SlideShare a Scribd company logo
1 of 18
Download to read offline
แผนบริหารการสอนประจําบทที่ 2
หัวขอประจําบท
1. มูลเหตุของการเสื่อม
1.1 คณะสงฆออนแอเสื่อมโทรมลง
1.2 ศาสนาฮินดูตอตานบีบคั้น
1.3 ชนชาติมุสลิมเขารุกรานและทําลาย
2. ความเสื่อมของพระพุทธศาสนา
2.1 ยุคมืด
2.2 ยุคกลาง
2.3 ยุคปลาย
3. เหตุที่พระพุทธศาสนาเสื่อมสูญจากอินเดีย
3.1 การแยกตนไปดํารงชีวิตตางหากของสงฆ
3.2 การวางตนไมแทรกแซงยุงเกี่ยวกับกิจกรรมทางสังคมของพระพุทธศาสนา
3.3 ความตกต่ําทางภูมิปญญาของสงฆ
3.4 การปรากฏของลัทธิตันตระ
3.5 ชาวพุทธถูกรุกรานประหัตประหาร
4. การฟนฟูพระพุทธศาสนาในอินเดีย
4.1 เหตุการณสําคัญ
4.2 พุทธชยันตี
4.3 สภาพการณปจจุบัน
วัตถุประสงคเชิงพฤติกรรม
1. นักศึกษากลาแสดงความคิดเห็นในหองเรียน
2. นักศึกษาตอบคําถามไดถูกตอง
3. นักศึกษาสรุปเรื่องที่ศึกษาได
4. นักศึกษาบันทึกประเด็นสําคัญได
วิธีการสอนและกิจกรรมการเรียนการสอน
1. บรรยาย/อธิบายแบบเชิงนิรนัยและอุปนัยเพื่อใหนักศึกษาเห็นภาพชัดเจนขึ้น
2. ใหนักศึกษาวิพากษประเด็นตางๆ ตามกรอบของวิชาที่เรียน
3. เรียนรูดวยตนเองแบบเนนการปฏิบัติ (Task Based)
สื่อการเรียนการสอน
1. เอกสารประกอบการสอน
2. หนังสืออานประกอบ
3. Learning Management System
4. บรรยายในหองเรียน
วิธีวัดผลและประเมิน
1. พฤติกรรมการเขาเรียน
2. การรวมกิจกรรมการเรียนรู
3. การสงงานตามที่มอบหมาย
4. สอบประเมินผลเนื้อหาประจําบท 2 คะแนน
บทที่ 2
มูลเหตุและความเสื่อมสูญของพระพุทธศาสนาในอินเดีย
ความเสื่อมของพระพุทธศาสนาในประเทศอินเดียมีสาเหตุหลายๆ ประการที่ทาให้
พระพุทธศาสนานั้นค่อยได้รับการนับถือลดลง ซึ่งสอดคล้องกับหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่
กล่าวถึงหลักไตรลักษณ์ของสิ่งทั้งปวงไว้ว่า ย่อมมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา ย่อมมีความตั้งอยู่เป็น
ธรรมดา และย่อมมีความดับไปเป็นธรรมดา หากเราศึกษาความเสื่อมสูญของพระพุทธศาสนาใน
ประเทศอินเดียแล้วจะทาให้เรามองเห็นถึงภัยที่จะเกิดขึ้นกับพระพุทธศาสนาในอดีตได้ ว่ามีสาเหตุมา
จากอะไรบ้าง และจะได้หาแนวทางแก้ไขเพื่อความยั่งยืนของพระพุทธศาสนาเพื่อสืบทอดพระธรรมคา
สอนของพระพุทธเจ้ามาเผยแผ่ธรรมะให้โลกรู้และคงอยู่ตราบนานเท่านาน ซึ่งเป็นการศึกษาข้อมูลใน
อดีตเพื่อป้องกันเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในปัจจุบันและอนาคตได้ โดยมีกรอบศึกษาที่สาคัญคือ มูลเหตุ
ของความเสื่อมเกิดจากอะไร ความเสื่อมในยุคต่างๆ ส่งผลอย่างไรบ้างต่อพระพุทธศาสนา และสุดท้าย
ก็คือการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในประเทศอินเดียในยุคปัจจุบันดาเนินการไปในทิศทางอย่างไรบ้าง ซึ่ง
จะได้นาเสนอในบทนี้
มูลเหตุของความเสื่อม
มูลเหตุของการเสื่อมสูญของพระพุทธศาสนาในอินเดียมีหลายทัศนะจากท่านผู้รู้ทั้งหลาย
เมื่อพิจารณาทัศนะเหล่านั้นแล้วก็ล้วนมีความเป็นไปได้ทั้งสิ้น เหตุปัจจัยที่ทาให้พุทธศาสนาเสื่อมสูญ
ไปจากมาตุภูมิคงเป็นลักษณะค่อยเป็นค่อยไปคล้ายนาเซาะหิน ไม่ใช้แบบน้าเซาะทราย ได้กล่าวถึง
สาเหตุไว้หลายประการ
1. คณะสงฆ์อ่อนแอเสื่อมโทรมลง
พระสงฆ์แต่เดิมปฏิบัติตนตามธรรมวินัยทาให้ประชาชนทุกชนชั้นเลื่อมใส พากันทานุบารุง
พระพุทธศาสนาจนเจริญรุ่งเรือง แต่ต่อมาในรุ่นหลังๆ หลงมัวเมาในลาภสักการะ ลืมหน้าที่ที่แท้จริง
เป็นเหตุให้เกิดสิ่งที่ไม่พึงปรารถนาเหล่านี้ (พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต). 2540 : 358-360)
1.1 ติดถิ่น ติดที่ เพลิดเพลินในลาภสักการะและความสุขสบาย นึกถึงแต่เรื่องของตนเอง
และปัจจัยเครื่องอาศัยของตนเอง ทอดทิ้งหน้าที่ต่อประชาชน
1.2 วุ่นวายอยู่กับพิธีกรรม และงานฉลองอันสนุกสนานต่างๆ จนความเขาใจเรื่องบุญกุศล
แคบลงเป็นเรื่องรับเข้าหรือเอาฝ่ายเดียว
1.3 ศึกษาเล่าเรียนลึกซึ้งลงไปแล้ว มัวหลงเพลินกับการถกเถียงปัญหาปรัชญาประเภท
อันตคาหิกทิฏฐิจนลืมศาสนกิจสามัญในระหว่างพุทธบริษัท
1.4 มีความประพฤติปฏิบัติย่อหย่อนลง เพราะเพลิดเพลินในความสุขสบาย และแตก
สามัคคีแยกเป็นพวกเป็นนิกาย เพราะถือรั้นรังเกียจกันตกลงกันไม่ได้
1.5 เห็นแก่ความง่าย ตามใจตนเอง ตามใจคน ปล่อยให้เรื่องไสยศาสตร์ เรื่องลึกลับ
อิทธิปาฏิหาริย์ต่างๆ พอกพูนมากขึ้น ตนเองก็เพลิดเพลินมัวเมาในเรื่องเหล่านั้น และทาให้ประชาชน
~ 34 ~
จมดิ่งลง แทนที่จะมีเหตุผลยิ่งขึ้น เข้มแข็ง มีปัญญาและพึ่งตนได้มากขึ้น ก็กลับอ่อนแอต้องคอยหวัง
พึ่งปัจจัยภายนอกมากยิ่งขึ้น และทาให้พระพุทธศาสนามีสภาพคล้ายคลึงกับศาสนาอื่นๆ มากมาย
เช่น แปรรูปไปเป็น ตันตระ แบบเสื่อมโทรม จนเหมือนตันตระของฮินดู และหมดลักษณะพิเศษของ
ตนเอง
2. ศาสนาฮินดูต่อต้านบีบคั้น
คาสอนของพระพุทธศาสนาขัดแย้งและทาลายความเชื่อถือเดิมในศาสนาพราหมณ์
มากมายหลายอย่าง เป็นเหตุให้ศาสนาพราหมณ์หรือฮินดูในสมัยต่อมา พยายามหาทางลิดรอน
พระพุทธศาสนาโดยวิธีต่างๆ ข้อที่ควรศึกษาในเรื่องนี้มีดังนี้ (บุญเลี้ยง ขจีฟ้า. 2545 : 11-12)
2.1 พระพุทธศาสนาสอนว่าทุกคนมีความเสมอภาค ควรมีสิทธิและโอกาสเท่าเทียมกัน ไม่
จากัดด้วย วรรณะ และให้ทุกคนศึกษาเล่าเรียนในพระธรรมวินัยเหมือนกันหมด คาสอนนี้
กระทบกระเทือนฐานะของพราหมณ์ทั้งหลาย ซึ่งถือว่าตนเป็นวรรณะสูงสุด มีสิทธิพิเศษต่างๆ และ
เคยผูกขาดการศึกษาไว้ โดยปกติพราหมณ์เป็นคนชั้นสูง มีอานาจและอิทธิพลมาก เช่น เป็นปุโรหิต
ของพระราชา เป็นต้น แต่พระพุทธศาสนาแพร่หลายในหมู่ประชาชนทั่วไป ตราบใดที่ประชาชนยังมี
ศรัทธามั่นคง พระสงฆ์ยังเป็นที่พึ่งของประชาชนและทาหน้าที่ต่อประชาชนอย่างถูกต้อง พวก
พราหมณ์ก็ไม่กล้าทาอันตราย หรือทาก็ไม่สาเร็จ ยิ่งเมื่อพระมหากษัตริย์ทรงอุปถัมภ์อยู่ด้วย
พระพุทธศาสนาก็ยิ่งมั่นคง จะสังเกตเห็นได้ว่าพระมหากษัตริย์ที่เป็นพุทธมามกะถูกพระองค์ทรงให้
เสรีภาพในการนับถือศาสนา อุปถัมภ์ทุกๆ ศาสนา เช่น พระเจ้าอโศก กนิษกะ หรรษวรรธนะ เป็นต้น
แต่พราหมณ์จะไม่พอใจในการอุปถัมภ์พระพุทธศาสนา เช่น ปุษยมิตร ทาลายวงศ์กษัตริย์พุทธขึ้น
ครองราชย์แล้วกาจัดพุทธศาสนา พวกพราหมณ์ข้าราชการของพระเจ้าหรรษวรรธนะริษยาการทรง
อุปถัมภ์พระพุทธศาสนา ถึงกับวางแผนปลงพระชนม์ในสมัยที่พราหมณ์ขึ้นเป็นกษัตริย์แม้จะไม่กล้า
กาจัดพระพุทธศาสนา แต่ก็ทาให้พระพุทธศาสนาต้องยอมประนีประนอมคาสอนกับฮินดูจนกลายเป็น
เหมือนกันและถูกกลืนไปในที่สุด
2.2 พวกพราหมณ์ใช้ศาสนาฮินดูเป็นหลักของลัทธิชาตินิยม โดยผนวกความเป็นคน
อินเดียเข้ากับความเป็นฮินดู ซึ่งจะสังเกตเห็นว่ากษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของอินเดียเป็นพุทธมามกะ และ
มักจะเป็นเชื้อสายชนต่างชาติ ที่เห็นชัดเจนคือพระเจ้ากนิษกะทรงเป็นชนเชื้อสายมงโกลในเผ่ากุษาณ
ชาวอินเดียที่จะกาจัดราชวงศ์กุษาณในสมัยต่อมา ใช้ลัทธิชาตินิยมเป็นเครื่องรวมกาลัง และการที่
กษัตริย์วงศ์นี้นับถือพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า พระพุทธศาสนาจึงถูกเพ่งมองในฐานะศาสนาของคน
ต่างชาติด้วย แม้ในเรื่องนี้พระเจ้าอโศกมหาราชก็เช่นกัน มีปราชญ์สันนิษฐานว่าพระองค์มีพระมารดา
เป็นชนชาติกรีก พวกพราหมณ์ได้พยายามกาจัดราชวงศ์นี้พร้อมทั้งพระพุทธศาสนา พระเจ้าอโศก
มหาราชแม้จะเป็นกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด แต่ไม่ปรากฏเกียรติคุณในประวัติศาสตร์ของชาวฮินดูเลย
ต่อเมื่อชาวยุโรปมาขุดค้นศึกษา พระนามของพระเจ้าอโศกจึงปรากฏขึ้นมา และชาวอินเดียเองก็
พลอยยอมรับ นอกจากนี้แม้พระพุทธเจ้าเองก็มีผู้สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นชนเผ่ามงโกล ซึ่งย่อมไม่เป็นที่
พึงพอใจของพราหมณ์
2.3 ปราชญ์ฮินดูพยายามนาเอาหลักการในพระพุทธศาสนาไปปรับปรุงหลักธรรมของ
ตนเองให้ออกรูปใหม่บ้าง นาไปทาตามอย่างบ้าง เพื่อให้มีกาลังเทียบเคียงกันได้ และให้ดูคล้ายคลึง
เหมือนกันกลืนกันจนไม่จาเป็นจะต้องมีพระพุทธศาสนาอยู่ต่างหาก และเมื่อฝ่ายพุทธศาสนาอ่อนแอก็
~ 35 ~
กลืนได้ง่าย เช่น สังกราจารย์ นาหลักในพุทธปรัชญาไปแปลงรูปเป็นปรัชญาเวทานตะของตน และ
สร้างวัดฮินดู มีการตั้งคณะนักบวชสันยาสีเลียนแบบคณะสงฆ์ เป็นต้น แม้องค์พระพุทธเจ้าเอง ก็
กลายเป็นอวตารของพระนารายณ์ไป
3. ชนชาติมุสลิมเข้ารุกรานและทาลาย
ในระยะที่คณะสงฆ์กาลังอ่อนแอลงนั้น ก็พอดีกองทัพชนชาติอาหรับและเตอร์กเข้ารุกราน
เป็นระลอกๆ และทาลายพุทธศาสนาลงจนหมด เช่น ทาลายมหาวิทยาลัยวลภีลงในราว พ.ศ. 1350-
1400 และทาลายหมดทุกแห่งใน พ.ศ. 1700 เป็นต้น โดยมีวิธีการต่างๆ ดังนี้ (พระธรรมปิฎก (ป.อ.
ปยุตโต). 2540 : 362-364)
3.1 ฆ่าพระสงฆ์ เช่น ที่นาลันทา นักประวัติศาสตร์มุสลิมเองบันทึกไว้ว่าพระถูกฆ่า
ประมาณหมื่นรูป คือไม่ให้เหลือเลยทุกแห่งที่มีพระสงฆ์
3.2 ทาลายสถาบันและสิ่งก่อสร้างโดยเผาผลาญวัดวาอารามและมหาวิทยาลัย
พระพุทธศาสนาทุกแห่ง บางแห่งแม้แต่ซากก็ไม่ให้เหลือ
3.3 เผาคัมภีร์และตารับตาราพระพุทธศาสนา เช่น ที่หอสมุดของนาลันทาใช้เวลาเผาอยู่
นับแรมเดือน
การทาลายครั้งนี้ทาให้คณะสงฆ์สลายตัว และตั้งไม่ติดอีกเลย ระบบของพระพุทธศาสนา
นั้นดารงอยู่ในรูปสถาบัน ซึ่งปันเป็นพุทธบริษัท 2 ฝ่าย ปฏิบัติหน้าที่ของแต่ละฝ่ายต่อกันโดยฝ่าย
พระสงฆ์เป็นผู้นาในทางจิตใจ มีความเป็นอยู่และที่อยู่ต่างหากชัดเจน กาจัดได้ง่าย เมื่อหมดพระสงฆ์
หมดผู้นา พุทธศาสนิกก็ถูกบังคับบ้าง ถูกชักจูงบ้าง กลายเป็นมุสลิมหรือฮินดูไป ฝ่ายฮินดูถึงจะถูก
กาจัดพร้อมกัน แต่เพราะนักบวชฮินดูมีหลายแบบ บางพวกอยู่ตามบ้านมีครอบครัว มีความเป็นอยู่ไม่
ต่างจากคนทั่วไป ก็เหลือรอดอยู่ได้ง่าย ขณะนั้นหลักการทั่วไปของพระพุทธศาสนากับฮินดู คล้ายคลึง
กัน หรือผสมผสานกันมากแล้ว เมื่อฝ่ายฮินดูเหลืออยู่ ก็ชักไปเข้าฮินดูโดยง่ายไม่มีใครขัดขวาง วัดพุทธ
ศาสนาที่หลงเหลืออยู่ก็ถูกพราหมณ์เข้าครองกลายเป็นวัดฮินดู ชาวพุทธที่เหลือก็ถูกกลืนช้าๆ เขาสู่
สังคมแห่งวรรณะของฮินดู
ยุคความเสื่อมของพระพุทธศาสนา
พระพุทธศาสนานั้นเป็นลัทธิซึ่งเกิดขึ้นเพื่อปฏิรูปลัทธิพราหมณ์ และเพื่อปฏิรูปการปฏิบัติต่อ
กันระหว่างมนุษย์อันถูกแบ่งเป็นวรรณะต่างๆ ในสมัยของพระพุทธเจ้าการปฏิรูปย่อมผิดกับการปฏิวัติ
เพราะการปฏิรูปนั้นดาเนินไปโดยการสอนชี้ให้เห็นจุดเสื่อมโทรมอันเป็นมาแต่เดิมและเสนอแนวใหม่
ให้ปฏิบัติด้วยการหาความนิยมจากมหาชน การปล่อยให้ศาสนาพราหมณ์คงมีอยู่ได้และดาเนิน
ศาสนกิจต่อไปย่างพัวพันกับชีวิตของประชาชนอย่างเดิม ก็เป็นเหตุหนึ่งซึงทาให้พระพุทธศาสนาสูญไป
จากอินเดีย และอีกประการหนึ่งอินเดียเป็นดินแดนที่ข้นแค้นมาก คนส่วนใหญ่ยังมีจิตอันมืดมน
เนื่องมาจากอาหารและที่อยู่อาศัย พระพุทธศาสนาอาจจะให้อาหารทางจิต แต่ไม่ได้ให้อาหารทางกาย
นี่เป็นเหตุหนึ่งซึ่งทาให้มหาชนจาต้องหันไปพึ่งศาสนาที่คนอินเดียคาดว่าจะมีความสมบูรณ์ในโลกหน้า
หรือสวรรค์ เมื่อศึกษาถึงชีวิตคนเราทางด้านวัตถุเหล่านี้ก็ทราบว่า พระพุทธศาสนาน่าจะอยู่ยั่งยืนและ
ฝังรากได้แน่นแฟ้นในประเทศที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยอาหารและของใช้ สาเหตุดังกล่าวจึงอาจทาให้
~ 36 ~
พระพุทธศาสนาเสื่อมไปจากอินเดีย แต่กลับมาเบ่งบานอยู่ได้ในลังกา พม่า ไทย และอินโดจีน อันเป็น
ดินแดนที่อุดมยิ่งในทางอาหาร หากเรารับเชื่อในทฤษฎีอย่างนี้และก็ได้ความว่า การที่อินเดียจะนา
พระพุทธศาสนากลับคืนเข้าไปในประเทศอีกครั้ง จะทาต่อเมื่อประชาชนได้พบกับความพอมีพอกิน
แล้วเท่านั้น (ธีรวัส บาเพ็ญบุญบารมี. ออนไลน์. 2559) เพื่อให้เกิดความชัดเจนทางวิชาการเราจึงจะ
มาศึกษาถึงยุคความเสื่อมของพระพุทธศาสนาในประเทศอินเดีย ซึ่งพอจะสรุปได้ 3 ยุค ก็คือ ยุคต้น
ยุคกลาง และยุคปลาย ดังนี้
1. ยุคต้น
พ.ศ. 1250 หลังจากพระเจ้าหรรษวรรธนะสวรรคตแล้ว ชมพูทวีประส่าระสายรวมกัน
ไม่ได้ติดอยู่ประมาณ 1 ศตวรรษจากนั้นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้มีคนวรรณะศูทรตั้งราชวงษ์ปา
ละขึ้นครองอาณาจักรเล็กๆ แห่งหนึ่งมีอาณาเขตเทียบตามชื่อปัจจุบันได้แก่ แคว้นพิหารและเบงกอล
กษัตริย์ราชวงศ์นี้เป็นพุทธมามกะ ได้ทรงทานุบารุงพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมากโดยเฉพาะได้ทานุ
บารุงมหาวิทยาลัยนาลันทา และมหาวิหารต่างๆ คือ โอทันตปุระ วิกรมศิลา โสมปุระ และชคัททละ
หรือวาเรนทรี สถาบันเหล่านี้ยังคงทาหน้าที่เป็นศูนย์กลางการศึกษา และเผยแพร่วัฒนธรรมระหว่าง
ชาติต่อมาได้เป็นอย่างดี เช่น กษัตริย์แห่งศรีวิชัย พระองค์หนึ่งได้ทรงสร้างวัดถวายที่นาลันทา เมื่อ
ประมาณ พ.ศ. 1350 พระศานตรักษิตและปัทมสัมภวะ ได้เดินทางจากนาลันทาไปเผยแพร่พุทธ
ศาสนาในทิเบตในพุทธศตวรรษที่ 14 และพระอตีศะได้เดินทางจากมหาวิทยาลัยวิกรมศิลาไปเผยแพร่
พระพุทธศาสนาในทิเบตพุทธศตวรรษที่ 16 เป็นต้น สาหรับวิกรมศิลานั้นในระยะหลังปรากฏว่า ได้
เจริญรุ่งเรืองล้าหน้านาลันทาออกไปอีก
อย่างไรก็ดี สถาบันพุทธศาสนาเหล่านี้ แม้จะมีจานวนมากขึ้น และได้รับการอุปถัมภ์บารุง
อย่างดี แต่ในสมัยนี้ได้หันมาเน้นการศึกษาพระพุทธศาสนาแบบตันตระอย่างเดียว และ
พระพุทธศาสนาที่เจริญในยุคนี้เป็นแบบตันตระที่กลายรูปออกไปใกล้เคียงกับตันตระของฮินดูเข้าทุกที
อันเป็นความเจริญที่อ่อนแอ และนาไปสู่ความเสื่อมในที่สุด
2. ยุคกลาง
พ.ศ. 1300 ศังกราจารย์ นักบวชฮินดูนิกายไศวะ ผู้แสดงปรัชญาเวทานตะ ได้นาเอา
หลักธรรมและหลักปรัชญาในพระพุทธศาสนาไปปรับปรุงออกใหม่เป็นคาสอนในศาสนาฮินดู เที่ยวสั่ง
สอนและโต้วาทะไปในถิ่นต่างๆ และนาเอาคติแห่งการตั้งคณะสงฆ์และวัดในพระพุทธศาสนาไปจัดตั้ง
คณะนักบวชสันยาสีและวัดฮินดูขึ้น เผยแพร่คาสอนและสงเคราะห์ประชาชนทาให้ศาสนาฮินดูเจริญ
ขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่วนพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนาซึ่งกาลังตกอยู่ในสภาพที่หลงลืมหน้าที่ และมีความ
คิดเห็นคลาดเคลื่อนออกไป จึงอยู่ในสภาพเสียเปรียบและเร่งความเสื่อมโทรมให้เร็วยิ่งขึ้น
พ.ศ. 1500 พุทธศาสนาแบบตันตระแต่นี้ไป ได้กลายรูปไปในทางเสื่อมโทรมยิ่งขึ้นหลง
หมกมุ่นในเรื่องไสยศาสตร์ มนตร์ ยันตร์ การแสดงทางเพศอันอุจาดอนาจารต่างๆ จนแยกไม่ออกจาก
ตันตระตามลัทธิศักติของฮินดู และเผยแพร่ลัทธินี้ออกไปยังทิเบตและเนปาล เป็นต้นด้วย สภาพเช่นนี้
ดาเนินไปจนถึงอวสานของพระพุทธศาสนาใน พ.ศ. 1700
ในขณะที่อินเดียกาลังอ่อนแอ ไม่สามารถรวมกาลังกันเป็นอาณาจักรใหญ่ๆ ได้นี้ กองทัพ
เตอร์กมุสลิม ก็ได้ยกเข้ารุกรานผ่านตั้งตาภาคตะวันตกเฉียงเหนือเข้ามาตามลาดับจนเกือบทั่วชมพู
ทวีป ทุกแห่งที่ผ่านไป ทัพเตอร์กมุสลิมฆ่าพระสงฆ์ เผาวัด ทาลายสิ่งก่อสร้างทางศาสนาทุกอย่าง
~ 37 ~
ตลอดจนหอสมุดและคัมภีร์ต่างๆ ทั้งหมด บางแห่งแม้แต่ซากก็ไม่เหลือ พระสงฆ์บางส่วนหนีทันได้ลี้
