SlideShare a Scribd company logo
1 of 112
Download to read offline
ข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี:
การทบทวนและวิเคราะห์
Food-Based Dietary Guidelines: Review and Analysis
บรรณาธิการ ประไพศรี ศิริจักรวาล, อุมาพร สุทัศน์วรวุฒิ
พิมพ์ครั้งแรก กันยายน 2555
จำ�นวน 1,000 เล่ม			
สนับสนุนโดย  สำ�นักงานคณะกรรมการอาหารและยา
		 ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการอาหารแห่งชาติ
 สมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทย
		 ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ
		 สยามบรมราชกุมารี
 สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล
พิมพ์ที่ โรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก
ในพระบรมราชูปถัมภ์
ก
คำ�นำ�
ข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี (Food-Based
Dietary Guidelines, FBDGs) เป็นองค์ประกอบหรือเครื่องมือที่
สำ�คัญในการดำ�เนินงานตามนโยบายด้านโภชนาการของประเทศ เพื่อ
ให้ประชาชนมีการบริโภคอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ในปริมาณที่เหมาะสม
เพื่อภาวะโภชนาการที่ดี สุขภาพแข็งแรง และป้องกันโรคที่มีสาเหตุ
เกี่ยวข้องกับอาหารและโภชนาการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ โรคขาดสาร
อาหาร และโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่กำ�ลังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำ�คัญ
ของประเทศไทย เช่น โรคอ้วน เบาหวาน ความดันเลือดสูง โรคหัวใจ
และหลอดเลือด เป็นต้น
ในประเทศไทย ได้มีการจัดทำ�ข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารเพื่อ
สุขภาพที่ดี ของคนไทยกลุ่มวัยต่างๆ คือ ทารก เด็กเล็ก เด็กอายุ
6 ปีขึ้นไป ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ รวมทั้งได้มีการจัดทำ�สัญลักษณ์ คือ
ธงโภชนาการ เพื่อการสื่อสารข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารเชิงปริมาณ
สำ�หรับเด็กอายุ 6 ปีขึ้นไป ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ นอกจากนี้ ในปัจจุบัน
กำ�ลังมีการจัดทำ�คำ�แนะนำ�การบริโภคอาหารสำ�หรับหญิงตั้งครรภ์
คณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์เพื่อสร้างความเชื่อมโยง
ด้านอาหารและโภชนาการสู่คุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งเป็นคณะกรรมการ
เฉพาะเรื่องที่แต่งตั้งโดยคณะกรรมการอาหารแห่งชาติ ได้ตระหนักถึง
ความสำ�คัญและประโยชน์ของ FBDGs ในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์
เพื่อสร้างความเชื่อมโยงฯ อย่างเป็นรูปธรรม จึงเห็นสมควรให้มีการ
รวบรวม ทบทวน และวิเคราะห์ FBDGs ของประเทศไทย ทั้งในส่วน
ของเนื้อหา การสื่อสาร การนำ�ไปปฏิบัติ และผลของการปฏิบัติตาม
ข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี: การทบทวนและวิเคราะห์
ข
FBDGs ต่อภาวะโภชนาการและสุขภาพ เพื่อนำ�ไปสู่การปรับปรุงเนื้อหา
ให้เป็นปัจจุบันมากยิ่งขึ้น มีการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ และมีการ
ประเมินผลอย่างเป็นระบบและสมํ่าเสมอ ทั้งนี้ คณะกรรมการขับเคลื่อน
ยุทธศาสตร์ฯ ได้มอบหมายให้สมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทย
ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
จัดตั้งคณะทำ�งานเพื่อดำ�เนินการรวบรวม ทบทวน และวิเคราะห์ FBDGs
รวมทั้งเสนอแนวทางการพัฒนาเพื่อขับเคลื่อนการนำ� FBDGs สู่การ
ปฏิบัติได้อย่างแท้จริงและยั่งยืน
หนังสือ “ข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี: การ
ทบทวนและวิเคราะห์” เล่มนี้ เป็นผลงานส่วนหนึ่งของคณะทำ�งานชุดนี้
และมีเนื้อหาครอบคลุมประเด็นต่าง ๆ โดยสังเขปที่เกี่ยวข้องกับการ
พัฒนา FBDGs ของประเทศไทยและการนำ� FBDGs ไปใช้ในโครงการ
และการดำ�เนินงานต่างๆ ส่วนรายงานฉบับเต็มกำ�ลังอยู่ในระหว่างการ
จัดทำ�
คณะผู้จัดทำ�และคณะทำ�งาน ขอขอบคุณ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ
นายแพทย์ไกรสิทธิ์ ตันติศิรินทร์ ที่ให้คำ�ปรึกษาและข้อแนะนำ�อันเป็น
ประโยชน์อย่างยิ่ง หวังว่าผู้อ่านจะได้รับประโยชน์จากหนังสือเล่มนี้ และ
สามารถนำ�ไปประยุกต์ในการปฏิบัติงานเพื่อส่งเสริมภาวะโภชนาการและ
คุณภาพชีวิตที่ดีของคนไทยสืบต่อไป
ประไพศรี ศิริจักรวาล
อุมาพร สุทัศน์วรวุฒิ
บรรณาธิการ
ข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี: การทบทวนและวิเคราะห์
ค
สารบัญ
หน้า
 บทนำ� 1
 ความสำ�คัญของข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี 3
 ปัจจัยสำ�คัญในการพัฒนาข้อแนะนำ�การบริโภคอาหาร 5
 การจัดทำ�ข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี 7
 ข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารของประเทศต่างๆ 15
 ข้อปฏิบัติการกินอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีของคนไทย 19
 ข้อปฏิบัติการกินอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี 21
ในเด็ก 6 ขวบถึงผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ
 ข้อปฏิบัติการให้อาหารเพื่อสุขภาพที่ดีในทารกและเด็กเล็ก 41
 คำ�แนะนำ�การบริโภคอาหารสำ�หรับหญิงตั้งครรภ์ 65
 ข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีในผู้สูงอายุ 75
 ข้อปฏิบัติการกินอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีของคนไทย: 77
ข้อเสนอแนะการปรับปรุงและความท้าทายในศตวรรษที่ 21
 สรุป 91
ข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี: การทบทวนและวิเคราะห์
ง ข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี: การทบทวนและวิเคราะห์
1
ข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี: การทบทวนและวิเคราะห์
บทนำ�
ข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี (Food-Based
Dietary Guidelines, FBDGs) คือ ข้อความที่เข้าใจง่ายในการแนะนำ�
การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีสำ�หรับบุคคลทั่วไป เป็นข้อแนะนำ�ที่
เน้นอาหารที่คนควรกิน โดยไม่ได้กล่าวถึงสารอาหาร ข้อแนะนำ�ควร
มีการกำ�หนดปริมาณอาหารพื้นฐานกลุ่มต่าง ๆ ที่ควรได้รับ เพื่อการ
วางแผนการจัดอาหารในแต่ละมื้อและตลอดวัน
ข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีของแต่ละประเทศควร
มีความเหมาะสมกับสถานการณ์ด้านโภชนาการและสุขภาพ ทรัพยากร
อาหารที่มีในท้องถิ่น ลักษณะประชากร และแบบแผนการบริโภคอาหาร
ของประชาชนในประเทศนั้นๆ
องค์การอนามัยโลกกำ�หนดลักษณะของข้อแนะนำ�การบริโภค
อาหารเพื่อสุขภาพที่ดีไว้ดังนี้ คือ ในการให้ความรู้พื้นฐานด้าน
โภชนาการ ให้มุ่งเน้นที่อาหารในแต่ละกลุ่ม เน้นการใช้สำ�หรับ
แต่ละบุคคลหรือประชาชนทั่วไป ใช้ภาษาที่ง่าย หลีกเลี่ยงศัพท์ทาง
วิทยาศาสตร์ให้มากที่สุด
2 ข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี: การทบทวนและวิเคราะห์
3
ข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี: การทบทวนและวิเคราะห์
ความสำ�คัญของข้อแนะนำ�การบริโภค
อาหารเพื่อสุขภาพที่ดี
การกำ�หนดข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารเพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพ
ที่ดี เป็นนโยบายของภาครัฐในประเทศต่างๆ ทั่วโลก ไม่ใช่เฉพาะเพื่อให้ได้
สารอาหารครบถ้วนเพื่อป้องกันภาวะขาดสารอาหารเพียงอย่างเดียว แต่
เพื่อรณรงค์ให้มีการบริโภคอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการเพื่อสุขภาพ
ที่ดีขึ้น และหลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารที่เพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะโรคไม่
ติดต่อเรื้อรัง (chronic non-communicable diseases) ด้วย ข้อแนะนำ�
ดังกล่าวเน้นการให้ข้อมูลเกี่ยวกับการบริโภคอาหารให้หลากหลาย
มีความสมดุลด้านการกระจายของพลังงานที่เหมาะสม และได้รับอาหาร
ในปริมาณที่เพียงพอ ไม่มากหรือน้อยเกินไป ทั้งนี้ที่มาของข้อแนะนำ�
การบริโภคอาหารมาจากข้อมูลด้านปัญหาสาธารณสุขของแต่ละประเทศ
โดยมีงานวิจัยสนับสนุนทางด้านวิทยาศาสตร์ และเน้นการแนะนำ�ใน
รูปแบบของอาหารที่ทำ�ให้เกิดความสมดุลของสารอาหาร ต้องคำ�นึงถึง
ความเป็นไปได้ในการปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม เข้ากับวิถีชีวิตของประชาชน
และมีความยืดหยุ่นในตัวเอง
ควรมีการประเมินการนำ�ข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ
ที่ดีไปใช้ รวมทั้งประเมินการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภค ตลอด
จนการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ด้านสุขภาพ และมีการจัดปรับข้อ
แนะนำ�ในเวลาที่เหมาะสม รูปแบบการนำ�เสนอข้อแนะนำ�การบริโภค
อาหารที่จะให้ได้ผลสำ�หรับประชาชนทั่วไป มักจะออกมาเป็นภาพที่
เข้าใจง่าย มีรูปร่างเป็นเอกลักษณ์ของประเทศนั้นๆ มีการแบ่งสัดส่วน
ของอาหารแต่ละกลุ่มตามปริมาณที่แนะนำ� อาจใช้ภาพอาหารจริงหรือ
ภาพที่เป็นสัญลักษณ์ และใช้สีเป็นสื่อได้อีกทางหนึ่ง
4 ข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี: การทบทวนและวิเคราะห์
ความพยายามที่จะนำ�เสนอข้อแนะนำ�หรือแนวทางการบริโภค
อาหารเพื่อสุขภาพที่ดีในรูปแบบของรูปภาพไม่ใช่เป็นเรื่องง่าย เพราะ
ต้องบรรจุข้อมูลเกี่ยวกับอาหาร โภชนาการ และสุขภาพ ซึ่งเป็นข้อมูลที่
มากและซับซ้อน ที่จะต้องสรุปลงในพื้นที่เล็กๆ ที่มีข้อความจำ�กัด ดังนั้น
ในแต่ละประเทศจึงมีความพยายามที่จะสื่อสารข้อมูลเหล่านี้ให้เข้าถึง
ประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้บรรลุถึงการมีภาวะโภชนาการ
และสุขภาพที่ดี ลดความเสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรังได้ตามเป้าหมาย
5
ข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี: การทบทวนและวิเคราะห์
ปัจจัยสำ�คัญในการพัฒนาข้อแนะนำ�
การบริโภคอาหาร
1. ข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีควรเป็นข้อความ
ที่เข้าใจง่าย เหมาะกับสถานการณ์ปัญหาสุขภาพที่ประชาชนให้ความ
สนใจ สามารถปฏิบัติตามข้อแนะนำ�ได้
2. ข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี ต้องหลีกเลี่ยง
การแนะนำ�เรื่องสารอาหารที่มีตัวเลขเข้ามาเกี่ยวข้อง
3. ข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี ต้องมีพื้นฐานมา
จากข้อมูลสุขภาพของประชาชนในประเทศ เช่น ข้อมูลการเกิดโรคไม่
ติดต่อเรื้อรัง เป็นต้น โดยการแนะนำ�การบริโภคอาหารต้องคำ�นึงถึง
ตัวสารอาหารที่เป็นต้นเหตุของความเสี่ยงของการเกิดโรค
4. ข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีของแต่ละประเทศ
เป็นข้อแนะนำ�ที่มีจุดประสงค์เพื่อลดปัญหาสุขภาพของประชาชนในประ
เทศนั้นๆ
นอกจากนั้น การจัดทำ�ข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่
ดี ต้องคำ�นึงถึงแบบแผนการบริโภคอาหารของประชาชน สามารถนำ�
ไปปฏิบัติได้โดยอาหารที่แนะนำ�นั้นมีอยู่ทั่วไป ราคาเหมาะสมประชาชน
ส่วนใหญ่สามารถเข้าถึงได้ มีส่วนที่ยืดหยุ่นได้เหมาะสำ�หรับวิถีชีวิต
สังคม เศรษฐฐานะ การเกษตรและสิ่งแวดล้อมต่างๆ ที่อาจมีผลต่อ
แบบแผนการบริโภคของประชาชน ทำ�ให้เข้าใจง่าย โดยการจัดกลุ่ม
อาหารในแบบที่คุ้นเคย รูปภาพประกอบชัดเจนและเข้าใจได้ง่าย เป็นที่
ยอมรับได้ ที่สำ�คัญต้องมีการทดสอบความเข้าใจก่อนนำ�ไปใช้ เหมาะกับ
วัฒนธรรมของสังคมนั้นๆ โดยกลุ่มอาหารที่เป็นทางเลือกต้องไม่เป็น
6 ข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี: การทบทวนและวิเคราะห์
อาหารต้องห้ามหรือขัดกับวัฒนธรรมการบริโภคหรือความเชื่อทาง
ศาสนา ควรแนะนำ�การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอย่างค่อยเป็น
ค่อยไป การแนะนำ�เรื่องอาหารควรเป็นทางบวก และให้มีความสุขกับ
การบริโภคอาหารอย่างมีคุณภาพเพื่อสุขภาพที่ดี
7
ข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี: การทบทวนและวิเคราะห์
การจัดทำ�ข้อแนะนำ�การบริโภคอาหาร
เพื่อสุขภาพที่ดี
องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and
Agriculture Organization, FAO) และองค์การอนามัยโลก (World Health
Organization, WHO) ได้จัดประชุมผู้เชี่ยวชาญเมื่อ พ.ศ. 2538 เพื่อ
กำ�หนดแนวทางในการจัดทำ�ข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี
เพื่อให้เป็นมาตรฐานการจัดทำ�สำ�หรับประเทศต่างๆ และได้ตีพิมพ์
รายงานนี้เมื่อปี พ.ศ. 2541 (WHO Technical Report Series
880, 1998) โดยแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกเป็นข้อแนะนำ�การพัฒนา
FBDGs ส่วนที่สองเป็นข้อแนะนำ�การนำ� FBDGs ไปใช้เพื่อปรับเปลี่ยน
พฤติกรรมการบริโภคและส่งเสริมภาวะโภชนาการ
ในการจัดทำ�ข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีในแต่ละ
ประเทศต้องตระหนักว่า สามารถปรับปรุงได้เสมอเมื่อมีข้อมูลใหม่
เกี่ยวกับการบริโภคอาหารกับสุขภาพ ทั้งในระดับประเทศ ระดับภูมิภาค
และระดับนานาชาติ แม้ว่าข้อแนะนำ�จะเล็งผลสุขภาพในระยะยาว
แต่ต้องเป็นข้อแนะนำ�ที่นำ�ไปปฏิบัติได้จริง มีความยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนได้
และขึ้นอยู่กับข้อมูลสถานการณ์ปัจจุบันของแต่ละประเทศ
ข้อแนะนำ�ที่สำ�คัญมีดังนี้
1. คณะทำ�งานหรือคณะกรรมการจัดทำ�ข้อแนะนำ�การบริโภค
อาหารเพื่อสุขภาพที่ดี
คณะกรรมการชุดนี้ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญจากสหสาขา
วิชาที่เกี่ยวข้อง คือ โภชนาการ วิทยาศาสตร์การอาหาร ด้านสุขภาพ
8 ข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี: การทบทวนและวิเคราะห์
การเกษตร ผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสาร กลุ่มผู้บริโภค องค์กรเอกชน
ผู้ประกอบการด้านอาหาร และที่สำ�คัญต้องมีฝ่ายรัฐบาลที่เกี่ยวข้องใน
การกำ�หนดนโยบายที่จะเป็นผู้ใช้หรือผู้ให้ข้อมูลที่เป็นส่วนสำ�คัญในการ
จัดทำ�ข้อแนะนำ�นี้ ซึ่งได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงเกษตร
กระทรวงศึกษาธิการ เป็นต้น การที่ผู้กำ�หนดนโยบายมีส่วนร่วมใน
การจัดทำ�ข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี จะทำ�ให้เป็น
นโยบายระดับชาติที่มีทุกฝ่ายร่วมกันผลักดันเพื่อให้ภาวะโภชนาการของ
ประชาชนดีขึ้น
คณะกรรมการชุดนี้มีหน้าที่ประเมินสถานการณ์ปัญหา
โภชนาการของประเทศที่เกี่ยวข้องกับเรื่องอาหารและการเกิดโรค
ผลผลิตด้านอาหารในประเทศ เพื่อให้สอดคล้องกับข้อแนะนำ�การ
บริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี เมื่อจัดทำ�ร่างเอกสารที่ประกอบไปด้วย
ข้อมูลสถานการณ์และข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารเสร็จแล้ว ต้องผ่าน
ให้คณะกรรมการให้ข้อคิดเห็นเพิ่มเติม แก้ไขอีกครั้ง ก่อนที่จะนำ�ไปสุ่ม
ทดสอบความเข้าใจกับผู้บริโภค และกลับมาปรับแก้ไขอีกครั้ง สุดท้าย
ควรส่งให้ผู้เชี่ยวชาญภายนอกกลุ่ม และถ้าเป็นไปได้ส่งให้ผู้เชี่ยวชาญ
ระดับนานาชาติให้ความเห็น จัดปรับตามความเหมาะสมแล้วจึงนำ�ออก
ไปเผยแพร่ต่อไป
2. การพัฒนาข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี
ขั้นตอนการพัฒนาข้อแนะนำ�ที่องค์การอนามัยโลกกำ�หนดไว้
แต่ละประเทศอาจไม่ต้องดำ�เนินการตามขั้นตอนทุกอย่าง หรืออาจ
ดำ�เนินการพร้อมกันในบางขั้นตอน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความพร้อมของแต่ละ
ประเทศ และคณะกรรมการจะเป็นผู้ชี้แนะ ให้คำ�ปรึกษา ติดตามผลการ
ดำ�เนินงานจนกว่างานจะแล้วเสร็จ
9
ข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี: การทบทวนและวิเคราะห์
ขั้นตอนการดำ�เนินงานที่สำ�คัญ มีดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับอาหารและสุขภาพ โรค
และสาเหตุการตายที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคอาหาร วิเคราะห์ข้อมูล
จากการสำ�รวจการบริโภคอาหารและภาวะโภชนาการระดับชาติ ความ
รุนแรงของปัญหาดังกล่าวพิจารณาได้จากอัตราการเจ็บป่วย การตาย
ค่าใช้จ่ายในการดูแลผู้ป่วย จากข้อมูลการสำ�รวจสามารถระบุกลุ่มเสี่ยง
ได้ นอกจากนี้ ข้อมูลที่ได้จากงานวิจัยและข้อมูลทางสถิติที่รวบรวมใน
หน่วยงานมหาวิทยาลัยหรือหน่วยงานอื่นๆ ก็สามารถนำ�มาใช้ในการ
พิจารณาได้
ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาข้อมูลแบบแผนการบริโภคอาหาร ควร
แยกแบบแผนการบริโภคอาหารเป็นกลุ่มอายุต่างๆ เช่น ทารก เด็ก
ผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร รวมถึงวัฒนธรรมท้อง
ถิ่น ความเชื่อ ศาสนา ที่มีแบบแผนการบริโภคอาหารเป็นของตนเอง
เพื่อให้สามารถแยกแยะได้ว่าแบบแผนการบริโภคอาหารแบบใดที่ควรส่ง
เสริม หรือควรปรับเปลี่ยน ในขั้นตอนนี้ ควรมีข้อมูลชนิดและปริมาณ
อาหารทุกชนิดที่มีในประเทศ รวมถึงอาหารที่ผลิตได้เอง อาหารนำ�
เข้า ส่งออก ความสมบูรณ์ในแต่ละฤดูกาล ราคา ตลอดจนการเสริม
สารอาหารในระดับอุตสาหกรรม ข้อมูลเหล่านี้หาได้จากการสำ�รวจด้าน
การเกษตร FAO national food balance sheet, FAO nutrition
country profiles และการสำ�รวจการบริโภคอาหารระดับครัวเรือนของ
แต่ละประเทศ
ขั้นตอนที่ 3 ความเกี่ยวข้องระหว่างอาหารกับสุขภาพ ได้
ข้อสรุปที่เกี่ยวข้องกับระดับความรุนแรงของปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง
กับการบริโภคอาหาร สามารถวิเคราะห์จากข้อมูลการสำ�รวจภาวะ
โภชนาการและการบริโภคอาหารของประชาชนในประเทศได้ ว่ามี
ปัญหาการขาดสารอาหาร หรือปัญหาโภชนาการไม่สมดุลในกลุ่มอายุใด
10 ข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี: การทบทวนและวิเคราะห์
ทั้งนี้ต้องมีการเปรียบเทียบกับปริมาณสารอาหารที่แนะนำ�ให้บริโภคต่อ
วันในกลุ่มอายุนั้นๆ
ขั้นตอนที่ 4 การให้ความสำ�คัญของระดับนโยบายของชาติ
นโยบายด้านสุขภาพ นโยบายด้านการเกษตร นโยบายด้านการศึกษา
นโยบายด้านประชากร และนโยบายด้านเศรษฐกิจ ล้วนแต่มีผลต่อการ
แก้ปัญหาโภชนาการของประชาชน
ขั้นตอนที่ 5 วิเคราะห์ปัญหา สถานการณ์ต่างๆ (สุขภาพ
ดี/ไม่ดี โรค การขาดสารอาหารหรือได้รับเกิน พฤติกรรมการบริโภค
อาหาร แหล่งอาหาร การตลาด) ที่มีความเกี่ยวข้องกับการจัดทำ�ข้อ
แนะนำ�การบริโภคอาหาร ต้องนำ�มาศีกษาและวิเคราะห์ เพื่อกำ�หนด
ลำ�ดับความสำ�คัญ
ขั้นตอนที่ 6 กำ�หนดเนื้อหาและประชากรกลุ่มเป้าหมายที่จะ
ให้คำ�แนะนำ� ต้องพิจารณาจากคำ�ถามต่อไปนี้
1) ต้องการทำ�ข้อแนะนำ�สำ�หรับประชากรทั่วไปโดยรวม หรือ
ต้องการแยกเป็นหลายกลุ่ม เช่น กลุ่มเมือง กลุ่มชนบท เป็นต้น
2) ข้อแนะนำ�นี้จะรวมทั้ง ทารก เด็ก และกลุ่มเสี่ยงอื่นๆ
หรือไม่
3) ข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารนี้จะสอดคล้องกับการมีแหล่ง
อาหารหรือไม่
