SlideShare a Scribd company logo
1 of 35
บทที่ 3
แนวความคิดพื้นฐานเกี่ยวกับการประกันภัย
สัญญาของการประกันภัยเป็นสัญญาที่ทั้งสองฝ่ายต่างตกลง
ร่วมกันรับผิดชอบในภัยที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยฝ่ายผู้เอาประกัน
ภัยเป็นผู้เสนอ (Offer) ขอทำาประกันภัย และฝ่ายผู้รับประกันภัยจะทำา
หน้าที่เป็นผู้สนอง (Acceptance) คำาขอทำาประกัน และเมื่อรับ
ประกันภัยแล้วเกิดภัยอันตรายอันนำามาซึ่ง ความเสียหาย ผู้รับ
ประกันภัยมีหน้าที่จะต้องชดใช้ค่าสินไหมให้แก่ผู้เอาประกันภัยหรือ
ผู้รับผลประโยชน์ตามข้อตกลงที่ระบุในกรมธรรม์ และการทำาประกัน
ภัยไม่ได้มีวัตถุประสงค์ให้ผู้เอาประกันได้รับประโยชน์ทางการเงิน
หรือกำาไรจากการทำาประกันภัยนั้น แท้จริงแล้วการทำาประกันภัย มี
วัตถุประสงค์ในการ ช่วยขจัดหรือลดภาระความเสียหายทางการ
เงินให้แก่ผู้เอาประกันภัย เนื่องจากเมื่อผู้เอาประกันภัยได้รับผลกำาไร
หรือประโยชน์จากการประกันภัยแล้ว อาจทำาให้ผู้เอาประกันภัยมี
ความจงใจที่จะก่อให้เกิดความเสียหายนั้นได้ แทนที่จะเป็นการลด
หรือขจัดความเสียหายกลับจะเป็นการเพิ่มหรือกระตุ้นให้เกิดความ
เสียหายนั้นมากขึ้น ดังนั้นในการทำาประกันภัยจะมีหลักฐานพื้นฐาน
สำาคัญที่ได้กำาหนดไว้ เพื่อให้ผู้เอาประกันภัยและผู้รับประกันภัยได้
ถือปฏิบัติ การกระทำาบางอย่างของผู้เอาประกันภัยแม้จะไม่ได้มี
เจตนาที่จะฉ้อโกงผู้รับประกันภัย แต่อาจมีผลทำาให้สัญญาประกัน
ภัยมีข้อบกพร่องและอาจถูกบอกล้างได้ เช่น การบรรยายข้อเท็จจริง
อันเป็นสาระสำาคัญต่อการประกันภัยที่มีความคลาดเคลื่อนไปจากความ
เป็นจริง ทำาให้สัญญาประกันภัยเป็นโมฆียะและผู้รับประกันภัย
สามารถบอกล้างสัญญาประกันภัยได้ เป็นต้น หรือในบางกรณีอาจ
ทำาให้ไม่ได้รับการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเต็มจำานวนความเสียหาย
เช่น กรณีที่มีการ ทำาประกันภัยไว้ตำ่ากว่ามูลค่าที่แท้จริงของ
ทรัพย์สิน ดังนั้นการศึกษาและทำาความเข้าใจในหลักของการประกัน
ภัยจึงเป็นสิ่งสำาคัญสำาหรับบุคคลหรือผู้ประกอบการธุรกิจ เพื่อสร้าง
ความมั่นใจว่าการประกันภัยสามารถบรรเทาความเสียหายที่เกิดขึ้น
แก่บุคคลและธุรกิจของตนได้
64
หลักพื้นฐานเกี่ยวกับการประกันภัย
ในการประกันภัยมีหลักการ แนวคิดประกอบอยู่เป็นจำานวน
มาก เช่น หลักการทางสถิติ คณิตศาสตร์ เพื่อนำามาใช้ในการ
วิเคราะห์ข้อมูลสำาหรับพยากรณ์เหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
และคำานวณเบี้ยประกันภัยให้มีความเหมาะสม ดังนั้น การประกันภัย
จึงใช้หลักการหรือแนวความคิดที่เกี่ยวข้อง หลักการพื้นฐานที่สำาคัญ
ของการประกันภัยที่ควรทราบ ประกอบด้วย 1) หลักส่วนได้เสีย
อันสามารถเอาประกันภัยได้ (Principle of Insurable Interest) 2)
หลักความสุจริตใจอย่างยิ่ง (Principle of Utmost Good Faith) 3)
หลักการชดใช้ค่าเสียหายหรือสินไหมทดแทน (Principle of
Indemnity) 4) หลักการ ร่วมเฉลี่ยชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
(Principle of Contribution) 5) หลักการรับช่วงสิทธิ (Principle of
Subrogation) 6) หลักสาเหตุที่ใกล้ชิด (Principle of Proximate
Cause)
1.หลักส่วนได้เสียอันสามารถเอาประกันได้ (Principle
of Insurable Interest)
การประกันภัยเป็นหลักกฎหมายที่ให้ความสำาคัญในการ
กำาหนดให้ผู้เอาประกันภัยจะต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียในเหตุ (Subject
Matter) ที่เอาประกันภัย หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือเป็นผู้มีส่วนได้เสีย
ในชีวิตหรือทรัพย์สิน หรือความรับผิดต่อบุคคลอื่น ส่วนได้เสีย
(Interest) หมายถึง ความสัมพันธ์ (Relation) หรือความเกี่ยวข้อง
(Concern) ของบุคคลที่มีต่อวัตถุเอาประกันภัยโดยผลจากการเอา
ประกันภัยนั้น อาจทำาให้บุคคลได้รับประโยชน์จากการที่ทรัพย์นั้น
ปลอดภัยไม่ได้รับความเสียหายอาจทำาให้สิทธิของ ผู้เอาประกันภัย
ถูกกระทบกระเทือนหากทรัพย์นั้นสูญหายหรือเสียหายหรือต้องมีส่วน
รับผิดชอบในส่วนที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้น
สำาหรับประวัติการพัฒนาธุรกิจการรับประกันภัยที่ผ่านมา
นั้น พบว่าประเทศที่มีธุรกิจประกันภัยเกิดขึ้นมานานและมีความเจริญ
ก้าวหน้าอย่างมาก โดยเฉพาะในประเทศอังกฤษและสหรัฐอเมริกา
นั้นเดิมไม่ได้มีการกำาหนดเป็นกฎหมายที่จะต้องให้ผู้เอาประกันภัย
65
เป็นผู้มีส่วนได้เสียในเหตุที่เอาประกัน แต่ความเสียหายได้เกิดขึ้น
ต่อชีวิตและทรัพย์สินนั้น ต่อมาความเสียหากมักจะเกิดจากความ
จงใจของผู้เอาประกันภัยซึ่งไม่ได้มีส่วนได้เสียในชีวิตหรือทรัพย์สิน
นั้น ตัวอย่างเช่น การรับประกันภัยการขนส่งสินค้าทางทะเลของ
ผู้รับประกันภัยสัญชาติอังกฤษ สินค้าได้รับความเสียหากมากกว่า
ปกติและบางครั้งเรือก็สูญหายไประหว่างทางและจากข้อเท็จจริงพบ
ว่าการสูญเสียดังกล่าวเกิดจากความจงใจของ ผู้เอาประกันภัยซึ่งมี
ส่วนได้เสียโดยการทำาลายสินค้าและเรือเพื่อที่จะได้รับเงินประกันนั้น
เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวในกฎหมายประกันภัยของแต่ละประเทศจึงมัก
กำาหนดให้ผู้เอาประกันภัยต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียในเหตุที่เอาประกัน
ซึ่งกฎหมายไทยก็ได้มีการกำาหนดไว้ ว่าสัญญาประกันภัยนั้น ถ้าผู้
เอาประกันภัยมิได้มีส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัยไว้นั้นไซร้ ท่านว่า
ย่อมไม่ผูกพันคู่สัญญาแต่อย่างหนึ่งอย่างใด” ส่วนได้เสียในเหตุที่
ประกันภัยไว้นั้นจะต้องพิจารณาซึ่งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและตัววัตถุ
หรือชีวิตที่เหตุการณ์นั้นมีผลถึงอีกประการหนึ่ง(ประมวลกฎหมาย
แพ่งและพาณิชย์ มาตรา 863) ในส่วนของ Lord Blackburn ได้
กล่าวถึงส่วนได้เสียว่า ถ้าเหตุการณ์เกิดขึ้นคู่กรณีฝ่ายหนึ่งจะได้
ประโยชน์ถ้าเหตุการณ์นั้นไม่ได้เกิดขึ้นคู่กรณีฝ่ายนั้น จะได้รับความ
เสียหาย กล่าวคือ “ผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์สินอันอาจเอาประกันภัย
ได้คือผู้ที่จะได้ประโยชน์จากการที่ทรัพย์สินนั้นคงสภาพเดิมอยู่ หรือ
จะได้รับความเสียหายจากการที่ทรัพย์สินนั้นทำาลายไป (จิตติ ติง
ศภัทิย์, 2553 : 26)
ตัวอย่าง กรณีของการประกันอัคคีภัย บุคคลผู้เป็นเจ้าของ
บ้านถือว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสีย ในบ้านหลังนั้น กรณีหากเกิดเพลิง
ไหม้เจ้าของบ้านจะต้องเป็นผู้ได้รับความเสียหายโดยตรง ส่วนผู้เช่า
หรือผู้อยู่อาศัยไม่สามารถนำาบ้านของผู้อื่น (ผู้ให้เช่า) มาทำาประกัน
ได้ เนื่องจากเป็นผู้ไม่มีส่วนได้เสียในบ้านหลังนั้นทำาให้เกิดความ
เสียหายต่อผู้ให้เช่าซึ่งเป็นเจ้าของบ้าน เพราะหากยอมให้ผู้เช่า
สามารถนำาบ้านของผู้อื่นมาทำาประกันได้ ผู้เช่าอาจจงใจวางเพลิงเพื่อ
เอาเงินประกัน ในขณะที่ผู้เช่าชำาระเบี้ยประกันภัย และค่าเช่าบ้าน
เป็นจำานวนเงินไม่มากนัก ดังนั้น การกำาหนดส่วนได้เสียจึงมีส่วน
ช่วยลดความเสี่ยง และทำาให้การประกันภัยไม่มีลักษณะเป็นการ
พนันด้วย
66
การที่คู่สัญญาประกันภัยที่เป็นผู้เอาประกันภัยมีความ
สัมพันธ์หรือความเกี่ยวข้องโดยเฉพาะกับวัตถุแห่งการประกันภัยไม่
ว่าจะเป็นร่างกาย ชีวิต ทรัพย์สิน หรือความรับผิด ซึ่งบุคคลอยู่บน
พื้นฐานของความเสี่ยงภัยถือว่าบุคคลนั้นมีส่วนได้เสียที่สามารถเอา
ประกันภัยได้ หรือมีส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัยไว้ อันเป็นสิ่ง
จำาเป็นพื้นฐานที่สัญญาประกันภัยจะต้องมี เว้นแต่กฎหมายบัญญัติ
ยกเว้นไว้ว่าไม่ต้องมีส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัยไว้ เช่น กรมธรรม์
ประกันภัยกำาหนดให้จ่ายค่าสินไหมทดแทนแก่ ผู้รับผลประโยชน์
ซึ่งผู้รับผลประโยชน์นี้มิใช่ผู้เอาประกันภัยและกฎหมายไม่ได้บัญญัติ
ไว้ว่าผู้รับผลประโยชน์จะต้องมีส่วนได้เสีย ในเหตุที่ได้ทำาประกันภัย
ไว้ เมื่อส่วนได้เสียเป็นหลักการสำาคัญประการหนึ่งของการทำา
สัญญาประกันภัย จึงได้ระบุสาระสำาคัญของส่วนได้เสียที่สามารถเอา
ประกันภัยในกรณีการประกันชีวิต ประกันทรัพย์สิน และประกัน
ความรับผิดที่เกิดขึ้น ได้ดังนี้
1.1 กรณีการประกันชีวิต
1.1.1 ผู้มีส่วนได้เสีย ในการทำาประกันชีวิต
ประกอบด้วย
1.1.1.1 เจ้าตัว (Owner) ซึ่งสามารถขอทำา
ประกันชีวิต ประกันสุขภาพ หรือประกันอุบัติเหตุให้กับตนเอง ซึ่ง
การทำาประกันดังกล่าวจะเกิดประโยชน์ต่อตัวของผู้เอาประกันเอง
และหากเกรงว่าผู้เอาประกันจะฆ่าตัวตาย เพื่อหวังเงินประกันภัย
ผู้รับประกันภัยมักกำาหนดแนวทางการปฏิบัติไว้ เช่น การกำาหนดข้อ
ตกลงว่า หากผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตอันเนื่องมาจากการฆ่าตัวตาย
ซึ่งผู้รับประกันภัยสามารถพิสูจน์ข้อเท็จจริงได้นั้นผู้รับประกันภัยไม่
จ่ายค่าสินไหมทดแทนให้ เป็นต้น
1.1.1.2 การเอาประกันชีวิตบุคคลอื่น (Third
Party) กรณีที่ผู้เอาประกันภัยมิได้ประกันชีวิตตนเอง แต่มี
วัตถุประสงค์ที่จะทำาประกันชีวิตให้แก่บุคคลอื่นเพื่อประโยชน์ของ
บุคคลผู้นั้นหรือเพื่อตนเองจะได้เป็นผู้รับผลประโยชน์ตามกรมธรรม์
นั้น ผู้เอาประกันภัยจะต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียในเหตุที่เอาประกันภัย
นั้น การพิจารณาว่าผู้เอาประกันภัยมีส่วนได้เสียในเหตุที่เอาประกัน
ภัยหรือไม่ สามารถพิจารณาได้จากความสัมพันธ์ระหว่างผู้เอา
ประกันภัยและบุคคลผู้นั้นว่าเมื่อเกิดเหตุกับบุคคลผู้นั้นจะส่งผลกระ
67
ทบต่อการดำาเนินชีวิตของผู้เอาประกันภัยอย่างไรบ้าง เช่น คู่สมรส
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตราที่ 1461 ได้กล่าวว่า
“สามีภริยาต้องอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา สามีภริยาต้องช่วยเหลือ
อุปการะเลี้ยงดูกันตามความสามารถและฐานะของตน” หากผู้หนึ่งผู้
ใดเสียชีวิต หรือไม่สามารถทำางานได้ อีกคนก็จะได้รับผลกระทบ
โดยตรง หรือกรณีที่บุคคลมีความสัมพันธ์กันทางสายโลหิต เช่น บิดา
มารดาและบุตร ตามประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตราที่
1563 กำาหนดไว้ว่า “บุตรจำาต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดา มารดา” หรือ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตราที่ 1564 “บิดามารดา จำา
ต้องอุปการะเลี้ยงดู และให้การศึกษาตามสมควรแก่บุตรในระหว่างที่
เป็นผู้เยาว์” ดังนั้น บิดามารดา จึงสามารถทำาประกันชีวิตให้บุตรได้
เพราะหากบุตรเป็นซึ่งจะเป็นผู้เลี้ยงดูบิดามารดาในอนาคต เกิดเสีย
ชีวิตลงก่อนวัยอันควร ก็จะไม่มีผู้อุปการะบิดามารดาต่อไป บิดา
มารดาจึงถือเป็นบุคคลผู้มีส่วนได้เสียในชีวิตของบุตร เป็นต้น
1.1.2.3 ผู้รับผลประโยชน์ ตามประมวลกฎหมาย
แพ่งและพาณิชย์ มาตรา 862
ได้กล่าวว่า “ผู้รับประโยชน์” หมายความว่า บุคคลผู้จะพึงได้รับค่า
สินไหมทดแทน หรือรับจำานวนเงิน ใช้ให้และในวรรคต่อมาได้
กล่าวว่า “อนึ่ง ผู้เอาประกันภัยและผู้รับประโยชน์นั้น จะเป็นบุคคล
หนึ่งคนเดียวก็ได้” ดังนั้น ผู้รับประโยชน์นั้นนอกจากจะเป็นผู้เอา
ประกันภัยเองแล้ว อาจจะเป็นใครก็ได้ แต่ในทางปฏิบัติ ผู้รับ
ประกันภัยจำาเป็นต้องพิจารณาเรื่องของผู้รับผลประโยชน์ด้วย
เนื่องจากมีความเกี่ยวข้องกับศีลธรรมจริยธรรม และจรรยาบรรณใน
การดำาเนินธุรกิจ และถ้าผู้รับประกันภัยพิจารณาว่า ผู้เอาประกัน
ภัยมอบผลประโยชน์ให้แก่บุคคลอื่นอันไม่มีความสัมพันธ์ใด ๆ กัน
เลย กรณีเช่นนี้ผู้รับประกันภัยสามารถพิจารณาไม่รับประกันภัยก็ได้
เนื่องจากการพิจารณาไม่รับประกันเป็นเรื่องของความเสี่ยงมิได้เป็น
ข้อกำาหนดของกฎหมายแต่อย่างใด ดังนั้นในทางปฏิบัติ ผู้รับประกัน
ภัยจะพิจารณาว่าผู้รับประโยชน์ในกรมธรรม์ควรจะได้แก่บุคคล ดัง
ต่อไปนี้ ตัวของผู้เอาประกัน บิดา มารดาของผู้เอาประกัน ภรรยา
หรือสามีของผู้เอาประกัน บุตรของผู้เอาประกัน เจ้าหนี้ ธุรกิจของ
ผู้เอาประกัน กองมรดก กรณีที่ผู้เอาประกันภัยไม่ได้ระบุไว้ว่าให้ใคร
เป็นผู้รับผลประโยชน์ให้ตั้งเอาจำานวนเงินเอาประกันภัยนั้นเป็น
68
สินทรัพย์ส่วนหนึ่งแห่งกองมรดกของผู้เอาประกันภัย ซึ่งเจ้าหนี้
สามารถมารับไปเพื่อการชดใช้ตามจำานวนหนี้ได้ดังนั้น สำาหรับกรณี
ของการประกันชีวิตลักษณะที่ควรพิจารณาควบคู่ไปกับหลักส่วนได้
เสียก็คือ การพิจารณาถึงผู้รับผลประโยชน์ด้วย
1.1.3 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตราที่ 863 กล่าวว่า “ส่วนได้เสียจะต้องเกิดขึ้นหรือมีอยู่ ณ วันที่
ทำาสัญญา และหาก ณ วันที่ทำาสัญญาผู้เอาประกันภัยไม่ได้มีส่วนได้
เสีย ถือว่าสัญญานั้นไม่มีผลผูกพัน คู่สัญญาแต่อย่างหนึ่งอย่างใด”
ตัวอย่างเช่น หากผู้เอาประกันภัยนำาบุคคลอื่นที่มีส่วนได้เสียมาทำา
ประกันชีวิต และภายหลังได้มีเหตุให้สิ้นสุดความสัมพันธ์ เช่น การ
หย่าร้างของสามีภรรยา ให้ถือหลักการปฏิบัติ ซึ่งมีความแตกต่างกัน
2 ประการ ได้แก่
สัญญานั้นยังคงมีผลบังคับใช้ต่อไป ถึงแม้ว่าส่วนได้
เสียของกันและกันจะหมดไป โดยยึดหลักว่าเรื่องของการประกันชีวิต
นั้นเป็นเรื่องของการออม ไม่ใช่เรื่องของการชดใช้ค่าเสียหาย ดังนั้น
แม้ต่อมาสามีและภรรยาได้หย่าขาดจากกัน หากภรรยายังคงชำาระ
ค่าเบี้ยประกัน (กรณีภรรยาเป็นผู้ชำาระเบี้ยประกันและเป็นผู้รับผล
ประโยชน์) กรมธรรม์นั้นยังคงมีผลบังคับอยู่ทุกประการ ในการที่
สัญญายังคงมีผลบังคับใช้ต่อไปนั้น บางคนอาจเข้าใจว่าเป็นการ
เปิดช่องทางให้ผู้ชำาระเบี้ยประกันในฐานะที่ตนเป็นผู้รับผลประโยชน์
พยายามหาวิถีทางในการได้รับค่าสินไหมชดเชย เช่น การฆ่าผู้เอา
ประกันเพื่อหวังเงิน ค่าสินไหมชดเชย เนื่องจากการที่ฐานะของตน
ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียหมดไปอาจเกิดความไม่พอใจ ซึ่งกันและ
กันได้ จึงมีกฎหมายกำาหนดเพื่อเป็นแนวทางการป้องกันไม่ให้จ่าย
ค่าสินไหมชดเชยให้ผู้เอาประกันหรือผู้รับประโยชน์ในกรณีที่บุคคล
นั้นถูกฆ่าโดยเจตนาจากผู้รับผลประโยชน์ ว่าผู้รับประกันภัย ไม่
จำาเป็นต้องใช้เงินนั้นหากการเสียชีวิตนั้นเกิดจากบุคคลผู้นั้นถูกผู้รับ
ประโยชน์ฆ่าตายโดยเจตนา (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตราที่ 895 (2))
1.2 กรณีการประกันวินาศภัย
1.2.2 ผู้มีส่วนได้เสีย ในทรัพย์สินและความรับผิด
ชอบนั้นจะใช้หลักการทั่ว ๆ ไปเหมือนกรณีของการประกันชีวิต ซึ่ง
ผู้มีส่วนได้เสียจะต้องมีลักษณะ ดังนี้
69
1.2.2.1 เจ้าของทรัพย์สิน (Owner) หมายถึง ผู้ที่มี
ส่วนได้ส่วนเสียโดยตรงต่อทรัพย์สินนั้น เนื่องจากเมื่อทรัพย์สินนั้นถูก
ทำาลายลงเจ้าของก็ได้รับความเสียหายด้วยทรัพย์สินต่าง ๆ ได้แก่
อาคาร โรงงาน บ้านพักอาศัย เครื่องมือ เครื่องจักร เรือ รถยนต์
สินค้า เป็นต้น โดยทรัพย์สิน หนึ่งชิ้นอาจมีเจ้าร่วมกันของหลายคน
หรือเจ้าของหนึ่งคนอาจมีทรัพย์สินได้หลายชิ้น หากทรัพย์สินถูก
ทำาลายลง ผลทางอ้อมที่ตามมา คือ ธุรกิจอาจต้องหยุดดำาเนินงาน
ชั่วคราวซึ่งส่งผลให้ขาดรายได้หรือกำาไร และยังมีค่าใช้จ่ายประจำาที่
ยังเกิดขึ้น ถึงแม้จะหยุดการดำาเนินงานแล้วก็ตาม ดังนั้นเจ้าของ
ธุรกิจหรือผู้ประกอบการซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสีย ในทรัพย์สินอยู่แล้วจึง
ถือว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียในความเสียหายที่ สืบเนื่องมาจากความ
เสียหายทางตรงนั้น
1.2.2.2 เจ้าหนี้ประเภทที่ต้องมีทรัพย์สินเป็นหลัก
ประกัน (Secured Creditor) เจ้าหนี้ประเภทนี้อาจเป็นสถาบันการ
