SlideShare a Scribd company logo
บทที่ 7
พัฒนาการและความต้องการของเด็กปฐมวัย
แผนการเรียนรู้ประจาบท
1. จุดประสงค์การเรียนรู้
1. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความหมาย ความสาคัญของพัฒนาการ เด็ก
2. มีความรู้ความเข้าใจพัฒนาการเด็กปฐมวัยทั้ง 4 ด้าน
3. มีความเข้าใจในการสนองตอบความต้องการของเด็กปฐมวัย
4. สามารถนาความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการจัดการศึกษาสาหรับเด็กได้
2. สาระการเรียนรู้
1. ความหมายของพัฒนาการ
2. ความหมายของความเจริญเติบโต
3. ความหมายของวุฒิภาวะ
4. แบบแผนและหลักของพัฒนาการ
5. ความสาคัญของพัฒนาการ
6. พัฒนาการเด็กปฐมวัย
6.1 พัฒนาการทางด้านร่างกาย
6.2 พัฒนาการทางด้านอารมณ์ จิตใจ
6.3 พัฒนาการทางด้านสังคม
6.4 พัฒนาการทางด้านสติปัญญา
7. ธรรมชาติความต้องการทางด้านสติปัญญา
8. ธรรมชาติความต้องการทางด้านอารมณ์จิตใจ
9. ธรรมชาติและความต้องการทางด้านสังคม
10. ธรรมชาติและความต้องการทางด้านสติปัญญา
3. กิจกรรมการเรียนรู้
1. ทดสอบก่อนเรียน (แบบทดสอบ)
2. ศึกษาเอกสารประกอบการสอนรายวิชา
3. อภิปราย สนทนา ซักถาม
4. ให้นักศึกษาศึกษาจากใบงานแบ่งกลุ่มศึกษาค้นคว้า และวิเคราะห์ พร้อมนาเสนอผล
การวิเคราะห์ เกี่ยวกับพัฒนาการเด็กปฐมวัย ทั้ง 4 ด้าน
162
5. ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับพัฒนาการเด็กปฐมวัยทั้ง 4 ด้าน พร้อม
เตรียมนาเสนอ
6. ทดสอบหลังเรียน (แบบทดสอบ)
4. สื่อการเรียนการสอน
1. เอกสารประกอบการสอน
2. สไลด์ วีดิทัศน์ (power point)
3. เว็บไชต์อาจารย์
4. ใบงาน
5. การประเมินผล
1. ความถูกต้องชัดเจนของเนื้อหา
2. ความถูกต้องของการนาเสนอผลงาน
3. การศึกษาค้นคว้ารายงานพัฒนาการเด็กปฐมวัย
4. การวิเคราะห์ใบงาน
5. การทดสอบ ก่อน – หลัง เรียน
163
บทที่ 7
พัฒนาการและความต้องการของเด็กปฐมวัย
เด็กปฐมวัยเป็นช่วงวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทั้งทางด้านร่างกายและ
จิตใจ เพราะเด็กวัยนี้เป็นวัยที่มีความอยากรู้อยากเห็น สามารถรับรู้และเรียนรู้ได้อย่าง
รวดเร็วการเรียนรู้ของเด็กนั้น จะเป็นการเรียนรู้จากสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัว ถึงเด็กจะเรียนรู้
ได้อย่างรวดเร็วก็ตาม แต่เด็กแต่ละคนจะมีความสามารถดังกล่าวแตกต่างกัน ปัจจัยที่ทา
ให้มีความแตกต่างกันนั้นคือพัฒนาการของเด็กแต่ละคน และปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ดังนั้นเพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับตัวเด็กมากขึ้นในบทนี้จะแยกเป็นหัวข้อ
ต่าง ๆ ดังนี้
1. ความหมายของพัฒนาการ
2. ความหมายของความเจริญเติบโต
3. ความหมายของวุฒิภาวะ
4. แบบแผนและหลักของพัฒนาการ
5. ความสาคัญของพัฒนาการ
6. พัฒนาการเด็กปฐมวัย
6.1 พัฒนาการทางด้านร่างกาย
6.2 พัฒนาการทางด้านอารมณ์ จิตใจ
6.3 พัฒนาการทางด้านสังคม
6.4 พัฒนาการทางด้านสติปัญญา
7. ธรรมชาติความต้องการทางด้านสติปัญญา
8. ธรรมชาติความต้องการทางด้านอารมณ์จิตใจ
9. ธรรมชาติและความต้องการทางด้านสังคม
10. ธรรมชาติและความต้องการทางด้านสติปัญญา
1. ความหมายของพัฒนา (Development)
เกี่ยวกับพัฒนาการมีผู้ที่ให้ความหมายดังนี้
ทิศนา แขมมณี (2536 : 60) พัฒนาการเป็นกระบวนการที่มีการประสานงานกัน
พร้อมกันไปทั้งหมดทั้งร่างกายและจิตใจ กล่าวคือ การเจริญเติบโตทางร่างกาย
พัฒนาการทางอารมณ์ และสติปัญญาจะมีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันอย่างใกล้ชิด
164
เพ็ญรุ่ง ปานใหม่ (2536 : 40) พัฒนาการ หมายถึง กระบวนการเปลี่ยนแปลง ทั้ง
ทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ซึ่งเป็นไปทางเจริญงอกงามและในทาง
เสื่อม กระบวนการเปลี่ยนแปลงนี้เป็นไปอย่างมีระบบสลับซับซ้อนเกี่ยวเนื่องกัน และ
เกิดขึ้นตลอดชีวิตของบุคคล
เยาวพา เดชะคุปต์ (2540 : 16) พัฒนาการของเด็กหมายถึง กระบวนการหรือ
ลาดับขั้นตอนซึ่งเกิดขึ้นในตัวเด็ก ตลอดระยะเวลาที่เด็กมีการเปลี่ยนแปลงที่ไม่สามารถ
ช่วยเหลือตัวเองได้เป็นบุคคลที่ช่วยเหลือตัวเองได้
ชนินทร์ชัย อินทิราภรณ์ (2542 : 67) พัฒนาการ หมายถึง การทาความเจริญ
เปลี่ยนแปลงในทางลักษณะรูปร่างและความสามารถในด้านต่าง ๆ ของเด็กในทางก้าวหน้า
การเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาการในทางที่ดีขึ้นนั้น มีหลายทางด้วยกัน เช่น พัฒนาการทาง
กาย อารมณ์ สมอง สังคม ศีลธรรม และสุนทรียภาพ
ปาทานุกรมศัพท์ทางการศึกษา (2542 : 67) พัฒนาการ หมายถึง การทา
ความเจริญกระบวนการเปลี่ยนแปลงในทางลักษณะรูปร่างและความสามารถในด้านต่าง ๆ
ของเด็กในทางก้าวหน้า การเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาการในทางที่ดีขึ้น
จากที่กล่าวมาทั้งหมดสรุปได้ว่า พัฒนาการ หมายถึง กระบวนการเปลี่ยนแปลงที่
เกิดขึ้นกับบุคคลทั้งด้านรูปธรรมและนามธรรมอย่างเป็นระบบมีขั้นตอนที่ชัดเจนและมี
ความสัมพันธ์กันทุกด้านและต่อเนื่อง ทาให้มีความสามารถเพิ่มขึ้น การเปลี่ยนแปลงที่
เกิดขึ้นที่ชัดเจนได้แก่ ทางด้านร่างกาย ทางด้านอารมณ์ ทางด้านสังคม และทางด้าน
สติปัญญา
2. ความหมายของความเจริญเติบโต (Growth)
การเจริญเติบโตเป็นคาศัพท์ที่ใช้กันบ่อยแต่หลายคนอาจจะยังไม่เข้าใจความหมาย
ของความเจริญเติบโต (Growth) ที่ชัดเจน ในเรื่องนี้ได้มีผู้ที่ให้ความหมายของความ
เจริญเติบโตไว้หลายแนวทาง และหลายท่านได้ให้ความหมายไว้ดังนี้
กู๊ด (Good. 1945 : 269) ความเจริญงอกงาม หมายถึง การเพิ่มขึ้นด้านปริมาณ
ของบุคคล ลักษณะของการเปลี่ยนแปลงจะเป็นไปทีละเล็กทีละน้อยลาดับชั้น และ
การเปลี่ยนแปลงนี้ไม่ได้เกิดจากการเรียนรู้แต่อย่างใด
เพ็ญรุ่ง ปานเอี่ยม (2536 : 41) ความเจริญงอกงาม หมายถึง การเปลี่ยนแปลง
ทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ในลักษณะของความเพิ่มพูนทางด้าน
ปริมาณ เช่น การเพิ่มของน้าหนัก ส่วนสูง นอกจากนี้ลักษณะอารมณ์ชนิดต่าง ๆ มีการเพิ่ม
มากขึ้น ความคิดหาเหตุผลดีขึ้น เป็นต้น
165
เยาวพา เดชะคุปต์ (2542 : 17) ความเจริญเติบโต หมายถึง การเพิ่มสัดส่วนใน
ด้านปริมาณ เช่น ขนาดของศีรษะ หรือส่วนอื่น ๆ ในร่างกาย เป็นการพัฒนาทางด้าน
ปริมาณ
ปาทานุกรมศัพท์ทางการศึกษา (2542 : 17) ความเจริญเติบโต หมายถึง การเพิ่ม
ขนาด หรือมิติอันเป็นผลจากการเพิ่มจานวนและขนาดของเซลล์ เด็กจะมีระยะเวลาของ
การเจริญเติบโต
ที่กล่าวมาสรุปได้ว่า ความเจริญงอกงาม หมายถึง การเปลี่ยนแปลงทางด้านขนาด
รูปร่างและปริมาณที่มีความสัมพันธ์กันทุกด้านของร่างกาย ซึ่งสามารถวัดปริมาณหรือ
จานวนได้อย่างชัดเจน
3. ความหมายของวุฒิภาวะ (Maturity)
ปรียาภรณ์ วงศ์อนุตรโรจน์ (2534 : 31) วุฒิภาวะ หมายถึง ความเจริญเติบโต
ของเด็กโดยธรรมชาติ ทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม
เพ็ญรุ่ง ปานใหม่ (2536 : 42) วุฒิภาวะ หมายถึง สภาพความเจริญเติบโตเต็มที่
ตามลาดับขั้นของแต่ละวัย ทั้งทางด้านร่างกาย และจิตใจ ซึ่งพร้อมที่จะทากิจกรรมต่าง ๆ
ได้ตามหน้าที่ของส่วนต่าง ๆ
ประกายรัตน์ ภัทรธิติ (2539 : 66) วุฒิภาวะ หมายถึง ความสามารถของบุคคลที่
จะสามารถทาสิ่งต่าง ๆ ได้ในระยะเวลาที่ควรจะเป็น
เยาวพา เดชะคุปต์ (2540 : 17) วุฒิภาวะ หมายถึง กระบวนการที่เกิดขึ้นภายใน
ตัวเด็กซึ่งเด็กจะมีการเติบโต วุฒิภาวะจะแสดงถึงพลังภายในร่างกายที่จะช่วยให้เด็กเกิด
การเติบโตขึ้น
วุฒิภาวะ อาจหมายถึง การเจริญเติบโตในด้านคุณภาพของเด็ก เช่น เด็กจะ
สามารถนั่งได้ก่อนยืน การนั่งและยืนจะเกิดขึ้นได้เมื่อเด็กมีวุฒิภาวะ หรือมีความพร้อม
วุฒิภาวะทางกายจะเป็นพื้นฐานให้กับเด็กสามารถใช้พลังของเขาในการทาสิ่งต่าง ๆ ได้
ชนินทร์ชัย อินทิราภรณ์ (2542 : 149 – 152) วุฒิภาวะ หมายถึงความเจริญงอกงาม
และพัฒนาการทั้งหมด ทั้งทางกายและทางสมองของมนุษย์ โดยยึดเอาสมรรถภาพในการ
ทางาน ซึ่งความเจริญงอกงาม และพัฒนาการเต็มที่ของคนนั้นมีหลายชั้น
ที่กล่าวมาสรุปได้ว่า วุฒิภาวะ หมายถึง สภาพของความพร้อมของร่างกาย และ
จิตใจ ของแต่ละบุคคลที่จะเกิดขึ้นในแต่ละช่วงวัย ที่มีสมรรถภาพสูงสุดที่จะทาหน้าที่และ
กิจกรรมต่าง ๆ ได้อย่างเต็มความสามารถ ซึ่งจะเป็นลักษณะเฉพาะของแต่ละบุคคลอาจจะ
มีความเหมือนหรือแตกต่างกันได้ในช่วงวัยอายุเท่ากัน
166
4. แบบแผนและหลักของพัฒนาการ
แบบแผนพัฒนาการ คือ รูปแบบหรือลักษณะการเปลี่ยนแปลงของมนุษย์ที่เกิดขึ้น
อย่างต่อเนื่องและมีความสัมพันธ์กันไป โดยมีลักษณะการเปลี่ยนที่สาคัญมี 4 ลักษณะดังนี้
1. การเปลี่ยนแปลงด้านขนาด การเปลี่ยนแปลงในลักษณะนี้เริ่มมีขึ้นตั้งแต่ปฏิสนธิ
กล่าวคือ เมื่อชีวิตใหม่เกิดขึ้นมีขนาดเล็กมาก ต่อมาจะเจริญเติบโตมีขนาดใหญ่ขึ้น
ตามลาดับจนกระทั่งคลอดออกมา และเมื่อคลอดออกมาแล้วก็เจริญเติบโตมีขนาดใหญ่
ต่อไปอีก
2. การเปลี่ยนแปลงด้านสัดส่วน สัดส่วนของมนุษย์ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงไปตาม
วัย อาทิสัดส่วนของ อก เอว และสะโพกของเด็กเล็ก จะมีขนาดเกือบเท่ากัน แต่เมื่อเข้า
วัยรุ่นสัดส่วนของอกเอว และสะโพกจะเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
3. การเปลี่ยนแปลงโดยมีลักษณะใหม่ ๆ เกิดขึ้น ลักษณะใหม่ ๆ จะเกิดในระหว่าง
ที่มนุษย์กาลังเจริญเติบโต เช่น เมื่ออายุประมาณ 6 เดือน ฟันน้านมเริ่มงอก เมื่อเด็กโตขึ้น
ก็สามารถหัดพูดได้ เป็นต้น
4. การเปลี่ยนแปลงโดยลักษณะเก่า ๆ หายไป ลักษณะบางอย่างของร่างกาย
หายไปเมื่อถึงช่วงหนึ่ง ๆ เช่น เมื่อเด็กอายุได้ประมาณ 6 ขวบ ฟันน้านมจะเริ่มหัก เป็นต้น
หลักของพัฒนาการ
1. พัฒนาการเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง
2. พัฒนาการในขั้นแรกมีความสาคัญกว่าพัฒนาการที่เกิดขึ้นภายหลัง
3. พัฒนาการเป็นผลมาจากวุฒิภาวะและการเรียนรู้
4. แบบแผนของพัฒนาการสามารถทานายได้
4.1 พัฒนาการทางกาย มนุษย์ทุกคนจะมีพัฒนาการไปทางเดียวกัน คือ จาก
ส่วนบนไปสู่ส่วนล่าง จากแกนของลาตัวไปสู่อวัยวะข้างที่ไกลออกไป
4.2 พัฒนาการด้านอื่น ๆ ของเด็กเช่น พัฒนาการของกล้ามเนื้อ พัฒนาการด้าน
อารมณ์ การพูด การเล่น ความสนใจ เป็นพัฒนาการที่เกิดขึ้นอย่างมีแบบแผนสามารถ
ทานายได้ว่าเด็กจะเจริญเติบโตขึ้นและมีลักษณะอย่างไร
5. แบบแผนของพัฒนาการมีลักษณะเหมือนกัน
5.1 เด็กทุกคนจะมีพัฒนาการที่คล้ายคลึงกันจากขั้นตอนหนึ่งไปสู่ขั้นตอนหนึ่ง
5.2 พัฒนาการมนุษย์จะเริ่มจากพัฒนาการทั่ว ๆ ไป ก่อนพฤติกรรมที่เจาะจง
5.3 พัฒนาการของมนุษย์จะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง
5.4 พัฒนาการส่วนต่าง ๆ ของร่างกายมีอัตราในการพัฒนาไม่เท่ากัน
167
5.5 พัฒนาการด้านต่าง ๆ ของมนุษย์มีความสัมพันธ์กัน
6. พัฒนาการของมนุษย์มีความแตกต่างกัน
7. แบบแผนของพัฒนาการมีช่วงเวลา
8. พัฒนาการของมนุษย์ได้รับการคาดหวังจากสังคมในทุกระยะของพัฒนาการ
9. ความผิดปกติของพัฒนาการด้านต่าง ๆ อาจจะเกิดขึ้นได้ทุกเวลา
กฎของพัฒนาการ
พัฒนาการของเด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกันไปบ้าง แต่โดยรวมพัฒนาการ
พัฒนาการจะเป็นไปตามระเบียบกฎเกณฑ์ที่ทาให้ผู้เกี่ยวข้องสามารถวิเคราะห์พัฒนาการ
ได้ดังต่อไปนี้
1. พัฒนาการจะมีลักษณะที่ต่อเนื่องกัน กล่าวคือพัฒนาการจะเกิดขึ้นทุกช่วงของ
ชีวิตเริ่มตั้งแต่เซลอสุจิเข้าผสมกับเซลไข่เกิดเป็นเซลปฏิสนธิ แล้วเซลปฏิสนธิจะแบ่งตัว
ต่อไป ดังนั้นการเจริญเติบโตของทารกหลังคลอด จึงเป็นผลจากการเจริญเติบโตของชีวิต
ภายในครรภ์นั่นเอง พัฒนาการจึงเป็นกระบวนการที่นาความเปลี่ยนแปลงมาสู่ร่างกาย
ตลอดเวลา และพัฒนาการระยะหนึ่ง ๆ จะเป็นรากฐานของพัฒนาการในระยะต่อไป
2. พัฒนาการจะเกิดตามลาดับขั้น พัฒนาการของมนุษย์จะมีลักษณะเป็นไป
ตามลาดับขั้น เช่น เด็กจะคว่าได้ก่อนคลาน นั่งได้ก่อนยืนและก่อนเดิน เป็นต้น
3. พัฒนาการของแต่ละบุคคลจะแตกต่างกัน อัตราการเจริญเติบโตของมนุษย์จะ
แตกต่างกันในแต่ละบุคคล บางคนอาจมีพัฒนาการเร็ว บางคนอาจช้า เช่น เด็กบางคนฟัน
น้านมเริ่มงอกเมื่ออายุ 6 เดือน ในขณะที่เด็กอีกคนฟันน้านมเริ่มงอกเมื่ออายุ 7 เดือน
4. พัฒนาการจะเป็นไปตามทิศทาง ลักษณะหนึ่งของพัฒนาการคือ การเริ่มจาก
ศีรษะลงไปเบื้องล่าง หรือจากหัวลงไปเท้า และพัฒนาการอีกลักษณะหนึ่งจะเริ่มจาก
แกนกลางลาตัวไปสู่ส่วนย่อย หรือจากใกล้ไปไกล หมายความว่าเด็กจะเคลื่อนไหวลาตัวได้
ก่อนมือและนิ้ว
5. อัตราพัฒนาการของบุคคลในแต่ละช่วงอายุจะไม่เท่ากัน พัฒนาการของบุคคล
บางช่วงจะเร็วแต่บางช่วงจะช้า เช่น เด็กในช่วง 2 ปีแรกเกิด ร่างกายจะเจริญเติบโตเร็วมาก
ส่วนในช่วงวัยรุ่นตอนปลายสู่วัยผู้ใหญ่การเจริญเติบโตจะช้ามาก เป็นต้น
6. อัตราพัฒนาการในแต่ละส่วนของร่างกายจะแตกต่างกัน กล่าวคือ อัตราการ
เจริญเติบโตของแต่ละส่วนของบุคคลจะไม่เท่ากัน เช่น เซลสมองของเด็กอายุประมาณ 8
ขวบจะเจริญเร็วมากถึง ร้อยละ 80 ในขณะที่ระบบย่อยอาหารจะเจริญอย่างรวดเร็วใน
ระยะวัยรุ่น
168
7. พัฒนาการด้านต่าง ๆ มักจะมีลักษณะสัมพันธ์กัน นั้นคือเด็กที่มีพัฒนาการด้าน
หนึ่งสูงอาจมีพัฒนาการบางด้านสูงหรือเร็วตามไปด้วย เช่น เด็กที่มีสติปัญญาสูงมักจะพูด
หรือเดินได้เร็วกว่าเด็กทั่ว ๆ ไป ส่วนเด็กปัญญาอ่อนจะมีพัฒนาการด้านอื่น ๆ ช้าไปด้วย
8. สิ่งแวดล้อมจะมีผลต่อพัฒนาการมากในช่วงที่มนุษย์ที่กาลังเจริญเติบโต บุคคล
จะมีการเจริญเติบโตมากในช่วงเด็กทารกจนถึงวัยรุ่น หากนาเอาเด็กเล็ก ๆ ไปอยู่ใน
สิ่งแวดล้อมที่แตกต่างไปจากเดิม เด็กจะเจริญเติบโตและมีพฤติกรรมเป็นไปตาม
สิ่งแวดล้อมใหม่ แต่หากมีการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมในช่วงผู้ใหญ่ จะไม่มีการ
เปลี่ยนแปลงมากนัก
5. ความสาคัญของพัฒนาการ
พัฒนาการของมนุษย์มีความสาคัญดังต่อไปนี้
1. ทาให้ทราบว่าเราสามารถคาดหวังอะไรได้จากเด็ก
2. สามารถจัดทาแนวทางที่จะใช้เป็นเกณฑ์ประเมินเด็กได้
3. สามารถจัดประสบการณ์ให้กับเด็กได้เหมาะสม
4. สามารถส่งเสริมการเตรียมความพร้อมของเด็กได้เหมาะสมกับพัฒนาการ
5. ช่วยให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าใจพฤติกรรมและพัฒนาการเด็กมากขึ้น
6. ช่วยให้ครูและผู้เกี่ยวข้องจัดสื่อและสภาพแวดล้อมได้เหมาะสมกับเด็ก
6. พัฒนาการเด็กปฐมวัย
เด็กปฐมวัยเป็นช่วงวัยที่มีพัฒนาการทั้ง 4 ด้านเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ได้แก่
ทางด้านร่างกาย ทางด้านอารมณ์ ทางด้านสังคม และทางด้านสติปัญญา จากพัฒนาการ
ของเด็กที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจะส่งผลต่อความสามารถและพฤติกรรมของเด็กที่
แสดงออกมาในแต่ละด้าน หรือหลาย ๆ ด้านพร้อมกัน ทุกสิ่งทุกอย่างที่ปรากฏออกมานั้น
ล้วนแต่เป็นผลมาจากพัฒนาการของเด็กที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วงวัย ในเรื่องนี้สานักวิชาการ
และมาตรฐานการศึกษา (2546 : 10 – 13) ได้กล่าวถึงพัฒนาการและคุณลักษณะของเด็ก
ปฐมวัยแต่ละช่วงวัยดังต่อไปนี้
1. พัฒนาการด้านร่างกาย
2. พัฒนาการด้านจิตใจและอารมณ์
3. พัฒนาการด้านสังคม
4. พัฒนาการทางด้านสติปัญญา
169
1. พัฒนาการด้านร่างกาย
พัฒนาการทางด้านร่างกายแต่ละช่วงวัยของเด็กปฐมวัยมีดังต่อไปนี้
1.1 อายุแรกเกิด – 2 เดือน
