SlideShare a Scribd company logo
1 of 17
ดนตรีของกลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่ นิรุตร์ แก้วหล้า / 1
ดนตรีของกลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่ (Traditional Music of the
Lahu Ethnic Group)
นิรุตร์ แก้วหล้า
ชาวลาหู่ (Lahu) หรือมูเซอ มี
ภูมิลำาเนาดั้งเดิมอยู่ที่ธิเบตหรือ
บริเวณใกล้เคียง มีเชื้อสายธิเบต-
พม่า เมื่อครั้นถูกชาวจีนรุกรานจึง
ถอยร่นอพยพลงมาทางใต้ และ
อพยพไปที่ต่างๆ บ้างเข้าไปอาศัยที่
ประเทศลาว บางกลุ่มย้ายอยู่ใน
บริเวณรัฐฉานสาธารณรัฐแห่ง
สหภาพพม่า บางกลุ่มมาอาศัยที่
ประเทศไทย การอพยพแบบค่อย
เป็นค่อยไป ชาวลาหู่กลุ่มนี้เรียกตัวเอง
ว่า ลาหู่ ชาวจีนเรียกว่า โลไฮ ส่วน
ชาวไทยเรียก มูเซอ การอพยพเข้าสู่
ประเทศไทยยังไม่แน่ชัดว่าเมื่อใด แต่
ช่วง 10 ปีของศตวรรษที่ 19 มีกลุ่มชน
ลาหู่เข้ามาอยู่มากแล้ว ซึ่งอยู่อย่าง
กระจัดกระจายในทางตอนเหนือของ
ประเทศไทย ได้แก่ จังหวัดเชียงราย
เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก ชาวลาหู่
เป็นกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มใหญ่กลุ่มหนึ่ง
และแบ่งออกเป็นหลายกลุ่มย่อย
จำานวนถึง 23 กลุ่มย่อย แต่จากการ
สำารวจในประเทศไทยพบว่ามี 6 กลุ่ม
ได้แก่ 1) มูเซอดำา 2) มูเซอแดง 3)
มูเซอเหลือง 4) มูเซอเฌเล 5) มูเซอขาว 6) มูเซอลาบา
ในประเทศไทยมีชาวมูเซออาศัยอยู่ใน 8 จังหวัด ได้แก่ จังหวัด
เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก ลำาปาง กำาแพงเพชร น่าน และ
เพชรบูรณ์ โดยพบมากที่สุดที่จังหวัดเชียงราย รองลงมาคือจังหวัด
เชียงใหม่ และแม่ฮ่องสอนตามลำาดับ มีประชากรประมาณ 102,876 คน1
1
กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.
ทำาเนียบชุมชนบนพื้นที่สูง 20 จังหวัด ในประเทศไทย . 2545 .
ภาพลุงเอกพันธ์ บรรพตไพร, ผู้
ศึกษา, ลุงจ๊ะแฮ ไขศิริวิไล ที่มา
: นิรุตร์ แก้วหล้า, 2554
ภาพชุมชนบ้านขอบด้ง
อ.ฝาง
ที่มา : นิรุตร์ แก้วหล้า,
2554
ดนตรีของกลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่ นิรุตร์ แก้วหล้า / 2
ลักษณะบ้านเรือนชาวลาหู่ เป็นแบบยกพื้นสูงจากพื้นดินพอ
ประมาณ หลังคาหน้าจั่วมุงด้วยหญ้าคา หรือใบก่อ บ้างก็มองด้วยหลังคา
กระเบื้องรอน ตัวบ้านและพื้นบ้านสร้างด้วยไม้ไผ่สับฟาก โครงสร้างบ้าน
เช่น เสา คาน และส่วนต่าง ๆ มักสร้างจากไม้เนื้อแข็ง ไม้ก่อเป็นที่นิยม
มาก ปัจจุบันมีบางบ้านปลูกสร้างบ้านตามแบบคนไทยพื้นราบหลังคามึง
กระเบื้องหรือสังกะสี ฝาบ้านและพื้นบ้านเป็นไม้กระดาน บางบ้าน สร้าง
ด้วยปูนซีเมนต์ การคัดเลือกพื้นที่ปลูกบ้านเป็นของหัวหน้าครอบครัวและ
โดยความเห็นชอบของภรรยา บ้านชาวลาหู่มีขนาดกว้างยาวโดย
ประมาณ 4 x 6 เมตร บ้านลาหู่ส่วนใหญ่ไม่มีรั้วรอบบ้าน ไม่ทำาที่กั้น
หญ้าคาบนหลังคา การสร้างบ้านนิยมสร้างตรงกับวันหมา “พือญี้” วันไก่
“ก๊ะญี้” และวันวัว “นูญี้” ซึ่งมีความเชื่อว่าจำาทำาให้สมาชิกในบ้านมีความ
อยู่ดีกินดี และจะหลีกเลี่ยงวันหมู “หวะญี้” ซึ่งเชื่อว่าเป็นเจ้าของผีนำ้า
ชาวลาหู่ไม่สร้างบ้านตรงกับวันพระหรือวันศีล “ล่าญี้” และวันตาย
“ซือญี้” การสร้างบ้านจะอยู่บริเวณรอบ ๆ หัวหน้าหมู่บ้าน บ้างก็ผู้นำา
ทางศาสนา
ภาพบ้านของชาวลาหู่
ที่มา : นิรุตร์ แก้วหล้า, 2554
ดนตรีของชาวลาหู่ สามารถแบ่งแยกเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ 3
ประเภทคือ (1) ดนตรีร้อง (Vocal Music) แยกเป็นชนิดได้ คือ เพลง
ร้องในพิธีกรรม เพลงกล่อมลูก เพลงร้องเล่น เพลงเกี้ยวพาราสี เพลง
ร้องขณะทำางาน (2) ดนตรีบรรเลง (Instrumental Music) แยกได้ตาม
การบรรเลงของแต่ละเครื่องดนตรี การรวมวงของเครื่องดนตรี และ (3)
ดนตรีของกลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่ นิรุตร์ แก้วหล้า / 3
ดนตรีบรรเลงประกอบร้อง (Ensemble) ซึ่งมีทั้งใช้ในพิธีกรรมสำาคัญ
และใช้บรรเลงประกอบการร้องเพลงทั่วไป โดยที่เครื่องดนตรีที่ผู้ศึกษา
ได้พบเจอคือ หน่อเซะ หน่อกู่มา ตือ และเพลงร้องของลาหู่
เครื่องดนตรีหน่อเซะ
หน่อเซะเป็นแคนขนาดกลางเป็นเครื่องดนตรีประเภทลม ใช้
ประกอบพิธีกรรมต่างๆ ของชาวลาหู่ เครื่องดนตรีชนิดนี้เป็นเอกลักษณ์
เฉพาะประจำาของลาหู่ มีความสำาคัญกิจกรรมของชาวลาหู่มาก ทั้งนี้ใช้
บรรเลงประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ หลังจากใช้หน่อโก่มาบรรเลงเสร็จสิ้น
จึงให้ห่อเซะ ใช้ในช่วงเทศกาลปีใหม่ของลาหู่ กินข้าวใหม่ งานทำาบุญ
หรือเลี้ยงผีเรือน) และประเพณีสงเคราะห์หมู่บ้าน
ลักษณะทางกายภาพทั่วไปของหน่อเซะ
หน่อเซะเป็นเครื่องเป่าลมเข้าออกเพื่อให้เกิดเสียง มีลักษณะเหมือ
นแคนฝู่หลูแลแล2
ของกลุ่มชาติพันธุ์ลีซู ประกอบด้วยไม้ไผ่ตรงยาวลด
หลั่นกันจำานวน 5 ท่อเสียงเจาะรูเพื่อกดนิ้วทำาให้เกิดเสียงและมีลิ้นอยู่
ภายท่อ ความยาวประมาณ 1.5 เมตร สอดเข้ากับนำ้าเต้า นำ้าเต้ามีข้อต่อ
ออกมาให้ยาวขึ้นเพื่อความสะดวกเวลาเต้นบรรเลง มีกระบอกครอบแนว
ตั้งที่ท่อเสียง 1 อันเพื่อให้เกิดเสียงดังกังวาน และกระบอกครอบแนว
นอนอีกท่อหนึ่งให้เสียงดังกังวานเช่นกัน หน่อเซะผลิตจากวัสดุ
ธรรมชาติเช่นไม้ไผ่ตง นำ้าเต้า ขี้ชันโรง3
และไม้ไผ่ซูวู4
ชนิดละเอียด
สำาหรับทำาลิ้นของแต่ละท่อทำาให้เกิดเสียง เป็นภูมิปัญญาตั้งแต่
บรรพบุรุษที่สืบทอดการผลิตและการบรรเลง
ลักษณะกายภาพและระบบเสียงของหน่อเซะ ซึ่ง
เป็นชื่อเรียกเสียงของแต่ละท่อเสียง
2
นิรุตร์ แก้วหล้า. ฝู่หลูแลแลเครื่องดนตรีของชาวไทยภูเขาเผ่าลีซู
ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย. ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาดนตรี
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล. 2550. หน้า 58-62.
ภาพหน่อเชะ
ที่มา : นิรุตร์ แก้วหล้า,
2554
ดนตรีของกลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่ นิรุตร์ แก้วหล้า / 4
น่าเน้ หรือคนสุดท้องและเสียงที่ได้
คือ แน้ แน้
กาห่อเวง หรือคนแรก มีเสียง ก่อ
ก่อ
เกเชม่า หรือคนที่สอง หน่อกู่มา หรือแม่
หน่อละมา
การเรียก ชื่อท่อเสียงต่าง ๆ
ของหน่อเซะ ซึ่ง มีความหมายเป็นครอบครัวที่มีแม่ และลูก ๆ
3
ขี้ชันโรง เกิดจากอุจระของชันโรงซึ่งเป็นแมลงสังคม (Social insect) กลุ่มเดียวกับผึ้ง
" ชันโรง " เป็นชื่อเรียกพื้นเมือง ชันโรงมีชื่อพื้นเมือง (Local name) แตกต่างกันไปในแต่ละ
ภูมิภาค แต่ละชนเผ่าของมนุษย์ ที่เรียกแมลงกลุ่มนี้ อาทิ ชื่อพื้นบ้านในภาคเหนือเรียกว่า ตัวขี้
ตังนี หรือ แมลงขี้ตึง ชื่อพื้นบ้านของชันโรงในภาคใต้ เรียกกันว่า "อุง" ชื่อพื้นบ้านของชันโรง
ในภาคอีสาน เรียกว่า "แมลงขี้สูด" ซึ่งขี้ชันของแมลงขี้สูดนี้เองที่นำาไปอุดรูแคน แผ่นไม้ระนาด
เอก โปงลางจนกลายมาเป็นเครื่องดนตรี ชื่อพื้นบ้านของชันโรงในภาคตะวันออกเรียกว่า “ตัวชำา
มะโรง" หรือ "แมลงอีโลม" ที่มา ศูนย์บริการร่วมกรมส่งเสริม
เกษตรกรรม(http://www.servicelink.doae.go.th)
4
จะงะ แสงฮองและคณะ . โครงการฟื้นฟูวัฒนธรรมประเพณีด้าน
ดนตรี(หน่อ)ของชนเผ่าลาหู่แซแล บ้านห้วยนำ้าริน ต.แม่เจดีย์ใหม่ อ.เวียงป่าเป้า
จ.เชียงราย. รายงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น สกว .2548.หน้า 26.
ภาพจำาลองลักษณะ
กายภาพหน่อเซะ
ที่มา : นิรุตร์ แก้วหล้า,
ดนตรีของกลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่ นิรุตร์ แก้วหล้า / 5
ระบบเสียงของหน่อเซะ
ผู้ศึกษาทำาการวัดระบบเสียงโดยการ บันทึกเสียงจากการเป่าไล่
เสียงหน่อเซะจากเสียงตำ่าสุดไปถึงสูงสุด นำาเสียงที่ได้มาประมวลผลด้วย
โปรแกรมเวฟแลบ เพื่อหาระดับเสียง ค่าเซ็นต์ นำาค่าที่ได้มาอ้างอิง
ทฤษฎีระบบแบ่งเท่า ของอาเล็กซานเดอร์ เจ. เอลลิส (Alexander J.
Ellis) 5
กับตารางค่าเซ็นต์ ดังนี้
ระบบแบ่งเท่าของอาเล็กซานเดอร์ เจ. เอลลิส
เมื่อนำาระดับเสียงของท่อหน่อเซะที่เกิดจากการเป่าและดูดแต่ละท่อ
ตามที่เปรียบเมียบดังนี้
ระดับเสียงหน่อเซะเมื่อเปรียบเทียบระบบแบ่งเท่า
ท่อเสียง 1 ท่อจะได้ 1 ตัวโน้ต นำามาวิเคราะห์ระบบเสียง และหาค่า
ความถี่ ค่าเซ็นต์ ค่าเบี่ยงเบนจากระบบแบ่งเท่า และเสียงใกล้เคียงกับ
โน้ตสากล โดยสัญลักษณ์ I คือท่อเสียงที่ 1 , II คือท่อเสียงที่ 2, III คือ
ท่อเสียงที่ 3 , IV คือท่อเสียงที่ 4 และ V คือท่อเสียงที่ 5
การประมวลผลโดยโปรแกรมเวปแลบเพื่อหาค่าความถี่ ค่าเซ็นต์
ค่าเบี่ยงเบนจากระบบแบ่งเท่า และเสียงใกล้เคียงกับโน้ตสากล ดังนี้
5
นักฟิสิกส์และนักสัทศาสตร์ ผู้ค้นพบ ระบบเซนต์ (The cent system) ซึ่งใช้วัดระดับเสียง
ดนตรี The Cent system ทำาให้เกิดแนวคิดแบบ Comparative Musicology ปรากฏผลดีเป็น
รูปธรรมในงานของ Ellis ชื่อ “On the musical scales of various nations” (1885) ซึ่ง Ellis
ได้ใช้ระบบเซนต์ในการวัดและวิเคราะห์บันไดเสียงของวัฒนธรรมดนตรี (non-Western) ผล
งานดังกล่าวเป็นจุดเริ่มต้นที่สำาคัญ เปิดโลกทัศน์ให้กับนักวิชาการดนตรีอื่นได้ใช้เป็นแนวทางใน
การศึกษาดนตรีวิทยาเชิงเปรียบเทียบในวัฒนธรรมอื่นต่อมา
ดนตรีของกลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่ นิรุตร์ แก้วหล้า / 6
I คือ โน้ต C#4 วัดค่าเบี่ยงเบนได้ที่ +11 Cents ความถี่เสียงที่
139.5 Hz
II คือ โน้ต E#4 หรือ F2 วัดค่าเบี่ยงเบนได้ที่ +43 Cents ความถี่
เสียงที่ 179 Hz
III คือ โน้ต G#4 วัดค่าเบี่ยงเบนได้ที่ -14 Cents ความถี่เสียงที่
206 Hz
IV คือ โน้ต B4 วัดค่าเบี่ยงเบนได้ที่ +29 Cents ความถี่เสียงที่
251.1 Hz
V คือ โน้ต C#5 วัดค่าเบี่ยงเบนได้ที่ +4 Cents ความถี่เสียงที่
272.7 Hz
ผู้ศึกษาจัดลำาดับเสียงของเครื่องดนตรีบนบรรทัด 5 เส้น ได้ดังนี้
ลำาดับเสียงหน่อเซะ
