SlideShare a Scribd company logo
1 of 187
Download to read offline
คณะกรรมการนโยบายสมุนไพรแหงชาติ
กองสมุนไพรเพื่อเศรษฐกิจ
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข
0-2591-7007 ต่อ 3303
nph.dtam.moph.go.th�
แผนปฏิบัติการดานสมุนไพรแหงชาติ
ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566 – 2570
แผนปฏิ
บ
ั
ต
ิ
ก
ารด
า
นสมุ
น
ไพรแห
ง
ชาติ
ฉบั
บ
ที
่
2
พ.ศ.
2566
–
2570
พิมพ์ครั้งที่ 1
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2566 – 2570)
ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ.2566
ที่ปรึกษา
นายเกียรติภูมิ วงศ์รจิต อดีตปลัดกระทรวงสาธารณสุข
นายทองเปลว กองจันทร์ อดีตปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ อดีตปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม
นายบุณยฤทธิ์ กัลยาณมิตร อดีตปลัดกระทรวงพาณิชย์
นายโอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข
นายสิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
นายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม
นายกีรติ รัชโน ปลัดกระทรวงพาณิชย์
นายสำราญ สาราบรรณ์ อดีตรองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
นายอภัย สุทธิสังข์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
นายศุภชัย ปทุมนากุล รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
นายวันชัย วราวิทย์ รองปลัดกระทรวงพาณิชย์
นายสุรพล ชามาตย์ รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม
นางวรวรรณ ชิตอรุณ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
นายณรงค์ สายวงศ์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข
นายยงยศ ธรรมวุฒิ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข
นางอัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต
ที่ปรึกษาวิชาการ
นางสาวรพีสุภา หวังเจริญรุ่ง นายดาวุด ยูนุช
บรรณาธิการ
นายธงชัย เลิศวิไลรัตนพงศ์ อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
นายสุริยะ วงศ์คงคาเทพ ประธานคณะทำงานยกร่างแผนงาน (ยุทธศาสตร์) ด้านผลิตภัณฑ์
สมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 ฯ
กองบรรณาธิการ
นายขวัญชัย วิศิษฐานนท์ นายธิติ แสวงธรรม นายเทวัญ ธานีรัตน์
นางสาววันทนา แจ้งประจักษ์ นายทรงกลด สว่างวงศ์ นางสาวสุดสวาสดิ์ ดวงศรีไสย์
นายพงศ์สิทธิ์ รัตนกรวิทย์ นางสาวปิยธิดา ถิระรณรงค์ นายจิตติศักดิ์ ศรีปัญญา
นางสาวสุมนา มณีพิทักษ์ นางสิริดา อุปนันท์ นางสาวศรีสุดา โท้ทอง
นายนฤบดินทร์ วุฒิวรรณ นายวุฒิชัย ประชาพร นางนุชอนงค์ เชิดสูงเนิน
นางปรียากร สังขวณิช นางพรพรรณนิล ศตวรรษธำรง นายวราวุธ เสริมสินสิริ
นายเมธา สิมะวรา นายสิทธิชัย แดงประเสริฐ นางสายใจ พรหมเดเวช
นายอนุรุธ ว่องวานิช นายศักดิ์ชัย วิจัยธรรมฤทธิ์ นายชาญชัย ธรรมร่มดี
นายจักราวุธ เผือกคง นายกุลธนิต วนรัตน์ นางกัญญา อินแพง
นางมณฑกา ธีรชัยสกุล นางสาวรัชนี จันทรเกษ นางศรีจรรยา โชตึก
นางสาวพิชญารัตน์ วรรณวุฒิกุล นางสาวสุดารัตน์ เกตโล นายณัฐวุติ ปราบภัย
นางสาววิวรรณ วรกุลพาณิชย์ นางสาวปวีณา แก้วสุยะ นางสาวเบญจพร ตะถา
พิมพ์ครั้งที่ 1 มีนาคม 2566 จำนวน 1,500 เล่ม
จัดพิมพ์โดย กองสมุนไพรเพื่อเศรษฐกิจ กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข
88/23 หมู่ 4 ถนนติวานนท์ ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000
สถานที่พิมพ์ บริษัท เปเปอรี่ จำกัด
คำนำ
รัฐบาลได้กำหนดให้มียุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 - 2580) เพื่อใช้เป็นกรอบในการจัดทํา
แผนต่าง ๆ ให้สอดคล้องและบูรณาการกัน อันจะก่อให้เกิดเป็นพลังผลักดันร่วมกันไปสู่เป้าหมายการพัฒนา
ประเทศอย่างยั่งยืนตามหลักธรรมาภิบาล ภายใต้วิสัยทัศน์ที่ว่า “ประเทศมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน
เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” ประสานความร่วมมื่อระหว่างภาครัฐ
ภาคเอกชน และประชาชน เพื่อความสุขของคนไทยทุกคน
เป็นที่ชัดเจนว่า รัฐบาลให้ความสำคัญกับการพัฒนาสมุนไพรไทยเป็นอย่างมาก โดยได้มีข้อสั่งการ
จากท่านนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ให้ภาครัฐโดยเฉพาะอย่างยิ่งกระทรวงสาธารณสุข
เป็นผู้ประสานการบูรณาการ พัฒนาและส่งเสริมสมุนไพรตลอดห่วงโซ่คุณค่าและเป็นระบบ มาตั้งแต่ปี 2558
จนเกิดเป็นแผนแม่บทแห่งชาติ ว่าด้วยการพัฒนาสมุนไพรไทย ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2560 - 2564 ซึ่งต่อมา
เพื่อให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี ได้ปรับชื่อเป็น แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 1 และขยาย
ระยะเวลาถึง พ.ศ. 2565 ซึ่งใกล้สิ้นสุดระยะเวลาการดำเนินงานตามแผนดังกล่าว จึงมีความจำเป็นต้องจัดทำ
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566 - 2570 เพื่อรองรับการขับเคลื่อนการพัฒนา
และส่งเสริมสมุนไพรตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value chain) ให้สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เป็นที่ยอมรับ และสร้างมูลค่าเพิ่มแก่สมุนไพรได้
กระทรวงสาธารณสุขร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ดำเนินการทบทวนและจัดทำแผนปฏิบัติการ
ด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566 - 2570 ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บทภายใต้
ยุทธศาสตร์ชาติ ทั้งนี้ เพื่อกำหนดวิสัยทัศน์ ทิศทางการพัฒนา เป้าหมาย จุดเน้นเชิงยุทธศาสตร์ของแผนปฏิบัติการฯ
ยุทธศาสตร์ มาตรการ และแผนงานต่างๆ ที่ครอบคลุมการพัฒนาสมุนไพรไทยตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง และปลายทาง
เหมาะสมกับบริบทและสถานการณ์ต่าง ๆ ด้านเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยีดิจิทัลทั้งในปัจจุบันและอนาคต
ทั้งนี้ ส่วนราชการและองค์กรเอกชนจะมีบทบาทอย่างสูงในการสนับสนุนให้เกิดการผลิตสมุนไพรที่ได้มาตรฐาน
มีคุณภาพ และสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลิตภัณฑ์สมุนไพร ส่งเสริมให้เกิดความเชื่อมั่นในการใช้สมุนไพร รวมทั้ง
เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของสมุนไพรไทยในตลาดทั้งในและต่างประเทศอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ
หวังเป็นอย่างยิ่งว่า แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566 - 2570 จะได้รับ
ความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการร่วมกันขับเคลื่อนให้สมุนไพรเป็นพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ
อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น อันจะนำมาสู่ความมั่นคงทางสุขภาพและความยั่งยืน
ของเศรษฐกิจไทยต่อไป
คณะผู้จัดทำ
มีนาคม 2566
บ - 1
สารบัญ
ส่วนที่ หน้า
1 บทสรุปผู้บริหาร
1.1 หลักการและเหตุผล 1
1.2 วัตถุประสงค์ของแผนปฏิบัติการ 1
1.3 สถานการณ์และการวิเคราะห์ช่องว่างการพัฒนาสมุนไพรไทย 2
1.4 วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย ทิศทางการพัฒนา จุดเน้นเชิงยุทธศาสตร์
และประเด็นยุทธศาสตร์
6
2 ความสอดคล้องกับแผน 3 ระดับ ตามนัยยะของมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2560
2.1 ยุทธศาสตร์ชาติ (แผนระดับที่ 1) 16
2.2 แผนระดับที่ 2 (เฉพาะที่เกี่ยวข้อง) 20
2.3 แผนระดับที่ 3 ที่เกี่ยวข้อง 30
3 สาระสำคัญของแผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566 – 2570
3.1 การประเมินสถานการณ์ ปัญหา และความจำเป็นของแผนปฏิบัติการฯ 33
3.2 สาระสำคัญของแผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566 – 2570 48
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การส่งเสริมการผลิตและแปรรูปวัตถุดิบสมุนไพรที่มีคุณภาพ
และมาตรฐาน
52
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพของผู้ประกอบการและ
อุตสาหกรรมสมุนไพรตลอดห่วงโซ่อุปทาน
56
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การส่งเสริมการตลาดผลิตภัณฑ์สมุนไพร 59
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การส่งเสริมการบริโภคผลิตภัณฑ์สมุนไพรอย่างเหมาะสม 62
ยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนาระบบนิเวศที่สนับสนุนการขับเคลื่อนการพัฒนาสมุนไพร
ไทยอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
67
3.3 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการนำแผนปฏิบัติการฯ ไปดำเนินการ (หน่วยงานระดับ
กรมหรือเทียบเท่า ขึ้นไป)
73
ภาคผนวก
- จุดเน้นยุทธศาสตร์ในแผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566 - 2570 ก – 1
- รายชื่อโครงการสำคัญ กรอบงบประมาณและหน่วยงานรับผิดชอบ ข - 1
- สำเนาคำสั่งคณะกรรมการนโยบายสมุนไพรแห่งชาติ ที่ 1/2564 เรื่อง แต่งตั้ง
คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนภารกิจของคณะกรรมการนโยบายสมุนไพรแห่งชาติ
ค - 1
- สำเนาคำสั่งกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ที่ 111/2564
เรื่อง แต่งตั้งคณะทำงานยกร่างแผนงาน (ยุทธศาสต์) ด้านผลิตภัณฑ์สมุนไพร
แห่งชาติ ฉบับที่ 2 (แผนแม่บทแห่งชาติว่าด้วยการพัฒนาสมุนไพรไทย ฉบับที่ 2
พ.ศ. 2566 - 2570)
ง - 1
บ - 2
ส่วนที่ หน้า
- มติคณะรัฐมนตรี และความเห็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จ - 1
- ประกาศกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก เรื่อง สมุนไพร Herbal
Champions พ.ศ. 2566
ฉ - 1
1
ส่วนที่ 1
บทสรุปผู้บริหาร
1.1 หลักการและเหตุผล
รัฐบาลได้มีการกำหนดการพัฒนาสมุนไพรเป็นประเด็นสำคัญในวาระของประเทศ ผ่านมติ
คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2559 เห็นชอบต่อแผนแม่บทแห่งชาติ ว่าด้วยการพัฒนาสมุนไพรไทย
ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2560 - 2564 ซึ่งเป็นการดำเนินงานร่วมกันจาก 10 กระทรวง โดยมีคณะกรรมการ
นโยบายสมุนไพรแห่งชาติ (นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน) และกระทรวงสาธารณสุข โดยกรมการแพทย์
แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกเป็นหน่วยงานเลขานุการและเป็นแกนกลางในการดำเนินงาน
และประสานความร่วมมือจากทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งต่อมาได้มีการประกาศใช้กฎหมายพระราชบัญญัติ
ผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ. 2562 เป็นกฎหมายใหม่ที่แยกการกำกับดูแลผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มาจากสมุนไพร
ออกจากกฎหมายยาเดิม และการดำเนินงานของคณะกรรมการนโยบายสมุนไพรแห่งชาติเป็นไปตาม
กฎหมายดังกล่าวตั้งแต่ปี 2562 เป็นต้นมา อีกทั้งมีการปรับชื่อแผนแม่บทแห่งชาติ ว่าด้วยการพัฒนา
สมุนไพรไทย ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2560 - 2564 เป็นแผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 1 และขยาย
ระยะเวลาการดำเนินงานจนถึงปี 2565 เพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ส่งผลให้ปัจจุบันการพัฒนา
สมุนไพรเป็นวาระแห่งชาติและมีการดำเนินงานร่วมกันหลายกระทรวงผ่านรูปแบบคณะอนุกรรมการ
ภายใต้คณะกรรมการนโยบายสมุนไพรแห่งชาติ จำนวน 5 คณะ ผ่าน 5 กระทรวงหลัก คือ กระทรวง
เกษตรและสหกรณ์ กระทรวงอุดมศึกษา วิจัย และนวัตกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพาณิชย์
และกระทรวงสาธารณสุข
บัดนี้ เมื่อเข้าสู่ช่วงปีสุดท้ายของแผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2560 -
2565 คณะกรรมการนโยบายสมุนไพรแห่งชาติจึงได้มีการเตรียมการเพื่อยกร่างแผนปฏิบัติการ
ด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566 - 2570 โดยได้มอบหมายให้คณะทำงานยกร่างแผนงาน
(ยุทธศาสตร์) ด้านผลิตภัณฑ์สมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (แผนแม่บทแห่งชาติ ว่าด้วยการพัฒนา
สมุนไพร ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566 - 2570) ดำเนินการศึกษาและกำหนดประเด็นทางยุทธศาสตร์
เพื่อประกอบการยกร่างดังกล่าว
1.2 วัตถุประสงค์ของแผนปฏิบัติการ
(1) เพื่อทำให้เกิดการพัฒนาสมุนไพรโดยมีการอนุรักษ์และต่อยอดเพื่อประโยชน์ทั้งด้านการรักษา
และผลิตภัณฑ์ประเภทอื่น
(2) เพื่อส่งเสริมให้มีการใช้สมุนไพรและผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ
โดยมีความเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมและภาคเศรษฐกิจต่าง ๆ
(3) เพื่อการขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างเป็นระบบ โดยอาศัยกลไกการทำงานร่วมกันระหว่าง
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ เอกชน และสถาบันการศึกษา รวมทั้งท้องถิ่น เพื่อทำให้เกิดการพัฒนา
สมุนไพรไทยอย่างเชื่อมโยงและครบวงจร
(4) เพื่อส่งเสริมความเข้มแข็งให้กับชุมชน โดยมุ่งเน้นเพื่อเพิ่มศักยภาพของชุมชน และส่งเสริม
บทบาทของชุมชนในการตัดสินใจ ดำเนินการ วางแผน เพื่อให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้และสามารถ
ปฏิบัติการตามแผนฯ ได้ (Community Autonomy)
2
1.3 สถานการณ์และการวิเคราะห์ช่องว่างการพัฒนาสมุนไพรไทย
1.3.1 สถานการณ์การพัฒนาสมุนไพรไทย
(1) ผลิตภัณฑ์ที่มีสัดส่วนของตลาดสูงสุด คือ กลุ่มผลิตภัณฑ์เสริมอาหารชนิดพร้อมดื่ม
(Herbal/ Traditional Tonics) รองลงมา คือ กลุ่มของผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อรักษาอาการไอ หวัด
และแพ้อากาศ (Herbal/ Traditional Cough, Cold and Allergy (Hay Fever) Remedies) และกลุ่มผลิตภัณฑ์
เสริมอาหาร (Herbal/ Traditional Dietary Supplements) โดยตลาดผลิตภัณฑ์สมุนไพรของประเทศไทย
มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งปี 2563 ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
2019 (COVID-19) ที่การปิดประเทศได้ส่งผลให้ขนาดของตลาดลดลงเหลือเพียง 45,997.9 ล้านบาท
จากที่เคยขยายตัวได้ถึง 52,171 ล้านบาทในปี 2562
(2) ผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อบรรเทาอาการเจ็บป่วย และกลุ่มผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจะเป็น
กลุ่มของผลิตภัณฑ์ที่มีแนวโน้มในการเจริญเติบโตสูงในอนาคต โดยมีที่มาจากทั้งความพยายาม
และความเชื่อที่เกี่ยวกับสรรพคุณของสมุนไพรบางประเภทในการรับมือกับการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
(Misinformation) รวมทั้งแนวโน้มในการดูแลสุขภาพและการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคในระดับบุคคลของ
ประชาชน
(3) อัตราการขยายตัวของตลาดผลิตภัณฑ์สมุนไพรของไทยในช่วงที่มีการประกาศใช้
แผนปฏิบัติการฯ ฉบับที่ 1 (ช่วงปี 2560 - 2562) สูงกว่าประเทศผู้นำที่มีขนาดตลาดสมุนไพร
ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชีย โดยอัตราขยายตัวของไทยเฉลี่ย เท่ากับร้อยละ 10.3 ซึ่งสูงกว่าอัตรา
การขยายตัวเฉลี่ยของประเทศจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ซึ่งเท่ากับร้อยละ 5.06 ร้อยละ 0.85
และร้อยละ 5.43 ตามลำดับ ในช่วงเวลาเดียวกัน ทั้งนี้ ตลาดส่งออกที่บริโภคสมุนไพรที่สำคัญของไทย
ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน และสหรัฐ เป็นต้น
(4) ประเทศไทยมีร้อยละการเติบโตของยอดขายสะสมเปรียบเทียบระหว่างปี
พ.ศ. 2559 - 2564 แยกตามประเภทรายการผลิตภัณฑ์สมุนไพร โดดเด่น 2 หมวดผลิตภัณฑ์
คือ กลุ่มผลิตภัณฑ์สมุนไพรใช้เพื่อรักษา/บรรเทาอาการภูมิแพ้ หวัด ไอ (ยอดขายเติบโตร้อยละ
12.2) และกลุ่มผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากสมุนไพร (ยอดขายเติบโตร้อยละ 8.3) ตลาดผลิตภัณฑ์
สมุนไพรของประเทศญี่ปุ่นไม่มีการขยายตัวมานานกว่า 6 ปี ขณะที่สาธารณรัฐประชาชนจีนมีร้อยละ
การเติบโตของยอดขายเพิ่มขึ้นในทุกรายหมวดผลิตภัณฑ์ยกเว้นกลุ่มเครื่องดื่มบำรุงกำลัง แต่สาธารณรัฐ
อินเดียมีร้อยละการเติบโตของยอดขายมากกว่าร้อยละ 5 ในทุกรายหมวดผลิตภัณฑ์ และประเทศ
สาธารณรัฐเกาหลีมีการชะลอตัวของการเติบโตในอุตสาหกรรมสมุนไพร
(5) ประเทศไทยมีการนำเข้าสมุนไพรเพื่อใช้ในการผลิตและบริโภคผลิตภัณฑ์สมุนไพรเป็นหลัก
โดยในช่วงปี 2559 - 2563 ปริมาณการส่งออกวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์สมุนไพรเฉลี่ยของประเทศไทย
ไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก คือ อยู่ในระดับเฉลี่ยประมาณ 2,237 ล้านบาทต่อปี ในขณะที่ การนำเข้า
วัตถุดิบและผลิตภัณฑ์สมุนไพรของประเทศไทยนั้น มีแนวโน้มของการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ซึ่งสะท้อนความต้องการบริโภคที่เติบโตขึ้น ผ่านการนำเข้าผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร วัตถุดิบ และสารสกัด
จากต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2563 มีอัตราการนำเข้าสมุนไพรสูงสุดในรอบ 5 ปี คือ
ประมาณ 12,606 ล้านบาท
(6) โครงการพัฒนาเมืองสมุนไพรที่กำหนดจุดเน้นเชิงยุทธศาสตร์ 3 คลัสเตอร์ สนับสนุน
ให้กลไกการส่งเสริมการพัฒนาสมุนไพรไทยในระดับพื้นที่ก้าวหน้า การส่งเสริมการใช้สมุนไพร
ในการพัฒนาเชิงพื้นที่โดยการใช้กลไกประชารัฐเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนแผนไปสู่การปฏิบัติในระดับ
3
พื้นที่อย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน ผ่านโครงการพัฒนาเมืองสมุนไพรซึ่งเป็นภาพจำลอง (Model)
ของแผนปฏิบัติการฯ ฉบับที่ 1 โดยในช่วงแรกของแผนได้กำหนดให้มีการดำเนินการนำร่องในพื้นที่ 4
จังหวัดของประเทศ ต่อมาจึงขยายเป็น 14 จังหวัดเพื่อครอบคลุมทุกเขตสุขภาพของประเทศ พร้อมทั้งมี
การปรับทิศทางการพัฒนาโดยให้เมืองสมุนไพรกำหนดจุดเน้นเชิงยุทธศาสตร์เพื่อต่อยอดจากศักยภาพ
พื้นฐานของจังหวัดซึ่งแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มเกษตรวัตถุดิบสมุนไพร กลุ่มอุตสาหกรรมสมุนไพร
และกลุ่มท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ความงามและการแพทย์แผนไทย
(7) อุปสงค์ของสมุนไพรและเครื่องเทศในตลาดสหภาพยุโรปถือเป็นโอกาสสำคัญของ
ผู้ส่งออกในประเทศกำลังพัฒนา เนื่องจากมีมูลค่าการนำเข้ารวมสูงถึงกว่า 1 แสนล้านบาท ในปี 2562
และเป็นมูลค่าการนำเข้าในประเทศกำลังพัฒนากว่า 45,000 ล้านบาท โดยเฉพาะในประเทศเยอรมัน
เนเธอร์แลนด์ สเปน สหราชอาณาจักร และโปแลนด์ โดยอุปสงค์ต่อการนำเข้าสมุนไพรและเครื่องเทศ
ทั้งนี้ สมุนไพรที่มีความต้องการสูงสุด ได้แก่ ขิง พริกไทย ขมิ้นชัน อบเชย กานพลู1
(8) ปัจจัยที่ทำให้สมุนไพรมีโอกาสเติบโตมาจากแนวโน้มความต้องการอาหารและเครื่องดื่ม
ที่มีสมุนไพรเป็นส่วนประกอบ โดยในสหภาพยุโรปมีอุปสงค์ต่อเครื่องปรุงที่มีส่วนผสมที่มีประโยชน์
ต่อร่างกาย เครื่องดื่มที่ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายและดีต่อสุขภาพ โดยเฉพาะเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของ
สมุนไพร หรือในเอเชียตะวันออกอุปสงค์ต่ออาหารและเครื่องดื่มที่ช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน ช่วยผ่อนคลาย
ลดความตึงเครียดเช่นเดียวกัน ทำให้ตลาดสมุนไพรไม่ใช่แค่ตัวสมุนไพรสดหรือแห้งอีกต่อไป แต่หากสามารถ
เพิ่มมูลค่าหรือนวัตกรรมในผลิตภัณฑ์จะส่งผลให้ความต้องการขยายตัวสูงมากขึ้น และเพิ่มโอกาส
ในการส่งออกได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ การเติบโตของธุรกิจด้านการแพทย์และความงามจะส่งผลให้
ความต้องการสินค้าสมุนไพรเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มเสริมอาหารและเวชสำอาง ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร
ที่คาดว่าจะเป็นที่ต้องการของตลาด ได้แก่ สารสกัดเข้มข้นจากสมุนไพร สมุนไพรออร์แกนิคแปรรูป
และเครื่องดื่มสมุนไพร2
(9) ทิศทางการใช้ประโยชน์พืชสมุนไพรทางการแพทย์ที่ขยายตัวและเป็นนโยบาย
ระดับประเทศ อาทิ กัญชาทางการแพทย์ ฟ้าทะลายโจร และกระชายเพื่อร่วมรักษาโรคติดเชื้อโควิด-19
ในรอบ 2 - 3 ปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นมา รัฐบาลให้ความสนใจและเกิดการเปลี่ยนแปลง
ทางกฎหมายในกลุ่มพืชสมุนไพรที่เป็นยาเสพติดประเภทที่ 5 ทั้ง กัญชง กระท่อม และกัญชา รวมถึง
มีการเพิ่มโอกาสให้แก่ผู้ป่วยที่มีความจำเป็นทางการรักษา สามารถใช้ยาจากกัญชาเพื่อการรักษาโรค
ได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ส่งผลให้เกิดกระแสการนำพืชสมุนไพรดังกล่าวมาใช้ประโยชน์ทั้งทางการแพทย์
และการพาณิชย์ ตลอดจนสมุนไพรกลุ่มที่มีการศึกษาวิจัยเพื่อตอบโจทย์ในการรักษาโรคติดเชื้อโควิด-19
ที่ประชาชนสามารถเข้าถึงและพึ่งตนเองได้ ส่งผลให้การขยายตัวทางการตลาดของสมุนไพรฟ้าทะลายโจร
และกระชายเพิ่มสูงขึ้นมาก
1.3.2 การวิเคราะห์ช่องว่างการพัฒนาที่นำไปสู่การกำหนดจุดเน้นยุทธศาสตร์
สถานการณ์การพัฒนาสมุนไพรของประเทศไทยดังกล่าวมาข้างต้น สามารถนำมาสู่การวิเคราะห์
ศักยภาพ (Strength) ข้อจำกัด (Weakness) โอกาสและความท้าทาย (Opportunity) และอุปสรรค
(Threat) ที่เกี่ยวกับการพัฒนาสมุนไพรไทย ดังแผนภาพที่ 1 – 1
1
Centre for the Promotion of Imports from developing countries: CBI. (2021, 21 March). What is the demand for spices
and herbs on the European market? สืบค้นจาก https://www.cbi.eu/market-information/spices-herbs/what-demand#
2
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (ก.พ. 2562). K SME Analysis ถึงเวลาโกยเงิน SME รุกตลาดสมุนไพร สืบค้นจาก
https://www.kasikornbank.com/th/business/sme/KSMEKnowledge/article/KSMEAnalysis/Documents/Herb_Market.pdf
4
แผนภาพที่ 1 – 1 การวิเคราะห์สถานการณ์ด้านสมุนไพรของไทยผ่านแนวคิด SWOT Analysis
ทั้งนี้ ผลการวิเคราะห์สถานการณ์ด้านสมุนไพรของไทยเพื่อนำมาใช้ในการวิเคราะห์ช่องว่างการพัฒนา
(Gap Analysis) อันจะนำไปสู่การกำหนดจุดเน้นยุทธศาสตร์ (Strategic Focus: SF) โดยมีประเด็น
ช่องว่างการพัฒนาที่เกิดขึ้นภายหลังจากการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการฯ ฉบับที่ 1 ดังนี้
(1) วัตถุดิบสมุนไพรยังคงไม่ได้มาตรฐานและไม่มีคุณภาพตรงกับความต้องการทางการตลาด
เนื่องจากเกษตรกรทั่วไปทั่วประเทศที่ปลูกสมุนไพรทั่วไปที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรปลูกสมุนไพรจำนวน
298,816 ราย พื้นที่ปลูกรวม 902,123 ไร่ มีพื้นที่ปลูกที่ผ่านการรับรองและได้คุณภาพตามความต้องการตลาด
คิดเป็นเพียงร้อยละ 5 ของพื้นที่ทั้งหมดซึ่งไม่เพียงพอต่อความต้องการเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิต
และการบริโภค สาเหตุหลักเกิดจากปัญหาการควบคุมคุณภาพของวัตถุดิบตั้งแต่การปลูก
(2) อุตสาหกรรมสารสกัดซึ่งเป็นเงื่อนไขที่สำคัญของอุตสาหกรรมยังมีการพัฒนาไม่มาก
ทั้งในเชิงประเภท ปริมาณ และมาตรฐาน โดยประเทศไทยยังต้องพึ่งพิงการนำเข้าสารสกัด
จากต่างประเทศสูงในการผลิต เนื่องจากประเทศไทยยังเป็นประเทศที่มีการนำเข้าผลิตภัณฑ์สมุนไพรสุทธิ
หรือมีการนำเข้าผลิตภัณฑ์สมุนไพรมากกว่าการส่งออก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของสารสกัด
และผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร แม้ว่าจะมีการส่งเสริมการพัฒนาทั้งอุตสาหกรรมสารสกัด และผลิตภัณฑ์
เสริมอาหารอย่างมากก็ตาม
(3) ผู้ประกอบการผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพรของไทยยังขาดความรู้ความเชี่ยวชาญ
และต้องการการสนับสนุนที่เพียงพอทั้งในด้านของปัจจัยแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนา
และมาตรการภาครัฐ เพื่อยกระดับการผลิตและเจริญเติบโต เนื่องจากข้อจำกัดในเรื่องของ
เงินลงทุนและเทคโนโลยีในการผลิต รวมไปถึงยังขาดความรู้ทางด้านกฎ ระเบียบ การขอขึ้นทะเบียน
ฉลาก สรรพคุณของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) การเพาะปลูกที่ไม่ได้มาตรฐาน
ขาดความรู้ในกระบวนการแปรรูปขั้นต้นที่มีประสิทธิภาพ ขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในขั้นตอน
การขอใบรับรองต่าง ๆ และปัญหาในการเข้าถึงตลาดเป้าหมายและขาดตลาดรองรับ นอกจากประเด็น
ด้านองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญในกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพรแล้ว ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม
(ecosystem) ในอุตสาหกรรมสมุนไพร อาทิ มาตรการสนับสนุนด้านเงินทุนในรูปแบบ sand box
จากภาครัฐ งานวิจัยด้านสารสกัด ผลิตภัณฑ์ เทคโนโลยีและเครื่องมือในกระบวนการผลิต กระบวนการ
บรรจุ เป็นต้น จะช่วยยกระดับการผลิตและพัฒนาอุตสาหกรรมสมุนไพรได้ดียิ่งขึ้น
5
(4) การขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์สมุนไพรยังมีจำนวนไม่มาก ยังต้องมีการพัฒนากระบวนการ
และกฎระเบียบที่สนับสนุนการประกอบการอีกมาก เนื่องจากมีข้อจำกัดในขั้นตอนการดำเนินงาน
ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์ที่ดีและได้มาตรฐานออกสู่ตลาดได้ยาก ขณะที่ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ปลอดภัยมีการลักลอบขาย
กระจายตัวและสื่อสารเร็วกว่าผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐาน ส่งผลให้ผู้บริโภคขาดความมั่นใจเกี่ยวกับ
ผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่มีในตลาดทั้งในแง่ของคุณภาพและความน่าเชื่อถือ
(5) แม้รัฐบาลจะมีการกำหนดสมุนไพร Herbal Champions เพื่อการพัฒนาแบบมุ่งเป้า
แต่การทำงานของภาครัฐไม่รวดเร็วเพียงพอและยังขาดรูปธรรมในการนำปฏิบัติ ทำให้ผู้ผลิต
ขาดแรงจูงใจ นอกจากนี้ ยังไม่มีชุดสิทธิประโยชน์ที่ชัดเจน ทำให้ไม่จูงใจให้เกิดการลงทุนขนาดใหญ่
ที่จะส่งผลให้สามารถขับเคลื่อนอุตสาหกรรมสมุนไพรได้ เนื่องจากการดำเนินการสนับสนุนในระยะที่ผ่านมานั้น
เป็นการดำเนินการผ่านการส่งเสริมการส่งสัญญาณทิศทางการสนับสนุน และการเร่งกระบวนการ
และการรับรองต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับสมุนไพรเป้าหมายเหล่านี้ ยังคงขาดมาตรการสนับสนุนที่เหมาะสม
กับสมุนไพรแต่ละประเภทอย่างแท้จริง อาทิ การวิจัยและพัฒนาสารออกฤทธิ์สำคัญใน Herbal Champions
การพัฒนานวัตกรรมและสนับสนุนแหล่งเงินทุนสำหรับผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่เป็นที่ต้องการของตลาด
ในปัจจุบันเพื่อทำ Prototype หรือ Commercialize เป็นต้น
(6) การใช้งานวิจัยนวัตกรรมเพื่อต่อยอดและยกระดับศักยภาพการผลิต และอุตสาหกรรม
ยังมีค่อนข้างน้อย โดยในปี 2563 มีโครงการนวัตกรรมในสาขาเศรษฐกิจชีวภาพและสาขาเศรษฐกิจ
การผลิตและการหมุนเวียนที่ได้รับการสนับสนุนเงินทุนคิดเป็นร้อยละ 38 ของโครงการทั้งหมดเท่านั้น
อีกทั้ง ที่ผ่านมาประเทศไทยยังมีปัญหาด้านการวิจัยและพัฒนาสมุนไพรหลายด้าน ตั้งแต่การขาดการกำหนด
ทิศทางการวิจัยของประเทศ และการมีผลงานวิจัยที่ไม่ตอบสนองความต้องการของภาคอุตสาหกรรม
และการผลิต การให้ทุนวิจัยที่ยังขาดการบูรณาการระหว่างหน่วยงาน องค์ความรู้จากงานวิจัยพื้นฐาน
ที่มีมากแต่ไม่มีการวิจัยต่อยอดให้ครบวงจรเพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ รวมถึงข้อมูลวิจัยทางคลินิก
ที่น่าเชื่อถือไม่เพียงพอที่จะทำให้บุคลากรทางการแพทย์แผนปัจจุบันมั่นใจในการตัดสินใจสั่งใช้ยาแผนไทย
(7) ขาดข้อมูลที่เพียงพอในการสนับสนุนการกำหนดนโยบาย และการดำเนินการพัฒนา
ปัจจุบันฐานข้อมูลที่เกี่ยวกับสมุนไพรทั้งภายในและภายนอกกระทรวงสาธารณสุขมีทั้งที่ไม่มีการปรับปรุง
ข้อมูลให้เป็นปัจจุบันและมีส่วนที่ยังรวบรวมข้อมูลไม่ครบถ้วน และการจัดทำระบบข้อมูลเพื่อการตัดสินใจ
เชิงยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวกับสมุนไพรยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จ จึงยังไม่มีการจัดทำรายงานการวิเคราะห์
ข้อมูลเพื่อตอบโจทย์มิติทางเศรษฐกิจหรือใช้ในการดำเนินนโยบาย
(8) การขาดความต่อเนื่องทั้งในด้านนโยบายและงบประมาณในการขับเคลื่อนการพัฒนา
เชิงพื้นที่ ในการดำเนินการพัฒนาให้บรรลุตามเป้าหมายในการพัฒนาของแต่ละพื้นที่นั้น ขาดความต่อเนื่อง
ทั้งทางด้านนโยบายจากการดำเนินการร่วมมือและสนับสนุนในการดำเนินการพัฒนาโดยผู้ที่เกี่ยวข้อง
ในเชิงพื้นที่ ยิ่งไปกว่านั้น ผลที่เกิดขึ้นจากการขาดความต่อเนื่องในการสนับสนุนการดำเนินการในเชิงพื้นที่
นำไปสู่การได้รับงบประมาณในการดำเนินการที่ต่ำ จนถึงไม่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณ
ในแผนการดำเนินการเชิงพื้นที่ทำให้การดำเนินการขับเคลื่อนการพัฒนาในเชิงพื้นที่ไม่ต่อเนื่อง
และไม่เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรมมากนัก
6
1.4 วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย ทิศทางการพัฒนา จุดเน้นเชิงยุทธศาสตร์ และประเด็นยุทธศาสตร์
1) วิสัยทัศน์
วิสัยทัศน์ของการพัฒนาสมุนไพรและผลิตภัณฑ์สมุนไพรของไทย มุ่งเน้นการยกระดับ
ความสามารถในการแข่งขันของสมุนไพรและผลิตภัณฑ์สมุนไพรอย่างต่อเนื่องในระยะยาว สอดคล้องกับ
ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และกรอบการพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีของประเทศไทย เพื่อเศรษฐกิจชีวภาพ
เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว ซึ่งจะทำให้สามารถรองรับพลวัตของสังคม เศรษฐกิจ
และเทคโนโลยีดิจิทัล อันจะนำไปสู่ความสำเร็จในการพัฒนาสมุนไพรและผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทย
ตามที่กำหนดวิสัยทัศน์ คือ
“ประเทศไทยเป็นผู้นำในภูมิภาคด้านผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อสุขภาพ ที่ได้มาตรฐาน
และมีการเติบโตอย่างยั่งยืน”
2) พันธกิจ
(1) ยกระดับความสามารถในการแข่งขันของผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทย ทั้งด้านการยอมรับ
การส่งเสริมให้เกิดการใช้ประโยชน์อย่างเต็มศักยภาพและมีประสิทธิภาพ เพื่อส่งเสริมการพัฒนา
อุตสาหกรรมและเศรษฐกิจไทยอย่างยั่งยืน
(2) ส่งเสริมให้เกิดการผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่ได้มาตรฐาน และมีคุณภาพตรงกับ
ความต้องการของตลาดและผู้บริโภค รวมทั้งมีกลไกตลาดที่สนับสนุนการดำเนินการ
(3) ส่งเสริมและพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับพืชสมุนไพรให้แก่เกษตรกร ทั้งในด้านเทคโนโลยี
การผลิต สารสนเทศ การบริหารจัดการ และการเข้าถึงแหล่งเงินทุนสมัยใหม่
(4) ส่งเสริมให้เกิดการบริโภคผลิตภัณฑ์สมุนไพรอย่างถูกต้อง และเหมาะสม
(5) ส่งเสริมการอนุรักษ์และการใช้สมุนไพรสนับสนุนการพัฒนาเชิงพื้นที่ การเพิ่มมูลค่า
สมุนไพรในท้องถิ่น เพื่อการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน
3) เป้าหมาย
ซึ่งกำหนดไว้ต่อเนื่องจากแผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2560 – 2565
ประกอบด้วย
(1) การพัฒนาสมุนไพรต่อยอดทั้งด้านการรักษาและผลิตภัณฑ์ประเภทอื่น
(2) การสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ ที่จะมีความเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรม และภาคเศรษฐกิจต่าง ๆ
(3) การขับเคลื่อนงานอย่างเป็นระบบเพื่อทำให้เกิดการพัฒนาสมุนไพรไทยอย่างเชื่อมโยง
และครบวงจร
(4) การทำให้เกิดความร่วมมือจากหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน
4) ตัวชี้วัด
(1) ขนาดตลาดวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์สมุนไพรของประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 1 เท่าตัว
ภายในปี พ.ศ. 2570
(2) ความเข้มแข็งของห่วงโซ่อุปทาน (Supply chain) อุตสาหกรรมสมุนไพรไทยเพิ่มขึ้น
อย่างน้อยร้อยละ 20 ภายในปี พ.ศ. 2570
7
5) ทิศทางการพัฒนา (Strategic Directions)
เพื่อให้แนวทางการพัฒนามีทิศทางที่ชัดเจน ไม่ซ้ำซ้อน และตอบโจทย์การพัฒนาห่วงโซ่อุปทาน
สมุนไพรไทยอย่างแท้จริง จึงได้กำหนดทิศทางการพัฒนาภายใต้แผนปฏิบัติการฯ ดังนี้
(1) ส่งเสริมบทบาทของสมุนไพรผ่านภาพลักษณ์อาหารไทย จากครัวไทยสู่ครัวโลก
(2) พัฒนาศักยภาพและความสามารถในการแข่งขันของ SMEs ผลิตภัณฑ์สมุนไพร
ด้วยฐานงานวิจัยและนวัตกรรม
(3) เน้นครอบคลุมตลาดในประเทศทั่วทุกภูมิภาค และขยายไปยังประเทศเพื่อนบ้าน (CLMV)
(4) ยกระดับการผลิตในทุกขั้นตอนด้วยเทคโนโลยี (SMART)
(5) ส่งเสริมให้ส่วนภูมิภาคใช้สมุนไพรเป็นกลไปการพัฒนา และให้เป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่อุปทาน
ของอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพรของประเทศ
(6) ส่งเสริมอุตสาหกรรมสารสกัด เพื่อเพิ่มมูลค่าและความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
ด้านผลิตภัณฑ์สมุนไพร
6) จุดเน้นเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Focus: SF)
ภายใต้กรอบระยะเวลา 5 ปี ของแผนปฏิบัติการฯ เพื่อให้การพัฒนาสมุนไพรไทยเป็นไปอย่างมี
ประสิทธิภาพ จึงได้กำหนดจุดเน้นเชิงยุทธศาสตร์ตามทิศทางการพัฒนาดังกล่าวข้างต้น โดยจำแนก