ภัยไปอยู่ในเนปาลและทิเบต กล่าวไว้ว่าพระพุทธศาสนาซึ่งอ่อนกาลังอยู่แล้ว ได้สูญสิ้นไปจากประเทศ
อินเดียแต่บัดนั้น ส่วนศาสนาฮินดู แม้จะถูกทาลายล้างเหมือนกัน แต่เพราะสภาพต่างกัน เช่น นักบวช
ฮินดูบางพวกอยู่ในบ้านเรือน แต่งตัวไม่ต่างจากชาวบ้านทั่วไปไม่เป็นที่สังเกตที่จะแยกออกต่างหากจึง
หลงเหลืออยู่เป็นเชื้อให้ศาสนาฮินดูฟื้นตัวขึ้นภายหลังได้อีก
ต่อแต่นี้ไปเป็นยุคของ อาณาจักรามุสลิม ซึ่งยาวนานประมาณ 500 ปี ในยุคนั้นระยะเวลา
ที่รวมอานาจได้มากที่สุด คือจักรวรรดิ โมกุลหรือมุขุล ตั้งแต่ พ.ศ. 2069 ถึง พ.ศ. 2327 และระยะที่
รุ่งเรืองที่สุดคือรัชกาลของอักบาร์มหาราช (พ.ศ. 2099 – 2148) ซึ่งเป็นกษัตริย์มุสลิมที่ผ่อนปรนให้
โอกาสในการนับถือศาสนา (บุญเลี้ยง ขจีฟ้า. 2545 : 1-5)
พุทธศาสนามหายานในอินเดียได้รับการสนับสนุนโดยราชวงศ์กุษาณ เมื่อสิ้นสุดราชวงศ์
กุษาณ พุทธศาสนาได้รับการอุปถัมภ์โดยราชวงศ์คุปตะ มีการสร้างศูนย์กลางการศึกษาพุทธศาสนา
คือ มหาวิทยาลัยนาลันทาและมหาวิทยาลัยวิกรมศิลา ในอินเดียตะวันออกเฉียงเหนือ มีอาจารย์ที่มี
ชื่อเสียง เช่น พระนาคารชุน พระพุทธศาสนาในสมัยนี้ได้แพร่หลายไปยังจีนและเอเชียตะวันออกเฉียง
ใต้ จนกระทั่งการสิ้นสุดอานาจของราชวงศ์คุปตะจากการรุกรานของชาวฮั่นในพุทธศตวรรษที่ 11
บันทึกของหลวงจีนอี้จิงที่มาถึงอินเดียในพุทธศตวรรษที่ 12 กล่าวว่า พุทธศาสนารุ่งเรือง
ใน อันธระ ธันยกตกะและฑราวิฑ ปัจจุบัน คือรัฐอันธรประเทศและทมิฬนาดู ยังมีชาวพุทธในเนปาล
และสสันภะ ในอาณาจักรคังทา (รัฐเบงกอลตะวันตกในปัจจุบัน) และ หรรษวรรธนะ เมื่อสิ้นสุดยุค
อาณาจักรหรรษวรรธนะ เกิดอาณาจักรเล็กๆ ขึ้นมากมาย โดยมีแคว้นราชปุตให้การอุปถัมภ์พุทธ
ศาสนาจนกระทั่ง ยุคจักรวรรดิปาละในเบงกอล พุทธศาสนามหายานรุ่งเรืองอีกครั้ง และได้แพร่หลาย
ไปยังสิกขิมและภูฏาน ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 13-17 เมื่อจักรวรรดิปาละปกครองด้วยกษัตริย์
ราชวงศ์เสนะที่นับถือศาสนาฮินดู ศาสนาพุทธจึงเสื่อมลง
3. ยุคปลาย
ศาสนาพุทธในอินเดียเริ่มเสื่อมลงอย่างช้าๆ ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 15 เป็นต้นมา ความ
เสื่อมในอินเดียตะวันออกเริ่มตั้งแต่จักรวรรดิปาละหันไปส่งเสริมศาสนาฮินดูไวษณพนิกาย ส่วนใน
อินเดียเหนือเริ่มเสื่อมตั้งแต่ พ.ศ. 1736 เมื่อชาวเติร์กที่นับถือศาสนาอิสลาม นาโดยมูฮัมหมัด คิลญี
บุกอินเดียและเผามหาวิทยาลัยนาลันทา ตั้งแต่ พ.ศ. 1742 เป็นต้นไป ศาสนาอิสลามแพร่เข้าสู่พิหาร
ทาให้ชาวพุทธโยกย้ายไปทางเหนือเข้าสู่เทือกเขาหิมาลัยหรือลงใต้ไปที่ศรีลังกา นอกจากนั้นความ
เสื่อมของศาสนาพุทธยังเป็นผลมาจากการฟื้นตัวของศาสนาฮินดู ภายใต้การนาของขบวนการต่างๆ
เช่น อัธไวตะ ภักติ และการเผยแผ่ศาสนาของนักบวชลัทธิซูฟี
เหตุที่พระพุทธศาสนาเสื่อมสูญจากอินเดีย
กรุณา กุศลาศัย (ออนไลน์. 2559) ได้กล่าวถึงสาเหตุการเสื่อมสูญของพระพุทธศาสนาใน
อินเดียไว้ดังนี้ ประวัติศาสตร์ให้บทเรียนว่า สถาบันหรือขนบธรรมเนียมใดๆ ก็ตามซึ่งในระยะเริ่มต้น
อาจจะมีคุณูปการหรือประโยชน์ต่อสังคม แต่เมื่อกาลเวลาได้ล่วงเลยไป หากสถาบันหรือ
~ 38 ~
ขนบธรรมเนียมนั้นๆ ไม่มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมกับกาลเทศะ สถาบันหรือ
ขนบธรรมเนียมดังกล่าว อาจกลายเป็นอุปสรรคสิ่งขัดขวางต่อการเจริญก้าวหน้าของสังคมนั้นได้
ความจริงข้อนี้ ประวัติศาสตร์มีนิทัศน์อุทาหรณ์ให้เห็นอยู่มากมาย ตัวอย่างเช่น การแบ่ง
อาชีพกันทาเพื่อทักษะและความชานาญ (การแบ่งคนออกเป็นวรรณะในสังคมอินเดียโบราณ) การ
ประกอบพิธีทางศาสนา การเชื่อถือพระเจ้าหลายองค์ (พหุเทวนิยม) ของชาวกรีกโรมันและชาวอียิปต์
โบราณ การยกย่องระบบกษัตริย์ให้เป็นสมมติเทพ การเสกคาถาอาคมและปลุกผีสางเทวดา
พฤติกรรมเหล่านี้มีประโยชน์ต่อสังคมในยุคหนึ่งสมัยหนึ่ง แต่เมื่อกาลเวลาได้ล่วงเลยไป พฤติกรรม
ดังกล่าวกลับเป็นอุปสรรคสิ่งกีดขวาง ที่กล่าวมานี้ฉันใด พิธีกรรมและวัตรปฏิบัติทางศาสนาจานวนไม่
น้อย ก็น่าจะนามาเปรียบเทียบได้ฉันนั้น
1. การแยกตนไปดารงชีวิตต่างหากของสงฆ์
ในกรณีของพุทธศาสนานั้น การแยกตนไปดารงชีวิตต่างหากของสงฆ์ เป็นเหตุสาคัญ
ประการหนึ่ง แห่งการอ่อนกาลังของพุทธศาสนา จริงอยู่ในระยะแรกๆ แห่งการก่อตั้ง การที่สงฆ์แยก
จากสังคมคฤหัสถ์ไปดาเนินชีวิตต่างหาก เป็นการรักษาความมีระเบียบ ความบริสุทธิ์ผ่องใส และเป็น
การส่งเสริมการศึกษาและความก้าวหน้าทางจิตวิญญาณ แต่เมื่อกาลเวลาได้ล่วงเลยไป สงฆ์ได้หลงลืม
วัตถุประสงค์เดิมตามคาสอนของพุทธองค์ สงฆ์หันไปหมกมุ่นอยู่กับกิจธุระส่วนตัวเป็นสาคัญ สงฆ์
ทอดทิ้งไม่ดูแลการศึกษา และให้การอบรมด้านศีลธรรม และสติปัญญาแก่ประชาชน หลักฐานทาง
ประวัติศาสตร์ชี้ให้เห็นว่า ในระยะแรกๆ แห่งการก่อตั้งสงฆ์โดยพุทธานุมัตินั้น สงฆ์ได้บาเพ็ญกรณียกิจ
ในฐานะเป็นผู้ให้การศึกษา ฝึกอบรมศีลธรรม และพัฒนาจิตวิญญาณ แก่ประชาชนเป็นอย่างยิ่ง แต่ใน
กาลเวลาต่อมาอุดมการณ์ด้านนี้ของสงฆ์ได้เลือนรางจางหายไป พุทธศาสนามีคุณูปการอย่างใหญ่
หลวงต่อพัฒนาการด้านวัฒนธรรมของอินเดีย และของหลายประเทศในทวีปเอเชีย พุทธศาสนาเป็น
พลังดลใจในศิลปศาสตร์นานาแขนงทั่วเอเชีย แต่ในประเทศอินเดียเองด้วยเหตุผลดังกล่าวแล้ว พุทธ
ศาสนาได้สูญเสียฐานะความเป็นผู้นาทางศาสนา ไปอย่างน่าเสียดาย สัมฤทธิผลของศาสนาใดศาสนา
หนึ่งนั้น ขึ้นอยู่กับประชาชนผู้เป็นบริษัทบริวารของศาสนานั้นด้วย ศาสนาชิน (Jain) ซึ่งมีคาสอนและ
วัตรปฏิบัติคล้ายคลึงกับพุทธศาสนาอยู่หลายอย่างหลายประการ มีการจัดตั้งในสังคมฆราวาส (คน
ทั่วไปที่ไม่ใช่นักบวช) ด้วยเหตุนี้ ศาสนาชินจึงยังคงดารงสถานะเป็นศาสนาหนึ่ง ในประเทศอินเดียได้
ตราบจนทุกวันนี้ ศาสนาพราหมณ์ หรือฮินดูก็เช่นเดียวกัน กล่าวคือ สังคมฆราวาสกับสังคมนักบวชหา
ได้แยกกันไม่ ทั้งสองเกี่ยวข้องกันอย่างแนบแน่น พุทธศาสนาเป็นศาสนาที่เกิดในอินเดียศาสนาเดียวที่
ไม่เข้าไปข้องเกี่ยวกับวัตรปฏิบัติทางสังคม พุทธศาสนาไม่มีบทบัญญัติเป็นกิจจะลักษณะในเรื่อง
เกี่ยวกับการเกิด การตาย หรือการแต่งงานของพุทธศาสนิกชน พุทธศาสนาให้เสรีภาพในกิจกรรม
เหล่านี้อย่างสมบูรณ์ โดยถือว่าเป็นสิทธิของแต่ละบุคคล ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดในประวัติศาสตร์ของพุทธ
ศาสนาในอินเดียก็คือ มหาเศรษฐีอนาถบิณฑิก ผู้เป็นพุทธอุปัฏฐากคนสาคัญแห่งนครสาวัตถี ได้ยก
ธิดาคนหัวปีชื่อมหาสุภัททา ให้แก่คหบดีแห่งเมืองอุคคนครผู้นับถือศาสนาชิน (ในภาษาบาลีมีชื่อว่า
นิคัณฐนาถปุตตะ) ความมีใจกว้างหรือการให้เสรีภาพแก่ศาสนิกเช่นนี้ ในทัศนะของปราชญ์บางท่าน
(เช่น นายนลินากฺษ ทัตต) เห็นว่า แม้ในระยะเริ่มแรกแห่งการก่อตั้งและเผยแผ่จะเป็นผลดีแก่พุทธ
ศาสนา แต่ในกาลไกลแล้วเป็นโทษมากกว่าเป็นคุณ เพราะทาให้วัตรปฏิบัติของศาสนิกหย่อนยาน เปิด
โอกาสให้ผู้มีทัศนะและความเชื่อถือแปลกแยกเข้าไปปะปนและบ่อนทาลายเอกภาพ
~ 39 ~
2. การวางตนไม่แทรกแซงยุ่งเกี่ยวกับกิจกรรมทางสังคมของพุทธศาสนา
การวางตนไม่แทรกแซงยุ่งเกี่ยวกับกิจกรรมทางสังคมของพุทธศาสนา ในระยะเริ่มแรกนั้น
เป็นการส่งเสริมให้พุทธศาสนา เจริญแพร่หลายไปอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้เพราะประชาชนมีความพอใจที่
พุทธศาสนาให้เสรีภาพ ไม่แทรกแซงเปลี่ยนแปลงหรือเลิกล้มจารีตประเพณีที่ยึดถือปฏิบัติกันมาแต่
เดิม พระพุทธองค์เป็นปัญญาชน เป็นนักคิด พระองค์มาจากราชตระกูลที่ดารงอยู่ในจารีตประเพณี
ตลอดจนความเชื่อถือตามระบบของสังคมอันมีพราหมณ์เป็นผู้นามาแต่โบราณกาล ในฐานะที่เป็น
ปัญญาชน นักคิด พระองค์ทรงสะท้อนพระทัยเมื่อได้ทอดพระเนตรเห็น “นิมิต 4” มี คนแก่ คนเจ็บ
คนตาย และนักบวช อันเป็นเหตุให้พระองค์ทรงโทมนัสถึงกับตัดสินพระทัยออกบรรพชา ทั้งนี้เพื่อทรง
ค้นหาวิธีที่คนเราจะได้พบอิสระจากการ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยเหตุนี้แม้เมื่อทรงบรรพชาแล้ว
พระองค์ก็มิได้ทรงข้องเกี่ยวกับความเชื่อถือหรือจารีตประเพณีของสังคม พระองค์ทรงปล่อยให้ความ
เชื่อถือหรือวัตรปฏิบัติเหล่านี้เป็นไปตามสภาพเดิม พระองค์ทรงมุ่งมั่นอยู่กับการค้นหา “สัจธรรม” ที่
ทาอย่างไรคนเราจะได้ไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏ ในคาสอนของพระองค์ที่มีปรากฏในพระ
สูตรต่างๆ พระองค์ได้ทรงห้ามมิให้เวไนยยนิกรเสียเวลาถกเถียงวิพากษ์วิจารณ์หรือคาดคะเนในเรื่องที่
ไร้ประโยชน์ ไม่นาไปสู่ความหลุดพ้น (นิพพาน) เช่น ความเห็นที่ยึดเอาที่สุด 10 ประการ (อันต
คาหิกทิฏฐิ) ในคัมภีร์มัชฌิมนิกาย เป็นต้น นายนลินากฺษ ทัตต นักปราชญ์ชาวอินเดียผู้รจนาตารา
หลายเล่มเกี่ยวกับพุทธศาสนาในอินเดีย ได้เขียนแสดงความเห็นไว้ว่า การวางตนไม่เข้าไปแทรกแซง
กิจการทางสังคมของพุทธศาสนาในอินเดียในระยะแรกๆ โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่พระพุทธองค์และ
สานุศิษย์ผู้ปรีชาญาณของพระองค์ยังดารงพระชนม์ชีพอยู่นั้นเป็นผลดีแก่การเผยแผ่พุทธศาสนาอย่าง
แน่นอน แต่เมื่อกาลเวลาล่วงเลยไปและเมื่อไม่มีพระพุทธองค์ตลอดจนสานุศิษย์ผู้ปรีชาญาณเป็นผู้นา
และให้แสงสว่าง ลัทธิความเชื่อตลอดจนพิธีกรรมเก่าๆ ของพราหมณ์ซึ่งมีมาแต่โบราณกาล จึงกลับฟื้น
คืนชีพขึ้นอีก
ด้วยเหตุนี้ภายในระยะเวลามิช้ามินานหลังจากพุทธปรินิพพาน และหลังจากอัครสาวก
องค์สาคัญๆ ผู้เปรื่องปราดได้ล่วงลับไปแล้ว ประชาชนต่างก็เริ่มลืมเลือนสารัตถะแห่งคาสอนของ
พระพุทธเจ้า และต่างกลับไม่เชื่อถือและประพฤติปฏิบัติตามลัทธิคาสอนของพระพุทธเจ้า แต่ต่าง
กลับไปเชื่อถือและประพฤติปฏิบัติตามลัทธิคาสอนของพราหมณ์ ซึ่งพระพุทธองค์ทรงคัดค้านและ
ต้องการเปลี่ยนแปลงตลอดพระชนม์ชีพของพระองค์ กล่าวโดยย่อก็คือ แก่นแห่งศาสนาพุทธ ได้ถูก
กระพี้แห่งศาสนาพราหมณ์ ปกปิด หรือบดบังไว้ อย่างแทบจะมองไม่เห็น โดยเฉพาะจากสามัญชนคน
ธรรมดา พฤติการณ์ทานองเดียวกันนี้ได้เกิดขึ้นในประเทศอื่นที่พุทธศาสนาได้แผ่ไปถึง เช่น ในประเทศ
จีน ทิเบต เนปาล พม่า สยาม ลังกา ญี่ปุ่น ตลอดจนเกาหลี มองโกเลีย และอินโดนีเซีย ในทุกประเทศ
ที่ได้กล่าวนามมานี้ เป็นความจริงที่พุทธศาสนาได้เข้าไปประดิษฐานอยู่เป็นเวลาช้านาน ทั้งได้รับความ
เทิดทูนสักการะอย่างสูงจากประชาชน แต่ในขณะเดียวกันอิทธิพลของวัฒนธรรม ตลอดจนลัทธิความ
เชื่อถือ เดิมของท้องถิ่นก็ได้เข้าไปผสมผสานปนเปกับ คาสอนอันแท้จริงของพุทธศาสนา อย่างแทบจะ
แยกกันไม่ออก
กล่าวโดยย่อก็คือ “ปรมัตถธรรม” ที่พระพุทธเจ้าได้ทรงสั่งสอนไว้ ได้เลือนลางจางหายจน
แทบจะสูญความหมายในอินเดีย โดยเฉพาะแล้วภายในระยะเวลาไม่กี่ร้อยปีหลังจากพระพุทธศาสนา
แม้ในถิ่นที่พุทธศาสนาเคยเจริญรุ่งเรืองที่สุดมาแล้ว เช่น ในรัฐพิหาร อุตรประเทศ และเบงกอล ก็ตาม
~ 40 ~
3. ความตกต่าทางภูมิปัญญาของสงฆ์
สาเหตุอีกประการหนึ่งที่ทาให้พุทธศาสนาเสื่อมอิทธิพล ก็คือความตกต่าทางภูมิปัญญา
ของบุคคลที่เข้ามาเป็นสมาชิกในคณะภิกษุสงฆ์ ตราบใดที่คณะสงฆ์มีสมาชิกที่ทรงความรู้
ความสามารถเป็นประทีปทางปัญญาให้แก่ปวงชน ตราบนั้นพระพุทธศาสนาก็อยู่ในฐานะสูงส่ง มีราชา
มหากษัตริย์ตลอดจนประชาชนคนธรรมดาประกาศตนเป็นสมาชิกมากมาย แต่หลังจากพุทธ
ปรินิพพานไม่นานก็ปรากฏตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ว่า ได้มีความหย่อนยานเกิดขึ้นทั้งในทาง
ระดับภูมิปัญญา และในวัตรปฏิบัติของสงฆ์ จนต้องมีการสังคายนากันเป็นระยะๆ ตลอดมา ใน
ประเทศอินเดียสมัยโบราณมีการโต้วาทีกันในเรื่องของศาสนาที่เป็นสาธารณะ โดยเปิดให้ประชาชน
ทุกลัทธิความเชื่อถือเข้าฟังได้ ผลของการโต้วาทีมีอิทธิพลของความเชื่อของคนในยุคนั้นมาก ปรากฏ
ว่าในการโต้วาทีเหล่านั้น ปราชญ์ฝ่ายพราหมณ์-ฮินดู เช่น ท่านกุมาริละ และท่านศังกราจารย์ ได้ชื่อว่า
เป็น “ผู้พิชิต” ปราชญ์ฝ่ายพระพุทธศาสนา
4. การปรากฏของลัทธิตันตระ
ลัทธิตันตระเป็นวิวัฒนาการขั้นต่อมาของพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน เหตุการณ์ใน
ประวัติศาสตร์ซึ่งเกิดขึ้นมากมายทั่วโลก มีอาทิในประเทศอินเดีย อียิปต์ ประเทศจีนยุคกลาง ใน
ตะวันออกกลาง ยุโรป สหรัฐอเมริกา (ล่าสุดในญี่ปุ่น ได้แก่กรณีโอมชินริเกียว - Aum Shinrikyo ซึ่ง
ได้สร้างความหายนะทั้งในชีวิตและทรัพย์สินแก่ชาวญี่ปุ่นอย่างมหาศาล) ชี้ให้เราเห็นว่าความเชื่อลัทธิ
ทางศาสนานั้นมีอิทธิพลอย่างมากมายต่อพฤติกรรมในชีวิตของมนุษย์ พิธีกรรมหรือวัตรปฏิบัติอันเกิด
จากความเชื่อทางศาสนามากมายหลายกรณี ซึ่งแรกเริ่มเดิมทีเกิดจากเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์อันดี
งามเป็นบุญกุศล แต่พอกาลเวลาล่วงเลยไปกิเลสของคนกลับแปรเปลี่ยนให้พิธีกรรมหรือวัตรปฏิบัติ
เหล่านั้น หันเหไปในทางที่เลวทรามต่าช้าสุดที่จะพรรณนา อุปมาที่กล่าวมานี้ฉันใด อุปไมยก็ได้แก่ลัทธิ
ตันตระ อันเป็น วิวัฒนาการขั้นต่อมาในพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน อาจกล่าวได้ว่า ตันตระเป็นลัทธิ
ความเชื่อและวัตรปฏิบัติที่นาพุทธศาสนาไปสู่ความหายนะขั้นสุดท้ายในประเทศอินเดีย ตันตระ
ประกอบด้วยคาสอนหลัก 5 ประการ ที่มีชื่อว่า “5 ม” มี (1) มัทยะ - เหล้า (2) มางสะ - เนื้อ (3)
มัตสยะ - ปลา (4) มุทรา - ท่าทาง (5) ไมถุน - การเสพสังวาสผู้ที่เชื่อในหลักคาสอนของตันตระ
จะต้องใช้ “5 ม” นี้ประกอบ การบูชากราบไหว้ เพียงเท่านี้ก็น่าจะเพียงพอแล้วสาหรับการที่จะเข้าใจ
ว่าตันตระคือ อะไร และทาไมพระพุทธศาสนาในอินเดียจึงถึงซึ่งกาลอวสานด้วยตันตระ สมองของ
มนุษย์นั้นว่ากันว่าเป็นเลิศประเสริฐสุดในบรรดาสัตว์ทุกชนิดที่มีให้เห็นในโลก แต่ประวัติศาสตร์ก็มี
นิทัศน์อุทาหรณ์ให้เราต้องยอมรับและเชื่อว่า ก็สมองของมนุษย์นี่แหละที่ได้สร้างความชั่วช้าสามานย์
ตลอดจนความพินาศวอดวายที่เลวร้ายที่สุดให้แก่มนุษย์ ทุกวันนี้ “ตันตระ” ก็ยังมีให้เห็นทั่วๆ ไปใน
โลก (รวมทั้งในเมืองไทยด้วย) อาจจะมีท่านผู้อ่านอยากจะทราบว่าลัทธิตันตระชั่วร้ายอย่างไร ถึงกับ
ทาให้พุทธศาสนาปลาสนาการไปจากอินเดียอันเป็นดินแดนถิ่นที่เกิด ผู้เขียนก็ขอตอบโดยสังเขปที่สุด
ว่าตันตระนั้นหรือคือลัทธิที่สอนให้คนเชื่อในเวทย์มนต์คาถาอาคม การทรงเจ้าเข้าผี ตลอดจนทุกสิ่งทุก
อย่างที่รวมอยู่ในไสยศาสตร์ ไสยเวท อันมีกาเนิดจากคัมภีร์อาถรรพเวทของพราหมณ์ และอยู่
นอกเหนือวิสัย ของปุถุชนคนธรรมดา อาจกล่าวได้ว่า ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 8 จนถึงคริสต์ศตวรรษที่
12 ชาวอินเดียทั้งประเทศซึ่งเดิมเคยนับถือศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และศาสนาพุทธ ต่างก็ตกอยู่ใน
~ 41 ~
ความครอบงาของลัทธิตันตระอย่างไม่ลืมหูลืมตา ทั้งนี้ไม่เฉพาะแต่สามัญชนคนธรรมดาเท่านั้น หาก
ชนชั้นสูงรวมทั้งชนชั้นผู้ปกครองด้วยก็เช่นเดียวกัน
5. ชาวพุทธถูกรุกรานประหัตประหาร
อิสลามในฐานะเป็นกาลังสาคัญทั้งในทางการเมืองและการศาสนา ได้แผ่เข้าไปในอินเดีย
ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ โดยเริ่มตั้งแต่ตอนต้นของคริสต์ศตวรรษที่ 11 และภายในเวลาไม่กี่ร้อยปี
ก็สามารถครอบครองดินแดนภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกของอินเดียไว้แทบจะทั้งหมด
และครองอยู่ได้เป็นเวลาหลายร้อยปีต่อมา การที่อิสลามเข้าไปมีอานาจทางอาณาจักรและศาสนจักร
ในอินเดียเป็นเวลาหลายร้อยปี ทาให้อิทธิพลของวัฒนธรรมอิสลามแผ่กระจาย และคลุมครอบชีวิต
ของชาวอินเดียอย่างลุ่มลึกและกว้างไกล ซึ่งอิทธิพลนี้ยังมีให้เห็นตราบจนปัจจุบัน โดยเฉพาะในอินเดีย
ภาคเหนือ ในส่วนที่เกี่ยวกับพุทธศาสนานั้น อาจกล่าวได้ว่า การปรากฏตัวของอิสลามเป็นมรสุมลูก
สุดท้ายที่กระหน่าให้ “พุทธนาวา” ลานี้ก็อยู่ในสภาพ “ชารุด” เต็มประดา ด้วยท้องนาวาถูก
แมงกะพรุนตันตระกัดกิน เป็นรูรั่วน้าไหลเข้าได้ จวนเจียนจะพลิกคว่าอยู่แล้ว แต่ “มรสุม” ลูกสุดท้าย
ที่ทาให้พุทธศาสนาต้องพังพินาศไปจากแผ่นดินอินเดียนั้น แน่นอน คือ “อิสลาม”
คาพรรณนาของ พระภิกษุ ดร.อานันท์ เกาศัลยายน ได้เขียนของหนังสือชื่อ “How India
Lost Buddhism?” ซึ่งน่าสนใจ ดังนี้ “ในขณะที่ความเสื่อมทางศีลธรรมและจิตใจกาลังมาสู่
ประชาชาติอินเดียดังได้พรรณนามานี้ การแบ่งแยกถือชั้นวรรณะตามศาสนาพราหมณ์ก็กระหน่าทาให้
ชีวิตสังคมอ่อนเปลี้ยลงอย่างที่สุด และในขณะที่ความ “เร้นลับ” ของลัทธิ “ตันตระ” กาลังทาให้
สมองของประชาชนหมดสมรรถภาพอยู่นั้น กองทัพอันเกรียงไกรของมุสลิมก็เคลื่อนขบวนมาจากทิศ
ตะวันตกเฉียงเหนือ คล้ายกับมรสุมใหญ่ที่กาลังพัดมาเพื่อทาความสะอาดให้แก่สิ่งโสโครกทั้งหลาย
บรรดาโบสถ์วิหารและทรัพย์สมบัติเครื่องบูชาอันมีค่ายวดยิ่ง ซึ่งสะสมกันไว้ตั้งร้อยๆ ปี ได้ถูกทาลาย
พินาศลงด้วยน้ามือของพวกรุกรานมุสลิม ปฏิมาของพระโพธิสัตว์และเทพยดา ทั้งหญิงชาย ได้ถูก
เหวี่ยงลงจากแท่นบูชาและเผาผลาญไม่มีเหลือ ไม่มีสิ่งใดเป็นเครื่องศักดิ์สิทธิ์ สาหรับนักรบมุสลิมผู้
กระหายอานาจและทรัพย์สมบัติเหล่านี้ “มนตร์” และพิธีกรรมต่างๆ ทางลัทธิ “ตันตระ” ที่เชื่อกันว่า
“ขลัง” ยิ่งนักนั้นปรากฏว่าไม่สามารถให้ความคุ้มครองได้ บรรดา “ผู้สาเร็จ” และ “อาจารย์” องค์
สาคัญๆ ต่างพากันยืนมือเท้างอต่อหน้ากองทัพมุสลิม ในที่สุดขณะที่พวก “ตันตระ”
การฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในอินเดีย
การฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในประเทศอินเดีย เพิ่งจะมีขึ้นไม่นานมานี้และส่วนมากเป็นการ
ริเริ่มหรือเกิดจากการกระตุ้นของชาวยุโรปและอเมริกัน ที่ได้ศึกษาทราบเรื่องราวแล้ว มีความเลื่อมใส
ซึ่งจะลาดับเหตุการณ์สาคัญได้ดังนี้
1. เหตุการณ์สาคัญ
พ.ศ. 2395 การฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในประเทศอินเดีย นายพล เซอร์ อเลกซานเดอร์ คัน
นิงแฮม นักโบราณคดีอินเดียและนักสารวจ ได้ดาเนินการขุดค้นโบราณสถานและโบราณวัตถุต่างๆ
ในทางพระพุทธศาสนา แสดงให้ชาวโลกและชาวอินเดียได้ตื่นเต้นมองเห็นความยิ่งใหญ่ของ
พระพุทธศาสนาในประวัติศาสตร์ เช่น เรื่องพระเจ้าอโศกและนาลันทา เป็นต้น
~ 42 ~
พ.ศ. 2522 เซอร์ เอดวิน อาร์โนลด์ ชาวอังกฤษ ประพันธ์เรื่อง “ประทีปแห่งทวีปเอเชีย”
หรือ “The Light of Asia” เป็นหนังสือพุทธประวัติที่ไพเราะลึกซึ้ง ทาให้คนอินเดียและชาวตะวันตก
สนใจเรื่องพระพุทธศาสนาเป็นจานวนมากที่เปลี่ยนศาสนามานับถือก็มี
พ.ศ. 2424 ที. ดับลิว. ริส เดวิดส์ กับภรรยา และคณะ ร่วมกันตั้งสมาคมบาลีปกรณ์ (The
Pali Text Society) ขึ้นที่กรุงลอนดอนประเทศอังกฤษ สาหรับดาเนินงานพิมพ์ พระไตรปิฎกคัมภีร์
พระพุทธศาสนาต่างๆ นับเป็นก้าวสาคัญในการศึกษาภาษาบาลีและพระพุทธศาสนาในสมัยปัจจุบัน
ในช่วงระยะเวลานี้การศึกษาค้นคว้าภาษาบาลีและพระพุทธศาสนาในหมู่ชาวตะวันตกได้ก้าวหน้าเป็น
อย่างมากเช่นมีการพิมพ์พจนานุกรมภาษาบาลี-อังกฤษ ของซิลเดอร์ เมื่อ พ.ศ. 2418 พิมพ์อรรถกถา
ชาดก ด้วยอักษรโรมันครบชุดใน พ.ศ. 2420-2440 พิมพ์และแปลคัมภีร์ทีปวงศ์ พ.ศ. 2421 พิมพ์บาลี
วินัยปิฎกครบชุด พ.ศ. 2422-2426 พิมพ์มิลินทปัญหา พ.ศ. 2423 พิมพ์บาลีสุตตันตปิฎก อภิธรรม
ปิฎก และอรรถกถาเล่มสาคัญๆ ระหว่าง พ.ศ. 2427-2468 พร้อมกับเริ่มงานพิมพ์พระไตรปิฎกแปล
ตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. 2424 เป็นต้นมา ส่วนในฝ่ายคัมภีร์สันสกฤตของมหายาน ก็มีความก้าวหน้าอย่าง
มากมายไม่แพ้กัน กล่าวได้ว่า ปัจจุบัน คัมภีร์และตารับตาราศึกษาภาษาบาลีสันสกฤตและ
พระพุทธศาสนาที่เป็นภาษาอังกฤษมีพรั่งพร้อมบริบูรณ์กว่าภาษาใด
พ.ศ. 2434 อนาคาริก ธรรมปาละ ชาวลังกา (เดิมชื่อเดวิด เหมวิตรเน เกิดในตระกูลผู้ดี
ชาวลังกาที่เปลี่ยนไปนับถือศาสนาคริสต์แล้วได้รับคาสั่งสอนจากครูอเมริกันชื่อ พันเอก ออคคอตต์ ให้
เลื่อมใสในพระพุทธศาสนามีความเข้าใจในสถานการณ์ต่างๆ และมีความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะ
ฟื้นฟูพระพุทธศาสนา จึงใช้ชื่อใหม่อันแสดงจุดมุ่งหมายของตน) ได้ไปนมัสการสังเวชนียสถานต่างๆ
ในประเทศอินเดีย ได้เห็นพุทธคยาอันเป็นสถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ถูกปล่อยปละละเลย และอยู่
ในความยึดครองของนักบวชฮินดูแล้ว ได้ปฏิญาณตนต่อหน้าต้นโพธิ์ตรัสรู้ว่า จะขอเสียสละพลีชีวิต
ของตน เพื่อกู้ปูชนียสถานของพระพุทธศาสนาให้พ้นจากสภาพที่ถูกทอดทิ้งให้จงได้ ในปีนี้เอง อนาคา
ริก ธรรมปาละ ได้เริ่มตั้ง มหาโพธิสมาคม แห่งแรกที่พุทธคยา จากนั้นได้ทางานอย่างเด็ดเดี่ยวจริงจัง
เพื่อฟื้นฟูพระพุทธศาสนา ได้เดินทางไปในประเทศต่างๆ เผยแพร่พุทธธรรมและขอความช่วยเหลือ
ความพยายามของท่านผู้นี้ทาให้เกิดความตื่นตัวและการร่วมมือเป็นอันมาก โดยเฉพาะจากคนอเมริกัน
มหาโพธิสมาคมได้ขยายตัวมีสาขาตั้งขึ้นในเมืองสาคัญต่างๆ ทั่วประเทศอินเดีย ท่านได้อุปสมบทในวัย
ชรา ณ ประเทศลังกา เมื่อ พ.ศ. 2476 และถึงมรณภาพในปีนั้นเอง เมื่อถึงมรณภาพได้เปล่งวาจาว่า
“ขอเกิดใหม่อีก 28 ครั้ง เพื่อเผยแพร่พุทธธรรม” ความเพียรพยายามของท่านทาให้พุทธคยาหลุดพ้น
จากครอบครองและเบียดเบียนของนักบวชฮินดู กลับคืนเป็นกรรมสิทธิ์ของพุทธศาสนิกชนสมความมุ่ง
หมาย ทาให้ฐานะของพระพุทธศาสนาฟื้นตัว และชาวพุทธเริ่มดาเนินงานเพื่อพระศาสนาได้เข้มแข็ง
ยิ่งขึ้น
พ.ศ. 2435 มีการตั้งสมาคมพุทธศาสนปกรณ์ (The Buddhist Text Society) ณ เมือง
กัลกัตตา นับว่าเป็นการตื่นตัวในหมู่ปราชญ์อินเดียอันเกิดจากแรงกระตุ้นที่ได้เห็น ชาวยุโรปศึกษา
ค้นคว้ากันอย่างเข้มแข็งจริงจัง ในช่วงเวลาต่อนี้มา ปราชญ์อินเดียวได้เริ่มศึกษาค้นคว้า
พระพุทธศาสนาทั้งในด้านหลักธรรมและประวัติศาสตร์มากขึ้นโดยลาดับ เมื่อรัฐบาลอินเดียได้เอกราช
แล้ว รัฐบาลแห่งแคว้นพิหาร ได้ตั้งนาลันทามหาวิหารหรือสถาบันวิจัยและศึกษาพระพุทธศาสนาและ
~ 43 ~
ภาษาบาลีแห่ง นาลันทาขึ้น เมื่อ พ.ศ. 2494 ณ สถานที่ใกล้กับที่ตั้งของมหาวิทยาลัยนาลันทาเดิม แม้
สถาบันการศึกษาชั้นสูงแห่งอื่นๆ ก็มีการสอนวิชาพระพุทธศาสนาบ้าง ภาษาบาลีบ้าง หลายแห่ง
พ.ศ. 2439 ได้มีการค้นพบครั้งสาคัญอีกครั้งหนึ่ง นั่นคือการค้นพบเสาหินพระเจ้าอโศก ที่
ลุมมินเดล (สวนลุมพินี) เสาหินพระเจ้าอโศกนี้ ได้เพิ่มหลักฐานทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า
ได้เป็นอย่างดียิ่งเนื่องจากมีจารึกที่เสาหินระบุไว้อย่างชัดเจนว่า “พระศากยมุนีพุทธเจ้า ได้ประสูติ ณ
สถานที่แห่งนี้” และอีก 2 ปี ต่อมา เจ้าของที่ดินได้ค้นพบผอบบรรจุพระบรมสารีริกธาตุในบริเวณ
เดียวกัน ที่ผอบมีคาจารึกเขียนไว้ว่า พระบรมสารีริกธาตุในผอบนี้เป็นของสมเด็จพระศากยพุทธเจ้า นี้
คือ การค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีเกี่ยวกับพระบรมสารีริกธาตุและสถูปที่เป็นปูชนียสถานของ
พระพุทธเจ้า เหตุการณ์ครั้งนั้นทาให้ชาวอินเดียตื่นตัวในความเจริญรุ่งเรืองของครั้งอดีต ในฐานะที่
พวกเขาได้อาศัยอยู่ในดินแดนอันศักดิ์สิทธิ์ซึ่งเป็นถิ่นฐานของศาสนาที่สาคัญที่สุดศาสนาหนึ่งของโลก
(ประยูร ป้อมสุวรรณ์. 2554 : 24)
2. พุทธชยันตี
พ.ศ. 2499 รัฐบาลอินเดียได้จัดงานฉลอง “พุทธชยันตี” ในโอกาสครบรอบ 25 พุทธ
ศตวรรษ (อินเดียนับศักราชอย่างลังกา เร็วกว่าประเทศไทย 1 ปี) ก่อนจัดงานฉลองนั้นรัฐบาลอินเดีย
ได้ทาการบูรณะสังเวชนียสถานทั้งสี่และสถานที่สาคัญทางพระพุทธศาสนาทุกแห่งเป็นการใหญ่ พร้อม
กับสร้างที่พักสาหรับผู้จาริกแสวงบุญไว้ครบทุกแห่ง และจัดพิมพ์หนังสือสาคัญเป็นอนุสรณ์แห่ง
พระพุทธศาสนาในประเทศอินเดีย ในปีเดียวกันนี้ ดร.อัมเบดการ์ อดีตกรรมการร่างรัฐธรรมนูญและ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมคนแรกของอินเดีย ซึ่งเป็นผู้นาคนวรรณะศูทร ได้เปลี่ยนศาสนาจาก
ฮินดู ปฏิญาณตนเป็นพุทธศาสนิกชน ทาให้คนวรรณะศูทรหันมานับถือพระพุทธศาสนาเป็นจานวน
ล้านคน เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2499 ท่านดร.เอ็มเบ็ดการ์ ได้ร่วมสนทนาในรายการของ BBC
ประจากรุงลอนดอน ในหัวข้อ ทาไมข้าพเจ้าจึงชอบพระพุทธศาสนา และพระพุทธศาสนาเป็น
ประโยชน์ต่อโลกในสถานการณ์ปัจจุบันได้อย่างไร ท่านยืนยันว่าที่ท่านชื่นชอบพระพุทธศาสนาก็
เพราะว่า พระพุทธศาสนาได้ให้หลักการสาคัญ 3 อย่างควบคู่กัน ซึ่งไม่มีศาสนาอื่นใดให้ได้ กล่าวคือ
พระพุทธศาสนาสอนหลักปรัชญา (ความเข้าใจที่ถูกต้องเพื่อป้องกันความเชื่อแบบไสยศาสตร์และ
ความเชื่ออานาจเหนือธรรมชาติ) หลักกรุณา (ความรักความหวังดีพร้อมช่วยเหลือกัน) หลัก
สมานัตตตา (ความเท่าเทียมกัน) เหล่านี้คือสิ่งที่มนุษย์ต้องการเพื่อชีวิตที่ดีงามและมีความสุข ไม่มีพระ
เจ้าหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ใดๆ จะสามารถช่วยเหลือสังคมมนุษย์ให้ปลอดภัยได้ (นอกจากความพยายามของ
มนุษย์ด้วยกันเอง) ท่านดร.เอ็มเบ็ดการ์ เลิกนับถือศาสนาฮินดู และได้แสดงตนเป็นพุทธมามกะอย่าง
เป็นทางการ เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2499 ที่เมืองนาคปูร์ ในตอนเย็นวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ.
2499 ท่านได้ร่วมประชุมกับสื่อมวลชนและแจ้งให้ทุกคนทราบว่า พระพุทธศาสนาที่ท่านนับถือจะเน้น
เฉพาะคาสอนที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสั่งสอนโดยตรง และต้องเป็นพระพุทธศาสนายุคใหม่
(ประยูร ป้อมสุวรรณ์. 2554 : 28) ท่านผู้นี้ได้ดาเนินการต่างๆ เพื่อยกฐานะคนวรรณะศูทรทั้งทาง
สังคมและการศึกษา ได้ตั้งวิทยาลัยและสถาบันการศึกษาพุทธศาสนาเพื่อสอนวิชาการต่างๆ มากมาย
หลายแห่ง เช่น สิทธารถวิทยาลัยทางนิติศาสตร์ เป็นต้น ท่านได้รับความเคารพเทิดทูนบูชาจากคน
วรรณะศูทรดุจเป็นพระโพธิสัตว์หรือยิ่งเทพเจ้า ท่านผู้นี้ถึงมรณกรรมใน พ.ศ. 2503 เป็นต้นมา (บุญ
เลี้ยง ขจีฟ้า. 2545 : 6-9) นับจากวันนั้น จานวนชาวพุทธในอินเดียก็เพิ่มมากขึ้นตามลาดับ ในปี
~ 44 ~
พ.ศ. 2508 มีพุทธศาสนิกชนในอินเดียประมาณ 4,000,000 คน จานวนพระสงฆ์ วัด ชุมชนและ
องค์กรชาวพุทธ ก็เพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เมื่อ พ.ศ. 2451 ได้มีการจัดการศึกษาภาษาบาลีขึ้นที่
มหาวิทยาลัยเมืองกัลกัตตา มีการต่อตั้งสถาบันบาลีนาลันทาขึ้นที่เมืองนาลันทาเมื่อ พ.ศ. 2494
มหาวิทยาลัยอินเดียในปัจจุบัน ได้เปิดหลักสูตรบาลีและพุทธศาสตร์ศึกษาอย่างแพร่หลาย เมื่อ พ.ศ.
2493 ชาวธิเบตทั้งบรรพชิตและฆราวาสหนีภัยสงครามจากชาวจีนแดงเข้าสู่ตอนเหนือของอินเดียและ
ได้ตั้งถิ่นฐานตามเขตภูเขา ปัจจุบันกลายเป็นชุมชนชาวพุทธในอินเดียที่สาคัญยิ่งอีกแห่งหนึ่ง
3. สภาพการณ์ปัจจุบัน
ปัจจุบันที่บริเวณเมืองพุทธคยา มีวัดของชาวพุทธจากนานาประเทศตั้งอยู่ ซึ่งเป็นผลมา
จากการที่รัฐบาลอินเดียโดยการนาของท่าน ชวาหระ ลาล เนห์รู นายกรัฐมนตรีคนแรกของอินเดีย ได้
จัดงานเฉลิมฉลอง 25 พุทธศตวรรษ ซึ่งตรงกับ พ.ศ. 2500 (พ.ศ. 2499 ของไทย) ซึ่งตรงกับปีพุทธ
ชยันตี โดยได้เชิญประเทศต่างๆ ที่นับถือพระพุทธศาสนาให้ร่วมกันเฉลิมฉลองด้วยการอนุญาตให้สร้าง
วัดขึ้นที่บริเวณพุทธคยารัฐบาลไทยจึงได้สร้างวัดแห่งแรกของไทยในอินเดียคือ วัดไทยพุทธคยา ซึ่ง
สร้างแล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2509 เป็นวัดไทยที่มีสถาปัตยกรรมงดงามที่สุดในประเทศอินเดีย จากการ
สารวจเมื่อปี พ.ศ. 2550 มีวัดไทยทั้งหมด 8 วัด ซึ่งมีชื่อตามชื่อเมืองที่วัดตั้งอยู่ คือ วัดไทยพุทธคยา
เมืองพุทธคยา วัดไทยนาลันทา เมืองนาลันทา วัดไทยสารนาถ เมืองสารนาถ วัดไทยกุสินารา เมือง
กุสินารา วัดป่าพุทธคยา เมืองพุทธคยา วัดไทยกุสาวดีวร พุทธวิหาร เมืองกุสินารา วัดไทยสิริราชคฤห์
เมืองราชคฤห์ สานักปฏิบัติธรรมแดนมหามงคล เมืองสาวัตถี หรือ เมืองสาเหต-มเหตของอินเดีย
ปัจจุบัน นอกจากนั้นยังมีวัดพม่า วัดญี่ปุ่น วัดจีน วัดธิเบต วัดศรีลังกา อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกัน จึงถือ
ได้ว่า ต้นกล้าแห่งพุทธธรรมได้รับการเพาะปลูกในถิ่นอินเดียอีกครั้งและได้รับการบารุงรักษาด้วยปุ๋ย
ชั้นดีจากนานาประเทศ และเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2559 มีชาวฮินดูซึ่งมาจากวรรณะชั้นล่าง กว่า 300
คน ทาพิธีเปลี่ยนมารับนับถือพระพุทธศาสนา ณ พุทธคยา พุทธสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของชาวพุทธใน
รัฐพิหาร ชาวฮินดูที่เปลี่ยนมานับถือพระพุทธศาสนาทั้งหมดนี้ มาจากเขตเอารังคาบาท
(Aurangabad) และชะหานาบาท (Jahanabad) ในรัฐพิหาร บางส่วนมาจากเมืองนาคปูร์ (Nagpur)
และเมืองสาตารา (Satara) ในรัฐมหาราษฎร์ รวมถึงเมืองชะบัลปูร์ (Jabulpur) และเมืองเรวา
(Rewa) ในรัฐมัธยะประเทศทางการให้ข้อมูลว่า พิธีดังกล่าวจัดขึ้น ณ วิหารของวัดพม่าภายในพุทธค
ยา โดยมีพระจันทรมุนี ชาวพม่า นาประกอบพิธีทีกฺษา (Deeksha; दीक्षा) หรือพิธี "บวชเป็นชาวพุทธ"
(ประกาศตนเป็นพุทธมามกะ) ตามแบบอย่างของดร.บาอัมเบดการ์ ที่มีบทบาทสาคัญยิ่งในการเป็น
ผู้นาชาวฮินดู วรรณะจัณฑาลกว่า 6 แสนคน ให้เปลี่ยนมานับถือพระรัตนตรัยและรับศีลห้า เมื่อวันที่
14 เดือนตุลาคม ปีค.ศ. 1956 ณ เมืองนาคปูร์ กลายเป็นเหตุการณ์ครั้งยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์
เพราะถือเป็นการปลดแอกระบบวรรณะที่เป็นความอยุติธรรมทางสังคมของอินเดีย
ผู้คนส่วนใหญ่ที่หันมานับถือพระพุทธศาสนานั้นต่างกล่าวว่า "พวกเขาต้องการเปลี่ยน
ศาสนาเพื่อกาจัดการกีดกันทางชนชั้นและการถูกมองว่าเป็นวรรณะชั้นต่า" การเปลี่ยนมาเป็นชาวพุทธ
ในอินเดียนั้น ยังคงมีให้เห็นอยู่เรื่อยๆ อย่างเมื่อต้นปี พ.ศ. 2558 ที่ผ่านมา ก็มีชาวฮินดูราว 1,700 คน
มาร่วมประกอบพิธีเปลี่ยนมานับถือพระพุทธศาสนาที่พุทธคยา แคว้นพิหารเช่นกัน แม้การเปลี่ยน
ความเชื่อนี้ โดยหลักจะมาจากแรงกดดันทางชั้นวรรณะ แต่อย่างไรก็ดี การตัดสินใจเช่นนี้ก็เป็นสิ่งที่
2
2
2
2

