SlideShare a Scribd company logo
1 of 10
Download to read offline
พฤติกรรมการใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนของวัยรุ่นไทย 
ที่มีผลกระทบด้านลบต่อตนเองและสังคม 
IDENTIFY THE BEHAVIOR OF THAI TEENAGERS USING SMART PHONES WHICH 
AFFECTED ITSELF AND SOCIETY 
พิชญ์ เพชรคำ 
หลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต 
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พรทิพย์ เย็นจะบก 
คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยลัยศรีปทุม 
บทคัดย่อ 
การศึกษาเรื่อง “พฤติกรรมการใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนของวัยรุ่นไทยที่มีผลกระทบด้านลบต่อ 
ตนเองและสังคม” ครั้งนี้ประชากรกลุ่มตัวอย่างใช้ในการศึกษาคือ กลุ่มวัยรุ่นใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนที่ 
มีอายุระหว่าง 16-26 ปีในเขตกรุงเทพมหานคร โดยใช้โปรแกรม SPSS สถิติใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ 
ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผู้วิจัยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 ชุดและผ่านการ 
ตรวจสอบคุณภาพมาแล้ว ทำการวิเคราะห์สรุปผลการวิจัยได้ดังนีคื้อ ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ 
เป็นเพศชายมีอายุระหว่าง 21-22 ปี เป็นนักเรียนนักศึกษาระดับการศึกษาปริญญาตรี และมีรายได้ 
6,001-10,000 บาท ใช้โทรศัพท์บ่อยในช่วงเวลา 17.01-21.00 น. สถานที่ใช้บ่อยคือ ที่บ้านพักอาศัย 
ความถี่ในการมากกว่า 30 ครั้งต่อวัน โดยกลุ่มตัวอย่างมีวัตถุประสงค์และลักษณะการใช้คือ 
Application Facebook ส่วนใหญ่ใช้ติดต่อกับเพื่อน ระยะเวลาในการใช้คือ ระยะเวลา 6-10 นาทีต่อ 
ครัง้ ส่วนผลกระทบด้านลบจากการใช้คือ ก่อให้เกิดการติดเกมส์ และแนวโน้มระดับความสัมพันธ์ของ 
คนในสังคมเริ่มลดลงจากพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนคือ การพูดคุยปากต่อปากกันน้อยลง 
คำสำคัญ 
การใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟน/ผลกระทบด้านลบต่อตนเองและสังคม 
บทความวิชาการ หลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม หน้า 1
ABSTRACT 
The purpose of this study was to identify the behavior of Thai teenagers using 
smart phones which affected itself and society. The samples of the study consisted of 
teenagers between the ages of 16-26 years old using smart phones in Bangkok. The data 
were analyzed through descriptive statistics comprising percentage, frequency and 
standard deviation (S.D.) by using SPSS. The questionnaire was used as a data collection 
instrument. The results showed that the majority of respondents were male whose ages 
were between 21-22 years old, high school students and university students with monthly 
incomes of 6,001-10,000 baht. The respondents often used their smart phones from 5.01 
p.m. to 9.00 p.m. Places where the respondents used their phones were their homes with 
the use of more than 30 times per day. The study revealed that teenagers used smart 
phones to communicate with their friends 6-7 minutes per day through Facebook 
application. The negative effect resulted by using smart phones was to become addicted to 
games. The decreasing relationship among the society was that people had less oral 
communication. 
KEYWORD 
USING SMART PHONES/AFFECTED ITSELF AND SOCIETY 
บทความวิชาการ หลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม หน้า 2 
บทนำ 
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา 
ในปัจจุบันชีวิตของวัยรุ่นนัน้ต้องแข่งขันกับหลายๆสิ่งหลายๆอย่างไม่ว่าจะเป็นเรื่องเรียน 
หน้าที่การงาน แฟชั่น การเดินทางที่ติดขัด ทำให้พฤติกรรมวัยรุ่นนั้นต้องการความสะดวกสบาย 
รวดเร็ว ทันสมัย ในยุคของเทคโนโลยีที่กำลังพัฒนาอย่างต่อเนื่องนัน้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนถือว่าเป็น 
เครื่องมือติดต่อสื่อสารอีกชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก สำหรับบางคนโทรศัพท์นับเป็นปัจจัย 
สำคัญของชีวิตเลยก็ว่าได้ เพราะโทรศัพท์สมาร์ทโฟนสามารถใช้ Internet ไว้คุ้นหาอัพเดทหรือแลกเป 
ลื่ยนข้อมูลต่างๆ เพราะว่าโทรศัพท์สมาร์ทโฟนนั้นสามารถรองรับเกี่ยวกับการใช้งานบน
Socialnetwork ยกตัวอย่างการใช้งาน Facebook, Instagram,Twitter,Lineฯลฯ และยังมี 
Application Game ต่างๆ ทำให้โทรศัพท์สาร์ทโฟนนัน้เป็นที่นิยมอย่างมากในกลุ่มวัยรุ่น และยังมี 
แนวโน้มว่ายิ่งเวลาผ่านไปโทรศัพท์สมาร์ทโฟนนัน้ยิ่งจะมีราคาที่ถูกลง จึงทำให้เกิดเหตุการใช้โทรศัพท์ 
สมาร์ทโฟนในด้านลบ เช่น แอบอ้างเป็นบุคคลอื่นๆการหลอกขายของผ่าน Socialnetwork ต่างๆ ติด 
เกมส์บนโทรศัพท์สมาร์ทโฟนได้ง่ายมากยิ่งขึน้ 
ดังนัน้ผู้วิจัยจึงได้มุ่งศึกษา "พฤติกรรมการใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนของวัยรุ่นไทยผลกระทบ 
ด้านลบต่อตนเองและสังคม" เพื่อหาวิธีป้องกันการฉ้อโกง หลอกลวง ติด Social Network & game 
มากกว่าการพูดคุยปากต่อปากกับบุคลคลรอบข้างและความสัมพันธ์ของคนในสังคมที่เริ่มลดลงจาก 
ผลของการใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนหรือการใช้เทคโนโลยีไม่อย่างเหมาะสม 
วัตถุประสงค์การวิจัย 
1. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนของวัยรุ่นไทย 
2. เพื่อศึกษาผลกระทบด้านลบของการใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนของวัยรุ่นไทยต่อตนเองและ 
บทความวิชาการ หลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม หน้า 3 
สังคม 
สมมติฐานการวิจัย 
1. ผู้ใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนที่มีลักษณะประชากรแตกต่างกันมีผลกระทบจากใช้โทรศัพท์ 
สมาร์ทโฟนต่อตนเองและสังคมแตกต่างกัน 
2. พฤติกรรมการใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนของวัยรุ่นไทยมีความสัมพันธ์กับผลกระทบด้านลบ 
ต่อตนเองและสังคม 
ขอบเขตของการวิจัย 
ผู้วิจัยได้กำหนดขอบเขตไว้คือ ผู้ที่ใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟน ที่มีอายุระหว่าง 16-26 ปี เพราะ 
เนื่องจากกลุ่มนีอ้ยู่ในช่วงวัยรุ่นมีโอกาสได้พบได้ใช้สิ่งของที่มีเทคโนโลยีใหม่ๆและได้รับผลกระทบจาก 
พฤติกรรมการใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนอย่างมากที่สุด ดำเนินการเก็บข้อมูลผู้ใช้จำนวน 400 คน โดยการ 
ใช้แบบสอบถาม ใช้ระยะเวลา ระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ - 20 มีนาคม 2557
กรอบแนวคิดในการวิจัย 
ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม 
ลักษณะประชากร 
 เพศ 
 อายุ 
 การศึกษา 
 อาชีพ 
 รายได้ 
พฤติกรรมการใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟน 
 ช่วงเวลา 
 ระยะเวลาในการใช้ 
 คุยกับใคร 
 สถานที่ 
 ลักษณะการใช้ 
 ความถี่ 
 วัตถุประสงค์การใช้ 
 ความสัมพันธ์ 
ภาพที่ 1 กรอบแนวคิดในการวิจัย 
ผลกระทบด้านลบจากการใช้โทรศัพท์ 
สมาร์ทโฟน 
 ต่อตนเอง 
 สมาร์ทโฟนต่อสังคม 
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 
1. ผลการวิจัยสามารถนำไปวิเคราะห์ผลกระทบด้านลบต่อตนเองของการใช้โทรศัพท์ 
สมาร์ทโฟนของกลุ่มวัยรุ่นไทย 
2. เพื่อนำข้อมูลที่ศึกษาเป็นตัววัดระดับความสัมพันธ์ของคนในสังคมของยุคสมัยที่ 
เทคโนโลยีพัฒนาสามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยคในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟ 
นของกลุ่มวัยรุ่นไทย 
แนวคิดทฤษฎีและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 
ผู้วิจัยได้นำทฤษฎีแนวคิดที่เป็นประโยชน์มาเป็นแนวทางในการกำหนดกรอบความคิด 
สำหรับการศึกษาดังต่อไปนี้ 