เมื่อเราสังเกตลำาดับเสียงของหน่อเซะ จะพบว่ามีเสียงอยู่ 5 เสียง
คือ C#4, E#4(F), G#4, B4 และ C#5 โดยเสียงเหล่านี้เป็นเสียงที่ได้
จากการบรรเลงบทเพลง และการเป่าไล่เสียงจากเสียงตำ่าไปหาเสียงสูง
สามารถวิเคราะห์ในทางดนตรีได้ว่า ลำาดับเสียงเหล่านี้มีความคล้ายกับ
รูปของคอร์ดแบบ Dominant 7th
นั่นคือ ลำาดับเสียงของหน่อเซะเป็นรูป
แบบของเสียงในคอร์ด C# Dominant 7th
หรือ C#7 นั่นเอง ถึงแม้เสียง
ที่ได้นั้นจะมี 5 เสียงก็เป็นบันไดเสียงแบบ 5 เสียง (Pentatonic Scales)
ซึ่งไม่ตรงกับบันไดเสียงแบบ 5 เสียงที่มีโน้ตตรงกับบันไดเสียงไดอะทอ
นิกที่ใช้กันทั่วไป
เครื่องดนตรีหน่อกู่มา
หน่อกู่มาเป็นแคนขนาดใหญ่ ใช้
ประกอบพิธีกรรมต่างๆ ของชาวลาหู่ เครื่อง
ดนตรีชนิดนี้เป็นเอกลักษณ์เฉพาะประจำาของ
ลาหู่ ปัจจุบันหาดูได้ยากทั้งนี้เนื่องจากไม่ค่อย
มีผู้เชี่ยวชาญการบรรเลง หน่อกู่มามีความ
สำาคัญต่อพิธีกรรมมาก พิธีกรรมที่ใช้หน่อโก่
มาบรรเลงคือ เทศกาลปีใหม่ของลาหู่ กินข้าว
ใหม่ งานทำาบุญหรือเลี้ยงผีเรือนและประเพณี
สงเคราะห์หมู่บ้าน ชาวลาหู่เชื่อว่าถ้าไม่มีหน่อ
กู่มาบรรเลงก็จะไม่สามารถสื่อสารถึงพระเจ้า
ให้รับรู้ พระเจ้าจึงจะให้พร หน่อกู่มายังใช้
ดนตรีของกลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่ นิรุตร์ แก้วหล้า / 7
บรรเลงเพื่อประกอบการเต้นจะคึ ซึ่งเป็นพิธีบวงสรวงแด่เทพเจ้า ในวัน
พิธีให้ไปเป่าที่บ้านปู่จารย์เพื่อให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์รับรู้ว่าบ้านนั้นมีงาน เสร็จ
แล้วนำาหน่อกู่มามาลานเต้นจะคึ6
ลักษณะทางกายภาพทั่วไปของหน่อกู่มา เป็นแคนขนาด
ใหญ่ที่สุดในบรรดาแคนของลาหู่ เป็นเครื่องดนตรีประเภทลม เป่าลมเข้า
ออกเพื่อให้เกิดเสียง มีลักษณะเหมือนแคนฝู่หลูนาอู่ ของกลุ่มชาติพันธุ์
ลีซู ซึ่งเป็นแคนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของลีซูเช่นกัน ประกอบด้วยไม้ไผ่
ตรงยาวลดหลั่นกันจำานวน 5 ท่อเสียงเจาะรูเพื่อกดนิ้วทำาให้เกิดเสียงและ
มีลิ้นอยู่ภายท่อ ความ ยาวประมาณ
1.5 เมตร สอดเข้ากับ นำ้าเต้า นำ้าเต้ามี
ข้อต่อออกมาให้ยาว ขึ้นเพื่อความ
สะดวกเวลาเต้น บรรเลง มี
กระบอกครอบแนวตั้งที่ท่อเสียง 1 อันเพื่อให้เกิดเสียงดังกังวาน และ
กระบอกครอบแนวนอนอีกท่อหนึ่งให้เสียงดังกังวานเช่นกัน
หน่อกู่มาผลิตจากวัสดุธรรมชาติเช่นไม้ไผ่ตรง นำ้าเต้า ขี้ชันโรง
และไม้ไผ่ซูวู ชนิดเดียวกับผลิตหน่อเซะ แต่มีความแตกต่างตรงที่ท่อ
เสียงจะยาวกว่าและให้เสียงที่ตำ่ากว่าหน่อเซะ มีลำาโพงที่ครอบท่ออยู่ 3
อัน ลำาโพงที่ครอบท่อยาวสุดคือนำ้าเต้าให้เสียงตำ่าสุด
ระบบเสียงของหน่อกู่มา
ผู้ศึกษาใช้กระบวนเดียวกันในการวัดระบบเสียงของเครื่องดนตรี
หน่อเซะ โดยอ้างอิงทฤษฎีระบบแบ่งเท่าของ อาเล็กซานเดอร์ เจ. เอลลิส
ซึ่งแต่ละท่อเสียงของหน่อกู่มามีเสียงเกิดจากการเป่าและดูด การกดบน
6
นายเอกพันธ์ บรรพตไพร . สัมภาษณ์ . บ้านขอบด้ง เมษายน 2554
ภาพหน่อกู่มา
ที่มา : นิรุตร์ แก้วหล้า,
2554
ลักษณะกายภาพของ
หน่อกู่มา
ที่มา : นิรุตร์ แก้วหล้า,
ดนตรีของกลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่ นิรุตร์ แก้วหล้า / 8
ท่อเสียงจะได้ 1 ตัวโน้ต ดังนั้นค่าความถี่ ค่าเซ็นต์ ค่าเบี่ยงเบนจากระบบ
แบ่งเท่า และเสียงใกล้เคียงกับโน้ตสากล ดังนี้
ระดับเสียงหน่อกู่มา
การประมวลผลโดยโปรแกรมเวปแลปเพื่อหาค่าความถี่ ค่าเซ็นต์
ค่าเบี่ยงเบนจากระบบแบ่งเท่า และเสียงใกล้เคียงกับโน้ตสากล ดังนี้
I คือ โน้ต C#3 วัดค่าเบี่ยงเบนได้ที่ +28 Cents ความถี่เสียงที่
70.4 Hz
II คือ โน้ต D3 วัดค่าเบี่ยงเบนได้ที่ -40 Cents ความถี่เสียงที่
71.7 Hz
III คือ โน้ต F#3 วัดค่าเบี่ยงเบนได้ที่ +32 Cents ความถี่เสียงที่
188.4 Hz
IV คือ โน้ต C#4 วัดค่าเบี่ยงเบนได้ที่ -34 Cents ความถี่เสียงที่
143 Hz
ดนตรีของกลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่ นิรุตร์ แก้วหล้า / 9
V คือ โน้ต D4 วัดค่าเบี่ยงเบนได้-28 Cents ความถี่เสียงที่ 144.5
Hz
VI คือ โน้ต F4 วัดค่าเบี่ยงเบนได้ -41 Cents ความถี่เสียงที่
170.5 Hz
ลำาดับเสียงหน่อกู่มา
เช่นกันถ้าเราสังเกตลำาดับเสียงของหน่อกู่มาจะ
พบว่ามีเสียงอยู่ 6 เสียง คือ C#3, D3, F#3, C#4,
D4 และ F4 โดยเสียงเหล่านี้เป็นเสียงที่ได้จากการ
บรรเลงบทเพลง และการเป่าไล่เสียงจากเสียงตำ่าไป
หาเสียงสูง สามารถวิเคราะห์ในทางดนตรีได้ว่า
ลำาดับเสียงเหล่านี้เป็นเสียงที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ
เครื่องดนตรีหน่อกู่มา สามารถบอกได้ว่าเป็น โหมด
เสียงเฉพาะหน่อกู่มา
เครื่องดนตรี ตือ
ตือ เป็นเครื่องดนตรีอีกชนิดหนึ่งที่มีมาตั้งแต่
สมัยโบราณของกลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่ เครื่องดนตรีชนิด
นี้จัดอยู่ในกลุ่มเพื่อให้ความสนุกสนาน เพื่องานเต้น
จะคึ เทศกาลปีใหม่ เทศกาลกินข้าวใหม่ ไม่สามารถ
ใช้แทนพิธีกรรมอื่นได้ ตือจะใช้บรรเลงงานปีใหม่หลังพิธีกรรมทุกอย่าง
เสร็จ และหลังการเป่าหน่อกู่มาเสร็จ ประวัติศาสตร์ของตือนั้นนายจ๊ะบู
โกศลไพรพนา อธิบายไว้ว่า “ตือเป็นเครื่องดนตรีโบราณ สมัยบรรพบุรุษ
สมัยรุ่นพ่อก็ยังใช้ สมัยอยู่เมืองจีนก็ใช้ตือเล่นในงานเต้นจะคึ
ลักษณะกายภาพทั่วไปของตือ เป็นเครื่องดนตรีในกลุ่มเครื่อง
สาย ผลิตเสียงโดยอาศัยการสั่นสะเทือนของสาย มีลักษณะคล้ายซึงของ
ชาวล้านนา ของทางภาคเหนือของไทย และมีลักษณะใกล้เคียงซือบึ
หรือ ซือบือของกลุ่มชาติพันธุ์ลีซู ตือเป็นเครื่องดนตรีที่ทำามาจากไม้
สัดส่วนไม่แน่นอน ขนาดแตกต่างกันไปตามความพอใจและความถนัดผู้
บรรเลง ตือมีสาย 3 สาย ทำามาจากสายเบรครถจักรยานยนต์ ตัวของตือ
ทำาจากไม้เนื้อแข็งเจาะให้เป็นรูเพื่อเป็นโพรงเสียงและขึงด้วยหนังแลน
(ตะกวด) บางครั้งใช้หนังวัวแทนได้ คอขอตือทำาจากไม้เนื้อแข็งต่อเข้า
กับตัวตือต่อเชื่อมด้วยขี้ชันโรง ส่วนหัวตือมีลูกบิด 3 อันเพื่อขึ้นเสียงสูง
ภาพตือ
ที่มา : นิรุตร์ แก้ว
หล้า, 2554
ดนตรีของกลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่ นิรุตร์ แก้วหล้า / 10
ตำ่าของสาย และอีกด้านหนึ่งของสายมีสะพานสายรองสาย ตือใช้เขา
สัตว์ทำาเป็นที่ดีด
ลักษณะกายภาพของเครืองดนตรี ตือ
ระบบเสียงของตือ
ผู้ศึกษาใช้กระบวนเดียวกันในการวัดระบบเสียงของเครื่องดนตรี
หน่อเซะ หน่อกู่มา โดยอ้างอิงทฤษฎีระบบแบ่งเท่าของ อาเล็กซานเดอร์
เจ. เอลลิส โดยการดีดเสียงของตือจากลำาดับเสียงตำ่าไปหาเสียงสูง ได้
ดังนี้
ระดับเสียงตือ
การประมวลผลโดยโปรแกรมเวปแลปเพื่อหาค่าความถี่ ค่าเซ็นต์
ค่าเบี่ยงเบนจากระบบแบ่งเท่า และเสียงใกล้เคียงกับโน้ตสากล ดังนี้
I คือ โน้ต F4 วัดค่าเบี่ยงเบนได้ที่ +35 Cents ความถี่เสียงที่
356.3 Hz
II คือ โน้ต Ab4 วัดค่าเบี่ยงเบนได้ที่ -14 Cents ความถี่เสียงที่
429 Hz
ดนตรีของกลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่ นิรุตร์ แก้วหล้า / 11
III คือ โน้ต Bb4 วัดค่าเบี่ยงเบนได้ที่ -20 Cents ความถี่เสียงที่
480 Hz
IV คือ โน้ต C5 วัดค่าเบี่ยงเบนได้ที่ +23 Cents ความถี่เสียงที่
530.3 Hz
V คือ โน้ต Eb5 วัดค่าเบี่ยงเบนได้-21Cents ความถี่เสียงที่
651.4 Hz
ลำาดับเสียงตือ
ลำาดับเสียงของเครื่องดนตรีตือ มีความเป็นบันใดเสียงแบบ 5 เสียง
แบบ Minor Pentatonic นั่นคือเสียง F4, Ab4, Bb4. C5 และ Eb5 และ
หากเปรียบเทียบกับตารางแบบยกระดับเสียง หรือ Moved C จะทำาให้
เข้าใจระบบเสียงของเสียงตือได้มากขึ้น ดังนี้
ตารางเปรียบเทียบ A Minor Pentatonic และ F Minor
Pentatonic 7
เพลงร้องลาหู่
เพลงร้องลาหู่เป็นเพลงแต่งขึ้นจากทำานองเดียว ผู้ร้องได้แต่ง
เนื้อหาหรือคำาขึ้นมาใหม่ ผู้ขับร้อง มีปฏิภาณ ไหวพริบ เป็นเลิศ
สามารถหาคำา หรือภาษาเข้ามาใช้กับทำานองที่มีอยู่อย่างงดงาม เพลง
ร้องลาหู่นั้นมีความหมายต่าง ๆ ดังที่ลุงเอกพันธ์ บรรพตไพรได้ขับร้อง
เพลงลาหู่และบอกความหมายไว้ว่า “เพลงร้องลาหู่มีความหมายอยู่หลาก
หลาย เช่น ดีใจที่เราได้พบเจอกัน , เรื่องชีวิตความเป็นอยู่ , การอพยพ
ย้ายถิ่นฐาน, ชีวิตคู่ , เรื่องสัตว์ป่า, เรื่องธรรมชาติ , ”เรื่องความรัก
ระดับเสียงของเพลงร้องลาหู่ เกิดจากการบันทึกเสียงผู้ร้องนำามา
ประมวลผลด้วยโปรแกรมทางคอมพิวเตอร์ สามารถบันทึกเป็นโน้ตสากล
ได้ระดับเสียงดังนี้
7
= เสียงห่างกัน 1 เสียงเต็ม (2 Semitone) = เสียงห่างกันครึ่งเสียง (1
Semitone)
A Minor
Pentatonic
F Minor
ดนตรีของกลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่ นิรุตร์ แก้วหล้า / 12
ระดับเสียงเพลงร้องลาหู่
ลำาดับเสียงของเพลงร้องลาหู่ มีความเป็นบันใดเสียงแบบ 5 เสียง
แบบ Minor Pentatonic นั่นคือเสียง (A3), (C4), D4, F4, G4, A4, C5
และ (D5) ทั้งนี้โน้ตตำ่าสุดคือ A3 และ C4 เป็นโน้ตในบันใดเสียงนี้อยู่
แล้ว จึงนำามาจัดเรียงใหม่เป็น D4, F4, G4, A4, C5 และ (D5) จึงได้
บันไดเสียง D Minor Pentatonic หากเปรียบเทียบกับตารางแบบยก
ระดับเสียง หรือ Move C จะทำาให้เข้าใจระบบเสียงของเพลงร้องลาหู่
มากขึ้น ดังนี้
ตารางเปรียบเทียบ A Minor Pentatonic และ D Minor
Pentatonic
ผู้ศึกษาขอนำาเสนอตัวอย่างบทเพลงร้องลาหู่ บทเพลงที่ขับร้องโดย
นายเอกพันธ์ บรรพตไพร บทเพลงที่แต่งขึ้นจากทำานองเดียว แต่ผู้ร้อง
ได้แต่งเนื้อหาหรือคำาขึ้นมาใหม่ โดยเพลงนี้มีความหมายว่าวันนี้เหงาจัง
ได้ยินแต่เสียงลมพัด แต่ไม่ได้ยินเสียงหญิงใดเลย โดยสามารถถอดเทป
เพื่อบันทึกโน้ตได้ดังนี้
เพลงร้องลาหู่
เราสามารถวิเคราะห์บทเพลงนี้โดยการอ้างอิงหลักทฤษฎีดนตรี
สากล แบ่งเป็น หัวข้อศึกษาดังนี้
A Minor
Pentatonic
D Minor
F
C
ดนตรีของกลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่ นิรุตร์ แก้วหล้า / 13
โครงสร้างของทำานอง
