building Block สาขาสุขภาพช่องปาก 2014
Six Plus Building Block สาขาสุขภาพช่องปาก 2014Six Plus Building Block สาขาสุขภาพช่องปาก 2014
Six Plus Building Block สาขาสุขภาพช่องปาก 2014
 
แนวทางการพัฒนาจริยธรรมของพยาบาล
แนวทางการพัฒนาจริยธรรมของพยาบาลแนวทางการพัฒนาจริยธรรมของพยาบาล
แนวทางการพัฒนาจริยธรรมของพยาบาล
 
แบบประเมินการขับเคลื่อนงาน Ncd ระดับอำเภอ
แบบประเมินการขับเคลื่อนงาน  Ncd ระดับอำเภอแบบประเมินการขับเคลื่อนงาน  Ncd ระดับอำเภอ
แบบประเมินการขับเคลื่อนงาน Ncd ระดับอำเภอ
 
ไตรมาส2 54
ไตรมาส2 54ไตรมาส2 54
ไตรมาส2 54
 
การทำแผนของ Cup ปี 2559
การทำแผนของ Cup ปี 2559การทำแผนของ Cup ปี 2559
การทำแผนของ Cup ปี 2559
 
ระบบสุขภาพอำเภอ Ln นำเสนอประชุมขับเคลื่อนยุทธศาสตร์2
ระบบสุขภาพอำเภอ Ln นำเสนอประชุมขับเคลื่อนยุทธศาสตร์2ระบบสุขภาพอำเภอ Ln นำเสนอประชุมขับเคลื่อนยุทธศาสตร์2
ระบบสุขภาพอำเภอ Ln นำเสนอประชุมขับเคลื่อนยุทธศาสตร์2
 
การสร้างสรรค์บริการสุขภาพที่มีคุณค่าแก่ประชาชน เขตบริการสุขภาพที่ 10 Better S...
การสร้างสรรค์บริการสุขภาพที่มีคุณค่าแก่ประชาชน เขตบริการสุขภาพที่ 10 Better S...การสร้างสรรค์บริการสุขภาพที่มีคุณค่าแก่ประชาชน เขตบริการสุขภาพที่ 10 Better S...
การสร้างสรรค์บริการสุขภาพที่มีคุณค่าแก่ประชาชน เขตบริการสุขภาพที่ 10 Better S...
 
Narathiwat Health Strategic plan_56
Narathiwat Health Strategic plan_56Narathiwat Health Strategic plan_56
Narathiwat Health Strategic plan_56
 
ความท้าทาย...นโยบายหลักประกันสุขภาพ
ความท้าทาย...นโยบายหลักประกันสุขภาพความท้าทาย...นโยบายหลักประกันสุขภาพ
ความท้าทาย...นโยบายหลักประกันสุขภาพ
 
ระบบบริการปฐมภูมิหมออนามัย
ระบบบริการปฐมภูมิหมออนามัยระบบบริการปฐมภูมิหมออนามัย
ระบบบริการปฐมภูมิหมออนามัย
 
กลยุทธ์บริหารการเงินการคลังโรงพยาบาลEdit
กลยุทธ์บริหารการเงินการคลังโรงพยาบาลEditกลยุทธ์บริหารการเงินการคลังโรงพยาบาลEdit
กลยุทธ์บริหารการเงินการคลังโรงพยาบาลEdit
 
พยาบาลกับกฎหมาย สุริน
พยาบาลกับกฎหมาย สุรินพยาบาลกับกฎหมาย สุริน
พยาบาลกับกฎหมาย สุริน
 
โครงสร้างสาธารณสุขไทย
โครงสร้างสาธารณสุขไทยโครงสร้างสาธารณสุขไทย
โครงสร้างสาธารณสุขไทย
 

Similar to Final annual report nhso 2559

แถลงข่าว โครงการศึกษาดูงานการจัดระบบการเรียนรู้ โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน มหาวิทยาลั...
แถลงข่าว โครงการศึกษาดูงานการจัดระบบการเรียนรู้ โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน มหาวิทยาลั...แถลงข่าว โครงการศึกษาดูงานการจัดระบบการเรียนรู้ โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน มหาวิทยาลั...
แถลงข่าว โครงการศึกษาดูงานการจัดระบบการเรียนรู้ โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน มหาวิทยาลั...Pattie Pattie
 
อนาคตร้านยากับ AEC โดย กรกนก โอภาสตระกูล
อนาคตร้านยากับ AEC โดย กรกนก โอภาสตระกูลอนาคตร้านยากับ AEC โดย กรกนก โอภาสตระกูล
อนาคตร้านยากับ AEC โดย กรกนก โอภาสตระกูลUtai Sukviwatsirikul
 
บริการปฐมภูมิ
บริการปฐมภูมิบริการปฐมภูมิ
บริการปฐมภูมิSunisa Sudsawang
 
09 health promotion
09 health promotion09 health promotion
09 health promotionFreelance
 
นโยบายและยุทธศาสตร์ด้านการเงินการคลัง. ➢ มาตรการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารเวช...
นโยบายและยุทธศาสตร์ด้านการเงินการคลัง.  ➢ มาตรการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารเวช...นโยบายและยุทธศาสตร์ด้านการเงินการคลัง.  ➢ มาตรการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารเวช...
นโยบายและยุทธศาสตร์ด้านการเงินการคลัง. ➢ มาตรการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารเวช...Utai Sukviwatsirikul
 
Thailand's Health IT Future Directions (April 4, 2019)
Thailand's Health IT Future Directions (April 4, 2019)Thailand's Health IT Future Directions (April 4, 2019)
Thailand's Health IT Future Directions (April 4, 2019)Nawanan Theera-Ampornpunt
 
ทิศทางการพัฒนาระบบราชการในทศวรรษที่ 21
ทิศทางการพัฒนาระบบราชการในทศวรรษที่ 21ทิศทางการพัฒนาระบบราชการในทศวรรษที่ 21
ทิศทางการพัฒนาระบบราชการในทศวรรษที่ 21Angsu Chantara
 
การพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิในประเทศไทย
การพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิในประเทศไทยการพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิในประเทศไทย
การพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิในประเทศไทยsoftganz
 
UHC in 11 countries and Thailand reform
UHC in 11 countries and Thailand reformUHC in 11 countries and Thailand reform
UHC in 11 countries and Thailand reformChuchai Sornchumni
 
โครงร่างวิจัยเกี่ยวกับการแพทย์แผนไทยประยุกต์
โครงร่างวิจัยเกี่ยวกับการแพทย์แผนไทยประยุกต์โครงร่างวิจัยเกี่ยวกับการแพทย์แผนไทยประยุกต์
โครงร่างวิจัยเกี่ยวกับการแพทย์แผนไทยประยุกต์Apichat kon
 
หลักในการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด
หลักในการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดหลักในการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด
หลักในการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดpluakdeang Hospital
 
รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการการจัดทำข้อเสนอ ร้านยาคุณภาพกับระบบบริการสขุภาพถ้วนหน้า
รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการการจัดทำข้อเสนอ ร้านยาคุณภาพกับระบบบริการสขุภาพถ้วนหน้ารายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการการจัดทำข้อเสนอ ร้านยาคุณภาพกับระบบบริการสขุภาพถ้วนหน้า
รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการการจัดทำข้อเสนอ ร้านยาคุณภาพกับระบบบริการสขุภาพถ้วนหน้าUtai Sukviwatsirikul
 
โครงการการจัดทำข้อเสนอร้านยาคุณภาพกับระบบบริการสุขภาพถ้วนหน้า
โครงการการจัดทำข้อเสนอร้านยาคุณภาพกับระบบบริการสุขภาพถ้วนหน้าโครงการการจัดทำข้อเสนอร้านยาคุณภาพกับระบบบริการสุขภาพถ้วนหน้า
โครงการการจัดทำข้อเสนอร้านยาคุณภาพกับระบบบริการสุขภาพถ้วนหน้าUtai Sukviwatsirikul
 
รายงานฉบับสมบรูณ์ โครงการการจัดทาข้อเสนอร้านยาคณุภาพกับระบบบริการสขุภาพถ้วนหน้า
รายงานฉบับสมบรูณ์ โครงการการจัดทาข้อเสนอร้านยาคณุภาพกับระบบบริการสขุภาพถ้วนหน้ารายงานฉบับสมบรูณ์ โครงการการจัดทาข้อเสนอร้านยาคณุภาพกับระบบบริการสขุภาพถ้วนหน้า
รายงานฉบับสมบรูณ์ โครงการการจัดทาข้อเสนอร้านยาคณุภาพกับระบบบริการสขุภาพถ้วนหน้าUtai Sukviwatsirikul
 
กองทุนหลักประกันสุขภาพ
กองทุนหลักประกันสุขภาพกองทุนหลักประกันสุขภาพ
กองทุนหลักประกันสุขภาพgel2onimal
 

Similar to Final annual report nhso 2559 (20)

แถลงข่าว โครงการศึกษาดูงานการจัดระบบการเรียนรู้ โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน มหาวิทยาลั...
แถลงข่าว โครงการศึกษาดูงานการจัดระบบการเรียนรู้ โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน มหาวิทยาลั...แถลงข่าว โครงการศึกษาดูงานการจัดระบบการเรียนรู้ โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน มหาวิทยาลั...
แถลงข่าว โครงการศึกษาดูงานการจัดระบบการเรียนรู้ โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน มหาวิทยาลั...
 
อนาคตร้านยากับ AEC โดย กรกนก โอภาสตระกูล
อนาคตร้านยากับ AEC โดย กรกนก โอภาสตระกูลอนาคตร้านยากับ AEC โดย กรกนก โอภาสตระกูล
อนาคตร้านยากับ AEC โดย กรกนก โอภาสตระกูล
 
บริการปฐมภูมิ
บริการปฐมภูมิบริการปฐมภูมิ
บริการปฐมภูมิ
 
09 health promotion
09 health promotion09 health promotion
09 health promotion
 
นโยบายและยุทธศาสตร์ด้านการเงินการคลัง. ➢ มาตรการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารเวช...
นโยบายและยุทธศาสตร์ด้านการเงินการคลัง.  ➢ มาตรการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารเวช...นโยบายและยุทธศาสตร์ด้านการเงินการคลัง.  ➢ มาตรการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารเวช...
นโยบายและยุทธศาสตร์ด้านการเงินการคลัง. ➢ มาตรการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารเวช...
 