บทความวิชาการ หลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม หน้า 4
1. แนวคิดเกี่ยวกับพฤติกรรม 
2. แนวคิดและทฤษฎีด้านประชากรศาสตร์ 
3. แนวคิดทฤษฏีการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม 
4. แนวความคิดเกี่ยวกับสื่อใหม่ 
5. แนวคิดด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ 
6. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 
ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย 
ประชากรในการศึกษาคือบุคคลที่ใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟน อายุ 16-26 ปี ในเขต 
กรุงเทพมหานคร เนื่องจากกลุ่มนีมี้แนวโน้มที่จะใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนและได้รับผลกระทบด้านลบ 
เป็นจำนวนมาก แต่ไม่มีจำนวนตัวเลขผู้ใช้งานอย่างแน่นอน 
เครื่องมือในการดำเนินการวิจัย 
การวิจัยครัง้นีไ้ด้ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือวิจัยหลัก โดยสร้างเครื่องมือเป็นคำถามแบบ 
ปลายปิด (Close-ended Questionnaire) ประกอบด้วย 5 ส่วนดังนี้ 
ส่วนที่ 1 ข้อมูลส่วนตัวของผู้ตอบแบบสอบถาม เพศ อายุ การศึกษา อาชีพ รายได้ 
ส่วนที่ 2 พฤติกรรมการใช้งานโทรศัพท์สมาร์ทโฟนของท่าน โดยทั่วไป ระยะเวลา สถานที่ 
ความถี่ในการใช้งาน พฤติกรรมการใช้งานต่างๆ 
ส่วนที่ 3 ผลกระทบด้านลบที่ได้รับจากการใช้งานโทรศัพท์สมาร์ทโฟนของบุลคลรอบข้างต่อ 
ท่านอย่างไร มีคำตอบให้เลือก 5 ระดับ คือ มากที่สุด, มาก,ปานกลาง น้อย และน้อยที่สุดโดยให้ผู้ตอบ 
เลือกตอบเพียงข้อเดียวที่ตรงกับความรู้สึกมากที่สุด 
ส่วนที่ 4 ผลกระทบด้านลบต่อสังคมจากการพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนของวัยรุ่นไทยมี 
คำตอบให้เลือก 5 ระดับ คือ มากที่สุด, มาก,ปานกลาง น้อย และน้อยที่สุดโดยให้ผู้ตอบเลือกตอบ 
ส่วนที่ 5 เป็นแบบสอบถามข้อคิดเห็นเพิ่มเติมของกลุ่มตัวอย่าง 
การวิเคราะห์ข้อมูล 
การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเชิงสถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ 
ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าเฉลี่ย ใช้ T-test เพื่อทดสอบความแตกต่างของ 
บทความวิชาการ หลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม หน้า 5
กลุ่มตัวอย่างจำแนกตาม เพศ อายุ การศึกษา รายได้ โดยใช้การทดสอบความแปรปรวนทางเดียว 
(One Way ANOVA) 
มาตรวัดพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนของกลุ่มวัยรุ่นไทยที่ผลกระทบด้านลบต่อ 
สังคมมากน้อยแค่ไหนมี 5 ระดับ โดยมีเกณฑ์การให้คะแนนดังนี้ 
ค่าเฉลี่ย ความหมาย 
5 หมายความว่า มากที่สุด 
4 หมายความว่า มาก 
3 หมายความว่า ปานกลาง 
2 หมายความว่า น้อย 
1 หมายความว่า น้อยที่สุด 
เกณฑ์ดังกล่าวสามารถแปลความหมายของระดับคะแนนได้ดังนี้ 
คะแนนเฉลี่ย 4.21 - 5.00 หมายถึง กระทบมากที่สุด 
คะแนนเฉลี่ย 3.41 - 4.20 หมายถึง กระทบมาก 
คะแนนเฉลี่ย 2.61 - 3.40 หมายถึง กระทบปานกลาง 
คะแนนเฉลี่ย 1.81 - 2.60 หมายถึง กระทบน้อย 
คะแนนเฉลี่ย 1.00 - 1.80 หมายถึง กระทบน้อยมาก 
ผลการวิจัย 
ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม 
ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ เป็นเพศชาย จำนวน 224 คน คิดเป็นร้อยละ 56.0 มีอายุ 21- 
22 ปี จำนวน 109 คน คิดเป็นร้อยละ 27.2 เป็นนักเรียน/นักศึกษา จำนวน 254 คน คิดเป็นร้อยละ 
63.5 มีระดับการศึกษาปริญญาตรี จำนวน 243 คน คิดเป็นร้อยละ 60.8 มีรายได้ 6,001-10,000 บาท 
จำนวน 128 คน คิดเป็นร้อยละ 32.0 
ข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟน 
ช่วงเวลาในการใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟน มีค่าเฉลี่ย 3.49 อยู่ในระดับมาก โดยกลุ่มตัวอย่างใช้ 
โทรศัพท์สมาร์ทโฟนช่วงเวลา 17.01-21.00 น. มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด 4.08 และน้อยที่สุด คือ ช่วงเวลา 
00.01-05.59 น. มีค่าเฉลี่ย 2.60 
บทความวิชาการ หลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม หน้า 6
สถานที่ที่ใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟน มีค่าเฉลี่ย 3.48 อยู่ในระดับมาก โดยกลุ่มตัวอย่างใช้ 
โทรศัพท์สมาร์ทโฟน ที่บ้าน/ที่พักอาศัย มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด 4.43 และน้อยที่สุด คือ สถานที่ทำงาน มี 
ค่าเฉลี่ย 2.73 
วัตถุประสงค์และลักษณะการใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟน โดยกลุ่มตัวอย่างมีวัตถุประสงค์และ 
ลักษณะการใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟน คือ Application Facebook มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด 4.43 และน้อย 
ที่สุด คือ ขายของออนไลน์ มีค่าเฉลี่ย 2.19 
ความถี่ในการใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟน มีค่าเฉลี่ย 3.27 อยู่ในระดับปานกลาง โดยกลุ่ม 
ตัวอย่างมีความถี่ในการใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟน คือ มากกว่า 30 ครัง้/วัน มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด 3.66 และ 
น้อยที่สุด ความถี่ต่ำกว่า 5 ครัง้/วัน มีค่าเฉลี่ย 2.77 
การใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟน มีค่าเฉลี่ย 3.10 อยู่ในระดับปานกลาง โดยกลุ่มตัวอย่างมีการใช้ 
โทรศัพท์สมาร์ทโฟน คือ เพื่อน มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด 4.48 และน้อยที่สุด คือ อาจารย์ มีค่าเฉลี่ย 2.16 
ช่วงระยะเวลาในการใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนมีค่าเฉลี่ย 3.42 อยู่ในระดับมาก โดยกลุ่ม 
ตัวอย่างมีระยะเวลาในการใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟน คือ ระยะเวลา 6-10 นาที/ครั้ง มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด 
รองลงมา ระยะเวลา 1-5 นาที/ครั้ง มีค่าเฉลี่ย 3.45 ระยะเวลา 11-20 นาที/ครั้ง มีค่าเฉลี่ย 3.37 และ 
ระยะเวลามากกว่า 30 นาที/ครัง้ มีค่าเฉลี่ย 3.32 
ข้อมูลผลกระทบด้านลบต่อตนเองจากการใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟน 
ผลกระทบด้านลบที่ได้รับจากการใช้โทรศัพท์โทรศัพท์สมาร์ทโฟนมีค่าเฉลี่ย 3.60 อยู่ใน 
ระดับมาก โดยกลุ่มตัวอย่างมีผลกระทบด้านลบที่ได้รับจากการใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟน คือ ก่อให้เกิด 
การติดเกมส์ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด 4.04 และน้อยที่สุด คือ ก่อให้เกิดความอิจฉา มีค่าเฉลี่ย 3.11 
ข้อมูลผลกระทบด้านลบต่อสังคมจากการใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟน 
ผลกระทบด้านลบต่อสังคมจากพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนมีค่าเฉลี่ย 3.90 อยู่ใน 
ระดับมาก โดยกลุ่มตัวอย่างมีแนวโน้มระดับความสัมพันธ์ของคนในสังคมที่เริ่มลดลงจากพฤติกรรม 
การใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนคือ พูดคุยปากต่อปากกันน้อยลง มีค่าเฉลี่ย 4.43 และน้อยที่สุด คือ ทำให้ 
เกิดการหลอกลวงเพื่อผลประโยชน์ทางเพศ มีค่าเฉลี่ย 3.60 
บทความวิชาการ หลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม หน้า 7
ผลการทดสอบสมมติฐาน 
สมมติฐานที่ 1 พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ อาชีพ และวุฒิการศึกษาแตกต่าง 
กันมีผลกระทบด้านลบที่ได้รับจากการใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 
ระดับ 0.05 ยกเว้น รายได้ต่อเดือนแตกต่างกันมีผลกระทบด้านลบที่ได้รับจากการใช้โทรศัพท์สมาร์ท 
โฟนแตกไม่แตกต่างกัน 
สมมติฐานที่ 2 พบว่า พฤติกรรมการใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนมีความสัมพันธ์กับผลกระทบ 
ด้านลบที่ได้รับจากการใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟน 
อภิปรายผลการวิจัย 
1. จากผลการวิจัย พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟน 
ช่วงเวลา 17.01-21.00 น. มากที่สุดสถานที่ที่ใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนคือที่บ้าน/ที่พักอาศัยมี 