พิสัยของแนวดำาเนินทำานองของเพลงที่ 2 มีพิสัยกว้าง
ประมาณคู่ 12 เสียงตำ่าสุดของแนวทำานอง คือ A3 และเสียง
สูงสุดของแนวทำานองคือ C5 ดังตัวอย่าง
รูปร่างของทำานอง
ระดับเสียง
ระดับเสียงของบทเพลงร้อง เพลงที่ 2 ผู้วิจัยพิจารณาจาก
ระดับเสียงตำ่าขึ้นไปสูงสุด คือเสียง A3 ,C4, D4, F4 , G4, A4 , C5
โน้ตต่าง ๆ ของระดับเสียงเพลงร้องลาหู่
จังหวะ
จากการวิเคราะห์อัตราจังหวะของเพลงลาหู่ พบว่า ไม่มีการเน้น
อัตราจังหวะที่ชัดเจน เป็นลักษณะจังหวะอิสระ (Free Rhythmic) ไม่มี
ชีพจรจังหวะที่แน่นอน (Free time) และไม่สามารถเขียนเครื่องหมาย
อัตราจังหวะ และไม่สามารถแบ่งเป็นห้องเพลงที่แน่นอนได้ (Non-
metrical time) แต่สามารถแบ่งวรรคตอนได้จากกรณีหยุดพักหายใจ
ของผู้ร้อง ในที่นี้ใช้วงเล็บในการให้สัญลักษณ์แทนจุดพักหายใจ
อัตราความเร็ว
อัตราความเร็วเพลงร้องลาหู่ หากนำามาเทียบกับความเร็ว
มาตรฐานสากลโดยใช้เครื่องวัดจังหวะ (Metronome) สามารถวัด
จังหวะได้ประมาณ 60-66 ซึ่งอัตรา
ความเร็วนี้อาจจะเร็วขึ้นหรือช้าลงได้
ตามแต่ผู้ร้อง
ดนตรีในสังคมวัฒนธรรมลาหู่
ดนตรีมีส่วนสำาคัญในทุกส่วนของ
พิธีกรรม โดยเฉพาะงานใหญ่ของลาหู่
เช่นงานปีใหม่ งานกินข้าวใหม่ การ ภาพการบรรเลงหน่อกู่มา
งานปีใหม่ลาหู่
ที่มา : นิรุตร์ แก้วหล้า, 2554
ดนตรีของกลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่ นิรุตร์ แก้วหล้า / 14
เต้นจะคึ ทำาบุญบ้าน และทำาบุญหมู่บ้าน ซึ่งต้องมีเครื่องดนตรีหลักคือ
หน่อกู่มาบรรเลงเพื่อสื่อสารกับผีฟ้าให้รับรู้ถึงพิธีกรรม ให้อำานวยอวยพร
ให้งานนั้น ๆ มีความราบรื่น ชาวบ้านในชุมชนมีแต่ความสุข นำาสิ่งดี ๆ
มาในหมู่บ้าน นอกจากหน่อกู่มายังมีหน่อเซะ และ ตือที่บรรเลงสร้าง
ความบันเทิงให้แก่ชาวบ้านผู้ร่วมงาน ดนตรีลาหู่ยังเป็นศูนย์รวมความ
บันเทิง ทั้งนี้เกิดจากที่ชาวบ้านเข้าร่วมพิธีเช่นงานปีใหม่ มีการเต้นจะคึ
ดนตรีจะเป็นส่วนนำาพาผู้คนเข้า
เต้นร่วมกันสร้างความ
สนุกสนาน และความสามัคคีแก่
คนในหมู่บ้าน คนที่เหนื่อยจาก
การเต้นรำาจะหยุดพักนั่งจิบนำ้า
ชา ตั้งวงพูดคุยอย่างสนุกสนาน
บ้างก็มีโอกาสได้ทดลองฝึกเป่า
หน่อ ฝึกดีดตือ กลุ่มเยาวชนมี
การจับกลุ่มเล่นประทัดและพูด
คุยในบริเวณลานเต้นบ้าง ด้านนอกลานเต้นจะคึบ้าง
ดนตรีของชาวลาหู่เป็นวัฒนธรรมที่ดีงาม เป็นสิ่งที่สร้างความ
สัมพันธ์ภายในชุมชน สังคมวัฒนธรรมทั่วโลกล้วนมีเพลงของกลุ่ม
ชาติพันธุ์ และเพลงลาหู่มีบทบาท สำาคัญในทุก ๆ สังคมมายาวนาน จาก
การศึกษาวิเคราะห์บทเพลงลาหู่ในสังคมและวัฒนธรรมลาหู่ จากการ
เก็บข้อมูลภาคสนามเป็นหลัก และศึกษาจากข้อมูลเอกสารต่าง ๆ พบว่า
มีบทบาทสำาคัญหลายประการ บทบาทในการใช้สร้างความสัมพันธ์
ระหว่างผู้คนในชุมชนและต่างชุมชน บทเพลงอันเกิดจากการเล่นเครื่อง
ดนตรีต่าง ๆ ของชาวลาหู่มีความเก่าแก่ที่สุดเป็นสิ่งที่สามารถเชื่อมความ
สัมพันธ์สำาหรับสมาชิกในครอบครัว และสมาชิกของชุมชน เข้ามามีส่วน
ร่วมกับกิจกรรมชุมชน การสื่อสารด้วยภาษาดนตรีเป็นสิ่งที่สังคมลาหู่
ยึดถือเป็นประเพณีปฏิบัติกันอย่างแยกไม่ออกได้จากสังคม สำาหรับผู้ที่
มีหน้าที่ที่จะสื่อสารถ่ายทอดบทเพลงได้ต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถ เป็น
ผู้ทรงความรู้ หรือผู้อาวุโสประจำาชุมชน หรืออาจเป็นเยาวชนผู้ฝาเรียน
รู้ จึงจะเป็นคนสื่อสารแก่ชาวบ้านได้
บทบาทในการขัดเกลาทางสังคม (Socialization) เป็นกระบวน
การทางสังคมกับจิตวิทยา ซึ่งมีผลทำาให้บุคคลมีบุคลิกภาพตามแนวทาง
ที่สังคมต้องการ ที่ ณรงค์ เส็งประชา8
กล่าวว่าการขัดเกลาทางสังคม
8
ณรงค์ เส็งประชา. (2537). สังคมวิทยา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: พิทักษ์อักษร.
2537. หน้า 45.
ภาพการบรรเลงตือในลานเต้น
จะคึ
ที่มา : นิรุตร์ แก้วหล้า, 2554
ดนตรีของกลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่ นิรุตร์ แก้วหล้า / 15
เป็นกระบวนการปลูกฝังบรรทัดฐานของกลุ่มให้เกิดขึ้นในตัวบุคคลซึ่ง
เป็นสมาชิกของสังคม เพื่อให้อยู่ร่วม และทำางานร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้
ด้วยดี และการขัดเกลาทางสังคมเป็นกระบวนการหล่อหลอมทาง
วัฒนธรรม ซึ่งบุคคลจะเรียนรู้ในเรื่องพื้นฐานต่าง ๆ คือ ค่านิยม ความ
เชื่อ และพฤติกรรมของสังคม ในทางสังคมวิทยาถือว่าบุคคลทุกคนจะ
ต้องผ่านกระบวนการขัดเกลาทางสังคม ตั้งแต่แรกเกิดจนตาย ในระยะ
แรกของชีวิตจะได้รับการอบรมให้เรียนรู้เพื่อความอยู่รอด และเรียนรู้
กฎข้อบังคับของสังคม เช่น การกินอยู่ การนอน ฯลฯ บทบาทของดนตรี
ลาหู่ก็เช่นกันมีส่วนช่วยขัดเกลาสังคมความเป็นชาวลาหู่ตั้งแต่แรกเกิด
จนตาย ความเชื่อ ค่านิยม วัฒนธรรมที่ฝังแน่นสืบทอดมายาวนาน
ทำาให้เกิดอัตลักษณ์ลาหู่ตราบจนทุกวันนี้
บทสรุป
การศึกษาดนตรีของกลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่พบว่า
เครื่องดนตรีหน่อเซะ เป็นแคนขนาดกลางเป็นเครื่องดนตรี
ประเภทลม ใช้ประกอบพิธีกรรมต่างๆ ของชาวลาหู่ เครื่องดนตรีที่เป็น
เอกลักษณ์เฉพาะประจำาของลาหู่ มีความสำาคัญกิจกรรม และพิธีกรรม
ของชาวลาหู่มีลำาดับเสียงอยู่ 5 เสียง ที่มีระยะเสียงใกล้เคียงกับรูปของ
คอร์ดแบบ Dominant 7th
คอร์ด C# Dominant 7th
หรือ C#7 ของ
ดนตรีตะวันตกนั่นเอง
เครื่องดนตรีหน่อกู่มา เป็นแคนขนาดใหญ่ ใช้ประกอบพิธีกรรม
ต่างๆ ของชาวลาหู่ปัจจุบันหาดูได้ยากทั้งนี้เนื่องจากไม่ค่อยมีผู้
เชี่ยวชาญในการบรรเลง หน่อกู่มามีความสำาคัญต่อพิธีกรรมมาก
พิธีกรรมที่ใช้หน่อโก่มาบรรเลงคือ เทศกาลปีใหม่ของลาหู่ กินข้าวใหม่
งานทำาบุญหรือเลี้ยงผีเรือนและประเพณีสงเคราะห์หมู่บ้าน หน่อกู่มายัง
ใช้บรรเลงเพื่อประกอบการเต้นจะคึ ซึ่งเป็นพิธีบวงสรวงแด่เทพเจ้า
ลำาดับเสียงของหน่อกู่มาจะพบว่ามีเสียงอยู่ 6 เสียง ลำาดับเสียงเหล่านี้เป็น
เสียงที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะสามารถบ่งบอกว่าเป็นโหมดเสียงเฉพาะ
หน่อกู่มา
เครื่องดนตรี ตือ เป็นเครื่องดนตรีที่จัดอยู่ในกลุ่มเพื่อให้ความ
สนุกสนาน เพื่องานเต้นจะคึ เทศกาลปีใหม่ เทศกาลกินข้าวใหม่ ไม่
สามารถใช้แทนพิธีกรรมอื่นได้ ตือจะใช้บรรเลงงานปีใหม่หลังพิธีกรรม
ดนตรีของกลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่ นิรุตร์ แก้วหล้า / 16
ทุกอย่างเสร็จ และหลังการเป่าหน่อกู่มาเสร็จ ตือ เป็นเครื่องดนตรีใน
กลุ่มเครื่องสาย ผลิตเสียงโดยอาศัยการสั่นสะเทือนของสาย มีลักษณะ
คล้ายซึงของชาวล้านนา ของทางภาคเหนือของไทย และมีลักษณะใกล้
เคียงซือบึหรือ ซือบือของกลุ่มชาติพันธุ์ลีซู ลำาดับเสียงของเครื่องดนตรี
ตือ มีความเป็นบันใดเสียงแบบ 5 เสียงแบบ Minor Pentatonic นั่นคือ F
Minor Pentatonic
เพลงร้องลาหู่ เป็นเพลงแต่งขึ้นจากทำานองเดียว ผู้ร้องได้แต่ง
เนื้อหาหรือคำาขึ้นมาใหม่ ผู้ขับร้อง มีปฏิภาณ ไหวพริบ เป็นเลิศ
สามารถหาคำา หรือภาษาเข้ามาใช้กับทำานองที่มีอยู่อย่างงดงาม เพลง
ร้องลาหู่นั้นมีความหมายต่าง ๆ เช่น ดีใจที่เราได้พบเจอกัน , เรื่องชีวิต
ความเป็นอยู่ , การอพยพย้ายถิ่นฐาน, ชีวิตคู่ , เรื่องสัตว์ป่า, เรื่อง
ธรรมชาติ และเรื่องความรัก
สังคมวัฒนธรรมลาหู่มีดนตรีเป็นส่วนสำาคัญในการประกอบ
พิธีกรรม วิถีชีวิตชาวลาหู่ยังคงต้องมีดนตรีอยู่ดังที่กล่าวแล้วข้างต้น
ดนตรีลาหู่ยังเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตอย่างแยกไม่ออก สามารถใช้ดนตรี
เพื่อการผ่อนคลายจากการทำางานงานด้วยเพลงร้องลาหู่หรือบทเพลง
จากเครื่องดนตรี ดนตรีในสังคมลาหู่ยังเชื่อมโยงให้ผู้คนเข้ามามีส่วน
ร่วม ทำาให้เกิดความสามัคคีตามมา อีกทั้งยังช่วยขัดเกลาลูกหลาน
เยาวชนลาหู่ให้เป็นคนดี มีสัมมาคาราวะต่อผู้ใหญ่ หากชาวลาหู่ไม่
สืบทอดดนตรีของตนแล้ว ก็จะส่งผลกระทบกับพิธีกรรมที่สืบทอดกันมา
แต่ครั้งบรรพบุรุษ ดังนั้นชาวลาหู่ต้องตระหนักถึงคุณค่าดนตรีรวมถึง
วัฒนธรรมด้านอื่น ๆ ให้คู่กับสังคมวัฒนธรรมลาหู่ต่อไป
บรรณานุกรม
กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความ
มั่นคงของมนุษย์. 2545 .ทำาเนียบชุมชน บนพื้น ที่สูง 20
จังหวัด ในประเทศไทย .
งามพิศ สัตย์สงวน.2543. หลักมานุษยวิทยาวัฒนธรรม .(พิมพ์ครั้ง
ที่ 3) กรุงเทพฯ : รามาการพิมพ์.
จะงะ แสงฮองและคณะ . โครงการฟื้นฟูวัฒนธรรมประเพณีด้าน
ดนตรี(หน่อ)ของชนเผ่าลาหู่แซแล บ้าน ห้วยนำ้าริน ต.แม่เจดีย์
ดนตรีของกลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่ นิรุตร์ แก้วหล้า / 17
ใหม่ อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย. รายงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น สกว .
2548.หน้า 26.
ฉวีวรรณ ประจวบเหมาะ. ม.ป.ท. ความสำาคัญของการเล่น
(play) .วารสารสังคมวิทยาและมนุษยวิทยา.
ประสิทธิ์ เลียวสิริพงศ์. 2533. สวนศาสตร์ของเครื่องดนตรีโดย
สังเขป. การสัมมนาวิชาการเรื่องภูมิปัญญา ชาวบ้าน ล้าน
นา.เชียงใหม่ : วิทยาลัยครูเชียงใหม่.
ณรงค์ เส็งประชา. 2537. สังคมวิทยา. (พิมพ์ครั้งที่ 2).
กรุงเทพมหานคร: พิทักษ์อักษร.
นิรุตร์ แก้วหล้า. 2550. ฝู่หลูแลแลเครื่องดนตรีของชาวไทยภูเขา
เผ่าลีซู ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย.
วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาดนตรี บัณฑิต
วิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.
Ellis, Alexander John. 1885. On the musical scales of various
nations. London.
Jaap Kunst. 1959. Ethnomusicology, Ethnomusicology: a
study of its nature, its problems, methods and
representative personalities to which is added a
bibliography. University of California.
Hood, Mantle. 1971. The Ethnomusicologist. New York:
Mcgraw-Hill.