เงินที่ปล่อยสินเชื่อโดยมีอาคาร ที่ดิน โรงงาน สินค้า รถยนต์ เป็น
ตัวคำ้าประกันการกู้ยืม เจ้าหนี้ประเภทนี้จึงมีสิทธิ์เหนือทรัพย์สินนั้น
ตามสัดส่วนของหนี้ที่ยังค้างอยู่ ดังนั้น เจ้าหนี้จึงสามารถนำาทรัพย์สิน
นั้นมาทำาประกันภัยโดยมีเจ้าหนี้เป็นผู้รับผลประโยชน์ได้ เช่น กรณี
การประกันอัคคีภัยของบ้านที่จำานองไว้กับธนาคารพาณิชย์โดยมี
เงื่อนไขยกผลประโยชน์ให้แก่ผู้รับจำานอง
1.2.2.3 ผู้เช่า เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในสิทธิ
การเช่า (Leasehold Interest) ซึ่งมิใช่ส่วนได้เสียในฐานะเจ้าของ
อาคาร โดยการเช่าอาคารทั่วไปการสิ้นสุดของสัญญาเช่าอาจเกิด
จากการที่ทรัพย์สินนั้นถูกทำาลาย เช่น ไฟไหม้ กรณีเช่นนี้นอกจาก
เจ้าของทรัพย์สินจะได้รับความเดือดร้อนแล้ว ผู้เช่าย่อมได้รับ
ความเดือดร้อนตามไปด้วย เนื่องจากต้องขาดรายได้และยังต้องเสีย
ค่าใช้จ่ายในการจัดหาอาคารใหม่ ซึ่งอัตราที่เช่าใหม่อาจมีมูลค่า
แพงกว่าอัตราค่าเช่าเดิมมาก
1.2.2.4 ผู้ที่ต้องมีความรับผิด (Liability) ต่อ
บุคคลอื่น ซึ่งอาจเกิดจากการใช้ทรัพย์สินนั้น หรือเกิดจากดำาเนิน
งานตามปกติของบุคคลหรือธุรกิจนั้น เช่น ผู้ครอบครอง ผู้ดูแล หรือ
ผู้จัดการทรัพย์สินของบุคคลอื่น ในช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง ซึ่ง
บุคคลดังกล่าวต้องมีความรับผิดตามกฎหมายต่อผู้เป็นเจ้าของ
70
ทรัพย์สินนั้น หากทรัพย์สินนั้นเกิดสูญหายหรือได้รับความเสียหาย
บุคคลเหล่านี้ มีส่วนได้เสียที่สามารถนำาไปประกันได้
1.2.2.5 ผู้ที่คาดว่าจะเป็นเจ้าของทรัพย์สินใน
อนาคต (Factual Expectation) เช่น บุตรของผู้เป็นเจ้าของทรัพย์สิน
โดยปกติคาดว่าต่อไปตนจะเป็นผู้รับมรดกหรือเป็นเจ้าของทรัพย์สินนั้น
แทนบิดามารดา ดังนั้น บุตรผู้นั้นสามารถนำาทรัพย์สินนั้นไปทำา
ประกันภัยได้
1.2.3 ผู้ที่จะได้รับชดใช้ค่าสินไหมทดแทนต้องเป็น
บุคคลที่มีส่วนได้เสียในวัตถุที่ เอาประกันภัยขณะที่เกิดความเสีย
หายนั้น ตามหลักการดังกล่าวจะเห็นว่ามีความแตกต่างกันอยู่มาก
เมื่อเปรียบเทียบกับกรณีของการประกันชีวิต กล่าวคือ หากต่อมาเกิด
ความเสียหายขึ้นแก่วัตถุที่เอาประกันภัยและปรากฏว่าผู้มีส่วนได้เสียนั้น
ได้เปลี่ยนแปลงไปแล้ว ถือว่าบุคคลผู้ทำาประกันภัยไม่มีสิทธิได้รับการ
ชดใช้ค่าเสียหายนั้น เพราะถือว่าผู้นั้น ไม่มีความสูญเสียเกิดขึ้น
ตัวอย่าง นายเอ ขอทำาประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 กำาหนด
ระยะเวลา 1 ปี ต่อมาหลังจากชำาระค่าเบี้ยประกันภัยไปแล้ว 5 เดือน
นายเอได้ขายรถยนต์คันดังกล่าวให้แก่ผู้อื่น ถือว่าส่วนได้เสียของ
นายเอ ต่อรถยนต์คันดังกล่าวหมดไปแล้ว ดังนั้น ภายในกำาหนด
ระยะเวลาของการประกันภัยรถยนต์ รถยนต์คันดังกล่าวประสบภัย
ได้รับความเสียหาย ผู้รับประกันภัยจะชดใช้ค่าสินไหมชดเชยให้แก่
เจ้าของรถยนต์คนใหม่ ซึ่งไม่ใช่นายเอ เป็นต้น
2 หลักความสุจริตอย่างยิ่ง (Principle of Utmost Good
Faith)
ตามความหมายของหลักการสุจริตใจ คือ ผู้รับประกันภัยต้อง
มีความซื่อสัตย์สุจริตใจต่อผู้เอา
ประกันภัย เช่น ในการเขียนสัญญาประกันภัยผู้รับประกันภัย ต้อง
แสดงถึงความโปร่งใส ชัดเจน และเข้าใจได้ง่าย มีการระบุข้อยกเว้น
ในการไม่รับประกันภัยที่แน่ชัด และเมื่อเกิดความเสียหายขึ้นตามที่
ได้ระบุไว้ในสัญญาประกันภัยซึ่งมีการระบุรายละเอียดของความ
คุ้มครอง ผู้รับประกันจำาเป็นต้องปฏิบัติตามสัญญาประกันภัย เช่น
กรณีการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยตามที่ได้ระบุ
ไว้ในกรมธรรม์ สำาหรับผู้เอาประกันภัยต้องมีความซื่อสัตย์ต่อผู้รับ
71
ประกันภัยเช่นเดียวกัน เนื่องจากการเอาประกันภัยเป็นลักษณะการ
โอนความเสี่ยงภัยที่จะเกิดขึ้นในอนาคต จากผู้เอาประกันภัยไปยัง
ผู้รับประกันภัย ดังนั้น ผู้รับประกันภัยจะไม่สามารถทราบล่วงหน้าได้
ว่า ค่าสินไหมทดแทนที่จะต้องชดใช้ให้แก่ผู้เอาประกันภัย มีมูลค่า
เป็นเท่าไร ผู้รับประกันภัยจึงต้องอาศัยข้อมูลต่าง ๆ มาประกอบการ
พิจารณาว่าควรรับผู้เอาประกันภัยรายนี้หรือไม่ หากต้องรับประกัน
ภัยจะมีเงื่อนไขอย่างไร ดังนั้น ผู้เอาประกันภัยจะต้องเปิดเผย
ข้อความจริงเกี่ยวกับตัวของผู้เอาประกันภัยเอง เช่น เพศ อายุ
พฤติกรรมการใช้ชีวิต รวมทั้งเปิดเผยรายละเอียดของหน่วยเสี่ยงภัย
(Exposure Unit) เช่น สภาวะแวดล้อมที่มีผลต่อความเสี่ยงภัยให้
ผู้รับประกันภัยทราบโดยละเอียด ซึ่งหน้าที่การให้ข้อมูลที่เป็นจริง
เป็นสาระสำาคัญที่มีผลต่อความเสี่ยงภัยของผู้เอาประกันภัยตามหลัก
การสุจริตอย่างยิ่ง เป็นหลักของสัญญาประกันภัยในทุกประเทศที่
ดำาเนินธุรกิจประกันภัย (ฐิติวดี ชัยวัฒน์, 2556 : 64)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 865 บัญญัติว่า
“ถ้าในเวลาทำาสัญญาประกันภัย ผู้เอาประกันภัยก็ดี หรือกรณีการ
ประกันชีวิต บุคคลอันการใช้เงินย่อมอาศัยความทรงชีพหรือมรณะ
ของเขานั้นก็ดี รู้อยู่แล้วละเว้นเสียไม่เปิดเผยข้อความจริงซึ่งอาจจะ
ได้จูงใจผู้รับประกันภัยให้เรียกเบี้ยประกันภัยสูงขึ้นอีกหรือให้
บอกปัดไม่ยอมทำาสัญญา หรือว่ารู้อยู่แล้วแถลงข้อความนั้นเป็นความ
เท็จไซร้ ”ท่านว่าสัญญานั้นเป็นโมฆียะ ถ้ามิได้ใช้สิทธิบอกล้างภายใน
กำาหนดเดือนหนึ่งนับตั้งแต่วันที่ผู้รับประกันภัยทราบมูลอันจะบอกล้าง
ได้ก็ดี หรือมิได้ใช้สิทธินั้นภายในกำาหนดเดือนหนึ่งนับแต่วันที่ผู้รับ
ประกันภัยทราบมูลอันจะบอกล้างได้ก็ดี หรือมิได้ใช้สิทธินั้นภายใน
กำาหนดเวลาห้าปีนับแต่วันทำาสัญญาก็ดี ท่านว่าสิทธินั้นเป็นอันระงับ
”สิ้นไป (สรพลจ์ สุขทรรศนีย์, 2556 : 34)
ตามปกติเมื่อบุคคลได้ตกลงทำาสัญญาหรือทำานิติกรรม หรือ
ใช้สิทธิต่าง ๆ ย่อมมีหน้าที่ต้องกระทำาการโดยสุจริต ตามที่ถูกระบุไว้
ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 5 กล่าวไว้ว่า “ในการ
ใช้สิทธิแห่งตนก็ดี ในการชำาระหนี้ก็ดี บุคคลทุกคนต้องกระทำาโดย
”สุจริต หมายความว่า จะต้องกระทำาอย่างตรงไปตรงมา ไม่กล่าวเท็จ
ไม่ฉ้อฉลหลอกลวงให้ผู้อื่นเกิดความเข้าใจผิดในข้อสำาคัญ แต่ไม่ได้
หมายความว่า คู่สัญญามีหน้าที่แสดงข้อบกพร่องหรือข้อเสียเปรียบ
72
ของตนให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบ เป็นหน้าที่ของคู่สัญญาแต่ละฝ่ายต้อง
สืบสวนใคร่ครวญเอาเองก่อนตัดสินใจ ส่วนสัญญาประกันภัยเป็น
สัญญามีลักษณะพิเศษที่กฎหมายบังคับให้คู่สัญญาฝ่ายผู้เอาประกัน
ภัยมีหน้าที่ต้องชี้แจงแสดงข้อบกพร่องของตนให้ฝ่ายผู้รับประกันภัย
ทราบ โดยเหตุผลที่ว่าการที่ผู้รับประกันภัยจะตัดสินใจเข้าเสี่ยงภัย
แทนผู้เอาประกันภัยนั้น ผู้รับประกันภัยจำาเป็นต้องทราบข้อมูลโดย
ละเอียดเพื่อประกอบการตัดสินใจ ซึ่งข้อมูลบางอย่างเป็นเรื่องสำาคัญ
ที่บุคคลอื่นไม่มีทางรู้ได้เลยนอกจากตัวของผู้เอาประกันภัยเอง และ
สุดวิสัยในการที่ผู้รับประกันภัยจะสืบสวนให้ครบถ้วน จึงมีเพียง
หนทางเดียวเท่านั้น คือ การกำาหนดให้ผู้เอาประกันภัยมีหน้าที่ต้อง
เปิดเผยข้อมูลนั้น เพื่อมิให้ผู้รับประกันภัยตกอยู่ในฐานะเสียเปรียบ
จนเกินไปในการทำาสัญญา
ตัวอย่าง นายหมู ป่วยเป็นโรคกระเพาะอาหารอักเสบ
เรื้อรังมาเป็นระยะเวลาหลายปีแล้ว ขณะทำาสัญญาประกันชีวิตก็ยังมี
อาการป่วยอยู่ เช่นนี้นายหมู ต้องแจ้งให้ผู้รับประกันภัยทราบมิ
ฉะนั้นสัญญาจะตกเป็นโมฆียะ
ตัวอย่าง นายเมฆ มีอาการป่วยเป็นโรคตับอักเสบ เจ้าตัว
ทราบดีเนื่องจากต้องไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาและรับประทานยา
โดยตลอด ได้ยื่นคำาขอเอาประกันชีวิตเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ โดย
แถลงต่อผู้รับประกันภัยว่าตนไม่เคยป่วยเป็นโรคร้ายแรงและไม่มีโรค
ประจำาตัวใด ๆ ต่อมาวันที่ 4 มีนาคม บริษัทผู้รับประกันภัยได้ตอบรับ
ทำาสัญญาโดยไม่ทราบถึงอาการป่วยของนายเมฆ ดังนี้สัญญา
ประกันชีวิตเป็นโมฆียะ
หลักความสุจริตอย่างยิ่งเป็นหลักที่ใช้ในการประกันภัยกับทั้งผู้
เอาประกันภัยและผู้รับประกันภัย เพื่อให้ผู้เอาประกันภัยแถลงข้อความ
ที่เป็นจริงด้วยความสุจริตใจอย่างยิ่ง เพื่อให้ผู้รับประกันภัยสามารถ
ประเมินความเสี่ยงที่จะรับประกันภัยได้ เพราะหากข้อมูลที่ได้รับไม่ถูก
ต้องก็จะทำาให้การประเมินความเสี่ยงของผู้รับประกันภัยเกิดความผิด
พลาดได้ ซึ่งถือว่าไม่เป็นธรรมต่อผู้รับประกันภัย ขณะเดียวกันหลัก
ความสุจริตใจอย่างยิ่งนี้ก็ใช้กับผู้รับประกันภัยในลักษณะที่ผู้รับ
ประกันภัยควรชี้แจงให้ ผู้เอาประกันภัยได้ทราบถึงเงื่อนไขหรือผล
ประโยชน์ที่จะได้รับความคุ้มครอง หรือการที่ผู้เอาประกันภัยจะต้อง
ปฏิบัติตามเงื่อนไขอย่างไร เพื่อให้ได้รับการคุ้มครอง หากผู้รับ
73
ประกันภัยทราบข้อมูลว่าผู้เอาประกันภัยได้ปกปิดข้อเท็จจริง หรือไม่
แถลงข้อความที่เป็นจริง ซึ่งเป็นสาระสำาคัญและความเสียหายที่เอา
ประกันภัยไว้ ยังไม่ได้เกิดขึ้น ผู้รับประกันควรแสดงความสุจริต
ใจด้วยการบอกล้างสัญญา เป็นต้น
ในการทำาสัญญาถือว่าคู่สัญญาจะต้องมีความสุจริตใจต่อ
กันเพราะหากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ไม่สุจริต อาจทำาให้สัญญานั้นตก
เป็นโมฆะไม่มีผลใช้บังคับต่อไป หรือเป็นสัญญาที่เป็นโมฆียะ ซึ่งแม้
จะเป็นนิติกรรมที่สมบูรณ์ใช้บังคับได้แต่ก็อาจถูกบอกล้างโดยผู้มี
สิทธิบอกล้างตามกฎหมาย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความร้ายแรงของผลแห่ง
ความไม่สุจริต อย่างไรก็ตามสัญญาประกันภัยเป็นสัญญาที่ต้อง
อาศัยความสุจริตอย่างยิ่งซึ่งเป็นความสุจริตที่สูงกว่าการทำาสัญญา
อื่นทั่วไปและในกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกันภัยบางฉบับ เช่น
พระราชบัญญัติการประกันภัยทางทะเลของประเทศอังกฤษ ค.ศ.906
(Marine Insurance Act 1906) มีบทบัญญัติที่รับรองหลักความ
สุจริตอย่างยิ่งไว้ในกฎหมาย ความสุจริตอย่างยิ่งในสัญญาประกัน
ภัยเป็นหน้าที่ของคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายต่างต้องยึดถือปฏิบัติ คือทั้งผู้
เอาประกันภัยและผู้รับประกันภัยเพื่อป้องกันมิให้มีการฉ้อโกงกัน
เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับหน้าที่ของผู้เอาประกันภัยที่จะต้อง
สุจริตในการเปิดเผยข้อความจริงอันเป็นสาระสำาคัญให้ผู้รับประกัน
ภัยทราบ และการแถลงข้อความจริงให้ถูกต้อง โดยในประมวล
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งเป็นกฎหมายไทยที่ใช้กับการประกัน
ภัย ได้บัญญัติไว้ในมาตรา 865 ว่า ให้สัญญาประกันภัยตกเป็น
โมฆียะ หากผู้เอาประกันภัยรู้อยู่แล้วในเวลาทำาสัญญาประกันภัยถึง
ข้อความจริงซึ่งอาจจูงใจผู้รับประกันภัยให้เรียกเบี้ยประกันภัยสูงขึ้น
อีกหรือบอกปัดไม่ยอมทำาสัญญาประกันภัยด้วย แต่ผู้เอาประกันภัย
ละเว้นการปฏิบัติไม่ยอมเปิดเผยข้อความจริง หรือกลับแถลงข้อความ
ต่อผู้รับประกันภัยให้ผิดไปจากความจริงทั้ง ๆ ที่รู้อยู่แล้วว่าข้อความ
นั้นเป็นเท็จ ดังนั้น ข้อความจริงอันเป็นสาระสำาคัญที่จะทำาให้สัญญา
ประกันภัยตกเป็นโมฆียะ กล่าวคือ ผู้รับประกันภัยซึ่งอาจจูงใจให้
ผู้รับประกันภัยเรียกเบี้ยประกันภัยสูงขึ้นหรือถึงขนาดไม่ยอมรับ
ประกันภัย
การพิจารณาถึงความสุจริตใจของผู้เอาประกันภัยสามารถ
พิจารณาได้จากลักษณะสำาคัญดังต่อไปนี้
74
2.1 การแถลงข้อเท็จจริง (Representation) สำาหรับ
การแถลงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับชีวิต ทรัพย์สินหรือความรับผิดที่อาจจะ
เกิดขึ้นในอนาคตถือเป็นหน้าที่สำาคัญของผู้เอาประกันภัย การแถลง
หรือการให้ข้อมูลอาจกระทำาได้โดยการกรอกแบบฟอร์มขอทำาประกัน
กับผู้รับประกันภัยหรืออาจแจ้งด้วยวาจา หรือการให้เอกสารอื่น ๆ ที่
สำาคัญต่อการรับประกันภัยตามที่ผู้รับประกันภัยร้องขอ เพื่อให้ผู้รับ
ประกันสามารถประเมินความเสี่ยงของผู้เอาประกันภัยได้ เช่น ใน
การทำาประกันชีวิต ผู้รับประกันภัยต้องการทราบข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ
สุขภาพ หรือข้อมูลของผู้เอาประกัน ได้แก่ เพศ อายุ อาชีพ ประวัติการ
รักษาพยาบาล ข้อมูลสุขภาพของบุคคลภายในครอบครัว และข้อมูล
อื่นที่เกี่ยวข้องกับผู้เอาประกันภัย เป็นต้น ตามหลักการ หรือแนวคิด
ที่เกี่ยวข้องกับการประกันภัย ถือว่าผู้เอาประกันภัยไม่จำาเป็นต้องแจ้ง
ข้อเท็จจริงต่อไปนี้ให้ผู้รับประกันภัยทราบ ได้แก่ ข้อเท็จจริงที่ไม่ใช่
สาระสำาคัญและเป็นข้อเท็จจริงที่เป็นผลดีต่อความเสี่ยงภัย ข้อเท็จ
จริงที่ผู้รับประกันภัยควรจะทราบในทางการค้าหรือธุรกิจตามปกติ
ของตน ข้อมูลที่ผู้รับประกันภัยสละสิทธิที่จะทราบ ข้อเท็จจริงควร
จะเข้าใจหรืออนุมานได้จากข้อมูลที่ผู้เสนอขอทำาประกันภัยได้เคยให้
ไว้แล้ว ข้อเท็จจริงทั่วไปที่ผู้รับประกันภัยทราบ และข้อเท็จจริงที่
ผู้รับประกันภัยควรจะทราบ หากว่า ได้มีการซักถามตามปกติ นอก
เหนือจากข้อมูลที่ได้มีการให้ไว้แล้ว
2.2 คำารับรอง (Warranty) หมายถึง คำารับรองที่ฝ่ายผู้
เอาประกันภัยเป็นผู้ให้สัญญากับฝ่ายผู้รับประกันภัยในการปฏิบัติอย่าง
ใดอย่างหนึ่ง หรือไม่ปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งตามเงื่อนไข โดยถือว่า
คำารับรองนี้เป็นส่วนหนึ่งของสัญญา ดังนั้น หากผู้เอาประกันภัยทำา
ผิดคำารับรองถือว่าทำาผิดสัญญาด้วย ซึ่งคำารับรองโดยทั่วไปจะมี 2
ประเภท คือ
2.2.2 คำารับรองที่ต้องกำาหนดเป็นลายลักษณ์อักษร
ให้ชัดเจนในสัญญา ว่าผู้เอาประกันจะให้คำารับรองอย่างไร เช่น ผู้
เอาประกันที่เป็นร้านอาหารให้คำารับรองว่าในระหว่างที่กรมธรรม์มี
ผลบังคับจะใช้ความรอบคอบ ระมัดระวัง ไม่ให้นำาเชื้อเพลิงเข้าใกล้
เตาไฟปรุงอาหารเป็นอันขาด
2.2.3 คำารับรองที่ไม่ได้เขียนในสัญญาแต่เป็นที่
เข้าใจร่วมกันทั้งสองฝ่าย คำารับรองนี้มักจะพบในสัญญาประกันภัย
75
ทางทะเล เช่น เรื่องของการที่ผู้เอาประกันภัยตัวเรือจะต้องตรวจเช็ค
สภาพเรือให้พร้อมก่อนออกเดินทาง หรือการเดินทางของเรือจะไม่
ออกนอกเส้นทางการเดินเรือปกติ เป็นต้น
เมื่อหลักของการแถลงข้อเท็จจริงต้องเป็นไปด้วยความ
สุจริตใจอย่างยิ่ง พบว่ากฎหมายของการประกันภัยในต่างประเทศ ได้
มีการกำาหนดเรื่องนี้ไว้เพื่อรักษาความเป็นธรรมแก่ผู้เอาประกันภัยและ
ผู้รับประกันภัย ซึ่งกฎหมายไทยก็ได้กำาหนดเรื่องนี้ไว้เช่นกัน
2.3 ระยะเวลาในการบอกล้างสัญญา หลังจากที่ผู้เอา
ประกันได้ตกลงทำาประกันภัยและ ผู้รับประกันภัยได้ตกลงรับทำา
ประกันภัยแล้ว ต่อมาภายหลังผู้รับประกันภัยได้ตรวจพบหรือได้ทราบ
ว่า ผู้เอาประกันภัยปกปิดความจริงหรือแถลงข้อความเท็จ ซึ่ง
มิได้แสดงความสุจริตใจในการทำาประกัน และอยู่ในเกณฑ์ที่สามารถ
บอกเลิกสัญญาได้ ผู้รับประกันภัยสามารถบอกล้างสัญญาได้ภายใน
กำาหนดระยะเวลาที่กฎหมาย จะกำาหนดแล้วแต่ว่าแต่ละประเทศจะ
กำาหนดระยะเวลาบอกล้างเท่าใด ซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและ
พาณิชย์ มาตรา 865 วรรคสอง ได้กำาหนดระยะเวลาการบอกล้าง
ไว้ดังนี้ ถ้ามิได้ใช้สิทธิบอกล้างภายในกำาหนดเดือนหนึ่งนับแต่วันที่
ผู้รับประกันภัยทราบข้อมูลอันจะบอกล้างได้ก็ดี หรือ มิได้ใช้สิทธิ
นั้นภายในกำาหนดห้าปี นับแต่วันทำาสัญญาก็ดี ท่านว่าสิทธินั้นเป็น
ระงับสิ้นไป
2.3.1 ระยะเวลา 1 เดือน หลังจากที่ผู้รับประกัน
ทราบมูลอันจะบอกล้างได้ ผู้รับประกันภัยจะต้องรีบบอกล้าง
สัญญานั้นภายในระยะเวลา 1 เดือน โดยไม่คำานึงถึงว่าวันที่ตรวจ
พบหรือได้ทราบข้อมูลนั้นได้เกิดความเสียหายขึ้นหรือยัง ถึงแม้ว่า
ความเสียหายเกิดขึ้นแล้วก็สามารถบอกล้างได้เช่นกัน อย่างเช่น