Siiim
SiiimSiiim
Siiim
 
Siiim
SiiimSiiim
Siiim
 
Thailand's Health IT Future Directions (April 4, 2019)
Thailand's Health IT Future Directions (April 4, 2019)Thailand's Health IT Future Directions (April 4, 2019)
Thailand's Health IT Future Directions (April 4, 2019)
 
ทิศทางการพัฒนาระบบราชการในทศวรรษที่ 21
ทิศทางการพัฒนาระบบราชการในทศวรรษที่ 21ทิศทางการพัฒนาระบบราชการในทศวรรษที่ 21
ทิศทางการพัฒนาระบบราชการในทศวรรษที่ 21
 
วพบ นครราชสีมา๕๖
วพบ นครราชสีมา๕๖วพบ นครราชสีมา๕๖
วพบ นครราชสีมา๕๖
 
การพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิในประเทศไทย
การพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิในประเทศไทยการพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิในประเทศไทย
การพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิในประเทศไทย
 
UHC in 11 countries and Thailand reform
UHC in 11 countries and Thailand reformUHC in 11 countries and Thailand reform
UHC in 11 countries and Thailand reform
 
โครงร่างวิจัยเกี่ยวกับการแพทย์แผนไทยประยุกต์
โครงร่างวิจัยเกี่ยวกับการแพทย์แผนไทยประยุกต์โครงร่างวิจัยเกี่ยวกับการแพทย์แผนไทยประยุกต์
โครงร่างวิจัยเกี่ยวกับการแพทย์แผนไทยประยุกต์
 
สปสช.การบริหารAsthma&copd57
สปสช.การบริหารAsthma&copd57สปสช.การบริหารAsthma&copd57
สปสช.การบริหารAsthma&copd57
 
หลักในการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด
หลักในการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดหลักในการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด
หลักในการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด
 
รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการการจัดทำข้อเสนอ ร้านยาคุณภาพกับระบบบริการสขุภาพถ้วนหน้า
รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการการจัดทำข้อเสนอ ร้านยาคุณภาพกับระบบบริการสขุภาพถ้วนหน้ารายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการการจัดทำข้อเสนอ ร้านยาคุณภาพกับระบบบริการสขุภาพถ้วนหน้า
รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการการจัดทำข้อเสนอ ร้านยาคุณภาพกับระบบบริการสขุภาพถ้วนหน้า
 
โครงการการจัดทำข้อเสนอร้านยาคุณภาพกับระบบบริการสุขภาพถ้วนหน้า
โครงการการจัดทำข้อเสนอร้านยาคุณภาพกับระบบบริการสุขภาพถ้วนหน้าโครงการการจัดทำข้อเสนอร้านยาคุณภาพกับระบบบริการสุขภาพถ้วนหน้า
โครงการการจัดทำข้อเสนอร้านยาคุณภาพกับระบบบริการสุขภาพถ้วนหน้า
 
รายงานฉบับสมบรูณ์ โครงการการจัดทาข้อเสนอร้านยาคณุภาพกับระบบบริการสขุภาพถ้วนหน้า
รายงานฉบับสมบรูณ์ โครงการการจัดทาข้อเสนอร้านยาคณุภาพกับระบบบริการสขุภาพถ้วนหน้ารายงานฉบับสมบรูณ์ โครงการการจัดทาข้อเสนอร้านยาคณุภาพกับระบบบริการสขุภาพถ้วนหน้า
รายงานฉบับสมบรูณ์ โครงการการจัดทาข้อเสนอร้านยาคณุภาพกับระบบบริการสขุภาพถ้วนหน้า
 
กองทุนหลักประกันสุขภาพ
กองทุนหลักประกันสุขภาพกองทุนหลักประกันสุขภาพ
กองทุนหลักประกันสุขภาพ
 
006 7 cupชนบท
006 7 cupชนบท006 7 cupชนบท
006 7 cupชนบท
 

More from Chuchai Sornchumni

Priorities with PHC (chuchai jun2018)
Priorities with PHC (chuchai jun2018)Priorities with PHC (chuchai jun2018)
Priorities with PHC (chuchai jun2018)Chuchai Sornchumni
 
ระบบประกันการดูแลระยะยาว
ระบบประกันการดูแลระยะยาว ระบบประกันการดูแลระยะยาว
ระบบประกันการดูแลระยะยาว Chuchai Sornchumni
 
New perspectives on global healthspending UHC
New perspectives on global healthspending UHCNew perspectives on global healthspending UHC
New perspectives on global healthspending UHCChuchai Sornchumni
 
2561จอร์แดนบันทึกการเดินทาง
2561จอร์แดนบันทึกการเดินทาง2561จอร์แดนบันทึกการเดินทาง
2561จอร์แดนบันทึกการเดินทางChuchai Sornchumni
 
ChronicDzMntRespiratoryIllness
ChronicDzMntRespiratoryIllnessChronicDzMntRespiratoryIllness
ChronicDzMntRespiratoryIllnessChuchai Sornchumni
 
Thailand situational assessment2015
Thailand situational assessment2015Thailand situational assessment2015
Thailand situational assessment2015Chuchai Sornchumni
 
ทบทวนประสบการณ์ Universal Health Coverage 11 ประเทศ
ทบทวนประสบการณ์ Universal Health Coverage 11 ประเทศทบทวนประสบการณ์ Universal Health Coverage 11 ประเทศ
ทบทวนประสบการณ์ Universal Health Coverage 11 ประเทศChuchai Sornchumni
 
พระปกเกล้า20170527
พระปกเกล้า20170527พระปกเกล้า20170527
พระปกเกล้า20170527Chuchai Sornchumni
 
ร่วมจ่ายทบทวนประสบการณ์ระบบสุขภาพอเมริกา
ร่วมจ่ายทบทวนประสบการณ์ระบบสุขภาพอเมริการ่วมจ่ายทบทวนประสบการณ์ระบบสุขภาพอเมริกา
ร่วมจ่ายทบทวนประสบการณ์ระบบสุขภาพอเมริกาChuchai Sornchumni
 
นักโภชนาการนักกำหนดอาหาร2017
นักโภชนาการนักกำหนดอาหาร2017นักโภชนาการนักกำหนดอาหาร2017
นักโภชนาการนักกำหนดอาหาร2017Chuchai Sornchumni
 
ช่วงนี้ มีประเด็น
ช่วงนี้ มีประเด็นช่วงนี้ มีประเด็น
ช่วงนี้ มีประเด็นChuchai Sornchumni
 
สาธารณสุขเชิงรุก
สาธารณสุขเชิงรุกสาธารณสุขเชิงรุก
สาธารณสุขเชิงรุกChuchai Sornchumni
 
โอกาสขยายงานSubacute chuchai
โอกาสขยายงานSubacute chuchaiโอกาสขยายงานSubacute chuchai
โอกาสขยายงานSubacute chuchaiChuchai Sornchumni
 

More from Chuchai Sornchumni (20)

Precision medicine
Precision medicinePrecision medicine
Precision medicine
 
Priorities with PHC (chuchai jun2018)
Priorities with PHC (chuchai jun2018)Priorities with PHC (chuchai jun2018)
Priorities with PHC (chuchai jun2018)
 
UHC lesson learn Thailand
UHC lesson learn ThailandUHC lesson learn Thailand
UHC lesson learn Thailand
 
ระบบประกันการดูแลระยะยาว
ระบบประกันการดูแลระยะยาว ระบบประกันการดูแลระยะยาว
ระบบประกันการดูแลระยะยาว
 
New perspectives on global healthspending UHC
New perspectives on global healthspending UHCNew perspectives on global healthspending UHC
New perspectives on global healthspending UHC
 
2561จอร์แดนบันทึกการเดินทาง
2561จอร์แดนบันทึกการเดินทาง2561จอร์แดนบันทึกการเดินทาง
2561จอร์แดนบันทึกการเดินทาง
 
Introduction2 publichealth
Introduction2 publichealthIntroduction2 publichealth
Introduction2 publichealth
 
Public finance
Public financePublic finance
Public finance
 
DiseaseMntChrRespSyst
DiseaseMntChrRespSystDiseaseMntChrRespSyst
DiseaseMntChrRespSyst
 
ChronicDzMntRespiratoryIllness
ChronicDzMntRespiratoryIllnessChronicDzMntRespiratoryIllness
ChronicDzMntRespiratoryIllness
 
Thailand situational assessment2015
Thailand situational assessment2015Thailand situational assessment2015
Thailand situational assessment2015
 
ทบทวนประสบการณ์ Universal Health Coverage 11 ประเทศ
ทบทวนประสบการณ์ Universal Health Coverage 11 ประเทศทบทวนประสบการณ์ Universal Health Coverage 11 ประเทศ
ทบทวนประสบการณ์ Universal Health Coverage 11 ประเทศ
 
Welfare analysis for uhc
Welfare analysis for uhcWelfare analysis for uhc
Welfare analysis for uhc
 
พระปกเกล้า20170527
พระปกเกล้า20170527พระปกเกล้า20170527
พระปกเกล้า20170527
 
ร่วมจ่ายทบทวนประสบการณ์ระบบสุขภาพอเมริกา
ร่วมจ่ายทบทวนประสบการณ์ระบบสุขภาพอเมริการ่วมจ่ายทบทวนประสบการณ์ระบบสุขภาพอเมริกา
ร่วมจ่ายทบทวนประสบการณ์ระบบสุขภาพอเมริกา
 
นักโภชนาการนักกำหนดอาหาร2017
นักโภชนาการนักกำหนดอาหาร2017นักโภชนาการนักกำหนดอาหาร2017
นักโภชนาการนักกำหนดอาหาร2017
 
ช่วงนี้ มีประเด็น
ช่วงนี้ มีประเด็นช่วงนี้ มีประเด็น
ช่วงนี้ มีประเด็น
 
สาธารณสุขเชิงรุก
สาธารณสุขเชิงรุกสาธารณสุขเชิงรุก
สาธารณสุขเชิงรุก
 
Ncd nhes v_2016
Ncd nhes v_2016Ncd nhes v_2016
Ncd nhes v_2016
 
โอกาสขยายงานSubacute chuchai
โอกาสขยายงานSubacute chuchaiโอกาสขยายงานSubacute chuchai
โอกาสขยายงานSubacute chuchai
 