1.1.1 ผงกหัว หันซ้ายขวาในท่าทางคว่าได้
1.1.2 พลิกตัวตะแคงได้เมื่อนอนหงาย
1.1.3 มองเห็นในระยะห่าง 8 – 12 นิ้ว
1.1.4 จับถือของได้ชั่วครู่
1.2 อายุ 2 – 4 เดือน
1.2.1 ชันคอในท่าคว่าได้
1.2.2 เหยียดขาดันพื้นได้เมื่อจับยืน
1.2.3 เริ่มคว้าจับสิ่งของ
1.2.4 มองตามสิ่งที่เคลื่อนไหวซ้าย, ขวา, บน, ล่าง ได้
1.3 อายุ 4 – 6 เดือน
1.3.1 นอนคว่ายกศีรษะยันหน้าอกได้สูง
1.3.2 นั่งได้โดยพ่อแม่ต้องประคอง
1.3.3 คืบ พลิกคว่า พลิกหงายได้
1.3.4 มองตามสิ่งที่ผ่านไปเร็วได้
1.3.5 ไขว่คว้าใช้มือหยิบของได้
1.4 อายุ 6 – 8 เดือน
1.4.1 หันหน้าและเอี้ยวตัวไป มาได้ดี
1.4.2 นั่งทรงตัวได้เอง
1.4.3 ลุกนั่งเองได้
1.4.4 ยกตัวในท่าคลานได้
1.4.5 เอื้อมมือหยิบของด้วยมือข้างเดียว
1.4.6 เปลี่ยนมือถือของได้
1.5 อายุ 8 – 12 เดือน
1.5.1 คลานได้คล่อง คลานขึ้นบันไดได้
1.5.2 นั่งตัวตรงได้
1.5.3 เกาะยืนได้ช่วงสั้น ๆ
1.5.4 เกาะเดินได้
1.5.5 ยืนได้ชั่วครู่ และนั่งลงจากท่ายืนได้
170
1.5.6 หยิบของชิ้นเล็กด้วยหัวแม่มือ และนิ้วได้
1.5.7 ใช้มือสองข้างทางานคนละอย่างได้
1.6 อายุ 12 – 18 เดือน
1.6.1 ลุกยืนเองได้
1.6.2 เดินได้เอง
1.6.3 ขึ้นบันไดได้ โดยมีคนจูง
1.6.4 เริ่มวิ่งได้
1.6.5 เล่นกลิ้งลูกบอลเบา ๆ ได้
1.6.6 ถอดเสื้อผ้าง่าย ๆ ได้เอง
1.6.7 ก้มลงเก็บของที่พื้นโดยไม่หกล้ม
1.7 อายุ 18 – 24 เดือน
1.7.1 เดินไปข้างหน้าหรือด้านข้างได้
1.7.2 เดินถอยหลังได้
1.7.3 กระโดด 2 ขา อยู่กับที่ ได้
1.7.4 เดินขึ้นบันไดโดยจับราวได้
1.7.5 ดึง หรือผลักสิ่งของขณะเดิน
1.7.6 ใช้ข้อมือได้มากขึ้น เช่น หมุนมือ หมุนสิ่งของ เป็นต้น
1.8 อายุ 24 – 26 เดือน
1.8.1 วิ่งคล่องขึ้น แต่ไม่สามารถหยุดได้ทันที
1.8.2 เดินถอยหลังนั่ง
1.8.3 ขึ้นบันไดได้เองโดยวางเท้า 2 ข้าง บนบันไดขั้นเดียว
1.8.4 สลับเท้าขึ้นบันไดได้ (เมื่อย่าง 3 ปี)
1.8.5 หยิบของชิ้นเล็ก ๆ ได้
1.8.6 จับดินสอแท่งใหญ่ ๆ ได้ด้วยนิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือได้
1.9 อายุ 3 ปี
1.9.1 กล้ามเนื้อใหญ่
- รอรับลูกบอลที่กระดอนจากพื้นด้วยแขนทั้งสองข้าง
- เดินขึ้นลงบันไดด้วยตนเอง
- กระโดดขึ้น ลงอยู่กับที่ได้
- วิ่งตามลาพังได้
1.9.2 กล้ามเนื้อเล็ก
171
- ใช้กรรไกรตัดกระดาษให้ขาดได้
- เขียนรูปวงกลมตามแบบได้
- ร้อยลูกปัดขนาดใหญ่ได้
1.9.3 สุขภาพอนามัย
- มีร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ มีน้าหนัก ส่วนสูง และมีเส้นรอบศีรษะตาม
เกณฑ์
1.10 อายุ 4 ปี
1.10.1 กล้ามเนื้อใหญ่
- รับลูกบอลได้ด้วยมือทั้งสองข้าง
- เดินขึ้นลงบันไดสลับเท้าได้
- กระโดดขาเดียวอยู่กับที่ได้
- วิ่งและหยุดได้คล่อง
1.10.2 กล้ามเนื้อเล็ก
- ใช้กรรไกรตัดกระดาษให้อยู่ในแนวเส้นตรงตามที่กาหนดให้ได้
- เขียนรูปสี่เหลี่ยมตามแบบได้
- ร้อยลูกปัดขนาดเล็กได้
1.10.3 สุขภาพอนามัย
- มีร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ มีน้าหนักส่วนสูง และมีเส้นรอบศีรษะตาม
เกณฑ์
1.11 อายุ 5 ปี
1.11.1 กล้ามเนื้อใหญ่
- รับลูกบอลที่กระดอนจากพื้นได้ด้วยมือทั้งสองข้าง
- เดินขึ้น ลงบันไดสลับเท้าได้อย่างคล่องแคล่ว
- กระโดดขาเดียวไปข้างหน้าได้อย่างต่อเนื่อง
- วิ่งได้รวดเร็วและหยุดโดยทันที
1.11.2 กล้ามเนื้อเล็ก
- ใช้กรรไกรตัดกระดาษให้อยู่ในแนวเส้นโค้งตามที่กาหนดได้
- เขียนรูปสามเหลี่ยมตามแบบได้
- ใช้เชือกร้อยวัสดุตามแบบได้
- ใช้กล้ามเนื้อเล็กได้ดี เช่น ติดกระดุมเสื้อ ผูกเชือกรองเท้า ฯลฯ
1.11.3 สุขภาพอนามัย
172
- มีร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ มีน้าหนัก ส่วนสูง และมีเส้นรอบศีรษะตาม
เกณฑ์
2. พัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ
พัฒนาการทางด้านอารมณ์และจิตใจของเด็กปฐมวัยแต่ละช่วงวัยดังมีรายละเอียด
ดังต่อไปนี้
2.1 แรกเกิด – 2 เดือน
2.1.1 ตกใจง่ายเมื่อได้ยินเสียงดัง
2.1.2 ทาเสียงในลาคอเบา ๆ เมื่อรู้สึกพอใจ
2.2 อายุ 2- 4 เดือน
2.2.1 ยิ้มง่าย หัวเราะเสียงดังเมื่อพอใจ
2.2.2 แสดงอารมณ์ ความรู้สึกทางสีหน้า
2.3 อายุ 4 – 6 เดือน
2.3.1 ส่งเสียงแสดงอารมณ์ต่าง ๆ
2.3.2 รู้จักแสดงปฏิกิริยาต่อต้านเมื่อไม่พอใจ
2.4 อายุ 6 – 8 เดือน
2.4.1 แสดงความผูกพันกับพ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูใกล้ชิด
2.4.2 เริ่มกลัวคนแปลกหน้า
2.5 อายุ 8 – 12 เดือน
2.5.1 พยายามทาสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง ถ้าขัดใจจะโกรธ
2.5.2 แสดงท่าทางพอใจเมื่อได้ยินเสียงเพลง เช่นโยกตัวไปตามจังหวะ
2.5.3 อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย ชอบขว้างของเวลาโกรธ
2.6 อายุ 18 – 24 เดือน
2.6.1 กลัวความมืด กลัวเสียงดัง กลัวการถูกทิ้งให้อยู่คนเดียว
2.6.2 ใช้คาพูดแสดงอารมณ์ เช่น ไม่เอา ออกไป
2.6.3 ต้องการความเป็นตัวของตัวเอง
2.7 อายุ 24 – 36 เดือน
2.7.1 แสดงอารมณ์ต่าง ๆ ด้วยคาพูด
2.7.2 มีความรู้สึกที่ดีต่อตนเองเมื่อได้รับการยอมรับและชมเชย
2.7.3 มีความเป็นตัวของตัวเอง
2.8 อายุ 3 ปี
2.8.1 การแสดงออกทางด้านอารมณ์
173
- ชอบที่จะทาให้ผู้ใหญ่พอใจ และได้รับคาชม
- แสดงอารมณ์ตามความรู้สึก
2.8.2 ความรู้สึกที่ดีต่อตนเองและผู้อื่น
- เริ่มรู้บทบาทหน้าที่ของตนเอง
- เริ่มรู้จักเลือกเล่นสิ่งที่ตนเองชอบ และสนใจ
2.8.3 คุณธรรมจริยธรรม
- แสดงความรักต่อเพื่อน และสัตว์เลี้ยง
- ไม่ทาร้ายผู้อื่นเมื่อไม่พอใจ
- เริ่มรู้ว่าของสิ่งใดเป็นของตน และสิ่งใดเป็นของผู้อื่น
- เริ่มรู้จักเก็บของเล่น
- เริ่มรู้จักรอคอย
- เริ่มตัดสินใจในเรื่องง่าย ๆ ได้
2.9 อายุ 4 ปี
2.9.1 การแสดงออกทางอารมณ์
- ชอบท้าทายผู้ใหญ่
- เริ่มควบคุมอารมณ์ได้ในบางขณะ
2.9.2. ความรู้สึกที่ดีต่อตนเองและผู้อื่น
- รู้บทบาทหน้าที่ของตนเอง
- รู้จักเลือกเล่นสิ่งที่ตนชอบ สนใจ
- เริ่มรู้จักชื่นชมความสามารถ ผลงานของตนเอง และผู้อื่น
2.9.3 คุณธรรมจริยธรรม
- แสดงความรักต่อเพื่อนและสัตว์เลี้ยง
- ไม่ทาร้ายผู้อื่นและทาให้ผู้อื่นเดือดร้อน
- ไม่แย่งหรือหยิบของคนอื่นมาเป็นของตน
- รู้จักเก็บของเข้าที่
- รู้จักการรอคอยอย่างเหมาะสมกับวัย
- รู้จักตัดสินใจในเรื่องง่าย ๆ และเริ่มเรียนรู้ผลที่เกิดขึ้น
2.10 อายุ 5 ปี
2.10.1 การแสดงออกทางด้านอารมณ์
- รักครูผู้สอน
- ควบคุมอารมณ์ได้ดีขึ้น มีเหตุผล
174
2.10.2 ความรู้สึกที่ดีต่อตนเองและผู้อื่น
- รู้จักบทบาทหน้าที่ของตนเองและหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
- รู้จักเลือกเล่น ทางานตามที่ตนชอบ ที่สนใจ และสามารถทาได้
- รู้จักชื่นชมในความสามารถ ผลงาน ของตนเองและผู้อื่น
2.10.3 คุณธรรมจริยธรรม
- แสดงความรักเด็กที่เล็กกว่าและสัตว์ต่าง ๆ
- ไม่ทาร้ายผู้อื่น และไม่ทาให้ผู้อื่นเสียใจ
- ไม่หยิบของผู้อื่นมาเป็นของตน
- รู้จักเก็บของเข้าที่
- รู้จักการรอคอยและเข้าแถวตามลาดับก่อนหลัง
- รู้จักการตัดสินใจในเรื่องง่าย ๆ และยอมรับผลที่เกิดขึ้น
3. พัฒนาการด้านสังคม
พัฒนาการทางด้านสังคมของเด็กปฐมวัยแบ่งตามช่วงอายุดังรายละเอียดต่อไปนี้
3.1 อายุแรกเกิด – 2 เดือน
3.1.1 สบตาจ้องหน้าแม่
3.1.2 ยิ้มได้
3.1.3 หยุดร้องไห้เมื่อมีคนอุ้ม
3.1.4 ชอบให้มีคนเล่นด้วย
3.2 อายุ 2 – 4 เดือน
3.2.1 ร้องไห้เพื่อบอกความต้องการ เงียบเสียงเมื่อเห็นหน้าคน
3.2.2 ส่งเสียงโต้ตอบ เสียงพูดและรอยยิ้มของแม่
3.2.3 สนใจมองและยิ้มให้กับตนเองในกระจก
3.3 อายุ 4 – 6 เดือน
3.3.1 หันหาเสียงเรียกชื่อ
3.3.2 ยิ้มให้คนอื่นและส่งเสียงให้ผู้คน
3.3.3 สนใจมองและยิ้มให้ตนเองในกระจก
3.3.4 มีปฏิกิริยาโต้ตอบกับพ่อแม่ หรือคนคุ้นเคย และชอบให้อุ้ม
3.4 อายุ 6 – 8 เดือน
3.4.1 แสดงออกเปิดเผยตามความรู้สึก
3.4.2 รู้จักแสดงท่าทางดีใจ หัวเราะ อาย
3.4.3 เลียนแบบกิริยาท่าทางของคนอื่น
175
3.4.4 แสดงออกถึงการรับรู้อารมณ์ และความรู้สึกของผู้อื่น
3.5 อายุ 8 – 12 เดือน
3.5.1 ติดแม่ กลัวการแยกจาก
3.5.2 เข้าใจท่าทางและสีหน้าของคนอื่น
3.5.3 กลัวคนแปลกหน้าและสถานที่ใหม่ ๆ
3.5.4 เลียนแบบสีหน้า ท่าทาง และเสียง
3.5.5 ชี้บอกความต้องการได้
3.5.6 ให้ความร่วมมือเมื่อแต่งตัว
3.5.7 แยกตัวเองในเงากระจกได้
3.6 อายุ 12 – 18 เดือน
3.6.1 เข้าใจท่าทางและสีหน้าของคนอื่น
3.6.2 สนใจการกระทาของผู้ใหญ่
3.6.3 เริ่มช่วยเหลือตนเองได้
3.6.4 ชอบเล่นคนเดียว แต่มีผู้ใหญ่อยู่ในสายตา
3.6.5 หวงสิ่งของ
3.7 อายุ 18 – 24 เดือน
3.7.1 ใช้ช้อนตักอาหารเองได้
3.7.2 ดื่มน้าในแก้วเองได้
3.7.3 ชอบมีส่วนร่วมในงานบ้าน
3.7.4 บอกสิ่งที่ต้องการด้วยคาพูดง่าย ๆ ได้
3.7.5 รู้จักการรอคอย
3.8 อายุ 24 – 36 เดือน
3.8.1 เล่นรวมกับผู้อื่น แต่ต่างคนต่างเล่น
3.8.2 เริ่มรู้จักเล่นเป็นกลุ่มกับเด็กด้วยกัน
3.8.3 พยายามช่วยตัวเองในเรื่องการแต่งตัว
3.8.4 เริ่มรู้จักของ และรู้จักให้
3.8.5 เริ่มรู้จักรอคอย
3.9 อายุ 3 ปี
3.9.1 การช่วยเหลือตนเอง
- ล้างมือได้
- รับประทานอาหารได้ด้วยตนเอง
176
- เริ่มรู้จักใช้ห้องน้าห้องส้วม
3.9.2 การอยู่ร่วมกับผู้อื่นและมีคุณธรรมจริยธรรม
- ชอบเล่นแบบคู่ขนาน (เล่นชนิดเดียวกัน แต่ต่างคนต่างเล่น)
- ยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง
- เริ่มปฏิบัติตามกฎ กติกาง่าย ๆ
- รู้จักทางานที่ได้รับมอบหมาย
3.9.3 การอนุรักษ์วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม
- เริ่มรู้จักแสดงความเคารพ
- ทิ้งขยะได้ถูกที่
- ไม่ทาลายสิ่งของเครื่องใช้
3.10 อายุ 4 ปี
3.10.1 การช่วยเหลือตนเอง
- แต่งตัวได้
- รับประทานอาหารได้ด้วยตนเอง โดยไม่หกเลอะเทอะ
- รู้จักทาความสะอาดหลังจากเข้าห้องน้าห้องส้วม
3.10.2 การอยู่ร่วมกับผู้อื่นและการมีคุณธรรมจริยธรรม
- เล่มร่วมกับผู้อื่นได้
- เริ่มช่วยเหลือผู้อื่น
- ปฏิบัติตามกฎ กติกาที่ตกลงร่วมกัน
- มีความรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย
3.10.3 การอนุรักษ์วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม
- รู้จักแสดงความเคารพ
- ทิ้งขยะได้ถูกที่
- รักษาสิ่งของที่ใช้ร่วมกัน
3.11 อายุ 5 ปี
3.11.1 การช่วยเหลือตนเอง
- เลือกเครื่องแต่งกายของตนเองได้ และแต่งตัวได้
- ใช้เครื่องมือเครื่องใช้ในการรับประทานอาหารได้
- ทาความสะอาดร่างกายได้
3.11.2 การอยู่ร่วมกับผู้อื่น
- รู้จักการให้และการรับ
177
- ปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถานศึกษา
3.11.3 การอนุรักษ์วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม
- แสดงความเคารพได้เหมาะสมกับวัยและโอกาส
- ทิ้งขยะได้ถูกที่
- ช่วยดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมรอบตัว
4. พัฒนาการด้านสติปัญญา
4.1 อายุแรกเกิด – 2 เดือน
4.1.1 หยุดฟังหันหาเสียง
4.1.2 ทาเสียงอ้อแอ้
4.1.3 ใช้เสียงร้องที่ต่างกัน เมื่อหิวหรือเจ็บ
4.1.4 สนใจมองใบหน้าคนมากกว่าสิ่งของ
4.2 อายุ 2 – 4 เดือน
4.2.1 จาหน้าแม่และบุคคลในครอบครัวได้
4.2.2 ส่งเสียงอ้อแอ้ พยายามทาเสียงต่าง ๆ ในคอ
4.2.3 หยุดฟังเสียงหันตามเสียงเคาะ
4.2.4 สนใจหันมองสิ่งที่เคลื่อนไหวหรือมีเสียง
4.3 อายุ 4 – 6 เดือน
4.3.1 จาหน้าแม่และคนคุ้นเคยได้
4.3.2 ส่งเสียงตามเมื่อได้ยินเสียงพูด หรือมีใครมาพูดด้วย
4.3.3 เข้าใจคาเรียกชื่อคน หรือสิ่งของง่าย ๆ
4.3.4 ชอบมองสารวจสิ่งของที่สนใจ และรายละเอียดต่าง ๆ
4.4 อายุ 6 – 8 เดือน
4.4.1 พยายามเลียนแบบเสียงต่าง ๆ ที่ได้ยิน
4.4.2 พูดคุยคนเดียว
4.4.3 ทาเสียงซ้า ๆ เช่น มามา หม่า หม่า
4.4.4 ชอบสารวจสิ่งต่าง ๆ รอบตัว โดยเอาเข้าปาก
4.4.5 สนใจรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ ของสิ่งต่าง ๆ
4.5 อายุ 8 – 12 เดือน
4.5.1 รู้จักเชื่อมโยงคาพูดกับการกระทา เช่น “ไม่” จะสั่นหัว “บ๊าย บาย “ จะ
โบกมือ เป็นต้น
178
4.5.2 ชอบฟังคาซ้า ๆ เสียงสูง ๆ ต่า ๆ
4.5.3 รู้ว่าคาต่าง ๆ เป็นสัญลักษณ์ของวัตถุนั้น ๆ เช่น ถ้าพูดว่านก จะชี้ไปที่
ท้องฟ้า
4.5.4 เริ่มพูดเป็นคา ๆ ได้บ้าง เช่น พ่อ แม่
4.5.6 เรียนรู้คาใหม่เพิ่มขึ้น
4.5.7 ค้นหาของที่ปิดซ่อนจากสายตาได้
4.6 อายุ 12 – 18 เดือน
4.6.1 รู้จักชื่อตนเอง
4.6.2 แสดงความคิดและจินตนาการ
4.6.3 เริ่มเปล่งเสียงและกล่าวคาพูดเกี่ยวกับการกระทาที่ทาอยู่
4.6.4 เข้าใจคาพูดง่าย ๆ ได้
4.6.5 พูดเป็นคา ๆ ได้มากขึ้น
4.6.6 ทักทายโดยการใช้เสียงพร้อมการทาท่าทางอย่างเหมาะสม
4.6.7 สนใจสารวจสิ่งรอบตัว
4.7 อายุ 18 – 24 เดือน
4.7.1 พูดคาต่อกัน เช่น ไปเที่ยว กินข้าว ฯลฯ
4.7.2 เลียนแบบคาพูดที่ผู้ใหญ่พูด
4.7.3 ชอบฟังนิทานเรื่องสั้น ๆ
4.7.4 พยายามทาตามคาสั่ง
4.7.5 มีความเข้าใจในเรื่องเวลาจากัด รู้เพียงแต่เดี๋ยวนี้ เดี๋ยวก่อน
4.7.6 เรียกหรือชี้ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้
4.7.7 เริ่มจาชื่อวัตถุสิ่งของที่พบเห็นบ่อย ๆ ได้
4.7.8 ขีดเส้นต่าง ๆ แต่ยังไม่ชัดเจน
4.7.9 วางของซ้อนกันได้ 3 ชั้น
4.8 อายุ 24 – 36 เดือน
4.8.1 มีช่วงความสนใจกับของบางอย่างได้นาน 3 – 5 นาที
4.8.2 ชอบดูหนังสือภาพ
4.8.3 ชอบฟังบทกลอน นิทาน คาคล้องจอง
4.8.4 สนใจค้นคว้าสารวจสิ่งต่าง ๆ
4.8.5 เริ่มถามด้วยคาว่า “อะไร”
4.8.6 สนใจอยากรู้อยากเห็นสิ่งใกล้ตัว
179
4.8.7 ขีดเส้นตรงเป็นแนวดิ่งได้
4.8.8 วางของซ้อนกันได้ 4 – 6 ชั้น
4.9 อายุ 3 ปี
4.9.1 ฟังแล้วปฏิบัติตามคาสั่งง่าย ๆ ได้
4.9.2 บอกชื่อของตนเองได้
4.9.3 รู้จักใช้คาถามว่า “อะไร” มากขึ้น
4.9.4 ขีดเส้นอย่างอิสระได้
4.9.5 จับคู่สีต่าง ๆ ได้ประมาณ 3 – 4 สี
4.9.6 จาแนกสิ่งต่าง ๆ ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้
4.9.7 อยากรู้อยากเห็นทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัว
4.9.8 วาดภาพตามความพอใจของตนได้
4.9.9 สนทนาโต้ตอบ เล่าเรื่องด้วยประโยคสั้น ๆ ได้
4.9.10 เลียนแบบท่าทางการเคลื่อนไหวต่าง ๆ ได้
4.9.11 เรียนรู้จากการสังเกตและเลียนแบบผู้อื่น
4.10 อายุ 4 ปี
4.10.1 ปฏิบัติตามคาสั่งต่อเนื่องได้
4.10.2 บอกชื่อ นามสกุลของตนเองได้
4.10.3 ชอบถามด้วยคาว่า “ทาไม”
4.10.4 เขียนภาพและสัญลักษณ์ตามความต้องการของตนเองได้
4.10.5 ชี้และบอกสีได้ 4 – 6 สี
4.10.6 รู้ความหมายเกี่ยวกับ “เมื่อวานนี้, วันนี้, พรุ่งนี้”
4.10.7 จาแนกสิ่งต่าง ๆ ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้มากขึ้น
4.10.8 สารวจทดลองเล่นกับของเล่น ตามความคิดของตนได้
4.10.9 วาดภาพตามความคิดสร้างสรรค์ของตนเองได้
4.10.10 เล่านิทานหรือเรื่องราวตามจินตนาการได้
4.10.11 เรียนรู้จากการสังเกต และการฟัง ด้วยตนเองได้
4.11 อายุ 5 ปี
4.11.1 ถ่ายทอดเรื่องราวจากเรื่องที่ได้ฟังมาได้
4.11.2 บอกชื่อ – นามสกุล อายุ ที่อยู่ ของตนเองได้
4.11.3 ชอบถามด้วยคาว่า “ทาไม, อย่างไร, และที่ไหน”
4.11.4 เขียนชื่อนามสกุลของตนเองตามแบบได้
180
4.11.5 บอกและจาแนกสีต่าง ๆ ได้
4.11.6 จาแนกสิ่งต่าง ๆ จากประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้ดี
4.11.7 ใช้สิ่งของเป็นสิ่งสมมุติในการเล่น เล่นบทบาทสมมุติตามจินตนาการได้
4.11.8 วาดภาพตามความคิดสร้างสรรค์ของตนได้
4.11.9 เล่านิทาน เล่าสิ่งที่ตนคิด หรือเรื่องราวตามจินตนาการได้