วัตถุประสงค์และลักษณะการใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟน คือ Application Facebook มีความถี่ในการใช้ 
โทรศัพท์สมาร์ทโฟน คือ มากกว่า 30 ครั้ง/วัน มีการใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนกับเพื่อนมากที่สุด มี 
ระยะเวลาในการใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟน คือ ระยะเวลา 6-10 นาที/ครั้ง มากที่สุด ซึ่งสอดคล้องปรัชญา 
หิน ศรีสุวรรณ (2553) ทำการศึกษาเรื่อง “รูปแบบการดำเนินชีวิต และพฤติกรรมการใช้งานเครือข่าย 
สังคมออนไลน์ ของนักศึกษามหาวทิยาลัยเชียงใหม่” จากการศึกษาพฤติกรรมการใช้งาน เครือข่าย 
สังคมออนไลน์ของนักศึกษมหาวิทยาลัย เชียงใหม่ ส่วนใหญ่มีการใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์เฟส- 
บุค (Facebook) พบว่าช่วงเวลาที่เข้า ใช้งานมากที่สุดคือ ช่วงดึก (19.00 – 24.00 น.) ใช้เวลาในการ 
เข้า ใช้ประมาณ 30 นาที และเข้า ใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์ ทุกๆวัน และ ภัทรา เรืองสวัสดิ์ 
(2553) ทำการศึกษาเรื่อง “รูปแบบการดำเนินชีวิตและพฤติกรรมใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของคนวัย 
ทำงานในกรุงเทพมหานคร” ผลของการวิจัยพบว่าพฤติกรรมการใช้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ ของ 
คนวัยทำงานพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นสมาชิกเว็บไซต์ เครือข่ายสังคมออนไลน์ Facebook มี 
การเข้าใช้บริการในช่วงเวลา 18.01-22.00 น. มีความถี่ในการเข้าใช้ 7 วัน/สัปดาห์ 
2. จากผลการวิจัย พบว่า ผลกระทบด้านลบที่ได้รับจากการใช้โทรศัพท์โทรศัพท์สมาร์ทโฟน 
มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ผลกระทบด้านลบที่ได้รับจากการใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟน คือ ก่อให้เกิดการ 
ติดเกมส์ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมา ก่อให้เกิดโรคเห่อตามแฟชั่น และน้อยที่สุด คือ ก่อให้เกิดความ 
อิจฉา ทัง้นีแ้สดงให้เห็นว่า กลุ่มวัยรุ่นไทยส่วนมากใช้สมาร์ทโฟนเพื่อเล่นเกมส์ ผลกระทบด้านลบที่ 
บทความวิชาการ หลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม หน้า 8
ได้รับจากการใช้สามาร์ทโฟนจึงก่อให้เกิดการติดเกมส์มากที่สุด ซึ่งไม่พบการสอดคล้องกับงานวิจัย 
ใดๆ 
3. จากผลการวิจัย พบว่า ผลกระทบด้านลบต่อสังคมจากพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์สมาร์ท 
โฟนมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก โดยมีการพูดคุยปากต่อปากกันน้อยลง มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมา 
ละเลยต่อสภาวะแวดล้อมและบุคคลรอบข้าง และน้อยที่สุด คือ ทำให้เกิดการหลอกลวงเพื่อ 
ผลประโยชน์ทางเพศ ทัง้นีแ้สดงให้เห็นว่า เมื่อมีเวลาว่างจะใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนสื่อสารกันผ่าน 
เฟสบุ๊ค ผ่านไลน์ ไม่ได้นั่งพูดคุยกันเพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีต่อกัน ความสัมพันธ์ของคนในสังคม 
จึงลดน้อย เพราะการพูดคุยปากต่อปากกันน้อยลง ซึ่งสอดคล้องกับ บทความผลกระทบของเทคโนโลยี 
สารสนเทศ(โซนซ่า, 2557, ออนไลน์) โดยได้ให้ข้อมูลว่าเทคโนโลยีสารสนเทศต่อสังคมนัน้จึงมี 
ผลกระทบในทางลบ ทำให้ความสัมพันธ์ของมนุษย์เสื่อมถอย การใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สื่อสาร 
ทำให้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้โดยไม่ ต้องเห็นตัว การใช้งานคอมพิวเตอร์หรือแม้แต่การเล่นเกมที่มี 
ลักษณะการใช้งานเพียงคนเดียว ทำให้ความสัมพันธ์กับผู้อื่นลดน้อยลง ผลกระทบนีท้ำให้มีความเชื่อ 
ว่า มนุษยสัมพันธ์ของบุคคลจะน้อยลง สังคมใหม่จะเป็นสังคมที่ไม่ต้องพึ่งพาอาศัยกันมาก 
นอกจากนัน้ยังมี พรพิสุทธิ์ มงคลวนิช (2556, ออนไลน์) ได้ให้ข้อมูลว่าจากการสำรวจและศึกษาจาก 
หน่วยงานที่หลากหลายพบตรงกันว่า การใช้สมาร์ทโฟนส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของผู้ใช้เป็นอย่างมาก 
ซึ่งก่อให้เกิดความกังวลอย่างกว้างขวางว่าหากสมาร์ทโฟนถูกพัฒนาให้มีความสามารถและสะดวกใน 
การใช้งานมากขึน้กว่านี้อาจทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการปฎิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล 
4. จากการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ อาชีพ และวุฒิ 
การศึกษาแตกต่างกันมีผลกระทบด้านลบที่ได้รับจากการใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนแตกต่างกันอย่างมี 
นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ทัง้นีอ้าจเป็นเพราะว่า ส่วนมากกลุ่มวัยรุ่นที่ใช้สมาร์ทโฟนจะเป็นเพศ 
ชาย มีอายุ 21-22 ปี เป็นนักเรียน/นักศึกษา การศึกษาระดับปริญญาตรี ผลกระทบด้านลบที่ได้รับ 
จากการใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนจึงแตกต่างกัน ซึ่งไม่พบการสอดคล้องกับงานวิจัยใดๆ 
5. จากการทดสอบสมมติฐาน พบว่า พฤติกรรมการใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนมีความสัมพันธ์ 
กับผลกระทบด้านลบที่ได้รับจากการใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟน ทัง้นีแ้สดงให้เห็นว่า ยิ่งกลุ่มวัยรุ่นไทยมี 
พฤติกรรมการใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟน เช่น ใช้สมาร์ทโฟนทุกช่วงเวลา ทุกสถานที่ ใช้เพื่อเล่นเกมส์ ก็จะ 
ส่งผลให้เกิดผลกระทบด้านลบมาก เช่น ก่อให้เกิดอุบัติเหตุ ก่อให้เกิดความรำคาญ และก่อให้เกิดการ 
ติดเกมส์ ซึ่งไม่พบการสอดคล้องกับงานวิจัยใดๆ 
บทความวิชาการ หลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม หน้า 9
ข้อเสนอแนะ 
ข้อเสนอแนะจากการวิจัย 
1. เมื่อมีการใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนกลุ่มวัยรุ่นไทยควรเลือกสถานที่และช่วงเวลาให้ 
เหมาะสม เพื่อไม่ก่อให้เกิดความรำคาญต่อบุลคลรอบข้าง ไม่ก่อให้เกิดการติดเกมส์ และไม่ก่อให้เกิด 
อุบัติเหตุต่อสังคม 
2. กลุ่มวัยรุ่นไทยควรลดพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟน เพราะแนวโน้มระดับความสัมพันธ์ 
ของคนในสังคมเริ่มลดลงเนื่องจากพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนมากเกินไป เช่น การพูดคุย 
ปากต่อปากันน้อยลง 
ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป 
1. ควรศึกษาพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์สามาร์ทโฟนของกลุ่มวัยรุ่นไทยในเขต 
กรุงเทพมหานครที่มีผลกระทบด้านลบต่อตนเองและสังคม 
2. ควรศึกษาทัศนคติของประชาชนที่มีต่อการใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนในเขตกรุงเทพมหานคร 
เอกสารอ้างอิง 
ปรัชญา หินศรีสุวรรณ. (2555). รูปแบบการดำเนินชีวิต และพฤติกรรมการใช้งานเครือข่าย 
สังคมออนไลน์ ของนักศึกษามหาวิยาลัยเชียงใหม่. การค้นคว้าอิสระ สาขาวิชา 
เทคโนโลยีสารสนเทศและการจัดการ, คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 
พรพิสุทธิ์ มงคลวนิช. (2556). ได้เขียนบทความ “ชีวิตที่เปลี่ยนไปกับการใช้สมาร์ทโฟน" 
(ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก http://www.etpnews.com/index.php?option=com_ 
content&view=article&id=354:2013-03-16-01-48-38&catid=38:breaking-news& 
Itemid=59. 
ภัทรา เรืองสวัสดิ์. (2553). รูปแบบการดำเนินชีวิตและพฤติกรรมใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ 
ของคนวัยทำงานในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์วารสารมหาบัณฑิต สาขาวิชาการ 
จัดการ การสื่อสารองค์กร, คณะวารสารศาสตร์และสื่อมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 
เว็บไซต์โซนซ่า. (2557). ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศ มีอะไรบ้าง ข้อดีและข้อเสีย 
(ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก http://www.zoneza.com/view3833.htm 
บทความวิชาการ หลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม หน้า 10