More Related Content

What's hot

1 แบบฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์วิชาฟิสกส์ เรื่อง ความหนาแน่น
1 แบบฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์วิชาฟิสกส์ เรื่อง ความหนาแน่น1 แบบฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์วิชาฟิสกส์ เรื่อง ความหนาแน่น
1 แบบฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์วิชาฟิสกส์ เรื่อง ความหนาแน่นKruNistha Akkho
 
ใบความรู้+แผนการสอนและใบกิจกรรม ประถม4-6 เรื่อง วรจรไฟฟ้า+ป.6+290+dltvscip6+P...
ใบความรู้+แผนการสอนและใบกิจกรรม ประถม4-6 เรื่อง วรจรไฟฟ้า+ป.6+290+dltvscip6+P...ใบความรู้+แผนการสอนและใบกิจกรรม ประถม4-6 เรื่อง วรจรไฟฟ้า+ป.6+290+dltvscip6+P...
ใบความรู้+แผนการสอนและใบกิจกรรม ประถม4-6 เรื่อง วรจรไฟฟ้า+ป.6+290+dltvscip6+P...Prachoom Rangkasikorn
 
โครงงานทดลอง สีย้อมผ้าจากธรรมชาติ Tropical Eco Fashion
โครงงานทดลอง สีย้อมผ้าจากธรรมชาติ Tropical Eco Fashionโครงงานทดลอง สีย้อมผ้าจากธรรมชาติ Tropical Eco Fashion
โครงงานทดลอง สีย้อมผ้าจากธรรมชาติ Tropical Eco Fashionjarunee4
 
การผสมวงดนตรีไทย
การผสมวงดนตรีไทยการผสมวงดนตรีไทย
การผสมวงดนตรีไทยพัน พัน
 
หลักการเขียนแนะนำตนเอง
หลักการเขียนแนะนำตนเองหลักการเขียนแนะนำตนเอง
หลักการเขียนแนะนำตนเองRung Kru
 
หัวกระดาษข้อสอบ
หัวกระดาษข้อสอบหัวกระดาษข้อสอบ
หัวกระดาษข้อสอบworapanthewaha
 
บทที่3 วิธีดำเนินงาน
บทที่3 วิธีดำเนินงานบทที่3 วิธีดำเนินงาน
บทที่3 วิธีดำเนินงานChamp Wachwittayakhang
 
โครงงานสุขภาพส่งเสริมคุณธรรม
โครงงานสุขภาพส่งเสริมคุณธรรมโครงงานสุขภาพส่งเสริมคุณธรรม
โครงงานสุขภาพส่งเสริมคุณธรรมtassanee chaicharoen
 
การจัดการเรียนรู้ Stad
การจัดการเรียนรู้ Stadการจัดการเรียนรู้ Stad
การจัดการเรียนรู้ StadSandee Toearsa
 
คัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ ถอดความบางบท
คัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ ถอดความบางบทคัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ ถอดความบางบท
คัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ ถอดความบางบทVisanu Khumoun
 
สุขฯ ม.2 หน่วย 2
สุขฯ ม.2 หน่วย 2สุขฯ ม.2 หน่วย 2
สุขฯ ม.2 หน่วย 2supap6259
 
ปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแอลลีล
ปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแอลลีลปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแอลลีล
ปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแอลลีลWan Ngamwongwan
 
ตัวอย่างการสร้างข้อสอบ
ตัวอย่างการสร้างข้อสอบตัวอย่างการสร้างข้อสอบ
ตัวอย่างการสร้างข้อสอบwanchalerm sotawong
 
ปลายภาค ม1
ปลายภาค ม1ปลายภาค ม1
ปลายภาค ม1peter dontoom
 
ใบความรู้+แผนการสอน และใบกิจกรรม ประถม 4-6 เรื่อง วงจรไฟฟ้า+ป.5+273+dltvscip5...
ใบความรู้+แผนการสอน และใบกิจกรรม ประถม 4-6 เรื่อง วงจรไฟฟ้า+ป.5+273+dltvscip5...ใบความรู้+แผนการสอน และใบกิจกรรม ประถม 4-6 เรื่อง วงจรไฟฟ้า+ป.5+273+dltvscip5...
ใบความรู้+แผนการสอน และใบกิจกรรม ประถม 4-6 เรื่อง วงจรไฟฟ้า+ป.5+273+dltvscip5...Prachoom Rangkasikorn
 
Testแนวการออกข้อสอบวัดการคิดระดับสังเคราะห์
  Testแนวการออกข้อสอบวัดการคิดระดับสังเคราะห์  Testแนวการออกข้อสอบวัดการคิดระดับสังเคราะห์
Testแนวการออกข้อสอบวัดการคิดระดับสังเคราะห์Nonsawan Exschool
 
โครงสร้างหลักสูตรประถม
โครงสร้างหลักสูตรประถมโครงสร้างหลักสูตรประถม
โครงสร้างหลักสูตรประถมwangasom
 
สื่อการสอน เรื่อง งานประดิษฐ์
สื่อการสอน เรื่อง งานประดิษฐ์สื่อการสอน เรื่อง งานประดิษฐ์
สื่อการสอน เรื่อง งานประดิษฐ์Beerza Kub
 
การศึกษาโครงสร้างของหัวใจหมู โครงสร้างอวัยวะแลกเปลี่ยนแก๊ส และการวัดปริมาตรปอด
การศึกษาโครงสร้างของหัวใจหมู โครงสร้างอวัยวะแลกเปลี่ยนแก๊ส และการวัดปริมาตรปอดการศึกษาโครงสร้างของหัวใจหมู โครงสร้างอวัยวะแลกเปลี่ยนแก๊ส และการวัดปริมาตรปอด
การศึกษาโครงสร้างของหัวใจหมู โครงสร้างอวัยวะแลกเปลี่ยนแก๊ส และการวัดปริมาตรปอดpitsanu duangkartok
 
ราชาศัพท์
ราชาศัพท์ราชาศัพท์
ราชาศัพท์kruthai40
 

What's hot (20)

1 แบบฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์วิชาฟิสกส์ เรื่อง ความหนาแน่น
1 แบบฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์วิชาฟิสกส์ เรื่อง ความหนาแน่น1 แบบฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์วิชาฟิสกส์ เรื่อง ความหนาแน่น
1 แบบฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์วิชาฟิสกส์ เรื่อง ความหนาแน่น
 
ใบความรู้+แผนการสอนและใบกิจกรรม ประถม4-6 เรื่อง วรจรไฟฟ้า+ป.6+290+dltvscip6+P...
ใบความรู้+แผนการสอนและใบกิจกรรม ประถม4-6 เรื่อง วรจรไฟฟ้า+ป.6+290+dltvscip6+P...ใบความรู้+แผนการสอนและใบกิจกรรม ประถม4-6 เรื่อง วรจรไฟฟ้า+ป.6+290+dltvscip6+P...
ใบความรู้+แผนการสอนและใบกิจกรรม ประถม4-6 เรื่อง วรจรไฟฟ้า+ป.6+290+dltvscip6+P...
 
โครงงานทดลอง สีย้อมผ้าจากธรรมชาติ Tropical Eco Fashion
โครงงานทดลอง สีย้อมผ้าจากธรรมชาติ Tropical Eco Fashionโครงงานทดลอง สีย้อมผ้าจากธรรมชาติ Tropical Eco Fashion
โครงงานทดลอง สีย้อมผ้าจากธรรมชาติ Tropical Eco Fashion
 
การผสมวงดนตรีไทย
การผสมวงดนตรีไทยการผสมวงดนตรีไทย
การผสมวงดนตรีไทย
 
หลักการเขียนแนะนำตนเอง
หลักการเขียนแนะนำตนเองหลักการเขียนแนะนำตนเอง
หลักการเขียนแนะนำตนเอง
 
หัวกระดาษข้อสอบ
หัวกระดาษข้อสอบหัวกระดาษข้อสอบ
หัวกระดาษข้อสอบ
 
บทที่3 วิธีดำเนินงาน
บทที่3 วิธีดำเนินงานบทที่3 วิธีดำเนินงาน
บทที่3 วิธีดำเนินงาน
 
โครงงานสุขภาพส่งเสริมคุณธรรม
โครงงานสุขภาพส่งเสริมคุณธรรมโครงงานสุขภาพส่งเสริมคุณธรรม
โครงงานสุขภาพส่งเสริมคุณธรรม
 
การจัดการเรียนรู้ Stad
การจัดการเรียนรู้ Stadการจัดการเรียนรู้ Stad
การจัดการเรียนรู้ Stad
 
คัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ ถอดความบางบท
คัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ ถอดความบางบทคัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ ถอดความบางบท
คัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ ถอดความบางบท
 
สุขฯ ม.2 หน่วย 2
สุขฯ ม.2 หน่วย 2สุขฯ ม.2 หน่วย 2
สุขฯ ม.2 หน่วย 2
 
ปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแอลลีล
ปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแอลลีลปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแอลลีล
ปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแอลลีล
 
ตัวอย่างการสร้างข้อสอบ
ตัวอย่างการสร้างข้อสอบตัวอย่างการสร้างข้อสอบ
ตัวอย่างการสร้างข้อสอบ
 
ปลายภาค ม1
ปลายภาค ม1ปลายภาค ม1
ปลายภาค ม1
 
ใบความรู้+แผนการสอน และใบกิจกรรม ประถม 4-6 เรื่อง วงจรไฟฟ้า+ป.5+273+dltvscip5...
ใบความรู้+แผนการสอน และใบกิจกรรม ประถม 4-6 เรื่อง วงจรไฟฟ้า+ป.5+273+dltvscip5...ใบความรู้+แผนการสอน และใบกิจกรรม ประถม 4-6 เรื่อง วงจรไฟฟ้า+ป.5+273+dltvscip5...
ใบความรู้+แผนการสอน และใบกิจกรรม ประถม 4-6 เรื่อง วงจรไฟฟ้า+ป.5+273+dltvscip5...
 
