SlideShare a Scribd company logo
1 of 86
พระมหาชนก
พระมหาชนก           เมื่อครั้งอดีตกาลนานมาแล้ว พระมหาชนกนั้นเป็นกษัตริย์ผู้ครองเมืองมิถิลาพระ มหาชนกมีพระโอรส ๒ พระองค์คือ พระอริฏฐชนก และพระโปลชนก ซึ่งพระราชโอรสองค์โตนั้นได้ทรงดำรงตำแหน่งอุปราชผู้มีสิทธิ์ขึ้นครองราช บัลลังก์สืบต่อไปส่วนพระโปลชนกโอรสองค์รองนั้นดำรงตำแหน่งเสนาบดีวัง          กาลต่อมาเมื่อพระมหาชนกเสด็จสวรรคตแล้วพระอุปราชอริฏฐชนกก็ได้เสด็จขึ้น ครองราชย์เป็นกษัตริย์องค์ใหม่ของเมืองมิถิลา และได้ทรงสถาปนาแต่งตั้งพระอนุชาให้ดำรงอยู่ในตำแหน่งอุปราชต่อไป          พระเจ้าอริฏฐชจกนั้นแต่เดิมก็มีความรักใคร่กลมเกลียวกันดีกับพระอนุชาโปลชนก แต่ทว่าเมื่อดำรงอยู่ในตำแหน่งพระราชาแล้วก็ได้ถูกบรรดาเสนาอำมาตย์มุขมนตรี ฝ่ายคนชั่วพากันประจบสอพลอและเท็ดทูลยุยงพระราชาอยู่เสมอเพื่อหวังความดีความชอบกลั่นแกล้งคนดี จนกระทั่งพระเจ้าอริภฐชนกนั้นก็ทรงเชื่อด้วยความหูเบา มิได้ใคร่ครวญด้วยพระองค์เองเสียก่อนแม้กระทั่งพระอนุชาโปลชนกผู้เป็นอุปราชก็ยังถูกยุยงจากบรรดาเสนาชั่วกล่าวหา ว่า พระอุปราชนั้นคิดการกบฏหมายจะลอบปลงพระชนม์เพื่อชิงราชบัลลังก์แต่แรกนั้นพระเจ้าอริฎฐชนกก็มิทรงเชื่อ แต่ทว่าเมื่อมีการยุยงเพ็ดทูลครั้งแล้วครั้งเล่า พระเจ้าอริฏฐชนกก็เริ่มที่จะเชื่อฟังในคำเพ็ดทูลนั้นในที่สุดพระเจ้าอริฏฐชนกจึงได้ทรงมีพระราชโองการให้จับตัวพระอุปราชโปลชนก ไปคุมขังไว้ โดยที่มิได้มีการตั้งข้อหาความผิดอย่างชัดแจ้งนัก ฝ่ายพระอุปราชโปลชนกนั้นก็บังเกิดความน้อยเนื้อต่ำใจเป็นยิ่งนัก ที่แม้กระทั่งความสัมพันธ์ระหว่างพี่น้องก็ยังคลอนแคลนไปได้ด้วยเพราะความหู เบาเชื่อในคำยุยงส่งเสริมของพวกประจบสอพลอ
         ขณะที่อยู่ในห้องคุมขัง พระโปลชนกก็ทรงตั้งสัตย์อธิฐานต่อเทพยดาฟ้าดินและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ว่า      “ ข้าพเจ้านั้นมิได้เคยมีความคิดที่จะมุ่งร้ายต่อพระเชษฐาเลยแม้แต่น้อย แต่กลับถูกลงโทษทั้งที่ไม่มีความผิดเช่นนี้ด้วยจิตใจอันบริสุทธิ์และสัตย์ ซื่อของข้าพเจ้า ขอให้พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย จึงดลบันดาลให้ข้าพเจ้าหลุดพ้นจากโซ่ตรวนขื่อคาทั้งปวงนี้ด้วยเถิด ”          ครั้นสิ้นคำอธิฐานนั้นก็เกิดอัศจรรย์ขึ้นในทันใดบรรดาโซ่ตรวนขื่อคาอันเป็น เครื่องจองจำทั้งปวงนั้นก็ได้หลุดออกจากพระวรกายของพระโปลชนกอย่างง่ายดาย อีกทั้งประตูเรือนจำที่ลั่นดาลไว้แน่นหนาก็สามารถเปิดออกเองได้พระโปลชนกจึงหลบหนีออกจากที่คุมขังไปยังนอกเมือง คอยซุ่มซ่อนตัวอยู่บริเวณชายแดนและรวบรวมกำลังคนไว้เป็นอันมาก
         บรรดาเสนาอำมาตย์ฝ่ายที่เป็นคนดี เมื่อได้ล่วงรู้ว่าพระโปลชนกหนีออกไปได้ก็พากันออกจากราชสำนักติดตามไปร่วมผนึกกำลังด้วยบรรดาชายฉกรรจ์ที่เป็นสามัญชนคนธรรมดาและล่วงรู้ความเป็นไปของการถูกกลั่น แกล้งใส่ร้ายพระอุปราชนั้น ก็พากันชักชวนไปขอสมัครเป็นพรรคพวกของพระโปลชนกจนกระทั่งกำลังคนนั้นมีเพิ่ม พูนแข็งแกร่งมากขึ้น ทางฝ่ายเสนาอำมาตย์ฝ่ายคนชั่วนั้นก็ได้ทราบข่าวการตั้งกองกำลังคนอย่างลับๆ ของพระโปลชนก และได้กราบทูลให้พระอริฏฐชนกได้ทรงทราบ แต่ทว่าทางมิถิลานครก็มิกล้าที่จะส่งกองกำลังไปปราบปรามด้วยเกรงว่าจะเกิดศึกสงครามกลางเมืองขึ้นอีก ทั้งยังเกิดความขลาดมิกล้าจะยกทัพไปปราบปรามด้วยเพราะเกรงกองกำลังอันแข็ง แกร่ง และฝีมือในการรบของพระโปลชนก          ในเวลาต่อมาพระโปลชนกจึงยกกองทัพเข้ามาประชิดติดมิถิลานคร แล้วก็ส่งสาสน์ออกไปท้าพระเชษฐาผู้เป็นกษัตริย์ออกไปชนช้างด้วยกันพระอริฏฐชนกได้ทรงตระหนักดีว่าการศึกครั้งนี้เห็นทีจะเกิดความพ่ายแพ้พระ อนุชาของพระองค์เป็นแน่ ด้วยเพราะตระหนักดีว่าพระอนุชาโปลชนกนั้นได้ซ่องสุมเตรียมกำลังพลไว้เป็นช้านานกับอีกทั้งได้แบกความแค้นเคืองไว้เป็นเวลานานแล้ว ในเวลานั้นพระอัครมเหสีของพระอริฏฐชนกกำลังทรงพระครรภ์อยู่ พระอริฏฐชนกจึงทรงตรัสสั่งเสียพระอัครมเหสีด้วยความเป็นห่วงเป็นใยยิ่งนัก ว่า     “หากแม้ในการศึกครั้งนี้พี่ต้องพ่ายแพ้แก่อนุชาของพี่เอง ขอให้น้องหญิงจงดูแลรักษาครรภ์และดูแลลูกของเราให้จงดีเถิด”
         พระอัครมเหสีแม้จะทรงสังหรณ์พระทัยแต่ก็มิสามารถที่จะทัดทานอันใดได้ ซึ่งในที่สุดการศึกครั้งนั้นพระเจ้าอริฏฐชนกก็ถูกพระอนุชาโปลชนกประหารสิ้น พระชนม์บนคอช้างนั้นเองขณะที่การศึกสงครามกำลังดำเนินไป บรรดากองทัพใหญ่ของพระโปลชนกก็บุกเข้ายึดนครมิถิลา บรรดาชาวบ้านชาวเมืองและไพร่พลทั้งปวงต่างก็แตกกระจัดกระจายหนีข้าศึกออกนอก เมืองไปกันเป็นอันมากพระอัครมเหสีนั้นทรงปลอมพระองค์ด้วยเสื้อผ้าเก่าๆ ขาดๆอุ้มท้องพลางร้องห่มร้องไห้หลบหนีออกจากพระราชวังปะปนไปกับชาวบ้านชาว เมืองด้วยความเด็ดเดี่ยว แม้จะเสียขวัญเพียงใดก็ตาม พระนางเทวีนั้นทรงดำริว่าจะมุ่งไปยังเมืองกาลจัมปาหาทางพำนักพักอยู่ที่นั่น จนกว่าจะมีพระประสูติกาล ด้วยความเหน็ดเหนื่อยตรากตรำและอิดโรยเป็นยิ่งนัก พระนางเทวีจึงได้เข้าไปพัก ณ ศาลาริมทางแห่งหนึ่ง พร้อมกับความวิตกกังวลในใจด้วยมิรู้ว่าหนทางสู่เมืองกาลจัมปานั้นอยู่แห่งใด กันแน่ เวลานั้นพระอินทร์ผู้เป็นใหญ่ในสรวงสวรรค์จู่ๆ ก็ให้บังเกิดร้อนอาสน์ จึงเล็งทิพยเนตรส่องดูก็รู้ได้ว่าพระกุมารในพระครรภ์ของพระเทวีนั้นเป็นพระ โพธิสัตว์ผู้เปี่ยมด้วยบุญญาธิการสูงส่งนัก จึงจำเป็นต้องให้ความอนุเคราะห์ช่วยเหลือเกื้อกูลแก่พระนางเทวี พระอินทร์จึงนิรมิตองค์เป็นผู้เฒ่าขับเกวียนผ่านมา และอาสานำพระนางเทวีผู้ทรงพระครรภ์แก่แล้วเดินทางสู่เมืองกาลจัมปาในบัดดล
          ครั้นถึงเมืองกาลจัมปาแล้วพระอินทร์ในร่างผู้เฒ่าก็ผละจากไป พระนางเทวีจึงได้เข้าไปนั่งพักในศาลาหน้าเมืองเพื่อคิดอ่านว่าจะทำการอันใด ต่อไปในเมืองที่มิรู้จักผู้ใดเลยนี้ ในขณะนั้นเองได้มีพระอาจารย์ผู้หนึ่งซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของชาวเมืองกาลจัมปาได้ผ่านศาลานั้นพร้อมกับลูกศิษย์จำนวนหนึ่ง ครั้นเมื่อเห็นสตรีท้องแก่ผู้หนึ่งนั่งอยู่ในศาลาด้วยท่าทางอิดโรยเหนื่อย ยาก ทั้งๆ ที่มีรูปโฉมงดงามผิวพรรณผุดผ่องราวกับเป็นคนมีเชื้อชาติดีมีสกุล แม้จะอยู่ในเสื้อผ้าที่เก่าขาดและมอมแมมเพียงใดแต่ก็มีรัศมีเปล่งประกายดู ประหลาดยิ่งนัก พระอาจารย์จึงได้เข้าไปสอบถาม พระนางเทวีจึงได้บอกกล่าวเล่าว่า      “ตัวข้าพเจ้านั้นต้องอุ้มท้องหนีภัยจากข้าศึกระเหเรร่อนมาตามลำพังด้วยเพราะว่าเป็นสามีนั้นตายเสียแล้ว”
         พระอาจารย์มีความเวทนาสงสารจึงได้ชักชวนพระนางเทวีไปพำนักพักอยู่ด้วยที่บ้านของตนพระนางเทวีเห็นว่าพระอาจารย์นั้นมีลักษณะเป็นคนดีน่าเลื่อมใส จึงได้ตกลงติดตามพระอาจารย์ไปพำนักพักอยู่ที่บ้านเมืองของพระอาจารย์ด้วยโดย พระอาจารย์ได้บอกแก่ลูกศิษย์ลูกหาทั้งปวงว่าสรีท้องแก่ผู้นี้เป็นญาติผู้น้องของตนไม่กี่เดือนต่อมาพระนางเทวีก็คลอดพระกุมารน้อยออกมาเป็นทารก ชายผู้มีผิวพรรณหมดจดงดงามเป็นยิ่งนัก พระนางเทวีจึงได้ตั้งพระนามพระราชกุมารน้อยว่าพระมหาชนก ครั้นเมื่อพระมหาชนกเจริญวัยขึ้นก็ได้เล่นกับเด็กๆ เพื่อนบ้านในละแวกนั้นครั้งหนึ่งมีเด็กคนหนึ่งคิดรังแกพระมหาชนกด้วยความคะนองแต่พระมหาชนกก็ ต่อสู้เอาชนะได้ เด็กที่แพ้นั้นจึงไปร้องไห้ฟ้องพ่อแม่ว่าถูกเด็กที่ไม่มีพ่อรังแกเอา เมื่อพระมหาชนกได้ฟังเช่นนั้นจึงไปซักไซร้ไล่เลียงพระราชมารดาว่า ใครเป็นบิดาของตน พระนางเทวีจึงแสร้งปดว่าท่านลุงอาจารย์นั้นแหละคือบิดาของพระมหาชนก แต่แรกนั้นพระมหาชนกทรงเชื่อ แต่ครั้นพวกเด็กๆและชาวบ้านยังล้อเลียนว่าเป็นเด็กไม่มีพ่อเช่นนั้นก็เกิด ความคลางแคลงสงสัย แต่ด้วยความที่ทรงมีสติปัญญาเฉลียวฉลาด แม้คาดคั้นเอาจากพระมารดาก็คงมิสามารถที่จะได้คำตอบอันแท้จริงแน่ พระมหาชนกจึงใช้อุบายถามมารดาในวันหนึ่งขณะที่กำลังกินนมจากพระมารดาว่า “ท่านแม่จ๋า บิดาของลูกเป็นใครขอให้บอกความจริงมาเถิด”พระนางเทวีจึงแสร้งว่า“ก็แม่บอกลูกแล้วไงว่า ท่านอาจารย์นั่นแหละคือบิดาของลูก”พระมหาชนกได้ยินเช่นนั้นก็กล่าวว่า“เแต่แม่ให้ลูกเรียกท่านอาจารย์ว่าลุงเสมอมานี่น่า หากท่านแม่ไม่บอกความจริงแก่ลูกๆ จะกัดหัวนมแม่ให้ขาดเดี๋ยวนี้”
         ว่าแล้วพระกุมารน้อยก็แกล้งใช้ฟันขบนมมารดาให้แรงกว่าเดิม พระนางเทวีบังเกิดความเจ็บและกลัวลูกจะกัดแรงขึ้นกว่าเก่า จึงจำต้องบอกเล่าความจริงทั้งหมดให้พระกุมารน้อยทราบโดยละเอียด เมื่อพระมหาชนกทราบเรื่องราวเช่นนั้น จึงมีขวัญกำลังใจมากขึ้นและมิทรงโกรธกริ้วเด็กๆ เพื่อนบ้านที่ล้อเลียนว่าเป็นลูกไม่มีพ่ออีก นับจากนั้นพระกุมารน้อยได้มุมานะศึกษาเล่าเรียนในวิชาการทุกแขนงมิว่าจะเป็น อักษรศาสตร์ ศิลปศาสตร์ และยุทธศาสตร์การต่อสู้ทั้งหมดทั้งมวลจนครบ ๑๘ ประการ         เมื่อเรียนจบครบสิ้นทุกกระบวนความแล้ว ขณะนั้นพระมหาชนกมีพระชนมายุได้ ๑๖ พรรษา มีความสง่างามเยี่ยงหน่อเนื้อเชื้อกษัตริย์โดยแท้         พระมหาชนกได้กราบทูลต่อพระราชมารดาว่าพระองค์นั้นมีความมุ่งมั่นตั้งใจจะไป ยังเมืองมิถิลาเพื่อชิงราชบัลลังก์คืนเป็นการแก้แค้นแก่พระราชบิดาของตน พระนางเทวีจึงได้มอบสมบัติอันมีค่าที่นำติดตัวซุกซ่อนมาจากมิถิลานครให้แก่พระโอรสอันมี      แก้ววิเชียรดวงหนึ่ง      แก้วมณีดวงหนึ่ง      แก้วมุกดาดวงหนึ่ง
         พระนางเทวีต้องการให้โอรสนำแก้วอันล้ำค่าทั้ง ๓ ดวงนั้นไปขายเพื่อเป็นทุนในการซ่องสุมกำลังผู้คน แต่ทว่าพระมหาชนกไม่ยินยอมที่จะรับแก้วทั้ง ๓ ดวงนี้ไป พระนางเทวีจึงได้นำเงินทองออกมาให้พระราชโอรสเตรียมซื้อสำเภากับสินค้าเพื่อ ล่องเดินทางไปเช่นเดียวกับพวกพ่อค้าทางเรืออื่นๆ     “ลูกรักของแม่เอ๋ย เจ้าอยากไปมิถิลานครก็ขอให้เจ้าจงเดินทางโดยสวัสดิภาพเถิด แต่อย่าคิดจองเวรจองกรรมแก้แค้นหรือชิงราชบัลลังก์คืนเลยนะลูกแม่”         พระมหาชนกจึงกราบทูลพระมารดาว่าตนขอเดินทางครั้งนี้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น ก็ด้วยหวังจะเดินทางท่องเที่ยวผจญภัย เผชิญโลกกว้างตามประสาลูกผู้ชายคนหนึ่งเท่านั้น
         ครั้นเมื่อพระ มหาชนกออกเรือเดินทางไปได้ ๗ วัน ๗ คืนแล้ว ก็ปรากฏมรสุมใหญ่ที่กลางทะเลโหมกระหน่ำทำให้เรือบรรทุกสินค้าอับปางลง ท่ามกลางเสียงร้องคร่ำครวญโหยไห้ของบรรดาลูกเรือที่ขวัญเสียตื่นตระหนกตกอยู่ในความหวาดกลัวเมื่อรู้ว่าความตายใกล้จะมาถึงแล้วพระมหาชนกนั้นทรงตั้งสติมั่นมิได้คร่ำครวญด้วยความหวาดหวั่นเสียขวัญแต่อย่างใด ทรงพยายามเสวยอาหารไว้เพื่อให้อิ่มท้องแล้วเตรียมผ้าชุบน้ำมันมานุ่งไว้ เพื่อมิให้ผ้าอุ้มน้ำ แล้วพระมหาชนกก็ทรงปีนขึ้นอยู่บนยอดเสากระโดงในขณะที่เรือโคลงเคลงใกล้จะ คว่ำลง ครั้นเมื่อเรือคว่ำแล้วก็กระโจนจากยอดเสากระโดงไปไกลได้ถึง ๑ เส้นกับ ๑๕ วา ด้วยพละกำลังอันวิเศษจึงสามารถว่ายอยู่ห่างไกลในบริเวณที่กระแสน้ำกำลังดูด เรือจมลงไปใต้มหาสมุทร ในขณะที่บรรดาผู้ลอยคออยู่กลางทะเลต่างก็เสียชีวิตไปกันหมดสิ้นแล้ว แต่ทว่าพระมหาชนกยังทรงพยายามว่ายน้ำและลอยคออยู่ได้กลางทะเลนานถึง ๗ วัน ๗ คืนเลยทีเดียว ในวันที่ ๗ นั้นยังทรงระลึกได้ว่าเป็นวันอุโบสถ พระมหาชนกได้ทรงสมาทานโดยอธิฐานอุโบสถ แม้ขณะกำลังรอความตายที่ใกล้เข้ามาแทบทุกทีนั้นด้วย ขณะนั้นนางเมขลาเทพธิดาแห่งท้องสมุทรผู้มีแก้วประจำตัวอยู่ ๑ ดวง ได้เห็นความอดทนของพระมหาชนกจึงได้ช่วยพระมหาชนกขึ้นจากทะเลนำไปส่งถึงพระ อุทยานใหม่ของพระโปลชนกในมิถิลานคร ขณะนั้นพระโปลชนกกษัตริย์แห่งมิถิลานครได้เสด็จสวรรคตไปเป็นเวลา ๗ วัน ๗ คืนแล้ว และระหว่างนั้นกำลังเป็นงานพิธีเลือกคู่ของพระราชธิดาพระองค์เดียว ซึ่งจำต้องคัดสรรหาบุรุษผู้เหมาะสมมาอภิเษกสมรส เพื่อจะได้ให้ผู้มาเป็นพระสวามีขึ้นเสวยราชบัลลังก์สืบต่อมาบรรดาเสนาอามาตย์มุขมนตรีทั้งปวงต่างก็เสนอตนเข้ามาให้พระราชธิดาเลือกคู่ แต่ทว่าก็ยังมิมีผู้ใดถูกพระทัยองค์หญิงเลยแม้แต่คนเดียว ต่อมาจึงได้ป่าวประกาศออกไปทางนอกวัง ให้บรรดาคฤหบดี เศรษฐี และลูกหลานของผู้มีตระกูลทั้งปวงเข้ามาในงานพิธีเลือกคู่ แต่ทว่าองค์หญิงก็ยังมิถูกพระทัยผู้ใดอีก
         บรรดาอำมาตย์ราชปุโรหิตผู้อาวุโสแห่งราชสำนักจึงได้กราบทูลหารือกับองค์หญิง ว่า เมื่อคัดเลือกเอาตามพระทัยก็ยังมิถูกใจเช่นนี้เห็นทีจะต้องจัดพิธีบวงสรวง สังเวยเทพยดาอารักห์ของเมืองด้วยการเสี่ยงราชรถออกไป ถ้าราชรถไปเกยผู้ใดแสดงว่าผู้นั้นย่อมมีบุญ และควรแก่การอัญเชิญมาครองราชย์ต่อไป เพราะมิเช่นนั้นหากขืนรอช้าอยู่ราชบัลลังก์จะว่างไปนานมิเป็นการสมควรอย่าง แน่นอน องค์หญิงจึงเห็นดีงามด้วยตามธรรมเนียมโบราณของราชสำนัก      “ขอให้พวกท่านได้จัดพิธีบวงสรวงเทพยดาและเสี่ยงจากราชรถตามธรรมเนียมแต่ดั้งแต่เดิมเถิด”        เมื่อทางราชสำนักได้จัดพิธีบวงสรวงแล้วก็ปล่อยรถมงคลเทียมม้าออกไปจากราชวังในบัดดลพระมหาชนกนั้นกำลังนอนพักอยู่ที่ใต้ร่มไม้ใหญ่ในอุทยานหน้าเมือง ขณะที่ราชรถแล่นเข้ามาในอุทยานและวิ่งวนรอบพระมหาชนกเป็นจำนวน ๓ รอบ จึงหยุดนิ่งสงบลงที่เบื้องปลายพระบาทของพระมหาชนกบรรดาคณะอำมาตย์ราชปุโลหิตที่ติดตามราชรถมานั้น ก็สั่งให้เจ้าพนักงานประโคมดนตรีขึ้นอย่างกึกก้อง ด้วยกำหนดว่าถ้าชายผู้นี้เป็นผู้ไม่มีบุญก็จะต้องตื่นขึ้นมาพร้อมกับความ ตระหนกตกใจและเร่งรีบหนีไปในทันที แต่ถ้าเป็นผู้มีบุญก็จะไม่มีอาการแตกตื่นแต่อย่างใดครั้นเมื่อเจ้าพนักงานประโคมดนตรีเสียงดังกึกก้องไปทั่วอุทยานแล้ว พระมหาชนกก็สะดุ้งตื่นขึ้นเปิดผ้าคลุมหน้าออกดูเห็นมีพวกปุโรหิตและชาวบ้าน ชาวเมืองมากมายมารุมล้อมในอุทยาน ก็รู้ได้ทันทีว่าเกิดเหตุอันใดขึ้น พระมหาชนกจึงชักผ้าขึ้นปิดหน้านอนต่อไป ราชปุโรหิตจึงได้คลานเข้าที่เบื้องปลายพระบาทเลิกผ้าคลุมออกแล้วพิจารณาดู ลักษณะของพระบาทสักครู่หนึ่ง ก็ป่าวประกาศแก่ฝูงชนทั้งปวงว่า ชายผู้มีบุญนี้อย่าว่าแต่จะสามารถครองราชบัลลังก์มิถิลาได้เลย
         ต่อให้ราชสมบัติของ ๓ โลก เขาผู้นี้ก็สามารถที่จะปกครองดูแลได้ จากนั้นพนักงานจึงประโคมดนตรีขึ้นบรรเลงอีกครั้งหนึ่งเป็นเสียงกึกก้อง กังวานทั่วไป แล้วราชปุโรหิตก็กราบทูลอัญเชิญพระมหาชนกให้เข้าพระราชวังไปอภิเษกสมรสกับ องค์หญิง แล้วขึ้นครองเมืองมิถิลาต่อไป ข้างฝ่ายพระราชธิดาของพระโปลชนกนั้น เมื่อทราบว่าผู้มีบุญมาครองเมืองแล้วก็ยังใคร่อยากทดสอบว่าบุรุษผู้มีบุญผู้ นั้นจะมีปัญญาด้วยหรือไม่ จึงให้มหาดเล็กไปทูลเชิญมาเข้าเฝ้า แต่ทว่าพระมหาชนกยังคงใส่พระทัยในการชมปราสาทราชมณเฑียร มิสนพระทัยที่จะไปเข้าเฝ้าพระราชธิดาแม้ว่าจะมีคนมาเชิญถึง ๒ ครั้ง ๒ ครา ครั้นเมื่อชมปราสาทราชมณเฑียรเสร็จเรียบร้อยแล้ว พระมหาชนกจึงเสด็จขึ้นตำหนักหลวง เมื่อนั้นองค์หญิงจึงเสด็จออกมารับ แล้วยื่นพระหัตถ์ให้พระมหาชนกจับขณะพากันขึ้นไปยังพระตำหนัก พระมหาชนกได้เรียกประชุมบรรดาเสนาอำมาตย์มุขมนตรีและปุโรหิตทั้งปวง พร้อมกับรับสั่งถามว่า พระราชาได้มีรับสั่งใดไว้ก่อนเสด็จสวรรคตเสนาอำมาตย์ทูลว่า  “ขอเดชะพระโปลชนกนั้นได้ตั้งปริศนาไว้นับ ๑๐ ข้อพระเจ้าข้า”
