SlideShare a Scribd company logo
1 of 166
Download to read offline
ÇÔªÒ ÀÒÉÒä·Â
(O-NET)
ÃÈ.¨ÒÃØ³Õ ¡Í§¾Å¾ÃËÁ
Í.ÊؾÑμÃÒ ÍØμÁѧ
O-Net)
-
-
-
-
-
1
-
-
-
-
-
-
-
-
2
>_< ????
………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………
3
4
>_< “
>>>
>_< “
5
^_^ ^L^
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
- - -
- - - - -
. – -
. ( )
. - -
6
.
- - - -
( )
( ) - - -
( ) - - -
( ) - - - -
( ) - - -
( )
( )
7
8
- - - -
- - - - -
9
10
“
”
“ ”
11
12
“ ”
“ ”
13
O-NET
-
.
.
.
.
*************************************************************
14
15
-
-
-
-
-
-
! ! !
16
-
- …
17
•
•
•
18
•
•
•
•
•
************************************************************
“
”
“ ”
“ ”
19
“ ”
-
-
-
-
–
“
”
20
“ ”
“ ”
“
”
21
)
)
)
22
“
”
23
“
”
O-NET
)
24
)
*****************************
25
O-NET
1-5
5
“ ”
26
2
1) 2) 3)
4)
1 4 2 3
1 3 2 4
27
15 – 16
[ ]
;
;
-
3 4
5 6
1 2
3 4
28
50
1 3 2 3
1 4 2 4
4 3 5 4
6 5 7 6
29
2535
30
10
1)
2)
3)
4)
1 2
3 4
35 – 45
70
31
“ ”
3 3 “ ”
1)
2)
3)
4)
1 2
3 4
“ ”
1)
2)
3)
4)
32
1 2
3 4
7 100
4
1 2
3 4
“ ”
33
45 – 46
“ ”
3 – 5 – 2 – 1 – 4 2 – 3 – 1 – 4 – 5
2 – 5 – 3 – 1 – 4 3 – 1 – 4 – 2 – 5
“ ”
1 2
3 4
2
4
34
………………
10
35
3
“ ”
3
“ ”
3
55 – 56
36
4
59 – 60
1) “ ”
2) “ ”
3) “ ”
4) “ ”
: “
”
:
: “ ”
1) 2)
3) 4)
1) 2)
3) 4)
“
”
5
37
“
”
2
:
1134
“ ”
-
-
-
-
38
-
-
-
-
-
“ 400 30
”
“ ”
“ ”
39
71 – 72
73 – 74
40
“ ”
2475
10 2493
41
2
……
42
1 2
3 4
88 – 89
43
92 – 93
1 2
3 4
3
1 2
3 4
44
“ ”
45
46
47
48
เฉลยข้อสอบ วิชาภาษาไทย
O‐Net ปี53
2. เฉลยข้อ 4 ข้อ ง
เหตุผล
ข้อ 4 ข้อ ง มีคําที่ออกเสียงอักษรควบ อยู่ 1 คํา คือ คํา ควัน
3.เฉลยข้อ 2 ข้อ ข
เหตุผล ข้อ 2 ข้อ ข มีเสียงวรรณยุกต์ครบ 5 เสียง ดังนี้
เสียงสามัญ ในคํา เพียร และ เรียน
เสียงเอก ในคํา สวัสดิ์
เสียงโท ในคํา ราช และ ต้อง
เสียงตรี ในพยางค์ ช (ชะ) และ รัก
เสียงจัตวา ในพยางค์ ษา
ข้อ 1. ขาดเสียงวรรณยุกต์ ตรี และ จัตวา
ข้อ 3. ขาดเสียงวรรณยุกต์ จัตวา
ข้อ 4. ขาดเสียงวรรณยุกต์ โท และ จัตวา
4. เฉลยข้อ 1 ข้อ ก
เหตุผล
อักษรตํ่า เป็น อักษรหมู่หนึ่งใน ไตรยางศ์ ซึ่งประกอบด้วยอักษร 3
หมู่ คือ อักษรสูง
อักษรกลาง และอักษรตํ่า
อักษรสูง มี 11 ตัว คือ ข ฃ ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ษ ส ห
อักษรกลาง มี 9 ตัว คือ ก จ ฎ ฏ ด ต บ ป อ
อักษรตํ่า มี 24 ตัว คือ ค ฅ ฆ ง ช ซ ฌ ญ ฑ ฒ ณ ท ธ น พ
ฤ ภ ม ย ร ล ว ฬ ฮ
ไตรยางศ์
เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการผันอักษรซึ่งเกี่ยวข้องกับพยัญชนะต้น
เท่านั้น เพราะฉะนั้น การนับอักษรสูง อักษรกลาง หรืออักษรตํ่า
ว่ามีกี่ตัวนั้น ให้นับที่เป็นพยัญชนะต้นเท่านั้น ดังนี้
ข้อ 1. ข้อ ก. เมื่อไม่นับอักษรที่ซํ้ากัน จะมีอักษรตํ่าอยู่ 2 ตัว
เท่านั้นคือ ร และ ว นับว่าน้อยที่สุด
ข้อ 2. ข้อ ข มี 4 ตัว คือ ร ช ว พ
ข้อ 3. ข้อ ค มี 4 ตัว คือ ท น ว ร
ข้อ 4. ข้อ ง มี 5 ตัว คือ ม ร ช น ค
5.เฉลยข้อ 2 ข้อ ข และ ค
เหตุผล อักษรนํา มี 4 ลักษณะ คือ
1. อ นํา ย มี 4 คํา คือ อย่า อยู่ อย่าง อยาก
2. ห นํา อักษรตํ่าเดี่ยว เช่น ไหม แหน หวาน หรือ
3. อักษรกลาง นํา อักษรตํ่าเดี่ยว เช่น กนก อร่อย จรัส แปรก
4. อักษรสูง นํา อักษรตํ่าเดี่ยว เช่น ไถง แขนง สนอง เฉลย
ข้อ 2 ข้อ ข มีอักษรนํา คือ สวัสดิ์
ข้อ ค มีอักษรนํา คือ กําหนด
6.เฉลยข้อ 3 ผลัดเวร บทกลอน โทษทัณฑ์
เหตุผล เหตุ มีตัวสะกดในมาตราแม่ กด
ผล มีตัวสะกดในมาตราแม่ กน
คําในข้อ 3 มีตัวสะกดมาตราเดียวกับ “เหตุผล” ทุกคํา ดังนี้
ผลัด = แม่กด เวร = แม่กน
บท = แม่กด กลอน = แม่กน
โทษ = แม่กด ทัณฑ์ = แม่กน
7.เฉลยข้อ 1 คนงานใหม่ขยันเป็นพัก ๆ เอาแน่ไม่ได้
เหตุผล ข้อ 1  มีคําซํ้าคือ พัก ๆ ซึ่งมีความหมายว่า ช่วงระยะเวลา
หนึ่งๆ จําเป็นต้องใช้เป็นคําซํ้าเสมอ ถ้าไม่ซํ้าจะมีความหมายว่า หยุด
ชั่วคราว รอรั้ง หรือ คราว ซึ่งไม่เข้ากับบริบทที่ให้มานี้
ข้อ 2. ซิบ, ซิบ ๆ มีความหมายทํานองเดียวกันว่าอาการที่
เลือดไหนออกน้อย ๆ
ข้อ 3.  พลาง, พลาง ๆ มีความหมายทํานองเดียวกันว่า
ชั่วระหว่างเวลา (ที่ยังไม่พร้อมหรือยังไม่ถึงกําหนดเป็นต้น)
ข้อ 4. แรก, แรก ๆ มีความหมายทํานองเดียวกันว่า ต้น
หรือ เดิมที
8.เฉลยข้อ 2 ถ่องแท้ ถี่ถ้วน ถากถาง
เหตุผล
คําซ้อนประกอบขึ้นจากคําเดิมตั้งแต่ 2 คําขึ้นไปที่มีความหมาย
สัมพันธ์กันในเชิงใดเชิงหนึ่งต่อไปนี้
1. ความหมายเหมือนกัน เช่น นัยน์ตา
2. ความหมายคล้ายกัน เช่น สวยงาม
3. ความหมายประเภทเดียวกัน เช่น เรือแพนาวา
4. ความหมายต่างกันอย่างตรงกันข้าม เช่น ตื้นลึกหนาบาง
ข้อ 1 มีคําซ้อน 2 คํา คือ ซํ้าซ้อน ซักฟอก
ส่วน ซ่อนรูป เป็นคําประสม
ข้อ 2 เป็นคําซ้อนทุกคํา
ข้อ 3 มีคําซ้อน 2 คํา คือ บีบคั้น เบียดเบียน
ส่วน เบาความ เป็นคําประสม
ข้อ 4 มีคําซ้อน 2 คํา คือ แปรผัน โปรยปราย
ส่วน เป่าหู เป็นคําประสม
9. เฉลยข้อ 4 ส่วนที่ 2 และ 4
เหตุผล ข้อ 4
ส่วนที่ 2 มีคําประสมคือ เทศบาลเมือง
ส่วนที่ 4 มีคําประสมคือ นาฬิกาแดด
10. เฉลยข้อ 2 เดินแต้ม เดินรถ เดินสะพัด
เหตุผล
ข้อ 1. มีคําประสม 2 คํา คือ คําขาด คําคม
ส่วน คําราม เป็นคํามูล 2 พยางค์
ข้อ 2. เป็นคําประสมทุกคํา
ข้อ 3. มีคําประสม 2 คํา คือ นํ้าป่า นํ้ามือ
ส่วน นํ้าไหล เป็น ประโยค หรือ กลุ่มคํา
ข้อ 4. มีคําประสม 2 คํา คือ ติดลม ติดใจ
ส่วน ติดขัด เป็นคําซ้อน
11. เฉลยข้อ 3 ตําแหน่งศักดิ์ยศถา เสถียรที่
เหตุผล
ข้อ 1. มีคําสมาส คือ โยธามาตย์
ข้อ 2. มีคําสมาส คือ ราชโยธา
ข้อ 3. ไม่มีคําสมาส
ข้อ 4. มีคําสมาส คือ พยุหยาตรา
12. เฉลยข้อ 1
ขับคเชนทร์สาวก้าว ส่ายเสื้องเทาทางเหตุผล
ข้อ 1. มีคําสมาสที่มีการสร้างคําแบบคําสมาสที่มีการสนธิ
คช + อินทร์ = คชินทร์  คเชนทร์
ส่วนข้ออื่น ๆ เป็นคําสมาสที่ไม่มีการสนธิ ดังนี้
ข้อ 2. พุทธบาท = พุทธ + บาท
ข้อ 3. สุธารส = สุธา + รส
ข้อ 4. บทจร = บท + จร
13.เฉลยข้อ 3คนที่ซื้อทองรูปพรรณต้องจ่ายเงินค่ากําเหน็จด้วย
เหตุผล
ข้อ 1. มีคําที่สะกดผิดอยู่ 1 คํา คือ มังสวิรัติ ต้องแก้เป็น
มังสวิรัติ
ข้อ 2. มีคําที่สะกดผิดอยู่ 1 คํา คือ ยามรักษาการ ต้องแก้
เป็น ยามรักษาการณ์
ข้อ 3. สะกดถูกต้องทุกคํา
ข้อ 4. มีคําที่สะกดผิดอยู่ 1 คํา คือ เข้าฌาน ต้องแก้เป็น
เข้าฌาน
14. เฉลยข้อ 4
ในภาวะเศรษฐกิจตกตํ่าทุกครอบครัวต้องกระเบียดกระเสียร
เหตุผล ข้อ 4
มีคําที่สะกดผิดอยู่ 1 คํา คือ กระเบียดกระเสียน ต้องแก้เป็น
กระเบียดกระเสียร
15. เฉลยข้อ 3 5 คํา
เหตุผล
คําตั้ง หรือ แม่คํา คือ คําที่ยกขึ้นตั้งเพื่อนิยามความหมายในการทํา
พจนานุกรม
ข้อความในพจนานุกรมที่ยกมามี คําตั้ง หรือ แม่คํา ทั้งหมด 5 คํา
คือ จวัก, จอ 1,
จอ 2,  จ่อ 1,  จ่อ 2
16. เฉลยข้อ 1 1 คํา
เหตุผล
ในพจนานุกรม คําย่อในวงเล็บหน้าบทนิยามจะบอกลักษณะของ
คําที่ใช้เฉพาะแห่ง
ข้อความในพจนานุกรมที่ให้มา มีคําที่ระบุว่าใช้เฉพาะแห่ง 1 คํา
คือ จ่อ 2 (ถิ่น – อีสาน)
หมายความว่า จ่อ 2 เป็นคําที่ใช้เฉพาะถิ่นภาคอีสาน
17. เฉลยข้อ 3
จินตนาไปหาหมอเพื่อใช้แสงเลเซอร์รักษาผิดหน้า
เหตุผล
ข้อ 1. เบลอร์ ใช้คําไทย “มึน” แทนได้
ข้อ 2. ดีไซเนอร์ ใช้คําไทย “นักออกแบบ” แทนได้
ข้อ 3. เลเซอร์ ไม่มีคําไทยใช้แทน
ข้อ 4. อินเตอร์ ใช้คําไทย “นานาชาติ” แทนได้
18. เฉลยข้อ 4 วิกฤตการณ์ วิจัย วิสัยทัศน์
เหตุผล
ข้อ 1. มีคําศัพท์บัญญัติจากคําภาษาอังกฤษอยู่ 2 คํา คือ จุลทรรศน์
(microscope) และจุลินทรีย์ (microbe;  micro – organism)
ข้อ 2. มีคําศัพท์บัญญัติจากคําภาษาอังกฤษอยู่คําเดียว คือ สังเคราะห์
(synthesise)
ข้อ 3. มีคําศัพท์บัญญัติจากคําภาษาอังกฤษอยู่ 2 คํา คือ สมมาตร
(symmetry) และ สมมุติฐาน (hypothesis)
ข้อ 4. เป็นคําศัพท์บัญญัติจากคําภาษาอังกฤษทุกคํา คือ วิกฤตการณ์ (crisis)
วิจัย (research) และวิสัยทัศน์ (vision)
19. เฉลยข้อ 3 ข้อ ข และ ง
เหตุผล
ข้อ ก. มีคํายืมภาษาบาลีสันสกฤตอยู่ 1 คํา คือ จร
ข้อ ข. ไม่มีคํายืมภาษาบาลีสันสกฤต
ข้อ ค. มีคํายืมภาษาบาลีสันสกฤตอยู่ 1 คํา คือ จันทร์
ข้อ ง. ไม่มีคํายืมภาษาบาลีสันสกฤต
20. เฉลยข้อ 4
คณะกรรมการกําลังพิจารณาคําขวัญที่ส่งเข้าประกวด 50 บาท
เหตุผล
ข้อ 1.ใช้ลักษณนามของ “เงื่อนไข” ว่า “ข้อ” นั้นถูกต้องแล้ว
ข้อ 2.ใช้ลักษณนามของ “ข้อคิดเห็น” ว่า “ประการ” นั้นถูกต้องแล้ว
ข้อ 3.ใช้ลักษณนามของ “ปัญหา” ว่า “เรื่อง” นั้นถูกต้องแล้ว
ข้อ 4.ใช้ลักษณนามของ “คําขวัญ” ว่า “บท” นั้นยังไม่ถูกต้อง ต้อง
แก้เป็น “คําขวัญ”
21. เฉลยข้อ 2 บุพบท 2 คํา สันธาน 3 คํา
เหตุผล
ข้อความที่ให้มามี บุพบท 2 คํา คือ ใน จาก มีสันธาน 31 คํา
คือ เพราะ ทั้ง และ
22. เฉลยข้อ 4 นาม 7 คํา กริยา 6 คํา
เหตุผล
ข้อความที่ให้มามีคํานาม 7 คํา คือ
การกู้ยืม ประโยชน์ เงิน คุณภาพ รายได้ ต้นทุน จํานวน
มีกริยา 6 คํา คือ
มี กู้ มา ใช้ สร้าง เพิ่ม
23.เฉลยข้อ 2 เครื่องปั้นดินเผาที่บ้านเชียงส่วนใหญ่เป็นหม้อลายเขียนสีรูป
วงกลมม้วนคล้ายลายก้นหอย
เหตุผล
ข้อ 1.เป็นประโยคความซ้อน เพราะมีประพันธสรรพนามที่เชื่อมประโยค
ข้อ 2.เป็นประโยคความเดียว เพราะมีประธานตัวเดียว คือ เครื่องปั้นดินเผา
มีกริยาตัวเดียว คือ เป็นที่ ในประโยคนี้เป็น บุพบท ใช้นําหน้าคํา ไม่ได้
ใช้เชื่อมประโยคความซ้อน
ข้อ 3.เป็นประโยคความซ้อรน ใช้ “ว่า” เชื่อมประโยค
ข้อ 4.เป็นประโยคความซ้อน ใช้ “ให้” เชื่อมประโยค
24. เฉลยข้อ 3 เย็นนี้แม่บ้านจะทําแกงส้มดอกแคและผัดผักรวม
เหตุผล
ข้อ 1. เป็นประโยคความซ้อนเพราะใช้ประพันธสรรพนาม “ซึ่ง” เชื่อม
ประโยค
ข้อ 2. เป็นประโยคความซ้อน เพราะใช้ประพันธสรรพนาม “ที่” เชื่อม
ประโยค
ข้อ 3. ไม่ใช่ประโยคความซ้อน แต่เป็นประโยคความรวม เพราะใช้
“และ” เชื่อมประโยค
ข้อ 4. เป็นประโยคความซ้อน เพราะใช้ “ว่า” เชื่อมประโยค
25. เฉลยข้อ 4
การบริหารจัดการเศรษฐกิจที่ทําให้คนสามารถดูแลตัวเองให้อยู่ได้โดยไม่
เดือดร้อน
เหตุผล ข้อ 4
ไม่ใช่ประโยคเพราะมีแต่ภาคประธาน ไม่มีภาคแสดงของประโยค
26.เฉลยข้อ 2 ชาวบ้านรู้ตื้นลึกหนาบางเป็นอย่างดีว่าเขารํ่ารวยเพราะอะไร
เหตุผล
ข้อ 1.มีนํ้าเสียงชื่นชม เพราะ “ยกนิ้ว” มีความหมายว่า ยอมให้เป็น
เยี่ยม
ข้อ 2.มีนํ้าเสียงเชิงตําหนิ เพราะ “ตื้นลึกหนาบาง” แฝงความหมาย
ในทางลบว่า มีที่มาที่ไม่ชอบมาพากล
ข้อ 3.“ยืนคํา” มีความหมายว่า “ยืนยันคําพูดที่พูดไปแล้ว โดยไม่
เปลี่ยนแปลง” มีนํ้าเสียงแสดงความหนักแน่น
ข้อ 4.“จัดแจง” มีความหมายว่า “เตรียมการ” มีนํ้าเสียงแสดงความ
รับผิดชอบ
27. เฉลยข้อ 1 ปีนเกลียว ปิดฉาก ถูกขา
เหตุผล ข้อ 1. ปีนเกลียว ปิดฉาก ถูกขา มีความหมายตามตัวเมื่อใช้ “ปีน, ปิด, ถูก” เป็น
สกรรมกริยา และ “เกลียว, ฉาก, ขา” เป็นกรรมของกริยาทั้ง 3 คํานี้
ในเชิงอุปมา จะมีความหมายดังนี้
ปีนเกลียว = มีความเห็นไม่ลงรอยกัน ขัดแย้งกัน แตกพวกหรือไม่ถูกกัน
ปิดฉาก = เลิก, หยุด, ยุติ
ถูกขา = เข้ากันได้, รู้ชั้นเชิงกัน (มักใช้ในการพนันและการเล่นกีฬา)
ข้อ 2. เฝ้ าไข้ มีความหมายตามตัวเท่านั้น
ปิดตา และเปลี่ยนมือ มีความหมายตามตัวเมื่อใช้ ปิด กับ เปลี่ยนเป็นสกรรม
กริยา และใช้ ตา กับ มือ เป็นกรรม
ในเชิงอุปมา จะมีความหมาย ดังนี้
ปิดตา หรือ ปิดหูปิดตา = ไม่ยอมรับรู้รับฟัง, ไม่ยอมให้รู้ให้เห็น
เปลี่ยนมือ = เปลี่ยนเจ้าของ, เปลี่ยนผู้ครอบครอง
ข้อ 3. วางใจ และ แก้เคล็ด มีความหมายเชิงอุปมาดังนี้
วางใจ = เชื่อใจ, ไว้ใจ
แก้เคล็ด = กระทําการอย่างใดอย่างหนึ่งที่เชื่อกันว่าเป็นวิธีปัดเป่า
หรือป้ องกันภัยหรือเหตุร้ายที่จะมีมา
ส่วนเป่าปี่ ใช้ได้ทั้งความหมายตามตัวและความหมายเชิงอุปมาในความหมาย
ตามตัว ใช้ เป่า เป็นสกรรมกริยา และใช้ ปี่ เป็นกรรมในความหมายเชิงอุปมา
เป่าปี่ = ร้องไห้, สูบฝิ่น
ข้อ 4. กินตะเกียบ มีความหมายเดียวว่า กินอาหารด้วยตะเกียบ
ปั่นหัว และ ลงคอ มีทั้งความหมายตามตัวและเชิงอุปมา ในความหมายเชิงอุปมา
ปั่นหัว = ทําให้งง, ยุให้ผิดใจกัน
ลงคอ = อาการที่ทําสิ่งที่ขัดต่อคุณธรรมหรือศีลธรรมเป็นต้น โดยไม่
ตะขิด ‐ ตะขวงใจ
28. เฉลยข้อ 3
ผู้มีรายได้ตํ่าได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีเงินได้
เหตุผล ข้อ 1. ต้องแก้ “ยกมือ” เป็น “ยกนิ้ว”
ข้อ 2. ต้องแก้ “ยกเลิก” เป็น “เลิก”
ข้อ 3. ใช้ “ยกเว้น” ถูกต้องแล้ว
ข้อ 4. ต้องแก้ “ยกโทษ” เป็น “ลดโทษ”
29.เฉลยข้อ 4
พ่อแม่ชื่นชมปีติยินดีที่ลูกสาวสําเร็จการศึกษาระดับ
ปริญญาเอกเพราะซํ้าความกัน ควรแก้เป็นพ่อแม่ชื่นชมที่ลูกสาวสําเร็จ
การศึกษาระดับปริญญาเอก หรือพ่อแม่ปีติยินดีที่ลูกสาวสําเร็จ
การศึกษาระดับปริญญาเอก หรือ พ่อแม่ชื่นชมยินดีที่ลูกสาวสําเร็จ
การศึกษาระดับปริญญาเอก
30.เฉลยข้อ 1 เด็กข้างบ้านวิ่งชนฉันหกล้มปากแตก
เหตุผล
ข้อ 1.ใช้ภาษากํากวม อาจมีความหมายว่า เด็กข้างบ้านวิ่ง ชนฉัน
แล้วเด็กคนนั้นหกล้มปากแตก หรือ ฉันถูกเด็กคนนั้นชนจนหกล้ม
ปากแตกก็ได้
31.เฉลยข้อ 4 ชุบมือเปิบ
เหตุผล ข้อ 1. สํานวน “เก็บดอกไม้ร่วมต้น” มีความหมายว่า “เคย
ทําบุญกุศลร่วมกันมาแต่ ชาติก่อน จึงมาอยู่ร่วมกันในชาตินี้”
ข้อ 2. สํานวน “เก็บเบี้ยใต้ถุนร้าน” มีความหมายว่า “เก็บ
เล็กผสมน้อย ทําอะไรที่ประกอบด้วยส่วนเล็กส่วนน้อย โน่นบ้างนี่บ้าง
จนสําเร็จเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา”
ข้อ 3. สํานวน “ชุบมือเปิบ” มีความหมายว่า “ฉวยประโยชน์
จากคนอื่นโดยไม่ได้ลงทุนลงแรง” ความหมายนี้สอดคล้องกับบริบทที่
ให้มา จึงเป็นสํานวนเหมาะสมที่จะเติมในช่องว่างของข้อความที่ให้มา
32.เฉลยข้อ 1 พอก้าวขาก็ลาโรง
เหตุผล ข้อ 1. สํานวน “พอก้าวขาก็ลาโรง” มีความหมายว่า “ชักช้าทํา
ให้เสียการ” ความหมายนี้ไม่เกี่ยวกับการพูด
ข้อ 2. สํานวน “ละเลงขนมเบื้องด้วยปาก” มีความหมายว่า “ดี
แต่พูด แต่ทําไม่ได้”
ข้อ 3. สํานวน “ไปไหนมาสามวาสองศอก” มีความหมายว่า
“ถามอย่าหนึ่งตอบไปอีกอย่างหนึ่ง
ข้อ 4. สํานวน “นํ้าร้อนปลาเป็น นํ้าเย็นปลาตาย” มีความหมาย
ว่า “คําพูดที่ตรงไปตรงมา ฟังไม่ไพเราะ เป็นการเตือนให้ระวังตัว แต่ไม่
เป็นพิษเป็นภัย คําพูดที่ไพเราะอ่อนหวานทําให้ตายใจ อาจเป็นโทษเป็นภัย
ได้”
33.เฉลยข้อ 1 ส่วนที่ 1
เหตุผล
ข้อ 1.ใช้ภาษาระดับทางการ ซึ่งมีลักษณะกระชับ ชัดเจน
และสุภาพ
ข้อ 2. มีคําที่ไม่เป็นทางการ เช่น กรูเกรียว บอกให้เรารู้ว่า