More Related Content

What's hot

สำรวจพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนของ ม.4-5
สำรวจพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนของ ม.4-5สำรวจพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนของ ม.4-5
สำรวจพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนของ ม.4-5kessara61977
 
ICT to Enhance Non-formal Education in Multicultural Society
ICT to Enhance Non-formal Education in Multicultural SocietyICT to Enhance Non-formal Education in Multicultural Society
ICT to Enhance Non-formal Education in Multicultural SocietyNikma Hj
 
สังคมก้มหน้า
สังคมก้มหน้าสังคมก้มหน้า
สังคมก้มหน้าNoTe Tumrong
 
สังคมก้มหน้า
สังคมก้มหน้าสังคมก้มหน้า
สังคมก้มหน้าNamGang World-Weary
 
โครงงานสำรวจพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนนักเรียนชั้น ม.4-5
โครงงานสำรวจพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนนักเรียนชั้น ม.4-5โครงงานสำรวจพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนนักเรียนชั้น ม.4-5
โครงงานสำรวจพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนนักเรียนชั้น ม.4-5kessara61977
 
สำรวจพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนของนักเรียนชั้นม.5
สำรวจพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนของนักเรียนชั้นม.5สำรวจพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนของนักเรียนชั้นม.5
สำรวจพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนของนักเรียนชั้นม.5Porshe Hope
 
โครงงาน Is2
โครงงาน Is2โครงงาน Is2
โครงงาน Is2kessara61977
 
สำรวจพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนของนักเรียนชั้น ม.4 5
สำรวจพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนของนักเรียนชั้น ม.4 5สำรวจพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนของนักเรียนชั้น ม.4 5
สำรวจพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนของนักเรียนชั้น ม.4 5พัน พัน
 
โครงงานสำรวจ
โครงงานสำรวจโครงงานสำรวจ
โครงงานสำรวจkessara61977
 

What's hot (10)

สำรวจพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนของ ม.4-5
สำรวจพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนของ ม.4-5สำรวจพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนของ ม.4-5
สำรวจพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนของ ม.4-5
 
ICT to Enhance Non-formal Education in Multicultural Society
ICT to Enhance Non-formal Education in Multicultural SocietyICT to Enhance Non-formal Education in Multicultural Society
ICT to Enhance Non-formal Education in Multicultural Society
 
สังคมก้มหน้า
สังคมก้มหน้าสังคมก้มหน้า
สังคมก้มหน้า
 
Is pre
Is preIs pre
Is pre
 
สังคมก้มหน้า
สังคมก้มหน้าสังคมก้มหน้า
สังคมก้มหน้า
 
โครงงานสำรวจพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนนักเรียนชั้น ม.4-5
โครงงานสำรวจพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนนักเรียนชั้น ม.4-5โครงงานสำรวจพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนนักเรียนชั้น ม.4-5
โครงงานสำรวจพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนนักเรียนชั้น ม.4-5
 
สำรวจพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนของนักเรียนชั้นม.5
สำรวจพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนของนักเรียนชั้นม.5สำรวจพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนของนักเรียนชั้นม.5
สำรวจพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนของนักเรียนชั้นม.5
 
โครงงาน Is2
โครงงาน Is2โครงงาน Is2
โครงงาน Is2
 
สำรวจพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนของนักเรียนชั้น ม.4 5
สำรวจพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนของนักเรียนชั้น ม.4 5สำรวจพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนของนักเรียนชั้น ม.4 5
สำรวจพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนของนักเรียนชั้น ม.4 5
 
โครงงานสำรวจ
โครงงานสำรวจโครงงานสำรวจ
โครงงานสำรวจ
 

Viewers also liked

แบบสอบถาม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ โรงแรม
แบบสอบถาม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ โรงแรมแบบสอบถาม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ โรงแรม
แบบสอบถาม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ โรงแรมสำเร็จ นางสีคุณ
 
Increase Inventory In Management And Marketing Planning In Drugs Store
Increase Inventory In Management And Marketing Planning In Drugs StoreIncrease Inventory In Management And Marketing Planning In Drugs Store
Increase Inventory In Management And Marketing Planning In Drugs StoreUtai Sukviwatsirikul
 
บ้าน ก.เอ๋ย ก.ไก่ --ปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถในการพึ่งพาตนเองตามหลักเศรษฐกิ...
บ้าน ก.เอ๋ย ก.ไก่  --ปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถในการพึ่งพาตนเองตามหลักเศรษฐกิ...บ้าน ก.เอ๋ย ก.ไก่  --ปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถในการพึ่งพาตนเองตามหลักเศรษฐกิ...
บ้าน ก.เอ๋ย ก.ไก่ --ปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถในการพึ่งพาตนเองตามหลักเศรษฐกิ...freelance
 
กรอบแนวความคิดของการวิจัยโครงการย่อย 2
กรอบแนวความคิดของการวิจัยโครงการย่อย 2กรอบแนวความคิดของการวิจัยโครงการย่อย 2
กรอบแนวความคิดของการวิจัยโครงการย่อย 2hcn0810
 
ความพึงพอใจและพฤติกรรมในการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพือความงาม
ความพึงพอใจและพฤติกรรมในการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพือความงามความพึงพอใจและพฤติกรรมในการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพือความงาม
ความพึงพอใจและพฤติกรรมในการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพือความงามUtai Sukviwatsirikul
 
Consumer behaviour towards a smartphone purchasing decision in The United Ara...
Consumer behaviour towards a smartphone purchasing decision in The United Ara...Consumer behaviour towards a smartphone purchasing decision in The United Ara...
Consumer behaviour towards a smartphone purchasing decision in The United Ara...Mubashir Hassan
 
Consumer buying behaviour for laptop’s
Consumer buying behaviour for laptop’sConsumer buying behaviour for laptop’s
Consumer buying behaviour for laptop’sNitesh Wadia
 
A Study on Students Buying Behavior towards Laptops
A Study on Students Buying Behavior towards LaptopsA Study on Students Buying Behavior towards Laptops
A Study on Students Buying Behavior towards LaptopsShashank Tripathi
 
Consumer behaviour towards mobile phones
Consumer behaviour towards mobile phonesConsumer behaviour towards mobile phones
Consumer behaviour towards mobile phonessanket394
 
A PROJECT REPORT ON A STUDY ON CONSUMER BUYING BEHAVIOR TOWARDS SMARTPHONE
A PROJECT REPORT  ON A STUDY ON CONSUMER BUYING BEHAVIOR TOWARDS SMARTPHONEA PROJECT REPORT  ON A STUDY ON CONSUMER BUYING BEHAVIOR TOWARDS SMARTPHONE
A PROJECT REPORT ON A STUDY ON CONSUMER BUYING BEHAVIOR TOWARDS SMARTPHONEVibhor Agarwal
 
แบบสอบถาม นักท่องเที่ยวต่างชาติ ต่อ หน้า154
แบบสอบถาม นักท่องเที่ยวต่างชาติ ต่อ หน้า154แบบสอบถาม นักท่องเที่ยวต่างชาติ ต่อ หน้า154
แบบสอบถาม นักท่องเที่ยวต่างชาติ ต่อ หน้า154สำเร็จ นางสีคุณ
 
แบบสอบถาม ความพึงพอใจ นักท่องเที่ยว หน้า 41
แบบสอบถาม  ความพึงพอใจ นักท่องเที่ยว หน้า 41แบบสอบถาม  ความพึงพอใจ นักท่องเที่ยว หน้า 41
แบบสอบถาม ความพึงพอใจ นักท่องเที่ยว หน้า 41สำเร็จ นางสีคุณ
 

Viewers also liked (15)

แบบสอบถาม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ โรงแรม
แบบสอบถาม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ โรงแรมแบบสอบถาม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ โรงแรม
แบบสอบถาม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ โรงแรม
 
Increase Inventory In Management And Marketing Planning In Drugs Store
Increase Inventory In Management And Marketing Planning In Drugs StoreIncrease Inventory In Management And Marketing Planning In Drugs Store
Increase Inventory In Management And Marketing Planning In Drugs Store
 
บ้าน ก.เอ๋ย ก.ไก่ --ปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถในการพึ่งพาตนเองตามหลักเศรษฐกิ...
บ้าน ก.เอ๋ย ก.ไก่  --ปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถในการพึ่งพาตนเองตามหลักเศรษฐกิ...บ้าน ก.เอ๋ย ก.ไก่  --ปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถในการพึ่งพาตนเองตามหลักเศรษฐกิ...
บ้าน ก.เอ๋ย ก.ไก่ --ปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถในการพึ่งพาตนเองตามหลักเศรษฐกิ...
 
Pharmacy ayudya
Pharmacy ayudyaPharmacy ayudya
Pharmacy ayudya
 
กรอบแนวความคิดของการวิจัยโครงการย่อย 2
กรอบแนวความคิดของการวิจัยโครงการย่อย 2กรอบแนวความคิดของการวิจัยโครงการย่อย 2
กรอบแนวความคิดของการวิจัยโครงการย่อย 2
 
ความพึงพอใจและพฤติกรรมในการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพือความงาม
ความพึงพอใจและพฤติกรรมในการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพือความงามความพึงพอใจและพฤติกรรมในการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพือความงาม
ความพึงพอใจและพฤติกรรมในการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพือความงาม
 
Consumer behaviour towards a smartphone purchasing decision in The United Ara...
Consumer behaviour towards a smartphone purchasing decision in The United Ara...Consumer behaviour towards a smartphone purchasing decision in The United Ara...
Consumer behaviour towards a smartphone purchasing decision in The United Ara...
 
