SlideShare a Scribd company logo
1 of 38
Download to read offline
147
เภสัชกรรมบาบัดในผู้ป่วย Venous thromboembolism
วิระพล ภิมาลย์
แนวคิดรวบยอด
Thromboembolism disorders เป็นภาวะผิดปกติที่เกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือดและนาไปสู่การเกิดลิ่ม
เลือดอุดตัน ความผิดปกติที่เกิดขึ้นอาจส่งผลให้ผู้ป่วยต้องเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลเสียค่าใช้จ่ายจานวนมาก
โดยการรักษาในปัจจุบันจะใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือด ยาต้านการเกาะกลุ่มกันของเลือด ในบทเรียนนี้นิสิตจะได้
ศึกษาถึงพยาธิกาเนิด พยาธิสรีรวิทยา ปัจจัยเสี่ยง ยาที่ใช้ในการรักษาแต่ละกลุ่ม ข้อดี ข้อเสีย อาการไม่พึงประสงค์
และการติดตามทางห้องปฏิบัติการหลังจากการใช้ยา
วัตถุประสงค์การเรียนรู้
เมื่อศึกษาจบบทเรียนนี้แล้วนิสิตสามารถ
1. อธิบายพยาธิสรีรวิทยาของภาวะ Venous thromboembolism (VTE) ได้
2. อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างอาการและอาการแสดง ค่าทางห้องปฏิบัติการเพื่อใช้ในการ
ประเมินผลการรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะ VTE ได้
3. สามารถบอกถึงการรักษาด้วยยาที่เหมาะสมของภาวะ VTE
4. สามารถบอกถึงปัญหาในการใช้ยาและแนวทางในการแก้ปัญหา รวมทั้งการให้คาแนะนาเพื่อให้
เกิดประสิทธิภาพสูงสุดจากการใช้ยารักษา ภาวะ VTE ได้และมีผลเสียน้อยที่สุด
กิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์
1. บรรยายและยกตัวอย่างกรณีศึกษาประกอบ
2. อภิปรายกรณีศึกษา
3. ศึกษาจากกรณีศึกษาจริงจากโรงพยาบาลและนาเสนอ
การประเมินผล
1. กิจกรรมความสนใจในชั้นเรียน
2. การทดสอบย่อยในชั้นเรียน
3. การทดสอบทั้งทฤษฏีและปฏิบัติการ
148
เภสัชกรรมบาบัดในผู้ป่วย Venous thromboembolism
วิระพล ภิมาลย์
บทนา
VTE เป็นโรคที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับระบบการแข็งตัวของเลือด ซึ่งมีอันตรายจนถึงแก่ชีวิตได้ และพบได้
บ่อยในปัจจุบัน โดย VTE สามารถพบได้ในทุกช่วงอายุ ทุกเชื้อชาติ ซึ่งมักจะเกิดตามหลังการได้รับอุบัติเหตุ การ
ผ่าตัดหรือการที่ร่างกายไม่ได้เคลื่อนไหวติดต่อกันเป็นระยะเวลานานหลายชั่วโมง เช่นการนั่งเครื่องบินระหว่าง
ประเทศ หรือผู้ที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับระบบการแข็งตัวของเลือด (hypercoagulable disorder) ส่งผลให้เกิดการ
clot ของก้อนเลือดในหลอดเลือด VTE สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทย่อยคือ deep vein thrombosis (DVT :
คือก้อนเลือดอุดตันในหลอดเลือดดา) และ pulmonary embolism (PE : ก้อนเลือดอุดตันที่บริเวณปอด) โดย PE
จะมีการดาเนินโรคที่ค่อนข้างรวดเร็วและเกิดอัตราการตายมากกว่า DVT ประมาณร้อยละ 80 ของผู้ป่วย VTE จะ
เสียชวิตด้วย PE
Thrombosis หมายถึงการเกิด ลิ่มเลือด (thrombus) ขึ้นในหลอดเลือด หรือในหัวใจ ถ้าเกิดขึ้นใน
หลอดเลือดแดง เรียกว่า arterial thrombosis ถ้าเกิดในหลอดเลือดดา เรียกว่า venous
thrombosis ก้อนลิ่มเลือดอาจหลุดออกจาก embolus ไปอุดหลอดเลือดที่อวัยวะอื่น เช่น ปอด หรือสมอง
เรียก ปรากฏการณ์นี้ว่า thromboembolism
การรักษา VTE ในปัจจุบันจะทาการรักษาด้วย antithrombotic drug ซึ่งยาในกลุ่มนี้เป็นยาที่ต้องอาศัย
การติดตามการใช้อย่างใกล้ชิดเนื่องจากกลไกการออกฤทธิ์หลักคือ ต้านการแข็งตัวของเลือด หรือการเกิด clot ซึ่งมี
อาการข้างเคียงที่สาคัญคือ การมีเลือดออก (bleeding)
ระบาดวิทยา (Epidemiology)
อุบัติการณ์การเกิด VTE ปัจจุบันยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด จากการสารวจในประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่ามี
ผู้ป่วยประมาณ 2 ล้านคนเป็น VTE ทุกๆ ปีจะมีผู้ที่ต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลด้วย VTE และเสียชีวิตปี
ละ 60,000 คน อุบัติการณ์ของ VTE จะเพิ่มขึ้นตามอายุที่เพิ่มขึ้น โดยอุบัติการณ์จะเพิ่มเป็น 2 เท่าในผู้ป่วยที่มีอายุ
มากกว่า 50 ปี นอกจากนี้ VTE ยังสัมพันธ์กับเชื้อชาติด้วย ชาว African-American จะเสี่ยงมากกว่าชาว
American หรือยุโรป หรือ Hispanic ส่วนชาว Pacific Islanders จะพบ VTE น้อยมาก
ตารางที่ 1 แสดงข้อมูลทางระบาดวิทยาของ VTE
ตัวแปร ระบาดวิทยา
Incidence in Total Population (Assuming >
95% Caucasian)
ประมาณ 70–113 cases/100,000/year
Age
25–35 years old
70–79 years old
Exponential increase in VTE with age, particularly after age 40
years
ประมาณ 30 cases/100,000 persons
ประมาณ 300–500 cases/100,000 persons
Gender No convincing difference between men and women
Race/Ethnicity 2.5–4-fold lower risk of VTE in Asian-Pacific Islanders and
Hispanics
149
ตัวแปร ระบาดวิทยา
Relative Incidence of PE vs DVT Absent autopsy diagnosis: ประมาณ 33% PE; 66% DVT
Seasonal Variation Possibly more common in winter and less common in summer
Risk Factors ประมาณ 25% to 50% “idiopathic” depending on exact definition
ประมาณ 15%–25% associated with cancer; ประมาณ 20%
following surgery (3 mo.)
Recurrent VTE 6-month incidence: ประมาณ 7%; higher rate in patients with
cancer
Recurrent PE more likely after PE than after DVT
Death After Treated VTE 30 day incidence ประมาณ 6% after incident DVT
30 day incidence ประมาณ 12% after PE
Death strongly associated with cancer, age, and cardiovascular
disease
กายวิภาคศาสตร์ของหลอดเลือดดาที่ขา (Anatomy of leg vein)
หลอดเลือดดาที่ขาของมนุษย์สามารถแบ่งออกเป็น 2 ระบบตามกายวิภาคศาสตร์คือ
1. หลอดเลือดดาที่บริเวณผิวของขา (superficial system) สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วนคือ
Long saphenous vein เป็นหลอดเลือดดาที่ยาว เริ่มจากบริเวณด้านในของเท้า ผ่านทางด้านหน้า
ของ medial malleolus แล้วขึ้นไปสู่ขาและสิ้นสุดบริเวณด้าน medial ของขาและต่อรวมเข้าสู่ femoral veins
Short saphenous vein จะขึ้นมาจากด้านนอกของเท้า ผ่านด้านหลังของ lateral malleolus และ
ขึ้นมาบริเวณกลางน่องและต่อเข้าสู่หลอดเลือดดาใหญ่
Perforator veins เป็นหลอดเลือดดาที่เชื่อมระหว่าง deep และ superficial systems คือทาหน้าที่
นาเลือดจาก superficial เข้าสู่ deep system
ซึ่งการเกิดการอุดตันที่หลอดเลือดดาที่ผิว (superficial vein thrombosis) มักเกิดในรายที่ให้ยา
หรือน้าเกลือ แล้วมีการอักเสบของหลอดเลือดดา จะเห็นรอยแดงไปตามหลอดเลือดดา และถ้ากดจะเจ็บ
2. หลอดเลือดดาที่ลึก (deep system)
หมายถึงหลอดเลือดดาที่อยู่ชิดกับหลอดเลือดแดงใต้เข่า 3 เส้น ในแต่ละเส้นของหลอดเลือดแดงจะมี
หลอดเลือดดาประกบ 2 คู่ (มีหลอดเลือดทั้งหมด 6 เส้น) ซึ่งหลอดเลือดดาเหล่านี้จะวิ่งขึ้นมารวมกันกลายเป็น
popliteal vein ซึ่งจะอยู่ด้านหลัง popliteal artery ด้านหลังเข่า และในบริเวณต้นขาหลอดเลือดดาจะมาต่อกับ
หลอดเลือดแดง รวมกับ profunda vein และ common femoral vein ดังแสดงในรูปที่ 2 ในหลอดเลือดดาแต่ละ
เส้นเลือดจะสามารถไหลย้อนกลับจากบริเวณข้อหรือเท้า เข้าสู่หัวใจได้ (ในทิศทางที่ต้านกับแรงโน้มถ่วงของโลก)
เนื่องจากหลอดเลือดดาเหล่านี้จะมีลิ้นที่หลอดเลือดดาคอยเปิด-ปิดอยู่ตลอดเวลา นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเสริมคือการ
บีบตัวของหลอดเลือดแดง และการบีบตัวของกล้ามเนื้อที่เท้าและน่อง ถ้าร่างกายมีความผิดปกติทาให้ลิ้นไม่สามารถ
ทางานได้ตามปกติก็จะทาให้มีเลือดไหลย้อนกลับลงมาที่ขาได้ โดยลิ้นของหลอดเลือดดามีความสาคัญมากในการ
ป้องกันไม่ให้เลือดไหลผิดปกติ ลิ้นของหลอดเลือดดามีลักษณะเป็น semilunar และเป็น bicuspid ปกติลิ้นเหล่านี้
จะทนต่อความดันเลือดไหลย้อนกลับได้ ลิ้นเหล่านี้จะทาหน้าที่บังคับทิศทางให้เลือดดาไหลจาก superficial
system ไหลไปทาง deep system (ไหลจากเท้าขึ้นมาที่ต้นขาและหัวใจตามลาดับ)
150
ปัจจัยเสี่ยงและพยาธิกาเนิด (Risk factor and etiology)
นอกจากปัจจัยเสี่ยงที่ได้กล่าวมาข้างต้นแล้ว ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ อีกดังแสดงในตารางที่ 2 โดยปัจจัยเสี่ยง
ที่มีนัยสาคัญอย่างยิ่งยวด (Strong risk factors) เช่น การได้รับอุบัติเหตุ malignancy จะมีผลทาให้การแข็งตัวของ
เลือดผิดปกติไป ปัจจุบันเราพบว่าพยาธิกาเนิดของ VTE เป็นผลสืบเนื่องมาจากการยับยั้งการไหลเวียนของเลือด เมื่อ
ร่างกายมีการไหลเวียนเลือดลดลงทาให้กระบวนการขจัด และเจือจาง clotting factor ลดลงทาให้เกิดก้อนเลือด
(thrombus) ขึ้นในหลอดเลือด โดยหลอดเลือดดาบริเวณส่วนล่างของร่างกายจะเกิดการสร้างก้อนเลือด
(thrombogenesis) ได้บ่อยกว่าส่วนบนเนื่องจากมีการไหลเวียนเลือดกลับสู่หัวใจช้ากว่าและลิ้นที่กั้นภายในหลอด
เลือดดามีการเปิด-ปิดที่ช้ากว่าส่วนบน
ตารางที่ 2 แสดงปัจจัยเสี่ยงของการเกิด VTE โดยจาแนกตามระดับความสาคัญ
ระดับความเสี่ยง ตัวอย่างความเสี่ยง
Strong risk factors (odds ratio >10)
(อัตราส่วนออด (odds ratio) เป็นการคานวณหาความสัมพันธ์
ระหว่างตัวแปร 2 ตัวว่าตัวใดจะมีความเสี่ยงมากกว่ากัน เช่นใน
ที่นี้ จะหมายความว่าการได้รับบาดเจ็บจนเกิดขาหักจะเสี่ยงต่อ
VTE มากกว่าคนธรรมดามากกว่า 10 เท่า)
Fracture (hip or leg)
Hip or knee replacement
Major general surgery
Major trauma
Spinal cord injury
รูปที่ 1 แสดงชั้นกล้ามเนื้อของหลอดเลือดดา ซึ่งชั้นนอก
สุดจะเป็น Connective tissue, smooth muscle,
basement membrane และ endothelium และ
ภายในหลอดเลือดดาจะมีลิ้นคอยเปิด-ปิดให้เลือดดาไหล
ย้อนกลับสู่หัวใจ (The minimal invasive specialist,
2011)
รูปที่ 2 แสดงระบบหลอดเลือดดาของมนุษย์ (Haines et al, 2011)
151
ระดับความเสี่ยง ตัวอย่างความเสี่ยง
Moderate risk factors (odds ratio 2–9) Arthroscopic knee surgery
Central venous lines
Chemotherapy
Congestive heart or respiratory failure
Hormone replacement therapy
Malignancy
Oral contraceptive therapy
Paralytic stroke
Pregnancy/, postpartum
Previous venous thromboembolism
Thrombophilia
Weak risk factors (odds ratio < 2) Bed rest > 3 days
Immobility due to sitting (e.g. prolonged car or air travel)
Increasing age
Laparoscopic surgery (e.g. cholecystectomy)
Obesity
Pregnancy/, antepartum
Varicose veins
ปัจจุบันยังค้นพบอีกว่าความผิดปกติในระดับ gene จะมีผลทาให้เกิด hypercoagulation ซึ่งสามารถ
ถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ ความผิดปกติของ protein C โดย Protein C เป็นพลาสมาโปรตีนโดยเป็น vitamin K
dependent factor ที่ทาหน้าที่ยับยั้งปัจจัยการแข็งตัวของเลือด Va และ VIIIa (coagulation factor Va และ
VIIIa) ในร่างกายไม่ให้เกิดการแข็งตัวของเลือดที่มากเกินไปจนทาให้การแข็งตัวของเลือดผิดปกติไปนั้นพบได้
ประมาณร้อยละ 5 ในกลุ่มประชากรผิวขาว ซึ่งเป็นสาเหตุสาคัญของการเกิด DVT นอกจากนี้ยังมีการเกิด factor V
Leiden mutation เป็นการกลายพันธุ์ที่พบมากที่สุดในผู้ป่วย venous thrombosis (ประมาณร้อยละ 20 – 40
ของผู้ป่วย VTE) และพบได้ประมาณร้อยละ 5 ในประชากรทั่วไป การกลายพันธุ์นี้ทาให้โปรตีน factor V ทางาน
ผิดปกติ (ในคนปกติ factor V ทาหน้าที่เป็นปัจจัยร่วม (cofactor) เพื่อช่วยให้ factor X ทางานได้ นอกจากนี้ยังทา
ให้เกิดการกระตุ้นการทางานของ protein C ทาให้เกิด Activated protein C (APC) โดย APC สามารถพบได้ใน
ร่างกายของเราซึ่งจะทาหน้าที่เป็นสารป้องกันการแข็งตัวของเลือด) เมื่อร่างกายมี factor V Leiden mutation เกิด
การยับยั้งที่การทางาน protein C จะทาให้เกิดการแข็งตัวเป็นก้อนเลือด การเกิด factor V Leiden mutation
mutation เป็นการกลายพันธุ์ที่เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สาคัญของการเกิดก้อนเลือด (thrombotic risk) คนที่เป็น
heterozygote (-/+) ของการกลายพันธุ์นี้ (คือมี gene factor V ผิดปกติ 1 ข้าง) จะพบได้ประมาณร้อยละ 6 คน
กลุ่มนี้จะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิด VTE มากกว่าคนอื่นๆ ถึง 8 เท่า
การใช้ฮอร์โมน estrogen เป็นยาคุมกาเนิดหรือฮอร์โมนทดแทนหรือยาในกลุ่ม selective estrogen-
receptor modulators (SERMs) จะเสี่ยงต่อการเกิด venous thrombosis ซึ่งกลไกยังไม่ทราบแน่ชัด แต่คาดว่า
ฮอร์โมน estrogen จะมีผลเพิ่มปริมาณของ clotting factor และทาให้เกิดการขาด antithrombin III, protein C
และ S นอกจากนี้ยังมี factor ชนิดอื่นๆ ที่มีผลต่อระบบการแข็งตัวเลือดในร่างกาย
152
พยาธิสรีรวิทยา (Pathophysiology)
เมื่อเกิดเลือดออกภายหลังจากการบาดเจ็บ ร่างกายจะมีกลไกในการห้ามเลือด ซึ่งในระหว่างการห้ามเลือด
นี้ร่างกายจะมีสมดุลระหว่าง การเกิดก้อนเลือด (thrombogenesis) และการต้านการเกิดก้อนเลือด
(antihrombogenesis) ซึ่งจะทาหน้าที่ตรงข้ามกันเพื่อรักษาสมดุลของระบบไหลเวียนโลหิต ดังแสดงในรูปที่ 3 และ
ตารางที่ 3 นอกจากนี้ยังมีปัจจัย 3 ปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิด thrombosis ขึ้นคือ ผนังหลอดเลือด (vessel wall),
องค์ประกอบของเลือดที่เกี่ยวข้องกับการไหลเวียนเลือด (Circulating elements) และการไหลเวียนของเลือด ในปี
ค.ศ. 1800 Dr. Rudolf Virchow นักพยาธิวิทยาชาวเยอรมันได้อธิบายเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือดที่ผิดปกติไปว่ามี
ความเกี่ยวข้องกับ 3 ปัจจัยดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้นว่าเป็น Virchow’s triad ดังแสดงในรูปที่ 4
รูปที่ 3 แสดงขั้นตอนการเกิด Hemostasis and thrombosis (Haines et al, 2011)
153
ในการรักษาสมดุลของร่างกายๆ จะมีกระบวนการ Coagulation inhibitor ซึ่งจะช่วยรักษาความสมดุล
ของเลือด คือ การห้ามการแข็งตัวของเลือด เพื่อให้เลือดคงความเป็นของเหลว ไหลเวียนในกระแส
เลือด inhibitor ที่มีความสาคัญเกี่ยวกับการเกิดภาวะ thrombosis ที่พบ ได้แก่ antithrombin III, protein C
และ S โดย Antithrombin III (AT III) หรือ heparin cofactor นี้ถูกสร้างที่ตับมีฤทธิ์ยับยั้งการทางานของ
thrombin, Factor Xa, FXIIa, FXIa และ FIXa ที่เกิดจากการกระตุ้นกลไกการแข็งตัวของเลือด ไม่ให้ออกฤทธิ์มาก
เกินไป การขาด AT III จะส่งเสริมการเกิดลิ่มเลือดโดยเฉพาะ venous thrombosis ภาวะการขาด AT III นั้น
อาจพบร่วมกับโรคหรือยาบางอย่างได้ เช่น nephrotic syndrome, ยากลุ่ม estrogen เป็นต้น หรือจาก
พันธุกรรม ซึ่งถ่ายทอดทางพันธุกรรมแบบ autosomal dominant นอกจาก AT III แล้ว clotting inhibitor ที่
สาคัญ คือ protein C และ S โดย protein S นั้นทาหน้าที่เป็น co-factor ของ protein C ในการออกฤทธิ์ ทั้ง
สองเป็น vitamin K dependent protein ซึ่งอยู่ในกระแสเลือดในสภาพ inactive form จะถูกกระตุ้นให้มีฤทธิ์
ได้ด้วย thrombin มีหน้าที่นอกจากห้ามฤทธิ์ของ factor V และ factor VIII แล้วยังสามารถเพิ่ม fibrinolytic
activity ของเลือดได้ด้วย จึงนับว่ามีฤทธิ์สาคัญที่ช่วยรักษาภาวะสมดุลของเลือด ป้องกันการเกิด
thrombosis การขาด protein C และ S นั้น นอกจากจะสัมพันธ์กับการขาด vitamin K แล้ว ยังเป็นการพร่อง
แบบ hereditary ด้วย ผู้ป่วยที่ขาด protein ทั้งสองนี้ คล้ายภาวะการขาด AT III จะเกิดภาวะ DVT รวมทั้ง
thromboembolism ในขณะที่อายุน้อยได้
ตารางที่ 3 การรักษาสมดุลระหว่าง Thrombogenic และ antithrombotic
องค์ประกอบ Thrombogenic Antithrombotic
Vessel wall Exposed subendothelium
Tissue factor
Plasminogen activator inhibitor–1 (PAI–1)
Heparan sulfate
Dermatan sulfate
Thrombomodulin
Tissue plasminogen activator (t-PA)
Urokinase plasminogen activator (u-PA)
Circulating elements Platelets
Platelet activating factor (PAF)
Clotting factors
Prothrombin (Factor II)
Fibrinogen (Factor I)
von Willebrand factor (vWF)
α2-Antiplasmin
Antithrombin (AT)
Heparin cofactor II
Protein C
Protein S
Plasminogen
Tissue factor pathway inhibitor
Proteolytic enzymes
Blood flow Slow rate of flow
Turbulent flow
Fast rate of flow
Laminar flow
154
รูปที่ 4 แสดง Virchow’s triad (Meltzer et al, 2008)
เมื่อร่างกายเกิดการบาดเจ็บจนหลอดเลือดฉีกขาดและมีเลือดออก เกล็ดเลือดจะมารวมตัวกันบริเวณที่เกิด
บาดแผลอย่างรวดเร็ว โดยเกล็ดเลือดจะใช้ glycoprotein Ib receptors จับกับผนังหลอดเลือดโดยมี von
Willebrand factor เป็นตัวช่วย หลังจากนั้นเกล็ดเลือดจะหลั่ง procoagulant กระตุ้นให้เกล็ดเลือดตัวอื่นๆ เข้ามา
ในบริเวณที่บาดเจ็บมากขึ้นและเกล็ดเลือดจะใช้ glycoprotein IIb-IIIa เชื่อมต่อกัน จนเกิด platelet aggregation
ในขณะเดียวกันผนังหลอดเลือดที่ถูกทาลายจะหลั่ง tissue thromboplastin ไปกระตุ้น extrinsic pathway ของ
ระบบการแข็งตัวของเลือด (coagulation pathway) ดังแสดงในรูปที่ 5
Coagulation pathway สามารถแบ่งได้เป็น 3 ส่วนได้แก่ extrinsic, intrinsic และ common
pathway ดังแสดงในรูปที่ 6 โดยที่การกระตุ้น coagulation pathway จะเกิดขึ้นได้โดยผ่านทั้ง extrinsic และ/
หรือ intrinsic pathway ซึ่งทั้งสอง pathway นี้มีตัวกระตุ้นที่แตกต่างกันออกไป การกระตุ้น extrinsic pathway
เกิดขึ้นโดยอาศัย tissue factor ซึ่งจะถูกหลั่งออกมาจาก vascular cell และ macrophages เมื่อเกิดการเสียหาย
ของหลอดเลือด โดยอาศัย calcium ion โดย tissue factor ที่ถูกหลั่งออกมาจะไปกระตุ้นให้ factor VII เปลี่ยนไป
อยู่ในสภาพที่ active ซึ่งจะไปกระตุ้น coagulation cascade (cascade หมายถึง ลาดับขั้น) ให้เกิดการสร้าง
fibrin และนาไปสู่การแข็งตัวของเลือดในที่สุด
Circulating element
Stasis of blood flow การไหลเวียนเลือดที่ช้าลง
สามารถกระตุ้นการเกิดลิ่มเลือด พบได้ในผู้ป่วยที่อยู่
นิ่งนานๆ มากกว่า 3 ชั่วโมง ผู้ป่วยโรคอ้วน หัวใจ
ล้มเหลว หญิงตั้งครรภ์ในระยะใกล้คลอด เป็นต้น
Circulating element ภาวะบางอย่างที่ทาให้เกิดการแข็งตัวของ
เลือดผิดปกติเช่น การขาด protein C, protein S และ
homocysteinemia
Vessel injury การฉีกขาดหรือความผิดปกติที่เกิด
ขึ้นกับเยื่อบุหลอดเลือด (endothelial) ทั้งนี้อาจเกิด
จากแรงกระแทกหรือการได้รับสารเคมีที่กระตุ้น
กระบวนการอักเสบ ซึ่งจะกระตุ้น coagulation
cascade จนทาให้เกิดการเกาะกล่มกันของเกล็ด
เลือด การเกิด endothelial injury เช่นการได้รับ
อุบัติเหตุ
155
รูปที่ 5 แสดงการทางานของเกล็ดเลือดเมื่อเกิดบาดแผล (Haines et al, 2011)
การกระตุ้น intrinsic pathway เกิดขึ้นเมื่อมีการสัมผัสกันของเลือดและ subendothelial connective
tissues หรือ negatively charged surfaces ที่เกิดขึ้นเมื่อเกิดความเสียหายต่อเนื้อเยื่อ ผลลัพธ์ที่ได้คือการกระตุ้น
การสร้าง fibrin และนาไปสู่การแข็งตัวของเลือดได้เช่นกัน หลังจากการกระตุ้น extrinsic หรือ intrinsic pathway
ผลลัพธ์ที่ได้คือการกระตุ้น factor X ใน common pathway ให้อยู่ในรูป active form ซึ่งจะไปกระตุ้นการ
เปลี่ยนแปลงของ prothrombin ไปเป็น thrombin จากนั้น thrombin จะไปย่อยสลาย fibrinogen ให้เป็น fibrin
ซึ่งจะทาหน้าที่เชื่อมระหว่างเกล็ดเลือดที่ถูกกระตุ้นหลายๆ ตัวทาให้ได้เป็นโครงสร้างร่างแหไปอุดตาแหน่งของ
เนื้อเยื่อที่เสียหายเกิดเป็นก้อน thrombus ซึ่งมีผลช่วยในการหยุดยั้งภาวะเลือดออกในร่างกาย
156
รูปที่ 6 แสดง coagulation pathway โดย AT = antithrombin; HCII = heparin cofactor II; TFPI = tissue
factor pathway inhibitor. (Haines et al, 2011)
157
การตรวจวินิจฉัย (Diagnosis)
1. ภาวะ DVT
การตรวจเพื่อวินิจฉัยภาวะ DVT จะอาศัยการซักประวัติ การตรวจร่างกายและการตรวจด้วยวิธีพิเศษ
อื่นๆ สาเหตุที่ต้องใช้การตรวจพิเศษอื่นๆ ร่วมด้วยเนื่องจากการซักประวัติและการตรวจร่างกายจะมีความไวต่ามาก
ในผู้ป่วย DVT บางรายไม่มีอาการแสดงเลยแต่ผู้ป่วยบางรายมีอาการปวดบริเวณขา ขาบวมแต่ไม่ได้เป็น DVT ซึ่ง
แนวทางการวินิจฉัยในปัจจุบันจะต้องอาศัยการตรวจพิเศษด้วยวิธีอื่นๆ ร่วมด้วยเสมอ ซึ่งวิธีที่นิยมทากันในปัจจุบัน
ได้แก่
 Venography จัดเป็นมาตรฐานของการตรวจ systematic DVT (gold standard)
เนื่องจากมีความไวสูงและเฉพาะเจาะจงแต่การตรวจด้วยวิธีนี้มีข้อเสียคือ เกิด invasive มีราคาแพง อาการไม่พึง