ข้อ 3. มีคําที่ไม่เป็นทางการ เช่น ทุกทิศทุกทาง
ข้อ 4. มีคําที่ไม่เป็นทางการ เช่น ตามมาแน่ ๆ
34.เฉลยข้อ 1
โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังอักเสบเป็นโรคที่เกิดขึ้นแก่เด็กมากกว่าผู้ใหญ่
เหตุผล
ข้อ 1.ใช้ภาษาระดับทางการ ส่วนข้ออื่น ๆ ใช้ภาษาระดับไม่
เป็นทางการ
ข้อ 2. มีคําที่ไม่เป็นทางการ เช่น คุณหมอ ครับ
ข้อ 3. มีคําที่ไม่เป็นทางการ เช่น ลูกน้อย โลชั่น
ข้อ 4. มีคําที่ไม่เป็นทางการ เช่น น้องหนู
35.เฉลยข้อ 2
โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ จึงไม่ได้เป็นโรคที่เกิดแก่ผู้สูงอายุอีกต่อไป
เหตุผล
ข้อ 1. ผูกประโยคฟุ่มเฟือย เพราะแปลมาจากภาษาต่างประเทศคําต่อคํา ควรแก้ให้
เป็นสํานวนภาษาไทยที่กะทัดรัด สละสลวย เช่น
“กลุ่มคนอายุ 35 – 55 ปี เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบเพิ่มขึ้นทุกปีในปัจจุบัน”
ข้อ 2.เป็นสํานวนภาษาไทยที่กระชับ สละสลวยดีแล้ว
ข้อ 3. ควรแก้เป็น “หลอดเลือดหัวใจที่ยังตีบไม่มากอาจไม่มีอาการใดปรากฏเลย”
ข้อ 4. ควรแก้เป็น “ส่วนมากอาการต่าง ๆ จะเกิดขึ้นต่อเมื่อหลอดเลือดหัวใจตีบ
มากกว่าร้อยละ 70 ขึ้นไป”
36.เฉลยข้อ 3 ทอดพระเนตร ทรงพระราชปฏิสันถาร
เหตุผล ทอดพระเนตร เป็นกริยาราชาศัพท์สําเร็จรูป ห้าใช้ “ทรง”
นําหน้า การใช้ ทรงทอดพระเนตรในข้อ 1. และ 2. จึงไม่ถูกต้อง ต้องใช้
ทอดพระเนตร ตามข้อ 3. และ 4. ทรงพระราชปฏิสันถาร เป็นการ
ใช้คําราชาศัพท์สําหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แทนคํากริยา
ทักทาย นั้นถูกต้องแล้ว เพราะเป็นการใช“ทรง” นําหน้าคํานามราชา
ศัพท์ ไม่ต้องใช้กริยา “มี” เข้ามาแทรก ถ้าไม่ใช้ “ทรงพระราช
ปฏิสันถาร” อาจจะใช้ว่า “มีพระราชปฏิสันถาร” ก็ได้เช่นกัน
37.เฉลยข้อ 2 บรมชนกนาถ บรมโกศ บรมวงศ์
เหตุผล ข้อ 1. เติม “พระ” ได้ 2 คํา พระบรมราชานุสาวรีย์ พระบรมฉายา
ลักษณ์ส่วน บรมหฤทัย ต้องแก้เป็น พระราชหฤทัย
ข้อ 2. เติม “พระ” ได้ทั้ง 3 คํา คือพระบรมชนกนาถ พระบรม
โกศ พระบรมวงศ์
ข้อ 3. เติม “พระ” ได้ 2 คํา คือพระบรมรูป พระบรมบพิตรส่วน
บรมหัตถเลขา ต้องแก้เป็น พระราชหัตถเลขา
ข้อ 4. เติม “พระ” ไม่ได้เลยทั้ง 3 คําต้องแก้เป็น พระราชมนเทียร
พระอัฐิ เส้นพระเจ้า
38. เฉลยข้อ 4
หวั่นโรคไข้หวัดสุนัขคร่า “แพนด้าน้อย”
เหตุผล คําที่แสดงความเห็นของผู้เขียนข่าวในข้อ 4. คือ “หวั่น”
39.เฉลยข้อ 2ส่วนที่ 2
เหตุผล
รายงานทางวิชาการต้องใช้ภาษาระดับทางการ คือ กระชับ
ชัดเจน และสุภาพ การใช้ภาษาในส่วนที่ 2 เป็นภาษาระดับไม่
เป็นทางการ มีการใช้คําซ้อนสี่คําซึ่งฟุ่มเฟือย ได้แก่อยู่ง่ายกิน
ง่าย คลุกกลีตีโมง ความสนิทสนมคุ้นเคย จึงไม่เหมาะสมที่
จะนํามาเขียนในรายงานทางวิชาการ
40. เฉลยข้อ 4
โรงพยาบาลเปิด “ศูนย์แพทย์เฉพาะทางเที่ยวคืน” เพื่อตรวจรักษาผู้ป่วย
นอกจนถึงเวลา24.00 น.
เหตุผล การใช้ภาษาเหมาะสมกับการเขียนรายงานต้องใช้ภาษาระดับ
ทางการ ตามข้อ 4
ข้อ 1. “ไม่สบายกะทันหัน” เป็นภาษาระดับไม่เป็นทางการ
ข้อ 2. “มักพอเจอ” เป็นภาษาระดับไม่เป็นทางการ
ข้อ 3. “หลังสองทุ่ม” เป็นภาษาระดับไม่เป็นทางการ
41. เฉลยข้อ 4 ส่วนที่ 4
เหตุผล
จดหมายกิจธุระต้องใช้ภาษาระดับกึ่งทางการขึ้นไปตามระดับภาษาที่ใช้
ในส่วนที่ 4
ข้อ 1. ควรแก้ “ดู” เป็น “พิจารณา”
ข้อ 2. ควรแก้ “ไม่ได้” เป็น “มิได้”
ข้อ 3. ควรแก้ “อีกมาก” เป็น “หลายประการ” และ “แวะ”
เป็น “เยี่ยมชม”
42. เฉลยข้อ 3 เวลาดําเนินการ
เหตุผล
ข้อ 1. มีกลุ่มเป้ าหมาย คือ “สตรีวัยทองและมีอาการ ประจําเดือน
ผิดปกติ”
ข้อ 2. มีสถานที่ติดต่อ คือ “ชั้น 7 อาคาร 100 ปี โรงพยาบาลชีวีสุข”
ข้อ 3. ขาดความชัดเจนในเรื่อง เวลาดําเนินการ ระบุไว้แค่เพียง
“นอกเวลา”
ข้อ 4. ผู้ดําเนินการ คือ “แพทย์นรีเวชผู้เชี่ยวชาญของโรงพยาบาลชีวี
สุข”
43. เฉลยข้อ 1 ข้อ 1
เหตุผล คําอธิบายวิธีทําอาหารที่ให้มาเรียงลําดับขั้นตอนได้ดังนี้
1. ข้อ 3.ผสมเนื้อปลากรายกับนํ้าพริกแกงเผ็ด นวดให้เข้ากัน
2. ข้อ 2.ใส่ไข่ไก่ ถั่วฝักยาวซอย ใบมะกรูดซอย นวดต่อไป
3. ข้อ 4.พรมนํ้าเกลือทีละน้อยขณะนวด แล้วนวดจนเหนียวได้ที่
4. ข้อ 1.ปั้นทอดมันเป็นแผ่นกลม นําไปทอดจนสุก
5. ข้อ 5.ตักทอดมันขึ้นพักไว้ให้สะเด็ดนํ้ามัน เสิร์ฟพร้อมอาจาด
44. เฉลยข้อ 1 ส่วนนําเรื่อง
เหตุผล
ข้อความที่ให้มากล่าวว่า “วัฒนธรรมการกินอาหารของคนไทย
ดังกล่าว.....” เป็นการกล่าวเท้าความ จึงใช้เป็นประโยคแรกในส่วนนํา
เรื่องไม่ได้ เพราะประโยคแรกในส่วนนําเรื่องควรจะกล่าวเกริ่นความ จึง
จะถูกต้อง
45.เฉลยข้อ 2 2 – 3 – 1 – 4 – 5
เหตุผลการเรียงลําดับข้อมูลตามข้อ 2. จะเป็นเช่นนี้
ข้อความส่วนที่ 2 เป็นการกล่าวเกริ่นความ จึงควรเรียงไว้
ตอนต้นให้เป็นย่อหน้า คํานําในการเขียนเรียงความ
ข้อความส่วนที่ 3 เป็นประวัติตอนเกิด และงานตอนเด็ก
ข้อความส่วนที่ 1 เป็นประวัติการรับราชการในรัชกาลที่ 2
ข้อความส่วนที่ 4 เป็นประวัติต่อเนื่องกับส่วนที่ 1
ข้อความส่วนที่ 5 เป็นเกียรติประวัติของสุนทรภู่ เรียงไว้ลําดับ
สุดท้ายให้เป็นย่อหน้าสรุปของเรียงความเรื่องนี้ได้
46. เฉลยข้อ 2ส่วนที่ 3
เหตุผล
ส่วนที่ 3 เกี่ยวกับการเกิดและถวายตัวเป็นข้าในกรมพระราชวังหลัง
ตั้งแต่ยังเด็ก เป็นประวัติชีวิตที่มีความสําคัญน้อยที่สุดสําหรับ
เรียงความเรื่อง “สุนทรภู่ กวีเอกของโลก”
47.เฉลยข้อ 2
ประธาน ผู้เข้าประชุม ระเบียบวาระ
เหตุผล
เมื่อนําคําในข้อ 2. มาเติมในช่องว่างที่ให้มาแล้ว จะได้ความเหมาะสม
ดังนี้ประธานขอให้เลขานุการอ่านรายชื่อผู้เข้าประชุมและรายงานการ
ประชุมครั้งที่แล้ว หลังจากนั้นก็ดําเนินการประชุมไปตามระเบียบ
วาระต่อไป
48.เฉลยข้อ 1
ฝนตกกระหนํ่าจนลืมหูลืมตาไม่ขึ้น เสื้อผ้าเปียกปอนลีบเข้าแนบลําตัว
เหตุผล
ข้อ 1.ใช้พรรณนาโวหาร เพราะให้รายละเอียดทําให้ผู้อ่านเห็นภาพได้
และไม่มีเหตุการณ์ ไม่มีการดําเนินเรื่อง
ข้อ 2.ใช้บรรยายโวหาร เพราะมีเหตุการณ์ คือ ไฟฟ้ าดับ และเสา
ไฟฟ้ าล้ม
ข้อ 3.ใช้บรรยายโวหาร มีเหตุการณ์ มีการดําเนินเรื่อง คือ กิ่งไม้หัก
เกลื่อนถนนพายุ ฝนสงบ
ข้อ 4.ใช้บรรยายโวหาร มีเหตุการณ์ คือ รถยนต์หลายคันจอดนิ่งรอให้
พายุสงบก่อน
49. เฉลยข้อ 1
นักร้องประสานเสียงเปล่งเสียงพร้อมเพรียงกันเป็น
สามระดับตามทํานองที่ฝึกฝนมาอย่างดี
เหตุผล
ข้อ 1.ใช้บรรยายโวหาร เพราะมีเหตุการณ์คือ นักร้องประสานเสียง
เปล่งเสียงร้องอย่างพร้อมเพรียงกันเป็นสามระดับตามทํานองที่ฝึกฝน
มาอย่างดี
ข้อ 2. ข้อ 3. และข้อ 4. ใช้พรรณนาโวหาร เพราะให้รายละเอียดเพื่อให้
ผู้อ่านเห็นภาพและเกิดอารมณ์ความรู้สึกตามที่ผู้เขียนต้องการ
50. เฉลยข้อ 2 นิยาม และให้เหตุผล
เหตุผล
ข้อความที่ให้มาใช้วิธีอธิบายโดยการให้นิยามในตอนที่กล่าว่า “คําว่าสึ
นามิในภาษาญี่ปุ่น หมายถึง คลื่นอ่าวจอดเรือ (harbor wave)”
แลให้เหตุผลในตอนที่กล่าวว่า “เนื่องจากประเทศญี่ปุ่นมีภูมิประเทศ
เป็นเกาะมีชายฝั่งทะเลยาวตามชายฝั่งมี
อ่าวใหญ่น้อยอยู่มาก หากเป็นอ่าวแคบ ๆ ซึ่งเป็นที่จอดเรือความรุนแรง
ของคลื่นสึนามิจะมีมากขึ้นอีกหลายเท่า”
51.เฉลยข้อ 4ข้อสรุป ข้อสนับสนุน ข้อสนับสนุน
เหตุผล
ข้อความที่ยกมา มีคําว่า “ด้วย” ซึ่งมีความหมาเช่นเดียวกับคําว่า
“เพราะ” เป็นคําเชื่อมประโยคที่อยู่หลังคําว่า “ด้วย” เป็น
ข้อสนับสนุน ข้อสนับสนุนมี 2 ข้อ โดยมีคําว่า “และ” เป็นคําเชื่อม
ประโยคแรกอยู่หน้าคําเชื่อมว่า “ด้วย” จัดเป็นข้อสรุป
52.เฉลยข้อ 4
คนไทยเรียนรู้และสืบทอดการใช้พืชสมุนไพรเป็นยา และอาหารจากบรรพ
บุรุษ คนเฒ่าคนแก่จํานวนมากมีสุขภาพดีและอายุยืน
เหตุผล
องค์ประกอบของภาษาแสดงการใช้เหตุผล ต้องมี 2 ส่วน คือ ข้อสรุป และ
ข้อสนับสนุน
ข้อ 4. เป็นคําตอบ เพราะมีองค์ประกอบครบทั้ง 2 ส่วน ถ้าเติมคําเชื่อม จะ
ได้ดังนี้ “คนไทยเรียนรู้และสืบทอดการใช้พืชสมุนไพรเป็นยาและอาหารจาก
บรรพบุรุษ ดังนั้นคนเฒ่าคนแก่จํานวนมากจึงมีสุขภาพดีและอายุยืน”
ข้อ 1, 2 และ 3 มิใช่คําตอบ เพราะองค์ประกอบของการแสดงเหตุผลมี
เพียงส่วนเดียวคือมีเฉพาะข้อสรุป ขาดข้อสนับสนุน
53.เฉลยข้อ 2
บุญเพ็ญร้องเพลงลูกทุ่งไพเราะมาก คุณครูส่งเธอเข้าแข่งขันกับโรงเรียนอื่น
เหตุผล
ข้อ 1, 3 และ 4 มีวิธีแสดงเหตุผลจากข้อสรุปไปหาข้อสนับสนุน ถ้าเติมสันธานในแต่ละ
ข้อ จะได้ดังนี้
ข้อ 1. บุญยืนไม่อยากไปโรงเรียน เพราะเขาไม่สบาย และไม่มีการบ้านไปส่งครู
ข้อ 3. บุญมาอ่านหนังสือเรียนทุกวัน เพราะเขาอยากเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยให้ได้
ข้อ 4. บุญรักษาตัดสินใจไปเรียนต่อต่างประเทศ เพราะคุณพ่อคุณแม่ทํากิจการร้าน
อาหารอยู่ที่นั่น
ข้อ 2. เป็นคําตอบ เพราะมีวิธีการแสดงเหตุผลแตกต่างกับข้ออื่น ๆ คือ นําด้วย
ข้อสนับสนุนและต่อด้วยข้อสรุป ถ้าเติมสันธานจะเห็นได้ชัดเจน ดังนี้
“บุญเพ็ญร้องลูกทุ่งไพเราะมาก คุณครูจึงส่งเธอเข้าแข่งขันกับโรงเรียนอื่น”
54. เฉลยข้อ 3
พื้นที่ 3 อําเภอ ควรแยกมาตั้งเป็นจังหวัดใหม่หรือไม่
เหตุผล
ในข้อความที่ยกมา มีการเสนอให้แยกพื้นที่ 3 อําเภอ ของจังหวัด
เชียงใหม่ คือ ฝางแม่อาย และไชยปราการมาตั้งเป็นจังหวัดใหม่ ผู้ส่ง
สารโต้แย้งว่าไม่ควร เพราะทั้งพื้นที่และประชากรโดยรวมของทั้ง 3
อําเภอนั้นตํ่ากว่าเกณฑ์ของการตั้งจังหวัดใหม่
55.เฉลยข้อ 1 ที่มา ข้อสรุป ข้อสนับสนุน
เหตุผล
ที่มาของการแสดงทรรศนะในข้อนี้ คือ “ปัญหารุ่นพี่ใช้ความรุนแรงกับ
นักศึกษาใหม่เกิดขึ้นเป็นประจําทุกปี ทั้ง ๆ ที่ก่อนปีการศึกษาใหม่จะเริ่มขึ้น
ผู้บริหารของ
กระทรวงศึกษาธิการก็ได้มีคําแนะนําไปยังสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ถึง
แนวทางการรับน้องที่จะไม่สร้างปัญหา”
ข้อสรุป คือ “ต่อจากนี้ผู้เกี่ยวข้องคงต้องวางแผนและหาแนว
ทางแก้ไขปัญหาระยะยาว”
ข้อสนับสนุน คือ “เพราะไม่ว่าจะเป็นรุ่นพี่รุ่นน้อง ต่างก็เป็น
ทรัพยากร บุคคลของประเทศ”
56.เฉลยข้อ 4 ประสบการณ์
เหตุผล
ประโยคที่สนับสนุนคําตอบข้อ 4 คือ“ปัญหารุ่นพี่ใช้ความรุนแรงกับ
นักศึกษาใหม่เกิดขึ้นเป็นประจําปีทุกปี”
57. เฉลยข้อ 2
ศูนย์หัวใจให้บริการตรวจวินิจฉัย รักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด
เหตุผล
ข้อ 2. เป็นการเสนอข้อมูล ซึ่งเป็นข้อเท็จจริง ไม่มีถ้อยคําใดที่มุ่งเร้า
ให้เกิดอารมณ์คล้อยตาม
ข้อ 1,3 และ 4 มีการโน้มน้าวใจ สังเกตจากการใช้คํา ดังนี้
ข้อ 1. - การขายแบบเหนือชั้น
ข้อ 3. - อนุรักษ์ภาพชีวิตแบบโบราณ
ข้อ 4. - เพิ่มลูกเล่นลูกชน เอาใจสุภาพสตรีผู้รักสวยรักงาม
58.เฉลยข้อ 4 ใช้คําเร้าอารมณ์
เหตุผล
“คําเร้าอารมณ์” คือ คําที่ทําให้เกิดอารมณ์แรงกล้าจนอาจขาดสติ ไม่
ใช้เหตุผลอย่างถี่ถ้วน ขาดความพินิจพิจารณาถึง ความ
ถูกต้องเหมาะสม และอาจตัดสินใจคล้อยตามผู้โน้มน้าว
ใจได้ โดยง่าย
ข้อความที่ยกมาไม่มีถ้อยคําในลักษณะดังกล่าว ข้อ 4 จึง
เป็นคําตอบกลวิธีโน้มน้าวใจตามข้อ 1, 2 และ 3 มีปรากฏ
ในข้อความที่ยกมา
ข้อ 1. แสดงให้เห็นถึงความน่าเชื่อถือของข้อมูล
พิจารณาจาก “............ มีรางวัล 4 ปีซ้อนเป็นประกัน”
ข้อ 2. ชี้ให้เห็นประโยชน์ของผู้รับสาร พิจารณาจาก “...........เหมาะ
แก่การสร้างเสริมสุขภาพ”
ข้อ 3. นําเสนอจุดเด่นของสินค้า พิจารณาจาก “...........ท่ามกลาง
ธรรมชาติร่มรื่น อากาศบริสุทธิ์ สภาพแวดล้อมดีเด่น”
59.เฉลยข้อ 2
“ครูครับ บทละครเรื่องนั้นชื่ออภัยนุราชหรือเปล่าครับ”
เหตุผล
คําพูดของนักเรียนในข้อ 2 นี้ เป็นการทักท้วงอย่างสุภาพ และตรง
ประเด็น โดยมีการบอกชื่อที่ถูกต้องของบทละครนั้นด้วย
ข้อ 1 และข้อ 3 มีนํ้าเสียงตําหนิ และอาจทําให้ครู “เสียหน้า”
ที่สอนผิด
ข้อ 4 ไม่เหมาะสม เพราะสื่อสารไม่ตรงประเด็นที่ต้องการ
60.เฉลยข้อ 2 ข้อ 2.
เหตุผล
คํากล่าวของนักเรียนตามข้อ 2 ที่ว่า“ครูครับ บทละครเรื่องนั้นชื่ออภัย
นุราชหรือเปล่าครับ”เป็นการกล่าวแย้ง ว่าชื่อบทละครที่ครูบอกว่าชื่อ
อภัยธิราชนั้นไม่ถูกต้องและเป็นการให้ข้อมูลที่ถูกต้องว่า “บทละคร
เรื่องนั้นชื่ออภัยนุราช”
61.เฉลยข้อ 3 กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ แล้วออกกําลัง ก็ทําให้สุขภาพดีได้
เหตุผล
ข้อ 1, 2 และ 4 มิใช่คําตอบ เพราะมีความสัมพันธ์กับคํากล่าวของน้อง เป็นความสัมพันธ์
ในลักษณะของการท้วงติงและแนะนํา ดังนี้
ข้อ 1. (น้อง) ขอกาแฟถ้วนเดียว ขนมปังแผ่นหนึ่ง
(พี่) กว่าจะถึงมื้อกลางวันก็อีกหลายชั่วโมง จะไม่มีสมาธิทํางานนะ
ข้อ 2. (น้อง) กินมาก เดี๋ยวอ้วน
(พี่) พี่เตรียมนํ้าเต้าหู้ใส่ลูกเดือยให้แล้ว ไม่กี่แคลอรีหลอก มีประโยชน์กว่ากาแฟ
ข้อ 4. (น้อง) ต้องรีบไปทํางานด้วย จะสายแล้ว
(พี่) ตื่นให้เร็วกว่าเคยหน่อย ก็จะมีเวลากินข้าวเช้าได้
ข้อ 3. ไม่มีความสัมพันธ์กับคําพูดของน้อง เพราะน้องไม่ได้พูดถึงเรื่องการบํารุงรักษาสุขภาพ
ข้อนี้จะเป็นคําตอบ
62.เฉลยข้อ 1
ดิฉันจะลองทําดูก่อน เผื่อจะได้ผลบ้าง ทั้ง ๆ ที่ยังกลัวอยู่นะคะ
เหตุผล
คุณสุชาติส่งสารในลักษณะของคําแนะนําแก่ผู้กลัวผีว่า ต้องใช้สติ
พิจารณาว่าความกลัวผีนั้นเกิดจากจินตนาการ ผู้รับสารตอบว่า “ดิฉัน
จะลองทําดู เผื่อจะได้ผลบ้าง” แสดงว่า ผู้รับสารเข้าใจและเห็น
ประโยชน์ของคําแนะนํานั้น จะนําไปปฏิบัติ แสดงให้เห็นว่า คําพูด
ของคุณสุชาติบรรลุวัตถุประสงค์
63. เฉลยข้อ 2
คํานําหน้าชื่อผู้แต่ง และจํานวนหน้า
เหตุผล
การเขียนบรรณานุกรมมีจุดประสงค์ เพื่อให้ผู้อ่านงานเขียนทางวิชาการ
เรื่องนั้น ๆ ทราบว่าผู้เขียนนําหลักฐาน ข้อมูลต่าง ๆ ประกอบงานเขียน
ของตนมาจากแหล่งใดในกรณีของหนังสือ จําเป็นต้องบอกชื่อผู้แต่ง ปีที่
พิมพ์ ครั้งที่พิมพ์และสํานักพิมพ์ผู้อ่านจะได้ค้นคว้าเพิ่มเติมได้สะดวก
ถ้าต้องการ
ข้อ 2 เป็นคําตอบ เพราะคํานําหน้าชื่อผู้แต่ง และจํานวนหน้า
ไม่ใช่ส่วนที่จําเป็นในการเขียนบรรณานุกรม
64.เฉลยข้อ 2 เหมาะแก่คนรุ่นใหม่
เหตุผล
“ดื่มเป็นประจํา” เป็นบทโฆษณาที่แสดงคุณสมบัติว่า
“มีรสชาติดี”“หุ่นดี” แสดงคุณสมบัติว่า “มีประโยชน์ต่อ
สุขภาพ”
“สาวน้อย.......เป็นประจํา” แสดงคุณสมบัติว่า
“เหมาะแก่สตรี”
ข้อ 2 เป็นคําตอบ เพราะไม่มีคําโฆษณาตอนใด แสดง
คุณสมบัติว่า “เหมาะแก่คนรุ่นใหม่”
65.เฉลยข้อ 3 สุพิศ และสุพงศ์
เหตุผล สุภาและสุภาพ ไม่ได้ทําตามคําแนะนําวิธีการป้ องกันโรคระบาด
ที่ว่า “กินของร้อน ใช้
ช้อนกลาง ล้างมือให้สะอาด” เพราะ
สุภา - แม้จะใช้ช้อนกลาง แต่ก็ใช้ช้อนกลางนั้นเข้าปากตนเอง
สุภาพ - ดื่มแต่กาแฟร้อนใส่นม คําแนะนําให้กินของร้อน ไม่ได้
หมายความว่าให้ดื่มเฉพาะกาแฟร้อนใส่นม