4.11.10 เคลื่อนไหวท่าทางตามความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการได้
พัฒนาการของเด็กปฐมวัยในด้านต่าง ๆ ตามที่กล่าวมายังไม่ครอบคลุมพฤติกรรม
ของเด็กทั้งหมดที่เกิดขึ้นในสถานการณ์จริง ดังนั้นในการพิจารณาพฤติกรรมของเด็ก
ปฐมวัยจะต้องอาศัยประสบการณ์และข้อมูลที่มีประกอบการศึกษาเพื่อให้ได้ข้อมูลใหม่ ๆ
เพิ่มขึ้นซึ่งครูปฐมวัยจะต้องทาความเข้าใจเกี่ยวกับพัฒนาการและพฤติกรรมของเด็ก
ตลอดเวลา การที่ครูปฐมวัยจะอยู่กับเด็กได้นั้น นอกจากจะมีความเข้าใจเกี่ยวกับ
พัฒนาการของเด็กแล้ว จะต้องเข้าใจธรรมชาติและความต้องการของเด็กปฐมวัยอีกด้วย
ซึ่งเป็นพื้นฐานที่สาคัญสาหรับครูปฐมวัยที่จะต้องมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องดังกล่าว
7. ธรรมชาติและความต้องการทางด้านร่างกายของเด็กปฐมวัย
พัฒนาการทางด้านร่างกายของเด็กปฐมวัยมีความสาคัญมาก เนื่องจากเด็กที่มี
สุขภาพที่ดีจะมีผลต่อพัฒนาการทางด้านอื่นทั้งทางตรงและทางอ้อม ได้แก่ พัฒนาการ
ทางด้านอารมณ์จิตใจ พัฒนาการทางด้านสังคม และพัฒนาการทางด้านสติปัญญา ดังนั้น
ในการสนองตอบความต้องการทางด้านร่างกายของเด็กปฐมวัย อารมณ์ สุวรรณปาล
(2549 : 7) จะต้องครอบคลุมทั้ง 5 ด้าน ดังนี้
1. ด้านสุขภาพอนามัย ได้แก่การส่งเสริมด้านโภชนาการ
2. ด้านสุขนิสัย ได้แก่ กิจกรรมฝึกเด็กและดูแลให้เด็กปฏิบัติจนเป็นกิจนิสัยด้าน
การขับถ่าย การดูแลความสะอาดร่างกาย การพักผ่อนและการออกกาลังกาย
3. ด้านประสาทการรับรู้ – การเคลื่อนไหว ได้แก่ กิจกรรมเล่นเกมประสาทสัมผัส
ต่าง ๆ เช่นเกมปิดตา เกมกล่องปริศนา เกมแตะส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เป็นต้น
4. ด้านกล้ามเนื้อใหญ่ ได้แก่ การเล่นกลางแจ้ง การเล่นในร่ม การออกกาลังกาย
การเคลื่อนไหวร่างกาย
5. ด้านกล้ามเนื้อเล็ก ได้แก่ กิจกรรมพัฒนากล้ามเนื้อเล็ก เช่น การปั้น การร้อย
การตัดกระดาษ วาดภาพระบายสี ลากเส้นต่อจุด โยนรับลูกบอล เป็นต้น
นอกจากนี้ วราภรณ์ รักวิจัย (2535 : 61 – 73) ได้กล่าวถึงการส่งเสริมและ
การเตรียมความพร้อมทางร่างกายของเด็กปฐมวัยไว้ดังนี้
181
1. การให้อาหารที่มีประโยชน์ คือ อาหารที่มีอาหารครบ 5 ชนิดตามที่ร่างกาย
ต้องการในแต่ละวัน ได้แก่ โปรตีน คาร์โบไฮเดรท ไขมัน ไวตามิน และเกลือแร่ต่าง ๆ
2. การเล่นของเด็ก การเรียนของเด็กปฐมวัย คือ การเล่น เด็กจะพอใจที่ได้เล่นที่ได้
เล่นและช่วยเหลือตัวเอง จึงจาเป็นต้องจัดสถานที่ให้ปลอดภัยมีพื้นที่กว้างและมีอุปกรณ์
เครื่องเล่นอย่างเพียงพอ พ่อแม่มีการฝึกให้เด็กรักษาตัวเองและผู้อื่นให้ปลอดภัยในการเล่น
3. การขับถ่าย ควรฝึกให้เด็กช่วยเหลือตัวเองขณะเข้าห้องน้า โดยการเตือนให้เข้า
ห้องน้าและช่วยจัดการกับตนเองหลังจากเข้าห้องน้าเสร็จ
4. การนอนหลับพักผ่อน การพักผ่อนที่เพียงพอและเหมาะสมจะช่วยให้เด็กมี
พัฒนาการที่ดี การพักผ่อนนี้รวมถึงระหว่างกิจกรรมด้วย เช่น การร้องเพลง การฟังนิทาน
พักผ่อนหลังจากการเล่นเหนื่อย การนอนกลางวันควรนอนได้ประมาณวันละ 1 – 2 ชั่วโมง
5. การรักษาความสะอาดร่างกาย พ่อแม่ควรฝึกให้เด็กรักษาความสะอาดร่างกาย
โดยการรู้จักอาบน้า การใช้สบู่ การล้างมือก่อนและหลังรับประทานอาหาร การแปรงฟัน
บ้วนปากหลังอาหาร
6. การสร้างภูมิคุ้มกันโรค ควรพาไปตรวจสุขภาพและรับวัคซีนป้องกันโรคต่าง ๆ
ตามอายุ
8. ธรรมชาติความต้องการทางด้านอารมณ์ของเด็กปฐมวัย
อารมณ์เป็นความรู้สึกที่ซับซ้อนซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย
และแสดงออกอย่างชัดเจนทางพฤติกรรม อารมณ์มีทั้งสิ่งที่เป็นความพอใจ เช่น ความรัก
ความสนุกสนาน และไม่พอใจ เช่น ความโกรธ ความเกลียด ความกลัว ความวิตกกังวล
เป็นต้น อารมณ์มีบทบาทสาคัญในการกระตุ้นให้แสดงพฤติกรรมต่าง ๆ ได้ ดังนั้น
พฤติกรรมที่แสดงออกมาเราก็สามารถบอกถึงอารมณ์ของเด็กที่แสดงออกมาได้โดยแบ่ง
ตามช่วงอายุดังนี้
1. ลักษณะความต้องการทางอารมณ์ของเด็กวัยทารก
เด็กจะเริ่มแสดงอารมณ์หลังจากเกิดประมาณ 2 – 3 อาทิตย์ บริดจส์ (Bridges) ได้
กล่าวถึงการพัฒนารูปแบบต่าง ๆ ของอารมณ์เด็ก ในช่วงเวลาเด็กอายุแรกเกิด – 24 เดือน
อารมณ์ของเด็กจะพัฒนาขึ้นมา 2 ชนิด คืออารมณ์ที่พึงพอใจและอารมณ์ที่ไม่พึงพอใจ
เด็กจะแสดงความพึงพอใจก่อนอายุ 3 เดือน ด้วยการส่งเสียงเล่น ทาเสียงเล่นในคอ ยิ้ม
และทาเสียงเอิกอ้าก เมื่อเด็กมีอายุ 3 – 6 เดือนจะแสดงอารมณ์โกรธ ความกลัวความไม่
182
ชอบและความร่าเริง เมื่อเด็กมีอายุ 6 –12 เดือน จะแสดงความรัก และเมื่ออายุ 16 เดือน
เด็กจะแสดงอารมณ์ริษยา
จากลักษณะทางอารมณ์ของเด็กทารกวัยดังกล่าว แสดงให้เห็นถึงความต้องการ
ทางอารมณ์ของเด็กในวัยนี้ได้ดังนี้คือ
1. ต้องการแสดงความพึงพอใจด้วยการส่งเสียงเล่น ทาเสียงในลาคอหรือยิ้ม
2. ต้องการหลีกเลี่ยงเสียงดัง ๆ หรือเสียงประหลาด ๆ ที่จะทาให้เกิดความตกใจ
กลัว
3. ต้องการที่จะได้รับการตามใจไม่ชอบให้ขัดใจ
4. ต้องการที่จะให้มีคนอยู่ใกล้ ๆ ชอบที่จะซุกเข้ากับอกผู้ใหญ่
2. ลักษณะความต้องการทางอารมณ์ของเด็กวัยก่อนเข้าเรียน
ลักษณะทางอารมณ์ของเด็กก่อนวัยเรียน คือ ตื่นเต้น ตกใจง่าย โกรธง่าย กลัวที่
จะอยู่ตามลาพังคนเดียว ส่วนใหญ่เด็กผู้หญิงมักจะแสดงความกลัวมากกว่าผู้ชาย เด็กวัยนี้
มีทั้งอารมณ์ก้าวร้าวและอารมณ์ที่เห็นอกเห็นใจผู้อื่น ต้องการความรักและความเอาใจใส่
จากผู้ใหญ่นอกจากนี้ยังมีอารมณ์อิจฉาริษยาอีกด้วย
การตอบสนองความต้องการทางอารมณ์ของเด็กวัยทารก
เด็กวัยนี้มักจะแสดงออกทางอารมณ์พึงพอใจด้วยการส่งเสียงเล่น ไม่ชอบเสียงดังๆ
ไม่ชอบให้ใครขัดใจ ชอบให้มีคนอยู่ใกล้ ๆ ดังนั้นวิธีการสนองอารมณ์ของเด็กวัยนี้มีดังนี้
1. หาโอกาสเล่นกับเด็กทาเสียงหยอกล้อเพื่อให้เด็กเกิดความพึงพอใจ ไม่ควรที่จะ
ปล่อยให้เด็กเล่นตามลาพัง การสนองตอบตามความต้องการของเด็กวัยนี้จะช่วยให้เด็กเป็น
คนอารมณ์ดี มีความสุข ซึ่งจะเป็นพื้นฐานในการปรับตัวด้านอารมณ์ต่อไป
2. หาทางช่วยให้เด็กหลีกเลี่ยงเสียงดัง โดยไม่ทาเสียงดังเพื่อให้เด็กเกิดอาการ
ตื่นเต้นตกใจ หรือทาเสียงดัง ๆ
3. ช่วยเหลือเด็กไม่ให้เกิดอารมณ์ขุ่นมัว โดยการตอบสนองความต้องการอย่าง
ทันท่วงที เพราะเด็กวัยนี้ไม่สามารถอดทนหรือรอได้นาน ๆ เมื่อเด็กได้รับสิ่งที่ต้องการก็จะ
มีอารมณ์ดี
4. ผู้ใหญ่ควรอยู่กับเด็กตลอดเวลา เพื่อให้เด็กเกิดความอบอุ่นใจ และมั่นใจ ไม่ควร
ทาให้เด็กอารมณ์ขุ่นมัว เพราะอารมณ์ขุ่นมัวที่พัฒนาขึ้นมาในช่วงนี้จะเป็นพื้นฐานใน
การปรับตัวทางอารมณ์ต่อไปในอนาคต
183
3. ลักษณะความต้องการทางอารมณ์ของเด็กวัยก่อนเรียน
ลักษณะความต้องการทางอารมณ์และการสนองตอบอารมณ์ของเด็กสามารถทา
ได้ดังนี้
1. อารมณ์ของเด็กจะแสดงออกมาอย่างอิสระและเปิดเผย ครูควรเปิดโอกาสให้
เด็กได้แสดงออก ไม่ควรสะกัดกั้นการแสดงออกทางอารมณ์ของเด็ก เพื่อเด็กจะได้ยอมรับ
และรับรู้อารมณ์ของตนเอง ครูจะต้องเปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงอารมณ์ในขอบเขตที่กว้าง
มากขึ้น และไม่ควรใช้วิธีการระงับการแสดงออกทางอารมณ์ของเด็ก จะทาให้อารมณ์ของ
เด็กขุ่นมัวได้
2. เมื่อเด็กมีอารมณ์โกรธผู้ใหญ่จะต้องหาทางให้เด็กมีอารมณ์โกรธน้อยที่สุด
เพราะอารมณ์โกรธของเด็กจะเป็นอารมณ์ที่มีความรุนแรงขาดการยับยั้งใจ และไม่สามารถ
ควบคุมพฤติกรรมได้ วิธีการ เช่น ครูเข้าไปพูดคุยกับเด็ก เพื่อให้เด็กได้ผ่อนคลาย ถาม
ความต้องการของเด็ก เป็นต้น
3. เด็กต้องการความช่วยเหลือเมื่อเกิดความกลัว ครูไม่ควรจะไปล้อเลียน
ความกลัวของเด็ก หรือบังคับให้เด็กอยู่กับความกลัว ครูควรยอมรับและเข้าใจอารมณ์กลัว
ของเด็ก
4. เด็กต้องการความรักความอบอุ่นจากผู้ใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่ครู ดังนั้นครูหรือ
ผู้ปกครองเด็กจะต้องให้ความรักความอบอุ่นกับเด็ก ให้ความยุติธรรมกับเด็ก ถ้าผู้ใหญ่ไม่มี
ความยุติธรรมจะทาให้เด็กมีความอิจฉาริษยาได้
5. เด็กวัยนี้ไม่ชอบให้ใครเข้ามาขัดใจ ดังนั้นผู้ใหญ่ไม่ควรขัดใจเด็ก เพราะเมื่อขัดใจ
เด็กแล้ว เด็กจะมีพฤติกรรมที่ก้าวร้าว เมื่อเด็กมีพฤติกรรมที่ก้าวร้าวผู้ใหญ่ไม่ควรไปสนใจ
มากเพราะจะทาให้เด็กรู้สึกว่าเป็นการเรียกร้องความสนใจจากผู้ใหญ่
9. ธรรมชาติและความต้องการทางสังคมของเด็กปฐมวัย
ความต้องการทางสังคม หมายถึง ความต้องการที่จะประพฤติ และปฏิบัติตาม
ความคาดหวังของสังคมซึ่ง หมายถึง พฤติกรรมแสดงออกเป็นที่ยอมรับของสังคมบทบาท
เเละรูปเเบบของพฤติกรรมตามที่สังคมกาหนด เช่น บทบาทของผู้หญิง ผู้ชาย บทบาทของ
พ่อแม่ บทบาทของครูและนักเรียน ฯลฯ ตลอดจนการพัฒนาทัศนคติต่อบุคคลอื่น ๆ ใน
สังคม
เด็ก ๆ ทุกคนมีความปรารถนาอย่างแรงที่ต้องการ การยอมรับจากสังคมทุกระดับ
เมื่อความต้องการนี้ได้รับการตอบสนองเด็กก็จะมีความสุข แต่เมื่อไม่ได้รับการตอบสนอง
เด็กก็จะมีความทุกข์ รูปแบบที่เหมาะสมทางสังคมเริ่มมาตั้งแต่ในครอบครัวในช่วงแรกของ
184
ชีวิต ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นตัวกาหนดว่าเด็กผู้นั้นจะกลายเป็นผู้ใหญ่ที่มีลักษณะเช่นใดต่อไปใน
อนาคต จากประสบการณ์ที่มีความสุขในครอบครัวจะเป็นตัวกระตุ้นให้เด็กแสวงหา
ประสบการณ์นั้นต่อไป ซึ่งจะทาให้เป็นคนที่เข้าสังคมได้ และปรับตัวได้ดี สาหรับคนที่
ประสบการณ์ที่ไม่มีความสุข จะมีทัศนคติต่อต้านคนทั่ว ๆ ไปซึ่งจะกระตุ้นให้เด็กกลายเป็น
คนที่มีลักษณะต่อต้านสังคมและมีการปรับตัวที่ไม่ค่อยเหมาะสม
ในช่วงแรกสิ่งที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมทางสังคมมากที่สุด คือวิธีการอบรมเลี้ยงดูที่
พ่อแม่ใช้กับเด็ก เด็กที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตยจะเป็นเด็กที่ปรับตัวได้ดี
เขาจะเป็นเด็กที่มีลักษณะกระตือรือร้น ปรับตัวเข้ากับสังคมได้ดี สาหรับเด็กที่พ่อแม่เลี้ยง
ตามใจจะกลายเป็นคนที่ค่อนข้างเฉื่อยชา ไม่ค่อยสนใจสิ่งใดและมักจะเป็นคนชอบปลีกตัว
จากสังคม สาหรับเด็กที่พ่อแม่เลี้ยงดูแบบถือตนเองเป็นใหญ่จะกลายเป็นเด็กที่เงียบเฉยไม่
ต่อต้านไม่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และไม่อยากรู้อยากเห็นหรือไม่กระตือรือร้น เพราะ
ความหวาดกลัวพ่อแม่ ดังนั้นลักษณะความต้องการทางสังคมของเด็กจะเป็นไปในรูปใด
ต่อไปนั้นขึ้นอยู่กับว่าเด็กเคยได้รับการอบรมเลี้ยงดูมาโดยวิธีใด
จากการศึกษาวิจัยพบว่าการปรับตัวทางสังคมนั้นขึ้นอยู่กับสัมพันธภาพระหว่าง
บุคคลภายในครอบครัว ซึ่งจะมีอิทธิพลมาก เช่น สัมพันธภาพระหว่างพ่อกับแม่ ระหว่าง
พ่อแม่กับลูกและระหว่างเด็กกับพี่น้อง บ้านเป็นที่เรียนเกี่ยวกับทักษะทางสังคม เมื่อเด็ก
ได้รับความพึงพอใจจากสัมพันธภาพภายในบ้านเด็กก็พร้อมจะมีสัมพันธภาพทางสังคมกับ
คนนอกบ้าน พัฒนาทัศนคติที่ดีต่อคนอื่นๆ และปรับตัวได้ดีในกลุ่มเพื่อน
ประสบการณ์ทางสังคมในช่วงแรกนี้นอกจากจะได้รับอิทธิพลจากคนในครอบครัว
แล้วยังได้รับอิทธิพลจากคนภายนอกบ้านด้วย ซึ่งโดยทั่วๆ ไปประสบการณ์ที่ได้รับจาก
ทางบ้านจะมีความสาคัญในระหว่างวัยก่อนเรียนและประสบการณ์จากนอกบ้านจะมี
ความสาคัญ ภายหลังจากที่เด็กเข้าโรงเรียนแล้ว ดังนั้นผู้ปกครองและครูควรจะได้
ตระหนักถึงบทบาทของตนซึ่งมีอิทธิพลต่อการหล่อหลอมพฤติกรรมทางสังคมที่เหมาะสม
หรือไม่เหมาะสมของเด็ก โดยแบ่งเป็นแต่ละช่วงวัยดังต่อไป
1. ลักษณะความต้องการทางสังคมของเด็กวัยทารก
การมีปฏิกิริยากับผู้ใหญ่ พฤติกรรมทางสังคมเริ่มต้นมาตั้งแต่วัยทารก โดยที่เมื่อ
แรกเกิดนั้นเด็กจะยังไม่มีความสนใจในผู้ใด ตราบเท่าที่เมื่อเขามีความต้องการแล้วมีคน
คอยตอบสนองให้ พฤติกรรมทางสังคมจะเริ่มเมื่อประมาณเดือนที่ 3 เมื่อเด็กสามารถ
แยกออกระหว่างคนและสิ่งของจะมีการตอบสนองต่างกัน ปฏิกิริยาทางสังคมครั้งแรกของ
เด็กจะมีต่อผู้ใหญ่ เพราะว่าโดยปกติแล้วผู้ใหญ่เป็นสิ่งแรกที่เด็กได้ติดต่อด้วย เด็กจะหัน
185
ศีรษะเมื่อได้ยินเสียงคนและจะยิ้มตอบการยิ้มและเสียงเล่นของผู้ใหญ่เด็กจะแสดงความพึง
พอใจเมื่อผู้ใหญ่อยู่ด้วย ด้วยการยิ้ม การโบกมือ การใช้มือแตะต้องหน้าตาเด็กจะร้องเมื่อ
อยู่คนเดียว และจะเงียบเมื่อมีเสียงพูดด้วย หรือใครเอาของเล่นมาเขย่า เด็กจะเริ่มรู้จักแม่
และคนที่คุ้นหน้า และจะเริ่มแสดงอาการกลัวคนแปลกหน้า ด้วยการหันหน้าหนี หรือ
ร้องไห้ เมื่อเด็กมีอายุได้ประมาณ 5-6 เดือน จะมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อการยิ้มและการดุ
ของผู้ใหญ่ต่างกัน เด็กจะแยกออกระหว่างเสียงที่แสดงความเมตตา และเสียงที่ดุ เด็กจะ
แสดงการจดจาคนได้ด้วยการยิ้ม หัวเราะโผเข้าหาและจะแสดงท่าทีตกใจเมื่อพบคนแปลก
หน้า ในช่วงนี้พฤติกรรมของเด็กพัฒนาไปในลักษณะก้าวร้าว เช่น ดึงผมผู้ใหญ่ ดึงจมูก ดึง
เสื้อผ้า เมื่อเด็กอายุมากขึ้นจะเริ่มเลียนเสียงและเริ่มแสดงท่าทาง เมื่อเด็กมีอายุประมาณ 1
ขวบ เด็กจะมีความสนใจผู้ใหญ่มากขึ้น และแสดงความปรารถนาที่จะอยู่กับผู้ใหญ่ และ
พยายามเลียนแบบ ในระยะนี้เด็กจะเข้าใจเสียงห้ามปราม และจะเลิกทาสิ่งใดสิ่งหนึ่งเมื่อได้
ยินคาว่า อย่า อย่า ในช่วงปลาย ๆ ของอายุ 2 ขวบ เด็กจะให้ความร่วมมือและสามารถให้
ความช่วยเหลือในบางสิ่งบางอย่าง ในช่วงเวลาอันสั้นนี้เด็กจะมีความเปลี่ยนแปลงจาก
การเป็นสมาชิกที่ต้องรอคอยความช่วยเหลือจากบุคคลอื่น ไปเป็นสมาชิกของกลุ่มที่มี
ความกระตือรือร้นคล่องแคล่วว่องไว ซึ่งแสดงให้เห็นการติดต่อทางสังคมและมีส่วนร่วมใน
กิจกรรม
การมีปฏิกิริยากับเด็กอื่นๆเด็กเริ่มรับรู้เกี่ยวกับเด็กคนอื่น ๆ เมื่ออายุได้ประมาณ 5 – 6
เดือน ด้วยการยิ้มหรือแสดงความสนใจเมื่อเด็กคนอื่นร้อง และจะแสดงท่าทางติดต่อเพื่อ
แสดงความเป็นมิตรด้วยการมอง การยิ้ม เอื้อมมือไปแตะ ส่วนท่าทางไม่เป็นมิตรคือ
การพยายามคว้าของที่เด็กอื่นถืออยู่และจะสู้กัน ปฏิกิริยาทางสังคมกับเด็กอื่นจะพัฒนา
อย่างรวดเร็วก่อนที่เด็กอายุจะถึง 2 ขวบ เด็กจะยิ้มหัวเราะเลียนแบบเด็กอื่น ความสนใจจะ
เปลี่ยนจากของเล่นไปหาเพื่อนเล่น เด็กจะแย่งของน้อยลงให้ความร่วมมือมากขึ้น จะใช้ของ
เล่นเป็นสื่อในการสร้างความสัมพันธ์ภาพทางสังคม จากการที่เด็กมีการติดต่อกับคนอื่น ๆ
ทั้งผู้ใหญ่และเด็กจะก่อให้เกิดรูปแบบของ การตอบสนองซึ่งจะเป็นพื้นฐานในการพัฒนา
รูปแบบทางสังคมต่อไป ซึ่งลักษณะรูปแบบของความต้องการทางสังคมของเด็กทารกมี
ดังนี้
ความต้องการการยอมรับเด็กวัยนี้ต้องการการยอมรับและต้องการที่จะมี
ความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นในวงแคบ
ความต้องการเลียนแบบผู้อื่น เด็กกลายเป็นส่วนหนึ่งของสังคมโดยการเลียนแบบ
ครั้งแรกเด็กจะเลียนแบบการแสดงทางสีหน้า ต่อไปเลียนแบบท่าทางและการเคลื่อนไหว
จากนั้นจะเลียนเสียง ในที่สุดจะเลียนแบบพฤติกรรมโดยทั่ว ๆ ไป
บทที่ 7 พัฒนาการเด็ก และความต้องการของเด็ก 55
บทที่ 7 พัฒนาการเด็ก และความต้องการของเด็ก 55
บทที่ 7 พัฒนาการเด็ก และความต้องการของเด็ก 55
บทที่ 7 พัฒนาการเด็ก และความต้องการของเด็ก 55
บทที่ 7 พัฒนาการเด็ก และความต้องการของเด็ก 55
บทที่ 7 พัฒนาการเด็ก และความต้องการของเด็ก 55
บทที่ 7 พัฒนาการเด็ก และความต้องการของเด็ก 55
บทที่ 7 พัฒนาการเด็ก และความต้องการของเด็ก 55
บทที่ 7 พัฒนาการเด็ก และความต้องการของเด็ก 55