Consumer buying behaviour for laptop’s
Consumer buying behaviour for laptop’sConsumer buying behaviour for laptop’s
Consumer buying behaviour for laptop’s
 
A Study on Students Buying Behavior towards Laptops
A Study on Students Buying Behavior towards LaptopsA Study on Students Buying Behavior towards Laptops
A Study on Students Buying Behavior towards Laptops
 
Apple - Consumer Behaviour
Apple - Consumer BehaviourApple - Consumer Behaviour
Apple - Consumer Behaviour
 
Consumer Buying Behaviour
Consumer Buying BehaviourConsumer Buying Behaviour
Consumer Buying Behaviour
 
Consumer behaviour towards mobile phones
Consumer behaviour towards mobile phonesConsumer behaviour towards mobile phones
Consumer behaviour towards mobile phones
 
A PROJECT REPORT ON A STUDY ON CONSUMER BUYING BEHAVIOR TOWARDS SMARTPHONE
A PROJECT REPORT  ON A STUDY ON CONSUMER BUYING BEHAVIOR TOWARDS SMARTPHONEA PROJECT REPORT  ON A STUDY ON CONSUMER BUYING BEHAVIOR TOWARDS SMARTPHONE
A PROJECT REPORT ON A STUDY ON CONSUMER BUYING BEHAVIOR TOWARDS SMARTPHONE
 
แบบสอบถาม นักท่องเที่ยวต่างชาติ ต่อ หน้า154
แบบสอบถาม นักท่องเที่ยวต่างชาติ ต่อ หน้า154แบบสอบถาม นักท่องเที่ยวต่างชาติ ต่อ หน้า154
แบบสอบถาม นักท่องเที่ยวต่างชาติ ต่อ หน้า154
 
แบบสอบถาม ความพึงพอใจ นักท่องเที่ยว หน้า 41
แบบสอบถาม  ความพึงพอใจ นักท่องเที่ยว หน้า 41แบบสอบถาม  ความพึงพอใจ นักท่องเที่ยว หน้า 41
แบบสอบถาม ความพึงพอใจ นักท่องเที่ยว หน้า 41
 

Similar to 1

สังคมก้มหน้า บท-1
สังคมก้มหน้า บท-1สังคมก้มหน้า บท-1
สังคมก้มหน้า บท-1kessara61977
 
ICT สภาพปจจุบัน ปญหาและแนวโนม
ICT สภาพปจจุบัน ปญหาและแนวโนมICT สภาพปจจุบัน ปญหาและแนวโนม
ICT สภาพปจจุบัน ปญหาและแนวโนมFerny Kookie
 
สำรวจพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนของนักเรียนชั้น ม.4-5 (บทที่1)
สำรวจพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนของนักเรียนชั้น ม.4-5 (บทที่1)สำรวจพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนของนักเรียนชั้น ม.4-5 (บทที่1)
สำรวจพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนของนักเรียนชั้น ม.4-5 (บทที่1)พัน พัน
 
2562 final-project 605-44 46
2562 final-project 605-44 462562 final-project 605-44 46
2562 final-project 605-44 46ssuser0c005f
 
ICT กับการเรียนการสอน สภาพปัจจุบัน ปัญหาและแนวโฯ้ม
ICT กับการเรียนการสอน สภาพปัจจุบัน ปัญหาและแนวโฯ้มICT กับการเรียนการสอน สภาพปัจจุบัน ปัญหาและแนวโฯ้ม
ICT กับการเรียนการสอน สภาพปัจจุบัน ปัญหาและแนวโฯ้มMew Kewalin
 
Ict กับการเรียนการสอน สภาพปัจจุบัน ปัญหาและแนวโน้ม
Ict กับการเรียนการสอน สภาพปัจจุบัน ปัญหาและแนวโน้มIct กับการเรียนการสอน สภาพปัจจุบัน ปัญหาและแนวโน้ม
Ict กับการเรียนการสอน สภาพปัจจุบัน ปัญหาและแนวโน้มMew Kewalin
 
การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซ...
การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซ...การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซ...
การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซ...Nakhon Phanom University
 
การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซ...
การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซ...การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซ...
การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซ...Nakhon Phanom University
 
เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสาร คณะนิเทศศาสตร์
เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสาร คณะนิเทศศาสตร์เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสาร คณะนิเทศศาสตร์
เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสาร คณะนิเทศศาสตร์สราวุฒิ จบศรี
 
โครงร่างโครงงาน
โครงร่างโครงงานโครงร่างโครงงาน
โครงร่างโครงงานTippatai
 
Best practice โรงเรียนสุจริต
Best practice โรงเรียนสุจริตBest practice โรงเรียนสุจริต
Best practice โรงเรียนสุจริตAon Narinchoti
 
สำรวจพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนของ นักเรียนชั้น ม.4-5
สำรวจพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนของนักเรียนชั้น ม.4-5สำรวจพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนของนักเรียนชั้น ม.4-5
สำรวจพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนของ นักเรียนชั้น ม.4-5kessara61977
 
EXPECTATION, USAGE BEHAVIOR AND SATISFACTION TOWARDS INSTAGRAM OF PEOPLE IN B...
EXPECTATION, USAGE BEHAVIOR AND SATISFACTION TOWARDS INSTAGRAM OF PEOPLE IN B...EXPECTATION, USAGE BEHAVIOR AND SATISFACTION TOWARDS INSTAGRAM OF PEOPLE IN B...
EXPECTATION, USAGE BEHAVIOR AND SATISFACTION TOWARDS INSTAGRAM OF PEOPLE IN B...LoRy7
 
Computer for learning unit 7
Computer for learning unit 7Computer for learning unit 7
Computer for learning unit 7Isaiah Thuesayom
 
อินเตอร์เน็ต เพื่อนรักเพื่อนร้ายของวัยรุ่น
อินเตอร์เน็ต เพื่อนรักเพื่อนร้ายของวัยรุ่นอินเตอร์เน็ต เพื่อนรักเพื่อนร้ายของวัยรุ่น
อินเตอร์เน็ต เพื่อนรักเพื่อนร้ายของวัยรุ่นเดชฤทธิ์ ทองประภา
 
2554 สรุปผลการดำเนินกิจกรรม โครงการค่ายเยาวชนปฏิวัติจิตอาสาพัฒนาชนบท ครั้งที่ 5
2554 สรุปผลการดำเนินกิจกรรม โครงการค่ายเยาวชนปฏิวัติจิตอาสาพัฒนาชนบท ครั้งที่ 52554 สรุปผลการดำเนินกิจกรรม โครงการค่ายเยาวชนปฏิวัติจิตอาสาพัฒนาชนบท ครั้งที่ 5
2554 สรุปผลการดำเนินกิจกรรม โครงการค่ายเยาวชนปฏิวัติจิตอาสาพัฒนาชนบท ครั้งที่ 5mahaoath พระมหาโอ๊ท
 

Similar to 1 (20)

สังคมก้มหน้า บท-1
สังคมก้มหน้า บท-1สังคมก้มหน้า บท-1
สังคมก้มหน้า บท-1
 
ICT สภาพปจจุบัน ปญหาและแนวโนม
ICT สภาพปจจุบัน ปญหาและแนวโนมICT สภาพปจจุบัน ปญหาและแนวโนม
ICT สภาพปจจุบัน ปญหาและแนวโนม
 
สำรวจพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนของนักเรียนชั้น ม.4-5 (บทที่1)
สำรวจพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนของนักเรียนชั้น ม.4-5 (บทที่1)สำรวจพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนของนักเรียนชั้น ม.4-5 (บทที่1)
สำรวจพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนของนักเรียนชั้น ม.4-5 (บทที่1)
 
2562 final-project 605-44 46
2562 final-project 605-44 462562 final-project 605-44 46
2562 final-project 605-44 46
 
ICT กับการเรียนการสอน สภาพปัจจุบัน ปัญหาและแนวโฯ้ม
ICT กับการเรียนการสอน สภาพปัจจุบัน ปัญหาและแนวโฯ้มICT กับการเรียนการสอน สภาพปัจจุบัน ปัญหาและแนวโฯ้ม
ICT กับการเรียนการสอน สภาพปัจจุบัน ปัญหาและแนวโฯ้ม
 
Ict กับการเรียนการสอน สภาพปัจจุบัน ปัญหาและแนวโน้ม
Ict กับการเรียนการสอน สภาพปัจจุบัน ปัญหาและแนวโน้มIct กับการเรียนการสอน สภาพปัจจุบัน ปัญหาและแนวโน้ม
Ict กับการเรียนการสอน สภาพปัจจุบัน ปัญหาและแนวโน้ม
 
การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซ...
การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซ...การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซ...
การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซ...
 
การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซ...
การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซ...การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซ...
การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซ...
 
เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสาร คณะนิเทศศาสตร์
เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสาร คณะนิเทศศาสตร์เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสาร คณะนิเทศศาสตร์
เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสาร คณะนิเทศศาสตร์
 
โครงร่างโครงงาน
โครงร่างโครงงานโครงร่างโครงงาน
โครงร่างโครงงาน
 
Best practice โรงเรียนสุจริต
Best practice โรงเรียนสุจริตBest practice โรงเรียนสุจริต
Best practice โรงเรียนสุจริต
 
สำรวจพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนของ นักเรียนชั้น ม.4-5
สำรวจพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนของนักเรียนชั้น ม.4-5สำรวจพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนของนักเรียนชั้น ม.4-5
สำรวจพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนของ นักเรียนชั้น ม.4-5
 
EXPECTATION, USAGE BEHAVIOR AND SATISFACTION TOWARDS INSTAGRAM OF PEOPLE IN B...
EXPECTATION, USAGE BEHAVIOR AND SATISFACTION TOWARDS INSTAGRAM OF PEOPLE IN B...EXPECTATION, USAGE BEHAVIOR AND SATISFACTION TOWARDS INSTAGRAM OF PEOPLE IN B...
EXPECTATION, USAGE BEHAVIOR AND SATISFACTION TOWARDS INSTAGRAM OF PEOPLE IN B...
 