กรณีการประกันชีวิตบ่อยครั้งที่ผู้รับประกันภัยได้ทราบข้อมูลที่แท้
จริงหลังจาก ผู้เอาประกันภัยได้เสียชีวิตลง ซึ่งถ้าผู้รับประกันภัย
ประสงค์จะบอกล้างสัญญาก็สามารถกระทำาได้โดยต้องบอกล้าง
ภายในระยะเวลา 1 เดือน ถึงแม้เรื่องจะเกิดขึ้นแล้ว
2.3.2 ระยะเวลา 5 ปี เป็นระยะเวลาสูงสุดที่ผู้รับ
ประกันภัยจะมีสิทธิบอกล้างสัญญาได้นับแต่วันเริ่มทำาประกัน หลัง
จาก 5 ปีไปแล้วถึงแม้ว่าผู้รับประกันภัยจะทราบมูลที่แท้จริงก็ไม่
สามารถ บอกล้างสัญญาได้ถือว่าสัญญานั้นสมบูรณ์ทุกอย่าง ที่มี
76
การกำาหนดระยะเวลาไว้เนื่องจากการประกันภัยบางประเภท เช่น
การประกันชีวิตมักจะเป็นสัญญาระยะยาว
2.3.3 เงินค่าไถ่ถอนกรมธรรม์ เมื่อมีการบอกล้าง
สัญญาภายในระยะเวลา 5 ปี ตามที่กำาหนดไว้ ผู้รับประกันภัย
มีหน้าที่จะต้องคืนเงินส่วนหนึ่งให้แก่ผู้เอาประกันภัย ประมวล
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 892 กำาหนดมูลค่าเงินที่จะคืนไว้
ว่า กรณีบอกล้างสัญญาผู้รับประกันต้องคืนค่าไถ่ถอนกรมธรรม์
ประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัยหรือทายาทของผู้นั้น ซึ่งค่าไถ่ถอน
กรมธรรม์ หมายถึง ค่าเบี้ยประกันที่ได้หักค่าใช้จ่ายออกมาแล้ว
กล่าวคือ เมื่อผู้รับประกันได้บอกล้างสัญญาอันเกิดจากมาตรา 865
ผู้รับประกันภัยต้องคืนค่าเบี้ยประกันที่ได้เก็บมาแล้ว โดยยอมให้หัก
ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่ เกิดขึ้นมาในระหว่างสัญญาได้ ซึ่งค่าใช้จ่าย
นั้นขึ้นอยู่กับผู้รับประกันภัยจะระบุ เนื่องจากผู้รับประกันภัยแต่ละราย
มีค่าใช้จ่ายในการทำาสัญญาแตกต่างกัน ถึงแม้ว่าจะยังไม่มีข้อยุติดัง
กล่าว แต่ก็พอใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติได้
3.หลักการชดใช้ค่าเสียหายหรือสินไหมทดแทน
(Principle of Indemnity)
เมื่อสัญญาประกันภัยเป็นสัญญาเพื่อการชดใช้ ดังนั้น การ
ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจึงเป็นพื้นฐานและหลักการที่สำาคัญประการ
หนึ่งของสัญญาประกันภัยและให้บริษัทผู้รับประกันวินาศภัยต้อง
ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำาหนดไว้ ดังนี้
1. เพื่อจำานวนวินาศภัยอันแท้จริง ซึ่งหมายถึงจำานวน
ความเสียหายที่แท้จริง
2. เพื่อความบุบสลายอันเกิดแก่ทรัพย์สินซึ่งได้เอา
ประกันภัยไว้เพราะได้จัดการตาม
สมควรเพื่อป้องปัดความวินาศภัย
3. เพื่อบรรดาค่าใช้จ่ายอันควรซึ่งได้เสียไปเพื่อรักษา
ทรัพย์สินซึ่งเอาประกันภัยไว้นั้น
มิให้วินาศ
นอกจากหลักเกณฑ์ที่กำาหนดไว้ดังกล่าวแล้วข้างต้น
กฎหมายได้ระบุไว้ด้วยว่า จำานวนหรือขนาดของวินาศภัยจะต้องตี
ราคา ณ สถานที่และในเวลาที่เกิดวินาศภัย โดยสันนิษฐานไว้ก่อน
77
ว่าจำานวนเงินที่เอาประกันภัยนั้นเป็นการตีราคาจำานวนเงินเอา
ประกันภัยที่ถูกต้อง แต่ผู้รับประกันภัยไม่ต้องชดใช้ค่าสินไหม
ทดแทนเกินไปกว่าจำานวนเงินเอาประกันภัยนั้น
ตัวอย่าง ตามกรมธรรม์ประกันภัยได้ระบุความคุ้มครอง
ความเสียหายต่อรถยนต์รวมทั้งอุปกรณ์ติดตั้งประจำารถ เมื่อเกิด
อุบัติเหตุหรือความสูญเสียเนื่องจากการชนที่เกิดขึ้น ระหว่างระยะ
เวลาประกันภัย ต่อมานายสมนึก ซึ่งเป็นเจ้าของรถยนต์ซึ่งได้เอา
ประกันภัยรถยนต์คันดังกล่าวไว้ โดยมีนายสมพงษ์ เป็นผู้ขับขี่
รถยนต์คันดังกล่าว และต่อมาได้เกิดอุบัติเหตุ นายสมพงษ์ได้รับบาด
เจ็บไม่สามารถทำางานได้ ดังนี้ผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิดค่าเสียหาย
กรณีที่นายสมพงษ์ ผู้ขับขี่รถยนต์คันดังกล่าวขาดรายได้ประจำาวัน
เพราะมิใช่ความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อตัวรถและอุปกรณ์
แม้ว่าการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยไป
ตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำาหนดไว้ดังกล่าวข้างต้น จะทำาให้ผู้รับ
ประกันภัยหลุดพ้นจากความรับผิดที่เกิดขึ้นกับวัตถุที่เอาประกันภัย แต่
สำาหรับการประกันภัยคำ้าจุน (Guarantee Insurance) ซึ่งเป็นสัญญา
ประกันภัยที่ผู้รับประกันภัย ตกลงว่าจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนใน
นามของผู้เอาประกันภัย เพื่อความเสียหายหรือวินาศภัยที่ เกิดขึ้นกับ
บุคคลอื่นและ ผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบต่อบุคคลอื่นที่ได้รับ
ความเสียหายนั้น เช่น การประกันภัยความรับผิดของผู้ขนส่ง ซึ่ง
ผู้รับประกันภัยรับชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันภัย
สำาหรับสินค้าที่ได้รับความเสียหายหรือสูญหายหรือส่งมอบล่าช้าอัน
เกิดจากความผิดของผู้ขนส่งที่ได้ทำาประกันภัยไว้กับตน เป็นต้น
การประกันภัยคำ้าจุนมีประเด็นสำาคัญที่ผู้รับประกันภัยควรพิจารณา
กล่าวคือ ถึงแม้ว่าผู้รับประกันภัยคำ้าจุนจะได้จ่ายค่าสินไหมทดแทน
ให้แก่ผู้เอาประกันภัยไปแล้ว แต่ก็ยังไม่หลุดพ้นจากความรับผิดต่อผู้
เสียหายซึ่งเป็นบุคคลภายนอก เว้นแต่ผู้รับประกันภัยสามารถพิสูจน์
ได้ว่า ผู้เสียหายได้รับค่าสินไหมทดแทนนั้นจากผู้เอาประกันภัยแล้ว
ดังนั้นตามตัวอย่างการประกันภัยความรับผิดของผู้ขนส่งข้างต้น
ผู้รับประกันภัยจะหลุดพ้นจากความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยก็
ต่อเมื่อผู้เอาประกันภัย (ผู้ขนส่ง) ได้นำาค่าสินไหมทดแทนที่ได้รับ
จากบริษัทประกันภัยไปชำาระให้แก่เจ้าของสินค้า ด้วยเหตุนี้
กรมธรรม์ประกันภัยบางฉบับ เข่น กรมธรรม์ประกันภัยความรับผิด
78
ของผู้ขนส่ง จึงกำาหนดไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยให้ผู้รับประกันภัยมี
สิทธิชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกผู้มีสิทธิเรียกร้อง
3.1 หลักการชดใช้ค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทน
(Principle of Indemnity) การชดใช้ค่าเสียหายหรือค่าสินไหม
ทดแทนจะใช้เฉพาะกรณีของการประกันวินาศภัยเท่านั้น เนื่องจาก
การประกันชีวิตเป็นสัญญาการกำาหนดจำานวนเงิน (Value Policy)
ไว้แน่นอนตั้งแต่แรกของการทำาประกัน โดยที่ ผู้เอาประกันภัย
และผู้รับประกันภัยยอมตกลงที่จะรับประกันชีวิตของบุคคลนั้นตาม
ฐานะทางเศรษฐกิจ และเมื่อผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตลงและอยู่ภายใต้
เงื่อนไขของกรมธรรม์ที่จะจ่ายได้ ผู้รับประกันภัยจะต้องชดใช้เงิน
นั้นทั้งจำานวน (Total Benefit) ให้กับผู้เอาประกันภัย โดยไม่มีการ
โต้แย้งกันว่าเมื่อผู้เอาประกันเสียชีวิตลงความเสียหายจริงจะมีมูลค่า
เท่าใด เนื่องจากความรับผิดชอบของผู้ประกันภัยได้ถูกกำาหนดไว้
อย่างชัดเจนแล้ว
สำาหรับการกำาหนดเงื่อนไขการชดใช้ค่าเสียหายซึ่งได้มี
การระบุไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 889 ว่า
สัญญาประกันชีวิตนั้น การใช้จำานวนเงินย่อมอาศัยความทรงชีพ
หรือมรณะของบุคคลคนหนึ่ง และตามมาตรา 895 ได้กำาหนดว่า เมื่อ
ใดจะต้องใช้จำานวนเงินในเหตุมรณะของบุคคลคนหนึ่งคนใด ผู้รับ
ประกันจำาต้องใช้เงินนั้นเมื่อมรณภัยอันนั้นเกิดขึ้น หมายความว่า
การชดใช้ค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันชีวิต
พิจารณาจากระยะเวลาการมีชีวิตและการเสียชีวิตอยู่ของผู้เอา
ประกันภัย และผู้รับประกันภัยจะจ่ายเงินชดเชยให้กรณีผู้เอาประกัน
ภัยเสียชีวิตลง เหตุที่สัญญาของการประกันวินาศภัยไม่ได้ใช้หลัก
การชดใช้ค่าเสียหายในลักษณะของสัญญาการกำาหนดจำานวนเงิน
(Value Policy) นั้น เนื่องจากความเสียหายที่เกิดขึ้นจริงอาจจะไม่
ได้เป็นไปตามวงเงินที่ ทำาประกันไว้
ตัวอย่าง นางสาวบี ทำาประกันภัยความเสียหายของทรัพย์สิน
ไว้เป็นจำานวน 3,000,000 บาท ต่อมาเกิดความเสียหายบางส่วนคิด
เป็นมูลค่าได้ 1,700,000 บาทเท่านั้น หากจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้
เท่ากับสัญญาการกำาหนดจำานวนเงิน (Value Policy) คือ
3,000,000 บาทเท่ากับว่ากับผู้เอาประกันภัยจะได้รับประโยชน์ส่วน
เกินจากการทำาประกันภัย ทำาให้มีโอกาสจะเกิดภัยจากการขาด
79
คุณธรรมของ ผู้เอาประกันภัย (Moral Hazard) มากขึ้น ซึ่งผิด
วัตถุประสงค์ของการทำาประกันภัย ในกรณีเช่นนี้ ความเสียหายจริง
เพียง 1,700,00 บาท นางสาวบี ซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยก็จะได้รับค่า
สินไหมทดแทนเท่ากับ 1,700,000 บาทเท่านั้น จึงสามารถสรุปได้
ว่าการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เอาประกันภัยนั้นจะจ่ายให้ตาม
ความเสียหายที่แท้จริง (Actual Loss) และจำานวนเงินนั้นจะต้องไม่
เกินวงเงินที่ทำาประกันไว้ตามที่กฎหมายกำาหนด
3.2 การประกันทรัพย์สินในมูลค่าต่างกัน หลักการจ่าย
ค่าสินไหมทดแทนโดยมากจะใช้กับการประกันวินาศภัย แต่กรณี
ของการประกันทรัพย์สินมีลักษณะเฉพาะที่เกี่ยวกับมูลค่าของ
ทรัพย์สิน ที่เอาประกันภัยกับวงเงินที่ทำาประกันภัยอาจจะเป็น
คนละจำานวนกัน เมื่อเกิดความเสียหายขึ้นค่าสินไหมทดแทนที่จะได้
รับจากผู้รับประกันภัยย่อมแตกต่างกันด้วย
ตัวอย่าง บ้านหลังหนึ่งมีมูลค่าที่แท้จริง 3,000,000 บาท ผู้
เอาประกันภัยอาจขอทำาประกันเต็มมูลค่า 3,000,000 บาทหรือขอทำา
ประกันเพียง 2,000,000 บาท เนื่องจากค่าเบี้ยประกันมีราคาสูง หรือ
ขอเอาประกันภัยเป็นเงิน 3,500,000 บาท ด้วยเหตุที่ผู้เอาประกันภัย
อาจไม่ทราบว่าราคาทรัพย์สินที่แท้จริงมีมูลค่าเท่าใด หรือาจทราบ
มูลค่าที่แท้จริงแต่มีความตั้งใจที่จะทำาประกันภัยเกินมูลค่าด้วยมี
เจตนาอื่นแอบแฝงอยู่ จึงขอยกตัวอย่างการทำาประกันภัยทรัพย์สิน
ในวงเงินที่แตกต่างจากมูลค่าที่แท้จริงของทรัพย์สินดังนี้
วงเงินที่สามารถเรียกร้องค่าเสียหายได้จากผู้รับประกัน
ภัยสามารถคำานวณได้ ดังนี้
สมมติว่า ทรัพย์สินมีมูลค่าที่แท้จริง (Full Value)
3,000,000 บาท ต่อมาเกิดความ
เสียหายขึ้น 2 กรณี คือ (1) ทรัพย์สินเสียหายทั้งหมด (Total Loss)
(2) ทรัพย์สินเสียหายเพียงบางส่วน (Partial Loss) เป็นจำานวน
2,000,000 บาท
3.2.1 คำานวณการทำาประกันภัยทรัพย์สินที่เอา
ประกันภัยเท่ากับมูลค่าที่แท้จริงของทรัพย์สิน (Full Value)
มูลค่าที่ทำาประกันภัย (Sum Insured)
สินไหมทดแทน = X
ความเสียหาย (Loss)
มูลค่าที่แท้จริงของทรัพย์สิน (Face Value)
80
3.2.1.1 กรณีเกิดความเสียหายทั้งหมด ค่า
สินไหมทดแทนที่จะได้รับจะเป็น
3,000,000 บาท หรือคำานวณได้ ดังนี้
3.2.1.2 กรณีเกิดความเสียหาย 2,000,000 ค่า
สินไหมทดแทนที่จะได้รับจะ
เท่ากับความเสียหายที่แท้จริง คือ 2,000,000 บาท หรือคำานวณได้
ดังนี้
3.2.2 คำานวณการทำาประกันภัยทรัพย์สินที่เอา
ประกันภัยตำ่ากว่ามูลค่าที่แท้จริง (Underinsured) โดยสมมติว่าผู้เอา
ประกันภัยทำาประกันภัยทรัพย์สินไว้เพียง 2,000,000 บาทจาก
มูลค่าที่แท้จริง 3,000,000 บาท
3.2.2.1 เมื่อทรัพย์สินเกิดความเสียหายเพียง
2,000,000 บาท ผู้เอา
ประกันภัย จะได้รับการชดใช้ค่าเสียหายตามจำานวนความเสียหายที่
เกิดขึ้นคือ 2,000,000 บาท เนื่องจากผู้เอาประกันภัยชำาระค่าเบี้ย
ประกันภัยน้อยกว่าการประกันภัยมูลค่าที่แท้จริงของทรัพย์สิน หรือ
กล่าวอีกนัยหนึ่ง ค่าสินไหมทดแทนนี้จะจ่ายเป็นไปตามสัดส่วนที่ผู้
เอาประกันทำาประกันไว้ คำานวณได้ดังนี้
3,000,000
สินไหมทดแทน =
X 3,000,000
3,000,000
= 3,000,000
บาท
3,000,000
สินไหมทดแทน =
X 2,000,000
3,000,000
= 2,000,000
บาท
2,000,000
สินไหมทดแทน = X
3,000,000
3,000,000
= 1,999,999.99
บาท
หรือประมาณ 2,000,000
บาท
81
3.2.2.2 ตัวอย่างการคำานวณเมื่อเกิดความเสีย
หายเพียงบางส่วน มูลค่าความ
เสียหายเท่ากับ 1,000,000 บาท
โดยส่วนต่างที่ผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดชอบใน
ความเสียหายเองมีมูลค่าประมาณ 333,333,34 บาท
3.2.3 คำานวณกรณีการเอาประกันภัยทรัพย์สินเกิน
มูลค่าที่แท้จริง (Over insured) โดยสมมติว่าผู้เอาประกันภัยทำา
ประกันภัยทรัพย์สินในราคา 3,500,000 บาท
3.2.3.1 เมื่อเกิดความเสียหายทั้งหมด ถือว่า ผู้
เอาประกันภัยได้รับมีความ
เสียหายจริงเท่ากับมูลค่าทรัพย์สินนั้น
ดังนั้นค่าสินไหมทดแทนจะเป็น 3,000,000
บาท เท่ากับความเสียหายจริง ถึงแม้ว่าเมื่อเข้าสูตรในการคำานวณ
แล้วจะได้ผลออกมาเป็น 3,500,000 บาท ก็ตาม
เพราะหากชดใช้ให้ 3,500,000 บาท จะทำาให้ผู้เอา
ประกันได้ประโยชน์จากการทำาประกัน ทำาให้โอกาสของการเกิดภัย
ที่เกิดจากการขาดคุณธรรมของผู้เอาประกันภัย (Moral Hazard)
เป็นไปได้ง่าย
3.2.3.2 เมื่อเกิดความเสียหายบางส่วนเป็นเงิน
1,000,000 บาท ก็จะได้รับค่าสินไหมทดแทนเท่ากับ 1,000,000
บาท ตามความเสียหายที่แท้จริงเช่นกัน ถึงแม้ว่าเมื่อใช้สูตรคำานวณ
แล้วจะได้ 1,166,666.67 บาทก็ตาม
3,500,000
สินไหมทดแทน =
X 3,000,000
3,000,000
= 3,500,000
บาท
3,500,000
สินไหมทดแทน =
X 1,000,000
3,000,000
=
1,166,666.67 บาท
2,000,000
สินไหมทดแทน = X
1,000,000
3,000,000
= 666,666.67
บาท
82
จากตัวอย่าง 3.2.3.1 และ 3.2.3.2 นี้ จะเห็นว่าไม่เกิด
ประโยชน์ใดเลยที่จะทำาประกันภัยทรัพย์สินเกินมูลค่าที่แท้จริง
เพราะผู้รับประกันภัยจะชดใช้ค่าเสียหายให้ตามความเป็นจริงเท่านั้น
3.3 วิธีการจ่ายค่าสินไหมทดแทน การจ่ายค่าสินไหม
ทดแทน ผู้รับประกันภัยอาจเลือกดำาเนินการตามวิธีการใดวิธีการ
หนึ่งจาก 4 วิธี ดังนี้
3.3.1 การชำาระคืนเป็นเงินสด (Cash) เป็นวิธีที่
สะดวกและนิยมใช้มากที่สุด เนื่องจากเป็นวิธีที่ง่ายที่สุด หากสามารถ
ประเมินราคาทรัพย์สินได้เป็นที่พอใจของทั้งสองฝ่าย เช่น กรณีการ
เกิดอุบัติเหตุและรถยนต์ของผู้เอาประกันภัยได้รับความเสียหาย จาก
การประเมินของอู่พบว่าความเสียหายของรถยนต์มีมูลค่า 50,000
บาท ผู้รับประกันภัยก็จะชำาระเงินจำานวน 50,000 บาทตามการ
ประเมินของอู่ เป็นต้น
3.3.2 การซ่อมแซม (Repair) ในกรณีที่ทรัพย์สิน
นั้นเสียหายเป็นบางส่วน และสามารถซ่อมแซมให้กลับเข้าอยู่ใน
สภาพเดิมได้ก็สามารถใช้วิธีนี้ได้ เช่น โกดังเก็บสินค้าเกิดเพลิงไหม้
เสียหายเฉพาะหลังคาส่วนหลังของโกดัง ผู้รับประกันภัยสามารถใช้
วิธีการชดใช้ค่าสินไหมซ่อมแซมเฉพาะหลังคาโกดังที่ได้รับความ
เสียหายจากเหตุเพลิงไหม้ เป็นต้น
3.3.3 การหาสิ่งของมาทดแทน (Replacement)
หรือการเปลี่ยนชิ้นส่วนให้เฉพาะส่วนที่เกิดความเสียหาย มักจะใช้
กับกรณีที่ความเสียหายเกิดขึ้นบางส่วนเช่นกัน และมักจะใช้กับกรณี
การประกันรถยนต์ เช่น รถยนต์คันที่ได้ทำาประกันไว้ถูกรถ
จักรยานยนต์เฉี่ยวชนกระจกมองข้างหลุด เช่นนี้เจ้าของรถสามารถ
เรียกร้องให้ผู้รับประกันภัยเปลี่ยนกระจกมองข้างใหม่ให้ได้ และชิ้น
ส่วนเก่า จะถือเป็นซากทรัพย์สินของผู้รับประกันภัย ซึ่งผู้รับ
ประกันภัยสามารถนำาไปขายต่อหรือนำาไปใช้ประโยชน์อื่นใดได้
เพราะเป็นสิทธิของผู้รับประกัน
3.3.4 การทำาให้ทรัพย์สินกลับสู่สภาพเดิม
(Reinstatement) เป็นวิธีที่ยากในทางปฏิบัติและไม่นิยมกระทำา
เพราะบางกรณีอาจสุดวิสัยที่ผู้รับประกันจะกระทำาให้ได้ เช่น กรณี
ประกัน วัตถุโบราณ หรือสิ่งของหายาก ซึ่งหากเกิดความเสียหาย
บทที่ 3 แนวความคิดพื้นฐาน
บทที่ 3 แนวความคิดพื้นฐาน
บทที่ 3 แนวความคิดพื้นฐาน
บทที่ 3 แนวความคิดพื้นฐาน
บทที่ 3 แนวความคิดพื้นฐาน
บทที่ 3 แนวความคิดพื้นฐาน
บทที่ 3 แนวความคิดพื้นฐาน
บทที่ 3 แนวความคิดพื้นฐาน
บทที่ 3 แนวความคิดพื้นฐาน
บทที่ 3 แนวความคิดพื้นฐาน
บทที่ 3 แนวความคิดพื้นฐาน
บทที่ 3 แนวความคิดพื้นฐาน
บทที่ 3 แนวความคิดพื้นฐาน
บทที่ 3 แนวความคิดพื้นฐาน
บทที่ 3 แนวความคิดพื้นฐาน

