SlideShare a Scribd company logo
ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการประกอบอาหาร
Basic Mathematics Skills of the Preschoolers Enhanced by Cooking Activities
ศุภนันท์ พลายแดง
Supanan Plydang
วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย
มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี
Master of Education Thesis in Early Childhood Education
Phetchaburi Rajabhat University
2553
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
2
ชื่อวิทยานิพนธ์ ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรม
การประกอบอาหาร
ผู้วิจัย นางศุภนันท์ พลายแดง
สาขา การศึกษาปฐมวัย
คณะกรรมการวิทยานิพนธ์ คณะกรรมการสอบ
............................................ประธานกรรมการ .............................................ประธานกรรมการ
(ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุมาลี งามสมบัติ) (รองศาสตราจารย์สุเทพ ลิ่มอรุณ)
..........................................................กรรมการ .......................................................กรรมการ
(รองศาสตราจารย์ดร.นิตยา ประพฤติกิจ) (รองศาสตราจารย์ดร.นิตยา ประพฤติกิจ)
..........................................................กรรมการ
(ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุมาลี งามสมบัติ)
......................................................ผู้ทรงคุณวุฒิ
(รองศาสตราจารย์ดร.ธีระ ประพฤติกิจ)
มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี อนุมัติให้นับวิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่ง
ของการศึกษา ตามหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการศึกษาปฐมวัย
.................................................................... ................................................................
(ดร.วิวัฒน์ วรวงษ์) (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.นิวัต กลิ่นงาม)
คณบดีคณะครุศาสตร์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
3
ชื่อวิทยานิพนธ์ ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการ
ประกอบอาหาร ผู้วิจัย นางศุภนันท์ พลายแดง สาขาวิชา การศึกษาปฐมวัย พ.ศ. 2553
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็ก
ปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมการประกอบอาหาร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือเด็กปฐมวัย
ชาย- หญิง อายุ 3 - 4 ปี ที่กาลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553
ของโรงเรียนมิตรภาพที่ 34 จานวน 15 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจงจากผู้ที่มีคะแนน
พื้นฐานทางคณิตศาสตร์อยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างต่า เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองคือ แผนการจัด
กิจกรรมการประกอบอาหารเพื่อใช้ในการทดลอง 6 สัปดาห์ ๆ ละ 3 วันๆ ละ 1 ครั้งๆ ละ 30 นาที
รวมทั้งสิ้น 18 ครั้ง และแบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.85
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐานและการทดสอบค่าที
ผลการวิจัย พบว่า
เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการประกอบอาหารมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
โดยรวมและรายด้านสูงคือด้านการเปรียบเทียบ การจับคู่และการนับจานวนขึ้นกว่าก่อนการ
ทดลองอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4
Thesis Title : Basic Mathematics Skills of the Preschoolers Enhanced by Cooking Activities
Researcher : Mrs. Supanan Plydang Major : Early Childhood Education Year : 2010
Abstract
The purpose of this research was to compare basic mathematics skills of
preschoolers before and after cooking activities. Samples were fifteen boys and girls, aged 3 - 4
year preschoolers purposively selected from the low achievers in basic mathematics skills of
the preschoolers at Mitrapap 34 School, in the frist semester of the academic year 2010. The
research instruments used in the study were Cooking Activities for 6 weeks, 3 days a week
and 30 minutes a day experiment and a Basic Mathematics Skill Test with the reliability at .85.
Mean, Standard deviation and t-test for dependent sample were used for the analysis of data.
The results revealed that after receiving Cooking Activities, the frist year
preschoolers had higher Basie Mathematics skills in total and in each dimension
including comparison, matching and counting number than before the experiment
at .01 level.
5
กิตติกรรมประกาศ
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้สาเร็จได้ด้วยความกรุณาเป็นอย่างสูงจากผู้ช่วยศาสตราจารย์
สุมาลี งามสมบัติ ประธานกรรมการที่ปรึกษา และรองศาสตราจารย์ ดร.นิตยา ประพฤติกิจ
กรรมการที่ปรึกษา ซึ่งคอยแนะนา ให้ข้อคิด และตรวจปรับข้อบกพร่องต่างๆ ด้วยความเอาใจใส่
เป็นอย่างยิ่ง และให้ข้อเสนอแนะในการจัดทาวิทยานิพนธ์ตั้งแต่ต้นจนสาเร็จด้วยความเรียบร้อย
ข้าพเจ้าขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงมา ณ โอกาสนี้
ทั้งนี้ขอกราบขอบพระคุณรศ.ดร.กาญจนา บุญส่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์วันทนา กลิ่นงาม
และผู้ช่วยศาสตราจารย์ไกรรวี ศรีสุคนธ์ ผู้เชี่ยวชาญในการตรวจเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยซึ่ง
กรุณาให้คาแนะนาเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ ในการวิจัยครั้งนี้
นอกจากนี้ผู้วิจัยยังได้รับความกรุณาและความร่วมมือเป็นอย่างดีจากผู้อานวยการ
คณะผู้บริหาร ครูผู้สอนโรงเรียนมิตรภาพที่ 34 ทุกท่านที่ให้ความอนุเคราะห์และให้กาลังใจ
จนทาให้วิทยานิพนธ์ฉบับนี้สาเร็จลุล่วงลงได้
คุณประโยชน์ที่พึงมีจากวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ ผู้วิจัยขอมอบเป็นเครื่องบูชาพระคุณของ
บิดา มารดา และครอบครัวที่ได้ให้โอกาสผู้วิจัยได้มีวันนี้ จึงขอมอบเพื่อเป็นเครื่องหมายแห่งความ
เพียรพยายามสาหรับผู้ที่คอยให้กาลังใจทุกท่าน
ศุภนันท์ พลายแดง
ตุลาคม 2553
6
สารบัญ
หน้า
บทคัดย่อภาษาไทย......................................................................................................................... (3)
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ.................................................................................................................... (4)
กิตติกรรมประกาศ......................................................................................................................... (5)
สารบัญ.......................................................................................................................................... (6)
สารบัญตาราง.................................................................................................................................
สารบัญภาพประกอบ.....................................................................................................................
(8)
(9)
บทที่
1 บทนา................................................................................................................................... 1
ความเป็นมาและความสาคัญของปัญหา......................................................................... 1
วัตถุประสงค์ของการวิจัย .............................................................................................. 4
สมมติฐานการวิจัย.......................................................................................................... 4
ขอบเขตการวิจัย.............................................................................................................. 4
กรอบแนวคิดในการวิจัย................................................................................................. 5
นิยามศัพท์เฉพาะ............................................................................................................ 5
ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย........................................................................................ 6
2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง............................................................................................ 7
เอกสารที่เกี่ยวข้องกับทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์...................................................... 8
ความหมายของทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์............................................................. 8
ความสาคัญของทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์............................................................. 9
ทฤษฎีพัฒนาการด้านการคิดของเด็กปฐมวัย................................................................. 12
ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สาหรับเด็กปฐมวัย........................................................ 19
แนวทางในการส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์................................................. 26
การวัดและประเมินทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์....................................................... 29
เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการจัดกิจกรรมการประกอบอาหารสาหรับเด็กปฐมวัย................
ความหมายของกิจกรรมการประกอบอาหารสาหรับเด็กปฐมวัย..................................
31
31
ความสาคัญและประโยชน์ของกิจกรรมการประกอบอาหาร.......................................
ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการประกอบอาหารสาหรับเด็กปฐมวัย...................................
บทบาทครูในการจัดกิจกรรมการประกอบอาหารสาหรับเด็กปฐมวัย………………...
32
32
34
7
ข้อเสนอแนะและข้อควรระวังในการจัดกิจกรรมการประกอบอาหาร...........................
งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดกิจกรรมการประกอบอาหาร...........................................
งานวิจัยในประเทศ....................................................................................................
งานวิจัยต่างประเทศ..................................................................................................
หน้า
34
36
36
38
3 วิธีดาเนินการวิจัย................................................................................................................ 39
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง............................................................................................. 39
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย................................................................................................. 39
การสร้างและการหาคุณภาพของเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย............................................. 40
แบบแผนการวิจัย........................................................................................................... 41
การเก็บรวบรวมข้อมูล.................................................................................................... 42
การวิเคราะห์ข้อมูล......................................................................................................... 43
4
5
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล.........................................................................................................
สัญลักษณ์ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล..........................................................................
ลาดับขั้นในการนาเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล...........................................................
สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ..................................................................................
สรุปผลการวิจัย.............................................................................................................
อภิปรายผล....................................................................................................................
ข้อเสนอแนะ.................................................................................................................
บรรณานุกรม.....................................................................................................................
ภาคผนวก.........................................................................................................................
ภาคผนวก ก. แผนการจัดกิจกรรมการประกอบอาหารสาหรับเด็กปฐมวัย...............
ภาคผนวก ข. คู่มือและแบบวัดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย.........
ภาคผนวก ค. ผลการประเมินความสอดคล้องระหว่างเครื่องมือกับ วัตถุประสงค์…
ภาคผนวก ง. แสดงวิธีการวิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทักษะพื้นฐาน
ทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย..............................................................
ภาคผนวก จ. ข้อมูลคะแนนทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ก่อนและหลังการทดลอง
ภาคผนวก ฉ. ตัวอย่างผลการวิเคระห์ข้อมูล...............................................................
ภาคผนวก ช. รายชื่อผู้เชี่ยวชาญ................................................................................
ประวัติย่อผู้วิจัย...................................................................................................................
46
46
46
50
50
50
53
54
59
60
108
118
121
125
127
131
133
8
สารบัญตาราง
ตารางที่ หน้า
1 แบบแผนการทดลอง................................................................................................. 41
2 ตารางกิจกรรมการประกอบอาหารสาหรับเด็กปฐมวัย.............................................. 42
3 แสดงคะแนนเฉลี่ย (Mean) ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) และ
ค่าทีของคะแนนทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย โดยรวม................. 47
4 แสดงค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตราฐานของคะแนนทักษะพื้นฐานทาง
คณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการประกอบอาหาร
จาแนกรายด้าน......................................................................................................... 48
5 ผลการประเมินความสอดคล้องระหว่างกิจกรรมการประกอบอาหารกับ
วัตถุประสงค์ของการวิจัย......................................................................................... 119
6 ผลการประเมินความสอดคล้องระหว่างแบบวัดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์กับ
วัตถุประสงค์ของการวิจัย.......................................................................................... 120
7 แสดงผลการหาค่าเชื่อมั่นของแบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็ก
ปฐมวัย โดยใช้สูตรของคูเดอร์ริชาร์ดสัน สูตรที่ 20 (K-R 20).................................. 122
8 ข้อมูลของคะแนนทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการ
ทดลอง...................................................................................................................... 126
9
สารบัญภาพประกอบ
ภาพประกอบ หน้า
1 กรอบแนวคิดในการวิจัย............................................................................... 5
10
บทที่ 1
บทนา
ความเป็นมาและความสาคัญของปัญหา
เนื่องจากการปฏิรูปการศึกษาได้มีการกาหนดแนวทางในการปฏิรูปการเรียนรู้
ดังปรากฏชัดเจนในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ในหมวดที่ 22 และหมวดที่ 24 ให้
สถานศึกษาจัดการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ ส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตาม
ธรรมชาติและเต็มศักยภาพ โดยจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นถึงความสนใจ ความแตกต่างระหว่าง
บุคคล การฝึกทักษะกระบวนการคิด การจัดการ การแก้ปัญหาด้วยการบูรณาการความรู้ และปลูกฝัง
คุณธรรม โดยมีครูเป็นผู้กระตุ้นและเสริมแรงให้เด็กค้นหาคาตอบและเกิดการแก้ปัญหาด้วยตนเอง
(กุลยา ตันติผลาชีวะ, 2547: 22-23) จากแนวการศึกษานี้จึงส่งผลให้สถานศึกษา และหน่วยงานที่มี
ความเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา ต้องปรับเปลี่ยนระบบการจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้อง
และดาเนินไปตามแนวทางของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ทั้งนี้รวมถึงการจัด
การศึกษาในระดับปฐมวัยที่จะต้องจัดระบบการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญด้วย
กระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสาคัญที่สุด คือ การพัฒนาคนและชีวิตให้เกิดประสบการณ์
การเรียนรู้อย่างเต็มความสามารถ สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน ความถนัด ความสนใจ
ความแตกต่างระหว่างบุคคล ผู้เรียนได้ทดลองปฏิบัติ ค้นคว้าเรียนรู้ร่วมกับเพื่อน ด้วยการกระตุ้น
และสนับสนุนการเรียนรู้จากครู ซึ่งสอดคล้องกับ เพียเจท์ (Piaget) ที่เน้นเรื่องการเรียนรู้จะเกิดขึ้น
ได้นั้น เมื่อเด็กมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนและผู้ใหญ่ในการเข้าสังคมนั้น ๆ อิทธิพลของทฤษฎีนี้มี
บทบาทในการจัดแนวประสบการณ์ในระดับปฐมวัยคือ ให้เด็กได้เรียนรู้โดยให้โอกาสเด็กในการ
เล่น สารวจ และทดลอง ให้เด็กมีโอกาสเลือกตัดสินใจ และแก้ปัญหาต่าง ๆ ด้วยตนเอง และ
เนื่องจากการจัดการศึกษาในระดับปฐมวัยนั้น เป็นการจัดการศึกษาที่จัดให้กับเด็กตั้งแต่แรกเกิด
จนถึง 8 ปี และในช่วงวัยนี้เป็นระยะที่มีความสาคัญที่สุดของการพัฒนาการทั้งทางร่างกาย
สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ สังคมและบุคลิกภาพ (สิริมา ภิญโญอนันตพงษ์, 2545: 8) ดังนั้น ในการ
จัดกิจกรรมแต่ละครั้งจึงต้องคานึงถึงการพัฒนาเด็ก และในการจัดกิจกรรมนั้น ๆ ก็ไม่ได้หมายความ
ว่า เด็กทุกคนจะสามารถพัฒนาเหมือนกันหมดทุกคน โดยเฉพาะการจัดการศึกษาในระดับปฐมวัยที่
ไม่ได้มุ่งเน้นให้เด็กเกิดการเรียนรู้เชิงเนื้อหาเป็นสาคัญ แต่เป็นการเปิดโอกาสให้เด็กได้พัฒนา
11
เครื่องมือ หรือทักษะการเรียนรู้ที่เด็กจะต้องใช้ต่อไป (วัลนา ธรจักร, 2544: 1) โดยเฉพาะทักษะ
ทางด้านคณิตศาสตร์ ซึ่งเป็นทักษะที่มีความสาคัญมากเพราะคณิตศาสตร์ช่วยพัฒนาความคิดของ
ผู้เรียนให้สามารถคิดได้อย่างมีระบบมีเหตุผลและสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
(บุญทัน อยู่ชมบุญ, 2529: 1)
คณิตศาสตร์มีส่วนสาคัญอย่างมากในชีวิตประจาวันของเด็ก การเรียนรู้คณิตศาสตร์
ของเด็กนั้นเริ่มตั้งแต่เกิด การกะระยะที่จะจับหน้าแม่ การแสดงออกด้วยการเอื้อมมือ (กุลยา ตันติ
ผลาชีวะ, 2547: 157) และถ้าเราสังเกตรอบตัวก็จะเห็นว่าชีวิตเราเกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์มากมาย
เริ่มตั้งแต่ เลขที่บ้าน เบอร์โทรศัพท์ หรือแม้แต่การพูดคุยของเด็กที่เราได้ยิน ก็จะมีการเปรียบเทียบ
การวัด การจัดประเภท และตัวเลข (นิตยา ประพฤติกิจ, 2541: 3-4) นอกจากนี้ วาโร เพ็งสวัสดิ์
(2542 : 6) กล่าวว่า จากการที่คณิตศาสตร์มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดารงชีวิตของมนุษย์ ทาให้เด็กต้อง
รู้จักการสังเกตความเหมือนและความแตกต่าง การเปรียบเทียบขนาดใหญ่ – เล็ก , สั้น – ยาว
การจัดลาดับ ซึ่งเป็นการเปรียบเทียบขั้นสูง เด็กจะต้องรู้จักการเปรียบเทียบของสองสิ่งหรือมากกว่า
สองสิ่ง และจะต้องมีการจัดเรียงสิ่งของเป็นลาดับตั้งแต่ขั้นแรกจนถึงขั้นสุดท้าย ตลอดจนการวัด
ซึ่งความสามารถทางด้านการวัดนี้ จะพัฒนาการมาจากประสบการณ์ในการเปรียบเทียบและการจัด
อันดับ ในขณะที่เด็กเปรียบเทียบน้าหนักของสิ่งของว่าสิ่งใดยาวที่สุด เป็นเวลาที่เด็กกาลังใช้แนวคิด
ในเรื่องการวัดด้วย ซึ่งทักษะทางคณิตศาสตร์เหล่านี้จะเป็นทักษะพื้นฐานในการเรียนรู้ในเรื่องอื่น ๆ
ต่อไปในอนาคต ดังนั้น ในการส่งเสริมความเข้าใจเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ นอกจากจะต้องอาศัย
สถานการณ์ในชีวิตประจาวันของเด็กแล้วยังต้องอาศัยการจัดกิจกรรมที่มีการวางแผน
และเตรียมการอย่างดีจากครูเพื่อเปิ ดโอกาสให้แก่เด็กได้พัฒนาทักษะการสังเกตเปรียบเทียบ
จัดหมวดหมู่ เรียงลาดับ และการวัด ซึ่งเป็นการวางพื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์ที่มีความสาคัญ
สาหรับเด็กเป็นอย่างยิ่ง
ปัจจุบันการจัดประสบการณ์เพื่อให้เด็กได้รับประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์นั้น
สามารถวัดได้หลากหลายรูปแบบ ครูสามารถสอดแทรกเข้ากับกิจกรรมต่าง ๆ ที่เด็ก ๆ ทาได้
บุญเยี่ยม จิตรดอน (2526: 46) กล่าวว่า แนวทางการจัดประสบการณ์ทางด้านคณิตศาสตร์แก่เด็ก
ปฐมวัยนั้นเด็กเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงจากของจริง และในการสอนจะต้องหาอุปกรณ์ ซึ่งเป็น
ของจริงให้มากที่สุด และเริ่มจากการสอนแบบรูปธรรมไปหานามธรรม เริ่มจากสิ่งง่าย ๆ ใกล้ตัว
และคิดจากปัญหาในชีวิตประจาวัน ให้เด็กได้ค้นคว้าด้วยตนเอง และเป็นกิจกรรมที่สนุกสนาน
ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ รัชนี สมประชา (2533: 55-58) ที่พบว่าเด็กปฐมวัยที่มีอายุระหว่าง
4 – 5 ปี ที่ได้รับการจัดประสบการณ์ การเล่นน้า เล่นทราย มีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สูงกว่า
เด็กที่ไม่ได้รับการจัดประสบการณ์เล่นน้า เล่นทราย ตลอดจนงานวิจัยของวนิดา บุษยะกนิษฐ์
12
(2532: 66) พบว่า เด็กปฐมวัยที่ได้รับประสบการณ์แบบปฏิบัติการมีทักษะการเปรียบเทียบสูงกว่า
เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์แบบปกติ ดังนั้นในการที่จะช่วยพัฒนาทักษะพื้นฐานทาง
คณิตศาสตร์ให้แก่เด็กปฐมวัย ครูผู้สอนสามารถจัดกิจกรรมอย่างหลากหลายวิธี ซึ่งครูสามารถ
เลือกใช้ได้ตามความเหมาะสม โดยเฉพาะวิธีการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์นั้น ก็มีกิจกรรม
ผสมผสานหลากหลายรูปแบบ เช่น แบบอภิปราย แบบสาธิต แบบเล่นเกม และแบบปฏิบัติการ
ทดลอง เป็นต้น (นิตยา บรรณประสิทธิ์, 2536: 2) แต่การจัดประสบการณ์ที่เด็กจะได้ฝึกทักษะการ
เปรียบเทียบรูปทรง และการนับจานวน โดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 จากการเรียนรู้ในคราวเดียว
คือ การจัดกิจกรรมการประกอบการอาหาร ซึ่งเด็ก ๆ รู้จักและคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี การเปิดโอกาส
ให้เด็ก ๆ ได้ลงมือประกอบอาหารด้วยตนเอง เด็กจะชอบและมองเห็นเป็นเรื่องสนุก และยังได้เกิด
การเรียนรู้ในเรื่องคณิตศาสตร์ตามมา เนื่องจากเป็น กิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กทาสิ่งต่าง ๆ จาก
วัสดุ อุปกรณ์ในการทาอาหาร ซึ่งจะช่วยให้เด็กเกิดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ดี ด้วยขั้นตอนการ
ทาอาหารง่าย ๆ ไม่ยุ่งยากและเป็นอันตรายสาหรับเด็ก (วัชรินทร์ เทพมณี. 2545: 3) ซึ่งสอดคล้อง
กับ ศิริลักษณ์ สินธวาลัย (2522: 26) ได้กล่าวว่า ในการทาและเลือกกินอาหารมักจะต้องใช้ประสาท
สัมผัสทุกอย่าง ต้องใช้ประสาทสัมผัสเกี่ยวกับการมองเห็น การสัมผัส การได้กลิ่น แม้กระทั่งการได้
ยิน ซึ่ งเพียเจท์ (Piaget) บรูเนอร์ (Bruner) และมอนเตสเซอร์รี่ (Montessori) กล่าวว่า
กระบวนการพัฒนาทางสติปัญญานั้นเกิดจากการเรียนรู้โดยการกระทา การเปิดโอกาสให้เด็กได้
สังเกต จาแนกและเปรียบเทียบจากของจริงและลงมือปฏิบัติด้วยตนเองจะทาให้เด็กได้ค้นพบความ
จริงเกิดความเข้าใจ และเกิดความคิดรอบยอด (บุญประจักษ์ วงษ์มงคล, 2536: 3) ดังนั้น กิจกรรม
การประกอบอาหารจึงเป็นกิจกรรมที่มีประโยชน์ต่อเด็กในการพัฒนาความพร้อม ในเรื่องการ
สังเกต จาแนกเปรียบเทียบ จัดหมวดหมู่ เรียงลาดับ และการวัด ซึ่งเป็นการวางรากฐานที่สาคัญต่อ
การเรียนคณิตศาสตร์ในขั้นสูงต่อไป เพราะการจัดกิจกรรมการประกอบอาหารเป็นกิจกรรมที่เด็ก
ๆ จะได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรงจากกระบวนการในการทาอาหาร เด็กจะได้ลงมือปฏิบัติจริง
ตั้งแต่การจัดเตรียมอุปกรณ์ ส่วนผสมของอาหารประเภทต่าง ๆ และการผสมส่วนผสมต่าง ๆ ตาม
ขั้นตอน ซึ่งเด็กต้องใช้การ เปรียบเทียบรูปทรง การนับจานวน การเรียงลาดับและการวัดซึ่งเป็นการ
ส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ให้กับเด็กทั้งสิ้น เพื่อเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้คณิตศาสตร์
และเพื่อให้เด็กสามารถนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ไปใช้ในชีวิตประจาวันต่อไป
ดังนั้น ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาว่าการจัดกิจกรรมการประกอบอาหาร จะมีผลต่อทักษะ
พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย หรือไม่เพียงใด เพื่อเป็นแนวทางให้กับครูและบุคลากร
ทางการศึกษาปฐมวัย พ่อแม่ผู้ปกครองในการที่จะเลือกและพิจารณากิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะ
พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
13
วัตถุประสงค์การวิจัย
1. เพื่อศึกษาผลของการจัดกิจกรรมการประกอบอาหารที่มีต่อทักษะพื้นฐานทาง
คณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยรวมและรายด้านของเด็กปฐมวัย
ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการประกอบอาหาร
สมมติฐานในการวิจัย
เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการประกอบอาหารจะมีทักษะพื้นฐานทาง
คณิตศาสตร์โดยรวมและรายด้านหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง
ขอบเขตของการวิจัย
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
1. ประชากร
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นเด็กปฐมวัยชาย - หญิง อายุระหว่าง 3-4ปี ที่
กาลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553ของโรงเรียนมิตรภาพที่ 34
อาเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี จานวน 1 ห้องเรียน ทั้งหมด 30 คน
2. กลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นเด็กปฐมวัยชาย - หญิง อายุระหว่าง 3-4
ปี ที่กาลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนมิตรภาพที่ 34
อาเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี จานวน 15 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการคัดเลือกเด็กที่มีคะแนน
ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสาตร์ค่อนข้างต่าจากแบบวัดที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
3. ตัวแปรที่ศึกษา
3.1 ตัวแปรต้น ได้แก่ การจัดกิจกรรมการประกอบอาหาร
3.2 ตัวแปรตาม ได้แก่ ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
14
4. ระยะเวลาในการทดลอง
การทดลองครั้งนี้กระทาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553 ใช้เวลาในการทดลอง
6 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน ๆ ละ 30 นาที
กรอบแนวคิดในการวิจัย
ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม
นิยามศัพท์เฉพาะ
1. เด็กปฐมวัย หมายถึง เด็กนักเรียนชาย - หญิง อายุระหว่าง 3-4 ปี ที่กาลังศึกษาอยู่ใน
ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนมิตรภาพที่ 34 อาเภอบ้านแหลม
จังหวัดเพชรบุรี
2. ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย หมายถึง ความรู้เบื้องต้นที่เด็ก
ปฐมวัยที่ควรจะได้รับรู้และมีประสบการณ์เรื่องของ การเปรียบเทียบ รูปทรง การนับจานวน
ซึ่งทักษะเหล่านี้เป็นทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ที่จะช่วยเตรียมเด็กให้มีความพร้อมที่จะเรียนรู้
คณิตศาสตร์ในระดับต่อไป
3. กิจกรรมการประกอบอาหาร หมายถึง กิจกรรมที่จัดให้เด็กปบมวัยได้ใช้ประสาท
สัมผัสทุกด้านในการเรียนรู้ คือ การมองเห็น การสัมผัส การชิมรส การดมกลิ่น และการฟัง
ซึ่งแผนการดาเนินกิจกรรมการทดลองประกอบอาหารนั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ขั้นคือ ขั้น
เตรียม ขั้นปฏิบัติ และขั้นสรุป ซึ่งสร้างและพัฒนาโดยผู้วิจัย
กิจกรรมการประกอบอาหาร
ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
1. การเปรียบเทียบ
2. การจับคู่
3. การนับจานวน
15
ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย
1. ทาให้ครูและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาปฐมวัยได้ตระหนักถึงความสาคัญ
ของการส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมในชีวิตประจาวันของ
เด็ก
2. ได้รูปแบบการจัดกิจกรรมการประกอบอาหารเพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทาง
คณิตศาสตร์โดยยึดผู้เรียนเป็นสาคัญ
16
บทที่ 2
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยนาเสนอตามหัวข้อ
ต่อไปนี้
1. เอกสารที่เกี่ยวข้องกับทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
1.1 ความหมายของทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
1.2 ความสาคัญของทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
1.3 ทฤษฎีพัฒนาการด้านการคิดของเด็กปฐมวัย
1.4 ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สาหรับเด็กปฐมวัย
1.5 แนวทางในการส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
1.6 การวัดและประเมินผลทักษะพื้นฐานของเด็กปฐมวัย
2. เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการจัดกิจกรรมการประกอบอาหาร
2.1 ความหมายของการจัดกิจกรรมการประกอบอาหาร
2.2 ความสาคัญของการจัดกิจกรรมการประกอบอาหาร
2.3 ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการประกอบอาหาร
2.4 บทบาทของครูในการจัดกิจกรรมการประกอบอาหาร
2.5 ข้อเสนอแนะและข้อควรระวังในการจัดกิจกรรมการประกอบอาหาร
3. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
3.1 งานวิจัยในประเทศ
3.2 งานวิจัยต่างประเทศ
17
1. เอกสารที่เกี่ยวข้องกับทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
1.1 ความหมายของทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
ได้มีนักการศึกษากล่าวถึงความหมายของทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ไว้ดังนี้
บุญเยี่ยม จิตรดอน (2526: 250-251) ให้ความหมายของทักษะพื้นฐานทาง
คณิตศาสตร์ว่า เป็นความรู้เบื้องต้น ซึ่งจะนาไปสู่การเรียนคณิตศาสตร์ เด็กควรจะได้มีประสบการณ์
เกี่ยวกับกับเปรียบเทียบ เรียงลาดับ การวัด การจับคู่หนึ่งต่อหนึ่ง การนับก่อนที่จะเรียนเรื่องตัวเลข
และวิธีคิดคานวณ ประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์เปรียบเสมือนบันไดขั้นต้น ซึ่งช่วยเตรียมตัวให้
พร้อมที่จะก้าวไปสู่ประสบการณ์พื้นฐานต่อไป
อัญชลี แจ่มเจริญ (2526: 121-122) ได้ให้ความหมายของทักษะพื้นฐานทาง
คณิตศาสตร์ว่า เด็กควรได้รับการฝึกในเรื่องของการสังเกต และจาแนกสิ่งต่าง ๆ ตามรูปร่าง ขนาด
การบอกตาแหน่งของสิ่งของ การเรียบเทียบขนาด รูปร่าง น้าหนัก ความยาวและส่วนสูงก่อนที่จะ
เรียนคณิตศาสตร์ในชั้นประถม
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (2527: 30) ได้กล่าวถึงทักษะพื้นฐานทาง
คณิตศาสตร์ไว้ว่า การสร้างประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ให้แก่เด็กเป็นการเตรียม สร้างเสริม
ทางด้านคณิตศาสตร์และปูพื้นฐานด้านความพร้อมในการเรียนคณิตศาสตร์ต่อไปในชั้นประถม
ประไพจิตร เนติศักดิ์ (2529: 49-53) ได้กล่าวถึงทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ว่า
เด็กควรที่จะได้เตรียมความพร้อมในเรื่องของการสังเกตการเปรียบเทียบรูปร่าง น้าหนัก ขนาด สีที่
เหมือนและแตกต่างกันการบอกตาแน่งของสิ่งของการเปรียบเทียบจานวน และการจัดเรียงลาดับ
ความยาว ความสูงและขนาด
ศรีสุดา คัมภีร์ภัทร (2534: 13) ได้กล่าวถึงทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ไว้ว่า เป็น
ความรู้พื้นฐานของเด็กที่ได้รับประสบการณ์เกี่ยวกับการสังเกต การเปรียบเทียบ การจาแนกตาม
รูปร่าง ขนาดน้าหนัก ความยาว ความสูง ความเหมือน ความต่าง การเรียงลาดับ การวัด การบอก
ตาแหน่ง และการนับเพื่อเป็นพื้นฐานในการเตรียมความพร้อมที่จะเรียนคณิตศาสตร์ในระดับ
ประถมศึกษา
มันทนา เทศวิศาล (2535: 194 – 197) ได้ให้ความหมายของทักษะพื้นฐานทาง
คณิตศาสตร์ ไว้ว่า เป็นการให้เด็กเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องของการจาแนกของออกเป็นหมวดหมู่ ตาม
ลักษณะหรือขนาดการคิดจานวน รวมทั้งเรื่องของน้าหนัก จานวน ปริมาณ การวัดขนาดและเวลา
โดยมีของจริงมาช่วยเสริมความเข้าใจ เพราะจะเป็นพื้นฐานของความเข้าใจเรื่องคณิตศาสตร์ของเด็ก
ต่อไปในอนาคต
18
ประไพ เนติศักดิ์ ( 2549:49-53 ) ได้กล่าวถึงทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ว่าเด็กควร
ได้เตรียมความพร้อมในเรื่องของการสังเกต การเปรียบเทียบ รูปร่าง น้าหนัก ขนาด สี ที่เหมือนและ
ต่างกัน การบอกตาแหน่งของสิ่งของ การเปรียบเทียบ และการจัดเรียงลาดับ ความยาว ความสูง และ
ขนาด
สรุปได้ว่าทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ คือความรู้เบื้องต้นที่เด็กควรจะได้รับรู้และมี
ประสบการณ์เรื่องของ การเปรียบเทียบ รูปทรง การนับจานวน ซึ่งทักษะเหล่านี้เป็นทักษะ
พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ที่จะช่วยเตรียมเด็กให้มีความพร้อมที่จะเรียนรู้คณิตศาสตร์ในระดับต่อไป
1.2 ความสาคัญของทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์เป็ นพื้นฐานที่ช่วยให้เด็กรู้จักแก้ปัญหา มี
ความสามารถในการคิดคานวณและอื่นๆ ดังมีผู้กล่าวถึงความสาคัญของทักษะพื้นฐานทาง
คณิตศาสตร์ ไว้ดังนี้
บุญเยี่ยม จิตรดอน (2526: 245-246) กล่าวถึงพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ว่ามี
ความสาคัญ คือ
1. เพื่อช่วยให้เด็ก ๆ ได้ มีความพร้อมที่จะเรียนคณิตศาสตร์เบื้องต้น ซึ่งได้แก่ รู้จัก
การสังเกตการเปรียบเทียบ และการแยกหมู่การรวมหมู่ การเพิ่มขึ้นและลดลง
2. ช่วยให้เด็กได้ขยายประสบการณ์เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ให้สอดคล้องโดยลาดับ
จากง่ายไปหายาก
3. เพื่อให้เด็กเข้าใจความหมาย และใช้คาพูดเกี่ยวกับวิชาคณิตศาสตร์ได้ถูก เช่น
เด็กจะต้องเข้าใจความหมายของสัญลักษณ์ต่าง ๆ เช่น จานวนสาม หมายถึง ส้มสามผล มะนาวสาม
ผล ดินสอสามแท่ง จานวนดังกล่าวใช้แทนจานวนส้ม มะนาว และดินสอ ในการสร้างเสริม
ประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัยจึงจาเป็นต้องใช้ภาษาทางคณิตศาสตร์ให้ได้ถูกต้อง
4. เพื่อฝึกทักษะเบื้องต้นในการคิดคานวณ โดยการสร้างเสริมประสบการณ์แก่เด็ก
ปฐมวัย เพื่อฝึกการเปรียบเทียบรูปทรงต่าง ๆ และบอกความแตกต่างในเรื่องขนาด น้าหนัก
ระยะเวลาจานวนของสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบ ๆ ตัวได้ สามารถแยกของเป็น แยกเรียงลาดับใหญ่เล็ก สูง
ต่า แยกเป็นหมู่ย่อยได้โดยการเพิ่มขึ้น หรือ ลดลง ทักษะเหล่านี้จะช่วยให้เด็กพร้อมที่จะคานวณใน
ชั้นต่อ ๆ ไป
5. วิชาคณิตศาสตร์ เป็นวิชาที่เป็นเหตุเป็นผล ผู้ที่จะเรียนคณิตศาสตร์ได้จาเป็นต้อง
เป็นผู้ที่มีความสามารถในการให้เหตุผล หรือความเข้าใจในเรื่อง ความเป็นเหตุเป็นผลอาจทาให้ได้
โดยการตั้งปัญหาให้เด็กคิดหาเหตุผลหาคาตอบให้ค้นคว้าเองโดยจัดสื่อการเรียนการสอนให้ เพื่อให้
19
เกิดความมั่นใจและการตัดสินใจอย่างเหตุผล และจะต้องเริ่มฝึกตั้งแต่เด็กเริ่มเรียนจึงจะให้การเรียน
คณิตศาสตร์ประสบผลสาเร็จ
6. เพื่อให้สัมพันธ์กับกิจกรรมศิลปะ ภาษา และสามารถนาไปใช้ในชีวิตประจาวันได้
ดังนั้น จึงต้องใกล้สัมพันธ์กับตัวเด็กเอง
7. เพื่อให้มีใจรักคณิตศาสตร์และขอบเขตการค้นคว้า ควรพยายามจัดกิจกรรม ต่าง ๆ
เช่น เกม เพลง เพื่อเร้าใจให้เด็กสนใจเกิดความรู้โดยไม่รู้สึกตัว เมื่อเด็กรักวิชาคณิตศาสตร์แล้ว
เด็กจะสนใจ กระตือรือร้นอยากเรียนรู้อยากค้นคว้าหา เหตุผลด้วยตนเอง การค้นคว้าหาเหตุผลได้
เอง ทาให้เข้าใจและจาได้เกิดความภูมิใจอยากจะหาเหตุผลต่อไป
วรรณี โสมประยูร ( 2532:9 ) กล่าวว่าคณิตศาสตร์เป็นวิชาที่สาคัญและจาเป็น
อย่างยิ่งสาหรับทุกคน เพราะช่วยพัฒนาความคิดของเด็กให้เป็นคนคิดอย่างมีเหตุผล มีระเบียบมี
ความละเอียดถี่ถ้วนรอบคอบรวมทั้งมีความคิดริ่เริ่มสร้างสรรค์และความสามารถแก้ปัญหาให้สาเร็จ
ลุล่วงไปด้วยดี ความเจริญก้าวหน้าในวิทยาการด้านต่างๆทั้งด้านเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์
วิศวกรรมศาสตร์ แพทย์ เศรษฐศาสตร์ และอื่นๆ ต้องอาศัยคณิตศาสตร์เป็นเครื่องมือสาหรับการ
เรียนรู้ทั้งสิ้น นอกจากนี้คณิตศาสตร์ยังเป็นเครื่องมือที่จาเป็นในการดารงชีวิตประจาวันของเด็ก
หลายคนอย่าง เช่น การซื้อฃาย การใช้เวลา การเล่น การเดินทาง และอื่นๆ
หรรษา นิลวิเชียร ( 2535:45 ) กล่าวว่าเด็กจาเป็นต้องเรียนรู้และพัฒนาความคิด
รวบยอดเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เพื่อเป็นพื้นฐานสาหรับใช้ในชีวิตประจาวัน และเพื่อการศึกษาในขั้น