ปริศนาต่างๆ นั้นมีดังนี้ 	ข้อ ๑. ถ้าผู้ใดทำให้พระราชธิดาสิวลีมีความยินดีได้ก็ให้ยกพระราชสมบัติแก่คนผู้นั้น     	ข้อ ๒. ผู้นั้นจะต้องรู้จักบัลลังก์ ๔ เหลี่ยมว่าที่ใดเป็นทางศีรษะ ที่ใดเป็นทางเท้า      	ข้อ ๓. ผู้นั้นต้องสามารถโก่งคันธนูเมืองได้      	ข้อ ๔. ผู้นั้นต้องหาขุมทรัพย์ได้ ซึ่งขุมทรัพย์นั้นมีดังนี้๑. ขุมทรัพย์แห่งหนึ่งอยู่ในที่พระอาทิตย์ขึ้น 		๒. ขุมทรัพย์แห่งหนึ่งอยู่ในที่พระอาทิตย์อัสดง 		๓. ขุมทรัพย์แห่งหนึ่งอยู่ภายใน 		๔ ขุมทรัพย์แห่งหนึ่งอยู่ภายนอก 		๕. ขุมทรัพย์แห่งหนึ่งมิได้อยู่ข้างนอกและมิได้อยู่ข้างใน 		๖. ขุมทรัพย์แห่งหนึ่งอยู่ในที่ลง 		๗. ขุมทรัพย์แห่งหนึ่งอยู่ในที่ขึ้น 		๘. ขุมทรัพย์แห่งหนึ่งอยู่ระหว่างไม้ทั้ง ๔ 		๙. ขุมทรัพย์แห่งหนึ่งอยู่ประมาณโยชน์หนึ่ง๑๐.ขุมทรัพย์แห่งหนึ่งอยู่ที่ปลายงา
         พระมหาชนกนั้นได้แก้ปริศนาข้อแรกได้แล้วด้วยเพราะขณะเมื่อทรงเสด็จขึ้นพระ ตำหนักนั้น องค์หญิงสิวลีเป็นผู้ยื่นพระหัตถ์เข้ามาให้แสดงว่ามีความยินดีในพระองค์แล้ว ส่วนปริศนาข้อที่ ๒ พระมหาชนกได้ถอดปิ่นจากศีรษะให้องค์หญิงสิวลี ซึ่งองค์หญิงก็รู้เท่าทันว่าพระมหาชนกต้องการสิ่งใดจึงนำปิ่นนั้นไปวางที่ บัลลังก์ ๔ เหลี่ยม พระมหาชนกจึงตอบได้ว่าทางใดเป็นศีรษะทางใดเป็นทางเท้า ส่วนปริศนาข้อที่ ๓ นั้น พระมหาชนกก็สามารถโก่งคันธนูเมืองได้สำเร็จ ทั้งๆ ที่ธนูคันนี้ต้องใช้คนถึง ๑,๐๐๐ คนจึงจะสามารถโก่งคันธนูได้ ส่วนปริศนาข้อที่ ๔ เป็นการค้นหาขุมทรัพย์ทั้ง ๑๐ ขุม ขุมทรัพย์ที่ ๑ อยู่ในที่พระอาทิตย์ขึ้น          บรรดา เสนาอำมาตย์เคยเสาะแสวงหาอย่างไรก็มิอาจพบ แต่พระมหาชนกได้แสดงปัญหาว่าที่ใดเป็นที่ที่พระปัจเจกโพธิเข้ามารับอาหาร บิณฑบาตในพระราชนิเวศน์ทุกเช้าขอให้ไปขุดที่นั้น ซึ่งก็ปรากฏว่าเมื่อบรรดาอำมาตย์สั่งให้คนไปขุดอาณาบริเวณที่พระราชาเคย ประทับใส่บาตรพระปัจเจกโพธิอยู่เป็นประจำ ก็ปรากฏว่าสามารถพบสมบัติมากมาย บรรดาพวกเสนาอำมาตย์มุขมนตรีพระญาติพระวงศ์และนางกำนัลข้าหลวงชาววังทั้งปวง ต่างก็แซ่ซ้องสรรเสริญในพระปัญญาของพระมหาชนกด้วยความปีติยินดีเป็นยิ่งนัก
ขุมทรัพย์ที่ ๒ อยู่ในที่พระอาทิตย์อัสดง          ข้อนี้พระมหาชนกได้ทรงแสดงปัญหาว่าเวลาที่พระปัจเจกโพธิจะกลับในทางใด หากพระราชาเคยไปส่งในทางนั้นก็ให้ไปขุดทรัพย์สมบัติ ณ ที่นั้นบรรดาเสนาอำมาตย์ที่เคยพากันไปขุดหาทรัพย์สมบัติบริเวณทิศตะวันตกของวังแล้ว ไม่พบ จึงได้พากันกระทำตามคำของพระมหาชนกด้วยการไปขุดยังบริเวณที่พระราชาเคย ประทับยืนส่งพระปัจเจกโพธิทุกๆ เช้า ซึ่งก็ปรากฏว่าพบทรัพย์สมบัติมากมายอีกครั้งหนึ่งขุมทรัพย์ที่ ๓ อยู่ภายใน          พระมหาชนกได้แก้ว่าให้ไปขุดที่ใกล้ประตูพระราชนิเวศน์ซึ่งก็ปรากฏว่ามีทรัพย์สมบัติฝังอยู่บริเวณนั้นจริงขุมทรัพย์ที่ ๔ อยู่ภายนอก          พระมหาชนกได้ให้คนไปขุดที่ประตูพระราชนิเวศน์แต่เป็นบริเวณด้านนอก และก็ได้พบทรัพย์สมบัติขุมใหญ่อยู่ ณ บริเวณนั้นเช่นกันขุมทรัพย์ที่ ๕ มิได้อยู่ข้างนอกและมิได้อยู่ข้างใน           ในข้อนี้พระมหาชนกได้ให้คนขุดลงที่ธรณีประตูพระราชนิเวศน์แล้วก็พบทรัพย์สมบัติถูกฝังไว้ในนั้นจริง
ขุมทรัพย์ที่ ๖ อยู่ในที่ลง          ข้อนี้พระมหาชนกให้ขุดหาทรัพย์สมบัติในบริเวณที่พระราชาองค์ก่อนได้เสด็จลง จากคชสารเป็นประจำ ซึ่งก็ได้พบทรัพย์สมบัติฝังอยู่เป็นจำนวนมาก ณ ที่นั้นขุมทรัพย์ที่ ๗ อยู่ในที่ขึ้น          ข้อนี้พระมหาชนกให้ขุดที่ประตูขึ้นพระราชนิเวศน์และก็พบว่ามีทรัพย์สมบัติถูกฝังอยู่ในพื้นดินใต้ประตูพระราชนิเวศน์จริงขุมทรัพย์ที่ ๘ อยู่ระหว่างไม้ทั้ง ๔          ข้อนี้พระมหาชนกได้ให้ขุดหาที่บริเวณทวารประตูทั้ง ๔ แห่ง ที่มีพระแท่นทำด้วยไม้รัง ซึ่งพวกทหารก็พบทรัพย์สมบัติทั้ง ๔ แห่งเป็น จำนวนมากขุมทรัพย์ที่ ๙ อยู่ประมาณโยชน์หนึ่ง          ข้อนี้พระมหาชนกให้ขุดหาจากบริเวณพระแท่นบรรทมวัดออกไปทั้ง ๔ ศอก คือทั้ง ๔ ทิศ ซึ่งก็พบทพัย์สมบัติเป็นจำนวนมากขุมทรัพย์ที่ ๑๐ อยู่ที่ปลายงา          ข้อนี้พระมหาชนกให้ขุดหาที่โรงคชสาร โดยขุดตรงบริเวณที่พระยาเศวตกุญชรนั้นยืนอยู่ และปลายงาโค้งลงจรดดิน ณ บริเวณใดก็ให้ขุดบริเวณนั้น ซึ่งเมื่อขุดแล้วก็พบทรัพย์สมบัติเป็นจำนวนมากเช่นเดิม
         ด้วยพระปฏิภาณอันปราดเปรื่องของพระมหาชนกนี้ ทำให้บรรดาข้าราชบริพารและพสกนิกรทั้งปวงต่างก็ยกย่องสรรเสริญแซ่ซ้องพระ ปัญญาบารมีของพระมหาชนกกันทั่วไปทั้งนคร          ครั้นเมื่อจัดพิธีอภิเษกและพิธี เฉลิมฉลองเสด็จขึ้นครองราชย์แล้ว พระมหาชนกก็จัดให้สร้างโรงทานทั้ง ๖ แห่ง และจ่ายแจกพระราชทรัพย์บำเพ็ญบุญกุศลเป็นเวลา ๗ วัน ๗ คืน และได้เปิดเผยความจริงแก่คนทั้งปวงว่า พระองค์นั้นเป็นพระราชโอรสของพระราชาอริฏฐชนกผู้เป็นเชษฐาของพระเจ้าโปลชนก ผู้สื้นพระชนม์ไปไม่นานนี้นั่นเอง           จากนั้นพระมหาชนกก็ครองคู่อยู่กับเจ้าหญิงสิวลีอัครมเหสีอย่างมีความสุข ทรงปกครองบ้านเมืองให้ร่มเย็นเป็นสุขโดยถ้วนหน้า วันหนึ่งพระมหาชนกเสด็จประพาสอุทยานได้ทรงสังเกตเห็นมะม่วงต้นหนึ่งมีลูกดก เต็มต้น จึงได้เก็บมาเสวยลูกหนึ่งแล้วก็ประพาสสวนต่อไปจนกระทั่งเย็นย่ำครั้นเมื่อเสด็จกลับออกไปในเพลาเย็นก็ต้องแปลกพระทัยที่เห็นมะม่วงต้นเดิม นั้นดูทรุดโทรมผิดไปจากเดิม ลูกดกที่เต็มต้นก็หายไป กิ่งก้านที่งดงามก็หักรานยับเยินสิ้นไป เมื่อตรัสถามพนักงานผู้รักษาสวนก็ตอบว่า บรรดาพสกนิกรนั้นพากันมาแย่งยื้อเก็บมะม่วงต้นนี้ไปกิน เพราะเห็นว่าเป็นต้นที่พระราชาได้เสวยในฉับพลันทันใดนั้นเองพระมหาชนกจึงได้ดำริว่า มะม่วงต้นนี้ต้องได้รับความทุกข์ความเดือดร้อนก็เพราะมีลูกเหมือนกับเช่น พระองค์ที่มีพระราชสมบัติมากมาย ซึ่งจะต้องได้รับภัยและได้รับทุกข์ร้อนในวันหนึ่งเช่นกัน
         นับจากนั้นพระมหาชนกจึงทรงจำศีลบำเพ็ญภาวนาอยู่แต่ในพระตำหนักมิออกว่าราชกิจราชการอีกต่อไป ครั้นเมื่อเวลาล่วงเลยไปถึง ๕ เดือนแล้ว พระมหาชนกก็ให้พระกัลบกปลงพระเกศาและพระมัสสุออกเสียทั้งหมด จากนั้นทรงนุ่งห่มผ้ากาสาวะเตรียมเสด็จออกจากพระราชวังไปบำเพ็ญพรตในป่า ขณะนั้นพระสีวลีอัครมเหสีได้เสด็จขึ้นมาเข้าเฝ้าบนตำหนักหลวงด้วยเพราะมิได้ พบหน้าพระสวามีเป็นเวลา ๕ เดือน ตั้งแต่พระองค์ทรงบำเพ็ญศีลภาวนาอยู่แต่ในพระตำหนัก โดยสั่งห้ามมิให้ผู้ใดเข้าไปรบกวน         องค์หญิงสิวลีนั้น เมื่อขึ้นไปบนตำหนักก็พบแต่เครื่องทรงของกษัตริย์วางทิ้งไว้ จึงเฉลียวใจว่าเมื่อครู่นี้ทรงสวนกับพระปัจเจกโพธิองค์หนึ่ง จึงคิดว่าเป็นพระมหาชนกพระสวามีของพระนางเป็นแน่ ดังนั้นองค์หญิงสิวลีจึงพานางสนมกำนัลวิ่งตามพระมหาชนกไปพร้อมกับกันแสงร่ำไห้เรียกหาผู้เป็นพระสวามีของพระนาง องค์หญิงสิวลีได้ทำอุบายให้คนจุดไฟขึ้นทั่วพระนคร แล้วกราบทูลเชิญให้พระมหาชนกเสด็จกลับเข้าวังก่อนที่ไฟจะไหมพระราชวังและ ทรัยพ์สมบัติเสียหมด แต่ทว่าพระมหาชนกก็มิใส่ใจในทรัพย์สมบัตินั้นยังคงเสด็จต่อไปมิหันหลังกลับ พระสิวลีอัครมเหสีจึงให้บรรดาเสนาอำมาตย์มุขมนตรีผู้ใหญ่มาวิงวอนขอร้องให้ พระมหาชนกเสด็จคืนกลับวัง แต่ทว่าพระองค์ก็ยังคงเสด็จมุ่งสู่ป่าดงพงไพร
         แต่ครั้นเมื่อเห็นว่าคณะของอัครมเหสีและข้าราชบริพารยังตามติดมาไม่หยุดยั้ง จึงได้ทรงขีดเส้นหนึ่งบนพื้นดิน แล้วกล่าวว่า ถ้าเห็นว่าพระองค์ยังเป็นพระราชาอยู่ก็ขอให้ทุกคนจงเชื่อฟังหากบุคคลใดข้าม เส้นนี้ตามไปจะต้องได้รับพระราชอาญาเป็นแน่ เมื่อเป็นดังนั้นคณะข้าราชบริพารก็มิกล้าที่จะตามติดพระองค์ต่อไปอันเป็นการล่วงละเมิดพระราชกระแสรับสั่ง พระสิวลีอัครมเหสีนั้นทรงมีปฏิภาณไหวพริบล้ำเลิศเป็นยิ่งนัก ขณะที่ทรงกันแสงนั้น ก็ได้ทรงกลิ้งเกลือกพระวรกายลงกับพื้นดินจนกระทั่งเส้นที่ขีดบนพื้นดินนั้น จางหายจึงสามารถชักชวนคนทั้งปวงติดตามพระมหาชนกไปได้อีก เมื่อพระมหาชนก ทรงเสด็จเรื่อยไปจนเข้าเขตเมืองปุนันนครและได้ทรงเก็บเนื้อชิ้นหนึ่ง ซึ่งสุนัขคาบวิ่งหนีเจ้าของมาแล้วทำตกลงบนพื้นดิน เมื่อพระอัครมเหสีทอดพระเนตรเห็นพระสวามีหยิบชิ้นเนื้อจากพื้นทรายขึ้นปัด ฝุ่นแล้วใส่ลงในบาตรก่อนจะนำไปนั่งฉันใต้ร่มไม้แห่งหนึ่งนั้น ก็ให้บังเกิดความสลดหดหู่ใจและมั่นใจแล้วว่าชะรอยพระสวามีคงจะมุ่งมั่น ฝักใฝ่ในทางธรรม ปรารถนาจะประพฤติองค์เป็นนักบวชโดยไม่กลับคืนสู่พระนครเป็นแน่แล้ว แต่ด้วยความอาลัยรักพระอัครมเหสีจึงยังทรงตามเสด็จพระมหาชนกเรื่อยไป พระมหาชนกได้ทรงสังเกตเห็นเด็กผู้หญิงเล็กๆ คนหนึ่ง ใส่กำไลมือทั้งสองข้าง มือข้างหนึ่งใส่กำไลเส้นเดียวกำไลนั้นก็ไม่เกิดเสียงอันใด ในข้อที่มืออีกข้างหนึ่งใส่กำไลสองเส้น กำไลทั้งสองก็กระทบกันดังกรุ๊งกริ๊งตลอดเวลา พระมหาชนกจึงดำริว่าสตรีนั้นเป็นมลทินของการประพฤติพรหมจรรย์สมควรที่จะให้ พระอัครมเหสีหยุดติดตามและแยกทางไปเสียอีกทางหนึ่ง ครั้นเมื่อถึงทาง ๒ แพร่ง พระมหาชนกจึงตรัสแก่พระมเหสีว่า“น้องหญิงเอ๋ย น้องจงเลือกเอาเถิดว่าจะไปทางซ้ายหรือทางขวา ขอให้เราแยกทางเดินกันนับแต่นี้เถิด”
          พระนางสิวลีทรงเลือกทางซ้าย ครั้นเมื่อพระมหาชนกเสด็จแยกทางไปยังเบื้องขวาแล้ว พระอัครมเหสีก็ยังแอบตามเสด็จไปทางเบื้องหลังของพระมหาชนกอีกด้วยความอาลัย รักอย่างลึกซึ้งและมิอาจหักห้ามพระทัยได้เมื่อถูกพระสวามีตัดรอนความสัมพันธ์อย่างสิ้นเยื่อขาดใยเช่นนั้น พระอัครมเหสีถึงกับร้องไห้ฟูมฟายปิ่มว่าจะขาดใจ แม้จะร่ำไห้จนสิ้นสติไปก็มิอาจจะทำให้พระมหาชนกหันหลังกลับมาดังเดิมได้พระนางสิวลีอัครมเหสีจึงทรงได้คิดว่าพระมหาชนกผู้เป็นพระสวามีของพระนางนั้น สามารถสละได้ซึ่งราชบัลลังก์และทรัพย์สมบัติทั้งหลายทั้งปวง แล้วเหตุไฉนตัวพระนางนั้นจะยังมีความอาลัยอาวรณ์ในทรัพย์สมบัติทั้งปวงอยู่ อีกเล่า เมื่อดำริได้ดังนั้นพระนางสิวลีจึงรับสั่งต่อข้าราชบริพารและนางข้าหลวงทั้ง ปวงว่า พระนางจะออกตามเสด็จพระมหาชนกไปบรรชาด้วยเช่นกัน ขอให้อภิเษกเจ้าองค์อื่นขึ้นเสวยราชย์ต่อไปเถิด          หลังจากนั้นพระนางสิวลีก็เสด็จออกบวช ครั้นเมื่อสิ้นพระชนม์ในภพนี้แล้ว ก็ได้ไปจุติบนสรวงสวรรค์เช่นเดียวกับพระมหาชนก
มงคล ๓๘ ประการ
มงคล ๓๘ ประการ         มงคลคือเหตุแห่งความสุข ความก้าวหน้าในการดำเนินชีวิต ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้ให้พุทธศาสนิกชนได้พึงปฏิบัติ นำมาจากบทมงคลสูตรที่พระพุทธเจ้าตรัสตอบปัญหาเทวดาที่ถามว่า คุณธรรมอันใดที่ทำให้ชีวิตประสบความเจริญหรือมี "มงคลชีวิต" ซึ่งมี ๓๘ ประการได้แก่ V 	V 	V 	V 	V 	V 	V 	V 	V 	V 	V 	V 	V
๑ การไม่คบคนพาล อย่าคบมิตร ที่พาล สันดานชั่วจะพาตัว เน่าดิบ จนฉิบหายแม้ความคิด ชั่วช้า อย่ากล้ำกรายเป็นมิตรร้าย ภายใน ทุกข์ใจครัน. ท่านว่าลักษณะของคนพาลมี ๓ ประการคือ          ๑. คิดชั่ว คือการมีจิตคิดอยากได้ในทางทุจริต มีความพยาบาท และมิจฉาทิฏฐิ คือเห็นผิดเป็นชอบ          ๒. พูดชั่ว คือคำพูดที่ประกอบไปด้วยวจีทุจริตเช่น พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ และพูดเพ้อเจ้อ          ๓. ทำชั่ว คือทำอะไรที่ประกอบด้วยกายทุจริตเช่น การฆ่าสัตว์ ลักขโมย ฉ้อโกง ฉุดคร่าอนาจาร ประพฤติผิดในกาม รูปแบบของคนพาล มีข้อควรสังเกตุคือ           ๑. ชอบแนะนำไปในทางที่ผิด หรือที่ไม่ควรแนะนำ อาทิเช่น แนะนำให้ไปเล่นการพนัน ให้ไปลักขโมย ให้กินยาบ้า ให้เสพยา ชวนไปฉุดคร่าอนาจาร เป็นต้น เหล่านี้ถือว่าเป็นพาล          ๒. ชอบทำในสิ่งที่ไม่ใช่ธุระ อาทิเช่น ไม่ทำงานตามหน้าที่ของตนให้เรียบร้อย แต่กลับชอบจะไปก้าวก่ายยุ่งกับหน้าที่การงานของผู้อื่น หรือไปจับผิดเพื่อนร่วมงาน แกล้ง ยุยง นินทาว่าร้ายกันและกัน เป็นต้น    
         ๓. ชอบทำผิดโดยเห็นสิ่งผิดเป็นของดี อาทิเช่น การสูบยาได้เป็นฮีโร่ เห็นคนที่ซื่อสัตย์เป็นคนโง่ไม่กินตามน้ำ ชอบรับสินบน ทุจริตในหน้าที่ หรือช่วยพวกพ้องให้พ้นจากความผิด เป็นต้น          ๔. จะโกรธเคืองเมื่อพูดเตือน อาทิเช่น การเตือนเรื่องการเที่ยวเตร่ เตือนเรื่องการดื่มเหล้า กลับบ้านดึก เตือนเรื่องการคบเพื่อนเป็นต้น คนพวกนี้จะโกรธเมื่อได้รับการตักเตือน และไม่รับฟัง          ๕. ไม่มีระเบียบวินัย อาทิเช่น ไม่เข้าคิวตามลำดับก่อนหลัง แต่ชอบแซงคิวอย่างหน้าด้านๆ ทิ้งขยะลงคลอง หรือข้างทาง ไม่เคารพกฏหมายของบ้านเมือง หรือของท้องถิ่น เป็นต้น
๒ การคบบัณฑิต ควรคบหา บัณฑิต เป็นมิตรไว้จะช่วยให้ พ้นทุกข์ สบสุขสันต์ความคิดดี เลิศล้ำ ยิ่งสำคัญควรคบกัน อย่าเขว ทุกเวลา.        บัณฑิต หมายถึงผู้ทรงความรู้ มีปัญญา มีจิตใจที่งาม และมีการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง รู้ดีรู้ชั่ว (ไม่ใช่คนที่จบปริญญาโดยนัย) มีลักษณะดังนี้คือ          ๑. เป็นคนคิดดี คือการไม่คิดละโมบ ไม่พยาบาทปองร้ายใคร รู้จักให้อภัย เชื่อเรื่องบาปบุญคุณโทษ ความกตัญญูรู้คุณเป็นต้น          ๒. เป็นคนพูดดี คือวจีสุจริต พูดจริง ทำจริงไม่โกหก ไม่พูดหยาบ ถากถาง นินทาว่าร้าย          ๓. เป็นคนทำดี คือทำอาชีพสุจริต มีเมตตา ทำทานเป็นปกตินิสัย อยู่ในศีลธรรม ทำสมาธิภาวนา รูปแบบของบัณฑิต มีข้อควรสังเกตุคือ
          ๑. ชอบชักนำในทางที่ถูกที่ควร อาทิเช่นการชักนำให้เลิกทำในสิ่งที่ผิด ตักเตือนให้ทำความดีอย่างเช่น ให้เลิกเล่นการพนันเป็นต้น         ๒. ชอบทำในสิ่งที่เป็นธุระ อาทิเช่นการทำหน้าที่ของตนให้ลุล่วง และใช้เวลาที่มีอยู่ให้เป็นประโยชน์ ไม่ก้าวก่ายเรื่องของผู้อื่นเว้นแต่จะได้รับการร้องขอ          ๓. ชอบทำและแนะนำสิ่งที่ถูกที่ควร อาทิเช่นการพูดและทำอย่างตรงไปตรงมา แนะนำการทำทานที่ถูกต้อง ทำตนให้เป็นประโยชน์ต่อคนอื่น          ๔. รับฟังดี ไม่โกรธ อาทิเช่นเมื่อมีคนมาว่ากล่าวก็ไม่ถือโทษ หรือโกรธ หรือทำอวดดี แต่จะรับฟังแล้วนำไปพิจารณาโดยยุติธรรม แล้วนำมาแก้ไขปรับปรุง          ๕. รู้ระเบียบ กฏกติกามรรยาทที่ดี อาทิเช่นการรักษาระเบียบวินัยขององค์กร เพื่อให้หมู่คณะมีความเป็นระเบียบ และการดำเนินงานไม่สับสน หรือการรักษาความสะอาด ปฏิบัติ และเคารพกฏของสถานที่ ไม่ทำตามอำเภอใจ
๓. การบูชาบุคคลที่ควรบูชา  ควรบูชา ไตรรัตน์ ขัตติเยศร์ผู้วิเศษ ก่อเกื้อ เหนือเกศาครูอาจารย์ เจดีย์ ที่สักการ์ด้วยบุปผา ปฏิบัติ สวัสดิ์การ          การบูชา คือการแสดงความเคารพบุคคลที่เรานับถือ ยกย่อง เลื่อมใสในบุคคลคนนั้น ซึ่งการบูชาแบ่งออกเป็น ๒ อย่างคือ          ๑. อามิสบูชา คือการบูชาด้วยสิ่งของเช่น การนำเงินให้พ่อแม่ไว้ใช้จ่าย หรือมอบทรัพย์สินให้พ่อแม่ หรือการนำดอกไม้ ธูปเทียนไปบูชาพระก็ถือเป็นอามิสบูชาเป้นต้น          ๒.ปฏิบัติบูชา คือการบูชาด้วยการเจริญสมาธิภาวนา การฝึกจิตให้ไม่ฟุ้งซ่าน เห็นความจริงในความเป็นไปของโลกเป็นต้น
บุคคลที่ควรบูชา มีดังนี้คือ ๑.พระพุทธเจ้า (คงไม่ต้องอธิบาย) ๒.พระปัจเจกพระพุทธเจ้า หมายถึงพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา ๓.พระมหากษัตริย์ผู้ตั้งอยู่ในทศพิศราชธรรม ๔.บิดามารดา ๕.ครูอาจารย์ ที่มีความรู้ดี มีความสามารถ และประพฤติดี ๖.อุปัชฌาย์ หรือผู้บังคับบัญชาที่มีความประพฤติดี ตั้งอยู่ในธรรม
๔. การอยู่ในถิ่นอันสมควร  เป็นเมืองกรุง ทุ่งนา หรือป่าใหญ่ทางมา-ไป ครบครัน ธัญญาหารมีคนดี ที่ศึกษา พยาบาลปลอดภัยพาล ควรอยู่กิน ถิ่นนั้นแล. ถิ่นอันสมควรควรประกอบด้วยสิ่งแวดล้อม ๔ อย่างได้แก่          ๑.อาวาสเป็นที่สบาย หมายถึงอยู่แล้วสบาย เช่นสะอาด เดินทางไปมาสะดวก อากาศดี เป็นแหล่งชุมชน ไม่มีแหล่งอบายมุขเป็นต้น          ๒.อาหารเป็นที่สบาย หมายถึงอาหารการกินอุดมสมบูรณ์ เช่นมีแหล่งอาหารที่สามารถจัดซื้อหามาได้ง่าย เป็นต้น          ๓.บุคคลเป็นที่สบาย หมายถึงที่ที่มีคนดี จิตใจโอบอ้อมอารี ถ้อยทีถ้อยอาศัย มีศีลธรรม ไม่มีโจร นักเลง หรือใกล้แหล่งอิทธิพลเป็นต้น          ๔.ธรรมะเป็นที่สบาย หมายถึงมีที่พึ่งด้านธรรมะ มีที่ฟังธรรมเช่น มีวัดอยู่ในละแวกนั้น มีโรงเรียน หรือแหล่งศึกษาหาความรู้เป็นต้น
๕. เคยทำบุญมาก่อน  กุศลบุญ คุณล้ำ เคยทำไว้จะส่งให้ สวยเด่น เช่นดวงแขทั้งทรัพย์ยศ ไมตรี มีเย็นแดเพราะกระแส บุญเลิศ ประเสริฐนัก. ขึ้นชื่อว่าบุญนั้น มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้คือ          ๑. ทำให้กาย วาจา และใจ สะอาดได้          ๒. นำมาซึ่งความสุข          ๓. ติดตามไปได้ หมายถึงบุญจะติดตัวเราไปได้ตลอดจนถึงชาติหน้า          ๔. เป็นของเฉพาะตน หมายถึงขอยืม หรือแบ่งกันไม่ได้ ทำเองได้เอง          ๕. เป็นที่มาของโภคทรัพย์ทั้งหลาย คือว่าผลของบุญจะบันดาลให้เกิดขึ้นได้เองโดยไม่ได้หวังผล          ๖. ให้มนุษย์สมบัติ ทิพย์สมบัติ และนิพพานสมบัติแก่เราได้ หมายถึงความสมบูรณ์ตั้งแต่ทางโลก จนถึงนิพพานได้เลย
         ๗. เป็นปัจจัยให้ถึงซึ่งนิพพาน ก็คือเป็นปัจจัยในการส่งเสริมให้บรรลุถึงนิพพานได้เร็วขึ้นเมื่อปฏิบัติ          ๘. เป็นเกราะป้องกันภัยในวัฏสังสาร หมายถึงในวงจรการเกิด แก่ เจ็บ ตาย หรือที่เรียกว่าเวียนว่ายตายเกิดนั้น บุญจะคุ้มครองให้ผู้นั้นเกิดในที่ดี อยู่อย่างมีความสุข หรือตายอย่างไม่ทรมาน ขึ้นอยู่กับกำลังบุญที่สร้างสมมา การทำบุญนั้นมีหลายวิธี แต่พอสรุปได้สั้นๆดังนี้คือ     ๑.การทำทาน     ๒.การรักษาศีล     ๓.การเจริญภาวนา
๖. การตั้งตนชอบ  ต้องตั้งตน กายใจ ในทางถูกเร่งฝังปลูก ตนไว้ ให้ถูกหลักเมื่อตัวตน ยังมี เป็นที่รักควรพิทักษ์ ให้งาม ตามเวลา.          หมายถึงการดำเนินชีวิตอย่างมีเป้าหมาย ด้วยความถูกต้องและสุจริต อยู่ในสัมมาอาชีพ มีแผนการที่จะไปให้ถึงจุดหมายนั้นด้วยความไม่ประมาท มีการเตรียมพร้อม และมีความอดทนไม่ละทิ้งกลางคัน
๗ ความเป็นพหูสูตร การสนใจ ใฝ่คว้า หาความรู้ให้เป็นผู้ แก่เรียน เพียรศึกษามีศีลดี สติมั่น เกิดปัญญาย่อมนำพา ตัวรอด เป็นยอดดี. คือเป็นผู้ที่ฟังมาก เล่าเรียนมาก เป็นผู้รอบรู้ โดยมีลักษณะดังนี้คือ          ๑.รู้ลึก คือการรู้ในสิ่งนั้นๆ เรื่องนั้นๆ อย่างหมดจดทุกแง่ทุกมุม อย่างมีเหตุมีผล รู้ถึงสาเหตุจนเรียกว่าความชำนาญ          ๒.รู้รอบ คือการรู้จักช่างสังเกตในสิ่งต่างๆ รอบตัว เช่นเหตุการณ์แวดล้อมเป็นต้น          ๓.รู้กว้าง คือการรู้ในสิ่งใกล้เคียงกับเรื่องนั้นๆ ที่เกี่ยวข้องกัน สัมพันธ์กันเป็นต้น          ๔.รู้ไกล คือการศึกษาถึงความเป็นไปได้ ผลในอนาคตเป็นต้น ถ้าอยากจะเป็นพหูสูตก็ควรต้องมีคุณสมบัติดังว่านี้คือ          ๑.ความตั้งใจฟัง ก็คือชอบฟัง ชอบอ่านหาความรู้ และค้นคว้าเป็นต้น          ๒.ความตั้งใจจำ ก็คือรู้จักวิธีจำ โดยตั้งใจอ่านหรือฟังในสิ่งนั้นๆ และจับใจความให้ได้          ๓.ความตั้งใจท่อง ก็คือท่องให้รู้โดยอัตโนมัติ ไม่ลืม ในสิ่งที่เป็นสาระสำคัญ          ๔.ความตั้งใจพิจารณา ก็คือการรู้จักพิจารณา ตรึกตรองในสิ่งนั้นๆอย่างทะลุปรุโปร่ง          ๕.ความเข้าใจในปัญหา ก็คือการรู้อย่างแจ่มแจ้งในปัญหาอย่างถ่องแท้ด้วยปัญญา
๘ การรอบรู้ในศิลปะ  ศิลปะ ต่างอย่าง ทางอาชีพควรเร่งรีบ เรียนรู้ ชูศักดิ์ศรีมีบางคน จนอับ กลับมั่งมีฉลาดดี มีศิลป์ หากินพอ.          ศิลปะ คือสิ่งที่แสดงออกถึงความงดงาม และมีความสุนทรีย์ โดยลักษณะของมันมีดังนี้คือ          	๑.มีความปราณีต          	๒.ทำให้ของดูมีค่ามากขึ้น          	๓.ทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์          	๔.ไม่ทำให้เกิดกามกำเริบ          	๕.ไม่ทำให้เกิดความพยาบาท          	๖.ไม่ทำให้เกิดความเบียดเบียน          ถ้าท่านอยากเป็นคนมีศิลปะ ควรต้องฝึกให้มีคุณสมบัติเหล่านี้ไว้ในตัวคือ 	๑.มีศรัทธาในความงดงามของสิ่งต่างๆ 	๒.หมั่นสังเกตและพิจารณา 	๓.มีความปราณีต อารมณ์ละเอียดอ่อน 	๔.เป็นคนสุขุม มีความคิดสร้างสรรค์
๙. มีวินัยที่ดี  อันวินัย นำระเบียบ สู่เรียบร้อยคนใหญ่น้อย เปรมปรีดิ์ ดีนักหนาวินัยสร้าง กระจ่างข้อ ก่อศรัทธาเพราะรักษา กติกา พาร่วมมือไม่พูดเท็จ พูดสอดเสียด และพูดมากละความยาก สร้างวิบาก ฝากยึดถือคนหมู่มาก มักถางถาก ปากข่าวลือต้องสัตย์ซื่อ ถือวินัย ใช้ร่วมกัน.          วินัย ก็คือข้อกำหนด ข้อบังคับ กฏเกณฑ์เพื่อควบคุมให้มีความเป็นระเบียบนั่นเอง มีทั้งวินัยของสงฆ์และของคนทั่วไป สำหรับของสงฆ์นั้นมีทั้งหมด ๗ อย่างหรือเรียกว่า อนาคาริยวินัย ส่วนของบุคคลทั่วไปก็มี ๑๐ อย่าง คือการละเว้นจากอกุศลกรรม ๑๐ ประการ อนาคาริยวินัยของพระมีดังนี้          ๑.ปาฏิโมกขสังวร คือการอยู่ในศีลทั้งหมด ๒๒๗ ข้อ การผิดศีลข้อใดข้อหนึ่งก็ถือว่าต้องโทษแล้วแต่ความหนักเบา เรียงลำดับกันไปตั้งแต่ ขั้นปาราชิก สังฆาทิเสส ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฎ ทุพภาสิต เป็นต้น(ความหมายของแต่ละคำมันต้องอธิบายเยอะ จะไม่กล่าวในที่นี้)
         ๒.อินทรียสังวร คือการสำรวมอายตนะทั้ง ๕ และกาย วาจา ใจ ให้อยู่กับร่องกับรอย โดยอย่าไปเพลิดเพลินติดกับสิ่งที่มาสัมผัสเหล่านั้น         ๓.อาชีวปาริสุทธิสังวร คือการหาเลี้ยงชีพในทางที่ชอบ นั่นก็คือการออกบิณฑบาตร ไม่ได้เรียกร้อง เรี่ยไรหรือเที่ยวขอเงินชาวบ้านมาเพื่อความอุดมสมบูรณ์ของตัวเอง          ๔.ปัจจยปัจจเวกขณะ คือการพิจารณาในสิ่งของทั้งหลายถึงคุณประโยชน์โดยเนื้อแท้ของสิ่งของเหล่า นั้นอย่างแท้จริง โดยใช้เพื่อบริโภค เพื่อประโยชน์ ความอยู่รอด และความเป็นไปของชีวิตเท่านั้น วินัยสำหรับฆราวาส หรือบุคคลทั่วไป เรียกว่าอาคาริยวินัย มีดังนี้ (อกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ)         	๑.ไม่ฆ่าชีวิตคน หรือสัตว์ไม่ว่าน้อย ใหญ่ 	๒.ไม่ลักทรัพย์ ยักยอกเงิน สิ่งของมาเป็นของตัว 	๓.ไม่ประพฤติผิดในกาม ผิดลูกผิดเมีย ข่มขืนกระทำชำเรา 	๔.ไม่พูดโกหก หลอกลวงให้หลงเชื่อ หรือชวนเชื่อ 	๕.ไม่พูดส่อเสียด นินทาว่าร้าย ยุยงให้คนแตกแยกกัน 	๖.ไม่พูดจาหยาบคาย ให้เป็นที่แสลงหูคนอื่น 	๗.ไม่พูดจาไร้สาระ หรือที่เรียกว่าพูดจาเพ้อเจ้อไม่มีสาระ เหตุผล หรือประโยชน์อันใด 	๘.ไม่โลภอยากได้ของเขา คือมีความคิดอยากเอาของคนอื่นมาเป็นของเรา 	๙.ไม่คิดร้าย ผูกใจเจ็บ แค้น ปองร้ายคนอื่น  	๑๐.ไม่เห็นผิดเป็นชอบ เช่น เห็นว่าพ่อแม่ไม่มีความสำคัญ บุญหรือกรรมไม่มีจริงเป็นต้น
๑๐ กล่าววาจาอันเป็นสุภาษิต  เปล่งวจี สัจจะ นวลละม่อมกล่าวเลลี้ยกล่อม ไพเราะ กาลเหมาะสมเจือประโยชน์ เมตตา ค่านิยมรื่นอารมณ์ ผู้ฟัง ดังเสียงทอง.           คำว่าวาจาอันเป็นสุภาษิตในที่นี้มิได้หมายถึงเพียงว่า ต้องเป็นคำร้อยกรอง ร้อยแก้ว เป็นคำคมบาดใจมีความหมายลึกซึ้งเท่านั้น แต่รวมถึงคำพูดที่ดี มีประโยชน์ต่อผู้ฟัง ซึ่งสรุปว่าประกอบด้วยลักษณะดังนี้          ๑.ต้องเป็นคำจริง คือข้อมูลที่ถูกต้อง มีหลักฐานอ้างอิงได้ ไม่ได้ปั้นแต่งขึ้นมาพูด          ๒.ต้องเป็นคำสุภาพ คือพูดด้วยภาษาที่สุภาพ มีความไพเราะในถ้อยคำ ไม่มีคำหยาบโลน หรือคำด่า          ๓.พูดแล้วมีประโยชน์ คือมีประโยชน์ต่อผู้ฟังถ้าหากนำแนวทางไปคิด หรือปฏิบัติในทางสร้างสรรค์          ๔.พูดด้วยจิตที่มีเมตตา คือพูดด้วยจิตใจที่มีความปรารถนาดีต่อผู้ฟัง มีความจริงใจต่อผู้ฟัง          ๕.พูดได้ถูกกาลเทศะ คือพูดในสถานที่เหมาะสม และในเวลาที่เหมาะสม โดยความเหมาะสมจะมีมากน้อยเช่นไรก็ขึ้นอยู่กับเรื่องที่พูด
๑๑ การบำรุงบิดามารดา  คนที่หา ได้ยาก มากไฉนเพราะว่าใน โลกนี้ มีเพียงสองคือพ่อแม่ เกิดเกล้า เหล่าลูกต้องตอบสนอง พระคุณ ได้บุญแรง           ท่านว่าพ่อแม่นั้นเปรียบได้เป็นทั้ง ครูของลูก เทวดาของลูก พรหมของลูก และอรหันต์ของลูก ความหมายโดยละเอียดมีดังต่อไปนี้คือ          ที่ว่าเป็นครูของลูก เพราะว่าท่านได้คอยอบรมสั่งสอนลูก เป็นคนแรกก่อนคนอื่นใดในโลก          ที่ว่าเป็นเทวดาของลูก เพราะว่าท่านจะคอยปกป้อง คุ้มครอง เลี้ยงดู ประคบประหงมมาตั้งแต่อ้อนแต่ออก บำรุงให้เติบใหญ่เป็นอย่างดี ไม่ให้เกิดอันตรายต่อลูกในทุกด้าน          ที่ว่าเป็นพรหมของลูก เพราะว่าท่านมีพรหมวิหาร ๔ นั่นก็คือ มีเมตตา หมายถึงความเอ็นดู ความปรารถนาดีต่อลูกในทุกๆด้าน ไม่มีที่สิ้นสุด มีกรุณา หมายถึงให้ความกรุณาต่อลูก ลูกอยากได้อะไรก็หามาให้ลูก ให้การศึกษาเล่าเรียน ส่งเสียเท่าที่มีความสามารถจะให้ได้ มีมุทิตา หมายถึงความรักที่ยอมสละได้แม้ชีวิตของตัวเองเพื่อลูก ยอมเสียสละได้ทุกอย่าง และมีอุเบกขา หมายถึงการวางเฉย ไม่ถือโกรธเมื่อลูกประมาท ซน ทำผิดพลาดเพราะความไร้เดียงสา หรือเพราะความไม่รู้
         ที่ว่าเป็นอรหันต์ของลูก เพราะว่าท่านมีคุณธรรม ๔ ประการอันได้แก่ เป็นผู้มีอุปการะคุณต่อลูก คืออุปการะเลี้ยงดูมาด้วยความเหนื่อยยาก กว่าจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ เป็นผู้มีพระเดชพระคุณต่อลูก คือให้ความอบอุ่นเลี้ยงดู ปกป้องจากภยันตรายต่างๆ นานา เป็นเนื้อนาบุญของลูก คือลูกเป็นส่วนหนึ่งของกรรมดีที่พ่อแม่ได้ทำไว้ และเป็นผู้รับผลบุญ ที่พ่อแม่ได้สร้างไว้แล้วทางตรง          เป็นอาหุไนยบุคคล คือเป็นเหมือนพระที่ควรแก่การเคารพนับถือและรับของบูชา เพื่อเทอดทูนไว้เป็นแบบอย่าง การทดแทนพระคุณบิดามารดาท่านสามารถทำได้ดังนี้          ระหว่างเมื่อท่านยังมีชีวิตอยู่ ก็เลี้ยงดูท่านเป็นการตอบแทน ช่วยเหลือเป็นธุระเรื่องการงานให้ท่าน ดำรงวงศ์ตระกูลให้สืบไปไม่ทำเรื่องเสื่อมเสีย รวมทั้งประพฤติตนให้ควรแก่การเป็นสืบทอดมรดกจากท่าน ครั้นเมื่อท่านล่วงลับไปแล้ว ก็ทำบุญอุทิศกุศลให้ท่าน ส่วนการเป็นลูกกตัญญูต่อพ่อแม่ในคำสอนของพระพุทธเจ้าท่านกล่าวว่าไว้ดังนี้           ๑.ถ้าท่านยังไม่มีศรัทธา ให้ท่านถึงพร้อมด้วยศรัทธา คือพยายามให้ท่านมีความศรัทธาในพระพุทธศาสนา เชื่อในเรื่องการทำดี           ๒.ถ้าท่านยังไม่มีศีล ให้ท่านถึงพร้อมด้วยศีล คือพยายามให้ท่านเป็นผู้รักษาศีล ๕ ให้ได้           ๓.ถ้าท่านเป็นคนตระหนี่ ให้ท่านถึงพร้อมด้วยการให้ทาน คือพยายามให้ท่านรู้จักการให้ด้วยเมตตาโดยไม่หวังผลตอบแทน           ๔.ถ้าท่านยังไม่ทำสมาธิภาวนา ให้ท่านถึงพร้อมด้วยปัญญา คือพยายามให้ท่านหัดนั่งทำสมาธิภาวนาให้ได้
๑๒ การสงเคราะห์บุตร  เป็นมารดา บิดา ทำหน้าที่ให้บุตรมี พำนัก เป็นหลักแหล่งส่งเสริมบุตร ธิดาตน กุศลแรงย่อมส่องแสง เพิ่มพูน ตระกูลวงศ์          คำว่าบุตรนั้น มีอยู่ ๓ ประเภทได้แก่ 	๑.อภิชาติบุตร คือบุตรที่มีความดี คุณธรรม และความสามารถเหนือกว่าบิดา มารดา 	๒.อนุชาตบุตร คือบุตรที่มีความดี คุณธรรม และความสามารถเสมอบิดา มารดา 	๓.อวชาตบุตร คือบุตรที่มีความดี คุณธรรม และความสามารถต่ำกว่าบิดา มารดา         การที่เราเป็นพ่อ เป็นแม่ของบุตรนั้น มีหน้าที่ที่ต้องให้กับลูกของเราคือ 	๑.ห้ามไม่ให้ทำความชั่ว 	๒.ปลูกฝัง สนับสนุนให้ทำความดี 	๓.ให้การศึกษาหาความรู้ 	๔.ให้ได้คู่ครองที่ดี (ใช้ประสพการณ์ของเราให้คำปรึกษาแก่ลูก ช่วยดูให้) 	๕.มอบทรัพย์ให้ในโอกาสอันควร (การทำพินัยกรรม ก็ถือว่าเป็นสิ่งถูกต้อง)
๑๓.การสงเคราะห์ภรรยา  มีคู่ครอง ต้องไม่ทำ ให้ช้ำจิตจะพาผิด ไปข้าง ทางผุยผงต้องสงเคราะห์ แก่กัน ให้มั่นคงรักยืนยง ด้วยกัน ถึงวันตาย          เมื่อว่าด้วยเรื่องคนที่จะมาเป็นคู่ครองของชาย หรือที่เรียกว่าจะมาเป็นภรรยานั้น ในโลกนี้ท่านแบ่งลักษณะของภรรยาออกเป็น ๗ ประเภทได้แก่          ๑.วธกาภริยา หมายถึงภรรยาเสมอด้วยเพชรฆาต เป็นพวกที่มีจิตใจคิดไม่ดี ชอบทำร้าย ชอบด่าทอสาปแช่ง คิดฆ่าสามี หรือมีชู้กับชายอื่น          ๒.โจรีภริยา หมายถึงภรรยาเสมอด้วยโจร เป็นคนล้างผลาญ สร้างหนี้สิน หาได้เท่าไรก็ไม่พอ หรือเอาเรื่องในบ้านไปโพทนาให้คนข้างนอกรับรู้ทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียง          ๓.อัยยาภริยา หมายถึงภรรยาเสมอด้วยนาย เป็นคนชอบข่มสามีให้อยู่ในอำนาจ ไม่ให้เกียรติสามีเมื่ออยู่ต่อหน้าผู้อื่น ชอบสั่งการหรือเอาแต่ใจตัวเอง เห็นสามีเป็นคนไร้ความสามารถ แต่ตัวเองเป็นผู้นำ          ๔.มาตาภริยา หมายถึงภรรยาเสมอด้วยแม่ คือผู้ที่มีความรักต่อสามีอย่างสุดซึ้ง ไม่เคยทอดทิ้งแม้ยามทุกข์ยาก ป่วยไข้ ไม่ทำให้มีเรื่องสะเทือนใจ
         ๕.ภคินีภริยา หมายถึงภรรยาเสมอด้วยน้องสาว คือผู้ที่มีความเคารพต่อสามีในฐานะพ่อบ้าน แต่ขัดใจกันบ้างตามประสาคนใกล้ชิดกันแล้วก็ให้อภัยกัน โดยไม่คิดพยาบาท เดินตามแนวทางของสามี ต้องพึ่งพาสามี ๖.สขีภริยา หมายถึงภรรยาเสมอด้วยเพื่อน ต่างคนต่างก็มีอะไรที่เหมือนกัน ความสามารถพอกัน ไม่จำเป็นต้องพึ่งพากัน ไม่ค่อยยอมกัน เป็นตัวของตัวเอง แต่ก็รักกันและช่วยเหลือกันโดยต่างคนต่างทำหน้าที่ของตัวเอง          ๗.ทาสีภริยา หมายถึงภรรยาเสมอด้วยคนรับใช้ คือภรรยาที่อยู่ภายใต้คำสั่งสามีโดยไม่มีข้อโต้แย้ง สามีเป็นผู้เลี้ยงดู สั่งอะไรก็ทำอย่างนั้น แม้จะไม่เห็นด้วยก็ไม่ออกความเห็น อดทนทำงานตามหน้าที่ตามแต่สามีจะสั่งการ แม้ถูกดุด่า เฆี่ยนตีก็ยังทนอยู่ได้โดยไม่โต้ตอบ ท่านว่าคนที่จะมาเป็นสามี ภรรยาได้ดีหรือคู่สร้างคู่สมนั้นควรต้องมีคุณสมบัติดังนี้ 	๑.สมสัทธา คือมีศรัทธาเสมอกัน 	๒.สมสีลา คือมีศีลเสมอกัน 	๓.สมจาคะ คือมีการเสียสละเหมือนกัน 	๔.สมปัญญา คือมีปัญญาเสมอกัน เมื่อได้แต่งงานกันแล้ว แต่ละฝ่ายก็มีหน้าที่ที่ต้องทำดังนี้ สามีมีหน้าที่ต่อภรรยาคือ         ๑.ยกย่องนับถือว่าเป็นภรรยา คือการแนะนำเปิด�
งานนำเสนอ
งานนำเสนอ
งานนำเสนอ
งานนำเสนอ
งานนำเสนอ
งานนำเสนอ
งานนำเสนอ
งานนำเสนอ
งานนำเสนอ
งานนำเสนอ
งานนำเสนอ
งานนำเสนอ
งานนำเสนอ
งานนำเสนอ
งานนำเสนอ
งานนำเสนอ
งานนำเสนอ
งานนำเสนอ
งานนำเสนอ
งานนำเสนอ
งานนำเสนอ
งานนำเสนอ
งานนำเสนอ
งานนำเสนอ
งานนำเสนอ
งานนำเสนอ
งานนำเสนอ
งานนำเสนอ
งานนำเสนอ
งานนำเสนอ
งานนำเสนอ
งานนำเสนอ
งานนำเสนอ
งานนำเสนอ
งานนำเสนอ
งานนำเสนอ
งานนำเสนอ
งานนำเสนอ
งานนำเสนอ
งานนำเสนอ
งานนำเสนอ
งานนำเสนอ
งานนำเสนอ

More Related Content

What's hot

แผ่นพับ
แผ่นพับแผ่นพับ
แผ่นพับ0710091902
 
องค์พระปฐมเจดีย์...
องค์พระปฐมเจดีย์...องค์พระปฐมเจดีย์...
องค์พระปฐมเจดีย์...A'mp Minoz
 
สุนทรภู่12
สุนทรภู่12สุนทรภู่12
สุนทรภู่12sudaapui
 
งานนำเสนอ1
งานนำเสนอ1งานนำเสนอ1
งานนำเสนอ1Sai Khunchanok
 
พัฒนาการของอาณาจักรธนบุรี
พัฒนาการของอาณาจักรธนบุรีพัฒนาการของอาณาจักรธนบุรี
พัฒนาการของอาณาจักรธนบุรีพัน พัน
 
ศิริวรรณ เคนมา
ศิริวรรณ เคนมาศิริวรรณ เคนมา
ศิริวรรณ เคนมาaon1112
 
แผ่นพับ
แผ่นพับแผ่นพับ
แผ่นพับnuttawon
 
สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดพระนครศรีอยุธยาสถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดพระนครศรีอยุธยาguest70f05c
 
วรรณกรรมเรื่องขุนช้างขุนแผน พร้อมแบบฝึกหัด
วรรณกรรมเรื่องขุนช้างขุนแผน พร้อมแบบฝึกหัดวรรณกรรมเรื่องขุนช้างขุนแผน พร้อมแบบฝึกหัด
วรรณกรรมเรื่องขุนช้างขุนแผน พร้อมแบบฝึกหัดThiranan Suphiphongsakorn
 
เอกสารประกอบการเรียน อาณาจักรธนบุรี
เอกสารประกอบการเรียน อาณาจักรธนบุรีเอกสารประกอบการเรียน อาณาจักรธนบุรี
เอกสารประกอบการเรียน อาณาจักรธนบุรีพัน พัน
 

What's hot (19)

แผ่นพับ
แผ่นพับแผ่นพับ
แผ่นพับ
 
องค์พระปฐมเจดีย์...
องค์พระปฐมเจดีย์...องค์พระปฐมเจดีย์...
องค์พระปฐมเจดีย์...
 
สุนทรภู่12
สุนทรภู่12สุนทรภู่12
สุนทรภู่12
 
งานนำเสนอ1
งานนำเสนอ1งานนำเสนอ1
งานนำเสนอ1
 
สมเด็จพระนเศวรมหาราช
สมเด็จพระนเศวรมหาราชสมเด็จพระนเศวรมหาราช
สมเด็จพระนเศวรมหาราช
 
Sss
SssSss
Sss
 
พัฒนาการของอาณาจักรธนบุรี
พัฒนาการของอาณาจักรธนบุรีพัฒนาการของอาณาจักรธนบุรี
พัฒนาการของอาณาจักรธนบุรี
 
ศิริวรรณ เคนมา
ศิริวรรณ เคนมาศิริวรรณ เคนมา
ศิริวรรณ เคนมา
 
แผ่นพับ
แผ่นพับแผ่นพับ
แผ่นพับ
 
สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดพระนครศรีอยุธยาสถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
 
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
 
สุนทรภู่
สุนทรภู่สุนทรภู่
สุนทรภู่
 
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
 
ขุนช้างขุนแผนฉบับร้อยแก้ว
ขุนช้างขุนแผนฉบับร้อยแก้วขุนช้างขุนแผนฉบับร้อยแก้ว
ขุนช้างขุนแผนฉบับร้อยแก้ว
 
จิรทีปต์
จิรทีปต์จิรทีปต์
จิรทีปต์
 
จิรทีปต์ 2
จิรทีปต์ 2จิรทีปต์ 2
จิรทีปต์ 2
 
พัฒนาการอาณาจักรอยุธยา
พัฒนาการอาณาจักรอยุธยาพัฒนาการอาณาจักรอยุธยา
พัฒนาการอาณาจักรอยุธยา
 
วรรณกรรมเรื่องขุนช้างขุนแผน พร้อมแบบฝึกหัด
วรรณกรรมเรื่องขุนช้างขุนแผน พร้อมแบบฝึกหัดวรรณกรรมเรื่องขุนช้างขุนแผน พร้อมแบบฝึกหัด
วรรณกรรมเรื่องขุนช้างขุนแผน พร้อมแบบฝึกหัด
 
เอกสารประกอบการเรียน อาณาจักรธนบุรี
เอกสารประกอบการเรียน อาณาจักรธนบุรีเอกสารประกอบการเรียน อาณาจักรธนบุรี
เอกสารประกอบการเรียน อาณาจักรธนบุรี
 

Viewers also liked

จักราวุธ แนวข้อสอบ ระเบียบ กฎหมายการศึกษาที่เกี่ยวข้อง ความรู้ทั่วไป วิชาเฉพ...
จักราวุธ แนวข้อสอบ ระเบียบ กฎหมายการศึกษาที่เกี่ยวข้อง ความรู้ทั่วไป  วิชาเฉพ...จักราวุธ แนวข้อสอบ ระเบียบ กฎหมายการศึกษาที่เกี่ยวข้อง ความรู้ทั่วไป  วิชาเฉพ...
จักราวุธ แนวข้อสอบ ระเบียบ กฎหมายการศึกษาที่เกี่ยวข้อง ความรู้ทั่วไป วิชาเฉพ...นายจักราวุธ คำทวี
 
บ้านสอบครู (อ.บวร) บรรยายความรอบรู้และกฎหมายสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา
บ้านสอบครู (อ.บวร) บรรยายความรอบรู้และกฎหมายสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาบ้านสอบครู (อ.บวร) บรรยายความรอบรู้และกฎหมายสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา
บ้านสอบครู (อ.บวร) บรรยายความรอบรู้และกฎหมายสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาสอบครูดอทคอม เว็บเตรียมสอบ
 
ตามรอยพระมหาชนก..
ตามรอยพระมหาชนก..ตามรอยพระมหาชนก..
ตามรอยพระมหาชนก..Somyod Supakitpaiboon
 
พระมหาชนก
พระมหาชนกพระมหาชนก
พระมหาชนกDanai Thongsin
 
E-book พื้นที่ผิวและปริมาตร
E-book พื้นที่ผิวและปริมาตรE-book พื้นที่ผิวและปริมาตร
E-book พื้นที่ผิวและปริมาตรPan Kannapat Hengsawat
 
แผนการสอน เรื่อง ปริมาตรและพื้นที่ผิว
แผนการสอน เรื่อง ปริมาตรและพื้นที่ผิวแผนการสอน เรื่อง ปริมาตรและพื้นที่ผิว
แผนการสอน เรื่อง ปริมาตรและพื้นที่ผิวDuangnapa Jangmoraka
 
บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) 
บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) 
บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) Yaowaluk Chaobanpho
 
TAEM10:Avoiding_prosecution
TAEM10:Avoiding_prosecutionTAEM10:Avoiding_prosecution
TAEM10:Avoiding_prosecutiontaem
 
กฎหมาย IT สำหรับพยาบาล (August 26, 2016)
กฎหมาย IT สำหรับพยาบาล (August 26, 2016)กฎหมาย IT สำหรับพยาบาล (August 26, 2016)
กฎหมาย IT สำหรับพยาบาล (August 26, 2016)Nawanan Theera-Ampornpunt
 
ปริมาตรและพื้นที่ผิว
ปริมาตรและพื้นที่ผิวปริมาตรและพื้นที่ผิว
ปริมาตรและพื้นที่ผิวkhanida
 
ข้อสอบคณิตศาสตร์ ม.2 เทอม 1 ชุดที่ 2
ข้อสอบคณิตศาสตร์ ม.2 เทอม 1 ชุดที่ 2ข้อสอบคณิตศาสตร์ ม.2 เทอม 1 ชุดที่ 2
ข้อสอบคณิตศาสตร์ ม.2 เทอม 1 ชุดที่ 2คุณครูพี่อั๋น
 
ข้อสอบคณิตศาสตร์ ม.3 เทอม 1 ชุดที่ 2
ข้อสอบคณิตศาสตร์ ม.3 เทอม 1 ชุดที่ 2ข้อสอบคณิตศาสตร์ ม.3 เทอม 1 ชุดที่ 2
ข้อสอบคณิตศาสตร์ ม.3 เทอม 1 ชุดที่ 2คุณครูพี่อั๋น
 
ข้อสอบยกระดับผลสัมฤทธ์ คณิตศาสตร์ ม1
ข้อสอบยกระดับผลสัมฤทธ์ คณิตศาสตร์ ม1ข้อสอบยกระดับผลสัมฤทธ์ คณิตศาสตร์ ม1
ข้อสอบยกระดับผลสัมฤทธ์ คณิตศาสตร์ ม1ทับทิม เจริญตา
 

Viewers also liked (20)

7 phy1
7 phy17 phy1
7 phy1
 
จักราวุธ แนวข้อสอบ ระเบียบ กฎหมายการศึกษาที่เกี่ยวข้อง ความรู้ทั่วไป วิชาเฉพ...
จักราวุธ แนวข้อสอบ ระเบียบ กฎหมายการศึกษาที่เกี่ยวข้อง ความรู้ทั่วไป  วิชาเฉพ...จักราวุธ แนวข้อสอบ ระเบียบ กฎหมายการศึกษาที่เกี่ยวข้อง ความรู้ทั่วไป  วิชาเฉพ...
จักราวุธ แนวข้อสอบ ระเบียบ กฎหมายการศึกษาที่เกี่ยวข้อง ความรู้ทั่วไป วิชาเฉพ...
 
ชาติสุดท้าย
ชาติสุดท้ายชาติสุดท้าย
ชาติสุดท้าย
 
บ้านสอบครู (อ.บวร) บรรยายความรอบรู้และกฎหมายสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา
บ้านสอบครู (อ.บวร) บรรยายความรอบรู้และกฎหมายสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาบ้านสอบครู (อ.บวร) บรรยายความรอบรู้และกฎหมายสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา
บ้านสอบครู (อ.บวร) บรรยายความรอบรู้และกฎหมายสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา
 
ตามรอยพระมหาชนก..
ตามรอยพระมหาชนก..ตามรอยพระมหาชนก..
ตามรอยพระมหาชนก..
 
พระมหาชนก
พระมหาชนกพระมหาชนก
พระมหาชนก
 
7 eng1
7 eng17 eng1
7 eng1
 
พื้นที่ผิวทรงกลม
พื้นที่ผิวทรงกลมพื้นที่ผิวทรงกลม
พื้นที่ผิวทรงกลม
 
E-book พื้นที่ผิวและปริมาตร
E-book พื้นที่ผิวและปริมาตรE-book พื้นที่ผิวและปริมาตร
E-book พื้นที่ผิวและปริมาตร
 
แผนการสอน เรื่อง ปริมาตรและพื้นที่ผิว
แผนการสอน เรื่อง ปริมาตรและพื้นที่ผิวแผนการสอน เรื่อง ปริมาตรและพื้นที่ผิว
แผนการสอน เรื่อง ปริมาตรและพื้นที่ผิว
 
บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) 
บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) 
บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) 
 
TAEM10:Avoiding_prosecution
TAEM10:Avoiding_prosecutionTAEM10:Avoiding_prosecution
TAEM10:Avoiding_prosecution
 
กฎหมาย IT สำหรับพยาบาล (August 26, 2016)
กฎหมาย IT สำหรับพยาบาล (August 26, 2016)กฎหมาย IT สำหรับพยาบาล (August 26, 2016)
กฎหมาย IT สำหรับพยาบาล (August 26, 2016)
 
Square Root
Square RootSquare Root
Square Root
 
ปริมาตรและพื้นที่ผิว
ปริมาตรและพื้นที่ผิวปริมาตรและพื้นที่ผิว
ปริมาตรและพื้นที่ผิว
 
รากที่สอง..
รากที่สอง..รากที่สอง..
รากที่สอง..
 
31202mid522
31202mid52231202mid522
31202mid522
 
ข้อสอบคณิตศาสตร์ ม.2 เทอม 1 ชุดที่ 2
ข้อสอบคณิตศาสตร์ ม.2 เทอม 1 ชุดที่ 2ข้อสอบคณิตศาสตร์ ม.2 เทอม 1 ชุดที่ 2
ข้อสอบคณิตศาสตร์ ม.2 เทอม 1 ชุดที่ 2
 
ข้อสอบคณิตศาสตร์ ม.3 เทอม 1 ชุดที่ 2
ข้อสอบคณิตศาสตร์ ม.3 เทอม 1 ชุดที่ 2ข้อสอบคณิตศาสตร์ ม.3 เทอม 1 ชุดที่ 2
ข้อสอบคณิตศาสตร์ ม.3 เทอม 1 ชุดที่ 2
 
ข้อสอบยกระดับผลสัมฤทธ์ คณิตศาสตร์ ม1
ข้อสอบยกระดับผลสัมฤทธ์ คณิตศาสตร์ ม1ข้อสอบยกระดับผลสัมฤทธ์ คณิตศาสตร์ ม1
ข้อสอบยกระดับผลสัมฤทธ์ คณิตศาสตร์ ม1
 

Similar to งานนำเสนอ

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยSRINAKARIN MOTHER PRINCESS SCHOOL
 
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยfernbamoilsong
 

Similar to งานนำเสนอ (6)

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
 
สุนทรภู่
สุนทรภู่สุนทรภู่
สุนทรภู่
 
มหาเวสสันดรชาดก
มหาเวสสันดรชาดกมหาเวสสันดรชาดก
มหาเวสสันดรชาดก
 
สมเด็จพระนาราย์มหาราช
สมเด็จพระนาราย์มหาราชสมเด็จพระนาราย์มหาราช
สมเด็จพระนาราย์มหาราช
 
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
 
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
 

More from DZNiiY MyLoVE

ตัวอย่างประเภทบทเรียน Cai
ตัวอย่างประเภทบทเรียน Caiตัวอย่างประเภทบทเรียน Cai
ตัวอย่างประเภทบทเรียน CaiDZNiiY MyLoVE
 
ประเภทของบทเรียน Cai
ประเภทของบทเรียน Caiประเภทของบทเรียน Cai
ประเภทของบทเรียน CaiDZNiiY MyLoVE
 
ประเภทของบทเรียน Cai
ประเภทของบทเรียน Caiประเภทของบทเรียน Cai
ประเภทของบทเรียน CaiDZNiiY MyLoVE
 
ประเภทของบทเรียน Cai
ประเภทของบทเรียน Caiประเภทของบทเรียน Cai
ประเภทของบทเรียน CaiDZNiiY MyLoVE
 
ประเภทของบทเรียน Cai
ประเภทของบทเรียน Caiประเภทของบทเรียน Cai
ประเภทของบทเรียน CaiDZNiiY MyLoVE
 
การแก้ปัญหา 1
การแก้ปัญหา 1การแก้ปัญหา 1
การแก้ปัญหา 1DZNiiY MyLoVE
 

More from DZNiiY MyLoVE (8)

นา.นา
นา.นานา.นา
นา.นา
 
เจ คับ
เจ คับเจ คับ
เจ คับ
 
ตัวอย่างประเภทบทเรียน Cai
ตัวอย่างประเภทบทเรียน Caiตัวอย่างประเภทบทเรียน Cai
ตัวอย่างประเภทบทเรียน Cai
 
ประเภทของบทเรียน Cai
ประเภทของบทเรียน Caiประเภทของบทเรียน Cai
ประเภทของบทเรียน Cai
 
ประเภทของบทเรียน Cai
ประเภทของบทเรียน Caiประเภทของบทเรียน Cai
ประเภทของบทเรียน Cai
 
ประเภทของบทเรียน Cai
ประเภทของบทเรียน Caiประเภทของบทเรียน Cai
ประเภทของบทเรียน Cai
 
ประเภทของบทเรียน Cai
ประเภทของบทเรียน Caiประเภทของบทเรียน Cai
ประเภทของบทเรียน Cai
 
การแก้ปัญหา 1
การแก้ปัญหา 1การแก้ปัญหา 1
การแก้ปัญหา 1
 

งานนำเสนอ

  • 2. พระมหาชนก เมื่อครั้งอดีตกาลนานมาแล้ว พระมหาชนกนั้นเป็นกษัตริย์ผู้ครองเมืองมิถิลาพระ มหาชนกมีพระโอรส ๒ พระองค์คือ พระอริฏฐชนก และพระโปลชนก ซึ่งพระราชโอรสองค์โตนั้นได้ทรงดำรงตำแหน่งอุปราชผู้มีสิทธิ์ขึ้นครองราช บัลลังก์สืบต่อไปส่วนพระโปลชนกโอรสองค์รองนั้นดำรงตำแหน่งเสนาบดีวัง กาลต่อมาเมื่อพระมหาชนกเสด็จสวรรคตแล้วพระอุปราชอริฏฐชนกก็ได้เสด็จขึ้น ครองราชย์เป็นกษัตริย์องค์ใหม่ของเมืองมิถิลา และได้ทรงสถาปนาแต่งตั้งพระอนุชาให้ดำรงอยู่ในตำแหน่งอุปราชต่อไป พระเจ้าอริฏฐชจกนั้นแต่เดิมก็มีความรักใคร่กลมเกลียวกันดีกับพระอนุชาโปลชนก แต่ทว่าเมื่อดำรงอยู่ในตำแหน่งพระราชาแล้วก็ได้ถูกบรรดาเสนาอำมาตย์มุขมนตรี ฝ่ายคนชั่วพากันประจบสอพลอและเท็ดทูลยุยงพระราชาอยู่เสมอเพื่อหวังความดีความชอบกลั่นแกล้งคนดี จนกระทั่งพระเจ้าอริภฐชนกนั้นก็ทรงเชื่อด้วยความหูเบา มิได้ใคร่ครวญด้วยพระองค์เองเสียก่อนแม้กระทั่งพระอนุชาโปลชนกผู้เป็นอุปราชก็ยังถูกยุยงจากบรรดาเสนาชั่วกล่าวหา ว่า พระอุปราชนั้นคิดการกบฏหมายจะลอบปลงพระชนม์เพื่อชิงราชบัลลังก์แต่แรกนั้นพระเจ้าอริฎฐชนกก็มิทรงเชื่อ แต่ทว่าเมื่อมีการยุยงเพ็ดทูลครั้งแล้วครั้งเล่า พระเจ้าอริฏฐชนกก็เริ่มที่จะเชื่อฟังในคำเพ็ดทูลนั้นในที่สุดพระเจ้าอริฏฐชนกจึงได้ทรงมีพระราชโองการให้จับตัวพระอุปราชโปลชนก ไปคุมขังไว้ โดยที่มิได้มีการตั้งข้อหาความผิดอย่างชัดแจ้งนัก ฝ่ายพระอุปราชโปลชนกนั้นก็บังเกิดความน้อยเนื้อต่ำใจเป็นยิ่งนัก ที่แม้กระทั่งความสัมพันธ์ระหว่างพี่น้องก็ยังคลอนแคลนไปได้ด้วยเพราะความหู เบาเชื่อในคำยุยงส่งเสริมของพวกประจบสอพลอ
  • 3. ขณะที่อยู่ในห้องคุมขัง พระโปลชนกก็ทรงตั้งสัตย์อธิฐานต่อเทพยดาฟ้าดินและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ว่า      “ ข้าพเจ้านั้นมิได้เคยมีความคิดที่จะมุ่งร้ายต่อพระเชษฐาเลยแม้แต่น้อย แต่กลับถูกลงโทษทั้งที่ไม่มีความผิดเช่นนี้ด้วยจิตใจอันบริสุทธิ์และสัตย์ ซื่อของข้าพเจ้า ขอให้พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย จึงดลบันดาลให้ข้าพเจ้าหลุดพ้นจากโซ่ตรวนขื่อคาทั้งปวงนี้ด้วยเถิด ” ครั้นสิ้นคำอธิฐานนั้นก็เกิดอัศจรรย์ขึ้นในทันใดบรรดาโซ่ตรวนขื่อคาอันเป็น เครื่องจองจำทั้งปวงนั้นก็ได้หลุดออกจากพระวรกายของพระโปลชนกอย่างง่ายดาย อีกทั้งประตูเรือนจำที่ลั่นดาลไว้แน่นหนาก็สามารถเปิดออกเองได้พระโปลชนกจึงหลบหนีออกจากที่คุมขังไปยังนอกเมือง คอยซุ่มซ่อนตัวอยู่บริเวณชายแดนและรวบรวมกำลังคนไว้เป็นอันมาก
  • 4. บรรดาเสนาอำมาตย์ฝ่ายที่เป็นคนดี เมื่อได้ล่วงรู้ว่าพระโปลชนกหนีออกไปได้ก็พากันออกจากราชสำนักติดตามไปร่วมผนึกกำลังด้วยบรรดาชายฉกรรจ์ที่เป็นสามัญชนคนธรรมดาและล่วงรู้ความเป็นไปของการถูกกลั่น แกล้งใส่ร้ายพระอุปราชนั้น ก็พากันชักชวนไปขอสมัครเป็นพรรคพวกของพระโปลชนกจนกระทั่งกำลังคนนั้นมีเพิ่ม พูนแข็งแกร่งมากขึ้น ทางฝ่ายเสนาอำมาตย์ฝ่ายคนชั่วนั้นก็ได้ทราบข่าวการตั้งกองกำลังคนอย่างลับๆ ของพระโปลชนก และได้กราบทูลให้พระอริฏฐชนกได้ทรงทราบ แต่ทว่าทางมิถิลานครก็มิกล้าที่จะส่งกองกำลังไปปราบปรามด้วยเกรงว่าจะเกิดศึกสงครามกลางเมืองขึ้นอีก ทั้งยังเกิดความขลาดมิกล้าจะยกทัพไปปราบปรามด้วยเพราะเกรงกองกำลังอันแข็ง แกร่ง และฝีมือในการรบของพระโปลชนก ในเวลาต่อมาพระโปลชนกจึงยกกองทัพเข้ามาประชิดติดมิถิลานคร แล้วก็ส่งสาสน์ออกไปท้าพระเชษฐาผู้เป็นกษัตริย์ออกไปชนช้างด้วยกันพระอริฏฐชนกได้ทรงตระหนักดีว่าการศึกครั้งนี้เห็นทีจะเกิดความพ่ายแพ้พระ อนุชาของพระองค์เป็นแน่ ด้วยเพราะตระหนักดีว่าพระอนุชาโปลชนกนั้นได้ซ่องสุมเตรียมกำลังพลไว้เป็นช้านานกับอีกทั้งได้แบกความแค้นเคืองไว้เป็นเวลานานแล้ว ในเวลานั้นพระอัครมเหสีของพระอริฏฐชนกกำลังทรงพระครรภ์อยู่ พระอริฏฐชนกจึงทรงตรัสสั่งเสียพระอัครมเหสีด้วยความเป็นห่วงเป็นใยยิ่งนัก ว่า     “หากแม้ในการศึกครั้งนี้พี่ต้องพ่ายแพ้แก่อนุชาของพี่เอง ขอให้น้องหญิงจงดูแลรักษาครรภ์และดูแลลูกของเราให้จงดีเถิด”
  • 5. พระอัครมเหสีแม้จะทรงสังหรณ์พระทัยแต่ก็มิสามารถที่จะทัดทานอันใดได้ ซึ่งในที่สุดการศึกครั้งนั้นพระเจ้าอริฏฐชนกก็ถูกพระอนุชาโปลชนกประหารสิ้น พระชนม์บนคอช้างนั้นเองขณะที่การศึกสงครามกำลังดำเนินไป บรรดากองทัพใหญ่ของพระโปลชนกก็บุกเข้ายึดนครมิถิลา บรรดาชาวบ้านชาวเมืองและไพร่พลทั้งปวงต่างก็แตกกระจัดกระจายหนีข้าศึกออกนอก เมืองไปกันเป็นอันมากพระอัครมเหสีนั้นทรงปลอมพระองค์ด้วยเสื้อผ้าเก่าๆ ขาดๆอุ้มท้องพลางร้องห่มร้องไห้หลบหนีออกจากพระราชวังปะปนไปกับชาวบ้านชาว เมืองด้วยความเด็ดเดี่ยว แม้จะเสียขวัญเพียงใดก็ตาม พระนางเทวีนั้นทรงดำริว่าจะมุ่งไปยังเมืองกาลจัมปาหาทางพำนักพักอยู่ที่นั่น จนกว่าจะมีพระประสูติกาล ด้วยความเหน็ดเหนื่อยตรากตรำและอิดโรยเป็นยิ่งนัก พระนางเทวีจึงได้เข้าไปพัก ณ ศาลาริมทางแห่งหนึ่ง พร้อมกับความวิตกกังวลในใจด้วยมิรู้ว่าหนทางสู่เมืองกาลจัมปานั้นอยู่แห่งใด กันแน่ เวลานั้นพระอินทร์ผู้เป็นใหญ่ในสรวงสวรรค์จู่ๆ ก็ให้บังเกิดร้อนอาสน์ จึงเล็งทิพยเนตรส่องดูก็รู้ได้ว่าพระกุมารในพระครรภ์ของพระเทวีนั้นเป็นพระ โพธิสัตว์ผู้เปี่ยมด้วยบุญญาธิการสูงส่งนัก จึงจำเป็นต้องให้ความอนุเคราะห์ช่วยเหลือเกื้อกูลแก่พระนางเทวี พระอินทร์จึงนิรมิตองค์เป็นผู้เฒ่าขับเกวียนผ่านมา และอาสานำพระนางเทวีผู้ทรงพระครรภ์แก่แล้วเดินทางสู่เมืองกาลจัมปาในบัดดล
  • 6. ครั้นถึงเมืองกาลจัมปาแล้วพระอินทร์ในร่างผู้เฒ่าก็ผละจากไป พระนางเทวีจึงได้เข้าไปนั่งพักในศาลาหน้าเมืองเพื่อคิดอ่านว่าจะทำการอันใด ต่อไปในเมืองที่มิรู้จักผู้ใดเลยนี้ ในขณะนั้นเองได้มีพระอาจารย์ผู้หนึ่งซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของชาวเมืองกาลจัมปาได้ผ่านศาลานั้นพร้อมกับลูกศิษย์จำนวนหนึ่ง ครั้นเมื่อเห็นสตรีท้องแก่ผู้หนึ่งนั่งอยู่ในศาลาด้วยท่าทางอิดโรยเหนื่อย ยาก ทั้งๆ ที่มีรูปโฉมงดงามผิวพรรณผุดผ่องราวกับเป็นคนมีเชื้อชาติดีมีสกุล แม้จะอยู่ในเสื้อผ้าที่เก่าขาดและมอมแมมเพียงใดแต่ก็มีรัศมีเปล่งประกายดู ประหลาดยิ่งนัก พระอาจารย์จึงได้เข้าไปสอบถาม พระนางเทวีจึงได้บอกกล่าวเล่าว่า      “ตัวข้าพเจ้านั้นต้องอุ้มท้องหนีภัยจากข้าศึกระเหเรร่อนมาตามลำพังด้วยเพราะว่าเป็นสามีนั้นตายเสียแล้ว”
  • 7. พระอาจารย์มีความเวทนาสงสารจึงได้ชักชวนพระนางเทวีไปพำนักพักอยู่ด้วยที่บ้านของตนพระนางเทวีเห็นว่าพระอาจารย์นั้นมีลักษณะเป็นคนดีน่าเลื่อมใส จึงได้ตกลงติดตามพระอาจารย์ไปพำนักพักอยู่ที่บ้านเมืองของพระอาจารย์ด้วยโดย พระอาจารย์ได้บอกแก่ลูกศิษย์ลูกหาทั้งปวงว่าสรีท้องแก่ผู้นี้เป็นญาติผู้น้องของตนไม่กี่เดือนต่อมาพระนางเทวีก็คลอดพระกุมารน้อยออกมาเป็นทารก ชายผู้มีผิวพรรณหมดจดงดงามเป็นยิ่งนัก พระนางเทวีจึงได้ตั้งพระนามพระราชกุมารน้อยว่าพระมหาชนก ครั้นเมื่อพระมหาชนกเจริญวัยขึ้นก็ได้เล่นกับเด็กๆ เพื่อนบ้านในละแวกนั้นครั้งหนึ่งมีเด็กคนหนึ่งคิดรังแกพระมหาชนกด้วยความคะนองแต่พระมหาชนกก็ ต่อสู้เอาชนะได้ เด็กที่แพ้นั้นจึงไปร้องไห้ฟ้องพ่อแม่ว่าถูกเด็กที่ไม่มีพ่อรังแกเอา เมื่อพระมหาชนกได้ฟังเช่นนั้นจึงไปซักไซร้ไล่เลียงพระราชมารดาว่า ใครเป็นบิดาของตน พระนางเทวีจึงแสร้งปดว่าท่านลุงอาจารย์นั้นแหละคือบิดาของพระมหาชนก แต่แรกนั้นพระมหาชนกทรงเชื่อ แต่ครั้นพวกเด็กๆและชาวบ้านยังล้อเลียนว่าเป็นเด็กไม่มีพ่อเช่นนั้นก็เกิด ความคลางแคลงสงสัย แต่ด้วยความที่ทรงมีสติปัญญาเฉลียวฉลาด แม้คาดคั้นเอาจากพระมารดาก็คงมิสามารถที่จะได้คำตอบอันแท้จริงแน่ พระมหาชนกจึงใช้อุบายถามมารดาในวันหนึ่งขณะที่กำลังกินนมจากพระมารดาว่า “ท่านแม่จ๋า บิดาของลูกเป็นใครขอให้บอกความจริงมาเถิด”พระนางเทวีจึงแสร้งว่า“ก็แม่บอกลูกแล้วไงว่า ท่านอาจารย์นั่นแหละคือบิดาของลูก”พระมหาชนกได้ยินเช่นนั้นก็กล่าวว่า“เแต่แม่ให้ลูกเรียกท่านอาจารย์ว่าลุงเสมอมานี่น่า หากท่านแม่ไม่บอกความจริงแก่ลูกๆ จะกัดหัวนมแม่ให้ขาดเดี๋ยวนี้”
  • 8. ว่าแล้วพระกุมารน้อยก็แกล้งใช้ฟันขบนมมารดาให้แรงกว่าเดิม พระนางเทวีบังเกิดความเจ็บและกลัวลูกจะกัดแรงขึ้นกว่าเก่า จึงจำต้องบอกเล่าความจริงทั้งหมดให้พระกุมารน้อยทราบโดยละเอียด เมื่อพระมหาชนกทราบเรื่องราวเช่นนั้น จึงมีขวัญกำลังใจมากขึ้นและมิทรงโกรธกริ้วเด็กๆ เพื่อนบ้านที่ล้อเลียนว่าเป็นลูกไม่มีพ่ออีก นับจากนั้นพระกุมารน้อยได้มุมานะศึกษาเล่าเรียนในวิชาการทุกแขนงมิว่าจะเป็น อักษรศาสตร์ ศิลปศาสตร์ และยุทธศาสตร์การต่อสู้ทั้งหมดทั้งมวลจนครบ ๑๘ ประการ เมื่อเรียนจบครบสิ้นทุกกระบวนความแล้ว ขณะนั้นพระมหาชนกมีพระชนมายุได้ ๑๖ พรรษา มีความสง่างามเยี่ยงหน่อเนื้อเชื้อกษัตริย์โดยแท้ พระมหาชนกได้กราบทูลต่อพระราชมารดาว่าพระองค์นั้นมีความมุ่งมั่นตั้งใจจะไป ยังเมืองมิถิลาเพื่อชิงราชบัลลังก์คืนเป็นการแก้แค้นแก่พระราชบิดาของตน พระนางเทวีจึงได้มอบสมบัติอันมีค่าที่นำติดตัวซุกซ่อนมาจากมิถิลานครให้แก่พระโอรสอันมี      แก้ววิเชียรดวงหนึ่ง      แก้วมณีดวงหนึ่ง      แก้วมุกดาดวงหนึ่ง
  • 9. พระนางเทวีต้องการให้โอรสนำแก้วอันล้ำค่าทั้ง ๓ ดวงนั้นไปขายเพื่อเป็นทุนในการซ่องสุมกำลังผู้คน แต่ทว่าพระมหาชนกไม่ยินยอมที่จะรับแก้วทั้ง ๓ ดวงนี้ไป พระนางเทวีจึงได้นำเงินทองออกมาให้พระราชโอรสเตรียมซื้อสำเภากับสินค้าเพื่อ ล่องเดินทางไปเช่นเดียวกับพวกพ่อค้าทางเรืออื่นๆ     “ลูกรักของแม่เอ๋ย เจ้าอยากไปมิถิลานครก็ขอให้เจ้าจงเดินทางโดยสวัสดิภาพเถิด แต่อย่าคิดจองเวรจองกรรมแก้แค้นหรือชิงราชบัลลังก์คืนเลยนะลูกแม่” พระมหาชนกจึงกราบทูลพระมารดาว่าตนขอเดินทางครั้งนี้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น ก็ด้วยหวังจะเดินทางท่องเที่ยวผจญภัย เผชิญโลกกว้างตามประสาลูกผู้ชายคนหนึ่งเท่านั้น
  • 10. ครั้นเมื่อพระ มหาชนกออกเรือเดินทางไปได้ ๗ วัน ๗ คืนแล้ว ก็ปรากฏมรสุมใหญ่ที่กลางทะเลโหมกระหน่ำทำให้เรือบรรทุกสินค้าอับปางลง ท่ามกลางเสียงร้องคร่ำครวญโหยไห้ของบรรดาลูกเรือที่ขวัญเสียตื่นตระหนกตกอยู่ในความหวาดกลัวเมื่อรู้ว่าความตายใกล้จะมาถึงแล้วพระมหาชนกนั้นทรงตั้งสติมั่นมิได้คร่ำครวญด้วยความหวาดหวั่นเสียขวัญแต่อย่างใด ทรงพยายามเสวยอาหารไว้เพื่อให้อิ่มท้องแล้วเตรียมผ้าชุบน้ำมันมานุ่งไว้ เพื่อมิให้ผ้าอุ้มน้ำ แล้วพระมหาชนกก็ทรงปีนขึ้นอยู่บนยอดเสากระโดงในขณะที่เรือโคลงเคลงใกล้จะ คว่ำลง ครั้นเมื่อเรือคว่ำแล้วก็กระโจนจากยอดเสากระโดงไปไกลได้ถึง ๑ เส้นกับ ๑๕ วา ด้วยพละกำลังอันวิเศษจึงสามารถว่ายอยู่ห่างไกลในบริเวณที่กระแสน้ำกำลังดูด เรือจมลงไปใต้มหาสมุทร ในขณะที่บรรดาผู้ลอยคออยู่กลางทะเลต่างก็เสียชีวิตไปกันหมดสิ้นแล้ว แต่ทว่าพระมหาชนกยังทรงพยายามว่ายน้ำและลอยคออยู่ได้กลางทะเลนานถึง ๗ วัน ๗ คืนเลยทีเดียว ในวันที่ ๗ นั้นยังทรงระลึกได้ว่าเป็นวันอุโบสถ พระมหาชนกได้ทรงสมาทานโดยอธิฐานอุโบสถ แม้ขณะกำลังรอความตายที่ใกล้เข้ามาแทบทุกทีนั้นด้วย ขณะนั้นนางเมขลาเทพธิดาแห่งท้องสมุทรผู้มีแก้วประจำตัวอยู่ ๑ ดวง ได้เห็นความอดทนของพระมหาชนกจึงได้ช่วยพระมหาชนกขึ้นจากทะเลนำไปส่งถึงพระ อุทยานใหม่ของพระโปลชนกในมิถิลานคร ขณะนั้นพระโปลชนกกษัตริย์แห่งมิถิลานครได้เสด็จสวรรคตไปเป็นเวลา ๗ วัน ๗ คืนแล้ว และระหว่างนั้นกำลังเป็นงานพิธีเลือกคู่ของพระราชธิดาพระองค์เดียว ซึ่งจำต้องคัดสรรหาบุรุษผู้เหมาะสมมาอภิเษกสมรส เพื่อจะได้ให้ผู้มาเป็นพระสวามีขึ้นเสวยราชบัลลังก์สืบต่อมาบรรดาเสนาอามาตย์มุขมนตรีทั้งปวงต่างก็เสนอตนเข้ามาให้พระราชธิดาเลือกคู่ แต่ทว่าก็ยังมิมีผู้ใดถูกพระทัยองค์หญิงเลยแม้แต่คนเดียว ต่อมาจึงได้ป่าวประกาศออกไปทางนอกวัง ให้บรรดาคฤหบดี เศรษฐี และลูกหลานของผู้มีตระกูลทั้งปวงเข้ามาในงานพิธีเลือกคู่ แต่ทว่าองค์หญิงก็ยังมิถูกพระทัยผู้ใดอีก
  • 11. บรรดาอำมาตย์ราชปุโรหิตผู้อาวุโสแห่งราชสำนักจึงได้กราบทูลหารือกับองค์หญิง ว่า เมื่อคัดเลือกเอาตามพระทัยก็ยังมิถูกใจเช่นนี้เห็นทีจะต้องจัดพิธีบวงสรวง สังเวยเทพยดาอารักห์ของเมืองด้วยการเสี่ยงราชรถออกไป ถ้าราชรถไปเกยผู้ใดแสดงว่าผู้นั้นย่อมมีบุญ และควรแก่การอัญเชิญมาครองราชย์ต่อไป เพราะมิเช่นนั้นหากขืนรอช้าอยู่ราชบัลลังก์จะว่างไปนานมิเป็นการสมควรอย่าง แน่นอน องค์หญิงจึงเห็นดีงามด้วยตามธรรมเนียมโบราณของราชสำนัก      “ขอให้พวกท่านได้จัดพิธีบวงสรวงเทพยดาและเสี่ยงจากราชรถตามธรรมเนียมแต่ดั้งแต่เดิมเถิด” เมื่อทางราชสำนักได้จัดพิธีบวงสรวงแล้วก็ปล่อยรถมงคลเทียมม้าออกไปจากราชวังในบัดดลพระมหาชนกนั้นกำลังนอนพักอยู่ที่ใต้ร่มไม้ใหญ่ในอุทยานหน้าเมือง ขณะที่ราชรถแล่นเข้ามาในอุทยานและวิ่งวนรอบพระมหาชนกเป็นจำนวน ๓ รอบ จึงหยุดนิ่งสงบลงที่เบื้องปลายพระบาทของพระมหาชนกบรรดาคณะอำมาตย์ราชปุโลหิตที่ติดตามราชรถมานั้น ก็สั่งให้เจ้าพนักงานประโคมดนตรีขึ้นอย่างกึกก้อง ด้วยกำหนดว่าถ้าชายผู้นี้เป็นผู้ไม่มีบุญก็จะต้องตื่นขึ้นมาพร้อมกับความ ตระหนกตกใจและเร่งรีบหนีไปในทันที แต่ถ้าเป็นผู้มีบุญก็จะไม่มีอาการแตกตื่นแต่อย่างใดครั้นเมื่อเจ้าพนักงานประโคมดนตรีเสียงดังกึกก้องไปทั่วอุทยานแล้ว พระมหาชนกก็สะดุ้งตื่นขึ้นเปิดผ้าคลุมหน้าออกดูเห็นมีพวกปุโรหิตและชาวบ้าน ชาวเมืองมากมายมารุมล้อมในอุทยาน ก็รู้ได้ทันทีว่าเกิดเหตุอันใดขึ้น พระมหาชนกจึงชักผ้าขึ้นปิดหน้านอนต่อไป ราชปุโรหิตจึงได้คลานเข้าที่เบื้องปลายพระบาทเลิกผ้าคลุมออกแล้วพิจารณาดู ลักษณะของพระบาทสักครู่หนึ่ง ก็ป่าวประกาศแก่ฝูงชนทั้งปวงว่า ชายผู้มีบุญนี้อย่าว่าแต่จะสามารถครองราชบัลลังก์มิถิลาได้เลย
  • 12. ต่อให้ราชสมบัติของ ๓ โลก เขาผู้นี้ก็สามารถที่จะปกครองดูแลได้ จากนั้นพนักงานจึงประโคมดนตรีขึ้นบรรเลงอีกครั้งหนึ่งเป็นเสียงกึกก้อง กังวานทั่วไป แล้วราชปุโรหิตก็กราบทูลอัญเชิญพระมหาชนกให้เข้าพระราชวังไปอภิเษกสมรสกับ องค์หญิง แล้วขึ้นครองเมืองมิถิลาต่อไป ข้างฝ่ายพระราชธิดาของพระโปลชนกนั้น เมื่อทราบว่าผู้มีบุญมาครองเมืองแล้วก็ยังใคร่อยากทดสอบว่าบุรุษผู้มีบุญผู้ นั้นจะมีปัญญาด้วยหรือไม่ จึงให้มหาดเล็กไปทูลเชิญมาเข้าเฝ้า แต่ทว่าพระมหาชนกยังคงใส่พระทัยในการชมปราสาทราชมณเฑียร มิสนพระทัยที่จะไปเข้าเฝ้าพระราชธิดาแม้ว่าจะมีคนมาเชิญถึง ๒ ครั้ง ๒ ครา ครั้นเมื่อชมปราสาทราชมณเฑียรเสร็จเรียบร้อยแล้ว พระมหาชนกจึงเสด็จขึ้นตำหนักหลวง เมื่อนั้นองค์หญิงจึงเสด็จออกมารับ แล้วยื่นพระหัตถ์ให้พระมหาชนกจับขณะพากันขึ้นไปยังพระตำหนัก พระมหาชนกได้เรียกประชุมบรรดาเสนาอำมาตย์มุขมนตรีและปุโรหิตทั้งปวง พร้อมกับรับสั่งถามว่า พระราชาได้มีรับสั่งใดไว้ก่อนเสด็จสวรรคตเสนาอำมาตย์ทูลว่า “ขอเดชะพระโปลชนกนั้นได้ตั้งปริศนาไว้นับ ๑๐ ข้อพระเจ้าข้า”
  • 13. ปริศนาต่างๆ นั้นมีดังนี้ ข้อ ๑. ถ้าผู้ใดทำให้พระราชธิดาสิวลีมีความยินดีได้ก็ให้ยกพระราชสมบัติแก่คนผู้นั้น      ข้อ ๒. ผู้นั้นจะต้องรู้จักบัลลังก์ ๔ เหลี่ยมว่าที่ใดเป็นทางศีรษะ ที่ใดเป็นทางเท้า      ข้อ ๓. ผู้นั้นต้องสามารถโก่งคันธนูเมืองได้      ข้อ ๔. ผู้นั้นต้องหาขุมทรัพย์ได้ ซึ่งขุมทรัพย์นั้นมีดังนี้๑. ขุมทรัพย์แห่งหนึ่งอยู่ในที่พระอาทิตย์ขึ้น ๒. ขุมทรัพย์แห่งหนึ่งอยู่ในที่พระอาทิตย์อัสดง ๓. ขุมทรัพย์แห่งหนึ่งอยู่ภายใน ๔ ขุมทรัพย์แห่งหนึ่งอยู่ภายนอก ๕. ขุมทรัพย์แห่งหนึ่งมิได้อยู่ข้างนอกและมิได้อยู่ข้างใน ๖. ขุมทรัพย์แห่งหนึ่งอยู่ในที่ลง ๗. ขุมทรัพย์แห่งหนึ่งอยู่ในที่ขึ้น ๘. ขุมทรัพย์แห่งหนึ่งอยู่ระหว่างไม้ทั้ง ๔ ๙. ขุมทรัพย์แห่งหนึ่งอยู่ประมาณโยชน์หนึ่ง๑๐.ขุมทรัพย์แห่งหนึ่งอยู่ที่ปลายงา
  • 14. พระมหาชนกนั้นได้แก้ปริศนาข้อแรกได้แล้วด้วยเพราะขณะเมื่อทรงเสด็จขึ้นพระ ตำหนักนั้น องค์หญิงสิวลีเป็นผู้ยื่นพระหัตถ์เข้ามาให้แสดงว่ามีความยินดีในพระองค์แล้ว ส่วนปริศนาข้อที่ ๒ พระมหาชนกได้ถอดปิ่นจากศีรษะให้องค์หญิงสิวลี ซึ่งองค์หญิงก็รู้เท่าทันว่าพระมหาชนกต้องการสิ่งใดจึงนำปิ่นนั้นไปวางที่ บัลลังก์ ๔ เหลี่ยม พระมหาชนกจึงตอบได้ว่าทางใดเป็นศีรษะทางใดเป็นทางเท้า ส่วนปริศนาข้อที่ ๓ นั้น พระมหาชนกก็สามารถโก่งคันธนูเมืองได้สำเร็จ ทั้งๆ ที่ธนูคันนี้ต้องใช้คนถึง ๑,๐๐๐ คนจึงจะสามารถโก่งคันธนูได้ ส่วนปริศนาข้อที่ ๔ เป็นการค้นหาขุมทรัพย์ทั้ง ๑๐ ขุม ขุมทรัพย์ที่ ๑ อยู่ในที่พระอาทิตย์ขึ้น บรรดา เสนาอำมาตย์เคยเสาะแสวงหาอย่างไรก็มิอาจพบ แต่พระมหาชนกได้แสดงปัญหาว่าที่ใดเป็นที่ที่พระปัจเจกโพธิเข้ามารับอาหาร บิณฑบาตในพระราชนิเวศน์ทุกเช้าขอให้ไปขุดที่นั้น ซึ่งก็ปรากฏว่าเมื่อบรรดาอำมาตย์สั่งให้คนไปขุดอาณาบริเวณที่พระราชาเคย ประทับใส่บาตรพระปัจเจกโพธิอยู่เป็นประจำ ก็ปรากฏว่าสามารถพบสมบัติมากมาย บรรดาพวกเสนาอำมาตย์มุขมนตรีพระญาติพระวงศ์และนางกำนัลข้าหลวงชาววังทั้งปวง ต่างก็แซ่ซ้องสรรเสริญในพระปัญญาของพระมหาชนกด้วยความปีติยินดีเป็นยิ่งนัก
  • 15. ขุมทรัพย์ที่ ๒ อยู่ในที่พระอาทิตย์อัสดง ข้อนี้พระมหาชนกได้ทรงแสดงปัญหาว่าเวลาที่พระปัจเจกโพธิจะกลับในทางใด หากพระราชาเคยไปส่งในทางนั้นก็ให้ไปขุดทรัพย์สมบัติ ณ ที่นั้นบรรดาเสนาอำมาตย์ที่เคยพากันไปขุดหาทรัพย์สมบัติบริเวณทิศตะวันตกของวังแล้ว ไม่พบ จึงได้พากันกระทำตามคำของพระมหาชนกด้วยการไปขุดยังบริเวณที่พระราชาเคย ประทับยืนส่งพระปัจเจกโพธิทุกๆ เช้า ซึ่งก็ปรากฏว่าพบทรัพย์สมบัติมากมายอีกครั้งหนึ่งขุมทรัพย์ที่ ๓ อยู่ภายใน พระมหาชนกได้แก้ว่าให้ไปขุดที่ใกล้ประตูพระราชนิเวศน์ซึ่งก็ปรากฏว่ามีทรัพย์สมบัติฝังอยู่บริเวณนั้นจริงขุมทรัพย์ที่ ๔ อยู่ภายนอก พระมหาชนกได้ให้คนไปขุดที่ประตูพระราชนิเวศน์แต่เป็นบริเวณด้านนอก และก็ได้พบทรัพย์สมบัติขุมใหญ่อยู่ ณ บริเวณนั้นเช่นกันขุมทรัพย์ที่ ๕ มิได้อยู่ข้างนอกและมิได้อยู่ข้างใน ในข้อนี้พระมหาชนกได้ให้คนขุดลงที่ธรณีประตูพระราชนิเวศน์แล้วก็พบทรัพย์สมบัติถูกฝังไว้ในนั้นจริง
  • 16. ขุมทรัพย์ที่ ๖ อยู่ในที่ลง ข้อนี้พระมหาชนกให้ขุดหาทรัพย์สมบัติในบริเวณที่พระราชาองค์ก่อนได้เสด็จลง จากคชสารเป็นประจำ ซึ่งก็ได้พบทรัพย์สมบัติฝังอยู่เป็นจำนวนมาก ณ ที่นั้นขุมทรัพย์ที่ ๗ อยู่ในที่ขึ้น ข้อนี้พระมหาชนกให้ขุดที่ประตูขึ้นพระราชนิเวศน์และก็พบว่ามีทรัพย์สมบัติถูกฝังอยู่ในพื้นดินใต้ประตูพระราชนิเวศน์จริงขุมทรัพย์ที่ ๘ อยู่ระหว่างไม้ทั้ง ๔ ข้อนี้พระมหาชนกได้ให้ขุดหาที่บริเวณทวารประตูทั้ง ๔ แห่ง ที่มีพระแท่นทำด้วยไม้รัง ซึ่งพวกทหารก็พบทรัพย์สมบัติทั้ง ๔ แห่งเป็น จำนวนมากขุมทรัพย์ที่ ๙ อยู่ประมาณโยชน์หนึ่ง ข้อนี้พระมหาชนกให้ขุดหาจากบริเวณพระแท่นบรรทมวัดออกไปทั้ง ๔ ศอก คือทั้ง ๔ ทิศ ซึ่งก็พบทพัย์สมบัติเป็นจำนวนมากขุมทรัพย์ที่ ๑๐ อยู่ที่ปลายงา ข้อนี้พระมหาชนกให้ขุดหาที่โรงคชสาร โดยขุดตรงบริเวณที่พระยาเศวตกุญชรนั้นยืนอยู่ และปลายงาโค้งลงจรดดิน ณ บริเวณใดก็ให้ขุดบริเวณนั้น ซึ่งเมื่อขุดแล้วก็พบทรัพย์สมบัติเป็นจำนวนมากเช่นเดิม
  • 17. ด้วยพระปฏิภาณอันปราดเปรื่องของพระมหาชนกนี้ ทำให้บรรดาข้าราชบริพารและพสกนิกรทั้งปวงต่างก็ยกย่องสรรเสริญแซ่ซ้องพระ ปัญญาบารมีของพระมหาชนกกันทั่วไปทั้งนคร ครั้นเมื่อจัดพิธีอภิเษกและพิธี เฉลิมฉลองเสด็จขึ้นครองราชย์แล้ว พระมหาชนกก็จัดให้สร้างโรงทานทั้ง ๖ แห่ง และจ่ายแจกพระราชทรัพย์บำเพ็ญบุญกุศลเป็นเวลา ๗ วัน ๗ คืน และได้เปิดเผยความจริงแก่คนทั้งปวงว่า พระองค์นั้นเป็นพระราชโอรสของพระราชาอริฏฐชนกผู้เป็นเชษฐาของพระเจ้าโปลชนก ผู้สื้นพระชนม์ไปไม่นานนี้นั่นเอง จากนั้นพระมหาชนกก็ครองคู่อยู่กับเจ้าหญิงสิวลีอัครมเหสีอย่างมีความสุข ทรงปกครองบ้านเมืองให้ร่มเย็นเป็นสุขโดยถ้วนหน้า วันหนึ่งพระมหาชนกเสด็จประพาสอุทยานได้ทรงสังเกตเห็นมะม่วงต้นหนึ่งมีลูกดก เต็มต้น จึงได้เก็บมาเสวยลูกหนึ่งแล้วก็ประพาสสวนต่อไปจนกระทั่งเย็นย่ำครั้นเมื่อเสด็จกลับออกไปในเพลาเย็นก็ต้องแปลกพระทัยที่เห็นมะม่วงต้นเดิม นั้นดูทรุดโทรมผิดไปจากเดิม ลูกดกที่เต็มต้นก็หายไป กิ่งก้านที่งดงามก็หักรานยับเยินสิ้นไป เมื่อตรัสถามพนักงานผู้รักษาสวนก็ตอบว่า บรรดาพสกนิกรนั้นพากันมาแย่งยื้อเก็บมะม่วงต้นนี้ไปกิน เพราะเห็นว่าเป็นต้นที่พระราชาได้เสวยในฉับพลันทันใดนั้นเองพระมหาชนกจึงได้ดำริว่า มะม่วงต้นนี้ต้องได้รับความทุกข์ความเดือดร้อนก็เพราะมีลูกเหมือนกับเช่น พระองค์ที่มีพระราชสมบัติมากมาย ซึ่งจะต้องได้รับภัยและได้รับทุกข์ร้อนในวันหนึ่งเช่นกัน
  • 18. นับจากนั้นพระมหาชนกจึงทรงจำศีลบำเพ็ญภาวนาอยู่แต่ในพระตำหนักมิออกว่าราชกิจราชการอีกต่อไป ครั้นเมื่อเวลาล่วงเลยไปถึง ๕ เดือนแล้ว พระมหาชนกก็ให้พระกัลบกปลงพระเกศาและพระมัสสุออกเสียทั้งหมด จากนั้นทรงนุ่งห่มผ้ากาสาวะเตรียมเสด็จออกจากพระราชวังไปบำเพ็ญพรตในป่า ขณะนั้นพระสีวลีอัครมเหสีได้เสด็จขึ้นมาเข้าเฝ้าบนตำหนักหลวงด้วยเพราะมิได้ พบหน้าพระสวามีเป็นเวลา ๕ เดือน ตั้งแต่พระองค์ทรงบำเพ็ญศีลภาวนาอยู่แต่ในพระตำหนัก โดยสั่งห้ามมิให้ผู้ใดเข้าไปรบกวน องค์หญิงสิวลีนั้น เมื่อขึ้นไปบนตำหนักก็พบแต่เครื่องทรงของกษัตริย์วางทิ้งไว้ จึงเฉลียวใจว่าเมื่อครู่นี้ทรงสวนกับพระปัจเจกโพธิองค์หนึ่ง จึงคิดว่าเป็นพระมหาชนกพระสวามีของพระนางเป็นแน่ ดังนั้นองค์หญิงสิวลีจึงพานางสนมกำนัลวิ่งตามพระมหาชนกไปพร้อมกับกันแสงร่ำไห้เรียกหาผู้เป็นพระสวามีของพระนาง องค์หญิงสิวลีได้ทำอุบายให้คนจุดไฟขึ้นทั่วพระนคร แล้วกราบทูลเชิญให้พระมหาชนกเสด็จกลับเข้าวังก่อนที่ไฟจะไหมพระราชวังและ ทรัยพ์สมบัติเสียหมด แต่ทว่าพระมหาชนกก็มิใส่ใจในทรัพย์สมบัตินั้นยังคงเสด็จต่อไปมิหันหลังกลับ พระสิวลีอัครมเหสีจึงให้บรรดาเสนาอำมาตย์มุขมนตรีผู้ใหญ่มาวิงวอนขอร้องให้ พระมหาชนกเสด็จคืนกลับวัง แต่ทว่าพระองค์ก็ยังคงเสด็จมุ่งสู่ป่าดงพงไพร
  • 19. แต่ครั้นเมื่อเห็นว่าคณะของอัครมเหสีและข้าราชบริพารยังตามติดมาไม่หยุดยั้ง จึงได้ทรงขีดเส้นหนึ่งบนพื้นดิน แล้วกล่าวว่า ถ้าเห็นว่าพระองค์ยังเป็นพระราชาอยู่ก็ขอให้ทุกคนจงเชื่อฟังหากบุคคลใดข้าม เส้นนี้ตามไปจะต้องได้รับพระราชอาญาเป็นแน่ เมื่อเป็นดังนั้นคณะข้าราชบริพารก็มิกล้าที่จะตามติดพระองค์ต่อไปอันเป็นการล่วงละเมิดพระราชกระแสรับสั่ง พระสิวลีอัครมเหสีนั้นทรงมีปฏิภาณไหวพริบล้ำเลิศเป็นยิ่งนัก ขณะที่ทรงกันแสงนั้น ก็ได้ทรงกลิ้งเกลือกพระวรกายลงกับพื้นดินจนกระทั่งเส้นที่ขีดบนพื้นดินนั้น จางหายจึงสามารถชักชวนคนทั้งปวงติดตามพระมหาชนกไปได้อีก เมื่อพระมหาชนก ทรงเสด็จเรื่อยไปจนเข้าเขตเมืองปุนันนครและได้ทรงเก็บเนื้อชิ้นหนึ่ง ซึ่งสุนัขคาบวิ่งหนีเจ้าของมาแล้วทำตกลงบนพื้นดิน เมื่อพระอัครมเหสีทอดพระเนตรเห็นพระสวามีหยิบชิ้นเนื้อจากพื้นทรายขึ้นปัด ฝุ่นแล้วใส่ลงในบาตรก่อนจะนำไปนั่งฉันใต้ร่มไม้แห่งหนึ่งนั้น ก็ให้บังเกิดความสลดหดหู่ใจและมั่นใจแล้วว่าชะรอยพระสวามีคงจะมุ่งมั่น ฝักใฝ่ในทางธรรม ปรารถนาจะประพฤติองค์เป็นนักบวชโดยไม่กลับคืนสู่พระนครเป็นแน่แล้ว แต่ด้วยความอาลัยรักพระอัครมเหสีจึงยังทรงตามเสด็จพระมหาชนกเรื่อยไป พระมหาชนกได้ทรงสังเกตเห็นเด็กผู้หญิงเล็กๆ คนหนึ่ง ใส่กำไลมือทั้งสองข้าง มือข้างหนึ่งใส่กำไลเส้นเดียวกำไลนั้นก็ไม่เกิดเสียงอันใด ในข้อที่มืออีกข้างหนึ่งใส่กำไลสองเส้น กำไลทั้งสองก็กระทบกันดังกรุ๊งกริ๊งตลอดเวลา พระมหาชนกจึงดำริว่าสตรีนั้นเป็นมลทินของการประพฤติพรหมจรรย์สมควรที่จะให้ พระอัครมเหสีหยุดติดตามและแยกทางไปเสียอีกทางหนึ่ง ครั้นเมื่อถึงทาง ๒ แพร่ง พระมหาชนกจึงตรัสแก่พระมเหสีว่า“น้องหญิงเอ๋ย น้องจงเลือกเอาเถิดว่าจะไปทางซ้ายหรือทางขวา ขอให้เราแยกทางเดินกันนับแต่นี้เถิด”
  • 20. พระนางสิวลีทรงเลือกทางซ้าย ครั้นเมื่อพระมหาชนกเสด็จแยกทางไปยังเบื้องขวาแล้ว พระอัครมเหสีก็ยังแอบตามเสด็จไปทางเบื้องหลังของพระมหาชนกอีกด้วยความอาลัย รักอย่างลึกซึ้งและมิอาจหักห้ามพระทัยได้เมื่อถูกพระสวามีตัดรอนความสัมพันธ์อย่างสิ้นเยื่อขาดใยเช่นนั้น พระอัครมเหสีถึงกับร้องไห้ฟูมฟายปิ่มว่าจะขาดใจ แม้จะร่ำไห้จนสิ้นสติไปก็มิอาจจะทำให้พระมหาชนกหันหลังกลับมาดังเดิมได้พระนางสิวลีอัครมเหสีจึงทรงได้คิดว่าพระมหาชนกผู้เป็นพระสวามีของพระนางนั้น สามารถสละได้ซึ่งราชบัลลังก์และทรัพย์สมบัติทั้งหลายทั้งปวง แล้วเหตุไฉนตัวพระนางนั้นจะยังมีความอาลัยอาวรณ์ในทรัพย์สมบัติทั้งปวงอยู่ อีกเล่า เมื่อดำริได้ดังนั้นพระนางสิวลีจึงรับสั่งต่อข้าราชบริพารและนางข้าหลวงทั้ง ปวงว่า พระนางจะออกตามเสด็จพระมหาชนกไปบรรชาด้วยเช่นกัน ขอให้อภิเษกเจ้าองค์อื่นขึ้นเสวยราชย์ต่อไปเถิด หลังจากนั้นพระนางสิวลีก็เสด็จออกบวช ครั้นเมื่อสิ้นพระชนม์ในภพนี้แล้ว ก็ได้ไปจุติบนสรวงสวรรค์เช่นเดียวกับพระมหาชนก
  • 22. มงคล ๓๘ ประการ มงคลคือเหตุแห่งความสุข ความก้าวหน้าในการดำเนินชีวิต ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้ให้พุทธศาสนิกชนได้พึงปฏิบัติ นำมาจากบทมงคลสูตรที่พระพุทธเจ้าตรัสตอบปัญหาเทวดาที่ถามว่า คุณธรรมอันใดที่ทำให้ชีวิตประสบความเจริญหรือมี "มงคลชีวิต" ซึ่งมี ๓๘ ประการได้แก่ V V V V V V V V V V V V V
  • 23.
  • 24. ๑ การไม่คบคนพาล อย่าคบมิตร ที่พาล สันดานชั่วจะพาตัว เน่าดิบ จนฉิบหายแม้ความคิด ชั่วช้า อย่ากล้ำกรายเป็นมิตรร้าย ภายใน ทุกข์ใจครัน. ท่านว่าลักษณะของคนพาลมี ๓ ประการคือ ๑. คิดชั่ว คือการมีจิตคิดอยากได้ในทางทุจริต มีความพยาบาท และมิจฉาทิฏฐิ คือเห็นผิดเป็นชอบ ๒. พูดชั่ว คือคำพูดที่ประกอบไปด้วยวจีทุจริตเช่น พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ และพูดเพ้อเจ้อ ๓. ทำชั่ว คือทำอะไรที่ประกอบด้วยกายทุจริตเช่น การฆ่าสัตว์ ลักขโมย ฉ้อโกง ฉุดคร่าอนาจาร ประพฤติผิดในกาม รูปแบบของคนพาล มีข้อควรสังเกตุคือ ๑. ชอบแนะนำไปในทางที่ผิด หรือที่ไม่ควรแนะนำ อาทิเช่น แนะนำให้ไปเล่นการพนัน ให้ไปลักขโมย ให้กินยาบ้า ให้เสพยา ชวนไปฉุดคร่าอนาจาร เป็นต้น เหล่านี้ถือว่าเป็นพาล ๒. ชอบทำในสิ่งที่ไม่ใช่ธุระ อาทิเช่น ไม่ทำงานตามหน้าที่ของตนให้เรียบร้อย แต่กลับชอบจะไปก้าวก่ายยุ่งกับหน้าที่การงานของผู้อื่น หรือไปจับผิดเพื่อนร่วมงาน แกล้ง ยุยง นินทาว่าร้ายกันและกัน เป็นต้น    
  • 25. ๓. ชอบทำผิดโดยเห็นสิ่งผิดเป็นของดี อาทิเช่น การสูบยาได้เป็นฮีโร่ เห็นคนที่ซื่อสัตย์เป็นคนโง่ไม่กินตามน้ำ ชอบรับสินบน ทุจริตในหน้าที่ หรือช่วยพวกพ้องให้พ้นจากความผิด เป็นต้น ๔. จะโกรธเคืองเมื่อพูดเตือน อาทิเช่น การเตือนเรื่องการเที่ยวเตร่ เตือนเรื่องการดื่มเหล้า กลับบ้านดึก เตือนเรื่องการคบเพื่อนเป็นต้น คนพวกนี้จะโกรธเมื่อได้รับการตักเตือน และไม่รับฟัง ๕. ไม่มีระเบียบวินัย อาทิเช่น ไม่เข้าคิวตามลำดับก่อนหลัง แต่ชอบแซงคิวอย่างหน้าด้านๆ ทิ้งขยะลงคลอง หรือข้างทาง ไม่เคารพกฏหมายของบ้านเมือง หรือของท้องถิ่น เป็นต้น
  • 26. ๒ การคบบัณฑิต ควรคบหา บัณฑิต เป็นมิตรไว้จะช่วยให้ พ้นทุกข์ สบสุขสันต์ความคิดดี เลิศล้ำ ยิ่งสำคัญควรคบกัน อย่าเขว ทุกเวลา. บัณฑิต หมายถึงผู้ทรงความรู้ มีปัญญา มีจิตใจที่งาม และมีการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง รู้ดีรู้ชั่ว (ไม่ใช่คนที่จบปริญญาโดยนัย) มีลักษณะดังนี้คือ ๑. เป็นคนคิดดี คือการไม่คิดละโมบ ไม่พยาบาทปองร้ายใคร รู้จักให้อภัย เชื่อเรื่องบาปบุญคุณโทษ ความกตัญญูรู้คุณเป็นต้น ๒. เป็นคนพูดดี คือวจีสุจริต พูดจริง ทำจริงไม่โกหก ไม่พูดหยาบ ถากถาง นินทาว่าร้าย ๓. เป็นคนทำดี คือทำอาชีพสุจริต มีเมตตา ทำทานเป็นปกตินิสัย อยู่ในศีลธรรม ทำสมาธิภาวนา รูปแบบของบัณฑิต มีข้อควรสังเกตุคือ
  • 27. ๑. ชอบชักนำในทางที่ถูกที่ควร อาทิเช่นการชักนำให้เลิกทำในสิ่งที่ผิด ตักเตือนให้ทำความดีอย่างเช่น ให้เลิกเล่นการพนันเป็นต้น ๒. ชอบทำในสิ่งที่เป็นธุระ อาทิเช่นการทำหน้าที่ของตนให้ลุล่วง และใช้เวลาที่มีอยู่ให้เป็นประโยชน์ ไม่ก้าวก่ายเรื่องของผู้อื่นเว้นแต่จะได้รับการร้องขอ ๓. ชอบทำและแนะนำสิ่งที่ถูกที่ควร อาทิเช่นการพูดและทำอย่างตรงไปตรงมา แนะนำการทำทานที่ถูกต้อง ทำตนให้เป็นประโยชน์ต่อคนอื่น ๔. รับฟังดี ไม่โกรธ อาทิเช่นเมื่อมีคนมาว่ากล่าวก็ไม่ถือโทษ หรือโกรธ หรือทำอวดดี แต่จะรับฟังแล้วนำไปพิจารณาโดยยุติธรรม แล้วนำมาแก้ไขปรับปรุง ๕. รู้ระเบียบ กฏกติกามรรยาทที่ดี อาทิเช่นการรักษาระเบียบวินัยขององค์กร เพื่อให้หมู่คณะมีความเป็นระเบียบ และการดำเนินงานไม่สับสน หรือการรักษาความสะอาด ปฏิบัติ และเคารพกฏของสถานที่ ไม่ทำตามอำเภอใจ
  • 28. ๓. การบูชาบุคคลที่ควรบูชา ควรบูชา ไตรรัตน์ ขัตติเยศร์ผู้วิเศษ ก่อเกื้อ เหนือเกศาครูอาจารย์ เจดีย์ ที่สักการ์ด้วยบุปผา ปฏิบัติ สวัสดิ์การ การบูชา คือการแสดงความเคารพบุคคลที่เรานับถือ ยกย่อง เลื่อมใสในบุคคลคนนั้น ซึ่งการบูชาแบ่งออกเป็น ๒ อย่างคือ ๑. อามิสบูชา คือการบูชาด้วยสิ่งของเช่น การนำเงินให้พ่อแม่ไว้ใช้จ่าย หรือมอบทรัพย์สินให้พ่อแม่ หรือการนำดอกไม้ ธูปเทียนไปบูชาพระก็ถือเป็นอามิสบูชาเป้นต้น ๒.ปฏิบัติบูชา คือการบูชาด้วยการเจริญสมาธิภาวนา การฝึกจิตให้ไม่ฟุ้งซ่าน เห็นความจริงในความเป็นไปของโลกเป็นต้น
  • 29. บุคคลที่ควรบูชา มีดังนี้คือ ๑.พระพุทธเจ้า (คงไม่ต้องอธิบาย) ๒.พระปัจเจกพระพุทธเจ้า หมายถึงพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา ๓.พระมหากษัตริย์ผู้ตั้งอยู่ในทศพิศราชธรรม ๔.บิดามารดา ๕.ครูอาจารย์ ที่มีความรู้ดี มีความสามารถ และประพฤติดี ๖.อุปัชฌาย์ หรือผู้บังคับบัญชาที่มีความประพฤติดี ตั้งอยู่ในธรรม
  • 30. ๔. การอยู่ในถิ่นอันสมควร เป็นเมืองกรุง ทุ่งนา หรือป่าใหญ่ทางมา-ไป ครบครัน ธัญญาหารมีคนดี ที่ศึกษา พยาบาลปลอดภัยพาล ควรอยู่กิน ถิ่นนั้นแล. ถิ่นอันสมควรควรประกอบด้วยสิ่งแวดล้อม ๔ อย่างได้แก่ ๑.อาวาสเป็นที่สบาย หมายถึงอยู่แล้วสบาย เช่นสะอาด เดินทางไปมาสะดวก อากาศดี เป็นแหล่งชุมชน ไม่มีแหล่งอบายมุขเป็นต้น ๒.อาหารเป็นที่สบาย หมายถึงอาหารการกินอุดมสมบูรณ์ เช่นมีแหล่งอาหารที่สามารถจัดซื้อหามาได้ง่าย เป็นต้น ๓.บุคคลเป็นที่สบาย หมายถึงที่ที่มีคนดี จิตใจโอบอ้อมอารี ถ้อยทีถ้อยอาศัย มีศีลธรรม ไม่มีโจร นักเลง หรือใกล้แหล่งอิทธิพลเป็นต้น ๔.ธรรมะเป็นที่สบาย หมายถึงมีที่พึ่งด้านธรรมะ มีที่ฟังธรรมเช่น มีวัดอยู่ในละแวกนั้น มีโรงเรียน หรือแหล่งศึกษาหาความรู้เป็นต้น
  • 31. ๕. เคยทำบุญมาก่อน กุศลบุญ คุณล้ำ เคยทำไว้จะส่งให้ สวยเด่น เช่นดวงแขทั้งทรัพย์ยศ ไมตรี มีเย็นแดเพราะกระแส บุญเลิศ ประเสริฐนัก. ขึ้นชื่อว่าบุญนั้น มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้คือ ๑. ทำให้กาย วาจา และใจ สะอาดได้ ๒. นำมาซึ่งความสุข ๓. ติดตามไปได้ หมายถึงบุญจะติดตัวเราไปได้ตลอดจนถึงชาติหน้า ๔. เป็นของเฉพาะตน หมายถึงขอยืม หรือแบ่งกันไม่ได้ ทำเองได้เอง ๕. เป็นที่มาของโภคทรัพย์ทั้งหลาย คือว่าผลของบุญจะบันดาลให้เกิดขึ้นได้เองโดยไม่ได้หวังผล ๖. ให้มนุษย์สมบัติ ทิพย์สมบัติ และนิพพานสมบัติแก่เราได้ หมายถึงความสมบูรณ์ตั้งแต่ทางโลก จนถึงนิพพานได้เลย
  • 32. ๗. เป็นปัจจัยให้ถึงซึ่งนิพพาน ก็คือเป็นปัจจัยในการส่งเสริมให้บรรลุถึงนิพพานได้เร็วขึ้นเมื่อปฏิบัติ ๘. เป็นเกราะป้องกันภัยในวัฏสังสาร หมายถึงในวงจรการเกิด แก่ เจ็บ ตาย หรือที่เรียกว่าเวียนว่ายตายเกิดนั้น บุญจะคุ้มครองให้ผู้นั้นเกิดในที่ดี อยู่อย่างมีความสุข หรือตายอย่างไม่ทรมาน ขึ้นอยู่กับกำลังบุญที่สร้างสมมา การทำบุญนั้นมีหลายวิธี แต่พอสรุปได้สั้นๆดังนี้คือ ๑.การทำทาน ๒.การรักษาศีล ๓.การเจริญภาวนา
  • 33. ๖. การตั้งตนชอบ ต้องตั้งตน กายใจ ในทางถูกเร่งฝังปลูก ตนไว้ ให้ถูกหลักเมื่อตัวตน ยังมี เป็นที่รักควรพิทักษ์ ให้งาม ตามเวลา. หมายถึงการดำเนินชีวิตอย่างมีเป้าหมาย ด้วยความถูกต้องและสุจริต อยู่ในสัมมาอาชีพ มีแผนการที่จะไปให้ถึงจุดหมายนั้นด้วยความไม่ประมาท มีการเตรียมพร้อม และมีความอดทนไม่ละทิ้งกลางคัน
  • 34. ๗ ความเป็นพหูสูตร การสนใจ ใฝ่คว้า หาความรู้ให้เป็นผู้ แก่เรียน เพียรศึกษามีศีลดี สติมั่น เกิดปัญญาย่อมนำพา ตัวรอด เป็นยอดดี. คือเป็นผู้ที่ฟังมาก เล่าเรียนมาก เป็นผู้รอบรู้ โดยมีลักษณะดังนี้คือ ๑.รู้ลึก คือการรู้ในสิ่งนั้นๆ เรื่องนั้นๆ อย่างหมดจดทุกแง่ทุกมุม อย่างมีเหตุมีผล รู้ถึงสาเหตุจนเรียกว่าความชำนาญ ๒.รู้รอบ คือการรู้จักช่างสังเกตในสิ่งต่างๆ รอบตัว เช่นเหตุการณ์แวดล้อมเป็นต้น ๓.รู้กว้าง คือการรู้ในสิ่งใกล้เคียงกับเรื่องนั้นๆ ที่เกี่ยวข้องกัน สัมพันธ์กันเป็นต้น ๔.รู้ไกล คือการศึกษาถึงความเป็นไปได้ ผลในอนาคตเป็นต้น ถ้าอยากจะเป็นพหูสูตก็ควรต้องมีคุณสมบัติดังว่านี้คือ ๑.ความตั้งใจฟัง ก็คือชอบฟัง ชอบอ่านหาความรู้ และค้นคว้าเป็นต้น ๒.ความตั้งใจจำ ก็คือรู้จักวิธีจำ โดยตั้งใจอ่านหรือฟังในสิ่งนั้นๆ และจับใจความให้ได้ ๓.ความตั้งใจท่อง ก็คือท่องให้รู้โดยอัตโนมัติ ไม่ลืม ในสิ่งที่เป็นสาระสำคัญ ๔.ความตั้งใจพิจารณา ก็คือการรู้จักพิจารณา ตรึกตรองในสิ่งนั้นๆอย่างทะลุปรุโปร่ง ๕.ความเข้าใจในปัญหา ก็คือการรู้อย่างแจ่มแจ้งในปัญหาอย่างถ่องแท้ด้วยปัญญา
  • 35. ๘ การรอบรู้ในศิลปะ ศิลปะ ต่างอย่าง ทางอาชีพควรเร่งรีบ เรียนรู้ ชูศักดิ์ศรีมีบางคน จนอับ กลับมั่งมีฉลาดดี มีศิลป์ หากินพอ. ศิลปะ คือสิ่งที่แสดงออกถึงความงดงาม และมีความสุนทรีย์ โดยลักษณะของมันมีดังนี้คือ ๑.มีความปราณีต ๒.ทำให้ของดูมีค่ามากขึ้น ๓.ทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ ๔.ไม่ทำให้เกิดกามกำเริบ ๕.ไม่ทำให้เกิดความพยาบาท ๖.ไม่ทำให้เกิดความเบียดเบียน ถ้าท่านอยากเป็นคนมีศิลปะ ควรต้องฝึกให้มีคุณสมบัติเหล่านี้ไว้ในตัวคือ ๑.มีศรัทธาในความงดงามของสิ่งต่างๆ ๒.หมั่นสังเกตและพิจารณา ๓.มีความปราณีต อารมณ์ละเอียดอ่อน ๔.เป็นคนสุขุม มีความคิดสร้างสรรค์
  • 36. ๙. มีวินัยที่ดี อันวินัย นำระเบียบ สู่เรียบร้อยคนใหญ่น้อย เปรมปรีดิ์ ดีนักหนาวินัยสร้าง กระจ่างข้อ ก่อศรัทธาเพราะรักษา กติกา พาร่วมมือไม่พูดเท็จ พูดสอดเสียด และพูดมากละความยาก สร้างวิบาก ฝากยึดถือคนหมู่มาก มักถางถาก ปากข่าวลือต้องสัตย์ซื่อ ถือวินัย ใช้ร่วมกัน. วินัย ก็คือข้อกำหนด ข้อบังคับ กฏเกณฑ์เพื่อควบคุมให้มีความเป็นระเบียบนั่นเอง มีทั้งวินัยของสงฆ์และของคนทั่วไป สำหรับของสงฆ์นั้นมีทั้งหมด ๗ อย่างหรือเรียกว่า อนาคาริยวินัย ส่วนของบุคคลทั่วไปก็มี ๑๐ อย่าง คือการละเว้นจากอกุศลกรรม ๑๐ ประการ อนาคาริยวินัยของพระมีดังนี้ ๑.ปาฏิโมกขสังวร คือการอยู่ในศีลทั้งหมด ๒๒๗ ข้อ การผิดศีลข้อใดข้อหนึ่งก็ถือว่าต้องโทษแล้วแต่ความหนักเบา เรียงลำดับกันไปตั้งแต่ ขั้นปาราชิก สังฆาทิเสส ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฎ ทุพภาสิต เป็นต้น(ความหมายของแต่ละคำมันต้องอธิบายเยอะ จะไม่กล่าวในที่นี้)
  • 37. ๒.อินทรียสังวร คือการสำรวมอายตนะทั้ง ๕ และกาย วาจา ใจ ให้อยู่กับร่องกับรอย โดยอย่าไปเพลิดเพลินติดกับสิ่งที่มาสัมผัสเหล่านั้น ๓.อาชีวปาริสุทธิสังวร คือการหาเลี้ยงชีพในทางที่ชอบ นั่นก็คือการออกบิณฑบาตร ไม่ได้เรียกร้อง เรี่ยไรหรือเที่ยวขอเงินชาวบ้านมาเพื่อความอุดมสมบูรณ์ของตัวเอง ๔.ปัจจยปัจจเวกขณะ คือการพิจารณาในสิ่งของทั้งหลายถึงคุณประโยชน์โดยเนื้อแท้ของสิ่งของเหล่า นั้นอย่างแท้จริง โดยใช้เพื่อบริโภค เพื่อประโยชน์ ความอยู่รอด และความเป็นไปของชีวิตเท่านั้น วินัยสำหรับฆราวาส หรือบุคคลทั่วไป เรียกว่าอาคาริยวินัย มีดังนี้ (อกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ) ๑.ไม่ฆ่าชีวิตคน หรือสัตว์ไม่ว่าน้อย ใหญ่ ๒.ไม่ลักทรัพย์ ยักยอกเงิน สิ่งของมาเป็นของตัว ๓.ไม่ประพฤติผิดในกาม ผิดลูกผิดเมีย ข่มขืนกระทำชำเรา ๔.ไม่พูดโกหก หลอกลวงให้หลงเชื่อ หรือชวนเชื่อ ๕.ไม่พูดส่อเสียด นินทาว่าร้าย ยุยงให้คนแตกแยกกัน ๖.ไม่พูดจาหยาบคาย ให้เป็นที่แสลงหูคนอื่น ๗.ไม่พูดจาไร้สาระ หรือที่เรียกว่าพูดจาเพ้อเจ้อไม่มีสาระ เหตุผล หรือประโยชน์อันใด ๘.ไม่โลภอยากได้ของเขา คือมีความคิดอยากเอาของคนอื่นมาเป็นของเรา ๙.ไม่คิดร้าย ผูกใจเจ็บ แค้น ปองร้ายคนอื่น ๑๐.ไม่เห็นผิดเป็นชอบ เช่น เห็นว่าพ่อแม่ไม่มีความสำคัญ บุญหรือกรรมไม่มีจริงเป็นต้น
  • 38. ๑๐ กล่าววาจาอันเป็นสุภาษิต เปล่งวจี สัจจะ นวลละม่อมกล่าวเลลี้ยกล่อม ไพเราะ กาลเหมาะสมเจือประโยชน์ เมตตา ค่านิยมรื่นอารมณ์ ผู้ฟัง ดังเสียงทอง. คำว่าวาจาอันเป็นสุภาษิตในที่นี้มิได้หมายถึงเพียงว่า ต้องเป็นคำร้อยกรอง ร้อยแก้ว เป็นคำคมบาดใจมีความหมายลึกซึ้งเท่านั้น แต่รวมถึงคำพูดที่ดี มีประโยชน์ต่อผู้ฟัง ซึ่งสรุปว่าประกอบด้วยลักษณะดังนี้ ๑.ต้องเป็นคำจริง คือข้อมูลที่ถูกต้อง มีหลักฐานอ้างอิงได้ ไม่ได้ปั้นแต่งขึ้นมาพูด ๒.ต้องเป็นคำสุภาพ คือพูดด้วยภาษาที่สุภาพ มีความไพเราะในถ้อยคำ ไม่มีคำหยาบโลน หรือคำด่า ๓.พูดแล้วมีประโยชน์ คือมีประโยชน์ต่อผู้ฟังถ้าหากนำแนวทางไปคิด หรือปฏิบัติในทางสร้างสรรค์ ๔.พูดด้วยจิตที่มีเมตตา คือพูดด้วยจิตใจที่มีความปรารถนาดีต่อผู้ฟัง มีความจริงใจต่อผู้ฟัง ๕.พูดได้ถูกกาลเทศะ คือพูดในสถานที่เหมาะสม และในเวลาที่เหมาะสม โดยความเหมาะสมจะมีมากน้อยเช่นไรก็ขึ้นอยู่กับเรื่องที่พูด
  • 39. ๑๑ การบำรุงบิดามารดา คนที่หา ได้ยาก มากไฉนเพราะว่าใน โลกนี้ มีเพียงสองคือพ่อแม่ เกิดเกล้า เหล่าลูกต้องตอบสนอง พระคุณ ได้บุญแรง ท่านว่าพ่อแม่นั้นเปรียบได้เป็นทั้ง ครูของลูก เทวดาของลูก พรหมของลูก และอรหันต์ของลูก ความหมายโดยละเอียดมีดังต่อไปนี้คือ ที่ว่าเป็นครูของลูก เพราะว่าท่านได้คอยอบรมสั่งสอนลูก เป็นคนแรกก่อนคนอื่นใดในโลก ที่ว่าเป็นเทวดาของลูก เพราะว่าท่านจะคอยปกป้อง คุ้มครอง เลี้ยงดู ประคบประหงมมาตั้งแต่อ้อนแต่ออก บำรุงให้เติบใหญ่เป็นอย่างดี ไม่ให้เกิดอันตรายต่อลูกในทุกด้าน ที่ว่าเป็นพรหมของลูก เพราะว่าท่านมีพรหมวิหาร ๔ นั่นก็คือ มีเมตตา หมายถึงความเอ็นดู ความปรารถนาดีต่อลูกในทุกๆด้าน ไม่มีที่สิ้นสุด มีกรุณา หมายถึงให้ความกรุณาต่อลูก ลูกอยากได้อะไรก็หามาให้ลูก ให้การศึกษาเล่าเรียน ส่งเสียเท่าที่มีความสามารถจะให้ได้ มีมุทิตา หมายถึงความรักที่ยอมสละได้แม้ชีวิตของตัวเองเพื่อลูก ยอมเสียสละได้ทุกอย่าง และมีอุเบกขา หมายถึงการวางเฉย ไม่ถือโกรธเมื่อลูกประมาท ซน ทำผิดพลาดเพราะความไร้เดียงสา หรือเพราะความไม่รู้
  • 40. ที่ว่าเป็นอรหันต์ของลูก เพราะว่าท่านมีคุณธรรม ๔ ประการอันได้แก่ เป็นผู้มีอุปการะคุณต่อลูก คืออุปการะเลี้ยงดูมาด้วยความเหนื่อยยาก กว่าจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ เป็นผู้มีพระเดชพระคุณต่อลูก คือให้ความอบอุ่นเลี้ยงดู ปกป้องจากภยันตรายต่างๆ นานา เป็นเนื้อนาบุญของลูก คือลูกเป็นส่วนหนึ่งของกรรมดีที่พ่อแม่ได้ทำไว้ และเป็นผู้รับผลบุญ ที่พ่อแม่ได้สร้างไว้แล้วทางตรง เป็นอาหุไนยบุคคล คือเป็นเหมือนพระที่ควรแก่การเคารพนับถือและรับของบูชา เพื่อเทอดทูนไว้เป็นแบบอย่าง การทดแทนพระคุณบิดามารดาท่านสามารถทำได้ดังนี้ ระหว่างเมื่อท่านยังมีชีวิตอยู่ ก็เลี้ยงดูท่านเป็นการตอบแทน ช่วยเหลือเป็นธุระเรื่องการงานให้ท่าน ดำรงวงศ์ตระกูลให้สืบไปไม่ทำเรื่องเสื่อมเสีย รวมทั้งประพฤติตนให้ควรแก่การเป็นสืบทอดมรดกจากท่าน ครั้นเมื่อท่านล่วงลับไปแล้ว ก็ทำบุญอุทิศกุศลให้ท่าน ส่วนการเป็นลูกกตัญญูต่อพ่อแม่ในคำสอนของพระพุทธเจ้าท่านกล่าวว่าไว้ดังนี้ ๑.ถ้าท่านยังไม่มีศรัทธา ให้ท่านถึงพร้อมด้วยศรัทธา คือพยายามให้ท่านมีความศรัทธาในพระพุทธศาสนา เชื่อในเรื่องการทำดี ๒.ถ้าท่านยังไม่มีศีล ให้ท่านถึงพร้อมด้วยศีล คือพยายามให้ท่านเป็นผู้รักษาศีล ๕ ให้ได้ ๓.ถ้าท่านเป็นคนตระหนี่ ให้ท่านถึงพร้อมด้วยการให้ทาน คือพยายามให้ท่านรู้จักการให้ด้วยเมตตาโดยไม่หวังผลตอบแทน ๔.ถ้าท่านยังไม่ทำสมาธิภาวนา ให้ท่านถึงพร้อมด้วยปัญญา คือพยายามให้ท่านหัดนั่งทำสมาธิภาวนาให้ได้
  • 41. ๑๒ การสงเคราะห์บุตร เป็นมารดา บิดา ทำหน้าที่ให้บุตรมี พำนัก เป็นหลักแหล่งส่งเสริมบุตร ธิดาตน กุศลแรงย่อมส่องแสง เพิ่มพูน ตระกูลวงศ์ คำว่าบุตรนั้น มีอยู่ ๓ ประเภทได้แก่ ๑.อภิชาติบุตร คือบุตรที่มีความดี คุณธรรม และความสามารถเหนือกว่าบิดา มารดา ๒.อนุชาตบุตร คือบุตรที่มีความดี คุณธรรม และความสามารถเสมอบิดา มารดา ๓.อวชาตบุตร คือบุตรที่มีความดี คุณธรรม และความสามารถต่ำกว่าบิดา มารดา การที่เราเป็นพ่อ เป็นแม่ของบุตรนั้น มีหน้าที่ที่ต้องให้กับลูกของเราคือ ๑.ห้ามไม่ให้ทำความชั่ว ๒.ปลูกฝัง สนับสนุนให้ทำความดี ๓.ให้การศึกษาหาความรู้ ๔.ให้ได้คู่ครองที่ดี (ใช้ประสพการณ์ของเราให้คำปรึกษาแก่ลูก ช่วยดูให้) ๕.มอบทรัพย์ให้ในโอกาสอันควร (การทำพินัยกรรม ก็ถือว่าเป็นสิ่งถูกต้อง)
  • 42. ๑๓.การสงเคราะห์ภรรยา มีคู่ครอง ต้องไม่ทำ ให้ช้ำจิตจะพาผิด ไปข้าง ทางผุยผงต้องสงเคราะห์ แก่กัน ให้มั่นคงรักยืนยง ด้วยกัน ถึงวันตาย เมื่อว่าด้วยเรื่องคนที่จะมาเป็นคู่ครองของชาย หรือที่เรียกว่าจะมาเป็นภรรยานั้น ในโลกนี้ท่านแบ่งลักษณะของภรรยาออกเป็น ๗ ประเภทได้แก่ ๑.วธกาภริยา หมายถึงภรรยาเสมอด้วยเพชรฆาต เป็นพวกที่มีจิตใจคิดไม่ดี ชอบทำร้าย ชอบด่าทอสาปแช่ง คิดฆ่าสามี หรือมีชู้กับชายอื่น ๒.โจรีภริยา หมายถึงภรรยาเสมอด้วยโจร เป็นคนล้างผลาญ สร้างหนี้สิน หาได้เท่าไรก็ไม่พอ หรือเอาเรื่องในบ้านไปโพทนาให้คนข้างนอกรับรู้ทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียง ๓.อัยยาภริยา หมายถึงภรรยาเสมอด้วยนาย เป็นคนชอบข่มสามีให้อยู่ในอำนาจ ไม่ให้เกียรติสามีเมื่ออยู่ต่อหน้าผู้อื่น ชอบสั่งการหรือเอาแต่ใจตัวเอง เห็นสามีเป็นคนไร้ความสามารถ แต่ตัวเองเป็นผู้นำ ๔.มาตาภริยา หมายถึงภรรยาเสมอด้วยแม่ คือผู้ที่มีความรักต่อสามีอย่างสุดซึ้ง ไม่เคยทอดทิ้งแม้ยามทุกข์ยาก ป่วยไข้ ไม่ทำให้มีเรื่องสะเทือนใจ
  • 43. ๕.ภคินีภริยา หมายถึงภรรยาเสมอด้วยน้องสาว คือผู้ที่มีความเคารพต่อสามีในฐานะพ่อบ้าน แต่ขัดใจกันบ้างตามประสาคนใกล้ชิดกันแล้วก็ให้อภัยกัน โดยไม่คิดพยาบาท เดินตามแนวทางของสามี ต้องพึ่งพาสามี ๖.สขีภริยา หมายถึงภรรยาเสมอด้วยเพื่อน ต่างคนต่างก็มีอะไรที่เหมือนกัน ความสามารถพอกัน ไม่จำเป็นต้องพึ่งพากัน ไม่ค่อยยอมกัน เป็นตัวของตัวเอง แต่ก็รักกันและช่วยเหลือกันโดยต่างคนต่างทำหน้าที่ของตัวเอง ๗.ทาสีภริยา หมายถึงภรรยาเสมอด้วยคนรับใช้ คือภรรยาที่อยู่ภายใต้คำสั่งสามีโดยไม่มีข้อโต้แย้ง สามีเป็นผู้เลี้ยงดู สั่งอะไรก็ทำอย่างนั้น แม้จะไม่เห็นด้วยก็ไม่ออกความเห็น อดทนทำงานตามหน้าที่ตามแต่สามีจะสั่งการ แม้ถูกดุด่า เฆี่ยนตีก็ยังทนอยู่ได้โดยไม่โต้ตอบ ท่านว่าคนที่จะมาเป็นสามี ภรรยาได้ดีหรือคู่สร้างคู่สมนั้นควรต้องมีคุณสมบัติดังนี้ ๑.สมสัทธา คือมีศรัทธาเสมอกัน ๒.สมสีลา คือมีศีลเสมอกัน ๓.สมจาคะ คือมีการเสียสละเหมือนกัน ๔.สมปัญญา คือมีปัญญาเสมอกัน เมื่อได้แต่งงานกันแล้ว แต่ละฝ่ายก็มีหน้าที่ที่ต้องทำดังนี้ สามีมีหน้าที่ต่อภรรยาคือ ๑.ยกย่องนับถือว่าเป็นภรรยา คือการแนะนำเปิด