More Related Content

What's hot

การอ้างอิงทางวิชาการ
การอ้างอิงทางวิชาการการอ้างอิงทางวิชาการ
การอ้างอิงทางวิชาการ
Watcharapol Wiboolyasarin
 
บทที่ 4 การจัดการศึกษาปฐมวัยในเอเชีย 55
บทที่ 4 การจัดการศึกษาปฐมวัยในเอเชีย 55บทที่ 4 การจัดการศึกษาปฐมวัยในเอเชีย 55
บทที่ 4 การจัดการศึกษาปฐมวัยในเอเชีย 55Decode Ac
 
ทฤษฏีพัฒนาจริยธรรมของ จอง เพียเจย์
ทฤษฏีพัฒนาจริยธรรมของ จอง เพียเจย์ทฤษฏีพัฒนาจริยธรรมของ จอง เพียเจย์
ทฤษฏีพัฒนาจริยธรรมของ จอง เพียเจย์
Siririn Noiphang
 
มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐานการเรียนรู้มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐานการเรียนรู้
Bhayubhong
 
วิวัฒนาการการศึกษาไทยและการศึกษาโลก
วิวัฒนาการการศึกษาไทยและการศึกษาโลกวิวัฒนาการการศึกษาไทยและการศึกษาโลก
วิวัฒนาการการศึกษาไทยและการศึกษาโลก
Chainarong Maharak
 
บทที่ 2 แนวคิดทฤษฎีของนักการศึกษา 55
บทที่ 2 แนวคิดทฤษฎีของนักการศึกษา 55บทที่ 2 แนวคิดทฤษฎีของนักการศึกษา 55
บทที่ 2 แนวคิดทฤษฎีของนักการศึกษา 55Decode Ac
 
กำหนดการสอนสุขศึกษา ม.2
กำหนดการสอนสุขศึกษา ม.2กำหนดการสอนสุขศึกษา ม.2
กำหนดการสอนสุขศึกษา ม.2
sarawut chaicharoen
 
โรงเรียนมีชัยพัฒนา
โรงเรียนมีชัยพัฒนาโรงเรียนมีชัยพัฒนา
โรงเรียนมีชัยพัฒนา
Mechai Viravaidya
 
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมและความหลากหลายทางชีว...
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมและความหลากหลายทางชีว...ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมและความหลากหลายทางชีว...
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมและความหลากหลายทางชีว...
surapha97
 
ทฤ.หลักสูตร
ทฤ.หลักสูตรทฤ.หลักสูตร
ทฤ.หลักสูตร
Tawatchai Bunchuay
 
คู่มือสภานักเรียน
คู่มือสภานักเรียนคู่มือสภานักเรียน
คู่มือสภานักเรียนkrupornpana55
 
โรงเรียนและชุมชน
โรงเรียนและชุมชนโรงเรียนและชุมชน
โรงเรียนและชุมชน
Twatchai Tangutairuang
 
11. ชุดที่ 8 เทคโนโลยีชีวภาพ
11. ชุดที่ 8 เทคโนโลยีชีวภาพ11. ชุดที่ 8 เทคโนโลยีชีวภาพ
11. ชุดที่ 8 เทคโนโลยีชีวภาพ
เอเดียน คุณาสิทธิ์
 
สะเต็มศึกษากับชีวิตประจำวัน
สะเต็มศึกษากับชีวิตประจำวันสะเต็มศึกษากับชีวิตประจำวัน
สะเต็มศึกษากับชีวิตประจำวัน
Siratcha Wongkom
 
หน่วยที่ 3 เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาเศรษฐกิจไทย
หน่วยที่ 3 เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาเศรษฐกิจไทยหน่วยที่ 3 เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาเศรษฐกิจไทย
หน่วยที่ 3 เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาเศรษฐกิจไทย
Paew Tongpanya
 
ประวัติการศึกษาไทย
ประวัติการศึกษาไทยประวัติการศึกษาไทย
ประวัติการศึกษาไทย
Chalee Pop
 
แบบประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมต่อต้านยาไอซ์ในโรงเรียน
แบบประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมต่อต้านยาไอซ์ในโรงเรียนแบบประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมต่อต้านยาไอซ์ในโรงเรียน
แบบประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมต่อต้านยาไอซ์ในโรงเรียน
Kruthai Kidsdee
 
การเพิ่มคุณภาพ Onet และ pisa
การเพิ่มคุณภาพ Onet และ pisaการเพิ่มคุณภาพ Onet และ pisa
การเพิ่มคุณภาพ Onet และ pisaพัน พัน
 
Casestudy การศึกษารายกรณี
Casestudy การศึกษารายกรณีCasestudy การศึกษารายกรณี
Casestudy การศึกษารายกรณี
rewat Chitthaing
 

What's hot (20)

การอ้างอิงทางวิชาการ
การอ้างอิงทางวิชาการการอ้างอิงทางวิชาการ
การอ้างอิงทางวิชาการ
 
บทที่ 4 การจัดการศึกษาปฐมวัยในเอเชีย 55
บทที่ 4 การจัดการศึกษาปฐมวัยในเอเชีย 55บทที่ 4 การจัดการศึกษาปฐมวัยในเอเชีย 55
บทที่ 4 การจัดการศึกษาปฐมวัยในเอเชีย 55
 
ทฤษฏีพัฒนาจริยธรรมของ จอง เพียเจย์
ทฤษฏีพัฒนาจริยธรรมของ จอง เพียเจย์ทฤษฏีพัฒนาจริยธรรมของ จอง เพียเจย์
ทฤษฏีพัฒนาจริยธรรมของ จอง เพียเจย์
 
มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐานการเรียนรู้มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐานการเรียนรู้
 
วิวัฒนาการการศึกษาไทยและการศึกษาโลก
วิวัฒนาการการศึกษาไทยและการศึกษาโลกวิวัฒนาการการศึกษาไทยและการศึกษาโลก
วิวัฒนาการการศึกษาไทยและการศึกษาโลก
 
บทที่ 2 แนวคิดทฤษฎีของนักการศึกษา 55
บทที่ 2 แนวคิดทฤษฎีของนักการศึกษา 55บทที่ 2 แนวคิดทฤษฎีของนักการศึกษา 55
บทที่ 2 แนวคิดทฤษฎีของนักการศึกษา 55
 
ตรรกศาสตร์
ตรรกศาสตร์ตรรกศาสตร์
ตรรกศาสตร์
 
กำหนดการสอนสุขศึกษา ม.2
กำหนดการสอนสุขศึกษา ม.2กำหนดการสอนสุขศึกษา ม.2
กำหนดการสอนสุขศึกษา ม.2
 
โรงเรียนมีชัยพัฒนา
โรงเรียนมีชัยพัฒนาโรงเรียนมีชัยพัฒนา
โรงเรียนมีชัยพัฒนา
 
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมและความหลากหลายทางชีว...
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมและความหลากหลายทางชีว...ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมและความหลากหลายทางชีว...
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมและความหลากหลายทางชีว...
 