ตามห่วงโซ่อุปทาน ดังนี้
(1) ต้นน้ำ มีจุดเน้นเชิงยุทธศาสตร์สำคัญ 2 ประเด็น ได้แก่
SF 1 การส่งเสริมการผลิตวัตถุดิบสมุนไพรเข้าสู่ห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain)
ในอุตสาหกรรมสมุนไพร
SF 2 การใช้มาตรฐานวัตถุดิบเพื่อการพัฒนาต้นทาง
(2) กลางน้ำ มีจุดเน้นเชิงยุทธศาสตร์สำคัญ 2 ประเด็น ได้แก่
SF 3 การพัฒนาอุตสาหกรรมสารสกัด เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน และเพิ่มสัดส่วน
มูลค่าของสารสกัดในห่วงโซ่อุปทาน
SF 4 การส่งเสริมศักยภาพผู้ประกอบการผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพร
(3) ปลายน้ำ มีจุดเน้นเชิงยุทธศาสตร์สำคัญ 3 ประเด็น ได้แก่
SF 5 การส่งเสริมการเข้าถึงและการใช้ประโยชน์จากผลิตภัณฑ์สมุนไพรอย่างมีประสิทธิภาพ
SF 6 การส่งเสริมภาพลักษณ์และขยายช่องทางการตลาด
SF 7 การต่อยอด สร้างมูลค่า และเพิ่มการส่งออก Herbal Champions รวมทั้งผลิตภัณฑ์
จากภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย
(4) ระบบนิเวศ (Ecosystem) ที่สนับสนุนห่วงโซ่อุปทาน มีจุดเน้นเชิงยุทธศาสตร์สำคัญ 3
ประเด็น ได้แก่
SF 8 การวิจัยและนวัตกรรมสมุนไพรไทยสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ
SF 9 การพัฒนาระบบกำกับติดตามและใช้ข้อมูลในการประเมินผลการดำเนินงาน
SF 10 การพัฒนาต่อยอดเมืองสมุนไพรเพิ่มมูลค่าแก่ชุมชน
จุดเน้นยุทธศาสตร์ทั้ง 10 ประเด็น ได้ถูกนำเสนอในการประชุมระดมความคิดเห็น และการประชุม
คณะกรรมการในระดับต่าง ๆ และได้ผ่านการวิเคราะห์ และสังเคราะห์ร่วมกันของคณะทำงานฯ
โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะอนุกรรมการภายใต้คณะกรรมการนโยบายสมุนไพรแห่งชาติทั้ง 5 คณะ
และหน่วยงานผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกว่า 60 หน่วยงาน โดยรายละเอียดของจุดเน้นยุทธศาสตร์ที่นำไปสู่
8
การกำหนดยุทธศาสตร์ของแผนปฏิบัติการฯ เป็นไปตามแผนภาพที่ 1 – 2 อนึ่งรายละเอียดจุดเน้น
เชิงยุทธศาสตร์ทั้ง 10 ประเด็น สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จากภาคผนวก ก.
แผนภาพที่ 1 – 2 ความสอดคล้องของประเด็นยุทธศาสตร์กับจุดเน้นเชิงยุทธศาสตร์
7) ยุทธศาสตร์
ภายใต้แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566 – 2570 กำหนดให้มี
ยุทธศาสตร์ในการดำเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมาย เป็นไปตามพันธกิจ และสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ จำนวน
5 ยุทธศาสตร์ โดยรายละเอียดพอสังเขปดังแสดงในตารางที่ 1-1 สรุป แผนปฏิบัติการ ฯ
ทั้งนี้การกำหนดยุทธศาสตร์ทั้ง 5 ยุทธศาสตร์ เป็นความเชื่อมโยงของการพัฒนาสมุนไพร
ตลอดห่วงโซ่คุณค่าที่พัฒนาขึ้นมาจากจุดเน้นเชิงยุทธศาสตร์ (จุดคานงัด) ทั้ง 10 ประเด็น เริ่มจาก
ต้นน้ำ คือ ยุทธศาสตร์ที่ 1 การส่งเสริมการผลิตและแปรรูปวัตถุดิบสมุนไพรที่มีคุณภาพ
และมาตรฐาน มีเป้าหมายหลัก คือ วัตถุดิบที่ได้มาตรฐาน มีคุณภาพ ตรงกับความต้องการทางการตลาด
โดยมุ่งเน้นการนำเทคโลยีมาสู่การพัฒนากระบวนการต้นน้ำมากขึ้น ลดการพึ่งพาธรรมชาติ
กลางน้ำ คือ ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพของผู้ประกอบการ
และอุตสาหกรรมสมุนไพรตลอดห่วงโซ่อุปทาน เป้าหมาย คือ เน้นการสร้างศักยภาพผู้ประกอบการ
รายย่อย (SMEs) รวมถึงการพัฒนาระบบนิเวศที่เอื้อต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมสมุนไพรของประเทศ
และมุ่งเป้าพัฒนาอุตสาหกรรมสารสกัด เพื่อลดการนำเข้าและทำให้ประเทศสามารถเติบโตเป็นผู้นำ
ในอุตสาหกรรมสมุนไพรได้อย่างแท้จริง
ปลายน้ำ คือ ยุทธศาสตร์ที่ 3 การส่งเสริมการตลาดผลิตภัณฑ์สมุนไพร เป้าหมาย คือ
การขยายขอบเขตการรับรู้คุณค่าของสมุนไพรผ่านอาหารและวัฒนธรรม ตลอดจนการสร้างความเชื่อมั่น
ของผลิตภัณฑ์สมุนไพรจากประเทศไทยด้วยตราสัญลักษณ์คุณภาพ และยุทธศาสตร์ที่ 4 การส่งเสริม
การบริโภคผลิตภัณฑ์สมุนไพรอย่างเหมาะสม เป้าหมาย คือ ผู้บริโภคมีทัศคติที่ดีต่อผลิตภัณฑ์สมุนไพร
มีระบบการขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์ที่เอื้อต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ และสมุนไพรเป้าหมาย (Herbal
Champions) ประสบความสำเร็จทางการตลาด
9
ซึ่งการดำเนินงานตลอดห่วงโซ่คุณค่าจะสำเร็จได้จำเป็นต้องคำนึงถึงระบบนิเวศที่เอื้อต่อ
การดำเนินการดังนั้น ยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนาระบบนิเวศที่สนับสนุนการขับเคลื่อนการพัฒนา
สมุนไพรไทยอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน เป้าหมาย คือ การนำงานวิจัยและนวัตกรรมเป็นกลไก
ต่อยอดและสร้างมูลค่าของอุตสาหกรรมสมุนไพร โดยมีความพร้อมของห้องปฏิบัติการ ตลอดจน
การสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจระดับชุมชนด้วยสมุนไพร ความสอดคล้องของประเด็นยุทธศาสตร์
ดังแสดงในแผนภาพที่ 1-3
แผนภาพที่ 1 - 3 ความสอดคล้องของประเด็นยุทธศาสตร์กับการพัฒนาตามห่วงโซ่อุปทานสมุนไพร
10
ตารางที
่
1
–
1
สรุ
ป
แผนปฏิ
บ
ั
ต
ิ
ก
ารด้
า
นสมุ
น
ไพรแห่
ง
ชาติ
ฉบั
บ
ที
่
2
พ.ศ.
2566
–
2570
รายยุ
ท
ธศาสตร์
11
12
13
14
15
16
ส่วนที่ 2
ความสอดคล้องกับแผน 3 ระดับ
ตามนัยยะของมติคณะรัฐมนตรี
เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2560
สำหรับแผนปฏิบัติการฯ ฉบับนี้ถือได้ว่าเป็นแผนการพัฒนาเชิงประเด็น (Issue Based) มุ่งเน้น
การพัฒนาสมุนไพรไทยซึ่งมีความสอดคล้องกับแผนทั้ง 3 ระดับ โดยผลการดำเนินงานและผลผลิต
ของโครงการแผนปฏิบัติการฯ ฉบับนี้จะมีส่วนเชื่อมโยงกับแผนระดับ 3 ที่เกี่ยวข้องโดยตรง ได้แก่
แผนปฏิบัติการด้านการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทย ด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG พ.ศ. 2564 – 2570
แผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมพืชกัญชงสู่เชิงพาณิชย์ (พ.ศ. 2566 - 2570) และยุทธศาสตร์
การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (Medical Hub) พ.ศ. 2560 - 2569 ในขณะที่
ผลลัพธ์ของโครงการภายใต้แผนปฏิบัติการฯ ฉบับนี้จะเป็นส่วนหนึ่งของการบรรลุเป้าหมายของแผนระดับ 2
ได้แก่ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติใน 6 ประเด็น ได้แก่ ประเด็นการเกษตร อุตสาหกรรมและบริการ
แห่งอนาคต การท่องเที่ยว ผู้ประกอบการและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมยุคใหม่ การเสริมสร้าง
ให้คนไทยมีสุขภาวะที่ดี และการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ฉบับที่ 13 (พ.ศ.2566 - 2570)
โดยผลกระทบของโครงการภายใต้แผนปฏิบัติการฯ ฉบับนี้จะเป็นส่วนหนึ่งของการบรรลุ
เป้าหมายประเทศไทยมีขีดความสามารถในการแข่งขันสูงขึ้นภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้าง
ความสามารถในการแข่งขันของยุทธศาสตร์ชาติซึ่งเป็นแผนระดับที่ 1 รายละเอียดดังนี้
2.1 ยุทธศาสตร์ชาติ (แผนระดับที่ 1)
2.1.1 ยุทธศาสตร์ชาติ ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน (หลัก)
(1) เป้าหมาย คือ ประเทศไทยมีขีดความสามารถในการแข่งขันสูงขึ้น โดยมีตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้อง
กับแผนปฏิบัติการฯ ดังนี้
(1.1) รายได้ประชาชาติ การขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ และการกระจาย
รายได้
(1.2) ผลิตภาพการผลิตของประเทศ ทั้งในปัจจัยการผลิตและแรงงาน
(1.3) การลงทุนเพื่อการวิจัยและพัฒนา
(1.4) ความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
17
(2) ประเด็นยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย 3 ประเด็น ได้แก่ การเกษตรสร้างมูลค่า อุตสาหกรรม
และบริการแห่งอนาคต และสร้างความหลากหลายด้านการท่องเที่ยว
(2.1) ประเด็นการเกษตรสร้างมูลค่า ประเด็นย่อย ด้านเกษตรชีวภาพ
โดยส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศในการสร้างมูลค่าเพิ่ม
ของภาคการผลิต และนำไปสู่การผลิตและพัฒนาผลิตภัณฑ์มูลค่าสูงจากฐานเกษตรกรรมและฐานทรัพยากร
ชีวภาพ และสร้างความมั่นคงของประเทศทั้งด้านอาหารและสุขภาพ โดยเฉพาะพืชสมุนไพรที่ประเทศไทย
มีศักยภาพในการผลิตและส่งออกผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรในระดับภูมิภาคและระดับโลก โดยการส่งเสริม
การทำเกษตรกรรมแบบยั่งยืน รวมถึงการส่งเสริมการปลูกสมุนไพรเป็นพืชเศรษฐกิจตามความเหมาะสม
ของสภาพแวดล้อมในพื้นที่ เพื่อการผลิตและแปรรูปสำหรับอุตสาหกรรมการแพทย์ การสร้างเสริมสุขภาพ
และพัฒนาต่อยอดสู่อุตสาหกรรมอื่น ๆ โดยคำนึงถึงปริมาณและคุณภาพมาตรฐานตามความต้องการ
ของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ และการส่งเสริมการวิจัย พัฒนา และประยุกต์ใช้นวัตกรรมจาก
ภูมิปัญญาท้องถิ่น เทคโนโลยีสะอาด เทคโนโลยีวัสดุ และนาโนเทคโนโลยี
(2.2) ประเด็นอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต ประเด็นย่อย ด้านอุตสาหกรรมชีวภาพ
โดยสร้างประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพเพื่อต่อยอดจากภาคเกษตรไทยและมุ่งสู่
อุตสาหกรรมบนฐานชีวภาพที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงพลังงานชีวมวล โดยการเพิ่มสัดส่วน
อุตสาหกรรมชีวภาพที่มีมูลค่าเพิ่มสูง ได้แก่ ชีวเคมีภัณฑ์ วัสดุชีวภาพ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เวชสำอาง
วัคซีน ชีวเภสัชภัณฑ์ และสารสกัดจากสมุนไพร การเน้นการวิจัยและพัฒนา และนำผลงานวิจัยมาใช้
ในเชิงพาณิชย์มากยิ่งขึ้น ตลอดจนให้ความสำคัญกับระบบนวัตกรรมแบบเปิด เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรม
ชีวภาพได้เร็วขึ้น
(2.3) ประเด็นสร้างความหลากหลายด้านการท่องเที่ยว ประเด็นย่อย ท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
ความงาม และแพทย์แผนไทย
โดยผสาน “ศาสตร์” และความชำนาญของการดูแลรักษาด้วยภูมิปัญญาไทย กับ “ศิลป์” และ
ความละเอียดอ่อนในการให้บริการแบบไทย เพื่อดึงดูดการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและการแพทย์
โดยยกระดับมาตรฐานธุรกิจบริการด้านการส่งเสริมสุขภาพและการเสริมความงามสู่ตลาดระดับสูง
โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม เพื่อให้เกิดเป็นเอกลักษณ์การให้บริการตามแบบความเป็นไทย
ที่โดดเด่นในระดับสากล พร้อมทั้งการสร้างความหลากหลายของกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพที่ได้มาตรฐาน
เป็นที่ยอมรับและเชื่อมโยงกับกิจกรรมการท่องเที่ยวอื่น ๆ รวมถึงการยกระดับมาตรฐานธุรกิจบริการ
ด้านการแพทย์ทางเลือก โดยผสานองค์ความรู้จากเทคโนโลยีและวิทยาการสมัยใหม่เข้ากับองค์ความรู้
และภูมิปัญญาดั้งเดิมของไทย และการส่งเสริมการจัดกิจกรรมทางการตลาดของการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
และการแพทย์ของไทยให้เป็นที่รับรู้ในระดับโลก รวมทั้ง การส่งเสริมการจัดการนำเที่ยวเชิงสุขภาพ
ครบวงจรที่เชื่อมโยงกับการแพทย์แผนปัจจุบัน
(3) การบรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติ
ภายใต้แผนปฏิบัติการฯ ได้กำหนดยุทธศาสตร์สำคัญ 5 ยุทธศาสตร์ โดยยุทธศาสตร์ที่ 1
การส่งเสริมการผลิตและแปรรูปวัตถุดิบสมุนไพรที่มีคุณภาพและมาตรฐาน เป็นการดำเนินงานที่สอดคล้องกับ
ประเด็นการเกษตรสร้างมูลค่า ประเด็นย่อยด้านเกษตรชีวภาพ โดยมีจุดเน้นยุทธศาสตร์ (Strategic
Focus) 2 ประเด็นสำคัญ ได้แก่ (1) การส่งเสริมการผลิตวัตถุดิบสมุนไพรเข้าสู่ห่วงโซ่อุปทาน (Supply
Chain) ในอุตสาหกรรมสมุนไพรและ (2) การใช้มาตรฐานวัตถุดิบเพื่อการพัฒนาต้นทาง (Up Stream)
ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งของการบรรลุเป้าหมายภายใต้ตัวชี้วัดผลิตภาพการผลิตของประเทศทั้งในปัจจัยการผลิต
และแรงงานในส่วนของภาคการเกษตร
ในขณะที่การดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพของผู้ประกอบการ
และอุตสาหกรรมสมุนไพรตลอดห่วงโซ่อุปทาน ยุทธศาสตร์ที่ 3 การส่งเสริมการตลาดผลิตภัณฑ์สมุนไพร
และยุทธศาสตร์ที่ 4 การส่งเสริมการบริโภคผลิตภัณฑ์สมุนไพรอย่างเหมาะสม เป็นการดำเนินงาน
18
ที่สอดคล้องกับประเด็นอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต ประเด็นย่อย ด้านอุตสาหกรรมชีวภาพ โดยมีจุดเน้น
ยุทธศาสตร์ 5 ประเด็นสำคัญ ได้แก่ (1) การพัฒนาอุตสาหกรรมสารสกัด เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน
และเพิ่มสัดส่วนมูลค่าของสารสกัดในห่วงโซ่อุปทาน (2) การส่งเสริมศักยภาพผู้ประกอบการผลิตผลิตภัณฑ์
สมุนไพร (3) การส่งเสริมการเข้าถึงและการใช้ประโยชน์จากผลิตภัณฑ์สมุนไพรอย่างมีประสิทธิภาพ
(4) การส่งเสริมภาพลักษณ์และขยายช่องทางการตลาด และ (5) การต่อยอดสร้างมูลค่า และเพิ่มการส่งออก
Herbal Champions รวมทั้งผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งของ
การบรรลุเป้าหมายภายใต้ตัวชี้วัดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในภาคอุตสาหกรรมที่สูงขึ้น
สำหรับการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนาระบบนิเวศที่สนับสนุนการขับเคลื่อน
การพัฒนาสมุนไพรไทยอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน เป็นการดำเนินงานที่สอดคล้องกับประเด็น
สร้างความหลากหลายด้านการท่องเที่ยว ประเด็นย่อย ท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ความงาม และแพทย์แผนไทย
โดยมีจุดเน้นยุทธศาสตร์ 3 ประเด็นสำคัญ ได้แก่ (1) การวิจัยและนวัตกรรมสมุนไพรไทยสร้างมูลค่าเพิ่ม
ทางเศรษฐกิจ (2) การพัฒนาระบบกำกับติดตามและใช้ข้อมูลในการประเมินผลการดำเนินงาน และ
(3) การพัฒนาต่อยอดเมืองสมุนไพรเพิ่มมูลค่าแก่ชุมชน ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งของการบรรลุเป้าหมายภายใต้
ตัวชี้วัดรายได้ประชาชาติ การขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ และการกระจายรายได้
และการลงทุนเพื่อการวิจัยและพัฒนา
2.1.2 ยุทธศาสตร์ชาติ ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (รอง)
(1) เป้าหมาย คือ ใช้ประโยชน์และสร้างการเติบโตบนฐานทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อมให้สมดุลภายในขีดความสามารถของระบบนิเวศ
โดยมีตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้องกับแผนปฏิบัติการฯ ได้แก่ การเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
(2) ประเด็นยุทธศาสตร์ พัฒนาความมั่นคงน้ำ พลังงาน และเกษตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
โดยพัฒนาความมั่นคงด้านการเกษตรและอาหารของประเทศและชุมชนในมิติปริมาณ คุณภาพ
ราคา และการเข้าถึงอาหาร โดยบริหารจัดการทรัพยากรทางการเกษตรและเพิ่มผลิตภาพการเกษตร
แบบบูรณาการ โดยเน้นให้เกิดความมั่นคงทางอาหารภายในประเทศและเกษตรอาหารมูลค่าเพิ่มสูง
พร้อมทั้งเพิ่มพื้นที่เกษตรผสมผสาน จัดเขตการเกษตร มีการใช้มาตรการการตรวจสอบย้อนกลับ
ถึงแหล่งที่มาของวัตถุดิบเพื่อลดการบุกรุกและทำลายพื้นที่ป่า รวมทั้งมีการพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่
เพิ่มการจ้างงานในภาคเกษตรเพื่อรองรับเศรษฐกิจชีวภาพ รวมทั้งยกระดับอาชีพเกษตรกรให้มีรายได้
ต่อหัวเพิ่มขึ้นและมีความภาคภูมิใจในอาชีพเกษตรกรรม
(3) การบรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติ
การดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการฯ ภายใต้ยุทธศาสตร์ที่ 1 การส่งเสริมการผลิตและแปรรูป
วัตถุดิบสมุนไพรที่มีคุณภาพและมาตรฐาน ได้กำหนดแนวทางการพัฒนาที่สำคัญ อาทิ ส่งเสริมการผลิต
พืชสมุนไพรให้ได้มาตรฐาน GAP หรือเกษตรอินทรีย์ หรือมาตรฐานอื่นของพืชสมุนไพร ซึ่งมาตรฐานดังกล่าว
มุ่งรับรองคุณภาพสินค้าเกษตรที่มีการผลิตโดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม มีการใช้ทรัพยากร
ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ได้ผลผลิตสูงคุ้มค่าการลงทุน ก่อให้เกิดความยั่งยืนทางการเกษตร สิ่งแวดล้อม
เศรษฐกิจ และสังคม เป็นการดำเนินงานที่สอดคล้องกับประเด็นพัฒนาความมั่นคงน้ำ พลังงาน
และเกษตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ยังมีแนวทางการพัฒนาที่มุ่งเน้นการอนุรักษ์และรักษา
พันธุ์พืชสมุนไพรประจำถิ่น หรือพืชสมุนไพรหายากไม่ให้สูญหายไปจากประเทศไทย ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่ง
ของการบรรลุเป้าหมายภายใต้ตัวชี้วัดการเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf

More Related Content

What's hot

บรรยายการจัดทำแผน และ งบประมาณ
บรรยายการจัดทำแผน และ งบประมาณบรรยายการจัดทำแผน และ งบประมาณ
บรรยายการจัดทำแผน และ งบประมาณปิยนันท์ ราชธานี
 
งานนำเสนอ1
งานนำเสนอ1งานนำเสนอ1
งานนำเสนอ1whanpree
 
ข้อสอบ O-net-คณิต-ป.3-ชุด-1
ข้อสอบ O-net-คณิต-ป.3-ชุด-1ข้อสอบ O-net-คณิต-ป.3-ชุด-1
ข้อสอบ O-net-คณิต-ป.3-ชุด-1Tangkwa Dong
 
หนังสือรับรอง(เด็กศูนย์ฯ)
หนังสือรับรอง(เด็กศูนย์ฯ)หนังสือรับรอง(เด็กศูนย์ฯ)
หนังสือรับรอง(เด็กศูนย์ฯ)cm carent
 
สรุปสูตร ม.3
สรุปสูตร ม.3สรุปสูตร ม.3
สรุปสูตร ม.3krutew Sudarat
 
บันทึกการเยี่ยมชมนวัตกรรม
บันทึกการเยี่ยมชมนวัตกรรมบันทึกการเยี่ยมชมนวัตกรรม
บันทึกการเยี่ยมชมนวัตกรรมJirathorn Buenglee
 
ใบความรู้+เสียงสูง เสียงต่ำขึ้นอยู่กับอะไร+ป.5+276+dltvscip5+54sc p05 f33-1page
ใบความรู้+เสียงสูง เสียงต่ำขึ้นอยู่กับอะไร+ป.5+276+dltvscip5+54sc p05 f33-1pageใบความรู้+เสียงสูง เสียงต่ำขึ้นอยู่กับอะไร+ป.5+276+dltvscip5+54sc p05 f33-1page
ใบความรู้+เสียงสูง เสียงต่ำขึ้นอยู่กับอะไร+ป.5+276+dltvscip5+54sc p05 f33-1pagePrachoom Rangkasikorn
 
ขอความอนุเคราะห์
ขอความอนุเคราะห์ขอความอนุเคราะห์
ขอความอนุเคราะห์Rapheephan Phola
 
ติว O net คณิตศาสตร์ สาระที่ 6
ติว O net คณิตศาสตร์ สาระที่ 6ติว O net คณิตศาสตร์ สาระที่ 6
ติว O net คณิตศาสตร์ สาระที่ 6ครู กรุณา
 
ชุดตำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์ การเตรียมเครื่องยาไทยบางชนิดก่อนใ...
ชุดตำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์ การเตรียมเครื่องยาไทยบางชนิดก่อนใ...ชุดตำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์ การเตรียมเครื่องยาไทยบางชนิดก่อนใ...
ชุดตำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์ การเตรียมเครื่องยาไทยบางชนิดก่อนใ...Vorawut Wongumpornpinit
 
2 ข้อสอบการตั้งและแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์
2 ข้อสอบการตั้งและแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์2 ข้อสอบการตั้งและแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์
2 ข้อสอบการตั้งและแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์Jirathorn Buenglee
 
3.โจทย์ปัญหาร้อยละ
3.โจทย์ปัญหาร้อยละ3.โจทย์ปัญหาร้อยละ
3.โจทย์ปัญหาร้อยละApirak Potpipit
 
ขั้นตอนการวิจัยการแพทย์แผนไทย ข้อเสนอและสถานการณ์การวิจัยด้านการแพทย์แผนไทย
ขั้นตอนการวิจัยการแพทย์แผนไทย ข้อเสนอและสถานการณ์การวิจัยด้านการแพทย์แผนไทยขั้นตอนการวิจัยการแพทย์แผนไทย ข้อเสนอและสถานการณ์การวิจัยด้านการแพทย์แผนไทย
ขั้นตอนการวิจัยการแพทย์แผนไทย ข้อเสนอและสถานการณ์การวิจัยด้านการแพทย์แผนไทยVorawut Wongumpornpinit
 
เอกสารประกอบการเรียน พหุนาม ม.2
เอกสารประกอบการเรียน พหุนาม ม.2เอกสารประกอบการเรียน พหุนาม ม.2
เอกสารประกอบการเรียน พหุนาม ม.2นายเค ครูกาย
 
เรขาคณิต มัทนา ป.4
เรขาคณิต มัทนา ป.4เรขาคณิต มัทนา ป.4
เรขาคณิต มัทนา ป.4Krumatt Sinoupakarn
 

What's hot (20)

บรรยายการจัดทำแผน และ งบประมาณ
บรรยายการจัดทำแผน และ งบประมาณบรรยายการจัดทำแผน และ งบประมาณ
บรรยายการจัดทำแผน และ งบประมาณ
 
งานนำเสนอ1
งานนำเสนอ1งานนำเสนอ1
งานนำเสนอ1
 
แบบฝึกเสริมทักษะป.6
แบบฝึกเสริมทักษะป.6แบบฝึกเสริมทักษะป.6
แบบฝึกเสริมทักษะป.6
 
แผนการสอนที่ 2 เรื่อง สัมพันธภาพ
แผนการสอนที่ 2  เรื่อง สัมพันธภาพแผนการสอนที่ 2  เรื่อง สัมพันธภาพ
แผนการสอนที่ 2 เรื่อง สัมพันธภาพ
 
ข้อสอบ O-net-คณิต-ป.3-ชุด-1
ข้อสอบ O-net-คณิต-ป.3-ชุด-1ข้อสอบ O-net-คณิต-ป.3-ชุด-1
ข้อสอบ O-net-คณิต-ป.3-ชุด-1
 
หนังสือรับรอง(เด็กศูนย์ฯ)
หนังสือรับรอง(เด็กศูนย์ฯ)หนังสือรับรอง(เด็กศูนย์ฯ)
หนังสือรับรอง(เด็กศูนย์ฯ)
 
สมการตรีโกณ
สมการตรีโกณสมการตรีโกณ
สมการตรีโกณ
 
สรุปสูตร ม.3
สรุปสูตร ม.3สรุปสูตร ม.3
สรุปสูตร ม.3
 
บันทึกการเยี่ยมชมนวัตกรรม
บันทึกการเยี่ยมชมนวัตกรรมบันทึกการเยี่ยมชมนวัตกรรม
บันทึกการเยี่ยมชมนวัตกรรม
 
ใบความรู้+เสียงสูง เสียงต่ำขึ้นอยู่กับอะไร+ป.5+276+dltvscip5+54sc p05 f33-1page
ใบความรู้+เสียงสูง เสียงต่ำขึ้นอยู่กับอะไร+ป.5+276+dltvscip5+54sc p05 f33-1pageใบความรู้+เสียงสูง เสียงต่ำขึ้นอยู่กับอะไร+ป.5+276+dltvscip5+54sc p05 f33-1page
ใบความรู้+เสียงสูง เสียงต่ำขึ้นอยู่กับอะไร+ป.5+276+dltvscip5+54sc p05 f33-1page
 
ขอความอนุเคราะห์
ขอความอนุเคราะห์ขอความอนุเคราะห์
ขอความอนุเคราะห์
 
ติว O net คณิตศาสตร์ สาระที่ 6
ติว O net คณิตศาสตร์ สาระที่ 6ติว O net คณิตศาสตร์ สาระที่ 6
ติว O net คณิตศาสตร์ สาระที่ 6
 
ชุดตำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์ การเตรียมเครื่องยาไทยบางชนิดก่อนใ...
ชุดตำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์ การเตรียมเครื่องยาไทยบางชนิดก่อนใ...ชุดตำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์ การเตรียมเครื่องยาไทยบางชนิดก่อนใ...
ชุดตำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์ การเตรียมเครื่องยาไทยบางชนิดก่อนใ...
 
2 ข้อสอบการตั้งและแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์
2 ข้อสอบการตั้งและแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์2 ข้อสอบการตั้งและแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์
2 ข้อสอบการตั้งและแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์
 
เอกสารประกอบการเรียนการสอน
เอกสารประกอบการเรียนการสอนเอกสารประกอบการเรียนการสอน
เอกสารประกอบการเรียนการสอน
 
3.โจทย์ปัญหาร้อยละ
3.โจทย์ปัญหาร้อยละ3.โจทย์ปัญหาร้อยละ
3.โจทย์ปัญหาร้อยละ
 
ขั้นตอนการวิจัยการแพทย์แผนไทย ข้อเสนอและสถานการณ์การวิจัยด้านการแพทย์แผนไทย
ขั้นตอนการวิจัยการแพทย์แผนไทย ข้อเสนอและสถานการณ์การวิจัยด้านการแพทย์แผนไทยขั้นตอนการวิจัยการแพทย์แผนไทย ข้อเสนอและสถานการณ์การวิจัยด้านการแพทย์แผนไทย
ขั้นตอนการวิจัยการแพทย์แผนไทย ข้อเสนอและสถานการณ์การวิจัยด้านการแพทย์แผนไทย
 
ลำดับเรขาคณิต (Geometric sequence)
ลำดับเรขาคณิต (Geometric sequence)ลำดับเรขาคณิต (Geometric sequence)
ลำดับเรขาคณิต (Geometric sequence)
 
เอกสารประกอบการเรียน พหุนาม ม.2
เอกสารประกอบการเรียน พหุนาม ม.2เอกสารประกอบการเรียน พหุนาม ม.2
เอกสารประกอบการเรียน พหุนาม ม.2
 
เรขาคณิต มัทนา ป.4
เรขาคณิต มัทนา ป.4เรขาคณิต มัทนา ป.4
เรขาคณิต มัทนา ป.4
 

More from Vorawut Wongumpornpinit

Grammar Rules _ Speak Good English Movement.pdf
Grammar Rules _ Speak Good English Movement.pdfGrammar Rules _ Speak Good English Movement.pdf
Grammar Rules _ Speak Good English Movement.pdfVorawut Wongumpornpinit
 
บัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพร พ.ศ.2566.pdf
บัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพร พ.ศ.2566.pdfบัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพร พ.ศ.2566.pdf
บัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพร พ.ศ.2566.pdfVorawut Wongumpornpinit
 
โภชนศาสตร์ ในภูมิปัญญาไทย.pdf
โภชนศาสตร์ ในภูมิปัญญาไทย.pdfโภชนศาสตร์ ในภูมิปัญญาไทย.pdf
โภชนศาสตร์ ในภูมิปัญญาไทย.pdfVorawut Wongumpornpinit
 