สูงขึ้น และกล่าวถึงความสาคัญของคณิตศาสตร์ต่อการประสบความสาเร็จในการดารงชีวิตไว้ดังนี้
1. เรียนวิชาต่างๆได้ดีเพราะคณิตศาสตร์เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ของวิชาต่างๆ
โดยเฉพาะ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจบได้ชื่อว่า “คณิตศาสตร์เป็นเครื่องมือความเจริญก้าวหน้า
ทั้งปวง ”
2. ทาให้เป็ นคนคิดเป็ น ทาเป็ น แก้ปัญหาเป็ น โดยอาศัยหลักการทาง
คณิตศาสตร์เป็นแนวทางพื้นฐานที่สาคัญ
3. นาไปใช้แก้ปัญหาต่างในการดารงชีวิตได้ดีและมีประสิทธิภาพ
4. เป็นเครื่องมือสาคัญสาหรับการดารงชีวิตประจาวันของคนทุกวัย
5. เป็นเครื่องมือสาคัญในการสารวจข้อ วางแผนและประเมินผลการดาเนินงาน
6. เป็นเครื่องมือพัฒนาอาชีพทุกอาชีพทุกให้มีความเจริญก้าวหน้า และประสบ
ความสาเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ
20
มัณฑนา เทศวิศาล ( 2536:7 ) กล่าวว่า แนวคิดต่างๆเกี่ยวกับพื้นฐานทางด้าน
คณิตศาสตร์เป็นสิ่งจาเป็นและสาคัญมากสาหรับเด็กเริ่มต้นเรียน เมื่อเด็กโตขึ้นสิ่งต่างๆเหล่านี้ก็จะ
เป็นพื้นฐานในการเรียนคณิตศาสตร์ที่ดีของเขาต่อไป
นิตยา ประพฤติกิจ ( 2537:1 ) กล่าวว่า คณิตศาสตร์มีส่วนสาคัญอย่างมากใน
ชีวิตประจาวันของเด็ก ซึ่งครูและผู้ปกครองตระหนักถึงความสาคัญของคณิตศาสตร์แล้วว่า ในการ
เล่นและการพูดคุยของเด็กมักจะมีเรื่องคณิตศาสตร์เข้ามาเกี่ยวข้องในชีวิตประจาวันอยู่เสมอ
วาโร เพ็งสวัสดิ์ (2542: 71 – 72) ได้กล่าวถึงจุดมุ่งหมายหรือความสาคัญของ
การสอนคณิตศาสตร์สาหรับเด็กไว้ ดังนี้
1. ให้มีโอกาสได้จัดการกระทาและสารวจวัสดุในขณะมีประสบการณ์เกี่ยวกับ
คณิตศาสตร์
2. ให้มีส่วนร่วมในกิจกรรมที่เกี่ยวกับโลกทางด้านกายภาพก่อนเข้าไปสู่โลกการ
คิดด้านนามธรรม
3. ให้มีการพัฒนาทักษะด้านคณิตศาสตร์เบื้องต้น อันได้แก่ การจัดหมวดหมู่ การ
เปรียบเทียบ การเรียงลาดับ การจัดการทากราฟ การนับ การจัดการด้านจานวน การสังเกต และการ
เพิ่มขึ้นและลดลง
4. ขยายประสบการณ์เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ให้สอดคล้องจากง่ายไปหายาก
5. ฝึกทักษะเบื้องต้นในด้านการคิดคานวณ
สิริชนม์ ปิ่นน้อย (2542: 49) ได้กล่าวถึงความสาคัญของทักษะพื้นฐานทาง
คณิตศาสตร์ ไว้ว่า การเปิดโอกาสให้เด็กได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเพื่อนด้วยการพูดคุย
สนทนา หรือโต้เถียงกันด้วยเหตุผลเกี่ยวกับสิ่งที่รู้ การใช้เหตุผลต่างๆ จะเป็นประโยชน์ต่อการ
แลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพราะการพูดคุย สนทนา หรือโต้เถียงกันของเด็กเป็นสิ่งที่กระตุ้นให้เกิด
การเรียนรู้มากกว่าการถามคาถามกับผู้ใหญ่ ครูสามารถท้าทายความคิดของเด็กด้วยการนาไปสู่ข้อ
สงสัยเมื่อเด็กพูดคุย สนทนา หรือโต้เถียงกับเพื่อนในสถานการณ์ที่เป็นปัญหา ซึ่งจะเป็นแนวทางที่
จะทาให้เกิดความคิดทางตรรกะคณิตศาสตร์ได้
จากความสาคัญหรือจุดมุ่งหมายของการส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
สรุปได้ว่า เพื่อเป็นการเตรียมเด็กให้พร้อมที่จะเรียนรู้ และทากิจกรรมทางคณิตศาสตร์ได้เหมาะสม
กับวัย ความสามารถและด้วยความสนุกสนาน มีทักษะพื้นฐานในการใช้เหตุผล คิดคานวณ
แก้ปัญหา การสังเกต การเปรียบเทียบการจัดหมวดหมู่ การเรียงลาดับ การนับ และการจัดการด้าน
จานวน โดยการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางคณิตศาสตร์ และสามารถนาไปใช้ในชีวิตประจาวันได้
อย่างเหมาะสม
21
1.3 ทฤษฎีพัฒนาการด้านการคิดของเด็กปฐมวัย
1.3.1 ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์
จอง เพียเจท์ (Jean Piaget) นักจิตวิทยาชาวสวิส มีชีวิตอยู่ในช่วง ค.ศ.1896-1980
หรือ พ.ศ. 2439-2523 ผู้สร้างทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา เพียเจท์ เชื่อว่าคนเราทุกคนตั้งแต่เกิด
มามีความพร้อมที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม และโดยธรรมชาติแล้วมนุษย์เป็นผู้พร้อมที่จะมี
กริยากรรมหรือเริ่มกระทาก่อน นอกจากนี้เพียเจท์ถือว่ามนุษย์เรามีแนวโน้มพื้นฐานที่ติดตัวมาแต่
กาเนิด 2 ชนิดคือ การจัดและรวบรวม (Organization) และการปรับตัว (Adaptation)การจัดและ
รวบรวม (Organization) หมายถึง การจัดและรวบรวมกระบวนการต่าง ๆ ภายใน เข้าเป็นระบบ
อย่างต่อเนื่องกัน เป็นระเบียบ และมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ตราบที่มีปฏิสัมพันธ์
กับสิ่งแวดล้อม การปรับตัว (Adaptation) หมายถึง การปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมเพื่ออยู่ใน
สภาพ สมดุล การปรับตัวประกอบด้วยกระบวนการ 2 อย่างคือ
1) การซึมชาบหรือดูดซึมประสบการณ์ (Assimilation)
2) การปรับโครงสร้างทางสติปัญญา (Accomodation) เมื่อเผชิญกับสิ่งแวดล้อม
การซึมซาบหรือดูดซึมประสบการณ์ เมื่อมนุษย์มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ก็จะซึมชาบ หรือดูด
ซึมประสบการณ์ใหม่ ให้รวมเข้าอยู่ในโครงสร้างของสติปัญญา ส่วนการปรับโครงสร้างทาง
สติปัญญา หมายถึง การเปลี่ยนแบบโครงสร้างของสติปัญญาที่มีอยู่แล้วให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม หรือ
ประสบการณ์ใหม่ หรือเป็นการเปลี่ยนแปลงความคิดเดิมให้สอดคล้องกับสิ่งแวดล้อมใหม่
ตัวอย่างเช่น ความเข้าใจความแตกต่างระหว่างเพศของเด็กที่มีอายุประมาณ 5-6 ปี ถ้าถามเด็กวัยนี้ว่า
เด็กหญิงเด็กชายแตกต่างกันหรือไม่ คาตอบที่ได้จากเด็กก็คือ เด็กหญิงและเด็กชายแตกต่างกัน และ
เมื่อถามคาถามต่อไปว่าให้บอกความแตกต่างของหญิงชายมา 3 อย่าง คาถามนี้ส่วนมากเด็กตอบได้
2 อย่างคือ เด็กหญิงผมยาว เด็กชายผมสั้น เด็กหญิงสวมกระโปรง แต่เด็กชายสวมกางเกง อย่างไรก็
ตาม ถ้าเด็กวัยนี้เกิดพบเห็นเด็ก (หญิง) ผมยาวนุ่งกางเกงกาลังเล่นตุ๊กตาอยู่สามารถจะบอกได้ว่าเด็ก
ที่เขาเห็นเป็น “เด็กหญิง” แสดงว่า เด็กสามารถที่จะ Accommodate สิ่งแวดล้อมใหม่และแปลความ
เข้าใจเดิมของเขาว่า เด็กหญิงไม่จาเป็นจะต้องนุ่งกระโปรงเสมอไป เด็กผู้หญิงอาจจะนุ่งกางเกงได้
และเนื่องจากการปรับสิ่งแวดล้อมเข้าเป็นความรู้ใหม่โดยเปลี่ยนความเข้าใจเดิมเช่นนี้ เพียเจท์
เรียกว่า Accomodation (สุรางค์โค้วตระกูล, 2541 : 49)
เพียเจท์ ถือว่าการพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์จะเป็นไปตามลาดับขั้น เปลี่ยนแปลง
ข้ามขั้นไม่ได้ โดยแบ่งพัฒนาการทางสติปัญญาออกเป็น 4 ขั้น ดังนี้
1. ขั้น Sensorimotor (แรกเกิด ถึง 2 ขวบ)
22
เป็นขั้นของพัฒนาการทางสติปัญญาความคิดก่อนระยะเวลาที่เด็กอ่อนจะพูดและใช้
ภาษาได้ สติปัญญาความคิดของเด็กในวัยนี้แสดงออกโดยทางการกระทา (Actions) เด็กสามารถ
แก้ปัญหาได้แม้ว่าจะไม่สามารถที่จะอธิบายได้ เพียเจท์แบ่งขั้น Sensorimotor ออกเป็นขั้นย่อย 6 ขั้น
ดังนี้
1.1 Reflexive ขั้นปฏิกิริยาสะท้อน (0-1 เดือน) เป็นวัยที่เด็กทารกใช้พฤติกรรม
รีเฟลกซ์ หรือโดยประสาทอัตโนมัติที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด เช่น การดูด เป็นต้น และพยายามที่จะปรับ
ให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม เช่น ดูดนมจากนมของแม่ ดูดนมขวด เป็นต้น พฤติกรรมเหล่านี้เกิดขึ้นเพื่อ
สนองตอบต่อสิ่งเร้าโดยอัตโนมัติ เป็นพฤติกรรมไม่เกิดจากการเรียนรู้
1.2 Primary Circular Reactions ขั้นพัฒนาอวัยวะเคลื่อนไหวด้านประสบการณ์
เบื้องต้น (1-3 เดือน) วัยนี้ทารกมักจะแสดงพฤติกรรมง่าย และทาซ้า ๆ กันโดยไม่เบื่อ เช่น กามือเข้า
และเปิดออกซ้า ๆ กัน หรือคลาผ้าห่มที่คลุมตัวซ้า ๆ กัน เป็นต้น พฤติกรรมที่แสดงปราศจาก
จุดมุ่งหมายความสนใจของเด็กมักจะอยู่ที่ความเคลื่อนไหว แต่ไม่ใช่ผลของความเคลื่อนไหว
1.3 Secondary Circular Reactions ขั้นพัฒนาเคลื่อนไหวโดยมีจุดมุ่งหมาย (4-6
เดือน) เด็กทาพฤติกรรมซ้า ๆ โดยมีความมุ่งหมายที่จะเห็นการเปลี่ยนแปลงในสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ
ตัวเขาเอง เป็นขั้นแรกที่เด็กทารกแสดงพฤติกรรมโดยมีความตั้งใจหรือมีจุดมุ่งหมาย เด็กขั้นนี้จะ
เริ่มทาพฤติกรรมซ้า เพราะความสนใจในผลของพฤิตกรรมนั้น เป็นต้นว่า เด็กจะเตะหรือกระตุกเท้า
เพื่อจะให้ตุ๊กตาที่แขวนในเปลสั่นหรือเคลื่อนไหว หรือจะสั่นเครื่องเล่น เพราะสนใจในเสียงที่เกิด
จากการสั่น
1.4 Coordination of Seccondary Reactions ขั้นพัฒนาการประสานของอวัยวะ (7-
10 เดือน) ในขั้นนี้เด็กทารกเริ่มที่จะแก้ปัญหาอย่างง่าย ๆ เด็กทารกจะใช้พฤติกรรมในอดีตที่ผ่านมา
ช่วยในการแก้ปัญหา เด็กวัยนี้จะสามารถหาของที่ซ่อนไว้ได้ เป็นต้นว่า อาจจะผลักหมอนเพื่อจะเอา
ตุ๊กตาที่ซ่อนอยู่ ต่างกับเด็กที่อยู่ในขั้นที่ 3 ที่การผลักหมอนของเด็กเป็นแต่เพียงความสนใจที่เห็น
หมอนเริ่มล้มลงไป หรืออาจกล่าวได้ว่าเด็กมีความเข้าใจเกี่ยวกับความมีตัวตนของวัตถุ (Opject
Permanence) ในขั้นนี้เด็กทารกเริ่มจะรู้ว่าตนเองเป็นอิสระ นอกจากนี้เด็กจะสามารถที่จะแยกสิ่งที่
ตน “ต้องการ” และ “ไม่ต้องการ” ออกจากกันและสามารถที่จะเลียนแบบหรือเลียนการเคลื่อนไหว
จากผู้อื่น พฤติกรรมในขั้นนี้มักจะเป็น
1.5 Tertiary Circular Reactions ขั้นพัฒนาการความคิดริเริ่มแบบลองผิดลองถูก
(11- 18 เดือน) ในขั้นนี้ เด็กเริ่มที่จะทดลองพฤติกรรมแบบถูกผิด ในขั้นนี้เด็กทารกมีความสนใจใน
ผลของพฤิตกรรมใหม่ ๆ มักจะทดลองทาดูหลาย ๆ แบบ และสนใจผลที่เกิดขึ้น ขั้นนี้ต่างกับขั้น
Secondary Circular Reactions ตรงที่เด็กทารกไม่เพียงแต่สนใจจะทาซ้า แต่เปลี่ยนแปลงให้เกิด
23
ความใหม่อยู่เรื่อย ๆ พฤติกรรมของเด็กในขั้นนี้เป็นการทดลองสิ่งแวดล้อมไม่แต่เพียงเพื่อจะดูว่า
อะไรจะเกิดขึ้น แต่มีความมุ่งหมาย มีความคิดริเริ่มในการแสดงพฤติกรรม
1.6 Beginning of Thought การเริ่มต้นของความคิด ขั้นพัฒนาโครงสร้างสติปัญญา
เบื้องต้น (18 เดือน – 2 ขวบ) พัฒนาการทางสติปัญญาระดับนี้เป็นระดับสุดท้ายของขั้น
Sensorimotor เด็กในวัยนี้สามารถที่จะประดิษฐ์วิธีใหม่ ๆ โดยใช้ความคิดในการแก้ปัญหา เด็ก
สามารถที่จะเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งหนึ่งกับสิ่งหนึ่ง และสามารถที่จะคิดแก้ปัญหาได้ ในขั้น
นี้ถ้าเด็กพบปัญหาใหม่ที่ตนประสบ แต่ไม่มีวิธีการที่จะใช้แก้ปัญหามาแต่ก่อน เด็กวัยนี้จะรู้จัก
ประดิษฐ์วิธีการใหม่ขึ้น แต่วิธีการที่ประดิษฐ์นั้น ไม่เป็นแต่เพียงลองผิดลองถูก แต่เป็นวิธีการที่
แสดงว่าเด็กเริ่มใช้ความคิด เด็กจะเริ่มเรียนรู้ความสัมพันธ์ของสิ่งแวดล้อมและสามารถที่จะอนุมาน
ความสัมพันธ์ของเหตุและผลได้ เด็กในขั้นนี้สามารถที่จะมีจินตนาการก่อนที่จะเริ่มแสดง
พฤติกรรม เด็กในขั้นนี้จะสามารถเลียนแบบพฤติกรรมของผู้ใหญ่โดยไม่จาเป็นต้องเห็นตัวอย่าง
แสดงจริง ๆ แต่เลียนแบบจากความจา
2. ขั้น Preoperational (18 เดือน – 7 ขวบ)
เด็กวัยนี้มีโครงสร้างของสติปัญญา (Structure) ที่จะใช้สัญลักษณ์แทนวัตถุสิ่งของที่
อยู่รอบ ๆ ตัวได้ หรือมีพัฒนาการทางด้านภาษา เด็กวัยนี้จะเริ่มด้วยการพูดเป็นประโยคและเรียนรู้
คาต่าง ๆ เพิ่มขึ้น เด็กจะรู้จักคิดในใจ ความคิดของเด็กวัยนี้ยังขึ้นอยู่กับการรับรู้เป็นส่วนใหญ่ ไม่
สามารถที่จะใช้เหตุผลอย่างลึกซึ้ง แต่เป็นขั้นที่เด็กเริ่มใช้ภาษา สามารถที่จะบอกชื่อสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่
รอบตัวเขาและเกี่ยวข้องกับชีวิตประจาวันของเขา สามารถที่จะเรียนรู้สัญลักษณ์และใช้สัญลักษณ์
ได้ เด็กในวัยนี้มักจะเล่นสมมติ เช่น พูดกับตุ๊กตาเหมือนพูดกับคนจริง ๆ เด็กวัยนี้มีความตั้งใจทีละ
อย่างและยังไม่สามารถที่จะเข้าใจสิ่งที่เท่ากันแม้ว่าจะเปลี่ยนรูปร่างหรือแปรสภาพหรือเปลี่ยนที่วาง
ควรจะยังคงเท่ากัน และยังไม่สามารถที่จะเปรียบเทียบสิ่งของมากและน้อย ยาวและสั้น ได้อย่าง
แท้จริง และมีการยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง ไม่สามารถที่จะเข้าใจความคิดเห็นของผู้อื่น อย่างไรก็ตาม
ความคิดของเด็กวัยนี้ยังมีข้อจากัดหลายอย่าง โดยเฉพาะตอนต้นของวัยนี้ มีสิ่งที่เด็กวัยนี้ทาไม่ได้
เหมือนเด็กวัยประถมศึกษาหลายอย่าง ลักษณะสติปัญญาของเด็กวัยนี้สรุปได้ดังนี้
2.1 เด็กวัยนี้จะเข้าใจภาษาและทราบว่าของต่าง ๆ มีชื่อและใช้ภาษาเพื่อช่วยใน
การแก้ปัญหาได้
2.2 เด็กจะเลียนแบบผู้ใหญ่ในเวลาเล่น (Deferred Imitation) หรือเลียนแบบได้
โดยตัวแบบไม่ต้องอยู่ต่อหน้า จะเห็นได้จากการเล่นขายของของเด็กหรืออาบน้าให้ตุ๊กตา หรือเล่น
สมมติ หรือแสร้งทา เช่น เด็กจะเล่นทาเป็นนอนหลับ หรือใช้สิ่งต่าง ๆ เล่นเป็นแบบจริง เช่น กล่อง
กระดาษทาเป็นรถยนต์
24
2.3 เด็กวัยนี้มีความตั้งใจทีละอย่าง ฉะนั้นวัยนี้จึงทาให้เด็กมีความคิดที่บิดเบือน
จากความเป็นจริง (Distort) ตัวอย่างเช่น ให้เด็กอายุ 5 ขวบดูลูกปัดทาด้วยไม้ กล่องหนึ่ง
ประกอบด้วยลูกปัดที่ทาด้วยไม้สีขาว 20 ลูก และสีน้าตาล 7 ลูก และถามเด็กว่ามีลูกปัดสีอะไร
มากกว่า เด็กจะตอบได้ถูกว่า สีขาว แต่เมื่อถามว่าระหว่างลูกปัดสีขาวและลูกปัดทั้งหมด อะไรจะมี
จานวนมากกว่ากัน เด็กจะตอบไม่ได้ว่าลูกปัดทั้งหมดมากกว่าสีขาว จะยังคงตอบว่าสีขาวมากกว่า
เพราะไม่เข้าใจว่าลูกปัดสีขาวเป็นส่วนหนึ่งของลูกปัดทั้งหมด
2.4 มีการยึดถือตนเองเป็นศูนย์กลาง (Egocentrism) ไม่สามารถที่จะเข้าใจความ
คิดเห็นของผู้อื่น หรือไม่ได้คิดว่าผู้อื่นเขาจะคิดอย่างไร ตัวอย่างเช่น เวลาเด็ก 2 คนในวัยนี้เล่น
ด้วยกันและคุยกัน ถ้ามองดูเผิน ๆ จะคิดว่าเขาคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน แท้จริงแล้วเด็กจะต่าง
คนต่างคุยต่างเล่น ความจริงของเด็กในวัยนี้คือจากสิ่งที่ได้จากการรับรู้
2.5 เด็กในวัยนี้ไม่สามารถจะทาการแก้ปัญหาการเรียงลาดับได้ เช่น ไม่สามารถที่
จะเรียงของมากไปหาน้อย น้อยไปหามาก หรือความยาวสั้น และนอกจากนี้เด็กก็ยังไม่เข้าใจการคิด
ย้อนกลับ (Reversibility) คือ เด็กไม่สามารถจะเข้าใจว่า ถ้า 2 + 2 = 4 แล้ว 4 - 2 = 2
2.6 เด็กในวัยนี้จะไม่เข้าใจความคงตัวของสสาร (Conservation) เพราะเด็กวัยนี้จะ
ให้เหตุผลจากรูปร่างที่เห็นหรือสถานะ ไม่ใช่การแปลงรูปเป็นอย่างอื่น ตัวอย่างเช่น การทดลองที่ใช้
แก้ว 2 ใบ ที่มีขนาดสูงเท่ากันแล้วใส่น้าลงไปเป็นจานวนเท่ากันเพื่อให้ระดับน้าในแก้วสองใบ
เท่ากัน ผู้ทาการทดลองถามเด็กว่าน้าในแก้วใบที่ 1 และใบที่ 2 เท่ากันไหม เด็กตอบว่ามีน้าเท่ากัน ผู้
ทดลองเทน้าจากแก้วใบที่ 1 ลงในแก้วใบที่ 3 ซึ่งมีเส้นผ่าศูนย์กลางเล็กกว่าและสูงกว่า จะปรากฏว่า
ระดับน้าสูงขึ้น ผู้ทดลองถามเด็กว่าจานวนน้าในแก้วใบที่ 2 และแก้วใบที่ 3 เท่ากันหรือไม่ เด็กวัยนี้
จะตอบว่าไม่เท่า น้าในแก้วใบที่ 3 มีมากกว่า ซึ่งแสดงให้เห็นว่า เด็กวัยนี้มีความเข้าใจหรือมีการ
ตัดสินใจอย่างผิวเผินจากสิ่งที่ตนเห็นและรับรู้ ไม่สามารถที่จะอ้างจากหลักฐานขึ้นมาประกอบ ไม่
สามารถที่จะเข้าใจในความคงตัวของของที่มีจานวนเท่ากัน แม้ว่าจะเปลี่ยนรูปร่างจานวนก็ยังเท่ากัน
อยู่ แสดงให้เห็นว่าเด็กวัยนี้ยังไม่มีความเข้าใจและรู้จักคิดโดยใช้เหตุผลอย่างถูกต้อง ความคิดยัง
ขึ้นอยู่กับสิ่งที่เขารับรู้หรือสิ่งที่เขาเห็นด้วยตา
3. ขั้น Concrete Operations (อายุ 7-11 ปี)เด็กวัยนี้สามารถที่จะสร้างกฏเกณฑ์และ
ตั้งเกณฑ์ในการแบ่งสิ่งแวดล้อมออกเป็นหมวดหมู่ได้ ถ้าหากแสดงการทดลองเกี่ยวกับน้าในแก้ว 2
ใบที่เท่ากัน และเทน้าจากใบที่ 1 ไปในแก้วใบที่ 3 ที่มีขนาดเล็กกว่า เด็กวัยนี้ก็จะตอบได้ว่าน้ายังคง
มีจานวนเท่ากัน แม้ว่าระดับของน้าไม่เท่ากัน เพราะจานวนน้าในแก้วใบที่ 3 มาจากแก้วใบที่ 1 ที่มี
ขนาดเท่ากับแก้วใบที่ 2 เด็กวัยนี้สามารถที่จะเข้าใจเหตุผลว่า ของที่มีขนาดเท่ากัน แม้ว่าจะแปร
รูปร่างก็ยังคงจะมีขนาดเท่ากันหรือคงตัว นอกจากนี้เด็กเข้าใจความหมายของการเปรียบเทียบว่า
Fulltext#1 72590งานวิจัย
Fulltext#1 72590งานวิจัย
Fulltext#1 72590งานวิจัย
Fulltext#1 72590งานวิจัย
Fulltext#1 72590งานวิจัย
Fulltext#1 72590งานวิจัย
Fulltext#1 72590งานวิจัย
Fulltext#1 72590งานวิจัย
Fulltext#1 72590งานวิจัย
Fulltext#1 72590งานวิจัย
Fulltext#1 72590งานวิจัย
Fulltext#1 72590งานวิจัย
Fulltext#1 72590งานวิจัย
Fulltext#1 72590งานวิจัย
Fulltext#1 72590งานวิจัย
Fulltext#1 72590งานวิจัย
Fulltext#1 72590งานวิจัย
Fulltext#1 72590งานวิจัย
Fulltext#1 72590งานวิจัย
Fulltext#1 72590งานวิจัย
Fulltext#1 72590งานวิจัย
Fulltext#1 72590งานวิจัย
Fulltext#1 72590งานวิจัย
Fulltext#1 72590งานวิจัย
Fulltext#1 72590งานวิจัย
Fulltext#1 72590งานวิจัย
Fulltext#1 72590งานวิจัย
Fulltext#1 72590งานวิจัย
Fulltext#1 72590งานวิจัย
Fulltext#1 72590งานวิจัย
Fulltext#1 72590งานวิจัย
Fulltext#1 72590งานวิจัย
Fulltext#1 72590งานวิจัย
Fulltext#1 72590งานวิจัย
Fulltext#1 72590งานวิจัย
Fulltext#1 72590งานวิจัย
Fulltext#1 72590งานวิจัย
Fulltext#1 72590งานวิจัย
Fulltext#1 72590งานวิจัย
Fulltext#1 72590งานวิจัย
Fulltext#1 72590งานวิจัย
Fulltext#1 72590งานวิจัย
Fulltext#1 72590งานวิจัย
Fulltext#1 72590งานวิจัย
Fulltext#1 72590งานวิจัย
Fulltext#1 72590งานวิจัย
Fulltext#1 72590งานวิจัย
Fulltext#1 72590งานวิจัย
Fulltext#1 72590งานวิจัย
Fulltext#1 72590งานวิจัย
Fulltext#1 72590งานวิจัย
Fulltext#1 72590งานวิจัย
Fulltext#1 72590งานวิจัย
Fulltext#1 72590งานวิจัย
Fulltext#1 72590งานวิจัย
Fulltext#1 72590งานวิจัย
Fulltext#1 72590งานวิจัย
Fulltext#1 72590งานวิจัย
Fulltext#1 72590งานวิจัย
Fulltext#1 72590งานวิจัย
Fulltext#1 72590งานวิจัย
Fulltext#1 72590งานวิจัย
Fulltext#1 72590งานวิจัย
Fulltext#1 72590งานวิจัย
Fulltext#1 72590งานวิจัย
Fulltext#1 72590งานวิจัย
Fulltext#1 72590งานวิจัย
Fulltext#1 72590งานวิจัย
Fulltext#1 72590งานวิจัย
Fulltext#1 72590งานวิจัย
Fulltext#1 72590งานวิจัย
Fulltext#1 72590งานวิจัย
Fulltext#1 72590งานวิจัย
Fulltext#1 72590งานวิจัย
Fulltext#1 72590งานวิจัย
Fulltext#1 72590งานวิจัย
Fulltext#1 72590งานวิจัย
Fulltext#1 72590งานวิจัย
Fulltext#1 72590งานวิจัย
Fulltext#1 72590งานวิจัย
Fulltext#1 72590งานวิจัย
Fulltext#1 72590งานวิจัย
Fulltext#1 72590งานวิจัย
Fulltext#1 72590งานวิจัย
Fulltext#1 72590งานวิจัย
Fulltext#1 72590งานวิจัย
Fulltext#1 72590งานวิจัย
Fulltext#1 72590งานวิจัย
Fulltext#1 72590งานวิจัย
Fulltext#1 72590งานวิจัย
Fulltext#1 72590งานวิจัย
Fulltext#1 72590งานวิจัย
Fulltext#1 72590งานวิจัย
Fulltext#1 72590งานวิจัย
Fulltext#1 72590งานวิจัย
Fulltext#1 72590งานวิจัย
Fulltext#1 72590งานวิจัย
Fulltext#1 72590งานวิจัย
Fulltext#1 72590งานวิจัย
Fulltext#1 72590งานวิจัย
Fulltext#1 72590งานวิจัย
Fulltext#1 72590งานวิจัย
Fulltext#1 72590งานวิจัย
Fulltext#1 72590งานวิจัย
Fulltext#1 72590งานวิจัย
Fulltext#1 72590งานวิจัย
Fulltext#1 72590งานวิจัย
Fulltext#1 72590งานวิจัย
Fulltext#1 72590งานวิจัย
Fulltext#1 72590งานวิจัย
Fulltext#1 72590งานวิจัย
Fulltext#1 72590งานวิจัย
Fulltext#1 72590งานวิจัย
Fulltext#1 72590งานวิจัย
Fulltext#1 72590งานวิจัย
Fulltext#1 72590งานวิจัย
Fulltext#1 72590งานวิจัย
Fulltext#1 72590งานวิจัย