ประสงค์คือปวดบริเวณที่ต้องเจาะ เกิด phlebitis และห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ contrast media อย่างรุนแรงและผู้ที่ไต
ทางานบกพร่อง
 Venous ultrasound เป็นการตรวจแบบ noninvasive เพื่อดูการอุดตันของหลอดเลือด
ดาตั้งแต่ femoral vein ลงมาจนถึง popliteal vein การตรวจด้วยวิธีนี้จะไวถึงร้อยละ 95 และจาเพาะในผู้ป่วย
ชนิด proximal DVT ที่มีอาการร่วมด้วยถึงร้อยละ 96 ปัจจุบันเป็นการตรวจสาหรับวินิจฉัย DVT
 Duplex ultrasound เป็นการตรวจแบบ noninvasive ที่มีความไวในผู้ป่วย proximal
DVT โดยการตรวจวิธีนี้จะดูการไหลของเลือดร่วมด้วย แต่ยังไม่มีเกณฑ์ที่แน่นอนสาหรับการวินิจฉัยที่แน่นอน แต่วิธี
นี้จะมีราคาไม่แพงมากนัก
 Impedance plethysmography เป็นการตรวจที่ดูการเปลี่ยนแปลงปริมาณเลือดที่น่อง
หลังจากมีการรัดและคลาย cuff ที่พันรอบขา โดยใช้ electrode ทวางอยู่ที่น่องเป็นตัววัด การตรวจด้วยวิธีนี้จะไว
และจาเพราะสาหรับผู้ที่เป็น proximal DVTเท่านั้นและวิธีนี้มีข้อเสียคือไม่สามารถแยกระหว่าง thrombolic และ
nonthrombotic obstruction ได้ซึ่งอาจทาให้แปลผลผิดพลาดทาให้วิธีนี้ได้รับความนิยมน้อยลง
 125
I fibrinogen leg scan เป็นการตรวจหาบริเวณทกาลังมีการสร้างลิ่มเลือดโดยใช้
fibrinogen เป็นตัวติดตาม เนื่องจากการตรวจด้วยวิธีนี้จะได้ผลดีมากเฉพาะ proximal DVT ต้องใช้เวลาหลายวัน
กว่าจะทราบผลและต้องเตรียมสารที่ตรวจสาหรับเลือดจึงอาจทาให้เกิดผลเสียได้ วิธีนี้จึงไม่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน
 Magnetic resonance imaging (MRI) วิธีนี้เป็นวิธีใหม่สาหรับการตรวจวินิจฉัย DVT ที่ยัง
มีการศึกษาไม่มากแต่ข้อมูลจากการศึกษาที่ผ่านมาพบว่าเป็นวิธีที่มีความไวและจาเพาะสูงถึงร้อยละ 100 เมื่อใช้
วินิจฉัยการเกิด DVT ที่ช่องเชิงกรานและน่อง แต่การตรวจด้วยวิธีนี้มีราคาแพงจึงไม่แนะนาให้ใช้เป็นวิธีแรก
2. ภาวะ pulmonary embolism (PE)
การวินิจฉัย PE จะอาศัยอาการและอาการแสดง การตรวจ chest x-ray การตรวจคลื่นหัวใจและ
arterial blood gas พบว่าไม่มีความจาเพาะ โดยวิธีการตรวจยืนยัน PE ในปัจจุบันได้แก่
 Pulmonary angiogram เป็นมาตรฐาน (gold standard) ในการวินิจฉัย PE วิธีนี้มีข้อเสีย
คือต้อง invasive และต้องอาศัยความชานาญในการทาและเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ง่าย
158
 Ventilation-perfusion lung scan เป็นการตรวจเบื้องต้นแบบ noninvasive นิยมทาใน
ผู้ที่สงสัยว่าจะเกิด PE
 Computerized tomography (CT) การตรวจด้วยเครื่อง CT ธรรมดาไม่เหมาะสมที่จะใช้
วินิจฉัย เนื่องจากไม่สามารถเห็น contrast media ภายในระยะเวลาและปัญหาจากการหายใจของผู้ป่วยซึ่งอาจทา
ให้เกิดการแปลผลผิด แต่จากการศึกษาเรื่องความไวและความจาเพาะพบว่าวิธีนี้มีความไวถึงร้อยละ 72 และจาเพาะ
ถึงร้อยละ 95
 Magnetic resonance imaging (MRI) เป็นวิธีที่มีการศึกษาค่อนข้างน้อยแต่มีความ
แม่นยาในการวินิจฉัยใกล้เคียงกับการวินิจฉัย DVT โดยมีความไวร้อยละ 85-100 และจาเพาะร้อยละ 62-77
อาการแสดงทางคลินิก (Clinical presentation)
อาการและอาการแสดงของผู้ป่วย VTE โดยทั่วไปจะไม่เฉพาะเจาะจง ซึ่งอาการที่พบทั่วไปได้แก่ ปวด บวม
ผิวหนังเกิดการเปลี่ยนสี (อาจมีสีแดงเข้มขึ้นจากการอักเสบหรือขาวซีดจากการขาดเลือด) นอกจากนี้ยังขึ้นกับ
บริเวณที่เกิดก้อนเลือดอุดตันด้วย เช่นถ้าอุดตันบริเวณน่องจะมีอาการปวดที่บริเวณน่อง แต่ถ้าอุดตันที่ proximal
vein จะมีการปวดแพร่กระจายไปทั่วร่างกาย และปวดรุนแรงมากกว่า ส่วนอาการของ PE นั้นจะขึ้นกับขนาดและ
จานวนของก้อนเลือดที่ไปอุดตันและบริเวณที่เกิดการอุดตัน โดยอาการที่พบได้บ่อยคือ ไอ หัวใจเต้นเร็ว หายใจเร็ว
หอบเหนื่อย เจ็บหน้าอกเวลาหายใจลึกๆ หรือจาม ไอ มีเหงื่อออกมากและบางครั้งอาจมีไอเป็นเลือดร่วมด้วย อาการ
และอาการแสดงทางคลินิกของ DVT และ PE แสดงในตารางที่ 4
นอกจากอาการทางคลินิกและวิธีการวินิจฉัยดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ยังมีวิธีการประเมินความเป็นไปได้
ต่ออาการเกิด DVT และ PE ดังตารางที่ 5 ซึ่งจะแบ่งความเสี่ยงออกเป็น 3 ระดับคือ high, moderate และ low
ในกลุ่มที่ทาการประเมินแล้วพบว่ามีระดับความน่าจะเป็น อยู่ในระดับ high จะมีความแม่นยาต่อการเป็น VTE ถึง
ร้อยละ 60
159
ตารางที่ 4 ความแตกต่างของ DVT และ PE
Deep Vein Thrombosis (DVT) Pulmonary Embolism (PE)
ลักษณะ
โดยทั่วไป
Venous thromboembolism most commonly
develops in patients with identifiable risk
factors during or following a hospitalization.
Many patients, perhaps the majority, have
asymptomatic disease. Patients may die
suddenly of pulmonary embolism.
Pulmonary embolism most commonly
develops in patients with risk factors for VTE
during or following a hospitalization. While
many patients develop a symptomatic DVT
prior to developing a PE, many do not.
Patients may die suddenly before effective
treatment can be initiated.
อาการ The patient may complain of leg swelling, pain,
or warmth.
Symptoms are nonspecific, and objective
testing must be performed to establish the
diagnosis.
The patient may complain of cough, chest
pain, chest tightness,
shortness of breath, or palpitation. The patient
may spit or cough up blood (hemoptysis).
When PE is massive, the patient may complain
of dizziness or light-headedness. Symptoms
may be confused with a myocardial infarction
or pneumonia, and objective testing must be
performed to establish the diagnosis.
อาการแสดง - The patient’s superficial veins may be dilated,
and a “palpable cord” may be felt in the
affected leg.
- The patient may experience pain in back of
the knee when the examiner dorsiflexes the
foot of the affected leg.
The patient may have tachypnea (increased
respiratory rate) and tachycardia (increased
heart rate). The patient may appear
diaphoretic (sweaty). The patient’s neck veins
may be distended. In massive PE, the patient
may appear cyanotic and may become
hypotensive. In such cases, oxygen saturation
by pulse oximetry or arterial blood gas likely
will indicate that the patient is hypoxic. In the
worse case, the patient may go into
circulatory shock and die
within minutes.
ตารางที่ 5 แสดงรูปแบบ (Model) การประเมินความเสี่ยงต่อการเป็น DVT และ PE
ลักษณะทางคลินิก คะแนน
Pretest Probability of DVT
Tenderness along entire deep vein system 1.0
Swelling of the entire leg 1.0
Greater than 3-cm difference in calf circumference 1.0
Pitting edema 1.0
Collateral superficial veins 1.0
Risk factors present:
 Active cancer 1.0
160
 Prolonged immobility or paralysis
 Recent surgery or major medical illness
 Alternative diagnosis likely (ruptured Baker’s cyst, rheumatoid arthritis, superficial
thrombophlebitis, or infective cellulitis)
1.0
1.0
−2.0
การคิดคะแนน DVT : Score ≥3 = high probability; 1–2 = moderate probability; ≤ 0 = low probability
Pretest Probability of PE
Clinical features of deep vein thrombosis 3.0
Recent prolonged immobility or surgery 1.5
Active cancer 1.0
History of deep vein thrombosis or pulmonary embolism 1.5
Hemoptysis 1.0
Resting heart rate > 100 beats per minute 1.5
No alternative explanation for acute shortness of breath or chest pain 3.0
การคิดคะแนน PE : Score ≥6 = high probability; 2–6 = moderate probability; ≤ 1.5 = low probability
เป้าหมายการรักษา
เป้าหมายของการรักษา VTE ประกอบด้วย
1. ป้องกันการเกิด PE และป้องกันการเสียชีวิตจาก PE
2. ป้องกันการเกิด postphlebitic syndrome
3. บรรเทาและรักษาผู้ป่วยโดยทาให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการรักษาน้อยที่สุด
4. ป้องกันการกลับเป็นซ้า
ยาที่ใช้ในการรักษา VTE
1. Unfractionated heparin (UFH)
การใช้ UFH การป้องกันและรักษา thrombosis นั้นมีมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1930 โดย UFH ถูกค้นพบ
โดย McLean ในปี ค.ศ. 1916 ซึ่งค้นพบว่าสารสกัดจากตับสุนัขสามารถยับยั้งกระบวนการแข็งตัวของเลือดได้ และ
ในปี ค.ศ.1939 ก็ได้เรียกสารชนิดนี้ว่า heparin cofactor ซึ่งมีฤทธิ์ในการยับยั้งการแข็งตัวของเลือด heparin เป็น
สารจาพวก D-glycosaminoglycan ออกฤทธิ์โดยการจับกับ antithrombin III เนื่องจาก heparin เป็นสารที่มีมวล
โมเลกุลขนาดใหญ่ (5,000-30,000 ดาลตัน เฉลี่ย 15,000 ดาลตัน) ทาให้ไม่ถูกดูดซึมและถูกทาลายด้วยกรดจาก
ทางเดินอาหาร จึงต้องบริหารยาโดยการฉีด IV และ SC เท่านั้น และการฉีด heparin มีอาการไม่พึงประสงค์คือ
hematoma ทาให้ปัจจุบันนิยมใช้น้อยลง
กลไกการออกฤทธิ์
Heparin ออกฤทธิ์โดยใช้ส่วนที่เรียกว่า pentasaccharide บนโมเลกุล (พบส่วน pentasaccharide
เพียง 1/3 ของโมเลกุล heparin) จับกับ antithrombin III ซึ่งเป็น alpha-globulin ที่ทาหน้าที่ยับยั้ง active
clotting factor เช่น IIa, IXa, Xa, XIIa โดยในภาวะที่ไม่มี heparin การยับยั้ง active clotting factor ของ
antithrombin III จะเกิดขึ้นอย่างช้าๆ แต่ในภาวะที่มี heparin จะเกิดการยับยั้งได้เร็วกว่าถึง 1,000 เท่า ทาให้ยานี้
สามารถออกฤทธิ์ได้อย่างรวดเร็ว (onset สั้น) ดังแสดงในรูปที่ 7
161
รูปที่ 7 แสดงการออกฤทธิ์ของ heparin (Haines et al, 2011)
เภสัชจลนศาสตร์ (Pharmacokinetics)
UFH ไม่ถูกดูดซึมจากระบบทางเดินอาหารเพราะมีโมเลกุลที่ใหญ่และมีสูตรโครงสร้างเป็น anionic
นอกจากนี้ค่า bioavailability ยังขึ้นกับ protein หรือ plasma binding, platelet factor-4 (PF-4),
macrophage, fibrinogen, lipoproteins และ endothelial cell การบริหารยาแบบ SC ค่า bioavailability จะ
เป็นแบบ dose dependent หลังจากที่บริหารยาไปแล้วจะมีค่า onset of action อยู่ที่ 1-2 ชั่วโมงเนื่องจากการ
ให้ยาแบบ SC จะไม่สามารถทานายการออกฤทธิ์ได้อย่างแน่นอน ถ้าต้องการฤทธิ์ anticoagulant อย่างรวดเร็วควร
ให้แบบ IV โดยส่วนใหญ่จะให้แบบ IV infusion เพราะการให้แบบ IV bolus จะเสี่ยงต่อการเกิด bleeding
มากกว่าสาหรับการให้แบบ IM จะไม่นิยมให้เพราะจะเกิด hematomas ได้ง่าย
UFH มีค่า volume of distribution = 60 มิลลิลิตรต่อกิโลกรัม ดังนั้นการให้ยาต้องคานวณตาม
น้าหนักตัว (weigh-based dosing) โดยขนาดยาสูงสุดสาหรับการให้แบบ loading dose คือ 10,000 ยูนิตต่อวัน
และ infusion rate คือ 2,300 ยูนิตต่อชั่วโมง แต่อย่างไรก็ตามสาหรับคนที่อ้วนมากๆ ยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนว่าการ
ให้ในขนาดเกินกว่า maximum dose จะเกิดผลดี ยามีค่าครึ่งชีวิตอยู่ที่ 30-90 นาที แต่อาจมากถึง 150 นาทีใน
ผู้ป่วยบางรายเมื่อให้ยาในขนาดสูง ยาถูกขจัดออกทางไตเป็นหลัก มีส่วนน้อยถูกขจัดออกทางตับ ดังนั้นจึงต้องปรับ
ขนาดยาในผู้ป่วยโรคไตและตับ
ขนาดยาและการบริหาร (Dosing and administration)
ขนาดและวิถีทางการบริหารยา จะขึ้นกับข้อบ่งใช้ และเป้าหมายของการรักษาทั้งนี้เนื่องจากผู้ป่วยแต่
ละรายจะมีการตอบสนองต่อยาที่แตกต่างกัน โดยการใช้สาหรับป้องกัน VTE นั้นจะให้แบบ SC ในขนาด 5,000
unit ทุก 8-12 ชั่วโมงแต่ถ้าต้องการฤทธิ์ anticoagulant อย่างรวดเร็วก็ให้แบบ IV bolus แล้วตามด้วย IV
continuous ดังแสดงในตารางที่ 6 นอกจากนี้ยังมีวิธีการบริหารยาแบบอื่นๆ คือแบบ time-honored dosing
requirement โดยจะเริ่มให้ยาในขนาด 5,000 unit แบบ IV bolus แล้วตามด้วย IV infusion rate 1,000-2,000
unit/h ซึ่งจากการศึกษาที่ผ่านมาพบว่าการให้แบบ weigh-based dosing จะทาให้ผู้ป่วยเข้าสู่ therapeutic
response ได้เร็วกว่าการให้แบบ time-honored dosing requirement และยังลดการกลับเป็นซ้าของ
thrombotic event ได้ดีกว่า
162
ตารางที่ 6 แสดงขนาดการใช้ heparin และการติดตามผลการรักษา
(Weight-Base Dosing for UFH Administered by Continuous Intravenous Infusion)
Indication Initial Loading Dose Initial Infusion Rate
DVT/PE 80–100 units/kg (Maximum = 10,000
units)
17–20 units/kg/h (Maximum = 2300 units/h)
aPTT (s) Maintenance Infusion Rate (Dose Adjustment)
<37 (or >12 s below institutionspecific therapeutic range) 80 units/kg bolus; then increase infusion by 4
units/kg/h
37–47 (or 1–12 s below institutionspecific therapeutic
range)
40 units/kg bolus; then increase infusion by 2
units/kg/h
48–71 (within institutionspecific therapeutic range) No change
72–93 (or 1–22 s above institutionspecific therapeutic
range)
Decrease infusion by 2 units/kg/h
>93 (or >22 s above institutionspecific therapeutic range) Hold infusion for 1 h; then decrease by 3
units/kg/h
Use actual body weight for all calculations. Adjusted body weight may be used for obese patients (>130% of
IBW).
นอกจากการปรับตามน้าหนักตัวแล้วยังมีวิธีการปรับขนาดยา heparin แบบอื่นๆ อีก โดยปรับตาม
ค่า aPTT ดังแสดงในตารางที่ 7
ตารางที่ 7 แสดงการปรับขนาดยา heparin ตามค่า aPTT
ให้ 5,000 ยูนิต bolus dose ตามด้วย 1,260 ยูนิต/กก.
aPTT (วินาที) Bolus (ยูนิต) Stop infusion (นาที) Rate of change (มล./
ชม.)
ค่า aPTT ซ้า
< 50 5000 0 +3 ใน 6 ชั่วโมง
50-59 0 0 +3 ใน 6 ชั่วโมง
60-85 0 0 0 วันรุ่งขึ้น
86-95 0 0 -2 วันรุ่งขึ้น
96-120 0 30 -2 ใน 6 ชั่วโมง
> 120 0 60 -4 ใน 6 ชั่วโมง
Intravenous dose ปรับตามขนาด aPTT ขนาดเริ่มต้น bolus 5,000 ยูนิต ตามด้วย 40,000 ยูนิต/24 ชม. (ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยง
ต่อการเกิดเลือดออกต่า) หรือ 30,000 ยูนิต/24 ชม. (ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดเลือดออกสูง)
aPTT (วินาที)
Intravenous infusion
Additional actionRate of change
(มล./ชั่วโมง)
ขนาดยาที่ปรับ
(ยูนิต/24 ชั่วโมง)
< 45 +6 +5,760 aPTT ซ้า 4-6 ชั่วโมง
46-54 +3 +2,880 aPTT ซ้า 4-6 ชั่วโมง
55-85 0 0 ไม่ต้องเจาะ
86-110 -3 -2,880 หยุดยา 1 ชั่วโมง, aPTT ซ้า 4-6 ชั่วโมง หลังเริ่มให้ยา
> 110 -6 -5,760 หยุดยา 1 ชั่วโมง, aPTT ซ้า 4-6 ชั่วโมง หลังเริ่มให้ยา
163
การติดตามผลการรักษา (Therapeutic monitoring)
การติดตามผลการรักษาด้วย UFH จะอาศัยผลทางห้องปฏิบัติการเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือดซึ่ง
ได้แก่ whole blood clotting time, activated partial thromboplastin time (aPTT), activated
clotting time (ACT), anti factor Xa activity และ plasma heparin concentrations ในประเทศไทยจะ
นิยมใช้ค่า aPTT (ค่าปกติ 20-30 นาที) ในการติดตามผลการรักษาด้วย UHF มากที่สุดโดยจะกาหนดค่า aPTT
ให้อยู่ในช่วง 1.5-2.5 เท่าของค่าปกติ
อาการไม่พึงประสงค์ (Adverse drug reaction)
ภาวะเลือดออก (bleeding) เป็นอาการไม่พึงประสงค์ที่สาคัญ โดยเฉพาะการให้ยาแบบ IV bolus
ซึ่งสามารถป้องกันได้โดยการปรับขนาดยาให้เหมาะสมโดยใช้ค่า aPTT และประเมินปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิด
bleeding ของผู้ป่วยร่วมด้วย ดังแสดงในตารางที่ 8
ตารางที่ 8 ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิด bleeding เมื่อได้รับ UFH
Hypersensitivity reaction อาการที่พบได้แก่ ไข้ หนาวสั่น ลมพิษ และ anaphylactic shock ซึ่ง
เป็นอาการที่พบได้บ่อยจากการใช้ heparin ที่ไม่บริสุทธิ์หรือชนิดที่เตรียมจากสัตว์
Thrombocytopenia (ภาวะที่มีเกล็ดเลือดต่ากว่า 150,000/mm3
) ซึ่งภาวะนี้อาจเกิดได้ภายใน 5
วันแรกของการใช้ยา ซึ่งเป็นผลจาก heparin-induced platelet aggregation ซึ่งภาวะนี้มักจะหายได้เองและไม่มี
อันตรายมีเพียงส่วนน้อยที่เกิดจนเป็นอันตราย นอกจากนี้อาจเกิดการสร้าง antibody ต่อต้าน heparin-platelet
factor 4 complex จนเกิด thromboembolism ได้ดังนั้นในผู้ที่ได้รับ UFH จาเป็นที่จะต้องตรวจนับระดับ
platelet เป็นระยะ
ข้อห้ามใช้ (contraindication)
ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่แพ้ยา และผู้ป่วยที่มีภาวะเลือดออก หรือมีโรค/ภาวะต่างๆ ดังแสดงในตารางที่ 8
นอกจากนี้ยังห้ามใช้ในระหว่างหรือหลังการผ่าตัดสมอง ไขสันหลัง ตา หรือผู้ที่ได้รับการเจาะน้าไขสันหลัง หรือได้รับ
การฉีดยาชาเพื่อทา Regional anesthetic block
Anticoagulation intensity (e.g., INR > 4.0)
Initiation of therapy (first few days and weeks)
Unstable anticoagulation response
Age > 65 years
Concurrent antiplatelet drug or NSAID use
History of gastrointestinal bleeding
Recent surgery or trauma
Fall
Heavy alcohol use
Renal failure
Cerebrovascular disease
Malignancy
164
การรักษาภาวะ Bleeding อันเนื่องมาจากการได้รับ UFH เกินขนาด
การได้รับ UFH เกินขนาดจะเป็นสาเหตุที่สาคัญของการเกิด bleeding ในผู้ที่เกิด bleeding อย่าง
รุนแรงหรือเกิด bleeding ในอวัยวะสาคัญเช่น intracranial, pericanial, intraocular และต่อมหมวกไต ซึ่งอาจ
เป็นอันตรายจนถึงแก่ชีวิตได้ ส่วนอาการทั่วไปได้แก่ ปวดศีรษะ ปวดข้อ เจ็บแน่นหน้าอก ปวดท้อง บวมตามแขนขา
ปัสสาวะเป็นเลือด หรือถ่ายเป็นเลือดสด ในผู้ที่เกิด bleeding อย่างรุนแรง จาเป็นที่จะต้องได้รับยารักษาที่เฉพาะคือ
protamine sulfate บริหารแบบ IV ในขนาด 1 มิลลิกรัม ของ protamine ต่อ 100 ยูนิต ของ UFH โดยสามารถ
เพิ่มปริมาณของ protamine ได้จนถึง maximum dose คือ 50 มิลลิกรัม หลังจากที่ได้รับยาไปแล้ว protamine
ซึ่งเป็น basic peptide ที่มีประจุตรงข้ามกับ UFH จะมารวมตัวกันและทาให้ UFH หมดฤทธิ์ภายใน 5 นาที ใน
ผู้ป่วยที่มีโรคไตร่วมด้วย อาจเกิด rebound bleeding ได้เนื่องจากยาถูกขับออกทางไตเป็นหลัก ดังนั้นในผู้ป่วยกลุ่ม
นี้อาจให้ protamine ซ้าร่วมกับการติดตามค่า Hct, Hgb และอาการอย่างใกล้ชิด
การใช้ UFH ในผู้ป่วยกลุ่มพิเศษ
UFH จัดเป็น anticoagulant of choice ในระหว่างการตั้งครรภ์ซึ่งยานี้จะมีความปลอดภัยมากกว่า
anticoagulant ตัวอื่นๆ โดยจะให้ UFH ไปเรื่อยๆ จนถึงไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์และ UFH ไม่ถูกขับออก
ทางน้านมจึงสามารถใช้ในหญิงให้นมบุตรได้
การรักษา acute thrombosis ในเด็กขนาดที่ใช้คือ 50 units/kg IV bolus แล้วตามด้วย IV
infusion 20,000 units/m2
/day หรือให้ในขนาด loading dose 75 units/kg นานมากกว่า 10 นาทีแล้วตามด้วย
maintenance dose 28 units/kg สาหรับเด็กอายุ 1 ปี ข้อห้ามใช้ดังแสดงในตารางที่ 9
ตารางที่ 9 ข้อห้ามใช้ยา UFH และ anticoagulant
General Active bleeding : Hemophilia or other hemorrhagic tendencies, Severe liver disease with
elevated baseline PT, Severe thrombocytopenia (platelet count < 20,000/mm3), Malignant
hypertension, Inability to meticulously supervise and monitor treatment
Product-Specific
Contraindications
UFH
 Hypersensitivity to UFH
 History of heparin-induced thrombocytopenia (HIT)
LMWHs
 Hypersensitivity to LMWH, UFH, pork products, methylparaben, or propylparaben
 History of HIT or suspected HIT
Fondaparinux
 Hypersensitivity to fondaparinux
 Severe renal insufficiency (creatinine clearance < 30 mL/min)
Lepirudin
 Hypersensitivity to hirudins
Argatroban
 Hypersensitivity to argatroban
Warfarin
 Hypersensitivity to warfarin
 Pregnancy
165
 History of warfarin-induced skin necrosis
 Inability to obtain follow up PT/INR measurements
 Inappropriate medication use or lifestyle behaviors
2. Low molecular weight heparin (LMWHs)
LMWH ถูกผลิตขึ้นด้วยวิธีการทางเคมี โดยใช้ enzymatic depolymerization ย่อย UFH ให้ได้สารที่มีมวล
โมเลกุลเล็กลง โดย LMWH จะมีน้าหนักโมเลกุลเพียง 1/3 ของ UFH หรือประมาณ 5,000 ดาลตัน ถึงแม้ว่าจะมี