Testแนวการออกข้อสอบวัดการคิดระดับสังเคราะห์
  Testแนวการออกข้อสอบวัดการคิดระดับสังเคราะห์  Testแนวการออกข้อสอบวัดการคิดระดับสังเคราะห์
Testแนวการออกข้อสอบวัดการคิดระดับสังเคราะห์
 
โครงสร้างหลักสูตรประถม
โครงสร้างหลักสูตรประถมโครงสร้างหลักสูตรประถม
โครงสร้างหลักสูตรประถม
 
สื่อการสอน เรื่อง งานประดิษฐ์
สื่อการสอน เรื่อง งานประดิษฐ์สื่อการสอน เรื่อง งานประดิษฐ์
สื่อการสอน เรื่อง งานประดิษฐ์
 
การศึกษาโครงสร้างของหัวใจหมู โครงสร้างอวัยวะแลกเปลี่ยนแก๊ส และการวัดปริมาตรปอด
การศึกษาโครงสร้างของหัวใจหมู โครงสร้างอวัยวะแลกเปลี่ยนแก๊ส และการวัดปริมาตรปอดการศึกษาโครงสร้างของหัวใจหมู โครงสร้างอวัยวะแลกเปลี่ยนแก๊ส และการวัดปริมาตรปอด
การศึกษาโครงสร้างของหัวใจหมู โครงสร้างอวัยวะแลกเปลี่ยนแก๊ส และการวัดปริมาตรปอด
 
ราชาศัพท์
ราชาศัพท์ราชาศัพท์
ราชาศัพท์
 

Similar to บทความเรื่อง ดนตรีของกลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือtonsocial
 
รู้จักคนในชุมชนเมืองน่าน
รู้จักคนในชุมชนเมืองน่านรู้จักคนในชุมชนเมืองน่าน
รู้จักคนในชุมชนเมืองน่านkrunoony
 
ลักษณะเด่นของดนตรีในแต่ละวัฒนธรรม
ลักษณะเด่นของดนตรีในแต่ละวัฒนธรรมลักษณะเด่นของดนตรีในแต่ละวัฒนธรรม
ลักษณะเด่นของดนตรีในแต่ละวัฒนธรรมอำนาจ ศรีทิม
 
ชาวกูย,กวย,ส่วย
ชาวกูย,กวย,ส่วยชาวกูย,กวย,ส่วย
ชาวกูย,กวย,ส่วย0857226950bb
 
ชาวกูย,กวย,ส่วย
ชาวกูย,กวย,ส่วยชาวกูย,กวย,ส่วย
ชาวกูย,กวย,ส่วย0857226950bb
 
การแสดงพื้นเมือง
การแสดงพื้นเมืองการแสดงพื้นเมือง
การแสดงพื้นเมืองพัน พัน
 
อมรรัตน์ สีโสดา
อมรรัตน์ สีโสดา อมรรัตน์ สีโสดา
อมรรัตน์ สีโสดา MoRn5622040022
 

Similar to บทความเรื่อง ดนตรีของกลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่ (12)

หมอลำ
หมอลำหมอลำ
หมอลำ
 
ใบความรู้คติชาวบ้านและเพลงกล่อมเด็ก
ใบความรู้คติชาวบ้านและเพลงกล่อมเด็กใบความรู้คติชาวบ้านและเพลงกล่อมเด็ก
ใบความรู้คติชาวบ้านและเพลงกล่อมเด็ก
 
Art
ArtArt
Art
 
Art
ArtArt
Art
 
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
 
รู้จักคนในชุมชนเมืองน่าน
รู้จักคนในชุมชนเมืองน่านรู้จักคนในชุมชนเมืองน่าน
รู้จักคนในชุมชนเมืองน่าน
 
ลักษณะเด่นของดนตรีในแต่ละวัฒนธรรม
ลักษณะเด่นของดนตรีในแต่ละวัฒนธรรมลักษณะเด่นของดนตรีในแต่ละวัฒนธรรม
ลักษณะเด่นของดนตรีในแต่ละวัฒนธรรม
 
ชาวกูย,กวย,ส่วย
ชาวกูย,กวย,ส่วยชาวกูย,กวย,ส่วย
ชาวกูย,กวย,ส่วย
 
ชาวกูย,กวย,ส่วย
ชาวกูย,กวย,ส่วยชาวกูย,กวย,ส่วย
ชาวกูย,กวย,ส่วย
 
การแสดงพื้นเมือง
การแสดงพื้นเมืองการแสดงพื้นเมือง
การแสดงพื้นเมือง
 
เล่าขานบ้านคำชะอี
เล่าขานบ้านคำชะอีเล่าขานบ้านคำชะอี
เล่าขานบ้านคำชะอี
 
อมรรัตน์ สีโสดา
อมรรัตน์ สีโสดา อมรรัตน์ สีโสดา
อมรรัตน์ สีโสดา
 

More from kawla2012

ดนตรีและการแสดงพื้นเมือง วิถีชีวิตของเทศบาลตำบลต้นเปาตั้งแต่อดีตสู่ปัจจุบัน ผ...
ดนตรีและการแสดงพื้นเมือง วิถีชีวิตของเทศบาลตำบลต้นเปาตั้งแต่อดีตสู่ปัจจุบัน ผ...ดนตรีและการแสดงพื้นเมือง วิถีชีวิตของเทศบาลตำบลต้นเปาตั้งแต่อดีตสู่ปัจจุบัน ผ...
ดนตรีและการแสดงพื้นเมือง วิถีชีวิตของเทศบาลตำบลต้นเปาตั้งแต่อดีตสู่ปัจจุบัน ผ...kawla2012
 
Basic sound engineer
Basic sound engineerBasic sound engineer
Basic sound engineerkawla2012
 
การใช้งาน Nuendo 4
การใช้งาน Nuendo 4การใช้งาน Nuendo 4
การใช้งาน Nuendo 4kawla2012
 
สอบบรรจุครูดนตรี
สอบบรรจุครูดนตรีสอบบรรจุครูดนตรี
สอบบรรจุครูดนตรีkawla2012
 
สอบบรรจ คร ดนตรี
สอบบรรจ คร ดนตรีสอบบรรจ คร ดนตรี
สอบบรรจ คร ดนตรีkawla2012
 
สอบบรรจุครูดนตรี
สอบบรรจุครูดนตรีสอบบรรจุครูดนตรี
สอบบรรจุครูดนตรีkawla2012
 
สอบบรรจุครูดนตรี
สอบบรรจุครูดนตรีสอบบรรจุครูดนตรี
สอบบรรจุครูดนตรีkawla2012
 
สอบบรรจุครูดนตรี
สอบบรรจุครูดนตรีสอบบรรจุครูดนตรี
สอบบรรจุครูดนตรีkawla2012
 

More from kawla2012 (8)

ดนตรีและการแสดงพื้นเมือง วิถีชีวิตของเทศบาลตำบลต้นเปาตั้งแต่อดีตสู่ปัจจุบัน ผ...
ดนตรีและการแสดงพื้นเมือง วิถีชีวิตของเทศบาลตำบลต้นเปาตั้งแต่อดีตสู่ปัจจุบัน ผ...ดนตรีและการแสดงพื้นเมือง วิถีชีวิตของเทศบาลตำบลต้นเปาตั้งแต่อดีตสู่ปัจจุบัน ผ...
ดนตรีและการแสดงพื้นเมือง วิถีชีวิตของเทศบาลตำบลต้นเปาตั้งแต่อดีตสู่ปัจจุบัน ผ...
 
Basic sound engineer
Basic sound engineerBasic sound engineer
Basic sound engineer
 