Final annual report nhso 2559

  • 1.
  • 3. สารจากประธานกรรมการ หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ รัฐบาลไทยให้ความส�ำคัญต่อการพัฒนาประเทศด้าน สาธารณสุข ทั้งด้านระบบบริการสาธารณสุข ยา เวชภัณฑ์ และอุปกรณ์ทางการแพทย์ การเงินการคลัง บุคลากร ข้อมูลสารสนเทศ และการอภิบาลระบบ เพื่อช่วยยกระดับ คุณภาพชีวิตของประชาชนทุกคนในภาพรวม โดยประกาศ ให้เป็นนโยบายที่ส�ำคัญมาอย่างต่อเนื่อง นอกจากนั้น การท�ำให้ประชาชนทุกคนมีหลักประกันด้านสุขภาพ สามารถเข้าถึงบริการด้านสุขภาพที่มีคุณภาพ มาตรฐาน ได้ตามความจ�ำเป็น และได้รับการปกป้องการเกิดวิกฤติ ทางการเงินจากการจ่ายค่ารักษาพยาบาล ยังเป็นเป้าหมาย หนึ่งในเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ พ.ศ.2559-2574 (Sustainable Development Goals 2015-2030) ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เป็นระบบหนึ่งที่ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการการเงินการคลัง ในระบบบริการสาธารณสุข ภายใต้หลักการ “เฉลี่ยทุกข์ เฉลี่ยสุข” หรือ “ดีช่วยป่วย รวยช่วยจน” โดยให้ความ ส�ำคัญกับการคุ้มครองสิทธิด้านสุขภาพของประชาชนตาม รัฐธรรมนูญ ความส�ำเร็จของการพัฒนาระบบหลักประกัน สุขภาพของประเทศไทยเป็นหนึ่งตัวอย่างที่ได้รับการ ยอมรับในระดับนานาชาติ อย่างไรก็ตาม การด�ำเนินงาน ดังกล่าวยังคงมีภารกิจที่ต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่องและ บริหารจัดการให้ดียิ่งขึ้น เพื่อประโยชน์ต่อประชาชนและ ระบบสาธารณสุขโดยรวมของประเทศ โดยจะเน้นการเพิ่ม ประสิทธิภาพการบริหารจัดการ การใช้ทรัพยากร สาธารณสุข และการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ประชาชนผู้มีสิทธิสามารถเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพ มาตรฐานในทุกระดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กลุ่มที่ยังไม่ สามารถเข้าถึงบริการได้ตามความจ�ำเป็น พร้อมกับการ
  • 4. เพิ่มประสิทธิภาพการใช้จ่ายด้านสุขภาพ เพื่อความยั่งยืน ของระบบคุ้มครองความมั่นคงด้านสุขภาพส�ำหรับคนไทย ในระยะยาว ในปี 2559 คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพ แห่งชาติ ให้ความส�ำคัญกับการขยายความร่วมมือ ร่วมคิด ร่วมท�ำ ระหว่างกระทรวงสาธารณสุขในฐานะต้นสังกัด ของผู้ให้บริการหลักในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และ สปสช. ในฐานะผู้จัดหาบริการ ส่งผลต่อการสนับสนุน ซึ่งกันและกันมากขึ้น รวมทั้ง ได้เร่งรัดการด�ำเนินการที่ ส�ำคัญหลายด้าน เช่น1) การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหาร กองทุนและการพัฒนารูปแบบการจ่ายชดเชยค่าบริการ รวมทั้งความพยายามอย่างต่อเนื่องในการแก้ไขปัญหาการ บริหารจัดการเงินกองทุนหลักประกันฯ ของหน่วยบริการ 2) การสนับสนุนการบูรณาการระบบประกันสุขภาพ ภาครัฐตามนโยบายรัฐบาล ผ่านการสนับสนุนการพัฒนา ระบบบริการเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติ(EMCO)3) การพัฒนา ประเภทและขอบเขตบริการสาธารณสุขและระบบบริการ อย่างต่อเนื่อง เช่น การออกแบบการบริหารจัดการระบบ การดูแลระยะยาวส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง การ ปรับปรุงชุดบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค และ การดูแลผู้ป่วยกลุ่มเฉพาะต่างๆ ที่ยังมีปัญหาการเข้าถึง บริการ 4) การพัฒนาอย่างต่อเนื่องในการคุ้มครองสิทธิ ด้านสุขภาพของประชาชน เช่น การจัดการระบบฐาน ข้อมูลกลางทะเบียนสิทธิการรักษาพยาบาลของประชาชน รวมทั้งการให้บริการข้อมูลข่าวสารและการรับเรื่องร้อง เรียนต่างๆ และ5) การพัฒนาระบบสนับสนุนอื่นๆ รองรับ การบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เช่น การปรับปรุงแนวทางการรับฟังความเห็นทั่วไปประจ�ำปี การปรับปรุงประกาศ/ระเบียบ/ข้อบังคับ/ค�ำสั่งต่างๆ ให้สอดคล้องและรองรับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ และ กระบวนการสรรหาและคัดเลือกเลขาธิการ สปสช. แทน เลขาธิการที่หมดวาระ เป็นต้น ความส�ำเร็จดังกล่าวเกิดขึ้นจากการสนับสนุน และ ความร่วมมือของทุกภาคส่วน ผมขอขอบคุณท่านผู้บริหาร กระทรวงสาธารณสุข ท่านผู้บริหารกระทรวงอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ท่านผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ของสถานพยาบาล/โรงพยาบาล ทุกแห่ง ทั้งภาครัฐและเอกชน องค์กรวิชาชีพ องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคประชาชน และภาคีเครือข่าย ทุกภาคส่วน รวมทั้งส�ำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่ง ชาติ ที่สนับสนุนการด�ำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและ คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และมี ส่วนร่วมพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มุ่ง เป้าหมายให้ประชาชนได้รับความคุ้มครองด้านสุขภาพ เข้าถึงบริการที่มีคุณภาพมาตรฐานตามที่จ�ำเป็นได้อย่าง ต่อเนื่อง เหมาะสม และมีความเท่าเทียมกัน ในโอกาสนี้ ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ทุกภาคส่วนจะ ให้การสนับสนุนการพัฒนาและร่วมเป็นเจ้าของระบบ หลักประกันสุขภาพและระบบสุขภาพของประเทศไปด้วย กันอย่างต่อเนื่อง เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนต่อไป และขออวยพรให้ทุกท่าน ตลอดจนครอบครัวประสบ แต่ความสุขความเจริญโดยทั่วกัน (นายปิยะสกล สกลสัตยาทร) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ประธานกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
  • 5. สารจากประธานกรรมการ ปีงบประมาณ 2559 เป็นการเริ่มด�ำเนินงานของ คณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการ สาธารณสุข สมัยวาระที่4 (ปี พ.ศ. 2559–2562) การ ด�ำเนินงานของคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐาน บริการสาธารณสุขในสมัยวาระที่ 4 นั้น ยังเป็นการ ด�ำเนินงานตามบทบาทหน้าที่ตามมาตรา50 แห่งพระราช บัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 และได้มี การน�ำข้อเสนอเพื่อการพัฒนางานของคณะกรรมการ ควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุขสมัย วาระที่3 มาทบทวน เพื่อวางกรอบแนวทางการด�ำเนินงาน โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการ สาธารณสุขที่มีคุณภาพและมาตรฐาน จึงได้ก�ำหนด เป็นความท้าทายของคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและ มาตรฐานบริการสาธารณสุขสมัยวาระที่ 4 ได้แก่ 1) ก�ำหนดทิศทางและยุทธศาสตร์ด้านมาตรฐานและ คุณภาพบริการ 2) เสริมสร้างความเข้มแข็งและศักยภาพ ของกลไกการจัดการมาตรฐานและคุณภาพบริการใน ระดับพื้นที่ 3) สร้างความร่วมมือและความเป็นเจ้าของ ของทุกภาคส่วนในการสนับสนุนมาตรฐานและคุณภาพ บริการ 4) สร้างการรับรู้และความเข้าใจระหว่างผู้ให้และ ผู้รับบริการด้านมาตรฐานและคุณภาพบริการ เพื่อลด ความขัดแย้ง และ 5) การพัฒนามาตรฐานและคุณภาพ บริการโดยการใช้ข้อมูลสารสนเทศ ในการเริ่มต้นการด�ำเนินงานของคณะกรรมการ ควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุขสมัย วาระที่ 4 นั้น ได้มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการตาม ภารกิจภายใต้คณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐาน บริการสาธารณสุขจ�ำนวน3 คณะ ได้แก่ คณะอนุกรรมการ ควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุข
  • 6. ก�ำกับคุณภาพและมาตรฐานบริการ คณะอนุกรรมการ คุ้มครองสิทธิและส่งเสริมการมีส่วนร่วม และคณะอนุ- กรรมการด้านกฎหมายที่เกี่ยวกับการพิจารณาจ่ายเงิน ช่วยเหลือเบื้องต้นและการก�ำกับมาตรฐานหน่วยบริการ ซึ่งคณะอนุกรรมการตามภารกิจภายใต้คณะกรรมการ ควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุข มีบทบาท หน้าที่ที่ส�ำคัญในการจัดท�ำข้อเสนอและพัฒนากลไกใน การควบคุมก�ำกับคุณภาพและมาตรฐานหน่วยบริการและ เครือข่ายบริการการคุ้มครองสิทธิในระบบหลักประกัน สุขภาพแห่งชาติ โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน และ การศึกษาทบทวนและให้ความเห็นในประเด็นกฎหมายที่ เกี่ยวกับการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้น การก�ำกับมาตรฐาน หน่วยบริการ เพื่อพัฒนาคุณภาพบริการของหน่วยบริการ และเครือข่ายบริการ ส่วนการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการใน ระดับพื้นที่ ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการควบคุมคุณภาพ และมาตรฐานบริการสาธารณสุขระดับเขตพื้นที่ให้ปฏิบัติ หน้าที่ต่ออีก 1 วาระ คณะกรรมการควบคุมคุณภาพและ มาตรฐานบริการสาธารณสุขระดับเขตพื้นที่มีบทบาท ส�ำคัญในการก�ำกับและติดตามการให้บริการของหน่วย บริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ทั้งในด้าน มาตรฐานและคุณภาพ การเข้าถึงสิทธิ รวมถึงการเข้ารับ บริการ โดยมีรูปแบบการท�ำงานที่เชื่อมโยงกับกลไกต่างๆ ของภาคส่วนในพื้นที่ เช่น คณะอนุกรรมการพิจารณา วินิจฉัยค�ำร้องขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้นระดับจังหวัด จ�ำนวน 77 จังหวัด ซึ่งคณะอนุกรรมการชุดใหม่ได้รับการ แต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่แทนคณะอนุกรรมการชุดเดิมที่ครบ วาระการด�ำรงต�ำแหน่ง หน่วยรับเรื่องร้องเรียนอื่นที่เป็น อิสระจากผู้ถูกร้องเรียน ศูนย์บริการหลักประกันสุขภาพ ในหน่วยบริการ ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพ ภาคประชาชน รวมถึงคณะอนุกรรมการหลักประกัน สุขภาพเขตพื้นที่ (อปสข.) การด�ำเนินงานของคณะกรรมการควบคุมคุณภาพ และมาตรฐานบริการสาธารณสุขสมัยวาระที่4 มุ่งเน้นการ ท�ำงานที่เชื่อมโยงและบูรณาการอย่างเป็นระบบ กับหน่วย งาน สมาคมวิชาชีพ องค์กรภาคีที่เกี่ยวข้อง และภาค ประชาชน การเชื่อมโยงการท�ำงานร่วมกันดังกล่าวเพื่อน�ำ ไปสู่การมีสุขภาพที่ดีของประชาชน ผู้ให้บริการมีความสุข และระบบคุณภาพและมาตรฐานที่ยั่งยืนต่อไป ขอขอบคุณคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและ มาตรฐานบริการสาธารณสุข คณะอนุกรรมการทั้งใน ส่วนกลาง ระดับเขตพื้นที่ และระดับจังหวัด รวมถึงภาคี สุขภาพ ส�ำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่สนับ สนุนการท�ำงานและมีส่วนร่วมในการส่งเสริมและก�ำกับ คุณภาพและมาตรฐานบริการ ท�ำให้ประชาชนได้รับบริการ สาธารณสุขที่มีมาตรฐานเท่าเทียมกันทุกคน ตามเจตนา- รมณ์ของพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 (นายชาตรี บานชื่น) ประธานกรรมการควบคุมคุณภาพ และมาตรฐานบริการสาธารณสุข
  • 7. สารจากเลขาธิการ สำ�นักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 19 พฤศจิกายน 2545 เป็นวันแรกที่พระราชบัญญัติ หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มีผลบังคับใช้ และเป็น จุดก�ำเนิดของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าใน ประเทศไทย นับแต่วันนั้น คนไทยที่ไม่มีสิทธิสวัสดิการ รักษาพยาบาลข้าราชการ และสิทธิประกันสังคม จะมีสิทธิ หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเป็นสิทธิรักษาพยาบาลขั้น พื้นฐานตามกฎหมายในทันที ช่วงแรกของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เน้นไป ที่ความครอบคลุมของสิทธิ โดยประชาชนจะต้องมีหน่วย บริการประจ�ำ การท�ำงานในช่วงแรกจึงมุ่งเน้นเพื่อให้บรรลุ เป้าหมาย และด�ำเนินการอย่างต่อเนื่อง จนถึงปัจจุบัน สปสช. สามารถสร้างความครอบคลุมได้กว่าร้อยละ99.93 แต่เมื่อพิจารณาข้อมูลการใช้สิทธิในปี2558 เปรียบเทียบ กับการใช้สิทธิในปี 2546 พบว่า ประชาชนใช้สิทธิเมื่อ รักษาเป็นผู้ป่วยในเพิ่มขึ้นมากกว่า7 จุด จากร้อยละ79.85 เป็น87.58 ในขณะที่การใช้สิทธิเมื่อเป็นผู้ป่วยนอกเพิ่มขึ้น เพียง 4 จุด จากร้อยละ 71.48 เป็น 75.30 อย่างไรก็ตาม นอกจากประชาชนจะเข้าถึงบริการ สุขภาพได้มากขึ้นแล้ว การเกิดวิกฤติทางการเงินของครัว เรือนไทยจากการจ่ายค่ารักษาพยาบาล ลดลงจากร้อยละ 5.74 ในปี2546 เหลือเพียงร้อยละ2.01 ในปี2558 ตัวเลข
  • 8. ที่น่าสนใจที่ได้จากการส�ำรวจอีกประการหนึ่งคือ ร้อยละ ของครัวเรือนที่ต้องกลายเป็นครัวเรือนยากจนหลังจากการ จ่ายค่ารักษาพยาบาล ลดลงจากร้อยละ 2.01 ในปี 2546 เหลือเพียงร้อยละ 0.34 ในปี 2558 ส�ำหรับโรคที่มีค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลสูง หรือ ผู้ป่วยที่เป็นโรคที่ต้องการการรักษาต่อเนื่อง เช่น ผู้ป่วยไต วายเรื้อรังระยะสุดท้าย ผู้ป่วยเอชไอวี ฯลฯ หรือผู้ป่วยที่ เดิมมีความยากล�ำบากในการเข้าถึงบริการ เช่น ผู้ป่วย เปลี่ยนอวัยวะ ก็มีการเข้าถึงบริการมากขึ้น ด้วยข้อจ�ำกัดด้านงบประมาณของกองทุนหลักประกัน สุขภาพแห่งชาติ และเพื่อลดภาระงบประมาณของประเทศ สปสช. จึงได้พยายามปรับประสิทธิภาพในการบริหาร จัดการกองทุนในหลายมาตรการ มาตรการหนึ่งที่ประสพ ผลส�ำเร็จคือการบริหารยาและเวชภัณฑ์ในบางรายการที่มี ราคาแพงและมีปัญหาในการเข้าถึง ผลการด�ำเนินการ ตั้งแต่ปี 2555-2559 ท�ำให้ประหยัดงบประมาณไปได้ถึง กว่า 30,000 ล้านบาท นอกจากนั้น สปสช. ยังค�ำนึงถึงการมีส่วนร่วมและ เสียงสะท้อนของภาคส่วนต่างๆ ช่องทางหนึ่งที่ สปสช. ด�ำเนินการ คือ บริการสายด่วน สปสช. 1330 โดยมีสถิติ การให้บริการเฉลี่ยในปี 2559 ถึงวันละ 1,400 สาย โดย มีสถิติการแก้ไขปัญหา/ข้อร้องเรียนที่ได้รับการแก้ไข ภายใน 25 วัน ถึงร้อยละ 74.79 รายงานการสร้างหลักประกันสุขภาพประจ�ำปี 2559 ฉบับนี้ ได้รวบรวมผลการท�ำงานและสถิติข้อมูลของ ส�ำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ภายใต้คณะ- กรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ทั้งที่เป็นผลส�ำรวจ ของส�ำนักงานสถิติแห่งชาติ และจากฐานข้อมูลบริการของ ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยหวังว่าจะเป็น ประโยชน์ให้ท่านที่สนใจได้เห็นความก้าวหน้าในการ ด�ำเนินงาน อุปสรรค และความท้าทายในการพัฒนาระบบ หลักประกันสุขภาพ ตามสมควร (นายศักดิ์ชัย กาญจนวัฒนา) รองเลขาธิการ รักษาการแทน เลขาธิการส�ำนักงาน หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
  • 9. บทสรุปผู้บริหาร ส�ำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) จัด ตั้งตาม พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 มาตรา 24 ก�ำหนดให้ สปสช. เป็นหน่วยงานของรัฐ มี ฐานะเป็นนิติบุคคลอยู่ภายใต้ก�ำกับดูแลของรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงสาธารณสุข ท�ำหน้าที่เป็นส�ำนักงาน เลขานุการของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการ สาธารณสุข มีวิสัยทัศน์คือ “ทุกคนที่อาศัยอยู่บนแผ่นดินไทย ได้ รับความคุ้มครองหลักประกันสุขภาพอย่างถ้วนหน้า ด้วย ความมั่นใจ” โดยมีบทบาทหน้าที่ในการสนับสนุนให้มี ระบบหลักประกันสุขภาพที่ครอบคลุมทุกคน การพัฒนา บริการสาธารณสุขให้มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน ทุกคนเข้าถึง ได้ ไม่เกิดวิกฤติทางการเงินจากการจ่ายค่ารักษาพยาบาล (Catastrophic health expenditure) เสริมสร้างความ เท่าเทียมกันระหว่างกองทุนอื่นๆ และทุกภาคส่วนมีส่วน ร่วมพัฒนา และเป็นเจ้าของโดยเคารพในสิทธิและศักดิ์ศรี ซึ่งกันและกัน ปีงบประมาณ 2559 กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่ง ชาติ ได้รับการจัดสรรงบประมาณหมวดเงินอุดหนุนจาก รัฐบาล เพื่อเป็นค่าใช้จ่าย สนับสนุน และส่งเสริมการจัด บริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ ส�ำหรับประชากรผู้มี สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จ�ำนวน 48.79 ล้านคน ดังนี้ 1. งบค่าบริการทางการแพทย์เหมาจ่ายรายหัว ประกอบด้วย 1.1 ค่าบริการทางการแพทย์ส�ำหรับผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 107,629.76 ล้านบาท 1.2 ค่าแรงของหน่วยบริการภาครัฐในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 40,143.14 ล้านบาท รวมงบค่าบริการทางการแพทย์เหมาจ่ายรายหัว 147,772.90 ล้านบาท คิดเป็นอัตราเหมาจ่ายรายหัว (บาทต่อประชากรสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ รวมค่าแรงหน่วยบริการ ภาครัฐ) เท่ากับ 3,028.94 บาท 2. งบประมาณเพื่อดูแลในกลุ่มบริการเฉพาะ ประกอบด้วย 2.1 ค่าบริการสุขภาพผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ 3,011.90 ล้านบาท 2.2 ค่าบริการสุขภาพผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง 6,318.10 ล้านบาท 2.3 ค่าบริการควบคุม ป้องกัน และรักษาโรคเรื้อรัง 959.00 ล้านบาท 2.4 ค่าบริการสาธารณสุขส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง 600.00 ล้านบาท 3. งบประมาณส�ำหรับจัดสรรเป็นขวัญก�ำลังใจให้กับบุคลากรที่ปฏิบัติงานในที่ห่างไกลและหน่วยบริการที่มีประชากร เบาบางให้สามารถด�ำรงอยู่ได้ ประกอบด้วย 3.1 งบค่าใช้จ่ายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพหน่วยบริการในพื้นที่กันดาร 1,490.29 ล้านบาท พื้นที่เสี่ยงภัยและพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 3.2 ค่าตอบแทนก�ำลังคนด้านการสาธารณสุข 3,000.00 ล้านบาท | รายงานการสรางหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประจำ�ปีงบประมาณ 25598