More Related Content

What's hot

การประกันชีวิตคืออะไร
การประกันชีวิตคืออะไรการประกันชีวิตคืออะไร
การประกันชีวิตคืออะไรKruPor Sirirat Namthai
 
ความสำคัญและประโยชน์ของการทำประกันภัย
ความสำคัญและประโยชน์ของการทำประกันภัยความสำคัญและประโยชน์ของการทำประกันภัย
ความสำคัญและประโยชน์ของการทำประกันภัยคิง เกอร์
 
ทำอย่างไร
ทำอย่างไรทำอย่างไร
ทำอย่างไรtanutta
 
การประกันภัยรถยนต์
การประกันภัยรถยนต์การประกันภัยรถยนต์
การประกันภัยรถยนต์KruPor Sirirat Namthai
 
บทที่ 9 การประกันภัยเบ็ดเตล็ด
บทที่ 9  การประกันภัยเบ็ดเตล็ดบทที่ 9  การประกันภัยเบ็ดเตล็ด
บทที่ 9 การประกันภัยเบ็ดเตล็ดchakaew4524
 
การประกันภัย
การประกันภัยการประกันภัย
การประกันภัยBank Kitsana
 
การขนส่งและประกันภัย
การขนส่งและประกันภัยการขนส่งและประกันภัย
การขนส่งและประกันภัยonchuda
 
พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ KruPor Sirirat Namthai
 

What's hot (10)

การประกันชีวิตคืออะไร
การประกันชีวิตคืออะไรการประกันชีวิตคืออะไร
การประกันชีวิตคืออะไร
 
ความสำคัญและประโยชน์ของการทำประกันภัย
ความสำคัญและประโยชน์ของการทำประกันภัยความสำคัญและประโยชน์ของการทำประกันภัย
ความสำคัญและประโยชน์ของการทำประกันภัย
 
ทำอย่างไร
ทำอย่างไรทำอย่างไร
ทำอย่างไร
 
การประกันภัยรถยนต์
การประกันภัยรถยนต์การประกันภัยรถยนต์
การประกันภัยรถยนต์
 
Nissan deller(update06 03-56)
Nissan deller(update06 03-56)Nissan deller(update06 03-56)
Nissan deller(update06 03-56)
 
บทที่ 9 การประกันภัยเบ็ดเตล็ด
บทที่ 9  การประกันภัยเบ็ดเตล็ดบทที่ 9  การประกันภัยเบ็ดเตล็ด
บทที่ 9 การประกันภัยเบ็ดเตล็ด
 
การประกันภัย
การประกันภัยการประกันภัย
การประกันภัย
 
การขนส่งและประกันภัย
การขนส่งและประกันภัยการขนส่งและประกันภัย
การขนส่งและประกันภัย
 
Mazda(update26 03-56)
Mazda(update26 03-56)Mazda(update26 03-56)
Mazda(update26 03-56)
 
พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
 

Viewers also liked

บทที่1ความรู้เบื้องต้น
บทที่1ความรู้เบื้องต้น บทที่1ความรู้เบื้องต้น
บทที่1ความรู้เบื้องต้น Rungnapa Rungnapa
 
บทที่ 4 บรรษัทภิบาล
บทที่ 4 บรรษัทภิบาลบทที่ 4 บรรษัทภิบาล
บทที่ 4 บรรษัทภิบาลRungnapa Rungnapa
 
บทที่2ความเสี่ยงภัยและการจัดการความเสี่ยง
บทที่2ความเสี่ยงภัยและการจัดการความเสี่ยง บทที่2ความเสี่ยงภัยและการจัดการความเสี่ยง
บทที่2ความเสี่ยงภัยและการจัดการความเสี่ยง Rungnapa Rungnapa
 
บทที่ 1 ความรู้ทั่วไป
บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปบทที่ 1 ความรู้ทั่วไป
บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปRungnapa Rungnapa
 
Building construction 5หลังคา
Building construction 5หลังคาBuilding construction 5หลังคา
Building construction 5หลังคาRungnapa Rungnapa
 
Building construction 5หลังคา แบบฝึกหัด
Building construction 5หลังคา แบบฝึกหัดBuilding construction 5หลังคา แบบฝึกหัด
Building construction 5หลังคา แบบฝึกหัดRungnapa Rungnapa
 
บทที่ 1 แนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับฐานข้อมูล
บทที่ 1 แนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับฐานข้อมูลบทที่ 1 แนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับฐานข้อมูล
บทที่ 1 แนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับฐานข้อมูลRungnapa Rungnapa
 
บทที่ 1 แนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับฐานข้อมูล
บทที่ 1 แนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับฐานข้อมูลบทที่ 1 แนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับฐานข้อมูล
บทที่ 1 แนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับฐานข้อมูลRungnapa Rungnapa
 
Building construction 5หลังคา
Building construction 5หลังคาBuilding construction 5หลังคา
Building construction 5หลังคาRungnapa Rungnapa
 
ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยง
ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยง
ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงSuradet Sriangkoon
 

Viewers also liked (13)

บทที่1ความรู้เบื้องต้น
บทที่1ความรู้เบื้องต้น บทที่1ความรู้เบื้องต้น
บทที่1ความรู้เบื้องต้น
 