ขนาดมวลโมเลกุลแตกต่างกันแต่ก็มีกลไกการออกฤทธิ์ที่เหมือนกัน และยาในกลุ่มนี้มีข้อดีเหนือกว่า UFH คือ
 สามารถทานายการออกฤทธิ์กับขนาดยาได้แน่นอนกว่า UFH
 เมื่อฉีด SC แล้วยาจะมีค่า bioavailability ดีกว่า UFH
 ถูกขจัดออกจากร่างกายแบบ dose-independent
 มีค่าครึ่งชีวิตที่ยาวนานกว่าทาให้ไม่ต้องบริหารยาบ่อย
 มีอุบัติการณ์ของการเกิด thrombocytopenia น้อย
 ลดความยุ่งยากในการติดตามผลการรักษา
ปัจจบันมีผลิตภัณฑ์ LMWHs ที่นิยมใช้ 3 ชนิดคือ enoxaparin, dalteparin และ tinzaparin ซึ่ง
สามารถใช้รักษาโรคหัวใจและหลอดเลือดอื่นๆได้เช่น acute coronary syndrome, DVT และ PE โดยข้อมูลของ
ยาแต่ละตัวแสดงตารางที่ 10
กลไกการออกฤทธิ์
ออกฤทธิ์เช่นเดียวกับ LMWH คอจับกับ antithrombin III โดยใช้ส่วนที่เรียกว่า pentasaccharide
sequence แล้วไปยับยั้ง factor Xa และ lla โดย LMWHs (ชอบจับกับ Xa มากกว่า IIa 3-4 เท่า) ดังแสดงในรูปที่
8
เภสัชจลนศาสตร์ (Pharmacokinetics)
LMWHs สามารถทานายผลการเกิด anticoagulant ได้ดีกว่า UFH เนื่องจากมีการจับกับ protein ได้
น้อยกว่า โดยมีค่า bioavailability ประมาณร้อยละ 85-99 เมื่อบริหารยาทาง SC มีระดับยาในเลือดสูงสุด 3-5
ชั่วโมง ยาถูกขับออกจากทางไตเป็นหลัก ดังนั้นต้องปรับขนาดยาในผู้ป่วยโรคไต
รูปที่ 8 แสดงกลไกการออกฤทธิ์ของ LMWHs (Haines et al, 2011)
166
ตารางที่ 10 แสดงข้อมูลของ LMWHs ทั้ง 3 ชนิด
Indication Enoxaparin Dalteparin Tinzaparin
Hip replacement surgery
(prophylaxis)
30 mg SC q 12 h initiated
12–24 h after surgery
OR
40 mg SC q 24 h initiated
12 h prior to surgery
Extended prophylaxis
may be given for up to
3 weeks
2,500 units SC given 2 h
prior to surgery, followed
by 2,500 units the evening
after surgery and at least 6
h after first dose, then
5,000 units SC q 24 h
OR
5,000 units SC q 24 h
initiated the evening prior
to surgery
750 units/kg SC q 24 h
initiated the evening
prior to surgery or 12 h
after surgery
OR
4,500 units SC q 24 h
initiated 12 h prior to
surgery
Knee replacement surgery
(prophylaxis)
30 mg SC q 12 h initiated
12–24 h prior to surgery
75 units/kg SC q 24 h
initiated the evening
prior to surgery or 12 h
after surgery
Abdominal surgery
(prophylaxis)
40 mg SC q 24 h initiated
2 h prior to surgery
2,500 units SC q 24 h
initiated 1–2 h prior to
surgery
Patients with malignancy:
5,000 units SC the evening
prior to surgery, then
5,000 units SC q 24 h
OR
2,500 units SC 1–2 h prior
to surgery, then 2,500
units 12 h after surgery
followed by 5,000 units SC
q 24 h
3500 units SC q 24 hrs
initiated 1–2 hrs prior to
surgery
Acute medical illness
(prophylaxis)
40 mg SC q 24 h 2,500 units SC q 24 h
Trauma (prophylaxis) 30 mg SC q 12 h starting
12–36 hours after injury
DVT treatment (with or
without PE)
1 mg/kg SC q 12 h
OR
1.5 mg/kg SC q 24 h
100 units/kg SC q 12 h
OR
200 units/kg SC q 24 h
175 units/kg SC q 24 h
Unstable angina or non-Q-
wave Ml
1 mg/kg SC q 12 h 100 units/kg SC q 12 h
(maximum
dose 10,000 units)
167
ขนาดยาและการบริหารยา (Dosing and administration)
ขนาดของ LMWHs จะให้ตามน้าหนักตัว โดยหน่วยของ enoxaparin จะคิดในหน่วยของ มิลลิกรัม ส่วน
หน่วยของ dalteparin และ tinzaparin จะคิดในหน่วย ยูนิต การบริหารยาส่วนมากจะให้ฉีด SC ทางหน้าท้องทุก
12-24 ชั่วโมง
การติดตามผลการรักษา (therapeutic monitoring)
เนื่องจากยาในกลุ่มนี้สามารถทานายผล anticoagulant ได้จึงไม่มีความจาเป็นที่จะต้องติดตามผลการ
แข็งตัวของเลือด แต่ในผู้ป่วยบางราย อาจจาเป็นต้องติดตามผลทางห้องปฏิบัติการดังต่อไปนี้ PT, ACT, aPTT, CBC,
platelet count, SCr โดยมากจะติดตาม CBC ทุก 5-10 วัน ในช่วงแรกของการให้ LMWHs
อาการไม่พึงประสงค์ (Adverse drug reaction)
อาการไม่พึงประสงค์ที่พบบ่อยคือการเกิด bleeding ซึ่งสามารถเกิดได้ทั้ง major และ minor bleeding
จากรายงานการใช้ที่ผ่านมาพบว่าอุบัติการณ์การเกิด major bleeding จะพบได้น้อยกว่าร้อยละ 3 และแปรผันตาม
ตัวยาแต่ละตัว ข้อบ่งใช้ กลุ่มประชากร และวิถีการบริหารยา สาหรับอาการ minor bleeding ที่พบบ่อยคือ ปวด
หรือมีเลือดออกในบริเวณที่ฉีด นอกจากนี้ยังมีอาการที่รุนแรงแต่พบได้ไม่บ่อยคือ spinal และ epidural
hematoma จนอาจทาให้เกิดอัมพาตอย่างถาวรได้ซึ่งเป็นผลจากการใช้ยาในกลุ่มนี้ในระยะยาว
สาหรับผู้ป่วย major bleeding จะแนะนาให้ใช้ protamine sulfate ฉีด IV แต่ protamine sulfate จะ
ออกฤทธิ์ได้เพียงร้อยละ 60-70 เท่านั้นเนื่องจากโมเลกุลของ LMWH จะมีสายที่สั้นกว่า UFH มาก ทาให้เกิด
neutralize เกิดได้ไม่สมบูรณ์ ขนาดของ protamine ที่ใช้ในการรักษา major bleeding ในกรณีที่ได้รับ LMWHs
มาแล้วไม่เกิน 8 ชั่วโมงคือ 1 มิลลิกรัม protamine sulfate ต่อ enoxaparin 1 มิลลิกรัม หรือ 1 มิลลิกรัม : 100
antifactor Xa ยูนิต ของ daleteparin หรือ tinzaparin แต่ถ้าได้รับมาแล้ว 8-12 ชั่วโมงจะให้ในขนาด 0.5
มิลลิกรัม : 100 antifactor Xa ยูนิต และถ้าได้รับ LMWH มานานมากกว่า 12 ชั่วโมงจะไม่ให้ protamine sulfate
การใช้ LMWHs ในผู้ป่วยกลุ่มพิเศษ
LMWHs เป็นยาที่ค่อนข้างปลอดภัยในหญิงตั้งครรภ์เนื่องจากยามีขนาดโมเลกุลที่ใหญ่จึงไม่ผ่านรก ซึ่ง
สามารถใช้แทน UFH ในระยะยาวได้ และจากการศึกษาเกี่ยวกับพิษพบว่า LMWHs ไม่มีผลต่อการเจริญของกระดูก
โดย US-FDA จัด LMWHs อยู่ใน pregnancy category B ส่วนการรักษา VTE ในเด็กอายุน้อยกว่า 1 ปีจะใช้
enoxaparin 1.5 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ทุกๆ 12 ชั่วโมงและเด็กอายุมากกว่า 1 ปีจะให้ขนาด 1 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
ทุกๆ 12 ชั่วโมง
3. Heparinoids (Orgaran
)
ยากลุ่มนี้ได้แก่ danaparoid sodium ยานี้เป็นสารในกลุ่ม glycosaminoglycan ที่มีสูตรโครงสร้างคล้ายกับ
heparin ยานี้พัฒนามาจากเนื้อเยื่อบุลาไส้หมู โดย danaparoid ประกอบด้วย sulfate glycosaminoglycan 3
ชนิดในรูปของ mixture คือ heparin (84%), dernatan (12%) และ chondroitin (4%) ยาออกฤทธิ์ต้านการ
แข็งตัวของเลือดโดยการจับกับ antithrombin III แล้วไปยับยั้ง factor Xa และ thrombin II แต่ชอบจับกับ factor
Xa มากกว่า thrombin ถึง 20 เท่า เมื่อเปรียบเทียบการยับยั้งที่ factor Xa กับ LMWHs พบว่า danaparoid มี
ฤทธิ์ดีกว่าถึง 5 เท่า เมื่อฉีดเข้าใต้ผิวหนังยาจะมีค่า bioavailability มากกว่าร้อยละ 95 มีค่าครึ่งชีวิต 22-24 ชั่วโมง
168
โดยไม่ทาให้เกิดเกล็ดเลือดต่าเหมือน UFH ดังนั้น US FDA จึงได้รับรองให้ใช้ในการป้องกัน VTE ในผู้ที่ได้รับการ
ผ่าตัดที่ตะโพก และใช้ในการป้องกันการแข็งตัวของเลือดในผู้ที่มีข้อห้ามใช้ heparin
4. Fondaparinux (Arixta
)
Fondaparinux มีสูตรเคมี คือ C31H43N10O49S8 และมีน้าหนักโมเลกุล 1,728 ดาลตัน ยานี้เป็น
pentasaccharide ที่ได้จากการสังเคราะห์ทางเคมี
กลไกการออกฤทธิ์
Fondaparinux ออกฤทธิ์โดยการจับกับ antithrombin III และ factor Xa อย่างเฉพาะเจาะจงถึงร้อยละ
100 จึงจัดเป็น selective factor Xa inhibitor ทาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างโมเลกุลของ antithrombin III
โดย fondaparinux 1 โมเลกุลจะจับกับ antithrombin III 1 โมเลกุล แต่เมื่อจับแล้วจะปล่อยโมเลกุลออกจากกันได้
ทาให้จับกับ antithrombin III โมเลกุลอื่นได้อีก ดังแสดงในรูปที่ 9 ดังนั้นจึงทาให้ antithrombin III จับและยับยั้ง
การทางานของ clotting factor Xa ได้มากขึ้น และทาให้สร้าง thrombin ลดลง ซึ่งช่วยลดการเกิดลิ่มเลือดอุดตัน
ในหลอดเลือดได้ ยาชนิดนี้จะไม่มีผลต่อการทางานของ platelet factor-4 และ thrombin ทาให้ไม่เกิดภาวะ
thrombocytopenia เหมือนกับการใช้ heparin หรือ LMWH
เภสัชจลนศาสตร์ (Pharmacokinetics)
Fondaparinux ถูกดูดซึมได้ดีและสมบูรณ์เมื่อบริหารยาแบบ SC โดยมีค่า bioavailability ร้อยละ 100
มีค่า peak concentration ประมาณ 2 ชั่วโมงเมื่อบริหารยาแบบ single dose เมื่อยาเข้าสู่กระแสเลือดแล้วจะไป
จับกับ antithrombin อย่างเฉพาะเจาะจงโดยไม่จับกับองค์ประกอบอื่นๆ ในกระแสเลือด ยาถูกขับออกจากทางไต
เป็นหลัก ในรูปเดิมโดยไม่เปลี่ยนแปลง ดังนั้นในผู้ที่มีการทางานของไตบกพร่อง (creatinine clearance < 30
mL/min) ต้องปรับขนาดยาเพื่อลดอุบัติการณ์การเกิด bleeding และยามีค่าครึ่งชีวิตนาน 17-21 ชั่วโมง
รูปที่ 9 แสดงกลไกการออกฤทธิ์ของ fondaparinux (Haines et al, 2011)
ขนาดและการบริหารยา (Dosing and administration)
Fondaparinux ได้รับการรับรองให้ใช้ป้องกัน VTE หลังจากการผ่าตัดใหญ่และรักษา DVT และ PE ขนาด
ยาสาหรับปัองกัน VTE คือ 2.5 มิลลิกรัม SC วันละครั้ง โดยจะเริ่มให้ในชั่วโมงที่ 6-8 หลังจากการผ่าตัดแล้วสาเหตุที่
ไม่ให้ทันทีเนื่องจากผู้ป่วยอาจเกิด bleeding ได้ และมีระยะเวลาการใช้ยานาน 5-9 วัน
การรักษา DVT และ PE จะให้ fondaparinux 7.5 มิลลิกรัม SC วันละครั้ง ส่วนผู้ที่หนักน้อยกว่า 50
กิโลกรัม จะให้ขนาด 5 มิลลิกรัม SC และผู้ที่หนักมากกว่า 100 กิโลกรัม จะให้ขนาด 10 มิลลิกรัม SC
169
รูปแบบยา fondaparinux จะมีลักษณะยาเป็นสารละลายปราศจากเชื้อ ใส ไม่มีสี ปริมาณ 0.5 มิลลิลิตร
(เทียบเท่าตัวยา fondaparinux 2.5 มิลลิกรัม) บรรจุใน หลอดฉีดยาพร้อมฉีด (prefilled syringe) ปราศจากสาร
กันเสีย (preservative free) มีค่า pH อยู่ระหว่าง 5-8 ดังแสดงในรูปที่ 11 และ 12
รูปที่ 12 แสดงวิธีการฉีด fondaparinux (http://www.answers.com/topic/fondaparinux, 2011)
การติดตาม ผลการรักษา
Therapeutic monitoring
ในผู้ที่ได้รับ fondaparinux ควรมีการวัด CBC ก่อนให้ยาและประเมินการทางานของไต แม้ว่ายานี้ ไม่มี
ผลต่อ prothrombin time, bleeding time และ activated thromboplastin time และในระหว่างที่ได้รับยา
ต้องมีการตรวจวัด CBC เป็นประจาทุกวัน
การศึกษาผลทางคลินิกของ fondaparinux
รูปที่ 10 แสดงรูปแบบยา fondaparinux
ซึ่งเป็น prefilled syringe โดยมี
ส่วนประกอบหลักคือ
หมายเลข 1 คือ เข็มฉีดและปลอกหุ้ม (Rigid
needle guard)
หมายเลข 2 คือ ปลอก (Cap)
หมายเลข 3 คือ ก้านฉีดยา (Plunger)
หมายเลข 4 คือ ที่จับ (Finger-grip)
หมายเลข 5 คือ Security sleeve
(http://www.answers.com/topic/fonda
parinux, 2011)
รูปที่ 11 แสดงรูปแบบยา
fondaparinux โดยรูปบนเป็นรูป
ก่อนใช้ยา รูปล่างเป็นหลังใช้ยา
(http://www.answers.com/topi
c/fondaparinux, 2011)
ขั้นตอนที่ 1
ดึงฝาปิดก้านฉีด
ยาออก
ขั้นตอนที่ 2
ถอดฝาปิดเข็มฉีด
ออกโดยให้บิดเป็น
เกลียวดังลูกศร 1
ครั้งแล้วดึงออกตรงๆ
ขั้นตอนที่ 3
บีบและดึงผนัง
หน้าท้องให้ได้ดัง
รูป
ขั้นตอนที่ 4
ปักเข็มตรงๆ (มุม
90 องศา) เข้า
ผนังหน้าท้อง
ขั้นตอนที่ 5
กดก้านสูบให้จนสุด
หรือให้ได้ขนาดยา
ตามที่กาหนด
ขั้นตอนที่ 6
ปล่อยมือจากก้าน
สูบและดูเข็มออก
170
มีการศึกษาทางคลินิกของ fondaparinux sodium ในปัจจุบันมี 4 การศึกษาที่สาคัญคือ PENTAMAKS,
EPHESUS, PENTHIFRA และ PENTATHLON 2000 ซึ่งเป็นการศึกษาแบบ multicenter, prospective,
double-blind randomized trials เป็นการเปรียบเทียบการใช้ยา fondaparinux sodium กับยา enoxaparin
ผลการศึกษาพบว่าใน 3 การศึกษาแรกนั้น fondaparinux sodium สามารถลดอัตราการเกิดลิ่มเลือดอุดตันใน
หลอดเลือดดาได้อย่างมีนัยสาคัญเมื่อเปรียบเทียบกับการใช้ยา enoxaparin ส่วนการศึกษา PENTATHLON 2000
พบว่าไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ แต่เมื่อนาศึกษาทั้งหมดมาทา meta-analysis จะพบว่า fondaparinux
sodium สามารถลดจานวนผู้ป่วยที่เกิดลิ่มเลือดอุดตันได้อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ ส่วนการศึกษาด้านความ
ปลอดภัยพบว่าอุบัติการณ์การเกิด major bleeding ไม่แตกต่างกับ enoxaparin
Idraparinux
เป็น analog ของ fondaparinux ที่มีระยะเวลาการออกฤทธิ์นานกว่า โดยการฉีดสัปดาห์ละครั้งทาง SC
ปัจจุบันยานี้ยังอยู่ระหว่างการวิจัยทางคลินิก
5. Direct thrombin inhibitors (DITs)
เป็นยากลุ่มใหม่ที่มีฤทธิ์ anticoagulant ค่อนข้างแรง ออกฤทธิ์โดยการจับกับ thrombin โดยตรง ยากลุ่มนี้
ประกอบด้วย lepirudin, desirudin, bivarudin, argatroban และ ximelagatran มีข้อบ่งใช้ในการป้องกันและ
รักษา VTE, ACS และ HIT ยากลุ่มนี้ออกฤทธิ์เร็วปานกลาง ดูดซึมได้ดีจากทางเดินอาหาร มีช่วงในการรักษาที่
ค่อนข้างกว้างและสามารถกาหนดขนาดยาได้อย่างแน่นอน
กลไกการออกฤทธิ์
ออกฤทธิ์ต้านการแข็งตัวของเลือดโดยยับยั้งทั้ง free thrombin และ thrombin ที่เกาะอยู่บนก้อนเลือดที่
แข็งตัวไปแล้ว จึงทาให้มีฤทธิ์แรงกว่า UFH และ LMWHs ยาตัวแรกในกลุ่มนี้คือ hiridin ซึ่งเป็นสารที่แยกได้จาก
น้าลายของปลิง (Hirudo medicinalis) ต่อมามีการพัฒนายาโดยผ่านกระบวนการ recombinant DNA ได้เป็นยา
lepirudin ที่มีความจาเพาะกับ thrombin เพิ่มมากขึ้น โดย lepirudin, desirudin และ bivarudin จะสามารถจับ
ได้ทั้งบริเวณ catalytic site และ fibrin site ส่วน argatroban และ ximelagatran จะจับได้เฉพาะส่วน catalytic
site เท่านั้นดังแสดงในรูปที่ 13
รูปที่ 13 แสดงกลไกการออกฤทธิ์ของ DITs (Haines et al, 2011)
171
Bivalirudin เป็นสารกึ่งสังเคราะห์จาก Hirudin โดยมีคุณสมบัติเป็น 20-amino-acid polypeptide
analog ได้รับการรับรองจาก US FDA ให้ใช้ในผู้ป่วย unsatable angina ที่ได้รับการทา percutaneous
trasluminal angioplasty (PCTA) ยามีค่าครึ่งชีวิต 20-30 นาที ถูกขับออกทางปัสสาวะเป็นหลัก หลังจากที่ใช้ยานี้
แล้วต้องติดตามค่า ACT อย่างใกล้ชิด
Desirudin เป็น recombinant hirudin ที่บริหารยาทาง SC โดย US FDA ได้รับรองให้ใช้ในผู้ป่วย
acute MI และ UA และยานี้ยังสามารถให้ทาง IV ได้อีกด้วย ยาถูกขับออกทางไตเป็นหลักดังนั้นในผู้ป่วยโรคไตจึง
ต้องปรับขนาดยา
Argatroban จะมีความแตกต่างจาก hirudin และ analog เนื่องจากมีขนาดโมเลกุลที่เล็กกว่าออกฤทธิ์
โดยการจับกับ catalytic site แบบ reversible ยานี้ถูกกาจัดออกทางตับโดยกระบวนการ hydroxylation และ
aromatization ได้เป็นสารที่ไม่มีฤทธิ์ ดังนั้นยานี้จึงต้องปรับขนาดยาในผู้ป่วยโรคตับ
Ximelagatran เป็นบรรพเภสัช (prodrug) ถูกเปลี่ยนโดยกระบวนการ hydrolysis และ reduction ที่
ตับได้เป็น melagatran จึงจะสามารถออกฤทธิ์ได้ยานี้สามารถบริหารยาโดยการรับประทานได้ โดยอาหารไม่มีผล
ต่อค่า bioavailability หลังจากที่รับประทานไปแล้วจะเห็นผลการเป็น anticoagulant ภายใน 2 ชั่วโมง ยามีค่า
ครึ่งชีวิต 3-5 ชั่วโมงและถูกขับออกทางปัสสาวะเป็นหลัก
การติดตามผลการรักษา (therapeutic monitoring)
ยาในกลุ่มนี้มีผลทาให้ PT, aPTT เพิ่มสูงซึ่งจะใช้เป็นค่าทางห้องปฏิบัติการในการติดตามการรักษา โดย
เป้าหมายของการรักษาคือ ให้มีระดับ aPTT อยู่ที่ 1.5-3.0 เท่าของค่าปกติ และในผู้ที่ได้รับ Bivalirudin ควรจะ
ได้รับการตรวจค่า ACT ร่วมด้วยและผู้ป่วยทุกรายควรได้รับการตรวจ CBC ก่อนได้รับยา
อาการไม่พึงประสงค์ (Adverse effects)
อาการไม่พึงประสงค์ที่สาคัญคือ bleeding จากการติดตามการใช้ยา lepirudin พบว่ามีผู้ป่วยมากถึงร้อย
ละ 13-17 ที่เกิด bleeding หลังจากใช้ยาแต่ยังไม่พบว่าเกิดเลือดออกจนถึงแก่ชีวิต อาการไม่พึงประสงค์อื่นๆที่พบ
ได้แก่ ไข้ คลื่นไส้ อาเจียน ผื่นแพ้ นอกจากนี้ยา Ximelagatran ยังทาให้ระดับเอนไซม์ตับเพิ่มสูงขึ้น พบได้ถึงร้อยละ
6-9 แต่จะกลับเป็นปกติได้เมื่อหยุดใช้ยามีเพียงส่วนน้อย (น้อยกว่าร้อยละ 1) ที่เกิดพิษต่อตับอย่างรุนแรง ดังนั้นในปี
ค.ศ.2004 US FDA จึงได้ถอนยาตัวนี้ออกจากตลาด
การใช้ยาในประชากรกลุ่มพิเศษ
Lepirudin และ argatroban จัดอยู่ใน pregnancy category B ซึ่งสามารถใช้ในหญิงตั้งครรภ์ได้แต่ต้อง
ทาการติดตามอาการไม่พึงประสงค์อย่างใกล้ชิด ส่วน desirudin อยู่ใน pregnancy category C
172
ตารางที่ 11 แสดงข้อมูลยากลุ่ม Direct Thrombin Inhibitors
Lepirudin Desirudin Bivalirudin Argatroban Dabigatrana
Route of
administration
IV or SC IV or SC IV IV PO
Indication Treatment of
thrombosis in
patients with
HIT
DVT
prevention
after THA
Patients with
UA
undergoing
PTCA; PCI
with
provisional
use of GPI
Treatment of
thrombosis in
patients with
HIT; patients
at risk for HIT
undergoing
PCI
Investigational
for VTE
prevention
and
treatment,
and stroke
prevention in
AF
Binding to
thrombin
Irreversible
catalytic site
and exosite-1
Irreversible
catalytic site
and exosite-1
Partially
Reversible
catalytic site
and exosite-1
Reversible
catalytic site
Reversible
catalytic site
Monitoring aPTT aPTT aPTT aPTT/ACT
Liver function
Liver function
Clearance Renal Renal Enzymatic
(80)% and
Renal (20%)
Hepatic Renal
Antibody
development
Antihirudin
antibodies in
up to 60% of
patients
Possible;
lower
incidence
than with
lepirudin
May cross-
react with
antihirudin
antibodies
No Unknown
Effect on INR Slight
increase
Slight
increase
Slight
increase
Increase Unpredictable
and variable
หมายเหตุ
ACT, activated clotting time; AF, atrial fibrillation; aPTT, activated partial thromboplastin time; bid, twice daily; Cl ,
creatinine clearance; DVT, deep vein thrombosis; GPI, glycoprotein IIb/IIIa inhibitor; HIT, heparin induced
thrombocytopenia; INR, international normalized ratio; IV, intravenous ; PCI, percutaneous coronary intervention;
PO, oral ; PTCA, percutaneous transluminal coronary angioplasty; qd, daily; SC,
173
ตารางที่ 12 แสดงการปรับขนาดยากลุ่ม Direct Thrombin Inhibitors
ยา Renal Impairment Hepatic impairment
Lepirudin Bolus : 0.2 mg/kg (bolus dose is should be
avoided in patients with renal impairment)
Infusion :
Clcr 45–60 mL/min: 0.075 mg/kg/h
Clcr 30–44 mL/min: 0.045 mg/kg/h
Clcr 15–29 mL/min: 0.0225 mg/kg/h
Clcr <15 mL/min: no bolus; avoid or stop
infusion
HD: stop infusion & additional IV bolus
doses of 0.1 mg/kg every other day should
be considered if the aPTT ratio falls below
1.5
Dose adjustment not required
Desirudin Cl 31–60 mL/min: 5mg SC q 12 h
Cl <30 mL/min: 1.7 mg SC q 12 h
Dose adjustment not required
Bivalirudin Bolus: no dose adjustment
Infusion:
Cl <30: 1 mg/kg/h
HD: 0.25 mg/kg/h
Dose adjustment not required
Argatroban Dose adjustment not required Initiate at 0.5 mcg/kg/ min then
titrate to aPTT 1.5–3.0 × baseline
Dabigatran Dose adjustment will be required; degree of
dose decrease not defined at this time.
Unclear at this time
6. Warfarin
เป็นยาต้านการแข็งตัวของเลือด (anticoagulant) หรืออาจเรียกว่า vitamin K antagonist ที่นิยมใช้กันอย่าง
แพร่หลาย ยานี้ถูกค้นพบเมื่อปี ค.ศ.1940 โดยยานี้มีข้อบ่งใช้ในการป้องกันและรักษา VTE, การเกิดก้อนเลือดใน
ผู้ป่วยโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ ผู้ที่ได้รับการเปลี่ยนถ่ายลิ้นหัวใจ และผู้ป่วย MI เนื่องจากยานี้เป็นยาที่มีดัชนีในการ
รักษาแคบ เกิดอันตรกิริยาระหว่างยา-ยา และยา-อาหารมาก และมีอาการไม่พึงประสงค์ที่สาคัญคือ bleeding จึง
จาเป็นที่จะต้องติดตามและให้คาแนะนาผู้ที่ได้รับยาในกลุ่มนี้อย่างใกล้ชิด
กลไกการออกฤทธิ์
โดยปกติการสร้าง clotting factor II, VII, IX และ X จะอยู่ในรูปของ inactive ก่อนและต้องอาศัย
ปฏิกิริยา carboxylation ในการเปลี่ยนเป็น clotting factor ที่ออกฤทธิ์ได้ ซึ่งในปฏิกิริยา carboxylation จะต้อง
Ag 16 in_1.2.4_896(2555)
Ag 16 in_1.2.4_896(2555)
Ag 16 in_1.2.4_896(2555)
Ag 16 in_1.2.4_896(2555)
Ag 16 in_1.2.4_896(2555)
Ag 16 in_1.2.4_896(2555)
Ag 16 in_1.2.4_896(2555)
Ag 16 in_1.2.4_896(2555)
Ag 16 in_1.2.4_896(2555)
Ag 16 in_1.2.4_896(2555)
Ag 16 in_1.2.4_896(2555)