More Related Content

Viewers also liked

พุทธศาสนาเถรวาทในอินเดีย
พุทธศาสนาเถรวาทในอินเดียพุทธศาสนาเถรวาทในอินเดีย
พุทธศาสนาเถรวาทในอินเดีย
Anchalee BuddhaBucha
 
การสร้างเว็บไซต์บนโฮสจำลอง
การสร้างเว็บไซต์บนโฮสจำลองการสร้างเว็บไซต์บนโฮสจำลอง
การสร้างเว็บไซต์บนโฮสจำลอง
manit akkhachat
 

Viewers also liked (20)

พุทธศาสนาในโลกปัจจุบัน
พุทธศาสนาในโลกปัจจุบันพุทธศาสนาในโลกปัจจุบัน
พุทธศาสนาในโลกปัจจุบัน
 
พุทธศาสนาเถรวาทในอินเดีย
พุทธศาสนาเถรวาทในอินเดียพุทธศาสนาเถรวาทในอินเดีย
พุทธศาสนาเถรวาทในอินเดีย
 
8.3
8.38.3
8.3
 
Chapter 5 composition
Chapter 5 compositionChapter 5 composition
Chapter 5 composition
 
การสร้างเว็บไซต์บนโฮสจำลอง
การสร้างเว็บไซต์บนโฮสจำลองการสร้างเว็บไซต์บนโฮสจำลอง
การสร้างเว็บไซต์บนโฮสจำลอง
 