บทที่ 4 บรรษัทภิบาล
บทที่ 4 บรรษัทภิบาลบทที่ 4 บรรษัทภิบาล
บทที่ 4 บรรษัทภิบาล
 
บทที่2ความเสี่ยงภัยและการจัดการความเสี่ยง
บทที่2ความเสี่ยงภัยและการจัดการความเสี่ยง บทที่2ความเสี่ยงภัยและการจัดการความเสี่ยง
บทที่2ความเสี่ยงภัยและการจัดการความเสี่ยง
 
บทที่ 1 ความรู้ทั่วไป
บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปบทที่ 1 ความรู้ทั่วไป
บทที่ 1 ความรู้ทั่วไป
 
Ch10
Ch10Ch10
Ch10
 
Ch9
Ch9Ch9
Ch9
 
Building construction 5หลังคา
Building construction 5หลังคาBuilding construction 5หลังคา
Building construction 5หลังคา
 
Building construction 5หลังคา แบบฝึกหัด
Building construction 5หลังคา แบบฝึกหัดBuilding construction 5หลังคา แบบฝึกหัด
Building construction 5หลังคา แบบฝึกหัด
 
บทที่ 1 แนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับฐานข้อมูล
บทที่ 1 แนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับฐานข้อมูลบทที่ 1 แนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับฐานข้อมูล
บทที่ 1 แนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับฐานข้อมูล
 
Slide3
Slide3Slide3
Slide3
 
บทที่ 1 แนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับฐานข้อมูล
บทที่ 1 แนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับฐานข้อมูลบทที่ 1 แนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับฐานข้อมูล
บทที่ 1 แนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับฐานข้อมูล
 
Building construction 5หลังคา
Building construction 5หลังคาBuilding construction 5หลังคา
Building construction 5หลังคา
 
ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยง
ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยง
ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยง
 

More from Rungnapa Rungnapa

บทที่ 5 good corporate governance2
บทที่ 5 good corporate governance2บทที่ 5 good corporate governance2
บทที่ 5 good corporate governance2Rungnapa Rungnapa
 
บทที่ 3 แนวปฏิบัติที่ดี
บทที่ 3 แนวปฏิบัติที่ดีบทที่ 3 แนวปฏิบัติที่ดี
บทที่ 3 แนวปฏิบัติที่ดีRungnapa Rungnapa
 
บทที่ 2 corporate social responsibility
บทที่ 2 corporate social responsibilityบทที่ 2 corporate social responsibility
บทที่ 2 corporate social responsibilityRungnapa Rungnapa
 
บทที่ 1 แนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับฐานข้อมูล
บทที่ 1 แนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับฐานข้อมูลบทที่ 1 แนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับฐานข้อมูล
บทที่ 1 แนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับฐานข้อมูลRungnapa Rungnapa
 
บทที่ 10 การบริหารโครงการ
บทที่ 10 การบริหารโครงการบทที่ 10 การบริหารโครงการ
บทที่ 10 การบริหารโครงการRungnapa Rungnapa
 
บทที่ 9 การควบคุมการผลิต
บทที่ 9 การควบคุมการผลิตบทที่ 9 การควบคุมการผลิต
บทที่ 9 การควบคุมการผลิตRungnapa Rungnapa
 
บทที่ 8 การจัดการสินค้าคงคลัง
บทที่ 8 การจัดการสินค้าคงคลังบทที่ 8 การจัดการสินค้าคงคลัง
บทที่ 8 การจัดการสินค้าคงคลังRungnapa Rungnapa
 
บทที่ 7 การจัดการซัพพลายเชน
บทที่ 7 การจัดการซัพพลายเชนบทที่ 7 การจัดการซัพพลายเชน
บทที่ 7 การจัดการซัพพลายเชนRungnapa Rungnapa
 
บทที่ 6 การออกแบบงาน มาตรฐานแรงงาน และเทคโนโลยีการผลิต
บทที่  6 การออกแบบงาน มาตรฐานแรงงาน และเทคโนโลยีการผลิตบทที่  6 การออกแบบงาน มาตรฐานแรงงาน และเทคโนโลยีการผลิต
บทที่ 6 การออกแบบงาน มาตรฐานแรงงาน และเทคโนโลยีการผลิตRungnapa Rungnapa
 
บทที่ 5 การเลือกทำเลที่ตั้ง
บทที่ 5 การเลือกทำเลที่ตั้งบทที่ 5 การเลือกทำเลที่ตั้ง
บทที่ 5 การเลือกทำเลที่ตั้งRungnapa Rungnapa
 

More from Rungnapa Rungnapa (17)

Ch8
Ch8Ch8
Ch8
 
Ch7
Ch7Ch7
Ch7
 
Ch5
Ch5Ch5
Ch5
 
Ch6 new
Ch6 newCh6 new
Ch6 new
 
Ch1 3
Ch1 3Ch1 3
Ch1 3
 
Ch1 3
Ch1 3Ch1 3
Ch1 3
 
บทที่ 5 good corporate governance2
บทที่ 5 good corporate governance2บทที่ 5 good corporate governance2
บทที่ 5 good corporate governance2
 
บทที่ 3 แนวปฏิบัติที่ดี
บทที่ 3 แนวปฏิบัติที่ดีบทที่ 3 แนวปฏิบัติที่ดี
บทที่ 3 แนวปฏิบัติที่ดี
 
บทที่ 2 corporate social responsibility
บทที่ 2 corporate social responsibilityบทที่ 2 corporate social responsibility
บทที่ 2 corporate social responsibility
 
บทที่ 1 แนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับฐานข้อมูล
บทที่ 1 แนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับฐานข้อมูลบทที่ 1 แนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับฐานข้อมูล
บทที่ 1 แนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับฐานข้อมูล
 
บทที่ 1
บทที่ 1บทที่ 1
บทที่ 1
 
บทที่ 10 การบริหารโครงการ
บทที่ 10 การบริหารโครงการบทที่ 10 การบริหารโครงการ
บทที่ 10 การบริหารโครงการ
 
บทที่ 9 การควบคุมการผลิต
บทที่ 9 การควบคุมการผลิตบทที่ 9 การควบคุมการผลิต
บทที่ 9 การควบคุมการผลิต
 
บทที่ 8 การจัดการสินค้าคงคลัง
บทที่ 8 การจัดการสินค้าคงคลังบทที่ 8 การจัดการสินค้าคงคลัง
บทที่ 8 การจัดการสินค้าคงคลัง
 
บทที่ 7 การจัดการซัพพลายเชน
บทที่ 7 การจัดการซัพพลายเชนบทที่ 7 การจัดการซัพพลายเชน
บทที่ 7 การจัดการซัพพลายเชน
 
บทที่ 6 การออกแบบงาน มาตรฐานแรงงาน และเทคโนโลยีการผลิต
บทที่  6 การออกแบบงาน มาตรฐานแรงงาน และเทคโนโลยีการผลิตบทที่  6 การออกแบบงาน มาตรฐานแรงงาน และเทคโนโลยีการผลิต
บทที่ 6 การออกแบบงาน มาตรฐานแรงงาน และเทคโนโลยีการผลิต
 
บทที่ 5 การเลือกทำเลที่ตั้ง
บทที่ 5 การเลือกทำเลที่ตั้งบทที่ 5 การเลือกทำเลที่ตั้ง
บทที่ 5 การเลือกทำเลที่ตั้ง
 