การใช้งาน Nuendo 4
การใช้งาน Nuendo 4การใช้งาน Nuendo 4
การใช้งาน Nuendo 4
 
สอบบรรจุครูดนตรี
สอบบรรจุครูดนตรีสอบบรรจุครูดนตรี
สอบบรรจุครูดนตรี
 
สอบบรรจ คร ดนตรี
สอบบรรจ คร ดนตรีสอบบรรจ คร ดนตรี
สอบบรรจ คร ดนตรี
 
สอบบรรจุครูดนตรี
สอบบรรจุครูดนตรีสอบบรรจุครูดนตรี
สอบบรรจุครูดนตรี
 
สอบบรรจุครูดนตรี
สอบบรรจุครูดนตรีสอบบรรจุครูดนตรี
สอบบรรจุครูดนตรี
 
สอบบรรจุครูดนตรี
สอบบรรจุครูดนตรีสอบบรรจุครูดนตรี
สอบบรรจุครูดนตรี
 

บทความเรื่อง ดนตรีของกลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่

  • 1. ดนตรีของกลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่ นิรุตร์ แก้วหล้า / 1 ดนตรีของกลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่ (Traditional Music of the Lahu Ethnic Group) นิรุตร์ แก้วหล้า ชาวลาหู่ (Lahu) หรือมูเซอ มี ภูมิลำาเนาดั้งเดิมอยู่ที่ธิเบตหรือ บริเวณใกล้เคียง มีเชื้อสายธิเบต- พม่า เมื่อครั้นถูกชาวจีนรุกรานจึง ถอยร่นอพยพลงมาทางใต้ และ อพยพไปที่ต่างๆ บ้างเข้าไปอาศัยที่ ประเทศลาว บางกลุ่มย้ายอยู่ใน บริเวณรัฐฉานสาธารณรัฐแห่ง สหภาพพม่า บางกลุ่มมาอาศัยที่ ประเทศไทย การอพยพแบบค่อย เป็นค่อยไป ชาวลาหู่กลุ่มนี้เรียกตัวเอง ว่า ลาหู่ ชาวจีนเรียกว่า โลไฮ ส่วน ชาวไทยเรียก มูเซอ การอพยพเข้าสู่ ประเทศไทยยังไม่แน่ชัดว่าเมื่อใด แต่ ช่วง 10 ปีของศตวรรษที่ 19 มีกลุ่มชน ลาหู่เข้ามาอยู่มากแล้ว ซึ่งอยู่อย่าง กระจัดกระจายในทางตอนเหนือของ ประเทศไทย ได้แก่ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก ชาวลาหู่ เป็นกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มใหญ่กลุ่มหนึ่ง และแบ่งออกเป็นหลายกลุ่มย่อย จำานวนถึง 23 กลุ่มย่อย แต่จากการ สำารวจในประเทศไทยพบว่ามี 6 กลุ่ม ได้แก่ 1) มูเซอดำา 2) มูเซอแดง 3) มูเซอเหลือง 4) มูเซอเฌเล 5) มูเซอขาว 6) มูเซอลาบา ในประเทศไทยมีชาวมูเซออาศัยอยู่ใน 8 จังหวัด ได้แก่ จังหวัด เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก ลำาปาง กำาแพงเพชร น่าน และ เพชรบูรณ์ โดยพบมากที่สุดที่จังหวัดเชียงราย รองลงมาคือจังหวัด เชียงใหม่ และแม่ฮ่องสอนตามลำาดับ มีประชากรประมาณ 102,876 คน1 1 กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. ทำาเนียบชุมชนบนพื้นที่สูง 20 จังหวัด ในประเทศไทย . 2545 . ภาพลุงเอกพันธ์ บรรพตไพร, ผู้ ศึกษา, ลุงจ๊ะแฮ ไขศิริวิไล ที่มา : นิรุตร์ แก้วหล้า, 2554 ภาพชุมชนบ้านขอบด้ง อ.ฝาง ที่มา : นิรุตร์ แก้วหล้า, 2554
  • 2. ดนตรีของกลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่ นิรุตร์ แก้วหล้า / 2 ลักษณะบ้านเรือนชาวลาหู่ เป็นแบบยกพื้นสูงจากพื้นดินพอ ประมาณ หลังคาหน้าจั่วมุงด้วยหญ้าคา หรือใบก่อ บ้างก็มองด้วยหลังคา กระเบื้องรอน ตัวบ้านและพื้นบ้านสร้างด้วยไม้ไผ่สับฟาก โครงสร้างบ้าน เช่น เสา คาน และส่วนต่าง ๆ มักสร้างจากไม้เนื้อแข็ง ไม้ก่อเป็นที่นิยม มาก ปัจจุบันมีบางบ้านปลูกสร้างบ้านตามแบบคนไทยพื้นราบหลังคามึง กระเบื้องหรือสังกะสี ฝาบ้านและพื้นบ้านเป็นไม้กระดาน บางบ้าน สร้าง ด้วยปูนซีเมนต์ การคัดเลือกพื้นที่ปลูกบ้านเป็นของหัวหน้าครอบครัวและ โดยความเห็นชอบของภรรยา บ้านชาวลาหู่มีขนาดกว้างยาวโดย ประมาณ 4 x 6 เมตร บ้านลาหู่ส่วนใหญ่ไม่มีรั้วรอบบ้าน ไม่ทำาที่กั้น หญ้าคาบนหลังคา การสร้างบ้านนิยมสร้างตรงกับวันหมา “พือญี้” วันไก่ “ก๊ะญี้” และวันวัว “นูญี้” ซึ่งมีความเชื่อว่าจำาทำาให้สมาชิกในบ้านมีความ อยู่ดีกินดี และจะหลีกเลี่ยงวันหมู “หวะญี้” ซึ่งเชื่อว่าเป็นเจ้าของผีนำ้า ชาวลาหู่ไม่สร้างบ้านตรงกับวันพระหรือวันศีล “ล่าญี้” และวันตาย “ซือญี้” การสร้างบ้านจะอยู่บริเวณรอบ ๆ หัวหน้าหมู่บ้าน บ้างก็ผู้นำา ทางศาสนา ภาพบ้านของชาวลาหู่ ที่มา : นิรุตร์ แก้วหล้า, 2554 ดนตรีของชาวลาหู่ สามารถแบ่งแยกเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ 3 ประเภทคือ (1) ดนตรีร้อง (Vocal Music) แยกเป็นชนิดได้ คือ เพลง ร้องในพิธีกรรม เพลงกล่อมลูก เพลงร้องเล่น เพลงเกี้ยวพาราสี เพลง ร้องขณะทำางาน (2) ดนตรีบรรเลง (Instrumental Music) แยกได้ตาม การบรรเลงของแต่ละเครื่องดนตรี การรวมวงของเครื่องดนตรี และ (3)
  • 3. ดนตรีของกลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่ นิรุตร์ แก้วหล้า / 3 ดนตรีบรรเลงประกอบร้อง (Ensemble) ซึ่งมีทั้งใช้ในพิธีกรรมสำาคัญ และใช้บรรเลงประกอบการร้องเพลงทั่วไป โดยที่เครื่องดนตรีที่ผู้ศึกษา ได้พบเจอคือ หน่อเซะ หน่อกู่มา ตือ และเพลงร้องของลาหู่ เครื่องดนตรีหน่อเซะ หน่อเซะเป็นแคนขนาดกลางเป็นเครื่องดนตรีประเภทลม ใช้ ประกอบพิธีกรรมต่างๆ ของชาวลาหู่ เครื่องดนตรีชนิดนี้เป็นเอกลักษณ์ เฉพาะประจำาของลาหู่ มีความสำาคัญกิจกรรมของชาวลาหู่มาก ทั้งนี้ใช้ บรรเลงประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ หลังจากใช้หน่อโก่มาบรรเลงเสร็จสิ้น จึงให้ห่อเซะ ใช้ในช่วงเทศกาลปีใหม่ของลาหู่ กินข้าวใหม่ งานทำาบุญ หรือเลี้ยงผีเรือน) และประเพณีสงเคราะห์หมู่บ้าน ลักษณะทางกายภาพทั่วไปของหน่อเซะ หน่อเซะเป็นเครื่องเป่าลมเข้าออกเพื่อให้เกิดเสียง มีลักษณะเหมือ นแคนฝู่หลูแลแล2 ของกลุ่มชาติพันธุ์ลีซู ประกอบด้วยไม้ไผ่ตรงยาวลด หลั่นกันจำานวน 5 ท่อเสียงเจาะรูเพื่อกดนิ้วทำาให้เกิดเสียงและมีลิ้นอยู่ ภายท่อ ความยาวประมาณ 1.5 เมตร สอดเข้ากับนำ้าเต้า นำ้าเต้ามีข้อต่อ ออกมาให้ยาวขึ้นเพื่อความสะดวกเวลาเต้นบรรเลง มีกระบอกครอบแนว ตั้งที่ท่อเสียง 1 อันเพื่อให้เกิดเสียงดังกังวาน และกระบอกครอบแนว นอนอีกท่อหนึ่งให้เสียงดังกังวานเช่นกัน หน่อเซะผลิตจากวัสดุ ธรรมชาติเช่นไม้ไผ่ตง นำ้าเต้า ขี้ชันโรง3 และไม้ไผ่ซูวู4 ชนิดละเอียด สำาหรับทำาลิ้นของแต่ละท่อทำาให้เกิดเสียง เป็นภูมิปัญญาตั้งแต่ บรรพบุรุษที่สืบทอดการผลิตและการบรรเลง ลักษณะกายภาพและระบบเสียงของหน่อเซะ ซึ่ง เป็นชื่อเรียกเสียงของแต่ละท่อเสียง 2 นิรุตร์ แก้วหล้า. ฝู่หลูแลแลเครื่องดนตรีของชาวไทยภูเขาเผ่าลีซู ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย. ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาดนตรี บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล. 2550. หน้า 58-62. ภาพหน่อเชะ ที่มา : นิรุตร์ แก้วหล้า, 2554
  • 4. ดนตรีของกลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่ นิรุตร์ แก้วหล้า / 4 น่าเน้ หรือคนสุดท้องและเสียงที่ได้ คือ แน้ แน้ กาห่อเวง หรือคนแรก มีเสียง ก่อ ก่อ เกเชม่า หรือคนที่สอง หน่อกู่มา หรือแม่ หน่อละมา การเรียก ชื่อท่อเสียงต่าง ๆ ของหน่อเซะ ซึ่ง มีความหมายเป็นครอบครัวที่มีแม่ และลูก ๆ 3 ขี้ชันโรง เกิดจากอุจระของชันโรงซึ่งเป็นแมลงสังคม (Social insect) กลุ่มเดียวกับผึ้ง " ชันโรง " เป็นชื่อเรียกพื้นเมือง ชันโรงมีชื่อพื้นเมือง (Local name) แตกต่างกันไปในแต่ละ ภูมิภาค แต่ละชนเผ่าของมนุษย์ ที่เรียกแมลงกลุ่มนี้ อาทิ ชื่อพื้นบ้านในภาคเหนือเรียกว่า ตัวขี้ ตังนี หรือ แมลงขี้ตึง ชื่อพื้นบ้านของชันโรงในภาคใต้ เรียกกันว่า "อุง" ชื่อพื้นบ้านของชันโรง ในภาคอีสาน เรียกว่า "แมลงขี้สูด" ซึ่งขี้ชันของแมลงขี้สูดนี้เองที่นำาไปอุดรูแคน แผ่นไม้ระนาด เอก โปงลางจนกลายมาเป็นเครื่องดนตรี ชื่อพื้นบ้านของชันโรงในภาคตะวันออกเรียกว่า “ตัวชำา มะโรง" หรือ "แมลงอีโลม" ที่มา ศูนย์บริการร่วมกรมส่งเสริม เกษตรกรรม(http://www.servicelink.doae.go.th) 4 จะงะ แสงฮองและคณะ . โครงการฟื้นฟูวัฒนธรรมประเพณีด้าน ดนตรี(หน่อ)ของชนเผ่าลาหู่แซแล บ้านห้วยนำ้าริน ต.แม่เจดีย์ใหม่ อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย. รายงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น สกว .2548.หน้า 26. ภาพจำาลองลักษณะ กายภาพหน่อเซะ ที่มา : นิรุตร์ แก้วหล้า,
  • 5. ดนตรีของกลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่ นิรุตร์ แก้วหล้า / 5 ระบบเสียงของหน่อเซะ ผู้ศึกษาทำาการวัดระบบเสียงโดยการ บันทึกเสียงจากการเป่าไล่ เสียงหน่อเซะจากเสียงตำ่าสุดไปถึงสูงสุด นำาเสียงที่ได้มาประมวลผลด้วย โปรแกรมเวฟแลบ เพื่อหาระดับเสียง ค่าเซ็นต์ นำาค่าที่ได้มาอ้างอิง ทฤษฎีระบบแบ่งเท่า ของอาเล็กซานเดอร์ เจ. เอลลิส (Alexander J. Ellis) 5 กับตารางค่าเซ็นต์ ดังนี้ ระบบแบ่งเท่าของอาเล็กซานเดอร์ เจ. เอลลิส เมื่อนำาระดับเสียงของท่อหน่อเซะที่เกิดจากการเป่าและดูดแต่ละท่อ ตามที่เปรียบเมียบดังนี้ ระดับเสียงหน่อเซะเมื่อเปรียบเทียบระบบแบ่งเท่า ท่อเสียง 1 ท่อจะได้ 1 ตัวโน้ต นำามาวิเคราะห์ระบบเสียง และหาค่า ความถี่ ค่าเซ็นต์ ค่าเบี่ยงเบนจากระบบแบ่งเท่า และเสียงใกล้เคียงกับ โน้ตสากล โดยสัญลักษณ์ I คือท่อเสียงที่ 1 , II คือท่อเสียงที่ 2, III คือ ท่อเสียงที่ 3 , IV คือท่อเสียงที่ 4 และ V คือท่อเสียงที่ 5 การประมวลผลโดยโปรแกรมเวปแลบเพื่อหาค่าความถี่ ค่าเซ็นต์ ค่าเบี่ยงเบนจากระบบแบ่งเท่า และเสียงใกล้เคียงกับโน้ตสากล ดังนี้ 5 นักฟิสิกส์และนักสัทศาสตร์ ผู้ค้นพบ ระบบเซนต์ (The cent system) ซึ่งใช้วัดระดับเสียง ดนตรี The Cent system ทำาให้เกิดแนวคิดแบบ Comparative Musicology ปรากฏผลดีเป็น รูปธรรมในงานของ Ellis ชื่อ “On the musical scales of various nations” (1885) ซึ่ง Ellis ได้ใช้ระบบเซนต์ในการวัดและวิเคราะห์บันไดเสียงของวัฒนธรรมดนตรี (non-Western) ผล งานดังกล่าวเป็นจุดเริ่มต้นที่สำาคัญ เปิดโลกทัศน์ให้กับนักวิชาการดนตรีอื่นได้ใช้เป็นแนวทางใน การศึกษาดนตรีวิทยาเชิงเปรียบเทียบในวัฒนธรรมอื่นต่อมา