More Related Content

What's hot

การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอุปกรณ์ติดตัว
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอุปกรณ์ติดตัว การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอุปกรณ์ติดตัว
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอุปกรณ์ติดตัว techno UCH
 
ประเภทสารน้ำ
ประเภทสารน้ำประเภทสารน้ำ
ประเภทสารน้ำPrathan Somrith
 
โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Acute myocardial infarction, AMI หรือ Acute c...
โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Acute myocardial infarction, AMI หรือ Acute c...โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Acute myocardial infarction, AMI หรือ Acute c...
โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Acute myocardial infarction, AMI หรือ Acute c...Utai Sukviwatsirikul
 
การวินิจฉัยโรคไตเรื้อรังและแนวทางการคัดกรอง
การวินิจฉัยโรคไตเรื้อรังและแนวทางการคัดกรองการวินิจฉัยโรคไตเรื้อรังและแนวทางการคัดกรอง
การวินิจฉัยโรคไตเรื้อรังและแนวทางการคัดกรองCAPD AngThong
 
Pain management nursing for student nurses
Pain management nursing for student nursesPain management nursing for student nurses
Pain management nursing for student nursesAphisit Aunbusdumberdor
 
แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับยาที่มีความเสี่ยงสูง (High Alert Drugs)
แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับยาที่มีความเสี่ยงสูง (High Alert Drugs)แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับยาที่มีความเสี่ยงสูง (High Alert Drugs)
แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับยาที่มีความเสี่ยงสูง (High Alert Drugs)Aiman Sadeeyamu
 
Slide ยา had (1)
Slide ยา had (1)Slide ยา had (1)
Slide ยา had (1)Lek Suthida
 
การใช้ยาในเด็ก (Drugs in Pediatrics)
การใช้ยาในเด็ก (Drugs in Pediatrics)การใช้ยาในเด็ก (Drugs in Pediatrics)
การใช้ยาในเด็ก (Drugs in Pediatrics)Aiman Sadeeyamu
 
คู่มือการดูแลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องสำหรับประชาชน 2557
คู่มือการดูแลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องสำหรับประชาชน 2557คู่มือการดูแลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องสำหรับประชาชน 2557
คู่มือการดูแลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องสำหรับประชาชน 2557Utai Sukviwatsirikul
 
Principles of Pharmacotherapy in Chronic Heart Failure 56 01 30
Principles of Pharmacotherapy in Chronic Heart Failure 56 01 30Principles of Pharmacotherapy in Chronic Heart Failure 56 01 30
Principles of Pharmacotherapy in Chronic Heart Failure 56 01 30Utai Sukviwatsirikul
 
การใช้ยาในผู้สูงอายุ
การใช้ยาในผู้สูงอายุการใช้ยาในผู้สูงอายุ
การใช้ยาในผู้สูงอายุSirinoot Jantharangkul
 
การวัดความดันในหลอดเลือดดำกลาง Yui
การวัดความดันในหลอดเลือดดำกลาง Yuiการวัดความดันในหลอดเลือดดำกลาง Yui
การวัดความดันในหลอดเลือดดำกลาง Yuipiyarat wongnai
 
การจัดการทางเดินหายใจ
การจัดการทางเดินหายใจการจัดการทางเดินหายใจ
การจัดการทางเดินหายใจKrongdai Unhasuta
 

What's hot (20)

Diuretics drugs
 Diuretics drugs Diuretics drugs
Diuretics drugs
 
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอุปกรณ์ติดตัว
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอุปกรณ์ติดตัว การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอุปกรณ์ติดตัว
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอุปกรณ์ติดตัว
 
Ppt. stroke1
Ppt. stroke1Ppt. stroke1
Ppt. stroke1
 
ประเภทสารน้ำ
ประเภทสารน้ำประเภทสารน้ำ
ประเภทสารน้ำ
 
Guideline diabetes-care-2017
Guideline diabetes-care-2017Guideline diabetes-care-2017
Guideline diabetes-care-2017
 
Physical Assessment for Phamacist
Physical Assessment for PhamacistPhysical Assessment for Phamacist
Physical Assessment for Phamacist
 
โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Acute myocardial infarction, AMI หรือ Acute c...
โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Acute myocardial infarction, AMI หรือ Acute c...โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Acute myocardial infarction, AMI หรือ Acute c...
โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Acute myocardial infarction, AMI หรือ Acute c...
 
การวินิจฉัยโรคไตเรื้อรังและแนวทางการคัดกรอง
การวินิจฉัยโรคไตเรื้อรังและแนวทางการคัดกรองการวินิจฉัยโรคไตเรื้อรังและแนวทางการคัดกรอง
การวินิจฉัยโรคไตเรื้อรังและแนวทางการคัดกรอง
 
Pain management nursing for student nurses
Pain management nursing for student nursesPain management nursing for student nurses
Pain management nursing for student nurses
 
แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับยาที่มีความเสี่ยงสูง (High Alert Drugs)
แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับยาที่มีความเสี่ยงสูง (High Alert Drugs)แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับยาที่มีความเสี่ยงสูง (High Alert Drugs)
แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับยาที่มีความเสี่ยงสูง (High Alert Drugs)
 
2016 Respiratory Assessment
2016 Respiratory Assessment2016 Respiratory Assessment
2016 Respiratory Assessment
 
Slide ยา had (1)
Slide ยา had (1)Slide ยา had (1)
Slide ยา had (1)
 
การใช้ยาในเด็ก (Drugs in Pediatrics)
การใช้ยาในเด็ก (Drugs in Pediatrics)การใช้ยาในเด็ก (Drugs in Pediatrics)
การใช้ยาในเด็ก (Drugs in Pediatrics)
 
คู่มือการดูแลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องสำหรับประชาชน 2557
คู่มือการดูแลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องสำหรับประชาชน 2557คู่มือการดูแลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องสำหรับประชาชน 2557
คู่มือการดูแลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องสำหรับประชาชน 2557
 
Principles of Pharmacotherapy in Chronic Heart Failure 56 01 30
Principles of Pharmacotherapy in Chronic Heart Failure 56 01 30Principles of Pharmacotherapy in Chronic Heart Failure 56 01 30
Principles of Pharmacotherapy in Chronic Heart Failure 56 01 30
 
การใช้ยาในผู้สูงอายุ
การใช้ยาในผู้สูงอายุการใช้ยาในผู้สูงอายุ
การใช้ยาในผู้สูงอายุ
 
การวัดความดันในหลอดเลือดดำกลาง Yui
การวัดความดันในหลอดเลือดดำกลาง Yuiการวัดความดันในหลอดเลือดดำกลาง Yui
การวัดความดันในหลอดเลือดดำกลาง Yui
 
การจัดการทางเดินหายใจ
การจัดการทางเดินหายใจการจัดการทางเดินหายใจ
การจัดการทางเดินหายใจ
 
Cardiovascular drugs
Cardiovascular drugsCardiovascular drugs
Cardiovascular drugs
 
Drug
DrugDrug
Drug
 

Viewers also liked

วิระพล ภิมาลย์, เภสัชกรรมบำบัดโรคมะเร็งเต้านม
วิระพล ภิมาลย์, เภสัชกรรมบำบัดโรคมะเร็งเต้านม วิระพล ภิมาลย์, เภสัชกรรมบำบัดโรคมะเร็งเต้านม
วิระพล ภิมาลย์, เภสัชกรรมบำบัดโรคมะเร็งเต้านม Utai Sukviwatsirikul
 
ยารักษาโรคเบาหวาน
ยารักษาโรคเบาหวานยารักษาโรคเบาหวาน
ยารักษาโรคเบาหวานUtai Sukviwatsirikul
 
Guildline thai atherosclerosis_update_16_07_50
Guildline thai atherosclerosis_update_16_07_50Guildline thai atherosclerosis_update_16_07_50
Guildline thai atherosclerosis_update_16_07_50Utai Sukviwatsirikul
 
โรคเรื้อรังที่พบบ่อย
โรคเรื้อรังที่พบบ่อยโรคเรื้อรังที่พบบ่อย
โรคเรื้อรังที่พบบ่อยDr.yababa najra
 
ความเป็นไปได้ของร้านยาในการนำ (ร่าง) ประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องการกำหนดรายล...
ความเป็นไปได้ของร้านยาในการนำ (ร่าง) ประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องการกำหนดรายล...ความเป็นไปได้ของร้านยาในการนำ (ร่าง) ประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องการกำหนดรายล...
ความเป็นไปได้ของร้านยาในการนำ (ร่าง) ประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องการกำหนดรายล...Parun Rutjanathamrong
 
Current Pharmacotherapy in Diabetes
Current Pharmacotherapy in DiabetesCurrent Pharmacotherapy in Diabetes
Current Pharmacotherapy in DiabetesUtai Sukviwatsirikul
 
ยารักษาโรคเบาหวาน โดย ฉัตรเลิศ พงษ์ไชยกุล
ยารักษาโรคเบาหวาน  โดย ฉัตรเลิศ พงษ์ไชยกุล ยารักษาโรคเบาหวาน  โดย ฉัตรเลิศ พงษ์ไชยกุล
ยารักษาโรคเบาหวาน โดย ฉัตรเลิศ พงษ์ไชยกุล Utai Sukviwatsirikul
 
Pharmacotherapy in patient with stroke 2555
Pharmacotherapy in patient with stroke 2555Pharmacotherapy in patient with stroke 2555
Pharmacotherapy in patient with stroke 2555Utai Sukviwatsirikul
 
หลักการออกแบบร้านค้าปลีกสมัยใหม่
หลักการออกแบบร้านค้าปลีกสมัยใหม่หลักการออกแบบร้านค้าปลีกสมัยใหม่
หลักการออกแบบร้านค้าปลีกสมัยใหม่Utai Sukviwatsirikul
 
คู่มือแปลผลการตรวจร่างกายฉบับประชาชน
คู่มือแปลผลการตรวจร่างกายฉบับประชาชนคู่มือแปลผลการตรวจร่างกายฉบับประชาชน
คู่มือแปลผลการตรวจร่างกายฉบับประชาชนSurapol Imi
 
บทที่ 5 ยารักษาโรคความดันโลหิตสูง
บทที่ 5 ยารักษาโรคความดันโลหิตสูงบทที่ 5 ยารักษาโรคความดันโลหิตสูง
บทที่ 5 ยารักษาโรคความดันโลหิตสูงPa'rig Prig
 
วิธีอ่านผลตรวจสุขภาพ
วิธีอ่านผลตรวจสุขภาพวิธีอ่านผลตรวจสุขภาพ
วิธีอ่านผลตรวจสุขภาพUtai Sukviwatsirikul
 
แนวทางการรักษาสิว 2010
แนวทางการรักษาสิว 2010แนวทางการรักษาสิว 2010
แนวทางการรักษาสิว 2010Utai Sukviwatsirikul
 
Drugs used in disorders of coagulation
Drugs used in disorders of coagulationDrugs used in disorders of coagulation
Drugs used in disorders of coagulationSirinoot Jantharangkul
 
บทที่ 4 ยารักษาโรคเบาหวาน
บทที่ 4 ยารักษาโรคเบาหวานบทที่ 4 ยารักษาโรคเบาหวาน
บทที่ 4 ยารักษาโรคเบาหวานPa'rig Prig
 

Viewers also liked (20)

Had12may2014 2
Had12may2014  2Had12may2014  2
Had12may2014 2
 
วิระพล ภิมาลย์, เภสัชกรรมบำบัดโรคมะเร็งเต้านม
วิระพล ภิมาลย์, เภสัชกรรมบำบัดโรคมะเร็งเต้านม วิระพล ภิมาลย์, เภสัชกรรมบำบัดโรคมะเร็งเต้านม
วิระพล ภิมาลย์, เภสัชกรรมบำบัดโรคมะเร็งเต้านม
 
ยารักษาโรคเบาหวาน
ยารักษาโรคเบาหวานยารักษาโรคเบาหวาน
ยารักษาโรคเบาหวาน
 
Guildline thai atherosclerosis_update_16_07_50
Guildline thai atherosclerosis_update_16_07_50Guildline thai atherosclerosis_update_16_07_50
Guildline thai atherosclerosis_update_16_07_50
 
โรคเรื้อรังที่พบบ่อย
โรคเรื้อรังที่พบบ่อยโรคเรื้อรังที่พบบ่อย
โรคเรื้อรังที่พบบ่อย
 
Cpg hyperlipidemia 2558
Cpg hyperlipidemia 2558Cpg hyperlipidemia 2558
Cpg hyperlipidemia 2558
 
ความเป็นไปได้ของร้านยาในการนำ (ร่าง) ประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องการกำหนดรายล...
ความเป็นไปได้ของร้านยาในการนำ (ร่าง) ประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องการกำหนดรายล...ความเป็นไปได้ของร้านยาในการนำ (ร่าง) ประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องการกำหนดรายล...
ความเป็นไปได้ของร้านยาในการนำ (ร่าง) ประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องการกำหนดรายล...
 