ทฤ.หลักสูตร
ทฤ.หลักสูตรทฤ.หลักสูตร
ทฤ.หลักสูตร
 
คู่มือสภานักเรียน
คู่มือสภานักเรียนคู่มือสภานักเรียน
คู่มือสภานักเรียน
 
โรงเรียนและชุมชน
โรงเรียนและชุมชนโรงเรียนและชุมชน
โรงเรียนและชุมชน
 
11. ชุดที่ 8 เทคโนโลยีชีวภาพ
11. ชุดที่ 8 เทคโนโลยีชีวภาพ11. ชุดที่ 8 เทคโนโลยีชีวภาพ
11. ชุดที่ 8 เทคโนโลยีชีวภาพ
 
สะเต็มศึกษากับชีวิตประจำวัน
สะเต็มศึกษากับชีวิตประจำวันสะเต็มศึกษากับชีวิตประจำวัน
สะเต็มศึกษากับชีวิตประจำวัน
 
หน่วยที่ 3 เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาเศรษฐกิจไทย
หน่วยที่ 3 เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาเศรษฐกิจไทยหน่วยที่ 3 เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาเศรษฐกิจไทย
หน่วยที่ 3 เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาเศรษฐกิจไทย
 
ประวัติการศึกษาไทย
ประวัติการศึกษาไทยประวัติการศึกษาไทย
ประวัติการศึกษาไทย
 
แบบประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมต่อต้านยาไอซ์ในโรงเรียน
แบบประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมต่อต้านยาไอซ์ในโรงเรียนแบบประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมต่อต้านยาไอซ์ในโรงเรียน
แบบประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมต่อต้านยาไอซ์ในโรงเรียน
 
การเพิ่มคุณภาพ Onet และ pisa
การเพิ่มคุณภาพ Onet และ pisaการเพิ่มคุณภาพ Onet และ pisa
การเพิ่มคุณภาพ Onet และ pisa
 
Casestudy การศึกษารายกรณี
Casestudy การศึกษารายกรณีCasestudy การศึกษารายกรณี
Casestudy การศึกษารายกรณี
 

Similar to บทที่ 7 พัฒนาการเด็ก และความต้องการของเด็ก 55

Psychological Development in Pediatrics _ Padkao T
Psychological Development in Pediatrics _ Padkao TPsychological Development in Pediatrics _ Padkao T
Psychological Development in Pediatrics _ Padkao T
School of Allied Health Science of NPU
 
Psychology1
Psychology1Psychology1
Psychology1New Born
 
สุขฯ ม.2 หน่วย 1
สุขฯ ม.2 หน่วย 1สุขฯ ม.2 หน่วย 1
สุขฯ ม.2 หน่วย 1supap6259
 
เฟียเจท์ 1
เฟียเจท์ 1เฟียเจท์ 1
เฟียเจท์ 1Sareenakache
 
เฟียเจท์ 1
เฟียเจท์ 1เฟียเจท์ 1
เฟียเจท์ 1maina052
 
เฟียเจท์ 1
เฟียเจท์ 1เฟียเจท์ 1
เฟียเจท์ 1sitipatimoh050
 
เฟียเจท์ 1
เฟียเจท์ 1เฟียเจท์ 1
เฟียเจท์ 1azmah055
 
เฟียเจท์ 1
เฟียเจท์ 1เฟียเจท์ 1
เฟียเจท์ 1ai-sohyanya
 
เฟียเจท์ 1
เฟียเจท์ 1เฟียเจท์ 1
เฟียเจท์ 1oppalove
 
เฟียเจท์ 1
เฟียเจท์ 1เฟียเจท์ 1
เฟียเจท์ 1Saneetalateh
 
เฟียเจท์ 1
เฟียเจท์ 1เฟียเจท์ 1
เฟียเจท์ 1waenalai002
 
เฟียเจท์ 1
เฟียเจท์ 1เฟียเจท์ 1
เฟียเจท์ 1Sareenakache
 
เฟียเจท์ 1
เฟียเจท์ 1เฟียเจท์ 1
เฟียเจท์ 1Khodijohmath017
 
เฟียเจท์ 1
เฟียเจท์ 1เฟียเจท์ 1
เฟียเจท์ 1Sareenakache
 

Similar to บทที่ 7 พัฒนาการเด็ก และความต้องการของเด็ก 55 (20)

04chap2
04chap204chap2
04chap2
 
4
44
4
 
Psychological Development in Pediatrics _ Padkao T
Psychological Development in Pediatrics _ Padkao TPsychological Development in Pediatrics _ Padkao T
Psychological Development in Pediatrics _ Padkao T
 
Psychology1
Psychology1Psychology1
Psychology1
 
Psychology1
Psychology1Psychology1
Psychology1
 
1051202 จิตวิทยาการเรียนรู้ ชุด 1
1051202 จิตวิทยาการเรียนรู้ ชุด 11051202 จิตวิทยาการเรียนรู้ ชุด 1
1051202 จิตวิทยาการเรียนรู้ ชุด 1
 