บทที่ 3 แนวความคิดพื้นฐาน

  • 1. บทที่ 3 แนวความคิดพื้นฐานเกี่ยวกับการประกันภัย สัญญาของการประกันภัยเป็นสัญญาที่ทั้งสองฝ่ายต่างตกลง ร่วมกันรับผิดชอบในภัยที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยฝ่ายผู้เอาประกัน ภัยเป็นผู้เสนอ (Offer) ขอทำาประกันภัย และฝ่ายผู้รับประกันภัยจะทำา หน้าที่เป็นผู้สนอง (Acceptance) คำาขอทำาประกัน และเมื่อรับ ประกันภัยแล้วเกิดภัยอันตรายอันนำามาซึ่ง ความเสียหาย ผู้รับ ประกันภัยมีหน้าที่จะต้องชดใช้ค่าสินไหมให้แก่ผู้เอาประกันภัยหรือ ผู้รับผลประโยชน์ตามข้อตกลงที่ระบุในกรมธรรม์ และการทำาประกัน ภัยไม่ได้มีวัตถุประสงค์ให้ผู้เอาประกันได้รับประโยชน์ทางการเงิน หรือกำาไรจากการทำาประกันภัยนั้น แท้จริงแล้วการทำาประกันภัย มี วัตถุประสงค์ในการ ช่วยขจัดหรือลดภาระความเสียหายทางการ เงินให้แก่ผู้เอาประกันภัย เนื่องจากเมื่อผู้เอาประกันภัยได้รับผลกำาไร หรือประโยชน์จากการประกันภัยแล้ว อาจทำาให้ผู้เอาประกันภัยมี ความจงใจที่จะก่อให้เกิดความเสียหายนั้นได้ แทนที่จะเป็นการลด หรือขจัดความเสียหายกลับจะเป็นการเพิ่มหรือกระตุ้นให้เกิดความ เสียหายนั้นมากขึ้น ดังนั้นในการทำาประกันภัยจะมีหลักฐานพื้นฐาน สำาคัญที่ได้กำาหนดไว้ เพื่อให้ผู้เอาประกันภัยและผู้รับประกันภัยได้ ถือปฏิบัติ การกระทำาบางอย่างของผู้เอาประกันภัยแม้จะไม่ได้มี เจตนาที่จะฉ้อโกงผู้รับประกันภัย แต่อาจมีผลทำาให้สัญญาประกัน ภัยมีข้อบกพร่องและอาจถูกบอกล้างได้ เช่น การบรรยายข้อเท็จจริง อันเป็นสาระสำาคัญต่อการประกันภัยที่มีความคลาดเคลื่อนไปจากความ เป็นจริง ทำาให้สัญญาประกันภัยเป็นโมฆียะและผู้รับประกันภัย สามารถบอกล้างสัญญาประกันภัยได้ เป็นต้น หรือในบางกรณีอาจ ทำาให้ไม่ได้รับการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเต็มจำานวนความเสียหาย เช่น กรณีที่มีการ ทำาประกันภัยไว้ตำ่ากว่ามูลค่าที่แท้จริงของ ทรัพย์สิน ดังนั้นการศึกษาและทำาความเข้าใจในหลักของการประกัน ภัยจึงเป็นสิ่งสำาคัญสำาหรับบุคคลหรือผู้ประกอบการธุรกิจ เพื่อสร้าง ความมั่นใจว่าการประกันภัยสามารถบรรเทาความเสียหายที่เกิดขึ้น แก่บุคคลและธุรกิจของตนได้
  • 2. 64 หลักพื้นฐานเกี่ยวกับการประกันภัย ในการประกันภัยมีหลักการ แนวคิดประกอบอยู่เป็นจำานวน มาก เช่น หลักการทางสถิติ คณิตศาสตร์ เพื่อนำามาใช้ในการ วิเคราะห์ข้อมูลสำาหรับพยากรณ์เหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และคำานวณเบี้ยประกันภัยให้มีความเหมาะสม ดังนั้น การประกันภัย จึงใช้หลักการหรือแนวความคิดที่เกี่ยวข้อง หลักการพื้นฐานที่สำาคัญ ของการประกันภัยที่ควรทราบ ประกอบด้วย 1) หลักส่วนได้เสีย อันสามารถเอาประกันภัยได้ (Principle of Insurable Interest) 2) หลักความสุจริตใจอย่างยิ่ง (Principle of Utmost Good Faith) 3) หลักการชดใช้ค่าเสียหายหรือสินไหมทดแทน (Principle of Indemnity) 4) หลักการ ร่วมเฉลี่ยชดใช้ค่าสินไหมทดแทน (Principle of Contribution) 5) หลักการรับช่วงสิทธิ (Principle of Subrogation) 6) หลักสาเหตุที่ใกล้ชิด (Principle of Proximate Cause) 1.หลักส่วนได้เสียอันสามารถเอาประกันได้ (Principle of Insurable Interest) การประกันภัยเป็นหลักกฎหมายที่ให้ความสำาคัญในการ กำาหนดให้ผู้เอาประกันภัยจะต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียในเหตุ (Subject Matter) ที่เอาประกันภัย หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือเป็นผู้มีส่วนได้เสีย ในชีวิตหรือทรัพย์สิน หรือความรับผิดต่อบุคคลอื่น ส่วนได้เสีย (Interest) หมายถึง ความสัมพันธ์ (Relation) หรือความเกี่ยวข้อง (Concern) ของบุคคลที่มีต่อวัตถุเอาประกันภัยโดยผลจากการเอา ประกันภัยนั้น อาจทำาให้บุคคลได้รับประโยชน์จากการที่ทรัพย์นั้น ปลอดภัยไม่ได้รับความเสียหายอาจทำาให้สิทธิของ ผู้เอาประกันภัย ถูกกระทบกระเทือนหากทรัพย์นั้นสูญหายหรือเสียหายหรือต้องมีส่วน รับผิดชอบในส่วนที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้น สำาหรับประวัติการพัฒนาธุรกิจการรับประกันภัยที่ผ่านมา นั้น พบว่าประเทศที่มีธุรกิจประกันภัยเกิดขึ้นมานานและมีความเจริญ ก้าวหน้าอย่างมาก โดยเฉพาะในประเทศอังกฤษและสหรัฐอเมริกา นั้นเดิมไม่ได้มีการกำาหนดเป็นกฎหมายที่จะต้องให้ผู้เอาประกันภัย
  • 3. 65 เป็นผู้มีส่วนได้เสียในเหตุที่เอาประกัน แต่ความเสียหายได้เกิดขึ้น ต่อชีวิตและทรัพย์สินนั้น ต่อมาความเสียหากมักจะเกิดจากความ จงใจของผู้เอาประกันภัยซึ่งไม่ได้มีส่วนได้เสียในชีวิตหรือทรัพย์สิน นั้น ตัวอย่างเช่น การรับประกันภัยการขนส่งสินค้าทางทะเลของ ผู้รับประกันภัยสัญชาติอังกฤษ สินค้าได้รับความเสียหากมากกว่า ปกติและบางครั้งเรือก็สูญหายไประหว่างทางและจากข้อเท็จจริงพบ ว่าการสูญเสียดังกล่าวเกิดจากความจงใจของ ผู้เอาประกันภัยซึ่งมี ส่วนได้เสียโดยการทำาลายสินค้าและเรือเพื่อที่จะได้รับเงินประกันนั้น เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวในกฎหมายประกันภัยของแต่ละประเทศจึงมัก กำาหนดให้ผู้เอาประกันภัยต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียในเหตุที่เอาประกัน ซึ่งกฎหมายไทยก็ได้มีการกำาหนดไว้ ว่าสัญญาประกันภัยนั้น ถ้าผู้ เอาประกันภัยมิได้มีส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัยไว้นั้นไซร้ ท่านว่า ย่อมไม่ผูกพันคู่สัญญาแต่อย่างหนึ่งอย่างใด” ส่วนได้เสียในเหตุที่ ประกันภัยไว้นั้นจะต้องพิจารณาซึ่งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและตัววัตถุ หรือชีวิตที่เหตุการณ์นั้นมีผลถึงอีกประการหนึ่ง(ประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์ มาตรา 863) ในส่วนของ Lord Blackburn ได้ กล่าวถึงส่วนได้เสียว่า ถ้าเหตุการณ์เกิดขึ้นคู่กรณีฝ่ายหนึ่งจะได้ ประโยชน์ถ้าเหตุการณ์นั้นไม่ได้เกิดขึ้นคู่กรณีฝ่ายนั้น จะได้รับความ เสียหาย กล่าวคือ “ผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์สินอันอาจเอาประกันภัย ได้คือผู้ที่จะได้ประโยชน์จากการที่ทรัพย์สินนั้นคงสภาพเดิมอยู่ หรือ จะได้รับความเสียหายจากการที่ทรัพย์สินนั้นทำาลายไป (จิตติ ติง ศภัทิย์, 2553 : 26) ตัวอย่าง กรณีของการประกันอัคคีภัย บุคคลผู้เป็นเจ้าของ บ้านถือว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสีย ในบ้านหลังนั้น กรณีหากเกิดเพลิง ไหม้เจ้าของบ้านจะต้องเป็นผู้ได้รับความเสียหายโดยตรง ส่วนผู้เช่า หรือผู้อยู่อาศัยไม่สามารถนำาบ้านของผู้อื่น (ผู้ให้เช่า) มาทำาประกัน ได้ เนื่องจากเป็นผู้ไม่มีส่วนได้เสียในบ้านหลังนั้นทำาให้เกิดความ เสียหายต่อผู้ให้เช่าซึ่งเป็นเจ้าของบ้าน เพราะหากยอมให้ผู้เช่า สามารถนำาบ้านของผู้อื่นมาทำาประกันได้ ผู้เช่าอาจจงใจวางเพลิงเพื่อ เอาเงินประกัน ในขณะที่ผู้เช่าชำาระเบี้ยประกันภัย และค่าเช่าบ้าน เป็นจำานวนเงินไม่มากนัก ดังนั้น การกำาหนดส่วนได้เสียจึงมีส่วน ช่วยลดความเสี่ยง และทำาให้การประกันภัยไม่มีลักษณะเป็นการ พนันด้วย
  • 4. 66 การที่คู่สัญญาประกันภัยที่เป็นผู้เอาประกันภัยมีความ สัมพันธ์หรือความเกี่ยวข้องโดยเฉพาะกับวัตถุแห่งการประกันภัยไม่ ว่าจะเป็นร่างกาย ชีวิต ทรัพย์สิน หรือความรับผิด ซึ่งบุคคลอยู่บน พื้นฐานของความเสี่ยงภัยถือว่าบุคคลนั้นมีส่วนได้เสียที่สามารถเอา ประกันภัยได้ หรือมีส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัยไว้ อันเป็นสิ่ง จำาเป็นพื้นฐานที่สัญญาประกันภัยจะต้องมี เว้นแต่กฎหมายบัญญัติ ยกเว้นไว้ว่าไม่ต้องมีส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัยไว้ เช่น กรมธรรม์ ประกันภัยกำาหนดให้จ่ายค่าสินไหมทดแทนแก่ ผู้รับผลประโยชน์ ซึ่งผู้รับผลประโยชน์นี้มิใช่ผู้เอาประกันภัยและกฎหมายไม่ได้บัญญัติ ไว้ว่าผู้รับผลประโยชน์จะต้องมีส่วนได้เสีย ในเหตุที่ได้ทำาประกันภัย ไว้ เมื่อส่วนได้เสียเป็นหลักการสำาคัญประการหนึ่งของการทำา สัญญาประกันภัย จึงได้ระบุสาระสำาคัญของส่วนได้เสียที่สามารถเอา ประกันภัยในกรณีการประกันชีวิต ประกันทรัพย์สิน และประกัน ความรับผิดที่เกิดขึ้น ได้ดังนี้ 1.1 กรณีการประกันชีวิต 1.1.1 ผู้มีส่วนได้เสีย ในการทำาประกันชีวิต ประกอบด้วย 1.1.1.1 เจ้าตัว (Owner) ซึ่งสามารถขอทำา ประกันชีวิต ประกันสุขภาพ หรือประกันอุบัติเหตุให้กับตนเอง ซึ่ง การทำาประกันดังกล่าวจะเกิดประโยชน์ต่อตัวของผู้เอาประกันเอง และหากเกรงว่าผู้เอาประกันจะฆ่าตัวตาย เพื่อหวังเงินประกันภัย ผู้รับประกันภัยมักกำาหนดแนวทางการปฏิบัติไว้ เช่น การกำาหนดข้อ ตกลงว่า หากผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตอันเนื่องมาจากการฆ่าตัวตาย ซึ่งผู้รับประกันภัยสามารถพิสูจน์ข้อเท็จจริงได้นั้นผู้รับประกันภัยไม่ จ่ายค่าสินไหมทดแทนให้ เป็นต้น 1.1.1.2 การเอาประกันชีวิตบุคคลอื่น (Third Party) กรณีที่ผู้เอาประกันภัยมิได้ประกันชีวิตตนเอง แต่มี วัตถุประสงค์ที่จะทำาประกันชีวิตให้แก่บุคคลอื่นเพื่อประโยชน์ของ บุคคลผู้นั้นหรือเพื่อตนเองจะได้เป็นผู้รับผลประโยชน์ตามกรมธรรม์ นั้น ผู้เอาประกันภัยจะต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียในเหตุที่เอาประกันภัย นั้น การพิจารณาว่าผู้เอาประกันภัยมีส่วนได้เสียในเหตุที่เอาประกัน ภัยหรือไม่ สามารถพิจารณาได้จากความสัมพันธ์ระหว่างผู้เอา ประกันภัยและบุคคลผู้นั้นว่าเมื่อเกิดเหตุกับบุคคลผู้นั้นจะส่งผลกระ
  • 5. 67 ทบต่อการดำาเนินชีวิตของผู้เอาประกันภัยอย่างไรบ้าง เช่น คู่สมรส ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตราที่ 1461 ได้กล่าวว่า “สามีภริยาต้องอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา สามีภริยาต้องช่วยเหลือ อุปการะเลี้ยงดูกันตามความสามารถและฐานะของตน” หากผู้หนึ่งผู้ ใดเสียชีวิต หรือไม่สามารถทำางานได้ อีกคนก็จะได้รับผลกระทบ โดยตรง หรือกรณีที่บุคคลมีความสัมพันธ์กันทางสายโลหิต เช่น บิดา มารดาและบุตร ตามประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตราที่ 1563 กำาหนดไว้ว่า “บุตรจำาต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดา มารดา” หรือ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตราที่ 1564 “บิดามารดา จำา ต้องอุปการะเลี้ยงดู และให้การศึกษาตามสมควรแก่บุตรในระหว่างที่ เป็นผู้เยาว์” ดังนั้น บิดามารดา จึงสามารถทำาประกันชีวิตให้บุตรได้ เพราะหากบุตรเป็นซึ่งจะเป็นผู้เลี้ยงดูบิดามารดาในอนาคต เกิดเสีย ชีวิตลงก่อนวัยอันควร ก็จะไม่มีผู้อุปการะบิดามารดาต่อไป บิดา มารดาจึงถือเป็นบุคคลผู้มีส่วนได้เสียในชีวิตของบุตร เป็นต้น 1.1.2.3 ผู้รับผลประโยชน์ ตามประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์ มาตรา 862 ได้กล่าวว่า “ผู้รับประโยชน์” หมายความว่า บุคคลผู้จะพึงได้รับค่า สินไหมทดแทน หรือรับจำานวนเงิน ใช้ให้และในวรรคต่อมาได้ กล่าวว่า “อนึ่ง ผู้เอาประกันภัยและผู้รับประโยชน์นั้น จะเป็นบุคคล หนึ่งคนเดียวก็ได้” ดังนั้น ผู้รับประโยชน์นั้นนอกจากจะเป็นผู้เอา ประกันภัยเองแล้ว อาจจะเป็นใครก็ได้ แต่ในทางปฏิบัติ ผู้รับ ประกันภัยจำาเป็นต้องพิจารณาเรื่องของผู้รับผลประโยชน์ด้วย เนื่องจากมีความเกี่ยวข้องกับศีลธรรมจริยธรรม และจรรยาบรรณใน การดำาเนินธุรกิจ และถ้าผู้รับประกันภัยพิจารณาว่า ผู้เอาประกัน ภัยมอบผลประโยชน์ให้แก่บุคคลอื่นอันไม่มีความสัมพันธ์ใด ๆ กัน เลย กรณีเช่นนี้ผู้รับประกันภัยสามารถพิจารณาไม่รับประกันภัยก็ได้ เนื่องจากการพิจารณาไม่รับประกันเป็นเรื่องของความเสี่ยงมิได้เป็น ข้อกำาหนดของกฎหมายแต่อย่างใด ดังนั้นในทางปฏิบัติ ผู้รับประกัน ภัยจะพิจารณาว่าผู้รับประโยชน์ในกรมธรรม์ควรจะได้แก่บุคคล ดัง ต่อไปนี้ ตัวของผู้เอาประกัน บิดา มารดาของผู้เอาประกัน ภรรยา หรือสามีของผู้เอาประกัน บุตรของผู้เอาประกัน เจ้าหนี้ ธุรกิจของ ผู้เอาประกัน กองมรดก กรณีที่ผู้เอาประกันภัยไม่ได้ระบุไว้ว่าให้ใคร เป็นผู้รับผลประโยชน์ให้ตั้งเอาจำานวนเงินเอาประกันภัยนั้นเป็น
  • 6. 68 สินทรัพย์ส่วนหนึ่งแห่งกองมรดกของผู้เอาประกันภัย ซึ่งเจ้าหนี้ สามารถมารับไปเพื่อการชดใช้ตามจำานวนหนี้ได้ดังนั้น สำาหรับกรณี ของการประกันชีวิตลักษณะที่ควรพิจารณาควบคู่ไปกับหลักส่วนได้ เสียก็คือ การพิจารณาถึงผู้รับผลประโยชน์ด้วย 1.1.3 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตราที่ 863 กล่าวว่า “ส่วนได้เสียจะต้องเกิดขึ้นหรือมีอยู่ ณ วันที่ ทำาสัญญา และหาก ณ วันที่ทำาสัญญาผู้เอาประกันภัยไม่ได้มีส่วนได้ เสีย ถือว่าสัญญานั้นไม่มีผลผูกพัน คู่สัญญาแต่อย่างหนึ่งอย่างใด” ตัวอย่างเช่น หากผู้เอาประกันภัยนำาบุคคลอื่นที่มีส่วนได้เสียมาทำา ประกันชีวิต และภายหลังได้มีเหตุให้สิ้นสุดความสัมพันธ์ เช่น การ หย่าร้างของสามีภรรยา ให้ถือหลักการปฏิบัติ ซึ่งมีความแตกต่างกัน 2 ประการ ได้แก่ สัญญานั้นยังคงมีผลบังคับใช้ต่อไป ถึงแม้ว่าส่วนได้ เสียของกันและกันจะหมดไป โดยยึดหลักว่าเรื่องของการประกันชีวิต นั้นเป็นเรื่องของการออม ไม่ใช่เรื่องของการชดใช้ค่าเสียหาย ดังนั้น แม้ต่อมาสามีและภรรยาได้หย่าขาดจากกัน หากภรรยายังคงชำาระ ค่าเบี้ยประกัน (กรณีภรรยาเป็นผู้ชำาระเบี้ยประกันและเป็นผู้รับผล ประโยชน์) กรมธรรม์นั้นยังคงมีผลบังคับอยู่ทุกประการ ในการที่ สัญญายังคงมีผลบังคับใช้ต่อไปนั้น บางคนอาจเข้าใจว่าเป็นการ เปิดช่องทางให้ผู้ชำาระเบี้ยประกันในฐานะที่ตนเป็นผู้รับผลประโยชน์ พยายามหาวิถีทางในการได้รับค่าสินไหมชดเชย เช่น การฆ่าผู้เอา ประกันเพื่อหวังเงิน ค่าสินไหมชดเชย เนื่องจากการที่ฐานะของตน ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียหมดไปอาจเกิดความไม่พอใจ ซึ่งกันและ กันได้ จึงมีกฎหมายกำาหนดเพื่อเป็นแนวทางการป้องกันไม่ให้จ่าย ค่าสินไหมชดเชยให้ผู้เอาประกันหรือผู้รับประโยชน์ในกรณีที่บุคคล นั้นถูกฆ่าโดยเจตนาจากผู้รับผลประโยชน์ ว่าผู้รับประกันภัย ไม่ จำาเป็นต้องใช้เงินนั้นหากการเสียชีวิตนั้นเกิดจากบุคคลผู้นั้นถูกผู้รับ ประโยชน์ฆ่าตายโดยเจตนา (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตราที่ 895 (2)) 1.2 กรณีการประกันวินาศภัย 1.2.2 ผู้มีส่วนได้เสีย ในทรัพย์สินและความรับผิด ชอบนั้นจะใช้หลักการทั่ว ๆ ไปเหมือนกรณีของการประกันชีวิต ซึ่ง ผู้มีส่วนได้เสียจะต้องมีลักษณะ ดังนี้