Current Pharmacotherapy in Diabetes
Current Pharmacotherapy in DiabetesCurrent Pharmacotherapy in Diabetes
Current Pharmacotherapy in Diabetes
 
ยารักษาโรคเบาหวาน โดย ฉัตรเลิศ พงษ์ไชยกุล
ยารักษาโรคเบาหวาน  โดย ฉัตรเลิศ พงษ์ไชยกุล ยารักษาโรคเบาหวาน  โดย ฉัตรเลิศ พงษ์ไชยกุล
ยารักษาโรคเบาหวาน โดย ฉัตรเลิศ พงษ์ไชยกุล
 
Pharmacotherapy in patient with stroke 2555
Pharmacotherapy in patient with stroke 2555Pharmacotherapy in patient with stroke 2555
Pharmacotherapy in patient with stroke 2555
 
หลักการออกแบบร้านค้าปลีกสมัยใหม่
หลักการออกแบบร้านค้าปลีกสมัยใหม่หลักการออกแบบร้านค้าปลีกสมัยใหม่
หลักการออกแบบร้านค้าปลีกสมัยใหม่
 
คู่มือแปลผลการตรวจร่างกายฉบับประชาชน
คู่มือแปลผลการตรวจร่างกายฉบับประชาชนคู่มือแปลผลการตรวจร่างกายฉบับประชาชน
คู่มือแปลผลการตรวจร่างกายฉบับประชาชน
 
บทที่ 5 ยารักษาโรคความดันโลหิตสูง
บทที่ 5 ยารักษาโรคความดันโลหิตสูงบทที่ 5 ยารักษาโรคความดันโลหิตสูง
บทที่ 5 ยารักษาโรคความดันโลหิตสูง
 
Pharmacotherapy stroke
Pharmacotherapy strokePharmacotherapy stroke
Pharmacotherapy stroke
 
วิธีอ่านผลตรวจสุขภาพ
วิธีอ่านผลตรวจสุขภาพวิธีอ่านผลตรวจสุขภาพ
วิธีอ่านผลตรวจสุขภาพ
 
Cpg for acne
Cpg for acneCpg for acne
Cpg for acne
 
แนวทางการรักษาสิว 2010
แนวทางการรักษาสิว 2010แนวทางการรักษาสิว 2010
แนวทางการรักษาสิว 2010
 
Drugs used in disorders of coagulation
Drugs used in disorders of coagulationDrugs used in disorders of coagulation
Drugs used in disorders of coagulation
 
บทที่ 4 ยารักษาโรคเบาหวาน
บทที่ 4 ยารักษาโรคเบาหวานบทที่ 4 ยารักษาโรคเบาหวาน
บทที่ 4 ยารักษาโรคเบาหวาน
 
Cpg topical steroid usage
Cpg topical steroid usageCpg topical steroid usage
Cpg topical steroid usage
 

Similar to Ag 16 in_1.2.4_896(2555)

Pharmacotherapy anticoagulation 56 01 24
Pharmacotherapy anticoagulation 56 01 24Pharmacotherapy anticoagulation 56 01 24
Pharmacotherapy anticoagulation 56 01 24Utai Sukviwatsirikul
 
Trauma Initial assessment and Resuscitation
Trauma Initial assessment and ResuscitationTrauma Initial assessment and Resuscitation
Trauma Initial assessment and ResuscitationNarenthorn EMS Center
 
Monitor traumatic shock 16 พค.58
Monitor traumatic shock  16 พค.58Monitor traumatic shock  16 พค.58
Monitor traumatic shock 16 พค.58Krongdai Unhasuta
 
Hand out km & best practice อุดรธานี พฤศจิกายน 2557
Hand out km & best practice อุดรธานี พฤศจิกายน 2557Hand out km & best practice อุดรธานี พฤศจิกายน 2557
Hand out km & best practice อุดรธานี พฤศจิกายน 2557Kamol Khositrangsikun
 
แนวทางการดูแลรักษาลิ้มเลือดอุดตันในปอด ในผูปวยฉุกเฉิน
แนวทางการดูแลรักษาลิ้มเลือดอุดตันในปอด ในผูปวยฉุกเฉินแนวทางการดูแลรักษาลิ้มเลือดอุดตันในปอด ในผูปวยฉุกเฉิน
แนวทางการดูแลรักษาลิ้มเลือดอุดตันในปอด ในผูปวยฉุกเฉินSociety of Thai Emergency Physicians
 
Noonยศกร รามาฯ
Noonยศกร รามาฯNoonยศกร รามาฯ
Noonยศกร รามาฯGeorgius Iosacornus
 
tapanee2500,+Journal+manager,+Aw+CVT+journal+No27-2-4.pdf
tapanee2500,+Journal+manager,+Aw+CVT+journal+No27-2-4.pdftapanee2500,+Journal+manager,+Aw+CVT+journal+No27-2-4.pdf
tapanee2500,+Journal+manager,+Aw+CVT+journal+No27-2-4.pdf60941
 
แนวปฏิบัติการใช้ยา Thrombolytic agent
แนวปฏิบัติการใช้ยา Thrombolytic agentแนวปฏิบัติการใช้ยา Thrombolytic agent
แนวปฏิบัติการใช้ยา Thrombolytic agentSupang Mp
 
มะเร็งเต้านม
มะเร็งเต้านมมะเร็งเต้านม
มะเร็งเต้านมtechno UCH
 
ทฤษฏีการสูงอายุและการประยุกต์ใช้ทางการพยาบาล
ทฤษฏีการสูงอายุและการประยุกต์ใช้ทางการพยาบาลทฤษฏีการสูงอายุและการประยุกต์ใช้ทางการพยาบาล
ทฤษฏีการสูงอายุและการประยุกต์ใช้ทางการพยาบาลChutchavarn Wongsaree
 
การใช้กระบวนการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้าย โดย ชัชวาล วงค์สารี
การใช้กระบวนการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้าย โดย ชัชวาล  วงค์สารีการใช้กระบวนการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้าย โดย ชัชวาล  วงค์สารี
การใช้กระบวนการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้าย โดย ชัชวาล วงค์สารีChutchavarn Wongsaree
 
Pearr osteosarcoma
Pearr osteosarcomaPearr osteosarcoma
Pearr osteosarcomaPuri Apipan
 
Interhospital chest conference
Interhospital chest conferenceInterhospital chest conference
Interhospital chest conferenceMy Parents
 
Emergency prevention
Emergency preventionEmergency prevention
Emergency preventiontaem
 
บทที่ 2 โรคหลอดเลือดสมอง
บทที่ 2 โรคหลอดเลือดสมองบทที่ 2 โรคหลอดเลือดสมอง
บทที่ 2 โรคหลอดเลือดสมองNana Sabaidee
 

Similar to Ag 16 in_1.2.4_896(2555) (20)

Pharmacotherapy anticoagulation 56 01 24
Pharmacotherapy anticoagulation 56 01 24Pharmacotherapy anticoagulation 56 01 24
Pharmacotherapy anticoagulation 56 01 24
 
Trauma Initial assessment and Resuscitation
Trauma Initial assessment and ResuscitationTrauma Initial assessment and Resuscitation
Trauma Initial assessment and Resuscitation
 
Monitor traumatic shock 16 พค.58
Monitor traumatic shock  16 พค.58Monitor traumatic shock  16 พค.58
Monitor traumatic shock 16 พค.58
 
Hand out km & best practice อุดรธานี พฤศจิกายน 2557
Hand out km & best practice อุดรธานี พฤศจิกายน 2557Hand out km & best practice อุดรธานี พฤศจิกายน 2557
Hand out km & best practice อุดรธานี พฤศจิกายน 2557
 
แนวทางการดูแลรักษาลิ้มเลือดอุดตันในปอด ในผูปวยฉุกเฉิน
แนวทางการดูแลรักษาลิ้มเลือดอุดตันในปอด ในผูปวยฉุกเฉินแนวทางการดูแลรักษาลิ้มเลือดอุดตันในปอด ในผูปวยฉุกเฉิน
แนวทางการดูแลรักษาลิ้มเลือดอุดตันในปอด ในผูปวยฉุกเฉิน
 
Hemophilia
HemophiliaHemophilia
Hemophilia
 
PACU
PACUPACU
PACU
 
Extern conference 50859
Extern conference 50859Extern conference 50859
Extern conference 50859
 
Noonยศกร รามาฯ
Noonยศกร รามาฯNoonยศกร รามาฯ
Noonยศกร รามาฯ
 
tapanee2500,+Journal+manager,+Aw+CVT+journal+No27-2-4.pdf
tapanee2500,+Journal+manager,+Aw+CVT+journal+No27-2-4.pdftapanee2500,+Journal+manager,+Aw+CVT+journal+No27-2-4.pdf
tapanee2500,+Journal+manager,+Aw+CVT+journal+No27-2-4.pdf
 
แนวปฏิบัติการใช้ยา Thrombolytic agent
แนวปฏิบัติการใช้ยา Thrombolytic agentแนวปฏิบัติการใช้ยา Thrombolytic agent
แนวปฏิบัติการใช้ยา Thrombolytic agent
 
มะเร็งเต้านม
มะเร็งเต้านมมะเร็งเต้านม
มะเร็งเต้านม
 
ทฤษฏีการสูงอายุและการประยุกต์ใช้ทางการพยาบาล
ทฤษฏีการสูงอายุและการประยุกต์ใช้ทางการพยาบาลทฤษฏีการสูงอายุและการประยุกต์ใช้ทางการพยาบาล
ทฤษฏีการสูงอายุและการประยุกต์ใช้ทางการพยาบาล
 
Triage
TriageTriage
Triage
 
การใช้กระบวนการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้าย โดย ชัชวาล วงค์สารี
การใช้กระบวนการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้าย โดย ชัชวาล  วงค์สารีการใช้กระบวนการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้าย โดย ชัชวาล  วงค์สารี
การใช้กระบวนการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้าย โดย ชัชวาล วงค์สารี
 
Pearr osteosarcoma
Pearr osteosarcomaPearr osteosarcoma
Pearr osteosarcoma
 
Pearr osteosarcoma
Pearr osteosarcomaPearr osteosarcoma
Pearr osteosarcoma
 
Interhospital chest conference
Interhospital chest conferenceInterhospital chest conference
Interhospital chest conference
 
Emergency prevention
Emergency preventionEmergency prevention
Emergency prevention
 
บทที่ 2 โรคหลอดเลือดสมอง
บทที่ 2 โรคหลอดเลือดสมองบทที่ 2 โรคหลอดเลือดสมอง
บทที่ 2 โรคหลอดเลือดสมอง
 

Ag 16 in_1.2.4_896(2555)