  • 6. ดนตรีของกลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่ นิรุตร์ แก้วหล้า / 6 I คือ โน้ต C#4 วัดค่าเบี่ยงเบนได้ที่ +11 Cents ความถี่เสียงที่ 139.5 Hz II คือ โน้ต E#4 หรือ F2 วัดค่าเบี่ยงเบนได้ที่ +43 Cents ความถี่ เสียงที่ 179 Hz III คือ โน้ต G#4 วัดค่าเบี่ยงเบนได้ที่ -14 Cents ความถี่เสียงที่ 206 Hz IV คือ โน้ต B4 วัดค่าเบี่ยงเบนได้ที่ +29 Cents ความถี่เสียงที่ 251.1 Hz V คือ โน้ต C#5 วัดค่าเบี่ยงเบนได้ที่ +4 Cents ความถี่เสียงที่ 272.7 Hz ผู้ศึกษาจัดลำาดับเสียงของเครื่องดนตรีบนบรรทัด 5 เส้น ได้ดังนี้ ลำาดับเสียงหน่อเซะ เมื่อเราสังเกตลำาดับเสียงของหน่อเซะ จะพบว่ามีเสียงอยู่ 5 เสียง คือ C#4, E#4(F), G#4, B4 และ C#5 โดยเสียงเหล่านี้เป็นเสียงที่ได้ จากการบรรเลงบทเพลง และการเป่าไล่เสียงจากเสียงตำ่าไปหาเสียงสูง สามารถวิเคราะห์ในทางดนตรีได้ว่า ลำาดับเสียงเหล่านี้มีความคล้ายกับ รูปของคอร์ดแบบ Dominant 7th นั่นคือ ลำาดับเสียงของหน่อเซะเป็นรูป แบบของเสียงในคอร์ด C# Dominant 7th หรือ C#7 นั่นเอง ถึงแม้เสียง ที่ได้นั้นจะมี 5 เสียงก็เป็นบันไดเสียงแบบ 5 เสียง (Pentatonic Scales) ซึ่งไม่ตรงกับบันไดเสียงแบบ 5 เสียงที่มีโน้ตตรงกับบันไดเสียงไดอะทอ นิกที่ใช้กันทั่วไป เครื่องดนตรีหน่อกู่มา หน่อกู่มาเป็นแคนขนาดใหญ่ ใช้ ประกอบพิธีกรรมต่างๆ ของชาวลาหู่ เครื่อง ดนตรีชนิดนี้เป็นเอกลักษณ์เฉพาะประจำาของ ลาหู่ ปัจจุบันหาดูได้ยากทั้งนี้เนื่องจากไม่ค่อย มีผู้เชี่ยวชาญการบรรเลง หน่อกู่มามีความ สำาคัญต่อพิธีกรรมมาก พิธีกรรมที่ใช้หน่อโก่ มาบรรเลงคือ เทศกาลปีใหม่ของลาหู่ กินข้าว ใหม่ งานทำาบุญหรือเลี้ยงผีเรือนและประเพณี สงเคราะห์หมู่บ้าน ชาวลาหู่เชื่อว่าถ้าไม่มีหน่อ กู่มาบรรเลงก็จะไม่สามารถสื่อสารถึงพระเจ้า ให้รับรู้ พระเจ้าจึงจะให้พร หน่อกู่มายังใช้
  • 7. ดนตรีของกลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่ นิรุตร์ แก้วหล้า / 7 บรรเลงเพื่อประกอบการเต้นจะคึ ซึ่งเป็นพิธีบวงสรวงแด่เทพเจ้า ในวัน พิธีให้ไปเป่าที่บ้านปู่จารย์เพื่อให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์รับรู้ว่าบ้านนั้นมีงาน เสร็จ แล้วนำาหน่อกู่มามาลานเต้นจะคึ6 ลักษณะทางกายภาพทั่วไปของหน่อกู่มา เป็นแคนขนาด ใหญ่ที่สุดในบรรดาแคนของลาหู่ เป็นเครื่องดนตรีประเภทลม เป่าลมเข้า ออกเพื่อให้เกิดเสียง มีลักษณะเหมือนแคนฝู่หลูนาอู่ ของกลุ่มชาติพันธุ์ ลีซู ซึ่งเป็นแคนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของลีซูเช่นกัน ประกอบด้วยไม้ไผ่ ตรงยาวลดหลั่นกันจำานวน 5 ท่อเสียงเจาะรูเพื่อกดนิ้วทำาให้เกิดเสียงและ มีลิ้นอยู่ภายท่อ ความ ยาวประมาณ 1.5 เมตร สอดเข้ากับ นำ้าเต้า นำ้าเต้ามี ข้อต่อออกมาให้ยาว ขึ้นเพื่อความ สะดวกเวลาเต้น บรรเลง มี กระบอกครอบแนวตั้งที่ท่อเสียง 1 อันเพื่อให้เกิดเสียงดังกังวาน และ กระบอกครอบแนวนอนอีกท่อหนึ่งให้เสียงดังกังวานเช่นกัน หน่อกู่มาผลิตจากวัสดุธรรมชาติเช่นไม้ไผ่ตรง นำ้าเต้า ขี้ชันโรง และไม้ไผ่ซูวู ชนิดเดียวกับผลิตหน่อเซะ แต่มีความแตกต่างตรงที่ท่อ เสียงจะยาวกว่าและให้เสียงที่ตำ่ากว่าหน่อเซะ มีลำาโพงที่ครอบท่ออยู่ 3 อัน ลำาโพงที่ครอบท่อยาวสุดคือนำ้าเต้าให้เสียงตำ่าสุด ระบบเสียงของหน่อกู่มา ผู้ศึกษาใช้กระบวนเดียวกันในการวัดระบบเสียงของเครื่องดนตรี หน่อเซะ โดยอ้างอิงทฤษฎีระบบแบ่งเท่าของ อาเล็กซานเดอร์ เจ. เอลลิส ซึ่งแต่ละท่อเสียงของหน่อกู่มามีเสียงเกิดจากการเป่าและดูด การกดบน 6 นายเอกพันธ์ บรรพตไพร . สัมภาษณ์ . บ้านขอบด้ง เมษายน 2554 ภาพหน่อกู่มา ที่มา : นิรุตร์ แก้วหล้า, 2554 ลักษณะกายภาพของ หน่อกู่มา ที่มา : นิรุตร์ แก้วหล้า,
  • 8. ดนตรีของกลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่ นิรุตร์ แก้วหล้า / 8 ท่อเสียงจะได้ 1 ตัวโน้ต ดังนั้นค่าความถี่ ค่าเซ็นต์ ค่าเบี่ยงเบนจากระบบ แบ่งเท่า และเสียงใกล้เคียงกับโน้ตสากล ดังนี้ ระดับเสียงหน่อกู่มา การประมวลผลโดยโปรแกรมเวปแลปเพื่อหาค่าความถี่ ค่าเซ็นต์ ค่าเบี่ยงเบนจากระบบแบ่งเท่า และเสียงใกล้เคียงกับโน้ตสากล ดังนี้ I คือ โน้ต C#3 วัดค่าเบี่ยงเบนได้ที่ +28 Cents ความถี่เสียงที่ 70.4 Hz II คือ โน้ต D3 วัดค่าเบี่ยงเบนได้ที่ -40 Cents ความถี่เสียงที่ 71.7 Hz III คือ โน้ต F#3 วัดค่าเบี่ยงเบนได้ที่ +32 Cents ความถี่เสียงที่ 188.4 Hz IV คือ โน้ต C#4 วัดค่าเบี่ยงเบนได้ที่ -34 Cents ความถี่เสียงที่ 143 Hz
  • 9. ดนตรีของกลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่ นิรุตร์ แก้วหล้า / 9 V คือ โน้ต D4 วัดค่าเบี่ยงเบนได้-28 Cents ความถี่เสียงที่ 144.5 Hz VI คือ โน้ต F4 วัดค่าเบี่ยงเบนได้ -41 Cents ความถี่เสียงที่ 170.5 Hz ลำาดับเสียงหน่อกู่มา เช่นกันถ้าเราสังเกตลำาดับเสียงของหน่อกู่มาจะ พบว่ามีเสียงอยู่ 6 เสียง คือ C#3, D3, F#3, C#4, D4 และ F4 โดยเสียงเหล่านี้เป็นเสียงที่ได้จากการ บรรเลงบทเพลง และการเป่าไล่เสียงจากเสียงตำ่าไป หาเสียงสูง สามารถวิเคราะห์ในทางดนตรีได้ว่า ลำาดับเสียงเหล่านี้เป็นเสียงที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ เครื่องดนตรีหน่อกู่มา สามารถบอกได้ว่าเป็น โหมด เสียงเฉพาะหน่อกู่มา เครื่องดนตรี ตือ ตือ เป็นเครื่องดนตรีอีกชนิดหนึ่งที่มีมาตั้งแต่ สมัยโบราณของกลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่ เครื่องดนตรีชนิด นี้จัดอยู่ในกลุ่มเพื่อให้ความสนุกสนาน เพื่องานเต้น จะคึ เทศกาลปีใหม่ เทศกาลกินข้าวใหม่ ไม่สามารถ ใช้แทนพิธีกรรมอื่นได้ ตือจะใช้บรรเลงงานปีใหม่หลังพิธีกรรมทุกอย่าง เสร็จ และหลังการเป่าหน่อกู่มาเสร็จ ประวัติศาสตร์ของตือนั้นนายจ๊ะบู โกศลไพรพนา อธิบายไว้ว่า “ตือเป็นเครื่องดนตรีโบราณ สมัยบรรพบุรุษ สมัยรุ่นพ่อก็ยังใช้ สมัยอยู่เมืองจีนก็ใช้ตือเล่นในงานเต้นจะคึ ลักษณะกายภาพทั่วไปของตือ เป็นเครื่องดนตรีในกลุ่มเครื่อง สาย ผลิตเสียงโดยอาศัยการสั่นสะเทือนของสาย มีลักษณะคล้ายซึงของ ชาวล้านนา ของทางภาคเหนือของไทย และมีลักษณะใกล้เคียงซือบึ หรือ ซือบือของกลุ่มชาติพันธุ์ลีซู ตือเป็นเครื่องดนตรีที่ทำามาจากไม้ สัดส่วนไม่แน่นอน ขนาดแตกต่างกันไปตามความพอใจและความถนัดผู้ บรรเลง ตือมีสาย 3 สาย ทำามาจากสายเบรครถจักรยานยนต์ ตัวของตือ ทำาจากไม้เนื้อแข็งเจาะให้เป็นรูเพื่อเป็นโพรงเสียงและขึงด้วยหนังแลน (ตะกวด) บางครั้งใช้หนังวัวแทนได้ คอขอตือทำาจากไม้เนื้อแข็งต่อเข้า กับตัวตือต่อเชื่อมด้วยขี้ชันโรง ส่วนหัวตือมีลูกบิด 3 อันเพื่อขึ้นเสียงสูง ภาพตือ ที่มา : นิรุตร์ แก้ว หล้า, 2554
  • 10. ดนตรีของกลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่ นิรุตร์ แก้วหล้า / 10 ตำ่าของสาย และอีกด้านหนึ่งของสายมีสะพานสายรองสาย ตือใช้เขา สัตว์ทำาเป็นที่ดีด ลักษณะกายภาพของเครืองดนตรี ตือ ระบบเสียงของตือ ผู้ศึกษาใช้กระบวนเดียวกันในการวัดระบบเสียงของเครื่องดนตรี หน่อเซะ หน่อกู่มา โดยอ้างอิงทฤษฎีระบบแบ่งเท่าของ อาเล็กซานเดอร์ เจ. เอลลิส โดยการดีดเสียงของตือจากลำาดับเสียงตำ่าไปหาเสียงสูง ได้ ดังนี้ ระดับเสียงตือ การประมวลผลโดยโปรแกรมเวปแลปเพื่อหาค่าความถี่ ค่าเซ็นต์ ค่าเบี่ยงเบนจากระบบแบ่งเท่า และเสียงใกล้เคียงกับโน้ตสากล ดังนี้ I คือ โน้ต F4 วัดค่าเบี่ยงเบนได้ที่ +35 Cents ความถี่เสียงที่ 356.3 Hz II คือ โน้ต Ab4 วัดค่าเบี่ยงเบนได้ที่ -14 Cents ความถี่เสียงที่ 429 Hz
  • 11. ดนตรีของกลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่ นิรุตร์ แก้วหล้า / 11 III คือ โน้ต Bb4 วัดค่าเบี่ยงเบนได้ที่ -20 Cents ความถี่เสียงที่ 480 Hz IV คือ โน้ต C5 วัดค่าเบี่ยงเบนได้ที่ +23 Cents ความถี่เสียงที่ 530.3 Hz V คือ โน้ต Eb5 วัดค่าเบี่ยงเบนได้-21Cents ความถี่เสียงที่ 651.4 Hz ลำาดับเสียงตือ ลำาดับเสียงของเครื่องดนตรีตือ มีความเป็นบันใดเสียงแบบ 5 เสียง แบบ Minor Pentatonic นั่นคือเสียง F4, Ab4, Bb4. C5 และ Eb5 และ หากเปรียบเทียบกับตารางแบบยกระดับเสียง หรือ Moved C จะทำาให้ เข้าใจระบบเสียงของเสียงตือได้มากขึ้น ดังนี้ ตารางเปรียบเทียบ A Minor Pentatonic และ F Minor Pentatonic 7 เพลงร้องลาหู่ เพลงร้องลาหู่เป็นเพลงแต่งขึ้นจากทำานองเดียว ผู้ร้องได้แต่ง เนื้อหาหรือคำาขึ้นมาใหม่ ผู้ขับร้อง มีปฏิภาณ ไหวพริบ เป็นเลิศ สามารถหาคำา หรือภาษาเข้ามาใช้กับทำานองที่มีอยู่อย่างงดงาม เพลง ร้องลาหู่นั้นมีความหมายต่าง ๆ ดังที่ลุงเอกพันธ์ บรรพตไพรได้ขับร้อง เพลงลาหู่และบอกความหมายไว้ว่า “เพลงร้องลาหู่มีความหมายอยู่หลาก หลาย เช่น ดีใจที่เราได้พบเจอกัน , เรื่องชีวิตความเป็นอยู่ , การอพยพ ย้ายถิ่นฐาน, ชีวิตคู่ , เรื่องสัตว์ป่า, เรื่องธรรมชาติ , ”เรื่องความรัก ระดับเสียงของเพลงร้องลาหู่ เกิดจากการบันทึกเสียงผู้ร้องนำามา ประมวลผลด้วยโปรแกรมทางคอมพิวเตอร์ สามารถบันทึกเป็นโน้ตสากล ได้ระดับเสียงดังนี้ 7 = เสียงห่างกัน 1 เสียงเต็ม (2 Semitone) = เสียงห่างกันครึ่งเสียง (1 Semitone) A Minor Pentatonic F Minor
  • 12. ดนตรีของกลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่ นิรุตร์ แก้วหล้า / 12 ระดับเสียงเพลงร้องลาหู่ ลำาดับเสียงของเพลงร้องลาหู่ มีความเป็นบันใดเสียงแบบ 5 เสียง แบบ Minor Pentatonic นั่นคือเสียง (A3), (C4), D4, F4, G4, A4, C5 และ (D5) ทั้งนี้โน้ตตำ่าสุดคือ A3 และ C4 เป็นโน้ตในบันใดเสียงนี้อยู่ แล้ว จึงนำามาจัดเรียงใหม่เป็น D4, F4, G4, A4, C5 และ (D5) จึงได้ บันไดเสียง D Minor Pentatonic หากเปรียบเทียบกับตารางแบบยก ระดับเสียง หรือ Move C จะทำาให้เข้าใจระบบเสียงของเพลงร้องลาหู่ มากขึ้น ดังนี้ ตารางเปรียบเทียบ A Minor Pentatonic และ D Minor Pentatonic ผู้ศึกษาขอนำาเสนอตัวอย่างบทเพลงร้องลาหู่ บทเพลงที่ขับร้องโดย นายเอกพันธ์ บรรพตไพร บทเพลงที่แต่งขึ้นจากทำานองเดียว แต่ผู้ร้อง ได้แต่งเนื้อหาหรือคำาขึ้นมาใหม่ โดยเพลงนี้มีความหมายว่าวันนี้เหงาจัง ได้ยินแต่เสียงลมพัด แต่ไม่ได้ยินเสียงหญิงใดเลย โดยสามารถถอดเทป เพื่อบันทึกโน้ตได้ดังนี้ เพลงร้องลาหู่ เราสามารถวิเคราะห์บทเพลงนี้โดยการอ้างอิงหลักทฤษฎีดนตรี สากล แบ่งเป็น หัวข้อศึกษาดังนี้ A Minor Pentatonic D Minor F C