4) ข้อแนะนำ�นี้จะยั่งยืนหรือไม่
5) ควรทำ�ข้อแนะนำ�เป็นภาษาท้องถิ่นหรือไม่
6) ควรแบ่งกลุ่มอาหารเป็นกี่กลุ่ม
7) ควรนำ�อาหารสำ�เร็จรูปมารวมในกลุ่มอาหารหรือไม่
8) ทำ�อย่างไรที่จะให้ใช้ได้กับแบบแผนการกินอาหารและ
ศาสนาที่แตกต่างกัน
11
ข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี: การทบทวนและวิเคราะห์
9) จัดการอย่างไรกับอาหารชนิดเดียวกันที่มีคุณค่าสาร
อาหารแตกต่างกันมาก
10) จะทำ�อย่างไรในการแนะนำ�การบริโภคอาหารในกลุ่มที่
มีความต้องการพลังงานและสารอาหารแตกต่างกัน
11) จะเน้นอาหารบางชนิดในกลุ่มอาหารนั้นๆ ที่มีสาร
อาหารที่ดีได้อย่างไร
12) ควรมีการแนะนำ�เรื่องนํ้าและเครื่องดื่มด้วยหรือไม่
13) ควรเน้นเรื่องความปลอดภัยของนํ้าและอาหารรวมถึง
อาหารตามวัยของทารกด้วยหรือไม่
14) ควรมีการแนะนำ�เรื่องนํ้าหนักตัว การออกกำ�ลังกายและ
วิถีชีวิตด้วยหรือไม่
ขั้นตอนที่ 7 กำ�หนดวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และกลุ่ม
ประชากรที่จะให้ข้อแนะนำ� ควรพิจารณาสิ่งต่อไปนี้
1) การเลือกประชากรเป้าหมายและการใช้ยุทธศาสตร์ที่กว้าง
อาจมีผลอย่างมากต่อเนื้อหาของการแนะนำ�การบริโภคอาหาร
2) ข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารเป็นส่วนหนึ่งของการดูแล
สุขภาพ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิต เช่น การออกกำ�ลังกาย การ
สูบบุหรี่ เป็นต้น
3) ควรมีข้อความระบุว่าเป็นข้อแนะนำ�การบริโภคสำ�หรับ
ประชาชนทั่วไปที่มีสุขภาพดี และอาหารที่บริโภคอยู่แล้วเป็นประจำ�
สามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่มีสาเหตุมาจากการกินอาหาร
4) ข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารควรเน้นการได้รับอาหารโดย
รวม ไม่ใช่อาหารชนิดใดชนิดหนึ่ง
5) ต้องกำ�หนดกลุ่มประชากรเป้าหมายให้ชัดเจน โดยทั่วไป
เริ่มจัดทำ�ข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารสำ�หรับผู้ใหญ่ และอาจมีสำ�หรับ
ทารกและเด็กต่อไป
12 ข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี: การทบทวนและวิเคราะห์
6) เน้นให้ชัดเจนว่าการใช้ข้อแนะนำ�ต้องใช้รวมทั้งหมด ไม่
แยกใช้ในข้อใดข้อหนึ่ง
7) การจัดลำ�ดับข้อแนะนำ� สามารถทำ�ได้หลายแบบ ข้อความ
ต้องชัดเจน อาจมีการสลับข้อความเรียงความสำ�คัญได้ใหม่ หรือต่าง
กลุ่มเป้าหมายอาจเรียงไม่เหมือนกันก็ได้
8) ข้อแนะนำ�การบริโภคอาหาร ต้องสอดคล้องกับข้อแนะนำ�
การได้รับสารอาหารประจำ�วันของแต่ละประเทศ
3. การนำ�ข้อปฏิบัติการกินอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีไปใช้
การกำ�หนดข้อปฏิบัติการกินอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีเป็นเครื่อง
มือสำ�คัญสำ�หรับการการพัฒนานโยบายด้านอาหารและโภชนาการ และ
การให้ความรู้ด้านโภชนาการ ควรมีข้อแนะนำ� 2 ชนิด คือแบบคุณภาพ
สำ�หรับประชาชนทั่วไป และแบบปริมาณสำ�หรับผู้กำ�หนดนโยบายและผู้
ประกอบการวิชาชีพด้านสาธารณสุข การที่จะให้มีความสำ�เร็จในการใช้
ข้อแนะนำ� คือ ข้อแนะนำ�นั้นต้องสั้น เข้าใจง่าย จำ�ได้ง่าย เหมาะกับ
วัฒนธรรม และมีการสื่อสารผ่านสื่อต่างๆ สมํ่าเสมอ โดยความสำ�เร็จ
ขึ้นอยู่กับ
 สามารถปฏิบัติได้โดยทั่วไป อาหารที่แนะนำ�หาได้ง่าย
 เนื้อหาเข้าใจได้ง่าย ไม่สับสน จำ�ได้ง่าย
 เป็นที่ยอมรับ ไม่ขัดกับวัฒนธรรม
 ผู้ที่จะนำ�ไปเผยแพร่ควรมีความเชี่ยวชาญด้านการสื่อสาร
4. การติดตามและประเมินผล
หลังจากมีการนำ�ข้อปฏิบัติการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี
ไปใช้ ควรมีการติดตามและประเมินผลด้านการรณรงค์และการให้ความรู้
โดยการประเมินที่สำ�คัญมี 2 ส่วน ดังนี้
13
ข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี: การทบทวนและวิเคราะห์
4.1 การประเมินกระบวนการ เพื่อวิเคราะห์วิธีการสื่อสาร
ในภาคสนามว่ามีความสำ�เร็จมากน้อยแค่ไหน เพื่อการจัดปรับแผนการ
รณรงค์ ทั้งนี้กระบวนการสื่อสารมีผลกระทบต่อผลลัพธ์สุดท้ายคือ
สุขภาพของประชาชน
4.2 การประเมินประสิทธิผล เป็นการประเมินการ
เปลี่ยนแปลงของความรู้ ทัศนคติ และถ้ามีความเหมาะสมจริงก็จะ
สามารถปรับเปลี่ยนนิสัยการกิน นำ�มาซึ่งสุขภาพที่ดีขึ้น
		 องค์กรด้านความปลอดภัยอาหารของยุโรป (European
Food Safety Authority, EFSA) ได้กำ�หนดการติดตามและวิธีประเมิน
ผลสำ�หรับข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีไว้ ดังนี้
 การเปลี่ยนแปลงการซื้อขายอาหาร อย่างไรก็ตามมี
ข้อสังเกตไว้ว่า สถิติที่ได้อาจไม่ได้สะท้อนถึงการบริโภคอาหารที่แท้จริง
ดังนั้น ต้องระมัดระวังในการอธิบายผลการศึกษาที่ได้
 การเปลี่ยนแปลงในส่วนประกอบของอาหาร การที่มี
ข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารสามารถมีผลต่อการปรับเปลี่ยนสูตรอาหาร
การติดตามเรื่องนี้มีความสำ�คัญ ทั้งนี้ต้องมีความรู้ในเรื่องส่วนประกอบ
อาหารเพื่อที่จะวัดแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงการได้รับสารอาหารของ
ประชากร
		  การเปลี่ยนแปลงการบริโภคอาหารหรือสารอาหาร
ตัวชี้วัดได้จากการสำ�รวจการบริโภคอาหารที่เชื่อถือได้
		  การเปลี่ยนแปลงภาวะสุขภาพ วัดได้จากการ
เปลี่ยนแปลงของ biomarkers อัตราการเจ็บป่วย อัตราตาย และตัวชี้วัดที่
เฉพาะเจาะจงอื่นๆ
14 ข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี: การทบทวนและวิเคราะห์
15
ข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี: การทบทวนและวิเคราะห์
ข้อแนะนำ�การบริโภคอาหาร
ของประเทศต่างๆ
สถานการณ์ปัจจุบันของปัญหาสาธารณสุขคือ ภาวะโภชนาการ
เกินและปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรังต่างๆ ซึ่งเป็นปัญหาหลักของประเทศที่
พัฒนาแล้ว แต่ปัญหาของประเทศที่กำ�ลังพัฒนาพบทั้งปัญหาโภชนาการ
ขาดและโภชนาการเกินไปด้วยกัน ความรู้ในปัจจุบันช่วยอธิบายสาเหตุ
ปัจจัยของทั้ง 2 ภาวะ คือ การเกิดโรคอ้วน เบาหวาน ความดันเลือดสูง
ในผู้ใหญ่ ซึ่งเกิดจากการขาดสารอาหารในทารกที่อยู่ในครรภ์มารดา
หรือในช่วงแรกของชีวิต การเผชิญปัญหาโภชนาการทั้ง 2 ด้าน ทำ�ให้
การแก้ปัญหาเป็นเรื่องยาก ดังนั้น การนำ�แนวทางการบริโภคอาหาร
เพื่อสุขภาพที่ดีของประชาชนให้เกิดการปฏิบัติเป็นรูปธรรม จึงเป็นสิ่งที่
ท้าทายของหน่วยงานด้านสาธารณสุขของประเทศนั้นๆ
องค์ประกอบสำ�คัญ
องค์ประกอบสำ�คัญของข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารของประเทศ
ต่างๆ คือ
 ทุกประเทศส่งเสริมการกินอาหารให้หลากหลาย
 ทุกประเทศส่งเสริมการดูแลนํ้าหนักตัวให้เหมาะสม
 ส่วนใหญ่แนะนำ�การกินผักผลไม้เพิ่มขึ้น
 ส่วนใหญ่แนะนำ�ให้ลดการกินนํ้าตาล
 ส่วนใหญ่แนะนำ�ให้มีการออกกำ�ลังสมํ่าเสมอ
 บางประเทศแนะนำ�ลดการกินไขมันอิ่มตัวและไขมันอื่นๆ
 บางประเทศแนะนำ�ให้กินธัญพืชขัดสีแต่น้อย
16 ข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี: การทบทวนและวิเคราะห์
 บางประเทศแนะนำ�ให้ดื่มนํ้ามากขึ้น
 มีบางประเทศที่เจาะจงแนะนำ�สารอาหารบางชนิด
ลักษณะพิเศษในข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารของบางประเทศที่
ไม่เกี่ยวข้องกับการบริโภคอาหารโดยตรง ได้แก่
 การส่งเสริมการกินอาหารท้องถิ่น
 การเน้นเรื่องครอบครัว ความรัก
 หลายประเทศแนะนำ�ให้งดสูบบุหรี่
 แนะนำ�ให้ดื่มแอลกอฮอล์แต่น้อย
 แนะนำ�เรื่องการปรุงอาหารและเน้นเรื่องความปลอดภัยของ
		 อาหาร
ความชัดเจนของปริมาณที่แนะนำ�ให้บริโภค
ข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารของประเทศต่างๆ ส่วนใหญ่ไม่ได้
บอกปริมาณที่ชัดเจน ยกเว้นปิรามิดอาหารของสหรัฐอเมริกา นอกนั้น
เพียงแต่มีการแบ่งสัดส่วนให้ประมาณปริมาณอาหารจากภาพว่า
กลุ่มอาหารใดกินมากกินน้อย หรือกินบ่อยแค่ไหน แต่ก็มีหลายภาพ
ที่แบ่งสัดส่วนไว้เท่าๆ กัน ซึ่งไม่อาจตีความได้ว่าแนะนำ�ให้กินปริมาณ
หรือความถี่พอๆ กัน หรือไม่ได้มุ่งเน้นถึงปริมาณที่แนะนำ� นอกจากนี้
บางประเทศยังไม่ได้แนะนำ�กลุ่มอาหารบางกลุ่มเป็นปริมาณต่อวัน เช่น
ประเทศกัวเตมาลา แนะนำ�การบริโภคเนื้อและนม 1 และ 2 ครั้งต่อ
สัปดาห์ตามลำ�ดับ สำ�หรับของบางประเทศ เช่น ชิลี แนะนำ�ให้กิน
อาหารทุกกลุ่มทุกวัน แต่ไม่ได้บอกปริมาณ เป็นต้น
การจัดอาหารบางชนิดเข้าในกลุ่มอาหารที่ต่างกัน
มีอาหารบางชนิดที่มีการจัดเข้าในกลุ่มอาหารที่ต่างกัน เช่น มันฝรั่ง
สหรัฐอเมริกาจัดเข้ากลุ่มผัก แคนาดาจัดเข้ากลุ่มผักและผลไม้ เม็กซิโก
จัดเข้ากลุ่มธัญพืช ชิลี คอสตาริกา และกัวเตมาลาจัดเข้ากลุ่มธัญพืช
17
ข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี: การทบทวนและวิเคราะห์
และถั่วเมล็ดแห้ง เรื่องนี้เป็นปัญหาสำ�หรับประเทศที่มีการบริโภค
มันฝรั่งมากและจัดมันฝรั่งอยู่ในกลุ่มผักผลไม้ เช่น สหรัฐอเมริกา
อาจทำ�ให้เกิดความเข้าใจว่าสามารถกินมันฝรั่งแทนผักใบเขียวหรือ
ผลไม้ได้ และสหรัฐอเมริกาแนะนำ�การกินผักผลไม้ “5-a-day” จึงยิ่งเป็น
ปัญหามากขึ้น เพราะมันฝรั่งมีดัชนีนํ้าตาลสูง พลังงานสูง แต่มีสารอาหาร
อื่นตํ่า
ถั่วเมล็ดแห้ง ส่วนใหญ่จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับเนื้อสัตว์ ถั่วเมล็ด
แห้งและเนื้อสัตว์มีความแตกต่างกันที่ใยอาหาร ไขมัน คอเลสเตอรอล
และวิตามินบี 12 ซึ่งการจัดไว้ในกลุ่มเดียวกันมีทั้งข้อดีและข้อเสีย
ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ใหญ่ว่าจะป้องกันการขาดสารอาหารหรือป้องกัน
โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หากป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ควรแยกคนละ
กลุ่มกับเนื้อสัตว์ เพื่อแนะนำ�ลดการกินเนื้อสัตว์และให้เพิ่มการกินถั่ว
เมล็ดแห้งเพื่อเพิ่มการบริโภคอาหารที่มีใยอาหารสูงและไม่มี
คอเลสเตอรอล นอกจากนี้การแยกถั่วเมล็ดแห้งออกจากกลุ่มเนื้อสัตว์
และธัญพืช ยังสามารถแนะนำ�ให้บริโภคร่วมกับธัญพืชเพื่อเพิ่มคุณภาพ
โปรตีนสำ�หรับประชาชนที่มีเศรษฐฐานะตํ่าได้ด้วย เช่น ประเทศเม็กซิโก
นม หลายประเทศแยกนมและผลิตภัณฑ์ออกจากกลุ่มเนื้อสัตว์
เพื่อเน้นความสำ�คัญของการบริโภคอาหารกลุ่มนี้ ซึ่งอาจเป็นปัญหา
ในแง่การปฏิบัติสำ�หรับประชาชนที่มีความบกพร่องในการย่อยนํ้าตาล
แลคโตส และในกลุ่มประเทศที่มีการแยกกลุ่มนมออกมา ยังมีการวาง
ภาพนมอยู่ในลำ�ดับที่ต่างกัน
ไข่ ทุกประเทศจัดไข่อยู่ในกลุ่มเดียวกับเนื้อสัตว์ แต่จากรูปภาพ
มีจำ�นวนไข่มากน้อยไม่เท่ากัน ซึ่งน่าจะแสดงถึงปริมาณที่แนะนำ�ให้
บริโภค ในภาพของสหรัฐอเมริกา แคนาดา ชิลี และเม็กซิโก มีไข่
1 ฟอง ในขณะที่กัวเตมาลา และคอสตาริกา อินเดีย มีรูปไข่ 2 และ
3 ฟองตามลำ�ดับ
18 ข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี: การทบทวนและวิเคราะห์
นํ้ามันและนํ้าตาล หลายประเทศไว้ในกลุ่มเดียวกัน แต่แคนาดา
และเม็กซิโกไม่มีในรูปภาพแนะนำ�การบริโภคอาหาร ไม่มีการแนะนำ�
ปริมาณที่ควรบริโภคที่ชัดเจน
19
ข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี: การทบทวนและวิเคราะห์
ข้อปฏิบัติการกินอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี
ของคนไทย
ภาวะโภชนาการที่เหมาะสมเป็นสิ่งที่มีความสำ�คัญสำ�หรับการ
ดำ�เนินชีวิต ทั้งในส่วนของการเจริญเติบโตในวัยเด็กและการดำ�รง
ชีวิตอย่างมีสุขภาพที่ดีในผู้ใหญ่ นอกจากนี้การกินอาหารเพื่อสุขภาพ
เป็นปัจจัยสำ�คัญในการลดความเสี่ยงของการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
ที่เกี่ยวกับอาหารและโภชนาการได้ ปัญหาโภชนาการในประเทศไทย
พบได้ทั้งในด้านภาวะขาดสารอาหารและภาวะโภชนาการเกิน โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งโรคโภชนาการเกินได้แก่ โรคอ้วน เบาหวาน ความดันเลือดสูง
โรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ มะเร็งบางชนิด เป็นสาเหตุสำ�คัญ
ของความพิการและเสียชีวิต ซึ่งโรคดังกล่าวเหล่านี้เป็นโรคที่สามารถ
ป้องกันได้ การดำ�เนินการเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคต่างๆ รวมทั้ง
การสร้างเสริมสุขภาพนั้น ทำ�ได้โดยการให้ความรู้กับประชาชนเพื่อ
เป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสมในการเลือกซื้อ เลือกบริโภค
และเสริมสร้างความสามารถในการดูแลตนเองด้านอาหารและ
โภชนาการ
ประเทศไทยมีการพัฒนาข้อปฏิบัติการกินอาหารเพื่อสุขภาพ
ที่ดีสำ�หรับเด็ก 6 ขวบถึงผู้สูงอายุ ข้อปฏิบัติการให้อาหารเพื่อสุขภาพ
ที่ดีสำ�หรับทารกและเด็กเล็ก และคำ�แนะนำ�การบริโภคอาหารสำ�หรับ
หญิงตั้งครรภ์
20 ข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี: การทบทวนและวิเคราะห์
21
ข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี: การทบทวนและวิเคราะห์
ข้อปฏิบัติการกินอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี
ในเด็ก 6 ขวบถึงผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ
ความเป็นมา
ประเทศไทยมีข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารมานานแล้ว แต่ไม่มี
การแนะนำ�เป็นปริมาณอาหารในแต่ละกลุ่มอย่างชัดเจน เช่น แนะนำ�ให้
กินกับให้มาก กินข้าวแต่พอควรในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม ซึ่งสมัย
นั้นคนไทยยังเป็นโรคขาดสารอาหารมาก ต่อมา กระทรวงสาธารณสุข
ได้แนะนำ�ให้กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยแบ่งหมู่อาหารอยู่ในรูปวงกลม
แบ่งเป็น 5 ช่องเท่าๆ กัน (รูปที่ 1)
22 ข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี: การทบทวนและวิเคราะห์
รูปที่ 1 ตัวอย่างข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารในอดีต
คู่มือแนะนำ�การกินอาหารของคนไทยมีการจัดทำ�มาตั้งแต่ปี พ.ศ.
2535 โดยกองโภชนาการ กรมอนามัย ในคู่มือนี้ประกอบด้วย 3 ส่วน
คือ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอาหารและโภชนาการ ข้อแนะนำ�การกิน
อาหารของคนไทย และการส่งเสริมสุขภาพที่เกี่ยวข้อง (รูปที่ 2)
สำ�หรับข้อแนะนำ�การกินอาหารของคนไทยเพื่อให้มีสุขภาพและ
ภาวะโภชนาการที่ดี ในคู่มือฉบับนี้ ประกอบด้วยข้อควรปฏิบัติ 10 ข้อ
ดังนี้
23
ข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี: การทบทวนและวิเคราะห์
1. เลี้ยงลูกด้วยนมแม่
2. กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ทุกวัน
3. กินอาหารที่สะอาด ปลอดภัยจากเชื้อโรคและสารเคมี
4. กินอาหารไขมันในขนาดพอเหมาะ
5. กินอาหารที่มีใยอาหารอย่างสมํ่าเสมอ
6. กินอาหารรสหวานและนํ้าตาลแต่พอควร
7. รักษานํ้าหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
8. ระมัดระวังในการกินอาหารที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง
9. ระวังการดื่มสุราและหลีกเลี่ยงการกินอาหารที่มีประโยชน์น้อย
10. หลีกเลี่ยงการกินอาหารรสเค็มจัดและเผ็ดจัด
รูปที่ 2 คู่มือแนะนำ�การกินอาหารของคนไทย ปี พ.ศ. 2535
24 ข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี: การทบทวนและวิเคราะห์
จากข้อควรปฏิบัติเหล่านี้ จะเห็นว่ายังไม่มีการแนะนำ�ในเรื่อง
ปริมาณ และเป็นข้อปฏิบัติอย่างกว้างๆ ไม่มีการระบุกลุ่มเป้าหมาย
ดังนั้นในปี พ.ศ. 2539 กรมอนามัยได้ร่วมมือกับนักวิชาการด้าน
โภชนาการของประเทศไทย ในการจัดทำ� “ข้อปฏิบัติการกินอาหารเพื่อ
สุขภาพที่ดีของคนไทย” หรือที่เราเรียกว่า “โภชนบัญญัติ 9 ประการ”
(รูปที่ 3) รวมทั้งจัดทำ� “ธงโภชนาการ” ขึ้นในปี พ.ศ. 2541 โดย
มีวัตถุประสงค์ดังนี้
1. เพื่อใช้เป็นแนวทางสำ�หรับเจ้าหน้าที่ในการให้ความรู้กับ
ประชาชนเพื่อการมีสุขภาพที่ดี
2. เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการที่จะช่วยให้ประชาชนเลือกอาหาร
ที่มีคุณค่าและป้องกันโรค
3. เพื่อใช้เป็นเครื่องมือสำ�หรับหน่วยงานในการวางแผนและ
ดำ�เนินงานด้านอาหารและโภชนาการ
โภชนบัญญัติ 9 ประการ ได้แก่
1. กินอาหารครบ 5 หมู่ แต่ละหมู่ให้หลากหลาย และหมั่น
ดูแลนํ้าหนักตัว
2. กินข้าวเป็นอาหารหลัก สลับกับอาหารประเภทแป้งเป็นบางมื้อ
3. กินพืชผักให้มากและกินผลไม้เป็นประจำ�
4. กินปลา เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ไข่ และถั่วเมล็ดแห้งเป็นประจำ�
5. ดื่มนมให้เหมาะสมตามวัย
6. กินอาหารที่มีไขมันแต่พอควร
7. หลีกเลี่ยงการกินอาหารรสหวานจัด และเค็มจัด
8. กินอาหารที่สะอาด ปราศจากการปนเปื้อน
9. งดหรือลดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
25
ข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี: การทบทวนและวิเคราะห์
รูปที่ 3 หนังสือข้อปฏิบัติการกินอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีของคนไทย
เพื่อให้โภชนบัญญัติ 9 ข้อเป็นรูปธรรมมากขึ้นจึงได้มีการระดม
ความคิดเห็นจากนักวิชาการเพื่อให้ได้รูปแบบสัดส่วนของอาหารที่
สามารถสื่อสารให้เข้าใจง่ายและนำ�ไปสู่การปฏิบัติได้ จากการสำ�รวจ
ความคิดเห็นของประชาชน ซึ่งส่วนใหญ่มีความเห็นว่า การใช้ธงเพื่อ
การสื่อสารปริมาณอาหารนั้น เข้าใจง่ายและสามารถจำ�ได้ จึงเป็นที่มา
ของคู่มือ “ธงโภชนาการ” (รูปที่ 4)
ธงโภชนาการ เป็นสัญลักษณ์รูปสามเหลี่ยมหัวกลับแบบธงแขวน
แสดงสัดส่วนอาหารในแต่ละกลุ่มให้เห็นชัดเจนทั้งปริมาณและความ
หลากหลาย แบ่งออกเป็น 4 ชั้น โดยฐานใหญ่ชั้นที่ 1 แสดงถึงกลุ่ม
อาหารข้าว-แป้ง ชั้นที่ 2 กลุ่มผักและกลุ่มผลไม้ ชั้นที่ 3 กลุ่มเนื้อ
สัตว์-ถั่วเมล็ดแห้งและผลิตภัณฑ์ และกลุ่มนม ชั้นที่ 4 เป็นส่วนปลาย
ธง แสดงรูปภาพของ นํ้ามัน นํ้าตาล และเกลือ ซึ่งส่วนนี้ระบุว่ากินแต่
น้อยเท่าที่จำ�เป็น สอดคล้องกับข้อแนะนำ�ในโภชนบัญญัติ
26 ข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี: การทบทวนและวิเคราะห์
รูปที่ 4 หนังสือคู่มือธงโภชนาการ
ขั้นตอนการจัดทำ�ข้อปฏิบัติการกินอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีของคนไทย
การจัดทำ�ข้อปฏิบัติการกินอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีของคนไทย
มีการดำ�เนินการตามขั้นตอนดังนี้ (รูปที่ 5)
1. แต่งตั้งคณะทำ�งานข้อปฏิบัติการกินอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี
ของคนไทย 2 กลุ่ม เพื่อจัดทำ�ข้อปฏิบัติการกินอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี
(เชิงคุณภาพ) ที่เรียกว่า “โภชนบัญญัติ 9 ข้อ” และคณะทำ�งาน
ที่ทำ�ข้อแนะนำ�การกินอาหารเชิงปริมาณ ที่พัฒนาเป็นสัญลักษณ์
“ธงโภชนาการ” โดยมีประธานคณะทำ�งานจัดประชุมร่วมกับคณะ
ทำ�งานเพื่อติดตามงานหลายครั้ง
2. คณะทำ�งานศึกษาสถานการณ์ด้านอาหาร ภาวะโภชนาการ
และสุขภาพ ของประชาชนไทยขณะนั้น เพื่อประมวลข้อมูลใช้ในการ
ตัดสินใจกำ�หนดโภชนบัญญัติและ Food Guide Model ในการจัดทำ�
ข้อมูลได้ประมวลจากรายงานการวิจัย 5 โครงการที่มีการบันทึกข้อมูล
27
ข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี: การทบทวนและวิเคราะห์
การบริโภคอาหารแบบ 24 ชั่วโมง และแบบ 3 วัน เพื่อดูปริมาณ
การบริโภคอาหารแต่ละกลุ่มต่อวัน ปริมาณการบริโภคในแต่ละมื้อ และ
ความถี่ของการบริโภคอาหารแต่ละชนิด แต่ละกลุ่มอาหาร
3. ตั้งวัตถุประสงค์และกลุ่มประชากรเป้าหมาย ในการจัดทำ�ข้อ
ปฏิบัติการกินอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีของคนไทย คณะทำ�งานเห็นพ้อง
กันว่าจะเริ่มทำ�ให้เด็กตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไปถึงผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ โดยอิง
ความต้องการสารอาหารที่แนะนำ�สำ�หรับคนไทยปี พ.ศ. 2532 และ
ของสหรัฐอเมริกา
4. การดำ�เนินงาน คณะทำ�งานทั้ง 2 ชุด ต่างแยกกันทำ�งาน
มีการประชุมกันเป็นครั้งคราว เพื่อรับทราบความก้าวหน้า
ผลการดำ�เนินงาน
คณะทำ�งานชุดที่ 1 ได้จัดปรับข้อแนะนำ�การกินอาหารเพื่อ
สุขภาพที่ดีของคนไทยฉบับเดิมให้สอดคล้องกับภาวะการณ์ปัจจุบัน ได้
ข้อสรุป “ข้อปฏิบัติการกินอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีของคนไทย” 9 ข้อ
เรียกว่า “โภชนบัญญัติ 9 ประการ” และตีพิมพ์เผยแพร่เมื่อปี พ.ศ. 2539
ในรูปแบบหนังสือ แผ่นพับและบรรจุอยู่ในโปสเตอร์ “ธงโภชนาการ”
หนังสือโภชนบัญญัติมีรายละเอียดของข้อแนะนำ�แต่ละข้อ และส่วน
ท้ายของเล่มเป็นแบบประเมินตนเองของผู้บริโภคและผู้มีหน้าที่ประกอบ
อาหารในครัวเรือน
คณะทำ�งานชุดที่ 2 กำ�หนดกลุ่มอาหาร ปริมาณอาหารต่อ 1 ส่วน
ปริมาณอาหารที่ควรได้รับในแต่ละวันของอาหารแต่ละกลุ่ม โดยอิง
ข้อมูลการบริโภคอาหารและปริมาณสารอาหารที่แนะนำ�ให้บริโภคใน
แต่ละวัน (Thai RDA) และค่าเฉลี่ยของเด็กตั้งแต่อายุ 6 ปีถึงผู้ใหญ่
และผู้สูงอายุ (Thai Recommended Daily Intakes, Thai RDI) และ
นำ�มาคิดคำ�นวณตรวจสอบปริมาณสารอาหารโดยการจัดทำ�เมนูอาหาร
28 ข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี: การทบทวนและวิเคราะห์
ทั้งวันของกลุ่มพลังงานทั้ง 3 กลุ่ม คือ 1,600, 2,000 และ 2,400
กิโลแคลอรี กลุ่มพลังงานละ 30-40 วัน โดยใช้โปรแกรม INMUCAL
ของสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล
รูปที่ 5 ขั้นตอนการจัดทำ�ข้อปฏิบัติการกินอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีของคนไทย
ต่อจากนั้น ในปี พ.ศ. 2540 มีการจัดทำ� Food Guide Model
ของไทย เป็นหลายรูปแบบ เช่น รูปปิ่นโต รูปฝาชีครอบกับข้าว รูป
รุ้งอาหาร รูปพัด เป็นต้น (รูปที่ 6) เมื่อมีการนำ�เสนอคณะทำ�งาน
เพื่อเห็นชอบ คณะทำ�งานยังต้องการให้มีรูปแบบอื่นอีก จึงมีการเสนอ
รูปธงเป็นอีก 1 ทางเลือก ดังนั้น จึงมีการออกแบบธง 4 แบบ เป็น
รูปธงชัยโภชนาการ นำ�โดย นักวิชาการ ความรื่นเริง บรรพบุรุษไทย
และครอบครัว (รูปที่ 7) เมื่อทดสอบความเข้าใจของประชาชน
พบว่า ประชาชนยังไม่เข้าใจความหมายของสื่อ ทั้งในเรื่องชนิด
คณะทำ�งานที่ประกอบ
ไปด้วยสหสาขาวิชา
- ประธาน
- คณะทำ�งาน
2 กลุ่ม
วิเคราะห์สถานการณ์
ปัญหาสุขภาพของประเทศ
จัดปรับ
ตั้งเป้าหมาย และ
วัตถุประสงค์
ติดตามและประเมินผล
การนำ�ไปใช้ในชุมชน
ต่างๆ
เผยแพร่ข้อมูล
- คู่มือ แผ่นพับ
- หลักสูตร
โรงเรียน
- ผ่านสื่อต่างๆ
- พัฒนาข้อปฏิบัติการกิน
อาหารเพื่อสุขภาพที่ดี
- พัฒนา Food Guide
Model
- ทดสอบความเข้าใจ
29
ข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี: การทบทวนและวิเคราะห์
ความหลากหลาย และปริมาณอาหารที่แนะนำ�ให้บริโภค รวมทั้งเห็น
ว่ามีตัวหนังสือมากไป จึงมีการปรับปรุงรูปธงอีกขั้นตอนหนึ่ง เป็น
ลักษณะธงแขวน (รูปที่ 8) อย่างที่เห็นในปัจจุบัน และนำ�รูปธงและ
พัดโภชนาการออกทดสอบกับประชาชนอีกครั้ง (รูปที่ 9) ผลสรุปว่า
ประชาชนเข้าใจรูปธงมากกว่ารูปพัด จึงมีการนำ�ออกเผยแพร่ (รูปที่
10) และรณรงค์การนำ�ข้อปฏิบัติการกินอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีฯ ไปใช้
อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการประเมินการนำ�ไปใช้และความสัมฤทธิ์ผลต่อ
สุขภาพ
รูปที่ 6 Food Guide Model ชุดที่ 1: ปิ่นโต ฝาชี รุ้ง พัด
30 ข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี: การทบทวนและวิเคราะห์
รูปที่ 7 Food Guide Model ชุดที่ 2: ธงชัยโภชนาการ
		 (นักวิชาการความรื่นเริง บรรพบุรุษไทย ครอบครัว)
31
ข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี: การทบทวนและวิเคราะห์
รูปที่ 8 Food Guide Model ปรับปรุงหลังการทดสอบ
		 ความเข้าใจของประชาชน
รูปที่ 9 Food Guide Model ที่นำ�ไปทดสอบ
		 การยอมรับของประชาชนรอบที่ 2
32 ข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี: การทบทวนและวิเคราะห์
รูปที่ 10 ธงโภชนาการและตารางกำ�หนดปริมาณอาหาร
		 ที่แนะนำ�ให้บริโภคประจำ�วันสำ�หรับคนไทย
ข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีสำ�หรับคนไทยที่เป็น
เด็กอายุตั้งแต่ 6 ปี ขึ้นไปจนถึงผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ โดยแสดงเป็นธง
โภชนาการนั้น มีการกำ�หนดปริมาณอาหารที่แนะนำ�ตามความต้องการ
พลังงาน 3 ระดับ คือ 1,600, 2,000 และ 2,400 กิโลแคลอรี
ดังนั้น จึงจัดปริมาณอาหารที่แนะนำ�ต่อวันสำ�หรับ เด็ก หญิงวัยทำ�งาน
และผู้สูงอายุในช่วงระดับพลังงาน 1,600 กิโลแคลอรี วัยรุ่นและชาย
วัยทำ�งาน 2,000 กิโลแคลอรี และนักกีฬา ผู้ใช้แรงงานอยู่ในกลุ่ม
2,400 กิโลแคลอรี
การนำ�ข้อปฏิบัติการกินอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีของคนไทย (FBDGs) ไปใช้
โครงการที่ได้นำ�ข้อปฏิบัติการกินอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีของคน
ไทยไปใช้ มีดังนี้
1. โครงการรณรงค์ “กินพอดี สุขีทั่วไทย”
เป็นโครงการภายใต้ยุทธศาสตร์การสื่อสารด้านอาหารและ
โภชนาการเพื่อพฤติกรรมที่เหมาะสมภายใต้แผนอาหารและโภชนาการ
33
ข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี: การทบทวนและวิเคราะห์
ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540 -
2544) ซึ่งเป็นการรณรงค์ให้สังคมไทยรู้จักและยอมรับ “ข้อปฏิบัติ
การกินอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีของคนไทย” หรือ “โภชนบัญญัติ”
โดยการรณรงค์ภายใต้ชื่อ “กินพอดี สุขีทั่วไทย” โดยการผลิตสื่อเผย
แพร่ประกอบการรณรงค์ และเผยแพร่สื่อไปทั่วประเทศ มีพิธีเปิดตัว
“โภชนบัญญัติ” ที่ตึกสันติไมตรี ทำ�เนียบรัฐบาล โดยมีนายกรัฐมนตรี
ในขณะนั้น คือนายชวน หลีกภัย เป็นประธาน มีสื่อมวลชน นักวิชาการ
และผู้นำ�สังคม เข้าร่วมสัมมนาและพิธีเปิด มีการรณรงค์เผยแพร่ผ่าน
สื่อโทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ วารสาร และสื่อสิ่งพิมพ์อื่นๆ นับเป็น
ครั้งแรกของวงการโภชนาการของประเทศไทยที่นักโภชนาการของ
ประเทศได้รวมตัวกันในการกำ�หนด “ข้อปฏิบัติการกินอาหารเพื่อสุขภาพ
ที่ดีของคนไทย” และเริ่มใช้เป็นเครื่องมือในการให้คนไทยตระหนักใน
การกินอาหารให้ถูกหลักโภชนาการ
2. โครงการเมนูชูสุขภาพ (พ.ศ. 2543 - ปัจจุบัน)
กองโภชนาการ กรมอนามัย ได้เข้าไปร่วมกับกรมการแพทย์
เพื่อศึกษาหารูปแบบการควบคุมปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดภาวะโรคหัวใจ
และหลอดเลือดในจังหวัดเชียงใหม่และมหาสารคาม ที่เน้นการออก
กำ�ลังกายและโภชนาการ ในส่วนของโภชนาการได้มีการประยุกต์นำ�
อาหารหลัก 5 หมู่ โภชนบัญญัติ และธงโภชนาการ ใส่ลงไปในจานข้าว
(จับธงลงจาน) เพื่อให้เป็นจานอาหารที่มีคุณค่าและได้สัดส่วนที่เหมาะสม
ภายใต้ชื่อว่า “เมนูชูหัวใจ” หลังจากนั้นได้นำ�แนวคิดเมนูชูหัวใจมา
ประยุกต์และพัฒนาให้เป็นเมนูที่ไม่ได้มุ่งเน้นเฉพาะจะป้องกันไม่ให้เกิด
โรคหัวใจและหลอดเลือดเท่านั้น แต่รวมถึงโรคต่างๆ ที่เกิดจากการกิน
ไม่เป็นและส่งเสริมให้สุขภาพดี จึงเกิดเป็น “เมนูชูสุขภาพ” ขึ้น ซึ่ง
ได้กำ�หนดหลักเกณฑ์หรือคุณสมบัติของเมนูอาหารที่สมควรได้รับการ
34 ข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี: การทบทวนและวิเคราะห์
รับรองให้เป็นเมนูชูสุขภาพขึ้น อาทิเช่น เป็นอาหารไทยที่ปรุงจาก
อาหารหลักอย่างน้อยให้ครบ 4 หมู่ ถ้ามีผลไม้จะครบ 5 หมู่ มีรสไม่
มันจัด เค็มจัด และหวานจัด ไขมันไม่เกินร้อยละ 25-30 ของพลังงาน
เป็นต้น และจะรณรงค์เผยแพร่ในร้านอาหารที่ได้รับป้ายตราสัญลักษณ์
“อาหารสะอาดรสชาติอร่อย” ของกรมอนามัย (Clean Food Good
Taste, CFGT)
การเผยแพร่เมนูชูสุขภาพได้เกาะกระแสโครงการอาหารปลอดภัย
(Food Safety) ที่เป็นนโยบายระดับชาติ และได้มุ่งเน้นที่ร้านอาหาร
หาบเร่แผงลอย ซึ่งถือได้ว่าเป็นแหล่งนำ�ร่องในการสื่อสาร ให้ผู้บริโภค
ได้เรียนรู้การกินอาหารสะอาดปลอดภัยและได้คุณค่าทางโภชนาการ
โดยเรียนรู้ในระหว่างการกินอาหาร (Learning by Eating) ที่ร้าน
อาหารได้จัดเมนูชูสุขภาพให้ลูกค้าได้มีทางเลือกที่จะกินอาหารเพื่อ
สุขภาพ และที่สำ�คัญโครงการนี้ได้อบรมผู้ประกอบการร้านอาหารทั่ว
ประเทศให้ตระหนักและพัฒนาเมนูชูสุขภาพ ดังนั้นการดำ�เนินงาน
ตามโครงการเมนูชูสุขภาพอาจกล่าวได้ว่าเป็นกุศโลบายของการสื่อสาร
ด้านอาหารและโภชนาการ หรือโภชนศึกษา ที่ได้มีวิวัฒนาการให้เป็น
รูปธรรมจนประชาชนสามารถจับต้องและนำ�องค์ความรู้ด้านอาหารและ
โภชนาการของประเทศไทย ที่มีวิวัฒนาการจากอาหารหลัก 5 หมู่
สู่โภชนบัญญัติ พัฒนาให้เป็นธงโภชนาการ จับธงลงจานเพื่อการสื่อสาร
ที่ปฏิบัติได้กลายเป็น “เมนูชูสุขภาพ” จนปัจจุบันได้มีการดำ�เนินงาน
“เมนูไร้พุง” และ “อาหารสุขภาพเลือกได้ตามใจคุณ” โดยดำ�เนิน
การได้ประมาณร้อยละ 25 ของร้านอาหารที่ได้ป้าย CFGT (จำ�นวน
ประมาณ 10,000 ร้าน)
35
ข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี: การทบทวนและวิเคราะห์
3. โครงการกินผักทุกวัน เด็กไทยทำ�ได้/โครงการกินผักทุกวัน
เด็กไทยไม่อ้วน (พ.ศ. 2550 - 2551)
เป็นโครงการที่ส่งเสริมให้เด็กกินผักมื้อกลางวันมื้อละ 4 ช้อน
กินข้าว อย่างน้อยสัปดาห์ละ 5 วัน โดยสอดแทรกเข้ากับโครงการอาหาร
กลางวันนักเรียนตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ และโครงการ
นี้ได้ใช้แนวทางของ โภชนบัญญัติและธงโภชนาการ เป็นเครื่องมือ
ในการดำ�เนินงาน พบว่าการบริโภคผักในปี พ.ศ. 2550 ของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 21.4 (ปีพ.ศ. 2549
ร้อยละ 18.5) และยังเพิ่มจำ�นวนของเด็กกินผักเป็นร้อยละ 69.5
(ปี พ.ศ. 2549 ร้อยละ 18.5) และในโครงการนี้ยังมีการจัดทำ�สื่อเพื่อ
ส่งเสริมการกินผักของนักเรียน รวมทั้งแทรกเข้าไปในชั่วโมงการเรียน
การสอน เพื่อให้เกิดความยั่งยืน
4. การสื่อสาร “โภชนบัญญัติ 9 ประการ” และ “ธงโภชนาการ”
การสื่อสาร “โภชนบัญญัติ 9 ประการ” และ “ธงโภชนาการ”
ได้มีการดำ�เนินงานใน 2 ลักษณะ คือ
4.1 การสื่อสาร “โภชนบัญญัติ 9 ประการ” และ “ธงโภชนาการ”
โดยการดำ�เนินโครงการการสื่อสารเฉพาะ มีดังนี้
1) โครงการกินพอดี สุขีทั่วไทย ซึ่งมีการสร้างกระแส
สังคมเพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงเรื่อง การบริโภคเพื่อการมีสุขภาพที่ดี
แต่กระบวนการสื่อสารเพื่อให้เกิดการรับรู้ ตระหนักและนำ�ไปปฏิบัติ ใน
ขณะนั้นยังมีข้อจำ�กัดด้านงบประมาณและแนวคิดวิธีการสื่อสารอยู่อีก
มาก ซึ่งส่วนมากจะเป็นวิธีการสื่อสารโดยสิ่งพิมพ์ที่เผยแพร่ได้ในวงจำ�กัด
2) การสื่อสารโดยการเป็นวิทยากรในการบรรยายเกี่ยวกับ
เรื่องอาหารและโภชนาการ ซึ่งแต่เดิมเน้นในเรื่องอาหารหลัก 5 หมู่
เป็นข้อแนะนำ�การกินอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี ก่อนที่จะมี “โภชนบัญญัติ
ข้อแนะนำการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี FBDGs (2555).pdf
ข้อแนะนำการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี FBDGs (2555).pdf
ข้อแนะนำการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี FBDGs (2555).pdf
ข้อแนะนำการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี FBDGs (2555).pdf
ข้อแนะนำการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี FBDGs (2555).pdf
ข้อแนะนำการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี FBDGs (2555).pdf
ข้อแนะนำการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี FBDGs (2555).pdf
ข้อแนะนำการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี FBDGs (2555).pdf
ข้อแนะนำการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี FBDGs (2555).pdf
ข้อแนะนำการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี FBDGs (2555).pdf
ข้อแนะนำการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี FBDGs (2555).pdf
ข้อแนะนำการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี FBDGs (2555).pdf
ข้อแนะนำการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี FBDGs (2555).pdf
ข้อแนะนำการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี FBDGs (2555).pdf
ข้อแนะนำการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี FBDGs (2555).pdf
ข้อแนะนำการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี FBDGs (2555).pdf
ข้อแนะนำการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี FBDGs (2555).pdf
ข้อแนะนำการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี FBDGs (2555).pdf
ข้อแนะนำการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี FBDGs (2555).pdf
ข้อแนะนำการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี FBDGs (2555).pdf
ข้อแนะนำการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี FBDGs (2555).pdf
ข้อแนะนำการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี FBDGs (2555).pdf
ข้อแนะนำการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี FBDGs (2555).pdf
ข้อแนะนำการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี FBDGs (2555).pdf
ข้อแนะนำการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี FBDGs (2555).pdf
ข้อแนะนำการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี FBDGs (2555).pdf
ข้อแนะนำการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี FBDGs (2555).pdf
ข้อแนะนำการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี FBDGs (2555).pdf
ข้อแนะนำการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี FBDGs (2555).pdf
ข้อแนะนำการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี FBDGs (2555).pdf
ข้อแนะนำการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี FBDGs (2555).pdf
ข้อแนะนำการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี FBDGs (2555).pdf
ข้อแนะนำการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี FBDGs (2555).pdf
ข้อแนะนำการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี FBDGs (2555).pdf
ข้อแนะนำการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี FBDGs (2555).pdf
ข้อแนะนำการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี FBDGs (2555).pdf
ข้อแนะนำการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี FBDGs (2555).pdf
ข้อแนะนำการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี FBDGs (2555).pdf
ข้อแนะนำการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี FBDGs (2555).pdf
ข้อแนะนำการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี FBDGs (2555).pdf
ข้อแนะนำการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี FBDGs (2555).pdf
ข้อแนะนำการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี FBDGs (2555).pdf
ข้อแนะนำการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี FBDGs (2555).pdf
ข้อแนะนำการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี FBDGs (2555).pdf
ข้อแนะนำการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี FBDGs (2555).pdf
ข้อแนะนำการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี FBDGs (2555).pdf
ข้อแนะนำการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี FBDGs (2555).pdf
ข้อแนะนำการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี FBDGs (2555).pdf
ข้อแนะนำการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี FBDGs (2555).pdf
ข้อแนะนำการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี FBDGs (2555).pdf
ข้อแนะนำการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี FBDGs (2555).pdf
ข้อแนะนำการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี FBDGs (2555).pdf
ข้อแนะนำการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี FBDGs (2555).pdf
ข้อแนะนำการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี FBDGs (2555).pdf
ข้อแนะนำการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี FBDGs (2555).pdf
ข้อแนะนำการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี FBDGs (2555).pdf
ข้อแนะนำการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี FBDGs (2555).pdf
ข้อแนะนำการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี FBDGs (2555).pdf
ข้อแนะนำการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี FBDGs (2555).pdf
ข้อแนะนำการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี FBDGs (2555).pdf
ข้อแนะนำการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี FBDGs (2555).pdf
ข้อแนะนำการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี FBDGs (2555).pdf
ข้อแนะนำการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี FBDGs (2555).pdf
ข้อแนะนำการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี FBDGs (2555).pdf
ข้อแนะนำการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี FBDGs (2555).pdf
ข้อแนะนำการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี FBDGs (2555).pdf
ข้อแนะนำการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี FBDGs (2555).pdf
ข้อแนะนำการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี FBDGs (2555).pdf
ข้อแนะนำการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี FBDGs (2555).pdf
ข้อแนะนำการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี FBDGs (2555).pdf
ข้อแนะนำการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี FBDGs (2555).pdf

More Related Content

What's hot

Loadแนวข้อสอบ นักโภชนาการ โรงพยาบาลราชวิถี
Loadแนวข้อสอบ นักโภชนาการ โรงพยาบาลราชวิถีLoadแนวข้อสอบ นักโภชนาการ โรงพยาบาลราชวิถี
Loadแนวข้อสอบ นักโภชนาการ โรงพยาบาลราชวิถี
ปลั๊ก พิมวิเศษ
 
โรคความดันโลหิตสูง
โรคความดันโลหิตสูงโรคความดันโลหิตสูง
โรคความดันโลหิตสูง
bird090533
 

What's hot (20)

สมุดบันทึกสุขภาพผู้สูงอายุ
สมุดบันทึกสุขภาพผู้สูงอายุสมุดบันทึกสุขภาพผู้สูงอายุ
สมุดบันทึกสุขภาพผู้สูงอายุ
 
Food for CKD
Food for CKDFood for CKD
Food for CKD
 
โภชนบำบัด
โภชนบำบัดโภชนบำบัด
โภชนบำบัด
 
แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลโภชนบำบัดในโรคเบาหวาน
แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลโภชนบำบัดในโรคเบาหวานแนวทางเวชปฏิบัติการดูแลโภชนบำบัดในโรคเบาหวาน
แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลโภชนบำบัดในโรคเบาหวาน
 
การเบิกจ่ายชดเชย การแก้ไขกรณีติด C และการปฏิเสธการจ่ายชดเชยค่าบริการทันตกรรมส...
การเบิกจ่ายชดเชย การแก้ไขกรณีติด C และการปฏิเสธการจ่ายชดเชยค่าบริการทันตกรรมส...การเบิกจ่ายชดเชย การแก้ไขกรณีติด C และการปฏิเสธการจ่ายชดเชยค่าบริการทันตกรรมส...
การเบิกจ่ายชดเชย การแก้ไขกรณีติด C และการปฏิเสธการจ่ายชดเชยค่าบริการทันตกรรมส...
 
อาหารตั้งครรภ์
อาหารตั้งครรภ์อาหารตั้งครรภ์
อาหารตั้งครรภ์
 
วัยผู้ใหญ่
วัยผู้ใหญ่วัยผู้ใหญ่
วัยผู้ใหญ่
 
การบริหารลูกเสือ
การบริหารลูกเสือการบริหารลูกเสือ
การบริหารลูกเสือ
 
ตัวอย่างแผนธุรกิจน้ำพริก
ตัวอย่างแผนธุรกิจน้ำพริกตัวอย่างแผนธุรกิจน้ำพริก
ตัวอย่างแผนธุรกิจน้ำพริก
 
องค์ความรู้ด้านอาหารและโภชนาการสำหรับทุกช่วงวัย
องค์ความรู้ด้านอาหารและโภชนาการสำหรับทุกช่วงวัยองค์ความรู้ด้านอาหารและโภชนาการสำหรับทุกช่วงวัย
องค์ความรู้ด้านอาหารและโภชนาการสำหรับทุกช่วงวัย
 
Slide ความรู้ด้านการเตรียมสุขภาพช่องปากและฟัน Oral hygiene สำหรับผู้ป่วยปากแ...
Slide ความรู้ด้านการเตรียมสุขภาพช่องปากและฟัน Oral hygiene  สำหรับผู้ป่วยปากแ...Slide ความรู้ด้านการเตรียมสุขภาพช่องปากและฟัน Oral hygiene  สำหรับผู้ป่วยปากแ...
Slide ความรู้ด้านการเตรียมสุขภาพช่องปากและฟัน Oral hygiene สำหรับผู้ป่วยปากแ...
 
Loadแนวข้อสอบ นักโภชนาการ โรงพยาบาลราชวิถี
Loadแนวข้อสอบ นักโภชนาการ โรงพยาบาลราชวิถีLoadแนวข้อสอบ นักโภชนาการ โรงพยาบาลราชวิถี
Loadแนวข้อสอบ นักโภชนาการ โรงพยาบาลราชวิถี
 
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอารมณ์ผิดปกติ โดย อ.วิไลวรรณ บุญเรือง
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอารมณ์ผิดปกติ โดย อ.วิไลวรรณ  บุญเรืองการพยาบาลผู้ป่วยที่มีอารมณ์ผิดปกติ โดย อ.วิไลวรรณ  บุญเรือง
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอารมณ์ผิดปกติ โดย อ.วิไลวรรณ บุญเรือง
 
โรคความดันโลหิตสูง
โรคความดันโลหิตสูงโรคความดันโลหิตสูง
โรคความดันโลหิตสูง
 
อาหารในผู้ป่วยไตเรื้อรัง
อาหารในผู้ป่วยไตเรื้อรังอาหารในผู้ป่วยไตเรื้อรัง
อาหารในผู้ป่วยไตเรื้อรัง
 
ชุดส่งเสริมความรู้โภชนาการและการบริโภค
ชุดส่งเสริมความรู้โภชนาการและการบริโภคชุดส่งเสริมความรู้โภชนาการและการบริโภค
ชุดส่งเสริมความรู้โภชนาการและการบริโภค
 
ยาสามัญประจำบ้านแผนปจจุบันและแผนโบราณ
ยาสามัญประจำบ้านแผนปจจุบันและแผนโบราณยาสามัญประจำบ้านแผนปจจุบันและแผนโบราณ
ยาสามัญประจำบ้านแผนปจจุบันและแผนโบราณ
 
การทำความสะอาดช่องปาก
การทำความสะอาดช่องปากการทำความสะอาดช่องปาก
การทำความสะอาดช่องปาก
 
ความเครียดและการจัดการความเครียด
ความเครียดและการจัดการความเครียดความเครียดและการจัดการความเครียด
ความเครียดและการจัดการความเครียด
 
แผนการเรียนรู้ เรื่อง โภชนาการกับสุขภาพ
แผนการเรียนรู้ เรื่อง โภชนาการกับสุขภาพแผนการเรียนรู้ เรื่อง โภชนาการกับสุขภาพ
แผนการเรียนรู้ เรื่อง โภชนาการกับสุขภาพ
 

Similar to ข้อแนะนำการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี FBDGs (2555).pdf

Week 5 Nutrition And Sanitation In The Food Service Industry 2 2552
Week 5 Nutrition And Sanitation In The Food Service Industry 2 2552Week 5 Nutrition And Sanitation In The Food Service Industry 2 2552
Week 5 Nutrition And Sanitation In The Food Service Industry 2 2552
Pavit Tansakul
 
แผนบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง
แผนบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียงแผนบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง
แผนบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง
teeradejmwk
 
อาหารสุขภาพ 1
อาหารสุขภาพ 1อาหารสุขภาพ 1
อาหารสุขภาพ 1
Utai Sukviwatsirikul
 
ใบงานที่ 2 สารคดี
ใบงานที่ 2 สารคดีใบงานที่ 2 สารคดี
ใบงานที่ 2 สารคดี
Suparnisa Aommie
 

Similar to ข้อแนะนำการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี FBDGs (2555).pdf (20)

Week 5 Nutrition And Sanitation In The Food Service Industry 2 2552
Week 5 Nutrition And Sanitation In The Food Service Industry 2 2552Week 5 Nutrition And Sanitation In The Food Service Industry 2 2552
Week 5 Nutrition And Sanitation In The Food Service Industry 2 2552
 
อาหารตามหมู่เลือด
อาหารตามหมู่เลือดอาหารตามหมู่เลือด
อาหารตามหมู่เลือด
 
น้ำตาล สุขภาพ และการจัดการด้านการบริโภคที่เหมาะสม (2555).pdf
น้ำตาล สุขภาพ และการจัดการด้านการบริโภคที่เหมาะสม (2555).pdfน้ำตาล สุขภาพ และการจัดการด้านการบริโภคที่เหมาะสม (2555).pdf
น้ำตาล สุขภาพ และการจัดการด้านการบริโภคที่เหมาะสม (2555).pdf
 
แผนบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง
แผนบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียงแผนบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง
แผนบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง
 
Presentation final project
Presentation final projectPresentation final project
Presentation final project
 
ประสิทธิผลของการให้ข้อมูลด้านโภชนาการต่อพฤติกรรม การบริโภคอาหารของนักศึกษาในเ...
ประสิทธิผลของการให้ข้อมูลด้านโภชนาการต่อพฤติกรรม การบริโภคอาหารของนักศึกษาในเ...ประสิทธิผลของการให้ข้อมูลด้านโภชนาการต่อพฤติกรรม การบริโภคอาหารของนักศึกษาในเ...
ประสิทธิผลของการให้ข้อมูลด้านโภชนาการต่อพฤติกรรม การบริโภคอาหารของนักศึกษาในเ...
 
คู่มือเครื่องชี้วัดทางโภชนาการและโรคที่เกี่ยวข้อง (2555).pdf
คู่มือเครื่องชี้วัดทางโภชนาการและโรคที่เกี่ยวข้อง (2555).pdfคู่มือเครื่องชี้วัดทางโภชนาการและโรคที่เกี่ยวข้อง (2555).pdf
คู่มือเครื่องชี้วัดทางโภชนาการและโรคที่เกี่ยวข้อง (2555).pdf
 
Program roadmap14 final
Program roadmap14 finalProgram roadmap14 final
Program roadmap14 final
 
อาหารสุขภาพ 1
อาหารสุขภาพ 1อาหารสุขภาพ 1
อาหารสุขภาพ 1
 
Howtoperfect610
Howtoperfect610 Howtoperfect610
Howtoperfect610
 
ใบงานที่ 2 สารคดี
ใบงานที่ 2 สารคดีใบงานที่ 2 สารคดี
ใบงานที่ 2 สารคดี
 
แผนการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง โภชนาการกับสุขภาพ
แผนการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง โภชนาการกับสุขภาพแผนการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง โภชนาการกับสุขภาพ
แผนการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง โภชนาการกับสุขภาพ
 
แนวทางการรักษาโรคอ้วน
แนวทางการรักษาโรคอ้วนแนวทางการรักษาโรคอ้วน
แนวทางการรักษาโรคอ้วน
 
Cpg obesity in children
Cpg obesity in childrenCpg obesity in children
Cpg obesity in children
 
นโยบายด้านอาหาร ภูเก็ต 17 nov 2014
นโยบายด้านอาหาร ภูเก็ต 17 nov 2014นโยบายด้านอาหาร ภูเก็ต 17 nov 2014
นโยบายด้านอาหาร ภูเก็ต 17 nov 2014
 
การดูแลสุขภาพ
การดูแลสุขภาพการดูแลสุขภาพ
การดูแลสุขภาพ
 
4 0
4 04 0
4 0
 
เอกสารประกอบการเรียนวิชาโภชนบำบัด
เอกสารประกอบการเรียนวิชาโภชนบำบัดเอกสารประกอบการเรียนวิชาโภชนบำบัด
เอกสารประกอบการเรียนวิชาโภชนบำบัด
 
Dm 2557
Dm 2557Dm 2557
Dm 2557
 
แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ. 2557
แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ. 2557แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ. 2557
แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ. 2557
 

More from Vorawut Wongumpornpinit

More from Vorawut Wongumpornpinit (20)

Grammar Rules _ Speak Good English Movement.pdf
Grammar Rules _ Speak Good English Movement.pdfGrammar Rules _ Speak Good English Movement.pdf
Grammar Rules _ Speak Good English Movement.pdf
 
บัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพร พ.ศ.2566.pdf
บัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพร พ.ศ.2566.pdfบัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพร พ.ศ.2566.pdf
บัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพร พ.ศ.2566.pdf
 
Psilocybin mushroom handbook.pdf
Psilocybin mushroom handbook.pdfPsilocybin mushroom handbook.pdf
Psilocybin mushroom handbook.pdf
 
โภชนศาสตร์ ในภูมิปัญญาไทย.pdf
โภชนศาสตร์ ในภูมิปัญญาไทย.pdfโภชนศาสตร์ ในภูมิปัญญาไทย.pdf
โภชนศาสตร์ ในภูมิปัญญาไทย.pdf
 
ประกาศกรมฯ เรื่อง มาตรฐานการปลูกและการเก็บเกี่ยวที่ดีของพืชกัญชา (Thailand gu...
ประกาศกรมฯ เรื่อง มาตรฐานการปลูกและการเก็บเกี่ยวที่ดีของพืชกัญชา (Thailand gu...ประกาศกรมฯ เรื่อง มาตรฐานการปลูกและการเก็บเกี่ยวที่ดีของพืชกัญชา (Thailand gu...
ประกาศกรมฯ เรื่อง มาตรฐานการปลูกและการเก็บเกี่ยวที่ดีของพืชกัญชา (Thailand gu...
 
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdfแผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
 
รายงานสุขภาพคนไทย-2566.pdf
รายงานสุขภาพคนไทย-2566.pdfรายงานสุขภาพคนไทย-2566.pdf
รายงานสุขภาพคนไทย-2566.pdf
 
ตำรับยาจีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์.pdf
ตำรับยาจีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์.pdfตำรับยาจีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์.pdf
ตำรับยาจีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์.pdf
 
ตำรับยาจีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย เล่ม 3.pdf
ตำรับยาจีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย เล่ม 3.pdfตำรับยาจีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย เล่ม 3.pdf
ตำรับยาจีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย เล่ม 3.pdf
 
ตำรับยาจีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย เล่ม 2.pdf
ตำรับยาจีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย เล่ม 2.pdfตำรับยาจีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย เล่ม 2.pdf
ตำรับยาจีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย เล่ม 2.pdf
 
IUNS Country Policy Analysis Nutrition Impact of Agricul.pdf
IUNS Country Policy Analysis Nutrition Impact of Agricul.pdfIUNS Country Policy Analysis Nutrition Impact of Agricul.pdf
IUNS Country Policy Analysis Nutrition Impact of Agricul.pdf
 
กลยุทธ์ ค้าปลีก สร้างความปลอดภัยอาหาร (2557).pdf
กลยุทธ์ ค้าปลีก สร้างความปลอดภัยอาหาร (2557).pdfกลยุทธ์ ค้าปลีก สร้างความปลอดภัยอาหาร (2557).pdf
กลยุทธ์ ค้าปลีก สร้างความปลอดภัยอาหาร (2557).pdf
 
วัฒนธรรมอาหารไทย - ภาคใต้ (2556).pdf
วัฒนธรรมอาหารไทย - ภาคใต้ (2556).pdfวัฒนธรรมอาหารไทย - ภาคใต้ (2556).pdf
วัฒนธรรมอาหารไทย - ภาคใต้ (2556).pdf
 
วัฒนธรรมอาหารไทย - ภาคเหนือ (2556).pdf
วัฒนธรรมอาหารไทย - ภาคเหนือ (2556).pdfวัฒนธรรมอาหารไทย - ภาคเหนือ (2556).pdf
วัฒนธรรมอาหารไทย - ภาคเหนือ (2556).pdf
 
วัฒนธรรมอาหารไทย - ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (2556).pdf
วัฒนธรรมอาหารไทย - ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (2556).pdfวัฒนธรรมอาหารไทย - ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (2556).pdf
วัฒนธรรมอาหารไทย - ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (2556).pdf
 
วัฒนธรรมอาหารไทย - ภาคกลาง (2556).pdf
วัฒนธรรมอาหารไทย - ภาคกลาง (2556).pdfวัฒนธรรมอาหารไทย - ภาคกลาง (2556).pdf
วัฒนธรรมอาหารไทย - ภาคกลาง (2556).pdf
 
เวชกรรมไทยเบื้องต้น คู่มือมาตรฐานการฝึกอบรม สาขาการแพทย์แผนไทย ประเภทการนวดไท...
เวชกรรมไทยเบื้องต้น คู่มือมาตรฐานการฝึกอบรม สาขาการแพทย์แผนไทย ประเภทการนวดไท...เวชกรรมไทยเบื้องต้น คู่มือมาตรฐานการฝึกอบรม สาขาการแพทย์แผนไทย ประเภทการนวดไท...
เวชกรรมไทยเบื้องต้น คู่มือมาตรฐานการฝึกอบรม สาขาการแพทย์แผนไทย ประเภทการนวดไท...
 
การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุแบบบูรณาการ.pdf
การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุแบบบูรณาการ.pdfการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุแบบบูรณาการ.pdf
การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุแบบบูรณาการ.pdf
 
คู่มือเกณฑ์ชุมชนต้นแบบดูแลผู้สูงอายุ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.pdf
คู่มือเกณฑ์ชุมชนต้นแบบดูแลผู้สูงอายุ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.pdfคู่มือเกณฑ์ชุมชนต้นแบบดูแลผู้สูงอายุ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.pdf
คู่มือเกณฑ์ชุมชนต้นแบบดูแลผู้สูงอายุ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.pdf
 
วัฒนธรรมอาหารไทยจากอดีตสู่ปัจจุบัน (2556).pdf
วัฒนธรรมอาหารไทยจากอดีตสู่ปัจจุบัน (2556).pdfวัฒนธรรมอาหารไทยจากอดีตสู่ปัจจุบัน (2556).pdf
วัฒนธรรมอาหารไทยจากอดีตสู่ปัจจุบัน (2556).pdf
 

ข้อแนะนำการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี FBDGs (2555).pdf