ข้อ 3. เป็นคําตอบ เพราะสุพิศ - ใช้สบู่ฟอกมือทุกครั้ง
เมื่อกลับบ้าน แสดงว่าทําตามคําแนะนําที่ว่า “ล้างมือให้ สะอาด”
สุพงศ์ - กินต้มยําที่เพิ่งทําเสร็จ แทนอาหารประเภทยํา แสดงว่า
ทําตามคําแนะนําที่ว่า “กินของร้อน”
66. เฉลยข้อ 4 เมล็ดบัว
เหตุผล
ประโยคที่ว่า “เจ้าของบึงมักตัดดอกขายมากกว่าจะรอจนกว่า จะได้
ก.” เป็นประโยคสนับสนุนคําตอบข้อ 4 ที่บอกว่า ก คือ เมล็ดบัว
เพราะเป็นพืชที่อยู่ในบึง และ “ตัดดอกขายได้” จึงแสดงชัดเจนว่าเป็น
“บัว”ซึ่งเป็นไม้นํ้า(ถั่วเหลือง เป็น ไม้เถา)ข้าวสาลี และทานตะวัน
เป็นไม้ล้มลุก)
67. เฉลยข้อ 4
ผู้พูดเห็นว่าไม่มีประโยชน์ที่จะจัดการทดสอบทักษะภาษาไทยใน
มหาวิทยาลัยและไม่มีผู้ที่คะแนนในเกณฑ์ดีมากเลย โดยแสดงทรรศนะ
ว่าเป็น วิกฤต หรือเป็นเหตุการณ์ขั้นอันตรายทําให้อนุมานได้ตาม
คําตอบข้อ 1, 2 และ 3
ข้อ 4 เป็นคําตอบเพราะไม่มีข้อความตอนใดที่อาจอนุมานได้
ว่า“ผู้พูดเห็นว่าไม่มีประโยชน์ที่จะจัดการทดสอบทักษะภาษาไทยใน
มหาวิทยาลัย”
68. เฉลยข้อ 3
การอนุญาตให้ค้าขายบนทางเท้าได้ โดยไม่มีวันหยุด
เหตุผล
ผลลัพธ์ที่ว่า “ดีนะ เราจะได้ช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อมด้วย”
เป็นผลลัพธ์ในทางดี มีประโยชน์
ข้อ 1, 2 และ 4 ไม่ใช่คําตอบ เพราะเป็นสาเหตุให้เกิดผลลัพธ์
ดังกล่าวได้“การอนุญาตให้ค้าขายบนทางเท้าได้ โดยไม่มีวันหยุด”
ย่อมไม่ทําให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีได้
ข้อ 3. จึงเป็นคําตอบ
69. เฉลยข้อ 1 ความมั่นคงขององค์กร
เหตุผล
ข้อสรุปในข้อความที่ยกมาคือ “เราต้องยืนหยัดให้ได้ท่ามกลางความ
เปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม”
ข้อ 1 เป็นคําตอบ เพราะการ “ยืนหยัดให้ได้” ก็คือให้มีความ
มั่นคง“หัวใจของธุรกิจนี้” จึงหมายถึง “ความมั่นคงขององค์กร”
70.เฉลยข้อ 1 คุณค่า
เหตุผล
ข้อความที่ยกมากล่าวถึงการทําพู่กันจีน ทั้งในเรื่องวัสดุที่ใช้คือ “ขนสัตว์”
บอกวิธีทําเป็นขั้นตอน เริ่มตั้งแต่การเลือกวัสดุ การทําความสะอาด การล้าง
ขนสัตว์ และการเรียงขนสัตว์เป็นปลายพู่กันประกอบเข้ากับด้าม โดยเน้นว่า
“ต้องระวังให้ขนของปลายพู่กันเรียงเท่ากันอย่างเป็นระเบียบ” แสดงถึง
ความประณีตในการทํา
ข้อ 1 เป็นคําตอบ เพราะในข้อความที่ยกมานั้น มิได้กล่าวถึง
“คุณค่า” เลย ไม่ว่าจะเป็นคุณค่าของขนสัตว์ ของนํ้าหมึกหรือของพู่กัน
71.เฉลยข้อ 1
ผู้พูดเพิ่งเรื่องอาชีพเกษตรกรรมเป็นครั้งแรก
เหตุผล
ข้อ 2, 3 และ 4 ไม่ใช่คําตอบ เพราะมีความสอดคล้องกับข้อความที่ยกมา ดังนี้
ข้อ 2 ไร่ส้มอินทรีย์ทําได้ง่ายและได้ผลดีหลายด้าน สอดคล้องกับ “.....
เราไม่ได้ลงทุนมาก.........ไม่มีมลภาวะ......สภาพร่างกายเราดีขึ้น.........ตอนแรกคิดว่า
ทํายากเดี๋ยวนี้รู้แล้ว.......”
ข้อ 3 การปลูกส้มแบบใช้สารเคมีมีต้นทุนสูงบกว่าแบบอินทรีย์มาก
สอดคล้องกับ“.....เราไม่ได้ลงทุนมาก ตั้งแต่ต้นปีมา ใช้ไป ไม่กี่พันบาท.....”
ข้อ 4 ผู้พูดพอใจที่แข็งแรงขึ้นเพราะไม่ต้องสูดดมสารเคมี สอดคล้อง
กับ
“.....ชาวบ้านไม่เหม็นสารเคมี.....สภาพร่างกายเราดีขึ้นทันตาเห็น”
ข้อ 1 เป็นคําตอบ เพราะไม่สอดคล้องกับข้อความข้างต้น
72.เฉลยข้อ 3
ชักชวนเพื่อนเกษตรกรให้เปลี่ยนมาทําไร่แบบเกษตรอินทรีย์
เหตุผล
“เรารู้สึกได้ถึงความแตกต่างเมื่อเราปลูกส้มแบบเกษตรอินทรีย์” ประเด็นที่ต้อง
พิจารณาคือ “ความแตกต่าง” ในข้อความนี้ หมายถึง ความแตกต่างระหว่างอะไร
กับอะไร?อนุมานจากเนื้อความทั้งหมด พอจะสรุปได้ว่าความแตกต่างที่ว่านี้ คือ
ความแตกต่างระหว่างการทําไร่แบบใช้สารเคมีกับการทําไร่แบบเกษตรอินทรีย์ โดยผู้พูด
ยกตัวอย่างจากการที่ตนปลูกส้นแบบเกษตรอินทรีย์ว่ามีข้อดีหลายประการ ข้อ 3
จึงเป็นคําตอบ
ข้อ 1, 2 และ 4 ไม่ตรงกับเนื้อความที่ยกมา จึงไม่ใช่คําตอบ
73. เฉลยข้อ 4มีความรู้ทางวิชาการสูง
เหตุผล
บุคลิกภาพ “มีคุณธรรม” และ “อ่อนน้อมถ่อมตน”  อนุมานได้จาก
ข้อความที่ว่า
“คนเราถึงจะเป็นใหญ่ปานใดก็ดี ยังคงมีผู้อื่นหรืสิ่งอื่นที่ใหญ่กว่า ซึ่งถ้า
เป็นผู้มีความคิดชอบก็จะต้องเคารพนับถือ”
บุคลิกภาพ “มีความคิดเฉียบคม” อนุมานได้จากข้อความตอนท้าย
ที่ว่า “แม้พระบรมศาสดา ที่เรานิยมว่าประเสริฐกว่ามนุษย์ทั้งปวง ก็ยังทรง
แสดงคารวะต่อพระธรรม”แสดงความคิดเฉียบคมที่ยก “พระบรมศาสดา”
เป็นตัวอย่างให้เข้าใจและเห็นจริงไม่มีข้อความใดที่ทําให้อนุมานได้ว่าผู้เขียน
มีความรู้ทางวิชาการสูง ข้อ 4 จึงเป็นคําตอบ
74. เฉลยข้อ 1
ยกตัวอย่างประกอบให้เห็นจริง
เหตุผล
ตัวอย่างที่ผู้เขียนยกมาประกอบให้เห็นจริงคือ พระบรมศาสดาที่ทรง
แสดงคารวะต่อพระธรรมแม้พระองค์จะได้รับการเคารพยกย่องว่าเป็น
มหาบุรุษผู้ประเสริฐกว่ามนุษย์ทั้งปวง
75.เฉลยข้อ 2
ผู้ใหญ่อาจงดอาหารเช้าได้เพราะไม่ได้อยู่ในวัยเรียน
เหตุผล ข้อ 1, 3 และ 4 อนุมานได้จากข้อความที่ยกมา ดังนี้
ข้อ 1 นักเรียนควรกินอาหารเช้าเพราะจะช่วยให้เรียนหนังสือได้ดีขึ้น อนุมานได้จาก
“.....การไม่กินอาหารเช้า.....จะมีผลต่อการเรียนรู้และความจํา.....การกิน
อาหารเช้า.....จะช่วยให้มีสมาธิในการเรียน”
ข้อ 3 ทุกคนควรกินอาหารเช้าจะช่วยในการทํางานของสมอง อนุมานได้จาก
“.....การกินอาหารเช้าจึงช่วยให้สมองทํางานได้ดี.....”
ข้อ 4 อาหารเช้ามีประโยชน์ เพราะทําให้ร่างกายได้รับพลังงาน อนุมานได้จาก “การไม่
กินอาหารเช้าจะทําให้ร่างกายขาดพลังงาน.....เพราะสารอาหารหลักที่ให้พลังงานคือกลูโคสจา
อาหาร.....”
ข้อ 2 เป็นคําตอบเพราะข้อความดังกล่าวไม่อาจทําให้อนุมานได้ว่า “ผู้ใหญ่อาจงดอาหารเช้า
ได้ เพราะไม่ได้อยู่ในวัยเรียน”
76. เฉลยข้อ 3 วิธีการเลือกซื้อสาลี่
เหตุผล ข้อ 1, 2 และ 4 มีกล่าวถึงในข้อความที่ยกมา
ข้อ 1 ข้อมูลพันธุ์สาลี่ กล่าวถึงในประโยคที่ว่า “สาลี่มีหลายพันธุ์
แต่ที่แพร่หลายก็คือ สาลี่หอมและสาลี่หิมะ”
ข้อ 2 ประโยชน์ของสาลี่ กล่าวถึงในประโยคที่ว่า “สาลี่.....มี
รสชาติหวานเย็นและมีคุณค่าทางอาหารสูงเพราะมีธาตุอาหาร เช่น เบตาแค
โรทีนและวิตามินซี”
ข้อ 4 ความนิยมในการรับประทานสาลี่ กล่าวถึงในประโยคที่ว่า
“ตําราจีนยกให้สาลี่เป็นสุดยอดแห่งผลไม้”
ข้อ 1 วิธีการเลือกซื้อสาลี่ ไม่มีการกล่าวถึงในข้อความนั้น ข้อ 1
จึงเป็นคําตอบ
77. เฉลยข้อ 2 ความโดดเดี่ยวทําให้นักดํานํ้าเป็นโรคที่เกิดจากการดํานํ้า
เหตุผล
ข้อความที่ยกมาแสดงเนื้อความว่า “กระแสนํ้า คลื่นลม ความหนาว
เย็น ความโดดเดี่ยวอันตรายจากสัตว์ทะเล และโรคที่เกิดขึ้นจากการดํา
นํ้า ล้วนเป็นปัญหาที่นักดํานํ้าต้องต่อสู้ นักดํานํ้าจึงต้องมีร่างกาย
แข็งแรง มีสติและมีการตัดสินใจที่ดี”
เนื้อความดังกล่าวนี้สอดคล้องกับคําตอบข้อ 1, 3 และ 4 แต่ไม่
สอดคล้องกับข้อ 2ซึ่งมีเนื้อความต่างประเด็นออกไป ข้อ 2 จึงเป็น
คําตอบ
78.เฉลยข้อ 3ปีที่สร้างถนน
เหตุผล
ข้อ 1, 2 และ 4 มีกล่าวถึงในข้อความที่ยกมา ดังนี้
ข้อ 1 ที่มาของชื่อถนน กล่าวถึงในประโยค “ถนนพหลโยธิน.....ตั้งชื่อเป็นอนุสรณ์
แก่พันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) หัวหน้าคณะราษฎรผู้นําการ
เปลี่ยนการปกครอง พ.ศ. 2475”
ข้อ 2 ผู้ตั้งชื่อถนน มีกล่าวถึงในประโยค “รัฐบาลให้ตั้งชื่อว่าถนนพหลโยธินเมื่อ
วันที่10 ธันวาคม พ.ศ. 2493”
ข้อ 4 ประโยชน์ใช้สอยของถนน มีกล่าวถึงในประโยค “ถนนพหลโยธินเป็นชี่อทาง
หลวงที่เชื่อมกรุงเทพฯกับจังหวัดทางเหนือของไทย”
ข้อ 1 เป็นคําตอบ เพราะข้อความที่ยกมาไม่ได้กล่าวถึงปีที่สร้างถนนแต่กล่าวถึงปีที่
ตั้งชื่อถนน
79.เฉลยข้อ 3
การนําข้อผิดพลาดมาเป็นบทเรียนทําให้ชีวิตประสบความสําเร็จได้
เหตุผล
ข้อความที่ยกมาไม่ใช่ข้อความที่เสนอข้อเท็จจริงหรือบอกเล่าข้อมูลแต่มี
นํ้าเสียงเป็นการเสนอแนวคิดข้อ 1 จึงมิใช่คําตอบ เพราะไม่ได้เสนอ
แนวคิดแต่ประการใด ข้อ 2 และ 4 ไม่ตรงกับสาระของเนื้อความที่ยกมา
จึงมิใช่คําตอบ
80.เฉลยข้อ 3 ภาษาเปลี่ยนแปลงได้ แต่ต้องมีขอบเขต
เหตุผล
“ภาษาเดินไปข้างหน้า”  และ “ภาษาเดินเข้าป่าเข้ารก” แสดง
ความหมายว่า “ภาษามีความเปลี่ยนแปลง”
ข้อความที่ยกมาแสดงเนื้อความว่า การเปลี่ยนแปลงของภาษา
เป็นเรื่องธรรมดาและฝากข้อคิดว่า “ต้องไม่เดินเข้าป่าเข้ารก” คือต้อง
มีขอบเขตของความเปลี่ยนแปลง
81.เฉลยข้อ 4(ก) แคล้ว (ข) มี
เหตุผล เมื่อเติมคําตามข้อ 4 ลงในช่องว่าง โคลงสองสุภาพทั้งสองบท จะเป็นดังนี้
“ของคาวพลันเสพแล้ว ยามสุริยเคลื่อนแคล้วลับไม้หมดศรี
ของหวานมีลูกไม้ หลายสิ่งเสาะหาได้
แต่ล้วนอย่างดี นักนอ”
การใช้คําในข้อ 4 เติม ทําให้โคลงสองสุภาพทั้ง 2 บทนี้มีเนื้อความ
เหมาะสม
และถูกต้องตามลักษณะบังคับทั้งสัมผัสและคําเอกคําโท
แผนผังของโคลงสองสุภาพ เป็นดังนี้
O   O O O O O O O O O
O   O O O (O   O)
82. เฉลยข้อ 1โคลง
เหตุผล
โคลงในคําตอบข้อ 1 คือ โคลงสี่สุภาพ
แผนผังของโคลงสี่สุภาพ คือ
O   O O O O O   O (O   O)   
O   O O O O O   O
O   O O O O O   O (O   O)   
O   O O O O O   O O O
ข้อความที่ยกมา
เมื่อจัดวรรคถูกต้องตามฉันทลักษณ์จะเป็นคําประพันธ์ชนิด
โคลงสี่สุภาพ ดังนี้
“เสด็จพ้นทวาเรศข้าม คูเวียง
หวั่นหฤทัยท่านเพียง จักว้า
พระองค์ก็อ่อนเอียง เอนอาสน์
อกระรัวมัวหน้า สั่นส้านเสียวแสยง”
83. เฉลยข้อ 4
ถ้าหนุ่มแน่นแม้นเหมือนแต่ก่อนไซร้ จะเกรงกลัวอะไรกับไพรี
เหตุผล
ข้อ 1, 2 และ 3 แสดงเนื้อความถาม ต้องการคําตอบ
ข้อ 4เป็นคําตอบ เพราะเป็นคํากล่าวที่ไม่ต้องการคําตอบจากคู่
สนทนา ผู้ส่งสารต้องการบอกให้คู่สนทนาทราบว่า “ถ้ายังหนุ่มเหมือน
เมื่อก่อนนี้ จะไม่เกรงกลัวข้าศึกเลย” เป็นประโยคแสดงเจตนาแจ้ง
ให้ทราบ มิใช่ถามเพื่อต้องการคําตอบ
84.เฉลยข้อ 2 งามประหลาดเลิศลํ้าเลขา
เหตุผล ข้อ 2มีเฉพาะสัมผัสอักษร หรือสัมผัสเสยงพยัญชนะต้น “งา
ประหลาดเลิศลํ้าเลขา”ข้อ 1, 3 และ 4 มีทั้งสัมผัสอักษรและสัมผัสสระ
ดังนี้
ข้อ สัมผัสอักษร สัมผัสสระ
1 ปลั่งเปล่ง น้อง – ละออง
3 อรชรอ้อนแอ้น – อินทรีย์ อรชร – อ้อนแอ้น
4 คงคา ลง – สรง – คงคา
85. เฉลยข้อ 3 จักชวนแม่สรงสินธุ์ แสนสนุก
เหตุผล
หัวใจของการรําพันในทํานองนิราศ อยู่ที่การครํ่าครวญแสดงความรัก
ความอาลัย หรือกล่าวพาดพิงถึง “นางที่รัก”
ข้อ 3. เป็นข้อเดียวที่มีลักษณะดังกล่าว พิจารณาได้จาก
เนื้อความ “จักชวนแม่สรงสินธุ์แสนสนุก” คําว่า “แม่” ในข้อนี้
หมายถึง “นางที่รัก”
86. เฉลยข้อ 2
อย่างหนึ่งส้มสันดานหมอใช้การยาสําคัญเรียกชื่อส้ม
เหมือนกันกินบ่ได้ใช้ทํายา
เหตุผล ข้อ 1, 3 และ 4 ไม่ใช่คําตอบ เพราะใช้โวหารภาพพจน์ดังนี้
ข้อ 1 ใช้ภาพพจน์แบบบุคคลวัต คือ หนอนชอบใจ
ข้อ 3 ใช้ภาพพจน์แบบอุปมา คือ รสสนิทหวานปานตาลชิม
ข้อ 4 ใช้โวหารภาพพจน์แบบอุปมา คือ โฉมแบบบางร่างอย่าง
เขียน
ข้อ 1 เป็นคําตอบ เพราะเป็นการกล่าวถึงอย่างตรงไปตรงมา มิได้
ใช้โวหารภาพพจน์
87. เฉลยข้อ 1 1 แห่ง
เหตุผล
คําประพันธ์ที่ยกมา มาจากเรื่องพระอภัยมณีเป็นเนื้อความที่พระฤๅษี
แห่งเกาะแก้วพิสดารพิจารณาม้านิลมังกร ภาพพจน์ในคําประพันธ์ที่ยก
มานี้มีเพียง 1 แห่ง คือ “กําลังมันมากนักเหมือนยักษ์มาร” เป็น
ภาพพจน์แบบอุปมา
88. เฉลยข้อ 2 เล่นคํา
เหตุผล
ไม่มีกลวิธีเล่นคําปรากฏในคําประพันธ์ที่ยกมา แต่มีกลวิธีอื่น ๆ ดังนี้
ข้อ 1ซํ้าคํา มีการซํ้าคําว่า “ถาม”
ข้อ 3ภาพพจน์ มีภาพพจน์แบบอุปมาใน “เปรียบดั่งเภรีตี จึ่ง
ครื้น”
ข้อ 4สัมผัสพยัญชนะ คือ ปราชญ์ – เปรียบ, พาล – พวก, ฟื้น –
เฟื่อง,ถ้อย – ถาม
89. เฉลยข้อ 1 สอนไม่ให้เป็นคนพูดโอ้อวด
เหตุผล
คําประพันธ์ที่ยกมามีความหมายว่า “นักปราชญ์แม้จะฉลาดรอบรู้ แต่
จะไม่พูดแสดงความรอบรู้นั้นถ้าไม่มีผู้ถาม ตรงกันข้ามกับคนพาลที่
ชอบพูดอวดดี ผู้ใดจะถามหรือไม่ถาม คนพาลนั้นก็มักพูดโอ้อวด”
ความหมายดังกล่าวแสดงจุดประสงค์ว่า “อย่าเป็นคนพูดโอ้อวด”
ข้อ 1 จึงเป็นคําตอบ
90. เฉลยข้อ 3
เหตุผล
“หัวล้านได้หวี ตาบอดได้แว่น” มีความหมายว่า “คนหัวล้าน ใช้
ประโยชน์จากหวีไม่ได้เพราะไม่มีผม เช่นเดียวกับคนตาบอดซึ่งใช้
ประโยชน์จากแว่นตาไม่ได้หวีจึงไม่เป็นประโยชน์แก่คนหัวล้าน และ
แว่นก็ไม่มีประโยชน์แก่คนตาบอด”
ข้อ 3 เป็นคําตอบ เพราะส่งสารตรงตามความหมายนี้
91. เฉลยข้อ 2 สอนเรื่องการใช้สติปัญญาให้ถูกจังหวะ
เหตุผล
ข้อ 1, 3 และ 4 มิใช่คําตอบ เพราะเนื้อความในคําประพันธ์ที่ยกมามิได้
มุ่งถึง การเลือกใช้อาวุธ วิธีการใช้อาวุธ และวิธีการเก็บอาวุธ คํา
ประพันธ์นี้แสดงสาระสําคัญที่ความคิดวิทยา
หรือ สติปัญญา ว่าเปรียบเหมือนอาวุธที่ผู้ใช้ต้อง “สงวนคม –
เก็บไว้ในฝัก” และใช้ให้ถูกจังหวะ คือใช้ในสถานการณ์ที่จําเป็นต้องใช้
สาระสําคัญดังกล่าวนี้แสดงเจตนาของผู้แต่ง ตามข้อ 2
92. เฉลยข้อ 3 ข้อ 3
เหตุผล
คําพูดที่มีนํ้าเสียงประชด คือคําพูดที่มีลักษณะแดกดันเพราะความไม่พอใจ
ข้อ 1, 2 และ 4 ไม่ใช่คําตอบ เพราะมีนํ้าเสียงแดกดัน หรือประชด ดังนี้
ข้อ 1 ประชดที่คําว่า “ดีเหลือ, เป็นเนื้อหน่อ, บุญหนักศักดิ์ใหญ่,
รูปร่างน้อยจ้อย อร่อยใจ”
ข้อ 2 ประชดที่คําว่า “งามพร้อม, หัวเราะว่ารูปงาม”
ข้อ 3 ไม่มีนํ้าเสียงประชด จึงเป็นคําตอบ
ข้อ 4 ประชดที่คําว่า “ทําความงามฉาว, เลือกผัวได้เงาะเห็นเหมาะ
ใจ”
93. เฉลยข้อ 3 ข้อ 3
เหตุผล
บุคคลที่ 3 คือ บุคคลที่ถูกกล่าวถึงในทางไวยากรณ์ จะเรียก
บุคคลที่สามว่า “บุรุษที่ 3”
ข้อ 3 เป็นคําตอบ เพราะมีเพียงบุรุษที่ 1
คือผู้พูด (นางรจนา) และบุรุษที่ 2 (พี่สาวของนางรจนา)
ข้อ 1 กล่าวถึงบุคคลที่ 3 คือ “ผัวพี่”
ข้อ 2 กล่าวถึงบุคคลที่ 3 คือ “หม่อมเงาะ”
ข้อ 4 กล่าวถึงบุคคลที่ 3 คือ “ผัว...เงาะ”
94. เฉลยข้อ 1
ครั้นอ่านสารเสร็จสิ้นพระทรงฤทธิ์ ถอนฤทัยแล้วคิดสงสัย
เหตุผล
คําที่สนับสนุนคําตอบ ข้อ 1 คือคําว่า “ถอนฤทัย” ซึ่งเป็นคําที่แสดง
อารมณ์ของตัวละคร
ถอนฤทัย หมายความว่า หายใจแรงและยาวในขณะที่รู้สึก
กลุ้มอกกลุ้มใจ หรือโล่งอก โล่งใจ เป็นต้น
ในข้อ 1 “ถอนฤทัย” แสดงอามรณ์ของตัวละครว่า “กลุ่มใจ”
95. เฉลยข้อ 4
คนเราเมื่อถึงคราวตายก็เอาเกียรติยศและทรัพย์สินติดตัวไปไม่ได้
เหตุผล
สาระสําคัญของคําประพันธ์ที่ยกมา อยู่ที่วรรคสุดท้ายคือ “สุดท้ายหามแต่ร่าง
เน่าเท่านั้นเอง”
ร่างเน่า คือ ซากศพ ส่วนในวรรคอื่น ๆ มีคําที่ตีความได้ดังนี้
ลาภยศถาบรรดาดี คือ เกียรติยศ เรือนทอง และ สมบัติมาก
คือ ทรัพย์สิน
คําประพันธ์ที่ยกมาแสดงเนื้อความชัดเจนว่า คนตายไม่สามารถนํา
ลาภยศ เงินทอง และทรัพย์สมบัติไปด้วยได้จึงตีความได้ตรงตาม ข้อ 4
สรุปเข้ม#7 ภาษาไทย
สรุปเข้ม#7 ภาษาไทย
สรุปเข้ม#7 ภาษาไทย
สรุปเข้ม#7 ภาษาไทย
สรุปเข้ม#7 ภาษาไทย
สรุปเข้ม#7 ภาษาไทย