ประกาศกรมฯ เรื่อง มาตรฐานการปลูกและการเก็บเกี่ยวที่ดีของพืชกัญชา (Thailand gu...
ประกาศกรมฯ เรื่อง มาตรฐานการปลูกและการเก็บเกี่ยวที่ดีของพืชกัญชา (Thailand gu...ประกาศกรมฯ เรื่อง มาตรฐานการปลูกและการเก็บเกี่ยวที่ดีของพืชกัญชา (Thailand gu...
ประกาศกรมฯ เรื่อง มาตรฐานการปลูกและการเก็บเกี่ยวที่ดีของพืชกัญชา (Thailand gu...Vorawut Wongumpornpinit
 
รายงานสุขภาพคนไทย-2566.pdf
รายงานสุขภาพคนไทย-2566.pdfรายงานสุขภาพคนไทย-2566.pdf
รายงานสุขภาพคนไทย-2566.pdfVorawut Wongumpornpinit
 
ตำรับยาจีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์.pdf
ตำรับยาจีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์.pdfตำรับยาจีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์.pdf
ตำรับยาจีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์.pdfVorawut Wongumpornpinit
 
ตำรับยาจีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย เล่ม 3.pdf
ตำรับยาจีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย เล่ม 3.pdfตำรับยาจีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย เล่ม 3.pdf
ตำรับยาจีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย เล่ม 3.pdfVorawut Wongumpornpinit
 
ตำรับยาจีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย เล่ม 2.pdf
ตำรับยาจีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย เล่ม 2.pdfตำรับยาจีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย เล่ม 2.pdf
ตำรับยาจีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย เล่ม 2.pdfVorawut Wongumpornpinit
 
IUNS Country Policy Analysis Nutrition Impact of Agricul.pdf
IUNS Country Policy Analysis Nutrition Impact of Agricul.pdfIUNS Country Policy Analysis Nutrition Impact of Agricul.pdf
IUNS Country Policy Analysis Nutrition Impact of Agricul.pdfVorawut Wongumpornpinit
 
กลยุทธ์ ค้าปลีก สร้างความปลอดภัยอาหาร (2557).pdf
กลยุทธ์ ค้าปลีก สร้างความปลอดภัยอาหาร (2557).pdfกลยุทธ์ ค้าปลีก สร้างความปลอดภัยอาหาร (2557).pdf
กลยุทธ์ ค้าปลีก สร้างความปลอดภัยอาหาร (2557).pdfVorawut Wongumpornpinit
 
วัฒนธรรมอาหารไทย - ภาคใต้ (2556).pdf
วัฒนธรรมอาหารไทย - ภาคใต้ (2556).pdfวัฒนธรรมอาหารไทย - ภาคใต้ (2556).pdf
วัฒนธรรมอาหารไทย - ภาคใต้ (2556).pdfVorawut Wongumpornpinit
 
วัฒนธรรมอาหารไทย - ภาคเหนือ (2556).pdf
วัฒนธรรมอาหารไทย - ภาคเหนือ (2556).pdfวัฒนธรรมอาหารไทย - ภาคเหนือ (2556).pdf
วัฒนธรรมอาหารไทย - ภาคเหนือ (2556).pdfVorawut Wongumpornpinit
 
วัฒนธรรมอาหารไทย - ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (2556).pdf
วัฒนธรรมอาหารไทย - ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (2556).pdfวัฒนธรรมอาหารไทย - ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (2556).pdf
วัฒนธรรมอาหารไทย - ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (2556).pdfVorawut Wongumpornpinit
 
วัฒนธรรมอาหารไทย - ภาคกลาง (2556).pdf
วัฒนธรรมอาหารไทย - ภาคกลาง (2556).pdfวัฒนธรรมอาหารไทย - ภาคกลาง (2556).pdf
วัฒนธรรมอาหารไทย - ภาคกลาง (2556).pdfVorawut Wongumpornpinit
 
เวชกรรมไทยเบื้องต้น คู่มือมาตรฐานการฝึกอบรม สาขาการแพทย์แผนไทย ประเภทการนวดไท...
เวชกรรมไทยเบื้องต้น คู่มือมาตรฐานการฝึกอบรม สาขาการแพทย์แผนไทย ประเภทการนวดไท...เวชกรรมไทยเบื้องต้น คู่มือมาตรฐานการฝึกอบรม สาขาการแพทย์แผนไทย ประเภทการนวดไท...
เวชกรรมไทยเบื้องต้น คู่มือมาตรฐานการฝึกอบรม สาขาการแพทย์แผนไทย ประเภทการนวดไท...Vorawut Wongumpornpinit
 
การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุแบบบูรณาการ.pdf
การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุแบบบูรณาการ.pdfการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุแบบบูรณาการ.pdf
การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุแบบบูรณาการ.pdfVorawut Wongumpornpinit
 
คู่มือเกณฑ์ชุมชนต้นแบบดูแลผู้สูงอายุ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.pdf
คู่มือเกณฑ์ชุมชนต้นแบบดูแลผู้สูงอายุ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.pdfคู่มือเกณฑ์ชุมชนต้นแบบดูแลผู้สูงอายุ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.pdf
คู่มือเกณฑ์ชุมชนต้นแบบดูแลผู้สูงอายุ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.pdfVorawut Wongumpornpinit
 
วัฒนธรรมอาหารไทยจากอดีตสู่ปัจจุบัน (2556).pdf
วัฒนธรรมอาหารไทยจากอดีตสู่ปัจจุบัน (2556).pdfวัฒนธรรมอาหารไทยจากอดีตสู่ปัจจุบัน (2556).pdf
วัฒนธรรมอาหารไทยจากอดีตสู่ปัจจุบัน (2556).pdfVorawut Wongumpornpinit
 
Astaxanthin The world's best kept health secret Natural astaxanthin.pdf
Astaxanthin The world's best kept health secret Natural astaxanthin.pdfAstaxanthin The world's best kept health secret Natural astaxanthin.pdf
Astaxanthin The world's best kept health secret Natural astaxanthin.pdfVorawut Wongumpornpinit
 

More from Vorawut Wongumpornpinit (20)

Grammar Rules _ Speak Good English Movement.pdf
Grammar Rules _ Speak Good English Movement.pdfGrammar Rules _ Speak Good English Movement.pdf
Grammar Rules _ Speak Good English Movement.pdf
 
บัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพร พ.ศ.2566.pdf
บัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพร พ.ศ.2566.pdfบัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพร พ.ศ.2566.pdf
บัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพร พ.ศ.2566.pdf
 
Psilocybin mushroom handbook.pdf
Psilocybin mushroom handbook.pdfPsilocybin mushroom handbook.pdf
Psilocybin mushroom handbook.pdf
 
โภชนศาสตร์ ในภูมิปัญญาไทย.pdf
โภชนศาสตร์ ในภูมิปัญญาไทย.pdfโภชนศาสตร์ ในภูมิปัญญาไทย.pdf
โภชนศาสตร์ ในภูมิปัญญาไทย.pdf
 
ประกาศกรมฯ เรื่อง มาตรฐานการปลูกและการเก็บเกี่ยวที่ดีของพืชกัญชา (Thailand gu...
ประกาศกรมฯ เรื่อง มาตรฐานการปลูกและการเก็บเกี่ยวที่ดีของพืชกัญชา (Thailand gu...ประกาศกรมฯ เรื่อง มาตรฐานการปลูกและการเก็บเกี่ยวที่ดีของพืชกัญชา (Thailand gu...
ประกาศกรมฯ เรื่อง มาตรฐานการปลูกและการเก็บเกี่ยวที่ดีของพืชกัญชา (Thailand gu...
 
รายงานสุขภาพคนไทย-2566.pdf
รายงานสุขภาพคนไทย-2566.pdfรายงานสุขภาพคนไทย-2566.pdf
รายงานสุขภาพคนไทย-2566.pdf
 
ตำรับยาจีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์.pdf
ตำรับยาจีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์.pdfตำรับยาจีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์.pdf
ตำรับยาจีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์.pdf
 
ตำรับยาจีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย เล่ม 3.pdf
ตำรับยาจีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย เล่ม 3.pdfตำรับยาจีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย เล่ม 3.pdf
ตำรับยาจีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย เล่ม 3.pdf
 
ตำรับยาจีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย เล่ม 2.pdf
ตำรับยาจีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย เล่ม 2.pdfตำรับยาจีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย เล่ม 2.pdf
ตำรับยาจีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย เล่ม 2.pdf
 
IUNS Country Policy Analysis Nutrition Impact of Agricul.pdf
IUNS Country Policy Analysis Nutrition Impact of Agricul.pdfIUNS Country Policy Analysis Nutrition Impact of Agricul.pdf
IUNS Country Policy Analysis Nutrition Impact of Agricul.pdf
 
กลยุทธ์ ค้าปลีก สร้างความปลอดภัยอาหาร (2557).pdf
กลยุทธ์ ค้าปลีก สร้างความปลอดภัยอาหาร (2557).pdfกลยุทธ์ ค้าปลีก สร้างความปลอดภัยอาหาร (2557).pdf
กลยุทธ์ ค้าปลีก สร้างความปลอดภัยอาหาร (2557).pdf
 
วัฒนธรรมอาหารไทย - ภาคใต้ (2556).pdf
วัฒนธรรมอาหารไทย - ภาคใต้ (2556).pdfวัฒนธรรมอาหารไทย - ภาคใต้ (2556).pdf
วัฒนธรรมอาหารไทย - ภาคใต้ (2556).pdf
 
วัฒนธรรมอาหารไทย - ภาคเหนือ (2556).pdf
วัฒนธรรมอาหารไทย - ภาคเหนือ (2556).pdfวัฒนธรรมอาหารไทย - ภาคเหนือ (2556).pdf
วัฒนธรรมอาหารไทย - ภาคเหนือ (2556).pdf
 
วัฒนธรรมอาหารไทย - ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (2556).pdf
วัฒนธรรมอาหารไทย - ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (2556).pdfวัฒนธรรมอาหารไทย - ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (2556).pdf
วัฒนธรรมอาหารไทย - ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (2556).pdf
 
วัฒนธรรมอาหารไทย - ภาคกลาง (2556).pdf
วัฒนธรรมอาหารไทย - ภาคกลาง (2556).pdfวัฒนธรรมอาหารไทย - ภาคกลาง (2556).pdf
วัฒนธรรมอาหารไทย - ภาคกลาง (2556).pdf
 
เวชกรรมไทยเบื้องต้น คู่มือมาตรฐานการฝึกอบรม สาขาการแพทย์แผนไทย ประเภทการนวดไท...
เวชกรรมไทยเบื้องต้น คู่มือมาตรฐานการฝึกอบรม สาขาการแพทย์แผนไทย ประเภทการนวดไท...เวชกรรมไทยเบื้องต้น คู่มือมาตรฐานการฝึกอบรม สาขาการแพทย์แผนไทย ประเภทการนวดไท...
เวชกรรมไทยเบื้องต้น คู่มือมาตรฐานการฝึกอบรม สาขาการแพทย์แผนไทย ประเภทการนวดไท...
 
การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุแบบบูรณาการ.pdf
การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุแบบบูรณาการ.pdfการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุแบบบูรณาการ.pdf
การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุแบบบูรณาการ.pdf
 
คู่มือเกณฑ์ชุมชนต้นแบบดูแลผู้สูงอายุ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.pdf
คู่มือเกณฑ์ชุมชนต้นแบบดูแลผู้สูงอายุ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.pdfคู่มือเกณฑ์ชุมชนต้นแบบดูแลผู้สูงอายุ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.pdf
คู่มือเกณฑ์ชุมชนต้นแบบดูแลผู้สูงอายุ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.pdf
 
วัฒนธรรมอาหารไทยจากอดีตสู่ปัจจุบัน (2556).pdf
วัฒนธรรมอาหารไทยจากอดีตสู่ปัจจุบัน (2556).pdfวัฒนธรรมอาหารไทยจากอดีตสู่ปัจจุบัน (2556).pdf
วัฒนธรรมอาหารไทยจากอดีตสู่ปัจจุบัน (2556).pdf
 
Astaxanthin The world's best kept health secret Natural astaxanthin.pdf
Astaxanthin The world's best kept health secret Natural astaxanthin.pdfAstaxanthin The world's best kept health secret Natural astaxanthin.pdf
Astaxanthin The world's best kept health secret Natural astaxanthin.pdf
 

แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf

  • 1. คณะกรรมการนโยบายสมุนไพรแหงชาติ กองสมุนไพรเพื่อเศรษฐกิจ กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข 0-2591-7007 ต่อ 3303 nph.dtam.moph.go.th� แผนปฏิบัติการดานสมุนไพรแหงชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566 – 2570 แผนปฏิ บ ั ต ิ ก ารด า นสมุ น ไพรแห ง ชาติ ฉบั บ ที ่ 2 พ.ศ. 2566 – 2570
  • 3. แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2566 – 2570) ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ.2566 ที่ปรึกษา นายเกียรติภูมิ วงศ์รจิต อดีตปลัดกระทรวงสาธารณสุข นายทองเปลว กองจันทร์ อดีตปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ อดีตปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายบุณยฤทธิ์ กัลยาณมิตร อดีตปลัดกระทรวงพาณิชย์ นายโอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข นายสิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม นายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายกีรติ รัชโน ปลัดกระทรวงพาณิชย์ นายสำราญ สาราบรรณ์ อดีตรองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายอภัย สุทธิสังข์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายศุภชัย ปทุมนากุล รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม นายวันชัย วราวิทย์ รองปลัดกระทรวงพาณิชย์ นายสุรพล ชามาตย์ รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นางวรวรรณ ชิตอรุณ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม นายณรงค์ สายวงศ์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข นายยงยศ ธรรมวุฒิ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข นางอัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต ที่ปรึกษาวิชาการ นางสาวรพีสุภา หวังเจริญรุ่ง นายดาวุด ยูนุช บรรณาธิการ นายธงชัย เลิศวิไลรัตนพงศ์ อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก นายสุริยะ วงศ์คงคาเทพ ประธานคณะทำงานยกร่างแผนงาน (ยุทธศาสตร์) ด้านผลิตภัณฑ์ สมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 ฯ กองบรรณาธิการ นายขวัญชัย วิศิษฐานนท์ นายธิติ แสวงธรรม นายเทวัญ ธานีรัตน์ นางสาววันทนา แจ้งประจักษ์ นายทรงกลด สว่างวงศ์ นางสาวสุดสวาสดิ์ ดวงศรีไสย์ นายพงศ์สิทธิ์ รัตนกรวิทย์ นางสาวปิยธิดา ถิระรณรงค์ นายจิตติศักดิ์ ศรีปัญญา นางสาวสุมนา มณีพิทักษ์ นางสิริดา อุปนันท์ นางสาวศรีสุดา โท้ทอง นายนฤบดินทร์ วุฒิวรรณ นายวุฒิชัย ประชาพร นางนุชอนงค์ เชิดสูงเนิน นางปรียากร สังขวณิช นางพรพรรณนิล ศตวรรษธำรง นายวราวุธ เสริมสินสิริ นายเมธา สิมะวรา นายสิทธิชัย แดงประเสริฐ นางสายใจ พรหมเดเวช นายอนุรุธ ว่องวานิช นายศักดิ์ชัย วิจัยธรรมฤทธิ์ นายชาญชัย ธรรมร่มดี นายจักราวุธ เผือกคง นายกุลธนิต วนรัตน์ นางกัญญา อินแพง นางมณฑกา ธีรชัยสกุล นางสาวรัชนี จันทรเกษ นางศรีจรรยา โชตึก นางสาวพิชญารัตน์ วรรณวุฒิกุล นางสาวสุดารัตน์ เกตโล นายณัฐวุติ ปราบภัย นางสาววิวรรณ วรกุลพาณิชย์ นางสาวปวีณา แก้วสุยะ นางสาวเบญจพร ตะถา พิมพ์ครั้งที่ 1 มีนาคม 2566 จำนวน 1,500 เล่ม จัดพิมพ์โดย กองสมุนไพรเพื่อเศรษฐกิจ กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข 88/23 หมู่ 4 ถนนติวานนท์ ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000 สถานที่พิมพ์ บริษัท เปเปอรี่ จำกัด
  • 4. คำนำ รัฐบาลได้กำหนดให้มียุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 - 2580) เพื่อใช้เป็นกรอบในการจัดทํา แผนต่าง ๆ ให้สอดคล้องและบูรณาการกัน อันจะก่อให้เกิดเป็นพลังผลักดันร่วมกันไปสู่เป้าหมายการพัฒนา ประเทศอย่างยั่งยืนตามหลักธรรมาภิบาล ภายใต้วิสัยทัศน์ที่ว่า “ประเทศมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” ประสานความร่วมมื่อระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน เพื่อความสุขของคนไทยทุกคน เป็นที่ชัดเจนว่า รัฐบาลให้ความสำคัญกับการพัฒนาสมุนไพรไทยเป็นอย่างมาก โดยได้มีข้อสั่งการ จากท่านนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ให้ภาครัฐโดยเฉพาะอย่างยิ่งกระทรวงสาธารณสุข เป็นผู้ประสานการบูรณาการ พัฒนาและส่งเสริมสมุนไพรตลอดห่วงโซ่คุณค่าและเป็นระบบ มาตั้งแต่ปี 2558 จนเกิดเป็นแผนแม่บทแห่งชาติ ว่าด้วยการพัฒนาสมุนไพรไทย ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2560 - 2564 ซึ่งต่อมา เพื่อให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี ได้ปรับชื่อเป็น แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 1 และขยาย ระยะเวลาถึง พ.ศ. 2565 ซึ่งใกล้สิ้นสุดระยะเวลาการดำเนินงานตามแผนดังกล่าว จึงมีความจำเป็นต้องจัดทำ แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566 - 2570 เพื่อรองรับการขับเคลื่อนการพัฒนา และส่งเสริมสมุนไพรตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value chain) ให้สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นที่ยอมรับ และสร้างมูลค่าเพิ่มแก่สมุนไพรได้ กระทรวงสาธารณสุขร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ดำเนินการทบทวนและจัดทำแผนปฏิบัติการ ด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566 - 2570 ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บทภายใต้ ยุทธศาสตร์ชาติ ทั้งนี้ เพื่อกำหนดวิสัยทัศน์ ทิศทางการพัฒนา เป้าหมาย จุดเน้นเชิงยุทธศาสตร์ของแผนปฏิบัติการฯ ยุทธศาสตร์ มาตรการ และแผนงานต่างๆ ที่ครอบคลุมการพัฒนาสมุนไพรไทยตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง และปลายทาง เหมาะสมกับบริบทและสถานการณ์ต่าง ๆ ด้านเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยีดิจิทัลทั้งในปัจจุบันและอนาคต ทั้งนี้ ส่วนราชการและองค์กรเอกชนจะมีบทบาทอย่างสูงในการสนับสนุนให้เกิดการผลิตสมุนไพรที่ได้มาตรฐาน มีคุณภาพ และสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลิตภัณฑ์สมุนไพร ส่งเสริมให้เกิดความเชื่อมั่นในการใช้สมุนไพร รวมทั้ง เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของสมุนไพรไทยในตลาดทั้งในและต่างประเทศอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566 - 2570 จะได้รับ ความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการร่วมกันขับเคลื่อนให้สมุนไพรเป็นพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น อันจะนำมาสู่ความมั่นคงทางสุขภาพและความยั่งยืน ของเศรษฐกิจไทยต่อไป คณะผู้จัดทำ มีนาคม 2566
  • 5. บ - 1 สารบัญ ส่วนที่ หน้า 1 บทสรุปผู้บริหาร 1.1 หลักการและเหตุผล 1 1.2 วัตถุประสงค์ของแผนปฏิบัติการ 1 1.3 สถานการณ์และการวิเคราะห์ช่องว่างการพัฒนาสมุนไพรไทย 2 1.4 วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย ทิศทางการพัฒนา จุดเน้นเชิงยุทธศาสตร์ และประเด็นยุทธศาสตร์ 6 2 ความสอดคล้องกับแผน 3 ระดับ ตามนัยยะของมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2560 2.1 ยุทธศาสตร์ชาติ (แผนระดับที่ 1) 16 2.2 แผนระดับที่ 2 (เฉพาะที่เกี่ยวข้อง) 20 2.3 แผนระดับที่ 3 ที่เกี่ยวข้อง 30 3 สาระสำคัญของแผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566 – 2570 3.1 การประเมินสถานการณ์ ปัญหา และความจำเป็นของแผนปฏิบัติการฯ 33 3.2 สาระสำคัญของแผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566 – 2570 48 ยุทธศาสตร์ที่ 1 การส่งเสริมการผลิตและแปรรูปวัตถุดิบสมุนไพรที่มีคุณภาพ และมาตรฐาน 52 ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพของผู้ประกอบการและ อุตสาหกรรมสมุนไพรตลอดห่วงโซ่อุปทาน 56 ยุทธศาสตร์ที่ 3 การส่งเสริมการตลาดผลิตภัณฑ์สมุนไพร 59 ยุทธศาสตร์ที่ 4 การส่งเสริมการบริโภคผลิตภัณฑ์สมุนไพรอย่างเหมาะสม 62 ยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนาระบบนิเวศที่สนับสนุนการขับเคลื่อนการพัฒนาสมุนไพร ไทยอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน 67 3.3 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการนำแผนปฏิบัติการฯ ไปดำเนินการ (หน่วยงานระดับ กรมหรือเทียบเท่า ขึ้นไป) 73 ภาคผนวก - จุดเน้นยุทธศาสตร์ในแผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566 - 2570 ก – 1 - รายชื่อโครงการสำคัญ กรอบงบประมาณและหน่วยงานรับผิดชอบ ข - 1 - สำเนาคำสั่งคณะกรรมการนโยบายสมุนไพรแห่งชาติ ที่ 1/2564 เรื่อง แต่งตั้ง คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนภารกิจของคณะกรรมการนโยบายสมุนไพรแห่งชาติ ค - 1 - สำเนาคำสั่งกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ที่ 111/2564 เรื่อง แต่งตั้งคณะทำงานยกร่างแผนงาน (ยุทธศาสต์) ด้านผลิตภัณฑ์สมุนไพร แห่งชาติ ฉบับที่ 2 (แผนแม่บทแห่งชาติว่าด้วยการพัฒนาสมุนไพรไทย ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566 - 2570) ง - 1
  • 6. บ - 2 ส่วนที่ หน้า - มติคณะรัฐมนตรี และความเห็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จ - 1 - ประกาศกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก เรื่อง สมุนไพร Herbal Champions พ.ศ. 2566 ฉ - 1
  • 7. 1 ส่วนที่ 1 บทสรุปผู้บริหาร 1.1 หลักการและเหตุผล รัฐบาลได้มีการกำหนดการพัฒนาสมุนไพรเป็นประเด็นสำคัญในวาระของประเทศ ผ่านมติ คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2559 เห็นชอบต่อแผนแม่บทแห่งชาติ ว่าด้วยการพัฒนาสมุนไพรไทย ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2560 - 2564 ซึ่งเป็นการดำเนินงานร่วมกันจาก 10 กระทรวง โดยมีคณะกรรมการ นโยบายสมุนไพรแห่งชาติ (นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน) และกระทรวงสาธารณสุข โดยกรมการแพทย์ แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกเป็นหน่วยงานเลขานุการและเป็นแกนกลางในการดำเนินงาน และประสานความร่วมมือจากทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งต่อมาได้มีการประกาศใช้กฎหมายพระราชบัญญัติ ผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ. 2562 เป็นกฎหมายใหม่ที่แยกการกำกับดูแลผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มาจากสมุนไพร ออกจากกฎหมายยาเดิม และการดำเนินงานของคณะกรรมการนโยบายสมุนไพรแห่งชาติเป็นไปตาม กฎหมายดังกล่าวตั้งแต่ปี 2562 เป็นต้นมา อีกทั้งมีการปรับชื่อแผนแม่บทแห่งชาติ ว่าด้วยการพัฒนา สมุนไพรไทย ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2560 - 2564 เป็นแผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 1 และขยาย ระยะเวลาการดำเนินงานจนถึงปี 2565 เพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ส่งผลให้ปัจจุบันการพัฒนา สมุนไพรเป็นวาระแห่งชาติและมีการดำเนินงานร่วมกันหลายกระทรวงผ่านรูปแบบคณะอนุกรรมการ ภายใต้คณะกรรมการนโยบายสมุนไพรแห่งชาติ จำนวน 5 คณะ ผ่าน 5 กระทรวงหลัก คือ กระทรวง เกษตรและสหกรณ์ กระทรวงอุดมศึกษา วิจัย และนวัตกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงสาธารณสุข บัดนี้ เมื่อเข้าสู่ช่วงปีสุดท้ายของแผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2560 - 2565 คณะกรรมการนโยบายสมุนไพรแห่งชาติจึงได้มีการเตรียมการเพื่อยกร่างแผนปฏิบัติการ ด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566 - 2570 โดยได้มอบหมายให้คณะทำงานยกร่างแผนงาน (ยุทธศาสตร์) ด้านผลิตภัณฑ์สมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (แผนแม่บทแห่งชาติ ว่าด้วยการพัฒนา สมุนไพร ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566 - 2570) ดำเนินการศึกษาและกำหนดประเด็นทางยุทธศาสตร์ เพื่อประกอบการยกร่างดังกล่าว 1.2 วัตถุประสงค์ของแผนปฏิบัติการ (1) เพื่อทำให้เกิดการพัฒนาสมุนไพรโดยมีการอนุรักษ์และต่อยอดเพื่อประโยชน์ทั้งด้านการรักษา และผลิตภัณฑ์ประเภทอื่น (2) เพื่อส่งเสริมให้มีการใช้สมุนไพรและผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ โดยมีความเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมและภาคเศรษฐกิจต่าง ๆ (3) เพื่อการขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างเป็นระบบ โดยอาศัยกลไกการทำงานร่วมกันระหว่าง หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ เอกชน และสถาบันการศึกษา รวมทั้งท้องถิ่น เพื่อทำให้เกิดการพัฒนา สมุนไพรไทยอย่างเชื่อมโยงและครบวงจร (4) เพื่อส่งเสริมความเข้มแข็งให้กับชุมชน โดยมุ่งเน้นเพื่อเพิ่มศักยภาพของชุมชน และส่งเสริม บทบาทของชุมชนในการตัดสินใจ ดำเนินการ วางแผน เพื่อให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้และสามารถ ปฏิบัติการตามแผนฯ ได้ (Community Autonomy)
  • 8. 2 1.3 สถานการณ์และการวิเคราะห์ช่องว่างการพัฒนาสมุนไพรไทย 1.3.1 สถานการณ์การพัฒนาสมุนไพรไทย (1) ผลิตภัณฑ์ที่มีสัดส่วนของตลาดสูงสุด คือ กลุ่มผลิตภัณฑ์เสริมอาหารชนิดพร้อมดื่ม (Herbal/ Traditional Tonics) รองลงมา คือ กลุ่มของผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อรักษาอาการไอ หวัด และแพ้อากาศ (Herbal/ Traditional Cough, Cold and Allergy (Hay Fever) Remedies) และกลุ่มผลิตภัณฑ์ เสริมอาหาร (Herbal/ Traditional Dietary Supplements) โดยตลาดผลิตภัณฑ์สมุนไพรของประเทศไทย มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งปี 2563 ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่การปิดประเทศได้ส่งผลให้ขนาดของตลาดลดลงเหลือเพียง 45,997.9 ล้านบาท จากที่เคยขยายตัวได้ถึง 52,171 ล้านบาทในปี 2562 (2) ผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อบรรเทาอาการเจ็บป่วย และกลุ่มผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจะเป็น กลุ่มของผลิตภัณฑ์ที่มีแนวโน้มในการเจริญเติบโตสูงในอนาคต โดยมีที่มาจากทั้งความพยายาม และความเชื่อที่เกี่ยวกับสรรพคุณของสมุนไพรบางประเภทในการรับมือกับการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Misinformation) รวมทั้งแนวโน้มในการดูแลสุขภาพและการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคในระดับบุคคลของ ประชาชน (3) อัตราการขยายตัวของตลาดผลิตภัณฑ์สมุนไพรของไทยในช่วงที่มีการประกาศใช้ แผนปฏิบัติการฯ ฉบับที่ 1 (ช่วงปี 2560 - 2562) สูงกว่าประเทศผู้นำที่มีขนาดตลาดสมุนไพร ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชีย โดยอัตราขยายตัวของไทยเฉลี่ย เท่ากับร้อยละ 10.3 ซึ่งสูงกว่าอัตรา การขยายตัวเฉลี่ยของประเทศจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ซึ่งเท่ากับร้อยละ 5.06 ร้อยละ 0.85 และร้อยละ 5.43 ตามลำดับ ในช่วงเวลาเดียวกัน ทั้งนี้ ตลาดส่งออกที่บริโภคสมุนไพรที่สำคัญของไทย ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน และสหรัฐ เป็นต้น (4) ประเทศไทยมีร้อยละการเติบโตของยอดขายสะสมเปรียบเทียบระหว่างปี พ.ศ. 2559 - 2564 แยกตามประเภทรายการผลิตภัณฑ์สมุนไพร โดดเด่น 2 หมวดผลิตภัณฑ์ คือ กลุ่มผลิตภัณฑ์สมุนไพรใช้เพื่อรักษา/บรรเทาอาการภูมิแพ้ หวัด ไอ (ยอดขายเติบโตร้อยละ 12.2) และกลุ่มผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากสมุนไพร (ยอดขายเติบโตร้อยละ 8.3) ตลาดผลิตภัณฑ์ สมุนไพรของประเทศญี่ปุ่นไม่มีการขยายตัวมานานกว่า 6 ปี ขณะที่สาธารณรัฐประชาชนจีนมีร้อยละ การเติบโตของยอดขายเพิ่มขึ้นในทุกรายหมวดผลิตภัณฑ์ยกเว้นกลุ่มเครื่องดื่มบำรุงกำลัง แต่สาธารณรัฐ อินเดียมีร้อยละการเติบโตของยอดขายมากกว่าร้อยละ 5 ในทุกรายหมวดผลิตภัณฑ์ และประเทศ สาธารณรัฐเกาหลีมีการชะลอตัวของการเติบโตในอุตสาหกรรมสมุนไพร (5) ประเทศไทยมีการนำเข้าสมุนไพรเพื่อใช้ในการผลิตและบริโภคผลิตภัณฑ์สมุนไพรเป็นหลัก โดยในช่วงปี 2559 - 2563 ปริมาณการส่งออกวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์สมุนไพรเฉลี่ยของประเทศไทย ไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก คือ อยู่ในระดับเฉลี่ยประมาณ 2,237 ล้านบาทต่อปี ในขณะที่ การนำเข้า วัตถุดิบและผลิตภัณฑ์สมุนไพรของประเทศไทยนั้น มีแนวโน้มของการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสะท้อนความต้องการบริโภคที่เติบโตขึ้น ผ่านการนำเข้าผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร วัตถุดิบ และสารสกัด จากต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2563 มีอัตราการนำเข้าสมุนไพรสูงสุดในรอบ 5 ปี คือ ประมาณ 12,606 ล้านบาท (6) โครงการพัฒนาเมืองสมุนไพรที่กำหนดจุดเน้นเชิงยุทธศาสตร์ 3 คลัสเตอร์ สนับสนุน ให้กลไกการส่งเสริมการพัฒนาสมุนไพรไทยในระดับพื้นที่ก้าวหน้า การส่งเสริมการใช้สมุนไพร ในการพัฒนาเชิงพื้นที่โดยการใช้กลไกประชารัฐเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนแผนไปสู่การปฏิบัติในระดับ