111
111111
111
 
444
444444
444
 
555
555555
555
 
2
22
2
 
8.4
8.48.4
8.4
 
580820 lesson 222
580820 lesson 222580820 lesson 222
580820 lesson 222
 
Lesson 3
Lesson 3Lesson 3
Lesson 3
 
580808 lesson 333
580808 lesson 333580808 lesson 333
580808 lesson 333
 
บทที่ 1
บทที่ 1บทที่ 1
บทที่ 1
 
Lesson 4
Lesson 4Lesson 4
Lesson 4
 
333
333333
333
 
บทที่ 1
บทที่ 1บทที่ 1
บทที่ 1
 
Color theory
Color theoryColor theory
Color theory
 
บทที่ 4
บทที่ 4บทที่ 4
บทที่ 4
 
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์กราฟิก
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์กราฟิก  ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์กราฟิก
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์กราฟิก
 

More from manit akkhachat (17)

Lesson 1
Lesson 1Lesson 1
Lesson 1
 
Buddhist studies
Buddhist studiesBuddhist studies
Buddhist studies
 
Test001
Test001Test001
Test001
 
610801 lesson 1
610801 lesson 1610801 lesson 1
610801 lesson 1
 
05
0505
05
 
04
0404
04
 
03
0303
03
 
02
0202
02
 
01
0101
01
 
Nrru 006
Nrru 006Nrru 006
Nrru 006
 
Nrru 005
Nrru 005Nrru 005
Nrru 005
 
บทที่ 4
บทที่ 4บทที่ 4
บทที่ 4
 
Nrru 004
Nrru 004Nrru 004
Nrru 004
 
Lesson 4 christianity
Lesson 4 christianityLesson 4 christianity
Lesson 4 christianity
 