More Related Content

What's hot

หน่วยที่ 1 การเปลี่ยนแปลงของภาษา
หน่วยที่ 1 การเปลี่ยนแปลงของภาษาหน่วยที่ 1 การเปลี่ยนแปลงของภาษา
หน่วยที่ 1 การเปลี่ยนแปลงของภาษาWilawun Wisanuvekin
 
แบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
แบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2แบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
แบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2Kruphat SriSuk
 
ชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษ เล่ม 2 การอ่านข่าว(news)
ชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษ เล่ม 2 การอ่านข่าว(news)ชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษ เล่ม 2 การอ่านข่าว(news)
ชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษ เล่ม 2 การอ่านข่าว(news)นางสาวอารียา แย้มภู
 
ทฤษฎีพัฒนาการบรูเนอร์
ทฤษฎีพัฒนาการบรูเนอร์ทฤษฎีพัฒนาการบรูเนอร์
ทฤษฎีพัฒนาการบรูเนอร์Habsoh Noitabtim
 
ตัวชี้วัด ม.๑ ม.๒ ม.๓
ตัวชี้วัด ม.๑ ม.๒ ม.๓ตัวชี้วัด ม.๑ ม.๒ ม.๓
ตัวชี้วัด ม.๑ ม.๒ ม.๓Mameaw Mameaw
 
เทคนิคการสอนการฟังภาษาอังกฤษเบื้องต้น1
เทคนิคการสอนการฟังภาษาอังกฤษเบื้องต้น1เทคนิคการสอนการฟังภาษาอังกฤษเบื้องต้น1
เทคนิคการสอนการฟังภาษาอังกฤษเบื้องต้น1Phatchara Hongsomdee
 
แผนการจัดหน่วยการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556
แผนการจัดหน่วยการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ 2 ภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2556แผนการจัดหน่วยการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ 2 ภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2556
แผนการจัดหน่วยการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556dnavaroj
 
ตัวอย่างการสร้างข้อสอบ
ตัวอย่างการสร้างข้อสอบตัวอย่างการสร้างข้อสอบ
ตัวอย่างการสร้างข้อสอบwanchalerm sotawong
 
วิจัยเรื่องการอ่านภาษาอังกฤษ
วิจัยเรื่องการอ่านภาษาอังกฤษวิจัยเรื่องการอ่านภาษาอังกฤษ
วิจัยเรื่องการอ่านภาษาอังกฤษKritsadin Khemtong
 
แบบทดสอบภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน ม.ต้น
แบบทดสอบภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน ม.ต้นแบบทดสอบภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน ม.ต้น
แบบทดสอบภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน ม.ต้นpeter dontoom
 
วิจัย การพัฒนาความสามารถในการจดจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยใช้เกมออนไลน์
วิจัย การพัฒนาความสามารถในการจดจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยใช้เกมออนไลน์วิจัย การพัฒนาความสามารถในการจดจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยใช้เกมออนไลน์
วิจัย การพัฒนาความสามารถในการจดจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยใช้เกมออนไลน์Areeya Hongsuwan
 
เอกสารประกอบการสรุปเข้ม O
เอกสารประกอบการสรุปเข้ม Oเอกสารประกอบการสรุปเข้ม O
เอกสารประกอบการสรุปเข้ม OWichai Likitponrak
 
ปัญหาสังคมไทยในปัจจุบันและแนวทางการแก้ปัญหาโดยสันติวิธี
ปัญหาสังคมไทยในปัจจุบันและแนวทางการแก้ปัญหาโดยสันติวิธีปัญหาสังคมไทยในปัจจุบันและแนวทางการแก้ปัญหาโดยสันติวิธี
ปัญหาสังคมไทยในปัจจุบันและแนวทางการแก้ปัญหาโดยสันติวิธีพระอภิชัช ธมฺมโชโต
 
โครงงานคณิตบทที่ 1
โครงงานคณิตบทที่ 1โครงงานคณิตบทที่ 1
โครงงานคณิตบทที่ 1Jutarat Bussadee
 
บทที่ 2 แนวคิดทฤษฎีของนักการศึกษา 55
บทที่ 2 แนวคิดทฤษฎีของนักการศึกษา 55บทที่ 2 แนวคิดทฤษฎีของนักการศึกษา 55
บทที่ 2 แนวคิดทฤษฎีของนักการศึกษา 55Decode Ac
 
ตัวอย่าง PPT นำเสนอประเมินการพัฒนางาน ว.PA (15 นา.pptx
ตัวอย่าง PPT นำเสนอประเมินการพัฒนางาน ว.PA (15 นา.pptxตัวอย่าง PPT นำเสนอประเมินการพัฒนางาน ว.PA (15 นา.pptx
ตัวอย่าง PPT นำเสนอประเมินการพัฒนางาน ว.PA (15 นา.pptxJessie SK
 

What's hot (20)

หน่วยที่ 1 การเปลี่ยนแปลงของภาษา
หน่วยที่ 1 การเปลี่ยนแปลงของภาษาหน่วยที่ 1 การเปลี่ยนแปลงของภาษา
หน่วยที่ 1 การเปลี่ยนแปลงของภาษา
 
แบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
แบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2แบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
แบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
 
ชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษ เล่ม 2 การอ่านข่าว(news)
ชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษ เล่ม 2 การอ่านข่าว(news)ชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษ เล่ม 2 การอ่านข่าว(news)
ชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษ เล่ม 2 การอ่านข่าว(news)
 
ทฤษฎีพัฒนาการบรูเนอร์
ทฤษฎีพัฒนาการบรูเนอร์ทฤษฎีพัฒนาการบรูเนอร์
ทฤษฎีพัฒนาการบรูเนอร์
 
การนำไฟฟ้า
การนำไฟฟ้าการนำไฟฟ้า
การนำไฟฟ้า
 
daily routine
daily routine daily routine
daily routine
 
ตัวชี้วัด ม.๑ ม.๒ ม.๓
ตัวชี้วัด ม.๑ ม.๒ ม.๓ตัวชี้วัด ม.๑ ม.๒ ม.๓
ตัวชี้วัด ม.๑ ม.๒ ม.๓
 
เทคนิคการสอนการฟังภาษาอังกฤษเบื้องต้น1
เทคนิคการสอนการฟังภาษาอังกฤษเบื้องต้น1เทคนิคการสอนการฟังภาษาอังกฤษเบื้องต้น1
เทคนิคการสอนการฟังภาษาอังกฤษเบื้องต้น1
 
แผนการจัดหน่วยการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556
แผนการจัดหน่วยการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ 2 ภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2556แผนการจัดหน่วยการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ 2 ภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2556
แผนการจัดหน่วยการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556
 
ตัวอย่างการสร้างข้อสอบ
ตัวอย่างการสร้างข้อสอบตัวอย่างการสร้างข้อสอบ
ตัวอย่างการสร้างข้อสอบ
 
วิจัยเรื่องการอ่านภาษาอังกฤษ
วิจัยเรื่องการอ่านภาษาอังกฤษวิจัยเรื่องการอ่านภาษาอังกฤษ
วิจัยเรื่องการอ่านภาษาอังกฤษ
 
4 ตอน4 sar57
4 ตอน4 sar574 ตอน4 sar57
4 ตอน4 sar57
 
แบบทดสอบภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน ม.ต้น
แบบทดสอบภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน ม.ต้นแบบทดสอบภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน ม.ต้น
แบบทดสอบภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน ม.ต้น
 
วิจัย การพัฒนาความสามารถในการจดจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยใช้เกมออนไลน์
วิจัย การพัฒนาความสามารถในการจดจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยใช้เกมออนไลน์วิจัย การพัฒนาความสามารถในการจดจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยใช้เกมออนไลน์
วิจัย การพัฒนาความสามารถในการจดจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยใช้เกมออนไลน์
 
เอกสารประกอบการสรุปเข้ม O
เอกสารประกอบการสรุปเข้ม Oเอกสารประกอบการสรุปเข้ม O
เอกสารประกอบการสรุปเข้ม O
 
ปัญหาสังคมไทยในปัจจุบันและแนวทางการแก้ปัญหาโดยสันติวิธี
ปัญหาสังคมไทยในปัจจุบันและแนวทางการแก้ปัญหาโดยสันติวิธีปัญหาสังคมไทยในปัจจุบันและแนวทางการแก้ปัญหาโดยสันติวิธี
ปัญหาสังคมไทยในปัจจุบันและแนวทางการแก้ปัญหาโดยสันติวิธี
 
โครงงานคณิตบทที่ 1
โครงงานคณิตบทที่ 1โครงงานคณิตบทที่ 1
โครงงานคณิตบทที่ 1
 
บทที่ 2 แนวคิดทฤษฎีของนักการศึกษา 55
บทที่ 2 แนวคิดทฤษฎีของนักการศึกษา 55บทที่ 2 แนวคิดทฤษฎีของนักการศึกษา 55
บทที่ 2 แนวคิดทฤษฎีของนักการศึกษา 55
 
ตัวอย่าง PPT นำเสนอประเมินการพัฒนางาน ว.PA (15 นา.pptx
ตัวอย่าง PPT นำเสนอประเมินการพัฒนางาน ว.PA (15 นา.pptxตัวอย่าง PPT นำเสนอประเมินการพัฒนางาน ว.PA (15 นา.pptx
ตัวอย่าง PPT นำเสนอประเมินการพัฒนางาน ว.PA (15 นา.pptx
 
วิเคราะห์ข่าวเกี่ยวกับการศึกษา
วิเคราะห์ข่าวเกี่ยวกับการศึกษาวิเคราะห์ข่าวเกี่ยวกับการศึกษา
วิเคราะห์ข่าวเกี่ยวกับการศึกษา
 

Viewers also liked

ประโยคความรวม กลุ่ม๓
ประโยคความรวม กลุ่ม๓ประโยคความรวม กลุ่ม๓
ประโยคความรวม กลุ่ม๓Nongkran Jarurnphong
 
Conference proposal VAASL.org
Conference proposal VAASL.orgConference proposal VAASL.org
Conference proposal VAASL.orgTamCast
 
SMJERNICE o djelovanju centara za pruanje usluga socijalne skrbi dnevnog zbri...
SMJERNICE o djelovanju centara za pruanje usluga socijalne skrbi dnevnog zbri...SMJERNICE o djelovanju centara za pruanje usluga socijalne skrbi dnevnog zbri...
SMJERNICE o djelovanju centara za pruanje usluga socijalne skrbi dnevnog zbri...Mirna Strinić
 
Rodrigo d no futuro
Rodrigo d no futuro Rodrigo d no futuro
Rodrigo d no futuro Julian Pardo
 
Squares Review Flashcards
Squares Review FlashcardsSquares Review Flashcards
Squares Review Flashcardsamydotson1704
 

Viewers also liked (8)

ประโยคความรวม กลุ่ม๓
ประโยคความรวม กลุ่ม๓ประโยคความรวม กลุ่ม๓
ประโยคความรวม กลุ่ม๓
 
01thai
01thai01thai
01thai
 
Conference proposal VAASL.org
Conference proposal VAASL.orgConference proposal VAASL.org
Conference proposal VAASL.org
 
SMJERNICE o djelovanju centara za pruanje usluga socijalne skrbi dnevnog zbri...
SMJERNICE o djelovanju centara za pruanje usluga socijalne skrbi dnevnog zbri...SMJERNICE o djelovanju centara za pruanje usluga socijalne skrbi dnevnog zbri...
SMJERNICE o djelovanju centara za pruanje usluga socijalne skrbi dnevnog zbri...
 
Praveen
PraveenPraveen
Praveen
 
Rodrigo d no futuro
Rodrigo d no futuro Rodrigo d no futuro
Rodrigo d no futuro
 
Squares Review Flashcards
Squares Review FlashcardsSquares Review Flashcards
Squares Review Flashcards
 
Succeed with mathematical games
Succeed with mathematical gamesSucceed with mathematical games
Succeed with mathematical games
 

Similar to สรุปเข้ม#7 ภาษาไทย

ติวเตรียมสอบ O net
ติวเตรียมสอบ O netติวเตรียมสอบ O net
ติวเตรียมสอบ O netvanichar
 
กาพย์ยานี11และโคลงสี่สุภาพ [โหมดความเข้ากันได้]
กาพย์ยานี11และโคลงสี่สุภาพ [โหมดความเข้ากันได้]กาพย์ยานี11และโคลงสี่สุภาพ [โหมดความเข้ากันได้]
กาพย์ยานี11และโคลงสี่สุภาพ [โหมดความเข้ากันได้]Nongkran_Jarurnphong
 
กาพย์ยานี11และโคลงสี่สุภาพ [โหมดความเข้ากันได้]
กาพย์ยานี11และโคลงสี่สุภาพ [โหมดความเข้ากันได้]กาพย์ยานี11และโคลงสี่สุภาพ [โหมดความเข้ากันได้]
กาพย์ยานี11และโคลงสี่สุภาพ [โหมดความเข้ากันได้]Nongkran_Jarurnphong
 
คำสมาสศาสตร์ต้องรู้
คำสมาสศาสตร์ต้องรู้คำสมาสศาสตร์ต้องรู้
คำสมาสศาสตร์ต้องรู้duangchan
 
รวบรวมลักษณนามหมวด ก แก้ใหม่2
รวบรวมลักษณนามหมวด ก แก้ใหม่2รวบรวมลักษณนามหมวด ก แก้ใหม่2
รวบรวมลักษณนามหมวด ก แก้ใหม่2Sitthisak Thapsri
 
เฉลยข้อสอบ O net 53
เฉลยข้อสอบ O net 53เฉลยข้อสอบ O net 53
เฉลยข้อสอบ O net 53monnawan
 
เฉลยข้อสอบ O net
เฉลยข้อสอบ O netเฉลยข้อสอบ O net
เฉลยข้อสอบ O netNuttarika Kornkeaw
 
คำวิเศษณ์2 [โหมดความเข้ากันได้]
คำวิเศษณ์2 [โหมดความเข้ากันได้]คำวิเศษณ์2 [โหมดความเข้ากันได้]
คำวิเศษณ์2 [โหมดความเข้ากันได้]Nongkran_Jarurnphong
 
โควต้า มช. 51 -ภาษาไทย.
โควต้า มช. 51 -ภาษาไทย.โควต้า มช. 51 -ภาษาไทย.
โควต้า มช. 51 -ภาษาไทย.Tortortor Gozillaa
 
ภาษาไทย
ภาษาไทยภาษาไทย
ภาษาไทยAoy Amm Mee
 
ข้อสอบภาษาไทย โควต้า51
ข้อสอบภาษาไทย โควต้า51ข้อสอบภาษาไทย โควต้า51
ข้อสอบภาษาไทย โควต้า51Prechaya Kham
 
ข้อสอบภาษาไทย โควต้า51
ข้อสอบภาษาไทย โควต้า51ข้อสอบภาษาไทย โควต้า51
ข้อสอบภาษาไทย โควต้า51Prechaya Kham
 
ข้อสอบภาษาไทย โควต้า51
ข้อสอบภาษาไทย โควต้า51ข้อสอบภาษาไทย โควต้า51
ข้อสอบภาษาไทย โควต้า51Prechaya Kham
 

Similar to สรุปเข้ม#7 ภาษาไทย (20)

ติวเตรียมสอบ O net
ติวเตรียมสอบ O netติวเตรียมสอบ O net
ติวเตรียมสอบ O net
 
กาพย์ยานี11และโคลงสี่สุภาพ [โหมดความเข้ากันได้]
กาพย์ยานี11และโคลงสี่สุภาพ [โหมดความเข้ากันได้]กาพย์ยานี11และโคลงสี่สุภาพ [โหมดความเข้ากันได้]
กาพย์ยานี11และโคลงสี่สุภาพ [โหมดความเข้ากันได้]
 
กาพย์ยานี11และโคลงสี่สุภาพ [โหมดความเข้ากันได้]
กาพย์ยานี11และโคลงสี่สุภาพ [โหมดความเข้ากันได้]กาพย์ยานี11และโคลงสี่สุภาพ [โหมดความเข้ากันได้]
กาพย์ยานี11และโคลงสี่สุภาพ [โหมดความเข้ากันได้]
 
คำสมาสศาสตร์ต้องรู้
คำสมาสศาสตร์ต้องรู้คำสมาสศาสตร์ต้องรู้
คำสมาสศาสตร์ต้องรู้
 
Korat
KoratKorat
Korat
 
ปัญหาและเฉลยบาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 ปี ๒๕๑๑-๒๕๖๑.pdf
ปัญหาและเฉลยบาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 ปี ๒๕๑๑-๒๕๖๑.pdfปัญหาและเฉลยบาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 ปี ๒๕๑๑-๒๕๖๑.pdf
ปัญหาและเฉลยบาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 ปี ๒๕๑๑-๒๕๖๑.pdf
 
รวบรวมลักษณนามหมวด ก แก้ใหม่2
รวบรวมลักษณนามหมวด ก แก้ใหม่2รวบรวมลักษณนามหมวด ก แก้ใหม่2
รวบรวมลักษณนามหมวด ก แก้ใหม่2
 
วรรคตอน1
วรรคตอน1วรรคตอน1
วรรคตอน1
 
วรรคตอน1
วรรคตอน1วรรคตอน1
วรรคตอน1
 
2011 thai
2011 thai2011 thai
2011 thai
 
เฉลยข้อสอบ O net 53
เฉลยข้อสอบ O net 53เฉลยข้อสอบ O net 53
เฉลยข้อสอบ O net 53
 
เฉลยข้อสอบ O net
เฉลยข้อสอบ O netเฉลยข้อสอบ O net
เฉลยข้อสอบ O net
 
คำวิเศษณ์2 [โหมดความเข้ากันได้]
คำวิเศษณ์2 [โหมดความเข้ากันได้]คำวิเศษณ์2 [โหมดความเข้ากันได้]
คำวิเศษณ์2 [โหมดความเข้ากันได้]
 
โควต้า มช. 51 -ภาษาไทย.
โควต้า มช. 51 -ภาษาไทย.โควต้า มช. 51 -ภาษาไทย.
โควต้า มช. 51 -ภาษาไทย.
 
ภาษาไทย
ภาษาไทยภาษาไทย
ภาษาไทย
 
ก.พ.57
ก.พ.57ก.พ.57
ก.พ.57
 
ข้อสอบภาษาไทย โควต้า51
ข้อสอบภาษาไทย โควต้า51ข้อสอบภาษาไทย โควต้า51
ข้อสอบภาษาไทย โควต้า51
 
01 ภาษาไทย
01 ภาษาไทย01 ภาษาไทย
01 ภาษาไทย
 
ข้อสอบภาษาไทย โควต้า51
ข้อสอบภาษาไทย โควต้า51ข้อสอบภาษาไทย โควต้า51
ข้อสอบภาษาไทย โควต้า51
 
ข้อสอบภาษาไทย โควต้า51
ข้อสอบภาษาไทย โควต้า51ข้อสอบภาษาไทย โควต้า51
ข้อสอบภาษาไทย โควต้า51
 

More from Pasit Suwanichkul

สรุปเข้มฯ#7 วิทยาศาสตร์พื้นฐาน
สรุปเข้มฯ#7 วิทยาศาสตร์พื้นฐานสรุปเข้มฯ#7 วิทยาศาสตร์พื้นฐาน
สรุปเข้มฯ#7 วิทยาศาสตร์พื้นฐานPasit Suwanichkul
 
สรุปเข้มฯ#7 สังคมศึกษา
สรุปเข้มฯ#7 สังคมศึกษาสรุปเข้มฯ#7 สังคมศึกษา
สรุปเข้มฯ#7 สังคมศึกษาPasit Suwanichkul
 
สรุปเข้มฯ#7 ภาษาอังกฤษ
สรุปเข้มฯ#7 ภาษาอังกฤษสรุปเข้มฯ#7 ภาษาอังกฤษ
สรุปเข้มฯ#7 ภาษาอังกฤษPasit Suwanichkul
 
สรุปเข้มฯ#7 คณิตศาสตร์
สรุปเข้มฯ#7 คณิตศาสตร์สรุปเข้มฯ#7 คณิตศาสตร์
สรุปเข้มฯ#7 คณิตศาสตร์Pasit Suwanichkul
 
วงดนตรีสากล
วงดนตรีสากลวงดนตรีสากล
วงดนตรีสากลPasit Suwanichkul
 

More from Pasit Suwanichkul (6)

สรุปเข้มฯ#7 วิทยาศาสตร์พื้นฐาน
สรุปเข้มฯ#7 วิทยาศาสตร์พื้นฐานสรุปเข้มฯ#7 วิทยาศาสตร์พื้นฐาน
สรุปเข้มฯ#7 วิทยาศาสตร์พื้นฐาน
 
สรุปเข้มฯ#7 สังคมศึกษา
สรุปเข้มฯ#7 สังคมศึกษาสรุปเข้มฯ#7 สังคมศึกษา
สรุปเข้มฯ#7 สังคมศึกษา
 
สรุปเข้มฯ#7 ภาษาอังกฤษ
สรุปเข้มฯ#7 ภาษาอังกฤษสรุปเข้มฯ#7 ภาษาอังกฤษ
สรุปเข้มฯ#7 ภาษาอังกฤษ
 
สรุปเข้มฯ#7 คณิตศาสตร์
สรุปเข้มฯ#7 คณิตศาสตร์สรุปเข้มฯ#7 คณิตศาสตร์
สรุปเข้มฯ#7 คณิตศาสตร์
 
TeST
TeSTTeST
TeST
 
วงดนตรีสากล
วงดนตรีสากลวงดนตรีสากล
วงดนตรีสากล
 

สรุปเข้ม#7 ภาษาไทย

  • 2.
  • 3.
  • 4.
  • 5.
  • 6.
  • 9. >_< ???? ……………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………… 3
  • 10. 4
  • 12. ^_^ ^L^ . . . . . . . . . . - - - - - - - - . – - . ( ) . - - 6
  • 13. . - - - - ( ) ( ) - - - ( ) - - - ( ) - - - - ( ) - - - ( ) ( ) 7
  • 14. 8
  • 15. - - - - - - - - - 9
  • 16. 10
  • 18. 12
  • 21. 15
  • 33. 2 1) 2) 3) 4) 1 4 2 3 1 3 2 4 27
  • 34. 15 – 16 [ ] ; ; - 3 4 5 6 1 2 3 4 28
  • 35. 50 1 3 2 3 1 4 2 4 4 3 5 4 6 5 7 6 29
  • 38. “ ” 3 3 “ ” 1) 2) 3) 4) 1 2 3 4 “ ” 1) 2) 3) 4) 32
  • 39. 1 2 3 4 7 100 4 1 2 3 4 “ ” 33
  • 40. 45 – 46 “ ” 3 – 5 – 2 – 1 – 4 2 – 3 – 1 – 4 – 5 2 – 5 – 3 – 1 – 4 3 – 1 – 4 – 2 – 5 “ ” 1 2 3 4 2 4 34
  • 43. 4 59 – 60 1) “ ” 2) “ ” 3) “ ” 4) “ ” : “ ” : : “ ” 1) 2) 3) 4) 1) 2) 3) 4) “ ” 5 37
  • 46. 71 – 72 73 – 74 40
  • 49. 1 2 3 4 88 – 89 43
  • 50. 92 – 93 1 2 3 4 3 1 2 3 4 44
  • 52. 46
  • 53. 47
  • 54. 48
  • 55.
  • 56.
  • 57.
  • 58.
  • 59.
  • 60.
  • 62. 2. เฉลยข้อ 4 ข้อ ง เหตุผล ข้อ 4 ข้อ ง มีคําที่ออกเสียงอักษรควบ อยู่ 1 คํา คือ คํา ควัน
  • 63. 3.เฉลยข้อ 2 ข้อ ข เหตุผล ข้อ 2 ข้อ ข มีเสียงวรรณยุกต์ครบ 5 เสียง ดังนี้ เสียงสามัญ ในคํา เพียร และ เรียน เสียงเอก ในคํา สวัสดิ์ เสียงโท ในคํา ราช และ ต้อง เสียงตรี ในพยางค์ ช (ชะ) และ รัก เสียงจัตวา ในพยางค์ ษา ข้อ 1. ขาดเสียงวรรณยุกต์ ตรี และ จัตวา ข้อ 3. ขาดเสียงวรรณยุกต์ จัตวา ข้อ 4. ขาดเสียงวรรณยุกต์ โท และ จัตวา
  • 64. 4. เฉลยข้อ 1 ข้อ ก เหตุผล อักษรตํ่า เป็น อักษรหมู่หนึ่งใน ไตรยางศ์ ซึ่งประกอบด้วยอักษร 3 หมู่ คือ อักษรสูง อักษรกลาง และอักษรตํ่า อักษรสูง มี 11 ตัว คือ ข ฃ ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ษ ส ห อักษรกลาง มี 9 ตัว คือ ก จ ฎ ฏ ด ต บ ป อ อักษรตํ่า มี 24 ตัว คือ ค ฅ ฆ ง ช ซ ฌ ญ ฑ ฒ ณ ท ธ น พ ฤ ภ ม ย ร ล ว ฬ ฮ
  • 65. ไตรยางศ์ เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการผันอักษรซึ่งเกี่ยวข้องกับพยัญชนะต้น เท่านั้น เพราะฉะนั้น การนับอักษรสูง อักษรกลาง หรืออักษรตํ่า ว่ามีกี่ตัวนั้น ให้นับที่เป็นพยัญชนะต้นเท่านั้น ดังนี้ ข้อ 1. ข้อ ก. เมื่อไม่นับอักษรที่ซํ้ากัน จะมีอักษรตํ่าอยู่ 2 ตัว เท่านั้นคือ ร และ ว นับว่าน้อยที่สุด ข้อ 2. ข้อ ข มี 4 ตัว คือ ร ช ว พ ข้อ 3. ข้อ ค มี 4 ตัว คือ ท น ว ร ข้อ 4. ข้อ ง มี 5 ตัว คือ ม ร ช น ค
  • 66. 5.เฉลยข้อ 2 ข้อ ข และ ค เหตุผล อักษรนํา มี 4 ลักษณะ คือ 1. อ นํา ย มี 4 คํา คือ อย่า อยู่ อย่าง อยาก 2. ห นํา อักษรตํ่าเดี่ยว เช่น ไหม แหน หวาน หรือ 3. อักษรกลาง นํา อักษรตํ่าเดี่ยว เช่น กนก อร่อย จรัส แปรก 4. อักษรสูง นํา อักษรตํ่าเดี่ยว เช่น ไถง แขนง สนอง เฉลย ข้อ 2 ข้อ ข มีอักษรนํา คือ สวัสดิ์ ข้อ ค มีอักษรนํา คือ กําหนด
  • 67. 6.เฉลยข้อ 3 ผลัดเวร บทกลอน โทษทัณฑ์ เหตุผล เหตุ มีตัวสะกดในมาตราแม่ กด ผล มีตัวสะกดในมาตราแม่ กน คําในข้อ 3 มีตัวสะกดมาตราเดียวกับ “เหตุผล” ทุกคํา ดังนี้ ผลัด = แม่กด เวร = แม่กน บท = แม่กด กลอน = แม่กน โทษ = แม่กด ทัณฑ์ = แม่กน
  • 68. 7.เฉลยข้อ 1 คนงานใหม่ขยันเป็นพัก ๆ เอาแน่ไม่ได้ เหตุผล ข้อ 1  มีคําซํ้าคือ พัก ๆ ซึ่งมีความหมายว่า ช่วงระยะเวลา หนึ่งๆ จําเป็นต้องใช้เป็นคําซํ้าเสมอ ถ้าไม่ซํ้าจะมีความหมายว่า หยุด ชั่วคราว รอรั้ง หรือ คราว ซึ่งไม่เข้ากับบริบทที่ให้มานี้ ข้อ 2. ซิบ, ซิบ ๆ มีความหมายทํานองเดียวกันว่าอาการที่ เลือดไหนออกน้อย ๆ ข้อ 3.  พลาง, พลาง ๆ มีความหมายทํานองเดียวกันว่า ชั่วระหว่างเวลา (ที่ยังไม่พร้อมหรือยังไม่ถึงกําหนดเป็นต้น) ข้อ 4. แรก, แรก ๆ มีความหมายทํานองเดียวกันว่า ต้น หรือ เดิมที
  • 69. 8.เฉลยข้อ 2 ถ่องแท้ ถี่ถ้วน ถากถาง เหตุผล คําซ้อนประกอบขึ้นจากคําเดิมตั้งแต่ 2 คําขึ้นไปที่มีความหมาย สัมพันธ์กันในเชิงใดเชิงหนึ่งต่อไปนี้ 1. ความหมายเหมือนกัน เช่น นัยน์ตา 2. ความหมายคล้ายกัน เช่น สวยงาม 3. ความหมายประเภทเดียวกัน เช่น เรือแพนาวา 4. ความหมายต่างกันอย่างตรงกันข้าม เช่น ตื้นลึกหนาบาง
  • 70. ข้อ 1 มีคําซ้อน 2 คํา คือ ซํ้าซ้อน ซักฟอก ส่วน ซ่อนรูป เป็นคําประสม ข้อ 2 เป็นคําซ้อนทุกคํา ข้อ 3 มีคําซ้อน 2 คํา คือ บีบคั้น เบียดเบียน ส่วน เบาความ เป็นคําประสม ข้อ 4 มีคําซ้อน 2 คํา คือ แปรผัน โปรยปราย ส่วน เป่าหู เป็นคําประสม
  • 71. 9. เฉลยข้อ 4 ส่วนที่ 2 และ 4 เหตุผล ข้อ 4 ส่วนที่ 2 มีคําประสมคือ เทศบาลเมือง ส่วนที่ 4 มีคําประสมคือ นาฬิกาแดด
  • 72. 10. เฉลยข้อ 2 เดินแต้ม เดินรถ เดินสะพัด เหตุผล ข้อ 1. มีคําประสม 2 คํา คือ คําขาด คําคม ส่วน คําราม เป็นคํามูล 2 พยางค์ ข้อ 2. เป็นคําประสมทุกคํา ข้อ 3. มีคําประสม 2 คํา คือ นํ้าป่า นํ้ามือ ส่วน นํ้าไหล เป็น ประโยค หรือ กลุ่มคํา ข้อ 4. มีคําประสม 2 คํา คือ ติดลม ติดใจ ส่วน ติดขัด เป็นคําซ้อน
  • 73. 11. เฉลยข้อ 3 ตําแหน่งศักดิ์ยศถา เสถียรที่ เหตุผล ข้อ 1. มีคําสมาส คือ โยธามาตย์ ข้อ 2. มีคําสมาส คือ ราชโยธา ข้อ 3. ไม่มีคําสมาส ข้อ 4. มีคําสมาส คือ พยุหยาตรา
  • 74. 12. เฉลยข้อ 1 ขับคเชนทร์สาวก้าว ส่ายเสื้องเทาทางเหตุผล ข้อ 1. มีคําสมาสที่มีการสร้างคําแบบคําสมาสที่มีการสนธิ คช + อินทร์ = คชินทร์  คเชนทร์ ส่วนข้ออื่น ๆ เป็นคําสมาสที่ไม่มีการสนธิ ดังนี้ ข้อ 2. พุทธบาท = พุทธ + บาท ข้อ 3. สุธารส = สุธา + รส ข้อ 4. บทจร = บท + จร
  • 75. 13.เฉลยข้อ 3คนที่ซื้อทองรูปพรรณต้องจ่ายเงินค่ากําเหน็จด้วย เหตุผล ข้อ 1. มีคําที่สะกดผิดอยู่ 1 คํา คือ มังสวิรัติ ต้องแก้เป็น มังสวิรัติ ข้อ 2. มีคําที่สะกดผิดอยู่ 1 คํา คือ ยามรักษาการ ต้องแก้ เป็น ยามรักษาการณ์ ข้อ 3. สะกดถูกต้องทุกคํา ข้อ 4. มีคําที่สะกดผิดอยู่ 1 คํา คือ เข้าฌาน ต้องแก้เป็น เข้าฌาน
  • 76. 14. เฉลยข้อ 4 ในภาวะเศรษฐกิจตกตํ่าทุกครอบครัวต้องกระเบียดกระเสียร เหตุผล ข้อ 4 มีคําที่สะกดผิดอยู่ 1 คํา คือ กระเบียดกระเสียน ต้องแก้เป็น กระเบียดกระเสียร
  • 77. 15. เฉลยข้อ 3 5 คํา เหตุผล คําตั้ง หรือ แม่คํา คือ คําที่ยกขึ้นตั้งเพื่อนิยามความหมายในการทํา พจนานุกรม ข้อความในพจนานุกรมที่ยกมามี คําตั้ง หรือ แม่คํา ทั้งหมด 5 คํา คือ จวัก, จอ 1, จอ 2,  จ่อ 1,  จ่อ 2
  • 78. 16. เฉลยข้อ 1 1 คํา เหตุผล ในพจนานุกรม คําย่อในวงเล็บหน้าบทนิยามจะบอกลักษณะของ คําที่ใช้เฉพาะแห่ง ข้อความในพจนานุกรมที่ให้มา มีคําที่ระบุว่าใช้เฉพาะแห่ง 1 คํา คือ จ่อ 2 (ถิ่น – อีสาน) หมายความว่า จ่อ 2 เป็นคําที่ใช้เฉพาะถิ่นภาคอีสาน
  • 79. 17. เฉลยข้อ 3 จินตนาไปหาหมอเพื่อใช้แสงเลเซอร์รักษาผิดหน้า เหตุผล ข้อ 1. เบลอร์ ใช้คําไทย “มึน” แทนได้ ข้อ 2. ดีไซเนอร์ ใช้คําไทย “นักออกแบบ” แทนได้ ข้อ 3. เลเซอร์ ไม่มีคําไทยใช้แทน ข้อ 4. อินเตอร์ ใช้คําไทย “นานาชาติ” แทนได้
  • 80. 18. เฉลยข้อ 4 วิกฤตการณ์ วิจัย วิสัยทัศน์ เหตุผล ข้อ 1. มีคําศัพท์บัญญัติจากคําภาษาอังกฤษอยู่ 2 คํา คือ จุลทรรศน์ (microscope) และจุลินทรีย์ (microbe;  micro – organism) ข้อ 2. มีคําศัพท์บัญญัติจากคําภาษาอังกฤษอยู่คําเดียว คือ สังเคราะห์ (synthesise) ข้อ 3. มีคําศัพท์บัญญัติจากคําภาษาอังกฤษอยู่ 2 คํา คือ สมมาตร (symmetry) และ สมมุติฐาน (hypothesis) ข้อ 4. เป็นคําศัพท์บัญญัติจากคําภาษาอังกฤษทุกคํา คือ วิกฤตการณ์ (crisis) วิจัย (research) และวิสัยทัศน์ (vision)
  • 81. 19. เฉลยข้อ 3 ข้อ ข และ ง เหตุผล ข้อ ก. มีคํายืมภาษาบาลีสันสกฤตอยู่ 1 คํา คือ จร ข้อ ข. ไม่มีคํายืมภาษาบาลีสันสกฤต ข้อ ค. มีคํายืมภาษาบาลีสันสกฤตอยู่ 1 คํา คือ จันทร์ ข้อ ง. ไม่มีคํายืมภาษาบาลีสันสกฤต
  • 82. 20. เฉลยข้อ 4 คณะกรรมการกําลังพิจารณาคําขวัญที่ส่งเข้าประกวด 50 บาท เหตุผล ข้อ 1.ใช้ลักษณนามของ “เงื่อนไข” ว่า “ข้อ” นั้นถูกต้องแล้ว ข้อ 2.ใช้ลักษณนามของ “ข้อคิดเห็น” ว่า “ประการ” นั้นถูกต้องแล้ว ข้อ 3.ใช้ลักษณนามของ “ปัญหา” ว่า “เรื่อง” นั้นถูกต้องแล้ว ข้อ 4.ใช้ลักษณนามของ “คําขวัญ” ว่า “บท” นั้นยังไม่ถูกต้อง ต้อง แก้เป็น “คําขวัญ”
  • 83. 21. เฉลยข้อ 2 บุพบท 2 คํา สันธาน 3 คํา เหตุผล ข้อความที่ให้มามี บุพบท 2 คํา คือ ใน จาก มีสันธาน 31 คํา คือ เพราะ ทั้ง และ
  • 84. 22. เฉลยข้อ 4 นาม 7 คํา กริยา 6 คํา เหตุผล ข้อความที่ให้มามีคํานาม 7 คํา คือ การกู้ยืม ประโยชน์ เงิน คุณภาพ รายได้ ต้นทุน จํานวน มีกริยา 6 คํา คือ มี กู้ มา ใช้ สร้าง เพิ่ม
  • 85. 23.เฉลยข้อ 2 เครื่องปั้นดินเผาที่บ้านเชียงส่วนใหญ่เป็นหม้อลายเขียนสีรูป วงกลมม้วนคล้ายลายก้นหอย เหตุผล ข้อ 1.เป็นประโยคความซ้อน เพราะมีประพันธสรรพนามที่เชื่อมประโยค ข้อ 2.เป็นประโยคความเดียว เพราะมีประธานตัวเดียว คือ เครื่องปั้นดินเผา มีกริยาตัวเดียว คือ เป็นที่ ในประโยคนี้เป็น บุพบท ใช้นําหน้าคํา ไม่ได้ ใช้เชื่อมประโยคความซ้อน ข้อ 3.เป็นประโยคความซ้อรน ใช้ “ว่า” เชื่อมประโยค ข้อ 4.เป็นประโยคความซ้อน ใช้ “ให้” เชื่อมประโยค
  • 86. 24. เฉลยข้อ 3 เย็นนี้แม่บ้านจะทําแกงส้มดอกแคและผัดผักรวม เหตุผล ข้อ 1. เป็นประโยคความซ้อนเพราะใช้ประพันธสรรพนาม “ซึ่ง” เชื่อม ประโยค ข้อ 2. เป็นประโยคความซ้อน เพราะใช้ประพันธสรรพนาม “ที่” เชื่อม ประโยค ข้อ 3. ไม่ใช่ประโยคความซ้อน แต่เป็นประโยคความรวม เพราะใช้ “และ” เชื่อมประโยค ข้อ 4. เป็นประโยคความซ้อน เพราะใช้ “ว่า” เชื่อมประโยค
  • 88. 26.เฉลยข้อ 2 ชาวบ้านรู้ตื้นลึกหนาบางเป็นอย่างดีว่าเขารํ่ารวยเพราะอะไร เหตุผล ข้อ 1.มีนํ้าเสียงชื่นชม เพราะ “ยกนิ้ว” มีความหมายว่า ยอมให้เป็น เยี่ยม ข้อ 2.มีนํ้าเสียงเชิงตําหนิ เพราะ “ตื้นลึกหนาบาง” แฝงความหมาย ในทางลบว่า มีที่มาที่ไม่ชอบมาพากล ข้อ 3.“ยืนคํา” มีความหมายว่า “ยืนยันคําพูดที่พูดไปแล้ว โดยไม่ เปลี่ยนแปลง” มีนํ้าเสียงแสดงความหนักแน่น ข้อ 4.“จัดแจง” มีความหมายว่า “เตรียมการ” มีนํ้าเสียงแสดงความ รับผิดชอบ
  • 89. 27. เฉลยข้อ 1 ปีนเกลียว ปิดฉาก ถูกขา เหตุผล ข้อ 1. ปีนเกลียว ปิดฉาก ถูกขา มีความหมายตามตัวเมื่อใช้ “ปีน, ปิด, ถูก” เป็น สกรรมกริยา และ “เกลียว, ฉาก, ขา” เป็นกรรมของกริยาทั้ง 3 คํานี้ ในเชิงอุปมา จะมีความหมายดังนี้ ปีนเกลียว = มีความเห็นไม่ลงรอยกัน ขัดแย้งกัน แตกพวกหรือไม่ถูกกัน ปิดฉาก = เลิก, หยุด, ยุติ ถูกขา = เข้ากันได้, รู้ชั้นเชิงกัน (มักใช้ในการพนันและการเล่นกีฬา) ข้อ 2. เฝ้ าไข้ มีความหมายตามตัวเท่านั้น ปิดตา และเปลี่ยนมือ มีความหมายตามตัวเมื่อใช้ ปิด กับ เปลี่ยนเป็นสกรรม กริยา และใช้ ตา กับ มือ เป็นกรรม ในเชิงอุปมา จะมีความหมาย ดังนี้ ปิดตา หรือ ปิดหูปิดตา = ไม่ยอมรับรู้รับฟัง, ไม่ยอมให้รู้ให้เห็น เปลี่ยนมือ = เปลี่ยนเจ้าของ, เปลี่ยนผู้ครอบครอง
  • 90. ข้อ 3. วางใจ และ แก้เคล็ด มีความหมายเชิงอุปมาดังนี้ วางใจ = เชื่อใจ, ไว้ใจ แก้เคล็ด = กระทําการอย่างใดอย่างหนึ่งที่เชื่อกันว่าเป็นวิธีปัดเป่า หรือป้ องกันภัยหรือเหตุร้ายที่จะมีมา ส่วนเป่าปี่ ใช้ได้ทั้งความหมายตามตัวและความหมายเชิงอุปมาในความหมาย ตามตัว ใช้ เป่า เป็นสกรรมกริยา และใช้ ปี่ เป็นกรรมในความหมายเชิงอุปมา เป่าปี่ = ร้องไห้, สูบฝิ่น ข้อ 4. กินตะเกียบ มีความหมายเดียวว่า กินอาหารด้วยตะเกียบ ปั่นหัว และ ลงคอ มีทั้งความหมายตามตัวและเชิงอุปมา ในความหมายเชิงอุปมา ปั่นหัว = ทําให้งง, ยุให้ผิดใจกัน ลงคอ = อาการที่ทําสิ่งที่ขัดต่อคุณธรรมหรือศีลธรรมเป็นต้น โดยไม่ ตะขิด ‐ ตะขวงใจ
  • 91. 28. เฉลยข้อ 3 ผู้มีรายได้ตํ่าได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ เหตุผล ข้อ 1. ต้องแก้ “ยกมือ” เป็น “ยกนิ้ว” ข้อ 2. ต้องแก้ “ยกเลิก” เป็น “เลิก” ข้อ 3. ใช้ “ยกเว้น” ถูกต้องแล้ว ข้อ 4. ต้องแก้ “ยกโทษ” เป็น “ลดโทษ”
  • 92. 29.เฉลยข้อ 4 พ่อแม่ชื่นชมปีติยินดีที่ลูกสาวสําเร็จการศึกษาระดับ ปริญญาเอกเพราะซํ้าความกัน ควรแก้เป็นพ่อแม่ชื่นชมที่ลูกสาวสําเร็จ การศึกษาระดับปริญญาเอก หรือพ่อแม่ปีติยินดีที่ลูกสาวสําเร็จ การศึกษาระดับปริญญาเอก หรือ พ่อแม่ชื่นชมยินดีที่ลูกสาวสําเร็จ การศึกษาระดับปริญญาเอก
  • 93. 30.เฉลยข้อ 1 เด็กข้างบ้านวิ่งชนฉันหกล้มปากแตก เหตุผล ข้อ 1.ใช้ภาษากํากวม อาจมีความหมายว่า เด็กข้างบ้านวิ่ง ชนฉัน แล้วเด็กคนนั้นหกล้มปากแตก หรือ ฉันถูกเด็กคนนั้นชนจนหกล้ม ปากแตกก็ได้
  • 94. 31.เฉลยข้อ 4 ชุบมือเปิบ เหตุผล ข้อ 1. สํานวน “เก็บดอกไม้ร่วมต้น” มีความหมายว่า “เคย ทําบุญกุศลร่วมกันมาแต่ ชาติก่อน จึงมาอยู่ร่วมกันในชาตินี้” ข้อ 2. สํานวน “เก็บเบี้ยใต้ถุนร้าน” มีความหมายว่า “เก็บ เล็กผสมน้อย ทําอะไรที่ประกอบด้วยส่วนเล็กส่วนน้อย โน่นบ้างนี่บ้าง จนสําเร็จเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา” ข้อ 3. สํานวน “ชุบมือเปิบ” มีความหมายว่า “ฉวยประโยชน์ จากคนอื่นโดยไม่ได้ลงทุนลงแรง” ความหมายนี้สอดคล้องกับบริบทที่ ให้มา จึงเป็นสํานวนเหมาะสมที่จะเติมในช่องว่างของข้อความที่ให้มา
  • 95. 32.เฉลยข้อ 1 พอก้าวขาก็ลาโรง เหตุผล ข้อ 1. สํานวน “พอก้าวขาก็ลาโรง” มีความหมายว่า “ชักช้าทํา ให้เสียการ” ความหมายนี้ไม่เกี่ยวกับการพูด ข้อ 2. สํานวน “ละเลงขนมเบื้องด้วยปาก” มีความหมายว่า “ดี แต่พูด แต่ทําไม่ได้” ข้อ 3. สํานวน “ไปไหนมาสามวาสองศอก” มีความหมายว่า “ถามอย่าหนึ่งตอบไปอีกอย่างหนึ่ง ข้อ 4. สํานวน “นํ้าร้อนปลาเป็น นํ้าเย็นปลาตาย” มีความหมาย ว่า “คําพูดที่ตรงไปตรงมา ฟังไม่ไพเราะ เป็นการเตือนให้ระวังตัว แต่ไม่ เป็นพิษเป็นภัย คําพูดที่ไพเราะอ่อนหวานทําให้ตายใจ อาจเป็นโทษเป็นภัย ได้”
  • 96. 33.เฉลยข้อ 1 ส่วนที่ 1 เหตุผล ข้อ 1.ใช้ภาษาระดับทางการ ซึ่งมีลักษณะกระชับ ชัดเจน และสุภาพ ข้อ 2. มีคําที่ไม่เป็นทางการ เช่น กรูเกรียว บอกให้เรารู้ว่า ข้อ 3. มีคําที่ไม่เป็นทางการ เช่น ทุกทิศทุกทาง ข้อ 4. มีคําที่ไม่เป็นทางการ เช่น ตามมาแน่ ๆ
  • 97. 34.เฉลยข้อ 1 โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังอักเสบเป็นโรคที่เกิดขึ้นแก่เด็กมากกว่าผู้ใหญ่ เหตุผล ข้อ 1.ใช้ภาษาระดับทางการ ส่วนข้ออื่น ๆ ใช้ภาษาระดับไม่ เป็นทางการ ข้อ 2. มีคําที่ไม่เป็นทางการ เช่น คุณหมอ ครับ ข้อ 3. มีคําที่ไม่เป็นทางการ เช่น ลูกน้อย โลชั่น ข้อ 4. มีคําที่ไม่เป็นทางการ เช่น น้องหนู