Mil chapter 1_2(2)
Mil chapter 1_2(2)Mil chapter 1_2(2)
Mil chapter 1_2(2)
 
I smyresearch
I smyresearchI smyresearch
I smyresearch
 
Computer for learning unit 7
Computer for learning unit 7Computer for learning unit 7
Computer for learning unit 7
 
อินเตอร์เน็ต เพื่อนรักเพื่อนร้ายของวัยรุ่น
อินเตอร์เน็ต เพื่อนรักเพื่อนร้ายของวัยรุ่นอินเตอร์เน็ต เพื่อนรักเพื่อนร้ายของวัยรุ่น
อินเตอร์เน็ต เพื่อนรักเพื่อนร้ายของวัยรุ่น
 
Thaijo 1
Thaijo 1Thaijo 1
Thaijo 1
 
25713 1
25713 125713 1
25713 1
 
2554 สรุปผลการดำเนินกิจกรรม โครงการค่ายเยาวชนปฏิวัติจิตอาสาพัฒนาชนบท ครั้งที่ 5
2554 สรุปผลการดำเนินกิจกรรม โครงการค่ายเยาวชนปฏิวัติจิตอาสาพัฒนาชนบท ครั้งที่ 52554 สรุปผลการดำเนินกิจกรรม โครงการค่ายเยาวชนปฏิวัติจิตอาสาพัฒนาชนบท ครั้งที่ 5
2554 สรุปผลการดำเนินกิจกรรม โครงการค่ายเยาวชนปฏิวัติจิตอาสาพัฒนาชนบท ครั้งที่ 5
 

More from A'anniiz Nuttida (10)