  • 1. 147 เภสัชกรรมบาบัดในผู้ป่วย Venous thromboembolism วิระพล ภิมาลย์ แนวคิดรวบยอด Thromboembolism disorders เป็นภาวะผิดปกติที่เกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือดและนาไปสู่การเกิดลิ่ม เลือดอุดตัน ความผิดปกติที่เกิดขึ้นอาจส่งผลให้ผู้ป่วยต้องเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลเสียค่าใช้จ่ายจานวนมาก โดยการรักษาในปัจจุบันจะใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือด ยาต้านการเกาะกลุ่มกันของเลือด ในบทเรียนนี้นิสิตจะได้ ศึกษาถึงพยาธิกาเนิด พยาธิสรีรวิทยา ปัจจัยเสี่ยง ยาที่ใช้ในการรักษาแต่ละกลุ่ม ข้อดี ข้อเสีย อาการไม่พึงประสงค์ และการติดตามทางห้องปฏิบัติการหลังจากการใช้ยา วัตถุประสงค์การเรียนรู้ เมื่อศึกษาจบบทเรียนนี้แล้วนิสิตสามารถ 1. อธิบายพยาธิสรีรวิทยาของภาวะ Venous thromboembolism (VTE) ได้ 2. อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างอาการและอาการแสดง ค่าทางห้องปฏิบัติการเพื่อใช้ในการ ประเมินผลการรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะ VTE ได้ 3. สามารถบอกถึงการรักษาด้วยยาที่เหมาะสมของภาวะ VTE 4. สามารถบอกถึงปัญหาในการใช้ยาและแนวทางในการแก้ปัญหา รวมทั้งการให้คาแนะนาเพื่อให้ เกิดประสิทธิภาพสูงสุดจากการใช้ยารักษา ภาวะ VTE ได้และมีผลเสียน้อยที่สุด กิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ 1. บรรยายและยกตัวอย่างกรณีศึกษาประกอบ 2. อภิปรายกรณีศึกษา 3. ศึกษาจากกรณีศึกษาจริงจากโรงพยาบาลและนาเสนอ การประเมินผล 1. กิจกรรมความสนใจในชั้นเรียน 2. การทดสอบย่อยในชั้นเรียน 3. การทดสอบทั้งทฤษฏีและปฏิบัติการ
  • 2. 148 เภสัชกรรมบาบัดในผู้ป่วย Venous thromboembolism วิระพล ภิมาลย์ บทนา VTE เป็นโรคที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับระบบการแข็งตัวของเลือด ซึ่งมีอันตรายจนถึงแก่ชีวิตได้ และพบได้ บ่อยในปัจจุบัน โดย VTE สามารถพบได้ในทุกช่วงอายุ ทุกเชื้อชาติ ซึ่งมักจะเกิดตามหลังการได้รับอุบัติเหตุ การ ผ่าตัดหรือการที่ร่างกายไม่ได้เคลื่อนไหวติดต่อกันเป็นระยะเวลานานหลายชั่วโมง เช่นการนั่งเครื่องบินระหว่าง ประเทศ หรือผู้ที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับระบบการแข็งตัวของเลือด (hypercoagulable disorder) ส่งผลให้เกิดการ clot ของก้อนเลือดในหลอดเลือด VTE สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทย่อยคือ deep vein thrombosis (DVT : คือก้อนเลือดอุดตันในหลอดเลือดดา) และ pulmonary embolism (PE : ก้อนเลือดอุดตันที่บริเวณปอด) โดย PE จะมีการดาเนินโรคที่ค่อนข้างรวดเร็วและเกิดอัตราการตายมากกว่า DVT ประมาณร้อยละ 80 ของผู้ป่วย VTE จะ เสียชวิตด้วย PE Thrombosis หมายถึงการเกิด ลิ่มเลือด (thrombus) ขึ้นในหลอดเลือด หรือในหัวใจ ถ้าเกิดขึ้นใน หลอดเลือดแดง เรียกว่า arterial thrombosis ถ้าเกิดในหลอดเลือดดา เรียกว่า venous thrombosis ก้อนลิ่มเลือดอาจหลุดออกจาก embolus ไปอุดหลอดเลือดที่อวัยวะอื่น เช่น ปอด หรือสมอง เรียก ปรากฏการณ์นี้ว่า thromboembolism การรักษา VTE ในปัจจุบันจะทาการรักษาด้วย antithrombotic drug ซึ่งยาในกลุ่มนี้เป็นยาที่ต้องอาศัย การติดตามการใช้อย่างใกล้ชิดเนื่องจากกลไกการออกฤทธิ์หลักคือ ต้านการแข็งตัวของเลือด หรือการเกิด clot ซึ่งมี อาการข้างเคียงที่สาคัญคือ การมีเลือดออก (bleeding) ระบาดวิทยา (Epidemiology) อุบัติการณ์การเกิด VTE ปัจจุบันยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด จากการสารวจในประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่ามี ผู้ป่วยประมาณ 2 ล้านคนเป็น VTE ทุกๆ ปีจะมีผู้ที่ต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลด้วย VTE และเสียชีวิตปี ละ 60,000 คน อุบัติการณ์ของ VTE จะเพิ่มขึ้นตามอายุที่เพิ่มขึ้น โดยอุบัติการณ์จะเพิ่มเป็น 2 เท่าในผู้ป่วยที่มีอายุ มากกว่า 50 ปี นอกจากนี้ VTE ยังสัมพันธ์กับเชื้อชาติด้วย ชาว African-American จะเสี่ยงมากกว่าชาว American หรือยุโรป หรือ Hispanic ส่วนชาว Pacific Islanders จะพบ VTE น้อยมาก ตารางที่ 1 แสดงข้อมูลทางระบาดวิทยาของ VTE ตัวแปร ระบาดวิทยา Incidence in Total Population (Assuming > 95% Caucasian) ประมาณ 70–113 cases/100,000/year Age 25–35 years old 70–79 years old Exponential increase in VTE with age, particularly after age 40 years ประมาณ 30 cases/100,000 persons ประมาณ 300–500 cases/100,000 persons Gender No convincing difference between men and women Race/Ethnicity 2.5–4-fold lower risk of VTE in Asian-Pacific Islanders and Hispanics
  • 3. 149 ตัวแปร ระบาดวิทยา Relative Incidence of PE vs DVT Absent autopsy diagnosis: ประมาณ 33% PE; 66% DVT Seasonal Variation Possibly more common in winter and less common in summer Risk Factors ประมาณ 25% to 50% “idiopathic” depending on exact definition ประมาณ 15%–25% associated with cancer; ประมาณ 20% following surgery (3 mo.) Recurrent VTE 6-month incidence: ประมาณ 7%; higher rate in patients with cancer Recurrent PE more likely after PE than after DVT Death After Treated VTE 30 day incidence ประมาณ 6% after incident DVT 30 day incidence ประมาณ 12% after PE Death strongly associated with cancer, age, and cardiovascular disease กายวิภาคศาสตร์ของหลอดเลือดดาที่ขา (Anatomy of leg vein) หลอดเลือดดาที่ขาของมนุษย์สามารถแบ่งออกเป็น 2 ระบบตามกายวิภาคศาสตร์คือ 1. หลอดเลือดดาที่บริเวณผิวของขา (superficial system) สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วนคือ Long saphenous vein เป็นหลอดเลือดดาที่ยาว เริ่มจากบริเวณด้านในของเท้า ผ่านทางด้านหน้า ของ medial malleolus แล้วขึ้นไปสู่ขาและสิ้นสุดบริเวณด้าน medial ของขาและต่อรวมเข้าสู่ femoral veins Short saphenous vein จะขึ้นมาจากด้านนอกของเท้า ผ่านด้านหลังของ lateral malleolus และ ขึ้นมาบริเวณกลางน่องและต่อเข้าสู่หลอดเลือดดาใหญ่ Perforator veins เป็นหลอดเลือดดาที่เชื่อมระหว่าง deep และ superficial systems คือทาหน้าที่ นาเลือดจาก superficial เข้าสู่ deep system ซึ่งการเกิดการอุดตันที่หลอดเลือดดาที่ผิว (superficial vein thrombosis) มักเกิดในรายที่ให้ยา หรือน้าเกลือ แล้วมีการอักเสบของหลอดเลือดดา จะเห็นรอยแดงไปตามหลอดเลือดดา และถ้ากดจะเจ็บ 2. หลอดเลือดดาที่ลึก (deep system) หมายถึงหลอดเลือดดาที่อยู่ชิดกับหลอดเลือดแดงใต้เข่า 3 เส้น ในแต่ละเส้นของหลอดเลือดแดงจะมี หลอดเลือดดาประกบ 2 คู่ (มีหลอดเลือดทั้งหมด 6 เส้น) ซึ่งหลอดเลือดดาเหล่านี้จะวิ่งขึ้นมารวมกันกลายเป็น popliteal vein ซึ่งจะอยู่ด้านหลัง popliteal artery ด้านหลังเข่า และในบริเวณต้นขาหลอดเลือดดาจะมาต่อกับ หลอดเลือดแดง รวมกับ profunda vein และ common femoral vein ดังแสดงในรูปที่ 2 ในหลอดเลือดดาแต่ละ เส้นเลือดจะสามารถไหลย้อนกลับจากบริเวณข้อหรือเท้า เข้าสู่หัวใจได้ (ในทิศทางที่ต้านกับแรงโน้มถ่วงของโลก) เนื่องจากหลอดเลือดดาเหล่านี้จะมีลิ้นที่หลอดเลือดดาคอยเปิด-ปิดอยู่ตลอดเวลา นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเสริมคือการ บีบตัวของหลอดเลือดแดง และการบีบตัวของกล้ามเนื้อที่เท้าและน่อง ถ้าร่างกายมีความผิดปกติทาให้ลิ้นไม่สามารถ ทางานได้ตามปกติก็จะทาให้มีเลือดไหลย้อนกลับลงมาที่ขาได้ โดยลิ้นของหลอดเลือดดามีความสาคัญมากในการ ป้องกันไม่ให้เลือดไหลผิดปกติ ลิ้นของหลอดเลือดดามีลักษณะเป็น semilunar และเป็น bicuspid ปกติลิ้นเหล่านี้ จะทนต่อความดันเลือดไหลย้อนกลับได้ ลิ้นเหล่านี้จะทาหน้าที่บังคับทิศทางให้เลือดดาไหลจาก superficial system ไหลไปทาง deep system (ไหลจากเท้าขึ้นมาที่ต้นขาและหัวใจตามลาดับ)
  • 4. 150 ปัจจัยเสี่ยงและพยาธิกาเนิด (Risk factor and etiology) นอกจากปัจจัยเสี่ยงที่ได้กล่าวมาข้างต้นแล้ว ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ อีกดังแสดงในตารางที่ 2 โดยปัจจัยเสี่ยง ที่มีนัยสาคัญอย่างยิ่งยวด (Strong risk factors) เช่น การได้รับอุบัติเหตุ malignancy จะมีผลทาให้การแข็งตัวของ เลือดผิดปกติไป ปัจจุบันเราพบว่าพยาธิกาเนิดของ VTE เป็นผลสืบเนื่องมาจากการยับยั้งการไหลเวียนของเลือด เมื่อ ร่างกายมีการไหลเวียนเลือดลดลงทาให้กระบวนการขจัด และเจือจาง clotting factor ลดลงทาให้เกิดก้อนเลือด (thrombus) ขึ้นในหลอดเลือด โดยหลอดเลือดดาบริเวณส่วนล่างของร่างกายจะเกิดการสร้างก้อนเลือด (thrombogenesis) ได้บ่อยกว่าส่วนบนเนื่องจากมีการไหลเวียนเลือดกลับสู่หัวใจช้ากว่าและลิ้นที่กั้นภายในหลอด เลือดดามีการเปิด-ปิดที่ช้ากว่าส่วนบน ตารางที่ 2 แสดงปัจจัยเสี่ยงของการเกิด VTE โดยจาแนกตามระดับความสาคัญ ระดับความเสี่ยง ตัวอย่างความเสี่ยง Strong risk factors (odds ratio >10) (อัตราส่วนออด (odds ratio) เป็นการคานวณหาความสัมพันธ์ ระหว่างตัวแปร 2 ตัวว่าตัวใดจะมีความเสี่ยงมากกว่ากัน เช่นใน ที่นี้ จะหมายความว่าการได้รับบาดเจ็บจนเกิดขาหักจะเสี่ยงต่อ VTE มากกว่าคนธรรมดามากกว่า 10 เท่า) Fracture (hip or leg) Hip or knee replacement Major general surgery Major trauma Spinal cord injury รูปที่ 1 แสดงชั้นกล้ามเนื้อของหลอดเลือดดา ซึ่งชั้นนอก สุดจะเป็น Connective tissue, smooth muscle, basement membrane และ endothelium และ ภายในหลอดเลือดดาจะมีลิ้นคอยเปิด-ปิดให้เลือดดาไหล ย้อนกลับสู่หัวใจ (The minimal invasive specialist, 2011) รูปที่ 2 แสดงระบบหลอดเลือดดาของมนุษย์ (Haines et al, 2011)
  • 5. 151 ระดับความเสี่ยง ตัวอย่างความเสี่ยง Moderate risk factors (odds ratio 2–9) Arthroscopic knee surgery Central venous lines Chemotherapy Congestive heart or respiratory failure Hormone replacement therapy Malignancy Oral contraceptive therapy Paralytic stroke Pregnancy/, postpartum Previous venous thromboembolism Thrombophilia Weak risk factors (odds ratio < 2) Bed rest > 3 days Immobility due to sitting (e.g. prolonged car or air travel) Increasing age Laparoscopic surgery (e.g. cholecystectomy) Obesity Pregnancy/, antepartum Varicose veins ปัจจุบันยังค้นพบอีกว่าความผิดปกติในระดับ gene จะมีผลทาให้เกิด hypercoagulation ซึ่งสามารถ ถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ ความผิดปกติของ protein C โดย Protein C เป็นพลาสมาโปรตีนโดยเป็น vitamin K dependent factor ที่ทาหน้าที่ยับยั้งปัจจัยการแข็งตัวของเลือด Va และ VIIIa (coagulation factor Va และ VIIIa) ในร่างกายไม่ให้เกิดการแข็งตัวของเลือดที่มากเกินไปจนทาให้การแข็งตัวของเลือดผิดปกติไปนั้นพบได้ ประมาณร้อยละ 5 ในกลุ่มประชากรผิวขาว ซึ่งเป็นสาเหตุสาคัญของการเกิด DVT นอกจากนี้ยังมีการเกิด factor V Leiden mutation เป็นการกลายพันธุ์ที่พบมากที่สุดในผู้ป่วย venous thrombosis (ประมาณร้อยละ 20 – 40 ของผู้ป่วย VTE) และพบได้ประมาณร้อยละ 5 ในประชากรทั่วไป การกลายพันธุ์นี้ทาให้โปรตีน factor V ทางาน ผิดปกติ (ในคนปกติ factor V ทาหน้าที่เป็นปัจจัยร่วม (cofactor) เพื่อช่วยให้ factor X ทางานได้ นอกจากนี้ยังทา ให้เกิดการกระตุ้นการทางานของ protein C ทาให้เกิด Activated protein C (APC) โดย APC สามารถพบได้ใน ร่างกายของเราซึ่งจะทาหน้าที่เป็นสารป้องกันการแข็งตัวของเลือด) เมื่อร่างกายมี factor V Leiden mutation เกิด การยับยั้งที่การทางาน protein C จะทาให้เกิดการแข็งตัวเป็นก้อนเลือด การเกิด factor V Leiden mutation mutation เป็นการกลายพันธุ์ที่เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สาคัญของการเกิดก้อนเลือด (thrombotic risk) คนที่เป็น heterozygote (-/+) ของการกลายพันธุ์นี้ (คือมี gene factor V ผิดปกติ 1 ข้าง) จะพบได้ประมาณร้อยละ 6 คน กลุ่มนี้จะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิด VTE มากกว่าคนอื่นๆ ถึง 8 เท่า การใช้ฮอร์โมน estrogen เป็นยาคุมกาเนิดหรือฮอร์โมนทดแทนหรือยาในกลุ่ม selective estrogen- receptor modulators (SERMs) จะเสี่ยงต่อการเกิด venous thrombosis ซึ่งกลไกยังไม่ทราบแน่ชัด แต่คาดว่า ฮอร์โมน estrogen จะมีผลเพิ่มปริมาณของ clotting factor และทาให้เกิดการขาด antithrombin III, protein C และ S นอกจากนี้ยังมี factor ชนิดอื่นๆ ที่มีผลต่อระบบการแข็งตัวเลือดในร่างกาย
  • 6. 152 พยาธิสรีรวิทยา (Pathophysiology) เมื่อเกิดเลือดออกภายหลังจากการบาดเจ็บ ร่างกายจะมีกลไกในการห้ามเลือด ซึ่งในระหว่างการห้ามเลือด นี้ร่างกายจะมีสมดุลระหว่าง การเกิดก้อนเลือด (thrombogenesis) และการต้านการเกิดก้อนเลือด (antihrombogenesis) ซึ่งจะทาหน้าที่ตรงข้ามกันเพื่อรักษาสมดุลของระบบไหลเวียนโลหิต ดังแสดงในรูปที่ 3 และ ตารางที่ 3 นอกจากนี้ยังมีปัจจัย 3 ปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิด thrombosis ขึ้นคือ ผนังหลอดเลือด (vessel wall), องค์ประกอบของเลือดที่เกี่ยวข้องกับการไหลเวียนเลือด (Circulating elements) และการไหลเวียนของเลือด ในปี ค.ศ. 1800 Dr. Rudolf Virchow นักพยาธิวิทยาชาวเยอรมันได้อธิบายเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือดที่ผิดปกติไปว่ามี ความเกี่ยวข้องกับ 3 ปัจจัยดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้นว่าเป็น Virchow’s triad ดังแสดงในรูปที่ 4 รูปที่ 3 แสดงขั้นตอนการเกิด Hemostasis and thrombosis (Haines et al, 2011)
  • 7. 153 ในการรักษาสมดุลของร่างกายๆ จะมีกระบวนการ Coagulation inhibitor ซึ่งจะช่วยรักษาความสมดุล ของเลือด คือ การห้ามการแข็งตัวของเลือด เพื่อให้เลือดคงความเป็นของเหลว ไหลเวียนในกระแส เลือด inhibitor ที่มีความสาคัญเกี่ยวกับการเกิดภาวะ thrombosis ที่พบ ได้แก่ antithrombin III, protein C และ S โดย Antithrombin III (AT III) หรือ heparin cofactor นี้ถูกสร้างที่ตับมีฤทธิ์ยับยั้งการทางานของ thrombin, Factor Xa, FXIIa, FXIa และ FIXa ที่เกิดจากการกระตุ้นกลไกการแข็งตัวของเลือด ไม่ให้ออกฤทธิ์มาก เกินไป การขาด AT III จะส่งเสริมการเกิดลิ่มเลือดโดยเฉพาะ venous thrombosis ภาวะการขาด AT III นั้น อาจพบร่วมกับโรคหรือยาบางอย่างได้ เช่น nephrotic syndrome, ยากลุ่ม estrogen เป็นต้น หรือจาก พันธุกรรม ซึ่งถ่ายทอดทางพันธุกรรมแบบ autosomal dominant นอกจาก AT III แล้ว clotting inhibitor ที่ สาคัญ คือ protein C และ S โดย protein S นั้นทาหน้าที่เป็น co-factor ของ protein C ในการออกฤทธิ์ ทั้ง สองเป็น vitamin K dependent protein ซึ่งอยู่ในกระแสเลือดในสภาพ inactive form จะถูกกระตุ้นให้มีฤทธิ์ ได้ด้วย thrombin มีหน้าที่นอกจากห้ามฤทธิ์ของ factor V และ factor VIII แล้วยังสามารถเพิ่ม fibrinolytic activity ของเลือดได้ด้วย จึงนับว่ามีฤทธิ์สาคัญที่ช่วยรักษาภาวะสมดุลของเลือด ป้องกันการเกิด thrombosis การขาด protein C และ S นั้น นอกจากจะสัมพันธ์กับการขาด vitamin K แล้ว ยังเป็นการพร่อง แบบ hereditary ด้วย ผู้ป่วยที่ขาด protein ทั้งสองนี้ คล้ายภาวะการขาด AT III จะเกิดภาวะ DVT รวมทั้ง thromboembolism ในขณะที่อายุน้อยได้ ตารางที่ 3 การรักษาสมดุลระหว่าง Thrombogenic และ antithrombotic องค์ประกอบ Thrombogenic Antithrombotic Vessel wall Exposed subendothelium Tissue factor Plasminogen activator inhibitor–1 (PAI–1) Heparan sulfate Dermatan sulfate Thrombomodulin Tissue plasminogen activator (t-PA) Urokinase plasminogen activator (u-PA) Circulating elements Platelets Platelet activating factor (PAF) Clotting factors Prothrombin (Factor II) Fibrinogen (Factor I) von Willebrand factor (vWF) α2-Antiplasmin Antithrombin (AT) Heparin cofactor II Protein C Protein S Plasminogen Tissue factor pathway inhibitor Proteolytic enzymes Blood flow Slow rate of flow Turbulent flow Fast rate of flow Laminar flow
  • 8. 154 รูปที่ 4 แสดง Virchow’s triad (Meltzer et al, 2008) เมื่อร่างกายเกิดการบาดเจ็บจนหลอดเลือดฉีกขาดและมีเลือดออก เกล็ดเลือดจะมารวมตัวกันบริเวณที่เกิด บาดแผลอย่างรวดเร็ว โดยเกล็ดเลือดจะใช้ glycoprotein Ib receptors จับกับผนังหลอดเลือดโดยมี von Willebrand factor เป็นตัวช่วย หลังจากนั้นเกล็ดเลือดจะหลั่ง procoagulant กระตุ้นให้เกล็ดเลือดตัวอื่นๆ เข้ามา ในบริเวณที่บาดเจ็บมากขึ้นและเกล็ดเลือดจะใช้ glycoprotein IIb-IIIa เชื่อมต่อกัน จนเกิด platelet aggregation ในขณะเดียวกันผนังหลอดเลือดที่ถูกทาลายจะหลั่ง tissue thromboplastin ไปกระตุ้น extrinsic pathway ของ ระบบการแข็งตัวของเลือด (coagulation pathway) ดังแสดงในรูปที่ 5 Coagulation pathway สามารถแบ่งได้เป็น 3 ส่วนได้แก่ extrinsic, intrinsic และ common pathway ดังแสดงในรูปที่ 6 โดยที่การกระตุ้น coagulation pathway จะเกิดขึ้นได้โดยผ่านทั้ง extrinsic และ/ หรือ intrinsic pathway ซึ่งทั้งสอง pathway นี้มีตัวกระตุ้นที่แตกต่างกันออกไป การกระตุ้น extrinsic pathway เกิดขึ้นโดยอาศัย tissue factor ซึ่งจะถูกหลั่งออกมาจาก vascular cell และ macrophages เมื่อเกิดการเสียหาย ของหลอดเลือด โดยอาศัย calcium ion โดย tissue factor ที่ถูกหลั่งออกมาจะไปกระตุ้นให้ factor VII เปลี่ยนไป อยู่ในสภาพที่ active ซึ่งจะไปกระตุ้น coagulation cascade (cascade หมายถึง ลาดับขั้น) ให้เกิดการสร้าง fibrin และนาไปสู่การแข็งตัวของเลือดในที่สุด Circulating element Stasis of blood flow การไหลเวียนเลือดที่ช้าลง สามารถกระตุ้นการเกิดลิ่มเลือด พบได้ในผู้ป่วยที่อยู่ นิ่งนานๆ มากกว่า 3 ชั่วโมง ผู้ป่วยโรคอ้วน หัวใจ ล้มเหลว หญิงตั้งครรภ์ในระยะใกล้คลอด เป็นต้น Circulating element ภาวะบางอย่างที่ทาให้เกิดการแข็งตัวของ เลือดผิดปกติเช่น การขาด protein C, protein S และ homocysteinemia Vessel injury การฉีกขาดหรือความผิดปกติที่เกิด ขึ้นกับเยื่อบุหลอดเลือด (endothelial) ทั้งนี้อาจเกิด จากแรงกระแทกหรือการได้รับสารเคมีที่กระตุ้น กระบวนการอักเสบ ซึ่งจะกระตุ้น coagulation cascade จนทาให้เกิดการเกาะกล่มกันของเกล็ด เลือด การเกิด endothelial injury เช่นการได้รับ อุบัติเหตุ
  • 9. 155 รูปที่ 5 แสดงการทางานของเกล็ดเลือดเมื่อเกิดบาดแผล (Haines et al, 2011) การกระตุ้น intrinsic pathway เกิดขึ้นเมื่อมีการสัมผัสกันของเลือดและ subendothelial connective tissues หรือ negatively charged surfaces ที่เกิดขึ้นเมื่อเกิดความเสียหายต่อเนื้อเยื่อ ผลลัพธ์ที่ได้คือการกระตุ้น การสร้าง fibrin และนาไปสู่การแข็งตัวของเลือดได้เช่นกัน หลังจากการกระตุ้น extrinsic หรือ intrinsic pathway ผลลัพธ์ที่ได้คือการกระตุ้น factor X ใน common pathway ให้อยู่ในรูป active form ซึ่งจะไปกระตุ้นการ เปลี่ยนแปลงของ prothrombin ไปเป็น thrombin จากนั้น thrombin จะไปย่อยสลาย fibrinogen ให้เป็น fibrin ซึ่งจะทาหน้าที่เชื่อมระหว่างเกล็ดเลือดที่ถูกกระตุ้นหลายๆ ตัวทาให้ได้เป็นโครงสร้างร่างแหไปอุดตาแหน่งของ เนื้อเยื่อที่เสียหายเกิดเป็นก้อน thrombus ซึ่งมีผลช่วยในการหยุดยั้งภาวะเลือดออกในร่างกาย
  • 10. 156 รูปที่ 6 แสดง coagulation pathway โดย AT = antithrombin; HCII = heparin cofactor II; TFPI = tissue factor pathway inhibitor. (Haines et al, 2011)