  • 7. 69 1.2.2.1 เจ้าของทรัพย์สิน (Owner) หมายถึง ผู้ที่มี ส่วนได้ส่วนเสียโดยตรงต่อทรัพย์สินนั้น เนื่องจากเมื่อทรัพย์สินนั้นถูก ทำาลายลงเจ้าของก็ได้รับความเสียหายด้วยทรัพย์สินต่าง ๆ ได้แก่ อาคาร โรงงาน บ้านพักอาศัย เครื่องมือ เครื่องจักร เรือ รถยนต์ สินค้า เป็นต้น โดยทรัพย์สิน หนึ่งชิ้นอาจมีเจ้าร่วมกันของหลายคน หรือเจ้าของหนึ่งคนอาจมีทรัพย์สินได้หลายชิ้น หากทรัพย์สินถูก ทำาลายลง ผลทางอ้อมที่ตามมา คือ ธุรกิจอาจต้องหยุดดำาเนินงาน ชั่วคราวซึ่งส่งผลให้ขาดรายได้หรือกำาไร และยังมีค่าใช้จ่ายประจำาที่ ยังเกิดขึ้น ถึงแม้จะหยุดการดำาเนินงานแล้วก็ตาม ดังนั้นเจ้าของ ธุรกิจหรือผู้ประกอบการซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสีย ในทรัพย์สินอยู่แล้วจึง ถือว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียในความเสียหายที่ สืบเนื่องมาจากความ เสียหายทางตรงนั้น 1.2.2.2 เจ้าหนี้ประเภทที่ต้องมีทรัพย์สินเป็นหลัก ประกัน (Secured Creditor) เจ้าหนี้ประเภทนี้อาจเป็นสถาบันการ เงินที่ปล่อยสินเชื่อโดยมีอาคาร ที่ดิน โรงงาน สินค้า รถยนต์ เป็น ตัวคำ้าประกันการกู้ยืม เจ้าหนี้ประเภทนี้จึงมีสิทธิ์เหนือทรัพย์สินนั้น ตามสัดส่วนของหนี้ที่ยังค้างอยู่ ดังนั้น เจ้าหนี้จึงสามารถนำาทรัพย์สิน นั้นมาทำาประกันภัยโดยมีเจ้าหนี้เป็นผู้รับผลประโยชน์ได้ เช่น กรณี การประกันอัคคีภัยของบ้านที่จำานองไว้กับธนาคารพาณิชย์โดยมี เงื่อนไขยกผลประโยชน์ให้แก่ผู้รับจำานอง 1.2.2.3 ผู้เช่า เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในสิทธิ การเช่า (Leasehold Interest) ซึ่งมิใช่ส่วนได้เสียในฐานะเจ้าของ อาคาร โดยการเช่าอาคารทั่วไปการสิ้นสุดของสัญญาเช่าอาจเกิด จากการที่ทรัพย์สินนั้นถูกทำาลาย เช่น ไฟไหม้ กรณีเช่นนี้นอกจาก เจ้าของทรัพย์สินจะได้รับความเดือดร้อนแล้ว ผู้เช่าย่อมได้รับ ความเดือดร้อนตามไปด้วย เนื่องจากต้องขาดรายได้และยังต้องเสีย ค่าใช้จ่ายในการจัดหาอาคารใหม่ ซึ่งอัตราที่เช่าใหม่อาจมีมูลค่า แพงกว่าอัตราค่าเช่าเดิมมาก 1.2.2.4 ผู้ที่ต้องมีความรับผิด (Liability) ต่อ บุคคลอื่น ซึ่งอาจเกิดจากการใช้ทรัพย์สินนั้น หรือเกิดจากดำาเนิน งานตามปกติของบุคคลหรือธุรกิจนั้น เช่น ผู้ครอบครอง ผู้ดูแล หรือ ผู้จัดการทรัพย์สินของบุคคลอื่น ในช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง ซึ่ง บุคคลดังกล่าวต้องมีความรับผิดตามกฎหมายต่อผู้เป็นเจ้าของ
  • 8. 70 ทรัพย์สินนั้น หากทรัพย์สินนั้นเกิดสูญหายหรือได้รับความเสียหาย บุคคลเหล่านี้ มีส่วนได้เสียที่สามารถนำาไปประกันได้ 1.2.2.5 ผู้ที่คาดว่าจะเป็นเจ้าของทรัพย์สินใน อนาคต (Factual Expectation) เช่น บุตรของผู้เป็นเจ้าของทรัพย์สิน โดยปกติคาดว่าต่อไปตนจะเป็นผู้รับมรดกหรือเป็นเจ้าของทรัพย์สินนั้น แทนบิดามารดา ดังนั้น บุตรผู้นั้นสามารถนำาทรัพย์สินนั้นไปทำา ประกันภัยได้ 1.2.3 ผู้ที่จะได้รับชดใช้ค่าสินไหมทดแทนต้องเป็น บุคคลที่มีส่วนได้เสียในวัตถุที่ เอาประกันภัยขณะที่เกิดความเสีย หายนั้น ตามหลักการดังกล่าวจะเห็นว่ามีความแตกต่างกันอยู่มาก เมื่อเปรียบเทียบกับกรณีของการประกันชีวิต กล่าวคือ หากต่อมาเกิด ความเสียหายขึ้นแก่วัตถุที่เอาประกันภัยและปรากฏว่าผู้มีส่วนได้เสียนั้น ได้เปลี่ยนแปลงไปแล้ว ถือว่าบุคคลผู้ทำาประกันภัยไม่มีสิทธิได้รับการ ชดใช้ค่าเสียหายนั้น เพราะถือว่าผู้นั้น ไม่มีความสูญเสียเกิดขึ้น ตัวอย่าง นายเอ ขอทำาประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 กำาหนด ระยะเวลา 1 ปี ต่อมาหลังจากชำาระค่าเบี้ยประกันภัยไปแล้ว 5 เดือน นายเอได้ขายรถยนต์คันดังกล่าวให้แก่ผู้อื่น ถือว่าส่วนได้เสียของ นายเอ ต่อรถยนต์คันดังกล่าวหมดไปแล้ว ดังนั้น ภายในกำาหนด ระยะเวลาของการประกันภัยรถยนต์ รถยนต์คันดังกล่าวประสบภัย ได้รับความเสียหาย ผู้รับประกันภัยจะชดใช้ค่าสินไหมชดเชยให้แก่ เจ้าของรถยนต์คนใหม่ ซึ่งไม่ใช่นายเอ เป็นต้น 2 หลักความสุจริตอย่างยิ่ง (Principle of Utmost Good Faith) ตามความหมายของหลักการสุจริตใจ คือ ผู้รับประกันภัยต้อง มีความซื่อสัตย์สุจริตใจต่อผู้เอา ประกันภัย เช่น ในการเขียนสัญญาประกันภัยผู้รับประกันภัย ต้อง แสดงถึงความโปร่งใส ชัดเจน และเข้าใจได้ง่าย มีการระบุข้อยกเว้น ในการไม่รับประกันภัยที่แน่ชัด และเมื่อเกิดความเสียหายขึ้นตามที่ ได้ระบุไว้ในสัญญาประกันภัยซึ่งมีการระบุรายละเอียดของความ คุ้มครอง ผู้รับประกันจำาเป็นต้องปฏิบัติตามสัญญาประกันภัย เช่น กรณีการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยตามที่ได้ระบุ ไว้ในกรมธรรม์ สำาหรับผู้เอาประกันภัยต้องมีความซื่อสัตย์ต่อผู้รับ
  • 9. 71 ประกันภัยเช่นเดียวกัน เนื่องจากการเอาประกันภัยเป็นลักษณะการ โอนความเสี่ยงภัยที่จะเกิดขึ้นในอนาคต จากผู้เอาประกันภัยไปยัง ผู้รับประกันภัย ดังนั้น ผู้รับประกันภัยจะไม่สามารถทราบล่วงหน้าได้ ว่า ค่าสินไหมทดแทนที่จะต้องชดใช้ให้แก่ผู้เอาประกันภัย มีมูลค่า เป็นเท่าไร ผู้รับประกันภัยจึงต้องอาศัยข้อมูลต่าง ๆ มาประกอบการ พิจารณาว่าควรรับผู้เอาประกันภัยรายนี้หรือไม่ หากต้องรับประกัน ภัยจะมีเงื่อนไขอย่างไร ดังนั้น ผู้เอาประกันภัยจะต้องเปิดเผย ข้อความจริงเกี่ยวกับตัวของผู้เอาประกันภัยเอง เช่น เพศ อายุ พฤติกรรมการใช้ชีวิต รวมทั้งเปิดเผยรายละเอียดของหน่วยเสี่ยงภัย (Exposure Unit) เช่น สภาวะแวดล้อมที่มีผลต่อความเสี่ยงภัยให้ ผู้รับประกันภัยทราบโดยละเอียด ซึ่งหน้าที่การให้ข้อมูลที่เป็นจริง เป็นสาระสำาคัญที่มีผลต่อความเสี่ยงภัยของผู้เอาประกันภัยตามหลัก การสุจริตอย่างยิ่ง เป็นหลักของสัญญาประกันภัยในทุกประเทศที่ ดำาเนินธุรกิจประกันภัย (ฐิติวดี ชัยวัฒน์, 2556 : 64) ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 865 บัญญัติว่า “ถ้าในเวลาทำาสัญญาประกันภัย ผู้เอาประกันภัยก็ดี หรือกรณีการ ประกันชีวิต บุคคลอันการใช้เงินย่อมอาศัยความทรงชีพหรือมรณะ ของเขานั้นก็ดี รู้อยู่แล้วละเว้นเสียไม่เปิดเผยข้อความจริงซึ่งอาจจะ ได้จูงใจผู้รับประกันภัยให้เรียกเบี้ยประกันภัยสูงขึ้นอีกหรือให้ บอกปัดไม่ยอมทำาสัญญา หรือว่ารู้อยู่แล้วแถลงข้อความนั้นเป็นความ เท็จไซร้ ”ท่านว่าสัญญานั้นเป็นโมฆียะ ถ้ามิได้ใช้สิทธิบอกล้างภายใน กำาหนดเดือนหนึ่งนับตั้งแต่วันที่ผู้รับประกันภัยทราบมูลอันจะบอกล้าง ได้ก็ดี หรือมิได้ใช้สิทธินั้นภายในกำาหนดเดือนหนึ่งนับแต่วันที่ผู้รับ ประกันภัยทราบมูลอันจะบอกล้างได้ก็ดี หรือมิได้ใช้สิทธินั้นภายใน กำาหนดเวลาห้าปีนับแต่วันทำาสัญญาก็ดี ท่านว่าสิทธินั้นเป็นอันระงับ ”สิ้นไป (สรพลจ์ สุขทรรศนีย์, 2556 : 34) ตามปกติเมื่อบุคคลได้ตกลงทำาสัญญาหรือทำานิติกรรม หรือ ใช้สิทธิต่าง ๆ ย่อมมีหน้าที่ต้องกระทำาการโดยสุจริต ตามที่ถูกระบุไว้ ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 5 กล่าวไว้ว่า “ในการ ใช้สิทธิแห่งตนก็ดี ในการชำาระหนี้ก็ดี บุคคลทุกคนต้องกระทำาโดย ”สุจริต หมายความว่า จะต้องกระทำาอย่างตรงไปตรงมา ไม่กล่าวเท็จ ไม่ฉ้อฉลหลอกลวงให้ผู้อื่นเกิดความเข้าใจผิดในข้อสำาคัญ แต่ไม่ได้ หมายความว่า คู่สัญญามีหน้าที่แสดงข้อบกพร่องหรือข้อเสียเปรียบ
  • 10. 72 ของตนให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบ เป็นหน้าที่ของคู่สัญญาแต่ละฝ่ายต้อง สืบสวนใคร่ครวญเอาเองก่อนตัดสินใจ ส่วนสัญญาประกันภัยเป็น สัญญามีลักษณะพิเศษที่กฎหมายบังคับให้คู่สัญญาฝ่ายผู้เอาประกัน ภัยมีหน้าที่ต้องชี้แจงแสดงข้อบกพร่องของตนให้ฝ่ายผู้รับประกันภัย ทราบ โดยเหตุผลที่ว่าการที่ผู้รับประกันภัยจะตัดสินใจเข้าเสี่ยงภัย แทนผู้เอาประกันภัยนั้น ผู้รับประกันภัยจำาเป็นต้องทราบข้อมูลโดย ละเอียดเพื่อประกอบการตัดสินใจ ซึ่งข้อมูลบางอย่างเป็นเรื่องสำาคัญ ที่บุคคลอื่นไม่มีทางรู้ได้เลยนอกจากตัวของผู้เอาประกันภัยเอง และ สุดวิสัยในการที่ผู้รับประกันภัยจะสืบสวนให้ครบถ้วน จึงมีเพียง หนทางเดียวเท่านั้น คือ การกำาหนดให้ผู้เอาประกันภัยมีหน้าที่ต้อง เปิดเผยข้อมูลนั้น เพื่อมิให้ผู้รับประกันภัยตกอยู่ในฐานะเสียเปรียบ จนเกินไปในการทำาสัญญา ตัวอย่าง นายหมู ป่วยเป็นโรคกระเพาะอาหารอักเสบ เรื้อรังมาเป็นระยะเวลาหลายปีแล้ว ขณะทำาสัญญาประกันชีวิตก็ยังมี อาการป่วยอยู่ เช่นนี้นายหมู ต้องแจ้งให้ผู้รับประกันภัยทราบมิ ฉะนั้นสัญญาจะตกเป็นโมฆียะ ตัวอย่าง นายเมฆ มีอาการป่วยเป็นโรคตับอักเสบ เจ้าตัว ทราบดีเนื่องจากต้องไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาและรับประทานยา โดยตลอด ได้ยื่นคำาขอเอาประกันชีวิตเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ โดย แถลงต่อผู้รับประกันภัยว่าตนไม่เคยป่วยเป็นโรคร้ายแรงและไม่มีโรค ประจำาตัวใด ๆ ต่อมาวันที่ 4 มีนาคม บริษัทผู้รับประกันภัยได้ตอบรับ ทำาสัญญาโดยไม่ทราบถึงอาการป่วยของนายเมฆ ดังนี้สัญญา ประกันชีวิตเป็นโมฆียะ หลักความสุจริตอย่างยิ่งเป็นหลักที่ใช้ในการประกันภัยกับทั้งผู้ เอาประกันภัยและผู้รับประกันภัย เพื่อให้ผู้เอาประกันภัยแถลงข้อความ ที่เป็นจริงด้วยความสุจริตใจอย่างยิ่ง เพื่อให้ผู้รับประกันภัยสามารถ ประเมินความเสี่ยงที่จะรับประกันภัยได้ เพราะหากข้อมูลที่ได้รับไม่ถูก ต้องก็จะทำาให้การประเมินความเสี่ยงของผู้รับประกันภัยเกิดความผิด พลาดได้ ซึ่งถือว่าไม่เป็นธรรมต่อผู้รับประกันภัย ขณะเดียวกันหลัก ความสุจริตใจอย่างยิ่งนี้ก็ใช้กับผู้รับประกันภัยในลักษณะที่ผู้รับ ประกันภัยควรชี้แจงให้ ผู้เอาประกันภัยได้ทราบถึงเงื่อนไขหรือผล ประโยชน์ที่จะได้รับความคุ้มครอง หรือการที่ผู้เอาประกันภัยจะต้อง ปฏิบัติตามเงื่อนไขอย่างไร เพื่อให้ได้รับการคุ้มครอง หากผู้รับ
  • 11. 73 ประกันภัยทราบข้อมูลว่าผู้เอาประกันภัยได้ปกปิดข้อเท็จจริง หรือไม่ แถลงข้อความที่เป็นจริง ซึ่งเป็นสาระสำาคัญและความเสียหายที่เอา ประกันภัยไว้ ยังไม่ได้เกิดขึ้น ผู้รับประกันควรแสดงความสุจริต ใจด้วยการบอกล้างสัญญา เป็นต้น ในการทำาสัญญาถือว่าคู่สัญญาจะต้องมีความสุจริตใจต่อ กันเพราะหากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ไม่สุจริต อาจทำาให้สัญญานั้นตก เป็นโมฆะไม่มีผลใช้บังคับต่อไป หรือเป็นสัญญาที่เป็นโมฆียะ ซึ่งแม้ จะเป็นนิติกรรมที่สมบูรณ์ใช้บังคับได้แต่ก็อาจถูกบอกล้างโดยผู้มี สิทธิบอกล้างตามกฎหมาย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความร้ายแรงของผลแห่ง ความไม่สุจริต อย่างไรก็ตามสัญญาประกันภัยเป็นสัญญาที่ต้อง อาศัยความสุจริตอย่างยิ่งซึ่งเป็นความสุจริตที่สูงกว่าการทำาสัญญา อื่นทั่วไปและในกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกันภัยบางฉบับ เช่น พระราชบัญญัติการประกันภัยทางทะเลของประเทศอังกฤษ ค.ศ.906 (Marine Insurance Act 1906) มีบทบัญญัติที่รับรองหลักความ สุจริตอย่างยิ่งไว้ในกฎหมาย ความสุจริตอย่างยิ่งในสัญญาประกัน ภัยเป็นหน้าที่ของคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายต่างต้องยึดถือปฏิบัติ คือทั้งผู้ เอาประกันภัยและผู้รับประกันภัยเพื่อป้องกันมิให้มีการฉ้อโกงกัน เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับหน้าที่ของผู้เอาประกันภัยที่จะต้อง สุจริตในการเปิดเผยข้อความจริงอันเป็นสาระสำาคัญให้ผู้รับประกัน ภัยทราบ และการแถลงข้อความจริงให้ถูกต้อง โดยในประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งเป็นกฎหมายไทยที่ใช้กับการประกัน ภัย ได้บัญญัติไว้ในมาตรา 865 ว่า ให้สัญญาประกันภัยตกเป็น โมฆียะ หากผู้เอาประกันภัยรู้อยู่แล้วในเวลาทำาสัญญาประกันภัยถึง ข้อความจริงซึ่งอาจจูงใจผู้รับประกันภัยให้เรียกเบี้ยประกันภัยสูงขึ้น อีกหรือบอกปัดไม่ยอมทำาสัญญาประกันภัยด้วย แต่ผู้เอาประกันภัย ละเว้นการปฏิบัติไม่ยอมเปิดเผยข้อความจริง หรือกลับแถลงข้อความ ต่อผู้รับประกันภัยให้ผิดไปจากความจริงทั้ง ๆ ที่รู้อยู่แล้วว่าข้อความ นั้นเป็นเท็จ ดังนั้น ข้อความจริงอันเป็นสาระสำาคัญที่จะทำาให้สัญญา ประกันภัยตกเป็นโมฆียะ กล่าวคือ ผู้รับประกันภัยซึ่งอาจจูงใจให้ ผู้รับประกันภัยเรียกเบี้ยประกันภัยสูงขึ้นหรือถึงขนาดไม่ยอมรับ ประกันภัย การพิจารณาถึงความสุจริตใจของผู้เอาประกันภัยสามารถ พิจารณาได้จากลักษณะสำาคัญดังต่อไปนี้
  • 12. 74 2.1 การแถลงข้อเท็จจริง (Representation) สำาหรับ การแถลงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับชีวิต ทรัพย์สินหรือความรับผิดที่อาจจะ เกิดขึ้นในอนาคตถือเป็นหน้าที่สำาคัญของผู้เอาประกันภัย การแถลง หรือการให้ข้อมูลอาจกระทำาได้โดยการกรอกแบบฟอร์มขอทำาประกัน กับผู้รับประกันภัยหรืออาจแจ้งด้วยวาจา หรือการให้เอกสารอื่น ๆ ที่ สำาคัญต่อการรับประกันภัยตามที่ผู้รับประกันภัยร้องขอ เพื่อให้ผู้รับ ประกันสามารถประเมินความเสี่ยงของผู้เอาประกันภัยได้ เช่น ใน การทำาประกันชีวิต ผู้รับประกันภัยต้องการทราบข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ สุขภาพ หรือข้อมูลของผู้เอาประกัน ได้แก่ เพศ อายุ อาชีพ ประวัติการ รักษาพยาบาล ข้อมูลสุขภาพของบุคคลภายในครอบครัว และข้อมูล อื่นที่เกี่ยวข้องกับผู้เอาประกันภัย เป็นต้น ตามหลักการ หรือแนวคิด ที่เกี่ยวข้องกับการประกันภัย ถือว่าผู้เอาประกันภัยไม่จำาเป็นต้องแจ้ง ข้อเท็จจริงต่อไปนี้ให้ผู้รับประกันภัยทราบ ได้แก่ ข้อเท็จจริงที่ไม่ใช่ สาระสำาคัญและเป็นข้อเท็จจริงที่เป็นผลดีต่อความเสี่ยงภัย ข้อเท็จ จริงที่ผู้รับประกันภัยควรจะทราบในทางการค้าหรือธุรกิจตามปกติ ของตน ข้อมูลที่ผู้รับประกันภัยสละสิทธิที่จะทราบ ข้อเท็จจริงควร จะเข้าใจหรืออนุมานได้จากข้อมูลที่ผู้เสนอขอทำาประกันภัยได้เคยให้ ไว้แล้ว ข้อเท็จจริงทั่วไปที่ผู้รับประกันภัยทราบ และข้อเท็จจริงที่ ผู้รับประกันภัยควรจะทราบ หากว่า ได้มีการซักถามตามปกติ นอก เหนือจากข้อมูลที่ได้มีการให้ไว้แล้ว 2.2 คำารับรอง (Warranty) หมายถึง คำารับรองที่ฝ่ายผู้ เอาประกันภัยเป็นผู้ให้สัญญากับฝ่ายผู้รับประกันภัยในการปฏิบัติอย่าง ใดอย่างหนึ่ง หรือไม่ปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งตามเงื่อนไข โดยถือว่า คำารับรองนี้เป็นส่วนหนึ่งของสัญญา ดังนั้น หากผู้เอาประกันภัยทำา ผิดคำารับรองถือว่าทำาผิดสัญญาด้วย ซึ่งคำารับรองโดยทั่วไปจะมี 2 ประเภท คือ 2.2.2 คำารับรองที่ต้องกำาหนดเป็นลายลักษณ์อักษร ให้ชัดเจนในสัญญา ว่าผู้เอาประกันจะให้คำารับรองอย่างไร เช่น ผู้ เอาประกันที่เป็นร้านอาหารให้คำารับรองว่าในระหว่างที่กรมธรรม์มี ผลบังคับจะใช้ความรอบคอบ ระมัดระวัง ไม่ให้นำาเชื้อเพลิงเข้าใกล้ เตาไฟปรุงอาหารเป็นอันขาด 2.2.3 คำารับรองที่ไม่ได้เขียนในสัญญาแต่เป็นที่ เข้าใจร่วมกันทั้งสองฝ่าย คำารับรองนี้มักจะพบในสัญญาประกันภัย
  • 13. 75 ทางทะเล เช่น เรื่องของการที่ผู้เอาประกันภัยตัวเรือจะต้องตรวจเช็ค สภาพเรือให้พร้อมก่อนออกเดินทาง หรือการเดินทางของเรือจะไม่ ออกนอกเส้นทางการเดินเรือปกติ เป็นต้น เมื่อหลักของการแถลงข้อเท็จจริงต้องเป็นไปด้วยความ สุจริตใจอย่างยิ่ง พบว่ากฎหมายของการประกันภัยในต่างประเทศ ได้ มีการกำาหนดเรื่องนี้ไว้เพื่อรักษาความเป็นธรรมแก่ผู้เอาประกันภัยและ ผู้รับประกันภัย ซึ่งกฎหมายไทยก็ได้กำาหนดเรื่องนี้ไว้เช่นกัน 2.3 ระยะเวลาในการบอกล้างสัญญา หลังจากที่ผู้เอา ประกันได้ตกลงทำาประกันภัยและ ผู้รับประกันภัยได้ตกลงรับทำา ประกันภัยแล้ว ต่อมาภายหลังผู้รับประกันภัยได้ตรวจพบหรือได้ทราบ ว่า ผู้เอาประกันภัยปกปิดความจริงหรือแถลงข้อความเท็จ ซึ่ง มิได้แสดงความสุจริตใจในการทำาประกัน และอยู่ในเกณฑ์ที่สามารถ บอกเลิกสัญญาได้ ผู้รับประกันภัยสามารถบอกล้างสัญญาได้ภายใน กำาหนดระยะเวลาที่กฎหมาย จะกำาหนดแล้วแต่ว่าแต่ละประเทศจะ กำาหนดระยะเวลาบอกล้างเท่าใด ซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ มาตรา 865 วรรคสอง ได้กำาหนดระยะเวลาการบอกล้าง ไว้ดังนี้ ถ้ามิได้ใช้สิทธิบอกล้างภายในกำาหนดเดือนหนึ่งนับแต่วันที่ ผู้รับประกันภัยทราบข้อมูลอันจะบอกล้างได้ก็ดี หรือ มิได้ใช้สิทธิ นั้นภายในกำาหนดห้าปี นับแต่วันทำาสัญญาก็ดี ท่านว่าสิทธินั้นเป็น ระงับสิ้นไป 2.3.1 ระยะเวลา 1 เดือน หลังจากที่ผู้รับประกัน ทราบมูลอันจะบอกล้างได้ ผู้รับประกันภัยจะต้องรีบบอกล้าง สัญญานั้นภายในระยะเวลา 1 เดือน โดยไม่คำานึงถึงว่าวันที่ตรวจ พบหรือได้ทราบข้อมูลนั้นได้เกิดความเสียหายขึ้นหรือยัง ถึงแม้ว่า ความเสียหายเกิดขึ้นแล้วก็สามารถบอกล้างได้เช่นกัน อย่างเช่น กรณีการประกันชีวิตบ่อยครั้งที่ผู้รับประกันภัยได้ทราบข้อมูลที่แท้ จริงหลังจาก ผู้เอาประกันภัยได้เสียชีวิตลง ซึ่งถ้าผู้รับประกันภัย ประสงค์จะบอกล้างสัญญาก็สามารถกระทำาได้โดยต้องบอกล้าง ภายในระยะเวลา 1 เดือน ถึงแม้เรื่องจะเกิดขึ้นแล้ว 2.3.2 ระยะเวลา 5 ปี เป็นระยะเวลาสูงสุดที่ผู้รับ ประกันภัยจะมีสิทธิบอกล้างสัญญาได้นับแต่วันเริ่มทำาประกัน หลัง จาก 5 ปีไปแล้วถึงแม้ว่าผู้รับประกันภัยจะทราบมูลที่แท้จริงก็ไม่ สามารถ บอกล้างสัญญาได้ถือว่าสัญญานั้นสมบูรณ์ทุกอย่าง ที่มี