  • 1.
  • 2. ข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี: การทบทวนและวิเคราะห์ Food-Based Dietary Guidelines: Review and Analysis บรรณาธิการ ประไพศรี ศิริจักรวาล, อุมาพร สุทัศน์วรวุฒิ พิมพ์ครั้งแรก กันยายน 2555 จำ�นวน 1,000 เล่ม สนับสนุนโดย  สำ�นักงานคณะกรรมการอาหารและยา ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการอาหารแห่งชาติ  สมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี  สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล พิมพ์ที่ โรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • 3. ก คำ�นำ� ข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี (Food-Based Dietary Guidelines, FBDGs) เป็นองค์ประกอบหรือเครื่องมือที่ สำ�คัญในการดำ�เนินงานตามนโยบายด้านโภชนาการของประเทศ เพื่อ ให้ประชาชนมีการบริโภคอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อภาวะโภชนาการที่ดี สุขภาพแข็งแรง และป้องกันโรคที่มีสาเหตุ เกี่ยวข้องกับอาหารและโภชนาการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ โรคขาดสาร อาหาร และโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่กำ�ลังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำ�คัญ ของประเทศไทย เช่น โรคอ้วน เบาหวาน ความดันเลือดสูง โรคหัวใจ และหลอดเลือด เป็นต้น ในประเทศไทย ได้มีการจัดทำ�ข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารเพื่อ สุขภาพที่ดี ของคนไทยกลุ่มวัยต่างๆ คือ ทารก เด็กเล็ก เด็กอายุ 6 ปีขึ้นไป ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ รวมทั้งได้มีการจัดทำ�สัญลักษณ์ คือ ธงโภชนาการ เพื่อการสื่อสารข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารเชิงปริมาณ สำ�หรับเด็กอายุ 6 ปีขึ้นไป ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ นอกจากนี้ ในปัจจุบัน กำ�ลังมีการจัดทำ�คำ�แนะนำ�การบริโภคอาหารสำ�หรับหญิงตั้งครรภ์ คณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์เพื่อสร้างความเชื่อมโยง ด้านอาหารและโภชนาการสู่คุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งเป็นคณะกรรมการ เฉพาะเรื่องที่แต่งตั้งโดยคณะกรรมการอาหารแห่งชาติ ได้ตระหนักถึง ความสำ�คัญและประโยชน์ของ FBDGs ในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ เพื่อสร้างความเชื่อมโยงฯ อย่างเป็นรูปธรรม จึงเห็นสมควรให้มีการ รวบรวม ทบทวน และวิเคราะห์ FBDGs ของประเทศไทย ทั้งในส่วน ของเนื้อหา การสื่อสาร การนำ�ไปปฏิบัติ และผลของการปฏิบัติตาม ข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี: การทบทวนและวิเคราะห์
  • 4. ข FBDGs ต่อภาวะโภชนาการและสุขภาพ เพื่อนำ�ไปสู่การปรับปรุงเนื้อหา ให้เป็นปัจจุบันมากยิ่งขึ้น มีการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ และมีการ ประเมินผลอย่างเป็นระบบและสมํ่าเสมอ ทั้งนี้ คณะกรรมการขับเคลื่อน ยุทธศาสตร์ฯ ได้มอบหมายให้สมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จัดตั้งคณะทำ�งานเพื่อดำ�เนินการรวบรวม ทบทวน และวิเคราะห์ FBDGs รวมทั้งเสนอแนวทางการพัฒนาเพื่อขับเคลื่อนการนำ� FBDGs สู่การ ปฏิบัติได้อย่างแท้จริงและยั่งยืน หนังสือ “ข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี: การ ทบทวนและวิเคราะห์” เล่มนี้ เป็นผลงานส่วนหนึ่งของคณะทำ�งานชุดนี้ และมีเนื้อหาครอบคลุมประเด็นต่าง ๆ โดยสังเขปที่เกี่ยวข้องกับการ พัฒนา FBDGs ของประเทศไทยและการนำ� FBDGs ไปใช้ในโครงการ และการดำ�เนินงานต่างๆ ส่วนรายงานฉบับเต็มกำ�ลังอยู่ในระหว่างการ จัดทำ� คณะผู้จัดทำ�และคณะทำ�งาน ขอขอบคุณ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ไกรสิทธิ์ ตันติศิรินทร์ ที่ให้คำ�ปรึกษาและข้อแนะนำ�อันเป็น ประโยชน์อย่างยิ่ง หวังว่าผู้อ่านจะได้รับประโยชน์จากหนังสือเล่มนี้ และ สามารถนำ�ไปประยุกต์ในการปฏิบัติงานเพื่อส่งเสริมภาวะโภชนาการและ คุณภาพชีวิตที่ดีของคนไทยสืบต่อไป ประไพศรี ศิริจักรวาล อุมาพร สุทัศน์วรวุฒิ บรรณาธิการ ข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี: การทบทวนและวิเคราะห์
  • 5. ค สารบัญ หน้า  บทนำ� 1  ความสำ�คัญของข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี 3  ปัจจัยสำ�คัญในการพัฒนาข้อแนะนำ�การบริโภคอาหาร 5  การจัดทำ�ข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี 7  ข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารของประเทศต่างๆ 15  ข้อปฏิบัติการกินอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีของคนไทย 19  ข้อปฏิบัติการกินอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี 21 ในเด็ก 6 ขวบถึงผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ  ข้อปฏิบัติการให้อาหารเพื่อสุขภาพที่ดีในทารกและเด็กเล็ก 41  คำ�แนะนำ�การบริโภคอาหารสำ�หรับหญิงตั้งครรภ์ 65  ข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีในผู้สูงอายุ 75  ข้อปฏิบัติการกินอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีของคนไทย: 77 ข้อเสนอแนะการปรับปรุงและความท้าทายในศตวรรษที่ 21  สรุป 91 ข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี: การทบทวนและวิเคราะห์
  • 7. 1 ข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี: การทบทวนและวิเคราะห์ บทนำ� ข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี (Food-Based Dietary Guidelines, FBDGs) คือ ข้อความที่เข้าใจง่ายในการแนะนำ� การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีสำ�หรับบุคคลทั่วไป เป็นข้อแนะนำ�ที่ เน้นอาหารที่คนควรกิน โดยไม่ได้กล่าวถึงสารอาหาร ข้อแนะนำ�ควร มีการกำ�หนดปริมาณอาหารพื้นฐานกลุ่มต่าง ๆ ที่ควรได้รับ เพื่อการ วางแผนการจัดอาหารในแต่ละมื้อและตลอดวัน ข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีของแต่ละประเทศควร มีความเหมาะสมกับสถานการณ์ด้านโภชนาการและสุขภาพ ทรัพยากร อาหารที่มีในท้องถิ่น ลักษณะประชากร และแบบแผนการบริโภคอาหาร ของประชาชนในประเทศนั้นๆ องค์การอนามัยโลกกำ�หนดลักษณะของข้อแนะนำ�การบริโภค อาหารเพื่อสุขภาพที่ดีไว้ดังนี้ คือ ในการให้ความรู้พื้นฐานด้าน โภชนาการ ให้มุ่งเน้นที่อาหารในแต่ละกลุ่ม เน้นการใช้สำ�หรับ แต่ละบุคคลหรือประชาชนทั่วไป ใช้ภาษาที่ง่าย หลีกเลี่ยงศัพท์ทาง วิทยาศาสตร์ให้มากที่สุด
  • 9. 3 ข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี: การทบทวนและวิเคราะห์ ความสำ�คัญของข้อแนะนำ�การบริโภค อาหารเพื่อสุขภาพที่ดี การกำ�หนดข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารเพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพ ที่ดี เป็นนโยบายของภาครัฐในประเทศต่างๆ ทั่วโลก ไม่ใช่เฉพาะเพื่อให้ได้ สารอาหารครบถ้วนเพื่อป้องกันภาวะขาดสารอาหารเพียงอย่างเดียว แต่ เพื่อรณรงค์ให้มีการบริโภคอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการเพื่อสุขภาพ ที่ดีขึ้น และหลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารที่เพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะโรคไม่ ติดต่อเรื้อรัง (chronic non-communicable diseases) ด้วย ข้อแนะนำ� ดังกล่าวเน้นการให้ข้อมูลเกี่ยวกับการบริโภคอาหารให้หลากหลาย มีความสมดุลด้านการกระจายของพลังงานที่เหมาะสม และได้รับอาหาร ในปริมาณที่เพียงพอ ไม่มากหรือน้อยเกินไป ทั้งนี้ที่มาของข้อแนะนำ� การบริโภคอาหารมาจากข้อมูลด้านปัญหาสาธารณสุขของแต่ละประเทศ โดยมีงานวิจัยสนับสนุนทางด้านวิทยาศาสตร์ และเน้นการแนะนำ�ใน รูปแบบของอาหารที่ทำ�ให้เกิดความสมดุลของสารอาหาร ต้องคำ�นึงถึง ความเป็นไปได้ในการปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม เข้ากับวิถีชีวิตของประชาชน และมีความยืดหยุ่นในตัวเอง ควรมีการประเมินการนำ�ข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ ที่ดีไปใช้ รวมทั้งประเมินการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภค ตลอด จนการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ด้านสุขภาพ และมีการจัดปรับข้อ แนะนำ�ในเวลาที่เหมาะสม รูปแบบการนำ�เสนอข้อแนะนำ�การบริโภค อาหารที่จะให้ได้ผลสำ�หรับประชาชนทั่วไป มักจะออกมาเป็นภาพที่ เข้าใจง่าย มีรูปร่างเป็นเอกลักษณ์ของประเทศนั้นๆ มีการแบ่งสัดส่วน ของอาหารแต่ละกลุ่มตามปริมาณที่แนะนำ� อาจใช้ภาพอาหารจริงหรือ ภาพที่เป็นสัญลักษณ์ และใช้สีเป็นสื่อได้อีกทางหนึ่ง
  • 10. 4 ข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี: การทบทวนและวิเคราะห์ ความพยายามที่จะนำ�เสนอข้อแนะนำ�หรือแนวทางการบริโภค อาหารเพื่อสุขภาพที่ดีในรูปแบบของรูปภาพไม่ใช่เป็นเรื่องง่าย เพราะ ต้องบรรจุข้อมูลเกี่ยวกับอาหาร โภชนาการ และสุขภาพ ซึ่งเป็นข้อมูลที่ มากและซับซ้อน ที่จะต้องสรุปลงในพื้นที่เล็กๆ ที่มีข้อความจำ�กัด ดังนั้น ในแต่ละประเทศจึงมีความพยายามที่จะสื่อสารข้อมูลเหล่านี้ให้เข้าถึง ประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้บรรลุถึงการมีภาวะโภชนาการ และสุขภาพที่ดี ลดความเสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรังได้ตามเป้าหมาย
  • 11. 5 ข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี: การทบทวนและวิเคราะห์ ปัจจัยสำ�คัญในการพัฒนาข้อแนะนำ� การบริโภคอาหาร 1. ข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีควรเป็นข้อความ ที่เข้าใจง่าย เหมาะกับสถานการณ์ปัญหาสุขภาพที่ประชาชนให้ความ สนใจ สามารถปฏิบัติตามข้อแนะนำ�ได้ 2. ข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี ต้องหลีกเลี่ยง การแนะนำ�เรื่องสารอาหารที่มีตัวเลขเข้ามาเกี่ยวข้อง 3. ข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี ต้องมีพื้นฐานมา จากข้อมูลสุขภาพของประชาชนในประเทศ เช่น ข้อมูลการเกิดโรคไม่ ติดต่อเรื้อรัง เป็นต้น โดยการแนะนำ�การบริโภคอาหารต้องคำ�นึงถึง ตัวสารอาหารที่เป็นต้นเหตุของความเสี่ยงของการเกิดโรค 4. ข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีของแต่ละประเทศ เป็นข้อแนะนำ�ที่มีจุดประสงค์เพื่อลดปัญหาสุขภาพของประชาชนในประ เทศนั้นๆ นอกจากนั้น การจัดทำ�ข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ ดี ต้องคำ�นึงถึงแบบแผนการบริโภคอาหารของประชาชน สามารถนำ� ไปปฏิบัติได้โดยอาหารที่แนะนำ�นั้นมีอยู่ทั่วไป ราคาเหมาะสมประชาชน ส่วนใหญ่สามารถเข้าถึงได้ มีส่วนที่ยืดหยุ่นได้เหมาะสำ�หรับวิถีชีวิต สังคม เศรษฐฐานะ การเกษตรและสิ่งแวดล้อมต่างๆ ที่อาจมีผลต่อ แบบแผนการบริโภคของประชาชน ทำ�ให้เข้าใจง่าย โดยการจัดกลุ่ม อาหารในแบบที่คุ้นเคย รูปภาพประกอบชัดเจนและเข้าใจได้ง่าย เป็นที่ ยอมรับได้ ที่สำ�คัญต้องมีการทดสอบความเข้าใจก่อนนำ�ไปใช้ เหมาะกับ วัฒนธรรมของสังคมนั้นๆ โดยกลุ่มอาหารที่เป็นทางเลือกต้องไม่เป็น
  • 12. 6 ข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี: การทบทวนและวิเคราะห์ อาหารต้องห้ามหรือขัดกับวัฒนธรรมการบริโภคหรือความเชื่อทาง ศาสนา ควรแนะนำ�การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอย่างค่อยเป็น ค่อยไป การแนะนำ�เรื่องอาหารควรเป็นทางบวก และให้มีความสุขกับ การบริโภคอาหารอย่างมีคุณภาพเพื่อสุขภาพที่ดี
  • 13. 7 ข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี: การทบทวนและวิเคราะห์ การจัดทำ�ข้อแนะนำ�การบริโภคอาหาร เพื่อสุขภาพที่ดี องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization, FAO) และองค์การอนามัยโลก (World Health Organization, WHO) ได้จัดประชุมผู้เชี่ยวชาญเมื่อ พ.ศ. 2538 เพื่อ กำ�หนดแนวทางในการจัดทำ�ข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี เพื่อให้เป็นมาตรฐานการจัดทำ�สำ�หรับประเทศต่างๆ และได้ตีพิมพ์ รายงานนี้เมื่อปี พ.ศ. 2541 (WHO Technical Report Series 880, 1998) โดยแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกเป็นข้อแนะนำ�การพัฒนา FBDGs ส่วนที่สองเป็นข้อแนะนำ�การนำ� FBDGs ไปใช้เพื่อปรับเปลี่ยน พฤติกรรมการบริโภคและส่งเสริมภาวะโภชนาการ ในการจัดทำ�ข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีในแต่ละ ประเทศต้องตระหนักว่า สามารถปรับปรุงได้เสมอเมื่อมีข้อมูลใหม่ เกี่ยวกับการบริโภคอาหารกับสุขภาพ ทั้งในระดับประเทศ ระดับภูมิภาค และระดับนานาชาติ แม้ว่าข้อแนะนำ�จะเล็งผลสุขภาพในระยะยาว แต่ต้องเป็นข้อแนะนำ�ที่นำ�ไปปฏิบัติได้จริง มีความยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนได้ และขึ้นอยู่กับข้อมูลสถานการณ์ปัจจุบันของแต่ละประเทศ ข้อแนะนำ�ที่สำ�คัญมีดังนี้ 1. คณะทำ�งานหรือคณะกรรมการจัดทำ�ข้อแนะนำ�การบริโภค อาหารเพื่อสุขภาพที่ดี คณะกรรมการชุดนี้ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญจากสหสาขา วิชาที่เกี่ยวข้อง คือ โภชนาการ วิทยาศาสตร์การอาหาร ด้านสุขภาพ
  • 14. 8 ข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี: การทบทวนและวิเคราะห์ การเกษตร ผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสาร กลุ่มผู้บริโภค องค์กรเอกชน ผู้ประกอบการด้านอาหาร และที่สำ�คัญต้องมีฝ่ายรัฐบาลที่เกี่ยวข้องใน การกำ�หนดนโยบายที่จะเป็นผู้ใช้หรือผู้ให้ข้อมูลที่เป็นส่วนสำ�คัญในการ จัดทำ�ข้อแนะนำ�นี้ ซึ่งได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงเกษตร กระทรวงศึกษาธิการ เป็นต้น การที่ผู้กำ�หนดนโยบายมีส่วนร่วมใน การจัดทำ�ข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี จะทำ�ให้เป็น นโยบายระดับชาติที่มีทุกฝ่ายร่วมกันผลักดันเพื่อให้ภาวะโภชนาการของ ประชาชนดีขึ้น คณะกรรมการชุดนี้มีหน้าที่ประเมินสถานการณ์ปัญหา โภชนาการของประเทศที่เกี่ยวข้องกับเรื่องอาหารและการเกิดโรค ผลผลิตด้านอาหารในประเทศ เพื่อให้สอดคล้องกับข้อแนะนำ�การ บริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี เมื่อจัดทำ�ร่างเอกสารที่ประกอบไปด้วย ข้อมูลสถานการณ์และข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารเสร็จแล้ว ต้องผ่าน ให้คณะกรรมการให้ข้อคิดเห็นเพิ่มเติม แก้ไขอีกครั้ง ก่อนที่จะนำ�ไปสุ่ม ทดสอบความเข้าใจกับผู้บริโภค และกลับมาปรับแก้ไขอีกครั้ง สุดท้าย ควรส่งให้ผู้เชี่ยวชาญภายนอกกลุ่ม และถ้าเป็นไปได้ส่งให้ผู้เชี่ยวชาญ ระดับนานาชาติให้ความเห็น จัดปรับตามความเหมาะสมแล้วจึงนำ�ออก ไปเผยแพร่ต่อไป 2. การพัฒนาข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี ขั้นตอนการพัฒนาข้อแนะนำ�ที่องค์การอนามัยโลกกำ�หนดไว้ แต่ละประเทศอาจไม่ต้องดำ�เนินการตามขั้นตอนทุกอย่าง หรืออาจ ดำ�เนินการพร้อมกันในบางขั้นตอน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความพร้อมของแต่ละ ประเทศ และคณะกรรมการจะเป็นผู้ชี้แนะ ให้คำ�ปรึกษา ติดตามผลการ ดำ�เนินงานจนกว่างานจะแล้วเสร็จ
  • 15. 9 ข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี: การทบทวนและวิเคราะห์ ขั้นตอนการดำ�เนินงานที่สำ�คัญ มีดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับอาหารและสุขภาพ โรค และสาเหตุการตายที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคอาหาร วิเคราะห์ข้อมูล จากการสำ�รวจการบริโภคอาหารและภาวะโภชนาการระดับชาติ ความ รุนแรงของปัญหาดังกล่าวพิจารณาได้จากอัตราการเจ็บป่วย การตาย ค่าใช้จ่ายในการดูแลผู้ป่วย จากข้อมูลการสำ�รวจสามารถระบุกลุ่มเสี่ยง ได้ นอกจากนี้ ข้อมูลที่ได้จากงานวิจัยและข้อมูลทางสถิติที่รวบรวมใน หน่วยงานมหาวิทยาลัยหรือหน่วยงานอื่นๆ ก็สามารถนำ�มาใช้ในการ พิจารณาได้ ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาข้อมูลแบบแผนการบริโภคอาหาร ควร แยกแบบแผนการบริโภคอาหารเป็นกลุ่มอายุต่างๆ เช่น ทารก เด็ก ผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร รวมถึงวัฒนธรรมท้อง ถิ่น ความเชื่อ ศาสนา ที่มีแบบแผนการบริโภคอาหารเป็นของตนเอง เพื่อให้สามารถแยกแยะได้ว่าแบบแผนการบริโภคอาหารแบบใดที่ควรส่ง เสริม หรือควรปรับเปลี่ยน ในขั้นตอนนี้ ควรมีข้อมูลชนิดและปริมาณ อาหารทุกชนิดที่มีในประเทศ รวมถึงอาหารที่ผลิตได้เอง อาหารนำ� เข้า ส่งออก ความสมบูรณ์ในแต่ละฤดูกาล ราคา ตลอดจนการเสริม สารอาหารในระดับอุตสาหกรรม ข้อมูลเหล่านี้หาได้จากการสำ�รวจด้าน การเกษตร FAO national food balance sheet, FAO nutrition country profiles และการสำ�รวจการบริโภคอาหารระดับครัวเรือนของ แต่ละประเทศ ขั้นตอนที่ 3 ความเกี่ยวข้องระหว่างอาหารกับสุขภาพ ได้ ข้อสรุปที่เกี่ยวข้องกับระดับความรุนแรงของปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง กับการบริโภคอาหาร สามารถวิเคราะห์จากข้อมูลการสำ�รวจภาวะ โภชนาการและการบริโภคอาหารของประชาชนในประเทศได้ ว่ามี ปัญหาการขาดสารอาหาร หรือปัญหาโภชนาการไม่สมดุลในกลุ่มอายุใด