  • 11. 157 การตรวจวินิจฉัย (Diagnosis) 1. ภาวะ DVT การตรวจเพื่อวินิจฉัยภาวะ DVT จะอาศัยการซักประวัติ การตรวจร่างกายและการตรวจด้วยวิธีพิเศษ อื่นๆ สาเหตุที่ต้องใช้การตรวจพิเศษอื่นๆ ร่วมด้วยเนื่องจากการซักประวัติและการตรวจร่างกายจะมีความไวต่ามาก ในผู้ป่วย DVT บางรายไม่มีอาการแสดงเลยแต่ผู้ป่วยบางรายมีอาการปวดบริเวณขา ขาบวมแต่ไม่ได้เป็น DVT ซึ่ง แนวทางการวินิจฉัยในปัจจุบันจะต้องอาศัยการตรวจพิเศษด้วยวิธีอื่นๆ ร่วมด้วยเสมอ ซึ่งวิธีที่นิยมทากันในปัจจุบัน ได้แก่  Venography จัดเป็นมาตรฐานของการตรวจ systematic DVT (gold standard) เนื่องจากมีความไวสูงและเฉพาะเจาะจงแต่การตรวจด้วยวิธีนี้มีข้อเสียคือ เกิด invasive มีราคาแพง อาการไม่พึง ประสงค์คือปวดบริเวณที่ต้องเจาะ เกิด phlebitis และห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ contrast media อย่างรุนแรงและผู้ที่ไต ทางานบกพร่อง  Venous ultrasound เป็นการตรวจแบบ noninvasive เพื่อดูการอุดตันของหลอดเลือด ดาตั้งแต่ femoral vein ลงมาจนถึง popliteal vein การตรวจด้วยวิธีนี้จะไวถึงร้อยละ 95 และจาเพาะในผู้ป่วย ชนิด proximal DVT ที่มีอาการร่วมด้วยถึงร้อยละ 96 ปัจจุบันเป็นการตรวจสาหรับวินิจฉัย DVT  Duplex ultrasound เป็นการตรวจแบบ noninvasive ที่มีความไวในผู้ป่วย proximal DVT โดยการตรวจวิธีนี้จะดูการไหลของเลือดร่วมด้วย แต่ยังไม่มีเกณฑ์ที่แน่นอนสาหรับการวินิจฉัยที่แน่นอน แต่วิธี นี้จะมีราคาไม่แพงมากนัก  Impedance plethysmography เป็นการตรวจที่ดูการเปลี่ยนแปลงปริมาณเลือดที่น่อง หลังจากมีการรัดและคลาย cuff ที่พันรอบขา โดยใช้ electrode ทวางอยู่ที่น่องเป็นตัววัด การตรวจด้วยวิธีนี้จะไว และจาเพราะสาหรับผู้ที่เป็น proximal DVTเท่านั้นและวิธีนี้มีข้อเสียคือไม่สามารถแยกระหว่าง thrombolic และ nonthrombotic obstruction ได้ซึ่งอาจทาให้แปลผลผิดพลาดทาให้วิธีนี้ได้รับความนิยมน้อยลง  125 I fibrinogen leg scan เป็นการตรวจหาบริเวณทกาลังมีการสร้างลิ่มเลือดโดยใช้ fibrinogen เป็นตัวติดตาม เนื่องจากการตรวจด้วยวิธีนี้จะได้ผลดีมากเฉพาะ proximal DVT ต้องใช้เวลาหลายวัน กว่าจะทราบผลและต้องเตรียมสารที่ตรวจสาหรับเลือดจึงอาจทาให้เกิดผลเสียได้ วิธีนี้จึงไม่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน  Magnetic resonance imaging (MRI) วิธีนี้เป็นวิธีใหม่สาหรับการตรวจวินิจฉัย DVT ที่ยัง มีการศึกษาไม่มากแต่ข้อมูลจากการศึกษาที่ผ่านมาพบว่าเป็นวิธีที่มีความไวและจาเพาะสูงถึงร้อยละ 100 เมื่อใช้ วินิจฉัยการเกิด DVT ที่ช่องเชิงกรานและน่อง แต่การตรวจด้วยวิธีนี้มีราคาแพงจึงไม่แนะนาให้ใช้เป็นวิธีแรก 2. ภาวะ pulmonary embolism (PE) การวินิจฉัย PE จะอาศัยอาการและอาการแสดง การตรวจ chest x-ray การตรวจคลื่นหัวใจและ arterial blood gas พบว่าไม่มีความจาเพาะ โดยวิธีการตรวจยืนยัน PE ในปัจจุบันได้แก่  Pulmonary angiogram เป็นมาตรฐาน (gold standard) ในการวินิจฉัย PE วิธีนี้มีข้อเสีย คือต้อง invasive และต้องอาศัยความชานาญในการทาและเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ง่าย
  • 12. 158  Ventilation-perfusion lung scan เป็นการตรวจเบื้องต้นแบบ noninvasive นิยมทาใน ผู้ที่สงสัยว่าจะเกิด PE  Computerized tomography (CT) การตรวจด้วยเครื่อง CT ธรรมดาไม่เหมาะสมที่จะใช้ วินิจฉัย เนื่องจากไม่สามารถเห็น contrast media ภายในระยะเวลาและปัญหาจากการหายใจของผู้ป่วยซึ่งอาจทา ให้เกิดการแปลผลผิด แต่จากการศึกษาเรื่องความไวและความจาเพาะพบว่าวิธีนี้มีความไวถึงร้อยละ 72 และจาเพาะ ถึงร้อยละ 95  Magnetic resonance imaging (MRI) เป็นวิธีที่มีการศึกษาค่อนข้างน้อยแต่มีความ แม่นยาในการวินิจฉัยใกล้เคียงกับการวินิจฉัย DVT โดยมีความไวร้อยละ 85-100 และจาเพาะร้อยละ 62-77 อาการแสดงทางคลินิก (Clinical presentation) อาการและอาการแสดงของผู้ป่วย VTE โดยทั่วไปจะไม่เฉพาะเจาะจง ซึ่งอาการที่พบทั่วไปได้แก่ ปวด บวม ผิวหนังเกิดการเปลี่ยนสี (อาจมีสีแดงเข้มขึ้นจากการอักเสบหรือขาวซีดจากการขาดเลือด) นอกจากนี้ยังขึ้นกับ บริเวณที่เกิดก้อนเลือดอุดตันด้วย เช่นถ้าอุดตันบริเวณน่องจะมีอาการปวดที่บริเวณน่อง แต่ถ้าอุดตันที่ proximal vein จะมีการปวดแพร่กระจายไปทั่วร่างกาย และปวดรุนแรงมากกว่า ส่วนอาการของ PE นั้นจะขึ้นกับขนาดและ จานวนของก้อนเลือดที่ไปอุดตันและบริเวณที่เกิดการอุดตัน โดยอาการที่พบได้บ่อยคือ ไอ หัวใจเต้นเร็ว หายใจเร็ว หอบเหนื่อย เจ็บหน้าอกเวลาหายใจลึกๆ หรือจาม ไอ มีเหงื่อออกมากและบางครั้งอาจมีไอเป็นเลือดร่วมด้วย อาการ และอาการแสดงทางคลินิกของ DVT และ PE แสดงในตารางที่ 4 นอกจากอาการทางคลินิกและวิธีการวินิจฉัยดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ยังมีวิธีการประเมินความเป็นไปได้ ต่ออาการเกิด DVT และ PE ดังตารางที่ 5 ซึ่งจะแบ่งความเสี่ยงออกเป็น 3 ระดับคือ high, moderate และ low ในกลุ่มที่ทาการประเมินแล้วพบว่ามีระดับความน่าจะเป็น อยู่ในระดับ high จะมีความแม่นยาต่อการเป็น VTE ถึง ร้อยละ 60
  • 13. 159 ตารางที่ 4 ความแตกต่างของ DVT และ PE Deep Vein Thrombosis (DVT) Pulmonary Embolism (PE) ลักษณะ โดยทั่วไป Venous thromboembolism most commonly develops in patients with identifiable risk factors during or following a hospitalization. Many patients, perhaps the majority, have asymptomatic disease. Patients may die suddenly of pulmonary embolism. Pulmonary embolism most commonly develops in patients with risk factors for VTE during or following a hospitalization. While many patients develop a symptomatic DVT prior to developing a PE, many do not. Patients may die suddenly before effective treatment can be initiated. อาการ The patient may complain of leg swelling, pain, or warmth. Symptoms are nonspecific, and objective testing must be performed to establish the diagnosis. The patient may complain of cough, chest pain, chest tightness, shortness of breath, or palpitation. The patient may spit or cough up blood (hemoptysis). When PE is massive, the patient may complain of dizziness or light-headedness. Symptoms may be confused with a myocardial infarction or pneumonia, and objective testing must be performed to establish the diagnosis. อาการแสดง - The patient’s superficial veins may be dilated, and a “palpable cord” may be felt in the affected leg. - The patient may experience pain in back of the knee when the examiner dorsiflexes the foot of the affected leg. The patient may have tachypnea (increased respiratory rate) and tachycardia (increased heart rate). The patient may appear diaphoretic (sweaty). The patient’s neck veins may be distended. In massive PE, the patient may appear cyanotic and may become hypotensive. In such cases, oxygen saturation by pulse oximetry or arterial blood gas likely will indicate that the patient is hypoxic. In the worse case, the patient may go into circulatory shock and die within minutes. ตารางที่ 5 แสดงรูปแบบ (Model) การประเมินความเสี่ยงต่อการเป็น DVT และ PE ลักษณะทางคลินิก คะแนน Pretest Probability of DVT Tenderness along entire deep vein system 1.0 Swelling of the entire leg 1.0 Greater than 3-cm difference in calf circumference 1.0 Pitting edema 1.0 Collateral superficial veins 1.0 Risk factors present:  Active cancer 1.0
  • 14. 160  Prolonged immobility or paralysis  Recent surgery or major medical illness  Alternative diagnosis likely (ruptured Baker’s cyst, rheumatoid arthritis, superficial thrombophlebitis, or infective cellulitis) 1.0 1.0 −2.0 การคิดคะแนน DVT : Score ≥3 = high probability; 1–2 = moderate probability; ≤ 0 = low probability Pretest Probability of PE Clinical features of deep vein thrombosis 3.0 Recent prolonged immobility or surgery 1.5 Active cancer 1.0 History of deep vein thrombosis or pulmonary embolism 1.5 Hemoptysis 1.0 Resting heart rate > 100 beats per minute 1.5 No alternative explanation for acute shortness of breath or chest pain 3.0 การคิดคะแนน PE : Score ≥6 = high probability; 2–6 = moderate probability; ≤ 1.5 = low probability เป้าหมายการรักษา เป้าหมายของการรักษา VTE ประกอบด้วย 1. ป้องกันการเกิด PE และป้องกันการเสียชีวิตจาก PE 2. ป้องกันการเกิด postphlebitic syndrome 3. บรรเทาและรักษาผู้ป่วยโดยทาให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการรักษาน้อยที่สุด 4. ป้องกันการกลับเป็นซ้า ยาที่ใช้ในการรักษา VTE 1. Unfractionated heparin (UFH) การใช้ UFH การป้องกันและรักษา thrombosis นั้นมีมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1930 โดย UFH ถูกค้นพบ โดย McLean ในปี ค.ศ. 1916 ซึ่งค้นพบว่าสารสกัดจากตับสุนัขสามารถยับยั้งกระบวนการแข็งตัวของเลือดได้ และ ในปี ค.ศ.1939 ก็ได้เรียกสารชนิดนี้ว่า heparin cofactor ซึ่งมีฤทธิ์ในการยับยั้งการแข็งตัวของเลือด heparin เป็น สารจาพวก D-glycosaminoglycan ออกฤทธิ์โดยการจับกับ antithrombin III เนื่องจาก heparin เป็นสารที่มีมวล โมเลกุลขนาดใหญ่ (5,000-30,000 ดาลตัน เฉลี่ย 15,000 ดาลตัน) ทาให้ไม่ถูกดูดซึมและถูกทาลายด้วยกรดจาก ทางเดินอาหาร จึงต้องบริหารยาโดยการฉีด IV และ SC เท่านั้น และการฉีด heparin มีอาการไม่พึงประสงค์คือ hematoma ทาให้ปัจจุบันนิยมใช้น้อยลง กลไกการออกฤทธิ์ Heparin ออกฤทธิ์โดยใช้ส่วนที่เรียกว่า pentasaccharide บนโมเลกุล (พบส่วน pentasaccharide เพียง 1/3 ของโมเลกุล heparin) จับกับ antithrombin III ซึ่งเป็น alpha-globulin ที่ทาหน้าที่ยับยั้ง active clotting factor เช่น IIa, IXa, Xa, XIIa โดยในภาวะที่ไม่มี heparin การยับยั้ง active clotting factor ของ antithrombin III จะเกิดขึ้นอย่างช้าๆ แต่ในภาวะที่มี heparin จะเกิดการยับยั้งได้เร็วกว่าถึง 1,000 เท่า ทาให้ยานี้ สามารถออกฤทธิ์ได้อย่างรวดเร็ว (onset สั้น) ดังแสดงในรูปที่ 7
  • 15. 161 รูปที่ 7 แสดงการออกฤทธิ์ของ heparin (Haines et al, 2011) เภสัชจลนศาสตร์ (Pharmacokinetics) UFH ไม่ถูกดูดซึมจากระบบทางเดินอาหารเพราะมีโมเลกุลที่ใหญ่และมีสูตรโครงสร้างเป็น anionic นอกจากนี้ค่า bioavailability ยังขึ้นกับ protein หรือ plasma binding, platelet factor-4 (PF-4), macrophage, fibrinogen, lipoproteins และ endothelial cell การบริหารยาแบบ SC ค่า bioavailability จะ เป็นแบบ dose dependent หลังจากที่บริหารยาไปแล้วจะมีค่า onset of action อยู่ที่ 1-2 ชั่วโมงเนื่องจากการ ให้ยาแบบ SC จะไม่สามารถทานายการออกฤทธิ์ได้อย่างแน่นอน ถ้าต้องการฤทธิ์ anticoagulant อย่างรวดเร็วควร ให้แบบ IV โดยส่วนใหญ่จะให้แบบ IV infusion เพราะการให้แบบ IV bolus จะเสี่ยงต่อการเกิด bleeding มากกว่าสาหรับการให้แบบ IM จะไม่นิยมให้เพราะจะเกิด hematomas ได้ง่าย UFH มีค่า volume of distribution = 60 มิลลิลิตรต่อกิโลกรัม ดังนั้นการให้ยาต้องคานวณตาม น้าหนักตัว (weigh-based dosing) โดยขนาดยาสูงสุดสาหรับการให้แบบ loading dose คือ 10,000 ยูนิตต่อวัน และ infusion rate คือ 2,300 ยูนิตต่อชั่วโมง แต่อย่างไรก็ตามสาหรับคนที่อ้วนมากๆ ยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนว่าการ ให้ในขนาดเกินกว่า maximum dose จะเกิดผลดี ยามีค่าครึ่งชีวิตอยู่ที่ 30-90 นาที แต่อาจมากถึง 150 นาทีใน ผู้ป่วยบางรายเมื่อให้ยาในขนาดสูง ยาถูกขจัดออกทางไตเป็นหลัก มีส่วนน้อยถูกขจัดออกทางตับ ดังนั้นจึงต้องปรับ ขนาดยาในผู้ป่วยโรคไตและตับ ขนาดยาและการบริหาร (Dosing and administration) ขนาดและวิถีทางการบริหารยา จะขึ้นกับข้อบ่งใช้ และเป้าหมายของการรักษาทั้งนี้เนื่องจากผู้ป่วยแต่ ละรายจะมีการตอบสนองต่อยาที่แตกต่างกัน โดยการใช้สาหรับป้องกัน VTE นั้นจะให้แบบ SC ในขนาด 5,000 unit ทุก 8-12 ชั่วโมงแต่ถ้าต้องการฤทธิ์ anticoagulant อย่างรวดเร็วก็ให้แบบ IV bolus แล้วตามด้วย IV continuous ดังแสดงในตารางที่ 6 นอกจากนี้ยังมีวิธีการบริหารยาแบบอื่นๆ คือแบบ time-honored dosing requirement โดยจะเริ่มให้ยาในขนาด 5,000 unit แบบ IV bolus แล้วตามด้วย IV infusion rate 1,000-2,000 unit/h ซึ่งจากการศึกษาที่ผ่านมาพบว่าการให้แบบ weigh-based dosing จะทาให้ผู้ป่วยเข้าสู่ therapeutic response ได้เร็วกว่าการให้แบบ time-honored dosing requirement และยังลดการกลับเป็นซ้าของ thrombotic event ได้ดีกว่า
  • 16. 162 ตารางที่ 6 แสดงขนาดการใช้ heparin และการติดตามผลการรักษา (Weight-Base Dosing for UFH Administered by Continuous Intravenous Infusion) Indication Initial Loading Dose Initial Infusion Rate DVT/PE 80–100 units/kg (Maximum = 10,000 units) 17–20 units/kg/h (Maximum = 2300 units/h) aPTT (s) Maintenance Infusion Rate (Dose Adjustment) <37 (or >12 s below institutionspecific therapeutic range) 80 units/kg bolus; then increase infusion by 4 units/kg/h 37–47 (or 1–12 s below institutionspecific therapeutic range) 40 units/kg bolus; then increase infusion by 2 units/kg/h 48–71 (within institutionspecific therapeutic range) No change 72–93 (or 1–22 s above institutionspecific therapeutic range) Decrease infusion by 2 units/kg/h >93 (or >22 s above institutionspecific therapeutic range) Hold infusion for 1 h; then decrease by 3 units/kg/h Use actual body weight for all calculations. Adjusted body weight may be used for obese patients (>130% of IBW). นอกจากการปรับตามน้าหนักตัวแล้วยังมีวิธีการปรับขนาดยา heparin แบบอื่นๆ อีก โดยปรับตาม ค่า aPTT ดังแสดงในตารางที่ 7 ตารางที่ 7 แสดงการปรับขนาดยา heparin ตามค่า aPTT ให้ 5,000 ยูนิต bolus dose ตามด้วย 1,260 ยูนิต/กก. aPTT (วินาที) Bolus (ยูนิต) Stop infusion (นาที) Rate of change (มล./ ชม.) ค่า aPTT ซ้า < 50 5000 0 +3 ใน 6 ชั่วโมง 50-59 0 0 +3 ใน 6 ชั่วโมง 60-85 0 0 0 วันรุ่งขึ้น 86-95 0 0 -2 วันรุ่งขึ้น 96-120 0 30 -2 ใน 6 ชั่วโมง > 120 0 60 -4 ใน 6 ชั่วโมง Intravenous dose ปรับตามขนาด aPTT ขนาดเริ่มต้น bolus 5,000 ยูนิต ตามด้วย 40,000 ยูนิต/24 ชม. (ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยง ต่อการเกิดเลือดออกต่า) หรือ 30,000 ยูนิต/24 ชม. (ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดเลือดออกสูง) aPTT (วินาที) Intravenous infusion Additional actionRate of change (มล./ชั่วโมง) ขนาดยาที่ปรับ (ยูนิต/24 ชั่วโมง) < 45 +6 +5,760 aPTT ซ้า 4-6 ชั่วโมง 46-54 +3 +2,880 aPTT ซ้า 4-6 ชั่วโมง 55-85 0 0 ไม่ต้องเจาะ 86-110 -3 -2,880 หยุดยา 1 ชั่วโมง, aPTT ซ้า 4-6 ชั่วโมง หลังเริ่มให้ยา > 110 -6 -5,760 หยุดยา 1 ชั่วโมง, aPTT ซ้า 4-6 ชั่วโมง หลังเริ่มให้ยา
  • 17. 163 การติดตามผลการรักษา (Therapeutic monitoring) การติดตามผลการรักษาด้วย UFH จะอาศัยผลทางห้องปฏิบัติการเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือดซึ่ง ได้แก่ whole blood clotting time, activated partial thromboplastin time (aPTT), activated clotting time (ACT), anti factor Xa activity และ plasma heparin concentrations ในประเทศไทยจะ นิยมใช้ค่า aPTT (ค่าปกติ 20-30 นาที) ในการติดตามผลการรักษาด้วย UHF มากที่สุดโดยจะกาหนดค่า aPTT ให้อยู่ในช่วง 1.5-2.5 เท่าของค่าปกติ อาการไม่พึงประสงค์ (Adverse drug reaction) ภาวะเลือดออก (bleeding) เป็นอาการไม่พึงประสงค์ที่สาคัญ โดยเฉพาะการให้ยาแบบ IV bolus ซึ่งสามารถป้องกันได้โดยการปรับขนาดยาให้เหมาะสมโดยใช้ค่า aPTT และประเมินปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิด bleeding ของผู้ป่วยร่วมด้วย ดังแสดงในตารางที่ 8 ตารางที่ 8 ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิด bleeding เมื่อได้รับ UFH Hypersensitivity reaction อาการที่พบได้แก่ ไข้ หนาวสั่น ลมพิษ และ anaphylactic shock ซึ่ง เป็นอาการที่พบได้บ่อยจากการใช้ heparin ที่ไม่บริสุทธิ์หรือชนิดที่เตรียมจากสัตว์ Thrombocytopenia (ภาวะที่มีเกล็ดเลือดต่ากว่า 150,000/mm3 ) ซึ่งภาวะนี้อาจเกิดได้ภายใน 5 วันแรกของการใช้ยา ซึ่งเป็นผลจาก heparin-induced platelet aggregation ซึ่งภาวะนี้มักจะหายได้เองและไม่มี อันตรายมีเพียงส่วนน้อยที่เกิดจนเป็นอันตราย นอกจากนี้อาจเกิดการสร้าง antibody ต่อต้าน heparin-platelet factor 4 complex จนเกิด thromboembolism ได้ดังนั้นในผู้ที่ได้รับ UFH จาเป็นที่จะต้องตรวจนับระดับ platelet เป็นระยะ ข้อห้ามใช้ (contraindication) ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่แพ้ยา และผู้ป่วยที่มีภาวะเลือดออก หรือมีโรค/ภาวะต่างๆ ดังแสดงในตารางที่ 8 นอกจากนี้ยังห้ามใช้ในระหว่างหรือหลังการผ่าตัดสมอง ไขสันหลัง ตา หรือผู้ที่ได้รับการเจาะน้าไขสันหลัง หรือได้รับ การฉีดยาชาเพื่อทา Regional anesthetic block Anticoagulation intensity (e.g., INR > 4.0) Initiation of therapy (first few days and weeks) Unstable anticoagulation response Age > 65 years Concurrent antiplatelet drug or NSAID use History of gastrointestinal bleeding Recent surgery or trauma Fall Heavy alcohol use Renal failure Cerebrovascular disease Malignancy
  • 18. 164 การรักษาภาวะ Bleeding อันเนื่องมาจากการได้รับ UFH เกินขนาด การได้รับ UFH เกินขนาดจะเป็นสาเหตุที่สาคัญของการเกิด bleeding ในผู้ที่เกิด bleeding อย่าง รุนแรงหรือเกิด bleeding ในอวัยวะสาคัญเช่น intracranial, pericanial, intraocular และต่อมหมวกไต ซึ่งอาจ เป็นอันตรายจนถึงแก่ชีวิตได้ ส่วนอาการทั่วไปได้แก่ ปวดศีรษะ ปวดข้อ เจ็บแน่นหน้าอก ปวดท้อง บวมตามแขนขา ปัสสาวะเป็นเลือด หรือถ่ายเป็นเลือดสด ในผู้ที่เกิด bleeding อย่างรุนแรง จาเป็นที่จะต้องได้รับยารักษาที่เฉพาะคือ protamine sulfate บริหารแบบ IV ในขนาด 1 มิลลิกรัม ของ protamine ต่อ 100 ยูนิต ของ UFH โดยสามารถ เพิ่มปริมาณของ protamine ได้จนถึง maximum dose คือ 50 มิลลิกรัม หลังจากที่ได้รับยาไปแล้ว protamine ซึ่งเป็น basic peptide ที่มีประจุตรงข้ามกับ UFH จะมารวมตัวกันและทาให้ UFH หมดฤทธิ์ภายใน 5 นาที ใน ผู้ป่วยที่มีโรคไตร่วมด้วย อาจเกิด rebound bleeding ได้เนื่องจากยาถูกขับออกทางไตเป็นหลัก ดังนั้นในผู้ป่วยกลุ่ม นี้อาจให้ protamine ซ้าร่วมกับการติดตามค่า Hct, Hgb และอาการอย่างใกล้ชิด การใช้ UFH ในผู้ป่วยกลุ่มพิเศษ UFH จัดเป็น anticoagulant of choice ในระหว่างการตั้งครรภ์ซึ่งยานี้จะมีความปลอดภัยมากกว่า anticoagulant ตัวอื่นๆ โดยจะให้ UFH ไปเรื่อยๆ จนถึงไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์และ UFH ไม่ถูกขับออก ทางน้านมจึงสามารถใช้ในหญิงให้นมบุตรได้ การรักษา acute thrombosis ในเด็กขนาดที่ใช้คือ 50 units/kg IV bolus แล้วตามด้วย IV infusion 20,000 units/m2 /day หรือให้ในขนาด loading dose 75 units/kg นานมากกว่า 10 นาทีแล้วตามด้วย maintenance dose 28 units/kg สาหรับเด็กอายุ 1 ปี ข้อห้ามใช้ดังแสดงในตารางที่ 9 ตารางที่ 9 ข้อห้ามใช้ยา UFH และ anticoagulant General Active bleeding : Hemophilia or other hemorrhagic tendencies, Severe liver disease with elevated baseline PT, Severe thrombocytopenia (platelet count < 20,000/mm3), Malignant hypertension, Inability to meticulously supervise and monitor treatment Product-Specific Contraindications UFH  Hypersensitivity to UFH  History of heparin-induced thrombocytopenia (HIT) LMWHs  Hypersensitivity to LMWH, UFH, pork products, methylparaben, or propylparaben  History of HIT or suspected HIT Fondaparinux  Hypersensitivity to fondaparinux  Severe renal insufficiency (creatinine clearance < 30 mL/min) Lepirudin  Hypersensitivity to hirudins Argatroban  Hypersensitivity to argatroban Warfarin  Hypersensitivity to warfarin  Pregnancy