Lesson 3 buddhism
Lesson 3 buddhismLesson 3 buddhism
Lesson 3 buddhism
 
Lesson 2 hindunism
Lesson 2 hindunismLesson 2 hindunism
Lesson 2 hindunism
 
Lesson 1 religion
Lesson 1 religionLesson 1 religion
Lesson 1 religion
 

2

  • 1. แผนบริหารการสอนประจําบทที่ 2 หัวขอประจําบท 1. มูลเหตุของการเสื่อม 1.1 คณะสงฆออนแอเสื่อมโทรมลง 1.2 ศาสนาฮินดูตอตานบีบคั้น 1.3 ชนชาติมุสลิมเขารุกรานและทําลาย 2. ความเสื่อมของพระพุทธศาสนา 2.1 ยุคมืด 2.2 ยุคกลาง 2.3 ยุคปลาย 3. เหตุที่พระพุทธศาสนาเสื่อมสูญจากอินเดีย 3.1 การแยกตนไปดํารงชีวิตตางหากของสงฆ 3.2 การวางตนไมแทรกแซงยุงเกี่ยวกับกิจกรรมทางสังคมของพระพุทธศาสนา 3.3 ความตกต่ําทางภูมิปญญาของสงฆ 3.4 การปรากฏของลัทธิตันตระ 3.5 ชาวพุทธถูกรุกรานประหัตประหาร 4. การฟนฟูพระพุทธศาสนาในอินเดีย 4.1 เหตุการณสําคัญ 4.2 พุทธชยันตี 4.3 สภาพการณปจจุบัน วัตถุประสงคเชิงพฤติกรรม 1. นักศึกษากลาแสดงความคิดเห็นในหองเรียน 2. นักศึกษาตอบคําถามไดถูกตอง 3. นักศึกษาสรุปเรื่องที่ศึกษาได 4. นักศึกษาบันทึกประเด็นสําคัญได วิธีการสอนและกิจกรรมการเรียนการสอน 1. บรรยาย/อธิบายแบบเชิงนิรนัยและอุปนัยเพื่อใหนักศึกษาเห็นภาพชัดเจนขึ้น 2. ใหนักศึกษาวิพากษประเด็นตางๆ ตามกรอบของวิชาที่เรียน 3. เรียนรูดวยตนเองแบบเนนการปฏิบัติ (Task Based)
  • 2. สื่อการเรียนการสอน 1. เอกสารประกอบการสอน 2. หนังสืออานประกอบ 3. Learning Management System 4. บรรยายในหองเรียน วิธีวัดผลและประเมิน 1. พฤติกรรมการเขาเรียน 2. การรวมกิจกรรมการเรียนรู 3. การสงงานตามที่มอบหมาย 4. สอบประเมินผลเนื้อหาประจําบท 2 คะแนน
  • 3. บทที่ 2 มูลเหตุและความเสื่อมสูญของพระพุทธศาสนาในอินเดีย ความเสื่อมของพระพุทธศาสนาในประเทศอินเดียมีสาเหตุหลายๆ ประการที่ทาให้ พระพุทธศาสนานั้นค่อยได้รับการนับถือลดลง ซึ่งสอดคล้องกับหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่ กล่าวถึงหลักไตรลักษณ์ของสิ่งทั้งปวงไว้ว่า ย่อมมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา ย่อมมีความตั้งอยู่เป็น ธรรมดา และย่อมมีความดับไปเป็นธรรมดา หากเราศึกษาความเสื่อมสูญของพระพุทธศาสนาใน ประเทศอินเดียแล้วจะทาให้เรามองเห็นถึงภัยที่จะเกิดขึ้นกับพระพุทธศาสนาในอดีตได้ ว่ามีสาเหตุมา จากอะไรบ้าง และจะได้หาแนวทางแก้ไขเพื่อความยั่งยืนของพระพุทธศาสนาเพื่อสืบทอดพระธรรมคา สอนของพระพุทธเจ้ามาเผยแผ่ธรรมะให้โลกรู้และคงอยู่ตราบนานเท่านาน ซึ่งเป็นการศึกษาข้อมูลใน อดีตเพื่อป้องกันเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในปัจจุบันและอนาคตได้ โดยมีกรอบศึกษาที่สาคัญคือ มูลเหตุ ของความเสื่อมเกิดจากอะไร ความเสื่อมในยุคต่างๆ ส่งผลอย่างไรบ้างต่อพระพุทธศาสนา และสุดท้าย ก็คือการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในประเทศอินเดียในยุคปัจจุบันดาเนินการไปในทิศทางอย่างไรบ้าง ซึ่ง จะได้นาเสนอในบทนี้ มูลเหตุของความเสื่อม มูลเหตุของการเสื่อมสูญของพระพุทธศาสนาในอินเดียมีหลายทัศนะจากท่านผู้รู้ทั้งหลาย เมื่อพิจารณาทัศนะเหล่านั้นแล้วก็ล้วนมีความเป็นไปได้ทั้งสิ้น เหตุปัจจัยที่ทาให้พุทธศาสนาเสื่อมสูญ ไปจากมาตุภูมิคงเป็นลักษณะค่อยเป็นค่อยไปคล้ายนาเซาะหิน ไม่ใช้แบบน้าเซาะทราย ได้กล่าวถึง สาเหตุไว้หลายประการ 1. คณะสงฆ์อ่อนแอเสื่อมโทรมลง พระสงฆ์แต่เดิมปฏิบัติตนตามธรรมวินัยทาให้ประชาชนทุกชนชั้นเลื่อมใส พากันทานุบารุง พระพุทธศาสนาจนเจริญรุ่งเรือง แต่ต่อมาในรุ่นหลังๆ หลงมัวเมาในลาภสักการะ ลืมหน้าที่ที่แท้จริง เป็นเหตุให้เกิดสิ่งที่ไม่พึงปรารถนาเหล่านี้ (พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต). 2540 : 358-360) 1.1 ติดถิ่น ติดที่ เพลิดเพลินในลาภสักการะและความสุขสบาย นึกถึงแต่เรื่องของตนเอง และปัจจัยเครื่องอาศัยของตนเอง ทอดทิ้งหน้าที่ต่อประชาชน 1.2 วุ่นวายอยู่กับพิธีกรรม และงานฉลองอันสนุกสนานต่างๆ จนความเขาใจเรื่องบุญกุศล แคบลงเป็นเรื่องรับเข้าหรือเอาฝ่ายเดียว 1.3 ศึกษาเล่าเรียนลึกซึ้งลงไปแล้ว มัวหลงเพลินกับการถกเถียงปัญหาปรัชญาประเภท อันตคาหิกทิฏฐิจนลืมศาสนกิจสามัญในระหว่างพุทธบริษัท 1.4 มีความประพฤติปฏิบัติย่อหย่อนลง เพราะเพลิดเพลินในความสุขสบาย และแตก สามัคคีแยกเป็นพวกเป็นนิกาย เพราะถือรั้นรังเกียจกันตกลงกันไม่ได้ 1.5 เห็นแก่ความง่าย ตามใจตนเอง ตามใจคน ปล่อยให้เรื่องไสยศาสตร์ เรื่องลึกลับ อิทธิปาฏิหาริย์ต่างๆ พอกพูนมากขึ้น ตนเองก็เพลิดเพลินมัวเมาในเรื่องเหล่านั้น และทาให้ประชาชน
  • 4. ~ 34 ~ จมดิ่งลง แทนที่จะมีเหตุผลยิ่งขึ้น เข้มแข็ง มีปัญญาและพึ่งตนได้มากขึ้น ก็กลับอ่อนแอต้องคอยหวัง พึ่งปัจจัยภายนอกมากยิ่งขึ้น และทาให้พระพุทธศาสนามีสภาพคล้ายคลึงกับศาสนาอื่นๆ มากมาย เช่น แปรรูปไปเป็น ตันตระ แบบเสื่อมโทรม จนเหมือนตันตระของฮินดู และหมดลักษณะพิเศษของ ตนเอง 2. ศาสนาฮินดูต่อต้านบีบคั้น คาสอนของพระพุทธศาสนาขัดแย้งและทาลายความเชื่อถือเดิมในศาสนาพราหมณ์ มากมายหลายอย่าง เป็นเหตุให้ศาสนาพราหมณ์หรือฮินดูในสมัยต่อมา พยายามหาทางลิดรอน พระพุทธศาสนาโดยวิธีต่างๆ ข้อที่ควรศึกษาในเรื่องนี้มีดังนี้ (บุญเลี้ยง ขจีฟ้า. 2545 : 11-12) 2.1 พระพุทธศาสนาสอนว่าทุกคนมีความเสมอภาค ควรมีสิทธิและโอกาสเท่าเทียมกัน ไม่ จากัดด้วย วรรณะ และให้ทุกคนศึกษาเล่าเรียนในพระธรรมวินัยเหมือนกันหมด คาสอนนี้ กระทบกระเทือนฐานะของพราหมณ์ทั้งหลาย ซึ่งถือว่าตนเป็นวรรณะสูงสุด มีสิทธิพิเศษต่างๆ และ เคยผูกขาดการศึกษาไว้ โดยปกติพราหมณ์เป็นคนชั้นสูง มีอานาจและอิทธิพลมาก เช่น เป็นปุโรหิต ของพระราชา เป็นต้น แต่พระพุทธศาสนาแพร่หลายในหมู่ประชาชนทั่วไป ตราบใดที่ประชาชนยังมี ศรัทธามั่นคง พระสงฆ์ยังเป็นที่พึ่งของประชาชนและทาหน้าที่ต่อประชาชนอย่างถูกต้อง พวก พราหมณ์ก็ไม่กล้าทาอันตราย หรือทาก็ไม่สาเร็จ ยิ่งเมื่อพระมหากษัตริย์ทรงอุปถัมภ์อยู่ด้วย พระพุทธศาสนาก็ยิ่งมั่นคง จะสังเกตเห็นได้ว่าพระมหากษัตริย์ที่เป็นพุทธมามกะถูกพระองค์ทรงให้ เสรีภาพในการนับถือศาสนา อุปถัมภ์ทุกๆ ศาสนา เช่น พระเจ้าอโศก กนิษกะ หรรษวรรธนะ เป็นต้น แต่พราหมณ์จะไม่พอใจในการอุปถัมภ์พระพุทธศาสนา เช่น ปุษยมิตร ทาลายวงศ์กษัตริย์พุทธขึ้น ครองราชย์แล้วกาจัดพุทธศาสนา พวกพราหมณ์ข้าราชการของพระเจ้าหรรษวรรธนะริษยาการทรง อุปถัมภ์พระพุทธศาสนา ถึงกับวางแผนปลงพระชนม์ในสมัยที่พราหมณ์ขึ้นเป็นกษัตริย์แม้จะไม่กล้า กาจัดพระพุทธศาสนา แต่ก็ทาให้พระพุทธศาสนาต้องยอมประนีประนอมคาสอนกับฮินดูจนกลายเป็น เหมือนกันและถูกกลืนไปในที่สุด 2.2 พวกพราหมณ์ใช้ศาสนาฮินดูเป็นหลักของลัทธิชาตินิยม โดยผนวกความเป็นคน อินเดียเข้ากับความเป็นฮินดู ซึ่งจะสังเกตเห็นว่ากษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของอินเดียเป็นพุทธมามกะ และ มักจะเป็นเชื้อสายชนต่างชาติ ที่เห็นชัดเจนคือพระเจ้ากนิษกะทรงเป็นชนเชื้อสายมงโกลในเผ่ากุษาณ ชาวอินเดียที่จะกาจัดราชวงศ์กุษาณในสมัยต่อมา ใช้ลัทธิชาตินิยมเป็นเครื่องรวมกาลัง และการที่ กษัตริย์วงศ์นี้นับถือพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า พระพุทธศาสนาจึงถูกเพ่งมองในฐานะศาสนาของคน ต่างชาติด้วย แม้ในเรื่องนี้พระเจ้าอโศกมหาราชก็เช่นกัน มีปราชญ์สันนิษฐานว่าพระองค์มีพระมารดา เป็นชนชาติกรีก พวกพราหมณ์ได้พยายามกาจัดราชวงศ์นี้พร้อมทั้งพระพุทธศาสนา พระเจ้าอโศก มหาราชแม้จะเป็นกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด แต่ไม่ปรากฏเกียรติคุณในประวัติศาสตร์ของชาวฮินดูเลย ต่อเมื่อชาวยุโรปมาขุดค้นศึกษา พระนามของพระเจ้าอโศกจึงปรากฏขึ้นมา และชาวอินเดียเองก็ พลอยยอมรับ นอกจากนี้แม้พระพุทธเจ้าเองก็มีผู้สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นชนเผ่ามงโกล ซึ่งย่อมไม่เป็นที่ พึงพอใจของพราหมณ์ 2.3 ปราชญ์ฮินดูพยายามนาเอาหลักการในพระพุทธศาสนาไปปรับปรุงหลักธรรมของ ตนเองให้ออกรูปใหม่บ้าง นาไปทาตามอย่างบ้าง เพื่อให้มีกาลังเทียบเคียงกันได้ และให้ดูคล้ายคลึง เหมือนกันกลืนกันจนไม่จาเป็นจะต้องมีพระพุทธศาสนาอยู่ต่างหาก และเมื่อฝ่ายพุทธศาสนาอ่อนแอก็
  • 5. ~ 35 ~ กลืนได้ง่าย เช่น สังกราจารย์ นาหลักในพุทธปรัชญาไปแปลงรูปเป็นปรัชญาเวทานตะของตน และ สร้างวัดฮินดู มีการตั้งคณะนักบวชสันยาสีเลียนแบบคณะสงฆ์ เป็นต้น แม้องค์พระพุทธเจ้าเอง ก็ กลายเป็นอวตารของพระนารายณ์ไป 3. ชนชาติมุสลิมเข้ารุกรานและทาลาย ในระยะที่คณะสงฆ์กาลังอ่อนแอลงนั้น ก็พอดีกองทัพชนชาติอาหรับและเตอร์กเข้ารุกราน เป็นระลอกๆ และทาลายพุทธศาสนาลงจนหมด เช่น ทาลายมหาวิทยาลัยวลภีลงในราว พ.ศ. 1350- 1400 และทาลายหมดทุกแห่งใน พ.ศ. 1700 เป็นต้น โดยมีวิธีการต่างๆ ดังนี้ (พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต). 2540 : 362-364) 3.1 ฆ่าพระสงฆ์ เช่น ที่นาลันทา นักประวัติศาสตร์มุสลิมเองบันทึกไว้ว่าพระถูกฆ่า ประมาณหมื่นรูป คือไม่ให้เหลือเลยทุกแห่งที่มีพระสงฆ์ 3.2 ทาลายสถาบันและสิ่งก่อสร้างโดยเผาผลาญวัดวาอารามและมหาวิทยาลัย พระพุทธศาสนาทุกแห่ง บางแห่งแม้แต่ซากก็ไม่ให้เหลือ 3.3 เผาคัมภีร์และตารับตาราพระพุทธศาสนา เช่น ที่หอสมุดของนาลันทาใช้เวลาเผาอยู่ นับแรมเดือน การทาลายครั้งนี้ทาให้คณะสงฆ์สลายตัว และตั้งไม่ติดอีกเลย ระบบของพระพุทธศาสนา นั้นดารงอยู่ในรูปสถาบัน ซึ่งปันเป็นพุทธบริษัท 2 ฝ่าย ปฏิบัติหน้าที่ของแต่ละฝ่ายต่อกันโดยฝ่าย พระสงฆ์เป็นผู้นาในทางจิตใจ มีความเป็นอยู่และที่อยู่ต่างหากชัดเจน กาจัดได้ง่าย เมื่อหมดพระสงฆ์ หมดผู้นา พุทธศาสนิกก็ถูกบังคับบ้าง ถูกชักจูงบ้าง กลายเป็นมุสลิมหรือฮินดูไป ฝ่ายฮินดูถึงจะถูก กาจัดพร้อมกัน แต่เพราะนักบวชฮินดูมีหลายแบบ บางพวกอยู่ตามบ้านมีครอบครัว มีความเป็นอยู่ไม่ ต่างจากคนทั่วไป ก็เหลือรอดอยู่ได้ง่าย ขณะนั้นหลักการทั่วไปของพระพุทธศาสนากับฮินดู คล้ายคลึง กัน หรือผสมผสานกันมากแล้ว เมื่อฝ่ายฮินดูเหลืออยู่ ก็ชักไปเข้าฮินดูโดยง่ายไม่มีใครขัดขวาง วัดพุทธ ศาสนาที่หลงเหลืออยู่ก็ถูกพราหมณ์เข้าครองกลายเป็นวัดฮินดู ชาวพุทธที่เหลือก็ถูกกลืนช้าๆ เขาสู่ สังคมแห่งวรรณะของฮินดู ยุคความเสื่อมของพระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนานั้นเป็นลัทธิซึ่งเกิดขึ้นเพื่อปฏิรูปลัทธิพราหมณ์ และเพื่อปฏิรูปการปฏิบัติต่อ กันระหว่างมนุษย์อันถูกแบ่งเป็นวรรณะต่างๆ ในสมัยของพระพุทธเจ้าการปฏิรูปย่อมผิดกับการปฏิวัติ เพราะการปฏิรูปนั้นดาเนินไปโดยการสอนชี้ให้เห็นจุดเสื่อมโทรมอันเป็นมาแต่เดิมและเสนอแนวใหม่ ให้ปฏิบัติด้วยการหาความนิยมจากมหาชน การปล่อยให้ศาสนาพราหมณ์คงมีอยู่ได้และดาเนิน ศาสนกิจต่อไปย่างพัวพันกับชีวิตของประชาชนอย่างเดิม ก็เป็นเหตุหนึ่งซึงทาให้พระพุทธศาสนาสูญไป จากอินเดีย และอีกประการหนึ่งอินเดียเป็นดินแดนที่ข้นแค้นมาก คนส่วนใหญ่ยังมีจิตอันมืดมน เนื่องมาจากอาหารและที่อยู่อาศัย พระพุทธศาสนาอาจจะให้อาหารทางจิต แต่ไม่ได้ให้อาหารทางกาย นี่เป็นเหตุหนึ่งซึ่งทาให้มหาชนจาต้องหันไปพึ่งศาสนาที่คนอินเดียคาดว่าจะมีความสมบูรณ์ในโลกหน้า หรือสวรรค์ เมื่อศึกษาถึงชีวิตคนเราทางด้านวัตถุเหล่านี้ก็ทราบว่า พระพุทธศาสนาน่าจะอยู่ยั่งยืนและ ฝังรากได้แน่นแฟ้นในประเทศที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยอาหารและของใช้ สาเหตุดังกล่าวจึงอาจทาให้
  • 6. ~ 36 ~ พระพุทธศาสนาเสื่อมไปจากอินเดีย แต่กลับมาเบ่งบานอยู่ได้ในลังกา พม่า ไทย และอินโดจีน อันเป็น ดินแดนที่อุดมยิ่งในทางอาหาร หากเรารับเชื่อในทฤษฎีอย่างนี้และก็ได้ความว่า การที่อินเดียจะนา พระพุทธศาสนากลับคืนเข้าไปในประเทศอีกครั้ง จะทาต่อเมื่อประชาชนได้พบกับความพอมีพอกิน แล้วเท่านั้น (ธีรวัส บาเพ็ญบุญบารมี. ออนไลน์. 2559) เพื่อให้เกิดความชัดเจนทางวิชาการเราจึงจะ มาศึกษาถึงยุคความเสื่อมของพระพุทธศาสนาในประเทศอินเดีย ซึ่งพอจะสรุปได้ 3 ยุค ก็คือ ยุคต้น ยุคกลาง และยุคปลาย ดังนี้ 1. ยุคต้น พ.ศ. 1250 หลังจากพระเจ้าหรรษวรรธนะสวรรคตแล้ว ชมพูทวีประส่าระสายรวมกัน ไม่ได้ติดอยู่ประมาณ 1 ศตวรรษจากนั้นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้มีคนวรรณะศูทรตั้งราชวงษ์ปา ละขึ้นครองอาณาจักรเล็กๆ แห่งหนึ่งมีอาณาเขตเทียบตามชื่อปัจจุบันได้แก่ แคว้นพิหารและเบงกอล กษัตริย์ราชวงศ์นี้เป็นพุทธมามกะ ได้ทรงทานุบารุงพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมากโดยเฉพาะได้ทานุ บารุงมหาวิทยาลัยนาลันทา และมหาวิหารต่างๆ คือ โอทันตปุระ วิกรมศิลา โสมปุระ และชคัททละ หรือวาเรนทรี สถาบันเหล่านี้ยังคงทาหน้าที่เป็นศูนย์กลางการศึกษา และเผยแพร่วัฒนธรรมระหว่าง ชาติต่อมาได้เป็นอย่างดี เช่น กษัตริย์แห่งศรีวิชัย พระองค์หนึ่งได้ทรงสร้างวัดถวายที่นาลันทา เมื่อ ประมาณ พ.ศ. 1350 พระศานตรักษิตและปัทมสัมภวะ ได้เดินทางจากนาลันทาไปเผยแพร่พุทธ ศาสนาในทิเบตในพุทธศตวรรษที่ 14 และพระอตีศะได้เดินทางจากมหาวิทยาลัยวิกรมศิลาไปเผยแพร่ พระพุทธศาสนาในทิเบตพุทธศตวรรษที่ 16 เป็นต้น สาหรับวิกรมศิลานั้นในระยะหลังปรากฏว่า ได้ เจริญรุ่งเรืองล้าหน้านาลันทาออกไปอีก อย่างไรก็ดี สถาบันพุทธศาสนาเหล่านี้ แม้จะมีจานวนมากขึ้น และได้รับการอุปถัมภ์บารุง อย่างดี แต่ในสมัยนี้ได้หันมาเน้นการศึกษาพระพุทธศาสนาแบบตันตระอย่างเดียว และ พระพุทธศาสนาที่เจริญในยุคนี้เป็นแบบตันตระที่กลายรูปออกไปใกล้เคียงกับตันตระของฮินดูเข้าทุกที อันเป็นความเจริญที่อ่อนแอ และนาไปสู่ความเสื่อมในที่สุด 2. ยุคกลาง พ.ศ. 1300 ศังกราจารย์ นักบวชฮินดูนิกายไศวะ ผู้แสดงปรัชญาเวทานตะ ได้นาเอา หลักธรรมและหลักปรัชญาในพระพุทธศาสนาไปปรับปรุงออกใหม่เป็นคาสอนในศาสนาฮินดู เที่ยวสั่ง สอนและโต้วาทะไปในถิ่นต่างๆ และนาเอาคติแห่งการตั้งคณะสงฆ์และวัดในพระพุทธศาสนาไปจัดตั้ง คณะนักบวชสันยาสีและวัดฮินดูขึ้น เผยแพร่คาสอนและสงเคราะห์ประชาชนทาให้ศาสนาฮินดูเจริญ ขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่วนพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนาซึ่งกาลังตกอยู่ในสภาพที่หลงลืมหน้าที่ และมีความ คิดเห็นคลาดเคลื่อนออกไป จึงอยู่ในสภาพเสียเปรียบและเร่งความเสื่อมโทรมให้เร็วยิ่งขึ้น พ.ศ. 1500 พุทธศาสนาแบบตันตระแต่นี้ไป ได้กลายรูปไปในทางเสื่อมโทรมยิ่งขึ้นหลง หมกมุ่นในเรื่องไสยศาสตร์ มนตร์ ยันตร์ การแสดงทางเพศอันอุจาดอนาจารต่างๆ จนแยกไม่ออกจาก ตันตระตามลัทธิศักติของฮินดู และเผยแพร่ลัทธินี้ออกไปยังทิเบตและเนปาล เป็นต้นด้วย สภาพเช่นนี้ ดาเนินไปจนถึงอวสานของพระพุทธศาสนาใน พ.ศ. 1700 ในขณะที่อินเดียกาลังอ่อนแอ ไม่สามารถรวมกาลังกันเป็นอาณาจักรใหญ่ๆ ได้นี้ กองทัพ เตอร์กมุสลิม ก็ได้ยกเข้ารุกรานผ่านตั้งตาภาคตะวันตกเฉียงเหนือเข้ามาตามลาดับจนเกือบทั่วชมพู ทวีป ทุกแห่งที่ผ่านไป ทัพเตอร์กมุสลิมฆ่าพระสงฆ์ เผาวัด ทาลายสิ่งก่อสร้างทางศาสนาทุกอย่าง