สุขฯ ม.2 หน่วย 1
สุขฯ ม.2 หน่วย 1สุขฯ ม.2 หน่วย 1
สุขฯ ม.2 หน่วย 1
 
หลักสูตรปฐมวัย
หลักสูตรปฐมวัยหลักสูตรปฐมวัย
หลักสูตรปฐมวัย
 
เฟียเจท์ 1
เฟียเจท์ 1เฟียเจท์ 1
เฟียเจท์ 1
 
เฟียเจท์ 1
เฟียเจท์ 1เฟียเจท์ 1
เฟียเจท์ 1
 
เฟียเจท์ 1
เฟียเจท์ 1เฟียเจท์ 1
เฟียเจท์ 1
 
เฟียเจท์ 1
เฟียเจท์ 1เฟียเจท์ 1
เฟียเจท์ 1
 
เฟียเจท์ 1
เฟียเจท์ 1เฟียเจท์ 1
เฟียเจท์ 1
 
เฟียเจท์ 1
เฟียเจท์ 1เฟียเจท์ 1
เฟียเจท์ 1
 
เฟียเจท์ 1
เฟียเจท์ 1เฟียเจท์ 1
เฟียเจท์ 1
 
เฟียเจท์ 1
เฟียเจท์ 1เฟียเจท์ 1
เฟียเจท์ 1
 
เฟียเจท์ 1
เฟียเจท์ 1เฟียเจท์ 1
เฟียเจท์ 1
 
เฟียเจท์ 1
เฟียเจท์ 1เฟียเจท์ 1
เฟียเจท์ 1
 
เฟียเจท์ 1
เฟียเจท์ 1เฟียเจท์ 1
เฟียเจท์ 1
 
เฟียเจท์ 1
เฟียเจท์ 1เฟียเจท์ 1
เฟียเจท์ 1
 

บทที่ 7 พัฒนาการเด็ก และความต้องการของเด็ก 55

  • 1. บทที่ 7 พัฒนาการและความต้องการของเด็กปฐมวัย แผนการเรียนรู้ประจาบท 1. จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความหมาย ความสาคัญของพัฒนาการ เด็ก 2. มีความรู้ความเข้าใจพัฒนาการเด็กปฐมวัยทั้ง 4 ด้าน 3. มีความเข้าใจในการสนองตอบความต้องการของเด็กปฐมวัย 4. สามารถนาความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการจัดการศึกษาสาหรับเด็กได้ 2. สาระการเรียนรู้ 1. ความหมายของพัฒนาการ 2. ความหมายของความเจริญเติบโต 3. ความหมายของวุฒิภาวะ 4. แบบแผนและหลักของพัฒนาการ 5. ความสาคัญของพัฒนาการ 6. พัฒนาการเด็กปฐมวัย 6.1 พัฒนาการทางด้านร่างกาย 6.2 พัฒนาการทางด้านอารมณ์ จิตใจ 6.3 พัฒนาการทางด้านสังคม 6.4 พัฒนาการทางด้านสติปัญญา 7. ธรรมชาติความต้องการทางด้านสติปัญญา 8. ธรรมชาติความต้องการทางด้านอารมณ์จิตใจ 9. ธรรมชาติและความต้องการทางด้านสังคม 10. ธรรมชาติและความต้องการทางด้านสติปัญญา 3. กิจกรรมการเรียนรู้ 1. ทดสอบก่อนเรียน (แบบทดสอบ) 2. ศึกษาเอกสารประกอบการสอนรายวิชา 3. อภิปราย สนทนา ซักถาม 4. ให้นักศึกษาศึกษาจากใบงานแบ่งกลุ่มศึกษาค้นคว้า และวิเคราะห์ พร้อมนาเสนอผล การวิเคราะห์ เกี่ยวกับพัฒนาการเด็กปฐมวัย ทั้ง 4 ด้าน
  • 2. 162 5. ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับพัฒนาการเด็กปฐมวัยทั้ง 4 ด้าน พร้อม เตรียมนาเสนอ 6. ทดสอบหลังเรียน (แบบทดสอบ) 4. สื่อการเรียนการสอน 1. เอกสารประกอบการสอน 2. สไลด์ วีดิทัศน์ (power point) 3. เว็บไชต์อาจารย์ 4. ใบงาน 5. การประเมินผล 1. ความถูกต้องชัดเจนของเนื้อหา 2. ความถูกต้องของการนาเสนอผลงาน 3. การศึกษาค้นคว้ารายงานพัฒนาการเด็กปฐมวัย 4. การวิเคราะห์ใบงาน 5. การทดสอบ ก่อน – หลัง เรียน
  • 3. 163 บทที่ 7 พัฒนาการและความต้องการของเด็กปฐมวัย เด็กปฐมวัยเป็นช่วงวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทั้งทางด้านร่างกายและ จิตใจ เพราะเด็กวัยนี้เป็นวัยที่มีความอยากรู้อยากเห็น สามารถรับรู้และเรียนรู้ได้อย่าง รวดเร็วการเรียนรู้ของเด็กนั้น จะเป็นการเรียนรู้จากสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัว ถึงเด็กจะเรียนรู้ ได้อย่างรวดเร็วก็ตาม แต่เด็กแต่ละคนจะมีความสามารถดังกล่าวแตกต่างกัน ปัจจัยที่ทา ให้มีความแตกต่างกันนั้นคือพัฒนาการของเด็กแต่ละคน และปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นเพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับตัวเด็กมากขึ้นในบทนี้จะแยกเป็นหัวข้อ ต่าง ๆ ดังนี้ 1. ความหมายของพัฒนาการ 2. ความหมายของความเจริญเติบโต 3. ความหมายของวุฒิภาวะ 4. แบบแผนและหลักของพัฒนาการ 5. ความสาคัญของพัฒนาการ 6. พัฒนาการเด็กปฐมวัย 6.1 พัฒนาการทางด้านร่างกาย 6.2 พัฒนาการทางด้านอารมณ์ จิตใจ 6.3 พัฒนาการทางด้านสังคม 6.4 พัฒนาการทางด้านสติปัญญา 7. ธรรมชาติความต้องการทางด้านสติปัญญา 8. ธรรมชาติความต้องการทางด้านอารมณ์จิตใจ 9. ธรรมชาติและความต้องการทางด้านสังคม 10. ธรรมชาติและความต้องการทางด้านสติปัญญา 1. ความหมายของพัฒนา (Development) เกี่ยวกับพัฒนาการมีผู้ที่ให้ความหมายดังนี้ ทิศนา แขมมณี (2536 : 60) พัฒนาการเป็นกระบวนการที่มีการประสานงานกัน พร้อมกันไปทั้งหมดทั้งร่างกายและจิตใจ กล่าวคือ การเจริญเติบโตทางร่างกาย พัฒนาการทางอารมณ์ และสติปัญญาจะมีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันอย่างใกล้ชิด
  • 4. 164 เพ็ญรุ่ง ปานใหม่ (2536 : 40) พัฒนาการ หมายถึง กระบวนการเปลี่ยนแปลง ทั้ง ทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ซึ่งเป็นไปทางเจริญงอกงามและในทาง เสื่อม กระบวนการเปลี่ยนแปลงนี้เป็นไปอย่างมีระบบสลับซับซ้อนเกี่ยวเนื่องกัน และ เกิดขึ้นตลอดชีวิตของบุคคล เยาวพา เดชะคุปต์ (2540 : 16) พัฒนาการของเด็กหมายถึง กระบวนการหรือ ลาดับขั้นตอนซึ่งเกิดขึ้นในตัวเด็ก ตลอดระยะเวลาที่เด็กมีการเปลี่ยนแปลงที่ไม่สามารถ ช่วยเหลือตัวเองได้เป็นบุคคลที่ช่วยเหลือตัวเองได้ ชนินทร์ชัย อินทิราภรณ์ (2542 : 67) พัฒนาการ หมายถึง การทาความเจริญ เปลี่ยนแปลงในทางลักษณะรูปร่างและความสามารถในด้านต่าง ๆ ของเด็กในทางก้าวหน้า การเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาการในทางที่ดีขึ้นนั้น มีหลายทางด้วยกัน เช่น พัฒนาการทาง กาย อารมณ์ สมอง สังคม ศีลธรรม และสุนทรียภาพ ปาทานุกรมศัพท์ทางการศึกษา (2542 : 67) พัฒนาการ หมายถึง การทา ความเจริญกระบวนการเปลี่ยนแปลงในทางลักษณะรูปร่างและความสามารถในด้านต่าง ๆ ของเด็กในทางก้าวหน้า การเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาการในทางที่ดีขึ้น จากที่กล่าวมาทั้งหมดสรุปได้ว่า พัฒนาการ หมายถึง กระบวนการเปลี่ยนแปลงที่ เกิดขึ้นกับบุคคลทั้งด้านรูปธรรมและนามธรรมอย่างเป็นระบบมีขั้นตอนที่ชัดเจนและมี ความสัมพันธ์กันทุกด้านและต่อเนื่อง ทาให้มีความสามารถเพิ่มขึ้น การเปลี่ยนแปลงที่ เกิดขึ้นที่ชัดเจนได้แก่ ทางด้านร่างกาย ทางด้านอารมณ์ ทางด้านสังคม และทางด้าน สติปัญญา 2. ความหมายของความเจริญเติบโต (Growth) การเจริญเติบโตเป็นคาศัพท์ที่ใช้กันบ่อยแต่หลายคนอาจจะยังไม่เข้าใจความหมาย ของความเจริญเติบโต (Growth) ที่ชัดเจน ในเรื่องนี้ได้มีผู้ที่ให้ความหมายของความ เจริญเติบโตไว้หลายแนวทาง และหลายท่านได้ให้ความหมายไว้ดังนี้ กู๊ด (Good. 1945 : 269) ความเจริญงอกงาม หมายถึง การเพิ่มขึ้นด้านปริมาณ ของบุคคล ลักษณะของการเปลี่ยนแปลงจะเป็นไปทีละเล็กทีละน้อยลาดับชั้น และ การเปลี่ยนแปลงนี้ไม่ได้เกิดจากการเรียนรู้แต่อย่างใด เพ็ญรุ่ง ปานเอี่ยม (2536 : 41) ความเจริญงอกงาม หมายถึง การเปลี่ยนแปลง ทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ในลักษณะของความเพิ่มพูนทางด้าน ปริมาณ เช่น การเพิ่มของน้าหนัก ส่วนสูง นอกจากนี้ลักษณะอารมณ์ชนิดต่าง ๆ มีการเพิ่ม มากขึ้น ความคิดหาเหตุผลดีขึ้น เป็นต้น
  • 5. 165 เยาวพา เดชะคุปต์ (2542 : 17) ความเจริญเติบโต หมายถึง การเพิ่มสัดส่วนใน ด้านปริมาณ เช่น ขนาดของศีรษะ หรือส่วนอื่น ๆ ในร่างกาย เป็นการพัฒนาทางด้าน ปริมาณ ปาทานุกรมศัพท์ทางการศึกษา (2542 : 17) ความเจริญเติบโต หมายถึง การเพิ่ม ขนาด หรือมิติอันเป็นผลจากการเพิ่มจานวนและขนาดของเซลล์ เด็กจะมีระยะเวลาของ การเจริญเติบโต ที่กล่าวมาสรุปได้ว่า ความเจริญงอกงาม หมายถึง การเปลี่ยนแปลงทางด้านขนาด รูปร่างและปริมาณที่มีความสัมพันธ์กันทุกด้านของร่างกาย ซึ่งสามารถวัดปริมาณหรือ จานวนได้อย่างชัดเจน 3. ความหมายของวุฒิภาวะ (Maturity) ปรียาภรณ์ วงศ์อนุตรโรจน์ (2534 : 31) วุฒิภาวะ หมายถึง ความเจริญเติบโต ของเด็กโดยธรรมชาติ ทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม เพ็ญรุ่ง ปานใหม่ (2536 : 42) วุฒิภาวะ หมายถึง สภาพความเจริญเติบโตเต็มที่ ตามลาดับขั้นของแต่ละวัย ทั้งทางด้านร่างกาย และจิตใจ ซึ่งพร้อมที่จะทากิจกรรมต่าง ๆ ได้ตามหน้าที่ของส่วนต่าง ๆ ประกายรัตน์ ภัทรธิติ (2539 : 66) วุฒิภาวะ หมายถึง ความสามารถของบุคคลที่ จะสามารถทาสิ่งต่าง ๆ ได้ในระยะเวลาที่ควรจะเป็น เยาวพา เดชะคุปต์ (2540 : 17) วุฒิภาวะ หมายถึง กระบวนการที่เกิดขึ้นภายใน ตัวเด็กซึ่งเด็กจะมีการเติบโต วุฒิภาวะจะแสดงถึงพลังภายในร่างกายที่จะช่วยให้เด็กเกิด การเติบโตขึ้น วุฒิภาวะ อาจหมายถึง การเจริญเติบโตในด้านคุณภาพของเด็ก เช่น เด็กจะ สามารถนั่งได้ก่อนยืน การนั่งและยืนจะเกิดขึ้นได้เมื่อเด็กมีวุฒิภาวะ หรือมีความพร้อม วุฒิภาวะทางกายจะเป็นพื้นฐานให้กับเด็กสามารถใช้พลังของเขาในการทาสิ่งต่าง ๆ ได้ ชนินทร์ชัย อินทิราภรณ์ (2542 : 149 – 152) วุฒิภาวะ หมายถึงความเจริญงอกงาม และพัฒนาการทั้งหมด ทั้งทางกายและทางสมองของมนุษย์ โดยยึดเอาสมรรถภาพในการ ทางาน ซึ่งความเจริญงอกงาม และพัฒนาการเต็มที่ของคนนั้นมีหลายชั้น ที่กล่าวมาสรุปได้ว่า วุฒิภาวะ หมายถึง สภาพของความพร้อมของร่างกาย และ จิตใจ ของแต่ละบุคคลที่จะเกิดขึ้นในแต่ละช่วงวัย ที่มีสมรรถภาพสูงสุดที่จะทาหน้าที่และ กิจกรรมต่าง ๆ ได้อย่างเต็มความสามารถ ซึ่งจะเป็นลักษณะเฉพาะของแต่ละบุคคลอาจจะ มีความเหมือนหรือแตกต่างกันได้ในช่วงวัยอายุเท่ากัน
  • 6. 166 4. แบบแผนและหลักของพัฒนาการ แบบแผนพัฒนาการ คือ รูปแบบหรือลักษณะการเปลี่ยนแปลงของมนุษย์ที่เกิดขึ้น อย่างต่อเนื่องและมีความสัมพันธ์กันไป โดยมีลักษณะการเปลี่ยนที่สาคัญมี 4 ลักษณะดังนี้ 1. การเปลี่ยนแปลงด้านขนาด การเปลี่ยนแปลงในลักษณะนี้เริ่มมีขึ้นตั้งแต่ปฏิสนธิ กล่าวคือ เมื่อชีวิตใหม่เกิดขึ้นมีขนาดเล็กมาก ต่อมาจะเจริญเติบโตมีขนาดใหญ่ขึ้น ตามลาดับจนกระทั่งคลอดออกมา และเมื่อคลอดออกมาแล้วก็เจริญเติบโตมีขนาดใหญ่ ต่อไปอีก 2. การเปลี่ยนแปลงด้านสัดส่วน สัดส่วนของมนุษย์ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงไปตาม วัย อาทิสัดส่วนของ อก เอว และสะโพกของเด็กเล็ก จะมีขนาดเกือบเท่ากัน แต่เมื่อเข้า วัยรุ่นสัดส่วนของอกเอว และสะโพกจะเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม 3. การเปลี่ยนแปลงโดยมีลักษณะใหม่ ๆ เกิดขึ้น ลักษณะใหม่ ๆ จะเกิดในระหว่าง ที่มนุษย์กาลังเจริญเติบโต เช่น เมื่ออายุประมาณ 6 เดือน ฟันน้านมเริ่มงอก เมื่อเด็กโตขึ้น ก็สามารถหัดพูดได้ เป็นต้น 4. การเปลี่ยนแปลงโดยลักษณะเก่า ๆ หายไป ลักษณะบางอย่างของร่างกาย หายไปเมื่อถึงช่วงหนึ่ง ๆ เช่น เมื่อเด็กอายุได้ประมาณ 6 ขวบ ฟันน้านมจะเริ่มหัก เป็นต้น หลักของพัฒนาการ 1. พัฒนาการเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง 2. พัฒนาการในขั้นแรกมีความสาคัญกว่าพัฒนาการที่เกิดขึ้นภายหลัง 3. พัฒนาการเป็นผลมาจากวุฒิภาวะและการเรียนรู้ 4. แบบแผนของพัฒนาการสามารถทานายได้ 4.1 พัฒนาการทางกาย มนุษย์ทุกคนจะมีพัฒนาการไปทางเดียวกัน คือ จาก ส่วนบนไปสู่ส่วนล่าง จากแกนของลาตัวไปสู่อวัยวะข้างที่ไกลออกไป 4.2 พัฒนาการด้านอื่น ๆ ของเด็กเช่น พัฒนาการของกล้ามเนื้อ พัฒนาการด้าน อารมณ์ การพูด การเล่น ความสนใจ เป็นพัฒนาการที่เกิดขึ้นอย่างมีแบบแผนสามารถ ทานายได้ว่าเด็กจะเจริญเติบโตขึ้นและมีลักษณะอย่างไร 5. แบบแผนของพัฒนาการมีลักษณะเหมือนกัน 5.1 เด็กทุกคนจะมีพัฒนาการที่คล้ายคลึงกันจากขั้นตอนหนึ่งไปสู่ขั้นตอนหนึ่ง 5.2 พัฒนาการมนุษย์จะเริ่มจากพัฒนาการทั่ว ๆ ไป ก่อนพฤติกรรมที่เจาะจง 5.3 พัฒนาการของมนุษย์จะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง 5.4 พัฒนาการส่วนต่าง ๆ ของร่างกายมีอัตราในการพัฒนาไม่เท่ากัน
  • 7. 167 5.5 พัฒนาการด้านต่าง ๆ ของมนุษย์มีความสัมพันธ์กัน 6. พัฒนาการของมนุษย์มีความแตกต่างกัน 7. แบบแผนของพัฒนาการมีช่วงเวลา 8. พัฒนาการของมนุษย์ได้รับการคาดหวังจากสังคมในทุกระยะของพัฒนาการ 9. ความผิดปกติของพัฒนาการด้านต่าง ๆ อาจจะเกิดขึ้นได้ทุกเวลา กฎของพัฒนาการ พัฒนาการของเด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกันไปบ้าง แต่โดยรวมพัฒนาการ พัฒนาการจะเป็นไปตามระเบียบกฎเกณฑ์ที่ทาให้ผู้เกี่ยวข้องสามารถวิเคราะห์พัฒนาการ ได้ดังต่อไปนี้ 1. พัฒนาการจะมีลักษณะที่ต่อเนื่องกัน กล่าวคือพัฒนาการจะเกิดขึ้นทุกช่วงของ ชีวิตเริ่มตั้งแต่เซลอสุจิเข้าผสมกับเซลไข่เกิดเป็นเซลปฏิสนธิ แล้วเซลปฏิสนธิจะแบ่งตัว ต่อไป ดังนั้นการเจริญเติบโตของทารกหลังคลอด จึงเป็นผลจากการเจริญเติบโตของชีวิต ภายในครรภ์นั่นเอง พัฒนาการจึงเป็นกระบวนการที่นาความเปลี่ยนแปลงมาสู่ร่างกาย ตลอดเวลา และพัฒนาการระยะหนึ่ง ๆ จะเป็นรากฐานของพัฒนาการในระยะต่อไป 2. พัฒนาการจะเกิดตามลาดับขั้น พัฒนาการของมนุษย์จะมีลักษณะเป็นไป ตามลาดับขั้น เช่น เด็กจะคว่าได้ก่อนคลาน นั่งได้ก่อนยืนและก่อนเดิน เป็นต้น 3. พัฒนาการของแต่ละบุคคลจะแตกต่างกัน อัตราการเจริญเติบโตของมนุษย์จะ แตกต่างกันในแต่ละบุคคล บางคนอาจมีพัฒนาการเร็ว บางคนอาจช้า เช่น เด็กบางคนฟัน น้านมเริ่มงอกเมื่ออายุ 6 เดือน ในขณะที่เด็กอีกคนฟันน้านมเริ่มงอกเมื่ออายุ 7 เดือน 4. พัฒนาการจะเป็นไปตามทิศทาง ลักษณะหนึ่งของพัฒนาการคือ การเริ่มจาก ศีรษะลงไปเบื้องล่าง หรือจากหัวลงไปเท้า และพัฒนาการอีกลักษณะหนึ่งจะเริ่มจาก แกนกลางลาตัวไปสู่ส่วนย่อย หรือจากใกล้ไปไกล หมายความว่าเด็กจะเคลื่อนไหวลาตัวได้ ก่อนมือและนิ้ว 5. อัตราพัฒนาการของบุคคลในแต่ละช่วงอายุจะไม่เท่ากัน พัฒนาการของบุคคล บางช่วงจะเร็วแต่บางช่วงจะช้า เช่น เด็กในช่วง 2 ปีแรกเกิด ร่างกายจะเจริญเติบโตเร็วมาก ส่วนในช่วงวัยรุ่นตอนปลายสู่วัยผู้ใหญ่การเจริญเติบโตจะช้ามาก เป็นต้น 6. อัตราพัฒนาการในแต่ละส่วนของร่างกายจะแตกต่างกัน กล่าวคือ อัตราการ เจริญเติบโตของแต่ละส่วนของบุคคลจะไม่เท่ากัน เช่น เซลสมองของเด็กอายุประมาณ 8 ขวบจะเจริญเร็วมากถึง ร้อยละ 80 ในขณะที่ระบบย่อยอาหารจะเจริญอย่างรวดเร็วใน ระยะวัยรุ่น
  • 8. 168 7. พัฒนาการด้านต่าง ๆ มักจะมีลักษณะสัมพันธ์กัน นั้นคือเด็กที่มีพัฒนาการด้าน หนึ่งสูงอาจมีพัฒนาการบางด้านสูงหรือเร็วตามไปด้วย เช่น เด็กที่มีสติปัญญาสูงมักจะพูด หรือเดินได้เร็วกว่าเด็กทั่ว ๆ ไป ส่วนเด็กปัญญาอ่อนจะมีพัฒนาการด้านอื่น ๆ ช้าไปด้วย 8. สิ่งแวดล้อมจะมีผลต่อพัฒนาการมากในช่วงที่มนุษย์ที่กาลังเจริญเติบโต บุคคล จะมีการเจริญเติบโตมากในช่วงเด็กทารกจนถึงวัยรุ่น หากนาเอาเด็กเล็ก ๆ ไปอยู่ใน สิ่งแวดล้อมที่แตกต่างไปจากเดิม เด็กจะเจริญเติบโตและมีพฤติกรรมเป็นไปตาม สิ่งแวดล้อมใหม่ แต่หากมีการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมในช่วงผู้ใหญ่ จะไม่มีการ เปลี่ยนแปลงมากนัก 5. ความสาคัญของพัฒนาการ พัฒนาการของมนุษย์มีความสาคัญดังต่อไปนี้ 1. ทาให้ทราบว่าเราสามารถคาดหวังอะไรได้จากเด็ก 2. สามารถจัดทาแนวทางที่จะใช้เป็นเกณฑ์ประเมินเด็กได้ 3. สามารถจัดประสบการณ์ให้กับเด็กได้เหมาะสม 4. สามารถส่งเสริมการเตรียมความพร้อมของเด็กได้เหมาะสมกับพัฒนาการ 5. ช่วยให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าใจพฤติกรรมและพัฒนาการเด็กมากขึ้น 6. ช่วยให้ครูและผู้เกี่ยวข้องจัดสื่อและสภาพแวดล้อมได้เหมาะสมกับเด็ก 6. พัฒนาการเด็กปฐมวัย เด็กปฐมวัยเป็นช่วงวัยที่มีพัฒนาการทั้ง 4 ด้านเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ได้แก่ ทางด้านร่างกาย ทางด้านอารมณ์ ทางด้านสังคม และทางด้านสติปัญญา จากพัฒนาการ ของเด็กที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจะส่งผลต่อความสามารถและพฤติกรรมของเด็กที่ แสดงออกมาในแต่ละด้าน หรือหลาย ๆ ด้านพร้อมกัน ทุกสิ่งทุกอย่างที่ปรากฏออกมานั้น ล้วนแต่เป็นผลมาจากพัฒนาการของเด็กที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วงวัย ในเรื่องนี้สานักวิชาการ และมาตรฐานการศึกษา (2546 : 10 – 13) ได้กล่าวถึงพัฒนาการและคุณลักษณะของเด็ก ปฐมวัยแต่ละช่วงวัยดังต่อไปนี้ 1. พัฒนาการด้านร่างกาย 2. พัฒนาการด้านจิตใจและอารมณ์ 3. พัฒนาการด้านสังคม 4. พัฒนาการทางด้านสติปัญญา