  • 19. 165  History of warfarin-induced skin necrosis  Inability to obtain follow up PT/INR measurements  Inappropriate medication use or lifestyle behaviors 2. Low molecular weight heparin (LMWHs) LMWH ถูกผลิตขึ้นด้วยวิธีการทางเคมี โดยใช้ enzymatic depolymerization ย่อย UFH ให้ได้สารที่มีมวล โมเลกุลเล็กลง โดย LMWH จะมีน้าหนักโมเลกุลเพียง 1/3 ของ UFH หรือประมาณ 5,000 ดาลตัน ถึงแม้ว่าจะมี ขนาดมวลโมเลกุลแตกต่างกันแต่ก็มีกลไกการออกฤทธิ์ที่เหมือนกัน และยาในกลุ่มนี้มีข้อดีเหนือกว่า UFH คือ  สามารถทานายการออกฤทธิ์กับขนาดยาได้แน่นอนกว่า UFH  เมื่อฉีด SC แล้วยาจะมีค่า bioavailability ดีกว่า UFH  ถูกขจัดออกจากร่างกายแบบ dose-independent  มีค่าครึ่งชีวิตที่ยาวนานกว่าทาให้ไม่ต้องบริหารยาบ่อย  มีอุบัติการณ์ของการเกิด thrombocytopenia น้อย  ลดความยุ่งยากในการติดตามผลการรักษา ปัจจบันมีผลิตภัณฑ์ LMWHs ที่นิยมใช้ 3 ชนิดคือ enoxaparin, dalteparin และ tinzaparin ซึ่ง สามารถใช้รักษาโรคหัวใจและหลอดเลือดอื่นๆได้เช่น acute coronary syndrome, DVT และ PE โดยข้อมูลของ ยาแต่ละตัวแสดงตารางที่ 10 กลไกการออกฤทธิ์ ออกฤทธิ์เช่นเดียวกับ LMWH คอจับกับ antithrombin III โดยใช้ส่วนที่เรียกว่า pentasaccharide sequence แล้วไปยับยั้ง factor Xa และ lla โดย LMWHs (ชอบจับกับ Xa มากกว่า IIa 3-4 เท่า) ดังแสดงในรูปที่ 8 เภสัชจลนศาสตร์ (Pharmacokinetics) LMWHs สามารถทานายผลการเกิด anticoagulant ได้ดีกว่า UFH เนื่องจากมีการจับกับ protein ได้ น้อยกว่า โดยมีค่า bioavailability ประมาณร้อยละ 85-99 เมื่อบริหารยาทาง SC มีระดับยาในเลือดสูงสุด 3-5 ชั่วโมง ยาถูกขับออกจากทางไตเป็นหลัก ดังนั้นต้องปรับขนาดยาในผู้ป่วยโรคไต รูปที่ 8 แสดงกลไกการออกฤทธิ์ของ LMWHs (Haines et al, 2011)
  • 20. 166 ตารางที่ 10 แสดงข้อมูลของ LMWHs ทั้ง 3 ชนิด Indication Enoxaparin Dalteparin Tinzaparin Hip replacement surgery (prophylaxis) 30 mg SC q 12 h initiated 12–24 h after surgery OR 40 mg SC q 24 h initiated 12 h prior to surgery Extended prophylaxis may be given for up to 3 weeks 2,500 units SC given 2 h prior to surgery, followed by 2,500 units the evening after surgery and at least 6 h after first dose, then 5,000 units SC q 24 h OR 5,000 units SC q 24 h initiated the evening prior to surgery 750 units/kg SC q 24 h initiated the evening prior to surgery or 12 h after surgery OR 4,500 units SC q 24 h initiated 12 h prior to surgery Knee replacement surgery (prophylaxis) 30 mg SC q 12 h initiated 12–24 h prior to surgery 75 units/kg SC q 24 h initiated the evening prior to surgery or 12 h after surgery Abdominal surgery (prophylaxis) 40 mg SC q 24 h initiated 2 h prior to surgery 2,500 units SC q 24 h initiated 1–2 h prior to surgery Patients with malignancy: 5,000 units SC the evening prior to surgery, then 5,000 units SC q 24 h OR 2,500 units SC 1–2 h prior to surgery, then 2,500 units 12 h after surgery followed by 5,000 units SC q 24 h 3500 units SC q 24 hrs initiated 1–2 hrs prior to surgery Acute medical illness (prophylaxis) 40 mg SC q 24 h 2,500 units SC q 24 h Trauma (prophylaxis) 30 mg SC q 12 h starting 12–36 hours after injury DVT treatment (with or without PE) 1 mg/kg SC q 12 h OR 1.5 mg/kg SC q 24 h 100 units/kg SC q 12 h OR 200 units/kg SC q 24 h 175 units/kg SC q 24 h Unstable angina or non-Q- wave Ml 1 mg/kg SC q 12 h 100 units/kg SC q 12 h (maximum dose 10,000 units)
  • 21. 167 ขนาดยาและการบริหารยา (Dosing and administration) ขนาดของ LMWHs จะให้ตามน้าหนักตัว โดยหน่วยของ enoxaparin จะคิดในหน่วยของ มิลลิกรัม ส่วน หน่วยของ dalteparin และ tinzaparin จะคิดในหน่วย ยูนิต การบริหารยาส่วนมากจะให้ฉีด SC ทางหน้าท้องทุก 12-24 ชั่วโมง การติดตามผลการรักษา (therapeutic monitoring) เนื่องจากยาในกลุ่มนี้สามารถทานายผล anticoagulant ได้จึงไม่มีความจาเป็นที่จะต้องติดตามผลการ แข็งตัวของเลือด แต่ในผู้ป่วยบางราย อาจจาเป็นต้องติดตามผลทางห้องปฏิบัติการดังต่อไปนี้ PT, ACT, aPTT, CBC, platelet count, SCr โดยมากจะติดตาม CBC ทุก 5-10 วัน ในช่วงแรกของการให้ LMWHs อาการไม่พึงประสงค์ (Adverse drug reaction) อาการไม่พึงประสงค์ที่พบบ่อยคือการเกิด bleeding ซึ่งสามารถเกิดได้ทั้ง major และ minor bleeding จากรายงานการใช้ที่ผ่านมาพบว่าอุบัติการณ์การเกิด major bleeding จะพบได้น้อยกว่าร้อยละ 3 และแปรผันตาม ตัวยาแต่ละตัว ข้อบ่งใช้ กลุ่มประชากร และวิถีการบริหารยา สาหรับอาการ minor bleeding ที่พบบ่อยคือ ปวด หรือมีเลือดออกในบริเวณที่ฉีด นอกจากนี้ยังมีอาการที่รุนแรงแต่พบได้ไม่บ่อยคือ spinal และ epidural hematoma จนอาจทาให้เกิดอัมพาตอย่างถาวรได้ซึ่งเป็นผลจากการใช้ยาในกลุ่มนี้ในระยะยาว สาหรับผู้ป่วย major bleeding จะแนะนาให้ใช้ protamine sulfate ฉีด IV แต่ protamine sulfate จะ ออกฤทธิ์ได้เพียงร้อยละ 60-70 เท่านั้นเนื่องจากโมเลกุลของ LMWH จะมีสายที่สั้นกว่า UFH มาก ทาให้เกิด neutralize เกิดได้ไม่สมบูรณ์ ขนาดของ protamine ที่ใช้ในการรักษา major bleeding ในกรณีที่ได้รับ LMWHs มาแล้วไม่เกิน 8 ชั่วโมงคือ 1 มิลลิกรัม protamine sulfate ต่อ enoxaparin 1 มิลลิกรัม หรือ 1 มิลลิกรัม : 100 antifactor Xa ยูนิต ของ daleteparin หรือ tinzaparin แต่ถ้าได้รับมาแล้ว 8-12 ชั่วโมงจะให้ในขนาด 0.5 มิลลิกรัม : 100 antifactor Xa ยูนิต และถ้าได้รับ LMWH มานานมากกว่า 12 ชั่วโมงจะไม่ให้ protamine sulfate การใช้ LMWHs ในผู้ป่วยกลุ่มพิเศษ LMWHs เป็นยาที่ค่อนข้างปลอดภัยในหญิงตั้งครรภ์เนื่องจากยามีขนาดโมเลกุลที่ใหญ่จึงไม่ผ่านรก ซึ่ง สามารถใช้แทน UFH ในระยะยาวได้ และจากการศึกษาเกี่ยวกับพิษพบว่า LMWHs ไม่มีผลต่อการเจริญของกระดูก โดย US-FDA จัด LMWHs อยู่ใน pregnancy category B ส่วนการรักษา VTE ในเด็กอายุน้อยกว่า 1 ปีจะใช้ enoxaparin 1.5 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ทุกๆ 12 ชั่วโมงและเด็กอายุมากกว่า 1 ปีจะให้ขนาด 1 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ทุกๆ 12 ชั่วโมง 3. Heparinoids (Orgaran ) ยากลุ่มนี้ได้แก่ danaparoid sodium ยานี้เป็นสารในกลุ่ม glycosaminoglycan ที่มีสูตรโครงสร้างคล้ายกับ heparin ยานี้พัฒนามาจากเนื้อเยื่อบุลาไส้หมู โดย danaparoid ประกอบด้วย sulfate glycosaminoglycan 3 ชนิดในรูปของ mixture คือ heparin (84%), dernatan (12%) และ chondroitin (4%) ยาออกฤทธิ์ต้านการ แข็งตัวของเลือดโดยการจับกับ antithrombin III แล้วไปยับยั้ง factor Xa และ thrombin II แต่ชอบจับกับ factor Xa มากกว่า thrombin ถึง 20 เท่า เมื่อเปรียบเทียบการยับยั้งที่ factor Xa กับ LMWHs พบว่า danaparoid มี ฤทธิ์ดีกว่าถึง 5 เท่า เมื่อฉีดเข้าใต้ผิวหนังยาจะมีค่า bioavailability มากกว่าร้อยละ 95 มีค่าครึ่งชีวิต 22-24 ชั่วโมง
  • 22. 168 โดยไม่ทาให้เกิดเกล็ดเลือดต่าเหมือน UFH ดังนั้น US FDA จึงได้รับรองให้ใช้ในการป้องกัน VTE ในผู้ที่ได้รับการ ผ่าตัดที่ตะโพก และใช้ในการป้องกันการแข็งตัวของเลือดในผู้ที่มีข้อห้ามใช้ heparin 4. Fondaparinux (Arixta ) Fondaparinux มีสูตรเคมี คือ C31H43N10O49S8 และมีน้าหนักโมเลกุล 1,728 ดาลตัน ยานี้เป็น pentasaccharide ที่ได้จากการสังเคราะห์ทางเคมี กลไกการออกฤทธิ์ Fondaparinux ออกฤทธิ์โดยการจับกับ antithrombin III และ factor Xa อย่างเฉพาะเจาะจงถึงร้อยละ 100 จึงจัดเป็น selective factor Xa inhibitor ทาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างโมเลกุลของ antithrombin III โดย fondaparinux 1 โมเลกุลจะจับกับ antithrombin III 1 โมเลกุล แต่เมื่อจับแล้วจะปล่อยโมเลกุลออกจากกันได้ ทาให้จับกับ antithrombin III โมเลกุลอื่นได้อีก ดังแสดงในรูปที่ 9 ดังนั้นจึงทาให้ antithrombin III จับและยับยั้ง การทางานของ clotting factor Xa ได้มากขึ้น และทาให้สร้าง thrombin ลดลง ซึ่งช่วยลดการเกิดลิ่มเลือดอุดตัน ในหลอดเลือดได้ ยาชนิดนี้จะไม่มีผลต่อการทางานของ platelet factor-4 และ thrombin ทาให้ไม่เกิดภาวะ thrombocytopenia เหมือนกับการใช้ heparin หรือ LMWH เภสัชจลนศาสตร์ (Pharmacokinetics) Fondaparinux ถูกดูดซึมได้ดีและสมบูรณ์เมื่อบริหารยาแบบ SC โดยมีค่า bioavailability ร้อยละ 100 มีค่า peak concentration ประมาณ 2 ชั่วโมงเมื่อบริหารยาแบบ single dose เมื่อยาเข้าสู่กระแสเลือดแล้วจะไป จับกับ antithrombin อย่างเฉพาะเจาะจงโดยไม่จับกับองค์ประกอบอื่นๆ ในกระแสเลือด ยาถูกขับออกจากทางไต เป็นหลัก ในรูปเดิมโดยไม่เปลี่ยนแปลง ดังนั้นในผู้ที่มีการทางานของไตบกพร่อง (creatinine clearance < 30 mL/min) ต้องปรับขนาดยาเพื่อลดอุบัติการณ์การเกิด bleeding และยามีค่าครึ่งชีวิตนาน 17-21 ชั่วโมง รูปที่ 9 แสดงกลไกการออกฤทธิ์ของ fondaparinux (Haines et al, 2011) ขนาดและการบริหารยา (Dosing and administration) Fondaparinux ได้รับการรับรองให้ใช้ป้องกัน VTE หลังจากการผ่าตัดใหญ่และรักษา DVT และ PE ขนาด ยาสาหรับปัองกัน VTE คือ 2.5 มิลลิกรัม SC วันละครั้ง โดยจะเริ่มให้ในชั่วโมงที่ 6-8 หลังจากการผ่าตัดแล้วสาเหตุที่ ไม่ให้ทันทีเนื่องจากผู้ป่วยอาจเกิด bleeding ได้ และมีระยะเวลาการใช้ยานาน 5-9 วัน การรักษา DVT และ PE จะให้ fondaparinux 7.5 มิลลิกรัม SC วันละครั้ง ส่วนผู้ที่หนักน้อยกว่า 50 กิโลกรัม จะให้ขนาด 5 มิลลิกรัม SC และผู้ที่หนักมากกว่า 100 กิโลกรัม จะให้ขนาด 10 มิลลิกรัม SC
  • 23. 169 รูปแบบยา fondaparinux จะมีลักษณะยาเป็นสารละลายปราศจากเชื้อ ใส ไม่มีสี ปริมาณ 0.5 มิลลิลิตร (เทียบเท่าตัวยา fondaparinux 2.5 มิลลิกรัม) บรรจุใน หลอดฉีดยาพร้อมฉีด (prefilled syringe) ปราศจากสาร กันเสีย (preservative free) มีค่า pH อยู่ระหว่าง 5-8 ดังแสดงในรูปที่ 11 และ 12 รูปที่ 12 แสดงวิธีการฉีด fondaparinux (http://www.answers.com/topic/fondaparinux, 2011) การติดตาม ผลการรักษา Therapeutic monitoring ในผู้ที่ได้รับ fondaparinux ควรมีการวัด CBC ก่อนให้ยาและประเมินการทางานของไต แม้ว่ายานี้ ไม่มี ผลต่อ prothrombin time, bleeding time และ activated thromboplastin time และในระหว่างที่ได้รับยา ต้องมีการตรวจวัด CBC เป็นประจาทุกวัน การศึกษาผลทางคลินิกของ fondaparinux รูปที่ 10 แสดงรูปแบบยา fondaparinux ซึ่งเป็น prefilled syringe โดยมี ส่วนประกอบหลักคือ หมายเลข 1 คือ เข็มฉีดและปลอกหุ้ม (Rigid needle guard) หมายเลข 2 คือ ปลอก (Cap) หมายเลข 3 คือ ก้านฉีดยา (Plunger) หมายเลข 4 คือ ที่จับ (Finger-grip) หมายเลข 5 คือ Security sleeve (http://www.answers.com/topic/fonda parinux, 2011) รูปที่ 11 แสดงรูปแบบยา fondaparinux โดยรูปบนเป็นรูป ก่อนใช้ยา รูปล่างเป็นหลังใช้ยา (http://www.answers.com/topi c/fondaparinux, 2011) ขั้นตอนที่ 1 ดึงฝาปิดก้านฉีด ยาออก ขั้นตอนที่ 2 ถอดฝาปิดเข็มฉีด ออกโดยให้บิดเป็น เกลียวดังลูกศร 1 ครั้งแล้วดึงออกตรงๆ ขั้นตอนที่ 3 บีบและดึงผนัง หน้าท้องให้ได้ดัง รูป ขั้นตอนที่ 4 ปักเข็มตรงๆ (มุม 90 องศา) เข้า ผนังหน้าท้อง ขั้นตอนที่ 5 กดก้านสูบให้จนสุด หรือให้ได้ขนาดยา ตามที่กาหนด ขั้นตอนที่ 6 ปล่อยมือจากก้าน สูบและดูเข็มออก
  • 24. 170 มีการศึกษาทางคลินิกของ fondaparinux sodium ในปัจจุบันมี 4 การศึกษาที่สาคัญคือ PENTAMAKS, EPHESUS, PENTHIFRA และ PENTATHLON 2000 ซึ่งเป็นการศึกษาแบบ multicenter, prospective, double-blind randomized trials เป็นการเปรียบเทียบการใช้ยา fondaparinux sodium กับยา enoxaparin ผลการศึกษาพบว่าใน 3 การศึกษาแรกนั้น fondaparinux sodium สามารถลดอัตราการเกิดลิ่มเลือดอุดตันใน หลอดเลือดดาได้อย่างมีนัยสาคัญเมื่อเปรียบเทียบกับการใช้ยา enoxaparin ส่วนการศึกษา PENTATHLON 2000 พบว่าไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ แต่เมื่อนาศึกษาทั้งหมดมาทา meta-analysis จะพบว่า fondaparinux sodium สามารถลดจานวนผู้ป่วยที่เกิดลิ่มเลือดอุดตันได้อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ ส่วนการศึกษาด้านความ ปลอดภัยพบว่าอุบัติการณ์การเกิด major bleeding ไม่แตกต่างกับ enoxaparin Idraparinux เป็น analog ของ fondaparinux ที่มีระยะเวลาการออกฤทธิ์นานกว่า โดยการฉีดสัปดาห์ละครั้งทาง SC ปัจจุบันยานี้ยังอยู่ระหว่างการวิจัยทางคลินิก 5. Direct thrombin inhibitors (DITs) เป็นยากลุ่มใหม่ที่มีฤทธิ์ anticoagulant ค่อนข้างแรง ออกฤทธิ์โดยการจับกับ thrombin โดยตรง ยากลุ่มนี้ ประกอบด้วย lepirudin, desirudin, bivarudin, argatroban และ ximelagatran มีข้อบ่งใช้ในการป้องกันและ รักษา VTE, ACS และ HIT ยากลุ่มนี้ออกฤทธิ์เร็วปานกลาง ดูดซึมได้ดีจากทางเดินอาหาร มีช่วงในการรักษาที่ ค่อนข้างกว้างและสามารถกาหนดขนาดยาได้อย่างแน่นอน กลไกการออกฤทธิ์ ออกฤทธิ์ต้านการแข็งตัวของเลือดโดยยับยั้งทั้ง free thrombin และ thrombin ที่เกาะอยู่บนก้อนเลือดที่ แข็งตัวไปแล้ว จึงทาให้มีฤทธิ์แรงกว่า UFH และ LMWHs ยาตัวแรกในกลุ่มนี้คือ hiridin ซึ่งเป็นสารที่แยกได้จาก น้าลายของปลิง (Hirudo medicinalis) ต่อมามีการพัฒนายาโดยผ่านกระบวนการ recombinant DNA ได้เป็นยา lepirudin ที่มีความจาเพาะกับ thrombin เพิ่มมากขึ้น โดย lepirudin, desirudin และ bivarudin จะสามารถจับ ได้ทั้งบริเวณ catalytic site และ fibrin site ส่วน argatroban และ ximelagatran จะจับได้เฉพาะส่วน catalytic site เท่านั้นดังแสดงในรูปที่ 13 รูปที่ 13 แสดงกลไกการออกฤทธิ์ของ DITs (Haines et al, 2011)
  • 25. 171 Bivalirudin เป็นสารกึ่งสังเคราะห์จาก Hirudin โดยมีคุณสมบัติเป็น 20-amino-acid polypeptide analog ได้รับการรับรองจาก US FDA ให้ใช้ในผู้ป่วย unsatable angina ที่ได้รับการทา percutaneous trasluminal angioplasty (PCTA) ยามีค่าครึ่งชีวิต 20-30 นาที ถูกขับออกทางปัสสาวะเป็นหลัก หลังจากที่ใช้ยานี้ แล้วต้องติดตามค่า ACT อย่างใกล้ชิด Desirudin เป็น recombinant hirudin ที่บริหารยาทาง SC โดย US FDA ได้รับรองให้ใช้ในผู้ป่วย acute MI และ UA และยานี้ยังสามารถให้ทาง IV ได้อีกด้วย ยาถูกขับออกทางไตเป็นหลักดังนั้นในผู้ป่วยโรคไตจึง ต้องปรับขนาดยา Argatroban จะมีความแตกต่างจาก hirudin และ analog เนื่องจากมีขนาดโมเลกุลที่เล็กกว่าออกฤทธิ์ โดยการจับกับ catalytic site แบบ reversible ยานี้ถูกกาจัดออกทางตับโดยกระบวนการ hydroxylation และ aromatization ได้เป็นสารที่ไม่มีฤทธิ์ ดังนั้นยานี้จึงต้องปรับขนาดยาในผู้ป่วยโรคตับ Ximelagatran เป็นบรรพเภสัช (prodrug) ถูกเปลี่ยนโดยกระบวนการ hydrolysis และ reduction ที่ ตับได้เป็น melagatran จึงจะสามารถออกฤทธิ์ได้ยานี้สามารถบริหารยาโดยการรับประทานได้ โดยอาหารไม่มีผล ต่อค่า bioavailability หลังจากที่รับประทานไปแล้วจะเห็นผลการเป็น anticoagulant ภายใน 2 ชั่วโมง ยามีค่า ครึ่งชีวิต 3-5 ชั่วโมงและถูกขับออกทางปัสสาวะเป็นหลัก การติดตามผลการรักษา (therapeutic monitoring) ยาในกลุ่มนี้มีผลทาให้ PT, aPTT เพิ่มสูงซึ่งจะใช้เป็นค่าทางห้องปฏิบัติการในการติดตามการรักษา โดย เป้าหมายของการรักษาคือ ให้มีระดับ aPTT อยู่ที่ 1.5-3.0 เท่าของค่าปกติ และในผู้ที่ได้รับ Bivalirudin ควรจะ ได้รับการตรวจค่า ACT ร่วมด้วยและผู้ป่วยทุกรายควรได้รับการตรวจ CBC ก่อนได้รับยา อาการไม่พึงประสงค์ (Adverse effects) อาการไม่พึงประสงค์ที่สาคัญคือ bleeding จากการติดตามการใช้ยา lepirudin พบว่ามีผู้ป่วยมากถึงร้อย ละ 13-17 ที่เกิด bleeding หลังจากใช้ยาแต่ยังไม่พบว่าเกิดเลือดออกจนถึงแก่ชีวิต อาการไม่พึงประสงค์อื่นๆที่พบ ได้แก่ ไข้ คลื่นไส้ อาเจียน ผื่นแพ้ นอกจากนี้ยา Ximelagatran ยังทาให้ระดับเอนไซม์ตับเพิ่มสูงขึ้น พบได้ถึงร้อยละ 6-9 แต่จะกลับเป็นปกติได้เมื่อหยุดใช้ยามีเพียงส่วนน้อย (น้อยกว่าร้อยละ 1) ที่เกิดพิษต่อตับอย่างรุนแรง ดังนั้นในปี ค.ศ.2004 US FDA จึงได้ถอนยาตัวนี้ออกจากตลาด การใช้ยาในประชากรกลุ่มพิเศษ Lepirudin และ argatroban จัดอยู่ใน pregnancy category B ซึ่งสามารถใช้ในหญิงตั้งครรภ์ได้แต่ต้อง ทาการติดตามอาการไม่พึงประสงค์อย่างใกล้ชิด ส่วน desirudin อยู่ใน pregnancy category C
  • 26. 172 ตารางที่ 11 แสดงข้อมูลยากลุ่ม Direct Thrombin Inhibitors Lepirudin Desirudin Bivalirudin Argatroban Dabigatrana Route of administration IV or SC IV or SC IV IV PO Indication Treatment of thrombosis in patients with HIT DVT prevention after THA Patients with UA undergoing PTCA; PCI with provisional use of GPI Treatment of thrombosis in patients with HIT; patients at risk for HIT undergoing PCI Investigational for VTE prevention and treatment, and stroke prevention in AF Binding to thrombin Irreversible catalytic site and exosite-1 Irreversible catalytic site and exosite-1 Partially Reversible catalytic site and exosite-1 Reversible catalytic site Reversible catalytic site Monitoring aPTT aPTT aPTT aPTT/ACT Liver function Liver function Clearance Renal Renal Enzymatic (80)% and Renal (20%) Hepatic Renal Antibody development Antihirudin antibodies in up to 60% of patients Possible; lower incidence than with lepirudin May cross- react with antihirudin antibodies No Unknown Effect on INR Slight increase Slight increase Slight increase Increase Unpredictable and variable หมายเหตุ ACT, activated clotting time; AF, atrial fibrillation; aPTT, activated partial thromboplastin time; bid, twice daily; Cl , creatinine clearance; DVT, deep vein thrombosis; GPI, glycoprotein IIb/IIIa inhibitor; HIT, heparin induced thrombocytopenia; INR, international normalized ratio; IV, intravenous ; PCI, percutaneous coronary intervention; PO, oral ; PTCA, percutaneous transluminal coronary angioplasty; qd, daily; SC,
  • 27. 173 ตารางที่ 12 แสดงการปรับขนาดยากลุ่ม Direct Thrombin Inhibitors ยา Renal Impairment Hepatic impairment Lepirudin Bolus : 0.2 mg/kg (bolus dose is should be avoided in patients with renal impairment) Infusion : Clcr 45–60 mL/min: 0.075 mg/kg/h Clcr 30–44 mL/min: 0.045 mg/kg/h Clcr 15–29 mL/min: 0.0225 mg/kg/h Clcr <15 mL/min: no bolus; avoid or stop infusion HD: stop infusion & additional IV bolus doses of 0.1 mg/kg every other day should be considered if the aPTT ratio falls below 1.5 Dose adjustment not required Desirudin Cl 31–60 mL/min: 5mg SC q 12 h Cl <30 mL/min: 1.7 mg SC q 12 h Dose adjustment not required Bivalirudin Bolus: no dose adjustment Infusion: Cl <30: 1 mg/kg/h HD: 0.25 mg/kg/h Dose adjustment not required Argatroban Dose adjustment not required Initiate at 0.5 mcg/kg/ min then titrate to aPTT 1.5–3.0 × baseline Dabigatran Dose adjustment will be required; degree of dose decrease not defined at this time. Unclear at this time 6. Warfarin เป็นยาต้านการแข็งตัวของเลือด (anticoagulant) หรืออาจเรียกว่า vitamin K antagonist ที่นิยมใช้กันอย่าง แพร่หลาย ยานี้ถูกค้นพบเมื่อปี ค.ศ.1940 โดยยานี้มีข้อบ่งใช้ในการป้องกันและรักษา VTE, การเกิดก้อนเลือดใน ผู้ป่วยโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ ผู้ที่ได้รับการเปลี่ยนถ่ายลิ้นหัวใจ และผู้ป่วย MI เนื่องจากยานี้เป็นยาที่มีดัชนีในการ รักษาแคบ เกิดอันตรกิริยาระหว่างยา-ยา และยา-อาหารมาก และมีอาการไม่พึงประสงค์ที่สาคัญคือ bleeding จึง จาเป็นที่จะต้องติดตามและให้คาแนะนาผู้ที่ได้รับยาในกลุ่มนี้อย่างใกล้ชิด กลไกการออกฤทธิ์ โดยปกติการสร้าง clotting factor II, VII, IX และ X จะอยู่ในรูปของ inactive ก่อนและต้องอาศัย ปฏิกิริยา carboxylation ในการเปลี่ยนเป็น clotting factor ที่ออกฤทธิ์ได้ ซึ่งในปฏิกิริยา carboxylation จะต้อง