  • 13. ดนตรีของกลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่ นิรุตร์ แก้วหล้า / 13 โครงสร้างของทำานอง พิสัยของแนวดำาเนินทำานองของเพลงที่ 2 มีพิสัยกว้าง ประมาณคู่ 12 เสียงตำ่าสุดของแนวทำานอง คือ A3 และเสียง สูงสุดของแนวทำานองคือ C5 ดังตัวอย่าง รูปร่างของทำานอง ระดับเสียง ระดับเสียงของบทเพลงร้อง เพลงที่ 2 ผู้วิจัยพิจารณาจาก ระดับเสียงตำ่าขึ้นไปสูงสุด คือเสียง A3 ,C4, D4, F4 , G4, A4 , C5 โน้ตต่าง ๆ ของระดับเสียงเพลงร้องลาหู่ จังหวะ จากการวิเคราะห์อัตราจังหวะของเพลงลาหู่ พบว่า ไม่มีการเน้น อัตราจังหวะที่ชัดเจน เป็นลักษณะจังหวะอิสระ (Free Rhythmic) ไม่มี ชีพจรจังหวะที่แน่นอน (Free time) และไม่สามารถเขียนเครื่องหมาย อัตราจังหวะ และไม่สามารถแบ่งเป็นห้องเพลงที่แน่นอนได้ (Non- metrical time) แต่สามารถแบ่งวรรคตอนได้จากกรณีหยุดพักหายใจ ของผู้ร้อง ในที่นี้ใช้วงเล็บในการให้สัญลักษณ์แทนจุดพักหายใจ อัตราความเร็ว อัตราความเร็วเพลงร้องลาหู่ หากนำามาเทียบกับความเร็ว มาตรฐานสากลโดยใช้เครื่องวัดจังหวะ (Metronome) สามารถวัด จังหวะได้ประมาณ 60-66 ซึ่งอัตรา ความเร็วนี้อาจจะเร็วขึ้นหรือช้าลงได้ ตามแต่ผู้ร้อง ดนตรีในสังคมวัฒนธรรมลาหู่ ดนตรีมีส่วนสำาคัญในทุกส่วนของ พิธีกรรม โดยเฉพาะงานใหญ่ของลาหู่ เช่นงานปีใหม่ งานกินข้าวใหม่ การ ภาพการบรรเลงหน่อกู่มา งานปีใหม่ลาหู่ ที่มา : นิรุตร์ แก้วหล้า, 2554
  • 14. ดนตรีของกลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่ นิรุตร์ แก้วหล้า / 14 เต้นจะคึ ทำาบุญบ้าน และทำาบุญหมู่บ้าน ซึ่งต้องมีเครื่องดนตรีหลักคือ หน่อกู่มาบรรเลงเพื่อสื่อสารกับผีฟ้าให้รับรู้ถึงพิธีกรรม ให้อำานวยอวยพร ให้งานนั้น ๆ มีความราบรื่น ชาวบ้านในชุมชนมีแต่ความสุข นำาสิ่งดี ๆ มาในหมู่บ้าน นอกจากหน่อกู่มายังมีหน่อเซะ และ ตือที่บรรเลงสร้าง ความบันเทิงให้แก่ชาวบ้านผู้ร่วมงาน ดนตรีลาหู่ยังเป็นศูนย์รวมความ บันเทิง ทั้งนี้เกิดจากที่ชาวบ้านเข้าร่วมพิธีเช่นงานปีใหม่ มีการเต้นจะคึ ดนตรีจะเป็นส่วนนำาพาผู้คนเข้า เต้นร่วมกันสร้างความ สนุกสนาน และความสามัคคีแก่ คนในหมู่บ้าน คนที่เหนื่อยจาก การเต้นรำาจะหยุดพักนั่งจิบนำ้า ชา ตั้งวงพูดคุยอย่างสนุกสนาน บ้างก็มีโอกาสได้ทดลองฝึกเป่า หน่อ ฝึกดีดตือ กลุ่มเยาวชนมี การจับกลุ่มเล่นประทัดและพูด คุยในบริเวณลานเต้นบ้าง ด้านนอกลานเต้นจะคึบ้าง ดนตรีของชาวลาหู่เป็นวัฒนธรรมที่ดีงาม เป็นสิ่งที่สร้างความ สัมพันธ์ภายในชุมชน สังคมวัฒนธรรมทั่วโลกล้วนมีเพลงของกลุ่ม ชาติพันธุ์ และเพลงลาหู่มีบทบาท สำาคัญในทุก ๆ สังคมมายาวนาน จาก การศึกษาวิเคราะห์บทเพลงลาหู่ในสังคมและวัฒนธรรมลาหู่ จากการ เก็บข้อมูลภาคสนามเป็นหลัก และศึกษาจากข้อมูลเอกสารต่าง ๆ พบว่า มีบทบาทสำาคัญหลายประการ บทบาทในการใช้สร้างความสัมพันธ์ ระหว่างผู้คนในชุมชนและต่างชุมชน บทเพลงอันเกิดจากการเล่นเครื่อง ดนตรีต่าง ๆ ของชาวลาหู่มีความเก่าแก่ที่สุดเป็นสิ่งที่สามารถเชื่อมความ สัมพันธ์สำาหรับสมาชิกในครอบครัว และสมาชิกของชุมชน เข้ามามีส่วน ร่วมกับกิจกรรมชุมชน การสื่อสารด้วยภาษาดนตรีเป็นสิ่งที่สังคมลาหู่ ยึดถือเป็นประเพณีปฏิบัติกันอย่างแยกไม่ออกได้จากสังคม สำาหรับผู้ที่ มีหน้าที่ที่จะสื่อสารถ่ายทอดบทเพลงได้ต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถ เป็น ผู้ทรงความรู้ หรือผู้อาวุโสประจำาชุมชน หรืออาจเป็นเยาวชนผู้ฝาเรียน รู้ จึงจะเป็นคนสื่อสารแก่ชาวบ้านได้ บทบาทในการขัดเกลาทางสังคม (Socialization) เป็นกระบวน การทางสังคมกับจิตวิทยา ซึ่งมีผลทำาให้บุคคลมีบุคลิกภาพตามแนวทาง ที่สังคมต้องการ ที่ ณรงค์ เส็งประชา8 กล่าวว่าการขัดเกลาทางสังคม 8 ณรงค์ เส็งประชา. (2537). สังคมวิทยา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: พิทักษ์อักษร. 2537. หน้า 45. ภาพการบรรเลงตือในลานเต้น จะคึ ที่มา : นิรุตร์ แก้วหล้า, 2554
  • 15. ดนตรีของกลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่ นิรุตร์ แก้วหล้า / 15 เป็นกระบวนการปลูกฝังบรรทัดฐานของกลุ่มให้เกิดขึ้นในตัวบุคคลซึ่ง เป็นสมาชิกของสังคม เพื่อให้อยู่ร่วม และทำางานร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้ ด้วยดี และการขัดเกลาทางสังคมเป็นกระบวนการหล่อหลอมทาง วัฒนธรรม ซึ่งบุคคลจะเรียนรู้ในเรื่องพื้นฐานต่าง ๆ คือ ค่านิยม ความ เชื่อ และพฤติกรรมของสังคม ในทางสังคมวิทยาถือว่าบุคคลทุกคนจะ ต้องผ่านกระบวนการขัดเกลาทางสังคม ตั้งแต่แรกเกิดจนตาย ในระยะ แรกของชีวิตจะได้รับการอบรมให้เรียนรู้เพื่อความอยู่รอด และเรียนรู้ กฎข้อบังคับของสังคม เช่น การกินอยู่ การนอน ฯลฯ บทบาทของดนตรี ลาหู่ก็เช่นกันมีส่วนช่วยขัดเกลาสังคมความเป็นชาวลาหู่ตั้งแต่แรกเกิด จนตาย ความเชื่อ ค่านิยม วัฒนธรรมที่ฝังแน่นสืบทอดมายาวนาน ทำาให้เกิดอัตลักษณ์ลาหู่ตราบจนทุกวันนี้ บทสรุป การศึกษาดนตรีของกลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่พบว่า เครื่องดนตรีหน่อเซะ เป็นแคนขนาดกลางเป็นเครื่องดนตรี ประเภทลม ใช้ประกอบพิธีกรรมต่างๆ ของชาวลาหู่ เครื่องดนตรีที่เป็น เอกลักษณ์เฉพาะประจำาของลาหู่ มีความสำาคัญกิจกรรม และพิธีกรรม ของชาวลาหู่มีลำาดับเสียงอยู่ 5 เสียง ที่มีระยะเสียงใกล้เคียงกับรูปของ คอร์ดแบบ Dominant 7th คอร์ด C# Dominant 7th หรือ C#7 ของ ดนตรีตะวันตกนั่นเอง เครื่องดนตรีหน่อกู่มา เป็นแคนขนาดใหญ่ ใช้ประกอบพิธีกรรม ต่างๆ ของชาวลาหู่ปัจจุบันหาดูได้ยากทั้งนี้เนื่องจากไม่ค่อยมีผู้ เชี่ยวชาญในการบรรเลง หน่อกู่มามีความสำาคัญต่อพิธีกรรมมาก พิธีกรรมที่ใช้หน่อโก่มาบรรเลงคือ เทศกาลปีใหม่ของลาหู่ กินข้าวใหม่ งานทำาบุญหรือเลี้ยงผีเรือนและประเพณีสงเคราะห์หมู่บ้าน หน่อกู่มายัง ใช้บรรเลงเพื่อประกอบการเต้นจะคึ ซึ่งเป็นพิธีบวงสรวงแด่เทพเจ้า ลำาดับเสียงของหน่อกู่มาจะพบว่ามีเสียงอยู่ 6 เสียง ลำาดับเสียงเหล่านี้เป็น เสียงที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะสามารถบ่งบอกว่าเป็นโหมดเสียงเฉพาะ หน่อกู่มา เครื่องดนตรี ตือ เป็นเครื่องดนตรีที่จัดอยู่ในกลุ่มเพื่อให้ความ สนุกสนาน เพื่องานเต้นจะคึ เทศกาลปีใหม่ เทศกาลกินข้าวใหม่ ไม่ สามารถใช้แทนพิธีกรรมอื่นได้ ตือจะใช้บรรเลงงานปีใหม่หลังพิธีกรรม
  • 16. ดนตรีของกลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่ นิรุตร์ แก้วหล้า / 16 ทุกอย่างเสร็จ และหลังการเป่าหน่อกู่มาเสร็จ ตือ เป็นเครื่องดนตรีใน กลุ่มเครื่องสาย ผลิตเสียงโดยอาศัยการสั่นสะเทือนของสาย มีลักษณะ คล้ายซึงของชาวล้านนา ของทางภาคเหนือของไทย และมีลักษณะใกล้ เคียงซือบึหรือ ซือบือของกลุ่มชาติพันธุ์ลีซู ลำาดับเสียงของเครื่องดนตรี ตือ มีความเป็นบันใดเสียงแบบ 5 เสียงแบบ Minor Pentatonic นั่นคือ F Minor Pentatonic เพลงร้องลาหู่ เป็นเพลงแต่งขึ้นจากทำานองเดียว ผู้ร้องได้แต่ง เนื้อหาหรือคำาขึ้นมาใหม่ ผู้ขับร้อง มีปฏิภาณ ไหวพริบ เป็นเลิศ สามารถหาคำา หรือภาษาเข้ามาใช้กับทำานองที่มีอยู่อย่างงดงาม เพลง ร้องลาหู่นั้นมีความหมายต่าง ๆ เช่น ดีใจที่เราได้พบเจอกัน , เรื่องชีวิต ความเป็นอยู่ , การอพยพย้ายถิ่นฐาน, ชีวิตคู่ , เรื่องสัตว์ป่า, เรื่อง ธรรมชาติ และเรื่องความรัก สังคมวัฒนธรรมลาหู่มีดนตรีเป็นส่วนสำาคัญในการประกอบ พิธีกรรม วิถีชีวิตชาวลาหู่ยังคงต้องมีดนตรีอยู่ดังที่กล่าวแล้วข้างต้น ดนตรีลาหู่ยังเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตอย่างแยกไม่ออก สามารถใช้ดนตรี เพื่อการผ่อนคลายจากการทำางานงานด้วยเพลงร้องลาหู่หรือบทเพลง จากเครื่องดนตรี ดนตรีในสังคมลาหู่ยังเชื่อมโยงให้ผู้คนเข้ามามีส่วน ร่วม ทำาให้เกิดความสามัคคีตามมา อีกทั้งยังช่วยขัดเกลาลูกหลาน เยาวชนลาหู่ให้เป็นคนดี มีสัมมาคาราวะต่อผู้ใหญ่ หากชาวลาหู่ไม่ สืบทอดดนตรีของตนแล้ว ก็จะส่งผลกระทบกับพิธีกรรมที่สืบทอดกันมา แต่ครั้งบรรพบุรุษ ดังนั้นชาวลาหู่ต้องตระหนักถึงคุณค่าดนตรีรวมถึง วัฒนธรรมด้านอื่น ๆ ให้คู่กับสังคมวัฒนธรรมลาหู่ต่อไป บรรณานุกรม กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความ มั่นคงของมนุษย์. 2545 .ทำาเนียบชุมชน บนพื้น ที่สูง 20 จังหวัด ในประเทศไทย . งามพิศ สัตย์สงวน.2543. หลักมานุษยวิทยาวัฒนธรรม .(พิมพ์ครั้ง ที่ 3) กรุงเทพฯ : รามาการพิมพ์. จะงะ แสงฮองและคณะ . โครงการฟื้นฟูวัฒนธรรมประเพณีด้าน ดนตรี(หน่อ)ของชนเผ่าลาหู่แซแล บ้าน ห้วยนำ้าริน ต.แม่เจดีย์
  • 17. ดนตรีของกลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่ นิรุตร์ แก้วหล้า / 17 ใหม่ อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย. รายงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น สกว . 2548.หน้า 26. ฉวีวรรณ ประจวบเหมาะ. ม.ป.ท. ความสำาคัญของการเล่น (play) .วารสารสังคมวิทยาและมนุษยวิทยา. ประสิทธิ์ เลียวสิริพงศ์. 2533. สวนศาสตร์ของเครื่องดนตรีโดย สังเขป. การสัมมนาวิชาการเรื่องภูมิปัญญา ชาวบ้าน ล้าน นา.เชียงใหม่ : วิทยาลัยครูเชียงใหม่. ณรงค์ เส็งประชา. 2537. สังคมวิทยา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: พิทักษ์อักษร. นิรุตร์ แก้วหล้า. 2550. ฝู่หลูแลแลเครื่องดนตรีของชาวไทยภูเขา เผ่าลีซู ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาดนตรี บัณฑิต วิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล. Ellis, Alexander John. 1885. On the musical scales of various nations. London. Jaap Kunst. 1959. Ethnomusicology, Ethnomusicology: a study of its nature, its problems, methods and representative personalities to which is added a bibliography. University of California. Hood, Mantle. 1971. The Ethnomusicologist. New York: Mcgraw-Hill.