  • 16. 10 ข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี: การทบทวนและวิเคราะห์ ทั้งนี้ต้องมีการเปรียบเทียบกับปริมาณสารอาหารที่แนะนำ�ให้บริโภคต่อ วันในกลุ่มอายุนั้นๆ ขั้นตอนที่ 4 การให้ความสำ�คัญของระดับนโยบายของชาติ นโยบายด้านสุขภาพ นโยบายด้านการเกษตร นโยบายด้านการศึกษา นโยบายด้านประชากร และนโยบายด้านเศรษฐกิจ ล้วนแต่มีผลต่อการ แก้ปัญหาโภชนาการของประชาชน ขั้นตอนที่ 5 วิเคราะห์ปัญหา สถานการณ์ต่างๆ (สุขภาพ ดี/ไม่ดี โรค การขาดสารอาหารหรือได้รับเกิน พฤติกรรมการบริโภค อาหาร แหล่งอาหาร การตลาด) ที่มีความเกี่ยวข้องกับการจัดทำ�ข้อ แนะนำ�การบริโภคอาหาร ต้องนำ�มาศีกษาและวิเคราะห์ เพื่อกำ�หนด ลำ�ดับความสำ�คัญ ขั้นตอนที่ 6 กำ�หนดเนื้อหาและประชากรกลุ่มเป้าหมายที่จะ ให้คำ�แนะนำ� ต้องพิจารณาจากคำ�ถามต่อไปนี้ 1) ต้องการทำ�ข้อแนะนำ�สำ�หรับประชากรทั่วไปโดยรวม หรือ ต้องการแยกเป็นหลายกลุ่ม เช่น กลุ่มเมือง กลุ่มชนบท เป็นต้น 2) ข้อแนะนำ�นี้จะรวมทั้ง ทารก เด็ก และกลุ่มเสี่ยงอื่นๆ หรือไม่ 3) ข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารนี้จะสอดคล้องกับการมีแหล่ง อาหารหรือไม่ 4) ข้อแนะนำ�นี้จะยั่งยืนหรือไม่ 5) ควรทำ�ข้อแนะนำ�เป็นภาษาท้องถิ่นหรือไม่ 6) ควรแบ่งกลุ่มอาหารเป็นกี่กลุ่ม 7) ควรนำ�อาหารสำ�เร็จรูปมารวมในกลุ่มอาหารหรือไม่ 8) ทำ�อย่างไรที่จะให้ใช้ได้กับแบบแผนการกินอาหารและ ศาสนาที่แตกต่างกัน
  • 17. 11 ข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี: การทบทวนและวิเคราะห์ 9) จัดการอย่างไรกับอาหารชนิดเดียวกันที่มีคุณค่าสาร อาหารแตกต่างกันมาก 10) จะทำ�อย่างไรในการแนะนำ�การบริโภคอาหารในกลุ่มที่ มีความต้องการพลังงานและสารอาหารแตกต่างกัน 11) จะเน้นอาหารบางชนิดในกลุ่มอาหารนั้นๆ ที่มีสาร อาหารที่ดีได้อย่างไร 12) ควรมีการแนะนำ�เรื่องนํ้าและเครื่องดื่มด้วยหรือไม่ 13) ควรเน้นเรื่องความปลอดภัยของนํ้าและอาหารรวมถึง อาหารตามวัยของทารกด้วยหรือไม่ 14) ควรมีการแนะนำ�เรื่องนํ้าหนักตัว การออกกำ�ลังกายและ วิถีชีวิตด้วยหรือไม่ ขั้นตอนที่ 7 กำ�หนดวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และกลุ่ม ประชากรที่จะให้ข้อแนะนำ� ควรพิจารณาสิ่งต่อไปนี้ 1) การเลือกประชากรเป้าหมายและการใช้ยุทธศาสตร์ที่กว้าง อาจมีผลอย่างมากต่อเนื้อหาของการแนะนำ�การบริโภคอาหาร 2) ข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารเป็นส่วนหนึ่งของการดูแล สุขภาพ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิต เช่น การออกกำ�ลังกาย การ สูบบุหรี่ เป็นต้น 3) ควรมีข้อความระบุว่าเป็นข้อแนะนำ�การบริโภคสำ�หรับ ประชาชนทั่วไปที่มีสุขภาพดี และอาหารที่บริโภคอยู่แล้วเป็นประจำ� สามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่มีสาเหตุมาจากการกินอาหาร 4) ข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารควรเน้นการได้รับอาหารโดย รวม ไม่ใช่อาหารชนิดใดชนิดหนึ่ง 5) ต้องกำ�หนดกลุ่มประชากรเป้าหมายให้ชัดเจน โดยทั่วไป เริ่มจัดทำ�ข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารสำ�หรับผู้ใหญ่ และอาจมีสำ�หรับ ทารกและเด็กต่อไป
  • 18. 12 ข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี: การทบทวนและวิเคราะห์ 6) เน้นให้ชัดเจนว่าการใช้ข้อแนะนำ�ต้องใช้รวมทั้งหมด ไม่ แยกใช้ในข้อใดข้อหนึ่ง 7) การจัดลำ�ดับข้อแนะนำ� สามารถทำ�ได้หลายแบบ ข้อความ ต้องชัดเจน อาจมีการสลับข้อความเรียงความสำ�คัญได้ใหม่ หรือต่าง กลุ่มเป้าหมายอาจเรียงไม่เหมือนกันก็ได้ 8) ข้อแนะนำ�การบริโภคอาหาร ต้องสอดคล้องกับข้อแนะนำ� การได้รับสารอาหารประจำ�วันของแต่ละประเทศ 3. การนำ�ข้อปฏิบัติการกินอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีไปใช้ การกำ�หนดข้อปฏิบัติการกินอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีเป็นเครื่อง มือสำ�คัญสำ�หรับการการพัฒนานโยบายด้านอาหารและโภชนาการ และ การให้ความรู้ด้านโภชนาการ ควรมีข้อแนะนำ� 2 ชนิด คือแบบคุณภาพ สำ�หรับประชาชนทั่วไป และแบบปริมาณสำ�หรับผู้กำ�หนดนโยบายและผู้ ประกอบการวิชาชีพด้านสาธารณสุข การที่จะให้มีความสำ�เร็จในการใช้ ข้อแนะนำ� คือ ข้อแนะนำ�นั้นต้องสั้น เข้าใจง่าย จำ�ได้ง่าย เหมาะกับ วัฒนธรรม และมีการสื่อสารผ่านสื่อต่างๆ สมํ่าเสมอ โดยความสำ�เร็จ ขึ้นอยู่กับ  สามารถปฏิบัติได้โดยทั่วไป อาหารที่แนะนำ�หาได้ง่าย  เนื้อหาเข้าใจได้ง่าย ไม่สับสน จำ�ได้ง่าย  เป็นที่ยอมรับ ไม่ขัดกับวัฒนธรรม  ผู้ที่จะนำ�ไปเผยแพร่ควรมีความเชี่ยวชาญด้านการสื่อสาร 4. การติดตามและประเมินผล หลังจากมีการนำ�ข้อปฏิบัติการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี ไปใช้ ควรมีการติดตามและประเมินผลด้านการรณรงค์และการให้ความรู้ โดยการประเมินที่สำ�คัญมี 2 ส่วน ดังนี้
  • 19. 13 ข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี: การทบทวนและวิเคราะห์ 4.1 การประเมินกระบวนการ เพื่อวิเคราะห์วิธีการสื่อสาร ในภาคสนามว่ามีความสำ�เร็จมากน้อยแค่ไหน เพื่อการจัดปรับแผนการ รณรงค์ ทั้งนี้กระบวนการสื่อสารมีผลกระทบต่อผลลัพธ์สุดท้ายคือ สุขภาพของประชาชน 4.2 การประเมินประสิทธิผล เป็นการประเมินการ เปลี่ยนแปลงของความรู้ ทัศนคติ และถ้ามีความเหมาะสมจริงก็จะ สามารถปรับเปลี่ยนนิสัยการกิน นำ�มาซึ่งสุขภาพที่ดีขึ้น องค์กรด้านความปลอดภัยอาหารของยุโรป (European Food Safety Authority, EFSA) ได้กำ�หนดการติดตามและวิธีประเมิน ผลสำ�หรับข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีไว้ ดังนี้  การเปลี่ยนแปลงการซื้อขายอาหาร อย่างไรก็ตามมี ข้อสังเกตไว้ว่า สถิติที่ได้อาจไม่ได้สะท้อนถึงการบริโภคอาหารที่แท้จริง ดังนั้น ต้องระมัดระวังในการอธิบายผลการศึกษาที่ได้  การเปลี่ยนแปลงในส่วนประกอบของอาหาร การที่มี ข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารสามารถมีผลต่อการปรับเปลี่ยนสูตรอาหาร การติดตามเรื่องนี้มีความสำ�คัญ ทั้งนี้ต้องมีความรู้ในเรื่องส่วนประกอบ อาหารเพื่อที่จะวัดแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงการได้รับสารอาหารของ ประชากร  การเปลี่ยนแปลงการบริโภคอาหารหรือสารอาหาร ตัวชี้วัดได้จากการสำ�รวจการบริโภคอาหารที่เชื่อถือได้  การเปลี่ยนแปลงภาวะสุขภาพ วัดได้จากการ เปลี่ยนแปลงของ biomarkers อัตราการเจ็บป่วย อัตราตาย และตัวชี้วัดที่ เฉพาะเจาะจงอื่นๆ
  • 21. 15 ข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี: การทบทวนและวิเคราะห์ ข้อแนะนำ�การบริโภคอาหาร ของประเทศต่างๆ สถานการณ์ปัจจุบันของปัญหาสาธารณสุขคือ ภาวะโภชนาการ เกินและปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรังต่างๆ ซึ่งเป็นปัญหาหลักของประเทศที่ พัฒนาแล้ว แต่ปัญหาของประเทศที่กำ�ลังพัฒนาพบทั้งปัญหาโภชนาการ ขาดและโภชนาการเกินไปด้วยกัน ความรู้ในปัจจุบันช่วยอธิบายสาเหตุ ปัจจัยของทั้ง 2 ภาวะ คือ การเกิดโรคอ้วน เบาหวาน ความดันเลือดสูง ในผู้ใหญ่ ซึ่งเกิดจากการขาดสารอาหารในทารกที่อยู่ในครรภ์มารดา หรือในช่วงแรกของชีวิต การเผชิญปัญหาโภชนาการทั้ง 2 ด้าน ทำ�ให้ การแก้ปัญหาเป็นเรื่องยาก ดังนั้น การนำ�แนวทางการบริโภคอาหาร เพื่อสุขภาพที่ดีของประชาชนให้เกิดการปฏิบัติเป็นรูปธรรม จึงเป็นสิ่งที่ ท้าทายของหน่วยงานด้านสาธารณสุขของประเทศนั้นๆ องค์ประกอบสำ�คัญ องค์ประกอบสำ�คัญของข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารของประเทศ ต่างๆ คือ  ทุกประเทศส่งเสริมการกินอาหารให้หลากหลาย  ทุกประเทศส่งเสริมการดูแลนํ้าหนักตัวให้เหมาะสม  ส่วนใหญ่แนะนำ�การกินผักผลไม้เพิ่มขึ้น  ส่วนใหญ่แนะนำ�ให้ลดการกินนํ้าตาล  ส่วนใหญ่แนะนำ�ให้มีการออกกำ�ลังสมํ่าเสมอ  บางประเทศแนะนำ�ลดการกินไขมันอิ่มตัวและไขมันอื่นๆ  บางประเทศแนะนำ�ให้กินธัญพืชขัดสีแต่น้อย
  • 22. 16 ข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี: การทบทวนและวิเคราะห์  บางประเทศแนะนำ�ให้ดื่มนํ้ามากขึ้น  มีบางประเทศที่เจาะจงแนะนำ�สารอาหารบางชนิด ลักษณะพิเศษในข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารของบางประเทศที่ ไม่เกี่ยวข้องกับการบริโภคอาหารโดยตรง ได้แก่  การส่งเสริมการกินอาหารท้องถิ่น  การเน้นเรื่องครอบครัว ความรัก  หลายประเทศแนะนำ�ให้งดสูบบุหรี่  แนะนำ�ให้ดื่มแอลกอฮอล์แต่น้อย  แนะนำ�เรื่องการปรุงอาหารและเน้นเรื่องความปลอดภัยของ อาหาร ความชัดเจนของปริมาณที่แนะนำ�ให้บริโภค ข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารของประเทศต่างๆ ส่วนใหญ่ไม่ได้ บอกปริมาณที่ชัดเจน ยกเว้นปิรามิดอาหารของสหรัฐอเมริกา นอกนั้น เพียงแต่มีการแบ่งสัดส่วนให้ประมาณปริมาณอาหารจากภาพว่า กลุ่มอาหารใดกินมากกินน้อย หรือกินบ่อยแค่ไหน แต่ก็มีหลายภาพ ที่แบ่งสัดส่วนไว้เท่าๆ กัน ซึ่งไม่อาจตีความได้ว่าแนะนำ�ให้กินปริมาณ หรือความถี่พอๆ กัน หรือไม่ได้มุ่งเน้นถึงปริมาณที่แนะนำ� นอกจากนี้ บางประเทศยังไม่ได้แนะนำ�กลุ่มอาหารบางกลุ่มเป็นปริมาณต่อวัน เช่น ประเทศกัวเตมาลา แนะนำ�การบริโภคเนื้อและนม 1 และ 2 ครั้งต่อ สัปดาห์ตามลำ�ดับ สำ�หรับของบางประเทศ เช่น ชิลี แนะนำ�ให้กิน อาหารทุกกลุ่มทุกวัน แต่ไม่ได้บอกปริมาณ เป็นต้น การจัดอาหารบางชนิดเข้าในกลุ่มอาหารที่ต่างกัน มีอาหารบางชนิดที่มีการจัดเข้าในกลุ่มอาหารที่ต่างกัน เช่น มันฝรั่ง สหรัฐอเมริกาจัดเข้ากลุ่มผัก แคนาดาจัดเข้ากลุ่มผักและผลไม้ เม็กซิโก จัดเข้ากลุ่มธัญพืช ชิลี คอสตาริกา และกัวเตมาลาจัดเข้ากลุ่มธัญพืช
  • 23. 17 ข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี: การทบทวนและวิเคราะห์ และถั่วเมล็ดแห้ง เรื่องนี้เป็นปัญหาสำ�หรับประเทศที่มีการบริโภค มันฝรั่งมากและจัดมันฝรั่งอยู่ในกลุ่มผักผลไม้ เช่น สหรัฐอเมริกา อาจทำ�ให้เกิดความเข้าใจว่าสามารถกินมันฝรั่งแทนผักใบเขียวหรือ ผลไม้ได้ และสหรัฐอเมริกาแนะนำ�การกินผักผลไม้ “5-a-day” จึงยิ่งเป็น ปัญหามากขึ้น เพราะมันฝรั่งมีดัชนีนํ้าตาลสูง พลังงานสูง แต่มีสารอาหาร อื่นตํ่า ถั่วเมล็ดแห้ง ส่วนใหญ่จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับเนื้อสัตว์ ถั่วเมล็ด แห้งและเนื้อสัตว์มีความแตกต่างกันที่ใยอาหาร ไขมัน คอเลสเตอรอล และวิตามินบี 12 ซึ่งการจัดไว้ในกลุ่มเดียวกันมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ใหญ่ว่าจะป้องกันการขาดสารอาหารหรือป้องกัน โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หากป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ควรแยกคนละ กลุ่มกับเนื้อสัตว์ เพื่อแนะนำ�ลดการกินเนื้อสัตว์และให้เพิ่มการกินถั่ว เมล็ดแห้งเพื่อเพิ่มการบริโภคอาหารที่มีใยอาหารสูงและไม่มี คอเลสเตอรอล นอกจากนี้การแยกถั่วเมล็ดแห้งออกจากกลุ่มเนื้อสัตว์ และธัญพืช ยังสามารถแนะนำ�ให้บริโภคร่วมกับธัญพืชเพื่อเพิ่มคุณภาพ โปรตีนสำ�หรับประชาชนที่มีเศรษฐฐานะตํ่าได้ด้วย เช่น ประเทศเม็กซิโก นม หลายประเทศแยกนมและผลิตภัณฑ์ออกจากกลุ่มเนื้อสัตว์ เพื่อเน้นความสำ�คัญของการบริโภคอาหารกลุ่มนี้ ซึ่งอาจเป็นปัญหา ในแง่การปฏิบัติสำ�หรับประชาชนที่มีความบกพร่องในการย่อยนํ้าตาล แลคโตส และในกลุ่มประเทศที่มีการแยกกลุ่มนมออกมา ยังมีการวาง ภาพนมอยู่ในลำ�ดับที่ต่างกัน ไข่ ทุกประเทศจัดไข่อยู่ในกลุ่มเดียวกับเนื้อสัตว์ แต่จากรูปภาพ มีจำ�นวนไข่มากน้อยไม่เท่ากัน ซึ่งน่าจะแสดงถึงปริมาณที่แนะนำ�ให้ บริโภค ในภาพของสหรัฐอเมริกา แคนาดา ชิลี และเม็กซิโก มีไข่ 1 ฟอง ในขณะที่กัวเตมาลา และคอสตาริกา อินเดีย มีรูปไข่ 2 และ 3 ฟองตามลำ�ดับ
  • 24. 18 ข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี: การทบทวนและวิเคราะห์ นํ้ามันและนํ้าตาล หลายประเทศไว้ในกลุ่มเดียวกัน แต่แคนาดา และเม็กซิโกไม่มีในรูปภาพแนะนำ�การบริโภคอาหาร ไม่มีการแนะนำ� ปริมาณที่ควรบริโภคที่ชัดเจน
  • 25. 19 ข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี: การทบทวนและวิเคราะห์ ข้อปฏิบัติการกินอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี ของคนไทย ภาวะโภชนาการที่เหมาะสมเป็นสิ่งที่มีความสำ�คัญสำ�หรับการ ดำ�เนินชีวิต ทั้งในส่วนของการเจริญเติบโตในวัยเด็กและการดำ�รง ชีวิตอย่างมีสุขภาพที่ดีในผู้ใหญ่ นอกจากนี้การกินอาหารเพื่อสุขภาพ เป็นปัจจัยสำ�คัญในการลดความเสี่ยงของการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ที่เกี่ยวกับอาหารและโภชนาการได้ ปัญหาโภชนาการในประเทศไทย พบได้ทั้งในด้านภาวะขาดสารอาหารและภาวะโภชนาการเกิน โดยเฉพาะ อย่างยิ่งโรคโภชนาการเกินได้แก่ โรคอ้วน เบาหวาน ความดันเลือดสูง โรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ มะเร็งบางชนิด เป็นสาเหตุสำ�คัญ ของความพิการและเสียชีวิต ซึ่งโรคดังกล่าวเหล่านี้เป็นโรคที่สามารถ ป้องกันได้ การดำ�เนินการเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคต่างๆ รวมทั้ง การสร้างเสริมสุขภาพนั้น ทำ�ได้โดยการให้ความรู้กับประชาชนเพื่อ เป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสมในการเลือกซื้อ เลือกบริโภค และเสริมสร้างความสามารถในการดูแลตนเองด้านอาหารและ โภชนาการ ประเทศไทยมีการพัฒนาข้อปฏิบัติการกินอาหารเพื่อสุขภาพ ที่ดีสำ�หรับเด็ก 6 ขวบถึงผู้สูงอายุ ข้อปฏิบัติการให้อาหารเพื่อสุขภาพ ที่ดีสำ�หรับทารกและเด็กเล็ก และคำ�แนะนำ�การบริโภคอาหารสำ�หรับ หญิงตั้งครรภ์
  • 27. 21 ข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี: การทบทวนและวิเคราะห์ ข้อปฏิบัติการกินอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี ในเด็ก 6 ขวบถึงผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ ความเป็นมา ประเทศไทยมีข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารมานานแล้ว แต่ไม่มี การแนะนำ�เป็นปริมาณอาหารในแต่ละกลุ่มอย่างชัดเจน เช่น แนะนำ�ให้ กินกับให้มาก กินข้าวแต่พอควรในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม ซึ่งสมัย นั้นคนไทยยังเป็นโรคขาดสารอาหารมาก ต่อมา กระทรวงสาธารณสุข ได้แนะนำ�ให้กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยแบ่งหมู่อาหารอยู่ในรูปวงกลม แบ่งเป็น 5 ช่องเท่าๆ กัน (รูปที่ 1)
  • 28. 22 ข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี: การทบทวนและวิเคราะห์ รูปที่ 1 ตัวอย่างข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารในอดีต คู่มือแนะนำ�การกินอาหารของคนไทยมีการจัดทำ�มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 โดยกองโภชนาการ กรมอนามัย ในคู่มือนี้ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอาหารและโภชนาการ ข้อแนะนำ�การกิน อาหารของคนไทย และการส่งเสริมสุขภาพที่เกี่ยวข้อง (รูปที่ 2) สำ�หรับข้อแนะนำ�การกินอาหารของคนไทยเพื่อให้มีสุขภาพและ ภาวะโภชนาการที่ดี ในคู่มือฉบับนี้ ประกอบด้วยข้อควรปฏิบัติ 10 ข้อ ดังนี้