  • 10. รวมเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติทั้งสิ้น 163,152.18 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ6.0 ของงบประมาณ ประเทศ โดยเหลือเงินสดให้ส�ำนักงานบริหาร (ไม่รวม ค่าแรงหน่วยบริการภาครัฐ) 123,009.04 ล้านบาท และ ได้รับงบประมาณ เพื่อบริหารจัดการในส�ำนักงาน ส่วนกลาง และส�ำนักงานสาขา13 สาขา วงเงิน1,414.09 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 0.87 เมื่อเทียบกับงบกองทุน หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ผลการสร้างหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สรุปพอสังเขป ดังนี้ 1. ความครอบคลุมสิทธิในระบบประกันสุขภาพ ประชากรไทยผู้มีสิทธิในระบบประกันสุขภาพ จ�ำนวน 65.81 ล้านคน(ข้อมูล ณ30 กันยายน2559) ลงทะเบียน สิทธิในระบบประกันสุขภาพ จ�ำนวน 65.78 ล้านคน คิด เป็นความครอบคลุมสิทธิในระบบประกันสุขภาพของ ประเทศ (Universal Health Coverage: UHC) ร้อยละ 99.95 ส�ำหรับประชากรผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพ แห่งชาติ จ�ำนวน 48.37 ล้านคน ลงทะเบียนสิทธิแล้ว จ�ำนวน48.33 ล้านคน คิดเป็นความครอบคลุมของประชากร ที่มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(UniversalCoverage Scheme: UCS) ร้อยละ 99.93 โดยมีประชากรที่ยังไม่ลง ทะเบียนสิทธิ 0.03 ล้านคน (ร้อยละ 0.05) และมีบุคคลที่ ไม่อยู่ในทะเบียนบ้าน (รอยืนยันสิทธิ) 0.13 ล้านคน 2. หน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หน่วยบริการขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยบริการในระบบหลัก ประกันสุขภาพแห่งชาติ ประกอบด้วย 1) หน่วยบริการ ปฐมภูมิ จ�ำนวน 11,565 แห่ง ร้อยละ 94.36 เป็นหน่วย บริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข 2) หน่วยบริการ ประจ�ำ จ�ำนวน 1,301 แห่ง ร้อยละ 68.95 เป็น หน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ร้อยละ18.52 เป็นหน่วยบริการเอกชน และ 3) หน่วยบริการรับส่งต่อ จ�ำนวน 1,109 แห่ง ร้อยละ 84.58 เป็นหน่วยบริการใน สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ร้อยละ8.21 เป็นหน่วยบริการ นอกสังกัดกระทรวงสาธารณสุข 3. การเข้าถึงบริการทางการแพทย์และสาธารณสุข พบว่า 3.1 บริการพื้นฐานตามงบบริการทางการแพทย์เหมา จ่ายรายหัว • ใช้บริการแบบผู้ป่วยนอก จ�ำนวน173.23 ล้าน ครั้ง อัตราการใช้บริการเท่ากับ3.589 ครั้งต่อ คนต่อปี • ใช้บริการแบบผู้ป่วยใน จ�ำนวน5.78 ล้านครั้ง อัตราการใช้บริการเท่ากับ 0.120 ครั้งต่อคน ต่อปี • ใช้บริการกรณีเฉพาะ ได้แก่ บริการผู้ป่วยนอก กรณีอุบัติเหตุ/เจ็บป่วยฉุกเฉิน นอกเครือข่าย 1.30 ล้านครั้ง ผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจ ขาดเลือดเฉียบพลัน ชนิด STEMI และผู้ป่วย โรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน เข้าถึง ยาละลายลิ่มเลือด จ�ำนวน 3,895 คน/ 3,955 ครั้ง และจ�ำนวน 2,889 คน/ 2,901 ครั้ง ตาม ล�ำดับ ผู้ป่วยต้อกระจกได้รับการผ่าตัดต้อ- กระจก จ�ำนวน 154,561 ครั้ง ผู้ป่วยวัณโรค ได้รับการดูแล 78,388 คน ผู้ป่วยระยะสุดท้าย ได้รับการดูแลแบบประคับประคองจ�ำนวน 10,755 คน/ 43,442 ครั้ง รายงานการสรางหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประจำ�ปีงบประมาณ 2559 | 9
  • 11. บทสรุปผู้บริหาร | รายงานการสรางหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประจำ�ปีงบประมาณ 255910 • การเข้าถึงยาที่มีราคาสูง รวมถึงยาก�ำพร้าและ ยาต้านพิษ ได้มีการพัฒนาระบบการจัดการ กระจายยาทั่วประเทศโดยบริการผ่านระบบ VMI ร่วมกับองค์การเภสัชกรรม พบว่า มี ผู้ป่วยเข้าถึงยาบัญชี จ(2) จ�ำนวน34,434 คน ยาก�ำพร้าและยาต้านพิษ(19 รายการ) จ�ำนวน 7,141 คน และยาที่ใช้สิทธิ Compulsory Lisensing(Clopidogrel: ยาละลายลิ่มเลือด) จ�ำนวน 232,052 คน • การใช้บริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ให้กับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ จ�ำนวน2,369,796 คน • มีผู้พิการลงทะเบียนสะสมจ�ำนวน 1,183,474 คน ได้รับการสนับสนุนอุปกรณ์เครื่องช่วย คนพิการ จ�ำนวน32,997 คน/34,670 ชิ้น ใช้ บริการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ จ�ำนวน 264,008 คน/ 764,438 ครั้ง ผู้สูงอายุ และผู้ป่วยที่มีความจ�ำเป็นได้รับการฟื้นฟู สมรรถภาพ 332,635 คน/ 982,114 ครั้ง และ 424,117 คน/ 1,234,396 ครั้ง ตาม ล�ำดับ และคนพิการทางการเห็นได้รับการฝึก ทักษะการท�ำความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อม และการเคลื่อนไหว(Orientation&Mobility) จ�ำนวน 2,399 คน • การใช้บริการแพทย์แผนไทย มีผู้รับบริการ แผนไทย ประเภทบริการ นวด ประคบ อบ สมุนไพร จ�ำนวน1,713,769 คน/4,217,406 ครั้ง บริการฟื้นฟูสุขภาพมารดาหลังคลอด จ�ำนวน35,855 คน/133,594 ครั้ง บริการยา สมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ จ�ำนวน 3,067,295 คน/ 4,826,880 ครั้ง 3.2 บริการที่ของบประมาณเพื่อดูแลเฉพาะ • ผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ ทราบสถานะ การติดเชื้อเอชไอวี จ�ำนวน 270,993 คน (ร้อยละ 94.52 เทียบกับการคาดประมาณ) ได้รับยาต้านไวรัส จ�ำนวน 234,834 คน (ร้อยละ 86.66 เทียบกับผู้ที่ทราบสถานะ การติดเชื้อ) ผลการตรวจระดับไวรัสน้อยกว่า 1000 copies/ml หรือสามารถกดไวรัสลงได้ (Suppressed) จ�ำนวน 172,095 คน (ร้อยละ 73.28 เทียบกับผู้ที่ได้รับยาต้านไวรัส) • ผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง เข้ารับบริการบ�ำบัดทดแทน ไต จ�ำนวน 45,629 คน โดยใช้บริการล้างไต ผ่านช่องท้องอย่างต่อเนื่อง (CAPD) จ�ำนวน 24,056 คน บริการฟอกเลือดด้วยเครื่องไต เทียม (HD) จ�ำนวน 15,248 คน สนับสนุน เฉพาะค่ายากระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดง (EPO) จ�ำนวน 4,626 คน บริการผ่าตัดปลูก ถ่ายไต (KT) จ�ำนวน 172 คน และรับยากด ภูมิคุ้มกันหลังการปลูกถ่ายไต (KTI) จ�ำนวน 1,527 คน • ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ได้ รับบริการตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อน เพื่อลดหรือชะลอการเกิดโรคแทรกซ้อน (SecondaryPrevention) จ�ำนวน3,603,840 คน โดยเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานและเบาหวาน ที่มีโรคความดันโลหิตสูงร่วมด้วย จ�ำนวน 1,702,378 คน และผู้ป่วยโรคความดันโลหิต สูง จ�ำนวน 1,901,462 คน