  • 7. ~ 37 ~ ตลอดจนหอสมุดและคัมภีร์ต่างๆ ทั้งหมด บางแห่งแม้แต่ซากก็ไม่เหลือ พระสงฆ์บางส่วนหนีทันได้ลี้ ภัยไปอยู่ในเนปาลและทิเบต กล่าวไว้ว่าพระพุทธศาสนาซึ่งอ่อนกาลังอยู่แล้ว ได้สูญสิ้นไปจากประเทศ อินเดียแต่บัดนั้น ส่วนศาสนาฮินดู แม้จะถูกทาลายล้างเหมือนกัน แต่เพราะสภาพต่างกัน เช่น นักบวช ฮินดูบางพวกอยู่ในบ้านเรือน แต่งตัวไม่ต่างจากชาวบ้านทั่วไปไม่เป็นที่สังเกตที่จะแยกออกต่างหากจึง หลงเหลืออยู่เป็นเชื้อให้ศาสนาฮินดูฟื้นตัวขึ้นภายหลังได้อีก ต่อแต่นี้ไปเป็นยุคของ อาณาจักรามุสลิม ซึ่งยาวนานประมาณ 500 ปี ในยุคนั้นระยะเวลา ที่รวมอานาจได้มากที่สุด คือจักรวรรดิ โมกุลหรือมุขุล ตั้งแต่ พ.ศ. 2069 ถึง พ.ศ. 2327 และระยะที่ รุ่งเรืองที่สุดคือรัชกาลของอักบาร์มหาราช (พ.ศ. 2099 – 2148) ซึ่งเป็นกษัตริย์มุสลิมที่ผ่อนปรนให้ โอกาสในการนับถือศาสนา (บุญเลี้ยง ขจีฟ้า. 2545 : 1-5) พุทธศาสนามหายานในอินเดียได้รับการสนับสนุนโดยราชวงศ์กุษาณ เมื่อสิ้นสุดราชวงศ์ กุษาณ พุทธศาสนาได้รับการอุปถัมภ์โดยราชวงศ์คุปตะ มีการสร้างศูนย์กลางการศึกษาพุทธศาสนา คือ มหาวิทยาลัยนาลันทาและมหาวิทยาลัยวิกรมศิลา ในอินเดียตะวันออกเฉียงเหนือ มีอาจารย์ที่มี ชื่อเสียง เช่น พระนาคารชุน พระพุทธศาสนาในสมัยนี้ได้แพร่หลายไปยังจีนและเอเชียตะวันออกเฉียง ใต้ จนกระทั่งการสิ้นสุดอานาจของราชวงศ์คุปตะจากการรุกรานของชาวฮั่นในพุทธศตวรรษที่ 11 บันทึกของหลวงจีนอี้จิงที่มาถึงอินเดียในพุทธศตวรรษที่ 12 กล่าวว่า พุทธศาสนารุ่งเรือง ใน อันธระ ธันยกตกะและฑราวิฑ ปัจจุบัน คือรัฐอันธรประเทศและทมิฬนาดู ยังมีชาวพุทธในเนปาล และสสันภะ ในอาณาจักรคังทา (รัฐเบงกอลตะวันตกในปัจจุบัน) และ หรรษวรรธนะ เมื่อสิ้นสุดยุค อาณาจักรหรรษวรรธนะ เกิดอาณาจักรเล็กๆ ขึ้นมากมาย โดยมีแคว้นราชปุตให้การอุปถัมภ์พุทธ ศาสนาจนกระทั่ง ยุคจักรวรรดิปาละในเบงกอล พุทธศาสนามหายานรุ่งเรืองอีกครั้ง และได้แพร่หลาย ไปยังสิกขิมและภูฏาน ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 13-17 เมื่อจักรวรรดิปาละปกครองด้วยกษัตริย์ ราชวงศ์เสนะที่นับถือศาสนาฮินดู ศาสนาพุทธจึงเสื่อมลง 3. ยุคปลาย ศาสนาพุทธในอินเดียเริ่มเสื่อมลงอย่างช้าๆ ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 15 เป็นต้นมา ความ เสื่อมในอินเดียตะวันออกเริ่มตั้งแต่จักรวรรดิปาละหันไปส่งเสริมศาสนาฮินดูไวษณพนิกาย ส่วนใน อินเดียเหนือเริ่มเสื่อมตั้งแต่ พ.ศ. 1736 เมื่อชาวเติร์กที่นับถือศาสนาอิสลาม นาโดยมูฮัมหมัด คิลญี บุกอินเดียและเผามหาวิทยาลัยนาลันทา ตั้งแต่ พ.ศ. 1742 เป็นต้นไป ศาสนาอิสลามแพร่เข้าสู่พิหาร ทาให้ชาวพุทธโยกย้ายไปทางเหนือเข้าสู่เทือกเขาหิมาลัยหรือลงใต้ไปที่ศรีลังกา นอกจากนั้นความ เสื่อมของศาสนาพุทธยังเป็นผลมาจากการฟื้นตัวของศาสนาฮินดู ภายใต้การนาของขบวนการต่างๆ เช่น อัธไวตะ ภักติ และการเผยแผ่ศาสนาของนักบวชลัทธิซูฟี เหตุที่พระพุทธศาสนาเสื่อมสูญจากอินเดีย กรุณา กุศลาศัย (ออนไลน์. 2559) ได้กล่าวถึงสาเหตุการเสื่อมสูญของพระพุทธศาสนาใน อินเดียไว้ดังนี้ ประวัติศาสตร์ให้บทเรียนว่า สถาบันหรือขนบธรรมเนียมใดๆ ก็ตามซึ่งในระยะเริ่มต้น อาจจะมีคุณูปการหรือประโยชน์ต่อสังคม แต่เมื่อกาลเวลาได้ล่วงเลยไป หากสถาบันหรือ
  • 8. ~ 38 ~ ขนบธรรมเนียมนั้นๆ ไม่มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมกับกาลเทศะ สถาบันหรือ ขนบธรรมเนียมดังกล่าว อาจกลายเป็นอุปสรรคสิ่งขัดขวางต่อการเจริญก้าวหน้าของสังคมนั้นได้ ความจริงข้อนี้ ประวัติศาสตร์มีนิทัศน์อุทาหรณ์ให้เห็นอยู่มากมาย ตัวอย่างเช่น การแบ่ง อาชีพกันทาเพื่อทักษะและความชานาญ (การแบ่งคนออกเป็นวรรณะในสังคมอินเดียโบราณ) การ ประกอบพิธีทางศาสนา การเชื่อถือพระเจ้าหลายองค์ (พหุเทวนิยม) ของชาวกรีกโรมันและชาวอียิปต์ โบราณ การยกย่องระบบกษัตริย์ให้เป็นสมมติเทพ การเสกคาถาอาคมและปลุกผีสางเทวดา พฤติกรรมเหล่านี้มีประโยชน์ต่อสังคมในยุคหนึ่งสมัยหนึ่ง แต่เมื่อกาลเวลาได้ล่วงเลยไป พฤติกรรม ดังกล่าวกลับเป็นอุปสรรคสิ่งกีดขวาง ที่กล่าวมานี้ฉันใด พิธีกรรมและวัตรปฏิบัติทางศาสนาจานวนไม่ น้อย ก็น่าจะนามาเปรียบเทียบได้ฉันนั้น 1. การแยกตนไปดารงชีวิตต่างหากของสงฆ์ ในกรณีของพุทธศาสนานั้น การแยกตนไปดารงชีวิตต่างหากของสงฆ์ เป็นเหตุสาคัญ ประการหนึ่ง แห่งการอ่อนกาลังของพุทธศาสนา จริงอยู่ในระยะแรกๆ แห่งการก่อตั้ง การที่สงฆ์แยก จากสังคมคฤหัสถ์ไปดาเนินชีวิตต่างหาก เป็นการรักษาความมีระเบียบ ความบริสุทธิ์ผ่องใส และเป็น การส่งเสริมการศึกษาและความก้าวหน้าทางจิตวิญญาณ แต่เมื่อกาลเวลาได้ล่วงเลยไป สงฆ์ได้หลงลืม วัตถุประสงค์เดิมตามคาสอนของพุทธองค์ สงฆ์หันไปหมกมุ่นอยู่กับกิจธุระส่วนตัวเป็นสาคัญ สงฆ์ ทอดทิ้งไม่ดูแลการศึกษา และให้การอบรมด้านศีลธรรม และสติปัญญาแก่ประชาชน หลักฐานทาง ประวัติศาสตร์ชี้ให้เห็นว่า ในระยะแรกๆ แห่งการก่อตั้งสงฆ์โดยพุทธานุมัตินั้น สงฆ์ได้บาเพ็ญกรณียกิจ ในฐานะเป็นผู้ให้การศึกษา ฝึกอบรมศีลธรรม และพัฒนาจิตวิญญาณ แก่ประชาชนเป็นอย่างยิ่ง แต่ใน กาลเวลาต่อมาอุดมการณ์ด้านนี้ของสงฆ์ได้เลือนรางจางหายไป พุทธศาสนามีคุณูปการอย่างใหญ่ หลวงต่อพัฒนาการด้านวัฒนธรรมของอินเดีย และของหลายประเทศในทวีปเอเชีย พุทธศาสนาเป็น พลังดลใจในศิลปศาสตร์นานาแขนงทั่วเอเชีย แต่ในประเทศอินเดียเองด้วยเหตุผลดังกล่าวแล้ว พุทธ ศาสนาได้สูญเสียฐานะความเป็นผู้นาทางศาสนา ไปอย่างน่าเสียดาย สัมฤทธิผลของศาสนาใดศาสนา หนึ่งนั้น ขึ้นอยู่กับประชาชนผู้เป็นบริษัทบริวารของศาสนานั้นด้วย ศาสนาชิน (Jain) ซึ่งมีคาสอนและ วัตรปฏิบัติคล้ายคลึงกับพุทธศาสนาอยู่หลายอย่างหลายประการ มีการจัดตั้งในสังคมฆราวาส (คน ทั่วไปที่ไม่ใช่นักบวช) ด้วยเหตุนี้ ศาสนาชินจึงยังคงดารงสถานะเป็นศาสนาหนึ่ง ในประเทศอินเดียได้ ตราบจนทุกวันนี้ ศาสนาพราหมณ์ หรือฮินดูก็เช่นเดียวกัน กล่าวคือ สังคมฆราวาสกับสังคมนักบวชหา ได้แยกกันไม่ ทั้งสองเกี่ยวข้องกันอย่างแนบแน่น พุทธศาสนาเป็นศาสนาที่เกิดในอินเดียศาสนาเดียวที่ ไม่เข้าไปข้องเกี่ยวกับวัตรปฏิบัติทางสังคม พุทธศาสนาไม่มีบทบัญญัติเป็นกิจจะลักษณะในเรื่อง เกี่ยวกับการเกิด การตาย หรือการแต่งงานของพุทธศาสนิกชน พุทธศาสนาให้เสรีภาพในกิจกรรม เหล่านี้อย่างสมบูรณ์ โดยถือว่าเป็นสิทธิของแต่ละบุคคล ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดในประวัติศาสตร์ของพุทธ ศาสนาในอินเดียก็คือ มหาเศรษฐีอนาถบิณฑิก ผู้เป็นพุทธอุปัฏฐากคนสาคัญแห่งนครสาวัตถี ได้ยก ธิดาคนหัวปีชื่อมหาสุภัททา ให้แก่คหบดีแห่งเมืองอุคคนครผู้นับถือศาสนาชิน (ในภาษาบาลีมีชื่อว่า นิคัณฐนาถปุตตะ) ความมีใจกว้างหรือการให้เสรีภาพแก่ศาสนิกเช่นนี้ ในทัศนะของปราชญ์บางท่าน (เช่น นายนลินากฺษ ทัตต) เห็นว่า แม้ในระยะเริ่มแรกแห่งการก่อตั้งและเผยแผ่จะเป็นผลดีแก่พุทธ ศาสนา แต่ในกาลไกลแล้วเป็นโทษมากกว่าเป็นคุณ เพราะทาให้วัตรปฏิบัติของศาสนิกหย่อนยาน เปิด โอกาสให้ผู้มีทัศนะและความเชื่อถือแปลกแยกเข้าไปปะปนและบ่อนทาลายเอกภาพ
  • 9. ~ 39 ~ 2. การวางตนไม่แทรกแซงยุ่งเกี่ยวกับกิจกรรมทางสังคมของพุทธศาสนา การวางตนไม่แทรกแซงยุ่งเกี่ยวกับกิจกรรมทางสังคมของพุทธศาสนา ในระยะเริ่มแรกนั้น เป็นการส่งเสริมให้พุทธศาสนา เจริญแพร่หลายไปอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้เพราะประชาชนมีความพอใจที่ พุทธศาสนาให้เสรีภาพ ไม่แทรกแซงเปลี่ยนแปลงหรือเลิกล้มจารีตประเพณีที่ยึดถือปฏิบัติกันมาแต่ เดิม พระพุทธองค์เป็นปัญญาชน เป็นนักคิด พระองค์มาจากราชตระกูลที่ดารงอยู่ในจารีตประเพณี ตลอดจนความเชื่อถือตามระบบของสังคมอันมีพราหมณ์เป็นผู้นามาแต่โบราณกาล ในฐานะที่เป็น ปัญญาชน นักคิด พระองค์ทรงสะท้อนพระทัยเมื่อได้ทอดพระเนตรเห็น “นิมิต 4” มี คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และนักบวช อันเป็นเหตุให้พระองค์ทรงโทมนัสถึงกับตัดสินพระทัยออกบรรพชา ทั้งนี้เพื่อทรง ค้นหาวิธีที่คนเราจะได้พบอิสระจากการ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยเหตุนี้แม้เมื่อทรงบรรพชาแล้ว พระองค์ก็มิได้ทรงข้องเกี่ยวกับความเชื่อถือหรือจารีตประเพณีของสังคม พระองค์ทรงปล่อยให้ความ เชื่อถือหรือวัตรปฏิบัติเหล่านี้เป็นไปตามสภาพเดิม พระองค์ทรงมุ่งมั่นอยู่กับการค้นหา “สัจธรรม” ที่ ทาอย่างไรคนเราจะได้ไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏ ในคาสอนของพระองค์ที่มีปรากฏในพระ สูตรต่างๆ พระองค์ได้ทรงห้ามมิให้เวไนยยนิกรเสียเวลาถกเถียงวิพากษ์วิจารณ์หรือคาดคะเนในเรื่องที่ ไร้ประโยชน์ ไม่นาไปสู่ความหลุดพ้น (นิพพาน) เช่น ความเห็นที่ยึดเอาที่สุด 10 ประการ (อันต คาหิกทิฏฐิ) ในคัมภีร์มัชฌิมนิกาย เป็นต้น นายนลินากฺษ ทัตต นักปราชญ์ชาวอินเดียผู้รจนาตารา หลายเล่มเกี่ยวกับพุทธศาสนาในอินเดีย ได้เขียนแสดงความเห็นไว้ว่า การวางตนไม่เข้าไปแทรกแซง กิจการทางสังคมของพุทธศาสนาในอินเดียในระยะแรกๆ โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่พระพุทธองค์และ สานุศิษย์ผู้ปรีชาญาณของพระองค์ยังดารงพระชนม์ชีพอยู่นั้นเป็นผลดีแก่การเผยแผ่พุทธศาสนาอย่าง แน่นอน แต่เมื่อกาลเวลาล่วงเลยไปและเมื่อไม่มีพระพุทธองค์ตลอดจนสานุศิษย์ผู้ปรีชาญาณเป็นผู้นา และให้แสงสว่าง ลัทธิความเชื่อตลอดจนพิธีกรรมเก่าๆ ของพราหมณ์ซึ่งมีมาแต่โบราณกาล จึงกลับฟื้น คืนชีพขึ้นอีก ด้วยเหตุนี้ภายในระยะเวลามิช้ามินานหลังจากพุทธปรินิพพาน และหลังจากอัครสาวก องค์สาคัญๆ ผู้เปรื่องปราดได้ล่วงลับไปแล้ว ประชาชนต่างก็เริ่มลืมเลือนสารัตถะแห่งคาสอนของ พระพุทธเจ้า และต่างกลับไม่เชื่อถือและประพฤติปฏิบัติตามลัทธิคาสอนของพระพุทธเจ้า แต่ต่าง กลับไปเชื่อถือและประพฤติปฏิบัติตามลัทธิคาสอนของพราหมณ์ ซึ่งพระพุทธองค์ทรงคัดค้านและ ต้องการเปลี่ยนแปลงตลอดพระชนม์ชีพของพระองค์ กล่าวโดยย่อก็คือ แก่นแห่งศาสนาพุทธ ได้ถูก กระพี้แห่งศาสนาพราหมณ์ ปกปิด หรือบดบังไว้ อย่างแทบจะมองไม่เห็น โดยเฉพาะจากสามัญชนคน ธรรมดา พฤติการณ์ทานองเดียวกันนี้ได้เกิดขึ้นในประเทศอื่นที่พุทธศาสนาได้แผ่ไปถึง เช่น ในประเทศ จีน ทิเบต เนปาล พม่า สยาม ลังกา ญี่ปุ่น ตลอดจนเกาหลี มองโกเลีย และอินโดนีเซีย ในทุกประเทศ ที่ได้กล่าวนามมานี้ เป็นความจริงที่พุทธศาสนาได้เข้าไปประดิษฐานอยู่เป็นเวลาช้านาน ทั้งได้รับความ เทิดทูนสักการะอย่างสูงจากประชาชน แต่ในขณะเดียวกันอิทธิพลของวัฒนธรรม ตลอดจนลัทธิความ เชื่อถือ เดิมของท้องถิ่นก็ได้เข้าไปผสมผสานปนเปกับ คาสอนอันแท้จริงของพุทธศาสนา อย่างแทบจะ แยกกันไม่ออก กล่าวโดยย่อก็คือ “ปรมัตถธรรม” ที่พระพุทธเจ้าได้ทรงสั่งสอนไว้ ได้เลือนลางจางหายจน แทบจะสูญความหมายในอินเดีย โดยเฉพาะแล้วภายในระยะเวลาไม่กี่ร้อยปีหลังจากพระพุทธศาสนา แม้ในถิ่นที่พุทธศาสนาเคยเจริญรุ่งเรืองที่สุดมาแล้ว เช่น ในรัฐพิหาร อุตรประเทศ และเบงกอล ก็ตาม
  • 10. ~ 40 ~ 3. ความตกต่าทางภูมิปัญญาของสงฆ์ สาเหตุอีกประการหนึ่งที่ทาให้พุทธศาสนาเสื่อมอิทธิพล ก็คือความตกต่าทางภูมิปัญญา ของบุคคลที่เข้ามาเป็นสมาชิกในคณะภิกษุสงฆ์ ตราบใดที่คณะสงฆ์มีสมาชิกที่ทรงความรู้ ความสามารถเป็นประทีปทางปัญญาให้แก่ปวงชน ตราบนั้นพระพุทธศาสนาก็อยู่ในฐานะสูงส่ง มีราชา มหากษัตริย์ตลอดจนประชาชนคนธรรมดาประกาศตนเป็นสมาชิกมากมาย แต่หลังจากพุทธ ปรินิพพานไม่นานก็ปรากฏตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ว่า ได้มีความหย่อนยานเกิดขึ้นทั้งในทาง ระดับภูมิปัญญา และในวัตรปฏิบัติของสงฆ์ จนต้องมีการสังคายนากันเป็นระยะๆ ตลอดมา ใน ประเทศอินเดียสมัยโบราณมีการโต้วาทีกันในเรื่องของศาสนาที่เป็นสาธารณะ โดยเปิดให้ประชาชน ทุกลัทธิความเชื่อถือเข้าฟังได้ ผลของการโต้วาทีมีอิทธิพลของความเชื่อของคนในยุคนั้นมาก ปรากฏ ว่าในการโต้วาทีเหล่านั้น ปราชญ์ฝ่ายพราหมณ์-ฮินดู เช่น ท่านกุมาริละ และท่านศังกราจารย์ ได้ชื่อว่า เป็น “ผู้พิชิต” ปราชญ์ฝ่ายพระพุทธศาสนา 4. การปรากฏของลัทธิตันตระ ลัทธิตันตระเป็นวิวัฒนาการขั้นต่อมาของพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน เหตุการณ์ใน ประวัติศาสตร์ซึ่งเกิดขึ้นมากมายทั่วโลก มีอาทิในประเทศอินเดีย อียิปต์ ประเทศจีนยุคกลาง ใน ตะวันออกกลาง ยุโรป สหรัฐอเมริกา (ล่าสุดในญี่ปุ่น ได้แก่กรณีโอมชินริเกียว - Aum Shinrikyo ซึ่ง ได้สร้างความหายนะทั้งในชีวิตและทรัพย์สินแก่ชาวญี่ปุ่นอย่างมหาศาล) ชี้ให้เราเห็นว่าความเชื่อลัทธิ ทางศาสนานั้นมีอิทธิพลอย่างมากมายต่อพฤติกรรมในชีวิตของมนุษย์ พิธีกรรมหรือวัตรปฏิบัติอันเกิด จากความเชื่อทางศาสนามากมายหลายกรณี ซึ่งแรกเริ่มเดิมทีเกิดจากเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์อันดี งามเป็นบุญกุศล แต่พอกาลเวลาล่วงเลยไปกิเลสของคนกลับแปรเปลี่ยนให้พิธีกรรมหรือวัตรปฏิบัติ เหล่านั้น หันเหไปในทางที่เลวทรามต่าช้าสุดที่จะพรรณนา อุปมาที่กล่าวมานี้ฉันใด อุปไมยก็ได้แก่ลัทธิ ตันตระ อันเป็น วิวัฒนาการขั้นต่อมาในพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน อาจกล่าวได้ว่า ตันตระเป็นลัทธิ ความเชื่อและวัตรปฏิบัติที่นาพุทธศาสนาไปสู่ความหายนะขั้นสุดท้ายในประเทศอินเดีย ตันตระ ประกอบด้วยคาสอนหลัก 5 ประการ ที่มีชื่อว่า “5 ม” มี (1) มัทยะ - เหล้า (2) มางสะ - เนื้อ (3) มัตสยะ - ปลา (4) มุทรา - ท่าทาง (5) ไมถุน - การเสพสังวาสผู้ที่เชื่อในหลักคาสอนของตันตระ จะต้องใช้ “5 ม” นี้ประกอบ การบูชากราบไหว้ เพียงเท่านี้ก็น่าจะเพียงพอแล้วสาหรับการที่จะเข้าใจ ว่าตันตระคือ อะไร และทาไมพระพุทธศาสนาในอินเดียจึงถึงซึ่งกาลอวสานด้วยตันตระ สมองของ มนุษย์นั้นว่ากันว่าเป็นเลิศประเสริฐสุดในบรรดาสัตว์ทุกชนิดที่มีให้เห็นในโลก แต่ประวัติศาสตร์ก็มี นิทัศน์อุทาหรณ์ให้เราต้องยอมรับและเชื่อว่า ก็สมองของมนุษย์นี่แหละที่ได้สร้างความชั่วช้าสามานย์ ตลอดจนความพินาศวอดวายที่เลวร้ายที่สุดให้แก่มนุษย์ ทุกวันนี้ “ตันตระ” ก็ยังมีให้เห็นทั่วๆ ไปใน โลก (รวมทั้งในเมืองไทยด้วย) อาจจะมีท่านผู้อ่านอยากจะทราบว่าลัทธิตันตระชั่วร้ายอย่างไร ถึงกับ ทาให้พุทธศาสนาปลาสนาการไปจากอินเดียอันเป็นดินแดนถิ่นที่เกิด ผู้เขียนก็ขอตอบโดยสังเขปที่สุด ว่าตันตระนั้นหรือคือลัทธิที่สอนให้คนเชื่อในเวทย์มนต์คาถาอาคม การทรงเจ้าเข้าผี ตลอดจนทุกสิ่งทุก อย่างที่รวมอยู่ในไสยศาสตร์ ไสยเวท อันมีกาเนิดจากคัมภีร์อาถรรพเวทของพราหมณ์ และอยู่ นอกเหนือวิสัย ของปุถุชนคนธรรมดา อาจกล่าวได้ว่า ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 8 จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 12 ชาวอินเดียทั้งประเทศซึ่งเดิมเคยนับถือศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และศาสนาพุทธ ต่างก็ตกอยู่ใน