  • 9. 3 พื้นที่อย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน ผ่านโครงการพัฒนาเมืองสมุนไพรซึ่งเป็นภาพจำลอง (Model) ของแผนปฏิบัติการฯ ฉบับที่ 1 โดยในช่วงแรกของแผนได้กำหนดให้มีการดำเนินการนำร่องในพื้นที่ 4 จังหวัดของประเทศ ต่อมาจึงขยายเป็น 14 จังหวัดเพื่อครอบคลุมทุกเขตสุขภาพของประเทศ พร้อมทั้งมี การปรับทิศทางการพัฒนาโดยให้เมืองสมุนไพรกำหนดจุดเน้นเชิงยุทธศาสตร์เพื่อต่อยอดจากศักยภาพ พื้นฐานของจังหวัดซึ่งแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มเกษตรวัตถุดิบสมุนไพร กลุ่มอุตสาหกรรมสมุนไพร และกลุ่มท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ความงามและการแพทย์แผนไทย (7) อุปสงค์ของสมุนไพรและเครื่องเทศในตลาดสหภาพยุโรปถือเป็นโอกาสสำคัญของ ผู้ส่งออกในประเทศกำลังพัฒนา เนื่องจากมีมูลค่าการนำเข้ารวมสูงถึงกว่า 1 แสนล้านบาท ในปี 2562 และเป็นมูลค่าการนำเข้าในประเทศกำลังพัฒนากว่า 45,000 ล้านบาท โดยเฉพาะในประเทศเยอรมัน เนเธอร์แลนด์ สเปน สหราชอาณาจักร และโปแลนด์ โดยอุปสงค์ต่อการนำเข้าสมุนไพรและเครื่องเทศ ทั้งนี้ สมุนไพรที่มีความต้องการสูงสุด ได้แก่ ขิง พริกไทย ขมิ้นชัน อบเชย กานพลู1 (8) ปัจจัยที่ทำให้สมุนไพรมีโอกาสเติบโตมาจากแนวโน้มความต้องการอาหารและเครื่องดื่ม ที่มีสมุนไพรเป็นส่วนประกอบ โดยในสหภาพยุโรปมีอุปสงค์ต่อเครื่องปรุงที่มีส่วนผสมที่มีประโยชน์ ต่อร่างกาย เครื่องดื่มที่ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายและดีต่อสุขภาพ โดยเฉพาะเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของ สมุนไพร หรือในเอเชียตะวันออกอุปสงค์ต่ออาหารและเครื่องดื่มที่ช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน ช่วยผ่อนคลาย ลดความตึงเครียดเช่นเดียวกัน ทำให้ตลาดสมุนไพรไม่ใช่แค่ตัวสมุนไพรสดหรือแห้งอีกต่อไป แต่หากสามารถ เพิ่มมูลค่าหรือนวัตกรรมในผลิตภัณฑ์จะส่งผลให้ความต้องการขยายตัวสูงมากขึ้น และเพิ่มโอกาส ในการส่งออกได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ การเติบโตของธุรกิจด้านการแพทย์และความงามจะส่งผลให้ ความต้องการสินค้าสมุนไพรเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มเสริมอาหารและเวชสำอาง ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร ที่คาดว่าจะเป็นที่ต้องการของตลาด ได้แก่ สารสกัดเข้มข้นจากสมุนไพร สมุนไพรออร์แกนิคแปรรูป และเครื่องดื่มสมุนไพร2 (9) ทิศทางการใช้ประโยชน์พืชสมุนไพรทางการแพทย์ที่ขยายตัวและเป็นนโยบาย ระดับประเทศ อาทิ กัญชาทางการแพทย์ ฟ้าทะลายโจร และกระชายเพื่อร่วมรักษาโรคติดเชื้อโควิด-19 ในรอบ 2 - 3 ปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นมา รัฐบาลให้ความสนใจและเกิดการเปลี่ยนแปลง ทางกฎหมายในกลุ่มพืชสมุนไพรที่เป็นยาเสพติดประเภทที่ 5 ทั้ง กัญชง กระท่อม และกัญชา รวมถึง มีการเพิ่มโอกาสให้แก่ผู้ป่วยที่มีความจำเป็นทางการรักษา สามารถใช้ยาจากกัญชาเพื่อการรักษาโรค ได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ส่งผลให้เกิดกระแสการนำพืชสมุนไพรดังกล่าวมาใช้ประโยชน์ทั้งทางการแพทย์ และการพาณิชย์ ตลอดจนสมุนไพรกลุ่มที่มีการศึกษาวิจัยเพื่อตอบโจทย์ในการรักษาโรคติดเชื้อโควิด-19 ที่ประชาชนสามารถเข้าถึงและพึ่งตนเองได้ ส่งผลให้การขยายตัวทางการตลาดของสมุนไพรฟ้าทะลายโจร และกระชายเพิ่มสูงขึ้นมาก 1.3.2 การวิเคราะห์ช่องว่างการพัฒนาที่นำไปสู่การกำหนดจุดเน้นยุทธศาสตร์ สถานการณ์การพัฒนาสมุนไพรของประเทศไทยดังกล่าวมาข้างต้น สามารถนำมาสู่การวิเคราะห์ ศักยภาพ (Strength) ข้อจำกัด (Weakness) โอกาสและความท้าทาย (Opportunity) และอุปสรรค (Threat) ที่เกี่ยวกับการพัฒนาสมุนไพรไทย ดังแผนภาพที่ 1 – 1 1 Centre for the Promotion of Imports from developing countries: CBI. (2021, 21 March). What is the demand for spices and herbs on the European market? สืบค้นจาก https://www.cbi.eu/market-information/spices-herbs/what-demand# 2 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (ก.พ. 2562). K SME Analysis ถึงเวลาโกยเงิน SME รุกตลาดสมุนไพร สืบค้นจาก https://www.kasikornbank.com/th/business/sme/KSMEKnowledge/article/KSMEAnalysis/Documents/Herb_Market.pdf
  • 10. 4 แผนภาพที่ 1 – 1 การวิเคราะห์สถานการณ์ด้านสมุนไพรของไทยผ่านแนวคิด SWOT Analysis ทั้งนี้ ผลการวิเคราะห์สถานการณ์ด้านสมุนไพรของไทยเพื่อนำมาใช้ในการวิเคราะห์ช่องว่างการพัฒนา (Gap Analysis) อันจะนำไปสู่การกำหนดจุดเน้นยุทธศาสตร์ (Strategic Focus: SF) โดยมีประเด็น ช่องว่างการพัฒนาที่เกิดขึ้นภายหลังจากการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการฯ ฉบับที่ 1 ดังนี้ (1) วัตถุดิบสมุนไพรยังคงไม่ได้มาตรฐานและไม่มีคุณภาพตรงกับความต้องการทางการตลาด เนื่องจากเกษตรกรทั่วไปทั่วประเทศที่ปลูกสมุนไพรทั่วไปที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรปลูกสมุนไพรจำนวน 298,816 ราย พื้นที่ปลูกรวม 902,123 ไร่ มีพื้นที่ปลูกที่ผ่านการรับรองและได้คุณภาพตามความต้องการตลาด คิดเป็นเพียงร้อยละ 5 ของพื้นที่ทั้งหมดซึ่งไม่เพียงพอต่อความต้องการเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิต และการบริโภค สาเหตุหลักเกิดจากปัญหาการควบคุมคุณภาพของวัตถุดิบตั้งแต่การปลูก (2) อุตสาหกรรมสารสกัดซึ่งเป็นเงื่อนไขที่สำคัญของอุตสาหกรรมยังมีการพัฒนาไม่มาก ทั้งในเชิงประเภท ปริมาณ และมาตรฐาน โดยประเทศไทยยังต้องพึ่งพิงการนำเข้าสารสกัด จากต่างประเทศสูงในการผลิต เนื่องจากประเทศไทยยังเป็นประเทศที่มีการนำเข้าผลิตภัณฑ์สมุนไพรสุทธิ หรือมีการนำเข้าผลิตภัณฑ์สมุนไพรมากกว่าการส่งออก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของสารสกัด และผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร แม้ว่าจะมีการส่งเสริมการพัฒนาทั้งอุตสาหกรรมสารสกัด และผลิตภัณฑ์ เสริมอาหารอย่างมากก็ตาม (3) ผู้ประกอบการผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพรของไทยยังขาดความรู้ความเชี่ยวชาญ และต้องการการสนับสนุนที่เพียงพอทั้งในด้านของปัจจัยแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนา และมาตรการภาครัฐ เพื่อยกระดับการผลิตและเจริญเติบโต เนื่องจากข้อจำกัดในเรื่องของ เงินลงทุนและเทคโนโลยีในการผลิต รวมไปถึงยังขาดความรู้ทางด้านกฎ ระเบียบ การขอขึ้นทะเบียน ฉลาก สรรพคุณของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) การเพาะปลูกที่ไม่ได้มาตรฐาน ขาดความรู้ในกระบวนการแปรรูปขั้นต้นที่มีประสิทธิภาพ ขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในขั้นตอน การขอใบรับรองต่าง ๆ และปัญหาในการเข้าถึงตลาดเป้าหมายและขาดตลาดรองรับ นอกจากประเด็น ด้านองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญในกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพรแล้ว ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม (ecosystem) ในอุตสาหกรรมสมุนไพร อาทิ มาตรการสนับสนุนด้านเงินทุนในรูปแบบ sand box จากภาครัฐ งานวิจัยด้านสารสกัด ผลิตภัณฑ์ เทคโนโลยีและเครื่องมือในกระบวนการผลิต กระบวนการ บรรจุ เป็นต้น จะช่วยยกระดับการผลิตและพัฒนาอุตสาหกรรมสมุนไพรได้ดียิ่งขึ้น
  • 11. 5 (4) การขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์สมุนไพรยังมีจำนวนไม่มาก ยังต้องมีการพัฒนากระบวนการ และกฎระเบียบที่สนับสนุนการประกอบการอีกมาก เนื่องจากมีข้อจำกัดในขั้นตอนการดำเนินงาน ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์ที่ดีและได้มาตรฐานออกสู่ตลาดได้ยาก ขณะที่ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ปลอดภัยมีการลักลอบขาย กระจายตัวและสื่อสารเร็วกว่าผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐาน ส่งผลให้ผู้บริโภคขาดความมั่นใจเกี่ยวกับ ผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่มีในตลาดทั้งในแง่ของคุณภาพและความน่าเชื่อถือ (5) แม้รัฐบาลจะมีการกำหนดสมุนไพร Herbal Champions เพื่อการพัฒนาแบบมุ่งเป้า แต่การทำงานของภาครัฐไม่รวดเร็วเพียงพอและยังขาดรูปธรรมในการนำปฏิบัติ ทำให้ผู้ผลิต ขาดแรงจูงใจ นอกจากนี้ ยังไม่มีชุดสิทธิประโยชน์ที่ชัดเจน ทำให้ไม่จูงใจให้เกิดการลงทุนขนาดใหญ่ ที่จะส่งผลให้สามารถขับเคลื่อนอุตสาหกรรมสมุนไพรได้ เนื่องจากการดำเนินการสนับสนุนในระยะที่ผ่านมานั้น เป็นการดำเนินการผ่านการส่งเสริมการส่งสัญญาณทิศทางการสนับสนุน และการเร่งกระบวนการ และการรับรองต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับสมุนไพรเป้าหมายเหล่านี้ ยังคงขาดมาตรการสนับสนุนที่เหมาะสม กับสมุนไพรแต่ละประเภทอย่างแท้จริง อาทิ การวิจัยและพัฒนาสารออกฤทธิ์สำคัญใน Herbal Champions การพัฒนานวัตกรรมและสนับสนุนแหล่งเงินทุนสำหรับผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่เป็นที่ต้องการของตลาด ในปัจจุบันเพื่อทำ Prototype หรือ Commercialize เป็นต้น (6) การใช้งานวิจัยนวัตกรรมเพื่อต่อยอดและยกระดับศักยภาพการผลิต และอุตสาหกรรม ยังมีค่อนข้างน้อย โดยในปี 2563 มีโครงการนวัตกรรมในสาขาเศรษฐกิจชีวภาพและสาขาเศรษฐกิจ การผลิตและการหมุนเวียนที่ได้รับการสนับสนุนเงินทุนคิดเป็นร้อยละ 38 ของโครงการทั้งหมดเท่านั้น อีกทั้ง ที่ผ่านมาประเทศไทยยังมีปัญหาด้านการวิจัยและพัฒนาสมุนไพรหลายด้าน ตั้งแต่การขาดการกำหนด ทิศทางการวิจัยของประเทศ และการมีผลงานวิจัยที่ไม่ตอบสนองความต้องการของภาคอุตสาหกรรม และการผลิต การให้ทุนวิจัยที่ยังขาดการบูรณาการระหว่างหน่วยงาน องค์ความรู้จากงานวิจัยพื้นฐาน ที่มีมากแต่ไม่มีการวิจัยต่อยอดให้ครบวงจรเพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ รวมถึงข้อมูลวิจัยทางคลินิก ที่น่าเชื่อถือไม่เพียงพอที่จะทำให้บุคลากรทางการแพทย์แผนปัจจุบันมั่นใจในการตัดสินใจสั่งใช้ยาแผนไทย (7) ขาดข้อมูลที่เพียงพอในการสนับสนุนการกำหนดนโยบาย และการดำเนินการพัฒนา ปัจจุบันฐานข้อมูลที่เกี่ยวกับสมุนไพรทั้งภายในและภายนอกกระทรวงสาธารณสุขมีทั้งที่ไม่มีการปรับปรุง ข้อมูลให้เป็นปัจจุบันและมีส่วนที่ยังรวบรวมข้อมูลไม่ครบถ้วน และการจัดทำระบบข้อมูลเพื่อการตัดสินใจ เชิงยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวกับสมุนไพรยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จ จึงยังไม่มีการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ ข้อมูลเพื่อตอบโจทย์มิติทางเศรษฐกิจหรือใช้ในการดำเนินนโยบาย (8) การขาดความต่อเนื่องทั้งในด้านนโยบายและงบประมาณในการขับเคลื่อนการพัฒนา เชิงพื้นที่ ในการดำเนินการพัฒนาให้บรรลุตามเป้าหมายในการพัฒนาของแต่ละพื้นที่นั้น ขาดความต่อเนื่อง ทั้งทางด้านนโยบายจากการดำเนินการร่วมมือและสนับสนุนในการดำเนินการพัฒนาโดยผู้ที่เกี่ยวข้อง ในเชิงพื้นที่ ยิ่งไปกว่านั้น ผลที่เกิดขึ้นจากการขาดความต่อเนื่องในการสนับสนุนการดำเนินการในเชิงพื้นที่ นำไปสู่การได้รับงบประมาณในการดำเนินการที่ต่ำ จนถึงไม่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณ ในแผนการดำเนินการเชิงพื้นที่ทำให้การดำเนินการขับเคลื่อนการพัฒนาในเชิงพื้นที่ไม่ต่อเนื่อง และไม่เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรมมากนัก
  • 12. 6 1.4 วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย ทิศทางการพัฒนา จุดเน้นเชิงยุทธศาสตร์ และประเด็นยุทธศาสตร์ 1) วิสัยทัศน์ วิสัยทัศน์ของการพัฒนาสมุนไพรและผลิตภัณฑ์สมุนไพรของไทย มุ่งเน้นการยกระดับ ความสามารถในการแข่งขันของสมุนไพรและผลิตภัณฑ์สมุนไพรอย่างต่อเนื่องในระยะยาว สอดคล้องกับ ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และกรอบการพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีของประเทศไทย เพื่อเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว ซึ่งจะทำให้สามารถรองรับพลวัตของสังคม เศรษฐกิจ และเทคโนโลยีดิจิทัล อันจะนำไปสู่ความสำเร็จในการพัฒนาสมุนไพรและผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทย ตามที่กำหนดวิสัยทัศน์ คือ “ประเทศไทยเป็นผู้นำในภูมิภาคด้านผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อสุขภาพ ที่ได้มาตรฐาน และมีการเติบโตอย่างยั่งยืน” 2) พันธกิจ (1) ยกระดับความสามารถในการแข่งขันของผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทย ทั้งด้านการยอมรับ การส่งเสริมให้เกิดการใช้ประโยชน์อย่างเต็มศักยภาพและมีประสิทธิภาพ เพื่อส่งเสริมการพัฒนา อุตสาหกรรมและเศรษฐกิจไทยอย่างยั่งยืน (2) ส่งเสริมให้เกิดการผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่ได้มาตรฐาน และมีคุณภาพตรงกับ ความต้องการของตลาดและผู้บริโภค รวมทั้งมีกลไกตลาดที่สนับสนุนการดำเนินการ (3) ส่งเสริมและพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับพืชสมุนไพรให้แก่เกษตรกร ทั้งในด้านเทคโนโลยี การผลิต สารสนเทศ การบริหารจัดการ และการเข้าถึงแหล่งเงินทุนสมัยใหม่ (4) ส่งเสริมให้เกิดการบริโภคผลิตภัณฑ์สมุนไพรอย่างถูกต้อง และเหมาะสม (5) ส่งเสริมการอนุรักษ์และการใช้สมุนไพรสนับสนุนการพัฒนาเชิงพื้นที่ การเพิ่มมูลค่า สมุนไพรในท้องถิ่น เพื่อการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน 3) เป้าหมาย ซึ่งกำหนดไว้ต่อเนื่องจากแผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2560 – 2565 ประกอบด้วย (1) การพัฒนาสมุนไพรต่อยอดทั้งด้านการรักษาและผลิตภัณฑ์ประเภทอื่น (2) การสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ ที่จะมีความเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรม และภาคเศรษฐกิจต่าง ๆ (3) การขับเคลื่อนงานอย่างเป็นระบบเพื่อทำให้เกิดการพัฒนาสมุนไพรไทยอย่างเชื่อมโยง และครบวงจร (4) การทำให้เกิดความร่วมมือจากหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน 4) ตัวชี้วัด (1) ขนาดตลาดวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์สมุนไพรของประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 1 เท่าตัว ภายในปี พ.ศ. 2570 (2) ความเข้มแข็งของห่วงโซ่อุปทาน (Supply chain) อุตสาหกรรมสมุนไพรไทยเพิ่มขึ้น อย่างน้อยร้อยละ 20 ภายในปี พ.ศ. 2570