  • 12. รายงานการสรางหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประจำ�ปีงบประมาณ 2559 | 11 • ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง มีการบูรณาการใน การจัดระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข ส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง กับทุกภาคส่วน เพื่อรวมพลังขับเคลื่อน “สังคมผู้สูงวัย เข้าใจ เข้าถึง พึ่งได้” ตั้งแต่การประเมินความต้องการ บริการสาธารณสุขของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง พร้อมทั้งจัดท�ำแผนการดูแลรายบุคคล(Care plan) และจัดหาบริการด้านสาธารณสุขใน การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงได้ จ�ำนวน 80,826 คน (เป้าหมาย 100,000 คน) โดยมี หน่วยบริการปฐมภูมิและกองทุนหลักประกัน สุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่เข้าร่วม ด�ำเนินการ 889 แห่ง และ 1,752 แห่ง ตาม ล�ำดับ 4. คุณภาพบริการ ส�ำนักงานหลักประกันสุขภาพ แห่งชาติร่วมมือกับสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (สรพ.) ส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพมาตรฐาน บริการอย่างต่อเนื่องโดยใช้กระบวนการรับรองคุณภาพ โรงพยาบาล (Hospital Accreditation: HA) พบว่า มีหน่วยบริการที่ขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยบริการรับการส่งต่อ ได้รับการรับรองคุณภาพในขั้นต่างๆ ตามมาตรฐาน HA จ�ำนวน 992 แห่ง (ร้อยละ 93.58 ของหน่วยบริการรับส่ง ต่อที่ขอรับการประเมินเพื่อรับรองคุณภาพ 1,060 แห่ง) โดยได้รับการรับรองคุณภาพ HA จ�ำนวน 585 แห่ง (ร้อยละ 55.19) รับรองคุณภาพขั้น 2 จ�ำนวน 396 แห่ง (ร้อยละ37.36) และรับรองคุณภาพขั้น1 จ�ำนวน11 แห่ง (ร้อยละ 1.04) 5. การคุ้มครองสิทธิ 5.1 การให้บริการคุ้มครองสิทธิ โดยมีประชาชน และผู้ให้บริการเข้ามาสอบถามข้อมูล ร้องเรียน ร้องทุกข์ และประสานส่งต่อผู้ป่วย ผ่านช่องทาง โทรศัพท์สายด่วน 1330 จดหมาย โทรสาร อีเมลล์ หรือมาติดต่อด้วยตนเอง มีจ�ำนวนทั้งสิ้น 579,338 เรื่อง โดยเป็น 1) การสอบถาม ข้อมูล จ�ำนวน 560,293 เรื่อง เป็นการสอบถามโดย ประชาชน526,092 เรื่อง สอบถามโดยผู้ให้บริการ34,201 เรื่อง2) รับเรื่องร้องเรียน จ�ำนวน4,405 เรื่อง3) รับเรื่อง ร้องทุกข์ จ�ำนวน 11,035 เรื่อง และ 4) ประสานส่งต่อ 3,605 คน 5.2 การช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ผู้รับบริการ กรณี ได้รับความเสียหายจากการรักษาพยาบาล โดยได้รับการ ชดเชย 885 คน เงินชดเชยทั้งสิ้น 212.952 ล้านบาท 5.3 การมีส่วนร่วมของเครือข่ายองค์กรภาค ประชาชน ในการสนับสนุนการจัดตั้งเครือข่ายงาน คุ้มครองสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยมี ศูนย์บริการหลักประกันสุขภาพในหน่วยบริการ จ�ำนวน 818 แห่ง ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพภาค ประชาชน จ�ำนวน 146 แห่ง ใน 77 จังหวัดทั่วประเทศ และหน่วยรับเรื่องร้องเรียนที่เป็นอิสระจากผู้ถูกร้องเรียน ตามมาตรา 50 (5) จ�ำนวน 115 แห่ง ใน 76 จังหวัด
  • 13. บทสรุปผู้บริหาร | รายงานการสรางหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประจำ�ปีงบประมาณ 255912 6. การมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบหลักประกัน สุขภาพแห่งชาติ มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (องค์การ บริหารส่วนต�ำบลและเทศบาล) เข้าร่วมกองทุน หลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น จ�ำนวน 7,755 แห่ง (ร้อยละ 99.73 จากทั้งหมด 7,776 แห่ง) มีเงินสมทบ กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นจากองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น 1,214 ล้านบาท ส�ำหรับด�ำเนิน กิจกรรมสุขภาพในกลุ่มประชาชนที่มีภาวะเสี่ยง กลุ่มเด็ก วัยเรียนและเยาวชน กลุ่มผู้สูงอายุ และกลุ่มวัยท�ำงาน 7. ความพึงพอใจ ผลส�ำรวจความพึงพอใจต่อระบบ หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พบว่า ประชาชนสิทธิหลัก ประกันสุขภาพแห่งชาติที่เคยได้รับบริการ มีความพึงพอใจ ร้อยละ 89.50 (คะแนนความพึงพอใจเฉลี่ย 8.95) ใน ขณะที่ความพึงพอใจต่อการด�ำเนินงานหลักประกันสุขภาพ แห่งชาติของผู้ให้บริการอยู่ที่ร้อยละ70.00(คะแนนความ พึงพอใจเฉลี่ย 7.00) ส่วนความพึงพอใจขององค์กรภาคี เท่ากับ ร้อยละ 79.60 (คะแนนความพึงพอใจเฉลี่ย 7.96) 8. ปัญหา อุปสรรค และความท้าทายในการด�ำเนิน งานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 8.1 สถานการณ์ปัญหา และอุปสรรค • มีความกดดันระหว่างหน่วยบริหารงบประมาณ และหน่วยให้บริการ จากการบริหารกองทุน ภายใต้ข้อจ�ำกัดด้านงบประมาณ ในขณะที่ ประชาชนยังคงได้รับบริการที่จ�ำเป็น และไม่ กระทบต่อคุณภาพการบริการ • ความต้องการบริการสุขภาพที่เพิ่มสูงขึ้น จาก โครงสร้างประชากรผู้สูงอายุ • ปัญหาสุขภาพที่เป็นผลจากพฤติกรรมสุขภาพ มีแนวโน้มสูงขึ้น • การตรวจสอบของหน่วยตรวจสอบต่างๆ เช่น คณะกรรมการติดตามและตรวจสอบการใช้ จ่ายงบประมาณภาครัฐ(คตร.) ส�ำนักงานการ ตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ส่งผลต่อระบบ บริหารจัดการและการท�ำความเข้าใจ 8.2 ความท้าทาย • การแสวงหาแหล่งทุนอื่น เพื่อความยั่งยืนของ ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ • การบูรณาการระบบประกันสุขภาพภาครัฐเพื่อ เกิดความเป็นธรรมในการเข้าถึงบริการสุขภาพ ตามที่จ�ำเป็นของประชาชนทุกสิทธิ • การสร้างความเข้าใจระหว่างหน่วยบริหาร งบประมาณ หน่วยให้บริการ ผู้มีส่วนได้เสีย • การเพิ่มการเข้าถึงบริการของกลุ่มเป้าหมาย เฉพาะ เช่น กลุ่มเปราะบาง/ด้อยโอกาสต่างๆ หรือโรคที่ป้องกันได้และเป็นปัญหาส�ำคัญ
  • 14. ผลงานสำ�คัญประจำ�ปีงบประมาณ 2559 รายงานการสรางหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประจำ�ปีงบประมาณ 2559 | 13 ช่วงปี2557-2558 คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพ แห่งชาติ ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบการดูแล ระยะยาวส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง เพื่อวางยุทธ- ศาสตร์การดูแลระยะยาวส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง พ.ศ. 2557-2561 และวางระบบการบริหารจัดการ ได้แก่ การพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการคัดกรองและประเมิน ผู้สูงอายุ การพัฒนาชุดกิจกรรมบริการ การพัฒนา ศักยภาพบุคลากรส�ำหรับดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในชุมชน (ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุ(Caregiver) ผู้จัดการระบบการ ดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขในชุมชน(Caremanager)) การพัฒนากฎระเบียบ มาตรฐานและการบริหารจัดการ และน�ำร่องพัฒนาระบบบริการดูแลระยะยาวในครอบครัว และชุมชน ใน 9 จังหวัด 11 พื้นที่ เพื่อเป็นการขับเคลื่อน การพัฒนาระบบการดูแลระยะยาวส�ำหรับผู้สูงอายุ โดย เน้นการบูรณาการบริการด้านสาธารณสุขและบริการด้าน สังคม ในระดับพื้นที่ (ต�ำบล/หมู่บ้าน/ครอบครัว) และ สนับสนุนการมีส่วนร่วมโดยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เป็นเจ้าภาพหลักในการบริหารระบบภายใต้การ สนับสนุนของเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิในพื้นที่ ในปีงบประมาณ 2559 มีการลงนามความร่วมมือ ระหว่างกระทรวงสาธารณสุข ส�ำนักงานหลักประกัน สุขภาพแห่งชาติ สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย และสมาคมองค์การบริหารส่วนต�ำบลแห่งประเทศไทย เพื่อร่วมขับเคลื่อนการด�ำเนินงาน “รวมพลังขับเคลื่อน สังคมผู้สูงวัย เข้าใจ เข้าถึง พึ่งได้” มีการแต่งตั้ง คณะท�ำงานสนับสนุนระบบการดูแลระยะยาวส�ำหรับ ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง พัฒนาชุดสิทธิประโยชน์และ อัตราการชดเชยค่าบริการด้านสาธารณสุข ออกประกาศ คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 เรื่องการก�ำหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด�ำเนินงานและบริหารจัดการ กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ มี ผลตั้งแต่ 4 มกราคม 2559 โดยองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น ร่วมกับส�ำนักงานหลักประกันสุขภาพเขตทั้ง 13 เขต คัดเลือกพื้นที่เป้าหมายทั่วประเทศ ที่มีความพร้อม ด�ำเนินการหรือเคยเป็นพื้นที่น�ำร่องในการด�ำเนินการดูแล ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง หลังจากทีมหมอครอบครัว ท�ำการ ประเมินผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงตามแบบประเมินความ สามารถในการด�ำเนินชีวิตประจ�ำวันตาม Barthel ADL index ตามความต้องการการบริการด้านสาธารสุข ร่วมกับ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจ�ำนวน 1,752 แห่ง จัดท�ำ แผนการดูแลรายบุคคล (Care plan) และจัดหาบริการ ด้านสาธารณสุขให้กับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ปีงบ- ประมาณ 2559 จ�ำนวน 80,826 คน ซึ่งเป็นกลุ่มติดบ้าน 64,660 คน กลุ่มติดเตียง 16,166 คน (เป้าหมายรวม 100,000 คน) วงเงินที่ใช้ส�ำหรับจัดหาบริการจ�ำนวน 404.130 ล้านบาท โดยมีหน่วยบริการปฐมภูมิในพื้นที่ ให้การดูแลด้านสาธารณสุข จ�ำนวน 889 แห่ง (หน่วย บริการจะได้รับงบประมาณแห่งละ 100,000 บาท รวม จ�ำนวน 88.9 ล้านบาท ส�ำหรับพัฒนาบริการและวิชาการ นอกเหนือจากอัตราค่าชดเชยบริการ) 1. การสนับสนุนการพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง
  • 15. | รายงานการสรางหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประจำ�ปีงบประมาณ 255914 ผลงานสำ�คัญประจำ�ปีงบประมาณ 2559 2. การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ ด้านการเงินการคลัง ก�ำลังคน และด้านข้อมูลสุขภาพเพื่อสนับสนุนการปฏิรูประบบสาธารณสุข เพื่อให้การจ่ายเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ของหน่วยบริการสังกัดส�ำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และมีส่วนร่วม กระทรวง สาธารณสุขมีค�ำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการก�ำหนดแนวทาง การใช้จ่ายเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติของ หน่วยบริการสังกัดส�ำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข ระดับ ประเทศ (คณะกรรมการฯ 7x7) คณะท�ำงานก�ำหนด แนวทางการใช้จ่ายเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ของหน่วยบริการสังกัดส�ำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข ระดับเขต(คณะท�ำงานฯ5x5) และคณะกรรมการติดตาม และประเมินผลการปรับปรุงแนวทางการบริหารกองทุน หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อติดตามความก้าวหน้า และความส�ำเร็จการท�ำงานร่วมกัน ใน 5 ประเด็น คือ กลไกการท�ำงาน การเงินการคลัง การจัดบริการร่วมกัน การจัดการข้อมูลร่วมกัน และการท�ำให้ประชาชนได้รับ บริการที่มีคุณภาพ โดยได้ประกาศแนวทางการใช้จ่ายเงิน กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติของหน่วยบริการสังกัด ส�ำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข ในภาพรวมและระดับเขต ส�ำหรับปีงบประมาณ 2558 (การแก้ไขปัญหาหนี้คงค้าง) ปีงบประมาณ 2559 วางแนวทางการจัดสรรรายรับขั้นต�่ำ ส�ำหรับการบริการผู้ป่วยนอก (OP), การบริการผู้ป่วยใน (IP) และบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค (PP) เกลี่ยงบสิทธิอื่นๆ (PP-non UC) การบริหารการจ่ายโดย ก�ำหนด Base rate ร่วมกันส�ำหรับบริการ IP และใช้ระบบ เหมาจ่ายส�ำหรับบริการOP,PP และพิจารณาเงื่อนไขการ รับขั้นต�่ำของหน่วยบริการ รวมถึงการปรับเกลี่ยค่าตอบแทน ภายใต้วงเงินระดับเขต และวงเงินส�ำหรับหน่วยบริการที่ ให้บริการประชาชนในพื้นที่กันดาร พื้นที่เสี่ยงภัยและพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (Hardship) และจัดท�ำข้อเสนอ การใช้จ่ายเงินกองทุน ปีงบประมาณ 2560 โดยจ�ำลอง ข้อมูลเพื่อจัดท�ำข้อเสนอการจัดสรรเหมาจ่ายรายหัว การ จัดท�ำรายละเอียดหลักเกณฑ์การบริหารกองทุนหลักประกัน สุขภาพแห่งชาติ การพัฒนาระบบการรวบรวมข้อมูล เพื่อ ใช้จัดท�ำแนวทางการบริหารกองทุนฯ และการใช้ข้อมูล ร่วมกันในระดับประเทศและระดับเขต การพัฒนาระบบ บริการสาธารณสุข ส�ำหรับผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่ง ชาติ ได้แก่ พิจารณาประเภทและขอบเขตบริการสร้าง เสริมสุขภาพและป้องกันโรค(PP) โดยครอบคลุมสิทธิอื่น (Non-UC) การบูรณาการงานServiceplan เพื่อปรับปรุง ระบบบริการ และการจัดระบบบริการที่มีปัญหาเรื่องการ เข้าถึงและคุณภาพบริการ (การผ่าตัดต้อกระจก เปลี่ยน ข้อเข่า การเปลี่ยนเลนส์ตา) เป็นต้น
  • 16. สารจากประธานกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 2 สารจากประธานกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุข 4 สารจากเลขาธิการส�ำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 6 บทสรุปผู้บริหาร 8 ผลงานส�ำคัญประจ�ำปีงบประมาณ 2559 13 ส่วนที่ 1 ผลการด�ำเนินงานการสร้าง 23 หลักประกันสุขภาพแห่งชาติแก่ประชาชนไทย 1. กรอบแนวคิดการสร้างระบบหลักประกันสุขภาพ 24 2. การคลังสุขภาพ และงบประมาณการสร้างหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 28 2.1. การคลังสุขภาพ 28 2.2. งบประมาณการสร้างหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 29 2.3. ผลการเบิกจ่ายงบกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 32 3. การเพิ่มความเป็นธรรมในการเข้าถึงบริการสุขภาพ และภาระรายจ่ายสุขภาพของครัวเรือน 33 3.1. การเพิ่มความเป็นธรรมในการเข้าถึงบริการสุขภาพ 33 3.2. ภาระรายจ่ายสุขภาพของครัวเรือน 37 4. หน่วยบริการสุขภาพ และคุณภาพของหน่วยบริการ 39 4.1. หน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 39 4.2. คุณภาพหน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 40 5. การเข้าถึงบริการสุขภาพ 44 5.1. บริการด้านการแพทย์และสาธารณสุขส�ำหรับผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 44 5.2. การประเมินการเข้าถึงบริการ ประสิทธิภาพ คุณภาพ และผลลัพธ์บริการ 49 5.2.1 การเข้าถึงบริการ 49 5.2.2 การเข้าถึงบริการที่จ�ำเป็น 51 5.2.3 ประสิทธิภาพการจัดบริการ 67 5.2.4 คุณภาพ และผลลัพธ์บริการภาพรวม 71 6. การคุ้มครองสิทธิ การมีส่วนร่วมจากท้องถิ่น/ภาคีเครือข่าย และความพึงพอใจ 76 6.1. การคุ้มครองสิทธิ 76 6.2. การมีส่วนร่วม 83 6.3. ความพึงพอใจของผู้รับบริการและผู้ให้บริการ 85 สารบัญ
  • 17. สารบัญ ส่วนที่ 2 การด�ำเนินงานของส�ำนักงาน 87 หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 1. ลักษณะองค์กร ที่ตั้ง โครงสร้างการบริหาร และแผนยุทธศาสตร์ 88 2. การบริหารงบกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 94 และงบบริหารจัดการส�ำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 3. การประเมินผลการด�ำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 106 ประจ�ำปีงบประมาณ 2559 4. ปัญหาอุปสรรค และความท้าทาย 108 ส่วนที่ 3 ผลการด�ำเนินงานของคณะกรรมการ 111 หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และคณะกรรมการควบคุมคุณภาพ และมาตรฐานบริการสาธารณสุข 1. รายนามคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 112 2. รายนามคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุข 114 3. ผลการด�ำเนินงานคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 116 4. ผลการด�ำเนินงานคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุข 127 ภาคผนวก 139
  • 18. แผนภูมิที่ 1 มิติของการขยายระบบประกันสุขภาพ 24 แผนภูมิที่ 2 ความสมดุลระหว่าง 4 มิติของสมรรถนะระบบบริการสุขภาพ 25 แผนภูมิที่ 3 ความสัมพันธ์และบทบาทของระบบประกันสุขภาพ กับผู้ให้บริการและประชาชน 26 แผนภูมิที่ 4 กรอบแนวคิดการน�ำเสนอผลการด�ำเนินงานสร้างหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 27 แผนภูมิที่ 5 รายจ่ายสุขภาพของประชากรไทย ปี พ.ศ. 2537-2556 28 แผนภูมิที่ 6 เปรียบเทียบรายจ่ายสุขภาพของประเทศระหว่างภาครัฐและเอกชน 29 ปี พ.ศ. 2537-2556 แผนภูมิที่ 7 เปรียบเทียบงบประมาณหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2546-2559 29 แผนภูมิที่ 8 งบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่ได้รับ ปีงบประมาณ 2546-2559 30 แผนภูมิที่ 9 เปรียบเทียบสัดส่วนประชากรสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สิทธิประกันสังคม 35 และสิทธิสวัสดิการข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ และสิทธิอื่นๆ จ�ำแนกตามเพศ และอายุ ปีงบประมาณ 2559 แผนภูมิที่ 10 อัตราการใช้สิทธิของผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เมื่อมีการใช้บริการ 36 แบบผู้ป่วยนอก และผู้ป่วยใน ปี พ.ศ. 2546-2558 แผนภูมิที่ 11 เหตุผลที่ผู้มีสิทธิ ไม่ใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เมื่อเข้ารับบริการ 36 ในหน่วยบริการ จ�ำแนกตามประเภทของการเข้ารับบริการสุขภาพ ปี พ.ศ. 2558 แผนภูมิที่ 12 พฤติกรรมการรับบริการ/ดูแลสุขภาพเมื่อเจ็บป่วย ของผู้มีสิทธิ UCS ปี พ.ศ.2558 36 (กรณีไม่ได้นอนรักษาในโรงพยาบาล) แผนภูมิที่ 13 ร้อยละของครัวเรือนที่เกิดวิกฤติทางการเงินจากการจ่ายค่ารักษาพยาบาล 38 (Catastrophic health expenditure) ปี พ.ศ. 2540-2558 แผนภูมิที่ 14 ร้อยละครัวเรือนที่ต้องกลายเป็นครัวเรือนยากจนภายหลังจากการจ่าย 38 ค่ารักษาพยาบาล (Health impoverishment) ปี พ.ศ. 2540-2558 แผนภูมิที่ 15 ร้อยละของหน่วยบริการรับส่งต่อที่ได้รับการรับรองคุณภาพ 40 จ�ำแนกตามขั้นการรับรองคุณภาพตามมาตรฐานโรงพยาบาล (HA) ปีงบประมาณ 2546-2559 แผนภูมิที่ 16 ร้อยละของหน่วยบริการรับส่งต่อที่ได้รับการรับรองคุณภาพ 41 จ�ำแนกตามขั้นการรับรองคุณภาพตามมาตรฐานโรงพยาบาล (HA) และสปสช.เขต ปีงบประมาณ 2559 แผนภูมิที่ 17 ผลการตรวจประเมินหน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 42 จ�ำแนกตามประเภทและสังกัดของหน่วยบริการ ปีงบประมาณ 2559 สารบัญแผนภูมิ