More Related Content

What's hot

โครงงาน น้ำตะไคร้เพื่อสุขภาพ
โครงงาน น้ำตะไคร้เพื่อสุขภาพโครงงาน น้ำตะไคร้เพื่อสุขภาพ
โครงงาน น้ำตะไคร้เพื่อสุขภาพกก กอล์ฟ
 
หัวกระดาษข้อสอบ
หัวกระดาษข้อสอบหัวกระดาษข้อสอบ
หัวกระดาษข้อสอบ
worapanthewaha
 
กำหนดการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ ป.3
กำหนดการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ ป.3กำหนดการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ ป.3
กำหนดการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ ป.3Mam Chongruk
 
กิตติกรรมประกาศ บทคัดย่อ โครงงานทดลองวิทยาศาสตร์ 58
กิตติกรรมประกาศ บทคัดย่อ โครงงานทดลองวิทยาศาสตร์  58กิตติกรรมประกาศ บทคัดย่อ โครงงานทดลองวิทยาศาสตร์  58
กิตติกรรมประกาศ บทคัดย่อ โครงงานทดลองวิทยาศาสตร์ 58
renusaowiang
 
โครงงานฉบับสมบูรณ์
โครงงานฉบับสมบูรณ์โครงงานฉบับสมบูรณ์
โครงงานฉบับสมบูรณ์
paifahnutya
 
หลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง การทำไม้กวาดทางมะพร้าว
หลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง การทำไม้กวาดทางมะพร้าวหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง การทำไม้กวาดทางมะพร้าว
หลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง การทำไม้กวาดทางมะพร้าว
Chainarong Maharak
 
บทที่ 1 ธาตุและสารประกอบ
บทที่ 1 ธาตุและสารประกอบบทที่ 1 ธาตุและสารประกอบ
บทที่ 1 ธาตุและสารประกอบJariya Jaiyot
 
แผนการจัดประสบการณ์ ฉันรักฤดูหนาว- กิจกรรมเสริมประสบการณ์
แผนการจัดประสบการณ์   ฉันรักฤดูหนาว- กิจกรรมเสริมประสบการณ์แผนการจัดประสบการณ์   ฉันรักฤดูหนาว- กิจกรรมเสริมประสบการณ์
แผนการจัดประสบการณ์ ฉันรักฤดูหนาว- กิจกรรมเสริมประสบการณ์krutitirut
 
แบบประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมต่อต้านยาไอซ์ในโรงเรียน
แบบประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมต่อต้านยาไอซ์ในโรงเรียนแบบประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมต่อต้านยาไอซ์ในโรงเรียน
แบบประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมต่อต้านยาไอซ์ในโรงเรียน
Kruthai Kidsdee
 
แผ่นพับแนะนำตนเอง สำหรับประเมิน คศ.2 ประเมิน คศ.3 แผ่นพับสัมภาษณ์ครูผู้ช่วย
แผ่นพับแนะนำตนเอง สำหรับประเมิน คศ.2  ประเมิน คศ.3 แผ่นพับสัมภาษณ์ครูผู้ช่วยแผ่นพับแนะนำตนเอง สำหรับประเมิน คศ.2  ประเมิน คศ.3 แผ่นพับสัมภาษณ์ครูผู้ช่วย
แผ่นพับแนะนำตนเอง สำหรับประเมิน คศ.2 ประเมิน คศ.3 แผ่นพับสัมภาษณ์ครูผู้ช่วย
KiiKz Krittiya
 
เอกสารประกอบการเรียนรู้เรื่องพลังงานความร้อน
เอกสารประกอบการเรียนรู้เรื่องพลังงานความร้อนเอกสารประกอบการเรียนรู้เรื่องพลังงานความร้อน
เอกสารประกอบการเรียนรู้เรื่องพลังงานความร้อน
Kobwit Piriyawat
 
สบู่จากกากกาแฟ
สบู่จากกากกาแฟสบู่จากกากกาแฟ
สบู่จากกากกาแฟ
narumon intawong
 
ใบงานที่ 3 เค้าโครงของโครงงาน
ใบงานที่ 3 เค้าโครงของโครงงานใบงานที่ 3 เค้าโครงของโครงงาน
ใบงานที่ 3 เค้าโครงของโครงงาน
Mypoom Poom
 
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 9 อนุภาคในอะตอม.pdf
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 9 อนุภาคในอะตอม.pdfแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 9 อนุภาคในอะตอม.pdf
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 9 อนุภาคในอะตอม.pdf
Katewaree Yosyingyong
 
โครงงานวิชาไอเอส เรื่องความพึงพอใจในการใช้ห้องน้ำของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีท...
โครงงานวิชาไอเอส เรื่องความพึงพอใจในการใช้ห้องน้ำของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีท...โครงงานวิชาไอเอส เรื่องความพึงพอใจในการใช้ห้องน้ำของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีท...
โครงงานวิชาไอเอส เรื่องความพึงพอใจในการใช้ห้องน้ำของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีท...
Suricha Phichan
 
เค้าโครงโครงงานวิทยาศาสตร์
เค้าโครงโครงงานวิทยาศาสตร์เค้าโครงโครงงานวิทยาศาสตร์
เค้าโครงโครงงานวิทยาศาสตร์
โทโต๊ะ บินไกล
 
ประวัติผู้วิจัย
ประวัติผู้วิจัยประวัติผู้วิจัย
ประวัติผู้วิจัยYanee Chaiwongsa
 
แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาไทย
แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาไทยแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาไทย
แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาไทยพัน พัน
 
แบบทดสอบพร้อมเฉลยรายตัวชี้วัดร่วมสร้างสรรค์ ท.ศ..Docx 40 ข้อ
แบบทดสอบพร้อมเฉลยรายตัวชี้วัดร่วมสร้างสรรค์ ท.ศ..Docx 40 ข้อแบบทดสอบพร้อมเฉลยรายตัวชี้วัดร่วมสร้างสรรค์ ท.ศ..Docx 40 ข้อ
แบบทดสอบพร้อมเฉลยรายตัวชี้วัดร่วมสร้างสรรค์ ท.ศ..Docx 40 ข้อkrupornpana55
 
โครงงานยาเสพติด
โครงงานยาเสพติดโครงงานยาเสพติด
โครงงานยาเสพติดพัน พัน
 

What's hot (20)

โครงงาน น้ำตะไคร้เพื่อสุขภาพ
โครงงาน น้ำตะไคร้เพื่อสุขภาพโครงงาน น้ำตะไคร้เพื่อสุขภาพ
โครงงาน น้ำตะไคร้เพื่อสุขภาพ
 
หัวกระดาษข้อสอบ
หัวกระดาษข้อสอบหัวกระดาษข้อสอบ
หัวกระดาษข้อสอบ
 
กำหนดการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ ป.3
กำหนดการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ ป.3กำหนดการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ ป.3
กำหนดการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ ป.3
 
กิตติกรรมประกาศ บทคัดย่อ โครงงานทดลองวิทยาศาสตร์ 58
กิตติกรรมประกาศ บทคัดย่อ โครงงานทดลองวิทยาศาสตร์  58กิตติกรรมประกาศ บทคัดย่อ โครงงานทดลองวิทยาศาสตร์  58
กิตติกรรมประกาศ บทคัดย่อ โครงงานทดลองวิทยาศาสตร์ 58
 
โครงงานฉบับสมบูรณ์
โครงงานฉบับสมบูรณ์โครงงานฉบับสมบูรณ์
โครงงานฉบับสมบูรณ์
 
หลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง การทำไม้กวาดทางมะพร้าว
หลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง การทำไม้กวาดทางมะพร้าวหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง การทำไม้กวาดทางมะพร้าว
หลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง การทำไม้กวาดทางมะพร้าว
 
บทที่ 1 ธาตุและสารประกอบ
บทที่ 1 ธาตุและสารประกอบบทที่ 1 ธาตุและสารประกอบ
บทที่ 1 ธาตุและสารประกอบ
 
แผนการจัดประสบการณ์ ฉันรักฤดูหนาว- กิจกรรมเสริมประสบการณ์
แผนการจัดประสบการณ์   ฉันรักฤดูหนาว- กิจกรรมเสริมประสบการณ์แผนการจัดประสบการณ์   ฉันรักฤดูหนาว- กิจกรรมเสริมประสบการณ์
แผนการจัดประสบการณ์ ฉันรักฤดูหนาว- กิจกรรมเสริมประสบการณ์
 
แบบประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมต่อต้านยาไอซ์ในโรงเรียน
แบบประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมต่อต้านยาไอซ์ในโรงเรียนแบบประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมต่อต้านยาไอซ์ในโรงเรียน
แบบประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมต่อต้านยาไอซ์ในโรงเรียน
 
แผ่นพับแนะนำตนเอง สำหรับประเมิน คศ.2 ประเมิน คศ.3 แผ่นพับสัมภาษณ์ครูผู้ช่วย
แผ่นพับแนะนำตนเอง สำหรับประเมิน คศ.2  ประเมิน คศ.3 แผ่นพับสัมภาษณ์ครูผู้ช่วยแผ่นพับแนะนำตนเอง สำหรับประเมิน คศ.2  ประเมิน คศ.3 แผ่นพับสัมภาษณ์ครูผู้ช่วย
แผ่นพับแนะนำตนเอง สำหรับประเมิน คศ.2 ประเมิน คศ.3 แผ่นพับสัมภาษณ์ครูผู้ช่วย
 
เอกสารประกอบการเรียนรู้เรื่องพลังงานความร้อน
เอกสารประกอบการเรียนรู้เรื่องพลังงานความร้อนเอกสารประกอบการเรียนรู้เรื่องพลังงานความร้อน
เอกสารประกอบการเรียนรู้เรื่องพลังงานความร้อน
 
สบู่จากกากกาแฟ
สบู่จากกากกาแฟสบู่จากกากกาแฟ
สบู่จากกากกาแฟ
 
ใบงานที่ 3 เค้าโครงของโครงงาน
ใบงานที่ 3 เค้าโครงของโครงงานใบงานที่ 3 เค้าโครงของโครงงาน
ใบงานที่ 3 เค้าโครงของโครงงาน
 
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 9 อนุภาคในอะตอม.pdf
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 9 อนุภาคในอะตอม.pdfแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 9 อนุภาคในอะตอม.pdf
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 9 อนุภาคในอะตอม.pdf
 
โครงงานวิชาไอเอส เรื่องความพึงพอใจในการใช้ห้องน้ำของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีท...
โครงงานวิชาไอเอส เรื่องความพึงพอใจในการใช้ห้องน้ำของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีท...โครงงานวิชาไอเอส เรื่องความพึงพอใจในการใช้ห้องน้ำของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีท...
โครงงานวิชาไอเอส เรื่องความพึงพอใจในการใช้ห้องน้ำของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีท...
 
เค้าโครงโครงงานวิทยาศาสตร์
เค้าโครงโครงงานวิทยาศาสตร์เค้าโครงโครงงานวิทยาศาสตร์
เค้าโครงโครงงานวิทยาศาสตร์
 
ประวัติผู้วิจัย
ประวัติผู้วิจัยประวัติผู้วิจัย
ประวัติผู้วิจัย
 
แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาไทย
แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาไทยแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาไทย
แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาไทย
 
แบบทดสอบพร้อมเฉลยรายตัวชี้วัดร่วมสร้างสรรค์ ท.ศ..Docx 40 ข้อ
แบบทดสอบพร้อมเฉลยรายตัวชี้วัดร่วมสร้างสรรค์ ท.ศ..Docx 40 ข้อแบบทดสอบพร้อมเฉลยรายตัวชี้วัดร่วมสร้างสรรค์ ท.ศ..Docx 40 ข้อ
แบบทดสอบพร้อมเฉลยรายตัวชี้วัดร่วมสร้างสรรค์ ท.ศ..Docx 40 ข้อ
 
โครงงานยาเสพติด
โครงงานยาเสพติดโครงงานยาเสพติด
โครงงานยาเสพติด
 

Similar to Fulltext#1 72590งานวิจัย

การศึกษาวิธีการจัดการเรียนการสอน
การศึกษาวิธีการจัดการเรียนการสอนการศึกษาวิธีการจัดการเรียนการสอน
การศึกษาวิธีการจัดการเรียนการสอน
namyensudarat
 
GSprojectscience reprot2562_2_kruwichai
GSprojectscience reprot2562_2_kruwichaiGSprojectscience reprot2562_2_kruwichai
GSprojectscience reprot2562_2_kruwichai
Wichai Likitponrak
 
ทักษะพนฐานทางคณิตศาสตรของเด็กปฐมวัยที่ไดรับการจัดกิจกรรมศิลปสรางสรรคจากวั...
ทักษะพนฐานทางคณิตศาสตรของเด็กปฐมวัยที่ไดรับการจัดกิจกรรมศิลปสรางสรรคจากวั...ทักษะพนฐานทางคณิตศาสตรของเด็กปฐมวัยที่ไดรับการจัดกิจกรรมศิลปสรางสรรคจากวั...
ทักษะพนฐานทางคณิตศาสตรของเด็กปฐมวัยที่ไดรับการจัดกิจกรรมศิลปสรางสรรคจากวั...
Mayko Chan
 
Koy
KoyKoy
ตัวอย่าง Is การทำคู่มือ
ตัวอย่าง Is การทำคู่มือตัวอย่าง Is การทำคู่มือ
ตัวอย่าง Is การทำคู่มือPatcharaporn Aun
 
โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ
โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ
โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพanira143 anira143
 
งานนำเสนอFlipclassroom
งานนำเสนอFlipclassroomงานนำเสนอFlipclassroom
งานนำเสนอFlipclassroom
Ratchakan Sungkawadee
 
รายงานการอบรมปฏิบัติการ วัดผล
รายงานการอบรมปฏิบัติการ วัดผลรายงานการอบรมปฏิบัติการ วัดผล
รายงานการอบรมปฏิบัติการ วัดผล
จุ๊ จุฑาทิพย์
 
โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์
mathitopanam
 
การเกิดปฏิกิริยาเคมี เล่ม1
การเกิดปฏิกิริยาเคมี เล่ม1การเกิดปฏิกิริยาเคมี เล่ม1
การเกิดปฏิกิริยาเคมี เล่ม1
ธิชารัศมิ์ ศรีบุญเรือง
 
รายงานผลการประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษา 2560 โรงเรียนพระบางวิทยา สพม.42
รายงานผลการประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษา 2560 โรงเรียนพระบางวิทยา สพม.42รายงานผลการประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษา 2560 โรงเรียนพระบางวิทยา สพม.42
รายงานผลการประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษา 2560 โรงเรียนพระบางวิทยา สพม.42
ungpao
 
แผนจัดการเรียนรู้ที่ 02
แผนจัดการเรียนรู้ที่ 02แผนจัดการเรียนรู้ที่ 02
แผนจัดการเรียนรู้ที่ 02witthawat silad
 
2.a1 บทคัดย่อ
2.a1 บทคัดย่อ2.a1 บทคัดย่อ
2.a1 บทคัดย่อ
kai kk
 
8 กระบวนพัฒน์
8 กระบวนพัฒน์8 กระบวนพัฒน์
8 กระบวนพัฒน์
krutukSlide
 
โครงการการติดตาม เยี่ยมเยียนสถานศึกษาและการประกันคุณภาพการศึกษา
โครงการการติดตาม เยี่ยมเยียนสถานศึกษาและการประกันคุณภาพการศึกษาโครงการการติดตาม เยี่ยมเยียนสถานศึกษาและการประกันคุณภาพการศึกษา
โครงการการติดตาม เยี่ยมเยียนสถานศึกษาและการประกันคุณภาพการศึกษา
นิรุทธิ์ อุทาทิพย์
 
Wichaiclassresearch2560
Wichaiclassresearch2560Wichaiclassresearch2560
Wichaiclassresearch2560
Wichai Likitponrak
 
Supattra s
Supattra sSupattra s
Supattra speerapit
 

Similar to Fulltext#1 72590งานวิจัย (20)

การศึกษาวิธีการจัดการเรียนการสอน
การศึกษาวิธีการจัดการเรียนการสอนการศึกษาวิธีการจัดการเรียนการสอน
การศึกษาวิธีการจัดการเรียนการสอน
 
GSprojectscience reprot2562_2_kruwichai
GSprojectscience reprot2562_2_kruwichaiGSprojectscience reprot2562_2_kruwichai
GSprojectscience reprot2562_2_kruwichai
 
Kamon
KamonKamon
Kamon
 
Kamon1
Kamon1Kamon1
Kamon1
 
ทักษะพนฐานทางคณิตศาสตรของเด็กปฐมวัยที่ไดรับการจัดกิจกรรมศิลปสรางสรรคจากวั...
ทักษะพนฐานทางคณิตศาสตรของเด็กปฐมวัยที่ไดรับการจัดกิจกรรมศิลปสรางสรรคจากวั...ทักษะพนฐานทางคณิตศาสตรของเด็กปฐมวัยที่ไดรับการจัดกิจกรรมศิลปสรางสรรคจากวั...
ทักษะพนฐานทางคณิตศาสตรของเด็กปฐมวัยที่ไดรับการจัดกิจกรรมศิลปสรางสรรคจากวั...
 
Koy
KoyKoy
Koy
 
ตัวอย่าง Is การทำคู่มือ
ตัวอย่าง Is การทำคู่มือตัวอย่าง Is การทำคู่มือ
ตัวอย่าง Is การทำคู่มือ
 
โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ
โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ
โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ
 
งานนำเสนอFlipclassroom
งานนำเสนอFlipclassroomงานนำเสนอFlipclassroom
งานนำเสนอFlipclassroom
 
รายงานการอบรมปฏิบัติการ วัดผล
รายงานการอบรมปฏิบัติการ วัดผลรายงานการอบรมปฏิบัติการ วัดผล
รายงานการอบรมปฏิบัติการ วัดผล
 
โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์
 
การเกิดปฏิกิริยาเคมี เล่ม1
การเกิดปฏิกิริยาเคมี เล่ม1การเกิดปฏิกิริยาเคมี เล่ม1
การเกิดปฏิกิริยาเคมี เล่ม1
 
รายงานผลการประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษา 2560 โรงเรียนพระบางวิทยา สพม.42
รายงานผลการประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษา 2560 โรงเรียนพระบางวิทยา สพม.42รายงานผลการประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษา 2560 โรงเรียนพระบางวิทยา สพม.42
รายงานผลการประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษา 2560 โรงเรียนพระบางวิทยา สพม.42
 
แผนจัดการเรียนรู้ที่ 02
แผนจัดการเรียนรู้ที่ 02แผนจัดการเรียนรู้ที่ 02
แผนจัดการเรียนรู้ที่ 02
 
2.a1 บทคัดย่อ
2.a1 บทคัดย่อ2.a1 บทคัดย่อ
2.a1 บทคัดย่อ
 
8 กระบวนพัฒน์
8 กระบวนพัฒน์8 กระบวนพัฒน์
8 กระบวนพัฒน์
 
โครงการการติดตาม เยี่ยมเยียนสถานศึกษาและการประกันคุณภาพการศึกษา
โครงการการติดตาม เยี่ยมเยียนสถานศึกษาและการประกันคุณภาพการศึกษาโครงการการติดตาม เยี่ยมเยียนสถานศึกษาและการประกันคุณภาพการศึกษา
โครงการการติดตาม เยี่ยมเยียนสถานศึกษาและการประกันคุณภาพการศึกษา
 
Wichaiclassresearch2560
Wichaiclassresearch2560Wichaiclassresearch2560
Wichaiclassresearch2560
 
Supattra s
Supattra sSupattra s
Supattra s
 
Best practices
Best practicesBest practices
Best practices
 

Fulltext#1 72590งานวิจัย

  • 1. ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการประกอบอาหาร Basic Mathematics Skills of the Preschoolers Enhanced by Cooking Activities ศุภนันท์ พลายแดง Supanan Plydang วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี Master of Education Thesis in Early Childhood Education Phetchaburi Rajabhat University 2553 วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
  • 2. 2 ชื่อวิทยานิพนธ์ ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรม การประกอบอาหาร ผู้วิจัย นางศุภนันท์ พลายแดง สาขา การศึกษาปฐมวัย คณะกรรมการวิทยานิพนธ์ คณะกรรมการสอบ ............................................ประธานกรรมการ .............................................ประธานกรรมการ (ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุมาลี งามสมบัติ) (รองศาสตราจารย์สุเทพ ลิ่มอรุณ) ..........................................................กรรมการ .......................................................กรรมการ (รองศาสตราจารย์ดร.นิตยา ประพฤติกิจ) (รองศาสตราจารย์ดร.นิตยา ประพฤติกิจ) ..........................................................กรรมการ (ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุมาลี งามสมบัติ) ......................................................ผู้ทรงคุณวุฒิ (รองศาสตราจารย์ดร.ธีระ ประพฤติกิจ) มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี อนุมัติให้นับวิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่ง ของการศึกษา ตามหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการศึกษาปฐมวัย .................................................................... ................................................................ (ดร.วิวัฒน์ วรวงษ์) (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.นิวัต กลิ่นงาม) คณบดีคณะครุศาสตร์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
  • 3. 3 ชื่อวิทยานิพนธ์ ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการ ประกอบอาหาร ผู้วิจัย นางศุภนันท์ พลายแดง สาขาวิชา การศึกษาปฐมวัย พ.ศ. 2553 บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็ก ปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมการประกอบอาหาร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือเด็กปฐมวัย ชาย- หญิง อายุ 3 - 4 ปี ที่กาลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553 ของโรงเรียนมิตรภาพที่ 34 จานวน 15 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจงจากผู้ที่มีคะแนน พื้นฐานทางคณิตศาสตร์อยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างต่า เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองคือ แผนการจัด กิจกรรมการประกอบอาหารเพื่อใช้ในการทดลอง 6 สัปดาห์ ๆ ละ 3 วันๆ ละ 1 ครั้งๆ ละ 30 นาที รวมทั้งสิ้น 18 ครั้ง และแบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.85 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐานและการทดสอบค่าที ผลการวิจัย พบว่า เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการประกอบอาหารมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ โดยรวมและรายด้านสูงคือด้านการเปรียบเทียบ การจับคู่และการนับจานวนขึ้นกว่าก่อนการ ทดลองอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01
  • 4. 4 Thesis Title : Basic Mathematics Skills of the Preschoolers Enhanced by Cooking Activities Researcher : Mrs. Supanan Plydang Major : Early Childhood Education Year : 2010 Abstract The purpose of this research was to compare basic mathematics skills of preschoolers before and after cooking activities. Samples were fifteen boys and girls, aged 3 - 4 year preschoolers purposively selected from the low achievers in basic mathematics skills of the preschoolers at Mitrapap 34 School, in the frist semester of the academic year 2010. The research instruments used in the study were Cooking Activities for 6 weeks, 3 days a week and 30 minutes a day experiment and a Basic Mathematics Skill Test with the reliability at .85. Mean, Standard deviation and t-test for dependent sample were used for the analysis of data. The results revealed that after receiving Cooking Activities, the frist year preschoolers had higher Basie Mathematics skills in total and in each dimension including comparison, matching and counting number than before the experiment at .01 level.
  • 5. 5 กิตติกรรมประกาศ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้สาเร็จได้ด้วยความกรุณาเป็นอย่างสูงจากผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุมาลี งามสมบัติ ประธานกรรมการที่ปรึกษา และรองศาสตราจารย์ ดร.นิตยา ประพฤติกิจ กรรมการที่ปรึกษา ซึ่งคอยแนะนา ให้ข้อคิด และตรวจปรับข้อบกพร่องต่างๆ ด้วยความเอาใจใส่ เป็นอย่างยิ่ง และให้ข้อเสนอแนะในการจัดทาวิทยานิพนธ์ตั้งแต่ต้นจนสาเร็จด้วยความเรียบร้อย ข้าพเจ้าขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงมา ณ โอกาสนี้ ทั้งนี้ขอกราบขอบพระคุณรศ.ดร.กาญจนา บุญส่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์วันทนา กลิ่นงาม และผู้ช่วยศาสตราจารย์ไกรรวี ศรีสุคนธ์ ผู้เชี่ยวชาญในการตรวจเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยซึ่ง กรุณาให้คาแนะนาเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ ในการวิจัยครั้งนี้ นอกจากนี้ผู้วิจัยยังได้รับความกรุณาและความร่วมมือเป็นอย่างดีจากผู้อานวยการ คณะผู้บริหาร ครูผู้สอนโรงเรียนมิตรภาพที่ 34 ทุกท่านที่ให้ความอนุเคราะห์และให้กาลังใจ จนทาให้วิทยานิพนธ์ฉบับนี้สาเร็จลุล่วงลงได้ คุณประโยชน์ที่พึงมีจากวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ ผู้วิจัยขอมอบเป็นเครื่องบูชาพระคุณของ บิดา มารดา และครอบครัวที่ได้ให้โอกาสผู้วิจัยได้มีวันนี้ จึงขอมอบเพื่อเป็นเครื่องหมายแห่งความ เพียรพยายามสาหรับผู้ที่คอยให้กาลังใจทุกท่าน ศุภนันท์ พลายแดง ตุลาคม 2553
  • 6. 6 สารบัญ หน้า บทคัดย่อภาษาไทย......................................................................................................................... (3) บทคัดย่อภาษาอังกฤษ.................................................................................................................... (4) กิตติกรรมประกาศ......................................................................................................................... (5) สารบัญ.......................................................................................................................................... (6) สารบัญตาราง................................................................................................................................. สารบัญภาพประกอบ..................................................................................................................... (8) (9) บทที่ 1 บทนา................................................................................................................................... 1 ความเป็นมาและความสาคัญของปัญหา......................................................................... 1 วัตถุประสงค์ของการวิจัย .............................................................................................. 4 สมมติฐานการวิจัย.......................................................................................................... 4 ขอบเขตการวิจัย.............................................................................................................. 4 กรอบแนวคิดในการวิจัย................................................................................................. 5 นิยามศัพท์เฉพาะ............................................................................................................ 5 ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย........................................................................................ 6 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง............................................................................................ 7 เอกสารที่เกี่ยวข้องกับทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์...................................................... 8 ความหมายของทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์............................................................. 8 ความสาคัญของทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์............................................................. 9 ทฤษฎีพัฒนาการด้านการคิดของเด็กปฐมวัย................................................................. 12 ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สาหรับเด็กปฐมวัย........................................................ 19 แนวทางในการส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์................................................. 26 การวัดและประเมินทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์....................................................... 29 เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการจัดกิจกรรมการประกอบอาหารสาหรับเด็กปฐมวัย................ ความหมายของกิจกรรมการประกอบอาหารสาหรับเด็กปฐมวัย.................................. 31 31 ความสาคัญและประโยชน์ของกิจกรรมการประกอบอาหาร....................................... ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการประกอบอาหารสาหรับเด็กปฐมวัย................................... บทบาทครูในการจัดกิจกรรมการประกอบอาหารสาหรับเด็กปฐมวัย………………... 32 32 34
  • 7. 7 ข้อเสนอแนะและข้อควรระวังในการจัดกิจกรรมการประกอบอาหาร........................... งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดกิจกรรมการประกอบอาหาร........................................... งานวิจัยในประเทศ.................................................................................................... งานวิจัยต่างประเทศ.................................................................................................. หน้า 34 36 36 38 3 วิธีดาเนินการวิจัย................................................................................................................ 39 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง............................................................................................. 39 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย................................................................................................. 39 การสร้างและการหาคุณภาพของเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย............................................. 40 แบบแผนการวิจัย........................................................................................................... 41 การเก็บรวบรวมข้อมูล.................................................................................................... 42 การวิเคราะห์ข้อมูล......................................................................................................... 43 4 5 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล......................................................................................................... สัญลักษณ์ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล.......................................................................... ลาดับขั้นในการนาเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล........................................................... สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ.................................................................................. สรุปผลการวิจัย............................................................................................................. อภิปรายผล.................................................................................................................... ข้อเสนอแนะ................................................................................................................. บรรณานุกรม..................................................................................................................... ภาคผนวก......................................................................................................................... ภาคผนวก ก. แผนการจัดกิจกรรมการประกอบอาหารสาหรับเด็กปฐมวัย............... ภาคผนวก ข. คู่มือและแบบวัดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย......... ภาคผนวก ค. ผลการประเมินความสอดคล้องระหว่างเครื่องมือกับ วัตถุประสงค์… ภาคผนวก ง. แสดงวิธีการวิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทักษะพื้นฐาน ทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย.............................................................. ภาคผนวก จ. ข้อมูลคะแนนทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ก่อนและหลังการทดลอง ภาคผนวก ฉ. ตัวอย่างผลการวิเคระห์ข้อมูล............................................................... ภาคผนวก ช. รายชื่อผู้เชี่ยวชาญ................................................................................ ประวัติย่อผู้วิจัย................................................................................................................... 46 46 46 50 50 50 53 54 59 60 108 118 121 125 127 131 133
  • 8. 8 สารบัญตาราง ตารางที่ หน้า 1 แบบแผนการทดลอง................................................................................................. 41 2 ตารางกิจกรรมการประกอบอาหารสาหรับเด็กปฐมวัย.............................................. 42 3 แสดงคะแนนเฉลี่ย (Mean) ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) และ ค่าทีของคะแนนทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย โดยรวม................. 47 4 แสดงค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตราฐานของคะแนนทักษะพื้นฐานทาง คณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการประกอบอาหาร จาแนกรายด้าน......................................................................................................... 48 5 ผลการประเมินความสอดคล้องระหว่างกิจกรรมการประกอบอาหารกับ วัตถุประสงค์ของการวิจัย......................................................................................... 119 6 ผลการประเมินความสอดคล้องระหว่างแบบวัดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์กับ วัตถุประสงค์ของการวิจัย.......................................................................................... 120 7 แสดงผลการหาค่าเชื่อมั่นของแบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็ก ปฐมวัย โดยใช้สูตรของคูเดอร์ริชาร์ดสัน สูตรที่ 20 (K-R 20).................................. 122 8 ข้อมูลของคะแนนทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการ ทดลอง...................................................................................................................... 126
  • 10. 10 บทที่ 1 บทนา ความเป็นมาและความสาคัญของปัญหา เนื่องจากการปฏิรูปการศึกษาได้มีการกาหนดแนวทางในการปฏิรูปการเรียนรู้ ดังปรากฏชัดเจนในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ในหมวดที่ 22 และหมวดที่ 24 ให้ สถานศึกษาจัดการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ ส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตาม ธรรมชาติและเต็มศักยภาพ โดยจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นถึงความสนใจ ความแตกต่างระหว่าง บุคคล การฝึกทักษะกระบวนการคิด การจัดการ การแก้ปัญหาด้วยการบูรณาการความรู้ และปลูกฝัง คุณธรรม โดยมีครูเป็นผู้กระตุ้นและเสริมแรงให้เด็กค้นหาคาตอบและเกิดการแก้ปัญหาด้วยตนเอง (กุลยา ตันติผลาชีวะ, 2547: 22-23) จากแนวการศึกษานี้จึงส่งผลให้สถานศึกษา และหน่วยงานที่มี ความเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา ต้องปรับเปลี่ยนระบบการจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้อง และดาเนินไปตามแนวทางของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ทั้งนี้รวมถึงการจัด การศึกษาในระดับปฐมวัยที่จะต้องจัดระบบการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญด้วย กระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสาคัญที่สุด คือ การพัฒนาคนและชีวิตให้เกิดประสบการณ์ การเรียนรู้อย่างเต็มความสามารถ สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน ความถนัด ความสนใจ ความแตกต่างระหว่างบุคคล ผู้เรียนได้ทดลองปฏิบัติ ค้นคว้าเรียนรู้ร่วมกับเพื่อน ด้วยการกระตุ้น และสนับสนุนการเรียนรู้จากครู ซึ่งสอดคล้องกับ เพียเจท์ (Piaget) ที่เน้นเรื่องการเรียนรู้จะเกิดขึ้น ได้นั้น เมื่อเด็กมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนและผู้ใหญ่ในการเข้าสังคมนั้น ๆ อิทธิพลของทฤษฎีนี้มี บทบาทในการจัดแนวประสบการณ์ในระดับปฐมวัยคือ ให้เด็กได้เรียนรู้โดยให้โอกาสเด็กในการ เล่น สารวจ และทดลอง ให้เด็กมีโอกาสเลือกตัดสินใจ และแก้ปัญหาต่าง ๆ ด้วยตนเอง และ เนื่องจากการจัดการศึกษาในระดับปฐมวัยนั้น เป็นการจัดการศึกษาที่จัดให้กับเด็กตั้งแต่แรกเกิด จนถึง 8 ปี และในช่วงวัยนี้เป็นระยะที่มีความสาคัญที่สุดของการพัฒนาการทั้งทางร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ สังคมและบุคลิกภาพ (สิริมา ภิญโญอนันตพงษ์, 2545: 8) ดังนั้น ในการ จัดกิจกรรมแต่ละครั้งจึงต้องคานึงถึงการพัฒนาเด็ก และในการจัดกิจกรรมนั้น ๆ ก็ไม่ได้หมายความ ว่า เด็กทุกคนจะสามารถพัฒนาเหมือนกันหมดทุกคน โดยเฉพาะการจัดการศึกษาในระดับปฐมวัยที่ ไม่ได้มุ่งเน้นให้เด็กเกิดการเรียนรู้เชิงเนื้อหาเป็นสาคัญ แต่เป็นการเปิดโอกาสให้เด็กได้พัฒนา
  • 11. 11 เครื่องมือ หรือทักษะการเรียนรู้ที่เด็กจะต้องใช้ต่อไป (วัลนา ธรจักร, 2544: 1) โดยเฉพาะทักษะ ทางด้านคณิตศาสตร์ ซึ่งเป็นทักษะที่มีความสาคัญมากเพราะคณิตศาสตร์ช่วยพัฒนาความคิดของ ผู้เรียนให้สามารถคิดได้อย่างมีระบบมีเหตุผลและสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ (บุญทัน อยู่ชมบุญ, 2529: 1) คณิตศาสตร์มีส่วนสาคัญอย่างมากในชีวิตประจาวันของเด็ก การเรียนรู้คณิตศาสตร์ ของเด็กนั้นเริ่มตั้งแต่เกิด การกะระยะที่จะจับหน้าแม่ การแสดงออกด้วยการเอื้อมมือ (กุลยา ตันติ ผลาชีวะ, 2547: 157) และถ้าเราสังเกตรอบตัวก็จะเห็นว่าชีวิตเราเกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์มากมาย เริ่มตั้งแต่ เลขที่บ้าน เบอร์โทรศัพท์ หรือแม้แต่การพูดคุยของเด็กที่เราได้ยิน ก็จะมีการเปรียบเทียบ การวัด การจัดประเภท และตัวเลข (นิตยา ประพฤติกิจ, 2541: 3-4) นอกจากนี้ วาโร เพ็งสวัสดิ์ (2542 : 6) กล่าวว่า จากการที่คณิตศาสตร์มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดารงชีวิตของมนุษย์ ทาให้เด็กต้อง รู้จักการสังเกตความเหมือนและความแตกต่าง การเปรียบเทียบขนาดใหญ่ – เล็ก , สั้น – ยาว การจัดลาดับ ซึ่งเป็นการเปรียบเทียบขั้นสูง เด็กจะต้องรู้จักการเปรียบเทียบของสองสิ่งหรือมากกว่า สองสิ่ง และจะต้องมีการจัดเรียงสิ่งของเป็นลาดับตั้งแต่ขั้นแรกจนถึงขั้นสุดท้าย ตลอดจนการวัด ซึ่งความสามารถทางด้านการวัดนี้ จะพัฒนาการมาจากประสบการณ์ในการเปรียบเทียบและการจัด อันดับ ในขณะที่เด็กเปรียบเทียบน้าหนักของสิ่งของว่าสิ่งใดยาวที่สุด เป็นเวลาที่เด็กกาลังใช้แนวคิด ในเรื่องการวัดด้วย ซึ่งทักษะทางคณิตศาสตร์เหล่านี้จะเป็นทักษะพื้นฐานในการเรียนรู้ในเรื่องอื่น ๆ ต่อไปในอนาคต ดังนั้น ในการส่งเสริมความเข้าใจเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ นอกจากจะต้องอาศัย สถานการณ์ในชีวิตประจาวันของเด็กแล้วยังต้องอาศัยการจัดกิจกรรมที่มีการวางแผน และเตรียมการอย่างดีจากครูเพื่อเปิ ดโอกาสให้แก่เด็กได้พัฒนาทักษะการสังเกตเปรียบเทียบ จัดหมวดหมู่ เรียงลาดับ และการวัด ซึ่งเป็นการวางพื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์ที่มีความสาคัญ สาหรับเด็กเป็นอย่างยิ่ง ปัจจุบันการจัดประสบการณ์เพื่อให้เด็กได้รับประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์นั้น สามารถวัดได้หลากหลายรูปแบบ ครูสามารถสอดแทรกเข้ากับกิจกรรมต่าง ๆ ที่เด็ก ๆ ทาได้ บุญเยี่ยม จิตรดอน (2526: 46) กล่าวว่า แนวทางการจัดประสบการณ์ทางด้านคณิตศาสตร์แก่เด็ก ปฐมวัยนั้นเด็กเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงจากของจริง และในการสอนจะต้องหาอุปกรณ์ ซึ่งเป็น ของจริงให้มากที่สุด และเริ่มจากการสอนแบบรูปธรรมไปหานามธรรม เริ่มจากสิ่งง่าย ๆ ใกล้ตัว และคิดจากปัญหาในชีวิตประจาวัน ให้เด็กได้ค้นคว้าด้วยตนเอง และเป็นกิจกรรมที่สนุกสนาน ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ รัชนี สมประชา (2533: 55-58) ที่พบว่าเด็กปฐมวัยที่มีอายุระหว่าง 4 – 5 ปี ที่ได้รับการจัดประสบการณ์ การเล่นน้า เล่นทราย มีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สูงกว่า เด็กที่ไม่ได้รับการจัดประสบการณ์เล่นน้า เล่นทราย ตลอดจนงานวิจัยของวนิดา บุษยะกนิษฐ์
  • 12. 12 (2532: 66) พบว่า เด็กปฐมวัยที่ได้รับประสบการณ์แบบปฏิบัติการมีทักษะการเปรียบเทียบสูงกว่า เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์แบบปกติ ดังนั้นในการที่จะช่วยพัฒนาทักษะพื้นฐานทาง คณิตศาสตร์ให้แก่เด็กปฐมวัย ครูผู้สอนสามารถจัดกิจกรรมอย่างหลากหลายวิธี ซึ่งครูสามารถ เลือกใช้ได้ตามความเหมาะสม โดยเฉพาะวิธีการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์นั้น ก็มีกิจกรรม ผสมผสานหลากหลายรูปแบบ เช่น แบบอภิปราย แบบสาธิต แบบเล่นเกม และแบบปฏิบัติการ ทดลอง เป็นต้น (นิตยา บรรณประสิทธิ์, 2536: 2) แต่การจัดประสบการณ์ที่เด็กจะได้ฝึกทักษะการ เปรียบเทียบรูปทรง และการนับจานวน โดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 จากการเรียนรู้ในคราวเดียว คือ การจัดกิจกรรมการประกอบการอาหาร ซึ่งเด็ก ๆ รู้จักและคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี การเปิดโอกาส ให้เด็ก ๆ ได้ลงมือประกอบอาหารด้วยตนเอง เด็กจะชอบและมองเห็นเป็นเรื่องสนุก และยังได้เกิด การเรียนรู้ในเรื่องคณิตศาสตร์ตามมา เนื่องจากเป็น กิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กทาสิ่งต่าง ๆ จาก วัสดุ อุปกรณ์ในการทาอาหาร ซึ่งจะช่วยให้เด็กเกิดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ดี ด้วยขั้นตอนการ ทาอาหารง่าย ๆ ไม่ยุ่งยากและเป็นอันตรายสาหรับเด็ก (วัชรินทร์ เทพมณี. 2545: 3) ซึ่งสอดคล้อง กับ ศิริลักษณ์ สินธวาลัย (2522: 26) ได้กล่าวว่า ในการทาและเลือกกินอาหารมักจะต้องใช้ประสาท สัมผัสทุกอย่าง ต้องใช้ประสาทสัมผัสเกี่ยวกับการมองเห็น การสัมผัส การได้กลิ่น แม้กระทั่งการได้ ยิน ซึ่ งเพียเจท์ (Piaget) บรูเนอร์ (Bruner) และมอนเตสเซอร์รี่ (Montessori) กล่าวว่า กระบวนการพัฒนาทางสติปัญญานั้นเกิดจากการเรียนรู้โดยการกระทา การเปิดโอกาสให้เด็กได้ สังเกต จาแนกและเปรียบเทียบจากของจริงและลงมือปฏิบัติด้วยตนเองจะทาให้เด็กได้ค้นพบความ จริงเกิดความเข้าใจ และเกิดความคิดรอบยอด (บุญประจักษ์ วงษ์มงคล, 2536: 3) ดังนั้น กิจกรรม การประกอบอาหารจึงเป็นกิจกรรมที่มีประโยชน์ต่อเด็กในการพัฒนาความพร้อม ในเรื่องการ สังเกต จาแนกเปรียบเทียบ จัดหมวดหมู่ เรียงลาดับ และการวัด ซึ่งเป็นการวางรากฐานที่สาคัญต่อ การเรียนคณิตศาสตร์ในขั้นสูงต่อไป เพราะการจัดกิจกรรมการประกอบอาหารเป็นกิจกรรมที่เด็ก ๆ จะได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรงจากกระบวนการในการทาอาหาร เด็กจะได้ลงมือปฏิบัติจริง ตั้งแต่การจัดเตรียมอุปกรณ์ ส่วนผสมของอาหารประเภทต่าง ๆ และการผสมส่วนผสมต่าง ๆ ตาม ขั้นตอน ซึ่งเด็กต้องใช้การ เปรียบเทียบรูปทรง การนับจานวน การเรียงลาดับและการวัดซึ่งเป็นการ ส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ให้กับเด็กทั้งสิ้น เพื่อเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้คณิตศาสตร์ และเพื่อให้เด็กสามารถนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ไปใช้ในชีวิตประจาวันต่อไป ดังนั้น ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาว่าการจัดกิจกรรมการประกอบอาหาร จะมีผลต่อทักษะ พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย หรือไม่เพียงใด เพื่อเป็นแนวทางให้กับครูและบุคลากร ทางการศึกษาปฐมวัย พ่อแม่ผู้ปกครองในการที่จะเลือกและพิจารณากิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะ พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
  • 13. 13 วัตถุประสงค์การวิจัย 1. เพื่อศึกษาผลของการจัดกิจกรรมการประกอบอาหารที่มีต่อทักษะพื้นฐานทาง คณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย 2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยรวมและรายด้านของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการประกอบอาหาร สมมติฐานในการวิจัย เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการประกอบอาหารจะมีทักษะพื้นฐานทาง คณิตศาสตร์โดยรวมและรายด้านหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง ขอบเขตของการวิจัย ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 1. ประชากร ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นเด็กปฐมวัยชาย - หญิง อายุระหว่าง 3-4ปี ที่ กาลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553ของโรงเรียนมิตรภาพที่ 34 อาเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี จานวน 1 ห้องเรียน ทั้งหมด 30 คน 2. กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นเด็กปฐมวัยชาย - หญิง อายุระหว่าง 3-4 ปี ที่กาลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนมิตรภาพที่ 34 อาเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี จานวน 15 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการคัดเลือกเด็กที่มีคะแนน ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสาตร์ค่อนข้างต่าจากแบบวัดที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น 3. ตัวแปรที่ศึกษา 3.1 ตัวแปรต้น ได้แก่ การจัดกิจกรรมการประกอบอาหาร 3.2 ตัวแปรตาม ได้แก่ ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
  • 14. 14 4. ระยะเวลาในการทดลอง การทดลองครั้งนี้กระทาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553 ใช้เวลาในการทดลอง 6 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน ๆ ละ 30 นาที กรอบแนวคิดในการวิจัย ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม นิยามศัพท์เฉพาะ 1. เด็กปฐมวัย หมายถึง เด็กนักเรียนชาย - หญิง อายุระหว่าง 3-4 ปี ที่กาลังศึกษาอยู่ใน ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนมิตรภาพที่ 34 อาเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี 2. ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย หมายถึง ความรู้เบื้องต้นที่เด็ก ปฐมวัยที่ควรจะได้รับรู้และมีประสบการณ์เรื่องของ การเปรียบเทียบ รูปทรง การนับจานวน ซึ่งทักษะเหล่านี้เป็นทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ที่จะช่วยเตรียมเด็กให้มีความพร้อมที่จะเรียนรู้ คณิตศาสตร์ในระดับต่อไป 3. กิจกรรมการประกอบอาหาร หมายถึง กิจกรรมที่จัดให้เด็กปบมวัยได้ใช้ประสาท สัมผัสทุกด้านในการเรียนรู้ คือ การมองเห็น การสัมผัส การชิมรส การดมกลิ่น และการฟัง ซึ่งแผนการดาเนินกิจกรรมการทดลองประกอบอาหารนั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ขั้นคือ ขั้น เตรียม ขั้นปฏิบัติ และขั้นสรุป ซึ่งสร้างและพัฒนาโดยผู้วิจัย กิจกรรมการประกอบอาหาร ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย 1. การเปรียบเทียบ 2. การจับคู่ 3. การนับจานวน
  • 15. 15 ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย 1. ทาให้ครูและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาปฐมวัยได้ตระหนักถึงความสาคัญ ของการส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมในชีวิตประจาวันของ เด็ก 2. ได้รูปแบบการจัดกิจกรรมการประกอบอาหารเพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทาง คณิตศาสตร์โดยยึดผู้เรียนเป็นสาคัญ
  • 16. 16 บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยนาเสนอตามหัวข้อ ต่อไปนี้ 1. เอกสารที่เกี่ยวข้องกับทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ 1.1 ความหมายของทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ 1.2 ความสาคัญของทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ 1.3 ทฤษฎีพัฒนาการด้านการคิดของเด็กปฐมวัย 1.4 ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สาหรับเด็กปฐมวัย 1.5 แนวทางในการส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ 1.6 การวัดและประเมินผลทักษะพื้นฐานของเด็กปฐมวัย 2. เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการจัดกิจกรรมการประกอบอาหาร 2.1 ความหมายของการจัดกิจกรรมการประกอบอาหาร 2.2 ความสาคัญของการจัดกิจกรรมการประกอบอาหาร 2.3 ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการประกอบอาหาร 2.4 บทบาทของครูในการจัดกิจกรรมการประกอบอาหาร 2.5 ข้อเสนอแนะและข้อควรระวังในการจัดกิจกรรมการประกอบอาหาร 3. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 3.1 งานวิจัยในประเทศ 3.2 งานวิจัยต่างประเทศ
  • 17. 17 1. เอกสารที่เกี่ยวข้องกับทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ 1.1 ความหมายของทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ได้มีนักการศึกษากล่าวถึงความหมายของทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ไว้ดังนี้ บุญเยี่ยม จิตรดอน (2526: 250-251) ให้ความหมายของทักษะพื้นฐานทาง คณิตศาสตร์ว่า เป็นความรู้เบื้องต้น ซึ่งจะนาไปสู่การเรียนคณิตศาสตร์ เด็กควรจะได้มีประสบการณ์ เกี่ยวกับกับเปรียบเทียบ เรียงลาดับ การวัด การจับคู่หนึ่งต่อหนึ่ง การนับก่อนที่จะเรียนเรื่องตัวเลข และวิธีคิดคานวณ ประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์เปรียบเสมือนบันไดขั้นต้น ซึ่งช่วยเตรียมตัวให้ พร้อมที่จะก้าวไปสู่ประสบการณ์พื้นฐานต่อไป อัญชลี แจ่มเจริญ (2526: 121-122) ได้ให้ความหมายของทักษะพื้นฐานทาง คณิตศาสตร์ว่า เด็กควรได้รับการฝึกในเรื่องของการสังเกต และจาแนกสิ่งต่าง ๆ ตามรูปร่าง ขนาด การบอกตาแหน่งของสิ่งของ การเรียบเทียบขนาด รูปร่าง น้าหนัก ความยาวและส่วนสูงก่อนที่จะ เรียนคณิตศาสตร์ในชั้นประถม มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (2527: 30) ได้กล่าวถึงทักษะพื้นฐานทาง คณิตศาสตร์ไว้ว่า การสร้างประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ให้แก่เด็กเป็นการเตรียม สร้างเสริม ทางด้านคณิตศาสตร์และปูพื้นฐานด้านความพร้อมในการเรียนคณิตศาสตร์ต่อไปในชั้นประถม ประไพจิตร เนติศักดิ์ (2529: 49-53) ได้กล่าวถึงทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ว่า เด็กควรที่จะได้เตรียมความพร้อมในเรื่องของการสังเกตการเปรียบเทียบรูปร่าง น้าหนัก ขนาด สีที่ เหมือนและแตกต่างกันการบอกตาแน่งของสิ่งของการเปรียบเทียบจานวน และการจัดเรียงลาดับ ความยาว ความสูงและขนาด ศรีสุดา คัมภีร์ภัทร (2534: 13) ได้กล่าวถึงทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ไว้ว่า เป็น ความรู้พื้นฐานของเด็กที่ได้รับประสบการณ์เกี่ยวกับการสังเกต การเปรียบเทียบ การจาแนกตาม รูปร่าง ขนาดน้าหนัก ความยาว ความสูง ความเหมือน ความต่าง การเรียงลาดับ การวัด การบอก ตาแหน่ง และการนับเพื่อเป็นพื้นฐานในการเตรียมความพร้อมที่จะเรียนคณิตศาสตร์ในระดับ ประถมศึกษา มันทนา เทศวิศาล (2535: 194 – 197) ได้ให้ความหมายของทักษะพื้นฐานทาง คณิตศาสตร์ ไว้ว่า เป็นการให้เด็กเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องของการจาแนกของออกเป็นหมวดหมู่ ตาม ลักษณะหรือขนาดการคิดจานวน รวมทั้งเรื่องของน้าหนัก จานวน ปริมาณ การวัดขนาดและเวลา โดยมีของจริงมาช่วยเสริมความเข้าใจ เพราะจะเป็นพื้นฐานของความเข้าใจเรื่องคณิตศาสตร์ของเด็ก ต่อไปในอนาคต
  • 18. 18 ประไพ เนติศักดิ์ ( 2549:49-53 ) ได้กล่าวถึงทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ว่าเด็กควร ได้เตรียมความพร้อมในเรื่องของการสังเกต การเปรียบเทียบ รูปร่าง น้าหนัก ขนาด สี ที่เหมือนและ ต่างกัน การบอกตาแหน่งของสิ่งของ การเปรียบเทียบ และการจัดเรียงลาดับ ความยาว ความสูง และ ขนาด สรุปได้ว่าทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ คือความรู้เบื้องต้นที่เด็กควรจะได้รับรู้และมี ประสบการณ์เรื่องของ การเปรียบเทียบ รูปทรง การนับจานวน ซึ่งทักษะเหล่านี้เป็นทักษะ พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ที่จะช่วยเตรียมเด็กให้มีความพร้อมที่จะเรียนรู้คณิตศาสตร์ในระดับต่อไป 1.2 ความสาคัญของทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์เป็ นพื้นฐานที่ช่วยให้เด็กรู้จักแก้ปัญหา มี ความสามารถในการคิดคานวณและอื่นๆ ดังมีผู้กล่าวถึงความสาคัญของทักษะพื้นฐานทาง คณิตศาสตร์ ไว้ดังนี้ บุญเยี่ยม จิตรดอน (2526: 245-246) กล่าวถึงพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ว่ามี ความสาคัญ คือ 1. เพื่อช่วยให้เด็ก ๆ ได้ มีความพร้อมที่จะเรียนคณิตศาสตร์เบื้องต้น ซึ่งได้แก่ รู้จัก การสังเกตการเปรียบเทียบ และการแยกหมู่การรวมหมู่ การเพิ่มขึ้นและลดลง 2. ช่วยให้เด็กได้ขยายประสบการณ์เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ให้สอดคล้องโดยลาดับ จากง่ายไปหายาก 3. เพื่อให้เด็กเข้าใจความหมาย และใช้คาพูดเกี่ยวกับวิชาคณิตศาสตร์ได้ถูก เช่น เด็กจะต้องเข้าใจความหมายของสัญลักษณ์ต่าง ๆ เช่น จานวนสาม หมายถึง ส้มสามผล มะนาวสาม ผล ดินสอสามแท่ง จานวนดังกล่าวใช้แทนจานวนส้ม มะนาว และดินสอ ในการสร้างเสริม ประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัยจึงจาเป็นต้องใช้ภาษาทางคณิตศาสตร์ให้ได้ถูกต้อง 4. เพื่อฝึกทักษะเบื้องต้นในการคิดคานวณ โดยการสร้างเสริมประสบการณ์แก่เด็ก ปฐมวัย เพื่อฝึกการเปรียบเทียบรูปทรงต่าง ๆ และบอกความแตกต่างในเรื่องขนาด น้าหนัก ระยะเวลาจานวนของสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบ ๆ ตัวได้ สามารถแยกของเป็น แยกเรียงลาดับใหญ่เล็ก สูง ต่า แยกเป็นหมู่ย่อยได้โดยการเพิ่มขึ้น หรือ ลดลง ทักษะเหล่านี้จะช่วยให้เด็กพร้อมที่จะคานวณใน ชั้นต่อ ๆ ไป 5. วิชาคณิตศาสตร์ เป็นวิชาที่เป็นเหตุเป็นผล ผู้ที่จะเรียนคณิตศาสตร์ได้จาเป็นต้อง เป็นผู้ที่มีความสามารถในการให้เหตุผล หรือความเข้าใจในเรื่อง ความเป็นเหตุเป็นผลอาจทาให้ได้ โดยการตั้งปัญหาให้เด็กคิดหาเหตุผลหาคาตอบให้ค้นคว้าเองโดยจัดสื่อการเรียนการสอนให้ เพื่อให้