  • 11. ~ 41 ~ ความครอบงาของลัทธิตันตระอย่างไม่ลืมหูลืมตา ทั้งนี้ไม่เฉพาะแต่สามัญชนคนธรรมดาเท่านั้น หาก ชนชั้นสูงรวมทั้งชนชั้นผู้ปกครองด้วยก็เช่นเดียวกัน 5. ชาวพุทธถูกรุกรานประหัตประหาร อิสลามในฐานะเป็นกาลังสาคัญทั้งในทางการเมืองและการศาสนา ได้แผ่เข้าไปในอินเดีย ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ โดยเริ่มตั้งแต่ตอนต้นของคริสต์ศตวรรษที่ 11 และภายในเวลาไม่กี่ร้อยปี ก็สามารถครอบครองดินแดนภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกของอินเดียไว้แทบจะทั้งหมด และครองอยู่ได้เป็นเวลาหลายร้อยปีต่อมา การที่อิสลามเข้าไปมีอานาจทางอาณาจักรและศาสนจักร ในอินเดียเป็นเวลาหลายร้อยปี ทาให้อิทธิพลของวัฒนธรรมอิสลามแผ่กระจาย และคลุมครอบชีวิต ของชาวอินเดียอย่างลุ่มลึกและกว้างไกล ซึ่งอิทธิพลนี้ยังมีให้เห็นตราบจนปัจจุบัน โดยเฉพาะในอินเดีย ภาคเหนือ ในส่วนที่เกี่ยวกับพุทธศาสนานั้น อาจกล่าวได้ว่า การปรากฏตัวของอิสลามเป็นมรสุมลูก สุดท้ายที่กระหน่าให้ “พุทธนาวา” ลานี้ก็อยู่ในสภาพ “ชารุด” เต็มประดา ด้วยท้องนาวาถูก แมงกะพรุนตันตระกัดกิน เป็นรูรั่วน้าไหลเข้าได้ จวนเจียนจะพลิกคว่าอยู่แล้ว แต่ “มรสุม” ลูกสุดท้าย ที่ทาให้พุทธศาสนาต้องพังพินาศไปจากแผ่นดินอินเดียนั้น แน่นอน คือ “อิสลาม” คาพรรณนาของ พระภิกษุ ดร.อานันท์ เกาศัลยายน ได้เขียนของหนังสือชื่อ “How India Lost Buddhism?” ซึ่งน่าสนใจ ดังนี้ “ในขณะที่ความเสื่อมทางศีลธรรมและจิตใจกาลังมาสู่ ประชาชาติอินเดียดังได้พรรณนามานี้ การแบ่งแยกถือชั้นวรรณะตามศาสนาพราหมณ์ก็กระหน่าทาให้ ชีวิตสังคมอ่อนเปลี้ยลงอย่างที่สุด และในขณะที่ความ “เร้นลับ” ของลัทธิ “ตันตระ” กาลังทาให้ สมองของประชาชนหมดสมรรถภาพอยู่นั้น กองทัพอันเกรียงไกรของมุสลิมก็เคลื่อนขบวนมาจากทิศ ตะวันตกเฉียงเหนือ คล้ายกับมรสุมใหญ่ที่กาลังพัดมาเพื่อทาความสะอาดให้แก่สิ่งโสโครกทั้งหลาย บรรดาโบสถ์วิหารและทรัพย์สมบัติเครื่องบูชาอันมีค่ายวดยิ่ง ซึ่งสะสมกันไว้ตั้งร้อยๆ ปี ได้ถูกทาลาย พินาศลงด้วยน้ามือของพวกรุกรานมุสลิม ปฏิมาของพระโพธิสัตว์และเทพยดา ทั้งหญิงชาย ได้ถูก เหวี่ยงลงจากแท่นบูชาและเผาผลาญไม่มีเหลือ ไม่มีสิ่งใดเป็นเครื่องศักดิ์สิทธิ์ สาหรับนักรบมุสลิมผู้ กระหายอานาจและทรัพย์สมบัติเหล่านี้ “มนตร์” และพิธีกรรมต่างๆ ทางลัทธิ “ตันตระ” ที่เชื่อกันว่า “ขลัง” ยิ่งนักนั้นปรากฏว่าไม่สามารถให้ความคุ้มครองได้ บรรดา “ผู้สาเร็จ” และ “อาจารย์” องค์ สาคัญๆ ต่างพากันยืนมือเท้างอต่อหน้ากองทัพมุสลิม ในที่สุดขณะที่พวก “ตันตระ” การฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในอินเดีย การฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในประเทศอินเดีย เพิ่งจะมีขึ้นไม่นานมานี้และส่วนมากเป็นการ ริเริ่มหรือเกิดจากการกระตุ้นของชาวยุโรปและอเมริกัน ที่ได้ศึกษาทราบเรื่องราวแล้ว มีความเลื่อมใส ซึ่งจะลาดับเหตุการณ์สาคัญได้ดังนี้ 1. เหตุการณ์สาคัญ พ.ศ. 2395 การฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในประเทศอินเดีย นายพล เซอร์ อเลกซานเดอร์ คัน นิงแฮม นักโบราณคดีอินเดียและนักสารวจ ได้ดาเนินการขุดค้นโบราณสถานและโบราณวัตถุต่างๆ ในทางพระพุทธศาสนา แสดงให้ชาวโลกและชาวอินเดียได้ตื่นเต้นมองเห็นความยิ่งใหญ่ของ พระพุทธศาสนาในประวัติศาสตร์ เช่น เรื่องพระเจ้าอโศกและนาลันทา เป็นต้น
  • 12. ~ 42 ~ พ.ศ. 2522 เซอร์ เอดวิน อาร์โนลด์ ชาวอังกฤษ ประพันธ์เรื่อง “ประทีปแห่งทวีปเอเชีย” หรือ “The Light of Asia” เป็นหนังสือพุทธประวัติที่ไพเราะลึกซึ้ง ทาให้คนอินเดียและชาวตะวันตก สนใจเรื่องพระพุทธศาสนาเป็นจานวนมากที่เปลี่ยนศาสนามานับถือก็มี พ.ศ. 2424 ที. ดับลิว. ริส เดวิดส์ กับภรรยา และคณะ ร่วมกันตั้งสมาคมบาลีปกรณ์ (The Pali Text Society) ขึ้นที่กรุงลอนดอนประเทศอังกฤษ สาหรับดาเนินงานพิมพ์ พระไตรปิฎกคัมภีร์ พระพุทธศาสนาต่างๆ นับเป็นก้าวสาคัญในการศึกษาภาษาบาลีและพระพุทธศาสนาในสมัยปัจจุบัน ในช่วงระยะเวลานี้การศึกษาค้นคว้าภาษาบาลีและพระพุทธศาสนาในหมู่ชาวตะวันตกได้ก้าวหน้าเป็น อย่างมากเช่นมีการพิมพ์พจนานุกรมภาษาบาลี-อังกฤษ ของซิลเดอร์ เมื่อ พ.ศ. 2418 พิมพ์อรรถกถา ชาดก ด้วยอักษรโรมันครบชุดใน พ.ศ. 2420-2440 พิมพ์และแปลคัมภีร์ทีปวงศ์ พ.ศ. 2421 พิมพ์บาลี วินัยปิฎกครบชุด พ.ศ. 2422-2426 พิมพ์มิลินทปัญหา พ.ศ. 2423 พิมพ์บาลีสุตตันตปิฎก อภิธรรม ปิฎก และอรรถกถาเล่มสาคัญๆ ระหว่าง พ.ศ. 2427-2468 พร้อมกับเริ่มงานพิมพ์พระไตรปิฎกแปล ตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. 2424 เป็นต้นมา ส่วนในฝ่ายคัมภีร์สันสกฤตของมหายาน ก็มีความก้าวหน้าอย่าง มากมายไม่แพ้กัน กล่าวได้ว่า ปัจจุบัน คัมภีร์และตารับตาราศึกษาภาษาบาลีสันสกฤตและ พระพุทธศาสนาที่เป็นภาษาอังกฤษมีพรั่งพร้อมบริบูรณ์กว่าภาษาใด พ.ศ. 2434 อนาคาริก ธรรมปาละ ชาวลังกา (เดิมชื่อเดวิด เหมวิตรเน เกิดในตระกูลผู้ดี ชาวลังกาที่เปลี่ยนไปนับถือศาสนาคริสต์แล้วได้รับคาสั่งสอนจากครูอเมริกันชื่อ พันเอก ออคคอตต์ ให้ เลื่อมใสในพระพุทธศาสนามีความเข้าใจในสถานการณ์ต่างๆ และมีความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะ ฟื้นฟูพระพุทธศาสนา จึงใช้ชื่อใหม่อันแสดงจุดมุ่งหมายของตน) ได้ไปนมัสการสังเวชนียสถานต่างๆ ในประเทศอินเดีย ได้เห็นพุทธคยาอันเป็นสถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ถูกปล่อยปละละเลย และอยู่ ในความยึดครองของนักบวชฮินดูแล้ว ได้ปฏิญาณตนต่อหน้าต้นโพธิ์ตรัสรู้ว่า จะขอเสียสละพลีชีวิต ของตน เพื่อกู้ปูชนียสถานของพระพุทธศาสนาให้พ้นจากสภาพที่ถูกทอดทิ้งให้จงได้ ในปีนี้เอง อนาคา ริก ธรรมปาละ ได้เริ่มตั้ง มหาโพธิสมาคม แห่งแรกที่พุทธคยา จากนั้นได้ทางานอย่างเด็ดเดี่ยวจริงจัง เพื่อฟื้นฟูพระพุทธศาสนา ได้เดินทางไปในประเทศต่างๆ เผยแพร่พุทธธรรมและขอความช่วยเหลือ ความพยายามของท่านผู้นี้ทาให้เกิดความตื่นตัวและการร่วมมือเป็นอันมาก โดยเฉพาะจากคนอเมริกัน มหาโพธิสมาคมได้ขยายตัวมีสาขาตั้งขึ้นในเมืองสาคัญต่างๆ ทั่วประเทศอินเดีย ท่านได้อุปสมบทในวัย ชรา ณ ประเทศลังกา เมื่อ พ.ศ. 2476 และถึงมรณภาพในปีนั้นเอง เมื่อถึงมรณภาพได้เปล่งวาจาว่า “ขอเกิดใหม่อีก 28 ครั้ง เพื่อเผยแพร่พุทธธรรม” ความเพียรพยายามของท่านทาให้พุทธคยาหลุดพ้น จากครอบครองและเบียดเบียนของนักบวชฮินดู กลับคืนเป็นกรรมสิทธิ์ของพุทธศาสนิกชนสมความมุ่ง หมาย ทาให้ฐานะของพระพุทธศาสนาฟื้นตัว และชาวพุทธเริ่มดาเนินงานเพื่อพระศาสนาได้เข้มแข็ง ยิ่งขึ้น พ.ศ. 2435 มีการตั้งสมาคมพุทธศาสนปกรณ์ (The Buddhist Text Society) ณ เมือง กัลกัตตา นับว่าเป็นการตื่นตัวในหมู่ปราชญ์อินเดียอันเกิดจากแรงกระตุ้นที่ได้เห็น ชาวยุโรปศึกษา ค้นคว้ากันอย่างเข้มแข็งจริงจัง ในช่วงเวลาต่อนี้มา ปราชญ์อินเดียวได้เริ่มศึกษาค้นคว้า พระพุทธศาสนาทั้งในด้านหลักธรรมและประวัติศาสตร์มากขึ้นโดยลาดับ เมื่อรัฐบาลอินเดียได้เอกราช แล้ว รัฐบาลแห่งแคว้นพิหาร ได้ตั้งนาลันทามหาวิหารหรือสถาบันวิจัยและศึกษาพระพุทธศาสนาและ
  • 13. ~ 43 ~ ภาษาบาลีแห่ง นาลันทาขึ้น เมื่อ พ.ศ. 2494 ณ สถานที่ใกล้กับที่ตั้งของมหาวิทยาลัยนาลันทาเดิม แม้ สถาบันการศึกษาชั้นสูงแห่งอื่นๆ ก็มีการสอนวิชาพระพุทธศาสนาบ้าง ภาษาบาลีบ้าง หลายแห่ง พ.ศ. 2439 ได้มีการค้นพบครั้งสาคัญอีกครั้งหนึ่ง นั่นคือการค้นพบเสาหินพระเจ้าอโศก ที่ ลุมมินเดล (สวนลุมพินี) เสาหินพระเจ้าอโศกนี้ ได้เพิ่มหลักฐานทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า ได้เป็นอย่างดียิ่งเนื่องจากมีจารึกที่เสาหินระบุไว้อย่างชัดเจนว่า “พระศากยมุนีพุทธเจ้า ได้ประสูติ ณ สถานที่แห่งนี้” และอีก 2 ปี ต่อมา เจ้าของที่ดินได้ค้นพบผอบบรรจุพระบรมสารีริกธาตุในบริเวณ เดียวกัน ที่ผอบมีคาจารึกเขียนไว้ว่า พระบรมสารีริกธาตุในผอบนี้เป็นของสมเด็จพระศากยพุทธเจ้า นี้ คือ การค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีเกี่ยวกับพระบรมสารีริกธาตุและสถูปที่เป็นปูชนียสถานของ พระพุทธเจ้า เหตุการณ์ครั้งนั้นทาให้ชาวอินเดียตื่นตัวในความเจริญรุ่งเรืองของครั้งอดีต ในฐานะที่ พวกเขาได้อาศัยอยู่ในดินแดนอันศักดิ์สิทธิ์ซึ่งเป็นถิ่นฐานของศาสนาที่สาคัญที่สุดศาสนาหนึ่งของโลก (ประยูร ป้อมสุวรรณ์. 2554 : 24) 2. พุทธชยันตี พ.ศ. 2499 รัฐบาลอินเดียได้จัดงานฉลอง “พุทธชยันตี” ในโอกาสครบรอบ 25 พุทธ ศตวรรษ (อินเดียนับศักราชอย่างลังกา เร็วกว่าประเทศไทย 1 ปี) ก่อนจัดงานฉลองนั้นรัฐบาลอินเดีย ได้ทาการบูรณะสังเวชนียสถานทั้งสี่และสถานที่สาคัญทางพระพุทธศาสนาทุกแห่งเป็นการใหญ่ พร้อม กับสร้างที่พักสาหรับผู้จาริกแสวงบุญไว้ครบทุกแห่ง และจัดพิมพ์หนังสือสาคัญเป็นอนุสรณ์แห่ง พระพุทธศาสนาในประเทศอินเดีย ในปีเดียวกันนี้ ดร.อัมเบดการ์ อดีตกรรมการร่างรัฐธรรมนูญและ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมคนแรกของอินเดีย ซึ่งเป็นผู้นาคนวรรณะศูทร ได้เปลี่ยนศาสนาจาก ฮินดู ปฏิญาณตนเป็นพุทธศาสนิกชน ทาให้คนวรรณะศูทรหันมานับถือพระพุทธศาสนาเป็นจานวน ล้านคน เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2499 ท่านดร.เอ็มเบ็ดการ์ ได้ร่วมสนทนาในรายการของ BBC ประจากรุงลอนดอน ในหัวข้อ ทาไมข้าพเจ้าจึงชอบพระพุทธศาสนา และพระพุทธศาสนาเป็น ประโยชน์ต่อโลกในสถานการณ์ปัจจุบันได้อย่างไร ท่านยืนยันว่าที่ท่านชื่นชอบพระพุทธศาสนาก็ เพราะว่า พระพุทธศาสนาได้ให้หลักการสาคัญ 3 อย่างควบคู่กัน ซึ่งไม่มีศาสนาอื่นใดให้ได้ กล่าวคือ พระพุทธศาสนาสอนหลักปรัชญา (ความเข้าใจที่ถูกต้องเพื่อป้องกันความเชื่อแบบไสยศาสตร์และ ความเชื่ออานาจเหนือธรรมชาติ) หลักกรุณา (ความรักความหวังดีพร้อมช่วยเหลือกัน) หลัก สมานัตตตา (ความเท่าเทียมกัน) เหล่านี้คือสิ่งที่มนุษย์ต้องการเพื่อชีวิตที่ดีงามและมีความสุข ไม่มีพระ เจ้าหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ใดๆ จะสามารถช่วยเหลือสังคมมนุษย์ให้ปลอดภัยได้ (นอกจากความพยายามของ มนุษย์ด้วยกันเอง) ท่านดร.เอ็มเบ็ดการ์ เลิกนับถือศาสนาฮินดู และได้แสดงตนเป็นพุทธมามกะอย่าง เป็นทางการ เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2499 ที่เมืองนาคปูร์ ในตอนเย็นวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2499 ท่านได้ร่วมประชุมกับสื่อมวลชนและแจ้งให้ทุกคนทราบว่า พระพุทธศาสนาที่ท่านนับถือจะเน้น เฉพาะคาสอนที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสั่งสอนโดยตรง และต้องเป็นพระพุทธศาสนายุคใหม่ (ประยูร ป้อมสุวรรณ์. 2554 : 28) ท่านผู้นี้ได้ดาเนินการต่างๆ เพื่อยกฐานะคนวรรณะศูทรทั้งทาง สังคมและการศึกษา ได้ตั้งวิทยาลัยและสถาบันการศึกษาพุทธศาสนาเพื่อสอนวิชาการต่างๆ มากมาย หลายแห่ง เช่น สิทธารถวิทยาลัยทางนิติศาสตร์ เป็นต้น ท่านได้รับความเคารพเทิดทูนบูชาจากคน วรรณะศูทรดุจเป็นพระโพธิสัตว์หรือยิ่งเทพเจ้า ท่านผู้นี้ถึงมรณกรรมใน พ.ศ. 2503 เป็นต้นมา (บุญ เลี้ยง ขจีฟ้า. 2545 : 6-9) นับจากวันนั้น จานวนชาวพุทธในอินเดียก็เพิ่มมากขึ้นตามลาดับ ในปี
  • 14. ~ 44 ~ พ.ศ. 2508 มีพุทธศาสนิกชนในอินเดียประมาณ 4,000,000 คน จานวนพระสงฆ์ วัด ชุมชนและ องค์กรชาวพุทธ ก็เพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เมื่อ พ.ศ. 2451 ได้มีการจัดการศึกษาภาษาบาลีขึ้นที่ มหาวิทยาลัยเมืองกัลกัตตา มีการต่อตั้งสถาบันบาลีนาลันทาขึ้นที่เมืองนาลันทาเมื่อ พ.ศ. 2494 มหาวิทยาลัยอินเดียในปัจจุบัน ได้เปิดหลักสูตรบาลีและพุทธศาสตร์ศึกษาอย่างแพร่หลาย เมื่อ พ.ศ. 2493 ชาวธิเบตทั้งบรรพชิตและฆราวาสหนีภัยสงครามจากชาวจีนแดงเข้าสู่ตอนเหนือของอินเดียและ ได้ตั้งถิ่นฐานตามเขตภูเขา ปัจจุบันกลายเป็นชุมชนชาวพุทธในอินเดียที่สาคัญยิ่งอีกแห่งหนึ่ง 3. สภาพการณ์ปัจจุบัน ปัจจุบันที่บริเวณเมืองพุทธคยา มีวัดของชาวพุทธจากนานาประเทศตั้งอยู่ ซึ่งเป็นผลมา จากการที่รัฐบาลอินเดียโดยการนาของท่าน ชวาหระ ลาล เนห์รู นายกรัฐมนตรีคนแรกของอินเดีย ได้ จัดงานเฉลิมฉลอง 25 พุทธศตวรรษ ซึ่งตรงกับ พ.ศ. 2500 (พ.ศ. 2499 ของไทย) ซึ่งตรงกับปีพุทธ ชยันตี โดยได้เชิญประเทศต่างๆ ที่นับถือพระพุทธศาสนาให้ร่วมกันเฉลิมฉลองด้วยการอนุญาตให้สร้าง วัดขึ้นที่บริเวณพุทธคยารัฐบาลไทยจึงได้สร้างวัดแห่งแรกของไทยในอินเดียคือ วัดไทยพุทธคยา ซึ่ง สร้างแล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2509 เป็นวัดไทยที่มีสถาปัตยกรรมงดงามที่สุดในประเทศอินเดีย จากการ สารวจเมื่อปี พ.ศ. 2550 มีวัดไทยทั้งหมด 8 วัด ซึ่งมีชื่อตามชื่อเมืองที่วัดตั้งอยู่ คือ วัดไทยพุทธคยา เมืองพุทธคยา วัดไทยนาลันทา เมืองนาลันทา วัดไทยสารนาถ เมืองสารนาถ วัดไทยกุสินารา เมือง กุสินารา วัดป่าพุทธคยา เมืองพุทธคยา วัดไทยกุสาวดีวร พุทธวิหาร เมืองกุสินารา วัดไทยสิริราชคฤห์ เมืองราชคฤห์ สานักปฏิบัติธรรมแดนมหามงคล เมืองสาวัตถี หรือ เมืองสาเหต-มเหตของอินเดีย ปัจจุบัน นอกจากนั้นยังมีวัดพม่า วัดญี่ปุ่น วัดจีน วัดธิเบต วัดศรีลังกา อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกัน จึงถือ ได้ว่า ต้นกล้าแห่งพุทธธรรมได้รับการเพาะปลูกในถิ่นอินเดียอีกครั้งและได้รับการบารุงรักษาด้วยปุ๋ย ชั้นดีจากนานาประเทศ และเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2559 มีชาวฮินดูซึ่งมาจากวรรณะชั้นล่าง กว่า 300 คน ทาพิธีเปลี่ยนมารับนับถือพระพุทธศาสนา ณ พุทธคยา พุทธสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของชาวพุทธใน รัฐพิหาร ชาวฮินดูที่เปลี่ยนมานับถือพระพุทธศาสนาทั้งหมดนี้ มาจากเขตเอารังคาบาท (Aurangabad) และชะหานาบาท (Jahanabad) ในรัฐพิหาร บางส่วนมาจากเมืองนาคปูร์ (Nagpur) และเมืองสาตารา (Satara) ในรัฐมหาราษฎร์ รวมถึงเมืองชะบัลปูร์ (Jabulpur) และเมืองเรวา (Rewa) ในรัฐมัธยะประเทศทางการให้ข้อมูลว่า พิธีดังกล่าวจัดขึ้น ณ วิหารของวัดพม่าภายในพุทธค ยา โดยมีพระจันทรมุนี ชาวพม่า นาประกอบพิธีทีกฺษา (Deeksha; दीक्षा) หรือพิธี "บวชเป็นชาวพุทธ" (ประกาศตนเป็นพุทธมามกะ) ตามแบบอย่างของดร.บาอัมเบดการ์ ที่มีบทบาทสาคัญยิ่งในการเป็น ผู้นาชาวฮินดู วรรณะจัณฑาลกว่า 6 แสนคน ให้เปลี่ยนมานับถือพระรัตนตรัยและรับศีลห้า เมื่อวันที่ 14 เดือนตุลาคม ปีค.ศ. 1956 ณ เมืองนาคปูร์ กลายเป็นเหตุการณ์ครั้งยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์ เพราะถือเป็นการปลดแอกระบบวรรณะที่เป็นความอยุติธรรมทางสังคมของอินเดีย ผู้คนส่วนใหญ่ที่หันมานับถือพระพุทธศาสนานั้นต่างกล่าวว่า "พวกเขาต้องการเปลี่ยน ศาสนาเพื่อกาจัดการกีดกันทางชนชั้นและการถูกมองว่าเป็นวรรณะชั้นต่า" การเปลี่ยนมาเป็นชาวพุทธ ในอินเดียนั้น ยังคงมีให้เห็นอยู่เรื่อยๆ อย่างเมื่อต้นปี พ.ศ. 2558 ที่ผ่านมา ก็มีชาวฮินดูราว 1,700 คน มาร่วมประกอบพิธีเปลี่ยนมานับถือพระพุทธศาสนาที่พุทธคยา แคว้นพิหารเช่นกัน แม้การเปลี่ยน ความเชื่อนี้ โดยหลักจะมาจากแรงกดดันทางชั้นวรรณะ แต่อย่างไรก็ดี การตัดสินใจเช่นนี้ก็เป็นสิ่งที่