  • 29. 23 ข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี: การทบทวนและวิเคราะห์ 1. เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ 2. กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ทุกวัน 3. กินอาหารที่สะอาด ปลอดภัยจากเชื้อโรคและสารเคมี 4. กินอาหารไขมันในขนาดพอเหมาะ 5. กินอาหารที่มีใยอาหารอย่างสมํ่าเสมอ 6. กินอาหารรสหวานและนํ้าตาลแต่พอควร 7. รักษานํ้าหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ 8. ระมัดระวังในการกินอาหารที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง 9. ระวังการดื่มสุราและหลีกเลี่ยงการกินอาหารที่มีประโยชน์น้อย 10. หลีกเลี่ยงการกินอาหารรสเค็มจัดและเผ็ดจัด รูปที่ 2 คู่มือแนะนำ�การกินอาหารของคนไทย ปี พ.ศ. 2535
  • 30. 24 ข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี: การทบทวนและวิเคราะห์ จากข้อควรปฏิบัติเหล่านี้ จะเห็นว่ายังไม่มีการแนะนำ�ในเรื่อง ปริมาณ และเป็นข้อปฏิบัติอย่างกว้างๆ ไม่มีการระบุกลุ่มเป้าหมาย ดังนั้นในปี พ.ศ. 2539 กรมอนามัยได้ร่วมมือกับนักวิชาการด้าน โภชนาการของประเทศไทย ในการจัดทำ� “ข้อปฏิบัติการกินอาหารเพื่อ สุขภาพที่ดีของคนไทย” หรือที่เราเรียกว่า “โภชนบัญญัติ 9 ประการ” (รูปที่ 3) รวมทั้งจัดทำ� “ธงโภชนาการ” ขึ้นในปี พ.ศ. 2541 โดย มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1. เพื่อใช้เป็นแนวทางสำ�หรับเจ้าหน้าที่ในการให้ความรู้กับ ประชาชนเพื่อการมีสุขภาพที่ดี 2. เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการที่จะช่วยให้ประชาชนเลือกอาหาร ที่มีคุณค่าและป้องกันโรค 3. เพื่อใช้เป็นเครื่องมือสำ�หรับหน่วยงานในการวางแผนและ ดำ�เนินงานด้านอาหารและโภชนาการ โภชนบัญญัติ 9 ประการ ได้แก่ 1. กินอาหารครบ 5 หมู่ แต่ละหมู่ให้หลากหลาย และหมั่น ดูแลนํ้าหนักตัว 2. กินข้าวเป็นอาหารหลัก สลับกับอาหารประเภทแป้งเป็นบางมื้อ 3. กินพืชผักให้มากและกินผลไม้เป็นประจำ� 4. กินปลา เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ไข่ และถั่วเมล็ดแห้งเป็นประจำ� 5. ดื่มนมให้เหมาะสมตามวัย 6. กินอาหารที่มีไขมันแต่พอควร 7. หลีกเลี่ยงการกินอาหารรสหวานจัด และเค็มจัด 8. กินอาหารที่สะอาด ปราศจากการปนเปื้อน 9. งดหรือลดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
  • 31. 25 ข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี: การทบทวนและวิเคราะห์ รูปที่ 3 หนังสือข้อปฏิบัติการกินอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีของคนไทย เพื่อให้โภชนบัญญัติ 9 ข้อเป็นรูปธรรมมากขึ้นจึงได้มีการระดม ความคิดเห็นจากนักวิชาการเพื่อให้ได้รูปแบบสัดส่วนของอาหารที่ สามารถสื่อสารให้เข้าใจง่ายและนำ�ไปสู่การปฏิบัติได้ จากการสำ�รวจ ความคิดเห็นของประชาชน ซึ่งส่วนใหญ่มีความเห็นว่า การใช้ธงเพื่อ การสื่อสารปริมาณอาหารนั้น เข้าใจง่ายและสามารถจำ�ได้ จึงเป็นที่มา ของคู่มือ “ธงโภชนาการ” (รูปที่ 4) ธงโภชนาการ เป็นสัญลักษณ์รูปสามเหลี่ยมหัวกลับแบบธงแขวน แสดงสัดส่วนอาหารในแต่ละกลุ่มให้เห็นชัดเจนทั้งปริมาณและความ หลากหลาย แบ่งออกเป็น 4 ชั้น โดยฐานใหญ่ชั้นที่ 1 แสดงถึงกลุ่ม อาหารข้าว-แป้ง ชั้นที่ 2 กลุ่มผักและกลุ่มผลไม้ ชั้นที่ 3 กลุ่มเนื้อ สัตว์-ถั่วเมล็ดแห้งและผลิตภัณฑ์ และกลุ่มนม ชั้นที่ 4 เป็นส่วนปลาย ธง แสดงรูปภาพของ นํ้ามัน นํ้าตาล และเกลือ ซึ่งส่วนนี้ระบุว่ากินแต่ น้อยเท่าที่จำ�เป็น สอดคล้องกับข้อแนะนำ�ในโภชนบัญญัติ
  • 32. 26 ข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี: การทบทวนและวิเคราะห์ รูปที่ 4 หนังสือคู่มือธงโภชนาการ ขั้นตอนการจัดทำ�ข้อปฏิบัติการกินอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีของคนไทย การจัดทำ�ข้อปฏิบัติการกินอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีของคนไทย มีการดำ�เนินการตามขั้นตอนดังนี้ (รูปที่ 5) 1. แต่งตั้งคณะทำ�งานข้อปฏิบัติการกินอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี ของคนไทย 2 กลุ่ม เพื่อจัดทำ�ข้อปฏิบัติการกินอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี (เชิงคุณภาพ) ที่เรียกว่า “โภชนบัญญัติ 9 ข้อ” และคณะทำ�งาน ที่ทำ�ข้อแนะนำ�การกินอาหารเชิงปริมาณ ที่พัฒนาเป็นสัญลักษณ์ “ธงโภชนาการ” โดยมีประธานคณะทำ�งานจัดประชุมร่วมกับคณะ ทำ�งานเพื่อติดตามงานหลายครั้ง 2. คณะทำ�งานศึกษาสถานการณ์ด้านอาหาร ภาวะโภชนาการ และสุขภาพ ของประชาชนไทยขณะนั้น เพื่อประมวลข้อมูลใช้ในการ ตัดสินใจกำ�หนดโภชนบัญญัติและ Food Guide Model ในการจัดทำ� ข้อมูลได้ประมวลจากรายงานการวิจัย 5 โครงการที่มีการบันทึกข้อมูล
  • 33. 27 ข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี: การทบทวนและวิเคราะห์ การบริโภคอาหารแบบ 24 ชั่วโมง และแบบ 3 วัน เพื่อดูปริมาณ การบริโภคอาหารแต่ละกลุ่มต่อวัน ปริมาณการบริโภคในแต่ละมื้อ และ ความถี่ของการบริโภคอาหารแต่ละชนิด แต่ละกลุ่มอาหาร 3. ตั้งวัตถุประสงค์และกลุ่มประชากรเป้าหมาย ในการจัดทำ�ข้อ ปฏิบัติการกินอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีของคนไทย คณะทำ�งานเห็นพ้อง กันว่าจะเริ่มทำ�ให้เด็กตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไปถึงผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ โดยอิง ความต้องการสารอาหารที่แนะนำ�สำ�หรับคนไทยปี พ.ศ. 2532 และ ของสหรัฐอเมริกา 4. การดำ�เนินงาน คณะทำ�งานทั้ง 2 ชุด ต่างแยกกันทำ�งาน มีการประชุมกันเป็นครั้งคราว เพื่อรับทราบความก้าวหน้า ผลการดำ�เนินงาน คณะทำ�งานชุดที่ 1 ได้จัดปรับข้อแนะนำ�การกินอาหารเพื่อ สุขภาพที่ดีของคนไทยฉบับเดิมให้สอดคล้องกับภาวะการณ์ปัจจุบัน ได้ ข้อสรุป “ข้อปฏิบัติการกินอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีของคนไทย” 9 ข้อ เรียกว่า “โภชนบัญญัติ 9 ประการ” และตีพิมพ์เผยแพร่เมื่อปี พ.ศ. 2539 ในรูปแบบหนังสือ แผ่นพับและบรรจุอยู่ในโปสเตอร์ “ธงโภชนาการ” หนังสือโภชนบัญญัติมีรายละเอียดของข้อแนะนำ�แต่ละข้อ และส่วน ท้ายของเล่มเป็นแบบประเมินตนเองของผู้บริโภคและผู้มีหน้าที่ประกอบ อาหารในครัวเรือน คณะทำ�งานชุดที่ 2 กำ�หนดกลุ่มอาหาร ปริมาณอาหารต่อ 1 ส่วน ปริมาณอาหารที่ควรได้รับในแต่ละวันของอาหารแต่ละกลุ่ม โดยอิง ข้อมูลการบริโภคอาหารและปริมาณสารอาหารที่แนะนำ�ให้บริโภคใน แต่ละวัน (Thai RDA) และค่าเฉลี่ยของเด็กตั้งแต่อายุ 6 ปีถึงผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ (Thai Recommended Daily Intakes, Thai RDI) และ นำ�มาคิดคำ�นวณตรวจสอบปริมาณสารอาหารโดยการจัดทำ�เมนูอาหาร
  • 34. 28 ข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี: การทบทวนและวิเคราะห์ ทั้งวันของกลุ่มพลังงานทั้ง 3 กลุ่ม คือ 1,600, 2,000 และ 2,400 กิโลแคลอรี กลุ่มพลังงานละ 30-40 วัน โดยใช้โปรแกรม INMUCAL ของสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล รูปที่ 5 ขั้นตอนการจัดทำ�ข้อปฏิบัติการกินอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีของคนไทย ต่อจากนั้น ในปี พ.ศ. 2540 มีการจัดทำ� Food Guide Model ของไทย เป็นหลายรูปแบบ เช่น รูปปิ่นโต รูปฝาชีครอบกับข้าว รูป รุ้งอาหาร รูปพัด เป็นต้น (รูปที่ 6) เมื่อมีการนำ�เสนอคณะทำ�งาน เพื่อเห็นชอบ คณะทำ�งานยังต้องการให้มีรูปแบบอื่นอีก จึงมีการเสนอ รูปธงเป็นอีก 1 ทางเลือก ดังนั้น จึงมีการออกแบบธง 4 แบบ เป็น รูปธงชัยโภชนาการ นำ�โดย นักวิชาการ ความรื่นเริง บรรพบุรุษไทย และครอบครัว (รูปที่ 7) เมื่อทดสอบความเข้าใจของประชาชน พบว่า ประชาชนยังไม่เข้าใจความหมายของสื่อ ทั้งในเรื่องชนิด คณะทำ�งานที่ประกอบ ไปด้วยสหสาขาวิชา - ประธาน - คณะทำ�งาน 2 กลุ่ม วิเคราะห์สถานการณ์ ปัญหาสุขภาพของประเทศ จัดปรับ ตั้งเป้าหมาย และ วัตถุประสงค์ ติดตามและประเมินผล การนำ�ไปใช้ในชุมชน ต่างๆ เผยแพร่ข้อมูล - คู่มือ แผ่นพับ - หลักสูตร โรงเรียน - ผ่านสื่อต่างๆ - พัฒนาข้อปฏิบัติการกิน อาหารเพื่อสุขภาพที่ดี - พัฒนา Food Guide Model - ทดสอบความเข้าใจ
  • 35. 29 ข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี: การทบทวนและวิเคราะห์ ความหลากหลาย และปริมาณอาหารที่แนะนำ�ให้บริโภค รวมทั้งเห็น ว่ามีตัวหนังสือมากไป จึงมีการปรับปรุงรูปธงอีกขั้นตอนหนึ่ง เป็น ลักษณะธงแขวน (รูปที่ 8) อย่างที่เห็นในปัจจุบัน และนำ�รูปธงและ พัดโภชนาการออกทดสอบกับประชาชนอีกครั้ง (รูปที่ 9) ผลสรุปว่า ประชาชนเข้าใจรูปธงมากกว่ารูปพัด จึงมีการนำ�ออกเผยแพร่ (รูปที่ 10) และรณรงค์การนำ�ข้อปฏิบัติการกินอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีฯ ไปใช้ อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการประเมินการนำ�ไปใช้และความสัมฤทธิ์ผลต่อ สุขภาพ รูปที่ 6 Food Guide Model ชุดที่ 1: ปิ่นโต ฝาชี รุ้ง พัด
  • 36. 30 ข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี: การทบทวนและวิเคราะห์ รูปที่ 7 Food Guide Model ชุดที่ 2: ธงชัยโภชนาการ (นักวิชาการความรื่นเริง บรรพบุรุษไทย ครอบครัว)
  • 37. 31 ข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี: การทบทวนและวิเคราะห์ รูปที่ 8 Food Guide Model ปรับปรุงหลังการทดสอบ ความเข้าใจของประชาชน รูปที่ 9 Food Guide Model ที่นำ�ไปทดสอบ การยอมรับของประชาชนรอบที่ 2
  • 38. 32 ข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี: การทบทวนและวิเคราะห์ รูปที่ 10 ธงโภชนาการและตารางกำ�หนดปริมาณอาหาร ที่แนะนำ�ให้บริโภคประจำ�วันสำ�หรับคนไทย ข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีสำ�หรับคนไทยที่เป็น เด็กอายุตั้งแต่ 6 ปี ขึ้นไปจนถึงผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ โดยแสดงเป็นธง โภชนาการนั้น มีการกำ�หนดปริมาณอาหารที่แนะนำ�ตามความต้องการ พลังงาน 3 ระดับ คือ 1,600, 2,000 และ 2,400 กิโลแคลอรี ดังนั้น จึงจัดปริมาณอาหารที่แนะนำ�ต่อวันสำ�หรับ เด็ก หญิงวัยทำ�งาน และผู้สูงอายุในช่วงระดับพลังงาน 1,600 กิโลแคลอรี วัยรุ่นและชาย วัยทำ�งาน 2,000 กิโลแคลอรี และนักกีฬา ผู้ใช้แรงงานอยู่ในกลุ่ม 2,400 กิโลแคลอรี การนำ�ข้อปฏิบัติการกินอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีของคนไทย (FBDGs) ไปใช้ โครงการที่ได้นำ�ข้อปฏิบัติการกินอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีของคน ไทยไปใช้ มีดังนี้ 1. โครงการรณรงค์ “กินพอดี สุขีทั่วไทย” เป็นโครงการภายใต้ยุทธศาสตร์การสื่อสารด้านอาหารและ โภชนาการเพื่อพฤติกรรมที่เหมาะสมภายใต้แผนอาหารและโภชนาการ
  • 39. 33 ข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี: การทบทวนและวิเคราะห์ ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540 - 2544) ซึ่งเป็นการรณรงค์ให้สังคมไทยรู้จักและยอมรับ “ข้อปฏิบัติ การกินอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีของคนไทย” หรือ “โภชนบัญญัติ” โดยการรณรงค์ภายใต้ชื่อ “กินพอดี สุขีทั่วไทย” โดยการผลิตสื่อเผย แพร่ประกอบการรณรงค์ และเผยแพร่สื่อไปทั่วประเทศ มีพิธีเปิดตัว “โภชนบัญญัติ” ที่ตึกสันติไมตรี ทำ�เนียบรัฐบาล โดยมีนายกรัฐมนตรี ในขณะนั้น คือนายชวน หลีกภัย เป็นประธาน มีสื่อมวลชน นักวิชาการ และผู้นำ�สังคม เข้าร่วมสัมมนาและพิธีเปิด มีการรณรงค์เผยแพร่ผ่าน สื่อโทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ วารสาร และสื่อสิ่งพิมพ์อื่นๆ นับเป็น ครั้งแรกของวงการโภชนาการของประเทศไทยที่นักโภชนาการของ ประเทศได้รวมตัวกันในการกำ�หนด “ข้อปฏิบัติการกินอาหารเพื่อสุขภาพ ที่ดีของคนไทย” และเริ่มใช้เป็นเครื่องมือในการให้คนไทยตระหนักใน การกินอาหารให้ถูกหลักโภชนาการ 2. โครงการเมนูชูสุขภาพ (พ.ศ. 2543 - ปัจจุบัน) กองโภชนาการ กรมอนามัย ได้เข้าไปร่วมกับกรมการแพทย์ เพื่อศึกษาหารูปแบบการควบคุมปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดภาวะโรคหัวใจ และหลอดเลือดในจังหวัดเชียงใหม่และมหาสารคาม ที่เน้นการออก กำ�ลังกายและโภชนาการ ในส่วนของโภชนาการได้มีการประยุกต์นำ� อาหารหลัก 5 หมู่ โภชนบัญญัติ และธงโภชนาการ ใส่ลงไปในจานข้าว (จับธงลงจาน) เพื่อให้เป็นจานอาหารที่มีคุณค่าและได้สัดส่วนที่เหมาะสม ภายใต้ชื่อว่า “เมนูชูหัวใจ” หลังจากนั้นได้นำ�แนวคิดเมนูชูหัวใจมา ประยุกต์และพัฒนาให้เป็นเมนูที่ไม่ได้มุ่งเน้นเฉพาะจะป้องกันไม่ให้เกิด โรคหัวใจและหลอดเลือดเท่านั้น แต่รวมถึงโรคต่างๆ ที่เกิดจากการกิน ไม่เป็นและส่งเสริมให้สุขภาพดี จึงเกิดเป็น “เมนูชูสุขภาพ” ขึ้น ซึ่ง ได้กำ�หนดหลักเกณฑ์หรือคุณสมบัติของเมนูอาหารที่สมควรได้รับการ
  • 40. 34 ข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี: การทบทวนและวิเคราะห์ รับรองให้เป็นเมนูชูสุขภาพขึ้น อาทิเช่น เป็นอาหารไทยที่ปรุงจาก อาหารหลักอย่างน้อยให้ครบ 4 หมู่ ถ้ามีผลไม้จะครบ 5 หมู่ มีรสไม่ มันจัด เค็มจัด และหวานจัด ไขมันไม่เกินร้อยละ 25-30 ของพลังงาน เป็นต้น และจะรณรงค์เผยแพร่ในร้านอาหารที่ได้รับป้ายตราสัญลักษณ์ “อาหารสะอาดรสชาติอร่อย” ของกรมอนามัย (Clean Food Good Taste, CFGT) การเผยแพร่เมนูชูสุขภาพได้เกาะกระแสโครงการอาหารปลอดภัย (Food Safety) ที่เป็นนโยบายระดับชาติ และได้มุ่งเน้นที่ร้านอาหาร หาบเร่แผงลอย ซึ่งถือได้ว่าเป็นแหล่งนำ�ร่องในการสื่อสาร ให้ผู้บริโภค ได้เรียนรู้การกินอาหารสะอาดปลอดภัยและได้คุณค่าทางโภชนาการ โดยเรียนรู้ในระหว่างการกินอาหาร (Learning by Eating) ที่ร้าน อาหารได้จัดเมนูชูสุขภาพให้ลูกค้าได้มีทางเลือกที่จะกินอาหารเพื่อ สุขภาพ และที่สำ�คัญโครงการนี้ได้อบรมผู้ประกอบการร้านอาหารทั่ว ประเทศให้ตระหนักและพัฒนาเมนูชูสุขภาพ ดังนั้นการดำ�เนินงาน ตามโครงการเมนูชูสุขภาพอาจกล่าวได้ว่าเป็นกุศโลบายของการสื่อสาร ด้านอาหารและโภชนาการ หรือโภชนศึกษา ที่ได้มีวิวัฒนาการให้เป็น รูปธรรมจนประชาชนสามารถจับต้องและนำ�องค์ความรู้ด้านอาหารและ โภชนาการของประเทศไทย ที่มีวิวัฒนาการจากอาหารหลัก 5 หมู่ สู่โภชนบัญญัติ พัฒนาให้เป็นธงโภชนาการ จับธงลงจานเพื่อการสื่อสาร ที่ปฏิบัติได้กลายเป็น “เมนูชูสุขภาพ” จนปัจจุบันได้มีการดำ�เนินงาน “เมนูไร้พุง” และ “อาหารสุขภาพเลือกได้ตามใจคุณ” โดยดำ�เนิน การได้ประมาณร้อยละ 25 ของร้านอาหารที่ได้ป้าย CFGT (จำ�นวน ประมาณ 10,000 ร้าน)
  • 41. 35 ข้อแนะนำ�การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี: การทบทวนและวิเคราะห์ 3. โครงการกินผักทุกวัน เด็กไทยทำ�ได้/โครงการกินผักทุกวัน เด็กไทยไม่อ้วน (พ.ศ. 2550 - 2551) เป็นโครงการที่ส่งเสริมให้เด็กกินผักมื้อกลางวันมื้อละ 4 ช้อน กินข้าว อย่างน้อยสัปดาห์ละ 5 วัน โดยสอดแทรกเข้ากับโครงการอาหาร กลางวันนักเรียนตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ และโครงการ นี้ได้ใช้แนวทางของ โภชนบัญญัติและธงโภชนาการ เป็นเครื่องมือ ในการดำ�เนินงาน พบว่าการบริโภคผักในปี พ.ศ. 2550 ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 21.4 (ปีพ.ศ. 2549 ร้อยละ 18.5) และยังเพิ่มจำ�นวนของเด็กกินผักเป็นร้อยละ 69.5 (ปี พ.ศ. 2549 ร้อยละ 18.5) และในโครงการนี้ยังมีการจัดทำ�สื่อเพื่อ ส่งเสริมการกินผักของนักเรียน รวมทั้งแทรกเข้าไปในชั่วโมงการเรียน การสอน เพื่อให้เกิดความยั่งยืน 4. การสื่อสาร “โภชนบัญญัติ 9 ประการ” และ “ธงโภชนาการ” การสื่อสาร “โภชนบัญญัติ 9 ประการ” และ “ธงโภชนาการ” ได้มีการดำ�เนินงานใน 2 ลักษณะ คือ 4.1 การสื่อสาร “โภชนบัญญัติ 9 ประการ” และ “ธงโภชนาการ” โดยการดำ�เนินโครงการการสื่อสารเฉพาะ มีดังนี้ 1) โครงการกินพอดี สุขีทั่วไทย ซึ่งมีการสร้างกระแส สังคมเพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงเรื่อง การบริโภคเพื่อการมีสุขภาพที่ดี แต่กระบวนการสื่อสารเพื่อให้เกิดการรับรู้ ตระหนักและนำ�ไปปฏิบัติ ใน ขณะนั้นยังมีข้อจำ�กัดด้านงบประมาณและแนวคิดวิธีการสื่อสารอยู่อีก มาก ซึ่งส่วนมากจะเป็นวิธีการสื่อสารโดยสิ่งพิมพ์ที่เผยแพร่ได้ในวงจำ�กัด 2) การสื่อสารโดยการเป็นวิทยากรในการบรรยายเกี่ยวกับ เรื่องอาหารและโภชนาการ ซึ่งแต่เดิมเน้นในเรื่องอาหารหลัก 5 หมู่ เป็นข้อแนะนำ�การกินอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี ก่อนที่จะมี “โภชนบัญญัติ