  • 9. 169 1. พัฒนาการด้านร่างกาย พัฒนาการทางด้านร่างกายแต่ละช่วงวัยของเด็กปฐมวัยมีดังต่อไปนี้ 1.1 อายุแรกเกิด – 2 เดือน 1.1.1 ผงกหัว หันซ้ายขวาในท่าทางคว่าได้ 1.1.2 พลิกตัวตะแคงได้เมื่อนอนหงาย 1.1.3 มองเห็นในระยะห่าง 8 – 12 นิ้ว 1.1.4 จับถือของได้ชั่วครู่ 1.2 อายุ 2 – 4 เดือน 1.2.1 ชันคอในท่าคว่าได้ 1.2.2 เหยียดขาดันพื้นได้เมื่อจับยืน 1.2.3 เริ่มคว้าจับสิ่งของ 1.2.4 มองตามสิ่งที่เคลื่อนไหวซ้าย, ขวา, บน, ล่าง ได้ 1.3 อายุ 4 – 6 เดือน 1.3.1 นอนคว่ายกศีรษะยันหน้าอกได้สูง 1.3.2 นั่งได้โดยพ่อแม่ต้องประคอง 1.3.3 คืบ พลิกคว่า พลิกหงายได้ 1.3.4 มองตามสิ่งที่ผ่านไปเร็วได้ 1.3.5 ไขว่คว้าใช้มือหยิบของได้ 1.4 อายุ 6 – 8 เดือน 1.4.1 หันหน้าและเอี้ยวตัวไป มาได้ดี 1.4.2 นั่งทรงตัวได้เอง 1.4.3 ลุกนั่งเองได้ 1.4.4 ยกตัวในท่าคลานได้ 1.4.5 เอื้อมมือหยิบของด้วยมือข้างเดียว 1.4.6 เปลี่ยนมือถือของได้ 1.5 อายุ 8 – 12 เดือน 1.5.1 คลานได้คล่อง คลานขึ้นบันไดได้ 1.5.2 นั่งตัวตรงได้ 1.5.3 เกาะยืนได้ช่วงสั้น ๆ 1.5.4 เกาะเดินได้ 1.5.5 ยืนได้ชั่วครู่ และนั่งลงจากท่ายืนได้
  • 10. 170 1.5.6 หยิบของชิ้นเล็กด้วยหัวแม่มือ และนิ้วได้ 1.5.7 ใช้มือสองข้างทางานคนละอย่างได้ 1.6 อายุ 12 – 18 เดือน 1.6.1 ลุกยืนเองได้ 1.6.2 เดินได้เอง 1.6.3 ขึ้นบันไดได้ โดยมีคนจูง 1.6.4 เริ่มวิ่งได้ 1.6.5 เล่นกลิ้งลูกบอลเบา ๆ ได้ 1.6.6 ถอดเสื้อผ้าง่าย ๆ ได้เอง 1.6.7 ก้มลงเก็บของที่พื้นโดยไม่หกล้ม 1.7 อายุ 18 – 24 เดือน 1.7.1 เดินไปข้างหน้าหรือด้านข้างได้ 1.7.2 เดินถอยหลังได้ 1.7.3 กระโดด 2 ขา อยู่กับที่ ได้ 1.7.4 เดินขึ้นบันไดโดยจับราวได้ 1.7.5 ดึง หรือผลักสิ่งของขณะเดิน 1.7.6 ใช้ข้อมือได้มากขึ้น เช่น หมุนมือ หมุนสิ่งของ เป็นต้น 1.8 อายุ 24 – 26 เดือน 1.8.1 วิ่งคล่องขึ้น แต่ไม่สามารถหยุดได้ทันที 1.8.2 เดินถอยหลังนั่ง 1.8.3 ขึ้นบันไดได้เองโดยวางเท้า 2 ข้าง บนบันไดขั้นเดียว 1.8.4 สลับเท้าขึ้นบันไดได้ (เมื่อย่าง 3 ปี) 1.8.5 หยิบของชิ้นเล็ก ๆ ได้ 1.8.6 จับดินสอแท่งใหญ่ ๆ ได้ด้วยนิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือได้ 1.9 อายุ 3 ปี 1.9.1 กล้ามเนื้อใหญ่ - รอรับลูกบอลที่กระดอนจากพื้นด้วยแขนทั้งสองข้าง - เดินขึ้นลงบันไดด้วยตนเอง - กระโดดขึ้น ลงอยู่กับที่ได้ - วิ่งตามลาพังได้ 1.9.2 กล้ามเนื้อเล็ก
  • 11. 171 - ใช้กรรไกรตัดกระดาษให้ขาดได้ - เขียนรูปวงกลมตามแบบได้ - ร้อยลูกปัดขนาดใหญ่ได้ 1.9.3 สุขภาพอนามัย - มีร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ มีน้าหนัก ส่วนสูง และมีเส้นรอบศีรษะตาม เกณฑ์ 1.10 อายุ 4 ปี 1.10.1 กล้ามเนื้อใหญ่ - รับลูกบอลได้ด้วยมือทั้งสองข้าง - เดินขึ้นลงบันไดสลับเท้าได้ - กระโดดขาเดียวอยู่กับที่ได้ - วิ่งและหยุดได้คล่อง 1.10.2 กล้ามเนื้อเล็ก - ใช้กรรไกรตัดกระดาษให้อยู่ในแนวเส้นตรงตามที่กาหนดให้ได้ - เขียนรูปสี่เหลี่ยมตามแบบได้ - ร้อยลูกปัดขนาดเล็กได้ 1.10.3 สุขภาพอนามัย - มีร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ มีน้าหนักส่วนสูง และมีเส้นรอบศีรษะตาม เกณฑ์ 1.11 อายุ 5 ปี 1.11.1 กล้ามเนื้อใหญ่ - รับลูกบอลที่กระดอนจากพื้นได้ด้วยมือทั้งสองข้าง - เดินขึ้น ลงบันไดสลับเท้าได้อย่างคล่องแคล่ว - กระโดดขาเดียวไปข้างหน้าได้อย่างต่อเนื่อง - วิ่งได้รวดเร็วและหยุดโดยทันที 1.11.2 กล้ามเนื้อเล็ก - ใช้กรรไกรตัดกระดาษให้อยู่ในแนวเส้นโค้งตามที่กาหนดได้ - เขียนรูปสามเหลี่ยมตามแบบได้ - ใช้เชือกร้อยวัสดุตามแบบได้ - ใช้กล้ามเนื้อเล็กได้ดี เช่น ติดกระดุมเสื้อ ผูกเชือกรองเท้า ฯลฯ 1.11.3 สุขภาพอนามัย
  • 12. 172 - มีร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ มีน้าหนัก ส่วนสูง และมีเส้นรอบศีรษะตาม เกณฑ์ 2. พัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ พัฒนาการทางด้านอารมณ์และจิตใจของเด็กปฐมวัยแต่ละช่วงวัยดังมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้ 2.1 แรกเกิด – 2 เดือน 2.1.1 ตกใจง่ายเมื่อได้ยินเสียงดัง 2.1.2 ทาเสียงในลาคอเบา ๆ เมื่อรู้สึกพอใจ 2.2 อายุ 2- 4 เดือน 2.2.1 ยิ้มง่าย หัวเราะเสียงดังเมื่อพอใจ 2.2.2 แสดงอารมณ์ ความรู้สึกทางสีหน้า 2.3 อายุ 4 – 6 เดือน 2.3.1 ส่งเสียงแสดงอารมณ์ต่าง ๆ 2.3.2 รู้จักแสดงปฏิกิริยาต่อต้านเมื่อไม่พอใจ 2.4 อายุ 6 – 8 เดือน 2.4.1 แสดงความผูกพันกับพ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูใกล้ชิด 2.4.2 เริ่มกลัวคนแปลกหน้า 2.5 อายุ 8 – 12 เดือน 2.5.1 พยายามทาสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง ถ้าขัดใจจะโกรธ 2.5.2 แสดงท่าทางพอใจเมื่อได้ยินเสียงเพลง เช่นโยกตัวไปตามจังหวะ 2.5.3 อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย ชอบขว้างของเวลาโกรธ 2.6 อายุ 18 – 24 เดือน 2.6.1 กลัวความมืด กลัวเสียงดัง กลัวการถูกทิ้งให้อยู่คนเดียว 2.6.2 ใช้คาพูดแสดงอารมณ์ เช่น ไม่เอา ออกไป 2.6.3 ต้องการความเป็นตัวของตัวเอง 2.7 อายุ 24 – 36 เดือน 2.7.1 แสดงอารมณ์ต่าง ๆ ด้วยคาพูด 2.7.2 มีความรู้สึกที่ดีต่อตนเองเมื่อได้รับการยอมรับและชมเชย 2.7.3 มีความเป็นตัวของตัวเอง 2.8 อายุ 3 ปี 2.8.1 การแสดงออกทางด้านอารมณ์
  • 13. 173 - ชอบที่จะทาให้ผู้ใหญ่พอใจ และได้รับคาชม - แสดงอารมณ์ตามความรู้สึก 2.8.2 ความรู้สึกที่ดีต่อตนเองและผู้อื่น - เริ่มรู้บทบาทหน้าที่ของตนเอง - เริ่มรู้จักเลือกเล่นสิ่งที่ตนเองชอบ และสนใจ 2.8.3 คุณธรรมจริยธรรม - แสดงความรักต่อเพื่อน และสัตว์เลี้ยง - ไม่ทาร้ายผู้อื่นเมื่อไม่พอใจ - เริ่มรู้ว่าของสิ่งใดเป็นของตน และสิ่งใดเป็นของผู้อื่น - เริ่มรู้จักเก็บของเล่น - เริ่มรู้จักรอคอย - เริ่มตัดสินใจในเรื่องง่าย ๆ ได้ 2.9 อายุ 4 ปี 2.9.1 การแสดงออกทางอารมณ์ - ชอบท้าทายผู้ใหญ่ - เริ่มควบคุมอารมณ์ได้ในบางขณะ 2.9.2. ความรู้สึกที่ดีต่อตนเองและผู้อื่น - รู้บทบาทหน้าที่ของตนเอง - รู้จักเลือกเล่นสิ่งที่ตนชอบ สนใจ - เริ่มรู้จักชื่นชมความสามารถ ผลงานของตนเอง และผู้อื่น 2.9.3 คุณธรรมจริยธรรม - แสดงความรักต่อเพื่อนและสัตว์เลี้ยง - ไม่ทาร้ายผู้อื่นและทาให้ผู้อื่นเดือดร้อน - ไม่แย่งหรือหยิบของคนอื่นมาเป็นของตน - รู้จักเก็บของเข้าที่ - รู้จักการรอคอยอย่างเหมาะสมกับวัย - รู้จักตัดสินใจในเรื่องง่าย ๆ และเริ่มเรียนรู้ผลที่เกิดขึ้น 2.10 อายุ 5 ปี 2.10.1 การแสดงออกทางด้านอารมณ์ - รักครูผู้สอน - ควบคุมอารมณ์ได้ดีขึ้น มีเหตุผล
  • 14. 174 2.10.2 ความรู้สึกที่ดีต่อตนเองและผู้อื่น - รู้จักบทบาทหน้าที่ของตนเองและหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย - รู้จักเลือกเล่น ทางานตามที่ตนชอบ ที่สนใจ และสามารถทาได้ - รู้จักชื่นชมในความสามารถ ผลงาน ของตนเองและผู้อื่น 2.10.3 คุณธรรมจริยธรรม - แสดงความรักเด็กที่เล็กกว่าและสัตว์ต่าง ๆ - ไม่ทาร้ายผู้อื่น และไม่ทาให้ผู้อื่นเสียใจ - ไม่หยิบของผู้อื่นมาเป็นของตน - รู้จักเก็บของเข้าที่ - รู้จักการรอคอยและเข้าแถวตามลาดับก่อนหลัง - รู้จักการตัดสินใจในเรื่องง่าย ๆ และยอมรับผลที่เกิดขึ้น 3. พัฒนาการด้านสังคม พัฒนาการทางด้านสังคมของเด็กปฐมวัยแบ่งตามช่วงอายุดังรายละเอียดต่อไปนี้ 3.1 อายุแรกเกิด – 2 เดือน 3.1.1 สบตาจ้องหน้าแม่ 3.1.2 ยิ้มได้ 3.1.3 หยุดร้องไห้เมื่อมีคนอุ้ม 3.1.4 ชอบให้มีคนเล่นด้วย 3.2 อายุ 2 – 4 เดือน 3.2.1 ร้องไห้เพื่อบอกความต้องการ เงียบเสียงเมื่อเห็นหน้าคน 3.2.2 ส่งเสียงโต้ตอบ เสียงพูดและรอยยิ้มของแม่ 3.2.3 สนใจมองและยิ้มให้กับตนเองในกระจก 3.3 อายุ 4 – 6 เดือน 3.3.1 หันหาเสียงเรียกชื่อ 3.3.2 ยิ้มให้คนอื่นและส่งเสียงให้ผู้คน 3.3.3 สนใจมองและยิ้มให้ตนเองในกระจก 3.3.4 มีปฏิกิริยาโต้ตอบกับพ่อแม่ หรือคนคุ้นเคย และชอบให้อุ้ม 3.4 อายุ 6 – 8 เดือน 3.4.1 แสดงออกเปิดเผยตามความรู้สึก 3.4.2 รู้จักแสดงท่าทางดีใจ หัวเราะ อาย 3.4.3 เลียนแบบกิริยาท่าทางของคนอื่น
  • 15. 175 3.4.4 แสดงออกถึงการรับรู้อารมณ์ และความรู้สึกของผู้อื่น 3.5 อายุ 8 – 12 เดือน 3.5.1 ติดแม่ กลัวการแยกจาก 3.5.2 เข้าใจท่าทางและสีหน้าของคนอื่น 3.5.3 กลัวคนแปลกหน้าและสถานที่ใหม่ ๆ 3.5.4 เลียนแบบสีหน้า ท่าทาง และเสียง 3.5.5 ชี้บอกความต้องการได้ 3.5.6 ให้ความร่วมมือเมื่อแต่งตัว 3.5.7 แยกตัวเองในเงากระจกได้ 3.6 อายุ 12 – 18 เดือน 3.6.1 เข้าใจท่าทางและสีหน้าของคนอื่น 3.6.2 สนใจการกระทาของผู้ใหญ่ 3.6.3 เริ่มช่วยเหลือตนเองได้ 3.6.4 ชอบเล่นคนเดียว แต่มีผู้ใหญ่อยู่ในสายตา 3.6.5 หวงสิ่งของ 3.7 อายุ 18 – 24 เดือน 3.7.1 ใช้ช้อนตักอาหารเองได้ 3.7.2 ดื่มน้าในแก้วเองได้ 3.7.3 ชอบมีส่วนร่วมในงานบ้าน 3.7.4 บอกสิ่งที่ต้องการด้วยคาพูดง่าย ๆ ได้ 3.7.5 รู้จักการรอคอย 3.8 อายุ 24 – 36 เดือน 3.8.1 เล่นรวมกับผู้อื่น แต่ต่างคนต่างเล่น 3.8.2 เริ่มรู้จักเล่นเป็นกลุ่มกับเด็กด้วยกัน 3.8.3 พยายามช่วยตัวเองในเรื่องการแต่งตัว 3.8.4 เริ่มรู้จักของ และรู้จักให้ 3.8.5 เริ่มรู้จักรอคอย 3.9 อายุ 3 ปี 3.9.1 การช่วยเหลือตนเอง - ล้างมือได้ - รับประทานอาหารได้ด้วยตนเอง
  • 16. 176 - เริ่มรู้จักใช้ห้องน้าห้องส้วม 3.9.2 การอยู่ร่วมกับผู้อื่นและมีคุณธรรมจริยธรรม - ชอบเล่นแบบคู่ขนาน (เล่นชนิดเดียวกัน แต่ต่างคนต่างเล่น) - ยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง - เริ่มปฏิบัติตามกฎ กติกาง่าย ๆ - รู้จักทางานที่ได้รับมอบหมาย 3.9.3 การอนุรักษ์วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม - เริ่มรู้จักแสดงความเคารพ - ทิ้งขยะได้ถูกที่ - ไม่ทาลายสิ่งของเครื่องใช้ 3.10 อายุ 4 ปี 3.10.1 การช่วยเหลือตนเอง - แต่งตัวได้ - รับประทานอาหารได้ด้วยตนเอง โดยไม่หกเลอะเทอะ - รู้จักทาความสะอาดหลังจากเข้าห้องน้าห้องส้วม 3.10.2 การอยู่ร่วมกับผู้อื่นและการมีคุณธรรมจริยธรรม - เล่มร่วมกับผู้อื่นได้ - เริ่มช่วยเหลือผู้อื่น - ปฏิบัติตามกฎ กติกาที่ตกลงร่วมกัน - มีความรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย 3.10.3 การอนุรักษ์วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม - รู้จักแสดงความเคารพ - ทิ้งขยะได้ถูกที่ - รักษาสิ่งของที่ใช้ร่วมกัน 3.11 อายุ 5 ปี 3.11.1 การช่วยเหลือตนเอง - เลือกเครื่องแต่งกายของตนเองได้ และแต่งตัวได้ - ใช้เครื่องมือเครื่องใช้ในการรับประทานอาหารได้ - ทาความสะอาดร่างกายได้ 3.11.2 การอยู่ร่วมกับผู้อื่น - รู้จักการให้และการรับ
  • 17. 177 - ปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถานศึกษา 3.11.3 การอนุรักษ์วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม - แสดงความเคารพได้เหมาะสมกับวัยและโอกาส - ทิ้งขยะได้ถูกที่ - ช่วยดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมรอบตัว 4. พัฒนาการด้านสติปัญญา 4.1 อายุแรกเกิด – 2 เดือน 4.1.1 หยุดฟังหันหาเสียง 4.1.2 ทาเสียงอ้อแอ้ 4.1.3 ใช้เสียงร้องที่ต่างกัน เมื่อหิวหรือเจ็บ 4.1.4 สนใจมองใบหน้าคนมากกว่าสิ่งของ 4.2 อายุ 2 – 4 เดือน 4.2.1 จาหน้าแม่และบุคคลในครอบครัวได้ 4.2.2 ส่งเสียงอ้อแอ้ พยายามทาเสียงต่าง ๆ ในคอ 4.2.3 หยุดฟังเสียงหันตามเสียงเคาะ 4.2.4 สนใจหันมองสิ่งที่เคลื่อนไหวหรือมีเสียง 4.3 อายุ 4 – 6 เดือน 4.3.1 จาหน้าแม่และคนคุ้นเคยได้ 4.3.2 ส่งเสียงตามเมื่อได้ยินเสียงพูด หรือมีใครมาพูดด้วย 4.3.3 เข้าใจคาเรียกชื่อคน หรือสิ่งของง่าย ๆ 4.3.4 ชอบมองสารวจสิ่งของที่สนใจ และรายละเอียดต่าง ๆ 4.4 อายุ 6 – 8 เดือน 4.4.1 พยายามเลียนแบบเสียงต่าง ๆ ที่ได้ยิน 4.4.2 พูดคุยคนเดียว 4.4.3 ทาเสียงซ้า ๆ เช่น มามา หม่า หม่า 4.4.4 ชอบสารวจสิ่งต่าง ๆ รอบตัว โดยเอาเข้าปาก 4.4.5 สนใจรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ ของสิ่งต่าง ๆ 4.5 อายุ 8 – 12 เดือน 4.5.1 รู้จักเชื่อมโยงคาพูดกับการกระทา เช่น “ไม่” จะสั่นหัว “บ๊าย บาย “ จะ โบกมือ เป็นต้น
  • 18. 178 4.5.2 ชอบฟังคาซ้า ๆ เสียงสูง ๆ ต่า ๆ 4.5.3 รู้ว่าคาต่าง ๆ เป็นสัญลักษณ์ของวัตถุนั้น ๆ เช่น ถ้าพูดว่านก จะชี้ไปที่ ท้องฟ้า 4.5.4 เริ่มพูดเป็นคา ๆ ได้บ้าง เช่น พ่อ แม่ 4.5.6 เรียนรู้คาใหม่เพิ่มขึ้น 4.5.7 ค้นหาของที่ปิดซ่อนจากสายตาได้ 4.6 อายุ 12 – 18 เดือน 4.6.1 รู้จักชื่อตนเอง 4.6.2 แสดงความคิดและจินตนาการ 4.6.3 เริ่มเปล่งเสียงและกล่าวคาพูดเกี่ยวกับการกระทาที่ทาอยู่ 4.6.4 เข้าใจคาพูดง่าย ๆ ได้ 4.6.5 พูดเป็นคา ๆ ได้มากขึ้น 4.6.6 ทักทายโดยการใช้เสียงพร้อมการทาท่าทางอย่างเหมาะสม 4.6.7 สนใจสารวจสิ่งรอบตัว 4.7 อายุ 18 – 24 เดือน 4.7.1 พูดคาต่อกัน เช่น ไปเที่ยว กินข้าว ฯลฯ 4.7.2 เลียนแบบคาพูดที่ผู้ใหญ่พูด 4.7.3 ชอบฟังนิทานเรื่องสั้น ๆ 4.7.4 พยายามทาตามคาสั่ง 4.7.5 มีความเข้าใจในเรื่องเวลาจากัด รู้เพียงแต่เดี๋ยวนี้ เดี๋ยวก่อน 4.7.6 เรียกหรือชี้ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ 4.7.7 เริ่มจาชื่อวัตถุสิ่งของที่พบเห็นบ่อย ๆ ได้ 4.7.8 ขีดเส้นต่าง ๆ แต่ยังไม่ชัดเจน 4.7.9 วางของซ้อนกันได้ 3 ชั้น 4.8 อายุ 24 – 36 เดือน 4.8.1 มีช่วงความสนใจกับของบางอย่างได้นาน 3 – 5 นาที 4.8.2 ชอบดูหนังสือภาพ 4.8.3 ชอบฟังบทกลอน นิทาน คาคล้องจอง 4.8.4 สนใจค้นคว้าสารวจสิ่งต่าง ๆ 4.8.5 เริ่มถามด้วยคาว่า “อะไร” 4.8.6 สนใจอยากรู้อยากเห็นสิ่งใกล้ตัว
  • 19. 179 4.8.7 ขีดเส้นตรงเป็นแนวดิ่งได้ 4.8.8 วางของซ้อนกันได้ 4 – 6 ชั้น 4.9 อายุ 3 ปี 4.9.1 ฟังแล้วปฏิบัติตามคาสั่งง่าย ๆ ได้ 4.9.2 บอกชื่อของตนเองได้ 4.9.3 รู้จักใช้คาถามว่า “อะไร” มากขึ้น 4.9.4 ขีดเส้นอย่างอิสระได้ 4.9.5 จับคู่สีต่าง ๆ ได้ประมาณ 3 – 4 สี 4.9.6 จาแนกสิ่งต่าง ๆ ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้ 4.9.7 อยากรู้อยากเห็นทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัว 4.9.8 วาดภาพตามความพอใจของตนได้ 4.9.9 สนทนาโต้ตอบ เล่าเรื่องด้วยประโยคสั้น ๆ ได้ 4.9.10 เลียนแบบท่าทางการเคลื่อนไหวต่าง ๆ ได้ 4.9.11 เรียนรู้จากการสังเกตและเลียนแบบผู้อื่น 4.10 อายุ 4 ปี 4.10.1 ปฏิบัติตามคาสั่งต่อเนื่องได้ 4.10.2 บอกชื่อ นามสกุลของตนเองได้ 4.10.3 ชอบถามด้วยคาว่า “ทาไม” 4.10.4 เขียนภาพและสัญลักษณ์ตามความต้องการของตนเองได้ 4.10.5 ชี้และบอกสีได้ 4 – 6 สี 4.10.6 รู้ความหมายเกี่ยวกับ “เมื่อวานนี้, วันนี้, พรุ่งนี้” 4.10.7 จาแนกสิ่งต่าง ๆ ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้มากขึ้น 4.10.8 สารวจทดลองเล่นกับของเล่น ตามความคิดของตนได้ 4.10.9 วาดภาพตามความคิดสร้างสรรค์ของตนเองได้ 4.10.10 เล่านิทานหรือเรื่องราวตามจินตนาการได้ 4.10.11 เรียนรู้จากการสังเกต และการฟัง ด้วยตนเองได้ 4.11 อายุ 5 ปี 4.11.1 ถ่ายทอดเรื่องราวจากเรื่องที่ได้ฟังมาได้ 4.11.2 บอกชื่อ – นามสกุล อายุ ที่อยู่ ของตนเองได้ 4.11.3 ชอบถามด้วยคาว่า “ทาไม, อย่างไร, และที่ไหน” 4.11.4 เขียนชื่อนามสกุลของตนเองตามแบบได้