  • 98. 35.เฉลยข้อ 2 โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ จึงไม่ได้เป็นโรคที่เกิดแก่ผู้สูงอายุอีกต่อไป เหตุผล ข้อ 1. ผูกประโยคฟุ่มเฟือย เพราะแปลมาจากภาษาต่างประเทศคําต่อคํา ควรแก้ให้ เป็นสํานวนภาษาไทยที่กะทัดรัด สละสลวย เช่น “กลุ่มคนอายุ 35 – 55 ปี เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบเพิ่มขึ้นทุกปีในปัจจุบัน” ข้อ 2.เป็นสํานวนภาษาไทยที่กระชับ สละสลวยดีแล้ว ข้อ 3. ควรแก้เป็น “หลอดเลือดหัวใจที่ยังตีบไม่มากอาจไม่มีอาการใดปรากฏเลย” ข้อ 4. ควรแก้เป็น “ส่วนมากอาการต่าง ๆ จะเกิดขึ้นต่อเมื่อหลอดเลือดหัวใจตีบ มากกว่าร้อยละ 70 ขึ้นไป”
  • 99. 36.เฉลยข้อ 3 ทอดพระเนตร ทรงพระราชปฏิสันถาร เหตุผล ทอดพระเนตร เป็นกริยาราชาศัพท์สําเร็จรูป ห้าใช้ “ทรง” นําหน้า การใช้ ทรงทอดพระเนตรในข้อ 1. และ 2. จึงไม่ถูกต้อง ต้องใช้ ทอดพระเนตร ตามข้อ 3. และ 4. ทรงพระราชปฏิสันถาร เป็นการ ใช้คําราชาศัพท์สําหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แทนคํากริยา ทักทาย นั้นถูกต้องแล้ว เพราะเป็นการใช“ทรง” นําหน้าคํานามราชา ศัพท์ ไม่ต้องใช้กริยา “มี” เข้ามาแทรก ถ้าไม่ใช้ “ทรงพระราช ปฏิสันถาร” อาจจะใช้ว่า “มีพระราชปฏิสันถาร” ก็ได้เช่นกัน
  • 100. 37.เฉลยข้อ 2 บรมชนกนาถ บรมโกศ บรมวงศ์ เหตุผล ข้อ 1. เติม “พระ” ได้ 2 คํา พระบรมราชานุสาวรีย์ พระบรมฉายา ลักษณ์ส่วน บรมหฤทัย ต้องแก้เป็น พระราชหฤทัย ข้อ 2. เติม “พระ” ได้ทั้ง 3 คํา คือพระบรมชนกนาถ พระบรม โกศ พระบรมวงศ์ ข้อ 3. เติม “พระ” ได้ 2 คํา คือพระบรมรูป พระบรมบพิตรส่วน บรมหัตถเลขา ต้องแก้เป็น พระราชหัตถเลขา ข้อ 4. เติม “พระ” ไม่ได้เลยทั้ง 3 คําต้องแก้เป็น พระราชมนเทียร พระอัฐิ เส้นพระเจ้า
  • 101. 38. เฉลยข้อ 4 หวั่นโรคไข้หวัดสุนัขคร่า “แพนด้าน้อย” เหตุผล คําที่แสดงความเห็นของผู้เขียนข่าวในข้อ 4. คือ “หวั่น”
  • 102. 39.เฉลยข้อ 2ส่วนที่ 2 เหตุผล รายงานทางวิชาการต้องใช้ภาษาระดับทางการ คือ กระชับ ชัดเจน และสุภาพ การใช้ภาษาในส่วนที่ 2 เป็นภาษาระดับไม่ เป็นทางการ มีการใช้คําซ้อนสี่คําซึ่งฟุ่มเฟือย ได้แก่อยู่ง่ายกิน ง่าย คลุกกลีตีโมง ความสนิทสนมคุ้นเคย จึงไม่เหมาะสมที่ จะนํามาเขียนในรายงานทางวิชาการ
  • 103. 40. เฉลยข้อ 4 โรงพยาบาลเปิด “ศูนย์แพทย์เฉพาะทางเที่ยวคืน” เพื่อตรวจรักษาผู้ป่วย นอกจนถึงเวลา24.00 น. เหตุผล การใช้ภาษาเหมาะสมกับการเขียนรายงานต้องใช้ภาษาระดับ ทางการ ตามข้อ 4 ข้อ 1. “ไม่สบายกะทันหัน” เป็นภาษาระดับไม่เป็นทางการ ข้อ 2. “มักพอเจอ” เป็นภาษาระดับไม่เป็นทางการ ข้อ 3. “หลังสองทุ่ม” เป็นภาษาระดับไม่เป็นทางการ
  • 104. 41. เฉลยข้อ 4 ส่วนที่ 4 เหตุผล จดหมายกิจธุระต้องใช้ภาษาระดับกึ่งทางการขึ้นไปตามระดับภาษาที่ใช้ ในส่วนที่ 4 ข้อ 1. ควรแก้ “ดู” เป็น “พิจารณา” ข้อ 2. ควรแก้ “ไม่ได้” เป็น “มิได้” ข้อ 3. ควรแก้ “อีกมาก” เป็น “หลายประการ” และ “แวะ” เป็น “เยี่ยมชม”
  • 105. 42. เฉลยข้อ 3 เวลาดําเนินการ เหตุผล ข้อ 1. มีกลุ่มเป้ าหมาย คือ “สตรีวัยทองและมีอาการ ประจําเดือน ผิดปกติ” ข้อ 2. มีสถานที่ติดต่อ คือ “ชั้น 7 อาคาร 100 ปี โรงพยาบาลชีวีสุข” ข้อ 3. ขาดความชัดเจนในเรื่อง เวลาดําเนินการ ระบุไว้แค่เพียง “นอกเวลา” ข้อ 4. ผู้ดําเนินการ คือ “แพทย์นรีเวชผู้เชี่ยวชาญของโรงพยาบาลชีวี สุข”
  • 106. 43. เฉลยข้อ 1 ข้อ 1 เหตุผล คําอธิบายวิธีทําอาหารที่ให้มาเรียงลําดับขั้นตอนได้ดังนี้ 1. ข้อ 3.ผสมเนื้อปลากรายกับนํ้าพริกแกงเผ็ด นวดให้เข้ากัน 2. ข้อ 2.ใส่ไข่ไก่ ถั่วฝักยาวซอย ใบมะกรูดซอย นวดต่อไป 3. ข้อ 4.พรมนํ้าเกลือทีละน้อยขณะนวด แล้วนวดจนเหนียวได้ที่ 4. ข้อ 1.ปั้นทอดมันเป็นแผ่นกลม นําไปทอดจนสุก 5. ข้อ 5.ตักทอดมันขึ้นพักไว้ให้สะเด็ดนํ้ามัน เสิร์ฟพร้อมอาจาด
  • 107. 44. เฉลยข้อ 1 ส่วนนําเรื่อง เหตุผล ข้อความที่ให้มากล่าวว่า “วัฒนธรรมการกินอาหารของคนไทย ดังกล่าว.....” เป็นการกล่าวเท้าความ จึงใช้เป็นประโยคแรกในส่วนนํา เรื่องไม่ได้ เพราะประโยคแรกในส่วนนําเรื่องควรจะกล่าวเกริ่นความ จึง จะถูกต้อง
  • 108. 45.เฉลยข้อ 2 2 – 3 – 1 – 4 – 5 เหตุผลการเรียงลําดับข้อมูลตามข้อ 2. จะเป็นเช่นนี้ ข้อความส่วนที่ 2 เป็นการกล่าวเกริ่นความ จึงควรเรียงไว้ ตอนต้นให้เป็นย่อหน้า คํานําในการเขียนเรียงความ ข้อความส่วนที่ 3 เป็นประวัติตอนเกิด และงานตอนเด็ก ข้อความส่วนที่ 1 เป็นประวัติการรับราชการในรัชกาลที่ 2 ข้อความส่วนที่ 4 เป็นประวัติต่อเนื่องกับส่วนที่ 1 ข้อความส่วนที่ 5 เป็นเกียรติประวัติของสุนทรภู่ เรียงไว้ลําดับ สุดท้ายให้เป็นย่อหน้าสรุปของเรียงความเรื่องนี้ได้
  • 109. 46. เฉลยข้อ 2ส่วนที่ 3 เหตุผล ส่วนที่ 3 เกี่ยวกับการเกิดและถวายตัวเป็นข้าในกรมพระราชวังหลัง ตั้งแต่ยังเด็ก เป็นประวัติชีวิตที่มีความสําคัญน้อยที่สุดสําหรับ เรียงความเรื่อง “สุนทรภู่ กวีเอกของโลก”
  • 110. 47.เฉลยข้อ 2 ประธาน ผู้เข้าประชุม ระเบียบวาระ เหตุผล เมื่อนําคําในข้อ 2. มาเติมในช่องว่างที่ให้มาแล้ว จะได้ความเหมาะสม ดังนี้ประธานขอให้เลขานุการอ่านรายชื่อผู้เข้าประชุมและรายงานการ ประชุมครั้งที่แล้ว หลังจากนั้นก็ดําเนินการประชุมไปตามระเบียบ วาระต่อไป
  • 111. 48.เฉลยข้อ 1 ฝนตกกระหนํ่าจนลืมหูลืมตาไม่ขึ้น เสื้อผ้าเปียกปอนลีบเข้าแนบลําตัว เหตุผล ข้อ 1.ใช้พรรณนาโวหาร เพราะให้รายละเอียดทําให้ผู้อ่านเห็นภาพได้ และไม่มีเหตุการณ์ ไม่มีการดําเนินเรื่อง ข้อ 2.ใช้บรรยายโวหาร เพราะมีเหตุการณ์ คือ ไฟฟ้ าดับ และเสา ไฟฟ้ าล้ม ข้อ 3.ใช้บรรยายโวหาร มีเหตุการณ์ มีการดําเนินเรื่อง คือ กิ่งไม้หัก เกลื่อนถนนพายุ ฝนสงบ ข้อ 4.ใช้บรรยายโวหาร มีเหตุการณ์ คือ รถยนต์หลายคันจอดนิ่งรอให้ พายุสงบก่อน
  • 112. 49. เฉลยข้อ 1 นักร้องประสานเสียงเปล่งเสียงพร้อมเพรียงกันเป็น สามระดับตามทํานองที่ฝึกฝนมาอย่างดี เหตุผล ข้อ 1.ใช้บรรยายโวหาร เพราะมีเหตุการณ์คือ นักร้องประสานเสียง เปล่งเสียงร้องอย่างพร้อมเพรียงกันเป็นสามระดับตามทํานองที่ฝึกฝน มาอย่างดี ข้อ 2. ข้อ 3. และข้อ 4. ใช้พรรณนาโวหาร เพราะให้รายละเอียดเพื่อให้ ผู้อ่านเห็นภาพและเกิดอารมณ์ความรู้สึกตามที่ผู้เขียนต้องการ
  • 113. 50. เฉลยข้อ 2 นิยาม และให้เหตุผล เหตุผล ข้อความที่ให้มาใช้วิธีอธิบายโดยการให้นิยามในตอนที่กล่าว่า “คําว่าสึ นามิในภาษาญี่ปุ่น หมายถึง คลื่นอ่าวจอดเรือ (harbor wave)” แลให้เหตุผลในตอนที่กล่าวว่า “เนื่องจากประเทศญี่ปุ่นมีภูมิประเทศ เป็นเกาะมีชายฝั่งทะเลยาวตามชายฝั่งมี อ่าวใหญ่น้อยอยู่มาก หากเป็นอ่าวแคบ ๆ ซึ่งเป็นที่จอดเรือความรุนแรง ของคลื่นสึนามิจะมีมากขึ้นอีกหลายเท่า”
  • 114. 51.เฉลยข้อ 4ข้อสรุป ข้อสนับสนุน ข้อสนับสนุน เหตุผล ข้อความที่ยกมา มีคําว่า “ด้วย” ซึ่งมีความหมาเช่นเดียวกับคําว่า “เพราะ” เป็นคําเชื่อมประโยคที่อยู่หลังคําว่า “ด้วย” เป็น ข้อสนับสนุน ข้อสนับสนุนมี 2 ข้อ โดยมีคําว่า “และ” เป็นคําเชื่อม ประโยคแรกอยู่หน้าคําเชื่อมว่า “ด้วย” จัดเป็นข้อสรุป
  • 115. 52.เฉลยข้อ 4 คนไทยเรียนรู้และสืบทอดการใช้พืชสมุนไพรเป็นยา และอาหารจากบรรพ บุรุษ คนเฒ่าคนแก่จํานวนมากมีสุขภาพดีและอายุยืน เหตุผล องค์ประกอบของภาษาแสดงการใช้เหตุผล ต้องมี 2 ส่วน คือ ข้อสรุป และ ข้อสนับสนุน ข้อ 4. เป็นคําตอบ เพราะมีองค์ประกอบครบทั้ง 2 ส่วน ถ้าเติมคําเชื่อม จะ ได้ดังนี้ “คนไทยเรียนรู้และสืบทอดการใช้พืชสมุนไพรเป็นยาและอาหารจาก บรรพบุรุษ ดังนั้นคนเฒ่าคนแก่จํานวนมากจึงมีสุขภาพดีและอายุยืน” ข้อ 1, 2 และ 3 มิใช่คําตอบ เพราะองค์ประกอบของการแสดงเหตุผลมี เพียงส่วนเดียวคือมีเฉพาะข้อสรุป ขาดข้อสนับสนุน
  • 116. 53.เฉลยข้อ 2 บุญเพ็ญร้องเพลงลูกทุ่งไพเราะมาก คุณครูส่งเธอเข้าแข่งขันกับโรงเรียนอื่น เหตุผล ข้อ 1, 3 และ 4 มีวิธีแสดงเหตุผลจากข้อสรุปไปหาข้อสนับสนุน ถ้าเติมสันธานในแต่ละ ข้อ จะได้ดังนี้ ข้อ 1. บุญยืนไม่อยากไปโรงเรียน เพราะเขาไม่สบาย และไม่มีการบ้านไปส่งครู ข้อ 3. บุญมาอ่านหนังสือเรียนทุกวัน เพราะเขาอยากเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยให้ได้ ข้อ 4. บุญรักษาตัดสินใจไปเรียนต่อต่างประเทศ เพราะคุณพ่อคุณแม่ทํากิจการร้าน อาหารอยู่ที่นั่น ข้อ 2. เป็นคําตอบ เพราะมีวิธีการแสดงเหตุผลแตกต่างกับข้ออื่น ๆ คือ นําด้วย ข้อสนับสนุนและต่อด้วยข้อสรุป ถ้าเติมสันธานจะเห็นได้ชัดเจน ดังนี้ “บุญเพ็ญร้องลูกทุ่งไพเราะมาก คุณครูจึงส่งเธอเข้าแข่งขันกับโรงเรียนอื่น”
  • 117. 54. เฉลยข้อ 3 พื้นที่ 3 อําเภอ ควรแยกมาตั้งเป็นจังหวัดใหม่หรือไม่ เหตุผล ในข้อความที่ยกมา มีการเสนอให้แยกพื้นที่ 3 อําเภอ ของจังหวัด เชียงใหม่ คือ ฝางแม่อาย และไชยปราการมาตั้งเป็นจังหวัดใหม่ ผู้ส่ง สารโต้แย้งว่าไม่ควร เพราะทั้งพื้นที่และประชากรโดยรวมของทั้ง 3 อําเภอนั้นตํ่ากว่าเกณฑ์ของการตั้งจังหวัดใหม่
  • 118. 55.เฉลยข้อ 1 ที่มา ข้อสรุป ข้อสนับสนุน เหตุผล ที่มาของการแสดงทรรศนะในข้อนี้ คือ “ปัญหารุ่นพี่ใช้ความรุนแรงกับ นักศึกษาใหม่เกิดขึ้นเป็นประจําทุกปี ทั้ง ๆ ที่ก่อนปีการศึกษาใหม่จะเริ่มขึ้น ผู้บริหารของ กระทรวงศึกษาธิการก็ได้มีคําแนะนําไปยังสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ถึง แนวทางการรับน้องที่จะไม่สร้างปัญหา” ข้อสรุป คือ “ต่อจากนี้ผู้เกี่ยวข้องคงต้องวางแผนและหาแนว ทางแก้ไขปัญหาระยะยาว” ข้อสนับสนุน คือ “เพราะไม่ว่าจะเป็นรุ่นพี่รุ่นน้อง ต่างก็เป็น ทรัพยากร บุคคลของประเทศ”
  • 119. 56.เฉลยข้อ 4 ประสบการณ์ เหตุผล ประโยคที่สนับสนุนคําตอบข้อ 4 คือ“ปัญหารุ่นพี่ใช้ความรุนแรงกับ นักศึกษาใหม่เกิดขึ้นเป็นประจําปีทุกปี”
  • 120. 57. เฉลยข้อ 2 ศูนย์หัวใจให้บริการตรวจวินิจฉัย รักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด เหตุผล ข้อ 2. เป็นการเสนอข้อมูล ซึ่งเป็นข้อเท็จจริง ไม่มีถ้อยคําใดที่มุ่งเร้า ให้เกิดอารมณ์คล้อยตาม ข้อ 1,3 และ 4 มีการโน้มน้าวใจ สังเกตจากการใช้คํา ดังนี้ ข้อ 1. - การขายแบบเหนือชั้น ข้อ 3. - อนุรักษ์ภาพชีวิตแบบโบราณ ข้อ 4. - เพิ่มลูกเล่นลูกชน เอาใจสุภาพสตรีผู้รักสวยรักงาม
  • 121. 58.เฉลยข้อ 4 ใช้คําเร้าอารมณ์ เหตุผล “คําเร้าอารมณ์” คือ คําที่ทําให้เกิดอารมณ์แรงกล้าจนอาจขาดสติ ไม่ ใช้เหตุผลอย่างถี่ถ้วน ขาดความพินิจพิจารณาถึง ความ ถูกต้องเหมาะสม และอาจตัดสินใจคล้อยตามผู้โน้มน้าว ใจได้ โดยง่าย ข้อความที่ยกมาไม่มีถ้อยคําในลักษณะดังกล่าว ข้อ 4 จึง เป็นคําตอบกลวิธีโน้มน้าวใจตามข้อ 1, 2 และ 3 มีปรากฏ ในข้อความที่ยกมา
  • 122. ข้อ 1. แสดงให้เห็นถึงความน่าเชื่อถือของข้อมูล พิจารณาจาก “............ มีรางวัล 4 ปีซ้อนเป็นประกัน” ข้อ 2. ชี้ให้เห็นประโยชน์ของผู้รับสาร พิจารณาจาก “...........เหมาะ แก่การสร้างเสริมสุขภาพ” ข้อ 3. นําเสนอจุดเด่นของสินค้า พิจารณาจาก “...........ท่ามกลาง ธรรมชาติร่มรื่น อากาศบริสุทธิ์ สภาพแวดล้อมดีเด่น”
  • 123. 59.เฉลยข้อ 2 “ครูครับ บทละครเรื่องนั้นชื่ออภัยนุราชหรือเปล่าครับ” เหตุผล คําพูดของนักเรียนในข้อ 2 นี้ เป็นการทักท้วงอย่างสุภาพ และตรง ประเด็น โดยมีการบอกชื่อที่ถูกต้องของบทละครนั้นด้วย ข้อ 1 และข้อ 3 มีนํ้าเสียงตําหนิ และอาจทําให้ครู “เสียหน้า” ที่สอนผิด ข้อ 4 ไม่เหมาะสม เพราะสื่อสารไม่ตรงประเด็นที่ต้องการ
  • 124. 60.เฉลยข้อ 2 ข้อ 2. เหตุผล คํากล่าวของนักเรียนตามข้อ 2 ที่ว่า“ครูครับ บทละครเรื่องนั้นชื่ออภัย นุราชหรือเปล่าครับ”เป็นการกล่าวแย้ง ว่าชื่อบทละครที่ครูบอกว่าชื่อ อภัยธิราชนั้นไม่ถูกต้องและเป็นการให้ข้อมูลที่ถูกต้องว่า “บทละคร เรื่องนั้นชื่ออภัยนุราช”
  • 125. 61.เฉลยข้อ 3 กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ แล้วออกกําลัง ก็ทําให้สุขภาพดีได้ เหตุผล ข้อ 1, 2 และ 4 มิใช่คําตอบ เพราะมีความสัมพันธ์กับคํากล่าวของน้อง เป็นความสัมพันธ์ ในลักษณะของการท้วงติงและแนะนํา ดังนี้ ข้อ 1. (น้อง) ขอกาแฟถ้วนเดียว ขนมปังแผ่นหนึ่ง (พี่) กว่าจะถึงมื้อกลางวันก็อีกหลายชั่วโมง จะไม่มีสมาธิทํางานนะ ข้อ 2. (น้อง) กินมาก เดี๋ยวอ้วน (พี่) พี่เตรียมนํ้าเต้าหู้ใส่ลูกเดือยให้แล้ว ไม่กี่แคลอรีหลอก มีประโยชน์กว่ากาแฟ ข้อ 4. (น้อง) ต้องรีบไปทํางานด้วย จะสายแล้ว (พี่) ตื่นให้เร็วกว่าเคยหน่อย ก็จะมีเวลากินข้าวเช้าได้ ข้อ 3. ไม่มีความสัมพันธ์กับคําพูดของน้อง เพราะน้องไม่ได้พูดถึงเรื่องการบํารุงรักษาสุขภาพ ข้อนี้จะเป็นคําตอบ
  • 126. 62.เฉลยข้อ 1 ดิฉันจะลองทําดูก่อน เผื่อจะได้ผลบ้าง ทั้ง ๆ ที่ยังกลัวอยู่นะคะ เหตุผล คุณสุชาติส่งสารในลักษณะของคําแนะนําแก่ผู้กลัวผีว่า ต้องใช้สติ พิจารณาว่าความกลัวผีนั้นเกิดจากจินตนาการ ผู้รับสารตอบว่า “ดิฉัน จะลองทําดู เผื่อจะได้ผลบ้าง” แสดงว่า ผู้รับสารเข้าใจและเห็น ประโยชน์ของคําแนะนํานั้น จะนําไปปฏิบัติ แสดงให้เห็นว่า คําพูด ของคุณสุชาติบรรลุวัตถุประสงค์
  • 127. 63. เฉลยข้อ 2 คํานําหน้าชื่อผู้แต่ง และจํานวนหน้า เหตุผล การเขียนบรรณานุกรมมีจุดประสงค์ เพื่อให้ผู้อ่านงานเขียนทางวิชาการ เรื่องนั้น ๆ ทราบว่าผู้เขียนนําหลักฐาน ข้อมูลต่าง ๆ ประกอบงานเขียน ของตนมาจากแหล่งใดในกรณีของหนังสือ จําเป็นต้องบอกชื่อผู้แต่ง ปีที่ พิมพ์ ครั้งที่พิมพ์และสํานักพิมพ์ผู้อ่านจะได้ค้นคว้าเพิ่มเติมได้สะดวก ถ้าต้องการ ข้อ 2 เป็นคําตอบ เพราะคํานําหน้าชื่อผู้แต่ง และจํานวนหน้า ไม่ใช่ส่วนที่จําเป็นในการเขียนบรรณานุกรม
  • 128. 64.เฉลยข้อ 2 เหมาะแก่คนรุ่นใหม่ เหตุผล “ดื่มเป็นประจํา” เป็นบทโฆษณาที่แสดงคุณสมบัติว่า “มีรสชาติดี”“หุ่นดี” แสดงคุณสมบัติว่า “มีประโยชน์ต่อ สุขภาพ” “สาวน้อย.......เป็นประจํา” แสดงคุณสมบัติว่า “เหมาะแก่สตรี” ข้อ 2 เป็นคําตอบ เพราะไม่มีคําโฆษณาตอนใด แสดง คุณสมบัติว่า “เหมาะแก่คนรุ่นใหม่”
  • 129. 65.เฉลยข้อ 3 สุพิศ และสุพงศ์ เหตุผล สุภาและสุภาพ ไม่ได้ทําตามคําแนะนําวิธีการป้ องกันโรคระบาด ที่ว่า “กินของร้อน ใช้ ช้อนกลาง ล้างมือให้สะอาด” เพราะ สุภา - แม้จะใช้ช้อนกลาง แต่ก็ใช้ช้อนกลางนั้นเข้าปากตนเอง สุภาพ - ดื่มแต่กาแฟร้อนใส่นม คําแนะนําให้กินของร้อน ไม่ได้ หมายความว่าให้ดื่มเฉพาะกาแฟร้อนใส่นม ข้อ 3. เป็นคําตอบ เพราะสุพิศ - ใช้สบู่ฟอกมือทุกครั้ง เมื่อกลับบ้าน แสดงว่าทําตามคําแนะนําที่ว่า “ล้างมือให้ สะอาด” สุพงศ์ - กินต้มยําที่เพิ่งทําเสร็จ แทนอาหารประเภทยํา แสดงว่า ทําตามคําแนะนําที่ว่า “กินของร้อน”