10
1010
10
 
9
99
9
 
8
88
8
 
7
77
7
 
6
66
6
 
5
55
5
 
4
44
4
 
3
33
3
 
2
22
2
 
1
11
1
 

1

  • 1. พฤติกรรมการใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนของวัยรุ่นไทย ที่มีผลกระทบด้านลบต่อตนเองและสังคม IDENTIFY THE BEHAVIOR OF THAI TEENAGERS USING SMART PHONES WHICH AFFECTED ITSELF AND SOCIETY พิชญ์ เพชรคำ หลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พรทิพย์ เย็นจะบก คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยลัยศรีปทุม บทคัดย่อ การศึกษาเรื่อง “พฤติกรรมการใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนของวัยรุ่นไทยที่มีผลกระทบด้านลบต่อ ตนเองและสังคม” ครั้งนี้ประชากรกลุ่มตัวอย่างใช้ในการศึกษาคือ กลุ่มวัยรุ่นใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนที่ มีอายุระหว่าง 16-26 ปีในเขตกรุงเทพมหานคร โดยใช้โปรแกรม SPSS สถิติใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผู้วิจัยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 ชุดและผ่านการ ตรวจสอบคุณภาพมาแล้ว ทำการวิเคราะห์สรุปผลการวิจัยได้ดังนีคื้อ ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ เป็นเพศชายมีอายุระหว่าง 21-22 ปี เป็นนักเรียนนักศึกษาระดับการศึกษาปริญญาตรี และมีรายได้ 6,001-10,000 บาท ใช้โทรศัพท์บ่อยในช่วงเวลา 17.01-21.00 น. สถานที่ใช้บ่อยคือ ที่บ้านพักอาศัย ความถี่ในการมากกว่า 30 ครั้งต่อวัน โดยกลุ่มตัวอย่างมีวัตถุประสงค์และลักษณะการใช้คือ Application Facebook ส่วนใหญ่ใช้ติดต่อกับเพื่อน ระยะเวลาในการใช้คือ ระยะเวลา 6-10 นาทีต่อ ครัง้ ส่วนผลกระทบด้านลบจากการใช้คือ ก่อให้เกิดการติดเกมส์ และแนวโน้มระดับความสัมพันธ์ของ คนในสังคมเริ่มลดลงจากพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนคือ การพูดคุยปากต่อปากกันน้อยลง คำสำคัญ การใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟน/ผลกระทบด้านลบต่อตนเองและสังคม บทความวิชาการ หลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม หน้า 1
  • 2. ABSTRACT The purpose of this study was to identify the behavior of Thai teenagers using smart phones which affected itself and society. The samples of the study consisted of teenagers between the ages of 16-26 years old using smart phones in Bangkok. The data were analyzed through descriptive statistics comprising percentage, frequency and standard deviation (S.D.) by using SPSS. The questionnaire was used as a data collection instrument. The results showed that the majority of respondents were male whose ages were between 21-22 years old, high school students and university students with monthly incomes of 6,001-10,000 baht. The respondents often used their smart phones from 5.01 p.m. to 9.00 p.m. Places where the respondents used their phones were their homes with the use of more than 30 times per day. The study revealed that teenagers used smart phones to communicate with their friends 6-7 minutes per day through Facebook application. The negative effect resulted by using smart phones was to become addicted to games. The decreasing relationship among the society was that people had less oral communication. KEYWORD USING SMART PHONES/AFFECTED ITSELF AND SOCIETY บทความวิชาการ หลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม หน้า 2 บทนำ ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา ในปัจจุบันชีวิตของวัยรุ่นนัน้ต้องแข่งขันกับหลายๆสิ่งหลายๆอย่างไม่ว่าจะเป็นเรื่องเรียน หน้าที่การงาน แฟชั่น การเดินทางที่ติดขัด ทำให้พฤติกรรมวัยรุ่นนั้นต้องการความสะดวกสบาย รวดเร็ว ทันสมัย ในยุคของเทคโนโลยีที่กำลังพัฒนาอย่างต่อเนื่องนัน้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนถือว่าเป็น เครื่องมือติดต่อสื่อสารอีกชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก สำหรับบางคนโทรศัพท์นับเป็นปัจจัย สำคัญของชีวิตเลยก็ว่าได้ เพราะโทรศัพท์สมาร์ทโฟนสามารถใช้ Internet ไว้คุ้นหาอัพเดทหรือแลกเป ลื่ยนข้อมูลต่างๆ เพราะว่าโทรศัพท์สมาร์ทโฟนนั้นสามารถรองรับเกี่ยวกับการใช้งานบน
  • 3. Socialnetwork ยกตัวอย่างการใช้งาน Facebook, Instagram,Twitter,Lineฯลฯ และยังมี Application Game ต่างๆ ทำให้โทรศัพท์สาร์ทโฟนนัน้เป็นที่นิยมอย่างมากในกลุ่มวัยรุ่น และยังมี แนวโน้มว่ายิ่งเวลาผ่านไปโทรศัพท์สมาร์ทโฟนนัน้ยิ่งจะมีราคาที่ถูกลง จึงทำให้เกิดเหตุการใช้โทรศัพท์ สมาร์ทโฟนในด้านลบ เช่น แอบอ้างเป็นบุคคลอื่นๆการหลอกขายของผ่าน Socialnetwork ต่างๆ ติด เกมส์บนโทรศัพท์สมาร์ทโฟนได้ง่ายมากยิ่งขึน้ ดังนัน้ผู้วิจัยจึงได้มุ่งศึกษา "พฤติกรรมการใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนของวัยรุ่นไทยผลกระทบ ด้านลบต่อตนเองและสังคม" เพื่อหาวิธีป้องกันการฉ้อโกง หลอกลวง ติด Social Network & game มากกว่าการพูดคุยปากต่อปากกับบุคลคลรอบข้างและความสัมพันธ์ของคนในสังคมที่เริ่มลดลงจาก ผลของการใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนหรือการใช้เทคโนโลยีไม่อย่างเหมาะสม วัตถุประสงค์การวิจัย 1. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนของวัยรุ่นไทย 2. เพื่อศึกษาผลกระทบด้านลบของการใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนของวัยรุ่นไทยต่อตนเองและ บทความวิชาการ หลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม หน้า 3 สังคม สมมติฐานการวิจัย 1. ผู้ใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนที่มีลักษณะประชากรแตกต่างกันมีผลกระทบจากใช้โทรศัพท์ สมาร์ทโฟนต่อตนเองและสังคมแตกต่างกัน 2. พฤติกรรมการใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนของวัยรุ่นไทยมีความสัมพันธ์กับผลกระทบด้านลบ ต่อตนเองและสังคม ขอบเขตของการวิจัย ผู้วิจัยได้กำหนดขอบเขตไว้คือ ผู้ที่ใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟน ที่มีอายุระหว่าง 16-26 ปี เพราะ เนื่องจากกลุ่มนีอ้ยู่ในช่วงวัยรุ่นมีโอกาสได้พบได้ใช้สิ่งของที่มีเทคโนโลยีใหม่ๆและได้รับผลกระทบจาก พฤติกรรมการใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนอย่างมากที่สุด ดำเนินการเก็บข้อมูลผู้ใช้จำนวน 400 คน โดยการ ใช้แบบสอบถาม ใช้ระยะเวลา ระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ - 20 มีนาคม 2557
  • 4. กรอบแนวคิดในการวิจัย ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม ลักษณะประชากร  เพศ  อายุ  การศึกษา  อาชีพ  รายได้ พฤติกรรมการใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟน  ช่วงเวลา  ระยะเวลาในการใช้  คุยกับใคร  สถานที่  ลักษณะการใช้  ความถี่  วัตถุประสงค์การใช้  ความสัมพันธ์ ภาพที่ 1 กรอบแนวคิดในการวิจัย ผลกระทบด้านลบจากการใช้โทรศัพท์ สมาร์ทโฟน  ต่อตนเอง  สมาร์ทโฟนต่อสังคม ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1. ผลการวิจัยสามารถนำไปวิเคราะห์ผลกระทบด้านลบต่อตนเองของการใช้โทรศัพท์ สมาร์ทโฟนของกลุ่มวัยรุ่นไทย 2. เพื่อนำข้อมูลที่ศึกษาเป็นตัววัดระดับความสัมพันธ์ของคนในสังคมของยุคสมัยที่ เทคโนโลยีพัฒนาสามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยคในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟ นของกลุ่มวัยรุ่นไทย แนวคิดทฤษฎีและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผู้วิจัยได้นำทฤษฎีแนวคิดที่เป็นประโยชน์มาเป็นแนวทางในการกำหนดกรอบความคิด สำหรับการศึกษาดังต่อไปนี้ บทความวิชาการ หลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม หน้า 4
  • 5. 1. แนวคิดเกี่ยวกับพฤติกรรม 2. แนวคิดและทฤษฎีด้านประชากรศาสตร์ 3. แนวคิดทฤษฏีการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม 4. แนวความคิดเกี่ยวกับสื่อใหม่ 5. แนวคิดด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ 6. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ประชากรในการศึกษาคือบุคคลที่ใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟน อายุ 16-26 ปี ในเขต กรุงเทพมหานคร เนื่องจากกลุ่มนีมี้แนวโน้มที่จะใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนและได้รับผลกระทบด้านลบ เป็นจำนวนมาก แต่ไม่มีจำนวนตัวเลขผู้ใช้งานอย่างแน่นอน เครื่องมือในการดำเนินการวิจัย การวิจัยครัง้นีไ้ด้ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือวิจัยหลัก โดยสร้างเครื่องมือเป็นคำถามแบบ ปลายปิด (Close-ended Questionnaire) ประกอบด้วย 5 ส่วนดังนี้ ส่วนที่ 1 ข้อมูลส่วนตัวของผู้ตอบแบบสอบถาม เพศ อายุ การศึกษา อาชีพ รายได้ ส่วนที่ 2 พฤติกรรมการใช้งานโทรศัพท์สมาร์ทโฟนของท่าน โดยทั่วไป ระยะเวลา สถานที่ ความถี่ในการใช้งาน พฤติกรรมการใช้งานต่างๆ ส่วนที่ 3 ผลกระทบด้านลบที่ได้รับจากการใช้งานโทรศัพท์สมาร์ทโฟนของบุลคลรอบข้างต่อ ท่านอย่างไร มีคำตอบให้เลือก 5 ระดับ คือ มากที่สุด, มาก,ปานกลาง น้อย และน้อยที่สุดโดยให้ผู้ตอบ เลือกตอบเพียงข้อเดียวที่ตรงกับความรู้สึกมากที่สุด ส่วนที่ 4 ผลกระทบด้านลบต่อสังคมจากการพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนของวัยรุ่นไทยมี คำตอบให้เลือก 5 ระดับ คือ มากที่สุด, มาก,ปานกลาง น้อย และน้อยที่สุดโดยให้ผู้ตอบเลือกตอบ ส่วนที่ 5 เป็นแบบสอบถามข้อคิดเห็นเพิ่มเติมของกลุ่มตัวอย่าง การวิเคราะห์ข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเชิงสถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าเฉลี่ย ใช้ T-test เพื่อทดสอบความแตกต่างของ บทความวิชาการ หลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม หน้า 5
  • 6. กลุ่มตัวอย่างจำแนกตาม เพศ อายุ การศึกษา รายได้ โดยใช้การทดสอบความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) มาตรวัดพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนของกลุ่มวัยรุ่นไทยที่ผลกระทบด้านลบต่อ สังคมมากน้อยแค่ไหนมี 5 ระดับ โดยมีเกณฑ์การให้คะแนนดังนี้ ค่าเฉลี่ย ความหมาย 5 หมายความว่า มากที่สุด 4 หมายความว่า มาก 3 หมายความว่า ปานกลาง 2 หมายความว่า น้อย 1 หมายความว่า น้อยที่สุด เกณฑ์ดังกล่าวสามารถแปลความหมายของระดับคะแนนได้ดังนี้ คะแนนเฉลี่ย 4.21 - 5.00 หมายถึง กระทบมากที่สุด คะแนนเฉลี่ย 3.41 - 4.20 หมายถึง กระทบมาก คะแนนเฉลี่ย 2.61 - 3.40 หมายถึง กระทบปานกลาง คะแนนเฉลี่ย 1.81 - 2.60 หมายถึง กระทบน้อย คะแนนเฉลี่ย 1.00 - 1.80 หมายถึง กระทบน้อยมาก ผลการวิจัย ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ เป็นเพศชาย จำนวน 224 คน คิดเป็นร้อยละ 56.0 มีอายุ 21- 22 ปี จำนวน 109 คน คิดเป็นร้อยละ 27.2 เป็นนักเรียน/นักศึกษา จำนวน 254 คน คิดเป็นร้อยละ 63.5 มีระดับการศึกษาปริญญาตรี จำนวน 243 คน คิดเป็นร้อยละ 60.8 มีรายได้ 6,001-10,000 บาท จำนวน 128 คน คิดเป็นร้อยละ 32.0 ข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟน ช่วงเวลาในการใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟน มีค่าเฉลี่ย 3.49 อยู่ในระดับมาก โดยกลุ่มตัวอย่างใช้ โทรศัพท์สมาร์ทโฟนช่วงเวลา 17.01-21.00 น. มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด 4.08 และน้อยที่สุด คือ ช่วงเวลา 00.01-05.59 น. มีค่าเฉลี่ย 2.60 บทความวิชาการ หลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม หน้า 6
  • 7. สถานที่ที่ใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟน มีค่าเฉลี่ย 3.48 อยู่ในระดับมาก โดยกลุ่มตัวอย่างใช้ โทรศัพท์สมาร์ทโฟน ที่บ้าน/ที่พักอาศัย มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด 4.43 และน้อยที่สุด คือ สถานที่ทำงาน มี ค่าเฉลี่ย 2.73 วัตถุประสงค์และลักษณะการใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟน โดยกลุ่มตัวอย่างมีวัตถุประสงค์และ ลักษณะการใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟน คือ Application Facebook มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด 4.43 และน้อย ที่สุด คือ ขายของออนไลน์ มีค่าเฉลี่ย 2.19 ความถี่ในการใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟน มีค่าเฉลี่ย 3.27 อยู่ในระดับปานกลาง โดยกลุ่ม ตัวอย่างมีความถี่ในการใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟน คือ มากกว่า 30 ครัง้/วัน มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด 3.66 และ น้อยที่สุด ความถี่ต่ำกว่า 5 ครัง้/วัน มีค่าเฉลี่ย 2.77 การใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟน มีค่าเฉลี่ย 3.10 อยู่ในระดับปานกลาง โดยกลุ่มตัวอย่างมีการใช้ โทรศัพท์สมาร์ทโฟน คือ เพื่อน มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด 4.48 และน้อยที่สุด คือ อาจารย์ มีค่าเฉลี่ย 2.16 ช่วงระยะเวลาในการใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนมีค่าเฉลี่ย 3.42 อยู่ในระดับมาก โดยกลุ่ม ตัวอย่างมีระยะเวลาในการใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟน คือ ระยะเวลา 6-10 นาที/ครั้ง มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมา ระยะเวลา 1-5 นาที/ครั้ง มีค่าเฉลี่ย 3.45 ระยะเวลา 11-20 นาที/ครั้ง มีค่าเฉลี่ย 3.37 และ ระยะเวลามากกว่า 30 นาที/ครัง้ มีค่าเฉลี่ย 3.32 ข้อมูลผลกระทบด้านลบต่อตนเองจากการใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟน ผลกระทบด้านลบที่ได้รับจากการใช้โทรศัพท์โทรศัพท์สมาร์ทโฟนมีค่าเฉลี่ย 3.60 อยู่ใน ระดับมาก โดยกลุ่มตัวอย่างมีผลกระทบด้านลบที่ได้รับจากการใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟน คือ ก่อให้เกิด การติดเกมส์ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด 4.04 และน้อยที่สุด คือ ก่อให้เกิดความอิจฉา มีค่าเฉลี่ย 3.11 ข้อมูลผลกระทบด้านลบต่อสังคมจากการใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟน ผลกระทบด้านลบต่อสังคมจากพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนมีค่าเฉลี่ย 3.90 อยู่ใน ระดับมาก โดยกลุ่มตัวอย่างมีแนวโน้มระดับความสัมพันธ์ของคนในสังคมที่เริ่มลดลงจากพฤติกรรม การใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนคือ พูดคุยปากต่อปากกันน้อยลง มีค่าเฉลี่ย 4.43 และน้อยที่สุด คือ ทำให้ เกิดการหลอกลวงเพื่อผลประโยชน์ทางเพศ มีค่าเฉลี่ย 3.60 บทความวิชาการ หลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม หน้า 7
  • 8. ผลการทดสอบสมมติฐาน สมมติฐานที่ 1 พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ อาชีพ และวุฒิการศึกษาแตกต่าง กันมีผลกระทบด้านลบที่ได้รับจากการใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.05 ยกเว้น รายได้ต่อเดือนแตกต่างกันมีผลกระทบด้านลบที่ได้รับจากการใช้โทรศัพท์สมาร์ท โฟนแตกไม่แตกต่างกัน สมมติฐานที่ 2 พบว่า พฤติกรรมการใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนมีความสัมพันธ์กับผลกระทบ ด้านลบที่ได้รับจากการใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟน อภิปรายผลการวิจัย 1. จากผลการวิจัย พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟน ช่วงเวลา 17.01-21.00 น. มากที่สุดสถานที่ที่ใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนคือที่บ้าน/ที่พักอาศัยมี วัตถุประสงค์และลักษณะการใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟน คือ Application Facebook มีความถี่ในการใช้ โทรศัพท์สมาร์ทโฟน คือ มากกว่า 30 ครั้ง/วัน มีการใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนกับเพื่อนมากที่สุด มี ระยะเวลาในการใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟน คือ ระยะเวลา 6-10 นาที/ครั้ง มากที่สุด ซึ่งสอดคล้องปรัชญา หิน ศรีสุวรรณ (2553) ทำการศึกษาเรื่อง “รูปแบบการดำเนินชีวิต และพฤติกรรมการใช้งานเครือข่าย สังคมออนไลน์ ของนักศึกษามหาวทิยาลัยเชียงใหม่” จากการศึกษาพฤติกรรมการใช้งาน เครือข่าย สังคมออนไลน์ของนักศึกษมหาวิทยาลัย เชียงใหม่ ส่วนใหญ่มีการใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์เฟส- บุค (Facebook) พบว่าช่วงเวลาที่เข้า ใช้งานมากที่สุดคือ ช่วงดึก (19.00 – 24.00 น.) ใช้เวลาในการ เข้า ใช้ประมาณ 30 นาที และเข้า ใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์ ทุกๆวัน และ ภัทรา เรืองสวัสดิ์ (2553) ทำการศึกษาเรื่อง “รูปแบบการดำเนินชีวิตและพฤติกรรมใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของคนวัย ทำงานในกรุงเทพมหานคร” ผลของการวิจัยพบว่าพฤติกรรมการใช้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ ของ คนวัยทำงานพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นสมาชิกเว็บไซต์ เครือข่ายสังคมออนไลน์ Facebook มี การเข้าใช้บริการในช่วงเวลา 18.01-22.00 น. มีความถี่ในการเข้าใช้ 7 วัน/สัปดาห์ 2. จากผลการวิจัย พบว่า ผลกระทบด้านลบที่ได้รับจากการใช้โทรศัพท์โทรศัพท์สมาร์ทโฟน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ผลกระทบด้านลบที่ได้รับจากการใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟน คือ ก่อให้เกิดการ ติดเกมส์ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมา ก่อให้เกิดโรคเห่อตามแฟชั่น และน้อยที่สุด คือ ก่อให้เกิดความ อิจฉา ทัง้นีแ้สดงให้เห็นว่า กลุ่มวัยรุ่นไทยส่วนมากใช้สมาร์ทโฟนเพื่อเล่นเกมส์ ผลกระทบด้านลบที่ บทความวิชาการ หลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม หน้า 8
  • 9. ได้รับจากการใช้สามาร์ทโฟนจึงก่อให้เกิดการติดเกมส์มากที่สุด ซึ่งไม่พบการสอดคล้องกับงานวิจัย ใดๆ 3. จากผลการวิจัย พบว่า ผลกระทบด้านลบต่อสังคมจากพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์สมาร์ท โฟนมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก โดยมีการพูดคุยปากต่อปากกันน้อยลง มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมา ละเลยต่อสภาวะแวดล้อมและบุคคลรอบข้าง และน้อยที่สุด คือ ทำให้เกิดการหลอกลวงเพื่อ ผลประโยชน์ทางเพศ ทัง้นีแ้สดงให้เห็นว่า เมื่อมีเวลาว่างจะใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนสื่อสารกันผ่าน เฟสบุ๊ค ผ่านไลน์ ไม่ได้นั่งพูดคุยกันเพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีต่อกัน ความสัมพันธ์ของคนในสังคม จึงลดน้อย เพราะการพูดคุยปากต่อปากกันน้อยลง ซึ่งสอดคล้องกับ บทความผลกระทบของเทคโนโลยี สารสนเทศ(โซนซ่า, 2557, ออนไลน์) โดยได้ให้ข้อมูลว่าเทคโนโลยีสารสนเทศต่อสังคมนัน้จึงมี ผลกระทบในทางลบ ทำให้ความสัมพันธ์ของมนุษย์เสื่อมถอย การใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สื่อสาร ทำให้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้โดยไม่ ต้องเห็นตัว การใช้งานคอมพิวเตอร์หรือแม้แต่การเล่นเกมที่มี ลักษณะการใช้งานเพียงคนเดียว ทำให้ความสัมพันธ์กับผู้อื่นลดน้อยลง ผลกระทบนีท้ำให้มีความเชื่อ ว่า มนุษยสัมพันธ์ของบุคคลจะน้อยลง สังคมใหม่จะเป็นสังคมที่ไม่ต้องพึ่งพาอาศัยกันมาก นอกจากนัน้ยังมี พรพิสุทธิ์ มงคลวนิช (2556, ออนไลน์) ได้ให้ข้อมูลว่าจากการสำรวจและศึกษาจาก หน่วยงานที่หลากหลายพบตรงกันว่า การใช้สมาร์ทโฟนส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของผู้ใช้เป็นอย่างมาก ซึ่งก่อให้เกิดความกังวลอย่างกว้างขวางว่าหากสมาร์ทโฟนถูกพัฒนาให้มีความสามารถและสะดวกใน การใช้งานมากขึน้กว่านี้อาจทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการปฎิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล 4. จากการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ อาชีพ และวุฒิ การศึกษาแตกต่างกันมีผลกระทบด้านลบที่ได้รับจากการใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนแตกต่างกันอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ทัง้นีอ้าจเป็นเพราะว่า ส่วนมากกลุ่มวัยรุ่นที่ใช้สมาร์ทโฟนจะเป็นเพศ ชาย มีอายุ 21-22 ปี เป็นนักเรียน/นักศึกษา การศึกษาระดับปริญญาตรี ผลกระทบด้านลบที่ได้รับ จากการใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนจึงแตกต่างกัน ซึ่งไม่พบการสอดคล้องกับงานวิจัยใดๆ 5. จากการทดสอบสมมติฐาน พบว่า พฤติกรรมการใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนมีความสัมพันธ์ กับผลกระทบด้านลบที่ได้รับจากการใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟน ทัง้นีแ้สดงให้เห็นว่า ยิ่งกลุ่มวัยรุ่นไทยมี พฤติกรรมการใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟน เช่น ใช้สมาร์ทโฟนทุกช่วงเวลา ทุกสถานที่ ใช้เพื่อเล่นเกมส์ ก็จะ ส่งผลให้เกิดผลกระทบด้านลบมาก เช่น ก่อให้เกิดอุบัติเหตุ ก่อให้เกิดความรำคาญ และก่อให้เกิดการ ติดเกมส์ ซึ่งไม่พบการสอดคล้องกับงานวิจัยใดๆ บทความวิชาการ หลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม หน้า 9
  • 10. ข้อเสนอแนะ ข้อเสนอแนะจากการวิจัย 1. เมื่อมีการใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนกลุ่มวัยรุ่นไทยควรเลือกสถานที่และช่วงเวลาให้ เหมาะสม เพื่อไม่ก่อให้เกิดความรำคาญต่อบุลคลรอบข้าง ไม่ก่อให้เกิดการติดเกมส์ และไม่ก่อให้เกิด อุบัติเหตุต่อสังคม 2. กลุ่มวัยรุ่นไทยควรลดพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟน เพราะแนวโน้มระดับความสัมพันธ์ ของคนในสังคมเริ่มลดลงเนื่องจากพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนมากเกินไป เช่น การพูดคุย ปากต่อปากันน้อยลง ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป 1. ควรศึกษาพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์สามาร์ทโฟนของกลุ่มวัยรุ่นไทยในเขต กรุงเทพมหานครที่มีผลกระทบด้านลบต่อตนเองและสังคม 2. ควรศึกษาทัศนคติของประชาชนที่มีต่อการใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนในเขตกรุงเทพมหานคร เอกสารอ้างอิง ปรัชญา หินศรีสุวรรณ. (2555). รูปแบบการดำเนินชีวิต และพฤติกรรมการใช้งานเครือข่าย สังคมออนไลน์ ของนักศึกษามหาวิยาลัยเชียงใหม่. การค้นคว้าอิสระ สาขาวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศและการจัดการ, คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. พรพิสุทธิ์ มงคลวนิช. (2556). ได้เขียนบทความ “ชีวิตที่เปลี่ยนไปกับการใช้สมาร์ทโฟน" (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก http://www.etpnews.com/index.php?option=com_ content&view=article&id=354:2013-03-16-01-48-38&catid=38:breaking-news& Itemid=59. ภัทรา เรืองสวัสดิ์. (2553). รูปแบบการดำเนินชีวิตและพฤติกรรมใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ ของคนวัยทำงานในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์วารสารมหาบัณฑิต สาขาวิชาการ จัดการ การสื่อสารองค์กร, คณะวารสารศาสตร์และสื่อมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. เว็บไซต์โซนซ่า. (2557). ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศ มีอะไรบ้าง ข้อดีและข้อเสีย (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก http://www.zoneza.com/view3833.htm บทความวิชาการ หลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม หน้า 10