  • 19. 19 เกิดความมั่นใจและการตัดสินใจอย่างเหตุผล และจะต้องเริ่มฝึกตั้งแต่เด็กเริ่มเรียนจึงจะให้การเรียน คณิตศาสตร์ประสบผลสาเร็จ 6. เพื่อให้สัมพันธ์กับกิจกรรมศิลปะ ภาษา และสามารถนาไปใช้ในชีวิตประจาวันได้ ดังนั้น จึงต้องใกล้สัมพันธ์กับตัวเด็กเอง 7. เพื่อให้มีใจรักคณิตศาสตร์และขอบเขตการค้นคว้า ควรพยายามจัดกิจกรรม ต่าง ๆ เช่น เกม เพลง เพื่อเร้าใจให้เด็กสนใจเกิดความรู้โดยไม่รู้สึกตัว เมื่อเด็กรักวิชาคณิตศาสตร์แล้ว เด็กจะสนใจ กระตือรือร้นอยากเรียนรู้อยากค้นคว้าหา เหตุผลด้วยตนเอง การค้นคว้าหาเหตุผลได้ เอง ทาให้เข้าใจและจาได้เกิดความภูมิใจอยากจะหาเหตุผลต่อไป วรรณี โสมประยูร ( 2532:9 ) กล่าวว่าคณิตศาสตร์เป็นวิชาที่สาคัญและจาเป็น อย่างยิ่งสาหรับทุกคน เพราะช่วยพัฒนาความคิดของเด็กให้เป็นคนคิดอย่างมีเหตุผล มีระเบียบมี ความละเอียดถี่ถ้วนรอบคอบรวมทั้งมีความคิดริ่เริ่มสร้างสรรค์และความสามารถแก้ปัญหาให้สาเร็จ ลุล่วงไปด้วยดี ความเจริญก้าวหน้าในวิทยาการด้านต่างๆทั้งด้านเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ แพทย์ เศรษฐศาสตร์ และอื่นๆ ต้องอาศัยคณิตศาสตร์เป็นเครื่องมือสาหรับการ เรียนรู้ทั้งสิ้น นอกจากนี้คณิตศาสตร์ยังเป็นเครื่องมือที่จาเป็นในการดารงชีวิตประจาวันของเด็ก หลายคนอย่าง เช่น การซื้อฃาย การใช้เวลา การเล่น การเดินทาง และอื่นๆ หรรษา นิลวิเชียร ( 2535:45 ) กล่าวว่าเด็กจาเป็นต้องเรียนรู้และพัฒนาความคิด รวบยอดเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เพื่อเป็นพื้นฐานสาหรับใช้ในชีวิตประจาวัน และเพื่อการศึกษาในขั้น สูงขึ้น และกล่าวถึงความสาคัญของคณิตศาสตร์ต่อการประสบความสาเร็จในการดารงชีวิตไว้ดังนี้ 1. เรียนวิชาต่างๆได้ดีเพราะคณิตศาสตร์เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ของวิชาต่างๆ โดยเฉพาะ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจบได้ชื่อว่า “คณิตศาสตร์เป็นเครื่องมือความเจริญก้าวหน้า ทั้งปวง ” 2. ทาให้เป็ นคนคิดเป็ น ทาเป็ น แก้ปัญหาเป็ น โดยอาศัยหลักการทาง คณิตศาสตร์เป็นแนวทางพื้นฐานที่สาคัญ 3. นาไปใช้แก้ปัญหาต่างในการดารงชีวิตได้ดีและมีประสิทธิภาพ 4. เป็นเครื่องมือสาคัญสาหรับการดารงชีวิตประจาวันของคนทุกวัย 5. เป็นเครื่องมือสาคัญในการสารวจข้อ วางแผนและประเมินผลการดาเนินงาน 6. เป็นเครื่องมือพัฒนาอาชีพทุกอาชีพทุกให้มีความเจริญก้าวหน้า และประสบ ความสาเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ
  • 20. 20 มัณฑนา เทศวิศาล ( 2536:7 ) กล่าวว่า แนวคิดต่างๆเกี่ยวกับพื้นฐานทางด้าน คณิตศาสตร์เป็นสิ่งจาเป็นและสาคัญมากสาหรับเด็กเริ่มต้นเรียน เมื่อเด็กโตขึ้นสิ่งต่างๆเหล่านี้ก็จะ เป็นพื้นฐานในการเรียนคณิตศาสตร์ที่ดีของเขาต่อไป นิตยา ประพฤติกิจ ( 2537:1 ) กล่าวว่า คณิตศาสตร์มีส่วนสาคัญอย่างมากใน ชีวิตประจาวันของเด็ก ซึ่งครูและผู้ปกครองตระหนักถึงความสาคัญของคณิตศาสตร์แล้วว่า ในการ เล่นและการพูดคุยของเด็กมักจะมีเรื่องคณิตศาสตร์เข้ามาเกี่ยวข้องในชีวิตประจาวันอยู่เสมอ วาโร เพ็งสวัสดิ์ (2542: 71 – 72) ได้กล่าวถึงจุดมุ่งหมายหรือความสาคัญของ การสอนคณิตศาสตร์สาหรับเด็กไว้ ดังนี้ 1. ให้มีโอกาสได้จัดการกระทาและสารวจวัสดุในขณะมีประสบการณ์เกี่ยวกับ คณิตศาสตร์ 2. ให้มีส่วนร่วมในกิจกรรมที่เกี่ยวกับโลกทางด้านกายภาพก่อนเข้าไปสู่โลกการ คิดด้านนามธรรม 3. ให้มีการพัฒนาทักษะด้านคณิตศาสตร์เบื้องต้น อันได้แก่ การจัดหมวดหมู่ การ เปรียบเทียบ การเรียงลาดับ การจัดการทากราฟ การนับ การจัดการด้านจานวน การสังเกต และการ เพิ่มขึ้นและลดลง 4. ขยายประสบการณ์เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ให้สอดคล้องจากง่ายไปหายาก 5. ฝึกทักษะเบื้องต้นในด้านการคิดคานวณ สิริชนม์ ปิ่นน้อย (2542: 49) ได้กล่าวถึงความสาคัญของทักษะพื้นฐานทาง คณิตศาสตร์ ไว้ว่า การเปิดโอกาสให้เด็กได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเพื่อนด้วยการพูดคุย สนทนา หรือโต้เถียงกันด้วยเหตุผลเกี่ยวกับสิ่งที่รู้ การใช้เหตุผลต่างๆ จะเป็นประโยชน์ต่อการ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพราะการพูดคุย สนทนา หรือโต้เถียงกันของเด็กเป็นสิ่งที่กระตุ้นให้เกิด การเรียนรู้มากกว่าการถามคาถามกับผู้ใหญ่ ครูสามารถท้าทายความคิดของเด็กด้วยการนาไปสู่ข้อ สงสัยเมื่อเด็กพูดคุย สนทนา หรือโต้เถียงกับเพื่อนในสถานการณ์ที่เป็นปัญหา ซึ่งจะเป็นแนวทางที่ จะทาให้เกิดความคิดทางตรรกะคณิตศาสตร์ได้ จากความสาคัญหรือจุดมุ่งหมายของการส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ สรุปได้ว่า เพื่อเป็นการเตรียมเด็กให้พร้อมที่จะเรียนรู้ และทากิจกรรมทางคณิตศาสตร์ได้เหมาะสม กับวัย ความสามารถและด้วยความสนุกสนาน มีทักษะพื้นฐานในการใช้เหตุผล คิดคานวณ แก้ปัญหา การสังเกต การเปรียบเทียบการจัดหมวดหมู่ การเรียงลาดับ การนับ และการจัดการด้าน จานวน โดยการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางคณิตศาสตร์ และสามารถนาไปใช้ในชีวิตประจาวันได้ อย่างเหมาะสม
  • 21. 21 1.3 ทฤษฎีพัฒนาการด้านการคิดของเด็กปฐมวัย 1.3.1 ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ จอง เพียเจท์ (Jean Piaget) นักจิตวิทยาชาวสวิส มีชีวิตอยู่ในช่วง ค.ศ.1896-1980 หรือ พ.ศ. 2439-2523 ผู้สร้างทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา เพียเจท์ เชื่อว่าคนเราทุกคนตั้งแต่เกิด มามีความพร้อมที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม และโดยธรรมชาติแล้วมนุษย์เป็นผู้พร้อมที่จะมี กริยากรรมหรือเริ่มกระทาก่อน นอกจากนี้เพียเจท์ถือว่ามนุษย์เรามีแนวโน้มพื้นฐานที่ติดตัวมาแต่ กาเนิด 2 ชนิดคือ การจัดและรวบรวม (Organization) และการปรับตัว (Adaptation)การจัดและ รวบรวม (Organization) หมายถึง การจัดและรวบรวมกระบวนการต่าง ๆ ภายใน เข้าเป็นระบบ อย่างต่อเนื่องกัน เป็นระเบียบ และมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ตราบที่มีปฏิสัมพันธ์ กับสิ่งแวดล้อม การปรับตัว (Adaptation) หมายถึง การปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมเพื่ออยู่ใน สภาพ สมดุล การปรับตัวประกอบด้วยกระบวนการ 2 อย่างคือ 1) การซึมชาบหรือดูดซึมประสบการณ์ (Assimilation) 2) การปรับโครงสร้างทางสติปัญญา (Accomodation) เมื่อเผชิญกับสิ่งแวดล้อม การซึมซาบหรือดูดซึมประสบการณ์ เมื่อมนุษย์มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ก็จะซึมชาบ หรือดูด ซึมประสบการณ์ใหม่ ให้รวมเข้าอยู่ในโครงสร้างของสติปัญญา ส่วนการปรับโครงสร้างทาง สติปัญญา หมายถึง การเปลี่ยนแบบโครงสร้างของสติปัญญาที่มีอยู่แล้วให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม หรือ ประสบการณ์ใหม่ หรือเป็นการเปลี่ยนแปลงความคิดเดิมให้สอดคล้องกับสิ่งแวดล้อมใหม่ ตัวอย่างเช่น ความเข้าใจความแตกต่างระหว่างเพศของเด็กที่มีอายุประมาณ 5-6 ปี ถ้าถามเด็กวัยนี้ว่า เด็กหญิงเด็กชายแตกต่างกันหรือไม่ คาตอบที่ได้จากเด็กก็คือ เด็กหญิงและเด็กชายแตกต่างกัน และ เมื่อถามคาถามต่อไปว่าให้บอกความแตกต่างของหญิงชายมา 3 อย่าง คาถามนี้ส่วนมากเด็กตอบได้ 2 อย่างคือ เด็กหญิงผมยาว เด็กชายผมสั้น เด็กหญิงสวมกระโปรง แต่เด็กชายสวมกางเกง อย่างไรก็ ตาม ถ้าเด็กวัยนี้เกิดพบเห็นเด็ก (หญิง) ผมยาวนุ่งกางเกงกาลังเล่นตุ๊กตาอยู่สามารถจะบอกได้ว่าเด็ก ที่เขาเห็นเป็น “เด็กหญิง” แสดงว่า เด็กสามารถที่จะ Accommodate สิ่งแวดล้อมใหม่และแปลความ เข้าใจเดิมของเขาว่า เด็กหญิงไม่จาเป็นจะต้องนุ่งกระโปรงเสมอไป เด็กผู้หญิงอาจจะนุ่งกางเกงได้ และเนื่องจากการปรับสิ่งแวดล้อมเข้าเป็นความรู้ใหม่โดยเปลี่ยนความเข้าใจเดิมเช่นนี้ เพียเจท์ เรียกว่า Accomodation (สุรางค์โค้วตระกูล, 2541 : 49) เพียเจท์ ถือว่าการพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์จะเป็นไปตามลาดับขั้น เปลี่ยนแปลง ข้ามขั้นไม่ได้ โดยแบ่งพัฒนาการทางสติปัญญาออกเป็น 4 ขั้น ดังนี้ 1. ขั้น Sensorimotor (แรกเกิด ถึง 2 ขวบ)
  • 22. 22 เป็นขั้นของพัฒนาการทางสติปัญญาความคิดก่อนระยะเวลาที่เด็กอ่อนจะพูดและใช้ ภาษาได้ สติปัญญาความคิดของเด็กในวัยนี้แสดงออกโดยทางการกระทา (Actions) เด็กสามารถ แก้ปัญหาได้แม้ว่าจะไม่สามารถที่จะอธิบายได้ เพียเจท์แบ่งขั้น Sensorimotor ออกเป็นขั้นย่อย 6 ขั้น ดังนี้ 1.1 Reflexive ขั้นปฏิกิริยาสะท้อน (0-1 เดือน) เป็นวัยที่เด็กทารกใช้พฤติกรรม รีเฟลกซ์ หรือโดยประสาทอัตโนมัติที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด เช่น การดูด เป็นต้น และพยายามที่จะปรับ ให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม เช่น ดูดนมจากนมของแม่ ดูดนมขวด เป็นต้น พฤติกรรมเหล่านี้เกิดขึ้นเพื่อ สนองตอบต่อสิ่งเร้าโดยอัตโนมัติ เป็นพฤติกรรมไม่เกิดจากการเรียนรู้ 1.2 Primary Circular Reactions ขั้นพัฒนาอวัยวะเคลื่อนไหวด้านประสบการณ์ เบื้องต้น (1-3 เดือน) วัยนี้ทารกมักจะแสดงพฤติกรรมง่าย และทาซ้า ๆ กันโดยไม่เบื่อ เช่น กามือเข้า และเปิดออกซ้า ๆ กัน หรือคลาผ้าห่มที่คลุมตัวซ้า ๆ กัน เป็นต้น พฤติกรรมที่แสดงปราศจาก จุดมุ่งหมายความสนใจของเด็กมักจะอยู่ที่ความเคลื่อนไหว แต่ไม่ใช่ผลของความเคลื่อนไหว 1.3 Secondary Circular Reactions ขั้นพัฒนาเคลื่อนไหวโดยมีจุดมุ่งหมาย (4-6 เดือน) เด็กทาพฤติกรรมซ้า ๆ โดยมีความมุ่งหมายที่จะเห็นการเปลี่ยนแปลงในสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัวเขาเอง เป็นขั้นแรกที่เด็กทารกแสดงพฤติกรรมโดยมีความตั้งใจหรือมีจุดมุ่งหมาย เด็กขั้นนี้จะ เริ่มทาพฤติกรรมซ้า เพราะความสนใจในผลของพฤิตกรรมนั้น เป็นต้นว่า เด็กจะเตะหรือกระตุกเท้า เพื่อจะให้ตุ๊กตาที่แขวนในเปลสั่นหรือเคลื่อนไหว หรือจะสั่นเครื่องเล่น เพราะสนใจในเสียงที่เกิด จากการสั่น 1.4 Coordination of Seccondary Reactions ขั้นพัฒนาการประสานของอวัยวะ (7- 10 เดือน) ในขั้นนี้เด็กทารกเริ่มที่จะแก้ปัญหาอย่างง่าย ๆ เด็กทารกจะใช้พฤติกรรมในอดีตที่ผ่านมา ช่วยในการแก้ปัญหา เด็กวัยนี้จะสามารถหาของที่ซ่อนไว้ได้ เป็นต้นว่า อาจจะผลักหมอนเพื่อจะเอา ตุ๊กตาที่ซ่อนอยู่ ต่างกับเด็กที่อยู่ในขั้นที่ 3 ที่การผลักหมอนของเด็กเป็นแต่เพียงความสนใจที่เห็น หมอนเริ่มล้มลงไป หรืออาจกล่าวได้ว่าเด็กมีความเข้าใจเกี่ยวกับความมีตัวตนของวัตถุ (Opject Permanence) ในขั้นนี้เด็กทารกเริ่มจะรู้ว่าตนเองเป็นอิสระ นอกจากนี้เด็กจะสามารถที่จะแยกสิ่งที่ ตน “ต้องการ” และ “ไม่ต้องการ” ออกจากกันและสามารถที่จะเลียนแบบหรือเลียนการเคลื่อนไหว จากผู้อื่น พฤติกรรมในขั้นนี้มักจะเป็น 1.5 Tertiary Circular Reactions ขั้นพัฒนาการความคิดริเริ่มแบบลองผิดลองถูก (11- 18 เดือน) ในขั้นนี้ เด็กเริ่มที่จะทดลองพฤติกรรมแบบถูกผิด ในขั้นนี้เด็กทารกมีความสนใจใน ผลของพฤิตกรรมใหม่ ๆ มักจะทดลองทาดูหลาย ๆ แบบ และสนใจผลที่เกิดขึ้น ขั้นนี้ต่างกับขั้น Secondary Circular Reactions ตรงที่เด็กทารกไม่เพียงแต่สนใจจะทาซ้า แต่เปลี่ยนแปลงให้เกิด
  • 23. 23 ความใหม่อยู่เรื่อย ๆ พฤติกรรมของเด็กในขั้นนี้เป็นการทดลองสิ่งแวดล้อมไม่แต่เพียงเพื่อจะดูว่า อะไรจะเกิดขึ้น แต่มีความมุ่งหมาย มีความคิดริเริ่มในการแสดงพฤติกรรม 1.6 Beginning of Thought การเริ่มต้นของความคิด ขั้นพัฒนาโครงสร้างสติปัญญา เบื้องต้น (18 เดือน – 2 ขวบ) พัฒนาการทางสติปัญญาระดับนี้เป็นระดับสุดท้ายของขั้น Sensorimotor เด็กในวัยนี้สามารถที่จะประดิษฐ์วิธีใหม่ ๆ โดยใช้ความคิดในการแก้ปัญหา เด็ก สามารถที่จะเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งหนึ่งกับสิ่งหนึ่ง และสามารถที่จะคิดแก้ปัญหาได้ ในขั้น นี้ถ้าเด็กพบปัญหาใหม่ที่ตนประสบ แต่ไม่มีวิธีการที่จะใช้แก้ปัญหามาแต่ก่อน เด็กวัยนี้จะรู้จัก ประดิษฐ์วิธีการใหม่ขึ้น แต่วิธีการที่ประดิษฐ์นั้น ไม่เป็นแต่เพียงลองผิดลองถูก แต่เป็นวิธีการที่ แสดงว่าเด็กเริ่มใช้ความคิด เด็กจะเริ่มเรียนรู้ความสัมพันธ์ของสิ่งแวดล้อมและสามารถที่จะอนุมาน ความสัมพันธ์ของเหตุและผลได้ เด็กในขั้นนี้สามารถที่จะมีจินตนาการก่อนที่จะเริ่มแสดง พฤติกรรม เด็กในขั้นนี้จะสามารถเลียนแบบพฤติกรรมของผู้ใหญ่โดยไม่จาเป็นต้องเห็นตัวอย่าง แสดงจริง ๆ แต่เลียนแบบจากความจา 2. ขั้น Preoperational (18 เดือน – 7 ขวบ) เด็กวัยนี้มีโครงสร้างของสติปัญญา (Structure) ที่จะใช้สัญลักษณ์แทนวัตถุสิ่งของที่ อยู่รอบ ๆ ตัวได้ หรือมีพัฒนาการทางด้านภาษา เด็กวัยนี้จะเริ่มด้วยการพูดเป็นประโยคและเรียนรู้ คาต่าง ๆ เพิ่มขึ้น เด็กจะรู้จักคิดในใจ ความคิดของเด็กวัยนี้ยังขึ้นอยู่กับการรับรู้เป็นส่วนใหญ่ ไม่ สามารถที่จะใช้เหตุผลอย่างลึกซึ้ง แต่เป็นขั้นที่เด็กเริ่มใช้ภาษา สามารถที่จะบอกชื่อสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่ รอบตัวเขาและเกี่ยวข้องกับชีวิตประจาวันของเขา สามารถที่จะเรียนรู้สัญลักษณ์และใช้สัญลักษณ์ ได้ เด็กในวัยนี้มักจะเล่นสมมติ เช่น พูดกับตุ๊กตาเหมือนพูดกับคนจริง ๆ เด็กวัยนี้มีความตั้งใจทีละ อย่างและยังไม่สามารถที่จะเข้าใจสิ่งที่เท่ากันแม้ว่าจะเปลี่ยนรูปร่างหรือแปรสภาพหรือเปลี่ยนที่วาง ควรจะยังคงเท่ากัน และยังไม่สามารถที่จะเปรียบเทียบสิ่งของมากและน้อย ยาวและสั้น ได้อย่าง แท้จริง และมีการยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง ไม่สามารถที่จะเข้าใจความคิดเห็นของผู้อื่น อย่างไรก็ตาม ความคิดของเด็กวัยนี้ยังมีข้อจากัดหลายอย่าง โดยเฉพาะตอนต้นของวัยนี้ มีสิ่งที่เด็กวัยนี้ทาไม่ได้ เหมือนเด็กวัยประถมศึกษาหลายอย่าง ลักษณะสติปัญญาของเด็กวัยนี้สรุปได้ดังนี้ 2.1 เด็กวัยนี้จะเข้าใจภาษาและทราบว่าของต่าง ๆ มีชื่อและใช้ภาษาเพื่อช่วยใน การแก้ปัญหาได้ 2.2 เด็กจะเลียนแบบผู้ใหญ่ในเวลาเล่น (Deferred Imitation) หรือเลียนแบบได้ โดยตัวแบบไม่ต้องอยู่ต่อหน้า จะเห็นได้จากการเล่นขายของของเด็กหรืออาบน้าให้ตุ๊กตา หรือเล่น สมมติ หรือแสร้งทา เช่น เด็กจะเล่นทาเป็นนอนหลับ หรือใช้สิ่งต่าง ๆ เล่นเป็นแบบจริง เช่น กล่อง กระดาษทาเป็นรถยนต์
  • 24. 24 2.3 เด็กวัยนี้มีความตั้งใจทีละอย่าง ฉะนั้นวัยนี้จึงทาให้เด็กมีความคิดที่บิดเบือน จากความเป็นจริง (Distort) ตัวอย่างเช่น ให้เด็กอายุ 5 ขวบดูลูกปัดทาด้วยไม้ กล่องหนึ่ง ประกอบด้วยลูกปัดที่ทาด้วยไม้สีขาว 20 ลูก และสีน้าตาล 7 ลูก และถามเด็กว่ามีลูกปัดสีอะไร มากกว่า เด็กจะตอบได้ถูกว่า สีขาว แต่เมื่อถามว่าระหว่างลูกปัดสีขาวและลูกปัดทั้งหมด อะไรจะมี จานวนมากกว่ากัน เด็กจะตอบไม่ได้ว่าลูกปัดทั้งหมดมากกว่าสีขาว จะยังคงตอบว่าสีขาวมากกว่า เพราะไม่เข้าใจว่าลูกปัดสีขาวเป็นส่วนหนึ่งของลูกปัดทั้งหมด 2.4 มีการยึดถือตนเองเป็นศูนย์กลาง (Egocentrism) ไม่สามารถที่จะเข้าใจความ คิดเห็นของผู้อื่น หรือไม่ได้คิดว่าผู้อื่นเขาจะคิดอย่างไร ตัวอย่างเช่น เวลาเด็ก 2 คนในวัยนี้เล่น ด้วยกันและคุยกัน ถ้ามองดูเผิน ๆ จะคิดว่าเขาคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน แท้จริงแล้วเด็กจะต่าง คนต่างคุยต่างเล่น ความจริงของเด็กในวัยนี้คือจากสิ่งที่ได้จากการรับรู้ 2.5 เด็กในวัยนี้ไม่สามารถจะทาการแก้ปัญหาการเรียงลาดับได้ เช่น ไม่สามารถที่ จะเรียงของมากไปหาน้อย น้อยไปหามาก หรือความยาวสั้น และนอกจากนี้เด็กก็ยังไม่เข้าใจการคิด ย้อนกลับ (Reversibility) คือ เด็กไม่สามารถจะเข้าใจว่า ถ้า 2 + 2 = 4 แล้ว 4 - 2 = 2 2.6 เด็กในวัยนี้จะไม่เข้าใจความคงตัวของสสาร (Conservation) เพราะเด็กวัยนี้จะ ให้เหตุผลจากรูปร่างที่เห็นหรือสถานะ ไม่ใช่การแปลงรูปเป็นอย่างอื่น ตัวอย่างเช่น การทดลองที่ใช้ แก้ว 2 ใบ ที่มีขนาดสูงเท่ากันแล้วใส่น้าลงไปเป็นจานวนเท่ากันเพื่อให้ระดับน้าในแก้วสองใบ เท่ากัน ผู้ทาการทดลองถามเด็กว่าน้าในแก้วใบที่ 1 และใบที่ 2 เท่ากันไหม เด็กตอบว่ามีน้าเท่ากัน ผู้ ทดลองเทน้าจากแก้วใบที่ 1 ลงในแก้วใบที่ 3 ซึ่งมีเส้นผ่าศูนย์กลางเล็กกว่าและสูงกว่า จะปรากฏว่า ระดับน้าสูงขึ้น ผู้ทดลองถามเด็กว่าจานวนน้าในแก้วใบที่ 2 และแก้วใบที่ 3 เท่ากันหรือไม่ เด็กวัยนี้ จะตอบว่าไม่เท่า น้าในแก้วใบที่ 3 มีมากกว่า ซึ่งแสดงให้เห็นว่า เด็กวัยนี้มีความเข้าใจหรือมีการ ตัดสินใจอย่างผิวเผินจากสิ่งที่ตนเห็นและรับรู้ ไม่สามารถที่จะอ้างจากหลักฐานขึ้นมาประกอบ ไม่ สามารถที่จะเข้าใจในความคงตัวของของที่มีจานวนเท่ากัน แม้ว่าจะเปลี่ยนรูปร่างจานวนก็ยังเท่ากัน อยู่ แสดงให้เห็นว่าเด็กวัยนี้ยังไม่มีความเข้าใจและรู้จักคิดโดยใช้เหตุผลอย่างถูกต้อง ความคิดยัง ขึ้นอยู่กับสิ่งที่เขารับรู้หรือสิ่งที่เขาเห็นด้วยตา 3. ขั้น Concrete Operations (อายุ 7-11 ปี)เด็กวัยนี้สามารถที่จะสร้างกฏเกณฑ์และ ตั้งเกณฑ์ในการแบ่งสิ่งแวดล้อมออกเป็นหมวดหมู่ได้ ถ้าหากแสดงการทดลองเกี่ยวกับน้าในแก้ว 2 ใบที่เท่ากัน และเทน้าจากใบที่ 1 ไปในแก้วใบที่ 3 ที่มีขนาดเล็กกว่า เด็กวัยนี้ก็จะตอบได้ว่าน้ายังคง มีจานวนเท่ากัน แม้ว่าระดับของน้าไม่เท่ากัน เพราะจานวนน้าในแก้วใบที่ 3 มาจากแก้วใบที่ 1 ที่มี ขนาดเท่ากับแก้วใบที่ 2 เด็กวัยนี้สามารถที่จะเข้าใจเหตุผลว่า ของที่มีขนาดเท่ากัน แม้ว่าจะแปร รูปร่างก็ยังคงจะมีขนาดเท่ากันหรือคงตัว นอกจากนี้เด็กเข้าใจความหมายของการเปรียบเทียบว่า