  • 14. 76 การกำาหนดระยะเวลาไว้เนื่องจากการประกันภัยบางประเภท เช่น การประกันชีวิตมักจะเป็นสัญญาระยะยาว 2.3.3 เงินค่าไถ่ถอนกรมธรรม์ เมื่อมีการบอกล้าง สัญญาภายในระยะเวลา 5 ปี ตามที่กำาหนดไว้ ผู้รับประกันภัย มีหน้าที่จะต้องคืนเงินส่วนหนึ่งให้แก่ผู้เอาประกันภัย ประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 892 กำาหนดมูลค่าเงินที่จะคืนไว้ ว่า กรณีบอกล้างสัญญาผู้รับประกันต้องคืนค่าไถ่ถอนกรมธรรม์ ประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัยหรือทายาทของผู้นั้น ซึ่งค่าไถ่ถอน กรมธรรม์ หมายถึง ค่าเบี้ยประกันที่ได้หักค่าใช้จ่ายออกมาแล้ว กล่าวคือ เมื่อผู้รับประกันได้บอกล้างสัญญาอันเกิดจากมาตรา 865 ผู้รับประกันภัยต้องคืนค่าเบี้ยประกันที่ได้เก็บมาแล้ว โดยยอมให้หัก ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่ เกิดขึ้นมาในระหว่างสัญญาได้ ซึ่งค่าใช้จ่าย นั้นขึ้นอยู่กับผู้รับประกันภัยจะระบุ เนื่องจากผู้รับประกันภัยแต่ละราย มีค่าใช้จ่ายในการทำาสัญญาแตกต่างกัน ถึงแม้ว่าจะยังไม่มีข้อยุติดัง กล่าว แต่ก็พอใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติได้ 3.หลักการชดใช้ค่าเสียหายหรือสินไหมทดแทน (Principle of Indemnity) เมื่อสัญญาประกันภัยเป็นสัญญาเพื่อการชดใช้ ดังนั้น การ ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจึงเป็นพื้นฐานและหลักการที่สำาคัญประการ หนึ่งของสัญญาประกันภัยและให้บริษัทผู้รับประกันวินาศภัยต้อง ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำาหนดไว้ ดังนี้ 1. เพื่อจำานวนวินาศภัยอันแท้จริง ซึ่งหมายถึงจำานวน ความเสียหายที่แท้จริง 2. เพื่อความบุบสลายอันเกิดแก่ทรัพย์สินซึ่งได้เอา ประกันภัยไว้เพราะได้จัดการตาม สมควรเพื่อป้องปัดความวินาศภัย 3. เพื่อบรรดาค่าใช้จ่ายอันควรซึ่งได้เสียไปเพื่อรักษา ทรัพย์สินซึ่งเอาประกันภัยไว้นั้น มิให้วินาศ นอกจากหลักเกณฑ์ที่กำาหนดไว้ดังกล่าวแล้วข้างต้น กฎหมายได้ระบุไว้ด้วยว่า จำานวนหรือขนาดของวินาศภัยจะต้องตี ราคา ณ สถานที่และในเวลาที่เกิดวินาศภัย โดยสันนิษฐานไว้ก่อน
  • 15. 77 ว่าจำานวนเงินที่เอาประกันภัยนั้นเป็นการตีราคาจำานวนเงินเอา ประกันภัยที่ถูกต้อง แต่ผู้รับประกันภัยไม่ต้องชดใช้ค่าสินไหม ทดแทนเกินไปกว่าจำานวนเงินเอาประกันภัยนั้น ตัวอย่าง ตามกรมธรรม์ประกันภัยได้ระบุความคุ้มครอง ความเสียหายต่อรถยนต์รวมทั้งอุปกรณ์ติดตั้งประจำารถ เมื่อเกิด อุบัติเหตุหรือความสูญเสียเนื่องจากการชนที่เกิดขึ้น ระหว่างระยะ เวลาประกันภัย ต่อมานายสมนึก ซึ่งเป็นเจ้าของรถยนต์ซึ่งได้เอา ประกันภัยรถยนต์คันดังกล่าวไว้ โดยมีนายสมพงษ์ เป็นผู้ขับขี่ รถยนต์คันดังกล่าว และต่อมาได้เกิดอุบัติเหตุ นายสมพงษ์ได้รับบาด เจ็บไม่สามารถทำางานได้ ดังนี้ผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิดค่าเสียหาย กรณีที่นายสมพงษ์ ผู้ขับขี่รถยนต์คันดังกล่าวขาดรายได้ประจำาวัน เพราะมิใช่ความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อตัวรถและอุปกรณ์ แม้ว่าการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยไป ตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำาหนดไว้ดังกล่าวข้างต้น จะทำาให้ผู้รับ ประกันภัยหลุดพ้นจากความรับผิดที่เกิดขึ้นกับวัตถุที่เอาประกันภัย แต่ สำาหรับการประกันภัยคำ้าจุน (Guarantee Insurance) ซึ่งเป็นสัญญา ประกันภัยที่ผู้รับประกันภัย ตกลงว่าจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนใน นามของผู้เอาประกันภัย เพื่อความเสียหายหรือวินาศภัยที่ เกิดขึ้นกับ บุคคลอื่นและ ผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบต่อบุคคลอื่นที่ได้รับ ความเสียหายนั้น เช่น การประกันภัยความรับผิดของผู้ขนส่ง ซึ่ง ผู้รับประกันภัยรับชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันภัย สำาหรับสินค้าที่ได้รับความเสียหายหรือสูญหายหรือส่งมอบล่าช้าอัน เกิดจากความผิดของผู้ขนส่งที่ได้ทำาประกันภัยไว้กับตน เป็นต้น การประกันภัยคำ้าจุนมีประเด็นสำาคัญที่ผู้รับประกันภัยควรพิจารณา กล่าวคือ ถึงแม้ว่าผู้รับประกันภัยคำ้าจุนจะได้จ่ายค่าสินไหมทดแทน ให้แก่ผู้เอาประกันภัยไปแล้ว แต่ก็ยังไม่หลุดพ้นจากความรับผิดต่อผู้ เสียหายซึ่งเป็นบุคคลภายนอก เว้นแต่ผู้รับประกันภัยสามารถพิสูจน์ ได้ว่า ผู้เสียหายได้รับค่าสินไหมทดแทนนั้นจากผู้เอาประกันภัยแล้ว ดังนั้นตามตัวอย่างการประกันภัยความรับผิดของผู้ขนส่งข้างต้น ผู้รับประกันภัยจะหลุดพ้นจากความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยก็ ต่อเมื่อผู้เอาประกันภัย (ผู้ขนส่ง) ได้นำาค่าสินไหมทดแทนที่ได้รับ จากบริษัทประกันภัยไปชำาระให้แก่เจ้าของสินค้า ด้วยเหตุนี้ กรมธรรม์ประกันภัยบางฉบับ เข่น กรมธรรม์ประกันภัยความรับผิด
  • 16. 78 ของผู้ขนส่ง จึงกำาหนดไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยให้ผู้รับประกันภัยมี สิทธิชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกผู้มีสิทธิเรียกร้อง 3.1 หลักการชดใช้ค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทน (Principle of Indemnity) การชดใช้ค่าเสียหายหรือค่าสินไหม ทดแทนจะใช้เฉพาะกรณีของการประกันวินาศภัยเท่านั้น เนื่องจาก การประกันชีวิตเป็นสัญญาการกำาหนดจำานวนเงิน (Value Policy) ไว้แน่นอนตั้งแต่แรกของการทำาประกัน โดยที่ ผู้เอาประกันภัย และผู้รับประกันภัยยอมตกลงที่จะรับประกันชีวิตของบุคคลนั้นตาม ฐานะทางเศรษฐกิจ และเมื่อผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตลงและอยู่ภายใต้ เงื่อนไขของกรมธรรม์ที่จะจ่ายได้ ผู้รับประกันภัยจะต้องชดใช้เงิน นั้นทั้งจำานวน (Total Benefit) ให้กับผู้เอาประกันภัย โดยไม่มีการ โต้แย้งกันว่าเมื่อผู้เอาประกันเสียชีวิตลงความเสียหายจริงจะมีมูลค่า เท่าใด เนื่องจากความรับผิดชอบของผู้ประกันภัยได้ถูกกำาหนดไว้ อย่างชัดเจนแล้ว สำาหรับการกำาหนดเงื่อนไขการชดใช้ค่าเสียหายซึ่งได้มี การระบุไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 889 ว่า สัญญาประกันชีวิตนั้น การใช้จำานวนเงินย่อมอาศัยความทรงชีพ หรือมรณะของบุคคลคนหนึ่ง และตามมาตรา 895 ได้กำาหนดว่า เมื่อ ใดจะต้องใช้จำานวนเงินในเหตุมรณะของบุคคลคนหนึ่งคนใด ผู้รับ ประกันจำาต้องใช้เงินนั้นเมื่อมรณภัยอันนั้นเกิดขึ้น หมายความว่า การชดใช้ค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันชีวิต พิจารณาจากระยะเวลาการมีชีวิตและการเสียชีวิตอยู่ของผู้เอา ประกันภัย และผู้รับประกันภัยจะจ่ายเงินชดเชยให้กรณีผู้เอาประกัน ภัยเสียชีวิตลง เหตุที่สัญญาของการประกันวินาศภัยไม่ได้ใช้หลัก การชดใช้ค่าเสียหายในลักษณะของสัญญาการกำาหนดจำานวนเงิน (Value Policy) นั้น เนื่องจากความเสียหายที่เกิดขึ้นจริงอาจจะไม่ ได้เป็นไปตามวงเงินที่ ทำาประกันไว้ ตัวอย่าง นางสาวบี ทำาประกันภัยความเสียหายของทรัพย์สิน ไว้เป็นจำานวน 3,000,000 บาท ต่อมาเกิดความเสียหายบางส่วนคิด เป็นมูลค่าได้ 1,700,000 บาทเท่านั้น หากจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้ เท่ากับสัญญาการกำาหนดจำานวนเงิน (Value Policy) คือ 3,000,000 บาทเท่ากับว่ากับผู้เอาประกันภัยจะได้รับประโยชน์ส่วน เกินจากการทำาประกันภัย ทำาให้มีโอกาสจะเกิดภัยจากการขาด
  • 17. 79 คุณธรรมของ ผู้เอาประกันภัย (Moral Hazard) มากขึ้น ซึ่งผิด วัตถุประสงค์ของการทำาประกันภัย ในกรณีเช่นนี้ ความเสียหายจริง เพียง 1,700,00 บาท นางสาวบี ซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยก็จะได้รับค่า สินไหมทดแทนเท่ากับ 1,700,000 บาทเท่านั้น จึงสามารถสรุปได้ ว่าการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เอาประกันภัยนั้นจะจ่ายให้ตาม ความเสียหายที่แท้จริง (Actual Loss) และจำานวนเงินนั้นจะต้องไม่ เกินวงเงินที่ทำาประกันไว้ตามที่กฎหมายกำาหนด 3.2 การประกันทรัพย์สินในมูลค่าต่างกัน หลักการจ่าย ค่าสินไหมทดแทนโดยมากจะใช้กับการประกันวินาศภัย แต่กรณี ของการประกันทรัพย์สินมีลักษณะเฉพาะที่เกี่ยวกับมูลค่าของ ทรัพย์สิน ที่เอาประกันภัยกับวงเงินที่ทำาประกันภัยอาจจะเป็น คนละจำานวนกัน เมื่อเกิดความเสียหายขึ้นค่าสินไหมทดแทนที่จะได้ รับจากผู้รับประกันภัยย่อมแตกต่างกันด้วย ตัวอย่าง บ้านหลังหนึ่งมีมูลค่าที่แท้จริง 3,000,000 บาท ผู้ เอาประกันภัยอาจขอทำาประกันเต็มมูลค่า 3,000,000 บาทหรือขอทำา ประกันเพียง 2,000,000 บาท เนื่องจากค่าเบี้ยประกันมีราคาสูง หรือ ขอเอาประกันภัยเป็นเงิน 3,500,000 บาท ด้วยเหตุที่ผู้เอาประกันภัย อาจไม่ทราบว่าราคาทรัพย์สินที่แท้จริงมีมูลค่าเท่าใด หรือาจทราบ มูลค่าที่แท้จริงแต่มีความตั้งใจที่จะทำาประกันภัยเกินมูลค่าด้วยมี เจตนาอื่นแอบแฝงอยู่ จึงขอยกตัวอย่างการทำาประกันภัยทรัพย์สิน ในวงเงินที่แตกต่างจากมูลค่าที่แท้จริงของทรัพย์สินดังนี้ วงเงินที่สามารถเรียกร้องค่าเสียหายได้จากผู้รับประกัน ภัยสามารถคำานวณได้ ดังนี้ สมมติว่า ทรัพย์สินมีมูลค่าที่แท้จริง (Full Value) 3,000,000 บาท ต่อมาเกิดความ เสียหายขึ้น 2 กรณี คือ (1) ทรัพย์สินเสียหายทั้งหมด (Total Loss) (2) ทรัพย์สินเสียหายเพียงบางส่วน (Partial Loss) เป็นจำานวน 2,000,000 บาท 3.2.1 คำานวณการทำาประกันภัยทรัพย์สินที่เอา ประกันภัยเท่ากับมูลค่าที่แท้จริงของทรัพย์สิน (Full Value) มูลค่าที่ทำาประกันภัย (Sum Insured) สินไหมทดแทน = X ความเสียหาย (Loss) มูลค่าที่แท้จริงของทรัพย์สิน (Face Value)
  • 18. 80 3.2.1.1 กรณีเกิดความเสียหายทั้งหมด ค่า สินไหมทดแทนที่จะได้รับจะเป็น 3,000,000 บาท หรือคำานวณได้ ดังนี้ 3.2.1.2 กรณีเกิดความเสียหาย 2,000,000 ค่า สินไหมทดแทนที่จะได้รับจะ เท่ากับความเสียหายที่แท้จริง คือ 2,000,000 บาท หรือคำานวณได้ ดังนี้ 3.2.2 คำานวณการทำาประกันภัยทรัพย์สินที่เอา ประกันภัยตำ่ากว่ามูลค่าที่แท้จริง (Underinsured) โดยสมมติว่าผู้เอา ประกันภัยทำาประกันภัยทรัพย์สินไว้เพียง 2,000,000 บาทจาก มูลค่าที่แท้จริง 3,000,000 บาท 3.2.2.1 เมื่อทรัพย์สินเกิดความเสียหายเพียง 2,000,000 บาท ผู้เอา ประกันภัย จะได้รับการชดใช้ค่าเสียหายตามจำานวนความเสียหายที่ เกิดขึ้นคือ 2,000,000 บาท เนื่องจากผู้เอาประกันภัยชำาระค่าเบี้ย ประกันภัยน้อยกว่าการประกันภัยมูลค่าที่แท้จริงของทรัพย์สิน หรือ กล่าวอีกนัยหนึ่ง ค่าสินไหมทดแทนนี้จะจ่ายเป็นไปตามสัดส่วนที่ผู้ เอาประกันทำาประกันไว้ คำานวณได้ดังนี้ 3,000,000 สินไหมทดแทน = X 3,000,000 3,000,000 = 3,000,000 บาท 3,000,000 สินไหมทดแทน = X 2,000,000 3,000,000 = 2,000,000 บาท 2,000,000 สินไหมทดแทน = X 3,000,000 3,000,000 = 1,999,999.99 บาท หรือประมาณ 2,000,000 บาท
  • 19. 81 3.2.2.2 ตัวอย่างการคำานวณเมื่อเกิดความเสีย หายเพียงบางส่วน มูลค่าความ เสียหายเท่ากับ 1,000,000 บาท โดยส่วนต่างที่ผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดชอบใน ความเสียหายเองมีมูลค่าประมาณ 333,333,34 บาท 3.2.3 คำานวณกรณีการเอาประกันภัยทรัพย์สินเกิน มูลค่าที่แท้จริง (Over insured) โดยสมมติว่าผู้เอาประกันภัยทำา ประกันภัยทรัพย์สินในราคา 3,500,000 บาท 3.2.3.1 เมื่อเกิดความเสียหายทั้งหมด ถือว่า ผู้ เอาประกันภัยได้รับมีความ เสียหายจริงเท่ากับมูลค่าทรัพย์สินนั้น ดังนั้นค่าสินไหมทดแทนจะเป็น 3,000,000 บาท เท่ากับความเสียหายจริง ถึงแม้ว่าเมื่อเข้าสูตรในการคำานวณ แล้วจะได้ผลออกมาเป็น 3,500,000 บาท ก็ตาม เพราะหากชดใช้ให้ 3,500,000 บาท จะทำาให้ผู้เอา ประกันได้ประโยชน์จากการทำาประกัน ทำาให้โอกาสของการเกิดภัย ที่เกิดจากการขาดคุณธรรมของผู้เอาประกันภัย (Moral Hazard) เป็นไปได้ง่าย 3.2.3.2 เมื่อเกิดความเสียหายบางส่วนเป็นเงิน 1,000,000 บาท ก็จะได้รับค่าสินไหมทดแทนเท่ากับ 1,000,000 บาท ตามความเสียหายที่แท้จริงเช่นกัน ถึงแม้ว่าเมื่อใช้สูตรคำานวณ แล้วจะได้ 1,166,666.67 บาทก็ตาม 3,500,000 สินไหมทดแทน = X 3,000,000 3,000,000 = 3,500,000 บาท 3,500,000 สินไหมทดแทน = X 1,000,000 3,000,000 = 1,166,666.67 บาท 2,000,000 สินไหมทดแทน = X 1,000,000 3,000,000 = 666,666.67 บาท
  • 20. 82 จากตัวอย่าง 3.2.3.1 และ 3.2.3.2 นี้ จะเห็นว่าไม่เกิด ประโยชน์ใดเลยที่จะทำาประกันภัยทรัพย์สินเกินมูลค่าที่แท้จริง เพราะผู้รับประกันภัยจะชดใช้ค่าเสียหายให้ตามความเป็นจริงเท่านั้น 3.3 วิธีการจ่ายค่าสินไหมทดแทน การจ่ายค่าสินไหม ทดแทน ผู้รับประกันภัยอาจเลือกดำาเนินการตามวิธีการใดวิธีการ หนึ่งจาก 4 วิธี ดังนี้ 3.3.1 การชำาระคืนเป็นเงินสด (Cash) เป็นวิธีที่ สะดวกและนิยมใช้มากที่สุด เนื่องจากเป็นวิธีที่ง่ายที่สุด หากสามารถ ประเมินราคาทรัพย์สินได้เป็นที่พอใจของทั้งสองฝ่าย เช่น กรณีการ เกิดอุบัติเหตุและรถยนต์ของผู้เอาประกันภัยได้รับความเสียหาย จาก การประเมินของอู่พบว่าความเสียหายของรถยนต์มีมูลค่า 50,000 บาท ผู้รับประกันภัยก็จะชำาระเงินจำานวน 50,000 บาทตามการ ประเมินของอู่ เป็นต้น 3.3.2 การซ่อมแซม (Repair) ในกรณีที่ทรัพย์สิน นั้นเสียหายเป็นบางส่วน และสามารถซ่อมแซมให้กลับเข้าอยู่ใน สภาพเดิมได้ก็สามารถใช้วิธีนี้ได้ เช่น โกดังเก็บสินค้าเกิดเพลิงไหม้ เสียหายเฉพาะหลังคาส่วนหลังของโกดัง ผู้รับประกันภัยสามารถใช้ วิธีการชดใช้ค่าสินไหมซ่อมแซมเฉพาะหลังคาโกดังที่ได้รับความ เสียหายจากเหตุเพลิงไหม้ เป็นต้น 3.3.3 การหาสิ่งของมาทดแทน (Replacement) หรือการเปลี่ยนชิ้นส่วนให้เฉพาะส่วนที่เกิดความเสียหาย มักจะใช้ กับกรณีที่ความเสียหายเกิดขึ้นบางส่วนเช่นกัน และมักจะใช้กับกรณี การประกันรถยนต์ เช่น รถยนต์คันที่ได้ทำาประกันไว้ถูกรถ จักรยานยนต์เฉี่ยวชนกระจกมองข้างหลุด เช่นนี้เจ้าของรถสามารถ เรียกร้องให้ผู้รับประกันภัยเปลี่ยนกระจกมองข้างใหม่ให้ได้ และชิ้น ส่วนเก่า จะถือเป็นซากทรัพย์สินของผู้รับประกันภัย ซึ่งผู้รับ ประกันภัยสามารถนำาไปขายต่อหรือนำาไปใช้ประโยชน์อื่นใดได้ เพราะเป็นสิทธิของผู้รับประกัน 3.3.4 การทำาให้ทรัพย์สินกลับสู่สภาพเดิม (Reinstatement) เป็นวิธีที่ยากในทางปฏิบัติและไม่นิยมกระทำา เพราะบางกรณีอาจสุดวิสัยที่ผู้รับประกันจะกระทำาให้ได้ เช่น กรณี ประกัน วัตถุโบราณ หรือสิ่งของหายาก ซึ่งหากเกิดความเสียหาย