  • 19. แผนภูมิที่ 18 ผลการตรวจประเมินหน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 43 จ�ำแนกตามประเภทของหน่วยบริการและสปสช.เขต ปีงบประมาณ 2559 แผนภูมิที่ 19 จ�ำนวนและอัตราการใช้บริการผู้ป่วยนอก 49 ของผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2549-2559 แผนภูมิที่ 20 สัดส่วนการใช้บริการผู้ป่วยนอก จ�ำแนกตามประเภทหน่วยบริการ 50 ปีงบประมาณ 2549-2559 แผนภูมิที่ 21 จ�ำนวนและอัตราการใช้บริการผู้ป่วยใน 50 ของผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2549-2559 แผนภูมิที่ 22 สัดส่วนการใช้บริการผู้ป่วยใน จ�ำแนกตามประเภทหน่วยบริการ 51 ปีงบประมาณ 2549-2559 แผนภูมิที่ 23 อัตราการผ่าตัดหัวใจแบบเปิด การท�ำหัตถการผ่านสายสวนหัวใจ (PCI) 52 และการได้รับยาละลายลิ่มเลือด สิทธิ UCS อายุ 15 ปีขึ้นไป ปีงบประมาณ 2548-2559 แผนภูมิที่ 24 อัตราการรับไว้รักษาในโรงพยาบาล อัตราการได้รับยาละลายลิ่มเลือด 53 และอัตราป่วยตายภายใน 30 วันหลังจากรับไว้รักษาในโรงพยาบาล ด้วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน สิทธิ UCS อายุ 15 ปีขึ้นไป ปีงบประมาณ 2548-2559 แผนภูมิที่ 25 การรับบริการควบคุมและป้องกันความรุนแรงของโรค (Secondary prevention) 54 ในผู้ป่วยโรคเบาหวานและ/หรือความดันโลหิตสูงร่วมด้วย ปีงบประมาณ 2559 แผนภูมิที่ 26 การรับบริการควบคุมป้องกันความรุนแรงของโรค (Secondary prevention) 54 ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ปีงบประมาณ 2559 แผนภูมิที่ 27 อัตราการกลับมารักษาซ�้ำที่แผนกผู้ป่วยใน (Re-admission rate) 55 ภายใน 28 วันหลังการจ�ำหน่าย ด้วยโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง สิทธิ UCS อายุ 15 ปีขึ้นไป ปีงบประมาณ 2554-2559 แผนภูมิที่ 28 การรับบริการผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ ปีงบประมาณ 2559 56 แผนภูมิที่ 29 สัดส่วนของผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์รายใหม่สิทธิ UCS ที่มีระดับ CD4 56 ครั้งแรก จ�ำแนกตามระดับภูมิคุ้มกัน CD4 (cell/mm3) ปีงบประมาณ 2552-2559 แผนภูมิที่ 30 การรับบริการผ่าตัดต้อกระจก จ�ำแนกตามระดับสายตา 59 ปีงบประมาณ 2556 – 2559 แผนภูมิที่ 31 คนพิการที่ลงทะเบียนสะสมในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 62 ปีงบประมาณ 2548 – 2559 สารบัญแผนภูมิ
  • 20. สารบัญแผนภูมิ แผนภูมิที่ 32 สัดส่วนคนพิการ จ�ำแนกตามประเภทความพิการ ปีงบประมาณ 2559 62 แผนภูมิที่ 33 วันนอนเฉลี่ยผู้ป่วยใน จ�ำแนกตามประเภทหน่วยบริการ 68 ปีงบประมาณ 2549-2559 แผนภูมิที่ 34 ค่าน�้ำหนักสัมพัทธ์เฉลี่ยผู้ป่วยในที่ปรับแล้ว (Adj.CMI) 69 จ�ำแนกตามประเภทหน่วยบริการ ปีงบประมาณ 2549 -2559 แผนภูมิที่ 35 สัดส่วนผู้ป่วยในที่มีค่าน�้ำหนักสัมพัทธ์ (RW) น้อยกว่า 0.5 70 จ�ำแนกตามประเภทหน่วยบริการ ปีงบประมาณ 2549-2559 แผนภูมิที่ 36 อัตราการผ่าท้องคลอด สิทธิ UCS จ�ำแนกตามประเภทหน่วยบริการ 71 ปีงบประมาณ 2549-2559 แผนภูมิที่ 37 อัตราการกลับมารักษาซ�้ำที่แผนกผู้ป่วยใน (Re-admission rate) 72 ภายใน 28 วันหลังการจ�ำหน่าย จ�ำแนกตามประเภทหน่วยบริการ ปีงบประมาณ 2549-2559 แผนภูมิที่ 38 อัตราป่วยตายภายใน 30 วันหลังจากรับไว้รักษาในโรงพยาบาล 73 ของผู้ป่วยโรคหัวใจที่ได้รับหัตถการผ่าตัดหัวใจแบบเปิด และผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดที่ท�ำหัตถการผ่านสายสวนหัวใจ (PCI) สิทธิ UC ปีงบประมาณ 2549-2559 แผนภูมิที่ 39 อัตราการรับไว้รักษาในโรงพยาบาลของผู้ป่วยกลุ่มโรคที่ควรรักษาแบบผู้ป่วยนอก 74 (Ambulatory care sensitivity condition: ACSC) สิทธิ UCS ปีงบประมาณ 2549- 2559 แผนภูมิที่ 40 อัตราป่วยตายของผู้ป่วยในสิทธิ UCS จ�ำแนกตามกลุ่มอายุ 75 ปีงบประมาณ 2549-2559 แผนภูมิที่ 41 การให้บริการรับเรื่องร้องเรียน จ�ำแนกตามประเด็นการร้องเรียน 79 ปีงบประมาณ 2555-2559 แผนภูมิที่ 42 จ�ำนวนและร้อยละองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อบต.และเทศบาล) 83 ที่เข้าร่วมกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น ปีงบประมาณ 2549-2559 แผนภูมิที่ 43 จ�ำนวนเงินสมทบเข้ากองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น 84 จ�ำแนกตามแหล่งงบประมาณ ปีงบประมาณ 2549-2559 แผนภูมิที่ 44 สัดส่วนงบกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น 84 จ�ำแนกตามกลุ่มเป้าหมายที่ด�ำเนินการ ปีงบประมาณ 2559 แผนภูมิที่ 45 ร้อยละและคะแนนความพึงพอใจของประชาชนผู้เคยใช้บริการสิทธิ 86 หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และผู้ให้บริการต่อการด�ำเนินงาน หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2546-2559
  • 21. สารบัญแผนภูมิ แผนภูมิที่ 46 ความพึงพอใจของประชาชน และผู้ให้บริการ ปีงบประมาณ 2546-2559 120 แผนภูมิที่ 47 จ�ำนวนหน่วยงานรัฐ จ�ำแนกตามประเภทหน่วยบริการ ปี 2559 121 แผนภูมิที่ 48 ผลการรับฟังความคิดเห็นทั่วไปจากผู้ให้บริการและผู้รับบริการ 125 ระดับประเทศและระดับเขต ปีงบประมาณ 2559 แผนภูมิที่ 49 จ�ำนวนค�ำร้องขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้น จ�ำแนกตามแผนกที่เข้ารับบริการ 136 ปีงบประมาณ 2559 แผนภูมิที่ 50 จ�ำนวนค�ำร้องขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้น จ�ำแนกตามประเภทหน่วยบริการ 137 ปีงบประมาณ 2559
  • 22. สารบัญตาราง ตารางที่ 1 งบกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จ�ำแนกตามรายการ 31 ปีงบประมาณ 2555-2559 ตารางที่ 2 อัตราเหมาจ่ายรายหัวงบการบริการทางการแพทย์ จ�ำแนกตามประเภทบริการ 32 ปีงบประมาณ 2559 ตารางที่ 3 การเบิกจ่ายงบกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2559 32 ตารางที่ 4 จ�ำนวนประชากรที่ลงทะเบียนสิทธิ จ�ำแนกตามประเภทสิทธิ 34 ปีงบประมาณ 2555-2559 ตารางที่ 5 จ�ำนวนและร้อยละหน่วยบริการที่ขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยบริการ 39 ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จ�ำแนกตามสังกัดหน่วยบริการ ปีงบประมาณ 2559 ตารางที่ 6 ผลการตรวจประเมินหน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 42 จ�ำแนกตามประเภทการขึ้นทะเบียน ปีงบประมาณ 2559 ตารางที่ 7 แผน/ผลการด�ำเนินงานการบริการทางการแพทย์เหมาจ่ายรายหัว 44 ปีงบประมาณ 2559 ตารางที่ 8 การรับบริการบ�ำบัดทดแทนไต ในผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง 57 ปีงบประมาณ 2556 –2559 ตารางที่ 9 ร้อยละการรับบริการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค จ�ำแนกตามกลุ่มวัย 60 ปีงบประมาณ 2558-2559 ตารางที่ 10 การรับอุปกรณ์เครื่องช่วยคนพิการ จ�ำแนกตามอุปกรณ์ที่ได้รับ 62 ปีงบประมาณ 2557-2559 ตารางที่ 11 การรับบริการฟื้นฟูสมรรถภาพ จ�ำแนกตามประเภทผู้รับบริการ 63 ปีงบประมาณ 2557-2559 ตารางที่ 12 การรับบริการฟื้นฟูสมรรถภาพ จ�ำแนกตามประเภทบริการฟื้นฟูสมรรถภาพ 63 ปีงบประมาณ 2557-2559 ตารางที่ 13 การรับบริการแพทย์แผนไทย ปีงบประมาณ 2555-2559 64 ตารางที่ 14 การรับยา จ (2) จ�ำแนกตามรายการยา ปีงบประมาณ 2555-2559 65 ตารางที่ 15 การรับยาก�ำพร้าและยาต้านพิษ (Orphan and Antidote drug) 66 ปีงบประมาณ 2556-2559 ตารางที่ 16 มูลค่ายาที่ภาครัฐประหยัดได้ ปีงบประมาณ 2553-2559 67 ตารางที่ 17 การให้บริการสอบถามข้อมูล รับเรื่องร้องเรียน เรื่องร้องทุกข์ และประสานส่งต่อ 76 ปีงบประมาณ 2555-2559