  • 20. 180 4.11.5 บอกและจาแนกสีต่าง ๆ ได้ 4.11.6 จาแนกสิ่งต่าง ๆ จากประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้ดี 4.11.7 ใช้สิ่งของเป็นสิ่งสมมุติในการเล่น เล่นบทบาทสมมุติตามจินตนาการได้ 4.11.8 วาดภาพตามความคิดสร้างสรรค์ของตนได้ 4.11.9 เล่านิทาน เล่าสิ่งที่ตนคิด หรือเรื่องราวตามจินตนาการได้ 4.11.10 เคลื่อนไหวท่าทางตามความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการได้ พัฒนาการของเด็กปฐมวัยในด้านต่าง ๆ ตามที่กล่าวมายังไม่ครอบคลุมพฤติกรรม ของเด็กทั้งหมดที่เกิดขึ้นในสถานการณ์จริง ดังนั้นในการพิจารณาพฤติกรรมของเด็ก ปฐมวัยจะต้องอาศัยประสบการณ์และข้อมูลที่มีประกอบการศึกษาเพื่อให้ได้ข้อมูลใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นซึ่งครูปฐมวัยจะต้องทาความเข้าใจเกี่ยวกับพัฒนาการและพฤติกรรมของเด็ก ตลอดเวลา การที่ครูปฐมวัยจะอยู่กับเด็กได้นั้น นอกจากจะมีความเข้าใจเกี่ยวกับ พัฒนาการของเด็กแล้ว จะต้องเข้าใจธรรมชาติและความต้องการของเด็กปฐมวัยอีกด้วย ซึ่งเป็นพื้นฐานที่สาคัญสาหรับครูปฐมวัยที่จะต้องมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องดังกล่าว 7. ธรรมชาติและความต้องการทางด้านร่างกายของเด็กปฐมวัย พัฒนาการทางด้านร่างกายของเด็กปฐมวัยมีความสาคัญมาก เนื่องจากเด็กที่มี สุขภาพที่ดีจะมีผลต่อพัฒนาการทางด้านอื่นทั้งทางตรงและทางอ้อม ได้แก่ พัฒนาการ ทางด้านอารมณ์จิตใจ พัฒนาการทางด้านสังคม และพัฒนาการทางด้านสติปัญญา ดังนั้น ในการสนองตอบความต้องการทางด้านร่างกายของเด็กปฐมวัย อารมณ์ สุวรรณปาล (2549 : 7) จะต้องครอบคลุมทั้ง 5 ด้าน ดังนี้ 1. ด้านสุขภาพอนามัย ได้แก่การส่งเสริมด้านโภชนาการ 2. ด้านสุขนิสัย ได้แก่ กิจกรรมฝึกเด็กและดูแลให้เด็กปฏิบัติจนเป็นกิจนิสัยด้าน การขับถ่าย การดูแลความสะอาดร่างกาย การพักผ่อนและการออกกาลังกาย 3. ด้านประสาทการรับรู้ – การเคลื่อนไหว ได้แก่ กิจกรรมเล่นเกมประสาทสัมผัส ต่าง ๆ เช่นเกมปิดตา เกมกล่องปริศนา เกมแตะส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เป็นต้น 4. ด้านกล้ามเนื้อใหญ่ ได้แก่ การเล่นกลางแจ้ง การเล่นในร่ม การออกกาลังกาย การเคลื่อนไหวร่างกาย 5. ด้านกล้ามเนื้อเล็ก ได้แก่ กิจกรรมพัฒนากล้ามเนื้อเล็ก เช่น การปั้น การร้อย การตัดกระดาษ วาดภาพระบายสี ลากเส้นต่อจุด โยนรับลูกบอล เป็นต้น นอกจากนี้ วราภรณ์ รักวิจัย (2535 : 61 – 73) ได้กล่าวถึงการส่งเสริมและ การเตรียมความพร้อมทางร่างกายของเด็กปฐมวัยไว้ดังนี้
  • 21. 181 1. การให้อาหารที่มีประโยชน์ คือ อาหารที่มีอาหารครบ 5 ชนิดตามที่ร่างกาย ต้องการในแต่ละวัน ได้แก่ โปรตีน คาร์โบไฮเดรท ไขมัน ไวตามิน และเกลือแร่ต่าง ๆ 2. การเล่นของเด็ก การเรียนของเด็กปฐมวัย คือ การเล่น เด็กจะพอใจที่ได้เล่นที่ได้ เล่นและช่วยเหลือตัวเอง จึงจาเป็นต้องจัดสถานที่ให้ปลอดภัยมีพื้นที่กว้างและมีอุปกรณ์ เครื่องเล่นอย่างเพียงพอ พ่อแม่มีการฝึกให้เด็กรักษาตัวเองและผู้อื่นให้ปลอดภัยในการเล่น 3. การขับถ่าย ควรฝึกให้เด็กช่วยเหลือตัวเองขณะเข้าห้องน้า โดยการเตือนให้เข้า ห้องน้าและช่วยจัดการกับตนเองหลังจากเข้าห้องน้าเสร็จ 4. การนอนหลับพักผ่อน การพักผ่อนที่เพียงพอและเหมาะสมจะช่วยให้เด็กมี พัฒนาการที่ดี การพักผ่อนนี้รวมถึงระหว่างกิจกรรมด้วย เช่น การร้องเพลง การฟังนิทาน พักผ่อนหลังจากการเล่นเหนื่อย การนอนกลางวันควรนอนได้ประมาณวันละ 1 – 2 ชั่วโมง 5. การรักษาความสะอาดร่างกาย พ่อแม่ควรฝึกให้เด็กรักษาความสะอาดร่างกาย โดยการรู้จักอาบน้า การใช้สบู่ การล้างมือก่อนและหลังรับประทานอาหาร การแปรงฟัน บ้วนปากหลังอาหาร 6. การสร้างภูมิคุ้มกันโรค ควรพาไปตรวจสุขภาพและรับวัคซีนป้องกันโรคต่าง ๆ ตามอายุ 8. ธรรมชาติความต้องการทางด้านอารมณ์ของเด็กปฐมวัย อารมณ์เป็นความรู้สึกที่ซับซ้อนซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย และแสดงออกอย่างชัดเจนทางพฤติกรรม อารมณ์มีทั้งสิ่งที่เป็นความพอใจ เช่น ความรัก ความสนุกสนาน และไม่พอใจ เช่น ความโกรธ ความเกลียด ความกลัว ความวิตกกังวล เป็นต้น อารมณ์มีบทบาทสาคัญในการกระตุ้นให้แสดงพฤติกรรมต่าง ๆ ได้ ดังนั้น พฤติกรรมที่แสดงออกมาเราก็สามารถบอกถึงอารมณ์ของเด็กที่แสดงออกมาได้โดยแบ่ง ตามช่วงอายุดังนี้ 1. ลักษณะความต้องการทางอารมณ์ของเด็กวัยทารก เด็กจะเริ่มแสดงอารมณ์หลังจากเกิดประมาณ 2 – 3 อาทิตย์ บริดจส์ (Bridges) ได้ กล่าวถึงการพัฒนารูปแบบต่าง ๆ ของอารมณ์เด็ก ในช่วงเวลาเด็กอายุแรกเกิด – 24 เดือน อารมณ์ของเด็กจะพัฒนาขึ้นมา 2 ชนิด คืออารมณ์ที่พึงพอใจและอารมณ์ที่ไม่พึงพอใจ เด็กจะแสดงความพึงพอใจก่อนอายุ 3 เดือน ด้วยการส่งเสียงเล่น ทาเสียงเล่นในคอ ยิ้ม และทาเสียงเอิกอ้าก เมื่อเด็กมีอายุ 3 – 6 เดือนจะแสดงอารมณ์โกรธ ความกลัวความไม่
  • 22. 182 ชอบและความร่าเริง เมื่อเด็กมีอายุ 6 –12 เดือน จะแสดงความรัก และเมื่ออายุ 16 เดือน เด็กจะแสดงอารมณ์ริษยา จากลักษณะทางอารมณ์ของเด็กทารกวัยดังกล่าว แสดงให้เห็นถึงความต้องการ ทางอารมณ์ของเด็กในวัยนี้ได้ดังนี้คือ 1. ต้องการแสดงความพึงพอใจด้วยการส่งเสียงเล่น ทาเสียงในลาคอหรือยิ้ม 2. ต้องการหลีกเลี่ยงเสียงดัง ๆ หรือเสียงประหลาด ๆ ที่จะทาให้เกิดความตกใจ กลัว 3. ต้องการที่จะได้รับการตามใจไม่ชอบให้ขัดใจ 4. ต้องการที่จะให้มีคนอยู่ใกล้ ๆ ชอบที่จะซุกเข้ากับอกผู้ใหญ่ 2. ลักษณะความต้องการทางอารมณ์ของเด็กวัยก่อนเข้าเรียน ลักษณะทางอารมณ์ของเด็กก่อนวัยเรียน คือ ตื่นเต้น ตกใจง่าย โกรธง่าย กลัวที่ จะอยู่ตามลาพังคนเดียว ส่วนใหญ่เด็กผู้หญิงมักจะแสดงความกลัวมากกว่าผู้ชาย เด็กวัยนี้ มีทั้งอารมณ์ก้าวร้าวและอารมณ์ที่เห็นอกเห็นใจผู้อื่น ต้องการความรักและความเอาใจใส่ จากผู้ใหญ่นอกจากนี้ยังมีอารมณ์อิจฉาริษยาอีกด้วย การตอบสนองความต้องการทางอารมณ์ของเด็กวัยทารก เด็กวัยนี้มักจะแสดงออกทางอารมณ์พึงพอใจด้วยการส่งเสียงเล่น ไม่ชอบเสียงดังๆ ไม่ชอบให้ใครขัดใจ ชอบให้มีคนอยู่ใกล้ ๆ ดังนั้นวิธีการสนองอารมณ์ของเด็กวัยนี้มีดังนี้ 1. หาโอกาสเล่นกับเด็กทาเสียงหยอกล้อเพื่อให้เด็กเกิดความพึงพอใจ ไม่ควรที่จะ ปล่อยให้เด็กเล่นตามลาพัง การสนองตอบตามความต้องการของเด็กวัยนี้จะช่วยให้เด็กเป็น คนอารมณ์ดี มีความสุข ซึ่งจะเป็นพื้นฐานในการปรับตัวด้านอารมณ์ต่อไป 2. หาทางช่วยให้เด็กหลีกเลี่ยงเสียงดัง โดยไม่ทาเสียงดังเพื่อให้เด็กเกิดอาการ ตื่นเต้นตกใจ หรือทาเสียงดัง ๆ 3. ช่วยเหลือเด็กไม่ให้เกิดอารมณ์ขุ่นมัว โดยการตอบสนองความต้องการอย่าง ทันท่วงที เพราะเด็กวัยนี้ไม่สามารถอดทนหรือรอได้นาน ๆ เมื่อเด็กได้รับสิ่งที่ต้องการก็จะ มีอารมณ์ดี 4. ผู้ใหญ่ควรอยู่กับเด็กตลอดเวลา เพื่อให้เด็กเกิดความอบอุ่นใจ และมั่นใจ ไม่ควร ทาให้เด็กอารมณ์ขุ่นมัว เพราะอารมณ์ขุ่นมัวที่พัฒนาขึ้นมาในช่วงนี้จะเป็นพื้นฐานใน การปรับตัวทางอารมณ์ต่อไปในอนาคต
  • 23. 183 3. ลักษณะความต้องการทางอารมณ์ของเด็กวัยก่อนเรียน ลักษณะความต้องการทางอารมณ์และการสนองตอบอารมณ์ของเด็กสามารถทา ได้ดังนี้ 1. อารมณ์ของเด็กจะแสดงออกมาอย่างอิสระและเปิดเผย ครูควรเปิดโอกาสให้ เด็กได้แสดงออก ไม่ควรสะกัดกั้นการแสดงออกทางอารมณ์ของเด็ก เพื่อเด็กจะได้ยอมรับ และรับรู้อารมณ์ของตนเอง ครูจะต้องเปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงอารมณ์ในขอบเขตที่กว้าง มากขึ้น และไม่ควรใช้วิธีการระงับการแสดงออกทางอารมณ์ของเด็ก จะทาให้อารมณ์ของ เด็กขุ่นมัวได้ 2. เมื่อเด็กมีอารมณ์โกรธผู้ใหญ่จะต้องหาทางให้เด็กมีอารมณ์โกรธน้อยที่สุด เพราะอารมณ์โกรธของเด็กจะเป็นอารมณ์ที่มีความรุนแรงขาดการยับยั้งใจ และไม่สามารถ ควบคุมพฤติกรรมได้ วิธีการ เช่น ครูเข้าไปพูดคุยกับเด็ก เพื่อให้เด็กได้ผ่อนคลาย ถาม ความต้องการของเด็ก เป็นต้น 3. เด็กต้องการความช่วยเหลือเมื่อเกิดความกลัว ครูไม่ควรจะไปล้อเลียน ความกลัวของเด็ก หรือบังคับให้เด็กอยู่กับความกลัว ครูควรยอมรับและเข้าใจอารมณ์กลัว ของเด็ก 4. เด็กต้องการความรักความอบอุ่นจากผู้ใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่ครู ดังนั้นครูหรือ ผู้ปกครองเด็กจะต้องให้ความรักความอบอุ่นกับเด็ก ให้ความยุติธรรมกับเด็ก ถ้าผู้ใหญ่ไม่มี ความยุติธรรมจะทาให้เด็กมีความอิจฉาริษยาได้ 5. เด็กวัยนี้ไม่ชอบให้ใครเข้ามาขัดใจ ดังนั้นผู้ใหญ่ไม่ควรขัดใจเด็ก เพราะเมื่อขัดใจ เด็กแล้ว เด็กจะมีพฤติกรรมที่ก้าวร้าว เมื่อเด็กมีพฤติกรรมที่ก้าวร้าวผู้ใหญ่ไม่ควรไปสนใจ มากเพราะจะทาให้เด็กรู้สึกว่าเป็นการเรียกร้องความสนใจจากผู้ใหญ่ 9. ธรรมชาติและความต้องการทางสังคมของเด็กปฐมวัย ความต้องการทางสังคม หมายถึง ความต้องการที่จะประพฤติ และปฏิบัติตาม ความคาดหวังของสังคมซึ่ง หมายถึง พฤติกรรมแสดงออกเป็นที่ยอมรับของสังคมบทบาท เเละรูปเเบบของพฤติกรรมตามที่สังคมกาหนด เช่น บทบาทของผู้หญิง ผู้ชาย บทบาทของ พ่อแม่ บทบาทของครูและนักเรียน ฯลฯ ตลอดจนการพัฒนาทัศนคติต่อบุคคลอื่น ๆ ใน สังคม เด็ก ๆ ทุกคนมีความปรารถนาอย่างแรงที่ต้องการ การยอมรับจากสังคมทุกระดับ เมื่อความต้องการนี้ได้รับการตอบสนองเด็กก็จะมีความสุข แต่เมื่อไม่ได้รับการตอบสนอง เด็กก็จะมีความทุกข์ รูปแบบที่เหมาะสมทางสังคมเริ่มมาตั้งแต่ในครอบครัวในช่วงแรกของ
  • 24. 184 ชีวิต ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นตัวกาหนดว่าเด็กผู้นั้นจะกลายเป็นผู้ใหญ่ที่มีลักษณะเช่นใดต่อไปใน อนาคต จากประสบการณ์ที่มีความสุขในครอบครัวจะเป็นตัวกระตุ้นให้เด็กแสวงหา ประสบการณ์นั้นต่อไป ซึ่งจะทาให้เป็นคนที่เข้าสังคมได้ และปรับตัวได้ดี สาหรับคนที่ ประสบการณ์ที่ไม่มีความสุข จะมีทัศนคติต่อต้านคนทั่ว ๆ ไปซึ่งจะกระตุ้นให้เด็กกลายเป็น คนที่มีลักษณะต่อต้านสังคมและมีการปรับตัวที่ไม่ค่อยเหมาะสม ในช่วงแรกสิ่งที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมทางสังคมมากที่สุด คือวิธีการอบรมเลี้ยงดูที่ พ่อแม่ใช้กับเด็ก เด็กที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตยจะเป็นเด็กที่ปรับตัวได้ดี เขาจะเป็นเด็กที่มีลักษณะกระตือรือร้น ปรับตัวเข้ากับสังคมได้ดี สาหรับเด็กที่พ่อแม่เลี้ยง ตามใจจะกลายเป็นคนที่ค่อนข้างเฉื่อยชา ไม่ค่อยสนใจสิ่งใดและมักจะเป็นคนชอบปลีกตัว จากสังคม สาหรับเด็กที่พ่อแม่เลี้ยงดูแบบถือตนเองเป็นใหญ่จะกลายเป็นเด็กที่เงียบเฉยไม่ ต่อต้านไม่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และไม่อยากรู้อยากเห็นหรือไม่กระตือรือร้น เพราะ ความหวาดกลัวพ่อแม่ ดังนั้นลักษณะความต้องการทางสังคมของเด็กจะเป็นไปในรูปใด ต่อไปนั้นขึ้นอยู่กับว่าเด็กเคยได้รับการอบรมเลี้ยงดูมาโดยวิธีใด จากการศึกษาวิจัยพบว่าการปรับตัวทางสังคมนั้นขึ้นอยู่กับสัมพันธภาพระหว่าง บุคคลภายในครอบครัว ซึ่งจะมีอิทธิพลมาก เช่น สัมพันธภาพระหว่างพ่อกับแม่ ระหว่าง พ่อแม่กับลูกและระหว่างเด็กกับพี่น้อง บ้านเป็นที่เรียนเกี่ยวกับทักษะทางสังคม เมื่อเด็ก ได้รับความพึงพอใจจากสัมพันธภาพภายในบ้านเด็กก็พร้อมจะมีสัมพันธภาพทางสังคมกับ คนนอกบ้าน พัฒนาทัศนคติที่ดีต่อคนอื่นๆ และปรับตัวได้ดีในกลุ่มเพื่อน ประสบการณ์ทางสังคมในช่วงแรกนี้นอกจากจะได้รับอิทธิพลจากคนในครอบครัว แล้วยังได้รับอิทธิพลจากคนภายนอกบ้านด้วย ซึ่งโดยทั่วๆ ไปประสบการณ์ที่ได้รับจาก ทางบ้านจะมีความสาคัญในระหว่างวัยก่อนเรียนและประสบการณ์จากนอกบ้านจะมี ความสาคัญ ภายหลังจากที่เด็กเข้าโรงเรียนแล้ว ดังนั้นผู้ปกครองและครูควรจะได้ ตระหนักถึงบทบาทของตนซึ่งมีอิทธิพลต่อการหล่อหลอมพฤติกรรมทางสังคมที่เหมาะสม หรือไม่เหมาะสมของเด็ก โดยแบ่งเป็นแต่ละช่วงวัยดังต่อไป 1. ลักษณะความต้องการทางสังคมของเด็กวัยทารก การมีปฏิกิริยากับผู้ใหญ่ พฤติกรรมทางสังคมเริ่มต้นมาตั้งแต่วัยทารก โดยที่เมื่อ แรกเกิดนั้นเด็กจะยังไม่มีความสนใจในผู้ใด ตราบเท่าที่เมื่อเขามีความต้องการแล้วมีคน คอยตอบสนองให้ พฤติกรรมทางสังคมจะเริ่มเมื่อประมาณเดือนที่ 3 เมื่อเด็กสามารถ แยกออกระหว่างคนและสิ่งของจะมีการตอบสนองต่างกัน ปฏิกิริยาทางสังคมครั้งแรกของ เด็กจะมีต่อผู้ใหญ่ เพราะว่าโดยปกติแล้วผู้ใหญ่เป็นสิ่งแรกที่เด็กได้ติดต่อด้วย เด็กจะหัน
  • 25. 185 ศีรษะเมื่อได้ยินเสียงคนและจะยิ้มตอบการยิ้มและเสียงเล่นของผู้ใหญ่เด็กจะแสดงความพึง พอใจเมื่อผู้ใหญ่อยู่ด้วย ด้วยการยิ้ม การโบกมือ การใช้มือแตะต้องหน้าตาเด็กจะร้องเมื่อ อยู่คนเดียว และจะเงียบเมื่อมีเสียงพูดด้วย หรือใครเอาของเล่นมาเขย่า เด็กจะเริ่มรู้จักแม่ และคนที่คุ้นหน้า และจะเริ่มแสดงอาการกลัวคนแปลกหน้า ด้วยการหันหน้าหนี หรือ ร้องไห้ เมื่อเด็กมีอายุได้ประมาณ 5-6 เดือน จะมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อการยิ้มและการดุ ของผู้ใหญ่ต่างกัน เด็กจะแยกออกระหว่างเสียงที่แสดงความเมตตา และเสียงที่ดุ เด็กจะ แสดงการจดจาคนได้ด้วยการยิ้ม หัวเราะโผเข้าหาและจะแสดงท่าทีตกใจเมื่อพบคนแปลก หน้า ในช่วงนี้พฤติกรรมของเด็กพัฒนาไปในลักษณะก้าวร้าว เช่น ดึงผมผู้ใหญ่ ดึงจมูก ดึง เสื้อผ้า เมื่อเด็กอายุมากขึ้นจะเริ่มเลียนเสียงและเริ่มแสดงท่าทาง เมื่อเด็กมีอายุประมาณ 1 ขวบ เด็กจะมีความสนใจผู้ใหญ่มากขึ้น และแสดงความปรารถนาที่จะอยู่กับผู้ใหญ่ และ พยายามเลียนแบบ ในระยะนี้เด็กจะเข้าใจเสียงห้ามปราม และจะเลิกทาสิ่งใดสิ่งหนึ่งเมื่อได้ ยินคาว่า อย่า อย่า ในช่วงปลาย ๆ ของอายุ 2 ขวบ เด็กจะให้ความร่วมมือและสามารถให้ ความช่วยเหลือในบางสิ่งบางอย่าง ในช่วงเวลาอันสั้นนี้เด็กจะมีความเปลี่ยนแปลงจาก การเป็นสมาชิกที่ต้องรอคอยความช่วยเหลือจากบุคคลอื่น ไปเป็นสมาชิกของกลุ่มที่มี ความกระตือรือร้นคล่องแคล่วว่องไว ซึ่งแสดงให้เห็นการติดต่อทางสังคมและมีส่วนร่วมใน กิจกรรม การมีปฏิกิริยากับเด็กอื่นๆเด็กเริ่มรับรู้เกี่ยวกับเด็กคนอื่น ๆ เมื่ออายุได้ประมาณ 5 – 6 เดือน ด้วยการยิ้มหรือแสดงความสนใจเมื่อเด็กคนอื่นร้อง และจะแสดงท่าทางติดต่อเพื่อ แสดงความเป็นมิตรด้วยการมอง การยิ้ม เอื้อมมือไปแตะ ส่วนท่าทางไม่เป็นมิตรคือ การพยายามคว้าของที่เด็กอื่นถืออยู่และจะสู้กัน ปฏิกิริยาทางสังคมกับเด็กอื่นจะพัฒนา อย่างรวดเร็วก่อนที่เด็กอายุจะถึง 2 ขวบ เด็กจะยิ้มหัวเราะเลียนแบบเด็กอื่น ความสนใจจะ เปลี่ยนจากของเล่นไปหาเพื่อนเล่น เด็กจะแย่งของน้อยลงให้ความร่วมมือมากขึ้น จะใช้ของ เล่นเป็นสื่อในการสร้างความสัมพันธ์ภาพทางสังคม จากการที่เด็กมีการติดต่อกับคนอื่น ๆ ทั้งผู้ใหญ่และเด็กจะก่อให้เกิดรูปแบบของ การตอบสนองซึ่งจะเป็นพื้นฐานในการพัฒนา รูปแบบทางสังคมต่อไป ซึ่งลักษณะรูปแบบของความต้องการทางสังคมของเด็กทารกมี ดังนี้ ความต้องการการยอมรับเด็กวัยนี้ต้องการการยอมรับและต้องการที่จะมี ความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นในวงแคบ ความต้องการเลียนแบบผู้อื่น เด็กกลายเป็นส่วนหนึ่งของสังคมโดยการเลียนแบบ ครั้งแรกเด็กจะเลียนแบบการแสดงทางสีหน้า ต่อไปเลียนแบบท่าทางและการเคลื่อนไหว จากนั้นจะเลียนเสียง ในที่สุดจะเลียนแบบพฤติกรรมโดยทั่ว ๆ ไป