  • 130. 66. เฉลยข้อ 4 เมล็ดบัว เหตุผล ประโยคที่ว่า “เจ้าของบึงมักตัดดอกขายมากกว่าจะรอจนกว่า จะได้ ก.” เป็นประโยคสนับสนุนคําตอบข้อ 4 ที่บอกว่า ก คือ เมล็ดบัว เพราะเป็นพืชที่อยู่ในบึง และ “ตัดดอกขายได้” จึงแสดงชัดเจนว่าเป็น “บัว”ซึ่งเป็นไม้นํ้า(ถั่วเหลือง เป็น ไม้เถา)ข้าวสาลี และทานตะวัน เป็นไม้ล้มลุก)
  • 131. 67. เฉลยข้อ 4 ผู้พูดเห็นว่าไม่มีประโยชน์ที่จะจัดการทดสอบทักษะภาษาไทยใน มหาวิทยาลัยและไม่มีผู้ที่คะแนนในเกณฑ์ดีมากเลย โดยแสดงทรรศนะ ว่าเป็น วิกฤต หรือเป็นเหตุการณ์ขั้นอันตรายทําให้อนุมานได้ตาม คําตอบข้อ 1, 2 และ 3 ข้อ 4 เป็นคําตอบเพราะไม่มีข้อความตอนใดที่อาจอนุมานได้ ว่า“ผู้พูดเห็นว่าไม่มีประโยชน์ที่จะจัดการทดสอบทักษะภาษาไทยใน มหาวิทยาลัย”
  • 132. 68. เฉลยข้อ 3 การอนุญาตให้ค้าขายบนทางเท้าได้ โดยไม่มีวันหยุด เหตุผล ผลลัพธ์ที่ว่า “ดีนะ เราจะได้ช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อมด้วย” เป็นผลลัพธ์ในทางดี มีประโยชน์ ข้อ 1, 2 และ 4 ไม่ใช่คําตอบ เพราะเป็นสาเหตุให้เกิดผลลัพธ์ ดังกล่าวได้“การอนุญาตให้ค้าขายบนทางเท้าได้ โดยไม่มีวันหยุด” ย่อมไม่ทําให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีได้ ข้อ 3. จึงเป็นคําตอบ
  • 133. 69. เฉลยข้อ 1 ความมั่นคงขององค์กร เหตุผล ข้อสรุปในข้อความที่ยกมาคือ “เราต้องยืนหยัดให้ได้ท่ามกลางความ เปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม” ข้อ 1 เป็นคําตอบ เพราะการ “ยืนหยัดให้ได้” ก็คือให้มีความ มั่นคง“หัวใจของธุรกิจนี้” จึงหมายถึง “ความมั่นคงขององค์กร”
  • 134. 70.เฉลยข้อ 1 คุณค่า เหตุผล ข้อความที่ยกมากล่าวถึงการทําพู่กันจีน ทั้งในเรื่องวัสดุที่ใช้คือ “ขนสัตว์” บอกวิธีทําเป็นขั้นตอน เริ่มตั้งแต่การเลือกวัสดุ การทําความสะอาด การล้าง ขนสัตว์ และการเรียงขนสัตว์เป็นปลายพู่กันประกอบเข้ากับด้าม โดยเน้นว่า “ต้องระวังให้ขนของปลายพู่กันเรียงเท่ากันอย่างเป็นระเบียบ” แสดงถึง ความประณีตในการทํา ข้อ 1 เป็นคําตอบ เพราะในข้อความที่ยกมานั้น มิได้กล่าวถึง “คุณค่า” เลย ไม่ว่าจะเป็นคุณค่าของขนสัตว์ ของนํ้าหมึกหรือของพู่กัน
  • 135. 71.เฉลยข้อ 1 ผู้พูดเพิ่งเรื่องอาชีพเกษตรกรรมเป็นครั้งแรก เหตุผล ข้อ 2, 3 และ 4 ไม่ใช่คําตอบ เพราะมีความสอดคล้องกับข้อความที่ยกมา ดังนี้ ข้อ 2 ไร่ส้มอินทรีย์ทําได้ง่ายและได้ผลดีหลายด้าน สอดคล้องกับ “..... เราไม่ได้ลงทุนมาก.........ไม่มีมลภาวะ......สภาพร่างกายเราดีขึ้น.........ตอนแรกคิดว่า ทํายากเดี๋ยวนี้รู้แล้ว.......” ข้อ 3 การปลูกส้มแบบใช้สารเคมีมีต้นทุนสูงบกว่าแบบอินทรีย์มาก สอดคล้องกับ“.....เราไม่ได้ลงทุนมาก ตั้งแต่ต้นปีมา ใช้ไป ไม่กี่พันบาท.....” ข้อ 4 ผู้พูดพอใจที่แข็งแรงขึ้นเพราะไม่ต้องสูดดมสารเคมี สอดคล้อง กับ “.....ชาวบ้านไม่เหม็นสารเคมี.....สภาพร่างกายเราดีขึ้นทันตาเห็น” ข้อ 1 เป็นคําตอบ เพราะไม่สอดคล้องกับข้อความข้างต้น
  • 136. 72.เฉลยข้อ 3 ชักชวนเพื่อนเกษตรกรให้เปลี่ยนมาทําไร่แบบเกษตรอินทรีย์ เหตุผล “เรารู้สึกได้ถึงความแตกต่างเมื่อเราปลูกส้มแบบเกษตรอินทรีย์” ประเด็นที่ต้อง พิจารณาคือ “ความแตกต่าง” ในข้อความนี้ หมายถึง ความแตกต่างระหว่างอะไร กับอะไร?อนุมานจากเนื้อความทั้งหมด พอจะสรุปได้ว่าความแตกต่างที่ว่านี้ คือ ความแตกต่างระหว่างการทําไร่แบบใช้สารเคมีกับการทําไร่แบบเกษตรอินทรีย์ โดยผู้พูด ยกตัวอย่างจากการที่ตนปลูกส้นแบบเกษตรอินทรีย์ว่ามีข้อดีหลายประการ ข้อ 3 จึงเป็นคําตอบ ข้อ 1, 2 และ 4 ไม่ตรงกับเนื้อความที่ยกมา จึงไม่ใช่คําตอบ
  • 137. 73. เฉลยข้อ 4มีความรู้ทางวิชาการสูง เหตุผล บุคลิกภาพ “มีคุณธรรม” และ “อ่อนน้อมถ่อมตน”  อนุมานได้จาก ข้อความที่ว่า “คนเราถึงจะเป็นใหญ่ปานใดก็ดี ยังคงมีผู้อื่นหรืสิ่งอื่นที่ใหญ่กว่า ซึ่งถ้า เป็นผู้มีความคิดชอบก็จะต้องเคารพนับถือ” บุคลิกภาพ “มีความคิดเฉียบคม” อนุมานได้จากข้อความตอนท้าย ที่ว่า “แม้พระบรมศาสดา ที่เรานิยมว่าประเสริฐกว่ามนุษย์ทั้งปวง ก็ยังทรง แสดงคารวะต่อพระธรรม”แสดงความคิดเฉียบคมที่ยก “พระบรมศาสดา” เป็นตัวอย่างให้เข้าใจและเห็นจริงไม่มีข้อความใดที่ทําให้อนุมานได้ว่าผู้เขียน มีความรู้ทางวิชาการสูง ข้อ 4 จึงเป็นคําตอบ
  • 138. 74. เฉลยข้อ 1 ยกตัวอย่างประกอบให้เห็นจริง เหตุผล ตัวอย่างที่ผู้เขียนยกมาประกอบให้เห็นจริงคือ พระบรมศาสดาที่ทรง แสดงคารวะต่อพระธรรมแม้พระองค์จะได้รับการเคารพยกย่องว่าเป็น มหาบุรุษผู้ประเสริฐกว่ามนุษย์ทั้งปวง
  • 139. 75.เฉลยข้อ 2 ผู้ใหญ่อาจงดอาหารเช้าได้เพราะไม่ได้อยู่ในวัยเรียน เหตุผล ข้อ 1, 3 และ 4 อนุมานได้จากข้อความที่ยกมา ดังนี้ ข้อ 1 นักเรียนควรกินอาหารเช้าเพราะจะช่วยให้เรียนหนังสือได้ดีขึ้น อนุมานได้จาก “.....การไม่กินอาหารเช้า.....จะมีผลต่อการเรียนรู้และความจํา.....การกิน อาหารเช้า.....จะช่วยให้มีสมาธิในการเรียน” ข้อ 3 ทุกคนควรกินอาหารเช้าจะช่วยในการทํางานของสมอง อนุมานได้จาก “.....การกินอาหารเช้าจึงช่วยให้สมองทํางานได้ดี.....” ข้อ 4 อาหารเช้ามีประโยชน์ เพราะทําให้ร่างกายได้รับพลังงาน อนุมานได้จาก “การไม่ กินอาหารเช้าจะทําให้ร่างกายขาดพลังงาน.....เพราะสารอาหารหลักที่ให้พลังงานคือกลูโคสจา อาหาร.....” ข้อ 2 เป็นคําตอบเพราะข้อความดังกล่าวไม่อาจทําให้อนุมานได้ว่า “ผู้ใหญ่อาจงดอาหารเช้า ได้ เพราะไม่ได้อยู่ในวัยเรียน”
  • 140. 76. เฉลยข้อ 3 วิธีการเลือกซื้อสาลี่ เหตุผล ข้อ 1, 2 และ 4 มีกล่าวถึงในข้อความที่ยกมา ข้อ 1 ข้อมูลพันธุ์สาลี่ กล่าวถึงในประโยคที่ว่า “สาลี่มีหลายพันธุ์ แต่ที่แพร่หลายก็คือ สาลี่หอมและสาลี่หิมะ” ข้อ 2 ประโยชน์ของสาลี่ กล่าวถึงในประโยคที่ว่า “สาลี่.....มี รสชาติหวานเย็นและมีคุณค่าทางอาหารสูงเพราะมีธาตุอาหาร เช่น เบตาแค โรทีนและวิตามินซี” ข้อ 4 ความนิยมในการรับประทานสาลี่ กล่าวถึงในประโยคที่ว่า “ตําราจีนยกให้สาลี่เป็นสุดยอดแห่งผลไม้” ข้อ 1 วิธีการเลือกซื้อสาลี่ ไม่มีการกล่าวถึงในข้อความนั้น ข้อ 1 จึงเป็นคําตอบ
  • 141. 77. เฉลยข้อ 2 ความโดดเดี่ยวทําให้นักดํานํ้าเป็นโรคที่เกิดจากการดํานํ้า เหตุผล ข้อความที่ยกมาแสดงเนื้อความว่า “กระแสนํ้า คลื่นลม ความหนาว เย็น ความโดดเดี่ยวอันตรายจากสัตว์ทะเล และโรคที่เกิดขึ้นจากการดํา นํ้า ล้วนเป็นปัญหาที่นักดํานํ้าต้องต่อสู้ นักดํานํ้าจึงต้องมีร่างกาย แข็งแรง มีสติและมีการตัดสินใจที่ดี” เนื้อความดังกล่าวนี้สอดคล้องกับคําตอบข้อ 1, 3 และ 4 แต่ไม่ สอดคล้องกับข้อ 2ซึ่งมีเนื้อความต่างประเด็นออกไป ข้อ 2 จึงเป็น คําตอบ
  • 142. 78.เฉลยข้อ 3ปีที่สร้างถนน เหตุผล ข้อ 1, 2 และ 4 มีกล่าวถึงในข้อความที่ยกมา ดังนี้ ข้อ 1 ที่มาของชื่อถนน กล่าวถึงในประโยค “ถนนพหลโยธิน.....ตั้งชื่อเป็นอนุสรณ์ แก่พันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) หัวหน้าคณะราษฎรผู้นําการ เปลี่ยนการปกครอง พ.ศ. 2475” ข้อ 2 ผู้ตั้งชื่อถนน มีกล่าวถึงในประโยค “รัฐบาลให้ตั้งชื่อว่าถนนพหลโยธินเมื่อ วันที่10 ธันวาคม พ.ศ. 2493” ข้อ 4 ประโยชน์ใช้สอยของถนน มีกล่าวถึงในประโยค “ถนนพหลโยธินเป็นชี่อทาง หลวงที่เชื่อมกรุงเทพฯกับจังหวัดทางเหนือของไทย” ข้อ 1 เป็นคําตอบ เพราะข้อความที่ยกมาไม่ได้กล่าวถึงปีที่สร้างถนนแต่กล่าวถึงปีที่ ตั้งชื่อถนน
  • 143. 79.เฉลยข้อ 3 การนําข้อผิดพลาดมาเป็นบทเรียนทําให้ชีวิตประสบความสําเร็จได้ เหตุผล ข้อความที่ยกมาไม่ใช่ข้อความที่เสนอข้อเท็จจริงหรือบอกเล่าข้อมูลแต่มี นํ้าเสียงเป็นการเสนอแนวคิดข้อ 1 จึงมิใช่คําตอบ เพราะไม่ได้เสนอ แนวคิดแต่ประการใด ข้อ 2 และ 4 ไม่ตรงกับสาระของเนื้อความที่ยกมา จึงมิใช่คําตอบ
  • 144. 80.เฉลยข้อ 3 ภาษาเปลี่ยนแปลงได้ แต่ต้องมีขอบเขต เหตุผล “ภาษาเดินไปข้างหน้า”  และ “ภาษาเดินเข้าป่าเข้ารก” แสดง ความหมายว่า “ภาษามีความเปลี่ยนแปลง” ข้อความที่ยกมาแสดงเนื้อความว่า การเปลี่ยนแปลงของภาษา เป็นเรื่องธรรมดาและฝากข้อคิดว่า “ต้องไม่เดินเข้าป่าเข้ารก” คือต้อง มีขอบเขตของความเปลี่ยนแปลง
  • 145. 81.เฉลยข้อ 4(ก) แคล้ว (ข) มี เหตุผล เมื่อเติมคําตามข้อ 4 ลงในช่องว่าง โคลงสองสุภาพทั้งสองบท จะเป็นดังนี้ “ของคาวพลันเสพแล้ว ยามสุริยเคลื่อนแคล้วลับไม้หมดศรี ของหวานมีลูกไม้ หลายสิ่งเสาะหาได้ แต่ล้วนอย่างดี นักนอ” การใช้คําในข้อ 4 เติม ทําให้โคลงสองสุภาพทั้ง 2 บทนี้มีเนื้อความ เหมาะสม และถูกต้องตามลักษณะบังคับทั้งสัมผัสและคําเอกคําโท แผนผังของโคลงสองสุภาพ เป็นดังนี้ O   O O O O O O O O O O   O O O (O   O)
  • 146. 82. เฉลยข้อ 1โคลง เหตุผล โคลงในคําตอบข้อ 1 คือ โคลงสี่สุภาพ แผนผังของโคลงสี่สุภาพ คือ O   O O O O O   O (O   O)    O   O O O O O   O O   O O O O O   O (O   O)    O   O O O O O   O O O
  • 148. 83. เฉลยข้อ 4 ถ้าหนุ่มแน่นแม้นเหมือนแต่ก่อนไซร้ จะเกรงกลัวอะไรกับไพรี เหตุผล ข้อ 1, 2 และ 3 แสดงเนื้อความถาม ต้องการคําตอบ ข้อ 4เป็นคําตอบ เพราะเป็นคํากล่าวที่ไม่ต้องการคําตอบจากคู่ สนทนา ผู้ส่งสารต้องการบอกให้คู่สนทนาทราบว่า “ถ้ายังหนุ่มเหมือน เมื่อก่อนนี้ จะไม่เกรงกลัวข้าศึกเลย” เป็นประโยคแสดงเจตนาแจ้ง ให้ทราบ มิใช่ถามเพื่อต้องการคําตอบ
  • 149. 84.เฉลยข้อ 2 งามประหลาดเลิศลํ้าเลขา เหตุผล ข้อ 2มีเฉพาะสัมผัสอักษร หรือสัมผัสเสยงพยัญชนะต้น “งา ประหลาดเลิศลํ้าเลขา”ข้อ 1, 3 และ 4 มีทั้งสัมผัสอักษรและสัมผัสสระ ดังนี้ ข้อ สัมผัสอักษร สัมผัสสระ 1 ปลั่งเปล่ง น้อง – ละออง 3 อรชรอ้อนแอ้น – อินทรีย์ อรชร – อ้อนแอ้น 4 คงคา ลง – สรง – คงคา
  • 150. 85. เฉลยข้อ 3 จักชวนแม่สรงสินธุ์ แสนสนุก เหตุผล หัวใจของการรําพันในทํานองนิราศ อยู่ที่การครํ่าครวญแสดงความรัก ความอาลัย หรือกล่าวพาดพิงถึง “นางที่รัก” ข้อ 3. เป็นข้อเดียวที่มีลักษณะดังกล่าว พิจารณาได้จาก เนื้อความ “จักชวนแม่สรงสินธุ์แสนสนุก” คําว่า “แม่” ในข้อนี้ หมายถึง “นางที่รัก”
  • 151. 86. เฉลยข้อ 2 อย่างหนึ่งส้มสันดานหมอใช้การยาสําคัญเรียกชื่อส้ม เหมือนกันกินบ่ได้ใช้ทํายา เหตุผล ข้อ 1, 3 และ 4 ไม่ใช่คําตอบ เพราะใช้โวหารภาพพจน์ดังนี้ ข้อ 1 ใช้ภาพพจน์แบบบุคคลวัต คือ หนอนชอบใจ ข้อ 3 ใช้ภาพพจน์แบบอุปมา คือ รสสนิทหวานปานตาลชิม ข้อ 4 ใช้โวหารภาพพจน์แบบอุปมา คือ โฉมแบบบางร่างอย่าง เขียน ข้อ 1 เป็นคําตอบ เพราะเป็นการกล่าวถึงอย่างตรงไปตรงมา มิได้ ใช้โวหารภาพพจน์
  • 152. 87. เฉลยข้อ 1 1 แห่ง เหตุผล คําประพันธ์ที่ยกมา มาจากเรื่องพระอภัยมณีเป็นเนื้อความที่พระฤๅษี แห่งเกาะแก้วพิสดารพิจารณาม้านิลมังกร ภาพพจน์ในคําประพันธ์ที่ยก มานี้มีเพียง 1 แห่ง คือ “กําลังมันมากนักเหมือนยักษ์มาร” เป็น ภาพพจน์แบบอุปมา
  • 153. 88. เฉลยข้อ 2 เล่นคํา เหตุผล ไม่มีกลวิธีเล่นคําปรากฏในคําประพันธ์ที่ยกมา แต่มีกลวิธีอื่น ๆ ดังนี้ ข้อ 1ซํ้าคํา มีการซํ้าคําว่า “ถาม” ข้อ 3ภาพพจน์ มีภาพพจน์แบบอุปมาใน “เปรียบดั่งเภรีตี จึ่ง ครื้น” ข้อ 4สัมผัสพยัญชนะ คือ ปราชญ์ – เปรียบ, พาล – พวก, ฟื้น – เฟื่อง,ถ้อย – ถาม
  • 154. 89. เฉลยข้อ 1 สอนไม่ให้เป็นคนพูดโอ้อวด เหตุผล คําประพันธ์ที่ยกมามีความหมายว่า “นักปราชญ์แม้จะฉลาดรอบรู้ แต่ จะไม่พูดแสดงความรอบรู้นั้นถ้าไม่มีผู้ถาม ตรงกันข้ามกับคนพาลที่ ชอบพูดอวดดี ผู้ใดจะถามหรือไม่ถาม คนพาลนั้นก็มักพูดโอ้อวด” ความหมายดังกล่าวแสดงจุดประสงค์ว่า “อย่าเป็นคนพูดโอ้อวด” ข้อ 1 จึงเป็นคําตอบ
  • 155. 90. เฉลยข้อ 3 เหตุผล “หัวล้านได้หวี ตาบอดได้แว่น” มีความหมายว่า “คนหัวล้าน ใช้ ประโยชน์จากหวีไม่ได้เพราะไม่มีผม เช่นเดียวกับคนตาบอดซึ่งใช้ ประโยชน์จากแว่นตาไม่ได้หวีจึงไม่เป็นประโยชน์แก่คนหัวล้าน และ แว่นก็ไม่มีประโยชน์แก่คนตาบอด” ข้อ 3 เป็นคําตอบ เพราะส่งสารตรงตามความหมายนี้
  • 156. 91. เฉลยข้อ 2 สอนเรื่องการใช้สติปัญญาให้ถูกจังหวะ เหตุผล ข้อ 1, 3 และ 4 มิใช่คําตอบ เพราะเนื้อความในคําประพันธ์ที่ยกมามิได้ มุ่งถึง การเลือกใช้อาวุธ วิธีการใช้อาวุธ และวิธีการเก็บอาวุธ คํา ประพันธ์นี้แสดงสาระสําคัญที่ความคิดวิทยา หรือ สติปัญญา ว่าเปรียบเหมือนอาวุธที่ผู้ใช้ต้อง “สงวนคม – เก็บไว้ในฝัก” และใช้ให้ถูกจังหวะ คือใช้ในสถานการณ์ที่จําเป็นต้องใช้ สาระสําคัญดังกล่าวนี้แสดงเจตนาของผู้แต่ง ตามข้อ 2
  • 157. 92. เฉลยข้อ 3 ข้อ 3 เหตุผล คําพูดที่มีนํ้าเสียงประชด คือคําพูดที่มีลักษณะแดกดันเพราะความไม่พอใจ ข้อ 1, 2 และ 4 ไม่ใช่คําตอบ เพราะมีนํ้าเสียงแดกดัน หรือประชด ดังนี้ ข้อ 1 ประชดที่คําว่า “ดีเหลือ, เป็นเนื้อหน่อ, บุญหนักศักดิ์ใหญ่, รูปร่างน้อยจ้อย อร่อยใจ” ข้อ 2 ประชดที่คําว่า “งามพร้อม, หัวเราะว่ารูปงาม” ข้อ 3 ไม่มีนํ้าเสียงประชด จึงเป็นคําตอบ ข้อ 4 ประชดที่คําว่า “ทําความงามฉาว, เลือกผัวได้เงาะเห็นเหมาะ ใจ”
  • 158. 93. เฉลยข้อ 3 ข้อ 3 เหตุผล บุคคลที่ 3 คือ บุคคลที่ถูกกล่าวถึงในทางไวยากรณ์ จะเรียก บุคคลที่สามว่า “บุรุษที่ 3” ข้อ 3 เป็นคําตอบ เพราะมีเพียงบุรุษที่ 1 คือผู้พูด (นางรจนา) และบุรุษที่ 2 (พี่สาวของนางรจนา) ข้อ 1 กล่าวถึงบุคคลที่ 3 คือ “ผัวพี่” ข้อ 2 กล่าวถึงบุคคลที่ 3 คือ “หม่อมเงาะ” ข้อ 4 กล่าวถึงบุคคลที่ 3 คือ “ผัว...เงาะ”
  • 159. 94. เฉลยข้อ 1 ครั้นอ่านสารเสร็จสิ้นพระทรงฤทธิ์ ถอนฤทัยแล้วคิดสงสัย เหตุผล คําที่สนับสนุนคําตอบ ข้อ 1 คือคําว่า “ถอนฤทัย” ซึ่งเป็นคําที่แสดง อารมณ์ของตัวละคร ถอนฤทัย หมายความว่า หายใจแรงและยาวในขณะที่รู้สึก กลุ้มอกกลุ้มใจ หรือโล่งอก โล่งใจ เป็นต้น ในข้อ 1 “ถอนฤทัย” แสดงอามรณ์ของตัวละครว่า “กลุ่มใจ”
  • 160. 95. เฉลยข้อ 4 คนเราเมื่อถึงคราวตายก็เอาเกียรติยศและทรัพย์สินติดตัวไปไม่ได้ เหตุผล สาระสําคัญของคําประพันธ์ที่ยกมา อยู่ที่วรรคสุดท้ายคือ “สุดท้ายหามแต่ร่าง เน่าเท่านั้นเอง” ร่างเน่า คือ ซากศพ ส่วนในวรรคอื่น ๆ มีคําที่ตีความได้ดังนี้ ลาภยศถาบรรดาดี คือ เกียรติยศ เรือนทอง และ สมบัติมาก คือ ทรัพย์สิน คําประพันธ์ที่ยกมาแสดงเนื้อความชัดเจนว่า คนตายไม่สามารถนํา ลาภยศ เงินทอง และทรัพย์สมบัติไปด้วยได้จึงตีความได้ตรงตาม ข้อ 4