  • 13. 7 5) ทิศทางการพัฒนา (Strategic Directions) เพื่อให้แนวทางการพัฒนามีทิศทางที่ชัดเจน ไม่ซ้ำซ้อน และตอบโจทย์การพัฒนาห่วงโซ่อุปทาน สมุนไพรไทยอย่างแท้จริง จึงได้กำหนดทิศทางการพัฒนาภายใต้แผนปฏิบัติการฯ ดังนี้ (1) ส่งเสริมบทบาทของสมุนไพรผ่านภาพลักษณ์อาหารไทย จากครัวไทยสู่ครัวโลก (2) พัฒนาศักยภาพและความสามารถในการแข่งขันของ SMEs ผลิตภัณฑ์สมุนไพร ด้วยฐานงานวิจัยและนวัตกรรม (3) เน้นครอบคลุมตลาดในประเทศทั่วทุกภูมิภาค และขยายไปยังประเทศเพื่อนบ้าน (CLMV) (4) ยกระดับการผลิตในทุกขั้นตอนด้วยเทคโนโลยี (SMART) (5) ส่งเสริมให้ส่วนภูมิภาคใช้สมุนไพรเป็นกลไปการพัฒนา และให้เป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่อุปทาน ของอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพรของประเทศ (6) ส่งเสริมอุตสาหกรรมสารสกัด เพื่อเพิ่มมูลค่าและความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ด้านผลิตภัณฑ์สมุนไพร 6) จุดเน้นเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Focus: SF) ภายใต้กรอบระยะเวลา 5 ปี ของแผนปฏิบัติการฯ เพื่อให้การพัฒนาสมุนไพรไทยเป็นไปอย่างมี ประสิทธิภาพ จึงได้กำหนดจุดเน้นเชิงยุทธศาสตร์ตามทิศทางการพัฒนาดังกล่าวข้างต้น โดยจำแนก ตามห่วงโซ่อุปทาน ดังนี้ (1) ต้นน้ำ มีจุดเน้นเชิงยุทธศาสตร์สำคัญ 2 ประเด็น ได้แก่ SF 1 การส่งเสริมการผลิตวัตถุดิบสมุนไพรเข้าสู่ห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ในอุตสาหกรรมสมุนไพร SF 2 การใช้มาตรฐานวัตถุดิบเพื่อการพัฒนาต้นทาง (2) กลางน้ำ มีจุดเน้นเชิงยุทธศาสตร์สำคัญ 2 ประเด็น ได้แก่ SF 3 การพัฒนาอุตสาหกรรมสารสกัด เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน และเพิ่มสัดส่วน มูลค่าของสารสกัดในห่วงโซ่อุปทาน SF 4 การส่งเสริมศักยภาพผู้ประกอบการผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพร (3) ปลายน้ำ มีจุดเน้นเชิงยุทธศาสตร์สำคัญ 3 ประเด็น ได้แก่ SF 5 การส่งเสริมการเข้าถึงและการใช้ประโยชน์จากผลิตภัณฑ์สมุนไพรอย่างมีประสิทธิภาพ SF 6 การส่งเสริมภาพลักษณ์และขยายช่องทางการตลาด SF 7 การต่อยอด สร้างมูลค่า และเพิ่มการส่งออก Herbal Champions รวมทั้งผลิตภัณฑ์ จากภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย (4) ระบบนิเวศ (Ecosystem) ที่สนับสนุนห่วงโซ่อุปทาน มีจุดเน้นเชิงยุทธศาสตร์สำคัญ 3 ประเด็น ได้แก่ SF 8 การวิจัยและนวัตกรรมสมุนไพรไทยสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ SF 9 การพัฒนาระบบกำกับติดตามและใช้ข้อมูลในการประเมินผลการดำเนินงาน SF 10 การพัฒนาต่อยอดเมืองสมุนไพรเพิ่มมูลค่าแก่ชุมชน จุดเน้นยุทธศาสตร์ทั้ง 10 ประเด็น ได้ถูกนำเสนอในการประชุมระดมความคิดเห็น และการประชุม คณะกรรมการในระดับต่าง ๆ และได้ผ่านการวิเคราะห์ และสังเคราะห์ร่วมกันของคณะทำงานฯ โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะอนุกรรมการภายใต้คณะกรรมการนโยบายสมุนไพรแห่งชาติทั้ง 5 คณะ และหน่วยงานผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกว่า 60 หน่วยงาน โดยรายละเอียดของจุดเน้นยุทธศาสตร์ที่นำไปสู่
  • 14. 8 การกำหนดยุทธศาสตร์ของแผนปฏิบัติการฯ เป็นไปตามแผนภาพที่ 1 – 2 อนึ่งรายละเอียดจุดเน้น เชิงยุทธศาสตร์ทั้ง 10 ประเด็น สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จากภาคผนวก ก. แผนภาพที่ 1 – 2 ความสอดคล้องของประเด็นยุทธศาสตร์กับจุดเน้นเชิงยุทธศาสตร์ 7) ยุทธศาสตร์ ภายใต้แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566 – 2570 กำหนดให้มี ยุทธศาสตร์ในการดำเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมาย เป็นไปตามพันธกิจ และสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ จำนวน 5 ยุทธศาสตร์ โดยรายละเอียดพอสังเขปดังแสดงในตารางที่ 1-1 สรุป แผนปฏิบัติการ ฯ ทั้งนี้การกำหนดยุทธศาสตร์ทั้ง 5 ยุทธศาสตร์ เป็นความเชื่อมโยงของการพัฒนาสมุนไพร ตลอดห่วงโซ่คุณค่าที่พัฒนาขึ้นมาจากจุดเน้นเชิงยุทธศาสตร์ (จุดคานงัด) ทั้ง 10 ประเด็น เริ่มจาก ต้นน้ำ คือ ยุทธศาสตร์ที่ 1 การส่งเสริมการผลิตและแปรรูปวัตถุดิบสมุนไพรที่มีคุณภาพ และมาตรฐาน มีเป้าหมายหลัก คือ วัตถุดิบที่ได้มาตรฐาน มีคุณภาพ ตรงกับความต้องการทางการตลาด โดยมุ่งเน้นการนำเทคโลยีมาสู่การพัฒนากระบวนการต้นน้ำมากขึ้น ลดการพึ่งพาธรรมชาติ กลางน้ำ คือ ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพของผู้ประกอบการ และอุตสาหกรรมสมุนไพรตลอดห่วงโซ่อุปทาน เป้าหมาย คือ เน้นการสร้างศักยภาพผู้ประกอบการ รายย่อย (SMEs) รวมถึงการพัฒนาระบบนิเวศที่เอื้อต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมสมุนไพรของประเทศ และมุ่งเป้าพัฒนาอุตสาหกรรมสารสกัด เพื่อลดการนำเข้าและทำให้ประเทศสามารถเติบโตเป็นผู้นำ ในอุตสาหกรรมสมุนไพรได้อย่างแท้จริง ปลายน้ำ คือ ยุทธศาสตร์ที่ 3 การส่งเสริมการตลาดผลิตภัณฑ์สมุนไพร เป้าหมาย คือ การขยายขอบเขตการรับรู้คุณค่าของสมุนไพรผ่านอาหารและวัฒนธรรม ตลอดจนการสร้างความเชื่อมั่น ของผลิตภัณฑ์สมุนไพรจากประเทศไทยด้วยตราสัญลักษณ์คุณภาพ และยุทธศาสตร์ที่ 4 การส่งเสริม การบริโภคผลิตภัณฑ์สมุนไพรอย่างเหมาะสม เป้าหมาย คือ ผู้บริโภคมีทัศคติที่ดีต่อผลิตภัณฑ์สมุนไพร มีระบบการขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์ที่เอื้อต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ และสมุนไพรเป้าหมาย (Herbal Champions) ประสบความสำเร็จทางการตลาด
  • 15. 9 ซึ่งการดำเนินงานตลอดห่วงโซ่คุณค่าจะสำเร็จได้จำเป็นต้องคำนึงถึงระบบนิเวศที่เอื้อต่อ การดำเนินการดังนั้น ยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนาระบบนิเวศที่สนับสนุนการขับเคลื่อนการพัฒนา สมุนไพรไทยอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน เป้าหมาย คือ การนำงานวิจัยและนวัตกรรมเป็นกลไก ต่อยอดและสร้างมูลค่าของอุตสาหกรรมสมุนไพร โดยมีความพร้อมของห้องปฏิบัติการ ตลอดจน การสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจระดับชุมชนด้วยสมุนไพร ความสอดคล้องของประเด็นยุทธศาสตร์ ดังแสดงในแผนภาพที่ 1-3 แผนภาพที่ 1 - 3 ความสอดคล้องของประเด็นยุทธศาสตร์กับการพัฒนาตามห่วงโซ่อุปทานสมุนไพร
  • 17. 11
  • 18. 12
  • 19. 13
  • 20. 14
  • 21. 15
  • 22. 16 ส่วนที่ 2 ความสอดคล้องกับแผน 3 ระดับ ตามนัยยะของมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2560 สำหรับแผนปฏิบัติการฯ ฉบับนี้ถือได้ว่าเป็นแผนการพัฒนาเชิงประเด็น (Issue Based) มุ่งเน้น การพัฒนาสมุนไพรไทยซึ่งมีความสอดคล้องกับแผนทั้ง 3 ระดับ โดยผลการดำเนินงานและผลผลิต ของโครงการแผนปฏิบัติการฯ ฉบับนี้จะมีส่วนเชื่อมโยงกับแผนระดับ 3 ที่เกี่ยวข้องโดยตรง ได้แก่ แผนปฏิบัติการด้านการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทย ด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG พ.ศ. 2564 – 2570 แผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมพืชกัญชงสู่เชิงพาณิชย์ (พ.ศ. 2566 - 2570) และยุทธศาสตร์ การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (Medical Hub) พ.ศ. 2560 - 2569 ในขณะที่ ผลลัพธ์ของโครงการภายใต้แผนปฏิบัติการฯ ฉบับนี้จะเป็นส่วนหนึ่งของการบรรลุเป้าหมายของแผนระดับ 2 ได้แก่ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติใน 6 ประเด็น ได้แก่ ประเด็นการเกษตร อุตสาหกรรมและบริการ แห่งอนาคต การท่องเที่ยว ผู้ประกอบการและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมยุคใหม่ การเสริมสร้าง ให้คนไทยมีสุขภาวะที่ดี และการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ.2566 - 2570) โดยผลกระทบของโครงการภายใต้แผนปฏิบัติการฯ ฉบับนี้จะเป็นส่วนหนึ่งของการบรรลุ เป้าหมายประเทศไทยมีขีดความสามารถในการแข่งขันสูงขึ้นภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้าง ความสามารถในการแข่งขันของยุทธศาสตร์ชาติซึ่งเป็นแผนระดับที่ 1 รายละเอียดดังนี้ 2.1 ยุทธศาสตร์ชาติ (แผนระดับที่ 1) 2.1.1 ยุทธศาสตร์ชาติ ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน (หลัก) (1) เป้าหมาย คือ ประเทศไทยมีขีดความสามารถในการแข่งขันสูงขึ้น โดยมีตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้อง กับแผนปฏิบัติการฯ ดังนี้ (1.1) รายได้ประชาชาติ การขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ และการกระจาย รายได้ (1.2) ผลิตภาพการผลิตของประเทศ ทั้งในปัจจัยการผลิตและแรงงาน (1.3) การลงทุนเพื่อการวิจัยและพัฒนา (1.4) ความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
  • 23. 17 (2) ประเด็นยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย 3 ประเด็น ได้แก่ การเกษตรสร้างมูลค่า อุตสาหกรรม และบริการแห่งอนาคต และสร้างความหลากหลายด้านการท่องเที่ยว (2.1) ประเด็นการเกษตรสร้างมูลค่า ประเด็นย่อย ด้านเกษตรชีวภาพ โดยส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศในการสร้างมูลค่าเพิ่ม ของภาคการผลิต และนำไปสู่การผลิตและพัฒนาผลิตภัณฑ์มูลค่าสูงจากฐานเกษตรกรรมและฐานทรัพยากร ชีวภาพ และสร้างความมั่นคงของประเทศทั้งด้านอาหารและสุขภาพ โดยเฉพาะพืชสมุนไพรที่ประเทศไทย มีศักยภาพในการผลิตและส่งออกผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรในระดับภูมิภาคและระดับโลก โดยการส่งเสริม การทำเกษตรกรรมแบบยั่งยืน รวมถึงการส่งเสริมการปลูกสมุนไพรเป็นพืชเศรษฐกิจตามความเหมาะสม ของสภาพแวดล้อมในพื้นที่ เพื่อการผลิตและแปรรูปสำหรับอุตสาหกรรมการแพทย์ การสร้างเสริมสุขภาพ และพัฒนาต่อยอดสู่อุตสาหกรรมอื่น ๆ โดยคำนึงถึงปริมาณและคุณภาพมาตรฐานตามความต้องการ ของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ และการส่งเสริมการวิจัย พัฒนา และประยุกต์ใช้นวัตกรรมจาก ภูมิปัญญาท้องถิ่น เทคโนโลยีสะอาด เทคโนโลยีวัสดุ และนาโนเทคโนโลยี (2.2) ประเด็นอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต ประเด็นย่อย ด้านอุตสาหกรรมชีวภาพ โดยสร้างประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพเพื่อต่อยอดจากภาคเกษตรไทยและมุ่งสู่ อุตสาหกรรมบนฐานชีวภาพที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงพลังงานชีวมวล โดยการเพิ่มสัดส่วน อุตสาหกรรมชีวภาพที่มีมูลค่าเพิ่มสูง ได้แก่ ชีวเคมีภัณฑ์ วัสดุชีวภาพ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เวชสำอาง วัคซีน ชีวเภสัชภัณฑ์ และสารสกัดจากสมุนไพร การเน้นการวิจัยและพัฒนา และนำผลงานวิจัยมาใช้ ในเชิงพาณิชย์มากยิ่งขึ้น ตลอดจนให้ความสำคัญกับระบบนวัตกรรมแบบเปิด เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรม ชีวภาพได้เร็วขึ้น (2.3) ประเด็นสร้างความหลากหลายด้านการท่องเที่ยว ประเด็นย่อย ท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ความงาม และแพทย์แผนไทย โดยผสาน “ศาสตร์” และความชำนาญของการดูแลรักษาด้วยภูมิปัญญาไทย กับ “ศิลป์” และ ความละเอียดอ่อนในการให้บริการแบบไทย เพื่อดึงดูดการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและการแพทย์ โดยยกระดับมาตรฐานธุรกิจบริการด้านการส่งเสริมสุขภาพและการเสริมความงามสู่ตลาดระดับสูง โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม เพื่อให้เกิดเป็นเอกลักษณ์การให้บริการตามแบบความเป็นไทย ที่โดดเด่นในระดับสากล พร้อมทั้งการสร้างความหลากหลายของกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพที่ได้มาตรฐาน เป็นที่ยอมรับและเชื่อมโยงกับกิจกรรมการท่องเที่ยวอื่น ๆ รวมถึงการยกระดับมาตรฐานธุรกิจบริการ ด้านการแพทย์ทางเลือก โดยผสานองค์ความรู้จากเทคโนโลยีและวิทยาการสมัยใหม่เข้ากับองค์ความรู้ และภูมิปัญญาดั้งเดิมของไทย และการส่งเสริมการจัดกิจกรรมทางการตลาดของการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ และการแพทย์ของไทยให้เป็นที่รับรู้ในระดับโลก รวมทั้ง การส่งเสริมการจัดการนำเที่ยวเชิงสุขภาพ ครบวงจรที่เชื่อมโยงกับการแพทย์แผนปัจจุบัน (3) การบรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติ ภายใต้แผนปฏิบัติการฯ ได้กำหนดยุทธศาสตร์สำคัญ 5 ยุทธศาสตร์ โดยยุทธศาสตร์ที่ 1 การส่งเสริมการผลิตและแปรรูปวัตถุดิบสมุนไพรที่มีคุณภาพและมาตรฐาน เป็นการดำเนินงานที่สอดคล้องกับ ประเด็นการเกษตรสร้างมูลค่า ประเด็นย่อยด้านเกษตรชีวภาพ โดยมีจุดเน้นยุทธศาสตร์ (Strategic Focus) 2 ประเด็นสำคัญ ได้แก่ (1) การส่งเสริมการผลิตวัตถุดิบสมุนไพรเข้าสู่ห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ในอุตสาหกรรมสมุนไพรและ (2) การใช้มาตรฐานวัตถุดิบเพื่อการพัฒนาต้นทาง (Up Stream) ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งของการบรรลุเป้าหมายภายใต้ตัวชี้วัดผลิตภาพการผลิตของประเทศทั้งในปัจจัยการผลิต และแรงงานในส่วนของภาคการเกษตร ในขณะที่การดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพของผู้ประกอบการ และอุตสาหกรรมสมุนไพรตลอดห่วงโซ่อุปทาน ยุทธศาสตร์ที่ 3 การส่งเสริมการตลาดผลิตภัณฑ์สมุนไพร และยุทธศาสตร์ที่ 4 การส่งเสริมการบริโภคผลิตภัณฑ์สมุนไพรอย่างเหมาะสม เป็นการดำเนินงาน
  • 24. 18 ที่สอดคล้องกับประเด็นอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต ประเด็นย่อย ด้านอุตสาหกรรมชีวภาพ โดยมีจุดเน้น ยุทธศาสตร์ 5 ประเด็นสำคัญ ได้แก่ (1) การพัฒนาอุตสาหกรรมสารสกัด เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน และเพิ่มสัดส่วนมูลค่าของสารสกัดในห่วงโซ่อุปทาน (2) การส่งเสริมศักยภาพผู้ประกอบการผลิตผลิตภัณฑ์ สมุนไพร (3) การส่งเสริมการเข้าถึงและการใช้ประโยชน์จากผลิตภัณฑ์สมุนไพรอย่างมีประสิทธิภาพ (4) การส่งเสริมภาพลักษณ์และขยายช่องทางการตลาด และ (5) การต่อยอดสร้างมูลค่า และเพิ่มการส่งออก Herbal Champions รวมทั้งผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งของ การบรรลุเป้าหมายภายใต้ตัวชี้วัดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในภาคอุตสาหกรรมที่สูงขึ้น สำหรับการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนาระบบนิเวศที่สนับสนุนการขับเคลื่อน การพัฒนาสมุนไพรไทยอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน เป็นการดำเนินงานที่สอดคล้องกับประเด็น สร้างความหลากหลายด้านการท่องเที่ยว ประเด็นย่อย ท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ความงาม และแพทย์แผนไทย โดยมีจุดเน้นยุทธศาสตร์ 3 ประเด็นสำคัญ ได้แก่ (1) การวิจัยและนวัตกรรมสมุนไพรไทยสร้างมูลค่าเพิ่ม ทางเศรษฐกิจ (2) การพัฒนาระบบกำกับติดตามและใช้ข้อมูลในการประเมินผลการดำเนินงาน และ (3) การพัฒนาต่อยอดเมืองสมุนไพรเพิ่มมูลค่าแก่ชุมชน ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งของการบรรลุเป้าหมายภายใต้ ตัวชี้วัดรายได้ประชาชาติ การขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ และการกระจายรายได้ และการลงทุนเพื่อการวิจัยและพัฒนา 2.1.2 ยุทธศาสตร์ชาติ ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (รอง) (1) เป้าหมาย คือ ใช้ประโยชน์และสร้างการเติบโตบนฐานทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมให้สมดุลภายในขีดความสามารถของระบบนิเวศ โดยมีตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้องกับแผนปฏิบัติการฯ ได้แก่ การเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (2) ประเด็นยุทธศาสตร์ พัฒนาความมั่นคงน้ำ พลังงาน และเกษตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยพัฒนาความมั่นคงด้านการเกษตรและอาหารของประเทศและชุมชนในมิติปริมาณ คุณภาพ ราคา และการเข้าถึงอาหาร โดยบริหารจัดการทรัพยากรทางการเกษตรและเพิ่มผลิตภาพการเกษตร แบบบูรณาการ โดยเน้นให้เกิดความมั่นคงทางอาหารภายในประเทศและเกษตรอาหารมูลค่าเพิ่มสูง พร้อมทั้งเพิ่มพื้นที่เกษตรผสมผสาน จัดเขตการเกษตร มีการใช้มาตรการการตรวจสอบย้อนกลับ ถึงแหล่งที่มาของวัตถุดิบเพื่อลดการบุกรุกและทำลายพื้นที่ป่า รวมทั้งมีการพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ เพิ่มการจ้างงานในภาคเกษตรเพื่อรองรับเศรษฐกิจชีวภาพ รวมทั้งยกระดับอาชีพเกษตรกรให้มีรายได้ ต่อหัวเพิ่มขึ้นและมีความภาคภูมิใจในอาชีพเกษตรกรรม (3) การบรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติ การดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการฯ ภายใต้ยุทธศาสตร์ที่ 1 การส่งเสริมการผลิตและแปรรูป วัตถุดิบสมุนไพรที่มีคุณภาพและมาตรฐาน ได้กำหนดแนวทางการพัฒนาที่สำคัญ อาทิ ส่งเสริมการผลิต พืชสมุนไพรให้ได้มาตรฐาน GAP หรือเกษตรอินทรีย์ หรือมาตรฐานอื่นของพืชสมุนไพร ซึ่งมาตรฐานดังกล่าว มุ่งรับรองคุณภาพสินค้าเกษตรที่มีการผลิตโดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม มีการใช้ทรัพยากร ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ได้ผลผลิตสูงคุ้มค่าการลงทุน ก่อให้เกิดความยั่งยืนทางการเกษตร สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม เป็นการดำเนินงานที่สอดคล้องกับประเด็นพัฒนาความมั่นคงน้ำ พลังงาน และเกษตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ยังมีแนวทางการพัฒนาที่มุ่งเน้นการอนุรักษ์และรักษา พันธุ์พืชสมุนไพรประจำถิ่น หรือพืชสมุนไพรหายากไม่ให้สูญหายไปจากประเทศไทย ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่ง ของการบรรลุเป้าหมายภายใต้ตัวชี้วัดการเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม