SlideShare a Scribd company logo
1 of 15
Download to read offline
1. องคุลีมาล
ท่านเกิดในวรรณะพรามหณ์ เมืองสาวัตถี บิดาชื่อภัคควะ เป็น
ปุโรหิตของพระเจ้าปเสนทิโกศล มารดาชื่อ มันตานี มีชื่อเดิมว่า อหิงสกะ มี
ความเป็นอยู่สุขสบาย เมื่อเจริญวัยได้ไปศึกษาศิลปวิทยาในสานักของ
อาจารย์ทิศาปาโมกข์เมืองตักกสิลา ท่านตั้งใจศึกษาอย่างเต็มที่ ขณะเดียวกัน
ก็รับใช้อาจารย์และภรรยาด้วยความเคารพจึงทาให้ท่านเป็นที่โปรดปราน
มาก จนศิษย์คนอื่น ๆ พากันอิจฉาริษยาและใส่ร้ายท่านต่าง ๆนานา โดย
ที่สุดกล่าวหาว่าท่านเป็นชู้กับภรรยาของอาจารย์ ในที่สุดอาจารย์ก็หลงเชื่อ
จึงวางแผนฆ่าท่าน โดยบอกว่าศิษย์ที่ศึกษาจบศิลปวิทยานั้นต้องให้ครุ
ทักษิณา (ของบูชาครู) แก่อาจารย์ กล่าวคือ นิ้วมือขวาของคน 1,000 นิ้วด้วย
เชื่อว่าท่านจะต้องถูกฆ่าตายเสียก่อน อหิงสกะกุมารจึงออกล่านิ้วเมือคน และนามาร้อยเป็นพวงมาลัยคล้อง
ไหล่ เป็นเหตุให้ได้ชื่อว่า “องคุลีมาล” (ผู้มีนิ้วเป็นพวงมาลัย) ต่อมาความทราบถึงพระเจ้า ปเสนทิโกศล
พระองค์จึงรับสั่งให้จัดกาลังทหารออกตามล่าท่าน
วันหนึ่ง โจรองคุลีมาลนับนิ้วมือยังขาดอีกนิ้วเดียวก็จะครบ 1,000 นิ้ว ตั้งใจว่าเมื่อจบการศึกษาแล้วก็
จักกลับไปเยี่ยมบิดามารดา จึงออกจากกลางป่ามายืนดักอยู่ที่ปากทางเข้าป่า ฝ่ายนางมันตานีซึ่งเป็นมารดา
ของท่านทราบว่ากองทัพของพระเจ้าปเสนทิโกศลกาลังมา จึงเดินมุ่งหน้าไปทางป่าที่โจรองคุลีมาลซ่อนอยู่
และวันนั้นพระพุทธเจ้าก็ได้ทรงตรวจดูอุปนิสัยของเวไนยสัตว์ ทรงเห็นอุปนิสัยของโจรองคุลีมาลจะ
สามารถบรรลุมรรคผลได้ จึงรีบเสด็จไปโปรดทันเวลาที่นางมันตานีมาถึง
เมื่อโจรองคุลีมาลเห็นพระพุทธเจ้าก็วิ่งไล่ตามพระพุทธเจ้าเพื่อประสงค์จะฆ่าและตัดเอานิ้วมือ
พระพุทธเจ้าทรงแสดงปาฏิหาริย์ให้โจรองคุลีมาลวิ่งตามไม่ทันจนรู้สึกเหนื่อยล้า แล้วหยุดยืนอยู่กับที่ร้องขึ้น
ว่า “หยุดก่อน สมณะ หยุดก่อน” พระพุทธเจ้าตรัสตอบว่า “เราหยุดแล้ว แต่ท่านยังไม่หยุด” พอพระพุทธเจ้า
อธิบายให้ทราบว่า เราหยุดฆ่าสัตว์แล้ว แต่ท่านยังไม่หยุด จึงพิจารณาตามและได้บรรลุโสดาปัตติผล ยอมทิ้ง
ดาบก้มลงกราบพระบาทและทูลขอบวช พระพุทธเจ้าทรงบวชให้ตามที่ทูลขอ ครั้นบวชแล้วเจริญวิปัสสนา
จนได้บรรลุอรหัตผลในเวลาต่อมา
ใบความรู้
เรื่อง พุทธสาวก
ภายหลังบรรลุอรหัตผลแล้ว ขณะเสวยวิมุตติสุขอยู่นั้นเกิดปีติโสมนัส ท่านได้แสดงความรู้สึกว่า
“ผู้ใดประมาทมาก่อนแล้วเลิกประมาทเสียได้ภายหลัง ผู้นั้นย่อมเป็นเหมือนพระจันทร์ที่โผล่พ้นเมฆหมอก
คือทาโลกนี้ให้สว่างไสวได้”
ต่อมาท่านออกบิณฑบาต แต่กลับถูกขว้างปาด้วยก้อนดินและท่อนไม้จนบาตรแตก ตัวท่านก็
บาดเจ็บ จึงจาต้องกลับมาเฝ้าพระพุทธเจ้าที่วัดเชตวัน พระพุทธเจ้าทรงสอนท่านให้อดทน และทรงสอนว่า
ท่านกาลังได้รับผลกรรมที่ทาไว้ ท่านจึงแผ่เมตตาจิตไปในสรรพสัตว์ ท่านได้รับสรรเสริญว่าเป็นพระเถระ
ประเภท “ต้นคดปลายตรง” คือ เบื้องต้นประมาทพลาดพลั้ง แต่ต่อมากลับเนื้อกลับตัวเป็นพระสาวกที่ดี เป็น
ตัวอย่างของอนุชนรุ่นหลังเป็นอย่างดี
2. พระอานนท์
พระอานนท์ เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าอมิโตทนะ พระ
อนุชาของพระเจ้าสุทโธทนะ พระมารดาพระนามว่า กีสาโคตมี ท่าน
จึงเป็นพระอนุชาของพระพุทธเจ้า ท่านออกบวชพร้อมกับ เจ้าชาย
ภัททิยะ เจ้าชายภคุ เจ้าชายกิมพิละ เจ้าชายอนุรุทธะ เจ้าชายเทวทัต
กับนายภูษามาลา ชื่อว่าอุบาลี
หลังจากบวชแล้ว ท่านได้ฟังโอวาทของพระปุณณมันตานี
บุตร ได้บรรลุโสดาปัตติผลและได้มารับหน้าที่พุทธอุปัฏฐาก
ปรนนิบัติพระพุทธเจ้า จนกระทั่งหลังพระพุทธเจ้าปรินิพพานได้ 3
เดือนจึงได้บรรลุอรหันตผล และท่านบรรลุพระอรหันตผลโดยไม่อยู่
ในอริยบถ 4 คือ ยืน เดิน นั่ง นอน นั่นคือ ท่านบรรลุพระอรหันตผลภายหลังจากที่ได้ปฏิบัติธรรมทั้งคืน
ขณะที่จะเอนกายลงนอนบนเตียง พอยกเท้าพ้นจากพื้นแต่ศีรษะยังไม่ทันถึงหมอน จิตของท่านก็หลุดพ้นจาก
อาสวะทั้งหลาย คลายความยึดมั่นลงได้
ในขณะที่พระพุทธเจ้าหลังจากตรัสรู้แล้วไม่มีพุทธอุปัฏฐาก พระสงฆ์สาวกต่างก็ผลัดกันทาหน้าที่
อยู่รับใช้พระพุทธเจ้า ต่อมาพระสงฆ์สาวกเห็นสมควรว่าจักต้องมีภิกษุรูปใดรูปหนึ่งมาทาหน้าที่นี้ และ
พระสงฆ์ทั้งหลายก็ขอร้องให้ท่านรับหน้าที่ พระอานนท์จึงขอพร (เงื่อนไข) 8 ประการต่อพระพุทธเจ้าก่อน
รับหน้าที่พุทธอุปัฏฐาก ดังนี้
1. พระพุทธองค์ต้องไม่ประทานจีวรอย่างดีแก่ท่าน
2. ต้องไม่ประทานบิณฑบาตอย่างดีแก่ท่าน
3. ต้องไม่ให้ท่านอยู่ในพระคันธกุฎีเดียวกับพระพุทธองค์
4. ต้องไม่นาท่านไปในที่นิมนต์ด้วย
5. ต้องเสด็จไปในที่นิมนต์ที่ท่านรับไว้
6. ต้องให้คนที่มาแต่ไกลเพื่อเฝ้าได้เฝ้าทันที
7. ต้องให้ทูลถามข้อสงสัยได้ทุกเมื่อ
8. ถ้าไม่มีโอกาสไปฟังธรรมที่ทรงแสดง ขอให้ทรงแสดงซ้าให้ท่านฟังด้วย
สาหรับเหตุผลที่ท่านขอพร 8 ประการนั้น ได้แก่ พรที่ 1-4 เพื่อ
แสดงให้เห็นว่า ที่ท่านรับตาแหน่งพุทธอุปัฏฐาก มิใช่เพื่อลาภสักการะ
และพรที่ 5 –7 เพื่อแสดงว่าท่านเป็นผู้มีความปรารถนาจะปฏิบัติหน้าที่
พุทธอุปัฏฐากอย่างอุทิศและให้เกิดประสิทธิภาพเป็นที่ยอมรับของ
พระพุทธเจ้าและพุทธบริษัท พระอานนท์ได้ทาหน้าที่พุทธอุปัฏฐากได้
เป็นอย่างดียิ่ง จนได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่าเป็นเอตทัคคะ
(ความเป็นเลิศกว่าผู้อื่น) 5 ประการ ได้แก่
1. เป็นพหูสูต (ทรงจาพุทธวจนะได้มากที่สุด)
2. เป็นผู้มีสติ
3. เป็นผู้มีคติ (แนวในการจาพุทธวจนะ)
4. เป็นผู้มีธิติ (ความเพียร)
5. เป็นพุทธอุปัฏฐากผู้เลิศ
ในช่วงสุดท้ายแห่งพระชนม์ชีพของพระพุทธเจ้า พระอานนท์ได้ตามเสด็จจากเมืองราชคฤห์ไปยัง
เมืองกุสินาราได้รับถ่ายทอดพระพุทธโอวาทมากมาย ที่ยังมิเคยตรัสที่ไหนมาก่อน และหลังจากพระพุทธเจ้า
ปรินิพพานแล้ว ท่านได้ถ่ายทอดให้ที่ประชุมสงฆ์อันประกอบด้วยพระอรหันต์ทรงอภิญญา 500 รูปฟังและ
ในการสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งแรกนี้ ท่านได้ทาหน้าที่วิสัชนาพระธรรม เมื่อท่านอายุได้ 120 พรรษา ถึง
เวลานิพพาน พระญาติทั้งสองฝั่งน้าโรหิณีต่างก็ปรารถนาให้ท่านนิพพาน ณ บ้านเมืองของตนพระอานนท์จึง
เข้าเตโชสมาบัติเหาะขึ้นในอากาศ อธิษฐานให้ร่างของท่านแตกออกเป็นสองส่วน ส่วนหนึ่งตกลง ณ ฝั่ง
เมืองกบิลพัสดุ์อีกส่วนหนึ่งตกลง ณ ฝั่งเมืองเทวทหะ เพื่อให้พระญาติทั้งสองฝ่ายนาอัฐิธาตุของท่านไปบรรจุ
ไว้บูชา
3. นายสุมนมาลาการ
สุมนมาลาการ เป็นชาวเมืองราชคฤห์ เข้ามีหน้าที่นาดอกมะลิวันละ 8
ทะนาน ไปถวายพระเจ้าพิมพิสารแต่เช้าตรู่ทุกวัน ได้ทรัพย์วันละ 8 กหาปณะ
ต่อมาเช้าวันหนึ่ง ขณะที่เขากาลังถือดอกไม้จะเข้าประตูเมือง พระพุทธเจ้าเสด็จ
ออกบิณฑบาตพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ทรงเปล่งพระรัศมีด้วยพุทธานุภาพอันยิ่งใหญ่
เขาเห็นอัตภาพของพระพุทธเจ้าแล้วเกิดความเลื่อมใส พลางคิดว่าถึงแม้จะถูก
พระราชาเมื่อไม่ได้รับดอกไม้จะฆ่าเราหรือขับไล่เราออกจากเมืองก็ตาม เราก็จัก
บูชาพระพุทธเจ้า จึงนาดอกไม้ที่จะถวายพระราชาทั้ง 8 ทะนานบูชาพระพุทธเจ้า
เมื่อถวายแล้วได้มีความปลาบปลื้มปิติยินดีเป็นยิ่งนักและได้ตามเสด็จ
พระพุทธเจ้าไปหน่อยหนึ่งแล้ว ก็ถือกระเช้าเปล่าเดินกลับบ้านไปด้วยสีหน้าอันเอิบ
อิ่ม เมื่อถึงบ้าน นายสุมนมาลาการได้เล่าเรื่องที่ตนได้นาดอกไม้บูชาพระพุทธเจ้าให้ภรรยาฟัง ถูกภรรยาซึ่ง
เป็นหญิงไม่มีศรัทธาในพระพุทธศาสนาด่าว่าเขาว่าจักนาความพินาศมาให้ตระกูลและรีบนาความเข้ากราบ
ทูลพระราชา และทูลความที่ตนไม่เห็นดีเห็นงามด้วย ฝ่ายพระเจ้าพิมพิสาร พระองค์ทรงเต็มเปี่ยมด้วยศรัทธา
ในพระพุทธศาสนา เมื่อได้สดับดังนั้น ทรงทราบว่าหญิงนี้เป็นผู้ไม่มีศรัทธา จึงทรงทาเหมือนกับทรงกริ้ว
แล้วรีบเสด็จไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ถวายบังคมแล้วตามเสด็จไป
พระพุทธเจ้าเมื่อจะทรงประกาศเกียรติคุณของนายมาลาการให้ปรากฎแก่มหาชนทั่วไป จึงประทับที่
พระลานหลวงไม่เสด็จเข้าไปในพระราชวัง พระราชาได้ถวายภัตตาหารแก่พระพุทธเจ้าและภิกษุสงฆ์ ตาม
ส่งพระพุทธเจ้าเสด็จกลับวัดเวฬุวันแล้ว จึงมีรับสั่งให้นายสุมนมาลาการเข้าเฝ้า เมื่อนายสุมนมาลามาเข้าเฝ้า
แล้ว พระเจ้าพิมพิสารตรัสยกย่องสรรเสริญเขาว่าเป็นมหาบุรุษ แล้วพระราชทานสิ่งของ 8 ชนิด ได้แก่ ช้าง
ม้า ทาส ทาสี เครื่องประดับ นารี อย่างละแปด และทรัพย์อีก 8 พันกหาปณะ และบ้านส่วยอีก 8 ตาบล
ตกเย็นวันนั้น พระภิกษุทั้งหลายพากันสนทนาในโรงธรรม กล่าวถึงเรื่องการบูชาพระพุทธเจ้าของ
นาย สุมนมาลาการแล้วได้รับของพระทาน 8 อย่างจากพระเจ้าพิมพิสาร พระพุทธเจ้าเสด็จมาตรัสว่า ภิกษุ
ทั้งหลาย บุคคลทากรรมใดแล้วไม่เดือดร้อนในภายหลัง เป็นผู้เอิบอิ่ม มีความสุขใจ นั่นแหละเรียกว่า กรรมดี
1. นางจูฬสุภัททา
นางจูฬสุภัททา เป็นธิดาของเศรษฐีชื่อว่า อนาถบิณฑิก ชาวเมืองสาวัตถี
แคว้นโกศล ซึ่งบิดาของนางเป็นผู้เลื่อมใสในพระพุทธเจ้าและเคารพพระสงฆ์เป็น
อย่างมาก ท่านได้สร้างวัดชื่อว่า "เชตวัน" ถวายด้วย อนาถบิณฑิกเศรษฐีมีบุตรชาย
1 คน ธิดา 3 คน ท่านได้ปลูกฝังให้ลูก ๆ ได้ซาบซึ้งในคุณของพระรัตนตรัยด้วย
นอกจากนี้ท่านยังได้นิมนต์พระสงฆ์มาฉันที่เรือนของท่านเป็นประจา และได้มอบ
หน้าที่การจัดเลี้ยงดังกล่าวแก่นางมหาสุภัททา
ต่อมาเมื่อนางมหาสุภัททาแต่งงานมีครอบครัว หน้าที่การจัดเลี้ยงพระสงฆ์
จึงตกแก่นางจูฬสุภัททา ซึ่งนางก็ได้จัดการอย่างไม่ขาดตกบกพร่องครั้งหนึ่งเพื่อน
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี ชื่อว่า อุคคะ เป็นเศรษฐีอยู่ในเมืองอุคคนครได้เดินทางมา
ค้าขายที่เมืองสาวัตถีและได้แวะพักอยู่กับอนาถบิณฑิกเศรษฐี อนาถบิณฑิก
เศรษฐีก็ได้มอบภาระการจัดเลี้ยงให้แก่นางจูฬสุภัททา ซึ่งนางก็ได้ทาอย่างเรียบร้อยเป็นที่ถูกใจของ
อุคคเศรษฐี อุคคเศรษฐีจึงได้ขอนางให้แต่งงานกับบุตรชายของตน และเนื่องจากเศรษฐีทั้งสองได้เคยสัญญา
กันไว้ว่าเมื่อมีบุตรธิดาก็จะให้แต่งงานกัน ซึ่งอนาถบิณฑิกเศรษฐีก็ยอมรับและตกลงยินยอมให้แต่งงานกัน
เนื่องจากอุคคเศรษฐี มีความเลื่อมใสและนับถือศาสนาอื่นนอกจากพุทธศาสนา ก่อนที่นางจูฬสุภัททา
จะเดินทางไปอยู่กับครอบครัวของสามี อนาถบิณฑิกเศรษฐีจึงเรียกลูกสาวเข้ามาอบรมสั่งสอนด้วยหลักคา
สอน 10 ประการ ได้แก่
1. ไฟในอย่านาออก หมายถึง อย่านาเอาความลับหรือเรื่องไม่ดีในครอบครัวไปพูดให้คนภายนอกฟัง
2. ไฟนอกอย่านาเข้า หมายถึง อย่านาเอาเรื่องไม่ดีจากภายนอกบ้านมาเล่าให้คนในบ้านฟัง
3. จงให้แก่คนที่ให้ หมายถึง คนที่ยืมของไปแล้วส่งคืน ภายหลังก็ควรให้ยืมอีก
4. จงอย่าให้แก่คนที่ไม่ให้ หมายถึง คนที่ยืมของไปแล้วไม่ส่งคืน ภายหลังไม่ควรให้ยืมอีก
5. จงให้แก่คนที่ให้และไม่ให้ หมายถึง ญาติมิตรแม้ยืมของไปแล้วจะคืนหรือไม่คืนก็ตาม ก็ควรให้ยืม
6. จงนั่งให้เป็นสุข หมายถึง อย่านั่งในที่ซึ่งเมื่อพ่อผัว แม่ผัว หรือสามีเดินผ่าน ตนเองจะต้องลุกขึ้น
7. จงนอนให้เป็นสุข หมายถึง เมื่อพ่อผัว แม่ผัว และสามีเข้านอนแล้ว ตนเองจึงเข้านอน
8. จงกินให้เป็นสุข หมายถึง เมื่อพ่อผัว แม่ผัว และสามีได้กินอิ่มแล้ว ตนเองจึงจะกินได้
ใบความรู้
เรื่อง พุทธสาวิกา
9. จงบูชาไฟ หมายถึง ให้มีความเคารพ ยาเกรง พ่อผัว แม่ผัว และสามี
10. จงบูชาเทวดา หมายถึง ให้ดูแลเอาใจใส่ พ่อผัว แม่ผัว และสามี เป็นอย่างดี
คราวหนึ่ง อุคคเศรษฐี ได้กระทาการมงคล จึงได้เชื้อเชิญพวกชีเปลือยมาทานอาหารที่บ้าน แล้วให้
คนไปบอกแก่นางจูฬสุภัททาเพื่อให้มาไหว้พวกชีเปลือย พอนางเห็นพวกชีเปลือยนางก็ไม่ไหว้ อุคคเศรษฐี
จึงโกรธนางมากและให้ภรรยาถามนางว่าสมณะที่นางนับถือเป็นอย่างไร มีคุณวิเศษเพียงไร นางจึงได้
พรรณาคุณของพระพุทธเจ้าและเหล่าพระสาวกให้แม่สามีและคนอื่น ๆ ฟัง ดังนี้
- พระสมณะของดิฉันเป็นผู้มีกาย วาจา ใจ สงบ เดินสารวม ตาทอดมองต่า พูดพอประมาณ
- พระสมณะของดิฉันเป็นผู้ประพฤติสะอาด หมดจด บริสุทธิ์ ทั้งกาย วาจา ใจ
- พระสมณะของดิฉันเป็นผู้บริสุทธิ์ปราศจากมลทินทั้งภายในและภายนอก
- พระสมณะของดิฉันเป็นผู้ไม่ยินดียินร้ายในคราวมีลาภ เสื่อมลาภ มียศ เสื่อมยศ มีสรรเสริญ มีนินทา
ดังชาวโลกประพฤติกัน เป็นผู้มีจิตใจมั่นคงไม่หวั่นไหวในเหตุดังกล่าว
เมื่อภรรยาของเศรษฐีได้ฟังดังนั้น ก็เกิดความเลื่อมใสใคร่จะได้เห็นพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระสาวก
จึงให้นางจูฬสุภัททานิมนต์มา นางจึงได้ทูลนิมนต์พระพุทธเจ้าพร้อมพระสงฆ์สาวกมาฉันภัตตาหารที่บ้าน
ในวันรุ่งขึ้น เมื่อเศรษฐี ภรรยา พร้อมทั้งบริวารเห็นพระพุทธเจ้าและพระสงฆ์สาวกจึงเกิดความเลื่อมใส ได้
ฟังพระธรรมเทศของพระพุทธเจ้าได้บรรลุโสดาปัตติผล นับว่านางจูฬสุภัททาเป็นพุทธสาวิกาตัวอย่างใน
เรื่องของการปฏิบัติตนตามหลักธรรมคาสอนและการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
2. พระปฏาจาราเถรี
พระปฏาจาราเถรี เป็นธิดาของเศรษฐีในเมือง
สาวัตถี แคว้นโกศล นางมีสิริโฉมที่งดงามเป็นที่หมาย
ปองของชายหนุ่มทั่วไป ครั้นเจริญวัยได้ 16 ปี บิดาจึง
ได้ให้นางอยู่บนคฤหาสน์ไม่ยอมให้พบปะกับผู้ชายอื่น
นอกจากบิดาและคนใช้ชื่อนายจุลล์เท่านั้น ต่อมา
นางปฏาจาราเกิดรักใคร่ชอบพอกับนายจุลล์โดยที่ไม่มี
ใครล่วงรู้ และเมื่อบิดามีความประสงค์จะให้นาง
แต่งงานกับชายหนุ่มผู้มีฐานะเสมอกัน นางจึงนัดแนะ
กับชายคนใช้นั้น และพากันหนีไปอยู่ต่างถิ่นแดนไกล
สามีประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป ส่วนนางอยู่เฝ้า
กระท่อมทาหน้าที่เก็บฟืนหุงหาอาหารทางานทุกอย่าง
ได้รับความทุกข์ลาบากอย่างแสนสาหัส
ต่อมานางปฏาจาราได้ตั้งครรภ์บุตรคนแรก จนครรภ์แก่ใกล้คลอดนางมีความประสงค์จะกลับไป
คลอดบุตรที่บ้านของบิดามารดาตามธรรมเนียมลัทธิพราหมณ์ นางจึงอ้อนวอนสามีให้พาไป แต่สามีไม่
ยินยอมเนื่องจากเกรงว่าจะถูกเศรษฐีลงโทษ จนกระทั่งวันหนึ่ง เมื่อสามีออกไปทางานรับจ้างนางปฏาจารา
จึงได้แอบหนีกลับไปบ้านเดิมของตน แต่ระหว่างนางเกิดเจ็บท้องและได้คลอดลูกเมื่อสามีกลับมาบ้านไม่
เห็นภรรยา จึงตามหาจนพบและพากลับมาที่กระท่อม เมื่อนางตั้งครรภ์บุตรคนที่สอง ก็มีความประสงค์จะ
กลับไปคลอดบุตรที่บ้านเดิมเช่นเดียวกัน และเมื่อสามีไม่ยินยอม นางจึงแอบหนีไปอีกครั้งหนึ่งพร้อมกับนา
บุตรคนโตไปด้วย ระหว่างทางนางก็เกิดเจ็บท้องและคลอดลูก ขณะนั้นได้มีพายุฝนนอกฤดูตกลงอย่างหนัก
นางประสบความทุกข์ยากอย่างแสนสาหัส จนกระทั่งสามีตามมาถึง นางจึงให้สามีไปตัดไม้เพื่อทาเพิงกั้น
ขณะที่สามีกาลังตัดไม้อยู่ใกล้จอมปลวกได้ถูกงูพิษกัดตาย รุ่งเช้านางได้จูงลูกคนโตและอุ้มลูกคนเล็กที่เกิด
ใหม่เพื่อตามหาสามี ไปพบสามีตอนตายอยู่ เกิดความเศร้าโศกอย่างแรงกล้า ร้องไห้คร่าครวญเดินมุ่งตรงไป
ยังเมืองสาวัตถี
ครั้นนางเดินมาถึงแม่น้าอจิรวดีเกิดน้าท่วมอย่างหนัก น้าไหลอย่างเชี่ยวกรากเพราะฝนตกหนักใน
ตอนกลางคืนที่ผ่านมา นางจึงอุ้มลูกคนเล็กข้ามฝั่งไปก่อน เมื่อถึงอีกฝั่งหนึ่งแล้วจึงเอาใบไม้ปูรองให้ลูกคน
เล็กนอน แล้วกลับมาเพื่อรับลูกคนโตอีกฝั่งหนึ่งเมื่อนางไปถึงกลางแม่น้าขณะนั้นมีนกเหยี่ยวตัวหนึ่งโฉบลง
จิกเอาลูกน้อยไปด้วยมองเห็นว่าเป็นชิ้นเนื้อนางจึงได้ยกมือโบกไล่พร้อมกับตระโกนด้วยเสียงอันดังลูกคน
โตที่ยืนอยู่บนฝั่งคิดว่าแม่เรียกให้ไปหาจึงถลาลงน้า ถูกน้าที่ไหลเชี่ยวกรากพัดพาหายไป
นางปฏาจาราร้องไห้ราพันว่า "ผัวของเราถูกงูกัดตาย ลูกคนเล็กถูกเหยี่ยวเฉี่ยวเอาไป ลูกคนโตถูกน้า
พัดตาย" จึงตั้งสติเพื่อที่จะกลับไปยังบ้านเดิม ระหว่างทางได้ทราบว่าคนในตระกูลของนางตายหมดแล้ว
เพราะถูกคฤหาสน์ล้มทับเมื่อคืนนี้ นางจึงเสียสติเดินร้องไห้ราพันจนผ้าผ่อนหลุดลุ่ย คนทั้งหลายจึงเรียกนาง
ว่าเป็นคนบ้า พร้อมกับกาดินบ้าง ฝุ่นบ้าง ไปเข้าใส่นางเพื่อขับไล่
วันหนึ่ง ขณะที่พระพุทธเจ้าแสดงธรรมอยู่ในพระเชตวัน นาง
ไปยืน ณ ที่นั้น คนทั้งหลายเห็นนางจึงพากันขับไล่ไม่ให้นางเข้าไปใน
ที่แสดงธรรม แต่พระพุทธเจ้ากลับตรัสบอกให้นางเข้ามา และตรัสว่า
"เจ้าจงตั้งสติให้ดี" นางกลับได้สติดังเดิม และได้ห่มผ้าที่มีใครคนหนึ่ง
โยนให้ นางนั่งฟังพระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทรงปรารภถึงความ
ไม่เที่ยงแท้ของสรรพสิ่งได้พิจารณาไปตามพระธรรมเทศนานั้นแล้ว
ได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน ได้กราบทูลขอบวชเป็นพระภิกษุณี
พระพุทธเจ้าประทานอนุญาต หลังจากบวชไม่นานพระภิกษุณีปฏา-
จาราได้บาเพ็ญสมณธรรม ต่อมาได้ฟังพระธรรมเทศนาว่า คนไม่เห็น
ความสิ้นไปและความเสื่อมไปแห่งปัญจขันธ์ แม้อยู่ร้อยปีก็ไม่
ประเสริฐเท่าคนรู้เห็นอยู่วันเดียว นางได้พิจารณาตามไปและเมื่อฟังจบ
ก็ได้บรรลุอรหัตผล
พระพุทธเจ้าทรงยกย่องพระปฏาจาราเถรีว่า เป็นยอดแห่งพระเถรีผู้ทรงพระวินัย คือทรงจาพระวินัย
มาก ท่านได้ทางานเพื่อเป็นการสงเคราะห์ อนุเคราะห์ต่อบุคคลอื่นเช่นเดียวกับพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์
อื่น ๆ ที่ได้กระทามา
3. พระธัมมทินนาเถรี
ธัมมทินนาเป็นชาวเมืองราชคฤห์ เมื่อเจริญวัยแล้วได้เป็นภริยา
ของท่านวิสาขเศรษฐี ผู้สหายของพระเจ้าพิมพิสาร วิสาขเศรษฐีได้เข้า
เฝ้าพระพุทธเจ้าครั้งแรกพร้อมกันกับพระเจ้าพิมพิสาร ได้บรรลุโสดา
ปัตติผลตั้งแต่วันนั้น ต่อมาวันหนึ่ง ท่านเศรษฐีได้รับฟังธรรมของ
พระพุทธเจ้าแล้วได้บรรลุอนาคามิผล ปกติพระอริยบุคคลระดับ
อนาคามีละความต้องการทางเพศได้แล้ว
วันนั้น นางธัมมทินนาไม่ทราบว่าสามีบรรลุอนาคามิผลแล้ว
เมื่อเห็นสามีกลับมาถึงบ้าน ยืนอยู่หัวบันไดก็ยื่นมือส่งให้หมายจะให้
สามีเกาะ ปรากฏว่าสามีไม่เกาะและไม่พูดว่าอะไร สร้างความสงสัย
ให้แก่นางมาก เมื่อสามีรับประทานอาหารอิ่มแล้ว นางไม่สบายใจคิดว่าตนเองทาอะไรผิดสามีคงโกรธจึง
สอบถามดู เมื่อท่านวิสาขเศรษฐีอธิบายให้ฟังถึงสาเหตุไม่แตะต้องกายเธอ และบอกว่านับแต่บัดนี้ไปเธอ
ประสงค์ทรัพย์เท่าใด จงรับเอาไปตามใจชอบแล้วกลับไปครอบครัวเดิมเสียเถิด
นางธัมมทินนาจึงบอกสามีว่าถ้าเช่นนั้นฉันขออนุญาตไปบวชเป็นภิกษุณี สามีก็อนุญาต และเพื่อ
เป็นเกียรติแก่ภรรยา วิสาขเศรษฐีจึงขอพระราชทานวอทองจากพระเจ้าพิมพิสารแห่นางรอบเมืองอย่าง
สมเกียรติ
เมื่อนางธัมมทินนาบวชแล้วก็ลาอุปัชฌาย์อาจารย์ไปปฏิบัติธรรมในป่าซึ่งอยู่ต่างเมือง อีกไม่นานก็
ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ เป็นผู้แตกฉานในปฏิสัมภิทา เมื่อบรรลุพระอรหันต์แล้วก็กลับมาโปรดอดีตสามี
และญาติมิตร จึงไปบิณฑบาตทางบ้านเดิมของตน วิสาขเศรษฐีอดีตสามีพบท่านจึงนิมนต์ไปฉันภัตตาหาร
พลางคิดว่า พระเถรีคงอยากจะสึกจึงลองถามปัญหากับพระเถรี พระเถรีตอบได้อย่างถูกต้องและแจ่มแจ้งจน
หมดปัญญาที่จะถามต่อ จึงรู้แน่ว่าพระเถรีได้บรรลุพระอรหันต์แล้ว จึงมีความยินดียิ่งและกล่าวอนุโมทนา
พระพุทธเจ้าทรงยกย่องพระธรรมทินนาเถรีว่าเป็นยอดทางด้านธรรมกถึก มีปัญญาเฉลียวฉลาด
แสดงธรรมได้อย่างแตกฉาน
1. พระโพธิญาณเถร
ชาติภูมิ - พระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท) เกิดเมื่อวันที่
17 มิถุนายน พ.ศ. 2461 ตรง กับ วันศุกร์ ขึ้น 7 ค่า เดือน 7 ปี
มะเมีย ณ บ้านสนจิกก่อ หมู่ที่ 9 ตาบลธาตุ อาเภอวารินชาราบ
จังหวัดอุบลราชธานี บิดาชื่อ นายมา ช่วงโชติ มารดาชื่อ นาง
พิมพ์ ช่วงโชติ มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 10 คน
การศึกษา – พระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท) ได้รับ
การศึกษาชั้นประถมศึกษา ณ โรงเรียนบ้านก่อ ตาบลธาตุ อาเภอ
วารินชาราบ จังหวัดอุบลราชธานี จนจบชั้นประถมปีที่ 1 แล้ว
ได้ลาออกจากโรงเรียนเพราะมีจิตใจใฝ่ทางบวชเรียน
บรรพชา – ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อเดือน
มีนาคม พ.ศ. 2474 โดยมีพระครูวิจิตรธรรมภาณี (พะวง) อดีตเจ้าอาวาสวัดมณีวนาราม เป็นพระอุปัชฌาย์
ภายหลังเมื่อบวชเรียนแล้ว ได้เรียนหนังสือธรรม เรียนบาลีไวยากรณ์ เรียนมูลกัจจายน์ ต่อมาได้ลาสิกขามา
ช่วยบิดามารดาประกอบอาชีพเกษตรกรรม
อุปสมบท – ต่อมาเมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ท่านได้อุปสมบท เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2482 ณ
พัทธสีมา วัดก่อใน ตาบลธาตุ อาเภอวารินชาราบ จังหวัดอุบลราชธานี โดยมี พระครูอินทรสารคุณ เป็นพระ
อุปัชฌาย์ พระครูวิรุฬสุตการ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการสอน เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้นาม
ฉายาว่า สุภทฺโท
เมื่ออุปสมบทแล้ว ท่านได้ตั้งใจศึกษาปริยัติธรรม จนจบนักธรรมชั้นเอก หลังเสร็จภารกิจทาง
การศึกษาแล้วประกอบกับท่านเกิดธรรมสังเวชคราวโยมบิดาเสียชีวิต จึงหันมาสู่การปฏิบัติธรรม โดยออก
ธุดงค์และศึกษาหาแนวทางปฏิบัติ ได้ทุ่มเทให้กับการปฏิบัติธรรม ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2497 ท่านได้ดาเนินการ
สร้างวัดป่าขึ้น ชื่อว่า “วัดหนองป่าพง” และท่านดารงตาแหน่งเจ้าอาวาสมาโดยตลอด มีผู้มาประพฤติปฏิบัติ
ธรรมมากมาย รวมทั้งได้รับนิมนต์ไปเผยแพร่ธรรมในต่างประเทศด้วย
สมณศักดิ์ – พระโพธิญาณเถร ชา สุภทฺโท) ได้ดารงตาแหน่งทางการคณะสงฆ์และได้รับพระราชทาน
ใบความรู้
เรื่อง ชาวพุทธตัวอย่าง
สมณศักดิ์ ดังนี้
วันที่ 29 เมษายน 2516 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดหนองป่าพง
วันที่ 5 ธันวาคม 2516 ได้รับการสถาปนาเป็นพระราชาคณะ ที่ “พระโพธิญาณเถร”
วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2527 ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์
วันที่ 6 มิถุนายน 2521 ได้รับพัดพัฒนาเชิดชูเกียรติ จากกรมการศาสนา เป็นต้น
มรณภาพ – พระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท) ได้มรณภาพ เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2535 เวลา 05.30 น.
อย่างสงบ ท่ามกลางธรรมสังเวชของศิษยานุศิษย์จากทุกสารทิศ
การเผยแผ่พระพุทธศาสนา
พระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท) หลังจาก
อุปสมบทแล้ว ท่านได้ออกธุองค์และศึกษาหาแนวทาง
ปฏิบัติกับครูบาอาจารย์ในสานักต่างๆ เช่น หลวงปู่มั่น
หลวงปู่กินรี พออินทรีย์แก่กล้าแล้ว ก็ออกธุดงค์ปฏิบัติ
ธรรมต่อไปเรื่อยๆ และหลังจากที่ท่านได้สร้างวัด
หนองป่าพงแล้ว ท่านก็ได้ให้ความรู้และการประพฤติ
ปฏิบัติธรรมต่อพุทธศาสนิกชนทั้งชาวไทยและชาว
ต่างประเทศ รวมทั้งได้รับอาราธนาไปเผยแพร่ธรรมใน
ต่างประเทศ ทั้งยุโรป และอเมริกา จนในปัจจุบันได้
ขยายสาขาของวัดหนองป่าพงไปทั้งในกว่าสองร้อยสาขา และขยายไปยังต่างประเทศอีกกว่าสิบสาขา มี
พระภิกษุชาวต่างชาติที่สนใจบวชอยู่ในสังกัดวัดหนองป่าพงประมาณเกือบสองร้อยรูป อยู่ตามสาขาวัด
หนองป่าพงทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งพระภิกษุเหล่านี้ ต่างก็เป็นกาลังสาคัญในการประกาศ
พระพุทธศาสนาให้กว้างไกลออกไปอีกด้วย
2. พระพรหมคุณาภรณ์
พระพรหมคุณาภรณ์ หรือที่รู้จักกันในนาม พระธรรมปิฎก
(ป.อ. ปยุตฺโต) นามเดิม ประยุทธ์ นามสกุล อารยางกูร เกิดเมื่อวันที่
12 มกราคม 2481 ที่อาเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี บรรพชา
เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2494 สอบเปรียญธรรม 9 ประโยคได้ขณะ
ยังเป็นสามเณร จึงได้รับการอุปสมบทในพระบรมราชานุเคราะห์
เป็นนาคหลวง ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อวันที่
24 กรกฎาคม 2504 สอบได้ปริญญาพุทธศาสตรบัณฑิต (เกียรติ
นิยมอันดับ 1) จากมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เมื่อปี พ.ศ. 2505
และสอบได้วิชาชุดครูพิเศษมัธยม (พ.ม.) เมื่อปี พ.ศ. 2506
สมณศักดิ์
พ.ศ. 2512 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ที่ พระศรีวิสุทธิโมลี
พ.ศ. 2516 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นราช ที่ พระราชวรมุนี
พ.ศ. 2530 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ที่ พระเทพเวที
พ.ศ. 2536 ได้รับพระราชาทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ที่ พระธรรม
ปิฎก
ผลงาน
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต) มีผลงานที่มากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานเผยแพร่พระพุทธศาสนา
ปรากฏในหลายลักษณะ ทั้งในด้านการสอน การบรรยาย การปาฐกถา การอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
และการแสดงพระธรรมเทศนา ท่านได้รับอาราธนาไปสอนวิชาการทางพระพุทธศาสนา ณ มหาวิทยาลัยชั้น
นาในต่างประเทศหลายครั้ง
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต) ยังเป็นพระสงฆ์ไทยที่ได้รับการระบุอาราธนาแสดงปาฐกถาในที่
ประชุมนานาชาติ ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศหลายครั้ง เช่น ปาฐกถาในการประชุม The
International Conference on Higher Education and the Promotion of Peace เรื่อง Buddhism and Peace ซึ่ง
จัดขึ้นที่โรงแรมเอเชีย กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2529 บรรยายในการประชุม Buddhistic Knowledge
Exchange Programme in Honour of His Majesty the King of Thailand เรื่อง Identity of Buddhism ซึ่งจัด
โดยองค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก (พสล.) เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2530
ในส่วนงานนิพนธ์นั้น พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต)
จะนิพนธ์ในลักษณะตารา เอกสารทางวิชาการ และหนังสือ
อธิบายธรรมทั่วๆ ไป เป็นที่รู้จักแพร่หลายในวงวิชาการ มี
จานวนมากกว่า 230 เรื่อง เช่น พุทธธรรม, พจนานุกรมพุทธ
ศาสตร์ : ฉบับประมวลธรรม, พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับ
ประมวลศัพท์, ธรรมนูญชีวิต, การศึกษาของคณะสงฆ์ : ปัญหา
ที่รอทางออก, การศึกษาที่สากลบนรากฐานแห่งภูมิปัญญาไทย,
Thai Buddhism in the Buddhist Economics, พุทธศาสนาในฐานะเป็นรากฐานของวิทยาศาสตร์, นิติศาสตร์
แนวพุทธ เป็นต้น
นอกจากนี้ท่านยังได้รับนิมนต์เป็นที่ปรึกษาของ มหาวิทยาลัยมหิดล ในการสร้างพระไตรปิฎกฉบับ
คอมพิวเตอร์สาเร็จสมบูรณ์เป็นฉบับแรกของโลก ทาให้การศึกษาค้นคว้าหลักธรรมคาสอนของ
พระพุทธศาสนาเป็นไปได้อย่างสะดวกรวดเร็วและถูกต้องแม่นยา และยังได้เขียนบทความใหม่ๆ เพื่อนาลง
ในนิตยสารพุทธจักรทุกเดือน ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยอีกด้วย
3. ท่านอนาคาริก ธรรมปาละ
ท่านอนาคาริก ธรรมปาละ เกิดเมื่อวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2407 ที่
เมืองโคลัมโบ ประเทศศรีลังกา เดิมมีชื่อว่า “ดอน เดวิด เววาวิตารเน (Don
Devid Vewavitarne) ท่านได้เข้าร่วมสมาคมพื้นฟูการทางานทาง
พระพุทธศาสนามาโดยตลอดจนถึงระดับอุดมศึกษา
ในปี พ.ศ. 2428 ท่านสนใจหนังสือชื่อ “ประทีปแห่งเอเชีย” ซึ่งเป็น
จุดเปลี่ยนผันในวิถีชีวิตของท่าน และในปี พ.ศ. 2434 ท่านได้เดินทางไป
ประเทศอินเดียเป็นครั้งแรก ไปนมัสการพุทธคยาและสารนาท ต่อมาได้
ก่อตั้งสมาคมมหาโพธิ์ที่อินเดีย และเริ่มจัดทาวารสารมหาโพธิ์จาก
กัลกัตตา ซึ่งสมาคมมหาโพธิ์ได้มีส่วนที่สาคัญในการก่อตั้งสภาทางศาสนาที่ชิคาโก ประเทศสหรัฐอเมริกา
ปี พ.ศ. 2444 ท่านได้ไปนมัสการสารนาทและจัดซื้อที่ดินที่สารนาท ต่อมาได้ก่อตั้งสารนาทเป็น
ศูนย์การศึกษาพระพุทธศาสนา ในปี พ.ศ. 2460 และสถาปนาพุทธธรรมเพื่อสันติภาพและความมั่นคง เมื่อปี
พ.ศ. 2463
ปี พ.ศ. 2470 ท่านได้ก่อตั้งมูลคันธกุฎีวิหารและเริ่มก่อสร้างมูลคันธกุฎีวิหาร และแล้วเสร็จใน ปี
พ.ศ. 2474
ปี พ.ศ. 2476 ท่านได้ป่วยหนักด้วยโรคหัวใจล้มเหลว และสิ้นชีวิตลง เมื่อวันเสาร์ที่ 29 เมษายน
พ.ศ. 2476 เวลา 15.00 น. รวมอายุได้ 68 ปี 7 เดือน 12 วัน
งานเผยแผ่พระพุทธศาสนา
ท่านอนาคาริก ธรรมปาละ เป็นชาวศรีลังกา และเป็นชาวพุทธที่ศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่าง
มากมาย ก่อนบวชท่านได้ฟังสถานการณ์พุทธสถานจาก เซอร์เอ็ดวิน อาร์โนลด์ แล้ว ท่านได้ตัดสินใจบวช
เป็นนักบวช (ยังไม่บวชเป็นพระ) เดินทางมาอินเดีย ท่านพัฒนาป่าอิสิปตนะมฤคทายวันให้เป็นพุทธสถาน
ซึ่งเดิมมีการสร้างพระวิหารอยู่แล้ว แต่ยังไม่แล้วเสร็จ ต่อมารัฐบาลของอินเดีย ได้จัดสรรที่ดินให้ท่าน 20
เอเคอร์ (ประมาณ 50 ไร่) และท่านก็ได้พัฒนาให้เป็นสวนที่มีคุณค่าพร้อมกับการก่อสร้างวิหารเริ่มขึ้นใหม่
ท่านได้กลับไปศรีลังกา และอีก 3 ปีต่อมาท่านก็ได้กลับมายังป่าอิสิปตนฯ อีก และเริ่มงานของสมาคม
มหาโพธิ์ ณ ที่นั้นอีกครั้งหนึ่ง ท่านได้พาสามเณร จานวน 10 รูปจากศรีลังกามาด้วย หลังจากท่านได้สละ
ชีวิตทางโลกออกมาเป็นคนไม่มีบ้าน (อนาคาริก) เป็นเวลานาน และได้บวชสามเณร ในวันที่ 13 กรกฎาคม
พ.ศ. 2474 โดยท่านพระโพธิรุกขมูเล เรวตะ เป็นพระอุปัชฌาย์ และได้รับฉายาว่า เทวมิตตะ ธัมมปาละ ได้
เข้ารับการอุปสมบท ในวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2476
พุทธสาวก

More Related Content

What's hot

คำกล่าวอวยพรวันคล้ายวันเกิด
คำกล่าวอวยพรวันคล้ายวันเกิดคำกล่าวอวยพรวันคล้ายวันเกิด
คำกล่าวอวยพรวันคล้ายวันเกิดA-NKR Ning
 
กาพย์ยานี
กาพย์ยานีกาพย์ยานี
กาพย์ยานีkhorntee
 
โวหารในการเขียน
โวหารในการเขียนโวหารในการเขียน
โวหารในการเขียนkrubuatoom
 
โครงสร้างหลักสูตรประถม
โครงสร้างหลักสูตรประถมโครงสร้างหลักสูตรประถม
โครงสร้างหลักสูตรประถมwangasom
 
การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน
การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน
การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนkrupornpana55
 
ติวสบายฟิสิกส์ (เพิ่มเติม) บทที่ 03 แรงกฏการเคลื่อนที่
ติวสบายฟิสิกส์ (เพิ่มเติม) บทที่ 03 แรงกฏการเคลื่อนที่ติวสบายฟิสิกส์ (เพิ่มเติม) บทที่ 03 แรงกฏการเคลื่อนที่
ติวสบายฟิสิกส์ (เพิ่มเติม) บทที่ 03 แรงกฏการเคลื่อนที่menton00
 
แนวข้อสอบ ป.4
แนวข้อสอบ ป.4แนวข้อสอบ ป.4
แนวข้อสอบ ป.4Chutima Muangmueng
 
เคาะสัญญาณ
เคาะสัญญาณเคาะสัญญาณ
เคาะสัญญาณAui Ounjai
 
บทที่ 3 กราฟและความสัมพันธ์เชิงเส้น.pdf
บทที่ 3 กราฟและความสัมพันธ์เชิงเส้น.pdfบทที่ 3 กราฟและความสัมพันธ์เชิงเส้น.pdf
บทที่ 3 กราฟและความสัมพันธ์เชิงเส้น.pdfssusera0c3361
 
การเคลื่อนที่
การเคลื่อนที่การเคลื่อนที่
การเคลื่อนที่Chakkrawut Mueangkhon
 
ร่ายสุภาพ
ร่ายสุภาพร่ายสุภาพ
ร่ายสุภาพkhorntee
 
แบบทดสอบวิชาวิทยาศาสตร์ 5 ภาคเรียน 1
แบบทดสอบวิชาวิทยาศาสตร์ 5  ภาคเรียน 1แบบทดสอบวิชาวิทยาศาสตร์ 5  ภาคเรียน 1
แบบทดสอบวิชาวิทยาศาสตร์ 5 ภาคเรียน 1dnavaroj
 
4.ใบงาน
4.ใบงาน4.ใบงาน
4.ใบงานparichat441
 
พื้นที่ใต้โค้ง
พื้นที่ใต้โค้งพื้นที่ใต้โค้ง
พื้นที่ใต้โค้งkrurutsamee
 
บันทึกข้อความขออนุญาตประชุมสามัญสภานักเรียนครั้งที่ 1/2560
บันทึกข้อความขออนุญาตประชุมสามัญสภานักเรียนครั้งที่ 1/2560บันทึกข้อความขออนุญาตประชุมสามัญสภานักเรียนครั้งที่ 1/2560
บันทึกข้อความขออนุญาตประชุมสามัญสภานักเรียนครั้งที่ 1/2560สภานักเรียน ส.ป. samutprakanstudentcouncil
 
8พลังงานภายในระบบ
8พลังงานภายในระบบ8พลังงานภายในระบบ
8พลังงานภายในระบบWijitta DevilTeacher
 

What's hot (20)

พจนานุกรม บาลี - ไทย (ฉบับภูมิพโลภิกขุ).pdf
พจนานุกรม บาลี - ไทย (ฉบับภูมิพโลภิกขุ).pdfพจนานุกรม บาลี - ไทย (ฉบับภูมิพโลภิกขุ).pdf
พจนานุกรม บาลี - ไทย (ฉบับภูมิพโลภิกขุ).pdf
 
คำกล่าวอวยพรวันคล้ายวันเกิด
คำกล่าวอวยพรวันคล้ายวันเกิดคำกล่าวอวยพรวันคล้ายวันเกิด
คำกล่าวอวยพรวันคล้ายวันเกิด
 
คำบุพบท
คำบุพบทคำบุพบท
คำบุพบท
 
กาพย์ยานี
กาพย์ยานีกาพย์ยานี
กาพย์ยานี
 
โวหารในการเขียน
โวหารในการเขียนโวหารในการเขียน
โวหารในการเขียน
 
โครงสร้างหลักสูตรประถม
โครงสร้างหลักสูตรประถมโครงสร้างหลักสูตรประถม
โครงสร้างหลักสูตรประถม
 
การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน
การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน
การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน
 
ติวสบายฟิสิกส์ (เพิ่มเติม) บทที่ 03 แรงกฏการเคลื่อนที่
ติวสบายฟิสิกส์ (เพิ่มเติม) บทที่ 03 แรงกฏการเคลื่อนที่ติวสบายฟิสิกส์ (เพิ่มเติม) บทที่ 03 แรงกฏการเคลื่อนที่
ติวสบายฟิสิกส์ (เพิ่มเติม) บทที่ 03 แรงกฏการเคลื่อนที่
 
แนวข้อสอบ ป.4
แนวข้อสอบ ป.4แนวข้อสอบ ป.4
แนวข้อสอบ ป.4
 
การเทียบสระภาษาไทยอังกฤษ
การเทียบสระภาษาไทยอังกฤษการเทียบสระภาษาไทยอังกฤษ
การเทียบสระภาษาไทยอังกฤษ
 
เคาะสัญญาณ
เคาะสัญญาณเคาะสัญญาณ
เคาะสัญญาณ
 
คำสันธาน
คำสันธานคำสันธาน
คำสันธาน
 
บทที่ 3 กราฟและความสัมพันธ์เชิงเส้น.pdf
บทที่ 3 กราฟและความสัมพันธ์เชิงเส้น.pdfบทที่ 3 กราฟและความสัมพันธ์เชิงเส้น.pdf
บทที่ 3 กราฟและความสัมพันธ์เชิงเส้น.pdf
 
การเคลื่อนที่
การเคลื่อนที่การเคลื่อนที่
การเคลื่อนที่
 
ร่ายสุภาพ
ร่ายสุภาพร่ายสุภาพ
ร่ายสุภาพ
 
แบบทดสอบวิชาวิทยาศาสตร์ 5 ภาคเรียน 1
แบบทดสอบวิชาวิทยาศาสตร์ 5  ภาคเรียน 1แบบทดสอบวิชาวิทยาศาสตร์ 5  ภาคเรียน 1
แบบทดสอบวิชาวิทยาศาสตร์ 5 ภาคเรียน 1
 
4.ใบงาน
4.ใบงาน4.ใบงาน
4.ใบงาน
 
พื้นที่ใต้โค้ง
พื้นที่ใต้โค้งพื้นที่ใต้โค้ง
พื้นที่ใต้โค้ง
 
บันทึกข้อความขออนุญาตประชุมสามัญสภานักเรียนครั้งที่ 1/2560
บันทึกข้อความขออนุญาตประชุมสามัญสภานักเรียนครั้งที่ 1/2560บันทึกข้อความขออนุญาตประชุมสามัญสภานักเรียนครั้งที่ 1/2560
บันทึกข้อความขออนุญาตประชุมสามัญสภานักเรียนครั้งที่ 1/2560
 
8พลังงานภายในระบบ
8พลังงานภายในระบบ8พลังงานภายในระบบ
8พลังงานภายในระบบ
 

Viewers also liked

Scheme VRF Heating Rev3 10.7.13
Scheme VRF Heating Rev3 10.7.13Scheme VRF Heating Rev3 10.7.13
Scheme VRF Heating Rev3 10.7.13Victor Ashkenazy
 
C21 Article 23.03.2016
C21 Article 23.03.2016C21 Article 23.03.2016
C21 Article 23.03.2016Laura Masson
 
Super hero of e commerce is back with all new powers – magento 2
Super hero of e commerce is back with all new powers – magento 2Super hero of e commerce is back with all new powers – magento 2
Super hero of e commerce is back with all new powers – magento 2Konstant Infosolutions Pvt. Ltd.
 
T091 licencias cc
T091 licencias ccT091 licencias cc
T091 licencias ccasyduo
 
3 แนวคิดเกี่ยวกับการเกิดปฏิกิริยา
3 แนวคิดเกี่ยวกับการเกิดปฏิกิริยา3 แนวคิดเกี่ยวกับการเกิดปฏิกิริยา
3 แนวคิดเกี่ยวกับการเกิดปฏิกิริยาSircom Smarnbua
 
Котлетна маса з м'яса і напівфабрикати з неї
Котлетна маса з м'яса і напівфабрикати з неїКотлетна маса з м'яса і напівфабрикати з неї
Котлетна маса з м'яса і напівфабрикати з неїymcmb_ua
 
ชุดการสอนประกอบการเรียนรู้ เรื่อง การอนุรักษ์นาฏศิลป์และภูมิปัญญาท้องถิ่น
ชุดการสอนประกอบการเรียนรู้ เรื่อง การอนุรักษ์นาฏศิลป์และภูมิปัญญาท้องถิ่นชุดการสอนประกอบการเรียนรู้ เรื่อง การอนุรักษ์นาฏศิลป์และภูมิปัญญาท้องถิ่น
ชุดการสอนประกอบการเรียนรู้ เรื่อง การอนุรักษ์นาฏศิลป์และภูมิปัญญาท้องถิ่นครูเย็นจิตร บุญศรี
 

Viewers also liked (13)

Review websites
Review websitesReview websites
Review websites
 
Scheme VRF Heating Rev3 10.7.13
Scheme VRF Heating Rev3 10.7.13Scheme VRF Heating Rev3 10.7.13
Scheme VRF Heating Rev3 10.7.13
 
refelctive essay
refelctive essayrefelctive essay
refelctive essay
 
C21 Article 23.03.2016
C21 Article 23.03.2016C21 Article 23.03.2016
C21 Article 23.03.2016
 
Super hero of e commerce is back with all new powers – magento 2
Super hero of e commerce is back with all new powers – magento 2Super hero of e commerce is back with all new powers – magento 2
Super hero of e commerce is back with all new powers – magento 2
 
Practica 1
Practica 1Practica 1
Practica 1
 
T091 licencias cc
T091 licencias ccT091 licencias cc
T091 licencias cc
 
Ajakaiye Certificate
Ajakaiye CertificateAjakaiye Certificate
Ajakaiye Certificate
 
Table de conversacion hebreo español
Table de conversacion hebreo españolTable de conversacion hebreo español
Table de conversacion hebreo español
 
3 แนวคิดเกี่ยวกับการเกิดปฏิกิริยา
3 แนวคิดเกี่ยวกับการเกิดปฏิกิริยา3 แนวคิดเกี่ยวกับการเกิดปฏิกิริยา
3 แนวคิดเกี่ยวกับการเกิดปฏิกิริยา
 
Котлетна маса з м'яса і напівфабрикати з неї
Котлетна маса з м'яса і напівфабрикати з неїКотлетна маса з м'яса і напівфабрикати з неї
Котлетна маса з м'яса і напівфабрикати з неї
 
HOW TO MAKE SANDWICH
HOW TO MAKE SANDWICHHOW TO MAKE SANDWICH
HOW TO MAKE SANDWICH
 
ชุดการสอนประกอบการเรียนรู้ เรื่อง การอนุรักษ์นาฏศิลป์และภูมิปัญญาท้องถิ่น
ชุดการสอนประกอบการเรียนรู้ เรื่อง การอนุรักษ์นาฏศิลป์และภูมิปัญญาท้องถิ่นชุดการสอนประกอบการเรียนรู้ เรื่อง การอนุรักษ์นาฏศิลป์และภูมิปัญญาท้องถิ่น
ชุดการสอนประกอบการเรียนรู้ เรื่อง การอนุรักษ์นาฏศิลป์และภูมิปัญญาท้องถิ่น
 

Similar to พุทธสาวก

Similar to พุทธสาวก (10)

ขุนช้างขุนแผนฉบับร้อยแก้ว
ขุนช้างขุนแผนฉบับร้อยแก้วขุนช้างขุนแผนฉบับร้อยแก้ว
ขุนช้างขุนแผนฉบับร้อยแก้ว
 
วรรณกรรมเรื่องขุนช้างขุนแผน พร้อมแบบฝึกหัด
วรรณกรรมเรื่องขุนช้างขุนแผน พร้อมแบบฝึกหัดวรรณกรรมเรื่องขุนช้างขุนแผน พร้อมแบบฝึกหัด
วรรณกรรมเรื่องขุนช้างขุนแผน พร้อมแบบฝึกหัด
 
สุดปลายฝัน
สุดปลายฝันสุดปลายฝัน
สุดปลายฝัน
 
สุนทรภู่
สุนทรภู่สุนทรภู่
สุนทรภู่
 
มัทนะพาธา
มัทนะพาธามัทนะพาธา
มัทนะพาธา
 
ประวัติและปฏิปทา หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโต
ประวัติและปฏิปทา หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโตประวัติและปฏิปทา หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโต
ประวัติและปฏิปทา หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโต
 
Sss
SssSss
Sss
 
สุนทรภู่
สุนทรภู่สุนทรภู่
สุนทรภู่
 
พระเวสสันดร
พระเวสสันดรพระเวสสันดร
พระเวสสันดร
 
พระเวสสันดร
พระเวสสันดรพระเวสสันดร
พระเวสสันดร
 

More from พัน พัน

เรื่องระบบปฏิบัติการ
เรื่องระบบปฏิบัติการเรื่องระบบปฏิบัติการ
เรื่องระบบปฏิบัติการพัน พัน
 
เรื่องภาษาซี
เรื่องภาษาซีเรื่องภาษาซี
เรื่องภาษาซีพัน พัน
 
ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์
ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์
ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์พัน พัน
 
การเปลี่ยนตัวเลขให้เป็นตัวอักษร
การเปลี่ยนตัวเลขให้เป็นตัวอักษรการเปลี่ยนตัวเลขให้เป็นตัวอักษร
การเปลี่ยนตัวเลขให้เป็นตัวอักษรพัน พัน
 
หลักการทำงาน บทบาทและอุปกรณ์พื้นฐานของคอมพิวเตอร์
หลักการทำงาน บทบาทและอุปกรณ์พื้นฐานของคอมพิวเตอร์หลักการทำงาน บทบาทและอุปกรณ์พื้นฐานของคอมพิวเตอร์
หลักการทำงาน บทบาทและอุปกรณ์พื้นฐานของคอมพิวเตอร์พัน พัน
 
รายงานเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
รายงานเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์รายงานเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
รายงานเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์พัน พัน
 
การทำงานพื้นฐานของคอมพิวเตอร์
การทำงานพื้นฐานของคอมพิวเตอร์การทำงานพื้นฐานของคอมพิวเตอร์
การทำงานพื้นฐานของคอมพิวเตอร์พัน พัน
 
การทำงานของคอมพิวเตอร์
การทำงานของคอมพิวเตอร์การทำงานของคอมพิวเตอร์
การทำงานของคอมพิวเตอร์พัน พัน
 
ระบบคอมพิวเตอร์และยุคสมัย
ระบบคอมพิวเตอร์และยุคสมัยระบบคอมพิวเตอร์และยุคสมัย
ระบบคอมพิวเตอร์และยุคสมัยพัน พัน
 
เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศ
เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศเรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศ
เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศพัน พัน
 
ประเภทของคอมพิวเตอร์
ประเภทของคอมพิวเตอร์ประเภทของคอมพิวเตอร์
ประเภทของคอมพิวเตอร์พัน พัน
 
เครือข่ายคอมพิวเตอร์เบื้องต้น
เครือข่ายคอมพิวเตอร์เบื้องต้นเครือข่ายคอมพิวเตอร์เบื้องต้น
เครือข่ายคอมพิวเตอร์เบื้องต้นพัน พัน
 
เรื่องคอมพิวเตอร์เบื้องต้น
เรื่องคอมพิวเตอร์เบื้องต้นเรื่องคอมพิวเตอร์เบื้องต้น
เรื่องคอมพิวเตอร์เบื้องต้นพัน พัน
 
เรื่องด้านคอมพิวเตอร์
เรื่องด้านคอมพิวเตอร์เรื่องด้านคอมพิวเตอร์
เรื่องด้านคอมพิวเตอร์พัน พัน
 
เรื่องคอมพิวเตอร์
เรื่องคอมพิวเตอร์เรื่องคอมพิวเตอร์
เรื่องคอมพิวเตอร์พัน พัน
 
ปัญหาทรัพยากรป่าไม้
ปัญหาทรัพยากรป่าไม้ปัญหาทรัพยากรป่าไม้
ปัญหาทรัพยากรป่าไม้พัน พัน
 

More from พัน พัน (20)

เรื่องระบบปฏิบัติการ
เรื่องระบบปฏิบัติการเรื่องระบบปฏิบัติการ
เรื่องระบบปฏิบัติการ
 
เรื่องภาษาซี
เรื่องภาษาซีเรื่องภาษาซี
เรื่องภาษาซี
 
ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์
ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์
ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์
 
การเปลี่ยนตัวเลขให้เป็นตัวอักษร
การเปลี่ยนตัวเลขให้เป็นตัวอักษรการเปลี่ยนตัวเลขให้เป็นตัวอักษร
การเปลี่ยนตัวเลขให้เป็นตัวอักษร
 
หลักการทำงาน บทบาทและอุปกรณ์พื้นฐานของคอมพิวเตอร์
หลักการทำงาน บทบาทและอุปกรณ์พื้นฐานของคอมพิวเตอร์หลักการทำงาน บทบาทและอุปกรณ์พื้นฐานของคอมพิวเตอร์
หลักการทำงาน บทบาทและอุปกรณ์พื้นฐานของคอมพิวเตอร์
 
รายงานเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
รายงานเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์รายงานเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
รายงานเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
 
การทำงานพื้นฐานของคอมพิวเตอร์
การทำงานพื้นฐานของคอมพิวเตอร์การทำงานพื้นฐานของคอมพิวเตอร์
การทำงานพื้นฐานของคอมพิวเตอร์
 
การทำงานของคอมพิวเตอร์
การทำงานของคอมพิวเตอร์การทำงานของคอมพิวเตอร์
การทำงานของคอมพิวเตอร์
 
ระบบคอมพิวเตอร์และยุคสมัย
ระบบคอมพิวเตอร์และยุคสมัยระบบคอมพิวเตอร์และยุคสมัย
ระบบคอมพิวเตอร์และยุคสมัย
 
เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศ
เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศเรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศ
เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศ
 
ประเภทของคอมพิวเตอร์
ประเภทของคอมพิวเตอร์ประเภทของคอมพิวเตอร์
ประเภทของคอมพิวเตอร์
 
เครือข่ายคอมพิวเตอร์เบื้องต้น
เครือข่ายคอมพิวเตอร์เบื้องต้นเครือข่ายคอมพิวเตอร์เบื้องต้น
เครือข่ายคอมพิวเตอร์เบื้องต้น
 
เรื่องคอมพิวเตอร์เบื้องต้น
เรื่องคอมพิวเตอร์เบื้องต้นเรื่องคอมพิวเตอร์เบื้องต้น
เรื่องคอมพิวเตอร์เบื้องต้น
 
เรื่องด้านคอมพิวเตอร์
เรื่องด้านคอมพิวเตอร์เรื่องด้านคอมพิวเตอร์
เรื่องด้านคอมพิวเตอร์
 
เรื่องคอมพิวเตอร์
เรื่องคอมพิวเตอร์เรื่องคอมพิวเตอร์
เรื่องคอมพิวเตอร์
 
โครงงานคอม
โครงงานคอมโครงงานคอม
โครงงานคอม
 
การปริ้น
การปริ้นการปริ้น
การปริ้น
 
Office
OfficeOffice
Office
 
ปัญหาทรัพยากรป่าไม้
ปัญหาทรัพยากรป่าไม้ปัญหาทรัพยากรป่าไม้
ปัญหาทรัพยากรป่าไม้
 
ยาเสพติด
ยาเสพติดยาเสพติด
ยาเสพติด
 

พุทธสาวก

  • 1. 1. องคุลีมาล ท่านเกิดในวรรณะพรามหณ์ เมืองสาวัตถี บิดาชื่อภัคควะ เป็น ปุโรหิตของพระเจ้าปเสนทิโกศล มารดาชื่อ มันตานี มีชื่อเดิมว่า อหิงสกะ มี ความเป็นอยู่สุขสบาย เมื่อเจริญวัยได้ไปศึกษาศิลปวิทยาในสานักของ อาจารย์ทิศาปาโมกข์เมืองตักกสิลา ท่านตั้งใจศึกษาอย่างเต็มที่ ขณะเดียวกัน ก็รับใช้อาจารย์และภรรยาด้วยความเคารพจึงทาให้ท่านเป็นที่โปรดปราน มาก จนศิษย์คนอื่น ๆ พากันอิจฉาริษยาและใส่ร้ายท่านต่าง ๆนานา โดย ที่สุดกล่าวหาว่าท่านเป็นชู้กับภรรยาของอาจารย์ ในที่สุดอาจารย์ก็หลงเชื่อ จึงวางแผนฆ่าท่าน โดยบอกว่าศิษย์ที่ศึกษาจบศิลปวิทยานั้นต้องให้ครุ ทักษิณา (ของบูชาครู) แก่อาจารย์ กล่าวคือ นิ้วมือขวาของคน 1,000 นิ้วด้วย เชื่อว่าท่านจะต้องถูกฆ่าตายเสียก่อน อหิงสกะกุมารจึงออกล่านิ้วเมือคน และนามาร้อยเป็นพวงมาลัยคล้อง ไหล่ เป็นเหตุให้ได้ชื่อว่า “องคุลีมาล” (ผู้มีนิ้วเป็นพวงมาลัย) ต่อมาความทราบถึงพระเจ้า ปเสนทิโกศล พระองค์จึงรับสั่งให้จัดกาลังทหารออกตามล่าท่าน วันหนึ่ง โจรองคุลีมาลนับนิ้วมือยังขาดอีกนิ้วเดียวก็จะครบ 1,000 นิ้ว ตั้งใจว่าเมื่อจบการศึกษาแล้วก็ จักกลับไปเยี่ยมบิดามารดา จึงออกจากกลางป่ามายืนดักอยู่ที่ปากทางเข้าป่า ฝ่ายนางมันตานีซึ่งเป็นมารดา ของท่านทราบว่ากองทัพของพระเจ้าปเสนทิโกศลกาลังมา จึงเดินมุ่งหน้าไปทางป่าที่โจรองคุลีมาลซ่อนอยู่ และวันนั้นพระพุทธเจ้าก็ได้ทรงตรวจดูอุปนิสัยของเวไนยสัตว์ ทรงเห็นอุปนิสัยของโจรองคุลีมาลจะ สามารถบรรลุมรรคผลได้ จึงรีบเสด็จไปโปรดทันเวลาที่นางมันตานีมาถึง เมื่อโจรองคุลีมาลเห็นพระพุทธเจ้าก็วิ่งไล่ตามพระพุทธเจ้าเพื่อประสงค์จะฆ่าและตัดเอานิ้วมือ พระพุทธเจ้าทรงแสดงปาฏิหาริย์ให้โจรองคุลีมาลวิ่งตามไม่ทันจนรู้สึกเหนื่อยล้า แล้วหยุดยืนอยู่กับที่ร้องขึ้น ว่า “หยุดก่อน สมณะ หยุดก่อน” พระพุทธเจ้าตรัสตอบว่า “เราหยุดแล้ว แต่ท่านยังไม่หยุด” พอพระพุทธเจ้า อธิบายให้ทราบว่า เราหยุดฆ่าสัตว์แล้ว แต่ท่านยังไม่หยุด จึงพิจารณาตามและได้บรรลุโสดาปัตติผล ยอมทิ้ง ดาบก้มลงกราบพระบาทและทูลขอบวช พระพุทธเจ้าทรงบวชให้ตามที่ทูลขอ ครั้นบวชแล้วเจริญวิปัสสนา จนได้บรรลุอรหัตผลในเวลาต่อมา ใบความรู้ เรื่อง พุทธสาวก
  • 2. ภายหลังบรรลุอรหัตผลแล้ว ขณะเสวยวิมุตติสุขอยู่นั้นเกิดปีติโสมนัส ท่านได้แสดงความรู้สึกว่า “ผู้ใดประมาทมาก่อนแล้วเลิกประมาทเสียได้ภายหลัง ผู้นั้นย่อมเป็นเหมือนพระจันทร์ที่โผล่พ้นเมฆหมอก คือทาโลกนี้ให้สว่างไสวได้” ต่อมาท่านออกบิณฑบาต แต่กลับถูกขว้างปาด้วยก้อนดินและท่อนไม้จนบาตรแตก ตัวท่านก็ บาดเจ็บ จึงจาต้องกลับมาเฝ้าพระพุทธเจ้าที่วัดเชตวัน พระพุทธเจ้าทรงสอนท่านให้อดทน และทรงสอนว่า ท่านกาลังได้รับผลกรรมที่ทาไว้ ท่านจึงแผ่เมตตาจิตไปในสรรพสัตว์ ท่านได้รับสรรเสริญว่าเป็นพระเถระ ประเภท “ต้นคดปลายตรง” คือ เบื้องต้นประมาทพลาดพลั้ง แต่ต่อมากลับเนื้อกลับตัวเป็นพระสาวกที่ดี เป็น ตัวอย่างของอนุชนรุ่นหลังเป็นอย่างดี 2. พระอานนท์ พระอานนท์ เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าอมิโตทนะ พระ อนุชาของพระเจ้าสุทโธทนะ พระมารดาพระนามว่า กีสาโคตมี ท่าน จึงเป็นพระอนุชาของพระพุทธเจ้า ท่านออกบวชพร้อมกับ เจ้าชาย ภัททิยะ เจ้าชายภคุ เจ้าชายกิมพิละ เจ้าชายอนุรุทธะ เจ้าชายเทวทัต กับนายภูษามาลา ชื่อว่าอุบาลี หลังจากบวชแล้ว ท่านได้ฟังโอวาทของพระปุณณมันตานี บุตร ได้บรรลุโสดาปัตติผลและได้มารับหน้าที่พุทธอุปัฏฐาก ปรนนิบัติพระพุทธเจ้า จนกระทั่งหลังพระพุทธเจ้าปรินิพพานได้ 3 เดือนจึงได้บรรลุอรหันตผล และท่านบรรลุพระอรหันตผลโดยไม่อยู่ ในอริยบถ 4 คือ ยืน เดิน นั่ง นอน นั่นคือ ท่านบรรลุพระอรหันตผลภายหลังจากที่ได้ปฏิบัติธรรมทั้งคืน ขณะที่จะเอนกายลงนอนบนเตียง พอยกเท้าพ้นจากพื้นแต่ศีรษะยังไม่ทันถึงหมอน จิตของท่านก็หลุดพ้นจาก อาสวะทั้งหลาย คลายความยึดมั่นลงได้ ในขณะที่พระพุทธเจ้าหลังจากตรัสรู้แล้วไม่มีพุทธอุปัฏฐาก พระสงฆ์สาวกต่างก็ผลัดกันทาหน้าที่ อยู่รับใช้พระพุทธเจ้า ต่อมาพระสงฆ์สาวกเห็นสมควรว่าจักต้องมีภิกษุรูปใดรูปหนึ่งมาทาหน้าที่นี้ และ พระสงฆ์ทั้งหลายก็ขอร้องให้ท่านรับหน้าที่ พระอานนท์จึงขอพร (เงื่อนไข) 8 ประการต่อพระพุทธเจ้าก่อน รับหน้าที่พุทธอุปัฏฐาก ดังนี้
  • 3. 1. พระพุทธองค์ต้องไม่ประทานจีวรอย่างดีแก่ท่าน 2. ต้องไม่ประทานบิณฑบาตอย่างดีแก่ท่าน 3. ต้องไม่ให้ท่านอยู่ในพระคันธกุฎีเดียวกับพระพุทธองค์ 4. ต้องไม่นาท่านไปในที่นิมนต์ด้วย 5. ต้องเสด็จไปในที่นิมนต์ที่ท่านรับไว้ 6. ต้องให้คนที่มาแต่ไกลเพื่อเฝ้าได้เฝ้าทันที 7. ต้องให้ทูลถามข้อสงสัยได้ทุกเมื่อ 8. ถ้าไม่มีโอกาสไปฟังธรรมที่ทรงแสดง ขอให้ทรงแสดงซ้าให้ท่านฟังด้วย สาหรับเหตุผลที่ท่านขอพร 8 ประการนั้น ได้แก่ พรที่ 1-4 เพื่อ แสดงให้เห็นว่า ที่ท่านรับตาแหน่งพุทธอุปัฏฐาก มิใช่เพื่อลาภสักการะ และพรที่ 5 –7 เพื่อแสดงว่าท่านเป็นผู้มีความปรารถนาจะปฏิบัติหน้าที่ พุทธอุปัฏฐากอย่างอุทิศและให้เกิดประสิทธิภาพเป็นที่ยอมรับของ พระพุทธเจ้าและพุทธบริษัท พระอานนท์ได้ทาหน้าที่พุทธอุปัฏฐากได้ เป็นอย่างดียิ่ง จนได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่าเป็นเอตทัคคะ (ความเป็นเลิศกว่าผู้อื่น) 5 ประการ ได้แก่ 1. เป็นพหูสูต (ทรงจาพุทธวจนะได้มากที่สุด) 2. เป็นผู้มีสติ 3. เป็นผู้มีคติ (แนวในการจาพุทธวจนะ) 4. เป็นผู้มีธิติ (ความเพียร) 5. เป็นพุทธอุปัฏฐากผู้เลิศ ในช่วงสุดท้ายแห่งพระชนม์ชีพของพระพุทธเจ้า พระอานนท์ได้ตามเสด็จจากเมืองราชคฤห์ไปยัง เมืองกุสินาราได้รับถ่ายทอดพระพุทธโอวาทมากมาย ที่ยังมิเคยตรัสที่ไหนมาก่อน และหลังจากพระพุทธเจ้า ปรินิพพานแล้ว ท่านได้ถ่ายทอดให้ที่ประชุมสงฆ์อันประกอบด้วยพระอรหันต์ทรงอภิญญา 500 รูปฟังและ ในการสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งแรกนี้ ท่านได้ทาหน้าที่วิสัชนาพระธรรม เมื่อท่านอายุได้ 120 พรรษา ถึง เวลานิพพาน พระญาติทั้งสองฝั่งน้าโรหิณีต่างก็ปรารถนาให้ท่านนิพพาน ณ บ้านเมืองของตนพระอานนท์จึง เข้าเตโชสมาบัติเหาะขึ้นในอากาศ อธิษฐานให้ร่างของท่านแตกออกเป็นสองส่วน ส่วนหนึ่งตกลง ณ ฝั่ง เมืองกบิลพัสดุ์อีกส่วนหนึ่งตกลง ณ ฝั่งเมืองเทวทหะ เพื่อให้พระญาติทั้งสองฝ่ายนาอัฐิธาตุของท่านไปบรรจุ ไว้บูชา
  • 4. 3. นายสุมนมาลาการ สุมนมาลาการ เป็นชาวเมืองราชคฤห์ เข้ามีหน้าที่นาดอกมะลิวันละ 8 ทะนาน ไปถวายพระเจ้าพิมพิสารแต่เช้าตรู่ทุกวัน ได้ทรัพย์วันละ 8 กหาปณะ ต่อมาเช้าวันหนึ่ง ขณะที่เขากาลังถือดอกไม้จะเข้าประตูเมือง พระพุทธเจ้าเสด็จ ออกบิณฑบาตพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ทรงเปล่งพระรัศมีด้วยพุทธานุภาพอันยิ่งใหญ่ เขาเห็นอัตภาพของพระพุทธเจ้าแล้วเกิดความเลื่อมใส พลางคิดว่าถึงแม้จะถูก พระราชาเมื่อไม่ได้รับดอกไม้จะฆ่าเราหรือขับไล่เราออกจากเมืองก็ตาม เราก็จัก บูชาพระพุทธเจ้า จึงนาดอกไม้ที่จะถวายพระราชาทั้ง 8 ทะนานบูชาพระพุทธเจ้า เมื่อถวายแล้วได้มีความปลาบปลื้มปิติยินดีเป็นยิ่งนักและได้ตามเสด็จ พระพุทธเจ้าไปหน่อยหนึ่งแล้ว ก็ถือกระเช้าเปล่าเดินกลับบ้านไปด้วยสีหน้าอันเอิบ อิ่ม เมื่อถึงบ้าน นายสุมนมาลาการได้เล่าเรื่องที่ตนได้นาดอกไม้บูชาพระพุทธเจ้าให้ภรรยาฟัง ถูกภรรยาซึ่ง เป็นหญิงไม่มีศรัทธาในพระพุทธศาสนาด่าว่าเขาว่าจักนาความพินาศมาให้ตระกูลและรีบนาความเข้ากราบ ทูลพระราชา และทูลความที่ตนไม่เห็นดีเห็นงามด้วย ฝ่ายพระเจ้าพิมพิสาร พระองค์ทรงเต็มเปี่ยมด้วยศรัทธา ในพระพุทธศาสนา เมื่อได้สดับดังนั้น ทรงทราบว่าหญิงนี้เป็นผู้ไม่มีศรัทธา จึงทรงทาเหมือนกับทรงกริ้ว แล้วรีบเสด็จไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ถวายบังคมแล้วตามเสด็จไป พระพุทธเจ้าเมื่อจะทรงประกาศเกียรติคุณของนายมาลาการให้ปรากฎแก่มหาชนทั่วไป จึงประทับที่ พระลานหลวงไม่เสด็จเข้าไปในพระราชวัง พระราชาได้ถวายภัตตาหารแก่พระพุทธเจ้าและภิกษุสงฆ์ ตาม ส่งพระพุทธเจ้าเสด็จกลับวัดเวฬุวันแล้ว จึงมีรับสั่งให้นายสุมนมาลาการเข้าเฝ้า เมื่อนายสุมนมาลามาเข้าเฝ้า แล้ว พระเจ้าพิมพิสารตรัสยกย่องสรรเสริญเขาว่าเป็นมหาบุรุษ แล้วพระราชทานสิ่งของ 8 ชนิด ได้แก่ ช้าง ม้า ทาส ทาสี เครื่องประดับ นารี อย่างละแปด และทรัพย์อีก 8 พันกหาปณะ และบ้านส่วยอีก 8 ตาบล ตกเย็นวันนั้น พระภิกษุทั้งหลายพากันสนทนาในโรงธรรม กล่าวถึงเรื่องการบูชาพระพุทธเจ้าของ นาย สุมนมาลาการแล้วได้รับของพระทาน 8 อย่างจากพระเจ้าพิมพิสาร พระพุทธเจ้าเสด็จมาตรัสว่า ภิกษุ ทั้งหลาย บุคคลทากรรมใดแล้วไม่เดือดร้อนในภายหลัง เป็นผู้เอิบอิ่ม มีความสุขใจ นั่นแหละเรียกว่า กรรมดี
  • 5. 1. นางจูฬสุภัททา นางจูฬสุภัททา เป็นธิดาของเศรษฐีชื่อว่า อนาถบิณฑิก ชาวเมืองสาวัตถี แคว้นโกศล ซึ่งบิดาของนางเป็นผู้เลื่อมใสในพระพุทธเจ้าและเคารพพระสงฆ์เป็น อย่างมาก ท่านได้สร้างวัดชื่อว่า "เชตวัน" ถวายด้วย อนาถบิณฑิกเศรษฐีมีบุตรชาย 1 คน ธิดา 3 คน ท่านได้ปลูกฝังให้ลูก ๆ ได้ซาบซึ้งในคุณของพระรัตนตรัยด้วย นอกจากนี้ท่านยังได้นิมนต์พระสงฆ์มาฉันที่เรือนของท่านเป็นประจา และได้มอบ หน้าที่การจัดเลี้ยงดังกล่าวแก่นางมหาสุภัททา ต่อมาเมื่อนางมหาสุภัททาแต่งงานมีครอบครัว หน้าที่การจัดเลี้ยงพระสงฆ์ จึงตกแก่นางจูฬสุภัททา ซึ่งนางก็ได้จัดการอย่างไม่ขาดตกบกพร่องครั้งหนึ่งเพื่อน ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี ชื่อว่า อุคคะ เป็นเศรษฐีอยู่ในเมืองอุคคนครได้เดินทางมา ค้าขายที่เมืองสาวัตถีและได้แวะพักอยู่กับอนาถบิณฑิกเศรษฐี อนาถบิณฑิก เศรษฐีก็ได้มอบภาระการจัดเลี้ยงให้แก่นางจูฬสุภัททา ซึ่งนางก็ได้ทาอย่างเรียบร้อยเป็นที่ถูกใจของ อุคคเศรษฐี อุคคเศรษฐีจึงได้ขอนางให้แต่งงานกับบุตรชายของตน และเนื่องจากเศรษฐีทั้งสองได้เคยสัญญา กันไว้ว่าเมื่อมีบุตรธิดาก็จะให้แต่งงานกัน ซึ่งอนาถบิณฑิกเศรษฐีก็ยอมรับและตกลงยินยอมให้แต่งงานกัน เนื่องจากอุคคเศรษฐี มีความเลื่อมใสและนับถือศาสนาอื่นนอกจากพุทธศาสนา ก่อนที่นางจูฬสุภัททา จะเดินทางไปอยู่กับครอบครัวของสามี อนาถบิณฑิกเศรษฐีจึงเรียกลูกสาวเข้ามาอบรมสั่งสอนด้วยหลักคา สอน 10 ประการ ได้แก่ 1. ไฟในอย่านาออก หมายถึง อย่านาเอาความลับหรือเรื่องไม่ดีในครอบครัวไปพูดให้คนภายนอกฟัง 2. ไฟนอกอย่านาเข้า หมายถึง อย่านาเอาเรื่องไม่ดีจากภายนอกบ้านมาเล่าให้คนในบ้านฟัง 3. จงให้แก่คนที่ให้ หมายถึง คนที่ยืมของไปแล้วส่งคืน ภายหลังก็ควรให้ยืมอีก 4. จงอย่าให้แก่คนที่ไม่ให้ หมายถึง คนที่ยืมของไปแล้วไม่ส่งคืน ภายหลังไม่ควรให้ยืมอีก 5. จงให้แก่คนที่ให้และไม่ให้ หมายถึง ญาติมิตรแม้ยืมของไปแล้วจะคืนหรือไม่คืนก็ตาม ก็ควรให้ยืม 6. จงนั่งให้เป็นสุข หมายถึง อย่านั่งในที่ซึ่งเมื่อพ่อผัว แม่ผัว หรือสามีเดินผ่าน ตนเองจะต้องลุกขึ้น 7. จงนอนให้เป็นสุข หมายถึง เมื่อพ่อผัว แม่ผัว และสามีเข้านอนแล้ว ตนเองจึงเข้านอน 8. จงกินให้เป็นสุข หมายถึง เมื่อพ่อผัว แม่ผัว และสามีได้กินอิ่มแล้ว ตนเองจึงจะกินได้ ใบความรู้ เรื่อง พุทธสาวิกา
  • 6. 9. จงบูชาไฟ หมายถึง ให้มีความเคารพ ยาเกรง พ่อผัว แม่ผัว และสามี 10. จงบูชาเทวดา หมายถึง ให้ดูแลเอาใจใส่ พ่อผัว แม่ผัว และสามี เป็นอย่างดี คราวหนึ่ง อุคคเศรษฐี ได้กระทาการมงคล จึงได้เชื้อเชิญพวกชีเปลือยมาทานอาหารที่บ้าน แล้วให้ คนไปบอกแก่นางจูฬสุภัททาเพื่อให้มาไหว้พวกชีเปลือย พอนางเห็นพวกชีเปลือยนางก็ไม่ไหว้ อุคคเศรษฐี จึงโกรธนางมากและให้ภรรยาถามนางว่าสมณะที่นางนับถือเป็นอย่างไร มีคุณวิเศษเพียงไร นางจึงได้ พรรณาคุณของพระพุทธเจ้าและเหล่าพระสาวกให้แม่สามีและคนอื่น ๆ ฟัง ดังนี้ - พระสมณะของดิฉันเป็นผู้มีกาย วาจา ใจ สงบ เดินสารวม ตาทอดมองต่า พูดพอประมาณ - พระสมณะของดิฉันเป็นผู้ประพฤติสะอาด หมดจด บริสุทธิ์ ทั้งกาย วาจา ใจ - พระสมณะของดิฉันเป็นผู้บริสุทธิ์ปราศจากมลทินทั้งภายในและภายนอก - พระสมณะของดิฉันเป็นผู้ไม่ยินดียินร้ายในคราวมีลาภ เสื่อมลาภ มียศ เสื่อมยศ มีสรรเสริญ มีนินทา ดังชาวโลกประพฤติกัน เป็นผู้มีจิตใจมั่นคงไม่หวั่นไหวในเหตุดังกล่าว เมื่อภรรยาของเศรษฐีได้ฟังดังนั้น ก็เกิดความเลื่อมใสใคร่จะได้เห็นพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระสาวก จึงให้นางจูฬสุภัททานิมนต์มา นางจึงได้ทูลนิมนต์พระพุทธเจ้าพร้อมพระสงฆ์สาวกมาฉันภัตตาหารที่บ้าน ในวันรุ่งขึ้น เมื่อเศรษฐี ภรรยา พร้อมทั้งบริวารเห็นพระพุทธเจ้าและพระสงฆ์สาวกจึงเกิดความเลื่อมใส ได้ ฟังพระธรรมเทศของพระพุทธเจ้าได้บรรลุโสดาปัตติผล นับว่านางจูฬสุภัททาเป็นพุทธสาวิกาตัวอย่างใน เรื่องของการปฏิบัติตนตามหลักธรรมคาสอนและการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
  • 7. 2. พระปฏาจาราเถรี พระปฏาจาราเถรี เป็นธิดาของเศรษฐีในเมือง สาวัตถี แคว้นโกศล นางมีสิริโฉมที่งดงามเป็นที่หมาย ปองของชายหนุ่มทั่วไป ครั้นเจริญวัยได้ 16 ปี บิดาจึง ได้ให้นางอยู่บนคฤหาสน์ไม่ยอมให้พบปะกับผู้ชายอื่น นอกจากบิดาและคนใช้ชื่อนายจุลล์เท่านั้น ต่อมา นางปฏาจาราเกิดรักใคร่ชอบพอกับนายจุลล์โดยที่ไม่มี ใครล่วงรู้ และเมื่อบิดามีความประสงค์จะให้นาง แต่งงานกับชายหนุ่มผู้มีฐานะเสมอกัน นางจึงนัดแนะ กับชายคนใช้นั้น และพากันหนีไปอยู่ต่างถิ่นแดนไกล สามีประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป ส่วนนางอยู่เฝ้า กระท่อมทาหน้าที่เก็บฟืนหุงหาอาหารทางานทุกอย่าง ได้รับความทุกข์ลาบากอย่างแสนสาหัส ต่อมานางปฏาจาราได้ตั้งครรภ์บุตรคนแรก จนครรภ์แก่ใกล้คลอดนางมีความประสงค์จะกลับไป คลอดบุตรที่บ้านของบิดามารดาตามธรรมเนียมลัทธิพราหมณ์ นางจึงอ้อนวอนสามีให้พาไป แต่สามีไม่ ยินยอมเนื่องจากเกรงว่าจะถูกเศรษฐีลงโทษ จนกระทั่งวันหนึ่ง เมื่อสามีออกไปทางานรับจ้างนางปฏาจารา จึงได้แอบหนีกลับไปบ้านเดิมของตน แต่ระหว่างนางเกิดเจ็บท้องและได้คลอดลูกเมื่อสามีกลับมาบ้านไม่ เห็นภรรยา จึงตามหาจนพบและพากลับมาที่กระท่อม เมื่อนางตั้งครรภ์บุตรคนที่สอง ก็มีความประสงค์จะ กลับไปคลอดบุตรที่บ้านเดิมเช่นเดียวกัน และเมื่อสามีไม่ยินยอม นางจึงแอบหนีไปอีกครั้งหนึ่งพร้อมกับนา บุตรคนโตไปด้วย ระหว่างทางนางก็เกิดเจ็บท้องและคลอดลูก ขณะนั้นได้มีพายุฝนนอกฤดูตกลงอย่างหนัก นางประสบความทุกข์ยากอย่างแสนสาหัส จนกระทั่งสามีตามมาถึง นางจึงให้สามีไปตัดไม้เพื่อทาเพิงกั้น ขณะที่สามีกาลังตัดไม้อยู่ใกล้จอมปลวกได้ถูกงูพิษกัดตาย รุ่งเช้านางได้จูงลูกคนโตและอุ้มลูกคนเล็กที่เกิด ใหม่เพื่อตามหาสามี ไปพบสามีตอนตายอยู่ เกิดความเศร้าโศกอย่างแรงกล้า ร้องไห้คร่าครวญเดินมุ่งตรงไป ยังเมืองสาวัตถี ครั้นนางเดินมาถึงแม่น้าอจิรวดีเกิดน้าท่วมอย่างหนัก น้าไหลอย่างเชี่ยวกรากเพราะฝนตกหนักใน ตอนกลางคืนที่ผ่านมา นางจึงอุ้มลูกคนเล็กข้ามฝั่งไปก่อน เมื่อถึงอีกฝั่งหนึ่งแล้วจึงเอาใบไม้ปูรองให้ลูกคน เล็กนอน แล้วกลับมาเพื่อรับลูกคนโตอีกฝั่งหนึ่งเมื่อนางไปถึงกลางแม่น้าขณะนั้นมีนกเหยี่ยวตัวหนึ่งโฉบลง
  • 8. จิกเอาลูกน้อยไปด้วยมองเห็นว่าเป็นชิ้นเนื้อนางจึงได้ยกมือโบกไล่พร้อมกับตระโกนด้วยเสียงอันดังลูกคน โตที่ยืนอยู่บนฝั่งคิดว่าแม่เรียกให้ไปหาจึงถลาลงน้า ถูกน้าที่ไหลเชี่ยวกรากพัดพาหายไป นางปฏาจาราร้องไห้ราพันว่า "ผัวของเราถูกงูกัดตาย ลูกคนเล็กถูกเหยี่ยวเฉี่ยวเอาไป ลูกคนโตถูกน้า พัดตาย" จึงตั้งสติเพื่อที่จะกลับไปยังบ้านเดิม ระหว่างทางได้ทราบว่าคนในตระกูลของนางตายหมดแล้ว เพราะถูกคฤหาสน์ล้มทับเมื่อคืนนี้ นางจึงเสียสติเดินร้องไห้ราพันจนผ้าผ่อนหลุดลุ่ย คนทั้งหลายจึงเรียกนาง ว่าเป็นคนบ้า พร้อมกับกาดินบ้าง ฝุ่นบ้าง ไปเข้าใส่นางเพื่อขับไล่ วันหนึ่ง ขณะที่พระพุทธเจ้าแสดงธรรมอยู่ในพระเชตวัน นาง ไปยืน ณ ที่นั้น คนทั้งหลายเห็นนางจึงพากันขับไล่ไม่ให้นางเข้าไปใน ที่แสดงธรรม แต่พระพุทธเจ้ากลับตรัสบอกให้นางเข้ามา และตรัสว่า "เจ้าจงตั้งสติให้ดี" นางกลับได้สติดังเดิม และได้ห่มผ้าที่มีใครคนหนึ่ง โยนให้ นางนั่งฟังพระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทรงปรารภถึงความ ไม่เที่ยงแท้ของสรรพสิ่งได้พิจารณาไปตามพระธรรมเทศนานั้นแล้ว ได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน ได้กราบทูลขอบวชเป็นพระภิกษุณี พระพุทธเจ้าประทานอนุญาต หลังจากบวชไม่นานพระภิกษุณีปฏา- จาราได้บาเพ็ญสมณธรรม ต่อมาได้ฟังพระธรรมเทศนาว่า คนไม่เห็น ความสิ้นไปและความเสื่อมไปแห่งปัญจขันธ์ แม้อยู่ร้อยปีก็ไม่ ประเสริฐเท่าคนรู้เห็นอยู่วันเดียว นางได้พิจารณาตามไปและเมื่อฟังจบ ก็ได้บรรลุอรหัตผล พระพุทธเจ้าทรงยกย่องพระปฏาจาราเถรีว่า เป็นยอดแห่งพระเถรีผู้ทรงพระวินัย คือทรงจาพระวินัย มาก ท่านได้ทางานเพื่อเป็นการสงเคราะห์ อนุเคราะห์ต่อบุคคลอื่นเช่นเดียวกับพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ อื่น ๆ ที่ได้กระทามา
  • 9. 3. พระธัมมทินนาเถรี ธัมมทินนาเป็นชาวเมืองราชคฤห์ เมื่อเจริญวัยแล้วได้เป็นภริยา ของท่านวิสาขเศรษฐี ผู้สหายของพระเจ้าพิมพิสาร วิสาขเศรษฐีได้เข้า เฝ้าพระพุทธเจ้าครั้งแรกพร้อมกันกับพระเจ้าพิมพิสาร ได้บรรลุโสดา ปัตติผลตั้งแต่วันนั้น ต่อมาวันหนึ่ง ท่านเศรษฐีได้รับฟังธรรมของ พระพุทธเจ้าแล้วได้บรรลุอนาคามิผล ปกติพระอริยบุคคลระดับ อนาคามีละความต้องการทางเพศได้แล้ว วันนั้น นางธัมมทินนาไม่ทราบว่าสามีบรรลุอนาคามิผลแล้ว เมื่อเห็นสามีกลับมาถึงบ้าน ยืนอยู่หัวบันไดก็ยื่นมือส่งให้หมายจะให้ สามีเกาะ ปรากฏว่าสามีไม่เกาะและไม่พูดว่าอะไร สร้างความสงสัย ให้แก่นางมาก เมื่อสามีรับประทานอาหารอิ่มแล้ว นางไม่สบายใจคิดว่าตนเองทาอะไรผิดสามีคงโกรธจึง สอบถามดู เมื่อท่านวิสาขเศรษฐีอธิบายให้ฟังถึงสาเหตุไม่แตะต้องกายเธอ และบอกว่านับแต่บัดนี้ไปเธอ ประสงค์ทรัพย์เท่าใด จงรับเอาไปตามใจชอบแล้วกลับไปครอบครัวเดิมเสียเถิด นางธัมมทินนาจึงบอกสามีว่าถ้าเช่นนั้นฉันขออนุญาตไปบวชเป็นภิกษุณี สามีก็อนุญาต และเพื่อ เป็นเกียรติแก่ภรรยา วิสาขเศรษฐีจึงขอพระราชทานวอทองจากพระเจ้าพิมพิสารแห่นางรอบเมืองอย่าง สมเกียรติ เมื่อนางธัมมทินนาบวชแล้วก็ลาอุปัชฌาย์อาจารย์ไปปฏิบัติธรรมในป่าซึ่งอยู่ต่างเมือง อีกไม่นานก็ ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ เป็นผู้แตกฉานในปฏิสัมภิทา เมื่อบรรลุพระอรหันต์แล้วก็กลับมาโปรดอดีตสามี และญาติมิตร จึงไปบิณฑบาตทางบ้านเดิมของตน วิสาขเศรษฐีอดีตสามีพบท่านจึงนิมนต์ไปฉันภัตตาหาร พลางคิดว่า พระเถรีคงอยากจะสึกจึงลองถามปัญหากับพระเถรี พระเถรีตอบได้อย่างถูกต้องและแจ่มแจ้งจน หมดปัญญาที่จะถามต่อ จึงรู้แน่ว่าพระเถรีได้บรรลุพระอรหันต์แล้ว จึงมีความยินดียิ่งและกล่าวอนุโมทนา พระพุทธเจ้าทรงยกย่องพระธรรมทินนาเถรีว่าเป็นยอดทางด้านธรรมกถึก มีปัญญาเฉลียวฉลาด แสดงธรรมได้อย่างแตกฉาน
  • 10. 1. พระโพธิญาณเถร ชาติภูมิ - พระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท) เกิดเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2461 ตรง กับ วันศุกร์ ขึ้น 7 ค่า เดือน 7 ปี มะเมีย ณ บ้านสนจิกก่อ หมู่ที่ 9 ตาบลธาตุ อาเภอวารินชาราบ จังหวัดอุบลราชธานี บิดาชื่อ นายมา ช่วงโชติ มารดาชื่อ นาง พิมพ์ ช่วงโชติ มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 10 คน การศึกษา – พระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท) ได้รับ การศึกษาชั้นประถมศึกษา ณ โรงเรียนบ้านก่อ ตาบลธาตุ อาเภอ วารินชาราบ จังหวัดอุบลราชธานี จนจบชั้นประถมปีที่ 1 แล้ว ได้ลาออกจากโรงเรียนเพราะมีจิตใจใฝ่ทางบวชเรียน บรรพชา – ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อเดือน มีนาคม พ.ศ. 2474 โดยมีพระครูวิจิตรธรรมภาณี (พะวง) อดีตเจ้าอาวาสวัดมณีวนาราม เป็นพระอุปัชฌาย์ ภายหลังเมื่อบวชเรียนแล้ว ได้เรียนหนังสือธรรม เรียนบาลีไวยากรณ์ เรียนมูลกัจจายน์ ต่อมาได้ลาสิกขามา ช่วยบิดามารดาประกอบอาชีพเกษตรกรรม อุปสมบท – ต่อมาเมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ท่านได้อุปสมบท เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2482 ณ พัทธสีมา วัดก่อใน ตาบลธาตุ อาเภอวารินชาราบ จังหวัดอุบลราชธานี โดยมี พระครูอินทรสารคุณ เป็นพระ อุปัชฌาย์ พระครูวิรุฬสุตการ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการสอน เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้นาม ฉายาว่า สุภทฺโท เมื่ออุปสมบทแล้ว ท่านได้ตั้งใจศึกษาปริยัติธรรม จนจบนักธรรมชั้นเอก หลังเสร็จภารกิจทาง การศึกษาแล้วประกอบกับท่านเกิดธรรมสังเวชคราวโยมบิดาเสียชีวิต จึงหันมาสู่การปฏิบัติธรรม โดยออก ธุดงค์และศึกษาหาแนวทางปฏิบัติ ได้ทุ่มเทให้กับการปฏิบัติธรรม ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2497 ท่านได้ดาเนินการ สร้างวัดป่าขึ้น ชื่อว่า “วัดหนองป่าพง” และท่านดารงตาแหน่งเจ้าอาวาสมาโดยตลอด มีผู้มาประพฤติปฏิบัติ ธรรมมากมาย รวมทั้งได้รับนิมนต์ไปเผยแพร่ธรรมในต่างประเทศด้วย สมณศักดิ์ – พระโพธิญาณเถร ชา สุภทฺโท) ได้ดารงตาแหน่งทางการคณะสงฆ์และได้รับพระราชทาน ใบความรู้ เรื่อง ชาวพุทธตัวอย่าง
  • 11. สมณศักดิ์ ดังนี้ วันที่ 29 เมษายน 2516 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดหนองป่าพง วันที่ 5 ธันวาคม 2516 ได้รับการสถาปนาเป็นพระราชาคณะ ที่ “พระโพธิญาณเถร” วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2527 ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ วันที่ 6 มิถุนายน 2521 ได้รับพัดพัฒนาเชิดชูเกียรติ จากกรมการศาสนา เป็นต้น มรณภาพ – พระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท) ได้มรณภาพ เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2535 เวลา 05.30 น. อย่างสงบ ท่ามกลางธรรมสังเวชของศิษยานุศิษย์จากทุกสารทิศ การเผยแผ่พระพุทธศาสนา พระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท) หลังจาก อุปสมบทแล้ว ท่านได้ออกธุองค์และศึกษาหาแนวทาง ปฏิบัติกับครูบาอาจารย์ในสานักต่างๆ เช่น หลวงปู่มั่น หลวงปู่กินรี พออินทรีย์แก่กล้าแล้ว ก็ออกธุดงค์ปฏิบัติ ธรรมต่อไปเรื่อยๆ และหลังจากที่ท่านได้สร้างวัด หนองป่าพงแล้ว ท่านก็ได้ให้ความรู้และการประพฤติ ปฏิบัติธรรมต่อพุทธศาสนิกชนทั้งชาวไทยและชาว ต่างประเทศ รวมทั้งได้รับอาราธนาไปเผยแพร่ธรรมใน ต่างประเทศ ทั้งยุโรป และอเมริกา จนในปัจจุบันได้ ขยายสาขาของวัดหนองป่าพงไปทั้งในกว่าสองร้อยสาขา และขยายไปยังต่างประเทศอีกกว่าสิบสาขา มี พระภิกษุชาวต่างชาติที่สนใจบวชอยู่ในสังกัดวัดหนองป่าพงประมาณเกือบสองร้อยรูป อยู่ตามสาขาวัด หนองป่าพงทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งพระภิกษุเหล่านี้ ต่างก็เป็นกาลังสาคัญในการประกาศ พระพุทธศาสนาให้กว้างไกลออกไปอีกด้วย
  • 12. 2. พระพรหมคุณาภรณ์ พระพรหมคุณาภรณ์ หรือที่รู้จักกันในนาม พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต) นามเดิม ประยุทธ์ นามสกุล อารยางกูร เกิดเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2481 ที่อาเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี บรรพชา เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2494 สอบเปรียญธรรม 9 ประโยคได้ขณะ ยังเป็นสามเณร จึงได้รับการอุปสมบทในพระบรมราชานุเคราะห์ เป็นนาคหลวง ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2504 สอบได้ปริญญาพุทธศาสตรบัณฑิต (เกียรติ นิยมอันดับ 1) จากมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เมื่อปี พ.ศ. 2505 และสอบได้วิชาชุดครูพิเศษมัธยม (พ.ม.) เมื่อปี พ.ศ. 2506 สมณศักดิ์ พ.ศ. 2512 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ที่ พระศรีวิสุทธิโมลี พ.ศ. 2516 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นราช ที่ พระราชวรมุนี พ.ศ. 2530 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ที่ พระเทพเวที พ.ศ. 2536 ได้รับพระราชาทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ที่ พระธรรม ปิฎก ผลงาน พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต) มีผลงานที่มากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานเผยแพร่พระพุทธศาสนา ปรากฏในหลายลักษณะ ทั้งในด้านการสอน การบรรยาย การปาฐกถา การอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และการแสดงพระธรรมเทศนา ท่านได้รับอาราธนาไปสอนวิชาการทางพระพุทธศาสนา ณ มหาวิทยาลัยชั้น นาในต่างประเทศหลายครั้ง พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต) ยังเป็นพระสงฆ์ไทยที่ได้รับการระบุอาราธนาแสดงปาฐกถาในที่ ประชุมนานาชาติ ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศหลายครั้ง เช่น ปาฐกถาในการประชุม The International Conference on Higher Education and the Promotion of Peace เรื่อง Buddhism and Peace ซึ่ง จัดขึ้นที่โรงแรมเอเชีย กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2529 บรรยายในการประชุม Buddhistic Knowledge
  • 13. Exchange Programme in Honour of His Majesty the King of Thailand เรื่อง Identity of Buddhism ซึ่งจัด โดยองค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก (พสล.) เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2530 ในส่วนงานนิพนธ์นั้น พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต) จะนิพนธ์ในลักษณะตารา เอกสารทางวิชาการ และหนังสือ อธิบายธรรมทั่วๆ ไป เป็นที่รู้จักแพร่หลายในวงวิชาการ มี จานวนมากกว่า 230 เรื่อง เช่น พุทธธรรม, พจนานุกรมพุทธ ศาสตร์ : ฉบับประมวลธรรม, พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับ ประมวลศัพท์, ธรรมนูญชีวิต, การศึกษาของคณะสงฆ์ : ปัญหา ที่รอทางออก, การศึกษาที่สากลบนรากฐานแห่งภูมิปัญญาไทย, Thai Buddhism in the Buddhist Economics, พุทธศาสนาในฐานะเป็นรากฐานของวิทยาศาสตร์, นิติศาสตร์ แนวพุทธ เป็นต้น นอกจากนี้ท่านยังได้รับนิมนต์เป็นที่ปรึกษาของ มหาวิทยาลัยมหิดล ในการสร้างพระไตรปิฎกฉบับ คอมพิวเตอร์สาเร็จสมบูรณ์เป็นฉบับแรกของโลก ทาให้การศึกษาค้นคว้าหลักธรรมคาสอนของ พระพุทธศาสนาเป็นไปได้อย่างสะดวกรวดเร็วและถูกต้องแม่นยา และยังได้เขียนบทความใหม่ๆ เพื่อนาลง ในนิตยสารพุทธจักรทุกเดือน ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยอีกด้วย
  • 14. 3. ท่านอนาคาริก ธรรมปาละ ท่านอนาคาริก ธรรมปาละ เกิดเมื่อวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2407 ที่ เมืองโคลัมโบ ประเทศศรีลังกา เดิมมีชื่อว่า “ดอน เดวิด เววาวิตารเน (Don Devid Vewavitarne) ท่านได้เข้าร่วมสมาคมพื้นฟูการทางานทาง พระพุทธศาสนามาโดยตลอดจนถึงระดับอุดมศึกษา ในปี พ.ศ. 2428 ท่านสนใจหนังสือชื่อ “ประทีปแห่งเอเชีย” ซึ่งเป็น จุดเปลี่ยนผันในวิถีชีวิตของท่าน และในปี พ.ศ. 2434 ท่านได้เดินทางไป ประเทศอินเดียเป็นครั้งแรก ไปนมัสการพุทธคยาและสารนาท ต่อมาได้ ก่อตั้งสมาคมมหาโพธิ์ที่อินเดีย และเริ่มจัดทาวารสารมหาโพธิ์จาก กัลกัตตา ซึ่งสมาคมมหาโพธิ์ได้มีส่วนที่สาคัญในการก่อตั้งสภาทางศาสนาที่ชิคาโก ประเทศสหรัฐอเมริกา ปี พ.ศ. 2444 ท่านได้ไปนมัสการสารนาทและจัดซื้อที่ดินที่สารนาท ต่อมาได้ก่อตั้งสารนาทเป็น ศูนย์การศึกษาพระพุทธศาสนา ในปี พ.ศ. 2460 และสถาปนาพุทธธรรมเพื่อสันติภาพและความมั่นคง เมื่อปี พ.ศ. 2463 ปี พ.ศ. 2470 ท่านได้ก่อตั้งมูลคันธกุฎีวิหารและเริ่มก่อสร้างมูลคันธกุฎีวิหาร และแล้วเสร็จใน ปี พ.ศ. 2474 ปี พ.ศ. 2476 ท่านได้ป่วยหนักด้วยโรคหัวใจล้มเหลว และสิ้นชีวิตลง เมื่อวันเสาร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2476 เวลา 15.00 น. รวมอายุได้ 68 ปี 7 เดือน 12 วัน งานเผยแผ่พระพุทธศาสนา ท่านอนาคาริก ธรรมปาละ เป็นชาวศรีลังกา และเป็นชาวพุทธที่ศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่าง มากมาย ก่อนบวชท่านได้ฟังสถานการณ์พุทธสถานจาก เซอร์เอ็ดวิน อาร์โนลด์ แล้ว ท่านได้ตัดสินใจบวช เป็นนักบวช (ยังไม่บวชเป็นพระ) เดินทางมาอินเดีย ท่านพัฒนาป่าอิสิปตนะมฤคทายวันให้เป็นพุทธสถาน ซึ่งเดิมมีการสร้างพระวิหารอยู่แล้ว แต่ยังไม่แล้วเสร็จ ต่อมารัฐบาลของอินเดีย ได้จัดสรรที่ดินให้ท่าน 20 เอเคอร์ (ประมาณ 50 ไร่) และท่านก็ได้พัฒนาให้เป็นสวนที่มีคุณค่าพร้อมกับการก่อสร้างวิหารเริ่มขึ้นใหม่ ท่านได้กลับไปศรีลังกา และอีก 3 ปีต่อมาท่านก็ได้กลับมายังป่าอิสิปตนฯ อีก และเริ่มงานของสมาคม มหาโพธิ์ ณ ที่นั้นอีกครั้งหนึ่ง ท่านได้พาสามเณร จานวน 10 รูปจากศรีลังกามาด้วย หลังจากท่านได้สละ ชีวิตทางโลกออกมาเป็นคนไม่มีบ้าน (อนาคาริก) เป็นเวลานาน และได้บวชสามเณร ในวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2474 โดยท่านพระโพธิรุกขมูเล เรวตะ เป็นพระอุปัชฌาย์ และได้รับฉายาว่า เทวมิตตะ ธัมมปาละ ได้ เข้ารับการอุปสมบท ในวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2476